You are on page 1of 7

แฝกหอม

ชื่อในตำรับยาล้านนา

ชื่อท้องถิ่น หญ้าแฝก แฝก แฝกลุ่ม แกงหอม แคมหอม

ชื่อวิทยาศาสตร์ Vetiveria zizanioides (L.) Nash

ชื่อภาษาอังกฤษ Vetiver grass, Khus-khus

ชื่อวงศ์ GRAMINEAE

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ต้น ไม้ล้มลุก อายุหลายปี สูง 1-1.6 เมตร ลำต้นตัง้ ตรง แตกกอ มี


รากฝอยหยั่งลึกในดินได้ถึง 4 เมตร รากมีกลิ่นหอม

ใบ ใบเดี่ยว รูปขอบขนาน กว้าง 0.4-1.5 เซนติเมตร ยาว 30-75


เซนติเมตร ปลายสอบแหลม โคนสอบ ขอบจักฟั นเลื่อยถี่ แหลมคม มีมาก
บริเวณโคนใบ แผ่นใบเรียบ ด้านบนสีเขียวเข้ม ใต้ใบสีเขียวจางกว่า ก้าน
ใบเป็ นกาบหุ้มลำต้น

ดอก ดอกเป็ นช่อแบบช่อแขนง ออกตามปล้องสุดท้ายของลำต้น ช่อ


ดอกสีน้ำตาลแดง สีน้ำตาล สีเทา หรือสีขาวนวล ช่อดอกยาว 15-40
เซนติเมตร ดอกมีจำนวนมาก ที่อยู่ด้านบนเป็ นดอกสมบูรณ์เพศ ด้านล่าง
มักฝ่ อ มีเกสรเพศผู้ 3 เกสร ออกดอกตลอดปี

ส่วนที่ใช้ ราก

ข้อบ่งใช้ทางเภสัชกรรมล้านนา

รากแฝกหอมใช้ขับลมในลำไส้ แก้ท้องขึน
้ อืดเฟ้ อ
ข้อบ่งใช้ทางการแพทย์แผนไทย

ราก มีสรรพคุณทำให้ดวงจิตชุ่มชื่น กลิ่นมีสรรพคุณกล่อมประสาท


ใช้ปรุงเป็ นยาขับลมในลำไส้ ทำให้หาวเรอ บำรุงโลหิต แก้ปวดท้อง จุก
เสียด แก้ท้องอืด ขับปั สสาวะ แก้ไข้ แก้ไข้พิษ แก้ไข้อภิญญาณ แก้ไข้
อันเกิดแต่ซาง โลหิต ดี และคุดทะราด แก้โรคประสาท แก้ท้องเดิน แก้
ร้อน ต้มอาบทำให้กระชุ่มกระชวย อบเสื้อผ้าให้หอม และสกัดน้ำมันหอม
ระเหย หัว ขับลมในลำไส้ ขับปั สสาวะ แก้ท้องเดิน แก้ร้อน แก้ไข้หวัด แก้
์ ่าเชื้อ ทำให้นอนหลับ ทำให้สงบ
ปวดเมื่อย น้ำมันหอมระเหยมีฤทธิฆ
ทำให้ผิวหนังร้อนแดงอย่างอ่อน

ข้อบ่งใช้ทางการแพทย์แผนปั จจุบัน

สารสำคัญที่มีในสมุนไพร

น้ำมันหอมระเหย (Vetiver oil) ร้อยละ 0.3-1% ประกอบด้วย


สาร vetiverol (50-75%), alpha-vetivone (4.36%) , beta-
vetivenene , beta-vetivone, khusimol

รูปที่ 1 สูตรโครงสร้างเคมี Vetiverol


รูปที่ 2 สูตรโครงสร้างเคมี Alpha-vetivone

รูปที่ 3 สูตรโครงสร้างเคมี Bata-vetivone

รูปที่ 4 สูตรโครงสร้างเคมี Beta-vetivenene

์ างเภสัชวิทยา
ฤทธิท

ฤทธิล์ ดอาการปวด และต้านการอักเสบ

การทดสอบฤทธิล์ ดอาการปวด และต้านการอักเสบในหนู โดยใช้


การทดสอบ writhing test และ formalin test การทดลอง writhing
test ทำโดยฉีดน้ำมันหอมระเหย (EO) เข้าทางช่องท้องหนูในขนาด 25,
50, และ 100 mg/kg หลังจากนัน
้ 30 นาที จึงฉีด 0.85% acetic acid
(10 mL/kg)เข้าทางช่องท้องแล้วนับจำนวนครัง้ ที่หนูเกิดความเจ็บปวดจน
เกิดอาการบิดงอลำตัว (writhing) ผลการทดลองพบว่า EO ในขนาด
50 และ 100 mg/kg สามารถลดจำนวนครัง้ ในการเกิด writhing ได้
อย่างมีนัยสำคัญ โดยมีเปอร์เซ็นต์การยับยัง้ เท่ากับ 51.9 และ 64.9%
ตามลำดับส่วนการทดลอง formalin test ให้ EO ในขนาด 25, 50 และ
100 mg/kg และกลุ่มสุดท้ายให้ aspirin ขนาด 200 mg/kg หลังจากนัน

30 นาที จึงฉีด 2.5% formalin เข้าทางใต้ผิวหนังบริเวณอุ้งเท้าหลังด้าน
ขวา สังเกตพฤติกรรมใน 2 ช่วง คือในช่วง early phase (0-5 นาทีหลัง
จากฉีด formalin) ซึง่ แสดงถึงอาการปวดแบบเฉียบพลัน (acute pain)
อีกช่วงหนึ่ง คือ late phase (15-30 นาทีหลังจากฉีด formalin) ซึง่ เป็ น
ช่วงที่เกิดการอักเสบ inflammation phase ผลการทดลองพบว่าสาร
สกัด EO ในขนาด 50 และ 100 mg/kg สามารถลดเวลาที่หนูยกเท้าข้าง
ที่ถูกฉีด formalin ขึน
้ เลีย ลงได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติใน late phase
(56.7 และ 86.2%, ตามลำดับ)ดังนัน
้ จากผลการทดลองข้างต้นแสดงว่า
น้ำมันหอมระเหยของรากแฝกหอม มีฤทธิใ์ นการลดอาการปวด และต้าน
การอักเสบได้ (Lima, et al., 2012)

์ ้านอนุมูลอิสระ
ฤทธิต

์ ้านออกซิเดชันของน้ำมันหอมระเหยจากราก
การทดสอบฤทธิต
แฝกหอม ด้วยวิธี free radical scavenging (DPPH) และ lipid
peroxidation inhibition (TBARs) ผลการทดสอบฤทธิก์ ำจัดอนุมูล
อิสระ (free radical scavenging) ด้วยวิธี DPPH ที่ความเข้มข้น 10
ไมโครลิตร/มิลลิลิตร พบว่าเปอร์เซ็นต์การยับยัง้ เท่ากับ 90.18±0.84%
คิดเป็ นค่า IC5o เท่ากับ 0.635±0.036 mg/ml และแสดงผลการ
ทดสอบฤทธิย์ ับยัง้ การเกิดออกซิเดชันของไขมัน (lipid peroxidation)
ด้วยวิธี TBARs ที่ความเข้มข้น 0.95 ไมโครลิตร/มิลลิลิตร มีเปอร์เซ็นต์
การยับยัง้ เท่ากับ 23.90±5.68% (Veerapan and Khunkitti, 2011)

์ ้านอาการชัก
ฤทธิต
เมื่อทำการทดลองในหนูที่เหนี่ยวนำให้เกิดการชักด้วยการช็อตไฟฟ้ า
พบว่าสารสกัดเอทานอลจากเหง้าแฝกหอมในขนาด 400
มิลลิกรัม/กิโลกรัม สามารถยับยัง้ การเกิดอาการชักที่เกิดจากการช็อต
ไฟฟ้ าได้ (p<0.001) และสารสกัดขนาด 100 มิลลิกรัม/กิโลกรัม ทำให้
ระยะเวลาก่อนเริ่มเกิดการชักยาวนานขึน
้ เมื่อกระตุ้นการชักด้วยสารเคมี
Pentylenetetrazole โดยทำให้สัตว์ทดลองรอดชีวิต 83% แต่ขนาดของ
ยามาตรฐานต้านการชัก phenobarbital ที่ทำให้สัตว์ทดลองรอดชีวิต
ทัง้ หมดคือขนาด 20mg/kg และสารสกัดเอทานอลจากเหง้าแฝกหอม ที่
ทำให้สัตว์ทดลองรอดชีวิตทัง้ หมดคือขนาด 200 และ 400
mg/kg(Gupta, et al., 2013)

ข้อมูลการวิจัยที่เกี่ยวข้อง -

ภาพประกอบ

รูปที่ 1 Vetiveria zizanioides (L.) Nash (แฝกหอม) แสดงส่วนต้น


รูปที่ 2 Vetiveria zizanioides (L.) Nash (แฝกหอม) แสดงส่วนราก

รูปที่ 3 Vetiveria zizanioides (L.) Nash (แฝกหอม) แสดงส่วนใบ

รูปที่ 4 Vetiveria zizanioides (L.) Nash (แฝกหอม) แสดงส่วนดอก

เอกสารอ้างอิง

http://www.thaicrudedrug.com/main.php?
action=viewpage&pid=89

https://mlm.mju.ac.th/SearchHerb_Drug.aspx

https://medthai.com/%E0%B8%AB%E0%B8%8D
%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B9%81%E0%B8%9D
%E0%B8%81/

https://data.addrun.org/plant/archives/372-chrysopogon-
zizanioides-l-roberty

You might also like