You are on page 1of 11

1

ประสิทธิผลของหม่อนในการลดระดับน้าตาลในเลือด
Efficacy of Morus alba for blood glucose lowering
จ้านวนหน่วยกิต : 2.5 หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง
วันที่รับรอง : 1 พ.ย. 2565
วันหมดอายุ : 31 ต.ค. 2566
ผู้เขียน : รองศาสตราจารย์ ภก.วิระพล ภิมาลย์
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่องแก่ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
ผู้ประกอบวิชาชีพเภสัชกรรม
แนวคิดรวบยอด
โรคเบาหวานเป็นโรคเรื้อรังทางเมแทบอลิซึม ซึ่งทาให้เกิดภาวะแทรกซ้อนของร่างกายได้หลายระบบเช่น
ระบบหัวใจและหลอดเลือด ระบบทางเดินอาหาร และระบบสืบพันธุ์เป็นต้น การรักษาโรคเบาหวานทาได้โดยการ
ใช้ยาที่มีฤทธิ์ลดระดับน้าตาลในเลือด การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและการใช้ยาสมุนไพรและผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติ
เพื่อช่วยควบคุม ระดับน้าตาลในเลือด หม่อน (Morus alba) เป็นสมุนไพรอีกชนิดหนึ่งที่มีการเพาะปลู ก อย่ าง
แพร่หลายในประเทศไทย ซึ่งมีการศึกษาว่าสามารถช่วยลดระดับน้าตาลในเลือดได้ โดยมีการศึกษาจานวนมาก
เกี่ยวกับกลไกการออกฤทธิ์ ประสิทธิผลทางคลินิกในการควบคุมระดับน้าตาลในเลือด ผลการศึกษาพบว่าในหม่อน
มีสารสาคัญคือ 1-deoxynojirimycin หรือ DNJ มีฤทธิ์แรงในการยับยั้งเอนไซม์ α-glucosidase ซึ่งช่วยลดระดับ
น้าตาลในเลือดหลังอดอาหารได้ดี แต่การใช้ผลิตภัณฑ์จากหม่อนมักพบอาการไม่พึงประสงค์ต่อระบบทางเดิน
อาหารเช่น ท้องอืด แน่นท้อง เป็นต้น ดังนั้นหม่อนจึงเป็นสมุนไพรอีกชนิดหนึ่งที่อาจใช้เป็นการรักษาทางเลือกหรือ
ใช้เสริมกับยาแผนปัจจุบันในการควบคุมระดับน้าตาลในเลือดให้ได้ตามเป้าหมาย

ค้าส้าคัญ : หม่อน เบาหวาน กลไกการออกฤทธิ์ ประสิทธิผลทางคลินิก

วัตถุประสงค์การเรียนรู้
1. เพื่อให้ทราบถึงสารสาคัญของหม่อนที่มีผลต่อการลดระดับน้าตาลในเลือด
2. เพื่อให้ทราบถึงกลไกการออกฤทธิ์ของหม่อนในการลดระดับน้าตาลในเลือด
3. เพื่อให้ทราบถึงประสิทธิผลทางคลินิกและอาการไม่พึงประสงค์ของหม่อนในการลดระดับน้าตาลในเลือด

บทน้า
โรคเบาหวานเป็ น โรคเรื้ อ รั ง ทางเมแทบอลิ ซึ ม ที่ ท าให้ ผู้ ป่ ว ยที่ เ ป็ น โรคนี้ มี ภ าวะน้ าตาลในเลื อ ดสู ง
(hyperglycemia) อย่างต่อเนื่อง สาเหตุหลักของโรคเบาหวานเกิดจากการขาดฮอร์โมนอินซูลินหรือมีภาวะดื้อต่อ
อินซูลิน ส่งผลให้มีความผิดปกติของการควบคุมระดับน้าตาลในเลือด ระดับน้าตาลที่สูงอย่างต่อเนื่องทาให้เกิด
ภาวะแทรกซ้อน (complication) ที่สาคัญได้แก่ ภาวะแทรกซ้อนต่อระบบหัวใจและหลอดเลือด ทั้งหลอดเลือด
แดงขนาดเล็ ก (microvascular complication) และหลอดเลื อ ดแดงขนาดใหญ่ (macrovascular com-
plications) รวมถึงพบภาวะแทรกซ้อนต่อระบบอื่น ๆ ได้แก่ ระบบทางเดินอาหาร ระบบสืบพันธุ์ ระบบทางเดิน
ปัสสาวะและระบบประสาทอัตโนมัติ เป็นต้น (1)
2

การรั ก ษาโรคเบาหวานจะประกอบด้ ว ยการใช้ย าลดระดั บ น้ าตาลในเลื อ ด ร่ ว มกั บ การปรั บ เปลี่ ยน


พฤติกรรม รวมไปถึงการรักษาทางเลือกอื่น ๆ ที่ช่วยควบคุมระดับน้าตาลในเลือดให้ได้ตามเป้าหมาย ซึ่งรวมถึงการ
ใช้สมุนไพรที่มีฤทธิ์ลดระดับน้าตาลในเลือด โดยหม่อน (Morus alba) เป็นสมุนไพรอีกชนิดหนึ่งที่มีรายงานว่า
สามารถลดระดับน้าตาลในเลือดได้ (2) รวมถึงมีรายงานการศึกษาวิจัยในมนุษย์ว่าสามารถช่วยควบคุมระดับน้าตาล
ในเลือดได้ (3,4)
หม่อน เป็นพืชพื้นเมืองของประเทศจีนตอนใต้ แถบเทือกเขาหิมาลัย แต่ภายหลังได้มีการนาเข้ามาปลูกใน
อินโดจีน ญี่ปุ่น ฟิลิปปินส์ ไทย ฯลฯ พบได้ทั่วไปในป่าดิบ ในประเทศไทยปลูกกันมากทางภาคเหนือและภาค
ตะวันออกเฉียงเหนือ อยู่ในวงศ์ Moraceae มีอยู่ด้วยกัน 2 ชนิด ได้แก่ หม่อนที่ปลูกเพื่อรับประทานผล ชื่อสามัญ
Black Mulberry, ชื่อวิทยาศาสตร์ M. nigra L. หม่อนชนิดนี้ผลจะโตเป็นช่อ เมื่อผลสุกผลจะเป็นสีดา มีรสเปรี้ยว
อมหวาน นิยมนามารับประทาน ทาแยม หรือนาไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ส่วนหม่อนอีกชนิดคือ หม่อนที่ใช้
ปลูกเพื่อการเลี้ยงไหมเป็นหลัก ชื่อสามัญ White Mulberry, ชื่อวิทยาศาสตร์ M. alba L. หม่อนชนิดนี้จะมีใบ
ใหญ่และออกใบมากใช้เป็นอาหารของไหมได้ดี ส่วนผลจะออกเป็นช่อเล็ก เมื่อสุกแล้วจะมีรสเปรี้ยว ใช้รับประทาน
ได้แต่ไม่เป็นที่นิยมเท่ากับชนิดแรก แต่หม่อนชนิดนี้นิยมนาเอาใบมาทาเป็นเครื่องดื่มรูปแบบชาชง (5)
ปัจจุบันมีงานวิจัยจานวนมากที่พบบ่งชี้ว่าการใช้หม่อน (M. alba) ชนิดรับประทานโดยเฉพาะอย่างยิ่ง
รูปแบบชาชงสามารถช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ได้รวมถึงสามารถลดระดับน้าตาลในเลือด
ในผู้ที่เป็นโรคเบาหวานแล้ว จากข้อมูลที่ผ่านมาทาให้หม่อนได้รับความนิยมในการใช้เพื่อลดน้าตาลในเลือดในผู้ที่มี
ความเสี่ยงหรือเสริมกับยาแผนปัจจุบัน ดังนั้นบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทบทวนงานวิจัยเกี่ยวกับการใช้หม่อน
ชนิด M. alba เพื่อลดระดับน้าตาลในเลือดเพื่อให้ทราบถึงประสิทธิภาพและอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้หม่อน

ข้อมูลทางพฤกษศาสตร์
ต้นหม่อน จัดเป็นไม้พุ่มขนาดกลางหรือไม้ยืนต้นขนาดเล็ก มีลาต้นตั้งตรง สูงได้ประมาณ 2.5 เมตร บาง
พันธุ์สูงได้ประมาณ 3-7 เมตร กิ่งก้านไม่มากนัก เปลือกลาต้นเรียบเป็นสีน้าตาลแดง สีขาวปนสีน้าตาล หรือสีเทา
ปนขาว ส่วนเปลือกรากเป็นสีน้าตาลแดงหรือสีเหลืองแดง มีเส้นรอยแตกที่เปลือกผิว (5,6)
ใบหม่อน ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ ลักษณะของใบเป็นรูปไข่ ปลายใบแหลมยาว โคนใบเว้าเป็นรูป
หัวใจหรือค่อนข้างตัด ขอบใบเรียบหรือหยักเว้าเป็นพู (ขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ที่ปลูก) ใบอ่อนขอบใบจักรเป็นพูสองข้าง
ไม่เท่ากัน ขอบพูจักรเป็นซี่ฟัน ใบมีขนาดกว้างประมาณ 8-14 เซนติเมตร และยาวประมาณ 12-16 เซนติเมตร
แผ่นใบเป็นสีเขียวเข้มเรียบเงา ท้องใบเป็นสีเขียวอ่อน ใบค่อนข้างหนา หลังใบสากระคายมือ เส้นใบมี 3 เส้น ออก
จากโคนยาวไปถึงกลางใบ และเส้นใบออกจากเส้นกลางใบอีก 4 คู่ เส้นร่างเห็นได้ชัดเจนจากด้านล่าง ก้านใบเรียว
เล็ก ยาวประมาณ 1-1.5 เซนติเมตร มีหูใบแคบปลายแหลม ยาวได้ประมาณ 0.2-0.5 เซนติเมตร (5,6)
ดอกหม่อน ดอกเป็นช่อตามซอกใบและปลายยอด ดอกเป็นแบบแยกเพศแต่อยู่บนต้นเดียวกัน ลักษณะ
ของดอกเป็นรูปทรงกระบอก ช่อดอกเพศผู้และช่อดอกเพศเมียจะอยู่ต่างช่อกัน ดอกย่อยมีขนาดเล็ก วงกลีบรวม
เป็นสีขาวหม่นหรือเป็นสีขาวแกมสีเขียว ช่อดอกเป็นหางกระรอก ยาวได้ประมาณ 2 เซนติเมตร ดอกเพศผู้ วงกลีบ
รวมมีแฉก 4 แฉก เกลี้ยง ส่วนดอกเพศเมีย วงกลีบรวมมีแฉก 4 แฉก เกลี้ยง ขอบมีขน เมื่อเป็นผลจะอวบน้า รังไข่
เกลี้ยง ก้านเกสรเพศเมียมี 2 อัน (5)
3

หม่อน เป็นผลที่เกิดจากช่อดอก ผลเป็นผลรวมอยู่ในกระจุกเดียวกัน โดยจะออกตามซอกใบ ลักษณะของ


ผลเป็นรูปทรงกระบอก ยาวประมาณ 1-2.5 เซนติเมตร ผลเป็นสีเขียว เมื่อผลสุกแล้วจะเปลี่ยนเป็นสีม่วงแดงเข้ม
หรือสีม่วงดา เกือบดา เนื้อนิ่ม ฉ่าน้า และมีรสหวานอมเปรี้ยว (5,6)

สารส้าคัญ
ใบหม่ อ นมี ส ารประกอบทางเคมี ห ลายชนิ ด โดยสามารถพบสารกลุ่ ม bioflavonoid และสาร
glycoprotein, moran A เป็นสารที่มีฤทธิ์ลดน้าตาลในเลือด (7) นอกจากนี้ในใบหม่อนมีสารในกลุ่มอัลคาลอยด์
(ได้แก่ calystegin B-2, 1-deoxy ribitol, fagomine, nojirimycin, zeatin riboside), สารในกลุ่มฟลาโวนอยด์
( ไ ด้ แ ก่ albafuran C, astragalin, aromadendrin, chalcomoracin, kaempferol, kuwanol, kuwanon,
quercetin, quercitrin, moracetin, morin, rutin), ส า ร ใ น ก ลุ่ ม คู ม า ริ น ( ไ ด้ แ ก่ bergapten, marmesin,
scopoletin, umbelliferone), สารในกลุ่มลิกแนน (ได้แก่ broussonin A, broussonin B) (8)
เปลือกรากของต้นหม่อน พบว่ามีสาร betulinic acid, mulberrin, mulberro-chromene, -amyrin,
cyclomulberrin, cyclomulberrochromene, undecaprenol, dode -caprenol, ยาง, น้ าตาลกลู โ คส เป็ น
ต้น (9)
กิ่งหม่อน พบว่ามีสาร morin, maclurin, 4-tetrahydroxybenzophenone, กลูโคส adenine เป็นต้น
(9)
เนื้อไม้พบสาร morin ส่วนลาต้นประกอบไปด้วย steroidal Sapogenin เปลือกพบ α-amyrin (7)
ผลหม่ อ น พบว่ า มี ส าร saccharides ร้ อ ยละ 27, citric acid ร้ อ ยละ 3, กลู โ คส, แทนนิ น , เกลื อ แร่ ,
วิตามินเอ, วิตามินบี, วิตามินซี, แคลเซียม, และ cyanidin เป็นต้น ส่วนเมล็ดหม่อนพบ urease (7,9)

ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา
จากการศึกษาของ Lie และคณะ (2009) (10) ทาการศึกษาผลของสารสกัดของหม่อนด้วยน้า mulberry
water extracts (MWEs) ในการลดระดับไขมันในเลือดในหนูที่ได้รับ high fat/cholesterol diets (HFCD) และ
ให้สารสกัดหม่อนด้วยน้า 1% และ 2% ของ MEWs เป็นระยะเวลานาน 12 สัปดาห์ผลการศึกษาพบว่าหนูที่ได้รับ
สารสกัดหม่อนทั้ง 1% และ 2% สามารถลดระดับ triglyceride, total cholesterol และ LDL ได้มากกว่ากลุ่ม
ควบคุม (p<0.05) และจากการศึกษาของ Yang และคณะ (2009) (11) ศึกษาฤทธิ์ลดไขมันในเลือดของสารสกัด
จากผลหม่อนในหนูที่ได้รับ high fat diet ร่วมกับได้รับผงหม่อนแบบ freeze-dried ผลการศึกษาพบว่าสารพฤกษ
เคมี ที่ พ บในผงหม่ อ นแบบ freeze-dried ได้ แ ก่ total phenolic, total flavonoids, anthocyanins และ
resveratrol ร้อยละ 2.3, 0.39, 0.087 และ 0.03 ตามลาดับ เมื่อติดตามผลการศึกษาที่ 4 สัปดาห์พบว่าหนูกลุ่มที่
ได้รับหม่อนเปรียบเทียบกับกลุ่มที่ไม่ไ ด้รับผลิตภัณฑ์หม่อนสามารถลด triglyceride (0.900.20 vs 1.400.29
mmol/L), total cholesterol (5.520.31 vs 6.590.39 mmol/L) และ LDL (3.580.35 vs 6.330.95
mmol/L) ได้อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติ (p<0.05)
สารสกัดจากใบหม่อนมีคุณสมบัติต้านเชื้อแบคทีเรียได้หลายชนิ ด ได้แก่ Escherichia coli, Neisseria
gonorrheae, Pseudomonas aeruginosa, Proteus vulgaricus, Staphylococcus aureus, Streptococcus
4

faecium แ ล ะ เ ชื้ อ ร า ไ ด้ แ ก่ Aspergillus niger, Aspergillus tamari, Fusarium oxysporum, Penicilium


oxalicum ซึ่งสอดคล้องกับคุณสมบัติของการใช้ใบหม่อนในการแพทย์แผนโบราณที่ใช้รักษาโรคที่เกี่ยวข้องกับการ
ติดเชื้อ ได้แก่ ท้องร่วง ลาไส้ติดเชื้อ โรคผิวหนัง ไข้จากการติดเชื้อ การติดเชื้อในหู เป็นต้น (8)
ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาอื่น ๆ ได้แก่ มีฤทธิ์ขับปัสสาวะ ลดอาการปวดศีรษะ ตัวร้อน เป็นไข้ ไอ เจ็บคอ บารุง
ผิว กาจัดหอยทาก (6) มีฤทธิ์สงบประสาท ลดอาการบวม ยับยั้งเอนไซม์ของเชื้อเอชไอวี มีฤทธิ์ต้านเชื้อรา เชื้อไวรัส
ที่ก่อโรคเริมที่อวัยวะเพศ (8)
ใบหม่อนมีฤทธิ์ช่วยลดระดับน้าตาลในเลือดได้ (9) สารสกัดด้วยน้าและสาร 2-O-R-D-galactopyranosyl-
1-deoxynojirimycin จากใบหม่อนมีฤทธิ์ลดระดับน้าตาลในเลือดของสัตว์ทดลองที่เป็นเบาหวาน และสาร 1-
deoxynojirimycin (DNJ) มีฤทธิ์แรงในการยับยั้งเอนไซม์ α-glucosidase ของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม จึงช่วยยับยั้ง
การย่อยแป้งในอาหาร ทาให้ช่วยลดระดับน้าตาลในเลือด ใบหม่อนจึงมีศักยภาพที่จะนามาใช้ในผู้ป่วยเบาหวาน
และใช้ในการควบคุมน้าหนักได้ (8)
นอกจากฤทธิ์ที่กล่าวมาแล้วข้างต้น Nakagawa และคณะ (2010) (12) ได้ทาการศึกษาเกี่ยวกับสารสาคัญ
ที่พบในใบหม่อนพบว่าเป็นสาร DNJ ซึ่งเป็น azasugars (โครงสร้าง alkaloids ชนิดหนึ่ง) และพบว่า DNJ มีฤทธิ์
ในการยับยั้งการทางานของ α–glucosidase โดยการเข้าไปแย่งจับกับ น้าตาลโมเลกุลคู่ ทาให้ร่างกายไม่สามารถ
ดูดซึมน้าตาลเข้าไปสู่ร่างกายได้ทาให้ร่างกายมีระดับน้าตาลในเลือดที่ลดลง จากการศึกษาของ Nuengchamnong
(2007) (13) ได้ทาการศึกษาการหาปริ มาณของสาร DNJ จากใบหม่อนโดยใช้วิธี liquid chromatography–
tandem mass spectrometry สาร DNJ ถูกแยกได้จากใบหม่อนสกัดโดยใช้ TSKgel Amide-80 column ซึ่งมี
mobile phase คือ 0.1% formic acid ผสมกับ acetonitrile โดยมี flow rate 0.6 mL/min ผลการศึกษาพบว่า
ปริมาณสาร DNJ ที่ได้จากใบหม่อนในแต่ละช่วงอายุของใบมีความแตกต่างกันโดยสาร DNJ จะพบมากที่ยอดอ่อน
ของใบหม่อน

การศึกษาในสัตว์ทดลอง
Naik และคณะ (2008) (14) ได้ทาการศึกษาฤทธิ์ของสารสกัดจากใบหม่อนในหนู Wistar ด้วยการป้อน
สารสกัดจากไปหม่อนในขนาด 400 มิลลิกรัม/กิโลกรัม และ 600 มิลลิกรัม/กิโลกรัม เป็นระยะเวลา 35 วัน จากผล
การศึกษาพบว่าการป้อนด้วยสารสกัดจากใบหม่อนในขนาด 600 มิลลิกรัม/กิโลกรัม มีผลลดระดับ FBS และ
HbA1C ได้อย่างมีนัยสาคัญ (p<0.05) นอกจากนี้ยังพบว่า มีการลดลงของ total cholesterol, LDL, VLDL อย่าง
มีนัยสาคัญทั้งสองกลุ่ม (p<0.05) เมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุม อย่างไรก็ดีจากการศึกษาก็ยังไม่พบความแตกต่างใน
การเพิ่มขึ้นของไขมัน HDL
และจากการศึกษาของ Kyung-Don (2010) (15) ที่ทาการศึกษาฤทธิ์ของ DNJ เทียบกับ ยา acarbose
และ valglibose ในสั ต ว์ ท ดลองท าการศึ ก ษาโดยการป้ อ นน้ าตาล sucrose และ maltose ซึ่ ง เป็ น potent
substrate ของเอนไซม์ α– glucosidase และทาการวัดค่า IC50 ในการยับยั้งเอนไซม์ α– glucosidase ซึ่งจาก
ผลการศึ ก ษาพบว่ า DNJ, acarbose, และ volglibose ต่ า งมี ฤ ทธิ์ ใ นการยั บ ยั้ ง การท างานของ เอนไซม์ α–
glucosidase ไม่แตกต่างกัน
นอกจากนี้ยังมีการศึกษาที่ได้ศึกษาฤทธิ์ของใบหม่อนในหนูสองสายพันธุ์ ที่ต่างกัน โดย Park และคณะ
(2009) (16) โดยใช้หนูสายพันธุ์ Goto-Kakizaki (GK) rats และสายพันธุ์ Wistar ผลการศึกษาพบว่า การใช้สาร
5

สกัดจากหม่อน (ปริมาณ DNJ 6 มิลลิกรัม/กิโลกรัม) มีผลลดระดับน้าตาลในเลือดหลังรับประทานอาหาร 2 ชั่วโมง


ได้อย่างมีนั ยส าคัญ (p<0.05) ในหนูทั้งสองกลุ่ มเมื่อเทียบกับกลุ่ มควบคุม แต่พบว่ามีผลลดระดับน้าตาลหลั ง
รับประทานอาหาร 2 ชั่วโมง ได้อย่างมีนัยสาคัญในหนูกลุ่ม Wistar (p<0.01) ในขณะที่ไม่พบความแตกต่างกันใน
กลุ่มหนูสายพันธุ์ GK เมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุม
ปัจจุบันยังมีการศึกษาอื่น ๆ ที่ศึกษาเกี่ยวกับฤทธิ์ในการลดระดับน้าตาลในเลือดจากกลไกอื่น ๆ ของสาร
สกัดจากใบหม่อน เช่น การศึกษาของ Mohamadi และคณะ (2014) (17) ซึ่งทาการศึกษาเกี่ยวกับฤทธิ์ของสาร
สกัดจากใบหม่อนต่อระดับของ free testosterone ซึ่งมีผลต่อการสร้าง steroidogenic protein ที่สาคัญ 2 ชนิด
คื อ steroid acute regular protein และ P450 cholesterol side chain enzyme ซึ่ ง คาดว่ า มี ผ ลต่ อ ระดั บ
น้าตาลในเลือด โดยในการศึกษานี้ได้ทาการศึกษาในหนูทดลองพันธุ์ Wistar ซึ่งถูกกระตุ้นให้เป็นเบาหวาน (blood
glucose > 300 มิลลิกรัม/เดซิลิตร) และทาการป้อนสารสกัดจากหม่อนในปริมาณ 1 กรัม/กิโลกรัม/วัน เป็น
ระยะเวลา 8 สัปดาห์ ซึ่งเมื่อจบการศึกษาพบว่า กลุ่มหนูทดลองที่ได้รับสารสกัดจากหม่อนมีระดับน้าตาลในเลือดที่
ลดลงอย่างมีนัยสาคัญ (p=0.008) เมื่อเทียบกับหนูกลุ่มควบคุมที่เป็นเบาหวาน นอกจากนี้ยังพบว่าหนูทดลองมี
ระดับ insulin และ testosterone ที่เพิ่มขึ้น อย่างมีนัยสาคัญ (p=0.03) เมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุม
การศึกษาของ Lee และคณะ (2014) (18) ทาการศึกษาเกี่ยวกับฤทธิ์ของสารสกัดจากใบหม่อนในการลด
ระดับน้าตาลในเลือดจากกลไกการป้องกันการทาลาย -cell ในตับอ่อน ของหนูทดลอง จากผลของการลดการ
เกิด Reactive oxygen species (ROS) ซึ่งมีกลไกกระตุ้นการเกิด apoptosis ของ -cell ในตับอ่อน จากผล
การศึ ก ษาพบว่ า สารสกั ด จากใบหม่ อ นความเข้ ม ข้ น 400 ไมโครกรั ม /มิ ล ลิ ลิ ต ร มี ฤ ทธิ์ ต้ า น DPPH radical
scavenging activity มากกว่าร้อยละ 60 และเพิ่มระดับมากขึ้นตามความเข้มข้น เมื่อให้สารสกัดจากหม่อนขนาด
50 ไมโครกรัม/มิลลิลิตร ขึ้นไป เป็นเวลา 20 ชั่วโมง หลังจากนั้นจึงให้ H2O2 พบว่ากลุ่มที่ได้รับสารสกัดจากหม่อน
มีผลลดการทาลายของ -cell ในตับอ่อน ได้อย่างมีนัยสาคัญเมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุ ม (p<0.05) นอกจากนี้ยัง
พบว่าอัตราการสร้าง ROS ของ -cell ในตับอ่อน ก็ลดลงอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติ (p<0.05) ส่งผลให้การเกิด
apoptosis ใน -cell ก็ลดลงไปด้วยเช่นกัน

การศึกษาทางคลินิก
Zhong และคณะ (2006) (19) ได้ทาการศึกษาฤทธิ์ในการลดการดูดซึมแป้งและไขมันของชาดา ชาเขียว
และชาใบหม่อน เทียบกับกลุ่มควบคุมในอาสาสมัครสุขภาพดี โดยการให้ผู้ป่วยรับประทานชาหลอก (placebo)
ชาดา ชาเขียว หรือชาใบหม่อน คู่กับการรับประทานอาหารที่มี 13C อยู่ด้วย หากผู้ป่วยไม่มีการดูดซึมแป้งหรือ
ไขมันที่มี 13C เป็นส่วนประกอบอยู่ได้ แป้งหรือไขมัน ดังกล่าวจะถูกเปลี่ยนแปลงไปเป็น 13CO2 ซึ่งพบในลมหายใจ
ร่วมกับก๊าซไฮโดรเจน ซึ่งจากผลการศึกษาพบว่า ปริมาณ 13CO2 ในกลุ่มที่ได้รับชาเทียบกับกลุ่มควบคุมในกลุ่มที่
ได้รับคาร์โบไฮเดรตมีระดับเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติ (p=0.014) แต่ในกลุ่มที่รับชาเทียบกับกลุ่มควบคุมใน
กลุ่มที่ได้รับไขมัน พบว่าไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ (p>0.20)
จากการศึกษาของ Choonwatchana และคณะ (2015) (20) เป็นการศึกษารูปแบบ Randomized,
Double-blind, Placebo Control Trial เพื่อศึกษาผลของสารสกัดจากหม่อนโดยควบคุมคุณภาพสารสกัด ใบ
หม่อนด้วยสาร rutin ในกลุ่มตัวอย่างที่มีระดับน้าตาลในเลือดสูง โดยแบ่งกลุ่มตัวอย่างออกเป็น 2 กลุ่มคือ กลุ่ม
ทดลอง (n = 13) ได้รับแคปซูลสารสกัดจากหม่อนขนาด 350 มิลลิกรัม จานวน 2 แคปซูล วันละ 3 ครั้ง เป็น
6

ระยะเวลา 8 สัปดาห์ในขณะที่กลุ่มควบคุม (n = 13) ได้รับแคปซูลแป้งขนาด 350 มิลลิกรัม จานวน 2 แคปซูล วัน


ละ 3 ครั้ง เป็นระยะเวลา 8 สัปดาห์ ผลการศึกษาพบว่าระดับน้าตาล FBS ของผู้ป่วยไม่มีความแตกต่างกั นในกลุ่ม
ทดลองและกลุ่มควบคุม หลังติดตามนาน 8 สัปดาห์ (5.05 ± 0.39 mmol/L, 5.05 ± 0.52 mmol/L ในกลุ่ม
ควบคุมและกลุ่มทดลองตามลาดับ) สอดคล้องกับการศึกษาของ Asai และคณะ (2011) (21) ได้ทาการศึกษาฤทธิ์
ของสาร DNJ ที่สกัดได้จากใบหม่อนซึ่งทาการทดลองในกลุ่มตัวอย่างที่เสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน โดยทาการศึกษา
แบบ randomized, double-blind, crossover trial ซึ่งแบ่งผู้เข้าเป็นกลุ่มที่ได้รับสารสกัดจากใบหม่อนซึ่งมี DNJ
6 มิลลิกรัม 3 ครั้ง/วัน และกลุ่มควบคุมซึ่งได้รับยาหลอก เป็นเวลา 12 สัปดาห์ ในผู้ป่วย 76 คน ซึ่งมีระดับน้าตาล
ในเลือด (FBS) 110-140 mg% ซึ่งจากผลการศึกษาพบว่า สารสกัดจากใบหม่อนมีฤทธิ์ลดระดับน้าตาลในเลือด
หลังรับประทานน้าตาล 2 ชั่วโมง (p=0.006) แต่ไม่พบความแตกต่างกันของระดับน้าตาลในเลือด (FBS, HbA1C,
Insulin level) หลัง 12 สัปดาห์
ในด้านการศึกษาผลของหม่อนต่อการลดระดับน้าตาลในเลือดหลังอดอาหารจากการศึกษาในประเทศไทย
ของ Booranasuksakul และคณะ (2019) (22) ได้ทาการศึกษาผลของการดื่มชาใบหม่อนต่อระดับน้าตาลในเลือด
และความอิ่ม การศึกษานี้เป็นการศึกษาเชิงสุ่มแบบไขว้ในกลุ่มตัวอย่างที่มีสุขภาพดีอายุระหว่าง 20-23 ปี กลุ่ม
ตัวอย่างจะดื่มสารละลายกลูโคสเป็นเวลา 15 นาทีแล้วแบ่งกลุ่มตัวอย่างออกเป็น 2 กลุ่มคือกลุ่มทดลองที่ได้รับชา
ใบหม่อนสายพันธุ์บุรีรัมย์ 60 และกลุ่มควบคุมได้รับน้าอุ่น หลังจากนั้นทาการตรวจวัดระดับน้าตาลในเลือดที่นาทีที่
30, 60, 90 และ 120 ผลการศึกษาพบว่าระดับน้าตาลในเลือดของกลุ่มทดลองมีค่าต่ากว่ากลุ่มควบคุมในนาทีที่ 30
อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติ (p=0.039) แต่อย่างไรก็ตามการศึกษาครั้งนี้ไม่พบความแตกต่างของระดับความอิ่มของ
อาสาสมัครทั้ง 2 กลุ่ม ซึ่งจากการศึกษาก่อนหน้านี้พบว่าใบหม่อนมีแนวโน้มที่จะเพิ่มระดับความอิ่มได้ ซึ่งเป็นผล
มาจากการทางานของสาร gamma-aminobutyric acid (GABA) ซึ่งเป็นสารสื่อประสาทที่ช่วยเพิ่มความอิ่มและ
ลดความอยากอาหาร (23) การศึกษาของ Banu และคณะ (2014) (24) ได้ทาการศึกษาผลของชาจากใบหม่อน ใน
ผู้ ป่ ว ยเบาหวานชนิ ด ที่ 2 ที่ มี ร ะดั บ น้ าตาลหลั ง รั บ ประทานอาหารสู ง ผิ ด ปกติ (PPG) การศึ ก ษานี้ มี รู ป แบบ
Randomized Single blind, Placebo Control Trial โดยกลุ่มกลุ่มทดลอง (n=28) ได้รับชาใบหม่อน ปริมาตร
70 มิลลิลิตร พร้อมกับการรับประทานอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรต 9.12 กรัม ส่วนกลุ่มควบคุม (n = 20) ได้รับชา
(Camellia sinensis) พร้อมกับการรับประทานอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรต 9.12 กรัม แล้ววัดระดับน้าตาลในเลือดที่
เวลา 90 นาที ผลการศึ ก ษาพบว่ า ระดั บ น้ าตาลในเลื อ ดหลั ง การอดอาหาร 8 ชั่ ว โมง FBS มี ค่ า เท่ า กั บ
178.55±35.61 และ 153.5048.10 มิลลิกรัม/เดซิลิตรในกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลองตามลาดับ (p=0.055)
ส่วนระดับน้าตาลในเลือดเฉลี่ยหลังจากจากรับประทานอาหาร 90 นาที ลดลงอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติ (p=0.001)
โดยมี PPG ที่ 90 นาที เป็น 287.2056.37 และ 210.2158.73 มิลลิกรัม/เดซิลิตรในกลุ่มควบคุมและกลุ่ม
ทดลองตามลาดับ
นอกจากนี้ Sukriket และคณะ (2014) (25) ศึกษาผลของชาใบหม่อนต่อระดับกลูโคสและอินซูลินในเลือด
ในผู้ที่ไม่เป็นเบาหวาน และประเมินความรุนแรงของอาการไม่พึงประสงค์ที่อาจเกิดขึ้นหลังจากการดื่มชาใบหม่อน
คู่กับสารละลายซูโครสโดยกลุ่ม ทดลองได้รับใบหม่อน 2 กรัมชงในน้าอุ่น 100 มิลลิลิตร ทิ้งไว้ 12 นาทีจึงค่อย
รับประทาน จากนั้น 30 นาที จึงให้รับประทาน 75 กรัมของ ซูโครส ในน้าอุ่น 150 มิลลิลิตรส่วนกลุ่มควบคุมได้รับ
ชาหลอกชงกับน้าอุ่น 100 มิลลิลิตรที่มีลักษณะคล้ายกันกับกลุ่มทดลอง ทิ้งไว้ 12 นาที จึงค่อยรับประทาน จากนั้น
30 นาที จึงให้รับประทาน 75 กรัมของ ซูโครส ในน้าอุ่น 150 มิลลิลิตร แล้วจึงตรวจวัดระดับน้าตาลในเลือดที่เวลา
7

30, 90, 120, 150 นาที ผลการศึกษาพบว่าระดับน้าตาลในเลือดเฉลี่ ยหลังจากรับประทานน้าตาล 30 นาที


(∆PPG30 = 655.5 และ 485.0 มิลลิกรัม/เดซิลิตรในกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลองตามลาดับ) ลดลงอย่างมี
นัยสาคัญทางสถิติ (P = 0.04) ในขณะที่ช่วงเวลาอื่น ๆ ไม่พบความแตกต่างกัน (∆PPG60 = 869 และ 746
∆PPG90 = 75±5 และ 64±9.5 ∆PPG120 = 40±5 และ 35±5 มิลลิกรัม/เดซิลิ ตรในกลุ่มควบคุมและกลุ่ ม
ทดลอง ตามลาดับ)
แต่จากการศึกษาของ Thaipitakwong และคณะ (2020) (4) ทาการศึกษาผลของหม่อนในการลดน้าตาล
ในเลือด โดยทดสอบประสิทธิผลของหม่อนที่มีขนาดของ DNJ ขนาด 6, 12 และ 15 มิลลิกรัม เปรียบเทียบกับกลุ่ม
ควบคุม ผลการศึกษาพบว่าหม่อนสามารถลดระดับของน้าตาลในเลือดหลังอดอาหาร 8 ชั่วโมง น้าตาลในเลือด
สะสม (HbA1C) อย่ างมีนั ย ส าคั ญ ทางสถิ ติ รวมทั้งสามารถลดการดื้ อต่ อ อิ น ซูลิ น ได้ แต่ ไ ม่ มีนั ยส าคัญ ทางสถิ ติ
(p=0.057)
นอกจากนี้จากการศึกษาที่ผ่านมายังพบว่า DNJ มีฤทธิ์ในการลดระดับไขมันในเลือดจากฤทธิ์ของการเพิ่ม
การ expression ของ adiponectin mRNA ในเนื้ อ เยื่ อ ไขมั น สะสมสี ข าว มี ผ ลท าให้ มี ร ะดั บ adiponectin
plasma เพิ่มขึ้น และจากฤทธิ์ของการกระตุ้นการทางานของ -oxidation จากทั้งสองกลไกมีผลทาให้ล ดการ
สร้างไขมันในตับ เป็นผลทาให้ลดระดับไขมันในเลือดได้ ในด้านของผลข้างเคียงพบว่าสารสกัดจากใบหม่อนไม่มี
ผลข้างเคียงต่อตับและผลข้างเคียงอื่น ๆ ทั้งจากการศึกษาในคนและสัตว์ (26)
จากการทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบและวิเคราะห์อภิมานของ Phimarn และคณะ (2017) (27) มี
วัตถุประสงค์เพื่อประเมินประสิทธิของหม่อนต่อการลดระดับน้าตาลในเลือด โดยคัดเฉพาะการศึกษาทางคลินิก เชิง
สุ่มที่มีกลุ่มควบคุม (RCT) ผลการศึกษาพบว่ามีงานวิจัยที่ผ่านเกณฑ์การคัดเข้าจานวน 13 การศึกษา ผลการศึกษา
พบว่าหม่อนชนิดรับประทานสามารถลดน้าตาลในเลือดหลังรับประทาน (PPG) ที่ 30, 60 และ 90 นาทีได้อย่างมี
นัยสาคัญทางสถิติเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มที่ได้รับยาหลอก โดยไม่พบความแตกต่างระหว่างหม่อนกับยาหลอกต่อ
ผลลัพธ์ด้าน FBS, HbA1C และ HOMA-IR ในด้านอาการไม่พึงประสงค์การศึกษานี้ไม่พบอาการไม่พึงประสงค์ที่
รุนแรงและอุบัติการของการเกิดอาการไม่พึงประสงค์ไม่แตกต่างกันระหว่างกลุ่มที่ได้รับผลิตภัณฑ์จากหม่อนหรือยา
หลอก

การศึกษาความเป็นพิษ
จากการศึกษาความเป็นพิษของหม่อนทั้งความเป็นพิษแบบเฉียบพลัน (acute toxicity) และแบบเรื้อรัง
(chronic toxicity) พบว่าหม่อนมีความเป็นพิษค่อนข้างน้อยโดยจากผลการศึกษาความเป็นพิษแบบเฉียบพลันของ
ผลหม่อน ในหนู ขาวที่ได้รั บ สารสกัดส่ ว นน้าของผลหม่อนในขนาด 2,000 ต่อน้าหนักตัว (กิโ ลกรัม) โดยการ
รับประทาน เป็นระยะเวลานาน 14 วันผลการศึกษาพบว่าสารสกัดส่วนน้าของผลหม่อนไม่มีความเป็นพิษแบบ
เฉียบพลัน ส่วนผลการศึกษาความเป็นพิษกึ่งเรื้อรัง (sub-chronic toxicity) ในหนูสายพันธุ์ Wistar ที่ได้รับสาร
สกัดหยาบส่วนน้าของผลหม่อนในขนาด 2, 10 และ 500 มิลลิกรัมต่อน้าหนักตัว (กิโลกรัม) โดยการรับประทาน
เป็นเวลานาน 90 วัน ผลการศึกษาไม่พบความเป็นพิษแบบกึ่งเรื้อรังของสารสกัดของหม่อนในขนาดต่าง ๆ โดยการ
ประเมิน ค่าทางโลหิ ตวิทยาและพฤติกรรมของหนูซึ่งหนูส ามารถทากิจกรรมต่าง ๆ ได้ตามปกติ (28) แต่จาก
การศึกษาของ Subsung และคณะ (2004) (29) ได้ทาการศึกษาความเป็นพิษของหม่อนในหนูโดยการฉีดสารสกัด
น้าจากใบหม่อนในขนาด 1.66, 3.33, 5.00 และ 6.66 กรัมต่อน้าหนักตัว (กิโลกรัม) ทางช่องท้องผลการศึกษา
8

พบว่าสารสกัดขนาด 5.00 และ 6.66 กรัมทาให้หนูทดลองตายร้อยละ 50 (LD50) นอกจากนี้การศึกษาครั้งนี้ได้


ทดลองโดยให้สารสกัดจากใบหม่อนทางปากด้วย ผลการศึกษาพบว่าเมื่อให้สารสกัดใบหม่อนทางปากไม่มีหนูตาย
ระหว่างการทดลอง แต่หนูจะมีอาการผิดปกติคือ ซึม เคลื่อนไหวช้าลง จากรายงานความเป็นพิษดังกล่าวแสดงให้
เห็นว่าการใช้สารสกัดจากใบหม่อนเมื่อให้ โดยการรับประทานนั้นพบความเป็นพิษได้น้อยทั้งนี้อาจเกิดจากเมื่อ
รับประทานสารสกัดจากหม่อน จะต้องถูกดูดซึมจากระบบทางเดินอาหารเข้าสู่กระแสเลือดหลังจากนั้นจะถูก
เปลี่ยนแปลงที่ตับซึ่งอาจจะทาให้ความเป็นพิษของสารสกัดจากหม่อนลดลง (30)
การเกิดอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้หม่อนชนิดรับประทาน จากการศึกษาทางคลินิกก่อนหน้านี้ (4)
พบว่ากลุ่มที่ได้รับผลิตภัณฑ์จากหม่อนจะเกิดอาการไม่พึงประสงค์ต่อระบบทางเดินอาหารได้แก่มีลมในท้อง แน่น
ท้อง ท้องเสีย ซึ่งอาการต่อระบบทางเดิน อาหารดังกล่าวอาจเกิดจากใบหม่อนเมื่อรับ ประทานจะถูกหมั กโดย
แบคทีเรียในลาไส้ (intestinal bacterial fermentation) ทาให้เกิดอาการไม่พึงประสงค์ดังกล่าวขึ้น โดยอาการจะ
ขึ้นกับขนาดที่ผู้ป่วยได้รับกล่าวคือหากได้รับในขนาดสูงจะมีอุบัติการของการเกิดเพิ่มมากขึ้น แต่อย่างไรก็ตาม
อาการดังกล่าวเป็นอาการที่ไม่รุนแรงและผู้ป่วยสามารถทนต่ออาการดังกล่าวได้

บทสรุป
จากการทบทวนงานวิจัยที่ผ่านมากในพบว่าผลิตภัณฑ์จากหม่อนโดยเฉพาะอย่างยิ่งใบหม่อนสามารถช่วย
ลดระดับน้าตาลในเลือดหลังรับประทานอาหารได้อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติ แต่ไม่สามารถลดระดับน้าตาลในเลือด
หลังอดอาหาร 8 ชั่วโมง (FBS) และระดับน้าตาลในเลือดสะสม (HbA1C) รวมถึงลดภาวะดื้อต่ออินซูลินได้ ซึ่งฤทธิ์
ลดน้าตาลในเลือดหลังรับประทานอาหารของหม่อนเกิดจากสาร DNJ ซึ่งพบมากในส่วนของใบหม่อนมีฤทธิ์เป็น
-glucosidase inhibitor ช่วยลดระดับน้าตาลในเลือดได้ รูปแบบของหม่อนที่มีการศึกษากันมากได้แก่ รูปแบบ
ชาชง ดื่มหลังรับประทานอาหารและการศึกษาส่วนใหญ่ไม่ได้ระบุปริมาณสารสาคัญไว้อย่างชัดเจน ดังนั้นการใช้
ผลิตภัณฑ์จากหม่อนควรเป็นการใช้เสริมเพื่อช่วยควบคุมระดับน้าตาลในเลือดให้ได้ตามเป้าหมายหรือใช้ในผู้ที่มี
ความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวาน ในด้านการเกิดพิษและอาการไม่พึงประสงค์พบว่าไม่พิษที่รุ นแรงทั้ ง แบบ
เฉียบพลันและเรื้อรังจากการทดลองในสัตว์ทดลองและผลจากการทดลองทางคลินิกก็ไม่พบอาการไม่พึงประสงค์ที่
รุนแรงจากการรับประทานหม่อน

เอกสารอ้างอิง
1. Zheng Y, Ley SH, Hu FB. Global aetiology and epidemiology of type 2 diabetes mellitus
and its complications. Nat Rev Endocrinol 2018;14(2):88–98.
2. Jeong HI, Jang S, Kim KH. Morus alba L. for blood sugar management: a systematic review
and meta-analysis. Tonelli F, editor. Evidence-Based Complement Altern Med 2022
23;2022:1–10.
3. Nguyen CT, Lee AH, Pham NM, Do V Van, Ngu ND, Tran BQ, et al. Habitual tea drinking
associated with a lower risk of type 2 diabetes in Vietnamese adults. Asia Pac J Clin Nutr.
2018;27(3):701–6.
4. Thaipitakwong T, Supasyndh O, Rasmi Y, Aramwit P. A randomized controlled study of
9

dose-finding, efficacy, and safety of mulberry leaves on glycemic profiles in obese


persons with borderline diabetes. Complement Ther Med 2020;49:102292.
5. นิจศิริ เรืองรังษี ธม. สมุนไพรไทย เล่ม 1. 1st ed. กรุงเทพมหานคร: ฐานการพิมพ์ จากัด; 2557.
6. สุดารัตน์ หอมหวน. หม่อน. ฐานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. 2014.
7. จุไรรัตน์ เกิดดอนแฝก. สมุนไพรลดไขมันในเลือด 140 ชนิด. พิมพ์ครั้ง. กรุงเทพมหานคร: เซเว่น พริ้นติ้ง;
2553. 194 –195 p.
8. วิรัตน์ สงวนชาติ. สวนพฤกษศาสตร์คลองไผ่, สานักงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจาก
พระราชดาริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี [Internet]. 2020. Available from:
http://www.rspg.or.th/plants_data/kp_bot_garden/kpb_20-3.htm.
9. วิทยา บุญวรพัฒน์. สารานุกรมสมุนไพรไทย-จีน ที่ใช้บ่อยในประเทศไทย. กรุงเทพมหานคร: พิมพลักษณ์;
2554. 618 p.
10. Liu L-K, Chou F-P, Chen Y-C, Chyau C-C, Ho H-H, Wang C-J. Effects of mulberry (Morus
alba L.) extracts on lipid homeostasis in vitro and in vivo. J Agric Food Chem 2009
26;57(16):7605–11.
11. Yang X, Yang L, Zheng H. Hypolipidemic and antioxidant effects of mulberry (Morus alba
L.) fruit in hyperlipidaemia rats. Food Chem Toxicol 2010;48(8–9):2374–9.
12. Nakagawa K, Ogawa K, Higuchi O, Kimura T, Miyazawa T, Hori M. Determination of
iminosugars in mulberry leaves and silkworms using hydrophilic interaction
chromatography–tandem mass spectrometry. Anal Biochem 2010;404(2):217–22.
13. Nuengchamnong N, Ingkaninan K, Kaewruang W, Wongareonwanakij S, Hongthongdaeng B.
Quantitative determination of 1-deoxynojirimycin in mulberry leaves using liquid
chromatography–tandem mass spectrometry. J Pharm Biomed Anal. 2007 Aug;44(4):853–
8.
14. Naik P, Mohammadi J. Evaluation of hypoglycemic effect of Morus alba in an animal
model. Indian J Pharmacol 2008;40(1):15.
15. Kyung-Don K, Shizuo GK, Koichi S S-IS. Comparative analysis of α-glucosidase activity in
Bombyx mori and Antheraea yamamai. Int J Indust Entomol 2010;21(2):163–7.
16. Park JM, Bong HY, Jeong HI, Kim YK, Kim JY, Kwon O. Postprandial hypoglycemic effect of
mulberry leaf in Goto-Kakizaki rats and counterpart control Wistar rats. Nutr Res Pract
2009;3(4):272.
17. Hajizadeh MR, Eftekhar E, Zal F, Jafarian A, Mostafavi-Pour Z. Mulberry leaf extract
attenuates oxidative stress-mediated testosterone depletion in streptozotocin-induced
diabetic rats. Iran J Med Sci 2014;39(2):123–9.
18. Lee J, Kim Y, Park J, Ha S-J, Kim Y, Baek N, et al. Mulberry fruit fxtract protects pancreatic
β-Cells against hydrogen peroxide-induced apoptosis via Antioxidative Activity. Molecules
10

2014;19(7):8904–15.
19. Zhong L, Furne JK, Levitt MD. An extract of black, green, and mulberry teas causes
malabsorption of carbohydrate but not of triacylglycerol in healthy volunteers. Am J Clin
Nutr 2006;84(3):551–5.
20. Choonwatchana N. Effect of mulberry leaf extract capsule on blood lipid profile of
dyslipidemic patients. Mahasarakham University; 2015.
21. Asai A, Nakagawa K, Higuchi O, Kimura T, Kojima Y, Kariya J, et al. Effect of mulberry leaf
extract with enriched 1-deoxynojirimycin content on postprandial glycemic control in
subjects with impaired glucose metabolism. J Diabetes Investig 2011;2(4):318–23.
22. Booranasuksakul U, Singhato A, Rueangsri N PP. Effects of mulberry (Morus alba) leaf tea
on blood glucose and satiety in healthy subjects. Srinagarind Med J 2019;34(3):237–42.
23. Jeong JH, Lee NK, Cho SH, Jeong DY, Jeong Y-S. Enhancement of 1-deoxynojirimycin
content and α-glucosidase inhibitory activity in mulberry leaf using various fermenting
microorganisms isolated from Korean traditional fermented food. Biotechnol Bioprocess
Eng 2014;19(6):1114–8.
24. Banu S, Jabir NR, Manjunath NC, Khan MS, Ashraf GM, Kamal MA, et al. Reduction of post-
prandial hyperglycemia by mulberry tea in type-2 diabetes patients. Saudi J Biol Sci 2015
;22(1):32–6.
25. Sukriket P, Lookhanumanjao S BA. The effect of mulberry leaf tea on postprandial
glycemic control and insulin sensitivity in pre-diabetic and non-diabetic subjects
[Internet]. 2014. Available from: http://www.mfu.ac.th/school/anti-
aging/File_PDF/Research_PDF55/Proceeding_15.pdf
26. Li Q, Wang Y, Dai Y, Shen W, Liao S, Zou Y. 1-Deoxynojirimycin modulates glucose
homeostasis by regulating the combination of IR-GlUT4 and ADIPO-GLUT4 pathways in
3T3-L1 adipocytes. Mol Biol Rep 2019;46(6):6277–85.
27. Phimarn W, Wichaiyo K, Silpsavikul K, Sungthong B, Saramunee K. A meta-analysis of
efficacy of Morus alba Linn. to improve blood glucose and lipid profile. Eur J Nutr 2017
14;56(4):1509–21.
28. Wattanathorn J, Thukummee W, Thipkaew C, Wannanond P, Tong-Un T, Muchimapura S,
et al. Acute and subchronic toxicity of mulberry fruits. Am J Agric Biol Sci 2012;7(3):378–
83.
29. Subsung A, Phornchirasilp S, Luanratana O, Sirikulchayanonta V TC. The toxicity study of
Morus alba L. leaf extract. Thai J Pharmacol 2004;26(1):70–4.
30. Sriset Y, Jarukamjorn K CW. Pharmacological activities of Morus alba Linn. IJPS
2016;12(4):14–27.
11

You might also like