You are on page 1of 3

โครงการแก้ปัญหาหมอกควันไฟป่า จังหวัดเชียงใหม่

1. ต้นตอการเกิดปัญหาของไฟป่า
คำอธิบายเกี่ยวกับไฟป่าจาก ส่วนควบคุมไฟป่า สำนักป้องกันปราบปรามและควบคุมไฟป่า กรมอุทยาน
แห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช หมายถึง ไฟที่เกิดขึ้นและลุกลามไปได้โดยอิสระ ปราศจากการควบคุม แล้วเผา
ผลาญเชื้อเพลิงธรรมชาติในป่า โดยมี 2 สาเหตุหลักในการเกิดไฟป่า คือ จาก ธรรมชาติ และฝีมือมนุษย์ ซึ่งจาก
รายงานการเก็บสถิติไฟป่าตั้งแต่ปี พ.ศ. 2528 – 2542 มีสถิติไฟป่าทั้งสิ้น 73,630 ครั้ง พบว่า มีไฟป่าที่เกิดจาก
สาเหตุตามธรรมชาติคือฟ้าผ่าเพียง 4 ครั้ง เท่านั้น
1.1 ไฟป่าจากป่าเต็งรัง -มักเกิดขึ้นระหว่างเดือนธันวาคมถึงเดือนมีนาคม เนื่องจากไฟเป็นตัวจัดการ
โครงสร้างป่าและคัดเลือกพันธุ์ไม้ ต้นฤดูแล้งใบไม้ในป่าเต็งรังจะพร้อมใจกันผลัดใบเปลี่ยนสีของใบ
จากนั้นจะสลัดใบทิ้งจนหมดกลายเป็นเชื้อเพลิงชั้นดี หลังจากไฟผ่านไป พื้นป่าจะโล่งเตียน แต่เมื่อ
ได้รับน้ำฝน ป่าเต็งรังก็จะกลับเขียวสดขึ้นอีกครั้งด้วยหญ้าระบัด ดึงดูดสัตว์กินพืชหลายชนิดเข้ามา
สาเหตุไฟป่าส่วนใหญ่ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาตินั้น มักเกิดขึ้นบริเวณทางตอนบนของประเทศ เช่ น
ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ข้อมูลจาก พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ อพวช. ระบุถึงสาเหตุที่
ภาคเหนือต้องประสบปัญหาไฟป่าทุกปีเอาไว้ว่า ด้วยภูมิศาสตร์ของภาคเหนือส่วนใหญ่เป็นภูเขาสูง
และมีที่ราบคล้ายแอ่งกระทะ ลักษณะของป่าแตกต่างจากพื้นที่อื่นๆ และเมื่อเข้าสู่ฤดูร้ อน ใบไม้แห้ง
จะกลายเป็นเชื้อเพลิงอย่างดี เมื่อเกิดไฟป่า การพัดพาของลมจะทำให้ไฟลุกติดได้ง่ายและไกลขึ้น
และด้วยสภาพอากาศที่ไม่ถ่ายเท ยิ่งทำให้ฝุ่นควันมีเพิ่มมากขึ้น
1.2 ปัจจุบัน ไฟป่าไม่ได้ไหม้อยู่แค่ในบริเวณป่าเต็งรังเท่านั้น แต่ลุกลามเข้าไปสู่ป่าประเภทอื่น ๆ ที่ ไม่ได้
ปรับตัวกับไฟมาเป็นเวลานาน เช่น ป่าดิบเขาหรือป่าดิบแล้ง ซึ่งป่าชนิดนี้ไม่เกิดไฟป่าตามธรรมชาติ
ซึ่งการเกิดไฟป่ากับป่าดิบเขาหรือป่าดิบแล้งน่าจะมาจากสาเหตุ 2 ประการ
1.2.1 การเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศโลก เมื่ออุณหภูมิของโลกสูงขึ้น เกิดความแห้งแล้ง ทำให้
เกิดไฟป่าได้ง่ายขึ้น
1.2.2 การเพิ่มขึ้นของจำนวนประชากรทำให้มีการรุกล้ำเข้าไปในพื้นที่ป่ามากขึ้น ซึ่งไฟป่าที่มี
สาเหตุจากคนเรานั้นสามารถแยกออกเป็น 3 ลักษณะสำคัญ คือ
1.1.2.1 หาของป่า เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดไฟป่ามากที่สุด การเก็บหาของป่าส่วนใหญ่ การ
จุดไฟส่วนใหญ่เพื่อให้พื้นป่าโล่ง เดินสะดวก หรือให้แสงสว่างในระหว่างการเดิน
ทางผ่านป่าในเวลากลางคืน หรือจุดเพื่อกระตุ้นการงอกของเห็ด หรือกระตุ้นการ
แตกใบใหม่ หรือจุดเพื่อไล่ตัวมดแดงออกจากรัง รมควันไล่ผึ้ง หรือไล่แมลงต่างๆ
ในขณะที่อยู่ในป่า
1.1.2.2 เผาไร่ เป็นสาเหตุที่สำคัญรองลงมา การเผาไร่ก็เพื่อกำจัดวัชพืชหรือเศษซากพืช
ที่เหลืออยู่ภายหลังการเก็บเกี่ยว ทั้งนี้เพื่อเตรียมพื้นที่เพาะปลูกในรอบต่อไป
ทั้งนี้โดยปราศจากการทำแนวกันไฟและปราศจากการควบคุม ไฟจึงลามเข้าป่าที่
อยู่ในบริเวณใกล้เคียง ชาวบ้านที่อาศัยในพื้นที่สูงในภาคเหนือส่วนใหญ่ ทำ
เกษตรเชิงเดี่ยว จะเผาป่าเพื่อเริ่มทำการเกษตรครั้งใหม่ หรือพืชบางชนิดอาจ
ต้องใช้ไฟเพื่อช่วยในการเจริญเติบโตหรือผลัดเปลี่ยน เช่น ช่วยให้ผักหวานแตก
ยอดหรือเห็ดเผาะเมื่อมีต้นไม้และหญ้าขึ้นคลุมผิวดินมากๆ จะไม่สามารถขึ้นได้
และยากต่อการหา จึงทำให้ชาวบ้านมีความเชื่อว่าเมื่อเผาป่าจะหาของป่าได้ง่าย
ขึ้น ปัญหานี้จึงอยู่คู่กับภาคเหนือมาตลอด บางครั้งไฟป่าอาจเกิดขึ้นเอง หรือจาก
น้ำมือมนุษย์ เพียงแค่ไฟเพียงจุดเดียว สามารถลุกลามไปเป็นหลายร้อยไร่
ภายในระยะเวลาไม่กี่วัน
1.1.2.3 แกล้งจุด ทั้งในแง่ของความคึกคะนอง และในกรณีที่ ประชาชนในพื้นที่มีปัญหา
ความขัดแย้งกับหน่วยงานของรัฐในพื้นที่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาเรื่องที่ทำกิน
หรือข้อกระทำผิดเกี่ยวกับป่าไม้

2. ปัญหากระทบของไฟป่า
ปัญหาฝุ่นควันในเชียงใหม่ เป็นปัญหาระดับชาติที่เรื้อรังมากว่า 10 ปีแล้ว นอกจากปัญหาจะไม่ได้รับการ
แก้ไขแล้ว สถานการณ์ยังดูเหมือนจะแย่ลงอีกด้วยเมื่อค่าดัชนีคุณภาพอากาศของ จ. เชียงใหม่ พุ่งสูงเป็นอันดับ
หนึ่งของโลกในช่วงเดือนมีนาคม 2562 และกลับมาพุ่งสูงอีกด้วยค่าฝุ่น PM 2.5 ที่สูงถึงหลัก 1,000 ไมโครกรัม
ต่อลูกบาศก์ เ มตรเมื ่ อวัน ที ่ 28 มี. ค.2564จากการวั ด ของศูน ย์ ข ้ อ มูล การเปลี ่ย นแปลงสภาพภู ม ิ อ ากาศ
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ทำให้เชียงใหม่กลับมามีชื่อเสียงระดับโลกอีกครั้งในฐานะ "เมืองที่มีคุณภาพอากาศแย่
ที่สุดในโลก" ซึ่งค่ามลภาวะทางอากาศทั้งจากปัญหาหมอกควัน และค่าฝุ่น PM2.5 นั้นแปรผันตามกันอย่างมี
นัยยะสำคัญ ทั้งจากสถานการณ์ไฟป่าเชียงใหม่ที่พื้นที่ สะเมิงในวันที่ 30 มีนาคม 2564 กับรายงานจุดความ
ร้อน จาก สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) : GISTDA พบว่า มีความ
เชื่อมโยงกัน คือ พื้นที่จุดความร้อนที่พบนั้นจะประกอบไปด้วย พื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ พื้นที่เกษตรกร ป่า
อนุรักษ์ เขต สปก. ชุมชน และอื่นๆ เป็นต้น
2.1 เกิดปัญหาคุณภาพอากาศ มีหมอกควันในจังหวัดภาคเหนือ เกิดปัญหาด้านมลพิษฝุ่นควัน โดยใน
ภาพรวมภาคเหนื อ มี ค ่ า PM 2.5 ระหว่ า ง 36 – 275 ไมโครกรั ม ต่ อ ลู ก บาศก์ เ มตร, ค่ า PM 10
ระหว่าง 52 – 292 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร และค่า AQI ระหว่าง 28 – 385 ไมโครกรัมต่อ
ลูกบาศก์เมตรซึ่งมีค่าเกินมาตรฐาน
2.2 ผลกระทบต่อสุขภาพของประชากรในระยะยาว ซึ่งข้อมูลจากสาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่ ในช่วง
ระยะเวลา เดือน มกราคม 2564 ถึง มีนาคม 2564 มีผู้ป่วยเข้ารับการรักษาเกี่ยวกับ กลุ่มโรคในด้าน
ทางเดินหายใจ กลุ่มโรคหัวใจ กลุ่มโรคผิวหนัง กลุ่มโรคเยื่อบุดวงตาอักเสบ รวมทั้งสิ้น 31,788 คน

3. แนวทางการแก้ปัญหาทั้งของภาครัฐและเอกชน

You might also like