You are on page 1of 39

การใช้งานโซล่าเซลล์เบื้องต้น

Solar cell Application Basic

โดย

จาริณี จงปลื้มปิติ
พลเทพ เวงสูงเนิน

คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน

จาริณี จงปลื้มปิติ และ พลเทพ เวงสูงเนิน. (2565). การใช้งานโซล่าเซลล์เบื้องต้น. ห้องเรียนวัยเกษียณ.


คำนำ

ตำราการใช้ โ ซล่ า เซลล์ เ บื ้ อ งต้ น (Solar Cell Application Basic) นี ้ ถ ู ก จั ด ทำขึ ้ น จาก
ประสบการณ์การงานทางด้านโซล่าเซลล์ในหลากหลายงาน บวกกับงานวิจัยและหนังสือที่ผู้จัดทำได้มี
โอกาสได้อ่านและนำมาเรียบเรียงเป็นเนื้อหาเพื่อให้ผู้ที่อ่านตำราเล่มนี้ได้สามารถมีความรู้ความเข้าใจ
ในเนื้อหาของการใช้งานโซล่าเซลล์เบื้องต้น
ผู้จัดทำหวังเป็นอย่างยิ่งว่าการเขียนตำราเล่มนี้ขึ้นจะเป็นประโยชน์แก่ผู้ที่สนใจในศาสตร์
ทางด้านนี้ หากเนื้อหาในเล่มมีข้อผิดพลาด หรือควรจะเพิ่มเติมสิ่งใด ผู้อ่านสามารถแจ้งข้อเสนอแนะ
ได้ทางอีเมลล์ Ponthep.ve@rmut.ac.th เพื่อที่จะได้นำเอาข้อเสนอแนะมาใช้ในการปรับปรุงเนื้อหา
ของตำราให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้นและเป็นประโยชน์ในการพัฒนางานทางด้านวิศวกรรมต่อไปในอนาคต

จาริณี จงปลื้มปิติ
พลเทพ เวงสูงเนิน
ผู้จัดทำ

จาริณี จงปลื้มปิติ และ พลเทพ เวงสูงเนิน. (2565). การใช้งานโซล่าเซลล์เบื้องต้น. ห้องเรียนวัยเกษียณ.


สารบัญ
หน้าที่
คำนำ ก
สารบัญ ข
สารบัญตาราง จ
สารบัญรูป ฉ
สารบัญรูป (ต่อ) ช
บทที่ 1. โซล่าเซลล์ 1
1.1. บทนำ 1
1.2. หลักการทำงานของโซลาร์เซลล์ 2
1.3. ชนิดของแผงโซล่าเซลล์ 3
1.3.1 โมโนคริสตัลไลน์ (Monocrystalline Silicon Solar Cells) 3
1.3.2 โพลีคริสตัลไลน์ (Polycrystalline Silicon Solar Cells) 4
1.3.3 แผงโซล่าเซลล์ชนิดฟิล์มบาง (Thin Film Solar Cells) 4
1.4. โซล่าเซลล์กับการเกษตร 5
1.5. จุดเด่นและจุดด้อยของการใช้โซล่าเซลล์ 5
1.5.1 จุดเด่น 5
1.5.2 จุดด้อย 6
บทที่ 2. ไฟฟ้าเบื้องต้น 7
2.1. บทนำ 7
2.2. ประเภทของไฟฟ้า 7
2.3. ไฟฟ้ากระแสตรง 7
2.4. ไฟฟ้ากระแสสลับ 8
2.5. การคำนวณทางไฟฟ้า 8
2.6. การอ่านฉลากไฟฟ้า 10
บทที่ 3. การติดตั้งโซล่าเซลล์ 12

จาริณี จงปลื้มปิติ และ พลเทพ เวงสูงเนิน. (2565). การใช้งานโซล่าเซลล์เบื้องต้น. ห้องเรียนวัยเกษียณ.


สารบัญ (ต่อ)
หน้าที่
3.1. บทนำ 12
3.2. อุปกรณ์สำหรับงานโซล่าเซลล์ 12
3.2.1 แผงโซล่าเซลล์ 12
3.2.2 โซล่าชาร์จคอนโทรลเลอร์ (Solar Charge Controller) 12
3.2.3 หลอดแอลอีดี 13
3.2.4 ตัวต้านทาน 13
3.2.5 มัลติมีเตอร์ 14
3.2.6 แบตเตอรี่ 14
3.2.7 เพรียวไซต์อินเวอร์สเตอร์ 16
3.2.8 กริดไทน์อินเวอสเตอร์ 16
3.2.9 ปั๊มน้ำกระแสตรง 17
3.2.10 หลอดไฟกระแสตรง 17
3.2.11 ATS (Automatic transfer switch) 18
3.2.12 SPD (Surge Protective Device) 19
3.2.13 RCCB (Residual Current Circuit Breakers) 19
3.2.14 ELCB (Earth Leakage Circuit Breaker) 20
3.2.15 RCBO (Residual Current Circuit Breakers with Overload
protection) 21
3.3. การต่อแผงโซล่าเซลล์ขนาดเล็กสู่หลอดแอลอีดี 22
3.4. การต่อโซล่าเซลล์แบบอนุกรม 23
3.5. การต่อโซล่าเซลล์แบบขนาน 24
3.6. การต่อแผงโซล่าเซลล์เข้าระบบส่องสว่าง 26
3.7. การต่อแผงโซล่าเซลล์เข้าระบบปั๊มน้ำ 27
3.8. การต่อแผงโซล่าเซลล์เข้าระบบแปลงระบบไฟฟ้า 28

จาริณี จงปลื้มปิติ และ พลเทพ เวงสูงเนิน. (2565). การใช้งานโซล่าเซลล์เบื้องต้น. ห้องเรียนวัยเกษียณ.


สารบัญ (ต่อ)
หน้าที่
3.9. การต่อแผงโซล่าเซลล์เข้าระบบแปลงระบบไฟฟ้า ด้วย grid tie inverter 29
เอกสารอ้างอิง 30
ภาคผนวก 31

จาริณี จงปลื้มปิติ และ พลเทพ เวงสูงเนิน. (2565). การใช้งานโซล่าเซลล์เบื้องต้น. ห้องเรียนวัยเกษียณ.


สารบัญตาราง
หน้าที่
ตารางที่ 3-1 เปรียบเทียบคุณสมบัติอุปกรณ์ป้องกันไฟรั่ว ไฟเกิน ไฟลัดวงจร 21

จาริณี จงปลื้มปิติ และ พลเทพ เวงสูงเนิน. (2565). การใช้งานโซล่าเซลล์เบื้องต้น. ห้องเรียนวัยเกษียณ.


สารบัญรูป
หน้าที่
รูปที่ 1-1 A.E. Becquerel 1
รูปที่ 1-2 Daryl Chapin 2
รูปที่ 1-3 โมโนคริสตัลไลน์ (Monocrystalline Silicon Solar Cells) 3
รูปที่ 1-4 โพลีคริสตัลไลน์ (Polycrystalline Silicon Solar Cells) 4
รูปที่ 1-5 แผงโซล่าเซลล์ชนิดฟิล์มบาง (Thin Film Solar Cells) 5
รูปที่ 1-6 โซล่าเซลล์ในแปลงเกษตร 5
รูปที่ 2-1 Direct Current vs Alternating Current 7
รูปที่ 2-2 ฉลากปั๊มน้ำไฟฟ้ากระแสตรง 10
รูปที่ 2-3 ฉลากเครื่องปรับอากาศ 10
รูปที่ 2-4 ฉลากเครื่องซักผ้า 11
รูปที่ 2-5 ฉลากกาต้มน้ำร้อน 11
รูปที่ 3-1 แผงโซล่าเซลล์ 12
รูปที่ 3-2 โซล่าชาร์จคอนโทรลเลอร์ (Solar Charge Controller) 13
รูปที่ 3-3 หลอดแอลอีดี 13
รูปที่ 3-4 ตัวต้านทาน 14
รูปที่ 3-5 มัลติมีเตอร์ 14
รูปที่ 3-6 แบตเตอรี่ 16
รูปที่ 3-7 เพรียวไซต์อินเวอร์สเตอร์ 16
รูปที่ 3-8 กริดไทน์อินเวอสเตอร์ 17
รูปที่ 3-9 ปั๊มน้ำกระแสตรง 17
รูปที่ 3-10 หลอดไฟกระแสตรง 18
รูปที่ 3-11 สวิทช์สลับแหล่งจ่ายอัตโนมัติ 19
รูปที่ 3-12 อุปกรณ์ป้องกันแรงดันเกินชั่วขณะ 19
รูปที่ 3-13 เครื่องตัดไฟรั่วแบบไม่มีอุปกรณ์ป้องกันกระแสเกิน 20
รูปที่ 3-14 เบรกเกอร์กันดูด 21
รูปที่ 3-15 เครื่องตัดไฟรั่วที่ตัดกระแสลัดวงจรได้ 21
รูปที่ 3-16 การต่อแผงโซล่าเซลล์ขนาดเล็กสู่หลอดแอลอีดี 22
รูปที่ 3-17 การต่อโซล่าเซลล์แบบอนุกรม 2 แผง 23
รูปที่ 3-18 การต่อโซล่าเซลล์แบบอนุกรม 3 แผง 23

จาริณี จงปลื้มปิติ และ พลเทพ เวงสูงเนิน. (2565). การใช้งานโซล่าเซลล์เบื้องต้น. ห้องเรียนวัยเกษียณ.


สารบัญรูป (ต่อ)
หน้าที่
รูปที่ 3-19 การต่อโซล่าเซลล์แบบขนาน 2 แผง 24
รูปที่ 3-20 การต่อโซล่าเซลล์แบบขนาน 3 แผง 25
รูปที่ 3-21 การต่อแผงโซล่าเซลล์เข้าระบบส่องสว่าง 26
รูปที่ 3-22 การต่อแผงโซล่าเซลล์เข้าระบบปั๊มน้ำ 27
รูปที่ 3-23 การต่อแผงโซล่าเซลล์เข้าระบบแปลงระบบไฟฟ้า 28
รูปที่ 3-24 การต่อแผงโซล่าเซลล์เข้าระบบแปลงระบบไฟฟ้า ด้วย grid tie inverter 29

จาริณี จงปลื้มปิติ และ พลเทพ เวงสูงเนิน. (2565). การใช้งานโซล่าเซลล์เบื้องต้น. ห้องเรียนวัยเกษียณ.


1

บทที่ 1. โซล่าเซลล์

1.1. บทนำ
เซลล์แสงอาทิตย์ หรือโซลาร์เซลล์ (solar cell) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้เป็นตัวผลิตพลังงานไฟฟ้าจาก
พลังงานแสงอาทิตย์ ปรากฏการณ์การนำแสงอาทิตย์มาเปลี่ยนเป็นพลังงานไฟฟ้านั้นถูกทดลองขึ้นครั้ง
แรกในปี 1839 โดยนั ก ฟิ ส ิ ก ส์ ช าวฝรั ่ ง เศสที ่ ช ื ่ อ A.E. Becquerel เขานี ่ เ องที ่ เ ป็ น ผู ้ ส ร้ า งเซลล์
แสงอาทิตย์เป็นตัวแรกของโลก

รูปที่ 1-1 A.E. Becquerel


[1]
โดยเซลล์ แ สงอาทิ ต ย์ ช ุ ด แรกของโลกถู ก สร้ า งขึ ้น ในปี 1954 โดย Daryl Chapin, Calvin
Souther และ Gerald Pearson ได้คิดค้นเทคโนโลยีการสร้างรอยต่อ P-N ของผลึกซิลิคอนแบบ
กระจาย จนเกิดเป็นอุปกรณ์ที่สามารถเปลี่ยนพลังงานแสงอาทิตย์เป็นพลังงานไฟฟ้าได้ แต่เดิมการ
ผลิตพลังงานไฟฟ้ารูปแบบนี้ถูกใช้ในการเปลี่ยนพลังงานแสงอาทิตย์เป็นพลังงานไฟฟ้าในด้านอวกาศ
ดาวเทียมเท่านั้น แต่หลังจากนั้นก็ค่อย ๆ พัฒนาต่อยอดให้มีประสิทธิภ าพสูงขึ้น นำมาใช้งานได้
หลากหลายมากขึ้น และมีต้นทุนในการผลิตที่ต่ำลง

จาริณี จงปลื้มปิติ และ พลเทพ เวงสูงเนิน. (2565). การใช้งานโซล่าเซลล์เบื้องต้น. ห้องเรียนวัยเกษียณ.


2

รูปที่ 1-2 Daryl Chapin


[2]
ประเทศไทยมีการใช้ประโยชน์จากพลังงานแสงอาทิตย์มานานแล้ว ในแง่ของการเปลี ่ยน
พลังงานแสงอาทิตย์เป็นพลังงานไฟฟ้า เพิ่งจะเริ่มในปี 2519 โดยมีหน่วยงานกระทรวงสาธารณสุข
และมูลนิธิแพทย์อาสาฯ เป็นผู้ดูแล และเป็นรูปธรรมมากขึ้นเมื่อการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
เริ่มมีการติดตั้งเซลล์แสงอาทิตย์เพื่อผลิตไฟฟ้าในปี 2526 และช่วงท้ายของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 6
(2530-2534) ที่ส่งเสริมอย่างจริงจัง โดยมีกรมพัฒนาและส่งเสริมพลังงาน กรมโยธาธิการ การไฟฟ้า
ส่วนภูมิภาค และการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยเป็นผู้ดูแลหลัก [3]
1.2. หลักการทำงานของโซลาร์เซลล์
กระบวนการผลิตไฟฟ้าจะเกิดขึ้นเมื่อ “แสงอาทิตย์” ซึ่งเป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าชนิดหนึ่ง มี
พลังงานมากระทบกับ “แผงโซลาร์เซลล์” ซึ่งทำขึ้นจากสารกึ่งตัวนำชนิดพิเศษ มีคุณสมบัติในการ
เปลี่ยนพลังงานแสงอาทิตย์ให้เป็นพลังงานไฟฟ้า เกิดการถ่ายเทพลังงานระหว่างกัน จนได้เป็นเป็น
พลังงานไฟฟ้ากระแสตรง ซึ่งเป็นไฟฟ้าที่เราสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ทันที หรือจะเก็บไว้ใน
แบตเตอรี่เพื่อใช้งานภายหลังได้
การทำงานของโซลาร์เซลล์นั้นจะเกิดขึ้นเมื่อโซลาร์เซลล์ถูกแสงแดดตกกระทบ จากนั้นจะผลิต
กระแสไฟฟ้ากระแสตรง (DC) ออกมา เมื่อนำโซลาร์เซลล์หลาย ๆ เซลล์มาต่อวงจรกันจนได้เป็นแผง
โซลาร์เซลล์ ก็จะสามารถผลิตและจ่ายกระแสไฟฟ้าได้มากขึ้น โดยกระแสไฟฟ้าที่ผลิตได้ก็จะแตกต่าง
กันไปตามชนิด ตามประสิทธิภาพที่ระบุเป็นเปอร์เซ็นต์ไว้ รวมถึงยี่ห้อด้วย

จาริณี จงปลื้มปิติ และ พลเทพ เวงสูงเนิน. (2565). การใช้งานโซล่าเซลล์เบื้องต้น. ห้องเรียนวัยเกษียณ.


3

แต่ถ้าจะนำมาใช้กับเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน พลังงานไฟฟ้ากระแสตรงจะเคลื่อนที่ไปยัง
เครื่องแปลงกระแสไฟฟ้า เพื่อทำให้กระแสไฟฟ้ากระแสตรงกลายเป็นกระแสสลับ (AC) ซึ่งเป็น
กระแสไฟฟ้าที่ใช้กันในครัวเรือน จากนั้นจะถูกส่งต่อไปสู่มิเตอร์วัดกระแสไฟฟ้าและหม้อแปลงไฟฟ้า
เพื่อเพิ่มแรงดันและส่งเป็นพลังงานไฟฟ้าเพื่อใช้งานต่อไป

1.3. ชนิดของแผงโซล่าเซลล์
แผงโซล่าเซลล์ (Solar panel หรือ Photovoltaics) คือการนำเอาเซลล์แสงอาทิตย์มารวมให้
อยู่ภายในวงจรเดียวกัน เพื่อผลิตไฟฟ้ากระแสตรงออกมา (DC) ตัวแผงมีลักษณะเป็นแผงสี่เหลี่ยมซึ่ง
สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ชนิด ได้แก่ 1.โมโนคริสตัลไลน์ (Monocrystalline Silicon Solar Cells)
2.โพลีคริสตัล ไลน์ (Polycrystalline Silicon Solar Cells) 3.แผงโซล่าเซลล์ชนิดฟิล์มบาง (Thin
Film Solar Cells) [4] ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
1.3.1 โมโนคริสตัลไลน์ (Monocrystalline Silicon Solar Cells)
แผงโมโนคริส ตัล ไลน์ (Monocrystalline Silicon Solar Cells) ผลิตมาจากผลึ ก
ซิลิคอนเชิงเดี่ยว (mono-Si) หรือบางทีก็เรียกว่า Single Crystalline (single-Si) วิธีสังเกตุง่ายๆ คือ
แต่ละเซลล์จะมีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมตัดมุมทั้งสี่มุม มีสีเข้ม ข้อดีของแผงชนิดนี้คือ มีประสิทธิภาพ
สูงสุด เพราะผลิตมาจากซิลิคอนเกรดที่ดีที่สุด โดยมีประสิทธิภาพในการเปลี่ยนพลังงานแสงอาทิตย์
เป็นกระแสไฟฟ้าเฉลี่ยอยู่ที่ 16-17% ต้องการพื้นที่ในการติดตั้งแผงโซล่าเซลล์น้อยที่สุด และมีอายุ
การใช้งานยาวนานเฉลี่ยประมาณ 25 ปีขึ้นไป ส่วนข้อเสียคงจะเป็นเรื่องของราคานั้นเองเพราะ
คุณภาพที่สูงทำให้ต้องแลกมากับราคาที่สูงเป็นเงาตามตัว อย่างเลี่ยงไม่ได้ ทำให้ในการติดตั้งใช้งาน
บางครั้งถ้าเราเลือกแผงโซล่าเซลล์ชนิดอื่นจะคุ้มค่ามากกว่า

รูปที่ 1-3 โมโนคริสตัลไลน์ (Monocrystalline Silicon Solar Cells)

จาริณี จงปลื้มปิติ และ พลเทพ เวงสูงเนิน. (2565). การใช้งานโซล่าเซลล์เบื้องต้น. ห้องเรียนวัยเกษียณ.


4

1.3.2 โพลีคริสตัลไลน์ (Polycrystalline Silicon Solar Cells)


ผลิตมาจากผลึกซิลิคอน สามารถที่จะนำเอาซิลิคอนเหลวมาเทใส่โมลด์ที่เ ป็นสี่หลี่ยม
ได้เลย ก่อนที่จะนำมาตัดเป็นแผ่นบางอีกที จึงทำให้เซลล์แต่ละเซลล์เป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ไม่มีการตัด
มุม สีของแผงจะออก น้ำเงิน ไม่เข้มมาก ข้อดีคือมีขั้นตอนกระบวนการผลิตที่ง่าย ไม่ซับซ้อนมี
ประสิทธิภาพการใช้งานในที่อุณหภูมิสูงได้ดี และมีราคาถูกกว่า เมื่อเทียบกับชนิดโมโนคริสตัลไลน์
ส่วนข้อเสียนั้นประสิทธิภาพในการเปลี่ยนพลังงานแสงอาทิตย์เป็นกระแสไฟฟ้าโดยเฉลี่ยอยู่ที่ 14-
15% ซึง่ ต่ำกว่าชนิดโมโนคริสตัลไลน์ทำให้มปี ระสิทธิภาพต่อพืน้ ทีต่ ำ่ กว่า

รูปที่ 1-4 โพลีคริสตัลไลน์ (Polycrystalline Silicon Solar Cells)


1.3.3 แผงโซล่าเซลล์ชนิดฟิล์มบาง (Thin Film Solar Cells)
บางทีถูกเรียกว่า แผงโซล่าเซลล์อะมอร์ฟัส คือการนำสารที่สามารถแปลงพลังงาน
จากแสงอาทิตย์ไปเป็นกระแสไฟฟ้า มาฉาบเป็นฟิล์มบางๆ เช่น อะมอร์ฟัส Amorphous silicon (a-
Si), Cadmium telluride (CdTe), Copper indium gallium selenide (CIS/CIGS) และ Organic
photovoltaic cells (OPC) แผ่ น ชนิ ด นี ้ ม ี ป ระสิ ท ธิ ภ าพในการเปลี ่ ย นพลั ง งานแสงอาทิ ต ย์ เ ป็ น
กระแสไฟฟ้าโดยเฉลี่ยอยู่ที่ 7-13% ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับชนิดของวัสดุที่นำมาทำเป็นฟิล์มฉาบ แต่สำหรับ
บ้านเรือนโดยทั่วไปแล้ว ไม่ค่อยนิยมใช้แผงโซล่าเซลล์ชนิดนี้ ข้อดีของแผงโซล่าเซลล์ชนิดนี้คือ มีราคา
ถูก ผลิตได้ง่าย ทนต่ออากาศร้อนได้ดี ข้อเสียที่เห็นได้ชัดคือ มีประสิทธิภาพต่ำมีประสิทธิภาพต่อพื้นที่
ต่ำสิ้นเปลืองค่าโครงสร้างและอุปกรณ์อื่นๆ ไม่เหมาะนำมาใช้ตามหลังคาบ้าน

จาริณี จงปลื้มปิติ และ พลเทพ เวงสูงเนิน. (2565). การใช้งานโซล่าเซลล์เบื้องต้น. ห้องเรียนวัยเกษียณ.


5

รูปที่ 1-5 แผงโซล่าเซลล์ชนิดฟิล์มบาง (Thin Film Solar Cells)


1.4. โซล่าเซลล์กับการเกษตร
การทำการเกษตรจำเป็นต้องใช้แหล่งพลังงานในการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการ
บริหารจัดการน้ำ การเตรียมแปลงเพาะปลูก การเพาะปลูก การเก็บเกี่ยว การแปรรูป เป็นต้น ซึ่งไม่ว่า
จะเป็นกิจกรรมใดหากมีการใช้แรงงานในการดำเนินงานก็สามารถนำเอาแหล่งพลังงานจากโซล่าเซลล์
ไปใช้แทนพลังงานจากฟอสซิลและพลังงานไฟฟ้าจากการไฟฟ้าได้เช่นเดียวกัน

รูปที่ 1-6 โซล่าเซลล์ในแปลงเกษตร


1.5. จุดเด่นและจุดด้อยของการใช้โซล่าเซลล์
1.5.1 จุดเด่น
พลังงานแสงอาทิตย์ เป็นพลังงานที่ไม่มีวันหมดไป และเป็นแหล่งพลังงานที่ ให้
พลังงานไม่จ ำกัด ตราบใดที่ย ังมีแสงอาทิต ย์ส ่อ งมายังโลก โซลาร์เซลล์ก็ยังคงทำงานและผลิ ต
กระแสไฟฟ้าได้

จาริณี จงปลื้มปิติ และ พลเทพ เวงสูงเนิน. (2565). การใช้งานโซล่าเซลล์เบื้องต้น. ห้องเรียนวัยเกษียณ.


6

พลังงานแสงอาทิ ตย์เ ป็น พลัง งานสะอาด กล่าวคือการผลิ ต พลั งงานไฟฟ้ า จาก


พลังงานแสงอาทิตย์ ไม่มีกระบวนการที่ปล่อยมลพิษ ต่างจากกระบวนการผลิตไฟฟ้าจากถ่านหินของ
โรงงานผลิตไฟฟ้า เพราะโซลาร์เซลล์จะเปลี่ยนแสงอาทิตย์มาเป็นไฟฟ้าโดยตรง
ผลิตไฟฟ้าได้หลายขนาด เราอาจคุ้นเคยกับแผงโซลาร์เซลล์ขนาดเล็กที่อยู่บนเครื่อง
คิดเลข หรือแผงโซลาร์เซลล์ขนาดใหญ่มหึมาระดับโรงงาน ก็สามารถผลิตกระแสไฟฟ้ ามาใช้ได้ ขึ้นอยู่
กับจำนวนโซลาร์เซลล์ที่นำมาต่อวงจร
ไม่พึ่งระบบขนส่ง เนื่องจากกระบวนการเปลี่ยนพลังงานแสงอาทิตย์เป็นพลังงานแสง
ไฟฟ้านั้นเปลี่ยนได้บริเวณที่ติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ได้เลย จากนั้นก็ส่งตามวงจรเข้ามาใช้งาน โดยไม่พึ่ง
กระบวนการขนส่ง อย่างพลังงานไฟฟ้าที่ได้จากโรงงานไฟฟ้านั้นจำเป็นต้องขนส่งผ่านสายไฟฟ้าจากที่
หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง เพราะแหล่งผลิตพลังงานไฟฟ้ากับอุปกรณ์ที่ใช้ไฟฟ้านั้นอยู่คนละที่กัน
อายุการใช้งานนาน โดยทั่วไปมีอายุการใช้งานอยู่ราว ๆ 20-25 ปี ซึ่งหากลงทุนใน
ครั้งแรกแล้ว ก็คุ้มค่าในระยะยาว
1.5.2 จุดด้อย
เป็นอุปกรณ์ที่มีต้นทุนค่อนข้างสูงในการเริ่มต้นติดตั้ง ทั้งค่าวัสดุอุปกรณ์ ค่าติดตั้ง
ค่าบำรุงรักษาตามอายุการใช้งาน และการกำจัดเมื่อสิ้นอายุการใช้งาน แต่หากมีการใช้งานจะช่วยลด
ค่าไฟฟ้าลงได้มาก
เป็ น พลั ง งานที ่ ใ ห้ ป ริ ม าณไม่ แ น่ น อน เนื ่ อ งจากใช้ พ ลั ง งานจากแสงอาทิ ต ย์ ม า
เปลี่ยนเป็นพลังงานไฟฟ้า จึงขึ้นอยู่กับความเข้มของแสงอาทิตย์ (ภาษาชาวบ้านก็คือความแรงของ
แดด) และสภาพอากาศ ในวันที่อากาศไม่ดี ไม่มีแดด ฝนตก หมอกลง ปริมาณไฟฟ้าที่ผลิตได้ก็จะ
น้อยลง
ได้พลังงานค่อนข้างต่ำ เพราะความเข้มของพลังงานดวงอาทิตย์ไม่สูงนัก อีกทั้ง
ปริมาณไม่สม่ำเสมอ หากต้องการปริมาณไฟฟ้ามาก ก็ต้องใช้จำนวนโซลาร์เซลล์และพื้นที่ในการติดตั้ง
เพิ่มมากขึ้นเพื่อให้ได้พลังงานที่มากพอ ซึ่งมีผลต่อเรื่องต้นทุน
สะสมพลังงานได้ไม่นาน เพราะกระบวนการเปลี่ยนพลังงานแสงอาทิตย์เป็นพลังงาน
ไฟฟ้าจะเกิดขึ้นเมื่อมีแสงเท่านั้น ฉะนั้นจึงต้องมีอุปกรณ์รองรับเพื่อสลับไปใช้ระบบไฟฟ้าปกติ หรือมี
แบตเตอรี่เพื่อเก็บไว้สำรองใช้ด้วย

จาริณี จงปลื้มปิติ และ พลเทพ เวงสูงเนิน. (2565). การใช้งานโซล่าเซลล์เบื้องต้น. ห้องเรียนวัยเกษียณ.


7

บทที่ 2. ไฟฟ้าเบื้องต้น

2.1. บทนำ
การนำเอาระบบโซล่าเซลล์มาใช้แทนพลังงานไฟฟ้านั้นในเบื้องต้นผู้ใช้งานจำเป็นต้องมีความรู้
ความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องพลังงาน หรือไฟฟ้าเบื้องต้นเพื่ อการใช้งานระบบโซล่าเซลล์ที่สมบูรณ์และ
เหมาะสม พร้อมทั้งหากมีการเสียหายในระบบก็สามารถวินิจฉัยปัญหาและซ่อมบำรุงระบบพื้นฐานได้
2.2. ประเภทของไฟฟ้า
ไฟฟ้ามี 2 ประเภทด้วยกันได้แก่ไฟฟ้ากระแสตรง และไฟฟ้ากระแสสลับ ซึ่งไฟฟ้ากระแสตรง
มักจะถูกนำมาใช้ในระบบที่มีแรงดันต่ำ ส่วนไฟฟ้ากระแสสลับนั้นมักถูกนำมาใช้ในระบบที่มีแรงดันสูง

รูปที่ 2-1 Direct Current vs Alternating Current


[5]
2.3. ไฟฟ้ากระแสตรง
ไฟฟ้ากระแสตรง (อังกฤษ: direct current, อักษรย่อ: DC) เป็นไฟฟ้ากระแสที่มีทิศทางการ
เคลื่อนที่ของกระแสไฟฟ้าไปในทิศทางเดียวกันเป็นวงจร ในอดีตไฟฟ้ากระแสตรงเคยถูกเรียกว่า
กระแสกัล วานิก (galvanic current) [6] อุปกรณ์ที่ส ามารถผลิตไฟฟ้ากระแสตรงได้ เช่น เซลล์
แสงอาทิตย์ แบตเตอรี่ ทั้งชนิดประจุไ ฟฟ้ าใหม่ ได้และชนิด ใช้แล้ว ทิ้ง และเครื่องกำเนิด ไฟฟ้ า
กระแสตรง ไฟฟ้ากระแสตรงสามารถไหลผ่านตัวนำไฟฟ้า เช่น สายไฟ สารกึ่งตัวนำ ฉนวนไฟฟ้า หรือ
แม้กระทั่งเคลื่อนที่ในภาวะสุญญากาศในรูปของลำอิเล็กตรอนหรือลำไอออน
เราสามารถใช้ ตั ว เรี ย งกระแส เปลี ่ ย นไฟฟ้ า กระแสสลั บ ให้ เป็น ไฟฟ้ า กระแสตรงได้ โดย
ส่วนประกอบอิเล็กทรอนิกส์ภายในตัวเรียงกระแสจะบังคับให้กระแสไฟฟ้าไหลผ่านได้ในทิศทางเดียว
นอกจากนี้ยังสามารถเปลี่ยนไฟฟ้ากระแสตรงเป็นไฟฟ้ากระแสสลับได้โดยใช้อินเวอร์เตอร์หรือชุดได
นามอเตอร์

จาริณี จงปลื้มปิติ และ พลเทพ เวงสูงเนิน. (2565). การใช้งานโซล่าเซลล์เบื้องต้น. ห้องเรียนวัยเกษียณ.


8

เครื่องมือวัดทางไฟฟ้าประเภทที่หนึ่งคือ -แอมมิเตอร์ โวลต์มิเตอร์ และโอห์มมิเตอร์ เป็น


เครื่องวัดทางไฟฟ้า เพื่อใช้วัดปริมาณต่างๆ ทางไฟฟ้าเครื่องวัดทางไฟฟ้าต่างๆนี้สามารถสร้างขึ้นโดย
ดัดแปลงมาจาก แกลแวนอมิเตอร์ (Galvanometer) ชนิดขดลวดเคลื่อนที่ ซึ่งประกอบด้วยขดลวด
วางระหว่างขั้วแม่เหล็กและประเภทที่สองคือ-แกลแวนอมิเตอร์ คือเครื่องมือวัดพื้นฐานทางไฟฟ้าที่
สามารถวัดได้ทั้งกระแสไฟฟ้าและความต่างศักย์ไฟฟ้า แต่จะวัดได้ปริมาณน้อยๆ ดังนั้นจึงนิยมนำไป
ดัดแปลงใช้วัดกระแสไฟฟ้าความต่างศักย์ไฟฟ้าและความต้านทาน
2.4. ไฟฟ้ากระแสสลับ
ไฟฟ้ า กระแสสลั บ เป็ น ไฟฟ้ า ที่ น ำมาใช้ ต ามอาคารบ้ า นเรื อ น อาคารพาณิ ช ย์ โรงงาน
อุตสาหกรรม สถานประกอบการ ขนาดแรงดันไฟฟ้า และความถี่ที่ใช้อยู่ตามอาคารบ้านเรือนจะมี
ขนาดแรงดันไฟฟ้า 220 โวลต์ ความถี่ 50 เฮิรตซ์ (220 V / 50 Hz) ส่วนอาคารพาณิชย์ โรงงาน
อุตสาหกรรม สถานประกอบการใช้ขนาดแรงดันไฟฟ้า 380 โวลต์ความถี่50 เฮิรตซ์(380 V / 50 Hz)
สำหรับจ่ายให้เครื่องจักรทำงาน และ 220 โวลต์ 50 เฮิรตซ์ (220 V / 50 Hz) สำหรับจ่ายให้เครื่องใช้
ในสำนักงาน ลักษณะทิศทางการไหลของไฟฟ้ากระแสสลับจะเริ่มไหลจากมุม 0o - 90 o เป็นค่าแรงดัน
สูงสุดทางด้านบวก เรียกแรงดันไฟฟ้าช่วงนี้ว่าโวลต์พีค (Volt Peak) อักษรย่อ (Vp) หลังจากนั้นไหล
จากมุม 90 o - 180 o ครบครึ่งรอบหรือครึ่งไซเคิล (Cycle) แต่ในปัจจุบันนิยมเรียกว่า เฮิรตซ์ (Hertz)
จากนั ้ น จะกลับ ทิศ ทางการไหลจากมุ ม 180 o - 270 o เป็ น ค่ าแรงดั นสู ง สุด ทางด้า นลบ เรี ยก
แรงดันไฟฟ้าช่วงนี้ว่าโวลต์พีค (Volt Peak) อักษรย่อ (Vp) และไหลต่อจากมุม 180 o - 360 o
ครบ 1 รอบหรือ 1 ไซเคิล (1 Hz) ช่วงของแรงดันตั้งแต่มุม 90 o - 270 o เรียกว่า โวลต์พีคทูพีค (
Volt Peak To Peak ) อักษรย่อ ( Vp – p ) การเปลี่ยนแปลงในลักษณะดังที่กล่าวมาเรียกว่า ไซน์
เวฟ (Sine Wave )
2.5. การคำนวณทางไฟฟ้า
สมการที่ใช้เป็นพื้นฐานในการคำนวณทางไฟฟ้าได้แก่สมการที่ (2-1) และ (2-2)
V = IR (2-1)
P = IV (2-2)
โดยที่
V หมายถึงค่าแรงดันไฟฟ้า [V]
I หมายถึงค่ากระแสไฟฟ้า [A]
R หมายถึงค่าความต้านทางไฟฟ้า [Ohm]
P หมายถึงค่ากำลังไฟฟ้า [W]

จาริณี จงปลื้มปิติ และ พลเทพ เวงสูงเนิน. (2565). การใช้งานโซล่าเซลล์เบื้องต้น. ห้องเรียนวัยเกษียณ.


9

ตัวอย่างที่ 2-1
จงคำนวณหาค่าที่ขาดหายไป
ข้อ V I R P
a 0.5 48
b 220 2
c 0.8 28.8
วิธีทำ

ตอบ

จาริณี จงปลื้มปิติ และ พลเทพ เวงสูงเนิน. (2565). การใช้งานโซล่าเซลล์เบื้องต้น. ห้องเรียนวัยเกษียณ.


10

2.6. การอ่านฉลากไฟฟ้า
การอ่านฉลากไฟฟ้านั้นมีความจำเป็นอย่างยิ่งกับผู้ใช้งาน เนื่องจากเป็นพื้นฐานของการประเมิน
ระบบก่อนที่จะเลือกใช้งาน

รูปที่ 2-2 ฉลากปั๊มน้ำไฟฟ้ากระแสตรง

รูปที่ 2-3 ฉลากเครื่องปรับอากาศ

จาริณี จงปลื้มปิติ และ พลเทพ เวงสูงเนิน. (2565). การใช้งานโซล่าเซลล์เบื้องต้น. ห้องเรียนวัยเกษียณ.


11

รูปที่ 2-4 ฉลากเครื่องซักผ้า

รูปที่ 2-5 ฉลากกาต้มน้ำร้อน

จาริณี จงปลื้มปิติ และ พลเทพ เวงสูงเนิน. (2565). การใช้งานโซล่าเซลล์เบื้องต้น. ห้องเรียนวัยเกษียณ.


12

บทที่ 3. การติดตั้งโซล่าเซลล์

3.1. บทนำ
ในการติดตั้งโซล่าเซลล์จำเป็นต้องมีการเลือกใช้อุปกรณ์ที่เหมาะสม เพื่อให้การใช้งานพลังงาน
ทดแทนสามารถใช้ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ และมีความปลอดภัยสำหรับการใช้งาน
3.2. อุปกรณ์สำหรับงานโซล่าเซลล์
3.2.1 แผงโซล่าเซลล์
โซล่าเซลล์ (Solar cell) คืออุปกรณ์ไฟฟ้าชนิดหนึ่ง ที่มีคุณสมบัติสำหรับเปลี่ยน
พลังงานแสงอาทิตย์ให้เป็นพลังงานไฟฟ้า ที่ทำมาจากสารกึ่งตัวนำชนิดพิเศษ โดยกระแสไฟฟ้าที่
สามารถผลิตได้จากเซลล์จะเป็นไฟฟ้ากระแสตรง ซึ่งเราสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ในทันที

รูปที่ 3-1 แผงโซล่าเซลล์


3.2.2 โซล่าชาร์จคอนโทรลเลอร์ (Solar Charge Controller)
โซล่าชาร์จคอนโทรลเลอร์ (Solar Charge Controller) อุปกรณ์ควบคุมการประจุ
แบตเตอรี่ มี 2 ประเภท ได้แก่ PWM (Pulse Width Modulation) และ MPPT (Maximum Power
Point Tracking) ขนาด 10A - 60A และ 12V 24V หรือ 48V ทำหน้าที่ควบคุมประจุกระแสไฟจาก
แผงโซล่าเซลล์ลงสู่แบตเตอรี่ (หรือที่เราเรียกว่าการชาร์จแบตเตอรี่นั่นเอง) สามารถช่วยยืดอายุการใช้
งานของแบตเตอรี่ได้

จาริณี จงปลื้มปิติ และ พลเทพ เวงสูงเนิน. (2565). การใช้งานโซล่าเซลล์เบื้องต้น. ห้องเรียนวัยเกษียณ.


13

รูปที่ 3-2 โซล่าชาร์จคอนโทรลเลอร์ (Solar Charge Controller)


3.2.3 หลอดแอลอีดี
หลอดแอลอีดี

รูปที่ 3-3 หลอดแอลอีดี


3.2.4 ตัวต้านทาน
ตัวต้านทาน

จาริณี จงปลื้มปิติ และ พลเทพ เวงสูงเนิน. (2565). การใช้งานโซล่าเซลล์เบื้องต้น. ห้องเรียนวัยเกษียณ.


14

รูปที่ 3-4 ตัวต้านทาน


3.2.5 มัลติมีเตอร์
มัลติมีเตอร์

รูปที่ 3-5 มัลติมีเตอร์


3.2.6 แบตเตอรี่
แบตเตอรี่มี 4 ชนิดได้แก่ 1.) แบตน้ำ (Flood) 2.) เจล (Gel) 3.) ตะกั่ว (Lead) 4.)
ลิเธียม (Lithium) โดยมีรายละเอียดดังนี้
1.) แบตน้ำ (Flood)
แบตน้ำ (Flood) คือ แบตที่ใช้กันทั้วไป ที่คุ้นๆ กันคือแบตเตอรี่รถยนต์ ที่ต้องเติมน้ำ
กลั่น ราคาถูก เมื่อก่อนสมัยที่โซล่าเซลล์ พึ่งเข้ามาใหม่ๆ ได้ใช้แบตน้ำ สามารถทำให้ระบบทำงานได้
แต่ก็ไม่ประสบผลสำเร็จมากนัก เพราะเนื่องจากแบตเตอรี่ต้องเติมน้ำกลั่นทุกสัปดาห์ ทำให้เวลาที่
ติดตั้งแล้วการที่จะเติมน้ำกลั่นที่เสาไฟถนนโซล่าเซลล์เป็นเรื่องที่ยาก ยิ่งจำนวนเสาไฟถนนโซล่าเซลล์
เยอะ ยิ่งมีความลำ บากไปอีก

จาริณี จงปลื้มปิติ และ พลเทพ เวงสูงเนิน. (2565). การใช้งานโซล่าเซลล์เบื้องต้น. ห้องเรียนวัยเกษียณ.


15

2.) เจล (Gel)


เจล (Gel) คือ แบตเตอรี่ที่เป็นระบบปิด ไม่มีการถ่ายเทอากาศ และไม่ต้องการการ
ดูแลหรือการเติมน้ำกลั่น ทำให้ช่วงนึงมีการใช้กันมากขึ้น ตามทฤษฎี เพื่อลดปัญหาการรั่วไหลของน้ำ
กลั่นออกจากแบตเตอรี่ ทำให้มีข้อเสียในเรื่องของการใช้งานที่ไม่อาจเทียบได้กับแบตเตอรีชนิดตะกั่ว
(Lead) แต่จากการทดสอบประสิทธิภาพแล้วก็พอๆกับแบตเตอรี่แบบตะกั่ว และราคายังถูกกว่าอีก
ด้วย
3.) ตะกั่ว (Lead)
ตะกั่ว (Lead) คือ แบตเตอรี่ที่เป็นระบบปิดเหมือนกับแบตเตอรี่เจล (Gel) รู้จักกัน
ในชื่อ แบตเตอรี่กรดตะกั่ว, ตะกั่วกรด (Lead acid) ที่ตอนนี้ใช้กันอย่างแพร่หลาย มีความทดทานสูง
การดูแลรักษาทำได้ง่าย เนื่องจากแบตเตอรี่ไม่ต้องเติมน้ ำกลั่นแล้ว หากซื้อมาแล้วไม่ได้ใช้งานต้องอัด
ประจุแบตเตอรี่ซ้ำทุก 3 เดือนทำให้สามารถเก็บแบตเตอรี่ไว้ได้นาน

4.) ลิเธียม (Lithium)


ลิเธียม (Lithium) คือ แบตเตอรี่ที่มีประสิทธิภาพสูงสุด แบ่งเป็น 2 แบบ (จริงๆแล้ว
แบตเตอรี่ลิเธียมมีหลายแบบ แต่ที่เราใช้มี 2 แบบ ได้แก่ 1. )แบตเตอรี่ลิเธียมไอออน (Lithium-Ion
Battery) 2.)แบตเตอรี่ลิเธียมไอออนฟอสเฟต (Lithium Iron Phosphate) (LiFePO4)
-แบตเตอรี่ลิเธียมไอออน (Lithium-Ion Battery) เป็นแบตเตอรี่ที่ค่าการจ่ายไฟที่
แรง และคงที่ มีระยะเวลาการชาร์จประจุไฟจนเต็มได้ไวกว่า ราคาก็แพงกว่าแบตเตอรี่ชนิดอื่นเช่นกัน
-แบตเตอรี ่ ล ิ เ ธี ย มไอออนฟอสเฟต (Lithium Iron Phosphate)(LiFePO4) เป็ น
แบตเตอรี่ที่พัฒนามาจากแบตเตอรี่ลิเธียมไอออน (Lithium-Ion Battery) ทนต่อความร้อนที่เกิดจาก
ปฎิกริยาเคมี ซึ่งสามารถให้พลังงานที่สูงกว่า ไม่เป็นพิษ มีอายุการใช้งานที่มากกว่าแบตเตอรี่รุ่นเก่า
ราคาจึงสูง

จาริณี จงปลื้มปิติ และ พลเทพ เวงสูงเนิน. (2565). การใช้งานโซล่าเซลล์เบื้องต้น. ห้องเรียนวัยเกษียณ.


16

รูปที่ 3-6 แบตเตอรี่


3.2.7 เพรียวไซต์อินเวอร์สเตอร์
เพรียวไซต์อิน เวอร์สเตอร์ มีหน้าที่ในการแปลงกระแสไฟฟ้าจากกระแสตรงเป็น
กระแสสลับ

รูปที่ 3-7 เพรียวไซต์อินเวอร์สเตอร์


3.2.8 กริดไทน์อินเวอสเตอร์
กริดไทน์อินเวอสเตอร์ เป็นอุปกรณ์ที่มีหน้าที่ในการแปลงไฟฟ้าจากกระแสตรงเป็น
กระแสสลับเช่นเดียวกับแบบเพรียวไซต์แต่จะแตกต่างกันที่การใช้งานจะใช้ร่วมกับไฟฟ้าที่มาจากการ
ไฟฟ้าเพื่อเป็นการลดการใช้ไฟฟ้าขณะที่มีปริมาณไฟฟ้ามากพอและจะใช้ไฟฟ้าจากการไฟฟ้าเมื่อมี
ปริมาณไฟฟ้าไม่เพียงพอ

จาริณี จงปลื้มปิติ และ พลเทพ เวงสูงเนิน. (2565). การใช้งานโซล่าเซลล์เบื้องต้น. ห้องเรียนวัยเกษียณ.


17

รูปที่ 3-8 กริดไทน์อินเวอสเตอร์


3.2.9 ปั๊มน้ำกระแสตรง
ปั๊มไดโว่ หรือปั๊มซับเมิช หรือปั๊มแช่ ที่นำมาใช้ในการศึกษาเป็น ปั๊มน้ำกระแสตรงใช้
ไฟฟ้ากระแสตรงแรงดัน 12 โวลต์ กระแสไฟฟ้าสูงสุด 15 แอปม์ กำลังไฟฟ้าสูงสุด 180 วัตต์ สามารถ
ใช้งานกับแบตเตอรี่ 12 โวลต์ หรือใช้ร่วมกับตัวควบคุมพลังงานโซล่าเซลล์ขนาด 12 โวลต์ได้ ดูดรวม
ส่งน้ำสูงสุด 6 เมตรระยะส่งในแนวราบ 100 เมตรสูบน้ำ ใช้กับระบบระบายน้ำ รดน้ำต้นไม้ ฯลฯ

รูปที่ 3-9 ปั๊มน้ำกระแสตรง


3.2.10 หลอดไฟกระแสตรง
หลอดไฟแอลอีดีทำงานโดยใช้กระแสตรงขนาด 12 VDC มีอัตราการใช้พลังงาน 9W
ซึ่งหลอดไฟกระแสตรงที่นำมาใช้ในการเรียนในหลักสูตรนี้จะใช้หลอดแอลอีดี (LED) โดยส่วนประกอบ
จะประกอบไปด้วยไดโอดเปล่งแสง ย่อมาจากคำว่า(Light-Emitting Diode) ซึ่งสามารถเปล่งแสง
ออกมาได้แสงที่เปล่งออกมาประกอบด้วยคลื่นความถี่เดียวและ เฟสต่อเนื่องกัน ซึ่งต่างกับแสง

จาริณี จงปลื้มปิติ และ พลเทพ เวงสูงเนิน. (2565). การใช้งานโซล่าเซลล์เบื้องต้น. ห้องเรียนวัยเกษียณ.


18

ธรรมดาที่ตาคนมองเห็น โดย หลอดLED สามารถเปล่งแสงได้เมื่อจ่ายกระแสไฟฟ้าเข้าเพียงเล็กน้อย


เท่านั้น และประสิทธิภาพในการให้แสงสว่างก็ยังดีกว่าหลอดไฟขนาดเล็กทั่วๆ ไป.LED โดยทั่วไปมี 2
ชนิดใหญ่ ๆ คือLED ชนิดที่ตาคนเห็นได้ กับชนิดที่ตาคนมองไม่เห็นต้องใช้ทรานซิสเตอร์ มาเป็นตัวรับ
แสงแทนตาคน ปัจ จุบ ัน จากความก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว ของเทคโนโลยีเซมิคอนดั กเตอร์ ทำให้
เทคโนโลยีของ LED ก้าวหน้าอย่างรวดเร็วตามไปด้วย. LED ได้ถูกพัฒนาขึ้นเรื่อยๆ ทั้งในด้านสีของ
แสงที่เปล่งออกมา ไม่ว่าจะเป็นสีแดง ,สีเขียว ,สีส้ม หรือที่ผลิตได้ท้ายสุด และทำให้วงการแอลอีดี
พัฒนาขึ้นอย่างรวดเร็วคือสีน้ำเงิน ซึ่งการเกิดขึ้นของแอลอีดีสีน้ำเงินนี้ ทำให้ครบแม่สี 3 สี คือ สีแดง
สีเขียว และสีน้ำเงิน และเกิดเป็นจุดเริ่มต้นของจอแอลอีดี และแอลอีดีในงานไฟประดับต่างๆ, ทั้งยัง
ใช้ประโยชน์แพร่หลายมากขึ้นเรื่อยๆ เช่น ในเครื่ องคิดเลข สัญญาณจราจร ไฟท้ายรถยนต์ ป้าย
สัญญาณต่างๆ ไฟฉาย ไฟให้สัญญาณของประภาคาร จอภาพยนตร์ขนาดใหญ่ ยิ่งไปกว่านั้น หน้าจอ
LCD ของโทรศัพท์มือถือที่เราใช้กันทั่วไป เกือบทั้งหมดจะให้แสงสว่างด้วย LED [7]

รูปที่ 3-10 หลอดไฟกระแสตรง


3.2.11 ATS (Automatic transfer switch)
ATS Automatic Transfer Switch หรือสวิทช์สลับแหล่งจ่ายอัตโนมัติ สำหรับงาน
โซล่าเซลล์หรืออื่นๆ สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับไฟจากการไฟฟ้าร่วมกับระบบไฟสำรองเช่นเจนเนอร์
เรเตอร์หรือระบบโซลาร์เซลล์ได้วิธีการใช้งาน ต้องการให้ไฟแบบไหนเป็นไฟหลักก็ต่อเข้าฝั่ง Normal
power เช่นถ้าใช้ไฟจากโซล่าเซลลเป็นหลักก็ให้ต่อเข้าช่องนี้ ต้องการใช้ไฟจากไหนเป็นไฟสำรองก็ต่อ
เข้าฝั่ง Reserve power เช่นต้องการให้สลับมาใช้ไฟหลวงหลังจากแบตฯ หมดก็ต่อไฟหลวงเข้าช่องนี้
สวิตช์จะตัดมาช่องนี้อัตโนมัติหลังจากไฟจากแบตฯหมดหรือถูกตัดวงจรการทำงาน

จาริณี จงปลื้มปิติ และ พลเทพ เวงสูงเนิน. (2565). การใช้งานโซล่าเซลล์เบื้องต้น. ห้องเรียนวัยเกษียณ.


19

รูปที่ 3-11 สวิทช์สลับแหล่งจ่ายอัตโนมัติ


3.2.12 SPD (Surge Protective Device)
หลักการทำงานของอุปกรณ์ป้องกันแรงดันเกินชั่วขณะ (SPD) คือ ลัดวงจรตัวเองใน
ขณะที่เกิดแรงดันเกินชั่วขณะ เพื่อให้กระแสเปลี่ยนทิศทางวิ่งผ่าน SPD ลงสู่กราวน์แทนที่จะเข้าไป
ทำลายอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้า ในขณะเดียวกันแรงดันคร่อม SPD จะถูกจำกัดไว้เพื่อไม่ให้สูงเกินไปจน
เป็นอันตรายกับอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้า จากนั้นเมื่อแรงดันเกินชั่วขณะผ่านกราวน์ไปแล้ว SPD ก็จะ
เปิดวงจรตัวเองกลับมาสู่สถานะปกติ

รูปที่ 3-12 อุปกรณ์ป้องกันแรงดันเกินชั่วขณะ


3.2.13 RCCB (Residual Current Circuit Breakers)
RCCB (Residual Current Circuit Breakers) หรือเครื่องตัดไฟรั่วแบบไม่มีอุปกรณ์
ป้องกันกระแสเกิน เป็นเซอร์กิตเบรกเกอร์ชนิดหนึ่งที่ช่วยตัดวงจรไฟฟ้าเมื่อเกิดการรั่วไหลในระบบ
ไฟฟ้าแต่ไม่สามารถตัดกระแสลัดวงจรได้ ส่วนใหญ่ที่มีการใช้งานจะมี 2 ขนาดด้วยกัน ขนาด 2 Pole
สำหรับไฟ 1 เฟส และขนาด 4 Pole สำหรับไฟ 3 เฟส ในการทำงานนั้นจะใช้ควบคู่กับ MCB, MCCB
[8]

จาริณี จงปลื้มปิติ และ พลเทพ เวงสูงเนิน. (2565). การใช้งานโซล่าเซลล์เบื้องต้น. ห้องเรียนวัยเกษียณ.


20

รูปที่ 3-13 เครื่องตัดไฟรั่วแบบไม่มีอุปกรณ์ป้องกันกระแสเกิน


3.2.14 ELCB (Earth Leakage Circuit Breaker)
ELCB (Earth Leakage Circuit Breaker) หรือเบรกเกอร์กันดูด เป็นอุปกรณ์ไฟฟ้า
ที่ถูกผลิตขึ้นมา โดยมีวัตถุประสงค์หลักสำหรับนำมาใช้ป้องกันไฟดูดหรือไฟรั่ว ส่วนใหญ่ใช้เป็นควบคุม
เครื่องปรับอากาศ ปั๊มน้ำ ฯลฯซึ่งหน้าตาภายนอกโดยรวมถือว่าคล้ายกับเซฟตี้เบรกเกอร์มาก ต่างกันที่
ELCB จะมีปุ่มเล็กๆที่เรียกว่าปุ่ม TEST แต่เซฟตี้เบรกเกอร์นั้นไม่มีปุ่มTEST และหลักการทำงานและ
วัตถุป ระสงค์ของการนำไปใช้งานก็แตกต่างกันด้ว ย เบรกเกอร์ ELCB มีห น้าที่คือ ตัดหรือปลด
วงจรไฟฟ้ าลงอัตโนมั ติ เมื่ อ มี ก ระแสไฟฟ้ ารั่ว ลงดิน จนถึ ง ค่ า ที ่ตรวจจับ ได้ และยังสามารถปลด
วงจรไฟฟ้าเมื่อเกิดไฟฟ้าลัดวงจรได้อีกด้วย แต่เบรกเกอร์ ELCB จะไม่สามารถปลดวงจรไฟฟ้าออกได้
เองในกรณีที่ใช้กระแสไฟฟ้าเกินกว่าพิกัดที่ระบุไว้ อย่างเช่น บนตัว ELCB ระบุค่าพิกัดกระแสที่ 30 A
แต่เมื่อมีการใช้กระแสไฟฟ้าสูงเกินกว่าที่ระบุไว้หากเป็นเบรกเกอร์แบบธรรมดาก็จะปลดวงจรออกเอง
เมื่อใช้งานพิกัดกระแสเกินกว่าที่ระบุแต่ในกรณีของ ELCB พิกัดกระแสที่ระบุบนตัวของมันคือค่าสูงสุด
ที่มันจะทนได้ไม่ใช่ค่าที่มันจะปลดวงจร การมีกระแสไฟฟ้าไหลผ่านเกินพิกัดสูงสุดที่แสดงบน ELCB ก็
จะทำให้มันพังโดยที่ไม่มีการปลดวงจร ELCBจึงเหมาะกับการนำไปใช้งาน เพื่อควบคุมและป้องกัน
ความเสี่ยงเฉพาะกับเครื่องใช้ไฟฟ้า ซึ่งเราทราบปริมาณการใช้ไฟฟ้าสูงสุดอยู่แล้วอย่างเช่นเครื่องทำ
น้ำอุ่น, เครื่องทำน้ำร้อน เป็นต้น

จาริณี จงปลื้มปิติ และ พลเทพ เวงสูงเนิน. (2565). การใช้งานโซล่าเซลล์เบื้องต้น. ห้องเรียนวัยเกษียณ.


21

รูปที่ 3-14 เบรกเกอร์กันดูด


3.2.15 RCBO (Residual Current Circuit Breakers with Overload protection)
RCBO (Residual Current Circuit Breakers with Overload protection) ห รื อ
เครื่องตัดไฟรั่วที่ตัดกระแสลัดวงจรได้ เป็นอุปกรณ์ป้องกันไฟดูด (ไฟช็อต) พร้อมมีเซอร์กิตเบรกเกอร์
ในตัว สามารถตัดวงจรได้ทั้งกรณีที่มีไฟรั่วและมีกระแสลัดวงจร

รูปที่ 3-15 เครื่องตัดไฟรั่วที่ตัดกระแสลัดวงจรได้

ตารางที่ 3-1 เปรียบเทียบคุณสมบัติอุปกรณ์ป้องกันไฟรั่ว ไฟเกิน ไฟลัดวงจร


อุปกรณ์ ไฟรั่ว ไฟเกิน ไฟลัดวงจร ใช้งานคู่กับฟิวส์หรือ
เบรกเกอร์
RCCB ตัดวงจร ไม่ตัดวงจร ไม่ตัดวงจร จำเป็น
RCBO ตัดวงจร ตัดวงจร ตัดวงจร ไม่จำเป็น

จาริณี จงปลื้มปิติ และ พลเทพ เวงสูงเนิน. (2565). การใช้งานโซล่าเซลล์เบื้องต้น. ห้องเรียนวัยเกษียณ.


22

ตารางที่ 3-1 เปรียบเทียบคุณสมบัติอุปกรณ์ป้องกันไฟรั่ว ไฟเกิน ไฟลัดวงจร


อุปกรณ์ ไฟรั่ว ไฟเกิน ไฟลัดวงจร ใช้งานคู่กับฟิวส์หรือ
เบรกเกอร์
ELCB ตัดวงจร ไม่ตัดวงจร ตัดวงจร จำเป็น

3.3. การต่อแผงโซล่าเซลล์ขนาดเล็กสู่หลอดแอลอีดี
เพื่อให้มีความเข้าใจพื้นฐานของการต่อแผงโซล่าเซลล์ดังนั้นในตัวอย่างนี้จะเป็นการต่อระบบ
เพื่อเปิดพัดลมขนาด 5 V จำนวน 1 ตัวด้วยแผงโซล่าเซลล์ขนาด 74×38 mm 5.5 V 0.3 W 60 mA

รูปที่ 3-16 การต่อแผงโซล่าเซลล์ขนาดเล็กสู่หลอดแอลอีดี

จาริณี จงปลื้มปิติ และ พลเทพ เวงสูงเนิน. (2565). การใช้งานโซล่าเซลล์เบื้องต้น. ห้องเรียนวัยเกษียณ.


23

3.4. การต่อโซล่าเซลล์แบบอนุกรม

รูปที่ 3-17 การต่อโซล่าเซลล์แบบอนุกรม 2 แผง

รูปที่ 3-18 การต่อโซล่าเซลล์แบบอนุกรม 3 แผง

จาริณี จงปลื้มปิติ และ พลเทพ เวงสูงเนิน. (2565). การใช้งานโซล่าเซลล์เบื้องต้น. ห้องเรียนวัยเกษียณ.


24

3.5. การต่อโซล่าเซลล์แบบขนาน

รูปที่ 3-19 การต่อโซล่าเซลล์แบบขนาน 2 แผง

จาริณี จงปลื้มปิติ และ พลเทพ เวงสูงเนิน. (2565). การใช้งานโซล่าเซลล์เบื้องต้น. ห้องเรียนวัยเกษียณ.


25

รูปที่ 3-20 การต่อโซล่าเซลล์แบบขนาน 3 แผง

จาริณี จงปลื้มปิติ และ พลเทพ เวงสูงเนิน. (2565). การใช้งานโซล่าเซลล์เบื้องต้น. ห้องเรียนวัยเกษียณ.


26

3.6. การต่อแผงโซล่าเซลล์เข้าระบบส่องสว่าง

รูปที่ 3-21 การต่อแผงโซล่าเซลล์เข้าระบบส่องสว่าง

จาริณี จงปลื้มปิติ และ พลเทพ เวงสูงเนิน. (2565). การใช้งานโซล่าเซลล์เบื้องต้น. ห้องเรียนวัยเกษียณ.


27

3.7. การต่อแผงโซล่าเซลล์เข้าระบบปั๊มน้ำ

รูปที่ 3-22 การต่อแผงโซล่าเซลล์เข้าระบบปั๊มน้ำ

จาริณี จงปลื้มปิติ และ พลเทพ เวงสูงเนิน. (2565). การใช้งานโซล่าเซลล์เบื้องต้น. ห้องเรียนวัยเกษียณ.


28

3.8. การต่อแผงโซล่าเซลล์เข้าระบบแปลงระบบไฟฟ้า

รูปที่ 3-23 การต่อแผงโซล่าเซลล์เข้าระบบแปลงระบบไฟฟ้า

จาริณี จงปลื้มปิติ และ พลเทพ เวงสูงเนิน. (2565). การใช้งานโซล่าเซลล์เบื้องต้น. ห้องเรียนวัยเกษียณ.


29

3.9. การต่อแผงโซล่าเซลล์เข้าระบบแปลงระบบไฟฟ้า ด้วย grid tie inverter

รูปที่ 3-24 การต่อแผงโซล่าเซลล์เข้าระบบแปลงระบบไฟฟ้า ด้วย grid tie inverter

จาริณี จงปลื้มปิติ และ พลเทพ เวงสูงเนิน. (2565). การใช้งานโซล่าเซลล์เบื้องต้น. ห้องเรียนวัยเกษียณ.


30

เอกสารอ้างอิง
[1] “How the solar cell found the spotlight.” https://www.axpo.com/dk/en/about-
us/magazine.detail.html/magazine/renewable-energy/how-the-solar-cell-
found-the-spotlight.html (accessed Apr. 25, 2022).
[2] “Daryl Chapin - Wikipedia.” https://en.wikipedia.org/wiki/Daryl_Chapin
(accessed Apr. 25, 2022).
[3] “หลักการทำงานของ ‘โซลาร์เซลล์’ รู้จักมานานแต่ไม่รู้ทำงานอย่างไร.”
https://www.sanook.com/home/28257/ (accessed Apr. 22, 2022).
[4] “ประเภทของแผงโซล่าเซลล์ (Solar Panel Type).”
https://www.premierlighting.co.th/TH/news/newa_f.html (accessed Apr. 25,
2022).
[5] “What is Alternating Current? - Circuit Basics.”
https://www.circuitbasics.com/what-is-alternating-current/ (accessed Nov. 26,
2021).
[6] A. J. Robinson and Lynn. Snyder-Mackler, Clinical electrophysiology :
electrotherapy and electrophysiologic testing. Wolters Kluwer
Health/Lippincott Williams & Wilkins, 2008. Accessed: Dec. 09, 2021. [Online].
Available:
https://books.google.com/books/about/Clinical_Electrophysiology.html?id=C2-
9bcIjPBsC
[7] “LED คืออะไร.” https://www.ju-led.com/16574233/led-คืออะไร (accessed Apr.
24, 2022).
[8] “เครื่องตัดไฟรั่ว RCD Residual-Current Device คืออะไร? แหล่งรวมข้อมูล.”
https://mall.factomart.com/circuit-breaker/what-is-an-rcd-residual-current-
device/ (accessed Apr. 24, 2022).

จาริณี จงปลื้มปิติ และ พลเทพ เวงสูงเนิน. (2565). การใช้งานโซล่าเซลล์เบื้องต้น. ห้องเรียนวัยเกษียณ.


31

ภาคผนวก

จาริณี จงปลื้มปิติ และ พลเทพ เวงสูงเนิน. (2565). การใช้งานโซล่าเซลล์เบื้องต้น. ห้องเรียนวัยเกษียณ.

You might also like