You are on page 1of 9

โรงเรียนกวดวิชาครูสมชาย 1

พลังงาน(Energy)

พลังงาน เป็นความสามารถในการทางานของวัตถุ ไม่มีตัวตน สัมผัสหรือจับต้องไม่ได้ ไม่สามารถสร้างขึ้นมาใหม่ได้


แต่สามารถเปลี่ยนรูปได้ พลังงาน มีหน่วยเช่นเดียวกับงาน คือ จูล(J)
พลังงานกล (Mechanic Energy) แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ
1. พลังงานจลน์ (Kinetic Energy)
2. พลังงานศักย์ (Potential Energy)
- พลังงานศักย์โน้มถ่วง (Gravitational Potential Energy)
- พลังงานศักย์ยืดหยุ่น(Elastic Potential Energy)

พลังงานจลน์ (Kinetic Energy ; Ek)


พลังงานจลน์ เป็นพลังงานที่เกิดขึ้นขณะวัตถุกาลังเคลื่อนที่เนื่องจากมีแรงมากระทาต่อวัตถุ
เขียนได้ดังสมการ
Ek  12 mv 2

เมื่อ Ek แทน พลังงานจลน์ หน่วย จูล (J)


m แทน มวลของวัตถุ หน่วย กิโลกรัม (kg)
v แทน อัตราเร็วของวัตถุ หน่วย เมตรต่อวินาที (m/s)

แบบฝึกหัด
1.จงคานวณหาพลังงานจลน์ของรถคันหนึ่งที่มีมวล 2,000 กิโลกรัม และมีอัตราเร็ว 20 เมตร/วินาที
โรงเรียนกวดวิชาครูสมชาย 2

2.รถยนต์คันหนึ่งมวล 1,000 กิโลกรัม วิ่งด้วยอัตราเร็ว 20 เมตร/วินาที จงหาพลังงานจลน์ของรถขณะวิ่ง

3.รถยนต์มวล 1,200 กิโลกรัม แล่นด้วยความเร็ว 90 กิโลเมตร/ชั่วโมง จงหาพลังงานจลน์

4.ลูกปืนมวล 30 กรัม ออกจากปากกระบอกปืนด้วยอัตราเร็ว 500 เมตร/วินาที จงหาว่าขณะออกจากปากกระบอก


ปืน ลูกปืนจะมีพลังงานจลน์เท่าใด

5.ปล่อยก้อนหินมวล 0.5 กิโลกรัม ตกจากยอดตึกแห่งหนึ่ง เมื่อก้อนหินอยู่ในตาแหน่งสูงจากพื้น 10 เมตร มี


ความเร็ว 10 เมตร/วินาที จงหาพลังงานจลน์ของก้อนหิน ณ ตาแหน่งดังกล่าว
โรงเรียนกวดวิชาครูสมชาย 3

6.รถยนต์หนัก 2000 กิโลกรัม วิ่งด้วยความเร็ว 72 กิโลเมตรต่อชั่วโมง พลังงานจลน์ของรถคันนี้มีค่าเท่ากับกี่จูล

7.วัตถุก้อนหนึ่งมีมวล 0.5 กิโลกรัม กาลังเคลื่อนที่ด้วยอัตราเร็ว 10 เมตร/วินาที จะมีพลังงานจลน์เท่าไร

8.วัตถุ 2 กิโลกรัม ตกจากดาดฟ้าตึกสูง 20 เมตร ขณะกระทบพื้นมีพลังงานจลน์เท่าใด

9.รถยนต์คันหนึ่งมีมวล 1,200 กิโลกรัม เคลื่อนที่ด้วยอัตราเร็ว 20 เมตร/วินาที ถ้าคนขับเร่งเครื่องยนต์จนทาให้


รถยนต์มีอัตราเร็วเพิ่มขึ้นเป็น 50 เมตร/วินาที พลังงานจลน์ของรถเปลี่ยนแปลงอย่างไร
โรงเรียนกวดวิชาครูสมชาย 4

พลังงานศักย์ ( Potential Energy ; Ep )

พลังงานศักย์ แบ่งออกเป็น
1. พลังงานศักย์โน้มถ่วง (Gravitational Potential Energy) เป็นพลังงานศักย์ที่สะสมในวัตถุ เมื่ออยู่บน ที่สูง
พลังงานศักย์โน้มถ่วงจะมีค่ามาก หรือ ค่าน้อย ขึ้นอยู่กับระดับความสูงจากพื้นโลก

พลังงานศักย์(Ep) = งาน (W)


= Fs
= mgs ระยะทาง (s) = ความสูง(h)
ดังนั้น Ep = mgh

แบบฝึกหัด
1. น้า 1 ตัน อยู่ในถังสูง 50 เมตร จงหาพลังงานศักย์ของน้า

2. ตุ้มน้าหนักตอกเสาเข็มหนัก 100 กิโลกรัมอยู่สูงจากหัวเสา 10 เมตร จงหาว่าตุ้มมีพลังงานศักย์เท่าใด


โรงเรียนกวดวิชาครูสมชาย 5

3.กล่องใบหนึ่งมีมวล 2 กิโลกรัม อยู่สูงจากพื้นเป็นระยะทาง 2 เมตร จงหาว่ามีพลังงานศักย์เท่าใด

4.มะพร้าวลูกหนึ่งมีมวล 1.5 กิโลกรัม อยู่บนต้นซึง่ สูงจากพื้นดิน 6 เมตร จงหาว่ามีพลังงานศักย์เท่าใด

5.มังคุดลูกหนึ่งมีมวล 30 กรัม อยู่บนต้นซึง่ สูงจากพื้น 3.5 เมตร จงหาว่ามังคุดนี้มีพลังงานศักย์เท่าใด

2. พลังงานศักย์ยืดหยุ่น (Elastic Potential Energy) เป็นพลังงานศักย์ที่สะสมในวัตถุที่ติดกับสปริงที่ถูกทาให้ยืด


ออก หรือ หดเข้า จากตาแหน่งสมดุล หาได้จาก
1 2
Ep = ks
2

อีกประการหนึ่ง แรงที่กระทาต่อสปริงจะแปรผันตรงกับระยะยืดหยุ่นของสปริง มีค่าคงที่ของสปริง เรียกว่า ค่าคงที่


ของสปริง หรือ ค่านิจของสปริง (spring constant;k)
นั่นคือ F  s
F = ks
เมื่อ k คือ ค่าคงที่ของสปริง หรือ ค่านิจของสปริง
s คือ ระยะยืดหรือหดของสปริง
โรงเรียนกวดวิชาครูสมชาย 6

แบบฝึกหัด
1. จงหาค่านิจของสปริงตัวหนึ่งเมื่อออกแรงดึง 40 นิวตัน พบว่าสปริงดังกล่าวสามารถยืดได้ 10 cm

2. สปริงตัวหนึ่งมีค่านิจ 200 นิวตัน/เมตร ถ้าออกแรงดึงสปริงตัวนี้ด้วยแรงขนาด 50 นิวตัน สปริงจะยืดได้กี่เมตร

3. ถ้านามวล 40 กิโลกรัมไปห้อยที่สปริงตัวหนึ่งที่แขวนไว้กับเพดาน พบว่าน้าหนักของมวลดังกล่าวจะทาให้สปริงยืด


ออกได้ 50 cm จงหาค่านิจของสปริง

4. สปริงอันหนึ่งมีค่านิจสปริง 100 นิวตัน/เมตร เมื่อออกแรงดึงนี้ขนาด 200 นิวตัน สปริงจะยืดออกกี่เมตรจาก


ตาแหน่งสมดุล
โรงเรียนกวดวิชาครูสมชาย 7

5. สปริงดันหนึ่งมีค่าคงที่ 200 นิวตัน/เมตร ถ้าต้องการให้ยืดออก 4 เมตร จากตาแหน่งสมดุลจะต้องออกแรงดึงกี่นิวตัน

6.สปริงอันหนึ่งมีค่าคงที่ 100 นิวตัน/เมตร ทาให้ยืดออก 0.2 เมตร จากตาแหน่งสมดุล จงหาพลังงานศักย์ยืดหยุ่น

7. สปริงเส้นหนึ่งมีค่าคงตัวของสปริง 3 N/cm เดิมยาว 20 cm เมื่ออกแรงดึงปลายสปริงจนความยาวของสปริงเป็น


40 cm
จงหา ก) แรงที่ใช้ดึงสปริง

ข) พลังงานศักย์ยืดหยุ่นในสปริง
โรงเรียนกวดวิชาครูสมชาย 8

กฎการอนุรักษ์พลังงาน

ถ้าวัตถุเคลื่อนที่หนึ่งไปยังอีกตาแหน่งหนึ่ง โดยไม่มีแรงเสียดทานหรือแรงภายนอกใดๆมากระทาต่อ วัตถุ


จะได้ผลรวมของพลังงานของวัตถุมีค่าคงที่ ซึ่งเขียนเป็นสมการได้ว่า
𝐸1 = 𝐸2
𝐸1 = พลังงานรวมของวัตถุที่ตาแหน่งแรก
𝐸2 = พลังงานรวมของวัตถุที่ตาแหน่งหลัง

แบบฝึกหัด

1. ลูกบอลมวล 0.5 กิโลกรัม ถูกปล่อยจากขอบหน้าต่างสูง 30 เมตร ทาให้ลูกบอลตกลงในแนวดิ่งโดยมีความเร็วต้น


เป็นศูนย์ เมื่อเวลาผ่านไป 2 วินาที ลูกบอลนี้จะมีพลังงานจลน์เท่าใด

2. ลูกบอลตกจากที่สูงจากพื้น 1.25 m เมื่อตกกระทบพื้นจะมีอัตราเร็วเท่าไหร่ (5 m/s)


โรงเรียนกวดวิชาครูสมชาย 9

3. เสาชิงช้าหน้าวัดสุทัศน์สูง 20 m ถ้าแกว่งชิงช้าจนถึง 90 องศา อัตราเร็วของชิงช้าตอนผ่านจุดต่าสุดจะเป็นกี่


กิโลเมตรต่อชั่วโมง

4. รถรางในสวนสนุกแห่งหนึ่ง เคลื่อนที่บนรางเลื่อนดังรูป ถ้าจุดที่ 1 มีความเร็ว 5 m/s จงหาความเร็วของรถรางที่จุด


ที่ 2

You might also like