You are on page 1of 1

!

ธนนันท์ ใจสว่าง ศิลปินผู้


สร้าง ‘ตาบอดคลําช้าง’ งาน
ศิลปะที่ทุกคนคลําได้ร่วมกัน

เรื่อง ปวรพล รุ่งรจนา

Highlights
'ตาบอดคลําช้าง' คือผลงานของ ป๊อป–ธน
นันท์ ใจสว่าง ศิลปินรุ่นใหม่ในโครงการ
Early Years Project 5 (EYP 5) โดยหอ
ศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร

งานนี้คือประติมากรรมช้าง 4 เชือกที่ให้ผู้
ชมลูบคลําได้ตามใจ (แต่ห้ามขี่!) โดยเกิด
จากแรงบันดาลใจเรื่องการเก็บสะสมวัสดุ
ในชีวิตประจําวัน ความสนใจในชีวิตของ
คนตาบอด และความสนใจเรื่องสิ่งแวด
ล้อมของป๊อป

สิ่งแวดล้อม คือโจทย์ของ EYP 5 ป๊อปจึง


ใช้วัสดุเหลือทิ้ง เช่น กระดาษหรือถุง
กระสอบมาแปลงเป็นช้างและสร้างสัมผัส
ปุ่มปํ่าด้วยเศษพลาสติก งานนี้จึงรับรู้ได้
ด้วยประสาทสัมผัสหลายส่วนทั้งการมอง
สัมผัส หรือดม เพื่อให้ทุกคนเข้าถึงงานนี้
ได้ เพราะสิ่งแวดล้อมไม่ใช่แค่เรื่องต้นไม้
แต่ยังเป็นเรื่องการอยู่ร่วมกันของผู้คน

เราคิดเล่นๆ อยู่บ่อยๆ ว่าจุดเริ่มต้นที่


จะได้รู้จักศิลปินสักคนมีอยู่ 2 อย่าง

อย่างแรก ถ้าไม่ประทับใจชื่อและ
แนวคิดของศิลปินจนอยากเห็นงานของเขา
ก็น่าจะเป็นอย่างหลังคือได้เห็นผลงานของ
ศิลปินคนนั้นจนชอบ และอยากทําความ
รู้จักกับเจ้าตัวให้มากขึ้นกว่านี้

บังเอิญว่าเราได้รู้จักกับศิลปินรุ่นใหม่
อย่าง ป๊อป–ธนนันท์ ใจสว่าง ในแบบหลัง
เพราะได้ลองไปเลียบๆ เคียงๆ สํารวจงาน
ประติมากรรมช้างแสนน่ารักที่ชื่อ ‘ตาบอด
คลําช้าง’ ของเธอในนิทรรศการ Early Years
Project 5 by Millcon: 20/20 ‘เปลี่ยน’ ที่หอ
ศิลป์แห่งกรุงเทพฯ ช้างที่ว่ามีรูปทรงและ
สีสันไม่เหมือนใคร แถมยังเอื้อให้คนพิการ
ทางสายตาได้สัมผัสงานกันแบบสบายๆ
โดยมี braille block หรือแผ่นเบรลล์บนพื้น
ให้บริการ และมีไกด์ตาดีคอยช่วยให้พวก
เขาได้คลําผิวสัมผัสของช้างสมชื่อผลงาน

ถ้ามีโอกาสได้สัมผัส คุณอาจจะพบ
ว่าพื้นผิวของช้างนั้นมีสัมผัสที่คุ้นเคยเป็น
พิเศษ นั่นเพราะศิลปินจบใหม่จากคณะ
จิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์
มหาวิทยาลัยศิลปากรใช้หัวใจรักสิ่ง
แวดล้อมของตัวเองมาทํางานด้วยการ
รีไซเคิลกระดาษใช้แล้ว อัพไซเคิลถุงปุ๋ยใช้
แล้ว พร้อมด้วยฝาขวดนํ้า เศษของเล่นและ
พลาสติกอื่นๆ ในชีวิตประจําวันมาเนรมิต
เป็นช้าง 4 เชือกที่รูปทรงแตกต่างกัน

ทําไมเธอถึงนึกสนุกหยิบเรื่องผู้พิการ
ทางสายตาและสิ่งแวดล้อมมารวมกันเป็น
งานศิลปะที่น่าสนใจชิ้นนี้ เราขออาสาเป็น
ไกด์สํารวจความคิดศิลปินด้วยการชวนทุก
คนมาสัมผัสโลกของเธอไปพร้อมๆ กัน

ทําไม ‘ป๊อป’ เด็กหญิงจากจังหวัด


เชียงรายถึงเป็นศิลปินแบบทุกวันนี้ได้

เราชอบศิลปะตั้งแต่เด็กๆ บ้านเราอยู่
จังหวัดเชียงรายที่ไม่ได้มีที่ให้เรียนศิลปะ
มากนักแต่เราก็เรียนวิชาศิลปะสําหรับเด็ก
มาเรื่อยๆ ตอนนั้นไม่รู้ว่าชอบศิลปะไหม แต่
ความเป็นเด็กทําให้มีเซนส์สนใจสีและรูป
ทรงแปลกๆ ที่ดึงดูดสายตา

ช่วงมัธยมฯ เราลองไปติววิชาสถา
ปัตย์รู้สึกสนุกดีแต่ไม่ได้ชอบขนาดนั้น เมื่อ
ไปเห็นอีกห้องเรียนที่สอนวิชา fine art ที่
ทํางานศิลปะที่ไม่ได้เน้นการออกแบบหรือ
ใช้งานจึงตัดสินใจเข้าคณะจิตรกรรมฯ
ศิลปากร ช่วงต้นปี 3 เราคิดว่างานตัวเอง
ค่อนข้างแปลกเพราะทุกคนทํางานเพนต์ติ้ง
กันแต่เราใช้วัสดุผ้ามาทําให้มีความนูนจาก
ใยสังเคราะห์ที่แทรกเข้าไปในชั้นผ้าจนมีรูป
ทรงคล้ายรูปปั้น 3 มิติ อาจมีการดรอว์อิ้ง
และเย็บปะผ้าด้วย ช่วงนั้นเราลองเริ่มส่ง
งานเข้าประกวดและนํางานตัวเองไปแสดง
นิทรรศการกลุ่ม เคยได้รับรางวัลและขายได้
บ้าง เมื่อเรียนจบ เราก็ทํางานด้านศิลปะ
เลยถือเป็นการทํางานศิลปะที่ต่อเนื่อง

แสดงว่าครอบครัวเข้าใจความชอบ
และสนับสนุนเส้นทางศิลปะมาตลอด

สิ่งที่ดีมากคือตอนที่เรียนศิลปะสมัย
เด็กๆ แม้ทุกผลงานที่เราทําออกมาไม่ได้
รับคําชมนัก (หัวเราะ) แต่ครอบครัว
สนับสนุนมาตลอด พ่อแม่ไม่เคยถามและ
บังคับว่าต้องทําอะไร ประกอบกับความที่
บ้านอยู่เชียงรายซึ่งเป็นเมืองศิลปิน มีขัว
ศิลปะ มีกลุ่มศิลปินอาศัยและทํางานเยอะ
ทําให้มีงานศิลปะอยู่ใกล้ตัว สภาพแวดล้อม
แบบนี้ทําให้ครอบครัวเราเห็นว่าคนทํางาน
ศิลปะมีพื้นที่รองรับที่ดี เรียนจบมาก็กลับมา
ทํางานที่บ้านได้ เราเองก็มีความคิดอยาก
กลับไปทํางานที่บ้าน แต่ว่าช่วงนี้ขอเก็บ
ประสบการณ์ที่กรุงเทพฯ ก่อนแล้วอาจจะ
กลับไปอีกทีสักช่วงอายุ 30

พื้นที่รองรับคนทํางานศิลปะในเชียง
รายที่ป๊อปเล่าหมายถึงอะไร

เชียงรายมีบ้านศิลปินเยอะ ถือเป็น
เรื่องที่ดีมากเพราะแค่ติดต่อล่วงหน้าเราก็
สามารถตระเวนไปนั่งคุยกับศิลปินที่บ้าน
หรือสตูดิโอของแต่ละคนได้ อย่างเราเอง
พื้นฐานศิลปะที่ใช้สอบเข้ามหาวิทยาลัยบาง
ส่วนก็ได้จากการไปนั่งเรียนรู้กับศิลปินที่
บ้าน

การอยู่ในบรรยากาศรายล้อมด้วย
ศิลปินส่งผลกับคุณยังไง

มีทั้งผลดีและเสีย ผลดีคือสภาพ
แวดล้อมบันดาลใจเราเพราะเห็นว่าหลาย
คนวาดรูปอยู่บ้านได้ เห็นผลงานหลาก
หลาย มีการรวมกลุ่มกิจกรรมศิลปะ มี
สถานที่เผยแพร่และแสดงงาน เราเห็นรุ่นพี่
ที่จบศิลปากรอยู่เชียงรายเยอะแยะก็คิดว่า
เขาเก่งจัง ถ้าได้ไปเรียนคงจะเก่งได้เหมือน
กัน เป็นความคิดแบบเด็กๆ ในช่วงนั้น 

ข้อเสียคือเมื่อเห็นวงการศิลปะบ่อย
เข้า เข้าร่วมแสดงนิทรรศการกลุ่มและ
ทํางานเพื่อเน้นขายมากขึ้น การได้เงินเป็น
เรื่องโอเคแต่เราเกิดคําถามว่าคนซื้องาน
เพราะงานดีจริงๆ หรือเขาแค่นําไปเก็งกําไร
ทําให้ครุ่นคิดจริงจังว่าเราแค่สร้างงาน
ศิลปะเพื่อใครสักคนหรือทําเพื่อบรรลุจุด
ประสงค์สักอย่างโดยไม่ต้องเกี่ยวกับเรื่อง
เงินได้ไหม

หลังเรียนจบเรายังแสดงนิทรรศการ
กลุ่มเรื่อยๆ แต่มีช่วงหนึ่งที่คิดว่าจะทําอะไร
ต่อไปดี เราไม่แน่ใจ เราทํางานศิลปะมา
ตลอดซึ่งมันขายได้และเราก็ดีใจกับผลตอบ
รับนี้ แต่อยู่ดีๆ กลับรู้สึกว่ายิ่งทํางาน ยิ่งห่อ
เหี่ยวและแห้งแล้งเพราะคิดว่าทํางานได้เงิน
ก็จริงแต่ชีวิตจะยังไงต่อดี

ความห่อเหี่ยวนี้หรือเปล่าที่ทําให้ก้าว
เข้ามาร่วม Early Years Project 5 กับหอ
ศิลป์ในปีนี้

ใช่ค่ะ เราเจอโครงการ Early Years


Project 5 และชอบเงื่อนไขการสมัครที่บอก
ว่าไม่รับงานที่เสร็จสิ้นแล้ว ประโยคนี้
ประโยคเดียวเลยที่ทําให้ตัดสินใจสมัคร
เพราะมันทําให้เรารู้สึกว่าพื้นที่นี้เปิดกว้าง
ไม่ได้มองภาพที่เสร็จสมบูรณ์ว่างานสวย
หรือไม่แต่มองกระบวนการที่น่าสนใจ ตอน
สมัครเราต้องพรีเซนต์โปรเจกต์ที่จะทํา เรา
ตัดสินใจนําเสนอสิ่งที่อยากทําจริงๆ เพราะ
ต้องการงานที่ต่อยอดจากการทํางานที่
เกาหลีใต้ซึ่งเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับการเก็บ
สะสมสิ่งของประกอบกับความสนใจเรื่อง
การใช้ชีวิตของผู้พิการทางสายตาที่อยาก
ทํามานานแล้ว

งานที่ทําเมื่อไปเกาหลีใต้สะท้อนเรื่อง
การเก็บสะสมสิ่งของยังไง 

เราเริ่มเก็บสิ่งของมาตั้งแต่ 2 ปีที่แล้ว
เพราะมีโอกาสได้ทุนของคณะไปดูงานที่
เมืองควังจู ประเทศเกาหลีใต้ 1 เดือน โดยมี
เงื่อนไขว่ากลับมาต้องจัดแสดงงาน 1 ชุด
ตอนนั้นเราคิดไม่ออกว่าจะทํางานอะไร รู้
แค่อยากเก็บสะสมสิ่งต่างๆ เลยเก็บตั้งแต่
การเขียนไดอารี่ทุกวัน ถ่ายรูปทําเป็นไทม์
ไลน์ เก็บแพ็กเกจจิ้งของกิน ของใช้จากร้าน
ค้า จดบันทึกลงไปบนแพ็กเกจจิ้งบ้าง แล้วก็
เก็บพวก found object จากการเดินทา
งอื่นๆ เห็นอะไรตกที่พื้นก็เก็บ ไม่ได้มองด้วย
ซํ้าว่าจะเอามันไปทํางานอะไร ช่วงที่ไปเป็น
ฤดูใบไม้ร่วง เราก็เก็บใบเมเปิล ใบแปะก๊วย
และลูกสนแล้วใส่เข้าไปในแพ็กเกจจิ้ง 

หลังจากกลับไทยมาหลายเดือน ก่อน
แสดงนิทรรศการจากการไปเกาหลีครั้งนั้น
เราเปิดดูของที่เก็บมาและดมกลิ่นของใบไม้
ในแพ็กเกจจิ้งซึ่งมีกลิ่นแตกต่างกันไปตาม
แต่ละชนิด กลายเป็นไอเดียว่าเราจะแสดง
ผลงานเป็นของที่เราเก็บมาจากเกาหลีนี่
แหละ เลยรวบรวมกลุ่มวัสดุ ทําให้เป็นรูป
ทรงแปลกๆ เอามาจัดเรียงที่พื้นบ้าง วางไว้
ที่โต๊ะบ้าง ให้มาดมและสัมผัสกลิ่นความ
เป็นเกาหลีได้

นิทรรศการนี้คือผลงานชุดแรกที่เป็น
จุดเริ่มต้นการเก็บ และเป็นจุดที่ทําให้งาน
ของเราเริ่มเกี่ยวข้องกับการใช้ประสาท
สัมผัสต่างๆ ทั้งการดม จับ หรืออ่านสิ่งที่เรา
เก็บมาซึ่งในผลงานที่เราทําในโครงการ
Early Years Project ก็มีการใช้สิ่งของที่เก็บๆ
มาเอามาประกอบกับประติมากรรมที่เราทํา
ด้วย

ทําไมคุณถึงยังสนใจเก็บข้าวของใน
ชีวิตประจําวันอยู่

วัสดุส่วนมากเราเก็บเพราะประทับใจ
ฟังก์ชั่นบางอย่างที่นอกเหนือจากการใช้งาน
เช่น เราเก็บกล่องอาหารจากชานอ้อย
เพราะประทับใจพื้นผิวที่มีรอยยับย่นหรือ
คราบจากการใช้งานที่ทําให้เกิดสีสันหรือรูป
ร่างที่แตกต่างไปจากเดิม ดังนั้นสําหรับเรา
การเก็บสิ่งของจึงไม่ใช่แค่การเก็บกลับมา
เฉยๆ แต่ทําให้เห็นความทรงจําและ
ประสบการณ์ที่มันผ่านมา

เรื่องกล่องกระดาษชานอ้อย เราสนใจ
ไปถึงที่มาและคุณสมบัติของมันซึ่งเรียบง่าย
ในทุกขั้นตอน เราพบว่ามันทํามาจากชาน
อ้อยที่เหลือจากกระบวนการผลิตนํ้าตาล
พอนํามาผลิตเป็นกระดาษก็ไม่ปล่อยของ
เสียและไม่ส่งผลเสียต่อสิ่งแวดล้อม ใช้งาน
ง่ายเพราะใส่ได้ทั้งของร้อนและเย็น  เป็น
มิตรกับสิ่งแวดล้อมเพราะเป็นสิ่งทดแทน
พลาสติกได้ในบางฟังก์ชั่น และย่อยสลาย
ด้วยการฝังกลบใน 45 วัน

กับของชิ้นนี้เราตั้งคําถามว่าก่อนย่อย
สลายเราจะทํายังไงให้มันมีมูลค่ามากกว่า
เป็นแค่สิ่งที่ใช้ทดแทนพลาสติก บวกกับเรา
มอง found object เป็นวัสดุมีค่าสําหรับการ
ทํางานศิลปะเพราะเรามองทุกอย่างเป็น
องค์ประกอบทางวิชวลอยู่แล้ว เลยใช้วิธีการ
รีไซเคิลทําให้มันเป็นส่วนหนึ่งของ
ประติมากรรมในนิทรรศการ EYP 5 ด้วย

จากการเก็บข้าวของพัฒนามาเป็น
งาน ‘ตาบอดคลําช้าง’ ได้ยังไง

โจทย์ของโครงการในปีนี้คือ
‘สุนทรียศาสตร์ กระแสสมัย และสิ่ง
แวดล้อม ในวันพรุ่งนี’้ เราจึงทําผลงานชื่อ
‘ตาบอดคลําช้าง’ และตั้งชื่อโปรเจกต์การ
ทํางานว่า Bio Blind Project ซึ่งเราเอา
ความสนใจเรื่องการเก็บวัสดุมาบวกกับ
ความอยากเข้าใจชีวิตของคนตาบอด 

เราไปเรียนอักษรเบรลล์ ตั้งใจจะใช้
สื่อสารกับคนตาบอดและเอามาทํางาน แต่
การเรียนกลับทําให้เห็นสิ่งที่มากกว่าตัว
อักษร เราได้แลกเปลี่ยนความคิดกับคน
ตาบอดและรู้ว่าจริงๆ แล้วเบรลล์ไม่ได้เป็น
สิ่งสากลเสียทีเดียวเพราะคนตาบอดที่ไม่ได้
เรียนอักษรเบรลล์หรือคนที่เพิ่งสูญเสียการ
มองเห็นตอนโตจะอ่านอักษรเบรลล์ไม่ได้
เราเลยกลับมาหาจุดตรงกลาง คือเราพบว่า
คนตาบอดมีเรื่องที่เป็นสากล เป็นจุดร่วมใน
ชีวิตประจําวันมากกว่าอักษรเบรลล์ อย่าง
เช่น การได้ยิน การได้กลิ่น และการจับต้อง
เลยยกการสัมผัสมาเป็นส่วนหนึ่งของการ
ทํางาน 

ช่วงนั้นเราลงพื้นที่ไปทํางานกับคน
ตาบอดอยู่เรื่อยๆ ก็เจอเรื่องน่าสนใจคือเขา
เล่านิทานเรื่องตาบอดคลําช้างให้ฟัง เรื่องมี
อยู่ว่ากลุ่มคนตาบอดไปจับช้าง ด้วยความที่
ช้างเป็นสัตว์ใหญ่พวกเขาก็จับโดนร่างกาย
ช้างกันคนละส่วนจึงเถียงกันว่าช้างมีหน้า
ตาเป็นแบบไหน เราว่ามันน่าสนใจเพราะ
มันเชื่อมโยงกับคนตาดีได้ด้วย อย่างคนเรา
มองเห็นช้างเหมือนกันแต่ถ้าให้วาดภาพก็
อาจได้ภาพที่ต่างกันตามประสบการณ์และ
จินตนาการ เราคิดว่าเรื่องนี้น่าสนใจเลยยก
คํานี้มาทําเป็นงานประติมากรรมช้างสี่เชือก
เป็นช้างที่มีรูปทรงแบบที่เรารับรู้เป็นสากล
เชือกหนึ่ง อีกสามเชือกที่เหลือเป็นช้างในรูป
ทรงแบบที่คนตาบอดสัมผัสและเข้าใจ

ทําไมสนใจร่วมงานกับคนตาบอด

มันเริ่มจากการที่เรามองงานชุดเก่าๆ
ของตัวเอง ขณะที่เรามองเห็นความงามของ
ผลงานตัวเองได้ เราเข้าใจว่ามันสวยเพราะ
ใช้สีแบบนี้ มันน่ารัก หรือให้อารมณ์แบบ
ไหนผ่านการมอง เราจึงอยากรู้ว่าแล้วคนที่
เขามองไม่เห็นจะเข้าใจความงามที่เรา
กําหนดยังไง อะไรคือภาษาที่เขารับรู้ได้ จุด
นี้ทําให้เราสนใจและอยากทํางานร่วมกับคน
ที่มองไม่เห็น เราอยากสื่อสารกับคนที่มีวิธี
รับรู้ที่ต่างจากเราเพื่อให้เขารับรู้ความงาม
จากสิ่งเดียวกันกับเราได้

ที่บอกว่าทํางานร่วมกับผู้พิการทาง
สายตาเพื่อทําผลงาน ‘ตาบอดคลําช้าง’
คุณทํายังไง

อาสาสมัครทั้งหมดมี 10 คน เป็นน้อง
ที่โรงเรียนสอนคนตาบอดจํานวน 7 คน
และพี่ๆ รุ่นราวคราวเดียวกันอีก 3 คน หนึ่ง
ในนั้นมาจากกลุ่ม The Nose Thailand ที่ทํา
โปรเจกต์เรื่องกลิ่นกับคนพิการทางสายตา

เราอยากทําประติมากรรมช้างที่เล่น
กับประสาทสัมผัสของทั้งคนตาดีและ
บกพร่องทางสายตาเราเลยให้โจทย์คน
ตาบอดที่มาเข้าร่วมโปรเจกต์ว่าให้ช่วยกัน
เก็บอะไรก็ได้ที่คนไม่ใช้แล้วโดยการสัมผัส
ถ้าสนใจให้นํามามอบให้เรา โดยมีไกด์ไป
ด้วยนะเพื่อป้องกันไม่ให้จับของมีคม เราใช้
วัสดุเก็บตกที่เป็นพลาสติก มันทําให้เราได้
ฝาขวดนํ้าจํานวนมาก มีพวกเศษของเล่นซึ่ง
เขาไม่รู้ว่าตัวเองหยิบอะไรมาแต่เราว่ามัน
น่าสนใจ เราเอามาเป็นรายละเอียดของช้าง
เพราะสิ่งเหล่านี้สัมผัสได้ 

ด้วยความที่เราจะทําผลงานจากการ
รีไซเคิลกระดาษ อีกสิ่งที่เราทําร่วมกับคน
ตาบอดคือเราเอากระดาษที่ผ่าน
กระบวนการรีไซเคิลแล้วมาปั้นโมเดลช้าง
เหมือนจริงขนาดเล็กๆ ไปให้คนพิการทาง
สายตาสัมผัส ทั้งคนที่เคยเห็นและไม่เคย
เห็นช้างมาก่อน หลังจากนั้นเราให้คนพิการ
แต่ละคนวาดรูปช้างออกมา ซึ่งกระบวนการ
วาดของแต่ละคนไม่เหมือนกัน บางคนวาด
ออกมาเลยในขณะที่บางคนเล่าให้ฟังก่อน
ว่าช้างที่เขาเคยเห็นเป็นแบบไหน  

เมื่อทุกคนวาดเสร็จเราคัดบางภาพ
ออกมาทําประติมากรรมบางชิ้น ใช้เทคนิครี
ไซเคิลกับอัพไซเคิล รีไซเคิลคือการนําวัสดุ
กลับมาใช้อีกครั้งโดยผ่านกระบวนย่อย
สลายมาก่อน เช่น เราเอากระดาษไปย่อย
สลายเพื่อทําช้าง 2 เชือก ส่วนการอัพไซเคิล
คือการเอาสิ่งที่มีอยู่แล้วมาเพิ่มมูลค่าให้กับ
ตัวเอง อย่างที่เราเอากระสอบทรายมาเย็บ
เป็นช้าง

งานของคุณมีทั้งการรีไซเคิลกระดาษ
อัพไซเคิลถุงปุ๋ยเป็นช้าง และเอาเศษขยะ
พลาสติกมาเป็นส่วนหนึ่ง คุณสนใจเรื่องสิ่ง
แวดล้อมอยู่แล้วหรือเปล่า

จุดเริ่มต้นของการทํางานเรื่องสิ่ง
แวดล้อมของเรามาจากการสังเกต
พฤติกรรมการบริโภคในชีวิตประจําวันของ
ตัวเองช่วงหลังๆ เวลาเราสั่งข้าวกล่องเราจะ
ได้ผลิตภัณฑ์ที่ไม่ใช่พลาสติกหรือโฟมมาก
ขึ้น เช่น กล่องกระดาษชานอ้อยที่นํามา
ทํางานในครั้งนี้ เราคิดว่านวัตกรรมจาก
ธรรมชาติพวกนี้เกิดขึ้นมาเพื่อทดแทนและ
ลดการใช้พลาสติกและคงดีถ้าเราได้ใช้
นวัตกรรมเหล่านี้ให้เป็นประโยชน์มากที่สุด
เลยเป็นจุดเริ่มต้นที่ทําให้สนใจคุณสมบัติ
วิธีการย่อยสลาย ไปจนถึงการรีไซเคิล อัพ
ไซเคิลมากขึ้น

เราคิดว่าสิ่งแวดล้อมเป็นเรื่องน่า
สนใจและสําคัญเพราะเราต้องอยู่ร่วมกับ
มัน ตอนแรกเรามองเรื่องสิ่งแวดล้อมใน
ขอบเขตเรื่องวัสดุและกระบวนการทํางาน
เช่น จุดประสงค์ของการเก็บของที่เจอก็เป็น
เรื่องธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม หรือเราใช้
กระบวนการรีไซเคิล อัพไซเคิล แต่เมื่อมอง
ลงไปให้ลึกกว่าเดิม เรารู้สึกว่าสิ่งแวดล้อม

You might also like