You are on page 1of 3

บทที่1

บทนำ
1.1 ที่มาและความสำคัญ
หูฟังทางการแพทย์ (Stethoscope) เป็นอุปกรณ์เครื่องมือทางการแพทย์อย่างหนึ่ง ที่ใช้สำหรับการ
ฟัง และตรวจ (Auscultation) เพื่อฟังเสียงภายในร่างกายของมนุษย์หรือสัตว์ เครื่องฟังตรวจสมัยใหม่ อาศัย
หลักการสั่นสะเทือนโดยมีแผ่นรับแรงสั่นสะเทือนรูปจานใช้สำหรับวางตรงบริเวณที่จะฟัง คือการใช้แผ่น
ไดอะเฟรมประกบด้วยแผ่นประจุวงจรไฟฟ้า เมื่อคลื่นเสียงกระทบกับไดอะเฟรมจะทำให้เกิดแรงสั่นสะเทือน
และแปลงประจุเป็นสัญญาณเสียงส่งไปยังตัวผู้ฟังจะนำมาเชื่อมต่อกับท่อที่แยกออกเป็นส่วนหูฟังสองข้างใช้
สำหรับสอดเข้าหูเพื่อฟัง ส่วนใหญ่ใช้ฟังเสียงของปอด เสียงของหัวใจ และลำไส้ เพื่อประเมิณอาการ และ
วินิจฉัยโรคในเบื้องต้น เพื่อเป็นการแก้ปัญหาให้กับคนจำนวนมากที่ไม่รู้ว่าตั วเองมีปัญหาเกี่ยวกับหัวใจ เพราะ
เนื่องจากไม่ได้ตรวจร่างกายบ่อยหรือได้รับการตรวจที่ไม่ละเอียด อีกทั้งยังมีจำนวนประชากรหลายล้านคนที่ไม่
มีโอกาสได้รับการตรวจสุขภาพโดยเฉพาะในประเทศที่ด้อยพัฒนา
ซึ่งแนวคิดของโครงงานนี้จะเน้นการออกแบบอุปกรณ์ที่จะช่วยให้บุคคลทั่วไปสามารถตรวจสอบ
ร่างกายได้เบื้องต้น ทำให้มีแนวคิดในการประดิษฐ์อุปกรณ์ Stethoscope อย่างง่าย ซึง่ ได้นำวัสดุอุปกรณ์ที่หา
ได้ง่ายมาประดิษฐ์ Stethoscope อุปกรณ์ที่ประดิษฐ์จะมีส่วนที่เป็นท่อยางต่อเข้าไมโครโฟนคอนเดนเซอร์ที่ทำ
หน้าที่เป็นตัวแปลงพลังงานเสียงเป็นพลังงานไฟฟ้าทำให้เกิดการสั่นสะเทือน ซึง่ จะมีวงจรขยายสัญญาณช่วยใน
การขยายเสียงต่อเข้าด้วยไมโครคอนโทรลเลอร์ที่เป็นไวไฟใช้ในการควบคุมหรือแปลงสัญญาณเสียง สามารถ
ส่งผ่านไปยังคอมพิวเตอร์ได้ง่ายเพื่อ ใช้ตัวโปรมแกรมช่วยในการประมวลผลของสัญญาณให้ได้ผลลัพธ์ตาม
ต้องการ อย่างเช่นอัตราการเต้นของหัวใจที่จะแสดงออกมาเป็นตัวเลขหรือกราฟการเต้นของหัวใจ ที่สามารถ
เปรียบเทียบได้จาก Heart sound ที่ใช้เป็นตัวชี้วัดได้ว่าแต่ละกราฟที่เกิดขึ้นแตกต่างกัน และบ่งบอกถึงการ
เต้นของหัวใจผิดปกติอย่างไร โดยโครงงานนี้จะสร้างเครื่องฟังเสียงหัวใจทีจ่ ะช่วยในเรื่องของราคาที่ไม่แพง แต่
สามารถแจ้งเตือน แสดงข้อมูลให้กับผู้ใช้งานได้ทราบถึงอัตราการเต้นของหัวใจ สัญญาณเสียงหัวใจ และ
ลักษณะของสัญญาณที่เกิดขึ้นว่ามีความปกติหรือผิดปกติอย่างไร และในการเลือกใช้ไมโครโฟนคอนเดนเซอร์
สามารถช่วยในการขยายเสียงให้เกิดความชัด ละเอียดในการฟังเพื่อให้เกิดข้อผิดพลาดน้อยที่สุด
1.2 วัตถุประสงค์
1.เพื่อสร้างหูฟังทางการแพทย์อิเล็คทรอนิกส์อย่างง่าย
2.เป็นเครื่องมือในการฟังหรือขยายเสียงของอัตราการเต้นหัวใจผ่านไมโครโฟน
3.เป็นอุปกรณ์ทางเลือกสำหรับผู้ป่วยที่ต้องการวัดและได้ยินเสียงหัวใจของตนเองเบื้องต้น
4.เพื่อใช้เป็นอุปกรณ์ทางการแพทย์สำหรับนักศึกษาแพทย์อย่างง่ายได้
1.3 ขอบเขต
1.สามารถใช้ในการวัดอัตราการเต้นของหัวใจได้ ซึ่งไม่สามารถใช้ในการฟังเสียงปอดได้
2.มีช่วงของความถี่ของอัตราการเต้นหัวใจเริ่มต้นที่ 60-100 ครั้ง ต่อนาที
3.สามารถช่วยในการฟังเสียงอัตราการเต้นหัวใจได้ชัดเจนมากขึ้น
4.สามารถแสดงผลของอัตราการเต้นของหัวใจตามความแตกต่างของแอมพลิจูด
1.4 ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1.สามารถใช้ฟังเสียงการเต้นของหัวใจได้ง่ายขึ้นสำหรับคนทั่วไป
2.สามารถบอกอัตราการเต้นของหัวใจว่าปกติหรือไม่ โดยสามารถแสดงผลที่หน้าจอไม่ว่าจะเป็นกราฟ
หรือตัวเลขของการเต้นของหัวใจ
3.สามารถบอกโรคได้จากการตรวจสอบจากการเต้นของหัวใจ
4.นักศึกษาแพทย์สามารถนำมาประยุกต์ใช้ และอาจนำไปพัฒนาต่อได้
5.บันทึกข้อมูลได้ และยังสามารถนำข้อมูลออกมาจากคอมพิวเตอร์เพื่อส่งข้อมูลไปยังผู้เชี่ยวชาญได้
ตรวจสอบข้อมูลเบื้องต้น
1.5 Block diagram
Microphone Op-Amp Display

รูปที่ 1 บล็อกไดอะแกรมในการตรวจอัตราการเต้นของหัวใจโดยผ่านคอมพิวเตอร์เพื่อแสดงผล
Microphone Op-Amp Display

Wifi Module

รูปที่ 2 บล็อกไดอะแกรมโดยใช้โมดูลไวไฟในการรับสัญญาณเพื่อส่งข้อมูลไปยังคอมพิวเตอร์ และแสดงผล

You might also like