You are on page 1of 17

1

บทที่ 1 บทนำ
ที่มาและความสำคัญ
ปัจจุบันจากสถิติข้อมูลคนพิการทางสายตาที่มีบัตรประจำตัวคนพิการทั่วประเทศ ทั้งหมด
181,821 ราย แบ่งเป็น ชายจำนวน 87,081 ราย และหญิงจำนวน 94,740 ราย โดยยังไม่รวมถึงจำนวนที่ยัง
ไม่ได้ลงทะเบียนไว้ ที่มีปัญหาในการใช้ชีวิตจากการที่ไม่สามารถมองเห็นเหมือนคนปกติทั่วไป ในการเดินทางผู้
พิการทางสายตาจำเป็นต้องเดินเท้า ที่เกิดปัญหาเช่น ในการเดินทางไปยังสถานที่ต่างๆ ที่เป็นไปอย่าง
ยากลำบาก เพราะบนถนน ฟุตบาท ยังมีเสาไฟ ถังขยะ และคนที่เดินไปมาเป็นสิ่งกีดขวางที่ผู้พิการทางสายตา
อาจชนและได้รับบาดเจ็บ ซึ่งไม้เท้าสำหรับผู้พิการทางสายตาธรรมดาที่ใช้นำทางไม่สามารถทำให้ผู้พิการทาง
สายตา รับรู้ได้ว่ามีสิ่งกีดขวางอยู่ข้างหน้าในระยะใด ซึ่งอาจทำให้เกิดการชนจนได้รับบาดเจ็บ ทำให้ไม่
ปลอดภัยสำหรับผู้พิการทางสายตาในการเดินทางไปยังสถานที่ต่างๆ ทางคณะผู้จัดทำจึงตระหนักถึงความ
ปลอดภัยในการเดินทางของผู้พิการทางสายตา ทำให้ได้คิดค้นไม้เท้า safety sensor ซึง่ มีเซนเซอร์ตรวจจับสิ่ง
กีดขวางและแจ้งเตือนผ่านเสียงโดยเซนเซอร์จะตรวจจับสิ่งกีดขวางในระยะ 1-2 เมตรและแจ้งเตือนด้วยเสียงที่
จะมีความถี่ของเสียงที่ เป็นจังหวะ โดยถ้าหากเข้าไกล้สิ่งกีดขวางมากขึ้นเรื่อยๆเซนเซอร์จะแจ้งเตือนเป็น
จังหวะที่เร็วขึ้น ทำให้สามารถรู้ได้ว่า ขณะนั้นตัวของผู้พิการทางสายตาอยู่ห่างจากสิ่งกีดขวางมากน้อยเท่าใด
จากบอร์ด kidbright และ ultrasonic sensor ทำให้ผู้พิการทางสายตาปลอดภัยในการเดินทางมากขึ้น จึง
ประดิษฐ์ ไม้เท้าsafety sensor ขึ้นมา

วัตถปุระสงค์
1. เพื่อประดิษฐ์ไม้เท้า safety sensor ช่วยเหลือผู้พิการทางสายตาในการเดินทางและกิจวัตรประจำวัน
2. เพือ่ นำเทคโนโลยีมาใช้ให้เกิดประโยชน์มากขึ้น
3. เพิ่มความปลอดภัยให้กับผู้พิการทางสายตา และใช้ชีวิตประจำวันได้สะดวกมากขึ้น

ประโยชน์คาดว่าจะได้รับ
1. ผู้ใช้งานสามารถรับรู้ถึงสิ่งกีดขวางที่อยู่ข้างหน้าได้และทำให้สามารถหลบทันท่วงที
2. ลดการเกิดอุบัติเหตุของผู้พิการทางสายตา
3. เพิ่มความสะดวกและความปลอดภัยในการเดินทางในชีวิตประจำวันมากขึ้น

ขอบเขตของโครงการ
ขอบเขตของโครงงานไม้เท้า safety sensor มีการทำงานอยู่3ส่วนคือ
1. บอร์ดKidbright บอร์ดสมองกล
2. เซนเซอร์ตรวจจับสิ่งกีดขวาง
3. ส่งสัญญาณแจ้งเตือน
2

นิยามศัพท์เฉพาะ
Kidbright คือ “บอรด์สมองกลฝังตัว” เป็นบอร์ดที่พัฒนาขึ้นเพื่อกระตุ้นศักยภาพการคิดเชิงระบบและ
การคิดเชิงสร้างสรรค์ในเด็กวัยเรียนผ่านการเรียนรู้แบบ Learn and Play บอร์ดถูกออกแบบให้มีการแสดงผล
และเซนเซอร์แบบง่าย ซึ่งจะทำงานสอดคล้องกับชุดคำสั่งควบคุมการทำงาน โดยผู้เรียนสามารถออกแบบและ
สร้างชุดคำสั่งแบบ Block-structured Programming ผ่านแอปพลิเคชันบนสมาร์ทโฟน

จุดเด่นของเทคโนโลยี:
บอร์ดสมองกลฝังตัวประกอบด้วย เซนเซอร์พื้นฐาน จอแสดงผล real-time clock ลำโพง สามารถนำไป
ประยุกต์ใช้งานได้หลากหลายสร้างชุดคำสั่งแบบ block-structured programming ผ่านแอปพลิเคชันบน
สมาร์ทโฟนชุดคำสั่งถูกส่งไปยังบอร์ดสมองกลฝังตัวผ่านเครือข่ายไร้สาย ทำให้ใช้งานได้ง่ายไม่จำเป็นต้อง
เชื่อมต่อสาย

คุณสมบัติ:
แอปพลิเคชันบนสมาร์ทโฟนทำงานภายใต้ระบบปฏิบัติการ Android แอปพลิเคชันสร้างชุดคำสั่งรองรับการ
ทำงานแบบ Event-driven Programmingแอปพลิเคชันสร้างชุดคำสั่งรองรับการทำงานแบบ Multitasking
รองรับการเชื่อมต่อเซนเซอร์ที่หลากหลาย
3

บทที่2 เอกสารที่เกี่ยวข้องเกี่ยวข้อง
สามารถสรุปเนื้อหาได้ดังต่อไปนี้
- Kidbright
- ultrasonic sensor
- ไมเ้ท้า
- Powerbank
- kidbright program

kidbright
เป็นบอร์ดส่งเสริมการเรียนรู้พื้นฐานของการเขียนโค้ด หรือการเขียน โปรแกรม (Programming) ที่มี
จุดเริ่มต้นจากโครงการสื่อการสอน โปรแกรมมิ่งในโรงเรียน (Coding at School Project) ของกระทรวง
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีซึ่งมีจุดมุ่งหมายในการพัฒนาศักยภาพ ระหว่างความคิดเชิงตรรกะ และความคิด
ริเริ่มสร้างสรรค์ ในลักษณะการ เรียนรู้แบบ learn and play บอรด์ kidbright นีได้รับการออกแบบโดย ทีม
กับวิจัยและพัฒนาของเนคเทคและสวทช. ให้หมาะสําหรับเด็กและ เยาวชน ที่ต้องการเรียนรู้การทํางานและ
การเขียนโปรแกรมสำหรับ อุปกรณ์สมองกลฝังตัว (Embedded Board) และอุปกรณ์ตัวเซนเซอร์ ตรวจจับ
พื้นฐาน

ส่วนประกอบของบอร์ด บนบอร์ด KidBright32


4

ส่วนประกอบของบอร์ด บนบอร์ด KidBright32 มีส่วนประกอบต่าง ๆ ดังนี้


1. หน้าจอแสดงผลแอลอีดีขนาด 16x8 ใช้แสดงผลตัวเลข ข้อความ และรูปภาพต่าง ๆ
2. สวิตซ์กดติด-ปล่อยดับ จำนวน 2 ตัว ใช้ป้อนข้อมูลจากผู้ใช้เข้าสู่บอร์ด
3. เซ็นเซอร์แสง ใช้วัดความเข้มของแสงที่ระดับ 0 ถึง 100
4. ช่อง MicroUSB ใช้อัพโหลดโปรแกรม และจ่ายไฟเลี้ยงให้กับบอร์ด KidBright32
5. ช่อง KB Chain ใช้เชื่อมต่ออุปกรณ์เสริมภายนอกแบบ I2C
6. ช่อง USB Type-A ใช้เสียบอุปกรณ์ที่มีพอร์ตเชื่อมต่อเป็น USB เพื่อควบคุมการทำงานด้วยบอร์ด
KidBright32
7. บัสเซอร์ ใช้สร้างเสียงดนตรี และเสียงต่าง ๆ
8. สวิตซ์ Reset ใช้เพื่อเริ่มต้นการทำงานของโปรแกรมใหม่
9. หลอดแอลอีดีแสดงสถานะต่าง ๆ ซึ่งประกอบด้วย
9.1 หลอดแอลอีดีสีน้ำเงิน แสดงสถานะการใช้งานบลูทูธ
9.2 หลอดแอลอีดีสีแสง แสดงสถานการเชื่อมต่อ WiFi
9.3 หลอดแอลอีดีสีส้ม แสดงสถานะการอ่านค่าเวลาจากอินเตอร์เน็ต
9.4 หลอดแอลอีดีสีเขียว แสดงสถานะการใช้งาน IoT
10 ช่องเชื่อมต่ออุปกรณ์ภายนอก ประกอบด้วย
10.1 5V ช่องจ่ายแรงดันไฟฟ้า 5V เลี้ยงอุปกรณ์ภายนอก โดยใช้กระแสไฟฟ้าจากช่อง MicroUSB
10.2 IN1 IN2 IN3 และ IN3 ช่องรับสัญญาณดิจิตอลจากอุปกรณ์ภายนอก รองรับแรงดันไฟฟ้าได้ 0
ถึง5V
10.3 OUT1 และ OUT2 ช่องส่งสัญญาณดิจิตอลควบคุมอุปกรณ์ภายนอก ทำงานแบบ Open-drain
รองรับการเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ที่ใช้กระแสไฟฟ้าไม่เกิน 200mA
10.4 GND
11. เซ็นเซอร์อุณภูมิ ใช้วัดอุณหภูมิปัจจุบัน

Ultrasonic Sensor
คือ เซ็นเซอร์ที่ใช้สำหรับตรวจจับวัดถุต่างๆ โดยอาศัยหลักการสะท้อนของคลื่นความถี่เสียง และ
คำนวณหาค่าระยะทางได้จากการเดินทางของคลื่นและนำมาเทียบกับเวลา ด้วยกลไกดังกล่าวทำให้เราสามารถ
นำมาประยุกต์ใช้งานในรูปแบบต่างๆได้อย่างมากมาย เช่น งานวัดระดับน้ำ งานตรวจจับชิ้นงาน งานตรวจจับ
ความหนาของวัตถุ

รูปตัวอย่าง Ultrasonic Sensor


5

12. โมดูล ESP-WROOM-32 เป็นโมดูลไมโครคอนโทรลเลอร์ซึ่งเป็นหัวใจหลักของบอร์ด ทำหน้าที่ประมวลผล


การทำงาน และทำงานตามที่ผู้ใช้เขียนโปรแกรมสั่งงาน เชื่อมต่ออุปกรณ์ต่าง ๆ ทั้งอุปกรณ์บนบอร์ด และ
อุปกรณ์เสริม
13. กระบะถ่าน 3V ใช้ใส่แบตเตอรี่ CR1220 เพื่อจ่ายไฟเลี้ยงให้กับโมดูลนาฬิกา เพื่อให้บอร์ด KidBright32
จำค่าเวลาได้

ไม้เท้าคนตาบอด
เป็นอุปกรณ์ช่วยเดินสำหรับคนตาบอดที่ช่วยในการนำทาง สร้างความรับรู้ในทางต่างระดับหรือสิ่งกีด
ขวางที่อยู่ตรงหน้า เพราะคนตาบอดเป็นผู้พิการทางสายตาที่มีความบกพร่องทางการมองเห็น จึงไม่อาจทราบ
ได้ว่าทางข้างหน้ามีลักษณะเป็นเช่นไร ซึ่งทำให้เป็นอุปสรรคในการดำเนินชีวิตประจำวัน หรือคนตาบอดในบาง
รายจำเป็นต้องพึ่งพาคนอื่น จนกระทั่งตนเองไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้อย่างคนปกติ การใช้ไม้เท้าสำหรับ
คนตาบอดจึงช่วยแก้ปัญหาบางประการที่เกี่ยวข้องกับการเดินหรือการใช้ชีวิตประจำวันของคนตาบอดได้ โดย
ไม้เท้าคนตาบอดเป็น อุปกรณ์ช่วยเดิน ที่จำเป็นสำหรับคนตาบอดที่ช่วยให้การดำเนินชีวิตในสังคมนั้นง่ายขึ้น
6

powerbank
Power Bank (พาวเวอร์แบงค์) คือแบตเตอรี่สำรอง ที่สามารถนำมาใช้กับสมาร์ทโฟนของคุณได้ทุกรุ่นทั้ง
iPhone, Samsung, Android วิธีใช้งาน เพียงแค่เสียบสายชาร์จสมาร์ทโฟนต่อเข้ากับ Power Bank แค่นี้มือ
ถือของคุณก็ชาร์จไฟเพิ่มได้ทุกที่ทุกเวลา เวลาเดินทางอยู่นอกบ้าน ก็ไม่ต้องกลัวแบตหมดอีกต่อไป
7

บทที่ 3 ขั้นตอนการดำเนินงาน
ระยะเวลา
กันยายน 2565 - พฤศจิกายน2565
วิธีการดำเนินงาน
การจักทำโครงงานคอมพิวเตอร์เรื่องไม้เท้าsafety sensor โดยมีวัตถุประสงค์เพื่ออำนวยความสะดวกและเพิ่ม
ความปลอดภัยในการเดินทางของผู้พิการทางสายตาไม่สามารถมองเห็นได้ ทำให้การเดินทางในชีวิตประจำวัน
เป็นไปอย่างยากลำบากโดยไม้เท้าsafety sensor นี้จะสามารถทำให้ผู้พิการทางสายตาเดินทางสะดวกขึ้น โดย
มีระบบการทำงานด้วยบอร์ดสมองกล kidbright และเซนเซอร์ตรวจจับสิ่งกีดขวาง Ultrasonic Sensor ที่จะ
ส่งเสียงเตือนเมื่อตรวจพบสิ่งกีดขวาง ทำให้ผู้พิการทางสายตารู้สึกตัวและหลบสิ่งกีดขวงได้ทันท่วงที
แผนการปฏิบัติงาน

เดือน
ที่ กันยายน- พฤศจิกายน2565
ระยะเวลาจัดทำโครงงาน ก.ย. ก.ย. ก.ย. ต.ค. ต.ค. พ.ย. พ.ย.
1-5 12-17 25-30 1 -3 15-17 2-6 12-18

1.ประชุม/ปรึกษาหารือ
ร่วมกับคุณครูที่ปรึกษา
2.วางแผนและปฎิบัติการ
3.หาหัวข้อและสรุป
โครงงาน
4.ค้นหาข้อมูล/หาเค้าโครง
โครงงาน
5.จัดหาวัสดุ/อุปกรณ์ที่ต้อง
ใช้
6.รวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้อง
กับโครงงาน
7.เขียนโค้ดและประกอบ
อุปกรณ์
8.ทดสอบโปรแกรม
9.สรุปและประเมินผลงาน
8

3.1แผนผังลำดับขั้น
9

3.2 ผังงาน (flowchart)


ผังงาน (flowchart) คือ แผนภาพซึ่งแสดงลำดับขั้นตอนของการทำงาน โดยแต่ละขั้นตอนจะถูก
แสดงโดยใช้สัญลักษณ์ซึ่งมีความหมายบ่งบอกว่า ขั้นตอนนั้น ๆ มีลักษณะการทำงาน ทำให้ง่ายต่อความเข้าใจ
ว่าในการทำงานนั้นมีขั้นตอนอะไรบ้าง และมีลำดับอย่างไร
10

3.3ผังงานการส่งสัญญาณเตือน

เริม่ ต้น

เซนเซอร์ตรวจจับสิง่ กีดขวางในระยะ 2
เมตร

ไม่ใช่

ตรวจพบสิง่ กีดขวาง

ส่งสัญญาณเตือนด้วยเสียง

สิน้ สุด
11

บทที่ 4 ผลการดำเนินงาน

สำหรับเนื้อหาบทนี้ได้อธิบายถึงผลของการใช้งานไม้เท้าผลการทดสอบคู่มือการใช้งานซึ่งไป
ประกอบด้วยวิธีการใช้งานไม้เท้าsafety sensor ไว้ดังนี้

4.1 ความสามารถของโปรแกรม
ไม้เท้ามีระบบการทำงาน 3 ส่วน คือ
1.บอร์ด kidbright
-ควบคุมเซนเซอร์เพื่อตรวจจับสิ่งกีดขวางและทำการแจ้งเตือน
2.เซนเซอร์ตรวจจับสิ่งกีดขวาง
- Ultrasonic Sensor
-ตรวจจับสิ่งกีดขวางในระนะ2 เมตร
3.ส่งสัญญาณเตือนด้วยเสียง
-เป็นจังหวะตามระยะห่างของเซนเซอร์สิ่งกีดขวาง
- จังหวะของการเตือนจะเร็วขึ้นหากเข้าไกล้สิ่งกีดขวางมากขึ้นเรื่อยๆ
12

บทที่ 5 สรุป อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ

5.1 สรุป
จากการใช้งานไม้เท้าsafety sensor พบว่าสามารถช่วยให้ผู้พิการทางสายตาเดินทางได้สะดวกมาก
ขึ้นและลดการเกิดอุบัติเหตุต่างๆที่เกิดจากการชนวัตถุจากการมองไม่เห็นสิ่งกีดขวางที่อาจเป็นอันตรายต่อตัวผู้
พิการทางสายตาได้ในระดับที่ดี ซึง่ sensor จาก บอร์ด kidbright สามารถตรวจจับสิ่งกีดขวางได้ในระยะ 2
เมตร 2 เมตร ด้วยระยะทางที่ตรวจจับได้ไกลขึ้นทำให้ไม้เท้าสามารถแจ้งเตือนก่อนที่จะชนสิ่งกีดขวางนั้นๆ ทำ
ให้เตรียมตัวป้องกันและหลีกเลี่ยงอุบัติเหตุ และหาเส้นทางใหม่ในการหลบหลีกสิ่งกีดขวางนั้นๆได้ทันท่วงที

5.2 ปัญหาและข้อจำกัดในการทำงาน
5.2.1 ปัญหาในการเขียนโปรแกรม
- บอร์ด kidbright ยังมีราคาแพง
5.2.2 ข้อจำกัดของบอร์ด kidbright
บอร์ดที่ใช้ในการทำงานเพื่อตรวจจับสิ่งกีดขวาง จำเป็นต้องใช้พลังงานสูงทำให้แบตเตอรี่นั้นกินไฟ และ
อาจใช้งานได้ไม่นานแบตก็จะหมด
5.3 ข้อเสนอแนะ
5.3.1 พลังงานให้ใช้เป็นพาวเวอร์แบงค์ที่มีความจุสูงของจะทำให้สะดวกในการต่อวงจรและจะใช้งานได้ง่ายขึ้น
และนานขึน้
13

บรรณานุกรม
kid bright.สืบค้นเมื่อ 30 กันยายน 2565.https://www.kid-bright.org/

infrared sensor e18-d80nklสืบค้นเมือ่ 30 สิงหาคม


2565. http://www.ett.co.th/productSensor/E18-D80NK/E18-D80NK.ht ml
ไม้เท้าสืบค้นเมื่อ30 กันยายน 2565. https://thisable.me/content/2018/06/422

Powerbankสืบค้นเมื่อ 30 กันยายน2565. http://www .siam ebook.com/lbro/en/about-


siamebook-com.html
14

ภาคผนวก
15

รูปภาพการดำเนินงานพัฒนาโครงการ
16
17

You might also like