You are on page 1of 330

เอกสารคําสอน

วิชาวัสดุวิศวกรรม
(Engineering Materials)

รศ.ดร. สุดสาคร อินธิเดช


คณะวิศวกรรมศาสตร มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
ปการศึกษา 2559
คํานํา

เอกสารประกอบการสอนเลมนี้เรียบเรียงและปรับปรุงขึ้นใหม เพื่อใชประกอบการสอนวิชาวัสดุ
วิศวกรรม (Engineering Materials) สําหรับนิสิตคณะวิศวกรรมศาสตร มหาวิทยาลัยมหาสารคาม โดยมี
เนื้อหาครอบคลุม ทั้ง เรื่อง โครงสราง การผลิตและการใชงานวัส ดุทางวิศวกรรมไดแก โลหะ เซรามิ ก
พอลิเมอร วัสดุผสม และไดกลาวถึงการเสื่อมสภาพของวัสดุไวตอนทาย
ผูเ รียบเรียงหวังเปนอยางยิ่ง วาเอกสารคําสอนชุดนี้ส ามารถทําใหนิสิตคณะวิศวกรรมศาสตร
มหาวิทยาลัยมหาสารคาม มีความรูความเขาใจเกี่ยวกับวัสดุวิศวกรรมไดดียิ่งขึ้น และสามารถนําความรูไป
ใชงานในการเลือกใชวัสดุใหถูกตองตอไปในอนาคต

รศ.ดร. สุดสาคร อินธิเดช


สารบัญ
บทที่ หนา
1. บทนํา 1
2. โครงสรางอะตอมและพันธะอะตอม 8
3. โครงสรางของของแข็งมีผลึก 22
4. การแข็งตัวของน้ําโลหะ 41
5. ตําหนิในของแข็ง 50
6. การแพร 60
7. สมบัติทางกลของโลหะ 70
8. สมดุลเฟส 124
9. การแปลงเฟสและกรรมวิธีทางความรอน 151
10. โลหะ 200
11. เซรามิค 229
12. พอลิเมอร 260
13. วัสดุผสม 290
14. การกัดกรอนและการเสื่อมสภาพของวัสดุ 315
เอกสารอางอิง 327
1

บทที่ 1 บทนํา

วัสดุมีความสําคัญตอวัฒนธรรมของมนุษย ทัง้ การขนสง อาคารบานเรือน เครือ่ งแตงกาย


หรือการติดตอสอสารเปนตน มนุษยไดมีการพัฒนาวัสดุมาอยางตอเนื่องเพือ่ ตอบสนองความตองการหรือ
ความสะดวกสบาย แมวาโลกนีจ้ ะมีวัสดุอยูหลายประเภท แตมีเพียงไมกี่ชนิดเทานั้นทีส่ ามารถตอบสนอง
ความตองการทีซ่ ับซอนของมนุษยไดนั่นคือ โลหะ เซรามิค โพลิเมอร และ วัสดุผสม
การพัฒนาเทคโนโลยีใหม ๆ ในปจจุบันลวนตองพึ่งพาความรูทางดานวัสดุ โดยเกี่ยวของกับ
การเลือกใชวัสดุทเี่ หมาะสม การเขาใจอยางถองแทเกีย่ วกับชนิดและคุณสมบัติของวัสดุจงึ มีความจําเปน
อยางยิ่ง

1.1 คํานิยามที่สําคัญ
วัสดุศาสตร (Materials Science) เปนศาสตรที่วาดวยการศึกษาความสัมพันธระหวาง
โครงสรางของวัสดุกบั คุณสมบัติของวัสดุ
วัสดุวิศวกรรม (Engineering Materials) เปนศาสตรที่วาดวยการออกแบบและการคํานวณ
ทางดานวิศวกรรม ทีเ่ กี่ยวของกับโครงสรางของวัสดุเพื่อใหไดมาซึ่งคุณสมบัติตาง ๆ ตามทีก่ ําหนดไว
โครงสราง (Structure)
โครงสรางในที่นี้จะหมายถึงโครงสรางภายในของวัสดุเกี่ยวเนื่องกับการจัดเรียงตัวของ
องคประกอบตาง ๆ ซึ่งในที่นอี้ าจจะหมายถึงอะตอม หรือ ไอออน
- ประกอบดวยอะตอมของธาตุอะไรบาง อยางละเทาไหร
- อะตอมเหลานั้นเรียงตัวอยางไร และอยูในระดับชั้นพลังงานที่เทาไหรในระดับอะตอม
- การเรียงตัวในระดับอะตอมเหลานั้น ทําใหเกิดระดับกลุม ของอะตอมที่ใหญขึ้นในระดับ
จุลภาค
- โครงสรางระดับจุลภาคเหลานั้นรวมตัวกันเกิดเปนโครงสรางที่มองเห็นไดเรียกวาระดับ มห
ภาค
ดังนั้นจึงสรุปไดวาโครงสรางในที่นี้สามารถแบงออกเปนสองระดับคือ ระดับจุลภาค ซึ่งตองใช
กลองจุลทรรศนตรวจสอบ และระดับมหภาค ซึ่งสามารถตรวจสอบไดดวยตา
สมบัติ (Property) หมายถึงการตอบสนองบางอยางเมือ่ ถูกกระตุนดวยสิง่ แวดลอมภายนอก
สามารถแบงเปน 6 ประเภทคือ สมบัติทางกล ทางไฟฟา ทางความรอน ทางแมเหล็ก ทางแสง และ
2

ทางการเสือ่ มสภาพ นอกจากโครงสรางและสมบัติแลวยังมีสองปจจัยทีส่ ําคัญที่ตองพิจารณาคือ


กระบวนการ และ สมรรถนะ ของวัสดุ โดยมีความสัมพันธกันดังตอไปนี้

กระบวนการ  โครงสราง  สมบัติ  สมรรถนะ

โดยโครงสรางของวัสดุจะขึ้นกับวาผานกระบวนการใดมาบาง จากนั้นโครงสรางจะกําหนดสมบัติของวัสดุ
ชนิดนั้น ๆ และสมบัตขิ องวัสดุจะกําหนดสมรรถนะในการใชงาน

1.2 ความจําเปนในการศึกษาเกี่ยวกับวัสดุ
ปญหาที่พบบอยที่สุดในการใชงานวัสดุคือ การเลือกใชวัสดุใหเหมาะสมที่สุดกับสภาพการใชงาน
โดยทั่วไปพบวาไมมีวัสดุประเภทใดที่สามารถใชงานไดดีทุกสภาวะการใชงาน ดังนั้นการใชงานโดยทั่วไปจึง
เนนที่สมบัติดานใดดานหนึ่งเปนพิเศษ วัสดุแตละประเภทมักจะมีขอเดนและดอยแตกตางกันไป เชน วัสดุ
ที่มีความแข็งแรงสูงมักจะมีความเหนียวต่ํา หรือวัสดุบางประเภทจะมีความแข็งแรงสูงแตน้ําหนักมากเปน
ตน นอกจากนี้ยังตองพิจารณาในแงของเศรษฐศาสตรดวยวาตนทุนเหมาะสมหรือไม โดยปกติมักจะพบวา
วัสดุที่มีประสิทธิภาพในการใชงานสูงมักจะมีตนทุนสูงตามไปดวย ดังนั้นถาวิศวกรมีความรูความเขาใจ
เกี่ยวกับคุณลักษณะของวัสดุมากเทาใดก็ยิ่งสามารถตัดสินใจเลือกวัสดุบนพื้นฐานของเงื่อนไขตาง ๆ ได
อยางมีประสิทธิภาพ

1.3 การแบงประเภทของวัสดุ
วัสดุที่เปนของแข็งสามารถแบงออกไดเปน 3 กลุมพื้นฐานไดแก โลหะ เซรามิค และโพลิเมอร โดย
เกณฑในการแบงจะยึดรายละเอียดทางเคมีและโครงสรางอะตอมเปนหลัก
โลหะ
โลหะประกอบดวยอะตอมของธาตุโลหะ และมีอิเล็กตรอนอิสระอยูมาก ซึ่งทําใหมีสมบัติตาง ๆ
หลากหลาย โดยทั่วไปจะนําไฟฟาและความรอนไดดี ไมโปรงแสง ขัดแลวจะมันวาว มีความแข็งแรงสูงและ
สามารถแปรรูปได โดยโลหะจะมีความหนาแนนแตกตางกันตามรูปที่ 1.1 ตัวอยางโลหะที่สําคัญไดแก
เหล็ก อะลูมิเนียม ทองแดง นิกเกิล ไทเทเนียม ทอง แมกนีเซียม เปนตน โลหะมีสมบัติการนําไฟฟาได
ดีกวาวัสดุชนิดอื่นดังรูปที่ 1.2 โดยตัวอยางการใชงานวัสดุประเภทโลหะแสดงดังรูปที่ 1.3
3

รูปที่ 1.1 ความหนาแนนที่อุณหภูมิหองของวัสดุบางชนิด

รูปที่ 1.2 สภาพการนําไฟฟาวัสดุบางชนิด


4

รูปที่ 1.3 ตัวอยางการใชงานวัสดุประเภทโลหะ

เซรามิก
เซรามิกเปนสารประกอบระหวางธาตุโลหะกับอโลหะ มักพบในรูปของ ออกไซด ไนตราย บอไรด
หรือคารไบด ไมมีอีเล็ตรอนอิสระ ยึดกันดวพันธะที่มีความแข็งแรงสูง เชน อิออนิก เปนฉนวนตอความรอน
และไฟฟาที่ดีมาก มีจุดหลอมเหลวสูง ทนอุณหภูมิไดดีและทนการกัดกรอนไดดีเยี่ยม แตมีขอดอยคือ มี
ความเปราะสูงกวาวัสดุในกลุม อื่นดังรูปที่ 1.4 ตัวอยางการใชงานเซรามิกแสดงดังรูปที่ 1.5

รูปที่ 1.4 ความตานทานการกระแทกของวัสดุบางชนิด


5

รูปที่ 1.5 ตัวอยางการใชงานวัสดุประเภทเซรามิก

พอลิเมอร
พอลิเมอรเปนสารประกอบไฮโดรคารบอนซึ่งมาคารบอนเปนแกนหวงโซและมีไฮโดรเจนและธาตุ
อื่น ๆ ผสมอยู โดยปกติมีขนาดโมเลกุลใหญ น้ําหนักโมเลกุลมาก มีความหนาแนนต่ํา และออนตัวงาย มี
ความแข็งแรงต่ํากวาวัสดุในกลุม อื่นดังรูปที่ 1.6 สมบัตเิ หลานี้ทําใหพอลิเมอรขึ้นรูปไดงาย ตัวอยางการใช
งานวัสดุประเภทพอลิเมอรแสดงดังรูปที่ 1.7

รูปที่ 1.6 ความแข็งแรงของวัสดุบางชนิด


6

รูปที่ 1.7 ตัวอยางการใชงานวัสดุประเภทพอลิเมอร

นอกจากวัสดุในกลุม หลัก 3 กลุมขางตนแลวยังสามารถแบงวัสดุที่มีลกั ษณะก้ํากึ่งที่ใชงานกันในทาง


วิศวกรรมดังตอไปนี้คือ

วัสดุผสม
วัสดุผสมเกิดจากการนําวัสดุตองแตสองชนิดขึ้นไปมาผสมกันเพื่อใหเกิดสมบัติใหมที่เหมาะสมกับ
การใชงานมากขึ้นดังรูปที่ 1.8 ตัวอยางเชน ไฟเบอรกลาสที่เกิดจากนําเสนใยแกวมาผสมกับพอลิเมอรเปน
ตน รูปที่ 1.9 แสดงตัวอยางของวัสดุที่ไดกลาวมาขางตนทั้งหมด

รูปที่ 1.8 การผสมกันของวัสดุผสม


7

รูปที่ 1.9 ตัวอยางการใชงานวัสดุทางวิศวกรรม

1.3 สรุป
วัสดุในทางวิศวกรรมมีความสําคัญในแงของการดํารงชีวิตของมนุษย การเลือกใชวัสดุจะยึดกับ
สมบัติของวัส ดุ เชน สมบัติทางกล สมบัติท างไฟฟา สมบัติทางความรอน เปนตน วัส ดุท างวิศวกรรม
ประกอบดวย โลหะ เซรามิกและพอลิเมอร วัสดุผสมเกิดจากการนําวัสดุตั้งแตสองชนิดมารวมกันเพื่อใหมี
สมบัติที่ดีขึ้น การเลือกใชวัสดุใหเหมาะสมกับการใชงานจําเปนตองเขาใจธรรมชาติของวัสดุทางวิศวกรรม
ดังกลาว
8

บทที่ 2
อะตอมและพันธะของอะตอม

เนื่องจากสมบัติของวัสดุจะขึ้นกับพันธะตาง ๆ ภายในเนื้อวัส ดุ โดยเฉพาะในของแข็งนั้น


สมบัติสวนใหญ จะสัมพันธกับการเรียงตัวของอะตอม ดังนั้นในบทเรียนนี้สิ่งที่ตองทําความเขาใจคือ
แนวคิดพื้นฐานเกี่ยวกับโครงสรางของอะตอม อิเล็กตรอนในอะตอม ตารางธาตุ แรงและพลังงาน
พันธะของอะตอม

2.1 แนวคิดพื้นฐานเกี่ยวกับอะตอม
ในการศึกษาเกี่ยวกับกับวัสดุในทางวิศวกรรมจะถือวาหนวยที่เล็กที่สุดคือ อะตอม โดยแตละ
อะตอมประกอบดวยโปรตอนและนิวตรอนตรงกลางซึ่งมีอิเล็กตรอนลอมรอบ คาประจุของโปรตอน
และอิเล็กตรอนมีคาเทากันคือ 1.6x10-19 คูลอมบ โดยโปรตอนมีคาประจุเปนบวกและอิเล็กตรอนมีคา
ประจุเปนลบ สวนนิวตรอนไมมีประจุ ประจุรวมของอะตอมเปนศูนย มวลของโปรตรอนและนิวตรอน
เทากันคือ 1.67x10-27 kg สวนมวลของอิเล็กตรอนจะนอยกวาคือมีคาเทากับ 9.11x10-31 kg

2.2 อิเล็กตรอนในอะตอม
ตามหลักทฤษฎีของบอหร นั้นไดกลาวไววา อิเล็กตรอนจะมีพลังงานไดบางคาเทานั้น โดย
ระดับพลังงานของอิเล็กตรอนจะเปลี่ยนแปลงได แตตองเปลี่ยนไปสูคาเฉพาะ คือกระโดดจากชั้นหนึ่ง
ไปอีกชั้นหนึ่งไดเทานั้นซึ่งชั้นเหลานั้นจะมีพลังงานไดคา ๆ เดียวเทานั้น ดังตัวอยางในรูปที่ 2.1 แสดง
ตัวอยางการจัดเรียงตัวของอิเล็กตรอนในอะตอมตามหลักทฤษฎีของบอหร โดยในแตละระดับพลังงาน
จะมีอิเล็กตรอนไดเพียงตัวเดียว แตแบบจําลองนี้มีขอจํากัดคือไมสามารถอธิบายปรากฏการณของ
อิเล็กตรอนไดทั้งหมด จึงมีการคิดคนแบบจําลองทางกลศาสตรคลื่นขึ้นมาทดแทน
9

รูปที่ 2.1 การเรียงตัวของอิเล็กตรอนในแตละลําดับชั้นพลังงานตามหลักทฤษฎีของบอหร


10

2.3 แบบจําลองทางกลศาสตรคลื่น
เปนแนวคิดที่วาอิเล็กตรอนเปนทั้งอนุภาคและคลื่นในเวลาเดียวกัน ดังนั้นจึงระบุตําแหนง
ของอิเ ล็ก ตรอนที่แนนอนไมได ซึ่ง เราจะบอกไดแควาความเปนไปไดที่จ ะพบอิเ ล็ก ตรอนรอบ ๆ
นิวเคลียส ซึ่งคลายเปนกลุมหมอก รูปที่ 2.2 เปนการเปนการเปรียบเทียบความนาจะเปนที่จะพบ
อิเล็กตรอนที่ระยะหางจากนิวเคลียสตามตามทฤษฎีของบอรหและตามแบบจําลองกลศาสตรคลื่น ซึ่ง
ตามทฤษฎีของบอรห จะมีค วามนาจะเป นที่จ ะพบอิเ ล็ ก ตรอนที่ ตําแหนง เดีย วเท านั้น สว นตาม
แบบจําลองกลศาสตรคลื่นอธิบายวามีโอกาสที่จะพบอิเล็กตรอนไดทุกตําแหนงรอบ ๆ นิวเคลียส

รูปที่ 2.2 เปรียบเทียบความนาจะเปนทีจ่ ะพบอิเล็กตรอนทีร่ ะยะหางตาง ๆ จากนิวเคลียส


ตาม a) ทฤษฎีของบอรห และ b) ตามแบบจําลองกลศาสตรคลื่น
11

การอธิบายพฤติกรรมของอิเล็กตรอนตามแบบจําลองกลศาสตรคลื่นจะถูกกําหนดโดยใชเลข
ควอนตัม ซึ่งเปนตัวเลขที่ใชบอก ขนาด รูปราง และทิศทาง ดวยตัวเลข 4 ตัวดังตารางที่ 2.1 โดย
พบวาในแตละชั้นของระดับพลังงานสามารถแยกยอยตอไดอีกเปนระดับชั้นพลังงานยอย ซึ่งจะใช
เลขควอนตัมเปนตัวบงบอกจํานวนชั้นยอยนี้ โดยเลขควอนตัมประกอบดวยตัวเลขดังตอไปนี้คือ
เลขควอนตัมหลัก แทนดวย n เปนตัวเลขที่ใชบอกระดับพลังงานหลัก ซึ่ง บอกขนาดหรือ
ระยะหางจากนิวเคลียส โดยจะเริ่มจากเลขจํานวนเต็มเริ่มจากหนึ่งหรือที่นิยมใชกันคือ K, L, M, N, O
แทนเลข 1, 2, 3, 4, 5 ตามลําดับ โดยเลขนี้จะเปนไปตามแบบจําลองของบอหร ซึ่งบอกตําแหนงของ
อิเล็กตรอนจากนิวเคลียส โดยตัวเลขยิ่งมาก อะตอมจะมีขนาดใหญ
เลขควอนตัมตัวที่สองคือ l เปนตัวเลขที่ใชบอกรูปรางของอะตอมวาประกอบดวยระดับชั้น
ของพลังงานยอยใดบาง แสดงดวยสัญลักษณ s, p, d และ f ซึ่งตัวเลขเหลานี้จะเรียกวาออรบิทอล
(Orbitals) โดยตัวเลขของ l จะถูกกําหนดดวยตัวเลข n
เลขควอนตัวที่สามคือเลขตัมแมเหล็กแทนดวย ml เปนตัวเลขที่บอกการเอียงของวงโคจร
ของอะตอม ซึ่งขึ้นกับคา l โดย ml มีคาตั้งแต –l ศูนย หรือ +l โดยถา l=0 แลว ml จะมีคาเปนศูนย
เทานั้น แตถา l =1 พบวา ml มีคาไดทั้ง –1, 0 หรือ +1 ดังนั้นที่คา l ใดๆ สามารถหาคา ml ได
ดังนี้คือ
ml  2l  1 (2.1)
ดังนั้นเมื่อแทนคา l ในแตละคา คือ 0 1 2 3 ลงไปในสมการ 2.1 จะพบวาชั้น s มีหนึ่งชั้นพลังงาน ชั้น
p มี 3 ระดับ ชั้น d มี 5 ระดับและชั้น f มี 7 ระดับ
ตัวเลขควอนตัม ตัวที่ สี่คื อ เลขควอนตัม การหมุน ms ใชร ะบุทิ ศทางหรือการหมุน ของ
อิเล็กตรอน มีตัวเลขเปน  ½ ซึ่งบอกวาอิเล็กตรอนหมุนทวนเข็มหรือตามเข็มนาฬิกา
การจัดเรียงอิเล็กตรอนใชหลักกีดกันของพอลลี กลาวคือแตละชั้นพลังงานรองรับอิเล็กตรอน
ไดเพียง 2 ตัวเทานั้น โดยอิเล็กตรอนทุกตัวตองมีพลังงานต่ําที่สุดซึ่งเรียกวาสภาวะพื้น ในความเปน
จริงนั้นอะตอมของทุกธาตุมีอิเล็กตรอนไมเต็มทุกระดับพลังงาน ทําใหเกิดเปนธาตุหลายชนิด โดยปกติ
อิเล็กตรอนวงนอกสุดจะมีบ ทบาทในการกําหนดสมบัติของธาตุตัวนั้น ถาระดับพลัง งานนอกสุดมี
อิเ ล็ก ตรอนอยูเ ต็ม พอดีจะมีสมบัติ เฉื่อย เชน He หรือ Ar เปนตน แตถามีไมเต็มจะเกิดการ
แลกเปลี่ยนอิเล็กตรอนซึ่งเกิดปฏิกิริยาเคมีตอไป เชน เหล็กกลายเปนสนิม เปนตน
12

ตารางที่ 2.1 คาเลขควอนตัมของอิเล็ก


ตรอนในอะตอม

2.4 ตารางธาตุ
ตารางธาตุไดถูกสรางขึ้นตามความสัมพันธของตาราง Periodic ดังรูปที่ 2.3 กําหนดใหโลหะ
อยูทางซายและตรงกลาง (ประมาณ 81 ชนิด) อโลหะอยูทางขวาสุด สวนธาตุกึ่งโลหะอยูตรงกลาง
ระหวางโลหะและอโลหะ ธาตุในแนวนอนเรียกวาคาบ สวนแนวตั้งเรียกวาหมู ถาเปนคาบเดียวกัน
เลขอะตอมเพิ่มขึ้นจากซายไปขวา และถาเปนหมูเดียวกันจะมี อิเล็กตรอนวงนอกสุดเทากัน ซึ่งจาก
ตารางธาตุจะพบวา
-ธาตุในกลุม 1A-8A อิเล็กตรอนวงนอกสุดจะมีระดับชั้นพลังงานอยูในชั้น s, p สวนในกลุม
B จะอยูในชั้น d
-ขนาดของอะตอมมีแนวโนมเพิ่มขึ้นจากบนลงลาง และในคาบเดียวกันจะมีขนาดลดลงจาก
ซายไปขวา
จากตารางพบวาธาตุสวนใหญจัดเปน อิ เ ล็ กโตรโพสิทีฟ คือสามารถเสีย อิเล็ก ตรอนแลว
กลายเปน ไอออนบวก สวนธาตุทางขวามือจัดปน อิเ ล็ก โตรเนกาทีฟ คือ สามารถรับ อิเล็กตรอน
กลายเปนไอออนลบหรือใชอิเล็กตรอนรวมกับธาตุอื่น ๆ ได ดังนั้นจึงไดมีการกําหนดคาความสามารถ
ในการรับอิเล็กตรอนแลวเกิดปนไอออนลบของธาตุตางๆไวซึ่งเรียกวาคาอิเล็กโตรเนกาทิวิตีหรือ EN
ดังแสดงในรูปที่ 2.4 โดยทั่วไปจะมีคาเพิ่มจากซายไปขวาในคาบเดียวกันตารางธาตุเพราะอะตอมจะ
รับอีเล็ตรอนไดดีและมีจํานวนของอิเล็กตรอนวงนอกเกือบเต็ม นอกจากนี้ยังพบวาคา EN เพิ่มจากลาง
ขึ้นบนในหมูเ ดียวกันของตารางธาตุเพราะอะตอมที่มีขนาดเล็ก จะมีจํานวนอิเ ล็ก ตรอนนอยการมี
อิเล็กตรอนมาก จะลดแรงดึงดูดจากนิวเคลียสลง
13

รูปที่ 2.3 แสดงตารางธาตุตามตาราง Periodic (Fundamental of Modern Manufacturing,


John Wiley)

รูปที่ 2.4 แสดงตารางคาอิเล็กโตรเนกาทิวิตีของธาตุตางๆ (จากหนังสือ Materials Science and


Engineering An Introduction, John Willey)
14

2.5 ชนิดของพันธะ
เมื่อหลาย ๆ อะตอมมาอยูรวมกันเกิดเปนโมเลกุลของวัสดุนั้น อะตอมตองมีพันธะตอกันจึง
จะสามารถอยูร วมกันได เมื่ออะตอมสองอะตอมอยูใกลกันเกิดแรงตอกันคือทั้งแรงดูด (FA) และแรง
ผลัก (FR) ซึ่งจะเกิดเปนพลังงานดูด (EA) และพลังงานผลัก (ER) ดังนั้นจึงจะมีเพียงระยะระหวาง
อะตอมคาหนึ่ง เทานั้นที่ทําใหแรงดูดและแรงผลักเทากันซึ่งเรียกวาระยะสมดุล (r0) ดังรูปที่ 2.5 ที่
ระยะสมดุล นี้อะตอมจะมีส ภาวะเสถียรและอยูรวมกันได แตร ะยะนี้จ ะเปลี่ยนแปลงไดอีก เมื่อมี
พลังงานจากภายนอกมากระตุนอีก โดยแรงหรือพันธะที่เกิดขึ้นนี้มีผลตอความแข็งแรงและการคงรูป
ของวัสดุ (Stiffness)

รูปที่ 2.5 (a) แรงดูด แรงผลักและแรงลัพทของสองอะตอม (b) พลังงานดูด พลังงานผลักและ


พลังงานลัพทของสองอะตอม

จากรูปที่ 2.4 (a) จะไดวา FN  FR  FA (2.2)


 Z1 Z 2 e 2  nb
โดย FA  และ FR 
4 0 a 2 a n1

เมื่อ Z1 และ Z2 คือ จํานวนประจุที่เปลี่ยนไปเปนไอออน e= 1.6x10-19 C 0 = 8.85x10-12


C2/(N.m2) a= ระยะหางระหวางไอออน (m) n=คาคงที่ และ b ประมาณ 9
15

จากรูปที่ 2.4 (b) จะสามารถหาพลังงานศักยสุทธิ (EN) ไดดังนี้คือ


EN  ER  E A (2.3)
Z1 Z 2 e 2 nb
โดย EA  และ ER 
4 0 a an

ตัวอยางที่ 2.1 จงหาแรงดึงดูดระหวางไอออน Na+ และ Cl- ในสภาพที่สัมผัสกันพอดี กําหนดให


ขนาดรัศมีของ Na+ = 0.095 nm และ Cl- = 0.181 nm

วิธีทํา จากโจทยจะไดวา Z1= +1 และ Z2= -1 และ a = รัศมีของไอออนบวก+ รัศมีของไอออน


ลบ= 0.276 nm แทนคาลงในสมการที่ 2.2 จะได
 Z1 Z 2 e 2
FA 
4 0 a 2
 (1) x (1) x 1.6 x10 19 
2

FA 
4x8.85 x10 12 x(2.76 x10 10 ) 2
FA  3.02 x10 9 N
ถาเปนระยะสมดุลแลวจะพบวาแรงดูด=แรงผลัก โดยมีทิศทางตรงขาม

ตัวอยางที่ 2.2 จงหาพลังงานศักยสุทธิระหวางไอออน Na+ และ Cl- ในสภาพที่สัมผัสกันพอดี ถา


กําหนดใหคา b = 8.59x10-106 N.m10 และ n = 9

วิธีทํา จากโจทยจะไดวา Z1= +1 และ Z2= -1 และ a = 0.276 nm แทนคาลงในสมการที่ 2.3 จะ


ได
Z1 Z 2 e 2
EA  + nb
4 0 a an
(1) x (1) x 1.6 x1019 
2
8.59 x10106
EA  
4x8.85 x10 12 x (2.76 x1010 ) 2.76 x1010 
9

E A  8.34 x10 19  0.92 x10 19

E A  7.42 x10 19 J


16

พันธะในอะตอมสามารถแบงออกเปนสองประเภท คือ
พันธะปฐมภูมิหรือเรียกวาพันธะหลัก สวนใหญเกี่ยวของกับอิเล็กตรอนวงนอกสุด เมื่อเกิด
พันธะนี้แลวอะตอมจะมีแนวโนมที่จะมีเสถียรภาพ คือ อิเล็กตรอนวงนอกจะอยูเต็มจํานวน ซึ่งมีผล
โดยตรงตอสมบัติของวัสดุ พันธะในกลุมนี้ไดแก พันธะโลหะ ไอออนิก และโควาเลนต
พันธะทุติยภูมิหรือพันธะรอง เปนแรงหรือพลังงานพันธะที่ออนกวาพันธะปฐมภูมิ แตก็มีผล
ตอสมบัติของวัสดุเชนกัน พันธะในกลุมนี้ไดแก พันธะวันเดอรวาลล ซึ่งประกอบดวยพันธะที่เกิดจาก
ขั้วไฟฟาถาวร และที่เกิดจากขั้วไฟฟาเหนี่ยวนํา

 พันธะไอออนิก
พันธะไออนิกเกิดจากการรวมตัวกันของอะตอมโลหะและอโลหะ ซึ่งมีคา EN แตกตางกันมาก
โดยโลหะจะจายอิเล็กตรอนใหกับอโลหะเพื่อมีอิเล็กตรอนวงนอกใหครบตามระดับพลังงาน พันธะ
ชนิดนีม้ ีความแข็งแรงสูงมากเพราะเปนแรงทางไฟฟาหรือแรงคูลอมบ ตัวอยางพันธะนี้คือพันธะใน
NaCl ดังรูปที่ 2.6 พันธะไอออนิกไม มีทิศทางเพราะมีขนาดเทากัน ไอออนบวกถูก ลอมรอบดวย
ไอออนลบในทุกทิศทางและสมมาตรกันในสามมิติ โดยไอออนลบถูกลอมรอบดวยไอออนบวกในสาม
มิติเชนเดียวกัน
อยางไรก็ตามขนาดของไอออนบวกและไอออนลบไมเทากัน ซึ่งปกติไอออนลบจะมีขนาดใหญ
กวาไอออนบวก ดังนัน้ ตองมั่นใจวาใชขนาดของรัศมีของไอออนที่ถูกตอง เมื่อเกิดพันธะไอออนิกขึ้นจะ
เกิดการคายพลังงานบางสวนออกมา พลังงานพันธะมีคามากทําใหมีความแข็งแรงสูง จนบางครั้งทําให
วัสดุเปราะโดยเฉพาะในเซรามิค ซึ่งพบวามีพันธะอิออนิกเปนสวนใหญ

รูปที่ 2.6 แสดงพันธะอิออนิคใน NaCl


17

 พันธะโควาเลนต
พันธะโควาเลนตเกิดจากการรวมตัวกันของอะตอมของธาตุที่มีคา EN ใกลเคียงกันและมักเกิด
กับธาตุที่มีคา EN สูง โดยมีการใชอิเล็กตรอนในวงนอกสุดรวมกันเพื่อใหครบจํานวนตามระดับชั้น
พลังงาน โดยอิเล็กตรอนตัวที่ถูกใชรวมจะถือวาเปนของทั้งสองอะตอม โดยจํานวนอิเล็กตรอนที่ใช
รวมกันอาจจะมี 1, 2 หรือ 3 ตัว ปกติจะอยูในชั้นพลังงาน s, p ซึ่งพันธะนี้พบมากในพอลิเมอร รูปที่
2.7 แสดงตัวอยางพันธะโควาเลนตในซิลิกอนบริสุทธิ์ โดยปกติพันธะโควาเลนตจะมีความแข็งแรงนอย
กวาพันธะอิออนิก ยกเวนในเพชรซึ่งเปนโควาเลนตที่สานกันเปนโครงรางตาขาย
พันธะโควาเลนตสามารถเกิดเปนแบบมีขั้วและไมมีขั้วได ขึ้นกับวาอิเล็กตรอนจัดเรียงตัวแบบ
ใดในอะตอม ยกตัวอยางเชน H2 ไมมีขั้วเพราะมีการเรียงตัวแบบสมมาตร แตในขณะที่ H2O มีการ
เรียงตัวแบบไมสมมาตรทําใหเกิดขั้วไฟฟาขึ้นได เปนตน

รูปที่ 2.7 แสดงพันธะโควาเลนตใน Si (จากหนังสือ The Science and Engineering of Materials,


Thomson)
โดยทั่วไปพันธะไอออนิคหรือพันธะโควาเลนตมักจะไมเกิดขึ้นมาเพียงพันธะเดียวในวัสดุ โดยทั่วไปมัก
พบทั้งพันธะอิออนิกและโควาเลนตมักเกิดขึ้นผสมกัน ขึ้นกับวาอะตอมของธาตุที่รวมตัวกันมีคา EN
แตกตางมากนอยเพียงใด ถามีคา EN ตางกันมากจะมีความเปนอิออนิกสูง แตถามีคา EN ใกลกันมาก
จะมีความเปนโควาเลนตสูง ซึ่งสมการที่ 2.1 ใชหาความเปนอิออนิกของธาตุ A และ B ในรูปของคา
EN
 
%ionic  1  exp  0.25  E N  x100
2
 (2.4)
18

ตัวอยางที่ 2.3 จงหาความเปนไอออนิกของ ZnSe


วิธีทํา จากตารางในรูปที่ 2.4 จะไดคา EN ของ Zn และ Se คือ 1.7 และ 2.5 แทนลงในสมการที่
2.4 จะได
%ionic  
 1  exp  0.25 2 . 5  1 .7 
2
x100
%ionic  15 %
 พันธะโลหะ
ในโลหะนั้นอะตอมจะเรียงตัวอัดแนนกันอยางเปนระเบียบใน 3 มิติ เกิดเปนโครงรางผลึก
ขึ้นมา ทําใหอิเล็กตรอนวงนอกสุดของแตละอะตอมหลุดออกมาจากนิวเคลียสของอะตอมเดิมและถูก
ดึงดูดดวยนิวเคลียสของอะตอมขางเคียง ดังนั้นแตละอะตอมจึงไมมีอิเล็กตรอนวงนอกสุดเปนของ
ตัวเองแตจะใชรวมกัน ซึ่งอิเล็กตรอนวงนอกสุดนี้อาจเรียกวาเปนทะเลอิเล็กตรอนก็ได ดังแสดงดังรูปที่
2.7 โดยอิเล็กตรอนที่ไมใชวงนอกจะรวมตัวกับนิวเคลียสเกิดเปนแกนของไอออนซึ่งมีประจุรวมเปน
บวก และจะมีกลุม ของอิเ ล็ก ตรอนวิ่งวนรอบๆ ซึ่ง จะไมมีการใช อิเ ล็ก ตรอนเปนคูรวมกันเหมือน
โควาเลนตและไมมีการดึงดูดกันเหมือนไอออนิก คาพลังงานของพันธะจะสูงหรือต่ําก็ได

รูปที่ 2.7 การเกิดพันธะโลหะ

 พันธะทุติยภูมิหรือพันธะวันเดอรวาล
เปนพันธะระหวางโมเลกุล ไมมีการใชอิเล็กตรอนรวมกัน ความแข็งแรงนอยกวาพันธะหลัก
การเกิดแรงหรือพันธะทุติยภูมินั้นหลักๆเกิดจากขั้วของโมเลกุลที่แตกตางกันแลวเกิดแรงดึงดูดกัน
ดังนั้นพลังงานพันธะจะมีคานอยซึ่งแบบนี้จะมีผลมากในแกส โดยแรงระหวางขั้วเกิดจากการเหนีย่ วนํา
ระหวางขั้วสองขั้ว หรืออาจเกิดในโมเลกุลที่มีขั้วได รูปที่ 2.8 แสดงแรงคูขั้วที่เกิดจากการที่เกิดกับ
โมเลกุลที่ประกอบดวยอะตอมที่มีประจุบวกและลบเทากัน (โมเลกุลมีขั้วทั้งคู) แตละโมเลกุลสรางแรง
ดึงดูดระหวางกันเอง
19

รูปที่ 2.8 แสดงการเกิดแรงคูขั้ว

การเหนี่ยวนําเพื่อใหเกิดแรงดึงดูดกันในอะตอมที่เปนกลางก็ส ามารถเกิดขึ้นได ดังรูปที่ 2.9 เมื่อมี


สนามไฟฟาเขาไปรบกวนทําใหอะตอมที่เปนกลางมีการเหนี่ยวนําเกิดเปนขั้วไฟฟาใหมขึ้นมาภายใน
อะตอมและเหนี่ยวนําใหอะตอมขางเคียงเกิดขั้วไฟฟาขึ้นไดและเกิดแรงดึงดูดตอกัน

รูปที่ 2.9 แสดงขั้วทีเ่ กิดจากการเหนี่ยวนํา


พันธะที่สําคัญอีกหนึ่งพันธะคือพันธะไฮโดรเจน เกิดกับโมเลกุลที่มีไฮโดรเจนเกิดพันธะโควา
เลนตกับอะตอมอื่น เชน H2Oไฮโดรเจนจะรวมกันอยูอี กดานหนึ่ง และทําใหเกิดเปนขั้วไปจับกับ
อิเล็กตรอนของโมเลกุลอื่น มีความแข็งแรงสุดในบรรดาที่เปนพันธะทุติยภูมิ โดยมักพบเมื่อธาตุ F, N,
O จับกับ H ซึ่งการที่มีพันธะไฮโดรเจนนี้เปนสาเหตุสําคัญที่ทําใหน้ํามีจุดหลอมเหลวสูง กวาปกติได
ตัวอยางดังรูปที่ 2.10 ซึ่งเปนพันธะไฮโดรเจนในน้ํา

รูปที่ 2.10 แสดงพันธะไฮโดรเจนในน้ํา


สําหรับพอลิเมอรนั้นจะมีโมเลกุลที่เปนหวงโซยาว โดยแกนของพอลิเมอรยึดกันดวยพันธะ
ปฐมภูมิ แตแขนของพอลิเ มอร ยึดดวยพันธะทุติยภูมิ ดังนั้นสงผลให พอลิเ มอรมีจุดหลอมเหลวต่ํา
ตารางที่ 2.2 แสดงคาพลังงานพันธะและจุดหลอมเหลวของวัสดุประเภทตางๆ
20

ตารางที่ 2.2 แสดงพลังงานพันธะและจุดหลอมเหลวของสารตางๆ

2.6 สรุป
อะตอมประกอบด ว ย อิ เ ล็ ก ตรอน โปรตอนละนิว ตรอน โดยอี เ ล็ ก ตรอนจะวิ่ ง รนรอบ
แกนกลางหรือนิวเคลียส อิเล็กตรอนวงนอกจะมีบทบาทสําคัญในการกําหนดสมบัติของอะตอมนั้น ๆ
ตามหลักกลศาสตรควอนตัมจะถือวาอิเล็กตรอนเปนคลื่นและอนุภาค โดยอิเล็กตรอนจะมีพลังงานเปน
ระดับชั้น ซึ่งแบงตามเลขควอนตัม เมื่ออะตอมอยูใกลกันจะเกิดแรงตอกันและมีพลังงานศักยเกิดขึ้น
พันธะในอะตอมจะแบงออกเปนพันธะหลักไดแกพันธะไออนิก โควาเลนต และพันธะโลหะ และพันธะ
รองไดแกพันธะแบบมีขั้ว พันธะหลัก มีความแข็ง แรงมากกวาพันธะรอง พันธะไออนิก เปนการยึด
เหนี่ยวของแรงทางไฟฟา พันธะโควาเลนตเกิดจากการใชอิเล็กตรอนรวมกันเปนคู พันธะโลหะเปนการ
ใชกลุม หมอกอิเล็กตรอนรวมกัน โดยอิเล็กตรอนในกลุมหมอกไมมีตําแหนงที่แนนอน
21

คําถามทายบท

1. จงอธิบายแบบจําลองอะตอมของบอหรของอะตอมไฮโดรเจน
2. จงอธิบายความหมายของเลขควอนตัมตั้ง 4 คา
3. จงอธิบายความหมายของคาอิเล็กโตรเนกาทิวิตี (EN)
4. จงอธิบายการเกิดพันธะ ไอออนิก โควาเลนตและโลหะ
5. จงหาแรงดึงดูดระหวางอะตอมของ MgS ถากําหนดใหขนาดรัศมีของ Mg2+และ S2- คือ 0.078
และ 0.187 nm ตามลําดับ
6. จงหาพลังงานศักยสทุ ธิของอะตอม MgS ถากําหนดให n= 8 โดยใชขอมูลในขอ 5
7. ทําไมเพชรจึงมีความแข็งสูงมาก
8. ทําไมน้ําจึงมีจุดเดือดสูงกวามีเทน (CH4)
9. จงอธิบายการเกิดพันธะไฮโดรเจน พรอมระบุวาพันธะชนิดนี้เกิดกับธาตุใดบาง
10. จงยกตัวอยางวัสดุทมี่ ีพันธะโลหะ พันธะไอออนิกและพันธะโควาเลนต
11. พันธะของอะตอมมีความเกี่ยวของอยางไรกับจุดเดือดของวัสดุในตารางที่ 2.2
22

บทที่ 3
โครงสรางของของแข็งมีผลึก

สมบัติของวัสดุของแข็งจะขึ้นกับการเรียงตัวของอะตอมในโครงสรางผลึก อะตอมของโลหะ
ประเภทเดียวกันแตมีการเรียงตัวตางกันจะสงผลใหมีสมบัติแตกตางกัน ในบทนี้จะกลาวถึง รูปแบบ
การจัดเรียงตัวของอะตอมในผลึกของแข็ง โดยจะกลาวถึงทั้งวัสดุที่มีผลึกและไมมีผลึก ในกรณีวัสดุมี
ผลึกจะกลาวถึงทั้งที่เปนทั้งผลึกเดี่ยวและที่มีหลายผลึก

3.1 คํานิยาม
โครงสรางผลึกหมายถึงรูปแบบการจัดเรียงตัวอยางมีแบบแผนของอะตอมเพื่อเกิดเปนผลึกใน
3 มิติ คือมี ความกว า ง ความยาว และความสูง ซ้ํา ๆ กั นหลาย ๆ หนวย คํา นิยามที่สําคั ญ ของ
โครงสรางผลึกมีดังนี้คือ
-แลตทิช หมายถึง ตําแหนงหรือจุดที่อะตอมเรียงตัวในผลึก
-หนวยเซลล หมายถึง หนวยยอยหรือกลุมอะตอมที่เล็กที่สุดที่เรียงตัวซ้ํากันในผลึก โดยปกติ
จะรูปทรงเปนลูกบาศก ที่มีดานกวาง ยาว และสูง ดังแสดงในรูปที่ 3.1
-พารามิเตอรแลตทิช หมายถึง คาบอกขนาดความกวาง ความยาม ความสูงของผลึก ซึ่งใช
สัญลักษณ a, b, c แทนคาแลตทิชคงทีต่ ามลําดับ โดยถาเปนผลึกแบบลูกบาศก จะใชคา a เพียงอยาง
เดียวเพราะมีขนาดของผลึกเทากันทุกดาน
-จุดกําเนิด หมายถึง จุดกําเนิดของผลึก ซึ่งในที่นี้จะเปนมุมของแตละมุมของผลึก ดังนั้นจุด
กําเนิดจึงเปนไดทั้งตําแนงมุมบน มุมลาง มุมซาย หรือ มุมขวาของผลึกไดทั้งหมด
-เลขโคออดิเนชัน หมายถึง เลขที่บอกถึงอะตอมขางเคียงที่ชิดติดกันกับอะตอมที่เราสนใจอัน
ใดอันหนึ่งในหนวยเซลล
-แพคกิ้งแฟคเตอร หมายถึง สัดสวนของปริมาตรอะตอมในหนวยเซลลนั้น ๆ ตอปริมาตรของ
หนวยเซลล
โดยโครงสรางผลึกนั้นแบงตามการเรียงตัวของอะตอมที่ซ้ํากัน โดยอะตอมสามารถเรียงตัวกัน
เปนโครงสรางผลึกได 7 ระบบหลักและ 14 ระบบยอยดังรูปที่ แตที่พบเห็นในวัสดุทางวิศวกรรมคือ
เปนระบบคิวบิกและเฮกซะโกนอล
23

รูปที่ 3.1 ระบบการเรียงตัวของผลึกในหนวยเซลล


24

3.2 โครงสรางผลึก
โครงสรางผลึกแบบลูกบาศกอยางงาย
โครงสรางผลึกคลายกลองลูกบาศกแสดงดังรูปที่ 3.2 ที่มีดานกวาง ยาว และสูง เทากัน คือมี
ขนาดเทากับ a และมีอะตอมอยูในตละมุมจํานวน 8 มุม มุมละ 1/8 อะตอม อะตอมแตละตัวถูกแบง
ออกไปใหหนวยเซลลอื่นที่อยูติดกันดวยซึ่งมีจํานวน 8 หนวยเซลล ดังนั้นจึงมีเลขโคออดิเนชันเทากับ
8 ดังนั้นในระบบนี่จึงมีอะตอมเพียง 1/8 x 8 อะตอม = 1 อะตอมตอหนวยเซลล

รูปที่ 3.2 หนวยเซลลที่มโี ครงสรางผลึกแบบลูกบาศกอยางงาย

โครงสรางผลึกแบบเฟสเซนเตอรคิวบิก (Face Center Cubic หรือ FCC)


โครงสรางแบบลูกบาศกคลายแบบลูกบาศกอยางงายดังรูปที่ 3.3 แตมีจํานวนอะตอมใน
หนวยเซลลมากกวา กลาวคือมีอะตอมอยางละครึ่งลูกเพิ่มเขาไปในแตละหนาของกลองลูกบาศกที่มี
จํานวน 6 หนา ดังนั้นจึงทําใหมีอะตอมทั้งหมด 4 อะตอมในหนวยเซลล โดยแตละอะตอมอยูติดกัน
กับอะตอมอื่นจํานวน 12 อะตอม ดังนั้นจึงมีเลขโคออดิเนชันเทากับ 12

รูปที่ 3.3 หนวยเซลลที่มโี ครงสรางผลึกแบบ FCC


25

คาคงที่ของผลึกหรือคา a มีความสัมพันธกับรัศมีของอะตอม (R) เนื่องจากเปน FCC ซึ่งอะตอมอัด


แนนและชิดติดกันกันในแตละหนา จึงใชหนาใดหนาหนึ่งมาคิดไดดังนี้คือ
2a  4R
a  2 2R (2.1)
คาอะตอมมิกแฟกกิงแฟกเตอร (APF)) เปนคาที่บอกถึงอัตราสวนความหนาแนนเชิงปริมาตร
ของอะตอมตอปริมาตรของหนวยเซลล คาที่ไดจะออกมาเปนรอยละหรือเลขทศนิยม ในกรณีการเติม
ของเหลวหรือแกสจนเต็มกลองพบวาไมมีที่วางเหลืออยูในกรณีการใสของแข็งทรงกลมลงไปในกลอง
จะมีชองวางเหลืออยูเสมอ คา APF สามารถหาได
nVatom
APF  (2.2)
Vunit
เมื่อ n คือจํานวนอะตอมในหนวยเซลล

ตัวอยางที่ 3.1 จงหาคา APF ของโครงสรางผลึกแบบ FCC


วิธีทํา โครงสรางผลึก FCC มีจํานวนอะตอมในหนวยเซลลคือ 4 อะตอม จากความสัมพันธตาม
สมการที่ 2.1 และ 2.2 จะสามารถหาคา APF ไดดังนี้คือ

4  4 
4 R 3  4 R 3 
 3   3   0 . 74
APF  
a 3
2 2R
3
 
ในที่นี้หมายความวามีเนื้ออะตอมอยู 74% และที่เหลือ 26% เปนที่วาง

โครงสรางผลึกแบบบอดีเซนเตอรคิวบิก (Body Center Cubic หรือ BCC)


โครงสรางลูกบาศกอีกแบบหนึ่งซึ่งคลายกับแบบลูกบาศกอยางงายดังรูปที่ 3.4 โดยมีอะตอม
เต็มลูกอยูใ นตําแหนงตรงกลางกลองลูกบาศก ทําใหมีอะตอมโครงสรางผลึก BCC ทั้งหมด 2 อะตอม
ตอหนวยเซลล อะตอมตรงกลางก็จะชนกับอะตอมตรงมุมทั้ง 8 โดยที่ไมไดชนกับอะตอมในหนวย
เซลลอื่นเลย ระบบ BCC จึงมีเลขโคออดิเนชันเทากับ 8 โดยความสัมพันธระหวางคาคงที่ของผลึกคือ
3a  4 R
4R
a  (2.3)
3
26

รูปที่ 3.4 หนวยเซลลที่มโี ครงสรางผลึกแบบ BCC

ตัวอยางที่ 3.2 จงหาคา APF ของโครงสรางผลึกแบบ BCC


วิธีทํา โครงสรางผลึก BCC มีจํานวนอะตอมในหนวยเซลลคือ 2 อะตอม จากสมการที่ 2.1 และ 2.2
หาคา APF ไดดังนี้
nVatom
APF 
Vunit
4  4 
2 R 3  2 R 3 
3 3
APF   3    3
  0.68
a  4R 
 
 3
จากผลของการคํานวณคา APF พบวาในผลึกแบบ BCC จะมีชองวางมากกวา FCC

โครงสรางผลึกแบบเฮกซะโกนอลโคลสแพก (Hexagonal close packed หรือ HCP)


โครงสรางผลึกแบบ HCP ไมใชโครงสรางผลึกแบบลูกบาศก แตเปนการเรียงตัวแบบรูปหก
เหลี่ยม กลาวคือในแตละชั้นของหนวยเซลลจะประกอบไปดวยอะตอมที่อัดแนนกันอยูโดยมีการเรียง
ตัวแบบหกเหลี่ยมดังแสดงในรูป ที่ 3.5 ผลึกแบบนี้มีการเรียงตัว 3 ชั้น คือ บน กลางและลาง เมื่อ
พิจารณาจํานวนอะตอมตอหนวยเซลลพบวา อะตอมที่เรียงตัวตามมุมของรูปหกเหลี่ยมของชัน้ บนหรือ
ชั้นลางจะมีแค 1/6 ของอะตอมในแตละมุม อะตอมที่อยูตรงบริเวณกลางของรูปหกเหลี่ยมจะมีแคครึ่ง
อะตอม แตอะตอมที่อยูชั้ นตรงกลางจะมีจํานวนเต็ม คือ 3 อะตอม ดัง นั้น จึง มี จํานวนอะตอม 6
อะตอมตอหนวยเซลล ระบบผลึกแบบนี้จ ะมีเลขโคออดิเ นชันเทากับ 12 เมื่อพิจารณาอัตราสวน
ระหวางความสูง (c) ตอดานกวางของแตละดาน (a) พบวาอัตราสวนจะอยูที่คา 1.633
27

ตารางที่ 3.1 แสดงโครงสรางผลึกของโลหะบางชนิดที่อุณหภูมิหอง โลหะหรืออโลหะสามารถ


มีหลายโครงสรางผลึกไดหลายแบบขึ้นกับอุณหภูมิและความดันภายนอก ซึ่ง เรียกวาสภาพอัญรูป
(Allothropy) เชน คารบอนโดยทั่วไปเปนแกรไฟต แตเมื่ออยูภายใตความดันสูงมาก ๆ จะกลายเปน
เพชร เปนตน

รูปที่ 3.5 หนวยเซลลที่มโี ครงสรางผลึกแบบ HCP

ตารางที่ 3.1 ขนาดรัศมีอะตอมและโครงสรางผลึกของโลหะบางชนิด


28

ตัวอยางที่ 3.3 จงหาคา APF ของโครงสรางผลึกแบบ HCP


วิธีทํา โครงสรางผลึก HCP มีจํานวนอะตอมในหนวยเซลลคือ 6 อะตอม จากสมการที่ 2.1 และ 2.2
สามารถหาคา APF ไดดังนี้
4 R 3
6x
APF  3  0 . 74
1 
1 . 633 x 6  ax 0 . 866 a 
2 
เมื่อ a= 2R ซึ่งหมายความวาเปนโครงสรางโคลสแพกอีกแบบหนึ่ง

3.3 การหาความหนาแนนตามทฤษฎี
ในการหาความหนาแนนของวัสดุสามารถคํานวณได ถาทราบจํานวนอะตอมตอหนวยเซล
และน้ําหนักอะตอม ตามสมการตอไปนี้
nA
  (2.4)
VC N A
เมื่อ n = จํานวนอะตอมในหนึ่งหนวยเซลล
A = น้ําหนักอะตอมของธาตุ
VC = ปริมาตรของหนวยเซลล
NA = เลขอาโวกาโด = 6.02x1023 อะตอม/โมล
โดยที่อัตราสวนของ A/NA คือคาน้ําหนักอะตอมในหนวยกรัมตออะตอม

ตัวอยางที่ 3.3 จงหาความหนาแนนของทองแดงที่มีโครงสรางแบบ FCC เมื่อทองแดงมีน้ําหนัก


อะตอม 65 g/mol และ มีขนาดรีศมีอะตอมเทากับ 0.128 nm
วิธีทํา โครงสรางผลึกแบบ FCC มีจํานวนอะตอม 4 อะตอม/หนวยเซลล จากสมการที่ 2.4 จะไดวา
nA
 
VC N A
4 x 65
 

16 2 0 . 128 x10  6 .02 x10 
9 3  23

  8 . 89 g / cm 3
29

3.4 จุด ทิศทางและระนาบในผลึก


ในการกําหนดจุดพิกัดกําหนดทิศทางหรือระนาบตางๆในผลึกสามารถทําใหเราเขาใจหรือ
สามารถสื่อสารกันไดเกี่ยวกับระบบของผลึก โดยอาศัยการแบงตามลักษณะทางเรขาคณิตของหนวย
เซลลโดยไมยึดกับการเรียงตัวของอะตอม ในที่นี้จะมุงไปที่หนวยเซลลที่เปนลูกบาศก เพื่อที่จะใหงาย
ขึ้น การศึกษาเรื่องนี้ควรตองมีขอตกลงที่ตองยอมรับกันกอนเกี่ยวกับลูกบาศกวา ตองมีจุดกําเนิด
จากนั้นทิศทางหรือระนาบตางๆก็จะสามารถอางอิงจากจุดกําเนิดนี้ เมื่อพิจารณากลองลูกบาศกจะ
พบวามีความกวาง ความยาว และความสูง ซึ่งดานแตละดานจะมาเจอกันที่มุมของกลอง ขอกําหนด
คือแกน x จะพุงออกมาจากกระดาษ แกน y อยูบนกระดาษและมีทิศไปทางขวามือ และ แกน z อยู
บนกระดาษและมีทิศขึ้น
z

พิกัดจุด
เปนตําแหนงใดๆภายในหนวยเซลลที่เราตองการรู โดยบอกเปนสัดสวนของความยาวในแต
ละแกนในรูป ของคาในแนวแกน x,y,z โดยจะเขียนไวในรูปของ <a,b,c> เชน ถาเปนลูก บาศก
ตําแหนง (a,a,a) จะเขียนแทนดวยตัวเลข <1,1,1>

ตัวอยางที่ 3.4 จงบอกตําแหนงของจุดตาง ๆ ในรูปตอไปนี้


วิธีทํา
ตําแหนง 1: <0,0,0> ตําแหนง 2: <1,0,0>
ตําแหนง 3: <1,1,0> ตําแหนง 4: <0,1,0>
ตําแหนง 5: <1/2,1/2,1/2> ตําแหนง 6: <0,0,1>
ตําแหนง 7: <1,0,1> ตําแหนง 8: <1,1,1>
ตําแหนง 9: <0,1,1>
30

ทิศทาง
ทิศทางในระบบผลึกจะบอกเปนปริม าณเวคเตอร ซึ่ง ใชบอกทิศทางจากตําแหนง ไปยัง
ตําแหนงหนึ่งภายในหนวยเซลล โดยมีเงื่อนไขดังนี้คือ
1. ผานจุดกําเนิด ทั้งนี้ถาเวคเตอรที่สนใจไมผานจุดกําเนิดใหเลื่อนเวคเตอรนั้นมาผานจุดกําเนิด
ไดแตตองขนานและมิทิศเดียวกันกับเวคเตอรเดิม
2. ความยาวของเวคเตอรเปนความยาวของภาพฉายบนแกนทั้งสาม
3. ความยาวในขอ 2 ตองเปลี่ยนใหเปนจํานวนเต็มที่มีคาต่ําสุดจากการคูณหรือหาร
4. ตัวเลขดัชนีจะเขียนในวงเล็บโดยไมมีเครื่องหมายกั้น [uvw]
5. ถาทิศทางเปนลบใหใสเครื่องหมายลบไวดานบนของทิศทางนั้น

รูปที่ 3.6 ตัวอยางทิศทางในหนวยเซลล

ในบางผลึกพบวามีทิศทางที่ไมขนานกันและมีเลขดัชนีบอกแตกตางกันออกไป แตในความเปนจริงแลว
ทิศทางเหลานี้จะสมมาตรกันคือ ระยะหางระหวางอะตอมในทิศทางเหลานี้จะเทากัน ดังนั้นจึงจัด
ทิศทางเหลานี้ไวในกลุมเดียวกันและเรียกวาชุดของทิศทางหรือแฟมิลี(family) โดยจะเขียนแทนดวย
สัญลักษณ <uvw> เชน ชุดของทิศทาง <100> ไดแก [100], [010],[001],[ 1 00], [0 1 0],[00 1 ] ซึ่ง
ก็คือทิศทางในแตละดานของลูกบาศกนั่นเอง ในระบบผลึกแบบ HCP นั้นเลขดัชนีจะมี 4 ตัวเนื่องจาก
มีอยู 4 ทิศทางในหนวยเซลลเดียว
31

ระนาบในผลึก
การบอกระนาบในผลึกจะใชดัชนีมิลเลอรเปนตัวกําหนด โดยระนาบที่ขนานกันจะใชตัวเลข
ดัชนีมิลเลอรที่เหมือนกัน การหาดัชนีมิลเลอรของระนาบตาง ๆ มีวิธีการดังนี้
1. เลือกระนาบที่ไมผานจุดกําเนิด ซึ่งบางครั้งตองทําการเลื่อนระนาบหรือเลื่อนจดกําเนิดใหม
2. หาจุดตัดของแกนแตละแกน ถาแกนใดไมตัดหรือระนาบขนานไปกับแกนนั้นๆใหถือวาตัดที่
ระยะอนันต
3. ทําการกลับเศษเปนสวน
4. คูณหรือหารใหเปนเลขจํานวนเต็มที่นอยที่สุด
5. นําตัวเลขที่ไดมาเขียนในวงเล็บโดยไมมีเ ครื่องหมายคั่น ถาเปนลบใหใสเ ครื่องหมายลบ
ดานบนของตัวเลขนั้น ๆ
โดยทิศทางใดที่มีเลขดัชนีเหมือนกันกับระนาบ ทิศทางนั้นจะตั้งฉากกับระนาบ

รูป 3.7 ตัวอยางระนาบในผลึก


32

ตัวอยางที่ 3.5 จงระบุทิศทาง B

วิธีทํา จากรูปพบวา เวกเตอร B มีระยะตามแกน x คือ 0 ระยะตามแกน y คือ 0.25 nm และมี


ระยะตามแกน z = 0.3 nm ดังนั้นพิกัดของเวกเตอร B คือ (0, 0.3, 0.3) ทําใหเปนเลขจํานวนเต็ม จะ
ได (0,3,3) ซึ่งอยูในกลุมของทิศทางเวกเตอร [011]

ตัวอยางที่ 3.6 จงหาดัชนีมิลเลอรของระนาบ A

วิธีทํา
ระนาบ A ตัดแกน x = 1/3 ตัดแกน y ที่ 1/2 และตัดแกน z ที่ -1/2 ดังนั้นพิกัดที่ตัดแกน
(xyz) คือ (1/3, 1/2,-1/2) ทําการกลับเศษเปนสวนจะได (3,2,-2) ซึ่งอยูในรูปแบบของเลขจํานวน
เต็มแลว ดังนั้นระนาบ A คือระนาบ (32 2 )
33

3.5 โครงสรางผลึกแบบโคลสแพก
จากหัวขอกอนหนานี้พบวาโครงสรางผลึกแบบ FCC และ HCP มีคา APF เทากับ 0.74
เทากัน ซึ่งเปนคาสูงสุดของการอัดตัวกันของทรงกลมในกลองลูกบาศก แตอยางไรก็ตามทั้งคูก็ยังมีขอ
แตกตางกันในเรื่องการเรียงตัวของอะตอม รูปที่ 3.8 แสดงการเรียงตัวของอะตอมในแตละชั้นของ
โครงสรางโคลสแพก พบวาถานําอะตอม A มาเรียงตัวกันในชั้นเดียวกันดังรูปที่ 3.8 a) จะพบวามี
ชองวาง A และ B เกิดขึ้น ถาเปนการเรียงตัวของอะตอมแบบ HCC พบวาอะตอมของชั้นที่สองจะ
วางในชองวางตําแหนง B ดังรูปที่ 3.9 b) จากนั้นชั้นที่สามจะวางในตําแหนง A เหมือนเดิม จึงเรียก
การเรียงตัวเปนชั้นๆแบบนี้วาการเรียงตัวแบบ ABAB โดยระนาบโคลสแพกหรือระนาบที่มีการจัดเรียง
ตัวของอะตอมหนาแนนที่สุดของ HCP คือระนาบ (0001) สวนใน FCC จะแตกตางออกไป คือการ
เรียงตัวของออะตอมในชั้นที่หนึ่งและชั้นที่สองจะเหมือนกับ HCP แตชั้นที่สามจะวางตางออกไปคือ
อะตอมจะถูกวางในชองวาง C การเรียงตัวแบบนี้จึง เปนการเรียงตัวแบบ ABCABC โดยระนาบ
โคลสแพกของ FCC คือระนาบ (111) รูปที่ 3.10 แสดงการเรียงตัวของอะตอมในโครงสรางผลึกทั้ง
สองแบบ

รูปที่ 3.9 ชองวางที่เกิดขึ้นจากการเรียงตัวของอะตอมในโครงสรางโคลสแพค FCC และ HCP


34

a) การเรียงตัวแบบ HCP

b) การเรียงตัวแบบ FCC
รูปที่ 3.10 แสดงการเรียงตัวของอะตอมในโครงสรางโคลสแพค HCP และ FCC
35

3.6 ความเปนผลึกและไมเปนผลึก
ของแข็งเกิดการแข็งตัวแลวเกิดเปนผลึกไดนั้นจะแบงออกเปนสองประเภทไดแกการเกิดเปน
ผลึกเดี่ยวและหลายผลึก โดยสามารถอธิบายการเกิดไดดังนี้

ผลึกเดี่ยว
ผลึกชนิดนีเ้ กิดเมื่อของแข็งมีการจัดเรียงตัวอยางเปนระเบียบสมบูรณแบบทั่วทั้งชิ้นงาน โดย
หนวยเซลลทุกหนวยมีการจัดเรียงตัวในทิศทางเดียวกัน การเกิดผลึกแบบนี้สามารถพบเห็นไดตาม
ธรรมชาติหรือจากการสรางขึ้นโดยมนุษยได แตตองมีการควบคุมขั้นตอนอยางละเอียด เชน ผลึกเดี่ยว
ของซิลิกอน ที่ใชทําเปนวัสดุกึ่งตัวนําในวงจรอิเล็กทรอนิกส เปนตน

รูปที่ 3.11 ตัวอยางผลึกเดี่ยวของแรการเน็ตทีพ่ บในธรรมชาติ

วัสดุหลายผลึก (Polycrystalline materials)


ผลึกชนิดนีเ้ กิดขึ้นเมื่อของเหลวเกิดการแข็งตัวไมพรอมกัน โดยจะมีนิวเคลียสของของแข็งเกิด
ขึ้นมาที่บ างบริเวณกอน โดยนิวเคลียสแตละอันจะมีการเรียงตัวไมแนนอน เมื่อนิวเคลียสโตขึ้นจะ
เรียกวาเกรน โดยเกรนเหลานี้จะโตขึ้นและมาชนกัน บริเวณรอยตอของเกรนจะไมเชื่อมตอใหสนิทกัน
เพราะอะตอมในแตละเกรนมีการเรียงตัวแตกตางกันเรียกวาขอบเกรน ดังนั้นขอบเกรนเปนบริเวณที่
อะตอมที่ก ารเรียงตัวแบบไมเ ปนระเบียบและมีพลัง งานสูง มีความสําคัญ มากตอคุณสมบัติท าง
กายภาพของวัสดุซึ่งจะอธิบายในภายหลัง โลหะสวนใหญจะมีโครงสรางผลึกแบบนี้ รูปที่ 3.12 แสดง
ขั้นตอนการแข็งตัวของวัสดุที่มีหลายผลึก
36

รูปที่ 3.12 แสดงขั้นตอนการแข็งตัวของวัสดุที่มีหลายผลึก

วัสดุที่มีหลายผลึกจะมีสมบัติหลากหลาย ในบางวัสดุพบวาสมบัติทางกายภาพจะเทากันทุก
ทิศทาง ไมวาจะวัดในทิศทางใด ซึ่งวัสดุประเภทนี้จะมีผลึกที่มีความสมมาตรของโครงสรางสูง โดยจะ
เรียกวัสดุประเภทนี้วาไอโซโทรป (Isotropy) สวนวัสดุที่มีความสมมาตรของโครงสรางผลึกนอยจะทํา
ใหคุณสมบัติทางกายภาพในบางทิศทางดีกวาทิศทางอื่น ซึ่งในที่นี้จะเรียกวามีสมบัติแบบแอนไอโซโทร
ป (Anisotropy)

การไมเปนผลึก
ถา การแข็ง ตั วของวั ส ดุไ ม ส ามารถทํา ใหอ ะตอมมี ก ารจัด เรีย งตัว เปน ระเบี ยบและไม มี
โครงสรางที่แนนอนในชวงยาวไดนั้น จะเรียกวาเปนวัส ดุที่ ไมมีผ ลึก หรืออสัณฐาน (Amorphous)
โครงสรางนี้มักพบเมื่อวัสดุมีการแข็งตัวอยางรวดเร็วมากจนอะตอมไมสามารถเรียงตัวเปนระเบียบได
โครงสรางที่ไมมีผลึกนี้พบมากในวัสดุประเภทแกว ดังตัวอยางในรูปที่ 3.13 ซึ่งเปนโครงสรางของแกว
ทั้งที่มีและไมมีผลึก
37

รูปที่ 3.13 แสดงโครงสรางผลึกของแกว (a) เปนผลึกและ (b) ไมเปนผลึก

3.7 สรุป
อะตอมในผลึกของแข็งมีการเรียงตัวเปนระเบียบและมีแบบแผน โดยถือวาอะตอมมีลักษณะ
เปนทรงกลม หนวยที่เล็กที่สุดที่อะตอมเรียงตัวซ้ํากันเรียกวาหนวยเซลล ซึ่งตําแหนงตาง ๆ ในหนวย
เซลลสามารถระบุพิกัดของอะตอมได โลหะสวนใหญมีโครงสรางผลึกแบบ BCC FCC และ HCP ซึ่งแต
ละโครงสรางผลึกจะมีรูปแบบการจัดเรียงตัวของออะตอมไมเทากัน โดยสัดสวนเชิงปริมาตรของ
อะตอมเทียบกับหนวยเซลลเรียกวาคา APF ซึ่งในโครงสรางผลึกแบบ FCC และ HCP มีคาเทากัน จุด
ทิศทาง และระนาบในโครงสรางผลึกสามารถระบุไดดวยตัวเลขดัชนี วัสดุที่มีผลึกเดี่ยวจะมีการเรียงตัว
ของอะตอมเหมือนกันทุกจุดอยางเปนระเบียบ สวนวัสดุหลายผลึกจะประกอบดวยหลาย ๆ เกรน โดย
อะตอมในแตละเกรนจะมีการเรียงตัวตางกัน วัสดุที่ไมเปนผลึกพบวาอะตอมจะไมสามารถเรียงตัวเปน
ระเบียบในชวงยาว มักพบในวัสดุประเภทแกว
38

แบบฝกหัดทายบท

1. จงหาปริมาตรหนวยเซลลของอะลูมิเนียม ซึ่งมีผลึกเปน FCC ถากําหนดใหขนาดรัศมีอะตอมคือ


0.143 nm
2. จงพิสูจนวาคา APF ของโครงสรางผลึกแบบ FCC สูงกวาโครงสรางผลึกแบบ BCC
3. ถาโลหะชนิดหนึ่งมีโครงสรางผลึกเปน HCP อัตราสวนความยาวดาน c/a = 1.623 และมีขนาด
รัศมีอะตอมเทากับ 0.1234 nm จงหาปริมาตรของหนวยเซลลของโลหะชนิดนี้
4. จงระบุจุดของอะตอมตาง ๆ ดังรูปตอไปนี้

5. โลหะชนิดหนึ่งมีโครงสรางผลึกแบบ FCC มีคาคงที่แลตทิช (a) เทากับ 0.4078 nm มวลอะตอม


เทากับ 197 g/mol จงหาความหนาแนนของโลหะชนิดนี้
6. โลหะไทเทเนียมมีการเปลี่ยนเฟสจากโครงสรางผลึกจาก BCC เปน HCP ที่อุณหภูมิ 882oC จงหา
ปริมาตรที่เปลี่ยนแปลงไปถากําหนดใหคาคงที่แลตทิชของผลึก BCC และ HCP คือ 3.333 nm และ
0.295 nm ตามลําดับ
7. จงวาดทิศทาง [100] [110] และ [111] ในโครงสรางผลึก BCC
8. จงวาดทิศทาง [010] [101] และ [011] ในโครงสรางผลึก FCC
9. จงวาดระนาบ (100) (110) และ (111) ในโครงสรางผลึก BCC
10. จงวาดระนาบ (010) (101) และ (011) ในโครงสรางผลึก FCC
11. จงระบุทิศทางและระนาบที่มีการเรียงตัวของอะตอมหนาแนนที่สุดของโครงสรางผลึกแบบ BCC
FCC และ HCP
12. โลหะเหล็กมีโครงสรางผลึกแบบ BCC และมีรัศมีอะตอม 0.124 nm โดยมีน้ําหนักอะตอม 55.85
g/mol จงหาความหนาแนนของเหล็กตามทฤษฎีและเปรียบเทียบกับคาจริง
39

13. โลหะสังกะสีมีโครงสรางผลึกแบบ HCP และมีคาอัตราสวน c/a เทากับ 1.856 ความหนาแนน


7.13 g/cm3 จงหารัศมีอะตอมของสังกะสี
14. จงบอกทิศทางดังรูป
40

16. จงบอกชื่อระนาบดังตอไปนี้

12. สภาพอัญรูปคืออะไร เกี่ยวของกับโลหะอยางไร


41

บทที่ 4
การแข็งตัวของโลหะ

บทนี้จะเกี่ยวของกับการเกิดเกรนและขนาดของเกรนที่เกิดขึ้น จะวาดวยเรื่องของการเกิด นิวเคลียส


และการโตของนิวเคลียสจนกลายเปนเกรน ตัวอยางเหตุผลในการศึกษาเรื่องนี้ไดแก เปนกระบวนการเริ่มตน
ของอุตสาหกรรมการผลิตของวัสดุทางวิศวกรรมทุกประเภททั้งโลหะ เซรามิก หรือ พอลิเมอร สามารถนําไป
ประยุกตใชกับการเชื่อมประสาน ซึ่งกระบวนการแข็งตัวจะเกี่ยวของจุดหลอมเหลวของวัสดุ แนวคิดพื้นฐาน
เกี่ยวกับการแข็งตัวของน้ําโลหะเมื่อเย็นตัวต่ํากวาจุดหลอมเหลวประกอบไปดวย 2 สวนคือ
1. เกิดนิวเคลียสของของแข็งในของเหลว (Nucleation)
2. การโตขึ้นของนิวเคลียส (Growth)

4.1 การเกิดนิวเคลียส
เมื่อน้ําโลหะแข็งตัวลงต่ํากวาจุดหลอมเหลวตามสมดุลจะพบวาน้ําโลหะจะกลายเปนของแข็งทั้งหมด
พรอม ๆ กัน (แตในทางปฏิบัติแลวพบวาจะมีการแข็งตัวที่เร็วกวาสมดุลมาก) ทันทีที่อุณหภูมิน้ําโลหะแข็งตัวลง
มาถึงจุดหลอมเหลว จะเกิดนิวเคลียสของของแข็งมีขนาดนาโนเมตรขึ้นภายในของเหลว ปรากฏการณการเกิด
การฟอรมของผลึกของแข็งที่มีขนาดระดับนาโนเมตรในเนื้อของเหลวเรียกวาการเกิดนิวเคลียส
ที่อุณหภูมิต่ํากวาจุดหลอมเหลว พลังงานขับดันที่ทําใหเกิดการแปลงเฟสคือผลตางของพลังงานงาน
อิสระเชิงปริมาตรของของเหลวและของแข็ง (GV) การเกิดนิวเคลียสใหมนี้เปนการสรางพื้นผิวใหมขึ้นระหวาง
ของแข็งกับของเหลวทําใหพลังงานของระบบเพิ่มขั้น พลังงานในสวนที่เพิ่มนี้เรียกวาพลังงานพื้นผิว () ยิ่งมี
ของแข็งเพิ่มขึ้น พลังงานพื้นผิวก็เพิ่มขึ้นตาม อยางไรก็ตามทุกนิวเคลียสจะไมโตตอจนสามารถกลายเปนเกรน
ได โดยจะมีเพียงบางนิวเคลียสเทานั้น สวนที่โตตอไมไดเรียกวาเอ็มบริโอ (Embryo) ซึ่งจะสลายตัวเองคืน
กลับไปยังน้ําโลหะ
จากที่กลาวมาขางตนจะเห็นไดวาพลังงานที่เกี่ยวของในการเกิดนิวเคลียสนั้นประกอบดวย 2 สวน คือ
พลังงานที่อะตอมตองปลอยออกมาเพื่อรวมกลุมกันหรือรวมตัวกันกลายเปนนิวเคลียสและคาพลังที่จําเปนตอง
ใชไปในการสรางพื้นผิวใหมระหวางของแข็งกับของเหลวซึ่งขึ้นกับขนาดของพื้นที่ผิวหรือรัศมีของนิวเคลียส
กลไกการเกิดนิวเคลียสมีสองชนิดคือ การเกิดนิวเคลียสแบบเนื้อเดียวกัน (Homogeneous nucleation) และ
แบบไมเปนเนื้อเดียวกัน (Heterogeneous Nucleation)
42

4.1.1 การเกิดนิวเคลียสแบบเนื้อเดียวกัน
กลไกการเกิดนิวเคลียสแบบนี้จะเกี่ยวของกับพลังงานอิสระเชิงปริมาตรและพลังงานในการสราง
พื้นผิวใหม เมื่อน้ําโลหะเย็นตัวต่ํากวาจุดหลอมเหลว (Tm) ซึ่งผลตางระหวางอุณหภูมิจริงของของเหลวและ
อุณหภูมิที่จุดหลอมเหลวจะแทนดวย T โดยเรียกสภาวะนี้วาการเกิดอันเดอรคูลลิง (Under cooling) การ
เกิดอันเดอรคูลลิงนี้จะเปนแรงขับที่ทําใหเกิดนิวเคลียสของแข็งขึ้นในของเหลว ซึ่งนิวเคลียสที่เกิดขึ้นจะถือวามี
ลักษณะเปนทรงกลม โดยมีรัศมีคาหนึ่งคือ r ดังรูปที่ 4.1

รูปที่ 4.1 รูปทรงของนิวเคลียสของของแข็งที่เกิดขึ้นในของเหลว

ถา GV คือคาการเปลี่ยนแปลงของพลังงานของของเหลวและของแข็งตอหนึ่งหนวยปริมาตร ดังนั้น


4 3
การเปลี่ยนแปลงพลังงานอิสระไปจากการเกิดนิวเคลียสของแข็งรัศมี r คือ r GV ซึ่งพลังงานนี้จะมีคา
3
เปนลบ นอกจากนี้ยังมีพลังงานอีกอยางหนึ่งคือมีพลังงานในการสรางพื้นผิวของของแข็งตอหนวยพื้นที่ หรือ
พลังงานพื้นผิวจําเพาะ ( ) ดังนั้นพลังงานพื้นผิวขึ้นในการสรางนิวเคลียสรัศมี r คือ 4r 
2
ซึ่งมีคาเปนบวก
ซึ่งพลังงานพื้นผิวนี้จะตานการเกิดนิวเคลียสหรือเอ็มบริโอ โดยกราฟพลังงานทั้งสองชนิดแสดงดังรูปที่ 4.2

รูปที่ 4.2 การเปลี่ยนแปลงพลังงานอิสระของเอ็มบริโอหรือนิวเคลียสที่มีขนาดรัศมี r


43

คาพลังงานอิสระรวมทั้งหมดที่เกี่ยวของกับการเกิดเอ็มบริโอหรือนิวเคลียสคือ ผลรวมของพลังงานอิสระเชิง
ปริมาตรและพลังงานอิสระผิวที่เปลี่ยนแปลงไปตามรูปที่ 4.2 ดังสมการตอไปนี้คือ
4 3
G  r GV  4r 2 SL (4.1)
3
เมื่อ G = พลังงานอิสระรวมที่เปลี่ยนแปลงไป GV = พลังงานอิสระเชิงปริมาตร r = ขนาดของนิวเคลียส
หรือเอ็มบริโอ  =พลังงานพื้นผิวจําเพาะระหวางของเหลวกับนิวเคลียส โดยกราฟตามสมการที่ 4.1 แสดงดัง
รูปที่ 4.3

รูปที่ 4.3 การเปลี่ยนแปลงพลังงานอิสระในการเกิดนิวเคลียสหรือเอ็มบริโอ

จากรูปจะพบวามีคา G เพิ่มขึ้นจนถึงคาสูงสุดเมื่อขนาดรัศมีเพิ่มขึ้นถึงคา ๆ หนึ่ง จากนั้นจะมีคาลดลง โดย


ขนาดรัศมีที่คา G สูงสุดเรียกวารัศมีวิกฤติ (r*) โดยธรรมชาติระบบจะเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางที่มีพลังงาน
ลดลง ดังนั้นที่อุณหภูมิใด ๆ เอ็มบริโอที่มีคารัศมีมากกวา r* จะโตขึ้นเปนนิวเคลียสเพื่อลดพลังงานลง สวน
เอ็มบริโอที่มีรัศมีเล็กกวาคา r* จะละลายกลับคืนสูของเหลว ซึ่งขนาด r* สามารถหาไดโดยการดิฟเฟอเรน
เชียลสมการที่ 4.1 ดังนี้คือ
d (G ) d  4 3 2 
  r GV  4r    0
dr dr  3 
2
ดังนั้น r*  (4.2)
GV
H f T
เมื่อ GV  โดย Hf = คาความรอนแฝงการหลอมเหลว T = คาอุณหภูมิอันเดอรคูลลิง
Tm
44

ตัวอยาง 4.1 จงหาขนาดของรัศมีวิกฤติและจํานวนอะตอมในนิวเคลียสของทองแดงถาเกิดนิวเคลียสแบบเนื้อ


9
เดียวกัน กําหนดให Tm=1358 K Hf =1,628 x 10 J/m3  =0.177 J/m2 โดย T ที่ทําใหเกิด
นิวเคลียสแบบเนือ้ เดียวกันคือ 236 K และคาคงที่แลตทิชคือ 0.3615 nm
วิธีทํา จากขอมูลที่กําหนดใหแทนลงในสมการที่ 8.7 ไดดังนี้
2 SLTm 2 x0.177 x1358
r*   9
LT 1628x10 x236
r *  12.51x1011 m
ทองแดงมีโครงสรางผลึกเปน FCC โดยในแตละหนวยเซลลมีปริมาตรเทากับ a3
3 10 3  32 3
a  ( 0 .361 x10 )  4 .7 x10 m
ปริมาตรของรัศมีวิกฤติคือ
4 3 4
Vr *  r   (12.51x10 11 )3  8200 x10  33 m 3
3 3
ดังนั้นนิวเคลียสวิกฤติจึงมีจํานวนหนวยเซลลทงั้ หมด
Vr * 8200 x10 33
  174 หนวยเซลล
V 4.7 x10  32
โครงสรางผลึก FCC มีจํานวน 4 อะตอมตอหนวยเซลล ดังนัน้ นิวเคลียสวิกฤตินี้จงึ มีจํานวนอะตอมทั้งหมด
174x4 = 696 อะตอม/นิวเคลียส

4.1.2 การเกิดนิวเคลียสแบบไมเปนเนื้อเดียวกัน
กลไกในการเกิดนิวเคลียสชนิดนีเ้ กิดจากการฟอรมของแข็งในบางบริเวณกอน เชน ผนังโมล หรือบน
สิ่งเจือปน ดังรูปที่ 4.4 ซึ่งเกิดงายกวาการเกิดนิวเคลียสแบบเนื้อเดียวกัน เนื่องจากตองการพลังงานพื้นผิวใน
การสรางนิวเคลียสนอยกวา คาพลัง งานตานการนิว เคลียสจะนอยกวา กระบวนการนี้จ ะขึ้นกับ มุม สัม ผัส
ระหวางของแข็งกับผิวของสิ่งเจือปน() ในการเปลี่ยนเฟสในกรณีที่เปนของแข็งก็คลายกัน

รูปที่ 4.4 การเกิดนิวเคลียสแบบไมเปนเนือ้ เดียวกัน


45

4.2 การโต (Growth)


ถานิวเคลียสสามารถโตตอไดจนสิ้นสุดกระบวนการแข็งตัวจนกลายเปนเกรนนั้น การโตขึ้นจะอาศัย
กลไกดังตอไปนี้ การโตแบบระนาบ (Planar Growth) และการโตแบบเดนไดรต (Dendritic Growth)

4.2.1 การโตแบบระนาบ
การโตแบบระนาบจะเปนการเกิดนิวเคลียสจากสิ่งแปลกปลอม โดยอุณหภูมิของของเหลวจะมากกวา
อุณหภูมิตรงหนาผิวสัมผัสระหวางของแข็งและของเหลวและมากกวาอุณหภูมิหลอมเหลว ความรอนแฝงในการ
แข็ง ตัวจะปลอยออกมาที่บริเวณผิวหนารอยตอระหวางของแข็ง และของเหลว ทําใหอุณหภูมิที่ผิวรอยตอ
ระหวางของแข็งกับของเหลวสูงกวาหรือเทากับจุดหลอมเหลว ดังนั้นการโตแบบนี้ทุกๆจุดบนผิวหนาของแข็ง
จะโตออกไปพรอม ๆ กันเปนระนาบ

รูป4.4 แสดง การโตแบบระนาบ (Planar Growth)

4.2.2 การโตแบบเดนไดรต
การโตแบบนี้เกิดนิวเคลียสไดนอย ตองการการเกิดอันเดอรคูลลิง โดยอุณหภูมิของของเหลวที่ผิวหนา
สัมผัสระหวางของแข็งและของเหลวต่ํากวาอุณหภูมิหลอมเหลว ทําใหของแข็งที่ยื่นออกมาจากผิวหนารอยตอ
ระหวางของแข็งกับของเหลวสามารถโตออกไปได โดยมีลักษณะเปนกิ่งกานที่ เมื่อเดนไดรตโตขึ้นจะคายความ
รอนออกมาเรื่อย ๆ จนกระทั่งทําใหอุณหภูมิของน้ําโลหะสูงขึ้นเทากับจุดหลอมเหลวและจะทําใหใหการโต
แบบเดนไดรตสิ้นสุดลงและเปลี่ยนเปนการโตแบบระนาบตอไปถายังมีของเหลวเหลืออยู
46

รูป 4.5 การโตแบบเดนไดรต


4.3 โครงสรางงานหลอ
เมื่อน้ําโลหะแข็งตัวอยางสมบูรณในแบบหลอ โครงสรางที่ไดจากการหลอนั้นประกอบดวย 3 บริเวณ
ตามการเย็นตัวดังแสดงในรูปที่ 4.6
 โซนเย็น (Chill zone)
เปนบริเวณแคบ ๆ ที่ติดกับผนังโมล เปนการแข็งตัวแบบไมเปนเนื้อเดียวกัน มีอัตราการเกิดนิวเคลียส
สูง ไดแกบริเ วณผิวโมล การโตจะสวนทิศทางกับ ทิศการถายเทความรอน เกรนจะโตตั้ง ฉากกับ ผนัง โมล
โครงสรางจะมีขนาดเล็กละเอียด
 โซนคอลัมนาร (Columnar Zone)
เกรนมีก ารเรียงตัวเปนแนวยาวในทิศทางการเย็นตัว โดยผลึกแบบลูกบาศกจ ะโตไดดีในทิศทาง
<100> มีคุณสมบัติแบบแอนไอโซโทรปก มีอิทธิพลจากปรากฏการณการโต มากกวาการเกิดนิวเคลียส ถา
ของเหลวเกิดอันเดอรคูลลิงมากจะเกิดบริเวณที่เปนเดนไดรตมากและมีบริเวณคอลัมนารนอย แตถาไมมีการ
เกิดอันเดอรคูลลิงก็จะเกิดการโตแบบระนาบเปนแบบคอลัมนารแทน
 โซนเกรนรูปหลายเหลี่ยม (Equiaxed Zone)
พบในบริเวณแกนกลางของงานหลอ เกรนมีการเรียงตัวแบบสุม และมีขนาดเล็ก คอนขางกลม เกิด
เนื่องจากอุณหภูมิเทต่ํา เติมธาตุผสม หรือบางครั้งเกิดจากเศษแตกหักขนาดเล็กของเดนไดรตตรงบริเวณ โซน
เย็นแตกหัก เนื่องจากการไหลวนของน้ําโลหะ โดยเศษเดนไดรตไหลวนมาตรงกลางชิ้นงานแลวทําใหเ กิด
นิวเคลียสแบบไมเปนเนื้อเดียวกัน ซึ่งเปนการยับยั้งการโตของบริเวณคอลัมนาร ตัวอยางโครงสรางงานหลอ
แสดงดังรูปที่ 4.7
47

รูปที่ 4.6 โครงสรางของชิ้นงานหลอ a) การเกิดนิวเคลียส b) โซนเย็น c) โซนคอลัมนาร


d) โซนเกรนรูปหลายเหลี่ยม

รูปที่ 4.6 โครงสรางของชิ้นงานหลอทองเหลือง


48

4.4 สรุป
เมื่อน้ําโลหะมีอุณหภูมิล ดลงต่ํากวาจุดหลอมเหลวจะมีก ารแข็ง ตั วเกิดขึ้น การแข็ง ตัวของโลหะ
เกี่ยวของกับสองกระบวนการคือ การเกิดนิวเคลียสและการโตขึ้นของนิวเคลียส การเกิดนิวเคลียสมีสองกลไก
คือการเกิดนิวเคลียสแบบเนื้อเดียวกันและการเกิดนิวเคลียสแบบไมเ ปนเนื้อเดียวกัน โดยกลไกการเกิด
นิวเคลียสแบบเนื้อเดียวกันจะเกิดยากกวาการเกิดนิวเคลียสแบบไมเปนเนื้อเดียวกัน เนื่องจากตองการการเกิด
อันเดอรคูล ลิ ง สูง การโตขึ้นของนิวเคลียสจะอาศัย รูป แบบการโตแบบระนาบหรือการโตแบบเดนไดรต
ตัวอยางกระบวนการแข็งตัวคือการหลอโลหะ ซึ่ งแตล ะบริเวณของชิ้นงานหลอจะมีโครงสรางแตกตางกัน
ประกอบดวยโซนเย็นที่บริเวณผิว โซนคอลัมนารและโซนเกรนรูปหลายเหลี่ยมที่แกนกลาง
49

คําถามทายบท
1. จงอธิบายความหมายของคําตอไปนี้คือ นิวคลีเอชัน เอ็มบริโอหรือนิวคลีไอ การเกิดนิวคลีเอชันแบบ
เนื้อเดียว (Homogenous nucleation) การเกิดนิวคลีเอชันแบบเนื้อที่แตกตางกัน
(Heterogeneous nucleation )
2. จงอธิบายวาจริงหรือไมที่น้ําแข็งตัวที่ 0 oC และเดือดที่ 100 oC
3. จงคํานวณหาพลังงานอิสระของ Gibbs ถาของแข็งทองแดงมีขนาดเสนผาศูนยกลาง 1, 3 และ 5 นา
โนเมตร โดยใชขอมูลในตารางที่ 8.1
4. โลหะนิเกิลบบริสุทธิ์หลอมเหลวและเย็นตัวจนมีอันเดอรคูลลิ่ง (under cooling) ที่ทําใหเกิดนิวเครีย
สแบบเนื้อเดียว (Homogenous nucleation) จงคํานวณหาขนาดรัศมีวิกฤติ (r*) และจํานวน
อะตอมในนิวเครียส ถาสมมติวา คาคงที่ผลึก (lattice parameter) มีคา 0.292 นาโนเมตร ในผลึก
BCC
5. ถาสมมติวาโลหะนิเกิลในขอ 4 สามารถเกิดนิวเครียสแบบเนื้อเดียว (Homogenous nucleation)
ที่อุณหภูมิอันเดอรคูลลิ่ง เทากับ 22 oC เทานั้น จงหาวาในแตละนิวเครียสที่เกิดขึ้นจะมีกี่อะตอม ถา
กําหนดใหมีผลึกแบบ FCC และมีคาคงที่ผลึก (lattice parameter) มีคา 0.292 นาโนเมตร
8. จงคํานวณหาขนาดรัศมีวิกฤติ (r*) และจํานวนอะตอมในนิวคลีไอของทองแดงที่มีเกิดนิวเครียสแบบ
เนื้อเดียว (Homogenous nucleation) ถาทองแดงมีผลึกแบบ FCC และมีคาคงที่ผลึก (lattice
parameter) มีคา 0.3815 นาโนเมตร
7. ความแข็งแรงของอะลูมิเนียมจะเพิ่มขึ้นอยางมากเมื่อเติม Ti และ B ลงไปเล็กนอยเพราะสาเหตุใด
8. จงอธิบายการโตแบบระนาบและแบบเดนไดรต
9. จงเขียนแผนภาพกราฟการเย็นตัว (cooling curve) ของโลหะบริสุทธและโลหะผสมพรอมกับอธิบาย
เหตุผลที่กราฟทั้งสองเหมือนหรือแตกตางกัน
10. จงอธิบายโครงสรางที่เกิดขึ้นจากการแข็งตัวของงานหลอที่เปนโลหะบริสุทธิ์และโลหะผสม
50

บทที่ 5
ตําหนิในผลึกของแข็ง

โครงสรางผลึกในของแข็งไมเคยสมบูรณแบบ อะตอมทุกตัวไมสามารถที่จะอยูในตําแหนงที่ควรจะอยู
ในหนวยเซลลทุกหนวยได จะมีอะตอมบางตัวหายไปหรือไปอยูในบางตําแหนงที่ไมใชตําแหนงของตัวเอง ทําให
บางตําแหนงขาดอะตอมและมีบางตําแหนงที่มีอะตอมเบียดเสียดกันอยู การเกิดตําหนิเหลานี้จะมีผลอยางมาก
ตอคุณสมบัติทางกายภาพ โดยเฉพาะคุณสมบัติทางกลของวัสดุ โดยจะทําใหคาเหลานี้ต่ํากวาวัสดุที่มีผลึกที่
สมบูร ณ แตไมไดหมายความวาจะสงผลเสียเสมอไป วัสดุบางประเภทตองการตําหนิเหลานี้เ พื่อคุณสมบัติ
บางอยาง เชน คุณสมบัติการนําไฟฟาที่ใชในอุตสาหกรรมอีเล็คทรอนิคเปนตน
ในที่นี้ตําหนิจะหมายถึงทุกอยางที่ทําใหผลึกไมสมบูรณหรือผิดไปจากปกติ ตําหนิอาจมีไดหลายมิติ
ดังนั้นประเภทของตําหนิจึงแบงตามลักษณะเรขาคณิตและขนาด (มิต)ิ ซึ่งสามารถแบงออกไดเปน 3 ประเภท
ดังนี้
1. ตําหนิแบบจุด มีมิติเดียวไดแก ชองวาง การแทรกที่หรือแทนที่ สิ่งเจือปน
2. ตําหนิแบบเสน มีสองมิติไดแก ดีสโลเคชัน
3. ตําหนิแบบรอยตอ มีสามมิตไิ ดแก ผิว ขอบเกรน ขอบของเฟส

5.1 ตําหนิแบบจุด
ตําหนิแบบนี้มีหลายประเภทดวยกัน เปนตําหนิที่เกิดจากอะตอมไมอยูในตําแหนงของตัวเอง อาจจะ
หายไปหรือไปแทรกอยูในตําแหนงอื่นๆที่ไมใชตําแหนงของตัวเอง โดยทั่วไปจะแบงออกไดเปน
1. ชองวาง ของอะตอมที่หายไป (Vacancy)
2. การแทรกที่ของอะตอม (Interstitial)
3. การแทนที่ของอะตอม (Substitution)
4. สิ่งเจือปนตางๆ (Impurity)

 ชองวาง (Vacancy)
ชองวางเปนตําหนิแบบจุดที่งายที่สุด เกิดจากการที่อะตอมหายไปในผลึก โดยสวนใหญอะตอมจะ
หายไปโดยโลหะสวนใหญทุกๆ 10, 000 อะตอมจะมีอยางนอย 1 ชองวาง เปนไปไดวาชองวางเหลานี้จะเกิด
การรวมกลุมกันเพราะชองวางเหลานี้สามารถเคลื่อนที่ไดซึ่งเปนธรรมชาติของอะตอมอยูแ ลว การเกิดชองวางนี้
ตามหลักอุณหพลศาสตรแลวจะทําใหเอนโทรปของระบบเพิ่มขึ้น หรือจะทําใหเกิดความไมเปนระเบียบของ
ผลึกมากขึ้นนั่นเอง ความเขมขนของชองวางตอปริมาตรที่อุณหภูมิที่สนใจหาไดจากสมการตอไปนี้
  QV 
N V  N exp  
 kT 
51

เมื่อ Nv= จํานวน vacancy ตอปริมาตร


N = จํานวนอะตอมทั้งหมด (6.02x1023 atom/mole)
K = 1.38x10-23J / atom-K
T = อุณหภูมิในหนวยเคลวิน (K)
อะตอมที่หลุดหายไปจากชองวางนั้นอาจจะหลุดหายออกไปเลยหรือไมก็ไปแทรกอยูในตําแหนงอื่นในผลึก ดัง
รูปที่ 5.1 ซึ่งการแทรกอยูในตําแหนงแบบนี้เรียกวา การแทรกที่ในตัวเอง (self-interstitial) แตเกิดขึ้นไมงาย
นักเพราะการเกิดแบบนี้จะทําใหโครงสรางบิดเบี้ยวมากสงผลตอความแข็งแรงของวัสดุ

รูปที่ 5.1 แสดงการเกิดชองวางและการแทรกที่ในตัวเองในผลึก

ตัวอยางที่ 5.1 จงหาจํานวนชองวางของทองแดงตอลูกบาตรเมตร ที่อุณหภูมิ 1000 oC ถาพลังงานกระตุนที่


ใชในการเกิดชองวางคือ 0.9 eV/อะตอม กําหนดใหท องแดงมีน้ําหนัก อะตอม 63.5 g/mol และมีความ
หนาแนน 8.4 g/cm3
52

 มลทินในของแข็ง
ในโลหะนั้นจะมีสารมลทินเสมอ เราไมสามารถผลิตโลหะบริสุทธิ์ที่มีเฉพาะอะตอมของโลหะนั้นๆได
โดยจะตองมีอะตอมของธาตุอื่นปนอยูดวยเสมอ ซึ่งอะตอมของสิ่งแปลกปลอมนี้จะถือวาเปนตําหนิแบบจุดดวย
โลหะที่ใชง านทางวิ ศวกรรมสวนใหญจ ะอยูในรูปของโลหะผสม (alloy) โดยการตั้ง ใจเติม ธาตุผสมหรือ
สิ่งเจือปนลงไปเพื่อปรับปรุงคุณสมบัติบางอยาง โดยธาตุที่เติมลงไปนั้นจะอยูในรูปของ สารละลายของแข็ง
(solid solution) โดยธาตุที่มีปริมาณมากกวาจะเปนตัวทําละลาย ในเฟสหนึ่ง (เฟส หมายถึง ความเปนเนื้อ
เดียวกันมีคุณสมบัติท างกายภาพและเคมีเ หมือนกัน ) สวนธาตุที่เ ติม ลงไปและมีป ริม าณนอยกวาเรียกวา
ตัวถูกละลาย ในโลหะบางประเภทการละลายนี้จะเพิ่มทั้งคุณสมบัติทางกลและเพิ่มความตานทานตอการกัด
กรอนเปนตน
สารละลายของแข็งจะประกอบไปดวยธาตุตั้งแตสองชนิดขึ้นไปกระจายอยูในเฟสเดียวกัน ซึ่งแบงเปน
สองประเภทดังรูปที่ 5.2 คือ
1. สารละลายของแข็งแบบแทนที่ (Substitution solid solution)
2. สารละลายของแข็งแบบแทรกที่ (Interstitail solid solution)

รูป 5.2 แสดงการละลายแบบแทรกที่และการละลายแบบแทนที่

 การละลายแบบแทนที่
จากรูปขางบนจะเห็นวาการละลายแบบแทรกที่จะหมายถึงการที่อะตอมของตัวถูกละลายไปอยูใน
ตําแหนงชองวางของตัวทําละลาย โดยไมทําใหโครงสรางผลึกของตัวทําละลายเปลี่ยนแปลงแตอยางใด แตจะ
สงผลใหเกิดการบิดเบี้ยวในผลึกเกิดขึ้น สัดสวนของการเกิดการะลายแบบนี้ในผลึกอาจเกิดไดตั้งแต 0-100%
ไดขึ้นกับคุณสมบัติของแตละธาตุผสม เงื่อนไขในการเกิดการละลายแบบแทนที่นี้คือ
1. ขนาดอะตอมของตัวทําละลายและตัวถูกละลายตองตางกันไมเกิน 15%
2. โครงสรางผลึกของตัวทําและตัวถูกละลายตองเหมือนกัน
3. มีคาอีเล็คโตรเนกาติวิตี ตองใกลเคียงกัน ไมเชนนั้นจะเกิดเปนสารประกอบแทน
53

4. ธาตุทั้งคูตองมีคาวาเลนซเทากัน ถาปจจัยอื่นๆเหมือนกัน ตัวถูกละลายที่มีคาวาเลนซสูงกวาจะละลาย


ไดมากกวา
ตัวอยางคือการละลายกันระหวางทองแดงกับนิกเกิล ซึ่งสามารถละลายกันได 100% เพราะมีคุณสมบัติทั้งสี่ขอ
ครบถวน

 การละลายแบบแทรกที่
ตัวถูกละลายเขาไปอยูในชองวางระหวางอะตอมของอะตอมหลัก การละลายแบบนี้เกิดเมื่อตัวถูก
ละลายมีขนาดเล็กมากเมื่อเทียบกับตัวทําละลาย ปกติไดแกการเติมธาตุผสมประเภท C H O N B ถึงแมมี
ขนาดเล็กแตก็มีขนาดใหญกวาชองวางมาก และปริมาณชองวางก็มีจํากัด ในการแทรกที่แตละครั้งจะทําให
โครงสรางผลึกของตัวทําละลายมีความเคนเกิดขึ้น ดังนั้นการละลายแบบนี้จึงละลายไดนอย ปกติไมเกิน 10%
ตัวอยางในเหล็กกลา มีคารบอนละลายไดสูงสุด 2% มากกวานั้นเกิดเปนสารประกอบออกมา

 การกําหนดสวนผสม
ในการกําหนดสวนผสมของโลหะผสมจะบอกอยูในรูป ของ%โดยน้ําหนัก และ% โดยอะตอม แต
อยางไรก็ตามการกําหนดสวนผสมจะมีขั้นตอนทั่วไป 3 ขั้นตอนคือ
1. เลือกหนวยที่สนใจ
2. ใชน้ําหนักอะตอมเปลี่ยนเปนหนวยที่สนใจ
3. หา % ของหนวยใหม
การหาคารอยละโดยน้ําหนักหาไดจากสมการตอไปนี้คือ
m1
wt %  x 100
m1  m 2
เมื่อ m1และ m2 คือมวลของธาตุผสมทั้งสองธาตุตามลําดับ สําหรับการหาคารอยละโดยอะตอมสามารถหาได
จากสมการนี้คือ
n m1
atom %  x100
n m1  n m 2
เมื่อ nm1และ nm2 คืออะตอมของธาตุผสมทั้งสองธาตุตามลําดับ

5.2 ตําหนิแบบเสน
ตําหนิแบบนี้เปนชนิดหนึ่งมิติ เกิดเนื่องจากอะตอมในแถวใดแถวหนึ่งในผลึกมีไมครบจํานวน โดย
พบวามีหนึ่งแถวที่มีการจัดเรียงตัวของอะตอมไมสมบูรณ โดยเรียกแถวที่วาดีสโลเกชัน (dislocation) ซึ่งโดย
สามารถแบงออกเปนสองชนิดคือ ดีสโลเกชันแบบขอบ (Edge dislocation) และ ดีสโลเกชันแบบเกลียว
(Screw dislocation)
54

ดีสโลเกชันแบบขอบเปนตําหนิที่พบวาในแถวใดแถวหนึ่งมีจํานวนอะตอมไมสมบูรณเมื่อเทียบกับแถว
อื่นๆ การที่มีแถวไมสมบูรณนี้จะทําใหแถวอะตอมขางเคียงจะมีการบิดเบี้ยว โดยเกิดแรงอัดที่ปลายดานที่อยู
เหนือดีสโลเกชันและเกิดแรงดึงขึ้นที่ปลายดานหนึ่ง ทิศทางการบิดเบี้ยวนี้จะตั้งฉากกับแถวของดีสโลเกชัน

รูปที่ 5.3 ดีสโลเกชันแบบขอบ

ดีสโลเกชันแบบเกลียวเปนดีสโลเกชันที่เกิดจากแรงเฉือนทําใหอะตอมเกิดการเคลื่อนที่ โดยระยะการ
เลื่อนจะเทากับหนึ่งระยะอะตอม โดยดีสโลเกชันแบบนี้จะมีลักษณะคลายกับเกลียวดังรูปที่ 5.4 การบิดเบี้ยว
เกิดขึ้นตามทิศทาง A ทะลุไปหาอีกดานหนึ่ง (ทางดาน C) ซึ่งหมายความวาทิศทางของการบิดเบี้ยวจะพุงไปใน
แนวเดียวหรือขนานไปกับเสนของดีสโลเกชัน

รูปที่ 5.4 ดีสโลเกชันแบบเกลียว


55

โดยปกติแลวเรามักพบดีสโลเกชันแบบขอบและแบบเกลียวเกิดขึ้นในชิ้นงานพรอมกันได ซึ่งเรียกวาดีสโลเกชัน
แบบผสม ดังรูปที่ 5.5 โดยมีลักาณะเปนเสนสีดําดังรูปขวามือ

รูปที่ 5.5 ดีสโลเกชันแบบผสม

5.3 ตําหนิแบบรอยตอ (Interfacial defect)


เปนตําหนิแบบ 2 มิติห รื อระนาบที่แบง ผลึก ออกเปนสองผลึก และอื่นๆ ที่ผิดเพี้ยนไปจากผลึก ที่
สมบูรณ โดยสามารถแบงตําหนิชนิดนี้ออกไดเปนดังนี้
ผิวดานนอก หมายถึงอะตอมดานนอกที่ถูกลอมรอบดวยอะตอมอื่นๆนอยกวาที่ควรจะเปน ทําใหเกิด
แรงตึงผิวขึ้นมา สงผลใหเปนบริเวณที่มีพลังงานสูงกวาอะตอมดานใน โดยพลังงานพื้นผิวจะลดลงเมื่อพื้นที่ผิว
ลดลงนั่นคือมีรูปรางเปนทรงกลม
ขอบเกรน เปนบริเวณที่แบงขอบเขตของเกรนแตละเกรน เกิดขึ้นเนื่องจากแตละเกรนมีทิศทางการ
เรียงตัวตางกันมาชนกัน ทําใหอะตอมบริเวณที่ชนกันไมสามารถยึดกันไดดังรูปที่ 5.6 สามารถแบงออกไดเปน
2 ประเภทคือ ขอบเกรนมุมต่ํา (Low angle) และขอบเกรนมุมสูง (high angle) โดยทั้งสองประเภทแบงตาม
มุมที่บิดเบี้ยวเนื่องจากทิศทางการเรียงตัวแตกตางกันของอะตอมในแตละเกรน ดังรูปขางลาง บริเวณขอบ
เกรนนี้อะตอมจะมีพลังงานสูงกวาภายในเกรนเนื่องจากไมไดถูกลอมรอบดวยอะตอมตามที่ควรจะเปนเหมือน
ภายในเกรน ยิ่งมุมบิดเบี้ยวยิ่งมาก พลังงานก็ยิ่งสูง ทําใหบริเวณนี้เกิดปฏิกิริยางายกวาภายในเกรน วัสดุที่มี
เกรนขนาดใหญจะมีขอบเกรนนอยกวาวัสดุที่มีเกรนขนาดเล็กดังนั้นพลังงานที่ขอบเกรนจึงนอยกวา
56

รูปที่ 5.6 ขอบเกรนชนิดเกรนมุมต่ําและเกรนมุมสูง

ขอบทวิน เปนขอบเกรนแบบพิเศษที่อะตอมสมมาตรกัน ดังรูปที่ 5.7 ทําใหอะตอมของสองดานมี


ลักษณะเหมือนกัน การเกิดขอบแบบนี้อาจเกิดจากแรงเฉือน มักพบในโลหะที่มีโครงสรางผลึกแบบ BCC หรือ
HCP แตในบางครั้งอาจพบในโลหะที่มีโครงสรางผลึกแบบ FCC ไดเมื่อผานการทํากรรมวิธทางความรอนโดย
การอบคืนตัว

รูปที่ 5.7 ลักษณะตําหนิขอบทวิน

นอกจากนี้ยังมีตําหนิรอยตอแบบอื่นๆ เชน การเรียงตัวที่ผิดปกติของโครงสรางโคลสแพค ของโครงสราง FCC


ซึ่ง เรียงตัวแบบ ABCABC แตถูก แทรกดวยระนาบอื่น ซึ่ง เรียกความผิดปกตินี้วาการเกิด สแตกกิ้ง ฟอล
(Stacking fault)
57

5.4 การศึกษาโครงสรางจุลภาค
โครงสรางจุลภาคของโลหะ มีความสําคัญ ตอคุณสมบัติทางกลและคุณสมบัติอื่นเปนอยางมาก แต
โครงสรางจุลภาคไมสามารถมองเห็นดวยตาเปลาได จึงตองอาศัยกลองจุลทรรศนที่กําลังขยายสูง โดยชิ้นงาน
ตองผานการเตรียมผิวเปนอยางดีกอน เครื่องมือที่ใชท ดสอบที่งายที่สุดคือ กลองจุลทรรศนแสง (Optical
Microscope) ทํางานโดยการใชแสงและแหลง กําเนิดแสง โดยกลองประเภทนี้จะตรวจสอบโครงสรางได
เฉพาะที่ผิวเทานั้นโดยอาศัยหลักการสะทอนแสงของระนาบที่แตกตางกัน ชิ้นงานสําหรับการทดสอบจะผาน
การเตรียมผิวโดยมีขั้นตอนคือ การขัดหยาบ โดยใชกระดาษทรายที่มีความหยาบสูง (เบอรต่ํา) ไปหากระดาษ
ทรายที่มีความละเอียดสูง (เบอรสูง) และตามดวยการขัดละเอียดจะใชผงอะลูมินาขัดจนผิวหนาของชิ้นงาน
ทดสอบใสเหมือนกระจก หลังจากนั้นทําการกัดดวยน้ํายาพิเศษ จึงจะสามารถมองเห็นโครงสรางจุลภาคได นํา
ชิ้นงานไปทดสอบกลองจุลทรรศนแบบแสง แสงจะไปตกกระทบบริเวณผิวหนาของเฟสและขอบเกรน
โดยเกรนแตละชนิดจะความทนทานตอการกัดกรอนไมเทากัน บริเวณขอบเกรนจะถูกกัดงายกวาบริเวณตรง
กลางเกรนเนื่องจากเปนบริเวณที่มีพลังงานสูงเพราะอะตอมอยูอยางไมเปนระเบียบ ทําใหแตละบริเวณของ
ชิ้นงานมีความขรุขระจากการกัดของน้ํายาไมเทากัน เมื่อลําแสงจากกลองจุลทรรศนตกกระทบดังรูปที่ 5.8 จะ
เกิดการสะทอนบริเวณขรุขระไมใชแนวเดียวกัน เกิดการหักลางกันของลําแสง ทําใหมองเปนสีดํา ซึ่งสามารถ
แบงอาณาเขตของแตละเกรนได

รูปที่ 5.8 หลักการทํางานของกลองจุลทรรศนแบบแสง


58

5.5 การวัดขนาดเกรน
เกรนแตละเกรนจะมีขนาดไมเทากัน สงผลใหสมบัติทางกลของโลหะไมเทากัน ดังนั้นการระบุขนาด
เกรนจึงสําคัญ โดยจะอางอิงจากมาตรฐาน ASTM ซึ่งจะอาศัยรูปถายที่กําลังขยาย 100 เทา จากนั้นทําการวัด
จํานวนเกรนในหนึ่งตารางนิ้ว ขนาดเกรนจะมี คาเปนตัวเลข 1-10 ถาวัส ดุมีเ กรนยิ่งเล็กตัวเลขก็ยิ่งสูง โดย
สมการที่ใชในการหาขนาดเกรนคือ
N  2 n 1
ln N
n  1
ln 2

โดย n = ขนาดเกรน และ N = จํานวนเกรนตอตารางนิ้วที่กําลังขยาย 100 เทา

ตัวอยาง จงหาขนาดเกรนของโลหะชิ้นหนึ่ง ถานับจํานวนเกรนได 45 เกรนในหนึ่งตารางนิ้ว


59

คําถามทายบท
1.จงคํานวณอัตราสวนของตําแหนงชองวางของทองแดงที่อุณหภูมิหลอมเหลว 400 oC (673 K ) โดย
กําหนดใหพลังงานในการสรางชองวางเทากับ 0.58 eV/atom
2. ทองที่อุณหภูมิ 800 oC (1073 K) มีจํานวนชองวางในสมดุล 1.2 ×1023 ชองวาง/m3 จงคํานวณ
พลังงานในการสรางชองวางในทอง เมื่อน้ําหนักทองอะตอมเทากับ 107.9 g/mol และความหนาแนนที่
อุณหภูมิ 800 oC 9.5g/cm3
3. จงหาความหนาแนนโดยประมาณของทองเหลืองที่สวนผสมโดยน้ําหนักดังนี้ ทองแดง:สังกะสีคือ 60:40
4. ทองแดงและแพลทินัมมีโครงสราง FCC ทองแดงจะละลายแบบแทนที่ในแพลทินัมโดยมีขีดจํากัดการ
ละลายประมาณ 6%Cu ที่อุณหภูมิหอง จงคํานวณหาความยาวของหนวยเซลลแตละดานของโลหะผสม
95% Pt 5%Cu โดยน้ําหนัก
5.จงบอกความสัมพันธของทิศทางเวกเตอรเบอเกอรและเสนดิสโลเคชันทั้งที่เปนแบบขอบ เกลียว และแบบ
ผสม
6.พลังงานผิวของผลึกเดี่ยวขึ้นอยูกับทิศทางการเรียงตัวเทียบกับผิวชิ้นงาน จริงหรือไม จงใหเหตุผล
7. สําหรับผลึกวัสดุที่มีโครงสรางแบบ FCC เชน อลูมิเนียมจะมีพลังงานผิวในระนาบ (100) มากกวาระนาบ
(111) เพราะอะไร
8. จงอธิบายความหมายและการเกิดตําหนิแบบดีสโลเกชัน
9.จงอธิบายความแตกตางของการเกิดทวินและการเกิดดีสโลเกชัน
10. ถาเลขบอกขนากเกรนตามมาตรฐาน ASTM มีคา 6 ในหนึ่งตารางนิ้วจะมีกี่เกรนที่กําลังขยาย 100 เทา
11. จงหาขนาดเกรนในหนวยมิลลิเมตรของชิ้นงานในรูป เกรนตามมาตรฐานของ ASTM สมมติวารูปนี้มี
กําลังขยาย 100 เทา
60

บทที่ 6
การแพร
อะตอมในผลึกเคลื่อนที่โดยอาศัยการแพรสงผลใหมีการเปลีย่ นเฟสเกิดขึ้น ดังนั้นการแพรจงึ เปนการ
ขนถายวัสดุอีกประเภทหนึง่ วัสดุในที่นี้คือ อะตอม การแพรเกิดเพราะมีความแตกตางในความเขมขนของ
อะตอมระหวางสองจุดหรือสองบริเวณ การแพรโดยปกติจะมีการแพรของอะตอมจากบริเวณทีม่ ีความเขมขน
มากไปยังบริเวณที่มีความเขมขนนอย ตัวอยางเชนเมื่อนําโลหะทองแดงและนิกเกิลมาตอกันแลวนําไปอบที่
อุณหภูมิสงู พบวาเกิดการแพรของอะตอมเขาหากันดังรูปที่ 6.1 ซึ่งการแพรที่เรียกวาการแพรดวยอะตอมตาง
ชนิดกันหรือเปนการแพรของอะตอมแปลกปลอม นอกจากนี้ในโลหะบริสทุ ธิก็เกิดการแพรไดเรียกวาการแพร
ภายในตัวเอง การแพรดวยอะตอมตางชนิดกันจะสังเกตไดแตถาเปนการแพรในตัวเองจะสังเกตยากมาก ตอง
อาศัยเทคนิคพิเศษโดยการแพรของอะตอมไอโซโทปของธาตุนั้นๆ หัวขอที่จะกลาวถึงในบทนี้ไดแก กลไกการ
แพร สมการทีเ่ กี่ยวของ และปจจัยทีม่ ีผลตอการแพร

รูปที่ 6.1 การแพรระหวางอะตอมทองแดงและอะตอมนิกเกิล


61

การแพร จะหมายถึงปรากฏการณการถายโอนของวัสดุโดยอาศัยการเคลื่อนที่ของอะตอมแบบสุม
หรือการเคลื่อนยายของอะตอม โดยบทนี้จ ะเนนในของแข็ง เปนหลัก การแพรของอะตอมตางชนิดกัน
หมายถึงการแพรของอะตอมธาตุหนึ่งเขาไปในอีกอะตอมธาตุหนึ่ง การแพรภายในตัวเอง เปนการเคลื่อนยาย
ของอะตอมของตัวมันเองภายในผลึก ในที่นี้จะหมายถึงการที่อะตอมจะกระโดดไปยังตําแหนงชองวางขางเคียง
แลวทําใหเกิดชองวางใหมขึ้น หรือการที่กระโดดไปอยูในตําแหนงอื่นๆที่ไมใชชองวางก็ได การแพรจะเกิดขึ้นได
ตองมีกลไกดังนี้
-ตองมีชองวางหรือที่วางอยูดานขาง
-อะตอมตองมีพลังงานมากพอทีจ่ ะทําลายพันธะกับอะตอมอืน่ แลวกระโดดขามไปในตําแหนงที่วางได
พลังงานที่ใชในการกระโดดคือพลังงานการสั่นของอะตอม ที่อุณหภูมิคาหนึง่ จะมีบางอะตอมเทานั้นที่แพรได
และเมือ่ อุณหภูมิยงิ่ สูงจํานวนอะตอมที่แพรไดก็ยิ่งมากขึ้น กลไกในการแพรนั้นมีอยู 2 ประเภทคือ การแพร
แบบอาศัยชองวางและการแพรแบบแทรกที่ดงั รูปที่ 6.2

รูป 6.2 การแพรแบบแทรกที่และการแพรแบบแทนที่

6.1 การแพรแบบอาศัยชองวาง (Vacancy diffusion)


การแพรโดยโดยใชชองวางเปนการเคลื่อนที่ของอะตอมไปยังชองวาง อะตอมเคลื่อนที่ไปตําแหนงใหม
ก็เกิดชองวางขึ้นมาที่ตําแหนงนั้น ชองวางกับอะตอมเคลื่อนที่สวนทางกัน การแพรชาหรือเร็วขึ้นกับปริมาณ
ชองวาง อุณหภูมิสูงชองวางมากทําใหแพรเร็ว การแพรภายในตัวเอง หรือ การแพรระหวางอะตอมตางชนิดกัน
ก็เกิดโดยอาศัยกลไกนี้ได
62

6.2 การแพรแบบแทรกที่
อะตอมของธาตุแบบแทรกที่ไดแก H, C, O, N เกิดการแพรไดเร็วเพราะไมตองการชองวาง สามารถ
แทรกไปไดทกุ ที่ในโครงสรางผลึก เกิดไดเร็วกวาแบบอาศัยชองวาง เพราะบริเวณชองวางในผลึกจะมีชองวางให
อะตอมขนาดเล็กแทรกที่ไดมากกวาและอาศัยพลังงานในการกระตุนนอยกวาดังรูปที่ 6.3

รูปที่ 6.3 แสดงพลังงานกระตุนที่ใชในการแพรแบบที่อาศัยชองวางและแบบแทรกที่

6.3 สมการการแพร
ในทางอุณหพลศาสตร (Thermodynamic) สามารถบอกไดวาอะตอมจะแพรจากบริเวณที่มีความ
เขมขนสูงไปหาบริเวณที่มีความเขมขนต่ํา แตไมสามารถบอกไดวาแพรเร็วหรือชา อัตราเร็วของการแพรบอกได
โดยใชหลักการทางไคเนติกซ (Kinetic) เนื่องจากการแพรจะเกี่ยวของกับเวลาดวย ในทางปฏิบัติสามารถแบง
การแพรออกไดเปน 2 สภาวะคือ
1. แบบคงตัว (Steady-state) ตัวแปรตางๆคงที่ตลอดไมขึ้นกับเวลา
2. แบบไมคงตัว (Nonsteady-state) ตัวแปรตางๆเปลี่ยนแปลงตามเวลาและตําแหนงทีส่ นใจ

 การแพรแบบคงตัว
การแพรแบบนี้เปนการแพรที่ตัวแปรตางๆที่เกี่ยวของคงที่ไมเปลี่ยนแปลงตามเวลา ในที่นี้อัตราการ
แพรจ ะอยูในรูป ของฟลัก ซ (flux) ซึ่ง หมายถึง อัตราการแพรตอพื้นที่ จะใชสัญลัก ษณคือ J มีหนวยเปน
mol/m2s หรือ kg/m2s
63

ในสภาวะคงตัวนั้น ฟลักสของการแพรจะแปรผันตรงกับเกรเดียนของความเขมขนหรือดีกรีความ
แตกตางระหวางความเขมขนสองจุดเปนกฎขอที่ 1 ของ Fick ดังสมการตอไปนี้

 dc 
J   D 
 dx 

เมื่อ D คือ สัมประสิทธการแพร (Diffusion coefficient) dc/dx คือเกรเดียนความเขมขน โดยคา D จะ


ขึ้นกับปจจัยตางๆวากลไกที่ใชในการแพรวาเปนแบบใด(แบบอาศัยชองวางหรือแบบแทรกที่) โครงสรางผลึก
(BCC, FCC, HCP เปนตน) จํานวนหรือปริมาณของความไมสมบูรณในโครงสรางผลึก และ อุณหภูมิ ตัวอยาง
การแพรประเภทนี้แสดงดังรูปที่ 6.4 ซึ่งเกรเดียนของความเขมขนเปนแรงขับดันที่ทําใหเกิดการแพรในสภาวะ
คงตัวจะถือวาเกรเดียนของความเขมขนจะเปนเสนตรง ดังนั้นสมการของฟลักสจะเขียนไดเปน

 C 
J   D 
 x 

ในที่นี้ความเขมขนจะมีหนวยเปน มวล/ปริมาตรหรือโมลตอปริมาตรก็ได

รูปที่ 6.4 แสดงการแพรผานผนังในสภาวะคงตัว


64

ตัวอยาง
แผนเหล็กหนา 1.5 มม สัมผัสกับบรรยากาศของแกสไฮโดรเจน กําหนดคา D = 6x10-11 m2/s ฟลักซวัดได
1.2x10-7 kg/m2s ถาเปนการแพรแบบสภาวะคงตัว กําหนดใหความเขมขนของแกสทีผ่ ิวเทากับ 4 kg/m3 จง
หาวาที่ลึกจากผิวไปเทาใดทีม่ ีความเขมขนเทากับ 2 kg/m3

 C 
J  D 
 x 
 C  C1 
J   D  2 
 X2  X1 
  kg  
 2  4  3 
2 
 kg   m  m  
1 . 2 x10  7  2    6 x10 11  
m s  s    x  0 m  
 
 
x  0 . 001 m

 การแพรในสภาวะไมคงตัว
การแพรในสภาวะไมคงตัวเปนการแพรที่เกิดขึ้นบอยครัง้ มาก ฟลักสจะขึ้นกับเวลาและตําแหนงที่
สนใจดังรูปที่ 6.5 ซึ่งเรียกวากฎขอที่สองของ Fick สมการคือ
C   C 
 D 
t x  x 
ถากําหนดใหคาสัมประสิทธิ์การแพรไมขึ้นกับเวลาสมการจะจัดอยูในรูปใหมเปน
2
C  C
D 2
t x

รูปที่ 6.5 การกระจายตัวของความเขมขนที่ตําแหนงตางๆในการแพรแบบไมคงตัวทีเ่ วลาแตกตางกัน


65

ในการแกปญ
 หาโจทยแบบนีจ้ ําเปนตองกําหนดสภาวะขอบเขต ตัวอยางในทางปฏิบัติไดแกการแพร
ทางเดียวในของแข็งทีเ่ ปนแบบกึง่ อนันต(Semi-infinite)ซึ่งหมายถึงของแข็งทีม่ ีความยาวมากกวา l  10 Dt
ในสภาวะนี้อะตอมที่แพรทงั้ หมดจะอยูภายในของแข็ง ไมมีการรั่วของอะตอมเกิดขึ้น โดยเงื่อนไขทีส่ ําคัญคือ
ความเขมขนของอะตอมแพรทบี่ ริเวณผิวตองคงที่เสมอดังรูปที่ 6.6

รูปที่ 6.6 แสดงการกระจายตัวของความเขมขนที่ตําแหนงตางๆในการแพรแบบไมคงตัวทีร่ ะยะเวลาหนึง่

จากรูปที่ 6.6 พบวา


1. ที่ผิวหรือตําแหนง x = 0 จะมีความเขมขนสูงสุด ความเขมขนจะลดลงเรือ่ ยๆเมื่อระยะx มากขึ้น
2. กอนมีการแพรเกิดขึ้นความเขมขนภายในชิ้นงานของแข็งจะมีคาเทากับ Co
3. การแพรจะเริ่มทีเ่ วลา t = 0
ดังนั้นสภาวะขอบเขตคือ
1. ที่เวลาเปนศูนย ความเขมขนภายในชิ้นงานคือ Co
2.ที่เวลามากกวาศูนย ที่ตําแหนงผิวความเขมขนตองเทากับ Cs เสมอ
3. ที่ตําแหนง x= ∞ ความเขมขนตองเทากับ Co เสมอ
การแกสมการนี้จะใช error function เขามาชวย โดยสมการคําตอบจะอยูในรูปของ

C x  C0  x 
 1  erf  
Cs  C0  2 Dt 

เมื่อ Cx คือความเขมขนของตําแหนง x ใดๆทีส่ นใจ ซึ่งคา erf(x) แสดงดังตารางที่ 6.1


66

ตารางที่ 6.1 คา Error funtion

ตัวอยาง แกสไนโตรเจนแพรเขาสูเ หล็กบริสุทธิ(์ เริม่ ตนในเนือ้ เหล็กไมมีแกสใดๆ)ที่ 700 C โดยทีผ่ ิวเหล็กมี


ความเขมขน N2 เทากับ 0.1% โดยน้ําหนัก ถาเวลาผานไป 10 ชั่วโมงจงหาวาที่ความลึก 1 มม. จากผิวจะมี
ความเขมขนของแกสไนโตรเจนเทาใดถาคา สปส. การแพร (D) มีคา 2.5x10-11 m2/s
วิธีทํา จากสมการการแพรแบบไมคงตัว
C x  C0  x 
 1  erf  
C s  C0  2 Dt 
 0 . 001 
 1  erf  
  11 
 2 2 . 5 x 10 x 10 x 3600 
 1  erf 0 . 527 
จากตาราง 6.1
erf 0 . 50   0 . 5205
erf 0 . 5270   ... ?
erf 0 . 55   0 . 5633
ใชหลักการเทียบบัญญัติไตรยางศ ดังนั้น erf (0.5270) = 0.5436 ดังนั้น
Cx  C0
 1  0 . 5436  0 . 4564
C s  C0

C s  0 . 1, C o  0

C x  0 . 046 wt %
67

6.4 ปจจัยที่มีผลตอคาสัมประสิทธิ์การแพร
ตามที่ไดกลาวขางตนแลวคือ ปจจัยทีม่ ีผลตอคาสัมประสิทธิก์ ารแพรหลักๆ ไดแก ประเภทของธาตุที่
แพร โครงสรางผลึกและอุณหภูมิ โดยตารางที่ 6.2 ไดแสดงขอมูลคาสัมประสิทธิ์การแพรของธาตุบางชนิดไว
ตัวอยางเชน การแพรของเหล็กในเหล็กเอง และการคารบอนแพรของคารบอนในเหล็ก พบวาคาสัมประสิทธิ์
การแพรจะแตกตางกันมากเนื่องจากอาศัยกลไกการแพรที่แตกตางกัน โดยคาทั้งหมดนี้มาจากสมการ
  Qd 
D  D0 exp 
 RT 
เมื่อ Do = คาคงที่ไมขึ้นกับอุณหภูมิ
Qd = พลังงานกระตุน (J/mol)
R = คาคงที่ของแกส 8.314 J/mol.K หรือ
T = อุณหภูมิในหนวย K
เมื่อทําการใสลอกาลรึทึมจะพบวา
Qd 1
ln D  ln D0   
R T 
หรือ
Qd  1 
log D  log D0   
2 .3 R  T 
ซึ่งจะพบวาเปนสมการเสนตรงดังแสดงในรูปที่ 6.7

ตารางที่ 6.2 คาสัมประสิทธิ์การแพรของสารบางชนิดในโลหะ


68

รูป 5.7 แสดงความสัมพันธสวนกลับของอุณหภูมสิ ัมบูรณตอ ลอการิทึมคาสัมประสิทธการแพรของธาตุตางๆ

ตัวอยาง
จงใชขอมูลในตารางที่ 6.2 ในการหาคาสัมประสิทธิ์การแพรของ Mg ใน Al ที่ 500 oC
วิธีทํา จากตารางที่ 6.2 คา Do คือ 1.2x10-4 m2/s และ คา Qd คือ 131 kJ/mol
69

คําถามทายบท

1. การแพรในโลหะบริสุทธิ์แตกตางจากการแพรในโลหะผสมอยางไร
2. จงอธิบายความแตกตางระหวางการแพรแบบอาศัยชองวางและการแพรแบบแทรกที่
3. การแพรแบบแทรกที่เกิดยากหรืองายกวาการแพรแบบอาศัยชองวาง เพราะเหตุใด
4.จงอธิบายความหมายของการแพรในสภาวะคงตัว พรอมกับระบุวาอะไรที่เปนแรงขับดันที่ทําใหเกิดการแพร
ชนิดนี้
5. จงหาปริมาณของแกสหุงตมที่รั่วออกจากถังบรรจุในหนวยกิโลกรัมตอชั่วโมง ถากําหนดใหถังบรรจุหนา 5
มม. มีพื้นที่ 0.2 ตารางเมตร ที่อุณหภูมิหอง สมมติใหคา D = 3 x10-8 m2/s ความเขมขนแกสภายใน
ถัง 10 kg/m3 โดยถือวาภายนอกถังไมมีแกสหุงตมอยูเลย ถากําหนดใหเปนการแพรในสภาวะคงตัว
6. จงใชขอมูลในตารางที่ 6.1 และ 6.2 ในการทําคารบูไรซิ่ง เหล็กกลาที่มีปริมาณคารบอนเริ่มตน 0.2% โดย
น้ําหนัก โดยตองการใหตําแหนง ลึก จากผิว 5 มม. มีความเขม ขนของคารบอน 0.5% โดยน้ําหนัก
กําหนดใหบรรยากาศในการทําคารบูไรซิงมีความเขมขนคารบอนเทากับ 1.5% โดยน้ําหนัก กําหนดให
อุณหภูมิในการทําคารบูไรซิงคือ 1000 oC
7. คารบอนจะสามารถแพรในเหล็กกกลาที่มีโครงสรางผลึกแบบใดไดเร็วกวากันระหวาง BCC กับ FCC เพราะ
เหตุใด
8. จงคํานวณหาคาสัมประสิทธิ์การแพรของทองแดงในอะลูมิเนียมที่ 500 oC
70

บทที่ 7
สมบัติทางกลของโลหะ

เมื่อโลหะรับแรงทางกลภายใตสภาวะการใชงานจะมีการตอบสนองตอสภาวะทางกลนั้น ๆดังนั้น
วิศวกรจึงมีความจําเปนตองรูวา โลหะจะมีการตอบสนองอยางไรเมื่อมีแรงทางกลมากระทําเชนเกิดการงอ
หรือแอนตัว การบิดการยืดตัวหรือแตกหัก เปนตน การตอบสนองตอภาระกรรมทางกลเหลานี้เปนสิ่งกําหนด
สมบัติทางกลที่สําคัญของวัสดุไดแก ความแข็งแรง ความแกรง ความเหนียว ความทนทานตอการสึกหรอ
การแปรรูปของโลหะเมื่อมีแรงภายนอกมากระทําเกี่ยวของกับพันธะและการเคลื่อนที่ของอะตอมในผลึกเมื่อมี
ความเคนเกิดขึ้น สงผลใหโลหะแตละประเภทมีสมบัติทางกลแตกตางกันออกไป ในบทนี้หัวขอที่จะกลาวถึง
ไดแก
-การเลื่อนและระบบเลื่อน
-การแปรรูปของโลหะ การทดสอบสมบัติทางกล การแตกหัก การเพิ่มความแข็งแรงใหกับ
โลหะ
-การฟนตัว (Recovery) การตกผลึกใหม (Recrystallization) และการโต (Growth)

7.1. การเลื่อนและระบบเลื่อน
การเลื่อนหมายถึงกระบวนการแปรรูป อยางถาวรเนื่องจากการเคลื่อนที่ของดิสโลเคชันบน
ระนาบหนึ่งซึ่งเรียกวาระนาบเลื่อนโดยปกติแลวการเลื่อนของดิสโลเคชันจะยากหรืองายนั้นขึ้นอยูกับความ
หนาแนนของดิสโลเคชันบนระนาบนั้นๆซึ่งวัดจากจํานวนดิสโลเคชันตอพื้นที่ที่สนใจ ในโลหะทั่วไปจะพบวามี
จํานวนดิสโลเคชันตั้งแต 103-1010หนวยตอตารางมิลลิเมตร

 แนวคิดพื้นฐานเกี่ยวกับการเลื่อน
สมบัติท างกลของโลหะในความเปนจริงจะดอยกวาตามทฤษฎี เนื่องจากโครงสรางผลึกของ
โลหะจะมีตําหนิเชน การที่โลหะมีตําหนิจะทําใหความแข็งแรงลดลง ซึ่งความแตกตางของความแข็งแรงนี้เกิด
จากผลของดิสโลเคชัน ซึ่งเกิดขึ้นในขั้นตอนการแปรรูปแบบพลาสติก ดังที่ไดกลาวในบทกอนหนานี้แลววาดิส
โลเคชันมีสองแบบคือดิสโลเคชันแบบขอบและดิสโลเคชันแบบเกลียว แตในความเปนจริงแลวมักพบเปนดิส
โลเคชันแบบผสม โดยดิสโลเคชันนี้สามารถทําใหมีจํานวนมากขึ้นหรือลดลงไดและดิสโลเคชันสามารถเคลือ่ นที่
ได เมื่อมีการแปรรูปแบบพลาสติกเกิดขึ้นจะทําใหเ กิด ดิสโลเคชันมากขึ้นหรือมีความหนาแนนสูงขึ้น การ
71

เคลื่อนที่ของดิสโลเคชันจะคอย ๆ ไปทีละแถวและตองใชพลังงานสูง เพราะตองทําลายพันธะอะตอมใน


แถวดิสโลเคชัน ดิสโลเคชันแบบขอบจะเคลื่อนที่ในทิศตั้งฉากกับเสน ดิสโลเคชันดังแสดงในรูปที่ 7.1
ซึ่งคลายกับการเคลื่อนที่ของตัวหนอน กระบวนการนี้เรียกวาการเลื่อนและระนาบที่แถวดิสโลเคชันเลื่อนที่ไป
นั้นเรียกวาระนาบเลื่อน ดิสโลเคชันสามารถรวมกันไดถาอยูตรงขามกัน แตจะผลักกันถาอยูดานเดียวกัน
ตัวอยางการเกิดดิสโลเคชันของอะลูมิเนียมที่ผานการแปรรูปเย็นแสดงดังรูปที่ 7.2 แถบสีดําเปนบริเวณที่มี
ความหนาแนนของดิสโลเคชันสูง

รูปที่ 7.1 การเคลื่อนที่ของดิสโลเคชันแบบขอบ [1]

รูปที่ 7.2 ดิสโลเคชันในโลหะอะลูมิเนียมที่ผานการแปรรูปเล็กนอย


72

 ลักษณะของดิสโลเคชัน
เมื่อโลหะถูก แปรรูป จะปลอยพลัง งานออกมาในรูป ของความรอนประมาณ 95% และอี ก
ประมาณ 5% เกิดการสะสมพลังงานขึ้นในรูปของพลังงานความเครียดดังรูปที่ 7.3 เมื่อมีดิสโลเคชันเกิดขึ้นจะ
สงผลใหเกิดการบิดเบี้ยวของแถวอะตอมอื่น โดยอะตอมที่อยูเหนือและติดกับดิสโลเคชันจะถูกอัดทําใหเกิด
ความเครียดสูง ในทางตรงขามกับอะตอมอยูดานลางนั้นจะเกิดแรงดึง และมีความเครียดนอยกวาดานบน
สนามความเครียดของดิสโลเคชันที่อยูใกลกันจะเกิดปฏิกิริยาตอกัน ถาดิสโลเคชันมีลักษณะเหมือนกันและอยู
ดานเดียวกันจะผลักกันและทําใหดิสโลเคชันทั้งสองวิ่งออกจากกัน ในทางตรงกันขามถาดิสโลเคชันอยูคนละ
ดานกัน จะดึงดูดใหดิสโลเคชันทั้งคูมารวมกันเกิดเปนระนาบที่สมบูรณในที่สุด ดิสโลเคชันมีผลมากตอความ
แข็งแรงของวัสดุ ในขณะเดียวกันดิสโลเคชันสามารถเพิ่มหรือลดจํานวนลงได ในกระบวนการรีดเย็นพบวา
สามารถเพิ่มความหนาแนนของดิสโลเคชันไดมาก

รูปที่ 7.3 สนามความเครียดทีเ่ กิดเนือ่ งจากดิสโลเคชัน

การเคลื่อนที่ของดิสโลเคชันจะเปนไปตามกลไกการเลื่อนสามารถอธิบายไดตามรูปที่ 7.4ตาม
ทฤษฎีของแฟรงก-รีดเจนเนอรเรเตอร (Frank-read generator) กลาวคือ เมื่อมีแรงกระทําตามรูปที่ 7.4 A ที่
พยายามใหดิสโลเคชันเคลื่อนที่ แตปลายสองขางของดิสโลเคชันไมไดอยูบนระนาบเลื่อนหรือถูกตรึงไว ทําให
มีเฉพาะบางสวนเทานั้นที่สามารถเลื่อนไปไดดังรูปที่ 7.4 B โดยเสนดิสโลเคชันขยายตัวออกไปลักษณะเปนวง
โคง รัศมีความโคงที่เล็กที่สุดเกิดขึ้นเมื่อเปนรูปครึ่งวงกลมดังรูปที่ 7.4 B และจากนีไ้ ปรัศมีความโคงจะมากขึ้น
เรื่อย ๆ ถายังคงมีแรงกระทํา วงโคงของเสนดิสโลเคชันจะขยายตัวตอไปดังรูปที่ 7.4 C และขยายวนรอบจุด
ที่ถูกตรึงไวทั้งสองขางดังรูปที่ 7.4 D เนื่องจากดิสโลเคชันตรงปลายสองขางตางก็เปนดิสโลเคชันแบบเกลียวจึง
หักลางกันพอดี และรวมกันเปนวงปดลอมรอบจุดปลายที่ถูกตรึงทั้งสองขาง หลังจากนั้น ดิสโลเคชันจะเกิด
การแบงเปนสองสวนดังรูปที่ 7.4 E สวนแรกจะกลับคืนสูตําแหนงเดิมและสวนที่สองจะขยายตอออกไป ทําให
73

เกิดการเลื่อนของอะตอมในระนาบเลื่อน ถาความเคนที่มากระทําสูงพอที่จะเลื่อนอะตอมไดและมีการกระทํา
อยางตอเนื่อง จะพบวาวงของดิสโลเคชันจะเพิ่มขึ้นอยางตอเนื่องเชนกัน อยางไรก็ตามดิสโลเคชันที่มีทิศ
เดียวกันจะผลักกันเอง เปนการตานการเกิดใหมของดิสโลเคชัน ดังนั้น ดิสโลเคชันที่เกิดใหมจึงเกิดไดอยาง
จํากัด

รูปที่ 7.4 กลไกการเลื่อนตัวของดิสโลเคชันของแฟรงก-รีด เจนเนอรเรเตอร

 ระบบการเลื่อน
การเลื่อนของอะตอมในผลึกสามารถเคลื่อนที่ไดงายในบางระนาบและบางทิศทางเทานั้น
ระนาบที่อะตอมสามารถเลื่อนไดงายเรียกวาระนาบเลื่อน และทิศทางที่เลื่อนไปเรียกวาทิศทางการเลื่อน เมื่อ
นับทั้งระนาบและทิศทางมารวมกันเรียกวาระบบการเลื่อน ระนาบที่อะตอมเลื่อนไดงายจะเปนระนาบที่มี
ความหนาแนนของอะตอมสูงสุดในหนวยเซลลนั้น ๆ ในขณะเดียวกันทิศทางการเลื่อนจะอยูในทิศที่มีคาความ
หนาแนนของอะตอมสูงสุด รูปที่ 7.5 แสดงการเปรียบเทียบการเลื่อนระหวางระนาบ โคลสแพกและระนาบที่
ไมใชโคลสแพก ซึ่งการเลื่อนในระนาบที่ไมใชโคลสแพกตองใชพลังงานสูงกวาบนระนาบโคลสแพก
หนวยเซลลแตละหนวยจะมีหลายระนาบและทิศทางการเลื่อนดังตัวอยางในรูปที่ 7.7 ที่เปน
หนวยเซลลที่มีโครงสรางผลึกแบบ FCC รูปที่ 7.7 a) แสดงระนาบการเลื่อนคือระนาบ (111) ซึ่งตัดผาน
อะตอมมากที่สุดระนาบนี้อยูในกลุม {111} ซึ่งมีจํานวน 4 ระนาบตอหนวยเซลล รูปที่ 7.7 b) แสดงทิศทางที่
อะตอมสามารถเลื่อนไดในแตละระนาบ อะตอมจะเคลื่อนที่ไดสามทิศทางคือ B, C และ E ดังนั้นระบบเลื่อน
74

ของโครงสรางผลึก FCC ทั้งหมดคือ 4x3 = 12 ระบบ โลหะที่มีระบบเลื่อนมากจะมีสมบัติที่เหนียวมากเพราะ


อะตอมเคลื่อนที่ไดงาย ตารางที่ 7.1 แสดงระบบเลื่อนในหนวยเซลลแบบตาง ๆ จะพบวาโครงสรางผลึกแบบ
BCC มีระบบเลื่อน 12 ระบบ สวนโครงสรางผลึกแบบ HCP มีเพียง 3 ระบบ ดังนั้นโครงสรางผลึกแบบ FCC
และ BCC จึงเหนียวกวาโครงสรางผลึกแบบ HCP อยางไรก็ตามแมวาโครงสรางผลึกแบบ FCC จะมีระบบ
เลื่อนเทากับโครงสรางผลึกแบบ BCC แตโครงสรางผลึกแบบ FCC จะมีระบบเลื่อนตอหนึ่งระนาบมากกวา
ดังนั้นโครงสรางผลึกแบบ FCC จึงเหนียวกวาโครงสรางผลึก แบบ BCC

ระนาบโคลสแพก

ระนาบไมใชโคลสแพก

รูปที่ 7.5 การเลื่อนของอะตอมในระนาบโคลสแพกและที่ไมใชระนาบโคลสแพก

(a) (b)
รูปที่ 7.7 ระบบเลื่อนในหนวยเซลล FCC
75

ตารางที่ 7.1 ระบบเลื่อนในโลหะบางชนิด [1]


โลหะ ระนาบเลื่อน ทิศทางการเลื่อน ระบบเลื่อน
Cu, Al, Ni, Ag, Au {111} (010) 12
-Fe,W,Mo {110} (111) 12
-Fe,W {211} (111) 12
-Fe,K {321} (111) 24
Cd,Zn,Mg, Ti,Be {0001} (1120) 3
Ti,Mg,Zr 1010 (1120) 3
Ti,Mg 1011 (1120) 6

 การเลื่อนในผลึกเดี่ยว
เมื่อมีความเคนแรงดึงมากระทํากับวัสดุที่มีผลึกเดี่ยวในทิศตั้งฉาก ภายในเนื้อวัสดุจะเกิดความ
เคนแรงเฉือนเกิดขึ้นในทิศที่ตั้งฉากหรือขนานกับแรงดึงจากภายนอกนั้น ๆ แรงเฉือนที่เกิดขึ้นทําใหเนื้อวัสดุ
ขาดออกจากกัน ดังนั้นความเคนที่ใชในการเลือ่ นของอะตอมจะเปนความเคนเฉือน รูปที่ 7.7แสดงความเคน
เฉือนสุทธิ (Resolved shear stress) ซึ่งเปนความเคนเฉือนที่ใชในการเลื่อนอะตอมในผลึก โดยขนาดของ
ความเคนนี้จะขึ้นกับสองปจจัยคือขนาดของแรงภายนอกที่กระทําและการวางตัวของระนาบและทิศทางการ
เลื่อน เมื่อพิจารณาการรับแรงดึงของวัสดุตามรูปที่ 7.7 ถากําหนดให F คือแรงดึงจากภายนอกที่มากระทํา
 คือ มุมระหวางแรงที่กระทํากับระนาบเลื่อน  คือมุมระหวางแรงที่กระทําจากภายนอกกับแนวตั้งฉากกับ

ระนาบเลื่อน และ FR คือแรงเฉือนสุทธิ (Resolved shear force) ดังนั้น ความเคนเฉือนสุทธิหาไดจาก


สมการ
 R   cos  cos  (7.1)
โดย

h1h2  k1k 2  l1l2


cos  
2 2 2 2 2 2
( h1  k1  l1 ) ( h2  k 2  l2 )

เมื่อ [h1k1l1] คือทิศทางของแรงดึงที่กระทํา และ [h2k2l2] คือทิศทางตั้งฉากกับระนาบ (h2k2l2)


76

รูปที่ 7.7 การเกิดความเคนเฉือนสุทธิ

รูปที่ 7.8 แถบเลื่อนเนือ่ งจากการเลื่อนของอะตอมในผลึกเดีย่ วของโลหะสังกะสี


77

ซึ่งเปนไปตามกฎของสมิท ในระบบผลึกที่มีการเลื่อนงายจะมีคาความเครียดเฉือนสุทธินี้สูง สําหรับการเลื่อน


ในผลึกเดี่ยวเกิดขึ้นเมื่อคาความเครียดเฉือนสุทธิเทากับคาความเครียดเฉือนวิกฤติ (Critical resolved shear
stress หรือcrss) ดังนั้นสามารถหาความเคนที่ทําใหเริ่มเกิดการเลื่อนโดยใชสมการดังตอไปนี้คือ
 crss
y  (7.2)
cos  cos  max
สําหรับในผลึกเดี่ยวนั้นพบวาความเคนต่ําสุดเกิดขึ้นเมื่อมุม  = = 45 องศาดังนั้น  y  2 crss โดยการแปร
รูปนี้จะทําใหเกิดการเลื่อนและจะเกิดขึ้นเปนแถบการเลื่อนเล็กๆดังรูปที่ 7.8

ตัวอยางที่ 7.1 ถาผลึกเดี่ยวมีโครงสรางผลึกเปน BCC โดยรับแรงดึงในทิศทาง [010] จงหาความเครียดเฉือน


วิกฤติที่เกิดขึ้นบนระนาบ (110) ในทิศทาง [111] ถาความเคนแรงดึงเทากับ 52 MPa

วิธีทํา จากโจทยทิศทางในการรับแรงดึงคือ [010] และระนาบที่เกิดความเคนเฉือนคือ (110) ทิศทางที่ตงั้ ฉาก


กับระนาบ (110) คือทิศทาง [110] ดังนั้น [h1k1l1] คือ [010] และ [h2k2l2] คือ [110] สามารถหามุม  ไดดังนี้

h1h2  k1k 2  l1l2


cos  
2 2 2 2 2 2
( h1  k1  l1 ) ( h2  k 2  l2 )
1x0  1x1  0 x0 1
cos  
2 2 2 2 2 2 2
(0  1  0 ) (1  1  0 )

จะได = 45

เนื่องจากมุม  คือมุมระหวางทิศทางแรงดึงกับทิศทาง [111] ดังนั้น


1x0  1x1  0 x0 1
cos   
2 2 2 2 2 2 3
(0  1  0 ) (1  1  1 )

ดังนั้น = 54.7
จากสมการที่ 7.1จะได  R   cos  cos 

 R  52 cos 45 cos 54 .7  21 .3 MPa


78

 การแปรรูปแบบถาวรในวัสดุหลายผลึก
วัสดุจําพวกโลหะโดยสวนมากจะมีหลายผลึก โดยแตละผลึกจะมีการเรียงตัวในทิศทางที่แตกตาง
กันเนื่องจากการแข็งตัวเกิดขึ้นไมพรอมกัน การเกิดการเลื่อนในกรณีของวัสดุที่มีหลายผลึกจะตองผานทีละ
เกรน อยางไรก็ตามแตละเกรนจะมีทิศทางเรียงตัวแตกตางกันไป ดังนั้นทิศทางที่อะตอมสามารถเลื่อนงายใน
เกรนหนึ่งอาจจะไมงายสําหรับอีกเกรนหนึ่ง โดยการเลื่อนจะเกิดขึ้นไดเมื่อทุกเกรนสามารถเลื่อนไปไดดวยกัน
แตในโลหะที่มีหลายผลึกนี้การเลื่อนจะตองใชแรงมากกวาในกรณีที่มีผลึกเดี่ยว ดังตัวอยางในรูปที่ 7.9 ซึ่ง
แสดงแถบการเลื่อนของทองแดงพบวาแนวเลื่อนภายในแตละเกรนจะเรียงตัวในทิศทางแตกตางจากเกรนอื่น ๆ
แมวาเกรนใดเกรนหนึ่งเกิดการเลื่อนแลวการแปรรูป แบบถาวรยังไมเกิดขึ้นจนกวาเกรนที่ติดกันจะเกิดการ
เลื่อนไปดวย ดังนั้นจึงสงผลใหโลหะที่มีหลายผลึกแข็งแรงกวาโลหะที่มีผลึกเดี่ยว ตัวอยางผลการทดสอบแรง
ดึงของโลหะหลายผลึกและโลหะที่มีผลึกเดี่ยวแสดงในรูปที่ 7.10

รูปที่ 7.9 การเลือ่ นในเกรนของทองแดงที่ผานการแปรรูป

รูปที่ 7.10 ความตานแรงดึงของทองแดงที่มผี ลึกเดี่ยวและทีม่ ีหลายผลึก


79

7.2 สมบัติทางกลของโลหะ
 ความเคนและความเครียด
แรงที่มากระทําตอวัสดุสามารถแบงไดเปนสามประเภทดังแสดงในรูปที่ 7.11 ดังนีค้ ือ
1. แรงดึงดังรูปที่ 7.11a) เปนแรงที่ใชดึงวัสดุใหยืดออกจากกัน โดยทิศทางของแรงจะพุงออก
จากจุดศูนยกลางของวัสดุ
2. แรงอัดหรือแรงกดดังรูปที่ 7.11b) เปนแรงในทิศตรงขามกับแรงดึง โดยแรงมีทิศพุงเขาหา
จุดศูนยกลางของวัสดุ
3. แรงเฉือนดังรูปที่ 7.11c) และ 7.11d) เปนแรงที่เฉือนเนื้อวัสดุขาดออกจากกัน โดยทิศของ
แรงจะขนานไปกับพื้นที่ที่ถูกเฉือน มักพบอยูในรูปของแรงบิดมากกวาแรงเฉือนเพียงอยางเดียว

รูปที่ 7.11 ประเภทของแรง a) แรงดึง b) แรงอัด c) แรงเฉือน d) แรงบิด


80

แรงทั้งสามประเภทนี้กอใหเกิดความเคนขึ้นภายในวัสดุ ความเคนที่เกิดขึ้นจะหมายถึงแรงตานทานภายในเนื้อ
วัสดุเมื่อมีแรงภายนอกมากระทําตอพื้นที่หนาตัดที่ตั้งฉากกับแรงนั้น ๆ ความเคนมีหนวยเปนนิวตันตอตาราง
เมตร เมื่อวัสดุมีความเคนจะสงผลใหเกิดการเปลี่ยนรูปเชน หดตัวยืดตัวหรือบิดตัว ซึ่งเรียกวามีความเครียด
เกิดขึ้นนั่นเอง ความเครียดไมมีหนวย ในการทดสอบแรงดึงของวัสดุถากําหนดใหวัสดุมีพื้นที่หนาตัดรับแรง
เบื้องตนคือ Ao จากรูปที่ 7.11 จะไดวา
1) เมื่อวัสดุรับแรงดึงหรืออัด ความเคนทางวิศวกรรม () หาไดจากแรงตอพื้นที่ตั้งฉากเริ่มตน
ดังแสดงตามสมการ
F
 (7.3)
Ao
ความเครียดทางวิศวกรรม () หาไดจากอัตราสวนของความยาวของชิ้นงานที่เปลี่ยนไปตอความยาวเริ่มตน
(l0) ถา l คือความยาวหลังการดึงจะไดวา
l  lo
 (7.4)
lo
2) เมื่อวัสดุรับแรงเฉือนหรือแรงบิดพบวาความเคนเฉือน () หาไดจากแรงที่ขนานกับระนาบ
การเฉือนตอพื้นที่ที่ถูกเฉือน (A0) ดังสมการ
Fshear
  (7.5)
Ao
ความเครียดเฉือน () หาจากความยาวของชิ้นงานที่บิดตัวไปตอระยะระหวางแรงเฉือนตามรูปที่ 7.11c คือ
  tan (7.6)
ในทางปฏิบัติจะพบทั้งแรงอัดและแรงดึงพรอมกันเมื่อวัสดุถูกดัด สวนแรงบิดจะเปนรูปแบบหนึ่ง
ของแรงเฉือน ในหลาย ๆ กรณีพบวาแมวัสดุจะรับแรงดึงเพียงอยางเดียวแตสามารถเหนี่ยวนําใหเกิดแรงเฉือน
ขึ้นในเนื้อวัสดุไดดังรูปที่ 7.7 ซึ่งเปนเงื่อนไขหนึ่งที่ตองพิจารณาเมื่อวัสดุไดรับความเคน โดยแรงเฉือนนี้เปน
แรงที่ทําใหอะตอมในระนาบเกิดการเลื่อน

 การแปรรูป
กรณีของวัสดุเมื่อไดรับแรงดึงหรือแรงอัด วัสดุจะมีการตอบสนองเกิดขึ้นโดยมีการเปลี่ยนรูปไป
จากเดิม ถาวัสดุสามารถกลับคืนสภาพเดิมไดภายหลังการเอาความเคนนั้นออก ถือวาเปนการแปรรูปแบบ
ยืดหยุน (Elastic deformation) แตถาวัสดุไมสามารถคืนสภาพเดิมเมื่อเทียบกับกอนรับความเคนจะถือวาเกิด
การแปรรูปแบบถาวร (Plastic deformation) ถาวัสดุมีการแปรรูปยืดหยุน พบวาความเคนจะแปรผันตรงกับ
ความเครียด ซึ่งเปนไปตามกฎของฮุก (Hooke’s law) ดังสมการ
81

  E (7.7)
เมื่อ E= คามอดูลัสความยืดหยุน (Modulus of elasticity) หรือ มอดูลัสของยัง (Young’s modulus) ถา
วัสดุใดที่มีคา E สูงหมายถึงวัสดุนั้นมีพันธะระหวางอะตอมที่แข็งแรง ตัวอยางคามอดูลัสความยืดหยุนของ
โลหะบางประเภทแสดงในตารางที่ 7.2
การแปรรูปแบบยืดหยุนเปนชวงเริ่มตนของกราฟที่เปนเสนตรงของการทดสอบแรงดึงหรือแรงอัด
ดังรูปที่ 7.12 ซึ่งเปน ชวงที่ความเคนแปรผันตรงกับ ความเครียด คาความชันของกราฟนี้คือมอดูลัสความ
ยืดหยุน เมื่อปลอยแรงแลววัสดุจะคืนกลับสูสภาพเริ่มตนกอนที่จะรับแรงในโลหะบางประเภทเชน เหล็กหลอ
เทา กราฟในชวงที่เปนการแปรรูปแบบยืดหยุนจะไมเปนเสนตรง ทําใหไมสามารถหาคามอดูลัสความยืดหยุน
โดยวิธีขางตนได ในกรณีนี้ตองใช วิธีก ารหาแบบแทนเจนต คือการหาความชันของเสนสัมผัสเสนกราฟที่
ตําแหนงความเคนที่สนใจ หรืออาจใชวธิ ีซีแคนตคือ การหาคาความชันของเสนตรงที่ลากจากจุดกําเนิดผานจุด
ความเคนที่สนใจได

ตารางที่ 7.2 สมบัติทางกลของโลหะบางประเภท


โลหะ มอดูลสั ยืดหยุน (GPa) มอดูลสั เฉือน(GPa) อัตราสวนปวซอง
อะลูมเิ นียม 79 25 0.33
ทองเหลือง 97 37 0.34
ทองแดง 110 47 0.34
แมกนีเซียม 45 17 0.29
นิกเกิล 207 77 0.31
เหล็กกลา 207 83 0.30
ไทเทเนียม 107 45 0.34
ทังสเตน 407 170 0.28
82

รูปที่7.12ความเคนและความเครียดในชวงการแปรรูปแบบยืดหยุน

รูปที่ 7.13 คามอดูลัสที่อุณหภูมิตางๆของโลหะบางชนิด


83

ดัง ที่ก ลาวมาขางตน ถาโลหะมีคามอดูลัส สูง หมายความวาอะตอมมีก ารยึดกันดวยพันธะที่


แข็งแรงมาก โดยทั่วไปปจ จัยหนึ่งที่มีผลมากตอคามอดูลัส คืออุณหภูมิ เมื่ออุณหภูมิเ พิ่มขึ้นจะสงผลใหคา
มอดูลัสลดลงดังรูปที่ 7.13 ซึ่งเปนตัวอยางของโลหะที่ใชง านทางวิศวกรรมไดแก อะลูมิเนียม เหล็ กและ
ทังสเตน
กรณีวัสดุรับแรงเฉือนพบวาในชวงยืดหยุนนั้น สมการความสัมพันธระหวางความเคนเฉือนกับ
ความเครียดเฉือนจะเปนไปตามสมการตอไปนี้
  G (7.7)
เมื่อ G = มอดูลัสเฉือน (Shear modulus) โดยวัสดุประเภทโลหะจะกลับคืนสูสภาพเดิมทันทีในชวงยืดหยุน
แตในวัสดุประเภทพลาสติกนั้นแมวาจะเปนชวงยืดหยุน แตการคืนตัวจะชาเพราะตองอาศัยระยะเวลาหนึ่ง
กอนเพื่อกําจัดความเครียดยืดหยุนไป สมบัติแบบนี้เราเรียกวามีความเปนแอนอิลาสติก(Anelasticity) ซึ่งไมมี
ในโลหะหรือเซรามิก
ในขั้นตอนการแปรรูปนั้นวัสดุมีปริมาตรคงที่ตลอด ดังนั้นเมื่อมีการยืดหรือหดตัวในดานใดดาน
หนึ่ง จะทําใหขนาดของอีกดานที่เหลือเปลี่ยนแปลงไป กลาวคือมีความเครียดเกิดขึ้นในทุกดานของวัสดุ เมื่อ
วัสดุที่เปนไอโซโทรปกรับแรงในแนวแกน z ดังรูปที่ 7.14 วัสดุจะยืดออกไปในแนวแกน z ในขณะเดียวกันใน
แนวแกน x และ y จะหดตัวลง ดังนั้นความเครียดในแนวแกน z จึงมีคาเปนบวกเพราะวัสดุยาวขึ้นสวนแกน x
และ y จะมีคาเปนลบเนื่องจากเกิดการหดตัว โดยความเครียดในแนว x และ y จะเทากันเนื่องจากความเปน
ไอโซโทรปก อัตราสวนความเครียดระหวางแกน x หรือ y ตอแกน z เรียกวาอัตราสวนปวซอง (Poison’s
ratio, ) หาไดจากสมการตอไปนี้
 
    y  (7.9)
 z 
อัตราสวนความเครียดในแนวแกน y และ z เปนคาลบ เพื่อที่ใหคา  เปนบวกจึง มีเ ครื่องหมายเปนลบ
โดยทั่วไปอัตราสวนปวซองจะมีคาระหวาง 0.25-0.35 ดังแสดงในตารางที่ 7.2 คาปวซองสัมพันธกับทั้งคา
มอดูลัสความยืดหยุนและคามอดูลัสเฉือน สําหรับวัสดุที่เปนไอโซโทรปกพบวาจะมีความสัมพันธตามสมการ

E  2G 1    (7.10)

โดยทั่วไปจะพบวาคา G มีคาประมาณ 0.4 E


84

รูปที่ 7.14การยืดตัวของวัสดุในแนวแกนเมื่อรับแรงดึง [1]

ตัวอยางที่ 7.2 แทงอะลูมิเนียมรูปทรงกระบอกรับแรงดึง 4500 lb ถาตองการใหแทงอะลูมิเนียมเกิดความเคน


สูงสุดไมเกิน 2500 psi โดยเกิดการยืดตัวแบบยืดหยุนไดไมเกิน 0.25 นิ้ว (หรือเกิดความเครียดไมเกิน 0.0025)
จงหาวาควรตองใชแทงโลหะอะลูมิเนียมมีพื้นที่หนาตัดและความยาวเทาใด

วิธีทํา โจทยกําหนดแรงที่ใชดึงและความเคนสูงสุดที่เกิดขึ้น ดังนั้นจะสามารถหาพื้นที่หนาตัดไดดังนี้คือ


F 45000
A0    1 .8 ตารางนิ้ว
 2500
2
d
A0   1 .8
4
d  1 . 51นิ้ว
โจทยกําหนดใหเกิดการยืดตัวแบบยืดหยุนไดไมเกิน 0.25 นิ้ว หรือเกิดความเครียดไดไมเกิน 0.0025
l  lo 0.25
จะได   0.0025 
lo l0
ดังนั้น l0  100 นิ้ว
85

 สมบัติเกี่ยวกับการทดสอบแรงดึง
การทดสอบหาความแข็งแรงของวัสดุที่สําคัญคือการทดสอบแรงดึงดังรูปที่ 7.15 เตรียมชิ้นงาน
ใหมี รูป รางและขนาดตามมาตรฐานที่กําหนด ทดสอบโดยใชเ ครื่องทดสอบแรงดึง เมื่อชิ้นงานรับ แรงดึง
จนกระทั่ง มีความเคนสูง มากพอ ชิ้นงานจะยืดตัวออกตามทิศทางของแรงดึง และเกิดการคอดขึ้น ทําให
พื้นที่หนาตัดตรงบริเวณที่คอดลดลงและเกิดการขาดจากกันในที่สุด ผลการทดสอบจะอยูในรูป แบบของ
ความสัม พันธร ะหวางความเคนและความเครียด ตัวอยางผลการทดสอบแรงดึง แสดงในรูป ที่ 7.17 โดย
สามารถแปรผลไดดังนี้คือ
1) จุดคราก (Yield point) คือจุดที่วัสดุเริ่มมีการแปรรูปแบบถาวร เมื่อวัสดุมีความเคนมาก
ขึ้นจะยืดออก ความสัมพันธระหวางความเคนและความเครียดเปนแบบเสนตรงความสัมพันธแบบเสนตรงนี้จะ
สิ้นสุดที่จุดคราก (y) จุดครากถือเปนจุดเปลี่ยนโคงของกราฟ ซึ่งคาความแข็งแรงที่จุดครากนี้เรียกวาแรง
คราก (Yield strength) จะเปนจุดแบงการแปรรูปแบบพลาสติกกับแบบยืดหยุน ถาวัสดุรับความเคนมากกวา
จุดนี้จะเกิดการแปรรูปแบบพลาสติกขึ้น

(a) ชิ้นงานทดสอบ

(b) เครื่องทดสอบแรงดึง
รูปที่ 7.15 ชิ้นงานและอุปกรณในการทดสอบแรงดึง
86

รูปที่ 7.17 ความสัมพันธระหวางความเคนและความเครียดในการทดสอบแรงดึง

a) ไมแสดงจุดคราก b) แสดงจุดครากอยางชัดเจน

รูปที่ 7.17 จุดครากในกราฟความสัมพันธระหวางความเคน-ความเครียด


87

จุดครากเปนจุดที่กราฟเบี่ยงเบนไปจากเสนตรง ซึ่ง ที่จุดนี้เ รียกวาขีดจํากัดการแปรผันตรง


(Proportion limit) อยางไรก็ตามจุดครากอาจจะไมแสดงชัดเจนดังแสดงในรูปที่ 7.17 a) จึงสามารถหาจุด
ครากในกรณีนี้ไดจากการลากเสนตรงทีต่ ําแหนงความเครียดเทากับ 0.002 ขนานขึ้นไปกับสวนกราฟชวงที่เปน
เสนตรงดังรูปที่ 7.17 a) ถาเสนนีต้ ัดกราฟตรงจุดใดจะถือวาจุดนั้นคือจุดคราก แรงครากมีหนวยเปน MPa
หรื อ psi เหล็ ก กลา หรื อ วั ส ดุ บ างชนิด จะแสดงจุด ครากอย างชัด เจนดั ง รู ป ที่ 7.17 b) การแปรรู ป อยา ง
ทันทีทันใดจากแบบยืดหยุนเปลี่ยนเปนแบบถาวรจะเรียกวาจุดครากบน (Upper yield point) จากนั้นความ
เคนจะลดลงอยางรวดเร็วและแปรปรวนเล็กนอยโดยวัสดุยืดออก ความเคนที่ล ดลงตรงจุดต่ําสุดของชวง
แปรปรวนนี้เรียกวาจุดครากลาง (Lower yield point)
2) ความตานแรงดึง (Tensile strength) เมื่อวัสดุรับแรงจนมีความเคนมากกวาจุดคราก
พบวาวัสดุจะยืดแบบถาวรจนถึงจุดความเคนสูงสุด (ts) ดังรูปที่ 7.17 จากนั้นความเคนจะลดลงจนวัสดุขาด
ออกจากกัน ซึ่งจุดสูงสุดนี้เรียกวาความตานแรงดึง เปนคาความแข็งแรงสูงสุดที่โครงสรางหนึ่ง ๆสามารถรับได
กอนเกิดการแตกหัก กอนถึงจุดนี้ชิ้นงานจะยืดออกอยางสม่ําเสมอ แตถาเลยจุดนี้ไปแลวการคอดเกิดขึ้นจน
แตกหักในที่สุดดังรูปที่ 7.18 คา ts จะมีคาตั้งแต 50 MPa สําหรับโลหะอะลูมิเนียมไปจนถึง 3,000 MPa
สําหรับเหล็กกลาความแข็งแรงสูง ตารางที่ 7.3 แสดงขอมูลแรงคราก ความตานแรงดึงและความสามารถใน
การยืดตัวของโลหะที่สําคัญบางชนิด

รูปที่ 7.18 การแปรรูปของชิ้นงานในระหวางการทดสอบแรงดึง


88

ตารางที่ 7.3 สมบัติการรับแรงดึงของโลหะบางประเภททีอ่ ณ


ุ หภูมิหอง[4]
โลหะ แรงคราก ความตานแรงดึง ความเหนียว
(MPa) (MPa) (%EL)
อะลูมเิ นียม 35 90 40
ทองแดง 79 200 45
ทองเหลือง 75 300 78
เหล็ก 130 272 45
นิกเกิล 138 480 40
เหล็กกลา 180 380 25
(1020)
ไทเทเนียม 450 520 25
โมลิบดีนัม 575 755 35

3) ความเหนี ย ว (Ductility) หมายถึ ง ระดั บ ความสามารถของวั ส ดุ ใ นการยืด ตั ว ออกไป


จนกระทั่งแตกหักหรือขาดจากกัน โดยสามารถวัดไดจากรอยละของความยืด (Percent elongation, %El)
หรือ รอยละการลดทอนพื้นที่ (Percentreduction in area, %RA) ซึ่งหาไดจากสมการตามลําดับตอไปนี้
%El 
l  lo  x100 (7.11)
l0

% RA 
 A0  A x100 (7.12)
A0
เมือ l0 = ความยาวกอนการดึง l = ความยาวหลังการดึง Ao= พื้นที่หนาตัดกอนการดึง A=
พื้นที่หนาตัดหลังการดึง คาความแข็งแรงและความเหนียวจะขึ้นกับอุณหภูมิ การรับแรงที่อุณหภูมิสูงขึ้นจะ
ทําใหคาความแข็งแรงลดลง แตความเหนียวจะเพิ่มขึ้นดังรูปที่ 7.19
89

รูปที่ 7.19 ผลของอุณหภูมิตอความเคนจุดคราก ความตานแรงดึงและความเหนียว

ตัวอยางที่ 7.3 แทงโลหะชนิดหนึ่งรูปทรงกระบอกมีความยาวเริ่มตน 20 cm พื้นที่หนาตัด 5 cm2 รับแรงดึง


จนกระทั่งขาดวัดความยาวหลังการขาดได 25 cm และมีพื้นที่หนาตัด 2.5 cm2 จงคํานวณหาความยืดและ
การลดทอนพื้นที่
วิธีทํา จากสมการที่ 7.11 และ 7.12 สามารถคํานวณไดดังนี้
% El 
l  lo  x100  ( 25  20 ) x100  20%
l0 25

% RA 
 A0  A x100  ( 5  2.5 ) x100  50%
A0 5

4) ความแกรง (Toughness) คือคาพลังงานตอปริมาตรของวัสดุที่สามารถซึมซับไดจนกระทั่ง


แตกหัก หรือกลาวอีกอยางหนึ่งวาเปนความสามารถของวัสดุในการรับการกระแทกกอนการแตกหัก สามารถ
ประเมินความแกรงของวัสดุไดจากพื้นที่ใตกราฟของความสัมพันธระหวางความเคนกับความเครียด สําหรับ
การทดสอบแรงดึงในสภาวะสถิตพบวาวัสดุใดมีพื้นที่ใตกราฟมากจะมีความแกรงสูง โดยวัสดุที่มีความแกรงสูง
ตองมีความแข็งแรงและเหนียวสูงดวย โดยทั่วไปวัสดุเหนียวจะมีความแกรงสูงกวาวัสดุเปราะดังรูปที่ 7.20
ในสภาวะการทดสอบแบบพลศาสตรจะใชการทดสอบการกระแทกหาคาพลัง งานที่วัส ดุซึม ซับไวกอนการ
แตกหักแทน
90

(a) วัสดุเปราะ (b) วัสดุเหนียว


รูปที่ 7.20 กราฟความเคน-ความเครียดของวัสดุเปราะและวัสดุเหนียว

5) ความเคนแทและความเครียดแท (True stress and strain) ความเคนและความเครียดที่


เกิดขึ้นจริงในเนื้อวัสดุจะแตกตางจากความเคนความเครียดทางวิศวกรรม กราฟของความเคนความเครียด
ทางวิศวกรรมจะถือวาพื้นที่หนาตัดของวัสดุคงที่ตลอดการทดสอบแรงดึง แตในความจริงแลวพื้นที่หนาตัดของ
วัสดุจะลดลงเมื่อวัสดุยืดออก โดยจะมีการคอดเกิดขึ้นกอนที่จะขาด ดังนั้นความเคนแท (T) หมายถึงแรงตอ
พื้นที่หนาตัดจริงขณะนั้นๆ (Ai) ซึ่งหาไดจาก
F
T  (7.14)
Ai
L
dL L
ความเครียดแท (T) หาไดจาก T    ln (7.15)
Lo
L Lo

ความสัมพันธระหวางความเคนแท-ความเครียดแทและความเคน-ความเครียดทางวิศวกรรมคือ
 T   1   
(7.17)
 T  ln 1   
รูปที่ 7.21 แสดงการเปรียบเทียบความเคนแทและความเคนทางวิศวกรรม แมวาผานจุดสูงสุดของกราฟความ
เคนทางวิศวกรรมแลว กราฟของความเคนแทจะไมลดลง เนื่องจากมีการคอดเกิดขึ้น ทําใหพื้นที่หนาตัดลดลง
อยางไรก็ตามชวงการคอดจะมีความเคนในหลายแนวแกน ดังนั้นคาความเคนที่ถูกตองจึงเปนไปตามเสนประ
ในวัสดุบางประเภทนั้นพบวากอนที่จะเกิดการคอด จะเกิดการแปรรูปแบบพลาสติกกอน และความสัมพันธ
ระหวางความเคนและความเครียดชวงนี้จะเปนเสนโคงตามสมการ
T  KTn (7.17)
91

โดยคา K และ n เปนคาคงที่ ตามชนิดวัสดุและกระบวนการกอนหนา ซึ่งคา n นี้คือคา stain hardening


exponent ซึ่งมีคานอยกวาหนึ่ง

รูปที่ 7.21กราฟความเคน-ความเครียดแทและความเคน-ความเครียดทางวิศวกรรม

ตัวอยางที่ 7.4 แทงโลหะขนาดเสนผานศูนยกลาง 5 cm ยาว 10 cm เมื่อรับดึงขนาด 8 MPa จะยืด


ออกเปนระยะทาง 1.2 cm และมีขนาดเสนผานศูนยกลาง 4.5 cm จงหาความเคนแทและความเครียดแทที่
เกิดขึ้นในเนื้อวัสดุ
วิธีทํา จากสมการที่ 7.14 และ 7.15 จะไดวา
F 8 x106
 5.03x10  5 GPa
9
T  
Ai  ( 4.5 x10 2 ) 2
4
L 11.2
 T  ln  ln( )  0.113
Lo 10

 ความแข็ง
ความแข็งคือความตานทานของวัสดุตอการแปรรูปแบบถาวรเฉพาะที่เชน การขีดขวน เปนตน
โดยสมัยกอนจะวัดความเข็งเทียบเทากับวัสดุธรรมชาติเชน เพชร ในปจจุบันไดพัฒนามาอยูในรูปของหัวกดที่
ทําจากวัสดุที่มีความแข็งสูงและสามารถแสดงคาออกมาเปนตัวเลข แตความแข็งเปนเพียงคาเปรียบเทียบไมใช
คาสัมบูรณหรือคาจริงของวัสดุ คาตัวเลขที่ไดจะเปรียบเทียบไดเฉพาะที่ทดสอบดวยวิธีเดียวกันเทานั้น การ
ทดสอบความแข็งจะเปนที่นิยมในภาคอุตสาหกรรมเพราะทําไดงาย คาใชจายไมสูงและเปนการทดสอบแบบ
ไมทําลาย สมบัติบางอยางของวัสดุสามารถทํานายไดจากความแข็งเชน ความแข็งแรง เปนตน วิธีทดสอบ
92

ความแข็งที่นิยมไดแก แบบร็อกเวลล (Rockwell) บริเนลล(Brinell)และ นูป-วิกเกอรส (Knoop-Vicker) ดัง


ตารางที่ 7.4

ตารางที่ 7.4วิธีการทดสอบความแข็งแบบตางๆ [1]


93

การทดสอบความแข็งแบบร็อกเวลลแสดงในรูปที่ 7.22 จะใชหัวกดรูปกรวยทําจากเพชรหรือลูก


บอลเหล็กกลาชุบแข็ง สามารถใชไดกับโลหะทุกชนิด โดยมีขั้นตอนการกดสองชวง ชวงแรกเปนแรงกดรอง
ขนาด 10 kg และตอดวยแรงกดหลักที่ขนาด 70,100 หรือ 150 kg ตามระดับ สเกลที่ใชแบงตามความแข็ง
ของวัสดุทดสอบ วิธีนเี้ ปนที่นิยมกันมากที่สุด

รูปที่ 7.22 เครื่องทดสอบความแข็งแบบร็อกเวลล

รูปที่ 7.23 เครื่องทดสอบความแข็งแบบบริเนลล


94

การทดสอบความแข็งแบบบริเนลล เปนการทดสอบโดยใชหัวกดลูกบอลทําจากเหล็ก ชุบ


แข็งหรือทังสเตนคารไบดขนาด 5-10 มม. ดังแสดงในรูปที่ 7.23 รอยของการกดมีขนาดใหญกวาแบบอื่น ๆ
น้ําหนักที่ใชกดทดสอบมีตั้งแต 500 kg สําหรับวัสดุเหนียวเชน ทองแดง ไปจนถึง 3000 kg สําหรับวัสดุแข็ง
เชน เหล็กกลา ใชเวลากด 10-30 วินาที วัดขนาดเสนผานศูนยกลางรอยกดโดยใชกลองจุลทรรศน จากนั้น
นําไปแปลผลคาความแข็งโดยใชตารางเทียบคาความแข็ง
การทดสอบความแข็ง แบบนูป -วิก เกอรส เปนการทดสอบโดยใชหั วกดทํ าจากเพชรเปนรู ป
พีร ะมิด แรงที่ใชก ดจะนอยกวาวิธีอื่นคือ ไมเกิน 1 kg สําหรับ การทดสอบแบบนูป และไมเ กิน 120 kg
สําหรับการทดสอบแบบวิกเกอรส ทั้งสองวิธีจะรอยกดมีขนาดเล็ก สามารถวัดความแข็งของชิ้นงานที่มีพื้นที่
เล็ก ๆ ได การอานคาจะตองใชกลองจุลทรรศนวัดขนาดรอยกดแลวเทียบคาความแข็งโดยใชตาราง

7.3 กลไกการเพิ่มความแข็งแรงในโลหะ
ความแข็งแรงในโลหะจะเกี่ยวของกับการเคลื่อนที่ของดิสโลเคชันโดยโลหะที่แข็งแรงมักจะขึ้นรูป
ยาก เนื่องจากความสามารถในการขึ้นรูปโลหะจะขึ้นกับความยากงายในการเคลื่อนที่ของดิสโลเคชัน ถาใน
โลหะมีความสามารถในการตานการเคลื่อนที่ของดิสโลเคชันมาก จะทําใหมีความแข็งแรงสูง และแข็ง มาก
ดังนั้นตามหลักการนีจ้ ะสามารถเพิ่มความแข็งแรงใหกับโลหะไดโดยกลไกตอไปนี้คือ
 การลดขนาดเกรน
จํานวนและขนาดเกรนมีผลอยางมากตอการเคลื่อนที่ของดิสโลเคชัน เนื่องจากเกรนที่เรียงตัว
ตางกันมาบรรจบกันจะทําใหเกิดขอบเกรนขึ้น ขอบเกรนนี้จ ะทําหนาที่เปนกําแพงหรือทําหนาที่ตานการ
เคลื่อนที่ของดิสโลเคชัน เพราะอะตอมตรงขอบเกรนเรียงตัวแบบไมเปนระเบียบดัง แสดงในรูปที่ 7.24
การเคลื่อนที่ของอะตอมจะเริ่มตนจากการเคลื่อนที่ภายในเกรนเดียวกันกอน จากนั้นจะขามไปยังอีกเกรนหนึง่
จากรูปพบวาดิสโลเคชันในเกรน A จะตองเคลื่อนผานขอบเกรนและตองเปลี่ยนทิศเพื่อเคลื่อนที่ตอไปในเกรน
B ตามแนวเสนประ ซึ่งเปนระนาบของการเลื่อนของเกรน B จึงสงผลใหดิสโลเคชันเคลื่อนผานขอบเกรนได
ยาก นอกจากนี้อะตอมตรงขอบเกรนจะไมเปนระเบียบ ทําใหขาดการตอเนื่องของระนาบการเลื่อน ดังนั้น
การเพิ่มจํานวนขอบเกรนจึงเปนการยับยั้งการเคลื่อนที่ของดิสโลเคชัน เมื่อดิสโลเคชันเคลื่อนที่ไดยากขึ้นจะ
สงผลใหความแข็งแรงของโลหะเพิ่มขึ้น โลหะที่มีขอบเกรนมากหรือการที่มีเกรนขนาดเล็กจะมีความแข็งแรง
สูงกวาโลหะที่มีเกรนขนาดใหญ ความแข็งแรงโลหะที่จุดครากสามารถหาไดจากสมการตอไปนี้คือ
1
 y  o  ky (7.23)
d
95

เมื่อ 0 และ ky = คาคงที่ d=เสนผานศูนยกลางเฉลี่ยของเกรน จะเห็นไดวาความแข็งแรงที่จุดครากจะ


แปรผกผันกับรากที่สองของขนาดเกรนเฉลี่ย ซึ่งสมการนี้เรียกวาสมการของฮอลล-เพตช (Hall-petch)
อยางไรก็ตามสมการนี้จะถูกตองสําหรับเกรนบางขนาดเทานั้น ถาเกรนที่หยาบมากหรือเล็กมากจะไมสามารถ
ใชสมการนี้ได เกรนจะมีขนาดใหญหรือเล็กขึ้นกับหลายปจจัย เชน อัตราการเย็นตัว กระบวนการแปรรูป หรือ
การเติมธาตุผสม เปนตน นอกจากนี้การลดขนาดเกรนยังชวยเพิ่มความแกรงใหกับโลหะดวย ในกรณีที่เกรนมี
การเรียงตัวลักษณะเปนเกรนมุมสูง จะทําใหดิสโลเคชันไมเคลื่อนที่ผานขอบเกรนได การเคลื่อนที่ของดิส
โลเคชันจะใชการกระตุนใหเกิดดิสโลเคชันอันใหมบนเกรนตอ ๆ กันไป สวนเกรน มุมต่ํานั้นดิสโลเคชันจะ
เลื่อนผานไดงาย เนื่องจากอะตอมในแตละเกรนเรียงตัวในทิศใกลเคียงกัน กรณีของตําหนิแบบขอบทวินมีผล
ในการขวางการเคลื่อนที่ของดิสโลเคชันไดมากกวาขอบเกรน และเพิ่มความแข็งแรงใหกับโลหะไดสูง

รูปที่ 7.24การเคลือ่ นที่ของดิสโลเคชันผานขอบเกรน

ตัวอยางที่ 7.5 ถาเหล็กกลาชนิดหนึ่งมีขนาดเกรนเฉลี่ย 0.05 mm และมีความเคนจุดคราก 137.9 MPa


เหล็กกลาชนิดเดียวกันนี้ถามีขนาดเกรนเฉลี่ย 0.07 mm จะมีความเคนจุดคราก 275.8 MPa ถาตองการให
เหล็กกลาชนิดนี้มีความเคนจุดคราก 207.9 MPa ควรจะตองมีขนาดเกรนเฉลีย่ เทาใด
1
วิธีทํา จากสมการที่ 7.23  y  o  ky
d
1
ที่ขนาดเกรน 0.05 mm137.9   o  k y
0.05
1
ที่ขนาดเกรน 0.07mm 275.8   o  k y
0.07
แกสมการจะได  o  55.5MPa และ k y  18.43MPa  mm1 / 2 ที่ความเคนจุดคราก 207.9 MPa
1
จะได 206.9  55.5  18.43 ดังนั้น d= 0.0148 mm
d
96

 การเพิ่มความแข็งแรงดวยสารละลายของแข็ง
โดยทั่วไปแลวโลหะบริสุทธิ์จะมีความแข็งแรงนอยกวาโลหะผสม เนื่องจากอะตอมทุกตัวของ
โลหะบริสุทธิ์จะเหมือนกันและมีขนาดเทากัน ความผิดปกติของโครงสรางผลึกจึงมีนอยเมื่อเทียบกับโลหะผสม
ในกรณีของโลหะผสมนั้นอะตอมของธาตุผสมจะแทรกที่หรือแทนที่อะตอมของธาตุหลัก เนื่องจากอะตอมของ
ธาตุผสมมีขนาดแตกตางจากอะตอมของธาตุหลัก จึงเหนี่ยวนําใหเกิดสนามความเครียดขึ้นภายในเนื้อโลหะ
โดยสนามความเครียดนี้จะขัดขวางการเคลื่อนที่ดิสโลเคชันดังรูปที่ 7.25 ทําใหสมบัติทางกลเปลี่ยนแปลงไป
พบวาโลหะจะมีความแข็งแรงเพิ่มขึ้น แตความเหนียวจะลดลง
ถาอะตอมธาตุผสมมีขนาดเล็กกวาอะตอมธาตุหลัก อะตอมธาตุหลักจะถูกดึงใหเขามาชิดกับ
ธาตุผ สมนั้น หรือทําใหเกิดความเครียดแรงดึง ขึ้น แตถาอะตอมธาตุผสมใหญกวาธาตุหลัก ก็จะทําใหเกิด
ความเครียดแรงอัดเกิดขึ้น โดยปกติอะตอมของธาตุผสมจะไปลอมรอบอยูตรงปลายของดิสโลเคชันเพื่อลด
ความเครียดในบริเวณนั้นลง จึงสงผลใหความเครียดในเนื้อโลหะลดลง

a) ขนาดอะตอมเล็กกวาชองวาง b) ขนาดอะตอมใหญกวาชองวาง

c) การเคลื่อนที่ของดิสโลเคชันกันผานอะตอมของสารละลาย

รูปที่ 7.25 ความเคนและการเคลื่อนที่ของดิสโลเคชันในสารละลายของแข็ง


97

ในกรณีที่อะตอมธาตุผสมมีขนาดเล็กกวาธาตุหลัก จะพบวาธาตุผสมจะไปอยูตําแหนงดานบน
เหนือระนาบการเลื่อน และสรางสนามความเครียดแรงดึงไปหักลางสนามความเครียดแรงอัดที่เกิดขึ้นจากดิส
โลเคชัน ในกรณีที่อะตอมธาตุผสมมีขนาดใหญกวาอะตอมธาตุหลักจะเกิดผลตรงขามคืออะตอมของธาตุผสม
จะไปอยูดานลางของระนาบการเลื่อน ทั้งนี้เ พื่อสรางความเคนแรงอัดไปหักลางความเคนแรงดึงที่เ กิ ดขึ้น
จากดิสโลเคชันเชนกัน ความตานทานการเลื่อนของอะตอมจะสูงขึ้นเมื่ออยูในสภาวะสารละลายของแข็ง
เนื่องจากความเครียดในโครงสรางโดยรวมจะตองเพิ่มขึ้นเมื่อดิสโลเคชันเคลื่อนที่ไปไดมากขึ้น โดยปฏิกิริยา
ของธาตุผสมกับดิสโลเคชันยังมีอยูตลอดการเคลื่อนที่ของอะตอม ทําใหตองใชความเคนในการเลื่อนอะตอม
สูงขึ้น ถาตองการใหวัสดุเกิดการแปรรูปอยางตอเนื่องจําเปนตองใชแรงในการเคลื่อนที่ของดิสโลเคชันสูงขึ้นไป
อีก ซึ่งหมายถึงความแข็งแรงของวัสดุจะเพิ่มขึ้น

 การทําใหแข็งแรงขึ้นจากความเครียด
ในกระบวนการขึ้นรูปเย็น (Cold working) พบวาโลหะที่เคยเหนียวจะกลายเปนโลหะที่แข็ง
และแข็งแรงมากขึ้นเมื่อผานการขึ้นรูป ปรากฏการณนี้เรียกวาการทําใหแข็งแรงขึ้นจากความเครียด(Strain
hardening) ซึ่งอธิบายไดดังรูปที่ 7.27 โดยเมื่อนําโลหะมารับแรงดึงที่อุณหภูมิปกติจนเกิดการแปรรูปแบบ
พลาสติกพบวายิ่งโลหะยืดออกมากเทาไร ก็ยิ่งตองใชแรงมากขึ้นในการทําใหวัสดุเกิดการแปรรูปแบบพลาสติก
ตอไปจนถึงจุดสูงสุด

รูปที่ 7.27 การทําใหแข็งแรงขึ้นจากความเครียดในการดึงโลหะ


98

ในทางปฏิบัติโดยสวนมากจะใชคาปริมาณการขึ้นรูปเย็นหรือ รอยละของการขึ้นรูปเย็นแทนคา
ปริมาณความเครียดที่เกิดจากการแปรรูป โดยปริมาณการขึ้นรูปเย็น %CW  หาไดจากสมการดังตอไปนี้
 A  Ad 
%CW   o  x100 (7.24)
 Ao 
โดย Aoและ Ad หมายถึงพื้นที่หนาตัดของชิ้นงานกอนและหลังการขึ้นรูปตามลําดับ ในโลหะประเภท เหล็ก
ทองเหลืองหรือทองแดง เมื่อผานการขึ้นรูปเย็นพบวาความแข็งแรงที่จุดครากและความตานแรงดึงจะเพิ่มขึ้น
เมื่อเพิ่มปริมาณการขึ้นรูปเย็น แตจะทําใหความเหนียวลดลง
การเพิ่มความแข็งแรงดวยความเครียดนี้เกิดจากการที่มีปริมาณของดิสโลเคชันเพิ่มมากขึ้นสงผล
ใหดิสโลเคชันมีความหนาแนนสูง ระยะหางระหวางดิสโลเคชันจะลดลงหรือชิดกันมากขึ้น ดิสโลเคชัน
จะพยายามผลักกัน การเคลื่อนที่ของดิสโลเคชันจะถูกขัดขวางดวยดิสโลเคชันอื่น ดังนั้นความเคนที่ใชในการ
แปรรูปจึงตองเพิ่มมากขึ้น แตความเคนนี้จะหมดไปเมื่ออบออนโลหะ จากสมการ 7.17 ซึ่งเปนความสัมพันธ
ระหวางความเคนแทกับความเครียดแท พบวาคา n จะเปนตัวบอกวาวัสดุนั้น ๆ จะมีความสามารถในการ
เพิ่มความแข็งแรงไดมากหรือนอย โดยถาคา n มีคาสูงจะพบวาโลหะชนิดนั้นจะมีการเพิ่มความแข็งแรงดวย
ความเครียดไดสูง

ตัวอยางที่ 7.7 จงหาปริมาณการขึ้นรูปเย็นของแทงโลหะที่มีขนาดเสนผานศูนยกลางเริ่มตน 15.2 mm และมี


ขนาดเสนผานศูนยกลางหลังการขึ้นรูป 12.2 mm
 A  Ad 
วิธีทํา จากสมการที่ 7.24 %CW   o  x100
 Ao 
 d02 d
2   15.2 2 12.2
2 
  d    
%CW   4 4  x100   4 4  x100
 d0
2   15.2
2 
     
 4   4 

% CW  35 . 6 %

7.4 การฟนตัว การตกผลึกใหมและการโตของเกรน


ในการแปรูปแตละครั้งโดยเฉพาะการขึ้นรูปเย็นนั้น พลังงานในกระบวนการแปรรูปบางสวนยัง
หลงเหลือหรือถูกเก็บในรูปของพลังงานความเครียด ซึ่งจะสะสมอยูในบริเวณโดยรอบของดิสโลเคชันและ
บริเวณที่มีการเฉือน พลังงานที่หลงเหลือนี้จะทําใหสมบัติของโลหะ เชน ความตานแรงดึง ความเหนียว การ
นําไฟฟาเปลี่ยนแปลงไป อยางไรก็ตามสมบัติเหลานี้สามารถกลับคืนสภาพเดิมไดโดยการอบดวยความรอนที่
เหมาะสมหรือการอบออน ในระหวางกระบวนการอบออนจะเกิดปรากฏการณตาง ๆ ขึ้นสามกระบวนการ
99

ดัง ตอไปนี้คือ การฟนตัว (Recovery) การตกผลึกใหม (Recrystallization) และการโตของเกรน (Grain


growth) ตามลําดับ
 การฟนตัว
ในระหวางการอบออนที่อุณหภูมิต่ํา จะเกิดการเคลื่อนที่ของดิสโลเคชันโดยมีการจัดเรียงตัว
ใหมและจะปลดปลอยพลังงานสะสมออกมา ดิสโลเคชันจะเรียงตัวเปนระเบียบขึ้นหรือรวมตัวกันซึ่งเรียกวา
การเกิดโพลีโกไนเซชัน (Polygonization) ดังรูปที่ 7.27การเรียงตัวแบบนี้จะสงผลใหมีจํานวนดิสโลเคชัน
ลดลงและมีพลังงานความเครียดต่ําลงดวย สมบัติบางอยางเชน การนําไฟฟาจะคืนสูสภาพเดิมกอนการขึ้น
รูป

a) กอนการอบ b) หลังการอบ

รูปที่ 7.27 การเรียงตัวของดิสโลเคชันกอนและหลังการเกิดโพลีโกไนเซชัน (ปรับปรุงจาก[9])

 การตกผลึกใหม
ในกระบวนการฟนตัวจะลดพลังงานความเครียดบางสวนลงได แตยังคงมีพลังงานสะสมบางสวน
เหลืออยู ดังนั้นในขั้นตอนการตกผลึกใหมจะเปนกระบวนการสรางเกรนใหมจากเกรนที่ผานการแปรรูป โดย
เกรนใหมที่เกิดขึ้นเปนเกรนแบบที่ไมมีความเครียดเลย ทําใหมีจํานวนของดิสโลเคชันต่ําเหมือนกับกอนขึ้นรูป
เกรนใหมจะมีรูปรางคอนขางเทากันในทุกมิติหรือมีลักษณะเปนรูปหลายเหลี่ยม แรงกระตุนของการเกิดเกรน
ใหมคือ ความแตกตางของพลังงานของเกรนที่ไดรบั ความเครียดกับเกรนที่ไมไดรับความเครียด เกรนใหมจะ
เริ่มเกิดขึ้นในบริเวณที่มีพลังงานสูงเชน ขอบเกรนหรือบริเวณที่มี ดิสโลเคชันหนาแนน โดยจะโตขึ้นจน
คลอบคลุมทั้งเนื้อโลหะ ทําใหโลหะมีความเหนียวมากขึ้น ความแข็งและความแข็งแรงลดลงดังรูปที่ 7.28
การตกผลึกใหมจะเกิดงายที่อุณหภูมิสูง พฤติกรรมการ ตกผลึกใหมนี้บางครั้งจะระบุในรูปของอุณหภูมิ
ตกผลึกใหม (Recrystallization temperature) หมายถึง อุณหภูมิที่เกรนเกิดการตกผลึก ใหมไดส มบูร ณ
100

ภายในเวลาการอบหนึ่ง ชั่วโมง โดยทั่วไปจะถือวาอุณหภูมิก ารตกผลึก ใหม มีคาประมาณหนึ่ง ในสามถึง


ครึ่งหนึ่งของจุดหลอมเหลวในหนวยองศาสัมบูรณ (K) ทั้งนี้อุณหภูมิการตกผลึกใหมยังขึ้นกับปริมาณการแปร
รูปเย็น ถาโลหะมีปริมาณการแปรรูปมากจะทําใหอุณหภูมิการตกผลึกใหมลดต่ําลง ทั้งนี้จะมีปริมาณการขึ้น
รูปเย็นคาหนึ่งที่ไมทําใหเกิดการตกผลึกใหมเลย ซึ่งเรียกวาปริมาณการขึ้นรูปวิกฤติ (Critical deformation)
โดยมีคาระหวาง 2-20% ตารางที่ 7.5แสดงอุณหภูมิการตกผลึกใหมของโลหะบางประเภท

รูปที่ 7.28 ผลของอุณหภูมิอบออนตอสมบัติทางกลของทองเหลืองที่ผานการขึ้นรูปเย็น (ปรับปรุงจาก [1])


101

 การโตของเกรน
ภายหลังจากที่เกิดการตกผลึกใหมแลว เกรนที่เกิดขึ้นใหมจะโตตอไปเรื่อย ๆ ตราบเทาที่อุณหภูมิ
ยังสูงอยู การโตของเกรนเกิดจากการขยับตัวของขอบเกรนไปในบางทิศทาง การโตจะเกิดขึ้นไดเฉพาะบาง
เกรนเทานั้น เกรนที่มีขนาดเล็กจะถูกเกรนที่มีขนาดใหญกวากลืนกิน เกรนที่มีขนาดใหญจะโตขึ้นสวนเกรนที่
มีขนาดเล็กจะหดตัวลง ดังนั้นจะสงผลใหขนาดเกรนเฉลี่ยสูงขึ้น การเคลื่อนที่ของ ขอบเกรนจะอาศัย
กระบวนการแพรของอะตอมขามขอบเกรน โดยอะตอมจะกระโดดจากดานเกรนที่มีขนาดเล็กกวาขามไปยัง
ดานที่มีขนาดเกรนใหญกวา ทําใหขอบเกรนเคลื่อนที่สวนทางกับการแพรดังรูปที่ 7.29 ซึ่งเปนการแพรของ
อะตอมขามขอบเกรนในโลหะ เกรนที่มีความโคงจะหดหรือโตตอได แตเกรนที่ขอบเกรนเปนเสนตรงนั้นขอบ
เกรนจะหยุดการเคลื่อนที่ เกรนที่โตจะทําใหความแข็งแรงและความแกรงของโลหะลดลงเมื่อเทียบกับเกรนที่
เล็กละเอียด การโตของเกรนจะสูง และเกรนจะมีขนาดใหญขึ้นเมื่อเพิ่มอุณหภูมิรูปที่ 7.30 แสดงตัวอยาง
ขั้นตอนการโตของเกรนทองเหลืองที่ผานการขึ้นรูปเย็นและอบออนที่อุณหภูมิตาง ๆ

รูปที่ 7.29 การแพรของอะตอมผานขอบเกรนและการโตของเกรน


102

ตารางที่ 7.5 อุณหภูมิตกผลึกใหมและจุดหลอมเหลวของโลหะ [1]


โลหะ อุณหภูมิตกผลึกใหม จุดหลอมเหลว
C F C F
ตะกั่ว -4 25 327 720
ดีบุก -4 25 232 450
สังกะสี 10 50 420 788
อะลูมเิ นียม 80 177 770 1220
ทองแดงบริสุทธิ์ 120 250 1085 1985
ทองเหลือง (40 Zn) 475 887 900 1752
นิกเกิลบริสทุ ธิ์ 370 700 1455 2751
เหล็ก 450 840 1538 2800
ทังสเตน 1200 2200 3410 7170
103

รูปที่ 7.30 การตกผลึกใหมของทองเหลืองทีผ่ านการขึ้นรูป (30%CW) a) ผานการรีดเย็น b) อบที่ 580oC


นาน 3 วินาที c)อบที่ 580oC นาน 4 วินาที d) อบที่ 580oC นาน 8 วินาที e) อบที่ 580oC นาน 15นาที f)
อบที่ 700oC นาน 10 นาที [1]
104

7.5 ความเสียหายของโลหะ (Failure of metal)


ความเสียหายของโลหะที่เกิดขึ้น มาจากการเลือกใชโลหะที่ไมเ หมาะสมกับ การใชง าน การ
ออกแบบที่ผิดพลาดและการเลือกใชโลหะผิดประเภท ความเสียหายที่เกิดขึ้นมักพบเห็นในรูปแบบของการ
แตกหัก ความลาและความคืบ โดยเนื้อหาในสวนนี้จะกลาวถึงกลไกของการแตกหักทั้งแบบเหนียวและแบบ
เปราะ การทดสอบการแตกหัก โดยการกระแทก การแตกหักเนื่องจากความลา (Fatigue) และความคืบ
(Creep)

 พื้นฐานการแตกหัก
การแตกหักหรือความวิบัตโิ ดยทั่วไปจะหมายถึงการแยกสวนของชิ้นงานตั้งแตสองชิ้นขึ้นไปเมื่อ
ไดรับความเคน โดยอาจเปนความเคนคงที่หรือเปลี่ยนแปลงอยางชา ๆ การแตกหักเกิดขึ้นที่อุณหภูมิต่ํากวา
จุดหลอมเหลว ความเคนที่มากระทําจะอยูในรูปของความเคนที่เกิดจากแรงดึง แรงอัด แรงเฉือนหรือแรงบิด
ดังที่ไดกลาวไวกอนหนานี้ การแตกหักจะมีสองรูปแบบคือการแตกหักแบบเหนียวและการแตกหักแบบเปราะ
ซึ่งทั้งสองประเภทนี้จะแบงตามปริมาณการแปรรูปกอนการแตกหัก
วัสดุที่เหนียวจะมีความสามารถในการแปรรูปไดดีกวาวัสดุเปราะ การแตกหักในวัสดุจะมีสอง
ขั้นตอนดังนี้คือ ขั้นตอนการเกิดรอยแตกขนาดเล็กและขั้นตอนการขยายตัวของรอยแตกนั้น การแตกหักจะ
เปนรูปแบบใดนั้นขึ้นกับกลไกการขยายตัวของรอยแตก ถาเปนการแตกหักแบบเหนียวจะพบบริเวณที่มีการ
แปรรูปถาวรขึ้นขาง ๆ รอยแตกการแตกหักแบบเหนียวจะเกิดขึ้นอยางชา ๆ นอกจากนี้ยังพบวารอยแตกที่
เกิดขึ้นเปนรอยแตกหักชนิดเสถียร ซึ่งรอยแตกที่เกิดขึ้นนี้จะไมสามารถขยายตัวตอไปไดถาไมไดรับความเคน
เพิ่ม การแตกหักแบบเหนียวโดยมากมักจะพบเห็นในรูปของรอยบิดหรือรอยฉีกขาด สวนการแตกหักแบบ
เปราะพบวารอยแตกจะเคลื่อนที่เร็วมาก และการแปรรูปแบบถาวรเกิดขึ้นนอยมาก การแตกแบบเปราะนีเ้ ปน
รอยแตกชนิดไมเสถียร เมื่อใดก็ตามที่รอยแตกเกิดการขยายตัวแลวจะทําใหการขยายตัวนั้นจะดําเนินตอไป
โดยไมตองอาศัยความเคนเพิ่ม
การแตกหักแบบเปราะเปนการแตกแบบเกิดขึ้นทันทีทันใดยากแกการปองกันและไมมีการเตือน
ลวงหนา ในทางตรงขามการแตกหักแบบเหนียวสามารถสังเกตไดกอนเกิดความเสียหายขึ้นโดยเฉพาะในวัสดุที่
มีความแกรงสูง เนื่องจากตองการพลังงานความเครียดในการแตกหักสูง โลหะสวนใหญจะมีการแตกแบบ
เหนียว แตในขณะทีเ่ ซรามิกจะแตกหักแบบเปราะ สวนวัสดุประเภทพอลิเมอรสามารถเกิดการแตกหักไดทั้ง
สองแบบ
105

 การแตกหักแบบเหนียว
ตัวอยางผิวหนาของโลหะที่เกิดการแตกหักสามารถแบงแยกเปนสามประเภทดังรูปที่ 7.31 ถา
โลหะมีความเหนียวมากเชน ทองหรือตะกั่วจะมีรอยแตกหักดังรูปที่ 7.31 a) สวนในกรณีของโลหะเหนียวปาน
กลางมีรอยแตกดังรูปที่ 7.31 b) โดยเกิดการคอดในระดับปานกลางกอนการแตกหัก สวนโลหะที่มีความ
เปราะสูงจะแตกออกมาในลักษณะดังรูปที่ 7.31 c) โดยไมมีการคอดเกิดขึ้น

รูปที่ 7.31 รูปแบบการแตกหักของวัสดุ (a) เหนียวมาก (b) เหนียวปานกลาง (c) เปราะ

ขั้นตอนของการแตกหักแบบเหนียวแสดงในรูปที่ 7.32 เริ่มตนจากเมื่อวัสดุรับแรงหรือ ความ


เคนจนกระทั่งมีการคอดเกิดขึ้น จะพบวามีรอยแตกขนาดเล็กเกิดขึ้นภายในเนื้อวัสดุ โดยเรียกรอยแตกขนาด
เล็กนีว้ าไมโครวอยด (Microvoid) ดังรูปที่ 7.32 b) เมื่อการแปรรูปดําเนินตอไปพบวารอยแตกเล็ก ๆ เหลานี้
ขยายตัวและจะมารวมตัวกันเปนรอยแตกขนาดใหญดังรูปที่7.32 c) จากนั้นรอยแตกจะขยายตัวไปเรื่อย ๆ ใน
ทิศทางที่ตั้งฉากกับความเคน โดยอาศัยการรวมตัวกันของไมโครวอยด ในขั้นตอนสุดทายรอยแตกจะขยาย
ตัวอยางรวดเร็วและเกิดการแปรรูปแบบเฉือนทํามุม 45 องศากับแนวแรงดึงดังรูปที่ 7.32 d) ซึ่งเปนมุมที่ทําให
เกิดความเคนเฉือนสูงที่สุด ทําใหลักษณะของรอยแตกมีลักษณะถวยและโคน (Cup and cone) ดังแสดงในรูป
ที่ 7.33 ผิวหนารอยแตกจะพบรองรอยการแปรรูปซึ่งมีลักษณะเปน ดิมเปล (dimples) ขนาดเล็ก โดยขนาด
ของดิมเปลในรูปภาพคือครึ่งหนึ่งของไมโครวอยดที่ขาดออกจากกัน
106

รูปที่ 7.32ขั้นตอนการแตกหักแบบถวยและโคน

a) ลักษณะการขาดแบบเหนียว b) ผิวหนารอยขาด

รูปที่ 7.33 การแตกหักแบบถวยและโคนในโลหะอะลูมเิ นียม


107

 การแตกหักแบบเปราะ
การแตกหักแบบเปราะจะเกิดขึ้นอยางรวดเร็วโดยปราศจากการแปรรูปแบบถาวร ผิวของรอย
แตกจะราบเรียบดังแสดงในรูปที่ 7.34 ผิวหนารอยแตกจะมีลักษณะเปนเงารอยแตกชนิดนี้พบในวัสดุที่เปราะ
มากเชน แกว เซรามิกหรือในเหล็กหลอเทา การแตกจะเกิดขึ้นเนื่องจากการขาดของพันธะระหวางอะตอม
ตามแนวระนาบผลึก กระบวนการแตกแบบนี้เรียกวาคลีเวจ (Cleavage) รอยแตกสามารถผานเกรนได ซึ่ง
เรียกการแตกแบบนี้วาการแตกผานเกรน (Transgranular fracture) ดังแสดงในรูปที่ 7.35 และในบางกรณี
จะพบวารอยแตกจะผานเฉพาะบริเวณขอบเกรนซึ่งเรียกวาการแตกระหวางเกรน (Intergranularfracture) ดัง
แสดงในรูปที่ 7.36

a) ลักษณะการขาดแบบเปราะ b) ผิวหนารอยขาด
รูปที่ 7.34 ลักษณะของการแตกหักแบบเปราะในเหล็กละมุน

a) แนวทางการแตก b) ผิวหนารอยแตก
รูปที่ 7.35 การแตกผานเกรนในเหล็กหลอเหนียว
108

a) แนวทางการแตก b) ผิวหนารอยแตก
รูปที่ 7.36 การแตกระหวางเกรนในเหล็กหลอเหนียว

 กลศาสตรการแตกหัก
ความตานทานตอการแตกหักของวัสดุจะต่ํากวาคาตามทฤษฎีประมาณ 10-1,000 เทา เนื่องจาก
ที่บริเวณผิวและภายในเนื้อวัสดุมีตําหนิหรือรอยแตกขนาดเล็กมากมายเกิดขึ้น ตําหนิเหลานี้สงผลเสียตอความ
ตานทานตอการกระแทก เนื่องจากความเคนที่กระทํากับวัสดุจะรวมตัวกันตรงบริเวณปลายของผิวรอยแตก
ในการทดสอบหาความตานทานการแตกหักของวัสดุจะพบวาตัวแปรที่เกี่ยวของกับการแตกหักคือ ความเคน
ขนาดรอยแตกและความต า นทานการแตกหั ก ในเนื้ อ วั ส ดุ ค า แฟคเตอร ร วมศู น ย ค วามเค น (Stress
concentration factor) จะมี 3 แบบตามโหมดของความเสียหายคือ โหมด I คือโหมดแบบเปดโดยเกิดจาก
ความเคนดึงตั้งฉากกับผิวรอยแตก โหมด II คือโหมดแบบเฉือนซึ่งเกิดจากการไถลของผิวรอยแตก และโหมด III
คือโหมดแบบฉีก โดยสวนใหญ การแตกหักของวัสดุจะเกิดจากโหมด I เปนหลัก เนื่องจากความเคนสูงสุดใน
โหมด I จะต่ําที่สุด
วิธีการทดสอบหาความตานทานตอการแตกหักของวัสดุแสดงดังรูปที่ 7.37 ซึ่งเปนการทดสอบ
โดยใชแรงดึง พบวาความเคนที่ปลายรอยแตกจะสูงกวาบริเวณที่หางออกไปมาก เนื่องจากรอยแตกสามารถ
เพิ่มขนาดความเคนได ดังนั้นจึงเรียกบริเวณนี้วาบริเวณเพิ่มความเคน (stress raiser) หรือจุดรวมศูนยความ
เคน ถาสมมติใหรอยแตกที่เกิดขึ้นมีลักษณะเปนรูปวงรีตามแนวความหนาชิ้นงานและเรียงตัวตั้งฉากกับความ
เคน โดยมีความยาวของรอยแตกคือ 2c คาความเคนสูงสุด (m) บริเวณปลายรอยแตกหาไดดังนี้
109

1
 
 c 2 
 m   o 1  2

 (7.18)
  t  

เมื่อ 0= ความเคนทีม่ ากระทํา c = ครึ่งหนึ่งของความยาวรอยแตก และ t คือคารัศมีความโคงของปลายรอย
แตก โดยปกติขนาดรอยแตกจะมีคามากกวารัศมีความโคงหลายเทา ดังนั้นจึงปรับสมการใหมไดดังนี้
1
 c  2
 m  2 o   (7.19)
 t 

m

รูปที่ 7.37 รูปทรงเรขาคณิตของรอยแตกและการกระจายตัวของความเคนรอบรอยแตก


110

บางครั้งจะจัดสมการใหอยูในรูปของอัตราสวนของคา m/0 เรียกวาแฟคเตอรรวมศูนยความเคน (Kt) ซึ่งคา


Kt จะเปนตัววัดระดับ ความเคนภายนอกที่ถูกขยายสะสมที่บ ริเ วณรอยแตก จากหลัก ของกลศาสตรก าร
แตกหักพบวาคาความเคนวิกฤติ (c) ที่จะทําใหรอยแตกขยายตัวในวัสดุเปราะไดนั้นจะเปนดังนี้
1
 2 E s  2
c    (7.20)
 c 
เมื่อ E คือคามอดูลัสความยืดหยุน คา s คือพลังงานผิวจําเพาะ และคา c คือความยาวครึ่งหนึ่งของรอยแตก

ตัวอยางที่ 7.7 แผนกระจกแผนหนึ่งรับความเคน 40 MPa ถากําหนดใหกระจกมีคา s= 0.3 J/m3 และ


E=79 GPa จงหาขนาดรอยแตกสูงสุดภายในกระจกที่ไมทําใหเกิดการขยายตัวของรอยแตก
1
 2 E s  2
วิธีทํา จากสมการที่ 7.20 c   
 c 
 2 E s 
c  2 
  
 2 x0.3x69 x109 
c   8.2 x106 m
 x(40x106 ) 2 
แทนคาลงในสมการจะได  

ความยาวรอยแตกเทากับ 2c ดังนั้นรอยแตกจึงมีความยาวสูงสุดไมเกิน 17.4 um

 ความแกรงการแตกหัก (Fracture toughness)


ในกรณีที่วัส ดุเ ปราะที่มีรอยแตกภายในรับแรงสูงกวาขนาดความเคนวิก ฤติ รอยแตกจะเกิด
ขยายตัว เพราะพลังงานความเครียดที่ปลอยออกมาจะสูงกวาพลังงานที่จะใชในการสรางผิวรอยแตกใหม จาก
ทางหลักกลศาสตรการแตกหักจะไดความสัมพันธระหวางความเคนวิกฤติและความยาวของรอยแตกแสดงดัง
สมการ
K c  Y c c (7.21)
ในสมการนี้คาศูนยรวมความเคนวิกฤติ (Kc) คือ ความแกรงการแตกหัก ซึ่งเปนตัวชี้วัดทนทานตอการแตกหัก
แบบเปราะของวัสดุเมื่อมีรอยแตก คา Kc มีหนวยเปน MPa√ สวนคา Y เปนคาคงที่ขึ้นกับขนาดรูปทรงของ
รอยแตก ชนิดของวัสดุและลักษณะของแรงที่กระทํา ถาชิ้นงานมีลักษณะแผนและมีรอยแตกสั้นกวาความ
กวางของชิ้นงานแลว โดยสวนใหญจะกําหนดใหคา Y ประมาณ 1.0 ตัวอยางเชนแผนโลหะมีความกวางไม
จํากัดและมีความหนามาก แตถารอยแตกอยูดานนอกและมีขนาดครึ่งหนึ่งจะกําหนดใหคา Y มีคา 1.1 เปนตน
111

ในกรณีชิ้นงานบางนั้นพบวาคา KC จะขึ้นกับความหนา แตถารอยแตกเล็กกวาความหนามากๆ


(ชิ้นงานมีความหนามากกวา 2.5 เมื่อ yคือ แรงคราก) ก็ถือวาความหนาไมมีผลตอคา Kc
ซึ่งเรียกวาสภาวะแบบความเครียดบนระนาบ (Plane strain) กลาวคือไมเกิดความเครียดในทิศตั้งฉากกับผิว
ดานหนาและดานหลังของชิ้นงานเมื่อรับแรงดึง ซึ่งเปนโหมดความเสียหายแบบเปด ในกรณีจะไดวา
K Ic  Y  c (7.22)
คา KIc (อานวา เค-วัน-ซี) จะเปนคาความแกรงการแตกหักที่อางถึงบอยที่สุด คา KIc ในวัสดุเปราะจะต่ํา แตจะ
มีคาสูงในวัสดุเหนียว ยกตัวอยางเชน เหล็กกลาผสมจะมีคา KIc = 77 MPa√ แตอะลูมินาจะมีคา KIc
เพียง 2-5 MPa√ เทานั้น
คา KIc เปนสมบัติพื้นฐานของวัสดุที่ขึ้นกับอุณหภูมิ อัตราความเครียดและโครงสรางจุลภาค โดย
คา KIc จะลดลงเมื่อเพิ่มอัตราความเครียดและลดอุณหภูมิ โดยเฉพาะในการปรับปรุงความแข็งแรงดวยวิธี
สารละลายของแข็งหรือการใชความเครียดจะทําใหคา KIcลดลงดวย ในกรณีที่สวนผสมทางเคมีและตัวแปร
อื่น ๆ คงที่แลว คา KIc จะขึ้นกับขนาดเกรน คือมีคาเพิ่มขึ้นเมื่อลดขนาดเกรนลง คา KIcของวัสดุบางชนิดที่
อุณหภูมิหองแสดงในตารางที่ 7.7

ตารางที่ 7.7 คา KIc ของวัสดุบางชนิดที่อุณหภูมหิ อง [1]


วัสดุ แรงคราก KIc
(MPa) (MPam)
อะลูมิเนียม (7075-T751) 495 22
อะลูมิเนียม (2024-T3) 345 40
ไทเทเนียม (Ti-7Al-4V) 910 50
เหล็กกลา (4340) 1740 45.8
คอนกรีต - 0.18-1.27
อะลูมิเนียมออกไซด - 2.5-4.7
พอลิเอสเทอร - 0.74-1.5
พอลิคารบอเนต 72.1 2.0
112

ตัวอยางที่ 7.8 แผนเหล็กกลาสําหรับทําถังบรรจุน้ํามัน มีคา KIc= 50 MPam โดยรับความเคนขณะใชงาน


500 MPa จงหาขนาดรอยแตกขนาดใหญที่สุดที่บริเวณผิวแผนเหล็กที่จะไมทําใหรอยแตกเกิดการขยายตัว
วิธทํา เนื่องจากเปนรอยแตกที่ผิว คา Y= 1.1 จากสมการที่ 7.22 จะไดวา
K Ic  Y  c

แทนคา 50 x10 6  1 .1x 500 x10 6 c

c  0 .091
ดังนั้น c  2. 63 x10 3 m

การทดสอบการกระแทกที่นิยมทั่วไปมีสองวิธีคือวิธีของชารป (Charpy) และวิธขี องไอซอด(Izod)


ดังแสดงในรูปที่ 7.38 ชิ้นงานจะถูกบากเปนรองรูปตัววี จากนั้นก็จะนํามากระแทกโดยใชการเหวี่ยงลูกตุม
น้ําหนักใหชิ้นงานแตกหักออกจากกัน คาพลังงานที่ไดจะเปนพลังงานที่วัสดุสามารถซึมซับไวกอนขาดจากกัน
คา KIc เปนคาในเชิงปริมาณซึ่งเปนคาเฉพาะของวัสดุ ดังนั้นจึงสามารถนําไปใชในการออกแบบวัสดุได สวน
คาพลังงานที่ไดจากการทดสอบการกระแทกเปนคาในเชิงคุณภาพ ใชเปรียบเทียบกันเทานั้น จึงไมนิยมนําไป
ออกแบบ แตเนื่องจากวิธีนี้ทําไดงายกวาทดสอบเพื่อหาคา KIc จึงเปนที่นิยมและยังสามารถหาชวงอุณหภูมิที่
วัสดุเปลี่ยนจากเหนียวเปนเปราะของวัสดุได
113

รูปที่ 7.38 การทดสอบการกระแทกดวยวิธีของชารปแ ละวิธีของไอซอด [1]


114

รูปที7่ .39 พลังงานการกระแทกและการแตกแบบเฉือนที่อุณหภูมิตาง ๆ ของเหล็กกลาเกรด


ASTM A 283M-03 ที่ทดสอบโดยวิธีชารปที่มรี อยบากรูปตัววี

การเปลี่ยนสภาพจากเหนียวเปนเปราะ (Ductile-to-brittle transition) เปนสภาพของวัสดุที่มี


ความเหนียวลดลงเมื่ออุณหภูมิล ดลง ตัวอยางแสดงดัง รูป ที่ 7.39 ซึ่ง เปนผลทดสอบการกระแทกของ
เหล็กกลาชนิดหนึ่งที่อุณหภูมิตาง ๆ จากกราฟ A จะพบวาที่อุณหภูมิสูงเหล็กจะมีความแกรงสูงและมีความ
เหนียวมาก เมื่ออุณหภูมิลดลงกราฟพลัง งานการกระแทกจะลดลงอยางรวดเร็วในชวงอุณหภูมิ แคบ ๆ
หลังจากนั้นจะคงที่และมีคาต่ํา ถามีการแตกหักเกิดขึ้นที่จุดนี้จะเปนการแตกแบบเปราะ ดังนั้นการทดสอบ
การกระแทกสามารถบอกไดวาเมื่อใดที่วัสดุเหนียวจะเปลี่ยนเปนวัสดุเปราะ สวนกราฟ B แสดงการทดสอบ
ชิ้นงานเดียวกันภายใตแรงเฉือนเทียบกับอุณหภูมิ จากกราฟความสัมพันธพบวาแนวโนมกราฟคลายกันกับ A
แตจะมีคาพลังงานการกระแทกต่ํากวาในแตละอุณหภูมิ
โครงสรางผลึกมีผลโดยตรงตอความแกรงการกระแทก โครงสรางผลึกแบบ BCC เชน เหล็กกลา
จะแสดงพฤติกรรมจากเหนียวกลายเปนเปราะเมื่ออุณหภูมิลดลง สวนโลหะที่มีโครงสรางผลึกแบบ FCC เชน
ทองแดงหรืออะลูมิเนียม จะไมแสดงพฤติกรรมจากเหนียวกลายเปนเปราะ แตจะพบวาพลังงานการกระแทกมี
แนวโนมลดลงอยางชา ๆ เมื่ออุณหภูมิลดลง นอกจากนี้สวนผสมทางเคมีสงผลตอความทนทานตอการกระแทก
เชนกัน เชน ในเหล็กกลาพบวาการเพิ่มคารบอนจะทําใหความแข็งและความแข็งแรงเพิ่มขึ้น แตจะทําใหความ
แกรงลดลง อุณหภูมิเปลี่ยนจากเหนียวเปนเปราะเพิ่มสูงขึ้น
115

 ความลา
ความลาเปนสาเหตุของความเสียหายที่เกิดขึ้นในวัสดุเนื่องจากรับ ความเคนแบบวัฏจัก รหรือ
ความเคนสลับเปนเวลานาน เชน สะพาน เพลา หรือชิ้นสวนเครื่องบิน พบวาเกินกวารอยละ 90 ของการใช
งานโลหะจะเสียหายดวยความลา วัสดุประเภทพอลิเมอรและเซรามิก (ยกเวนแกว) สามารถเกิดความลาได
เชนกัน ความเสียหายแบบนี้สามารถเกิดขึ้นไดแมวาความเคนที่ไดรับจะต่ํากวาความเคนที่จุดครากของวัสดุ
ความเคนที่ทําใหเกิดความลาแสดงดังรูปที่ 7.40 เมื่อวัสดุรับความเคนต่ํากวาจุดครากจะเกิดการแปรรูปแบบ
ยืดหยุนขึ้น เมื่อคลายความเคนออกวัสดุควรจะตองกลับคืนสูสภาพเดิม แตในวัสดุที่เกิดความลานั้นพบวาวัสดุ
จะคืนตัวไดไมสมบูรณและจะเกิดความเครียดสะสมขึ้น ความลานี้เปนความเสียหายเงียบ ๆ โดยไมมีการเตือน
ลวงหนา ขั้นตอนการเกิดความลาจะแบงเปนสามขั้นตอนคือ รอยแตกจะกอตัวที่มุมของรอยบากหรือแตก
(Crack initiation) และคอย ๆ ขยายตัวออกไป (Crack propagation) จนกระทั่งวัสดุขาดจากกันที่อีกดาน
หนึ่งโดยจะพบวาผิวหนาของผิวรอยแตกจะเปนรองหรือเปนวงโคงซึ่งเรียกวารอยบีชมารค (Beach mark)
การทดสอบความลาสามารถทําไดโดยใหความเคนแกวัสดุที่คาตางๆเปนรอบๆจนกระทั่งวัสดุขาด
จากกัน ผลการทดลองอยูในรูปของกราฟความสัมพันธระหวางความเคนที่ใช (S) และจํานวนรอบที่ทําใหวัสดุ
ขาด (N) กราฟที่ไดจะมีสองลักษณะดังรูปที่ 7.41 จากรูปที่ 7.41a) พบวาที่ความเคนคาหนึ่งกราฟจะเปน
แนวนอนขนานกับ แกนนอนถาวัส ดุรับ ความเคนต่ํากว านี้จ ะไมเ กิดความลาขึ้น จึง เรียกคาความเคนนี้ว า
ขีดจํากัดความลา (Fatigue limit)หรือขีดจํากัดความทนทาน (Endurance limit) โดยคาขีดจํากัดความลานี้
จะมีคาระหวาง 35-70% ของคาความตานแรงดึง สําหรับโลหะเหนียวเชน อะลูมิเนียม ทองแดง แมกนีเซียม
จะไมแสดงขีดจํากัดความลาทุกระดับความเคนสามารถทําใหเกิดความลาไดดังรูปที่ 7.41 b) ดังนั้นวัสดุเหลานี้
จึงตองกําหนดคาความแข็งแรงลา (Fatigue strength) ซึ่งหมายถึงความเคนที่เกิดความเสียหายตามจํานวน
รอบที่กําหนด โดยปกติจะกําหนดในชวงประมาณ 10-100 ลานรอบ
ปจจัยที่มีผลตออายุความลาไดแก ความเคนเฉลี่ยที่วัสดุตองรับโดยคาความเคนเฉลี่ยสูงทําให
เกิดความลาไดงาย ผลจากคุณภาพผิวชิ้นงาน เชน รอยบาก รอยขีดขวน หรือมุมตาง ๆ ซึ่งเปนจุดกําเนิดของ
ความลาไดดี เ พราะเปนจุดรวมศูนยความเคน ปจ จัยการออกแบบเชน รอยบากหรือความไมตอเนื่องทาง
เรขาคณิตจะเสมือนเปนบริเวณเพิ่มความเคนและเปนจุดกําเนิดของรอยแตกได การออกแบบนี้จะรวมไปถึง
รอง รู เกลียว เปนตน ถาการออกแบบมีมุมหรือเหลี่ยมมากจะทําใหเกิดความลางายขึ้น ดังนั้นการออกแบบจึง
ควรลดหรือหลีกเลี่ยงมุมหรือเหลี่ยมลง การปองกันความลาในโลหะบางชนิดจะทําใหผิวโลหะมีความเคนอัด
สะสม ความเคนอัดนี้จะทําให วัสดุตานทานความลาไดดีขึ้น หรืออีกวิธีห นึ่งคือการชุบผิวแข็ง เชน การเพิ่ม
ไนโตรเจนที่ผิวจะเพิ่มความตานทานตอความลาไดดเี ชนกัน
116

รูปที่ 7.40 ประเภทของความเคนแบบวัฏจักรทีท่ ําใหเกิดความลาขึ้นในชิ้นงาน


a) ความเคนคงที่ b) ความเคนไมคงที่ c) ความเคนแบบอิสระ
117

รูปที่ 7.41 กราฟความสัมพันธระหวางความเคนและจํานวนรอบที่เกิดความลาในโลหะ


a) วัสดุทแี่ สดงขีดจํากัดความลา b) วัสดุทไี่ มแสดงขีดจํากัดความลา

 ความคืบ
ความคืบเปนการแปรรูปแบบถาวรของวัสดุเมื่อรับแรงหรือความเคนแบบสถิตที่อุณหภูมิสูงการ
แปรรูปแบบถาวรขึ้นกับระยะเวลาที่รับแรงหรือความเคน ความคืบจะเกิดขึ้นกับวัสดุที่ใชงานที่อุณหภูมิเกิน
กวา 0.4 เทาของจุดหลอมเหลวสัมบูรณ เชน แกนของเทอรไบนใบพัดของเครื่องยนตเจ็ตและเครื่องกําเนิดไอ
น้ํา เปนตน การทดสอบหาความคืบจะนําวัสดุมาดึงดวยแรงคงที่ จากนั้นปลอยทิ้งไวที่ระยะเวลาตางๆกัน
แลววัดปริมาณความเครียดที่เกิดขึ้น ซึ่งจะไดกราฟความสัมพันธระหวาง ความเครียดกับเวลาดังรูปที่ 7.42 ซึ่ง
เปนตัวอยางลักษณะกราฟที่ไดจากการทดสอบความคืบ กราฟความสัมพันธจะแบงเปนสามระยะดังนี้คือความ
คืบในระยะแรกหรือระยะเริ่มตนจะเกิดขึ้นทันทีที่วัสดุถูก ดึง วัสดุจะยืดออกทันทีโดยเปนการแปรรูปแบบ
118

ยืดหยุน ความคื บ ระยะแรกจะค อย ๆ ลดลงเมื่อ เวลามากขึ้น วัส ดุจ ะตา นการเกิด ความคืบ เนื่อ งจากมี
ความเครียดเกิดขึ้นภายในเนื้อวัสดุ ถาวัสดุรับแรงอยูจะเกิดความคืบระยะที่สอง โดยความคืบระยะนี้จะเรียก
อีกอยางหนึ่งวาความคืบสภาวะคงตัว (Steady-state creep) เนื่องจากอัตราความคืบจะคงที่เมื่อเวลาเพิ่มขึ้น
สาเหตุที่อัตราความคืบคงทีเ่ พราะวัสดุเกิดการคืนตัวทําใหลดผลการเกิดความเครียดภายในที่เกิดขึ้นในชวงแรก
ลง วัสดุจะกลับมาเหนียวและสามารถแปรรูปไดงายขึน้ สวนความคืบระยะสุดทายหรือความคืบระยะที่สามจะ
เปนชวงที่มีอัตราความคืบสูงสุดจนเกิดการแตกหักของวัสดุ ระยะนี้จะเปนผลจากโครงสรางจุลภาคบริเวณขอบ
เกรนเกิดการแยกตัวและการเกิดรอยแตกภายใน มีลักษะเปนรูหรือชองวางภายใตแรงดึงจะเกิดการคอดขึ้น
อัตราความคืบในระยะนี้จะสูงมาก
ความคืบที่สําคัญตออายุการใชงานวัสดุคืออัตราความคืบในระยะที่สอง ซึ่งมีอัตราความคืบต่ําสุด
และมีคาคงที่ สามารถใชออกแบบในทางวิศวกรรมไดโดยเฉพาะในชิ้นงานที่มีอายุการใชงานสั้นปจ จัยที่มีผล
ตอความคืบที่สําคัญคือความเคนและอุณหภูมิ เมื่อความเคนสูงขึ้นหรืออุณหภูมิเพิ่มมากขึ้นเกินกวา 0.4 เทา
ของจุดหลอมเหลวจะสงผลใหการเกิดความคืบเพิ่มขึ้นและทําใหอายุการใชงานของวัสดุสั้นลง

รูปที่ 7.42 เสนโคงความคืบระหวางความเครียดกับเวลาที่ความเคนและอุณหภูมิคงที่


119

คําถามทายบท
1.แทงทดสอบทําจากอะลูมิเนียมมีพื้นที่หนาตัดเปนรูปสี่เหลี่ยมผืนผามีขนาด 10x10×5 mm ถูกดึงดวยแรงที่
มีขนาด 35,000 N แลวเกิดการแปรรูปแบบยืดหยุน จงหาคาความเครียดที่เกิดขึ้นวามีคาเทาใด
2. แทงชิ้นงานรูปทรงกระบอกทําจากโลหะผสม ถากําหนดใหมีคามอดูลัสความยืดหยุนเทากับ 100 GPa และ
มีขนาดเสนผานศูนยกลางเทากับ 5 mm ชิ้นตัวอยางนี้จะเกิดแตการแปรรูปแบบยืดหยุนเมื่อถูกดึง
ดวยแรงที่มีขนาดเทากับ 2000 N จงคํานวณหาความยาวสูงสุดของชิ้นงานกอนการไดรับแรงหาก
ตองการใชชิ้นตัวอยางหลังการไดรับแรงยืดไดสูงสุดไมเกิน 0.5 mm
3. ลวดโลหะที่มีขนาดเสนผานศูนยกลางเทากับ 2.5 mm และยาว 100 mm จงคํานวณความยาวที่ยืดออก
หากลวดเสนนี้ถาถูกดึงดวยแรง 300 N ใหสมมติวาการแปรรูปที่เกิดเปนแบบยืดหยุนเพียงอยางเดียว
4. สมมติวาคาความเคนครากของทองเหลืองมีคา 350 MPaและคามอดูลัสของความยืดหยุนมีคา 100 GPa
จงตอบคําถามตอไปนี้
(ก) แรงสูงสุดที่ทองเหลืองที่มีพื้นที่หนาตัด 120 mm2 จะรับไดโดยไมเกิดการแปรรูปถาวรมีคาเทาไร
(ข) หากความยาวเดิมของทองเหลืองนี้มีคา 75 mm จะดึงทองเหลืองนี้ยาวไดที่สุดเทาไรโดยไมมีการ
แปรรูปแบบถาวรเกิดขึ้น
5. แทงทองแดง (E=110 GPa) มีคาแรงครากเทากับ 250 MPa ความยาวเทากับ 300 mm ถูกดึงดวยแรง
7,000 N ถาทําใหแทงทองแดงตัวออกเทากับ 0.1 mm ขนาดเสนผานศูนยกลางของแทงทองแดงนี้จะ
มีคาเทาไร
7. แทงอะลูมิเนียมที่มีเสนผานศูนยกลาง 20 mm ยาว 200 mmถูกดึงดวยแรง 40,000 N ใหเกิดการแปร
รูปแบบยืดหยุน จงตอบคําถามตอไปนี้
(ก) แทงอะลูมิเนียมนี้ยืดออกเทาไหรในทิศทางของแรงดึง
(ข) ขนาดเสนผานศูนยกลางของแทงนี้จะเปลี่ยนแปลงอยางไร
7. แทงเหล็กกลาที่มีเสนผานศูนยกลาง 10 mm ถูกดึงใหเกิดการแปรรูปแบบยืดหยุน จงคํานวณแรงที่ตอง
ใชในการทําใหขนาดของเสนผานศูนยกลางลดลง 0.001 mm
8. แทงโลหะผสมชนิดหนึ่งมีเสนผานศูนยกลาง 25 mm ถูกดึงใหเกิดการแปรรูปแบบยืดหยุนหากแรงที่ใชมี
ขนาด 15,000 N ทําใหขนาดเสนผานศูนยกลางลดลง 0.005 mm คาอัตราสวนปวซองของวัสดุชนิด
นี้มีคาเทาไร กําหนดใหคามอดูลัสของความยืดหยุนของวัสดุนี้มีคา 100 MPa
120

9. พิจารณาแทงโลหะชนิดหนึ่งที่มีเสนผานศูนยกลาง 10 mm หากใชแรงดึงขนาด 2000 N ทําใหเกิดการ


แปรรูปแบบยืดหยุน และทําใหขนาดเสนผานศูนยกลางลดลง 0.001 mm คา มอดู ลั ส ของความ
ยืดหยุนของแทงโลหะนี้มีคาเทาไรหากคาอัตราสวนปวซองมีคา 0.35
10. จากรูปแสดงความสัมพันธระหวางความเคน และความเครียดทางวิศวกรรมของเหล็กกลาผสมจงหาคา
ตางๆดังนี้
(ก) คามอดูลัสของความยืดหยุน
(ข) คาขีดจํากัดการแปรผันตรง
(ค) คาความแข็งแรงจุดคราก
(ง) คาความแข็งแรงสูงสุด

ความสัมพันธความเคน-ความเครียดของเหล็กกลาผสม
11. โลหะตัวอยางที่มีรอยแตกขนาดเล็กภายในเมื่อใหความเคนดึง 170 MPa กระทําโดยกําหนดใหรัศมีสวน
โคงรอยแตกเทากับ 2.5 × 10-4 mm และความยาวรอยแตกเทากับ 2.5 ×10-2 mm ความเคนสูงสุด ณ
ตําแหนงปลายสุดของรอยแตกภายในมีคาเทาใด
12. เมื่อโลหะเปราะรับความเคนเทากับ 350 MPa ถารอยแตกที่ผิวเปนรูปวงรีและมีความยาวเทากับ 0.5
mm และรัศมีสวนโคงปลายยอด 0.005 mm จงคํานวณความแข็งแรงตามทฤษฎี ณ จุดแตกหัก
13. ถาวัสดุมีคามอดูลัสความยืดหยุน 250 GPa ถูกดึงดวยความเคน 750 MPa ถามวาวัสดุนี้จะเกิดความ
เสียหายหรือไม ถากําหนดใหรอยแตกภายในที่มีความยาว 0.20 mm รัศมีสวนโคง 0.001 mm
14. ชิ้นทดสอบเหล็กกลาผสมเกรด 4340 ที่มีสัมประสิทธิ์ความทนทานตอการแตกหัก เทากับ 55 MPa
√ ถูกนําไปรับความเคน 1,000 MPa ชิ้นทดสอบนี้จะเกิดการแตกหักหรือไมถารอยแตกที่ผิวใหญ
ที่สุดมีคาความยาวรอยแตกคือ 0.5 mm กําหนดใหคาตัวแปร Y เทากับ 1.0
15. สวนประกอบเครื่องจักกลผลิตขึ้นจากโลหะอลูมิเนียมผสมที่มีสัมประสิท ธิ์ความทนทานตอการแตกหัก
เทากับ 40 MPa √ พบวาเกิดการแตกหักที่ความเคน 350 MPa เมื่อความยาวรอยแตกภายในสูงสุด
เทากับ 1.0 mm สมมติวาใชวัสดุเดียวกันนี้ อยากทราบวาการแตกหักจะเกิดขึ้นที่ระดับความเคน 250
MPa หรือไมเมื่อความยาวรอยแตกภายในสูงสุดเทากับ 7.0 mm
17. แทงอะลูมิเนียมผสมมีคาสัมประสิทธิ์ความทนทานตอการแตกหักจากความเครียดบนระนาบ 30 MPa
√ เกิดการแตกหักที่ความเคน 120 MPa เมื่อความยาวรอยแตกสูงสุดเทากับ 5 mm ถาใชวัสดุ
121

เดียวกันนี้จงคํานวณระดับความเคนที่การแตกหักเกิดขึ้นเมื่อความยาวรอยแตกภายในสูงสุดเทากับ 2.5
mm
17. แผนโลหะเหล็กกลาที่มีสัมประสิทธิ์ความทนทานตอการแตกหักจากความเครียดบนระนาบ 50 MPa
√ เมื่อนําไปใชงานรับความเคนดึง 300 MPa จงหาความยาวของรอยแตกที่ผิวต่ําสุดที่สงผลใหเกิด
การแตกหักได สมมติใหคา Yเทากับ 1.0
18. ชิ้นสวนโครงสรางที่มีรูปเปนแผนกวางทําจากโลหะเหล็กกลา และมีสัมประสิทธิ์ความทนทานตอการ
แตกหักจากความเครียดบนระนาบเทากับ 100 MPa √ และมีความแข็งแรง ณ จุดคราก 700 MPa
ความเคนที่ตองรับมีคาเทากับครึ่งหนึ่งของความแข็งแรง ณ จุดครากและคา Y เทากับ 1.0 สมมติให
อุปกรณตรวจสอบตําหนิสามารถตรวจพบขนาดของตําหนิที่เล็กที่สุดไดเทากับ 5.0 mmจงหาวาตําหนิ
รอยแตกวิกฤตในแผนวัสดุนจี้ ะสามารถตรวจพบไดหรือไม
19. จากขอมูลในตารางขางลางคือผลการทดสอบการกระแทกแบบชารปในเหล็กกลาเกรด 4340 ที่ผานการ
อบคืนตัว

อุณหภูมิ (C) พลังงานการกระแทก (J)


0 105
-25 104
-50 103
-75 95
-100 70
-113 40
-125 35
-150 25
-175 23
-200 22

(ก) จงแสดงขอมูลระหวางพลังงานการกระแทกกับอุณหภูมิ
(ข) จงหาอุณหภูมิก ารเปลี่ยนแปลงจากเหนียวสูเปราะ เมื่ออุณหภูมินี้ตองสัมพันธกับคาเฉลี่ยของ
พลังงานการกระแทกสูงสุดและต่ําสุด
(ค) จงหาอุณหภูมิการเปลี่ยนแปลงจากเหนียวสูเปราะเมื่อวัดที่พลังงานการกระแทก 50 J
122

20. จากขอมูลในตารางที่ไดรวบรวมจากชุดการทดสอบการกระแทกแบบชารปในเหล็กกลาคารบอนต่ํา
(ก) จงสรางกราฟระหวางพลังงานการกระแทกกับอุณหภูมิ
(ข) จงหาอุณหภูมิก ารเปลี่ยนแปลงจากเหนียวสูเปราะ เมื่ออุณหภูมินี้ตองสัมพันธกับคาเฉลี่ยของ
พลังงานการกระแทกสูงสุดและต่ําสุด
(ค) จงหาอุณหภูมิการเปลี่ยนแปลงจากเหนียวสูเปราะที่พลังงาน 20 J

อุณหภูมิ (oC) พลังงานการกระแทก(J)


50 80
40 75
30 70
20 55
10 35
0 25
-10 15
-20 10
-30 5
-40 1

21. จงอธิบายวาทําไมโลหะผสมโครงสรางผลึกBCC และHCP จึงมีการเปลี่ยนแปลงจากเหนียวสูเปราะเมื่อ


อุณหภูมิลดลงแตในขณะที่โลหะผสมโครงสรางผลึกFCC ไมพบการเปลี่ยนแปลงดังกลาว
123

22. ขอมูลความลาของโลหะทองเหลืองมีคาดังนี้
จํานวนรอบที่เกิดการ
ความเคน (MPa)
แตกหัก
170 3.7×104
148 1.0×105
130 3.0×105
114 1.0×107
92 1.0×107
80 1.0×108
74 1.0×109

(ก) จงสรางกราฟ S –N
(ข) จงหาความแข็งแรงตอความลาที่ 1.5× 107 รอบ
(ค) จงหาอายุความลาที่ 140 MPa
124

บทที่ 8
แผนภูมเิ ฟส

โครงสรางจุล ภาคมีผ ลโดยตรงต อสมบัติ ท างกลตา ง ๆ การที่โ ลหะมี ก ารเปลี่ย นแปลง


โครงสรางจุลภาคจะหมายถึงการเปลี่ยนแปลงสมบัติทางกลดวย ดังนั้นการศึกษาเรื่องแผนภูมิเฟสของ
โลหะตาง ๆ จึงจําเปนอยางยิ่งเพื่อเขาใจผลของโครงสรางจุลภาคตอสมบัติทางกล โดยเนื้อหาในบทนี้
ประกอบดวย
 คํานิยามตาง ๆ
 การระบุสวนผสมทางเคมี
 การคํานวณหาสัดสวนปริมาณเฟส
 แผนภูมิสมดุลเฟสของโลหะบริสุทธิ์
 แผนภูมเิ ฟสสมดุลของโลหะผสม
 ปฏิกิริยาตาง ๆ ที่มีในแผนภูมิเฟส

8.1 คํานิยาม
เพื่อที่จะเขาใจในเรื่องแผนภูมเิ ฟสสมดุล จึงจําเปนตองเขาใจนิยามตาง ๆ ดังตอไปนี้
 องคประกอบ (Component) หมายถึง ธาตุหรือสารประกอบที่ประกอบขึ้นเปนโลหะ
ผสมนั้น ๆ
 ตัวทําละลาย (Solvent) หมายถึง ธาตุที่มีปริมาณมากกวาธาตุอื่น ทําหนาที่เปนตัวทํา
ละลายธาตุอื่น โดยถือวาเปนธาตุหลักของโลหะในระบบ
 ตัวถูกละลาย (Solute) หมายถึงธาตุที่มีปริมาณนอยกวาธาตุหลัก โดยจะละลายอยูใน
โลหะที่เปนตัวทําละลาย
 ขีดจํากัดการละลาย (Solubility limit) หมายถึงคาความเขมขนสูงสุดของตัวถูกละลายที่
จะสามารถละลายอยูในตัวทําละลายเปนสารละลายของแข็ง ถาเกินขอบเขตนี้แลวจะเกิดเปนรูปแบบอื่น
เชน สารประกอบ
 เฟส (Phase) หมายถึงสวนใดสวนหนึ่งของระบบที่มีสมบัติทางเคมีและทางกายภาพที่
สม่ําเสมอ สามารถอยูในรูปของของแข็ง ของเหลวหรือแกส ในแตละเฟสจะมีลัก ษณะเฉพาะและมี
125

ขอบเขตเปนของตัวเอง ถาเฟสมีสมบัติทางกายภาพหรือสมบัติทางเคมีไมเหมือนกัน จะถือวาเปนคนละ


เฟสเชน น้ําผสมกับ น้ําแข็ง ถือวามี สองเฟส เพราะมี สมบัติทางกายภาพที่แตกตางกันคือของแข็ง และ
ของเหลว ในโลหะบางชนิดอาจจะมีเฟสเดียวเรียกวาเปนเนื้อเดียว โลหะสวนมากจะเปนระบบที่ไมเปน
เนื้อเดียวเพราะมีหลายเฟสผสมกัน โดยสมบัติที่ผสานกันระหวางเฟสตาง ๆ จะมีผลตอสมบัติโดยรวมของ
โลหะ
 โครงสรางจุลภาค (Microstructure) หมายถึงโครงสรางของเฟสตาง ๆ ในเนื้อวัสดุซึ่ง
สามารถมองเห็นไดจากกลองจุลทรรศน การทดสอบโครงสรางจุลภาคจะทําใหสามารถทราบชนิด ปริมาณ
อัตราสวน และการกระจายตัวของเฟสตาง ๆ ปจจัยทีม่ ีผลตอโครงสรางจุลภาคไดแก สวนผสมทางเคมีและ
กรรมวิธีทางความรอนที่ใชในการผลิต
 เฟสสมดุล (Equilibrium phase) คือสภาวะที่เฟสมีพลังงานอิสระต่ําที่สุดที่สวนผสม
อุณหภูมิและความดันคงทีค่ าหนึ่ง ซึ่งตามหลักอุณหพลศาสตรแลวเปนสิ่งที่เฟสทุกเฟสพยายามจะเขาถึง
หรือกลาวอีกอยางหนึ่งคือสภาวะที่เสถียรภาพของเฟสที่ไมเปลี่ยนแปลงตามเวลา เฟสที่มีสมบัติแบบนี้
เรียกวาเปนเฟสที่สมดุล แตถาเปนเฟสที่สามารถสมดุลไดชั่วขณะหรือไมสมดุลอยางสมบูรณ จะเรียกวา
เปนเฟสกึ่งเสถียร โดยเฟสลักษณะนี้จะไมพบในแผนภูมิสมดุลเฟส
 แผนภูมเิ ฟสสมดุล (Equilibrium phase diagram) หมายถึงแผนภูมทิ ี่แสดงถึงชนิดของ
เฟสที่ปรากฏและปริมาณของเฟสเหลานั้นตามสมดุล ในบทนี้จะกลาวถึงความสัมพันธระหวางอุณหภูมิ
และสวนผสมทางเคมีเทานั้น โดยจะเนนที่โลหะผสมที่สําคัญเชน เหล็กกลาและเหล็กหลอซึ่งเปนโลหะ
ผสมระหวางเหล็กและคารบอน ในกรณีที่เปนสารบริสุทธิ์พบวาแผนภูมิสมดุลเฟสจะแสดงในรูปแบบของ
ความสัมพันธระหวางอุณหภูมิและความดันเชน น้ํา หรือเหล็กบริสุทธิ์ เปนตน

8.2 แผนภูมิเฟสของสารองคประกอบเดียว(Unary system phase diagram)


ในระบบที่มีองคประกอบเดียวตัวเชน น้ํา สามารถอยูในรูปแบบของเฟสไดสามลักษณะคือ
ของแข็ง ของเหลว และแกส ตัวแปรที่ใชระบุร ะบบคือ ความดันและอุณหภูมิ แผนภูมิเ ฟสจะอยูใน
รูปแบบความสัมพันธระหวางอุณหภูมิและความดัน โดยจุดเสนพื้นที่ตาง ๆ บนแผนภูมิเฟสจะบอกถึงเฟส
ที่ปรากฏอยูไดในระบบนั้น ๆ ในสภาวะสมดุล ตัวอยางแผนภูมเิ ฟสสมดุลของน้ําแสดงดังรูปที่ 8.1 ระบบ
นีพ้ บวามีบริเวณที่เปนทั้งเฟสเดียว สองเฟส (เสนทึบ) และบริเวณที่มีสามเฟสซึ่งเปนบริเวณรอยตอระหวาง
126

รูปที่ 8.1 แผนภูมเิ ฟสของน้ํา

เฟสของเหลว ของแข็งและแกส (จุด O) ถาระบบอยูภายใตสภาวะสมดุลแลวพบวาระดับความเปนอิสระ


(Degree of freedom หรือ คา F ) จะขึ้นอยูก ับตัวแปรคือจํานวนขององคประกอบของเฟสและจํานวน
เฟสที่อยูในระบบนั้น โดยในที่นรี้ วมถึงอุณหภูมิกับความดันของระบบดวย ความสัมพันธของตัวแปรตางๆ
นี้แสดงดัง สมการของ Gibbs’ Phase Rule ไดดังนี้คือ
F CP2 (8.1)
เมื่อ F คือระดับความเปนอิสระของตัวแปร ไดแก อุณหภูมิ ความดันหรือความเขมขน ที่จะ
เปลี่ยนแปลงไดอยางอิสระ โดยไมทําใหจํานวนของเฟสเปลี่ยนแปลง
C หมายถึงจํานวนขององคประกอบ ไดแกจํานวนธาตุหรือโลหะที่มาทําปฏิกิริยากันหรือมา
รวมกันเปนโลหะผสม แตในกรณีเชนนี้จะไมนําผลที่ไดจากปฏิกิริยานั้นมาเปนองคประกอบหนึ่งดวย
P หมายถึง จํานวนเฟสของโลหะผสมที่มีลัก ษณะเปนเนื้อเดียวที่ก ลมกลืนเทานั้น เชน
ของแข็ง ของเหลว หรือแกส
สําหรับระบบของโลหะผสมนั้นมักจะสนใจเฉพาะของแข็งกับของเหลวที่ความดันบรรยากาศ
(1 atm) เทานั้น เมื่อความดันถูกกําหนดใหคงที่แลว ตัวแปรก็จะลดลงไปหนึ่ งคา และสามารถเขียน
สมการไดใหมเปนดังนี้คือ
127

F  C  P 1 (8.2)
จากรู ป ที่ 8.1 ที่ตํ าแหน ง บนเสนประระหวางจุ ด 2 ถึง 3จะพบเพียงเฟสเดียวคื อ น้ํ า
(ของเหลว) ดังนั้นจึงมีคา P= 1 ในระบบนี้เปนระบบของน้ําเพียงอยางเดียวจะไดคา C =1 ดังนั้นตําแหนง
ตางๆบริเวณนี้จะมีคา F = 1-1+ 2 = 2 คือมีระดับความเปนอิสระของตัวแปรเทากับสอง หมายความวา
ทั้งความดันและอุณหภูมิ สามารถเปลี่ยนแปลงไดภายในพื้นที่ของของเหลวนี้ โดยยังคงทําใหเปนเฟส
ของเหลวอยูได
ในกรณีที่จุดที่สนใจอยูบนตําแหนงเสนทึบรอยตอระหวางสองเฟสไดแก เสน o-a o-b หรือ
o-c จะพบวามีสองเฟสอยูรวมกันในสภาวะสมดุล การที่จ ะคงรักษาสภาพของสองเฟสนี้ไวไดนั้น ตอง
ควบคุมความดันหรืออุณหภูมิอยางใดอยางหนึ่งเพื่อบังคับใหอยูบนเสนทึบนี้เทานั้น จะเห็นวาตลอดเสนทึบ
นีม้ ีสองเฟสอยูดวยกัน ดังนั้นจะไดคา P= 2 ทําใหมีคา F = C - P + 2 = 1 - 2 + 2 = 1 ระดับความเปน
อิสระของตัวแปรมีไดเพียงตัวเดียว นั่นหมายความวาตองเลือกระหวางความดันกับอุณหภูมิอันใดอันหนึ่งที่
จะสามารถเปลี่ยนแปลงได ถากําหนดคาตัวแปรหนึ่งไปแลว อีกคาหนึ่งจะถูกกําหนดโดยอัตโนมัติเพื่อให
ระบบมีเฟสอยูรวมกันสองเฟสได ที่ตําแหนงจุด o พบวาเฟสของแข็ง ของเหลวและแกสเกิดอยูรวมกันใน
สภาวะสมดุลโดยจะพบวา F = 1 - 3 + 2 = 0 แสดงวาถาตองการใหเฟสทั้งสามเกิดรวมกันในสภาวะ
สมดุล จะมีเพียงอุณหภูมิและความดันเพียงคาเดียวเทานั้นที่สามารถทําใหเกิดสามเฟสพรอมกันได ไม
สามารถกําหนดคาทั้งสองเปนอื่นไดเลย
ในกรณีของระบบที่มีองคประกอบเดียวจะพบวา C = 1 และจํานวนเฟสสูงสุดที่จะอยูรวมกัน
ไดคือสามเฟส ซึ่งจะทําใหระดับความเปนอิสระเปนศูนย ดังนั้นจึงเปนความจริงอีกอยางหนึ่งที่สามารถ
ทํานายไดจาก Gibb’s Phase Rule วาจํานวนเฟสสูงสุดที่สามารถปรากฏอยูพรอมกันได ณ สมดุล ใน
ระบบองคประกอบเดียวคือ สามเฟส ยกตัวอยางในระบบของเหล็กบริสุทธิ์ ดังรูปที่ 8.2 นั้น แมจะมีเฟส
ตาง ๆ เกิดขึ้นถึง5 เฟส แตอยางไรก็ตามก็จะมีเฟสที่ปรากฏพรอมกัน ณ เงื่อนไขหนึ่ง ๆ เพียงครั้งละ 3
เฟสเทานั้น คือ ความดันและอุณหภูมิที่จุดนีเ้ ทานั้นเอง
128

รูปที่ 8.2 แผนภูมสิ มดุลของเหล็กบริสทุ ธิ์

8.3 ทฤษฎีพื้นฐานแผนภูมิเฟสของโลหะผสม
เฟสแตเฟสจะมีพลังงานอิสระคาหนึ่งภายใตเงื่อนไขที่กําหนด ตามหลักอุณหพลศาสตรจะ
สามารถหาคาพลัง งานอิสระของแตล ะเฟสที่อุณหภูมิหรือสวนผสมตาง ๆ ไดทั้งในสภาวะของแข็งและ
ของเหลว ถาพบวาเฟสใดที่มีพลังงานต่ําที่สุดก็จะพบเฟสนั้นที่สภาวะดังกลาว ดังตัวอยางในรูปที่ 8.3 ซึ่ง
เปนแผนภูมิเฟสของโลหะผสมระหวาง A-B ซึ่งสามารถละลายกันไดดีทั้งในสภาพของแข็งและของเหลว
โดยพลังงานอิสระของแตละเฟสที่อุณหภูมิแตกตางกัน (T1-T5) จะสามารถอธิบายไดดังตอไปนี้
คาพลังงานอิสระของเฟสของเหลวและเฟสของแข็ง ที่อุณหภูมิ T1 แสดงตามรูปที่ 8.3 a)
พบวาพลังงานอิสระของเฟสของเหลวจะต่ํากวาเฟสของแข็ง () ที่ทุก สวนผสม ที่อุณหภูมินี้ถือวาเฟส
ของเหลวสมดุลกวาเฟสของแข็ง ดังนั้นที่อุณหภูมิ T1จะพบเฉพาะเฟสของเหลวเทานั้น เมื่ออุณหภูมิ
ลดลงเปน T2 ดังแสดงในรูปที่ 8.3 b) พบวาพลังงานอิสระของเฟสของเหลวและของแข็งตางกันนอยลง
และมีคาเทากันที่สวนผสม 100%A ซึ่งก็คือจุดหลอมเหลวของโลหะ A บริสุทธิ์ ในทางทฤษฎีแลว ที่
อุณหภูมินี้จะเริ่มตกตะกอนเฟสของแข็ง ที่ตําแหนงสวนผสมอื่นพบวาเฟสของเหลวยังคงมีพลังงานอิสระ
ต่ํากวาเฟสของแข็ง ดังนั้นที่อุณหภูมินี้จะพบเฉพาะเฟสของเหลวโดยมีเฟสของแข็งขนาดเล็กเริ่มเกิดขึ้น
เมื่ออุณหภูมิของของเหลวลดลงตอไปอีกเปน T3 พบวาพลังงานอิสระของเฟสของแข็งลดลง
มากดังรูปที่ 8.3 c) และมีบางตําแหนงที่ของแข็งจะมีพลังงานอิสระต่ํากวาของเหลว กราฟพลังงานอิสระ
จะตัดกัน โดยพลังงานอิสระต่ําสุดสําหรับของแข็งเกิดขึ้นที่สวนผสม C1 และสําหรับเฟสของเหลวมี
129

รูปที่ 8.3 แผนภูมิเฟสและคาพลังงานอิสระของกิปสของแตละเฟสทีอ่ ุณหภูมิตางๆ


130

พลังงานอิสระต่ําสุดคือจุดที่ 2 ซึ่งมีสวนผสมเทากับ C2 วิธีการหาคาสวนผสมของ C1 และ C2 หาจาก


วิธีการลากเสนสัมผัสระหวางสองกราฟซึ่งอาศัยหลักการดังตอไปนี้
 G s   G 
   l
 C  Cs  C  Cl
Gs Gs  Gl
 (8.3)
C Cs  Cl
เมื่อ GS คือพลังงานอิสระของเฟสของแข็ง Gl คือพลังงานอิสระของเฟสของเหลว CS คือสวนผสมของ
ของแข็งและ Cl คือสวนผสมของของเหลว จากรูปที่ 8.3 c) พบวาในสวนผสม 100%A จนถึง C1
พลังงานอิสระของเฟสของแข็งต่ํากวาเฟสของเหลว หรือกลาวไดวาในชวงสวนผสมนีเ้ ฟสของแข็งสมดุล
กวาเฟสของเหลว ดังนั้นที่ชวงสวนผสมนีจ้ ะพบเฟสของแข็ง ในทางตรงขามกันที่ชวง C2 จนถึง 100%B
พบวาเฟสของเหลวมีพลังงานอิสระต่ํากวาเฟสของแข็ง ดังนั้นชวงสวนผสมนี้จงึ พบเฉพาะเฟสของเหลว
สวนในชวงสวนผสม C1 ถึง C2 จะพบทัง้ เฟสของแข็งและของเหลวเกิดขึ้นพรอมกัน
เมื่อลดอุณหภูมิลงมาจนถึง T4 ดังรูปที่ 8.3 d) เฟสของแข็งจะมีพลังงานอิสระต่ํากวาเฟส
ของเหลวมากขึ้น และของแข็งจะมีพลังงานอิสระต่ํากวาเฟสของเหลวทุกสวนผสมยกเวนที่จุด 100%B
ซึ่งมีคาพลังงานเทากัน ที่จุดนี้คือจุดหลอมเหลวของโลหะ Bบริสุทธิ์ เมื่อลดอุณหภูมิลงต่ํากวานี้จะพบวา
เฟสของแข็งมีพลังงานต่ํากวาเฟสของเหลวดังรูปที่ 8.3 e) ดังนั้นโลหะผสมนี้กลายเปนของแข็งทั้งหมด
และไมเปลี่ยนแปลงจนถึงอุณหภูมิหอง รูปที่ 8.3 f) แสดงแผนภูมิสมดุลเฟสของโลหะผสม A-B ดังที่ได
กลาวมาขางตน

 เสนโคงการเย็นตัว
วิธีการสรางแผนภูมิเฟสนอกจากวิธีที่ไดกลาวในหัวขอที่ผานมาแลว ยังสามารถทําไดโดยใช
วิธีอื่นเชน การตรวจสอบโครงสรางจุลภาค การวิเคราะหทางความรอน หลักการเปลี่ยนแปลงของขนาด
เฟส การเลี้ยวเบนของรังสีเอกซหรือการวิเคราะหสวนผสมทางเคมี เปนตน ในที่นี้จะขออธิบายในสวนของ
การสรางแผนภูมิเฟสจากการวิเคราะหทางความรอนดวยเสนโคงการเย็นตัว โดยมีขั้นตอนตัวอยางสําหรับ
โลหะผสม Ni-Cu ดังตอไปนี้คือ
1. เตรียมโลหะที่มีสวนผสมตามตองการ โดยเริ่มจากโลหะ Ni บริสุทธิ์ และคอย ๆ เพิ่ม
ปริมาณโลหะ Cu ในโลหะ Ni จนสิ้นสุดสวนผสมที่โลหะบริสุทธิ์ Cu
2.นําโลหะที่เตรียมไวทั้งหมดมาหลอมเหลว
3.ปลอยใหเย็นตัวจนกระทั่งถึงอุณหภูมิหองโดยมีการบันทึกอุณหภูมิอยางตอเนื่อง
131

4. หาความสัมพันธระหวางอุณหภูมิและเวลา
กราฟความสัมพันธที่ไดเรียกวาเสนโคงการเย็นตัว รูปที่ 8.4 a) แสดงตัวอยางเสนโคงการเย็นตัวของโลหะ
บริสุทธิ์ การแปลงเฟสจากของเหลวเปนของแข็งจะเกิดขึ้นที่อุณหภูมิคงที่ สวนรูปที่ 8.4 b) เปนการเย็นตัว
ของโลหะผสม การแปลงเฟสจะคอย ๆ เกิดขึ้นตามการลดลงของอุณหภูมิ ดังนั้นจึงสรุปไดวาในกรณีของ
โลหะบริสุทธิ์นั้น การแปลงเฟสจะเกิดขึ้นที่อุณหภูมิคงที่ สวนในกรณีของโลหะผสมนั้นการแข็งตัวจะ
เกิดขึ้นเปนชวงอุณหภูมิ จากผลเสนโคงการเย็นตัวที่ไดสามารถนํามาเขียนแผนภูมิเฟสไดดังรูปที่ 8.5

(a) โลหะบริสุทธิ์ (b) โลหะผสม

รูปที่ 8.4 รูปแบบของเสนโคงการเย็นตัวของโลหะ

รูปที่ 8.5 การสรางแผนภูมเิ ฟสจากเสนโคงการเย็นตัว


132

8.4 แผนภูมิเฟสระบบเนื้อเดียวสององคประกอบ
ระบบเนื้อเดีย วสององคป ระกอบหมายถึง ระบบที่โ ลหะสามารถละลายเขากันไดอยา ง
สมบูรณทั้งในของเหลวและของแข็งเชน ระบบของโลหะผสมระหวางทองแดง-นิกเกิล ดังแผนภูมิเฟสในรูป
ที่ 8.6 ซึ่งแสดงความสัมพันธระหวางสวนผสมทางเคมี อุณหภูมิและเฟสที่ปรากฏ ในแผนภูมิเฟสจะระบุ
สวนผสมทางเคมีส องแบบ แกนนอนดานลางจะบอกสวนผสมเปนรอยละโดยน้ําหนัก และแกนนอน
ดานบนจะเปนรอยละโดยอะตอม ในทางปฏิบัติจ ะนิยมใชดานลางซึ่ง เขาใจไดงายและสะดวกในการ
นําไปใชงาน
ปริมาณของนิกเกิลดังรูปที่ 8.6 จะแสดงเริ่มจากรอยละศูนยทางดานซายและเพิ่มขึ้นจนเปน
รอยละรอยในดานขวา สวนรอยละศูนยของทองแดงจะอยูทางขวามือที่ตําแหนง 100% Ni รอยละรอย
ของทองแดงจะอยูที่ดานซายมือหรือตําแหนง 0% Ni ผลรวมของปริมาณนิกเกิลกับทองแดงที่ตําแหนง
ใด ๆ ตองเทากับหนึ่งรอย พื้นที่ในแผนภูมิเฟสในรูปที่ 8.6 แบงเปนสามสวนคือบริเวณที่เปนของเหลวซึ่ง
เปนพื้นที่สวนบน บริเวณที่เปนของแข็ง () จะอยูส วนลาง สวนบริเวณที่ของแข็งและของเหลวผสมกันคือ
รูปเลนสตรงกลางระหวางของแข็งกับของเหลว เสนแบงขอบเขตของรูปเลนสจะเปนลักษณะเสนทึบ เสน
ทึบดานบนจะติดกับบริเวณของของเหลวเรียกวาเสนลิควิดัส (Liquidus) อุณหภูมิสูงกวาเสนนี้จะพบวามี
เฟสของเหลวเพียงอยางเดียว ในขณะเดียวกันเสนทึบดานลางซึ่งติดกับบริเวณของแข็งเรียกวาเสนโซลิดัส
(Solidus) ที่อุณหภูมิต่ํากวาเสนนี้จะเปน เฟสของแข็งโดยสมบูรณ จุดตัดระหวางเสนของแข็งและเสน
ของเหลวคือจุดหลอมเหลวของโลหะบริสุทธิ์เชน จุดตัดดานขวามือคือจุดหลอมเหลวของนิกเกิล บริสุทธิ์
(1453oC) สวนจุดตัดดานซายมือคือ จุดหลอมเหลวของทองแดงบริสุทธิ์ (1085oC) สําหรับเฟสของแข็งนั้น
จะมีหลายชื่อโดยใชสัญลักษณอักษรกรีก เชน   หรือ  เปนตน เนื่องจากเฟสของแข็งในโลหะผสม
ระบบอื่น ๆ สวนใหญจะมีมากกวาหนึ่งเฟส
 การแปรขอมูลจากแผนภูมิเฟส
สิ่งที่จะไดจากการแปรความหมายแผนภูมิสมดุลคือ เมื่อกําหนดอุณหภูมิและสวนผสมแลวจะ
บอกไดวาชนิดของเฟสที่ปรากฏ สวนผสมทางเคมีของแตละเฟส และอัตราสวนหรือปริมาณของแตละ
เฟสตาง ๆ ได โดยสามารถแปรขอมูลไดดังนี้คือ
1) เฟสที่ปรากฏ เมื่อกําหนดอุณหภูมิและสวนผสมจะทราบเฟสที่ป รากฏได ทันทีจ าก
แผนภูมิเฟส โดยอานขอมูลไดจากแผนภูมิเฟสโดยตรงวาจะพบเฟสใดบาง จุดที่สนใจอาจจะพบเฟสเดียว
หรือมากกวาหนึ่งเฟสก็ได ในกรณีที่พบวาจุดที่สนใจเปนเฟสเดียวก็สามารถแปรขอมูลไดโดยตรง แตถามี
สองเฟสตองพิจารณาวาเฟสดานซายและขวาของบริเวณนี้เปนเฟสใดแลว บริเวณระหวางสองเฟสนั้นจะ
133

รูปที่ 8.6 แผนภูมสิ มดุลเฟสของระบบนิกเกิล-ทองแดง

ประกอบไปดวยสองเฟสนี้ ดังตัวอยางในรูปที่ 8.6 จุด B เปนจุดที่มีทั้ง ของเหลวและของแข็งเพราะ


ดานซายจะติดกับบริเวณของของเหลวสวนขวามือเปนบริเวณของของแข็ง
2) สวนผสมทางเคมีของแตละเฟส ตัวอยางการหาสวนผสมทางเคมีของเฟสที่จุดที่สนใจ
แสดงดังรูปที่ 8.8 ในบริเวณที่มีเฟสเดียวสามารถหาสวนผสมจากแกนนอนโดยตรงได แตถามีสองเฟส
เชนจุด B จะตองลากเสนอุณหภูมิคงที่ตัดผานจุดที่กําหนด ซึ่งเรียกเสนนี้วาเรียกวาเสนไทไลน (Tie line)
หรือเสนไอโซเทิรม (Isotherm) โดยเสนไทไลนนี้จะลากผานเฉพาะบริเวณที่มีสองเฟสเทานั้น สวนปลาย
ดานซายและขวาของเสนไทไลนจะตองเชื่อมกับบริเวณที่เปนเฟสเดียวในรูปที่ 8.7 เสนไทไลนคือเสนที่ลาก
ผานจุด B โดยปลายดานซายตัดกับเสนลิควิดัสและปลายดานขวาตัดกับเสนโซลิดัส การหาสวนผสมของ
เคมีของแตละเฟสจะทําการลากเสนจากแกนตั้งตัดจุดปลายทั้งสองดานของเสนไทไลน ปลายดานซายของ
เสนไทไลนตัดกับเสนลิควิดัสที่จุดตัดนี้เปนสวนผสมทางเคมีของของเหลว จากนั้นลากเสนขนานแกน y
134

ลงมาตัดกับแกน x ที่จุด CL ซึ่งก็คือสวนผสมทางเคมีของของเหลว ในขณะเดียวกันปลายดานขวาของเสน


ไทไลนตัดกับเสนโซลิดัสซึ่งเปนสวนผสมทางเคมีของของแข็ง ดังนั้นเมื่อลากเสนขนานแกน y ลงมาตัด
แกน x ไดสวนผสมทางเคมีของของแข็งคือ Cs

รูปที่ 8.7 แผนภูมิเฟสในบริเวณที่มีสองเฟส(ของเหลว+ของแข็ง)

3) การระบุปริมาณของเฟส จากรูปที่ 8.7 พบวาจุด B จะมีสองเฟสคือของเหลวที่มี


สวนผสมทางเคมีเปน CL และของแข็งมีสวนผสมทางเคมีเปน Cs ปริมาณของของแข็งและของเหลวมีจะ
ระบุในรูปสัดสวนคือรอยละของของเหลวหรือรอยละของของแข็ง ทั้งนี้ปริมาณรอยละของของแข็งและ
ของเหลวรวมกันแลวตองไดเทากับ หนึ่งรอย ในการหาปริมาณแตละเฟสจะใชกฎคานดีดคานงัด (lever
rule) ตัวอยางระบบของทองแดง-นิก เกิล ที่สวนผสมที่จุด B สามารถหาปริมาณของเหลว (%L) และ
ของแข็ง(%S) ที่จุด Bไดจากสูตรดังตอไปนี้
135

 C  CL 
%S   o  x100 (8.1)
 Cs  CL 
 C  Co 
% L   s  x100 (8.2)
 Cs  C L 
โดย % S  % L  100

ตัวอยางที่ 8.1 ถาโลหะผสม Cu-Ni มีปริมาณนิกเกิล 40% โดยน้ําหนัก จงหาสวนผสมทางเคมีของแตละ


เฟสที่ปรากฏที่อุณหภูมิ 1,200 1,250 และ 1,300oC
วิธีทํา จากแผนภูมิสมดุลของระบบ Cu-Ni ในรูปที่ 8.6 สามารถหาสวนผสมของแตละเฟสไดดังนี้
ที่อุณหภูมิ 1,200oC: สวนผสมนี้จ ะเปนของแข็ง เพียงอยางเดียว ดัง นั้ นของแข็ง นี้จึง มี
สวนผสมเปน 60%Cu-40%Ni
ที่อุณหภูมิ 1,250oC: สวนผสมนี้จะเปนของแข็งและของเหลว ทําการลากเสนไทไลนตัดเสน
ลิควิดัสที่ 31.5%Ni ดังนั้นสวนผสมของเหลวจะมี 31.5%Ni-68.5%Cu และตัดเสนโซลิดัสที่ 42.5% Ni
ดังนั้นของแข็งจึงมีสวนผสม 42.5% Ni-58.5%Cu
ที่อุณหภูมิ 1,300oC: สวนผสมนี้จะเปนของเหลวเพียงอยางเดียว ดัง นั้นของเหลวนี้จึง มี
สวนผสมเปน 60%Cu-40%Ni

ตัวอยางที่ 8.2 ถาเตรียมโลหะผสมนิกเกิล-ทองแดงที่มีปริมาณ 35% Ni-65%Cu นําไปใหความรอนจนถึง


1250oC และระบบดําเนินไปอยางสมดุล ที่อุณหภูมินี้จะพบเฟสใดและมีปริมาณเทาใด
วิธีทํา จากขอมูลจากรูปที่ 8.6 ทําการลากเสนขนานแกนตั้งที่ 35%Ni ตัดกับเสนอุณหภูมิคงที่ 1250oC
จะพบวาอยูในบริเวณที่มีสองเฟส ทําการลากเสนไทไลนที่อุณหภูมิ 1250oC ผานสวนผสมที่สนใจโดยเสน
ไทไลนจะตัดเสนลิควิดัส ที่ 31.5%Ni (สวนผสมของเหลว)และตัดเสนโซลิดัสที่ 42.5% Ni (สวนผสม
ของแข็ง) ดังนั้น
%L 
42.5  35 x100  68%
42.5  31.5
%S 
35  31.5 x100  32%
42.5  31.5
136

 การเย็นตัวภายใตสมดุล
การเปลี่ยนโครงสรางของเฟสตาง ๆ ภายใตสมดุลจะเกิดขึ้นไดชา การแข็งตัวหรือเย็นตัวที่
เกิดขึ้นชามาก ๆ จะทําใหมีการแปลงเฟสใกลเคียงกับสมดุลมากขึ้น รูปที่ 8.8 แสดงตัวอยางโครงสรางที่
เกิดจากการแข็งตัวตามสมดุลของระบบ 35%Ni-65%Cu เริ่มตนที่จุด a จะพบเฟสของเหลวทั้งหมด เมื่อ
อุณหภูมิลดลงมาถึงจุด b ซึ่งเปนเสนของลิควิดัสจะเริ่มมีแข็งเกิดขึ้นมาในของเหลว โดยของแข็งนี้คือ 
ซึ่งมีสวนผสมตามเสนไทไลนคือ 46%Ni-54%Cu และของเหลวจะมีสวนผสมคือ 35%Ni-65%Cu เมื่อ
อุณหภูมิลดลงตามเสนประจนกระทั่งถึงจุด c เมื่อทําการลากเสนไทไลนผานจุด c พบวาของเหลวจะมี
สวนผสมลดลงมาเปน 32%Ni-68%Cu และของแข็ง  จะมีสวนผสมเปน 43%Ni-58%Cu โดยจะพบวา
ปริมาณของของเหลวจะลดลงแตปริม าณของแข็ง จะเพิ่มขึ้น เมื่ออุณหภูมิล ดลงจนถึง จุด d หรือเสน
โซลิดัสพบวาของเหลวเกือบทั้งหมดแข็งตัว โดยของเหลวที่เหลือเล็กนอยมีสวนผสม 24%Ni-86%Cu
และของแข็งจะมีสวนผสมทางเคมีเปน 35%Ni-65%Cu ซึ่งเทากับสวนผสมเริ่มตนนั่นเอง หลังจากนั้นเมื่อ
อุณหภูมิลดลงต่ํากวานี้แลวจะกลายเปนของแข็งโดยสมบูรณดังจุด e โดยมีความเขมขนของของแข็งจะ
คงที่คือ 35%Ni-65%Cu จนกระทั่งอุณหภูมิลดลงถึงอุณหภูมิหอง

รูปที่ 8.8 โครงสรางจุลภาคระหวางการเย็นตัวแบบสมดุล


137

 การเย็นตัวแบบไมสมดุล
ในทางปฏิบัติการทําใหโลหะเย็นตัวตามสมดุลเกิดขึ้นไดยากเพราะตองเย็นตัวชามาก ๆ โดย
สวนใหญแลวจะเย็นตัวเร็วกวาสมดุลมาก ทําใหกระบวนการแข็งตัวไมเปนไปตามสมดุล ในบริเวณที่มี
สองเฟสนั้นคาเฉลี่ยสวนผสมทางเคมีของของแข็งจะสูงกวาสมดุลดังรูปที่ 8.9 เนื่องจากการแพรจะเกิดขึ้น
ไดชาในสภาพที่เปนของแข็ง แตในทางตรงขามการแพรในของเหลวเกิดขึ้นไดงายทําใหก ารแพรใน
ของเหลวใกลเคียงกับสมดุล ในเฟสของแข็งจะเกิดการสะสมของอะตอมขึ้นบางบริเวณ เมื่อพิจารณารูปที่
8.9 ซึ่งเปนระบบเดียวกันกับรูปที่ 8.8 ที่สวนผสมของโลหะ 35%Ni-65%Cu พบวาเสนโซลิดัสจะลดลงต่ํา
กวาการเย็นตัวตามสมดุล โดยมีลําดับการแข็งตัวดังนี้ ที่จุด aยังคงเปนของเหลวทั้งหมดและมีสวนผสม
35%-65%Cu เมื่อของเหลวเย็นตัวลงถึงเสนของแข็งที่จุด b ของแข็ง  จะมีสวนผสมเทากับ 46%Ni–
54%Cu และของเหลวจะมีสวนผสมคือ 35%Ni-65%Cu เมื่ออุณหภูมิลดลงถึงจุด c พบวาของแข็ง  จะ
มีสวนผสมเทากับ 42%Ni-58%Cu (ตามสมดุลคือ 40%Ni -60%Cu) เมื่อเทียบกับของแข็งที่เกิดที่จุด b
พบวาจะมีความเขมขนลดลง ดัง นั้นจึงทําใหเ กิดความไมส ม่ําเสมอของสวนผสมทางเคมีเกิดขึ้ น โดย
ภายในเกรนเดียวกันจะพบวามีสวนผสมทางเคมีแบงเปนชั้น ๆ แตละชั้นมีสวนผสมทางเคมีไมเทากัน

รูปที่ 8.9 โครงสรางจุลภาคระหวางการเย็นตัวแบบไมสมดุล


138

เมื่ออุณหภูมิลดลงถึงจุด d พบวาของแข็ง  จะมีสวนผสมเทากับ 38%Ni-62%Cu ซึ่งสูงกวาการเย็นตัว


ตามสมดุลคือ 35%Ni-65%Cu จนกระทั่งอุณหภูมิลดลงมาถึงจุด e ของแข็ง  จึงจะมีสวนผสมเทากับ
35%Ni-65%Cu ซึ่งตามสมดุลคือ 31%Ni-69%Cu หลังจากนั้นแมวาอุณหภูมิลดลงสวนผสมทางเคมีก็ยัง
คงที่เทาเดิม
โครงสรางของเฟสของแข็งที่เกิดขึ้นเปนชั้น ๆ และแตละชั้นมีปริมาณธาตุผสมไมเทากันในแต
ละเกรนเรียกวาโครงสรางแบบคอร (Cored structure) แตอยางไรก็ตามสวนผสมทางเคมีโดยเฉลี่ยจะ
ยังคงเทาเดิม การเกิดโครงสรางแบบคอรจะสงผลเสียตอสมบัติทางกล ถานําไปใหความรอนจะเกิดการ
หลอมเหลวที่ขอบเกรนกอนและการหลอมเหลวนี้จะเกิดที่อุณหภูมิต่ํากวาเสนโซลิดัส ดังนั้นการปรับปรุง
ดวยกรรมวิธีทางความรอนเชน กระบวนการอบออนจะทําใหมีการปรับสภาพธาตุผสมใหกระจายตัวอยาง
สม่ําเสมอกอนนําไปใชงาน
8.5 แผนภูมิเฟสระบบยูเทกติกสององคประกอบ
ระบบยูเทกติกสององคประกอบเปนระบบที่โลหะผสมสามารถละลายกันไดอยางสมบูรณใน
สภาวะของเหลว แตจะสามารถละลายไดบางสวนในสภาวะของแข็ง ตัวอยางแผนภูมิในระบบนี้คือระบบ
ของทองแดงและเงินดังรูปที่ 8.10 ในระบบนี้จะพบวามีเฟสอยูสามเฟสคือ ของแข็ง  ของแข็ง  และ
ของเหลว โดยสามารถสรุปขอมูลจากแผนภูมเิ ฟสไดดังนี้
พื้นที่ของ  ถูกแยกจากพื้นที่ของ + ดวยเสนโซลวัส (Solvus) ซึ่งเปนเสนที่บอกขีดจํากัด
การละลายในสภาพที่เปนของแข็ง ของแข็ง  เปนสารละลายของแข็งของเงินในทองแดง มีลักษณะเปน
เนื้อเดียวและมีปริมาณทองแดงสูง ทองแดงทําหนาที่เปนตัวทําละลายและเงินเปนตัวถูกละลาย ปริมาณ
ของเงินสูงสุดที่สามารถละลายในทองแดงเปนสารละลายของแข็งไดคือ 8% ที่อุณหภูมิ 889oC สวนเฟส
ของแข็ง  เปนสารละลายของแข็งของทองแดงในเงินมีลักษณะเปนเนื้อเดียวและมีปริมาณเงินสูง เงินทํา
หนาที่เปนตัวทําละลายและทองแดงเปนตัวถูกละลาย โดยทองแดงสามารถละลายเปนสารละลายของแข็ง
ไดสูงสุดคือ 8.8% ที่อุณหภูมิ 889oC เชนกัน เสนโซลิดัสไดแก ABEGF และเสนลิควิดัสไดแก AEF จาก
หลักการที่วาพื้นที่ใดก็ตามที่ถูกขนาบขางดวยเฟสเดี่ยวสองเฟส พื้นที่นั้นจะเปนบริเวณของสองเฟสนั้น
บริเวณที่มีสองเฟสในแผนภูมิเฟสนี้มีสามบริเวณไดแก +L +Lและ + จุดยูเทกติก (จุด E) เกิดขึ้นที่
อุณหภูมิ 889oC ที่สวนผสม 81.9% Ag ดังปฏิกิริยาตอไปนีค้ ือ
L ( 71 .9 wt % Ag )  8 wt % Ag   91 .2 wt % Ag 
จากสมการของปฏิกิริยายูเทกติกจะพบวาของเหลวเปลี่ยนเปนของแข็งสองเฟสคือ  และ  โดยอุณหภูมิ
ที่เกิดปฏิกิริยานี้เรียกวาอุณหภูมิยูเ ทกติก หรือ TE แนวของเสน BEG เรียกวาเสนยูเทกติกไอโซเทิรม
139

(Eutectic isotherm) สวนผสมที่เกิดปฏิกิริยานี้เรียกวาสวนผสมยูเทกติกหรือ CE ทั้งนี้จุดยูเทกติกจะพบ


ไดเพียงจุดเดียวบนเสนไอโซเทิรม

รูปที่ 8.10 แผนภูมิสมดุลเฟสของโลหะทองแดง-เงิน

ระบบยูเทกติกพื้นฐานอีก ระบบหนึ่งคือระบบของตะกั่ว (Pb)–ดีบุก (Sn) ดัง แสดงในรูป ที่


8.11 พื้นที่ของ  ถูกแยกจากพื้นที่ของ + ดวยเสนโซลิดัส นอกจากนี้ยังพบอีกวาเมื่อเติมดีบุกลงตะกั่ว
แลวจะทําใหจุดหลอมเหลวของโลหะผสมลดลง และถาเติมตะกั่วลงในดีบุกก็จะลดจุดหลอมเหลวโลหะ
ผสมลงเชนกัน จุดที่สวนผสม 61.9% Sn เปนจุดสมดุลกัน 3 เฟสระหวางเฟสของเหลว ของแข็ง  และ
ของแข็ง  ซึ่งเปนจุดยูเทกติก อุณหภูมิที่เกิดปฏิกิริยายูเทกติกคือ 183oC ทั้งนี้สวนผสมที่เกิดปฏิกิริยา
ยูเทกติกคือ 61.9%Sn-38.1%Pb
140

รูปที่ 8.11 แผนภูมิสมดุลเฟสของโลหะตะกั่ว-ดีบุก

ตัวอยางที่ 8.3 จงหาปริม าณเฟสของโลหะผสม 30%Sn-80%Pb ที่อุณหภูมิสูงกวาอุณหภูมิยูเ ทกติก


เล็กนอย (184oC)
วิธีทํา จากรูปที่ 8.11 ที่อุณหภูมิ 184oC พบวาเปนบริเวณของสองเฟสคือ L+ แตละเฟสมีสวนผสม
ดังนี้คือ ของเหลวจะมีสวนผสม 61.9% Sn ของแข็ง  จะมีสวนผสมประมาณ 18.3% Sn โดยประมาณ
ดังนั้นสามารถคํานวณหาปริมาณเฟสโดยใชกฎคานดีดคานงัดไดดังนี้
% 
61.930.0 x100  73.2%
61.918.3
%L 
30.018.3 x100  26.8%
61.918.3
โดยของเหลว 26.8% นี้จะเกิดปฏิกิริยายูเทกติกตอไป
141

ถาการแข็งตัวของโลหะผสมระบบตะกั่ว-ดีบุกดังแสดงในแผนภูมิรูปที่ 8.11 เกิดขึ้นอยาง


ชา ๆ หรือเปนไปตามสมดุลแลวจะสามารถแบงชนิดของโครงสรางเฟสหลัง การเย็นตัวเปนกรณีตาง ๆ
ไดดังนี้
1) ถามี สวนผสมทางเคมีอยูที่จุด ยูเ ทกติก พบวาของเหลวเมื่ อเย็นตัวลงมาถึง อุณหภูมิยู
เทกติก (183oC) ของเหลวทั้งหมดก็จะเกิดปฏิกิริยายูเทกติก โดยของเหลวจะเปลี่ยนเฟส + เกิดขึ้น
พรอม ๆ กันและมีลักษณะเปนชั้น ๆ หรือแถบสลับ แตมีปริมาณของ  และ  ไมเทากัน ตามกฎคานดีด
คานงัดพบวาอัตราสวนของเฟส  ตอเฟส  คือ /=0.68 นั่นคือจะมีปริมาณของเฟส  นอยกวา 
โดยโครงสรางจุลภาคของสวนผสมยูเทกติกแสดงดังรูปที่ 8.12 เฟสสีดําคือเฟส  สวนเฟสสีขาวคือเฟส 

รูปที่ 8.12 โครงสรางจุลภาคที่เกิดจากการแข็งตัวที่สวนผสมยูเทกติก

2) เมื่ อ ส ว นผสมของโลหะผสมน อ ยกว า จุ ด ยู เ ทกติ ก หรื อ ที่ เ รี ย กว า ไฮโปยู เ ทกติ ก


(Hypoeutectic) การเย็นตัวจะผานเสนลิควิดัสและอุณหภูมิยูเทกติกที่ตําแหนงระหวางจุดที่ละลายได
มากที่สุดและจุดยูเทกติก รูปที่ 8.13 แสดงตัวอยางการแข็งตัวของโลหะผสม 40%Sn-60%Pb พบวาที่
อุณหภูมิสูง กวาเสนลิควิดัสจะเปนของเหลวทั้ง หมด เมื่ออุณหภูมิล ดลงมาถึง เสนลิควิดัส พบวาเริ่ม มี
ของแข็ง  เกิดขึ้น เมื่ออุณหภูมิลดลงของแข็งจะคอย ๆ โตขึ้นและของเหลวจะคอย ๆ ลดลงจนกระทั่ง
มาถึงจุดซึ่งอยูเหนือเสนยูเทกติกเล็กนอย จะพบของแข็ง  จะมีขนาดใหญมากขึ้นสวนของเหลวจะเหลือ
นอยลง โดยของแข็งจะมีปริมาณดีบุกคือ 18.3% และของเหลวจะมีปริมาณดีบุกคือ 61.9% เมื่ออุณหภูมิ
142

ลดลงถึงอุณหภูมิยูเทกติก (183oC) พบวาของเหลวที่เหลือจะเกิดปฏิกิริยายูเทกติก โดยเกิดเปนแถบสลับ


ของยูเทกติก  และยูเ ทกติก  สวนเฟส  ที่เกิดขึ้นกอนปฏิกิริยายูเทกติก เรียกวา แอลฟาปฐมภูมิ
(Primary ) หลังจากนั้นโครงสรางจะไมเปลี่ยนแปลงแมวาอุณหภูมิจะลดลงจนถึงอุณหภูมิหอง ในรูปที่
8.13 กอนสีดําขนาดใหญคือเฟสแอลฟาปฐมภูมิ แถบสีดําคือเฟสยูเทกติก  และแถบสีขาวคือเฟสยู
เทกติก 

รูปที่ 8.13 โครงสรางจุลภาคทีเ่ กิดจากการแข็งตัวทีส่ วนผสมไฮโปยูเทกติก

3) ในกรณีที่สวนผสมทางเคมีนอยกวาขีดจํากัดการละลายสูงสุดในสภาพของแข็งแสดงดัง
รูปที่ 8.14 ที่สวนผสม 15% Sn-85%Pb พบวาที่จุด d โลหะผสมนี้เปนของเหลว เมื่ออุณหภูมิลดลงถึง
เสนลิค วิดัส จะพบวามี เ ฟสของแข็ง  เกิด ขึ้นมาในของเหลวและขยายใหญขึ้ น เมื่ ออุณหภู มิล ดลง
จนกระทั่งถึงจุด e พบวาของแข็งจะมีขนาดใหญขึ้นและของเหลวจะนอยลงมาก เมื่ออุณหภูมิลดลงถึงเสน
โซลิดัสจะพบวาของเหลวทั้งหมดจะกลายเปนของแข็ง  ที่จุด f จะพบเพียงของแข็ง  เทานั้น เมื่อ
อุณหภูมิลดลงจนถึงจุด g ซึ่งต่ํากวาเสนโซลวัส จะพบวาปริมาณดีบุกที่ละลายในของแข็ง  มีคาเกินกวา
คาขีดจํากัดการละลายตามสมดุล ดังนั้นระบบผลักดันใหมีเฟส  เกิดขึ้นเพื่อลดปริมาณของดีบุกลง ทั้งนี้
อัตราสวนของปริมาณเฟส  จะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ เมื่ออุณหภูมิลดลงถึงอุณหภูมิหองเนื่องจากขีดจํากัดการ
ละลายของดีบุกในตะกั่วจะลดลงเรื่อย ๆ ตามอุณหภูมิ
143

รูปที่ 8.14 โครงสรางจุลภาคของระบบ 15%Sn-85%Pb

8.6 แผนภูมิเฟสที่มีสารประกอบหรือเฟสระหวางกลาง (Intermediate phase)


แผนภูมิ เ ฟสสมดุล ของโลหะโดยสวนใหญจ ะซับ ซอนมาก การเปลี่ยนแปลงเฟสตาง ๆ
สามารถเกิดขึ้นไดหลายแบบ ในบางครั้งอาจพบวามีทั้ง สวนที่เปน สารประกอบหรือเฟสระหวางกลาง
เกิดขึ้นรวมดวย ตัวอยางแผนภูมิสมดุล เฟสของโลหะผสมของทองแดง-สังกะสี แสดงดังรูป ที่ 8.15 ซึ่ง
พบวามีสารละลายของแข็งถึง 6 แบบ ไดแก      และ  สารประกอบระหวางกลางนั้นบาง
ระบบจะไมอยูในรูปสารละลายของแข็ง แตจะมีสวนผสมทางเคมีเฉพาะ สําหรับสารประกอบที่เกิดขึ้นใน
ระบบของโลหะและโลหะเรียกวาเปนสารประกอบเชิงโลหะในรูปของ A XBY ซึ่งเกิดจากการรวมตัวของ
โลหะ A และ B สารประกอบชนิดนี้สามารถแยกออกไดเปนสองประเภทคือคอนกรุเอน (Congruent)
และอินคอนกรุเอน (Incongruent) สารประกอบประเภทคอนกรุเอนสามารถคงอยูในรูปเดิมตลอดเมื่อ
อุณหภูมิเพิ่มขึ้น จนกระทั่งอุณหภูมิเพิ่มถึงจุดหลอมเหลวจะใหละลายกลายเปนของเหลวที่มีความเขมขน
เดิม ตัวอยางระบบที่มีส ารประกอบเกิดขึ้นไดแก ระบบของ Mg-Pb ดัง รูปที่ 8.16 โดยสารประกอบ
144

Mg2Pb เปนสารประกอบแบบคอนกรุเอนสวนสารประกอบชนิดอินคอนกรุเอนสามารถแปลงเฟสเปนเฟส
อื่นที่มีความเขมขนแตกตางกันเมื่ออุณหภูมิเพิ่มขึ้นกอนถึงจุดหลอมเหลว

รูปที่ 8.15 แผนภูมเิ ฟสสมดุลของระบบทองแดง-สังกะสี

รูปที่ 8.16 แผนภูมเิ ฟสสมดุลของระบบแมกนีซียม-ตะกั่ว


145

8.7 ปฏิกิริยาของการแปลงเฟสอื่น
นอกจากปฏิกิริยายูเทกติกแลวในแผนภูมิสมดุลยังพบปฏิกิริยาอื่นที่เกิดได โดยสามารถสรุป
ปฏิกิริยาตาง ๆ ตามรูปที่ 8.17 ไดดังนี้คือ
1. ปฏิกิริยายูเทกทอยด (Eutectoid) เกิดจากของแข็งเปลี่ยนเฟสเปนของแข็งใหมสองชนิด
S1  S 2  S 3
2. ปฏิกิริยาเพอริเทกติก (Peritectic) เกิดขึ้นเนื่องจากของเหลวเกิดปฏิกิริยารวมกับของแข็ง
เกิดเปนของแข็งใหมหนึ่งชนิดดังนี้
L  S1  S2
3.ปฏิกิริยาเพอริเทกทอยด (Peritectoid) เปนปฏิกริ ิยาคลายกับเพอริเทกติก แตเกิดใน
สภาพของแข็งคือของแข็งสองอันรวมกันเกิดเปนของแข็งใหม
S1  S 2 S3
โดยปฏิกิริยาทัง้ หมดแสดงดังตัวอยางในรูปที่ 8.18 ซึ่งเปนแผนภูมิสมดุลเฟสของระบบของโลหะผสม
ระหวางโคบอลตและทังสเตน

รูปที่ 8.17 ปฏิกิริยาของการแปลงเฟสตางๆ


146

รูปที่ 8.18 แผนภูมเิ ฟสสมดุลของระบบโคบอลต-ทังสเตน [11]

ตัวอยางที่ 8.4 โลหะผม Pb-Sn ที่สวนผสม 30%Sn จงหาปริมาณเฟสแตละเฟสตามเงือ่ นไขดังตอไปนี้


ก) เหนืออุณหภูมิยูเทกติกเล็กนอย
ข) ต่ํากวาอุณหภูมิยูเทกติกเล็กนอย
วิธีทํา จากแผนภูมสิ มดุลของระบบ Pb-Sn สามารถวาดรูปแสดงตําแหนงตางๆสําหรับการคํานวณไดดังนี้
147

ก) ที่ตําแหนงเหนืออุณหภูมิยูเทกติกเล็กนอยประกอบดวยเฟสของเหลวและเฟสของแข็ง โดย
สามารถหาปริมาณเฟสของแตละเฟสไดดังนี้คือ
% 
Q
x100 
61.9  30.0 x100  73.2%
PQ 61.9  18.3
%L 
P
x100 
30.0  18.3 x100  26.8%
PQ 61.9  18.3
ข) ที่ตําแหนงต่ํากวาอุณหภูมิยูเทกติกเล็กนอยประกอบดวยเฟสของแข็งปฐมภูมิ p และโครงสราง
ยูเทกติก (E) โดยมีปริมาณดังนี้คือ
% p 
Q
x100 
61.9  30.0 x100  73.2%
PQ 61.9  18.3
%E 
P
x100 
30.0  18.3 x100  26.8%
PQ 61.9  18.3
เนื่องจากโครงสรางยูเทกติกประกอบดวยเฟส  และ  ดังนั้นเมื่อรวมกับปริมาณเฟสของแข็งปฐมภูมิและ
ของแข็งในโครงสรางยูเทกติกจะหาปริมาณเฟสตางๆไดดังนีค้ ือ
% 
QR
x100 
97.8  30.0 x100  85.3%
PQ R 97.8  18.3
% 
P
x100 
30.0  18.3 x100  14.7%
PQR 97.8  18.3

ตัวอยางที่ 8.5 แผนภูมิสมดุลของโลหะผสม A-B แสดงดังรูปที่กําหนดให จงแสดงปฏิกิริยาการแปลงเฟส


ที่เกิดขึ้นในระบบนี้
148

วิธีทํา จากแผนภูมจิ ะพบวามีการแปลงเฟสของสองปฏิกิริยาคือ


1. ปฏิกิริยายูเทกติก L     และ L    

2. ปฏิกิริยายูเทกทอยด   
149

คําถามทายบท
1. บอกเฟสที่ปรากฏและสวนผสมแตละเฟสของ
(ก) 15%Sn -85%Pb โดยน้ําหนัก ที่อุณหภูมิ 100oC
(ข) 25Pb -85%Mg โดยน้ําหนัก ที่อุณหภูมิ 425oC
(ค) 85%Ag -15%Cu โดยน้ําหนัก ที่อุณหภูมิ 800oC
(ง) 55%Zn -45%Cu โดยน้าํ หนัก ทีอ่ ุณหภูมิ 600oC
(จ) 25 kg Sn และ 100kg Zn ที่อุณหภูมิ 200oC
(ฉ) 80 kg Cu และ 140 kg Zn ที่อุณหภูมิ 600oC
(ช) 60 kg Cu และ 40kg Pb ที่อุณหภูมิ 350oC
(ญ) 42 kg Cu และ 38 kg Ag ที่อุณหภูมิ 900oC
2. เมื่อพิจารณาระบบน้ําและน้ําตาลในรูป
(ก) จงหาปริมาณน้ําตาลที่ละลายในน้ําปริมาณ 1 kg ที่อุณหภูมิ 100oC
(ข) ถาน้ําเชื่อมที่มีน้ําตาลละลายจนอิ่มตัวในขอ (ก) เย็นลงจนมีอุณหภูมิ 20oC จะทําใหเกิดผลึก
น้ําตาลขึ้น จงหาสวนผสมของน้ําเชื่อมอิ่มตัวที่อุณหภูมิ 20oC
(ค) จงหาปริมาณผลึกน้ําตาลที่เกิดขึ้นเมื่ออุณหภูมิเทากับ 20oC

3.จงอธิบายการทําใหเกิดโครงสรางแบบคอรและโครงสรางนีส้ งผลอยางไรตอสมบัติของโลหะ
4.โลหะผสมทองแดง-นิกเกิล ถาของเหลวมีสวนผสม 20%Ni – 80%Cu โดยน้ําหนักและมีเ ฟส 
สวนผสม 38%Ni-63% Cu โดยน้ําหนัก สมมติวามีการแข็งตัวตามเกิดขึ้นในสมดุลจงหาอุณหภูมิของ
โลหะผสมนี้
150

5. โลหะผสมทองแดง-เงินพบวาเฟส  มีสวนผสม 4%Ag – 96%Cu โดยน้ําหนักและเฟส  มี


สวนผสม 95%Ag- 5%Cu โดยน้ําหนัก ถาเปนการแข็งตัวตามสมดุลจงหาอุณหภูมิของโลหะผสมนี้
6. โลหะผสมนิกเกิล 60 % Ni – 40%Cu เย็นลงจากอุณหภูมิ 1400oC จนถึง 1200oC
(ก) โลหะผสมเริ่มมีของแข็งเกิดขึ้นที่อุณหภูมิใด
(ข) ของแข็งที่เกิดขึ้นในขอ (ก) และของเหลว มีสวนผสมเปนเทาไร
7. โลหะผสมทองแดง-นิกเกิล 60%Ni-40%Cu เมื่อมีอุณหภูมิสูงขึ้นจนมี 2 เฟส คือของเหลวและของแข็ง
α โดยสวนผสมของเฟส α คือ 80%Ni จงหา
(ก) อุณหภูมิของโลหะผสม
(ข) สวนผสมของเฟสของเหลว
(ค) อัตราสวนโดยน้ําหนักของเฟสทั้งสอง
8. โลหะผสมตะกั่ว-แมกนีเซียม 50% Pb – 50% Mg โดยน้ําหนักเมื่อมีอุณหภูมิสูงขึ้นจนมี 2 เฟส คือ
ของเหลวและ α แลว ถาอัตราสวนโดยน้ําหนักของเฟสทั้งสองมีคา 0.50 จงหา
(ก) อุณหภูมิโลหะผสม
(ข) สวนผสมของเฟสทั้งสอง
9. โลหะผสมทองแดง-เงิน มีสวนผสม 20% Ag-80%Cu โดยน้ําหนัก อัตราสวนโดยน้ําหนักของเฟส
α เทากับ 0.8 และของเฟส  เทากับ 0.2 เกิดขึ้นในสมดุลไดหรือไม ถาไดใหประมาณอุณหภูมิ
ของโลหะผสมนี้
10. ที่อุณหภูมิ 800oC จงบอกขีดจํากัดการละลายของ
(ก) ทองแดงในเงิน
(ข) เงินในทองแดง
11. จงวาดรูปโครงสรางจุลภาคของโลหะผสมสังกะสีทองแดง 65%Zn-35%Cu โดยน้ําหนัก ที่อุณหภูมิ
900oC 800oC 850oC และ 600oC เมื่อมีสมมุติฐานวาโลหะผสมนี้เย็นลงอยางชา ๆ
12.จงเขียนปฏิกิริยาตาง ๆ ของระบบโลหะผสมระบบโคบอลต-ทังสเตนทั้งหมด พรอมระบุสวนสวนผสม
ทางเคมีของแตละเฟส
151

บทที่ 9
การแปลงเฟสและกรรมวิธีทางความรอน

สมบัติทางกลของโลหะขึ้นกับโครงสรางจุลภาคดังที่ไดกลาวเบื้องตนกอนหนานี้ โดยทั่วไป
โครงสรางจุลภาคของโลหะในสภาพหลอยังไมเหมาะสมกับการใชงาน ดังนั้นในทางปฏิบัติจึงจําเปนตอง
ปรับปรุงโครงสรางใหเหมาะสมกอนการใชงานเพื่อใหไดสมบัติทางกลตามที่ตองการ การทํากรรมวิธีทาง
ความรอนเปนอีกหนึ่งวิธีที่นิยมอยางแพรหลายในปจจุบัน การทํากรรมวิธีทางความรอนจะอาศัยการ
แปลงเฟส โดยการแปลงเฟสที่เกิดขึ้นในขั้นตอนการทํากรรมวิธีทางความรอนจะเกี่ยวของกับอุณหภูมิ
และเวลาที่ใช ดัง นั้นหัวขอที่จ ะกลาวในบทนี้ จึง อธิบ ายเกี่ยวกับ กรรมวิธีท างความรอนโดยจะเนนที่
เหล็กกลาเปนหลัก ซึ่งมีหัวขอดังตอไปนีค้ ือ
 แผนภูมิเฟสของเหล็กกลาคารบอน
 การแปลงเฟสในเหล็กกลา
 ความสามารถในการชุบแข็ง
 กรรมวิธีทางความรอนของเหล็กกลาแบบตาง ๆ

9.1 แผนภูมิเฟสของเหล็กกลาคารบอน
แผนภูมิ ส มดุล เฟสของเหล็ก -คารบ อนมี ค วามสํ า คัญ ในทางวิศ วกรรมมาก เนื่ องจาก
เหล็กกลาเปนโลหะที่ใชมากที่สุดในบรรดาโลหะดวยกัน ดังนั้นการศึกษาแผนภูมสิ มดุลของเหล็ก-คารบอน
จึงมีความสําคัญอยางยิ่ง แผนภูมเิ ฟสของเหล็ก-คารบอน(Fe3C) แสดงดังรูปที่ 9.1 การศึกษาแผนภูมินี้จะ
ศึกษาในชวง 0.0-6.7%C เนื่องจากเปนชวงที่ใชงานจริง ในสวนผสมที่มีปริมาณคารบอนสูงมากกวานี้จะมี
สมบัติที่ไมเหมาะแกการใชงาน กอนอื่นควรตองเขาใจกับคํานิยามเฟสตาง ๆ ดังตอไปนี้กอน
 เฟรไรต (Ferrite) หรือเหล็กอัลฟา () คือ สารละลายของแข็งของเหล็กกับคารบอน
ซึ่งคารบอนสามารถละลายไดในเหล็กมากที่สุด 0.022% ที่อุณหภูมิ 727oC เฟรไรตมีโครงสรางผลึกเปน
แบบ BCC
 ออสเทไนต (Austenite) หรือเหล็กแกมมา () คือสารละลายของแข็งของเหล็กกับ
คารบอน โดยคารบอนละลายในเหล็กแกมมานี้ไดมากที่สุด 2.14% ที่อุณหภูมิ 1147oC มีโครงสรางผลึก
เปนแบบ FCC
152

 เฟรไรตเดลตา () คือสารละลายของแข็งของเหล็กกับคารบอนในชวงอุณหภูมิใกลจุด


หลอมเหลวของเหล็ก (1394–1538oC) คารบอนสามารถละลายไดสูงสุด 0.09% ที่อุณหภูมิ 1493oC
โดยมีโครงสรางผลึกเปนแบบ BCC คลายกับเฟสเฟรไรต
 ซีเมนไตต (Cementite) คือสารประกอบที่เกิดเมื่อปริมาณคารบอนในระบบเหล็ก -
คารบอนมีมากเกินกวาที่จะละลายเปนสารละลายของแข็งในเฟสเฟรไรตหรือออสเทไนตไดหมด ดังนั้น
คารบอนในสวนที่เกินมาจะรวมตัวกับเหล็กเกิดเปนสารประกอบระหวางเหล็กกับคารบอน โดยมีปริมาณ
คารบอนผสมอยู 6.69% และมีสูตรทางเคมีคือ Fe3C ซีเมนไตตเปนสารประกอบที่มีสมบัติเดนคือมีความ
แข็งสูง แตจะเปราะแตกหักไดงายเมื่อไดรับแรงกระแทก
 เพอรไลต (Pearlite) คือโครงสรางที่เกิดรวมกันระหวางเฟรไรต (0.022%C) กับซีเมน
ไตต (6.69%C) ซึ่งเกิดจากปฏิกิริยายูเทกทอยดในขณะที่ทําใหเหล็กกลาเย็นตัวอยางชา ๆ ที่อุณหภูมิ
727oC ที่จุดยูเทกทอยดนเี้ ฟสเฟรไรตและซีเมนไตตจะเกิดพรอมกัน มีลักษณะเปนแถบยาว ๆ สลับกัน
ระหวางเฟรไรต และซีเ มนไตตเ รี ยกโครงสรางแบบนี้วาโครงสรางลาเมลาร ดัง นั้ นเพอร ไลตจึง เป น
โครงสรางที่เกิดจากสองเฟสประกอบกัน

รูปที่ 9.1 แผนภูมิสมดุลเฟสของเหล็ก-คารบอน (ปรับปรุงจาก [1])


153

เมื่อพิจารณาแผนภูมิสมดุลของเหล็ก-คารบอนในรูปที่ 9.1 พบวาในกรณีของเหล็กบริสุทธิ์


นั้นสามารถแปลงเฟสเปนของแข็งไดหลายเฟส โดยเรียกสภาพนี้วาสภาพอัญ รูปของเหล็ก ซึ่ง สภาพ
อัญรูปหมายถึงสภาพที่ธาตุหนึ่ง สามารถมีโ ครงสรางผลึกไดหลายแบบ โดยแตล ะแบบเรียกวาอัญรูป
สมบัติทางกายภาพของอัญรูปหนึ่งจะแตกตางจากของอีกอัญรูปหนึ่งอยางเห็นไดชัด อยางไรก็ตามสมบัติ
ทางเคมีจะเหมือนกันทุกอัญรูป การเกิดสภาพอัญรูปแตละชนิดนั้นจะขึ้นอยูกับการเรียงตัวของอะตอม
ซึ่งจะมีการเรียงตัวแตกตางกันไปตามระดับของอุณหภูมิ ในเหล็กบริสุทธิ์จะพบสามอัญรูปที่ระดับอุณหภูมิ
ตางกันไดแก เหล็กอัลฟา () เหล็กแกมมา () และเหล็กเดลตา () โดย  และ  มีโครงสรางผลึกที่
เหมือนกันคือ BCC สวน  จะมีโครงสรางผลึกเปน FCC ดังนั้นจึงกลาวไดวาเหล็กบริสุทธิ์มีอัญรูปอยู
2 แบบคือ BCC และ FCC จากแผนภูมิสมดุลรูปที่ 9.1 จะพบปฏิกิริยาการแปลงเฟส 3 ชนิดดังนี้คือ
 ที่อุณหภูมิ 1493oC จะเกิดปฏิกิริยาเพอริเทกติก โดยเฟรไรตเดลตา (0.09%C) รวมตัว
กับเหล็กหลอมเหลว (0.53%C) เกิดเปนออสเทไนต(0.17 %C) คือ
เฟรไรตเดลตา (0.09%C)+เหล็กหลอมเหลว (0.53 %C)  ออสเทไนต (0.17%C)
 ที่อุณหภูมิ 1147oC เกิดปฏิกิริยายูเทกติก เหล็กหลอมเหลว (4.3 %C) เกิดการแข็งตัว
เปนสารละลายของแข็งของออสเทไนต (2.14%C) รวมกับซีเมนไตต (6.69%C) ดังนี้
เหล็กหลอมเหลว (4.3%C)  ออสเทไนต (2.14 %C) + ซีเมนไตต (6.69%C)
 ที่อุณหภูมิ 727oC จะเกิดปฏิกิริยายูเทกทอยด โดยออสเทไนต (0.76 %C) แปลงเฟส
เปนเฟรไรต  (0.022%C) และซีเมนไตต (6.69%C) จะไดโครงสรางเพอรไลตดังนี้
ออสเทไนต (0.76%C)เฟรไรต (0.022%C) + ซีเมนไตต (6.69%C)

9.2 การแปลงเฟส
การเกิ ดโครงสร างของโลหะผสมไมว า จะเป น เฟสเดี่ ยวหรือ หลายเฟสนั้ นจะต อ งผ า น
กระบวนการแปลงเฟส โดยเฉพาะในขณะทํากรรมวิธีทางความรอน ดังนั้นการแปลงเฟสจะหมายถึงการ
เปลี่ยนจํานวนและ/หรือลักษณะของเฟสนั่นเอง การเปลี่ยนแปลงสวนใหญจะคอยเปนคอยไป การแปลง
เฟสโดยสวนใหญจะไมสามารถเกิดขึ้นเอง แตเฟสเหลานั้นสามารถเปลี่ยนแปลงไดเมื่อมีการรบกวนระบบ
เชนการใหความรอนเปนตน ทางอุณหพลศาสตรจะบอกไดวาการแปลงเฟสจะเกิดขึ้นไดหรือไม แตไม
สามารถบอกวาจะชาหรือ เร็ว สวนอัตราการเกิ ดการแปลงเฟสนั้นจะบอกไดดวยกระบวนการทาง
ไคเนติ ก ส นอกจากนี้ยั ง สามารถทราบไดวาจะมีทิศทางการกระจายตั ว ของเฟสอยางไร ดั ง นั้นใน
154

การศึกษาเรื่องนี้จะตองใหความสนใจกับทั้งการแปลงเฟสและอัตราการแปลงเฟส การแปลงเฟสที่เกิดขึ้น
ในโลหะสามารถแบงยอยออกเปน 3 ประเภทไดดังนี้คือ
1. การแปลงเฟสที่อาศัยการแพรแตไมทําใหจํานวนและปริมาณเฟสที่มีอยูเดิมเปลี่ยนแปลง
เชน การแข็งตัวของโลหะบริสุทธิ์ การเปลี่ยนอัญรูป การตกผลึกใหม เปนตน
2. การแปลงเฟสที่อาศัยการแพรที่ทําใหสวนผสมและจํานวนของเฟสเปลี่ยนแปลง โดย
โครงสรางจุลภาคสุดทายมักมีสองเฟสเชน ปฏิกิริยายูเทกทอยด เปนตน
3. การแปลงเฟสที่ไมอาศัยการแพรและเปนเฟสที่กึ่งเสถียรเชน การเกิดเฟสมารเทนไซตใน
กระบวนการชุบแข็ง เปนตน
กระบวนการแปลงเฟสจะประกอบไปดวยสองกระบวนการคือการเกิดนิวเคลียสใหมและ
การขยายตัวหรือโตขึ้นของนิวเคลียสนั้น การเกิดนิวเคลียสใหมจะหมายถึงการเกิดอนุภาคขนาดเล็กหรือ
นิวเคลียสของเฟสใหมบนเฟสเดิม โดยนิวเคลียสนี้พรอมจะโตหรือขยายตัวตอไปได การเกิดนิวเคลียส
มักจะพบในตําแหนงที่มีพลังงานสูงเชน ขอบเกรนหรือสารเจือปน เปนตน สวนขั้นตอนที่สองคือการโตขึ้น
ของนิวเคลียสใหมนั้น โดยหมายถึงการที่นิวเคลียสสามารถขยายใหญขึ้น ทั้งนี้ปริมาตรของเฟสใหมจะ
ทดแทนปริมาตรของเฟสเดิมและการแปลงเฟสจะสมบูรณเมื่อเฟสใหมมีอัตราสวนตามสมดุลเทียบเทากับ
เฟสเดิม
จากที่ไดก ลาวไว ในบทที่ 8 วาการเกิดนิวเคลียสแบบเนื้อ ตางกันจะเกิดงายกวา การเกิด
นิวเคลียสแบบเนื้อเดียวกันเนื่องจากอาศัยแรงขับคือมีอันเดอรคูลลิงนอยกวา ทั้งนี้อุณหภูมิจะมีผลอยาง
มากตอการเกิดนิวเคลียส ที่อุณหภูมิสูงการเกิดนิวเคลียสจะยากกวาที่อุณหภูมิต่ําการแพรของอะตอมที่
อุณหภูมิสูงจะเกิดขึ้นงายแตมีแรงขับในการเกิดนิวเคลียสนอยเพราะมีอันเดอรคูลลิงต่ํา ในขณะเดียวกันที่
อุณหภูมิต่ําการเกิดนิวเคลียสใหมจะงายเพราะมีอันเดอรคูลลิงสูง แตถาคาอันเดอรคูลลิงสูงเกินไปจะทํา
ใหอัตราการเกิดนิวเคลียสลดลงเพราะการแพรจะเกิดไดชา ดังนั้นการเกิดอันเดอรคูลลิงจึงเปนตัวกําหนด
ความยากงายในการเกิดนิวเคลียสใหม ถาอุณหภูมิของโลหะลดลงต่ํากวาอุณหภูมิการแปลงเฟสตามสมดุล
มากเทาใด การแปลงเฟสที่เกิดขึ้นก็หางจากสมดุลมากเทานั้นเชน ในการแปลงเฟสของเหล็กกลาที่จุด
ยูเทกทอยดพบวาตองใชอุณหภูมิต่ํากวาจุดยูเทกทอยดประมาณ 10-20oC การโตของนิวเคลียสตองการ
การแพรที่รวดเร็วดังนั้นที่อุณหภูมิสูงนิวเคลียสจะโตไดดีกวาที่อุณหภูมิต่ํา รูปที่ 9.2 แสดงอัตราการเกิด
นิวเคลียสและอัตราการโตขึ้นของนิวเคลียสที่อุณหภูมิตาง ๆ ผลรวมของทั้งสองกราฟจะหมายถึงอัตรา
การแปลงเฟสรวม จากรูป พบวาจะมีชวงอุ ณหภูมิห นึ่งที่อัตราการแปลงเฟสมีคา สูงสุด เมื่อนํามาหา
ความสัม พันธระหวางสัดสวนการแปลงเฟสและเวลาจะไดดัง รูป ที่ 9.3 ชวงการเกิดนิวเคลียสใหมใน
ชวงแรกยังไมมีการแปลงเฟส แตการแปลงเฟสจะเพิ่มขึ้นอยางชัดเจนในชวงการโตขึ้นของนิวเคลียสใหม
155

รูปที่ 9.2 อัตราการเกิดนิวเคลียส อัตราการโตและอัตราการแปลงเฟสโดยรวมที่อุณหภูมิตาง ๆ

รูปที่ 9.3 แสดงสัดสวนการแปลงเฟสตอเวลาในสเกลลอกาลิทึม


156

โดยชวงแรกอัตราการแปลงเฟสเพิ่มขึ้นอยางรวดเร็ว จากนั้นจะคงที่และลดลงในชวงทาย ในบทนี้จะเนน


การแปลงเฟสในเหล็กกลาขณะทํากรรมวิธีทางความรอนแบบตาง ๆ

9.3 แผนภูมิการแปลงเฟสที่อุณหภูมิคงที่
การศึกษาการแปลงเฟสที่อุณหภูมิคงที่อาศัยการทดลองโดยอบชิ้นงานที่อุณหภูมิเหนือจุด
ยูเทกทอยดใหกลายเปนออสเทไนตทั้งหมด จากนั้นทําใหเย็นตัวอยางรวดเร็วมาที่อุณหภูมิต่ํากวาจุด
ยูเทกทอยด แลวแชชิ้นงานไวระยะเวลาหนึ่งที่อุณหภูมิตาง ๆ จากนั้นทําใหชิ้นงานเย็นตัวอยางรวดเร็วมา
ที่อุณหภูมิหอง ตรวจสอบโครงสรางจุลภาความีการแปลงเฟสเปนเฟสใดบางและมีปริมาณเทาใด นําผล
การทดลองที่ไดมาเขียนแผนภูมคิ วามสัมพันธระหวางอุณหภูมิและเวลาในสเกลลอการิทึม
 เพอรไลต
เพอรไลตเปนโครงสรางที่เกิดจากปฏิกิริยายูเทกทอยด โดยออสเทไนตแปลงเฟสเปนเฟรไรต
และซีเมนไตตซึ่งเรียกวาโครงสรางเพอรไลต ถาออสเทไนตเย็นตัวชา ๆ ใกลเคียงกับสมดุลจะมีโครงสราง
เพอร ไลตทั้งหมด แตถาเย็นตัวเร็วกวา สมดุลโครงสรางจุลภาคภายหลังการเย็นตัวจะแตกตางออกไป
รูปที่ 9.4 แสดงแผนภูมิการแปลงเฟสที่อุณหภูมิคงที่ (Isothermal transformation diagram หรือIT
diagram) ของเหล็กกลายูเทกทอยด (0.76%C) กราฟในแผนภูมิจะแบงออกเปน 3 เสนคือ เสนซายสุด
แสดงถึงจุดที่เริ่มเกิดการแปลงเฟสจากออสเทไนตเปนเพอรไลต เสนประตรงกลางเปนจุดที่ออสเทไนต
เปลี่ยนเปนเพอรไลตแลว 50% เหลือออสเทไนตเพียง 50% และเสนขวามือจะเปนเสนที่บอกใหทราบวา
การแปลงเฟสจากออสเทไนตเปนเพอรไลตเสร็จสมบูรณแลว ถามีการแชชิ้นงานนานกวาเสนนี้จะไมมี
ออสเทไนตเหลืออยูเลย โครงสรางจุลภาคทั้งหมดจะเปลี่ยนเปนเพอรไลตโดยสมบูรณ
ตัวอยางการทํากรรมวิธีทางความรอนเหล็กกลาชนิดนี้ดังรูปที่ 9.4 ตามเสน ABCD เริ่มตน
อบชิ้นงานที่ จุด A ซึ่ง มีอุณหภู มิ เ หนือ จุด ยูเ ทกทอยด (727oC) ที่ตําแหนง นี้ โ ครงสรางจุล ภาคเป น
ออสเทไนตทั้งหมด จากนั้นเย็นตัวอยางรวดเร็วมาถึงจุด B ที่อุณหภูมิประมาณ 620oC ที่อุณหภูมินี้แมวา
จะต่ํากวาอุณหภูมิของการเกิดปฏิกิริยายูเทกทอยด แตออสเทไนตก็ยังไมแปลงเปนเพอรไลตเนื่องจากอยู
ในสภาพอันเดอรคูลลิง จากนั้นทําการแชชิ้นงานไวที่อุณหภูมินจี้ นถึงจุด C พบวาจะเริ่มมีเพอรไลตเกิดขึ้น
มาตามขอบเกรนของออสเทไนต เมื่อปลอยใหชิ้นงานแชนานขึ้นจนมาถึงเสนประ ออสเทไนตจะแปลง
เฟสเปนเพอรไลตได 50% และมีออสเทไนตเหลืออีก 50% เมื่อเวลาผานไปจนถึงจุด D พบวาออสเทไนต
ทั้งหมดกลายเปนเพอรไลตโดยสมบูรณ จากนี้ไปไมวาจะนําไปเย็นตัวแบบใดก็จะไดโครงสรางเพอรไลตทั้ง
ชิ้นงานเหมือนเดิม
157

รูปที่ 9.4 แผนภูมิการแปลงเฟสที่อุณหภูมิคงที่ของเหล็กกลายูเทกทอยด (ปรับปรุงจาก [1])

จากรูปที่ 9.4 จะเห็นไดวาเพอรไลตเกิดอยูในชวงอุณหภูมิ 540-727oC และออสเทไนตแปลง


เฟสเปนเพอรไลตไดเร็วที่สุดที่อุณหภูมิ 540oC โดยใชเวลาเริ่มตนประมาณ 1 วินาทีเทานั้นและแปลงเฟส
อยางสมบูรณภายในเวลานอยกวา 10 วินาที เนื่องจากอุณหภูมิการเกิดเพอรไลตต่ําและการแพรเกิดขึ้น
ไดชา ดังนั้นเพอรไลตที่เกิดขึ้นจึงมีขนาดเล็กละเอียดมาก ซึ่งเรียกเพอรไลตชนิดนี้วาเพอรไลตละเอียด
(Fine pearlite) แตในกรณีที่การแปลงเฟสเกิดขึ้นที่อุณหภูมิสูงเชน 700oC เพอรไลตที่เกิดขึ้นจะมีลักษณะ
หยาบ เนื่องจากชั้นของเฟรไรตในเพอรไลตหนาเพราะที่อุณหภูมิสูงอะตอมแพรไดเร็ว จึงเรียกเพอรไลต
ประเภทนี้วาเพอรไลตหยาบ (Coarse pearlite) เพอรไลตทั้งสองชนิดแสดงดังรูปที่ 9.5 สวนรูปที่ 9.6
แสดงตัวอยางแผนภูมิ IT สําหรับเหล็กกลาไฮเปอร ยูเทกทอยด โดยเฟสปฐมภูมิคือซีเมนไตตและเกิด
เพอรไลตขึ้นตามลําดับ ทั้งนี้อุณหภูมิการเกิดเพอรไลตที่เร็วที่สุดอยูที่ประมาณ 560oC
158

รูปที่ 9.5 โครงสราง a) เพอรไลตหยาบ b) เพอรไลตละเอียด [1]

รูปที่ 9.6 แผนภูมิ IT ของเหล็กกลาคารบอน 1.13%C (ปรับปรุงจาก [1])


159

 เบไนต
เบไนตเปนโครงสรางที่ประกอบดวยเฟรไรตและซีเมนไตตเหมือนกับเพอรไลต แตมีลักษณะ
แตกตางกันคือเบไนตเปนโครงสรางที่ละเอียดมาก ตองใชกลองกําลังขยายสูงมากเทานั้นจึงจะแยกแยะได
รูปที่ 9.7 แสดงตําแหนงของเบไนตที่มีการแปลงเฟสจากออสเทไนตในแผนภูมิ IT แตกระบวนการแปลง
เฟสจากออสเทไนตเปนเบไนตจะเกิดขึ้นไดชาเพราะเกิดที่อุณหภูมิต่ํา ทําใหการแพรของอะตอมเกิดขึ้นได
ยาก เมื่อใดก็ตามที่เหล็กกลาไดแปลงเฟสเปนเบไนตแลวจะถือวาเปนโครงสรางที่เสถียร หลังจากนั้นจะ
ไมมีการแปลงเฟสเปนโครงสรางอื่นใดไดอีก เวนแตการใหความรอนจนกลายเปนออสเทไนตใหมอีกครั้ง
หนึ่ง บริเวณที่เกิดเบไนตในแผนภูมิ IT จะแทนดวย B อยูดานลางของเพอรไลต โดยแบงบริเวณดวย
เสนประตรงจมูกของกราฟ (จุด N) เบไนตมีลักษณะรูปทรงคลายขนนกดังรูปที่ 9.8 โดยโครงสรางของ
เบไนตประกอบดวยเฟรไรตและซีเมนตไตตที่มีลักษณะไมตอเนื่อง และกระจัดกระจายอยูในเนื้อเฟรไรต
บริเวณที่พบเบไนตโดยปกติมักจะมีเฟสอื่นปนอยูดวย เชน มารเทนไซต การแปลงเฟสจากออสเทไนต
เปน เบไนต จะเกิดที่อุณหภูมิต่ํากวา เพอรไลตคือ 200-540oC เบไนตสามารถแบง ออกเปน 2 ชนิดคือ
อัปเปอรเบไนต (upper bainite) จะเกิดขึ้นระหวาง 300-540oC และโลเวอรเบไนต (lower bainite)
เกิดขึ้นที่อุณหภูมิ 200-300oC

รูปที่ 9.7 แผนภูมิ IT ของเหล็กกลายูเทกทอยด (ปรับปรุงจาก [1])


160

รูปที่ 9.8 โครงสรางของอัปเปอรเบไนต [8]


 การทําใหคารไบดกลมหรือเสฟยรอยไดต (spheroidite)
เมื่อเพอรไลตหรือเบไนตไดรับความรอนต่ํากวา 727oC เปนเวลาตั้งแต 18-24 ชั่วโมง พบวา
ซีเมนไตตจะเปลี่ยนสภาพกลายเปนเม็ดกลม โดยที่ไมทําใหปริมาณของซีเมนไตตลดลง แรงขับที่ทําใหเกิด
เม็ดกลมนี้คื อการพยายามลดพลัง งานของระบบลง โดยการลดพื้ นที่ผิวสัม ผั ส ระหวางเฟรไรต และ
ซีเมนไตต การเกิดคารไบดกลมไมปรากฏอยูในแผนภูมิการแปลงเฟสเนื่องจากเปนการเปลี่ยนรูปรางของ
เฟสเทานั้น รูปที่ 9.9 แสดงตัวอยางโครงสรางจุลภาคของเหล็กกลาชนิดไฮเปอรยูเทกทอยดในสภาพกอน
และหลังการทําใหคารไบดก ลม โดยสภาพกอนการอบชุบจะมีโครงสรางเปน เพอรไลต และมีคารไบด
ปฐมภูมิ เมื่อผานการอบเปนเวลา 18-24 ชั่วโมง ซีเมนไตตที่เคยเปนตาขายจะแตกตัวเปนเม็ดกลมและ
กระจายอยูในพื้นของเฟรไรต

(a) กอนการทําใหคารไบดกลม (b) หลังการทําใหคารไบดกลม


รูปที่ 9.9 โครงสรางของเหล็กกลาไฮเปอรยูเทกทอยดกอนและหลังการทําใหคารไบดกลม [1]
161

 มารเทนไซต
มารเทนไซตเปนเฟสที่ไมพบในแผนภูมิสมดุลเฟสของเหล็ก-คารบอน เนื่องจากมารเทนไซต
เปนเฟสกึ่งสมดุล เกิดจากออสเทไนตเย็นตัวอยางรวดเร็วมาที่อุณหภูมิต่ํา ทําใหไมมีเวลาเพียงพอสําหรับ
การแพรของคารบอนออกจากโครงสรางผลึกของออสเทไนตที่เปน FCC สงผลใหเกิดสภาวะการอิ่มตัว
แบบยิ่งยวดของคารบอนที่อุณหภูมิหอง ถาออสเทไนตมีการเย็นตัวตามสมดุลจะกลายเปนเฟรไรตที่มีผลึก
เปน BCC โดยคารบอนจะถูกผลักออกและเกิดเปนสารประกอบซีเมนไตต แตถาเปนการเย็นตัวอยาง
รวดเร็วจะทําใหคารบอนแพรออกจากผลึก FCC ไมทัน จึงเกิดเปนโครงสรางผลึกที่บิดเบี้ยวที่เรียกวา
โครงสรางผลึก BCT (Body Center Tetragonal) ดังแสดงในรูปที่ 9.10 เมื่อเปรียบเทียบโครงสรางผลึก
ระหวาง FCC BCC และ BCT จะพบวา BCT คือโครงสรางที่บิดเบี้ยวของ BCC นั่นเอง เมื่อพิจารณา
โครงสรางผลึกของ BCT ดังรูปที่ 9.11 พบวาความยาวของแกน a จะลดลงเล็กนอยเมื่อเพิ่มคารบอน
ในทางตรงขามกับแกน c ที่ความยาวเพิ่มขึ้นอยางมากเมื่อปริมาณคารบอนเพิ่มขึ้น ซึ่งหมายความวาผลึก
มีการบิดเบี้ยวสูงขึ้นนั่นเอง เนื่องจากการเกิดมารเทนไซตไมอาศัยการแพรแตจะอาศัยการเย็นตัวอยาง
รวดเร็วกวาสมดุลมาก เมื่อ ออสเทไนตเย็นตัวลงอยางรวดเร็วจนถึงอุณหภูมิเริ่ม เกิดมารเ ทนไซต (Ms)
นิวเคลียสของมารเทนไซตจะเกิดขึ้นทันทีและขยายตัวออกไปดวยความเร็วเทากับความเร็วเสียง ในทาง
ปฏิบัติจึงถือวาการแปลงเฟสจากออสเทไนตเปนมารเทนไซตจะไมอาศัยเวลา แตจะอาศัยอุณหภูมิเทานั้น
ซึ่งเรียกการแปลงเฟสนี้วาการแปลงเฟสแบบอะเทอรมอล (Athermal transformation)

รูปที่ 9.10 โครงสรางผลึก (a) FCC (b) BCC (c) BCT[5]


162

a) b)
รูปที่ 9.11 a) โครงสรางผลึก BCT b) ความยาวของแกนในโครงสรางผลึกBCT (ปรับปรุงจาก [15])

มารเ ทนไซตมี 2 ชนิดคือแลทมารเ ทนไซต (Lath martensite) และเพลตมารเทนไซต


(Plate martensite) ดังแสดงในรูปที่ 9.12 โดยทั้งสองชนิดจะมีปริมาณคารบอนที่แตกตางกัน ดังรูปที่
9.13 แลทมารเทนไซตเกิดขึ้นเมื่อมีปริมาณคารบอนไมเกิน 0.6% และเพลตมารเทนไซตเกิดขึ้นเมื่อมี
ปริมาณคารบอนมากกวา 1.0% ขึ้นไป โดยจะพบทั้งสองประเภทในกรณีที่มีคารบอนในชวง 0.6-1.0%
นอกจากนี้ยังพบวาเสนอุณหภูมิ Ms ลดลงอยางมากเมื่อเพิ่มปริมาณคารบอน

a) แลทมารเทนไซต b) เพลตมารเทนไซต

รูปที่ 9.12 ชนิดของเฟสมารเทนไซต [15]


163

รูปที่ 9.13 ผลของคารบอนตอชนิดของมารเทนไซตและเสนอุณหภูมิเริ่มเกิดมารเทนไซต (Ms) ใน


เหล็กกลาคารบอน (ปรับปรุงจาก [4])

เนื่องจากการแปลงเฟสเปนมารเทนไซตเกิดทันทีทันใดและไมอาศัยการแพร ดังนั้นลักษณะ
ของเสนการเกิด มารเทนไซต ในแผนภูมิ IT จึง ไมเ หมือนเพอรไลตห รือเบไนต โดยจะเปนเสนตรงใน
แนวนอน จากรูปที่ 9.14 a) เสนเริ่มเกิดมารเทนไซตคือเสนที่เขียนวาเสน M (start) (โดยทั่วไปจะเรียกวา
เสน Ms) เสน M(50%) และ M(90%) จะหมายถึงเสนที่ออสเทไนตเปลี่ยนเปนมารเทนไซตได 50% และ
90% ตามลําดับ ตัวอยางเชน เมื่อเหล็กกลายูเทกทอยดเย็นตัวอยางรวดเร็วจากอุณหภูมิ 727oC มาถึง
165oC จะตัดกับเสน M(50%) พอดี ที่อุณหภูมินี้ออสเทไนตแปลงเฟสเปนมารเทนไซตแลว 50% และยัง
เหลือออสเทไนตอีก 50% ถายังคงอุณหภูมิไวเทานี้ก็จะไมมีการเปลี่ยนแปลงใด ๆ อีก แตถาลดอุณหภูมิลง
ไปถึง M(90%) ก็จะไดมารเทนไซต 90% และจะเหลือออสเทไนตเพียง 10% ในกรณีที่เติมธาตุผสมอื่น
นอกเหนือจากคารบอนในเหล็กดวยเชน Cr Ni หรือ Mo เปนตน จะทําใหเกิดการเปลี่ยนตําแหนงและ
รูปรางในแผนภูมิ IT อยางชัดเจนดังรูป 9.14 b) คือทําใหจมูกเสนโคงการแปลงเฟสจากออสเทไนตไป
เพอรไลตเลื่อนออกไปทางขวามือหรือใชเวลานานขึ้น โดยเสนโคงการเกิด เพอรไลตกับ เบไนต แยกกัน
อุณหภูมิของเสน Ms ในหนวยองศาเซลเซียสจะขึ้นกับปริมาณของธาตุตาง ๆ ในออสเทไนตดังสมการ
ตอไปนี้
M S  521  353%C  225% Si  24.3% Mn
 27 .4% Ni  17 .7% Cr  25.8 % Mo (9.1)
164

รูปที่ 9.14 แผนภูมิ IT ของ (a) เหล็กกลายูเทกทอยด (b) เหล็กกลาผสมเกรด 4340


เมื่อ A= ออสเทไนต B= เบไนต M=มารเทนไซต P= เพอรไลต (ปรับปรุงจาก [1])

 เทมเปอรมารเทนไซต
เนื่องจากมารเทนไซตเปนเฟสที่ไมเสถียร ถาใหความรอนระหวาง 250-650oC จะทําใหเกิด
การแพรของคารบอนในมารเทนไซตเกิดขึ้นและทําใหเกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นในมารเทนไซตซึ่งเรียกวา
เทมเปอรมารเทนไซต หรือมารเทนไซตที่ผานการอบคืนตัว ซึ่งมีปฏิกิริยาดังตอไปนี้คือ
มารเทนไซต (BCT) เทมเปอรมารเทนไซต (BCT + Fe2C หรือ BCC + Fe3C )
กรณีอบคืนตัวที่อุณหภูมิต่ํา โครงสรางจุลภาคของเทมเปอรมารเทนไซตจะประกอบดวยมารเทนไซตที่มี
คารบอน 0.25% กับเอปซิลอนคารไบด (Fe2C) กรณีอบคืนตัวที่อุณหภูมิสูงขึ้นจะเกิดเปนซีเมนไตต ที่มี
ขนาดเล็กมาก ๆ กระจายอยูอยางสม่ําเสมอในพื้นที่ตอเนื่องของเฟรไรต โครงสรางนี้คลายคารไบดกลม
เพียงแตเปนคารไบดมีขนาดเล็กมากเทานั้น เทมเปอรมารเทนไซตเปนโครงสรางที่เสถียรแลว รูปที่ 9.15
แสดงโครงสรางมารเทนไซตที่ผานการอบคืนตัวที่ 594oC เม็ดสีขาวคือซีเมนไตต สวนพื้นสีดําคือเฟรไรต
165

รูปที่ 9.15 มารเทนไซตในเหล็กกลาที่ผานการอบคืนตัวที่ 594oC [1]

ตัวอยางที่ 9.1 อบเหล็กกลาคารบอนยูเทกทอยดที่อุณหภูมิ 760oC จนเปนออสเทไนตอยางสมบูรณ จง


ระบุเฟสตางๆที่อุณหภูมิหองภายใตการเย็นตัวตามเงื่อนไขดังตอไปนี้
ก) ชุบอยางรวดเร็วมาที่ 600oC และแชทิ้งไว 100วินาทีแลวชุบสูอุณหภูมิหอง
ข) ชิ้นงานขอ ก) แชทิ้งไวที่ 500oC 10วินาที แลวชุบสูอุณหภูมิหอง
ค) ชุบมาที่ 400oC แช 20 วินาทีแลวชุบสูอุณหภูมิหอง
วิธีทํา จากรูปที่ 9.14 a) จะไดวา
ก) ชุบอยางรวดเร็วมาที่ 600oC จะยังคงเปนเฟสออสเทไนต และแชทิ้งไว 100 วินาทีจะตัดผานเสนการ
เกิดเพอรไลตโดยสมบูรณ หลังจากนั้นจะไมมีการแปลงเฟสเกิดขึ้นอีก ชุบสูอุณหภูมิหองจะได
เพอรไลตทั้งหมด
ข) ชุบลงมาอยางรวดเร็วจนถึง 500oC จะยังคงเปนเฟสออสเทไนตแชทิ้งไวที่ 10 วินาที จะตัดผานเสนการ
เกิดเบไนตโดยสมบูรณ หลังจากนั้นจะไมมีการแปลงเฟสเกิดขึ้นอีก ชุบสูอุณหภูมิหองจะไดเบ
ไนตทั้งหมด
ค) ชุบมาที่ 400oC จะยังคงเปนเฟสออสเทไนต แช 20 วินาทีออสไทนไนตบางสวนจะแปลงเฟสเปน
เบไนต หลังจากนั้นทําการชุบถึงอุณหภูมิหองออสเทไนตสวนที่เหลือจะแปลงเฟสเปนมารเทนไซต
ทําใหโครงสรางจุลภาคที่อุณหภูมิหองประกอบดวยเบไบตและมารเทนไซต
166

9.4 แผนภูมิการแปลงเฟสเย็นตัวตอเนื่อง
แผนภูมิการแปลงเฟสที่อุณหภูมิคงที่คอนขางออกไปในทางอุดมคติและไมสะดวกในการ
นําไปใชในทางปฏิบัติ เนื่องจากตองใชการเย็นตัวอยางรวดเร็วในชวงแรกแลวคอยคงอุณหภูมิไวนั้นทําได
ยาก การทํากรรมวิธีทางความรอนของเหล็ก กลาจะเปนการเย็นตัวอยางตอเนื่องจากอุณหภูมิที่เ ปน
ออสเทไนตจนกระทั่งถึงอุณหภูมิหอง แตแผนภูมิการแปลงเฟสที่อุณหภูมิคงที่จะสามารถอธิบายการแปลง
เฟสไดในกรณีที่อุณหภูมิคงที่เทานั้น ดังนั้นจึง จําเปนตองสรางแผนภูมิใหมที่อธิบายการแปลงเฟสเมื่อ
ชิ้นงานเย็นตัวอยางตอเนื่อง ซึ่ง แผนภูมินี้เรียกวาแผนภูมิการแปลงเฟสเย็นตัวตอเนื่อง (Continuous
cooling transformation diagram) หรือแผนภูมิ CCT รูปที่ 9.16 a) แสดงการเปรียบเทียบระหวาง
แผนภูมิ IT และ CCT ของเหล็กกลายูเทกทอยด โดยพบวาเสนโคงการแปลงเฟสของเพอรไลตในแผนภูมิ
CCT จะเลื่อนไปทางขวามากขึ้นและเกิดที่อุณหภูมิต่ํากวาในแผนภูมิ IT
ตัวอยางการแปลงเฟสในกระบวนการเย็นตัวแบบตอเนื่องของเหล็กกลายูเทกทอยดแสดงใน
รูปที่ 9.16 b) โดยมีแนวทางการเย็นตัวสองแบบคือ แบบที่เย็นตัวคอนขางเร็วและเย็นตัวคอนขางชา จาก
แผนภูมิพบวาการเย็นตัวในแนวทางคอ นขางชาจะไดโ ครงสรางสุดทายเปน เพอรไลต หยาบ สวนตาม
แนวทางคอนขางเร็วจะไดเพอรไลตละเอียดในแผนภูมิ CCT จะไมพบเสนโคงเบไนตเนื่องจากออสเทไนต
จะแปลงเฟสเปนเพอรไลตกอนที่จะถึงจุดการแปลงเฟสเปนเบไนต การแปลงเฟสเปนเพอรไลตจะสิ้นสุด
เมื่อผานเสนโคงการเกิดเพอรไลตอยางสมบูรณที่เปนเสนทึบดานขวา ในกรณีที่การเย็นตัวผานเสนโคงการ
เริ่มเกิดเพอรไลตแตไมตัดผานเสนสิ้นสุดการเกิดเพอรไลต พบวาทันทีที่อุณหภูมิต่ํากวาชวงการเกิดเพอร
ไลตนั้น การแปลงเฟสจากออสเทไนตเปนเพอรไลตจะสิ้นสุดลง โดยออสเทไนตสวนที่เหลือจะแปลงเฟส
เปนเฟสอื่นตอไป ตัวอยางในรูป ที่ 9.17 พบวาทันที ที่อุณหภูมิ ของเหล็ก กลา ต่ํากวาชวงของการเกิด
เพอรไลต ออสเทไนตสวนที่เหลือจากการแปลงเฟสเปนเพอรไลตจะแปลงเฟสเปนมารเทนไซตตอไป
ในการเย็นตัวของเหล็กกลา จะมีอัตราการเย็นตัวคาหนึ่งที่ชาที่สุดที่ทําใหได มารเทนไซต
เพียงอยางเดียวโดยไมมี เ พอรไลตเ ลย จะเรียกอัตราการเย็นตัวนี้วาอัตราการเย็นตัววิกฤติ (Critical
cooling rate) ซึ่งแสดงเปนเสนโคงการเย็นตัวที่แตะกับจมูกของเสนโคงเพอรไลตพอดีดังรูปที่ 9.17 การ
ที่จะไดเฟสมารเทนไซตเพียงอยางเดียวตองเย็นตัวเร็วกวาหรือเทากับอัตราการเย็นตัววิกฤติเทานั้น ในที่นี้
คือมากกวา 140oC/s ถาชิ้นงานมีอัตราการเย็นตัวชากวาอัตราการเย็นตัวคานี้จ ะพบวามีเฟสอื่น เชน
เพอรไลต เกิดขึ้นมาดวยซึ่งจะทําใหความแข็งของเหล็กกลาลดลง
167

(a) (b)
รูปที่ 9.16(a) การเปรียบเทียบระหวางแผนภูมิ CCT และแผนภูมิ IT (b) แผนภูมิ CCT ของ
เหล็กกลายูเทกทอยด (ปรับปรุงจาก [1])

รูปที่ 9.17 เสนโคงการเย็นตัวบนแผนภูมิ CCT ของเหล็กกลายูเทกทอยด (ปรับปรุงจาก [1])


168

ตัวอยางที่ 9.2 จงออกแบบแนวทางการเย็นตัวในการอบชุบเหล็กกลาคารบอน 1.13%C โดยใชแผนภูมิ


CCT ที่กําหนดใหเพือ่ ใหไดเฟสตางๆที่อุณหภูมหิ องดังตอไปนี้
ก) โปรยูเทกทอยดซเี มนไตตและเพอรไลตหยาบ
ข) โปรยูเทกทอยดซีเมนไตตและเพอรไลตละเอียด
ค) โปรยูเทกทอยดซีเมนไตตและมารเทนไซต
ง) มารเทนไซต
วิธีทํา แนวทางการเย็นตัวตามโจทยแสดงไดดังนี้
169

9.5 สมบัติทางกลของเฟสตางๆในเหล็กกลาคารบอน
ในหัวขอนี้จะสรุปสมบัตทิ างกลของเฟสตางๆ ในเหล็กกลาคารบอนดังตอไปนี้
 เพอรไลต
โครงสรางเพอรไลตประกอบดวยเฟรไรตที่มีความเหนียวและคารไบดชนิดซีเมนไตตที่มีทั้ง
ความแข็งและความเปราะสูง เหล็กกลาที่มีสัดสวนของเพอรไลตมากขึ้นจะทําใหมีความแข็งและความ
แข็งแรงเพิ่มขึ้น รูปที่ 9.18 a) แสดงความสัมพันธระหวางสมบัติทางกลและปริมาณคารบอนในเหล็กกลาที่
มีโครงสรางเปนเพอรไลตละเอียด พบวาความตานแรงดึง แรงคราก และความแข็งจะเพิ่มขึ้นเมื่อปริมาณ
คารบ อนสูงขึ้น ซึ่ง เกิดจากการเพิ่มขึ้นของปริม าณเพอรไลตซึ่งมีความแข็งแรงสูง แตการเพิ่มปริมาณ
คารบอนจะทําใหความเหนียวและความแกรงของเหล็กกลาลดลงดังรูปที่ 9.18 b) เนื่องจากเพอรไลตมี
ความเหนียวต่ํา

(a) (b)
รูปที่ 9.18 ผลของคารบอนตอ (a) ความเคนจุดคราก ความตานแรงดึงและความแข็ง (b) ความเหนียว
และพลังงานการกระแทกของเหล็กกลาคารบอนซึ่งมีโครงสรางเพอรไลตละเอียด [1]
170

 โครงสรางคารไบดกลมหรือสเฟยรอยไดต
โครงสรางจุลภาคของเหล็กกลาที่ผานการทําสเฟยรอยไดตจ ะประกอบดวยคารไบด ของ
ซีเ มนไตตที่เ ปน เม็ดกลมและเนื้อพื้นเฟรไรต โครงสรางคารไบด กลมจะมีความแข็งต่ํากวาโครงสราง
เพอรไลต แตมีความเหนียวสูงกวา โครงสรางคารไบดกลมจะเปนโครงสรางที่เหนียวที่สุดและนิ่มที่สุดใน
บรรดาโครงสรางของเหล็กกลาทั้งหมด เนื่องจากรอยตอระหวางเฟรไรตกับซีเมนไตตซึ่งทําหนาที่ขัดขวาง
ดีสโลเคชันมีนอยมาก ทําใหการแปรรูปแบบพลาสติกแทบจะไมถูกจํากัดเลย อยางไรก็ตามเหล็กกลาที่มี
โครงสรางแบบนี้จะมีความแกรงสูงมาก เนื่องจากรอยแตกตองวิ่งผานเฟรไรตซึ่งมีความเหนียวมากเทานั้น
และมีโอกาสแตกผานเฟสที่เปราะของซีเมนไตตไดนอย
เบไนต
เบไนต เปน โครงสรางที่ ละเอียดกวาเพอรไลตล ะเอียดหลายเทา ดัง นั้น เบไนต จึงแข็ง และ
แข็งแรงกวาเพอรไลตมาก นอกจากนี้ยังมีความแข็งแรงและความเหนียวอยูในเกณฑดี ความแข็งและ
ความแข็งแรงของเบไนตจะสูงเมื่อเทียบกับโครงสรางเพอรไลตดังรูปที่ 9.19 แตทั้งนี้การเพิ่มอุณหภูมิจะ
ทําใหความแข็งของโครงสรางทั้งสองชนิดลดลง

รูปที่ 9.19 ผลของอุณหภูมิในการแปลงเฟสแบบไอโซเทอรมอลตอความแข็งและความตานแรงดึงของ


เบไนตและเพอรไลตในเหล็กกลาคารบอนยูเทกทอยด (ปรับปรุงจาก [1])
171

 มารเทนไซต
มารเทนไซตถือวาเปนเฟสที่แข็งที่สุด แข็งแรงที่สุดและมีความเปราะสูงสุดในบรรดาเฟสที่
เปนสารละลายของแข็งในเหล็กกลา โดยทั่วไปจะถือวามารเทนไซตไมมีความเหนียวอยูเลย ความแข็ง
ของมารเ ทนไซต จ ะเพิ่ม ขึ้นตามปริม าณคารบ อนดัง รูป ที่ 9.20 โดยความแข็ง จะเริ่ม คงที่เ มื่อปริม าณ
คารบอนสูงกวา 0.6% ความแข็ง และความแข็งแรงของมารเทนไซตเปนผลมาจากสารละลายของแข็ง
คารบอนที่ละลายแบบอิ่มตัวยิ่ง ยวดในมารเ ทนไซต จะขัดขวางการเคลื่อนที่ของดิสโลเคชันไดอยางมี
ประสิทธิภาพ โดยไมขึ้นกับรอยตอระหวางเฟสเหมือนกรณีของเพอรไลต มารเทนไซตมีโครงสรางผลึก
เปน BCT ซึ่งมีระบบเลื่อนนอยมาก จึงทําใหดิสโลเคชันเคลื่อนที่ผานไดยาก โครงสรางผลึก FCC ของ
ออสเทไนตมีปริมาตรเล็กกวาโครงสรางผลึก BCT ของมารเทนไซต เมื่อเกิดการแปลงเฟสจากออสเทไนต
เปนมารเทนไซตจะทําใหปริมาตรของชิ้นงานสุทธิเพิ่มขึ้น ซึ่งอาจทําใหชิ้นงานแตกราวได
 เทมเปอรมารเทนไซต
มารเทนไซตที่ไดหลังการชุบแข็งจะมีความแข็งและเปราะมาก ทําใหเกิดความเคนตกคางไม
เหมาะแกการใชงาน โดยปกติจะแกไขโดยการอบคืนตัวกอนเพื่อลดความเคนตกคางทําใหความแข็งลดลง
เล็กนอย แตความเหนียวเพิ่มขึ้น ซึ่งเปนการเพิ่มความแกรงใหกับมารเทนไซต เทมเปอร ม าร เ ทนไซต มี
ความแข็งและความแข็งแรงใกลเคียงกับ มารเทนไซต แตมีความเหนียวและแกรงสูงกวาดังรูปที่ 9.20
เนื่องจากมีผิวรอยตอระหวางเฟรไรตกับซีเมนไตตตอหนวยปริมาตรมาก อนุภาคของซีเมนไตตทําหนาที่
เสริมแรงตลอดแนวสัมผัส และผิวสัมผัสนี้ยังตานการเคลื่อนที่ของ ดิสโลเคชันดวยทําใหการแปรรูปแบบ
ถาวรเกิดขึ้นไดยาก ทั้งนี้เฟรไรตยังเหนียวและมีความแกรงสูง ดังนั้นเมื่อรวมผลทั้งสองดานแลวทําให
สมบัติของเทมเปอรมารเทนไซตจึงคอนขางดี อยางไรก็ตามถาขนาดของเม็ดซีเมนไตตมีขนาดใหญขึ้นจะ
ทําใหบริเวณผิวรอยตอลดลง สงผลใหเหล็กกลาแข็งแรงนอยลง ในขณะที่ความเหนียวและความแกรง
กลับสูงขึ้น ดังนั้นในการอบคืนตัวที่อุณหภูมิสูงอะตอมจะแพรไดเร็ว โอกาสที่จะสูญเสียความแข็งแรงจึงมี
มากเชนกันเนื่องจากซีเมนไตตจะโตไดเร็ว ตัวอยางเชน เหล็กกลาผสมเกรด 4340 ที่ผานการชุบแข็งและ
อบคืนตัว ความตานแรงดึงและแรงครากจะลดลงอยางมากเมื่ออุณหภูมิอบคืนตัวสูงกวา 300oC
เวลาในการอบคืนตัว เปนอีก ปจ จัยที่ มีผ ลต อความแข็ง ของเหล็ก กลาที่ผ านการชุบ แข็ ง
เชนเดียวกัน พบวาความแข็ง ลดลงเมื่อเวลาในการอบนานขึ้น โดยเฉพาะการอบคืนตัวที่อุณหภูมิสูง
ความแข็งลดลงอยางรวดเร็วจากการที่ใชเวลานานหรืออุณหภูมิสูง เนื่องจากซีเมนไตตจะโตขึ้นจากการ
รวมตัวของคารไบด ทําใหจํานวนของคารไบดลดลง และกลายเปนคารไบดกลมขนาดใหญฝงอยูในเนื้อของ
172

เฟรไรต ดังนัน้ จึงกลาวไดวามารเทนไซตที่ถูกอบคืนตัวมากเกินไปจะสูญเสียความแข็งแรง แตจะมีความ


เหนียวและนิ่มขึ้นอยางมากดังรูปที่ 9.21

รูปที่ 9.20 ผลของคารบอนตอความแข็งของมารเทนไซต เทมเปอรมารเทนไซตและเพอรไลตละเอียด


ในเหล็กกลาคารบอนธรรมดาที่ผานการอบคืนตัวที่ 371oC (ปรับปรุงจาก [1])

รูปที่ 9.21 ผลของอุณหภูมิอบคืนตัวตอสมบัติทางกลของเหล็กกลาผสมเกรด 4340 ที่ผานการชุบแข็งใน


น้ํามัน (ปรับปรุงจาก [1])
173

9.6 กรรมวิธีทางความรอน
ในส ว นนี้ จ ะกล า วถึ ง กรรมวิ ธี ท างความร อ นของเหล็ ก กล า ที่ สํ า คั ญ ได แ ก ก ารอบอ อ น
(Annealing) การชุบแข็ง (Hardening) ความสามารถในการชุบแข็ง (Hardenability) การอบคืนตัว
(Tempering) และการทําใหแข็งแรงขึ้นจากตกตะกอน (Precipitation hardening) สําหรับโลหะนอก
กลุมเหล็กดังนี้

การอบออน
การอบออนเปนกรรมวิธีทางความรอนที่อบโลหะที่อุณหภูมิสูงในชวงเวลาหนึ่งจนกลายเปน
เฟสออสเทไนตทั้งหมด จากนั้นปลอยใหเย็นตัวอยางชา ๆ โดยมีจุดประสงคเพื่อลดความเคนตกคาง เพิ่ม
ความเหนียว ความแกรงและเพื่อใหไดโครงสรางจุลภาคตามที่ตองการ โดยมี 3 ขั้นตอนดังนีค้ ือ
1. การใหความรอนจนถึงอุณหภูมิที่ตองการ
2. การแชโลหะไวที่อุณหภูมินั้นเปนระยะเวลาหนึ่ง
3. การเย็นตัวถึงอุณหภูมิหอง
ปจจัยอื่นที่มีความสําคัญคือความแตกตางระหวางอุณหภูมิของชิ้นงานโลหะและอุณหภูมิของเตาอบ ถามี
อัตราการใหความรอนสูงเกินไป จะทําใหที่ผิวชิ้นงานมีอุณหภูมิสูงกวาอุณหภูมิใจกลางชิ้นงาน สงผลให
ชิ้นงานเกิดการแตกราวขึ้นได เวลาในการอบออนตองเพียงพอที่จะทําใหเกิดความเปนเนื้อเดียวกันของ
โครงสราง
การอบออนมีหลายวิธีการซึ่งสวนใหญแลวจะหมายถึงการอบออนเต็มที่ (Full annealing)
คือการทําใหออสเทไนตเย็นตัวอยางชา ๆ แตยังมีกระบวนการอื่นซึ่งอาจจะพบไดเชน การอบคลายความ
เคน (Stress relieve) เปนกระบวนการอบเพื่อลดความเคนภายในชิ้นงานหลังผานการแปรรูปไดแก ความ
เคนที่เ หลือ คางมาจากการกัดกลึง การเชื่อม การหลอหรือที่เกิดจากการแปลงเฟส ความเคนตกคาง
เหลานี้อาจทําใหชิ้นงานบิดเบี้ยวหรืองอจนเกิดความเสียหายได ดังนั้นการการอบคลายความเคนจึง
จําเปน โดยมีขั้นตอนกระทํา ดังตอไปนี้คือ อบชิ้นงานใหมีอุณหภูมิตามที่ตองการซึ่งใชอุณหภูมิต่ําเพื่อ
รักษาโครงสรางจากการขึ้นรูปเย็นไวไมใหเกิดการตกผลึกใหม ทําการแชชิ้นงานทิ้งไวจนชิ้นงานมีอุณหภูมิ
เทากันและเย็นตัวในอากาศจนถึงอุณหภูมิหอ ง โดยจุดประสงคหลักเพื่อเพิ่มสมบัติใหกับเหล็กกลาในดาน
ความเหนียว ความแกรง ภายใตส ภาวะทางความรอนที่เ หมาะสม รูป ที่ 9.22 แสดงขอบเขตของ
อุณหภูมิที่ใชในการอบออนสําหรับเหล็กกลา โดยมีอุณหภูมิวิกฤติสําหรับการแปลงเฟสตาง ๆ ดังนี้ A1 =
เสนอุณหภูมิยูเทกทอยด A3 = เสนที่แบงขอบเขตของออสเทไนตกับเฟรไรต+ออสเทไนต และ Acm =
เสนที่แบงขอบเขตของออสเทไนตกับออสเทไนต+ซีเมนไตต
174

รูปที่ 9.22 ชวงอุณหภูมสิ ําหรับการอบออนและอบปกติเหล็กกลาคารบอนธรรมดา

รูปที่ 9.23 เสนโคงอัตราการแปลงเฟสเปนออสเทไนตสําหรับเหล็กกลาคารบอนธรรมดา


(ปรับปรุงจาก [17])
175

ในทางทฤษฎีนั้นเมื่อเหล็กกลาไฮโปยูเทกทอยดมีอุณหภูมิถึงเสน A1จะพบวาเริ่มมีออสเทไนต
เกิดขึ้นและมีการแปลงเฟสเปนออสเทไนตอยางสมบูรณเมื่ออุณหภูมิเพิ่มขึ้นจนถึงเสน A3 แตในทางปฏิบัติ
แลวจําเปนตองใชเวลาชวงหนึ่งในการสลายคารไบดดังรูปที่ 9.23 โดยเฉพาะในเหล็กที่มีปริมาณคารไบด
สูง เชนเหล็กกลาประเภทยูเทกทอยด ไฮเปอรยูเทกทอยดหรือเหล็กกลาผสม เปนตน เนื่องจากมีคารไบด
ที่มีเสถียรภาพสูงจึงยังไมละลาย นอกจากนี้อัตราการใหความรอนสูงหรือการอบที่อุณหภูมิใกลกับเสน A1
มากเกินไปจะทําใหเกิดออสเทไนตไมสม่ําเสมอ โดยการละลายของคารไบดจะเกิดขึ้นที่บางบริเวณกอน
ดังนั้นจึงจําเปนตองแชไวที่อุณหภูมินี้ระยะเวลาหนึ่ง เพื่อใหคารไบดละลายและเกิดเฟสออสเทไนตได
อยางสมบูรณ โดยออสเทไนตจะมีปริมาณคารบอนเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
 การอบออนใหคารไบดกลม
เปนกระบวนการอบเหล็ก กลาคารบ อนสูงใหคารไบด ของซีเ มนไตตที่มีลักษณะเปนแทง
แตกตัวเปนเม็ดกลม เพื่อเพิ่มสมบัติการกัดกลึงและความสามารถในการขึ้นรูป มีขั้นตอนดังนี้คือการให
ความรอนเหล็กกลาจนกระทั่งมีอุณหภูมิสูงหรือต่ํากวาเสน A1 เล็ก นอย แชชิ้นงานไวเปนเวลา 15-25
ชั่วโมง ซีเมนไตตจะแตกตัวเปนเม็ดกลมดังรูปที่ 9.24 a) และหลังจากผานกระบวนการอบและเย็นตัวจะ
ไดโครงสรางคารไบดกลมบนเนื้อพื้นของเฟรไรตดังแสดงในรูปที่ 9.24 b) กรรมวิธีทางความรอนแบบนี้
เหมาะกับชิ้นงานที่ตองการกัดกลึงหรือขึ้นรูปเย็น ถาเปนการอบที่อุณหภูมิใกลเคียงกับเสน A1 หรือสูงกวา
จะทําใหคารไบดมีลักษณะกลมมากยิ่งขึ้น การอบที่อุณหภูมิต่ําจะทําใหคารไบดมีความกลมนอยลงหรือ
เปนลักษณะลารเมลารทําใหมีความแข็งสูง โดยปกติจะใชอุณหภูมิอบชุบสูงหรือต่ํากวาเสน A1 ไมเกิน
50oC ดังรูปที่ 9.25 สําหรับ เหล็กกลาไฮเปอร ยูเ ทกทอยด ควรตองอบที่อุณหภูมิสูงกวาเสน A1 เพื่อให
ตาขายของคารไบดแตกตัวเปนเม็ดกลม

a) b)
รูปที่ 9.24 a) การแตกตัวของซีเมนไตตเปนเม็ดกลม b) โครงสรางจุลภาคของเหล็กกลาทีผ่ านการทําให
เปนคารไบดกลม [1]
176

รูปที่ 9.25 ชวงอุณหภูมิของการอบออนเพื่อใหไดคารไบดกลมของเหล็กกลาคารบอนธรรมดา

 การอบออนเต็มที่
กรรมวิธีทางความรอนแบบนี้เหมาะสําหรับการอบออนเหล็กกลาคารบอนต่ําและเหล็กกลา
คารบ อนปานกลางเพื่อใหได โ ครงสรางเพอรไลต หยาบ ทําให มีสมบัติก ารกัดกลึง และแปรรูป ไดงาย
กระบวนการอบออนมีขั้นตอนดังนี้คือ การอบเหล็ก กลาที่อุณหภูมิสูงกวาอุณหภูมิวิกฤติ (A1 หรือ A3)
ประมาณ 50 oC ดั ง แสดงในรู ป ที่ 9.26 จนกลายเป น ออสเทไนต ทั้ ง หมด ทั้ ง นี้ เ หล็ ก กล า ชนิ ด
ไฮโปยูเทกทอยดจะใชเวลาในการอบสั้นกวาชนิดไฮเปอรยูเทกทอยด จากนั้นทําการเย็นตัวชา ๆ ในเตา
จนกระทั่งถึงอุณหภูมิหอง

 การอบออนกระบวนการ
กรรมวิธนี ี้เพื่อใชลดความเคนที่เกิดมาจากผลของการรีดเย็นระหวางการผลิต โดยปกติจะ
กระทําเมื่อ ตองการความเหนียวและความสามารถการแปรรูป เพิ่ ม ขึ้น โดยไมเ กิดการแตกหัก หรื อ
สิ้นเปลืองพลัง งานมากเกินไป ทําให ขึ้นรูป โลหะไดอยางตอเนื่อง โดยมีขั้นตอนดัง นี้คือ อบชิ้นงานที่
อุณหภูมิต่ํากวาเสน A1ประมาณ 20 องศาเซลเซียสดังรูปที่ 9.27 แลวขึ้นรูปชิ้นงานตอไป
177

รูปที่ 9.26 ชวงอุณหภูมิของการอบออนเต็มที่ของเหล็กกลาคารบอนธรรมดา

รูปที่ 9.27 ชวงอุณหภูมิของการอบออนกระบวนการของเหล็กกลาคารบอน


178

 การอบปกติ
กรรมวิธีทางความรอนชนิดนี้มีจุดประสงคเพื่อปรับสภาพเกรนของเพอรไลตใหละเอียดขึ้น
และใหมีความสม่ําเสมอ ในกระบวนการขึ้นรูปรอนจะทําใหโครงสรางเพอรไลตที่มีขนาดไมสม่ําเสมอและ
คอนขางใหญ การอบปกติจะทําใหเกรนเพอรไลตเล็กลงได โดยอบเหล็กกลาที่อุณหภูมิสูงกวาอุณหภูมิ
วิกฤติประมาณ 55oC ตามสวนผสมทางเคมีของเหล็กเพื่อใหเกิดออสเทไนตอยางสมบูรณจนกลายเปน
ออสเทไนต ทั้งหมด จากนั้นปลอยใหเ ย็นตัวในอากาศปกติ จะทําใหไดโครงสรางสุดทายคือเพอรไลต
ละเอียด รูปที่ 9.28 แสดงการเปรียบเทียบกระบวนการอบปกติและกระบวนการอบออน ซึ่งพบวาการ
อบปกติใชอุณหภูมิสูงกวาการอบออน แตการเย็นตัวจะเร็วกวา สวนรูปที่ 9.29 แสดงโครงสรางจุลภาค
ของเหล็กกลาในสภาพรีดรอนและในสภาพอบปกติ โดยพบวาเมื่อผานการอบปกติแลวจะทําใหเกรนมี
ความละเอียดขึ้น

รูปที่ 9.28 เปรียบเทียบกระบวนการอบออนและอบปกติของเหล็กกลาคารบอน


179

รูปที่ 9.29 โครงสรางจุลภาคของเหล็กกลาคารบอนไฮโปยูเทกทอยด (0.25% C) a) สภาพรีดรอน


b) สภาพอบปกติที่ 910oC เปนเวลา 1 ชั่วโมง [17]

 การชุบแข็ง
การชุบแข็ง เปนกรรมวิธีท างความรอนที่ มีจุดมุงหมายเพื่อใหได เ ฟสมารเ ทนไซต โดยมี
ขั้นตอนดังนีค้ ือ อบเหล็กกลาที่อุณหภูมิสูงจนกลายเปนออสเทไนตทั้งหมด จากนั้นใหเย็นตัวอยางรวดเร็ว
โดยใชตัวกลางตาง ๆ กันเชน น้ําเกลือ น้ํา น้ํามัน หรืออากาศ ตามสวนผสมและขนาดชิ้นงาน จากนั้นอบ
คืนตัวชิ้นงานที่ผานการชุบแข็งเพื่อลดความเคนตกคางและมีความเหนียวมากขึ้น โครงสรางจุลภาคสุดทาย
ที่ไดคือเทมเปอรมารเทนไซต กระบวนการชุบแข็งมักพบปญหาระหวางการเย็นตัวจนเกิดโครงสรางอืน่ ปน
อยูดวยไดแก เบไนต เพอรไลต หรือเฟรไรต เปนตน สงผลใหเกิดความไมสม่ําเสมอของโครงสรางจุลภาค
และสมบัติทางกล โดยสวนใหญมักเปนผลเนื่องมาจากการเย็นตัวที่ไมเทากันระหวางผิวกับภายในชิ้นงาน
ซึ่งผิวชิ้นงานจะเย็นตัวเร็ว สวนใจกลางชิ้นงานจะเย็นตัวชา ดังนั้นปจจัยที่จะกําหนดวาชุบแข็งแลวทําให
ไดเฟสมารเทนไซตเพียงอยางเดียวนั้นไดแก
1. สวนผสมทางเคมีซึ่งจะกําหนดความสามารถในการชุบแข็ง
2. ชนิดของสารชุบหรือตัวกลางการเย็นตัว เชน อัตราการเย็นตัวในน้ําจะเร็วกวาเย็นตัวใน
น้ํามัน อากาศและเตาอบ ตามลําดับ
3. ขนาดและรูปรางของชิ้นงาน เชน เหล็กกลาที่มีขนาดบางเย็นตัวเร็วเกิดมารเทนไซตงาย
ในขณะที่เหล็กกลาชนิดเดียวกันแตมีความหนามาก ทําใหการเย็นตัวชาอาจเกิดเฟสหรือ
โครงสรางอื่น ๆ ที่ไมใชมารเทนไซตได
180

 ความสามารถการชุบแข็ง
ความสามารถการชุบแข็ง หมายถึงความสามารถของเหล็กกลาที่เพิ่มความความแข็ง ไดโดย
การอบชุบใหไดเฟสมารเทนไซตเพียงอยางเดียว หรืออาจกลาวใหงายขึ้นวาความยากงายในการชุบแข็ง
แลวไดมารเทนไซตทั้งหมด การเติมธาตุผสมบางชนิดจะทําใหเหล็กกลามีความสามารถการชุบแข็งสูง
เหล็กกลาที่มีความสามารถการชุบแข็งสูงจะเกิดมารเทนไซตไมเพียงแตที่ผิวเทานั้น แตจะชุบแข็งแลวเกิด
มารเทนไซตทั่วชิน้ งานแมจะเย็นตัวชาก็ตาม ดังนั้นความสามารถการชุบแข็งของเหล็กชนิดนั้น ๆ จะเปน
ตัวกําหนดความยากงายในการชุบแข็ง
วิธีการทดสอบความสามารถการชุบแข็งของเหล็กแสดงดังรูปที่ 9.30 ซึ่งเรียกวาวิธีโจมินีเย็น
ตัวที่ปลาย โดยชิ้นงานมีลักษณะเปนแทงทรงกระบอกขนาดเสนผาศูนยกลาง 25.4 mm ยาว 100 mm
นําชิ้นงานไปอบจนกลายเปนออสเทไนตทั้งหมด จากนั้นวางในแนวตั้งตามรูปที่ 9.30 a) ทําใหเย็นตัวโดย
การฉีดน้ําจากปลายดานลางที่ระยะหางจากปลายชิ้นงาน 12.7 mm ดวยอัตราเร็วการฉีดคาหนึ่ง ชิ้นงาน
จะเย็นตัวจากปลายขึ้นมาจนถึงดานบน เมื่อชิ้นงานเย็นตัวถึงอุณหภูมิหองทําการขัดชิ้นงานดานขางวัด
ความแข็งตลอดแนวยาวโดยใชเครื่องทดสอบความแข็งแบบร็อคเวลลดังรูปที่ 9.30 b)
เมื่อนําความแข็งที่ไดจากการทดสอบเทียบกับระยะหางจากปลายของชิ้นงานจะไดกราฟ
ความสามารถการชุบแข็งดังรูปที่ 9.30 c) บริเวณปลายสุดของชิ้นงานเย็นตัวเร็วที่สุดเกิด มารเทนไซต
ทั้งหมด ความแข็งจึงมีคาสูงสุด ที่ระยะถัดมาความแข็งจะคอย ๆ ลดลงเนื่องจากอัตราการเย็นตัวจะคอย ๆ
ชาลง ทําใหคารบอนในเนื้อเหล็กมีเวลามากพอที่จะเกิดการแพรเปนเพอรไลตได ดังนั้นความแข็งจึงลดลง
ตามปริมาณเพอรไลตที่เพิ่มขึ้น โดยตําแหนงระยะหางจากปลายชิ้นงานมากเทาใดยิ่งมีโอกาสเกิดเพอรไลต
ขึ้นไดมากเทานั้น สงผลใหความแข็งลดลงมาก
ในการทดสอบถาพบวามีชวงระยะความแข็งสูงลึกจากผิวหนามาก จะหมายความวาเหล็ก
ชนิดนั้นมีความสามารถการชุบแข็งสูง แตถาความแข็งลดลงทันทีใตผิวปลายชิ้นงาน แสดงวาเหล็กชนิด
นั้นมีความสามารถการชุบแข็งต่ํา เหล็กกลาแตละประเภทจะมีความสามารถการชุบ แข็งเปนลักษณะ
เฉพาะตัวแตกตางกันออกไปตามสวนผสมทางเคมี
181

(c)

รูปที่ 9.30 การทดสอบความสามารถในการชุบแข็งดวยวิธีโจมินีเย็นตัวทีป่ ลาย (ปรับปรุงจาก [1])

เมื่อเปรียบเทียบการเย็นตัวของชิ้นงานในตําแหนงตาง ๆ ของการทดสอบโจมินีกับแผนภูมิ
การเย็นตัวตอเนื่อง สามารถอธิบายการแปลงเฟสไดดังตัวอยางในรูปที่ 9.31 เริ่มตนจากทําการวัดอัตรา
การเย็นตัวที่ระยะตาง ๆ 4 ตําแหนงจากปลายชิ้นงานคือตําแหนง A เปนตําแหนงใกลผิวปลายชิ้นงานมาก
ที่สุดซึ่งมีความแข็งสูงสุด สวนตําแหนง B C และ D คือระยะที่ลึกเขามาจากผิวปลายชิ้นงานตามลําดับ
เมื่อเขียนแนวทางการเย็นตัวในแผนภูมิการเย็นตัวตอเนื่องพบวา แนวทางการเย็นตัวของจุด A จะเย็นตัว
เร็ว จนสามารถปองกันการเกิด เพอรไลต ได โครงสรางเฟสที่ตําแหนง นี้คือ มารเ ทนไซต ทั้ง หมด สวน
แนวทางการเย็นตัวของจุด B จะชาลงและตัดกับเสนโคงเพอรไลตบางสวน ทําใหไดโครงสรางประกอบดวย
เฟสมารเทนไซตเปนสวนใหญและมีเพอรไลตปนอยูเล็กนอย จึงทําใหความแข็งที่ตําแหนง B ลดลงเมื่อ
เทียบกับจุด A จากนั้นแนวการเย็นตัวที่ตําแหนง C และ D จะชาลงเรื่อย ๆ ทําใหเกิดเพอรไลตทั้งหมดโดย
182

รูปที่ 9.31 ความสัมพันธระหวางความสามารถการชุบแข็งกับการแปลงเฟสของ


เหล็กกลาคารบอนยูเทกทอยด [1]
183

ไมมมี ารเทนไซตเลย ซึ่งจุด C จะเปนเพอรไลตละเอียด สวนจุด D เปนเพอรไลตหยาบและมีความแข็งต่ํา


ที่สุด
ดังที่ไดกลาวไวกอนหนานี้แลววาความสามารถการชุบแข็งของเหล็กขึ้นกับสวนผสมทางเคมี
ซึ่งหมายถึงธาตุผสมตาง ๆ ที่เติมลงไปในเหล็กกลา ธาตุผสมที่นิยมเติมเพื่อเพิ่มความสามารถการชุบแข็ง
ใหกั บ เหล็ ก กลา นั้น ได แก โครเมี ยม นิ ก เกิล แมงกานี ส และโมลิ บ ดี นัม เปน ตน รูป ที่ 9.32 แสดง
ความสามารถการชุบแข็งของเหล็กกลาคารบอน 0.4% และเติมธาตุผสมอื่นไดแก เกรด 4140, 4340,
5140 และ 8640 รายละเอียดธาตุผสมไดแสดงไวใตรูป จากรูปจะเห็นไดวาความแข็งที่ผิวชิ้นงานจะมีคา
เทากั น แต ห ลัง จากนั้น ความแข็ง จะแตกตางกันตามชนิ ดของเหล็ก เหล็ ก กล าคาร บ อน 1040 จะมี
ความสามารถการชุบแข็งต่ําที่สุด ในขณะที่เหล็กเกรด 4340 จะมีความสามารถการชุบแข็งดีที่สุด

รูปที่ 9.32 ความสามารถในการชุบแข็งของเหล็กกลา 4 ประเภทที่มปี ริมาณคารบอน 0.4%โดยน้ําหนัก


(เกรด 4340: 1.85%Ni-0.80%Cr-0.25%Mo เกรด 4140: 1.0%Cr-0.20%Mo เกรด 8640: 0.55%Ni-
0.50%Cr-0.20%Mo เกรด 5140: 0.85%Cr เกรด 1040 ไมเติมธาตุผสม) (ปรับปรุงจาก [1])
184

เมื่ อพิ จ ารณาอั ตราการเย็ นตั วที่ อยู แกนนอนด านบนของกราฟในรู ป ที่ 9.32 พบว า ที่
ผิวชิ้นงานจะมีอัตราการเย็นตัวเร็วที่สุด ทําใหไดมารเทนไซตโดยสมบูรณในทุกชิ้นงาน แตที่ระยะหางจาก
ผิวออกไปปรากฏวาในเหล็ก 1040 จะเกิดเพอรไลตขึ้นกอนเหล็กประเภทอื่น เหตุผลเนื่องจากไมมีธาตุ
ผสมที่ปองกันการเกิดเพอรไลตเลย ในขณะที่เหล็กประเภทอื่นนั้นจะเกิดเปนเบไนตและมารเทนไซตผสม
กัน โดยปริม าณเบไนต จะเพิ่ม ขึ้นเมื่ออัตราการเย็นตัว ลดลง ดัง นั้นจึง สามารถสรุปไดวา ทั้ง นิ ก เกิล
โครเมีย ม และ โมลิบ ดินั ม สามารถเพิ่ม ความสามารถการชุ บ แข็ ง ได โดยป องกั นไมใ ห อ อสเทไนต
เปลี่ยนเปนเพอรไลต ทําใหไดมารเทนไซตหรือเบไนตแทน ยิ่งมีปริมาณธาตุผสมเหลานีม้ ากเทาใดโอกาส
ที่จะไดเฉพาะมารเทนไซตก็มากขึ้น นอกจากธาตุผสมเหลานี้แลวความสามารถการชุบแข็งก็ขึ้นกับปริมาณ
คารบอนดวย โดยพบวาเหล็กที่มีคารบอนสูงจะมีความแข็งผิวสูงและมีความสามารถการชุบแข็งดีกวา
เหล็กที่มีคารบอนต่ํา

 ตัวกลางการเย็นตัว
สารชุบแตละชนิดมีอัตราการเย็นตัวเร็วไมเทากัน ดัชนีที่ใชวัดวาสารชุบชนิดใดมีอัตราการ
ถายเทความรอนไดมากกวากันนั้นจะใชคําวา ความรุนแรงของการชุบ (Severity of quench) แทนดวย
คา H ดัง รูป ที่ 9.33 พบวายิ่ง คา H สูง ยิ่ง มีอัตราการเย็นตัวเร็ว โดยตัวกลางหรือสารชุบที่นิยมใชงาน
สําหรับการชุบ แข็งไดแก น้ําเกลือ น้ํา น้ํามัน และอากาศ ซึ่ง สารชุบ ที่มี อัตราการเย็นตัวมากที่สุดคือ
น้ําเกลือ รองลงมาคือ น้ํา น้ํามัน และอากาศตามลําดับ นอกจากนี้ถาใชสารชุบตัวเดียวกันและมีการกวน
รวมดวยจะทําใหอัตราการเย็นตัวเพิ่มขึ้น แตขอควรระวังคือการเลือกสารชุบที่มีอัตราการเย็นตัวสูงเกินไป
จะทําใหชิ้นงานบิดงอจนแตกราวไดงาย ดังนั้นหลักการในการเลือกสารชุบควรเลือกสารชุบที่มีอัตราการ
เย็นตัวที่ต่ําที่สุด โดยยังคงมีอัตราการเย็นตัวทีเ่ ร็วกวาอัตราการเย็นตัววิกฤติของเหล็กกลาประเภทนั้น ๆ
เชน ในทางปฏิบัติแลวจะใชน้ําสําหรับการชุบแข็งเหล็กกลาคารบอนธรรมดา สวนน้ํามันจะใชกับการชุบ
แข็งเหล็กกลาผสม การเย็นตัวในอากาศจะใชสําหรับเหล็กกลาผสมสูง เปนตน
185

รูปที่ 9.33ความสัมพันธระหวางความรุนแรงของการชุบ ระยะโจมินีและขนาดชิ้นงานในตัวกลางตางๆที่


ตําแหนง 0.1เทาของรัศมีชิ้นงาน(ปรับปรุงจาก [18])

ในขั้นตอนการเย็นตัวนั้น แมวาชิ้นงานจะเปนชิ้นเดียวกันแตจะมีอัตราการเย็นตัวไมเทากัน
โดยที่ผิวชิ้นงานจะเย็นตัวเร็วเพราะสัมผัสกับสารชุบโดยตรง แตลึก ๆ ลงไปภายในเนื้อชิ้นงานจะมีอัตรา
การเย็นตัวที่ชา ลง โดยอัตราการเย็นตัวจะชาที่ สุดที่ ตําแหนง ใจกลางของชิ้นงาน รูป ที่ 9.34 แสดง
ความสัมพันธระหวางอัตราการเย็นตัวที่ตําแหนงผิวชิ้นงานระยะ ¾ เทาของรัศมี ระยะครึ่งหนึ่งของรัศมี
และตําแหนงใจกลางชิ้นงานตามลําดับ โดยรูป 9.34 a) เปนการเย็นตัวโดยใชน้ําเปนสารชุบ สวนรูปที่
9.34 b) เปนการเย็นตัวโดยใชน้ํามันเปนสารชุบ จากรูปพบวาอัตราการเย็นตัวที่ผิวจะมากกวาจุดอื่น ๆ
ไมวาจะเย็นตัวในน้ําหรือน้ํามัน แตเมื่อเปรียบเทียบกันแลวพบวาที่ตําแหนงเดียวกันนั้น การเย็นตัวในน้ํา
จะมีอัตราการเย็นตัวสูงกวาเย็นตัวในน้ํามัน แผนภูมินสี้ ามารถทํานายคาความแข็งของชิ้นงานได
รูป ที่ 9.35 เปนการทํานายความแข็ง ตามแนวภาคตัดขวางของชิ้นงานทรงกระบอกของ
เหล็กกลาคารบอน 1040 และเหล็กกลาผสม 4140 จากรูปพบวาหลังจากการชุบ แข็งในน้ํา ทําการวัด
ความแข็งที่ตําแหนงตาง ๆ ของพื้นที่หนาตัดพบวาในกรณีที่เหล็กมีขนาดเทากับ 1 นิ้วดังรูปที่ 9.35 a)
เหล็กกลา 4140 จะมีความแข็งที่ผิวและใจกลางชิ้นงานใกลเ คียงกัน แตในกรณีเ หล็ก กลา 1040 จะ
แตกตางกันมาก ดังนั้นจึงสามารถบอกไดวาเหล็กกลา 4140 มีความสามารถในการชุบแข็งดีกวาเหล็กกลา
1040 เมื่อเพิ่มขนาดเสนผาศูนยกลางจาก 2 นิว้ เปน 4 นิ้วดังรูปที่ 9.35 b) พบวาเมื่อขนาดชิ้นงานเพิ่มขึ้น
ความแตกตางของความแข็งระหวางที่ผิวและที่ใจกลางชิ้นงานก็จะสูงขึ้น เนื่องจากชิ้นงานมีขนาดใหญขึ้น
จะทําใหอัตราการเย็นตัวที่ใจกลางชิ้นงานชาลง เพราะความรอนมีการถายเทไดชาลง
186

รูปที่ 9.34 อัตราการเย็นตัวที่ตําแหนงตาง ๆ ของชิ้นงานเมือ่ เย็นตัวใน a) น้ํา และ b) น้ํามัน [1]

รูปที่ 9.35 ความแข็งของเหล็กกลาเกรด 1040 และเกรด 4140 (ปรับปรุงจาก [1])


187

 วิธีการเย็นตัว
ในการชุบ แข็ง โดยทั่วไปสามารถแบง วิธีการเย็นตัวออกเปน 4 วิธีตามรูป ที่ 9.36 ดัง นี้คือ
การชุ บ แข็ ง โดยตรง (Direct Quenching) มาร เ ทมเปอริ ง (Martempering) ออสเทมเปอริ ง
(Austempering) และ ไอโซเทอรมอล (Isothermal quenching)
1) การชุบแข็งโดยตรง เปนวิธีการชุบแข็งแบบดั้งเดิมและเปนวิธีที่งายที่สุดดังรูปที่ 9.36 a)
เหล็กจะเย็นตัวจากอุณหภูมิชุบแข็งลงมาที่อุณหภูมิหองหรืออุณหภูมิตัวกลาง ออสเทไนตเริ่มเปลี่ยนเปน
มารเทนไซตเมื่ออุณหภูมิลดลงถึงเสน Ms จากรูปที่ 9.34 a) พบวาการเย็นตัวของชิ้นงานบริเวณผิวและใจ
กลางชิ้นงานไมเทากัน โดยที่ผิวจะเย็นตัวเร็วกวา จึงเกิดการแปลงเฟสจากออสเทไนตเปนมารเทนไซตที่
ผิวกอน ทําใหมีเ กิดความเคนภายในชิ้นงานสูง และเกิดการแตกหัก ของชิ้นงานได ดัง นั้นการเลือก
ตัวกลางในการเย็นตัวที่เหมาะสมจะลดปญหาการแตกหักลงได
2) มารเทมเปอริง เปนวิธีการแกปญหาการเกิดความเคนสูงในการเย็นตัวโดยตรงและใน
กรณีที่ชิ้นงานมีความเสี่ยงในการแตกสูง วิธีการเย็นตัวแบบมารเทมเปอริงแสดงดังรูปที่ 9.36 b) การเย็น
ตัวแบงออกเปน 2 ชวงคือ ชวงแรกนําชิ้นงานที่ผานการอบที่อุณหภูมิที่เปนออสเทไนตมาเย็นตัวในอาง
เกลือหลอมเหลว โดยมีการรักษาอุณหภูมิไวสูงกวาเสน Ms เพื่อใหอุณหภูมิที่ผิวและใจกลางชิ้นงานเทากัน
จากนั้นจะเย็นตัวอยางรวดเร็ว ทําใหเกิดการแปลงเฟสเปนมารเทนไซตพรอมกันทั่วทั้งชิ้นงาน วิธีนี้ทําให
มีความเคนตกคางนอยและการบิดเบี้ยวของชิ้นงานนอย แตวิธีนี้จะมีขอดอยคือไดมารเทนไซตนอยกวาวิธี
แรก และมีออสเทไนตเหลือคางมากกวา
3) ออสเทมเปอริง เปนกระบวนการชุบเพื่อเพิ่มความแกรงใหกับชิ้นงานโดยยังคงมีความ
แข็ง ไมแตกตางกับ การชุบ โดยตรงมากนัก การบิดเบี้ยวนอยคลายกับ กรณีของการทํามารเ ทมเปอริ ง
ชิ้นงานจะถูกแชในอางเกลือที่อุณหภูมิเหนือเสน Ms ดังรูปที่ 9.36 c) แตเวลาในการจุมแชจะนานกวา
จนกระทั่งออสเทไนตแปลงเฟสเปนเบไนตโดยสมบูรณ โดยความแข็งที่ไดจะขึ้นกับอุณหภูมิที่ใชจุม ยิ่ง
อุณหภูมิจุมสูงยิ่งความแข็งต่ํา วิธีนี้คาใชจายคอนขางสูง จึงนิยมอบชุบเหล็กที่มีราคาแพงที่ตองการความ
แมนยําของขนาดสูง เชน หัวกดในการขึ้นรูปโลหะแผน เหล็กสปริงเปนตน
4) ไอโซเทอรมอล เปนวิธีการคลายกับกระบวนการออสเทมเปอริง แตแตกตางตรงที่การ
แชอางเกลือสองครั้ง ดัง รูป ที่ 9.36 d) โดยนําชิ้นงานมาแชในอางเกลือแรกที่อุณหภูมิเ หนือเสน Ms
จนกระทั่งออสเทไนตแปลงเฟสเปนเบไนตสมบูรณแลว จากนั้นนําไปจุมในอางเกลืออันที่สองซึ่งมีอุณหภูมิ
สูงกวาอันแรก แลวคอยปลอยใหเย็นตัวในอากาศ เปนการลดความเคนภายในชิ้นงานที่เกิดขึ้นในขั้นตอน
การแปลงเฟสหรือเปนการอบคืนตัวในตัว
188

(a) (b)

(c) (d)
รูปที่ 9.36 การเย็นตัวแบบตาง ๆ ในกระบวนการชุบแข็ง a) การชุบแข็งโดยตรง b) มารเทมเปอริง
c) ออสเทมเปอริง d) ไอโซเทอรมอล
189

 การอบคืนตัว
เมื่อเหล็กผานการชุบแข็งจะมีความเปราะสูงและมีความแกรงต่ํา ดังนั้นจึงจําเปนตองเพิ่ม
ความแกรงกอนใชงาน โดยทั่วไปจะอบชิ้นงานหลังการชุบแข็งที่อุณหภูมิประมาณ 160-650oC ปฏิกิริยา
ที่เกิดขึ้นในระหวางการอบคืนตัวคือการเกิดคารไบดขนาดเล็กในมารเทนไซต ทําใหปริมาณคารบอนใน
มารเทนไซตลดลง ซึ่งเปนการลดความแข็งของมารเทนไซต และที่สําคัญอีกอยางคือเกิดการแปลงเฟส
จากออสเทไนตเหลือคางจากการชุบ แข็งเปนมารเทนไซต สมบัติของเหล็กกลาที่ผ านการอบคืนตัวจะ
ขึ้นกับปจจัยตอไปนี้
-อุณหภูมิ อบคืนตัว อุณหภูมิในการอบมีผลโดยตรงตอความแข็ง และความแข็ง แรงของ
เหล็กกลา ซึ่งโดยทั่วไปจะพิจารณาความแข็งเปนหลัก รูปที่ 9.37 แสดงผลของอุณหภูมอิ บคืนตัวตอสมบัติ
ทางกลไดแก ความแข็งแรง ความแข็ง และความเหนียวของเหล็กกลาคารบอน 1050 หลังการแชเปนเวลา
1 ชั่วโมง ซึ่งพบวาทั้งความแข็งและความแข็งแรงลดลงเมื่อเพิ่มอุณหภูมิอบคืนตัว ในขณะที่ความเหนียว
เพิ่มขึ้น ในเหล็กกลาผสมต่ําก็มีพฤติกรรมคลายกันดังแสดงในรูปที่ 9.38

รูปที่ 9.37 ผลของการอบคืนตัวตอสมบัตทิ างกลของเหล็กกลาคารบอนเกรด 1050 หลังชุบแข็ง


(ปรับปรุงจาก [18])
190

รูปที่ 9.38 ผลของอุณหภูมิอบคืนตัวตอสมบัติทางกลของเหล็กกลา 4340 หลังการชุบแข็งในน้ํามัน


(ปรับปรุงจาก [18])

รูปที่ 9.39 ผลของเวลาแชตอความแข็งของเหล็กกลาคารบอน 1082 หลังการชุบแข็งในน้ํามัน


(ปรับปรุงจาก [18])
191

-เวลาแช เวลาแชมีบทบาทสําคัญในแงการแพรของธาตุผสมตาง ๆ ซึ่งจําเปนสําหรับการ


ฟอรมคารไบด รวมถึงการแปลงเฟสของออสเทไนตและมารเทนไซตดังตัวอยางในรูปที่ 9.39 สําหรับ
เหล็กกลาคารบอน 1082 พบวาความแข็งลดลงเปนเสนตรงเมื่อเวลาแชเพิ่มขึ้น โดยความแข็งลดลงอยาง
มากในชวง 10 วินาทีแรก เมื่อเพิ่มอุณหภูมิอบคืนตัวยิ่งทําใหความแข็งลดลงไปอีก หลังจากการแชที่ 600
วินาทีไปแลวพบวาความแข็งลดลงเล็กนอย Holloman และ Jaffe ไดสรางสมการความสัมพันธระหวาง
อุณหภูมิและเวลาเพื่อทํานายความแข็งของเหล็กกลาคารบอนหรือเหล็กกลาผสมต่ําหลังการชุบแข็งและ
อบคืนตัว โดยพารามิเตอรอบคืนตัวซึ่งแทนดวยตัว P คือ
P  T k  log t  (9.3)
เมื่อ k คือคาคงที่ (ประมาณ 20 ) T คืออุณหภูมิในหนวย K และ t คือเวลาเปนวินาที
-อัตราการเย็นตัว แมวาการเย็นตัวจะไมมีผ ลตอความความแข็ง แรง แตจะมีผ ลตอความ
แกรงสําหรับเหล็กกลาผสมบางชนิด ในการอบคืนตัวเหล็กกลาผสมบางชนิดพบวาความแกรงจะลดลงเมื่อ
เย็นตัวชาในชวงอุณหภูมิ 375-575oC ซึ่งเรียกวาความเปราะอบคืนตัว (Temper embrittlement) เกิด
จากการแยกตัวรวมกันของสารเจือปนและธาตุผสมตามขอบเกรนไดแก ดีบุก พลวง สารหนู ฟอสฟอรัส
รวมกับโครเมียม และ/หรือแมงกานีส สารประกอบของธาตุเหลานี้จะทําใหเปราะและแตกระหวางเกรน
เพื่อปองกันปญหาดังกลาวจึงควรเย็นตัวอยางรวดเร็วหลังการอบคืนตัวกอนอุณหภูมิ 575oC รูปที่ 9.40
แสดงผลการทดสอบการกระแทกของเหล็กกลาผสมเกรด 5140 ที่เย็นตัวชาในเตาและเย็นตัวเร็วหลังการ
อบคืนตัว พบวาชิ้นงานที่เย็นตัวเร็วจะมีพลังงานการกระทกสูงกวาและมีอุณหภูมิเปลี่ยนจากเหนียวเปน
เปราะต่ํากวาชิ้นงานที่เย็นตัวในเตา

รูปที่ 9.40 การทดสอบการกระแทกโดยวิธีชารปข องเหล็กกลา 5140 ผานการชุบแข็งและอบคืนตัวที่


620oC เย็นตัวเร็วและเย็นตัวในเตา (ปรับปรุงจาก [9])
192

-ธาตุผสม ตัวอยางผลของธาตุผสมบางชนิดตอสมบัติทางกลในการอบคืนตัวเหล็กกลาผสม
สําหรับการอบคืนตัวที่ 315°C เปนเวลา 1 ชั่วโมงแสดงดังรูปที่ 9.41 พบวาความแข็งในสภาพอบคืนตัว
เพิ่มขึ้นไดเมื่อเติมธาตุผสมบางชนิดที่ฟอรมคารไบดได นอกจากนี้ยังพบวาซิลิคอนสามารถเพิ่มความแข็ง
ไดสูง ในเหล็กกลาที่เติมธาตุที่ฟอรมคารไบดไดดีเชน โมลิบดีนัม หรือโครเมียมดังรูปที่ 9.42 จะพบวา
กราฟความแข็งแสดงการทําใหแข็งขึ้นทุติยภูมิเ นื่องจากการตกตะกอนของคารไบดประเภททุติยภูมิที่
อุณหภูมิ 500-600°C ซึ่งจะสงผลใหมีความแข็งกลับสูงขึ้น อยางไรก็ตามการเกิดคารไบดอาจลดความ
แกรงของเหล็กกลาลง

รูปที่ 9.41 ผลของธาตุผสมตอการเพิ่มความแข็งของเหล็กกลาผสมอบคืนตัวที่ 315oC เปนเวลา


1 ชั่วโมง (ปรับปรุงจาก [12])

รูปที่ 9.42 ผลของการอบคืนตัวตอความแข็งของเหล็กกลา 0.35% C ที่เติมโมลิบดีนัม (ปรับปรุงจาก [18])


193

 การทําใหแข็งแรงขึ้นจากตะกอน
กรรมวิธีนี้เปนกระบวนการเพิ่มความแข็งแรงและความแข็งของโลหะโดยการทําใหเกิดเฟสที่
สองกระจายตัวอยูอยางสม่ําเสมอในเฟสเดิม อนุภาคเล็ก ๆ เหลานี้จะเกิดขึ้นดวยกรรมวิธีทางความรอนที่
เหมาะสม ซึ่งเรียกวาการทําใหแข็งแรงขึ้นจากตะกอน อนุภาคของเฟสที่สองเรียกวาตะกอน ในบางครั้ง
อาจจะพบคําวาบมแข็ง (Age hardening) ไดเหมือนกัน ซึ่งเปนหนึ่งในวิธีนี้โดยความแข็งแรงจะเกิดขึ้นเอง
ตามเวลาที่เหมาะสม การทําใหแข็งแรงขึ้นจากตะกอนจะใชสําหรับโลหะผสมของ Al-Cu, Cu-Be, Cu-Sn,
Al-Mg และเหล็กกลาผสมบางชนิด
แมว าวิ ธีนี้จ ะแตกต างไปจากการชุบ แข็ ง เหล็ก กลา (ที่ตอ งการใหไ ด ม ารเ ทนไซต ) แต
ทายที่สุดแลวก็จะคลายกับการอบคืนตัวเพื่อใหไดเทมเปอรมารเทนไซต โดยมีวิธีการเริ่มตนคลายกันและ
เย็นตัวคลายกัน แตมีกลไกในการเพิ่มความแข็งแรงตางกัน ขั้นตอนการทําใหแข็งแรงขึ้นจากตะกอนนั้นมี
ขอจํากัดเริ่มตนที่วา โลหะผสมนั้นจะตองมีขีดจํากัดความสามารถในการละลายสูงสุดมากและขีดจํากัด
การละลายลดลงอยางมากเมื่ออุณหภูมิลดลง หรือความหมายในแงหนึ่งคือตองเปนสองเฟสที่อุณหภูมิต่ํา
และเปนเฟสเดียวที่อุณหภูมิสูงนั่นเอง ถามีเงื่อนไขครบทั้งสองขอจึงจะสามารถทําใหแข็งแรงขึ้นจาก
ตะกอนได ตัวอยางแผนภูมิเฟสที่ใชสําหรับการทําให แข็งแรงขึ้นจากตะกอนแสดงดัง รูปที่ 9.43 จาก
รูปแสดงเสนโซลวัสที่บอกความสามารถในการละลายสูงสุดของโลหะ B ที่ละลายในโลหะ A และขีดจํากัด
นีล้ ดลงเรื่อย ๆ ตามเสน โซลวัสเมื่ออุณหภูมิลดลงจนกระทั่งต่ําสุด ทั้งนี้สวนผสมทางเคมีตองอยูระหวาง
เสนโซลวัสนี้ ดังตัวอยางคือที่สวนผสมทางเคมี C เปนตน ขั้นตอนการชุบแข็งจะประกอบไปดวย 3 ขั้นตอน
ดังนี้
1. การทําใหเปนสารละลายเฟสเดีย วเริ่ม ตนจากการใหความรอนที่สวนผสม C โดยที่
อุณหภูมิหองจะประกอบดวยเฟส  และ  เมื่อเพิ่มอุณหภูมิขึ้นเรื่อย ๆ จะพบวาปริมาณของเฟส  ลดลง
และปริมาณของเฟส  จะมากขึ้น โดยเฟส  บางสวนจะสลายตัวเองกลับไปเปน  จนกระทั่งถึงจุด TS
ซึ่งเฟส  ทั้งหมดไดสลายตัวไปเปนเฟส  จนหมดแลว
2.การเย็นตัวเร็ว ภายหลัง จากแชที่อุณหภูมิ TS จนกลายเปน เฟส  อยางสมบูรณแลว
โลหะผสมจะถูกทําใหเย็นตัวอยางรวดเร็วจนมาถึงอุณหภูมิหองดังรูปที่ 9.43 b) เนื่องจากการเปลี่ยนแปลง
นี้เร็วมากจนกระทั่งเฟส  เกิดขึ้นไมทัน ดังนั้นที่อุณหภูมิหองจะพบเพียงเฟส  เพียงอยางเดียว สภาพนี้
เรียกวาเกิดสารละลายของแข็งอิ่มตัวยิ่งยวด (Super-saturated solid solution)
3. การอบใหตกตะกอนหรือการบม (Precipitation หรือ Aging)ในขั้นตอนนี้เปนการ
บังคับใหเฟสตกตะกอนออกมาจาก  โดยการอบที่อุณหภูมิที่เหมาะสมในบริเวณของเฟส  และ  ถา
194

นําชิ้นงานมาอบตามแผนภูมิเฟสที่อุณหภูมิ TP จะพบวาเฟส  จะคอย ๆ ตกตะกอนออกมาและกระจาย


ตัวอยูทั่วไปในเฟส  เรียกวาการบม (Aging) โดยการตกตะกอนและการกระจายตัวนี้จะเกี่ยวของกับ
อุณหภูมิและเวลาในการอบเปนอยางมาก ถาบม ที่อุณหภูมิต่ําเกินไปและใชเวลานอย ขนาดของเม็ด
ตะกอนจะเล็กมากเกินไป ทําใหไดความแข็งและความแข็งแรงต่ํา แตถาเลือกใชอุณหภูมิในการบมสูงและ
มีระยะเวลานานเกินไป จะทําใหเม็ดตะกอนเกิดการรวมตัวกันเปนเม็ดใหญและมีจํานวนตะกอนลดลง
ทําใหสูญเสียความแข็งและความแข็งแรงไปเรียกวาการบมเกิน(Over-aging) อยางไรก็ตามทั้งหมดที่กลาว
มานี้เ ปนการบมวิธีนี้เรียกวาการบมเทียม (Artificial aging) ในบางครั้งมีการทําการบม โดยธรรมชาติ
(Natural Aging) คือหลังจากเย็นตัวอยางรวดเร็วแลวปลอยทิ้งไวที่อุณหภูมิหองชวงระยะเวลาหนึ่ง เฟส 
ก็จะเกิดขึ้นมาไดเอง แตอาจตองใชเวลาหลายวันถึงจะใหความแข็งและความแข็งแรงตามตองการ รูปที่
9.44 แสดงตัวอยางความแข็งที่ไดจากการทําใหแข็งแรงขึ้นจากตะกอนที่อุณหภูมิสูงและอุณหภูมิต่ํา

รูปที่ 9.43 ตัวอยางแผนภูมิสําหรับการชุบแข็งแบบตกตะกอน [2]

รูปที่ 9.44 ความแข็งของโลหะทีผ่ านการทําใหแข็งแรงขึ้นจากตะกอนทีเ่ วลาตางๆ [2]


195

กลไกที่ทําใหความแข็งเพิ่มขึ้นหลังการตกตะกอนของเฟสที่สองคือ เฟสที่เกิดขึ้นนั้นขัดขวาง
การเคลื่อนที่ของดิสโลเคชันได โดยเฟสที่เกิดขึ้นจะตองยึดเนื้อพื้นไวอยางเหนียวแนน กลไกการเพิ่ม
ความแข็งนี้แสดงดังรูปที่ 9.45 ของระบบทองแดงกับอะลูมิเนียม รูปที่ 9.45 a) แสดงตําแหนงของอะตอม
ทองแดงและอะลูมิเนียมซึ่งอยูในสภาพที่ละลายแบบอิ่มตัวยิ่งยวด ในขณะบมนั้นอะตอมทองแดงจะแพร
มารวมตัวเปนกลุมกันและรวมกับอะตอมอะลูมิเนียมเกิดเปนโซนเฟสที่ไมเสถียรคือ  ดังรูปที่ 9.45 b)
เมื่อเวลาในการบมเพิ่มขึ้น พบวาเฟส  ซึ่งเปนเฟสที่ไมเสถียรจะพยายามยึดกับเนื้อพื้นของอะลูมิเนียม
อยางเหนียวแนน ทําใหอะตอมในเนื้อพื้นบิดเบี้ยว สงผลทําใหมีความแข็งแรงเพิ่มขึ้น แตถาใชเ วลา
มากกวานี้เฟส  จะรวมกลุมกันใหญขึ้นและกลายเปน  ดังรูปที่ 9.45 c) ซึ่งจะเปนเฟสที่เสถียรของ
CuAl2 เฟสนี้จะไมยึดกับเนื้อพื้นของอะลูมิเนียม ทําใหความแข็งแรงกลับลดลง ตัวอยางโครงสรางจุลภาค
ของโลหะผสมอะลูมิเนียมเกรด 7150-T651 ที่ผานการบมแสดงในรูปที่ 9.45 d)

(d)

รูปที่ 9.45 แสดงขั้นตอนการเกิดเฟสตาง ๆ ในกระบวนการบมและโครงสรางจุลภาคของโลหะผสม


อะลูมเิ นียมเกรด 7150-T651 ที่ผานการทําใหแข็งแรงขึ้นจากตะกอน[1]
196

9.7 สรุป
โลหะประเภทเหล็กเปนโลหะที่ใชในทางวิศวกรรมมากที่สุด การศึกษาการแปลงเฟสของ
เหล็กกลาจะอาศัยแผนภูมิเหล็ก-คารบอนในรูปแบบของซีเมนไตต โครงสรางจุลภาคของเหล็กกลาจะเริ่ม
จากออสเทไนตที่มีโครงสรางผลึกแบบ FCC เกิดปฏิกิริยายูเทกทอยดเปลี่ยนเปนโครงสรางเพอรไลตซึ่ง
ประกอบไปดวยเฟรไรตและซีเมนไตต ในทางปฏิบัติแผนภูมิเฟสของเหล็กกลาใชไดจํากัดเมื่อใชอธิบาย
การแปลงเฟสในเหล็กกลาผสม เนื่องจากแผนภูมินี้ไมไดกลาวถึงอัตราเร็วของการแปลงเฟส ประเด็นของ
เวลาในการแปลงเฟสจะอธิบายโดยใชแผนภูมิการแปลงเฟสที่อุณหภูมิคงที่และการแปลงเฟสชนิดเย็นตัว
ตอเนื่อง ซึ่งแผนภูมินี้สามารถทํานายโครงสรางจุลภาคของเหล็กกลาในทางปฏิบัติได
ในเหล็กกลานอกจากออสเทไนตจะแปลงเฟสเปนเพอรไรตแลวยังสามารถแปลงเฟสเปนเฟส
อื่นไดอีกเชน เบไนต หรือมารเทนไซต ขึ้นกับสวนผสมทางเคมีและกรรมวิธีท างความรอน มารเทนไซต
เกิดจากการแปลงเฟสของออสเทไนตอยางรวดเร็ว มารเทนไซตเปนเฟสแบบกึ่งเสถียรและเปนการแปลง
เฟสแบบไมอาศัยการแพร การเติมธาตุผสมบางชนิดจะหนวงการเกิดเพอรไรตและเบไนตทําใหเกิดเฟส
มารเทนไซตไดงายขึ้น มารเทนไซตมีความแข็งสูงแตมีความเปราะสูงเชนกัน ดังนั้นจึงจําเปนตองทําการ
อบคืนตัวกอนใชงาน การอบคืนตัวชวยเพิ่มความเหนียวโดยยังคงความแข็งและความแข็งแรงไวในระดับ
หนึ่ง การอบคืนตัวทําใหมารเทนไซตแปลงเฟสเปนเทมเปอรมารเทนไซต เหล็กกลาบางชนิดอาจเกิดการ
เปราะในขั้นตอนการอบคืนตัวได ดังนั้นจึงจําเปนตองเลือกชวงอุณหภูมิการอบคืนตัวใหเหมาะสม
กรรมวิธีทางความรอนของเหล็ก กลามีห ลายวิธี การอบที่อุณหภูมิสูง แลวเย็นตัวชา มาก
เรียกวาการอบออน ในเนื้อหาไดกลาวถึงการอบออนไวหลายชนิด หลังการอบออนเหล็กกลาจะมีความ
เหนียวและนิ่ม ในเหล็กบางชนิดอาจตองอบปกติเพื่อปรับสภาพเกรนใหมีความเล็กละเอียด การอบออน
เต็มที่และการอบใหคารไบดกลมจะทําใหมีความเหนียวมากขึ้น ในเหล็กกลาที่ตองการความแข็งแรงสูง
จําเปนตองมีเฟสมารเทนไซตเปนสวนใหญ ความสามารถในการชุบแข็งคือความสามารถในการเกิดเฟส
มารเ ทนไซตจากการอบชุบซึ่งขึ้นกับ ธาตุผ สมในเหล็กกลา ความสามารถในการชุบแข็งของเหล็กกลา
สามารถหาไดโดยวิธีทดสอบจอมินี อัตราการเย็นตัวมีผลตอการเกิดเฟสมารเทนไซต สารชุบประเภทน้ํา
จะมีอัตราการเย็นตัวเร็วกวาน้ํามันหรืออากาศ ขนาดและรูปทรงชิ้นงานมีผลตอการเกิดมารเ ทนไซต
เชนกัน โดยชิ้นงานหนาหรือมีขนาดใหญจะเย็นตัวชาเกิดเฟสมารเทนไซตไดยากกวาชิ้นงานขนาดเล็กหรือ
บาง โลหะผสมบางชนิดสามารถการทําใหแข็งแรงขึ้นจากตะกอน โดยการทําใหเกิดการตกตะกอนของ
เฟสที่ส อง เฟสที่ส องนี้จ ะตานการเคลื่อนที่ของดิส โลเคชัน ทําใหโ ลหะแข็ง แรงขึ้น การควบคุม ขนาด
อนุภาคของเฟสที่สองทําไดโดยการควบคุม เวลาและอุณหภูมิในการอบ เพื่อใหไดโ ลหะผสมที่มีความ
แข็งแรงตามตองการ
197

คําถามทายบท
1. เมื่อพิจารณาในระดับจุลภาค การแปลงเฟสเกิดไดโดยอาศัยกระบวนการสองชนิดที่เกิดขึ้นตอเนื่องกัน
จงอธิบายกระบวนการยอยทั้งสองนี้
2. ถาเหล็กกลามีสวนผสมยูเทกทอยดเย็นตัวจากอุณหภูมิ 760oC มาที่อุณหภูมิ 550oC ภายในเวลา 0.5
วินาทีและรักษาไวที่อุณหภูมินี้
(ก) จะใชเวลาเทาใดที่เกิดการแปลงเฟสจากออสเทไนตเปนเพอรไลตเปนปริมาณ 50% และ 100%
(ข) ประมาณคาความแข็งของโลหะผสมที่แปลงเฟสเปนเพอรไลตโดยสมบูรณ
3. จากแผนภูมิการแปลงเฟสที่อุณหภูมิคงที่ของเหล็กกลาคารบอนที่มีสวนผสมยูเทกทอยด จงอธิบาย
โครงสรางจุลภาคในชิ้นงานขนาดเล็กที่มีการอบชุบตอไปนี้ในแตละกรณี ถาชิ้นงานมีอุณหภูมิเริ่มตนที่
760oC และถูกรักษาที่อุณหภูมินี้นานพอที่จะทําใหไดโครงสรางจุลภาคเปนออสเทไนตโดยสมบูรณ
(ก) เย็นตัวอยางรวดเร็วมาที่อุณหภูมิ 700oC และรักษาไวที่อุณหภูมินี้เปนเวลา 104 วินาทีแลวจึง
ชุบลงสูอุณหภูมิหอง
(ข) ใหความรอนแกชิ้นงานในขอ (ก) อีกครั้งจนอุณหภูมิ 700oC เปนเวลา 20 ชั่วโมง
(ค) เย็นตัวอยางรวดเร็วมาที่อุณหภูมิ 600oC รักษาไวเปนเวลา 4 วินาทีและเย็นตัวอยางรวดเร็ว
มาที่อุณหภูมิ 450oC รักษาไวเปนเวลา 104 วินาทีแลวจึงชุบลงสูอุณหภูมิหอง
(ง) เย็ นตัวอยางรวดเร็วมาที่อุณ หภูมิ 400oC รั ก ษาไวเ ป นเวลา 2 วินาที แลว จึง ชุ บ ลงสู
อุณหภูมิหอง
(จ) เย็น ตัว อย างรวดเร็ วมาที่ อุณ หภู มิ 400oC รั ก ษาไวเ ปน เวลา 20 วิน าที แล วชุ บ ลงสู
อุณหภูมิหอง
4. จงเขียนเสนทางการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิและเวลา ในแผนภูมิการแปลงเฟสที่อุณหภูมิคงที่ของ
เหล็กกลาคารบอนที่มีสวนผสมยูเทกทอยด ที่จะทําใหไดโครงสรางจุลภาคตอไป
(ก) 100% เพอรไลตหยาบ (ข) 50% มารเทนไซตและ 50% ออสเทไนต
(ค) 50% เพอรไลตหยาบ 25% เบไนต และ 25% มารเทนไซต
5.จงใชแผนภูมิการแปลงเฟสที่อุณหภูมิคงที่ของเหล็กกลาคารบอนสวนผสม 1.13%wt C จงอธิบาย
โครงสรางจุลภาคในชิ้นงานขนาดเล็กที่ผานการอบชุบตอไปนี้ โดยในแตละกรณีชิ้นงานมีอุณหภูมิ
เริ่มตนที่ 920oC และรักษาที่อุณหภูมินี้นานพอที่จะทําใหไดโครงสรางจุลภาคเปนออสเทไนตโดย
สมบูรณ
198

(ก) เย็นตัวอยางรวดเร็วมาที่อุณหภูมิ 250oC และรักษาไวที่อุณหภูมินี้เปนเวลา 103 วินาทีแลวจึง


ชุบลงสูอุณหภูมิหอง
(ข) เย็นตัวอยางรวดเร็วมาที่อุณหภูมิ 775oC และรักษาไวที่อุณหภูมินี้เปนเวลา 500 วินาทีแลว
จึงชุบลงสูอุณหภูมิหอง
(ค) เย็นตัวอยางรวดเร็วมาที่อุณหภูมิ 400oC และรักษาไวที่อุณหภูมินี้เปนเวลา 500 วินาที
แลวจึงชุบลงสูอุณหภูมิหอง
(ง) เย็นตัวอยางรวดเร็วมาที่อุณหภูมิ 650oC และรักษาไวที่อุณหภูมินี้เปนเวลา 3 วินาทีและเย็น
ตัวอยางรวดเร็วมาที่อุณหภูมิ 400oC รัก ษาไวเ ปนเวลา 25 วินาที แลวจึง ชุบ ลงสู
อุณหภูมิหอง
(จ) เย็นตัวอยางรวดเร็วมาที่อุณหภูมิ 675oC รัก ษาไวเปนเวลา 7 วินาที แลวจึง ชุบ ลงสู
อุณหภูมิหอง
6.จงเขียนเสนทางการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิและเวลาในแผนภูมิการแปลงเฟสที่อุณหภูมิคงที่ของ
เหล็กกลาคารบอนสวนผสม 1.13% C ที่จะทําใหไดโครงสรางจุลภาคตอไปนี้
(ก) 50% เพอรไลตละเอียดและ 50% เบไนต (ข) 100%มารเทนไซต
(ค) 100% เทมเปอรมารเทนไซต
7.จงบอกชื่อของสวนผสมจุลภาคของเหล็กกลาคารบอนที่มีสวนผสมยูเทกทอยด (0.76 wt% C) ที่มี
โครงสรางเปนออสเทไนตโดยสมบูรณ และทําใหเย็นลงดวยอัตราการเย็นตัวตอไปนี้
(ก) 200oC/s (ข) 100oC/s (ค) 20oC/s
8.จงบอกความแตกตางระหวางการแปลงเฟสเปนมารเทนไซตและการแปลงเฟสเปนเพอรไลต
9.จงอธิบายวาเหตุใดจึงไมมีบริเวณการเกิดเบไนตในแผนภูมิการแปลงเฟสระหวางการเย็นตัวตอเนื่องของ
เหล็กกลาคารบอนที่มีสวนผสมยูเทกทอยด
10. จงระบุโครงสรางจุลภาคของเหล็กกลาผสมชนิด 4340 ที่มีโครงสรางเปนออสเทไนตโดยสมบูรณและ
ทําใหเย็นลงดวยอัตราการเย็นตัวดังนี้
(ก) 10oC/s (ข) 1oC/s (ค) 0.1oC/s (ง) 0.01oC/s
11. โครงสรางเพอรไลตและโครงสรางคารไบดกลมอยางใดมีความเสถียรกวากันเพราะเหตุใด
12. จงประมาณคาความแข็งแบบร็อกเวลลของเหล็กกลาคารบอนที่มีสวนผสมยูเทกทอยดที่ผานการอบ
ชุบดวยความรอนในขอ 11
13. สําหรับเหล็กกลาคารบอนที่มีสวนผสมยูเทกทอยด จงออกแบบการอบชุบดวยความรอนที่ไดชิ้นงานที่
มีความแข็ง (ก) 180 HB (ข) 220 HB (ค) 500 HB
199

14. จงสรางกราฟการกระจายความแข็งสําหรับ
(ก) ตัวอยางทรงกระบอกเหล็กกลาผสม 8640 เสนผานศูนยกลาง 50mm
ชุบในน้ํามันที่กวนพอสมควร
(ข) ตัวอยางทรงกระบอกเหล็กกลาผสม 5140 เสนผานศูนยกลาง 75mm
ชุบในน้ํามันที่กวนพอสมควร
(ค) ตัวอยางทรงกระบอกเหล็กกลาผสม 8630 เสนผานศูนยกลาง 90mm
ชุบในน้ํามันที่กวนพอสมควร
(ง) ตัวอยางทรงกระบอกเหล็กกลาผสม 8660 เสนผานศูนยกลาง 100mm
ชุบในน้ํามันที่กวนพอสมควร
15. เปรียบเทียบความรุนแรงการชุบแข็งในน้ําและน้ํามันทีก่ วนพอสมควร โดยใชการกระจายความแข็งใน
แนวรั ศ มี บ นกราฟรู ป เดี ย วกั น สํ า หรั บ ตั ว อย า งทรงกระบอกเหล็ ก กล า ผสม 8640
เสนผาศูนยกลาง 75 mm ชุบในน้ําและน้ํามัน
16. จงเปรียบเทียบการทําใหแข็งแรงขึ้นจากตะกอนและการเพิ่มความแข็งใหเหล็กกลาดวยการชุบแข็ง
แลวอบคืนตัว โดยพิจ ารณาขั้นตอนการอบชุบ ทั้ง หมด โครงสรางจุลภาคที่ได สมบัติทางกล
เปลี่ยนแปลงอยางไรระหวางการอบชุบแตละขั้นตอน
17. เหล็กกลาทรงกระบอกขนาดเสนผานศูนยกลาง 25 mm ชุบแข็งในน้ํามันกวนพอสมควร ความ
แข็งที่ผิวและที่จุดศูนยกลางตองมีคาอยางต่ํา 55 และ 50 HRC ตามลําดับ โลหะผสมชนิดใด
ตอไปนี้ที่ใหผลไดตามตองการ 1040, 5140, 4340, 4140 และ 8640
18. โลหะผสมทองแดง–เบริลเลียมที่มีทองแดงผสมสามารถทําใหแข็งแรงขึ้นตะกอนได จงออกแบบ
สวนผสมทางเคมีและขั้นตอนที่เหมาะสมในการทําใหแข็งแรงขึ้นจากตะกอน
200

บทที่ 10
โลหะ
10.1 บทนํา
ปญหาอยางหนึ่งที่พบเห็นบอยครั้งในการทํางานดานวัสดุคือการเลือกใชวัสดุใหถูกตองและเหมาะสม
กับ สภาพการทํางานนั้นๆ วัส ดุท างวิศวกรรมมีอยูม ากมายหลายประเภท ผูใ ชง านจึง ควรตองเขาใจใน
คุณสมบัติของวัสดุแตละประเภทและสามารถเลือกใชไดอยางถูกตองเหมาะสม
ชนิดของโลหะที่ใชงานในทางวิศวกรรมมักอยูในรูปของโลหะผสม โดยสวนใหญจะแบงไดเปนสองกลุม
คือ โลหะในกลุ ม เหล็ ก และนอกกลุ ม เหล็ ก โลหะในกลุ ม เหล็ ก จะมี เ หล็ ก เป นธาตุ ผ สมหลัก ในกลุ ม นี้ จ ะ
ประกอบดวยเหล็กกลาและเหล็กหลอ สวนโลหะนอกกลุมเหล็กคือกลุมที่เหล็กไมไดเปนธาตุผสมหลักตัวอยาง
โลหะกลุมนี้ไดแก อะลูมิเนียม ทองแดง แมกนีเซียมและไททาเนียม เปนตน

10.2 โลหะในกลุมเหล็ก
โลหะในกลุมนี้จะผลิตใชงานมากกวากลุมอื่นโดยสวนใหญจะเปนชิ้นสวนเครื่องจักรกลหรือโครงสราง
ตางๆทางวิศวกรรม สาเหตุที่เหล็กมีการใชงานมากนั้นไดแก มีมากในเปลือกโลก มีความยืดหยุนในการผลิตสูง
โดยเหล็กและเหล็กกลาสามารถผลิตดวยกรรมวิธี การถลุง การทําใหบริสุทธิ์ การเติมธาตุผสมอื่นและการขึ้น
รูป มีสมบัติทางกลและทางกายภาพหลากหลาย ครอบคลุมการใชงานทางวิศวกรรม ก า ร แ บ ง ช นิ ด ข อ ง
โลหะในกลุมเหล็กแสดงดังรูปที่ 10.1

รูปที่ 10.1 ชนิดตางๆของโลหะในกลุม เหล็ก


201

10.3 การผลิตเหล็กและเหล็กกลา
ประกอบดวยสองขั้นตอนคือ การถลุงเหล็กและการทําเหล็กใหบริสุทธิ์มากขึ้นหรือกระบวนการผลิต
เหล็กกลา (Steel making)
การถลุงเหล็ก เปนกระบวนการนําแรเหล็กจากเปลือกโลกมาถลุงเอาสิง่ เจือปนออกใหกลายเปนเหล็ก
ดิบ แรเหล็กจะอยูในรูปของแร hematite (Fe2O3) เปนสวนใหญ และบางสวนจะเปน magnetite (Fe3O4),
siderite (FeCO3), และ limonite (Fe2O3-xH2O, x มีคาประมาณ 1.5) โดยแรทเี่ หมาะแกกสารถลุงควรมีเนื้อ
เหล็กประมาณ 50-70% นอกจากแรเหล็กแลวยังมีสวนประกอบทีส่ ําคัญอื่นๆไดแก ถานโคก โดยเมื่อไดรบั
ความรอนถานโคกจะเกิดปฏิกริ ิยาคายความรอน และเกิดแกส carbon monoxide (CO) เพื่อใชในการถลุงแร
เหล็ก หินปูนหรือปูนขาวทําหนาที่เปนฟลักซ (flux) ดึงสิ่งสกปรกหรือสิ่งเจอปนตางๆออกไปจากเนื้อเหล็ก
นอกจากนี้ยงั มีแกสรอนๆตางๆไดแก CO, H2, CO2, H2O, N2, O2 และ เชื้อเพลิงเพื่อชวยในการเผาไหมให
ความรอน เตาที่ใชในการถลุงแรเหล็กคือ เตาblast (blast furnace) ดังรูปที่ 10.2 ซึ่งอาจมีขนาด
เสนผาศูนยกลาง 9-11 เมตร สูง 40 เมตร วัตถุดิบจะถูกปอนเขาทางดานบนเปนชั้นๆ แกสรอนจะถูกเปาทาง
ดานขางของเตา ปฏิกิริยาตางๆทีเ่ กิดขึ้นในเตามีดงั นี้
แร hematite : Fe2O3 + CO  2FeO + CO2
CO2 รวมกับถานโคกเกิด CO: CO2 + C (coke)  2CO
สุดทายแยกเหล็กออกจาก FeO : FeO + CO  Fe + CO2
เหล็กที่ไดจากการถลุงจะเรียกวาเหล็กดิบ (Pig iron)ซึ่งมีสว นผสมโดยประมาณคือ 4%C และสิ่งเจือปนไดแก
0.3-1.3% Si, 0.5-2.0% Mn, 0.1-1.0% P, and 0.02-0.08% S โดยทั่วไปทุกๆวัตถุดิบที่ใสไป 7 ตันจะให
เหล็กดิบออกมา 1 ตัน

รูปที่ 10.2 เตา blast สําหรับถลุงแรเหล็ก


202

จากสวนผสมของเหล็กดิบจะพบวายังมีสวนผสมของคารบอนที่สูงและมีสิ่งเจือปนมาก ดังนั้นจึง
จําเปนตองผานกระบวนการที่ทําใหบริสุทธิ์ขึ้นเรียกวา กระบวนการผลิตเหล็กกลา (Steel making) เปนการ
เปลี่ยนเหล็กดิบใหกลายเปนเหล็กกลาทีส่ ามารถใชงานได ปจจุบันจะอาศัยเตาอยูส องแบบคือ เตา Basic
oxygen furnace หรือ เตา BOF และเตาไฟฟา (Electric furnace)
การผลิตดวยเตา BOF จะใหหลักการเปาแกสออกซิเจนเขาไปในเตาเพือ่ ดึงเอาคารบอนออกในรูปแกส
CO2 กระบวนการผลิตดังแสดงในรูป 10.3 เริ่มตนจากการใสเศษเหล็ก จากนั้นเติมเหล็กดิบหลอมเหลวลงไป
หลังจากที่เศษเหลกหลอมละลายก็จะทําการเปาออกซิเจนเพื่อไปดึงเอาคารบอนออกจากน้ําเหล็ก หลังจากได
สวนผสมทางเคมีตามตองการแลวจะแยกน้ําเหล็กที่มีความบริสุทธิ์ขึ้นออกจากสิง่ เจือปนตางๆที่อยูดานบน การ
ผลิตในแตละครั้งจะไดน้ําเหล็กครั้งละมากกวา 150 ตันและใชเวลาในการผลิตตอครัง้ ประมาณ 45 นาที
การผลิตเตาไฟฟา (Electric furnace) เตาประเภทนี้ใชงานมากในปจจุบันดังรูปที่ 10.4 จะอาศัยการ
ปอนกระแสไฟฟาที่มีความตางศักยสูงมากผานขั้วอีเล็คโทรดที่ทําจากกราไฟต เกิดการอารคอยางรุนแรงและมี
อุณหภูมิสงู มากจนทําใหเหล็กหลอมเหลวได วัตถุดิบหลักคือ เศษเหล็กกลา และเหล็กดิบ ความจุเตามีตั้งแต
ประมาณ 25 ตันจนถึง 200 ตันตอครั้งในการผลิต เวลาในการหลอม 2 ชั่วโมง และ เวลาทัง้ หมดในการผลิต
จนไดน้ําเหล็กทีม่ ีสวนผสมทางเคมีที่ตองการประมาณ 4 ชั่วโมง มีความสามารถใชในการผลิตเหล็กได
หลากหลายทั้ง เหล็กกลาผสม (alloy steels), เหล็กกลาเครื่องมือ (tool steels) และเหล็กกลาไรสนิม
(stainless steel) เมื่อเปรียบเทียบกับเตา BOF พบวาคุณภาพน้ําเหล็กดีกวาแตตนทุนในการผลิตสูงกวา
หลังจากที่ผานกระบวนการหลอหลอม น้ําเหล็กจะถูกลําเลียงเขาสูกระบวนการหลอและขึ้นรูปตอไป

รูปที่ 10.3 ขั้นตอนการผลิตเหล็กกลาดวยเตา BOF


203

รูปที่ 10.4 การผลิตเหล็กกลาดวยเตาไฟฟา (Electric furnace)


10.4 เหล็กกลา (Steel)
ดังที่ไดกลาวไวแลวบางสวนขางตน เหล็กกลาคือ โลหะผสมของเหล็กกับธาตุผสมอื่นพอประมาณ โดย
หลักๆคือคารบอนซึง่ ปกติมีไมเกิน 1% โดยน้ําหนัก เหล็กกลามีหลายพันชนิดโดยแตละชนิดก็มสี มบัติและ
กรรมวิธีทางความรอนแตกตางกันออกไป สมบัติทางกลของเหล็กกลาจะขึ้นกับปริมาณคารบอนเปนหลัก ปกติ
แบงออกไดเปน 3 ประเภทตามปริมาณของคารบอนไดดงั นีค้ ือ
1. เหล็กกลาคารบอนต่ํา คือมีคารบอนนอยกวา 0.25% โดยน้ําหนัก
2. เหล็กกลาคารบอนปานกลาง คือมีคารบอนตั้งแต 0.25% -0.6% โดยน้ําหนัก
3. เหล็กกลาคารบอนสูง คือมีคารบอนตัง้ แต 0.6% -1.4% โดยน้ําหนัก
นอกจากนี้ยงั แบงยอยออกตามปริมาณธาตุผสมอื่นๆ คือเหล็กกลาคารบอนธรรมดา (plain carbon steel) ซึ่ง
มีธาตุผสมอื่นนอกเหนือจากคารบอนอยูเ พียงเล็กนอย และ เหล็กกลาผสม(alloy steel) ซึ่งมีธาตุอื่นผสมอยูใน
ปริมาณสูง
 เหล็กกลาคารบอนต่ํา
เหล็กกลาสวนใหญตามทองตลาดจะเปนกลุมนี้ โดยมีปริมาณคารบอนนอยกวา 0.25%โดยน้ําหนัก
และไมตองผานกรรมวิธีทางความรอนโดยการชุบแข็ง เพราะมีคารบอนต่ําเกินไปที่จะไดมารเทนไซต ดังนั้นจึง
อาศัยการเพิม่ ความแข็งแรงและความแข็งดวยกรรมวิธีการรีดเย็น โครงสรางจุลภาคของเหล็กในหลุมนี้
ประกอบดวยเฟอรไรทเปนสวนใหญและมีเพิลไลทปนอยูเล็กนอย ทําใหมีสมบัติคือเหนียวและแกรง แตขาด
ความแข็งแรง จึงสามารถกลึงใสงาย เชื่อมได และมีตนทุนในการผลิตคอนขางต่ําเมื่อเทียบกับเหล็กกลา
ประเภทอื่น ตัวอยางการใชงานเหล็กกลาในกลุม นี้ไดแก ตัวถึงรถยนต เหล็กโครงสรางตางๆ เหล็กแผนบาง
สําหรับทํา ทอ สะพาน กระปองบรรจุอาหาร เปนตน ตารางที่ 10.1 และ 10.2 แสดงสวนผสมทางเคมีและ
สมบัตทิ างกลของเหล็กกลาคารบอนต่ํา โดยประเภทและสมบัตินี้ถูกกําหนดกําหนดมาตรฐานโดย American
204

Iron and Steel Institute (AISI), Society of Automotive Engineers (SAE) และ The American
Society for Testing and Materials (ASTM) กําหนดโดยใชตัวเลข 4 หลัก เชน 10XX เลข 10 หมายถึง
เปนเหล็กกลาคารบอน และ XX หมายถึงเปอรเซ็นตคารบอนในรอยเปอรเซ็นต ตัวอยางเหล็กกลาเกรด 1020
หมายถึงเหล็กกลาคารบอนที่มี 0.20% C

ตารางที่ 10.1 สวนผสมทางเคมีของตัวอยางเหล็กกลาคารบอนธรรมดาและเหล็กกลาผสมต่ํา

ตารางที่ 10.2 สมบัตทิ างกลและการใชงานเหล็กกลาคารบอนธรรมดาและเหล็กกลาผสมต่ํา


205

นอกจากนี้ยงั มีการกําหนดตัวเลขแบบ NUS ใชบอกวาเปนโละในกลุมเหล็กหรือนอกกลุม เหล็ก โดยใชตัวเลข 5


หลัก จากตารางจะพบวาถาเปนเหล็กกลาคารบอนจะขึ้นดวยตัว G ตามดวยตัวเลจากระบบ AISI/SAE และ
ตัวเลขที่ 5 คือศูนย
นอกจากเหล็กกลาคารบอนต่ําธรรมดาแลวยังมีเหล็กกลาคารบอนต่ํากลุมพิเศษอีกกลุมหนึ่งที่มีความ
แข็งแรงสูงกวาเหล็กกลาคารบอนธรรมดาโดยทั่วไปเรียกวา เหล็กกลาผสมต่ําความแข็งแรงสูง (High-strength
low alloy steel หรือ HSLA) เติมธาตุผสมไดแก ทองแดง วาเนเดียม นิเกิลและโมลิบดินมั มีปริมาณรวมกัน
นอยกวา 10%โดยน้ําหนัก สามารถเพิ่มความแข็งแรงโดยกรรมวิธทางความรอนไดมากกวา 480 MPa มีความ
เหนียวสูง ขึ้นรูปงาย กลึงไสได ดังตารางที่ 10.1 และ 10.2 นอกจากมีความแข็งแรงสูงกวาเหล็กกลาคารบอน
ธรรมดาแลวยังมีความตานทานตอการกัดกรอนดีกวา จึงสามารถใชงานไดหลากหลายโดยเฉพาะงานที่ตองการ
ความแข็งแรงเปนพิเศษ เชน สะพาน หอสูง เสาอาคารสูง และภาชนะทนแรงดันสูง
 เหล็กกลาคารบอนปานกลาง
เหล็กกลาคารบอนในกลุม นี้มปี ริมาณคารบอน 0.25-0.6%โดยน้ําหนัก สามารถเพิ่มแข็งและแข็งแรง
ขึ้นไดดวยการทํากรรมวิธีทางความรอนไดแกการชุบแข็งและการอบคืนตัว แตยังมีความสามารถในการชุบแข็ง
ต่ํา ถาชิ้นงานมีความหนาสูงจะทําใหชุบแข็งยาก ดังนั้นจึงเหมาะกับชิ้นงานทีบ่ าง อยางไรก็ตามความสามารถ
ในการชุบแข็งสามารถปรับปรุงไดดวยการเติมธาตุผสม นิเกิล โครเมียมและโมลิบดินมั เมื่อผานกรรมวิธีทาง
ความรอนแลวจะมีความแข็งแรงสูงกวาเหล็กกลาคารบอนต่าํ แตจะสูญเสียความเหนียวและความแกรงไป
ตัวอยางการใชงานไดแก ลอและรางรถไฟ เกียร เพลา และชิ้นสวนเครือ่ งจักรกลอื่นๆ รวมทัง้ โครงสรางที่
ตองการความแข็งแรงสูง มีความตานทานตอการกัดกรอนและมีความแกรงประกอบกัน ตารางที่ 10.3และ
10.4 แสดงสวนผสมทางเคมี สมบัตทิ างกลและการใชงานตางๆของเหล็กกลาในกลุมนี้ โดยตัวเลขในระบบ
AISI/SAE จะขึ้นตอนดวยตัวเลขตางๆที่ไมใช 10 ตามชนิดของธาตุที่ผสมลงไป เชน 4340 หมายถึงเหล็กกลา
0.4%C ที่เติม นิเกิล โครเมียมและโมลิบดินัม เปนตน

ตารางที่ 10.3 สวนผสมทางเคมีของตัวอยางเหล็กกลาคารบอนธรรมดาและเหล็กกลาผสมต่ํา


206

ตารางที่ 10.4 คุณลักษณะทางกลและการใชงานเหล็กกลาคารบอนธรรมดาและเหล็กกลาผสมต่ําในสภาพ


ผานการชุบแข็งในน้ํามันและอบคืนตัว

 เหล็กกลาคารบอนสูง
เปนเหลกกลาที่มปี ริมาณคารบอนสูงตัง้ แต 0.6%-1.4% โดยน้ําหนัก มีความแข็งและความแข็งแรง
สูงสุด แตความเหนียวจะนอยทีส่ ุดในบรรดาเหล็กกลาคารบอนดวยกัน การใชงานจะอยูในสภาพทีผ่ านการชุบ
แข็งและอบคืนตัวแลว มักใชงานที่เกี่ยวของกับคมตัดและตานทานตอการสึกหรอ เชนถาใชทําเปนแมพมิ พ
มักจะตองเติมธาตุผสม โครเมียม วาเนเดียม ทังสเตนและโมลิปดินมั ธาตุเหลานี้จะรวมกับคารบอนเกิดเปน
คารไบดแบบพิเศษที่มีความแข็งสูงกวาซีเมนไตท ทําใหความตานทานตอการสึกหรอสูง นอกจากนี้ยงั นิยมทํา
เปนใบตัดเชน มีด เลื่อย สปริง และลวดเหล็กที่มีความแข็งแรงสูง สวนผสม สมบัตทิ างกลและการใชงาน
เหล็กกลาในสวนที่ใชทําเปนเครื่องมือตางๆ แสดงดังตารางที่ 10.5

ตารางที่ 10.5 ชนิด สวนผสมทางเคมีและการใชงานเหล็กกลาเครือ่ งมือบางชนิด


207

 เหล็กกลาไรสนิม (Stainless steel)


เปนเหล็กในกลุมทีม่ ีธาตุผสมสูง โดยเนนการใชงานในสภาวะที่มีการกัดกรอนสูงในสภาพบรรยากาศ ธาตุ
ผสมที่ชวยเพิ่มความตานทานตอการกัดกรอน ไดแก โครเมียม โดยจะผสมมากกวา 11% โดย Cr จะเกิดเปน
ฟลมออกไซดทสี่ ามารถปองกันสนิมได นอกจากนี้ยงั มี นิเกิลและโมลิบดินมั เพื่อเพิ่มความตานทานตอการกัด
กรอนและความแข็งแรง คารบอนจะทําใหมีความแข็งแรงมากขึ้น แตถามีคารบอนมากเกินไปจะทําใหทนการ
กัดกรอนไดนอยลง เนื่องจากการเกิดโครเมียมคารไบดมากขึ้น ทําใหลดปริมาณโครเมียมในเนื้อเหล็กลง
เหล็กกลุมนี้นอกจากจะทนตอการกัดกรอนไดดีแลวยังผสมผสานระหวางความแข็งแรงและความเหนียว
ทําใหในหลายๆการใชงาน อยางไรก็ตามเหล็กกลาไรสนิม ผลิตยากกวาโลหะเหล็กในกลุมอื่น มีราคาคอนขาง
แพงเมื่อเทียบกับเหล็กกลาคารบอนธรรมดาหรือเหล็กกลาผสมต่ํา
เหล็กกลาไรสนิมสามารถแบงชนิดไดตามเฟสที่พบที่อุณหภูมหิ อง:
1. Austenitic stainless มีออสเตนไนตเปนเนื้อพื้นยกตัวอยางเชนเกรด 18% Cr - 8% Ni
2. Ferritic stainless มีเฟอรไรทเปนเนือ้ พื้น มีปริมาณคารบอนต่ําและไมเติมนิเกิล มีโครเมียม 15%
- 20% Cr
3. Martensitic stainless มีมารเทนไซตเปนเนื้อพื้น เติมโครเมียมมากกวา 18% แตไมเติมนิเกิล มี
คารบอนสูงกวากลุม ferritic
4. Precipitation hardening stainless เปนกลุม ที่พฒ ั นาขึ้นมาเพื่อใหมีความแข็งแรงสูง อาศัย
กลไกการเพิม่ ความแข็งแรงดวยการตกตะกอนของสารประกอบ ปกติผสม 17% Cr - 7%Ni และธาตุอื่นๆ
ไดแก Al, Cu, Ti และ Mo สงเสริมการตกตะกอน
5. Duplex stainless เปนกลุม ทีร่ วมเอาขอดีของทั้งกลุม austenitic และ ferritic มารวมกัน
กลุมมารเทนซิตกิ จะสามารถชุบแข็งได สวนกลมออสเตนนิตกิ และเฟอรริตกจะอาศัยการขึ้นรูปเย็น
เพราะทํากรรมวิธีทางความรอนไมได กลุมออสเตนนิติกมีความตานทานตอการกัดกรอนสูงเพราะมีปริมาณ
โครเมียมสูงในเนื้อพื้น และนอกจากนี้ยังเติมนิเกิลสูงดวย ทําใหเปนที่นิยมและใชงานมากทีส่ ุดในบรรดา
เหล็กกลาไรสนิมดวยกัน แมเหลกสามารถดูดกลุม เฟอริติกและมารเทนซิติกได แตจะไมดูดกลุมออสเตนนิติก
เหล็กกลาไรสนิมสามารถใชงานทีอ่ ุณหภูมิสงู ไดดีเชน ใบพัดเทอรไบน เครื่องตมน้ําอุณหภูมสิ ูง เตาเผา จรวด
หรือ อุปกรณนิวเคลียร ตารางที่ 10.6 แสดงตัวอยางชนิดของเหล็กกลาไรสนิม สมบัตทิ างกลและการใชงาน

10.5 เหล็กหลอ (Cast iron)


เหล็กหลอโดยทั่วไปจะมีปริมาณคารบอนมากกวา 2.14% โดยน้ําหนัก อยางไรก็ตามในทางปฏิบัติ
มักจะมีปริมาณคารบอนตั้งแต 3.0-4.5% และมีปริมาณของซิลกิ อนสูงกวา 1% เพื่อที่จะทําใหเกิดกราไฟตได
งาย เหล็กหลอจะมีคารบอนอยูในรูปของกราไฟต ยกเวนเหล็กหลอขาว
รูปที่ 10.5 แสดงแผนภูมสิ มดุลของเหล็ก-คารบอนที่อยูในรูปของกราไฟต ในชวง 3.0-4.5%C นั้น
พบวาเสน liquidus จะอยูท ี่อุณหภูมิต่ํา ซึ่งหมายความวาจะสามารถหลอมไดงายกวาเหล็กกลา ไหลเขาแบบ
งาย มีการหดตัวนอยและกลึงไสงาย แตมีขอเสียคือทนการกระแทกไดนอยและมีความเหนียวจํากัด
208

ตารางที่ 10.6 สมบัติทางกลและการใชงานของเหล็กกลาไรสนิม


209

ซีเมนตเปนเฟสที่กึ่งเสถียรและจะเปลี่ยนเปนกราไฟตตอไปภายใตสภาวะที่เหมาะสม ดังนั้นแผนภูมิสมดุลจริง
ของเหล็ก และคารบอนจึง เปนดังรูป ที่ 10.5 นี้ การเกิดกราไฟตนั้นจะขึ้นอยูกับ ปริม าณซิลิก อนซึ่ง ควรมี
มากกวา 1% อัตราการเย็นตัวซึ่งตองเย็นตัวชาเพียงพอที่ทําใหเกิด กราไฟตได เหล็กหลอแบงออกไดเปน 4
ประเภทคือ เหล็กหลอขาว เหล็กหลอเทา เหล็กหลอกราไฟตกลมและเหล็กหลออบเหนียว

รูปที่ 10.6 แผนภูมิสมดุลจริงของเหล็ก-คารบอน (กราไฟต)

 เหล็กหลอขาว
เหล็กหลอชนิดนี้เปนเหล็กหลอประเภทเดียวในกลุมที่คารบอนอยูในรูปคารไบดซีเมนไตทดังแสดงใน
รูปที่ 10.6 โครงสรางประกอบดวยคารไบดซีเมนไตทและโครงสรางพื้นเพิลไลท เมื่อแตกจะเห็นเปนสีขาว
เหล็กหลอประเภทนี้มีคารไบดเ นื่องจากมีป ริม าณซิลิก อนนอยกวา 1% และชิ้นงานมีอัตราการเย็นตัวสูง
โดยเฉพาะชิ้นงานหลอที่มีความหนา บริเวณผิวจะมีการเย็นตัวเร็วเราะสัมผัสกับแบบหลอ (Chilled) สวน
ภายในเย็นตัวชาจะเกิดกราไฟตได เหล็กหลอประเภทนี้จะมีความแข็งสูงมาก กลึงไสยาก และมีความเปราะสูง
ทนการกระแทกไดนอย ดังนั้นจึงนิยมทําเปนลูกรีดหรืออุปกรณการบดแรหรือซีเมนต เปนตน
210

รูปที่ 10.6 โครงสรางจุลภาคของเหล็กหลอขาว

 เหล็กหลอเทา
เหล็กหลอชนิดนีเ้ ปนเหล็กหลอทีม่ ีปริมาณคารบอนระหวาง 2.5-4.0% โดยน้ําหนัก และมีซิลิกอน 1-
3% เหล็กหลอเทาจะมีคารบอนอยูในรูปกราไฟตทมี่ ีลกั ษณะเปนแผน ดังรูปที่ 10.7 เนื้อพื้นอาจเปนไดทั้งเฟอร
ไรทและเพิลไลท ผิวแตกหักจะเปนสีเทาเนื่องจากสีของกราไฟต เหล็กหลอประเภทนี้มีความแข็งแรงต่ําใน
ขณะเดียวกันจะคอนขางเปราะเมื่อรับแรงดึง สาเหตุเนื่องจากปลายแหลมของกราไฟตจะเปนจุดกําเนิดรอย
แตกเมื่อรับแรงดึงจากภายนอก แตอยางไรก็ตามเหล็กหลอประเภทนี้มจี ุดเดนในเรื่องการรับแรงอัด เพราะกรา
ไฟตจะมีความสามารถในการรับการกระแทกไดดี และมีความยืดหยุนสูง สงผลใหมีความเหนียวสูง สมบัติของ
เหล็กหลอเทาแสดงดังตารางที่ 10.7 นิยมนําไปเปนฐานเครือ่ งจักรหรืออุปกรณที่มีการสั่นสะเทือน มีคุณสมบัติ
การหลอหลอมที่ดี หดตัวนอย และมีราคาถูกดังตารางที่ 10.7

รูปที่ 10.7 โครงสรางจุลภาคของเหล็กหลอเทา


211

ตารางที่ 10.7 สวนผสมทางเคมีและการใชงานเหล็กหลอชนิดตางๆ

 เหล็กหลอกราไฟตกลมหรือเหล็กหลอเหนียว
เปนเหล็กหลอที่มีกราไฟตเปนเม็ดกลมแทนที่จะเปนแผนเหมือนเหล็กหลอเทา กราไฟตเปนเม็ดกลม
เนื่องจากการผสมแมกนีซียมหรือซีเรียมในปริมาณเล็กนอยลงในเหล็กหลอ โครงสรางจุลภาคของเหล็กหลอกรา
ไฟตกลมแสดงดังรูปที่ 10.8 โครงสรางพื้นรอบๆกราไฟตเปนไดทั้งเฟอรไรทหรือเพิลไลทขึ้นกับกรรมวิธีทาง
ความรอน การทีม่ ีกราไฟตเปนเม็ดกลมจะทําใหสามารถรับแรงดึงไดดี เหล็กหลอประเภทนีม้ ีความแข็งแรงและ
ความเหนียวสูงกวาเหล็กหลอเทาดังตารางที่ 10.7 จริงๆแลวเหล็กหลอกราไฟตกลมมีสมบัตทิ างกลใกลเคียงกับ
เหล็กกลา นิยมใชทําเปนชิ้นสวนเครื่องจักรกลตางๆ เชน วาลว เสื้อปม เพลาสงกําลัง เกียร ชิ้นสวนรถยนตและ
เครื่องจักกลตางๆ
212

รูปที่ 10.8 โครงสรางจุลภาคของเหล็กหลอกราไฟตกลม

 เหล็กหลออบเหนียว
เหล็กหลอชนิดนี้เปนเหล็กหลอที่เกิดจากการนําเหล็กหลอขาวมาทํากรรมวิธีทางความรอนคือ อบที่
800-900 oC เปนเวลานานถึง 30-50 ชั่วโมง ทําใหซีเมนตในเหล็กหลอขาวแตกตัวเปนกราไฟต เปนกลุมๆ
ลอมรอบดวยโครงสรางพื้นที่เปนเฟอรไรทหรือเพิลไลท ขึ้นกับอัตราการเย็นตัว รูปที่ 10.9 แสดงโครงสราง
จุลภาคของเหล็กหลออบเหนียว มีกราไฟตเปนกลุมคลายเหล็กหลอเหนียว สมบัติทางกลของเหล็กหลอกลุม
แสดงดังตารางที่ 10.7 พบวามีความแข็งแรงคอนขางสูง มีความเหนียว ยืดตัวไดดี นิยมทําเปนเพลาตอเกียร
สงกําลัง และชิ้นสวนตางๆของรถยนต หนาแปลนทอ สวนตอทอ และวาลว สําหรับงานทางไฟฟา ทางทะเล
และ อุตสาหกรรมหนักอื่นๆ รูปที่ 10.10 เปรียบเทียบโครงสรางจุลภาคเหล็กหลอทั้ง 4 กลุม

รูปที่ 10.9 โครงสรางจุลภาคของเหล็กหลออบเหนียว


213

10.6 โลหะนอกกลุมเหล็ก
โลหะในกลุม นี้ทสี่ ําคัญสําหรับงานทางดานวิศวกรรมไดแก อะลูมเิ นียม ทองแดง แมกนีเซียม ไททา
เนียม โลหะมีคาตางๆ เปนตน สมบัตเิ ดนๆของโลหะกลุมนี้คอื
1. มีน้ําหนักเบา ดังนั้นจึงมีความแข็งแรงตอน้ําหนักสูง
2. มีความนําไฟฟาสูง
3. ทนการกัดกรอนไดดี
แมวาโลหะในกลุมนีจ้ ะมีความแข็งแรงนอยกวาโลหะในกลุมเหล็ก แตจะทนการกัดกรอนดีกวา และ/
หรือมีความแข็งแรงตอน้ําหนักสูงกวาเหล็ก ทําใหสามารถแขงขันกับเหล็กในงานทีม่ ีความเคนปานกลาง และยัง
มีหลายประเภททีม่ ีคุณสมบัติที่นาสนใจกวาโลหะในกลุม เหล็กนอกเหนือจากคุณสมบัติทางกล
กอนอื่นตองทําความเขาใจกอนวาโลหะผสมใดทีเ่ ปราะไมสามารถขึ้นรูปดวยวิธีอื่นได จะอาศัยการ
หลอเปนชิ้นสวน จัดอยูในกลุมโลหะหลอ (cast alloy) ในทางตรงขามถาสามารถขึ้นรูปดวยวิธีทางกลได จัดวา
เปนกลุมโลหะผสมขึ้นรูปทางกล (wrought alloy) นอกจากนี้ยังสามรถแบงกลุม โลหะผสมตามความสามารถ
ในการอบชุบคือ กลุมที่ชุบแข็งได และกลุมที่ชุบแข็งไมได
 ทองแดงและโลหะผสมของทองแดง
เปนโลหะที่ใชงานมาตั้งแตโบราณ ทองแดงบริสทุ ธิ์จะเหนียวมาก กลึงไสยาก แตสามารถแปรรูปเย็น
ไดงาย และทนการกัดกรอนทั้งในสภาพบรรยากาศและน้าํ ทะเล การเติมโลหะผสมลงไปในทองแดงจะเพิ่ม
ความตานทานตอการกัดกรอนไดมากขึ้น แตโลหะผสมทองแดงสวนมากจะชุบแข็งไมได สวนใหญจะใชการขึ้น
รูปเย็นหรือการทําเปนสารละลายของแข็งเพือ่ เพิม่ สมบัติทางกลแทน
ทองเหลืองเปนโลหะผสมของทองแดงกับสังกะสีที่ใชงานกันอยางกวางขวางและเปนที่รจู ักโดยทั่วไป
ทองเหลืองจะมีสังกะสีเปนธาตุผสมหลัก ละลายอยูแบบแทนที่ในอะตอมของทองแดง ปกติจะผสมสังกะสีไม
เกิน 35% โดยน้ําหนักเพราะจะทําใหเปราะ โครงสรางจุลภาคจะเปนเฟส  มีโครงสรางผลึกเปน FCC
เหนียวและออนตัว ขึ้นรูปเย็นไดงาย ถามีปริมาณสังกะสีสูงเกินไป จะเกิดเฟส  มีโครงสรางผลึกเปน BCC
ซึ่งจะทําใหทองเหลืองมีความเปราะสูง ตารางที่ 10.8 แสดงสวนผสมทางเคมี สมบัติทางกลและการใชงาน
โลหะผสมทองแดง ทองเหลืองนิยมนําไปทําเปนเครื่องประดับเพราะมีสีสันสวยงามเหมือนทอง ปลอกกระสุน
แผงระบายความรอน เครื่องดนตรี อุปกรณอเี ล็คทรอนิกสและเหรียญตางๆ
บรอนซเปนชื่อเรียกโลหะผสมของดองแดงกับโลหะผสมอื่นที่ไมใชสังกะสี หรือธาตุอื่นมีผลรุนแรงกวา
สังกะสี โดยทั่วไปจะหมายถึงโลหะผสมทองแดงที่เติม ดีบุก อะลูมเิ นียม ซิลิกอน และนิกเกิล ดังตารางที่ 10.8
โลหะพวกนี้สวนใหญมีความแข็งแรงสูงกวาทองเหลืองแตมีความสามรถในการตานการกัดกรอนใกลเคียงกัน
โลหะผสมทองแดงที่สามารถชุบแข็งไดดวยวิธีตกตะกอนคือ โลหะผสมทองแดง-เบริลเลียม ที่ผสม
เบริลเลียมประมาณ 1.0-2.5% มีความแข็งแรงสูงมาก ทนการกัดกรอนและมีความสามารถในการนําไฟฟาสูง
มาก ทนการสึกหรอไดดีเมื่อมีสารหลอลื่น สามารถขึ้นรูปโดยใชแรงทางกลได นิยมทําเปนลูกปนและตัวรองรับ
เกียร ของเครื่องบิน สปริง เครื่องมือผาตัดเปนตน
214

ตารางที่ 10.8 สวนผสมทางเคมี สมบัตทิ างกล และการใชงานโลหะผสมทองแดงบางชนิด


215

 อะลูมิเนียมและโลหะผสมของอะลูมิเนียม
อะลูมิเนียมจัดเปนกลุมโลหะเบา มีคุณสมบัติเดนๆดังนี้
1. ความหนาแนนนอยกวาเหล็ก โดยประมาณ 1/3 เทาของเหล็ก (2.7g/cm2)
2. นําไฟฟาและความรอนไดดี
3. ทนการกัดกรอนไดดีในสภาพบรรยากาศ
4. เหนียว ขึ้นรูปงาย
จุดออนของอะลูมิเนียมคือจุดหลอมเหลวต่ํา ทําใหใชงานที่อุณหภูมิสูงไมได อะลูมิเนียมสามารถเพิ่มสมบัติทาง
กลไดดวยวิธีการขึ้นรูปเย็นและการเติมธาตุผสม เชน ทองแดง แมกนีซียม ซิลิกอน แมงกานีส และสังกะสี การ
ใชงานอะลูมิเนียมจะอยูในสภาพหลอและสภาพที่ผานการขึ้นรูปดวยแรงทางกล ดังตารางที่ 10.9 โดยจะบง
เกรดออกเปนตัวเลขสี่หลัก ถาเปนงานหลอจะมีจุดทศนิยมคั่นระหวางหลักที่ 3 กับหลักที่ 4

ตารางที่ 10.9 เกรดตางๆของอลูมิเนียมและโลหะผสมของอะลูมเิ นียม


กลุม สภาพผานการขึ้นรูปทางกล สภาพหลอ
Aluminum  99.0% 1XXX 1XX.X
บริสุทธิ์
Copper alloy 2XXX 2XX.X
Manganese alloy 3XXX
Silicon alloy 4XXX 4XX.X
Zinc alloy 7XXX 7XX.X
Tin alloy 8XX.X

นอกจากจะมีตัวหนังสือและตัวเลขตอทายอีกเพือ่ บอกกรรมวิธีทางความรอน
F สภาพที่ผานการขึ้นรูปโดยไมผานกรรมวิธีทางความรอน
H ผานการเพิ่มความแข็งโดยการเพิ่มความเครียด (Strain hardening)
O สภาพอบออน เพื่อเพิ่มความเหนียว
T ผานกรรมวิธีทางความรอนตางๆเชน T3 หมายถึงถูกทําใหเปนสารละลายเนือ้ เดียวแลวรีด
เย็นจากนั้นบมใหแข็งตามธรรมชาติ สวน T6 หมายถึง ทําใหเปนสารละลายเนือ้ เดียว จากนั้น
บมใหแข็ง
สวนผสมทางเคมี สมบัติ ท างกลและการใช ง านอะลูมิ เ นีย มแสดงดัง ตารางที่ 10.10 โลหะผสม
อะลูมิเนียมจะใชทําตัวเครื่องบิน อากาศยาน กระปอง ชิ้นสวนเครื่องยนต กรอบประตูห นาตาง เปนตน
ปจ จุบันมีความสนใจที่จะใหอะลูมิเ นียมกันมากขึ้นเนื่องจากมีความแข็งรงปานกลาง แตมีน้ํา หนัก เบา ซึ่ง
หมายถึงมีความแข็งแรงตอน้ําหนักสูง นอกจากนี้ยังมีบางเกรดที่สามรถอบชุบได
216

ตารางที่ 10.10 สวนผสมทางเคมี สมบัติทางกลและการใชงานอะลูมเิ นียม


217

 แมกนีเซียมและโลหะผสมของแมกนีเซียม
เปนโลหะที่เบาทีส่ ุดในบรรดาโลหะในทางวิศวกรรมดวยกัน ใชงานที่ตองการน้ําหนักเบา เชน
เครื่องบิน แมกนีเซียมมีสมบัติดังนี้
1. ผลึกเปน HCP ทําใหขึ้นรูปยาก
2.มีจุดหลอมเหลวต่ําเพียง 650 C
3. ไมทนการกัดกรอนในน้ําทะเล
4. ผงแมกนีเซียมติดไฟงาย
การใชงานจะใชในสภาพหลอและผานการขึ้นรูปทางกล โลหะผสมแมกนีเซียมบางชนิดชุบแข็งได
สวนผสมทางเคมี กรรมวิธีทางความรอนและการใชงานแมกนีเซียมแสดงดังตารางที่ 10.11 ในปจจุบันมีการใช
งานโลหะผสมแมกนีเซียมมากขึ้น การที่มีน้ําหนักเบาสามารถนํามาใชแทนพลาสติกไดและมีความแข็งรงสูงกวา
และนํามาใชใหมไดดวย ตัวอยางการใชงานไดแก เครื่องบิน จรวด กระเปา พวงมาลัย โซ เปนตน

ตารางที่ 10.11 สวนผสมทางเคมี สมบัติทางกลและการใชงานแมกนีเซียม


218

 ไททาเนียมและโลหะผสมไททาเนียม
พบมากในโลกประมาณ  1% (aluminum  8%) ความหนาแนนอยูระหวาง เหล็กกับอะลูมิเนียม
ความสําคัญจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆโดยเฉพาะงานดานยานอวกาศ ที่ตองการทัง้ ความแข็งแรง น้ําหนักเบา และทน
อุณหภูมิสงู ได ความแข็งรงที่อุณหภูมสิ ูงจะดีมาก นอกจากนี้ยังเหนียวและขึ้นรูปไดงาย ขอจํากัดของไททา
เนียมคือ อาจเกิดปฏิกิริยาทางเคมีที่อุณหภูมสิ ูงไดงาย ทําใหการหลอหลอมยุงยาก ทําใหมีราคาแพง แตทนการ
กัดกรอนจากสภาพบรรยากาศและน้ําทะเลไดดี แมที่อุณหภูมิสูงก็สามารถทนการกัดกรอนได ตารางที่ 10.10
แสดงสมบัตทิ างกลและการใชงานของโลหะผสมไททาเนียม ตัวอยางการใชงานทีส่ ําคัญคือ โครงสราง
เครื่องบิน ยานอวกาศ เครื่องมือผาตัด และอุปกรณในอุตสาหกรรม ปโตรเคมี

ตารางที่ 10.10 สวนผสมทางเคมี สมบัติทางกลและการใชงานของโลหะผสมไททาเนียม


219

 โลหะทนอุณหภูมิสูง
มีจุดหลอมเหลวสูง ไดแก ไนโอเบียม โมลิบดินมั ทังสเตน และแทนทาลัม โลหะในกลุมนีม้ ีจุด
หลอมเหลวระหวาง 2468 สําหรับไนโอเบียม จนถึง 3410 C สําหรับทังสเตน กลุมนีม้ ีความแข็งแรงสูงทั้งที่
อุณหภูมิหองและอุณหภูมสิ ูง การใชงานเชน แทนทาลัมและโมลิบดินัมเติมในเหล็กกลาไรสนิมเพื่อเพิ่มความ
ตานทานตอการกัดกรอน โมลิบดินมั เติมลงในเหล็กทําแมพมิ พ โลหะผสมทังสเตนใชทําไสหลอดไฟฟา หลอด
X-ray และขั้วเชื่อมไฟฟา เปนตน
 โลหะผสมพิเศษ (Super alloy)
โลหะในกลุม นี้ไดแก โคบอล นิเกิล และเหล็ก ใชกับงานงานที่ตองการคุณสมบัติทนความรอนและการ
รักษาความแข็งและความแข็งแรงที่อุณหภูมิสงู ประกอบดวยธาตุผสมมากกวา 3 ชนิด และมีโลหะพื้นเปนหลัก
(base metal) มีตนทุนสูงมาก ตองการเทคโนโลยีในการผลิตสูง เพราะตองดีที่สุด ตัวอยางการใชงานคือ
ใบพัดเทอรไบน เตาปฏิกรณ และอุปกรณในอุตสาหกรรมปโตรเคมี
 โลหะที่เสถียรและโลหะมีคา
ไดแกกลุม เงิน ทอง แพลทินัม โรเดียม รูทีเนียม อิริเดียมและออสเมียม กลุมนีม้ ีสมบัติทเี่ หนียว ออน
เสถียร ทนตอการเกิดออกซิเดชัน ทําเปนเครื่องประดับ หนาสัมผัสทางไฟฟา ทําฟน หรือแมแตสายวัดอุณหภูมิ
(เทอรโมคับเปล)
 โลหะผสมกลุมอื่นๆ
นิเกิลและโลหะผสมนิเกิล มีความสําคัญในทางการคาดานการตานทานตอการกัดกรอนและ งานดาน
วัสดุทนความรอน หรือกลุม super alloys การใชงานไดแกการเติมลงในเหล็กกลาไรสนิม งานเคลือบเหล็ก
แผน งานที่ทนอุณหภูมิสงู และ งานดานการกัดกรอน ตัวอยางการใชงานเชน โมเนล เปนโลหะผสมนิเกิลกับ
ทองแดงและเหล็ก มีความแข็งแรงสูงทนตอการกัดกรอน ใชทํา ปม วาลว และสวนทีส่ ัมผัสกรดและสารละลาย
ปโตรเลียม
ตะกั่วและดีบุก มีความแข็งแรงต่ํา และมีจุดหลอมเหลวต่ํา ใชทําลวดบัดกรี ตะกั่วใชปองกันรังสีเอ็กซ
และเสื้อแบตเตอรรี่ ดีบุกใชเคลือบกระปองบรรจุอาหาร
สังกะสี มีสมบัติออนและมีจุดหลอมเหลวต่ํา ถูกกัดกรอนงาย การใชงานจะเคลือบบนผิวเหล็กเพื่อ
ปองกันการกัดกรอน เรียกวา เหล็กกัลวาไนซ หรือรูจ ักกันในนามเหล็กแผนสังกะสี เปนตน นอกจานี้ยังใชทํา
เปนรั้ว หลังคา ผนัง สกรู ที่จบั ประตูหรืออุปกรณสํานักงาน

10.7 การขึ้นรูปโลหะ
หลังการทําใหโลหะมีสมบัติตามตองการแลว ขั้นตอนตอไปคือการขึ้นรูปเพื่อใหชิ้นงานมีรูปทรงอยางที่
ตองการ เทคนิคหลักๆที่ใชไดแก การขึ้นรูปทางกล การหลอ และการขึ้นรูปแบบอื่นๆไดแก การขึ้นรูปโลหะผง
การเชื่อม การกลึงไส การจะเลือกใชวิธีใดนั้นตองคํานึงถึงปจจัยตางๆไดแก สมบัติของโลหะ ขนาดและรูปราง
ชิ้นงาน และตนทุนในการผลิตชิ้นงาน
220

 การขึ้นรูปทางกล
การขึ้นรูปโลหะจะใชหลักการแปรรูปแบบพลาสติก (plastic deformation) ในการเปลี่ยนรูปทรง
ชิ้นงานเครื่องมือที่ใชในการเปลี่ยนรูปเรียกวาแมพมิ พ หรือ die ทําหนาที่สง ผานความเคนไปยังชิ้นงาน ความ
เคนที่ใชตองมากกวา คา yield strength ของโลหะ ชิ้นงานหลังจากการขึ้นรูปจะมีรปู ทรงเหมือนกับ die
ไดแก การรีด การทุบ การอัดและการดึง
การขึ้นรูปโลหะทีอ่ ุณหภูมสิ ูงกวาอุณหภูมกิ ารตกผลึกใหมเรียกวา การขึ้นรูปรอน ถาต่ํากวาอุณหภูมิ
ตกผลึกใหมเรียกวาการ ขึ้นรูปเย็น เหมือนที่ไดกลาวมาแลวขางตน โดยมีขอดีขอดอยแตกตางกันดังนี้

 การขึ้นรูปรอน
ขอเดน ขอดอย
-ลดขนาดชิ้นงานไดมากกวา -ความแมนยําในเรื่องขนาดนอย
-ใชแรงและกําลังในการขึ้นรูปนอยกวา -ตองใชพลังงานสูงในการทําใหโลหะรอน
-ชิ้นงานที่แตกในการทํา cold working สามารถ -คุณภาพผิวชิ้นงานต่ําเพราะ เกิดเปนสนิม และรอย
ขึ้นรูปไดโดยการทํา hot working ขรุขระ
-ผลิตภัณฑมีความเปน Isotropic -ทําใหอายุการใชงานของเครื่องมือขึ้นรูปสั้น
-ไมมีการเกิด work hardening เปนขอดีสําหรับ
ในกรณีที่
ชิ้นงานตองนําไปทํา cold working ตอไป

 การขึ้นรูปเย็น
ขอเดน ขอดอย
-มีความแมนยําเรื่องขนาดและรูปทรงมากกวา -ตองใชแรงและกําลังในการขึ้นรูปสูง
คุณภาพผิวดีกวา -ผิวชิ้นงานตองไมมีสงิ่ สกปรกและสนิม
-Strain hardening ทําหึความแข็งแรงและความแข็ง -ความเหนียวนอย และการเกิด strain hardening
เพิ่มขึ้นได ทําใหขึ้นรูปไดนอยตองทําการอบออนกอนเพื่อใหมี
-เกิดการไหลของเกรนในบางทิศทาง ทําใหมีความเปน ความเหนียวพอทีจ่ ะขึ้นรูปไดถาไมอบออนจะทําให
anisotropic แตก โลหะบางประเภทอบออนแลวยังไมสามารถขึ้น
-ไมตองใชความรอนจากภายนอก รูปเย็นไดกม็ ี
221

 การทุบขึ้นรูป (forging)
การทุบขึ้นรูปเปนกระบวนการใหแรงอัดหรือกระแทกชิ้นงานลงบนแมพิมพ โดยแมพิมพที่ใชจะเปน
แมพิมพเปดหรือปดก็ได โดยเนื้อโลหะจะไหลเขาสูชองวางของแมพิมพและเกิดเปนรูปทรงตามตองการ ดังรูปที่
10.11 ชิ้นงานที่ผานการทุบขึ้นรูปจะมีเกรนเล็กและมีสมบัติทางกลดีมาก วิธีนี้มักใชผลิตขอเหวี่ยง เพลาสง
กําลังและขอตอลูกสูบเครื่องยนต

รูปที่ 10.11 วิธีการขึ้นรูปโลหะดวยการทุบขึ้นรูป

 การรีด (Rolling)
การขึ้นรูปนีเ้ ปนกระบวนการขึ้นรูปโลหะที่นิยมมากทีส่ ุด ชิ้นงานจะถูกดึงผานชองวางของลูกรีด 2 ลูก
เพื่อลดความหนา โดยแรงที่ใชรีดจะสงผานจากลูกรีดไปหาชิ้นงาน การรีดเย็นจะใชกบั ชิ้นงานที่มีความบาง เชน
โลหะแผนบาง รูปที่ 10.10 แสดงการขึ้นรูปดวยการรีด

รูปที่ 10.10 วิธีการขึ้นรูปโลหะดวยการรีด


222

 การอัดขึ้นรูปหรืออัดรีด (Extrusion)
การขึ้นรูปมีจุดประสงคใชขึ้นรูปโลหะที่มีความเหนียวสูงเชน อะลูมิเนียม ทองแดง เปนตน แทงโลหะ
ถูก อั ด โดยหัว กด (ram) ผ า นแม พิ ม พ ดั ง รู ป ที่ 10.13 โดยชิ้ น งานจะมี รู ป ร า งตามแม พิ ม พแ ละมี ข นาด
พื้นที่หนาตัดเล็กลง โดยจะมีพื้นที่หนาตัดคงที่ ความยาวเพิ่มขึ้นหลายเทา ปกติใชผลิตชิ้นงานที่เปนแทง ลวด
และทอ เชน ทอไรตะเข็บ ทอที่มีหนาตัดรูปทรงอื่นๆที่ไมใชวงกลม กรอบประตูหนาตาง เปนตน

รูปที่ 10.13 วิธีการขึ้นรูปโลหะดวยการอัดขึ้นรูป

 การดึงขึ้นรูป (Drawing)
การขึ้นรูปจะดึงชิ้นงานผานรูแมพมิ พ เพื่อลดขนาดเสนผาศูนยกลางของแทงโลหะ โดยใชแรงดึงที่
ปลายของโลหะออกจากแมพิมพดงั รูปที่ 10.14 พื้นที่ของโลหะจะลดลง ในบางครัง้ อาจตองดึงผานแมพมิ พ
หลายๆรอบ ตัวอยางเชนการผลิตเสนลวด และทอ เปนตน

รูปที่ 10.14 วิธีการขึ้นรูปโลหะดวยการดึงลวด


223

 การขึ้นรูปสําหรับโลหะแผน (Deep drawing)


การขึ้นรูปมีจุดประสงคเพื่อทํารูปทรงลึก เชน กระปอง เรียกวา การลากขึ้นรูป อาศัยแรงอัดจากหัวกด
อัดชิ้นงานใหยืดตัวตามแมพิมพ ดังรูปที่ 10.15 ในการดึงวิธนี ี้จําเปนตองอาศัยการดึงหลายหลังเพือ่ จะได
รูปทรงอยางที่ตองการ

รูปที่ 10.15 วิธีการดึงขึ้นรูปโลหะแผน

 การหลอโลหะ
เปนกระบวนการขึ้นรูปโลหะโดยอาศัยการเทน้ําโลหะหลอมเหลวลงในชองวางของแบบหลอ มักมีการ
หดตัวของชิ้นงานเกิดขึ้น วิธีการหลอจะใชเมื่อ ชิ้นงานมีขนาดใหญและใชวิธีการอื่นยาก โลหะมีความเหนียว
นอยเกินกวาจะขึ้นรูปทางกล มีตนทุนการผลิตต่ํากวาวิธีอื่นๆ
-การหลอแบบหลอทราย
เปนวิธีที่นิยมมากที่สุด โดยใชแบบหลอทําจากทราย แบบหลอจะมีสองดานทําการฝงตัวอยางรูปทรง
ชิ้นงานหรือกระสวนลงไปในแบบหลอทรายทั้งสองดาน จากนั้นนํากระสวนออกเกิดเปนชองวางที่มีรูปทรง
เหมือนชิ้นงานจริง ทําการเทน้ําโลหะลงในแบบหลอ จนเต็มชองวาง จากนั้นทําการรื้อแบบเพื่อนําชิ้นงาน
ออกมาตกแตงตอไป นิยมใชกับการหลอลูกสูบ หัวฉีดดับเพลิงและขอตอขนาดใหญ รูปที่ 10.16 แสดงวิธีการ
หลอโดยใชแบบหลอทราย
224

รูปที่ 10.15 วิธีการหลอแบบหลอทราย


-การหลอแบบใชความดันสูง
เปนวิธีการฉีดโลหะหลอมเหลวเขาไปในแบบหลอภายใตความดันสูง จากนั้นคงความดันไวจนกวา
ชิ้นงานจะแข็งตัว ดังรูปที่ 10.16 แมพิมพมีสองดาน หลังจากของเหลวแข็งตัวเสร็จสมบูรณจะเปดแมพิมพออก
จากกัน ชิ้นงานจะถูกดันออกจากแมพิมพ วิธีการนี้มีอัตราการผลิตสูง ตนทุนต่ํา และแมพิมพใชงานไดหลายพัน
ครั้ง เหมาะกับชิ้นงานที่มีขนาดเล็กและใชไดกับโลหะที่มีจุดหลอมเหลวต่ํากวาแมพิมพ เชน สังกะสี อะลูมิเนียม
หรือแมกนีเซียม

รูปที่ 10.15 วิธีการหลอแบบใชความดันสูง

-การหลอแบบขี้ผึ้ง
ตนแบบหลอทําจากขีผ้ ึ้ง ทําการแกะขึผ้ งึ้ ใหมรี ูปรางเหมือนชิน้ งานจริง จากนั้นนําผงเซรามิคหรือปูน
ปลาสเตอรมาหุมแบบหลอ จากนั้นนําแบบหลอไปใหความรอนเพื่อละลายขี้ผึ้งออกจากแบบ เกิดเปนชองวางที่
มีรูปทรงเหมือนชิ้นงาน จากนั้นนําแบบหลอที่ไดไปเทน้ําโลหะใสตอไป วิธีการนี้ใชเมื่อตองการความแมนยําของ
ผิวชิ้นงานสูง มีรายละเอียดมากและมีขนาดใกลเคียงกับขนาดจริง เชน พระพุทธรูป เครือ่ งประดับเงิน ทอง
หรือใบพัดเทอรไบด เปนตน

รูปที่ 10.16 การหลอแบบขีผ้ ึ้ง


225

-การหลอแบบตอเนื่อง
เปนการหลอโลหะแบบตอเนื่องภายหลังการหลอม น้ําโลหะจะถูกลําเลียงมาที่แบบหลอเปดซึ่งทําจาก
ทองแดง ทันทีที่น้ําโลหะไหลผานแบบหลอ บริเวณที่น้ําโลหะสัมผัสกับแบบหลอจะแข็งตัวเปนเปลือกแข็งแตใจ
กลางยังคงเปนน้ําโลหะอยู ชิ้นงานหลอจะถูกดึงผานแบบหลอพรอมกับฉีดน้ําเพื่ อทําใหเกิดการแข็งตัวอยาง
สมบูรณ โลหะสวนที่แข็งตัวแลวจะถูกดึงออกไปอยางตอเนื่องและถูกตัดเปนชิ้นๆ เพื่อนนําไปแปรรูปตอไป ดัง
รูปที่ 10.17

รูปที่ 10.17 การหลอแบบตอเนื่อง

-การขึ้นรูปโลหะผง
เปนกรรมวิธีอัดผงโลหะใหมีความหนาแนนมากขึ้น โดยมีการเติมตัวประสานลงไป จากนั้นทําการเผา
ผนึกที่อุณหภูมิใกลเคียงกับจุดหลอมเหลวของโลหะ บริเวณผิวของผงโลหะเกิดการเยิ้มติดกันโดยอาศัยกลไก
การแพร ใชกบั โลหะที่มีจุดหลอมเหลวสูง หลอหลอมยาก เชน เซรามิค วิธีนี้มีความแมนยําเรื่องขนาดสูงมาก
รูปที่ 10.18 แสดงลําดับขั้นตอนการขึ้นรูปโลหะผง
226

รูปที่ 10.18 แสดงลําดับขั้นตอนการขึ้นรูปโลหะผง 1) การบดผงโลหะ 2) การอัดผงโลหะ 3) การเผาผนึก

-การเชื่อม
เปนกระบวนการนําชิ้นสวนสองอันตอเขาดวยกัน โดยอาศัยการหลอมโลหะและใหแข็งตั วยึดติดกัน
สามารถเชื่อมโลหะเหมือนหรือตางประเภทเขาดวยกันได โดยอาศัยการหลอมลวดเชื่อม ลวดเชื่อมจะแข็งตัว
ยึดติดโลหะทั้งสองเขาดวยกัน บริเวณรอบๆลวดเชื่อมจะเกิดบริเวณผลกระทบความรอนหรือ HAZ ดังรูปที่
10.19 ซึ่งถาเชื่อมโลหะที่ผานการรีดเย็นมีผลทําใหเกิดการตกผลึกใหม ทําใหสูญเสียความแข็งแรง ความแข็ง
และความแกรงตรงบริเวณนี้ไป และที่สําคัญความเคนตกคางจะมีสูงมาก ในกรณีเหล็กกลาอาจพบเฟสมารเทน
ไซตที่บ ริเวณ HAZ ทําใหรอยเชื่อมเปราะแตกหักงาย ในกรณีที่เชื่อมเหล็กกล าไรส นิม จะพบการเกิดการ
ตกตะกอนของคารไบดเกิดขึ้นซึ่งมีผลทําใหความตานทานตอการกัดกรอนของรอยเชื่อมลดลง

รูปที่ 10.18 แสดงบริเวณผลกระทบจากความรอน (HAZ)


227

คําถามทายบท

1. จงบอกความแตกตางของเหล็กกลาไฮโปยูเทกทอยดและไฮเปอรยูเทกทอยด
2. ในเหล็กกลาไฮโปยูเทกทอยดซึ่งมีทั้งเฟรไรตปฐมภูมิและเฟรไรตในโครงสรางยูเทกทอยด จงบอกความ
แตกตางและสวนผสมของเฟรไรตทั้ง 2 ชนิด
3. ถาเหล็กคารบอนมีเฟรไรตคิดเปนอัตราสวนเทากับ 0.94 จงบอกความเขมขนของคารบอนของเหล็กชนิดนี้
4. ออสเทไนตน้ําหนัก 2.5 kg ที่มีคารบอน 0.65% โดยน้ําหนัก เมื่อเย็นลงถึงอุณหภูมิต่ํากวา 727oC
(ก) เฟสใดเกิดขึ้นกอนยูเทกทอยด
(ข) เฟรไรตท้งั หมดมีน้ําหนักเทาไร ซีเมนไตตทั้งหมดมีน้ําหนักเทาใด
(ค) จงหาน้ําหนักของเพอรไลตและเฟสที่เกิดกอนยูเทกทอยด
(ง) วาดรูปโครงสรางจุลภาค
5. เหล็กกลาที่มีสวนผสม 93.8%Fe-6.0%Ni-0.2%C โดยน้ําหนัก
(ก) จงบอกอุณหภูมิยูเทกทอยดของโลหะผสม
(ข) เฟสปฐมภูมิที่เกิดขึ้นคือเฟสอะไร
(ค) คํานวณหาปริมาณของเฟสปฐมภูมิและเพอรไลต โดยมีสมมุติฐานวาไมมีการเปลี่ยนแปลงของ
ตําแหนงของเขตของเฟส หรือไมมีเฟสอื่นเกิดขึ้น
6. จงเขียนชนิดเหล็กกลามา 4 ชนิดพรอมอธิบายสมบัติและการใชงานอยางสั้น ๆ
7. จงอธิบายเหตุผลที่ทําใหเหล็กกลาไรสนิมเฟรริติกไมสามารถชุบแข็งได
8. จงกําหนดชวงอุณหภูมิที่เปนไปไดที่ทําใหเกิดโครงสรางออสเทไนตในเหล็กผสมคารบอนตอไปนี้ระหวาง
การอบปกติ (ก) 0.20%C โดยน้ําหนัก (ข) 0.76%C โดยน้ําหนัก (ค) 0.95%C โดยน้ําหนัก
9. วัตถุประสงคของการทําใหเปนคารไบดกลมคืออะไรและปกติใชกับเหล็กกลาชนิดใดบาง
10.จงอธิบายถึงความแตกตางระหวางความแข็งกับความสามารถในการชุบแข็ง
11. จงอธิบายอิทธิพลของธาตุผสม (ยกเวนคารบอน) ตอความสามารถในการชุบแข็งของเหล็กกลา
12. เหล็กกลาไรสนิมผสมธาตุชนิดใดเปนหลักและในปริมาณอยางนอยเทาใดเพื่อทําใหทนตอการกัดกรอน
13. เหล็กหลอมีกี่ประเภทหลักและมีอะไรบาง
14. จงอธิบายโครงสรางของเหล็กหลอขาวที่ไมเติมธาตุผสม และบอกเหตุผลวาทําไมรอยแตกของเหล็กหลอ
ขาวถึงเห็นเปนสีขาว
15. จงอธิบายโครงสรางในสภาพหลอของเหล็กหลอเทาและบอกเหตุผลวาทําไมรอยแตกเหล็กหลอเทาถึงเห็น
เปนสีเทา
228

16. เปรียบเทียบเหล็กหลอเทาและเหล็กหลออบเหนียวในแงของ
(ก) สวนผสมและการอบชุบ (ข) โครงสรางจุลภาค ค) สมบัติทางกล
17. ขอไดเปรียบของโลหะนอกกลุมเหล็กเมื่อเทียบกับโลหะในกลุมเหล็กคืออะไร
18. โลหะผสมอะลูมิเนียมมีขอเดนอยางไร
19. โลหะผสมแมกนีเซียมมีขอเดนอยางไร
20. ทองแดงบริสุทธิ์มีวิธีการผลิตอยางไร
22. ทําไมโลหะผสมแมกนีเซียมถึงขึ้นรูปดวยแรงทางกลไดยาก
23. ทําไมโลหะผสมไทเทเนียมจึงนิยมใชกับงานดานอวกาศ
24. ทําไมนิกเกิลจึงมีความสําคัญในทางวิศวกรรม และมีขอดีขอเสียอยางไร
229

บทที่ 11
พอลิเมอร

พอลิเมอร (Polymer) สามารถพบเห็นอยูท ั่วไปในชีวิตประจําวัน เชน ไม ยาง ขนสัตว เสน


ไหม เปนตน เรียกวาเปนพอลิเมอรทเี่ กิดเองตามธรรมชาติ ปจจุบันไดมีการนําเทคโนโลยีมาผลิตพอลิ
เมอรขึ้นมาใหม เรียกวาพอลิเมอรสังเคราะห เชน พลาสติก ยาง เสนใย เปนตน ซึ่งหลายประเภทมี
ตนทุนต่ําแตคุณภาพดีกวาที่มาจากธรรมชาติ ในบทนี้จะทําการศึกษา โครงสราง การผลิตและการใช
งานพอลิเมอรทงั้ ที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติและทีเกิดจากการสังเคราะห
11.1 โมเลกุลของสารประกอบไฮโดรคารบอน
เนื่องจากพอลิเมอรคือมีสวนประกอบหลักเปนคารบอนและไฮโดรเจนซึ่งยึดกันอยูดวยพันธะ
โควาเลนต จึงเรียกวาเปนสารประกอบไฮโดรคารบอน มี C เปนแกนและมีแขนเปน H คารบอนเปน
ธาตุหมู 4 มีอีเล็คตรอนวงนอก 4 ตัว ตองการเพิม่ อีก 4 ตัว โดยการจับกับคารบอนตัวอื่นๆและไฮโค
รเจนหรืออื่นๆเปนสายหวงโซ หนวยที่เล็กทีส่ ุดเรียกวาเมอรหรือโมโนเมอร การเกิดพันธะระหวาง
คารบอนกับคารบอนนั้นอาจเปนพันธะเดี่ยว พันธะคู หรือพันธะสามตามแตชนิดของพอลิเมอรสวนที่
เหลือนั้นจะจับกับไฮโดรเจนดวยพันธะเดี่ยว ถาคารบอนจับกันดวยพันธะคูหรือพันธะสามจะเรียกวา
เปน โมเลกุลไมอิ่มตัว หมายความวาคารบอนไมไดสรางพันธะกับธาตุอื่นครบ 4 ตัว ดังนั้นจึงมีโอกาส
แตกตัวหรือจับกับธาตุอื่นๆจนกลายเปนพันธะอิม่ ตัวได ถาคารบอนมีพันธะเดี่ยวทั้งหมดจะเรียกวา
เปนโมเลกุลอิ่มตัวแลว จะไมสามารถเกิดพันธะอะไรไดอีก เวนแตจะตองถูกทําลายพันธะจึงจะเกิด
พันธะใหมได โดยปกติโมเลกุลเดียวกันจะจับกันดวพันธะโควาเลนตแตระหวางโมเลกุลจะเปนแรงวัล
เดอรวาลว ตัวอยางโครงสรางโมเลกุลพอลิเมอรแสดงดังตารางที่ 11.1 และ 11.2 พอลิเมอรทมี่ ีสูตร
โมเลกุลเหมือนกันอาจเรียงตัวตางกันได เราเรียกวาเปนไอโซเมอร

ตารางที่ 11.1 สูตรเคมีและโครงสรางของพอลิเมอรบางประเภท


230

ตารางที่ 11.2 สารประกอบไฮโดรคารบอนที่พบบอย

โมเลกุลของพอลิเมอร นั้นจะนับความยาวของสายโซเปน 1 โมเลกุล ซึ่งเรียกวาเปนแบบ


มาโครโมเลกุล โดยกระดูกสันหลังหรือสายหลักของโมเลกุลเปนคารบอนตอกันเปนสายโซยาวๆดังนี้

H H
| |
ลองพิจารณาโครงสรางของเอทิลีนไดแก C C
| |
พบวาเปนแกสที่อณ
ุ หภูมิหองและความดันปกติ จาก
H H

โครงสรางพบวาเปนแบบไมอิ่มตัวเนื่องจากมีพันธะคู ถาเติมตัวทําปฏิกิริยาลงไปจะพบวาเกิดปฏิกิริยา
เปลี่ยนเปนโพลีเอทิลีน (PE) โดยโมโนเมอรของเอทิลีนจะจับกันเปนโซยาวๆ โดยมีตัวเริม่ ทําปฏิกริ ิยา
คือ R ดังแสดงตามสมการนี้
231

การเกิดปฏิกิริยาจะสิ้นสุดเมื่อ R หมดไปโดยสวนทายของโซถกู จับดวยไฮโดรเจนหรือโมเลกุลอื่น รูปที่


11.1 แสดงตัวอยางลักษณะและโครงสรางเสนใยของโพลีเอทิลีน (PE)

รูปที่ 11.1 แสดงโครงสรางของโพลีเอทิลีน

ตัวอยางโครงสรางของพอลิเมอรที่รจู ักกันดีอีกอยางคือ PVC หรือ โพลีไวนิลครอไรด จะตางจาก PE


ตรงทีท่ ุกๆอะตอมไฮโดรเจนตัวที่ 4 จะมี Cl มาเกาะแทน แตถาแทนตําแหนงของ Cl ดวย CH3 แลว
จะกลายเปนกลุม เมทิล นอกจากนี้ยงั มีพอลิเมอรอื่นๆดังไดยกตัวอยางไวในตารางที่ 11.3

ตารางที่ 11.3 หนวยที่ซ้ํากันในโมเลกุลของพอลิเมอรบางชนิด


232

ตารางที่ 11.3 หนวยที่ซ้ํากันในโมเลกุลของพอลิเมอรบางชนิด (ตอ)

11.2 น้ําหนักโมเลกุล
เพื่อทีจ่ ะศึกษาเรื่องโครงสรางของพอลิเมอรจงึ ตองเขาใจนิยามดังตอไปนี้
 โฮโมพอลิเมอร (homopolymer) หมายถึง ทุกหนวยหรือโมโนเมอรเรียงตัวเหมือนหรือซ้ํา
กันทั้งหมดในสายโมเลกุลเชน
 โคพอลิเมอร หมายถึง จะมีหลายหนวยซ้ํากันในหนึง่ สายโมเลกุล
 ไบฟงชันนอลหมายถึงโมเลกุลทีส่ ามารถสรางพันธะตอไดอีก 2 พันธะ (ซาย-ขวา) มีแนวโนม
เปนเสน
 ไตรฟงชันนอลหมายถึงโมเลกุลทีเ่ กิดปฏิกริ ิยาไดไว มี 3 พันธะที่เกิดได โดยมีแนวโนมเปน
เครือขายใน 3 มิติ
เนื่องจากพอลิเ มอร ในแตล ะโมเลกุล ยาวไมเทากัน ยิ่งยาวยิ่ง มีน้ําหนัก มาก ดัง นั้นการคิด
น้ําหนักโมเลกุลนั้นสามารถใชหลักการคิดน้ําหนักโดยเฉลี่ย ในการคํานวณหาน้ําหนักโมเลกุลเฉลี่ยโดย
โมเลกุลของพอลิเมอรจะใชสมการดังตอไปนี้
233

เมื่อ xi คือสัดสวนของจํานวนสายโมเลกุลที่มีน้ําหนักในชวงใดๆ และ Mi คือ คากึ่งกลางของน้ําหนัก


โมเลกุลในชวงใดๆที่สนใจ แตในทางปฏิบัตินิยมใชคาน้ําหนักโมเลกุลเฉลี่ยโดยน้ําหนักซึ่งจะใชสมการ
ดังตอไปนี้

เมื่อ wi คือสัดสวนของน้ําหนักของสายโมเลกุลที่ตกอยูในชวงที่สนใจ ซึ่งกราฟการกระจายตัวของ


น้ําหนักพอลิเมอรจากการใชทั้งสองสมการแสดงดังรูปที่ 11.2

รูปที่ 11.2 คาเฉลี่ยน้ําหนักโมเลกุลของพอลิเมอร


234

อีกวิธีหนึ่งที่ใชอธิบายขนาดความยาวเฉลี่ยของพอลิเมอรคือการบอกคาดีกรีของการเกิดพอลิเมอร
(Degree of polymerization หรือ DP) เปนคาที่บอกคาเฉลี่ยของจํานวนเมอรในหนึ่งสายโมเลกุล
ซึ่งสามารถใชสมการดังตอไปนี้คือ

เมื่อ m คือ น้ําหนักโมเลกุลของหนวยที่ซ้ํากัน

ตัวอยาง สมมติใหขอมูลการกระจายตัวของเสนใย PVC ซึ่งหนวยที่ซ้ํากันประกอบดวยคารบอน 2 ตัว


ไฮโดรเจน 3 ตัวและ คลอรีน 1 ตัว โดยมีมวลอะตอมตามลําดับคือ 12.01, 1.01 และ 35.45 g/mol
ผลการทดสอบแสดงดังรูป 11.2 จงหา ก) น้ําหนักโมเลกุลเฉลี่ยโดยจํานวน ข) น้ําหนักโมเลกุลเฉลี่ย
โดยน้ําหนัก ค) คา DP
วิธีทํา ก) ทําการสรุปขอมูลจากรูปที่ 11.2 เพื่อหาน้ําหนักโมเลกุลเฉลี่ยโดยจํานวนไดดังนี้

จากสมการ ดังนั้นจึงมีคาเทากับ 21,150 g/mol


ข) ทําการสรุปขอมูลจากรูปที่ 11.2 เพื่อหาน้ําหนักโมเลกุลเฉลี่ยโดยจํานวนไดดังนี้

จากสมการ ดังนั้นจึงมีคาเทากับ 23,200 g/mol

ค) จากสมการ โดย
235

ดังนั้น

11.3 การเรียงตัวของโมเลกุล
ถาโมเลกุลเรียงตัวเปนแบบเสนตรงนั้นแทจริงแลวไมไดเปนเสนตรง (180 องศา) แตคารบอน
แตละตัวจําทํามุมกัน 109 องศาดังรูปที่ 11.3 เนื่องจากพันธะเดี่ยวสามารถหมุนไดอยางอิสระ จากรูป
จะเห็นไดวาพอลิเมอรมีการเรียงตัวกันยาวขึ้นเทาใดจะเกิดการบิดเบี้ยวและหงิกงอของหวงโซจะมาก
ขึ้นเทานั้น การบิดเบี้ยวและหงิกงอแบบนี้จะทําใหพอลิเมอรมีความเปนอีลาสติกสูง คุณสมบัติทางกล
ของพอลิเมอรจึงขึ้นกับความสามารถในการคลายตัวหรือหมุนตัวของสวนที่ไดรับแรงหรือความรอนใน
หวงโซ โดยทั้งนี้ก็ขึ้นกับลักษณะโครงสรางและสูตรเคมีของโมโนเมอร เชน ถาโมโนเมอรเปนพันธะคู
แลวการหมุนจะเกิดยาก และ ถามีก ลุม โมเลกุลที่ห งิกงอนี้ขนาดใหญแลวการหมุนก็เกิดขึ้นไดยาก
เชนเดียวกัน

รูปที่ 11.3 การบิดเบี้ยวและหงิกงอของสายหวงโซของพอลิเมอรสายเดียว


236

หวงโซพอลิเมอรสามารถแบงไดเปน 4 แบบ โดยรูปรางทั้ง 4 แบบแสดงดังรูปที่ 11.4 ไดแก


แบบเสนตรง คือ พอลิเมอรที่มีโมเลกุลเปนสายเดียวดังรูป a) แบบกิ่ง กาน คือ พอลิเมอรที่มีสาย
โมเลกุลขยายออกทางดานขางเปนกิ่งกานดังรูป b) แบบรางแหหรือตาขายคือ สายโมเลกุลที่มีกิ่งกาน
สานกันเปนรางแห เกิดจากการมีการเชื่อมกันหรือ cross link จากกระบวนการวัลคาไนเซชันดังรูป
c ซึ่งเปนตาขายแบบหลวมๆ และแบบโครงตาขายหนาแนน เกิดกับกลุมไตรฟงชันนอล เกิดตาขายพัน
กันใน 3 มิ ติ ดั ง รูป d) ซึ่ง สง ผลใหพ อลิเ มอรแ ข็ง และเปราะ ในพอลิเ มอร ห นึ่ ง ประเภทอาจพบ
โครงสรางหลายอยางดังที่กลาวมาขางตนได

รูปที่ 11.4 รูปรางโมเลกุลของพอลิเมอร

11.4 เทอรโมพลาสติกและเทอรโมเซ็ตติง
เมื่ อ มี แ รงภายนอกมากระทํ า หรื อ เมื่ อ อุ ณ หภู มิ เ ปลี่ ย นไป พอลิ เ มอร แ ต ล ะชนิ ด จะมี
ความสามารถในการตอบสนองแรงภายนอกนั้นๆไมเหมือนกัน โดยโครงสรางโมเลกุลสวนหลักจะเปน
ตัวกําหนดลักษณะการตอบสนองตอแรงภายนอกหรืออุณหภูมิ สมบัติของพอลิเมอรจะไวตออุณหภูมิ
มาก ดังนั้นชนิดของพอลิเมอรตามการตอบสนองตออุณหภูมิสามารถแบง ออกเปน 2 ชนิดคือกลุม
เทอรโมพลาสติก และกลุมเทอรโมเซ็ตติง เทอรโมพลาสติกจะออนตัวเมื่อรับความรอน จนหลอมเหลว
ในที่สุด และในขณะเดียวกันก็จะแข็งตัวเมื่ออุณหภูมิลดลง ทําใหสามารถนําไปผลิตซ้ําใหมได ในทาง
ตรงขามกับกลุมเทอรโมเซ็ตติงจะทําไมได กลุมเทอรโมเซ็ตติงเมื่อโดนความรอนในขั้นตอนการผลิตจะ
เกิดตาขายหรือ cross link ขึ้น ภายหลังการขึ้นรูปจะไมมีการออนตัวอีก เมื่อโดนความรอนจะไหม
และสลายตัวไป ทําใหไมสามารถนํามาผลิตซ้ําได เทอรโมเซ็ตติงจะแข็ง แข็งแรง ทนความรอนไดสูง
กวากลุมเทอรโมพลาสติก แตจะมีความยืดหยุนนอยกวา ตัวอยางของเทอรโมเซ็ตติงที่สําคัญคือ อีพอก
ซี ฟนอลิก กาว เรซิน พอลีเอสเทอรบางชนิด เปนตน
237

11.5 โคพอลิเมอร
ในปจจุบันไดมีการพัฒนาพอลิเมอรใหมๆเพื่อปรับปรุงสมบัติใหเหมาะสมกับการใชงานมาก
ขึ้น จึงไดมีการพัฒนาโดยการสังเคราะหพอลิเมอรที่มีการผสมกันของโมโนเมอรของพอลิเมอรหลาย
ชนิดเขาดวยกันซึ่งเรียกวาโคพอลิเมอร (Co-polymer) รูปแบบการจัดเรียงตัวของโคพอลิเมอรแสดง
ดัง รู ป ที่ 11.5 โดยสีแ ดงและสี ฟาคื อโมโนเมอรของพอลิ เ มอร ตางชนิ ดกั น ซึ่ง สามารถแบง การ
จัดรูปแบบออกเปน 4 ชนิดดังนี้คือ
-การเรียงตัวแบบสุม (random) ดังรูป a) ซึ่งโมโนเมอรของพอลิเมอรทั้งสองชนิดเรียงตัว
แบบไมเปนรูปแบบ
-การเรียงตัวแบบสลับ (Alternating) ดังรูป b) ซึ่งโมโนเมอรของพอลิเมอรทั้งสองชนิดเรียง
ตัวสลับกัน
-การเรียงตัวแบบบล็อก (block) ดังรูป c) ซึ่งโมโนเมอรของพอลิเมอรทั้งสองชนิดเรียงตัวเปน
กลุมสลับกัน
-การเรียงตัวแบบกราฟต (graft) ดังรูป d) ซึ่งโมโนเมอรของพอลิเมอรชนิดหนึ่งเรียงตัวเปน
แกนกลาง สวนโมโนเมอรของพอลิเมอรอีกชนิดหนึ่งเรียงตัวตอกันแกนกลางอีกที
ตัวอยางที่สําคัญของโคพอลิเ มอรคือพอลิมเมอรป ระเภทยางสัง เคราะห สําหรับทํายางรถยนต ดัง
ตารางที่ 11.4

รูปที 11.5 การเรียงตัวของโคพอลิเมอร


238

ตารางที่ 11.4 ตัวอยางโคพอลิเมอรที่ใชผลิตยาง

11.6 ผลึกของพอลิเมอร
แมวาพอลิเมอรสวนใหญจะไมมีผลึก แตในบางครั้งพอลิเมอรก็สามารถเปนผลึกได ดังนั้นจึง
สามารถกลาวไดวาพอลิเมอรนั้นสามารถเปนผลึก กึ่งผลึกและไมเปนผลึกเลยก็ได โดยตัวอยางผลึก
แสดงดังรูปที่ 11.6 ระดับความเปนผลึกอาจมีไดตั้งแตศูนยไปจนถึง 95% ได แตที่เหลือ 5% นั้นไม
สามารถทําใหเปนผลึกได ซึ่งแตกตางจากโลหะที่เปนผลึก 100% บริเวณที่เปนผลึกจะหมายถึงบริเวณ
ที่หวงโซมีการเรียงตัวอยางเปนระเบียบ การเกิดผลึกนี้จะทําใหพอลิเมอรมีความหนาแนนสูงขึ้น โดย
พอลิเมอรที่มีโมเลกุลเปนเสนตรงจะเกิดผลึกไดงายกวาที่เปนกิ่งกานหรือตาขาย

รูปที 11.6 ผลึกของพอลิเมอร


239

ดังนั้นจึงสามารถกลาวไดวาพอลิเมอรสามารถมีโครงสรางเปนแบบกึ่งผลึกได โดยมีสองเฟส
คือ เฟสที่เปนผลึกและเฟสที่ไมเปนผลึกหรือสัณฐาน โมเลกุลบริเวณที่เปนผลึกจะมีความเปนระเบียบ
สูงและฝงตัวอยูในเนื้อพื้นสวนที่ไมเปนผลึก โดยบริเวณที่เปนผลึกจะมองเห็นเปนสีทึบ สวนที่ไมเปน
ผลึกจะเห็นเปนลักษณะใสดังรูปที่ 11.7 a) ผลึกของพอลิเมอรจะมีลักษณะเปนแผนบางๆมีความหนา
10-20 นาโนเมตร มีความยาวประมาณ 10 ไมโครเมตร โดยผลึกเหลานี้เกิดจากสายโมเลกุลที่พับ
สลับกันไปมาดังรูปที่ 11.7 b) นอกจากนี้ยังพบวาพอลิเมอรแบบกึ่งผลึกนี้สามารถมีผลึกแบบสเฟย
รูไลตซึ่งเปนทรงกลมขนาดเล็ก โดยเกิดขึ้นในขณะแข็งตัวเปนของแข็ง โดยตัวอยางพอลิเมอรที่มีผลึก
แบบนี้ไดแก พอลิเอทิลีน พอลิโพรไพลีน PVC PET และ ไนลอน

(a) ผลึกของพอลิเมอร

(b) การเรียงตัวแบบพับสลับ

รูปที่ 11.7 ผลึกของพอลิเมอร


240

11.7 พฤติกรรมความเคนความเครียดของพอลิเมอร
เมื่อรับแรงกระทําพอลิเมอรจะแสดงพฤติกรรมหลายอยาง ทั้งเปราะคลายเซรามิค มีความ
เปนพลาสติกคลายโลหะและมีความเปนอีลาสติกสูงไดดังรูปที่ 11.8 ซึ่งพบวามีดวยกัน 3 ลักษณะคือ
แบบ A เปนพอลิเมอรที่เปราะ ลักษณะ B เปนพอลิเมอรโดยทั่วไปที่มีชวงการยืดหยุนคลายกับโลหะ
โดยมีชวงที่เปนอีลาสติกและพลาสติก สวน C เปนพอลิเมอรที่มีความยืดหยุนสูง คามอดูลัสความ
ยืดหยุน (E) ของพอลิเมอรจะอยูในชวงประมาณ 7 MPa- 4 GPa และ ในพอลิเมอรจําพวกยางหรือ
อีลาสโตเมอรสามารถยืดตัวไดถึง 1000% เลยทีเดียว สมบัติทางกลตางๆของพอลิเมอรบางชนิดแสดง
ดังตารางที่ 11.5

รูปที่ 11.8 ตัวอยางกราฟความเคน-ความเครียดของพอลิเมอร


ตารางที่ 11.4 สมบัติทางกลทีอ่ ุณภูมิหองของพอลิเมอร
241

สมบัติทางกลของพอลิเมอรจะไวตออุณหภูมิเปนอยางมาก แมอุณหภูมิจะสูงกวาอุณหภูมหิ อ ง
เพียงเล็กนอยก็ตาม รูปที่ 11.9 แสดงผลของอุณหภูมิตอกราฟความเคนความเครียดของพอลิเมอร
ตัวอยาง โดยคาความแข็งแรงจะลดลงเปนอยางมากเมื่อเพิ่มอุณหภูมิจนถึง 60 องศาเซลเซียส และที่
อุณหภูมิ 4 องศาเซลเซียสจะเปราะเหมือนแกว

รูปที่ 11.9 แสดงผลของอุณหภูมิตอ ความสัมพันธของความเคนความเครียดของพอลิเมอรตัวอยาง

11.8 การแปรรูปของพอลิเมอร
ในขอนี้จะกลาวถึงพอลิเมอรที่มีโครงสรางแบบกึ่งผลึกซึ่งพบเห็นบอย เมื่อมีแรงภายนอกมา
กระทํากับพอลิเมอรที่มีโครงแบบกึ่งผลึกนี้จะทําใหเกิดการแปรรูปแบบอีลาสติกและพลาสติกเกิดขึ้น
ในพอลิเมอรดังรูปที่ 11.10 โดยในชวงอีลาสติกนั้นจะเกิดการดัดและยืดตัวของพันธะโควาเลนตใน
สายหวงโซ และมีการเคลื่อนตัวของโมเลกุลขางเคียงเล็กนอยเพราะมีแรงวัลเดอรวาลวคอยจับอยู การ
ยืดตัวนี้จะไมเทากันในสวนที่เปนผลึกและสวนที่ไมเปนผลึกจนอาจเรียกวา พอลิเมอรประเภทนี้เปน
วัสดุผสม ดังนั้นการคิดคามอดูลัสจึงตองคิดแบบคาเฉลี่ยของทั้งสองเฟส เมื่อรับแรงมากขึ้นจนเกิด
การแปรรูปแบบพลาสติกจะมีกลไกซับซอนมากขึ้น สวนที่ไมเปนผลึกจะเกิดการแปรรูปกอน โดยเริม่ มี
การเลื่อนและเรียงตัวตามแนวแรง จากนั้นสวนที่เปนผลึกจะเริ่มเอียงตัวในทิศแรงมากระทํา จากนั้น
ผลึกก็จะแยกออกมาเปนชิ้นเล็กๆแตยังยึดกันอยู และสุดทายสวนที่หลุดออกมาจะเรียงตัวกันเปนแนว
ยาว การคอดที่เกิดขึ้นในชวงการแปรรูปแบบพลาสติกจะทําใหมีความแข็งแรงเพิ่มขึ้น
ในกรณีของพอลิเมอรที่ไมมีผ ลึกการแปรรูป จะแตกตางออกไป โดยจะขึ้นกับอุณหภูมิเปน
อยางมาก ที่อุณหภูมิต่ําพอลิเมอรกลุมนี้จะมีลักษณะคลายแกว คือมีความแข็ง แตเมื่ออุณหภูมิเพิ่มขึ้น
จะมีความยืดหยุนคลายยาง เมื่อรับแรงในปริมาณเล็กนอยที่อุณหภูมิต่ําพอลิเมอรชนิดนี้จะมีสมบัติ
การยืดหยุนโดยสมบูรณ โดยแสดงพฤติกรรมเปนไปตามกฎของฮุคที่วา ความเคนแปรผันตรงกับ
ความเครียด แตถาอุณหภูมิสูงจะมีความเหนียวหนืดเขามารวมดวย ซึ่งเรียกวาความยืดหยุนหนืด
(viscoelasticity) โดยคามอดูลัสยืดหยุนจะเรียกวามอดูลัสการผอนคลาย (relaxation modulus)
242

รูปที่ 11.11 แสดงคามอดูลัสการผอนคลายของพอลิสไตรีนที่มีผลึกสูง (A) มีผลึกปานกลาง (B) และไม


มีผลึก (C) ที่เวลาการทดสอบ 10 วินาทีที่อุณหภูมิตางๆ ซึ่งพบวาพอลิเมอรที่มีผลึกสูงจะมีคามอดูลัส
สูงจนกระทั่งละลาย
จากรูปพบวามีอุณหภูมิหนึ่งที่พอลิเมอรเ ปลี่ยนพฤติก รรมจากแข็งเปราะเปนเหนียวหนืด
เรียกวาอุณหภูมิเปลี่ยนสภาพเปนแกว (Tg) โดยที่อุณหภูมิต่ํากวา Tg พอลิเมอรจะมีสมบัติแข็งเปราะ
แตถาอุณหภูมิสูงกวา Tg พอลิเมอรจะเหนียวหนืดและละลายโดยสมบูรณที่อุณหภูมิหลอมละลายหรือ
Tm สวนใหญมักพบอุณหภูมิ Tg อยางชัดเจนในพอลิเมอรที่ไมมีผลึก

รูปที่ 11.10 ขั้นตอนการแปรรูปของพอลิเมอรแบบกึ่งผลึก

รูปที่ 11.11 คามอดูลัสการผอนคลายของพอลิสไตรีนที่มีโครงสรางตางกัน


243

เมื่อพอลิเมอรรับแรงจนขาด พบวาคาความแข็งแรงที่จุดแตกหักจะต่ํากวาโลหะมาก ในพอลิ


เมอรประเภทเทอรโมเซ็ตติงพบวาสวนมากเปนการแตกหักแบบเปราะ โดยรอยแตกขนาดเล็กจะเริ่ม
กอตัวตามตําหนิเชน รอยขูดขีดขวนหรือรอยบาก เกิดเปนรอยแตกขาดขนาดเล็ก รอยแตกกระจายตัว
ออกไป พันธะโควาเลนตในโครงขายรางแหจะถูกทําลายขณะแตกหัก สวนกรณีของเทอรโมพลาสติก
จะตางออกไปโดยจะพบทั้งการแตกหักแบบเหนียวและเปราะ ปจจัยที่ทําใหเกิดการแตกแบบเปราะ
ไดแก อุณหภูมิต่ํา การเพิ่มอัตราความเครียด การมีรอยบาก ชิ้นงานมีความหนาและโครงสรางภายใน
เทอรโมพลาสติกที่ไมมีผลึกจะมีแนวโนมแตกแบบเปราะที่อุณหภูมิต่ํา แตเมื่ออุณหภูมิสูงขึ้นจนใกล
อุณหภูมิ Tg จะพบวาพอลิเมอรมีความเหนียวมากขึ้น เกิดการแปรรูปแบบถาวรไดกอนการแตกหัก
ในกลุมพอลิเมอรที่ไมมีผลึกจะพบรูปแบบการแตกหักแบบเครชชิง (crazing) ดังรูปที่ 11.12 รูปแบบ
การแตกหักคือเกิดการครากของเนื้อพอลิเมอรบางจุดกอน จากนั้นเกิดรอยขาดเปนวงๆ และรอยขาด
เกิดการขยายตัวเชื่อมตอกัน

รูปที่ 11.12 การแตกหักแบบเครชชิง (crazing)

11.9 สมบัติทางกลบางประการของพอลิเมอร
 ความทนทานตอการกระแทก
ปจจัยที่มีผลตอสมบัติทางกลของพอลิเมอรนั้นไดแก อุณหภูมิ น้ําหนักโมเลกุลแลระดับของ
การเปนผลึก สําหรับผลของอุณหภูมินั้นไดกลาวไวแลวขางตน พอลิเมอรที่มีน้ําหนักโมเลกุลมากขึ้นจะ
ไมมีผลมากนักตอคามอดูลัสความยืดหยุน แตจะทําใหความตานทานแรงดึงเพิ่มมากขึ้น ในบางกรณีที่
ตองรับการกระแทก การทดสอบความทนทานตอการกระแทกของพอลิเมอรเปนสิ่งจําเปน ดังที่กลาว
ไปแลววาพอลิเมอรที่ไมมีผลึกหรือกึ่งผลึกจะเปราะที่อุณหภูมิต่ํา ทําใหทนการกระแทกไดนอย โดย
ปกติพอลิเ มอรทั้งสองชนิดนี้จ ะมีชวงการเปลี่ยนจากเหนียวเปนเปราะคอนขางแคบ ถึง แมวาเมื่อ
อุณหภูมิสูงขึ้นพอลิเมอรจะเหนียวแตกลับมีความตานทานการกระแทกลดลงเพราะเกิดการออนตัว
พอลิเมอรที่เหมาะสมกับการใชงานคือตองทนการกระแทกไดดีที่อุณหภูมิหองและตองมีอุณหภูมิ Tg
ต่ํากวาอุณหภูมิหองดวย
244

 ความตานทานตอความลา
เมือพอลิเมอรรับแรงกระทําซ้ําๆกันจะมีความลาเกิดขึ้น โดยปกติพอลิเมอรจ ะมีขีดจํากัด
ความลาต่ํากวาความเคนจุดครากมาก ตัวอยางผลการทดสอบความลาของพอลิเมอรบางชนิดแสดงดัง
รูปที่ 12.13 พบวาพอลิเมอรบางชนิดแสดงขีดจํากัดความลา แตบางชนิดไมแสดง ทั้งนี้คาขีดจํากัดตอ
ความลาต่ํากวาโลหะมาก อยางไรก็ตามความถี่ในการรับแรงหรือการสั่นจะมีผลตอความเสียหายในพอ
ลิเมอรมากกวาความลา เนื่องจากการการรับแรงที่ความถี่สูงจะเกิดความรอนขึ้นและสงผลทําใหพอลิ
เมอรออนตัว พอลิเมอรเกิดความเสียหายดวยกลไกแบบอื่นไดงาย

รูปที่ 11.13 กราฟความสัมพันธ S-N ของพอลิเมอรบางชนิด

11.10 การแปรรูปของพอลิเมอรที่มีโครงสรางแบบกึ่งผลึก
พอลิเมอรสวนใหญแบบกึ่งผลึกสวนใหญมีสองเฟส โดยจะมีโครงสรางแบบสเฟยรูไลตดังรูปที่
11.14 ซึ่งผลึกประกอบดวยชั้นแผนบางๆสลับกันไปมาจํานวนมากรวมกัน ผลึกเหลานี้ถูกลอมรอบ
ดวยโครงสรางเนื้อพื้นที่ไมเปนผลึกอีกทีหนึ่ง โดยแถบสีขาวคือผลึกแผนบาง

รูปที่ 11. 14 โครงสรางแบบสเฟยรูไลตของพอลิเมอรกงึ่ ผลึก


245

กลไกการแปรรูปแบบถาวรของพอลิเมอรแสดงดังรูปที่ 11.15 แสดงระยะแรกของการแปร


รูปเมื่อมีแรงภายนอกมากระทํา เมื่อแรงที่มากระทําเกิดจุดครากจะพบวามีการแปรรูปของบริเวณเนื้อ
พื้นที่ไมเปนผลึกกอนซึ่ง เปนระยะที่สอง โดยสายพอลิเมอรมีการเลื่อนตัวตามแนวทิศทางของแรง
ภายนอก สงผลใหผลึกเลื่อนตัวออกหางกัน ระยะที่สามจะพบวาบริเวณผลึกจะเกิดจากบิดตัวตาม
ทิศทางของแรงภายนอกดังรูป จากนั้นเสนใยในผลึกจะคอยๆหลุดออกมาแตยังไมขาดซึ่งเปนระยะที่สี่
และสุดทายทุกสวนในผลึกจะแยกออกจากกันและเรียงตัวแนวเดียวกับทิศทางแรงภายนอก

รูปที่ 11.15 ขั้นตอนการแปรรูปของพอลิเมอรกึ่งผลึก


246

แมวาน้ําหนักโมเลกุลจะไมมีความสัมพันธโดยตรงตอความแข็งของพอลิเมอร อยางไรก็ตาม
การเพิ่มน้ําหนักโมเลกุลหรือการเพิ่มดีกรีความเปนผลึกจะทําใหพอลิเมอรมีความแข็งแรงสูงขึ้น แตใน
ขณะเดียวกันก็จะเปราะมากขึ้น ผลของน้ําหนักโมเลกุลตอความเปนผลึกของพอลิเมอรแสดงดังรูปที่
11.9 เนื่องจากการเกิดผลึกจะทําใหแรงของพันธะทุติยภูมิมีมากกวาที่ไมเปนผลึก ดังนั้นพอลิเมอรที่มี
ปริมาณผลึกสูงจะมีคามอดูลัสแรงดึงสูงดวย ตัวอยางเชน คามอดูลัสแรงดึงของพอลิเอทิลีนจะเพิ่มขึ้น
สิบเทาเมื่อมีผลึก เพิ่มขึ้นจาก 0.3 เปน 0.6 รูปที่ 11.16 แสดงผลของความเปนผลึกและน้ําหนัก
โมเลกุลตอลักษณะทางกายภาพของ PE ซึ่งพบวายิ่งมีความเปนผลึกสูงและมีน้ําหนักโมเลกุลมากยิ่ง
ทําใหพอลิเอทิลีนมีความแข็ง

รูปที่ 11.16 ผลของน้ําหนักโมเลกุลตอดีกรีการเกิดผลึกของพอลิเอทิลีน (PE)

นอกจากนี้แลวผลของการการดึงขึ้นรูปขั้นตนจะทําใหความแข็งแรงของพอลิเมอรสงู ขึ้น และการอบ


ออนพอลิเมอรในกลุมทีเ่ ปนกึ่งผลึกจะทําใหมีความเปนผลึกมากขึ้น ทําใหคามอดูลสั สูงขึ้น ความ
แข็งแรงทีจ่ ุดครากเพิ่มขึ้น แตความเหนียวจะลดลง ซึ่งผลจากการอบนี้จะตรงขามกับเหล็กโดยสิ้นเชิง
สําหรับเหล็กยิ่งอบยิ่งออนแอและเหนียวมากขึ้น

11.11 การเกิดผลึก การหลอมเหลวและการกลายเปนแกวของพอลิเมอร


การเกิดผลึกของพอลิเมอรจะคลายกับกรณีของโลหะที่ไดกลาวมาในบทเรียนกอนหนานี้ โดย
ในหลายๆกรณีนั้นจะพบการเกิดโครงสรางที่ไมเปนผลึกเกิดขึ้นซึ่งสามารถอธิบายคลายกับกรณีของ
แกวได ในการเกิดผลึกจะเกิดขึ้นในระหวางการแข็งตัวจากพอลิเมอรหลอมเหลว
การแข็งตัวของพอลิเมอรจะเริ่มตนจากการเกิดนิวเครียสขนาดเล็กในของเหลว เมื่ออุณหภูมิ
ใกลเคียงกับจุดหลอมเหลวนิวเครียสเหลานั้นจะคอยๆโตขึ้นกลายเปนผลึกของแข็ง โดยมีรูปทรงเปน
แบบสเฟยรูไลต การโตจะอยูในทิศทางของแนวรัศมีของผลึก อัตราเร็วในการเกิดผลึกจะลดลงเมื่อ
247

น้ําหนักโมเลกุล เพิ่ม ขึ้น สวนการหลอมเหลวของพอลิเ มอรจะเกิดจากการเปลี่ยนโครงสรางที่เปน


ระเบียบไปเปนไมเปนระเบียบและกลายเปนของเหลวที่มีความหนืด
ในพอลิเมอรที่ไมมผี ลึกหรือทีเ่ ปนกึ่งผลึกพบวามีการเกิดสภาพเปลี่ยนเปนแกว เนื่องจากสาย
โมเลกุลเคลือ่ นทีล่ ําบากเมื่ออุณหภูมิลดลง โยของเหลวจะคอยๆเปลี่ยนเปนคลายยางและกลายเปน
ของแข็งในที่สุด โดยจะเรียกอุณหภูมิที่พอลิเมอรมีสมบัติคลายยางเปลี่ยนเปนของแข็งวา อุณหภูมิการ
เปลี่ยนสภาพเปนแกวหรือ Tg โดยปฏิกิริยานีส้ ามารถยอนกลับไดถาใหความรอนกับของแข็งอีกครั้ง
หนึ่ง ดังนั้นพอลิเมอรที่มีโครงสรางเปนแบบกึง่ ผลึกจึงมีปริมาตรจําเพาะระหวางการเย็นตัวอยูตรง
กลางระหวางพวกที่ไมเปนผลึกและพวกที่เปนผลึกดังรูปที่ 11.17 ทั้งอุณหภูมิ Tm (จุดหลอมเหลว)
และ Tg ในรูปเปนตัวแปรทีส่ ําคัญในการใชงาน โดยเฉพาะในกลุมทีม่ ีโครงสรางแบบกึง่ ผลึกจะใชงาน
ในชวงอุณหภูมินี้คือ ไมต่ํากวา Tg และไมเกิน Tm สวนในกรณีของพอลิเมอรที่ไมเปนผลึกนั้นจะใช
อุณหภูมิ Tg เปนอุณหภูมิสงู สุดสําหรับการใชงาน ตารางที่ 11.5 แสดงอุณหภูมิ Tg และ จุด
หลอมเหลวของพอลิเมอรบางชนิด

รูปที่ 11.17 การเปลี่ยนแปลงปริมาตรจําเพาะระหวางการแข็งตัวของพอลิเมอร

ตารางที่ 11.5 อุณหภูมิ Tg และจุดหลอมเหลวของพอลิเมอรบางชนิด


248

สําหรับ อุณหภูมิหลอมเหลวของพอลิเ มอรนั้นจะขึ้นกับ ความสามารถในการหมุนตัวของ


โมเลกุล ซึ่งหมายถึงชนิดของพันธะและน้ําหนักโมเลกุล ยิ่งมีน้ําหนักโมเลกุลมากยิ่งหลอมเหลวยากขึ้น
การมีกิ่งกานทําใหจุดหลอมเหลวลดลงดวย เนื่องจากการมีกิ่งกาน (แตไมพันกันเปน cross-link) จะ
ถือวาเปนจุดบกพรองอยางหนึ่ง
สวนอุณหภูมิการกลายเปนแกวนั้นขึ้นกับสิ่งที่มี ผลตอคาความยืดหยุนของหวงโซ ถาพอลิ
เมอรไดรับความรอนเกินกวาอุณหภูมิ Tg แลว พอลิเมอรจะเปลี่ยนสภาพจากเปราะเปนแกวกลายมา
เปนยางได ดังนั้นปจจัยที่ทําใหอุณหภูมิ Tg เพิ่มขึ้นจึงขึ้นกับ
1. การมีขนาดกลุมขนาดใหญขึ้น ตัวอยาง โพลีโพพิลีน -18 oC โพลีสไตรีน 100 oC
2. การมีขั้วไฟฟาเกิดขึ้น ตัวอยาง โพลีไวนิลคลอไรด 87 oC, โพลีโพพิลีน -18 oC
3. การมีพันธะคูหรืออะโรมาติค ทําใหเกิดความตึงของสายโซมากขึ้น
นอกจากนี้แลวการมีน้ําหนักโมเลกุลมากขึ้น การมีกิ่งกานสูงหรือการเกิดโครงสรางแบบรางแหในพวก
ไมมีผลึก ลวนสงผลใหคา Tg เพิ่มขึ้น

11.12 ประเภทของพอลิเมอร
ถาแบงตามการใชงานแลวมี 3 ประเภทดวยกันคือ
1. เทอรโมพลาสติก (Thermoplastic)โดนความรอนแลวออนตัว สามารถนํามาหลอมซ้ําได
2. เทอรโมเซตติง (Thermosetting) โดนความรอนแลวออนตัวเพียงครั้งเดียวในการผลิตและไม
สามารถนํามาหลอมซ้ําได
3. อีลาสโตเมอร (Elastomer) หรือยาง มีความเปนอีลาสติกสูง
 พลาสติก
เมื่อกลาวถึงพลาสติกนั้นจะหมายถึงกลุมเทอรโมพลาสติก มีสมบัติคือโดนความรอนแลวจะ
ออนตัว เกิดการเคลื่อนทีของโมเลกุลไดงาย กลุมนี้ใชงานทั่วไปเกินกวา 70% ตามทองตลาด พลาสติก
ที่ใชมากที่สุดคือ PE จะมีโครงสรางโมเลกุลเปนเสนตรงหรือกิ่งกาน แตไมมี crosslink ในขณะที่
เทอรโมเซตติงจะสามารถออนตัวไดครั้งเดียวในขั้นตอนการผลิต คําวาเทอรโมเซ็ตจะหมายถึง โดน
ความรอนและเซ็ตตัวหรือแข็งตัวขึ้น เกิดจากการที่สายโมเลกุลเกิดการพันกันเปนรางแหในสามมิติ ไม
สามารถเกิดปฏิกิริยายอนกลับได พลาสติกแบบนี้จะมีความแข็งแรงสูง สามารถนําไปเปนโครงสรางได
แตกลุมนี้จะมีความเปราะสูง
พลาสติกหลายชนิดมีสมบัติเดนเฉพาะตัว เชน พอลีสไตรีนและพอลิเมททิลเมทาไครเรตมี
สมบัติใสและมีความสามารถในการสองผานของแสงสูง แตตองไมมีผลึก หรือผลึก ตองมีขนาดเล็ก
มากกวาความยาวคลื่นแสง พลาสติกกลุมฟลูออโรคารบอนจะมีคาสัมประสิทธิ์แรงเสียดทานต่ําและ
ทนตอการเกิดปฏิกิริยาเคมีที่อุณหภูมิสูง สามารถนํามาทําอุปกรณเครื่องครัว เชน สารเคลือบกระทะ
ทําแบริ่ง เครื่องรองแกน และอุกรณทางอีเล็คทรอนิกที่อุณหภูมิสูง ตัวอยางพลาสติกที่ใชงานทั่วไป
แสดงดังตารางที่ 11.6
249

ตารางที่ 11.6 คุณลักษณะและการใชงานพอลิเมอรบางชนิด


250

ตารางที่ 11.6 คุณลักษณะและการใชงานพอลิเมอรบางชนิด (ตอ)

 อิลาสโตเมอร
สําหรับอีลาสโตเมอรนั้นจะรูจักกันในรูปของยาง โดยเฉพาะยางรถยนต อีลาสโตเมอรจะมี
ความเปนอีล าสติกสูง มาก เนื่องจากมีโ ครงสรางโมเลกุล ที่ยาวและหงิก งอ เกิด crosslink เพียง
เล็กนอยระหวางโมเลกุลโดยอาศัยกระบวนการทําวัลคาไนเซชัน รูปที่ 11.11 แสดงการแปรรูปของ
อีลาสโตเมอรเมื่อมีแรงกระทํา

รูปที่ 11.18 แสดงการแปรรูปของอีลาสโตเมอร


251

 การทําวัลคาไนซ เปนการเพิ่มจํานวน cross-link ในสายโมเลกุล โดยจะเริ่มจากการเติม


กํามะถันลงในอีลาสโตเมอรขณะรอน เกิดปฏิกิริยาเคมีแบบผันกลับไมได ปกติใชอุณหภูมิสูง (เติม
กํามะถัน 1-5 สวนในยาง 100 สวน) กํามะถันจะทําใหเกิดรางแหขึ้นโดยสายโมเลกุลของกํามะถันจะ
เกี่ยวกับสายโมเลกุลของพอลิเมอรขางเคียง ดังปฏิกิริยาตอไปนี้

ถาเติมกํามะถันมากยางจะแข็งเกินไป ยางที่ไมไดทําวัลคาไนซจะออนมากและเหนียวเหนอะหนะ แต


ภายหลังทําวัลคาไนซแลวจะมีความแข็งแรงสูงขึ้นทนการสึกหรอไดดี และทนตอการเกิดออกซิเดชัน
รูปที่ 11.19 แสดงการเปรียบเทียบยางที่ผานและไมผานการทําวัลคาไนซ ซึ่งพบวาการทําวัลคาไนซจะ
เพิ่มสมบัติดานแรงดึงไดสูงกวาอยางชัดเจน

11.19 กราฟความเคนความเครียดของยางที่ผานและไมผานกระบวนการวัลคาไนซ
252

อีลาสโตเมอรที่นิยมทํามากที่สุดคือยาง SBR เกิดจากการสังเคราะหจากกากปโตเลียมใชทํา


ยางรถยนต เสริมแรงดวยผงถาน หรือคารบอนแบลค นอกจากนี้ยังมียางประเภท NBR ซึ่งทนตอการ
บวมตัวและเสื่อมสภาพไดดี อยางไรก็อีลาสโตเมอรที่ผานการทําวัลคาไนซแลวยังไมสามารถนํามาทํา
เปนยางรถยนตได ดังนั้นตองมีการเติมสารอืน่ ๆ เชน ผงคารบอนหรือผงถานและสารอื่นๆเพื่อปรับปรุง
คุณสมบัติ โดยชวยใหทนตอขัดสีของพื้นถนน เพิ่มความแข็งแรง ทนตอการฉีกขาดและมีความยืดหยุน
นอกจากยางแลวยังมีซิลโิ คนซึ่งสายหลักของโมเลกุลไมใชคารบอนแตเปน Si และ O มีความยืดหยุน
สูงมากแมที่ -90 oC และทนอุณหภูมิไดถึง 250 oC และเกิดวัลคาไนซที่อุณหภูมหิ อง รูจกั กันในชื่อยาง
RTV ตัวอยางอีลาสโตเมอรและการใชงานแสดงดังตารางที่ 11.7

ตารางที่ 11.7 คุณลักษณะและการใชงานของอีลาสโตเมอรบางชนิด

นอกจากพลาสติกแลวการผลิตพอลิเมอรในรูปตางๆลวนแลวแตมีการใชงานมากมายในปจจุบันดังนี้
1.เสนใย เชน ไหม ดาย สําหรับผลิตเครื่องนุงหม พอลิเมอรที่ใชงานลักษณะนี้ควรมีน้ําหนักโมเลกุลสูง
เพื่อความแข็งแรง มีโครงสรางแบบเสนตรงและมีกิ่งกานนอยที่สุด มีการเรียงตัวของอะตอม
อยางสมมาตรและเปนระเบียบสูง ทนสารเคมีจากการซักลาง ติดไฟยากและแหงงาย
253

2. สารเคลือบ ใชเคลือบผิวหนาวัสดุเพื่อปองกันการเสื่อมสภาพ ความสวยงามหรือเปนฉนวน เชน สี


น้ํามันชักเงา อีนามเล แล็คเกอร เชลแล็ค
3.กาว ใชเพื่อยึดวัสดุ กาวผลิตไดจากทั้งเทอรโมพลาสติก เทอรโมเซตติงและอีลาสโตเมอร หรือกาว
ตามธรรมชาติ เชน ยางสน แปง แตมีขอแมวาหามใชงานที่อุณหภูมิสูง
4. ฟลม ใชทําเปนหีบหอสินคา ทนความชื้นและสารเคมี มีไดห ลายชั้น โดยฟลม จะมีความหนา
ประมาณ 0.025-0.125 มม. มีความหนาแนนต่ํา ยืดหยุนสูง ทนตอแรงดึงและแรงเฉือน
ตานทานความชื้นและสารเคมี ไอน้ําซึมผานยาก ตัวอยางพลาสติกที่ใชงานคือ พอลิเอทิลีน
พอลิโพรไพลิน เซโรเฟน และเซลลูโลสอะซิเตต
5. โฟม เปนพลาสติกที่มีรูพรุนเล็กๆภายใน ผลิตจากทั้งเทอรโมพลาสติกและเทอรโมเซต มีรูพรุนมาก
อาศัยแกสในการสรางรูพรุนในขั้นตอนการผลิต ตัวอยางพอลิเมอรที่ใชผลิตโฟมไดแก โพลียู
รีเทน ยาง โพลีสไตรีน PVC เปนตน สวนใหญใชผลิตเบาะ กลองใสอาหาร ฉนวนความรอน

11.13 กระบวนการสังเคราะหพอลิเมอร
กระบวนการผลิตเสนใยพอลิเมอรจะใชกระบวนการสังเคราะหที่เรียกวา พอลิเมอไรเซชัน
(Polymerization) เปนกรบวนการที่นําโมโนเมอรมาตอกันเปนสายยาว วัตถุดิบที่ใชในการสังเคราะห
ไดจาก ถานหินและผลิตภัณฑจากปโตรเลียม ปฏิกิริยาพอลิเมอไรเซชันมี 2 แบบคือแบบมวลรวมและ
แบบทีละขั้น (หรือกลั่นตัว)
 การผลิตแบบมวลรวม (addition polymerization)เปนการผลิตแบบสายโซ คือ โมโน
เมอรมาตอกันยาวเปนเสนดังรูปที่ 11.20 โดยใชเวลาประมาณ 1/100 หรือ 1/1000 วินาทีตอ 1000
โมโนเมอร การโตจะสิ้นสุดเมื่อปลายของโซเฉื่อย ในการสังเคราะหประกอบดวยสามขั้นตอนคือ (1)
ขั้นเริ่มตน (2) ขั้นเติบโต และ (3) ขั้นสิ้นสุดปฏิกิริยา ตัวอยางการผลิตดวยวิธีนี้ไดแก โพลีเอทิลีน โพลี
โพรพิลีน PVC โพลีสไตรีน เปนตน

รูปที่ 11.20 แสดงขั้นตอนการผลิตพอลิเมอรแบบมวลรวม


254

 แบบทีละขั้น (step polymerization) เกิดจากการรวมกลุมกันของโมโนเมอรเปนสายหวง


โซสั้นๆหลายๆหวงโซกอน จากนั้นหวงโซสั้นๆเหลานั้นเกิดพันธะรวมกันเกิดเปนกลุมใหญขึ้น ดังรูปที่
11.21 ไดโมเลกุลเปนเสนตรงเหมือนกันกับแบบแรก แตใชเวลานานขึ้น ในกรณีการเกิดโครงสราง
แบบรางแหก็ส ามารถใชวิธีนี้ได แตสวนมากวิธีนี้จะไดผลิตภัณฑเปนน้ําออกมาดวย จึงจําเปนตอง
กําจัดออกในระหวางการสังเคราะห จะไดพอลิเมอรที่มีโครงสรางโมเลกุลแบบเสนตรง ตัวอยางพอลิ
เมอรที่สังเคราะหดวยวิธีนี้ไดแก ไนลอน พอลีคารบอเนต พอลีเอสเทอรกลุมเทอรโมเซ็ตติง ฟนอล-
ฟอมัลดีไฮด เปนตน

รูปที่ 11.21 แสดงการสังเคราะหพอลิเมอรโดยวิธีแบบทีละขั้น

11.14 สารเจือในพอลิเมอร (Additives)


จุดประสงคในการเติมสารเจือเพื่อทําใหคุณสมบัติของพอลิเมอรเปลี่ยนไปในทางทีม่ ปี ระโยชน
โดยสารเจือจะมีผ ลตอโครงสรางโมเลกุล โดยการเปลี่ยนแปลงโครงสรางโมเลกุล ของพอลิเ มอร
นอกจากนี้เปนการผสมเฟสที่ส องลงไปทําให พอลิเ มอร กลายเปนวัสดุผ สมอีก ทางหนึ่ง ตัวอยาง
สารเจือไดแก
• สารเติมแตง (Fillers) – ทําหนาที่เพิ่มความแข็งแรงทั้งแรงดึงและแรงอัด ทนตอการสึกหรอ
เพิ่มความแกรง ทนตอความรอน และลดตนทุน ตัวอยางเชน ขี้เลื่อย ซิลกิ า ทราย แกว ดิน
เหนียว แปง หินปูน เปนตน
• พลาสติไซเซอร (Plasticizers) – จุดประสงคเพื่อเพิ่มการออนตัว ความเหนียว และความ
แกรง ลดความแข็งตึงและความแข็ง โดยปกติจะเปนของเหลวที่มีความดันไอต่ํา มักใชกับพอ
ลิเมอรทมี่ ีความเปราะสูงเชน PVC โดยจะลดอุณหภูมิ Tg ลง นิยมใชกับพลาสติกที่ใชทําเสื้อ
กันฝน ฟลม ผามาน และทอ
• สารทีท่ ําใหเสถียร (stabilizer) เปนสารที่ชวยปองกันการเสือ่ มสภาพจากสิง่ แวดลอมปกติ
โดยเฉพาะรังสี UV และเกิดออกซิเดชันจากการทําปฏิกริ ิยากับออกซิเจน โดยแสง UV จะ
ทําลายพันธะโควาเลนตในโมเลกุลของพอลิเมอร และบางครั้งทําใหเกิดโครงสรางตาขาย
ขึ้นมาได
255

• สี (Colorants) – เม็ดสีทําใหพอลิเมอรมีสีสันสวยงาม โดยเม็ดสีจะละลายเขาไปในโมเลกุล


ของพอลิเมอร เม็ดสีจะมีขนาดเล็กและโปรงแสง โดยมีดัชนีหักเหแสงใกลเคียงกับตัวพอลิ
เมอรเอง
• สารหลอลื่น (Lubricants) – ลดแรงเสียดทานและเพิ่มการไหล
• สารลดการติดไฟ (Flame retardants) – ชวยลดการติดไฟ โดยปกติจะผสมลงในเสนใยผา
หรือสิ่งทอ ของเลนเด็ก พลาสติกโดยปกติจะติดไฟ ยกเวนชนิดที่มีอะตอมของธาตุ Cl และ F
อยูเปนจํานวนมาก เชน PVC พอลีเตตระฟลูออโรเอทิลีน สารตานการติดไฟจะรบกวนการ
เผาไหม หรือเกิดปฏิกิริยาดูดความรอน ทําใหบริเวณนั้นเกิดการเย็นตัวและหยุดการติดไฟ

11.15 การขึ้นรูปพลาสติก
ปจจัยในการเลือกวิธีการขึ้นรูปไดแก
1. ประเภทพอลิเมอร เปนแบบเทอรโมเซตหรือเทอรโมพลาสติก
2. อุณหภูมิออนตัว
3. เสถียรภาพของพอลิเมอรในบรรยากาศ
4. รูปรางและขนาดชิ้นงาน
การขึ้นรูปเทอรโมพลาสติกโดยทั่วไปจะอาศัยแมพิมพ โดยใชเทคนิคตางๆไดแก การอัดขึ้นรูป
การหลอ การฉีด การเปา โดยเริ่มตนจากเม็ดพลาสติก ทําการผานความรอนและอัดดวยความดันให
เขาไปในแมพิมพใหดีรูปรางตามตองการ โดยการขึ้นรูปจะทําใหพลาสติกมีอุณหภูมิสูงกวาอุณหภูมิ Tg
สําหรับพอลิเมอรที่ไมมีผลึก แตถามีผลึกหรือกึ่งผลึกตองใชอุณหภูมิสูงกวาจุดหลอมเหลว โดยการขึ้น
รูปตองคงความดันไวจนกวาจะเย็นตัว เทอรโมพลาสติกจะสามารถตัดสวนชิ้นงานหลังการขึ้นรูปและ
นํามารีไซเคิลได
พอลิเมอรในกลุมเทอรโมเซ็ตติงจะขึ้นรูปโดยมีสองขั้นตอนคือ ขั้นตอนการเตรียมโมเลกุลเปน
เสนตรงหรือพรีพอลิเมอร และขั้นตอนการบมแข็ง (curing) ขั้นตอนพรีพอลิเมอรจะทําใหเปนพอลิเม
อรหลอมเหลวที่มีน้ําหนักโมเลกุลต่ํา จากนั้นจะทําใหแข็งตัวในแมพิมพ สวนขั้นตอนการบมแข็งจะทํา
ใหพอลิเมอรแข็งขึ้นหลังการขึ้นรูปโดยชิ้นงานยังคงอยูภายใตความดันที่ใชขึ้นรูป ปกติจะใชความรอน
หรือตัวเรงปฏิกิริยากระตุนใหเกิดโครงสรางตาขาย สามารถเอาชิ้นงานออกจาแมพิมพไดทันทีหลังการ
บมเพราะชิ้นงานแข็งตัวแลว เทอรโมเซ็ตติงที่ผานการขึ้นรู ปแลวจะไมสามารถนํามารีไซเคิลได แต
สามารถทนความรอนไดสูง มีความแข็งแรงและทนสารเคมีไดมากกวาเทอรโมพลาสติก
 การกดขึ้นรูปในแมพิมพ (Compression)
วิธีนี้จ ะทํา การอัดขึ้นรูป พอลิเ มอร ล งในแมพิม พที่รอน เมื่อปดแมพิม พล งความรอนจาก
แมพิมพจะทําใหเม็ดพลาสติกหลอมละลายและไหลเขาแมพิมพ ใชขึ้นรูปไดทั้งพลาสติกกลุมเทอรโม
พลาสติก และเทอรโ มเซ็ต แตปจ จุบันนิยมหลอมเม็ดพลาสติก กอนเทลงในแมพิม พเ รียกวาแบบ
256

transfer molding ใชกับพลาสติกกลุม เทอรโมเซ็ตและมีรูปรางซับซอน รูปที่ 11.22 แสดงการอัดขึ้น


รูปดวยแมพิมพ

รูปที่ 11.22 การอัดขึ้นรูปพลาสติกดวยแมพิมพ

 การฉีดขึ้นรูป (Injection molding)


วิธีนคี้ ลายกับการทําการหลอฉีดในโลหะ นิยมสําหรับกลุมเทอรโมพลาสติกดังรูปที่ 11.23
เม็ดพลาสติกถูกสงผานทางฮอบเปอร จากนั้นจะถูกบดอัดและลําเลี้ยงดวยสกรูและใหความรอนไป
ดวย จนกลายเปนของเหลวหนืด และถูกฉีดเขาสูแมพิมพโดยแทงแรม เมื่อชิ้นงานแข็งตัวจะทําการ
เปดแมพิม พออก ชิ้นงานจะหลุดออกจากแมพิม พ ทั้ง หมดใชเวลาประมาณ 10-30 วินาทีตอรอบ
จากนั้นทําการประกบแมพิมพแลวทําการฉีดใหม จุดเดนของวิธีนี้คืออัตราการผลิตสูง พลาสติกกลุม
เทอรโมเซ็ตสามารถใชวิธีนี้ได แตตองใชเวลาในการบมนานขึ้นภายใตความดัน โดยเรียกวาวิธี RIM

รูปที่ 11.23 การฉีดขึ้นรูป


257

 การอัดขึ้นรูป (Extrusion)
การขึ้นรูปวิธนี ี้คลายกันกับวิธีการฉีดขึ้นรูป เพียงแตวิธีนี้ใชการอัดผานแมพิมพแลวทําการตัด
ชิ้นงานออกอยางตอเนื่อง เรงการเย็นตัวโดยใชลมเปาหรือฉีดน้ํา ทําการตัดชิ้นงานเมื่อไดความยาว
ตามที่ตองการ เหมาะกับการผลิตชิ้นงานรูปทรงยาวที่มีพื้นที่หนาตัดคงที่ เชน แทง ทอ สายยาง เสน
ใย เปนตน ดังรูปที่ 11.24

รูปที่ 11.24 การอัดขึ้นรูป


 การหลอ
การหลอพลาสติกสามารถทําไดคลายโลหะคือ การเทน้ําพอลิเมอรหลอมเหลวลงในแบบหลอ
แลวปลอยใหแข็งตัว ถาเปนการขึ้นรูปเทอรโมพลาสติกการแข็งตัวจะเกิดขึ้นในขั้นตอนการเย็นตัว
สวนเทอรโมเซ็ตการแข็งตัวเกิดในขั้นตอนการเกิดโพลิเมอไรเซชันหรือการบมแข็ง
 การผลิตฟลม
การผลิตฟลมนิยมใชการอัดพอลิเมอรผานแมพิมพดังรูปที่ 11.25 จากนั้นทําการเปาลมแลว
มวนเก็บ ซึ่งอาจทําไดห ลายชั้น นอกจากนี้ยังผลิตไดโ ดยการเปาขึ้นรูป โดยความหนาจะลดลงตาม
แรงดันที่เปา บางครั้งจะรีดอีกครั้งเพื่อเพิ่มความแข็งแรง นิยมใชผลิตถุงขยะ ถุงพลาสติก เปนตน

รูปที่ 11.25 การผลิตฟลมโดยการอัดผานแมพมิ พและเปา


258

แบบฝกหัดทายบท

1. จงวาดรูปโครงสรางของโมโนเมอร PVC PET และ PE


2.จงคํานวณหาน้ําหนักโมเลกุลของพอลิเมอรตามขอ 1
3.จงคํานวณหาคา DP ของ โพลิโพรไพลีนที่มีน้ําหนักโมเลกุลเฉลี่ย 1,000,000 g/mol
4. จงหาน้ําหนักโมเลกุลเฉลี่ยโดยน้ําหนัก น้ําหนักโมเลกุลเฉลี่ยโดยมวลและคา DP ตามตาราง

5.จงบอกความแตกตางของเทอรโมพลาสติกและเทอรโมเซ็ตติง
6. ทําไมพอลิเอสเทอรถึงเปนไดทั้งเทอรโมพลาสติกและเทอรโมเซ็ตติง
7. ทําไมการเกิดผลึกของพอลิเมอรถึงเกิดไดยากขึ้นเมือ่ น้ําหนักโมเลกุลเพิม่ ขึ้น
8. จากขอมูลจงหาคามอดูลัสและคาความแข็งแรงสูงสุดของพอลิเมอรชนิดหนึ่งทีอ่ ุณหภูมหิ อง

9. จงอธิบายความหมายของความยืดหยุนหนืด
10. จงบอกปจจัยทีท่ ําใหพอลิเมอรเปราะ
11. จงหาขีดจํากัดความลาของ PMMA และไนลอน และเปรียบเทียบความแข็งแรงตอความลาของ
พอลิเมอรทั้งสองชนิดที่ 106 รอบ
259

12. จงอธิบายกลไกการแปรรุปของพอลิเมอรกึ่งผลึก
13.จงระบุปจจัยที่มผี ลตอคามอดูลัสของพอลิเมอรกงึ่ ผลึก
14. จงอธิบายกระบวนการวัลคาไนซเซชัน
15. จงอธิบายความหมายของอุณหภูมิ Tg และระบุวาพอลิเมอรทมี่ ีโครงสรางแบบใดที่แสดงอุณหภูมิ
นี้บาง
16. สารเติมแตงพอลิเมอรมอี ะไรบาง แตละชนิดมีหนาที่แบบใด
17. ปจจัยในการเลือกวิธีการขึ้นรูปพอลิเมอรมีอะไรบาง
18. วิธีการขึ้นรูปพอลิเมอรมอี ะไรบาง จงอธิบายแตละวิธีพอเขาใจ
19. คุณสมบัติใดของพอลิเมอรที่จําเปนสําหรับการขึ้นรูปเปนแผนฟลม
260

บทที่ 12
เซรามิก
เซรามิกเปนหนึ่งในวัสดุทางวิศวกรรมที่สําคัญ โครงสรางเซรามิกจะประกอบดวยอะตอมของ
โลหะจับกับอะตอมของอะโลหะดวยพันธะไอออนิก หรืออาจจะเปนไอออนิกกึ่งโควาเลนต เซรามิก
แปลมาจากภาษากรีกแปลวา สิ่งที่ถูกเผา เซรามิกมีสองประเภทคือแบบดั้งเดิมและแบบใหม แบบ
ดังเดิมที่เรารูจักดีคือเครื่องปนดินเผา อิฐ แกว ซึ่งทําจากดินเหนียว สวนเซรามิกยุคใหมจะใชในงาน
อุตสาหกรรมมากมายเชน ชิ้นสวนอีเล็คทรอนิค คอมพิวเตอร และอุปกรณสื่อสารตางๆ ในบทนี้จะ
กลาวถึง โครงสรางเซรามคิ คุณสมบัติทางกล และการผลิตและการใชงาน

12.1 โครงสรางผลึกของเซรามิก
เซรามิกจะประกอบดวยธาตุตั้งแตสองชนิดขึ้นไป โดยพันธะระหวางอะตอมจะเปนอิออนิกอ
ยางสมบูรณหรือเปนกึ่งโควาเลนตก็ไดขึ้นกับคาอิเล็คโตรเนกาทิวิตี ตัวอยางปริมาณความเปนอิออนิก
ของเซรามิกบางประเภทแสดงดังตารางที่ 12.1
ตารางที่ 12.1 ความเปนอิออนิกของพันธะเซรามิกบางประเภท

ถาเซรามิกใดมีไอออนิกเปนพันธะหลักแลว อะตอมของเซรามิกจะประกอบไปดวยไอออน 2 ชนิดคือ


ไอออนของโลหะหรือแคตไออนมีประจุเปนบวก จับกับไอออนของอะโลหะหรือแคตไออนมีประจุเปน
ลบ โครงสรางผลึกของเซรามิกจึงถูกกําหนดโดยปจจัย 2 อยางดังนี้คือ ขนาดของประจุและขนาดของ
ไอออน
1. ขนาดของประจุ โดยประจุรวมของเซรามิกตองเปนศูนย ดังนั้นเราสามารถหาประจุของไอออน
บวกและลบได เชน CaF2 หมายความวา Ca มีประจุ +2 สวน F มีประจุเทากับ -1 (F มี 2 อะตอม
ทําใหประจุรวมเปน-2 ซึ่งเทากับประจุของไอออนลบ)
2. ขนาดของไอออนบวกเมื่อเทียบกับไออนลบ โดยกําหนดให อัตราสวนรัศมีของไอออนบวกตอ
ไอออนลบ (rc/ra) โดยปกติคานี้จ ะนอยกวา 1 หมายความวาไอออนลบใหญกวาไอออนบวก ซึ่ง
แนนอนวาไอออนบวกจะถูกลอมรอบดวยไอออนลบ การลอมรอบจะเสถียรไดก็ตอเมื่อไอออนลบติด
กับไอออนบวกพอดีดังรูปที่ 12.1
261

รูปที่ 12.1 การจัดเรียงตัวของแคทไอออนและแอนไอออน

ตารางที่ 12.2 แสดงการจัดเรียงตัวของไอออนที่มีคาอัตราสวน rc/ra และเลขโคออดิเนชันตางๆ โดย


เลขโคออดิเนชันนี้คือ จํานวนอะตอมที่อยูลอมรอบประจุบวก ปกติ เ ซรามิกจะมีเลขโคอออิดเนชัน
เทากับ 4 6 และ 8 โดยขนาดรัศมีของไอออนบางชนิดแสดงดังตารางที่ 12.3

ตารางที่ 12.2 เลขโคออดิเนชันและรูปทรงของโครงสรางเซรามิก


262

ตารางที่ 12.3 ความยาวรัศมีของไออนบางชนิด

ตัวอยาง จงพิสูจนวาอัตราสวนของรัศมีไอออนบวกตอไอออนลบที่มีเลขโคออดิเนชันเทากับ 3 นั้นมี


คาเทากับ 0.155
วิธีทํา โครงสรางที่มีเลขโคออดิเนชันเทากับ 3 คือ

จากรูปเมื่ออาศัยหลักตรีโกณมิตจิ ะไดวา และ


ดังนั้น

เนื่องจากเปนรูปสามเหลี่ยมดานเทา มุมภายในแตละมุมคือ 60 องศา ดังนั้นมุม  คือ 30


องศา จึงทําให

ดังนั้น
263

1. โครงสรางผลึกแบบ AX
เซรามิกที่มีโครงสรางผลึกแบบนี้จะมีไอออนบวกและลบเทากัน โดย A คือไอออนลบวก X
คือไอออนลบ มีไดหลายประเภทดังนี้
1. แบบร็อคซอลต
โครงสรางแบบนี้คือ NaCl แสดงดังรูปที่ 12.2 โดยทั้ง Cl และ Na จะมีเลขโคออดิเนชัน
เทากับ 6 คือแตล ะอะตอมจะถูก ลอมรอบดวย 6 อะตอม เมื่อพิจ ารณาโครงสรางจะพบวาเป น
โครงสราง FCC ของ Cl2 อันตอกัน โดยจะมีอะตอมของ Na ตรงกลางเต็มๆ 1 อัน และที่เหลือจะไป
อยูตําแหนงมุมตางๆทั้ง 12 ตําแหนง โดยมีความยาวของหนวยเซลล a = 2rc+2ra และมีจํานวน
อะตอมเทากับ 4 อะตอมตอหนวยเซลลของทั้ง Na และ Cl เซรามิกอื่นๆที่มีรูปทรงแบบนี้คือ NaCl
MgO MnS LiF และ FeO

รูปที่ 12.2 โครงสรางผลึกแบบร็อคซอลต

2. โครงสรางแบบซีเซียมครอไรด( CsCl)
โครงสรางแบบนี้แสดงดังรูปที่ 12.3 โดยไอออนของ Cs จะถูกลอมรอบดวยไอออนของ Cl 8
ตัว และในขณะเดียวกัน ไอออนของ Cl จะสัมผัสกับอะตอมอื่นอีก 8 ตัวเหมือนกัน ดังนั้นทั้งคูจึงมีเลข
โคออดิเนชันเทากับ 8 จะพบวาโครงสรางผลึกนี้เปน BCC โดยมี Cs เปนอะตอมกลาง ดังนั้นความยาว
ของเสนแทยงมุมคือ 2rc+2ra โดยในหนึ่งหนวยเซล จะมีไอออนบวก 1 ตัวและไอออนลบอีก 1 ตัว

รูปที่ 12.3 โครงสรางผลึกแบบซีเซียมครอไรด (CsCl)


264

3. โครงสรางแบบซิงคเบลน
โครงสรางนี้คือ ZnS ดังรูปที่ 12.4 โดยทั้ง Zn และ S ตางมีเลขโคออดิเนชันเทากับ 4 โดย S
จะเรียงตัวแบบ FCC โดยไออนของ Zn จะวางอยูในตําแหนงของเตตระฮีดอล โดยอะตอมของสังกะสี
1 ตัวจะจับกับอะตอมของกํามะถัน 4 ตัว และในขณะเดียวกันกํามะถัน 1 ตัวก็จะจับกับสังกะสี 4 ตัว
เชนกัน ดังนั้นจึงทําใหมีจํานวนสังกะสีและกํามะถันอยางละ 4 อะตอมในหนวยเซล แตพันธะสวนใหญ
ของโครงสรางแบบนี้จะเปนโควาเลนต ตัวอยางเซรามิกในกลุมนี้คือ ZnS ZnTe และ SiC

รูปที่ 12.4 โครงสรางผลึกแบบซิงคเบลน

2. โครงสรางผลึกแบบ AmXp
โครงสรางผลึกชนิดนี้เกิดขึ้นเมื่ออะตอมของไอออนบวกไมเทากับไอออนลบ โดย m และ p
ตองไมเทากับ 1 ตัวอยางคือ CaF2 ดังรูปที่ 12.5 โดยมีอัตราสวน rc/ra = 0.8 ดังนั้นจึงมีเลขโคออดิ
เนชันเทากับ 8 จะมีไอออนของ Ca เปนแกนกลางและ ไออนของ F อยูตรงมุมแตละมุม จะเห็นไดวา
อัตราสวนของจํานวนระหวางไอออนบวกตอไอออนลบคือ 1: 2 โครงสรางนี้จะเหมือนกับ CsCl
เพียงแตในแตละหนวยเซลนั้นจะมี Ca เพียงแคครึ่งเทานั้น ดังนั้นจึงตองแบงออกมาเปนแปดเซลยอย
ในหนึ่งหนวยเซล เซรามิกที่มีโครงสรางแบบนี้ไดแก UO2 PuO ThO2

รูปที่ 12.5 โครงสรางผลึกแบบ AmXp


265

3. โครงสรางผลึกแบบ AmBnXp
โครงสรางผลึก ชนิดนี้ เ ปนโครงสรางที่ป ระกอบดวยหลายธาตุม ารวมกัน ยกตัวอยางคือ
BaTiO3 ดังรูปที่ 12.6 โดยไอออนของ Ba อยูมุมแตละมุมของ FCC สวน Ti อยูตําแหนงกลางของ
หนวยเซล สวน O อยูตําแหนงหนาแตละหนา ตารางที่ 12.4 เปนการสรุปโครงสรางผลึกที่ไดกลาว
มาทั้งหมด

รูปที่ 12.6 โครงสรางผลึกแบบ AmBnXp

ตารางที่ 12.3 โครงสรางผลึกของเซรามิกบางชนิด

ตัวอยาง จงหาโครงสรางผลึกของ FeO โดยใชคาอัตราสวนรัศมีของประจุบวกตอประจุลบ


วิธีทํา เนื่องจาก FeO มีสูตรโครงสรางแบบ AX จากตารางที่ 12.3 สามารถหาอัตราสวนรัศมีของ
ประจุบบวกตอประจุลบไดดังนี้

จากตารางที่ 12.2 พบวาอัตราสวนนี้อยูในชวงของ 0.414 - 0.732 ซึ่งมีเลขโคออดิเนชัน


เทากับ 6 เนื่องจากไอออนบวกและลบมีจํานวนอยางละ 1 เทากัน ดังนั้นเลขโคออดิเนชันจึงเทากับ 6
ทั้งคู โครงสรางผลึกจึงเปนแบบ AX
266

 การคํานวณหาความหนาแนนของเซรามิก
ในทางทฤษฎีสามารถคํานวณความหนาแนนของเซรามิกโดยใชสมการตอไปนี้

เมื่อ n= จํานวนหนวยของสูตรเคมีที่ประกอบกันเปนหนึ่งหนวยเซล


AC = ผลรวมของน้ําหนักของไอออนบวกทั้งหมดในสูตรทางเคมี
AA = ผลรวมของน้ําหนักของไอออนลบทั้งหมดในสูตรทางเคมี
VC= ปริมาตรของหนวยเซล และ NA = เลขอาโวกราโด (6.02x1023 หนวย/mol)

ตัวอยาง จงคํานวณความหนาแนนตามทฤษฎีของ NaCl


วิธีทํา

จากรูป NaCl มีจํานวน 4 หนวยยอยในหนึ่งหนวยเซล ดังนั้น n= 4


หนวยเซลของ NaCl เรียงตัวแบบ FCC โดยน้ําหนักอะตอม Na=22.99 g/mol และ Cl=
35.45 g/mol จากสูตรทางเคมีคือ NaCl มีอะตอม Na และ Cl อยางละ 1 ตัว ดังนั้น
Ac = 1x 22.99 และ AA= 1x 35.45
ปริมาตรของหนวยเซลคือ a3 และ a= 2rc+2rA กําหนดใหรัศมีไอออนของ Na (rc) = 0.102
และ Cl (rA) = 0.181 นาโนเมตร ดังนั้น Vc= (2rc+2rA)3 =
267

12.2 เซรามิกประเภทซิลิเกต
เซรามิกกลุมนี้เปนเซรามิกที่สําคัญ พื้นฐานประกอบดวย ซิลิกอนกับออกซิเจน ซีงทั้งสองธาตุ
มีมากที่สุดในโลก ซึ่งอยูในดิน หิน ดินเหนียวและ ทราย เพื่อใหเขาใจงายขึ้นจะไมคิดการเรียงตัวของ
ไออนในหนวยเซล แตจะคิดเฉพาะการเรียงตัวของ SiO4- โดยไอออนของ Si จะถูกลอมรอบดวย
ไอออนของออกซิเจน 4 ตัวแบบเตตระฮีดอล เปนพันธะโควาเลนตแบบมีทิศทางจึงมีความแข็งแรงสูง
จึงถือวาไมเปนไอออนิก กอนอื่นตองเขาใจวาถา SiO4- เรียงตัวกันใน 2 หรือ 3 มิติแลว ประจุรวมจะ
เปนศูนย เซรามิกในกลุมนี้ไดแก
1. ซิลิกา (SiO2) เปนซิลิเกตแบบงายที่สุดดังรูปที่ 12.7 โดยโครงสรางของเตตระฮีดอลสอง
อันที่ติดกันจะใชออกซิเจนรวมกัน 1 ตัว ดังนั้นอัตราสวนของ Si ตอ O คือ 2:1 ทําใหมีความเปนกลาง
ของประจุ เปนกลางทางไฟฟา และทุกอะตอมในโครงสรางจะเสถียรมาก สามารถเรียงตัวอยูในรูป
ของควอซ คลิสโตบัลไลท และ ไตรไดไมต เปนโครงสรางที่เรียงตัวไมซับซอนมากนัก ทําใหมีความ
หนาแนนต่ํา เชน ควอซ จะมีความหนาแนนประมาณ 2.65 g/cm3 แตมีจุดหลอมเหลวสูงถึง 1710
o
C เพราะพันธะมีความแข็งแรงสูง

รูปที่ 12.7 โครงสรางผลึกของซิลิกา

2. แกวซิลิกา เปนกลุมที่ใชทําแกว เนื่องจากไมมีผลึก การเรียงตัวไรระเบียบ ดังรูปที่ 12.8


โดยทั่วไปจะผสม CaO และ Na2O เพื่อปรับปรุงโครงสรางภายใน โดยไมไดทําหนาที่สรางตาขาย แต
จะไปอยูในตําแหนงของซิลิกอนเพื่อใหโครงสรางแกวมีเสถียรภาพขึ้น ในขณะเดียวกันยังชวยลดจุด
หลอมเหลวและความหนืดลง ทําใหขึ้นรูปไดงายขึ้น
268

รูปที่ 12.8 โครงสรางของแกวโซเดียม-ซิลิเกต

3. ซิลิเกต จะมีสูตรคือ SiO4-, Si2O76-, Si3O96- เกิดการจับพันธะกันของออกซิเจนหลายๆตัว


โดยมีรูปแบบการจัดเรียงตัวดังรูปที่ 12.9 ซึ่งเปนรูปแบบการจัดเรียงตัวในโครงสรางของซิลิเกตหา
ชนิดที่เปนเตตระฮีดอล นอกจากนี้อาจมีการเรียงตัวเปนชั้นๆ เรียกวาซิลิเกตแบบชั้น ดังรูปที่ 12.10
โดยเรียงซอนๆกันเปนแผนๆ แผนเดียวกันจะมีความแข็งแรงสูงมากเพราะเปนไอออนิกกึ่งโควาเลนต
แตพันธะระหวางแผนในแตละชั้นจะออนแอเพราะเปนแรงวัลเดอรวาลว

รูปที่ 12.9 โครงสรางของซิลเิ กตหาชนิดทีเ่ ปนเตตระฮีดอล


269

(a) รูปแบบของ (Si2O5)2- (b) โครงสรางดินเหนียวเคโอไลต


รูปที่ 12.10 โครงสรางการเรียงตัวซ้ํากันของ (Si2O5)2-
12.3 คารบอน
คารบอนเปนธาตุที่มีการเรียงตัวไดหลายอัญรูปหรือไมมีการจัดเรียงตัวเลย คารบอนจึงไมได
จัดใหอยูในกลุม ใดในวัสดุทางวิศวกรรม แตมีการใชงานทั่วไป โดยมีอยูใน 3 รูปแบบคือ แกรไฟต
เพชร ฟูลเลอรีน และ คารบอนนาโนทิวบ โดยเพชรมีโครงสรางเหมือนกับซิงคเบลนมากที่สุด
 เพชร เกิดจากการเรียงตัวของคารบอนแบบโครงผลึกรางตาขาย ดวยพันธะโควา
เลนต ซึ่งคายกับซิงคเบลนดังแสดงในรูปที่ 12.11 เรียกโครงสรางนี้วาไดมอนคิวบิก คลายกับเจอเม
เนียม ซิลิกอนและดีบุกสีเทาที่อุณหภูมิต่ํากวา 13 oC เพชรไดขื่อวาเปนวัสดุที่แข็งที่สุดในโลก นําไฟฟา
ไดนอยมากแตนําความรอนไดคอนขางดี การใชงานปจจุบันนิยมทําเปนอัญมนี ผงขัดและฟลมบาง
เคลือบหัวสวาน แมพิมพ เครื่องมือตางๆเพื่อเพิ่มความแข็งผิว

รูปที่ 12.11 แสดงโครงสรางผลึกและภาพถายฟลมของเพชร


270

 กราไฟต เปนอัญรูปหนึ่งของคารบอนซึ่ง อะตอมของคารบอนเรียงตัวกันเปนรูปหก


เหลี่ยมในแตละชั้นดังรูปที่ 12.12 อะตอมในชั้นเดียวกันจะยึดกันดวยพันธะโควาเลนตที่แข็งแรง สวน
ระหวางชั้นจะยึดกันดวยแรงวัลเดอรวาว การแตกหักของกราไฟตจะเกิดขึ้นระหวางชั้นและเป นผิว
เรียบ นิยมทําเปนสารหลอลื่นและสามารถนําไฟฟาไดในทิศที่ขนานกับชั้นของคารบอน คุณสมบัติที่
สําคัญอยางหนึ่งคือการทนตอสารเคมี

รูปที่ 12.12 โครงสรางของกราไฟต

 ฟูลเลอรีน เปนโครงสรางของคารบอน 60 ตัวจับกันเปนทรงกลม ดังรูปที่ 12.13


โดยหนึ่งโมเลกุลเขียนแทนดวย C60 ซึ่งมีการเรียงตัวเปนรูปหาหรือหกเหลี่ยมเหมือนลูกฟุตบอล ปกติ
จะไมนําไฟฟา แตการเจือสารบางชนิดจะชวยเปลี่ยนเปนสารกึ่งตัวนําได

รูปที่ 12.13 โครงสรางของฟูลเลอรีน


271

 คาร บอนนาโนทิว เปน โครงสรา งกราไฟต ที่ เ ป น ท อป ด หัว ท า ยดั ง รูป ที่ 12.14
เสนผาศูนยกลางอยูในระดับนาโนเมตร หนึ่งโมเลกุลประกอบดวยคารบอนนับลานอะตอม โดยมีความ
ตานทานแรงดึงสูงกวาเสนใยคารบอนถึง 10 เทา คือ 50-200 GPa คามอดูลัสประมาณ 1,000 GPa
ยืดตัวได 5-20% และมีความหนาแนนต่ําจึงไดรับการขนานนามวา สุดยอดแหงเสนใย นาจะนํามาทํา
เปนวัสดุผสมไดในอนาคตเชน โทรทัศนจอแบนและจอคอมพิวเตอร ไดโอดและทรานซิสเตอร เปนตน

รูปที่ 12.14 โครงสรางของคารบอนนาโนทิว


12.4 ตําหนิในเซรามิก
ตําหนิตางๆที่เกิดขึ้นในเซรามิกลวนสงผลตอความเปนประจุ โดยเกิดขึ้นไดทั้งที่เปนชองวาง
และเปนแบบแทรกที่ แตอยางไรก็ตามประจุรวมของเซรามิกตองเปนศูนยเสมอ การแทรกที่มักจะพบ
ในประจุบวกเพราะมีขนาดเล็ก การแทรกที่ของประจุ ลบมักจะเกิดขึ้นไดยากเพราะอะตอมมีขนาด
ใหญ และทําใหเกิดความเครียดขึ้นรอบๆบริเวณนั้น รูปที่ 12.15 แสดงตําแหนงชองวางของไอออน
บวกและไอออนลบ และการแทรกที่ของไอออนบวก

รูปที่ 12.15 ตําแหนงชองวางของไออนบวกและไออนลบและการแทรกที่ของไอออนบวก


272

ไมวาจะเกิดตําหนิแบบใดประจุรวมในเซรามิกตองเปนศูนยเสมอ ตําหนิแบบจุดนี้พบในสองลักษณะ
คือ
1. ตําหนิแฟลงเคล เปนตําหนิที่เกิดจากไออนบวกหายไปจากตําแหนงของตนเอง ไปแทรกที่
อยูในตําแหนงอื่น โดยตําแหนงที่วางจะมีประจุเปนลบ สวนไอออนบวกที่หายไปอยูในตําแหนงแทรกที่
นั้นมีคาประจุเปนบวกและมีผลรวมของประจุระหวางชองวางและไอออนบวกเปนศูนย
2. ตํา หนิแบบช็อตคีย เปนตําหนิที่ทั้งไอออนบวกและไอออนลบหายไปจากตําแหนงของ
ตัวเองอยาละ 1 ตัว หรือหายไปเปนคูนั่นเอง โดยชองวางตําแหนงของไอออนบวกที่เกิดขึ้นจะมีประจุ
ลบและมีประจุเทากับประจุของชองวางของไอออนบวกที่หายไป(มีคาเปนลบ) ทําใหผลรวมประจุ
ยังคงเปนศูนยอยู รูปที่ 12.16 แสดงตําหนิของทั้งสองแบบ

รูปที่ 12.16 ตําแหนงชองวางแบบแฟรงเคลและแบบช็อตคีย

ในบางครั้งพบวาไอออนบวกสามารถมีประจุไดหลายคา เชน FeO โดยเหล็กสามารถเกิดเปน Fe+2


หรือ Fe+3 ได ตามแตสภาพแวดลอมและอุณหภูมิ โดยปกติควรจะเปน +2 แตเมื่อเกิด +3 ขึ้นจึง
จําเปนตองทําใหมีชองวางจํานวนหนึ่งเกิดขึ้น หมายความวาทุกๆการเกิด Fe+3 2 ตัว จะตองมีชองวาง
ของ Fe+2 เกิดขึ้น 1 ชองวางเพื่อที่จะใหประจุรวมเปนศูนยนั่นเอง ดังรูปที่ 12.17

รูปที่ 12.17 แสดงชองวางของ Fe+2 ที่เกิดขึ้นเมือ่ เกิด Fe+3


273

3. สารเจือปนในเซรามิก เปนสารที่เติมลงไปจะอยูในรูปของสารละลายทั้งแบบแทนที่และ
แบบแทรกที่ การจะเกิดการละลายแบบแทรกที่ไดนั้นสารเจือจะตองมีขนาดเล็กกวาไอออนลบมากๆ
สวนการละลายแบบแทนที่นั้น ไอออนของสารเจือจะเขาไปแทนที่ตําแหนง ของไอออนที่มีขนาด
ใกลเคียงกัน โดยปกติแลวการแทนที่จะเกิดขึ้นเมื่อประจุมีขนาดเทากัน แตถามีประจะไมเทากันไป
แทนที่กันแลวจะตองมีการสรางประจุขึ้นมาชดเชยความแตกตางที่เกิดขึ้น เชนถาเราเติม CaO ลงไป
ใน NaCl แลว พบวา ไอออน Ca2+ จะไปแทนที่อะตอมของ Na+ และ ไอออน O2- จะไปแทนที่ Cl-
เปนตน ดังรูปที่ 12.18 ซึ่งพบวาการแทนที่ของ Ca2+ ลงใน Na+ จะทําใหเกิดประจุขึ้นมา เกินคือ
+1 ดังนั้นจึงจําเปนตองมีการสรางประจุ -1 ขึ้นมาชดเชยโดยการทําใหเกิดชองวางของ Na ขึ้นมา 1
อัน หรืออีกทางเลือกคือการเกิดการแทรกที่ของ Cl- ขึ้นมา 1 ตําแหนง

รูปที่ 12.18 การแทรกที่และแทนที่ของไอออนของสารเจือปน


12.5 แผนภูมิเฟสของเซรามิก
แผนภูมเิ ฟสของเซรามิกจะคลายกับแผนภูมิของโลหะ และอาศัยการตีความที่เหมือนกัน โดย
บริเวณของเฟสเดี่ยวสองเฟสจะถูกขั้นกลางดวยบริเวณของสองเฟสนั้น ตางกันเพีย งแตวาสวนผสม
สองอันนั้นเปนเซรามิกทั้งคู ตัวอยางเฟสไดอะแกรมของเซรามิกแสดงดังรูปที่ 12.19 และ 12.20

รูปที่ 12.19 แผนภูมิเฟสระบบ Al2O3 - Cr2O3


274

รูปที่ 12.20 แผนภูมิเฟสระบบ MgO - Al2O3


12.6 สมบัติทางกลของเซรามิก
 การแตกหักแบบเปราะ
โดยธรรมชาติของเซรามิกแลวจะแตกหักแบบเปราะ ไมมีการแปรรูปเกิดขึ้นกอนการแตกหัก
โดยความตานทานตอการแตกหักจะขึ้นกับความแข็งแรงของพันธะ คาที่วัดไดจริงจากการทดลองจะ
ต่ํากวาการคํานวณจากทางทฤษฎี เนื่องจากมีตําหนิเกิดขึ้นในเนื้อของเซรามิกเอง ซึ่งเปนจุดกําเนิด
ของรอยแตก โดยปลายรอยแตกยิ่ ง แหลมยิ่ง มีค วามเคนที่ป ลายสูง รอยแตกนี้อาจจะเปนไดทั้ ง
ฟองอากาศ มุมของเกรน ซึ่งเกิดขึ้นเสมอในโครงสรางเซรามิก เชนความชื้นในอากาศหรือสารเจือปน
ในอากาศสามารถทําใหเสนใยแกวแตกได เปนตน ตัวอยางการแตกหักจากแรงชนิดตางๆแสดงดังรูปที่
12.21

รูปที่ 12.21 การแตกหักของเซรามิคจากแรงภายนอกชนิดตางๆ


275

 พฤติกรรมความเคนความเครียด
เนื่องจากเซรามิกมีความเปราะสูงมาก ซึ่งไมมีหรือมีการแปรรูปแบบพลาสติกเพียงเล็กนอย
เทานั้นกอนการแตกหัก ดังนั้นจึงไมสามารถใชการทดสอบแรงดึงได แตจะอาศัยการทดสอบการดัด
แทนดังรูปที่ 12.22 โดยคาคาความเคนจะคํานวณจากความหนาชิ้นงาน โมเมนตดัด และโมเมนต
ความเฉื่อย

รูปที่ 12.22 การทดสอบการดัดแบบสามจุด


การคํานวณตางๆหาไดจากสมการในรูปที่ 112.22 สําหรับชิ้นงานทรงกลมและสี่เหลี่ยม โดยคาความ
ตานทานแรงดึงใตจุดกดจะมีคาประมาณ 1/10 ของความตานแรงกด โดยสามารถคํานวณหาความ
ตานทานแรงดึง (fs) ไดโดยใชสมการตอไปนี้

ชิ้นงานสี่เหลี่ยม

ชิ้นงานทรงกลม

เมื่อ Ff คือแรงกระทําที่จุดกด L คือระยะของจุดรองรับสองจุด b, d คือความกวางและความหนา


ชิ้นงาน สวน R คือรัศมีชิ้นงาน โดยคาความแข็งแรงและคามอดูลัส ของเซรามิกบางชนิดแสดงดัง
ตารางที่ 12.4
276

ตารางที่ 12.4 คาความแข็งแรงและคามอดูลสั ของเซรามิกบางชนิด

ตัวอยางผลการทดสอบแสดงดังรูปที่ 12.23 สําหรับอะลูมิเนียมออกไซดและแกว คามอดูลัส


ยืดหยุนจะอยูที่ประมาณ 70-500 GPa ซึ่งสูงกวาโลหะมาก สําหรับเซรามิกที่เปนผลึกนั้นการแปรรูป
จะเกิดคลายกับการแปรรูปของโลหะ คืออาศัยการเคลื่อนที่ของดีสโลเกชัน แตการเคลื่อนที่นี้จะยาก
มากเพราะมีระบบสลิปนอยมาก เพราะมีประจุของไอออนในเนื้อพื้น เมื่อมีการแปรรูปจะทําใหไอออน
ประเภทเดียวกันมาชิดกันมากขึ้นเกิดแรงไฟฟาผลักกันอยางมาก นอกจากนีเ้ ซรามิกยังมีพันธะทางเคมี
ที่แข็งแรงและมีโครงสรางดีสโลเกชันที่ซับซอน จึงสงผลใหการเคลื่อนที่ของดีสโลเกชันเกิดขึ้นยาก แต
ในกรณีที่เปนเซรามิกที่ไมมีผลึกแลวการแปรรูปจะขึ้นกับความหนืดในลักษณะเดียวกับของเหลว

รูปที่ 12.23 แสดงกราฟความเคนความเครียดของอะลูมเิ นียมออกไซดและแกว


277

12.7 การใชงานเซรามิก
 แกวและเซรามิกจากแกว
เซรามิกที่ใชมากที่สุดคือแกว โดยแกวจะประกอบดวยซิลิเกตที่ไมมีผลึกและออกไซดตางๆ
ไดแก CaO, Na2O, K2O และ Al2O3 เปนตน แมวาแกวสวนใหญไมเปนผลึก แตสามารถทําใหแกวมี
ผลึกไดโดยการเติมสารกระตุนบางประเภทเชน TiO2 ลงไปในขั้นตอนการผลิตแกว ทําใหเกิดผลึกของ
แกวขึ้น แกวที่มีผลึกนี้เรียกวาเซรามิกจากแกว (glass-ceramic) ซึ่งจะอาศัยการเย็นตัวที่ชาดังรูปที่
12.24 พบวากราฟแบงออกเปนสองเสน โดยเสนบนสีแดงคือเสนที่บอกถึงการเริ่มตกผลึก และ เสนสี
ฟาคือเสนที่บอกถึงการตกผลึกโดยสมบูรณหรือการเกิดผลึก 100% อัตราการเย็นตัววิกฤติคือ แนว
ทางการเย็นตัวที่ 2 คือ 100 oC/min เซรามิคจากแกวโดยตองเย็นตัวชากวาแนวทางที่ 2 เพื่อใหเกิด
ผลึก ดังการเย็นตัวตามแนวทางที่ 1 แกวประเภทนี้จะมีการขยายตัวเชิงความรอนต่ํา ไมเกิดการแตก
เมื่อโดนความรอนจัด และมีความแข็งแรงสูงนําความรอนไดดี เปนฉนวนไฟฟา สามารถทําใหใสหรือ
ขุนได และที่สําคัญคือขึ้นรูปงาย ตัวอยางสวนผสมทางเคมีและการใชงานของแกวแสดงตารางที่ 12.5
โดยส ว นใหญ ใ ช กับ งานครั ว เช น เตาอบ เครื่ องครั ว เพราะทนความร อ นได ดีแ ละไมแ ตกง า ย
นอกจากนี้ยังใชทําเปนแผนวงจรอีเล็คทรอนิก ชุดแลกเปลี่ยนความรอน

รูปที่ 12.24 แผนภูมิการเย็นตัวตอเนื่องของแกว


278

ตารางที่ 12.5 สวนผสมทางเคมีและการใชงานของแกวบางชนิด

 ผลิตภัณฑดินเผา วัตถุดิบในกลุมนี้ที่นิยมคือ ดินเหนียว เนื่องจากมีโดยทั่วไปและขึ้น


รูปงาย โดยการผสมกับน้ํา เมื่อผานการขึ้นรูปแลวจะทําการเผาที่อุณหภูมิสูงเพื่อเพิ่มความแข็งแรง
ผลิตภัณฑจากดินเหนียวมีสองประเภทคือ สําหรับงานโครงสราง เชน อิฐ กระเบื้องปูพื้น ทอน้ํา เซรา
มิก ซึ่งเนนความแข็งแรง สวนอีกประเภทหนึ่งคือไวตแวร จะทําการเผาที่อุณหภูมิสูงใหกลายเปนสี
ขาว ใชทําเปนเครื่องกระเบื้อง ถวยชาม และเครื่องสุขภัณฑ เปนตน
 กลุมวัสดุทนไฟ เปนเซรามิคที่ใชงานในเตาเผา อุปกรณเครื่องจักรที่มีอุณหภูมิสูง
เชน อิฐทนไฟ วิธีการผลิตจะใชการเผาผนึกใหผงอนุภาคทนไฟนั้นจับติดกัน การใชงานวัสดุกลุม นี้
จะตองไมเกินอุณหภูมิเผาผนึกนี้ สวนผสมของเซรามิกทนไฟแสดงดังตารางที่ 12.6 โดยประกอบดวย
ผงขนาดใหญและเล็กผสมกัน ผงขนาดเล็กจะชวยประสานตัวในระหวางการเผา ทําใหมีความแข็งแรง
เพิ่ม ขึ้น ซึ่งผงขนาดเล็กนี้สวนใหญจะประกอบดวยแกวหรือประเภทมีผลึก โดยสามารถแบง กลุม
เซรามิคทนไฟไดดังนี้
ตารางที่ 12.6 สวนผสมของเซรามิกทนไฟ

- วัสดุทนไฟประเภทไฟรเคย เปนซิลิกาที่ผสมอะลูมินาประมาณ 25-45% ทําเปนอิฐทนไฟ


ของเตาหลอม ทนอุณหภูมิไดประมาณ 1587 oC
- วัสดุทนไฟประเภทซิลิกา มีซิลิกาเปนสวนมาก โดยผสมซิลิกาไมเกิน 1% มีความเปนกรด
ทนอุณหภูมิไดถึง 1650 oC พวกนี้ไมเหมาะกับสภาพการใชงานมี่เปนดางเพราะจะกัดกรอนเร็ว
279

- วัสดุทนไฟประเภทดาง เปนพวกเพริเคลสหรือแมกนีเซีย ใชงานในสภาวะเปนดางเชนการ


หลอมเหล็กกลา โดยอาจมีโครเมียม แคลเซียม และเหล็กผสมอยูดวย การมีซิลิกาจะทําใหทนอุณหภูมิ
ไดนอยลง วัสดุทนไฟชนิดนี้จะทนการกัดกรอนในเตาถลุงเหล็กกลาไดดี
- วัสดุทนไฟแบบพิเศษ มีความบริสุทธิ์สูงและมีรูพรุนนอย ใชงานเฉพาะทาง ทําเบาทนความ
รอนและเตา แตมรี าคาแพง
 เซรามิกขัดสี ใชกับงานขัด เจียระไน กลึง ชิ้นงาน คุณสมบัติตองแข็ง ทนความรอนไดสูง
และทนตอการสึกหรอ เชน เพชร ซิลิกอนคารไบด ทังสเตนคารไบด อะลูมิเนียมออกไซดและทรายซิลิ
กา ตัวอยางที่ใชงานคือแผนขัดสี โดยผิวของแผนขัดตองมีรูพรุนพอประมาณเพื่อระบายความรอน รูป
ที่ 12.25 แสดงภาพถายแผนขัดเซรามิกที่เปนอะลูมินาสีขาว เนื้อพื้นสีดําและรูพรุนสีเทา

รูปที่ 12.25 โครงสรางของแผนเซรามิกขัดสีประเภทอะลูมินา

 ซีเมนต เปนกลุมเซรามิกประเภทอนินทรีย เชน ปูนซีเมนต ปูนพลาสเตอร โดยเมื่อ


ผสมน้ําจะกลายเปนของเหลวหนืดสามารถนําไปขึ้นรูป หลังจากแข็งตัวแลวจะมีความแข็งสูง และ
สามารถประสานวัสดุตางๆไดที่อุณหภูมิหอง
 แอดวานซเซรามิก เปนเซรามิกยุคใหม ที่เกิดจากการพัฒนามาอยางยาวนานเพื่อ
ปรับปรุงสมบัติเฉพาะทาง เชน ไฟฟา แมเหล็ก แสง โดยทําเปนอุปกรณไฟฟา เครื่องกลในระดับไม
โคร (Microelctro mechanical system, MEMS) แบริงจิ๋วโดยใชเทคนิคทางไพอิโซอีเล็คทริก เปน
ตน
เซรามิกประเภทไพอิโซอีเล็คทริกจะเกิดปรากฏการณโพลาไรเซชัน คือเกิดขั้วไฟฟาขึ้นเมื่อ
รับแรงทางกลและเกิดแรงทางกลเมื่อรับสนามไฟฟา โดยใชหลักการเปลี่ยนสัญญาณทางไฟฟาและ
ทางกล ใชทําเปนอุปกรณตรวจวัดทางทะเล เชนอุปกรณตรวจจับโดยใชคลื่นอุตราโซนิกที่เกิดจากการ
สั่นของเซรามิก ดวยความถี่สูง สง ผานน้ํา เมื่อเจอวัตถุจ ะสะทอนกลับ มา โดยจะเครื่องตรวจจับ
สัญญาณอีกชุดหนึ่งเปลี่ยนพลังงานการสั่นเปนพลังงานไฟฟา ทําการหาระยะหางระหวางตัวสงและ
วัตถุที่สะทอนกลับมาไดจากระยะเวลาการสงและการรับ นอกจากนี้ยังใชทําเปนเครื่องตรวจวัดการ
280

ถวงลอรถ เซนเซอรควบคุม หัวอานดีส หรือวัสดุท างการแพทยอื่น ๆ ตัวอยางเซรามิกในกลุมนี้คือ


BaTiO3 เปนตน
ระบบไฟฟาเครื่องกลระดับไมโคร (MEMS) เปนระบบอัจฉริยะจิ๋วประกอบดวยเครื่องมือทาง
กลรวมอยูกับวงจรไฟฟาบนผิวของซิลิกอน ไดแก ไมโครเซ็นเซอรใชวัดขอมูลของสภาวะแวดลอมเชน
ความรอน แสง แมเหล็ก สวนที่เปนอีเล็ คทรอนิกจะประมวลผลและสังการระบบของอุปกรณการ
ทํางานระดับไมโครซึ่งควบคุมการทํางานทางกลอีกทีหนึ่ง เชน การเคลื่อนตําแหนง การปม การกรอง
เปนตน โดยตัวอยางอุปกรณ MEMS แสดงดังรูปที่ 12.26 ซึ่งเปนระบบเฟอง ตัวอยางการใชงานของ
MEMS คือตัววัดความเรงและความเฉื่อยของระบบถุงลมนิรภัยแบบใหม จอภาพอีเลคทรอนิกส หนวย
เก็บขอมูลคอมพิวเตอร เครื่องตรวจ DNA เครื่องตรวจวัดสารพิษ เปนตน

รูปที่ 12.26 ระบบเฟองในระบบ MEMS


นอกจากนี้ยังมีเซรามิกในกลุมเสนใยนําแสงที่ผลิตจากซิลิกาที่มีความบริสุทธิ์สูงมาก บอลแบ
ริ่งที่ทําจากเซรามิกประเภทซิลิกอนไนไตรดสามารถทดแทนที่ทําจากเหล็กกลา เนื่องจากมีสมบัติที่ดี
และเบากวาเหลกกลา ทําใหมีอายุการใชงานยาวนานกวา 3-5 เทา เปนตน
12.8 การผลิตเซรามิก
12.8.1 การผลิตแกว
แกวมีคุณสมบัตหิ นืดเมื่อหลอมเหลว ในการขึ้นรูปแกวจะทําในชวงเปนของเหลวหนืดๆ แกว
จะเกิดการแข็งตัวแบบไมมีผลึก ความหนืดของแกวจะเพิ่มขึ้นอยางตอเนื่องเมื่ออุณหภูมิลดลง ไมมี
อุณหภูมิที่บงบอกชัดเจนวาแกวเปลี่ยนเปนของแข็งเมื่อใด ความแตกตางระหวางการเปนผลึกและไม
เปนผลึกนั้นจะวัดจากคาเปลี่ยนแปลงของปริมาตรจําเพาะ (สวนกลับของความหนาแนน) เทียบกับ
อุณหภูมิดัง รูป ที่ 12.27 โดยถาเปนวัส ดุ ที่เ ปนผลึก การเปลี่ยนแปลงปริม าตรจะไมตอเนื่องที่จุ ด
หลอมเหลว แตสําหรับแกวนั้นปริมาตรจะคอยๆลดลงในชวงอุณหภูมิที่เรียกวาอุณหภูมิเปลี่ยนสภาพ
281

เปนแกวหรือ Tg ที่อุณหภูมิต่ํากวานีเ้ รียกวาเปนแกว ที่อุณหภูมิสูงกวานี้เรียกวาเปนของเหลวเย็นตัว


ยิ่งยวด ถาสูงขึ้นไปอีกเรียกวาของเหลว

รูปที่ 12.27 การเปลี่ยนแปลงของปริมาตรจําเพาะที่อุณหภูมิตางๆ

การขึ้นรูปแกวตองพิจารณาทั้งความหนืดและอุณหภูมิ ดังรูปที่ 12.28 โดยมีจุดตางๆที่สําคัญ


ดังนี้
1. จุดหลอมเหลว เปนจุดที่แกวมีความหนืด 10 Pa-s (100 P) มีความหนืดต่ํา
2. จุดขึ้นรูป มีความหนืด 103 Pa-s ขึ้นรูปแกวไดงาย
3.จุดออนตัว มีคาความหนืด 106 Pa-s เปนจุดสูงสุดที่แกวสามารถจับเคลื่อนยายไดดดยไม
เปลี่ยนรูปราง
4. จุดอบออน มีคาความหนืด 1012 Pa-s อะตอมจะแพรเร็วมาก ความเคนตกคางจะหายไป
ใน 15 นาที
5. จุดแข็งตัว มีคาความหนืด 1013 Pa-s ถาต่ํากวานี้จะแตกถามีแรงกระทํา
การขึ้นรูปจะทําในชวงจุดขึ้นรูปและจุดออนตัว ทั้งนี้ตองขึ้นกับสวนผสมทางเคมีของวัตถุดิบดวย
282

รูปที่ 12.28 กราฟความสัมพันธระหวางความหนืดและอุณหภูมิตางๆในการหลอมแกว

 การขึ้นรูปแกว
แก ว ส ว นใหญ ป ระกอบด ว ย ซิ ลิ ก า-โซดา-ไลม (SiO2-Na2O-CaO) โดยมี ก ารกํ า จั ด
ฟองอากาศออกไปเพื่อความโปรงใส การผลิตแกวมี 4 วิธีคือการ กด การเปา การดึงและการผลิตเสน
ใย โดยขั้นตอนการกดและเปาแกวแสดงดังรูปที่ 12.29 โดยเริ่มตนจากกอนแกวดิบ (gob) ถูกใสลงไป
ในแบบ ทําการกดในแบบ จากนั้นทําการเปาขึ้นรูปโดยการอัดอากาศเขาดานในแบบทําใหเนื้อแกว
ขยายตัวไปติดกับแบบ สวนการดึงแกวแสดงดังรูปที่ 12.30 ทําการดึงแกวผานลูกรีด จากนั้นลอยแกว
บนอางดีบุกหลอมเหลว ทําใหเย็นตัวอยางชาๆและนําไปผานการอบออนอีกครั้ง การดึงแกวเปนเสน
ใยจะตองใชการดึงรูปที่ซับซอนขึ้น
283

รูปที่ 12.28 แสดงลําดับขั้นตอนการกดและเปาแกว

รูปที่ 12.29 กระบวนการขึ้นรูปแกดวยวิธีการดึงขึ้นรูปอยางตอเนื่อง

 กรรมวิธีทางความรอนของแกว
การอบออน เปนการอบเพื่ อคลายความเคนที่เ กิดขึ้น ในการแข็ง ตัว ของแกว ซึ่ง เกิดขึ้ น
เนื่องจากการเย็นตัวที่ไมเทากันระหวางผิวดานนอกและเนื้อในของแกว โดยการใหความรอนจนถึง
จุดออนตัวแลวเย็นตัวลงอยางชาๆ สวนการเพิ่ม ความแข็งใหกับแกวเรียกวาการอบเพิ่มความแข็ง
(tempering) โดยการใหความรอนจนถึง อุณหภูมิสูงกวา Tg แตต่ํากวาจุดออนตัว จากนั้นเย็น
ตัวอยางรวดเร็วโดยใชลมเปาหรือน้ํามัน เนื่องจากที่ผิวและใจกลางเย็นตัวไมเทากันจึงทําใหที่ผิวเกิด
284

ความเคนอัดและที่ใจกลางเกิดความเคนดึงขึ้น ดังรูปที่ 12.30 สําหรับแกวที่ตองการใหท นตอการ


แตกหักนั้นตองทําใหความเคนแรงดึงที่ใจกลางมากกวาความเคนแรงอัดที่ผิว ซึ่งตองมากพอที่ปองกัน
รอยแตกเล็กๆที่ผิวขยายตัวเปนรอยแตกใหญ สําหรับแกวที่ไมไดทําการอบเพิ่มความแข็งนี้จะแตกงาย
กวา ดัง นั้นแกวที่ผานการอบเพิ่มความแข็งจึง นิยมทําเปน กระจก บานประตูขนาดใหญ กระจก
รถยนต และ เลนสแวนตา

รูปที่ 12.30 การกระจายตัวของความเคนในการอบเพิม่ ความแข็งแกว

12.8.2 การผลิตดินเผา
ดินเหนียวที่เหมาะสมสําหรับงานประเภทนี้ควรประกอบดวย SiO2 และ Al2O3 เปนหลักรวม
กับน้ํา นอกจานี้ยังอาจตองเติมเซรามิกบางประเภท (ฟลักซ) เพิ่มเติมเพื่อเพิ่มคุณสมบัติและดานการ
หลอหลอม เมื่อผสมฟลักซกับดินเหนียว ฟลักซืจะเปลี่ยนกลายเปนแกวที่มีจุดหลอมเหลวต่ํา โดยสวน
ใหญฟลักซจะเปนเซรามิกกลุมเฟลดสปารที่มีไอออนของ K Na และ Ca
เทคนิคการผลิตจะเริ่มตนจากการนําดินเหนียวมาบดใหมีขนาดเม็ดตามตองการ นํามาผสม
กับน้ํา วิธีการขึ้นรูปมี 2 แบบคือ ไฮโดรพลาสติกหรือแบบเปยกและแบบหลอสลิป
 วิธีขึ้นรูปแบบเปยก นั้นจะใชการทําการอัดขึ้นรูป โดยเนื้อ เซรามิกจะถูกอัดผาน
แมพิมพเปด โดยมีหนาตัดเหมือนกับรูปทรงชิ้นงาน ใชกับการขึ้นรูปเซรามิกที่มีขนาดพื้นที่หนาตัดคงที่
เชน อิฐ กระเบื้ อง ทอ เปนตน โดยการอาศัย แรงดั นจากสกรู ฟองอากาศจะถูก กํา จัดโดยหอ ง
สุญญากาศ รูกลวงตางๆจะใหอินเสริทใสไวในแมพิมพ
 การหล อสลิป จะขึ้น รูป โดยการทํ าใหเ ปน สารแขวนลอยของดิ น เหนีย ว และ
สวนผสมอื่นๆเรียกวาสลิป เมื่อเทสลิปลงในแบบหลอ น้ําในสลิปจะถูกดูดออกโดยผนังที่พรุนของแบบ
หลอ ความหนาของผิวชิ้นงานจะขึ้นกับระยะเวลาที่ทิ้งไวในแบบ หนึ่งชิ้นงานอาจจะตองทําหลายครั้ง
ซ้ําๆกันจนเต็มแบบหลอ ดังรูปที่ 12.31 เมื่อชิ้นงานแหงจะหดตัวและหลุดออกจากแบบหลอ แมพิมพ
285

สวนใหญทําจากปูนปลาสเตอร ตัวอยางชิ้นงานที่หลอวิธีนี้ไดแก เครื่องสุขภัณฑ งานศิ ล ปะ หลอด


ทดลอง เปนตน

รูปที่ 12.31 ขั้นตอนในการหลอสลิป

หลังจากหลอเสร็จแลวชิ้นงานตองถูกทําใหแหงและนําไปเผา เพื่อไลความชื้น ลดรูพรุนและ


เพิ่มความแข็งแรง สภาพชิ้นงานที่ผานการขึ้นรูปและทําใหแหงเรียกวากรีน เทคนิคการทําใหแหงและ
เผานั้นสําคัญมากเพราะถาทําผิดวิธีจะทําใหเกิดการบิดงอหรือแตกได ดังรูปที่ 12.32 แสดงลําดับการ
แหงของชิ้นงานกรีน โดยน้ําที่ผิวจะถูกกําจัดออกไปกอนจากการระเหย ทําใหอนุภาคตางๆอยูใกลกัน
มากขึ้น น้ําภายในจะแพรออกมาและเกิดการระเหยที่ผิว ถาอัตราการระเหยเร็วกวาอัตราการแพร
ออกมาจะทําใหเกิดตําหนิตางๆเกิดขึ้น ดังนั้นตองควบคุมอัตราการระเหยใหต่ํากวาอัตราการแพร

รูปที่ 12.32 แสดงลําดับขั้นตอนการทําใหแหง


286

 การเผา จะทําหลังจากปลอยใหชิ้นงานแหง โดยใชอุณหภูมิ 900 -1400 oC ระหวาง


การเผาความหนาแนนจะมากขึ้น รูพรุนจะลดลงและความแข็งแรงจะเพิ่มขึ้น เนื่องจากการเปลี่ยน
สภาพเปนเนื้อแกวของสวนผสมวัตถุดิบไปเติมในตําแหนงตางๆของรูพรุน ปริมาณการเกิดเนื้อแกว
ขึ้นกับอุณหภูมิ เวลา และสวนผสม ตัวอยางโครงสรางชิ้นงานที่ผานการเผาแสดงดังรู ปที่ 12.33 ซึ่ง
ประกอบดวยเกรนควอตซสีดําขนาดใหญที่ถูกลอมรอบดวยเนื้อพื้นที่เปนแกว นอกจากนี้ยังพบรูพรุน
และรอยแตกเนื่องจากการหดตัวในระหวางการเย็นตัว

รูปที่ 12.33 โครงสรางของเซรามิกพอรชเลนซทผี่ านการเผา

12.8.3 การอัดผง (Powder pressing)


การขึ้นรูปเซรามิกแบบนี้เปนการอัดผงเซรามิกที่ผานการคลุกเคลาดวยตัวประสานแลวทํา
การเผาผนึก การอัดผงจะใชแรงทางกลเพื่อใหเกิดรูพรุนนอยที่สุด โดยนิยมใชขึ้นรูปเซรามิกทนไฟ เซ
รมิกสําหรับงานอีเล็คทรอนิกสและงานแมเหล็ก การอัดผงมี 3 วิธีคือ การอัดตามแกนเดียว การอัด
แบบไอโซสแตติกและอัดขณะรอน การอัดตามแกนเดียวแสดงดังรูปที่ 12.34 วิธีนี้เหมาะกับชิ้นงาน
รูปรางไมซับซอนมาก แตตนทุนการผลิตถูกและมีอัตราการผลิตสูง สําหรับการอัดแบบไอโซสแตติกนัน้
จะใสผงเซรามิก ลงในภาชนะที่ทําจากยาง จากนั้นใหความดันโดยรอบในทุกทิศทาง สามารถผลิต
ชิ้นงานไดซับซอน แตตนทุนสูงกวาแบบแรก
เมื่อผานการอัดขึ้นรูปแลวชิ้นงานจะถูกนําไปเผาผนึกหรือทําซินเตอริ่ง (sintering) โดยเนื้อผง
จะยึดติดกันอาศัยกลไกการแพรแสดงดังรูป 12.35 โดยเริ่มตนนั้นผงเซรามิกจะอยูติดกัน เมื่ออุณหภูมิ
สูงขึ้นจนเกือบถึงจุดหลอมเหลวผิวดานนอกผงจะคอยๆติดกัน ทําใหรูพรุนลดลงและกลมในที่สุด และ
ทําใหเกิดขอบเกรนขึ้นมาแทน ในการเผาผนึกนี้ไมมีการหลอมเหลวเกิดขึ้น เกิดจากการแพรของ
อะตอมลวนๆ รูปที่ 12.36 แสดงโครงสรางอะลูมินาที่ผานการเผาผนึก
287

รูปที่ 12.34 การอัดตามแกนเดียว

รูปที่ 12.35 กลไกการเผาผนึก

รูปที่ 12.36 โครงสรางจุลภาคของอะลูมินาทีผ่ านการเผาผนึก


288

การอัดขณะรอนนั้นจะทําการอัดผงและใหความรอนในเวลาเดียวกัน ซึ่งเหมาะกับเซรามิกที่
เกิดของเหลวที่อุณหภูมิสูงมากๆเทานั้นและเมื่อตองการความหนาแนนสูงและไมเกิดการโตของเกรน
สําหรับเซรามิกบางจะใชเทคนิคการหลอเทป โดยการเกลี่ยดวยใบมีดใหมีความหนาสม่ําเสมอดังรูปที่
12.37 โดยความหนาเทปอยูที่ 0.1-2 มม. สําหรับทําเปนแผนฐานวงจรอีเล็คทรอนิกและตัวเก็บประจุ
แบบชั้น

รูปที่ 12.37 กระบวนการหลอเทป


289

คําถามทายบท
1. จงบอกลักษณะของไอออนทีร่ วมตัวกันเปนเซรามิก
2. จงแสดงวาอัตราสวนของไอออนบวกตอไออนลบในโครงสรางผลึกทีม่ ีเลขโคออดิเนชันเทากับ 4 คือ
0.225
3. จงแสดงวาอัตราสวนของไอออนบวกตอไออนลบในโครงสรางผลึกทีม่ ีเลขโคออดิเนชันเทากับ 8 คือ
0.732
4.จงระบุชนิดของโครงสรางผลึกของ CsI NiO KI และ NiS
5. จากตารางที่ 12.3 จงหาเลขโออดิเนชันของแตละไอออนใน K2O พรอมระบุวาเปนโครงสรางผลึก
ชนิดใด
6.จงคํานวณหาความหนาแนนตามทฤษฎีของ NiO
7. ทําไมเซรามิกกลุม ซิลิเกตถึงมีความหนาแนนต่ํา
8. ในการทดสอบแรงดัดของก MgO รูปรางทรงกระบอกแบบกด 3จุด จงคํานวณหาขนาดรัศมีของ
ชิ้นงานที่เล็กทีส่ ุดที่จะไมเกิดการแตกหักเมื่อใชแรงทดสอบ 425 N ถากําหนดใหคาความ
ตานทานแรงดัดของ MgO คือ 105 MPa และมีระยะหางระหวางจุดใหแรงเทากับ 50 mm
9. ทําไมเซรามิคแกวถึงไมโปรงใส
10. ความพรุนมีประโยชนอยางไรสําหรับเซรามิกทนไฟ
11. จงอธิบายการแข็งตัวในเตาเผาผลิตภัณฑเซรามิก
12. จงอธิบายการแข็งตัวของซีเมนต
13. จงอธิบายความแตกตางของอุณหภูมิ Tg และ Tm
14. จงอธิบายวาทําไมแกวถึงสามารถขึ้นรูปโดยวิธกี ารเปาได ในขณะที่เซรามิคชนิดอื่นทําไมได
15. ดินเหนียวมีหนาทีอ่ ยางไรในการผลิตเซรามิกแบบดั้งเดิม
16.ทําไมชิ้นงานเซรามิกที่มีความหนาถึงแตกงายกวาชิ้นงานที่บางในระหวางการทําใหแหง
17. จงบอกขั้นตอนการผลิตเซรามิกแบบผง
18. จงอธิบายความแตกตางของการขึ้นรูปแบบเปยก และ การหลอสลิป
290

บทที่ 13
วัสดุผสม
วัสดุแตละประเภทดังที่กลาวมาในบทกอนหนาจะมีจุดเดนและจุดดอยตางกัน วัสดุผสมเกิด
จากการนําเอาวัสดุตางชนิดกันมารวมกัน เกิดเปนวัสดุผ สมที่รวมเอาขอดีของวัส ดุแตละอยางเขา
ดวยกัน ตัวอยางวัสดุผสมตามธรรมชาติไดแก ไม กระดูก เปนตน และที่มนุษยสรางขึ้นไดแก คอนกรีต
เสริม เหล็ก อาคาร สะพาน หรือเสนใยตางๆ รูป ที่ 13.1 แสดงตัวอยางการนําวัส ดุผ สมไปใชเ ปน
ชิ้นสวนของไมสกี

รูปที่ 13.1 การนําวัสดุผสมไปใชในไมสกี


13.1 สวนประกอบของวัสดุผสม
วัสดุผสมประกอบดวยวัสดุหลายชนิดดวยกัน โดยมีสัดสวนที่แนนอน โดยคุณสมบัติจะขึ้นกับ
สารตั้งตนของที่ผสมลงไปเหลานั้นจะตองไมเกิดปฏิกิริยาทางเคมีตอกันและเปนการผสมกันทั้งใน
ระดับไมโครและมาโคร วัสดุผสมประกอบดวยเฟส 2 เฟสคือ เฟสเนื้อพื้นและตัวเสริมแรง เนื้อพื้นมี
ความตอเนื่องและทําหนาที่ยึดตัวจะมีความแข็งแรงมากกวาเนื้อพื้น อยางไรก็ตามคุณสมบัติของวัสดุ
ผสมที่ไดจะขึ้นกับสมบัติของวัสดุตั้งตน ปริมาณสารตั้งตน รูปทรง การเรียงตัวและการกระจายตัว รูป
ที่ 13.2 แสดงตัวอยางการกระจายตัวของอนุภาคเฟสในวัสดุผสมซึ่งลวนแตสงผลตอสมบัติของวัสดุ
ผสมทั้งสิ้น

รูปที่ 15.2 การเรียงตัวแบบตางๆของตัวเสริมแรงในวัสดุผสม


291

13.2 ชนิดของวัสดุผสม
วัสดุผสมสามารถแบงออกตามประเภทของเนื้อพื้นไดเปน 3 กลุมดังนี้
1. กลุมที่มีโลหะเปนเนื้อพื้น (MMC) เปนกลุมที่ตองการความแข็งและการทนทานตอความ
คืบ
2. กลุมที่มีเซรามิคเปนเนื้อพื้น (CMC) เปนกลุมที่ตองการความแกรงเพื่อทนตอการกระแทก
3. กลุมที่มีโพลิเมอรเปนเนื้อพื้น (PMC) เปนกลุมที่ตองการความแข็งแรงและการทนทานตอ
ความคืบ
ถาแบงตามประเภทของตัวเสริมแรงแลวสามารถแบงยอยออกเปน 3 กลุมดังนี้คือ กลุมเสริมแรงดวย
อนุภาค เสริมแรงดวยเสนใย และวัสดุผสมกลุมใชงานโครงสรางโดยในแตละกลุมจะแยกยอยออกไป
ไดอีกตามรูปที่ 13.3

รูปที่ 13.3 การแบงประเภทวัสดุผสม


13.3 วัสดุเสริมแรงดวยผงอนุภาค
การจําแนกจะแบงตามกลไกการเพิ่มความแข็งแรง โดยแบงเปนผงขนาดใหญและผงขนาด
เล็ก
1.ผงขนาดใหญ คําวาใหญในที่นี้จะใชเมื่อกลไกการเพิ่มความแข็งแรงจะเปนแบบทางกล
เทานั้น ในประเภทนี้ตัวเสริมแรงจะมีความแข็งและคามอดูลัสยืดหยุนสูงกวาเนื้ อพื้น โดยผงอนุภาค
เหลานี้จะชวยยับยั้ง การแปรรูปของเนื้อพื้น โดยเนื้อพื้นจะสงผานแรงไปยังตัวเสริมแรง โดยความ
แข็งแรงโดยรวมจะขึ้นกับความแข็งแรงของรอยตอกับเนื้อพื้น
2. ผงขนาดเล็ก ผงตัวเสริมแรงจะมีขนาดตั้งแต 0.01-0.1 ไมครอน ความแข็งแรงเกิดขึ้นใน
ระดับอะตอมหรือโมเลกุล คลายกับการเพิ่มความแข็งแรงแบบตกตะกอนในโลหะ โดยเนื้อพื้นจะมีตัว
เสริมแรงกระจายอยูและตัวเสริมแรงเหลานี้ชวยขัดขวางการเคลื่อนที่ของดีสโลเกชัน สงผลใหความ
ตานทานแรงดึง ความแข็งแรงที่จุดครากและความแข็งของวัสดุโดยรวมสูงขึ้น
292

 การเสริมแรงดวยอนุภาคขนาดใหญ
ในวัสดุผสมชนิดตัวเสริมแรงขนาดใหญตัวอยางเชน คอนกรีต ซึ่งประกอบดวยซีเมนต หิน
ทราย เปนตน สมมติวาผงอนุภาคมีลักษณะเปนเม็ดที่มีขนาดเทากันในทุกทิศทาง โดยมีการกระจาย
ตัวสม่ําเสมอในเนื้อพื้น โดยความแข็งแรงของวัสดุผสมจะขึ้นกับปริมาณของตัวเสริมแรงดวย โดยตาม
กฎของผสมคือ
E c  EmVm  EpVp
เมื่อ Ec = คามอดูลัสของวัสดุผสม, V = ปริมาตร สวน m หมายถึงเปนคาสมบัติของเนื้อพื้นและ p
เปนของผงเสริมแรง ผงเสริมแรงขนาดใหญนี้สามารถนําไปใชไดกับทั้งโลหะ เซรามิค และโพลิเมอร
ตัวอยางคือ เซอรเม็ต เปนวัสดุผสมระหวางโลหะและเซรามิค ที่นิยมมากที่สุดคือ ซีเมนเตดคารไบด มี
ความแข็งสูงมากประกอบดวย WC หรือ TiC ฝงในโลหะเชน โคบอลหรือนิกเกิล นําไปเปนใบตัดเหล็ก
ที่แข็งมากได ซึ่งปกติคารไบดจะแข็งแตเปราะ เมื่อมีโลหะมายึดไวแลวกลับไดวัสดุผสมที่มีความแข็งสูง
ปกติผสมผงคารไบด 90% กับโคบอลอีก 10% ดังรูปที่ 13.4 a)

a) b)
รูปที่ 15.4 โครงสราง (a) ซีเมนเตดคารไบด และ (b) ผงถานในยางรถยนต

 การเสริมแรงดวยผงอนุภาคขนาดเล็ก
ปกติจะเปนการเติมผงขนาดเล็กเปนตัวเสริมแรง กลไกในการเพิ่มความแข็งจะคลายแบบการ
ตกตะกอน โดยตะกอนเล็กๆของเซรามิคจะไปขัดขวางการเคลื่อนที่ของดีสโลเกชัน แตผงเซรามิค
เหลานี้ไมเกิดปฏิกิริยาใดๆกับเนื้อพื้น จึงทําใหไมแสดงผลเดนชัดเทากับการตกตะกอน แตอยางไรก็
ตามการเสริมแรงวิธีนี้จะสามารถใชงานแมที่อุณหภูมิสูงได ในขณะที่การตกตะกอนจะใชไมไดเพราะ
ตะกอนเหล า นั้ น จะสลายหรื อ รวมตั ว กั น เมื่ อ อุ ณ หภู มิ สู ง ขึ้ น จนสู ญ เสี ย ความแข็ ง แรงในที่ สุ ด
ตัวอยางเชนการเสริมอนุภาคผงของทอเรีย ThO2 ลงในนิ กเกิลทําใหมีความแข็งแรงสูงมากแมที่
293

อุณหภูมิสูง ตัวอยางที่สําคัญอีกอยางคือการเสริมแรงดวยผงอนุภาคขนาดเล็ก เชน ผงถานที่เติมลงใน


ยางทําใหมีความทนทานตอการฉีกขาด เพิ่มความแกรงและการสึกหรอไดดีขึ้น โดยการผสมผงถาน
ประมาณ 15-30% โดยผงถานมีขนาดเพียง 20-50 ไมครอน แสดงดังรูปที่ 13.4 b)
13.4 วัสดุเสริมแรงดวยเสนใย
กรณีนเี้ ปนการผสมเสนใยตัวเสริมแรงแบบเสนใยลงไปในวัสดุผสม เนนที่ความแข็งแรงหรือ
มอดู ลัส ความยืด หยุน ต อน้ํ า หนั ก สูง ซึ่ง เรีย กวา ความแข็ง แรงจํ าเพาะ (ความแข็ง แรงต อความ
ถวงจําเพาะ) และมอดูลัสจําเพาะ (คามอดูลัสตอความถวงจําเพาะ) เสนใยที่ผ ลิตขึ้นนั้นจะมีความ
แข็งแรงสูงมาก นอกจากตัวเสนใยเองแลวยังขึ้นกับพันธะยึดเหนี่ยวระหวางเสนใยกับวัสดุพื้นอีกดวย
การสงผานแรงนี้จะสิ้นสุดที่ปลายของเสนใยดังรูปที่ 13.5

รูปที่ 13.5 แสดงการเปลี่ยนรูปของเสนใยเมื่อรับแรง

เสนใยแตประเภทจะมีคาความยาววิกฤติ (lc) อยูค าๆหนึ่ง โดยคาความยาววิกฤตินี้จะขึ้นกับคาความ


ตานทานแรงดึงสูงสุด ขนาดเสนใย และความแข็งแรงในการยึดเหนี่ยวกับเนื้อพื้น โดยหาไดจากสมการ
ตอไปนี้

ถาเสนใยยาวกวาคาวิกฤติ เสนใยจะรับแรงไดดีขึ้น ดังนั้นเสนใยตอเนื่องจึงรับแรงไดดีกวาเสนใยสั้น


รูปที่ 13.6 แสดงผลของความยาวเสนใยตอความสามารถในการรับแรงของเสนใย ยิ่งเสนใยยาวกวา lc
ยิ่งมีบริเวณที่สามารถรับแรงสูงสุด (f*) ไดมากขึ้น
294

รูปที่ 13.6 ความเคนที่เกิดขึ้นเมื่อเสนใยมีขนาดตางๆกัน


 อิทธิพลของความเขมขนและการเรียงตัวของเสนใย
การเรียงตัวของเสนใยมี 2 แบบ คือ แบบเรียงตัวในทิศทางเดียวกันทั้งหมด และ แบบเรียงตัว
แบบอิสระ ดังรูปที่ 13.6 โดยปกติเสนใยตอเนื่องจะมีการเรียงตัวแบบทิศทางเดียวกันดังรูป a สวน
เสนใยสั้นสามารถเรียงตัวไดทั้งสองแบบดังรูป b และ c

รูปที่ 13.6 การเรียงตัวของเสนใย


295

การเสริมแรงดวยเสนใยตอเนื่องที่เรียงตัวแนวเดียวกันนั้น จะใชเสนใยตอเนื่องที่มีคามอดูลัส
สูงกวาเนื้อพื้นมาก และ ความแข็งแรงของวัสดุผสมจะขึ้นกับทิศทางที่รับแรงดวย โดยจะรับแรงใน
ทิศทางขนานกับความยาวของเสนใยไดดีกวาในทิศตั้งฉากกับทิศการเรียงตัวของเสนใย เรียกวามีความ
เปนแอนไอโซโทรปคสูง รูปที่ 13.7 แสดงกราฟความเคนความเครียดของวัสดุผสม โดยเสนใยจะแตก
แบบเปราะสวนเนื้อพื้นจะแตกแบบเหนียว และแสดงตําแหนงการแตกหักของวัสดุผสมดวย ซึ่งอยู
กึ่งกลางระหวางจุดแตกหักของตัวเสริมแรงและพื้น พฤติกรรมการรับแรงของวัสดุผสมจะแบงเปน 2
ชวงคือ ชวงแรกนั้นทั้งตัวเสริมแรงและพื้นจะเปนอีลาสติก หลังจากที่แรงเพิ่มสูงขึ้นจนเกิดจุดคราก
ของเนื้อพื้นนั้น เนื้อพื้นจะเกิดการแปรรูปแบบพลาสติกในขณะที่เสนใยยังคงเปนแบบอีลาสติกอยู โดย
เสนใยยังคงสามารถรับแรงไดตอไปตราบเทาที่แรงนั้นยังนอยกวาคาความตานทานแรงดึงของเสนใย
อยางไรก็ตามเสนใยจะขาดออกจากกันที่ระยะความเครียดที่จุดแตกหัก โดยเกิดการขาดเปนทอนๆ
แตละทอนก็ยังคงรับแรงตอไปไดอีก ทําใหกราฟความเคนของวัสดุผสมเปลี่ยนความชัน และขาดจาก
กันในที่สุดที่จุดแตกหักของวัสดุผสม
สมการสําหรับการคํานวณหาคามอดูลัสของวัสดุผสมแบบนี้คือ
E c  E mV m  E f V f
โดย Ec คือคามอดูลัสของวัสดุผสม V คือสัดสวนโดยปริมาตร สวน คา m เปนสมบัติของเนื้อพื้นสวน
f เปนของเสนใยโดยกําหนดให Vm + Vf = 1

รูปที่ 13.7 แสดงกราฟความเคนความเครียดของเสนใย เนื้อพื้นและวัสดุผสม


296

ในขณะเดียวกันเราสามารถหาอัตราสวนของแรงที่กระทํากับเสนใยตอแรงที่กระทํากับเนื้อพื้นไดตาม
Ff E fVf
สมการ 
Fm E mVm

ตัวอยาง กําหนดใหวัสดุผสมประกอบดวยเสนใยแกวตอเนื่องและพอลิเมอรเรซินประเภทพอลิเอส
เทอร โดยมีเสนใย 40%โดยปริมาตรและเรซิน 60% โดยปริมาตร ถาเสนใยมีคามอดูลัสเทากับ 69
GPa และ เรซินมีคามอดูลัสเทากับ 3.4 GPa จงหา a) คามอดูลัสยืดหยุน และ b) สัดสวนของแรงที่
เสนใยตอเนื้อพื้นเมื่อมีแรงภายนอกมากระทํา
วิธีทํา a) จากสูตร E c  E mV m  E f V f
แทนคา Ec  3.4 x 0.6  69 x 0.4  30GPa
Ff E fVf
b) จากสูตร 
Fm E mVm
Ff 69 x 0.4
  13.5
แทนคา Fm 3 .4 x 0 .6

นอกจากนี้ยังมีเสนใยไมตอเนื่องที่มีการเรียงตัวแนวเดียว ตัวอยางการใชงานในกลุมนี้ไดแก
เสนใยแกวหั่นสั้น เสนใยคารบอนและอะรามีด สามารถรับ แรงไดป ระมาณ 50-90% ของเสนใย
ตอเนื่องชนิดเดียวกัน การรับแรงในทิศขนานกับ การเรียงตัวจะสูง กวาในทิศตั้ง ฉากมาก เสนใยไม
ตอเนื่องที่มีการเรียงตัวแบบสุมเปนเสนใยที่มีความเปนไอโซโทรปคสูง รับแรงในทุกทิศทางใกลเคียง
กัน แตความแข็งแรงจะมีคาประมาณ 1 ใน 5 ของเสนใยที่มีการเรียงตัวแนวเดียว
 รูปแบบของเสนใย
โดยปกติแลวเสนใยที่เล็กจะมีความแข็งแรงมากกวาเสนใยที่ใหญเพราะความนาจะเปนที่เกิด
ตําหนิในเสนใยจะมีนอยกวา วัสดุที่ใชทําเปนเสนใยตองมีความแข็งแรงสูง โดยปกติมี 3 รูปแบบคือ
วิสเกอร เสนใยและเสนลวด
วิสเกอรเปนผลึกเดี่ยวที่บางมาก มีอัตราสวนความยาวตอเสนผาศูนยกลางสูงมาก เนื่องจาก
วิสเกอรเปนผลึกเดี่ยว ไมมีตําหนิใดๆ จึงมีความแข็งแรงสูงมาก จึงสามารถบอกไดวามีความแข็งแรง
สูงสุด แตอยางไรก็ตามการผสมลงในวัสดุผสมจะยุงยากและราคาแพงมาก ตัวอยางวิสเกอรแสดงดัง
ตารางที่ 13.1 นอกจากนี้ยังนิยมผลิตในรูปเสนใยและเสนลวด โดยวัสดุในกลุมเสนใยนี้อาจจะไมมี
โครงสรางผลึกเลย หรือเปนหลายผลึกก็ได มักเปนโพลิเมอรหรือเซรามิค เชน อะรามีด แกว คารบอน
โยรอน อะลูมิเนียมออกไซด และ ซิลิกอนคารไบด ในกรณีที่เปนเสนลวด จะมีเสนผาศูนยกลางขนาด
ใหญ เชน เหล็กกลา โมลิบดินัม และทังสเตน การใชงานเชนลวดเสริมยางรถยนต โครงจรวด ทอทน
แรงดันสูง
297

ตารางที่ 13.1 คุณลักษณะของตัวเสริมแรง

13.5 เฟสเนื้อพื้น
เนื้อพื้นมีหนาที่ชวยยึดตัวเสริมแรงไมใหหลุดเมื่อมีแรงมากระทํา ชนิดของเนื้อพื้นในวัสดุผสม
สามารถแบงออกเปน 3 ประเภทดังนี้
1. เนื้อพื้นพอลิเมอร โดยมีจุดประสงคเพื่อเพิ่มความแข็งแรงใหกับโพลิเมอร เนื้อพื้นสวน
ใหญมักอยูในรูปเรซิน เชน โพลีเอสเทอร และไวนิลเอสเทอร เนื่องจากขึ้นรูปงายโดยเสริมแรงดวยเสน
ใยแกว หรือที่เรียกวา ไฟเบอรกลาส (GFRP) และที่นิยมกันอยางมากอีอยางหนึ่งคือการเสริมแรงดวย
เสนใยคารบอน (CFRP) มีความแข็งแรงสูง Kevlar เปนวัสดุผสมในกลุมนี้อีกอยางหนึ่งซึ่งตัวเสริมแรง
ทําจากเสนใยอะรามีด ตัวอยางวัสดุผสมที่มีเนื้อพื้นเปนพอลิเมอรแสดงดังตารางที่ 13.2
ตารางที่ 13.2 สมบัติของวัสดุผสมที่มเี นื้อพื้นเปนพอลิเมอรบางชนิด
298

2. เนื้อพื้นโลหะ โดยมีจุดประสงคเพื่อเพิ่มความแข็งแรงและความทนทานตอความคืบ ที่


อุณหภูมิสูงใหกับโลหะ นอกจากนี้ยังเพิ่มความทนทานตอการขัดสี และทนตอการกัดกรอนในสภาพ
สารอินทรียเหลวไดดี แตราคาแพงทําใหมีการใชงานจํากัด ตัวอยางวัสดุพื้นไดแก ซุปเปอรอัลลอย
อะลูมิเนียม แมกนีเซียม ไททาเนียม และทองแดงผสมตางๆ โดยตัวเสริมแรงอาจจะอยูในรูปของ
วิสเกอร ผงอนุภาคหรือเสนใยตอเนื่องและเสนใยสั้น โดยมีสวนผสมตัวเสริมแรง 10-60% โดยเสนใย
ตอเนื่องจะเปนประเภท เสนใยคารบอน ซิลิกอนคารไบด โบรอน อะลูมินาและโลหะทนไฟ ถาเปน
ประเภทเสนใยไมตอเนื่องอาจจะเปนวิสเกอรซิลิกอนคารไบด เสนใยอะลูมินาและคารบอนหั่นสั้น
เซอรเม็ต ตัวอยางวัสดุผสมที่มีเนื้อพื้นเปนโลหะแสดงดังตารางที่ 13.3
ตารางที่ 13.3 สมบัติของวัสดุผสมที่มเี นื้อพื้นเปนโลหะบางชนิด

3. เนื้อพื้นเปนเซรามิค มีจุดประสงคเพื่อเพิ่มความแกรงใหกับเซรามิค โดยการผสมผง


เซรามิคบางอยางลงไปในเซรามิคอีกประเภทหนึ่ง ผงเหลานี้จะชวยยับยั้งการแตกแบบเปราะของ
เซรามิคเนื้อพื้นได โดยผงเหลานี้จะอยูในรูปวิสเกอร เชน การเติมผลเซอรโคเนียลงในอะลูมินาทําใหมี
ความแกรงเพิ่มขึ้น
นอกจากวัสดุผสมที่ไดกลาวมาขางตนทั้งหมด ปจจุบันไดมีการพัฒนาวัสดุผสมรูปแบบใหมๆ
เกิดขึ้นเสมอ ในวัสดุผสมที่มีเนื้อพื้นคารบอนเสริมแรงดวยเสนใยคารบอน มีความแข็งแรงสูงมากและ
คุณสมบัติทางกลอื่นๆดีเยี่ยมแมที่อุณหภูมิสูงถึง 2000 oC แตยังมีขอจํากัดคือการเกิดออกซิเดชันงาย
ใชทําเปนมอรเตอรจรวด อุปกรณในเครื่องบิน สวนประกอบเครื่องยนตเทอรไบด
เนื่องจากปญหาการใชงานวัสดุผสมสวนใหญคือเสนใยของตัวเสริมแรงมีราคาแพง ดังนั้นจึงมี
การผลิตวัสดุผสมประเภทลูกผสม คือใชเสนใยมากกวา 2 ชนิด เชนการผสมเสนใยคารบอนกับเสนใย
แกวลงในโพลิเมอร เสนใยคารบอนแข็งแรงมากแตแพง สวนเสนใยแกวแข็งแรงนอยกวาแตมีราคาถูก
จึงนํามาผสมกันไดคุณสมบัติที่ดีกวาใชเสนใยแกวเพียงอยางเดียวในราคาที่เหมาะสม

13.6 การผลิตเสนใยเสริมแรง
1. การดึงยืดขึ้นรูป เปนการผลิตสําหรับเสนใยตอเนื่อง และมีพื้นที่หนาตัดสม่ําเสมอ คงที่ มี
รูปทรงเปนแทงหรือทอน ดวยเทคนิคในรูปที่ 13.8 เสนใยตอนื่องแตละเสนจะถูกดึงผานเรซินของ
เทอรโมเซตติ้ง จากนั้นจะผานแมพิมพใหไดรูปทรงตามที่ตองการ หลังจากนั้นจะทําการอบเพื่อบมเร
ซิ่นอีกที ตัวอยางการผลิตไดแก เสนใยแกว เสนใยคารบอนและเสนใยอะรามีด
299

รูปที่ 13.8 กรรมวิธีการดึงยืดขึ้นรูป


2. กรรมวิธีพรีเพร็ก เปนกรรมวิธีที่เรซินพลาสติกถูกบมบางสวนกอนที่จะนํามาเคลือบเสนใย
จากนั้นนํามาเคลือบเสนใยเก็บไวในรูปแผนเทป แลวคอยนําไปบมอีกครั้งภายหลังดังรูปที่ 13.9

รูปที่ 13.9 การผลิตแผนเทปพรีเพร็ก


3. การพันเสนใย เพื่อที่จะใหเ สนใยมีตําแหนง ที่แนนอน โดยการพันรอบแทง กลม หรือ
กระบอกกลวง ที่เรียกวาไสแกน โดยใชเครื่องพันแบบอัตโนมัติ หลังจากนั้นจะนําไปบมตอและสุดทาย
จะนําไสแกนออก รูปแบบการพันแสดงดังรูปที่ 15.10 ชิ้นสวนที่ผานการพันจะมีความแข็งแรงตอ
น้ําหนักสูงมาก ตัววอยางการใชงานเชน มอรเตอรจรวด ถังและทออัดความดัน เปนตน

รูปที่ 13.10 การพันเกลียวเสนใย


300

13.7 วัสดุผสมโครงสราง
1. วัสดุผสมลามินา ประกอบดวยตัวเสริมแรงเรียงตัวในทิศแตกตางกัน เชน ไมอัด ไมส กี
โดยแตละชั้นจะมีการเรียงตัวของโครงสรางในทิศตางๆกันและนํามายึดติดกัน ดังรูปที่ 13.11 เปน
เทคนิคการทําไมอัด

รูปที่ 13.11 การวางชั้นตัวเสริมแรงดวยเสนใยเพื่อทําเปนวัสดุเสริมแรงแบบลามินา

2. แผงประกอบแบบแซนดวิช ดังรูปที่ 13.12 แผนดานหนาจะมีความแข็งแรงสูงกระกบกับ


ชั้นที่มีความหนาแนนนอยหรือมีความแกรงแบบยืดหยุนต่ํากวา ชั้นบนจะตองรับแรงเปนสวนใหญ ใน
แนวระนาบ และสง ผานแรงมายัง ชั้ นลาง วัส ดุ ที่ทําเปนแผน ดานบนอาจเปน ไมอัด โลหะ หรื อ
พลาสติกเสริมแรงดวยเสนใย โดนสวนลางหรือแกนนิยมทําใหอยูในรูปของรวงผึ้ง ทําใหมีน้ําหนักเบา
แตมีความแข็งแรงสูง ใชทําเปนหลังคา พื้น และผนังอาคารตางๆ และสวนปก ลําตัวและแผนหาง
เครื่องบิน

รูปที่ 13.12 การสรางแผนประกบแบบแซนวิชโครงสรางรวงผึ้ง


301

13.8 วัสดุสําหรับงานกอสราง (Construction material)


13.8.1 คอนกรีต
คอนกรีตเปนวัสดุผสมระหวางซีเมนต+หิน+ทราย โดยซีเมนตทําหนาที่เปนพื้น ที่นิยมมี 2
ชนิดคือ ประเภทซีเมนตปอรตแลนดและคอนกรีตผสมยางมะตอย โดยแบบแรกนิยมทําเปนอาคาร
สิ่งกอสราง สวนแบบที่สองทําเปนถนน ในสวนนีจ้ ะอธิบายคราวๆดังนี้
คอนกรีตปอรต แลนด มีผ งเสริ ม แรงคือ ทราย หิ นและมีพื้น เปน ซีเ มนต โดยผสมน้ําใน
อัตราสวนที่เหมาะสม วิธีที่เหมาะสมในการทําใหตัวเสริม แรงอัดแนนและยึดรอยตอระหวางเฟส
ซีเมนตอยางเหนียวแนนคือตองใชหินและทราย โดยทรายจะเขาไปเติมชองวางของหิน โดยทั้งหิน
และทรายจะมีปริมาตรรวมประมาณ 60-80%ของปริม าตรคอนกรีต โดยซีเมนตตองมากพอที่จ ะ
หอหุมหินและทรายไว ปริมาณน้ําที่ใสเพื่อทําใหเกิดปฏิกิริยาไฮเดรชันตองไมมากหรือนอยเกินไป ถา
ใสนอยเกินไปอาจทําใหเกิดรูพรุนได นอกจากนี้ตองไมมีสิ่งเจือปนเชนดินเหนียว โคลน ตะกอนในน้ํา
เพราะสิ่งเหลานี้จะทําใหการยึดเกาะผิวไมเรียบเนียน คอนกรีตจะรับแรงดึงไดนอยกวาแรงอัด10-15
เทา แตมีความเปราะสูงเพราะเปนเซรามิค หดตัวและขยายตัวมากเมื่อโดนความรอน จึงจําเปนตองมี
การเสริมแรงดวยวัสดุอื่นอีก
 คอนกรีตเสริมแรง
เปนการเสริมแรงใหคอนกรีตโดยวิธีการเสริมเหล็ก ซึ่งเหล็กจะรับแรงดึงไดดี สวนคอนกรีตจะ
รับ แรงอัดไดดี ดัง นั้นเมื่อรวมผลของทั้ง สองอยางเขาดวยกันแลวทําใหคอนกรีตเสริม แรงมีความ
แข็ง แรงสูง นอกจากนี้สาเหตุที่เลือกใชเหล็ก เพราะเหล็กมีก ารขยายตัวเชิง ความรอนใกลเคียงกับ
คอนกรีต และการผุกรอนของเหล็กในคอนกรีตเกิดขึ้นชามากเนื่องจากออกซิเจนซึมผานคอนกรีตเขา
ไปหาเหล็กไดชามาก การยึดเกาะระหวางเหล็กดวยแรงทางกลเกิดขึ้นไดงาย นอกจากนี้อาจมีการ
ผสมเสนใยแกว ไนลอนหรือโพลีเอทิลีนเพื่อเพิ่มความแข็งแรงแตตองคํานึงถึงสิ่งแวดลอมที่ใชงานดวย
เพราะวัสดุบางอยางสึกหรอเร็วมากเมื่อมีซีเมนตลอมรอบ
นอกจากเสริมเหล็กแลวยังมีการเพิ่มความแข็งแรงตอไดอีก โดยการทําใหเกิดความเคนอัดใน
คอนกรีต เรียกวา คอนกรีตอัดแรง ซึ่งทําใหคอนกรีตรับแรงดึงไดมากขึ้น โดยคอนกรีตจะแตกหักก็
ตอเมื่อความเคนแรงดึงมากกวาความเคนอัดที่ใสไว เทคนิคการอัดแรงที่นิยมคือ การดึงเหล็กคางไว
แลวหลอคอนกรีตทับเขาไป ปลอยใหคอนกรีตแข็งตัวเสร็จแลวก็จะทําการปลอยแรงดึงออก เหล็กจะ
หดตัวทําใหเกิดแรงอัดขึ้นในคอนกรีต ในบางครั้งก็ทําการใสความเคนหลังจากหลอคอนกรีตเสร็จแลว
เรียกวาการทํา โพสเทนชันนิ่ง เปนการสอดทอยางหรือทอพลาสติกใหยาวตลอดแทงคอนกรีต จากนั้น
ทําการเทคอนกรีตปลอยใหแข็งตัว ทําการใสเหล็กตามทอแลวดึงเหล็กใหยืดออก เอาสวนปลายของ
แทงเหล็กทั้งสองขางไปยึดกับแผนคอนกรีต แลวหลอคอนกรีตลงในทอพลาสติกเพื่อยึดเหล็กไวอีกที
วิธีนี้ก็สามารถเพิ่มความเคนอัดใหคอนกรีตได คอนกรีตอัดแรงจะมีคุณภาพสูง การหดตัวต่ําและทนตอ
ความคืบ นิยมหลอเปนชิ้นสําเร็จ ใชทําเปนสะพาน ทางดวนและถนนไฮเวย เปนตน
302

 การผลิตคอนกรีต
สวนผสมของคอนกรีตออกเปน 2 สวน คือ สวนที่เปนตัวประสาน ไดแก ปูนซีเมนต
กับน้ําและน้ํายาผสมคอนกรีต สวนที่เปนมวลรวมไดแก ทราย หิน หรือ กรวด เมื่อนําวัสดุตางๆ ของ
คอนกรีตมาผสมกัน คอนกรีตจะเปนของเหลวมีความหนืดเวลาหนึ่งซึ่งสามารถนําไปเทลงแบบหล อ
ตามตองการได เมื่ออายุมากขึ้นคอนกรีตก็จะเปลี่ยนสถานะ จากของเหลวมาเปนกึ่งเหลวกึ่งแข็งและ
ในเวลาตอมาก็จะเปนของแข็งในที่สุด ซึ่งสามารถรับกําลังอัดไดมากขึ้นเรื่อยๆ ตามอายุของคอนกรีตที่
เพิ่มขึ้นจนถึงชวงเวลาหนึ่งความสามารถรับกําลังอัดก็จะเริ่มคงที่ โดยสามารถแบงวัสดุที่ใชสําหรับงาน
คอนกรีตออกเปน 3 ประเภทดังนี้คือ
 ปูนซีเมนตผสมน้ําและน้ํายาผสมคอนกรีตเรียกวา ซีเมนตเพสต (Cement Paste)
 ซีเมนตเพสตผสมกับทรายเรียกวา มอรตาร (Mortar)
 มอรตารผสมกับหินหรือกรวดเรียกวาคอนกรีต (Concrete)
ดังนั้นคอนกรีตจึงหมายถึง ซีเมนต มวลรวม และน้ํา โดยแตละสวนผสมมีหนาที่ตางกันดังนี้
 ปูนซีเมนต ทําหนาที่ใหกําลังของคอนกรีต โดยทําปฏิกิริยาไฮ-เดรชั่นกับน้ําเกิดเปนของเหลว
หนืด โดยทําหนาที่หลอลื่นคอนกรีตใหสามารถเทไดและยึดประสานมวลรวมเขาดวยกัน เมื่อแข็งตัว
จะใหกําลังกับคอนกรี ต คุณสมบัติของปูนซีเ มนตจะขึ้นอยูกับองคประกอบของสารเคมีและความ
ละเอียดของเม็ดปูน
 มวลรวม ไดแก หิน กรวด ทราย ทําหนาที่เปนวัส ดุเฉื่อย กระจายอยู ทั่วเนื้อคอนกรีต ทํา
หนาที่ชวยใหคอนกรีตมีความทนทาน และลดการยึดหดตัวของคอนกรี ต สมบัติของมวลรวมตองมี
ความแข็ ง แรง ความคงทนต อ ปฏิ กิ ริ ยาเคมี การต า นทานแรงกระแทกและการเสี ยดสี มี ก าร
เปลี่ยนแปลงปริมาตรนอย เปนตน
 น้ํา ทําหนาที่ผสมกับปูนซีเมนตทําใหเกิดปฏิกิริยาไฮเดร-ชั่ น และชวยหลอลื่นใหคอนกรีต อยู
ในสภาพเหลวสามารถเทลงในแบบหลอได
 น้ํายาผสมคอนกรีต ทําหนาที่ปรับปรุงคุณสมบัติตางๆ ของคอนกรีตใหเหมาะสมกับสภาพ
การใชงาน เชน เวลาการกอตัว ความสามารถในการเทได กําลังอัด เปนตน
คอนกรีตที่มีคณ ุ ภาพ คือ คอนกรีตที่มสี มบัติตางๆ เหมาะสมตรงตามลักษณะของการใชงาน
ในประเภทนั้นๆ สมบัติของคอนกรีตที่ตองการโดยทั่วๆ ไป คือ ในสภาพเหลวตองมีความสามารถเทได
ดี ไมมีการแยกตัว ใชพลังงานในการทํางานนอย ในสภาพที่แข็งตัวแลวจะตองมีกําลังสูงพอ ไมดูดซึม
น้ํา หดตัวนอย ปราศจากรอยแตกราวภายใน ไมมีโพรง หรือชองวางจากการเท
303

 ปูนซีเมนต
ปูนซีเมนตทําหนาที่ยึดประสานผงหรือมวลรวมขนาดใหญเกิดเปนโครงสรางวัสดุผ สม ใน
ปจจุบันมีการผลิตซีเมนตเพื่อใชในการกอสรางเรียกวา พอรตแลนซีเ มนต ซึ่งเปนสวนผสมของดิน
เหนียวกับปูนขาวในอัตราสวนที่เหมาะสม กระบวนการปลิตซีเมนตมีขั้นตอนดังรูปที่ 13.13 เริ่มตน
จากการนํ า วั ต ถุ ดิบ ไปอบที่ อุ ณหภู มิ 1400 oC ในเตาย า งแบบหมุ น ซึ่ง ในระหว างนั้ น จะเกิ ด
กระบวนการคัลไซน ทําใหไดสิ่งที่เรียกวาคลิงเกอร ทําการบดคลิงเกอรใหละเอียดแลวนําไปผสมกับ
ยิบซัม (CaSO4-H2O) ไดพอรตแลนดซีเมนต ผานกระบวนการไฮเดรชันที่ซับซอนเกิดการแข็งตัวขึ้น

รูปที่ 13.13 ขั้นตอนการผลิตปูนซีเมนต

พอรตแลนซีเมนตมีสวนประกอบหลายชนิด ไดแก ไตรคัลเซียมซิลิเกต ไดคัลเซียมซิลิ


เกต ไตรคัลเซียมอลูมิเนต เตตราคัลเซียมอลูมิโนเฟอรไรท โดยที่สําคัญคือ ไตรแคลเซียมซิลิเกต
(3CaO-SiO2) และ ไดแคลเซียมซิลิเกต (2CaO-SiO2) โดยเมื่อรวมตัวกับน้ําจะเกิดปฎิกิริยาไฮเดรชัน
ตัวอยางปฏิกิริยาไฮเดรชันของไตรคัลเซียมอลูมิเนต คือ
304

โดยเกิดเปน เจลที่มีโ ครงสรางซับ ซอ น โดยเนื้อ ซีเ มนตจ ะเริ่ม เหนียวหนื ด จากนั้นจะเริ่ม แข็ง ตั ว
ปฎิกิริยาไฮเดรชันจะดําเนินไปอยางชาๆ โดยอาจใชระยะเวลาเปนปกวาจะสิ้นสุด
ปูนซีเมนตปอรตแลนดแบงเปน 5 ประเภทดังนี้คือ
1. Ordinary Portland Cement ใชสําหรับงานกอสรางทั่วไปไดแก ปูนซีเมนตตรา
TPI สีแดง , ตราชาง , ตราอินทรียเพชร
2. Modified Portland Cement ใชสําหรับงานคอนกรีตทีเกิดความรอนและทน
ซัลเฟตไดปานกลาง ในปจจุบันไมมีการผลิตในประเทศไทย
3. High Early Strength Portland Cement ใชสําหรับงานที่ตองการกําลังอัดเร็ว เช
น โรงหลอเสาเข็ม พื้นสําเร็จรูปไดแก ปูนซีเมนตตรา TPI สีดํา , ตราเอราวัณ , ตรา
อินทรียดํา
4. Low Heat Portland Cement ใชกับงานที่ตองการคอนกรีตความรอนต่ํา ปจจุบัน
ไมมีผลิตในประเทศไทย
5. Sulfate Resistant Portland Cement ใชในบริเวณทีดินหรือบริเวณใตน้ําที่มี
ปริมาณซัลเฟตสูง ไดแก ปูนซีเมนตตรา TPI สีฟา , ตราชางสีฟา , ตราอินทรียฟา
 มวลรวม
มวลรวมไดแก หิน ทราย กรวด มวลรวมมีป ริ ม าตร 70-80%ของปริม าณของสวนผสม
ทั้งหมด จึงมีความสําคัญตอสมบัติของคอนกรีตมาก หินที่ใชผสมคอนกรีต ไดแก หินปูน หินแกรนิต
หรือ กรวดทรายไดแก ทรายแมน้ํา ทรายบก หรือ หินบดละเอียด มวลรวมควรตองมีสมบัติดังนี้
• มีความแข็งแรงสูง: รับน้ําหนักไดมากกวาคอนกรีต เชน หินแกรนิต:1800 ksc หินปูน:1600
ksc คอนกรีต: 180-350 ksc
• ตานทานการสึกหรอ: ทนแรงกระแทกและการเสียดสี ปกติใชการทดสอบแบบ Los angles
abrasion test ไมเกิน 40%
• ไมทําปฏิกิริยาเคมีกับปูน
• รูปรางกลม ผิวหยาบ : ยาวแบนไมดีเพราะใชน้ําผสมมาก (ควรมีไมเกิน 15%)
• การดูดซึมความชื้นที่ผิว: โดยมีความชื้นแทรกระหวางชองวาง
โดยมวลรวมแบงออกเปน 2 ชนิดคือ
• ชนิดหยาบ : หิน หรือ กรวด คละกัน โดยมีขนาดเม็ดไมเกิน 2 นิ้ว
• ชนิดละเอียด : ทราย หรือวัสดุละเอียดอื่นๆ มีขนาดไมเกิน 0.25 นิ้ว
ทั้งนี้มวลรวมควรคละกัน ยิง่ เรียงตัวดี คอนกรีตยิง่ แข็งแรง มีความสะอาดสูง ไมมีเปลือกหอย ดิน ฝุน
อื่นๆ มีขนาดคละกัน มีการเรียงตัวแนน จะทําใหใชซีเมนตนอยลง ประหยัด ตัวอยางมวลรวมสําหรับ
งานคอนกรีตแสดงดังรูปที่ 13.14
ทรายที่มีความละเอียดจําเปนตองใชน้ํามากเพือ่ ใหไดความสามารถเทไดเทากัน เนื่องจาก
305

พื้นที่ผิวสัมผัสมากกวา เมื่อน้ําหนักเทากันถาทรายมีความหยาบมากเกินไป ก็จะทําใหความสามารถใน


การแทรกประสานเขาไปในชองระหวางมวลรวมหยาบไมดีพอ ตองใชปริมาณเพสตเพื่อเขาไปแทนที่
ชองวางมากขึ้นอันทําใหคอนกรีตที่ ไดมีราคาสูงขึ้นดวย นอกจากนี้ขนาดของทรายยังมีผลตอการพอง
ตัวของคอนกรีต โดยทรายหยาบจะพองตัวที่ 18% ทรายปานกลางพองตัวที่ 29% และทรายละเอียด
จะพองตัวที่ 38% ถาทรายชื้นจําเปนตองเพิม่ ทรายมากกวาปกติ 25%

รูปที่ 13.14 มวลรวมสําหรับงานคอนกรีต


 น้ําสําหรับผสมคอนกรีต
น้ําสําหรับงานคอนกรีตใชผสมในการทําคอนกรีต ใชบมคอนกรีตใหมีกําลังเพิ่มขึ้นและใชลาง
มวลรวมที่สกปรก กอใหเกิดปฏิกิริยาไฮเดรชั่นกับปูนซีเมนต ทําหนาที่หลอลื่นเพื่อใหคอนกรีตอยูใน
สภาพเหลวสามารถเทได เคลือบหิน ทราย ใหเปยก เพื่อใหซีเมนตเพสตสามารถเขาเกาะไดโดยรอบ
โดยสมบัติของน้ําสําหรับงานคอนกรีตตองมีความสะอาด เชน น้ําประปา เพราะจะมีผลตอคุณภาพ
ของซีเมนตเพสต โดยน้ําหนาที่ทําปฏิกิริยากับปูนซีเมนตเรียกวาปฏิกิริยาไฮเดรชั่น ซึ่งปฏิกิริยานี้จะ
ทําตอเนื่องไปประมาณ 28 วัน ปริมาณน้ําที่ใชในปฏิกิริยาไฮเดรชั่น ปูนซีเมนต 100 กก. จะใชน้ําอย
าง นอยโดยประมาณ 24 ลิตร ในการทําปฏิกิริยาไฮเดรชั่น หรือ น้ํา : ซีเมนต เทากับ 0.24 น้ําสวน
เกินเพื่อใหคอนกรีตมีความเหลวพอที่จะเทลงแบบได ตองใชน้ํามากขึ้นโดยทั่วไป โดยจะใชน้ํา
ประมาณ 48 – 80 ลิตรตอปูนซีเมนต 100 กก. การผสมคอนกรีตยิ่งใชน้ํานอยคอนกรีตก็จะมีคุณภาพ
ดี ถาใชน้ํามากกําลังจะตกความแข็งแรงจะลดลง ขอกําหนดของน้ําผสมคอนกรีตมีดังนี้คือ
 ความเปนกรด-ดาง(PH VALUE) ประมาณ 6-8
 ปริมาณของแข็ง(TOTAL SOLIDS) ไมเกิน 2000 ppm
 ปริมาณซัลเฟต(SULFATE , SO4) ไมเกิน 1000 ppm
 ปริมาณคลอไรด(CHLORIDE ,Cl) ไมเกิน 500 ppm
306

ขั้นตอนการผสมคอนกรีตแสดงดังรูปที่ 13.15 โดยเริ่มตนจากการใสมวลรวม ปูนซีเมนตและ


น้ํา ทําการกวนใหเขากันแลวโหลดลงรถโม จากนั้นนําไปเท การเทคอนกรีตที่ดี คือ การเทเพื่อใหได
คอนกรีตที่มสี วนผสมสมาเสมอ ไมมีการแยกตัวและไมเกิดรูพรุน ไมควรเทคอนกรีตใหกระทบโดยตรง
กับเหล็กเสริมหรือขางแบบ ควรเทคอนกรีตลงมาตรงๆ และไมควรใหคอนกรีตไหลไปในแนวราบเป
นระยะทางไกล ยกเวนในกรณีของคอนกรีตไหลซึง่ ถูกออกแบบโดยมีการควบคุมการแยกตัว ถาพบว
ามีการแยกตัวของคอนกรีตหลังเริ่มการเทคอนกรีตจะตองมีการแกไขทันที ในกรณีที่แบงเทคอนกรีตต
อเนื่องกันเปนชั้นๆ คอนกรีตที่เทใหมในชั้นบนควรเททับ กอนที่คอนกรีตชั้นลางจะเริม่ กอตัว ในกรณีที่
แบบมีความสู งมาก ไมควรเทคอนกรีตโดยปล อยใหคอนกรี ตกอิสระจากสวนบนที่สุดของแบบ แต
ควรใชวิธีการใดๆ เชน สายพาน รางเท (Chute) ถัง หรือตอทอเพื่อใหระยะตกอิสระของคอนกรีตไม
เกิน 1.5 เมตร

รูปที่ 13.15 ขั้นตอนการเทคอนกรีต


 การบมคอนกรีต (Concrete Curing)
เมื่อทําการเทคอนกรีตเสร็จแลวตองทําการบมคอนกรีตเพื่อใหเกิดปฏิกิริยาไฮเดรชันตอเนื่อง
คอนกรีตจําเปนตองไดรับการบมทันทีหลังจากเสร็จสิ้นการเทและควรบมตอไปจนกระทั่งคอนกรีตมี
กําลังตามตองการ หลักการทั่วไปของการบมที่ดีจะตองสามารถปองกันคอนกรีตไมใหเกิดการสูญเสีย
ความชื้นไมวาจะดวยความรอนหรือลม ไมใหคอนกรีตรอนหรือเย็นมากเกินไป ไมใหสัมผัสกับสารเคมี
ที่จะเปนอันตรายตอคอนกรีต และไมถูกชะลางโดยน้ําฝนหลังจากเท คอนกรีตเสร็จใหมๆ เปนตน
ในกรณีทั่วไปคอนกรีตตองไดรับการปองกันจากการสูญเสียความชื้นจากแสงแดดและลม
หลังจากเสร็จ สิ้นการเทจนกระทั่งคอนกรีตเริ่ม แข็ง แรง และหลัง จากที่คอนกรีตเริ่ม แข็ง แรงแลว
ผิวหนาของคอนกรีตที่สัมผัสกับบรรยากาศยังตองคงความเปยกชื้นอยู ซึ่งอาจทําไดดวยการปกคลุม
ดวยกระสอบเปยกน้ํา ผาเปยกน้ําหรือฉีด น้ําใหชุม เปนตน ซึ่งเรียกวาการบมเปยกหรือบม เย็น
307

คอนกรีตที่ใชปูนซีเมนตปอรตแลนดประเภทที่ 1 ควรบมเปยกติดตอกันอยางนอย 7 วัน สวนคอนกรีต


ที่ใชปูนซีเมนตปอรตแลนดประเภทที่ 3 ควรบมอยางนอย 3 วัน ในกรณีของคอนกรีตที่มีวัสดุปอซโซ
ลานผสมควรบมมากกวา 7 วัน ทั้งนี้ขึ้นอยูกับชนิดและปริมาณของวัสดุปอซโซลานที่ใชคอนกรีต ที่ไม
ไดรับการบมอยางถูกตองจะไมมีการพัฒนากําลังเทาที่ควรเนื่อ งจากปฏิกิริยาไฮเดรชั่นตองการน้ํา
นอกจากนั้นการสูญเสียความชื้นจากผิวหนาของคอนกรีตทีไ่ มไดรับการบมจะทําใหเกิดการแตกราวได
กรณีใชกระสอบหรือผาในการบมคอนกรีต กระสอบหรือผาที่ใชควรเปนวัสดุที่มีความหนาพอสมควร
เพื่อไมใหแหงเร็วเกินไป และตองรดน้ําใหเปยกชุมอยูตลอดเวลาการบมดวย นอกจากนี้ยังมีการบมอีก
วิธีหนึ่งคือบมรอน ทําใหโครงสรางรอนทั้งโครงสราง โดยโครงสรางทั่วไปใชแผนพลาสติกหุมกันความ
รอนออก สวนโครงสรางพื้น ใชแผนโฟมปดคลุมกันความรอนออก รูปที่ 13.16 แสดงการเพิ่มขึ้นของ
กําลังของคอนกรีตเมื่อผานการบมที่ระยะเวลาตางกัน
ในงานบางประเภท เชน การผลิตชิ้นสวนคอนกรีตสําเร็จรูป อาจมีความจําเปนตองใชการ
บมแบบเรงกําลังเชน บมไอน้ําหรือบมไอนําความดันสูง เปนตน การบมแบบเรงกําลังนั้นควรคํานึงถึง
ระยะเวลาที่จะเริ่มบม อัตราการเรงอุณหภูมิ อุณหภูมิสูงสุดของการบม ระยะเวลาการคงอุณหภูมิ
สูงสุดไว อัตราการลดอุณหภูมิ เปนตน ปจจัยเหลานี้ควรไดมาจากผลการทดสอบหรือประสบการณ
เพื่อปองกันไมใหเกิดผลเสียตอคอนกรีตที่บม การบมแบบเรงกําลังนี้ตองใหคอนกรีตมีกําลังไมนอยกวา
กําลังที่ออกแบบไว และตองไมมีผลเสียตอความคงทนของคอนกรีตดวย

รูปที่ 13.16 ความแข็งแรงของคอนกรีตเมื่อบมทีร่ ะยะเวลาตางกัน


308

13.8.2 แอสฟลท (Asphalt)


แอสฟลท (Asphalt) หรือที่เรียกกันทั่วไปในชื่อ“ยางมะตอย” เปนวัสดุประสานชนิดหนึ่ง มี
ลักษณะยืดหยุนทนทางและปองกันน้ําซึมซึ่งนํามาใชประโยชนในหลายๆดาน รวมทั้งนํามาใชเปนวัสดุ
ในการกอสรางอาคารบานเรือนหรือถังเก็บน้ําตั้งแตสมัยโบราณ เนื่องจากมีสมบัติการยึดเกาที่ดีดังรูป
ที่ 13.17

รูปที่ 13.17 การยึดเกาะของยางมะตอยกับมวลรวม

แอสฟลทเ กิดขึ้นตามธรรมชาติในหลายๆแหง ของโลกและที่นํามาใชอยางแพรห ลายใน


ปจจุบันเกือบทั้งหมดทั้งเปนแอสฟลทซึ่งเปนผลที่ไดจากการกลั่นน้ํามันดิบ คุณสมบัติที่สําคัญของ
แอสฟลทในเชิงการนํามาใชเปนวัสดุกอสรางสามารถสรุปไดดังนี้
• คุณสมบัติในการยืดและประสาน(Cementing)
• คุณสมบัติในการปองกันน้ําซึ ม (Water Proofing)
• คุณสมบัติทเี่ ปลี่ยนเปนของเหลว หรือออนตัวเมื่อไดรับความรอน และแข็งตั วเมื่อเย็นลง
(Thermoplastic)
คุณสมบัติทั้ง 3 ดังกลาวทําใหแอสฟลทได ถูกนํามาใชในงานตางๆ ทั้งงานทางดานวิศวกรรม และใน
อุตสาหกรรมหลายอยาง เชน
• ใชเปนตัวประสานเพื่อเกาะยึดวัสดุตางๆ เชน หินยอย และกรวด เปนตน เขาดวยกันเพื่อให
ไดสวนผสมสําหรับใชในการทําผิวทางจราจร
• ใชสําหรับดาดคลองชลประทาน อางเก็บน้ํา สระน้ํา ผิวหนาของเขื่อนดิน เพื่อปองกันน้ําซึม
และปองกันการกัดกรอนของผิวดิน
• ใชเปนวัสดุในวงการอุตสาหกรรมตางๆ เชน ทําสีกันสนิม ทํากระดาษปองกันความชื้น ผสมกับ
ทรายทําอิฐสําหรับงานกอสราง ทํากระเบื้องลูกฟูกสําหรับมุงหลังคา ตลอดจนใชเปนวัสดุสวนผสมใน
การผลิตยางรถยนต เปนตน
แอสฟลทมีองคประกอบทางเคมีคือมีคารบอน 80-86% ไฮโดรเจน 9-10% ออกซิเจน 2-8%
กํามะถัน 0.5-7% มีไนโตรเจนเล็กนอย และอื่น ๆ ไดแก โลหะเล็กนอยมาก สารที่เปนองค ประกอบ
ของยางมะตอยแตคอนขางจะแตกตางกันอยางมากและซับซอน ซึ่งจะมีพอลิเมอรตั้งแตมวลโมเลกุล
าถึ
ต งมวลโมเลกุลสูง และผลิตภัณฑจากการควบแน น(condensation products) จะประกอบดวย
309

ไฮโดรคารบอนที่เปนโซยาว ทีเ่ ปนวงแหวนและที่มีวงแหวนตอกันยางมะตอยที่นับวาสําคัญคือ ใชเป


นตัวยึดติดกับหินยอย (aggregate) เปนยางมะตอยผสม (asphalt mix) ใชสําหรับลาดถนน สถาบัน
ยางมะตอยในสหรัฐอเมริกาไดออกแบบของผสมที่จะใชสําหรับลาดถนนและใหชื่อวาของผสม 8 โดย
ใชของที่จะผสมกับยางมะตอยที่เปนหินยอยมีขนาดเบอร 8 โดยจะตองผานการรอนผานตะแกรงเบอร
8 เชน ยางมะตอยผสมชนิดที่ 4 (type IV asphalt mix) สําหรับลาดถนน มีองคประกอบของยางมะ
ตอย 3.0-7.0% ผสมกับหินยอยที่ผานแรงเบอร 8 จํานวน 35-50% เปนตน
• แอสฟลทตามธรรมชาติ(Native Asphalt)ซึ่งเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติในลักษณะเป
นบึง เนื่องจากน้ํามันดิบตามธรรมชาติใตผิวโลกขึ้นมายังผิวโลก และถูกกระทําภายใตสภาวะแวดลอม
ตามธรรมชาติ เชน ความรอนจากแสงอาทิตยและลม ยังผลใหสวนประกอบที่เปนกาซ หรือน้ํามันที่
ระเหยงาย แยกตัวออกไปยังผลใหเหลือเปนแอสฟลท ซึ่งเปนวัสดุที่หนักกวาไวบนพื้นผิวดิน ตัวอยาง
ของแอสฟสทที่เกิดตามธรรมชาติ เชน ทะเลสาบแอสฟลท (Lake Asphalts) เปนแอสฟลทที่ พบตาม
ธรรมชาติอยูในลักษณะเปนบึงคลายทะเลสาป ซึ่งอาจมีเฉพาะแอสฟลทเทานั้น หรืออาจมีน้ําผสมอยูก็
ได
• หินแอสฟลท (Rock Ashalts) ไดแก พวกหินปูนที่มีแอสฟลทซึมอยูอิ่มตัว กลาวคือ
แอสฟลทจะแทรกอยูเต็มไปหมดตามชองวาง ซึ่งอาจมีปริมาณมากถึง 20% หินแอสฟลทนี้พบอยู 
ทั่วไปในตางประเทศ สําหรับในประเทศไทยไมมีรายงาน
• แอสฟล ทธรรมชาติอื่นๆ นอกจากทะเลยสาปแอสฟลทและหินแอสพัลทแลว ยัง มี
แอสฟลทธรรมชาติที่พบอยูทั่วไปตั้งแต เปนบึงเล็กๆหรือแทรกอยูเปนชั้นๆระหวางชั้นของหิน ซึ่งใน
บางแหงจะมีปริมาณแอสฟลทที่คอนขางสูงเรียกวา กิลโซไนท (Gilsonite) มีคุณสมบัติที่แข็งและ
เปราะ หรือที่เรียกกันทั่วไปวาแอสฟลทไตท (Asphaltities) ซึ่งหมายถึงแอสฟลทที่มีจุดหลอมเหลวที่
สูง
• แอสฟลทที่ไดจากการผลิตเปนแอสฟลทที่ไดจากสวนที่เหลือจากการกลั่นน้ํามันดิบ
(Crude Oil) หลังจากการกลั่นเอาน้ํามันเชื้อเพลิงและน้ํามันหลอลื่น น้ํามันดิบตามธรรมชาติที่ไดมา
จากแหลง ตางๆทั่วโลก จะมีลักษณะและสวนประกอบแตกตางกัน ซึ่งสามารถแยกตามสวนประกอบ
หลักของน้ํามันดิบออกไปเปน 4 ประเภทคือ
1. น้ํามันดิบประเภทสวนประกอบหลักเปนพาราฟน(Parafin Base Crude) น้ํามันดิบ
ประเภทนี้ภายหลังจากการแยกเอาน้ํามันประเภทตางๆ เชน น้ํามันเบนซิน น้ํามันกาด
น้ํามันดีเซล น้ํามันหลอลื่น หรือน้ํามันเตาออกแล ว สวนที่เหลือจากการกลั่นจะเปนพา
ราฟน
2. น้ํามันดิบประเภทสวนประกอบหลักเปนแอสฟลท(Asphalt Base Crude) คือน้ํามันดิบ
ซึ่งสวนที่เหลือสวนใหญ จากการกลั่นเอาน้ํามันประเภทตางๆ ออกแลวจะเปนแอสฟลท
3. น้ํามันดิบประเภทสวนประกอบหลักเปนแอสฟลท(Asphalt Base Crude) คือน้ํามันดิบ
ซึ่งสวนที่เหลือสวนใหญ จากการกลั่นเอาน้ํามันประเภทตางๆ ออกแลวจะเปนแอสฟลท
310

4. น้ํามันดิบแบบผสม (Mixed Base Crude) ไดแกน้ํามันดิบซึ่งภายหลังจากการแยกเอา


พวกน้ํามัน ตางๆ ออกแลว สวนที่เหลือจะมีทั้งพาราฟนและแอสฟลท ในอุตสาหกรรม
การผลิตแอสฟลททั่วไป จะใชน้ํามันดิบประเภทAsphalt Base Crude ทั้งนี้เพราะสวน
ที่เหลือจากการกลั่นสวนใหญจะไดเปนแอสฟลท
13.8.3 ไม (wood)
ในปจจุบันถึงแมวาจะมีการคิดวัสดุอื่นขึ้นมาหลายชนิดเพื่อใช แทนไม แตไมก็ยังอยูในความ
นิยมโดยทั่วไป เพราะวาไมเปนวัสดุธรรมชาติ ซื้อหาไดงายการกอสรางก็ทําไดงายโดยไมตองการ
เครื่องมือพิเศษ ในสมัยกอนไมไดถูกใชอยางฟุมเฟอย เมื่อการผุพังเสียหายก็รื้อทิ้งแลวเปลี่ยนใหม แต
ในปจจุบันมีวิท ยาการกาวหนา ประกอบกับ ปาสวนมากถูกโคนทําลาย การใชไมอยางประหยัดจึง
จําเปนเพราะไมไมเพียงแตจะใชในการกอสรางอาคารไมเทานั้น ยังสามารถนํามาทํา เครื่องตกแตง
เครื่องเรือน เครื่องประดับและเครื่องใชตางๆ ประจําบานไดอีกดวย นอกจากนี้ในการกอสรางอาคาร
คอนกรีตเสริมเหล็ก ก็ยังตองใชไมเปนสวนประกอบที่สําคัญ เชน ไมแบบค้ํายัน และนั่งราน เปนตน
• ลักษณะโครงสรางของไม (The Structure of Wood)
เนื่องจากไมเปนวัสดุกอสรางที่มีลักษณะโครงสรางและคุณสมบัติเกี่ยวของกับเซลลหรือเยือ่ ไม
ที่ทําหนาที่ในการเจริญเติบโตของตนไมดังรูปที่ 13.18 ซึ่งเปนโครงสรางโมเลกุลของเซลลคือ C6H10O5
โครงสรางของเซลลแบงออกไดเปน 3 ประเภท คือ
1. ทอลําเลียงซึ่งทําหนาที่ลําเลียงน้ําแรธาตุเพื่อปรุงอาหาร โดยมากเปนรูพรุน ถารูพรุนโตก็มี
เนื้อหยาบ ถาเล็กจะมีเนื้อที่ละเอียด
2. ท อ สะสมซึ่ ง ทํ า หน า ที่ ส ะสมอาหารเพื่ อ ใช ใ นการเจริ ญ เติ บ โต มี ผ นั ง บางเรี ย กว า
Parenchyma Cell
3. สวนที่ทําใหแข็ง เปน cell ซึ่งสรางความแข็งแรงใหแกตนไม ได แกพวกไฟเบอรมีลักษณะ
ยาว แคบ อาจมีผนัง cell หนาหรือบางก็ได

รูปที่ 13.18 โครงสรางโมเลกุลของเซลลไม (a) เนื้อออน (b) เนื้อแข็ง


311

ลําตนของตนไมประกอบดวย
1. ไสไม (Pitch) มักจะอยูบริเวณกลางลําตน สําหรับไมปกติธรรมดาใหกําลังของเนื้อไมต่ํา
เกิดขึ้นพรอม ๆกับความเจริญเติบโตของตนไม
2. ไมแกน (Heart wood) เปนที่อยูตอจากไสไมออกมา สวนนี้เปนสวนของcell ที่ไมทํางาน
ในการลําเลียงอาหารแลว มีสีเขม ทําหนาที่เปนโครงของลําตน มีกําลังของเนื้อไมสูงกวาสวนแรก
3. กะพี้ไม (Sapwood) อยูตอจากไมแกนออกมา มีสีออนกวา เปนสวนที่ตนไมใชลําเลียง
อาหารที่รากดูดขึ้นมาจากดินสงตอไปยังใบเพื่อปรุงอาหาร
4. เยื่อเจริญ(Cambium Layer) เปนชั้นบาง ๆ ถัดจากกะพี้ไมออกมา เปนสวนที่สราง cell
ในเนื้อไม และเปลือกไมขึ้นมา
5. เปลือกชั้นใน(Inner bark) อยูติดกับเยื่อเจริญมาจากดานนอก มีลักษณะออน เปยกชื้ น เป
นสวนที่สงอาหารที่ปรุงแลวจากใบไปเลี้ยงสวนตางๆ ของลําตนใหเจริญเติบโต
6. เปลือกชั้นนอก (Outer bark) ประกอบดวยเยื่อไมที่แหงแลว ทําหนาที่หุมหอลําตน ปอง
กันการระเหยของน้ําในลําตน
7. วงรอบปหรือวงประจําป (Annual rings) เปนวงแสดงการเจริญเติบโตของไมในรอบ1 ป มี
ลักษณะเปนวงรอบ ๆ ไสไมวงรอบนี้อาจมีลักษณะถี่หรือหางก็ไดตามชนิด และความอุดมสมบูรณของ
พื้นที่ นั้น ๆ ในทางปาไมใชนับวงรอบปนี้ในการบอกอายุของไมได สวนประกอบของโครงสรางไม
แสดงดังรูปที่ 13.19

รูปที่ 13.19 สวนประกอบของโครงสรางไม


312

ความชื้นของไมมีผลตอความแข็งแรงของไมดังรูปที่ 13.20 โดยพบวาความแข็งแรงตอการอัด


จะลดลงเมื่อความชื้นของไมเพิ่ม ขึ้นถึง 30% จากนั้นจะคงที่ โดยความชื้นของไมหาไดจากสมการ
ตอไปนี้

นอกจากนี้ยัง พบวาความแข็งแรงของไมจ ะขึ้นกับทิศทางการเรียงตัวของเซลล โดยการรับ แรงใน


แนวขนานกับเซลลจะรับแรงไดสูงสุดดังตารางที่ 13.4

รูปที่ 13.20 ผลของความชื้นตอความแข็งแรงการอัดของไม

ตารางที่ 13.4 สมบัติทางกลของไมบางชนิด


313

• ผลิตภัณฑที่ทาํ จากไม
• ไมอดั และไมประสาน
ไมอัด (plywood) หมายถึงแผนไมที่ประกอบดวยไมบางมีจํานวนชั้นเปนเลขคี่ คือ 3, 5, 7,
ฯลฯ ทากาวแลวอัดติดเขาดวยกัน โดยใหทิศทางของเสี้ยนไม ของชิ้นขางเคียงสลับเปนมุมฉากตอกัน
การอัดอาจอัดใหหนาบางเทาใดก็ได โดยการเพิ่มจํานวนชั้น หรือความหนาของไมบางซึ่งอาจปอกให
หนาแตกตางกันไดตั้งแต 1 มม. ถึง 5 มม. ทั้งนี้ขึ้นกับการใชในงาน ไมอัดตามปกติมีขนาดมาตรฐาน
4 x 8 ฟุต หรือ(1.20 x 2.40 ม.) ไมที่ใชในการอัดอาจตางชนิดกันก็ได ความทนทานขึ้นอยูกับกาวที่
ใชและลักษณะงาน เชน
• ไมอัดภายใน ใชกาวทนน้ําพอควร ได แก พวกยูเรียฟอร มัลดีไฮด
• ไมอัดภายนอก ใชกาวทนน้ําไดเต็มที่ ไดแก พวกฟนวลฟอรมัลดีไฮด และรีซอลซีนวล ฟอมัล
ดีไฮด
ไมประสาน (Laminated wood) ตางกับไมอัดที่จํานวนชั้นคือ จะเปนเทาใดก็ไดและวางให
เสี้ยนของแตละแผนขนานกัน การอัดตองใชแรงอัดสูงเปนพิเศษ ดังนั้นไมที่ได ก็จะมีความแนนสูง ใช
ในงานเฉพาะอยาง เชนทําเปนสวนประกอบของเครื่องจักรกล คานตงขนาดใหญ ไมพื้น โดยสามารถ
ทําใหโคงเปนรูปอยางไรก็ได กาวที่ใชโดยมากเปนกาวที่แข็งตัวในอุณหภูมิต่ําไดแก รีซอส ซีนอลฟอมัล
ดีไฮด
ไมอัดพิเศษ (Special Plywood) ทําเหมือนไมอัดธรรมดาทุกอยาง ตางกันแควาทิศทางของ
เสี้ยนในแตละชั้นไมเปนมุมฉากหรือขนานกัน ใชในงานพิเศษบางอยางเทานั้น เชนในการทําถังกลม
เปนตน ไมชนิดนี้ตามปกติไมมีการผลิต เพราะนอกจากจะยุงยากและเสียหายในการผลิตแลวคุณภาพ
ของไมที่ไดอาจกลับมีคุณภาพดอยกวาดวย
• ไมประกอบ(Composite wood)
ไมชนิดนี้จะแบงออกไดเปน 3 ประเภท คือ
1. Fibre Board พวกนี้ทําจากชิ้นไมซึ่งตมและบดจน cell ไมแยกออกมาเปนอิสระเสียกอน
กรรมวิธีแยกออกเปน 2 อยาง คือ วิธีเปยกและวิธีแหง โดยวิธีแหงตองมีกาวเปนสวนผสม แตในวิธีเป
ยก ไยไมจะจับยึดกันเองเหมือนการทํากระดาษ แผนไยไม อัดนี้อาจทําใหมีความแข็งออนแตกตาง
กันได คือ พวก Hard Board แข็งที่สุด อัดแหง อัดเปยกก็ได ถาอัดแหงจะใชปริมาณความชื้น12%
ถาอัดเปยกจะใชปริมาณความชื้น50% หรืออัดปานกลางจะใชปริมาณความชื้น 17-50% สวนกลุม
Soft Board จะออนที่สุด ใชทําเปนเครื่องเก็บเสียงหรือฉนวนกันความรอน บางทีเรียกวา Insulation
Board
2. Particle Board ชนิดนี้ แผ นชิ้นไมอัดนั้น ไมยังมีสภาพเปนชิ้น ๆ อยู ถ าชิ้นไมที่ใชมี
ความยาวมาก เรียกวาเซิฟวิงบอรด ถาชิน้ ไมที่ใชมีขนาดเล็กลงและยาวสม่ําเสมอกวาพวกแรกเรียกวา
ชิพบอรด ผลิตภัณฑประเภทนี้ตองใชกาวเปนวัสดุประสานทั้งสิ้น
314

3. Wool-Wool-Board ทําจากไมที่ไสเปนเสนยาวๆ คลุกปูนซีเมนตเหมือนงานคอนกรีตแลว


อัดเปนแผนๆ เมื่อปูนซีเมนตแข็งตัวก็เปนแผนแข็ง ในประเทศไทยเรามีผูผลิตจําหนายเรียกวา“เซล
โลกรีต” มีคุณสมบัติในการเปนสื่อความรอน เก็บเสียงไดดี สามารถตบแตง โดยใชกับงานปูนไดดี

คําถามทายบท
1. จงอธิบายความหมายและองคประกอบหลักของวัสดุผสม
2.จงระบุชนิดของวัสดุผสม
3. จงอธิบายความแตกตางของกลไกการยึดเกาะระหวางการเสริมแรงโดยใชผงอนุภาคขนาดใหญและ
ขนาดเล็ก
4. วัสดุผสมชนิดหนึ่งทําจากโลหะ W-Cu ในอัตราสวนของ W:Cu = 70% : 30% ถากําหนดให Cu มี
คามอดูลัสเทากับ 110 GPa และ W มีคามอดูลัสเทากับ 407 GPa จงหาคามอดูลสั ของวัสดุผสมนี้
5. จงเปรียบเทียบความแข็งแรงของวัสดุผสมที่เสริมแรงดวยเสนใยสั้นและเสนใยยาว
6. ในโลหะผสมประเภทพื้นพอลิเมอร จงบอกหนาที่ของพอลิเมอรในวัสดุผสมนี้
7. ความแข็งแรงของรอยตอระหวางเนือ้ พื้นกับตัวเสริมแรงมีผลอยางไรตอสมบัติของวัสดุผสม
8. การเรียงตัวของเสนใยมีผลอยางไรตอความแข็งแรงวัสดุผสม
9. ทําไมเสนใยแกวจึงนิยมนํามาใชเปนตัวเสริมแรงในวัสดุผสม
10. จงเปรียบเทียบสมบัติทางกลของเสนใยคารบอนและเสนใยแกว
11. จงยกตัวอยางอุปกรณกีฬาทีท่ ําจากวัสดุผสม พรอมระบุเหตุผลในการเลือกใช
12. แอสฟลตคอื อะไร เกิดขึ้นมาไดอยางไร และนําไปใชประโยชนอยางไร
13. แอสฟลตมปี่ ระเภท อะไรบาง และแตละประเภทมีแหลงที่มาอยางไร
14. จงอธิบายโครงสรางโมเลกุลของไม
15. จงอธิบายโครงสรางของไม
16. ความชื้นมีผลอยางไรตอความแข็งแรงของไม
315

บทที่ 14
การกัดกรอนและการเสื่อมสภาพของวัสดุ

เมื่อวัสดุถูกใชงานเปนระยะเวลายาวนานยอมมีการเสื่อมสภาพไปตามกาลเวลา กลไกการ
เสื่อมสภาพของวัสดุหลักทั้ง 3 ประเภทจะแตกตางกัน เชน โลหะจะเปนการละลายหรือกัดกรอน การ
เกิดสนิมหรือสเกล เซรามิคที่อุรหภูมิปกติจะทนตอการเสื่อมสภาพไดดีมาก แตที่อุณหภูมิสูงจะเกิดการ
กัดกรอน สวนโพลิเมอรมักจะเกิดการเสื่อมสภาพเมื่อโดนแสงแดดหรือสิ่งแวดลอมบางอยาง ในบทนี้
จะวาดวยเรื่องการกัดกรอนของโลหะเนื่องจากมีความสําคัญมาก

14.1 การกัดกรอนของโลหะ
การกัดกรอนในที่นี้หมายถึงการทําลายโลหะใหเสียหายแบบไมพึงประสงค เกิดจากปฏิกิริยา
ทางไฟฟาเคมี และสงผลเสียหายอยางมากในทางอุตสาหกรรม โดยรายละเอียดดังตอไปนี้
กระบวนการทางไฟฟาเคมีคือ เปนการถายเทอีเล็คตรอนจากสารหนึ่งไปหาอีกสารหนึ่ง
เกิดขึ้นเนื่องจากมีความแตกตางของศักยไฟฟา โดยโลหะที่เสียอีเล็คตรอนไปเรียกวา เกิดปฏิกิริยา
ออกซิเดชัน คือ
M  M n   ne 
เมื่อ n คือจํานวนอีเล็คตรอนวงนอก ตัวอยาง เชน
Fe  Fe 2  2e 
ในที่นี้เราจะเรียกโลหะที่มีการเสียอีเล็คตรอนนี้วาขั้วแอโนด สวนอีเล็คตรอนที่หลุดออกมา
นั้นจะวิ่งไปหาสารที่มีคาศักยไฟฟาสูงกวา โดยสารนั้นจะรับเอาอีเล็คตรอนเขาไปเกิดเปนสารใหม
เกิดขึ้นเรียกวาเกิดปฏิกิริยารีดัก ชัน ตัวอยางคือ เหล็กจากสมการขางบนละลายในกรด กรดจะมี
ไอออนของไฮโดรเจน H+ อยู เมื่อรวมกับอีเล็คตรอน 2 ตัวที่ไดจากเหล็กจะเกิดเปน
2 H   2e   H 2
แตถาในกรดนั้นออกวิเจนอยูดวย ออกซิเจนก็จรวมกับ H+ และอีเล็คตรอนที่มาจากเหล็กเกิดเปน
O2  H   2 e   2 H 2 O
แตถาสารละลายเปนกลางหรือดาง ไมมี H+ แตจะมีออกซิเจน จะพบวา
O2  2 H 2O  4e   4OH 
ดัง นั้นตําแหนง ที่รับ อีเ ล็คตรอนเราเรียกวา เปนขั้วแคโทด อยาลืม วาปฏิกิริยาจะเกิดขึ้นไดตองมี
ตัวกลางที่อีเ ล็คตรอนสามารถผานไปมาไดห รือที่เ รียกวา สารละลายอีเล็คโตรไลท ตัวอยางการกัด
กรอนของสังกะสีดังรูปที่ 14.1
316

รูปที่ 14.1 ปฏิกิริยาไฟฟาเคมีของสังกะสีในสารละลายกรด

14.2 ศักยไฟฟาของขั้วไฟฟา
ดังที่ไดเกริ่นไวขางตนแลววา ถามีบริเวณที่มีศักยไฟฟาตางกันเกิดขึ้นแลวก็ ยอมมีแนวโนมที่
โลหะจะเสียอีเล็กตรอนเกิดขึ้น แตอยางไรก็ตามโลหะแตละประเภทมีความยากงายในการเสียอีเล็กต
รอนไดไมเทากัน หรือมีศักยไฟฟาของแตละขั้วไมเทากัน ดังนั้นเพื่อที่จะหาวาโลหะใดจะเสียอีเล็ ก
ตรอนไดยากหรืองายกวากันจะใชการหาคามาตรฐานในการเทียบ ซึ่งก็คือการใชอนุกรมศักยไฟฟา
มาตรฐาน โดยใชเซลลไฟฟาอางอิงคือ ขั้วไฟฟาของไฮโดรเจนมาตรฐานดังรูปที่ 14.2 ประกอบดวย
ขั้วโลหะ Pt จุมในสารละลายที่มีไอออนของไฮโดรเจนเขมขน 1 M และอิ่มตัวดวยแกสไฮโดรเจน ที่
ความดันปกติและอุณหภูมิหอง โดยขั้ว Pt จะไมมีสวนเกี่ยวของใดๆกับปฏิกิริยาเคมี เพียงแตมีหนาที่
ใหสารที่เกิดขึ้นมาเกาะเทานั้น โดยกําหนดใหขั้วนี้มีศักยไฟฟาเปนศูนย

รูปที่ 14.2 ครึ่งเซลไฮโดรเจนมาตรฐาน


317

หลังจากนั้นนําโลหะที่ตองการทราบศักยไฟฟามาตอเขากับขั้วมาตรฐานของไฮโดรเจนนี้ดังรูปที่ 14.3
แลววัดคาศักยไฟฟาออกมาวามีคามากกวาหรือนอยกวาขั้วมาตรฐานนี้เทาใด ตารางที่ 14.1 แสดงผล
การทดลองที่ไดในการทดลองกับโลหะหลายประเภท เรียกวา อนุกรมศักยไฟฟามาตรฐาน

รูปที่ 14.3 การวัดคาศักยไฟฟามาตรฐานของโลหะ

ตารางที่ 14.1 อนุกรมศักยไฟฟามาตรฐาน


318

ตัวอยางการใชงานขอมูลที่ไดจากตารางที่ 14.1 ไดแก ระบบที่มีเหล็กและทองแดงอยูดวยกันจะพบวา


เหล็กจะถูกกัดกรอนดังรูปที่ 14.4 เนื่องจากศักยไฟฟามาตรฐานของทองแดงตามตารางที่ 14.1 สูง
กวาเหล็ก ดังนั้นอีเล็คตรอนจึงวิ่งจากเหล็กไปหาทองแดง (อีเล็คตรอนจะวิ่งจากศักยไฟฟาต่ําไปหา
ศักยไฟฟาที่สูงกวา) และถานําเหล็กไปตอกับสังกะสีดังรูปที่ 14.5 จะพบวาสังกะสีจะถูกกัดกรอน ดวย
เหตุผลเดียวกัน

รูปที 14.4 แสดงเซลลไฟฟามีของทองแดงและเหล็ก

รูปที 14.5 แสดงเซลลไฟฟามีของสังกะสีและเหล็ก


319

ในทางปฏิบัติจริงๆแลวนั้นตารางที่ 14.1 จะใชไมไดเพราะสรางมาจากสภาวะในอุดมคติ แต


พอที่จะบอกแนวโนมการกัดกรอนได ดังนั้นจึงมีการสรางอนุกรมกัลปวานิกขึ้นเพื่อใชงานไดจริงตาม
ตารางที่ 14.2 ซึ่งเปนสภาวะใชงานจริงในน้ําทะเล โดนโละที่อยูดานบนสุดตารางจะเฉื่อยมีความเปน
คาโทดิกสูง สวนตัวที่อยูลางจะกัดกรอนเร็วมากเพราะมีความเปนแอนดิกสูง

ตาราง 14.2 อนุกรมกัลวานิกในน้ําทะเล

14.3 รูปแบบการกัดกรอน
1. การกัดกรอนแบบสม่ําเสมอ เปนผลจากมีอัตราการกัดกรอนเกิดขึ้นเทาๆกันตลอดพื้นผิวโลหะ เชน
การเกิดสนิมเหล็ก การหมองของเงิน ตัวอยางการกัดกรอนในแผนเหล็กดังรูปที่ 14.6

รูปที่ 14.6 การกัดกรอนแบบสม่ําเสมอ


320

2. การกัดกรอนแบบกัลวานิก เปนการกัดกรอนที่เกิดขึ้นเมื่อโลหะสองประเภทที่มีค าศักยไฟฟาไม


เทากันอยูติดกันและมีกระแสไฟฟาไหลขณะอยูในสารละลาย โลหะที่มีเสถียรภาพ(ศักยไฟฟา) ต่ํากวา
จะสึกหรอ โดยอัตราการสึกหรอเร็วหรือชาขึ้นอยูกับความหนาแนนของกระแสไฟฟาหรือ ถาพื้นที่ผิว
ของชิ้นงานที่ถูกกัดกรอนเล็กกวาชิ้นงานที่เปนแคโทดแลวอัตราการกัดกรอนก็ยิ่งสูง เชนการกัดกรอน
ของทอน้ํารอนที่เชื่อมตอระหวางทอทองแดงกับทอเหล็กเปนตน รูปที่ 14.7 แสดงตัวอยางการสึกหรอ
ของเปลือกแมกนีเซียมรอบๆแกนเหล็ก

รูปที่ 14.7 การสึกหรอของเปลือกแมกนีเซียมรอบๆแกนเหล็ก

3. การกัดกรอนในซอก เปนการกัดกรอนที่เกิดขึ้นเมื่อมีความเขมขนของไอออนหรือกาซไมเทากัน
บริเวณที่มีความเขขนนอยกวาจะสึกหรอไป เชน การสึกหรอของน็อตเปนตน ดังรูปที่ 14.8

รูปที่ 14.8 การกัดกรอนในซอก


321

4. การกัดกรอนแบบรูเข็ม เปนรูปแบบหนึ่งของการกัดกรอนแบบเฉพาะที่ โดยเกิดเปนรูเข็มเล็กๆลึก


ลงไปในผิวชิ้นงาน เหล็กกลาไรสนิมมักพบการกัดกรอนแบบนี้ โดยรูเข็มอาจเกิดจากรอยราวเล็กๆทีผ่ วิ
โดยมีกลไกการกัดกรอนเหมือนกับการกัดกรอนในซอก ตัวอยางการกัดกรอนแสดงดังรูปที 14.9

รูปที่ 14.9 การกัดกรอนแบบรูเข็ม

5. การกัดกรอนที่ข อบเกรน มัก เกิดกับ เหล็กกลาไรสนิม ที่ผานการเชื่อม เมื่อรอยเชื่อมมีอุณหภูมิ


ประมาณ 500-800 c จะเกิดการตกตะกอนของคารไบดขึ้นบริเวณขอบเกรนในเหล็กกลาไรสนิม ทํา
ใหปริมาณโครเมียมบริเวณขอบเกรนต่ํากวาระดับที่ปองกันการกัดกรอนได ทําใหเวลาใชงานมัก เกิด
สนิมตรงรอยเชื่อม วิธีแกไขอาจจะตองอบออนรอยเชื่อมเพื่อสลายคารไบดกลับคืนสูเนื้อพื้น หรือเลือก
เหล็กที่มีคารบอนต่ํากวา 0.03% เพื่อหลีกเลี่ยงการเกิดคารไบด ตัวอยางการกัดกรอนแบบี้แสดงดังรูป
ที่ 14.10

รูปที่ 14.10 การกัดกรอนตามขอบเกรน

6. การกัดกรอนแบบสกัดเฉพาะที่ เกิดกับโลหะผสม โดยธาตุผสมเหลานั้นมีคาศักยไฟฟามาตรฐาน


ตางกันมาก เชน ทองเหลือง (ทองแดง+สังกะสี) สังกะสีจะสึกและหลุดออมาทําใหทองเหลืองเปนรู
พรุน และเปลี่ยนสีออกไปทางสีแดง ตัวอยางการกัดกรอนแสดงดังรูป 14.11
322

รูปที่ 14.11 การกัดกรอนแบบสกัดเฉพาะที่ในทองเหลือง

7. การกัดกรอนเนื่องจากการไหล เกิดจากการปะของของไหล เปนการทําลายทางเคมีและทางกล


มักพบในสวนโคงงอของทอ วาลว และปม ดังรูป ที่ 14.12 การกัดกรอนนี้จะรุนแรงเมื่อมีฟองกาซ
เกิดขึ้น การระเบิดของฟองแกสจะเรงใหเกิดการหลุดรวงของผิวโลหะ

รูปที่ 14.12 การกัดกรอนเนื่องจากการไหล


8. การกัดกรอนรวมกับความเคน เกิดขึ้นเนื่องความเคนที่เกิดขึ้นจากภายในชิ้นงานเองหรือจาก
ภายนอกเหนี่ยวนําใหเ กิดการกัดกรอนขึ้น ความเคนที่เ กิดขึ้นจะสรางรอยแตกเล็กๆที่เ กรน และ
ขยายตัวในทิศทางที่ตั้งฉากกับแรงดึง ทําใหมีชองวางระหวางรอยแตกเกิดขึ้น สงใหมี การกัดกรอน
เกิดขึ้นตามรอยแตก เชน การแตกของเหล็กกลาไรสนิมในบรรยากาศที่มีครอไรด ทองเหลืองที่อยูใน
บรรยากาศของแอมโมเนียเปนตน ตัวอยางการกัดกรอนแบบนี้แสดงดังรูปที่ 14.13

รูปที่ 14.13 การกัดกรอนรวมกับความเคน


323

9. การเปราะเนื่องจากไฮโดรเจน ถาใชงานเหล็กกลาในบรรยากาศที่มีไฮโดรเจน พบวาคาความ


เหนียวและคาความแข็งแรงจะลดลง เนื่องจากอะตอมของไฮโดรเจนจะแทรกซึมเขาไปในเนื้อเหล็ก
ทําใหเกิดรอยราวขึ้น โดยจะไปรวมตัวกันตามชองวางรอยแตกเล็กๆหรือตําหนิตางๆและกลายเปน
แกสที่มีแรงดันสูงมาก จนทําใหเหล็กราวได ตัวอยางการเสียหายแบบนี้แสดงดังรูปที่ 14.14

รูปที่ 14.14 การแตกเนื่องจากแกสไฮโดรเจน


14.4 การปองกันการกัดกรอน
1. สารยับยั้ง คือสารประกอบที่ชวยลดการกัดกรอน อาจเปนสารเคลือบหรือเปนฟลมบนผิวโลหะ
ปองกันไมใหโลหะสัมผัสกับออกซิเจน เชนสารเคลือบแผงระบายความรอนและหมอตมไอน้ํา
2. การปองกันแบบคาโทดิก สามารถปองกันการกัดกรอนทั้ง 8 ประเภทได โดยการใหอีเล็คตรอนกับ
ชิ้นงานที่ตองการไมใหเกิดการสึกหรอ โดยการตอวงจรไฟฟาหรือการใชแบตเตอรี่จายกระแสใหกับ
ชิ้นงาน ดังรูปที่ 14.15 ในหลายกรณีที่ใชการจับคูโลหะที่มีคาศักยไฟฟาไมเทากัน ตัวอยางเชนเหล็ก
แผนเคลือบดวยสังกะสีใชทําเปนหลังคาหรือผนังอาคาร สังกะสีจะสึกหรอแทนเหล็กทําใหเหล็กมีอายุ
การใชงานยาวนานขึ้น การสึกหรอของเหล็กเคลือบสังกะสีแสดงดังรูปที่ 14.16

รูปที่ 14.15 การปองกันแบบคาโทดิก


324

รูปที่ 14.16 การปองกันเหล็กดวยการเคลือบสังกะสี


14.5 การเกิดออกไซดหรือสนิม
เมื่อโลหะสัมผัสกับออกวิเจนจะเกิดออกไซดของโลหะหรือสนิมเกิดขึ้น สําหรับเหล็กแลวสนิม
ที่อุณหภูมิหองเปนสีแดงหรือน้ําตาล สวนสนิมที่เกิดขึ้นที่อุณหภูมิสูงจะเปนสีเทาดําเรียกวาสเกล โดย
ความหนาของชั้นออกไซดนี้จะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆตามปริมาณความสามารถในการแพรซึมของออกซิเจนที่
ซึมผาชั้นออกไซดที่เกิดขึ้นกอนดังรูปที่ 14.17 โดยชั้นออกไซดนี้จะเปนทั้งสะพานไฟฟาไอออนผาน
และวงจรไฟฟาใหอีเล็คตรอนผาน

รูปที่ 14.17 กระบวนการการเกิดออกซิเดชันทีผ่ ิวโลหะ

ออกไซดหรือสเกลที่เกิดขึ้นนั้น เกี่ยวของกับทั้งตัวออกไซดเองและประเภทโลหะ โดยสเกลที่


เกิดขึ้นบางชนิดอาจมีความพรุนมากหลุดรวงงายหรือบางชนิดมีความหนาแนนสูง สามารถเปนฉนวน
ปองกันผิวโลหะได ดังนั้นจึงอาศัยความสัมพันธร ะหวางปริมาตรสัมพัทธของออกไซดและโลหะ ที่
เรียกวาอัตราสวน Pilling-Bedworth ดังนี้
Ao  M
( P  B )ratio 
AM  o
เมื่อ A คือน้ําหนักโมเลกุล และ  คือความหนาแนน สวน o คือคาของออกไซด สวน M คือคาของ
โลหะ ถาอัตราสวนนี้ต่ํากวา 1 สเกลที่เกิดขึ้นจะมีรูพรุนมากและไมปองกันผิวโลหะ อัตราสวนนี้อยู
325

ระหวาง 1-2 จะเกิดความเคนอัดในสเกล อัตราสวนนี้อยูระหวาง 2-3 สเกลจะแตกออก สําหรับคาใน


อุดมคติของโลหะตางๆที่สามารถเกิดฟลม ปองกันผิวโลหะมีคาเทากับหนึ่ง คาอัตราสวน Pilling-
Bedworth (P-B) สําหรับโลหะหลายชนิดแสดงดังตารางที่ 14.3 จะเห็นไดวาโลหะที่สามารถสราง
ฟลมปองกันตัวเองไดมีคา P-B ที่ประมาณ 1-2 สูงหรือต่ํากวานี้จะไมสามารถปองกันผิวได

ตารางที่ 14.3 อัตราสวน Pilling-Bedworth สําหรับโลหะบางชนิด

นอกจากที่กลาวมาทั้งหมดนี้แลว การสูญเสียคารบอนที่อุณหภูมิสูงก็มีความสําคัญเพราะเมื่อ
ใชงานเหล็กที่อุณหภูมิสูงแลวคารบอนในเนื้อเหล็กอาจหายไปไดกับบรรยากาศโดยเฉพาะบริเวณผิว
ทําใหความแข็งแรงของเหล็กลดลงได ถาในบรรยากาศมีแกสกํามะถันอยู จากการเผาไหมถานหินหรือ
น้ํามันจะทําใหโลหะเกิดการเสื่อมสภาพไดเชน ทองแดงจะคล้ําหรือเหล็กจะกลายเปนสีดําเพราะเกิด
เปนสารประกอบของกํามะถัน หรือในงานเชื่อมที่มีแกสกํามะถันจะทําใหเกิดรอยแตกเนื่องจากเกิด
เปน Ni3S2 มีจุดหลอมเหลวต่ํา (645 oC) ทําใหเวลารอยเชื่อมเย็นตัวลงจะเกิดแรงดึงทําใหรอยเชื่อม
แตกราวได
326

คําถามทายบท

1. จงอธิบายปฏิกริ ิยาไฟฟาเคมีสําหรับการกัดกรอนในโลหะ
2. จงเขียนปฏิกริ ิยาเคมีที่เกิดขึ้นในขัวแอโนดและแคโทด
3. ถาโลหะจับกันเปนคูในน้ําทะเลไดแก Al-Mg Zn-Fe และ Cu-Zn จงระบุวาโลหะชนิดใดในแตละ
คูจะเกิดการกัดกรอนกอน
4. จงระบุวาโลหะชนิดใดสามารถปองกันการกัดกรอนในเหล็กกลาไรสนิมเกรด 304 ไดบาง
5. ทําไมเหล็กกลาไรสนิมเมื่อผานการเชื่อมถึงมีความตานทานการกัดกรอนทีร่ อยเชื่อมนอยลง
6. ทําไมเหล็กกลาไรสนิมถึงทนการกัดกรอนไดดีกวาเหล็กกลา
7. การกัดกรอนแบบสม่ําเสมอเกิดขึ้นเมื่อใด
8. การกัดกรอนแบบไมสม่ําเสมอมีกี่ประเภท อะไรบาง
9. จงบอกวิธีการปองกันการกัดกรอนของเหล็กกลา
10. แทนขุดเจาะน้ํามันกลางทะเลมีวิธีการปองกันการกัดกรอนของแทนเจาะอยางไร
11. ทําไมโลหะที่ผานการขึ้นรูปเย็นถึงถูกกัดกรอนงายกวาขึน้ รูปรอน
12. จงบอกวิธีการปองกันการกัดกรอนในภาชนะบรรจุอาหาร เชนปลากระปอง
327

เอกสารอางอิง

[1] Callister, W.D. (2007). Materials Science and Engineering An Introduction. John
Willey&sons.
[2] Groover, M.P. (1999). Fundamental of Modern Manufacturing: John Willey & sons.
[3] Askeland, D.R., Phule, P.P. (2006). The Science and Engineering of Materials
:Thomson.
[4] Ashby, M., Shercliff, H. and Cebon, D. (2007). Materials Engineering, Science,
Processing and Design: Elsevier.
[5] William, F.S. (1993). Foundations of Materials Science and Engineering: McGraw-hill
Book Co.
[6] Ohring, M. (1995) , Engineering materials Science: Elsevier.
[7] Martin, J. (2006). Materials for Engineering: Woodhead Publishing Limited
[8] ASM Handbook, Vol. 9, Metallurgraphy and Microstructure. (2004). American
Society for Metal (ASM).
[9] Tisza, M. (2002). Physical Metallurgy for Engineering: ASM International Materials,
Park and Freund Publishing House nLtd.
[10] William F. Smith. (2009) Foundations of Materials Science and Engineering 5th ed
[11] วัสดุวิศวกรรม แปลและเรียบเรียง โดย รศ.แมน อมรสิทธิ์ และ ผศ.ดร.สมชัย อัครทิวา
[12] วัสดุศาสตรและวิศวกรรมวัสดุพื้นฐาน (2005) แปลและเรียบเรียง โดย สุวันชัย พงษสุกิจวัฒน
และคณะ

You might also like