You are on page 1of 69

หน่ วยที่ 3

เคมีพนื้ ฐาน
อาจารย์ กรรณิการ์ ยิม้ นาค

ชื่อ อาจารย์กรรณิ การ์ ยิ้มนาค


วุฒิ วท.บ. (เคมีอุตสาหกรรม) สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกลา้
เจ้าคุณทหารลาดกระบัง
วท.บ. (เทคโนโลยีการพิมพ์) มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
วท.ม. (บรรจุภณั ฑ์) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ตาแหน่ ง อาจารย์ประจาสาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
หน่ วยที่เขียน หน่วยที่ 3
3-2 วิทยาศาสตร์สาหรับเทคโนโลยีสารสนเทศและการสือ่ สาร

แผนการสอนประจาหน่ วย

ชุดวิชา วิทยาศาสตร์สาหรับเทคโนโลยีสารสนเทศและการสือ่ สาร

หน่ วยที่ 3 เคมีพ้นื ฐาน

ตอนที่
3.1 สารและสมบัตขิ องสาร
3.2 โครงสร้างเคมี
3.3 ปฏิกิริยาเคมี

แนวคิด
1. การแบ่งประเภทของสารมีหลายวิธี แบ่งตามสถานะสารสามารถแบ่งได้เป็ น ของแข็ง ของเหลว และแก๊ส
หากแบ่งตามลักษณะของเนื้อสารสามารถแบ่งได้เป็ น สารเนื้อเดียวและสารเนื้อผสม สารแต่ ละชนิด มี
สมบัติเ ฉพาะตัว ถ้า การเปลี่ย นแปลงของสารเกิ ด ขึ้น โดยสมบัติท างเคมีข องสารยัง คงเดิม เรี ย กว่ า
การเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ แต่ ถา้ สมบัติทางเคมีของสารเปลี่ยนแปลงไปเรียกว่า การเปลี่ยนแปลง
ทางเคมี เมือ่ มีการเปลีย่ นแปลงของสารจะมีการเปลีย่ นแปลงพลังงานควบคู่ไปด้วย
2. อะตอมประกอบด้วยอนุ ภาคมูลฐานคือ โปรตอน อิเล็กตรอน และนิวตรอน การจัดเรียงอะตอมนัน้ เรียง
ตามโครงแบบอิเล็กตรอน ซึ่งทาให้รูค้ ่ าเวเลนซ์อิเล็กตรอนของอะตอมที่สอดคลอ้ งกับการจัดหมวดหมู่
ของธาตุในตารางธาตุ และทาให้ทราบสมบัตแิ ละแนวโน้มของธาตุในตารางธาตุกบั สมบัตขิ องธาตุได้ และ
จากการที่ธาตุมารวมกันเป็ นสารประกอบจะยึดเหนี่ยวกันด้วยพันธะเคมีหลายชนิด ทาให้มสี มบัติของ
สารประกอบแตกต่างกันไป
3. การเกิดปฏิกิริยาเคมีท่สี าคัญ ได้แ ก่ การเกิดปฏิกิริยากรดและเบส และปฏิกิริยาเคมีไฟฟ้ า การศึกษา
ตามทฤษฎีก รดและเบสท าให้ท ราบถึงการแตกตัว ของกรดคื อโปรตอน และการแตกตัวของเบสคื อ
ไฮดรอกไซด์ จากการแตกตัวของกรดและเบส สามารถคานวณหาค่ าคงที่ส มดุลหรือค่ าความเขม้ ขน้ ได้
ซึ่ง ทาให้ทราบค่ า ความเป็ น กรดและเบสของสารละลายด้วยค่ าพีเอช ส าหรับปฏิกิริย าเคมีไฟฟ้ าเป็ น
การศึ ก ษาการเปลี่ย นแปลงของเคมีเป็ น พลังงานไฟฟ้ า ซึ่งแบ่ งเป็ น เซลล์แ กลวานิ ก และเซลล์อิเล็ก -
โทรไลต์
เคมีพ้ นื ฐาน 3-3

วัตถุประสงค์
1. จาแนกและอธิบายประเภทของสาร สมบัติและการเปลี่ย นแปลงของสาร และอธิบายพลังงานกับ การ
เปลีย่ นแปลงของสารได้
2. ระบุองค์ประกอบและการจัดเรียงโครงแบบอิเล็กตรอนในอะตอมของสาร ความสาคัญของตารางธาตุ
และอธิบายพันธะเคมีของแต่ละประเภทได้
3. อธิบายปฏิกิริยากรด-เบส บอกความสาคัญของกรด-เบสในชีวติ ประจาวัน อธิบายการเกิดเคมีไฟฟ้ าและ
บอกความสาคัญของเคมีไฟฟ้ าในชีวติ ประจาวันได้

กิจกรรมระหว่ างเรียน
1. ทาแบบประเมินผลตนเองก่อนเรียนหน่ วยที่ 3
2. ศึกษาเอกสารการสอนตอนที่ 3.1-3.3
3. ปฏิบตั กิ ิจกรรมในเอกสารการสอน
4. ฟังรายการสอนทางวิทยุกระจายเสียง (ถ้ามี)
5. ชมรายการสอนทางวิทยุโทรทัศน์ (ถ้ามี)
6. เขา้ รับบริการสอนเสริม (ถ้ามี)
7. ทาแบบประเมินผลตนเองหลังเรียนหน่ วยที่ 3

สื่ อการสอน
1. เอกสารการสอน
2. แบบฝึ กปฏิบตั ิ
3. ซีดมี ลั ติมเี ดีย (ถ้ามี)
4. รายการสอนทางวิทยุกระจายเสียง (ถ้ามี)
5. รายการสอนทางวิทยุโทรทัศน์ (ถ้ามี)
6. การสอนเสริม (ถ้ามี)

การประเมินผล
1. ประเมินผลจากแบบประเมินผลตนเองก่อนเรียนและหลังเรียน
2. ประเมินผลจากกิจกรรมและแนวตอบท้ายเรื่อง
3. ประเมินผลจากการสอบไล่ประจาภาคการศึกษา

เมือ่ อ่านแผนการสอนแล้ว ขอให้ ทาแบบประเมินผลตนเองก่อนเรียน


หน่ วยที่ 3 ในแบบฝึ กปฏิบตั ิ แล้วจึงศึกษาเอกสารการสอนต่ อไป
3-4 วิทยาศาสตร์สาหรับเทคโนโลยีสารสนเทศและการสือ่ สาร

ตอนที่ 3.1
สารและสมบัติของสาร
โปรดอ่านหัวเรื่อง แนวคิด และวัตถุประสงค์ของตอนที่ 3.1 แลว้ จึงศึกษารายละเอียดต่อไป

หัวเรื่อง
3.1.1 การจาแนกสารและสมบัตขิ องสาร
3.1.2 พลังงานกับการเปลีย่ นแปลงสาร

แนวคิด
1. สารโดยทัวไปเมื่ อ่ แบ่งประเภทตามสถานะแบ่งได้เป็ น 3 สถานะคือ ของแข็ง ของเหลว และแก๊ส
ซึ่งมีแรงยึดเหนี่ยวระหว่างอนุ ภาคของสารที่แตกต่ างกัน สาหรับการแบ่งสารโดยใช้เนื้อสารเป็ น
เกณฑ์ แบ่งได้เป็ น 2 ประเภทคือสารเนื้อเดียวและสารเนื้อผสม โดยหากแบ่งตามสมบัติของสาร
ซึ่ง เป็ น ลัก ษณะประจาตัวของสารแบ่ง ได้เป็ น 2 ประเภทคือ สมบัติแ ละการเปลี่ย นแปลงทาง
กายภาพและสมบัตแิ ละการเปลีย่ นแปลงทางเคมี
2. พลังงานเคมี คือ พลังงานที่ได้จากการเปลีย่ นแปลงของสาร ซึ่งพลังงานที่ได้อาจอยู่ในรู ปความ
ร้อนของสารที่มีการดู ดกลืนพลังงานหรือคายพลังงานออกมา โดยพลังงานกับการเปลีย่ นแปลง
สารแบ่งออกเป็ น 3 ประเภท คือ การเปลี่ยนสถานะของสาร การละลายของสาร และการเกิด
ปฏิกิริยาเคมี

วัตถุประสงค์
เมือ่ ศึกษาตอนที่ 3.1 จบแลว้ นักศึกษาสามารถ
1. จาแนกประเภทของสารตามสถานะได้
2. จาแนกประเภทของสารตามเนื้อสารได้
3. อธิบายสมบัติและการเปลีย่ นแปลงสมบัตขิ องสารทางกายภาพและเคมีได้
4. อธิบายพลังงานกับการเปลีย่ นแปลงสารได้
เคมีพ้ นื ฐาน 3-5

เรื่องที่ 3.1.1
การจาแนกสารและสมบัติของสาร

สสาร หมายถึง สิ่งต่ างๆ ที่อยู่รอบตัว สามารถสัมผัสได้ดว้ ยประสาททั้งห้า มีมวล ปริมาตร ต้องการที่อยู่
เช่น ดิน นา้ อากาศ คน สัตว์ พืช และสิง่ ของ เป็ นต้น
สาร หมายถึง สสารที่ทราบสมบัติแ น่ นอน หรือเป็ นการเฉพาะเจาะจงลงไปว่าเป็ น สสารชนิดใด เช่ น เงิน
ทอง เหล็ก เกลือแกง เป็ นต้น ดังนัน้ ในกรณี ทน่ี าสสารมาศึกษาจึงสามารถใช้คาว่าสารแทนสสารได้

การจาแนกสาร
สารมีอ ยู่ หลากหลายชนิ ด เพื่อให้ง่า ยต่ อการศึ ก ษาจึง มีก ารก าหนดเกณฑ์ใ นการจัด หมวดหมู่ ห รื อ แบ่ ง
ประเภทของสาร ส่วนใหญ่ นิยมแบ่งประเภทตามสมบัติของสาร เช่ น สถานะ การนาไฟฟ้ า จุดเดือด จุดหลอมเหลว
ความเป็ นโลหะ หรืออาจใช้สมบัติหลายอย่างรวมกันมาเป็ นเกณฑ์ ทัง้ นี้จะใช้เกณฑ์ใดขึ้นอยู่กบั ความเหมาะสมของสิ่ง
ที่ตอ้ งการศึกษา สาหรับการจาแนกประเภทของสารในที่น้ ี ขอใช้เกณฑ์การแบ่งประเภทของตามสถานะและลักษณะ
เนื้อสารดังนี้
1. การแบ่ งประเภทตามสถานะของสาร แบ่งสารเป็ น 3 สถานะคือ สารในสถานะของแข็ง ของเหลว และ
แก๊ส สารในสถานะทัง้ สามอาจเปลี่ย นกลับไปมาระหว่างกัน ได้ เช่ น การให้ค วามร้อ นกับน า้ แข็งซึ่งมีส ถานะเป็ น
ของแข็ง เมื่อนา้ แข็งได้รบั ความร้อนจนถึงจุดหลอมเหลวของนา้ นา้ แข็งจะหลอมละลายเปลีย่ นสถานะจากของแข็ง
เป็ นนา้ ซึ่งอยู่ในสถานะของเหลว และเมื่อเพิ่มอุณหภูมิจนถึงจุดเดือดของนา้ จะเกิดการเปลีย่ นสถานะจากของเหลว
กลายเป็ นไอนา้ ในสถานะแก๊ส ในทางตรงกันขา้ มถ้าลดอุณหภูมิของไอนา้ จะเกิดการควบแน่ นกลับมาเป็ นของเหลว
และเมื่อ ลดอุณ หภูมิจนถึง จุด เยือ กแข็งของน า้ จะกลับมาเป็ น ของแข็งได้อีก เมื่อ พิจารณาการยึด เหนี่ ย วและการ
จัดเรียงอนุ ภาคภายในของสารดังแสดงในภาพที่ 3.1 พบว่าสารในสถานะของแข็งจะมีอนุ ภาคทีอ่ ยู่ชิดติดกัน มีแรงยึด
เหนี่ยวระหว่างอนุ ภาคมากกว่าสารในสถานะของเหลว ส่วนสารในสถานะแก๊ส มีอนุ ภาคอยู่ห่างกันมากที่สุด มีแรงยึด
เหนี่ยวระหว่างอนุ ภาคน้อยมากจนถือได้ว่าไม่มแี รงยึดเหนี่ยวเลย และสามารถเคลือ่ นทีไ่ ด้อย่างอิสระ
3-6 วิทยาศาสตร์สาหรับเทคโนโลยีสารสนเทศและการสือ่ สาร

ภาพที่ 3.1 ตัวอย่ างการเปลีย่ นสถานะของนา้


ที่มา: Chang Raymond and Overby Jason, 2011.

ในปัจจุบนั มีการแบ่งสถานะของสารเพิ่มมาเป็ นสถานะที่ 4 คือพลาสมา เป็ นสถานะที่ยงั ไม่คุน้ เคยมากนัก


เนื่องจากส่วนใหญ่ เป็ นสถานะที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้าทางฟิ สกิ ส์ โดยสถานะพลาสมาคือ แก๊สที่มสี ภาพเป็ นไอออน
เกิดจากการได้รบั พลังงานทีม่ ากพอจนทาให้อเิ ล็กตรอนหลุดออกจากอะตอมเกิดเป็ นไอออนบวกและลบ จึงเกิดประจุ
ไฟฟ้ าอิสระบนอะตอม ทาให้สถานะพลาสมามีสภาพนาไฟฟ้ า
แบบจาลองอนุ ภาคของสารทัง้ 4 สถานะเมือ่ มีการให้พลังงานเพิม่ ขึ้นแสดงดังภาพที่ 3.2

(ก) ของแข็ง (ข) ของเหลว (ค) แก๊ส (ง) พลาสมา

ภาพที่ 3.2 แบบจาลองอนุภาคของสารทั้ง 4 สถานะเมือ่ มีการให้ พลังงานเพิม่ ขึน้


เคมีพ้ นื ฐาน 3-7

2. การแบ่ งประเภทตามลักษณะเนื้อสาร เป็ นการจาแนกประเภทของสารโดยใช้ลกั ษณะเนื้อสารและขนาด


ของอนุ ภาคสารเป็ นเกณฑ์ สามารถทาการจาแนกเบื้องต้นได้จากการสังเกตและการมองเห็นจากลักษณะทางกายภาพ
เช่ น พื้นผิว สี สถานะของสาร เป็ นต้น ซึ่งแบ่งสารเป็ น 2 ส่วน คือ สารเนื้อเดียว (homogeneous mixture) และ
สารเนื้อผสม (heterogeneous mixture) ดังแสดงในภาพที่ 3.3
*

÷
I

i
I

ภาพที่ 3.3 แสดงการแบ่ งชนิดของสารตามเนือ้ สาร

2.1 สารเนื อ้ เดี ยว หมายถึง สารที่มีสมบัติเหมือนกันตลอดทุก ส่วน ซึ่งอาจมีส่วนประกอบเป็ นสาร


เพียงชนิดเดียวหรือมากกว่าหนึ่งชนิดผสมกันอยู่ อย่างกลมกลืน และมองเห็นเป็ นเนื้อเดียวกัน พบได้ทงั้ 3 สถานะ
ดังนี้
1) สารเนื้อเดียวสถานะของแข็ง เช่น เหล็ก ทองคา ทองแดง หินปูน เกลือแกง เป็ นต้น
2) สารเนื้อเดียวสถานะของเหลว เช่น นา้ เกลือ นา้ อัดลม นา้ เชื่อม นา้ นม เป็ นต้น
3) สารเนื้อเดียวสถานะแก๊ส เช่น อากาศ แก๊สหุงต้ม แก๊สออกซิเจน เป็ นต้น
ซึง่ เมือ่ แบ่งสารเนื้อเดียวตามส่วนประกอบภายในสามารถแบ่งได้เป็ น 2 ประเภท คือ
(1) สารบริ สุทธิ์ หมายถึง สารเนื้อเดียวทีป่ ระกอบด้วยสารเพียงชนิดเดียว ได้แก่ ธาตุ (element)
และสารประกอบ (compound)
ก. ธาตุ หมายถึง สารบริสุทธิ์เนื้อเดียวที่ไม่สามารถแยกเป็ นสารใหม่ต่อไปได้อกี เมื่อแบ่ง
ตามสมบัติทางกายภาพของธาตุสามารถแบ่งออกเป็ น 3 กลุ่ม คือ โลหะ กึ่งโลหะ และอโลหะ โดยแต่ละประเภทมี
สมบัตดิ งั นี้
3-8 วิทยาศาสตร์สาหรับเทคโนโลยีสารสนเทศและการสือ่ สาร

- โลหะ ส่วนใหญ่ มสี ถานะเป็ นของแข็งยกเว้นปรอทที่มสี ถานะเป็ นของเหลว โลหะจะ


มีผวิ มันวาว สะท้อนแสงได้ดี เมือ่ ตีแลว้ จะเกิดเสียงดังกังวาน มีความเหนียว และสามารถตีแผ่เป็ นเส้นหรือเป็ นแผ่น
ได้ จุดเดือดและจุดหลอมเหลวสู ง เป็ นตัวนาไฟฟ้ าได้ดี ตัวอย่างโลหะ ได้แก่ เหล็ก สังกะสี โครเมียม เงิน ทองแดง
เป็ นต้น
- อโลหะ เป็ นธาตุทม่ี หี ลายสถานะทัง้ สถานะของแข็ง ของเหลว และแก๊ส อโลหะที่เป็ น
ของแข็งจะมีผิวด้าน เคาะแลว้ ไม่ดงั กังวาน มีความเปราะ โดยส่วนใหญ่ จะมีจุดเดือด จุดหลอมเหลวตา่ และไม่นา
ไฟฟ้ า ตัวอย่างอโลหะ ได้แก่ คาร์บอน กามะถัน โบรมีน ออกซิเจน เป็ นต้น
- กึ่งโลหะ เป็ นธาตุท่มี ีสมบัติทงั้ โลหะและอโลหะ มีอยู่ เพียงไม่ก่ีชนิด ได้แก่ พลวง
โบรอน ซิลกิ อน และอาร์เซนิก ธาตุก่งึ โลหะส่วนใหญ่จะมีความมันวาวและเป็ นเงา เป็ นสารกึ่งตัวนา สามารถนาไฟฟ้ า
ได้บา้ งทีอ่ ณ
ุ หภูมปิ กติ และนาไฟฟ้ าได้มากขึ้นเมือ่ อุณหภูมสิ ูงขึ้น
ข. สารประกอบ หมายถึง สารบริสุทธิ์เนื้อเดียวที่ประกอบด้วยอะตอมของธาตุตงั้ แต่ 2
ชนิ ด ขึ้น ไปมารวมกัน ด้วยพัน ธะเคมี หรือ แรงยึด เหนี่ ย ว เกิด เป็ น สารชนิ ด ใหม่ ท่ีมีส มบัติต่างจากสารเดิม และมี
อัตราส่วนของธาตุท่เี ป็ นองค์ประกอบคงที่เสมอ เช่ น นา้ มีสูตรโมเลกุลเป็ น H2O เกิดจากธาตุไฮโดรเจน (H) ซึ่งติด
ไฟ และธาตุออกซิเจน (O) ซึ่งช่ วยให้ไฟติด แต่เมื่อรวมตัวกันด้วยอัตราส่วน H:O เป็ น 2:1 จะกลายเป็ นนา้ ซึ่งเป็ น
สารประกอบ สมบัตทิ ไ่ี ด้จะเปลีย่ นไปจากเดิมคือกลายเป็ นนา้ ซึง่ ดับไฟได้ เป็ นต้น
(2) สารละลาย หมายถึง สารเนื้อเดียวทีป่ ระกอบด้วยสารบริสุทธิ์ตงั้ แต่ 2 ชนิดขึ้นไปมาผสมกัน
โดยไม่จาเป็ นต้องมีอตั ราส่วนทีค่ งที่ ประกอบไปด้วยส่วนประกอบทีส่ าคัญคือ ตัวทาละลาย (solvent) ซึ่งเป็ นสารที่มี
จานวนมากกว่า และตัว ถูกละลาย (solute) ซึ่งเป็ นสารที่มจี านวนน้อยกว่าและละลายอยู่ในตัวทาละลาย โดยสารที่
ละลายอยู่มเี ส้นผ่าศู นย์กลางของอนุ ภาคน้อยกว่า 1 10-7 เซนติเมตร จึงมองไม่เห็นการแยกตัวของสาร การรวมตัว
ของสารละลายนัน้ อาจอยู่ในรูปของแข็ง ของเหลวหรือ แก๊ส ตัวอย่างเช่ น นา้ เชื่อมเป็ นการนานา้ ตาลซึ่งเป็ นของแข็ง มา
ละลายในนา้ ได้ส ถานะของสารละลายเป็ นของเหลว หรือ นากเป็ นส่วนประกอบที่เกิดจากทองคาและเงินที่ละลายใน
ทองแดงได้สถานะของสารละลายเป็ นของแข็ง เป็ นต้น
2.2 สารเนื อ้ ผสม คือ สารที่มลี กั ษณะของเนื้อสารไม่เป็ นเนื้อเดียวกัน เนื้อสารในแต่ละส่วนมีสมบัติ
ต่างกัน โดยสารที่เป็ นส่วนผสมแต่ละชนิดยังคงแสดงสมบัติของสารเดิม เนื่องจากเป็ นการรวมกันทางกายภาพไม่มี
การเปลีย่ นแปลงทางเคมีเกิดขึ้น สารเนื้อผสมมีทงั้ 3 สถานะ ดังนี้
1) สารเนื้อผสมสถานะของแข็ง เช่น ทราย คอนกรีต ดิน เป็ นต้น
2) สารเนื้อผสมสถานะของเหลว เช่น นา้ คลอง นา้ โคลน นา้ สลัด เป็ นต้น
3) สารเนื้อผสมสถานะแก๊ส เช่น ฝุ่นละอองในอากาศ ควัน เป็ นต้น
ซึง่ การแบ่งสารเนื้อผสมสามารถแบ่งตามขนาดของอนุ ภาคเป็ นหลักได้ 2 ประเภทคือ
(1) สารแขวนลอย (suspension) คือสารเนื้อผสมทีม่ อี นุ ภาคของแข็งซึง่ มีเส้นผ่านศู นย์กลาง
ของอนุ ภาคสารใหญ่ กว่า 1 10-4 เซนติเมตร แขวนลอยอยู่ ในตัวกลางที่เป็ นของเหลว ไม่รวมเป็ นเนื้อเดียวกัน
สามารถมองเห็นสารผสมได้อย่างชัดเจน มีลกั ษณะขุ่น เมื่อตัง้ ทิ้งไว้จะตกตะกอน ตัวอย่ างเช่ น นา้ คลอง นา้ โคลน
-

นา้ แกงส้ม เป็ นต้น


เคมีพ้ นื ฐาน 3-9

(2) คอลลอยด์ (colloid) เป็ น สารเนื้ อผสมที่ดู เหมือนจะเป็ น เนื้ อเดีย วกัน มีล กั ษณะขุ่น
ไม่ตกตะกอน ขนาดของอนุ ภาคสารมีเส้นผ่านศู นย์กลางประมาณ 10-7-10-4 เซนติเมตร อนุ ภาคคอลลอยด์จะเกาะตัว
กันใหญ่กว่าโมเลกุลแต่ไม่ใหญ่ มากนัก คอลลอยด์ไม่ตกตะกอนเมื่อวางทิ้งไว้เพราะมีอนุ ภาคขนาดเล็กเคลือ่ นที่แบบ
ไม่เป็ นระเบียบและไร้ทิศ ทาง วิ่งชนกันตลอดเวลาเรีย กว่าการเคลื่อนที่แบบบราวเนี ยน (Brownian movement)
เมือ่ ทาการส่องแสงผ่านสารคอลลอยด์จะเกิดการกระเจิงของแสง ทาให้มองเห็นลาแสงได้อย่างชัดเจนเรียกว่าปรากฏ-
การณ์ ทินดอลล์ (Tyndall effect) ดังแสดงในภาพที่ 3.4 ซึ่งค้นพบโดยนัก วิทยาศาสตร์ชาวไอร์แลนด์ ชื่อ จอนห์
ทินดอลล์

(ก) เปรียบเทียบผลทีเ่ กิดขึ้นเมือ่ ส่องแสงผ่านสารละลายและสารคอลลอยด์

(ข) เมือ่ แสงผ่านหมอก หรือฝุ่นละอองในอากาศจะมองเห็นลาแสงอย่างชัดเจน

ภาพที่ 3.4 ปรากฏการณ์ ทนิ ดอลล์


ที่มา ก: http://www.realmagick.com/tyndall-effect/ ค้นคืนเมื่อ 10 ส.ค. 2555
ที่มา ข: http://www.tech-faq.com/tyndall-effect.html และ
http://www.maceducation.com/e-knowledge/2422210100/19_files/19-4.jpg
ค้นคืนเมื่อ 20 ก.ย. 2555
3-10 วิทยาศาสตร์สาหรับเทคโนโลยีสารสนเทศและการสือ่ สาร

คอลลอยด์ประกอบด้วย 2 ส่วนคือ อนุ ภ าคของสารที่แพร่ อยู่ ในตัวกลางและตัวกลาง การแยกชนิดของ


คอลลอยด์ตามสถานะของสารทีแ่ พร่อยู่ในตัวกลางและตัวกลาง แสดงในตารางที่ 3.1

ตารางที่ 3.1 การจาแนกประเภทและตัวอย่ างของคอลลอยด์

สถานะของสารทีแ่ พร่
ชนิดของคอลลอยด์ สถานะของตัวกลาง ตัวอย่ างของคอลลอยด์
อยู่ในตัวกลาง
ของแข็ง แก๊ส ควันไฟ ฝุ่นละอองในอากาศ
แอโรโซล (aerosol)
ของเหลว แก๊ส เมฆ หมอก
ของแข็ง ของเหลว นา้ แป้ งสุก
โซล (sol)
ของแข็ง ของแข็ง มุก พลอย
อิมลั ชัน (emulsion) ของเหลว ของเหลว กะทิ นา้ สลัด นมสด
เจล (gel) ของเหลว ของแข็ง เยลลี เนย วุ ้น
โฟม (foam) แก๊ส ของเหลว ฟองสบู่ ครีมโกนนวด
แก๊ส ของแข็ง ฟองนา้ เม็ดโฟม

การจาแนกประเภทของเนื้อสารหากพิจารณาจากอนุ ภาคของสารที่มสี ถานะของเหลว จะพิจารณาแบ่ง


เป็ น 3 ประเภทคือ สารละลาย สารคอลลอยด์ และสารแขวนลอย โดยสารละลายมีขนาดอนุ ภาคของสารกระจายตัว
อยู่ในตัวกลางขนาดเล็กสุด รองลงมาคือสารคอลลอยด์ และขนาดใหญ่ สุดคือสารแขวนลอย จากขนาดของอนุ ภาค
สารทีต่ ่างกัน จึงนามาเปรียบเทียบความแตกต่างได้ดงั ตารางที่ 3.2

ตารางที่ 3.2 เปรียบเทียบความแตกต่ างของสารละลาย สารคอลลอยด์ และสารแขวนลอย

ข้ อเปรียบเทียบ สารละลาย สารคอลลอยด์ สารแขวนลอย


ลักษณะเนื้อสาร เนื้อเดียว เนื้อผสมแต่ดูคล ้ายเนื้อเดียว เนื้อผสม
ขนาดอนุภาคเจือปน (เซนติเมตร) น้อยกว่า 10-7 10-7 - 10-4 มากกว่า 10-4
การลอดผ่านกระดาษกรอง ผ่านได ้ ผ่านได ้ ผ่านไม่ได ้
การลอดผ่านเยือ่ กึ่งซึมผ่าน ผ่านได ้ ผ่านไม่ได ้ ผ่านไม่ได ้
การเกิดปรากฏการณ์ทนิ ดอลล์ ไม่เกิด (ทะลุผ่าน) เกิด ไม่เกิด (ทึบแสง)
การเคลือ่ นทีแ่ บบบราวเนียน ไม่เกิด เกิด ไม่เกิด
การตกตะกอน ไม่ตกตะกอน ไม่ตกตะกอน ตกตะกอน
เคมีพ้ นื ฐาน 3-11

สมบัตขิ องสาร
สมบัตขิ องสาร เป็ นลักษณะประจาตัวของสารแต่ละสาร เช่ น สี กลิน่ รส การละลาย การนาไฟฟ้ า จุดเดือด
จุดหลอมเหลว และการเผาไหม้ เป็ นต้น สมบัตขิ องสารแบ่งเป็ น 2 ประเภท คือ
1) สมบัตทิ างกายภาพ (physical properties) เป็ นสมบัตทิ บ่ี อกลักษณะภายนอกของสาร ซึ่งสังเกตเห็นได้
ด้วยตาเปล่าหรือการทดลองด้วยวิธีงา่ ยๆ การเปลีย่ นแปลงทางกายภาพจะไม่มกี ารเปลีย่ นแปลงองค์ประกอบภายใน
ของสารและไม่ มีส ารใหม่ เกิด ขึ้น เช่ น การเปลี่ย นสถานะ การเกิด สารละลาย การเปลี่ย นอุณ หภูมิ การน าไฟฟ้ า
เป็ นต้น
2) สมบัติทางเคมี (chemical properties) เป็ นสมบัติท่เี กิดจากการเปลีย่ นแปลงองค์ประกอบภายในของ
สาร โดยมีการเกิดปฏิกิริยาเคมีและมีสารใหม่เกิดขึ้นเสมอ สมบัติท่เี กิดขึ้นจึงแตกต่างไปจากเดิม เช่ น การเผาไหม้
ของเชื้อเพลิง การเกิดสนิมของเหล็ก การทาปฏิกิริยาของกรด-เบส เป็ นต้น ดังนัน้ สมบัติของสารจึงขึ้นอยู่ กบั การ
เปลีย่ นแปลง
การเปลีย่ นแปลงสมบัตขิ องสารนัน้ จะสอดคลอ้ งไปกับการเปลีย่ นแปลงสมบัตทิ างกายภาพและทางเคมีดว้ ย
ดังนี้
1. สมบัติและการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ เป็ นการเปลี่ยนแปลงของสารที่ไม่มีการเปลี่ยนองค์ประกอบ
ภายใน หรือมีส ารใหม่ เกิด ขึ้น โดยแบ่งการเปลี่ย นแปลงทางกายภาพนี้ ออกเป็ น 2 ประเภทคือ สมบัติข้ นึ อยู่ ก บั
ปริมาณ (extensive property) และสมบัตไิ ม่ข้นึ อยู่กบั ปริมาณ (intensive property)
1.1 สมบัติขึน้ อยู่กับ ปริ มาณ คือ สมบัติท่มี ีการเปลี่ย นแปลงตามปริมาณ เมื่อมวลสารนัน้ เกิด การ
เปลีย่ นแปลง ซึง่ สมบัตปิ ระเภทนี้ เช่น มวล ปริมาตร พลังงานภายใน และพลังงานรวม เป็ นต้น
1.2 สมบัติไม่ ขึน้ อยู่กับ ปริ มาณ คือ สมบัติท่ไี ม่เปลี่ย นแปลงตามปริมาณ เมื่อมวลสารนัน้ เกิด การ
เปลี่ย นแปลง สมบัติ ป ระเภทนี้ เช่ น ความหนาแน่ น ความร้อ นจ าเพาะ อุ ณ หภู มิ จุ ด เดื อ ด จุ ด หลอมเหลว
จุดเยือกแข็ง เป็ นต้น
ตัวอย่างแสดงสมบัตขิ ้นึ อยู่กบั ปริมาณและไม่ข้ นึ อยู่กบั ปริมาณแสดงดังตารางที่ 3.3 เมื่อพิจารณาแลว้
จะเห็น ว่านา้ ใน 2 แก้วมีม วลสารไม่ เท่ ากัน แก้วแรกจะมีน า้ มากกว่าแก้วที่ส อง และจากสมบัติท่ปี รากฏในตาราง
พบว่าปริมาตรและมวลสารของนา้ ในแก้วทัง้ สองใบไม่เท่า ซึง่ เป็ นการแสดงสมบัตทิ ข่ี ้นึ อยู่กบั ปริมาณทีเ่ ปลีย่ นแปลงไป
แต่ เมื่อพิจารณาสมบัติของความหนาแน่ นและอุณหภูมิของสาร จะพบว่าไม่ว่ ามวลสารจะมีการเปลี่ยนแปลงไปแต่
สมบัตเิ หล่านัน้ ยังคงเดิม ซึง่ เป็ นสมบัตทิ ไ่ี ม่ข้นึ อยู่กบั ปริมาณ
3-12 วิทยาศาสตร์สาหรับเทคโนโลยีสารสนเทศและการสือ่ สาร

ตารางที่ 3.3 แสดงสมบัตขิ นึ้ อยู่กบั มวลสารและไม่ขนึ้ อยู่กบั มวลสารของนา้

สมบัตขิ องสาร
นักเทคโน/บก น้ อย วาดรู ปแก้ วให้ ใหม่ + เขียนสเกล

เหมือนภาพด้ านข้ าง

ปริมาตร (มิลลิลติ ร) 100 25


สมบัติข้นึ อยู่กบั ปริมาณ
มวล (กรัม) 99.94 14.99
ความหนาแน่น
0.99 0.99
สมบัตไิ ม่ข้นึ อยู่กบั ปริมาณ (กรัม/มิลลิลติ ร)
อุณหภูมหิ ้อง (องศาเซลเซียส) 20 20

2. สมบัติและการเปลี่ยนแปลงทางเคมี หมายถึง ความสามารถของสารในการเกิดปฏิกิริย าเคมีแลว้ ได้เป็ น


สารใหม่ เกิด ขึ้น บางครัง้ การเปลี่ย นแปลงลัก ษณะทางเคมีส ามารถสัง เกตได้จาก ความร้อนที่เพิ่ม ขึ้น สีข องสาร
เปลี่ยนไป เกิด การตกตะกอน ความเป็ น กรด-เบสของสารเปลี่ยนแปลง หรืออาจกล่าวได้ว่า เป็ น ลัก ษณะอันเนื่อง
มาจากการเกิดสารใหม่นนั ่ เอง ตัวอย่ างการเปลี่ย นแปลงทางเคมีท่มี ีผลต่ อสมบัติสาร ได้แ ก่ ความเป็ น กรด-เบส
การเกิดการสันดาปหรือเผาไหม้ หรือความไวในการเกิดปฏิกิริยา เป็ นต้น ตัวอย่างการเปลีย่ นแปลงทางเคมีแสดง
ดังภาพที่ 3.5

(ก) พีเอช มิเตอร์ (ข) กระดาษลิตมัส

ภาพที่ 3.5 ค่ าพีเอชทีเ่ ปลีย่ นไปจากปฏิกริ ิยากรด-เบส


ที่มา ก: http://www.keison.co.uk/jenway_3510phmeter.shtml ค้นคืนเมื่อ 25 ส.ค. 2555
และ ข: http://images.flatworldknowledge.com/averillfwk/ ค้นคืนเมื่อ 20 ก.ย. 2555
เคมีพ้ นื ฐาน 3-13

ภาพที่ 3.6 ความว่ องไวในการเกิดปฏิกยิ าของโซเดียมกับนา้


ที่มา: http://www.tutorvista.com/content/science/science-ii/chemical-reactions-equations/chemical-change.php ค้นคืนเมื่อ
25 ส.ค. 2555

กิจกรรม 3.1.1
1. การจาแนกสารโดยใช้สถานะของสารและลักษณะเนื้อสารแบ่งได้เป็ นกี่ประเภท คืออะไรบ้าง
2. จงแบ่งประเภทของสารต่อไป
พลอย น้ าแกงส้ม หมอก น้ าเชื่อม น้ าสลัด น้ าอัดลม ครี มโกนหนวด น้ าคลอง ทองเหลือง น้ าโคลน
3. จงแสดงการเปรี ยบเทียบระหว่างการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพกับการเปลี่ยนแปลงทางเคมี

แนวตอบกิจกรรม 3.1.1
1. การจาแนกสารโดยใช้สถานะของสารแบ่งได้เป็ น 3 ประเภท คือ ของแข็ง ของเหลว และแก๊สและ
การจาแนกโดยใช้สารลักษณะเนื้อสารแบ่งได้เป็ น 2 ประเภท คือ สารเนื้อเดียวและสารเนื้อผสม
2. สารแขวนลอย ได้แก่ น้ าคลอง น้ าโคลน น้ าแกงส้ม
สารคอลลอยด์ ได้แก่ พลอย หมอก น้ าสลัด ครี มโกนหนวด
สารละลาย ได้แก่ น้ าเชื่อม น้ าอัดลม ทองเหลือง
3. การเปรี ยบเที ย บระหว่ า งการเปลี่ ย นแปลงทางกายภาพกับ การเปลี่ ย นแปลงทางเคมี แสดง
ดังตารางด้านล่าง
3-14 วิทยาศาสตร์สาหรับเทคโนโลยีสารสนเทศและการสือ่ สาร

การเปลีย่ นแปลงทางกายภาพ การเปลีย่ นแปลงทางเคมี


1. ไม่มีสารใหม่เกิดขึ้น 1. มีสารใหม่เกิดขึ้น
2. รู ปร่ าง สถานะ ขนาด กลิ่น และสี อาจเปลี่ยน- 2. รู ปร่ าง สถานะ ขนาด กลิ่น และสี เปลี่ยนแปลง
แปลงได้
3. เป็ นการเปลี่ยนแปลงชัว่ คราว สามารถทากลับมา 3. เป็ นการเปลี่ยนแปลงอย่างถาวร ไม่สามารถทากลับ
เป็ นสภาพเดิมด้วยวิธีง่ายๆ หรื อกลวิธี มาเป็ นสภาพเดิมได้ดว้ ยวิธีทางเคมีหรื อปฏิกิริยาเคมี
4. ไม่มีการสลายพันธะและสร้างพันธะระหว่าง 4. มีการสลายพันธะและสร้างพันธะใหม่ระหว่าง
อะตอม อะตอม

เรื่องที่ 3.1.2
พลังงานกับการเปลีย่ นแปลงสาร

พลัง งาน คือ ความสามารถที่ท าให้เกิ ด งานโดยทัว่ ไปแล ว้ สสารกับพลังงานจะมีค วามสัม พัน ธ์ก นั เสมอ
เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของสสารจะต้องมีพลังงานเข า้ มาเกี่ย วขอ้ งด้วย พลังงานที่อยู่ กบั มวลของสาร แบ่งเป็ น
พลังงานศักย์ (potential energy) คือ พลังงานที่มอี ยู่ในสารเมื่อ สารหยุดนิ่ง และพลังงานจลน์ (kinetic energy)
คือ พลังงานทีเ่ กี่ยวกับการเคลือ่ นทีแ่ ละขึ้นอยู่กบั มวลของสาร
สาหรับพลังงานเคมี เป็ นพลังงานศักย์รูปแบบหนึ่งที่มอี ยู่ในสาร เมื่อมีการเกิดปฏิกิริยาของสารจะมีการดู ด
หรือคายพลังงานออกมา โดยพลังงานที่ออกมาจะเปลี่ยนไปในรู ปของพลังงานความร้อน เช่ น ปฏิกิริยาเคมีการเผา
ไหม้ของเชื้อเพลิง เนื่องจากเชื้อเพลิงส่วนใหญ่ประกอบด้วยคาร์บอน (C) ไฮโดรเจน (H) ออกซิเจน (O) ดังนัน้ เมื่อนา
เชื้อเพลิงชีวมวลไปเผาไหม้จะเกิดปฏิกิริยาเคมีดงั แสดงด้วยสมการเคมีต่อไป

2C + O2 2CO + พลังงานความร้อน
2CO + O2 2CO2 + พลังงานความร้อน
2H2 + O2 2H2O + พลังงานความร้อน

สาหรับการเปลี่ยนแปลงของสารที่มีการเปลี่ยนแปลงพลังงานควบคู่ ไปด้วยแบ่งออกเป็ น 3 ชนิด คือ การ


เปลีย่ นสถานะของสาร การละลายของสาร และการเกิดปฏิกิริยาเคมี ดังนี้
เคมีพ้ นื ฐาน 3-15

พลังงานกับการเปลีย่ นสถานะ
การเปลีย่ นสถานะของสารจากสถานะหนึ่งไปอีกสถานะหนึ่งนัน้ เป็ นการเปลีย่ นแปลงแรงยึดเหนี่ยวภายใน
ของสาร ถ้าสารได้รบั ความร้อนจากสิ่งแวดลอ้ ม แลว้ เกิดการสลายพันธะออกไป เรียกว่าการเปลี่ยนแปลง ปฏิกิริยา
แบบดูดกลืนความร้อน (endothermic reaction) แต่ถา้ การเปลีย่ นแปลงนัน้ มีการสร้างพันธะใหม่ข้นึ มาเรียกว่า การ
เปลีย่ นแปลงปฏิกิริยาแบบคายความร้อน (exothermic reaction) ดังแสดงในจากภาพที่ 3.7

T J

E E

ภาพที่ 3.7 การเปลีย่ นสถานะของสาร

จากภาพที่ 3.7 จะเห็นได้ว่า สารจะมีการเปลีย่ นสถานะจากของแข็ง-ของเหลว-แก๊ส และจากสถานะแก๊ส-


ของแข็ง-ของเหลว ซึง่ มีการเปลีย่ นสถานะกลับไป-มาได้ แต่จะมีคาเรียกทีแ่ ตกต่างกัน ซึง่ อธิบายได้ดงั นี้
การหลอมเหลว คือ การเปลี่ยนสถานะของสารจากสถานะของแข็งเป็ นของเหลว โดยใช้ความร้อน ทาให้
อนุ ภ าคเอาชนะแรงยึด เหนี่ ย วได้ เรีย กอุณ หภูมิ ณ จุด นัน้ ว่า จุดหลอมเหลว (melting point) เช่ น ก้อนน า้ แข็ง
ละลายเป็ นนา้ ทีอ่ ณ
ุ หภูมิ 0 องศาเซลเซียส
การระเหย คือ การเปลี่ยนสถานะของสารจากของเหลวกลายเป็ น ไอหรือแก๊สอย่ างช้าๆ และเกิดเฉพาะ
ผิวหน้าของของเหลวเท่านัน้ หรือถ้าใช้อุณ หภูมิสูงจนทาให้อนุ ภ าคของของเหลวมีพลังงานมากจนเอาชนะแรงยึด
เหนี่ ย วของเหลวได้ เรี ย กอุณ หภูมิ ณ จุด นัน้ ว่า จุด เดือด (boiling point) เช่ น น า้ สามารถระเหยได้ท่ีอุณ หภู มิ
0-100 องศาเซลเซียส แต่ท่ี 100 องศาเซลเซียสเรียกว่าเป็ นจุดเดือดของนา้
การระเหิด คือ การเปลีย่ นสถานะของสารจากของแข็งกลายเป็ นไอหรือแก๊ส ทีอ่ ณ ุ หภูมติ า่ กว่าจุดหลอมเหลว
โดยไม่ผ่านสถานะของเหลว เช่น การระเหิดของนา้ แข็งแห้ง (คาร์บอนไดออกไซด์ทเ่ี ย็นจัด) การระเหิดของลูกเหม็น
การควบแน่ น คื อ การเปลี่ย นสถานะของสารจากไอหรื อแก๊ส เป็ น ของเหลว โดยการเพิ่ม ความดัน หรื อ
ลดอุณหภูมิ เช่น การควบแน่ นของไอนา้ ในเมฆกลายเป็ นฝน
การแข็งตัว คือ การเปลี่ย นสถานะของสารจากของเหลวเป็ นของแข็ง โดยการลดอุณ หภูมิ ทาให้ส ารเกิด
การคายพลังงานออกมา และอนุ ภาคของสารมีพลังงานในการสัน่ น้อยจึงเรียงตัวแบบชิดกันมากขึ้น เรียกอุณหภูมิ
3-16 วิทยาศาสตร์สาหรับเทคโนโลยีสารสนเทศและการสือ่ สาร

ณ จุดแข็งตัวของสารว่า จุดเยือกแข็ง (freezing point) โดยทัว่ ไปจุดเยือกแข็งของสารใดๆ จะมีอุณหภูมเิ ท่ากับจุด


หลอมเหลวของสารนัน้ เพียงเป็ นการเปลี่ยนสถานะกลับทางกัน เช่ น นา้ จะมีจุดเยือกแข็งอยู่ท่ี 0 องศาเซสเซียสซึ่ง
เท่ากับจุดหลอมเหลวของนา้
การระเหิดกลับหรือการควบแข็ง คือ การเปลีย่ นสถานะของสารจากไอหรือแก๊สเป็ นของแข็ง โดยอุณหภูมติ า่
กว่าจุดเยือกแข็ง และไม่ผ่านสถานะของเหลว เช่น ไอนา้ ในอากาศจะระเหิดกลับเป็ นผลึกนา้ แข็งตกลงสู่พ้ นื โลก
ประโยชน์ของการเปลีย่ นสถานะทีพ่ บเห็นในชีวติ ประจาวัน ได้แก่
1) การเปลีย่ นสถานะจากของแข็งไปเป็ นของเหลว และจากของเหลวกลับมาเป็ นของแข็งอีกครัง้ ได้แก่
การผลิตผลิตภัณฑ์โลหะ พลาสติก แก้ว เป็ นต้น
2) การเปลีย่ นสถานะจากของเหลวกลายเป็ นแก๊ส ได้แก่ การใช้ประโยชน์จากแรงดันไอนา้ เดือดในการ
หมุนกังหันของเครื่องกาเนิดไฟฟ้ า เป็ นต้น

พลังงานกับการละลายของสาร
การละลายขึ้นอยู่กบั ชนิดของสารละลาย คือตัวทาละลายและสารละลาย มีสภาพการละลายได้ หรือความ
สามารถในการละลายของตัวถู ก ละลายในตัวท าละลายมากน้อ ยเพีย งใด และในการละลายของสารจะมีก ารใช้
พลังงานเขา้ มาเกี่ยวขอ้ งด้วย โดยทัว่ ไปการละลายของสารที่เป็ นของแข็งมี 2 ขัน้ ตอน ดังตัวอย่างการละลายของ
สารประกอบโซเดียมคลอไรด์ (NaCl) ทีล่ ะลายในนา้ ดังนี้
1. โมเลกุลของตัวถูกละลายแตกตัวออกเป็ นไอออนในสถานะแก๊ส โดยดู ดพลังงานเขา้ ไปเพื่อสลายแรงยึด
เหนี่ยวระหว่างอะตอม เรียกพลังงานดังกล่าวว่า พลังงานแลตทิชหรือพลังงานโครงร่างผลึก (lattice energy)
2. ไอออนในสถานะแก๊ส เมื่อรวมตัวกับนา้ จะคายพลังงานหรือให้พลังงานออกมา เรียกว่า พลังงานไฮเดร
ชัน .ในขัน้ ตอนนี้เกิด แรงยึด เหนี่ย วระหว่างไอออนและโมเลกุล ของนา้ จึงเป็ นการเปลี่ย นแปลงพลังงานแบบคาย
พลังงาน เรียกว่า พลังงานไฮเดรชัน่ (Hydration energy)
ขัน้ ตอนการละลายของสารประกอบโซเดียมคลอไรด์ แสดงดังภาพที่ 3.8

ขัน้ ตอนการละลาย ไอออนบวกและลบ อนุภาคนา้ มาล ้อมรอบ


แยกออกจากกัน

ภาพที่ 3.8 แสดงขั้นตอนการละลายของสารประกอบโซเดียมคลอไรด์


เคมีพ้ นื ฐาน 3-17

การละลายนัน้ จะเป็ นปฏิกิริยาแบบดูดกลืนพลังงานหรือคายพลังงาน ขึ้นอยู่กบั ว่า


- ถ้าการละลายมีพลังงานแลตทิช (ดูดพลังงาน) มากกว่า พลังงานไฮเดรชัน (คายพลังงาน) การละลาย
นา้ เป็ นแบบดูดพลังงาน
- ถ้าการละลายมีพลังงานไฮเดรชัน (คายพลังงาน) มากกว่า พลังงานแลตทิช (ดูดพลังงาน) การละลาย
นา้ เป็ นแบบคายพลังงาน
- ถ้าการละลายมีพลังงานแลตทิช (ดู ดพลังงาน) เท่ากับ พลังงานไฮเดรชัน (คายพลังงาน) การละลาย
นา้ ของสารนัน้ ๆ ถือว่าไม่มกี ารเปลีย่ นแปลง
ความสามารถในการละลายได้ของสารนัน้ ขึ้นอยู่ กบั สภาพการละลาย คือ ความสามารถในการละลายได้
ของตัวทาละลาย ซึ่งขึ้นอยู่ กบั ชนิดของตัว ถูกละลายและตัวทาละลาย นอกจากนี้ยงั ขึ้นกับ สภาพแวดลอ้ มอื่นๆ อีก
ได้แก่ อุณหภูมิ และความดัน เช่ น สภาพการละลายของโซเดียมคลอไรด์ในนา้ 100 กรัม ณ อุณหภูมิ 20 องศา-
เซลเซียส เท่ากับ 36.0 กรัม แต่ถา้ เพิ่มอุณหภูมเิ ป็ น 60 องศาเซลเซียส สภาพการละลายจะเปลีย่ นไปคือ ละลายได้
เพิ่มขึ้นเป็ น 37.3 กรัม ส่วนการละลายของแก๊สจะละลายได้มากขึ้นถ้าอุณหภูมลิ ดลงและความดันเพิ่มมากขึ้น เช่ น
การละลายของแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ในนา้ อัดลม

พลังงานกับการเกิดปฏิกริ ิยาเคมี
เมื่อ เกิ ด ปฏิกิ ริ ย าเคมี (chemical reaction) จะต้อ งมีก ารเปลี่ย นแปลงพลัง งานของสารที่เ กี่ ย วข อ้ งใน
ปฏิกิริยาเสมอ บางปฏิกิริยาอาจสังเกตเห็นได้ชดั เจน เช่ น ปฏิกิริยาการเผาไหม้ การระเบิด เป็ นต้น แต่บางปฏิกิริยา
ต้องอาศัยเวลาจึงจะเห็นการเปลีย่ นแปลง เช่น การขึ้นสนิมของเหล็ก การเกิดหินงอกหินย้อย เป็ นต้น
พลังงานที่เปลี่ยนแปลงในการเกิดปฏิกิริยาเคมีนนั้ แบ่งออกเป็ น 2 ประเภทคือ ปฏิกิริยาดู ดพลังงานหรือ
ปฏิกิริยาดูดความร้อน และปฏิกิริยาคายพลังงานหรือปฏิกิริยาคายความร้อน เช่นกัน
1. ปฏิกิริยาแบบดูดกลืนความร้ อน เป็ นปฏิกิริยาเคมี เมื่อหลังการเกิดปฏิกิริยาแลว้ ทาให้ระบบมีพลังงาน
สูงขึ้น สังเกตจากสมการจะมีลกั ษณะดังนี้

สารตัง้ ต้น (reactant) + พลังงาน สารผลิตภัณฑ์ (product)


เช่น A + 100 กิโลจูล B
หรือ A B ∆H = +100 กิโลจูล (ค่าพลังงาน)

ในปฏิกิริย าดู ด ความร้อน สารผลิตภัณฑ์จะมีพลังงานสู งกว่าสารตัง้ ต้น สามารถเขีย นกราฟแสดงความ


สัมพันธ์ระหว่างพลังงานกับการดาเนินไปของปฏิกิริยาในแง่ของปฏิกิริยาในแง่ของปฏิ กิริยาดู ดพลังงานได้ดงั ภาพที่
3.9 ก
2. ปฏิกิริยาเคมีแบบคายความร้ อน เป็ นปฏิกิริยาเคมี เมื่อหลังการเกิดปฏิกิริยาแลว้ ทาให้ระบบมีพลังงาน
ตา่ ลง สังเกตจากสมการจะมีลกั ษณะดังนี้
3-18 วิทยาศาสตร์สาหรับเทคโนโลยีสารสนเทศและการสือ่ สาร

สารตัง้ ต้น สารผลิตภัณฑ์ + พลังงาน


เช่น D B + 100 กิโลจูล
หรือ D E ∆H = -100 กิโลจูล

เมื่อ ∆H คือ ค่ าปริมาณความร้อนหรือเอนทัลปี (enthalpy) ที่เปลีย่ นแปลงไปของปฏิกิริยาเคมีซ่งึ เป็ นค่ า


ความแตกต่างระหว่างปริมาณความร้อนของผลิตภัณฑ์และตัวทาปฏิกิริยา ถ้ามีเครื่องหมายบวกแสดงว่าเป็ นปฏิกิริยา
แบบดูดกลืนความร้อน แต่ ถา้ มีเครื่องหมายลบแสดงว่าเป็ นปฏิกิริยาแบบคายความร้อน
ดังนั้น ในปฏิกิ ริย าคายพลังงานสารตัง้ ต้น จะมีพ ลัง งานสู ง กว่า สารผลิตภัณ ฑ์ สามารถเขีย นกราฟความ
สัมพันธ์ระหว่างพลังงานกับการดาเนินไปของปฏิกิริยาในแง่ของปฏิกิริยาคายพลังงานได้ภาพที่ 3.9 ข

(ก) ปฏิกิรยิ าแบบดูดกลืนความร้อน (ข) ปฏิกริ ยิ าแบบคายความร้อน

ภาพที่ 3.9 กราฟความสัมพันธ์ ระหว่ างพลังงานกับการดาเนินไปของปฏิกริ ิยา

สัญลักษณ์ Ea ในกราฟ คือ พลังงานก่ อกัมมันต์หรือพลังงานกระตุน้ (activated energy) เป็ นค่ าเฉพาะ
ของปฏิกิริยาหนึ่งๆ และเป็ นพลังงานน้อยสุดทีท่ าให้เกิดปฏิกิริยา
สาหรับปัจจัยทีม่ ผี ลต่อการเกิดปฏิกิริยาเคมี คือ ธรรมชาติของสารตัง้ ต้น ความเขม้ ขน้ ของสารตัง้ ต้น พื้นที่
ผิวของสารทีเ่ ขา้ ไปทาปฏิกิริยา อุณหภูมิ ความดันสาหรับปฏิกิริยาของแก๊ส และตัวเร่งหรือตัวหน่ วงในปฏิกิริยา
เคมีพ้ นื ฐาน 3-19

กิจกรรม 3.1.2
1. การระเหยกับการระเหิ ดต่างกันอย่างไร
2. การละลายดังต่อไปนี้มีการเปลี่ยนแปลงความร้อนเป็ นแบบใด
ก. การละลายพลังงานแลตทิช > พลังงานไฮเดรชัน
ข. การละลายพลังงานไฮเดรชัน่ < พลังงานแลตทิช
3. ให้นกั ศึกษายกตัวอย่างปฏิกิริยาดูดกลืนความร้อนหรื อคายความร้อนที่พบเห็นในชิวิตประจาวัน

แนวตอบกิจกรรม 3.1.2
1. การระเหย คือ การเปลี่ยนสถานะของสารจากของเหลวกลายเป็ นไอหรื อแก๊ส ส่ วนการระเหิ ด คือ
การเปลี่ยนสถานะของสารจากของแข็งกลายเป็ นไอหรื อแก๊สโดยไม่ผา่ นสถานะของเหลว
2. ก. เป็ นการละลายแบบดูดกลืนพลังงาน
ข. เป็ นการละลายแบบคายพลังงาน
3. ปฏิกิริยาดูดกลืนความร้อน เป็ นปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นแล้วดูดความร้อนจากสิ่ งแวดล้อม ทาให้อุณหภูมิ
ของสิ่ งแวดล้อมลดลง ได้แก่ การหลอมเหลวของน้ าแข็ง ซึ่ งจะดูดพลังงานจากสิ่ งแวดล้อม ทาให้น้ าแข็ง
หลอมเหลวเป็ นน้ าและมีอุณหภูมิเพิ่มขึ้นจนเท่ากับอุณหภูมิหอ้ ง
ปฏิกิริยาคายความร้อน เป็ นปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นแล้วให้พลังงานความร้อนออกมากับสิ่ งแวดล้อม ได้แก่
การละลายโซดาไฟในน้ าอุณหภูมิของสารละลายสูงขึ้นจึงถ่ายเทพลังงานให้กบั สิ่ งแวดล้อม
3-20 วิทยาศาสตร์สาหรับเทคโนโลยีสารสนเทศและการสือ่ สาร

ตอนที่ 3.2
โครงสร้ างเคมี
โปรดอ่านหัวเรื่อง แนวคิด และวัตถุประสงค์ของตอนที่ 3.2 แลว้ จึงศึกษารายละเอียดต่อไป

หัวเรื่อง
3.2.1 อะตอม
3.2.2 ตารางธาตุ
3.2.3 พันธะเคมี

แนวคิด
1. โครงสร้างของอะตอมในปัจจุบนั เป็ นการโคจรของอิเล็กตรอนที่มีการเคลื่อนที่ปกคลุมอยู่ รอบ
นิวเคลียสตามระดับชัน้ ของพลังงาน จากการค้นพบของนักวิทยาศาสตร์ทาให้ทราบถึงอนุ ภาค
มูล ฐานของอะตอมทัง้ 3 ชนิ ด คื อ โปรตอน อิเ ล็ก ตรอน และนิ ว เคลีย ส ซึ่งท าให้ส ามารถน า
จานวนอิเ ล็ก ตรอนของธาตุม าเขีย นเป็ น โครงแบบการจัด เรี ย งตัว ของอิเ ล็ก ตรอนในอะตอม
จัดเรียงตามระดับพลังงานรอบนิวเคลีย ส 2 ระดับ คือระดับพลังงานหลัก และระดับพลังงาน
ย่อย
2. ตารางธาตุในปัจจุบนั เป็ นการเรียงตาแหน่ งของธาตุในตารางธาตุตามจานวนโปรตอนของธาตุ ซึ่ง
สามารถดูการเรียงหมู่และคาบของตารางธาตุได้จากเวเลนซ์อเิ ล็กตรอนชัน้ นอกสุด และระดับชัน้
ของพลัง งาน ตามล าดับ ทาให้ทราบถึง แนวโน้ม ของสมบัติข องธาตุใ นหมู่เ ดีย วกัน และคาบ
เดียวกันได้
3. พันธะเคมี คือ แรงยึดเหนี่ยวระหว่างอะตอมให้รวมตัวกันเพื่อเกิดเป็ นโมเลกุลหรือสารประกอบ
แบ่งเป็ นทัง้ หมด 3 ประเภทคือ พันธะไอออนิกคือพันธะระหว่างโลหะและอโลหะ พันธะโคเวเลนซ์
คือพันธะระหว่างอโลหะกับอโลหะ และพันธะโลหะคือพันธะทีย่ ดึ เหนี่ยวอยู่ในอะตอมของโลหะ

วัตถุประสงค์
เมือ่ ศึกษาตอนที่ 3.2 จบแลว้ นักศึกษาสามารถ
1. อธิบายแบบจาลองของอะตอมได้
2. ระบุองค์ประกอบของอะตอมและโครงแบบการจัดเรียงอิเล็กตรอนในอะตอมของสารได้
3. บอกแนวโน้มความสัมพันธ์ของธาตุในตารางธาตุกบั สมบัตขิ องธาตุได้
4. อธิบายพันธะเคมีแต่ละประเภทได้
เคมีพ้ นื ฐาน 3-21

เรื่องที่ 3.2.1
D:O ON .

อะตอม

แบบจาลองของอะตอม
การศึ กษาเรื่องอะตอมมีมาตัง้ แต่ สมัยกรีกโบราณ โดยนักวิทยาศาสตร์พยายามหาเหตุผลมาเพื่ออธิบายว่า
สสารทีไ่ ม่สามารถแยกได้อกี คืออะไร เริ่มจากดิโมคริตสุ (Democritus) นักปราญช์ชาวกรีกได้ให้แนวคิดว่า สสารทุก
อย่างสามารถแบ่งย่อยได้จนถึงหน่ วยที่เล็กที่สุด ที่ไม่สามารถแบ่งแยกได้อกี เรียกว่า อะตอม ซึ่งมาจากภาษากรีกว่า
atomos ต่อมาได้มนี กั วิทยาศาสตร์อกี หลายท่านทีพ่ ยายามทดลอง หรือประยุกต์ใ ช้เครื่องมือเพื่อศึกษาค้นคว้าให้ได้
ขอ้ มูลเกี่ยวกับโครงสร้างอะตอมมากขึ้น ทาให้มวี วิ ฒั นาการแบบจาลองของอะตอมดังต่อไปนี้
แบบจาลองอะตอมของเซอร์จอห์น ดอลตัน (Sir John Dalton) กล่าวว่าอะตอมมีลกั ษณะเป็ น ทรงกลม
ขนาดเล็กมากและแบ่งแยกไม่ได้
ต่อมาได้มกี ารศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับอะตอมเพิม่ ขึ้น และพบว่าขอ้ มูลของดอลตัลนัน้ ไม่ถูกต้อง เช่ น อะตอม
สามารถแบ่งแยกได้ อะตอมของแต่ละธาตุมมี วลต่างกัน จึงทาให้เกิดแบบจาลองของอะตอมขึ้นมา เป็ นลาดับ ดังนี้
แบบจาลองอะตอมของเซอร์ โจเซฟ จอห์น ทอมสัน (Sir Joseph John Thomson) ได้ท าการทดลอง
เกี่ยวกับอะตอมพบว่าอะตอมทุกชนิดประกอบด้วยประจุลบเรียกว่า อิเล็ก ตรอน (electron, e) และนาขอ้ มูลการ
ค้นพบประจุบวกหรือโปรตอน (proton, p) ของออยแกน โกลด์สไตน์ (Eugen Goldstein) มารวมกันเพื่อเสนอเป็ น
แบบจาลองของอะตอมว่า อะตอมมีลกั ษณะเป็ นทรงกลมซึ่งมีประจุบวกและประจุลบกระจายอยู่ทวั ่ อย่ างสมา่ เสมอ
และมีจานวนเท่ากัน
แบบจาลองอะตอมของลอร์ด เออร์เนสต์ รัทเทอร์ฟอร์ด (Lord Ernest Rutherford) และ ฮันส์ ไกเกอร์ได้
ทาการทดลองเกี่ยวกับอะตอมและนาเสนอแบบจาลองของอะตอมว่า อะตอมประกอบด้วยโปรตอนที่รวมกันเป็ น
นิวเคลียสอยู่ตรงกลาง และมีอเิ ล็กตรอนทีเ่ ป็ นประจุลบวิง่ วนอยู่รอบๆ นิวเคลียส
ต่ อมาได้มีการศึ ก ษาของเจมส์ แซดวิก (Jame Chadwick) พบว่าในนิวเคลีย สนอกจากจะประกอบด้วย
อนุ ภ าคโปรตอนแล ว้ ยัง มีอนุ ภ าคที่เป็ น กลางไม่ มีป ระจุแ ละมีม วลเท่ า กับ โปรตอนอยู่ ด ว้ ย ซึ่งให้ช่ือ ว่ านิ ว ตรอน
(neutron, n) จากการค้นพบนี้ทาให้ทราบว่านิวเคลียสที่อยู่ตรงกลางของแบบจาลองรัทเทอร์ฟอร์ดนัน้ นอกจากจะ
ประกอบไปด้วยโปรตอนแลว้ ยังมีนิวตรอนรวมตัวอยู่ดว้ ย
แบบจาลองอะตอมของนีลส์ บอร์ (Niels Bohr) ได้ทาการทดลองเพื่อหาขอ้ มูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการจัดเรียง
อิเล็กตรอนทีว่ นรอบนิวเคลีย ส และนาเสนอแบบจาลองของอะตอมว่า อะตอมประกอบด้วยโปรตอนและนิวตรอนที่
รวมตัวกันเป็ นนิวเคลียส และมีอเิ ล็กตรอนวิง่ อยู่รอบๆ เป็ นชัน้ ๆ หรือเรียกว่าเป็ นระดับพลังงานในแต่ละชัน้
3-22 วิทยาศาสตร์สาหรับเทคโนโลยีสารสนเทศและการสือ่ สาร

และจากการศึ กษาต่ อมา พบว่าการเคลื่อนที่ของอิเล็กตรอนไม่สามารถระบุตาแหน่ งที่แน่ นอนได้ จึง ทาให้


แบบจาลองอะตอมในปัจจุบนั เป็ นแบบกลุ่มหมอก และนาเสนอว่าอะตอมประกอบด้วยนิวเคลียส และรอบๆ นิวเคลียส
จะประกอบด้วยกลุ่มหมอกของอิเล็กตรอน
แบบจาลองอะตอมของแต่ละแบบดังแสดงในภาพที่ 3.9

ดอลตัน ทอมสัน รัทเทอร์ฟอร์ด

บอร์ กลุม่ หมอก

ภาพที่ 3.10 แบบจาลองอะตอมแบบต่ างๆ

โครงสร้ างอะตอม
จากการทดลองและนาเสนอแบบจาลองอะตอมในแต่ละแบบ ทาให้ทราบว่าในแต่ละอะตอมประกอบด้วย
อนุ ภาค 3 ชนิด คือ โปรตอน อิเล็กตรอน และนิวตรอน ซึ่งต่อมากาหนดให้เป็ น อนุภาคมูลฐานของอะตอม และมี
สมบัตดิ งั ตารางที่ 3.4

ตารางที่ 3.4 สมบัตขิ องอนุภาคมูลฐานของอะตอม

อนุภาค มวล ประจุ


กรัม amu หน่ วย คูลอมบ์ (c)
โปรตอน, p 9.109 10-28 5.49 10-4 +1 1.602 10-19
อิเล็กตรอน, e 1.673 10-24 1.007 -1 1.602 10-19
นิวตรอน, n 1.675 10-24 1.009 0 0

หมายเหตุ: amu ย่อมาจาก atomic mass unit เป็ นหน่วยทีใ่ ช้ในการวัดมวลของอะตอม และโมเลกุล
เคมีพ้ นื ฐาน 3-23

ในการแสดงจานวนอนุ ภาคมูลฐานของอะตอมในแต่ละธาตุสามารถเขียนเป็ นสัญลักษณ์ทเ่ี รียกว่า สั ญลักษณ์


นิวเคลียร์ (nuclear symbol) ซึง่ ประกอบด้วยเลขอะตอม (atomic number) และเลขมวล (mass number) แสดง
สัญลักษณ์ดงั นี้
*
หรือ

เมือ่ X แทน สัญลักษณ์ของธาตุ


A แทน เลขมวล
Z แทน เลขอะตอม

เลขมวล หมายถึง ผลรวมของจานวนโปรตอนกับจานวนนิวตรอนภายในนิวเคลียส เลขมวลในที่น้ ีไม่ใช่ มวล


ของอะตอม แต่มคี ่าใกลเ้ คียงกับมวลของอะตอม
เลขอะตอม หมายถึง จานวนโปรตอนที่อยู่ ภายในนิวเคลียส เนื่องจากอะตอมที่เป็ นกลางจะมีค่าโปรตอน
และอิเล็กตรอนเท่ากัน ค่าทีแ่ สดงในเลขเชิงอะตอมจึงหมายถึงจานวนอิเล็กตรอนในอะตอมด้วย
หรือกล่าวได้ว่า เลขมวล = จานวนโปรตอน (p) + จานวนนิวตรอน (n)
เลขอะตอม = จานวนโปรตอน (p) = จานวนอิเล็กตรอน (e)
ดังนั้น เมื่อ ทราบเลขมวลและเลขเชิง อะตอม จะสามารถค านวณหาอนุ ภ าคมู ล ฐานของธาตุต่า งๆ ได้ด งั
ตัวอย่างแสดงในตารางที่ 3.5

ตารางที่ 3.5 ตัวอย่ างการแปลความหมายสัญลักษณ์ นิวเคลียร์


UÑÑ 79 - Wu - ins za -
z

สัญลักษณ์ นิวเคลียร์ y จานวนอนุภาค


นิวตรอน โปรตอน อิเล็กตรอน
12 11 11
8 8 8
18 17 17
175 32 32

อะตอมของธาตุถา้ เป็ นชนิดเดียวกันจะมีจานวนโปรตอนเท่ากัน แต่อะตอมธาตุบางชนิดอาจมีนิวตรอนได้


หลายค่าส่งผลให้มเี ลขมวลทีแ่ ตกต่างกัน อะตอมของธาตุทม่ี ลี กั ษณะเช่นนี้ เรียกว่า ไอโซโทป (isotope) ตัวอย่างเช่น
ธาตุไฮโดรเจน เขียนสัญลักษณ์นิวเคลียร์ได้เป็ น
ธาตุออกซิเจน เขียนสัญลักษณ์นิวเคลียร์ได้เป็ น
ธาตุคาร์บอนไดออกไซด์ เขียนสัญลักษณ์นิวเคลียร์ได้เป็ น
3-24 วิทยาศาสตร์สาหรับเทคโนโลยีสารสนเทศและการสือ่ สาร

เลขมวลของธาตุท่ีร ะบุในตารางธาตุ น นั้ เป็ น ค่ าเฉลี่ย ของมวลของไอโซโทปที่พ บตามธรรมชาติ ส าหรับ


ประโยชน์ของไอโซโทปส่วนมากจะเป็ นการนาไอโซโทปกัมมันตรังสี เช่ น การคานวณหาอายุของวัตถุโบราณ หรือซาก
ดึกดาบรรพ์ การใช้รงั สียงิ เพือ่ ถนอมอาหารหรือรักษาโรคมะเร็ง เป็ นต้น

การจัดเรียงอิเล็กตรอนในอะตอม
จากแบบจาลองของอะตอม ทาให้ทราบว่าอิเล็กตรอนเคลือ่ นทีอ่ ยู่รอบๆ นิวเคลียสตามระดับชัน้ ของพลังงาน
โดยระดับพลังงานของอิเล็กตรอนแบ่งได้ 2 ระดับคือระดับพลังงานหลัก และระดับพลังงานย่ อย โดยการศึ กษา
ระดับพลังงานจะทาให้ทราบถึงการจัดเรียงโครงแบบของอิเล็กตรอนในแต่ละอะตอมด้วย
1. ระดับพลังงานของอิเล็กตรอน แบ่งได้เป็ น 2 ระดับ
1.1 ระดับพลังงานหลัก (shell) แบ่งเป็ น 7 ระดับพลังงาน คือ K, L, M, N, O, P, Q หรือ n = 1, 2
3, 4, 5, 6, 7 ดังแสดงในภาพที่ 3.11 ซึ่งระดับพลังงานที่ตา่ สุดคือ K หรือ n=1 มีค่าระดับพลังงานสู งขึ้นเรื่อยๆ
ตามระดับชัน้ ที่เพิ่ม ขึ้น โดยแต่ ละระดับพลังงานจะบรรจุอิเล็กตรอนได้มากที่สุดเท่ากับ 2n2 เมื่อ n คือค่ าระดับ
พลังงาน ดังนัน้ ระดับพลังงานที่ 1, 2, 3, 4, 5, 6, 7 จึงบรรจุอเิ ล็กตรอนได้มากที่สุดเป็ น 2, 8, 18, 32, 50, 72, 98
อนุ ภาคตามลาดับ

ภาพที่ 3.11 ระดับพลังงานหลักของจานวนอิเล็กตรอนในอะตอม

1.2 ระดับพลังงานย่ อย (subshell) เป็ น ระดับพลังงานที่แ บ่งออกมาจากระดับ พลังงานหลัก ซึ่งใน


ปัจจุบนั แบ่งเป็ น 4 ระดับคือ s, p, d, f ซึง่ แต่ระดับพลังงานย่อยจะมีวงโคจรของอิเล็กตรอนหรือเรียกว่า จานวนออร์
บิทลั (orbital) ในแต่ละระดับชัน้ เป็ น 1, 3, 5, 7 ออร์บทิ ลั ตามลาดับ และในแต่ละออร์บทิ ลั บรรจุอเิ ล็กตรอนสู งสุด
ได้เพียง 2 อิเล็กตรอนเท่านัน้ จึงทาให้การบรรจุจานวนอิเล็กตรอนของแต่ละระดับพลังงานย่อยแตกต่ างกันไป คือ
2, 6, 10, 14 ตามลาดับ
เคมีพ้ นื ฐาน 3-25

ตัวอย่างแสดงจานวนอิเล็กตรอนทีม่ ากทีส่ ุดในระดับพลังงานหลักที่ 1-4 ดังตารางที่ 3.6

ตารางที่ 3.6 จานวนอิเล็กตรอนทีม่ ากทีส่ ุ ดในระดับพลังงานหลักที่ 1-4

ระดับพลังงานย่ อย จานวนอิเล็กตรอน
ระดับพลังงานหลัก
s p d f ทั้งหมด
n = 1, K 2 - - - 2
n = 2, L 2 6 - - 8
n = 3, M 2 6 10 - 18
n = 4, N 2 6 10 14 32

2. โครงแบบอิเล็กตรอนในอะตอม เป็ นการแสดงถึงตัวเลขทีบ่ อกจานวนอิเล็กตรอนในแต่ละระดับพลังงาน


โดยสัญลักษณ์ทใ่ี ช้เขียนแทนการบรรจุอเิ ล็กตรอนและจานวนอิเล็กตรอนในแต่ละออร์บทิ ลั คือ

แสดงจานวนอิเล็กตรอนหมายถึงมี 2 อิเล็กตรอน
ลำดับที่ของพลังงำนหลัก 1s2
s ออร์บทิ ลั ในชัน้ พลังงานหลักที่ 1 คือ 1s

เมือ่ นามาเขียนความสัมพันธ์ระหว่างระดับพลังงานหลักและพลังงานงานย่อยในแต่ละชัน้ เขียนได้ดงั นี้


ระดับพลังงานหลัก K, n=1 มี 1 ระดับพลังงานย่อย คือ 1s2
ระดับพลังงานหลัก L, n=2 มี 2 ระดับพลังงานย่อย คือ 2s2 2p6
ระดับพลังงานหลัก M, n=3 มี 3 ระดับพลังงานย่อย คือ 3s2 3p6 3d10
ระดับพลังงานหลัก N, n=4 มี 4 ระดับพลังงานย่อย คือ 4s2 4p6 4d10 4f14
ระดับพลังงานหลัก O, n=5 มี 4 ระดับพลังงานย่อย คือ 5s2 5p6 5d10 5f14
ระดับพลังงานหลัก P, n=6 มี 3 ระดับพลังงานย่อย คือ 6s2 6p6 6d10
ระดับพลังงานหลัก Q, n=7 มี 2 ระดับพลังงานย่อย คือ 7s2 7p6

ในการจัดอิเล็กตรอนต้องจัดลงในระดับพลังงานย่อยของระดับพลังงานตา่ คือ s ให้เต็มก่ อนแลว้ จึงจัดลงใน


ระดับพลังงานที่สูงต่อไป (p, d, f) แต่หลักการนี้ใช้ได้เฉพาะ 18 ธาตุแรกเท่านัน้ ทัง้ นี้เนื่องจากเมื่ออะตอมมีระดับ
พลังงานมากขึ้น ระดับพลังงานย่ อยจะอยู่ชิดกันมาก และมีการซ้อนทับกัน และไม่เรียงกันตามลาดับ ดังแสดงใน
ภาพที่ 3.11
3-26 วิทยาศาสตร์สาหรับเทคโนโลยีสารสนเทศและการสือ่ สาร

ภาพที่ 3.12 ระดับพลังงานในอะตอม

เพื่อให้สะดวกต่อการจัดเรียงอิเล็กตรอนจึงมีโครงแบบการจัดเรียงอิเล็กตรอน (electron configuration)


ของอะตอมต่ างๆ ตามแผนผังในภาพที่ 3.13 เพื่อเป็ น การจัด ล าดับก่ อนและหลังของการบรรจุอิเล็ก ตรอนลงใน
ออร์บทิ ลั

ภาพที่ 3.13 การจัดเรียงลาดับของอิเล็กตรอนลงในระดับพลังงานย่ อย

การเขียนโครงแบบอิเล็กตรอนของธาตุ ตอ้ งอิงจากการจัดลาดับของอิเล็กตรอนในแต่ละระดับพลังงานย่อย


บางครัง้ การเขีย นโครงแบบอิเล็ก ตรอนอาจย่ อให้ส นั้ ลงได้ โดยเฉพาะโครงแบบอิเล็ก ตรอนที่เป็ น แก๊ส เฉื่ อ ย ซึ่ง
การเขียนจะเขียนโดยใส่สญ ั ลักษณ์ของแก๊สเฉื่ อยไว้ในวงเล็บ แลว้ ต่ อด้วยส่วนที่เหลือตามหลัง ตัวอย่ างการเขียน
โครงแบบการจัดเรียงอิเล็กตรอนของธาตุ 20 ธาตุแรกทีร่ ะบุไวใ้ นตารางธาตุ แสดงดังตารางที่ 3.7
เคมีพ้ นื ฐาน 3-27

ตารางที่ 3.7 การเขียนโครงแบบอิเล็กตรอนของธาตุ 20 ธาตุแรก

สัญลักษณ์ โครงแบบการจัดเรียง การเขียนแบบย่ อโดยใช้ การเขียนแบบย่ อ


นิวเคลียร์ ของธาตุ อิเล็กตรอน สัญลักษณ์ ของแก๊ สเฉื่อย (แบบไม่ ใส่ ช้ันระดับพลังงาน)
1s1 - 1
e 1s2 - 2
1s2 2s1 [He] 2s1 21
e 1s2 2s2 [He] 2s2 22
1s2 2s2 2p1 [He] 2s2 2p1 23
1s2 2s2 2p2 [He] 2s2 2p2 24
1s2 2s2 2p3 [He] 2s2 2p3 25
1s2 2s2 2p4 [He] 2s2 2p4 26
1s2 2s2 2p5 [He] 2s2 2p5 27
e 1s2 2s2 2p6 [He] 2s2 2p6 28
1s2 2s2 2p6 3s1 [Ne] 3s1 281
1s2 2s2 2p6 3s2 [Ne] 3s2 282
1s2 2s2 2p6 3s2 3p1 [Ne] 3s2 3p1 283
1s2 2s2 2p6 3s2 3p2 [Ne] 3s2 3p2 284
1s2 2s2 2p6 3s2 3p3 [Ne] 3s2 3p3 285
1s2 2s2 2p6 3s2 3p4 [Ne] 3s2 3p4 286
1s2 2s2 2p6 3s2 3p5 [Ne] 3s2 3p5 287
1s2 2s2 2p6 3s2 3p6 [Ne] 3s2 3p6 288
1s2 2s2 2p6 3s2 3p6 4s1 [Ar] 4s1 2881
1s2 2s2 2p6 3s2 3p6 4s2 [Ar] 4s2 2882

หมายเหตุ จานวนอิเล็กตรอนไดจ้ ากเลขมวลในสัญลักษณ์นิวเคลียร์ของธาตุ


3-28 วิทยาศาสตร์สาหรับเทคโนโลยีสารสนเทศและการสือ่ สาร

กิจกรรม 3.2.1
1. จงเติมข้อมูลของอะตอมต่างๆ ในตารางด้านล่าง

สัญลักษณ์ ธาตุ จานวนโปรตอน จานวนอิเล็กตรอน จานวนนิวตรอน

2. ให้จดั เรี ยงโครงแบบอิเล็กตรอนของอะตอมโพแทสเซี ยม 19K39

แนวตอบกิจกรรม 3.2.1
1.

สัญลักษณ์ ธาตุ จานวนโปรตอน จานวนอิเล็กตรอน จานวนนิวตรอน


B 5 5 6
Na 11 11 12
Ar 18 18 22
Br 35 35 45
Kr 36 36 48

2. 19K = 1s2 2s2 2p6 3s2 3p6 4s1 หรื อ เขียนแบบย่อเป็ น 2 8 8 1


เคมีพ้ นื ฐาน 3-29

เรื่องที่ 3.2.2
ตารางธาตุ

การสร้ างตารางธาตุ
ธาตุ คือ สารบริสุทธิ์ทป่ี ระกอบด้วยอะตอมชนิดเดียวกัน และไม่สามารถแยกเป็ นสารอื่นได้ ในสมัยก่ อนยัง
มีการค้นพบธาตุไม่ก่ีชนิด เซอร์จอห์น ดอลตัน จึงได้เสนอให้มีการกาหนดสัญลักษณ์ภาพแทนธาตุต่างๆ เหล่านัน้
ดังแสดงในภาพที่ 3.14

ภาพที่ 3.14 สัญลักษณ์ ภาพแทนธาตุต่างๆ


ที่มา: http://www.meta-synthesis.com/webbook/35_pt/pt_database.php?PT_id=5 ค้นคืนเมื่อ 10 ส.ค. 55

ต่อมา จาคอบ แบร์เซลิอสุ (Jacob Berzelius) เสนอให้ใช้ตวั อักษรแทนสัญลักษณ์ภาพของธาตุ เนื่องจากมี


การค้นพบธาตุใหม่ๆ เพิ่มขึ้นเป็ นจานวนมาก การใช้สญ ั ลักษณ์ภาพจึงไม่สะดวก จึงมีการเสนอให้เขียนสัญลักษณ์
เป็ นตัวอักษรของธาตุแทน นักเคมีได้ตกลงให้ใช้ช่อื ภาษาอังกฤษหรือภาษาลาตินเพียงตัวเดียว โดยเขียนจากตัวอักษร
ภาษาอังกฤษตัวแรกของชื่อธาตุเป็ น พิม พ์ใหญ่ ถ้าชื่อ มีอกั ษรตัวแรกซา้ กัน ให้ใช้อกั ษรตัวแรกเป็ น พิม พ์ใหญ่ แ ละ
ตัวอักษรทีส่ องของชื่อธาตุเป็ นตัวพิมพ์เล็ก ถ้าอักษรตัวที่สองยังซา้ กันอีกให้ใช้อกั ษรตัวถัดไปตัวใดตัวหนึ่งและเขียน
ด้วยตัวอักษรตัวพิมพ์เล็ก การใช้ตวั อักษรแทนธาตุน้ ี ทาให้เกิดความสะดวกและความเป็ นสากลมากขึ้น และนามาใช้
จนถึงปัจจุบนั
เมื่อ มีจ านวนของธาตุเ พิ่ม มากขึ้น นัก วิท ยาศาสตร์จึง พยายามหาทางในการจัด หมวดหมู่ ข องธาตุต่ างๆ
เพือ่ ให้มกี ารจัดเก็บธาตุให้มรี ะบบมากขึ้น ซึ่งพบว่ามีหลายธาตุท่มี สี มบัติทางกายภาพและทางเคมีท่คี ลา้ ยกัน จึงเป็ น
สาเหตุในการพัฒนาตารางธาตุในปัจจุบนั เริ่มจาก
3-30 วิทยาศาสตร์สาหรับเทคโนโลยีสารสนเทศและการสือ่ สาร

เดอเบอไรเนอร์ โยฮันน์ วอฟกัน (Johann Wolfgang Döbereiner) เสนอการจัดกลุ่มของธาตุแบบ กฎชุด


สาม (Law of Triads) โดยพบว่าเมื่อธาตุทงั้ สามมาเรียงกัน ตามมวลอะตอมที่เพิ่มขึ้น เช่ น ลิเทีย ม (Li) โซเดีย ม
(Na) และโพแทสเซียม (K) โดยมวลของธาตุท่อี ยู่ ตรงกลาง (โซเดีย ม) จะมีมวลอะตอมใกลเ้ คียงหรือ เท่ากับมวล
อะตอมเฉลี่ยของธาตุท่มี ีมวลน้อยกว่าและมากกว่า (ลิเทียมและโพแทสเซียม) และสมบัติของธาตุทงั้ สามคลา้ ยกัน
แต่แนวคิดนี้ไม่เป็ นทีย่ อมรับเนื่องจากไม่สามารถนาไปใช้ได้กบั กลุ่มบางกลุ่มทีม่ สี มบัติ ไม่คลา้ ยกัน
ดิมิท รี อิว าโนวิช เมเดเลเอฟ (Dmitri Ivanovich Mendeleev) และ ยู ล ิอุส โลทาร์ ไมเออร์ (Julius
Lothar Myer) ได้เสนอว่าถ้าเรียงธาตุตามมวลอะตอมที่เพิ่มขึ้นจะได้กลุ่มของธาตุท่มี สี มบัติทางเคมี และกายภาพที่
คล า้ ยกัน สามารถจัด เป็ น ชุด ๆ ได้ และเรีย กกฎนี้ว่า กฎพีริออดิก (Periodic Law) โดยในสมัย นัน้ เมเดเลเอฟ
ได้ทาการเรียงธาตุตามจานวนธาตุทค่ี น้ พบ ซึง่ จะเว้นช่องว่างไวบ้ างส่วนสาหรับธาตุท่ยี งั ค้นไม่พบในขณะนัน้ และการ
จัด เรียงธาตุตามมวลอะตอมนัน้ ตาแหน่ งของธาตุบางธาตุจะปรากฏอยู่ ในกลุ่ม ที่มีส มบัติท่ี ไม่ เหมือนกัน จึง ทาให้
บางธาตุไม่จดั เรียงตามมวลอะตอม อย่างไรก็ตามแนวคิดของเมเดเลเอฟนี้เป็ นจุดเริ่มต้นของตารางธาตุในปัจจุบนั
ต่อมานักวิทยาศาสตร์มคี วามเขา้ ใจเกี่ยวกับโครงสร้างของอะตอมมากขึ้น เฮนรี จี.เจ. มอสลีย ์ (Henry G.J.
Moseley) จึง เสนอให้เ รี ย งต าแหน่ ง ของธาตุใ นตารางธาตุ ต ามเลขอะตอม (จ านวนโปรตอนของธาตุ) ซึ่ง พบว่ า
แก้ปญ ั หาการสลับตาแหน่ งของบางธาตุได้ และธาตุทอ่ี ยู่ในหมวดหมู่เดียวกันก็มสี มบัตทิ างเคมีและกายภาพคลา้ ยกัน
จึงถือว่าเป็ นการปรับปรุงตารางธาตุของเมเดเลเอฟและเป็ นตารางธาตุทน่ี ามาใช้ในปัจจุบนั

ตารางธาตุในปัจจุบัน
ตารางธาตุหรือเรียกอีกชื่อว่าตารางพีริออดิก (periodic table) ในปัจจุบนั เป็ นตารางธาตุท่เี รียงตามลาดับ
เลขอะตอมทีเ่ พิม่ ขึ้นจากซ้ายไปขวา มีแถวตามแนวนอน 7 แถวเรียกว่า คาบ (period) และแถวตามแนวตัง้ 18 แถว
เรียกว่า หมู่ (group) ดังแสดงในภาพที่ 3.14 นอกจากนี้ตารางธาตุยงั แบ่งเป็ น 2 กลุ่มใหญ่ ๆ คือ ธาตุกลุ่ม A และ
ธาตุกลุ่ม B
1. ธาตุกลุ่ม A เรียกว่า ธาตุเรพรีเซ็นเททีฟ (representative element) ซึ่งถือว่าเป็ นหมู่หลัก ของตาราง
ธาตุ จะแบ่งออกเป็ น 8 หมู่คือ 1A-8A หรือนิยมเขียนแทนด้วยเลขโรมันคือ IA-VIII ธาตุหมู่ 1A-2A มีสมบัติเป็ น
โลหะ หมู่ 3A-8A มีสมบัตเิ ป็ นอโลหะ และมีหมู่ทอ่ี ยู่ระหว่างหมู่ 3A-6A มีเส้นขีดเป็ นขัน้ บันไดมีสมบัตเิ ป็ นอโลหะ
2. ธาตุกลุ่ม B เรียกว่า ธาตุแทรนซิชนั (transition element) มี 8 หมู่คือ หมู่ 2B จนถึง 8B แต่เริ่มเรียง
จากหมู่ 3B ถึง หมู่ 2B เป็ น ธาตุท่ีอ ยู่ ร ะหว่ า งหมู่ 2A และหมู่ 3A โดยธาตุ แ ทรนซิช ัน มีก ารจัด เรี ย งโครงแบบ
อิเล็ก ตรอนที่บรรจุใน d หรื อ f ออร์บิทลั ไม่ เต็ม ซึ่งแตกต่ างจากหมู่ A ที่มีก ารจัด เรีย งโครงแบบอิเล็ก ตรอนให้
ระดับชัน้ พลังงานทีถ่ ดั จากชัน้ นอกเต็มก่อนไปพลังงานชัน้ ถัดไป
ธาตุ 2 แถวล่าง ซึ่งแยกไว้ต่างหากนัน้ เรียกว่า ธาตุแทรนซิชนั ชัน้ ใน (Inner transition elements) โดยมี
ชื่อเรียกต่างกันดังนี้
ธาตุแถวบน เรียกว่า กลุ่มธาตุแลนทาไนด์ (lanthanide series) เป็ นธาตุท่มี ีเลขอะตอมตัง้ แต่ 58 ถึง 71
ธาตุกลุ่มนี้ควรจะอยู่ในหมู่ 3B โดยจะเรียงต่อจากธาตุ La
เคมีพ้ นื ฐาน 3-31

ธาตุแ ถวล่าง เรีย กว่า กลุ่ม ธาตุแ อกทิไนด์ (actinide series) เป็ น ธาตุท่ีมีเลขอะตอมตัง้ แต่ 90 ถึง 103
ธาตุกลุ่มนี้ควรอยู่ในหมู่ III B โดยเรียงต่อจากธาตุ Ac
จะเห็นว่าธาตุทงั้ หมดในตารางธาตุนอกจากจะจัดเรียงตามเลขเชิงอะตอมแลว้ ยังจัดเรียงตามระดับพลังงาน
ย่อยอีกด้วย ซึง่ สามารถได้เป็ น 4 เขต ในการบรรจุอเิ ล็กตรอนในแต่ละชัน้ ของ s, p, d, f ดังแสดงในภาพที่ 3.14

ภาพที่ 3.15 ตารางธาตุในปัจจุบัน


3-32 วิทยาศาสตร์สาหรับเทคโนโลยีสารสนเทศและการสือ่ สาร

ความสาคัญของหมู่และคาบในตารางธาตุ
การจัดเรียงธาตุในตารางธาตุ ธาตุท่ีเรียงอยู่ ในหมู่ เดีย วกันหรือคาบเดียวกันต้องมีค วามสัมพัน ธ์อย่ างใด
อย่างหนึ่งทีค่ ลา้ ยคลึงกันในเชิงสมบัตทิ างเคมีและทางกายภาพ ซึง่ พบว่า
1. ความสาคัญของธาตุหมู่เดียวกัน เมื่อพิจารณาจากจานวนอิเล็ก ตรอนที่อยู่ รอบนอกสุ ด หรือ เวเลนซ์
อิเล็กตรอน (valance electron) ของธาตุท่อี ยู่ หมู่เดียวกัน จะมีค่า เท่ากับตัวเลขของหมู่นนั้ ๆ เช่ น โลหะในหมู่ 1A
จะมีเวเลนซ์อเิ ล็กตรอนเท่ากับ 1 ดังแสดงในตารางที่ 3.8

ตารางที่ 3.8 ตัวอย่ างการจัดเรียงโครงสร้ างของธาตุหมู่ 1A ตั้งแต่ ธาตุ Li-Rb

จานวนอิเล็กตรอนในแต่ ละ
ธาตุ โครงแบบอิเล็กตรอน เวเลนซ์ อเิ ล็กตรอน
ระดับชั้นพลังงาน
Li 1s2 2s1 2, 1 1
Na 1s2 2s2 2p61s1 2, 8, 1 1
K 1s2 2s2 2p63s23p64s1 2, 8, 8, 1 1
Rb 1s2 2s2 2p63s23p63d104s24p65s1 2, 8, 18, 8, 1 1

จากตารางที่ 3.8 จะพบว่า


- เวเลนซ์อเิ ล็กตรอนของธาตุหมู่ 1A จะมีค่าเท่ากับ 1 และธาตุเหล่านี้จะมีสมบัตคิ ลา้ ยกัน โดยแนวโน้มนี้จะ
เป็ นเหมือนกันตลอดทัง้ ธาตุในกลุ่มเอ กล่าวคือธาตุทอ่ี ยู่หมู่เดียวกันจะมีสมบัตคิ ลา้ ยกันนัน่ เอง
- จากตารางที่ 3.8 สังเกตได้ว่าธาตุท่ีอยู่ หมู่เดียวกันจะมีร ะดับพลังงานไม่ เท่ ากัน โดยมีแ นวโน้ม เพิ่ม ขึ้น
เรื่อยๆ จากด้านบนลงล่าง ซึ่งลักษณะของระดับพลังงานที่แตกต่างกันนี้จะส่งผลต่อสมบัติอ่นื ๆ ซึ่งจะกล่าวต่อไปใน
หัวขอ้ ที่ 4
2. ความสาคัญของธาตุคาบเดียวกัน เป็ น การจัดเรีย งโครงแบบอิเล็ก ตรอนของธาตุในแนวนอน ซึ่งจะมี
เวเลนซ์อเิ ล็กตรอนไม่เท่ากัน เช่น ธาตุในคาบที่ 2 ดังแสดงในตารางที่ 3.9

ตารางที่ 3.9 การจัดเรียงโครงสร้ างของธาตุ Li Be B C ในคาบที่ 2 ของตารางธาตุ

จานวนอิเล็กตรอนในแต่ ละ
ธาตุ โครงแบบอิเล็กตรอน เวเลนซ์ อเิ ล็กตรอน
ชั้นพลังงานหลัก
Li 1s2 2s1 2, 1 1
Be 1s2 2s2 2, 2 2
B 1s2 2s2 2p1 2, 3 3
C 1s2 2s2 2p2 2, 4 4
เคมีพ้ นื ฐาน 3-33

จากตารางที่ 3.9 จะพบว่าธาตุในคาบเดียวกันมีจานวนชัน้ พลังงานเท่ากัน ต่างกันเพียงจานวนอิเล็กตรอนที่


อยู่ในแต่ละชัน้ ซึง่ มีแนวโน้มเพิม่ ขึ้นเรื่อยๆ จากซ้ายไปขวาของตารางธาตุ
สาหรับธาตุทรานซิชนั ่ ส่วนใหญ่ มีเวเลนซ์อิเล็กตรอนชัน้ นอกเท่ากับ 2 จะมีบางธาตุท่มี เี วเลนซ์อเิ ล็กตรอน
เท่ากับ 1 จึงทาให้สมบัตสิ ่วนใหญ่ของธาตุทรานซิชนั ่ คลา้ ยคลึงกันทัง้ ในหมู่และคาบเดียวกัน

สมบัตขิ องธาตุตามตารางธาตุ
สมบัติข องธาตุน ั้น ดู ไ ด้จ ากแนวโน้ม ของการจัด เรี ย งโครงแบบอิเ ล็ก ตรอน สมบัติด งั กล่ า วของธาตุคื อ
ความเป็ นโลหะ ขนาดอะตอมและไอออน พลังงานไอออไนเซชัน (ionization energy) สัมพรรคภาพอิเล็กตรอน
(electron affinity) อิเล็กโตรเนกาติวติ ี (electronegativity) เป็ นต้น
1. ความเป็ นโลหะ จากตารางธาตุบอกสมบัติความเป็ นโลหะคือหมู่ 1A และ 2A จะเป็ นพวกโลหะ หมู่
3A-6A จะมีทงั้ กึ่งโลหะและอโลหะ และหมู่ 7A-8A เป็ นพวกอโลหะ ซึง่ เมือ่ พิจารณาจากสมบัติตามหมู่และคาบ เมื่อ
พิจารณาว่าความเป็ นโลหะในหมู่เดียวกัน ความเป็ นโลหะจะเพิม่ ขึ้นจากบนลงล่างของตารางธาตุ และหากพิจารณาใน
คาบเดียวกันความเป็ นโลหะจะลดลงจากขวาไปซ้าย ดังแสดงเป็ นแผนภาพได้ในภาพที่ 3.16

ภาพที่ 3.16 แสดงแนวโน้ มความเป็ นโลหะของธาตุทใี่ นตารางธาตุ

ความเป็ นโลหะนี้สามารถเชื่อมโยงไปถึง ความสามารถในการนาไฟฟ้ า จุดเดือด และจุดหลอมเหลวได้ เนื่อง-


จากธาตุท่ีมีค วามเป็ น โลหะจะนาไฟฟ้ า มีจุดเดือดและจุด หลอมเหลวสู ง ส่วนธาตุพวกอโลหะจะมีส มบัติด งั กล่าว
กลับกัน ดังนัน้ แนวโน้มของการนาไฟฟ้ า จุดเดือด และจุดหลอมเหว จึงมีแนวโน้มเดียวกันกับความเป็ นโลหะของ
ตารางธาตุ
2. ขนาดอะตอมและไอออน พิจารณาได้จากจานวนระดับพลังงานของอิเล็กตรอนรอบนิวเคลียส ดังนี้
- ถ้าจานวนระดับพลังงานมาก ระยะทางระหว่างนิวเคลียสกับเวเลนซ์อเิ ล็กตรอนก็มากด้วย ทาให้
อะตอมมีขนาดใหญ่ เช่นของ K > Na > Li เป็ นต้น
- ถ้าจานวนระดับพลังงานเท่ากันจานวนโปรตอนมากกว่า จะมีแรงดึงดู ดระหว่างนิวเคลียสกับเวเลนซ์-
อิเล็กมากกว่าทาให้มขี นาดเล็ก เช่น Li > Be > B เป็ นต้น
- ถ้า จ านวนระดับ พลัง งานและจ านวนโปรตอนเท่ า กัน แต่ มีจ านวนอิเ ล็ก ตรอนที่แ ตกต่ า งกัน ให้
พิจารณาจากจานวนอิเล็กตรอนทีม่ ากกว่าจะมีขนาดของอะตอมใหญ่กว่า เช่น Cl- > Cl เป็ นต้น
3-34 วิทยาศาสตร์สาหรับเทคโนโลยีสารสนเทศและการสือ่ สาร

ดังนัน้ แนวโน้มขนาดอะตอมของตารางธาตุเมื่อพิจารณาที่หมู่เดียวกันขนาดอะตอมจะมีขนาดใหญ่ ข้ นึ
จากบนลงล่าง และในคาบเดียวกันขนาดอะตอมเล็กลงจากขวาไปซ้าย ดังแสดงเป็ นแผนภาพได้ในภาพที่ 3.17

ภาพที่ 3.17 แสดงแนวโน้ มขนาดอะตอมของธาตุทใี่ นตารางธาตุ

3. พลังงานไอออไนเซชั น (Ionization energy, IE) คือ ค่ าพลังงานที่ใช้ในการดึงอิเล็กตรอนออกจาก


อะตอมในสภาวะแก๊สทีส่ ภาวะพื้นทาให้เกิดเป็ นไอออนบวก ตัวอย่าง เช่น

A (g) + พลังงาน A+(g) + e-

ค่ า IE จะมากหรื อน้อยขึ้น อยู่ ก บั ขนาดของอะตอม ยิ่ง อะตอมของธาตุมีข นาดใหญ่ จะมีค่ า IE ตา่ กว่ า
อะตอมของธาตุทม่ี ขี นาดเล็ก และถ้าอะตอมเป็ นไอออนบวกจะดึงได้ยากกว่าอะตอมไม่มปี ระจุในตอนแรก
ดังนัน้ แนวโน้มของค่ าพลังงานไอออไนเซชันเมื่อพิจารณาที่หมู่เดียวกันจะมีค่าลดลงจากบนลงล่าง เพราะ
ขนาดอะตอมใหญ่ ข้ นึ แต่ ในคาบเดีย วกัน จะมีค่ าเพิ่ม ขึ้น จากซ้ายไปขวา เพราะขนาดอะตอมเล็ก ลง ดังแสดงเป็ น
แผนภาพได้ในภาพที่ 3.18

ภาพที่ 3.18 แสดงแนวโน้ มของค่าพลังงานไอออไนเซชันของธาตุในตารางธาตุ

4. สัมพรรคภาพอิเล็กตรอน (Electron Affinity, EA) คือ พลังงานที่เปลีย่ นไปเมื่ออะตอมในสถานะแก๊สรับ


อิเล็กตรอนเขา้ ไปหนึ่งตัว ทาให้เกิดเป็ นไอออนลบ ตัวอย่าง เช่น

A (g) + e- A- (g) + พลังงาน


เคมีพ้ นื ฐาน 3-35

โดยแนวโน้มของสัมพรรคภาพอิเล็กตรอนของธาตุในคาบเดียวกันจะเพิ่มขึ้นจากซ้ายไปขวาเมื่อขนาดของ
อะตอมเล็กลงและประจุของนิวเคลียสเพิม่ ขึ้นย่อมจะรับอิเล็กตรอนได้ดี และมีค่าลดลงในหมู่เดียวกันจากบนลงล่าง
เพราะขนาดของอะตอมใหญ่ข้นึ ทาให้การดึงดูดอิเล็กตรอนไม่ดี ดังแสดงเป็ นแผนภาพได้ในภาพที่ 3.19

ภาพที่ 3.19 แสดงแนวโน้ มของค่าสัมพรรคภาพอิเล็กตรอนของธาตุในตารางธาตุ

5. อิเล็กโทรเนกาติวิตี (Electronegativity, EN) หรือสภาพไฟฟ้ าลบ คือ ค่ าที่แสดงถึงสามารถในการดึง


อิเล็กตรอนคู่ สร้างพันธะเขา้ หาตัวเอง ซึ่งค่ าเล็กโทรเนกาติวติ ีจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กบั ขนาดอะตอม คือ ถ้าอะตอม
ขนาดใหญ่ ค่าอิเล็กโทรเนกาติวติ จี ะตา่ กว่าอะตอมของธาตุทม่ี ขี นาดอะตอมเล็ก
ดังนัน้ แนวโน้มของค่ าเล็กโทรเนกาติวติ ีเมื่อพิจารณาที่หมู่เดียวกันจะมีค่าลดลงจากบนลงล่าง เพราะขนาด
อะตอมใหญ่ข้นึ แต่ในคาบเดียวกันจะมีค่าเพิม่ ขึ้นจากซ้ายไปขวาเพราะขนาดอะตอมเล็กลง ดังแสดงเป็ นแผนภาพได้
ในภาพที่ 3.20

ภาพที่ 3.20 แสดงแนวโน้ มของค่าอิเล็กโทรเนกาติวติ ขี องธาตุในตารางธาตุ

จากแนวโน้ม ทัง้ หมดของธาตุในตารางธาตุ จะเห็น ว่าแนวโน้ม ของความเป็ นโลหะและขนาดอะตอมจะมี


แนวโน้มเดียวกัน แต่ตรงกันขา้ มกับแนวโน้มของค่ าพลังงานไอออไนเซชัน สัมพรรคภาพอิเล็กตรอน และอิเล็กโตร
เนกาติวติ ี
3-36 วิทยาศาสตร์สาหรับเทคโนโลยีสารสนเทศและการสือ่ สาร

กิจกรรม 3.2.2
1. ธาตุดงั ต่อไปนี้สามารถแบ่งเป็ นกลุ่มได้กี่กลุ่ม ตามหลักของการจัดเรี ยงธาตุในตารางธาตุ
Na C O Be S Li Mg Si K Ca
2. เพราะเหตุใดธาตุลิเทียม (Li) จึงมีค่า IE1 ต่ากว่าธาตุฟลูออรี น (F)
3. ธาตุหมู่ 1A จากบนลงล่างมีแนวโน้มของจุดเดือดอย่างไร

แนวตอบกิจกรรม 3.2.2
1. เมื่ อทาการจัดเรี ยงโครงแบบอิ เ ล็กตรอนแบบตามตารางที่ 3.7 สามารถแบ่ งกลุ่มตามจานวน
เวเลนซ์อิเล็กตรอนได้ดงั นี้
- จานวนเวเลนซ์อิเล็กตรอนชั้นนอกเท่ากัน อยูห่ มู่เดียวกัน
ธาตุที่อยูห่ มู่ 1 ได้แก่ Li Na K
ธาตุที่อยูห่ มู่ 2 ได้แก่ Be Mg Ca
ธาตุที่อยูห่ มู่ 4 ได้แก่ C Si
ธาตุที่อยูห่ มู่ 6 ได้แก่ O S
- ระดับชั้นในการจัดเรี ยงโครงสร้างอิเล็กตรอนเท่ากัน อยูค่ าบเดียวกัน
ธาตุที่อยูค่ าบ 2 ได้แก่ Li Be C O
ธาตุที่อยูค่ าบ 3 ได้แก่ Na Mg Si S
ธาตุที่อยูค่ าบ 4 ได้แก่ K Ca
2. แนวโน้มของค่าพลังงานไอออไนเชชันลาดับที่ 1 ในคาบเดียวกันจะมีค่าเพิ่มขึ้นจากซ้ายไปขวา
เนื่ องจากธาตุ ในคาบเดี ยวกันมี เวเลนซ์อิเล็กตรอนอยู่ในระดับพลังงานเดี ยวกัน แต่ มีจานวนโปรตอนใน
นิวเคลียสเพิ่มขึ้น
ธาตุ ที่ มีโปรตอนมากจะดึ งดูด เวเลนซ์ อิเล็กตรอนได้แ รงมากกว่า ธาตุ ที่มีโ ปรตอนน้อย เวเลนซ์
อิเล็กตรอนจึงเข้าใกล้นิวเคลียสได้มากกว่า ทาให้อิเล็กตรอนหลุดจากอะตอมได้ยากกว่า จึงทาให้ธาตุลิเทียมมี
ค่าพลังงานไอออไนเชชันลาดับที่ 1 ต่ากว่าธาตุฟลูออรี น
3. ในธาตุหมู่ 1A ความเป็ นโลหะจะเพิ่มขึ้นจากบนลงล่าง ทาให้การใช้พลังงานในการสลายพันธะ
โลหะมากขึ้ น ส่ งผลให้จุด เดื อดของธาตุ มีแนวโน้มเดี ยวกันกับความเป็ นโลหะคื อ เพิ่ มขึ้ นจากบนลงล่า ง
เช่นเดียวกัน
เคมีพ้ นื ฐาน 3-37

เรื่องที่ 3.2.3
พันธะเคมี

โดยปกติแลว้ อะตอมของธาตุส่วนใหญ่ จะมารวมตัวกันเพื่อให้อยู่ในสภาวะที่เสถียร หรือ สภาวะที่มีเวเลนซ์


อิเล็กตรอนครบ 8 ตัวตามกฎของออกเตต (octet law) การที่อะตอมรวมตัวกับอะตอมชนิดเดียวกัน หรืออะตอม
ชนิ ด อื่น ๆ มีห ลายวิธี คื อ การให้อิเ ล็ก ตรอนไปกับ อะตอมอื่น การรับ อิเ ล็ก ตรอนจากอะตอมอื่น หรื อ การใช้
อิเล็กตรอนร่วมกัน การที่อะตอมมารวมตัวกันเพื่อเกิดเป็ นโมเลกุลหรือสารประกอบ จะต้องมีแรงยึดเหนี่ยวระหว่าง
อะตอมขึ้น และเรียกแรงนี้ว่า พันธะเคมี (chemical bond) โดยพันธะเคมีทส่ี าคัญมี 3 ประเภท คือ พันธะไอออนิก
(ionic bond) พัน ธะโคเวเลนซ์ (covalent bond) และพัน ธะโลหะ (mettalic bond) ซึ่งเป็ นพัน ธะเคมีท่ีเกิด ขึ้น
ภายในโมเลกุล นอกจากนี้ยงั มีพนั ธะระหว่างโมเลกุลทีส่ าคัญอีกพันธะหนึ่งคือ พันธะไฮโดรเจน (Hydrogen bond)

พันธะไอออนิก
พันธะไอออนิก เป็ นพันธะระหว่างอะตอมที่อยู่ในสภาพไอออนที่มปี ระจุตรงขา้ มกัน มารวมตัวกัน ซึ่งพันธะ
ไอออนิกจะเป็ นการรวมตัวกันระหว่างอะตอมของโลหะและอโลหะ โดยที่อะตอมของโลหะจะเป็ นฝ่ ายให้อเิ ล็กตรอน
ในระดับพลังงานชัน้ นอกสุดให้กบั อโลหะ ทัง้ นี้เนื่องจากอะตอมของโลหะมีค่าพลังงานไอออไนเซชันตา่ ซึ่งพร้อมที่จะ
ให้อิเล็ก ตรอนเพื่อให้อะตอมชัน้ นอกครบ 8 ตัวแล ว้ เกิด เป็ น ไอออนบวก ส่ วนอะตอมของอโลหะก็ พ ร้อมที่จะรับ
อิเล็กตรอนจากอะตอมอื่นเพื่อให้อะตอมชัน้ นอกครบแปดเช่ นเดียวกัน ดังนัน้ เมื่ออโลหะรับอิเล็กตรอนเขา้ มาจะเกิด
เป็ นไอออนลบ เมื่ออะตอมทัง้ สองมีประจุไฟฟ้ าต่ างกัน จึงเกิด แรงดึงดู ดกันเกิด เป็ น สารประกอบไอออนิก (ionic
compound) ตัวอย่างการเกิดพันธะไอออนิก ได้แก่ การเกิดพันธะไอออนิกของสารประกอบโซเดียมคลอไรด์ (NaCl)
ดังนี้

การจัดเรียงอิเล็กตรอนของอะตอม Na คือ 1s2 2s2 2p63s1 (2 8 1)


การจัดเรียงอิเล็กตรอนของอะตอม Cl คือ 1s2 2s2 2p63s23p5 (2 8 7)

เมือ่ โซเดียมรวมตัวกับคลอรีน โซเดียมซึ่งมีเวเลนซ์อเิ ล็กตรอนเท่ากับ 1 จะให้อเิ ล็กตรอนแก่ คลอรีนเพื่อให้


การจัดเรียงอิเล็กตรอนเป็ น 1s2 2s2 2p6 (2 8) และเกิดเป็ นโซเดียมไอออน (Na+) ที่มปี ระจุไฟฟ้ าลบส่วนคลอรีนเมื่อ
รับอิเล็กตรอนจากโซเดียมทาให้เกิดการจัดเรียงอิเล็กตรอนเป็ น 1s2 2s2 2p63s23p6 (2 8 8) เกิดเป็ นคลอรีนไอออน
(Cl-) ที่มีประจุไฟฟ้ าลบ เมื่อทัง้ สองทีประจุไฟฟ้ าต่างกันจึงเกิดแรงดึงดู ดกันหรือเรียกว่าเกิดพันธะไอออนิกนัน่ เอง
ซึง่ เขียนสัญลักษณ์แบบจุดได้ดงั นี้
+ -
Na + Cl Na Cl
2, 8, 1 2, 8, 7 2, 8 2, 8, 8
3-38 วิทยาศาสตร์สาหรับเทคโนโลยีสารสนเทศและการสือ่ สาร

การเกิดพันธะไอออนิกของสารประกอบโซเดียมคลอไรด์แสดงดังภาพที่ 3.21

โซเดียมอะตอม คลอรีนอะตอม โซเดียมไอออน คลอไรด์ไอออน

ภาพที่ 3.21 การเกิดพันธะไอออนิกของสารประกอบโซเดียมคลอไรด์

สารประกอบไอออนิกมักอยู่ในรูปผลึกของแข็งทีอ่ ณุ หภูมหิ อ้ ง จะมีจุดเดือดและจุดหลอมเหลวสู ง เนื่องจาก


แรงยึดเหนี่ยวระหว่างไอออนบวกและไอออนลบมีการดึงดู ดกันอย่ างมาก โดยส่วนมากเป็ นสารที่แข็งแต่เปราะง่าย
ไม่นาไฟฟ้ า แต่ เมื่อนามาละลายในนา้ โมเลกุลของนา้ จะดึงดู ดให้สารประกอบเกิดการแตกตัวเป็ นไอออนบวกและ
ไอออนลบ ไอออนจึงเคลื่อนที่อย่ างอิสระทาให้ไฟฟ้ าไหลผ่านได้ ตัวอย่ างสารประกอบไอออนิก ได้แก่ แคลเซีย ม
คาร์บอเนต (CaCO3) แมกนีเซียมซัลเฟต (MgSO4) โซเดียมไบคาร์บอเนต (NaHCO3) เป็ นต้น

พันธะโคเวเลนซ์
พันธะโคเวเลนซ์ เป็ น พันธะที่เกิด จากอะตอมตัง้ แต่ สองอะตอมขึ้น ไปมีการใช้เวเลนซ์อิเล็ก ตรอนร่ วมกัน
ระหว่างอะตอม เพือ่ ให้เวเลนซ์อเิ ล็กตรอนของแต่ละอะตอมครบ 8 ตัว อะตอมที่เกิดพันธะชนิดนี้มกั เป็ นอะตอมของ
ธาตุท่มี เี วเลนซ์อเิ ล็กตรอนชัน้ ใกลจ้ ะครบ 8 ตัวได้แก่ อะตอมของธาตุหมู่ 4A, 5A, 6A และ 7A ถ้าเป้ นการรวมตัว
กันของอะตอมจะเรียกว่า โมเลกุลโควาเลนต์ (covalent molecules) แต่ถา้ เป็ นการรวมตัวกันนัน้ เกิดเป็ นธาตุหรือ
สารใหม่จะเรียกว่า สารประกอบโคเวเลนซ์ (covalent compounds) ตัวอย่างการเกิดพันธะโควาเลนต์ เช่ น การเกิด
แก๊สฟลูออรีน ดังนี้
อะตอมของฟลู ออรีน มีเวเลนซ์อิเล็ก ตรอนเท่ ากับ 7 ตัว จึงต้องการอิเล็ก ตรอนเพิ่ ม อีก 1 ตัวเพื่อให้เกิด
สภาวะทีเ่ สถียร เมื่ออะตอมของฟลูออรีน 2 อะตอมมาเจอกันจึงเกิดการใช้เวเลนซ์อเิ ล็กตรอนร่ วมกันสามารถแสดง
สัญลักษณ์แบบจุดได้ดงั นี้
เคมีพ้ นื ฐาน 3-39

การเกิดพันธะโควาเลนต์ของโมเลกุลฟลูออรีนแสดงดังภาพที่ 3.22

ภาพที่ 3.22 แสดงการเกิดพันธะโคเวเลนซ์ ของแก๊ สฟลูออรีน

พันธะโคเวเลนซ์สามารถจาแนกตามจานวนคู่ของเวเลนซ์อเิ ล็กตรอนทีใ่ ช้ร่วมกันได้เป็ น 3 ประเภท คือ


1. พันธะเดี่ยว (single bond) คือ พันธะโคเวเลนซ์ท่มี ีการใช้เวเลนซ์อเิ ล็กตรอนร่ วมกัน 1 คู่ ใช้เส้น ( - )
แทนพันธะเดี่ยว ตัวอย่างเช่น โมเลกุลของไฮโดรเจน (H2) ดังแสดงในภาพที่ 3.23

หรือเขียนแทนด้วย

H H

ภาพที่ 3.23 แสดงการเกิดพันธะเดีย่ วในโมเลกุลฟลูออรีน

2. พันธะคู่ (double bond) คือ พันธะโคเวเลนซ์ทม่ี กี ารใช้เวเลนซ์อเิ ล็กตรอนร่วมกัน 2 คู่ ใช้เส้น 2 เส้น
( = ) แทนพันธะคู่ ตัวอย่างเช่น โมเลกุลของออกซิเจน (O2) ดังแสดงในภาพที่ 3.24

หรือเขียนแทนด้วย
O O

ภาพที่ 3.24 แสดงการเกิดพันธะคู่ในโมเลกุลออกซิเจน


3-40 วิทยาศาสตร์สาหรับเทคโนโลยีสารสนเทศและการสือ่ สาร

3. พันธะสาม (triple bond) คือ พันธะโคเวเลนซ์ท่มี กี ารใช้เวเลนซ์อเิ ล็กตรอนร่ วมกัน 3 คู่ ใช้เส้น 3 เส้น
( ) แทนพันธะสาม ตัวอย่างเช่น โมเลกุลของแก๊สไนโตรเจน (N2) ดังแสดงในภาพที่ 3.25

หรือเขียนแทนด ้วย

N N

ภาพที่ 3.25 แสดงการเกิดพันธะสามในโมเลกุลไนโตรเจน

ในการเกิดพันธะโคเวเลนซ์ นัน้ ส่วนใหญ่ เป็ นการใช้คู่อิเล็ก ตรอนร่ วมกัน โดยอิเล็กตรอนที่ใช้จะมาจาก


อะตอมอย่ างละ 1 อิเล็กตรอน แต่ ถา้ มีการใช้อิเล็กตรอนคู่ ร่วมพันธะจากอะตอมใดอะตอมหนึ่งเพียงอะตอมเดียว
จะเรียกพันธะนัน้ ว่า พันธะโคออดิเนตโคเวเลนซ์ (coordinate covalent bond) ดังแสดงภาพที่ 3.26

หรือเขียนแทนด ้วย

ภาพที่ 3.26 แสดงการเกิดพันธะสามในโมเลกุลไนโตรเจน

โมเลกุลโคเวเลนซ์หรือสารประกอบโคเวเลนซ์ มีทงั้ ทีอ่ ยู่ในรูปของของแข็ง ของเหลว และแก๊ส ส่วนใหญ่เป็ น


สารประกอบระหว่างอโลหะกับอโลหะ จึงมีจุดเดือดและจุดหลอมเหลวตา่ เนื่องจากมีแรงยึดเหนี่ยวระหว่างอะตอม
หรือแรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุลน้อย และไม่นาไฟฟ้ า แต่ มีขอ้ ยกเว้นสาหรับสารบางสารที่ยึดเหนี่ยวด้วยพันธะ
โคเวเลนซ์แบบต่อเนื่องกัน คลา้ ยตาข่ายสามมิติ เรียกสารทีม่ โี ครงสร้างนี้ว่า สารโครงผลึกร่ างตาข่าย ทาให้มจี ุดเดือด
จุด หลอมเหลวสู ง สารพวกนี้ ไ ด้แ ก่ คาร์บ อนในรู ป เพชร แกรไฟต์ และฟลู เ ลอรี น เป็ น ต้น นอกจากนั้น ยัง มี
สารประกอบบางชนิดก็เป็ นสารโครงผลึกร่ างตาข่าย เช่ น ซิล ิ กอนไดออกไซด์ (SiO2) ซิลคิ อนคาร์ไบด์ (SiC) เป็ นต้น
ตัวอย่างรูปร่างของสารโครงผลึกร่างตาข่ายคาร์บอน แสดงได้ดงั ภาพที่ 3.27 จะเห็นได้ว่าโครงร่างตาข่ายของ
ทัง้ 3 แบบมีความแตกต่างกัน ส่งผลให้สมบัตนิ นั้ แตกต่างกันไปด้วย ดังนี้
เคมีพ้ นื ฐาน 3-41

- เพชร เป็ นโครงร่ างตาข่ายที่มพี นั ธะของอะตอมคาร์บอนเกาะเป็ นพันธะเดี่ยวได้ 4 พันธะ และเกาะ


ต่ อเนื่ องกัน เป็ นโครงผลึก ร่ างตาข่ายทาให้เพชรมีค วามแข็งแรงมาก แต่ เนื่องจากในโครงสร้างนัน้ มีก ารใช้เวเลนซ์
อิเล็กตรอนในการสร้างพันธะหมด ไม่มอี เิ ล็กตรอนเหลือให้เคลือ่ นที่ จึงทาให้เพชรไม่ นาไฟฟ้ า
- กราไฟต์ เป็ นโครงร่ างตาข่ายที่มีพนั ธะของอะตอมคาร์บอนเกาะเป็ นพันธะเดี่ยวหรือคู่ ได้ 3 พันธะ
และจะมีอเิ ล็กตรอนอิสระว่างอยู่ 1 อิเล็กตรอน จึงทาให้แกรไฟต์นาไฟฟ้ าได้
- ฟลู เลอรีน เป็ น โครงร่ างตาข่า ยที่มีพ นั ธะของอะตอมคาร์บอนเกาะเป็ น พัน ธะเดี่ย ว เชื่อมกัน เป็ น
โครงสร้าง 5 เหลี่ยม และ 6 เหลี่ย ม หลายรู ปต่ อกันเป็ นทรงกลม ไม่นาไฟฟ้ า จุด เดือด จุด หลอมเหลวขึ้นอยู่ ก บั
จานวนคาร์บอน โมเลกุลของฟลู เลอลีน จะมีคาร์บอนเป็ นเลขคู่ ตัง้ แต่ ประมาณ 40 อะตอมขึ้นไป แต่ โมเลกุลของ
ฟลูเลอลีนทีเ่ สถียรทีส่ ุดคือ C60

(ก) โครงสร้างของเพชร (ข) โครงสร้างของกราไฟต์ (ง) โครงสร้างฟลูเลอรีน

ภาพที่ 3.27 โครงสร้ างร่ างตาข่ ายของคาร์ บอน

พันธะโลหะ
พันธะโลหะ เป็ นแรงยึดเหนี่ยวของไอออนบวกกับเวเลนซ์อิเล็กตรอนที่เคลื่อนที่อยู่ โดยรอบทัง้ ก้อนโลหะ
โดยการเคลื่อนที่ของเวเลนซ์อิเล็กตรอนเคลื่อนที่อย่ างอิสระเหมือนกลุ่มหมอกของอิเล็กตรอนอยู่ ลอ้ มรอบไอออน
บวกเกิด เป็ นพัน ธะโลหะขึ้น มา ซึ่งแบบจาลองการลอ้ มรอบของเวเลนซ์อิเล็กตรอนกับไอออนบวกของโลหะแสดง
ดังภาพที่ 3.28
3-42 วิทยาศาสตร์สาหรับเทคโนโลยีสารสนเทศและการสือ่ สาร

ภาพที่ 3.28 อิเล็กตรอนและไอออนบวกในก้ อนโลหะ

โดยทัวไปโลหะจะเป็
่ นของแข็ง ยกเว้นปรอททีเ่ ป็ นของเหลว สาหรับสมบัตขิ องพันธะโลหะนัน้ เป็ นผลมาจาก
อิเล็กตรอนอิสระทีเ่ คลือ่ นทีอ่ ยู่ในก้อนโลหะนัน่ เอง สมบัตทิ พ่ี บโดยทัวไปของโลหะ
่ คือ
- เป็ นตัวนาไฟฟ้ าทีด่ ี เพราะอิเล็กตรอนเคลือ่ นทีไ่ ด้งา่ ยทัวก้
่ อนโลหะ
- มีจุดหลอมเหลวสู ง เพราะเวเลนซ์อเิ ล็กตรอนของอะตอมทัง้ หมดในก้อนโลหะยึด เหนี่ยวอะตอมไว้
อย่างเหนียวแน่ น
- โลหะสามารถตีแผ่เป็ นแผ่นบางๆได้ เพราะมีกลุ่มเวเลนต์อเิ ล็กตรอนทาหน้าที่ยึดอนุ ภาคให้เรียงกัน
ไม่ขาดออกจากกัน
- โลหะมีผวิ เป็ นมันวาว เพราะกลุ่มอิเล็กตรอนที่เคลือ่ นที่โดยอิสระมีปฏิกิริยาต่อแสง คือรับ สะท้อน
แสง และกระจายแสงออกมา ทาให้มองเห็นเป็ นมันวาว
- โลหะนาความร้อนได้ดี เพราะอิเล็กตรอนอิสระเคลือ่ นทีไ่ ด้ทกุ ทิศทาง เมือ่ อิเล็กตรอนได้รบั ความร้อน
จะทาให้เกิดพลังงานจลน์สูง และการถ่ายเทไปยังส่วนทีม่ คี วามร้อนตา่ กว่า จึงทาให้เกิดการนาความร้อนได้ดี
นอกจากพันธะภายในโมเลกุลทัง้ 3 แบบที่กล่าวมาแลว้ นัน้ พันธะระหว่างโมเลกุลที่สาคัญอีกพันธะหนึ่ง คือ
พันธะไฮโดรเจน (Hydrogen bond)

พันธะไฮโดรเจน
ไฮโดรเจนเป็ นธาตุท่มี ีเพีย งหนึ่ งเวเลนซ์อิเล็กตรอน โดยปกติจะสร้างพัน ธะเดียวกับอะตอมที่มีค่าอิเล็ก -
โทรเนกาติวติ ีสูง และมีขนาดเล็ก ได้แก่ ฟลูออรีน ออกซิเจน และไนโตรเจน (F O และ N ตามลาดับ) แลว้ เกิด
พันธะโคเวเลนซ์มขี วั้ ชนิดทีม่ สี ภาพขัว้ แรงมาก การเกิดพันธะไฮโดรเจนแบ่งเป็ น 2 แบบ ดังนี้

1. พัน ธะไฮโดรเจนระหว่ า งโมเลกุล ชนิ ด เดี ยวกั น ซึ่ง อธิ บ ายได้ด งั นี้ เมื่อ ไฮโดรเจน (H) เกิ ด พัน ธะ
โคเวเลนซ์กบั F O หรือ N จะเกิดเป็ นพันธะที่มคี วามเป็ นขัว้ สู ง เนื่องจาก H และ F O หรือ N มีค่าค่ าอิเล็กโทร-
เคมีพ้ นื ฐาน 3-43

เนกาติวติ ที แ่ี ตกต่างกัน ทาให้ H มีความเป็ นบวกมาก ส่วนทาง F O หรือ N จะมีความเป็ นลบสู ง จึงเกิดแรงดึงดู ด
ทางไฟฟ้ าระหว่างโมเลกุลทีม่ คี วามแข็งแรง การเกิดพันธะไฮโดรเจนทาให้โมเลกุลหรือสารประกอบมีจุดเดือดสู งกว่า
สารอื่นที่อยู่ ในหมู่เดียวกัน เช่ น H2O มีจุดเดือดสู งกว่า H2S ตัวอย่างการเกิดพันธะไฮโดรเจนระหว่างโมเลกุลดัง
แสดงในภาพที่ 3.29

ภาพที่ 3.29 ตัวอย่ างการเกิดพันธะไฮโดรเจนระหว่ างโมเลกุล

2. พันธะไฮโดรเจนที่เกิดภายในโมเลกุลของสารต่ างชนิดกัน เป็ นการเกิดพันธะไฮโดรเจนระหว่างโมเลกุล


ของสารต่างชนิดกัน เช่ น การเกิดพันธะไฮโดรเจนระหว่างโมเลกุลของนา้ (H2O) กับโมเลกุลของแอมโมเนีย (NH3)
ดังแสดงในตัวอย่างที่ 3.30

ภาพที่ 3.30 การเกิดพันธะไฮโดรเจนระหว่ างนา้ และแอมโมเนีย

กิจกรรม 3.2.3
3-44 วิทยาศาสตร์สาหรับเทคโนโลยีสารสนเทศและการสือ่ สาร

1. จงเติมสมบัติของสารในตารางดังต่อไปนี้

ชนิด สารประกอบ สารโครงผลึก


โลหะ สารโคเวเลนซ์
สมบัติ ไอออนิก ร่ างตาข่ าย
สถานะที่อุณหภูมิหอ้ ง
ความเหนียว
จุดเดือด
การนาไฟฟ้ า

2. จงอธิ บายการเกิดพันธะไฮโดรเจน

แนวตอบกิจกรรม 3.2.3
1.

ชนิด สารประกอบ สารโครงผลึก


โลหะ สารโคเวเลนซ์
สมบัติ ไอออนิก ร่ างตาข่ าย
สถานะที่อุณหภูมิหอ้ ง ของแข็งยกเว้นปรอท ของแข็ง ของแข็ง ของเหลว
ความเหนียว เหนียว เปราะ เปราะ เปราะ
จุดเดือด สูง สูง สูง ต่า
การนาไฟฟ้ า นาไฟฟ้ า ไม่นาไฟฟ้ าแต่ มีท้ งั นาไฟฟ้ า ไม่นาไฟฟ้ า
หลอมเหลวนาไฟฟ้ า และไม่นาไฟฟ้ า

2. พันธะไฮโดรเจน เกิ ดจากแรงดึ งดูดระหว่างโมเลกุลที่ เกิ ดจากไฮโดรเจนอะตอมสร้างพันธะ


โคเวเลนต์กบั อะตอมที่ มีค่าอิ เล็กโทรเนกาติ วิตีสูง และมี ขนาดเล็ก ได้แก่ F O และ N แล้วเกิ ดพันธะ
โคเวเลนต์มีข้ วั ชนิ ดมีสภาพขั้วแรงมาก ซึ่ งการเกิ ดพันธะไฮโดรเจนแบ่งเป็ น 2 แบบคื อ พันธะไฮโดรเจน
ระหว่างโมเลกุลชนิดเดียวกันและพันธะไฮโดรเจนที่เกิดภายในโมเลกุลของสารต่างชนิดกัน

ตอนที่ 3.3
เคมีพ้ นื ฐาน 3-45

ปฏิกริ ิยาเคมี
โปรดอ่านหัวเรื่อง แนวคิด และวัตถุประสงค์ของตอนที่ 3.3 แลว้ จึงศึกษารายละเอียดต่อไป

หัวเรื่อง
3.3.1 กรดและเบส
3.3.2 เคมีไฟฟ้ า

แนวคิด
1. กรดและเบสมี 3 ทฤษฎีคือ ทฤษฎีของอาร์เรเนียส ทฤษฎีของเบรินสเตดและลาวรี และทฤษฎี
ของลิวอีส โดยกรดและเบสเมือ่ ละลายนา้ จะเกิดการแตกตัวเป็ นไอออน ซึ่งสามารถบอกค่ าความ
เป็ นกรดและเบสจากค่าพีเอช สาหรับการเกิดปฏิกิริยาระหว่างกรดและเบสนัน้ ต้องพิจารณาจาก
ความแรงของกรดแต่ละชนิด โดยทัว่ ไปผลิตภัณฑ์ของปฏิกิริยาที่ได้ คือ เกลือและนา้ ซึ่งสมบัติ
ของสารละลายจะเป็ นกรด เบส หรือกลางขึ้น อยู่ กบั ชนิดของเกลือของไอออนที่มาทาปฏิกิริย า
ไฮโดรไลซิส
2. เคมีไฟฟ้ า เป็ นการศึ กษาปฏิกิริยาเคมีท่ที าให้เกิดกระแสไฟฟ้ า โดยศึ กษาจากปฏิกิริยารีดอกซ์
ที่เกิด ขึ้น เมื่อพิจารณาจากการเกิด ปฏิกิริย า จะแบ่งเป็ น การศึ ก ษาเซลล์ไ ฟฟ้ าแกลวานิ ก และ
เซลล์ไฟฟ้ าเซลล์อเิ ล็กโทรไลต์

วัตถุประสงค์
เมือ่ ศึกษาตอนที่ 3.3 จบแลว้ นักศึกษาสามารถ
1. อธิบายทฤษฎีกรดและเบสได้
2. อธิบายการแตกตัวของกรดและเบสได้
3. คานวณค่าคงทีส่ มดุล ความเขม้ ขน้ ของกรดและเบส และค่าพีเอชได้
4. อธิบายและบอกสภาพของสารละลายในการเกิดไฮโดรไลซิสของเกลือได้

เรื่องที่ 3.3.1
3-46 วิทยาศาสตร์สาหรับเทคโนโลยีสารสนเทศและการสือ่ สาร

กรดและเบส

กรดและเบสเป็ นสารละลายทีม่ บี ทบาทสาคัญในชีวติ ประจาวัน ทัง้ มีอยู่ในธรรมชาติและที่สงั เคราะห์ข้ นึ การ


ใช้ประโยชน์จากสารละลายกรดและเบสมีหลายด้านด้วยกัน เช่น ด้านอาหาร ด้านอุตสาหกรรม ด้านการแพทย์ ดังนี้
ด้านอาหาร ตัวอย่างเช่ น การใช้นา้ ส้มสายชู นา้ มะนาว นา้ มะขาม ซึ่งมีสมบัติเป็ นกรด และนา้ ปูนใส โซดา
ทาขนมหรือผงฟู (Na2CO3) ซึง่ มีสมบัตเิ ป็ นเบส ใช้ประกอบอาหาร เป็ นต้น
ด้านอุตสาหกรรม ตัวอย่างเช่น การใช้กรดคาร์บอนิกในนา้ โซดา กรดซัล ฟูริกหรือกรดกามะถันในสารละลาย
ทีอ่ ยู่ในแบตเตอรี่ นา้ ยาทาความสะอาดหน้าจอคอมพิวเตอร์ทม่ี สี มบัตเิ ป็ นเบส เป็ นต้น
ด้านการแพทย์ ตัวอย่ างเช่ น กรดแอสคอร์บกิ หรือวิตามินซี (C6H8O6) ใช้ในการรักษาโรคเลือดออกตาม
ไรฟัน หรือยาลดกรด เรียกอีกชื่อว่า เบสมิลด์ออฟแมกนีเซียมหรือ Mg(OH)2 ใช้เป็ นยารักษาโรคกระเพาะอาหาร
เป็ นต้น
เนื่องจากกรดและเบสเป็ นสารเคมีท่มี ีความสาคัญ นักวิทยาศาสตร์หลายท่านจึงให้ความสนใจและศึ กษา
เรื่องกรดและเบส พร้อมเสนอทฤษฎีไวห้ ลายทฤษฎีดว้ ยกัน

ทฤษฎีกรดและเบส
1. ทฤษฎีกรดและเบสของอาร์ เรเนียส จากการศึกษาการละลายนา้ ของสารละลาย พบว่า สารอิเล็กโทรไลต์
จะแตกตัวเป็ นไอออน เมือ่ ละลายอยู่ในนา้ และให้นิยามกรดไวว้ ่า
กรด คือ สารทีเ่ มือ่ ละลายนา้ แลว้ แตกตัวให้ไฮโดรเจนไอออน เขียนแทนด้วย (H+) เช่น

HCl (g) H2O H+ (aq) + Cl- (aq)


H2O
CH3COOH (l) H+ (aq) + CH3COO- (aq)

เบส คือ สารทีเ่ มือ่ ละลายนา้ แลว้ แตกตัวให้ไฮดรอกไซด์ไอออนเขียนแทนด้วย (OH-) เช่น


H2O
NaOH (s) Na+ (aq) + OH- (aq)
H2O
NH4OH (l) NH4+ (aq) + OH- (aq)

เมือ่ สัญลักษณ์ทใ่ี ช้ในการบอกสถานะของสาร มีดงั นี้


(s) แทน ของแข็ง
(l) แทน ของเหลว
(g) แทน แก๊ส
(aq) แทน สารละลาย
เคมีพ้ นื ฐาน 3-47

แต่ทฤษฎีกรดและเบสของอาร์เรเนียส จะใช้ได้ก็ต่อเมือ่ สารดังกล่าวละลายนา้ เท่านัน้ และเมื่อละลายนา้ แลว้


ต้องแตกตัวให้ไฮโดรเจนไอออนหรือให้ไฮดรอกไซด์ไอออน ซึง่ เป็ นขอ้ จากัดสาหรับสารที่ ไม่มสี มบัตดิ งั กล่าว
2. ทฤษฎีกรดและเบสของเบริ นสเตดและลาวรี เพื่อลดขอ้ จากัดในทฤษฎีของอาร์เรเนียส เบรินสเตดลาวรี
จึงเน้นในเรื่องของทฤษฎีการถ่ายโอนโปรตอน โดยนาเสนอว่า
กรด คือ สารทีใ่ ห้โปรตอนกับสารอืน่ ๆ ได้ (proton donor)
เบส คือ สารทีร่ บั โปรตอนจากสารอืน่ ได้ (proton acceptor)
ดังตัวอย่างต่อไปนี้

ให้ H +

HCN + H2O H3O+ + Cl-

รั บ H +

HCN เป็ นสารทีใ่ ห้โปรตอน (H+) ดังนัน้ HCN จึงเป็ นกรด


H2O เป็ นสารทีร่ บั โปรตอน (H+) ดังนัน้ H2O จึงเป็ นเบส
หรือ

ให้ H +

H2O + NH3 NH4+ + OH-

รั บ H +

H2O เป็ นสารทีใ่ ห้โปรตอน (H+) ดังนัน้ H2O จึงเป็ นกรด


NH3 เป็ นสารทีร่ บั โปรตอน (H+) ดังนัน้ NH3 จึงเป็ นเบส

แต่ทฤษฎีกรดและเบสของเบรินสเตดและลาวรี ยังมีขอ้ จากัดในเรื่องของสารทีจ่ ะทาหน้าเป็ นกรดได้จะต้องมี


โปรตอนอยู่ในสารดังกล่าวด้วย
ตามทฤษฎีของเบรินสเตดและลาวรี พบว่าในปฏิกิริยาหนึ่งๆ นัน้ สามารถจัดคู่ กรดและเบสได้ 2 คู่ เรียกว่า
เป็ นคู่กรดและคู่เบสกัน ตัวอย่างเช่น

ให้ H +

H2O + NH3 NH4+ + OH-

รั บ H +
3-48 วิทยาศาสตร์สาหรับเทคโนโลยีสารสนเทศและการสือ่ สาร

เมื่อพิจารณาจากปฏิกิริยาไปขา้ งหน้า H2O เป็ นสารที่ให้โปรตอน (H+) ดังนัน้ H2O จึงเป็ นกรดแลว้ ได้สาร
ผลิตภัณฑ์เป็ น OH- ส่วน NH3 เมือ่ รับโปรตอน (H+) จะทาหน้าที่เป็ นเบส สาหรับปฏิกิริยาย้อนกลับ NH4+ เป็ นกรด
เพราะให้ H+ ส่วน OH- เป็ นเบสเพราะรับโปรตอน จึงจับเป็ นคู่กรดและเบสได้ดงั นี้
H2O เป็ นคู่กรดของ OH-
NH3 เป็ นคู่เบสของ NH4+
OH- เป็ นคู่เบสของ H2O
NH4+ เป็ นคู่กรดของ NH3
3. ทฤษฎีกรดและเบสของลิวอีส เป็ นการใช้ทฤษฎีของการใช้อเิ ล็กตรอนคู่ ร่วมกัน ซึ่งสามารถลดขอ้ จากัด
ของอาร์เรเนียส และเบรินสเตดและลาวรี ได้ โดยนาเสนอว่า
กรด คือ สารทีร่ บั คู่อเิ ล็กตรอนคู่
เบส คือ สารทีใ่ ห้คู่อเิ ล็กตรอนคู่
ดังตัวอย่างต่อไปนี้

F F
F B + NH3 F B NH3
F F
กรด เบส

จากตัว อย่ า งข า้ งต้น จะเห็น ว่ า NH3 เป็ น สารที่ใ ห้คู่ อิเ ล็ก ตรอนได้จึง ป็ น เบส ส่ ว น BF3 เป็ น สารที่ร บั
อิเล็กตรอนจาก NH3 ทาให้ BF3 เป็ นกรด ซึง่ เป็ นพันธะโคเวเลนซ์ทเ่ี สถียร

สมบัตคิ วามเป็ นกรดและเบสของนา้ o


นา้ บริสุทธิ์ เป็ นสารทีม่ สี มบัตเิ ฉพาะตัว คือเมือ่ ละลายนา้ แลว้ อาจเป็ นได้ทงั้ กรดและเบส ดังสมการ

H2O (l) H3O+ (aq) + OH- (aq)

เรียกปฏิกิริยาทีเ่ กิดขึ้นว่า การแตกตัวเป็ นไอออนด้วยตัวเอง (autoionization) และจากทฤษฎีกรดและเบส


ของเบรินสเตดและลาวรี เขียนสมการได้เป็ น

H2O + H2O H3O+ + OH-


เคมีพ้ นื ฐาน 3-49

ค่าคงทีส่ มดุลการแตกตัว (equilibrium constant) หาได้จากอัตราส่วนระหว่างความเขม้ ขน้ ของผลิตภัณฑ์


และความเขม้ ขน้ ของสารตัง้ ต้น การเขียนค่ าคงที่ของสมดุลการแตกตัว จะแทนด้วยตัวอักษร K ซึ่งค่ าคงที่สมดุ ล
การแตกตัว เป็ นค่าทีข่ ้นึ อยู่กบั ธรรมชาติและความสามารถในการแตกตัวของสาร ถ้ามีการแตกตัวของสารเป็ นไอออน
มากจะมีค่าคงทีส่ มดุลการแตกตัว สูงตามด้วย
ดังนัน้ จากสมการเคมีของนา้ ค่าคงทีส่ มดุลการแตกตัวของนา้ มีค่าเป็ น (ในการเขียน H+ สามารถเขียนแทน
ด้วย H3O+ )
Kw = [H3O+] [OH--] … (3.1)
[H2O]

เมือ่ Kw แทน ค่าคงที่สมดุลการแตกตัวของนา้


[H3O+] แทน ความเขม้ ขน้ ของ H3O+
[OH--] แทน ความเขม้ ขน้ ของ OH—
[H2O] แทน ความเขม้ ขน้ ของ H2O

สัญลักษณ์วงเล็บ [ ] ในสู ตรหมายถึง ความเขม้ ขน้ ของสาร หน่ วยเป็ น โมลต่ อลู กบาศก์เดซิเมตร (mol/
3
dm ) หรือ โมลต่อลิตร (mol/l)
สาหรับหน่ วยของค่ า K หรือค่ าคงที่ส มดุ ล การแตกตัว ในปฏิกิริยาต่ างชนิ ด กัน จะมีหน่ วยที่ต่างกัน หรือ
บางครัง้ อาจไม่มหี น่ วยเลย เนื่องจากค่า K จะขึ้นอยู่กบั ความเขม้ ขน้ ของสารตัง้ ต้นและสารผลิตภัณฑ์ ซึ่งบางปฏิกิริยา
ถ้าหน่ วยของความเขม้ ขน้ ตัดกันหมดจะทาให้ค่า K ไม่มหี น่ วย
เนื่องจากความเขม้ ขน้ ของนา้ น้อยมากในการแตกตัวจึงถือว่า ไม่เปลีย่ นแปลง ค่ าคงที่การแตกตัวของนา้ จึงมี
ค่าเป็ น
Kw = [H3O+ ][OH-] = 1 10-14 ที่ 25 องศาเซสซียส

นา้ บริสุทธิ์ [H3O+] = [OH-] = 1 10-7 mol/dm3

ดังนัน้ ในสารละลายกรดต้องมีค่า [H3O+] มากกว่า 1 10-7 mol/dm3 ส่วนสารละลายเบสต้องมีค่า [OH-]


มากกว่า 1 10-7 mol/dm3 เช่นกัน

การวัดค่าความเป็ นกรดและเบส
เนื่องจากการแตกตัวของไอออนในนา้ มีการแตกตัว ที่ตา่ มาก เพื่อ ความสะดวกในการหาค่ าความเป็ นกรด
และเบส จึง ต้องใช้ส มการช่ วยในการค านวณหาค่ า ความเป็ น กรดและเบส และเพื่อ ให้ส ะดวกต่ อความเข า้ ใจใน
การบอกว่าสารเป็ นกรดและเบส จึงมีวธิ ีการบอกความเป็ นกรดและเบสให้เขา้ ใจง่ายขึ้นโดยใช้ค่าทีเ่ รียกว่า พีเอช (pH)
ซึง่ การวัดค่ า pH นัน้ มีเครื่องมือในการวัด คือ กระดาษลิตมัส (litmus paper) หรือเครื่องพีเอช มิเตอร์ (pH meter)
ดังแสดงในภาพที่ 3.1 ซึง่ การวัดค่า pH ด้วยเครื่องพีเอชมิเตอร์จะให้ค่าที่เที่ยงตรงกว่า แต่ราคาของเครื่องจะสู งกว่า
การใช้กระดาษลิตมัส
3-50 วิทยาศาสตร์สาหรับเทคโนโลยีสารสนเทศและการสือ่ สาร

ภาพที่ 3.31 เครื่อง pH meter


ที่มา ก: http://www.funsci.com/fun3_en/acids/acids.htm ค้นคืนเมื่อ 21 ก.ย. 2555
ที่มา ข: http://joobza.thaiza.com/blog_view.php?blog_id=171857 ค้นคืนเมื่อ 31 ส.ค. 2555
และ http://edunews.eduzones.com/augat/83254 คันคืนเมื่อ 31 ส.ค. 2555

สูตรทีใ่ ช้คานวณค่า pH คือ

pH = - log [H3O+] … (3.2)

เมือ่ นามาคานวณจะได้ผลดังนี้
สารละลายกรด [H3O+] > 1 10-7 mol/dm3 ค่า pH < 7.0
สารละลายเบส [H3O+] < 1 10-7 mol/dm3 ค่า pH > 7.0
สารละลายกลาง [H3O+] = 1 10-7 mol/dm3 ค่า pH = 7.0
เคมีพ้ นื ฐาน 3-51

ช่วงของค่า pH แสดงได้ดงั ภาพที่ 3.32

Ht at

ภาพที่ 3.32 ช่ วงของระดับค่ าพีเอช

ค่ า pH จะกาหนดไว้ท่ี 0 – 14 ถ้าสารละลายมีสมบัติเป็ นกลางค่ า pH จะเท่ากับ 7 คือไม่เป็ นทัง้ กรดและ


เบส ส่ ว นสารละลายที่มีส มบัติเ ป็ น กรดค่ า pH จะต า่ กว่ า 7 ยิ่ง ค่ า เข า้ ใกล ้ 0 แสดงว่ า มีค วามเป็ น กรดสู ง และ
สารละลายทีม่ สี มบัตเิ ป็ นเบสค่า pH จะมากกว่า 7 ยิ่งค่า pH เขา้ ใกล ้ 14 แสดงว่ามีความเป็ นเบสสูง
การหาค่า pH เป็ นการนา [H3O+] มาคิดโดยตรง แต่อาจคิดจาก [OH-] ได้ จากสูตรต่อไปนี้

pOH = - log [OH-] … (3.3)

จากค่า Kw ของนา้ จะได้ว่า Kw = [H3O+ ][OH-] = 1 10-14 … (3.4)


จะได้ -(log [H3O+] + log [OH-]) = -log (1 10-14)
(-log [H3O+]) + (-log [OH-]) = 14
จึงได้ความสัมพันธ์เป็ น pH + pOH = 14 … (3.5)

ตัวอย่ างที่ 3.1 สารละลายแอมโมเนีย (NH3) ที่ใช้ทาความสะอาดบ้านมีค่าความเขม้ ข น้ ของไฮดรอกไซด์ไอออน


(OH-) เท่ากับ 0.01 mol/dm3 จงคานวณหาค่ าความเขม้ ขน้ ของไฮโดรเนียมไอออน (H3O+) พร้อมทัง้ หาค่ า pH และ
pOH ของสารละลายนี้
จากโจทย์กาหนดให้ [OH-] = 0.01 = 1 10-2 mol/dm3
การแตกตัวของนา้ Kw = [H3O+ ][OH-] = 1 10-14
หาความเขม้ ขน้ ของไฮโดรเนียมไอออน [H3O+]
[H3O+] = K w = 1 10-14 = 1 10-12 mol/dm3
[OH-] 1 10-2
หา pH จากสมการ 3.2 pH = - log [H3O+]
แทนค่า [H3O+] ลงไป pH = - log [1 10-12 ]
ตามกฎของ log log 10 = 1
ดังนัน้ - log [1 × 10-12 ] = 12
(-log 1) + (-log 10-12) = 12
3-52 วิทยาศาสตร์สาหรับเทคโนโลยีสารสนเทศและการสือ่ สาร

ได้ค่า pH ของสารละลาย pH = 12
จากความสัมพันธ์ pOH + pH = 14
แทนค่า pH ลงไป pOH + 12 = 14
ได้ค่า pOH ของสารละลาย pOH = 2

ตอบ ความเขม้ ขน้ ของไฮโดรเนียมไอออน [H3O+] = 1 10-12 mol/dm3


สารละลายมีค่า pH = 12 และมีค่า pOH เท่ากับ 2

การแตกตัวของกรดและเบส
กรดและเบสจะแตกตัวได้มากน้อยเพียงใด ขึ้นอยู่กบั ความแรงของกรดและเบสดังนี้
1. การแตกตัวของกรดและเบสแก่ กรดและเบสแก่ จะแตกตัวหมด หรือเรียกได้ว่ามีการแตกตัวได้รอ้ ยละ
100 ดังนัน้ ในการเปลีย่ นแปลงปฏิกิริยาของกรดและเบสแก่ จงึ เป็ นปฏิกิริยาไปขา้ งหน้าอย่างเดียว ตัวอย่างกรดแก่
และเบสแก่มดี งั นี้
กรดแก่ ได้แก่ กรดไฮเปอร์คลอริก (HClO4) กรดไฮโดรไอออดิก (HI) กรดไฮโดรบอมิก (HBr) กรดไฮโดร-
คลอริก (HCl) กรดไนทริก (HNO3) และกรดซัลฟูริก (H2SO4) เป็ นต้น
เบสแก่ ได้แ ก่ สารประกอบไฮดรอกไซด์ข องหมู 1A และ 2A เช่ น โซเดี ย มไฮดรอกไซด์ (NaOH)
โพแทสเซียมไฮดรอกไซด์ (KOH) แบเรียมไฮดรอกไซด์ Ba(OH)2 และแคลเซียมไฮดรอกไซด์ (Ca(OH)2) เป็ นต้น

ตัวอย่ างที่ 3.2 จงหา pH ของสารละลายต่อไปนี้


(ก) สารละลายกรดไฮโดรคลอริก ความเขม้ ขน้ 1.0 10-3 mol/dm3
(ข) สารละลายแบเรียมไฮดรอกไซด์ ความเขม้ ขน้ 0.02 mol/dm3
(ก) เนื่องจากสารละลายกรดไฮโดรคลอริกเป็ นกรดแก่แตกตัวร้อยละ 100 เขียนสมการได้ดงั นี้

HCl (aq) H3O+(aq) + Cl-(aq)

กรดแก่แตกตัวร้อยละ 100 จึงแตกตัวให้ความเขม้ ขน้ ของ H3O+ และ Cl- เท่ากับ 1.0 10-3 mol/dm3
หา pH ของสารละลายจากสูตร pH = - log [H3O+]
แทนค่า [H3O+] ได้ pH = - log [1.0 10-3] = 3
(ข) เนื่องจากสารละลายแบเรียมไฮดรอกไซด์ ความเขม้ ขน้ 0.02 mol/dm3 เป็ นเบสแก่แตกตัวร้อยละ 100
เขียนสมการได้ดงั นี้

Ba(OH)2 (aq) Ba2+(aq) + 2OH-(aq)

เบสแก่แตกตัวร้อยละ 100 จึงแตกตัวให้ความเขม้ ขน้ ของ Ba2+ และ OH- เท่ากับ 0.02 mol/dm3
แต่เนื่องจากในสมการเกิด OH- 2 โมลจึงคิดความเขม้ ขน้ = 0.02 2 = 0.04
หา pOH ของสารละลายจากสูตร pOH = - log [OH-]
เคมีพ้ นื ฐาน 3-53

แทนค่า [OH-]ได้ pOH = - log [4 10-2]


pOH = - log [22 10-2]
pOH = (-2log 2) + (-log 10-2)
โดย log 2 = 0.301 จะได้ pOH = 1.40
pH = 14 – pOH = 14 – 1.40
pH = 12.60
ตอบ สารละลายกรดไฮโดรคลอริกมีค่า pH เท่ากับ 3 และ
สารละลายแบเรียมไฮดรอกไซด์มคี ่า pH เท่ากับ 12.60

2. การแตกตัวของกรดและเบสอ่ อน กรดและเบสอ่อนเป็ นสารที่แตกตัวไม่หมด การแตกตัวของกรดและ


เบสอ่อนเป็ นการเกิดปฏิกิริยาไปขา้ งหน้าและย้อนกลับได้ และมีภาวะสมดุล โดยการแตกตัวของกรดและเบสอ่อนจะ
บอกเป็ นร้อยละของการแตกตัว และบอกเป็ นค่าคงทีส่ มดุลของกรดและเบส แทนค่าด้วย Ka และ Kb ตามลาดับ

ตัวอย่ างที่ 3.3 สารละลายแอมโมเนีย (NH3) เขม้ ขน้ 0.01 โมลต่อลิตร แตกตัวเป็ นไอออนได้รอ้ ยละ 2.0 จงคานวณ
ค่าคงทีส่ มดุลของเบสหรือ Kb ของแอมโมเนีย
เขียนสมการการแตกตัวของสารละลายโซเดียมได้ดงั นี้

NH3 + H2O NH4+ + OH-

สัญลักษณ์ลูกศรไปและลู กศรกลับ หมายถึงปฏิกิริยาที่สามารถเกิดได้ทงั้ ในทิศทางไปขา้ งหน้าและ


ทิศทางย้อนกลับ
สารละลายแตกตัวร้อยละ 2.0 ดังนัน้ [NH4+] = [OH-] = 2.0 0.01
100
= 2.0 10-4 โมลต่อลิตร
และยังมี [NH3] ทีเ่ หลืออีก = 0.01 – (2.0 10-4)
0.01
1 10-2 โมลต่อลิตร
ค่า Kb หาได้จาก = [NH4+] [OH-]
[NH3]
แทนค่า Kb = (2.0 10-4) (2.0 10-4)
(1 10-2)
= 4 10-6
ตอบ ค่า Kb ของ NH3 มีค่าเท่ากับ 4 10-6 โมลต่อลิตร
3-54 วิทยาศาสตร์สาหรับเทคโนโลยีสารสนเทศและการสือ่ สาร

ปฏิกริ ิยากรดและเบส
การทาปฏิกิริยาส่วนใหญ่ จะได้ผลิตภัณ ฑ์เป็ น เกลือและนา้ หรือเรียกว่า ปฏิกิริยาสะเทิน (neutralization
reaction) หรือบางชนิ ดเกิด เกลือเพีย งอย่ างเดีย ว สาหรับปฏิกิริย าระหว่างกรดและเบสในสารละลายน า้ จะทาให้
สารละลายทีไ่ ด้แสดงสมบัตเิ ป็ นกรด เบส หรือกลางซึง่ พิจารณาได้ 2 กรณี
1) กรณี ทม่ี กี รดหรือเบสเหลืออยู่ในสารละลาย ถ้ากรดเหลืออยู่สารละลายจะแสดงสมบัตเิ ป็ นกรด
ถ้ามีเบสเหลืออยู่ สารละลายก็จะแสดงสมบัตเิ ป็ นเบส
2) กรดกับเบสทาปฏิกิริย ากัน หมดพอดี ได้เกลือกับนา้ สารละลายของเกลือที่ได้จากปฏิกิริยา จะแสดง
สมบัติเป็ นกรด เบส หรือกลาง ขึ้นอยู่กบั ชนิดของเกลือนัน้ ว่ามาจากกรดและเบสประเภทใด ทัง้ นี้เพราะเกลือแต่ละ
ชนิดจะเกิดการแตกตัวและทาปฏิกิริยากับนา้ เรียกว่า ไฮโดรไลซิส (hydrolysis) ซึง่ ทาให้สารละลายแสดงสมบัตกิ รด
หรือเบสต่างกัน
การเกิดปฏิกิริยากรดและเบสแบ่งได้ ดังนี้
1. ปฏิกิริยาระหว่ างกรดแก่ กับเบสแก่ เนื่องจากกรดแก่ และเบสแก่ แตกตัวได้หมดร้อยละ 100 ปฏิกิริยาที่
เกิด ขึ้น จึงเหมือนกับการเกิด พัน ธะไอออนิ ก เช่ น ปฏิกิริ ย าระหว่างกรดแก่ (ไฮโดรคลอริก , HCl) และเบสแก่
(โซเดียมไฮดรอกไซด์, NaCl) ดังนี้

HCl (aq) + NaOH (aq) NaCl (aq) + H2O (l)


เกลือ นา้

สารละลายโซเดียมคลอไรด์ (NaCl) ที่เกิดขึ้น คือเกลือที่มีองค์ประกอบเป็ นไอออนบวกจากเบสแก่ และ


ไอออนลบจากกรดอ่อน ทาปฏิกิริยากันพอดี ทาให้สมบัตขิ องสารละลายเป็ นกลางมี pH = 7
2. ปฏิกิริยาระหว่ างกรดแก่ กับเบสอ่ อน เบสอ่ อนแตกตัวได้เพียงเล็ก น้อยในสารละลาย เช่ น ปฏิกิริย า
ระหว่างกรดแก่ (ไฮโดรคลอริก, HCl) กับเบสอ่อน (แอมโมเนียมไฮดรอกไซด์, NH4OH) ดังนี้

HCl (aq) + NH4OH (aq) NH4Cl (aq) + H2O (l)


เกลือ นา้

สารละลายแอมโมเนียมคลอไรด์ (NH4Cl) ที่เกิดขึ้น คือเกลือที่มอี งค์ประกอบเป็ นไอออนบวกจากเบสอ่อน


และไอออนลบจากกรดแก่ ไอออนบวกจะเกิ ด ปฏิกิ ริ ย าไฮโดรไลซิส เหลือ ไอออนลบจากกรดแก่ สมบัติ ข อง
สารละลายทีไ่ ด้จงึ เป็ นกรด
3. ปฏิกิริยาระหว่ างกรดอ่ อนกับเบสแก่ กรดอ่ อนแตกตัวได้เพีย งเล็กน้อยในสารละลาย เช่ น ปฏิกิริย า
ระหว่างกรดอ่อน (กรดแอซิตกิ หรือกรดนา้ ส้ม, CH3COOH) กับเบสแก่ (โซเดียมไฮดรอกไซด์, NaOH) ดังนี้

CH3COOH (aq) + NaOH (aq) CH3COONa (aq) + H2O (l)


เกลือ นา้
เคมีพ้ นื ฐาน 3-55

สารละลายโซเดียมแอซิเตต (CH3COONa) ที่เกิดขึ้น คือเกลือที่มอี งค์ประกอบเป็ นไอออนบวกจากเบสแก่


และไอออนลบจากกรดอ่ อ น ไอออนลบจะเกิ ด ปฏิกิ ริ ย าไฮโดรไลซิส เหลือ ไอออนบวกจากเบสแก่ สมบัติข อง
สารละลายทีไ่ ด้จงึ เป็ นเบส
4. ปฏิกริ ิ ยาระหว่ างกรดอ่ อนกับเบสอ่ อน กรดอ่อนและเบสอ่อนแตกตัวได้เพียงเล็กน้อยในสารละลาย เช่ น
เช่น ปฏิกิริยาระหว่างกรดอ่อน (ไฮโดรเจนไซยาไนด์, HCN) กับเบสอ่อน (แอมโมเนียมไฮดรอกไซด์, NH4OH) ดังนี้

HCN (aq) + NH4OH (aq) NH4CN (aq) + H2O (l)


เกลือ นา้

สารละลายแอมโมเนียมไซยาไนด์ (NH4CN) ที่เกิดขึ้น คือเกลือที่มีองค์ประกอบเป็ น ไอออนบวกจากเบส


อ่อน และไอออนลบจากกรดอ่อน ทัง้ ไอออนบวกและไอออนลบจะเกิดปฏิกิริยาไฮโดรไลซิส สมบัติของสารละลายที่
ได้จงึ ขึ้นกับค่า Ka และ Kb ของสารละลาย
นอกจากนี้การเกิดปฏิกิริยาระหว่างสารละลายกรดอ่อนกับเกลือของกรดอ่อน หรือสารละลายเบสอ่อนกับ
เกลือของเบสอ่อน จะได้สารละลายที่เรียกว่า บัฟเฟอร์ ซึ่งเป็ นสารละลายที่มีสมบัติพเิ ศษคือ การควบคุม pH ของ
สารละลายไว้เกือบคงที่ เมื่อเติมกรดหรือเบสลงไปเพียงเล็กน้อย ที่เป็ นเช่ นนี้เพราะในสารละลายบัฟเฟอร์จะมีสาร
หรื อ ไอออนที่ท าหน้า ที่ค อยควบคุ ม ความเข ม้ ข น้ ของ H3O+ และ OH- ในระบบให้ค งที่ สารละลายบัฟ เฟอร์ใ น
ชีวิตประจาวัน เช่ น คู่ บฟั เฟอร์ฟ อสเฟต H2PO4-/HPO42- ท าหน้าที่ค วบคุ ม pH ของเลือ ดให้อยู่ ในระดับ 7.3-7.4
เป็ นต้น

กิจกรรม 3.3.1
1. ปฏิกิริยาต่อไปนี้ สารตั้งต้นใดทาหน้าที่เป็ นกรดและเบสตามทฤษฎีของลิวอิส
ก. NH3(aq) + HCl(aq) NH4Cl(aq)
ข. HCl(aq) + H2O(aq) H3O+(aq) + Cl-(aq)
2. จงคานวณหา pH ของสารละลาย HBr มีความเข้มข้น 2.5 10-3 โมลต่อลิตร

แนวตอบกิจกรรม 3.3.1
1. ก. NH3 เป็ นกรด เนื่องจากเป็ นสารที่ให้โปรตอน (H+)
HCl เป็ นเบส เนื่องจากเป็ นสารที่รับโปรตอน (H+)
ข. HCl เป็ นกรด เนื่องจากเป็ นสารที่ให้โปรตอน (H+)
H2O เป็ นเบส เนื่องจากเป็ นสารที่รับโปรตอน (H+)
2. เนื่องจากสารละลายกรดไฮโดรโบรมิกเป็ นกรดแก่แตกตัวร้อยละ 100 เขียนสมการได้ดงั นี้

HBr (aq) H3O+(aq) + Br-(aq)


3-56 วิทยาศาสตร์สาหรับเทคโนโลยีสารสนเทศและการสือ่ สาร

กรดแก่แตกตัวร้อยละ 100 จึงแตกตัวให้ความเข้มข้นของ H3O+ และ Cl- เท่ากับ 2.5 10-3 mol/dm3
หา pH ของสารละลายจากสูตร pH = - log [H3O+]
แทนค่า [H3O+] ได้ pH = - log [2.5 × 10-3] = 2.6 ตอบ

เรื่องที่ 3.3.2
เคมีไฟฟ้ า

เคมีไฟฟ้ าเป็ นการศึ กษาปฏิกิริยาเคมีท่ที าให้เกิดกระแสไฟฟ้ า โดยปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นเกิดจากการถ่ายโอน


อิเล็กตรอนจากสารหนึ่งไปยังอีกสารหนึ่ง ซึง่ จะมีการเปลีย่ นแปลงเลขออกซิเดชัน เรียกปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นว่า ปฏิกิริยา
รีดอกซ์ (redox reaction)

ปฏิกริ ิยารีดอกซ์
ปฏิกิริยารีดอกซ์ คือ ปฏิกิริยาที่มีการถ่ายโอนอิเล็กตรอนระหว่างตัวให้อิเล็กตรอนและตัวรับอิเล็กตรอน
ทาให้ประจุของอะตอมหรือไอออนหรือเรียกว่าเลขออกซิเดชันมีการเปลีย่ นแปลง โดยปฏิกิริยารีดอกซ์จะประกอบด้วย
2 ปฏิกิริยาย่อย คือ ปฏิกิริยาออกซิเดชัน (oxidation Reaction) และ ปฏิกิริยารีดกั ชัน (reduction Reaction)
1. ปฏิกริ ิ ยาออกซิ เดชัน คือ ปฏิกิริยาที่มกี ารให้อเิ ล็กตรอน สารที่ทาหน้าที่ให้อเิ ล็กตรอนเรียกว่า ตัวรีดิวซ์
ผลคือ เลขออกซิเดชันจะมีค่าเพิม่ ขึ้น ครึ่งปฏิกิริยาออกซิเดชันเขียนได้ดงั นี้
ตัวรีดวิ ซ์ ผลิตภัณฑ์ + อิลก็ ตรอน
ตัวอย่าง เช่น Zn (s) Zn2+(aq) + 2e-
Mg (s) Mg2+(aq) + 2e-
2. ปฏิกิริยารี ดักชั น คือ ปฏิกิริย าที่มีก ารรับอิเล็ก ตรอน สารที่ทาหน้า ที่ร บั อิเล็ก ตรอนเรีย กว่า ตัวรี -
ออกซิไดซ์ ผลคือ เลขออกซิเดชันจะมีค่าลดลง ครึ่งปฏิกิริยารีดกั ชันชันเขียนได้ดงั นี้

ตัวออกซิไดซ์ + อิเล็กตรอน ผลิตภัณฑ์


ตัวอย่าง เช่น Cu2+ (aq) + 2e- Cu (s)
2Cl- (aq) + 2e- Cl2 (aq)

เมื่อรวมครึ่งปฏิกิริยาออกซิเดชันและปฏิกิริยารีดกั ชันเขา้ ด้วยกัน ด้วยการให้และรับอิเล็กตรอนเท่าๆ กัน


จะได้ปฏิกิริยารีดอกซ์ ดังนี้
เคมีพ้ นื ฐาน 3-57

ตัวออกซิไดซ์ + ตัวรีดวิ ซ์ ผลิตภัณฑ์


ตัวอย่าง เช่น Zn (s) + Cu2+ (aq) Zn2+ (aq) + Cu (s)
Mg (s) + 2HCl (aq) MgCl2 (aq) + H2 (g)

การเกิดปฏิกิริยาระหว่างโลหะกับสารละลายจะเกิดปฏิกิริยาเคมีหรือไม่นนั้ ขึ้นอยู่กบั ชนิดของโลหะที่จ่มุ และ


ไอออนของสารละลายด้วย เช่ น เมื่อจุ่มแท่งโลหะทองแดง (Cu) กับสารละลายซิลเวอร์ไนเตรต (AgNO3) เกิดโลหะ
เงินมาเกาะที่แผ่นโลหะทองแดง เมื่อนามาเคาะพบว่าโลหะทองแดงเกิดการสึกกร่ อน ส่วนสีของสารละลาย AgNO3
เปลีย่ นจากใสไม่มสี เี ป็ นสีฟ้า ปฏิกิริยาทีเ่ กิดขึ้น คือ

0 +1 +2 0
+ 2+
Cu(s) + 2Ag (aq) Cu (aq) + 2Ag(s)
เลขออกซิเดชันเพิ่มขึ้น
เลขออกซิเดชันลดลง

ตัวเลขทีอ่ ยู่ดา้ นบนเป็ นเลขออกซิเดชันของแต่ละธาตุ ซึ่งจะเห็นว่ามีการเพิ่มขึ้นของเลขออกซิเดชันของ Cu


จาก 0 ไปเป็ น +2 และมีการลดลงของเลขออกซิเดชัน่ ของ Ag+ จาก +1 ไปเป็ น 0 ซึง่ เขียนครึ่งเซลล์ปฏิกิริยาได้ดงั นี้

Cu(s) Cu2+(aq) + 2e- Cu ให้อเิ ล็กตรอน


2Ag (aq) + 2e-
+
2Ag(s) Ag+ รับอิเล็กตรอน
ปฏิกิริยารวมคือ Cu(s) + 2Ag+(aq) Cu2+(aq) + 2Ag(s)

หลักในการพิจารณาว่าปฏิกิริยาใดเป็ นปฏิกิริยารีดอกซ์ นอกจากพิจารณาจากเลขออกซิเดชันที่เปลีย่ นแปลง


ไปแลว้ ยังพิจารณาได้จากลักษณะของปฏิกิริยาด้วย โดย
1. ปฏิกิริยาทีม่ ธี าตุอสิ ระอยู่ในปฏิกิริยา เช่น 2Na + Cl2 NaCl
2. ปฏิกิริยาทีม่ อี ตั ราส่วนของธาตุในสารประกอบเปลีย่ นแปลง เช่น SO2 + NO2 SO3 + NO
3. ปฏิกิริยาเคมีทเ่ี กิดในเซลล์ไฟฟ้ าเคมีทกุ ชนิด
4. ปฏิกิริยาเมแทบอลิซมึ ในร่างกาย
5. ปฏิกิริยาทีม่ ธี าตุทรานสิชนั ่ ร่วมอยู่ดว้ ย

เซลล์ไฟฟ้ า
เซลล์ไฟฟ้ า คือ อุปกรณ์ ท่ีต่อครบวงจรแล ว้ สามารถผลิตกระแสไฟฟ้ าได้ โดยอาศัย หลัก การให้แ ละรับ
อิเล็กตรอนหรือการเกิ ดปฏิกิริยารีดอกซ์ภายในเซลล์ สามารถแบ่งเซลล์ไฟฟ้ าออกเป็ น 2 ชนิด คือ เซลล์แกลวานิก
(galvanic cell) และเซลล์อเิ ล็กโทรไลต์ (electrolyte cell)
3-58 วิทยาศาสตร์สาหรับเทคโนโลยีสารสนเทศและการสือ่ สาร

1. เซลล์ แกลวานิก หรือเรียกว่า เซลล์โวลทาอิก (Voltaic cell) เป็ นเซลล์ไฟฟ้ าที่ทาหน้าที่เปลีย่ นพลังงาน
เคมีไปเป็ นพลังงานไฟฟ้ า เป็ นเซลล์ทผ่ี ลิตไฟฟ้ าด้วยปฏิกิริยารีดอกซ์ทเ่ี กิดขึ้นได้เอง องค์ประกอบของเซลล์แกลวานิก
ประกอบด้วย 2 ครึ่งเซลล์ทแ่ี ตกต่างกัน มาต่อกันเป็ นเซลล์เดียว ดังแสดงภาพที่ 3.33 ซึ่งจะเห็นว่าครึ่งเซลล์ทางซ้าย
เป็ น การน าโลหะสัง กะสีม าจุ่ ม ลงในสารละลายไอออนที่มีโ ลหะสัง กะสีอ ยู่ ( ZnSO4) ส่ ว นครึ่ ง เซลล์ท างขวาเป็ น
โลหะทองแดงจุ่มลงในสารละลายไอออนที่มีโลหะทองแดงอยู่ (CuSO4) สองเซลล์น้ ีเชื่อมต่ อกันด้วยสะพานไอออน
และลวดตัวนา โดยสะพานไอออนทาหน้าทีเ่ ชื่อมระหว่างสารละลายหนึ่งไปหาสารละลายหนึ่ง เพือ่ รักษาสมดุลระหว่าง
ไอออนบวกและไออนลบในแต่ ละครึ่งเซลล์ให้คงที่ ส่วนใหญ่ เป็ นสารละลายเกลือของหมู่ 1 และหมู่ 2 เช่ น KNO3
NH4NO3 KCl NH4Cl K2SO4 เป็ นต้น ส่วนการเชื่อมเซลล์โดยใช้ลวดนัน้ เพื่อให้ลวดเป็ นตัวเชื่อมระหว่างอีกขัว้ โลหะ
หนึ่งไปยังขัว้ โลหะหนึ่ง และต่อเขา้ กับโวลต์มเิ ตอร์ เพือ่ บอกทิศทางการไหลของอิเล็กตรอน โดยเข็มจะเบนไปในทางที่
อิเล็กตรอนไหล จากภาพที่ 3.33 จะเห็นว่าเข็มของโวลล์มเิ ตอร์เบนไปทางขวา แสดงว่าอิเล็กตรอนไหลจากฝัง่ โลหะ
สังกะสีไปยังฝัง่ โลหะทองแดง แสดงว่ าโลหะสัง กะสีทาหน้าที่ใ ห้อิเล็ก ตรอน และเกิด ปฏิกิ ริย าออกซิเดชัน ส่ ว น
โลหะทองแดงจะทาหน้าทีร่ บั อิเล็กตรอน และเกิดเป็ นปฏิกิริยารีดกั ชัน แท่งโลหะสังกะสีและทองแดงในเซลล์ เรียกว่า
อิเล็กโทรด (electrode) ด้านอิเล็กโทรดที่เกิดปฏิกิริยาออกซิเดชัน เรียกว่า แอโนด (anode) เป็ นขัว้ ลบ และด้าน
อิเล็กโทรดทีเ่ กิดปฏิกิริยารีดกั ชัน เรียกว่า แคโทด (cathode) เป็ นขัว้ บวก
ตัวอย่างเซลล์แกลวานิกดังแสดงในภาพที่ 3.33

ภาพที่ 3.33 ตัวอย่ างเซลล์แกลวานิก


ปฏิกิริยาทีเ่ กิดขึ้นเป็ นดังนี้
ขัว้ แอโนด Zn(s) Zn2+ (aq) + 2e-
ขัว้ แคโทด Cu2+(aq) + 2e- Cu(s)
ปฎิกิริยารีดอกซ์ Zn(s) + Cu2+ Zn2+(aq) + Cu(s)

จากปฏิกิริยาที่เกิดขึ้น พบว่าสังกะสีหรือด้านแอโนดจะกร่ อนลงเนื่องจากมีการให้อิเล็กตรอนไปยัง อีกด้าน


หนึ่ง ส่วนทองแดงหรือด้านแคโทดจะมีโลหะมาเกาะที่ปลายทองแดง การไหลของอิเล็กตรอนเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง
ทาให้เกิดกระแสไฟฟ้ าไหล โดยกระแสไฟฟ้ าจะไหลในทิศทางตรงขา้ มกับทิศทางการไหลของอิเล็กตรอน
เคมีพ้ นื ฐาน 3-59

รูปแบบในการแสดงเซลล์แกลวานิก อาจแสดงเป็ นแผนภาพเซลล์ ซึง่ มีการหลักมาตรฐานในการเขียนดังนี้


1) เขียนครึ่งเซลล์ออกซิเดชันไวท้ างซ้าย และครึ่งเซลล์รีดกั ชัน่ ไวท้ างขวา คัน่ กลางด้วยสะพานไอออน
ซึง่ ใช้เครื่องหมาย || หรือ //
2) ใช้เครื่องหมาย / คัน่ ระหว่างขัว้ ไฟฟ้ ากับไอออน เช่น Zn(s)/Zn2+(aq)
3) ถ้าสารละลายที่เป็ นแก๊สจาเป็ นต้องต่อกับขัว้ ไฟฟ้ าเฉื่ อยให้ใช้เครื่องหมาย / คัน่ ระหว่างโลหะกับ
แก๊ส เช่น Pt(s)/H2(g)/H+(aq)
4) สารละลายทีท่ ราบความเขม้ ขน้ ให้เขียนระบุไวใ้ นวงเล็บ เช่น Zn(s)/Zn2+(1 mol/dm3)
5) ครึ่งเซลล์ทเ่ี ป็ นแก๊สให้ระบุความดันลงในวงเล็บด้วย เช่น Pt(s)/H2(1 atm)/H+(1 mol/dm3)
เมื่อ 1atm หมายถึง ความดันบรรยากาศ (atmospheric pressure หรือ standard atmosphere) หมายถึง
ความดันบรรยากาศโดยเฉลีย่ บนผิวโลก วัดทีร่ ะดับนา้ ทะเล มีค่าเท่ากับ 760 mmHg
ตัวอย่ างในการเขียนแผนภาพเซลล์ เป็ นดังนี้
ให้ปฏิกิริยารีดอกซ์ทเ่ี กิดขึ้นเป็ นดังสมการ A(s) + B+(aq) A+(aq) + B(s)
แผนภาพเซลล์ไฟฟ้ าทีเ่ ขียนได้คือ A(s) | A+(aq) // B+(aq) | B(s)
(ครึ่งเซลล์ออกซิเดชัน) (ครึ่งเซลล์รีดกั ชัน)
ดังนัน้ จากปฏิกิริยารีดอกซ์ของภาพที่ 3.32 จะเขียนแผนภาพแสดงเซลล์แกลวานิกได้ดงั นี้
Zn(s)/Zn2+(aq) // Cu2+(aq)/Cu(s)
บางกรณี ท่มี คี รึ่งเซลล์ประกอบด้วยอโลหะหรือไอออนที่ไม่นาไฟฟ้ า เช่ น มีแก๊สไฮโดรเจน (H2) อยู่ ร่วมกับ
H หรือแก๊ส Cl2 อยู่ ร่วมกับ Cl- เป็ นต้น กรณี น้ ีมกั ใช้ขวั้ เฉื่ อยเป็ นขัว้ ไฟฟ้ า เช่ น แพลทินมั (Pt) หรือแกรไฟต์ (C)
+

ตัวอย่างเช่นในภาพที่ 3.34 แผนภาพแสดงเซลล์แกลวานิก คือ


Zn(s)/Zn2+(aq)//H+(aq)/H2(g)/Pt(s)
หรือ Zn(s)/Zn2+(1 mol/dm3)/ /H+(1 mol/dm3)/H2(1atm)/Pt(s)

ภาพที่ 3.34 เซลล์ แกลวานิกทีป่ ระกอบด้ วยครึ่งเซลล์ สังกะสีกบั ครึ่งเซลล์ ไฮโดรเจน


3-60 วิทยาศาสตร์สาหรับเทคโนโลยีสารสนเทศและการสือ่ สาร

ในการนาครึ่งเซลล์ 2 ครึ่งเซลล์มาต่ อกันนัน้ จะเกิดการเคลื่อนที่ของอิเล็กตรอนจากอิเล็กโทรดหนึ่ง ไปยัง


อิเล็กโทรดหนึ่ง แสดงว่ามีความต่ างศักย์ระหว่างอิเล็กโทรด เรียกว่า ศักย์ไฟฟ้ าของเซลล์ มีหน่ วยเป็ นโวลต์ ได้มา
จากศักย์ไฟฟ้ าครึ่งเซลล์แคโทดลบด้วยศักย์ไฟฟ้ าครึ่งเซลล์แอโนด ซึง่ เขียนแทนด้วย

E0เซลล์ = E0แคโทด - E0แอโนด …(3.6)

ค่ าศักย์ไฟฟ้ าเป็ นค่ าที่แสดงให้ทราบถึงความสามารถในการแย่ งชิงอิเล็กตรอน โดยการวัดศักย์ไฟฟ้ าครึ่ง


เซลล์จะต้องวัดเทียบกับศักย์ไฟฟ้ ามาตรฐานนัน่ คือ ครึ่งเซลล์ไฮโดรเจนมาตรฐาน หรือ ขัว้ ไฟฟ้ าไฮโดรเจนมาตรฐาน
หรือเอสเอชอี (Standard Hydrogen Electrode: SHE) ดังแสดงภาพที่ 3.35 ความสามารถในการให้และรับอิเล็ก -
ตรอนของครึ่งเซลล์มาตรฐานไฮโดรเจนมีค่าเท่ากับ 0.00 โวลต์ เมื่อต้องการทราบครึ่งเซลล์มาตรฐานใดก็นามาวัดค่ า
ได้โดยนาครึ่งเซลล์นนั้ มาต่อกับครึ่งเซลล์เอสเอชอี ค่าทีไ่ ด้จะมีทงั้ ค่าบวกและลบดังตารางที่ 3.10

ภาพที่ 3.35 ครึ่งเซลล์ ไฮโดรเจนมาตรฐาน หรือขั้วไฟฟ้าไฮโดรเจนมาตรฐาน


เคมีพ้ นื ฐาน 3-61

ตารางที่ 3.10 ตารางแสดงค่ าครึ่งเซลล์ มาตรฐานที่ 25 องศาเซียลเซียส

ศักย์ ไฟฟ้ารีดกั ชันมาตรฐานที่ 25 องศาเซียลเซส


ศักย์ ไฟฟ้าครึ่งเซลล์รีดกั ชัน ศักย์ ไฟฟ้า (โวลต์ )
3-62 วิทยาศาสตร์สาหรับเทคโนโลยีสารสนเทศและการสือ่ สาร

ตัวอย่ างที่ 3.4 เมื่อต่อครึ่งเซลล์สงั กะสีกบั ครึ่งเซลล์ไฮโดรเจน โดยมีโวลต์มเิ ตอร์ต่ออยู่ดว้ ยเป็ น แกลวานิก เข็มของ
โวลต์มเิ ตอร์จะชี้ไปยังขัว้ Pt ทีผ่ ่านด้วย H2(g) นัน่ แสดงว่า
ขัว้ Zn ให้อเิ ล็กตรอนเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชัน เป็ นขัว้ แอโนด
ขัว้ Pt(H2) รับอิเล็กตรอนเกิดปฏิกิริยารีดกั ชัน เป็ นขัว้ แคโทด
และอ่านค่าศักย์ไฟฟ้ าของเซลล์ได้เท่ากับ 0.763 โวลต์ ดังแสดงในภาพ

จงหาศักย์ไฟฟ้ ามาตรฐานของครึ่งเซลล์สงั กะสีและเขียนแผนภาพของเซลล์สงั กะสีต่อกับครึ่งเซลล์ไฮโดรเจน


มาตรฐาน
วิธีทา เนื่องจากครึ่งเซลล์ไฮโดรเจนเป็ น มาตรฐานในการเปรียบเทียบหาค่าศักย์ไฟฟ้ าของครึ่งเซลล์สงั กะสี
จึงให้ E0H+ = 0.00 โวลต์
จากสมการที่ 1 E เซลล์ = E0แคโทด - E0แอโนด
0

แทนค่า 0.763 = 0.00 - E0Zn2+


E0Zn2+ = -0.763 โวลต์
ศักย์ไฟฟ้ ามาตรฐานของครึ่งเซลล์สงั กะสีเท่ากับ -0.763 โวลต์ ค่ านี้เรียกว่า ศักย์ไฟฟ้ ามาตรฐานของครึ่ง
เซลล์รีดกั ชัน (E0Zn2+) นัน่ คือ

Zn2+(aq) + 2e- Zn(s) E0 = -0.763 โวลต์

แผนภาพของเซลล์สกั กะสี-ไฮโดรเจนมาตรฐานคือ
Zn (s) / Zn2+ (1 mol/dm3 ) // H+ ( 1 mol/dm3 ) / H2 (g , 1 atm )/Pt (s)
เซลล์ แกลวานิก แบ่งออกเป็ น 2 ประเภท คือ เซลล์ปฐมภูมิ (primary galvanic cell) และเซลล์ทุติยภูมิ
(secondary galvanic cell)
เคมีพ้ นื ฐาน 3-63

1) เซลล์ ปฐมภูมิ คือ เซลล์ทใ่ี ช้ผลิตกระแสไฟฟ้ าจากปฏิกิริยาเคมีแลว้ ไม่สามารถทาให้กลับไปสู่สภาพ


เดิมได้อกี หรือไม่สามารถอัดไฟใหม่ได้ เมื่อใช้ไฟไปนานๆ ความต่างศักย์ระหว่างขัว้ ลดลงจนในที่สุดจะเสื่อมสภาพ
กระแสไฟฟ้ าจะหยุดไหล เซลล์ประเภทนี้ได้แก่ เซลล์ไฟฉาย เซลล์แอลคาไลน์ เซลล์ปรอท และเซลล์เงิน เป็ นต้น
ตัวอย่างการเกิดเซลล์ปฐมภูมขิ องถ่านไฟฉายดังแสดงในภาพที่ 3.36

ภาพที่ 3.36 เซลล์ ของถ่ านไฟฉาย

จากภาพที่ 3.36 เป็ นเซลล์ของถ่านไฟฉายหรือเรียกอีกอย่างว่าเซลล์แห้ง (dry cell) ประกอบด้วยสังกะสี


เป็ นขัว้ แอโนดหรือขัว้ ลบ และมีแท่งคาร์บอนอยู่ตรงกลางเป็ นขัว้ แคโทดหรือขัว้ บวก มีสารละลายอิเล็กโทรไลต์อยู่ใน
เซลล์คือ แอมโมเนียมคลอไรด์ (NH4Cl) ซิงค์คลอไรด์ (ZnCl2) ผงแมงกานีสออกไซด์ (MnO2) ผงคาร์บอน นา้
และกาว ซึง่ ปฏิกิริยาทีเ่ กิด เป็ นดังนี้

ทีข่ วั้ แอโนด (เกิดปฏิกิริยาออกซิเดชัน) Zn Zn2+ + 2e-


ทีข่ วั้ แคโทด (เกิดปฏิกิริยารีดกั ชัน) 2MnO2 + 2NH4+ + 2 e- Mn2O3 + H2O + 2NH3
รวมปฏิกิริยารีดอกซ์ได้เป็ น Zn + 2MnO2 + 2NH4+ Zn2+ + Mn2O3 + H2O + 2NH3

Zn2+ รวมกับ NH2 เกิดสารประกอบเชิงซ้อน [Zn(NH3)4]2+ และ [Zn(NH3)2(H2O)]2+] เพื่อรักษาความ


เขม้ ขน้ ของ Zn2+ และ NH3 เซลล์ชนิดนี้มแี รงเคลือ่ นไฟฟ้ าประมาณ 1.5 โวลต์ เมือ่ ใช้ถ่านไฟฉายไปนานๆ ความต่าง
ศักย์ระหว่างขัว้ จะลดลงหรือเรียกว่าถ่านหมด ถ่านไฟฉายที่เสื่อมสภาพจะมีลกั ษณะบวมและมีของเหลวไหลออกมา
เนื่องจากในปฏิกิริยาในการจ่ายไฟมีนา้ ออกมาด้วย
สาหรับถ่านชนิดอืน่ จะมีหลักการคลา้ ยกับถ่านไฟฉายจะต่างกันที่ขวั้ แอโนด และสารละลายอิเล็กโทร-
ไลต์ ตัวอย่าง เช่ น ถ่านแอลคาไลน์จะใช้แกรไฟต์เป็ นขัว้ แอโนด และใช้สารละลายอิเล็กโทรไลต์เป็ นสารละลายเบส
เมือ่ จ่ายกระแสไฟฟ้ าไปทีข่ วั้ แคโทดจะเกิดไฮดรอกไซด์ไออน (OH-) ที่สามารถนากลับมาใช้ท่ขี วั้ แอโนดได้อกี ทาให้มี
อายุการใช้งานนานกว่าถ่านไฟฉาย เป็ นต้น
3-64 วิทยาศาสตร์สาหรับเทคโนโลยีสารสนเทศและการสือ่ สาร

2) เซลล์ ทุติยภูมิ คือ เซลล์ทใ่ี ช้ผลิตกระแสไฟฟ้ าจากปฏิกิริยาเคมีแลว้ สามารถทากลับให้อยู่ในสภาพ


เดิมได้อกี โดยให้กระแสไฟฟ้ าไหลผ่านในทิศทางตรงกันขา้ มกับการจ่ายไฟ (discharge) หรือเรียกว่าการอัดไฟใหม่
วิธีการนี้เป็ นการให้ประจุใหม่แก่ เซลล์ เซลล์ช นิดนี้ได้แ ก่ แบตเตอรี่ตะกัว่ -กรด แบตเตอรี่แบบนิกเกิล -แคดเมีย ม
เป็ นต้น ตัวอย่างการเกิดเซลล์ทตุ ยิ ภูมขิ องแบตเตอรี่ ตะกัว่ -กรด ดังแสดงในภาพที่ 3.37

ภาพที่ 3.37 แบบจาลองเซลล์แบตเตอรี่

จากภาพที่ 3.37 เป็ นเซลล์สะสมไฟฟ้ าแบบตะกัว่ หรือแบตเตอรี่ตะกัว่ -กรด หรือที่เรียกกันโดยทัว่ ไปว่า


แบตเตอรี่ เป็ นเซลล์ท่นี ิยมใช้กนั มากในรถยนต์ เซลล์น้ ีประกอบด้วยขัว้ ตะกัว่ เหมือนกัน 2 ขัว้ จุ่มอยู่ในสารละลาย
กรดซัลฟูริก (H2SO4) ก่อนนามาใช้ตอ้ งนาไปอัดไฟก่ อนจึงจะจ่ายไฟได้ และเมื่อจ่ายไฟหมดแลว้ สามารถนาไปอัดไฟ
ใหม่ได้อกี เซลล์ใหม่ 1 เซลล์มคี วามต่างศักย์ 2 โวลต์ โดยการอัดไฟครัง้ แรกมีลกั ษณะเป็ นเซลล์อเิ ล็กโทรไลต์ เพราะ
ต้องใช้พลังงานจากภายนอกใส่เขา้ ไปก่อน
การอัดไฟครัง้ แรก มีการเปลีย่ นแปลงดังนี้
ทีข่ วั้ แอโนด 2H2O(l) + O2(g) 4H+(aq) + 4e-
Pb (s) + O2(g) PbO2(s)
รวมปฏิกิริยา Pb(s) + 2H2O(l) PbO2(s) + 4H+(aq) + 4e-
ทีข่ วั้ แคโทด 2H+(aq) + 2 e- H2(g)
ดังนัน้ ในการประจุไฟครัง้ แรกขัว้ ตะกัว่ A ทาปฏิกิริยากับออกซิเจน (O2) แลว้ ขัว้ ตะกัว่ กลายเป็ น ตะกัว่
ออกไซด์ (PbO2) ขณะทีข่ วั้ ตะกัว่ B เกิดก๊าซ H2 ส่วนขัว้ ไม่เปลีย่ นแปลง
การจ่ ายไฟ มีลกั ษณะเป็ นเซลล์แกลวานิก เมื่อนาเซลล์สะสมไฟฟ้ าแบบตะกัว่ ไปต่ อวงจรเพื่อใช้งาน
พบว่าเข็มของโวลต์มิเตอร์เบนจากขัว้ B เข า้ หาขัว้ A ซึ่งเปลี่ย นเป็ นตะกัว่ ออกไซด์ (PbO2) ขณะจ่ ายไฟที่ข วั้ A
และ B จะมีส ารสีข าวซึ่งไม่ ละลายน า้ คือ ตะกัว่ ซัลเฟต (PbSO4) เกิด ขึ้น อย่ างต่ อเนื่อง ทาให้เกิดความเข ม้ ข น้ ของ
กรดซัลฟุริก (H2SO4) ลดลง ในทีส่ ุดเมือ่ ขัว้ ไฟฟ้ าทัง้ สองกลายเป็ น PbSO4 เหมือนกัน ศักย์ไฟฟ้ าทัง้ สองขัว้ จึงเท่ากัน
และไม่สามารถจ่ายไฟได้อกี
เคมีพ้ นื ฐาน 3-65

การประจุ ไฟครั้ งที่ 2 เมื่อจ่ายไฟหมดจะนาเซลล์ส ะสมไฟฟ้ าแบบตะกัว่ ไปประจุไฟอีก ครัง้ โดยต่ อ


ขัว้ ลบของเครื่องกาเนิดไฟฟ้ ากระแสตรงเขา้ กับขัว้ B และต่อขัว้ บวกเขา้ กับขัว้ A จะเกิดปฏิกิริยาในทิศทางตรงกัน
ข า้ มกับการจ่ า ยไฟ เมื่อทาการประจุไฟที่ข วั้ A จะกลายเป็ น PbO2 ส่ วนขัว้ B กลายเป็ น Pb และมีก รด H2SO4
เกิดขึ้นใหม่ ทาให้เซลล์สะสมไฟฟ้ าแบบตะกัว่ มีลกั ษณะเหมือนก่อนหมดไฟ จึ งจ่ายไฟได้อกี ครัง้ ถึงแม้ว่าเซลล์สะสม
ไฟฟ้ าแบบตะกัว่ จะมีการอัดไฟใหม่ได้ แต่การอัดไฟบ่อยๆ ทาให้สภาพของขัว้ กร่ อนลงเรื่อยๆ จึงเกิดการเสื่อมสภาพ
ของขัว้ ทาให้แบตเตอรี่เสือ่ มสภาพ ไม่สามารถนามาใช้งานได้อกี
2. เซลล์ อิเล็กโทรไลต์ คือเซลล์ไฟฟ้ าเคมีท่มี กี ารเปลีย่ นแปลงพลังงานไฟฟ้ าเป็ นพลังงานเคมี โดยการจ่าย
กระแสไฟฟ้ าตรงเขา้ ไปแลว้ เกิดปฏิกิริยาเคมี เรียกกระบวนการที่ใช้กระแสไฟฟ้ านี้ว่า กระบวนการอิเล็กโทรไลซิส
(electrolysis process) ดัง นั้น การเกิ ด เซลล์อิเล็ก โทรไลต์ตอ้ งประกอบด้ว ยส่ ว นส าคัญ คื อ แหล่ ง ก าเนิ ด ไฟฟ้ า
กระแสตรง สารละลายอิเล็กโทรไลต์ ซึง่ เป็ นสารทีม่ สี ถานะเป็ นของเหลวประกอบด้วยไอออนที่เคลือ่ นที่ และนาไฟฟ้ า
ได้ และขัว้ ไฟฟ้ าซึ่งประกอบด้วยขัว้ แอโนดในที่น้ ี จะเป็ นขัว้ บวกที่ต่ อเข า้ กับขัว้ บวกของแหล่ งก าเนิ ดไฟฟ้ า จะเกิ ด
ปฏิกิริยาออกซิเดชัน และขัว้ แคโทดในที่น้ ีเป็ นขัว้ ลบที่ต่อเขา้ กับขัว้ ลบของแหล่งกาเนิดไฟฟ้ า จะเกิดปฏิกิริยารีดกั ชัน
กล่าวคือ ไอออนบวกในสารละลายจะมารับอิเล็กตรอนที่ขวั้ นี้ ลักษณะการเกิดเซลล์อเิ ล็กโทรไลต์ดงั แสดงในภาพที่
3.38

ภาพที่ 3.38 ตัวอย่ างการเกิดเซลล์ อเิ ล็กโทรไลต์

เซลล์แกลวานิก และเซลล์อเิ ล็กโทรไลต์ มีความคลา้ ยคลึงและความแตกต่ างกัน ซึ่งเปรียบเทียบกันได้ดงั


ตารางที่ 3.11
3-66 วิทยาศาสตร์สาหรับเทคโนโลยีสารสนเทศและการสือ่ สาร

ตารางที่ 3.11 แสดงการเปรียบเทียบเซลล์ แกลวานิกและเซลล์ อเิ ล็กโทรไลต์

เซลล์ แกลวานิก เซลล์ อเิ ล็กโทรไลต์


1. เป็ นเซลล์ไฟฟ้ าเคมีทเ่ี ปลียนพลังงานเคมีให ้เป็ น 1. เป็ นเซลล์ไฟฟ้ าเคมีทเ่ี ปลีย่ นพลังงานไฟฟ้ าให ้เป็ น
พลังงานไฟฟ้ า พลังงานเคมี
2. ขัว้ แอโนด เกิดปฏิกิรยิ าออกซิเดชัน 2. ขัว้ แอโนด เกิดปฏิกิรยิ าออกซิเดชัน
3. ขัว้ แคโทด เกิดปฏิกิรยิ ารีดกั ชัน 3. ขัว้ แคโทด เกิดปฏิกิรยิ ารีดกั ชัน
4. ขัว้ ลบ เป็ นขัว้ ทีอ่ เิ ล็กตรอนไหลออก 4. ขัว้ ลบ เป็ นขัว้ ทีต่ ่อเข ้ากับขัว้ ลบของแหล่งกาเนิดไฟฟ้ า
5. ขัว้ บวก เป็ นขัว้ ทีอ่ เิ ล็กตรอนไหลเข ้า 5. ขัว้ บวก เป็ นขัว้ ทีต่ ่อกับขัว้ บวกของแหล่งกาเนิดไฟฟ้ า
6. ศักย์ไฟฟ้ าของเซลล์เป็ นบวก 6. ศักย์ไฟฟ้ าของเซลล์เป็ นลบ
7. ปฏิกิรยิ าเกิดขึ้นได ้เอง 7. ปฏิกิรยิ าเคมีจะเกิดขึ้นได ้ต้องใช้กระแสไฟฟ้ า

ประโยชน์ ของกระบวนการอิเล็กโทรไลซิส เช่น การแยกสารเคมีดว้ ยกระแสไฟฟ้ า การชุบโลหะ และการทา


ให้โลหะให้บริสุทธิ์ ดังนี้
1) การแยกสารประกอบไอออนิ กหลอมเหลวด้ วยไฟฟ้ า ได้แก่ สารประกอบไอออนิ ก เช่ น เกลือ
โซเดียมคลอไรด์ (NaCl) เมือ่ ทาให้หลอมเหลว จะเกิดเป็ นไอออนบวก และไอออนลบขึ้น เมื่อผ่านกระแสไฟฟ้ าลงไป
ในสารประกอบไอออนิ ก ที่หลอมเหลวนี้ จะทาให้ไอออนบวกเคลื่อนที่เข า้ หาขัว้ ลบ เพื่อเข า้ ไปรับอิเล็ก ตรอนหรือ
เกิด ปฏิกิริย ารีด กั ชัน ส่ วนไอออนลบจะเคลื่อนที่เข า้ หาขัว้ บวก เพื่อจ่ ายอิเล็ก ตรอนหรือเกิด ปฏิกิริย าออกซิเดชัน
ดังแสดงในภาพที่ 3.39

ภาพที่ 3.39 การแยกสารประกอบโซเดียมคลอไรด์ ด้วยไฟฟ้า


เคมีพ้ นื ฐาน 3-67

ปฏิกิริยาทีเ่ กิดขึ้นเป็ นดังนี้


ขัว้ ไฟฟ้ าบวก (แอโนด) 2Cl- (l) Cl2(g) + 2e- E0 = -1.36 V
ขัว้ ไฟฟ้ าลบ (แคโทด) 2Na+ (l) + 2e- 2Na (s) E0 = -2.71 V
ปฏิกิริยารีดอกซ์ 2Na+ + 2Cl- (l) 2Na (s) + Cl2 (g) E0 = -4.07 V

ดังนัน้ ผลิตภัณฑ์ท่เี กิดขึ้นคือที่ ขัว้ แอโนดคือ แก๊สคลอรีน (Cl2) และที่ขวั้ แคโทดเกิด โลหะโซเดียม
(Na)
2) การชุบโลหะด้ วยกระแสไฟฟ้ า เป็ นการทาให้โลหะชนิดหนึ่งเคลือบอยู่บนผิวของโลหะอีกชนิดหนึ่ง
มีหลักการดังนี้
(1) นาวัตถุทต่ี อ้ งการชุบไปต่อทีข่ วั้ ลบของแบตเตอรี่ (ขัว้ แคโทด) เมื่อปฏิกิริยาเกิดขึ้นขัว้ นี้จะหนา
เพิม่ ขึ้น
(2) นาโลหะบริสุทธิ์ท่ใี ช้ชุบต่ อเขา้ กับขัว้ บวกของแบตเตอรี่ (ขัว้ แอโนด) เมื่อปฏิกิริยาเกิดขึ้นขัว้ นี้
จะกร่อนลง
(3) สารละลายอิเล็กโทรไลต์ท่ใี ช้ตอ้ งมีไอออนของโลหะชนิดเดียวกั บโลหะที่เป็ นขัว้ แอโนดและ
ต้องมีความเขม้ ขน้ ทีเ่ หมาะสม
(4) ใช้ไฟฟ้ ากระแสตรงเท่านัน้ เพื่อให้ขวั้ ไฟฟ้ าคงเดิมตลอดเวลาที่ชุบโลหะทัง้ ขัว้ บวกและขัว้ ลบ
และปรับค่าความต่างศักย์ให้มคี วามเหมาะสมตามชนิดและขนาดของชิ้นโลหะทีต่ อ้ งการชุบ
ตัวอย่างการชุบช้อนโลหะด้วยเงินดังแสดงในภาพที่ 3.40 ใช้เงินเป็ นขัว้ แอโนด และช้อนโลหะเป็ นขัว้
แคโทด และสารละลายอิเล็กโทรไลต์ทใ่ี ช้คือสารละลายซิลเวอร์ไนเตรต

ภาพที่ 3.40 การชุบช้ อนโลหะด้ วยเงิน


3-68 วิทยาศาสตร์สาหรับเทคโนโลยีสารสนเทศและการสือ่ สาร

3) การทาโลหะให้ บริ สุทธิ์ เป็ นการใช้กระบวนการอิเล็กโทรไลซิสในการทาให้โลหะผสมกลายเป็ น


โลหะบริสุทธิ์ ตัวอย่างเช่น โลหะทองแดง โดยปกติโลหะทองแดงที่ได้จากการถลุงจะมีโลหะอื่นเจือปนอยู่ เช่ น เหล็ก
เงิน สังกะสี ทองคา และแพลตินมั การทาให้ทองแดงบริสุทธิ์ได้โดยใช้เซลล์อเิ ล็กโทรไลซิสทาได้ โดยปรับศักย์ไฟฟ้ า
ให้เหมาะสม คือ ปรับให้เฉพาะทองแดง และโลหะอื่น ๆ ที่ให้อิเล็ก ตรอนได้ง่ายกว่าทองแดง เช่ น เหล็ก สังกะสี
ละลายลงสู่สารละลายในรูปของไอออน (เกิดปฏิกิริยาออกซิเดชัน) ส่วนโลหะอืน่ ซึง่ ให้อเิ ล็กตรอนได้ยากกว่าทองแดง
เช่ น เงิน ทองคา แพลติน มั จะรวมตัวกัน ตกลงที่ก น้ ภาชนะ ซึ่งอาจแยกออกมาภายหลังหรือทาให้บริสุทธิ์ต่อไป
ไอออนทีเ่ กิดขึ้นคือ Cu2+ จะเคลือ่ นทีไ่ ปยังขัว้ แคโทดแลว้ ถูกรีดวิ ซ์ (รับอิเล็กตรอน) กลายเป็ น ทองแดง (Cu) เคลือบ
อยู่ ท่ีข วั้ แคโทด ส่ ว นไอออนของโลหะอื่น ๆ ซึ่ง เป็ น สิ่ง เจือ ปนละลายอยู่ ใ นสารละลายจะไม่ ถู ก รี ดิว ซ์ (เพราะมี
ค่าศักย์ไฟฟ้ าตา่ กว่าของ Cu2+) การทาทองแดงให้บริสุทธิ์โดยวิธีน้ ีจะได้ทองแดงบริสุทธิ์ถงึ 99.95%

ภาพที่ 3.41 การทาทองแดงให้ บริสุทธิ์โดยกระบวนการอิเล็กโทรไลต์

กิจกรรม 3.3.2
1. จากภาพจงตอบคาถาต่อไปนี้

ก. ที่ข้ วั Cu เกิดปฏิกิริยา ___________ มีการ ___ อิเล็กตรอน เรี ยกว่าขั้ว ______________


ข. ที่ข้ วั Ag เกิดปฏิกิริยา ___________ มีการ ___ อิเล็กตรอน เรี ยกว่าขั้ว ______________
ค. จงเขียนแผนภาพแกลวานิก
2. จงบอกวิธีทาโลหะให้บริ สุทธิ์
เคมีพ้ นื ฐาน 3-69

แนวตอบกิจกรรม 3.3.2
1. ก. ที่ข้ วั Cu เกิดปฏิกิริยา ออกซิ เดชัน มีการ ให้ อิเล็กตรอน เรี ยกว่าขั้ว แอโนด
ข. ที่ข้ วั Ag เกิดปฏิกิริยา รี ดกั ชัน มีการ รับ อิเล็กตรอน เรี ยกว่าขั้ว แคโทด
ค. Cu(s)/Cu2+(aq)//Ag+(aq)/Ag(s)
2. วิธีทาโลหะให้บริ สุทธิ์ เป็ นกระบวนการแยกโลหะที่ไม่บริ สุทธิ์ หรื อสิ่ งเจือปน จนได้เป็ นโลหะ
บริ สุทธิ์ อาศัยหลักการของเซลล์อิเล็กโทรไลต์ คื อ นาโลหะที่ บริ สุทธิ์ เป็ นขั้วลบ (แคโทด) ส่ วนโลหะที่
ไม่บริ สุทธิ์ เป็ นขั้วบวก (แอโนด) ปรับศักย์ไฟฟ้ าให้เหมาะสมตรงกับโลหะที่ ตอ้ งการทาให้บริ สุทธิ์ ส่ วน
โลหะอื่นที่เสี ยอิเล็กตรอนง่ายกว่าจะละลายลงสู่ สารละลายในรู ปของไอออน ส่ วนโลหะอื่นที่ให้อิเล็กตรอน
ได้ยากกว่า จะรวมตัวกันตกลงที่กน้ ภาชนะ

You might also like