You are on page 1of 36

คู่มือสื่ อการสอนวิชาเคมี โดยความร่ วมมือระหว่าง

สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย


 

คํานํา

คู่มือการใช้สื่อการสอนวิชาเคมี จัดทําขึ้นเพื่อเป็ นแนวทางสําหรับครู ในการใช้สื่อประกอบการสอน


วิชาเคมีในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ตามหนังสื อสาระการเรี ยนรู ้พ้นื ฐานและเพิ่มเติม เคมี เล่ม 4 (พิมพ์
ครั้งที่ 6 พ.ศ. 2552) โดยสื่ อของตอนเรี ยนนี้เป็ นบทเรี ยนเรื่ องธาตุและสารประกอบอุตสาหกรรม ตอนแร่
รัตนชาติ 2 ซึ่งประกอบด้วยเนื้อหาเกี่ยวกับการปรับปรุ งแร่ รัตนชาติ วิธีการทําแร่ รัตนชาติสงั เคราะห์และการ
ใช้ประโยชน์ และการเปรี ยบเทียบแร่ รัตนชาติแท้และรัตนชาติสงั เคราะห์
ก่อนเข้าสู่ เนิ้อหาของสื่ อในบทเรี ยนเรื่ องธาตุและสารประกอบอุตสาหกรรมนั้น มีแบบทดสอบก่อน
เรี ยนเป็ นคําถามปรนัย 4 ตัวเลือก เพื่อทดสอบความรู ้พ้นื ฐานและความรู ้ทวั่ ไปเกี่ยวกับอุตสาหกรรมของตอน
เรี ยนนั้นๆ และหลังจบเนื้อหาของสื่ อมีแบบทดสอบหลังเรี ยนเป็ นคําถามปรนัย 4 ตัวเลือก ซึ่งแบบทดสอบ
หลังเรี ยนเป็ นการวัดผลการเรี ยนรู ้ตามจุดประสงค์การเรี ยนรู ้ โดยเน้นการทดสอบความรู ้และความเข้าใจของ
นักเรี ยนในระดับที่เหมาะสมกับการเป็ นคําถามปรนัยที่มีเวลาในการตอบคําถามจํากัด
คู่มือการใช้สื่อการสอนของบทเรี ยนนี้ประกอบด้วยเฉลยแบบทดสอบก่อนเรี ยน เฉลยแบบทดสอบ
หลังเรี ยน รวมถึงมีตวั อย่างของกิจกรรมเสริ มการเรี ยนการสอน สําหรับเป็ นแนวทางให้ผสู ้ อนนําไปปรับใช้
เพื่อวัดความรู ้ความเข้าใจของนักเรี ยน ในคู่มือการใช้สื่อยังมีคาํ อธิบายและคําแนะนําเพิม่ เติมของเนื้อหาใน
สื่ อ เพื่อให้ผสู ้ อนสามารถใช้ค่มู ือสื่ อนี้สาํ หรับประกอบในการอธิบายให้แก่นกั เรี ยนได้เข้าใจเนื้อหาของสื่ อ
มากยิง่ ขึ้น รวมถึงมีคาํ บรรยายของสื่ ออยูใ่ นภาคผนวกด้วย
หวังเป็ นอย่างยิง่ ว่าสื่ อและคู่มือสื่ อนี้ จะเป็ นประโยชน์แก่นกั เรี ยน ครู ผสู ้ อนและผูท้ ี่เกี่ยวข้อง เพื่อทํา
ให้การเรี ยนการสอนมีประสิ ทธิภาพและประสิ ทธิผล และบรรลุผลการเรี ยนรู ้ตามเป้ าหมายของวิชาเคมีใน
หลักสู ตรระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย

ผูเ้ รี ยบเรี ยงสื่ อและคู่มือสื่ อ


นายอนศักดิ์ ไชยแจ่ม
ผศ. ดร.เสาวรักษ์ เฟื่ องสวัสดิ์

ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

- 1 -
คู่มือสื่ อการสอนวิชาเคมี โดยความร่ วมมือระหว่าง
สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
 

สารบัญ
หน้า
1. จุดประสงค์การเรี ยนรู ้ 3
2. ผลการเรี ยนรู ้ที่คาดหวัง 3
3. ความรู ้พ้นื ฐานที่ควรรู ้ก่อนเรี ยน 4
4. แบบทดสอบก่อนเรี ยนและเฉลย 5
5. คําอธิบายและคําแนะนําเพิ่มเติมของเนื้อหาในสื่ อ 9
6. แบบทดสอบหลังเรี ยนและเฉลย 14
7. แบบฝึ กหัดและกิจกรรม 17
8. แหล่งข้อมูลสําหรับค้นคว้าเพิ่มเติม 19
9. เอกสารอ้างอิง 19
10. ภาคผนวก 20
ก คําบรรยายสื่ อ 20
ข สู ตรและชื่อสารเคมีที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาเรื่ องแร่ รัตนชาติ 2 (เรี ยงตามสู ตรเคมี) 33
ค รายชื่อสื่ อการสอนวิชาเคมีท้ งั หมดจํานวน 77 ตอน (ประจําปี งบประมาณ 2555) 34

- 2 -
คู่มือสื่ อการสอนวิชาเคมี โดยความร่ วมมือระหว่าง
สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
 

1. จุดประสงค์การเรียนรู้

1.1 อธิ บายการปรับปรุ งคุณภาพของรัตนชาติดว้ ยวิธีต่างๆ

1.2 อธิ บายการทํารัตนชาติสงั เคราะห์และการใช้ประโยชน์ และเปรี ยบเทียบสมบัติของรัตนชาติจริ งกับ

รัตนชาติสงั เคราะห์

2. ผลการเรียนรู้ ทคี่ าดหวัง

2.1 อธิ บายวิธีการปรับปรุ งคุณภาพของแร่ รัตนชาติ ซึ่งแบ่งออกเป็ นการเจียระไน การเผาหรื อการหุ ง


พลอย การเคลือบสี การอาบรังสี การฉายเลเซอร์ และการย้อมสี
2.2 อธิ บายการทํารัตนชาติสงั เคราะห์ เช่น การสังเคราะห์เพชร ซึ่ งอาจสังเคราะห์จากการใช้ความร้อน
และความดันสู งเพื่อสังเคราะห์เพชรจากแกรไฟต์ หรื อใช้การสะสมตัวของไอสารเคมีเพื่อสังเคราะห์เพชร
จากสารอินทรี ยข์ นาดเล็ก เช่น มีเทน
2.3 อธิ บายการใช้ประโยชน์ของรัตนชาติสงั เคราะห์ รวมถึงเปรี ยบเทียบคุณสมบัติของรัตนชาติจริ งตาม
ธรรมชาติกบั รัตนชาติสงั เคราะห์ เช่น ความแข็ง ดัชนีหกั เหแสง ความถ่วงจําเพาะ เป็ นต้น

- 3 -
คู่มือสื่ อการสอนวิชาเคมี โดยความร่ วมมือระหว่าง
สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
 

3. ความรู้ พนื้ ฐานทีค่ วรรู้ ก่อนเรียน

เนื้อหาในบทเรี ยนเรื่ องธาตุและสารประกอบอุตสาหกรรมนี้ เป็ นการนําปฏิกิริยาเคมีของธาตุและ


สารประกอบต่างๆ ที่ใช้ในอุตสาหกรรม มายกตัวอย่างให้นกั เรี ยนเรี ยน สําหรับตอนแร่ รัตนชาติ 2 นี้
นักเรี ยนควรมีความรู ้เรื่ องต่างๆ ดังนี้

3.1 การอ่ านชื่ อและสมบัติของสารประกอบ


นักเรี ยนควรทราบว่าสารประกอบและสู ตรของสารประกอบเป็ นอย่างไร รวมถึงทราบว่า
สารประกอบนั้น มีสมบัติอย่างไร เช่น ทราบว่า Al2O3 อ่านว่า อะลูมิเนียมออกไซด์ เป็ นต้น

3.2 รู ปร่ างและระบบโครงสร้ างของผลึก


นักเรี ยนควรรู ้จกั รู ปร่ างพื้นฐาน เช่น เตตระฮีดรัล ออกตะฮีดรัล และรู ้จกั ระบบโครงสร้างของผลึก
เช่น ระบบผลึกลูกบาศก์ หมายความว่าความยาวของของผลึกทั้ง 3 ด้านมีความยาวเท่ากัน และทํามุมกัน 90
องศาทุกมุม

3.3 ความรู้ พน
ื้ ฐานเรื่องแร่ รัตนชาติ
นักเรี ยนควรทบทวนความจําเรื่ องแร่ รัตนชาติ 1 และธาตุที่เกี่ยวข้อง ตัวอย่างเช่น คอรันดัมเป็ นรัตน
ชาติที่มีองค์ประกอบทางเคมีหลักเป็ น Al2O3 ที่มีสีแตกต่างกันแล้วแต่ชนิดของธาตุมลทิน เช่น ทับทิมมีสี
แดง มีโครเมียมเป็ นมลทิน เป็ นต้น

- 4 -
คู่มือสื่ อการสอนวิชาเคมี โดยความร่ วมมือระหว่าง
สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
 

4. แบบทดสอบก่ อนเรียนและเฉลย

แบบทดสอบก่อนเรี ยนในบทเรี ยนเรื่ องธาตุและสารประกอบในอุตสาหกรรม ตอนแร่ รัตนชาติ 2


เป็ นข้อสอบปรนัย 4 ตัวเลือกมีท้ งั หมด 5 ข้อ ซึ่งทําการเปลี่ยนลําดับทั้งโจทย์และตัวเลือกทุกครั้งที่เปิ ดสื่ อ
ขึ้นมาใหม่ นักเรี ยนแต่ละคนอาจได้ลาํ ดับโจทย์และตัวเลือกไม่เหมือนกัน นักเรี ยนต้องตอบแบบทดสอบให้
ถูกต้องก่อน จึงจะเปลี่ยนเป็ นโจทย์ขอ้ ถัดไป โดยหลักเกณฑ์การให้คะแนนแต่ละข้อ ดังนี้
ตอบถูกในครั้งแรก ได้ 4 คะแนน
ตอบถูกในครั้งที่สอง ได้ 2 คะแนน
ตอบถูกในครั้งที่สาม ได้ 1 คะแนน
ตอบถูกในครั้งที่สี่ ได้ 0 คะแนน
คะแนนเต็มเมื่อรวมทั้ง 5 ข้อ เป็ น 20 คะแนน
หลังจากทําแบบทดสอบก่อนเรี ยนครบ 5 ข้อ จะมีกรอบข้อความแสดงผลคะแนนรวมที่ได้ และผลการ
ประเมินระดับศักยภาพของนักเรี ยนก่อนเรี ยน ดังนี้
ถ้านักเรี ยนได้ 17-20 คะแนน จัดอยูใ่ นระดับ ดีมาก
ได้ 15-17 คะแนน จัดอยูใ่ นระดับ ดี
ได้ 11-14 คะแนน จัดอยูใ่ นระดับ พอใช้
ได้ 0-10 คะแนน จัดอยูใ่ นระดับ ปรับปรุ ง
เนื่องจากแบบทดสอบก่อนเรี ยนบางข้อเป็ นคําถามที่เป็ นความรู ้เกี่ยวกับอุตสาหกรรมของตอนเรี ยน
นักเรี ยนจึงมีโอกาสได้คะแนนน้อย แต่หากได้คะแนนอยูใ่ นช่วงควรปรับปรุ ง นักเรี ยนควรทบทวนความรู ้
พื้นฐานก่อนเรี ยนก่อน

- 5 -
คู่มือสื่ อการสอนวิชาเคมี โดยความร่ วมมือระหว่าง
สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
 

โจทย์ แบบทดสอบก่ อนเรียน (ลําดับโจทย์และตัวเลือกในสื่ ออาจต่างจากนี้)


1. เทคนิคที่ทาํ ให้อญั มณี เหลี่ยม เพื่อให้แสงหักเหสะท้อนกลับไปมาภายในผลึกและสะท้อนออกด้านหน้าคือ
ก. การเจียระไน ข. การเผาพลอย
ค. การอาบรังสี ง. การย้อมสี

2. สมบัติใดไม่สามารถใช้เพือ่ ตรวจสอบรัตนชาติวา่ เป็ นของจริ งหรื อของปลอม


ก. ค่าดัชนีหกั เหแสง ข. ความถ่วงจําเพาะ
ค. สี ง. ความแข็ง

3. ควรใช้สารเคมีที่มีธาตุใด หากต้องการย้อมสี ทบั ทิมให้มีสีแดง


ก. ไทเทเนียม ข. โคบอลต์
ค. โครเมียม ง. เหล็ก

4. ข้อใดจัดเป็ นแร่ รัตนชาติ


ก. แร่ ทอง ข. แร่ เฮไลต์
ค. คอรันดัม ง. หิ นอ่อน

5. ข้อใดไม่ใช่ประโยชน์ของการเผาพลอย
ก. เพื่อไล่ตาํ หนิเส้นไหม ข. เพื่อให้พลอยใสสะอาดขึ้น
ค. เพื่อเปลี่ยนสี พลอย ง. เพื่อให้มีประกายแวววาว

- 6 -
คู่มือสื่ อการสอนวิชาเคมี โดยความร่ วมมือระหว่าง
สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
 

คําอธิบายแบบทดสอบก่ อนเรียน (แสดงคําตอบเป็ นตัวหนา)


1. เทคนิคที่ทาํ ให้อญั มณี เหลี่ยม เพื่อให้แสงหักเหสะท้อนกลับไปมาภายในผลึกและสะท้อนออกด้านหน้าคือ
ก. การเจียระไน ข. การเผาพลอย
ค. การอาบรังสี ง. การย้อมสี
(คําถามข้อนี้เป็ นความรู ้เกี่ยวกับการปรับปรุ งคุณภาพของแร่ รัตนชาติ)
คําอธิบาย การเจียระไนพลอย เป็ นการเลื่อยหรื อเฉื อนเนื้อพลอย แล้วทําการขัดเกลาพลอยให้มีรูปร่ างเป็ น
เหลี่ยมหรื อโค้งมน ทําให้พลอยมีความแวววาวเป็ นประกายมากขึ้น ความเป็ นประกายแววาวของ
พลอยนั้นเกิดจากการสะท้อนของแสงภายในผลึกพลอยแล้วสะท้อนออกมาด้านหน้า

2. สมบัติใดไม่สามาระใช้เพื่อตรวจสอบรัตนชาติว่าเป็ นของจริ งหรื อของปลอม


ก. ค่าดัชนีหกั เหแสง ข. ความถ่วงจําเพาะ
ค. สี ง. ความแข็ง
(คําถามข้อนี้เกี่ยวกับความรู ้พ้นื ฐานของแร่ รัตนชาติ)
คําอธิบาย รัตนชาติจดั เป็ นแร่ ชนิดหนึ่ง จึงจําแนกประเภทและตรวจสอบได้ดว้ ยสมบัติของแร่ คือ ความ
แข็ง ค่าดัชนีหกั เหแสง ความถ่วงจําเพาะ การนําไฟฟ้ า เป็ นต้น ซึ่ งค่าต่างๆ เหล่านี้เป็ นสมบัติ
เฉพาะตัวของรัตนชาติแต่ละชนิด เช่น เพชรมีความแข็งตามสเกลของโมห์รเท่ากับ 10 เป็ นต้น
รัตนชาติที่ทาํ เลียนแบบขึ้นมานั้น โดยทัว่ ไปมีลกั ษณะภายนอกคล้ายคลึงกับรัตนชาติแท้ เช่น มีสี
คล้ายกัน แต่สมบัติอื่นๆ อาจแตกต่างจากรัตนชาติจริ งมาก เช่น คิวบิกเซอร์โคเนียที่ใช้ทาํ เพชร
เทียม มีค่าดัชนีหกั เหแสงสู งกว่าเพชร จึงดูแวววาวมาก แต่กม็ ีความถ่วงจําเพาะสู งกว่าเพชรด้วย
เช่นกัน

3. ควรใช้สารเคมีที่มีธาตุใด หากต้องการย้อมสี ทบั ทิมให้มีสีแดง


ก. ไทเทเนียม ข. โคบอลต์
ค. โครเมียม ง. เหล็ก
(คําถามข้อนี้เกี่ยวกับความรู ้พ้นื ฐานของแร่ รัตนชาติ)
คําอธิบาย รัตนชาติบางชนิดมีองค์ประกอบทางเคมีหลักที่ไม่มีสี เช่น รัตนชาติกลุ่มคอรันดัม ซึ่งมี
องค์ประกอบทางเคมีเป็ นอะลูมิเนียมออกไซด์ (Al2O3) และมีไอออนของธาตุอื่นเป็ นมลทินทํา
ให้เกิดมีสีข้ ึน กล่าวคือ บุษราคัม มีเหล็กเป็ นมลทินทําให้มีสีเหลือง ไพลิน มีเหล็กและไทเทเนียม
เป็ นมลทินทําให้มีสีฟ้า และ ทับทิม มีโครเมียมเป็ นมลทินทําให้มีสีแดง

4. ข้อใดจัดเป็ นแร่ รัตนชาติ


ก. แร่ ทอง ข. แร่ เฮไลต์
ค. คอรันดัม ง. หิ นอ่อน
(คําถามข้อนี้เกี่ยวกับความรู ้พ้นื ฐานของแร่ รัตนชาติ)

- 7 -
คู่มือสื่ อการสอนวิชาเคมี โดยความร่ วมมือระหว่าง
สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
 

คําอธิบาย แร่ รัตนชาติ (gemstone) มีนิยามว่า “แร่ หรื ออินทรี ยวัตถุธรรมชาติที่นาํ มาใช้เป็ นเครื่ องประดับ”
โดยทัว่ ไปมักเป็ นหิ นที่เมื่อนํามาขัดและตัดแล้ว มีความแวววาว มีสีสันสวยงาม เช่น เพชร
ทับทิม ไพลิน มรกต โกเมน ไข่มุก อําพัน โอปอล เพฑาย เป็ นต้น
คอรันดัม (corundum) มีองค์ประกอบหลักเป็ นอะลูมิเนียมออกไซด์ เมื่อนําไปขัดแล้วมีความ
งดงาม จึงถือว่าเป็ นแร่ รัตนชาติ แบ่งออกเป็ นชนิดย่อยตามธาตุที่เป็ นมลทินซึ่งทําให้คอรันดัมมีสี
คือ ทับทิมมีสีแดง ไพลินมีสีฟ้า และบุษราคัมมีสีเหลือง
- แร่ ทอง (gold) จัดเป็ นโลหะมีค่า แต่ไม่นบั ว่าเป็ นแร่ รัตนชาติ
- แร่ เฮไลต์ (halite) คือแร่ ที่มีองค์ประกอบหลักเป็ นโซเดียมคลอไรด์
- หิ นอ่อน (marble) เป็ นหิ นแปรชนิดหนึ่งที่มีลกั ษณะสวยงาม องค์ประกอบหลักเป็ น
คาร์บอเนต เช่น แคลไซต์หรื อแคลเซี ยมคาร์บอเนต โดโลไมต์หรื อแคลเซียมแมกนีเซียม
คาร์บอเนต

5. ข้อใดไม่ใช่ประโยชน์ของการเผาพลอย
ก. เพื่อไล่ตาํ หนิเส้นไหม ข. เพื่อให้พลอยใสสะอาดขึ้น
ค. เพื่อเปลี่ยนสี พลอย ง. เพือ่ ให้ มีประกายแวววาว
(คําถามข้อนี้เป็ นความรู ้เกี่ยวกับการปรับปรุ งคุณภาพของแร่ รัตนชาติ)
คําอธิบาย วัตถุประสงค์ของการเผาหรื อการหุงพลอย คือ เพื่อกําจัดมลทินที่อยูใ่ นเนื้อพลอย หรื อไล่ตาํ หนิ
เส้นไหมซึ่งเกิดจากผลึกของไทเทเนียมออกไซด์ในพลอย ผลของการเผาที่อุณหภูมิประมาณ
1,600-1,900 C นั้น ทําให้พลอยมีสีเปลี่ยนไปและดูใสสะอาดขึ้น แต่เมื่อเผาแล้วต้องทําให้
พลอยเย็นตัวลงอย่างรวดเร็ ว เพื่อป้ องกันไม่ให้ไทเทเนียมออกไซด์ตกผลึกกลับมาเป็ นเส้นไหม
อีก นอกจากนั้น การเผาหรื อหุงพลอยบางชนิดอาจใส่ ธาตุบางชนิดลงไปเพือ่ เพิ่มสี ของพลอยให้
เข้มขึ้นด้วยก็ได้ อย่างไรก็ตาม การเผาพลอยนั้น ไม่สามารถทําให้พลอยดูแวววาวขึ้นได้ ความ
แวววาวของพลอยขึ้นกับการสะท้อนแสงภายในตัวพลอย จึงขึ้นกับรู ปร่ างหน้าตัดของพลอย

- 8 -
คู่มือสื่ อการสอนวิชาเคมี โดยความร่ วมมือระหว่าง
สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
 

5. คําอธิบายและคําแนะนําเพิม่ เติมของเนือ้ หาในสื่ อ

การเจียระไนพลอย (cutting)
การเจียระไนพลอย เป็ นการตกแต่งพลอยโดยการตัดเหลี่ยมและขัดเงา เพื่อให้แสงสะท้อนภายในตัว
พลอยออกมาทางด้านหน้า การเจียระไนพลอยทําได้หลายรู ปแบบขึ้นกับพลอยดิบ โดยมีหลักการสําคัญคือ
รักษาเนื้อพลอยไว้ให้มากที่สุด และทําให้มีสีสนั สวยงามหรื อที่เรี ยกกันว่า “นํ้าขึ้น” หรื อ “ไฟ” ทางด้านหน้า
ของพลอยให้ได้มากที่สุด

การเจียระไนพลอยแบบเหลีย่ มเกสรหรื อเหลีย่ มเพชร (brilliant cut)


เป็ นรู ปแบบที่ได้รับความนิยมมาก โดยส่ วนบนของพลอยมีชื่อเรี ยกเป็ นภาษาอังกฤษว่า crown
ส่ วนล่างของพลอยเรี ยกเป็ นภาษาอังกฤษว่า pavilion บริ เวณที่แบ่งระหว่างส่ วนบนและส่ วนล่างเรี ยกว่า
ขอบพลอย (girdle) การเจียระไนแบบเหลี่ยมเกสรนี้ มีเหลี่ยมหรื อหน้าตัด (facet) จํานวนมาก โดยมีหน้า
ตัดทางส่ วนบน 33 เหลี่ยม ประกอบไปด้วยเหลี่ยมตรงกลางรู ปแปดเหลี่ยมเรี ยกว่าหน้าพลอย (table) 1
เหลี่ยม และเหลี่ยมเล็กๆ ทางด้านข้างของหน้าพลอยเรี ยกว่าเหลี่ยมยอด (star facet) 8 เหลี่ยม เหลี่ยมรู ปว่าว
(bezel main facet) 8 เหลี่ยม และเหลี่ยมแซมบน (upper girdle facet) 16 เหลี่ยม ส่ วนเหลี่ยมทาง
ส่ วนล่างของพลอยมี 24 ถึง 25 เหลี่ยม ประกอบไปด้วยเหลี่ยมแซมล่าง (lower girdle facet) 16 เหลี่ยม
และเหลี่ยมล่าง (pavilion main facet) 8 เหลี่ยม ปลายแหลมที่เป็ นจุดบรรจบของเหลี่ยมล่างนี้เรี ยกเป็ น
ภาษาอังกฤษว่า cutlet ซึ่งอาจมีการเจียระไนเป็ นเหลี่ยมเพิม่ อีก 1 เหลี่ยม

การเจียระไนพลอยแบบเหลี่ยมเกสรนั้น นิยมเจียระไนพลอยที่มีรูปร่ างเป็ นทรงกลม หยดนํ้า และรู ป


ไข่หรื อวงรี ซึ่งต้องมีการวางสัดส่ วนของพลอยส่ วนบนและส่ วนล่างให้เหมาะสมเพื่อให้แสงสะท้อนออกมา

- 9 -
คู่มือสื่ อการสอนวิชาเคมี โดยความร่ วมมือระหว่าง
สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
 

ทางด้านหน้าพลอย หากความสู งของพลอยส่ วนบนและส่ วนล่างไม่ดี เช่น ตื้นไป หรื อลึกไป จะทําให้แสง
สะท้อนออกมาไม่สวยงาม ดังตัวอย่างด้านล่าง

เหมาะสม ตื้นไป ลึกไป

นอกจากนั้น หากพลอยที่ตอ้ งการเจียระไนเป็ นพลอยที่ให้สีต่างกันเมื่อวางในทิศทางที่ต่างกัน ก็ควร


พิจารณาให้เจียระไนแล้วให้สีที่มีมูลค่าสู งกว่า เช่น พลอย iolite อาจมีสีเหลืองหรื อสี น้ าํ เงินขึ้นกับทิศทาง
ของแสงดังที่แสดงในตัวอย่าง ในกรณี น้ ี การเจียระไนในทิศที่ทาํ ให้พลอยเป็ นสี น้ าํ เงิน (รู ปขวา) จะ
เหมาะสมกว่าเพราะพลอยสี น้ าํ เงินมีมูลค่าสู งกว่าพลอยสี เหลือง เป็ นต้น

นอกจากการเจียระไนแบบเหลี่ยมเกสรแล้ว ยังมีการเจียระไนในรู ปแบบอื่นๆ อีกมาก เช่น รู ปกลม


(round) รู ปหยดนํ้า (pear หรื อ drop) รู ปสี่ เหลี่ยมผืนผ้าตัดมุม (octagon) รู ปไข่หรื อวงรี (oval) รู ปมาคีย ์
หรื อเม็ดแตง (marquise) รู ปสี่ เหลี่ยมจัตุรัส (square) รู ปหัวใจ (heart)

- 10 -
คู่มือสื่ อการสอนวิชาเคมี โดยความร่ วมมือระหว่าง
สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
 

การเผาพลอย (heat treatment)


การเผาหรื อการหุงพลอยเป็ นการใช้ความร้อนเพื่อปรับปรุ งคุณภาพของพลอย ซึ่งอาจทําให้เกิดการ
เปลี่ยนแปลงได้หลายอย่างขึ้นกับชนิดของพลอย อุณหภูมิและภาวะที่ใช้ ตัวอย่างเช่น
- ทําให้พลอยมีสีเปลี่ยนไป เช่น การเผาแอเมทิสต์สีม่วงในภาวะที่มีออกซิเจน (oxidizing) ให้เป็ น
ซิทริ นสี เหลือง ทําให้เหล็กที่เป็ นมลทินในแอเมทิสต์กระจายออกไป หรื อการเผาเพทายหรื อเซอร์คอนใน
ภาวะที่ไม่มีออกซิเจน (reducing) จะเปลี่ยนจากสี น้ าํ ตาลเป็ นสี น้ าํ เงินได้ เนื่องจากมลทินที่เป็ นไอออน
ยูเรเนียมห้าบวกเปลี่ยนเป็ นยูเรเนียมสี่ บวกซึ่ งดูดกลืนแสงในช่วงสี แดงทําให้เห็นเพทายเป็ นสี น้ าํ เงิน
- ทําให้สีเข้มขึ้น เช่น ไพลินสี ฟ้าอ่อนเปลี่ยนเป็ นสี น้ าํ เงินเข้มในภาวะที่ไม่มีออกซิเจน เนื่องจาก
Fe กลายเป็ น Fe2+ และ Ti4+ กระจายตัวในคอรันดัมได้มากขึ้น เกิดการถ่ายโอนประจุ Fe2+-Ti4+ ซึ่ งทําให้
3+

เกิดสี น้ าํ เงินได้ดีข้ ึน
- ทําให้สีจางลง เช่น เผาควอตซ์สีชมพูเข้มในภาวะที่มีออกซิ เจนให้เป็ นสี ชมพูอ่อนลง สี ที่จางลงนี้
เป็ นเพราะเลขออกซิเดชันของแมงกานีสซึ่งเป็ นมลทินอยูเ่ ปลี่ยนไป
- ทําให้สีบางสี หายไป เช่น เผาเพื่อกําจัดโทนสี ท่วงในทับทิม หรื อกําจัดโทนสี เขียวในอความารี น
ทําให้อะตอมของธาตุที่เป็ นมลทินซึ่งเป็ นต้นกําเนิดสี กระจายตัวออกไปสมํ่าเสมอมากขึ้น
- ทําให้สาแหรกหายไป เช่น การเผาทับทิม ทําให้เส้นสาแหรกซึ่ งเกิดจากรู ไทล์หรื อไทเทียม
ออกไซด์กระจายตัวออกไป
- ทําให้เกิดสาแหรกขึ้น โดยทําการเผาพร้อมกับ TiO2
การเผาพลอยอาจเติมธาตุบางชนิดลงไประหว่างเผา เช่น เบอริ ลเลียม (Be) เพื่อทําให้พลอยมีสีเข้ม
ขึ้น นิยมใช้กบั พลอยตระกูลคอรันดัม เช่น การเผาแซปไฟร์เพือ่ เปลี่ยนจากสี น้ าํ เงินเป็ นสี เหลือง การเผาแซป
ไฟร์สีชมพูให้เป็ นสี ชมพูอมส้มที่เรี ยกว่าสี padparadscha

ก่อนเผา หลังเผา padparadscha sapphire


สี ของพลอยที่เปลี่ยนไปนี้เป็ นเพราะเกิดการแพร่ ของเบอริ ลเลียมลงไปที่ผวิ ของพลอย และแพร่ ไปตามตําหนิ
(defect) ที่มีในพลอย เรี ยกว่า atom migration ซึ่ งต้องใช้พลังงานสู ง เนื่ องจากอะตอมในโครงสร้างของ
ของแข็งจัดเรี ยงตัวกันแน่น

- 11 -
คู่มือสื่ อการสอนวิชาเคมี โดยความร่ วมมือระหว่าง
สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
 

การฉายหรือการอาบรังสี
การฉายรังสี ทาํ ให้สีของพลอยเปลี่ยนไปได้ เนื่องจากรังสี ทาํ ให้อิเล็กตรอนหลุดออกจากตําแหน่ง
เดิมในโครงสร้างผลึกของพลอย รังสี ที่ใช้อาจเป็ นลําอิเล็กตรอน อนุภาคนิวตรอน หรื อรังสี แกมมา ตัวอย่าง
ของแร่ รัตนชาติที่ได้รับรังสี ตามธรรมชาติคือเพชร ซึ่ งได้รับรังสี เบตาหรื อแอลฟาจนทําให้มีสีน้ าํ เงินหรื อสี
เขียว เนื่องจากความความแรงของรังสี ตามธรรมชาติไม่สูงมาก จึงเกิดสี ที่บริ เวณผิวหน้าบางส่ วนของเพชร
เท่านั้น หากต้องการให้เปลี่ยนสี สมํ่าเสมอทั้งหมด ต้องใช้รังสี ที่มีพลังงานสู งซึ่งต้องทําในห้องทดลอง
โดยทัว่ ไปการปรับปรุ งคุณภาพของแร่ รัตนชาติดว้ ยรังสี ในห้องทดลอง นิยมใช้รังสี แกมมาจากโคบอลต์-60
โดยพลอยที่นิยมนํามาฉายรังสี คือโทแพซ เพื่อเปลี่ยนโทแพซที่ไม่มีสีหรื อมีสีอ่อนให้เป็ นสี ฟ้า

การปรับปรุ งคุณภาพของพลอยด้ วยเทคนิคอืน่ ทีไ่ ม่ ปรากฎในสื่ อ


การเคลือบด้ วยขีผ้ ึง้ หรื อพลาสติก (wax or plastic impregnation)
เป็ นการเคลือบพื้นผิวพลอยด้วยขี้ผ้ งึ หรื อพลาสติกเพื่อประสานรอยร้าว หรื อทําให้ผวิ พลอยเรี ยบ
สวยขึ้น พลอยที่นิยมเคลือบด้วยวิธีน้ ีคือ เทอร์ควอยส์ โอปอลและหยก
การฉาบสี (Foil back)
เป็ นการฉาบโลหะสี ไว้ดา้ นหลังพลอยเพือ่ ทําให้สีและประกายของพลอยดีข้ ึน
การแช่ นา้ํ มัน
เพื่อให้น้ าํ มันแทรกซึมเข้าไปในเนื้อพลอยเป็ นการปกปิ ดรอยร้าว ทําให้บริ เวณผิวของพลอยดูสวย
ขึ้น นิยมทํากับมรกตเพราะเป็ นพลอยที่มีรอยแตกมาก พลอยแช่น้ าํ มันบางครั้งอาจจะเรื องแสงตามแนวรอย
ร้าวที่ถูกแช่น้ าํ มัน
การฟอกสี (Bleaching)
เป็ นการใช้สารเคมีฟอกเพื่อให้สีดูเรี ยบสะอาดและมีความวาวที่ดี ส่ วนใหญ่ทาํ กับไข่มุกและงาช้าง
เพื่อให้ดูสะอาดและสี คงทนถาวร แร่ รัตนชาติอีกชนิดที่นิยมทําการฟอกสี คือหยก การฟอกสี หยกทําให้สี
หยกสวยขึ้น เนื้อพลอยดูสะอาดแต่สีจะไม่อยูถ่ าวร

เพชรเทียม (diamond simulant)


เนื่องจากเพชรแท้ตามธรรมชาติมีราคาสู งมาก จึงมีการใช้วสั ดุอื่นที่มีลกั ษณะคล้ายเพชรเพื่อทําเพชร
เทียมขึ้น เพชรเทียมมีสมบัติบางอย่างแตกต่างจากเพชรแท้ เช่น ค่าดัชนีหกั เหแสง (refractive index, RI)

- 12 -
คู่มือสื่ อการสอนวิชาเคมี โดยความร่ วมมือระหว่าง
สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
 

ค่าการกระจายแสง (dispersion) ความแข็ง (hardness) ความถ่วงจําเพาะ (specific gravity, SG) เป็ นต้น
ตัวอย่างของเพชรเทียม คือ รู ไทล์สงั เคราะห์ (TiO2) ซึ่งมีดชั นีหกั เหแสงและการกระจายแสงสู งกว่าเพชร
มาก รู ไทล์สงั เคราะห์มกั มีโทนสี เหลืองปนอยูจ่ ึงเสื่ อมความนิยมไป วัสดุที่ใช้ทาํ เพชรเทียมต่อจากรู ไทล์
สังเคราะห์ คือ สทรอนเชียมไทเทเนตหรื อทอโซไนต์ (SrTiO3, tausonite) ซึ่งมีค่าดัชนีหกั เหแสงใกล้เคียง
กับเพชรมากขึ้น แต่เปราะ หลังจากนั้นมีการใช้การเน็ตสังเคราะห์มาใช้เป็ นเพชรเทียม เช่น อิตเทรี ยม
อะลูมิเนียมการ์เน็ต (YAG, Y3Al5O12) และแกโดลิเนียมแกลเลียมการ์เน็ต (GGG, Gd3Ga5O12) แต่การ์
เน็ตสังเคราะห์มีราคาสู ง จึงถูกแทนที่ดว้ ยคิวบิกเซอร์โคเนียหรื อเพชรรัสเซีย (ZrO2) ซึ่งมีสมบัติคล้ายเพชร
มากแต่มีความถ่วงจําเพาะสู งกว่าเพชร ในปั จจุบนั นี้ วัสดุที่นิยมนํามาใช้ทาํ เพชรเทียมนอกเหนือจากคิวบิก
เซอร์โคเนีย คือ มอยซาไนต์หรื อเพชรโมอิส (SiC) ซึ่งมีความแข็งมากและมีความถ่วงจําเพาะน้อยกว่าคิวบิก
เซอร์โคเนีย

RI dispersion hardness SG
เพชร (C) 2.44 0.044 10 3.52
TiO2 2.6-2.9 0.33 6 4.25
SrTiO3 2.41 0.19 5.5 5.13
4.55-
YAG 1.83 0.03 8.25
4.65
GGG 1.97 0.04 7 7.02
ZrO2 2.2 0.06 8.3 5.7
SiC 2.65-2.70 0.10 8.2-9.25 3.2

เพชรสั งเคราะห์
นอกเหนือจากการใช้วสั ดุอื่นที่มีรูปลักษณ์ภายนอกมาใช้แทนเพชรแล้ว ยังสามารถสังเคราะห์เพชร
ขึ้นในห้องทดลองได้ การทําเพชรสังเคราะห์อาจทําโดยการใช้อุณหภูมิและความดันสู ง เช่นการเปลี่ยน
แกรไฟต์ให้เป็ นเพชร ในปั จจุบนั นี้ มีบริ การเปลี่ยนเถ้ากระดูกหรื อเศษผมซึ่งมีคาร์บอนเป็ นส่ วนประกอบให้
เป็ นเพชรด้วย อีกวิธีในการทําเพชรสังเคราะห์คือการใช้เทคนิกการสะสมไอของสารเคมี (chemical vapor
deposition) เพื่อสลายพันธะของสารไฮโดรคาร์ บอนขนาดเล็กให้กลายเป็ นอะตอมคาร์ บอนไปเกาะกันจนมี
โครงสร้างเป็ นเพชร เพชรสังเคราะห์น้ ีมีสมบัติเหมือนเพชรตามธรรมชาติ แต่มีราคาถูกกว่า เนื่องจากในการ
สังเคราะห์เพชร มักมีสิ่งเจือปนอยู่ ทําให้เพชรสังเคราะห์ที่ได้มีสี เช่น ถ้ามีไนโตรเจน เพชรที่สังเคราะห์ได้
จะสี เหลือง หรื อถ้ามีโบรอนจะได้เพชรสี ฟ้า จึงนิยมนําเพชรสังเคราะห์ไปใช้งานอุตสาหกรรมซึ่งไม่ตอ้ งการ
ความสวยงาม เช่น เป็ นหัวตัดในโรงงาน เป็ นต้น

- 13 -
คู่มือสื่ อการสอนวิชาเคมี โดยความร่ วมมือระหว่าง
สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
 

6. แบบทดสอบหลังเรียนและเฉลย

แบบทดสอบหลังเรี ยนในบทเรี ยนเรื่ องธาตุและสารประกอบในอุตสาหกรรม ตอนทองแดงป็ น


ปรนัย 4 ตัวเลือก มีท้ งั หมด 5 ข้อ ซึ่งทําการเปลี่ยนลําดับทั้งโจทย์และตัวเลือกทุกครั้งที่เปิ ดสื่ อขึ้นมาใหม่
โดยเกณฑ์การให้คะแนนและผลการประเมินผลการเรี ยนรู ้ เป็ นเช่นเดียวกับแบบทดสอบก่อนเรี ยน

โจทย์ แบบทดสอบหลังเรียน (ลําดับโจทย์และตัวเลือกในสื่ ออาจต่างจากนี้)

1. ทําไมการเผาพลอยต้องทําให้พลอยเย็นตัวลงอย่างรวดเร็ ว
ก. ป้ องกันการตผลึกใหม่ของเส้นไหม ข. ให้สีของพลอยสมํ่าเสมอ
ค. ป้ องกันการร้าวของพลอย ง. ป้ องกันนํ้าเข้าไปในเนื้อพลอย

2. ทับทิมที่ผา่ นการเผาแล้วจะมีสีอะไร
ก. สี น้ าํ เงิน ข. สี แดงสด
ค. สี เหลือง ง. สี ม่วง

3. แก๊สชนิดใดที่ใช้ในการทําเพชรสังเคราะห์
ก. มีเทน ข. อีเทน
ค. โพรเพน ง. คลอรี น

4. ในขั้นตอนการเจียระไนพลอย การกําหนดรู ปร่ างของพลอยแต่ละเม็ด ว่าส่ วนใดจะเป็ นหน้าพลอย ส่ วนใด


จะเป็ นก้นพลอย เรี ยกว่าอะไร
ก. การล้างพลอย ข. การโกลน
ค. การตั้งนํ้า ง. การแต่งพลอย

5. ข้อใดถูกต้อง
ก. มอยซาไนต์มีการกระจายแสงตํ่ากว่าเพชรธรรมชาติ
ข. มอยซาไนต์นาํ ไฟฟ้ าได้นอ้ ยกว่าเพชรธรรมชาติมาก
ค. เพชรรัสเซียมีความถ่วงจําเพาะสู งกว่าเพชรธรรมชาติ
ง. เพชรรัสเซี ยนําความร้อนได้ดีเหมือนเพชรธรรมชาติ

- 14 -
คู่มือสื่ อการสอนวิชาเคมี โดยความร่ วมมือระหว่าง
สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
 

คําอธิบายแบบทดสอบหลังเรียน (แสดงคําตอบเป็ นตัวหนา)


1. ทําไมการเผาพลอยต้องทําให้พลอยเย็นตัวลงอย่างรวดเร็ ว
ก. ป้องกันการตผลึกใหม่ ของเส้ นไหม ข. ให้สีของพลอยสมํ่าเสมอ
ค. ป้ องกันการร้าวของพลอย ง. ป้ องกันนํ้าเข้าไปในเนื้อพลอย
(คําถามข้อนี้สอดคล้องกับการปรับปรุ งคุณภาพแร่ รัตนชาติตามผลการเรี ยนรู ้ที่คาดหวังข้อ 1)
คําอธิบาย การเผาพลอย คือการใช้ความร้อน 1,600 – 1,900 C เพื่อช่วยให้สีเปลี่ยนไป หรื อเพื่อกําจัดเส้น
ไหมซึ่งเป็ นตําหนิออกไป ทําให้มีเนื้อที่ใสขึ้นและมีสีสนั ที่สวยงาม มีมูลค่ามากขึ้น แต่เมื่อเผา
แล้วต้องรี บทําให้อุณหภูมิลดลงอย่างรวดเร็ ว เพื่อป้ องกันไม่ให้เส้นไหมตกผลึกกลับมาอีก

ก่อนเผา หลังเผา

2. ทับทิมที่ผา่ นการเผาแล้วจะมีสีอะไร
ก. สี น้ าํ เงิน ข. สี แดงสด
ค. สี เหลือง ง. สี ม่วง
(คําถามข้อนี้สอดคล้องกับการปรับปรุ งคุณภาพของแร่ รัตนชาติตามผลการเรี ยนรู ้ที่คาดหวังข้อ 1)
คําอธิบาย การเผาทับทิมที่อุณหภูมิสูง ทําให้อะลูมิเนียมออกไซด์เกิดการจัดเรี ยงตัวใหม่ และไอออนของ
โครเมียมกระจายตัวออกไปมากขึ้น มีผลให้สีของทับทิมสดขึ้น

3. แก๊สชนิดใดที่ใช้ในการทําเพชรสังเคราะห์
ก. มีเทน ข. อีเทน
ค. โพรเพน ง. คลอรี น
(คําถามข้อนี้เป็ นความรู ้เกี่ยวกับการการสังเคราะห์รัตนชาติตามผลการเรี ยนรู ้ที่คาดหวังข้อ 2)
คําอธิบาย การทําเพชรสังเคราะห์ อาจทําได้โดยใช้ความร้อนและความดันสู ง หรื อใช้เทคนิกที่เรี ยกว่าการ
สะสมตัวของไอสารเคมี (chemical vapor deposition) เพื่อสังเคราะห์แผ่นฟิ ล์มเพชร โดยการ
เผาแก๊สมีเทนที่อุณหภูมิสูง เพือ่ สลายพันธะระหว่างคาร์บอนกับไฮโดรเจน และคาร์บอน
กลายเป็ นอะตอมไปเกาะอยูบ่ นแผ่นซิ ลิกอน เกิดเป็ นแผ่นฟิ ล์มเพชรบางๆ ในที่สุด

4. ในขั้นตอนการเจียระไนพลอย การกําหนดรู ปร่ างของพลอยแต่ละเม็ด ว่าส่ วนใดจะเป็ นหน้าพลอย ส่ วนใด


จะเป็ นก้นพลอย เรี ยกว่าอะไร
ก. การล้างพลอย ข. การโกลน
ค. การตั้งนํา้ ง. การแต่งพลอย

- 15 -
คู่มือสื่ อการสอนวิชาเคมี โดยความร่ วมมือระหว่าง
สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
 

(คําถามข้อนี้เป็ นความรู ้เกี่ยวกับการปรับปรุ งคุณภาพของแร่ รัตนชาติตามผลการเรี ยนรู ้ที่คาดหวังข้อ 1)


คําอธิบาย การกําหนดรู ปร่ างของพลอยว่าส่ วนใดเป็ นหน้าพลอยส่ วนใดเป็ นก้นพลอยนั้น เรี ยกว่า การตั้งนํ้า
เป็ นขั้นตอนที่สาํ คัญที่สุด เนื่องจากการกําหนดหน้าพลอยหรื อก้นพลอยไม่ถูกต้องจะทําให้
ประกายไฟ หรื อมีการสะท้อนแสงไม่สวย

5. ข้อใดถูกต้อง
ก. มอยซาไนต์มีการกระจายแสงตํ่ากว่าเพชรธรรมชาติ
ข. มอยซาไนต์นาํ ไฟฟ้ าได้นอ้ ยกว่าเพชรธรรมชาติมาก
ค. เพชรรัสเซียมีความถ่ วงจําเพาะสู งกว่ าเพชรธรรมชาติ
ง. เพชรรัสเซี ยนําความร้อนได้ดีเหมือนเพชรธรรมชาติ
(คําถามข้อนี้เป็ นความรู ้เกี่ยวกับรัตนชาติสงั เคราะห์ตามผลการเรี ยนรู ้ที่คาดหวังข้อ 3)
คําอธิบาย รัตนชาติน้ นั มีราคาสู ง จึงมีการใช้วสั ดุอื่นมาใช้แทนแร่ รัตนชาติ เช่น การใช้วสั ดุอื่นที่มีลกั ษณะ
ภายนอกคล้ายเพชรมาทําเป็ นเพชรเทียม อาทิ เพชรรัสเซียหรื อคิวบิกเซอร์โคเนีย (ZrO2) เพชร
โมอิสหรื อมอยซาไนต์ (SiC) เพชรเทียมอาจมีลกั ษณะภายนอกคล้ายเพชรแท้ แต่สมบัติ
บางอย่างแตกต่างไป เช่น เพชรรัสเซียมีการกระจายแสงสู งกว่าเพชร จึงดูแวววาวมาก
ขณะเดียวกันก็มีความถ่วงจําเพาะมากกว่าเพชรด้วยเช่นกัน จึงใช้สมบัติน้ ีในการตรวจสอบว่า
เป็ นเพชรเทียมหรื อไม่ได้ เพรชโมอิสมีค่าดัชนีหกั เหแสงสู งกว่าเพชรมาก แต่นาํ ไฟฟ้ าได้
ในขณะที่เพชรแท้ไม่นาํ ไฟฟ้ า จึงใช้สมบัติน้ ีเพื่อตรวจสอบได้

- 16 -
คู่มือสื่ อการสอนวิชาเคมี โดยความร่ วมมือระหว่าง
สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
 

7. แบบฝึ กหัดและกิจกรรม

แบบฝึ กหัดหลังเรี ยนในบทเรี ยนเรื่ องธาตุและสารประกอบในอุตสาหกรรม ตอนแร่ รัตนชาติ 2 เป็ น


การจับคู่ 4 ข้อ ซึ่งทําการเปลี่ยนลําดับทั้งโจทย์และตัวเลือกทุกครั้งที่เปิ ดสื่ อขึ้นมาใหม่ คะแนนข้อ 1-2 ข้อละ
20 คะแนน และข้อ 3-4 ข้อละ 30 คะแนน รวมคะแนนทั้งหมด 100 คะแนน

ข้ อที่ 1 จงจับคูเ่ รี ยงลําดับขั้นตอนการเจียระไนอัญมณี ให้ถูกต้อง (20 คะแนน)


ลําดับที่ 1 การล้างพลอย
ลําดับที่ 2 การตั้งนํ้า
ลําดับที่ 3 การโกลน
ลําดับที่ 4 การแต่งพลอย
ลําดับที่ 5 การเจียระไน

ข้ อที่ 2 จงจับคูเ่ ทคนิคของการปรับปรุ งคุณภาพของพลอยให้ตรงกับความหมายของแต่ละเทคนิก (20


คะแนน)
การเจียระไน - การใช้เครื่ องมือทําให้อญั มณี เป็ นเหลี่ยม มีความแวววาวเป็ นประกาย
การเผาพลอย - เพื่อไล่ตาํ หนิเส้นไหม ซึ่งช่วยให้พลอยใสสะอาด
การอาบรังสี - การให้แร่ โทแพซมีสีฟ้าซึ่งพบได้ยากในธรรมชาติ
การย้อมสี - การปรับปรุ งพลอยที่มีรอยแตก

ข้ อที่ 3 จับคู่สีของพลอยก่อนเผา โดยนําชื่อสี มาใส่ ในช่องให้ตรงกับพลอย


ข้ อที่ 4 จับคู่สีของพลอยก่อนเผา โดยนําชื่อสี มาใส่ ในช่องให้ตรงกับพลอย

ชนิดของพลอย สี ก่อนเผา สี หลังเผา


ทับทิม แดงอมม่วง แดงสด
แซปไฟร์สีน้ าํ เงิน นํ้าเงิน นํ้าเงินเข้มหรื อนํ้าเงินสว่างขึ้น
แซปไฟร์สีขาว ขาวอมเหลือง เขียว
โทแพซ ขาวใส นํ้าเงิน
แอเมทิสต์ ม่วง เขียว

- 17 -
คู่มือสื่ อการสอนวิชาเคมี โดยความร่ วมมือระหว่าง
สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
 

นอกจากนี้ผสู ้ อนควรหากิจกรรรมอื่นๆ ให้นกั เรี ยนฝึ กทํา เพื่อบอกวิธีการปรับปรุ งคุณภาพพลอย


หรื อการทําอัญมณี สงั เคราะห์ เช่น

1. อธิบายเกี่ยวกับการปรับปรุ งคุณภาพของพลอยแบบต่างๆ และอธิบายว่าเทคนิคนี้เหมาะสําหรับพลอยที่มี


ลักษณะอย่างไร เช่น พลอยที่มีรอยแตกร้าว ปรับปรุ งด้วยเทคนิคการย้อมสี เป็ นต้น
ให้นกั เรี ยนแบ่งกลุ่มออกเป็ น 4 กลุ่ม แต่ละกลุ่มรับผิดชอบหน้าที่ในการหาข้อมูลเรื่ องเทคนิคการ
ปรับปรุ งคุณภาพพลอย แล้วนํามาอภิปรายร่ วมกัน ในหัวข้อต่างๆ ดังนี้
- การเจียระไนพลอย
- การเผาพลอย
- การย้อมสี พลอย
- การฉายรังสี

2. อธิบายถึงการสังเคราะห์เพชร และประโยชน์ที่ได้จากเพชรสังเคราะห์
ให้นกั เรี ยนแบ่งกลุ่มหาข้อมูลเกี่ยวกับวิธีการสังเคราะห์เพชร และการใช้ประโชยน์จากเพชร
สังเคราะห์ รวมถึงหาเหตุผลว่าทําไมต้องใช้เพชรสังเคราะห์

- 18 -
คู่มือสื่ อการสอนวิชาเคมี โดยความร่ วมมือระหว่าง
สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
 

8. แหล่ งข้ อมูลสํ าหรับค้ นคว้ าเพิม่ เติม

- การปรับปรุ งคุณภาพของอัญมณี ที่เว็บไซต์ http://www.gemologyonline.com/treatment.html


- เอกสารเรื่ องการเจียระไนพลอย จาก ศูนย์รวมข้อมูลเศรษฐกิจการค้าจังหวัดทัว่ ประเทศ กองบริ หารพาณิ ชย์
ภูมิภาค สํานักงานปลัดกระทรวงพาณิ ชย์ เว็บไซต์ http://pcoc.moc.go.th/pcocsys/uploadfile/
URLFile/pdf/ต้นร่ าง2.pdf

9. เอกสารอ้ างอิง

1. พิเชษฐ ลิ้มสุ วรรณ และสุ ปาณี ลิ้มสุ วรรณ. ฟิ สิ กส์ กบ


ั อัญมณี. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุ งเทพฯ องค์การค้าของคุรุ
สภา, 2544.
2. สุ มาลี เทพโสพรรณ. วิเคราะห์ อญ
ั มณี. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุ งเทพฯ : สถาบันอัญมณี วิทย์ (ประเทศไทย) ,
2539.
3. สุ มาลี เทพโสพรรณ. พลอยแท้ พลอยเทียม. กรุ งเทพฯ สถาบันอัญมณี วิทย์ (ประเทศไทย), 2545.

4. ส่ งเสริ มการสอนวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี, สถาบัน. หนังสื อเรียนสาระการเรี ยนรู้ พน


ื้ ฐานและ
เพิม่ เติม เคมี เล่ ม ๔. พิมพ์ครั้งที่ 4; กรุ งเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว, 2550.
5. เอกสารเรื่ องการเจียระไนพลอย จาก ศูนย์รวมข้อมูลเศรษฐกิจการค้าจังหวัดทัว่ ประเทศ กองบริ หาร

พาณิ ชย์ภูมิภาค สํานักงานปลัดกระทรวงพาณิ ชย์ เว็บไซต์ http://pcoc.moc.go.th/pcocsys/uploadfile/


URLFile/pdf/ต้นร่ าง2.pdf (กันยายน 2555).

6. เอกสารเรื่ องขั้นตอนการทําเหมืองพลอยขนาดเล็ก (Best practice in small-scale gemstone mining)

ของ กรมพัฒนาระหว่างประเทศ สหราชอาณาจักร (Department for Internation Development)


เว็บไซต์ http://www.itcltd.com/docs/consulting/Gemstones%20Manual%20-%20draft.pdf
(กันยายน 2555)
7. May, PW (2000) Diamond thin films: a 21st-century material. Phil. Trans. R. Soc. Lond.
A 358: 473–495.
8. B. Andrzej, B. Teresa, L. S.‐Tong, “Synthesis of diamond from methane and nitrogen
mixture” Appl. Phy. Lett. 1993, 62, 3432.

- 19 -
คู่มือสื่ อการสอนวิชาเคมี โดยความร่ วมมือระหว่าง
สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
 

10. ภาคผนวก
ภาคผนวก ก คําบรรยายสื่ อ
คําบรรยายของสื่ อแสดงในคอลัมน์ “คําบรรยาย” โดยใช้สญ
ั ลักษณ์แทนเสี ยงต่างๆ ดังนี้

รู ปอาจารย์หญิง แทนเสี ยงอาจารย์หญิง และรู ปนักเรี ยนชาย แทนเสี ยงนักเรี ยนชาย ภาพ
ที่ข้ ึนประกอบคําบรรยายจะแสดงในคอลัมน์ “ภาพ” และระบุเวลาไว้ในคอลัมน์ “นาที” โดยระบุเนื้อหาที่
สื่ อกําลังจะบรรยายถึงด้วยตัวอักษรเอนสี น้ าํ เงินในช่องที่รวมคอลัมน์ภาพและคําบรรยายเข้าด้วยกัน ซึ่ง
ผูส้ อนสามารถหยุดพักบทเรี ยนหากต้องการสอนเนื้อหาส่ วนนั้นได้

นาที ภาพ คําบรรยาย


00:22 เกริ่ นเข้ าสู่บทเรี ยน
00:22

สวัสดีค่ะนักเรี ยน ยังจําเรื่ องราวของแร่ รัตนชาติใน


บทเรี ยนเรื่ องแร่ รัตนชาติ 1 กันได้ใช่ไหมคะ ในบทเรี ยนที่แล้ว
เราได้รู้จกั ประเภทของรัตนชาติและการใช้ประโยชน์กนั ไปแล้ว
ในบทเรี ยนนี้ เราจะมาเรี ยนรู ้เรื่ องราวของแร่ รัตนชาติกนั ต่อค่ะ
ตามที่เราได้รู้กนั แล้วว่าแร่ รัตนชาติเป็ นแร่ ที่มีความสวยงาม ซึ่ง
ส่ วนใหญ่จะนํามาใช้เป็ นเครื่ องประดับ แต่วา่ กว่าแร่ ดิบจะมาเป็ น
เครื่ องประดับที่สวยงามนั้น จะต้องผ่านการปรับปรุ งหรื อ
ดัดแปลง เพื่อให้มีสีสันที่สวยงามยิง่ ขึ้น กล่าวอีกนัยนึงก็คือการ
นําแร่ เหล่านั้นมาเพิ่มมูลค่านัน่ เอง
00:56 วัตถุประสงค์ ของบทเรี ยน
00:56

ในบทเรี ยนนี้ เราจะมาศึกษาวิธีการปรับปรุ ง


คุณสมบัติของแร่ รัตนชาติ การแปรรู ปรัตนชาติให้เป็ น
เครื่ องประดับที่งดงาม รวมถึงเรี ยนรู ้เกี่ยวกับอัญมณี สงั เคราะห์
กันค่ะ

- 20 -
คู่มือสื่ อการสอนวิชาเคมี โดยความร่ วมมือระหว่าง
สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
 

นาที ภาพ คําบรรยาย


01:02

เราสังเคราะห์อญั มณี ได้ดว้ ยหรื อครับเนี่ย


01:25 การปรั บปรุ งคุณภาพแร่ รัตนชาติ
01:25

ใช่แล้วล่ะจ้ะ แต่ก่อนที่เราจะไปศึกษาเรื่ องอัญมณี


สังเคราะห์ เรามาเรี ยนรู ้เกี่ยวกับการปรับปรุ งคุณภาพของรัตน
ชาติกนั ก่อนดีกว่า
ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในปั จจุบนั ทําให้
มีวิธีเพิ่มคุณภาพของแร่ ได้หลายวิธี ตั้งแต่การเจียระไน การเผา
หรื อการหุงพลอย การเคลือบสี การอาบรังสี การฉายแสงเลเซอร์
และการย้อมสี
วิธีการเหล่านี้ช่วยให้อญั มณี มีความงดงามและมีคุณค่ามากขึ้น ที่
สําคัญ ช่างของไทยนั้น ได้ชื่อว่าเป็ นช่างที่มีฝีมือเป็ นที่ยอมรับไป
ทัว่ โลก ไม่วา่ จะเป็ นการเจียระไน การใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่
หรื อการออกแบบอัญมณี จนทําให้ประเทศไทยสามารถ
ส่ งออกอัญมณี และเครื่ องประดับได้เป็ นอันดับต้นๆ ของโลกเลย
นะคะ
02:15 การปรั บปรุ งคุณภาพแร่ รัตนชาติ-การเจี ยระไน
02:16

มารู ้จกั วิธีเพิ่มคุณภาพรัตนชาติวิธีแรกกันเลยดีกว่า


นักเรี ยนคงจะคุน้ เคยกันอยูบ่ า้ ง ก็คือการเจียระไนนัน่ เองค่ะ
การเจียระไนนั้นเป็ นเทคนิคที่ทาํ ให้อญั มณี มีประกายและมีสีสนั
เด่นชัดขึ้น โดยใช้เครื่ องมือทําให้เป็ นเหลี่ยม เพื่อให้แสงหักเห
สะท้อนกลับไปมาภายในผลึกและสะท้อนออกด้านหน้า
02:41

เหมือนอย่างที่เราเห็นเพชรพลอยเป็ นเหลี่ยมๆ แวว

- 21 -
คู่มือสื่ อการสอนวิชาเคมี โดยความร่ วมมือระหว่าง
สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
 

นาที ภาพ คําบรรยาย


วาวเมื่อโดนแสงไฟนัน่ เองใช่ไหมครับ
02:40

ใช่แล้วค่ะ คราวนี้มาดูข้ นั ตอนการเจียระไนกันดีกว่า


การเจียระไนเพชรพลอยนั้นเริ่ มจาก การล้างพลอย ด้วยนํ้าเปล่า
เพื่อทําความสะอาดพลอยหรื ออัญมณี ที่จะเจียระไน แล้ว
พิจารณาดูรอยแตกร้าว หากมีรอยแตกร้าวมาก ก็ตอ้ งตัดแบ่ง
ออกเป็ นหลายๆ เม็ด ตามรอยแตกนั้น
02:56

จากนั้นเป็ นการตั้งนํ้า เพื่อกําหนดรู ปร่ างของพลอย


แต่ละเม็ดว่าส่ วนใดจะเป็ นหน้าพลอย ส่ วนใดจะเป็ นก้นพลอย
การตั้งนํ้านี้สาํ คัญที่สุดโดยเฉพาะกับพลอยที่มีขนาดใหญ่และมี
ราคาสู ง เพราะถ้าเลือกผิด พลอยเม็ดนั้นอาจมีการกระจายแสง
หรื อที่ภาษาอัญมณี เรี ยกว่าประกายไฟไม่สวยเท่าที่ควรจะเป็ น ผู ้
ที่จะตั้งนํ้าพลอยได้ตอ้ งเป็ นผูท้ ี่มีความรู ้ความชํานาญมาก เพราะ
พลอยดิบบางเม็ดอาจไม่ได้มีสีอยูเ่ ต็มตลอดทั้งเม็ด แต่มีสีเพียง
บางส่ วนที่เรี ยกว่าหย่อมสี หรื อแถบสี ซึ่งควรใช้เป็ นส่ วนก้น
พลอย เพือ่ ที่เมื่อเจียระไนเสร็ จ เหลี่ยมเจียระไนจะสะท้อนแสง
ทําให้พลอยมีสีสวยเต็มเม็ดและเป็ นประกายระยิบระยับสวยงาม
หากกําหนดหย่อมสี ผิดตําแหน่ง จะทําให้เห็นสี พลอยไม่เต็มเม็ด
ด้อยความงาม ขายไม่ได้ราคา
ขั้นตอนต่อไปก็คือการโกลน นักเรี ยนรู ้ไหมว่าโกลนแปลว่า
อะไร
04:03

ผมเคยได้ยนิ คําว่าเรื อโกลนครับ เป็ นเรื อที่ทาํ จากไม้


ท่อน

- 22 -
คู่มือสื่ อการสอนวิชาเคมี โดยความร่ วมมือระหว่าง
สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
 

นาที ภาพ คําบรรยาย


04:22

ใช่ค่ะ โกลนหมายถึงเกลาหรื อทํารู ปไว้ เรื อโกลนก็


คือการเกลาเพื่อขึ้นรู ปเรื อก่อนจะที่จะขุดเป็ นตัวเรื อ การโกลน
รัตนชาติกค็ ือการขึ้นรู ปของพลอยอย่างคร่ าวๆ ภายหลังจากการ
ตั้งนํ้านัน่ เองค่ะ ช่างเจียระไนพลอยจะขึ้นรู ปของพลอยตาม
ลักษณะสภาพของพลอย โดยโกลนส่ วนที่เป็ นรอยแตกหรื อ
ตําหนิของพลอยออกไป เช่น ถ้าเม็ดพลอยมีลกั ษณะเป็ นรู ปรี
ควรโกลนเป็ นรู ปหยดนํ้าหรื อหัวใจ ถ้าพลอยเป็ นเม็ดกลม ก็ไม่
ควรโกลนเป็ นรู ปไข่ เพราะจะทําให้เสี ยเนื้อพลอยมาก เป็ นต้น
04:54 จากนั้นก็เป็ นการแต่งพลอย ซึ่งเป็ นขั้นที่ทาํ ให้พลอยมีรูปร่ าง
สมบูรณ์ข้ ึนและแก้ไขข้อบกพร่ องของเม็ดพลอยให้สวยงามก่อน
จะเจียระไน โดยนําพลอยมาติดอุปกรณ์เรี ยกว่าไม้ทวนและใช้
แชลแล็คเป็ นตัวยึดพลอยกับไม้เพื่อความถนัดในการจับ แล้วนํา
พลอยมาเจียรกับหิ นเจียร เพื่อทําให้ผวิ ของพลอยมีความมันวาว
เหลี่ยมของพลอยคมชัด ไม่ขรุ ขระ
05:29 แล้วก็ถึงขั้นตอนที่สาํ คัญมากแล้วค่ะ คือการเจียระไน ซึ่งก็คือ
การตัดเหลี่ยมให้เป็ นรู ปร่ างตามแบบ เช่น รู ปเหลี่ยม รู ปหัวใจ
หรื ออาจจะเจียระไนให้หน้าพลอยมีรูปร่ างโค้งมนไม่ตดั เหลี่ยม
ซึ่งเรี ยกว่าเจียระไนแบบหลังเบี้ยก็ได้ค่ะ
05:42 การเจียระไนพลอยนั้นมีได้หลายรู ปแบบด้วยกัน และในปั จจุบนั
นี้กม็ ีโปรแกรมคอมพิวเตอร์เพือ่ ออกแบบการเจียระไนเพชร
พลอยกันโดยเฉพาะ เพื่อให้แสงหักเหในพลอยจนสะท้อน
ออกมาทางด้านหน้าได้สวยงามที่สุด เรามาลองทําความรู ้จกั กับ
รู ปแบบการเจียระไนกันสักเล็กน้อยนะคะ
06:19 การเจียระไนพลอยที่เป็ นนิยมมากรู ปแบบหนึ่ง โดยเฉพาะกับ
เพชร คือการเจียระไนแบบที่เรี ยกว่าเหลี่ยมเกสร ซึ่งจะมีจาํ นวน
เหลี่ยม 57-58 เหลี่ยม โดยเป็ นเหลี่ยมที่ส่วนบนของพลอย
จํานวน 33 เหลี่ยม และส่ วนเหลี่ยมที่ของก้นพลอย อีก 24 ถึง 25
การเจียระไนพลอยแบบเหลี่ยมเกสรนั้น นิยมเจียระไนพลอยที่มี
รู ปร่ างเป็ นทรงกลม หยดนํ้า และรู ปไข่ หรื อ วงรี ค่ะ

- 23 -
คู่มือสื่ อการสอนวิชาเคมี โดยความร่ วมมือระหว่าง
สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
 

นาที ภาพ คําบรรยาย


06:39 การเจียระไนอีกแบบที่พบได้บ่อยๆ คือแบบเหลี่ยมขั้นบันได
เป็ นการเจียระไนที่ดา้ นบนของพลอยประกอบด้วยเหลี่ยมใหญ่
ตรงกลางรู ปแปดเหลี่ยม และมีเหลี่ยมด้านข้างรอบเหลี่ยมใหญ่
เป็ นรู ปสี่ เหลี่ยมคางหมูเรี ยงเป็ นแถวคล้ายขั้นบันได นิยมใช้กบั
พลอยมรกต จึงมีชื่อเรี ยกอีกแบบว่าเหลี่ยมมรกตค่ะ
07:05 ต่อไปคือเหลี่ยมกุหลาบ เป็ นการเจียระไนที่ดา้ นหน้าของพลอยมี
เหลี่ยมตัด 12 หรื อ 24 เหลี่ยมที่สมมาตรกันและมาบรรจบที่จุด
ยอดจุดหนึ่ง การเจียระไนรู ปเหลี่ยมกุหลาบนี้ เป็ นการเจียระไน
แบบโบราณดั้งเดิม หาได้ยากในปั จจุบนั เพราะมีประกายไฟ
หรื อความแวววาวระยิบระยับน้อยค่ะ

07:26

แล้วที่คุณครู บอกว่ามีการเจียระไนแบบที่ไม่มี
เหลี่ยมล่ะครับ เป็ นอย่างไร ช่วยเล่าให้ผมฟังหน่อยสิ ครับ
07:39

การเจียระไนแบบที่ดา้ นหน้าของพลอยโค้งมน ไม่มี


เหลี่ยม ด้านล่างแบนเรี ยบนั้น เรี ยกว่าการเจียระไนแบบหลังเบี้ย
ค่ะ เป็ นการเจียระไนพลอยแบบแรกที่มนุษย์เรารู ้จกั เลยนะคะ
เพราะก็คือการนําพลอยมาขัดเงาแล้วเกลารู ปร่ างให้สวยงาม
เหมาะสําหรับอัญมณี ที่แสงผ่านได้นอ้ ยและมีตาํ หนิมาก เช่น
มูนสโตน อําพัน หรื อพลอยที่มีปรากฎการณ์พเิ ศษ เช่น พลอยตา
แมว พลอยสาแหรกหรื อพลอยสตาร์ ซึ่งไม่ควรนําไปเจียระไน
ให้เป็ นเหลี่ยม
08:18 ช่างเจียระไนต้องพิจารณาพลอยเป็ นอย่างดีวา่ สมควรจะ
เจียระไนแบบหลังเบี้ยหรื อไม่ เพราะแม้วา่ พลอยดิบจะดูทึบแสง
แต่หากนําไปเผา พลอยจะโปร่ งแสงขึ้น เมื่อเจียระไนให้เป็ น
เหลี่ยมจะเพิ่มมูลค่ากว่าการทําให้ผวิ เรี ยบโค้งค่ะ

- 24 -
คู่มือสื่ อการสอนวิชาเคมี โดยความร่ วมมือระหว่าง
สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
 

นาที ภาพ คําบรรยาย


08:32 การปรั บปรุ งคุณภาพแร่ รัตนชาติ-การเผาพลอย
08:33

เอาพลอยไปเผาหรื อครับคุณครู
08:35

ถูกต้องแล้วค่ะ การเอาพลอยไปเผาหรื อให้ความร้อน


เรี ยกว่าการเผาพลอยหรื อการหุงพลอย เป็ นวิธีเพิม่ คุณภาพอัญ
มณี อีกวิธีหนึ่งค่ะ นิยมนํามาใช้กบั พลอยตระกูลคอรันดัมพวก
ทับทิม ไพลิน และบุษราคัม เพื่อให้พลอยมีสีสวยขึ้น ไม่ว่าจะทํา
ให้สีเข้มขึ้นหรื อจางลง หรื อช่วยกระจายสี ให้ดูกลมกลืน
สมํ่าเสมอทัว่ ทั้งเม็ดพลอย รวมทั้งช่วยไล่ตาํ หนิที่เป็ นเส้นยาว
รู ปร่ างคล้ายเข็มตัดกันที่เรี ยกว่าเส้นไหม ทําให้พลอยใสสะอาด
ขึ้น โดยปกติการเผาพลอยนั้นใช้เตาเผาอุณหภูมิประมาณ
1,600-1,900 องศาเซลเซี ยส เมื่อเผาแล้วต้องทําให้พลอยเย็นตัว
ลงอย่างรวดเร็ ว เพื่อป้ องกันการตกผลึกของเส้นไหมกลับมาใหม่
09:34

แล้วการเผาพลอยทําให้สีของพลอยเปลี่ยนไปได้
อย่างไรหรื อครับ
09:38

การให้ความร้อนแก่พลอยในช่วงอุณหภูมิและภาวะที่
เหมาะสม จะทําให้ธาตุในพลอยเกิดการจัดเรี ยงตัวใหม่หรื อมีเลข
ออกซิเดชันเปลี่ยนไป พลอยจึงใสขึ้น และมีสีเปลี่ยนไป
ตัวอย่างเช่น การเผาทับทิมที่อุณหภูมิสูงจนใกล้จุดหลอมเหลว
จนทําให้อะลูมิเนียมออกไซด์เกิดการจัดเรี ยงตัวใหม่ ทําให้
ไอออนโครเมียมให้สีได้ชดั ขึ้น เป็ นการเผาตัดโทนสี ม่วงและทํา
ให้สีแดงในทับทิมสดขึ้น ซึ่งเป็ นนิยมทําในเมืองไทยเนื่องจาก
ทับทิมดิบของไทยมักมีสีแดงอมม่วง

- 25 -
คู่มือสื่ อการสอนวิชาเคมี โดยความร่ วมมือระหว่าง
สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
 

นาที ภาพ คําบรรยาย


10:21 หากเราเผาไพลินหรื อแซปไฟร์สีน้ าํ เงินในภาวะแบบรี ดิวซ์ซิ่ง
หรื อภาวะขาดออกซิเจน จะทําให้สีน้ าํ เงินของไพลินเข้ม

10:33 แต่ถา้ เราเผาบุษราคัมหรื อแซปไฟร์สีเหลืองในภาวะออกซิ ไดซ์


ซิ่งหรื อภาวะที่มีออกซิเจนมาก จะทําให้สีเหลืองของบุษราคัม
เข้มขึ้น เนื่องจากเกิดไอออนเหล็กสามบวกได้มากขึ้น

10:50 การเผาแซปไฟร์ขาว จะสามารถเปลี่ยนแซปไฟร์ใส หรื อขาวอม


เหลืองให้เป็ นสี น้ าํ เงิน เขียว หรื อเหลืองนํ้าทองได้

11:01 หากเผาเพทายหรื อเซอร์คอนในภาวะที่ไม่มีออกซิเจน จะเปลี่ยน


จากสี น้ าํ ตาล เป็ นสี น้ าํ เงินได้

11:11 สําหรับโทแพซนั้น สามารถเปลี่ยนโทแพซที่ไม่มีสีให้เป็ นสี น้ าํ


เงินได้ โดยทําการฉายรังสี แกมมาจากโคบอลต์หกสิ บหรื อลํา
อิเล็กตรอน แล้วทําการเผาให้ความร้อนอีกครั้ง

11:27 แอเมทิสต์ซ่ ึงเป็ นควอตซ์ประเภทหนึ่งนั้น สามารถเผาในภาวะที่


มีออกซิเจนมากเพื่อเปลี่ยนจากสี ม่วง เป็ นใสไม่มีสี เหลืองนํ้า
ทอง หรื อสี เขียวได้ เนื่องจากไอออนเหล็กซึ่งเป็ นมลทินถูกกําจัด
ออกไป

- 26 -
คู่มือสื่ อการสอนวิชาเคมี โดยความร่ วมมือระหว่าง
สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
 

นาที ภาพ คําบรรยาย


11:46 สิ่ งที่น่าสนใจก็คือไม่ใช่วา่ อัญมณี จากทุกแหล่งจะสามารถนําไป
เผาหรื อหุงแล้วเปลี่ยนสี ได้เหมือนกันเสมอไปนะคะ ตัวอย่างเช่น
เพทายสี น้ าํ ตาลของศรี ลงั กานั้น เมื่อเผาแล้วมักจะได้สีน้ าํ เงิน
ในขณะที่เพทายของไทยนั้น มีเพียงส่ วนน้อยเท่านั้นที่เมื่อเผา
แล้วจะเปลี่ยนเป็ นสี น้ าํ เงิน สู ตรของการหุงพลอยที่ช่างฝี มือทํา
กันนั้นก็จดั เป็ นความลับ ไม่บอกต่อกันง่ายๆ ด้วยค่ะ
7:09

โอ้โห เราสามารถหุงพลอยได้หลายชนิดเลยนะ
ครับเนี่ย
12:30 การปรั บปรุ งคุณภาพแร่ รัตนชาติ-การเคลือบสี พลอย
12:32

ใช่แล้วค่ะ การหุงพลอยนี้ โดยทัว่ ไปจะทําให้สี


เปลี่ยนไปอย่างถาวรนะคะ คราวนี้เรามาต่อกันที่วิธีการปรับปรุ ง
คุณภาพวิธีต่อไป นัน่ ก็คือการเคลือบสี พลอยค่ะ
12:40

เอ เอาสี ไปพ่นเคลือบบนพลอยหรื อครับ


13:05

ไม่ใช่ค่ะไม่ใช่ การเคลือบสี พลอย คือการเผาพลอย


กับสารเคมีที่มีธาตุมลทินตามธรรมชาติของพลอยชนิดนั้น ทําให้
ไอออนของธาตุมลทินเกิดการแพร่ เข้าไปที่ผวิ หน้าของพลอย
เป็ นชั้นบางๆ ประมาณ 0.07-0.42 มิลลิเมตร นิยมใช้กบั พลอย
ตระกูลคอรันดัม
เช่น การเผาทับทิมกับโครเมียมออกไซด์ เพือ่ ให้โครเมียมแพร่
เข้าไปเป็ นมลทินและพลอยมีสีแดงเข้มขึ้น หรื อการเผาไพลินกับ
ไทเทเนียมออกไซด์และเหล็กออกไซด์ให้สีน้ าํ เงินเข้ม การ
เคลือบสี พลอยนี้ โดยปกติมีทาํ ให้เกิดสี แค่บนผิวหน้าของพลอย

- 27 -
คู่มือสื่ อการสอนวิชาเคมี โดยความร่ วมมือระหว่าง
สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
 

นาที ภาพ คําบรรยาย


เป็ นการชัว่ คราวเท่านั้น แต่หากใช้ความร้อนที่สูงขึ้นและใช้
เวลานานขึ้น ก็จะเกิดการแพร่ ได้ลึกขึ้นจนอาจแพร่ ได้ทวั่ ทั้งเม็ด
พลอย เช่น การเผาแซปไฟร์ ที่มีสีอ่อนกับเบอริ ลเลียม ทําให้ได้
แซปไฟร์ที่มีสีชมพูอมส้ม เนื่องจากเบอริ ลเลียมเข้าไปแทนที่
ตําแหน่งของอะลูมิเนียม เป็ นต้น การเจียระไนพลอยที่ผา่ นการ
เคลือบสี อาจทําให้สีที่เคลือบอยูจ่ างไป จึงสังเกตพลอยที่ผา่ นการ
เคลือบสี ได้จากขอบของเหลี่ยมซึ่งมีสีเข้มกว่าเนื้อพลอยบริ เวณ
อื่น
14:12 การปรั บปรุ งคุณภาพแร่ รัตนชาติ-การฉายหรื อการอาบรั งสี พลอย
14:13

ต่อไปเป็ นการเพิ่มคุณค่าของพลอยด้วยการฉายหรื อ
การอาบรังสี นะคะ เมื่อสักครู่ เราพูดถึงกันไปบ้างแล้วนิดหน่อย
ตอนเราเรี ยนเรื่ องการเผาพลอยกัน นักเรี ยนพอจําได้ไหมคะ
14:26

ที่คุณครู เล่าว่าเราสามารถฉายรังสี แกมมาก่อนการ


เผาเพื่อเปลี่ยนสี โทแพซให้เป็ นสี น้ าํ เงินใช่ไหมครับ
14:36

ใช่แล้วค่ะ การฉายรังสี น้ นั ทําให้เกิดศูนย์กลางสี ข้ ึน


เช่นการฉายรังสี แกมมาหรื อลําอิเล็กตรอนไปยังโทแพซ ซึ่ง
จะต้องนําไปเผาอีกครั้ง จึงจะทําให้โทแพซเปลี่ยนเป็ นสี น้ าํ เงิน
อย่างถาวร แต่หากฉายรังสี นิวตรอนจากเตาปฏิกรณ์ปรมาณู ก็จะ
สามารถเปลี่ยนสี โทแพซได้เลยโดยไม่ตอ้ งเผาอีก
นอกจากโทแพซแล้ว ยังสามารถฉายรังสี แซปไฟร์สีอ่อนให้
กลายเป็ นสี ชมพูอมส้มได้อีกด้วยค่ะ แต่หากนําไปเผา แซปไฟร์
นั้นจะกลับไปเป็ นสี อ่อนเช่นเดิม

- 28 -
คู่มือสื่ อการสอนวิชาเคมี โดยความร่ วมมือระหว่าง
สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
 

นาที ภาพ คําบรรยาย


15:13 แม้กระทัง่ เพชรก็สามารถฉายรังสี ได้นะคะ เช่นการฉายรังสี
อิเล็กตรอนหรื อนิวตรอนทําให้เพชรเปลี่ยนเป็ นสี เขียว สี เหลือง
สี ส้ม สี น้ าํ เงิน อันที่จริ งแล้ว เพชรสี เขียวที่พบในธรรมชาติกเ็ กิด
จากการได้รับรังสี ตามธรรมชาตินนั่ เอง เนื่องจากรังสี ทาํ ให้
อะตอมของคาร์บอนหลุดออกจากโครงสร้างผลึก และอาจมี
อะตอมของธาตุอื่นเข้าไปแทนที่ เช่น ถ้ามีอะตอมของไนโตรเจน
เข้าไปอยูใ่ นโครงสร้างผลึก จะทําให้เพชรมีสีชมพู นํ้าเงิน เขียว
แดง แต่ถา้ มีอะตอมของโบรอนเป็ นมลทินอยูใ่ นโครงสร้างผลึก
เพชรจะมีสีเหลืองหรื อนํ้าตาล เราจึงฉายรังสี เพื่อทําให้เพชร
เปลี่ยนสี ได้ค่ะ
16:05 การฉายรังสี น้ นั ทําให้เกิดศูนย์กลางสี แบบไม่ถาวร จึงสามารถ
ทดสอบได้ดว้ ย Fade test ทําโดยวางพลอยไว้ใต้ไฟแรงๆ 150
วัตต์ประมาณ 1 ชัว่ โมง สี ของพลอยจะจางลง
16:23 เรายังอาจใช้เลเซอร์กาํ จัดมลทินที่เกิดขึ้นในอัญมณี ได้ดว้ ยนะคะ
ความร้อนที่เกิดจากเลเซอร์ทาํ ให้มลทินสลายเป็ นไอออกไป แต่
หากเลเซอร์ไม่ร้อนพอที่จะสลายมลทิน ก็สามารถนําเอาอัญมณี
ไปแช่ในกรดเพือ่ ละลายมลทินเช่นเหล็กออกไซด์ออกมา

16:40 การปรั บปรุ งคุณภาพแร่ รัตนชาติ-การย้ อมสี พลอย


16:42

ตัวอย่างการเพิ่มคุณค่าของพลอยวิธีสุดท้าย คือ การ


ย้อมสี ค่ะ
16:46

ย้อมสี แบบย้อมผ้าหรื อเปล่าครับ


16:50

ใช่แล้วค่ะ การย้อมสี พลอยนี้ จะใช้กบั พลอยที่มีรอย


แตก เพื่อให้สารละลายมีสีแทรกซึมเข้าไปได้ เช่น การย้อมสี

- 29 -
คู่มือสื่ อการสอนวิชาเคมี โดยความร่ วมมือระหว่าง
สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
 

นาที ภาพ คําบรรยาย


ไข่มุก ปะการัง หยก ควอตซ์ ทับทิม เป็ นต้น หากนําพลอยที่ยอ้ ม
สี ไปส่ องกล้องจุลทรรศน์กจ็ ะเห็นสี เข้มตามรอยแตกได้ค่ะ
17:14 การสังเคราะห์ อัญมณี และการใช้ ประโยชน์
17:14 เพราะรัตนชาติน้ นั มีราคาสู ง ยิง่ ผ่านวิธีเพื่อเพิ่มคุณค่าของอัญมณี
แล้ว ก็ยงิ่ ทําให้มีมูลค่าสู งยิง่ ขึ้นไปอีก จึงทําให้เกิดการ
สังเคราะห์อญั มณี ข้ ึน เพื่อเลียนแบบรัตนชาติตามธรรมชาติใน
ราคาที่ต่าํ ลงค่ะ
17:36 ตัวอย่างเช่นเพชร ซึ่งนักวิทยาศาสตร์สามารถสังเคราะห์เพชร
จากแกรไฟต์ได้ต้ งั แต่ปี 1955
นักเรี ยนคงจําได้วา่ เพชรและแกรไฟต์น้ นั ต่างก็เป็ นคาร์บอนที่มี
การจัดวางตัวของอะตอมที่แตกต่างกัน โดยเพชรเรี ยงตัวเป็ น
โครงข่ายเตตระฮีดรัลสามมิติ ส่ วนแกรไฟต์เป็ นชั้นของหก
เหลี่ยม การเรี ยงตัวของอะตอมคาร์บอนในเพชรนั้นมีความ
หนาแน่นกว่าในแกรไฟต์ ทําให้เพชรมีความถ่วงจําเพาะเท่ากับ
3.52 ซึ่งมากกว่าแกรไฟต์ซ่ ึงมีความถ่วงจําเพาะที่ 2.3 ดังนั้นถ้า
ให้ความร้อนเพื่อทําให้แรงยึดเหนี่ยวระหว่างอะตอมของ
แกรไฟต์อ่อนแรงลง และเพิ่มความดันเพื่อให้อะตอมคาร์บอน
เข้ามาอยูช่ ิดกันมากขึ้น ก็จะเพิ่มความหนาแน่นของคาร์บอนให้
มากขึ้นจนเกิดเป็ นเพชรได้ การเปลี่ยนแกรไฟต์เป็ นเพชรต้องใช้
อุณหภูมิสูงถึง 2,760 องศาเซลเซี ยส และความดันสู งประมาณ
60,000 บรรยากาศขึ้นไปเลยทีเดียวค่ะ
18:44 ด้วยหลักการนี้ ในปั จจุบนั มีการให้บริ การสร้างเพชรสังเคราะห์
จากผมหรื อเถ้าถ่านของมนุษย์ซ่ ึงก็คือสารประกอบคาร์บอนด้วย
นะคะนักเรี ยน

18:53

โห เพชรที่มาจากเถ้าถ่านของบรรพบุรุษหรื อบุคคล
ที่เรารัก ยิง่ เป็ นของที่มีคุณค่าทางจิตใจมากยิง่ ขึ้นไปอีกเลยนะ
ครับ

- 30 -
คู่มือสื่ อการสอนวิชาเคมี โดยความร่ วมมือระหว่าง
สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
 

นาที ภาพ คําบรรยาย


19:03

ใช่แล้วค่ะนักเรี ยน นอกจากการเปลี่ยนคาร์บอนใน
แกรไฟต์ให้เป็ นเพชร ยังมีวิธีการสังเคราะห์เพชรสังเคราะห์ให้
เป็ นแผ่นฟิ ล์มบางๆ ด้วยเทคนิกที่เรี ยกว่า การสะสมตัวของไอ
สารเคมี หรื อ chemical vapor deposition โดยการเผาแก๊ส
มีเทนหรื ออะเซทิลีนที่อุณหภูมิสูง 2200 องศาเซลเซียสภายใต้
แก๊สไฮโดรเจน เพื่อสลายพันธะระหว่างคาร์บอน ทําให้คาร์บอน
กลายเป็ นอะตอมไปเกาะติดบนแผ่นซิ ลิกอน จนเกิดเป็ น
แผ่นฟิ ล์มเพชรบางๆ เพชรสังเคราะห์น้ ี นําความร้อนได้ดีกว่า
เพชรธรรมชาติ จึงนําไปใช้กบั วงจรอิเล็กทรอนิกส์เพื่อถ่ายเท
ความร้อนออกจากวงจรอิเล็กทรอนิกส์ค่ะ
19:51 นอกจากเพชรสังเคราะห์แล้ว ก็ยงั มีการทําเพชรเทียมจากธาตุ
ชนิดอื่นๆ เพือ่ ทดแทนเพชรธรรมชาติซ่ ึงหายากและมีราคาแพง
เพชรเทียมที่ได้รับความนิยมสู งสุ ดคือ เพชรรัสเซีย หรื อคิวบิก
เซอร์โคเนีย ซึ่งก็คือเซอร์โคเนียมออกไซด์ที่มีรูปร่ างผลึกแบบ
ลูกบาศก์ ซึ่งต้องเติมธาตุอื่นลงไปเพื่อให้มีโครงสร้างแบบเพชร
เช่น อิตเทรี ยมออกไซด์ หรื อแคลเซียมออกไซด์ โดยปกติเพชร
รัสเซียไม่มีสี แต่ถา้ เติมธาตุบางชนิดลงไประหว่างการสังเคราะห์
ก็ทาํ ให้เกิดเพชรเทียมที่มีสีได้ เช่น หากมีโคบอลต์หรื อ
แมงกานีส จะได้เพชรเทียมที่มีโทนสี ม่วง เพชรรัสเซี ยนี้มีความ
แข็งตามสเกลของโมห์เท่ากับ 8 มีดชั นีหกั เหแสงในช่วง 2.15-
2.18 ซึ่งน้อยกว่าเพชรเล็กน้อย แต่มีความถ่วงจําเพาะสู งกว่าเพชร
ธรรมชาติมากถึง 1.7 เท่า และไม่นาํ ความร้อนซึ่งแตกต่างจาก
เพชร จึงตรวจสอบได้ไม่ยากค่ะ
21:04 แร่ อีกชนิดหนึ่งที่นาํ มาใช้แทนเพชรในปั จจุบนั นี้ คือมอยซาไนต์
หรื อเพชรโมอิส ซึ่งก็คือซิลิกอนคาร์ไบด์นนั่ เอง มอยซาไนต์น้ นั
พบได้ยากในธรรมชาติและมีขนาดเล็ก แต่โชคดีที่เราสามารถ
ผลิตมอยซาไนต์ได้ เช่น การเผาทรายกับคาร์บอนในเตาเผา
ไฟฟ้ าอุณหภูมิสูง การทําให้ผงซิลิกอนคาร์ ไบด์ระเหิ ดภายใต้
บรรยากาศของแก๊สอาร์กอนที่อุณหภูมิสูง การใช้ความร้อน

- 31 -
คู่มือสื่ อการสอนวิชาเคมี โดยความร่ วมมือระหว่าง
สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
 

นาที ภาพ คําบรรยาย


สลายพอลิเมอร์ของซิลิกอนไฮไดรด์ การสะสมตัวของไอ
สารเคมี เป็ นต้น
21:43 มอยซาไนต์น้ ีมีดชั นี้หกั เหแสงมากกว่า 2.6 ซึ่งมากกว่าเพชรเสี ย
อีกนะคะ จึงมีความแวววาวมาก และมีความแข็งตามโมห์สเกลที่
9.5 เกือบเทียบเท่าเพชรเลยทีเดียว จึงใช้เป็ นอุปกรณ์สาํ หรับตัด
โลหะ หัวเจาะ มีดผ่าตัด รวมถึงเอามาใช้ทดแทนเพชรในงานที่
ต้องใช้เพชรในปริ มาณมากๆ ได้ ในปั จจุบนั นี้ วงการ
อุตสาหกรรมนิยมใช้มอยซาไนต์หรื อเพชรโมอิสแทนเพชร
เนื่องจากมีราคาตํ่ากว่ามาก ยิง่ มีเทคโนโลยีที่สามารถผลิตมอยซา
ไนต์ให้เป็ นผลึกไม่มีสีขนาดใหญ่ได้ จึงมีการนําไปเป็ นอัญมณี
ด้วย เครื่ องประดับที่ทาํ จากเพชรโมอิสมีความงดงาม แวววาว
และมีประกายมาก คนที่ไม่ชาํ นาญอาจคิดว่าเป็ นเพชรเลยทีเดียว
ค่ะ
22:38

เรื่ องของอัญมณี นี่น่าสนใจจริ งๆ นะครับคุณครู


22:43

ใช่ค่ะ นักเรี ยนคงเห็นแล้วว่ารัตนชาติที่ได้จาก


ธรรมชาติ แม้จะมีความสวยงามในตัวของมันเองแล้ว แต่มนุษย์
เราก็สามารถนําเอาความรู ้ทางวิทยาศาสตร์มาปรับปรุ งคุณภาพ
เพื่อเพิ่มมูลค่าให้แก่แร่ เหล่านี้ได้ และยังใช้ความรู ้เพื่อทําอัญมณี
เทียมเลียนแบบอัญมณี ตามธรรมชาติได้อีกด้วย ความรู ้เพิ่ม
คุณค่าจริ งๆ นะคะนักเรี ยน

- 32 -
คู่มือสื่ อการสอนวิชาเคมี โดยความร่ วมมือระหว่าง
สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
 

ภาคผนวก ข สู ตรและชื่อสารเคมีที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาเรื่ องแร่ รัตนชาติ 2 (เรี ยงตามสู ตรเคมี)

สู ตรเคมี สารเคมี ชื่ออืน่ ๆ


Al2O3 อะลูมิเนียมออกไซด์ (aluminium oxide) คอรันดัม (corundum)
Be เบอริ ลเลียม (beryllium)
CH4 มีเทน (methane)
C2H2 อะเซทิลีน (acetylene)
CaO แคลเซียมออกไซด์ (calsium oxide)
Co โคบอลต์ (cobalt)
Cr โครเมียม (chromium)
Cr2O3 โครเมียมออกไซด์ (chromium oxide)
Fe เหล็ก (iron)
Fe2O3 เหล็กออกไซด์ (iron oxide)
Gd3Ga5O12 แกโดลิเนียมแกลเลียมการ์เน็ต (gadolinium
gallium garnet, GGG)
H2 แก๊สไฮโดรเจน (hydrogen gas)
Mn แมงกานีส (manganese)
Si ซิลิกอน (silicon)
SiC มอยซาไนต์ (moissanite) เพชรโมอิส
SrTiO3 สทรอนเชียมไทเทเนต (strontium titanate) ทอโซไนต์ (tausonite)
TiO2 ไทเทเนียมออกไซด์ (titanium oxide) รู ไทล์ (rutile)
Y3Al5O12 อิดเทรี ยมอะลูมิเนียมการ์เน็ต (yttrium
aluminium garnet, YAG)
Y2O3 อิตเทรี ยมออกไซด์ (yttrium oxide)
ZrO2 คิวบิกเซอร์โคเนีย (cubic zirconia) เพชรรัสเซีย

- 33 -
คู่มือสื่ อการสอนวิชาเคมี โดยความร่ วมมือระหว่าง
สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
 

ภาคผนวก ค รายชื่อสื่ อการสอนวิชาเคมีท้ งั หมดจํานวน 77 ตอน (ประจําปี งบประมาณ 2555)

ชื่อบทเรียน ตอนที่ ชื่อตอน


บทที่ 1 1 แบบจําลองอะตอมของโบร์ และแบบจําลองอะตอมแบบกลุ่มหมอก
อะตอมและตารางธาตุ 2 การจัดอิเล็กตรอนในอะตอม
3 วิวฒั นาการของการสร้างตารางธาตุ
4 ตารางธาตุในปั จจุบนั
5 ขนาดอะตอมและรัศมีไอออน
บทที่ 2 6 แรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุลโคเวเลนต์
พันธะเคมี 7 พันธะไฮโดรเจน
8 สารโคเวเลนต์โครงผลึกร่ างตาข่าย
9 พันธะไอออนิก: การเกิดพันธะไอออนิก
10 โครงสร้างของสารไอออนิก
11 การเขียนสูตรและการเรี ยกชื่อสารประกอบไอออนิก
บทที่ 3 12 ธาตุไฮโดรเจน
สมบัติของธาตุ 13 สมบัติของธาตุแทรนซิชนั และสารประกอบ
และสารประกอบ 14 สารประกอบเชิงซ้อน
15 สมบัติของธาตุก่ ึงโลหะและสารประกอบ
16 การทํานายตําแหน่งของธาตุในตารางธาตุ
บทที่ 4 17 การเตรี ยมสารละลายและการเจือจาง
ปริ มาณสัมพันธ์ 18 สมบัติจุดเดือดและจุดเยือกแข็งของสารละลาย
19 สมการเคมีและการดุลสมการเคมี
20 มวลสารสัมพันธ์ กฎทรงมวล และ กฎสัดส่วนคงที่
21 ปริ มาณสัมพันธ์ในปฏิกิริยาที่เกี่ยวข้องกับแก๊ส
22 สารกําหนดปริ มาณ
23 ปริ มาณสัมพันธ์ในปฏิกิริยาหลายขั้นตอน
24 ผลผลิตเป็ นร้อยละ
บทที่ 5 25 ผลึกของแข็งและของแข็งอสัณฐาน
ของแข็ง ของเหลวและแก๊ส 26 การหลอมเหลวและการระเหิด
27 ทฤษฎีจลน์ของแก๊ส
28 กฎรวมแก๊ส
29 กฎแก๊สสมบูรณ์
บทที่ 6 30 ความหมายของอัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี
อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี 31 ปฏิกิริยาระหว่าง Mg กับกรด HCl

- 34 -
คู่มือสื่ อการสอนวิชาเคมี โดยความร่ วมมือระหว่าง
สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
 

ชื่อบทเรียน ตอนที่ ชื่อตอน


32 อัตราการเกิดปฏิกิริยาการสลายตัวของแก๊ส N2O5
33 พลังงานกับการดําเนินไปของปฏิกิริยาเคมี
บทที่ 7 34 กราฟการเปลี่ยนแปลงความเข้มข้นต่อเวลาของปฏิกิริยาที่ผนั กลับได้
สมดุลเคมี 35 ความสัมพันธ์ระหว่างความเข้มข้นและสารต่าง ๆ ณ ภาวะสมดุล
36 ค่าคงที่สมดุลกับสมการเคมี
37 การคํานวณเกี่ยวกับค่าคงที่สมดุล 1
38 การคํานวณเกี่ยวกับค่าคงที่สมดุล 2
บทที่ 8 39 สารละลายอิเล็กโทรไลต์และนอนอิเล็กโทรไลต์
กรด-เบส 40 สารละลายกรดและสารละลายเบส:ไอออนในสารละลาย
41 คู่กรด-เบส ตามทฤษฎีกรด-เบสของเบริ นสเตด-เลารี
42 การไทเทรตกรด-เบส: กรดแก่กบั เบสแก่
43 การไทเทรตกรด-เบส: กรดอ่อนกับเบสแก่
44 การไทเทรตกรด-เบส: กรดแก่กบั เบสอ่อน
45 การเลือกอินดิเคเตอร์ในการไทเทรตกรด-เบส
บทที่ 9 46 ประเภทของเซลล์กลั วานิก:ถ่านไฟฉาย
ไฟฟ้ าเคมี 47 เซลล์แอลคาไลน์ เซลล์ปรอทและเซลล์เงิน
เซลล์ทุติยภูมิ:เซลล์สะสมไฟฟ้ าแบบตะกัว่
48
เซลล์นิกเกิล-แคดเมียม เซลล์โซเดียม-ซัลเฟอร์
49 เซลล์อิเล็กโทรไลต์:การแยกนํ้าด้วยกระแสไฟฟ้ า
50 การแยกสารละลาย CuSO4 และ KI ด้วยกระแสไฟฟ้ า
51 การแยกสารที่หลอมเหลวด้วยกระแสไฟฟ้ า
52 การผุกร่ อนของโลหะและการป้ องกัน
การป้ องกันการผุกร่ อนโดยวิธีอะโนไดซ์ การรมดําโลหะ และการป้ องกันการ
53
ผุกร่ อนของโลหะในระบบหล่อเย็นแบบปิ ด
บทที่ 10 54 ทองแดง
ธาตุและสารประกอบ 55 สังกะสี -แคดเมียม
อุตสาหกรรม 56 แร่ รัตนชาติ 2
57 อุตสาหกรรมที่เกี่ยวกับโซเดียมคลอไรด์ เกลือ
58 โซเดียมไฮดรอกไซด์และแก๊สคลอรี น 1
59 โซเดียมไฮดรอกไซด์และแก๊สคลอรี น 2
บทที่ 11 60 สารประกอบอะโรมาติก
เคมีอินทรี ย ์ 61 สารประกอบแอลกอฮอล์
62 สารประกอบฟี นอล

- 35 -
คู่มือสื่ อการสอนวิชาเคมี โดยความร่ วมมือระหว่าง
สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
 

ชื่อบทเรียน ตอนที่ ชื่อตอน


63 สารประกอบอีเทอร์
64 สารประกอบแอลดีไฮด์
65 สารประกอบคีโตน
บทที่ 12 66 พอลิเมอร์
เชื้อเพลิงซากดึกดําบรรพ์และ 67 โครงสร้างและสมบัติของพอลิเมอร์
ผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมี 68 ปฏิกิริยาพอลิเมอไรเซชัน
69 การนําพอลิเมอร์ ไปใช้
70 ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีของผลิตภัณฑ์พอลิเมอร์ สงั เคราะห์
บทที่ 13 71 ชนิดและโครงสร้างของคาร์โบไฮเดรต
สารชีวโมเลกุล 72 สมบัติและปฏิกิริยาของคาร์โบไฮเดรต 1 – มอนอแซคคาไรด์
73 สมบัติและปฏิกิริยาของคาร์โบไฮเดรต 2 – ไดแซคคาไรด์
74 สมบัติและปฏิกิริยาของคาร์โบไฮเดรต 3 – พอลิแซคคาไรด์
75 ลิพดิ
76 ไขมันและนํ้ามัน
77 ปฏิกิริยาไฮโดรลิซิสของไขมันและนํ้ามัน – สบู่และผงซักฟอก

- 36 -

You might also like