You are on page 1of 31

แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 2

เรื่อง องค์ประกอบของสารละลาย รายวิชา วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี


รหัสวิชา ว 22101 เวลา 2 ชั่วโมง หน่วยการ
เรียนรู้ที่ 2 ชื่อหน่วยการเรียนรู้ สารละลาย
รวม 14 ชั่วโมง
กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 2 ภาคเรียนที่ 1
สาระที่ 2 ชื่อสาระ วิทยาศาสตร์กายภาพ
มาตรฐาน ว 2.1

1. มาตรฐานการเรียนรู้
ว 2.1 เข้าใจสมบัติของสาร องค์ประกอบของสสาร ความสัมพันธ์
ระหว่างสมบัติของสารกับโครงสร้างและแรงยึดเหนี่ยวระหว่างอนุภาค
หลักและธรรมชาติของการเปลี่ยนแปลงสถานะของสาร การเกิด
สารละลาย และการเกิดปฏิกิริยาเคมี
ตัวชี้วัด
ว 2.1 ม.2/4 ออกแบบการทดลองและทดลองในการอธิบายผลของ
ชนิดตัวละลาย ชนิดตัวทำละลายอุณหภูมิที่มีต่อสภาพละลายได้ของสาร
รวมทั้งอธิบายผลของความดันที่มีต่อสภาพละลายได้ของสาร โดยใช้
สารสนเทศ

2. สาระสำคัญ/ความคิดรวบยอด
1) สารละลายประกอบด้วยตัวละลายและตัวทำละลาย
2) สารละลายมีสถานะเป็ นได้ทั้งของแข็ง ของเหลว และแก็ส
3) สารละลายที่ประกอบด้วยสารที่มีสถานะต่างกัน ตัวทำละลายคือ
สารมีสถานะเหมือนกับสารละลาย ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็ นสารที่มีปริมาณมาก
ที่สุด
4) สารละลายที่ประกอบด้วยสารที่มีสถานะเหมือนกัน สารที่มี
ปริมาณมากที่สุดจัดเป็ นตัวทำละลาย ส่วนองค์ประกอบน้อยกว่าจัดเป็ นตัว
ละลาย

3. จุดประสงค์การเรียนรู้

1) ด้านความรู้ (K) นักเรียนสามารถอธิบายเกณฑ์ที่ใช้ใน


การระบุตัวละลายและตัวทำละลายได้
2) ด้านทักษะ (P) นักเรียนสามารถจำแนกตัวทำละลายและตัว
ละลายในสารละลายได้
3) ด้านเจตคติ (A) นักเรียนให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม
ร่วมกับผู้อื่นได้

4. คุณลักษณะผู้เรียน
4.1 คุณลักษณะที่พึงประสงค์

 รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์  อยู่อย่างพอเพียง  ซื่อสัตย์


สุจริต  มุ่งมั่นในการทำงาน
 มีวินัย  รักความเป็ นไทย  ใฝ่ เรียนรู้
 มีจิตสาธารณะ

5. ด้านสมรรถนะสำคัญของผู้เรียน
 ความสามารถในการคิด: นักเรียนสามารถคิด วิเคราะห์ จำแนก
ประเภทตัวละลายและตัวทำละลายได้

6. สาระการเรียนรู้
สารละลายประกอบด้วยตัวทำละลายและตัวละลาย สารละลายมี
ทั้งสถานะของแข็ง ของเหลว และแก๊ส สารละลายที่เกิดจากสารที่มีสถานะ
เดียวกัน สารที่มีปริมาณมากที่สุดจัดเป็ นตัวทำละลาย กรณีสารละลายเกิด
จากสารที่มี สถานะต่างกัน สารที่มีสถานะเดียวกันกับสารละลายและมี
ปริมาณมากที่สุดจัดเป็ นตัวทำละลาย สารละลายที่ตัวละลาย ไม่สามารถ
ละลายในตัวทำละลายปริมาณหนึ่ง ๆ ได้อีกที่อุณหภูมิและความดันหนึ่ง ๆ
เรียกว่า สารละลายอิ่มตัว สภาพละลายได้ของสารในตัวทำละลายเป็ น
ค่าที่บอกปริมาณของสารเป็ นกรัมที่ละลายได้ในตัวทำละลาย 100 กรัม จน
ได้ สารละลายอิ่มตัว ณ อุณหภูมิและความดันหนึ่ง ๆ สภาพละลายได้ของ
สารบ่งบอกความสามารถในการละลายของ ตัวละลายในตัวทำละลาย ขึ้น
อยู่กับชนิดของตัวทำละลายและตัวละลาย อุณหภูมิ และความดัน สาร
ชนิดหนึ่ง ๆ มี สภาพละลายได้แตกต่างกันในตัวทำละลายที่แตกต่างกัน
ส่วนสารต่างชนิดกันมีสภาพละลายได้ในตัวทำละลายหนึ่ง ๆ ไม่เท่ากันเมื่อ
อุณหภูมิคงที่ แต่เมื่ออุณหภูมิสูงขึ้น สภาพละลายได้ของสารส่วนมากจะ
เพิ่มขึ้น ยกเว้นแก๊สเมื่ออุณหภูมิ สูงขึ้นสภาพการละลายได้จะลดลง ส่วน
ความดันมีผลต่อสภาพละลายได้ของแก๊ส โดยเมื่อความดันเพิ่มขึ้น สภาพ
ละลาย ได้ของแก๊สจะเพิ่มขึ้น ความรู้เกี่ยวกับสภาพละลายได้ของสารเมื่อ
เปลี่ยนแปลงชนิดตัวละลายและตัวทำละลาย อุณหภูมิ และความดัน
สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวัน

7. กิจกรรมการเรียนรู้
ใช้รูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ (Inquiry
Cycles: 5Es) (2 ชั่วโมง; 120 นาที)
ขั้นที่ 1 กระตุ้นความสนใจ (Engagement) (20 นาที)
1) ครูกระตุ้นความสนใจของนักเรียน เพื่อนำเข้าสู่หน่วยการ
เรียนรู้ที่ 2 เรื่อง สารละลาย โดยเชิญชวนให้นักเรียนสังเกตยา
แก้ไอแบบน้ำเชื่อม น้ำหวาน น้ำยาบ้วนปาก หรือสังเกตภาพนำหน่วย
(หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 2 เล่ม 1
ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับ
ปรับปรุง พ.ศ. 2560) สสวท. กระทรวงศึกษาธิการ หน้า 10) และร่วมกัน
อภิปรายโดยใช้ประเด็นคำถามต่อไปนี้
- นักเรียนเคยรับประทานยาแก้ไอแบบ น้ำเชื่อมหรือไม่ ยาแก้
ไอมีลักษณะและ รสชาติอย่างไร (นักเรียนตอบได้โดยอิสระ เช่น ยาแก้ไอ
แบบน้ำเชื่อม เป็ นของเหลว สีแดงเข้ม รสหวาน)
2) ครูยกตัวอย่างประเด็นคำถามโดยใช้สารต่าง ๆ ที่มีลักษณะ
เหมือนกับยาแก้ไอ เช่น น้ำเชื่อม น้ำหวาน น้ำยาบ้วนปาก มีลักษณะ เป็ น
เนื้อเดียว ใส ไม่มีตะกอน สารดังกล่าว เป็ นสารประเภทใด และการใช้
ประโยชน์ ต้องคำนึงถึงอะไรบ้าง (นักเรียนตอบตามความเข้าใจ เช่น สาร
ดังกล่าวเป็ นสารละลาย การใช้ประโยชน์ต้อง คำนึงถึงข้อแนะนำการใช้
ปริมาณสารที่แนะนำให้ใช้) คำตอบของนักเรียนอาจจะถูกต้องหรือยังไม่ถูก
ต้องทั้งหมด ให้ครูบันทึกคำตอบไว้ก่อน และอธิบายว่า นักเรียนจะได้เรียน
รู้เกี่ยวกับองค์ประกอบของสารละลาย ปั จจัยที่มีผลต่อสภาพละลายได้
และความเข้มข้นของ สารละลายในหน่วยการเรียนรู้นี้
ขั้นที่ 2 ขั้นสำรวจและค้นหา (Exploration) (30 นาที)
3) นักเรียนอ่านเนื้อหานำหน่วย (หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐาน
วิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษา ปี ที่ 2 เล่ม 1 ตามหลักสูตรแกน
กลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560)
สสวท. กระทรวงศึกษาธิการ หน้า 10 - 11) และร่วมกันอภิปรายเพื่อให้ได้
แนวคิดว่า ยาแก้ไอแบบน้ำเชื่อม น้ำหวาน น้ำยาบ้วนปาก เป็ น
สารผสมที่ประกอบด้วยสารหลายชนิดผสมกันเป็ นเนื้อเดียว จัดเป็ น
สารละลาย การนำสารละลายไปใช้ประโยชน์ ต้องคำนึงถึงชนิดของสารที่
นำมาผสมกัน และความเข้มข้นของสารละลาย
4) ครูตั้งประเด็นคำถามโดยเขียนคำถามไว้บนกระดานและ
บันทึกคำตอบของนักเรียนไว้
- นักเรียนคิดว่าน้ำหวานที่เห็นในบัตรภาพ (แนบท้ายแผนการ
จัดการเรียนรู้) ด้วยอะไรบ้าง (นักเรียนตอบตามความเข้าใจ ของตนเอง
เช่น มีน้ำ น้ำตาล สารแต่งสีและกลิ่น และอาจมีสารอื่นที่ละลายน้ำได้)
- นักเรียนคิดว่าน้ำหวานเป็ นสารละลายหรือไม่ เพราะเหตุใด
(นักเรียนตอบตามความเข้าใจของตนเอง เช่น น้ำหวานเป็ นสารละลาย
เพราะมีน้ำตาลละลายอยู่ในน้ำหวาน)
- นอกจากน้ำหวานแล้ว รอบ ๆ ตัวเรามีอะไรอีกบ้างที่เป็ น
สารละลาย ยกตัวอย่าง (นักเรียนตอบตามความเข้าใจ ของตนเอง เช่น น้ำ
เกลือ น้ำชา)
- สารแต่ละชนิดละลายในสารอีกชนิดหนึ่งได้เท่ากันหรือไม่ ขึ้น
อยู่กับอะไร (นักเรียนตอบตามความเข้าใจของตนเอง เช่น ไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่
กับชนิดของสารที่นำมาละลายกัน อุณหภูมิ)
- สารละลายชนิดเดียวกัน เช่น น้ำหวานที่จำหน่ายในท้อง
ตลาดมีรสหวานเท่ากันหรือไม่ เพราะเหตุใด (นักเรียนตอบตามความเข้าใจ
ของตนเอง เช่น มีรสหวานไม่เท่ากัน เพราะมีปริมาณน้ำตาลไม่เท่ากัน)
5) นักเรียนอ่านเนื้อหานำบท (หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐาน
วิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษา ปี ที่ 2 เล่ม 1 ตามหลักสูตรแกน
กลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560)
สสวท. กระทรวงศึกษาธิการ หน้า 11) เพื่อหาคำตอบของคำถามที่ครูถาม
โดยเขียนตอบบนกระดาน และอภิปรายเพื่อให้ได้คำตอบที่ถูกต้อง ดังนี้
- นักเรียนคิดว่าน้ำหวานที่เห็นในภาพประกอบด้วยอะไรบ้าง
(น้ำหวานในภาพประกอบด้วยน้ำ น้ำตาล สารแต่งสี และกลิ่น)
- นักเรียนคิดว่าน้ำหวานเป็ นสารละลายหรือไม่ เพราะเหตุใด
(น้ำหวานเป็ นสารละลาย เพราะเป็ นสารผสมที่ ประกอบด้วยสารหลาย
ชนิดผสมกันเป็ นเนื้อเดียว)
- นอกจากน้ำหวานแล้ว รอบ ๆ ตัวเรามีอะไรอีกบ้างที่เป็ น
สารละลาย ยกตัวอย่าง (น้ำอัดลม น้ำยาล้างห้องน้ำ น้ำส้มสายชู น้ำยา
ล้างจาน อากาศ เหล็กกล้าไร้สนิม)
- สารแต่ละชนิดละลายในสารอีกชนิดหนึ่งได้เท่ากันหรือไม่ ขึ้น
อยู่กับปั จจัยใด (สารแต่ละชนิดละลายในสารอีกชนิด หนึ่งได้ไม่เท่ากัน ขึ้น
อยู่กับปั จจัยที่เกี่ยวข้อง เช่น ชนิดของสาร อุณหภูมิ และความดัน)
- สารละลายชนิดเดียวกัน เช่น น้ำหวาน ที่จำหน่ายในท้อง
ตลาดมีรสหวานเท่ากัน หรือไม่ เพราะเหตุใด (น้ำหวานที่จำหน่ายในท้อง
ตลาดมีรสหวานไม่เท่ากัน เพราะมี อัตราส่วนผสมระหว่างน้ำตาลกับน้ำไม่
เท่ากัน)
6) จากนั้นนักเรียนอ่านคำถามนำบทจุดประสงค์ของบทเรียน
และอภิปรายร่วมกัน เพื่อให้นักเรียนทราบขอบเขตเนื้อหาที่นักเรียนจะได้
เรียนรู้ในบทเรียน รวมทั้งเป้ าหมายการเรียนรู้ (นักเรียนจะได้เรียนรู้เกี่ยว
กับองค์ประกอบของ สารละลาย และบอกได้ว่าองค์ประกอบใดจัดเป็ นตัว
ละลายหรือตัวทำละลายในสารละลาย สภาพละลายได้ อธิบาย ผลของ
ชนิดตัวละลาย ชนิดตัวทำละลาย อุณหภูมิ และความดันที่มีผลต่อสภาพ
ละลายได้ของสาร)
ขั้นที่ 3 ขั้นอธิบายและลงข้อสรุป (Explanation) (20 นาที)
7) ครูให้นักเรียนดูภาพนำเรื่อง (หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐาน
วิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษา ปี ที่ 2 เล่ม 1 ตามหลักสูตรแกน
กลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560)
สสวท. กระทรวงศึกษาธิการ หน้า 12) แล้วตั้งประเด็นสนทนาว่า เครื่อง
ครัวที่เห็นในภาพนำทำมาจากวัสดุอะไร เพื่อให้ได้ข้อสรุปว่า ทำมาจาก
เหล็กกล้าไร้สนิม หรือ stainless steel เป็ นสารละลายที่มี สถานะเป็ น
ของแข็ง ประกอบด้วยเหล็กละลายกับธาตุหลายชนิด เพื่อให้มีสมบัติเหมาะ
สมกับการใช้งาน
8) นักเรียนทำกิจกรรมทบทวนความรู้ก่อนเรียน (หนังสือเรียน
รายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 2 เล่ม 1 ตามหลักสูตร
แกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.
2560) สสวท. กระทรวงศึกษาธิการ หน้า 12) จำนวน 3 ข้อ แล้วนำเสนอ
ผลการทำกิจกรรม หากครูพบว่า นักเรียนยังทำกิจกรรมทบทวนความรู้
ก่อนเรียน ไม่ถูกต้อง ครูควรทบทวนหรือแก้ไขความเข้าใจผิดของนักเรียน
เพื่อให้นักเรียนมีความรู้พื้นฐานที่ถูกต้องและเพียงพอที่จะเรียนในการทำ
กิจกรรมขยายความรู้ (เฉลยแนบท้ายแผนการจัดการเรียนรู้)
ขั้นที่ 4 ขั้นขยายความรู้ (Elaboration) (30 นาที)
9) ครูนำเข้าสู่กิจกรรมที่ 2.1 ระบุตัวละลายและตัวทำละลายได้
อย่างไร โดยครูตั้งประเด็นคำถามสร้างความสนใจว่านักเรียนทราบหรือไม่
ว่า จะระบุตัวละลายและตัวทำละลายได้อย่างไร ใช้เกณฑ์ใดในการระบุ ถ้า
ใช้เกณฑ์ต่างกันจะได้ผลต่างกันหรือไม่
10) นักเรียนแต่ละกลุ่มทำกิจกรรมที่ 2.1 ระบุตัวละลายและตัว
ทำละลายได้อย่างไร (หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ชั้น
มัธยมศึกษาปี ที่ 2 เล่ม 1 ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน
พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) สสวท. กระทรวง
ศึกษาธิการ หน้า 14) โดยเริ่มจากอ่านชื่อกิจกรรม จุดประสงค์ และวิธี
ดำเนินกิจกรรม และตรวจสอบความเข้าใจการอ่านโดยใช้คำถาม ดังต่อไป
นี้
- กิจกรรมนี้เกี่ยวกับเรื่องอะไร (ตัวละลายและตัวทำละลาย)
- กิจกรรมนี้มีจุดประสงค์อะไร (วิเคราะห์ข้อมูลและอธิบาย
เกณฑ์ที่ใช้ระบุตัวละลายและตัวทำละลายในสารละลาย)
- วิธีดำเนินกิจกรรมมีขั้นตอนโดยสรุปอย่างไร (วิเคราะห์สถานะ
และปริมาณเป็ นร้อยละขององค์ประกอบแต่ละชนิด ของสารละลายใน
ตาราง เพื่ออธิบายเกณฑ์ที่ใช้ในการระบุว่าองค์ประกอบใดเป็ น
ตัวละลายและตัวทำละลาย)
- นักเรียนต้องสังเกตหรือรวบรวมอะไรบ้าง (สถานะและ
ปริมาณเป็ นร้อยละขององค์ประกอบแต่ละชนิดของสารละลายในตาราง)
12) ให้นักเรียนแต่ละกลุ่มลงมือทำกิจกรรม ครูเดิน
สังเกตการณ์ทำกิจกรรมของนักเรียน พร้อมให้คำแนะนำกรณีนักเรียนมีข้อ
สงสัยในประเด็นต่าง ๆ เช่น วิธีการวิเคราะห์ข้อมูลในตารางหลังการทำ
กิจกรรม
13) ครูสุ่มนักเรียนบางกลุ่ม นำเสนอผลการทำกิจกรรม ครูควร
บันทึกผลการทำกิจกรรมของนักเรียนบนกระดานเพื่อใช้ประกอบการ
อภิปราย จากนั้นครูนำอภิปราย เพื่อวิเคราะห์ตารางข้อมูลองค์ประกอบ
ของสารแต่ละชนิด โดยใช้แนวคำถามดังต่อไปนี้
- น้ำหวาน น้ำเชื่อมเมเปิ ล และน้ำโซดา มีสารใดเป็ นตัวทำ
ละลายตามลำดับ (น้ำหวาน น้ำเชื่อม
เมเปิ ล และ น้ำโซดา มีน้ำเป็ นตัวทำละลาย)
- ตัวทำละลายของน้ำหวาน น้ำเชื่อมเมเปิ ล และน้ำโซดา มี
สถานะเหมือนหรือแตกต่างจากสถานะของสารละลาย อย่างไร (ตัวทำ
ละลายของน้ำหวาน น้ำเชื่อมเมเปิ ล และน้ำโซดา มีสถานะเหมือนกับ
สารละลายคือสถานะของเหลว)
- ตัวละลายของน้ำหวาน น้ำเชื่อมเมเปิ ล และน้ำโซดา มีสถานะ
เหมือนหรือแตกต่างจากสถานะของสารละลาย อย่างไร (ตัวละลายของ
สารละลายทั้ง 3 ชนิด มีสถานะแตกต่างจากสถานะของสารละลาย คือ
ของน้ำหวานเป็ น ของแข็ง ตัวละลายของน้ำเชื่อมเมเปิ ลเป็ นของแข็ง ตัว
ละลายของน้ำโซดาเป็ นแก๊ส)
- ถ้าสารละลายประกอบด้วยสารต่างสถานะกัน มีเกณฑ์
อย่างไรในการระบุตัวทำละลาย (ถ้าสารละลาย ประกอบด้วย
สารต่างสถานะกัน ตัวทำละลายมีสถานะเดียวกันกับสารละลาย)
- ทอง 18 K น้ำส้มสายชู อากาศ มีสารใดเป็ นตัวทำละลายตาม
ลำดับ และมีสถานะเหมือนหรือต่างจากสารละลาย อย่างไร (ทอง 18 K
ประกอบด้วยทองคำร้อยละ 75 ทองแดงร้อยละ 16 และเงินร้อยละ 9 เป็ น
ตัวละลาย ทั้งทองคำ ทองแดง และเงิน ต่างมีสถานะของแข็ง ทอง 18 K มี
ทองคำเป็ นตัวทำละลาย ซึ่งมีสถานะของแข็งเหมือนกับทอง 18 K น้ำส้ม
สายชูประกอบด้วยน้ำร้อยละ 95 กรดน้ำส้มร้อยละ 5 ทั้งน้ำและกรดน้ำส้ม
เป็ นของเหลว น้ำส้มสายชูมีน้ำ เป็ นตัวทำละลาย ซึ่งมีสถานะเดียวกันกับ
น้ำส้มสายชู อากาศประกอบด้วยไนโตรเจนร้อยละ 78 และออกซิเจน
อาร์กอน คาร์บอนไดออกไซด์ และแก๊สอื่น ๆ รวม ประมาณร้อยละ 22
ซึ่งทั้งหมดล้วนมีสถานะแก๊ส อากาศมีไนโตรเจนเป็ นตัวทำละลายและมี
สถานะเดียวกันกับ อากาศ)
- ตัวทำละลายของทอง 18 K น้ำส้มสายชู และอากาศ มี
ปริมาณเป็ นอย่างไรเมื่อเปรียบเทียบกับตัวละลายใน สารละลาย (ตัวทำ
ละลายมีปริมาณมากกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับตัวละลาย)
- ถ้าสารละลายประกอบด้วยสารที่มีสถานะเหมือนกัน มีเกณฑ์
อย่างไรในการระบุตัวทำละลาย (ถ้าสารละลาย ประกอบด้วยสารที่มี
สถานะเหมือนกัน สารที่มีปริมาณมากกว่าจัดเป็ นตัวทำละลาย
ส่วนองค์ประกอบที่เหลือจัดเป็ นตัวละลาย)
14) ให้นักเรียนตอบคำถามท้ายกิจกรรมและอภิปรายคำตอบ
ร่วมกัน เพื่อให้ได้ข้อสรุปจากกิจกรรมว่า ในการระบุตัวละลายหรือตัวทำ
ละลายในสารละลาย พิจารณาจากสถานะและปริมาณของสารองค์
ประกอบในสารละลาย สารละลายที่ประกอบด้วยสารที่มีสถานะต่างกัน
สารที่มีสถานะเหมือนกับสารละลาย ซึ่งส่วนใหญ่เป็ นสารที่มีปริมาณ มาก
ที่สุดจัดเป็ นตัวทำละลาย (solvent) ส่วนสารละลายที่ประกอบด้วยสารที่มี
สถานะเดียวกัน สารที่มีปริมาณมาก ที่สุดจัดเป็ นตัวทำละลาย สารอื่น ๆ ที่
เหลือจัดเป็ นตัวละลาย (solute)
15) ให้นักเรียนเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับเกณฑ์การระบุตัวละลาย
และตัวทำละลาย โดยอ่านเนื้อหาที่ต่อจากกิจกรรมที่ 2.1 ประกอบการ
อภิปราย (หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 2
เล่ม 1 ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551
(ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) สสวท. กระทรวงศึกษาธิการ หน้า 15) จากนั้น
ให้นักเรียนตอบคำถามระหว่างเรียน ถ้าพบว่านักเรียนยังไม่เข้าใจ ควร
อธิบายและ ยกตัวอย่างเพิ่มเติม
ขั้นที่ 5 ขั้นประเมิน (Evaluation) (20 นาที)
16) ครูประเมินการตอบคำถามหลังเรียน โดยใช้โจทย์ ปริมาณ
องค์ประกอบในอะมัลกัมในสารอุดฟั น ดังนี้
- สารใดเป็ นตัวละลาย สารใดเป็ นตัวทำละลาย ทราบได้
อย่างไร
- สารละลายอื่น ๆ ในชีวิตประจำวันที่มีสถานะเป็ นของแข็ง
ของเหลว และแก๊ส มีอะไรบ้าง ยกตัวอย่างและระบุว่ามีสารใดเป็ นตัว
ละลายและตัวทำละลาย (เฉลยแนบท้ายแผนการจัดการเรียนรู้)
17. ครูอภิปรายร่วมกับนักเรียนเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนรู้จากการ
ทำกิจกรรม 2.1 และการตอบคำถามหลังเรียน เพื่อให้ได้ข้อสรุปว่า
สารละลายเป็ นสารผสมเนื้อเดียวที่ประกอบด้วยสารบริสุทธิ์ตั้งแต่ 2 ชนิด
ขึ้นไป มีทั้งที่ เป็ นของแข็ง ของเหลว และแก๊ส องค์ประกอบของ
สารละลายจำแนกเป็ นตัวละลายและตัวทำละลาย โดยอนุภาคของ ตัว
ละลายกระจายตัวอยู่ในตัวทำละลายทั้งหมดอย่างสม่ำเสมอ สารละลายจึง
เป็ นสารเนื้อเดียว สารละลายที่เกิดจาก สารที่มีสถานะต่างกัน ตัวทำ
ละลายคือสารที่มีสถานะเหมือนกับสารละลาย สารละลายที่เกิดจากสารที่
มีสถานะ เหมือนกัน สารที่มีปริมาณมากที่สุด จัดเป็ นตัวทำละลาย ส่วน
องค์ประกอบที่เหลือจัดเป็ นตัวละลาย

8. สื่อการเรียนรู้
8.1 บัตรภาพ: แสดง ยาแก้ไอแบบน้ำเชื่อม น้ำหวาน และน้ำยา
บ้วนปาก
8.2 ใบกิจกรรม: ใบกิจกรรมหนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐาน
วิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 2 เล่ม 1 ตาม
หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน
พุทธศักราช 2551
(ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) สสวท. กระทรวง
ศึกษาธิการ หน้า 14 – 15
9. การวัดและการประเมิน

ตัวชี้วัด/ผลการ วิธีการวัด เครื่องมือวัด เกณฑ์ที่ใช้ในการ


เรียนรู้ ประเมิน
1. อธิบายเกณฑ์ - ตรวจการตอบ - คำถามหลังทำ ได้ไม่น้อยกว่า 2
ที่ใช้ในการระบุ คำถามหลังทำ กิจกรรม จำนวน 2 คะแนน
ตัวละลายและ กิจกรรม ข้อ ระดับคุณภาพดี
ตัวทำละลายได้ ถือว่าผ่าน
(ด้านความรู้: K) การประเมินด้าน
ความรู้
2. จำแนกตัวทำ - ตรวจการตอบ - คำถามท้าย ได้ไม่น้อยกว่า 2
ละลายและตัว คำถามท้าย กิจกรรมที่ 2.1 คะแนน
ละลายใน กิจกรรมที่ 2.1 ระบุตัวละลายและ ระดับคุณภาพดี
สารละลายได้ ตัวทำละลายได้ ถือว่าผ่าน
อย่างไร การประเมินด้าน
(ด้าน กระบวนการ
กระบวนการ: P)
3. ให้ความร่วม - สังเกตความ - แบบสังเกตความ ได้ไม่น้อยกว่า 2
มือในการ ร่วมมือในการทำ ร่วมมือในการทำ คะแนน
ทำกิจกรรมร่วม กิจกรรมของ กิจกรรมร่วมกับผู้ ระดับคุณภาพดี
กับผู้อื่นได้ นักเรียน อื่น ถือว่าผ่าน
(ด้านเจตคติ: A) การประเมินด้าน
เจตคติ
9.1 เกณฑ์การประเมินผลงานนักเรียน เกณฑ์การประเมิน
(Rubrics Score)

ค่าน้ำ
ประเด็นการ
หนัก แนวทางการให้คะแนน
ประเมิน
คะแนน
การให้คะแนน 3 ตอบคำถามหลังทำกิจกรรมที่ 2.1 ถูกต้อง จำนวน
ตอบ 2 ข้อ
คำตอบหลังทำ 2 ตอบคำถามหลังทำกิจกรรมที่ 2.1 ถูกต้อง จำนวน
กิจกรรม 1 ข้อ
1 ตอบคำถามหลังทำกิจกรรมที่ 2.1 ไม่ถูกต้อง
การให้คะแนน 3 ตอบคำถามท้ายกิจกรรมที่ 2.1 ถูกต้อง จำนวน 5-
ตอบ 4 ข้อ
คำตอบท้าย 2 ตอบคำถามท้ายกิจกรรมที่ 2.1 ถูกต้อง จำนวน 3-
กิจกรรม 2 ข้อ
1 ตอบคำถามท้ายกิจกรรมที่ 2.1 ถูกต้อง จำนวน 1-
0 ข้อ
ให้ความร่วมมือในทำกิจกรรมร่วมกับผู้อื่นตลอด
ทั้งคาบเรียน ไม่ก่อความวุ่นวายหรือปั ญหาที่
3 รบกวนการเรียนของผู้อื่น เช่น พูดเสียงดังโวยวาย
การให้คะแนน ลุกเดินไปมา หรือชวนผู้อื่นคุยเล่น ขณะครูทำการ
ความร่วมมือ
สอน
ในการทำกิจกรรม
2 ให้ความร่วมมือในทำกิจกรรมร่วมกับผู้อื่นเป็ นบาง
ร่วมกับผู้อื่น
ครั้งในคาบเรียน และ
ก่อความวุ่นวายหรือปั ญหาที่รบกวนการเรียนของ
ผู้อื่น เช่น พูดเสียงดังโวยวาย ลุกเดินไปมา หรือ
ชวนผู้อื่นคุยเล่น ขณะครูสอน
ไม่ให้ความร่วมมือในทำกิจกรรมร่วมกับผู้อื่น
ทำให้เกิดความวุ่นวายหรือปั ญหาที่รบกวนการ
1
เรียนของผู้อื่น เช่น พูดเสียงดังโวยวาย ลุกเดินไป
มา หรือ ชวนผู้อื่นคุยเล่น ขณะครูทำการสอน
9.2 ระดับคุณภาพ (โดยนำคะแนนรวมทุกด้าน K P A แล้วหาค่า
เฉลี่ย)

คะแนนรวมเฉลี่ย 3.00 หมายถึง ดีมาก


คะแนนรวมเฉลี่ย 2.00 - 2.99 หมายถึง ดี
คะแนนรวมเฉลี่ย 0.01 - 1.99 หมายถึง พอใช้

ดังนั้น นักเรียนต้องได้คะแนนเฉลี่ยทุกประเด็นการประเมิน
ไม่ต่ำกว่า 2.00 คะแนน แสดงระดับคุณภาพดี ถือว่าผ่านเกณฑ์การ
ประเมินในแผนการจัดการเรียนที่ 2
บันทึกหลังการสอน

หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 สารละลาย.......... ...


...
แผนการสอนเรื่อง 2 องค์ประกอบของสารละลาย.........
.........
วัน
ที่...............................เดือน...............................................................พ.ศ.
2563
1. สรุปผลการเรียนการสอน
1. นักเรียนจำนวน....................คน ผ่านจุดประสงค์การ
เรียนรู้...........คน คิดเป็ นร้อยละ.............
ไม่ผ่านจุด
ประสงค์.......................คน คิดเป็ นร้อยละ.............
ได้แก่...................................................................................
2. นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจ ( K)
………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………

3. นักเรียนมีความรู้เกิดกระบวนการ (P)
………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………..…
4. นักเรียนมีเจตคติ (A)
………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………..…
5. ข้อเสนอแนะ
………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………

(นางเจนจิรา พักตะไชย) (นายณัฐพล สุด


หนองบัว)
ครูผู้สอน หัวหน้า
กลุ่มสาระ

(นางอุษณีย์ สุริยะเดช) (นายณัฐวุฒิ แก้ว


อุดมแสน)
หัวหน้างานวิชาการ รองผู้อำนวยการโรงเรียน
กุดเรือคำพิทยาคาร

(นายสุริยงค์ ทะแพงพันธ์)
ผู้อำนวยการโรงเรียนกุดเรือคำพิทยาคาร
สื่อการเรียนรู้แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 2:
บัตรภาพ

บัตรภาพแสดง ยาแก้ไอแบบน้ำเชื่อม น้ำหวาน และน้ำยาบ้วนปาก

ยาแก้ไอแบบน้ำเชื่อม
(อ้างอิงจาก:
http://www.insacomp
any
.com/ilac/)

น้ำหวาน
(อ้างอิงจาก:
https://
kinkhaokinplakan.blo
gspot.com/2016/02/)
น้ำยาบ้วนปาก
(อ้างอิงจาก:
https://
www.sanook.com/
health/7493/)
สื่อการเรียนรู้แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 2:
ใบกิจกรรมที่ 2.1

ใบกิจกรรมที่ 2.1 ระบุตัวละลายและตัวทำละลายได้อย่างไร

กิจกรรมที่ ระบุตัวละลายและตัวทำละลายได้อย่างไร?
2.1
จุดประสงค์ วิเคราะห์ข้อมูลและอภิปรายเกณฑ์ที่ใช้ในการระบุตัว
ละลายและตัวทำละลาย
วัสดุอุปกรณ์ หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษา
ปี ที่ 2 เล่ม 1 ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้น
ฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560)
สสวท. กระทรวงศึกษาธิการ หน้า 14 - 15
วิธีดำเนิน 1. วิเคราะห์สถานะและปริมาณเป็ นร้อยละขององค์
กิจกรรม ประกอบแต่ละชนิดของสารละลายในตารางต่อไปนี้ เพื่อ
อธิบายเกณฑ์ที่ใช้ในการระบุว่าองค์ประกอบใด
เป็ นตัวละลายหรือตัวทำละลาย

ตาราง ข้อมูลองค์ประกอบของสารละลายแต่ละชนิด

สารละลาย องค์ประกอบของสารละลาย
ตัวทำละลาย ตัวละลาย
น้ำหวาน (ของเหลว) น้ำ (ของเหลว) ร้อย น้ำตาลทราย (ของแข็ง)
ละ 86 ร้อยละ 12
สารปรุงแต่ง (ของแข็ง)
ร้อยละ 2
น้ำเชื่อมเมเปิ้ล* น้ำ (ของเหลว) ร้อย น้ำตาลทราย (ของแข็ง)
(ของเหลว) ละ 33 ร้อยละ 60
น้ำตาลอื่น ๆ (ของแข็ง)
ร้อยละ 7
น้ำโซดา (ของเหลว) น้ำ (ของเหลว) ร้อย แก็สคาร์บอนไดออกไซด์
ละ 99.5 (แก็ส)
ร้อยละ 0.5
ทอง 18 เค หรือทอง ทองคำ (ของแข็ง) ทองแดง (ของแข็ง) ร้อย
ชมพู ร้อยละ 75 ละ 16
(pink gold) (ของแข็ง) เงิน (ของแข็ง) ร้อยละ 9
น้ำส้มสายชู น้ำ (ของเหลว) ร้อย กรดน้ำส้ม (ของเหลว)
(ของเหลว) ละ 95 ร้อยละ 5
อากาศ (แก็ส) ไนโตรเจน (แก็ส) ออกซิเจน (แก็ส) ร้อยละ
ร้อยละ 78 21
อาร์กอน (แก็ส) ร้อยละ
0.93
คาร์บอนไดออกไซด์
(แก็ส)
ร้อยละ 0.03
แก็สอื่น ๆ (แก็ส) ร้อย
ละ 0.04
* น้ำเชื่อมจากต้นเมเบิ้ล ได้จากการนำของเหลวที่อยู่ในท่อไซเลมจากลำต้น
ของต้นเมเบิ้ล มาเคี่ยวจนได้เป็ นน้ำเชื่อมน้ำตาลที่อยู่ในน้ำเชื่อมเมเปิ้ลส่วน
ใหญ่เป็ นน้ำตาลทราย
คำถามท้ายกิจกรรม

1. การระบุตัวละลายและตัวทำละลายในสารละลายน้ำหวาน น้ำเชื่อมเม
เปิ้ล น้ำโซดา มีเกณฑ์อย่างไร
............................................................................................................
...................................................
………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………

2. การระบุตัวละลายและตัวทำละลายในสารละลายทอง 18 เค น้ำส้ม
สายชู และอากาศ มีเกณฑ์อย่างไร
............................................................................................................
...................................................
………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………

3. ถ้าองค์ประกอบในสารละลายมีสถานะต่างกัน จะมีเกณฑ์อย่างไรในการ
ระบุว่าสารใดเป็ นตัวละลายหรือตัวทำละลาย
............................................................................................................
...................................................
………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………
4. ถ้าองค์ประกอบในสารละลายมีสถานะเหมือนกัน จะมีเกณฑ์อย่างไรใน
การระบุว่าสารใดเป็ นตัวละลายหรือตัวทำละลาย
............................................................................................................
...................................................
………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………

5. จากกิจกรรม สรุปได้ว่าอย่างไร
............................................................................................................
...................................................
………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………

สื่อการเรียนรู้แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 2: ใบ

กิจกรรมที่ 2.1
เฉลยใบกิจกรรมที่ 2.1 ระบุตัวละลายและตัวทำละลายได้อย่างไร

คำถามท้ายกิจกรรม

1. การระบุตัวละลายและตัวทำละลายในสารละลายน้ำหวาน น้ำเชื่อม
เมเปิ้ล น้ำโซดา มีเกณฑ์อย่างไร
สถานะของสาร

2. การระบุตัวละลายและตัวทำละลายในสารละลายทอง 18 เค น้ำส้ม
สายชู และอากาศ มีเกณฑ์อย่างไร
ปริมาณของสาร

3. ถ้าองค์ประกอบในสารละลายมีสถานะต่างกัน จะมีเกณฑ์อย่างไรใน
การระบุว่าสารใดเป็ นตัวละลายหรือตัวทำละลาย
ถ้าสารละลาย ประกอบด้วยสารต่างสถานะกัน ให้ใช้ตัวทำละลายมี
สถานะเดียวกันกับสารละลาย

4. ถ้าองค์ประกอบในสารละลายมีสถานะเหมือนกัน จะมีเกณฑ์อย่างไร
ในการระบุว่าสารใดเป็ นตัวละลายหรือตัวทำละลาย
ถ้าสารละลาย ประกอบด้วยสารที่มีสถานะเหมือนกัน สารที่มีปริมาณ
มากกว่าจัดเป็ นตัวทำละลาย
ส่วนองค์ประกอบที่เหลือ จัดเป็ นตัวละลาย

5. จากกิจกรรม สรุปได้ว่าอย่างไร
ในการระบุตัวละลายหรือตัวทำละลายในสารละลาย พิจารณาจาก
สถานะและปริมาณของสารองค์ประกอบในสารละลาย สารละลายที่
ประกอบด้วยสารที่มีสถานะต่างกัน สารที่มีสถานะเหมือนกับสารละลาย
ซึ่งส่วนใหญ่เป็ นสารที่มีปริมาณ มากที่สุดจัดเป็ นตัวทำละลาย (solvent)
ส่วนสารละลายที่ประกอบด้วยสารที่มีสถานะเดียวกัน สารที่มีปริมาณมาก
ที่สุดจัดเป็ นตัวทำละลาย สารอื่น ๆ ที่เหลือจัดเป็ น ตัวละลาย
(solute)
แนบท้ายแผนการจัดการเรียนรู้ที่ 2:
เฉลยกิจกรรมการจัดการเรียนรู้

เฉลยกิจกรรมทบทวนความรู้ก่อนเรียน

(หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 2 เล่ม 1


ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับ
ปรับปรุง พ.ศ. 2560) สสวท. กระทรวงศึกษาธิการ หน้า 12) จำนวน 3 ข้อ

เขียนเครื่องหมาย ✓ หน้าข้อความที่ถูกต้อง และเขียนเครื่องหมาย ✕


หน้าข้อความที่ไม่ถูกต้อง
 สารละลายมีทั้งที่เป็ นสารเนื้อเดียวและสารเนื้อผสม
ไม่ถูกต้อง เพราะสารละลายเป็ นสารเนื้อเดียวเสมอ
 สาร 2 ชนิดเมื่อผสมเป็ นเนื้อเดียวกันแสดงว่าเกิดการละลายกัน
ไม่ถูกต้อง เพราะสาร 2 ชนิดเมื่อผสมเป็ นเนื้อเดียวกันอาจไม่
เกิดการละลาย แต่เกิด
ปฏิกิริยาเคมีได้
 น้ำแข็งเมื่อเปลี่ยนเป็ นน้ำแสดงว่ามีการละลายเกิดขึ้น
ไม่ถูกต้อง เพราะน้ำแข็งเปลี่ยนเป็ นน้ำ เป็ นการเปลี่ยนสถานะ
จากของแข็งเป็ นของเหลว เรียกว่า การหลอมเหลว
แนบท้ายแผนการจัดการเรียนรู้ที่ 2:
เฉลยกิจกรรมการจัดการเรียนรู้

เฉลยคำถามหลังเรียน

(หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 2 เล่ม 1


ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับ
ปรับปรุง พ.ศ. 2560) สสวท. กระทรวงศึกษาธิการ หน้า 16) จำนวน 2 ข้อ

โจทย์ ปริมาณองค์ประกอบในอะมัลกัมในสารอุดฟั น ดังนี้

1. สารใดเป็ นตัวละลาย สารใดเป็ นตัวทำละลาย ทราบได้อย่างไร


แนวคำตอบ อะมัลกัมอุดฟั น (ของแข็ง) มีเงิน (ของแข็ง) เป็ นตัวทำ
ละลาย มีปรอท (ของเหลว) ดีบุก (ของแข็ง) ทองแดง (ของแข็ง) และ
ของแข็งอื่น ๆ เป็ นตัวละลาย โดยพิจารณาจากสถานะของอะมัลกัมอุดฟั น
ซึ่งเป็ นสารละลายที่มีสถานะเป็ นของแข็ง เงินซึ่งมีสถานะเดียวกับอะมัลกั
มอุดฟั นและเป็ นของแข็งที่มีปริมาณมากที่สุด จัดเป็ นตัวทำละลาย ส่วน
สารอื่น ๆ จัดเป็ นตัวละลาย
2. สารละลายอื่น ๆ ในชีวิตประจำวันที่มีสถานะเป็ นของแข็ง ของเหลว
และแก๊ส มีอะไรบ้าง ยกตัวอย่างและระบุว่ามีสารใดเป็ นตัวละลายและ
ตัวทำละลาย
แนวคำตอบ ตัวอย่างสารละลายอื่น ๆ ในชีวิตประจำวัน เช่น
สารละลายที่มีสถานะเป็ นของแข็ง เช่น ทองเหลืองชนิดหนึ่ง
ประกอบด้วยทองแดงกับสังกะสี ในอัตราส่วนโดยมวลของทองแดง :
สังกะสี เท่ากับ 5 : 95 โดยสังกะสีเป็ นตัวทำละลาย ทองแดงเป็ นตัวละลาย
(ทองเหลืองชนิดอื่นอาจมีอัตราส่วนโดยมวลของทองแดง : สังกะสีต่างจาก
นี้ ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์การใช้งาน) สารละลายที่มีสถานะเป็ น
ของเหลว เช่น แอลกอฮอล์ล้างแผล ประกอบด้วยไอโซโพรพิลแอลกอฮอล์
และน้ำ ในอัตราส่วนโดยปริมาตรของไอโซโพรพิลแอลกอฮอล์ : น้ำ เท่ากับ
70 : 30 โดยไอโซโพรพิลแอลกอฮอล์เป็ นตัวทำละลาย และน้ำเป็ นตัว
ละลาย
สารละลายที่มีสถานะเป็ นแก๊ส เช่น แก๊สหุงต้ม ประกอบด้วย
แก๊สโพรเพนและบิวเทนในอัตราส่วนโดยปริมาตรของโพรเพน : บิวเทน
เท่ากับ 70 : 30 โดยโพรเพนเป็ นตัวทำละลายและบิวเทนเป็ น
ตัวละลาย

You might also like