You are on page 1of 28

แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 3

เรื่อง สารละลายอิ่มตัว รายวิชา วิทยาศาสตร์


พื้นฐาน 3 รหัสวิชา ว 22101 เวลา 2 ชั่วโมง
หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 ชื่อหน่วยการเรียนรู้ สารละลาย รวม 14
ชั่วโมง
กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 2 ภาคเรียนที่ 1
สาระที่ 2 ชื่อสาระ วิทยาศาสตร์กายภาพ
มาตรฐาน ว 2.1

1. มาตรฐานการเรียนรู้
ว 2.1 เข้าใจสมบัติของสาร องค์ประกอบของสสาร ความสัมพันธ์
ระหว่างสมบัติของสารกับโครงสร้างและแรงยึดเหนี่ยวระหว่างอนุภาค
หลักและธรรมชาติของการเปลี่ยนแปลงสถานะของสาร การเกิด
สารละลาย และการเกิดปฏิกิริยาเคมี
ตัวชี้วัด
ว 2.1 ม.2/4 ออกแบบการทดลองและทดลองในการอธิบายผลของ
ชนิดตัวละลาย ชนิดตัวทำละลายอุณหภูมิที่มีต่อสภาพละลายได้ของสาร
รวมทั้งอธิบายผลของความดันที่มีต่อสภาพละลายได้ของสาร โดยใช้
สารสนเทศ

2. สาระสำคัญ/ความคิดรวบยอด
1) สารละลายที่ตัวละลายไม่สามารถละลายในตัวทำละลายได้อีก ที่
อุณหภูมิหนึ่ง ๆ เรียกว่า
สารละลายอิ่มตัว
2) สภาพละลายได้ของสารในตัวทำละลาย เป็ นค่าที่บอกปริมาณของ
สารที่ละลายได้ในตัวทำละลาย 100 กรัม จนได้สารละลายอิ่มตัว ณ
อุณหภูมิและความดันหนึ่ง ๆ
3) สารชนิดหนึ่ง ๆ มีสภาพละลายได้แตกต่างกันในตัวทำละลายที่
แตกต่างกัน และสารต่างชนิดกันมีสภาพละลายได้ในตัวทำละลายหนึ่ง ๆ
ไม่เท่ากัน

3. จุดประสงค์การเรียนรู้

1) ด้านความรู้ (K) นักเรียนสามารถอธิบายลักษณะการ


ละลายของสารได้
2) ด้านทักษะ (P) นักเรียนมีทักษะการจัดกระทำและสื่อความ
หมายข้อมูลตารางบันทึกการทดลอง เรื่อง สารละลาย
อิ่มตัวคืออะไรได้
3) ด้านเจตคติ (A) นักเรียนให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม
ร่วมกับผู้อื่นได้
4. คุณลักษณะผู้เรียน
4.1 คุณลักษณะที่พึงประสงค์
 รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์  อยู่อย่างพอเพียง  ซื่อสัตย์
สุจริต  มุ่งมั่นในการทำงาน
 มีวินัย  รักความเป็ นไทย  ใฝ่ เรียนรู้
 มีจิตสาธารณะ
5. ด้านสมรรถนะสำคัญของผู้เรียน
 ความสามารถในการคิด: นักเรียนสามารถคิด วิเคราะห์ สังเกต
ลักษณะการละลายของสารได้
 ความสามารถในการสื่อสาร: นักเรียนสามารถคิด ออกแบบสื่อสาร
ข้อมูลการทดลองได้

6. สาระการเรียนรู้
สภาพการละลายได้ (solubility) หมายถึง ความสามารถในการ
ละลายได้ของตัวทำละลายจนอิ่มตัว ซึ่งนอกจากจะขึ้นอยู่กับชนิดของตัว
ละลายและตัวทำละลายแล้วยังขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมอื่นๆ อีก ได้แก่
อุณหภูมิ และความดัน เช่น สภาพการละลายของโซเดียมคลอไรด์ในน้ำ
100 กรัม ณ อุณหภูมิ 20 องศาเซลเซียส เท่ากับ 36.0 กรัม แต่ถ้าเพิ่ม
อุณหภูมิเป็ น 60 องศาเซลเซียส สภาพการละลายจะเปลี่ยนไปคือ ละลาย
ได้เพิ่มขึ้นเป็ น 37.3 กรัม ส่วนการละลายของแก๊สจะละลายได้มากขึ้นถ้า
อุณหภูมิลดลงและความดันเพิ่มมากขึ้น เช่น การละลายของแก๊ส
คาร์บอนไดออกไซด์ในน้ำอัดลม
ความสามารถในการละลายของสาร ณ อุณหภูมิเดียวกัน สารแต่ละ
ชนิดละลายไม่เท่ากัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปั จจัยดังนี้คือ 1) ชนิดของตัวทำละลาย
2) ชนิดของตัวถูกละลาย 3) ความดัน ในกรณีที่ตัวถูกละลายมีสถานะเป็ น
ก๊าซ ถ้าความดันเพิ่มจะละลายได้มากขึ้น และ 4) อุณหภูมิความสามารถใน
การละลายของสารบางชนิดเพิ่มขึ้น เมื่ออุณหภูมิเพิ่ม แต่บางชนิดละลายได้
น้อยลง (ตกตะกอนผลึกออกมา) เมื่ออุณหภูมิเพิ่ม ดังกราฟปริมาณตัวถูก
ละลายกับอุณหภูมิ
การละลายได้ (solubility) ในสารละลายของเหลว ที่อุณหภูมิหนึ่งๆ
ปริมาณของตัวถูกละลายที่สามารถละลายในตัวทำละลายได้ จะมีปริมาณ
จำกัด โดยเรียกสารละลายที่ตัวถูกละลายไม่สามารถละลายเพิ่มได้อีกว่า
สารละลายอิ่มตัว (saturated solution)
โดยปริมาณของตัวถูกละลายที่ละลายได้ในสารละลายอิ่มตัว ณ ที่
อุณหภูมิหนึ่ง ๆ เรียกว่า การละลายได้ (solubility) เช่น เกลือแกง (NaCl)
o
ละลายในน้ำ 100 ลูกบาศก์เซนติเมตร ที่อุณหภูมิ 100 C สามารถละลาย
ได้ 39.1 กรัม แต่ถ้าใส่เกลือไปมากกว่านี้ ส่วนที่เหลือก็จะไม่ละลายใน
สารละลายที่อิ่มตัว ตัวถูกละลายจะมีอัตราการละลายจะเท่ากับอัตราการก
ลับคืนมาเป็ นของแข็ง เพราะฉะนั้น ความเข้มข้นของสารละลายของ
สารละลายที่อิ่มตัวจะคงที่ ตัวถูกละลายที่ไม่สามารถละลายจะไม่ทำให้
ความเข้มข้นของสารละลายเปลี่ยนแปลงแต่อย่างใด ถ้าตัวทำละลายเป็ น
น้ำ โดยทั่วไปนิยมบอกหน่วย หรือปริมาณของการละลายได้ของตัวถูก
ละลายเป็ นกรัม (g) ในตัวทำละลายน้ำ 100 กรัม นอกจากนั้น การละลาย
ได้ของตัวถูกละลายจะขึ้นอยู่กับปั จจัยหลายประการ เช่น ธรรมชาติของตัว
ทำละลายและตัวถูกละลาย อุณหภูมิ และความดัน เป็ นต้น
(อ้างอิงข้อมูลจาก: เว็บไซด์คลังความรู้ SciMath สถาบันส่งเสริมการสอน
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)
กระทรวงศึกษาธิการ
https://www.scimath.org/lesson-chemistry/item/7178-
solubility)
7. กิจกรรมการเรียนรู้
ใช้รูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ (Inquiry
Cycles: 5Es) (2 ชั่วโมง; 120 นาที)
ขั้นที่ 1 กระตุ้นความสนใจ (Engagement) (20 นาที)
1) ครูสร้างความสนใจแก่นักเรียนโดยแสดงบัตรภาพ หรือเล่า
เหตุการณ์เกี่ยวกับสารละลายอิ่มตัว เพื่อให้นักเรียนพิจารณา เช่น การเตรี
ยมน้ำเชื่อม การทำผลไม้เชื่อม ผลไม้แช่อิ่มในท้องถิ่นของนักเรียน การนำ
ผลไม้เชื่อมไปแช่เย็นแล้วพบว่ามีเกล็ดน้ำตาลเกิดขึ้น ครูอาจใช้ คำถามว่า
ปรากฏการณ์นี้เกิดขึ้นได้อย่างไร มีปั จจัยอะไรบ้างที่เกี่ยวข้อง หรือถ้า
ต้องการทำน้ำเชื่อมให้เข้มข้นมาก ๆ จะทำได้อย่างไร
2) ให้นักเรียนดูภาพนำเรื่อง (หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐาน
วิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 2 เล่ม 1 ตามหลักสูตรแกนกลางการ
ศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) สสวท.
กระทรวงศึกษาธิการ หน้า 17) ซึ่งเป็ นภาพน้ำเชื่อม อ่านเนื้อหานำเรื่องที่
เกี่ยวกับการเตรียมน้ำเชื่อม และอ่านคำสำคัญ
3) นักเรียนตอบคำถามกิจกรรมทบทวนความรู้ก่อนเรียน
จำนวน 3 ข้อ
- สารละลายเกิดจากสาร 2 ชนิดขึ้นไปละลายเข้าด้วยกันใน
อัตราส่วนผสมต่าง ๆ
- สารละลายที่มีสถานะเป็ นของเหลวจะมีน้ำเป็ นตัวทำละลาย
- สารละลายที่มีสถานะเป็ นแก๊ส แก๊สที่มีปริมาณมากที่สุดเป็ น
ตัวทำละลาย
(เฉลยแนบท้ายแผนการจัดการเรียนรู้)
4) ครูตรวจสอบความรู้เดิมของนักเรียนเกี่ยวกับสภาพละลาย
ได้และปั จจัยที่มีผลต่อสภาพละลายได้ โดยตั้งประเด็นคำถามว่า นักเรียน
คนหนึ่งละลายเกลือแกงในน้ำ พบว่ามีเกลือแกงบางส่วนไม่ละลาย ถ้า
ต้องการให้เกลือแกงละลายหมดควรทำอย่างไร (นักเรียนตอบคำถามตาม
ความเข้าใจ) โดยครูจะไม่เฉลยคำตอบ โดยครูนำข้อมูลจากความรู้เดิมของ
นักเรียนนี้ไปใช้ในการวางการทำกิจกรรมเพื่อทดสอบความเข้าใจ
ขั้นที่ 2 ขั้นสำรวจและค้นหา (Exploration) (40 นาที)
5) ครูนำเข้าสู่กิจกรรม 2.2 สารละลายอิ่มตัวคืออะไร (หนังสือ
เรียนรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 2 เล่ม 1 ตาม
หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับ
ปรับปรุง พ.ศ. 2560) สสวท. กระทรวงศึกษาธิการ หน้า 18) โดยใช้
ประเด็นคำถามสร้างความสนใจว่า ถ้าละลายตัวละลายจำนวน
มากในน้ำ แล้วตัวละลายจะละลายหมดหรือไม่ เพราะเหตุใด (นักเรียน
ตอบคำถามตามความเข้าใจ)
6) นักเรียนอ่านชื่อกิจกรรม จุดประสงค์ และวิธีดำเนินกิจกรรม
และตรวจสอบความเข้าใจการอ่านโดยใช้ประเด็นคำถาม ดังต่อไปนี้
- กิจกรรมนี้เกี่ยวกับเรื่องอะไร (สารละลายอิ่มตัว)
- กิจกรรมนี้มีจุดประสงค์อะไร (สังเกตและบรรยายการละลาย
ของสาร)

- วิธีดำเนินกิจกรรมมีขั้นตอนโดยสรุปอย่างไร (เติมโซเดียม
ไฮโดรเจนคาร์บอเนตครั้งละ 1 ช้อนเบอร์หนึ่งลงใน น้ำ 20 ลูกบาศก์
เซนติเมตร ใช้แท่งแก้วคนจนละลายหมด และเติมเพิ่มลงไปทีละช้อนจน
โซเดียมไฮโดรเจน คาร์บอเนตเริ่มละลายไม่หมด สังเกตและบันทึกจำนวน
ช้อนของโซเดียมไฮโดรเจนคาร์บอเนตที่ใช้ทั้งหมด)
- ครูแนะนำการตวงสารด้วยช้อนตักสารที่ถูกต้อง โดยใช้ช้อน
ตักสารขึ้นมา จากนั้นปาดสารให้เสมอกับ ขอบช้อนโดยไม่ออกแรงกดด้วย
ด้ามช้อนตักสารอีกคันหนึ่ง
- ครูเน้นให้นักเรียนใช้แท่งแก้วคนของเหลวในบีกเกอร์จน
โซเดียมไฮโดรเจนคาร์บอเนตละลาย สังเกตการเปลี่ยนแปลงแล้วจึงเติมลง
ไปอีกทีละช้อน เมื่อสังเกตเห็นสารละลายเหลืออยู่จึงหยุดเติม (ครูควรแจ้ง
นักเรียนให้ทราบว่าปริมาณสารที่จัดให้เพียงพอต่อการทำกิจกรรมแล้ว ไม่
สามารถขอเพิ่มได้อีก เพื่อให้นักเรียนตระหนักถึงความรับผิดชอบต่อสิ่ง
แวดล้อม)
- ข้อควรระวังในการทำกิจกรรมมีอะไรบ้าง (ละลายโซเดียม
ไฮโดรเจนคาร์บอเนตจนหมดก่อนแล้วจึงเติมตัวละลายเพิ่มลงไปอีกทีละ
ช้อนจนเริ่มละลายไม่หมด จึงหยุดเติมตัวละลาย และหากมีสารเหลือ
ห้ามเทสารกลับลงในขวดสารเคมี)
- นักเรียนต้องสังเกตหรือรวบรวมอะไรบ้าง (สังเกตการละลาย
ของโซเดียมไฮโดรเจนคาร์บอเนตในน้ำ และบันทึกจำนวนช้อนของโซเดียม
ไฮโดรเจนคาร์บอเนตที่ใช้ทั้งหมด)
7) นักเรียนแต่ละกลุ่มลงมือทำกิจกรรม โดยครูเดิน
สังเกตการณ์ทำกิจกรรมของนักเรียน พร้อมให้คำแนะนำกรณีนักเรียนมีข้อ
สงสัยในประเด็นต่าง ๆ เช่น วิธีการสังเกตว่าโซเดียมไฮโดรเจนคาร์บอเนต
ละลายหมดหรือยัง วิธีนับจำนวนช้อนที่ตวงโซเดียมไฮโดรเจนคาร์บอเนต
ทั้งหมด โดยเริ่มนับตั้งแต่ช้อนแรกที่เติมลงไป ใช้แท่งแก้วคนจนละลายหมด
แล้ว จึงเติมช้อนที่สอง ทำซ้ำจนกระทั่งสารไม่ละลาย นับจำนวนช้อน
เฉพาะที่สารละลายจนหมดโดยไม่ต้องนับช้อนสุดท้ายที่ละลายไม่หมด
ขั้นที่ 3 ขั้นอธิบายและลงข้อสรุป (Explanation) (30 นาที)
8) นักเรียนนำเสนอข้อมูลผลการทำกิจกรรม โดยออกแบบ
ตารางบันทึกผลการทดลอง และบันทึกข้อมูลที่ได้จากการทดลองลงใน
ตารางที่ออกแบบ และร่วมกันภายในกลุ่มตรวจสอบผล อภิปราย ผลการ
ทดลอง และหาสาเหตุที่ทำให้ผลการทำกิจกรรมคลาดเคลื่อน เช่น การตัก
สาร การเติมสารในขณะที่ยังละลาย ไม่หมด และตอบคำถามท้าย
กิจกรรม (เฉลยแนบท้ายแผนการจัดการเรียนรู้)
9) ครูใช้คำถามท้ายกิจกรรม เป็ นแนวทางเพื่อให้ได้ข้อสรุปจาก
กิจกรรมว่า เมื่อเติมโซเดียมไฮโดรเจนคาร์บอเนตซึ่งเป็ นของแข็งสีขาวลงใน
น้ำ ใช้แท่งแก้วคน สารจะละลายจนหมด แสดงว่า โซเดียมไฮโดรเจน
คาร์บอเนตละลายน้ำได้ เมื่อเติมโซเดียมไฮโดรเจนคาร์บอเนตลงไปเรื่อย ๆ
จะพบว่าสารละลายได้ช้าลง จนกระทั่งมีโซเดียมไฮโดรเจนคาร์บอเนตเหลือ
อยู่ที่ก้นบีกเกอร์ แสดงว่าโซเดียมไฮโดรเจนคาร์บอเนตละลายไม่หมด เรียก
สารละลายที่ตัวละลายไม่สามารถละลายได้หมดในตัวทำละลายปริมาณ
หนึ่ง ๆ ว่า สารละลายอิ่มตัว

ขั้นที่ 4 ขั้นขยายความรู้ (Elaboration) (40 นาที)


10) 4. ให้นักเรียนเรียนรู้เพิ่มเติม โดยอ่านเนื้อหา (หนังสือเรียน
รายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 2 เล่ม 1 ตามหลักสูตร
แกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.
2560) สสวท. กระทรวงศึกษาธิการ หน้า 19) จากนั้นร่วมกันอภิปราย เพื่อ
ให้ได้ข้อสรุปว่า สารละลายอิ่มตัว (saturated solution) เป็ นสารละลายที่
ตัวละลายไม่สามารถละลายได้หมด โดยปริมาณมากที่สุดของ
ตัวละลายที่สามารถละลายได้ในตัวทำละลายจำนวนหนึ่ง เรียกว่า สภาพ
ละลายได้ของสาร (solubility) โดยทั่วไป สภาพละลายได้ของสารในน้ำมี
หน่วยเป็ น กรัมของ สารต่อน้ำ 100 กรัม (g/100 g ) นอกจากนี้อาจ
water

พบเห็นในหน่วยอื่นได้ เช่น กรัมต่อลิตร


12) ให้นักเรียนเรียนรู้เพิ่มเติม โดยอภิปรายร่วมกันเกี่ยวกับ
สารละลายอิ่มตัว โดยใช้ตาราง 2.1 สภาพละลายได้ของสารบางชนิดใน
น้ำ 100 กรัมที่อุณหภูมิ 20 องศาเซลเซียส (หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐาน
วิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 2 เล่ม 1 ตามหลักสูตรแกนกลางการ
ศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) สสวท.
กระทรวงศึกษาธิการ หน้า 19)
ขั้นที่ 5 ขั้นประเมิน (Evaluation) (50 นาที)
13) ครูประเมินการเรียนรู้ของนักเรียนเรื่องสภาพละลายได้
โดยให้นักเรียนตอบคำถามหลังเรียนในหนังสือเรียน (หนังสือเรียนรายวิชา
พื้นฐานวิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 2 เล่ม 1 ตามหลักสูตรแกนกลาง
การศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560)
สสวท. กระทรวงศึกษาธิการ หน้า 19) จำนวน 2 ข้อ (เฉลยแนบ
ท้ายแผนการจัดการเรียนรู้) จากนั้นร่วมกันอภิปรายเพื่อให้ได้ข้อสรุปว่า
สภาพละลายได้ของสารแต่ละชนิดในน้ำ 100 กรัมที่อุณหภูมิ 20 องศา
เซลเซียส มีค่าไม่เท่ากัน และถ้านำ สารปริมาณมากกว่าสภาพ
ละลายได้มาละลายในน้ำ 100 กรัมที่อุณหภูมิ 20 องศาเซลเซียส จะมีสาร
ส่วนหนึ่ง ไม่ละลาย โดยสังเกตว่า ตาราง 2.1 ระบุอุณหภูมิ
กับสภาพละลายได้ของสารในน้ำไว้ แสดงว่า อุณหภูมิมีผลต่อสภาพละลาย
ได้ของสาร

8. สื่อการเรียนรู้
8.1 บัตรภาพ: แสดงการเตรียมน้ำเชื่อม การทำผลไม้เชื่อม
ผลไม้แช่อิ่ม
8.2 ใบกิจกรรม: ใบกิจกรรมหนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐาน
วิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 2 เล่ม 1 ตาม
หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน
พุทธศักราช 2551
(ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) สสวท. กระทรวง
ศึกษาธิการ หน้า 18 – 19
8.3 วัสดุอุปกรณ์การทดลอง: โซเดียมไฮโดรเจนคาร์บอเนต, น้ำกลั่น,
3
บีกเกอร์ขนาด 50 cm ,
ช้อนตักสารเบอร์หนึ่ง, แท่งแก้วคนสาร

9. การวัดและการประเมิน

ตัวชี้วัด/ผลการ วิธีการวัด เครื่องมือวัด เกณฑ์ที่ใช้ในการ


เรียนรู้ ประเมิน
1. อธิบาย - ตรวจการตอบ - คำถามท้าย ได้ไม่น้อยกว่า 2
ลักษณะการ คำถามท้าย กิจกรรมที่ 2.2 คะแนน
ละลายของสาร กิจกรรมที่ 2.2 จำนวน 4 ข้อ และ ระดับคุณภาพดี
ได้ และ คำถามหลัง คำถามหลังเรียน ถือว่าผ่าน
(ด้านความรู้: K) เรียน จำนวน 2 ข้อ การประเมินด้าน
รวมทั้งหมด 6 ข้อ ความรู้
2. ทักษะการจัด - ตรวจการ - แบบประเมินการ ได้ไม่น้อยกว่า 2
กระทำและสื่อ ออกแบบ ตาราง จัดกระทำและสื่อ คะแนน
ความหมาย บันทึกผลการ ความหมายตาราง ระดับคุณภาพดี
ข้อมูล ทดลอง เรื่อง บันทึกผลการ ถือว่าผ่าน
(ด้าน สารละลายอิ่มตัว ทดลอง การประเมินด้าน
กระบวนการ: P) คืออะไรได้ กระบวนการ
3. ให้ความร่วม - สังเกตความ - แบบสังเกตความ ได้ไม่น้อยกว่า 2
มือในการ ร่วมมือในการทำ ร่วมมือในการทำ คะแนน
ทำกิจกรรมร่วม กิจกรรมของ กิจกรรมร่วมกับผู้ ระดับคุณภาพดี
กับผู้อื่นได้ นักเรียน อื่น ถือว่าผ่าน
(ด้านเจตคติ: A) การประเมินด้าน
เจตคติ

9.1 เกณฑ์การประเมินผลงานนักเรียน เกณฑ์การประเมิน


(Rubrics Score)

ค่าน้ำ
ประเด็นการ
หนัก แนวทางการให้คะแนน
ประเมิน
คะแนน
การให้คะแนน 3 ตอบคำถามท้ายกิจกรรมและคำถามระหว่างเรียน
ตอบ ถูกต้อง จำนวน 6-5 ข้อ
คำตอบหลังทำ 2 ตอบคำถามท้ายกิจกรรมและคำถามระหว่างเรียน
กิจกรรม ถูกต้อง จำนวน 4-3 ข้อ
1 ตอบคำถามท้ายกิจกรรมและคำถามระหว่างเรียน
ถูกต้อง จำนวน 2-1 ข้อ
การให้คะแนน 3 ออกแบบตารางบันทึกผลการทดลองได้ดี มีการนำ
การจัดกระทำ เสนอข้อมูลเข้าใจง่าย
และสื่อความ มีลำดับขั้นตอน ระบุชื่อตารางบันทึกผลการ
หมายตาราง ทดลอง หัวเรื่องตารางบันทึกผลและบันทึกผลการ
บันทึกผล ทดลองได้ถูกต้อง ครบถ้วน
การทดลอง 2 ออกแบบตารางบันทึกผลการทดลองได้ มีการนำ
เสนอข้อมูลเข้าใจง่าย
มีลำดับขั้นตอน ระบุชื่อตารางบันทึกผลการ
ทดลอง หัวเรื่องตารางบันทึกผลแต่บันทึกผลการ
ทดลองไม่ถูกต้อง
1 ออกแบบตารางบันทึกผลการทดลองได้ แต่การนำ
เสนอข้อมูลเข้าใจยาก
ไม่มีลำดับขั้นตอน ไม่ระบุชื่อตารางบันทึกผลการ
ทดลอง ไม่มีหัวเรื่องตารางบันทึกผล และบันทึก
ผลการทดลองไม่ถูกต้อง

ค่าน้ำ
ประเด็นการ
หนัก แนวทางการให้คะแนน
ประเมิน
คะแนน
ให้ความร่วมมือในทำกิจกรรมร่วมกับผู้อื่นตลอด
ทั้งคาบเรียน ไม่ก่อความวุ่นวายหรือปั ญหาที่
3 รบกวนการเรียนของผู้อื่น เช่น พูดเสียงดังโวยวาย
การให้คะแนน ลุกเดินไปมา หรือชวนผู้อื่นคุยเล่น ขณะครูทำการ
ความร่วมมือ สอน
ในการทำ ให้ความร่วมมือในทำกิจกรรมร่วมกับผู้อื่นเป็ นบาง
กิจกรรม ครั้งในคาบเรียน และ
ร่วมกับผู้อื่น 2 ก่อความวุ่นวายหรือปั ญหาที่รบกวนการเรียนของ
ผู้อื่น เช่น พูดเสียงดังโวยวาย ลุกเดินไปมา หรือ
ชวนผู้อื่นคุยเล่น ขณะครูสอน
ไม่ให้ความร่วมมือในทำกิจกรรมร่วมกับผู้อื่น
ทำให้เกิดความวุ่นวายหรือปั ญหาที่รบกวนการ
1
เรียนของผู้อื่น เช่น พูดเสียงดังโวยวาย ลุกเดินไป
มา หรือ ชวนผู้อื่นคุยเล่น ขณะครูทำการสอน

9.2 ระดับคุณภาพ (โดยนำคะแนนรวมทุกด้าน K P A แล้วหาค่า


เฉลี่ย)
คะแนนรวมเฉลี่ย 3.00 หมายถึง ดีมาก
คะแนนรวมเฉลี่ย 2.00 - 2.99 หมายถึง ดี
คะแนนรวมเฉลี่ย 0.01 - 1.99 หมายถึง พอใช้

ดังนั้น นักเรียนต้องได้คะแนนเฉลี่ยทุกประเด็นการประเมิน
ไม่ต่ำกว่า 2.00 คะแนน แสดงระดับคุณภาพดี ถือว่าผ่านเกณฑ์การ
ประเมินในแผนการจัดการเรียนที่ 3
บันทึกหลังการสอน
หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 สารละลาย.......... ...
...
แผนการสอนเรื่อง 3 สารละลายอิ่มตัว....... ..
.........
วัน
ที่...............................เดือน...............................................................พ.ศ.
2563
1. สรุปผลการเรียนการสอน
1. นักเรียนจำนวน....................คน ผ่านจุดประสงค์การ
เรียนรู้...........คน คิดเป็ นร้อยละ.............
ไม่ผ่านจุด
ประสงค์.......................คน คิดเป็ นร้อยละ.............

ได้แก่...................................................................................
2. นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจ ( K)
………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………..…
3. นักเรียนมีความรู้เกิดกระบวนการ (P)
………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………..…
4. นักเรียนมีเจตคติ (A)
………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………..…
5. ข้อเสนอแนะ
………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………
(นางชนิสรา พักตะไชย) (นาง
เย็นใจ เคนทวาย)
ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะชำนาญการ หัวหน้ากลุ่ม
สาระการเรียนรู้
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

(นางอุษณีย์ สุริยะเดช) (นาย


ณัฐวุฒิ แก้วอุดมแสน)
หัวหน้างานวิชาการ รองผู้อำนวย
การโรงเรียนกุดเรือคำพิทยาคาร

(นายสุริยงค์ ทะแพงพันธ์)
ผู้อำนวยการโรงเรียนกุดเรือคำพิทยาคาร

สื่อการเรียนรู้แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 3:
บัตรภาพ

บัตรภาพแสดง การเตรียมน้ำเชื่อม การทำผลไม้เชื่อม ผลไม้แช่อิ่ม


น้ำเชื่อม
(อ้างอิงจาก:
https://www.bloggan
g.com/mainblog.php?
id=toytokyo&month=
05-03-
2008&group=3&gblog
=38)

ผลไม้เชื่อม (กล้วยเชื่อม)
(อ้างอิงจาก:
https://
food.mthai.com/
dessert/121212.html)

ผลไม้แช่อิ่ม (มะม่วงแช่
อิ่ม)
(อ้างอิงจาก:
https://1th.me/79bs)
สื่อการเรียนรู้แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 3: ใบ
กิจกรรมที่ 2.2

ใบกิจกรรมที่ 2.2 ระบุตัวละลายและตัวทำละลายได้อย่างไร


หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 2 เล่ม 1 ตาม
หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง
พ.ศ. 2560) สสวท. กระทรวงศึกษาธิการ หน้า 18 -19

กิจกรรมที่ ระบุตัวละลายและตัวทำละลายได้อย่างไร?
2.2
จุดประสงค์ สังเกตลักษณะและบรรยายการละลายของสาร
วัสดุอุปกรณ์ 1. โซเดียมไฮโดรเจนคาร์บอเนต (ผงฟู)
2. น้ำกลั่น
3
3. บีกเกอร์ขนาด 50 cm ,
4. ช้อนตักสารเบอร์หนึ่ง
5. แท่งแก้วคนสาร
วิธีดำเนิน 1. สังเกตลักษณะของโซเดียมไฮโดรเจนคาร์บอเนต
กิจกรรม 2. ใส่น้ำ 20 ลูกบาศก์เซนติเมตร ลงในบีกเกอร์ขนาด 50
ลูกบาศก์เซนติเมตร
จากนั้นเติมโซเดียมไฮโดรเจนคาร์บอเนต ใช้แท่งแก้ว
คนจนโซเดียมไฮโดรเจนคาร์บอเนตละลายหมด
3. เติมโซเดียมไฮโดรเจนคาร์บอเนต เพิ่มลงไปทีละ 1
ช้อน คนสารทุกครั้งที่เติม
หยุดเติมเมื่อสังเกตเห็นโซเดียมไฮโดรเจนคาร์บอเนต
เหลืออยู่ นับจำนวนช้อนของโซเดียมไฮโดรเจน
คาร์บอเนตที่ใช้ตั้งแต่เริ่มต้น จนเริ่มละลายไม่หมด
4. ออกแบบตารางบันทึกผลการทดลอง และบันทึกผล

คำถามท้ายกิจกรรม

1. เมื่อเติมโซเดียมไฮโดรเจนคาร์บอเนตลงในน้ำ เกิดการเปลี่ยนแปลง
อย่างไร
2. ใช้โซเดียมไฮโดรเจนคาร์บอเนตทั้งหมดกี่ช้อน ตั้งแต่เริ่มต้นจนเริ่มเห็น
โซเดียมไฮโดรเจนคาร์บอเนตเหลืออยู่
3. สารละลายโซเดียมไฮโดรเจนคาร์บอเนตเริ่มอิ่มตัว เมื่อใช้โซเดียม
ไฮโดรเจนคาร์บอเนตกี่ช้อน ทราบได้อย่างไร
4. จากกิจกรรม สรุปได้ว่าอย่างไร

สื่อการเรียนรู้แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 3: ใบ
กิจกรรมที่ 2.2

เฉลยใบกิจกรรมที่ 2.2 ระบุตัวละลายและตัวทำละลายได้อย่างไร

คำถามท้ายกิจกรรม
1. เมื่อเติมโซเดียมไฮโดรเจนคาร์บอเนตลงในน้ำ เกิดการเปลี่ยนแปลง
อย่างไร
แนวคำตอบ เมื่อเติมโซเดียมไฮโดรเจนคาร์บอเนตลงในน้ำ เกิดการ
เปลี่ยนแปลงคือโซเดียมไฮโดรเจน
คาร์บอเนตจะละลายหายไปในน้ำ และเมื่อเติมต่อไปเรื่อย ๆ โซเดียม
ไฮโดรเจนคาร์บอเนตจะค่อย ๆ ละลาย
หายไปอย่างช้า ๆ และเมื่อถึงปริมาณหนึ่งโซเดียมไฮโดรเจนคาร์บอเนตบาง
ส่วนไม่ละลาย ยังคงปรากฏเป็ น
ของแข็งอยู่ที่ก้นบีกเกอร์
2. ใช้โซเดียมไฮโดรเจนคาร์บอเนตทั้งหมดกี่ช้อน ตั้งแต่เริ่มต้นจนเริ่มเห็น
โซเดียมไฮโดรเจนคาร์บอเนตเหลืออยู่
แนวคำตอบ เมื่อเติมโซเดียมไฮโดรเจนคาร์บอเนตลงในน้ำประมาณ
5 ช้อนเบอร์หนึ่ง จะเริ่มเห็นโซเดียมไฮโดรเจนคาร์บอเนตเหลืออยู่ที่ก้นบีก
เกอร์
3. สารละลายโซเดียมไฮโดรเจนคาร์บอเนตเริ่มอิ่มตัว เมื่อใช้โซเดียม
ไฮโดรเจนคาร์บอเนตกี่ช้อน ทราบได้อย่างไร
แนวคำตอบ สารละลายโซเดียมไฮโดรเจนคาร์บอเนตเริ่มอิ่มตัวเมื่อ
เติมโซเดียมไฮโดรเจนคาร์บอเนตจำนวน 5 ช้อน เห็นได้จากมีโซเดียม
ไฮโดรเจนคาร์บอเนตบางส่วนเหลืออยู่ที่ก้นบีกเกอร์เมื่อเติมลงไป 5 ช้อน
4. จากกิจกรรม สรุปได้ว่าอย่างไร
แนวคำตอบ จากกิจกรรม สรุปได้ว่า เมื่อเติมโซเดียมไฮโดรเจน
คาร์บอเนตลงในสารละลายไปเรื่อย ๆ ในที่สุดโซเดียมไฮโดรเจน
คาร์บอเนตจะไม่สามารถละลายได้อีก สารละลายที่ไม่สามารถละลายตัว
ละลายได้หมดเรียกว่า สารละลายอิ่มตัว
สื่อการเรียนรู้แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 3: ใบ
กิจกรรมที่ 2.2

ตัวอย่างการออกแบบตารางบันทึกผลการทดลอง

ชื่อตาราง: ตารางแสดงสภาพละลายได้ของสารโซเดียมไฮโดรเจน
คาร์บอเนตในน้ำ 20 ลูกบาศก์เซนติเมตร

จำนวนช้อน
ของโซเดียมไฮโดรเจน ผลการสังเกต
คาร์บอเนต
1 ของแข็งสีขาวหายไปหมดอย่างรวดเร็ว ได้
ของเหลวใส ไม่มีสี
2 ของแข็งสีขาวหายไปหมดอย่างรวดเร็ว ได้
ของเหลวใส ไม่มีสี
3 ของแข็งสีขาวค่อย ๆ หายไปหมด เนื่องจากการ
ละลายของสารช้าลง
ได้ของเหลวใส ไม่มีสี
4 ของแข็งสีขาวหายไปหมดอย่างช้า ๆ ได้
ของเหลวใส ไม่มีสี
5 ของแข็งสีขาวหายไปบางส่วน มีบางส่วนเหลือ
อยู่ในของเหลวใส ไม่มีสี
แนบท้ายแผนการจัดการเรียนรู้ที่ 3: เฉลย
กิจกรรมการจัดการเรียนรู้

เฉลยคำถามทบทวนความรู้ก่อนเรียนในขั้นกระตุ้นความสนใจ

(หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 2 เล่ม 1


ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับ
ปรับปรุง พ.ศ. 2560) สสวท. กระทรวงศึกษาธิการ หน้า 17) จำนวน 3 ข้อ

เขียนเครื่องหมาย ✓ หน้าข้อความที่ถูกต้อง และเขียนเครื่องหมาย ✕


หน้าข้อความที่ไม่ถูกต้อง

☑ สารละลายเกิดจากสาร 2 ชนิดขึ้นไปละลายเข้าด้วยกันใน
อัตราส่วนผสมต่าง ๆ
 สารละลายที่มีสถานะเป็ นของเหลวจะมีน้ำเป็ นตัวทำละลาย
ไม่ถูกต้อง เพราะสารละลายที่มีสถานะเป็ นของเหลวอาจมี
ของเหลวอื่น ๆ เช่น เอทานอล
เป็ นตัวทำละลาย

☑ สารละลายที่มีสถานะเป็ นแก๊ส แก๊สที่มีปริมาณมากที่สุดเป็ นตัวทำ


ละลาย
แนบท้ายแผนการจัดการเรียนรู้ที่ 3: เฉลย
กิจกรรมการจัดการเรียนรู้

เฉลยคำถามหลังเรียนในขั้นประเมินความรู้

(หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 2 เล่ม 1


ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษา
ขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) สสวท.
กระทรวงศึกษาธิการหน้า 19) จำนวน 2 ข้อ

ตาราง 2.1 สภาพละลายได้ของสารบางชนิดในน้ำ 100 กรัม ที่อุณหภูมิ


20 องศาเซลเซียส

สาร สภาพละลายได้ของสาร (กรัมต่อน้ำ 100


กรัม)
ที่อุณหภูมิ 20 องศาเซลเซียส
น้ำตาลทราย 202
กลูโคส 90
เกลือแกง (โซเดียมคลอ 36
ไรด์)
ดินประสิว 32
(โพแทสเซียมไนเตรด)
จุนสี (คอปปเปอร์ (II) 32
ซัลเฟต)
ผงฟู (โซเดียมไฮโดรเจน 10
คาร์บอเนต)

จากตารางที่ 2.1 พบว่าสภาพละลายได้ของกลูโคสมีค่าเท่ากับ 90


กรัมต่อน้ำ 100 กรัมที่อุณหภูมิ 20 องศาเซลเซียส หมายความว่า ที่
อุณหภูมิ 20 องศาเซลเซียส น้ำ 100 กรัม สามารถละลายกลูโคสได้มาก
ที่สุด 90 กรัม ซึ่งทำให้สารละลายอิ่มตัวพอดี ถ้านำกลูโคสมากกว่า 90
กรัม เช่น 110 กรัมมาละลายในน้ำ 100 กรัมที่อุณหภูมินี้ กลูโคสจะละลาย
ได้เพียง 90 กรัม และเหลือ 20 กรัม ที่ไม่สามารถละลายได้ และตกตะกอน
อยู่ในสารละลาย

เฉลยคำถามระหว่างเรียน
1. จากตาราง 2.1 สารใดละลายได้มากที่สุดในน้ำที่อุณหภูมิ 20 องศา
เซลเซียส
แนวคำตอบ จากตาราง 2.1 น้ำตาลทรายละลายได้มากที่สุดที่
อุณหภูมิ 20 องศาเซลเซียส คือ 202 กรัมในน้ำ 100 กรัม
2. ถ้าใช้น้ำ 300 กรัมจะสามารถละลายจุนสีได้สูงสุดกี่กรัม จึงจะได้
สารละลายอิ่มตัวพอดีที่อุณหภูมิ 20
องศาเซลเซียส
แนวคำตอบ ถ้าใช้น้ำ 300 กรัมจะสามารถละลายจุนสีได้สูงสุด 96
กรัม จะได้สารละลายอิ่มตัวพอดีที่อุณหภูมิ 20 องศาเซลเซียส

แนบท้ายแผนการจัดการเรียนรู้ที่ 3: VDO ปฏิบัติการทาง


วิทยาศาสตร์สำหรับครูผู้สอน
อ้างอิงจาก

เว็บไซต์คลังความรู้ SciMath สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และ


เทคโนโลยี (สสวท.)
กระทรวงศึกษาธิการ เผยแพร่เมื่อ : วันพฤหัสบดี 28 กุมภาพันธ์ 2562

สาธิตการทดลองเรื่อง สารละลายอิ่มตัว

ตัวอย่างการจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เพื่อให้นักเรียน
หาคำตอบว่าสารละลายอิ่มตัวคืออะไร โดยให้ทำกิจกรรมเพื่อสังเกตการ
เปลี่ยนแปลงของสารเมื่อสารเกิดการอิ่มตัว เหมาะสำหรับนักเรียนระดับ
มัธยมศึกษาตอนต้น

ลิขสิทธิ์ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)


ผู้แต่ง หรือ เจ้าของผลงาน สาขาวิทยาศาสตร์ภาคบังคับ
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา วิทยาศาสตร์ทั่วไป
ระดับชั้น ม.2
กลุ่มเป้ าหมาย ครู

You might also like