You are on page 1of 3

แบบ โครงงาน-01

แบบเสนอโครงการ (Project proposal)


ประกอบการเรียนรายวิชาสิ่งแหล่งพลังงานทางเลือก ภาคการศึกษาที่ 1 ปีการศึกษา 2564
______________________________________________________________________________________________
1. ชื่อโครงการวิจัย (ภาษาไทย) การผลิตถ่านจากกะลามะพร้าว
(ภาษาอังกฤษ) Charcoal production from coconut shells

2. งบประมาณของโครงการ

500 บาท

3. คณะผู้ทำโครงการ
3.1 นายวสุพล ดวงอรุณ หัวหน้าโครงการ
3.2 นางสาว ธัญญลักษณ์ ภาคทอง
3.3 นาย ภาคภูมิ ตุนละนิตย์
3.4 นาย สรวิศ ช่วยระเทพ
3.5 นาย ปฐพี การะยะ
3.6 นาย วัฒนชัย รัตนพันธ์

4. ความสำคัญและที่มาของปัญหาที่ทำการวิจัย
ปัจจุบันประเทศไทยมีอัตราการใช้พลังงานเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยแหล่งพลังงานในประเทศมีอัตราการผลิต
ไม่เพียงพอกับอัตราการใช้ จึงมีความจ้าเป็นในการน้าเข้าพลังงาน (สำนักนโยบาย และแผนพลังงาน, 2556) ดังนั้นควรมี
แหล่งพลังงานเพื่อทดแทนการน้าเข้าพลังงานจากต่างประเทศ โดยพลังงานทดแทนจากชีวมวลเป็นทางเลือกหนึ่ งที่
ประเทศไทยมีศักยภาพในการผลิต วัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรมาผลิตเป็นเชื้อเพลิงชีวมวลอัดแท่ง เช่น ทางมะพร้าว
เปลือกทุเรียน ต้นไมยราบยักษ์ ซังและเปลือกข้าวโพด เป็นต้นน้ามาทดแทนในครัวเรือน ถึงแม้ว่าปัจจุบันมีครัวเรือนใช้
การหุงต้มจากไฟฟ้า และแก๊ส หากแต่ในบางท้องที่ บางครัวเรือนหรือบางกิจการก็ยังต้องอาศัยถ่านในการหุงต้ม
ภูมิปัญญาท้องถิ่นของไทย เป็นภูมิปัญญาชาวบ้าน เป็นองค์ความรู้ที่แสดงให้เห็นถึงความมีศักยภาพของบุคคล
ชุมชน ในการดำรงชีวิต ภูมิปัญญาเหล่านี้ ถือว่าเป็นประโยชน์ต่อครอบครัว ชุมชนสังคมและสิ่งแวดล้อม ผลผลิตหรือ
นวัตกรรมจากภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านต่างๆ นำมาซึ่งการพัฒนาคุณภาพชีวิต อนุรักษ์ระบบนิเวศและสิ่งแวดล้อมจาก
สถานการณ์วิกฤตพลังงานและสภาวะโลกร้อนในปัจจุบัน การคิดค้นรูปแบบของพลังงานทดแทนที่เกิดจากการบูรณาการ
องค์ความรู้ของคนไทยผสมผสานกับทรัพยากรและพลังงานที่มีอยู่ในธรรมชาติ จึงเป็นกระแสทางเลือกที่น่าสนใจ น่า
พัฒนาเพื่อให้เกิดความยั่งยืนด้านการใช้พลังงานภายในประเทศ ตลอดจนลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกสู่บรรยากาศ
ได้ด้วย
มะพร้าวและผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับมะพร้าว มีบทบาทและความสำคัญต่อเศรษฐกิจของชุมชนในหลายพื้นที่
และพื้นที่บางส่วนของจังหวัดสุราษฎร์ธานี มะพร้าวและผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับมะพร้าว เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นและเป็น
สินค้าส่งออกแพร่กระจายไปทั่วประเทศ และทำรายได้อย่างสำคัญให้กับเกษตรกรชาวสวนมะพร้าว การจำหน่ายมะพร้าว
โดยเฉพาะเนื้อมะพร้าวส่งโรงงานอุตสาหกรรม เกษตรกรชาวสวนมะพร้าวหรือผู้ประกอบการต้องปอกเปลือกมะพร้าว
และกะเทาะกะลา ทำให้เกิดวัสดุเหลือทิ้งคือ น้ำมะพร้าว กะลาและเปลือกมะพร้าว ซึ่งถือเป็นปัญหาหนึ่งทางด้าน
สิ่งแวดล้อม การแสวงหาแนวทางการใช้ประโยชน์จากกะลามะพร้าวนอกจากจะเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มแล้ว ยังสามารถ
ลดค่าใช้จ่ายในการกำจัดหรือขนย้ายได้ ถ้ามีการนำมาใช้เป็นแหล่งเชื้อเพลิงพลังงานความร้อน สามารถลดอัตราการใช้
ความร้อนจากพลังงานไฟฟ้าในครัวเรือนได้ กะลามะพร้าว ถ่านกะลามะพร้าวถูกนำมาใช้อย่างกว้างขวาง เพื่อเป็น
เชื้อเพลิงทั้งในระดับครัวเรือนและเป็นเชื้อเพลิงในระดับอุตสาหกรรมหรือถูกนำไปใช้ในการผลิตเป็นถ่านที่เรียกว่าถ่านกัม
มันต์ (Activated Carbon) ซึ่งถ่านกัมมันต์นี้มีข้อดีเป็นพิเศษคือ เป็นวัสดุที่สามารถดูดซึมโมเลกุลบางชนิดได้ ใช้
ประโยชน์ด้านการดูดซับกลิ่น ที่พบเห็นกันบ่อยคือ ถ่านที่ใส่ในเครื่องกรองน้ำ ในกล่องดูดกลิ่นของตู้เย็นบางรุ่น ในเครื่อง
ฟอกอากาศ หรือใช้ในหน้ากากกันแก๊สพิษ ฯลฯ

5. วัตถุประสงค์ของโครงการ
5.1เพื่อศึกษาบริบท แนวคิด หลักการ หลักฐานทางภูมิปัญญาตลอดจนการจัดการความรู้เกี่ยวกับการผลิตถ่าน
จากกะลามะพร้าว
5.2.เพื่อสร้างบทเรียนวิทยาศาสตร์จากภูมิปัญญาท้องถิ่นโดยใช้เทคนิคการวิจัยแบบมีส่วนร่วมที่เกี่ยวข้องกับการใช้
ประโยชน์และสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่กะลามะพร้าวและลดอัตราการใช้เชื้อเพลิงความร้อนจากซากดึกดำบรรพ์สำหรับการ
ประกอบอาหาร
5.3. เพื่อพัฒนาและผลิตถ่านกะลาที่มีประสิทธิภาพสูง โดยที่เตาเผาเตาเผาชีวมวล สามารถช่วยลดค่าใช้จ่ายในครัวเรือน
จากการซื้อเชื้อเพลิงความร้อน
6. ทฤษฎีสมมุติฐาน และกรอบแนวความคิดของโครงการและการทบทวนวรรณกรรม
การเผาถ่านด้วยเตาชีวมวล ต้องมีชีวมวลวัตถุดิบ (feedstock) และชีวมวลเชื้อเพลิง (fuel) โดยวัตถุดบิ คือชีว
มวลที่จะผลิตถ่าน เช่น ไม้ไผ่ กะลามะพร้าว กะลาตาลโตนด และเศษไม้ยางพารา เป็นต้น ส่วนวัตถุเชื้อเพลิงเป็นชีวมวลที่
เป็นไม้เนื้อแข็งและถ่าน ทั้งวัตถุดบิ และวัตถุเชื้อเพลิงควรมีความแห้ง เนื่องจากเผาได้ง่ายเกิดมลพิษต่ำและได้ผลผลิตทีม่ ี
คุณภาพสูง ให้ถ่านที่คงรูปเหมือนก่อนเผา มีคาร์บอนสูง ความชื้นต่ำ และได้ถ่านมากกว่า 95%การเผาถ่านกะลามะพร้าว
ให้ได้ถ่านที่มีคณ
ุ ภาพสูง มีคาร์บอนสูง คงรูปเหมือนก่อนเผามากกว่า 50% ความชื้นต่ำประมาณ 5% โดยน้ำหนัก และได้
ถ่านมากกว่า 95% ของผลผลิตของแข็ง (ถ่านและเถ้า)
7. เอกสารอ้างอิง
Souvenir . (2564). ถ่านกะลามะพร้าวอัดแท่ง. (ออนไลน์)
ศิริชัย ต่อสกุล . (2564). การพัฒนาถ่านอัดแท่งจากกากมะพร้าวเป็นพลังงานทดแทน. (ออนไลน์)
พรสถิตย์ . (2564). การวิเคราะห์ค่าความร้อน ค่าคงตัวของถ่าน ค่าของสารระเหย ของวัสดุต่างๆ. (ออนไลน์)
วิรัช ชื่นวาริน. (2564). การผลิตถ่านและคุณภาพของถ่านจากไม้ป่าชายเลน. (ออนไลน์)
ศิวพงษ์กาญจนวิภาพร ,ไพโรจน์ธนานุภาพพันธุ์ และพงศ์คณิต พงษ์พิทักษ์ . (2546). เชื้อเพลิงอัดแท่งจากถ่าน
กะลามะพร้าว.
8. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
8.1. การนำเศษวัสดุเหลือใช้มาทำให้เกิดประโยชน์
8.2. ลดการใช้พลังงานสิ้นเปลือง
8.3. ประหยัดค่าใช้จ่ายในครัวเรือน
9. นวัตกรรมที่คาดว่าจะเกิดขึ้น
ถ่านกะลามะพร้าวที่มีคณ ุ ภาพสามารถใช้ในครัวเรือนได้
10. วิธีการดำเนินการ
10.1 ศึกษาค้นคว้าข้อมูลเกี่ยวกับถ่านกะลามะพร้าว
10.2 ออกแบบวิธีการผลิตถ่านกะลามะพร้าว
10.3 ดำเนินการผลิตถ่านกะลามะพร้าว
10.4 ทดสอบประสิทธิภาพของถ่านกะลามะพร้าว
10.5 สรุปและรายงานผล
11. แผนการดำเนินงาน
สัปดาห์
แผนการดำเนินงาน
1 2 3 4 5 6 7
1. ศึกษาค้นคว้าหาข้อมูลที่เกี่ยวข้อง
2. ออกแบบวิธีการดำเนินการ
3. ดำเนินการผลิตถ่านกะลามะพร้าว
4. ทดสอบประสิทธิภาพของถ่านกะลามะพร้าว
5. สรุปและรายงานผล
12. งบประมาณของโครงการวิจัย
รายการ จำนวนเงิน (บาท)
1. ค่าเดินทาง 200
2.ค่าใช้จ่ายอื่นๆ 300
รวมงบประมาณ 500

13. ผลสำเร็จที่คาดว่าจะได้รับ
13.1 ชุมชนได้ใช้ถ่านกะลามะพร้าวเพื่อลดการใช้พลังงานสิ้นเปลือง
13.2 ได้นำวัสดุเหลือใช้ไปทำให้เกิดประโยชน์
14. ลงลายมือชื่อ หัวหน้าโครงการ พร้อมวัน เดือน ปี
ลงชื่อ
( )
หัวหน้าโครงการ
....30.../...ธันวาคม.../...2564...

You might also like