You are on page 1of 10

ทำไมค่ า t จากการทดสอบ Paired-

Samples T-Test ติดลบ


 Written by จักรพงษ์ แผ่ นทอง in ทำผลงาน คศ.2-3 on มีนาคม 13, 2020
เนื่องมีมีค ำถามเข้ามาเยอะครับ ก็เลยจะเขียนบทความเพื่อเอาไว้ตอบคำถามนี้ และผมจะทำคลิปวิดีโออธิ บายประกอบ
ด้วยเลย บางคนอาจจะคำนวณค่า t-test ตัวนี้จาก excel หรื อบางคนอาจจะคำนวณจาก SPSS ก็แล้วแต่ ค่า t ตัว
นี้มนั ติดลบได้ไหม หรื อมันจำเป็ นต้องเป็ นบวกอย่างเดียว บทความนี้ มีค ำตอบให้ครับ

pair-sample t-test เอาไว้ หาอะไร


ต้องบอกก่อนว่า pair-sample t-test เอาไว้เปรียบเทียบค่ าเฉลีย่ ของสองกลุ่ม เน้นว่า สองกลุ่มนะครับ เพราะ
บางคนจะเข้าใจว่า เอาไปใช้กบั 3 กลุ่มหรื อมากกว่านั้นได้ ซึ่งอันนั้นเขาเรี ยกว่า one-way anova อะไรก็วา่ ไป
ครับ ซึ่งไม่ใช้เนื้อหาในบทความนี้

เมื่อต้องการเปรี ยบเทียบค่าเฉลี่ยของสองกลุ่ม แต่เงื่อนไขมีอยูว่ า่  สองกลุ่มนั้นต้ องไม่ เป็ นอิสระต่ อกัน หมายความว่า


ต้องเกี่ยวข้องกันนัน่ เอง ที่เห็นชัดที่สุดคือ เป็ นกลุ่มตัวอย่างเดียวกันไปเลย แต่มีการทดสอบก่ อนเรียนและหลังเรียน เรา
จะเห็นว่า ก่อนเรี ยนกับหลังเรี ยนเป็ นคนเดียวกันตอบแบบสอบถามนัน่ เองครับ เราจึงนิยมเอา pair sample t-
test มาทดสอบกับคะแนนหรื อผลสัมฤทธิ์ ทางการเรี ยน ก่อนและหลัง

ก่อนหา pair sample t-test ต้ องหาอะไรก่ อน


ก่อนจะหาค่านี้ หรื อเปรี ยบเทียบค่าเฉลี่ยของสองกลุ่มนี้ เราต้องแน่ใจก่อนว่า ข้อมูลของเรา เป็ นการแจกแจง
ปกติ หมายความทางสถิติคือ ค่าเฉลี่ย = ค่ามัธยฐาน = ค่าฐานนิยม ซึ่งจะให้มนั เปะๆ ขนาดนั้นก็คงเป็ นไปได้ยากมาก
เอาเป็ นว่า ถ้าค่าเหล่านั้นมันใกล้ๆ ถือว่าใช้ได้ แต่จะมีเครื่ องมือใน SPSS เอาไว้ตรวจสอบ normality ซึ่ง
บทความนี้ไม่ได้เน้นเรื่ องนี้ แต่มีบทความที่ผมเคยเขียนเอาไว้เกี่ยวกับการทดสอบนี้ อยูค่ รับ ลองไปศึกษาดู อย่างที่กล่าว
ไว้ต้ งั แต่แรกว่า บทความนี้ จะมาดูค่า t ว่าทำไมมันต้องเป็ นลบได้ดว้ ย

ทำไม t ที่หาได้ เป็ นลบ


หลังจากที่พบว่าข้อมูลของเราเป็ นการแจกแจงปกติแล้ว ขั้นตอนถัดไป คือ การหาค่า t ในขั้นตอนนี้ เราจะเอาคะแนนค่ า
หลังเรียนลบก่ อนเรียน เป็ นคู่ๆ ไป มันคือค่าผลต่างเรี ยกว่า ค่า d ก็แล้วกัน

จากภาพประกอบ เราจะเห็นว่า d ตัวแรกคือ 2 เกิดจากนำคะแนนหลังเรี ยน 7 ลบด้วย 5 นัน่ เอง ทำเช่นนี้ไปเรื่ อยๆ


และหาผลรวมของค่า d ได้เท่ากับ 12 เมื่อหาค่าเฉลี่ยของค่า d ก็นำเอา 12 หารด้วย 10 จะได้ 1.2

จากนั้นหาส่ วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของค่า d จะหาโดยสูตรหรื อใช้ excel ก็วา่ ไป ข้อมูลจากด้านบนจะหาค่าส่ วนเบี่ยง


เบนมาตรฐานได้ 1.033

คราวนี้เราแทนค่าสูตร เพื่อหาค่า t กัน

t=d¯Sdn√
t=1.21.03310√=3.674
10 คือจำนวนตัวอย่างของเราครับ ซึ่งตัวอย่างนี้มี 10 ตัวนัน่ เอง

จะเห็นว่าค่า t ที่ได้ เป็ นค่ าบวก

เมื่อพิจารณาที่สูตรเราจะพบว่า ค่า t มีโอกาสติดลบได้ ถ้าเราหา d จากการเอาคะแนนก่ อนเรียนลบหลังเรียนเป็ น


คู่ๆ เป็ นดังภาพครับ
เนื่องจาก ส่ วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและรู ทของ n มีค่าบวกเสมอ ดังนั้น ถ้า d เฉลี่ยเป็ นลบ ก็ยอ่ มทำให้ t ติดลบไปได้
และจะได้ค่าคำนวณออกมาดังนี้

t=−1.21.03310√=−3.674
เราจะเห็นว่าจะเอาก่อนเรี ยน หรื อหลังเรี ยนอันไหนลบกัน แต่สุดท้ายค่าสัมบูรณ์ของค่า t จะเท่ากันอยูด่ ีครับ เรา
สามารถทำได้ ท้งั สองแบบ

แต่เวลาที่เราเอาไปตัดสิ นใจทางสถิติเราจะเอาค่าสัมบูรณ์ของมัน แล้วไปเปิ ดตาราง t distribution ตัวอย่างด้านบน


ถูกตั้งค่าแอลฟา หรื อ นัยสำคัญไว้ที่ 0.01 เมื่อเปิ ดตารางคู่กบั df (ดีกรี ออฟฟรี ดอม) = n-1 =9 เราจะพบว่า ค่า t
มากกว่า ทำให้ปฎิเสธสมมติฐานหลัก ยอมรับสมมติฐานรอง นัน่ ค่า ค่ าเฉลีย่ หลังเรียนสู งกว่ าก่ อนเรียนอย่ างมีนัยสำคัญ
ที่ระดับ 0.01

|t|(3.674)>t.01,9(2.821)
ค่า t ที่เปิ ดตารางเปิ ดได้ดงั ภาพ
ค่ า t ที่ได้ จากโปรแกรม SPSS
ค่า t ดังกล่าวสามารถหาจาก SPSS ดังนี้ครับ เมื่อเปิ ดโปรแกรมแล้ว ให้สร้างตัวแปรสองตัว คือ pretest และ
posttest ครับ
จากนั้นกรอกข้อมูล คะแนนให้ครบ ในหน้า data view
ต่อไป ไปที่เมนู Analyze > Compare Means > Paired-Samples T Test
เอาตัวแปรใส่ เข้าไป ครับตรง varible1 เป็ น pretest ส่ วน Variable2 เป็ น posttest
เอาตัวแปรเข้าแล้ว ไปที่ options จากนั้นกรอกเลขนัยสำคัญที่หรื อค่าแอลฟาที่ตอ้ งการทดสอบ หากต้องการค่า
0.01 ก็ตอ้ งเลือก 99% ถ้าต้องการ นัยสำคัญ 0.05 ก็เลือก 95% จากนั้นคลิก continue แล้วคลิก OK

จะได้ตารางผลการทดสอบดังนี้
จะเห็นว่า ค่า t เป็ น -3.674 ซึ่งมีคา่ sig. เท่ากับ 0.005 ถ้าเราการทดสอบทางเดียวเอาค่า sig. หารสองได้
เท่ากับ 0.0025 < 0.01 (นัยสำคัญที่ต้ งั ไว้) ถ้าน้อยกว่า แสดงว่า sig ครับ หรื อปฎเสธสมมติบฐานหลัก ยอมรับ
สมมติฐานรอง และสรุ ปผลว่า

ผลการเรี ยนหลังเรี ยนสู งกว่ าก่ อนเรี ยนอย่ างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01


เราจะเห็นว่า ค่า t ที่ได้เป็ นลบ แต่ถา้ ต้องการค่าบวกก็สามารถทำได้เช่นกัน โดยการสลับตัวแปรใน variable1 และ
variable2 ครับ ดังภาพ
หลังจากทดสอบแล้วจะได้ดงั ภาพ และจะเห็นว่า ค่า t มีค่าเป็ นบวกได้ครับ ซึ่งผลการทดสอบค่า sig. ก็ได้เช่นเดียวกัน
กับกรณี ดา้ นบน

สรุป : การทดสอบ Paired Samples T Test จะคำนวณด้ วยมือหรื อโปรแกรม SPSS ค่ า t อาจจะเป็ น
บวกหรื อลบก็ได้ ไม่ ใช่ เรื่ องสำคัญ ถ้ าเป็ นคำนวณมือ ต้ องเปิ ดตารางค่ า t แต่ ถ้าเป็ น SPSS ดูที่ค่า sig ก็สามารถสรุ ป
ผลได้

You might also like