You are on page 1of 58

(บทที่ ๑–๔ ยกมาจาก R2.9pre ซึ่งจะนําไปปรับปรุงและตีพิมพ์เป็นหนังสือ ม.

4-5-6 ฉบับละเอียดต่อไปครับ)

๒ บทที่

R ea + l
ระบบจํานวนจริง
จํานวนที่มนุษย์คิดขึน้ ใช้ครั้งแรกในอดีต คือจํานวน
สําหรับนับสิ่งของต่าง ๆ ซึ่งในปัจจุบันเรียกว่า จํานวน
ธรรมชาติ (Natural Number) หรือ จํานวนนับ
(Counting Number) ได้แก่ 1, 2, 3, 4, ... สัญลักษณ์
แทนเซตของจํานวนนับคือ N = {1,2, 3, 4,...}
นอกจากจํานวนนับแล้ว ยังมีจํานวนชนิดอื่น ๆ อีกหลายชนิดที่จะได้ศึกษาใน
บทเรียนนี้ โดยเรียกรวมกันว่า “จํานวนจริง” และความรู้พื้นฐานที่สําคัญ
ที่สุดอย่างหนึ่งของวิชาคณิตศาสตร์ก็คือ การดําเนินการเกี่ยวกับจํานวนจริง
(เช่น การบวกลบคูณหาร ไปจนถึงการแก้สมการหรืออสมการ) นั่นเอง

ประเภทของ เมื่อนําจํานวนนับใด ๆ มาบวกหรือคูณกัน ผลลัพธ์ที่ได้ย่อมเป็นจํานวนนับ


จํานวนจริง เสมอ จึงเรียกได้ว่า “เซตของจํานวนนับมี สมบัติปิด สําหรับการบวกและการคูณ”
(คําว่า สมบัติปิด หมายความว่าเมื่อนําสมาชิกใด ๆ ในเซตมาดําเนินการแล้ว ผลลัพธ์
ที่ได้ยังคงเป็นสมาชิกของเซตนั้นอยู่เสมอ) แต่หากนําจํานวนนับบางจํานวนมาลบหรือ
หารกันจะมีปัญหาขัดข้องเนื่องจากผลที่ได้กลับไม่เป็นจํานวนนับ ด้วยเหตุนี้จํานวนลบ
จํานวนศูนย์ รวมทั้งจํานวน เศษส่วน (Fraction) จึงถูกกําหนดขึ้นเพื่อใช้งานด้วย
จํานวนนับ (จํานวนเต็มบวก) จํานวนศูนย์ และจํานวนเต็มลบ เรียกรวมกัน
ว่า จํานวนเต็ม (Integer) เซตของจํานวนเต็มทั้งหมดใช้สัญลักษณ์เป็น I
I  {..., 3, 2, 1, 0, 1, 2, 3, ...}

จํานวนเต็มทั้งหมด รวมทั้งเศษส่วนของจํานวนเต็ม (โดยที่ส่วนไม่ใช่ 0)


จัดเป็น จํานวนตรรกยะ (Rational Number) ซึ่งเซตของจํานวนตรรกยะนั้นใช้
สัญลักษณ์เป็น Q
Q  { ba | a, b  I และ b  0 }

จากที่กล่าวมาสามารถสรุปว่า เซตจํานวนนับเป็นสับเซตของเซตจํานวนเต็ม
(N  I ) และเซตจํานวนเต็มเป็นสับเซตของเซตจํานวนตรรกยะ ( I  Q )
50 Math E-Book
Release 2.7pre

ข้อควรทราบ
1. เศษส่วนของจํานวนเต็ม จะเขียนเป็นทศนิยมซ้ําได้เสมอ
จึงกล่าวในอีกแง่ได้ว่า “จํานวนตรรกยะคือจํานวนใด ๆ ที่เขียนเป็นทศนิยมซ้ําได้”
ตัวอย่างเช่น 5  5.0  51 0.42  0.420  50 21 1.3333...  1.3  4
3

2. จํานวนที่เป็นทศนิยมไม่ซ้ํา จะไม่สามารถเขียนในรูปเศษส่วนของจํานวน
เต็มได้ เรียกว่า จํานวนอตรรกยะ (Irrational Number) โดยถ้าให้เอกภพสัมพัทธ์
เป็นเซตของจํานวนจริง จะเขียนสัญลักษณ์แทนเซตของจํานวนอตรรกยะได้ด้วย Q'
ตัวอย่างของจํานวนอตรรกยะ เช่น
2  1.41421.. 3  1.73205..   3.14159..
3
2  1.25992..
ในการคํานวณมักแทนจํานวนอตรรกยะเหล่านี้ด้วยค่าประมาณ

K ๏๏ ค่รากทีา e ่สซึองของจํ านวนนับ (ที่ถอดค่าออกมาเป็นจํานวนนับไม่ได้) จะเป็นจํานวน


ง่ เป็นค่าคงทีท่ ี่เกี่ยวกับลอการิทึม (บทที่ ๘) ก็เป็นจํานวน เช่นกัน
เสมอ

มีค่าประมาณ 2.71828..

3. เซตจํานวนนับ N มีสมบัติปิดสําหรับการบวกและการคูณ
เซตจํานวนเต็ม I และจํานวนตรรกยะ Q มีสมบัติปิดสําหรับการบวก ลบ และคูณ
..แต่เซตจํานวนอตรรกยะ Q' นั้นไม่มีสมบัติปิดแบบใดเลย

แผนผัง จํานวนทุกประเภทที่ได้กล่าวถึงตั้งแต่ต้น อันได้แก่จํานวนนับ จํานวนเต็มลบ


ของจํานวน จํานวนศูนย์ จํานวนตรรกยะ และจํานวนอตรรกยะ ล้วนถือว่าเป็น จํานวนจริง (Real
Number) ซึ่งสื่อความหมายว่าเป็นจํานวนที่มีอยู่จริงในโลก สามารถใช้แทนปริมาณ
ของสิ่งต่าง ๆ ได้ ใช้บ่งบอกและเปรียบเทียบความมากน้อยได้ (โดยจํานวนจริงทุก
จํานวนจะต้องมีตําแหน่งบนเส้นจํานวน) สัญลักษณ์แทนเซตของจํานวนจริงคือ R

K ๏๏ จํแต่านวนอตรรกยะก็

เป็นจํานวนจริง เพราะสามารถเปรียบเทียบมากน้อยร่วมกับจํานวนอื่นได้
ไม่เป็นจํานวนจริง เพราะไม่มีค่าเท่านีอ้ ยูจ่ ริง ไม่มีใครสามารถไปถึงหรือสัมผัสได้

ตัวอย่างของจํานวนประเภทอื่น ๆ ซึ่งไม่ใช่จํานวนจริง แต่จะได้เกี่ยวข้องใน


บทต่อ ๆ ไปด้วย ได้แก่
1. รากที่คู่ของจํานวนลบ (รากที่สอง, รากที่สี่ ฯลฯ)
เช่น 3 ซึ่งจะถือเป็น “จํานวนจินตภาพ”
2. เศษส่วนที่มีตัวส่วนเป็น 0
(ดังที่ได้ทราบกันว่าการหารด้วย 0 จะไม่นิยามในระบบจํานวนจริง)
โดยทั่วไปจะมีค่าเป็น  (มากจนไม่มีที่สิ้นสุด ในภาษาไทยใช้คําว่า “หาค่าไม่ได้”)
kanuay.com
51

R
Im

Q' Q

I QI
แผนผังแสดงโครงสร้าง
I- I0 
I หรือ N ของจํานวนประเภทต่าง ๆ

หมายเหตุ
สัญลักษณ์ Im แทนเซตของจํานวนจินตภาพ และ C แทนเซตของจํานวนเชิงซ้อน
จํานวนทั้งสองประเภทนี้จะยังไม่ได้ศึกษาในบทนี้

เพิ่มเติม จากเนือ้ หาเรื่องจํานวนเชิงซ้อน


รากที่สองของจํานวนลบ เช่น 1 เรียกว่า จํานวนจินตภาพ (Imaginary Number)
เมื่อรวมกันกับเซตจํานวนจริงแล้ว จะเรียกว่า จํานวนเชิงซ้อน (Complex Number)
หรือเซต C ถือเป็นระบบจํานวนที่ใหญ่ที่สดุ และจะได้ศึกษากันในบทที่ ๑๐

ตัวอย่าง 2.1 เซตต่อไปนี้มีลักษณะตรงตามข้อใด (ใน A, B, C, D) บ้าง


A มีสมบัตปิ ิดการบวก B มีสมบัติปิดการคูณ
C เป็นสับเซตของเซตจํานวนตรรกยะ Q D เป็นสับเซตของเซตจํานวนเต็ม I

ก. เซตของจํานวนนับ N
ตอบ A ถูก เพราะไม่วา่ จะยกจํานวนนับจํานวนใดมาบวกกัน ผลลัพธ์ก็ยังคงเป็นจํานวนนับ
B ถูก เพราะไม่วา่ จะยกจํานวนนับจํานวนใดมาคูณกัน ผลลัพธ์ก็ยังคงเป็นจํานวนนับ
C ถูก เพราะจํานวนนับทุกจํานวนเป็นจํานวนตรรกยะ
D ถูก เพราะจํานวนนับทุกจํานวนเป็นจํานวนเต็ม

ข. เซตของจํานวนอตรรกยะ
ตอบ A ผิด เพราะมีจาํ นวนอตรรกยะบางจํานวน ที่บวกกันแล้วกลายเป็นจํานวนตรรกยะ
เช่น 2 บวกกับ  2 แล้วได้ 0
B ผิด เพราะมีจาํ นวนอตรรกยะบางจํานวน ที่คณ ู กันแล้วกลายเป็นจํานวนตรรกยะ
เช่น 2  2  2
C ผิด เพราะเซตของจํานวนตรรกยะและอตรรกยะ เป็นคอมพลีเมนต์กัน
D ผิด เพราะสมาชิกของเซตนี้ทกุ จํานวนไม่ใช่จํานวนเต็ม

ค. {x | x < 0}
ตอบ A ถูก จํานวนลบหรือจํานวนศูนย์ เมื่อนํามาบวกกันย่อมยังเป็นจํานวนลบหรือศูนย์แน่นอน
B ผิด เพราะจํานวนลบคูณกันย่อมได้ผลลัพธ์เป็นจํานวนบวกเสมอ
C และ D ผิด เพราะมีจาํ นวนลบบางจํานวนไม่ใช่จํานวนตรรกยะ (และจํานวนเต็ม) เช่น  2
52 Math E-Book
Release 2.7pre

ง. {1.414, 22}
7
ตอบ A และ B ผิด เพราะเมื่อนําจํานวนจากเซตนี้มาบวกหรือคูณกัน ผลลัพธ์ไม่ได้อยู่ในเซตนี้
C ถูก เพราะเลขทศนิยม และเศษส่วนของจํานวนเต็ม เป็นจํานวนตรรกยะเสมอ
หมายเหตุ ค่า 1.414 ไม่เท่ากับ 2 และค่า 22 7
ก็ไม่ได้เท่ากับ  (แต่เป็นเพียงค่าประมาณ)
D ผิด เพราะสมาชิกของเซตนี้ไม่ใช่จํานวนเต็ม

จ. {1, 0, 1}
ตอบ A ผิด เพราะเมือ่ นําบางจํานวนมาบวกกัน ผลลัพธ์ที่ได้ไม่อยู่ในเซตนี้ เช่น 1  1  2
B ถูก เพราะไม่วา่ จะนําจํานวนใดมาคูณกัน ผลลัพธ์ที่ได้ก็ยังอยู่ในเซตนีเ้ สมอ
C และ D ถูก เพราะสมาชิกทุกตัวเป็นจํานวนเต็ม และจํานวนเต็มใด ๆ ถือเป็นจํานวนตรรกยะ

ฉ. { 10 x | x  I }
ตอบ เซตนี้เขียนแจกแจงสมาชิกได้เป็น {0, 10, 20, 30, ...} ดังนัน้
A และ B ถูก เพราะไม่ว่าจะนําจํานวนใดจากเซตนี้มาบวกหรือคูณกัน ผลลัพธ์ที่ได้ยังอยู่ในเซตนี้
C และ D ถูก เพราะสมาชิกทุกตัวเป็นจํานวนเต็ม และจํานวนเต็มใด ๆ ถือเป็นจํานวนตรรกยะ

๒.๑ สมบัติของจํานวนจริง
เอกลักษณ์ เอกลักษณ์ (Identity) คือจํานวนที่ไปดําเนินการกับจํานวนจริง a ใดก็ตาม
และอินเวอร์ส แล้วได้ผลลัพธ์เป็นจํานวน a เดิม นั่นคือ ถ้าให้ e คือเอกลักษณ์ จะได้
ae  ea  a
เนื่องจาก a  0  0  a  a ..เอกลักษณ์การบวกของจํานวนจริงใด ๆ จึงเป็น 0
และเนื่องจาก a  1  1  a  a ..เอกลักษณ์การคูณของจํานวนจริงใด ๆ จึงเป็น 1

อินเวอร์ส หรือ ตัวผกผัน (Inverse) ของ a คือจํานวนที่ไปดําเนินการกับ


จํานวนจริง a แล้วได้ผลลัพธ์เป็นเอกลักษณ์ นั่นคือ ถ้าให้ i คืออินเวอร์ส จะได้
ai  ia  e
เนื่องจาก a  (a)  (a)  a  0 ..อินเวอร์สการบวกของจํานวนจริง a จึงเป็น –a
และเนื่องจาก a  (a1)  (a1)  a  1 ..อินเวอร์สการคูณของจํานวนจริง a จึงเป็น a1
หรือเขียนเป็น a  1 ก็ได้ (อ่านว่า “a ยกกําลังลบหนึ่ง” หรือ “a อินเวอร์ส”)
อินเวอร์สการบวกของจํานวนจริงใด ๆ สามารถหาได้เสมอ แต่สําหรับอิน
เวอร์สการคูณนั้นมีข้อยกเว้นอยู่หนึ่งจํานวน นั่นคือ จํานวน 0 ซึ่งไม่มีอินเวอร์สการ
คูณ เพราะไม่มีจํานวนจริงใดที่คูณกับ 0 แล้วได้ผลลัพธ์เป็น 1

ตัวอย่าง 2.2 ถ้านิยามให้ x  y  x  y  2


ก. ให้หาเอกลักษณ์ของการดําเนินการนี้
วิธีคิด จาก a  e  a จะได้ a  e  2  a ..นั่นคือ e  2
และจาก e  a  a จะได้ e  a  2  a ..นัน่ คือ e  2 เช่นกัน
ดังนัน้ สรุปว่า เอกลักษณ์ของการดําเนินการนี้คอื 2
kanuay.com
53

ข. ให้หาอินเวอร์สของ a สําหรับการดําเนินการนี้
วิธีคิด เนื่องจากเอกลักษณ์ของการดําเนินการนี้คอื 2
ดังนัน้ a  i  2 จะได้ a  i  2  2 ..นั่นคือ i  4a
(หรือคิดจาก i  a  2 ก็จะได้ i  4  a เช่นกัน)
สรุปว่าอินเวอร์สของ a ในข้อนี้คอื 4  a

ตัวอย่าง 2.3 ถ้านิยามให้ x  y  x  y  3


ก. ให้หาเอกลักษณ์ของการดําเนินการนี้
วิธีคิด จาก a  e  a จะได้ a  e  3  a ..นั่นคือ e  3
และจาก e  a  a จะได้ e  a  3  a ..นัน่ คือ e  2a  3
พบว่าเอกลักษณ์ที่หาได้จากสองวิธีมีค่าไม่เท่ากัน ดังนัน้ การดําเนินการในข้อนี้ “ไม่มีเอกลักษณ์”
ข. ให้หาอินเวอร์สของ a สําหรับการดําเนินการนี้
ตอบ การดําเนินการนีจ้ ะไม่มีอินเวอร์ส เพราะไม่มีเอกลักษณ์

K “สมบั ติการสลับที่” เป็นสิ่งจําเป็นต่อการมีเอกลักษณ์ ..หมายความว่าการดําเนินการใดจะมี


เอกลักษณ์ได้นั้น จะต้องมีสมบัตกิ ารสลับทีก่ ่อน (เพราะ ae
ต้องเท่ากับ ea
ด้วย)
..ถ้าไม่มีสมบัติการสลับที่ จะไม่มเี อกลักษณ์ (และถ้าไม่มีเอกลักษณ์ ก็จะไม่มีอนิ เวอร์ส)

สมบัติของ นอกจากสมบัติปิดซึ่งได้กล่าวถึงแล้ว ระบบจํานวนจริงยังมีสมบัติอีกหลาย


จํานวนจริง ลักษณะที่ควรทราบ เนื่องจากเป็นพื้นฐานที่จําเป็นสําหรับวิชาคณิตศาสตร์ และ
สมบัติส่วนใหญ่จะเคยพบหรือเกี่ยวข้องมาแล้วตั้งแต่ระดับ ม.ต้น

สมบัติของการเท่ากัน
[1] สมบัติการสะท้อน (Reflexive Property)
a  a เสมอ
[2] สมบัติการสมมาตร (Symmetric Property)
ถ้าหาก a  b จะสรุปได้ว่า b  a ด้วย
[3] สมบัติการถ่ายทอด (Transitive Property)
ถ้า a  b และ b  c แล้ว จะได้ว่า a  c
[4] สมบัติการบวกหรือคูณด้วยจํานวนที่เท่ากัน
ถ้า a  b แล้ว a  c  b  c เสมอ
ถ้า a  b แล้ว a c  b c เสมอ

ส่วนสมบัติของการไม่เท่ากัน (มากกว่า, น้อยกว่า) จะได้กล่าวถึงในหัวข้อถัดไป


54 Math E-Book
Release 2.7pre

สมบัติเกี่ยวกับการบวกและการคูณ
[1] สมบัติการมีเอกลักษณ์
เอกลักษณ์การบวกของจํานวนจริงใด ๆ คือ 0
เอกลักษณ์การคูณของจํานวนจริงใด ๆ คือ 1
[2] สมบัติการมีอินเวอร์ส
อินเวอร์สการบวกของจํานวนจริง a คือ –a
อินเวอร์สการคูณของจํานวนจริง a (ที่ไม่ใช่ 0) คือ a1
[3] สมบัติปิด (Closure Property)
ถ้า a และ b เป็นจํานวนจริง แล้ว ผลบวก a+b ย่อมเป็นจํานวนจริง
ถ้า a และ b เป็นจํานวนจริง แล้ว ผลคูณ ab ย่อมเป็นจํานวนจริง
[4] สมบัติการสลับที่ (Commutative Property)
a  b  b  a และ ab  b a
[5] สมบัติการเปลี่ยนกลุ่ม (Associative Property)
a  (b  c)  (a  b)  c (และสามารถเขียนเป็น a  b  c )
a (b c)  (ab) c (และสามารถเขียนเป็น abc)
[6] สมบัติการแจกแจง (Distributive Property)
a (b  c)  ab  a c และ (a  b) c  a c  b c
[7] สมบัติเกี่ยวกับการเป็นจํานวนจริงบวก
“ถ้าจํานวนจริง a  0 แล้ว a  R หรือ a  R เสมอ”
สมบัติข้อนี้จะได้นําไปใช้ในเรื่องค่าสัมบูรณ์ ซึ่งเป็นหัวข้อหนึ่งในบทนี้ด้วย

การลบ ทฤษฎีบทเกี่ยวกับการลบ
และการหาร [1] บทนิยามของการลบ
a  b  a  (b) (การลบ คือ การบวกด้วยอินเวอร์สการบวก)
[2] การแจกแจงสําหรับการลบ
a (b  c)  ab  a c และ (a  b) c  a c  b c

ทฤษฎีบทเกี่ยวกับการหาร
ในแต่ละข้อต่อไปนี้ จะต้องมีเงื่อนไขไม่ให้ตัวหาร (หรือตัวส่วน) เป็น 0
เพราะการหารด้วย 0 ในระบบจํานวนจริงนั้นไม่นิยาม
[1] บทนิยามของการหาร (b ต้องไม่เท่ากับศูนย์)
a  b  a b1 (การหาร คือ การคูณด้วยอินเวอร์สการคูณ)
หรืออาจกล่าวว่า “ a  b  c ก็ต่อเมื่อ c เป็นจํานวนจริงที่ทําให้ a  b c ”
บทนิยามนี้จะถูกกล่าวถึงอีกครั้งในหัวข้อทฤษฎีจํานวน ในตอนท้ายของบทนี้
[2] อินเวอร์สการคูณไม่เป็นศูนย์เสมอ (a ต้องไม่เท่ากับศูนย์)
a1  0
[3] อินเวอร์สการคูณของเศษส่วน (a, b ต้องไม่เท่ากับศูนย์)
 ba 
1
 b
a
kanuay.com
55

[4] การคูณทั้งเศษและส่วนด้วยจํานวนที่เท่ากัน (b, c ต้องไม่เท่ากับศูนย์)


a  ac
b bc
[5] การบวกและการคูณเศษส่วน (b, c ต้องไม่เท่ากับศูนย์)
a  d  ac  bd และ a  d  ad
b c bc b c bc
[6] การคํานวณเศษส่วนซ้อน (b, c, d ต้องไม่เท่ากับศูนย์)
a/b  a a  ac และ a/b  ad
และ b/c
c bc b c/d bc

ข้อควรระวัง การกระทําบางลักษณะสามารถทําได้เสมอ เพราะเป็นสมบัติของจํานวนจริง


ของสมการ แต่บางลักษณะก็ไม่ใช่สมบัติจึงไม่สามารถกระทําได้เสมอไป ซึ่งหากจําเป็นต้องทําก็
ควรแน่ใจเกี่ยวกับเงื่อนไขที่สามารถกระทําได้เสียก่อน กล่าวโดยสรุปได้ดังต่อไปนี้
1. การบวกหรือลบทั้งสองข้าง (ย้ายข้างบวกลบ)
และการตัดออกสําหรับการบวกหรือลบ ทําได้เสมอ
๏ ถ้ามี a  b สามารถทําเป็น a  c  b  c ได้เสมอ
๏ ถ้าทราบว่า a  c  b  c จะสรุปเป็น a  b ได้เสมอ
2. การคูณทั้งสองข้าง (ย้ายข้างคูณ) ทําได้เสมอ
การหารทั้งสองข้าง (ย้ายข้างไปหาร) ทําได้เมื่อตัวหารไม่เป็น 0
๏ ถ้ามี a  b สามารถทําเป็น a c  b c ได้เสมอ
๏ ถ้ามี a  b สามารถทําเป็น ac  bc ได้เมื่อ c  0 เท่านั้น
3. การตัดออกสําหรับการคูณ ทําได้เมื่อสิ่งที่ถูกตัดออกนั้นไม่ใช่ 0
(เพราะเป็นการนําสิ่งนั้นไปหารทั้งสองข้างนั่นเอง)
๏ ถ้าทราบว่า a c  b c จะสรุปเป็น a  b ได้เมื่อ c  0 เท่านั้น
4. การยกกําลังสองทั้งสองข้าง ทําได้เสมอ
แต่การตัดกําลังสองออกจะมีผล 2 กรณี คือได้ค่าเท่ากันหรือเป็นติดลบของกันก็ได้
๏ ถ้ามี a  b สามารถทําเป็น a2  b2 ได้เสมอ
๏ ถ้าทราบว่า a2  b2 จะสรุปได้ว่า “ a  b หรือ a  b ”

แบบฝึกหัด ๒.๑
(1) ข้อความต่อไปนี้ถูกหรือผิด
(1.1) 0.343443444... เป็นจํานวนตรรกยะ
(1.2) 0.112112112... เป็นจํานวนอตรรกยะ
(1.3) ถ้า a2 เป็นจํานวนคู่ แล้ว a ต้องเป็นจํานวนคู่
(1.4) ถ้า a2 เป็นจํานวนคี่ แล้ว a ต้องเป็นจํานวนคี่
56 Math E-Book
Release 2.7pre

(2) ถ้า a, b, c  R แล้ว ข้อความในแต่ละข้อต่อไปนี้ถูกหรือผิด


(2.1) ถ้า a b  a แล้ว b  1
(2.2) ถ้า a b  0 แล้ว a  0 และ b  0
(2.3) เมื่อ b  0 ถ้า ba  bc แล้ว a  c
(2.4) เมื่อ b, c  0 ถ้า ba  ca แล้ว b  c

K โจทย์ ในรูปแบบข้อความถูกหรือผิดนัน้ โดยมากถ้าอ่านข้อความเพียงผิวเผินจะดูเหมือนว่าถูก


แต่ทจี่ ริงบางข้อความก็ผดิ .. การตอบโจทย์ลักษณะนี้ควรพยายามยกกรณีที่ผดิ ขึน้ มาสัก 1 กรณี
ถ้าหาได้ก็แสดงว่าข้อความนัน้ ผิด (ในการยกตัวอย่างจํานวน อย่าลืมทดสอบจํานวนติดลบ จํานวน
ติดรูท้ และจํานวนทศนิยมที่ไม่ถึง 1 ด้วย) ... แต่ถ้าหาอย่างไรก็หาไม่ได้ ข้อความนั้นก็มีโอกาสที่
จะถูกสูง (ส่วนการยืนยันว่าถูกแน่นอน จะต้องใช้วิธพี ิสจู น์ ซึ่งบางข้อความก็อาจจะยากเกินไป)

(3) เซตในข้อใดมีสมบัติปิดของการบวกและการคูณ
ก. เซตของจํานวนเต็มลบทั้งหมด ข. เซตของจํานวนเฉพาะที่ไม่ใช่ 2
ค. เซตของจํานวนตรรกยะที่ไม่ใช่จํานวนเต็ม ง. เซตของจํานวนเต็มที่หารด้วย 4 ลงตัว

(4) ข้อความต่อไปนี้ถูกหรือผิด
(4.1) เซตของจํานวนจริง มีสมบัติปิดของการลบ
(4.2) เซตของจํานวนจริง มีสมบัติการเปลี่ยนกลุ่มของการลบ
(4.3) เซตของจํานวนจริงที่ไม่ใช่ 0 มีสมบัตปิ ิดของการหาร
(4.4) เซตของจํานวนจริงที่ไม่ใช่ 0 มีสมบัติการเปลี่ยนกลุ่มของการหาร

(5) เมื่อกําหนดเซต A  { x  N | x  Q } และ B  N  A แล้ว


ข้อความต่อไปนี้ถูกหรือผิด
(5.1) A มีสมบัติปิดการคูณ แต่ B ไม่มีสมบัติปิดการคูณ
(5.2) A ไม่มีสมบัติปิดการบวก และ B ไม่มีสมบัติปิดการบวก

(6) เซต A ในข้อใดทําให้ข้อความต่อไปนี้เป็นจริง


“ถ้า x  A แล้ว จะมี y  A ซึ่ง x y  1 และ xy  A ”
ก. เซตของจํานวนเต็มที่ไม่ใช่ 0 ข. เซตของจํานวนจริง
ค. เซตของจํานวนอตรรกยะ ง. เซตของจํานวนตรรกยะที่ไม่ใช่ 0

(7) ให้หาอินเวอร์สการคูณของ 1 และเอกลักษณ์การคูณของ 6 5


6 5
* a b c
(8) กําหนดตารางการดําเนินทวิภาคดังขวามือ ข้อใดต่อไปนี้ถูกต้อง a a b c
ก. (a  b)  a  c ข. (b  c)  b  a
b b c a
ค. (a  b)  (c  b)  b ง. (c  a)  (b  a)  b
c c a b
kanuay.com
57

(9) การดําเนินการ  สําหรับจํานวนจริง ในข้อใดไม่มีสมบัติการสลับที่


ก. x  y  3 x y  (x  y) ข. x  y  2 (x  y)  3 x y
3 1
ค. x  y  xy  x  y ง. x  y  2 xy  x 1 y

(10) กําหนด a  b  3ab  (a  b) แล้ว x  (y  z)  (z  y)  x เป็นจริงหรือไม่

(11) ถ้า A เป็นเซตของจํานวนนับคี่ และกําหนดตัวดําเนินการ  กับ  บนเซต A ดังนี้


a  b  a  b และ a  b  a b
2 2
แล้ว ข้อความต่อไปนี้ถูกหรือผิด
(11.1) เซต A มีสมบัติปิด และมีสมบัติการสลับที่ ภายใต้การดําเนินการ 
(11.2) เซต A ไม่มีสมบัติปิด แต่มีสมบัติการสลับที่ ภายใต้การดําเนินการ 

๒.๒ ทฤษฎีบทเศษเหลือ และสมการพหุนาม


แก้สมการ พหุนาม (Polynomial) คือรูปแบบชนิดหนึ่งทางคณิตศาสตร์ แสดงผลบวก
พหุนาม ของตัวแปรต่าง ๆ ซึ่งล้วนยกกําลังด้วยจํานวนนับเท่านั้น พหุนามที่มี x เป็นตัวแปรตัว
เดียว นิยมใช้สัญลักษณ์แทนพหุนามว่า p(x) จะเขียนได้ในรูป
p(x)  anxn  an  1xn  1  ...  a1x  a0
โดยค่า a ทัง้ หมดเป็นค่าคงที่ เรียกว่า “สัมประสิทธิ์” และ n เป็นจํานวนนับใด ๆ
เรียกค่า n ว่า ดีกรี (degree) หรือเลขชี้กําลังที่มีค่ามากที่สุดของพหุนามนี้
เช่น p(x)  4x3  x2  2x  6 จัดเป็นพหุนามดีกรีสาม
นอกจากนั้น สัญลักษณ์ p(c) จะสื่อถึงการแทนค่า x ด้วยค่าคงที่ c
เช่นถ้าให้ p(x) เป็นพหุนามดีกรีสาม ในรูป p(x)  4x3  x2  2x  6 จะได้
p(1)  4 (1)3  (1)2  2 (1)  6  7
p(2)  4 (2)3  (2)2  2 (2)  6  26 เป็นต้น

สมการ (Equality) คือประโยคที่มีตัวแปรและกล่าวถึงการเท่ากัน “การแก้


สมการ” คือการหาค่าของตัวแปร (เช่นค่า x) ที่เป็นไปได้ทั้งหมดที่ทําให้ประโยคนั้น
เป็นจริง อาจกล่าวว่าเป็นการหาคําตอบของสมการ หรือรากของสมการ ก็ได้ (คําว่า
“รากของสมการ” หมายถึงค่าที่ทําให้สมการเป็นจริง และไม่ได้เกี่ยวข้องกับการถอด
รากที่สองแต่อย่างใด)
สมการพหุนามตัวแปรเดียว p(x)  anxn  an  1xn  1  ...  a1x  a0  0
จะหาคําตอบได้โดยอาศัยสมบัติที่เป็นหัวใจสําคัญคือ “หากมีผลคูณ a b c d ...  0
แล้ว จะสรุปได้ว่า a  0 หรือ b  0 หรือ c  0 หรือ d  0 หรือ ...”
(กําหนดค่าให้เป็น 0 ทีละตัวนั่นเอง) เพราะการที่ a, b, c, d, … คูณกันได้เป็น 0
แสดงว่าต้องมีอย่างน้อยตัวใดตัวหนึ่งที่มีค่าเป็น 0
58 Math E-Book
Release 2.7pre

ดังนั้นเมื่อมีสมการพหุนาม ให้ทําการแยกตัวประกอบเสียก่อน (คือการทํา


พหุนามให้อยู่ในรูปผลคูณของพหุนามที่มีดีกรีต่ําลง) เพื่อให้สมการกลายเป็นรูปแบบ
“ผลคูณเท่ากับศูนย์” (b1x  c1)(b2x  c2)(b3x  c3)...  0 แล้วจะสามารถสรุป
คําตอบของสมการ โดยสรุปให้ทีละวงเล็บเป็น 0
ได้แก่ x  bc หรือ x  bc หรือ x  bc หรือ ... นั่นเอง
1 2 3
1 2 3

ตัวอย่าง 2.4 ให้หาเซตคําตอบของสมการกําลังสองต่อไปนี้


ก. x  6x  5  0
2

วิธีคิด แยกตัวประกอบของพหุนามได้เป็น (x  5)(x  1)  0


ดังนัน้ x  5  0 หรือ x1  0
คําตอบของสมการได้แก่ x  5 หรือ x  1 ..และเซตคําตอบคือ {5, 1}

ข. 6x2  13x  5  0

วิธีคิด แยกตัวประกอบของพหุนามได้เป็น (2x  5)(3x  1)  0


ดังนัน้ 2x  5  0 หรือ 3x  1  0
คําตอบของสมการได้แก่ x  52 หรือ x   1
3
..และเซตคําตอบคือ {5 ,  1 }
2 3

ค. 2x2  4x  1  0

สมการนี้ไม่สามารถแยกตัวประกอบเป็นจํานวนเต็มหรือเศษส่วนของจํานวนเต็มได้
จึงอาจใช้วิธหี าคําตอบดังต่อไปนี้ (เพราะสองวิธีนี้ใช้ได้กับสมการกําลังสองทุกสมการ)
วิธีคิด1 ย้ายข้างสมการเป็น 2x2  4x  1 ..นัน่ คือ 2(x2  2x)  1
ทําให้เป็นกําลังสองสมบูรณ์โดย 2(x2  2x + 1)  1 + 2
(ฝั่งซ้ายเติม +1 แต่ฝั่งขวาต้องเติม +2 เนื่องจากฝั่งซ้ายมี 2 คูณอยู่ทวี่ งเล็บด้วย)
จะได้ 2(x  1)2  1 ..จากนัน้ ย้าย 2 ไปหารฝั่งขวาเป็น 21
จึงสรุปได้ว่า x  1  12 หรือ x  1   12
แสดงว่าเซตคําตอบคือ {1  12 , 1  12 }
หมายเหตุ ถ้าฝั่งขวามือเป็นจํานวนติดลบ แสดงว่าไม่มีคําตอบที่เป็นจํานวนจริง
2
วิธีคิด2 ใช้สูตรสําเร็จในการหาคําตอบ คือ x  B  B  4AC
2A
4  42  4 (2)(1)
จะได้ x   1  1
.. แสดงว่าเซตคําตอบคือ {1  12 , 1  12 }
2(2) 2
หมายเหตุ ถ้าภายในรูท้ เป็นจํานวนติดลบ แสดงว่าพหุนามนัน้ แยกตัวประกอบไม่ได้
และสมการจะไม่มีคําตอบที่เป็นจํานวนจริง

เทคนิคการแยกตัวประกอบนั้นเคยได้ศึกษาผ่านมาในระดับ ม.ต้น บ้างแล้ว


เช่น การจัดกําลังสองสมบูรณ์, ผลต่างของกําลังสอง, ผลบวกและผลต่างของกําลัง
สาม เป็นต้น ส่วนทฤษฎีบทต่าง ๆ ที่จะได้ศึกษาเพิ่มในหัวข้อนี้ จะช่วยให้การแยกตัว
ประกอบพหุนามดีกรีมากกว่าสองทําได้อย่างสะดวกยิ่งขึ้น
kanuay.com
59

ทฤษฎีบท ทฤษฎีบทเศษเหลือ (Remainder Theorem) กล่าวว่า


เศษเหลือ “ถ้าหาร p(x) ด้วย x  c แล้ว จะเหลือเศษเท่ากับ p(c)”
เช่น ถ้าพหุนาม p(x)  4x  2x  x  3 ถูกหารด้วย x  3 แล้ว ย่อมเหลือเศษเท่ากับ
3 2

p(3)  4(3)  2(3)  (3)  3  96 หรือถ้าพหุนามนี้ถูกหารด้วย x  2 แล้ว ย่อมเหลือ


3 2

เศษเท่ากับ p(2)  4(2)  2(2)  (2)  3  39


3 2

เมื่อนําพหุนามมาหารกัน ทั้งผลหารและเศษที่ได้จะเป็นพหุนามเช่นกัน โดย


เศษต้องเป็นพหุนามที่มีดีกรีต่ํากว่าตัวหารเสมอ ในทฤษฎีบทเศษเหลือนี้กล่าวถึงการ
หารที่ตัวหารมีดีกรีเป็น 1 เท่านั้น เศษที่ได้จากการหารจึงมีดีกรี 0 หรือค่าคงที่นั่นเอง
(ไม่มีตัวแปร x ปรากฏอยู่ในเศษ) ซึ่งค่าคงที่นี้อาจเป็นจํานวนติดลบก็ได้

K 1.2. ถ้ทฤษฎี
าต้องการหารด้วยพหุนามดีกรีมากกว่า 1 จะต้องใช้วธิ ีหารยาวตามที่ได้ศึกษาในระดับ ม.ต้น
บทนี้ใช้สําหรับหาค่าเศษเท่านั้น ไม่สามารถหาผลหารได้ ถ้าต้องการหาผลหาร จะต้องใช้
วิธีตงั้ หารยาว หรือ ซึ่งมีความสะดวกยิ่งขึน้ ดังทีจ่ ะได้แสดงตัวอย่างไว้ใน
ตอนท้ายของหัวข้อนี้

ตัวอย่าง 2.5 ให้ตอบคําถามต่อไปนี้


ก. 2x  x  6x  1 หารด้วย x  2 เหลือเศษเท่าใด
3 2

ตอบ เศษจากการหาร 2x  x  6x  1 ด้วย x  2 คือ 2(2)  (2)  6(2)  1  1


3 2 3 2

ข. 2x3  x2  6x  1 หารด้วย x1 เหลือเศษเท่าใด


ตอบ เศษจากการหาร 3 2
2x  x  6x  1 ด้วย x  1 คือ 2(1)3  (1)2  6(1)  1  4
หมายเหตุ สามารถตรวจสอบคําตอบได้โดยการตัง้ หารยาว หรือหารสังเคราะห์

ตัวอย่าง 2.6 ฟังก์ชันพหุนามดีกรีสอง p(x) ฟังก์ชนั หนึ่ง พบว่าเมือ่ หารด้วย x แล้วเหลือเศษ 3,


เมื่อหารด้วย x1 เหลือเศษ 12 และเมื่อหารด้วย x 2 จะเหลือเศษ 25

ก. ฟังก์ชัน p(x) นี้หารด้วย x3 เหลือเศษเท่าใด


วิธีคิด การจะทราบคําตอบข้อนี้ จะต้องหาให้ได้ก่อนว่า p(x) คืออะไร
โดยทั่วไปพหุนามดีกรีสอง ต้องมีลักษณะเป็น Ax2  Bx  C ซึ่งจะเห็นว่า มีสัมประสิทธิ์ 3 ตัว
เราจึงใช้คาํ ใบ้ที่โจทย์ให้มา 3 อย่าง ในการสร้างระบบสมการเพื่อหาสัมประสิทธิ์ 3 ตัวนี้
“หารด้วย x แล้วเหลือเศษ 3” แปลว่า p(0)  3 หรือ A(0)2  B(0)  C  3
“หารด้วย x  1 แล้วเหลือเศษ 12” แปลว่า p(1)  12 หรือ A(1)2  B(1)  C  12
“หารด้วย x  2 แล้วเหลือเศษ 25” แปลว่า p(2)  25 หรือ A(2)2  B(2)  C  25
แก้สามสมการร่วมกัน ได้ผลเป็น A  2 , B  7 , C3 ... ดังนัน้ p(x)  2x2  7x  3
และ p(x) นีห้ ารด้วย x  3 จะเหลือเศษเท่ากับ 2
2(3)  7(3)  3  42
60 Math E-Book
Release 2.7pre

ข. ฟังก์ชัน p(x) นี้หารด้วย xc ลงตัว เมือ่ c เท่ากับเท่าใด


วิธีคิด1 p(x) หารด้วย x  c ลงตัว ... แปลว่า มี x  c เป็นตัวประกอบหนึ่งนัน ่ เอง
และเนือ่ งจาก p(x)  2x2  7x  3  (2x  1)(x  3) จึงได้คาํ ตอบว่า
p(x) นี้จะหารด้วย x  c ลงตัว เมือ่ c  –1/2 หรือ c  –3
วิธีคิด2 p(x) หารด้วย xc ลงตัว ... แสดงว่า p(c)  0 (เพราะหารลงตัวคือไม่มีเศษ)
2
ดังนัน้ 2c  7c  3  (2c  1)(c  3)  0
จะได้ c  –1/2 หรือ c  –3 เช่นเดียวกัน

ค. ฟังก์ชนั p(x) นี้หารด้วย xc เหลือเศษ 7 เมื่อ c เท่ากับเท่าใด


วิธีคิด1 “p(x) หารด้วย x  c แล้วเหลือเศษ 7” แสดงว่า p(c)  7
ดังนัน้ 2c2  7c  3  7
แก้สมการได้ 2c2  7c  4  (2c  1)(c  4)  0
จึงได้คาํ ตอบว่า c  1/2 หรือ c  –4
วิธีคิด2 “p(x) หารด้วย x  c แล้วเหลือเศษ 7” แสดงว่า “ p (x)  7 หารด้วย x  c ลงตัว”
(ยกตัวอย่างเช่น 38 หารด้วย 5 เหลือเศษ 3 แสดงว่า 38  3 ย่อมหารด้วย 5 ลงตัว)
ดังนัน้ จากค่าของ p(x)  7  2x2  7x  4  (2x  1)(x  4)
จึงได้ c  1/2 หรือ c  –4

ถ้าหากการหารในทฤษฎีบทนี้ คือเหลือเศษเท่ากับ 0 ย่อมกล่าวได้


ว่า x  c ของ p(x) นั่นคือ
“พหุนาม p(x) จะมี x  c เป็นตัวประกอบหนึ่ง ก็ตอ่ เมื่อ p(c) = 0”
ข้อความนี้มีชื่อเรียกว่า ทฤษฎีบทตัวประกอบ (Factor Theorem) เรานํา
ทฤษฎีบทดังกล่าวมาช่วยในการแยกตัวประกอบของ p(x) ได้ โดยการสุ่มหาค่า k ที่
ทําให้ p(k) = 0 พอดี เพื่อให้ทราบว่ามีตัวประกอบหนึ่งเป็น x  k และจากนั้นก็นํา
x  k ที่ได้นี้ ไปหารออกจาก p(x) เพื่อลดทอนกําลังลง และทําซ้ําจนกระทั่งแยกตัว
ประกอบได้ครบถ้วน

ตัวอย่าง 2.7 ให้แยกตัวประกอบของพหุนาม 2x3  x2  25x  12

วิธีคิด เนื่องจากพบว่า p (3)  2(3)3  (3)2  25(3)  12  0 พอดี


แสดงว่า x3 เป็นตัวประกอบหนึง่ ของพหุนามนี้
นํา x  3 ไปหารออกจากพหุนาม ได้ผลเป็น 2x3  x2x25x 3
 12  2x2  7x  4

ซึ่งหมายความว่า 2x3  x2  25x  12  (x  3)(2x2  7x  4)


แยกตัวประกอบของส่วนที่เป็นกําลังสองต่อไป
ได้ผลเป็น 2x3  x2  25x  12  (x  3)(2x  1)(x  4)
..ดังนัน้ ตัวประกอบของพหุนาม 2x3  x2  25x  12 ก็คือ (x  3)(2x  1)(x  4)
kanuay.com
61

หมายเหตุ
1. ไม่จําเป็นต้องเรียงลําดับตัวประกอบตามนี้ แต่จะต้องมีตัวประกอบ 3 วงเล็บนีอ้ ยูค่ รบถ้วน
2. ถ้าหากเปลี่ยนโจทย์เป็นการแก้สมการพหุนาม 2x3  x2  25x  12  0
ก็จะได้คาํ ตอบทัง้ หมด 3 คําตอบ ได้แก่ x  3 หรือ 21 หรือ –4

ตัวประกอบ นอกจากทฤษฎีบทเศษเหลือและทฤษฎีบทตัวประกอบแล้ว ยังมีอีกทฤษฎีที่


“ตรรกยะ” ช่วยในการแยกตัวประกอบพหุนามดีกรีสูง เพราะทําให้เลือกค่า k ที่เป็นคําตอบได้
อย่างรวดเร็ว นั่นคือ ทฤษฎีบทตัวประกอบจํานวนตรรกยะ ซึ่งกล่าวว่า
“ถ้า x  ba เป็นตัวประกอบของ p(x) โดยที่ ba เป็นเศษส่วนอย่างต่ํา แล้ว
a ต้องเป็นตัวประกอบของ a0 และ b ต้องเป็นตัวประกอบของ an ”

จากทฤษฎีบทนี้ จะสรุปขั้นตอนการหาตัวประกอบ x  k ของ p(x) เมื่อ k


เป็นจํานวนตรรกยะ ได้ดังนี้
1. นําค่า a มาจากตัวประกอบของ a0 (ค่าคงที่ทอี่ ยู่ท้ายพหุนาม) และนํา
ค่า b มาจากตัวประกอบของ an (สัมประสิทธิ์ของ x กําลังสูงสุด หรือเรียกว่า
) ค่า k ที่เป็นไปได้จะอยู่ในบรรดาเศษส่วน ba เหล่านี้เท่านั้น โดย
เป็นไปได้ทั้งจํานวนบวกและจํานวนลบ
2. ตรวจสอบว่าค่า k ใด (หรือ ba คู่ใด) ที่ทําให้การหารนั้นลงตัว ก็จะ
ทราบตัวประกอบเป็น x  k ค่านั้น (หรือ x  ba คู่นั้น) นั่นเอง

ตัวอย่าง 2.8 ให้แยกตัวประกอบของพหุนาม 2x3  x2  25x  12 (นําโจทย์มาจากตัวอย่างที่แล้ว)


วิธีคิด เนื่องจากตัวประกอบของ 12 ได้แก่ 1, 2, 3, 4, 6, 12
และตัวประกอบของ 2 ได้แก่ 1, 2
จากทฤษฎีบทตัวประกอบจํานวนตรรกยะ จึงทราบว่า
ค่า k ทีท่ าํ ให้ x  k เป็นตัวประกอบของพหุนามในโจทย์ ที่เป็นไปได้คือจํานวนเหล่านี้เท่านัน้ ..
1, –1, 2, –2, 3, –3, 4, –4, 6, –6, 12, –12, 1 ,  1 , 3 หรือ  3
2 2 2 2
จากนั้นจึงทดลองนําค่า k เหล่านี้ไปตรวจสอบดูวา่
ค่าใดที่ทาํ ให้ p (k)  0 ได้พอดี ค่านั้นก็คือตัวประกอบ..
เช่น p (4)  2(4)3  (4)2  25(4)  12  0 พอดี
แสดงว่า x  4 เป็นตัวประกอบหนึง่ ของพหุนามนี้
เมื่อนํา x  4 ไปหารออกจากพหุนาม จะได้ผลเป็น 2x3  x2x25x 4
 12  2x2  7x  3

ซึ่งหมายความว่า 2x3  x2  25x  12  (x  4)(2x2  7x  3)


แยกตัวประกอบของส่วนที่เป็นกําลังสองต่อไป
ได้ผลเป็น 2x3  x2  25x  12  (x  4)(2x  1)(x  3)
..ดังนัน้ ตัวประกอบของพหุนาม 2x3  x2  25x  12 คือ (x  4)(2x  1)(x  3)

หมายเหตุ
ไม่จําเป็นต้องเรียงลําดับตัวประกอบตามนี้ แต่จะต้องมีตวั ประกอบ 3 วงเล็บนีอ้ ยูค่ รบถ้วน
62 Math E-Book
Release 2.7pre

K ข้เช่อนควรระวั
งคือ หากจํานวน k ไม่ใช่จํานวนตรรกยะ จะใช้ทฤษฎีบทนี้ไม่ได้
พหุนาม x2  2
หากอ้างทฤษฎีบทนี้ ค่า k ที่เป็นไปได้คือ 1, –1, 2, –2 เท่านัน้
เมื่อตรวจสอบจะพบว่าไม่มีคา่ ใดถูกต้องเลย แต่ยังไม่สามารถกล่าวได้ว่าแยกตัวประกอบไม่ได้
เพราะอันทีจ่ ริงแล้วพหุนามนี้สามารถแยกได้เป็น (x  2)(x  2) (ซึ่ง k ไม่ใช่จํานวนตรรกยะ)

วิธีการหาร วิธีหาผลหารของพหุนาม ที่เคยได้ศึกษาผ่านมาแล้วในระดับ ม.ต้น คือการ


สังเคราะห์ ตั้งหารยาว ซึ่งสามารถใช้หารพหุนามได้ทุกกรณี (หารด้วยดีกรีเท่าใดก็ได้) แต่
สําหรับกรณีที่พบบ่อยที่สุดคือ “หารพหุนามด้วย x  c (ดีกรีหนึ่ง)” นั้น สามารถ
กระทําได้รวดเร็วยิ่งขึ้นด้วยเทคนิค การหารสังเคราะห์ (Synthetic Division) ดัง
แสดงขั้นตอนด้วยตัวอย่างต่อไปนี้

สมมติจะหาผลจากการหาร x4  3x3  4x2  x  6 ด้วย x  2


1. เขียนสัมประสิทธิ์ของพหุนามที่เป็นตัวตั้ง (ในที่นี้คือ 1, 3, 4, 1, 6 ) เรียงกันใน
บรรทัด และใส่ค่า c จากตัวหาร (ในที่นี้คือ 2) ลงในช่องด้านหน้า โดยเว้นบรรทัดไว้
ในลักษณะดังนี้
ตัวหาร  2 1 3 4 1  6  ตัวตั้ง

 ผลลัพธ์

2. เริ่มขั้นตอนการหารโดยนําตัวเลขในหลักแรกสุด (ในที่นี้คือ 1) ลงมาเขียน


ด้านล่างตรงบรรทัดของผลลัพธ์ก่อน จากนั้นใช้ตัวหาร (คือ 2) คูณผลลัพธ์นี้ ไปใส่
ไว้ที่หลักถัดไป
2 1 3 4 1 6
2
 
1

3. พิจารณาที่หลักถัดไป ให้บวกเลขเข้าด้วยกัน ( 3  2  1 ) นําไปใส่ไว้ที่บรรทัด


ผลลัพธ์ แล้วใช้ตัวหาร (คือ 2) คูณผลลัพธ์นี้ ไปใส่ไว้ที่หลักถัดไปเพื่อบวกกันอีก
..ทําซ้ําข้อนี้เรื่อย ๆ จนครบทุกหลัก
2 1 3 4 1 6 
2 2 4 10
1 1 2 5 4

4. ในบรรทัดผลลัพธ์ที่ได้ ตัวเลขในหลักสุดท้ายคือ และตัวเลขที่เหลือด้านหน้า


คือ โดยผลหารที่ได้จะมีดีกรีลดลงจากตัวตั้งอยู่หนึ่งเสมอ
..ในตัวอย่างที่ยกมานี้ ผลหารคือ x3  x2  2x  5 และเศษจากการหารเท่ากับ 4
kanuay.com
63

ตัวอย่าง 2.9 ให้หาเศษจากการหาร 2x3  7x  6 ด้วย x1

วิธีคิด หากไม่ต้องการใช้ทฤษฎีบทเศษเหลือ 1 2 0 7 6
ก็สามารถใช้วธิ ีตงั้ หารสังเคราะห์ ได้ผลดังนี้ 2 2 5
..แสดงว่า ผลหารเป็น 2x2  2x  5 และเหลือเศษ 11 2 2 5 11

K หากในตั วตัง้ มีพจน์ใดหายไป ไม่ครบทุกกําลัง เมื่อตั้งหารสังเคราะห์ตอ้ งใส่สัมประสิทธิ์เป็น 0 ด้วย


มิฉะนั้นผลหารทีไ่ ด้จะไม่ถูกต้อง (เช่นในตัวอย่างนี้ ไม่มีพจน์ x2
จึงใส่สัมประสิทธิ์เป็น 0)

ตัวอย่าง 2.10 ให้แยกตัวประกอบพหุนาม 3x4  7x3  4x


และหาเซตคําตอบของสมการ 3x  7x3  4x  0
4

วิธีคิด พหุนามนี้ ทุกพจน์มี x เป็นตัวประกอบร่วม จึงสามารถดึงออกได้


3x4  7x3  4x  (x)(3x3  7x2  4)
จากนั้นจึงแยกตัวประกอบของพหุนามกําลังสาม
เนื่องจากตัวประกอบของ 4 (สัมประสิทธิต์ ัวสุดท้าย) ได้แก่  1, 2,  4
และตัวประกอบของ 3 (สัมประสิทธิ์ตวั แรกสุด) ได้แก่  1,  3
จากทฤษฎีตัวประกอบจํานวนตรรกยะ จะได้วา่ จํานวนที่นา่ จะเป็นคําตอบ ได้แก่
 1, 2,  4,  1 ,  2 ,  4 ...
3 3 3
1 3 7 0 4
จากนั้นทดลองนําจํานวนเหล่านี้มาหารสังเคราะห์ทีละจํานวน 3 4 4
หากพบว่าตัวใดทําให้เศษเป็น 0 ตัวนั้นก็จะเป็นคําตอบ ... 2 3 4 4 0
ซึ่งจากการหารสังเคราะห์ในตัวอย่างด้านขวานี้ ทําให้ทราบว่า 6 4
3x3  7x2  4  (x  1)(x  2)(3x  2) 3 2 0

ดังนัน้ 3x4  7x3  4x  x (x  1)(x  2)(3x  2)


..และเซตคําตอบของสมการ 3x4  7x3  4x  0 คือ {0, 1, 2,  2 }
3

หมายเหตุ
1. ลําดับของตัวหารไม่จาํ เป็นต้องเหมือนกับในตัวอย่าง (อาจใช้ 2 ไปหารก่อนก็ได้)
2. เมื่อดําเนินการจนถึงขั้นตอนทีผ่ ลหารเป็นพหุนามกําลังสอง อาจไม่ต้องหารสังเคราะห์ตอ่
แต่สามารถกลับไปใช้วิธีแยกตัวประกอบในใจอย่างเดิม หรือจะใช้สตู รสําเร็จก็ได้
64 Math E-Book
Release 2.7pre

แบบฝึกหัด ๒.๒
(12) ถ้าหาร 4x3  21x2  26x  17 ด้วย x  4 แล้วเหลือเศษ a
และหาร 3x3  13x2  11x  5 ด้วย x  3 แล้วเหลือเศษ b แล้วให้หาค่าของ ba

(13) ถ้า x1 หาร x2  2a และ x 2 หาร xa แล้วเหลือเศษเท่ากัน ค่า a เท่ากับเท่าใด

(14) ถ้าหาร x4  x3  3x2  x  1 และ 2x3  x2  75x  a ด้วย x 5 แล้วเหลือเศษเท่ากัน


แสดงว่า ค่า a เท่ากับเท่าใด

(15) ถ้า x  2 เป็นตัวประกอบร่วมของ x3  ax2  a x  2b กับ 1 2


ax  x b
4
แล้ว ค่า a  b เป็นเท่าใด

(16) ถ้า x2  2x  3 เป็นตัวประกอบของ x4  ax3  bx2  3x  4


และ x2  x  2 เป็นตัวประกอบของ x3  10x2  cx  d แล้ว a  b  c  d มีค่าเท่าใด

(17) ให้หาเซตคําตอบของสมการต่อไปนี้
(17.1) x3  7x  6  0
(17.2) x3  4x2  x  6  0
(17.3) 6x3  11x2  4x  4  0
(17.4) x4  x3  11x2  5x  30  0
(17.5) 3x5  13x4  7x3  17x2  6x  0
(17.6) x 6 2x 5 14x 4 40x 3 11x 2 38x  24  0
(17.7) x 6 x 5 7x 4 9x 3 6x 2 28x  24  0

(18) ให้แยกตัวประกอบของพหุนาม 3x6  2x5  64x4  96x3  27x2  98x  40

K ยัถ้งาไม่หารสัสามารถเขี
งเคราะห์ด้วยเศษส่วน เช่น 2/5 แล้วใช้ได้ (เศษเป็น 0) แสดงว่าตัวประกอบคือ “x – 2/5”
ยนเป็น “5x – 2” ได้ จนกว่าจะมีการดึงสัมประสิทธิ์ 5 จากวงเล็บอืน่ มาคูณ

(19) ให้หา ห.ร.ม. ของพหุนาม x3  7x  6 , 3x3  7x2  4 และ x4  3x3  6x  4

(20) ให้หา ค.ร.น. ของพหุนาม x3  2x2  5x  6 และ x3  x2  10x  8

(21) ให้หาเซตคําตอบของสมการ x2  a2b2  2abx  b2  0


(21.1) เมื่อ a เป็นเอกลักษณ์การบวกในระบบจํานวนจริง
(21.2) เมื่อ b เป็นเอกลักษณ์การบวกในระบบจํานวนจริง
(21.3) เมื่อ a เป็นเอกลักษณ์การคูณในระบบจํานวนจริง
(21.4) เมื่อ b เป็นเอกลักษณ์การคูณในระบบจํานวนจริง
kanuay.com
65

๒.๓ อสมการพหุนาม
อสมการ (Inequality) คือประโยคที่มีตัวแปรและกล่าวถึงการไม่เท่ากัน
(ได้แก่  >  < หรือ  ) การแก้อสมการก็คือการหาค่าที่เป็นไปได้ทั้งหมดของ
ตัวแปร ซึ่งทําให้ประโยคนั้นเป็นจริง หรืออาจกล่าวว่าเป็นการหา “เซตคําตอบของ
อสมการ” ก็ได้เช่นกัน
ก่อนจะได้ศึกษาเทคนิคการหาคําตอบของอสมการ ควรทําความรู้จักกับ
รูปแบบของเซตซึ่งเรียกว่า “ช่วง” และทราบสมบัติของจํานวนจริงที่เกี่ยวกับการไม่
เท่ากัน (มากกว่า, น้อยกว่า) เสียก่อน

สมบัติของ สมบัติของการไม่เท่ากัน
จํานวนจริง [1] บทนิยามของการมากกว่า และน้อยกว่า
a  bเมื่อ b  a  R
a  b เมื่อ a  b  R
[2] สมบัติการถ่ายทอด (Transitive Property)
ถ้า a  b และ b  c แล้ว จะได้ว่า a  c
[3] สมบัติการบวกหรือคูณด้วยจํานวนที่เท่ากัน
ถ้า a  b แล้ว a  c  b  c เสมอ
 a c  b c เมื่อ c  0
ถ้า a  b แล้ว 
 a c  b c เมื่อ c  0

[4] สมบัติไตรวิภาค (Trichotomy Property)


“ถ้า a, b  R แล้ว a  b หรือ a  b หรือ a  b อย่างใดอย่างหนึ่ง”
สมบัติข้อนี้ทําให้สรุปบทนิยามของการไม่มากกว่า และไม่น้อยกว่า ได้ดังนี้
a ไม่มากกว่า b เขียนได้เป็น a < b (อ่านว่า “a น้อยกว่าหรือเท่ากับ b”)
a ไม่น้อยกว่า b เขียนได้เป็น a > b (อ่านว่า “a มากกว่าหรือเท่ากับ b”)
[5] การเปรียบเทียบสองด้าน
a  b  c หมายความว่า a  b และ b  c
a  b < c หมายความว่า a  b และ b < c
a < b  c หมายความว่า a < b และ b  c
a < b < c หมายความว่า a < b และ b < c

ลักษณะ ช่วง (Interval) เป็นเซตของจํานวนจริงและมีสมาชิกในลักษณะค่าต่อเนื่อง


ของช่วง ไม่สามารถเขียนแจกแจงสมาชิกตัวที่อยู่ติดกันได้ละเอียดถี่ถ้วน จึงต้องระบุถงึ สมาชิก
ด้วยขอบเขต เช่น “อยู่ในช่วง 2 จนถึง 5”
การเขียนช่วง จะมีลักษณะคล้ายคู่อันดับภายในวงเล็บโค้งหรือเหลี่ยม เช่น
(2, 5) หรือ [2, 5] หรือด้านหนึ่งโค้งด้านหนึ่งเหลี่ยมก็ได้ เช่น (2, 5] หรือ [2, 5)
โดยวงเล็บโค้งแสดงถึงปลายช่วงที่ คือจุดปลายนั้นไม่ได้อยู่ในเซตด้วย ส่วนวงเล็บ
เหลี่ยมก็จะแสดงถึงปลายช่วงที่ คือจุดปลายนั้นถือเป็นสมาชิกของเซตด้วย
66 Math E-Book
Release 2.7pre

ช่วงเปิด (a, b) หมายถึง { x | a  x  b } a b


ช่วงปิด [a, b] หมายถึง { x | a < x < b }
ช่วงครึ่งเปิด (a, b] หมายถึง { x | a  x < b }
และช่วงครึ่งเปิด [a, b) หมายถึง { x | a < x  b }
ช่วง (a, ) หมายถึง { x | x  a }
ช่วง [a, ) หมายถึง { x | x > a }
ช่วง (, a) หมายถึง { x | x  a }
ช่วง (, a] หมายถึง { x | x < a }
และช่วง (, ) หมายถึงเซตของจํานวนจริง R

นิยมแสดงขอบเขตของช่วงด้วยกราฟบน เส้นจํานวน (Number Line) โดย


ใช้เส้นทึบแสดงถึงค่าทั้งหมดที่อยู่ในเซตนั้น ปลายเส้นเป็นวงกลมทึบหรือโปร่ง ขึ้นอยู่
กับว่าค่านั้นอยูห่ รือไม่อยู่ในเซต (เป็นปลายปิดหรือเปิด) ตามลําดับ หรืออาจเป็น
ปลายลูกศร เพื่อสื่อว่าเส้นทึบได้ถูกลากต่อไปเรื่อย ๆ อย่างไม่มีจุดสิ้นสุด

K ปลายของเส้
เพราะ กับ
นจํานวนคือ กับ
 
ซึง่ ต้องใช้สญ
 ั ลักษณ์วงเล็บแบบโค้ง (ปลายเปิด) เสมอ
ไม่เป็นจํานวนจริง (ไม่ได้อยู่ในเซตจํานวนจริง ) R

เนื่องจากช่วงถือเป็นอีกรูปแบบของเซต จึงนิยมตั้งชื่อช่วงด้วยตัวอักษรใหญ่
เช่น A, B, C และยังสามารถใช้สัญลักษณ์การดําเนินการ ยูเนียน, อินเตอร์เซกชัน,
ผลต่าง, คอมพลีเมนต์ กับช่วงได้เช่นเดียวกับเซตอื่น ๆ ด้วย โดยพิจารณาขอบเขต
ของผลลัพธ์ได้อย่างชัดเจนจากเส้นจํานวน

ตัวอย่าง 2.11 กําหนด A  [1, 4] และ B  (2, 3)


ให้หา AB และ AB และ (A  B)'

ตอบ จะได้ A  B  [1, 3) ดังรูป


–2 1 3 4

และได้ A  B  (2, 4] ดังรูป


–2 1 3 4

ดังนัน้ (A  B)'  (, 2]  (4, )


–2 1 3 4
kanuay.com
67

ตัวอย่าง 2.12 กําหนด A  [2, ) และ B  (2, 3]


ให้หา AB และ BA

ตอบ จะได้ A  B  {2}  (3, ) ดังรูป

และได้ BA   –2 1 3

การคํานวณ ขอบเขตของ x เมื่อกําหนด a  x  b


2

เกี่ยวกับช่วง ๏ ถ้า a > 0 และ b > 0 จะได้ขอบเขตเป็น (a2 , b2)


๏ ถ้า a  0 และ b  0 จะได้ขอบเขตเป็น (b2 , a2)
๏ ถ้า a  0 ขณะที่ b > 0 ขอบเขตที่ได้จะมีค่าต่ําสุดเป็น 0 และเป็น
ช่วงครึ่งเปิด (เป็น 0 ได้) ค่าสูงสุดให้เลือกระหว่าง a2 กับ b2 ว่าตัวใดมากกว่ากัน
เช่น ถ้า x  (4, 3) จะเห็นว่า x มีค่าตั้งแต่ติดลบจนถึงบวก แสดงว่าผ่าน
ค่าน้อย ๆ เช่น 1, 0, 1 ฯลฯ ด้วย เมื่อนําไปยกกําลังสอง ค่าต่ําสุดจึงต้องเป็น 0 ส่วน
ค่าสูงสุดเลือกค่าที่มากกว่ากัน ระหว่าง 9 และ 16
ดังนั้นจึงสรุปว่า x2 อยู่ในช่วง [0, 16)
หมายเหตุ
ขอบเขตของ x ก็คิดในลักษณะเดียวกันกับ x2 (แต่ไม่ต้องยกกําลัง)

ตัวอย่าง 2.13 ขอบเขตของ x ในแต่ละกรณี


2

ก. ถ้า x  (2, 5) ค่า x จะอยูใ่ นช่วง (4, 25)


2

ข. ถ้า x  (5, 2) ค่า x ก็จะอยู่ในช่วง (4, 25)


2

ค. ถ้า x  (2, 5)
จะเห็นว่า x มีคา่ เป็น 0 ด้วย เมือ่ นําไปยกกําลังสอง ค่าต่าํ สุดทีเ่ ป็นไปได้จึงเป็น 0
ส่วนค่าสูงสุด เลือกค่าที่มากกว่ากันระหว่าง 4 และ 25
..สรุปว่าค่า x2 อยู่ในช่วง [0, 25)
ง. ถ้า x  (5, 2) ก็ยังได้คา่ x2 อยู่ในช่วง [0, 25)

ตัวอย่าง 2.14 ขอบเขตของ x ในแต่ละกรณี


ก. ถ้า x  (2, 5) ค่า x จะอยู่ในช่วง (2, 5)
ข. ถ้า x  (5, 2) ค่า x ก็อยู่ในช่วง (2, 5) เช่นกัน
ค. แต่ถ้า x  (2, 5) ค่า x จะอยู่ในช่วง [0, 5)
ง. และถ้า x  (5, 2) ค่า x ก็อยู่ในช่วง [0, 5) เช่นกัน
68 Math E-Book
Release 2.7pre

การคํานวณ (บวกลบคูณหาร) ระหว่างสองช่วง


คือ a  x  b และ c  y  d
๏ ค่า x  y จะมีขอบเขตเป็น (ac, b d) เสมอ
(ตัวน้อยสุดย่อมเกิดจากน้อยบวกน้อย และตัวมากสุดย่อมเกิดจากมากบวกมาก)
๏ ค่า x  y จะมีขอบเขตเป็น (ad, b c) เสมอ
เนื่องจากการนําลบคูณ y จะกลับด้านเป็น d  y  c แล้วจึงนํามาบวกกับ x
๏ ค่า xy ให้คิดโดยหาผลคูณ ac, ad, bc, bd ให้ครบ แล้วจึงพิจารณาว่า
ในบรรดาผลคูณทั้งสี่ที่ได้นี้ ตัวใดมีค่าน้อยที่สุดและมากที่สุด ค่า xy จะอยู่ในช่วงนั้น
เช่น ถ้า x  (1, 3) และ y  (5, 4)
จะได้ผลคูณทั้งสี่คือ 5, 4, 15, 12 ดังนั้นผลคูณ xy จะอยู่ในช่วง (15, 12)
๏ ค่า x/y ก็ให้พิจารณาจากผลหารทั้งสี่ ในลักษณะเดียวกัน
(แต่ถ้าตัวหารสามารถเป็น 0 ได้ ขอบเขตของผลลัพธ์จะเป็น  )
เช่น ถ้า x  (1, 3) และ y  (2, 4)
จะได้ผลหารทั้งสี่ 1/2, 1/4, 3/2, 3/4 ดังนั้นผลหาร x/ y อยู่ในช่วง (1/2, 3/2)

ตัวอย่าง 2.15 ถ้า 2  x < 3 และ 1 < y  5 ให้หาขอบเขตทีเ่ ป็นไปได้ทั้งหมดของ x2y

วิธีคิด ค่า x อยูใ่ นช่วง [0, 9]


2

2
ค่า x y เลือกจากผลคูณ 0, 0, 9, 45 ..ดังนั้นค่า x2y อยู่ในช่วง [9, 45)
..และจะได้ว่า ค่า x2y อยู่ในช่วง [0, 45)

ข้อควรระวัง จากสมบัติที่กล่าวมาข้างต้น จะสรุปการกระทําที่สามารถทําได้เสมอ และที่


ของอสมการ ควรหลีกเลี่ยงหรือกระทําด้วยความระมัดระวัง ได้ดังต่อไปนี้
1. การบวกหรือลบทั้งสองข้าง (ย้ายข้างบวกลบ)
และการตัดออกสําหรับการบวกหรือลบ ทําได้เสมอ
๏ ถ้ามี a  b สามารถทําเป็น a  c  b  c ได้เสมอ
๏ ถ้าทราบว่า a  c  b  c จะสรุปเป็น a  b ได้เสมอ
2. การคูณทั้งสองข้าง (ย้ายข้างคูณ) และการหารทั้งสองข้าง (ย้ายข้างไปหาร)
รวมถึงการตัดออกสําหรับการคูณ เหล่านี้ต้องระวังเรื่องเครื่องหมาย
“ถ้าสิ่งที่นําไปคูณ หรือหาร หรือตัดออก นั้นมีค่าติดลบ
จะต้องพลิกด้านเครื่องหมายของอสมการเสมอ”
๏ ถ้ามี a  b (เมื่อ c  0 ) จะได้ a c  b c
(เมื่อ c  0 ) จะได้ a c  b c
๏ ถ้ามี a  b (เมื่อ c  0 ) จะได้ a/c  b/c
(เมื่อ c  0 ) หรือ a/c  b/c
๏ ถ้าทราบว่า a c  b c (เมื่อ c  0 ) จะสรุปเป็น a  b
(เมื่อ c  0 ) จะสรุปเป็น a  b
kanuay.com
69

3. การยกกําลังสองทั้งสองข้าง
ทําได้เมื่อมั่นใจว่าเป็นบวกทั้งสองข้าง หรือติดลบทั้งสองข้างเท่านั้น
(โดยกรณีติดลบต้องพลิกด้านเครื่องหมายด้วย)
๏ ถ้ามี a  b (เมื่อ a, b  0 ) จะได้ a2  b2
(เมื่อ a, b  0 ) จะได้ a2  b2
4. การกลับเศษเป็นส่วน การคูณไขว้ ถ้าไม่จําเป็นไม่ควรทํา
เพราะเครื่องหมายอาจผิด (ในบางครั้งไม่ทราบแน่ชัดว่าต้องพลิกด้านหรือไม่)

การแก้ การแก้อสมการพหุนาม อาศัยหลักการคล้ายกับสมการพหุนาม ที่ได้ศึกษา


อสมการ ในหัวข้อที่แล้ว นั่นคือการหาคําตอบจะต้องแยกตัวประกอบให้อยู่ในรูปผลคูณ และอีก
ฝั่งเป็น 0 ก่อน เช่น ผลคูณ a b c d ...  0 เป็นต้น แต่ในการสรุปคําตอบจะต้อง
พิจารณาจากเครื่องหมาย (บวกลบ) ของแต่ละพจน์ เพราะเครื่องหมายของ a, b, c,
d, … แต่ละพจน์ที่มาคูณกัน เป็นเพียงสิ่งเดียวที่ส่งผลให้อสมการเป็นจริงหรือเท็จได้
ตัวอย่างเช่น อสมการ x2  x  6  0 จะต้องแยกตัวประกอบให้อยู่ในรูป
(x  3)(x  2)  0 แล้วจึงพิจารณาว่า ผลคูณของสองวงเล็บจะมีค่าเป็นบวก (มีค่า
มากกว่าศูนย์) ได้เมื่อ x มีค่าอยู่ในช่วงใด
ถ้า x เป็น 3 หรือเป็น –2 ผลคูณจะเป็น 0 แสดงว่าสองค่านี้ไม่ใช่คําตอบ
ถ้า x มากกว่า 3 จะทําให้ทั้งสองวงเล็บเป็นบวก คูณกันเป็นบวก อสมการ
เป็นจริง แสดงว่าค่า x ที่มากกว่า 3 เป็นคําตอบได้ทั้งหมด
ถ้า x อยู่ระหว่าง –2 ถึง 3 จะทําให้วงเล็บแรกติดลบ วงเล็บหลังเป็นบวก
คูณกันได้ค่าติดลบ อสมการจึงไม่เป็นจริง แสดงว่าค่า x ในช่วงนี้ไม่ใช่คําตอบ
ถ้า x น้อยกว่า –2 จะทําให้ทั้งสองวงเล็บติดลบ คูณกันก็เป็นบวก อสมการ
เป็นจริง แสดงว่าค่า x ที่น้อยกว่า –2 เป็นคําตอบได้ทั้งหมด
สรุปช่วงคําตอบของอสมการนี้จึงเป็น (, 2)  (3, )

หมายเหตุ
1. ถ้าเปลี่ยนอสมการเป็น x2  x  6  0 จะได้ช่วงคําตอบเป็น (2, 3)
2. ถ้าเปลี่ยนอสมการเป็น x2  x  6 > 0 จะได้ช่วงคําตอบเป็น (, 2]  [3, )
และถ้าเปลี่ยนอสมการเป็น x2  x  6 < 0 จะได้ช่วงคําตอบเป็น [2, 3]
เนื่องจากจุดที่เพิ่มมาเป็นจุดที่ทําให้เครื่องหมาย “เท่ากับ” เป็นจริงนั่นเอง

เทคนิคการแก้อสมการพหุนามดีกรีสองขึ้นไป
การพิจารณาเครื่องหมายของแต่ละวงเล็บทีละช่วง ๆ ดังที่ได้แสดงตัวอย่างไว้
นั้น ถือเป็นพื้นฐานที่สําคัญ แต่ในทางปฏิบัตนิ ั้นไม่สะดวกอย่างยิ่ง ถ้าเราได้พิจารณา
แนวโน้มของช่วงคําตอบของหลาย ๆ อสมการจากเส้นจํานวน ก็จะพบได้ชัดเจนว่าช่วง
ขวาสุดนั้นจะทําให้ผลคูณเป็นบวกเสมอ และช่วงถัด ๆ มาทางซ้าย จะทําให้ผลคูณติด
ลบ, เป็นบวก, ติดลบ, ฯลฯ สลับกันไปแบบนี้เสมอ (เพราะเครื่องหมายบวกลบจะถูก
70 Math E-Book
Release 2.7pre

เปลี่ยนไปทีละหนึ่งวงเล็บ) ดังนั้นเมื่อเราแยกตัวประกอบแล้วเขียนเส้นจํานวน จะ
สามารถบอกช่วงคําตอบของอสมการได้เลยทันที โดยอาศัยหลักการเช่นนี้เอง

กล่าวสรุปขั้นตอนการแก้อสมการพหุนามได้ดังนี้
1. จัดอสมการให้ฝั่งหนึ่งเป็น 0 โดยที่สัมประสิทธิ์นํา (หน้า x กําลังสูงสุด) ไม่ติดลบ
(หากติดลบให้คูณทั้งสองข้างของอสมการด้วย –1 และเครื่องหมายจะพลิกด้านด้วย)
แล้วแยกตัวประกอบของพหุนาม ทั้งเศษและส่วน (ถ้ามี)
(x  c1)(x  c2)(x  c3)... 2
จะได้ผลสําเร็จในรูป เช่น (x  3)(x 31) > 0
(x  d1)(x  d2)... x (x  2)

2. กําหนดจุด x ที่ทําให้แต่ละวงเล็บเป็น 0 (คือค่า c1, c2 , c3 , d1, d2 , ... ) ลงบนเส้น


จํานวน เรียงจากน้อยไปมาก และหากมีตัวประกอบใดอยู่หลายครั้ง ก็เขียนจุดเป็น
จํานวนเท่านั้นครั้งด้วย
เช่นอสมการที่ยกเป็นตัวอย่างจะเขียนได้ดังนี้ –3 0 1 1 2 2 2
3. ใส่เครื่องหมาย +, –, +, –, ... สลับกันไปในแต่ละช่วงย่อยบนเส้นจํานวน
(ซึ่งหมายความว่าค่า x ในช่วงนั้นจะทําให้พหุนามมีค่าเป็นบวกหรือติดลบนั่นเอง)
โดยต้องให้ช่วงขวามือสุดเป็น + เสมอ - + - + - + - +
–3 0 1 1 2 2 2
4. หากอสมการเป็นเครื่องหมาย “มากกว่าศูนย์” ช่วงคําตอบจะเป็นช่วงเปิดในช่วง +
หากเป็นเครื่องหมาย “น้อยกว่าศูนย์” ช่วงคําตอบจะเป็นช่วงเปิดในช่วง –
โดยที่ถ้ามีเครื่องหมาย “เท่ากับศูนย์” อยู่ด้วย ช่วงคําตอบจะเปลี่ยนเป็นช่วงปิด
ทั้งนี้ต้องระวังเรื่องเศษส่วน ที่ตัวส่วนจะต้องไม่เป็นศูนย์ ( x  d1, d2 , ... )
- + - + - + - +
–3 0 1 1 2 2 2
5. จัดรูปคําตอบให้กระชับ (ยุบรวมจุดที่เป็นจุดเดียวกัน)
เช่น ในตัวอย่างนี้คําตอบคือ x  [3, 0)  {1}  (2, )

–3 0 1 2

K สํเช่านหรัสมการ
บสมการ เราสามารถสรุปคําตอบว่า “แต่ละวงเล็บเป็น 0” ได้
(x–2)(x–3) = 0 จะได้ x = 2 หรือ 3 คล้ายการย้ายข้าง ..แบบนี้ถูกต้อง
แต่ถ้าเป็นอสมการ (x–2)(x–3) < 0 จะย้ายข้างเป็น x < 2 หรือ 3 !
ต้องพิจารณาช่วงคําตอบจากการเขียนเส้นจํานวนเท่านั้น!

หมายเหตุ
1. หากมีจุดซ้ํากันเกิน 2 จุด (มีวงเล็บที่ยกกําลังมากกว่า 2)
ถ้าเป็นกําลังคู่สามารถเขียนจุดเพียง 2 จุด แต่ถ้าเป็นกําลังคี่ก็เขียนจุดเพียงจุดเดียว
เนื่องจากในตอนท้าย ช่วงที่ได้จากจุดที่ซ้ํากันเหล่านี้จะถูกยุบรวมและได้ผลไม่ต่างกัน
kanuay.com
71

2. ในกรณีที่มีพหุนามย่อย ๆ ทีแ่ ยกตัวประกอบเป็นจํานวนจริงไม่ได้


นั่นคือใช้สูตร x  B  B2A 4AC แล้วพบว่าภายในรู้ทเป็นจํานวนติดลบ
2

พหุนามย่อยนั้นจะมีค่าเป็นบวกเสมอ ทําให้ไม่ส่งผลต่อความจริงเท็จของอสมการ
เราจึงสามารถละทิ้งได้ทันที ไม่ต้องเขียนลงบนเส้นจํานวน
2
เช่นอสมการ (x  2)(x  5)(x  2x  2) < 0
x3
– + – +
จะได้ช่วงคําตอบบนเส้นจํานวนดังนี้ –2 3 5

K หากแยกตั วประกอบในใจไม่สําเร็จ ยังไม่อาจสรุปว่าพหุนามนั้น “แยกตัวประกอบไม่ได้”


จะต้องลองใช้สูตรดูกอ่ น เพราะตัวประกอบอาจเป็นจํานวนอตรรกยะ (คือติดรูท้ ) ก็ได้
1  1 12
เช่น อสมการ x2  x  3 < 0 ใช้สูตรได้ตวั ประกอบเป็น x 
2

แบบนี้สามารถเขียนเส้นจํานวนได้ และช่วงคําตอบคือ ช่วงปิด  1  13 , 1  13 


 2 2 

ตัวอย่าง 2.16 จากอสมการ x4  3x3  13x2  9x  30  0

แยกตัวประกอบได้เป็น (x  2)(x  5)(x2  3)  0


นั่นคือ (x  2)(x  5)(x  3)(x  3)  0
+ – + – +
–5  3 3 2
จากเส้นจํานวน เซตคําตอบคือช่วง (5,  3)  ( 3, 2)

..แต่หากเปลี่ยนเป็น x4  3x3  13x2  9x  30  0

+ – + – +
–5  3 3 2
จะได้เซตคําตอบเป็น (, 5)  ( 3, 3)  (2, )

ตัวอย่าง 2.17 ให้หาเซตคําตอบของ


x 2  2x  19
ก. สมการ x4
 4

วิธีคิด เป็นสมการจึงสามารถย้ายข้างคูณได้ทันที
(แต่ต้องกํากับเงือ่ นไขของตัวส่วนคือ x  4  0  x4 ด้วย)
จะได้สมการเป็น x 2 2x  19  4(x  4)
จากนั้นย้ายทางขวามาลบเป็น x 2 2x  3  0
ซึ่งสามารถแยกตัวประกอบได้ (x  1)(x  3)  0
ดังนัน้ เซตคําตอบของสมการนี้คอื {1, 3}
72 Math E-Book
Release 2.7pre

x 2  2x  19
ข. อสมการ x4
< 4

วิธีคิด อสมการนี้ย้ายข้าง x4 ไปคูณไม่ได้ เพราะไม่แน่ใจว่าต้องกลับเครื่องหมาย < หรือไม่


2
x  2x  19
ดังนัน้ จึงใช้วิธียา้ ยเลข 4 ทางขวามาลบแทน ..ได้เป็น 4< 0
x4
x 2  2x  19  4x  16 x 2 2x  3
จัดรูปฝั่งซ้ายให้เป็นเศษส่วนเดียวคือ < 0  < 0
x4 x4
(x  1)(x  3)
จากนั้นแยกตัวประกอบได้เป็น < 0
x4
อสมการอยู่ในรูปผลคูณแล้ว จึงสามารถเขียนเส้นจํานวนเพือ่ หาคําตอบ (อย่าลืม x4)
- + - +
–1 3 4
..และเซตคําตอบที่ได้คอื ช่วง (, 1]  [3, 4)

ขอบเขตบน สมบัติความบริบูรณ์ (The Axiom of Completeness)


น้อยสุด เป็นสมบัติข้อสุดท้ายของระบบจํานวนจริงที่จะได้กล่าวถึง มีชื่ออีกอย่างหนึ่ง
ว่า สัจพจน์การมีค่าขอบเขตบนน้อยสุด (Least Upper Bound Axiom)

ค่าขอบเขตบน คือค่าจํานวนจริงซึ่งไม่น้อยกว่าสมาชิกใด ๆ ในเซตที่


กําหนดให้ เช่น เซต S  {0, 1, 2, 3, 4, ...} มีค่าขอบเขตบนเป็น 0 หรือ 0.5
หรือ 1.8 หรืออื่น ๆ เพราะค่าเหล่านี้ไม่น้อยกว่าสมาชิกใดใน S แต่ ค่าขอบเขตบน
น้อยสุด ได้แก่ 0 เท่านั้น
ค่าขอบเขตบนน้อยสุดของช่วง (a, b) และ (a, b] และ [a, b] คือค่า b
ค่าขอบเขตบนน้อยสุดของช่วง (, b) และ (, b] คือค่า b
ค่าขอบเขตบนน้อยสุดของช่วง (a, ) และ [a, ) และ (, ) หาไม่ได้

สมบัติข้อสุดท้ายของระบบจํานวนจริง กล่าวว่า “สับเซตใด ๆ ของ R ถ้ามี


ขอบเขตบนแล้ว ค่าขอบเขตบนน้อยสุดจะยังอยู่ใน R ” ซึ่งสมบัติข้อนี้ในระบบ
จํานวนอื่นบางระบบ เช่นระบบจํานวนตรรกยะ Q นั้นไม่มี

แบบฝึกหัด ๒.๓
(22) ข้อความต่อไปนี้ถูกหรือผิด
(22.1) ถ้า (a  b)(b  c)(c  d)  0 แล้ว a  b  c  d
(22.2) ถ้า a  b และ n  N แล้ว an  bn
ab
(22.3) ถ้า a  0 , b  0 และ a  b แล้ว  ab
2
b a 1 1
(22.4) ถ้า a  0, b  0 และ a  b แล้ว 2
 2  
a b a b
kanuay.com
73

(23) ถ้า a  b  c แล้ว ข้อความต่อไปนี้ถูกหรือผิด


ab
(23.1) a   b (23.3) a3  b3  c3
2
abc
(23.2) a   c (23.4) ab  bc
3

(24) ถ้า 7  x  5 และ 3  y  6 แล้ว ค่าต่อไปนี้อยู่ในช่วงใด


2
(24.1) x y (24.2) xy2

(25) ถ้า 6  x  2 และ 2  y  3 แล้ว ค่าต่อไปนี้อยู่ในช่วงใด


(25.1) xy (25.3) x/ y
(25.2) xy

(26) ถ้าต้องการสร้างรูปสามเหลี่ยมหน้าจั่วให้มีเส้นรอบรูปยาว 20 ซม.


และความสูงของสามเหลี่ยมนี้ไม่เกิน 5 ซม. ความยาวฐานควรจะมีค่าเท่าใด

(27) ถ้า A เป็นเซตคําตอบของอสมการ 4 < 3x  2  13


และ B เป็นเซตคําตอบของอสมการ 11  x  4x  1 < 2x  7
แล้ว ภายในเซต A  B' จะมีจํานวนเต็มเป็นเท่าใดบ้าง

(28) ให้หาเซตคําตอบของอสมการต่อไปนี้
(28.1) x2 < x  2
(28.2) x (2x  1) > 1
(28.3) 6x3  11x2  2x  0

(29) ถ้า m และ n คือจํานวนเต็มที่มากที่สุดและน้อยที่สุด


ที่เป็นคําตอบของอสมการ x2  6x  7 < 0 แล้ว m  n เป็นเท่าใด

(30) ถ้า m คือผลบวกของจํานวนเต็มทั้งหมดที่เป็นคําตอบของ 21  5x  6x2 > 0


และ n คือผลบวกของจํานวนเต็มทั้งหมดที่ไม่เป็นคําตอบของ 3x2  1  1  x  3x2
แล้ว ให้หา m  n

(31) ข้อความต่อไปนี้ถูกหรือผิด
ก. ผลบวกของค่าสัมบูรณ์ของคําตอบที่เป็นจํานวนเต็มของ 20  3x  2x2 > 0 คือ 13
2
ข. ค่าสัมบูรณ์ของผลบวกของคําตอบที่เป็นจํานวนเต็มของ 3x  7x  30  0 คือ 7

(32) กําหนด a และ b เป็นจํานวนเต็มที่มากที่สุดและน้อยที่สุด


ซึ่งไม่เป็นคําตอบของอสมการ 2x2  4x  5  0 ตามลําดับ
แล้ว ข้อความต่อไปนี้ถูกหรือผิด
(32.1) {ab}  {a, b} (32.2) {a  b}  {a, b}
74 Math E-Book
Release 2.7pre

(33) ถ้าพหุนาม x3  a2x  a  2 หารด้วย x1 แล้วเหลือเศษมากกว่า 5


ดังนั้นค่า a เป็นเท่าใดได้บ้าง

(34) ให้หาเซตคําตอบของอสมการ x3  x2  4x  4 > 0

(35) ถ้า A เป็นเซตคําตอบของอสมการ x3  2x2 < 5x  6


และ B  (5, ) แล้ว ผลบวกของจํานวนเต็มในเซต A  B เป็นเท่าใด

(36) ให้หา
x (x  1)(x  2)
(36.1) เซตคําตอบของอสมการ  0
(x  1)(x  2)
(36.2) เซต (A ' B ') ' เมื่อ A เป็นเซตคําตอบของ (x  2)(x  3)(x  1)4  0
และ B เป็นเซตคําตอบของ (x  4)(x  3)(x  2)3 > 0
(x  4)(x  1)(x  2)3
(36.3) ผลบวกค่าสัมบูรณ์ของจํานวนเต็มที่ไม่ได้อยู่ใน {x | > 0}
x (x  5)2

2x  5
(37) ถ้า A เป็นเซตคําตอบของอสมการ > 0
x 2
2x  1
และ B เป็นเซตคําตอบของอสมการ  1
x 5
แล้ว ให้หาผลบวกของจํานวนเต็มที่มากที่สุดและน้อยที่สุด ที่อยู่ในเซต B  A'

x1
(38) ให้ S เป็นเซตคําตอบของ  2
x 2
และ a เป็นขอบเขตบนน้อยสุดของ S แล้ว ค่าของ a2  1 เป็นเท่าใด

(39) ถ้า A เป็นเซตคําตอบของอสมการ 2x 2 x 3  0


x 2 2x  2
และ B เป็นเซตคําตอบของอสมการ < 1
x 2
แล้ว ให้หาสมาชิกของเซต BA ซึ่งเป็นจํานวนเต็ม

(40) ให้หาเซตคําตอบของอสมการต่อไปนี้
1 2 1 2x  1
(40.1)  (40.3) 
x1 3x  1 x 2 2

1 x 4 2
(40.2) > (40.4) >
x1 x8 x 2 x1

(41) ให้หาขอบเขตบนน้อยสุดของแต่ละเซตที่กําหนดให้
(41.1) { x | x2  7 } (41.3) (2, 6]  (3, 8]
(41.2) { 1, 5, 7, 9 }  [6, ) (41.4) { x  2n | n  I }
kanuay.com
75

n
(42) ถ้า a เป็นขอบเขตบนน้อยสุดของเซต A  {x | x  , n  I }
n1
1
และ b เป็นขอบเขตล่างมากสุดของเซต B  {x | x  , n  I }
n
แล้ว ให้หาค่า ab

(43) ให้หาผลบวกของค่าขอบเขตบนน้อยสุด และค่าขอบเขตล่างมากสุด


ของเซตคําตอบของอสมการ 2x2  5x  2  5

๒.๔ ค่าสัมบูรณ์
นิยามของ “ค่าสัมบูรณ์ (Absolute Value หรือ Modulus) ของจํานวนจริง a” ใช้
ค่าสัมบูรณ์ สัญลักษณ์ว่า a มีความหมายเชิงเรขาคณิตบนเส้นจํานวนคือ “ค่าของ a เท่ากับ
ระยะห่างระหว่างจุดที่แทนจํานวน a กับจุด 0” และ “ค่าของ a  b เท่ากับ
ระยะห่างระหว่างจุดที่แทนจํานวน a กับจุดที่แทนจํานวน b”
เช่น 5 เท่ากับ 5 เนื่องจากระยะระหว่างจุด 5 กับ 0 เท่ากับ 5 หน่วย
 3 เท่ากับ 3 เนื่องจากระยะระหว่างจุด 3 กับ 0 เท่ากับ 3 หน่วย
7  1 เท่ากับ 6 เนื่องจากระยะระหว่างจุด 7 กับ 1 เท่ากับ 6 หน่วย
1  7 ก็มีค่าเป็น 6 เหมือนกัน เพราะหมายถึงระยะระหว่างจุด 1 กับ 7 เช่นกัน

ที่กล่าวมานี้เป็นความหมายเชิงเรขาคณิต ส่วนความหมายในระบบจํานวน
จริง หรือการถอดค่าสัมบูรณ์สําหรับใช้คํานวณนั้น นิยามของค่าสัมบูรณ์จะเป็นดังนี้
 a เมื่อ a > 0
a  
  a เมื่อ a  0
เช่น 5  5 ถอดค่าได้ทันทีเพราะสิ่งที่อยู่ในค่าสัมบูรณ์มีค่าเป็นบวก
 3  (3)  3 จะเห็นได้ว่า เมื่อสิ่งที่อยู่ภายในค่าสมบูรณ์มีค่าติดลบ จะไม่
สามารถถอดค่าสัมบูรณ์ออกเพียงอย่างเดียว แต่เมื่อถอดแล้วต้องใส่เครื่องหมายลบ
ลงไปอีกครั้งด้วย เพื่อให้ค่าที่อยู่ภายในนั้นถูกกลับเป็นค่าบวก

ตัวอย่าง 2.18 ให้ถอดค่าสัมบูรณ์ของ


ก. 2  2
ตอบ ถอดค่าสัมบูรณ์ได้ทันที เนื่องจากสิ่งที่อยู่ภายในนั้นมีค่าเป็นบวก (เพราะว่า 2  2 )
จึงได้ค่าเป็น 2 2

ข. 3

ตอบ เนื่องจากสิ่งที่อยูภ่ ายในค่าสัมบูรณ์มีค่าติดลบ (เพราะว่า 3  )


การถอดค่าสัมบูรณ์จะต้องใส่เครื่องหมายลบลงไปด้วย
จึงได้ค่าเป็น  (3  )    3
76 Math E-Book
Release 2.7pre

ค.  1 2

ตอบ สิ่งที่อยู่ภายในค่าสัมบูรณ์มีค่าติดลบ จึงถอดค่าได้เป็น  ( 1  2)  1  2

ง. x4

ตอบ ในที่นเี้ ราไม่ทราบแน่ชัดว่า x มีคา่ เป็นเท่าใด


ซึ่งค่า x ที่ตา่ งกันอาจทําให้ภายในค่าสัมบูรณ์เป็นบวกหรือติดลบก็ได้
จึงต้องตอบแยกทั้งสองกรณี (ตามนิยามที่กล่าวไว้ก่อนตัวอย่างนี)้
 x  4 เมื่อ x > 4
x4  
 x  4 เมือ
่ x4

จ. 2x  1

ตอบ แยกเป็นสองกรณีเช่นเดียวกับข้อที่แล้ว นั่นคือ


 2x  1 เมื่อ x >  1/2
2x  1  
 2x  1 เมื่อ x   1/2

หมายเหตุ
ข้อ ง. และ จ. สามารถหาเงื่อนไขจุดแบ่งค่า x ได้โดยตั้งอสมการ ให้ “สิ่งที่อยู่ภายใน
ค่าสัมบูรณ์” มากกว่าหรือน้อยกว่า 0 เช่น เมื่อ 2x  1 > 0 จะได้ x > 1/2 เป็นต้น

ทฤษฎีที่เกี่ยวกับค่าสัมบูรณ์
[1] ค่าสัมบูรณ์ต้องไม่ติดลบ a > 0 เสมอ
[2] ภายในค่าสัมบูรณ์ไม่คํานึงถึงเครื่องหมายลบ a  a
ab  ba
[3] ค่าสัมบูรณ์กระจายได้ สําหรับการคูณหาร ab  a b
n
an  a
a a
 (โดย b  0)
b b
2
[4] ยกกําลังคู่ ไม่ต้องใส่ค่าสัมบูรณ์ก็ได้ a2  a  a2
[5] ค่าสัมบูรณ์กระจาย สําหรับการบวกลบ ab < a  b
ab > a  b
 a เมื่อ n  จํานวนคู่
[6] นิยามการถอดรากที่ n ของกําลัง n n an  
 a เมื่อ n  จํานวนคี่

K ให้เช่นทาํ ความเข้าใจกัเป็บนข้ประโยคที
a2  a
อสุดท้ายนี้ให้ดีครับ เพราะมักเป็นจุดที่ผิดพลาดกันได้งา่ ย
่ผดิ เพราะ a อาจจะเป็นจํานวนติดลบก็ได้ ..ที่ถูกคือ a2  a
ดังนัน้ สมการ (x  3)2  1 ก็ไม่ได้กลายเป็น x3  1 ..แต่จะต้องกลายเป็น x3  1
kanuay.com
77

(อ)สมการที่มี การแก้สมการและอสมการที่มีค่าสัมบูรณ์ รูปแบบที่ 1


ค่าสัมบูรณ์ (คือมี x อยู่ในค่าสัมบูรณ์เพียงด้านเดียว และอีกด้านเป็นค่าคงที่ k ซึ่งไม่ติดลบ)
[1] สมการ p(x)  k จะได้คําตอบเป็น “ p(x)  k p(x)  k ”
[2] อสมการ p(x)  k จะได้ k  p(x)  k
p(x) < k จะได้ k < p(x) < k
p(x)  k จะได้ “ p(x)  k p(x)  k ”
p(x) > k จะได้ “ p(x) < k p(x) > k”
–k k

K ถ้จะคล้าสังเกตให้ ดี จะพบว่าช่วงคําตอบของ “อสมการค่าสัมบูรณ์” ในรูปแบบที่ 1 นี้


ายกับช่วงคําตอบของ “อสมการพหุนามกําลังสอง” (เส้นจํานวน +, –, +) ทุกประการ

ตัวอย่าง 2.19 ให้หาเซตคําตอบของ


ก. สมการ 3x  2  4
วิธีคิด จะได้ 3x  2  4 หรือ 3x  2  4
นั่นคือ x  2 หรือ x  2/ 3 ..ดังนั้นเซตคําตอบคือ {2, 2/ 3}

ข. อสมการ 3x  2 > 4

วิธีคิด จะได้ 3x  2 > 4 หรือ 3x  2 < 4


นั่นคือ x > 2 หรือ x < 2/ 3
..ดังนัน้ ช่วงคําตอบของอสมการคือ (, 2/ 3]  [2, )

ตัวอย่าง 2.20 ให้หาเซตคําตอบของ


ก. สมการ 3  x  1
วิธีคิด จะได้ 3  x  1 หรือ 3  x  1
นั่นคือ x  2 หรือ x  4 ..ดังนัน้ เซตคําตอบของสมการคือ {2, 2, 4, 4}

ข. อสมการ 3 x < 1

วิธีคิด จะได้ 1 < 3  x < 1


ลบด้วย 3 ทุกส่วนของอสมการ ได้เป็น 4 <  x < 2
นําลบคูณทั้งอสมการ.. 2 < x < 4
ค่าสัมบูรณ์ของ x มีคา่ ตัง้ แต่ 2 ถึง 4 ..จะพบว่าค่า x นี้เป็นไปได้ทั้งจํานวนบวกและติดลบ
ดังนัน้ ช่วงคําตอบของอสมการคือ [4, 2]  [2, 4]
78 Math E-Book
Release 2.7pre

การแก้สมการและอสมการที่มีค่าสัมบูรณ์ รูปแบบที่ 2
(คือติดตัวแปร x ทั้งสองด้าน แต่ไม่มีการบวกลบอยู่ภายนอกค่าสัมบูรณ์)
เราจะพยายามยกกําลังสองทั้งสองข้าง เพื่อให้ค่าสัมบูรณ์หายไป ตามหลักว่ายกกําลัง
เลขคู่ไม่จําเป็นต้องเขียนค่าสัมบูรณ์ แต่การยกกําลังสองทั้งสองข้างอาจกระทําไม่ได้
เสมอไป เพราะจะต้องมั่นใจว่าเป็นบวกทั้งสองข้างก่อน
[1] สมการ p(x)  q(x)
และอสมการ p(x)  q(x) หรือ p(x)  q(x)
เหล่านี้ล้วนสามารถยกกําลังสองทั้งสองข้างได้ (เพราะมั่นใจว่าเป็นบวกทั้งสองข้าง)
จากนั้นควรย้ายข้างมาลบกัน เป็นผลต่างกําลังสอง เพื่อไม่ต้องแยกตัวประกอบเอง
[2] สมการ p(x)  q(x) และอสมการ p(x)  q(x)
ยังคงยกกําลังสองทั้งสองข้างได้เช่นกัน แต่ ด้วยเสมอ
เพราะอาจมีบางคําตอบที่ทาํ ให้ q(x) ติดลบ ซึ่งเป็นไปไม่ได้
(ถ้าตรวจคําตอบไม่สะดวก ให้หาเงื่อนไขที่ q(x) > 0 มาอินเตอร์เซกกับคําตอบก็ได้)
[3] อสมการ p(x)  q(x) จะต้องแยกคิดสองกรณี ได้แก่
๏ กรณี q(x) > 0 จะใช้วิธียกกําลังสองทั้งสองข้างเช่นเดิม (ต้องตรวจคําตอบด้วย)
๏ กรณี q(x)  0 อสมการจะเป็นจริงเสมอ
แล้วนําเซตคําตอบที่ได้จากทั้งสองกรณีมายูเนียนกัน

หมายเหตุ
วิธีคํานวณของรูปแบบนี้ใช้กับโจทย์รูปแบบที่ 1 ได้ด้วยเช่นกัน

ตัวอย่าง 2.21 ให้หาเซตคําตอบของสมการ 2x  1  3x  2


วิธีคิด ยกกําลังสองทั้งสองข้าง จะได้ (2x  1)  (3x  2)
2 2

ย้ายมาลบกันเป็น (2x  1)2  (3x  2)2  0


แจกแจงผลต่างกําลังสองได้ดังนี้ (2x  1  3x  2)(2x  1  3x  2)  0
นั่นคือ (x  3)(5x  1)  0
ดังนัน้ x  3 หรือ x  1/5
..ตรวจคําตอบแล้วพบว่า x  3 ใช้ไม่ได้ และ x  1/5 ใช้ได้
เพราะฉะนั้น เซตคําตอบของสมการคือ {1/5}

หมายเหตุ
ถ้าเปลี่ยนโจทย์เป็น 2x  1  3x  2 จะได้เซตคําตอบของสมการเป็น {3, 1/5}
(เนื่องจากตรวจคําตอบพบว่าใช้ได้ทั้งสองคําตอบ)
kanuay.com
79

ตัวอย่าง 2.22 ให้หาเซตคําตอบของอสมการ 3x  2 < 4x  1

วิธีคิด ยกกําลังสองทั้งสองข้าง จะได้ (3x  2) 2


< (4x  1)2
2 2
ย้ายมาลบกันเป็น (3x  2)  (4x  1) < 0
แจกแจงผลต่างกําลังสองได้ดังนี้ (3x  2  4x  1)(3x  2  4x  1) < 0
นั่นคือ (x  1)(7x  3) < 0
นํา –1 คูณกลายเป็น (x  1)(7x  3) > 0

..เมื่อเขียนเส้นจํานวนแล้ว จะได้ชว่ งคําตอบเป็น (, 3/ 7]  [1, )


แต่จากอสมการในโจทย์ มีเงือ่ นไขว่า 4x  1 > 0 เท่านั้น นัน่ คือ x > 1/4
นําไปอินเตอร์เซกกับคําตอบที่ได้ จะพบว่าช่วงคําตอบของอสมการนี้คอื [1, )

หมายเหตุ
ถ้าเปลี่ยนโจทย์เป็น 3x  2 < 4x  1 จะไม่มีเงือ่ นไขใดเกิดขึน้ เลย
ช่วงคําตอบของอสมการจึงเป็น (, 3/ 7]  [1, ) ได้

อสมการที่มีตัวส่วนเป็นค่าสัมบูรณ์ สามารถย้ายฝั่งไปคูณไว้ทอี่ ีกข้างได้ทันที


เพราะค่าสัมบูรณ์นั้นย่อมไม่ติดลบแน่นอน แต่ทั้งนี้ยังคงต้องระวังคําตอบทีท่ ําให้ตัว
ส่วนมีค่าเป็น 0 ด้วยเช่นเคย
เช่น อสมการ 2 < 1
x1 x 2

สามารถย้ายข้างเป็น 2 x  2 < x  1 แล้วยกกําลังสองทั้งสองข้างต่อได้


แต่เมื่อได้เซตคําตอบแล้ว หากภายในนั้นมี –1 หรือ 2 จะต้องตัดทิ้งไปด้วย

K เช่น ในรูปแบบที่ 2 นี้ สามารถ 1 .. เพราะได้ผลไม่ตา่ งกันเลย


x  2  x จะกลายเป็น “ x  2  x หรือ x  2   x ”
แต่จะ เพราะอาจมีคาํ ตอบทีท่ ําให้คา่ สัมบูรณ์เท่ากับค่าติดลบ จะใช้ไม่ได้..
..แต่ถ้าเป็น เช่น x  2 < x 1 คือ “ x < x  2 < x ”
เพราะเป็นวิธที ี่ไม่ชัดเจน และตรวจช่วงคําตอบได้ยาก ..ควรแก้ด้วยวิธีที่ 2 หรือ 3 เท่านั้น

การแก้สมการและอสมการที่มีค่าสัมบูรณ์ รูปแบบที่ 3
(คือมีการบวกลบอยู่นอกค่าสัมบูรณ์ และไม่สามารถจัดรูปให้เป็นแบบที่ 1 หรือ 2 ได้)
จะต้องคํานวณโดยใช้นิยามของค่าสัมบูรณ์ นั่นคือแยกกรณีเพื่อถอดค่าสัมบูรณ์ออก

ขั้นตอนการคํานวณด้วยวิธีถอดค่าสัมบูรณ์ตามนิยาม เป็นดังนี้
1. กําหนดค่า x ที่ทําให้ค่าสัมบูรณ์แต่ละพจน์มีค่าเป็น 0 ลงบนเส้นจํานวน ให้ครบ
ทุกจุดโดยเรียงตามลําดับน้อยไปมาก เส้นจํานวนจะถูกแบ่งออกเป็นช่วงย่อย ๆ ซึ่งแต่
ละช่วงเป็นเงื่อนไขของค่า x ในการถอดค่าสัมบูรณ์นั่นเอง
80 Math E-Book
Release 2.7pre

เช่น สมการ 2x  1  x  2  x  3
มีค่าสัมบูรณ์อยู่ 2 พจน์ จึงกําหนดจุดบนเส้นจํานวน 2 จุด ได้แก่ –1/2 และ 2
และทําให้ได้ช่วงย่อยเป็น x  1/2 , 1/2 < x  2 และ x > 2

–1/2 2

K ในหนังสือเล่มนี้จะเขียนเครื่องหมายเท่ากับรวมกับเครื่องหมายมากกว่า
ให้ตรงตามนิยามของการถอดค่าสัมบูรณ์ เพื่อความเป็นระเบียบ
..แต่อนั ทีจ่ ริง แม้ให้เครือ่ งหมายเท่ากับอยูก่ ับเครื่องหมายน้อยกว่า ก็ได้ผลลัพธ์ไม่ตา่ งกัน

2. ในแต่ละช่วงย่อย ให้ถอดค่าสัมบูรณ์ในสมการออก ซึ่งผลอาจเป็นรูปเดิมหรืออาจ


ต้องใส่เครื่องหมายลบ ขึ้นอยู่กับว่าภายในค่าสัมบูรณ์นั้นมีค่าเป็นบวกหรือติดลบ
วิธีที่สะดวกที่สุดในการพิจารณาก็คือทดลองแทนจํานวนใด ๆ ที่อยู่ในช่วงนั้น
ลงไปในค่าสัมบูรณ์ หากภายในค่าสัมบูรณ์มีค่าติดลบ เมื่อถอดค่าสัมบูรณ์ออกแล้ว
จะต้องใส่เครื่องหมายลบเพิ่มให้ด้วย แต่ถ้าภายในมีค่าเป็นบวกอยู่แล้วก็สามารถถอด
ค่าสัมบูรณ์ออกได้เลย โดยไม่ต้องแก้ไขใด ๆ
ดังตัวอย่างนี้ จะถอดค่าสัมบูรณ์ได้สมการ 3 แบบต่าง ๆ กัน
x > 2
1/2 < x  2
x  1/2

–1/2 2
(2x  1)  (x  2)  x  3 (2x  1)  (x  2)  x  3 (2x  1)  (x  2)  x  3
x3  x3 3x  1  x  3 x3  x3
x  3 x  2 0  0

หากแก้สมการแล้วได้ผลเป็น 0  0 หรือประโยคอื่น ๆ ที่เป็นจริงเสมอ


เช่น 3 > 0 แสดงว่าช่วงย่อยนั้นเป็นคําตอบได้ทั้งหมด แต่ถ้าแก้สมการแล้วได้ผล
เป็นประโยคที่เป็นเท็จ เช่น 1  0 หรือ 3 < 0 แสดงว่าช่วงย่อยนั้นไม่มีค่าใดเป็น
คําตอบเลย

3. ตรวจสอบคําตอบที่ได้ของแต่ละช่วงย่อย ให้ใช้คําตอบเฉพาะที่อยู่ในช่วงนั้นจริง ๆ
โดยการอินเตอร์เซกกับขอบเขตของช่วงย่อยนัน้ ๆ แล้วขั้นตอนสุดท้ายจึงรวมคําตอบ
ที่ได้จากแต่ละช่วงย่อยเข้าด้วยกันโดยการยูเนียน เพื่อเป็นคําตอบโดยสรุปของสมการ

–1/2 2
x  3  x > 2

และในตัวอย่างนี้เซตคําตอบที่ได้ก็คือ {3}  [2, )


kanuay.com
81

หมายเหตุ
วิธีคํานวณในลักษณะนี้อาศัยนิยามเบื้องต้นของค่าสัมบูรณ์ จึงใช้ได้ครอบคลุมกับ
โจทย์ทกุ ลักษณะ รวมถึงรูปแบบที่ 1 และ 2 ที่ผ่านมาด้วยเช่นกัน แต่เป็นวิธีที่
ค่อนข้างยุ่งยาก หากไม่จําเป็นจึงควรแก้ด้วยวิธีของรูปแบบที่ 1 และ 2 ก่อน

x3
ตัวอย่าง 2.23 จากอสมการ > 4
x1  2

วิธีคิด เนื่องจากค่า x ทีท่ ําให้คา่ สัมบูรณ์เท่ากับ 0 คือ x  1


ดังนัน้ การถอดค่าสัมบูรณ์จะต้องแยกคิดเป็น 2 กรณี ได้แก่..

กรณีแรก เมื่อ x > 1


x3 x3
จะถอดค่าสัมบูรณ์ได้เป็น > 4  4 > 0
(x  1)  2 x3
x  3  4x  12 3x  15 3(x  5)
รวมให้เป็นเศษส่วนเดียวกัน > 0  > 0  < 0
x3 x3 x3
พิจารณาจากเส้นจํานวน ได้ชว่ งคําตอบเป็น (3, 5]
นําไปอินเตอร์เซกกับเงื่อนไข ก็ยงั คงได้คําตอบเป็น (3, 5]

กรณีที่สอง เมือ่ x  1
x3 x3
จะถอดค่าสัมบูรณ์ได้เป็น > 4  4 > 0
(x  1)  2 x  1
x  3  4x  4 5x  7 5x  7
รวมให้เป็นเศษส่วนเดียวกัน > 0  > 0  < 0
x  1 x  1 x1
พิจารณาจากเส้นจํานวน ได้ชว่ งคําตอบเป็น [7/5, 1)
นําไปอินเตอร์เซกกับเงื่อนไข ก็ยงั คงได้คําตอบเป็น [7/5, 1)

..สรุป (ยูเนียน) ช่วงคําตอบโดยรวมของอสมการนีค้ ือ [7/5, 1)  (3, 5]

แบบฝึกหัด ๒.๔
(44) ข้อความต่อไปนี้ถูกหรือผิด
(44.1) ถ้า n  I และ n  1 จะได้ n an  a
(44.2) ถ้า a, b  0 แล้ว ab  a  b

(45) ให้หาค่าของจํานวนจริง m ที่น้อยที่สุดที่ทําให้


(45.1) 4x  0.5  m เมื่อ 3  2x  1  0.5

(45.2) x  2  5  m เมื่อ x  (2, 6)


x
(45.3) x2  25  m เมื่อ x5  6
82 Math E-Book
Release 2.7pre

(46) ถ้า x1  5 และ y 2  4 แล้ว xy มีค่าอยู่ในช่วงใด

(47) ให้หาคําตอบของสมการต่อไปนี้
(47.1) x2  6 x  8  0
(47.2) x  1  x  1  2
(47.3) x  4  x  3  1

(48) ถ้า A เป็นเซตคําตอบของสมการ 2  3x  2  3 x


และ B เป็นเซตคําตอบของสมการ 2  3x  2  3x แล้วให้หาเซต B  A'

(49) ให้หาผลบวกของคําตอบทั้งหมดของสมการ 8 (x  2)2  14 (x  2)  3  0

(50) ถ้า A  { x  I | x2  3x  3  2x  3 }
5  3x
และ B  {x  I |  2}
x2

แล้ว ให้หาค่า a2  b2 เมื่อ a, b เป็นค่าขอบเขตบนน้อยสุดและขอบเขตล่างมากสุดของ A B

2
(51) ให้หาคําตอบทั้งหมดของสมการ ( x )x  x 3

(52) ให้หาคําตอบของอสมการต่อไปนี้
3
(52.1) 2x  1  3x  2 (52.4) < x
x1  2
x
(52.2) 3  x 2  6 (52.5) < 2
x 1
1
(52.3) x   0 และ x2  x  2  0
x

x2
(53) ถ้า A เป็นเซตคําตอบของอสมการ  x < 4
2
และ B เป็นเซตคําตอบของอสมการ x  x7 แล้วให้หาเซต (A  B) '

4x  5
(54) ถ้า A  {x  R | x  < 5} แล้ว ข้อความต่อไปนี้ถูกหรือผิด
2
(54.1) ถ้า a, b  A แล้ว (a  b)/2  A
(54.2) ถ้า a, b เป็นขอบเขตบนน้อยสุดและขอบเขตล่างมากสุดของ A แล้ว ab  A

1
(55) ถ้า A  { x  R | x2  2  14 } และ B  {x  R |  1  0}
x
แล้ว มีจํานวนเต็มใน A B' กี่จํานวน
kanuay.com
83

(56) ให้หาค่า a, b, c ที่เป็นจํานวนนับที่น้อยที่สุด ที่ทําให้


(56.1) 4  x  1 เป็นคําตอบของอสมการ ax  b  c
(56.2) x  10 หรือ x  8 เป็นคําตอบของอสมการ ax  b  c

(57) ให้หาคําตอบของอสมการต่อไปนี้
(57.1) 3x  2  4x  1 (57.4) x 1  x 3  x 5
x 2 x2  5x  4
(57.2)  2 (57.5) > 1
x1 x2  x  2
(57.3) x  7  5  5x  25

(58) ให้หาคําตอบของอสมการ x 3  x 2

(59) ให้หาค่า x ที่ทําให้


(59.1) (1  x )(1  x) เป็นจํานวนจริงบวก
(59.2) (1  x )(1  x) เป็นจํานวนจริงลบ

๒.๕ ทฤษฎีจํานวนเบื้องต้น
ทฤษฎีจํานวนเป็นสาขาของคณิตศาสตร์ ที่ศึกษาเกี่ยวกับจํานวนเต็ม และ
สมบัติของจํานวนเต็ม แต่ในระดับชั้นนี้เราจะศึกษาเกี่ยวกับการหารของจํานวนเต็ม
ได้แก่ การหารลงตัว, การหารที่มีเศษเหลือ, ห.ร.ม. และ ค.ร.น. เท่านั้น

การหาร ประโยค “m หารด้วย n ลงตัว” เขียนเป็นสัญลักษณ์ได้เป็น n m


ลงตัว เรียก m ว่า ตัวตั้ง (Dividend) และเรียก n ว่า ตัวหาร (Divisor)
หรืออาจกล่าวได้ว่า n เป็นตัวหารของ m และ m เป็นตัวพหุคูณของ n
เช่น “6 หารด้วย 2 ลงตัว” เขียนเป็นสัญลักษณ์ว่า 2 6
อ่านว่า “2 หาร 6 ลงตัว” (หมายความว่า 6/2 มีค่าเป็นจํานวนเต็มนั่นเอง)

ข้อควรระวัง
ข้อความ “n หาร m” จะมีความหมายเดียวกับคําว่า “m หารด้วย n”
นั่นคือ m เป็นตัวตั้ง และ n เป็นตัวหาร (จะได้เศษส่วน m/n)

บทนิยามของการหารจํานวนเต็มลงตัว
สําหรับจํานวนเต็ม m, n (โดยที่ n  0 )
จะได้ว่า “ n m ก็ต่อเมื่อ มีจํานวนเต็ม q ที่ทําให้ m  n q ”
(ซึ่ง q ในที่นี้ก็คือผลหาร หรือค่าของ m/n นั่นเอง)
84 Math E-Book
Release 2.7pre

ตัวอย่าง 2.24 2 6 เพราะ 6  2(3)


6 (24) เพราะ 24  6(4)
(4) (20) เพราะ 20  (4)(5)
3 0 เพราะ 0  3(0)
5  12 (5 หาร 12 ไม่ลงตัว) เพราะไม่มีจํานวนเต็ม q ใดทีท
่ ําให้ 12  5(q) ได้เลย

สมบัติที่เกี่ยวกับการหารลงตัว มีดังนี้
[1] สมบัติการถ่ายทอด ถ้า a b
และ b c แล้ว a c
[2] ตัวหารที่ลงตัวย่อมน้อยกว่าตัวตั้ง ถ้าa b แล้ว a < b เสมอ
[3] การหารผลรวมเชิงเส้นลงตัว ถ้าa b และ a c แล้ว a (bx  cy)
เมื่อ x และ y เป็นจํานวนเต็มใด ๆ
[4] เกี่ยวกับการคูณ (หรือยกกําลังด้วยจํานวนนับ n)
ถ้า a b แล้ว a bc (ดังนั้น ถ้า a b แล้ว a bn )
ถ้า ac b แล้ว a b และ c b (ดังนั้น ถ้า an b แล้ว a b )
หมายเหตุ
“ผลรวมเชิงเส้น (Linear Combination) ของ b กับ c”
คือจํานวนที่อยู่ในรูป b x  c y
(โดยในเรื่องทฤษฎีจํานวน ค่า x และ y จะต้องเป็นจํานวนเต็มด้วย)

K ข้อความที
1. ถ้า
่ 1. ถึง 4. ต่อไปนี้เป็นจริงทั้งหมด และเป็นสิง่ ทีค่ วรทราบ
a bและ a c
แล้ว a (b  c) 3. ถ้า a b
แล้ว a bn
n
2. ถ้า a b แล้ว a (b  c) 4. ถ้า a b แล้ว a b
ในทางกลับกัน ข้อความเหล่านี้อาจจะไม่เป็นจริงก็ได้
ดังนัน้ ข้อความที่ 5. ถึง 8. จึงไม่ได้เป็นจริงเสมอ ควรพิจารณาให้รอบคอบ
5. ถ้า a (b  c) แล้ว a b และ a c (ไม่จริง.. เช่นกรณี 2 (3  5) )
6. ถ้า a (b  c) แล้ว a b (ไม่จริง.. เช่นกรณี 6 (2  3) )
7. ถ้า a bn แล้ว a b (ไม่จริง.. เช่นกรณี 4 62 )
8. ถ้า a b แล้ว an b (ไม่จริง.. เช่นกรณี 2 6 )

ตัวอย่าง 2.25 ให้พสิ ูจน์ว่า ถ้า a4 (3x  2y) และ a (4x  y) แล้ว a 22 x

วิธีที่ 1 พิสูจน์จากสมบัติ
จากสมบัติเกี่ยวกับการยกกําลัง ..ถ้า a4 (3x  2y) ย่อมได้ว่า a (3x  2y)
จากสมบัติเกี่ยวกับผลรวมเชิงเส้น ..ถ้า a (3x  2y) และ a (4x  y)
ย่อมได้วา่ a ((3x  2y)  2(4x  y)) ..นัน่ คือ a 11 x
และจากสมบัติเกีย่ วกับการคูณ จึงสรุปได้วา่ a 22 x ด้วย
kanuay.com
85

วิธีที่ 2 พิสูจน์จากบทนิยามการหารลงตัว
จาก a4 (3x  2y) แสดงว่า 3x  2y  a4m .....(1) (เมื่อ m เป็นจํานวนเต็มจํานวนหนึ่ง)
จาก a (4x  y) แสดงว่า 4x  y  an .....(2) (เมื่อ n เป็นจํานวนเต็มจํานวนหนึ่ง)
นําสมการที่ (1)  2  (2) ; จะได้ 11 x  a4m  2an
นั่นคือ 11 x  a (a3m  2n)
เมื่อคูณสมการด้วย 2 จะได้ 22 x  a (2a3m  4n)
ซึ่งค่าทีอ่ ยู่ในวงเล็บย่อมเป็นจํานวนเต็ม (จาก สมบัติปิดการบวกและการคูณ ของเซตจํานวนเต็ม)
..ดังนัน้ จึงสรุปได้ว่า a 22 x

บทนิยามของการหารจํานวนเต็มใด ๆ
สําหรับจํานวนเต็ม m, n (โดยที่ n  0 )
จะได้ว่า “มีจํานวนเต็ม q, r ชุดเดียวเท่านั้นที่ทําให้ m  n q  r โดย 0 < r  n ”
เรียก q ว่า ผลหาร (Quotient) และเรียก r ว่า เศษเหลือ (Remainder)
ของการหาร m ด้วย n
เช่น ถ้านํา 5 หาร 17 จะเขียนได้เป็น 17  5 (3)  2
หมายความว่า ผลหารเท่ากับ 3 และมีเศษเหลือเท่ากับ 2

ข้อสังเกต
ตัวตั้ง ตัวหาร และผลหาร สามารถมีค่าติดลบได้ แต่
เช่น ถ้านํา 5 หาร –17 เศษจะต้องเป็นจํานวนเต็มบวกที่น้อยกว่า 5
จึงเขียนได้เป็น 17  5 (4)  3 (ผลหารเป็น –4 และมีเศษเหลือเท่ากับ 3)
หรือถ้านํา –5 หาร 17 เศษก็ยังคงต้องเป็นจํานวนเต็มบวกที่น้อยกว่า 5
จึงเขียนได้เป็น 17  5 (3)  2 (ผลหารเป็น –3 และมีเศษเหลือเท่ากับ 2)

จํานวนคู่ (Even Numbers) และ จํานวนคี่ (Odd Numbers)


“จํานวนคู่ คือจํานวนที่เขียนได้ในรูป 2n เมื่อ n เป็นจํานวนเต็ม”
“จํานวนคี่ คือจํานวนที่เขียนได้ในรูป 2n  1 เมื่อ n เป็นจํานวนเต็ม”
หรือกล่าวว่า จํานวนคู่คือจํานวนที่หารด้วย 2 ลงตัว ส่วนจํานวนคี่ก็คือจํานวนที่หาร
ด้วย 2 แล้วเหลือเศษเท่ากับ 1 นั่นเอง

K เนื่องจาก 0 ก็หารด้วย 2 ลงตัวเช่นกัน (ได้ผลหารเป็น 0) ดังนั้น “จํานวน 0 ถือเป็นจํานวนคู”่


จํานวน จํานวนเฉพาะ (Prime Numbers)
เฉพาะ “จํานวนนับ p จะเป็นจํานวนเฉพาะ ก็ต่อเมื่อ p ไม่ใช่ 1
และจํานวนนับที่ไปหาร p ลงตัวมีเพียง 1 และตัวมันเองเท่านั้น”
จํานวนเฉพาะทั้งหมดที่อยู่ในช่วง 1 ถึง 100 ได้แก่ 2, 3, 5, 7, 11, 13, 17,
19, 23, 29, 31, 37, 41, 43, 47, 53, 59, 61, 67, 71, 73, 79, 83, 89, 97
86 Math E-Book
Release 2.7pre

จํานวนนับอื่น ๆ ที่ไม่ใช่ 1 และไม่เป็นจํานวนเฉพาะ จะถือเป็น จํานวน


ประกอบ (Composite Numbers) ซึ่งหมายความว่า เป็นจํานวนที่สร้างได้จากผลคูณ
ของจํานวนเฉพาะหลายตัว
ส่วนค่าติดลบของจํานวนเฉพาะบวก บางตําราถือว่าไม่เป็นจํานวนเฉพาะ
แต่บางตําราก็ถอื ว่าเป็นจํานวนเฉพาะด้วย (เช่น หนังสือ สสวท. ในอดีตและข้อสอบ
เข้ามหาวิทยาลัยบางฉบับ) เนื่องจากมีคุณสมบัติครบถ้วนเหมือนจํานวนเฉพาะบวก

สมบัติที่เกี่ยวกับจํานวนเฉพาะ มีดังนี้
[1] จํานวนเฉพาะกับการหารลงตัว
สําหรับจํานวนเฉพาะ p ถ้า p mn แล้ว p m หรือ p n
(สมบัตินี้จะไม่เป็นจริงถ้าหาก p ไม่ใช่จํานวนเฉพาะ)
[2] ทฤษฎีบทหลักมูลเลขคณิต (หลักการมีตัวประกอบชุดเดียว)
“สําหรับจํานวนเต็มใด ๆ ที่มากกว่า 1
จะเขียนให้อยู่ในรูปผลคูณของจํานวนเฉพาะได้เพียงชุดเดียวเท่านั้น”
เช่น 16  2  2  2  2  2 4

210  2  3  5  7
5445  3  3  5  11  11  32  5  112
หมายเหตุ
จํานวนซึ่งเป็นจํานวนเฉพาะอยู่แล้ว จะไม่สามารถแยกตัวประกอบให้เป็น
ผลคูณของจํานวนเฉพาะที่น้อยลงได้ เช่นตัวประกอบของ 73 ก็คือ 73

การพิจารณาว่าจํานวนนับที่กําหนดให้เป็นจํานวนเฉพาะหรือไม่ ตรวจสอบ
ได้โดยนําจํานวนเฉพาะบวกที่น้อยกว่าจํานวนนั้นมาหาร ถ้าไม่มีจํานวนใดหารลงตัว
เลย ก็แสดงว่าจํานวนนั้นเป็นจํานวนเฉพาะ เช่น จํานวน “97” เนื่องจากทดลองนํา
2, 3, 5, 7 มาหารแล้วพบว่าไม่มีจํานวนใดที่หารได้ลงตัวเลย แสดงว่า “97” ไม่ใช่
จํานวนประกอบ (ไม่สามารถแยกตัวประกอบได้) “97” จึงเป็นจํานวนเฉพาะ
การหารตรวจสอบนี้ เราใช้จํานวนเฉพาะทุกตัวที่มีค่าไม่เกินรากที่สองของ
97 (โดยประมาณ) ก็เพียงพอ นั่นคือ จํานวนเฉพาะที่มีค่าไม่ถึง ≈10 โดยไม่
จําเป็นต้องใช้จํานวนเฉพาะที่น้อยกว่า 97 ให้ครบทั้งหมด เนื่องจากถ้าจํานวนที่
มากกว่า 10 นั้นหารได้ลงตัว ผลลัพธ์ที่ได้ก็ย่อมเป็นจํานวนเต็มที่มีค่าไม่ถึง 10

ตัวอย่าง 2.26 จํานวนต่อไปนีเ้ ป็นจํานวนเฉพาะหรือไม่


ก. 643
เป็นจํานวนเฉพาะ ..ตรวจสอบได้โดยนํา 2, 3, 5, 7, 11, 13, 17, 19 และ 23 ไปหาร
พบว่าล้วนหารไม่ลงตัวทั้งสิน้
ข. 1127
เป็นจํานวนเฉพาะ ..ตรวจสอบได้โดยนํา 2, 3, 5, 7, 11, 13, …, 29, 31 ไปหาร
พบว่า 7 (หรือ 23) สามารถหารได้ลงตัว
kanuay.com
87

ค. 2431
เป็นจํานวนเฉพาะ ..ตรวจสอบได้โดยนํา 2, 3, 5, 7, 11, 13, …, 43, 47 ไปหาร
พบว่า 11 (หรือ 13 หรือ 17) สามารถหารได้ลงตัว
ง. 4201
เป็นจํานวนเฉพาะ ..ตรวจสอบได้โดยนํา 2, 3, 5, 7, 11, 13, …, 59, 61 ไปหาร
พบว่าล้วนหารไม่ลงตัวทั้งสิน้

ห.ร.ม. ตัวหารร่วมที่มากที่สุด (ห.ร.ม.: the Greatest Common Divisor: GCD)


และ ค.ร.น. ห.ร.ม. ของจํานวนเต็ม a กับ b คือจํานวนเต็มบวกที่มากที่สุดซึ่งไปหารทั้ง
a และ b ลงตัว หรือกล่าวเป็นบทนิยามได้ว่า “d เป็น ห.ร.ม. ของ a กับ b ก็
ต่อเมื่อ d a และ d b และถ้ามี n a และ n b แล้ว n d ”
สัญลักษณ์ที่ใช้แทน ห.ร.ม. ของ a กับ b คือ (a, b)

หมายเหตุ
ถ้า (m, n)  1 จะเรียก m และ n เป็น จํานวนเฉพาะสัมพัทธ์ (Relative Primes)
ซึ่งหมายถึงไม่มีตัวประกอบร่วมกันเลย (ดังนั้นโดยลําพัง m และ n ไม่จําเป็นต้อง
เป็นจํานวนเฉพาะก็ได้) เช่น (8, 15)  1 ดังนั้น 8 และ 15 เป็นจํานวนเฉพาะ
สัมพัทธ์ (ระหว่างกันและกัน)

ตัวคูณร่วมที่น้อยที่สุด (ค.ร.น.: the Least Common Multiple: LCM)


ค.ร.น. ของจํานวนเต็ม a กับ b คือจํานวนเต็มบวกที่น้อยที่สุดซึ่งหารด้วย
a และ b ลงตัว หรือกล่าวเป็นบทนิยามได้ว่า “c เป็น ค.ร.น. ของ a กับ b ก็
ต่อเมื่อ a c และ b c และถ้ามี a n และ b n แล้ว c n ”
สัญลักษณ์ที่ใช้แทน ค.ร.น. ของ a กับ b คือ [a, b]

การหา ห.ร.ม. ของกลุ่มจํานวน ที่มีมากกว่าสองจํานวน สามารถคํานวณได้


โดยหา ห.ร.ม. ของสองจํานวนใด ๆ ก่อน แล้วนําผลที่ได้ไปคิดหา ห.ร.ม. ร่วมกับ
จํานวนที่เหลือต่อไปทีละจํานวน จนกระทั่งใช้ครบทุกตัว และสําหรับการหา ค.ร.น.
ของกลุ่มจํานวนที่มากกว่าสองจํานวน ก็สามารถกระทําได้ในลักษณะนี้เช่นกัน
(a, b, c)  ((a, b), c)  (a,(b, c))
[a, b, c]  [[a, b], c]  [a, [b, c]]

สมบัติที่เกี่ยวกับ ห.ร.ม. และ ค.ร.น. มีดังนี้


[1] ผลคูณ ห.ร.ม. กับ ค.ร.น. ของสองจํานวน
(a, b)  [a, b]  a  b เสมอ (เมื่อ a  b ได้ผลลัพธ์เป็นจํานวนบวก)
เช่น ห.ร.ม. ของ 252 กับ 312 เท่ากับ 12 และ ค.ร.น. เท่ากับ 6552
ดังนั้น ย่อมกล่าวได้ว่า 12  6552  252  312 พอดี
[2] ห.ร.ม. ของผลหาร
ถ้า (a, b)  d แล้ว (a/d, b/d)  1 เสมอ
88 Math E-Book
Release 2.7pre

ขั้นตอนวิธีการหา ห.ร.ม. ของยุคลิด


วิธีหา ห.ร.ม. ของจํานวนสองจํานวน ที่ได้ศึกษาผ่านมาในระดับชั้นก่อน ๆ
ได้แก่ การแยกตัวประกอบแล้วพิจารณาหาตัวประกอบร่วมกันให้มากที่สุด หรือการ
ตั้งหารพร้อมกันด้วยจํานวนใด ๆ ให้ลงตัวได้มากที่สุด ซึ่งทั้งสองวิธีนี้ถือเป็นวิธีคํานวณ
โดยตรง และอาศัยหลักการเดียวกัน คือนิยามของ ห.ร.ม. นั่นเอง
ส่วนในระดับชั้นนี้จะกล่าวถึงวิธีการหา ห.ร.ม. ของนักคณิตศาสตร์ชื่อยุคลิด
(Euclid) ซึ่งเหมาะอย่างยิ่งสําหรับการหา ห.ร.ม. ของจํานวนที่มีค่ามากจนวิธีแยกตัว
ประกอบทําได้ไม่สะดวก ขั้นตอนวิธีของยุคลิด (Euclidean Algorithm) นั้นอาศัย
หลักการสําคัญที่ว่า “ถ้าลดทอนจํานวนหนึ่งลง โดยลบออกด้วยอีกจํานวนหนึ่ง แล้ว
ห.ร.ม. ของจํานวนทั้งสองจะยังมีคา่ เท่าเดิมเสมอ”

ขั้นตอนการหา ห.ร.ม. ของ a กับ b ด้วยวิธีของยุคลิด (สมมติว่า a  b )


1. นํา a หารด้วย b แล้วนําเศษเหลือที่ได้นั้นมาใช้แทน a เดิม
2. นํา b หารด้วย a (ซึ่งขณะนี้มีค่าน้อยกว่า b) แล้วนําเศษมาใช้แทน b เดิม
3. ทําซ้ําสองขั้นตอนนี้ไปเรื่อย ๆ จนเกิดการหารลงตัว
4. ห.ร.ม. ที่ได้ คือตัวหารตัวสุดท้าย ที่ทําให้การหารนั้นลงตัวพอดี
(หรือเศษตัวสุดท้ายที่ไม่ใช่ 0 นั่นเอง)
ตัวอย่างเช่น ต้องการหาค่า ห.ร.ม. ของ 138 กับ 182 จะได้
(182)  (138) 1  (44) (138)  (44) 3  (6) (44)  (6) 7  (2) (6)  (2) 3
สรุปได้ว่า ห.ร.ม. คือ 2 (เพราะ 2 คือตัวหารตัวสุดท้าย ที่ทาํ ให้การหารนั้นลงตัว)

หมายเหตุ
วิธีของยุคลิดใช้ในการหา ห.ร.ม. เท่านั้น ส่วนการหา ค.ร.น. จะต้องทราบ ห.ร.ม.
ก่อน แล้วคํานวณโดยอาศัยสมบัติ (a, b)  [a, b]  a  b
ผลคูณของสองจํานวนนั้น
นั่นคือ ค.ร.น. จะเท่ากับ เสมอ
ห.ร.ม.

ตัวอย่าง 2.27 ให้หา ห.ร.ม. และ ค.ร.น. ของจํานวน 192 และ 276
วิธีคิด (276)  (192) 1  (84) .....(1)
(192)  (84)2  (24) .....(2)
(84)  (24) 3  (12) .....(3)
(24)  (12)2

ตอบ ห.ร.ม. ของ 192 และ 276 เท่ากับ 12


192  276
และ ค.ร.น. ของ 192 และ 276 เท่ากับ  4416
12
kanuay.com
89

ถ้า d เป็น ห.ร.ม. ของ a กับ b ยังมีสมบัตอิ ีกอย่างหนึ่งกล่าวว่า “เมื่อเรา


เขียน d ในรูปผลรวมเชิงเส้นของ a กับ b นัน่ คือ d  a x  b y จะมี x และ y ที่
เป็นจํานวนเต็มอยู่ 1 ชุดเสมอ”
ค่า x และ y นี้สามารถหาได้จากขั้นตอนวิธีการหา ห.ร.ม. ของยุคลิด โดย
การแทนค่าย้อนกลับลงไปในเศษของแต่ละสมการ ดังจะได้แสดงในตัวอย่างต่อไปนี้

ตัวอย่าง 2.28 จากตัวอย่างทีแ่ ล้ว เราทราบว่า ห.ร.ม. ของ 192 และ 276 เท่ากับ 12
ให้เขียน 12 ในรูปผลรวมเชิงเส้นของ 192 และ 276 ซึ่งมีตัวคูณเป็นจํานวนเต็ม
วิธีคิด จะเริ่มเขียนสมการเดิมในรูป “เศษ = .........” ก่อน
จาก (1) จะเขียนใหม่ได้เป็น (84)  (276)  (192)(1) .....(4)
จาก (2) จะเขียนใหม่ได้เป็น (24)  (192)  (84)(2) .....(5)
จาก (3) จะเขียนใหม่ได้เป็น (12)  (84)  (24)(3) .....(6)

แล้วเริ่มต้นจากสมการ (6) โดยนําค่าของ 24 จาก (5) มาแทนลงไป


จะได้ 12  (84)  ((192)  (84)(2))(3)
 (84)(7)  (192)(3)
ต่อจากนั้นนําค่าของ 84 จาก (4) มาแทนลงไป
จะได้ 12  ((276)  (192)(1))(7)  (192)(3)
 (276)(7)  (192)(10)

ตอบ เขียน 12 ในรูปผลรวมเชิงเส้นของ 192 และ 276 ได้เป็น 12  192(10)  276(7)

แบบฝึกหัด ๒.๕
(60) เศษของการหาร (19)3(288)2 ด้วย 5 เป็นเท่าใด

(61) ให้หา ห.ร.ม. (d) ของ 252 กับ 34


และเขียนในรูปผลรวมเชิงเส้น d  252 x  34 y เมื่อ x, y เป็นจํานวนเต็ม

(62) ให้หา ห.ร.ม. ของ –504 กับ –38


และเขียนในรูปผลรวมเชิงเส้น โดยที่มีตัวคูณเป็นจํานวนเต็ม

(63) ให้หาจํานวนเต็มบวก a ที่น้อยที่สุด (โดยที่ a  12 )


ซึ่งเมื่อหารด้วย 7, 9, หรือ 12 แล้วจะเหลือเศษเท่ากันคือ 4

(64) ให้หาจํานวนเต็มบวก b ที่น้อยที่สุด ซึ่งเมื่อหารด้วย 7 จะเหลือเศษ 6


เมื่อหารด้วย 9 จะเหลือเศษ 8 และเมื่อหารด้วย 12 จะเหลือเศษ 11

(65) ถ้า ห.ร.ม. และ ค.ร.น. ของ x กับ 128 เป็น 16 และ 384 แล้วค่า x เป็นเท่าใด
90 Math E-Book
Release 2.7pre

(66) ถ้าจํานวนเต็มบวกสองจํานวนมี ห.ร.ม. เป็น 3 และ ค.ร.น. เป็น 30


โดยที่ผลต่างของสองจํานวนนี้เป็น 9 แล้ว ให้หาผลบวกของสองจํานวนนี้

(67) ให้ a, b เป็นจํานวนเต็มบวก ซึ่ง a  b , 5 หาร a ลงตัว และ 3 หาร b ลงตัว


ถ้า a, b เป็นจํานวนเฉพาะสัมพัทธ์ และ ค.ร.น. ของ a, b เท่ากับ 165
แล้ว a หาร b เหลือเศษเท่ากับเท่าใด

(68) ให้ x, y เป็นจํานวนเต็มบวก โดยที่ 80  x  200


และ x  p q เมื่อ p, q เป็นจํานวนเฉพาะซึ่งไม่เท่ากัน
ถ้า x, y เป็นจํานวนเฉพาะสัมพัทธ์ และมี ค.ร.น. เป็น 15015 แล้วค่า y เป็นเท่าใดได้บ้าง

(69) ให้ x, y เป็นจํานวนเต็มบวก โดยที่ x  y ถ้า (x, y)  9 , [x, y]  28215 และจํานวน


เฉพาะที่หาร x ลงตัวมี 3 จํานวน แล้ว x, y มีค่าเท่าใด

(70) ให้ n เป็นจํานวนเต็มบวก ซึ่ง ห.ร.ม. ของ n และ 42 เท่ากับ 6


ถ้า 42  nq0  r0 , 0  r0  n
n  2r0  r1 , 0  r1  r0
และ r0  2r1
โดยที่ q0 , r0 , r1 เป็นจํานวนเต็ม แล้ว ค.ร.น. ของ n และ 42 มีค่าเท่าใด

(71) ถ้า a และ b เป็นจํานวนเต็มบวก ซึ่งทําให้


a  1998 b  r โดยที่ 0  r  1998
1998  47 r  r1 โดยที่ 0  r1  r
และ (r, r1)  6 แล้ว ข้อความต่อไปนี้ถูกหรือผิด
(71.1) (a, b)  6 (71.2) (a, 1998)  6
(71.3) (b, r)  6 (71.4) (1998, r)  6
kanuay.com
91

เฉลยแบบฝึกหัด (คําตอบ)
(1) ผิดทุกข้อ (25.3) (3, 2/ 3) (48) [2/ 3, 0)
(2) ข้อ (2.3) ถูก นอกนั้นผิด (26) อยู่ในช่วง [7.5, 10) ซม. (49) –8
(3) ง. (27) 2, 4 (50) 90
(4) ข้อ (4.1) และ (4.3) ถูก (28.1) [1, 2] (51) 1, 6
(5) ถูกทุกข้อ (28.2) (, 1]  [1/2, ) (52.1) (1/5, )
(6) ง.
(28.3) (, 2)  (0, 1/6) (52.2) (4, 1)  (5, 8)
(7) 6  5 และ 1
(29) 2 (52.3) (1, 2)  {0}
(8) ค.
(9) ง. (30) 2 3  21
(52.4) (1, 3)  [ , )
(10) จริง (31) ถูกทุกข้อ 2
(11.1) ผิด (32) ถูกทุกข้อ (52.5) (, 2]  (1, 1)  [2, )
(11.2) ถูก (33) a  (, 2)  (3, ) (53) (2, )
(12) 1 (34) [2, 1]  [2, ) (54) ถูกทุกข้อ
(13) –3 (35) –5 (55) 7
(14) –81 (36.1) (, 1)  (0, 1) (56.1) 2, 3, 5
(15) 7 หรือ –39/7 (36.2) [4, )  {1} (56.2) 1, 1, 9
(16) 27 (36.3) 11 (57.1) (,  3)  (1, )
(17.1) {1, 2, 3} (37) 0 7
(17.2) {1, 2, 3} (38) 5 (57.2) (, 4)  (0, )
(17.3) {2, 1/2, 2/ 3} (39) 0 (57.3) (2, 4)  (6, 12)
(40.1) (, 1)  (1/ 3, 1) (57.4) (1, 3)
(17.4) {3, 2, 5,  5}
(40.2) (8, 2]  (1, 4] (57.5) ((, 1]  [ 31 , 3])  {2, 1}
(17.5) {1, 0, 2, 3, 1/ 3}
(40.3) (2, 5/2) (58) (, 1/2)  (5/2, )
(17.6) {4, 1, 1, 2, 3}
(40.4) (2, 8] (59.1) (, 1)  (1, 1)
(17.7) {3, 1, 2}
(41.1) 7 (59.2) (1, )
(18) (x  2)(x  4)(x  5)(3x  1)(x  1)
2

(41.2) ไม่มี
(19) (x  1)(x  2) (60) 1
(41.3) 8 (61) 2  (252)(5)  (34)(37)
(20) (x  1)(x  2)(x  3)(x  2)(x  4) (41.4) ไม่มี (62) 2  (504)(4)  (38)(53)
(21.1) {b, b} (42) 0
(43) 5/2 (63) 256
(21.2) {0} (64) 251
(21.3) {0, 2b} (44) ผิดทุกข้อ
(45.1) 3.5 (65) 48
(21.4) {a  1, a  1} (66) 21
(45.2) 17/3
(22) ข้อ (22.1) และ (22.2) ผิด (45.3) 96 (67) 3
(23) ข้อ (23.4) ผิด นอกนั้นถูก (46) [0, 12) (68) 105, 165
(24.1) (6, 46) (69) 495, 513
(47.1) 2, 2, 4, 4
(24.2) (252, 180) (70) 210
(47.2) [1, 1]
(25.1) (18, 4) (71) ข้อ (71.2) และ (71.4) ถูก
(47.3) [3, 4]
(25.2) (9, 4)
92 Math E-Book
Release 2.7pre

เฉลยแบบฝึกหัด (วิธีคิด)
(1.1) ผิด ทศนิยมไม่ซ้ํา เป็นจํานวนอตรรกยะ (5) จาก A  { x | x เป็นจํานวนนับ และ x
(1.2) ผิด ทศนิยมซ้ํา เป็นจํานวนตรรกยะ เป็นจํานวนตรรกยะ }  {1, 4, 9, 16, 25, 36, ...}
(1.3) ผิด เช่น ถ้า a  2 พบว่า A ก็คือเซตของจํานวนนับยกกําลังสองนั่นเอง
จะได้วา่ a2 เป็นจํานวนคู่ แต่ a ไม่ใช่จํานวนคู่ ..และ B  N  A เป็นเซตของจํานวนนับอื่น ๆ ที่
(1.4) ผิด เช่น ถ้า a  3 ไม่ได้อยู่ใน A
จะได้วา่ a2 เป็นจํานวนคี่ แต่ a ไม่ใช่จํานวนคี่
(5.1) A มีสมบัติปิดการคูณ ..เพราะจํานวนนับยก
กําลังสองคูณกัน ย่อมยังเป็นจํานวนนับยกกําลังสอง
ส่วน B นั้นไม่มสี มบัติปิดการคูณ
(2.1) ผิด ..หาก a  0 แล้ว b จะเป็นเท่าใดก็ได้ ..เช่น 2  2  4 แต่ 4  B ข้อนี้จงึ ถูก
(2.2) ผิด ..ต้องเป็น a  0 หรือ b  0
(ไม่จําเป็นต้องเป็น 0 พร้อมกันทัง้ คู่) (5.2) A ไม่มีสมบัติปิดการบวก
(2.3) ถูก (ตามกฎการคูณเข้าทั้งสองข้างของ ..เช่น 1  1  2 แต่ 2  A
สมการ ซึง่ สามารถทําได้เสมอ เมือ่ นํา b ไปคูณ และ B ก็ไม่มีสมบัติปิดการบวก
ก็จะได้ a  c ) ..เช่น 2  2  4 แต่ 4  B ข้อนีจ้ ึงถูก
(2.4) ผิด ..หาก a  0 แล้ว b กับ c ไม่จําเป็น
ต้องเท่ากัน
(6) ก. ไม่จริง ..เช่น ถ้า x  2
จะไม่มี y ที่เป็นจํานวนเต็ม ทีท่ ําให้ xy  1
(3) ก. มีสมบัตปิ ิดการบวก แต่ไม่มีสมบัติปิดการ ข. ไม่จริง ..เช่น ถ้า x  0
คูณ (เพราะจํานวนลบคูณกันย่อมได้จํานวนบวก) จะไม่มี y ที่เป็นจํานวนจริง ทีท่ าํ ให้ xy  1
ค. ไม่จริง ..เพราะถ้า xy  1 นั้น จะทําให้
ข. ไม่มีสมบัติปดิ การบวก (เช่น 3  5  8 แต่ 8 xy  A แน่นอน (1 ไม่ใช่จํานวนอตรรกยะ)
ไม่ได้อยู่ในเซตนี)้ และไม่มสี มบัตปิ ิดการคูณ (เช่น ง. จริง ..ไม่วา่ x เป็นจํานวนตรรกยะใด จะหา y ที่
3  5  15 ซึ่งไม่ได้อยู่ในเซตนี้) ทําให้ xy  1 ได้เสมอ และ y ที่ได้นี้ก็เป็นจํานวน
ตรรกยะเสมอด้วย (โดยในทีน่ ี้ x, y ไม่เป็น 0)
ค. ไม่มีสมบัตปิ ดิ การบวกและคูณเลย
(เช่น 3  (3)  0 และ 3  4  1 เป็นต้น)
4 4 4 3
(7) ๏ อินเวอร์สการคูณของ a คือ 1/a ..ดังนัน้
ง. มีทั้งสมบัติปดิ การบวกและคูณ เพราะจํานวนที่ อินเวอร์สการคูณของ 1
คือ 6  5
หารด้วย 4 ลงตัว เมื่อบวกหรือคูณกันก็ยังคงหาร 6 5

ด้วย 4 ลงตัวเสมอ ..ดังนั้นคําตอบที่ถูกคือข้อ ง. ๏ เอกลักษณ์การคูณของจํานวนจริงใดก็ตาม คือ 1

(4.1) ถูก ..จํานวนจริงลบกันย่อมเป็นจํานวนจริง (8) ก. (a  b)  a  b  a  b ..ข้อนี้ผดิ


(4.2) ผิด ..เพราะ (a  b)  c  a  (b  c) ข. (b  c)  b  a  b  b ..ข้อนี้ผิด
(4.3) ถูก ..จํานวนจริงที่ไม่ใช่ 0 หารกันย่อมเป็น ค. (a  b)  (c  b)  b  a  b ..ข้อนี้ถูก
จํานวนจริง (แต่ถ้ารวมจํานวน 0 ด้วย ข้อนี้จะผิด ง. (c  a)  (b  a)  c  b  a ..ข้อนี้ผิด
เพราะการหารด้วย 0 นั้นไม่เป็นจํานวนจริง)
a b
(4.4) ผิด ..เพราะ [ ]  c  a  [ ]
b c (9) คําตอบคือข้อ ง. เพราะ x  y  y  x
..นอกนั้นข้ออื่นสามารถสลับที่ x กับ y ได้ เพราะ
เป็นการบวกหรือคูณล้วน ๆ
kanuay.com
93

(10) จาก x  (y  z)  x  (3yz  y  z) แก้ระบบสมการได้ a  4, b  3


 3x (3yz  y  z)  x  3yz  y  z หรือ a  4/ 7, b  5
และ (z  y)  x  (3zy  z  y)  x ..ดังนัน้ a  b  7 หรือ 39/ 7
 3(3zy  z  y) x  3zy  z  y  x
พบว่าทั้งสองรูปแบบ ให้ผลลัพธ์เท่ากันจริง ๆ
2
หรือ พิจารณาจากการที่ a  b มีสมบัติการสลับที่ (16) ๏ จาก x  2x 4 3 3(x  3)(x 2
 1)

จึงทําให้ข้อความ x  (y  z)  (z  y)  x เป็นจริง เป็ น ตั


ว ประกอบของ x  ax  bx  3x 4

(เพราะเกิดจากการสลับทีต่ ัวแปร y, z ภายในวงเล็บ แสดงว่า x  3 กับ x  1 ต่างก็หารลงตัว (เศษ 0)


 4 3 2
และสลับที่กับ x ที่อยู่ภายนอกอีกครั้ง) ได้สมการ  (3) 4 a(3) 3 b(3) 2 3(3)  4  0
 (1)  a(1)  b(1)  3(1)  4  0
จะแก้ระบบสมการได้ a  19/9, b  37/9
(11.1) เซต A ไม่มีสมบัติปิดภายใต้ 
57 ๏ จาก x2  x  2  (x  2)(x  1)
เช่น  6 แต่ 6  A เป็นตัวประกอบของ x3  10x2  cx  d
2
แต่มีสมบัตกิ ารสลับที่  (2)3  10(2)2  c(2)  d  0
ก็จะได้สมการ  3 2
 (1)  10(1)  c(1)  d  0
เพราะ a  b  b  a เสมอ ..ดังนัน้ ข้อนี้ผดิ
2 2 แก้ระบบสมการได้ c  7, d  18
(11.2) เซต A ไม่มีสมบัติปิดภายใต้ 
..ดังนัน้ a  b  c  d  27
33
เช่น  4.5 แต่ 4.5  A
2
แต่มีสมบัตกิ ารสลับที่
เพราะ ab  ba เสมอ ..ดังนัน้ ข้อนี้ถูก (17.1) สามารถหารสังเคราะห์ลงตัวด้วยจํานวน
2 2 –1, –2, 3 (สลับลําดับก่อนหลังได้)
สมการจึงกลายเป็น (x  1)(x  2)(x  3)  0
ดังนัน้ เซตคําตอบคือ {1, 2, 3}
(12) a  4(4)3  21(4)2  26(4)  17  7
และ b  3(3)3  13(3)2  11(3)  5  8 (17.2) สามารถหารสังเคราะห์ลงตัวด้วยจํานวน
ดังนัน้ b  a  8  7  1 –1, 2, 3 (สลับลําดับก่อนหลังได้)
สมการจึงกลายเป็น (x  1)(x  2)(x  3)  0
ดังนัน้ เซตคําตอบคือ {1, 2, 3}
(13) เศษจาก x  1 หาร x2  2a คือ (1)2  2a (17.3) สามารถหารสังเคราะห์ลงตัวด้วยจํานวน
และเศษจาก x  2 หาร x  a คือ (2)  a 2, 1/2, –2/3 (สลับลําดับก่อนหลังได้)
..จึงได้ 1  2a  2  a  a  3 (หรือเมือ่ หารสังเคราะห์ดว้ ย 2 แล้วนําผลลัพธ์คือ
6x2  x  2 มาแยกต่อ โดยไม่หารสังเคราะห์ก็ได้)
..สมการจะกลายเป็น (x  2)(2x  1)(3x  2)  0
(14) เศษจากการหารได้แก่ ดังนัน้ เซตคําตอบคือ {2, 1/2, 2/ 3}
(5)4  (5)3  3(5)2  (5)  1  569
และ 2(5)3  (5)2  75(5)  a  650  a ตามลําดับ (17.4) สามารถหารสังเคราะห์ลงตัวด้วยจํานวน
..จึงได้สมการ 569  650  a  a  81 3, –2 (สลับลําดับก่อนหลังได้)
และเหลือผลหารเป็น 1 0 –5 ซึง่ หมายถึง x2  5
สมการจึงกลายเป็น (x  3)(x  2)(x2  5)  0
 (x  3)(x  2)(x  5)(x  5)  0
(15) การ “เป็นตัวประกอบ” หมายความว่า ดังนัน้ เซตคําตอบคือ {3, 2, 5,  5}
เมื่อหารกันแล้วต้องเหลือเศษเป็น 0
นั่นคือ (2)3  a(2)2  (a/ 4)(2)  2b  0 .... (1)
และ (1/ a)(2)2  (2)  b  0 .... (2)
94 Math E-Book
Release 2.7pre

(17.5) พหุนามในข้อนี้มี x เป็นตัวร่วม (21.1) ในข้อนี้ a  0


สามารถดึงออกได้ แล้วเหลือเป็นพหุนามกําลังสี่ จึงได้สมการเป็น x2  b2  0
ซึ่งสามารถหารสังเคราะห์ลงตัวด้วยจํานวน นั่นคือ (x  b)(x  b)  0 ..เซตคําตอบ {b, b}
2, 3, –1, 1/3 (สลับลําดับก่อนหลังได้) (21.2) ในข้อนี้ b  0
..สมการจะเป็น x (x  2)(x  3)(x  1)(3x  1)  0 จึงได้สมการเป็น x2  0 ..เซตคําตอบ {0}
ดังนัน้ เซตคําตอบคือ {1, 0, 2, 3, 1/ 3} (21.3) ในข้อนี้ a  1
จึงได้สมการเป็น x2  b2  2bx  b2  0
(17.6) สามารถหารสังเคราะห์ลงตัวด้วยจํานวน นั่นคือ x2  2bx  0  x (x  2b)  0
1, 1, –1, 2, 3, –4 (สลับลําดับก่อนหลังได้) ..เซตคําตอบ {0, 2b}
สมการจะเป็น (x  1)2(x  1)(x  2)(x  3)(x  4)  0 (21.4) ในข้อนี้ b  1
ดังนัน้ เซตคําตอบคือ {4, 1, 1, 2, 3} จึงได้สมการเป็น x2  a2  2ax  1  0
นั่นคือ (x  a)2  1  0
(17.7) สามารถหารสังเคราะห์ลงตัวด้วยจํานวน
 (x  a  1)(x  a  1)  0
1, 2, 2, –3 (สลับลําดับก่อนหลังได้)
..เซตคําตอบ {a  1, a  1}
และเหลือผลหารเป็น 1 1 2 ซึ่งหมายถึง x2  x  2
ไม่สามารถแยกตัวประกอบจํานวนจริงต่อไปได้แล้ว
ดังนัน้ สมการจะกลายเป็น (22.1) ผิด ..เช่นกรณีที่ c  b  a และ c  d
(x  1)(x  2)2(x  3)(x2  x  2)  0
ก็ทําให้ได้ผลคูณ ()()()  0 เช่นกัน
และเซตคําตอบคือ {3, 1, 2}
(22.2) ผิด ..เช่น 2  1 แต่ (2)2  12

(22.3) ถูก
(18) สามารถหารสังเคราะห์ลงตัวด้วยจํานวน พิสจู น์ จาก (a  b)/2  ab จัดรูปใหม่ได้ดังนี้
2, 4, –5, –1/3 (สลับลําดับก่อนหลังได้)  a  b  2 ab  a2  2ab  b2  4ab
และเหลือผลหารเป็น 3 0 3 ซึง่ หมายถึง 3x2  3 (ยกกําลังสองได้เพราะทราบว่าเป็นบวกทัง้ สองข้าง)
ไม่สามารถแยกตัวประกอบจํานวนจริงต่อไปได้แล้ว  a2  2ab  b2  0  (a  b)2  0
พบว่าเป็นจริงเสมอ เมือ่ a  b
..จึงสรุปเป็น (x  2)(x  4)(x  5)(x  1/3)(3x2  3)
นั่นคือ (x  2)(x  4)(x  5)(3x  1)(x2  1) (22.4) ถูก
3 3
พิสจู น์ จาก b 2 2a 
ba
จัดรูปใหม่ได้ดังนี้
ab ab
(19) แยกตัวประกอบแต่ละพหุนาม (โดยการหาร  b3  a3  ab (b  a)
สังเคราะห์) จะได้ (คูณไขว้ได้เพราะทราบว่าตัวที่ถกู ย้ายนัน้ เป็นบวก)
x3  7x  6  (x  1)(x  2)(x  3)  (b  a)(b2  ab  a2)  ab(b  a)
3x3  7x2  4  (x  1)(x  2)(3x  2) (ตัดทิ้งได้เพราะทราบว่าตัวที่ถกู ตัดทิ้งนั้นไม่เป็น 0)
4 3
x  3x  6x  4  (x  1)(x  2)(x  2)(x  2)  b2  2ab  a2  0  (b  a)2  0
ห.ร.ม. คือตัวประกอบร่วมที่มากที่สดุ พบว่าเป็นจริงเสมอ เมือ่ a  b
ดังนัน้ ห.ร.ม. คือ (x  1)(x  2)  x2  3x  2

(23.1) และ (23.2) ถูก


(20) แยกตัวประกอบแต่ละพหุนาม จะได้ ..เป็นสมบัติของค่าเฉลี่ย นัน่ คือ xmin  X  xmax
x3  2x2  5x  6  (x  1)(x  3)(x  2) (23.3) ถูก ..เพราะ x3 เป็นฟังก์ชันเพิ่มขึ้นเสมอ
และ x3  x2  10x  8  (x  1)(x  2)(x  4) (แต่ถ้าเปลี่ยนเป็นยกกําลังเลขคู่ ข้อนี้จะผิด)
ค.ร.น. คือตัวประกอบทั้งหมดที่ไม่ซ้ํากัน (23.4) ผิด ..เช่นถ้า b  0 จะต้องได้ ab  bc
ดังนัน้ ค.ร.น. คือ (x  1)(x  2)(x  3)(x  2)(x  4) หรือถ้า b เป็นจํานวนติดลบ จะต้องได้ ab  bc
 x5  17x3  12x2  52x  48
kanuay.com
95

(24.1) จาก 7  x  5 จะได้ 0 < x2  49 (28.1) ย้ายข้างอสมการให้เป็น x2  x  2 < 0


และจาก 3  y  6 จะได้ 6  y  3 แยกตัวประกอบ.. (x  2)(x  1) < 0
..นํามาบวกกันเป็น 6  x2  y  46 + – +
ดังนัน้ ช่วงคําตอบคือ (6, 46)
–1 2
(24.2) จาก 3  y 6 จะได้ 9  y2  36
2
ดังนัน้ เซตคําตอบคือ ช่วง [1, 2]
ดังนัน้ ค่า xy ทีน่ ้อยที่สดุ จะเกิดจาก (7)  36
และค่า xy2 ที่มากทีส่ ุดจะเกิดจาก 5  36 (28.2) แจกแจงได้เป็น 2x2  x > 1
..นั่นคือ 252  xy2  180 ย้ายข้างให้เป็น 2x2  x  1 > 0
ดังนัน้ ช่วงคําตอบคือ (252, 180) แยกตัวประกอบ.. (2x  1)(x  1) > 0

+ – +
(25.1) ขอบเขตของค่า xy เลือกได้จากผลคูณทัง้ สี่ –1 1/2
ได้แก่ 12, 18, 4, 6 ..ช่วงคําตอบคือ (18, 4) ดังนัน้ เซตคําตอบคือ ช่วง (, 1]  [1/2, )
(25.2) ขอบเขตของค่า x  y เลือกได้จากผลลบ
ทั้งสี่ ได้แก่ 8, 9, 4, 5 ..ช่วงคําตอบ (9, 4) (28.3) แยกตัวประกอบ.. x (x  2)(6x  1)  0

(25.3) ขอบเขตของค่า x/ y – + – +
เลือกได้จากผลหารทัง้ สี่ ได้แก่ 3, 2, 1, 2/ 3 –2 0 1/6
..ช่วงคําตอบคือ (3, 2/ 3) ดังนัน้ เซตคําตอบคือ ช่วง (, 2)  (0, 1/6)

(26) จากโจทย์ เขียนรูปได้ดังนี้


(29) พหุนาม x2  6x  7 แยกตัวประกอบเป็น
(ให้ความสูงเป็น h ซม. 2
h x
2

และฐานยาว 2x ซม.) h b  b2  4ac


x จํานวนเต็มไม่ได้ จึงต้องใช้สตู ร
2a
หาค่า x ในรูปของ h โดยเงือ่ นไขความยาวรอบรูป หรืออาจจัดกําลังสองสมบูรณ์ดังนีก้ ็ได้..
20  2x  2 h2  x2  10  x  h2  x2 (x2  6x  9)  2 < 0  (x  3)2  2 < 0
 100  20 x  x2  h2  x2  (x  3  2)(x  3  2) < 0
x  100  h  5  h
2 2
จะได้ 20 20 + – +
3  2 3  2
โจทย์กาํ หนด แสดงว่า 0  20
0  h< 5 h2 < 5
4
15 < 5 h2 15
จากเส้นจํานวนจะได้ 3  2 < x < 3  2
  5 ..นัน
่ คือ 4 < x  5
4 20 ..ดังนัน้ จํานวนเต็ม m คือ 3  1  2
 ความยาวฐาน 2x ควรอยู่ในช่วง [7.5, 10) ซม. และ n คือ 3  1  4  mn  2

(27) เซต A; 6 < 3x  15  2 < x  5


ดังนั้น A  [2, 5)
เซต B; แยกคิดทีละด้านแล้วเชื่อมกันด้วย “และ”
นั่นคือ 11  x  4x  1  10  5x  x  2
“และ” 4x  1 < 2x  7  2x < 6  x < 3
(นําผลลัพธ์มาอินเตอร์เซก) จะได้ B  (2, 3]
..ดังนัน้ A  B '  A  B  {2}  (3, 5)
จํานวนเต็มที่อยู่ใน A  B ' ได้แก่ 2 และ 4
96 Math E-Book
Release 2.7pre

(30) อสมการแรก สัมประสิทธิห์ น้า x2 ติดลบ (33) อาศัยทฤษฎีบทเศษเหลือ จะสรุปได้วา่


จึงต้องคูณด้วย 1 กลายเป็น 6x2  5x  21 < 0 เศษคือ (1)3  a2(1)  a  2  5
..แยกตัวประกอบ (3x  7)(2x  3) < 0  a2  a  6  0  (a  3)(a  2)  0

+ – + + – +
–3/2 7/3 –2 3
ดังนัน้ m  1  0  1  2  2 ..ดังนัน้ ค่า a ต้องอยู่ในช่วง (, 2)  (3, )

อสมการที่สอง ย้ายฝั่งมารวมกันได้เป็น
6x2  x  2  0  (3x  2)(2x  1)  0
(34) แยกตัวประกอบ (x  1)(x  2)(x  2) > 0
+ – + – + – +
–1/2 2/3
–2 1 2
จํานวนเต็มที่ไม่อยู่ในช่วงคําตอบคือ 0 เท่านัน้
เซตคําตอบคือ [2, 1]  [2, )
ดังนัน้ n  0 ..และคําตอบข้อนีค้ ือ m  n  2

(31) ก. สัมประสิทธิ์หน้า x2 ติดลบ จึงต้องคูณ (35) จากอสมการ x3  2x2  5x  6 < 0


ด้วย 1 เพื่อให้กลายเป็น 2x2  3x  20 < 0 แยกตัวประกอบ.. (x  2)(x  1)(x  3) < 0
..แยกตัวประกอบ (2x  5)(x  4) < 0 – + – +
จะได้ A ดังรูป
+ – + –3 –1 2
–4 5/2 และจาก B  (5, ) จึงได้ AB ดังนี้
คําตอบที่เป็นจํานวนเต็มได้แก่ 4, 3, 2, ..., 2
มีผลบวกของค่าสัมบูรณ์เท่ากับ 13 ..ข้อ ก. ถูก –5 –3 –1 2
ผลบวกจํานวนเต็มคือ  4  3  1  0  1  2  5
ข. พหุนามในข้อนี้แยกตัวประกอบเป็นจํานวนเต็ม
ไม่ได้ อาจใช้สูตรหรือจัดกําลังสองสมบูรณ์ดังนี้
x2  7 x  10  0  (x2  7 x  49)  409  0 – + – + – +
3 3 36 36 (36.1)
 (x  7)2  409  0 –1 0 1 2 2
6 36
เซตคําตอบคือช่วง (, 1)  (0, 1)
 (x  7  409)(x  7  409)  0
6 6 6 6 (36.2)
+ A – + – +
 7  409  x  7  409 (ดูจากเส้นจํานวน) –2 1 1 3
6 6
– B+ – +
และประมาณค่าได้เป็น 27/6  x  13/6 –4 –2 3
..คําตอบที่เป็นจํานวนเต็มได้แก่ 4, 3, 2, ..., 2
มีค่าสัมบูรณ์ของผลบวกเท่ากับ 7 ..ข้อ ข. ถูก จะได้ (A ' B ') '  A  B  [4, 1)  (1, )
(หรือตอบในรูป [4, )  {1} ก็ได้)
(36.3) + – + – + – +
2 2
(32) 2x  4x  5  0  x  2x  2.5  0 –4 –1 0 2 5 5
2 2
 (x  2x  1)  3.5  0  (x  1)  3.5  0 ภายนอกเซตคําตอบนี้ มีจํานวนเต็มอยู่ได้แก่
 (x  1  3.5)(x  1  3.5)  0 3, 2, 0, 1, 5
+ – + ดังนัน้ ผลบวกของค่าสัมบูรณ์ตามที่ตอ้ งการคือ
| 3|  |2|  |0|  |1|  |5|  11
1  3.5 1  3.5

เนื่องจาก 3.5  1.8 ดังนัน้ a  0, b  2


จึงได้ {0}  {0, 2} และ {2}  {0, 2} ถูก
kanuay.com
97

2x  5 (40.1) อสมการนี้ไม่สามารถคูณไขว้ได้ เพราะไม่


(37) เซต A; > 0
x 2 ทราบแน่ชัดว่าตัวส่วนเป็นบวกหรือติดลบ (อาจผิด
เขียนเส้นจํานวนได้ทันที เครื่องหมาย) ควรใช้วิธียา้ ยข้างมาลบกัน ดังนี้
+ – + 1

2
 0
–2 5/2 x1 3x  1

2x  1 2x  1  x  5
จากนั้นรวมเศษส่วนเข้าด้วยกัน
เซต B; 1 0   0 3x  1  2x  2 (x  1)
x5 x5   0   0
(x  1)(3x  1) (x  1)(3x  1)
x 6 + – +
  0
x 5 –5 6 – + – +
–1 1/3 1
 B  A '  B  A  [2, 5/2)
1
และผลบวกจํานวนเต็มที่ตอ้ งการคือ 2  (2)  0 เซตคําตอบคือ (, 1)  ( , 1)
3

x 1 x  1  2x  4 1 x
(38) 2  0   0 (40.2) ใช้วิธีย้ายข้างลบกัน..  > 0
x2 x2 x 1 x8
x  5 x5 จากนั้นรวมเศษส่วนเข้าด้วยกัน
  0   0
x2 x 2 x  8  x2  x x2  2x  8
 > 0  > 0
+ – + (x  1)(x  8) (x  1)(x  8)
–5 –2 x2  2x  8 (x  4)(x  2)
 < 0  < 0
ดังนัน้ a  2 ..และได้คําตอบ 2
a 1  5 (x  1)(x  8) (x  1)(x  8)

+ – + – +
–8 –2 1 4
3
(39) เซต A; สัมประสิทธิห์ น้า x ติดลบ จึงต้อง เซตคําตอบคือ (8, 2]  (1, 4]
คูณด้วย 1 เพื่อให้กลายเป็น x3  2x2  0
จากนั้นแยกตัวประกอบได้เป็น x2 (x  2)  0
(40.3) การยกกําลังสองทั้งสองข้าง ข้อนีท ้ ําได้
– + – + เพราะทั้งสองฝั่งเป็นเครือ่ งหมายรูท้ มีคา่ บวกเสมอ
0 0 2 1 2x  1 1 2x  1
    0
x2 2 x2 2
เซต B; ย้าย 1 มาลบฝั่งซ้าย และรวมเศษส่วนกัน (ย้ายข้างมาลบกัน จากนั้นรวมเศษส่วนเข้าด้วยกัน)
2
x  2x  2  x  2 2  (2x  1)(x  2) 2x2  5x
ได้เป็น < 0   0   0
x 2 2(x  2) 2(x  2)
x 2 3x  4 2x2  5x x (2x  5)
 < 0   0   0
x2 2(x  2) 2(x  2)
ซึ่งพหุนาม x 2 3x  4 นัน้ ไม่สามารถแยกเป็น – + – +
จํานวนจริงได้ (ใช้สูตรแล้วพบว่าในรู้ทติดลบ) 0 2 5/2
จึงเพิกเฉยไม่ต้องนํามาเขียนลงบนเส้นจํานวน
– + แต่เนือ่ งจากในโจทย์มี x  2 ปรากฏอยู่
2
(และเป็นตัวส่วน ห้ามเป็น 0)
จึงต้องเพิ่มเงือ่ นไขว่า x  2  0  x  2
 B  A  {0}
นอกจากนัน้ ยังมี 2x  1 ปรากฏอยู่
ในเซตนี้มีสมาชิกที่เป็นจํานวนเต็มคือ 0 เท่านั้น นั่นคือเงือ่ นไข 2x  1 > 0  x > 1/2 ด้วย
..เมื่อรวมเงื่อนไขทั้งหมด จะได้ชว่ งคําตอบ (2, 5/2)
98 Math E-Book
Release 2.7pre

(40.4) การยกกําลังสองทั้งสองข้าง ข้อนีท


้ ําได้ (43) อสมการนี้สามารถยกกําลังสองได้
เพราะฝั่งขวามือเป็นบวกเสมอ และฝั่งซ้ายมือนั้น เพราะเป็นบวกทั้งสองข้าง
โจทย์บอกว่ามากกว่าหรือเท่ากับขวามือ จึงย่อมเป็น 2x2  5x  2  5  2x2  5x  3  0
บวกเสมอด้วย (แต่ถ้าโจทย์เป็นเครื่องหมาย < จะ  (2x  1)(x  3)  0
ห้ามยกกําลัง) + – +
16 4 4 1 –1/2 3
>   > 0
(x  2)2 x1 (x  2)2 x1
(ย้ายข้างมาลบกัน จากนั้นรวมเศษส่วนเข้าด้วยกัน) ..แต่การยกกําลังสองเองนั้นอาจทําให้ได้คําตอบเกิน
จึงต้องพิจารณาเงื่อนไขของ “รู้ท” ด้วยว่า
4x  4  x2  4x  4
 > 0 2x2  5x  2 > 0  (2x  1)(x  2) > 0
(x  2)2(x  1)
x2  8x x2  8x
+ – +
 > 0  < 0 1/2 2
(x  2)2(x  1) (x  2)2(x  1)
(จัดรูปและแยกตัวประกอบของตัวเศษ) เมื่อนํามาอินเตอร์เซกแล้วจะทราบช่วงคําตอบดังนี้
x (x  8)
 < 0 ..เขียนเส้นจํานวนได้ดงั นี้
2
(x  2) (x  1) –1/2 1/2 2 3
– + – + – + และผลบวกที่โจทย์ถามเท่ากับ 3  ( 1)  5
2 2
–1 0 2 2 8
แต่เนือ่ งจากในโจทย์มี x  1 ปรากฏอยู่
(และเป็นตัวส่วน ห้ามเป็น 0)  a เมื่อ n  จํานวนคู่
(44.1) ผิด ต้องได้ n
an  
จึงต้องเพิ่มเงือ่ นไขว่า x  1  0  x  1  a เมื่อ n  จํานวนคี่

นอกจากนัน้ ยังมี 4 > 0 นัน่ คือ x  2 ด้วย (44.2) ผิด เช่นถ้าหาก a  2, b  3


x2 จะได้ |a  b|  1 ซึ่งไม่เท่ากับ |a|  |b|  1
..เมื่อรวมเงื่อนไขทั้งหมดแล้วจะได้ช่วงคําตอบ (2, 8] หมายเหตุ ถ้าเปลี่ยนเครื่องหมายเป็น + ข้อนี้จะถูก

(41.1) เนื่องจากเซตนี้คอ ื ช่วง ( 7, 7) (45.1) โจทย์กาํ หนด 3  2x  1  0.5


จึงได้ขอบเขตบนน้อยสุดเท่ากับ 7 นั่นคือ 2  2x  1.5  1  x  0.75
(41.2) เนื่องจากสมาชิกในเซตนีม ้ ีค่ามากจนถึง พยายามจัดรูปให้เหมือนสิง่ ที่โจทย์ถาม..
อนันต์ เซตนีจ้ ึงไม่มีขอบเขตบน  4  4x  3  3.5  4x  0.5  3.5
(41.3) เนื่องจากเซตนี้คอ ื ช่วง (2, 8] แสดงว่า |4x  0.5|  3.5
จึงได้ขอบเขตบนน้อยสุดเท่ากับ 8 ค่า m น้อยทีส่ ุดที่ทาํ ให้ |4x  0.5|  m ก็คือ 3.5
(41.4) เซตนี้คอ ื {..., 6, 4, 2, 0, 2, 4, ...}
สมาชิกมีค่ามากได้ถึงอนันต์ เซตนีจ้ ึงไม่มีขอบเขตบน (45.2) จาก xx2  5  1  2x  5   2x 6

โจทย์กาํ หนด 2  x  6
นั่นคือ 31  2x  1  1   2x   31
(42) เนื่องจาก A  { 21 , 23 , 43 , ... }
 5   2  6  17
ยิ่งเขียนแจกแจงไปเรื่อย ๆ จะพบว่าสมาชิกมีคา่ x 3
ค่า m x
น้อยทีส่ ุดที่ทาํ ให้ x  5  m ก็คือ 173
 2
มากขึน้ และยิง่ เข้าใกล้ 1 (แต่ไม่มที างถึง 1)
จึงได้ขอบเขตบนค่าน้อยสุดของเซตนี้เป็น 1
และเนือ่ งจาก B  { 1, 12 , 13 , ... } (45.3) โจทย์กาํ หนด 6  x  5  6
พบว่าสมาชิกที่มคี ่าน้อยที่สดุ ของเซตนีค้ ือ 1 นั่นคือ 11  x  1 ..พยายามจัดรูปได้ดงั นี้
จึงได้ขอบเขตล่างมากสุดเป็น 1 0 < x2  121  25 < x2  25  96

..ดังนัน้ a  b  1  (1)  0 ค่า m ทีน่ ้อยที่สดุ ทีท่ ําให้ |x2  25|  m ก็คอื 96
kanuay.com
99

(46) จาก 5  x  1  5  4  x  6 ข. กรณี 2/ 3 < x  0 ..จะได้


และ 4  y  2  4  2  y  6 2  3x  2  3x  6x  0  x  0  
นํามาบวกกันได้เป็น 6  x  y  12 ค. กรณี x > 0 ..จะได้
..ดังนัน้ ค่าของ |x  y| อยู่ในช่วง [0, 12) 2  3x  2  3x  0  0  [0, )
..ดังนัน้ A  [0, )

(47.1) เนื่องจาก x2  |x|2 เซต B; แยกพิจารณาทีละช่วงย่อยดังนี้


ในข้อนี้จงึ สามารถเขียนสมการได้เป็น ก. ข.
|x|2  6|x|  8  0
–2/3
แยกตัวประกอบได้ (|x|  4)(|x|  2)  0
ก. กรณี x  2/ 3 ..จะได้
แสดงว่า |x |  2 หรือ 4
2  3x  2  3x  2  2  
..จึงได้คาํ ตอบ x เป็น 2, 2, 4, หรือ 4
ข. กรณี x > 2/ 3 ..จะได้
2  3x  2  3x  0  0  [2/ 3, )
(47.2) ข้อนี้แยกพิจารณาทีละช่วงย่อย
เพื่อถอดค่าสัมบูรณ์ออก ดังนี้ ..ดังนัน้  B  [2/ 3, )
และได้คาํ ตอบ B  A'  B  A  [ 2 , 0)
ก. ค. 3
ข.
–1 1
ก. กรณี x  1 ..จะได้ (49) จากโจทย์คือ 8 x  2 2  14 x  2  3  0
(x  1)  (x  1)  2  2x  2  x   1   แยกตัวประกอบ.. (2 x  2  3)(4 x  2  1)  0
ข. กรณี 1 < x  1 ..จะได้ แสดงว่า x  2  23 หรือ 41
(x  1)  (x  1)  2  2  2  [1, 1) ใช้ได้หมด
ค. กรณี x > 1 ..จะได้ จะได้ x  {  2  23 ,  2  23 ,  2  41 ,  2  41 }
(x  1)  (x  1)  2  2x  2  x  1  {1}  ผลบวกของคําตอบเท่ากับ 8
..สรุปช่วงคําตอบรวมของสมการนีค้ ือ [1, 1]

(47.3) ข้อนี้แยกพิจารณาทีละช่วงย่อย (50) เซต A; ยกกําลังสองทั้งสองข้าง


เพื่อถอดค่าสัมบูรณ์ออก ดังนี้ แล้วย้ายมาลบกัน.. (x2  3x  3)2  (2x  3)2  0
ก. ค. เพื่อความสะดวกควรแจกแจงด้วยผลต่างกําลังสอง
ข. (x2  3x  3  2x  3)(x2  3x  3  2x  3)  0
3 4  (x2  x)(x2  5x  6)  0
ก. กรณี x  3 ..จะได้  x(x  1)(x  2)(x  3)  0
(x  4)  (x  3)  1  2x   6  x  3   ดังนัน้ A  {0, 1, 2, 3}
ข. กรณี 3< x  4 ..จะได้
(x  4)  (x  3)  1  1  1  [3, 4) เซต B; เป็นสมการจึงย้ายส่วนขึน้ มาคูณได้ (แต่ต้อง
ค. กรณี x > 4 ..จะได้ ไม่ลืมเงื่อนไขว่าส่วนห้ามเป็น 0 นัน่ คือ x  2 )
(x  4)  (x  3)  1  2x  8  x  4  {4} ..จะได้สมการเป็น |5  3x|  |2x  4|
..สรุปช่วงคําตอบรวมของสมการนีค้ ือ [3, 4] ยกกําลังสองทั้งสองข้าง แล้วย้ายมาลบกันเช่นเดิม
(5  3x)2  (2x  4)2  0
 (5  3x  2x  4)(5  3x  2x  4)  0
(48) เซต A; แยกพิจารณาทีละช่วงย่อยดังนี้  (1  5x)(9  x)  0

ค. ในเซตนี้ x เป็นจํานวนเต็มเท่านัน้ จึงได้ B  {9}


ก. ข.
–2/3 0 ..ดังนัน้ A  B  {0, 1, 2, 3, 9}
ก. กรณี x  2/ 3 ..จะได้ และ a  9, b  3  a2  b2  90
2  3x  2  3x  2  2  
100 Math E-Book
Release 2.7pre

(51) ในข้อนี้การถอดค่าสัมบูรณ์จะแยกได้เป็น (52.2) อสมการข้อนี้ นอกค่าสัมบูรณ์เป็นค่าคงที่


2 กรณีคอื เมื่อ x  0 กับเมื่อ x > 0 จึงสามารถแก้แบบง่าย ๆ ดังนี้ได้
แต่พบว่า x  0 ไม่ได้ เพราะจะทําให้ฝงั่ ขวามือ ..จากโจทย์ 3  x  2  6
ติดลบ ในขณะทีร่ ู้ทในฝัง่ ซ้ายมือย่อมเป็นบวกเสมอ แสดงว่า 6  x  2  3 หรือ 3  x  2  6
..ดังนัน้ จึงเป็นไปได้เพียงกรณี x > 0 เท่านั้น 4  x  1 5  x  8

และถอดค่าสัมบูรณ์ได้ ( x)x  x3  x x  x3
2 1 2
2  ช่วงคําตอบคือ (4, 1)  (5, 8)

ก. สามารถมองว่าฐานของเลขยกกําลัง x  1 ก็ได้ หมายเหตุ สามารถแยกพิจารณาทีละข้างก็ได้


เพราะ 1 ยกกําลังอะไรก็ได้เป็น 1 เท่ากัน นั่นคือ 3  x  2 และ x  2  6
ข. อันทีจ่ ริง 0 ยกกําลังอะไรก็ได้เป็น 0 เท่ากัน โดยช่วงคําตอบทีไ่ ด้จะต้องอินเตอร์เซกเข้าด้วยกัน
ยกเว้น 00 ซึ่งไม่ใช่จํานวนจริง ..สมการนี้ถ้า x  0
ฝั่งซ้ายจะเกิด 00 ดังนัน้ x จึงไม่สามารถเป็น 0 ได้
1
ค. เนื่องจากฐานเท่ากัน จึงพิจารณาที่เลขชี้กาํ ลังก็ได้ (52.3) อสมการแรก x   0
|x|
จะได้วา่ 21 x2  3  x2  6  x  6
แยกกรณีเพือ่ ถอดค่าสัมบูรณ์ได้ดงั นี้
..สรุปว่าเซตคําตอบคือ {1, 6} กรณี x  0 ..จะได้
1 x2  1
หมายเหตุ สมการนี้ควรแก้โดยอาศัย log (บทที่ ๗) x   0   0
x x
(x  1)(x  1)
  0
x
(52.1) วิธีที่ 1 แยกกรณีเพือ่ ถอดค่าสัมบูรณ์ เขียนเส้นจํานวนได้ผลเป็น (1, 0)  (1, )
(เหมือนข้อ 47, 48 ..ซึง่ วิธีนี้ใช้ได้กับโจทย์ทุกข้อ) นําไปอินเตอร์เซกเงื่อนไข จะได้ชว่ งคําตอบ (1, 0)
กรณี x  1/2 ..จะได้
2x  1  3x  2  1  5x  x  1/5 กรณี x > 0 ..จะได้
ช่วงคําตอบของกรณีนคี้ ือ (1/5, 1/2) 1 x2  1
x   0   0
กรณี x > 1/2 ..จะได้ x x
2x  1  3x  2  3  x  x  3 (ตัวเศษด้านบนไม่มีตัวประกอบทีเ่ ป็นจํานวนจริง)
ช่วงคําตอบของกรณีนคี้ ือ [1/2, ) เขียนเส้นจํานวนได้ผลเป็น (0, )
 ช่วงคําตอบรวมของอสมการก็คอ ื (1/5, ) นําไปอินเตอร์เซกเงื่อนไข จะได้ชว่ งคําตอบ (0, )
..ฉะนั้น คําตอบของอสมการแรกคือ (1, 0)  (0, )
วิธีที่ 2 ยกกําลังสองทั้งสองข้าง ..ข้อนีส้ ามารถทําได้
เพราะแน่ใจว่าทั้งสองข้างไม่ติดลบแน่นอน อสมการที่สอง x2  x  2  0
(สะดวกกว่าวิธีแรก แต่จะใช้ไม่ได้กับโจทย์บางข้อ)  (x  2)(x  1)  0
เขียนเส้นจํานวนได้ช่วงคําตอบเป็น (1, 2)
..จากโจทย์ จะได้ (2x  1)2  (3x  2)2
ย้ายข้างมาลบกันแล้วแจกแจงด้วยผลต่างกําลังสอง ..สรุปคําตอบของข้อนี้
 (2x  1)2  (3x  2)2  0 จาก x  (1, 0)  (0, ) และ x  (1, 2)
 (2x  1  3x  2)(2x  1  3x  2)  0 เชื่อมด้วยคําว่า “และ” แปลว่าต้อง “อินเตอร์เซก”
 (x  3)(5x  1)  0  (x  3)(5x  1)  0 จึงได้ช่วงคําตอบ (1, 0)  (0, 2)
พิจารณาจากเส้นจํานวน
ได้ช่วงคําตอบเป็น (, 3)  (1/5, )
แต่การยกกําลังสองเองนีอ้ าจทําให้ได้คําตอบเกิน
ข้อนีจ้ ะต้องคํานึงถึงเงื่อนไขในโจทย์ด้วยว่า ฝั่งขวา
ห้ามติดลบ ..นัน่ คือ 3x  2 > 0  x > 2/3
เมื่ออินเตอร์เซกแล้วจึงได้คาํ ตอบที่แท้จริง (1/5, )
kanuay.com
101

(52.4) แยกกรณีเพือ่ ถอดค่าสัมบูรณ์ได้ดงั นี้ กรณี x > 2 ..จะได้


กรณี x  1 ..จะได้ x 2
x4 < 0  x  2  2x  8 < 0
3 3 2
< x  x < 0
(x  1)  2 x  1  3x  6 < 0  x < 2  [2, 2]
3x x 2
x x3
2 ..ดังนัน้ เซตคําตอบ A  (, 2]
 < 0  > 0
x  1 x1
 x1  0  x  1 ..นัน่ คือ (1, 1)
หมายเหตุ อสมการนี้ถ้าย้าย x ไปลบทางขวา ก็จะ
เห็นว่าสามารถใช้วิธียกกําลังสองทั้งสองข้าง แบบข้อ
กรณี x > 1 ..จะได้ 52.1 (วิธที ี่ 2) ได้
3 3
< x  x < 0
(x  1)  2 x3 เซต B; แยกกรณีเพือ่ ถอดค่าสัมบูรณ์ได้ดงั นี้
3  x  3x
2
x  3x  3
2 กรณี x  7 ..จะได้
< 0 > 0

x 3

x3 x  x  7  2x  7  x  7  (, 7)
2 2
(ใช้สูตรในการแยกตัวประกอบ) กรณี x > 7 ..จะได้
(x  3  21)(x  3  21) x  x7  0  7  
2 2 > 0

x 3 ..ดังนัน้ เซตคําตอบ B  (, 27)
เขียนเส้นจํานวน โดยประมาณ 21  4.กว่าๆ และ A  B  (, 2]  (A  B)'  (2, )
จะได้ผลเป็น [ 3 2 21 , 3)  [ 3 2 21 , )
อินเตอร์เซกเงื่อนไขช่วงได้เป็น [1, 3)  [ 3  21 , )
2 (54) ต้องแยกคิดทีละส่วน (ทีละข้าง)
นั่นคือ 2x  |4x  5| และ |4x  5| < 10
..สรุปช่วงคําตอบรวมก็คอื (1, 3)  [ 3  21 , )
2
จาก 2x  |4x  5| แยกกรณีเพื่อถอดค่าสัมบูรณ์
กรณี x  5/ 4 ..จะได้
(52.5) อสมการนี้จะคิดโดยแยก 2 ช่วงย่อยก็ได้ 2x   4x  5  6x  5  x  5/6

คือ x > 0 และ x  0 แต่เนื่องจากสังเกตเห็นว่า อินเตอร์เซคกับเงือ่ นไขช่วงแล้วได้ (, 5/ 4)

ค่าสัมบูรณ์ทั้งสองอันเหมือนกัน จึงให้ A แทน x กรณี x > 5/4 ..จะได้


..จะได้อสมการกลายเป็น 2x  4x  5  5  2x  x  5/2
A A
< 2  2< 0 อินเตอร์เซคกับเงือ่ นไขช่วงแล้วได้ [5/ 4, )
A 1 A 1
..ดังนัน้ อสมการแรกได้คาํ ตอบรวมกันเป็น x  R
A  2A  2 A2
 < 0  > 0
A 1 A 1 จาก |4x  5| < 10
เขียนเส้นจํานวนได้ผลเป็น A  (, 1)  [2, ) จะได้ 10 < 4x  5 < 10  15 < 4x < 5
แต่ A จะต้องมากกว่าหรือเท่ากับ 0 เท่านั้น  15/ 4 < x < 5/ 4
นั่นคือ A  [0, 1)  [2, ) เท่านั้น
..เมื่ออินเตอร์เซกช่วงคําตอบทั้งสองส่วน (เพราะ
..จึงสรุปได้ว่าช่วงคําตอบ (ของค่า x) เชื่อมด้วยคําว่า “และ”) จะได้เซต A  [ 15 , 5]
4 4
เป็น (, 2]  (1, 1)  [2, ) นัน่ เอง
(54.1) ถูกต้องเสมอ เนือ่ งจาก A เป็นช่วงต่อเนือ่ ง
(54.2) 5  ( 15)   10  A ถูกต้อง
4 4 4
(53) เซต A; แยกกรณีเพือ่ ถอดค่าสัมบูรณ์ได้ดังนี้
กรณี x  2 ..จะได้
x  2
x4 < 0  x  2  2x  8 < 0
2
 x  10 < 0  x < 10  (, 2)
102 Math E-Book
Release 2.7pre

(55) เซต A; 14  x2  2  14 (57.3) ต้องแยกคิดทีละส่วน (ทีละข้าง)


 12  x2  16 นั่นคือ |x  7|  5 และ |5x  25|  5
ต้องแก้เป็น 0 < x2  16 เท่านั้น (ติดลบไม่ได้)
 4  x  4 ..ดังนั้น A  (4, 4) จาก |x  7|  5 จะได้ 5  x  7  5
นั่นคือ 2  x  12
1 1 x x1 และจาก |5x  25|  5 จะได้
เซต B; 1 0   0   0
x x x 5x  25  5 หรือ 5x  25  5
เขียนเส้นจํานวนได้คําตอบเป็น B  (0, 1) นั่นคือ x  6 หรือ x  4

 A  B '  A  B  (4, 0]  [1, 4) ..นําคําตอบจากทัง้ สองส่วนอินเตอร์เซกเข้าด้วยกัน


ภายในเซตนี้มจี ํานวนเต็มอยู่ 7 จํานวน จะได้เซตคําตอบของอสมการเป็น (2, 4)  (6, 12)

(56.1) เทคนิคการคิดคือ (57.4) แยกพิจารณาถอดค่าสัมบูรณ์เป็น 4 กรณี


นํา 4  1   3 ลบออกทุกส่วนของอสมการ
2 2 กรณี x  1 จะได้
เพื่อให้จาํ นวนทางซ้ายและขวาเป็นตัวเลขเดียวกัน  x  1  x  3  x  5  1  x  (1, 1)
จะได้ 4  23  x  23  1  23 กรณี 1< x  3 จะได้
x  1  x  3  x  5  x  3  [1, 3)
 5  x  3  5  5  2x  3  5
2 2 2 กรณี 3< x  5 จะได้
 |2x  3|  5 ..นั่นคือ a  2, b  3, c  5 x  1  x  3  x  5  x  3  
กรณี x > 5 จะได้
(56.2) คิดเช่นเดียวกับข้อทีแ่ ล้วคือ x  1 x  3  x 5  x  1  
นํา 2 8  1 ลบออกทุกส่วนของอสมการ
10 
 รวมกันทุกกรณีแล้วจะได้ช่วงคําตอบ (1, 3)
จะได้ x  1  9 หรือ x  1  9
 |x  1|  9 ..นั่นคือ a  1, b  1, c  9
(57.5) วิธีที่ 1 ย้ายส่วนขึ้นไปคูณทางขวาได้
เพราะส่วนในข้อนี้ย่อมเป็นค่าบวกเสมอ จากนั้นยก
(57.1) ยกกําลังสองทัง้ สองข้างได้ เพราะแน่ใจว่า กําลังสองทั้งสองข้าง และแจกแจงผลต่างกําลังสอง
ไม่มีข้างใดติดลบ (วิธีคิดเหมือนข้อ 52.1 วิธที ่ี 2) เหมือนวิธีคิดในข้อ 57.1, 57.2..
 (x2  5x  4)2 > (x2  x  2)2
(3x  2)2  (4x  1)2  (3x  2)2  (4x  1)2  0
 (x25x  4  x2  x 2)(x25x  4  x2  x 2) > 0
 (3x  2  4x  1)(3x  2  4x  1)  0
 (6x  2)(2x2  4x  6) > 0
 (x  1)(7x  3)  0  (x  1)(7x  3)  0
 2(3x  1)  2(x  3)(x  1) < 0
..เขียนเส้นจํานวนได้คาํ ตอบเป็น (,  3)  (1, )
7 เขียนเส้นจํานวนได้คําตอบเป็น (, 1]  [ 31 , 3]
..แต่ในโจทย์มีเงือ่ นไขของตัวส่วนห้ามเป็น 0 ด้วย
ก็คือ x2  x  2  0 แสดงว่า x ห้ามเป็น –2 กับ 1
(57.2) เนื่องจากตัวส่วนมีค่าสัมบูรณ์จึงเป็นบวก  เซตคําตอบคือ ((, 1]  [ 1 , 3])  {2, 1}
3
เสมอ สามารถคูณย้ายไปไว้ทางขวาได้ทันที และ
จากนั้นยังสามารถยกกําลังสองได้ (เหมือนข้อที่แล้ว)
(แต่ต้องระวังเงื่อนไขทีต่ ัวส่วน คือ x ห้ามเป็น –1)
(x  2)2  (2x  2)  (x  2)2  (2x  2)2  0
 (x  2  2x  2)(x  2  2x  2)  0
 (x  4)(3x)  0  3(x  4)(x)  0
..เขียนเส้นจํานวนได้คาํ ตอบเป็น (, 4)  (0, )
kanuay.com
103

วิธีที่ 2 ฝั่งขวาของอสมการเป็นค่าคงที่ อาจแก้ดังนี้ (59.1) แยกกรณีเพือ่ ถอดค่าสัมบูรณ์เช่นเดิม


x2  5x  4 x2  5x  4 กรณี x  0
> 1 หรือ < 1
2
x x2 2
x x 2 จะได้ (1  x)(1  x)  0  (x  1)2  0
x2  5x  4
พบว่าเป็นจริงเสมอยกเว้นที่ x  1
กรณี > 1 (จะพิจารณาคําตอบจากการเขียนเส้นจํานวนก็ได้)
x2  x  2
x2  5x  4  x2  x  2
ดังนัน้ คําตอบของกรณีนี้คอื (, 1)  (1, 0)
จะได้ > 0
x2  x  2 กรณี x > 0
(6x  2) 2(3x  1) จะได้ (1  x)(1  x)  0  (x  1)(x  1)  0
 > 0  < 0
(x  2)(x  1) (x  2)(x  1) เขียนเส้นจํานวนได้ผลเป็น (1, 1)
..เขียนเส้นจํานวนได้ผลเป็น (, 2)  [ 1 , 1) เมื่อนําไปอินเตอร์เซกกับเงือ่ นไขจะเหลือเพียง [0, 1)
3
..สรุปช่วงคําตอบรวมของข้อนี้ (, 1)  (1, 1)
x2  5x  4
กรณี < 1
x2  x  2 (59.2) คิดวิธีการเดียวกันกับข้อแรกก็ได้
2 2
x  5x  4  x  x  2
< 0
หรืออาจใช้ผลลัพธ์จากข้อแรกมาพิจารณาต่อ ดังนี้
จะได้
x2  x  2 ..เราทราบว่า (1  |x|)(1  x) จะเป็นศูนย์ก็ตอ่ เมือ่
(2x2  4x  6) 2(x  3)(x  1) x  1 หรือ 1
 < 0  < 0
(x  2)(x  1) (x  2)(x  1) ดังนัน้ ค่า x ที่เหลือซึง่ ยังไม่ได้กล่าวถึงในข้อแรกและ
..เขียนเส้นจํานวนได้ผลเป็น (2, 1]  (1, 3] ไม่ใช่ 1, 1 ย่อมเป็นค่าที่ทาํ ให้ (1  |x|)(1  x)
และเซตคําตอบรวมของอสมการข้อนีจ้ ึงเป็น เป็นจํานวนลบ ..นั่นคือ ค่า x ทีอ่ ยู่ในช่วง (1, )
((, 1]  [ 1 , 3])  {2, 1}
3

(60) วิธีที่ 1 พิจารณาหลักหน่วยของ (19)3(288)2


ย่อมเกิดจากหลักหน่วยของ 9  9  9  8  8
(58) อสมการนีม้ ีค่าสัมบูรณ์ซอ้ นกัน เมือ่ พิจารณา นั่นคือ 93  82  9  4  6
ที่คา่ สัมบูรณ์ดา้ นใน จะแยกได้เป็น 2 กรณีดังนี้ ดังนัน้ เมือ่ หารด้วย 5 แล้วจะเหลือเศษ 1
กรณี x  0 วิธีที่ 2 คิดจากทฤษฎีบทเศษเหลือ
อสมการจะกลายเป็น | x  3|  |x  2| เนื่องจากการหาร (4x  1)3(58x  2)2 ด้วย x
ยกกําลังสองทั้งสองข้างแล้วย้ายมาลบกัน ย่อมเหลือเศษเท่ากับ (1)3  (2)2  4 เสมอ
( x  3)2  (x  2)2  ( x  3)2  (x  2)2  0
..ถ้าแทน x ด้วย 5 ก็จะได้วา่
 ( x  3  x  2)( x  3  x  2)  0
(19)3(288)2 หารด้วย 5 จะเหลือเศษ 4 ด้วย
 (2x  1)(5)  0  (2x  1)(5)  0
ซึ่งเศษ 4 สําหรับตัวหารเป็น 5 จะหมายถึงเศษ 1
ได้ผลเป็น x   1/2
และเมื่ออินเตอร์เซกกับเงือ่ นไขแล้วจะได้ผลเช่นเดิม
กรณี x > 0
อสมการจะกลายเป็น |x  3|  |x  2|
ยกกําลังสองทั้งสองข้างแล้วย้ายมาลบกัน
(x  3)2  (x  2)2  (x  3)2  (x  2)2  0
 (x  3  x  2)(x  3  x  2)  0
 (1)(2x  5)  0  (1)(2x  5)  0
ได้ผลเป็น x  5/2
และเมื่ออินเตอร์เซกกับเงือ่ นไขแล้วจะได้ผลเช่นเดิม
..สรุปช่วงคําตอบรวมของข้อนี้ (,  21)  (52 , )
104 Math E-Book
Release 2.7pre

(61) หา ห.ร.ม. ด้วยวิธขี องยุคลิดได้ดงั นี้ (64) b หารด้วย 7 แล้วเหลือเศษ 6


252  34(7)  14 .....(ก) ..แสดงว่า b  1 หารด้วย 7 ลงตัว
34  14(2)  6 .....(ข) b หารด้วย 9 แล้วเหลือเศษ 8
14  6(2)  2 .....(ค) ..แสดงว่า b  1 หารด้วย 9 ลงตัว
6  2 (3) (ดังนัน้ ห.ร.ม. เท่ากับ 2) b หารด้วย 12 แล้วเหลือเศษ 11
..แสดงว่า b  1 หารด้วย 12 ลงตัว
ย้ายข้างสมการ ก, ข, ค ให้อยู่ในรูป เศษ  ......
ดังนี้ (ก) 14  252  34(7) แต่ b เป็นจํานวนเต็มบวกที่นอ้ ยที่สดุ
(ข) 6  34  14(2) ก็แสดงว่า b  1 เป็น ค.ร.น. ของ 7, 9, 12 นัน่ เอง
(ค) 2  14  6(2) ซึ่ง ค.ร.น. ของ 7, 9, 12 หาได้เท่ากับ 252
ดังนัน้ b  1  252  b  251
..แล้วแทน (ข) ใน (ค)
จะได้ 2  14  (34  14(2))(2)
 14(5)  34(2)
แทนด้วย (ก) ลงไปอีก (65) จากสมบัตทิ ี่วา่ “ผลคูณของสองจํานวนนัน้
จะได้ 2  (252  34(7))(5)  34(2) จะเท่ากับผลคูณของ ห.ร.ม. และ ค.ร.น. เสมอ”
 252(5)  34(37) จึงได้ x  128  16  384  x  48
..ดังนัน้ ผลรวมเชิงเส้นคือ 2  252(5)  34(37)

(66) จากสมบัตทิ ี่วา่ “ผลคูณของสองจํานวนนัน้


(62) หา ห.ร.ม. ด้วยวิธขี องยุคลิดได้ดงั นี้ จะเท่ากับผลคูณของ ห.ร.ม. และ ค.ร.น. เสมอ”
(ก) –504 = –38(14) + 28 28 = –504 + (–38)(–14) แสดงว่าสองจํานวนนีค้ ูณกันได้เป็น 3  30  90
(ข) –38 = 28(–2) + 18 18 = –38 + 28(2) ซึ่งสองจํานวนนีอ้ าจเป็น (1,90), (2,45), (3,30),
(ค) 28 = 18(1) + 10 10 = 28 + 18(–1) (5,18), (6,15), หรือ (9,10)
(ง) 18 = 10(1) + 8 8 = 18 + 10(–1) แต่เนือ่ งจากผลต่างต้องเท่ากับ 9 ด้วย
(จ) 10 = 8(1) + 2 2 = 10 + 8(–1) จึงมีคาํ ตอบทีส่ อดคล้องเพียงชุดเดียวคือ 6 กับ 15
และ 8 = 2(4) (ดังนั้น ห.ร.ม. เท่ากับ 2) ..และผลบวกสองจํานวนนี้ เท่ากับ 21
..แทน (ง) ใน (จ); 2 = 10 + (18 + 10(–1))( –1)
= 10(2) + 18(–1)
แทนด้วย (ค); 2 = (28 + 18(–1))(2) + 18(–1) (67) จาก 165  5  3  11
=28(2) + 18(–3) แต่ a  5  ______ , b  3  _______
แทนด้วย (ข); 2 = 28(2) + (–38 + 28(2))(–3) a, b เป็นจํานวนเฉพาะสัมพัทธ์ แปลว่า a กับ b
= 28(–4) + (–38)(–3) ต้องไม่มตี ัวประกอบร่วมกัน (ห.ร.ม. เป็น 1)
และสุดท้าย แทนด้วย (ก); และเนือ่ งจาก a  b
2 = (–504 + (–38)(–14))(4) + (–38)(–3) ดังนัน้ a  5 และ b  3  11  33
= (–504)(–4) + (–38)(53) จึงทําให้ “a หาร b” คือ 33
5
เหลือเศษเท่ากับ 3
หมายเหตุ “a หาร b” ต่างจาก “a หารด้วย b”
(63) a หารด้วย 7, 9, 12 แล้วเหลือเศษ 4
..แสดงว่า a  4 หารด้วย 7, 9, 12 ลงตัว
แต่ a เป็นจํานวนเต็มบวกที่นอ้ ยที่สดุ
ก็แสดงว่า a  4 เป็น ค.ร.น. ของ 7, 9, 12 นัน่ เอง
ซึ่ง ค.ร.น. ของ 7, 9, 12 หาได้เท่ากับ 252
ดังนัน้ a  4  252  a  256
kanuay.com
105

(68) การเป็นจํานวนเฉพาะสัมพัทธ์ (70) สมการที่โจทย์ให้มาคือขั้นตอนการหา


หมายความว่า ห.ร.ม. ของ x, y คือ 1 ห.ร.ม. ของ 42 กับ n ด้วยวิธีของยุคลิด
และโจทย์กําหนด ค.ร.น. ของ x, y คือ 15015 โจทย์บอกว่า ห.ร.ม. เป็น 6 แสดงว่า r1  6
แสดงว่าผลคูณ x y  15015  3  5  7  11  13 จะได้ r0  2r1  12 และ n  2r0  r1  30
ดังนัน้ เมือ่ ใช้สมบัติที่วา่
..แต่ x มีตัวประกอบ 2 ตัว และ 80  x  200 “ ค.ร.น.  ห.ร.ม.  ผลคูณของสองจํานวนนั้น”
 x  13  7 หรือ 13  11 (เป็นไปได้สองแบบ)
ซึ่งจะได้ว่า y  3  5  11  165 จะได้ ค.ร.น.  42  30  210
6
หรือ y  3  5  7  105

(71) รูปแบบที่ให้มาคือขัน ้ ตอนการหา ห.ร.ม. ด้วย


(69) ห.ร.ม.  9  33
วิธีของยุคลิด ซึง่ หลักสําคัญคือ ห.ร.ม. ของตัวตั้งกับ
ค.ร.น.  28215  3  3  3  5  11  19 ตัวหารที่คอ่ ย ๆ ลดทอนลงนัน้ จะมีค่าคงเดิมเสมอ
ทั้ง x และ y ต้องหาร 9 ลงตัว
นั่นคือ x  3  3  ?? a  1998 b  r โดย 0  r  1998
และ y  3  3  จํานวนที่เหลือ เป็นการหาร a ด้วย 1998 (ได้ผลหาร b, เศษ r)
จะพบว่า ใน x มี 5 กับ 11 เท่านั้น จึงจะทําให้มตี ัว 1998  47 r  r1 โดย 0  r1  r
ประกอบเป็นจํานวนเฉพาะ 3 ตัว และน้อยกว่า y เป็นการหาร 1998 ด้วย r (ได้ผลหาร 47, เศษ r1)
..ดังนัน้ ขัน้ ตอนต่อไปคือ หาร r ด้วย r1
..ดังนัน้ x  3  3  5  11  495 แต่โจทย์ละขัน้ ตอนจากนี้ แล้วสรุปให้เลยว่า ห.ร.ม.
และ y  3  3  3  19  513 ของ r กับ r1 คือ 6
 ข้อ 71.2 และ 71.4 จึงถูก

ส่วนข้อ 71.1 และ 71.3 ผิด เพราะ b เป็นผลหาร


ซึ่งจะไม่มีความสําคัญหรือเกีย่ วข้องใด ๆ กับ ห.ร.ม.
เรื่องแถม
ถ้าไม่มีเครื่องคํานวณ จะหาค่ารากที่สองได้อย่างไร..
(1) 5 14 . 00 00
(1) สมมติว่า จะถอดรากที่สองของ 514
เริ่มต้น ให้แบ่งตัวเลขในจํานวน 514 ออกเป็นกลุ่ม ๆ ทีละ 2 ตัว โดยวัดจาก
จุดทศนิยมมาทางซ้าย ได้แก่ 14 และ 5 (หลักหน่วยอยู่กับสิบ หลักร้อยอยู่กับพัน
(2) 2
หลักหมื่นอยู่กับแสน ไปเรื่อย ๆ) และวัดทศนิยมไปทางขวากลุ่มละ 2 ตัวเช่นกัน 2 5 14 . 00 00
(โจทย์ข้อนี้ไม่มีทศนิยมจึงใส่ 00 และ 00 ไปเรื่อย ๆ)
(3) 2
(2) หาจํานวนนับที่คูณตัวเองแล้วได้ใกล้เคียงกลุ่มแรก (คือ 5) ที่สุด 2 5 14 . 00 00
(แต่ไม่เกิน 5) นั่นคือ 2 คูณ 2 ... ก็ใส่ 2 ไว้ที่ช่องตัวหาร กับช่องผลลัพธ์ 4
1
(3) จาก 2 คูณ 2 ได้ 4 ... ใส่ผลคูณคือ 4 ไว้ใต้เลข 5 แล้วนํามาลบกัน เหลือ 1 (4) 2
(4) นําผลลัพธ์ที่ได้ในขณะนี้ (บรรทัดบนสุด) คือ 2 มาคูณสองกลายเป็น 4 2 5 14 . 00 00
ใส่ไว้ที่ช่องตัวหารด้านหน้า ... แล้วดึงเลขกลุ่มถัดไปลงมา (คือ 14) กลายเป็น 114 4
4 1 14
(5) ต่อมาให้หาค่า x ซึ่งทําให้ 4x คูณ x ได้ใกล้เคียง 114 ที่สุด (แต่ไม่เกิน 114)
... เช่น 41 คูณ 1 ได้ 41, 42 คูณ 2 ได้ 84, 43 คูณ 3 ได้ 129 (เกิน) (5) 2 2 .
ดังนั้น ต้องใช้ 42 คูณ 2 ... ใส่ 2 ไว้ที่ตัวหาร (ต่อท้าย 4) และใส่ 2 ไว้ช่อง 2 5 14 . 00 00
ผลลัพธ์ด้วย จากนั้น 42 คูณ 2 ได้ 84 เอาไปตั้งลบออกจาก 114 (เหลือ 30) 4
42 1 14
(6) ทําเช่นเดียวกับข้อ (4) และ (5) ไปเรื่อย ๆ 84
30
คือ เอาผลลัพธ์ในขณะนี้ (22) มาคูณสองกลายเป็น 44 ใส่ไว้ช่องตัวหาร
และดึงกลุ่มถัดไป (คือ 00) ลงมาต่อท้าย 30 กลายเป็น 3000 (6) 2 2 .
2 5 14 . 00 00
(7) หาค่า x ซึ่งทําให้ 44x คูณ x ได้ใกล้เคียง 3000 ที่สุด 4
(แต่ไม่เกิน 3000) ... พบว่า ต้องใช้ 446 คูณ 6 42 1 14
ใส่ 6 ไว้ที่ตัวหาร (ต่อท้าย 44) และใส่ 6 ไว้ช่องผลลัพธ์ 84
44 30 00
จากนั้น 446 คูณ 6 ได้ 2676 เอาไปตั้งลบออกจาก 3000 (เหลือ 324)
(7) 2 2 . 6
(8) เอาผลลัพธ์ในขณะนี้ (226) มาคูณสองเป็น 452 ใส่ไว้ช่องตัวหาร 2 5 14 . 00 00
และดึงกลุ่มถัดไป (คือ 00) ลงมาต่อท้าย 324 กลายเป็น 32400 4
หาค่า x ซึ่งทําให้ 452x คูณ x ได้ใกล้เคียง 32400 ที่สุด (แต่ไม่เกิน 32400) ... 42 1 14
พบว่า ต้องใช้ 4527 คูณ 7 ... ใส่ 7 ไว้ที่ตัวหาร (ต่อท้าย 452) และใส่ 7 ไว้ 84
ช่องผลลัพธ์ จากนั้น 4527 คูณ 7 ได้ 31689 เอาไปตั้งลบออกจาก 32400 ... 446 30 00
26 76
ทําไปเรื่อย ๆ จนกว่าจะได้คําตอบที่มีจํานวนทศนิยมเท่าที่ต้องการ 3 24

สรุปว่า รากที่สองของ 514 มีค่าประมาณ 22.67... (8) 2 2 . 6 7


2
5 14 . 00 00
ข้อสังเกต จํานวนหลักของคําตอบ จะเท่ากับจํานวนกลุม่ ที่แบ่งในโจทย์ 4
เช่น 514 แบ่งได้ 2 กลุ่ม คือ 5,14 ดังนั้นคําตอบจะมี 2 หลัก (ไม่รวมทศนิยม) 42 1 14
หรือถ้าเป็น 903601 แบ่งได้ 3 กลุ่ม คือ 90,36,01 คําตอบก็จะมี 3 หลัก... 84
446 30 00
อ่านแล้วทดลองถอดรากที่สองเองดูสิครับ 26 76
อย่างเช่น หารากที่สองของ 225, รากที่สองของ 3000, รากที่สองของ 214.7 4527 3 24 00
3 16 89
ตรวจสอบคําตอบกับเครื่องคํานวณ ถ้าตรงกันแสดงว่ารู้หลักในการคิดแล้ว :] .... ....

You might also like