You are on page 1of 11

แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 18

รายวิชาคณิตศาสตร์พื้นฐาน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565


หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 เซต เวลา 18 ชั่วโมง
เรื่อง การแก้ปัญหาโดยใช้เซต (4) เวลา 50 นาที
ครูผู้สอน นายจิรานุวัฒน์ นาสุนทร โรงเรียนเชียงยืนพิทยาคม
..............................................................................................................................................................................
1. สาระที่ 1 จำนวนและพีชคณิต
2. มาตรฐานการเรียนรู้
ค.1.1 เข้าใจความหลากหลายของการแสดงจำนวน ระบบจำนวน การดำเนินการของจำนวนผลที่
เกิดขึ้น จากการดำเนินการ สมบัติของการดำเนินการ และนำไปใช้
3. ตัวชี้วัด
ค.1.1 ม.4/1 เข้าใจและใช้ความรู้เกี่ยวกับเซตและตรรกศาสตร์เบื้องต้นในการสื่อสารและสื่อ
ความหมายทางคณิตศาสตร์
4. สาระการเรียนรู้
การแก้ปัญหาโดยใช้เซต
5. จุดประสงค์การเรียนรู้
5.1 ด้านความรู้ (K)
สามารถบอกสูตรที่ใช้ในการแก้ปัญหาของเซตได้
5.2 ด้านกระบวนการ (P)
สามารถแก้ปัญหาโดยใช้เซตได้
5.3 ด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์ (A)
มีความรับผิดชอบ
มีระเบียบวินัย
มีความใฝ่เรียนรู้
6. สาระสำคัญ

ถ้าเซต A และ B เป็นเซตจำกัดแล้ว จำนวนสมาชิกของเซต A ∪ B ∪ C หาได้จาก


n(A ∪ B ∪ C) = n(A) + n(B) + n(C) – n(A ∩ B) – n(B ∩ C) – n(C ∩ A) + n(A ∩ B ∩ C)
7. กระบวนการเรียนรู้
ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน
1. คุณครูเช็คชื่อนักเรียน
2. คุณครูบอกนักเรียนว่าจาก 2 ครั้งที่ผ่านมาเราเคยเรียนการหาจำนวนของกลุ่ม 2 กลุ่ม
มาแล้ว ต่อไปเราจะมาเรียนขั้นที่สูงกว่า 2 ครั้งที่ผ่านมา โดยเราจะมาเรียนการหาจำนวนของกลุ่มทั้ง 3 กลุ่ม
ขั้นสอน
1. คุณครูถามนักเรียนว่า จากตอนที่เราเรียนมา การที่เราจะรู้จำนวนของคน 2 กลุ่ม เราจะ
หาได้จากจำนวนของคนกลุ่มที่ 1 รวมกับจำนวนของคนกลุ่มที่ 2 แล้วจากนั้นก็นำคนที่ซ้ำมาลบ ถ้าครั้งนี้เรา
อยากรู้จำนวนคนของคนทั้ง 3 กลุ่มก็จะคล้ายกับ 2 กลุ่ม คือนำจำนวนของคนกลุ่มที่ 1 รวมกับจำนวนคนของ
กลุ่มที่ 2 และรวมกับคนของกลุ่มที่ 3 จากนั้นก็จะนำคนที่ซ้ำของทั้ง 2 กลุ่มมาลบด้วย และจากนั้นก็นำคนที่ซ้ำ
จากทั้ง 3 กลุ่มมาบวก
2. จากข้อความที่พูดมา จำนวนคนของกลุ่มที่ 1 เราจะได้เป็นอะไร (n(A)) จำนวนคนของ
กลุ่มที่ 2 เราจะได้เป็นอะไร (n(B)) จำนวนคนของกลุ่มที่ 3 เราจะได้เป็นอะไร (n(C)) จำนวนคนของกลุ่มที่ 1
และกลุ่มที่ 2 ที่ซ้ำกันเราจะได้เป็นอะไร (n(A ∩ B)) จำนวนคนของกลุ่มที่ 2 และกลุ่มที่ 3 ที่ซ้ำกันเราจะได้
เป็นอะไร (n(B ∩ C)) จำนวนคนของกลุ่มที่ 3 และกลุ่มที่ 1 ที่ซ้ำกันเราจะได้เป็นอะไร (n(C ∩ A)) และ
สุดท้ายจำนวนคนของคนทั้ง 3 กลุ่มที่ซ้ำกัน เราจะได้เป็นอะไร (n(A ∩ B ∩ C))
3. เมื่อเราได้สัญลักษณ์ของความหมายแต่ละตัวแล้ว เรานำมาประกอบเป็นสูตรได้อย่างไร
(n(A ∪ B ∪ C) = n(A) + n(B) + n(C) – n(A ∩ B) – n(B ∩ C) – n(C ∩ A) + n(A ∩ B ∩ C))
4. คุณครูยกตัวอย่าง โรงเรียนแห่งหนึง่ มีนักเรียน 500 คน มีคนที่ชอบเล่นของเล่นหรือชอบ
เรียนหนังสือหรือชอบนอนจำนวน 440 คน โดยมีคนที่ชอบเล่นของเล่นจำนวน 120 คน ชอบเรียนหนังสือ
จำนวน 210 คน ชอบนอนจำนวน 180 คน ชอบเล่นของเล่นและเรียนหนังสือจำนวน 20 คน ชอบเรียน
หนังสือและชอบนอนจำนวน 30 คน ชอบนอนและชอบเล่นของเล่นจำนวน 25 คน อยากทราบว่า นักเรียนที่
ชอบเล่นของเล่นอย่างเดียว ชอบเรียนหนังสืออย่างเดียว ชอบนอนอย่างเดียว และไม่ชอบทั้ง 3 อย่างกี่คน
5. คุณครูสุ่มนักเรียนขึ้นมาเขียนกระดานตามหัวข้อดังนี้
5.1 โจทย์กำหนดอะไรบ้าง
5.2 โจทย์ต้องการทราบอะไรบ้าง
5.3 สูตรที่ใช้ในการแก้ปัญหา
6. คุณครูพานักเรียนทำไปพร้อมกัน โดยนำสิ่งที่โจทย์กำหนดมาแปลงเป็นตัวอักษรที่ใช้ใน
สูตร ได้ดังนี้ จำนวนนักเรียนทั้งหมด = n(U) , จำนวนคนที่ชอบเล่นของเล่นหรือชอบเรียนหนังสือหรือชอบ
นอน = n(A ∪ B ∪ C) , จำนวนคนที่ชอบเล่นของเล่น = n(A) , จำนวนคนที่ชอบเรียนหนังสือ = n(B) ,
จำนวนคนที่ชอบนอน = n(C) , จำนวนคนที่ชอบเล่นของเล่นและเรียนหนังสือ = n(A ∩ B) , จำนวนคนที่
ชอบเรียนหนังสือและชอบนอน = n(B ∩ C) และ จำนวนคนที่ชอบนอนและชอบเล่นของเล่น = n(C ∩ A)

7. นำตัวเลขมาแทนลงในสูตร (n(A ∪ B ∪ C) = n(A) + n(B) + n(C) – n(A ∩ B) – n(B


∩ C) – n(C ∩ A) + n(A ∩ B ∩ C)) จะได้ 440 = 120 + 210 + 180 – 20 – 30 – 25 + n(A ∩ B ∩
C) เมื่อคำนวณแล้วจะได้ว่า n(A ∩ B ∩ C) = 5 คน จากนั้นนำข้อมูลที่ได้วาดเป็นแผนภาพเวนน์ โดยคุณครู
และนักเรียนร่วมวาดไปพร้อมกัน โดยครูจะเป็นคนวาดและให้นักเรียนเป็นคนบอกข้อมูล จะได้ดังภาพ

ชอบเรียน ชอบเล่น U
165 15 80
5
25 20
130
ชอบนอน 60

8. จากรูปที่คุณครูและนักเรียนช่วยกันวาดสามารถตอบคำถามได้ดังนี้
นักเรียนที่ชอบเล่นของเล่นอย่างเดียว = 80 คน
ชอบเรียนหนังสืออย่างเดียว = 165 คน
ชอบนอนอย่างเดียว = 130 คน
ไม่ชอบทั้ง 3 อย่าง = 60 คน
ขั้นสรุป
นักเรียนและคุณครูร่วมกันสรุป สูตรในการแก้โจทย์ปัญหาเรือ่ งเซต โดยคุณครูถามว่า วันนี้
เราได้เรียนรู้สูตรอะไรบ้าง (n(A ∪ B ∪ C) = n(A) + n(B) + n(C) – n(A ∩ B) – n(B ∩ C) – n(C ∩ A)
+ n(A ∩ B ∩ C) โดย จำนวนคนของกลุ่มที่ 1 เราจะได้เป็น n(A) จำนวนคนของกลุ่มที่ 2 เราจะได้เป็น n(B)
จำนวนคนของกลุ่มที่ 3 เราจะได้เป็น n(C) จำนวนคนของกลุ่มที่ 1 และกลุ่มที่ 2 ที่ซ้ำกันเราจะได้ n(A ∩ B)
จำนวนคนของกลุ่มที่ 2 และกลุ่มที่ 3 ที่ซ้ำกันเราจะได้ n(B ∩ C) จำนวนคนของกลุ่มที่ 3 และกลุ่มที่ 1 ที่ซ้ำ
กันเราจะได้ n(C ∩ A) และจำนวนคนของคนทั้ง 3 กลุ่มที่ซ้ำกัน เราจะได้ n(A ∩ B ∩ C)
จากนั้นให้นักเรียนเขียนสรุป สูตรและความหมายของแต่ละตัวลงในสมุด
ขั้นนำไปใช้
คุณครูให้แบบฝึกหัด โดยให้นักเรียนทำลงในสมุด
8. สื่อการเรียนรู้ / แหล่งการเรียนรู้
หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐาน วิชาคณิตศาสตร์ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 (ฉบับปรุง 2560)
9. การวัดและประเมินผล
จุดประสงค์ที่วัด วิธีการวัด เครื่องมือที่ใช้วัด เกณฑ์การประเมินผล
ด้านความรู้ (K) ตรวจสมุด รายละเอียดในสมุด นักเรียนตอบได้ถูกต้อง
สามารถบอกสูตรที่ใช้ในการ หรือคลาดเคลื่อน
แก้ปัญหาของเซตได้ เล็กน้อย
ด้านกระบวนการ (P) ตรวจแบบฝึกหัด แบบฝึกหัด ได้คะแนน 70 ขึ้นไป
สามารถแก้ปัญหาโดยใช้เซต ในสมุด ถือว่าผ่านเกณฑ์
ได้
ด้านคุณลักษณะที่พึงประสงค์ (A) สังเกตพฤติกรรม แบบสังเกตพฤติกรรม ได้ระดับคุณภาพระดับดี
1. มีความรับผิดชอบ รายบุคคล
2. มีระเบียบวินัย
3. มีความใฝ่เรียนรู้
ภาคผนวก
แบบฝึกหัด

1. กำหนดจำนวนสมาชิกของเซตต่าง ๆ ดังนี้
เซต U A B C A∩B A∩C B∩C A∩B ∩C
จำนวนสมาชิก 50 25 20 30 12 15 10 5
จงหาจำนวนสมาชิกของเซตต่อไปนี้

1) A ∪ C

2) A ∪ B ∪ C

3) (A ∪ B ∪ C)′

4) B – (A ∪ C)
5) (A ∩ B) – C
เฉลย
1. กำหนดจำนวนสมาชิกของเซตต่าง ๆ ดังนี้
เซต U A B C A∩B A∩C B∩C A∩B ∩C
จำนวนสมาชิก 50 25 20 30 12 15 10 5
จงหาจำนวนสมาชิกของเซตต่อไปนี้

1) A ∪ C = 40

2) A ∪ B ∪ C = 43

3) (A ∪ B ∪ C)′ = 7

4) B – (A ∪ C) = 3

5) (A ∩ B) – C = 7
แบบบันทึกคะแนนแบบฝึกหัด เรื่อง การแก้ปัญหาโดยใช้เซต (4)
สูตรที่ใช้ในการ
แบบฝึกหัด คิดเป็น หมาย
เลขที่ ชื่อ-สกุล แก้ปัญหาเรื่องเซต
(5 คะแนน) ร้อยละ เหตุ
ผ่าน ไม่ผ่าน
1
2
3
4
5
6
8
9
10

หมายเหตุ แบบฝึกหัดได้คะแนนร้อยละ 70 ขึ้นไป ถือว่าผ่าน


เกณฑ์การให้คะแนน เรื่อง การแก้ปัญหาโดยใช้เซต (4)
สูตรที่ใช้ในการแก้ปัญหาเรื่องเซต เกณฑ์
คำตอบถูกต้องหรือคลาดเคลื่อนเล็กน้อย ผ่าน
คำตอบไม่ถูกต้อง ไม่ผ่าน

ผลการทำแบบฝึกหัดที่ปรากฏให้เห็น คะแนน
คำตอบถูกต้อง 1
คำตอบไม่ถูกต้อง 0
แบบบันทึกคะแนนการสังเกตพฤติกรรม
ผลการ
รายการประเมิน
ประเมิน
ระดับ
เลข มี รวม หมาย
ชื่อ-สกุล มีความ มีความ คุณ
ที่ ระเบียบ (9 คะแนน) ไม่ เหตุ
รับผิดชอบ ใฝ่เรียนรู้ ภาพ ผ่าน
วินัย ผ่าน
(3) (3)
(3)
1
2
3
4
5
6
8
9
10

หมายเหตุ ได้ระดับคุณภาพ ดี ขึ้นไป ถือว่าผ่านเกณฑ์

คะแนน ระดับคุณภาพ
7 - 9 คะแนน ดีมาก
5 - 6 คะแนน ดี
3 - 4 คะแนน พอใช้
0 - 2 คะแนน ปรับปรุง
เกณฑ์การให้คะแนนการสังเกตพฤติกรรม
เกณฑ์ประเมิน (คะแนนเต็ม 9 คะแนน)
รายการ
3 2 1
มีความรับผิดชอบ ส่งงานก่อนหรือตรง ส่งงานช้ากว่ากำหนด ส่งงานช้ากว่ากำหนด
กำหนดเวลานัดหมาย แต่ได้ติดต่อชี้แจง เหตุผล ปฏิบัติโดยต้องอาศัย
รับผิดชอบในงานที่ได้รับ รับฟังได้ รับผิดชอบงาน การชี้แนะ คำแนะนำ
มอบหมาย ที่ได้รับมอบหมาย และการตักเตือน
มีระเบียบวินัย แบบฝึกทักษะสะอาด แบบฝึกทักษะส่วนมาก แบบฝึกทักษะไม่ค่อย
เรียบร้อย และปฏิบัติตน สะอาดเรียบร้อย และ สะอาดเรียบร้อย และ
อยู่ในข้อตกลงที่ ปฏิบัติตนอยู่ในข้อตกลง ปฏิบัติตนอยู่ในข้อตกลง
กำหนดให้ร่วมกันทุกครั้ง ที่กำหนดให้ร่วมกัน ที่กำหนดให้ร่วมกันเป็น
ทุกครั้ง บางครั้ง
มีความใฝ่เรียนรู้ มีความกระตือรือร้นใน มีความกระตือรือร้นใน มีความกระตือรือร้นใน
การเรียน มีการถาม การเรียน มีการถาม การเรียน ไม่มีการถาม
โต้ตอบกับครูระหว่าง โต้ตอบกับครูระหว่าง โต้ตอบกับครูระหว่าง
เรียน ตั้งใจเรียน เรียนบางครั้ง มีบางเวลา เรียน มีบางเวลาที่ไม่
ตลอดเวลา ที่ไม่สนใจการเรียน สนใจการเรียน

You might also like