You are on page 1of 10

หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 ระบบจำนวนเต็ม

แผนฯ ที่ 6 การนำความรู้เกี่ยวกับจำนวนเต็มไปใช้ในชีวิตจริง

แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 6
การนำความรู้เกี่ยวกับจำนวนเต็มไปใช้ในชีวิตจริง
เวลา 2 ชั่วโมง
1. มาตรฐานการเรียนรู้/ตัวชี้วัด
ค 1.1 ม.1/1 nเข้าใจจำนวนตรรกยะและความสัมพันธ์ของจำนวนตรรกยะ และใช้สมบัติของจำนวนตรรกยะใน
การแก้ปัญหาคณิตศาสตร์และปัญหาในชีวิตจริง

2. จุดประสงค์การเรียนรู้
1) เข้าใจการนำความรู้เกี่ยวกับจำนวนเต็มไปใช้แก้ปัญหาคณิตศาสตร์และปัญหาในชีวิตจริง (K)
2) เขียนอธิบายขั้นตอนวิธีการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์เกี่ยวกับจำนวนเต็มได้ (P)
3) รับผิดชอบต่อหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย (A)

3. สาระการเรียนรู้
สาระการเรียนรู้แกนกลาง สาระการเรียนรู้ท้องถิ่น
การนำความรู้เกี่ยวกับจำนวนเต็มไปใช้ในการ พิจารณาตามหลักสูตรของสถานศึกษา
แก้ปัญหา

4. สาระสำคัญ/ความคิดรวบยอด
ในชีวิตประจำวันเราได้ นำความรู้เกี่ยวกับจำนวนเต็มและสมบัติของจำนวนเต็มไปใช้ เช่น การซื้อขายสิ่งของ
ต่าง ๆ และการแสดงจำนวนเงินที่ขาดทุนจากการค้าขาย โดยใช้จำนวนเต็มลบ เป็นต้น

5. สมรรถนะสำคัญของผู้เรียนและคุณลักษณะอันพึงประสงค์
สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน คุณลักษณะอันพึงประสงค์
1. ความสามารถในการสื่อสาร 1. มีวินัย
2. ความสามารถในการคิด 2. ใฝ่เรียนรู้
1) ทักษะการประยุกต์ใช้ความรู้ 3. มุ่งมัน่ ในการทำงาน
3. ความสามารถในการแก้ปัญหา

6. กิจกรรมการเรียนรู้
 แนวคิด/รูปแบบการสอน/วิธีการสอน/เทคนิค : Concept Based Teaching

88
หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 ระบบจำนวนเต็ม
แผนฯ ที่ 6 การนำความรู้เกี่ยวกับจำนวนเต็มไปใช้ในชีวิตจริง

ชั่วโมงที่ 1

ขั้นนำ
ขั้นการใช้ความรู้เดิมเชื่อมโยงความรู้ใหม่ (Prior Knowledge)
ครูทบทวนสมบัติของจำนวนเต็ม ดังนี้
- สมบัติของศูนย์
(1) จำนวนเต็มใด ๆ บวกด้วยศูนย์ หรือศูนย์บวกด้วยจำนวนเต็มใด ๆ จะได้ผลบวกเท่ากับจำนวนนั้น
(2) จำนวนเต็มใด ๆ คูณด้วยศูนย์ หรือศูนย์คูณด้วยจำนวนเต็มใด ๆ จะได้ผลคูณเท่ากับศูนย์
(3) ศูนย์หารด้วยจำนวนเต็มใด ๆ ที่ไม่ใช่ศูนย์ จะได้ผลหารเท่ากับศูนย์
(4) ถ้าผลคูณของจำนวนเต็มสองจำนวนใด ๆ เท่ากับศูนย์ แล้วจำนวนใดจำนวนหนึ่งต้องเท่ากับศูนย์
- สมบัติของหนึ่ง
(1) จำนวนเต็มใด ๆ คูณด้วยหนึ่ง หรือหนึ่งคูณด้วยจำนวนเต็มใด ๆ จะได้ผลคูณเท่ากับจำนวนนั้น
(2) จำนวนเต็มใด ๆ หารด้วยหนึ่ง จะได้ผลหารเท่ากับจำนวนนั้น
- สมบัติการสลับที่
(1) การบวกจำนวนเต็มสองจำนวน เราสามารถสลับที่ระหว่างตัวตั้งและตัวบวกได้ โดยที่ผลบวกยังคง
เท่ากัน
(2) การคูณจำนวนเต็มสองจำนวน เราสามารถสลับที่ระหว่างตัวตั้งและตัวคูณได้ โดยที่ผลคูณยังคงเท่ากัน
- สมบัติการเปลี่ยนหมู่
(1) เมื่อมีจำนวนเต็มสามจำนวนบวกกัน เราสามารถบวกจำนวนเต็มคู่แรกหรือคู่หลังก่อนก็ได้ โดยที่
ผลบวกสุดท้ายยังคงเท่ากัน
(2) เมื่อมีจำนวนเต็มสามจำนวนคูณกัน เราสามารถคูณจำนวนเต็มคู่แรกหรือคู่หลังก่อนก็ได้ โดยที่ผลคูณ
สุดท้ายยังคงเท่ากัน
- สมบัติการแจกแจง
ถ้า a, b และ c แทนจำนวนเต็มใดๆ แล้วจะได้
a  (b + c) = (a  b) + (a  c) และ (b + c)  a = (b  a) + (c  a)

ขั้นสอน
ขั้นรู้ (Knowing)
1. ครูยกตัวอย่างที่ 17 ในหนังสือเรียน หน้า 32 พร้อมแสดงวิธีทำอย่างละเอียดบนกระดาน และเน้นย้ำว่า
ในแต่ละขั้นใช้สมบัติของจำนวนเต็มอะไร
2. ให้นักเรียนแลกเปลี่ยนความรู้กัน แล้วทำ “ลองทำดู” ในหนังสือเรียน หน้า 32 โดยครูคอยตรวจสอบ
ความถูกต้อง จากนั้นครูและนักเรียนร่วมกันเฉลยคำตอบ “ลองทำดู”
89
หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 ระบบจำนวนเต็ม
แผนฯ ที่ 6 การนำความรู้เกี่ยวกับจำนวนเต็มไปใช้ในชีวิตจริง

3. ครูยกตัวอย่างที่ 18 ในหนังสือเรียน หน้า 32 บนกระดาน จากนั้นครูถามคำถาม ดังนี้


• จากประโยคที่กล่าวว่า “ขายมะม่วงขายทุน” นักเรียนคิดว่าต้องเกี่ยวข้องกับจำนวนเต็มชนิดใด
(แนวตอบ เกี่ยวข้องกับจำนวนเต็มลบ)
• การหาผลลัพธ์ของโจทย์ข้อนี้ เขียนเป็นประโยคสัญลักษณ์ได้อย่างไร
(แนวตอบ พ่อค้าขายผลไม้ทั้งสี่ชนิดนี้ได้กำไร เท่ากับ 242 + 256 + 268 + (-246))
จากนั้นครูแสดงวิธีทำอย่างละเอียดบนกระดาน
4. ให้นักเรียนแลกเปลี่ยนความรู้กัน แล้วทำ “ลองทำดู” ในหนังสือเรียน หน้า 33 โดยครูคอยตรวจสอบ
ความถูกต้อง จากนั้นครูและนักเรียนร่วมกันเฉลยคำตอบ “ลองทำดู”
5. ครูยกตัวอย่างที่ 19 ในหนังสือเรียน หน้า 33 พร้อมแสดงวิธีทำอย่างละเอียดบนกระดาน ทั้ง 2 วิธี
จากนั้นครูถามคำถาม ดังนี้
• วิธีที่ 1 ใช้สมบัติใดบ้าง
(แนวตอบ สมบัติการสลับที่สำหรับการคูณ และสมบัติการแจกแจง)
• วิธีที่ 2 ใช้สมบัติใดบ้าง
(แนวตอบ สมบัติการสลับที่สำหรับการคูณ และสมบัติการแจกแจง)
• นักเรียนคิดว่าวิธีใดหาผลลัพธ์ได้ง่ายกว่ากัน เพราะเหตุใด
(แนวตอบ นักเรียนอาจตอบว่าวิธีที่ 1 เพราะการหาผลคูณของ 179  100 ง่ายกว่าการหาผลคูณของ
180  95 หรือนักเรียนอาจตอบว่าวิธีที่ 2 เพราะการหาผลคูณของ 1  95 ง่ายกว่าการหาผลคูณของ
179  5)
จากนั้นครูสรุปว่า “ไม่ว่านักเรียนจะเลือกทำวิธีใดก็ตาม ขึ้นอยู่กับความสะดวกของแต่ละคน ผลลัพธ์ที่ได้
จะเท่ากัน”
6. ให้นักเรียนจับคูแ่ ลกเปลี่ยนความรู้กัน แล้วทำ “ลองทำดู” ในหนังสือเรียนหน้า 33 โดยครูคอยตรวจสอบ
ความถูกต้อง จากนั้นครูและนักเรียนร่วมกันเฉลยคำตอบ “ลองทำดู”
7. ครูยกตัวอย่างที่ 20 ในหนังสือเรียน หน้า 34 พร้อมแสดงวิธีทำอย่างละเอียดบนกระดาน จากนั้น
นักเรียนจับคูช่ ่วยกันหาผลลัพธ์ของโจทย์ข้อนี้โดยใช้วิธีคิดคำนวณอื่น ๆ แล้วส่งตัวแทนออกมาแสดงวิธี
ทำบนกระดาน
(แนวตอบ นักเรียนอาจคิดจาก ประโยคสัญลักษณ์ (157  95) + (106  90) = □ หรือ
ประโยคสัญลักษณ์ [157  (100 - 5)] + [(100 + 6)  90] = □ )
หมายเหตุ* ถ้านักเรียนหาผลลัพธ์ของโจทย์ปัญหานี้โดยใช้วิธีคิดคำนวณอื่นที่หลากหลายกว่านี้ ให้ออกมา
เขียนแสดงวิธีทำบนกระดานทุกวิธี
8. ให้นักเรียนทำ “ลองทำดู” ในหนังสือเรียน หน้า 34 เป็นการบ้าน

90
หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 ระบบจำนวนเต็ม
แผนฯ ที่ 6 การนำความรู้เกี่ยวกับจำนวนเต็มไปใช้ในชีวิตจริง

ชั่วโมงที่ 2
ขั้นเข้าใจ (Understanding)
1. ครูและนักเรียนร่วมกันเฉลยคำตอบ “ลองทำดู” ในหนังสือเรียน หน้า 34
2. ให้นกั เรียนแบ่งเป็น 4 กลุ่มเท่า ๆ กัน จากนั้นร่วมกันวิเคราะห์ “H.O.T.S. คำถามท้าทายการคิดขั้นสูง”
ในหนังสือเรียน หน้า 34 แล้วเขียนคำตอบจากการวิเคราะห์ลงในสมุดตนเอง จากนั้นส่งตัวแทนกลุ่มละ
2 คน มานำเสนอหน้าชั้นเรียน
3. ครูแจกใบงานที่ 1.13 เรื่อง การนำความรู้เกี่ยวกับจำนวนเต็มไปใช้ในชีวิตจริง ให้นักเรียนทำ จากนั้นครู
และนักเรียนร่วมกันเฉลยคำตอบใบงานที่ 1.13
4. ครูทบทวนวิธีการแก้โจทย์ปัญหา โดยยกตัวอย่างแบบฝึกทักษะ 1.7 ข้อ 5 ในหนังสือเรียน หน้า 35 มา
อธิบายขั้นตอนการแสดงวิธีทำอย่างละเอียดบนกระดาน
5. ให้นักเรียนแต่ละคนทำแบบฝึกทักษะ 1.7 ข้อ 6-7 ในหนังสือเรียน หน้า 35 เพื่อตรวจสอบความเข้าใจ
โดยครูคอยเดินดูเพื่อตรวจสอบความถูกต้อง
6. ครูให้นักเรียนทำแบบฝึกทักษะ 1.7 (ข้อที่เหลือ) ในหนังสือเรียน หน้า 35 จากนั้นครูและนักเรียนร่วมกัน
เฉลยคำตอบแบบฝึกทักษะ 1.7

ขั้นลงมือทำ (Doing)
1. ครูให้นักเรียนจัดกลุ่ม กลุ่มละ 4 คน คละความสามารถทางคณิตศาสตร์ แล้วทำกิจกรรม ดังนี้
- ให้แต่ละกลุ่มส่งตัวแทนมาตกลงกันว่าจะเลือกแก้ปัญหาสถานการณ์ใดจาก “คณิตศาสตร์ในชีวิตจริง”
ในหนังสือเรียน หน้า 36
- นักเรียนแต่ละคนวิเคราะห์ว่าสถานการณ์ที่กลุ่มของตนเองเลือกมีวิธีการแก้ปัญหาอย่างไร จากนั้น
แลกเปลี่ยนคำตอบกันภายในกลุ่ม สนทนาซักถามจนเป็นที่เข้าใจร่วมกัน
- นักเรียนแต่ละคนเขียนขั้นตอนแสดงวิธีคิดของกลุ่มตนเองอย่างละเอียดลงในสมุดของตนเอง
- ครูคอยตรวจสอบความถูกต้อง
2. ครูให้นักเรียนทำ Exercise 1.7 (เฉพาะข้อคู่) ในแบบฝึกหัดคณิตศาสตร์ เป็นการบ้าน

ขั้นสรุป
1. ให้นักเรียนอ่านและศึกษา “สรุปแนวคิดหลัก” ในหนังสือเรียน หน้า 37-38 แล้วเขียนผังมโนทัศน์
หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 ระบบจำนวนเต็ม ลงในกระดาษ A4
2. ครูถามคำถามเพื่อสรุปความรู้รวบยอดของนักเรียน ดังนี้
• จำนวนเต็มประกอบด้วยอะไรบ้าง (แนวตอบ จำนวนเต็มบวก จำนวนเต็มลบ และศูนย์)
• จำนวนตรงข้ามของ a คืออะไร (แนวตอบ จำนวนตรงข้ามของ a คือ -a)

91
หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 ระบบจำนวนเต็ม
แผนฯ ที่ 6 การนำความรู้เกี่ยวกับจำนวนเต็มไปใช้ในชีวิตจริง

• ค่าสัมบูรณ์ของจำนวนเต็ม คืออะไร
(แนวตอบ ค่าสัมบูรณ์ของจำนวนเต็ม คือ ระยะห่างระหว่างจำนวนเต็มนั้นกับศูนย์บนเส้นจำนวน)
• การบวกจำนวนเต็มลบด้วยจำนวนเต็มลบ ผลบวกที่ได้เป็นจำนวนอะไร
(แนวตอบ ผลบวกที่ได้เป็นจำนวนเต็มลบ)
• การบวกจำนวนเต็มบวกด้วยจำนวนเต็มลบ และการบวกจำนวนเต็มลบด้วยจำนวนเต็มบวก จะได้
ผลบวกเป็นจำนวนอะไร
(แนวตอบ จะได้ผลบวกเป็นจำนวนเต็มตามจำนวนที่มีค่าสัมบูรณ์มากกว่า)
• ข้อตกลงของการลบจำนวนเต็มโดยอาศัยการบวก เป็นอย่างไร
(แนวตอบ ตัวตั้ง ลบ ตัวลบ เท่ากับ ตัวตั้ง บวก จำนวนตรงข้ามของตัวลบ)
• การคูณจำนวนเต็มบวกด้วยจำนวนเต็มบวก และการคูณจำนวนเต็มลบด้วยจำนวนเต็มลบ ผลคูณที่ได้
เป็นจำนวนอะไร (แนวตอบ จำนวนเต็มบวก)
• การคูณจำนวนเต็มบวกด้วยจำนวนเต็มลบ และการคูณจำนวนเต็มลบด้วยจำนวนเต็มบวก ผลคูณที่ได้
เป็นจำนวนอะไร (แนวตอบ จำนวนเต็มลบ)
• การหารจำนวนเต็มบวกด้วยจำนวนเต็มบวก และการหารจำนวนเต็มลบด้วยจำนวนเต็มลบ ผลหารที่
ได้เป็นจำนวนอะไร (แนวตอบ จำนวนเต็มบวก)
• การหารจำนวนเต็มลบด้วยจำนวนเต็มบวกหรือการหารจำนวนเต็มบวกด้วยจำนวนเต็มลบ ผลหารที่ได้
เป็นจำนวนอะไร (แนวตอบ จำนวนเต็มลบ)
• จำนวนเต็มใด ๆ บวกด้วยศูนย์ หรือศูนย์บวกด้วยจำนวนเต็มใด ๆ จะได้ผลบวกเท่ากับ
(แนวตอบ ผลบวกเท่ากับจำนวนนั้น ๆ)
• จำนวนเต็มใด ๆ คูณด้วยศูนย์ หรือศูนย์คูณด้วยจำนวนเต็มใด ๆ จะได้ผลคูณเท่ากับ
(แนวตอบ ผลคูณเท่ากับศูนย์)
• ศูนย์หารด้วยจำนวนเต็มใด ๆ ที่ไม่ใช่ศูนย์ จะได้ผลหารเท่ากับ
(แนวตอบ ผลหารเท่ากับศูนย์)
• จำนวนเต็มใด ๆ คูณด้วยหนึ่ง หรือหนึ่งคูณด้วยจำนวนเต็มใด ๆ จะได้ผลคูณเท่ากับ
(แนวตอบ ผลคูณเท่ากับจำนวนนั้น ๆ)
• จำนวนเต็มใด ๆ หารด้วยหนึ่ง จะได้ผลหารเท่ากับ
(แนวตอบ ผลหารเท่ากับจำนวนนั้น ๆ)
• สมบัติเกี่ยวกับการบวกและการคูณจำนวนเต็มที่นักเรียนได้เรียนรู้ ได้แก่อะไรบ้าง
(แนวตอบ สมบัติการสลับที่ สมบัติการเปลี่ยนหมู่ และสมบัติการแจกแจง)
3. ครูให้นักเรียนทำแบบฝึกทักษะประจำหน่วยการเรียนรู้ที่ 1 เป็นการบ้าน
4. ให้นักเรียนทำแบบทดสอบหลังเรียน หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 ระบบจำนวนเต็ม

92
หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 ระบบจำนวนเต็ม
แผนฯ ที่ 6 การนำความรู้เกี่ยวกับจำนวนเต็มไปใช้ในชีวิตจริง

7. การวัดและประเมินผล
รายการวัด วิธีการ เครื่องมือ เกณฑ์การประเมิน
7.1 การประเมินชิ้นงาน/ - ตรวจผังมโนทัศน์ - แบบประเมินชิ้นงาน/ - ระดับคุณภาพ 2 ผ่าน
ภาระงาน (รวบยอด) หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 ภาระงาน เกณฑ์
ระบบจำนวนเต็ม
7.2 ประเมินระหว่างการจัด
กิจกรรมการเรียนรู้
1) การนำความรู้เกี่ยวกับ - ตรวจใบงานที่ 1.13 - ใบงานที่ 1.13 - ร้อยละ 60 ผ่านเกณฑ์
จำนวนเต็มไปใช้ใน - ตรวจแบบฝึกทักษะ 1.7 - แบบฝึกทักษะ 1.7 - ร้อยละ 60 ผ่านเกณฑ์
ชีวิตจริง - ตรวจ Exercise 1.7 ข้อ - Exercise 1.7 ข้อ 2, 4, - ร้อยละ 60 ผ่านเกณฑ์
2, 4, 6, 8 และ 10 6, 8 และ 10
- ตรวจแบบฝึกทักษะ - แบบฝึกทักษะประจำ - ร้อยละ 60 ผ่านเกณฑ์
ประจำหน่วยการเรียนรู้ หน่วยการเรียนรู้ที่ 1
ที่ 1
2) นำเสนอวิธีการคิด - ประเมินการนำเสนอ - แบบประเมิน - ระดับคุณภาพ 2 ผ่าน
คำตอบ “H.O.T.S. ผลงาน การนำเสนอผลงาน เกณฑ์
คำถามท้าทายการคิด
ขั้นสูง”
3) พฤติกรรมการทำงาน - สังเกตพฤติกรรม - แบบสังเกตพฤติกรรม - ระดับคุณภาพ 2 ผ่าน
รายบุคคล การทำงานรายบุคคล การทำงานรายบุคคล เกณฑ์
4) พฤติกรรมการทำงาน - สังเกตพฤติกรรม - แบบสังเกตพฤติกรรม - ระดับคุณภาพ 2 ผ่าน
กลุ่ม การทำงานกลุ่ม การทำงานกลุ่ม เกณฑ์
5) คุณลักษณะอันพึง - สังเกตความมีวินัย - แบบประเมินคุณลักษณะ - ระดับคุณภาพ 2 ผ่าน
ประสงค์ ใฝ่เรียนรู้ และมุ่งมั่นใน อันพึงประสงค์ เกณฑ์
การทำงาน
7.3 การประเมินหลังเรียน
- แบบทดสอบหลังเรียน - ตรวจแบบทดสอบ - แบบทดสอบหลังเรียน - ประเมินตามสภาพจริง
หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 หลังเรียน
ระบบจำนวนเต็ม

93
หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 ระบบจำนวนเต็ม
แผนฯ ที่ 6 การนำความรู้เกี่ยวกับจำนวนเต็มไปใช้ในชีวิตจริง

8. สื่อ/แหล่งการเรียนรู้
8.1 สื่อการเรียนรู้
1) หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์ ม.1 เล่ม 1 หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 ระบบจำนวนเต็ม
2) แบบฝึกหัดคณิตศาสตร์ ม.1 เล่ม 1 หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 ระบบจำนวนเต็ม
3) ใบงานที่ 1.13 เรื่อง การนำความรู้เกี่ยวกับจำนวนเต็มไปใช้ในชีวิตจริง
8.2 แหล่งการเรียนรู้
1) ห้องเรียน
2) ห้องสมุด
3) อินเทอร์เน็ต

94
หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 ระบบจำนวนเต็ม
แผนฯ ที่ 6 การนำความรู้เกี่ยวกับจำนวนเต็มไปใช้ในชีวิตจริง

ใบงานที่ 1.13
เรื่อง การนำความรู้เกี่ยวกับจำนวนเต็มไปใช้ในชีวิตจริง

คำชี้แจง : จงแสดงวิธีทำ
1. พรฟ้าซื้อข้าวสาร 62 กิโลกรัม ราคากิโลกรัมละ 35 บาท ซื้อน้ำตาล 28 กิโลกรัม ราคากิโลกรัมละ
24 บาท ให้ธนบัตรหนึ่งพันบาทจำนวน 3 ฉบับ กับแม่ค้า จงหาว่าพรฟ้าจะได้รับเงินทอนกี่บาท

2. โต๊ะราคาตัวละ 1,675 บาท เก้าอี้ราคาถูกกว่าโต๊ะตัวละ 240 บาท นงนุชซื้อโต๊ะและเก้าอี้อย่างละ


4 ตัว จะต้องจ่ายเงินทั้งหมดเท่าไร

95
หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 ระบบจำนวนเต็ม
แผนฯ ที่ 6 การนำความรู้เกี่ยวกับจำนวนเต็มไปใช้ในชีวิตจริง

ใบงานที่ 1.13 เฉลย


เรื่อง การนำความรู้เกี่ยวกับจำนวนเต็มไปใช้ในชีวิตจริง

คำชี้แจง : จงแสดงวิธีทำ
1. พรฟ้าซื้อข้าวสาร 62 กิโลกรัม ราคากิโลกรัมละ 35 บาท ซื้อน้ำตาล 28 กิโลกรัม ราคากิโลกรัมละ
24 บาท ให้ธนบัตรหนึ่งพันบาทจำนวน 3 ฉบับ กับแม่ค้า จงหาว่าพรฟ้าจะได้รับเงินทอนกี่บาท

วิธีทำ ประโยคสัญลักษณ์ (3  1,000) - [(62  35) + (28  24)] = 


พรฟ้าซื้อข้าวสาร 62 กิโลกรัม ราคากิโลกรัมละ 35 บาท
ซื้อข้าวสารเป็นเงิน 62  35 = 2,170 บาท
ซื้อน้ำตาล 28 กิโลกรัม ราคากิโลกรัมละ 24 บาท
ซื้อน้ำตาลเป็นเงิน 28  24 = 672 บาท
พรฟ้าซื้อข้าวสารและน้ำตาลรวมกันเป็นเงิน 2,170 + 672 = 2,842 บาท
ให้ธนบัตรหนึ่งพันบาทจำนวน 3 ฉบับ เป็นเงิน 3  1,000 = 3,000 บาท
ดังนั้น พรฟ้าจะได้รับเงินทอน 3,000 - 2,842 = 158 บาท

2. โต๊ะราคาตัวละ 1,675 บาท เก้าอี้ราคาถูกกว่าโต๊ะตัวละ 240 บาท นงนุชซื้อโต๊ะและเก้าอี้อย่างละ


4 ตัว จะต้องจ่ายเงินทั้งหมดเท่าไร

วิธีทำ ประโยคสัญลักษณ์ [1,675 + (1,675 - 240)]  4 = 


โต๊ะราคาตัวละ 1,675 บาท
เก้าอี้ราคาถูกกว่าโต๊ะตัวละ 240 บาท
เก้าอี้ราคาตัวละ 1,675 - 240 = 1,435 บาท
โต๊ะ 1 ตัว และเก้าอี้ 1 ตัว ราคารวมกันเป็น 1,675 + 1,435 = 3,110 บาท
นงนุชซื้อโต๊ะและเก้าอี้อย่างละ 4 ตัว
ดังนั้น จะต้องจ่ายเงินทั้งหมด 3,110  4 = 12,440 บาท

96
หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 ระบบจำนวนเต็ม
แผนฯ ที่ 6 การนำความรู้เกี่ยวกับจำนวนเต็มไปใช้ในชีวิตจริง

9. ความเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาหรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย

ข้อเสนอแนะ

ลงชื่อ ........................................
( ...................................... )
ตำแหน่ง …………………......

10. บันทึกผลหลังการสอน
• ด้านความรู้

• ด้านสมรรถนะสำคัญของผู้เรียน

• ด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์

• ด้านความสามารถทางคณิตศาสตร์

• ด้านอื่น ๆ (พฤติกรรมเด่น หรือพฤติกรรมที่มีปัญหาของนักเรียนเป็นรายบุคคล (ถ้ามี))

• ปัญหา/อุปสรรค

• แนวทางการแก้ไข

97

You might also like