You are on page 1of 9

1.

ชื่อวิจัย : แนวคิดทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนในชั้นเรียนที่ใช้วิธีการแบบเปิด เรื่อง เศษส่วน


2. ชือ่ ผู้วิจัย :
นางสาวสิริชนก ริยะ 633050042-3
นางสาวศุภาวรรณ สิงห์คราม 633050481-7
นางสาวเบญญทิพย์ กุสุมาลย์ 633050487-5

3. ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหาการวิจัย :
คณิตศาสตร์ มีบทบาทสำคัญยิ่งต่อการพัฒนาความคิดมนุษย์ ทำให้มนุษย์มีความคิด สร้างสรรค์ คิดอย่างมี
เหตุผล เป็นระบบ มีแบบแผน สามารถวิเคราะห์ปัญหาหรือสถานการณ์ได้อย่าง ถี่ถ้วน รอบคอบช่วยให้คาดการณ์
วางแผน ตัดสินใจ แก้ปัญหา และนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่าง ถูกต้องเหมาะสม นอกจากนี้คณิตศาสตร์ยังเป็น
เครื่องมือในการศึกษาทางด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และศาสตร์อื่น ๆ คณิตศาสตร์จึงมีประโยชน์ สามารถอยู่
ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข
การเรียนการสอนในวิธีการแบบเปิด เป็นการเปิดโอกาสให้นักเรียนได้ เรียนรู้ด้วยตัวเอง มีอิสระในการคิด มี
ความกล้าที่จะแสดงออก มีคำตอบที่หลากหลายจากปัญหา ปลายเปิดที่ครูได้สร้างขึ้น โดยนำเอาสถานการณ์
ปัญหาปลายเปิดเป็นตัวกำหนดกิจกรรมทาง คณิตศาสตร์ และมีสื่อการเรียนรู้เป็นตัวหลักที่สำคัญในการสร้าง
สถานการณ์ปัญหาที่กระตุ้นให้ นักเรียนสนใจบทเรียน การนำเสนอปัญหาปลายเปิด เป็นขั้นที่ครูผู้สอนต้องสร้าง
ปัญหาปลายเปิดให้เป็น ปัญหาของนักเรียน ขั้นตอนการเรียนรูด้ ้วยตัวเองของนักเรียน กระตุ้นให้กำลังนักเรียน
เพื่อให้ เกิดการแสดงแทนแนวคิดที่หลากหลาย
บริบทชั้นเรียนที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ ชั้นเรียนคณิตศาตร์ระดับชั้นประถามศึกษาปีที่ 4 ที่ใช้ในการศึกษา
และวิธีการแบบเปิด โดยในชั้นเรียนที่เน้นให้นักเรียนแก้ปัญหาด้วยตนเองด้วยสถานการณ์ปลายเปิดเน้น
กระบวนการแก้ปัญหามากกว่าเน้นคำตอบ โดยที่ครูไม่เข้าไปแทรกแซงหรือรบกวนนักเรียนในขณะที่นกั เรี ยนมีการ
แก้ปัญหา การสอนที่เน้นการนำเสนอ สถานการณ์ปัญหาปลายเปิดเพื่อกระตุ้นให้นักเรียนเกิดการคิดแก้ปัญหาด้วย
ตนเอง มี 4 ขั้นตอนได้แก่ การนำเสนอสถานการณ์ปัญหาปลายเปิด การเรียนรู้ด้วยตนเองของนักเรียน การ
อภิปรายและ เปรียบเทียบร่วมกันทั้งชั้นเรียน และการสรุปโดยเชื่อมโยงแนวคิดของนักเรียน
ดังนั้น จากความเป็นมาและความสำคัญของ ปัญหาข้างต้น จะเห็นได้ถึงความสำคัญของคณิตศาสตร์และ
ปัญหา มีบทบาทสำคัญยิ่งต่อการพัฒนาความคิดมนุษย์ ครูได้มองเห็นลักษณะของการแสดงแทนด้วยรูปภาพใน
การแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียน ครูมีแนวทางในการวางแผนปรับปรุงและพัฒนาแผนการจัดการ
เรียนรู้เพือ่ ให้นักเรียนได้ เรียนรู้การแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ด้วยการแสดงแทน ครูสามารถนำผลการวิจัยไปเป็น
แนวทางในการจัดการเรียนการสอนในชั้นเรียนรวมถึง ส่งเสริมให้นักเรียนได้ใช้ความสามารถทางการแสดงแทนใน
การแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์
ทำให้กลุ่มของเราจึงได้เลือกแนวคิดทางคณิตศาสตร์ของนักเรียน ในชั้นเรียนที่ใช้วิธีการแบบเปิด หรือพัฒนา
เพื่อก่อให้เกิดประโยชน์สามารถจัดเป็นเส้นทางการสอนคณิตศาสตร์ของนักเรียนที่เรียนในชั้นเรียนที่ใช้การศึกษา
ชั้นเรียน และ วิธีการแบบเปิด

4. คำถามของการวิจัย : ในชั้นเรียนคณิตศาสตร์ที่มีการจัดการเรียนรู้โดยใช้วิธีการแบบเปิด (Open Approach)


เรื่องเศษส่วน นักเรียนเกิดแนวคิดอย่างไร

5. วัตถุประสงค์การวิจัย
เพื่อสำรวจและวิเคราะห์แนวคิดทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนทีเ่ กิดขึ้นในชั้นเรียนคณิตศาสตร์ที่มีการ
จัดการเรียนรู้โดยใช้วิธีการแบบเปิด (Open Approach)

6. ขอบเขตการวิจัย
6.1 ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบ้านหนองแสงโคกน้อย จำนวน 14 คน
6.2 เนื้อหาสาระและตัวแปรที่ศึกษา
ตัวแปรอิสระ (Independent Variable) คือ การสอนวิธีการแบบเปิด (Open Approach) เรือ่ ง
เศษส่วนสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
ตัวแปรตาม (Dependent variable) คือ แนวคิดทางคณิตศาสตร์ของนักเรียน
6.3 ระยะเวลา
ตั้งแต่วันที่ 6 ถึง 27 กุมภาพันธ์ 2566

7. คำจำกัดความที่ใช้ในการวิจัย
7.1. วิธีการแบบเปิด หมายถึง แนวทางการสอนในชั้นเรียนคณิตศาสตร์ที่เน้นการแก้ปัญหาตามแนวคิดของ
ไมตรี อินทร์ประสิทธิ์ (2560) ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นที่ 1 การนำเสนอปัญหาปลายเปิด
(Posing Open-ended Problems) ขั้นที่ 2 การเรียนรู้ด้วยตนเอง (Students Self-learning Through
Problem Solving) ขั้นที่ 3 การอภิปรายทัง้ ชั้นและการเปรียบเทียบ (Whole Class Discussion and
Comparison) ขั้นที่ 4 การสรุปโดยการเชื่อมโยงแนวคิดทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนที่เกิดขึ้นในชั้นเรียน
(Summarization Through Connecting Students Mathematical Ideas Emerged in The
Classroom)
7.2. แนวคิดทางคณิตศาสตร์ของนักเรียน หมายถึง แนวคิดหรือวิธีการคิดของนักเรียนทางด้านคณิตศาสตร์
โดยจำแนกแนวคิดทางคณิตศาสตร์ตามกรอบแนวคิดของ Isoda & Katagiri (2012) ได้ดังนี้
7.2.1 แนวคิดเกี่ยวกับเซต (Idea of Sets) หมายถึง นักเรียนมีการอธิบายเซตของสิ่งของ เพื่อการ
พิจารณาสิ่งของที่แยกออกจากเซต และการชี้แจงเงื่อนไขสำหรับการรวม กลุ่มเข้าด้วยกัน โดยมี
การจัดกลุ่มสิ่งของอย่างชัดเจนเพื่อการพิจารณา
7.2.2 แนวคิดเกี่ยวกับหน่วย (Idea of Units) หมายถึง นักเรียนมีการระบุเกี่ยวกับองค์ประกอบของ
ขนาดและความสัมพันธ์ ซึ่งเป็นการพิจารณาขนาดของตัวเลข
7.2.3 แนวคิดเกี่ยวกับการแสดงแทน (Idea of Representation) หมายถึง นักเรียนมีความพยายามที่
จะคิดบนพื้นฐานของหลักการพื้นฐานของการแสดงแทนโดยใช้สิ่งต่าง ๆ โดยสิ่งแรกต้องเข้าใจ
ความหมายของการแสดงแทนของระบบสัญกรณ์โดยที่นักเรียนจะต้องเข้าใจว่า เมื่อใช้
เครื่องหมาย “+” คือการบวก เป็นการหาจำนวนทั้งหมด หรือการเพิ่มขึ้น และเครื่องหมาย “-”
คือการลบ เป็นการหาจำนวนที่เหลือหรือเป็นการเปรียบเทียบจำนวนสองจำนวนว่าต่างกัน
เท่าใด และการแสดงแทนโดยใช้สิ่งต่าง ๆ เช่น เขียนตัวเลข การขีดเป็นตาราง การโยงเส้น การ
ขีดถูก การกากบาท การวาดภาพ การใช้สัญลักษณ์ เพื่อใช้เป็นตัวแทนความคิดของตนเอง
7.2.4 แนวคิดเกี่ยวกับการดำเนินการ (Idea of Operations) หมายถึง นักเรียนมีการชี้แจงและขยาย
ความหมายของสิ่งต่าง ๆ และระบุวิธีการแก้ปัญหาโดยใช้การดำเนินการทางคณิตศาสตร์ เช่น
การบวก การลบ เป็นต้น ซึ่งนักเรียนจะต้องเข้าใจความหมายของการแก้ปัญหานั้นอย่างแท้จริง
เมื่อพบสถานการณ์ปัญหานักเรียนจะต้องสามารถตัดสินใจเกี่ยวกับการดำเนินการจาก
ความหมายของการคำนวณ รวมทั้งระบุวิธีการและคุณสมบัติของการคำนวณได้
7.2.5 แนวคิดเกี่ยวกับขั้นตอนวิธี (Idea of Algorithms) หมายถึง นักเรียนมีความพยายามที่จะทำให้
วิธีการดำเนินการเป็นทางการหรือเป็นระเบียบแบบแผน การพยายามที่จะทำแผนวิธีการ
ดำเนินการเป็นการคิดแก้ปัญหาของนักเรียน การคิดที่อยู่บนพืน้ ฐานของความเข้าใจโดยไม่ต้อ ง
คิดเกี่ยวกับความหมายของแต่ละขั้นตอน ซึ่งนักเรียนอาจจะไม่ได้ทำตามแบบแผนของการ
ดำเนินการ เช่น การตั้งบวก การตัง้ ลบ การตั้งหารยาว หรือการตั้งคูณ เป็นต้น
7.2.6 แนวคิดเกี่ยวกับการประมาณ (Idea of Approximation) หมายถึง นักเรียนมีความพยายามที่
จะเข้าใจภาพรวมของสิ่งต่าง ๆ และ การคาดการณ์คำตอบ รวมถึงการที่นกั เรีย นมีความเข้าใจ
ทั่วไปแล้วนักเรียนประมาณผลลัพธ์เพื่อสร้างมุมมองของวิธีการแก้ปัญหาและตรวจสอบผลลัพธ์
7.2.7 แนวคิดเกี่ยวกับคุณสมบัติพื้นฐาน (Idea of Fundamental Properties) หมายถึง นักเรียน
มุ่งเน้นไปทีก่ ฎพื้นฐานและคุณสมบัติ เป็นการคำนวณที่เกี่ยวข้องกับข้อบังคับ เช่น กฎการสลับที่
เอกลักษณ์การดำเนินการ ตลอดจนความหลากหลายของคุณสมบัติ
7.2.8 แนวคิดเกี่ยวกับการคิดเชิงฟังก์ชัน (Idea of Functional Thinking) หมายถึง นักเรียนมุ่งเน้น
ไปที่สิ่งที่ถูกกำหนดด้วยการตัดสินใจของตนเอง เพื่อหาและใช้ข้อบังคับของความสัมพันธ์
ระหว่างตัวแปร ซึ่งนักเรียนจะต้องพิจารณาในส่วนที่เกี่ยวข้อง สิ่งที่ง่ายต่อการแก้ปัญหา เช่น
นักเรียนบอกความสัมพันธ์เกี่ยวกับส่วนที่ต่างกันของ 2 จำนวนที่เกินมาให้เป็นช่องว่าง แล้วหา
คำตอบของช่องว่างนั้น ๆ เป็นต้น
7.2.9 แนวคิดเกี่ยวกับการแสดงความคิด (Idea of Expressions) หมายถึง นักเรียนมีความพยายามที่
จะแสดงให้เห็นโจทย์และความสัมพันธ์ที่เป็นการแสดงความคิด และอ่านความหมายโดย
นักเรียนพยายามนำเสนอความเข้าใจของตนเอง เป็นการแสดงออกด้วยการอ่าน การพูดอธิบาย
การเขียน และการแสดงออกด้วยท่าทางต่าง ๆ ที่แสดงให้เห็นถึงความเข้าใจของนักเรียน
7.3. เศษส่วน หมายถึง หน่วยการเรียนรู้ที่ 14 เรื่องเศษส่วน ในหนังสือเรียนคณิตศาสตร์ชั้นประถมศึกษาปีที่
4 จากสำนักพิมพ์ Gakkotosho ซึ่งแปลและเรียบเรียงโดย ไมตรี อินประสิทธิ์ และคณะ (2553) โดย
เศษส่วนสำหรับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 เป็นเนื้อหาเกี่ยวกับการแบ่งจำนวนทั้งหมดออกเป็นส่วน ส่วนละ
เท่า ๆ กัน เศษส่วนที่ตัวเศษและส่วนเท่ากัน เศษส่วนนั้นมีค่าเท่ากับหนึ่ง เศษส่วนที่ตัวเศษน้อยกว่าตัว
ส่วนเรียกว่า “เศษส่วนแท้” เศษส่วนที่เป็นผลรวมระหว่างจำนวนเต็มและเศษส่วนแท้เรียกว่า “เศษส่วน
คละ” และเศษส่วนที่ตัวเศษเท่ากับหรือมากกว่าตัวส่วนเรียกว่า “เศษเกิน”

8. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการวิจัย
8.1. ได้รับแนวทางในการทำความเข้าใจเกี่ยวกับแนวคิดทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนเรือ่ งเศษส่วนที่เกิดขึ้นใน
ชั้นเรียนคณิตศาสตร์ที่ใช้วิธีการแบบเปิด เพื่อช่วยให้ครูผู้สอนเข้าใจแนวคิดของผู้เรียนยิ่งขึ้น
8.2. ได้รับแนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ช่วยส่งเสริมให้นักเรียนเกิดแนวคิดทางคณิตศาสตร์ ในชั้นเรียน
คณิตศาสตร์ที่ใช้วิธีการแบบเปิด เพื่อให้ครูผู้สอนสามารถนำไปปรับใช้ในการออกแบบการจัดการเรียนรู้
ในครั้งต่อ ๆ ไป
8.3. ได้รับแนวทางในการวิเคราะห์ จำแนก และจัดกลุ่ม แนวคิดทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนที่เกิดขึ้นในชั้น
เรียนคณิตศาสตร์ที่ใช้วิธีการแบบเปิด เพื่อช่วยให้ครูผู้สอนสามารถเรียนรู้ประเภทของแนวคิดต่าง ๆ ที่
เกิดขึ้นในชั้นเรียน และนำไปใช้ในการคาดการณ์แนวคิดในการสอนครั้งต่อไป

9. ทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
เอื้อจิตร พัฒนจักร (2554) ได้ทำการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมเรื่องวิธีการแบบเปิด (Open Approach)
เพื่อพัฒนาระบบฝึกหัดครูคณิตศาสตร์แบบใหม่ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและพัฒนารูปแบบการเรียนการ
สอนด้วยวิธีการแบบเปิด ( Open Approach) เพือ่ พัฒนาระบบฝึกหัดครูแบบใหม่ กลุ่มเป้าหมายเป็น
นักศึกษาระดับปริญญาตรีชั้นปีที่ 1 สาขาวิชาคณิตศาสตรศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่นที่ลงทะเบียนเรียน
รายวิชาการแก้ปัญหา (Problem Solving) ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2549 จำนวนทั้งสิ้น 62 คน พบว่า
จากการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนรายวิชากระบวนการแก้ปัญหาที่ใช้แผนการจัดการเรียนรู้ทั้ง 9 กิจกรรม
ส่งผลให้นักศึกษาที่เป็นกลุ่มเป้าหมายมีการเปลี่ยนแปลงจากคุณลักษณะในช่วงแรกที่มีพฤติกรรมมุ่งเน้นการ
เรียนรู้เพียงลำพัง ไปสู่การมีจุดเริ่มต้นในการมีความตระหนักถึงความรับผิดชอบต่อตนเองและกลุ่ม สามารถ
สร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง และสุดท้ายผู้เรียนมีลักษณะช่างสังเกต ช่างคิด และใช้กระบวนการแก้ปัญหาและ
กล้าแสดงออก ผู้สอนในบริบทการวิจัยมีการพัฒนาจากบทบาทพฤติกรรมที่ยึดตนเองเป็นศูนย์กลาง (Teacher
Center) ไปสู่การยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง (Student Center)
สุภารัตน์ คาระวะ, สัมพันธ์ ถิ่นเวียงทอง (2564)
ได้ทำงานวิจับที่เกี่ยวข้องกับการวิเคราะห์กระบวนการมีปัญหาของตนเองของนักเรียนในชั้นเรียนที่ใช้การศึกษ
าชั้นเรียนและวิธีการแบบเปิด ซึ่งป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มเป้าหมายคือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
จำนวน 10 คน ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 โรงเรียนช่องแมวพิทยา จังหวัดนครราชสีมา
เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้ แผนการจัดการเรียนรู้เรื่องอัตราส่วน และแบบบันทึกภาคสนาม
วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้กรอบของไมตรี อินทร์ประสิทธิ์ ผลการวิจัยพบว่า 1)
การสร้างแผนการจัดการเรียนรูร้ ่วมกันทีมการศึกษาชั้นเรียนได้สร้างแผนการจัดการเรียนรู้โดยคาดการณ์กระบ
วนการมีปัญหาของตนเองซึ่งเกี่ยวข้องกับสถานการณ์ที่ใช้อัตราส่วนที่นักเรียนคุ้นเคยในชีวิตประจำวัน
ออกแบบสื่อกึ่งรูปธรรมที่แสดงแทนอัตราส่วน และใช้สัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์แทนอัตราส่วน 2)
การสังเกตการสอนร่วมกัน ช่วงที่ 1 การมีปัญหาของตนเอง พบว่า นักเรียนเกิดความอยากรู้
โดยแสดงการสังเกต แสดงท่าทาง แสดงความคิดเห็น
และเกิดความยุ่งยากในการคิดหาวิธีการแก้ปัญหาเกี่ยวกับอัตราส่วน นอกจากนี้
พบว่านักเรียนเกิดกระบวนการมีปัญหาของตนเอง โดยขั้นตอนที่ 1 การแสดงแทนโลกจริง นักเรียนสนใจ
และสังเกตสถานการณ์ปัญหาเกี่ยวกับอัตราส่วนที่คุ้นเคย ขั้นตอนที่ 2 สื่อกึ่งรูปธรรม นักเรียนใช้สื่อ รูปภาพ
เพื่อแสดงแทนอัตราส่วนจากสถานการณ์ปัญหาโดยแสดงพฤติกรรมหรือคำพูดทีพ่ ยายามปรับเปลี่ยนสถานการ
ณ์ปัญหาให้เข้าใจมากยิ่งขึ้น ซึ่งเกี่ยวข้องกับอัตราส่วน และขั้นตอนที่ 3 การแสดงแทนโลกคณิตศาสตร์
นักเรียนแปลงสถานการณ์ปัญหา แล้วแสดงพฤติกรรมการพูดหรือเขียนเกี่ยวกับสัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์
คือการเขียนแสดงแทนในรูปอัตราส่วน และช่วงที่ 2
การแก้ปัญหานักเรียนร่วมกันแก้ปัญหาจากการพูดคุยเกี่ยวกับปัญหาของตนเอง
จากนั้นออกมานำเสนอแนวคิดหน้าชั้นเรียน หลังจากนั้นร่วมกันสรุปแนวคิดจากอัตราส่วนที่เกิดขึ้น และ 3)
การสะท้อนบทเรียนหลังการสอนร่วมกันทีมการศึกษาชั้นเรียนมีการสะท้อนผลในประเด็นกระบวนการมีปัญห
าของตนเองเรื่องอัตราส่วนและนำมาปรับปรุงการสอนที่ส่งเสริมให้นักเรียนมีปัญหาของตนเองและแก้ปัญหาเกี่
ยวกับอัตราส่วนด้วยตนเอง

10. สมมติฐานและกรอบแนวความคิดในการวิจัย
10.1 สมมติฐานการวิจัย
นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบ้านหนองแสงโคกน้อย
จังหวัดขอนแก่นมีทักษะการแสดงแนวคิดดีขึ้นจากการใช้วิธีการจัดการเรียนรู้แบบเปิด (Open Approach)
10.2 กรอบแนวคิดในการวิจัย

การศึกษาชั้นเรี ยน
ทักษะการแสดงแนวคิดของผูเ้ รี ยน
วิธีการแบบเปิ ด

11. วิธีดำเนินการวิจัย
11.1 รูปแบบการวิจัย
วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) เน้นการบรรยายเชิงวิเคราะห์
(Analytic Description)
11.2 ประชากร/กลุ่มตัวอย่าง
นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่กำลังเรียนในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 จำนวน......คน
โรงเรียนบ้านหนองแสงโคกน้อย ตำบล..... อำเภอ.... จังหวัดขอนแก่น
11.3 นวัตกรรม
วิธีการแบบเปิด (Open Approach) ประกอบด้วย
1. การนำเสนอสถานการณ์ปัญหา
2. การแก้ปัญหาด้วยตนเองของนักเรียน
3. การนำเสนอแนวคิดและอภิปรายร่วมกันทั้งชั้นเรียน
4. การสรุปและเชื่อมโยงแนวคิดของนักเรียน
11.4 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลในงานวิจัย ประกอบไปด้วย
11.4.1 ใบกิจกรรม
11.4.2 เครื่องบันทึกวีดิทัศน์
11.4.3 เครื่องบันทึกภาพนิ่ง
11.5 การเก็บข้อมูล : เป็นการเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพ จากเครื่องมือที่ใช้วิจัย
11.6 การวิเคราะห์ข้อมูล : ทำการวิเคราะห์ข้อมูลจากใบกิจกรรมของผู้เรียน วิดีโอชั้นเรียน
รวมไปถึงการวิเคราะห์โปรโตคอลชั้นเรียนที่เกิดขึ้น

12. แผนการดำเนินงานวิจัย
ปีการศึกษา 2/2565 ระยะเวลาในการดำเนินงาน (อาทิตย์)
กิจกรรมการดำเนินงาน ระยะเวลา (สัปดาห์)
มกราคม กุมภาพันธ์ มีนาคม
1 2 3 4 1 2 3 4 1 2 3 4
กำหนดปัญหาวิจัย
นำเสนอปัญหาวิจัย
เขียนเค้าโครงวิจัย
นำเสนอเค้าโครงวิจัย
ลงพื้นที่เก็บข้อมูลวิจัย

วิเคราะห์ข้อมูล
ผลการวิจัย
นำเสนอผลการวิจัย
13. งบประมาณค่าใช้จ่ายในการวิจัย : ค่าน้ำมันในการเดินทางและเอกสาร 400 บาท

14. บรรณานุกรม
กิตติศักดิ์ ใจอ่อน, และกตัญญุตา บางโท. (2563). การคิดทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนเรื่องพื้นที่โดยใช้
นวัตกรรมการศึกษาชัน้ เรียนและวิธีการแบบเปิด. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตร มหาบัณฑิต
สาขาวิชาคณิตศาสตรศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
จตุพร นาสินสร้อย. (2557). การคิดทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนเรื่องการคูณในชั้นเรียนที่ใช้การศึกษาชั้นเรียน
และวิธีการแบบเปิด. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาคณิตศาสตรศึกษา บัณฑิต
วิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
สุภารัตน์ คาระวะ,และ สัมพันธ์ ถิ่นเวียงทอง. (2564). กระบวนการมีปัญหาของตนเองของนักเรียนในชั้นเรียนที่
ใช้การศึกษาชัน้ เรียน และวิธีการแบบเปิด. วารสารวิชาการธรรมทรรศน์. 4(21). 81-92. จาก
https://tci-thailand.org/wp-content/themes/magazine-style/tci_search/article.html?
b3BlbkFydGljbGUmaWQ9NjY0NDUx
เอื้อจิตร พัฒนจักร. (2554). การวิจัยและพัฒนานวัตกรรมเรื่องวิธีการแบบเปิด (Open Approach) เพื่อ
พัฒนาระบบฝึกหัดครูคณิตศาสตร์แบบใหม่. เอกสารการประชุมทางวิชาการประจำปีของคณะ
ศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ประจำปี 2554.
Isoda, M., & Nakamura, T. (2010). Mathematics Education Theories for Lesson Study: Problem
Solving Approach and the Curriculum through Extension and Integration. Journal of
Japan Society of Mathematical Education, 92, 5.
Isoda, M. & Katagiri, S. (2012). Mathematical thinking: how to develop it in the classroom.
Singapore: World Scientific.

You might also like