You are on page 1of 97

รายงานการวิจัย

เรื่อง
รายได้และรูปแบบการออมเพื่อการเตรียมพร้อมสู่วัยสูงอายุ
ของประชาชนอายุระหว่าง 30 – 40 ปี ในเขตดุสิต กรุงเทพมหานคร

โดย

ชารวี บุตรบารุง

ได้รับทุนอุดหนุนจากมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
ปีงบประมาณ 2555
รายงานการวิจัย
รายได้และรูปแบบการออมเพื่อการเตรียมพร้อมสู่วัยสูงอายุ
ของประชาชนอายุระหว่าง 30 – 40 ปี ในเขตดุสิต กรุงเทพมหานคร

โดย

ชารวี บุตรบารุง

ได้รับทุนอุดหนุนจากมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
ปีงบประมาณ 2555
รายได้และรูปแบบการออมเพื่อการเตรียมพร้อมสู่วัยสูงอายุ
ของประชาชนอายุระหว่าง 30 – 40 ปี ในเขตดุสิต กรุงเทพมหานคร ชารวี บุตรบารุง
2555
การอยู่ดีมีสุขของผู้สูงอายุในเทศบาลตาบลศาลายา 2554
บทคัดย่อ

ชื่อรายงานการวิจัย : รายได้และรูปแบบการออมเพื่อการเตรียมพร้อมสู่วัยสูงอายุของประชาชนอายุ
ระหว่าง 30 – 40 ปี ในเขตดุสิต กรุงเทพมหานคร
ชื่อผู้วิจัย : ชารวี บุตรบารุง
ปีที่ทาการวิจัย : 2555
……………………………………………………………………………………………
การวิจัยเรื่องรายได้และรูปแบบการออมเพื่อการเตรียมพร้อมสู่วัยสูงอายุขอ งประชาชนอายุ
ระหว่าง 30 – 40 ปี ในเขตดุสิต กรุงเทพมหานคร มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและวิเคราะห์แบบแผนของ
รายได้และการใช้จ่าย รูปแบบการออมเพื่อการเตรียมพร้อมสู่วัยสูงอายุของประชาชนวัยผู้ใหญ่ตอนต้น
อายุ 30 – 40 ปี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ ประชาชนอายุระหว่าง 30 – 40 ปี ในเขตดุสิต
กรุงเทพมหานคร จานวน 400 ตัวอย่าง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลได้แก่ แบบสอบถาม ทา
การวิเคราะห์ข้อมูลสถิติโดยการแจกแจงความถี่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานและค่าร้อยละ
ประมวลผลโดยคอมพิวเตอร์โปรแกรมสาเร็จรูป
ผลการวิจัยพบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงมากกว่าเพศชาย โดยมีเพศหญิงจานวน
282 คน อายุระหว่าง 35-39 ปี จานวน 208 คน สถานภาพสมรสอยู่ด้วยกัน จานวน 188 คน
การศึกษาระดับปริญญาตรี จานวน 190 คน อาชีพราชการ/รัฐวิสาหกิจ จานวน 108 คน จานวน
สมาชิกที่พักอาศัยในบ้าน 1-3 คน จานวน 257 คน รายได้ต่อเดือน 10,001-15,000 บาท จานวน 162
คน รายจ่ายเกี่ยวกับค่าอาหารและค่าเครื่องใช้ต่างๆ จานวน 211 คน ลักษณะการออมโดยฝาก
ธนาคาร จานวน 173 คน มีแรงบันดาลใจในการออมในระดับมากที่สุด คือ เพื่อความมั่นคงในวัย
สูงอายุ ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.54 เก็บไว้ยามเจ็บป่วยหรือยามชรา ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.61 เก็บไว้ให้บุตร
หลาน ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.42 แรงบันดาลใจในระดับมาก คือ สาหรับประกอบพิธีฌาปนกิจ ค่าเฉลี่ย
เท่ากับ 3.97 ลดการพึ่งพิงภาครัฐ ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.12 แรงบันดาลในระดับปานกลาง คือ ให้ความ
คุ้มครองหลายด้าน ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.09 แรงบันดาลในระดับน้อย คือ มีผลตอบแทนคุ้มค่าและ
แน่นอน ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.37 การประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสาร ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.52 นาไปลดหย่อน
ภาษีประจาปี ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.54 ผู้อื่นชักชวน ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.24

www.ssru.ac.th
(2)

Abstract

Subject of research : The Income and Pattern of Saving for Readiness toward Old - age of
People Age between 30 – 40 year in Dusit District Bangkok
Researcher : Miss Charawee Butbumrung
Research year : 2012
…………………………………………………………………………………
The research of Income and saving form for preparation to old age of 30-40 years
populations in Dusit area, Bangkok. Aim to study and analyze pattern of income and
expense, saving form for prepare to old age of population, 30-40 years old, and the sample
used to study is 400 sample aged between 30-40 years old from Dusit area, Bangkok, data
collection tools such as questionnaire, to analyze statically data, frequency, average,
standard deviation and percentage. Processed by a computer program.
The results presented the majority of sample is female rather than male, 282 sample
of female age between 35-39 years old, 208 samples; 188 marriage, 190 graduated degree,
108 of government officer/state enterprise, 257 samples in family has member 1-3
members; 162 samples of income per month 10,001-15,000 bath, 211 samples of food
expense and other consumption, 173 samples are saving to bank; the most inspired target
for saving is stability until old age; average is 4.54, for treat for sickness; average is 4.61, for
relates or descendant; average is 4.42. the much inspired is Cremation ceremony; average
is 3.97, Reducing dependence on government; average is 4.12. the fair level inspiration of
saving is to cover many emergency case. Average is 3.09. the lower level inspiration is for
other costly and long lasting compensation; average 2.37, information public relations;
average is 2.52, for annual tax reduce is 2.54, induced by other is 2.24.

www.ssru.ac.th
กิตติกรรมประกาศ
รายงานการวิจัยเรื่อง รายได้และรูปแบบการออมเพื่อการเตรียมพร้อมสู่วัยสูงอายุของ
ประชาชนอายุระหว่าง 30 – 40 ปี ในเขตดุสิต กรุงเทพมหานคร สาเร็จได้เนื่องจากบุคคลหลาย
ท่านได้กรุณาช่วยเหลือ ให้ข้อมูลข้อเสนอแนะ คาปรึกษาแนะนา ความคิดเห็นและเป็นกาลังใจ
ผูเ้ ขียนขอขอบพระคุณ ท่านรองศาสตราจารย์ดร.โยธิน แสวงดี ที่กรุณาให้คาชี้แนะ
คาปรึกษาแนะนาในการวิจัย และขอขอบพระคุณผู้กรุณาให้ความร่วมมือในการขอข้อมูล ให้ความ
ร่วมมือในการตอบแบบสัมภาษณ์เชิงลึกและแบบสอบถาม ชาวชุมชนเขตดุสิต กรุงเทพมหานคร ที่
ให้ความช่วยเหลือประสานงานเป็นอย่างดี ด้วยอัธยาศัยไมตรีที่อบอุ่นเป็นกันเอง รวมทั้งฝ่ายวิจัย
คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา ที่ช่วยให้รายงานการวิจัยสาเร็จลุล่วงไป
ด้วยดี

นางสาวชารวี บุตรบารุง
กันยายน 2555

www.ssru.ac.th
สารบัญ

หน้า
บทคัดย่อ (1)
ABSTRACT (2)
กิตติกรรมประกาศ (3)
สารบัญ (4)
สารบัญตาราง (8)
สารบัญภาพ (9)
บทที่ 1 บทนา 1
1.1 ความเป็นมาและความสาคัญของปัญหา 1
1.2 คาถามของการวิจัย 5
1.3 วัตถุประสงค์การวิจัย 5
1.4 สมมติฐานของการวิจัย 6
1.5 ขอบเขตของการวิจัย 6
1.6 ประโยชน์ที่ได้รับจากการศึกษาวิจัย 6
1.7 นิยามศัพท์เฉพาะ 7
บทที่ 2 แนวคิด ทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 8
2.1 ข้อมูลเกี่ยวกับชุมชนเขตดุสิต 9
2.2 แนวคิดเกี่ยวกับการออม 10
2.3 แนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับ ความพอเพียง 26
2.4 แนวคิด การออมตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง 31
2.5 แนวคิดเกี่ยวกับการอยู่ดีมีสุข 33
2. 6 แนวคิดทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับผู้สูงอายุ 41
2.7 งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 52
2. 8 กรอบแนวคิดในการวิจัย 59

www.ssru.ac.th
(7)

สารบัญ(ต่อ)

หน้า
บทที่ 3 วิธีดาเนินการวิจัย 60
3.1 ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง 60
3.2 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 60
3.3 การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 62
3.4 การรวบรวมข้อมูล 62
3.5 การวิเคราะห์ข้อมูล 62
บทที่ 4 ผลการวิจัย 63
4.1 ผลการวิจัยเชิงปริมาณ 63
บทที่ 5 สรุปผลการวิจัยและข้อเสนอแนะ 75
5.1 สรุปผลการวิจัย 75
5.2 การตอบคาถามการวิจัยและอภิปรายผล 77
5.3 ข้อเสนอแนะ 79
บรรณานุกรม 80
ภาคผนวก 83
- ภาคผนวก ก แบบสอบถาม 84
- ภาคผนวก ข ประวัติผู้วิจัย 87

www.ssru.ac.th
(8)

สารบัญตาราง

ตารางที่ หน้า
4.1 จานวนและร้อยละของกลุ่มตัวอย่างจาแนกตามเพศของผู้ตอบแบบสอบถาม (63)
4.2 จานวนและร้อยละของกลุ่มตัวอย่างจาแนกตามอายุของผู้ตอบแบบสอบถาม (64)
4.3 จานวนและร้อยละของกลุ่มตัวอย่างจาแนกตามสถานภาพของผู้ตอบแบบสอบถาม (64)
4.4 จานวนและร้อยละของกลุ่มตัวอย่างจาแนกตามการศึกษาของผู้ตอบแบบสอบถาม (64)
4.5 จานวนและร้อยละของกลุ่มตัวอย่างจาแนกตามอาชีพของผู้ตอบแบบสอบถาม (65)
4.6 จานวนและร้อยละของกลุ่มตัวอย่างจาแนกตามสมาชิกพักอาศัยของผู้ตอบแบบสอบถาม (65)
4.7 จานวนและร้อยละของกลุ่มตัวอย่างจาแนกตามรายได้ต่อเดือนของผู้ตอบแบบสอบถาม (66)
4.8 จานวนและร้อยละของกลุ่มตัวอย่างจาแนกตามรายจ่ายต่อเดือนของผู้ตอบแบบสอบถาม (66)
4.9 จานวนร้อยละของกลุ่มตัวอย่างจาแนกตามลักษณะของรายจ่ายผู้ตอบแบบสอบถาม (67)
4.10จานวนและร้อยละของกลุ่มจาแนกตามลักษณะการออมผู้ตอบแบบสอบถาม (67)
4.11จานวนร้อยละของกลุ่มตัวอย่างเกี่ยวกับเพื่อความมั่นคงในวัยสูงอายุ (68)
4.12 จานวนและร้อยละของกลุ่มตัวอย่างเกี่ยวกับเก็บไว้ยามเจ็บป่วยหรือชรา (69)
4.13 จานวนและร้อยละของกลุ่มตัวอย่างเกี่ยวกับมีผลตอบแทนคุ้มค่าแน่นอน (69)
4.14 จานวนและร้อยละของกลุ่มตัวอย่างเกี่ยวกับประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสาร (69)
4.15 จานวนและร้อยละของกลุ่มตัวอย่างเกี่ยวกับเก็บไว้ให้บุตรหลาน (70)
4.16 จานวนและร้อยละของกลุ่มตัวอย่างเกี่ยวกับลดหย่อนภาษีประจาปี (70)
4.17 จานวนร้อยละของกลุ่มตัวอย่างเกี่ยวกับผู้อื่นชักชวน (71)
4.18 จานวนและร้อยละของกลุ่มตัวอย่างเกี่ยวกับประกอบพิธีฌาปนกิจ (71)
4.19 จานวนร้อยละของกลุ่มตัวอย่างเกี่ยวกับความคุ้มครองหลายด้าน (72)
4.20 จานวนร้อยละของกลุ่มตัวอย่างเกี่ยวกับลดการพึ่งพิงภาครัฐ (72)
4.21 แรงบันดาลใจในการออม (73)

www.ssru.ac.th
(9)

สารบัญภาพ

ภาพประกอบที่ หน้า
2.7 กรอบแนวคิดในการวิจัย (59)

www.ssru.ac.th
บทที่ 1

บทนา

1.1 ความเป็นมาและความสาคัญของปัญหา
เขตดุสิต เป็น 1 ใน 50 เขตการปกครองของกรุงเทพมหานคร อยู่ในกลุ่มเขตกรุงเทพกลาง
จัดเป็นเขตเมืองชั้นใน(Inner City) ประกอบด้วยศูนย์กลางเมืองเดิมและเขตต่างๆ เป็นพื้นที่ที่มีการ
ตั้งถิ่นฐานชุมชนในระยะแรกและพื้นที่อนุรักษ์ทางประวัติศาสตร์ สถานที่ราชการ สถานศึกษา ย่าน
ธุรกิจการค้าหนาแน่น สภาพพื้นที่ประกอบไปด้วยแหล่งการค้า แหล่งที่อยู่อาศัยหนาแน่นมาก เขต
ทหาร แหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และศิลปวัฒนธรรม นอกจากนี้ยังเป็นสถานที่ที่ตั้งรัฐสภา
ทาเนียบรัฐบาล บ้านพิษณุโลก หอสมุดแห่งชาติ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริต
แห่งชาติกระทรวงต่างๆ เช่น กระทรวงศึกษาธิการ และพระราชวัง อาทิ พระที่นั่งอนันตสมาคม
พระราชวังดุสิต พระบรมรูปทรงม้า วังกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ วังสวนสุนันทา วัดต่างๆทั้งวัด
เบญจมบพิตรดุสิตวนาราม วัดราชาธิวาส วัดมกุฏกษัตริยาราม วัดนักบุญฟรังซีสเซเวียร์ และ
สถานศึกษา หลายๆแห่งเช่น โรงเรียนมัธยมวัดเบญจมบพิตร โรงเรียนเซนต์คาเบรียล โรงเรียน
ราชินีบน โรงเรียนวชิราวุธวิทยาลัย โรงเรียนจิตรลดา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร วิทยาเขตชุมพรเขตอุดมศักดิ์ วิทยาลัยพยาบาลเกื้อ
การุณย์วิทยาลัยแพทยศาสตร์กรุงเทพมหานครและวชิรพยาบาล เป็นต้น จึงทาให้เขตนี้มีลักษณะ
ราวกับว่าเป็นเขตการปกครองส่วนกลางของประเทศไทย
โดยเขตดุสิตตั้งอยู่ริมฝั่งซ้ายของแม่น้าเจ้าพระยาหรือฝั่งพระนคร มีอาณาบริเวณติดต่อ
ดังนี้ ทิศเหนือ ติดต่อกับเขตบางซื่อ มีคลองบางซื่อเป็นเส้นแบ่งเขต ทิศใต้ ติดต่อกับเขตปทุมวัน
เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย และเขตพระนคร มีคลองผดุงกรุงเกษม เป็นเส้นแบ่งเขต ทิศตะวันออก
ติดต่อกับเขตพญาไทและเขตราชเทวี มีทางรถไฟสายเหนือเป็นเส้นแบ่งเขต ทิศตะวันตก ติดต่อกับ
เขตบางพลัด มีแนวกึ่งกลางแม่น้าเจ้าพระยาเป็นเส้นแบ่งเขต โดยมีพื้นที่การปกครอง แบ่ง
ออกเป็น 5 แขวง ดังต่อไปนี้ 1. แขวงดุสิต พื้นที่ 2.238 ตารางกิโลเมตร 2. แขวงวชิรพยาบาล พื้นที่
1.1074 ตารางกิโลเมตร 3. แขวงสวนจิตรลดา พื้นที่ 1.1737 ตารางกิโลเมตร 4. แขวงสี่แยกมหา
นาค พื้นที่ 0.339ตารางกิโลเมตร 5 แขวงถนนนครไชยศรี พื้นที่ 5.272 ตารางกิโลเมตร และมี

www.ssru.ac.th
(2)

จานวนประชากร (ประจาเดือนกรกฎาคม ๒๕๕๔) ดังนี้ 1. แขวงดุสิต ชาย 9,334 คน หญิง 7,070


คน รวม 16,404 คน จานวนบ้าน 3,591 หลังคาเรือน 2. แขวงวชิรพยาบาล ชาย 5,662 คน หญิง
7,096 คน รวม 12,758 คน จานวนบ้าน 3,033 หลังคาเรือน 3. แขวงสวนจิตรลดา ชาย 5,104 คน
หญิง 5,459 คน รวม 10,563 คน จานวนบ้าน 2,468 หลังคาเรือน 4. แขวงสี่แยกมหานาค ชาย
4,267 คน หญิง 4,260 คน รวม 8,527 คน จานวนบ้าน 2,411 หลังคาเรือน 5. แขวงถนนนครไชย
ศรี ชาย 33,189 คน หญิง 27,838 คน รวม 61,027 คน จานวนบ้าน 19,464 หลังคาเรือน รวม
ทั้งสิ้นเขตดุสิต มีจานวนประชากรชาย 57,556 คน หญิง 51,723 คน รวม 109,279 คน จานวน
บ้าน 30,967 หลังคาเรือน
นอกจากนี้ เขตดุสิตยังเป็น 1 ในหลายๆเขตที่มี โครงการศูนย์ส่งเสริมการบริหารเงินออม
ครอบครัว กทม.หรือที่เรียกว่า “ศูนย์เงินออมกรุงเทพฯ ” ที่ต้องการส่งเสริมให้ประชาชนกลุ่มผู้มี
รายได้น้อยถึงปานกลางที่มีอยู่ถึงร้อยละ 60 จากประชากรทั้งหมดของกรุงเทพฯ ให้รู้จักใช้เงินเป็น
บริหารเงินได้ มีเงินเหลือเก็บออมเพื่อสร้างความมั่นคงให้แก่ครอบครัว โดยศูนย์เงินออมจะมีส่วน
สาคัญในการให้ความรู้ ให้คาปรึกษาแนะนาแก่ประชาชนให้สามารถบริหารจัดการเงินของตนเอง
ตลอดจนมีวินัยในการออม เพื่อนาไปสู่รายได้ที่เพิ่มขึ้น ดังนั้น เขตดุสิตอยู่ในกลุ่มเขตกรุงเทพกลาง
จัดเป็นเขตเมืองชั้นใน( Inner City) มีอาชีพและรายได้สม่าเสมอ มีการรับรู้ข้อมูลข่าวสารที่รวดเร็ว
อยู่ใกล้แหล่งเงินทุนและสถาบันการเงิน จึงเป็นพื้นที่ที่เลือกทาการวิจัย เพื่อเป็นตัวอย่างใน
การศึกษาให้ประชาชนคนไทยมีการเตรียมพร้อมก่อนเข้าสู่วัยสูงอายุ สะท้อนมิติทางสังคมว่า
ปัจจุบันรายได้และการใช้จ่ายเป็นอย่างไร มีการออมหรือไม่ ออมลักษณะใด เป็นตัวอย่างให้แก่
ประชาชนในต่างจังหวัดและพื้นที่เขตอื่นๆต่อไป
ปัจจุบันในยุคโลกาภิวัตน์( Globalization) ส่งผลให้มีความเจริญในด้านเทคโนโลยี การ
สื่อสารสารสนเทศ โดยเฉพาะด้านการแพทย์ซึ่งมีผลทาให้ประชาชนมีอายุขัยที่ยืนยาวมากขึ้น มี
ความรู้และดูแลรักษาสุขภาพป้องกันตนเองจากโรคต่างๆได้ดีขึ้น สาหรับประเทศไทยพบว่า
จานวนผู้สูงอายุที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป มีจานวนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องทุกปี จากสถิติจานวน
ประชากรในประเทศไทยตั้งแต่ปีพ.ศ. 2503 มีผู้สูงอายุจานวน 1.2 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 4.6
ภายในระยะเวลา 20 ปี เมื่อปีพ.ศ. 2523 ปรากฏว่ามีผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นจานวน 2.4 ล้านคน คิดเป็น
อัตราเพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ยร้อยละ 5.5 ต่อมาปีพ.ศ. 2543 จากการสารวจประชากรทั่วประเทศจานวน
62 ล้านคน พบว่ามีผู้สูงอายุ 5.5 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 9 และคาดการณ์ว่าภายในปีพ.ศ. 2563
ผู้สูงอายุจะมีอัตราส่วนเพิ่มขึ้นในอัตราร้อยละ 16.1 ของประชากรทั้งหมดหรือประมาณ 11.3 ล้าน
คน(ปราโมทย์ ประสาทกุล, วารสารประชากรและพัฒนา, 2543) จากการสารวจของสานักงาน

www.ssru.ac.th
(3)

สถิติแห่งชาติ ในปีพ.ศ. 2550 ประชากรสูงอายุของไทยจะมีถึงประมาณ 7 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ


11 ของประชากรทั้งประเทศที่มีประมาณ 65.6 ล้านคน(สานักงานสถิติแห่งชาติ, 2551) ข้อมูล
ดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า สังคมไทยเริ่มเข้าสู่สังคมสูงวัยแล้ว แม้ว่าสัดส่วนประชากรสูงอายุของไทย
จะไม่มากเท่าประเทศที่พัฒนาแล้ว ซึ่งปัจจุบันมี 1 ใน 4 หรือ 1 ใน 5 ของประชากรทั้งหมด แต่การ
เปลี่ยนเป็นประชากรสูงอายุของไทยนั้นเกิดในเวลาที่สั้นกว่ามาก คือการเพิ่มของประชากรอายุ 65
ปีขึ้นไป จากร้อยละ 7 เป็นร้อยละ 14 ใช้เวลาเพียงประมาณ 22 ปี การเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วนี้
ย่อมหมายความว่าประเทศไทยจะมีเวลาสั้นมากที่จะเตรียมการ ทั้งในด้านการพัฒนาเศรษฐกิจ
และสังคม ตลอดจนการเตรียมการด้านสวัสดิการ การบริการการสร้างหลักประกันต่างๆเพื่อรองรับ
ประชากรสูงอายุ และคาดว่าภายใน 15 – 20 ปีข้างหน้า จานวนประชากรผู้สูงอายุไทยจะเพิ่มเป็น
ประชากรเกือบ 1 ใน 4 ของประชากรทั้งหมด และในช่วงเวลาเดียวกันนั้นคาดว่า จานวนประชากร
ผู้สูงอายุจะเริ่มมีมากกว่าจานวนประชากรวัยเด็ก( United Nations 2007, Knodel and
Chayovan, 2008) นอกจากนี้การลดลงของประชากรวัยแรงงานที่จะเป็นกาลังในฐานะผู้ผลิต
ผู้สร้างรายได้หรือผู้จ่ายภาษี รวมทั้งเป็นผู้ดูแลให้ความเกื้อหนุนผู้สูงอายุก็ลดลงเป็นลาดับเช่นกัน
เห็นได้จากอัตราส่วนศักยภาพเกื้อหนุนคือ ลดลงจากประชากรวัยแรงงานประมาณ 10 คนต่อ
ผู้สูงอายุ 1 คน ในปีพ.ศ. 2543 เหลือเพียงประมาณ 6 คน ในปีพ.ศ. 2563 ยิ่งไปกว่านั้น กลุ่ม
ประชากรที่เคยเกิดมามากกว่า 1 ล้านคนต่อปี ซึ่งอยู่ในช่วงอายุประมาณ 26 – 46 ปี ในปีพ.ศ.
2522 ก็จะเริ่มทยอยเข้าสู่วัยสูงอายุในช่วงเวลา 14 – 15 ปีข้างหน้า(ปราโมทย์ ประสาทกุล, 2552)
จากแผนพัฒนาผู้สูงอายุ ฉบับที่ 2(พ.ศ. 2545 - 2564) ให้ความสาคัญต่อวงจรชีวิตและ
ความสาคัญของทุกคนในสังคมที่เกี่ยวพันกับผู้สูงอายุไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง โดยมีมุมมองว่าผู้สูง
อายุเป็นบุคคลที่มีประโยชน์ต่อสังคมและสมควรส่งเสริมให้คงคุณค่าไว้ให้นานที่สุด แต่กรณีตกอยู่
ในฐานะพึงพิงผู้อื่น ครอบครัว ชุมชน ต้องเป็นด่านแรกที่เกื้อกูลให้ผู้สูงอายุดารงอยู่ได้อย่างมี
คุณภาพ โดยมีสวัสดิการจากรัฐเป็นระบบเสริม เพื่อเป็นหลักประกันในวัยสูงอายุและความมั่นคง
ของสังคม รวมทั้งแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10(พ.ศ.2550 - 2554) นับเป็น
แผนพัฒนาฉบับแรก ที่บูรณาการประเด็นผู้สูงอายุเข้ากับแผนพัฒนาประเทศ โดยให้ความสาคัญ
กับการเตรียมความพร้อมเพื่อสังคมสูงวัย ด้วยการส่งเสริมการออม การใช้จ่ายและให้ความสาคัญ
กับการขยายโครงสร้างพื้นฐาน โครงข่ายการให้บริการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสาร
เพื่อสร้างโอกาสให้ประชาชน โดยเฉพาะผู้สูงอายุสามารถเรียนรู้และเข้าถึงข่าวสารได้มากขึ้น
ส่งเสริมให้ผู้สูงอายุถ่ายทอดความรู้สู่ลูกหลาน ยกระดับคุณภาพผู้สูงอายุให้ดีขึ้น นาศักยภาพของ
ผู้สูงอายุมาใช้ประโยชน์ ดังนั้นการเตรียมพร้อมในการเข้าสู่วัยสูงอายุ จึงนับว่าเป็นเรื่องสาคัญที่

www.ssru.ac.th
(4)

ควรจะต้องเร่งวางแผนดาเนินการอย่างเร่งด่วน โดยเฉพาะประชาชนที่มีช่วงอายุระหว่าง 30 – 40
ปี ซึ่งจัดว่าเป็นช่วงอายุที่อยู่ในวัยผู้ใหญ่ตอนต้น วัยทางาน ผ่านการทางานมาช่วงเวลาหนึ่งอย่าง
น้อย 5 ปี อยู่ในช่วงที่สร้างหลักปันฐานของชีวิต ดังนั้นหากในช่วงวัยนี้มองข้ามการออม มิได้
คานึงถึงอนาคตข้างหน้าในช่วงที่จะเข้าสู่วัยสูงอายุ เมื่อถึงในช่วงเวลานั้นๆความมั่นคงในชีวิตก็จะ
ลดลงหรือขาดความมั่นคงในที่สุด
สภาพสังคมไทยได้เปลี่ยนมีการนาเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาใช้ ตลอดจนได้รับอารยธรรม
จากตะวันตก ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทั้งทางเศรษฐกิจและสังคม โดยเฉพาะทางสังคมมีผล
ทาให้โครงสร้างและค่านิยมของสังคมเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม จากครอบครัวขยายสู่ครอบครัว
เดี่ยว ทาให้ขาดความใกล้ชิด ผู้สูงอายุต้องอยู่เพียงลาพัง ขาดการดูแลเอาใจใส่จากคนใน
ครอบครัว ซึ่งบางรายไม่สามารถเลี้ยงตนเองได้ ไม่สามารถทางานหาลี้ยงชีพได้ เป็นปัญหาทั้ง
สุขภาพกายและสุขภาพจิต จัดเป็นปัญหาทางสังคมที่มีความสาคัญมาก จึงควรให้ความสาคัญใน
การวางแผนเพื่อเตรียมเข้าสู่วัยสูงอายุ จากผลการวิจัยของโครงการวิจัยการสร้างโอกาสการ
ทางานของผู้สูงอายุ พบว่า ผู้สูงอายุไทยไม่มีเงินออม ต้องทางานเลี้ยงชีพมากกว่าร้อยละ 60 เป็น
กาลังหลักของครอบครัว งานที่ทาส่วนใหญ่เป็นงานบริการ รองลงมาคืออาชีพพื้นฐานและงานฝีมือ
แนะรัฐสร้างโอกาสการทางานของผู้สูงอายุ แก้กฎหมายเอื้อให้คนแก่ทางานได้ เสนอปรับปรุง
พ.ร.บ.ข้าราชการพลเรือน ยกเลิกระเบียบต้องเกษียณ 60 ปี แต่ให้ทางานต่อได้ ตามความสมัครใจ
และร่างกายเอื้ออานวย ปัจจุบันมีผู้สูงอายุจานวนมากไม่มีบุตรหลานเลี้ยงดู เป็นที่พึ่ง รวมทั้งไม่มี
เงินออมที่จะใช้ดารงชีวิตในวัยชรา จึงต้องทางานหารายได้เลี้ยงดูตนเอง ซึ่งจากการสารวจสภาวะ
การทางานของประชากร ณ ไตรมาสที่ 3 ในปี พ.ศ. 2552 พบว่า ร้อยละ 37.9 ของจานวน
ประชากรที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไปยังอยู่ในกาลังแรงงาน โดยประมาณการณ์แล้ว ยังมีผู้สูงอายุ 1
ใน 3 ที่ต้องยังชีพด้วยการทางาน โดยร้อยละ 70 ของ กลุ่มผู้สูงอายุชายอายุ 60-65 ปี และร้อยละ
65 ของกลุ่มผู้สูงอายุชายอายุ 65 ปีขึ้นไป ต้องทางานต่อเนื่องเพราะเป็นรายได้หลักของครอบครัว
ส่วนกลุ่มผู้สูงอายุเพศหญิง มีอยู่ร้อยละ 60 นอกจากนี้ยังมีผู้สูงอายุอีกร้อยละ 30 ที่ต้องการทางาน
แต่ว่างงานและยังพยายามหางานทาอยู่ ผู้สูงอายุที่มีระดับการศึกษาสูง ที่ยังคงทางานอยู่นั้นมีอยู่
ไม่มาก ส่วนใหญ่ของผู้สูงอายุที่ยังทางานเป็นผู้ที่ไม่มีการศึกษา หรือมีการศึกษาต่ากว่าประถม
และมีรายได้ที่ต่า จึงไม่สามารถเก็บสะสมเงินออมไว้เพียงพอสาหรับเลี้ยงชีพในวัยชราและ
จาเป็นต้องทางานต่อไป
ดังนั้น ผู้วิจัยจึงมีความสนใจศึกษาวิจัยว่า ปัจจุบันประชาชนในวัยทางานอายุตั้งแต่ 30 -
40 ปี มีรายได้และการใช้จ่าย รูปแบบการออมอย่างไร รวมทั้งวิเคราะห์รูปแบบการออมจาแนก

www.ssru.ac.th
(5)

ตามความแตกต่างของรายได้ โดยจาแนกรูปแบบการออม อาทิเช่น เก็บไว้เองฝากธนาคาร กองทุน


ต่างๆเช่น กองทุนบาเหน็จบานาญข้าราชการ ประกันชีวิต พันธบัตรรัฐบาลและเอกชน เป็นต้น เพื่อ
การเตรียมพร้อมสู่วัยสูงอายุของประชาชนในช่วงอายุดังกล่าว เมื่อทราบผลการศึกษาวิจัยแล้ว
สามารถเผยแพร่ จัดประชุม หรืออบรม ให้เกิดประโยชน์แก่ ประชาชน สถาบันการเงินต่างๆ องค์กร
ปกครองส่วนท้องถิ่น ศูนย์ส่งเสริมบริหารเงินออมครอบครัว กรุงเทพมหานคร กระทรวงการพัฒนา
สังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงการคลัง ฯลฯ ได้ทราบถึงแนวทางการวางแผนหรือ
ส่งเสริมการออม เพื่อการเตรียมพร้อมสู่วัยสูงอายุ โดยเลือกพื้นที่ในการเก็บศึกษาวิจัย ประชาชน
ในวัยทางานอายุตั้งแต่ 30 – 40 ปี ในเขตดุสิต กรุงเทพมหานคร เนื่องด้วยเป็นพื้นที่ในเขตเมือง
หลวงชั้นในของกรุงเทพมหานคร มีความหลากหลายของประชากร อาชีพและหน่วยงานต่างๆ
ดังนั้น ประชาชนในเขตนี้จึงมีวิถีชีวิตความเป็นเมือง เศรษฐกิจและความมั่งคั่ง ดาเนินชีวิตด้วย
ความเร่งรีบอาจทาให้ไม่มีการวางแผนสาหรับเข้าสู่วัยสูงอายุ จึงจาเป็นต้องทาการศึกษาวิจัย เพื่อ
เพิ่มองค์ความรู้แก่ประชาชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งเป็นแนวทางในการศึกษาพื้นที่อื่น
ต่อไป

1.2 คาถามของการวิจัย
1) รายได้และการใช้จ่าย รวมทั้งรูปแบบการออมเพื่อการเตรียมพร้อมสู่วัยสูงอายุของ
ประชาชนวัยผู้ใหญ่ตอนต้น อายุ 30 – 40 ปี ปัจจุบันนี้เป็นอย่างไร
2) แรงบันดาลใจที่ทาให้เกิดการวางแผนในการออมมีอะไรบ้าง
3) ความมั่นคงในวัยสูงอายุของประชาชนในเขตดุสิตมีมิติอย่างไรบ้าง

1.3 วัตถุประสงค์ของการวิจัย
การวิจัย เรื่อง รายได้และรูปแบบการออมเพื่อการเตรียมพร้อมสู่วัยสูงอายุของประชาชน
อายุระหว่าง 30 – 40 ปี ในเขตดุสิต กรุงเทพมหานคร เพื่อให้ได้ผลการวิจัยที่มีคุณภาพ จึงกาหนด
วัตถุประสงค์ของโครงการวิจัย ดังนี้
1) เพื่อศึกษาและวิเคราะห์แบบแผนของรายได้และการใช้จ่ายของประชาชนวัยผู้ใหญ่
ตอนต้น อายุ 30 – 40 ปี
2) เพื่อศึกษาและวิเคราะห์รูปแบบการออมเพื่อการเตรียมพร้อมสู่วัยสูงอายุของประชาชน
วัยผู้ใหญ่ตอนต้น อายุ 30 – 40 ปี

www.ssru.ac.th
(6)

1.4 สมมติฐานการวิจัย
การวิจัย เรื่อง รายได้และรูปแบบการออมเพื่อการเตรียมพร้อมสู่วัยสูงอายุของประชาชน
อายุระหว่าง 30 – 40 ปี ในเขตดุสิต กรุงเทพมหานคร เพื่อให้ได้ผลการวิจัยที่มีคุณภาพ จึงกาหนด
สมมติฐานของการวิจัย ดังนี้
1) ประชาชนวัยผู้ใหญ่ตอนต้น อายุ 30 – 40 ปี มีการวิเคราะห์แบบแผนของรายได้และ
การใช้จ่าย
2) ประชาชนวัยผู้ใหญ่ตอนต้น อายุ 30 – 40 ปี มีการวิเคราะห์รูปแบบการออมเพื่อการ
เตรียมพร้อมสู่วัยสูงอายุ

1.5 ขอบเขตของการวิจัย
ในการวิจัย ผู้วิจัยกาหนดขอเขตของโครงการวิจัย เป็น 3 ขอบเขต คือ ขอบเขตเชิงพื้นที่
ขอบเขตเชิงประชากร และขอบเขตเชิงเนื้อหา ดังมีรายละเอียด ดังนี้
1) ขอบเขตเชิงพื้นที่ เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร
2) ขอบเขตเชิงประชากร ศึกษาข้อมูลจากประชาชนวัยผู้ใหญ่ตอนต้น อายุ 30 – 40 ปี
โดยมีกลุ่มตัวอย่าง จานวน 400 ตัวอย่าง ด้วยวิธีการวิจัยเชิงปริมาณ
3) ขอบเขตเชิงเนื้อหา เพื่อศึกษาและวิเคราะห์แบบแผนของรายได้และการใช้จ่าย
รวมทั้งรูปแบบการออมเพื่อการเตรียมพร้อมสู่วัยสูงอายุของประชาชนวัยผู้ใหญ่ตอนต้น อายุ 30 –
40 ปี

1.6 ประโยชน์ที่ได้รับจากการศึกษาวิจัย
ในการวิจัย เรื่อง รายได้และรูปแบบการออมเพื่อการเตรียมพร้อมสู่วัยสูงอายุของ
ประชาชนอายุระหว่าง 30 – 40 ปี ในเขตดุสิต กรุงเทพมหานคร สามารถนาไปใช้ให้เกิดประโยชน์
ดังต่อไปนี้
1) ทาให้ประชาชนมีการเตรียมพร้อมในการออมเพื่อเข้าสู่วัยสูงอายุด้วยความมั่นคง โดย
ลดการพึ่งพิงจากรัฐ
2) มิติรายได้และรูปแบบการออมเพื่อการเตรียมพร้อมสู่วัยสูงอายุของเขตดุสิต ซึ่งอยู่ใน
เมืองหลวงชั้นใน สามารถเป็นภาพสะท้อนให้กับเขตอื่นๆในกรุงเทพมหานครและต่างจังหวัด
3) สามารถเผยแพร่ จัดประชุม หรืออบรม ให้เกิดประโยชน์แก่ ประชาชน ศูนย์ส่งเสริม
บริหารเงินออมครอบครัว กรุงเทพมหานคร สถาบันการเงินต่างๆ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

www.ssru.ac.th
(7)

กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงการคลัง ฯลฯ ได้ทราบถึงแนว


ทางการวางแผนหรือส่งเสริมการออม เพื่อการเตรียมพร้อมสู่วัยสูงอายุ

1.7 นิยามศัพท์เฉพาะ
1) แบบแผนรายได้ หมายถึง เงินจากการประกอบอาชีพ อาจอยู่ในรูปของเงินเดือน
ดอกเบี้ยเงินกู้ยืมหรือเงินฝากธนาคาร และเงินกาไรจากการค้าขาย
2) แบบแผนรายจ่าย หมายถึง เงินที่จ่ายออกไป อาจอยู่ในรูปของค่าสาธารณูปโภค ค่า
อุปโภคค่าบริโภค ค่าใช้จ่ายต่างๆ
3) รูปแบบการออม หมายถึง ชนิดการเก็บสะสมเงินให้พอกพูนขึ้นเมื่อเวลาผ่านไป
4) การเตรียมพร้อม หมายถึง การเตรียมตัวในเรื่องการออมก่อนเข้าสู่วัยสูงอายุ
5) วัยสูงอายุ หมายถึง ประชากรที่มีอายุตั้งแต่ 60 ขึ้นไป

www.ssru.ac.th
บทที่ 2

แนวคิด ทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

การวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยได้ศึกษาแนวคิด ทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง เพื่อกําหนดกรอบ


ความคิดของการวิจัย โดยมีหัวข้อศึกษา ดังนี้

2.1 ข้อมูลเกี่ยวกับชุมชนเขตดุสิต
2.2 แนวคิดเกี่ยวกับการออม
2.3 แนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับความพอเพียง
2.4 แนวคิดการออมตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง
2.5 แนวคิดความอยู่ดีมีสุข
2.6 แนวคิดทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับผู้สูงอายุ
2.7 งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
2.8 กรอบแนวคิดในการวิจัย

www.ssru.ac.th
(9)

2.1 ข้อมูลเกี่ยวกับชุมชนเขตดุสิต
เขตดุสิตเป็น 1 ใน 50 เขตการปกครองของกรุงเทพมหานคร อยู่ในกลุ่มเขตกรุงเทพกลาง
สภาพพื้นที่ประกอบไปด้วยแหล่งการค้า แหล่งที่อยู่อาศัยหนาแน่นมาก เขตทหาร แหล่งท่องเที่ยว
เชิงประวัติศาสตร์และศิลปวัฒนธรรม นอกจากนี้ยังเป็นสถานที่ที่ตั้งรัฐสภา กระทรวงต่างๆ และ
พระราชวัง จึงทําให้เขตนี้มีลักษณะราวกับว่าเป็นเขตการปกครองส่วนกลางของประเทศไทย มี
จํานวนประชากร 114,488 คน (พ.ศ. 2552) พื้นที่ 10.7 ตร.กม. ความหนาแน่น 10,699.81 คน/
ตร.กม. ตั้งอยู่ริมฝั่งซ้ายของแม่น้ําเจ้าพระยาหรือฝั่งพระนคร มีอาณาบริเวณติดต่อ ดังนี้
ทิศเหนือ ติดต่อกับเขตบางซื่อ มีคลองบางซื่อเป็นเส้นแบ่งเขต
ทิศตะวันออก ติดต่อกับเขตพญาไทและเขตราชเทวี มีทางรถไฟสายเหนือเป็นเส้นแบ่งเขต
ทิศใต้ ติดต่อกับเขตปทุมวัน เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย และเขตพระนคร มีคลองผดุงกรุงเกษม
เป็นเส้นแบ่งเขต
ทิศตะวันตก ติดต่อกับเขตบางพลัด มีแนวกึ่งกลางแม่น้ําเจ้าพระยาเป็นเส้นแบ่งเขต
โดยในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ปรับปรุงจัดรูปแบบการ
ปกครองใหม่เพื่อให้มีความทันสมัย จัดการปกครองส่วนกลางและส่วนภูมิภาค ซึ่งในมณฑล
กรุงเทพมีกระทรวงนครบาลดูแล แบ่งเขตปกครองออกเป็นอําเภอและตําบลเช่นเดียวกับหัวเมือง
อื่นๆ โดยอําเภอดุสิต เป็น 1 ใน 8 อําเภอชั้นใน ตั้งที่ว่าการอําเภออยู่ริมคลองเปรมประชากร ถนน
สุโขทัย ในปี พ.ศ. 2481 อําเภอบางซื่อซึ่งเป็นอําเภอชั้นนอกทางทิศเหนือ ได้ถูกยุบลงเป็นตําบลมา
ขึ้นกับอําเภอดุสิต และเนื่องจากทางอําเภอมีจํานวนประชากรและพื้นที่กว้างขวางมาก
กระทรวงมหาดไทยจึงได้แยกตําบลสามเสนใน ตําบลมักกะสัน ตําบลทุ่งพญาไท ตําบลถนน
เพชรบุรีและตําบลถนนพญาไท ไปรวมกับพื้นที่บางส่วนของอําเภอบางกะปิ เพื่อจัดตั้งเป็นอําเภอ
พญาไท
ในปี พ.ศ. 2509 ภายหลังได้มีการรวมจังหวัดธนบุรีและจังหวัดพระนคร เป็นนครหลวง
กรุงเทพธนบุรี และเปลี่ยนเป็นกรุงเทพมหานครในเวลาต่อมา ซึ่งแบ่งพื้นที่ออกเป็นเขตและแขวง
แทนอําเภอและตําบล อําเภอดุสิตจึงได้รับการเปลี่ยนแปลงฐานะเป็น เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร มี
หน่วยการปกครองย่อย 6 แขวง ต่อมา ในพื้นที่เขตดุสิตมีประชากรเพิ่มมากขึ้นและยังมีพื้นที่
กว้างขวาง ดังนั้น เพื่อให้หน่วยงานราชการสามารถดูแลได้อย่างรวดเร็วและทั่วถึง
กรุงเทพมหานครจึงได้จัดตั้งสํานักงานเขตดุสิต สาขา 1 รับผิดชอบแขวงบางซื่อ ซึ่งได้มีประกาศ
กระทรวงมหาดไทยตั้งเป็นเขตบางซื่อ ในวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2532

www.ssru.ac.th
(10)

การแบ่งเขตการปกครอง เขตดุสิตแบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 5 แขวง ได้แก่ ดุสิต วชิ


รพยาบาล สวนจิตรลดา สี่แยกมหานาค ถนนนครไชยศรี โดยมีสถานที่สําคัญ ได้แก่ พระที่นั่ง
อนันตสมาคม พระที่นั่งวิมานเมฆ พระราชวังดุสิต พระบรมรูปทรงม้า วังปารุสกวัน วังจันทร
เกษม วังกรมหลวงชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ วังกรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ วังสมเด็จเจ้าฟ้ากรมหลวง
ลพบุรีราเมศวร์ และสถานที่ทําการรัฐบาล ได้แก่ ทําเนียบรัฐบาล รัฐสภา บ้านพิษณุโลก บ้า
นมนังคศิลา หอสมุดแห่งชาติ กระทรวงศึกษาธิการ ด้านวัฒนธรรม ศาสนาของชุมชน ชุมชนใน
พื้นที่เขตดุสิตส่วนใหญ่ นับถือศาสนาพุทธ มีกิจกรรมวัฒนธรรมประเพณีทั้งทางด้านศาสนาและ
วัฒนธรรมประเพณีไทยทุกประเพณี เช่น วันเข้าพรรษา ออกพรรษา วันสงกรานต์ ฯลฯ โดยมีวัด
สําคัญๆดังนี้ วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม วัดราชาธิวาสวิหาร วัดมกุฏกษัตริยาราม วัดนักบุญฟ
รังซีสเซเวียร์โบสถ์คอนเซ็ปชัญ ในด้านการศึกษามีสมาชิกในชุมชนที่ไม่ได้รับการศึกษาตามเกณฑ์
อยู่บ้าง ส่วนมากจะเป็นประชากรแฝงที่มาเช่าอาศัยอยู่ในชุมชนต่างๆในพื้นที่ เขตดุสิตเป็น
เวลานาน ในพื้นที่เขตดุสิตมีสถานศึกษาทั้งหมด 9 แห่งศูนย์การศึกษานอกโรงเรียน (กศน.) 1 แห่ง
ได้แก่ โรงเรียนมัธยมวัดเบญจมบพิตร โรงเรียนเซต์คาเรียล โรงเรียนเซนต์ฟรังซีสซาเวียร์คอนแวนต์
โรงเรียนราชินีบน โรงเรียนโยธินบูรณะ โรงเรียนราชวินิต มัธยม โรงเรียนวชิราวุธวิทยาลัย โรงเรียน
จิตรลดา โรงเรียนพันธะวัฒนา ส่วนมหาวิทยาลัยและวิทยาลัย ได้แก่ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวน
สุนันทา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี
ราชมงคลพระนคร วิทยาเขตเทเวศร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนครวิทยาเขตโชติเวช
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนครวิทยาเขตพณิชยการพระนคร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี
ราชมงคลพระนครวิทยาเขตชุมพรเขตอุดมศักดิ์ วิทยาลัยพยาบาลเกื้อการุณย์ วิทยาลัย
แพทยศาสตร์กรุงเทพมหานครและวชิรพยาบาล

2.2 แนวคิดเกี่ยวกับการออม
ความหมายของเงินออม
พจนานุกรมฉบับบัณฑิตยสถาน พุทธศักราช 2525 ให้นิยามไว้ว่า การออม คือ การ
ประหยัด การเก็บหอมรอบริบ การถนอม และการสงวน สิ่งที่จะประหยัด หรือเก็บหอมรอบริบ
ได้แก่ ทรัพย์สินเงินทอง
เงินออม หมายถึง ส่วนของรายได้ที่เหลืออยู่ หรือที่กันเอาไว้ไม่นํามาใช้จ่ายในการบริโภค
อุปโภคในขณะปัจจุบัน โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อเก็บไว้ใช้จ่ายในยามเจ็บป่วย เมื่อมีเหตุฉุกเฉินเกิดขึ้น
หรือเมื่อแก่ชรา หรือเพื่อใช้จ่ายในกิจการ อื่นใดที่สมควร ส่วนของรายได้ทั้งหมดที่ไม่ได้นํามาใช้

www.ssru.ac.th
(11)

จ่ายและเก็บเอาไว้ก็นับเป็นเงินออมได้ทั้งหมด แต่ถ้าพูดถึงเงินออมในลักษณะที่เก็บเอาไว้เฉยๆ จะ
ไม่ใช่เงินออมในความหมายทางเศรษฐศาสตร์
เงินออมทางเศรษฐศาสตร์ หมายถึง ส่วนของรายได้ที่มิได้มีการใช้จ่ายบริโภคอุปโภคและ
เงินจํานวนนั้นได้นําไปลงทุนเพื่อเพิ่มผลผลิตในระบบเศรษฐกิจด้วย แต่มิได้หมายความว่าผู้ที่ทํา
การออมเงินจะต้องเข้าไปจัดการลงทุนทําการผลิตสิ่งใดสิ่งหนึ่งขึ้น ผู้ที่ทําการออมกับผู้ลงทุนไม่
จําเป็นจะต้องเป็นบุคคลคนเดียวกัน และโดยปกติจะไม่ใช่บุคคลเดียวกันด้วย ในความหมายนี้
เพียงแต่หมายถึงเงินที่ออมไว้นั้นต้องพร้อมที่จะนําไปลงทุนประกอบธุรกิจได้โดยจะผ่านระบบ
การเงินของประเทศหรือสถาบันการเงินอื่นใดก็ได้
ดังนั้นพอสรุปได้ว่า เงินออมตามความหมายทางเศรษฐศาสตร์ หมายรวมถึง บรรดาเงิน
ฝากในธนาคารหรือในสถาบันการเงินอื่นๆ เช่น บริษัทเงินทุน บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ บริษัทประกัน
ชีวิตที่ประชาชนนําไปฝาก และจํานวนเงินส่วนที่ประชาชนนําไปซื้อหุ้นของกิจการต่างๆ
(หลักทรัพย์ ) หรือแม้แต่ส่วนของเงินที่เอกชนนําออกให้กู้ยืมเป็นส่วนตัว (ไม่รวมการกู้ยืมเพื่อการ
บริโภค ) ซึ่งจะเห็นว่าจํานวนเงินออมเหล่านี้ยังคงหมุนเวียนเปลี่ยนมืออยู่ในระบบเศรษฐกิจ
ส่วนรวมมิได้สูญหาย เพราะสถาบันการเงินที่รับฝากเงินออมก็จะนําเงินดังกล่าวออกให้กู้ยืม ผู้
กู้ยืมเงินลงทุนก็จะเข้าดําเนินธุรกิจซื้อปัจจัยการผลิตต่างๆ ที่ต้องใช้ในการผลิต เป็นรายได้ไปสู่
เจ้าของปัจจัยการผลิต ซึ่งนํามาใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วนหนึ่ง และเหลือเก็บออมไว้อีกส่วนหนึ่ง
การหมุนเวียนของเงินออมมีลักษณะเป็นวงจรเช่นนี้ต่อๆ ไป ซึ่งต่างกับกรณีที่มีการเก็บเงินไว้กับ
ตัวเองเฉยๆ ไม่นําออกใช้จ่าย จํานวนเงินส่วนที่เก็บไว้นี้จะหลุดลอยออกไปจากระบบเศรษฐกิจโดย
สิ้นเชิงไม่กลับเข้ามาหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจอีกจนกว่าจะได้มีการใช้จ่ายสิ่งใดสิ่งหนึ่งเกิดขึ้น
การเก็บเงินในลักษณะนี้ตรงกับคําศัพท์ภาษาอังกฤษว่า “ Hoarding ” ไม่ใช่ “ Saving ”
การออม คือ รายได้เมื่อหักรายจ่ายแล้วจะมีส่วนซึ่งเหลืออยู่ ส่วนของรายได้ที่เหลืออยู่ซึ่ง
ไม่ได้ถูกใช้สอยออกไปนี้เรียกว่าเงินออม Incomes – Expenses = Savings โดยทั่วไปการออมจะ
เกิดขึ้นก็ต่อเมื่อบุคคลนั้นมีรายได้มากกว่าการจ่ายของเขา ทางที่จะเพิ่มเงินออมให้แก่ บุคคล อาจ
ทําได้โดยการพยายามหาทางเพิ่มรายได้ให้มากขึ้นด้วยการทํางานมากขึ้น ใช้เวลาว่างในการหา
รายได้พิเศษ หรือการปรับปรุงงานที่ทําอยู่ให้มีประสิทธิภาพมีรายได้สูงขึ้น เป็นต้น นอกจากนั้นการ
ลดรายจ่ายลงด้วยการรู้จักใช้จ่ายเท่าที่จําเป็นและเหมาะสมก็จะทําให้มีการออมเกิดขึ้นได้เหมือน
ความสาคัญของเงินออม
เงินออมเป็นปัจจัยที่จะทําให้เป้าหมายซึ่งบุคคลกําหนดไว้ในอนาคตบรรลุจุดประสงค์ เช่น
กําหนดเป้าหมายไว้ว่าจะต้องมีบ้านเป็นของตนเองในอนาคตให้ได้ เงินออมจะเป็นปัจจัยสําคัญที่

www.ssru.ac.th
(12)

กําหนดเป้าหมายที่วางไว้เป็นจริงขึ้นมาได้ นอกจากนี้เงินออมยังใช้สําหรับแก้ไขปัญหาความ
เดือดร้อนทางการเงินที่อาจเกิดขึ้นอย่างคาดไม่ถึงของบุคคลได้ด้วย ดังนั้นบุคคลจึงควรมีการออม
อย่างสม่ําเสมอในชีวิต
สิ่งจูงใจในการออม
การที่คนเรามี “ เป้าหมาย ” อย่างหนึ่งอย่างใดในอนาคตกําหนดไว้อย่างชัดเจนแน่นอนก็
จะทําให้เกิดความกระตือรือร้นที่จะเก็บออมมากขึ้น เป้าหมายของแต่ละบุคลอาจแตกต่างกัน
แล้วแต่ความจําเป็นและความต้องการของเขาและยังขึ้นอยู่กับความหวังและความทะเยอทะยาน
ในชีวิตของเขาด้วย ตัวอย่างเช่น บางคนอยากมีบ้านและที่ดินเป็นของตั วเอง อยากจะมีการศึกษา
สูงอยากมีชีวิตที่สุขสบายในยามปลดเกษียณ หรือหวังที่จะให้ลูกหลานมีหลักฐานมั่นคง ดังนั้น
เป้าหมายในการออมแตกต่างกันนี้จะเป็นสิ่งที่กําหนดให้จํานวนเงินออมและระยะเวลาในการออม
แตกต่างกันไป
การปฏิบัติเกี่ยวกับการออมที่ดี
ในทางปฏิบัติเพื่อให้การออมได้ผลจริงๆ ควรจัดทําดังนี้
- ทางที่จะสามารถทราบล่วงหน้าได้ว่าจะมีการออมได้หรือไม่นั้น โดยการจัดทํางบ
ประมาณเงินสด ทํางบประมาณรายได้ รายจ่าย เพื่อจะรู้ว่ามีเงินเหลือที่จะเก็บออมเท่าไร
- เมื่อทํางบประมาณและทราบได้ว่า จะสามารถเก็บออมได้เดือนละเท่าไหร่แล้ว ให้กันเงิน
ออมส่วนนั้น (ก่อนที่จะจ่ายเป็นรายจ่ายออกไป ) แล้วนําไปฝากธนาคารทันที รายได้ที่เกิดขึ้นจาก
เงินออม เช่น ดอกเบี้ยที่ได้รับ ควรนําไปลงทุนต่อทันที เพื่อให้เงินออมงอกเงยขึ้นไป การเก็บเงินไว้
กับตนเองย่อมไม่ปลอดภัยและเป็นการสูญเสียรายได้ที่ควรจะได้รับ ดังนั้น ควรเก็บรักษาไว้ในที่
ปลอดภัยและมีรายได้ด้วย โดยการฝากสถาบันการเงินบางแห่งไว้ เช่น ธนาคารพาณิชย์ ธนาคาร
ออมสิน สหกรณ์ออมทรัพย์ หรืออาจจะเก็บออมในรูปของการซื้อหลักทรัพย์หรือตราสารฯ ที่มี
ความมั่นคง ก่อให้เกิดรายได้และสามารถเปลี่ยนมาเป็นเงินสดได้ง่าย มาถือไว้ เช่น การซื้อ
พันธบัตรรัฐบาล สลากออมสิน พันธบัตรออมทรัพย์ต่างๆ ตั๋วสัญญาใช้เงินของบริษัทเงินทุนที่
มั่นคง การซื้อหน่วยลงทุนกองทุนรวมหรือซื้อหุ้นของบริษัทที่มั่นคงถือไว้ ฯลฯ
ปัจจัยสาคัญในการออม
1) ผลตอบแทนที่ผู้ออมได้รับจากการออม หมายความว่า ถ้ายิ่งผลตอบแทนในการออม
เพิ่มมากขึ้นเท่าใด จะเป็นสิ่งดึงดูดใจให้บุคคลมีการออมเพิ่มมากขึ้นเท่านั้น เช่น ในภาวะที่รัฐบาล
กําหนดให้ธนาคารพาณิชย์ทุกแห่งลดอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจําทุกประเภทลง ทั้งยังเก็บ
ดอกเบี้ยภาษีเงินฝากอีก จึงทําให้ระดับเงินออมของธนาคารพาณิชย์มีแนวโน้มลดลงเป็นอย่างมาก

www.ssru.ac.th
(13)

2) มูลค่าของอํานาจซื้อของเงินในปัจจุบัน ผู้ออมจะตัดสินใจทําการออมมากขึ้นภายหลัง
จากการพิจารณาถึงอํานาจซื้อของเงินที่มีอยู่ในปัจจุบันว่าจะมีความแตกต่างจากมูลค่าของเงินใน
อนาคตมักหมายความว่าจํานวนเงิน 1 บาทซื้อสินค้าและบริการได้ในจํานวนใกล้เคียงหรือเท่ากับ
การใช้เงิน 1 บาทซื้อสินค้าหรือบริการในอีก 2-3 ปีข้างหน้าหรือมากกว่านั้น ในทางตรงกันข้ามถ้า
ท่านว่าการเก็บเงินออมไว้โดยไม่ยอมซื้อสินค้าขณะนี้ ท่านอาจจะสูญเสียความพอใจที่ควรได้รับ
จากการซื้อสินค้าในปัจจุบันมากกว่าผลตอบแทนที่ได้รับจากการออม ทั้งยังเสียเวลาคอยที่จะซื้อ
สินค้าในอนาคตที่อาจมีราคาสูงมากกว่าอัตราผลตอบแทนที่ได้รับอีกด้วย ดังนั้น ถ้าท่านพอใจทีจะ
ซื้อสินค้าในวันนี้มากกว่าการหวังผลตอบแทนที่จะได้รับเพิ่มขึ้นในอนาคต ท่านก็จะมีการออม
ลดลง
3) รายได้ส่วนบุคคลสุทธิ ผู้ที่มีรายได้คงที่แน่นอนเป็นประจําทุกเดือนในจํานวนที่ไม่สูง
มากนักเช่น ข้าราชการ พนักงานรัฐวิสาหกิจ พนักงานบริษัทเอกชนระดับต่ํา จํานวนเงินออมที่กัน
ไว้อาจเป็นเพียงจํานวนน้อยตามอัตราส่วนของรายได้ที่มีอยู่ ซึ่งต่างจากจํานวนเงินออมของ
ผู้บริหารระดับสูง หรือนักการเมืองที่จะมีเงินเหลือออมได้มากกว่า นอกจากนั้นการเปลี่ยนแปลง
รายได้เนื่องจากการเลื่อนตําแหน่ง การโยกย้ายงานการถูกปลดออกจากตําแหน่งหน้าที่การงานที่มี
ผลต่อระดับการออมเช่นกัน คืออาจทําให้มีการออมเพิ่มมากขึ้นหรือลดลงไปจากระดับเดิมได้
ดังนั้นในระหว่างที่ท่านมีรายได้มากกว่าปกติ หรือในขณะที่ท่านมีความสามารถหารายได้ได้อยู่จึง
ควรจะมีการออมไว้เพื่อป้องกันปัญหาทางการเงินอันอาจเกิดขึ้นได้
4) ความแน่นอนของจํานวนรายได้ในอนาคตหลังการเกษียณอายุ ถ้าผู้มีรายได้ทุกคน
ทราบได้แน่นอนว่า เมื่อใดก็ตามที่ท่านไม่มีความสามารถหารายได้ได้อีกต่อไป ท่านก็จะไม่มี
ปัญหาทางการเงินเกิดขึ้น หรือถ้ามีก็ไม่ใช่ปัญหาที่รุนแรงมากนัก เนื่องจากหน่วยงานที่ท่านเคย
ทํางานอยู่มีนโยบายช่วยเหลือท่านในวัยชราหลังเกษีย ณอายุ หรือภายหลังออกจากงานก่อน
กําหนด เช่น นโยบายการให้บํานาญ บําเหน็จ เงินชดเชย เป็นต้น ดังนั้น ผู้ออมอาจมีการออม
ลดลงเพื่อกันเงินไว้ใช้จ่ายมากขึ้น โดยไม่ทําให้จํานวนเงินรวมในอนาคตกระทบกระเทือนแต่
ประการใด
วัตถุประสงค์ในการออมเงิน
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ทําการสํารวจเกี่ยวกับวัตถุประสงค์ในการออมเงินของแต่ละ
บุคคลไว้ โดยเรียงตามลําดับความสําคัญ ดังนี้ เก็บไว้ใช้ยามเจ็บป่วยหรือชรา เพื่อการศึกษา เพื่อ
เป็นเงินทุนในการประกอบอาชีพ ต้องการดอกเบี้ย เพื่อเป็นหลักประกันในการกู้เงิน ซื้อสินทรัพย์
อื่นๆ เพื่อกิจกรรมทางศาสนา/ประเพณีต่างๆ

www.ssru.ac.th
(14)

ความหมายของการออมทรัพย์
การออมทรัพย์ (Saving) คือ การประหยัดทรัพย์หรือการประหยัดเงินนั่นเอง ทําอย่างไรจึง
จะประหยัดทรัพย์ได้ และการประหยัดทรัพย์ในแง่ของเศรษฐกิจจะเกิดผลดีอย่างไร คําตอบที่คน
ส่วนมากเข้าใจกันก็คือการเก็บเงินส่วนหนึ่งของรายได้ไว้ ไม่นํามาใช้สอย และจะนํามาใช้จ่ายเมื่อ
ถึงความจําเป็น เป็นการประหยัดเงิน แต่ความหมายของการออมทรัพย์ในทางเศรษฐศาสตร์ อาจ
แตกต่างกันบ้าง
การรู้จักใช้จ่ายเพื่อการบริโภคอย่างรอบคอบและสมเหตุสมผล จะเป็นการยกระดับ
มาตรฐานการครองชีพให้สูงขึ้น ได้ชื่อว่าเป็นผู้รู้จักใช้จ่ายอย่างประหยัด ใช้จ่ายเงินเป็นและ
เหมาะสมกับการดํารงชีวิตแก่ตนเอง แต่ถ้าไม่ยอมใช้จ่ายทรัพย์หรือเงินเพื่อประโยชน์ตนเอง และ
ครอบครัวเลยก็จะกลายเป็นคนตระหนี่ถี่เหนียวมากเกินไป เช่น บางคนใส่เสื้อผ้าครั้งแล้วครั้งเล่า
จนสกปรกมากจึงจะยอมซัก เพราะกลัวเปลืองน้ําและผงซักฟอก ถ้าคนเรารู้จักใช้จ่ายทรัพย์หรือ
เงินเป็นก็เท่ากับว่า คนนั้นได้ยืดเวลาในการใช้เงินจํานวนนั้นออกไป เช่น แม่บ้านเคยใช้แก๊สหุงต้ม
1 ถังใน 1 เดือน แต่ถ้าแม่บ้านคอยดูแลการปิดเปิดไม่ให้แก๊สรั่วไหลโดยเปล่าประโยชน์ก็สามารถ
ยืดเวลาการซื้อแก๊สถังใหม่ได้ การยืดเวลาใช้แก๊สออกไปเท่ากับเป็นการยืดเวลาการใช้เงินออกไป
ด้วย ถือว่าส่วนที่ไม่ต้องเสียนั้นเป็นเงินออมและการยืดเวลาการใช้เงินเป็นการออมทรัพย์
การออมทรัพย์ เป็นหัวใจสําคัญของการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ เพราะการออมเป็น
ปัจจัยหนึ่งที่กําหนดความสามารถในการลงทุนของประเทศ ซึ่งจะส่งผลต่อการขยายตัวทาง
เศรษฐกิจในระยะยาว หากประเทศมีการลงทุนสูงกว่าการออมอย่างต่อเนื่อง ย่อมแสดงว่าระบบ
เศรษฐกิจกําลังใช้ทรัพยากรมากกว่าที่มีอยู่ ทําให้ขาดดุลบัญชีเดินสะพัด ต้องกู้ยืมเงินจาก
ต่างประเทศมาแก้ปัญหาถ้ามีมากเกินไปอาจกระทบกับเสถียรภาพของระบบเศรษฐกิจได้ การออม
ทรัพย์ของไทยอยู่ในอัตราที่ไม่ต่ําเมื่อเปรียบเทียบกับมาตรฐานสากล แต่มีแนวโน้มลดลงเหลือ
เพียง 17-20 เปอร์เซ็นต์เนื่องจากในช่วงระยะเวลาที่ประสบวิกฤตเศรษฐกิจ ทุกครัวเรือนมีภาระ
ต้องใช้จ่ายแม้อัตราดอกเบี้ยจะลดลง แต่การฝากเงินกับธนาคารเป็นรูปแบบการออมที่ครัวเรือน
ส่วนใหญ่นิยมมากที่สุด ซึ่งเป็นสัดส่วนสูงถึง 86 เปอร์เซ็นต์ ของเงินออมในภาคครัวเรือนทั้งหมด
การเป็นผู้ออม (Savers) ของคนไทย ส่วนใหญ่ยังไม่อยู่ในฐานะนักลงทุน (Investors) อาจ
เป็นเพราะไม่มีความรู้ทางการเงิน ในระบบเศรษฐกิจที่มีการค้าขายแลกเปลี่ยนสินค้า ทุกคนล้วน
ต้องสัมผัสกับเงินในฐานะสื่อกลางของการแลกเปลี่ยน (Medium of Exchange) ตั้งแต่เกิดจนตาย
โดยในช่วงชีวิตของคนเรานั้นทุกคนจะเรียนรู้การใช้จ่ายเงินอย่างมีเหตุผลและถูกต้อง ซึ่งจะเป็น

www.ssru.ac.th
(15)

กระบวนการเรียนรู้ในระยะแรก เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ ซึ่งผู้ออมสามารถเรียนรู้ได้จาก


ประสบการณ์ในชีวิตประจําวันและพัฒนาได้ตามวงจรการเรียนรู้ด้านการเงิน
รูปแบบการออม
เงินออมส่วนใหญ่ก็ยังเป็นการฝากเงินก้อนกับธนาคารถึงร้อยละ 88 สูงกว่าร้อยละ 71 ใน
การสํารวจครั้งที่แล้ว สําหรับการออมในรูปแบบกรมธรรม์ประกันชีวิตที่ลดลงค่อนข้างมากโดย
ลดลงในทุกภาคของประเทศนั้น ๆ สอดคล้องกับรายได้เฉลี่ยที่แท้จริง (หักลบด้วยเงินเฟ้อ) ที่ลดลง
เนื่องจากผู้จะออมในรูปแบบของประกันฯส่วนใหญ่เป็นผู้ที่มีรายได้ค่อนข้างสูง สําหรับการออมใน
รูปแบบอื่น ๆ เช่น การออมสหกรณ์และกองทุนสํารองเลี้ย งชีพก็มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเล็กน้อย
ประโยชน์ของการออมต่อประเทศ
1) การออมเป็นปัจจัยสําคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจเป็นอย่างมากเนื่องจากเป็นการช่วย
สนับสนุนการลงทุนการผลิตของประเทศและการจ้างงาน เป็นต้น
2) สร้างเสริมความมีเสถียรภาพทางเศรษฐกิจและลดผลกระทบจากความผันผวนจาก
วิกฤติการณ์ในตลาดเงินโลกโดยประเทศที่มีอัตราการออมสูง การลงทุนในประเทศก็ไม่ต้องอาศัย
เงินทุนจากต่างประเทศมากนัก ตัวอย่าง เช่น สิงคโปร์ และ ไต้หวัน ล้วนเป็นประเทศที่มีการออมสูง
ซึ่งสามารถพึ่งตนเองในด้านเงินทุน สําหรับใช้ในการพัฒนา จึงทําให้การพัฒนาประเทศมีความ
ต่อเนื่องและมั่นคง มีระดับการพึ่งพิงเงินทุนจากต่างประเทศต่ํา ซึ่งต่างจากประเทศไทยที่ต้อง
พึ่งพาเงินออมจากต่างประเทศ
3) ค่อนข้างส่งผลให้เกิดการกดดันทางด้านเศรษฐกิจ โดยเฉพาะการขาดดุลบัญชี
เดินสะพัดที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นการออมจึงนับว่ามีความสําคัญค่อนข้างมากเพื่อยอมรับ
การลงทุน และเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจและต่อผู้ออมเองเพื่อเป็นหลักประกันความมั่นคงในชีวิตใน
ระยะยาว จึงขอเชิญชวนทุกท่านมารวมพลังสร้างกลุ่มวัฒนธรรมการออมใหม่ อย่างไรก็ตาม การ
ออมคือการใช้จ่ายอย่างฉลาดมีแบบแผนและหลีกเลี่ยงการใช้จ่ายสินค้าฟุ่มเฟือยจากต่างประเทศ
ในทางตรงกันข้ามการออมไม่ได้หมายถึงการตระหนี้ถี่เหนียวจนเกินไปโดยไม่ใช้จ่ายจนถึงระดับ
หนึง่ ก็จะส่งผลเสียต่อระบบเศรษฐกิจได้เช่นกัน
ประโยชน์ของการออมทรัพย์
ในปัจจุบันสังคมไทยมีแนวโน้มของวิถีชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไป ตามการเปลี่ยนแปลง
ทางด้านเศรษฐกิจ สังคมค่อย ๆ เปลี่ยนจากสังคมเกษตรกรรมเป็นสังคมอุตสาหกรรม จากที่เคย
ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ช่วยกันทํางาน มีการแบ่งปันของกินของใช้กัน มาเป็นการผลิตที่มีเจ้าของ
กิจการมีนายทุน และมุ่งผลกําไรตอบแทนมากกว่าการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ท่ามกลาง การ
เปลี่ยนแปลงนี้ในประเทศที่พัฒนาแล้วที่มีระบบสังคมอุตสาหกรรม รัฐบาลมีระบบสวัสดิการหรือ

www.ssru.ac.th
(16)

การประกันสังคมเพื่อให้ผู้ที่อยู่ในวัยชราได้รับการดูแลจากรัฐ สําหรับสังคมไทยก็มีระบบ การ


บริการขั้นพื้นฐานบางอย่าง เช่น การรักษาพยาบาลในโรงพยาบาลของรัฐ เป็นต้น อย่างไร ก็
ตามทุกคนควรเน้นการพึ่งพาตนเองด้วยการเก็บออมเงินไว้ตั้งแต่ในวัยทํางาน ซึ่งก่อให้เกิด
ประโยชน์ดังนี้
ประโยชน์ทางตรงที่มีต่อผู้บริโภค
1) ได้รับความอุ่นใจในเรื่องการเงิน ไม่ต้องกังวลในเรื่องต่าง ๆ เนื่องจากมีความพร้อมอยู่
แล้วหากมีเหตุการณ์เดือดร้อนขึ้นในอนาคต
2) สามารถมีเงินซื้อสิ่งของที่มีมูลค่าสูง มีคุณภาพดีมาใช้ได้ตามต้องการ
3) ทําให้เกิดความมั่นคงในการดําเนินชีวิตของตนเองและครอบครัว เป็นการสร้าง
ความสุขให้กับชีวิต
4) สามารถเพิ่มพูนรายได้ให้เกิดขึ้น โดยการนําเงินออมไปลงทุนในกิจการทางธุรกิจ
เพื่อให้เกิดรายได้เพิ่มขึ้น
ประโยชน์ทางอ้อมที่มีต่อส่วนรวม
1) ก่อให้เกิดการลงทุนเพิ่มขึ้น เพราะเงินออมที่ผู้บริโภคนําไปฝากกับสถาบันการเงินจะ
ถูกนําไปให้นักลงทุนกู้ต่อเพื่อเอาไปลงทุน ถ้าเงินออมมีมากปริมาณการลงทุนก็เพิ่มขึ้นด้วย
2) เมื่อมีการลงทุนเพิ่มขึ้นจะส่งผลให้ประชาชนมีงานทํา มีรายได้เพิ่มขึ้นมาตรฐานการ
ครองชีพดีขึ้น
3) เมื่อประชาชนมีการกินดีอยู่ดีแล้ว เศรษฐกิจและสังคมของประเทศโดยส่วนรวมดีขึ้น
ทําให้การค้าระหว่างประเทศดีขึ้น เพราะมีการซื้อขายแลกเปลี่ยนกันอย่างคล่องตัว
ประเภทการออมทรัพย์ โดยทั่วไปแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
1) การออมทรัพย์แบบสมัครใจ ( Voluntary Saving) คือ การออมทรัพย์ที่ผู้ออมมีความ
ตั้งใจที่จะออมทรัพย์ด้วยตนเอง เพราะเห็นว่า การทํางานเพื่อหารายได้นั้นกว่าจะได้เงินมาใช้จ่าย
ได้มาด้วยความลําบาก ดังนั้นจึงควรจะเก็บออมเงินรายได้ส่วนหนึ่งเอาไว้เพื่อใช้จ่าย ในอนาคต
เมื่อมีความจําเป็นเกิดขึ้น การเก็บออมแบบนี้เป็นแบบสมัครใจไม่มีผู้ใดบังคับ แต่โดยปกติแล้ว
บุคคลที่ทํางานมีรายได้จํานวนมากมักไม่คํานึงถึงเรื่องนี้ โดยเฉพาะผู้มีรายได้ที่ไม่มี ภาระผูกพัน
เช่น ยังไม่แต่งงานมักจะจับจ่ายใช้สอยตามสบาย ตามความเคยชิน ตามสภาพแวดล้อมที่จูงใจ
ฯลฯ ด้วยเหตุนี้การออมทรัพย์แบบสมัครใจจึงกระทําได้ยากและทําได้ในบุคคลเพียงบางคนเท่านั้น
2) การออมทรัพย์แบบบังคับ ( Forced Saving) คือ การออมทรัพย์ที่ผู้บริโภค สร้างภาระ
ผูกพันให้กับตนเอง เพราะไม่สามารถออมทรัพย์แบบสมัครใจได้ผล เช่น ฝากเงินออมไว้กับธนาคาร
ออมสิน ธนาคารพาณิชย์ เป็นสมาชิกสหกรณ์ ออมทรัพย์ การทําประกันชีวิต ฯลฯ โดยวิธีนี้จะทํา

www.ssru.ac.th
(17)

ให้ผู้บริโภคต้องมีภาระผูกพันและสามารถ มีเงินออมได้ เนื่องจากต้องเจียดรายได้ส่วนหนึ่งเอาไว้


ให้กับสถาบันการออมทรัพย์ตามที่ได้กล่าวมาแล้วเป็นประจําตามที่กําหนดไว้
หลักการออมทรัพย์
ถ้าผู้บริโภคคิดจะออมทรัพย์ จะต้องรู้จักวิธีการออมทรัพย์ที่จะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อ
ตนเองและต่อระบบเศรษฐกิจส่วนรวม ผู้บริโภคจะต้องปฏิบัติตามหลักการ ออมทรัพย์ดังนี้
1) รู้จักเพิ่มพูนรายได้ ผู้บริโภคต้องมีความกระตือรือร้น ขยันขันแข็ง มีมานะอดทนในการ
ประกอบสัมมาอาชีพ รู้จักคิดหาทางเพิ่มพูนรายได้ตลอดเวลา เพราะผู้มีรายได้มากและรู้จัก
ประหยัดการใช้จ่ายย่อมมีโอกาสเก็บออมได้มากกว่าผู้มีรายได้น้อย หรืออาจกล่าวได้ว่าครอบครัว
หารายได้มากเท่าไรก็มีโอกาสประหยัดเงินได้มากเท่านั้น
2) ต้องปลูกฝังนิสัยการเก็บออม ผู้บริโภคควรต้องพยายามฝึกฝนตนเองให้มี
ความสามารถที่จะควบคุมการใช้จ่ายของตน ฝึกเก็บออมเงินอย่างสม่ําเสมอจนเคยชินเป็นนิสัย
ผู้บริโภคและครอบครัวที่มองการณ์ไกลซึ่งมีการพิจารณาถึงสิ่งที่จําเป็นและต้องการไว้ล่วงหน้าทั้ง
ระยะสั้นและระยะยาวอยู่เสมอ ย่อมจะทําให้การใช้เงินเป็นไปอย่างระมัดระวังและมีเงินออมเพื่อ
การใช้จ่ายในอนาคตตามต้องการได้ นิสัยการเก็บออมย่อมทําให้ผู้บริโภคมีการวางแผน การใช้
จ่ายเงินที่ดี แม้ว่าผู้มีรายได้น้อยจะทําการออมได้ยาก แต่ถ้าได้ฝึกจนเป็นนิสัยก็ย่อมจะทําได้ การ
เก็บออมจะทําได้เพียงใดนั้นย่อมขึ้นอยู่กับความพยายามและความตั้งใจแน่วแน่ของผู้บริโภคแต่ละ
ครอบครัว ควรถือเป็นหน้าที่ที่จะช่วยกันออมในสิ่งที่ควรออมและในสิ่งที่สามารถทําได้ การเก็บ
ออมคนละเล็กละน้อยย่อมจะทําให้ครอบครัวมีเงินออมมากขึ้น หากไม่เชื่อใจว่าจะสามารถบังคับ
ใจตนเองให้เก็บออมได้ก็อาจใช้วิธีการออมแบบบังคับทางอ้อม เช่น ฝากเงินประเภท สะสมทรัพย์
กับธนาคารพาณิชย์ การทําประกันชีวิต หรือเข้าเป็นสมาชิกสหกรณ์ออมทรัพย์ ฯลฯ จากวิธีการ
ดังกล่าวจะทําให้ผู้บริโภคสามารถมีเงินออมได้
3) รู้จักทํางบประมาณวางแผนการใช้เงิน ผู้บริโภคควรจะได้มีการวางแผนการใช้เงินโดย
วิธีการกําหนดวงเงินค่าใช้จ่ายปัจจุบันหรือวงเงินตามต้องการในอนาคต ทําประมาณการรายได้
และรายจ่าย พิจารณารายการและจํานวนเงินรายจ่ายและทําบัญชีรายจ่ายประจําตัวและประจํา
ครอบครัวตามรายจ่ายที่ต้องจ่ายจริงแต่ละเดือน
4) รู้จักสงเคราะห์ผู้อื่นหรือสังคมเท่าที่มีความจําเป็น ในเมื่อทุกคนเป็นหน่วยหนึ่งของ
สังคม ทุกคนมีรายจ่ายจําเป็นส่วนหนึ่งเพื่องานสังคม เพื่อการกุศลหรือสาธารณประโยชน์ส่วนรวม
รายจ่ายส่วนนี้ผู้บริโภคควรเก็บเงินเอาไว้เท่าที่จําเป็น เช่น การสงเคราะห์บุคคลที่ด้อยกว่างาน

www.ssru.ac.th
(18)

แต่งงาน งานศพ งานบวชนาค การช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติ ฯลฯ รายจ่ายเพื่องานสังคมที่ไม่มี


ความจําเป็นควรงดเว้นบ้าง
ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการออมทรัพย์
นอกจากรายได้ซึ่งเป็นส่วนสําคัญที่ช่วยให้เกิดเงินออมโดยตรงแล้ว ยังมีปัจจัยอื่นๆ ที่มี
ผลกระทบต่อการออมทรัพย์บริโภคแต่ละคนจะมีขีดความสามารถในการออมทรัพย์แตกต่างกัน
เพราะมีปัจจัยหลายอย่างที่ทําให้การออมทรัพย์ไม่อาจทําได้เสมอไป เนื่องจาก
1) รายได้ เป็นปัจจัยสําคัญที่จะกําหนดขีดความสามารถในการออมทรัพย์ของผู้บริโภคใน
กรณีที่ผู้บริโภคมีรายได้น้อยจึงไม่มีเงินรายได้ส่วนที่เหลือให้ออมทรัพย์ได้ ถึงแม้จะพยายามออม
ทรัพย์แล้วก็ตาม แต่ก็ไม่สามารถกระทําได้
2) สุขภาพ สุขภาพมีผลกระทบต่อการใช้เงิน การที่เจ็บไข้ได้ป่วยอยู่เสมอมีผลทําให้เงิน
ออมลดลงหรือไม่มีเงินออมเลย
3) จํานวนสมาชิกในครอบครัว ถ้ามีสมาชิกจํานวนมาก ทําให้มีรายจ่ายมาก ย่อมออมเงิน
ได้น้อยลง
4) นิสัยที่แตกต่างกันในการซื้อหรือใช้เงิน คนที่ชอบซื้อของง่าย หรือใช้จ่ายเงินอย่าง
สุรุ่ยสุร่าย ย่อมมีเงินออมน้อยหรือไม่มีเงินออมเลย
วงจรการเรียนรู้ด้านการเงินและการวางแผนการใช้จ่ายเงิน
วงจรการเรียนรู้ด้านการเงินมี 9 ขั้นตอน คือ
ขัน้ ที่ 1 วัยทารก เป็นวัยที่มีความสุข ไร้เดียงสา เพราะไม่รู้จักเงินว่ามีความสําคัญอย่างไร
ในชีวิตประจําวัน
ขัน้ ที่ 2 วัยเด็ก อายุ 4-5 ขวบเป็นต้นไป เป็นวัยที่เริ่มเรียนรู้การใช้เงิน โดยรู้ว่าเงินสามารถ
ซื้อขายได้
ขัน้ ที่ 3 วัยเรียน อยู่ในช่วงวัยเด็กตอนโตและวัยรุ่น เป็นวัยที่กําลังเรียน เริ่มรู้จักว่าเงินเป็น
สิ่งสําคัญและจําเป็นที่ต้องแลกมาด้วยการทํางาน จึงเป็นช่วงชีวิตที่มีกําลังแรงกายแรงใจ รู้จัก
ทํางานหาเงินพิเศษเป็นรายได้เสริมระหว่างเรียน เพื่อเก็บเงินซื้อของส่วนตัวของตนเอง
ขัน้ ที่ 4 วัยทํางาน เป็นวัยที่เริ่มตระหนักถึงความจริงว่า เงินเป็นสิ่งจําเป็นสําหรับทุกคน
เพื่อการดํารงชีพและความอยู่รอด แต่มีบางคนยังไม่รู้จักวิธีการจัดการเกี่ยวกับการใช้เงินที่ถูกต้อง
จึงมีผลทําให้มีเงินไม่เพียงพอกับค่าใช้จ่าย
ขัน้ ที่ 5 การจัดการเงิน เป็นช่วงระยะเวลาที่คนทํางานเริ่มมีความรู้เกี่ยวกับการจัดการเงิน
แต่ยังขาดความรู้ความเข้าใจที่ลึกซึ้ง จึงไม่กล้าที่จะตัดสินใจเกี่ยวกับการเงิน เพราะไม่ตระหนักถึง
การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในอนาคต จึงไม่เห็นความสําคัญของการมีความรู้ทางการเงิน

www.ssru.ac.th
(19)

ขัน้ ที่ 6 การเก็บออมและเรียนรู้ เป็นช่วงระยะเวลาที่คนเริ่มตระหนักถึงความจําเป็นของ


การเก็บออมและการลงทุน จึงเริ่มกระตือรือร้นแสวงหาความรู้ทางการเงิน แต่มีบางคนอาจจะ
ประสบปัญหาจากการตัดสินใจที่ผิดพลาดจนทําให้เกิดความกลัวที่จะก้าวเดินต่อไป ซึ่งจะทําให้
การพัฒนาความรู้สะดุดหยุดลง
ขัน้ ที่ 7 การจัดสรรเงิน บุคคลทั่วไปรู้จักวิธีการจัดสรรเงินออมและเงินลงทุน เพราะเริ่มมี
ความรู้และประสบการณ์มากขึ้น ทําให้เกิดความกล้าที่จะเสี่ยงมากขึ้น แต่มีบางคนประสบปัญหา
ล้มเหลวอย่างรุนแรงจากการตัดสินใจลงทุนผิดพลาดครั้งใหญ่ ควรได้รับคําแนะนําที่ถูกต้องเพื่อให้
เกิดความสําเร็จก้าวหน้าต่อไป
ขัน้ ที่ 8 อิสรภาพทางการเงิน เป็นช่วงที่มีความมั่นคงทางการเงินในระดับหนึ่ง เริ่มมี
ความคิดในการใช้ชีวิตอย่างมีความสุข บางคนคิดถึงแผนการเกษียณก่อนวัย แต่บางคนก็ไม่ค่อย
ตระหนักและให้ความสําคัญ อิสรภาพทางการเงินจะเกิดขึ้นได้หากมีการวางแผนทางการเงินที่ดี
ขัน้ ที่ 9 ความสําเร็จในชีวิต เป็นช่วงระยะเวลาที่มีคุณภาพชีวิตที่ดี บางคนสามารถที่จะ
เกษียณก่อนวัยและมีชีวิตที่สมดุล คือ มีเงิน เวลา และมีกําลังกาย เพราะรู้จักวิธีการใช้เงินทํางาน
แทนบางคนอาจจะเริ่มเบื่อกับการสะสมวัตถุ จึงใช้เวลาไปในกิจกรรมต่าง ๆ และมีโอกาสช่วยเหลือ
สังคมมากขึ้น เนื่องจากคนส่วนใหญ่มีภาระค่าใช้จ่ายแต่ละเดือนค่อนข้างสูง เช่น ค่าใช้จ่าย
ประจําวันค่าอาหาร ค่าที่อยู่อาศัย ค่าน้ํามันรถ ค่าบัตรเครดิต ค่าน้ําประปา ค่าไฟฟ้า ค่าโทรศัพท์
ค่าเล่าเรียนบุตร ตลอดจนค่าใช้จ่ายอื่น ๆ เมื่อตรวจสอบยอดคงเหลือในบัญชีครอบครัวพบว่า
รายจ่ายมากกว่ารายรับ เงินหายไปจากบัญชี ซึ่งหมายถึงค่าใช้จ่ายที่บุคคลนั้นต้องจ่ายไป หรือ
เหลือเงินออมเพียงเล็กน้อย ดังนั้น เราจึงควรตั้งเป้าหมายของการออมให้เป็นตัวเลขที่แน่นอนและ
สร้างวินัยในการใช้จ่ายสําหรับตนเอง (Self-Discipline) จึงควรมีการวางแผนการใช้จ่ายเงิน
การวางแผนการใช้จ่ายเงิน
การวางแผนการใช้จ่ายเงินหมายถึง ความพยายามของผู้บริโภคที่จะใช้จ่ายเงินให้เพียงพอ
กับรายได้นั่นเอง เพื่อป้องกันมิให้เกิดปัญหารายได้ไม่เพียงพอกับรายจ่าย และพร้อมกันนั้นก็
จะต้องมีเงินออมไว้สําหรับใช้จ่ายเมื่อเกิดความจําเป็นในอนาคต ดังนั้นการวางแผนการใช้จ่ายเงิน
เป็นวิธีการอย่างหนึ่งในการเตรียมตัวล่วงหน้าสําหรับการใช้จ่ายเงิน โดยกําหนดยอดรายจ่ายที่
คาดว่าจะเกิดขึ้นให้พอดีกัน หรือให้น้อยกว่ารายได้ทั้งหมดที่คาดว่าจะได้รับ
ความจาเป็นในการวางแผนการใช้จ่ายเงิน
ความละเอียดรอบคอบในการใช้จ่ายเงิน สามารถสร้างความเป็นปึกแผ่นทางฐานะใน
อนาคตได้ บุคคลดังกล่าวจะไม่ถูกขนานนามว่าเป็นคนตระหนี่ แต่ตรงกันข้ามกลับเป็นคนที่มี
หลักเกณฑ์และมีแบบแผนอันดีเกี่ยวกับการจับจ่ายใช้เงินไม่ว่าจํานวนเงินจะมากหรือน้อยก็ตาม

www.ssru.ac.th
(20)

การใช้จ่ายเงินอย่างสุรุ่ยสุร่ายโดยไม่พิจารณาให้รอบคอบก่อน ทําให้เสียอํานาจซื้อไปโดยใช่เหตุ
และยังเป็นผลเสียเสียต่อเศรษฐกิจส่วนรวมด้วย คือ เป็นการสนับสนุนโดยทางอ้อมแก่ผู้ผลิตที่ไม่มี
คุณภาพหรือมาตรฐานเพียงพอ เมื่อเป็นเช่นนี้การใช้จ่ายเงินเพื่อการซื้อสินค้าหรือบริการซึ่ง
ผู้บริโภคทุกคนจะต้องพยายามฝึกนิสัยตัวเองให้เป็นผู้ที่ได้ชื่อว่าเป็นผู้ใช้เงินโดยมีดุลยพินิจและมี
สามัญสํานึกเสมอ การทําเช่นนี้ได้ต้องอาศัยการวางแผนการใช้จ่ายเงินอย่างฉลาดในการซื้อสินค้า
หรือบริการ
หลักเกณฑ์ในการวางแผนการใช้จ่ายเงิน
การวางแผนการใช้จ่ายเงินอย่างฉลาดในการซื้อสินค้าหรือบริการนั้น ควรมีหลักเกณฑ์ใน
การพิจารณาดังนี้
1) ขั้นก่อนตัดสินใจซื้อ ควรถามตัวเองในเรื่องต่อไปนี้
- มีความจําเป็นที่แท้จริงหรือไม่
- มีเงินเพียงพอที่จะซื้อหรือไม่
- ของเดิมที่มีอยู่ยังใช้การได้หรือไม่
2) ขั้นตัดสินใจซื้อ ควรพิจารณาในเรื่องต่อไปนี้
- ควรซื้อหรือไม่ ได้รับประโยชน์จากสิ่งที่ซื้อนั้นเพียงใด คุ้มค่าหรือไม่
- ควรซื้อด้วยเงินสดหรือเงินผ่อน
- ขั้นเลือกซื้อ ควรตัดสินใจในเรื่องต่อไปนี้
พฤติกรรมของบุคคลที่ประสบความสาเร็จทางการเงิน
พฤติกรรมของบุคคลที่ประสบความสําเร็จทางการเงินมี 7 ประการ คือ
1) มีความประหยัดมัธยัสถ์ รู้จักเก็บหอมรอมริบ รู้จักใช้จ่ายเงินให้เกิดประโยชน์สูงสุด
2) มีการจัดสรรเวลา พลังงาน และเงินอย่างมีประสิทธิภาพในการสะสมความมั่นคง
3) มีอิสรภาพทางการเงิน ซึ่งเป็นการแสดงออกที่สําคัญกว่าฐานะทางสังคม
4) ไม่ได้ร่ํารวยมาแต่กําเนิด
5) สามารถพึ่งพาตนเองได้ในทางเศรษฐกิจ
6) มีประสบการณ์และทักษะในการแสวงหาโอกาสทางธุรกิจ
7) ส่วนมากเป็นเจ้าของธุรกิจส่วนตัว หรือประกอบอาชีพอิสระ
การลงทุน
การลงทุน คือ การนําเงินออมไปก่อให้เกิดผลตอบแทนเป็นรายได้ขึ้นมา เช่น การนําไป
ฝากธนาคาร การซื้อหุ้นบริษัท การซื้อที่ดินและอสังหาริมทรัพย์อื่นๆ เป็นต้น การตัดสินใจลงทุน

www.ssru.ac.th
(21)

ประกอบด้วยขั้นตอนต่างๆหลายขั้นตอน ได้แก่ การลงทุนประเภทใดจึงเหมาะสม การเลือก


โครงการลงทุน ความปลอดภัยของการลงทุน และข้อมูลข่าวสารที่เกี่ยวกับการลงทุน
การลงทุนของบุคคล
ทําไมบุคคลจึงต้องลงทุน ( Why Invest) โดยปกติรายได้ที่บุคคลได้รับจะถูกจัดสรรออกไป
เป็น 2 ด้านใหญ่ ๆ คือ ส่วนหนึ่งเพื่อใช้จ่ายในชีวิตประจําวัน และอีกส่วนหนึ่ง เก็บออม ไว้สําหรับ
ใช้จ่ายในวันข้างหน้า การใช้จ่ายเป็นสิ่งจําเป็นใน ชีวิตประจําวันของบุคคล เป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้
แต่ถ้าสามารถ จัดสรรค่าใช้จ่ายอย่างเหมาะสมให้มีเงินเหลือใช้ ก็จะเป็นประโยชน์ที่จะมี เงินออม
เก็บไว้สําหรับความจําเป็นในวันข้างหน้าได้มากขึ้น การที่คนเรา เก็บออมก็เพราะ ได้เปรียบเทียบ
แล้วว่า เงินที่เก็บออมไว้ เพื่อใช้จ่ายในวันข้างหน้า จะให้ประโยชน์คุณค่า หรือ ความพอใจสูงสุด
แก่เขามากกว่าจะเอามาใช้เสียในวันนี้ ทําอย่างไรจึงจะให้เงินออม ที่อุตส่าห์สะสมไว้ เพิ่มพูนค่า
และ ก่อให้เกิด ประโยชน์ สูงสุดแก่เจ้าของสิ่งสําคัญก็คือ คนเราต้องรู้จัก " การลงทุน "
(Investments) การลงทุนเป็น การนําเอาทรัพย์สิน ที่บุคคลมีอยู่ ไปดําเนินการในทางที่ก่อให้เกิด
ประโยชน์ ซึ่งจะให้ผลตอบแทนกลับคืนมาในช่วงเวลานั้น
การลงทุนแบ่งได้เป็น 2 ลักษณะ คือ
1) การลงทุนในสินทรัพย์ทีมีตัวตนเห็นประโยชน์จากการใช้ได้อย่างชัดเจน กับการลงทุน
ในสินทรัพย์ ที่ไม่เห็นประโยชน์ การใช้ได้โดยชัดเจน (Tangible and intangible investment)
2) การลงทุนซื้อบ้าน ซื้อรถยนต์ ซื้อเพชรพลอยของมีค่า ซึ่งเราสามารถใช้ประโยชน์จาก
ทรัพย์สินที่เราลงทุน เป็นเจ้าของ ไว้โดยตรงได้ อย่างเต็มที่ที่เรียกว่า Tangible investment
ส่วนการลงทุนในหุ้นพันธบัตรตราสารการเงินอื่น ๆ ซึ่งผู้ซื้อมีสิทธิเรียกร้อง และมีโอกาส
ได้รับผลตอบแทนจากการถือกรรมสิทธิ์ในตราสารเหล่านี้ไว้ เรียกว่าเป็นการลงทุนแบบ Intangible
investments สําหรับในบทนี้จะเน้นเฉพาะการลงทุนที่เป็น Intangible investments หรือที่จัดอยู่
ในประเภทของการลงทุนทางการเงินเป็นส่วนใหญ่
หลักการลงทุน
การลงทุนที่ดีควรเป็นการลงทุนที่ให้ผลตอบแทนสูง แต่มีความเสี่ยงต่ําดังนั้น จึงต้อง
พิจารณาให้รอบคอบ และเปรียบเทียบระหว่างผลตอบแทนและความเสี่ยง การลงทุนด้วยวิธีการ
ต่าง ๆ ย่อมมีผลตอบแทนและความเสี่ยงไม่เท่ากัน ดังนั้น สิ่งที่ควรคํานึงเป็นอย่างมากก่อน
การตัดสินใจลงทุนมีดังต่อไปนี้
1) ความปลอดภัยของเงินลงทุน เป็นประเด็นที่มีความสําคัญยิ่ง เพราะ ถ้าลงทุนในแหล่ง
ที่ไม่มีความปลอดภัยจะทําให้สูญเงินที่ลงทุนไป รวมทั้งผลตอบแทนที่คาดว่าจะได้รับด้วย

www.ssru.ac.th
(22)

2) รายได้ที่มากและแน่นอน เป็นประเด็นผู้ลงทุนที่ดีควรรู้จักกระจาย ความเสี่ยงโดยการ


ลงทุนในทางเลือกหลาย ๆ ทางเท่าที่เป็นไปได้ เพื่อว่าจะได้รับรายได้ในหลาย ๆ ทางด้วยกัน
3) โอกาสในการขยายตัวของการลงทุน เป็นการลงทุนในธุรกิจที่กําลังขยายตัว จะช่วยลด
อัตราเสี่ยงในการลงทุน และน่าจะทําให้ผู้ลงทุนได้รับผลตอบแทนจากการลงทุนที่สูงขึ้น
4) สภาพคล่อง เป็นการเปลี่ยนสินทรัพย์ที่ลงทุนเป็นเงินสด ซึ่งถือว่ามี ความคล่องตัวใน
การใช้จ่ายสูงที่สุด
ประเภทของการลงทุน แบ่งออกได้ 2 ประเภท คือ
1) การลงทุนทางตรง หมายถึง การลงทุนที่ผู้ลงทุนหรือเจ้าของทุนเข้าประกอบกิจการ
รวบรวมปัจจัยการผลิตเข้าด้วยกัน แล้วดําเนินการผลิตด้วยตนเองโดยการควบคุมดูแล ตัดสินใจ
และแก้ปัญหาต่าง ๆ ในกิจการทุกประการ ผลตอบแทนของเจ้าของทุนจากการลงทุนจะอยู่ในรูป
ของกําไรของกิจการนั้นๆ
2) การลงทุนทางอ้อม หมายถึง การลงทุนที่เจ้าของทุนมิได้เข้าดําเนินการหรือประกอบ
ธุรกิจด้วยตนเอง แต่เข้าไปมีส่วนในการประกอบกิจการทางอ้อม โดยการซื้อหุ้นของกิจการที่ตน
ต้องการเข้าร่วมทุนด้วย ผลตอบแทนจากการลงทุนอยู่ในรูปของเงินปันผล อันได้มาจาก ส่วนหนึ่ง
ของกําไรจากการดําเนินธุรกิจนั่นเอง
อย่างไรก็ดี ถ้าพิจารณาในแง่ของผู้บริโภค ผู้บริโภคอาจใช้เงินออมทําการลงทุนอย่างใด
อย่างหนึ่งซึ่งจําแนกได้ 3 ประเภท คือ
1) การลงทุนเพื่อการบริโภค ผู้บริโภคลงทุนในการซื้อสินค้าประเภทถาวรวัตถุเพื่อ
การบริโภคของผู้บริโภคเอง เช่น ซื้อรถยนต์ ตู้เย็น เฟอร์นิเจอร์ ฯลฯ การลงทุนในลักษณะ นี้ไม่ได้
หวังผลตอบแทนในรูปของกําไรที่เป็นเงินทอง แต่หวังผลทางด้านจิตใจ เกิดความพอใจ ที่ได้ใช้
ทรัพย์สินนั้น ถาวรวัตถุนั้นอาจขายต่อและได้กําไรอีกก็ได้ การซื้อบ้านอยู่อาศัยก็ถือว่าเป็นการ
ลงทุนเพื่อการบริโภคอย่างหนึ่ง นอกจากจะได้รับความพึงพอใจที่ได้มีกรรมสิทธิ์ครอบครองแล้วใน
กรณีที่ความต้องการซื้อ (Demand) ที่อยู่อาศัยเพิ่มขึ้นมากกว่าการเสนอขาย ( Supply) มูลค่าของ
บ้านที่ซื้อไว้อาจสูงขึ้น หากผู้บริโภคขายต่อก็จะได้กําไรเป็นผลพลอยได้ด้วย
2) การลงทุนทางธุรกิจเป็นการลงทุนทางตรง หมายถึง การซื้อทรัพย์สินเพื่อประกอบ
ธุรกิจหารายได้ โดยหวังว่ารายได้ที่ได้รับเพิ่มขึ้นนั้นจะคุ้มค่าหรือเพียงพอที่จะชดเชยต่อการเสี่ยงใน
การลงทุน ผู้บริโภคที่กล้าเสี่ยงต่อการลงทุนทางธุรกิจส่วนใหญ่มุ่งหวังผลกําไรเป็นสิ่งตอบแทน
3) การลงทุนทางการเงินหรือในหลักทรัพย์ เป็นการซื้อทรัพย์สินในรูปของหลักทรัพย์
เช่น หุ้น หุ้นกู้ พันธบัตร ฯลฯ เป็นการลงทุนทางอ้อม โดยผู้บริโภคนําเงินออมที่มีอยู่จะมากหรือน้อย

www.ssru.ac.th
(23)

ก็ตามไปซื้อหลักทรัพย์ตามความพอใจ หวังได้รับผลตอบแทนในรูปของดอกเบี้ยหรือเงินปันผล
นอกจากนี้อาจได้รับผลตอบแทนพลอยได้อีกแบบคือกําไรหรือขาดทุนจาก การขายหลักทรัพย์
ต่อไปอีก
ผลตอบแทนจากการลงทุน แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
1) ผลตอบแทนที่แน่นอน การลงทุนที่ให้ผลตอบแทนแน่นอน เช่น การฝากเงิน ธนาคาร
การซื้อหุ้นกู้ การซื้อพันธบัตร ฯลฯ
2) ผลตอบแทนที่ไม่แน่นอน การลงทุนที่ให้ผลตอบแทนที่ไม่แน่นอนก็คือการลงทุน ทาง
ธุรกิจซึ่งขึ้นอยู่กับกําไรของกิจการ เนื่องจากมีปัจจัยหลายประการที่ทําให้ผลกําไรมาก
หรือน้อย เช่น ภาวะเศรษฐกิจ การจัดการ การบริหาร คุณภาพของสินค้า การส่งเสริมการขาย และ
อื่น ๆ อัตราการเสี่ยงของการลงทุนแบบนี้จึงมีมากกว่าการลงทุนซื้อหลักทรัพย์
ข้อควรพิจารณาก่อนการลงทุน
1) ความมั่นคงปลอดภัย ผู้บริโภคจะต้องมั่นใจว่าเงินออมที่นําไปลงทุนนั้นจะต้องมีความ
มั่นคงพอสมควรและมีหวังได้เงินคือ ต้องเลือกลงทุนในกิจการหรือที่มีผู้ร่วมทุนที่เชื่อถือได้และมี
ชื่อเสียงดี ข้อตกลงหรือสัญญาใดๆ ต้องศึกษาให้รอบคอบและทําให้รัดกุมเพื่อป้องกันการคดโกงที่
อาจเกิดขึ้นในภายหลังได้
2) ผลตอบแทน ผลประโยชน์ตอบแทนที่จะได้รับจากการลงทุนควรจะคุ้มกับการขาดทุน
หรือสูญหายที่อาจเกิดขึ้น เนื่องจากการลงทุนทุกชนิดต้องมีความเสี่ยงเกิดขึ้นเสมอ ธุรกิจที่ให้
ผลตอบแทนต่ํา ความมั่นคงปลอดภัยมักสูงกว่าธุรกิจที่ให้ผลตอบแทนสูง เช่น การนําเงินออมไป
ฝากธนาคาร ผู้บริโภคสามารถเชื่อมั่นได้ว่าเงินจะไม่สูญหาย แม้ดอกเบี้ยที่ได้จะต่ํากว่าการลงทุน
ในรูปแบบอื่น เป็นต้น
3) สภาพทางเศรษฐกิจและการเมือง การเปลี่ยนรัฐบาลหรือผู้นําของประเทศมีผลทําให้
นโยบายในการบริหารบ้านเมืองทางด้านเศรษฐกิจและสังคมเปลี่ยนตามไปด้วย เช่น นโยบายด้าน
การลงทุนทางอุตสาหกรรม นโยบายด้านการค้าต่างประเทศ นโยบายเรื่องเงินตรา ฯลฯ สิ่งเหล่านี้
เป็นผลให้การระดมเงินออมและสภาวะการหมุนเวียนของเงินเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา
4) การกระจายการลงทุน ผู้บริโภคที่หวังลงทุนโดยใช้เงินออมของตน ควรคํานึงถึงการ
กระจายการลงทุน อย่าทุ่มเงินออมลงทุนในกิจการใดโดยเฉพาะ ควรแบ่งลงทุนในหลายๆ กิจการ
เพื่อลดการเสี่ยงภัยจากการสูญเสียที่อาจเกิดขึ้นได้

www.ssru.ac.th
(24)

5) ความสะดวกในการเปลี่ยนสภาพเป็นเงินสด การนําเอาเงินออมไปลงทุน ควรคํานึงถึง


ความยากง่ายในการเปลี่ยนสภาพเป็นเงินสดด้วย เพราะหากมีความจําเป็นต้องการใช้จ่ายเงิน
รีบด่วนก็สามารถมีเงินสดได้ทันที และควรลงทุนในกิจการที่สามารถเปลี่ยนเป็นเงินสดได้ง่าย
6) ความคล่องตัวในการซื้อขายหลักทรัพย์ ควรพิจารณาซื้อหลักทรัพย์ประเภทซื้อง่ายขาย
คล่อง เช่น หุ้นของบริษัทใหญ่ย่อมซื้อขายง่ายกว่าหุ้นบริษัทเล็ก ๆ ควรเลือกหุ้นของบริษัทใหญ่
ดีกว่า เป็นต้น
7) ภาระทางด้านภาษี ต้องพิจารณาภาระทางด้านภาษีจากผลตอบแทนหรือผลกําไรที่
ได้รับ เพื่อจะได้ทราบตัวเลขที่แน่นอนจากยอดกําไรสุทธิที่แท้จริงที่ตนเองจะได้รับจากการลงทุน
การลงทุนในหลักทรัพย์ของรัฐบาล เช่น การซื้อพันธบัตรอาจได้รับยกเว้นภาษีดังนั้นถ้าลงทุนกับ
รัฐบาลก็จะลดภาระในเรื่องนี้ได้ เป็นต้น
8) เสถียรภาพของการลงทุน ผู้บริโภคที่หวังผลประโยชน์งอกเงยจากการซื้อหุ้นของธุรกิจ
ต่าง ๆ ในตลาดหลักทรัพย์ควรคํานึงถึงเสถียรภาพของการลงทุนในเรื่องต่าง ๆ อย่างรอบคอบโดย
พิจารณาจาก งบการเงินของบริษัทผู้ออกหลักทรัพย์ สินทรัพย์ถาวรของบริษัทผู้ขายหุ้น และ
ประสิทธิภาพของการบริหารงาน และคุณภาพของผู้บริหารงานของบริษัทบริษัทผู้ขายหุ้น
การลงทุนรูปแบบต่างๆ ในฐานะผู้บริโภคสามารถนําเงินออมของตนไปลงทุนเพื่อให้เกิด
ประโยชน์ ด้วยเหตุนี้จึงต้องศึกษารูปแบบต่าง ๆ ของการลงทุนและผลตอบแทนที่อาจได้รับ ดังนี้
1) การฝากเงินกับธนาคาร ถือว่าเป็นการลงทุนที่มั่นคงมาก ผู้บริโภคสามารถฝากเงิน
ประเภทต่างๆ กับธนาคารพาณิชย์หรือธนาคารออมสิน เป็นการใช้เงินออมลงทุนที่ได้รับ
ผลตอบแทนแน่นอนและไม่เสี่ยงภัย จํานวนเงินออมจะมียอดสูงขึ้นตลอดเวลา การฝากเงินกับ
ธนาคาร ทําได้หลายประเภท คือ
- ประเภทสะสมทรัพย์ แต่ละธนาคารจะเรียกชื่อบัญชีเงินฝากประเภทนี้ แตกต่างกัน เช่น
สินมัธยัสถ์ สินทวี ฯลฯ เป็นการฝากเงินที่มีกําหนดและจํานวนเงินฝาก แต่ละงวดแน่นอนโดยเมื่อ
ครบกําหนดเวลา 5 ปี 10 ปี 20 ปี จึงจะถอนเงินคืนพร้อมทั้งต้น และดอกเบี้ยได้ตามอัตราและ
ยอดเงินเป้าหมายที่กําหนดไว้
- ประเภทออมทรัพย์ ธนาคารออมสินเรียกเงินฝากประเภทนี้ว่า ประเภท เผื่อเรียก
สามารถฝากและถอนเงินได้ตามความต้องการ การฝากเงินประเภทนี้จะได้รับดอกเบี้ยในอัตราที่
กําหนด
- ประเภทฝากประจํา เป็นการฝากที่กําหนดเวลาฝากและดอกเบี้ยไว้ให้ทราบแน่นอน โดย
ปกติธนาคารกําหนดไว้ 3 ระยะ คือ

www.ssru.ac.th
(25)

(1) ฝากประจํา 3 เดือน เป็นการฝากที่มีกําหนดระยะเวลา 3 เดือนขึ้นไปจึงจะถอนคืนได้


และกําหนดวงเงินไว้ครั้งละไม่ต่ํากว่า 1,000 บาท เงินฝากประเภทนี้มีเฉพาะธนาคารพาณิชย์
เท่านั้น
(2) ฝากประจํา 6 เดือน กําหนดเวลาฝากเงินไม่ต่ํากว่า 6 เดือน
(3) ฝากประจํา 12 เดือน สําหรับผู้มีความสามารถในการออมและต้องการได้ประโยชน์
จากดอกเบี้ยในอัตราสูง เมื่อฝากครบกําหนด 12 เดือนจึงจะได้รับดอกเบี้ย
2) การฝากเงินกับสถาบันการเงินอื่น สถาบันการเงินที่ประกอบธุรกิจประเภทเงินทุน ได้แก่
บริษัทเงินทุน บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ ทรัสต์ เป็นสถาบันการเงินที่จดทะเบียนเป็นบริษัทจํากัดบริษัท
เงินทุนแตกต่างกับบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ คือ บริษัทเงินทุนจัดหาทุนเพื่อบุคคลอื่น ซึ่งกระทําโดย
การกู้ยืมเงินจากประชาชนทั่วไป วิธีการกู้ยืมที่กฎหมายกําหนดให้ปฏิบัติ บริษัทเงินทุนต้องออกตั๋ว
สัญญาใช้เงินให้แก่ผู้บริโภคที่นําเงินมาฝากเป็นหลักฐานในการกู้ยืม ส่วนบริษัทเครดิตฟองซิเอร์
เป็นสถาบันการเงินที่ดําเนินธุรกิจเกี่ยวกับการให้กู้ยืมเงินโดยวิธีรับจํานองอสังหาริมทรัพย์หรือรับ
ซื้อฝากอสังหาริมทรัพย์ตามสัญญาขายฝาก
การฝากเงินสถาบันการเงินทั้ง 2 รูปแบบนี้ แม้ว่าผู้ฝากจะได้รับผลตอบแทนสูงกว่า
ธนาคารพาณิชย์ แต่ความนิยมในการใช้บริการฝากเงินกับธนาคารยังสูงอยู่ ทั้งนี้เพราะ
ก. บริการของบริษัทเงินทุนและบริษัทเครดิตฟองซิเอร์เริ่มมีบทบาทในตลาดการเงินของ
ไทยไม่นาน ประชาชนจึงไม่เชื่อมั่นในความมั่นคงของบริษัทเงินทุนเท่าธนาคารพาณิชย์
ข. โดยวิธีปฏิบัติ ธนาคารพาณิชย์จะนําเงินฝากไปลงทุนต่อเฉพาะในกรณีที่มีความเสี่ยง
น้อย และการให้กู้เงินของธนาคารพาณิชย์ส่วนใหญ่จะเป็นการให้กู้ระยะสั้นและมีหลักทรัพย์
ประเภทอสังหาริมทรัพย์ค้ําประกัน นอกจากนี้ธนาคารพาณิชย์ยังมีสาขามากสามารถรวบรวม เงิน
ฝากได้ง่ายและจํานวนมาก แต่บริษัทเงินทุนให้กู้ยืมแก่ธุรกิจอุตสาหกรรมระยะยาวทําให้ มีความ
เสี่ยงสูง ในภาวะเศรษฐกิจที่ปรวนแปรอยู่ตลอดเวลาอาจเกิดภาวะเงินเฟ้อ ค่าของเงินลดลง และ
ประชาชนผู้ซื้อตั๋วสัญญาใช้เงินต้องการเงินคืนเพื่อนําไปลงทุนอย่างอื่นที่ให้ผลตอบแทนสูงกว่า
เช่น ซื้อที่ดิน ทองคํา ฯลฯ หรืออาจพร้อมใจไปถอนเงินในขณะเดียวกัน โดยที่บริษัทเงินทุนไม่อาจ
เรียกเงินกู้คืนจากธุรกิจอุตสาหกรรมได้ทันที ก็ย่อมก่อให้เกิดปัญหาในการคืนทุนให้แก่ ผู้ฝาก จึง
เป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทําให้เกิดความไม่มั่นใจต่อสถาบันการเงินดังกล่าว
ค. บริษัทเงินทุนมักนําเงินไปลงทุนในหลักทรัพย์ประเภททุน เช่น ที่ดิน อาคาร ร้านค้า ฯลฯ
ถ้าราคาหลักทรัพย์ตกต่ําก็อาจประสบภาวะล้มเหลวต้องเลิกล้มกิจการไปในที่สุด ผู้ฝากเงินก็อาจ
ไม่ได้รับทุนคืน และบริษัทผู้ออกหลักทรัพย์ก็จะต้องล้มละลายเช่นเดียวกัน ดังนั้นผู้บริโภคจึงควร

www.ssru.ac.th
(26)

พิจารณาให้รอบคอบเมื่อจะนําเงินออกมาลงทุนกับสถาบันการเงินประเภทนี้ เท่าที่ปรากฏมา
พบว่าธนาคารพาณิชย์มีสมาคมธนาคารคอยให้ความช่วยเหลือเมื่อธนาคารมีทีท่าจะล้ม เช่น กรณี
ธนาคารไทยพัฒนา จํากัด ส่วนบริษัทเงินทุนนั้นแม้จะมีการก่อตั้งสมาคมไทยเงินทุนและ จัด
จําหน่ายหลักทรัพย์เพื่อให้ความช่วยเหลือธุรกิจเงินทุน แต่ก็มีสมาชิกจํากัดและผลงานก็ยังไม่
เด่นชัด ดังเช่นกรณีบริษัท ราชาเงินทุน จํากัด ไม่สามารถเรียกเงินฝากคืนได้ และสมาคมก็ไม่
สามารถให้ความช่วยเหลืออะไรได้
3) การซื้อสลากออมสินพิเศษ เป็นการออมทรัพย์ที่ดีประเภทหนึ่ง ซึ่งผู้บริโภคซื้อ สลากอม
สินพิเศษจากธนาคารออมสินเท่าใดก็ได้ ธนาคารออมสินจะออกสลากออมสินพิเศษเป็นหลักฐาน
ในการฝากเงินให้ สลากหน่วยหนึ่ง มีราคา 50 บาท ผู้บริโภคมีโอกาส 2 ชั้น คือ ผู้ฝากมีสิทธิถูก
รางวัลสลากออมสินพิเศษถึง 35 ครั้ง ซึ่งจะมีการออกรางวัลเดือนละครั้ง และเมื่อครบกําหนด 3 ปี
ผู้บริโภคจะได้รับเงินคืนพร้อมทั้งดอกเบี้ยตามอัตราที่กําหนดไว้
4) การซื้อพันธบัตรรัฐบาล ถือว่าการลงทุนออมทรัพย์ที่มั่นคงและให้ผลตอบแทนแน่นอน
มีการเสี่ยงภัยน้อยที่สุดทั้งยังไม่ต้องเสียภาษีเงินได้ พันธบัตรรัฐบาลเป็นตราสารที่รัฐบาลค้ํา
ประกัน มีหลายชนิด ซึ่งกําหนดเวลาไถ่ถอนคืนให้แก่ประชาชนที่ซื้อเพื่อการออมทรัพย์ระยะยาว
และจ่ายดอกเบี้ยคืนให้ 6 เดือน ต่อครั้งตลาดอายุของพันธบัตรฉบับนั้นๆ ผู้บริโภคสามารถเรียกเงิน
คืนได้เมื่อต้องการหรือเมื่อครบกําหนด
5) การทําประกันชีวิต ช่วยให้สามารถออมทรัพย์หรือสะสมทรัพย์ได้ทุกๆ ปี เป็นประจํา
ช่วยให้รู้จักประหยัดเพื่อชีวิตอนาคตข้างหน้าโดยมีกําหนดเวลาที่แน่นอนและมีระเบียบแบบแผนใน
การสะสมทรัพย์อย่างดียิ่ง
6) การซื้อหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ ตลาดหลักทรัพย์คือ ตลาดซื้อขายหุ้น เป็นคําเฉพาะมิได้
หมายถึงสถานที่ใดสถานที่หนึ่ง แต่หมายถึงกิจการธุรกิจหรือสถาบันที่ดําเนินธุรกิจหลักทรัพย์ทํา
หน้าที่เป็นตัวแทนซื้อขายหลักทรัพย์ หลักทรัพย์ที่ซื้อขายกัน ได้แก่ หุ้นสามัญ หุ้นบุริมสิทธิ หุ้นกู้
และพันธบัตรรัฐบาล

2.3 แนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับความพอเพียง
พระราชดารัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทาน เมื่อ 4 ธันวาคม 2540
..............ความจริงเคยพูดเสมอในที่ประชุมอย่างนี้ว่า การที่จะเป็นเสือนั้น
มันไม่สําคัญ สําคัญที่เราพออยู่พอกิน และมีเศรษฐกิจการเป็นอยู่แบบ
พอมีพอกิน แบบพอมีพอกินหมายความว่าอุ้มชูตัวเองได้ให้มีพอเพียงกับตัวเอง

www.ssru.ac.th
(27)

อันนี้เคยบอกว่า ความพอเพียงนี้ไม่ได้หมายความว่าทุกครอบครัว
จะต้องผลิตอาหารของตัว จะต้องทอผ้าใส่ให้ตัวเอง สําหรับครอบครัว อย่างนั้น
มันเกินไป แต่ว่าในหมู่บ้านหรือในอําเภอจะต้องมีความพอเพียงพอสมควร บาง
สิ่งบางอย่างที่ผลิตได้มากกว่าความต้องการก็ขายได้ แต่ในที่ไม่ห่างไกลเท่าไร
ไม่ต้องเสียค่าขนส่งมาก อย่างนี้นักเศรษฐกิจต่าง ๆ ก็มาบอกว่าล้าสมัย จริงอาจจะล้าสมัย
เพราะว่าคนอื่นเขาก็ต้องมีการเศรษฐกิจที่ต้องมีการแลกเปลี่ยน เรียกว่าเป็นเศรษฐกิจ
การค้า ไม่ใช่เศรษฐกิจความพอเพียงรู้สึกไม่หรูหราแต่ประเทศไทย
เป็นประเทศที่มีบุญอยู่ว่าการผลิตที่พอเพียงทําได้......................
ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (ศูนย์วิจัยและพัฒนาด้านอาชญาวิทยา, 2550)
เศรษฐกิจพอเพียงเป็นปรัชญาชี้ถึงแนวทางการดํารงอยู่และปฏิบัติตนของประชาชนในทุก
ระดับ ตั้งแต่ระดับครอบครัว ระดับชุมชนจนถึงระดับรัฐ ทั้งในการพัฒนา และบริหารประเทศให้
ดําเนินไปใน “ทางสายกลาง” โดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อให้ก้าวทันต่อโลกยุคโลกาภิวัตน์
ความพอเพียง หมายถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล รวมถึงความจําเป็นที่จะต้องมีระบบ
ภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีพอสมควรต่อการมีผลกระทบใดๆ อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายนอกและ
ภายใน ทั้งนี้ จะต้องอาศัยความรอบรู้ ความรอบคอบ และความระมัดระวังอย่างยิ่งในการนํา
วิชาการต่างๆ มาใช้ในการวางแผนและการดําเนินการทุกขั้นตอนและขณะเดียวกันจะต้อง
เสริมสร้างพื้นฐานจิตใจของคนในชาติ โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ของรัฐ นักทฤษฎี และนักธุรกิจในทุก
ระดับให้มีสํานึกในคุณธรรม ความซื่อสัตย์สุจริต และให้มีความรอบรู้ที่เหมาะสม ดําเนินชีวิตด้วย
ความอดทน ความเพียร มีสติปัญญา และความรอบคอบ เพื่อให้สมดุล และพร้อมต่อการรองรับ
การเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว และกว้างขวางทั้งด้านทางวัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อมและวัฒนธรรม
จากโลกภายนอกได้เป็นอย่างดี
ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดําริจึงประกอบด้วยหลักการ หลักวิชาและ
หลักธรรมหลายประการ อาทิ
- เป็นปรัชญาการดํารงอยู่และปฏิบัติตนของประชาชนในทุกระดับตั้งแต่ระดับครอบครัว
ระดับชุมชน จนถึงระดับรัฐ
- เป็นปรัชญาในการพัฒนาและบริหารประเทศให้ดําเนินไปในทางสายกลาง
- จะช่วยพัฒนาเศรษฐกิจให้ก้าวทันโลกยุคโลกาภิวัตน์ เพื่อให้สมดุลและพร้อมต่อการ
รองรับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วกว้างขวางทั้งด้านวัต สังคม สิ่งแวดล้อมและวัฒนธรรมจาก
โลกภายนอกได้เป็นอย่างดี

www.ssru.ac.th
(28)

- ความพอเพียงหมายถึงความพอประมาณ ความมีเหตุมีผลรวมถึงความจําเป็นที่จะต้อง
มีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีพอสมควรต่อการมีผลกระทบใด ๆ อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทั้ง
ภายนอกและภายใน
- จะต้องอาศัยความรอบรู้ ความรอบคอบ และความระมัดระวังอย่างยิ่งในการนําวิชาการ
ต่างๆมาใช้ในการวางแผนและการดําเนินการทุกขั้นตอน
- จะต้องเสริมสร้างพื้นฐานจิตใจของคนในชาติ โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ของรัฐ นักทฤษฎีและ
นักธุรกิจในทุกระดับให้มีสํานึกในคุณธรรมความซื่อสัตย์สุจริตและให้มีความรอบรู้ที่เหมาะสม
ดําเนินชีวิตด้วยความอดทน ความเพียร มีสติปัญญาและความรอบคอบ
หลักการที่สาคัญของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมีหลักการที่สําคัญ 3 ประการ คือ
1) ความพอประมาณ หมายถึง การปฏิบัติตามทางสายกลาง มีความพอดีไม่น้อยเกินไป
และไม่มากเกินไป โดยไม่เบียนเบียนคนอื่นและผู้อื่น
2) ความมีเหตุผล หมายถึง การตัดสินใจจะต้องเป็นไปอย่างมีเหตุผลโดยพิจารณาจาก
เหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนคํานึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการกระทํานั้น ๆอย่างรอบคอบ
3) การมีภูมิคุ้มกันที่ดี หมายถึงการมีคุณธรรมเป็นเครื่องยึดเหนี่ยว เตรียมตัวให้พร้อมกับ
ผลกระทบและการเปลี่ยนแปลงด้านต่างๆที่จะเกิดขึ้น โดยคํานึงถึงความเป็นไปได้ของสถานการณ์
ต่างๆ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตทั้งใกล้และไกล
ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมีมิติ 4 ด้าน
เศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดําริอยู่เหนือกว่าเศรษฐกิจแบบทุนนิยมของตะวันตก
ซึ่งเกี่ยวกับเรื่องวัตถุที่เป็นรูปธรรม เช่น เงิน ทรัพย์สิน กําไร ไม่เกี่ยวกับเรื่องจิตใจซึ่งเป็นนามธรรม
แต่เศรษฐกิจพอเพียงมีขอบเขตกว้างขวางกว่าเศรษฐกิจทุนนิยมหรือเศรษฐกิจธุรกิจ เพราะ
ครอบคลุมถึง 4 ด้าน คือ มิติด้านเศรษฐกิจ มิติด้านจิตใจ มิติด้านสังคมและมิติด้านวัฒนธรรม
1) มิติด้านเศรษฐกิจ เศรษฐกิจพอเพียงเป็นเศรษฐกิจแบบพออยู่พอกิน ให้มีความ
ขยันหมั่นเพียร ประกอบสัมมาอาชีพ เพื่อให้พึ่งตนเองได้ ให้พ้นจากความยากจน การปฏิบัติตาม
ทฤษฎีใหม่ตามแนวพระราชดําริเป็นตัวอย่างของการปฏิบัติตามเศรษฐกิจพอเพียงซึ่งได้ช่วยให้
เกษตรกรจํานวนมากมีรายได้เพิ่มสูงขึ้น มีชีวิตที่เป็นสุขตามสมควรแก่อัตภาพ พ้นจากการเป็นหนี้
และความยากจนสามารถพึ่งตนเองได้มีครอบครัวที่อบอุ่นและเป็นสุข
2) มิติด้านจิตใจ เศรษฐกิจพอเพียงเน้นที่จิตใจที่รู้จักพอ คือ พอดี พอประมาณและพอใจ
ในสิ่งที่มี ยินดีในสิ่งที่ได้ ไม่โลภ เศรษฐกิจพอเพียงจะต้องเริ่มที่ตัวเอง โดยสร้างรากฐานทางจิตใจที่
มั่นคง โดยเริ่มจากใจที่รู้จักพอเป็นการปฏิบัติตามทางสายกลางหรือมัชฌิมาปฏิปทา ดร.สุเมธ

www.ssru.ac.th
(29)

ตันติเวชกุล ได้เขียนไว้ในหนังสือเรื่อง “ ใต้เบื้องพระยุคลบาท ” ว่า เศรษฐกิจพอเพียงกล่าวโดย


สรุปคือ การหันกลับมายึดเส้นทางสายกลาง (มัชฌิมาปฏิปทา) ในการดํารงชีวิต โดยใช้หลักการ
พึ่งตนเอง 5 ประการ คือ 1) พึ่งตนเองทางจิตใจ คนที่สมบูรณ์พร้อมต้องมีจิตใจที่เข้มแข็งมี
จิตสํานึกว่าตนนั้นสามารถพึ่งตนเองได้ ดังนั้น จึงควรที่จะสร้างพลังผลักดันให้มีภาวะจิตใจฮึกเหิม
ต่อสู้ชีวิตด้วยความสุจริต แม้อาจจะไม่ประสบผลสําเร็จบ้างก็ตาม มิพึงควรท้อแท้ให้พยายามต่อไป
พึงยึดพระราชดํารัส “ การพัฒนาตน”ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ว่า ” บุคคลต้องมีรากฐาน
ทางจิตใจที่ดี คือความหนักแน่นมั่นคงในสุจริตธรรมและความมุ่งมั่นที่จะปฏิบัติหน้าที่ให้จนสําเร็จ
ทั้งต้องมีกุศโลบายหรือวิธีอันแยบยลในการปฏิบัติงาน ประกอบพร้อมกันด้วยจึงจะสัมฤทธิ์ผลดี
แน่นอน และบังเกิดประโยชน์อันยั่งยืนแก่ตนเองและแผ่นดิน ” 2) พึ่งตนเองทางสังคม ควร
เสริมสร้างให้แต่ละชุมชนในท้องถิ่น ได้ร่วมมือช่วยเหลือเกื้อกูลกัน นําความรู้ที่ได้รับมาถ่ายทอด
และเผยแพร่ให้ได้รับประโยชน์ซึ่งกันและกัน ดังพระบรมราโชวาทที่ว่า “ เพื่อให้งานรุดหน้าไปพร้อม
เพียงกันไม่ลดหลั่น จึงขอให้ทุกคนพยายามที่จะทํางานในหน้าที่อย่างเต็มที่และให้มีการประสาน
สัมพันธ์กันให้ดี เพื่อให้งานทั้งหมดเกื้อหนุนสนับสนุนกัน ” 3) พึ่งตนเองได้ทางทรัพยากรธรรมชาติ
คือ การส่งเสริมให้มีการนําเอาศักยภาพของผู้คนในท้องถิ่น สามารถเสาะแสวงหา
ทรัพยากรธรรมชาติหรือวัตถุในท้องถิ่นที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุดซึ่งยังผลให้เกิดการพัฒนา
ประเทศได้อย่างดียิ่ง สิ่งดีก็คือการประยุกต์ใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น (Local Wisdom) ซึ่งมีมากมาย
ในประเทศ 4) พึ่งตนเองได้ทางเทคโนโลยี ควรส่งเสริมให้มีการศึกษา ทดลองทดสอบเพื่อให้ได้มา
ซึ่งเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่สอดคล้องกับสภาพภูมิประเทศและสังคมไทย และสิ่งสําคัญสามารถนําไปใช้
ปฏิบัติได้อย่างเหมาะสม ซึ่งสอดคล้องกันพระราชดํารัสที่ว่า “ จุดประสงค์ของศูนย์ศึกษาฯ คือ
เป็นสถานที่สําหรับค้นคว้าวิจัยในท้องที่ เพราะว่าแต่ละท้องที่ สภาพฝนฟ้าอากาศและประชาชน
ในท้องที่ต่างๆ กันก็มีลักษณะแตกต่างกันมากเหมือนกัน ” 5) พึ่งตนเองในทางเศรษฐกิจ หมายถึง
สามารถอยู่ได้ด้วยตนเองในระดับเบื้องต้น กล่าวคือแม้ไม่มีเงินก็ยังมีข้าว ปลา ผัก ผลไม้ ในท้องถิ่น
ของตนเองเพื่อการยังชีพและสามารถนําไปสู่การพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศในระดับมหภาค
ต่อไปได้ด้วย
3) มิติด้านสังคม เศรษฐกิจพอเพียงมุ่งให้เกิดสังคมที่มีความสุขสงบ ประชาชนมีความ
เมตตาเอื้ออาทรช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ไม่ใช่ต่างคนต่างอยู่ มุ่งให้เกิดความสามัคคีร่วมมือกัน
เพื่อให้ทุกคนอยู่ร่วมกันได้โดยปราศจากการเบียดเบียนกัน การเอารัดเอาเปรียบกัน การมุ่งร้าย
ทําลายกันพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานพระบรมราโชวาทแก่สภายุวพุทธิกสมาคม
แห่งชาติ ในพระบรมราชูปถัมภ์ เพื่ออัญเชิญไปอ่านในพิธีเปิดการประชุมยุวพุทธิกสมาคมทั่ว

www.ssru.ac.th
(30)

ประเทศครั้งที่ 18 ในวันที่ 18 มกราคม 2530 มีข้อความที่สําคัญดังนี้การสร้างสรรค์แผ่นดินไทยให้


เป็นแผ่นดินทอง หรือการช่วยตัวเองในปัจจุบันนี้ เห็นว่าจําเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องทําความสงบให้
เกิดขึ้นก่อนโดยเร็วเพราะถ้าความสงบยังไม่เกิด เราจะคิดอ่านแก้ปัญหาหรือจะรวมกําลังกัน
ทํางานช่วยตัวเองไม่ได้ ความสงบนั้นภายนอกได้แก่สถานการณ์อันเรียบร้อยเป็นปกติไม่มีวุ่นวาย
ขัดแย้งไม่มีการเอารัดเอาเปรียบเบียดเบียนหรือมุ่งร้ายทําลายกันภายใน ได้แก่ ความคิดจิตใจที่ไม่
ฟุ้งซ่าน หวั่นไหวหรือเดือดร้อนกระวนกระวายด้วยอํานาจความมักได้เห็นแก่ตัว ความร้ายกาจเพ่ง
โทษ ความหลงใหลเห่อเหิมอันเป็นต้นเหตุของอกุศลทุจริตทั้งหมด การทําความสงบนั้นต้องเริ่มที่
ภายในตัวในใจก่อน
4) มิติด้านวัฒนธรรม วัฒนธรรม หมายถึง วิถีชีวิต (way of life) ของประชาชน
เศรษฐกิจพอเพียงมุ่งให้เกิดวัฒนธรรมหรือวิถีชีวิตที่ประหยัด อดออม มีชีวิตที่เรียบง่าย ไม่ฟุ้งเฟ้อ
ฟุ่มเฟือย ไม่ตกเป็นทาสของวัตถุนิยมและบริโภคนิยม ซึ่งทําให้เกิดการเป็นหนี้สิน เกิดการทุจริต
คอรัปชั่นซึ่งเป็นปัญหาสังคมที่ร้ายแรงที่สุดปัญหาหนึ่ง ที่บ่อนทําลายความมั่นคงของชาติ สินค้า
เงินผ่อนทําให้ต้องมีหนี้สิน จํานวนหนี้สินได้เพิ่มพูนขึ้นเรื่อยๆ บางคนไม่มีเงินชําระหนี้สินก็ต้องหา
ทางออกโดยการฆ่าตัวตาย ในทางเศรษฐกิจ เงินออม (Saving) ของประชาชนถือว่าเป็นปัจจัย
สําคัญในการพัฒนาประเทศ ประเทศที่มีเงินออมสูง ก็ไม่จําเป็นต้องไปกู้ยืมเงินจากต่างประเทศมา
ใช้สามารถที่จะให้ประเทศอื่นกู้ยืมเงินได้ ส่วนประเทศที่มีเงินออมต่ําหรือไม่มีเงินออมก็ต้องกู้เงิน
จากต่างประเทศมาใช้ หากกู้และเป็นหนี้มากเกินไปก็จะทําให้กระทบกระเทือนต่อฐานะทา ง
เศรษฐกิจและการเงินของประเทศ เช่น การที่ประเทศไทยต้องกู้ยืมเงินจากต่างประเทศเป็นจํานวน
ถึง 90,000 ล้านเหรียญสหรัฐอเมริกาในกลางปี 2540 เป็นเหตุหนึ่งที่ทําให้ประเทศไทยต้องประสบ
ภาวะวิกฤตทางเศรษฐกิจและการเงินอย่างรุนแรง คนที่มีเงินออมจะต้องเป็นคนประหยัด ใช้จ่าย
น้อยกว่ารายได้ คนที่ไม่ควบคุมการใช้จ่ายมีนิสัยฟุ้งเฟ้อฟุ่มเฟือย เห็นคนอื่นมีก็อยากมีบ้างทั้งที่
ฐานะทางการเงินไม่อํานวยให้ จะพยายามหาเงินมาไม่ว่าโดยทางสุจริตหรือทุจริต ไม่ว่าโดยชอบ
ธรรมหรือไม่ชอบธรรม พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานพระบรมราโชวาทเกี่ยวกับ
ความฟุ้งเฟ้อมีข้อความที่สําคัญดังนี้ “ ความฟุ้งเฟ้อทําให้เกิดความไม่พอ คนเราฟุ้งเฟ้อก็ไม่มีทางที่
จะหาทรัพย์มาป้อนความฟุ้งเฟ้อได้ ความฟุ้งเฟ้อเป็นปากที่หิวไม่หยุด เป็นปากที่หิวตลอดเวลา
ป้อนเท่าไรไม่พอ หาเท่าไรไม่พอ ฉะนั้นจะต้องหาทางป้องกันวิธีที่จะนํามา ป้อนความฟุ้งเฟ้อ ซึ่งก็
คือ การทุจริต กล่าวโดยสรุป การมีวัฒนธรรมหรือวิถีชีวิตเศรษฐกิจพอเพียง มีข้อปฏิบัติที่สําคัญ
ดังนี้ 1) มีชีวิตที่เรียบง่าย ประหยัด ไม่ฟุ้งเฟ้อฟุ่มเฟือย 2) ให้ยึดถือทางสายกลาง รู้จักพอ พอดี
พอประมาณและพอใจ 3) มีความเมตตาเอื้ออาทรต่อกัน ร่วมมือและช่วยเหลือกัน ไม่เบียดเบียน

www.ssru.ac.th
(31)

กันไม่เอารัดเอาเปรียบกัน ไม่มุ่งร้ายทําร้ายกัน 4) ประกอบสัมมาอาชีพด้วยความขยันหมั่นเพียร


ซื่อสัตย์ สุจริตใฝ่หาความรู้ เพื่อนํามาใช้ให้เป็นประโยชน์ 5) สามารถพึ่งตนเองได้ให้พ้นจากความ
ยากจน สามารถพออยู่พอกินไม่เดือดร้อน ไม่ตกเป็นทาสของอบายมุข วัตถุนิยมและบริโภคนิยม
ความสาคัญของเศรษฐกิจพอเพียง
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานพระราชดํารัสเกี่ยวกับความสําคัญของ
ปรัชญาเศรษฐกิจ ดังนี้ “ เศรษฐกิจพอเพียงเป็นเสมือนรากฐานของชีวิต รากฐานความมั่นคงของ
แผ่นดิน เปรียบเสมือนเสาเข็มที่ถูกตอกรองรับบ้านเรือนตัวอาคารไว้นั่นเอง สิ่งก่อสร้างจะมั่นคงได้
อยู่ที่เสาเข็ม แต่คนส่วนมากมองไม่เห็นเสาเข็ม และลืมเสาเข็มเสียด้วยซ้ําไป ” กล่าวโดยสรุป
ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมีความสําคัญดังนี้
1) เป็นรากฐานที่สําคัญของชีวิตของแต่ละคน ให้สามารถดําเนินชีวิตอย่างถูกต้อง ตั้งตน
ได้ในทางเศรษฐกิจ อยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุขและประโยชน์
2) เป็นรากฐานที่สําคัญของสังคม ทําให้สังคมมีความปกติสุข ไม่เบียดเบียนกัน มีความ
เมตตา เอื้ออาทรต่อกัน ไม่มีการขัดแย้ง แตกแยกความสามัคคี
3) เป็นรากฐานที่สําคัญของประเทศชาติ ทําให้การบริหารประเทศมีความโปร่งใส
ปราศจากการทุจริตคอรัปชั่น มีการใช้อํานาจที่เป็นธรรมเพื่อประโยชน์ส่วนรวมประเทศชาติมีความ
เจริญรุ่งเรืองก้าวหน้าอย่างสมดุลและยั่งยืน

2.4 แนวคิดการออมตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง
ประเทศไทยเรานั้น เป็นประเทศที่อุดมสมบูรณ์ด้วยทรัพยากรธรรมชาติ คือ มี ทะเล มี
ภูเขา มีป่า มีพืช มีสัตว์นานาชนิด เราพูดรวมๆ ว่า ในน้ํามีปลา ในนามีข้าว โดยเฉพาะภาคใต้ของ
เรามีครบทุกอย่าง เราจึงไม่เดือดร้อนในการแสวงหาปัจจัย 4 มาบํารุงชีวิตของเราเลยอยากกินปลา
ก็หากินได้ ใกล้ๆ บ้าน อยากกินผักกินพืชก็มีให้กิน เจ็บป่วยเราก็มียาสมุนไพร ยามไข้ใจเราก็มี พระ
คอยช่วยเหลือ คอยให้ทั้งสติและปัญญา สอนให้เรามีศีลมีธรรม ไม่เป็นคนประมาทขาดสติ แต่มา
บัดนี้ วันนี้ สิ่งที่ว่าข้างต้นนั้นได้สูญหายไป เกือบจะหมดสิ้น จะเหลือก็เฉพาะความทรงจําของคน
สูงอายุ อนุชนคนรุ่นหลังของเราไม่มีโอกาสได้สัมผัสบรรยากาศดังกล่าวอีกต่อไป เราถูกสอนให้
เข้าใจว่านี้คือความเจริญ คือ มีถนนหนทาง เต็มไปหมด มีรถวิ่งจนคนไม่มีที่เดิน มีร้านขายของ 24
ชั่วโมง มีอะไรต่ออะไรเต็มไปหมด แต่ที่เราขาด คือ ความอยู่ดีมีสุข เราต้องอยู่ร้อน นอนทุกข์กับ
เรื่องต่างๆ มากมาย ทั้งหมดนี้เราได้ข้อสรุปแล้วว่า เพราะเราเสียรู้ลัทธิทุนนิยม ซึ่งเป็นระบบคิด
ระบบรู้ ระบบทําของฝรั่งที่เราคิดว่าเขาเจริญกว่าเรา เราจึงเชื่อเขาเกือบทุกอย่าง เห็นเขาทําอะไรก็

www.ssru.ac.th
(32)

คิดว่าดีหมด เช่นฝรั่งนอนแก้ผ้า นุ่งน้อยห่มน้อย เราก็คิดว่าดี ฝรั่งแนะให้ทําโน่นทํานี้ เราก็ทําตาม


ฝรั่งแนะให้เรา ขายดิน ขายน้ํา ถางป่า ขุดภูเขา เราก็ทํา เพื่อให้ได้สิ่งที่เรียกว่า เงิน ก็เป็นอันพอ...
แต่ในที่สุดทรัพยากรธรรมชาติทุกประเภทก็ถูกดูด เข้าท้องฝรั่งเกือบหมด แม้แต่ลูกหลานของเราก็
ไปเป็นคนรับใช้พวกเขา เด็กสมองดีทั้งหลายถูกดูดเข้าเมือง เข้ากรุงเทพ และเลยไปเมืองนอก ไป
ทํางานอยู่กับฝรั่ง กลับบ้านไม่ถูก ผลคือ ชุมชนเราขาดคนดูแล คนที่อยู่ในชุมชนก็อ่อนแอช่วย
ตนเอง ช่วยกันเองได้ยาก หรือไม่ได้ จึงเกิดปัญหาสารพัดตามมา ด้วยสายพระเนตรอันยาวไกล
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเห็นภัยคุกคามที่ว่านี้ จึงได้ทรงคิดค้นหาวิธีการแก้ไข และใน
ที่สุดก็ทรงค้นพบและบอกให้ประชาชนคนไทยได้เรียนรู้และปฏิบัติตาม เพื่อกู้และแก้ไขปัญหาต่าง
ๆ ที่เกิดขึ้น ในสังคมของเร า ข้อค้นพบที่ว่านั้น เมื่อนํามาสรุปรวมแล้ว เรียกว่า "ปรัชญาเศรษฐกิจ
พอเพียง" คือ วิธีรู้ วิธีคิด และวิธีปฏิบัติเพื่อพัฒนาตนของทุกคน ทุกอาชีพ ทุกชุมชน เพื่อความอยู่ดี
มีสุขร่วมกันของทุกคน เรียกคืนความดีงามที่เราเคยมีอยู่กลับมาและค้นหาทางเดินที่ถูกต้องกัน
ใหม่ โดยการศึกษาให้มีความรู้จริงในสิ่งที่มี สิ่งที่ทํา ให้มีคุณธรรม คือ ความขยัน อดทน ซื่อสัตย์
สุจริต มีความรู้ ความคิด และการกระทําที่พอประมาน พอดี มีเหตุมีผล มีการระวังตน ไม่ประมาท
รู้จักระวังภัยในชีวิต การรู้ การคิด และการกระทําลักษณะนี้แหละเรียกว่า การปฏิบัติตามปรัชญา
ความคิดเศรษฐกิจพอเพียง
หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ที่ผู้รู้ทั้งหลายนํามาพูดมาสอนกันขณะนี้มีโดยสรุปดังนี้
1) ให้ทุกคน ทุกชุมชนดําเนินชีวิตไปในทางสายกลาง ซึ่งเป็นแนวทางที่ปราชญ์ทั้งปลาย
เขาสอนกันมานาน เช่น พระพุทธเจ้าก็สอนเรื่องนี้ที่เรียกว่า มัชฌิมาปฏิปทาหรือ มัชเฌนธรรม คือ
มรรคมีองค์ 8 มีสัมมาทิฐิ คือ ความเห็นถูกเห็นชอบ เป็นต้น
2) หลักการของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง คือ ความพอประมาณ พอดี ความมีเหตุผล
ความมีภูมิคุ้มกัน ผลกระทบทั้งจากภายนอกและภายใน
3) เป้าประสงค์ คือ ให้เกิดความสมดุล และพร้อมต่อการรองรับการเปลี่ยนแปลงอย่าง
รวดเร็วและกว้างขวาง ทั้งด้านวัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมจากภายนอกได้เป็นอย่างดี
4. เงื่อนไข โดยจะต้องเสริมสร้างพื้นฐานจิตใจของคนในชาติ โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ของรัฐ นักทฤษฎี
และนักธุรกิจให้มีสํานึกในคุณธรรมความซื่อสัตย์สุจริต และให้มีความรอบรู้ที่เหมาะสม ดําเนินชีวิต
ด้วยความอดทนมีความเพียร มีสติ และความรอบคอบ จะต้องอาศัยความรู้ ความรอบคอบ และ
ความระมัดระวังอย่างยิ่งในการนําวิชาการต่างๆ มาใช้ในการวางแผน และดําเนินการทุกขั้นตอน

www.ssru.ac.th
(33)

2.5 แนวคิดความอยู่ดีมีสุข
แนวคิดอยู่ดีมีสุขของประเทศไทย เริ่มต้นจากแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ฉบับที่ 8 และ 9 ได้ให้ความสําคัญกับการปรับเปลี่ยนกระบวน ทัศน์ การพัฒนามาเป็นแบบองค์
รวม คือ การอาศัยความร่วมมือในการทํางานจากหน่วยปฏิบัติที่เกี่ยวข้อง โดยให้ความสําคัญกับ
การมีส่วนร่วมของทุกภาคีในสังคม แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8 และ 9 จึงมีจุดมุ่งหมายอยู่ที่ ความอยู่ดี
มีสุขของประชาชน ซึ่งเกี่ยวข้องกับทุกหน่วยปฏิบัติ การเปิดโอกาสให้ทุกภาคีมีส่วนร่วมมากขึ้นจะ
ช่วยให้มีการใช้ประโยชน์จากศักยภาพของประชาชนได้มากขึ้น เพื่อเป็นการยกระดับความเป็นอยู่
ของประชาชนให้ดีขึ้น สํานักงานคณะกรรมการการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ , 2545 ได้
ให้นิยามของคําว่า “ความอยู่ดีมีสุข ” หมายถึง การมีสุขภาพอนามัยที่ดีทั้งร่างกายและจิตใจมี
ความรู้ มีงานทําที่ทั่วถึง มีรายได้เพียงพอ มีครอบครัวอบอุ่นมั่นคง อยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดี และ
อยู่ภายใต้ระบบบริหารจัดการที่ดีของรัฐ โดยมีแนวคิดพื้นฐานในการพัฒนาตัวชี้วัดที่ให้
ความสําคัญกับความสามารถในการใช้ศักยภาพของมนุษย์ ร่วมกับการพัฒนาศักยภาพของมนุษย์
โดยได้รับคําจํากัดความในรูปของ “ ภารกิจ ” (functionings) และสมรรถภาพ (capabilities)
องค์ประกอบของความอยู่ดีมีสุข แบ่งออกเป็น 7 ด้าน ซึ่งมีความครอบคลุมทุกมิติของการ
ดํารงชีวิต ดังนี้
องค์ประกอบที่ 1 คือ ด้านสุขภาพอนามัยและโภชนาการ ซึ่งยังประกอบด้วยองค์ประกอบ
ย่อยอีก 4 ด้าน คือ ความยืนยาวของอายุ การปลอดจากโรคภัยไข้เจ็บ โภชนาการและการ
ให้บริการสาธารณสุข
องค์ประกอบที่ 2 คือ การศึกษา ซึ่งครอบคลุมสาระต่าง ๆ ในกระบวนการเรียนรู้ ความรู้
พื้นฐาน และทักษะต่าง ๆ รวมทั้งการเข้าถึงบริการและคุณภาพการศึกษา
องค์ประกอบที่ 3 คือ ชีวิตการทํางาน เนื่องจากประชาชนจะใช้ชีวิตส่วนใหญ่อยู่กับการ
ทํางาน การพิจารณาสภาพแวดล้อม การทํางาน จึงเป็นส่วนประกอบที่สําคัญมาก และชีวิตการ
ทํางานที่มีคุณภาพก็จะเกี่ยวข้องกับการจ้างงานและความพอใจในค่าจ้างที่ได้รับ องค์ประกอบ
ด้านนี้ ยังรวมถึงปัจจัยย่อยในด้านการใช้แรงงานเด็ก ผู้หญิงและระบบประกันสังคมด้วย
องค์ประกอบที่ 4 คือ ชีวิตครอบครัว ความสัมพันธ์ในครอบครัวถือเป็นประเด็นสําคัญที่
ส่งผลกระทบต่อ “ความอยู่ดีมีสุข ” โครงสร้างและขนาดของครอบครัว เป็นตัวกําหนดระดับความ
เป็นอยู่ของสมาชิกแต่ละคน ครอบครัวที่มีความรัก ความอบอุ่น ต้องรับรู้ความต้องการของสมาชิก
แต่ละคน และดูแลสมาชิกทุกคนอย่างเท่าเทียมกันโดยไม่เลือกปฏิบัติ

www.ssru.ac.th
(34)

องค์ประกอบที่ 5 คือ การเติบโตทางเศรษฐกิจ ความยากจน การกระจายรายได้ และ


สวัสดิการ เป็นเครื่องมือสําคัญที่นําไปสู่การบรรลุเป้าหมายความอยู่ดีมีสุข ฉะนั้นการพัฒนาที่
ยั่งยืน จึงเป็นปัจจัยสําคัญของความอยู่ดีมีสุข การมีปัญหาความยากจนที่รุนแรง และความไม่เท่า
เทียมกันด้านรายได้ในระดับสูงสะท้อน “การอยู่อย่างมีทุกข์ ” ในสังคม ประเด็นเหล่านี้จึงนับเป็น
องค์ประกอบที่จําเป็นของเครื่องชี้วัด “ความอยู่ดีมีสุข” ด้วย
องค์ประกอบที่ 6 คือ สิ่งแวดล้อมและความปลอดภัย เพราะการดูแลรักษา
ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเป็นสิ่งจําเป็นต่อ “ความอยู่ดีมีสุข ” เพื่อให้เกิดการพัฒนาที่
ยั่งยืน องค์ประกอบนี้จะรวมถึง สภาพแวดล้อมด้านที่อยู่อาศัย การอนามัยแวดล้อม ตลอดจน
ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน โดยเฉพาะจากปัญหาอาชญากรรม
องค์ประกอบที่ 7 คือ ด้านประชารัฐ หมายถึง ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับประชาชน การ
เสริมสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างกันจะนํามาซึ่ง “ความอยู่ดีมีสุข ” การส่งเสริมบทบาทการมีส่วน
ร่วมของประชาชนเป็นการเพิ่มพูนและใช้ประโยชน์จากทรัพยากรมนุษย์ให้เต็มขีดความสามารถ
เป็นเครื่องมือของการยกระดับ ความอยู่ดีมีสุข องค์ประกอบนี้จะรวมถึง ความยุติธรรม สิทธิ
มนุษยชน และสิทธิเสรีภาพทางการเมือง รวมทั้งการกระจายอํานาจการบริหารจัด
เครื่องชี้วัดความอยู่ดีมีสุข การที่จะทราบว่าความอยู่ดีมีสุขของประชาชนจะอยู่ระดับใดนั้น
จึงต้องมีการสร้างเครื่องชี้วัดเพื่อติดตามปรากฏการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้น ซึ่งครอบคลุมมิติของการ
ดํารงชีวิต โดยอาจจําแนกได้เป็น 3 ประเภทใหญ่ๆ คือ 1) เครื่องชี้วัดด้านเศรษฐกิจ 2) เครื่องชี้วัด
ด้านสังคม และ 3) เครื่องชี้วัดด้านการเมือง ซึ่งเครื่องชี้วัดด้านเศรษฐกิจจะช่วยบ่งชี้บทบาทหรือ
สภาวการณ์ทางด้านเศรษฐกิจของประเทศ อาทิ อัตราการเติบโตของผลผลิตมวลรวมของประเทศ
อัตราเงินเฟ้อ การออม การลงทุน อัตราการค้า เป็นต้น กรอบแนวคิดความอยู่ดีมีสุขที่ได้กําหนดขึ้น
ในที่นี้จะเป็นการแสวงหาเครื่องบ่งชี้ที่มุ่งไปที่ความสําเร็จของปัจเจกบุคคล ไม่ใช่เฉพาะเครื่องชี้วัด
ที่เป็นเพียง “เครื่องมือ ” นําพาไปสู่ความสําเร็จเท่านั้น ดังนั้นจึงให้ความสําคัญกับเครื่องชี้วัดที่มี
ลักษณะเป็น “ผลลัพธ์ ” ของการดําเนินงานมากกว่า เป็น “ปัจจัย ” ถึงแม้ว่าเครื่องชี้วัดทางด้าน
“ปัจจัย” จะมีความสําคัญ เพราะมีส่วนช่วยเสริมสร้างหรือยกระดับความอยู่ดี มีสุข แต่ก็ยังไม่ใช่
เครื่องชี้วัดที่บ่งบอกความสําเร็จ เครื่องชี้วัดทางด้านสาธารณสุข สวัสดิการ และสิทธิเสรีภาพเป็น
ตัวอย่างเครื่องชี้วัดที่แสดง “ผลลัพธ์” ในขณะที่เครื่องชี้วัด ที่แสดงถึงความเพียงพอของปัจจัยต่างๆ
ทั้งด้านอาหารเสื้อผ้า ที่อยู่อาศัย น้ําดื่ม การให้บริการต่าง ๆ การสรรหาทรัพยากร สิ่งอํานวยความ
สะดวกด้านการศึกษา การดูแลด้านสุขภาพอนามัย และรายได้เป็นตัวอย่างของเครื่องชี้วัดทางด้าน
“ปัจจัย” ความแตกต่างระหว่างเครื่องชี้วัดทางด้าน “ปัจจัย ” และ “ผลลัพธ์ ” อาจไม่สามารถแยก

www.ssru.ac.th
(35)

ออกจากกันได้ชัดเจนในทุกกรณี ยกตัวอย่างเช่น เครื่องชี้วัดจํานวนนักเรียนที่ เข้าเรียนใน


ระดับประถมและมัธยม เป็นเครื่องชี้วัดด้าน “ปัจจัย” เพราะเหตุที่เป็น “เครื่องมือ ” ของการบรรลุ
เป้าหมายการรู้หนังสือของประชาชน ในขณะที่การรู้หนังสืออาจจะเป็นทั้งเครื่องชี้วัด “ปัจจัย” หรือ
“ผลลัพธ์” เพราะการรู้หนังสือเป็นหนทางหรือ “เครื่องมือ” สู่ความสําเร็จในการประกอบกิจกรรมอื่น
ๆ อีกมากมายด้วย และในกรณีของเครื่องชี้วัดการรู้หนังสือนี้ ถึงแม้ว่าจะถูกจัดให้เป็นเพียงเครื่องชี้
วัดทางด้าน “ปัจจัย” แต่ก็นับว่ามีความสําคัญและควรจะรวมไว้เป็นองค์ประกอบหนึ่งของเครื่องชี้
วัดความอยู่ดีมีสุข เพราะเป็นเครื่องบ่งชี้สภาวการณ์ทางด้าน “ภารกิจ ” และ“สมรรถภาพ” ของ
บุคคลด้านอื่น ๆ ด้วย
ในการพัฒนาเครื่องชี้วัดความอยู่ดีมีสุข จําเป็นต้องเชื่อมโยงเครื่องชี้วัดทางด้าน “ปัจจัย”
และ “ผลลัพธ์ ” เข้าด้วยกัน การกําหนดนโยบายต่าง ๆ ภาครัฐ คือ บทสะท้อน เครื่องชี้วัดทางด้าน
“ปัจจัย ” ซึ่งเป็นตัวขับเคลื่อนการดําเนินงาน เช่น ค่าใช้จ่ายต่อหัวประชากรทางด้านการศึกษา
สาธารณสุข โครงสร้างพื้นฐาน เป็นต้น จึงมีความจําเป็น ที่จะต้องศึกษาว่า เครื่องชี้วัดด้านปัจจัย
เหล่านี้ ถูกนําไปใช้เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์เป้าหมายของการพัฒนาอย่างมีประสิทธิภาพเพียงไร
ซึ่งเป็นการพิจารณาทางด้าน “ผลลัพธ์ ” (วิษณุ บุญมารัตน์ , 2548) แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8 และ
ฉบับที่ 9 จึงได้พัฒนาเครื่องชี้วัดผลการดําเนินงาน ความอยู่ดีมีสุขของประชาชน เพื่อประเมินผล
กระทบในภาพรวมของการพัฒนา ซึ่งเน้น “คน” เป็น ศูนย์กลางของการพัฒนา โดยมีเป้าหมาย
สุดท้ายของการพัฒนาประเทศอยู่ที่ ความอยู่ดีมีสุขของประชาชน จากจุดเริ่มต้นในแผนพัฒนาการ
เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 8 และ 9 ที่ เน้น คน เป็นศูนย์กลางของการพัฒนา เพื่อให้ได้
ผลลัพธ์สุดท้ายอยู่ที่ ความอยู่ดีมีสุข ของประชาชน จนมาถึงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10 ยังคงสานต่อ
แนวคิดอยู่ดีมีสุข ในการนํามากําหนดเป็นนโยบายอยู่ดีมีสุข ให้ทุกจังหวัดนําไปปฏิบัติ เพื่อมุ่งเน้น
ให้สังคมมีเป้าหมายในการพึ่งตนเอง มีความสามัคคี และมีความอยู่เย็นเป็นสุข
แนวคิดและทฤษฎีอยู่ดีมีสุขของต่างประเทศ
จากทฤษฎีการพัฒนาของประเทศต่างๆ ในอดีตที่ผ่านมา ต่างมุ่งเน้นแต่ความเติบโตทาง
เศรษฐกิจ ที่ดูจากผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ( Gross National Product) ตามทฤษฎีทาง
เศรษฐศาสตร์ เพื่อให้เกิดการบริโภคสูงสุด แต่ได้ละเลยทางด้านจิตใจ จนทําให้เกิดปัญหาทาง
สังคมตามมามากมาย เช่น ความไม่เท่าเทียมของการกระจายรายได้ ช่องว่างทางโอกาส ความ
แตกต่างระหว่างคนจนกับคนรวยยิ่งมีมากขึ้น จึงเกิดแนวคิดใหม่ในการพัฒนาโดยหันมาเน้นที่
ความสุขมวลรวมประชาชาติ( Gross National Happiness) แทน ผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ
(Gross National Product) เพื่อความอยู่ดีมีสุขของประชาชน โดยเน้นการพัฒนาทั้งทางด้านจิตใจ

www.ssru.ac.th
(36)

ควบคู่กันไปกับทางด้านเศรษฐกิจด้วย ดังเช่นทรรศนะของนักวิชาการจากหลายประเทศ ที่มี


มุมมองต่อความอยู่ดีมีสุขที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งผู้วิจัยจะนําเสนอแนวคิดที่มีคล้ายกันออกเป็น 2
กลุ่ม คือ กลุ่มแรก เป็นแนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับความอยู่ดีมีสุข กลุ่มที่สอง เป็นแนวคิดและ
ทฤษฎีความสุขมวลรวมประชาชาติ ซึ่งทั้งสองแนวคิดและทฤษฎีนี้ต่างมีเป้าหมายเดียวกัน คือ
ความอยู่ดีมีสุขของประชาชน ดังรายละเอียดที่มาของแนวคิดจากนักวิชาการต่าง ๆ ต่อไปนี้ “
ความอยู่ดีมีสุข ” (Well-being) มิได้เป็นแนวคิดใหม่หรือแนวคิดโดดๆ ที่ให้ความสําคัญเฉพาะด้าน
ใดด้านหนึ่งของการเปลี่ยนแปลงของสังคมมนุษย์ เพราะความก้าวหน้าทางวัตถุไม่ได้นําไปสู่ความ
อยู่ดีมีสุขของมนุษย์เสมอไป ความอยู่ดีมีสุขของมนุษย์จะมีทั้งด้านที่เป็นวัตถุ และด้านที่ไม่ใช่วัตถุ
ประกอบกันอยู่ สิ่งที่เป็นวัตถุและสิ่งที่มิใช่วัตถุ(จิต) ประกอบกันอยู่อย่างไร ประเด็นข้อถกเถียงที่มี
มาตั้งแต่แรกคือ เรื่องจิตกําหนดวัตถุ หรือวัตถุกําหนดจิต หรือปัญหาเรื่องโครงสร้างส่วนบน และ
โครงสร้างส่วนล่างในทฤษฎีมาร์กซิสต์ เมื่อเป็นเช่นนี้ ทําให้การทําความเข้าใจเกี่ยวกับความอยู่ดีมี
สุข จะต้องทําความกระจ่างตั้งแต่ทฤษฎีที่เป็นรากฐาน ไปจนถึงประเด็นปัญหาในเชิงประจักษ์
ทฤษฎีพื้นฐานก็คือคําถามที่ว่า โลกทางวัตถุและโลกมิใช่วัตถุ(วัตถุวิสัยและ อัตวิสัย) ประกอบกัน
อยู่อย่างไร ส่วนประเด็นปัญหาในเชิงประจักษ์ก็คือ ประเด็นที่ว่า ความอยู่ดีมีสุขของมนุษย์คืออะไร
และเราจะสร้างความอยู่ดีมีสุขให้เกิดขึ้นได้อย่างไร โดยอาจจะศึกษาจาก 2 แนวทาง คือ จาก
แนวคิดในการพัฒนาแบบใหม่ ซึ่งเสนอโดย Sen ซึ่งมีอิทธิพลต่อทฤษฎีการพัฒนาในปัจจุบัน และ
อีกแนวทางหนึ่งจากทฤษฎีซึ่งเป็นพื้นฐานของแนวคิดความอยู่ดีมีสุข อันประกอบด้วยทฤษฎีความ
จําเป็นของมนุษย์ (Theory of Human Needs) และทฤษฎีวิถียังชีพและทรัพยากร
Sen (1999) นักเศรษฐศาสตร์ชาวอินเดีย ผู้ซึ่งได้รับรางวัล Nobel สาขาเศรษฐศาสตร์ เมื่อ
ปี พ.ศ. 2541 ได้เขียนประโยคแรกของบทนําในหนังสือ Development as Freedom ว่า “การ
พัฒนา เป็นกระบวนการของการขยายตัวของเสรีภาพที่แท้จริงของมนุษย์ ” การนิยามเช่นนี้ มีความ
แตกต่างจากการนิยามการพัฒนาในกลุ่มแนวคิดกระแสหลัก ที่มองการพัฒนาในแง่ของความ
เติบโต การเพิ่มของรายได้ประชาชาติ กระบวนการสร้างอุตสาหกรรม หรือกระบวนการสร้างความ
ทันสมัยโดยสิ้นเชิง Sen ได้อธิบายต่อไปว่า เสรีภาพเป็นทั้งกระบวนการและเป้าหมายปลายทาง
ของการพัฒนา เสรีภาพอาจจะมีได้หลายด้าน หลายมิติ แต่ทั้งหมดล้วนเกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน
อย่างเช่น เสรีภาพในทางการเมืองช่วยส่งเสริมให้เกิดความมั่นคงทางเศรษฐกิจ และเสรีภาพ
ในทางเศรษฐกิจจะก่อให้เกิดความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากร ทั้งทรัพยากรของบุคคลและ
ทรัพยากรของสาธารณะ แต่เสรีภาพที่อาจจะแบ่งได้เป็นหลายมิตินี้ จะพิจารณาได้ 2 ด้าน คือ
ด้านแรกในแง่ที่เป็น “กระบวนการ ” ซึ่งเกี่ยวข้องกับการกระทําและการตัดสินใจของมนุษย์ที่เป็น

www.ssru.ac.th
(37)

ปัจเจก ส่วนด้านที่สองในแง่ที่เป็น “เป้าหมายปลายทาง ” ซึ่งหมายถึง สภาวะหรือเงื่อนไขหรือ


สภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจและสังคม ที่เป็น “โอกาส” ในการกระทําและการตัดสินใจ ของปัจเจก
ภายใต้เงื่อนไขนั้น ๆ โดยมีนัยสําคัญ 2 ประการ คือ ประการแรก การพัฒนาเป็นเรื่องของการขยาย
เสรีภาพ โดยไม่ได้ปฏิเสธการขยายตัวของเศรษฐกิจ แต่ในขณะเดียวกัน การพัฒนาทางด้าน
เศรษฐกิจหรือการเพิ่มขึ้นของโภคทรัพย์ก็ไม่จําเป็นต้องนําไปสู่การขยายตัวของเสรีภาพของมนุษย์
เสมอไป ประการที่สอง การพัฒนาเป็นเรื่องของการขยายตัวของเสรีภาพมนุษย์ในฐานะที่เป็น
ปัจเจก แต่มนุษย์ปัจเจกมิได้มีสถานะเป็นเพียง “สัตว์เศรษฐกิจ ” ที่ตัดสินใจบนหลักเหตุผลของ
ความพอใจสูงสุด แท้ที่จริงแล้วมนุษย์มีสถานะเป็นตัวแทนหรือ agency ที่มีความสามารถในการ
รับรู้(acknowledgeable) และการคิดการกระทําต่าง ๆ ของมนุษย์จึงมิใช่กําหนดจากการทํางาน
ของกลไกทางเศรษฐกิจที่มนุษย์ได้ซึมซับและรับเอาไปไว้ในตัวเขาเท่านั้น แต่ยังเป็นผลมาจากการ
รับรู้และการคิดของมนุษย์ด้วย ความอยู่ดีมีสุขตามทฤษฎีอัตวิสัยและทฤษฎีภาวะวิสัย คําว่า
“ความอยู่ดีมีสุข ” มีความหมายที่กว้างมาก โดยพื้นฐานแล้ว คําว่า ความอยู่ดีมีสุข เกี่ยวข้องกับ
ความคิดที่เกี่ยวข้องกับความผาสุกของมนุษย์และชีวิตที่ดีที่มนุษย์แสวงหาหรือมุ่งไปสู่ ดังเช่น
แนวคิดความอยู่ดีมีสุขที่แตกต่างกัน 2 ทฤษฎี คือ ความอยู่ดีมีสุขทางภาวะวิสัย และความอยู่ดีมี
สุขทางอัตวิสัย คือ ( UNDP, 1999) 1) ทฤษฎีความอยู่ดีมีสุขทางภาวะวิสัย (Objective Well-
being - OWB) โดยทั่วไปแล้วหมายถึง “การนําเสนอรายการของสิ่งที่ขาดไม่ได้ที่ประชากรควรจะ
ได้รับ เพื่อสามารถมุ่งสู่ชีวิตที่ดี” ทฤษฎีดังกล่าวนี้ได้พัฒนาตัวชี้วัดที่เป็นวัตถุวิสัย จับต้องได้ เพื่อใช้
สําหรับประเมินความอยู่ดีมีสุข สวัสดิการของประชาชน หรือเพื่อประเมินระดับของการพัฒนา
ตัวอย่างของทฤษฎีความอยู่ดีมีสุขทางภาวะวิสัยก็คือ ทฤษฎีความจําเป็นพื้นฐานของมนุษย์ เป็น
แนวคิดเรื่องความจําเป็นของมนุษย์ ซึ่งถือว่าเป็นปฏิกิริยาแรกต่อทฤษฎีและนโยบายการพัฒนาที่
เน้นความเติบโตทางเศรษฐกิจ หรือการสร้างความมั่งคั่งทางวัตถุ โดยเฉพาะการเพิ่มขึ้นของรายได้
ประชาชาติ แนวคิดเกี่ยวกับเรื่องความจําเป็นของมนุษย์ ได้รับการพัฒนาและเผยแพร่ในระดับ
นานาชาติตามประกาศ Declaration of Principles and Program of Action for a Basic Needs
Strategy of Development ในปี ค.ศ. 1976 และต่อมาในปี ค.ศ. 1978 ธนาคารโลก(World Bank)
ก็ได้นําเอาแนวคิดเรื่องความจําเป็นพื้นฐานมาใช้ ซึ่งก่อนหน้านี้ การพัฒนาของประเทศจีนและ
อินเดียก็ได้ยึดแนวทางการพัฒนาแบบนี้มาก่อนแล้ว อย่างไรก็ตาม แนวคิดเรื่องการพัฒนาโดยยึด
ความจําเป็นพื้นฐานนี้ ได้ลดกระแส ลงไปภายหลังจากที่นํามาใช้ได้ไม่นาน การที่แนวคิดเรื่อง
ความจําเป็นพื้นฐานเสื่อมคลายลงไปนี้ ส่วนหนึ่งมาจากการวิพากษ์วิจารณ์ที่มาจากแนวคิดเสรี
นิยมใหม่( neo-liberalism) ที่มองว่า รัฐไม่ควรที่จะเข้าไปแทรกแซงเพื่อสนองต่อความจําเป็น

www.ssru.ac.th
(38)

พื้นฐานของปัจเจก การกระทําเช่นนั้นนอกจากกระทําให้กลไกตลาดบิดเบือนแล้ว รัฐยังไม่มีอํานาจ


หน้าที่อะไรที่จะไปนิยามหรือกําหนดว่า อะไรคือความจําเป็นของปัจเจก เพราะความจําเป็นเป็น
เรื่องของความชอบหรือไม่ชอบ ( preference) ของปัจเจกแต่ละคน อีกทั้งการวิพากษ์วิจารณ์ยังมา
จากกลุ่มทฤษฎีพึ่งพาและกลุ่มทฤษฎีด้อยพัฒนา ซึ่งตั้งข้อสงสัยว่า แนวคิดนี้จะนําไปสู่การผลิตซ้ํา
“ความด้อยพัฒนา” ที่กําหนดโดยโครงสร้างความสัมพันธ์ระหว่างประเทศศูนย์กลางและบริวาร ทํา
ให้ประเทศด้อยพัฒนาต้องพึ่งพาและขึ้นต่อประเทศพัฒนาต่อไป ในทศวรรษที่ 1990 แนวคิดเรื่อง
ความจําเป็นพื้นฐานได้กลับมาอีกครั้งหนึ่ง การกลับมาของแนวคิดเรื่องความจําเป็นพื้นฐานในรอบ
หลังนี้ ได้รับอิทธิพลทางความคิดของ Sen แนวความคิดนี้มีอิทธิพลปรากฏชัดในรายงานการ
พัฒนามนุษย์ (Human Development Report) (UNDP, 1999) ซึ่งเป็นการติดตามผลการพัฒนา
ในระดับนานาชาติ และภายหลังจากนั้น การพัฒนาที่เน้น “ มนุษย์ ” เป็นศูนย์กลาง ซึ่งรับเอา
แนวคิดเรื่องความจําเป็นพื้นฐาน ก็ปรากฏเป็นกระแสแนวคิดที่แพร่หลายและได้รับการยอมรับมาก
ขึน้ แนวคิดเรื่องความจําเป็น หรือความจําเป็นพื้นฐาน (Basic Human Need--BHN) มาจาก
ความเชื่อที่ว่า มนุษย์ต่างก็มีความจําเป็นชุดหนึ่งที่เหมือนกัน ซึ่งจะขาดไม่ได้ ก็คือความ “จําเป็น
พื้นฐาน” เมื่อมองแบบนี้จึงต้องแยกแยะความแตกต่างระหว่าง “ ความจําเป็น ” และ “ ความ
ต้องการ ” Doyal and Gough (1991) เสนอว่า “ ความจําเป็น ” (need) หมายถึง เป้าหมายที่เป็น
สากล (universal) ซึ่งมนุษย์จะต้องมีเหมือนกัน ส่วนคําว่า “ความต้องการ” (want) นั้น หมายถึง
เป้าหมายของปัจเจก ซึ่งเป็นเรื่องความนิยมชมชอบส่วนบุคคล หรือเป็นเรื่องของสังคมและ
วัฒนธรรม ความเป็นสากลของความจําเป็นพื้นฐานของมนุษย์นี้ มาจากความเชื่อที่ว่า ถ้าหาก
ความจําเป็นนี้ไม่ได้รับการตอบสนอง จะเป็นอันตรายร้ายแรงต่อมนุษย์ อันตรายร้ายแรงที่ว่านี้
สามารถที่จะนิยามได้ในแง่ที่ว่า เป็นเงื่อนไขที่ทําให้มนุษย์ไม่สามารถแสวงหาสิ่งที่เขามองว่าเป็นสิ่ง
ที่ดีและมีคุณค่าสําหรับชีวิตของเขา โดยธรรมชาติแล้วมนุษย์เป็นสัตว์สังคม ดังนั้นเป้าหมาย หรือ
ความจําเป็นพื้นฐาน ซึ่งเป็นลักษณะสากลของมนุษย์ก็คือ การที่มนุษย์จะต้องเข้าร่วมรูปแบบชีวิต
ต่าง ๆ ในสังคม การเป็นสมาชิกของชุมชน หรืออื่น ๆ อีกมากมาย เงื่อนไขที่สําคัญ 2 ประการที่
มนุษย์สามารถที่จะเข้าร่วมในรูปแบบของชีวิตที่มีคุณค่าได้ คือ การมีสุขภาพร่างกาย(ที่ดี)
(physical health) และความอิสระ(autonomy) สุขภาพร่างกายเป็นเงื่อนไขที่สําคัญของการเข้า
ร่วมในรูปแบบของชีวิตและการกระทําการของบุคคล (ถ้าปราศจากร่างกาย ก็ไม่มีชีวิต ถ้าร่างกาย
พิการก็จะเป็นข้อจํากัดในการเข้าร่วมในกิจกรรมต่างๆ เป็นต้น) เท่านี้ยังไม่เพียงพอเนื่องจากว่า
มนุษย์เป็น “ตัวแทน” ที่มีความสามารถในการคิดและตัดสินใจกระทําการ ถ้าหากปราศจากอิสระ
มนุษย์จะไม่สามารถรับรู้ถึงโอกาสและทางเลือกที่มี และไม่สามารถที่จะเลือกและเข้าร่วมใน

www.ssru.ac.th
(39)

รูปแบบของชีวิตที่มีความหมายได้ ดังนั้นความอิสระจึงเป็นความจําเป็นพื้นฐานที่มีความสําคัญ
เช่นเดียวกับสุขภาพร่างกาย จากความจําเป็นพื้นฐานทั้ง 2 ด้าน ซึ่งมีลักษณะเป็นสากลนี้ Doyal
and Gough(1991) ชี้ว่า มีหลายวิธีการหรือหลายปัจจัยที่จะทําให้ความจําเป็นเหล่านี้สามารถที่จะ
บรรลุหรือได้รับการตอบสนอง และได้นิยามปัจจัยเหล่านี้ว่าเป็น need satisfiers ซึ่งได้จัดไว้เป็น 9
กลุ่ม ได้แก่ 1) อาหารและน้ําดื่มที่เพียงพอ 2) บ้านที่อยู่อาศัยที่ถูกสุขลักษณะ 3) สภาพแวดล้อม
ของการทํางานที่ไม่เป็นภัยอันตราย 4) มีสถานบริการสุขภาพที่เหมาะสม 5) มีความปลอดภัยของ
วัยเด็ก 6) มีความสัมพันธ์พื้นฐานที่ดี 7) มีความมั่นคงทั้งในทางกายภาพและทางเศรษฐกิจ 8) มี
การคุมกําเนิดและการดูแลเด็กที่ปลอดภัย 9) มีการศึกษาพื้นฐานที่เหมาะสม
การที่ Doyal and Gough (1991) นิยามความจําเป็นพื้นฐานดังข้างต้นนั้น เป็นการก้าว
ขยายแนวคิดต่อออกไปจากที่ Sen (1999) ได้เสนอไว้ในเรื่องโอกาส (capability) และ
ความสามารถที่จะใช้โอกาส (functioning) ซึ่งแนวคิดทั้งสองกว้างและยากที่จะให้นิยามเชิง
ปฏิบัติการ อย่างเช่นแนวคิดเรื่อง capability ชุดของ capability ของบุคคลใดบุคคลหนึ่งมิได้
หมายถึง “โอกาส” ใด ๆ ที่บุคคลได้เลือกกระทําการ แต่หมายความรวมถึงโอกาสที่เปิดให้ แต่ไม่ได้
ตัดสินใจเลือกโอกาสนั้น ๆ ด้วย เช่นเดียวกัน functioning ที่มีคุณค่าสําหรับบุคคลใดบุคคลหนึ่ง
อาจจะหมายความรวมถึงความสามารถในการเล่นดนตรี การแสดงความช่วยเหลือแ ก่
ผู้ด้อยโอกาส หรืออื่น ๆ อีกมากมาย ข้อสังเกตจากแนวคิดเกี่ยวกับเรื่องความจําเป็นพื้นฐาน
(BHN) ของ Doyal and Gough (1991) ที่ได้เสนอไว้ก็คือ การพยายามที่จะแยกให้เห็นว่า อะไร
เป็นความจําเป็นทั่วไป (universal need) และอะไรเป็นสิ่งที่ทําให้ความจําเป็นได้รับการตอบสนอง
มีประโยชน์ในเชิงนโยบายอย่างมาก กล่าวคือสิ่งที่ทําให้ความจําเป็นได้รับการตอบสนอง หรือ
need satisfiers นั้น อาจมี ความแตกต่างกันไปในแต่ละถิ่นที่ แต่ละสังคม ในขณะที่ความจําเป็น
เรื่องสุขภาพร่างกายกับความอิสระนั้น จําเป็นจะต้องได้รับการตอบสนองหรือขาดไม่ได้ อย่างไรก็
ตาม เนื่องจากว่าไม่ว่าความจําเป็นที่เป็นความจําเป็นทั่วไป ( universal need) หรือสิ่งที่ทําให้
ความจําเป็นได้รับการตอบสนอง ( need satisfiers) ต่างก็มีมิติที่ “ถูกสร้าง ” โดยสังคมและ
วัฒนธรรมนั้นๆ (social and cultural construction of need)
ดังนั้น การกําหนดรายการเกี่ยวกับความจําเป็น ไม่ว่าจะเป็นความจําเป็นทั่วไป หรือสิ่งที่
ทําให้ความจําเป็นได้รับการตอบสนอง จึงไม่สามารถที่จะนําไปใช้ได้ในทุกสังคม จึงต้องทําความ
เข้าใจว่า อะไรคือความจําเป็นของมนุษย์ และอะไรคือสิ่งที่จะนําไปสู่การตอบสนองต่อความ
จําเป็นของมนุษย์ และรวมถึง ความจําเป็นและสิ่งที่นําไปสู่การสนองตอบต่อความจําเป็นนั้นมี
ความหมายอย่างไรสําหรับมนุษย์ 2) ความอยู่ดีมีสุขทางอัตวิสัย (Subjective Well-being--SWB)

www.ssru.ac.th
(40)

หมายถึง มิติหลากหลายของการประเมินหรือการมองชีวิตของตนเองของปัจเจก ซึ่งรวมถึงความ


พึงพอใจในชีวิตที่วางอยู่บนความนึกคิด (cognitive judgment) ของปัจเจกเอง ตลอดจนอารมณ์
ความรู้สึกของปัจเจก “ ความอยู่ดีมีสุขทางอัตวิสัย ” จึงเป็นคําที่ใช้เสมือนเป็นร่มที่ครอบคลุมถึง
เรื่องต่างๆ ต่อไปนี้ คือ ( UNDP, 1999) คือ 2.1) ความพึงพอใจในชีวิตโดยรวม และความพึงพอใจ
ใน domain ต่าง ๆ ของชีวิต อย่างเช่นเรื่อง การแต่งงาน การงาน รายได้ ที่อยู่อาศัย และการ
พักผ่อน2.2 การมีอารมณ์ความรู้สึกในทางบวกเป็นประจํา 2.3) การมีอารมณ์ความรู้สึกในทางลบ
น้อยหรือไม่บ่อย 2.4) การมีความรู้สึกนึกคิดหรือมองว่าชีวิตมีความหมายและสามารถบรรลุสิ่งที่
หวังไว้ ดังนั้น การประเมินความอยู่ดีมีสุขทางอัตวิสัย จึงได้นํามาใช้ควบคู่กับการประเมินความอยู่
ดีมีสุขทางภาวะวิสัยร่วมกัน เพื่อให้การประเมินมีความแม่นยํามากขึ้น
ความอยู่ดีมีสุขในแง่ของความจําเป็นพื้นฐาน ในทศวรรษ 1950 และ 1960 การเติบโตของ
รายได้ต่อหัวเป็นเครื่องมือหลักในการวัดระดับการพัฒนาเศรษฐกิจ ปรัชญาพื้นฐานในขณะนั้นก็
คือ การพัฒนาเศรษฐกิจ จะนําความมั่งคั่งมาสู่สังคม ด้วยความคาดหวังว่าการเพิ่มการจ้างงาน
การเพิ่มปริมาณสินค้าและบริการและประโยชน์ที่เกิดขึ้นจากการเติบโตทางเศรษฐกิจนั้น ในที่สุด
แล้วย่อมจะสามารถกระจายไปสู่คนยากจนได้ ต่อมาในระยะต้นทศวรรษ 1970 จึงเริ่มเป็นที่
ประจักษ์ว่า การเติบโตทางเศรษฐกิจนั้น ยังไม่สามารถช่วยเหลือคนยากจนได้ ความยากจนใน
หลายประเทศยังคงอยู่ในระดับสูง ความไม่พอใจในทฤษฎีที่ให้ความสําคัญกับการเติบโตทาง
เศรษฐกิจอย่างเดียวเริ่มแพร่กระจายออกไป จนกระทั่ง องค์การระหว่างประเทศโดยเฉพาะ
ธนาคารโลก ได้หันมาให้ความสนใจกับการตอบสนองความจําเป็นพื้นฐานของประชาชนแทนการ
ขจัดปัญหาความยากจน ได้รับความสนใจมากขึ้นควบคู่กับการสนองตอบประชาชนในด้านความ
จําเป็นพื้นฐานต่างๆ อาทิ ด้านการศึกษา สาธารณสุข และการพัฒนาที่อยู่อาศัย เป็นต้น
ความจําเป็นพื้นฐานเกี่ยวข้องกับการดูแลตอบสนองความต้องการขั้นต่ําของประชาชนที่
จําเป็นต่อการดํารงชีวิตมากกว่าการคํานึงถึงรายได้ในภาพรวม ถ้าประชาชนได้รับบริการตาม
ความจําเป็นพื้นฐานดีมากขึ้น ก็จะช่วยยกระดับความอยู่ดีมีสุขของประชาชน อย่างไรก็ตาม
ทฤษฎีความจําเป็นพื้นฐาน ยังให้ความสําคัญกับความต้องการพื้นฐานในรูปของสินค้าและบริการ
ต่าง ๆ เท่านั้น ในขณะที่ คําจํากัดความ “ ความอยู่ดีมีสุข ” ให้ความสําคัญกับ “ ภารกิจ ” และ “
สมรรถภาพ ” ซึ่งมุ่งเป้าไปที่ตัวบุคคล คือ วิธีการดําเนินชีวิตที่สามารถเลือกได้และความสําเร็จที่
แสวงหาซึ่งมีความหมายที่กว้างและมีความซับซ้อนกว่าความจําเป็นพื้นฐานมาก ตัวอย่างเช่น
ความจําเป็นพื้นฐานยังไม่ได้คํานึงถึงเรื่องสิทธิเสรีภาพของประชาชน

www.ssru.ac.th
(41)

ความอยู่ดีมีสุขกับการพัฒนาประเทศ เป็นแนวคิดที่ปรากฏขึ้นมาท่ามกลางกระแส ของ


ความคิดเกี่ยวกับการพัฒนาที่แตกออกเป็นสองแนวทาง โดยแนวทางแรกเสนอว่า การพัฒนาเป็น
เครื่องมือหรือเป็นวิธีการที่จะนํามนุษย์ไปสู่ความรุ่งเรืองไพศาล การพัฒนาจะช่วยขจัดความ
ยากจนหรือความทุกข์ยากให้หมดไป ในแง่นี้คําว่า การพัฒนาจึงเป็นทัศน ะในทางบวก แต่อีก
แนวทางหนึ่งได้มีข้อเสนอว่า การพัฒนาเป็นเพียงเครื่องมืออย่างหนึ่งของผู้มีอํานาจ การพัฒนาได้
นํามนุษย์ไปสู่ความทุกข์เข็ญ สังคมเต็มไปด้วยปัญหาสิ่งแวดล้อม ปัญหาความไม่เท่าเทียมหรือไม่
เป็นธรรม และอื่น ๆ อีกมาก ปัญหาต่าง ๆ เช่น ความยากจน นอกจากจะไม่สามารถขจัดให้หมดไป
ได้โดยการพัฒนาแล้ว ยังอาจจะมีความรุนแรงมากเพิ่มขึ้น (UNDP, 1999) สิ่งที่ปรากฏเป็นข้อ
ขัดแย้งว่า ความเติบโตทางด้านเศรษฐกิจ(หมายถึง การผลิต การจําแนกแจกจ่ายหรือการค้าขาย
และการบริโภค) เป็นเรื่องเดียวกับการพัฒนาหรือไม่ ถ้าหากว่าการพัฒนามีความหมายเดียวกับ
ความเติบโตทางเศรษฐกิจ ก็มีคําถามติดตามมาอีกว่า ความเติบโตทางเศรษฐกิจ มีความเกี่ยวข้อง
กับความเติบโตด้านอื่นอย่างไร และเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรมอย่างไร
บางฝ่ายเห็นว่าการพัฒนามิได้หมายถึง ความเติบโตทางเศรษฐกิจเพียงด้านเดียว และยิ่งไปกว่า
นั้นก็คือ ความเติบโตในทางเศรษฐกิจในหลายกรณีได้สร้างและขยายความทุกข์ให้แก่ประชากร
มากขึ้น การวิพากษ์วิจารณ์เช่นนี้ ยังคงดําเนินอยู่ภายใต้กระแสของการเปลี่ยนแปลงหรือการ
พัฒนาในยุคโลกาภิวัตน์ที่เศรษฐกิจแบบทุนนิยมได้เข้ามามีอิทธิพลต่อชีวิตความเป็นอยู่ของมนุษย์
ในเกือบทั่วทุกมุมของโลก และมีแนวคิดอีกด้านหนึ่ง ที่ได้รับการเสนอจากกลุ่มที่ไม่เห็นด้วยกับ
แนวคิดที่ว่าความเติบโตทางเศรษฐกิจมีความหมายเท่ากับการพัฒนา คือ “แนวคิดเรื่องความอยู่ดี
มีสุข” ข้อเสนอกลุ่มนี้จะรวมกับข้อเสนอที่ให้พัฒนาตัวชี้วัดเรื่อง “ความผาสุกประชาชาติ ” (Gross
National Happiness--GNH) มาใช้เป็นตัวชี้วัดการพัฒนา แทนผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ
(Gross National Products--GNP) ด้วย ดังนั้น การอยู่ดีมีสุข จึงหมายถึง สามารถดํารงชีวิตอยู่ได้
มีสุขภาพกาย สุขภาพจิตที่ดี โดยมีการวางแผนการออม การจ่าย มีความรู้ด้านกฎหมายต่างๆ

2.6 แนวคิดทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับผู้สูงอายุ
องค์การสหประชาชาติ ได้ประกาศให้ ปีพ.ศ. 2542 หรือ ค.ศ. 1999 เป็นปีสากลว่าด้วย
ผู้สูงอายุ (International Year of Persons) และพบว่าประเทศไทยมีจํานวนผู้สูงอายุเพิ่มมากขึ้น
จนกลายเป็นจํานวนประชากรที่มีมากกว่าครึ่งของประชากรในวัยอื่นๆ ดังข้อมูลการคาดประมาณ
ประชากรของประเทศไทย จากสํานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
เมื่อปีพ.ศ. 2553 เป็นดังนี้ ประชากรรวมทั้งหมด 67,230,000 คน เป็นชาย 33,422,000 คน หญิง

www.ssru.ac.th
(42)

33,807,000 คน แยกเป็นประชากร อายุ 60 – 64 จํานวน 2,555,000 คน เป็นชาย 1,213,000 คน


หญิง 1,342,000 คน อายุ 65 – 69 จํานวน 1,972,000 คน เป็นชาย 908,000 คน หญิง
1,064,000 คน อายุ 70 – 74 จํานวน 1,524,000 คน เป็นชาย 683,000 คน หญิง 841,000 คน
อายุ 75 ปีขึ้นไป จํานวน 1,588,000 คน เป็นชาย 637,000 คน หญิง 915,00 คน ดังนั้นรวมผู้ที่มี
อายุ 60 ปีขึ้นไป จํานวน 7,639,000 คน เป็นชาย 3,477,000 คน หญิง 4,162,000 คน จากข้อมูล
ข้างต้นจะพบได้ว่า ประเทศไทยมีจํานวนและสัดส่วนของผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยในปี
2537 มีประชากรผู้สูงอายุร้อยละ 6.8 ในปี 2545 เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 9.4 และล่าสุด ในปี 2550
พบว่าผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นเป็น 10.7 ของประชากรทั้งประเทศ และที่สําคัญคาดการณ์ว่าในปี 2553
และ 2563 ประเทศไทยจะมีสัดส่วนผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 11 และร้อยละ 15 ตามลําดับ
ความหมายของผู้สูงอายุ วิทยาการผู้สูงอายุหรือพฤฒาวิทยา (Gerontology) คือ
การศึกษาเกี่ยวกับผู้สูงอายุ ซึ่งนักวิชาการที่ศึกษาเกี่ยวกับเรื่องผู้สูงอายุ พยายามหาความหมาย
ของคําว่า “ ผู้สูงอายุ ” (Elderly) ในแง่มุมที่ไม่แตกต่างกันมากนัก เนื่องจากเป็นการยากที่จะ
กําหนดได้ชัดเจนว่าบุคคลใด เป็นผู้ที่อยู่ในวัยชรา คําว่าผู้สูงอายุเป็นคําที่ พลตํารวจตรี หลวงอรรถ
สิทธิสุนทร ได้บัญญัติและนํามาใช้เป็นครั้งแรกในการประชุมแพทย์อาวุโสและผู้สูงอายุจาก
องค์การต่างๆ เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2505 จนได้รับการยอมรับและใช้กันอย่างแพร่หลายใน
ปัจจุบัน เนื่องจากเป็นคําที่ไพเราะ ให้ความรู้สึกที่ดีกว่าคําว่า “ คนแก่ ” หรือ “ คนชรา ” และมีผู้ให้
ความหมายของผู้สูงอายุไว้อย่างมากมาย เช่น
Anderson (1971) ให้ความหมายของผู้สูงอายุว่า ผู้สูงอายุกําหนดจากหลายองค์ประกอบ
เช่น ประเพณีนิยม การทํางานของสภาพร่างกายและจิตใจ ความสามารถในการประกอบอาชีพ
Barrow and Smith (1979) นักวิชาการด้านการศึกษาผู้สูงอายุ กล่าวว่าผู้สูงอายุ หมายถึง
ผู้ที่ก้าวสู่สภาพหรือบทบาทใหม่ในสังคม
องค์กรสหประชาชาติ ได้ให้ความหมายของ ผู้สูงอายุ หมายถึง ผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปี ขึ้น
ไป ผู้สูงอาย หมายถึง เอาอายุเป็นหลักในการเรียก( 60+ปี) คนชรา หมายถึง เอาลักษณะทาง
กายภาพเป็นหลักในการเรียก ผู้อาวุโส หมายถึง เอาสถานภาพทางราชการ แก่กว่า เก่ากว่า เป็น
หลักในการเรียก มีคําหลายคํา ใช้เป็นสรรพนามเรียกผู้สูงอายุ เช่น Aging , Elderly , older
person , Senior Citizen ส่วนทางด้าน สํานักงานสถิติแห่งชาติ ได้ให้ความหมาย ผู้สูงอายุ
หมายถึง บุคคลที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป ทั้งชายและหญิง ซึ่งในการศึกษารวบรวมข้อมูลประชากร
ผู้สูงอายุได้แบ่ง ผู้สูงอายุเป็น 2 กลุ่มคือ ผู้สูงอายุตอนต้น หมายถึง บุคคลที่มีอายุ 60-69 ปี ทั้งชาย
และหญิง และผู้สูงอายุตอนปลาย หมายถึง บุคคลที่มีอายุ 70 ปี ขึ้นไปทั้งชายและหญิง นอกจากนี้

www.ssru.ac.th
(43)

คําว่า “ชรา” มีรากศัพท์มาจากภาษาบาหลี หมายถึง แก่ด้วยอายุ ชํารุดทรุดโทรม (พจนานุกรม


ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, 2552)ส่วนคําว่า “ชราภาพ” เป็นลักษณะนามที่หมายถึง ความแก่ และ
ส่วนใหญ่นิยมเรียกในมนุษย์ เช่น คนชรา คือ บุคคลที่แก่ด้วยอายุ (ปี)
การเรียกผู้ที่มีอายุมากมักเรียกควบคู่กัน คือ วัยแก่ วัยชรา วัยสูงอายุ หรือ คนแก่ คนชรา
หรือ ผู้เฒ่า ผู้แก่ คนอาวุโส ส่วนในภาษาอังกฤษใช้คําว่า Old Age หรือ Old People โดยมีคํา
ใหม่ๆเกิดขึ้น เช่น ประชาชนอาวุโส( Senior Citizen) และคําว่า คนมีอายุ( The Aged) หรือคําว่า
ผู้สูงอายุ( Elderly People) ส่วนคําว่า “ความชรา”(Ageing) หมายถึง คําที่ใช้เรียกบุคคลที่มีความ
เสื่อมทางกายภาพของอินทรีย์ต่างๆในร่างกาย ที่มีความเสื่อมโทรมที่เป็นสัญลักษณ์นําไปสู่ความ
ตายได้ เป็นการอธิบายสภาวะทางชีวภาพ และกระบวนการมีชีวิต องค์การอนามัยโลกจึงกําหนด
ว่าผู้ที่มีอายุ 60 ปี ถือว่าเป็นผู้ที่มีความชรา หรือผู้สูงอายุ แต่เนื่องจากสภาวะสภาพร่างกายและ
จิตใจของผู้สูงอายุเหล่านี้ ไม่ว่าจะเป็น 60 หรือ 65 ปี ยังคงสามารถทํางานได้อย่างปกติ จึงใช้คําว่า
“ผู้สูงอายุ ” แทน โดยถือว่าเป็นคําสุภาพและไม่ตีตราว่าผู้ที่มีอายุมากเป็นคนชรา เพราะคําว่า
“ชรา” มีความหมายในทางลบ ที่มีนัยของความเสื่อม ไม่เจริญงอกงาม ไม่สดชื่นแจ่มใส จึงหาคําที่
มีความหมายกลางๆ มามีผลกระทบต่อภาวะจิตใจของผู้ที่มีความชรา โดยใช้คําว่า “ผู้สูงอายุ ”
แทน ดังนั้น ความหมายของคําว่า “ผู้สูงอายุ ” อาจเริ่มตั้งแต่วัยก่อนสูงอายุ( Per - Ageing) คือ 45
– 50 ปี ๙งจําทําให้คําใหม่นี้ ได้รับการยอมรับมากขึ้น อย่างไรก็ตาม คําว่า ชราภาพ เป็นคําที่ไม่
สามารถนิยามและอธิบายอย่างเป็นมาตรฐานเดียวกันได้ เพราะจะมีความแตกต่างและผันแปรไป
ตามการรับรู้ของแต่ละคนในสังคม ตัวอย่างเช่น ในสังคมที่มีอายุคาดเฉลี่ย( Expectation of Life at
Birth) 34 ปี กับอีกสังคมหนึ่งที่ 74 ปี ด้วยเหตุผลนี้ “ความชรา” จึงถูกกําหนดให้ใช้เกณฑ์ตัดสิน
(cut – off point) ที่ผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป เป็นคนชราหรือผู้สูงอายุ
ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับผู้สูงอายุ
จากการศึกษาเกี่ยวกับภาวะผู้สูงอายุ ได้มีทฤษฎีต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับผู้สูงอายุในลักษณะ
ของเนื้อหาสาระที่แตกต่างกันไป ทั้งในระดับจุลภาคและมหภาค อย่างไรก็ตาม ทฤษฎีต่างๆ ที่
กล่าวถึงต่อไปนี้ เกิดจากความสนใจในการศึกษาเรื่องผู้สูงอายุและภาวะสูงอายุในปัจจุบัน
เรื่องราวที่เกี่ยวกับผู้สูงอายุเป็นที่สนใจกันอย่างกว้างขวาง ตามจํานวนประชากรผู้สูงอายุที่เพิ่ม
มากขึ้น จึงมีการศึกษาเกี่ยวกับผู้สูงอายุในด้านต่างๆ จนเกิดเป็นศาสตร์ใหม่ขึ้นคือ “ พฤฒาวิทยา ”
หรือ “ วิทยาการผู้สูงอายุ ” (Gerontology) ซึ่งแบ่งการศึกษาเป็นหลายสาขา เช่น ชีววิทยา สังคม
วิทยา แพทย์ พยาบาล และสาขาการศึกษา เป็นต้น ทฤษฎีต่างๆ แบ่งตามศาสตร์ที่ทําการศึกษา
เกี่ยวกับผู้สูงอายุ สามารถสรุปและแบ่งเป็น 5 กลุ่มทฤษฎีใหญ่ ดังนี้

www.ssru.ac.th
(44)

1) ทฤษฎีด้านชีววิทยา (Biological Theory) เป็นทฤษฎีที่อธิบายสาเหตุของความชราใน


เชิงชีววิทยา ดังนี้
1.1 ทฤษฎีพันธุศาสตร์ (Genetic Theory) ทฤษฎีนี้เชื่อว่า คนชราเกิดขึ้นตามพันธุกรรม
มีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้าง อวัยวะบางส่วนของร่างกาย คล้ายคลึงกันหลายชั่ว อายุคน
แสดงออกเมื่ออายุเพิ่มขึ้น เช่น ผมหงอก ศีรษะล้าน เป็นต้น
1.2 ทฤษฎีเนื้อเยื่อว่าด้วยคอลลาเจน (Collagen Theory) ทฤษฎีนี้เชื่อว่า ความชราเกิด
จากการมีสารประกอบของเนื้อเยื่อกระดูกเพิ่มขึ้น และมีการรวม Collagen Fiber หดสั้นในวัย
สูงอายุ ทําให้เกิดรอยเหี่ยวย่น ตึงบริเวณโคนกระดูก
1.3 ทฤษฎีทําลายตนเอง (Auto-Immune Theory) ทฤษฎีนี้เชื่อว่า ความชราเกิดขึ้นจาก
การที่ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันปกติลดน้อยลง ทําให้ร่างกายต่อสู้เชื้อโรคและสิ่งแปลกปลอมได้ไม่ดี
ทําให้เกิดการเจ็บป่วยได้ง่ายและเมื่อเกิดขึ้นอาจเกิดความรุนแรงถึงแก่ชีวิต
1.4 ทฤษฎีความผิดพลาด (Error Catastrophe Theory) ทฤษฎีนี้เชื่อว่าเมื่อบุคคลอายุ
มากขึ้น จะค่อยๆ เกิดความผิดพลาด และผิดพลาดมากขึ้นเรื่อยๆ จนกระทั่งทําให้เซลล์ต่างๆ ของ
ร่างกายเสื่อมและหมดอายุลง
1.5 ทฤษฎีอนุมูลอิสระ (Free Radical Theory) ทฤษฎีนี้เชื่อว่าภายในร่างกายของมนุษย์
และสิ่งมีชีวิตทั้งหลาย โดยเฉพาะผู้สูงอายุ ประกอบด้วยสิ่งแวดล้อมที่มีเรดิคัลอย่างอิสระอยู่
มากมายตลอดเวลา เรดิคัลเหล่านี้ทําให้ยีนผิดปกติ ทําให้คอลลาเจนและอีลาสตินซึ่งเป็นโปรตีน
องค์ประกอบของเนื้อเยื่อยึดเหนี่ยวเกิดขึ้นมาก ทําให้เสียความยืดหยุ่น
2) ทฤษฎีทางด้านจิตวิทยาสังคม (Social Theories of Aging) ซึ่งกล่าวถึงจิตวิทยาทาง
สังคมของผู้สูงอายุ ซึ่งนักชราภาพวิทยาสังคม (Social Gerontologist) ได้เสนอเป็นหลายแนวคิด
ทฤษฎี ดังนี้ (สุรกุล เจนอบรม, 2541)
2.1 ทฤษฎีบทบาท (Role Theory) เสนอว่า ผู้สูงอายุรับบทบาททางสังคมที่แตกต่างกันใน
ตลอดชั่ว ชีวิต เช่น บทบาทของการเป็นนักเรียน พ่อ แม่ ภรรยา ลูกสาว นักธุรกิจ ปู่ ย่า ตา ยาย
ฯลฯ โดยที่อายุเป็นองค์ประกอบที่สําคัญประการหนึ่ง ในการที่กําหนดบทบาทของแต่ละคนแต่ละ
ช่วงชีวิตที่ดําเนินไปของบุคคลนั้น ดังนั้นบุคคลจะปรับตัวต่อบทบาทของผู้สูงอายุได้ดี ขึ้นอยู่กับการ
ยอมรับบทบาทที่ผ่านมาของตนเอง อันส่งผลไปถึงการยอมรับบทบาทที่ผ่านมาในแต่ละช่วงชีวิต
ของตนเองที่กําลังจะเปลี่ยนไปในอนาคต

www.ssru.ac.th
(45)

2.2 ทฤษฎีกิจกรรม (Activity Theory) ทฤษฎีนี้เชื่อว่า ผู้สูงอายุจะมีความสุขทั้งทาง


ร่างกายและจิตใจ ซึ่งได้จากการมีกิจกรรมและเคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลา ซึ่งสามารถดําเนินชีวิตอยู่
ได้อย่างมีความสุขและตระหนักว่าตนเองเป็นประโยชน์ต่อสังคม
2.3 ทฤษฎีการแยกตนเอง (Disengagement Theory) ทฤษฎีนี้เชื่อว่า ผู้สูงอายุส่วนมาก
ค่อยๆ ถดถอยออกจากสังคม ทั้งในกลุ่มผู้สูงอายุและในกลุ่มคนวัยอื่นๆ ด้วยเป็นการลดภาวะ
กดดันทางสังคมบางประการ และหนีความตึงเครียดโดยการถอนตัว (Withdrawal) ออกจากสังคม
2.4 ทฤษฎีความต่อเนื่อง (Continuity Theory) ทฤษฎีนี้เชื่อว่า ผู้สูงอายุมีความสุขได้
ต่อเมื่อได้ทํากิจกรรมหรือปฏิบัติตัวแบบที่เคยทํามาก่อน บุคคลใดคุ้นเคยกับการอยู่ร่วมกับคนหมู่
มากจะกระทําต่อไป บุคคลใดพอใจชีวิตที่สุขสงบ สันโดษ อาจแยกตนเองออกมาอยู่ตามลําพัง
ทฤษฎีนี้กล่าวถึงพฤติกรรมของผู้สูงอายุอย่างกว้างๆ ว่าต้องปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลง
มากมายที่เกิดขึ้นในสังคม เช่น การตายของสามีหรือภรรยา การเกษียณอายุ และรายได้ที่ลดลง
เป็นต้น
2.5 ทฤษฎีระดับชั้นอายุ (Age Stratification Theory) ทฤษฎีนี้ศึกษาความสัมพันธ์ทาง
สังคมที่เกิดขึ้นระหว่างขั้นอายุที่แตกต่างกัน โดยถืออายุเป็นเกณฑ์สากลในการกําหนดบทบาท
หน้าที่ สิทธิ ฯลฯ เช่น อายุที่ต้องทําบัตรประชาชน อายุที่ต้องเกณฑ์ทหาร อายุที่ต้องเกษียณ ซึ่งมี
ความสัมพันธ์เชิงทฤษฎีกับอายุโดยตรง
3) ทฤษฎีทางจิตวิทยา (Psychological Theory) เป็นทฤษฎีที่สามารถอธิบายถึงสาเหตุที่
ทําให้ผู้สูงอายุมีบุคลิกภาพที่เปลี่ยนไป ประกอบด้วย
3.1 ทฤษฎีบุคลิกภาพ (Personality Theory) ทฤษฎีนี้เชื่อว่าผู้สูงอายุจะเป็นสุขหรือเป็น
ทุกข์นั้น ขึ้นอยู่กับสภาพภูมิหลังและพัฒนาการทางจิตของผู้นั้น ถ้าผู้สูงอายุเติบโตมาด้วยความ
อบอุ่นมั่นคง มีความรักผู้อื่นและทํางานร่วมกับผู้อื่นได้ มักจะเป็นผู้สูงอายุที่มีความสุข สามารถอยู่
กับลูกหลานหรือผู้อื่นได้ ในทางกลับกันหากผู้สูงอายุไม่เคยร่วมมือกับใคร จิตใจคับแคบ รู้สึกว่า
ตนเองทําคุณกับใครไม่ค่อยขึ้น มักจะเป็นผู้สูงอายุที่ไม่มีความสุข
3.2 ทฤษฎีความปราดเปรื่อง (Intelligence Theory) ทฤษฎีนี้เชื่อว่าผู้สูงอายุยัง
ปราดเปรื่องและคงความเป็นนักปราชญ์อยู่ได้ ด้วยความที่เป็นผู้ที่สนใจเรื่องราวต่างๆ อยู่
ตลอดเวลา มีการค้นคว้าและสนใจในการเรียนรู้อยู่ตลอดเวลา ทําให้ผู้มีลักษณะเช่นนี้ได้ต้องเป็นผู้
ที่มีสุขภาพดี และมีฐานะทางเศรษฐกิจดีพอเป็นเครื่องเกื้อหนุน
3.3 ทฤษฎีของอีริกสัน (Erikson’s Theory) ทฤษฎีนี้เชื่อว่า การพัฒนาด้านจิตวิทยาสังคม
ของผู้สูงอายุนั้น เป็นช่วงชีวิตที่ผู้สูงอายุรู้สึกว่าชีวิตมีคุณค่า มั่นคง หรือท้อแท้หมดกําลังใจ สําหรับ

www.ssru.ac.th
(46)

บุคคลที่มีความรู้สึกว่าชีวิตนั้นมีคุณค่า ถ้ามีความมั่ นคง จะมีความรู้สึกพึงพอใจในผลของ


ความสําเร็จจากช่วงชีวิตที่ผ่านมา เกิดความรู้สึกสุข สงบทางใจ และสามารถยอมรับได้ว่าความ
ตายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิต และไม่ต้องการให้มีชีวิตยืดยาวออกไปอีก เกิดความท้อถอย สิ้นหวัง คับ
ข้องใจ รู้สึกว่าตนนั้นไม่มีคุณค่า และความสามารถที่จะเผชิญกับภาวะสูงอายุลดน้อยลงด้วย
4) ทฤษฎีวิวัฒนาการ (Evaluations Theory) เป็นทฤษฎีที่มีแนวคิดว่ามนุษย์เป็นสิ่งมีชีวิต
ที่มีวิวัฒนาการอยู่เสมอ และขั้นตอนการพัฒนาของมนุษย์ได้กําหนดไว้เรียบร้อยแล้ว โดยเริ่มต้น
เป็นขั้นตอนตั้งแต่ เกิด แก่ และตายในที่สุด
5) ทฤษฎีของเพค (Peck’s Development Theory) ทฤษฎีนี้เชื่อว่าผู้สูงอายุวัยต้น (55 -
75 ปี) มีความแตกต่างกันทั้งลักษณะนิสัย และผู้สูงอายุวัยปลาย (75 ปีขึ้นไป) มีความแตกต่างกัน
ทั้งด้านลักษณะนิสัยและการปฏิสัมพันธ์ ทางด้านสังคม มีความเชื่อว่าผู้สูงอายุมีพัฒนาการ 3
ประการคือ
5.1 ความสามารถในการแยกความแตกต่างของตนกับบทบาทช่วงชีวิตที่ผ่านมา ความ
ภาคภูมิใจในตนเอง และความรู้สึกว่าตนเองนั้นมีคุณค่า ขึ้นอยู่กับบทบาทของหน้าที่การงาน
ในทางตรงกันข้าม เมื่อเกษียณอายุ บางคนมีความรู้สึกว่าตนเองไร้คุณค่า และถ้าความรู้สึก
ภาคภูมิใจและความมีคุณค่าของงานไม่ได้มาจากตําแหน่งหน้าที่ที่เคยทําหลังเกษียณอายุ
ความรู้สึกนั้นยังคงมีอยู่ เช่นผู้สูงอายุที่ชอบปลูกต้นไม้ จะพึงพอใจหลังเกษียณอายุ ที่ได้ทําสิ่งที่
ต้องการแทนงานอาชีพที่เคยทําประจํา
5.2 ความสามารถทางร่างการที่มีการเปลี่ยนแปลงตามธรรมชาติ ถ้าผู้สูงอายุนึกถึงสภาพ
ร่างกายยังมีความแข็งแรง จะทําให้ผู้สูงอายุยอมรับความสามารถทางร่างกายที่ลดลง และ
พยายามปรับตัวให้เหมาะสม ชีวิตจะมีความสุข แต่ถ้าผู้สูงอายุนึกถึงความถดถอยของร่างกายทํา
ให้ผู้สูงอายุมีความสุขและความพึงพอใจลดลง
5.3 ความสามารถในการการยอมรับว่าร่างกายของตนเปลี่ยนแปลงไปตามธรรมชาติกับ
ร่างกายก่อนสูงอายุ การยอมรับร่างกายตามธรรมชาตินี้ ทําให้ผู้สูงอายุยอมรับความตายโดยไม่
รู้สึกหวาดกลัว การยอมรับนี้ รวมไปถึงกิจกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวกับความตายด้วย ในทางตรงข้ามผู้ที่
ยึดติดกับสภาพร่างกายขณะที่อยู่ในวัยน้อยกว่า จะพยายามยืดชีวิตไว้ให้ยาวนานที่สุด โดยไม่พึง
พอใจกับสภาพที่เป็นอยู่ และมีความหวาดกลัวกับความตาย
จากทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับผู้สูงอายุทั้งหมดที่ได้กล่าวมานี้ สามารถสรุปได้ว่า ทฤษฎีที่
เกี่ยวข้องกับผู้สูงอายุเป็นการศึกษาค้นคว้าการเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย จิตใจ และสังคมที่เกิด

www.ssru.ac.th
(47)

ขึ้นกับผู้สูงอายุและยังกล่าวถึงหน้าที่ของสังคมในการปฏิบัติต่อผู้สูงอายุ เพื่อให้ผู้สูงอายุสามารถ
ดํารงชีวิตในบั้นปลายได้อย่างมีคุณภาพและมีความสุข
แนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการเตรียมความพร้อมเมื่อเข้าสู่วัยผู้สูงอายุ
Castetter (1976) กล่าวว่า การเกษียณอายุงานเป็นกระบวนการให้บริการอย่างต่อเนื่อง
แก่คนงาน ซึ่งเป็นการรักษาระบบการทํางานไว้ โดยมีบุคลากรที่เหมาะสมกับงาน และอยู่ในเวลาที่
เหมาะสมในการปฏิบัติงาน
Burnside (1981) กล่าวว่า การเกษียณอายุงาน เป็นวงจรชีวิตในการประกอบอาชีพที่อยู่
ในช่วงต่ําสุดของการจ้างงาน ความรับผิดชอบของอาชีพและโอกาสในการทํางานต่างๆ จะลด
ต่ําลงอย่างสุดขีด บุคคลที่เกษียณอายุจะมีรายได้ในรูปของบําเหน็จโดยที่ตนไม่ต้องทํางาน ดังนั้น
การเกษียณอายุงานจึงเป็นบทบาททางสังคมที่กําหนดให้มีระบบตอบแทนตามสิทธิ หน้าที่ และ
ความสัมพันธ์กับคนอื่นนอกจากนี้การเกษียณอายุยังเป็นกระบวนการให้แต่ละบุคคลได้แสวงหาสิ่ง
ใหม่ หรือปลีกตัวออกจากสังคมเมื่อเกษียณอายุงานแล้ว หลักการจัดการศึกษาสําหรับผู้สูงอายุ
ยึดหลักความต้องการของผู้เกษียณอายุเอง คือ จัดตามความต้องการได้รับความรู้ ความต้องการ
ในการเข้ามามีส่วนร่วม และการพัฒนาศักยภาพถึงขีดสูงสุด
โดย Moody (1976) อธิบายว่า มีอยู่ 5 ประการ คือ
1) ความต้องการความรู้เพื่อสามารถดํารงตนอยู่ในสังคม ได้แก่ ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพ
อนามัยการปรับตัวด้านจิตใจ สังคม ร่างกาย และข้อมูลต่างๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อให้ดํารงชีวิตอยู่ได้
ด้วยดี
2) ความต้องการทักษะเพื่อสามารถเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ ได้
3) ความต้องการความรู้เพื่อสามารถถ่ายทอดให้กับสังคม ได้แก่ ความรู้เกี่ยวกับชุมชน
สภาพแวดล้อมรอบตัว เศรษฐกิจ สังคม การเมือง
4) ความต้องการความรู้เพื่อควบคุมสภาพแวดล้อม ได้แก่ ได้แก่ ความรู้และทักษะ เพื่อ
ถ่ายทอดความรู้ความสามารถให้แก่สังคม อาทิ ความรู้เกี่ยวกับการถ่ายทอด การอบรม และข้อมูล
เกี่ยวกับอาสาสมัครกิจกรรมต่างๆ
5) ความต้องการความรู้ที่จะพัฒนาตนเองให้ดีขึ้นกว่าเดิม ได้แก่ ความรู้และการศึกษาที่
จัดขึ้นในรูปแบบต่างๆ
นโยบายและมาตรการที่เกี่ยวข้องในการเตรียมความพร้อมเมื่อเข้าสู่วัยผู้สูงอายุ
ของผู้ใหญ่วัยแรงงาน
นโยบายและมาตรการที่เกี่ยวข้องในการเตรียมความพร้อมเมื่อเข้าสู่วัยผู้สูงอายุของผู้ใหญ่
วัยแรงงาน พบว่ามาตรการต่างๆ เพื่อรองรับผู้สูงอายุเหล่านั้นยังมีน้อย โดยเฉพาะมาตรการการ

www.ssru.ac.th
(48)

จัดการด้านสุภาพ การออม และการเรียนรู้ที่เหมาะสมให้กับผู้สูงอายุยังไม่แพร่หลาย (มูลนิธิ


สาธารณสุขแห่งชาติ , 2552) มีเพียงมาตรการของรัฐ เช่น รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
พุทธศักราช 2550 แผนผู้สูงอายุแห่งชาติ ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2545 - 2564) พระราชบัญญัติผู้สูงอายุ
พ.ศ. 2546 และแผนงานและนโยบายของกระทรวงต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ดังรายละเอียดต่อไปนี้
แผนนโยบายของรัฐที่เกี่ยวกับงานผู้สูงอายุ
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 เป็นกฎหมายสูงสุด ว่าด้วยการจัด
ระเบียบการปกครองราชอาณาจักรไทย ถือเป็น กรอบนโยบายในการบริหารและพัฒนาประเทศ
โดยได้ระบุประเด็น การบริหารประเทศต่างๆ ดังเช่น หมวด 1 มาตรา 4 ศักดิศรีความเป็นมนุษย์
สิทธิ เสรีภาพและความเสมอภาคของบุคคลย่อมได้รับความคุ้มครอง มาตรา 5 ประชาชนชาวไทย
ไม่ว่าเหล่ากําเนิด เพศ หรือศาสนาใด ย่อมอยู่ในความคุ้มครองแห่งรัฐธรรมนูญนี้เสมอกัน
นอกจากนี้ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับนี้ มีเนื้อหาสาระตามหมวดต่างๆ เช่น สิทธิ
เสรีภาพของชนชาวไทย โดยเฉพาะประเด็นเกี่ยวกับ สิทธิและเสรีภาพในการศึกษา สิทธิในการ
ได้รับบริการสวัสดิการจากรัฐ นโยบายด้านการศึกษา หน้าที่ของชาวไทย เป็นต้น ดังนี้
สิทธิและเสรีภาพในการศึกษา
มาตรา 49 บุคคลย่อมมีสิทธิเสมอกันในการรับการศึกษาไม่น้อยกว่าสิบสองปีที่รัฐจะต้อง
จัดให้อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพ โดยไม่เก็บค่าใช้จ่ายผู้ยากไร้ ผู้พิการหรือทุพพลภาพ หรือผู้อยู่ใน
สภาวะยากลําบาก ต้องได้รับสิทธิตามวรรคหนึ่งและการสนับสนุนจากรัฐเพื่อให้ได้รับการศึกษา
โดยทัดเทียมกับบุคคลอื่น การจัดการศึกษาอบรมขององค์กรวิชาชีพหรือเอกชน การศึกษา
ทางเลือกของประชาชน การเรียนรู้ด้วยตนเอง และการเรียนรู้ตลอดชีวิต ย่อมได้รับการคุ้มครอง
และส่งเสริมที่เหมาะสมจากรัฐ
มาตรา 50 บุคคลย่อมมีเสรีภาพในทางวิชาการ การศึกษาอบรม การเรียนการสอน การ
วิจัย และการเผยแพร่งานวิจัยตามหลักวิชาการ ย่อมได้รับความคุ้มครอง ทั้งนี้เท่าที่ไม่ขัดต่อหน้าที่
ของพลเมืองหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน
สิทธิในการได้รับบริการสวัสดิการจากรัฐ
มาตรา 53 บุคคลซึ่งมีอายุเกิน 60 ปีบริบูรณ์ และไม่มีรายได้เพียงพอแก่การยังชีพ มีสิทธิ
ได้รับสวัสดิการ สิ่งอํานวยความสะดวกอันเป็นสาธารณะ และการช่วยเหลือที่เหมาะสมจากรัฐ
นโยบายด้านการศึกษา
มาตรา 80 (3) พัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการจัดการศึกษาในทุกระดับและทุกรูปแบบ
ให้สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคม จัดให้มีแผนการศึกษาแห่งชาติ

www.ssru.ac.th
(49)

กฎหมายเพื่อพัฒนาการศึกษาของชาติ จัดให้มีการพัฒนาคุณภาพครู และบุคลากรทางการศึกษา


ให้ก้าวหน้า ทันการเปลี่ยนแปลงของสังคมโลก รวมทั้งปลูกฝังให้ผู้เรียนมีจิตสํานึกของความเป็น
ไทย มีระเบียบวินัย คํานึงถึงประโยชน์ส่วนรวม และยึดมั่นในการปกครองระบบประชาธิปไตยอันมี
พระมหากษัตริย์เป็นประมุข
มาตรา 80 (4) ส่งเสริมและสนับสนุนการกระจายอํานาจเพื่อให้องค์กรปกครองส่วน
ท้องถิ่น ชุมชน องค์การทางศาสนาและเอกชน จัดและมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนา
มาตรฐานคุณภาพการศึกษา ให้เท่าเทียมและสอดคล้องกับแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ
มาตรา 80 (5) ส่งเสริมและสนับสนุนการศึกษา วิจัยในศิลปะวิทยาการแขนงต่างๆ และ
เผยแพร่ข้อมูล ผลการศึกษา วิจัยที่ได้รับทุนสนับสนุนการศึกษาวิจัยจากรัฐ
มาตรา 80 (6) ส่งเสริมและสนับสนุนความรู้รักสามัคคี และการเรียนรู้ ปลูกจิตสํานึกและ
เผยแพร่ศิลปวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียม ประเพณีของชาติตลอดจนค่านิยมอันดีงานและภูมิ
ปัญญาท้องถิ่น
แผนผู้สูงอายุแห่งชาติ ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2545 - 2564)
ในปัจจุบันจํานวนผู้สูงอายุและสัดส่วนผู้สูงอายุ (ผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปี ขึ้นไป) ของประเทศ
ไทยเพิ่มขึ้นในอัตราที่รวดเร็ว ทําให้โครงสร้างประชากรของประเทศไทยกําลังเคลื่อนเข้าสู่ระยะที่
เรียกว่า " ภาวะประชากรผู้สูงอายุ (Population Aging) " อันจะมีผลต่อสภาพทางสังคม สภาวะ
เศรษฐกิจและการจ้างงาน ตลอดจนการจัดสรรทรัพยากรทางสุขภาพและสังคมของประเทศอย่าง
ต่อเนื่องในระยะยาว การกําหนดแผนระยะยาวที่เหมาะสมและเป็นรูปธรรมสําหรับการเปลี่ยนและ
พัฒนา จึงเป็นที่ตระหนักทั้งของรัฐและประชาคมต่าง ๆ ว่ามีความสําคัญในลําดับต้น ยิ่งไปกว่านั้น
การศึกษาวิจัยต่อเนื่องการติดตาม ประเมินผล การปรับปรุงแผนระยะยาวด้านผู้สูงอายุเป็นระยะ
มีความจําเป็นเช่นเดียวกัน นอกจากนี้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 ได้ระบุใน
มาตรา 54 และมาตรา 80 ถึงภารกิจที่จะต้องมีต่อประชากรสูงอายุ และปี พ.ศ. 2542 ได้มีการ
จัดทําปฏิญญาผู้สูงอายุไทยขึ้นอันเป็นภารกิจที่สังคม และรัฐพึงมีต่อผู้สูงอายุ โดยมีสาระสําคัญ 9
ประการ ซึ่งจากเหตุผลข้างต้นเป็นไปเพื่อให้ถึงเป้าหมายแห่งความมั่นของสังคม แผนดังกล่าวนี้มี
วิสัยทัศน์ " ผู้สูงอายุเป็นหลักชัยของสังคม " โดยประชากรผู้สูงอายุที่มีสถานภาพดี (สุขภาพดีทั้ง
กายและจิต ครอบครัวอบอุ่นมีสังคมที่ดี มีหลักประกันที่มั่นคง ได้รับสวัสดิการและการบริการที่
เหมาะสมอยู่อย่างมีคุณค่า มีศักดิศรี พึ่งตนเองได้ มีส่วนร่วม มีโอกาสเข้าถึงข้อมูลและข่าวสาร
อย่างต่อเนื่อง ) การสร้างหลักประกันในวัยสูงอายุเป็นกระบวนการสร้างความมั่นคงให้แก่สังคม
ผู้สูงอายุมีคุณค่าและศักยภาพ สมควรได้รับการส่งเสริมสนับสนุนให้มีส่วนร่วมอันเป็นประโยชน์ต่อ

www.ssru.ac.th
(50)

สังคม ผู้สูงอายุมีศักดิ์ ศรีและสมควรดํารงชีวิตอยู่ในชุมชนของตนได้อย่างมีคุณภาพ ที่


สมเหตุสมผล และสมวัย ผู้สูงอายุส่วนใหญ่ไม่ใช่บุคคลด้อยโอกาสหรือเป็นภาระต่อสังคมและ
ถึงแม้ผู้สูงอายุจํานวนหนึ่งจะประสบความทุกข์ยาก และต้องการการเกื้อกูลจากสังคมและรัฐ แต่
เป็นเพียงบางช่วงเวลาของวัยสูงอายุเท่านั้น ผู้สูงอายุที่ทุกข์ยากและต้องการการเกื้อกูล หากมีการ
ดําเนินการที่เหมาะสมจะช่วยให้ผู้สูงอายุเหล่านี้ส่วนใหญ่ดํารงอยู่ในชุมชนได้อย่างต่อเนื่อง
ครอบครัวและชุมชนเป็นสถาบันหลักในการเกื้อหนุนผู้สูงอายุ ระบบสวัสดิการและบริการจะต้อง
สามารถรองรับผู้สูงอายุให้สามารถดํารงอยู่กับครอบครัวและชุมชนได้อย่างมีคุณภาพ รัฐต้อง
ส่งเสริมและสนับสนุนให้เอกชนเข้ามามีส่วนร่วมในระบบบริการ
แผนผู้สูงอายุแห่งชาติ ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2545 - 2564) มีวัตถุประสงค์ ดังนี้
1) เพื่อสร้างจิตสํานึกให้คนในสังคมตระหนักถึงผู้สูงอายุในฐานะบุคคลที่มีประโยชน์ต่อ
สังคม
2) เพื่อให้ประชากรทุกคนตระหนักถึงความสําคัญของการเตรียมการและมีการเตรียมการ
เข้าสู่การเป็นผู้สูงอายุที่มีคุณภาพ
3) เพื่อให้ผู้สูงอายุดํารงชีวิตอย่างมีศักดิ์ศรี พึ่งตนเองได้ มีคุณภาพชีวิตและมีหลักประกัน
4) เพื่อให้ประชาชน ครอบครัว ชุมชน องค์กรภาครัฐและเอกชนมีส่วนร่วมในภารกิจด้าน
ผู้สูงอายุ
5) เพื่อให้มีกรอบและแนวทางปฏิบัติสําหรับส่วนต่าง ๆ ในสังคมทั้งภาคประชาชนชุมชน
องค์กรภาครัฐและเอกชนที่ปฏิบัติงานเกี่ยวกับผู้สูงอายุได้ปฏิบัติงานอย่างประสานและสอดคล้อง
กัน
แผนผู้สูงอายุแห่งชาติ ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2545 - 2564) จัดแบ่งเป็น 5 ยุทธศาสตร์ ดังนี้
1) ยุทธศาสตร์ด้านการเตรียมความพร้อมของประชากรเพื่อวัยสูงอายุที่มีคุณภาพ
ประกอบด้วย 3 มาตรการหลัก
1.1 มาตรการหลักประกันด้านรายได้เพื่อวัยสูงอายุ
1.2 มาตรการการให้การศึกษาและการเรียนรู้ตลอดชีวิต
1.3 มาตรการการปลุกจิตสํานึกให้คนในสังคมตระหนักถึงคุณค่าและศักดิ์ศรีของผู้สูงอายุ
2. ยุทธศาสตร์ด้านการส่งเสริมผู้สูงอายุ ประกอบด้วย 6 มาตรการหลัก
2.1 มาตรการส่งเสริมความรู้ด้านการส่งเสริมสุขภาพ ป้องกัน ดูแลตนเองเบื้องต้น
2.2 มาตรการส่งเสริมการอยู่ร่วมกันและสร้างความเข้มแข็งขององค์กรผู้สูงอายุ
2.3 มาตรการส่งเสริมด้านการทํางานและการหารายได้ของผู้สูงอายุ

www.ssru.ac.th
(51)

2.4 มาตรการสนับสนุนผู้สูงอายุที่มีศักยภาพ
2.5 มาตรการส่งเสริม สนับสนุนสื่อทุกประเภทให้มีรายการเพื่อผู้สูงอายุ และสนับสนุน
ให้ผู้สูงอายุได้รับความรู้ และสามารถเข้าถึงข่าวสารและสื่อ
2.6 มาตรการส่งเสริมและสนับสนุนให้ผู้สูงอายุมีที่อยู่อาศัยและสภาพแวดล้อมที่
เหมาะสมและปลอดภัย
3. ยุทธศาสตร์ด้านระบบคุ้มครองทางสังคมสาหรับผู้สูงอายุ ประกอบด้วย 4
มาตรการหลัก
3.1 มาตรการคุ้มครองด้านรายได้
3.2 มาตรการหลักประกันด้านคุณภาพ
3.3 มาตรการด้านครอบครัว ผู้ดูแล และการคุ้มครอง
3.4 มาตรการระบบบริการและเครือข่ายการเกื้อหนุน
4. ยุทธศาสตร์ด้านการบริหารจัดการเพื่อการพัฒนางานด้านผู้สูงอายุระดับชาติ
และการพัฒนาบุคลากรด้านผู้สูงอายุ ประกอบด้วย 2 มาตรการหลัก
4.1 มาตรการการบริหารจัดการเพื่อการพัฒนางานด้านผู้สูงอายุระดับชาติ
4.2 มาตรการส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาบุคลากรด้านผู้สูงอายุ
5. ยุทธศาสตร์ด้านการประมวลและพัฒนาองค์ความรู้ด้านผู้สูงอายุและ
การติดตามประเมินผลการดาเนินการ ตามแผนผู้สูงอายุแห่งชาติ ประกอบด้วย 4 มาตรการ
หลัก ได้แก่
5.1 มาตรการสนับสนุนและส่งเสริมให้หน่วยงานวิจัยดําเนินการประมวล และพัฒนาองค์
ความรู้ด้านผู้สูงอายุที่จําเป็นสําหรับการกําหนดนโยบาย และการพัฒนาการบริการหรือการ
ดําเนินการที่เป็นประโยชน์แก่ผู้สูงอายุ
5.2 มาตรการสนับสนุนและส่งเสริมการศึกษาวิจัยด้านผู้สูงอายุ โดยเฉพาะที่เป็น
ประโยชน์ต่อการกําหนดนโยบาย การพัฒนาการบริการและการส่งเสริมให้ผู้สูงอายุสามารถ
ดํารงชีวิตอยู่ในสังคมอย่างเหมาะสม
5.3 มาตรการดําเนินการให้มีการติดตามประเมินผลการดําเนินการตามแผนผู้สูงอายุ
แห่งชาติที่มีมาตรฐานอย่างต่อเนื่อง
5.4 มาตรการพัฒนาระบบข้อมูลทางด้านผู้สูงอายุให้เป็นระบบและทันสมัยโดยดัชนีรวม
ของยุทธศาสตร์ พิจารณาจากดัชนีต่อไปนี้
1) อายุคาดหวังที่ยังดูแลตนเองได้ เป้าหมายเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
2) สัดส่วนอายุคาดหวังที่ยังดูแลตนเองได้ต่ออายุคาดหวัง เป้าหมายมีสัดส่วนไม่ลดลง

www.ssru.ac.th
(52)

3) ดัชนีคุณภาพภาวะประชากรสูงอายุ พิจารณาจากผลรวมของดัชนีรายมาตรการที่
คัดเลือกจํานวน 12 ดัชนี เป้าหมายเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง มีหน่วยงานกลางในการดําเนินงาน คือ
สํานักงานเลขานุการของคณะกรรมการส่งเสริมและประสานงานผู้สูงอายุแห่งชาติ (กสผ.) ซึ่ง
ประกอบด้วย 3 ฝ่าย ได้แก่ สํานักงานคณะกรรมการส่งเสริมและประสานงานสตรีแห่งชาติ (กสส.)
กองสวัสดิการสงเคราะห์ กรมประชาสงเคราะห์ กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม และสถาบัน
เวชศาสตร์ผู้สูงอายุ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ซึ่งจะทําให้เกิดปัญหาบางประการ เช่น
ความเป็นเอกภาพและการดําเนินการตามภารกิจอย่างต่อเนื่องอาจจะไม่เข้มแข็งเพียงพอ แม้จะมี
การรับรู้กันอย่างกว้างขวางแล้วว่า โครงสร้างประชากรไทยกําลังก้าวเข้าสู่สังคมสูงอายุ โดย
อัตราส่วนประชากรผู้สูงอายุจะเพิ่มจากร้อยละ 12 ในปี พ.ศ.2551 เป็นร้อยละ 21.5 ในปี พ.ศ.
2568 หากรัฐไม่ได้วางแผนตั้งแต่ตอนนี้ ผู้สูงอายุจะกลายเป็นภาระใหม่ของคนวัยทํางานและเป็น
ภาระของรัฐ ซึ่งอาจทําให้ระบบสวัสดิการถึงกับล่มสลายได้ เพราะจะไม่มีงบประมาณเพียงพอใน
การดูแล ด้วยเหตุนี้ ทั้งภาครัฐและภาคเอกชนจึงควรให้ความสําคัญในเรื่องผู้สูงอายุ โดยให้
หลักประกันสังคมในด้านความมั่นคงทางเศรษฐกิจและสังคมแก่ผู้สูงอายุ ตลอดจนการมีส่วนร่วม
ในการพัฒนาสังคม ประเทศ เพื่อให้ผู้สูงอายุรู้สึกว่า เขายังเป็นบุคคลที่มีคุณค่าและมีศักดิ์ศรี
เหมือนกับบุคคลในวัยอื่นๆ ขณะเดียวกันผู้สูงอายุต้องตระหนักในสถานภาพของตนเอง ประพฤติ
ปฏิบัติตนให้เหมาะสมในทุกๆด้าน เพื่อให้เป็นทรัพยากรที่มีคุณค่าของสังคมและได้รับการยกย่อง
ต่อไป

2.6 งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
ปิยดา สมบัติวัฒนา 2550 ปัจจัยทางจิตสังคมที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการออมของนิสิต
ปริญญาตรี โครงการบริหารธุรกิจ ภาคสมทบ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ การศึกษามีความมุ่ง
หมายดังนี้ 1) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างเจตคติต่อการทําพฤติกรรมการออมวัดทางตรงและ
วัดทางอ้อม การคล้อยตามกลุ่มอ้างอิงเกี่ยวกับการทําพฤติกรรมการออมวัดทางตรงและวัด
ทางอ้อม การรับรู้ความสามารถในการควบคุมพฤติกรรมการออมวัดทางตรงและวัดทางอ้อม 2)
เพื่อศึกษาถึงปัจจัยที่ทํานายเจตนาในการทําพฤติกรรมการออมตามทฤษฎีพฤติกรรมตามแผน 3)
เพื่อศึกษาปัจจัยที่ทํานายพฤติกรรมการออม โดยใช้ปัจจัยตามทฤษฎีพฤติกรรมตามแผนร่วมกับ
ปัจจัยทางเศรษฐกิจ พฤติกรรมการออมในการศึกษาครั้งนี้ ประกอบด้วย การจัดสรรรายได้เพื่อเก็บ
เป็นเงินออมก่อนการใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภค การใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคตามความ
จําเป็นสอดคล้องกับรายได้และฐานะของตน และการจดบันทึกรายรับและรายจ่ายเป็นประจํา

www.ssru.ac.th
(53)

กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาคือ นิสิตที่กําลังศึกษาในระดับปริญญาตรีโครงการบริหารธุรกิจ ภาคสมทบ


มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ชั้นปีที่ 3 และ 4 ปีการศึกษา 2549 ภาคเรียนที่ 3 จํานวน 264 คน
ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นโดยจัดแบ่งขนาดแบบไม่เป็นสัดส่วน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา
เป็นแบบสอบถาม แบ่งออกเป็น 2 ชุด ชุดที่ 1 เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับลักษณะทางชีวสังคม
ปัจจัยทางเศรษฐกิจและปัจจัยทางจิตสังคมตามทฤษฎีพฤติกรรมตามแผน ชุดที่ 2 เป็น
แบบสอบถามพฤติกรรมการออม วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าสถิติพื้นฐาน โดยใช้ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่า
เบี่ยงเบนมาตรฐาน ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรวัดทางตรงและวัดทางอ้อมโดยการ
วิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของสเปียร์แมน ศึกษาปัจจัยทํานายเจตนาในการทําพฤติกรรม
การออมและพฤติกรรมการออม โดยใช้สถิติการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ ผลการศึกษาตาม
สมมติฐานการวิจัย มีดังนี้ 1) เจตคติต่อการทําพฤติกรรมการออม (วัดทางตรง) และเจตคติต่อการ
ทําพฤติกรรมการออม (วัดทางอ้อม) มีความสัมพันธ์กันทางบวกอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ
.01 มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เท่ากับ .511 2) การคล้อยตามกลุ่มอ้างอิงเกี่ยวกับการทํา
พฤติกรรมการออม (วัดทางตรง) และการคล้อยตามกลุ่มอ้างอิงเกี่ยวกับการทําพฤติกรรมการออม
(วัดทางอ้อม) มีความสัมพันธ์กันทางบวกอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .01 มีค่าสัมประสิทธิ์
สหสัมพันธ์เท่ากับ .491 3) การรับรู้ความสามารถในการควบคุมพฤติกรรมการออม (วัดทางตรง)
และการคล้อยตามกลุ่มอ้างอิงเกี่ยวกับการทําพฤติกรรมการออม (วัดทางอ้อม) มีความสัมพันธ์กัน
ทางบวกอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .01 มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เท่ากับ .254 4) เจตคติ
ต่อการทําพฤติกรรมการออม (วัดทางตรง) การคล้อยตามกลุ่มอ้างอิงเกี่ยวกับการทําพฤติกรรมการ
ออม (วัดทางตรง ) และการรับรู้ความสามารถในการควบคุมพฤติกรรมการออม (วัดทางตรง )
สามารถร่วมกันทํานายเจตนาในการทําพฤติกรรมการออมได้ร้อยละ 34.60 อย่างมีนัยสําคัญทาง
สถิติที่ระดับ .001 5) เงินได้ในปัจจุบัน รายได้ของบิดามารดา เจตนาในการทําพฤติกรรมการออม
และการรับรู้ความสามารถในการควบคุมพฤติกรรมการออม (วัดทางตรง ) ร่วมกันทํานาย
พฤติกรรมการออมได้ร้อยละ 20.00 อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .001 โดยรายได้ของบิดา
มารดาเป็นปัจจัยทํานายที่ไม่มีนัยสําคัญทางสถิติ
รุ่งนภา ศรีธัญญะโชติ 2550 พฤติกรรมการออมเพื่อใช้จ่ายในอนาคตของประชาชน :
กรณีศึกษาผู้บริหารศูนย์การขายบริษัทไทยประกันชีวิตจํากัด สาขาธนบุรี กรุงเทพมหานคร
การศึกษาเรื่อง “พฤติกรรมการออมเพื่อใช้จ่ายในอนาคตของประชาชน : กรณีศึกษาผู้บริหารศูนย์
การขาย บริษัทไทยประกันชีวิตจํากัด สาขาธนบุรี กรุงเทพมหานคร” มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึง
พฤติกรรมการออมเพื่อใช้จ่ายในอนาคต ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการออมเพื่อใช้จ่าย

www.ssru.ac.th
(54)

ในอนาคต และแนวทางในการส่งเสริมการออมของประชาชน ประชากรที่ศึกษาคือผู้บริหาร ศูนย์


การขายบริษัท ไทยประกันชีวิต จํากัด สาขาธนบุรี กรุงเทพมหานคร โดยศึกษาจากประชากร
ทั้งหมด จํานวน 197 คน ดําเนินการเก็บข้อมูลจากแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าความถี่
และร้อยละด้านข้อมูลทั่วไปและข้อมูลเกี่ยวกับพฤติกรรมการออม วิเคราะห์ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์
ต่อพฤติกรรมการออมโดยสถิติไคว์สแควร์ (Chi-square) ผลการศึกษาพบว่าพฤติกรรมการออม
ของผู้ตอบแบบสอบถาม 1) มีความถี่ในการออมเพื่อใช้จ่ายในอนาคตเป็นครั้งคราว (ทุก 6 เดือน)
2) ส่วนใหญ่มีปริมาณการออมต่อปีอยู่ระหว่าง 50,000-100,000 บาท 3) มีการวางแผนการออมไว้
ล่วงหน้า 4) มีวัตถุประสงค์ทางการออมเพื่อใช้จ่ายในอนาคตเพื่อใช้จ่ายยามฉุกเฉิน , เจ็บป่วย, ชรา
5) มีวิธีการออมเพื่อใช้จ่ายในอนาคตโดยการทําประกันชีวิต 6) มีการออมมาแล้วมากกว่า 10 ปี
ด้านปัจจัยที่ความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการออมของผู้บริหารศูนย์การขายคือ 1) การศึกษามี
ความสัมพันธ์กับพฤติกรรมในการออมเรื่องปริมาณการออมต่อปีและระยะเวลาการออม 2) รายได้
รวมต่อปีมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมในการออมเรื่องปริมารการออมต่อวัตถุประสงค์ในการออม
แระยะเวลาในการออม 3) จํานวนคนในอุปการะมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมในการออมเรื่อง
ปริมาณการออมวัตถุประสงค์ในการออมวิธีการออมและความถี่ในการออม 4) ภาระหนี้สินมี
ความสัมพันธ์กับพฤติกรรมในการออมเรื่องปริมาณการออมต่อปี 5) อัตราผลตอบแทนจากการ
ออมไม่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมในการออม 6) อัตราเงินเฟ้อในอนาคตที่มีความสัมพันธ์กับ
พฤติกรรมในการออมเรื่องผลต่อการออมในปัจจุบันมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมในการออมเรื่อง
ปริมาณการออม
ประยงค์ คูศิริสิน (2551, บทคัดย่อ ) ได้ทําการศึกษาเรื่อง ปัจจัยที่มีผลต่อการออมของ
ครัวเรือนในเขตอําเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ ผลการศึกษาพบว่า ครัวเรือนในเขตอําเภอเมือง
จังหวัดเชียงใหม่ จํานวน 331 ครัวเรือนคิดเป็นร้อยละ 82.8 ของกลุ่มตัวอย่างมีการออม ส่วน
ครัวเรือนที่เหลืออีก 69 ครัวเรือน คิดเป็นร้อยละ 17.2 ของกลุ่มตัวอย่างไม่มีการออมเนื่องจากการ
มีภาระรายจ่ายมาก เมื่อศึกษาในส่วนของครัวเรือนที่มีการออม 331 ครัวเรือนพบว่าหัวหน้า
ครัวเรือนส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุระหว่าง 46-50 ปี มีการศึกษาระดับปริญญาตรี สถานภาพ
สมรส หัวหน้าครัวเรือนส่วนใหญ่มีอาชีพหลัก คือ การค้าขาย มีอาชีพรอง คือ การรับจ้าง อาชีพ
หลักของคู่สมรส คือ การรับจ้าง จํานวนบุตรที่อยู่ในการดูแล 2 คนรายได้รวมของครัวเรือน
30,001-40,000 บาทต่อเดือน รายจ่ายรวมของครัวเรือน 30,001-40,000บาทต่อเดือน ภาระ
รายจ่ายของครัวเรือนส่วนใหญ่เป็นค่าใช้จ่ายด้านอาหาร เสื้อผ้า-ของใช้โดยมีการใช้บัตรเครดิตเพื่อ
ชําระค่าใช้จ่าย ซึ่งครัวเรือนส่วนใหญ่มีบัตรเครดิต 2 ใบ และในการใช้บัตรเครดิตแต่ละครั้งมีการ

www.ssru.ac.th
(55)

คิดถึงภาระหนี้สินที่จะตามมาก่อนใช้ โดยมีหนี้สินรวมของครัวเรือน 100,001-500,000 บาทและ


ภาระหนี้สินส่วนใหญ่ของครัวเรือน เป็นหนี้สินประเภทหนี้บัตรเครดิต เช่าซื้อสินค้าอุปโภคและเช่า
ซื้อยานพาหนะด้านพฤติกรรมการออมของครัวเรือน พบว่า ภาคครัวเรือนในเขตอําเภอเมือง
จังหวัดเชียงใหม่ รับทราบถึงนโยบายเศรษฐกิจพอเพียงของรัฐบาล แต่มีความรู้ในระดับรู้ปาน
กลาง โดยมีระยะเวลาการออมของครัวเรือน 10-12 ปี ด้านรูปแบบการออมของครัวเรือน พบว่า
ครัวเรือนในเขตอําเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ มีการเลือกใช้บริการของธนาคาร กองทุน
ประกันสังคม และกองทุนบําเหน็จบํานาญข้าราชการในรูปแบบเงินฝากต่างๆ เงินสมทบ
ประกันสังคมและเงินสะสมกองทุนบําเหน็จบํานาญข้าราชการ ตามลําดับ นอกจากนี้ครัวเรือนยังมี
การออมนอกระบบสถาบันการเงินในรูปแบบของการซื้อทองคํา และการซื้ออสังหาริมทรัพย์ เช่น
ที่ดิน การศึกษาปัจจัยต่าง ๆ ที่มีผลต่อการ ออมของครัวเรือนพบว่า ปัจจัยทางการตลาดที่มีผลต่อ
การออมของครัวเรือนในเขตอําเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ ในด้านผลิตภัณฑ์ การออมคือ การมีให้
เลือกหลายรูปแบบและเป็นผลิตภัณฑ์ที่ทําให้เงินออมมีความปลอดภัยไม่ลดมูลค่า ด้าน
ผลตอบแทนจากการออมคืออัตราผลตอบแทนที่ได้รับ และด้านการส่งเสริมการตลาดของสถาบัน
การเงิน คือ การมีเจ้าหน้าที่มาเยี่ยมถึงบ้าน เชื้อเชิญให้ออมเงิน การจัดกิจกรรมเพื่อกระตุ้นการ
ออมเงินและมีการรณรงค์การออมผ่านสื่อ
บุณฑริก ศิริกิจจาขจร กล่าวว่า กองทุนการออมแห่งชาติ (National Savings Fund) การ
ออมในทุกภาคส่วนถือเป็นรากฐานและปัจจัยสําคัญสําหรับประเทศ การปลูกฝังนิสัยรักการออม
การสอนวินัยในการออม รวมถึงการรู้จักวางแผนทางการเงินส่วนบุคคล ก็ถือเป็นการสร้าง
เสถียรภาพและความยั่งยืนให้ระบบเศรษฐกิจ โดยการออมที่มากพอจะทําให้ประเทศไม่ต้องอาศัย
การพึ่งพาเงินทุนจากต่างประเทศ การสร้างภูมิคุ้มกันของระบบเศรษฐกิจของประเทศไทย ซึ่งถือ
เป็นหนึ่งในยุทธศาสตร์การปรับโครงสร้างเศรษฐกิจให้สมดุลและยั่งยืน ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจ
และสังคมแห่งชาติฉบับที่ 10 พ.ศ. 2550 - 2554 (สํานักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและ
สังคมแห่งชาติ , 2551) ให้ความสําคัญกับการส่งเสริมการออมอย่างเป็นระบบเพื่อเป็นแหล่งระดม
ทุน และเป็นหลักประกันชีวิต จากข้อมูลการสํารวจภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือนของ
สํานักงานสถิติแห่งชาติในช่วงปี พ.ศ. 2539 - 2551 พบว่า อัตราการออมของกลุ่มผู้มีรายได้น้อย
ลดลงอย่างต่อเนื่อง พร้อมกับการเพิ่มขึ้นของหนี้ภาคครัวเรือน สอดคล้องกับผลงานวิจัยเรื่องการ
ออมในประเทศไทย : เราออมพอหรือไม่ โดย ดร.กอบศักดิ์ ภูตระกูล นายธรรมนูญ สดศรีชัย และ
ดร.เกียรติพงศ์ อริยปรัชญา พบว่า การออมภาคครัวเรือนที่ลดลงมีปัจจัยสําคัญ คือ การสามารถ
เข้าถึงแหล่งกู้ยืมเงินทุนได้สะดวกขึ้น การมีโครงการประกันสุขภาพของรัฐบาล ซึ่งทําให้ภาค

www.ssru.ac.th
(56)

ครัวเรือนลด การออมเงินสําหรับใช้ในยามฉุกเฉิน นอกจากนี้งานวิจัยของวรเวศม์ สุวรรณระดา


และสมประวิณ มันประเสริฐ พบว่า ระดับรายได้และความสม่ําเสมอของรายได้ รวมถึงการมี
ลักษณะนิสัยรู้จักการวางแผนในการดําเนินชีวิตจะส่งผลให้ผู้มีงานทําเป็นผู้ออมเงิน นอกจากนั้น
การมีความรู้เกี่ยวกับการเงินจะส่งผลต่อการเป็นผู้ออมเงินได้เช่นกัน ในทางตรงกันข้าม หากผู้มี
งานต้องกู้ยืมเงินและมีบุตรมากขึ้นก็จะมีแนวโน้มกลายเป็นผู้ไม่ออมเงิน ซึ่งปัจจัยดังกล่าวมี
อิทธิพลคล้ายคลึงต่อพฤติกรรมการออมเงินระยะยาวเพื่อการดํารงชีวิตยามชราภาพ เช่นกัน ใน
ส่วนของระดับอัตราการออมเงินของผู้มีงานทําที่ออมได้นั้น ลักษณะนิสัยรู้จักการวางแผนการออม
มีส่วนสําคัญในการเพิ่มระดับอัตราการออม ขณะเดียวกัน การอยู่ในระดับการออมภาคบังคับ
จํานวนบุตร การกู้ยืมจะส่งผลให้ระดับการออมลดลง
นันทกา นันทวิสัย 2552 การศึกษาเปรียบเทียบภาวะการออมของครัวเรือนในภาคเกษตร
และนอกภาคเกษตร การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบภาวะการออมของ
ครัวเรือนในภาคการเกษตรและนอกภาคการเกษตร 2) เพื่อศึกษาปัจจัยกําหนดการออมภาค
ครัวเรือน ในภาคการเกษตรและนอกภาคการเกษตร 3) เพื่อศึกษาความยืดหยุ่นของการออมที่มี
ต่อรายได้ของภาคครัวเรือน ในภาคการเกษตรและนอกภาคการเกษตร โดยใช้ข้อมูลของสานักงาน
สถิติแห่งชาติ รายงาน การสํารวจภาวะ เศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือน พ .ศ. 2547 เป็น
ฐานข้อมูลในการศึกษา และเป็นการสํารวจทั่วประเทศ มีตัวอย่างครัวเรือน 34,843 ครัวเรือน และ
อาศัยโปรแกรมสําเร็จรูปในการคํานวณหาค่าทางสถิติของความสัมพันธ์ต่าง ๆ โดยสมการถดถอย
ในรูปของลอการิทึมธรรมชาติ (Natural Logarithm) ผลการศึกษา พบว่า การออมโดยเฉลี่ยของ
ครัวเรือนในภาคเกษตร เท่ากับ 1,122 บาทต่อเดือนและการออมโดยเฉลี่ยของครัวเรือน นอกภาค
เกษตร เท่ากับ 2,875 บาทต่อเดือน ส่วนปัจจัยกําหนดการออมครัวเรือนในภาคเกษตร อย่างมี
นัยสําคัญทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 มี 3 ปัจจัย ได้แก่ รายได้รวม ค่าใช้จ่ายในการ
บริโภค การออมทรัพย์กับสถาบันการเงิน ซึ่งปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการออมในเชิงบวกมี 2 ปัจจัย
ได้แก่ รายได้รวม การออมทรัพย์กับสถาบันการเงิน ส่วนปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการออมในเชิงลบมี
1 ปัจจัย ได้แก่ ค่าใช้จ่ายในการบริโภค ปัจจัยกําหนดการออมครัวเรือนนอกภาคเกษตรอย่างมี
นัยสําคัญทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 มี 6 ปัจจัย ได้แก่ รายได้รวม ค่าใช้จ่ายในการ
บริโภค การออมทรัพย์กับสถาบันการเงิน จํานวนหนี้สินที่ต้องชาระคืน จํานวนสมาชิกที่อยู่ในวัย
พึ่งพิง และการศึกษาของหัวหน้าครัวเรือน อุดมศึกษา ซึ่งปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการออมในเชิง
บวกมี 3 ปัจจัย ได้แก่ รายได้รวม การออมทรัพย์กับสถาบันการเงิน และ การศึกษาของหัวหน้า
ครัวเรือนอุดมศึกษา ส่วนปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการออมในเชิงลบมี 3 ปัจจัย ได้แก่ ค่าใช้จ่ายใน

www.ssru.ac.th
(57)

การบริโภคจํานวนหนี้สินที่ต้องชาระคืน และจานวนสมาชิกที่อยู่ในวัยพึ่งพิงค่าความยืดหยุ่น ของ


การออมที่มีต่อรายได้ของภาคครัวเรือน ในภาคเกษตรและนอกภาคเกษตร มีค่าสัมประสิทธิ์เป็น
บวกเท่ากับ 1.399 ค่าความยืดหยุ่นของการออม ที่มีต่อรายได้ของภาคครัวเรือนในภาคเกษตร มี
ค่าสัมประสิทธิ์เป็นบวกเท่ากับ 1.545 และ ค่าความยืดหยุ่นของการออมที่มีต่อรายได้ของภาค
ครัวเรือนนอกภาคเกษตร มีค่าสัมประสิทธิ์เป็นบวกเท่ากับ 1.424
พัชรวัต ปิยะโอสถสรรค์ (2552, บทคัดย่อ) ได้ทําการวิจัยเรื่อง ยุทธศาสตร์การพัฒนาการ
ออมภาคประชาชน : ศึกษาเฉพาะกรณีการประกันชีวิต การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึง
ยุทธศาสตร์การประกันชีวิตที่มีต่อการ พัฒนาการออมผ่านการประกันชีวิต โดยเริ่มต้น จากคําถาม
การวิจัยถึงปัญหาและอุปสรรคการประกันชีวิต ศึกษาถึงสภาพการณ์ปัจจุบันและนโยบายการ
พัฒนาการประกันชีวิต การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหวังที่จะค้นหายุทธศาสตร์ที่เหมาะสมที่จะให้เกิด
การพัฒนาการประกันชีวิตอย่างยั่งยืน การวิจัยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์เอกสาร
ตํารา บทความ ทฤษฎี แนวคิด และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการประกันชีวิต วิเคราะห์จาการ
รวบรวมข้อมูลจากสัมภาษณ์ เจาะลึกจากผู้ให้ข้อมูลสําคัญ รวมถึงการสนทนากลุ่ม โดยได้นํา
ข้อมูลทั้ง 3 ส่วนมาวิเคราะห์ผสมผสาน เพื่อให้ได้ผลการวิเคราะห์ข้อมูลมีความสอดคล้องกันตาม
วัตถุประสงค์ของการวิจัย จากการศึกษาพบว่าปัญหาและอุปสรรคการประกันชีวิต ได้แก่
ประชาชนขาด ความรู้ ความเข้าใจ ในเรื่องการประกันภัย ประชาชนขาดความเชื่อถือศรัทธาใน
ธุรกิจของบริษัท รวมถึงตัวแทนและนายหน้าประกันภัย การขาดการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ การ
ขาดการสร้างและ พัฒนาบุคลากรในฝ่ายขายอย่างเป็นระบบ ด้านกฎหมาย กฎระเบียบที่
เกี่ยวข้องกับการประกันภัย เจ้าของและผู้บริหารบางรายไม่มีความรู้ความเข้าใจในธุรกิจอย่าง
แท้จริง การบริหารงานและ ฐานะความมั่นคงของบริษัท ด้านประสิทธิภาพขององค์กร การขาด
ผู้บริหารที่มีความรู้ ความสามารถในการบริหารงาน และยังพบอีกว่า สภาพการณ์ปัจจุบันและ
นโยบายการพัฒนาการประกันชีวิตนั้น ยุทธศาสตร์ที่รัฐบาลกําหนดจะเร่งให้คนไทยทําประกันชีวิต
มีจํานวนเพิ่มเป็น 30 % ภายในปี 2551 นั้นเป็นไปไม่ได้ในทางปฏิบัติ การดําเนินการแก้ไขปัญหา
การประกันชีวิตของ รัฐบาลที่ผ่านมาถือว่าไม่ประสบความสําเร็จ และเห็นควรให้มีการดําเนินการ
เพื่อกําหนดนโยบาย ให้มีการบูรณาการอย่างมีประสิทธิภาพยุทธศาสตร์ที่จะสามารถพัฒนาการ
ประกันชีวิตได้ ประกอบด้วย 1) ยุทธศาสตร์การเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจ และเพิ่ม
ประสิทธิภาพการ คุ้มครองประชาชนและผู้มีสิทธิประโยชน์ตามสัญญาประกันภัย 2) ยุทธศาสตร์
การเสริมสร้าง ประสิทธิภาพและมาตรฐานของบริษัทประกันภัย 3) ยุทธศาสตร์การส่งเสริม
บทบาทธุรกิจ ประกันภัยในการให้บริการและการมีส่วนร่วมพัฒนาเศรษฐกิจสังคมของประเทศ 4)

www.ssru.ac.th
(58)

ยุทธศาสตร์ การสนับสนุนและอํานวยความสะดวกของภาครัฐให้กับภาคธุรกิจประกันภัย 5)
ยุทธศาสตร์การ ปฏิรูปองค์กรกํากับดูแลให้มีความเป็นเลิศ อีกทั้งยังได้กําหนดให้มีการจัดตั้ง
คณะกรรมการ ยุทธศาสตร์การประกันภัยแห่งชาติขึ้นโดยจัดตั้งเป็นองค์กรอิสระ ประกอบด้วย
ตัวแทนจาก 3 ภาค ส่วน คือ ภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน เพื่อกําหนดยุทธศาสตร์การ
ประกันชีวิตให้พัฒนาไปอย่างยั่งยืน
กนิษฐ์ภาตุ ละมูล 2553 รายรับและการออมเงินของนักศึกษาม .อุบลราชธานี ในช่วง
ทศวรรษที่ 90 การออมภาคครัวเรือนมีสัดส่วนในรายได้ประชาชาติสูงถึงร้อยละ 14.4 ในปี 2532
แต่อัตราการออมภาคครัวเรือนถดถอยลงอย่างต่อเนื่อง นับแต่ปีนั้นเป็นต้นมา จนในปี 2546 อัตรา
การออมภาคครัวเรือนต่อรายได้ประชาชาติลดลงเหลือเพียงร้อยละ 3.8 เท่านั้นเอง รายงาน
ผลการวิจัยเรื่อง รายรับและการออมเงินของนักศึกษามหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ทําขึ้นมาเพื่อ
ศึกษาที่มาของรายรับและจํานวนเงินที่ได้รับตลอดจนการใช้เงินของนักศึกษามหาวิทยาลัย
อุบลราชธานี และเพื่อศึกษาการออมเงินของนักศึกษามหาวิทยาลัยอุบลราชธานี โดยวิธีการวิจัย
ดังต่อไปนี้ 1) ทําการศึกษาเกี่ยวกับ การรับเงินจากแหล่งใด การใช้เงิน จํานวนเงินที่ได้รับและ
จํานวนเงินที่ออมต่อเดือนของนักศึกษา โดยเริ่มเก็บข้อมูลจากวันที่ 24 สิงหาคม 2553 – 24
กันยายน 2553 ในบริเวณตามศูนย์อาหาร ห้องสมุด มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ด้วยวิธีการทํา
แบบสอบถาม 2)จัดเก็บข้อมูลในแบบสอบถาม และนําข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ ตรวจสอบความ
สมบูรณ์และความถูกต้องของแบบสอบถาม 3) ทําการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ โดยใช้เครื่อง
คอมพิวเตอร์ และโปรแกรม Excel ในการวิเคราะห์ 4) สรุปผลการวิจัย ผลการศึกษาพบว่า
รายรับต่อเดือนของของนักศึกษามหาวิทยาลัยอุบลราช ธานีส่วนใหญ่คือ 5000บาทต่อเดือน คิด
เป็นร้อยละคือ 32.26% โดยมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 4645.16 บาทต่อเดือนและนักศึกษามหาวิทยาลัย
อุบลราชธานีส่วนใหญ่ไม่มีการออมเงิน คิดเป็นร้อยละคือ 38%
นพแสน พรหมอินทร์ 2554 พฤติกรรมการออมและปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการออมเพื่อการ
ดารงชีพยามชราภาพของหัวหน้าครัวเรือนเกษตรกรลูกค้าธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์
การเกษตร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรม และปัจจัยที่
มีอิทธิพลต่อการออมเพื่อการดํารงชีพยามชราภาพของหัวหน้าครัวเรือนเกษตรกรลูกค้าธนาคาร
เพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ด้วยแบบจําลองโลจิท (Logit
Model) จากการสัมภาษณ์หัวหน้าครัวเรือนเกษตรกรจํานวน 400 ตัวอย่าง ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์
ถึง เดือนมีนาคม พ.ศ. 2554 ผลการศึกษาพบว่า หัวหน้าครัวเรือนเกษตรกรร้อยละ 41.80 ไม่มีการ
วางแผนการออมเงินเพื่อการดํารงชีพยามชราภาพ และหัวหน้าครัวเรือนเกษตรกรร้อยละ 40 ไม่มี

www.ssru.ac.th
(59)

การออมเพื่อการดํารงชีพยามชราภาพ เมื่อพิจารณาเฉพาะหัวหน้าครัวเรือนเกษตรกรที่มีการออม
เพื่อการดํารงชีพยามชราภาพ พบว่าหัวหน้าครัวเรือนเกษตรกรนิยมการออมรูปแบบกองทุนทวีสุข
และสลากออมทรัพย์ โดยปัจจัยในการตัดสินใจเลือกรูปแบบการออมแบบผูกพันระยะยาว ได้แก่
1) ให้ผลตอบแทนสูง 2) การจ่ายภาระผูกพันที่ได้รับเงินต้นคืนแน่นอนไม่สูญหาย และ 3) สามารถ
ถอนเงินต้นคืนได้ก่อนกําหนดเต็มจํานวน จากการศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการออมเพื่อการดํารง
ชีพยามชราภาพ พบว่า อัตราส่วนภาระพึ่งพิง การวางแผนชีวิต การวางแผนทางการเงิน ความรู้
ทางการเงิน และสัดส่วนสมาชิกในครัวเรือนที่ได้รับเบี้ยยังชีพคนชราต่อจํานวนสมาชิกในครัวเรือน
เป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการออมเพื่อการดํารงชีพยามชราภาพ

2.7 กรอบแนวคิดในการวิจัย

รูปแบบ
การออม
การเตรียมพร้อม
สู่วัยสูงอายุ

รายได้

ภาพที่ 1 กรอบแนวคิดในการวิจัย

www.ssru.ac.th
บทที่ 3

วิธีดาเนินการวิจัย

งานวิจัยนี้ได้ออกแบบการวิจัย เชิงสารวจ โดยเริ่มต้นจากขั้นตอนของการเก็บรวบรวม


ข้อมูลพื้นฐานทั้งลักษณะข้อมูลทางกายภาพ อาทิเช่น ที่ตั้งชุมชน ภูมิศาสตร์ สังคม และวัฒนธรรม
ตลอดจนวิถีชีวิตของคนในชุมชน และจากปรากฏการณ์ที่ได้จากการไปลงพื้นที่เพื่อศึกษา สารวจ
ปรากฏการณ์โดยรอบ ผู้วิจัยได้ดาเนินการตามขั้นตอนต่างๆดังต่อไปนี้
1. ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
2. เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
3. การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
4. การเก็บรวบรวมข้อมูล
5. การวิเคราะห์ข้อมูล

3.1 ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
การวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูล จากจานวนกลุ่ม
ตัวอย่าง คือ ศึกษาข้อมูลจากประชาชนวัยผู้ใหญ่ตอนต้น อายุ 30 – 40 ปี ที่อาศัยในเขตดุสิตโ ดยมี
กลุ่มตัวอย่าง จานวน 400 ตัวอย่าง

3.2 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
เครื่องมือและขั้นตอนการสร้างเครื่องมือหรือแบบสอบถามที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลมี
การดาเนินการสร้างตามลาดับ ดังนี้

www.ssru.ac.th
(61)

การวิจัยเชิงปริมาณ โดยศึกษาเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ทฤษฎี และเอกสารเนื้อหาที่


เกี่ยวข้อง เพื่อเป็นแนวทางในการสร้างแบบสอบถาม โดยแบ่งรูปแบบของแบบสอบถามที่ใช้ใน
การเก็บรวบรวมแบ่งเป็น 3 ส่วน คือ
ส่วนที่ 1 เป็นคาถามเกี่ยวกับข้อมูลทั่วไปทางประชากรศาสตร์ ของผู้ตอบ
แบบสอบถาม ได้แก่ เพศ อายุ สถานภาพสมรส การศึกษา อาชีพ และจานวนสมาชิกที่อาศัย
ส่วนที่ 2 เป็นคาถามเกี่ยวกับ ลักษณะของรายได้ การใช้จ่ายและการออม ได้แก่
รายได้ต่อเดือน(โดยประมาณ) รายจ่ายต่อเดือน(โดยประมาณ) มีการใช้จ่ายเกี่ยวกับ การออมโดย
วิธี
ส่วนที่ 3 เป็นคาถามเกี่ยวกับแรงบันดาลใจในการออม ใช้มาตราวัดแบบ Scale
เป็นคาถามแบบLikert Scale การให้คะแนน ผู้วิจัยได้ทาการแบ่งคะแนนตามมาตรวัด ดังนี้

แรงบันดาลใจมากที่สุด ให้ 5 คะแนน


แรงบันดาลใจมาก ให้ 4 คะแนน
แรงบันดาลใจปานกลาง ให้ 3 คะแนน
แรงบันดาลใจน้อย ให้ 2 คะแนน
แรงบันดาลใจน้อยที่สุด ให้ 1 คะแนน

การอภิปรายผลการวิจัยของลักษณะแบบสอบถามที่ใช้นี้ ผู้วิจัยใช้เกณฑ์เฉลี่ยใน
การอภิปรายผล 5 ระดับ ดังนี้(ศิริวรรณ เสรีรัตน์. 2548: 193-194)

ความกว้างของอันตรภาคชั้น = ข้อมูลที่มีค่าสูงสุด – ข้อมูลที่มีค่าต่าสุด


จานวนชั้น
= 5–1
5
= 0.8

เกณฑ์การแปรความหมายของค่าเฉลี่ย
คะแนนเฉลี่ยระหว่าง 4.21 – 5.00 หมายถึง แรงบันดาลใจมากที่สุด
คะแนนเฉลี่ยระหว่าง 3.41 – 4.20 หมายถึง แรงบันดาลใจมาก
คะแนนเฉลี่ยระหว่าง 2.61 – 3.40 หมายถึง แรงบันดาลใจปานกลาง

www.ssru.ac.th
(62)

คะแนนเฉลี่ยระหว่าง 1.81 – 2.60 หมายถึง แรงบันดาลใจน้อย


คะแนนเฉลี่ยระหว่าง 1.00 – 1.80 หมายถึง แรงบันดาลใจน้อยที่สุด

3.3 การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
ความเที่ยงตรง(Validity)
จากแบบสอบถามที่ได้จัดร่างมานาเสนอ เพื่อผ่านความเห็นชอบของผู้เชี่ยวชาญและนาไป
ทดสอบ(Pretest) กับกลุ่มประชากรเป้าหมายที่มีลักษณะใกล้เคียงกับกลุ่มตัวอย่าง แล้วนาผลการ
Pretest มาวิเคราะห์ความเชื่อถือได้(Reliablility)

การติดตามและควบคุมคุณภาพงานวิจัย
การคัดเลือกพนักงานเก็บข้อมูล เป็นผู้ที่มีประสบการณ์และความรู้ในการวิจัย พนักงานที่
ได้รับคัดเลือกจะศึกษาโครงการวิจัยเพื่อความเข้าใจในคุณค่า และความสาคัญของการวิจัยผ่าน
การอบรมกลยุทธ์ เทคนิคการเก็บรวบรวมข้อมูล การตีความของคาถาม เพื่อให้ได้คาตอบที่ตรง
และได้รับการทดสอบเก็บข้อมูลก่อนออกภาคสนาม

3.4 การเก็บรวบรวมข้อมูล

ในการวิจัย นี้ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูล จากจานวนกลุ่มตัวอย่าง คือ


ประชาชนอายุระหว่าง 30 – 40 ปี ในเขตดุสิต กรุงเทพมหานคร 400 ตัวอย่าง เมื่อรวบรวม
แบบสอบถามตามความต้องการแล้ว นามาตรวจสอบความถูกต้องและสมบูรณ์ของแบบสอบถาม
ทาการลงรหัส แล้วนาข้อมูลมาบันทึกลงเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยใช้โปรแกรม สาเร็จรูป ในการ
คานวณสถิติค่า ความถี่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ รวบรวมและนาเสนอด้วยตารางประกอบการบรรยาย
และนามาวิเคราะห์อย่างเป็นระบบ พร้อมทั้งสรุปเป็นคาตอบของการวิจัยที่ถูกต้องสมบูรณ์ต่อไป

3.5 การวิเคราะห์ข้อมูล
ผูว้ ิจยั ได้วเิ คราะห์ขอ้ มูลโดยใช้สถิติ ดังนี้
การวิเคราะห์สถิตเิ ชิงพรรณนา(Descriptive Analysis) โดยแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ
การวิจยั เชิงปริมาณ ค่าสถิตริ อ้ ยละ ( Percentage) สาหรับการวิเคราะห์สถิติเชิงพรรณนา
(Frequencies Statistics และ Descriptives Statistics)

www.ssru.ac.th
บทที่ 4

ผลการวิจัย

การวิจยั เรื่อง รายได้และรูปแบบการออมเพื่อการเตรียมพร้อมสู่วัยสูงอายุของประชาชน


อายุระหว่าง 30 – 40 ปี ในเขตดุสิต กรุงเทพมหานคร ผู้วิจัยได้ทาการรวบรวมข้อมูลโดย
แบบสอบถาม จากนั้นได้นาข้อมูลมาประเมินและวิเคราะห์ผลในเชิงปริมาณ ซึ่งสามารถสรุปผล
ออกมาได้เป็นดังนี้

ผลการวิจัยเชิงปริมาณ
จากจานวนกลุ่มตัวอย่าง คือ ประชาชนอายุระหว่าง 30 – 40 ปี ในเขตดุสิต
กรุงเทพมหานคร 400 ตัวอย่าง โดยใช้แบบสอบถาม ผลการวิจัยจะแบ่งออกเป็น 3 ตอน ดังนี้

ตอนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
ตอนที่ 2 ลักษณะของรายได้ การใช้จ่ายและการออม
ตอนที่ 3 แรงบันดาลใจในการออม

ตอนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
ตารางที่ 4.1 จานวนและร้อยละของกลุ่มตัวอย่างจาแนกตามเพศของผู้ตอบแบบสอบถาม
เพศ จานวน ร้อยละ
ชาย 118 29.5
หญิง 282 70.5
รวม 400 100.0

กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงมากกว่าเพศชาย โดยมีเพศหญิงจานวน 282 คน


คิดเป็นร้อยละ 70.5 และเพศชายจานวน 118 คน คิดเป็นร้อยละ 29.5

www.ssru.ac.th
(64)

ตารางที่ 4.2 จานวนและร้อยละของกลุ่มตัวอย่างจาแนกตามอายุของผู้ตอบแบบสอบถาม


อายุ(ปี) จานวน ร้อยละ
30-34 ปี 124 31.0
35-39 ปี 208 52.0
40 ปี 68 17.0
รวม 400 100.0

กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีอายุระหว่าง 35-39 ปีจานวน 208 คน คิดเป็นร้อยละ 52.0


รองลงมาอายุระหว่าง 30-34 ปีจานวน 124 คน คิดเป็นร้อยละ 31.0 และอายุ 40 ปีจานวน 68 คน
คิดเป็นร้อยละ 17.0

ตารางที่ 4.3 จานวนและร้อยละของกลุ่มตัวอย่างจาแนกตามสถานภาพของผู้ตอบแบบสอบถาม


สถานภาพ จานวน ร้อยละ
โสด 182 45.5
สมรสอยู่ด้วยกัน 188 47.0
สมรสแยกกันอยู.่ 7 1.8
หม้ายหย่าร้าง 19 4.8
หม้ายคู่สมรสเสียชีวิต 4 1.0
รวม 400 100.0

กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีสถานภาพสมรสอยู่ด้วยกัน จานวน 188 คน คิดเป็นร้อยละ 47.0


รองลงมาเป็นโสด จานวน 182 คน คิดเป็นร้อยละ 45.5 และหม้ายหย่าร้าง จานวน 19 คน คิดเป็น
ร้อยละ 4.8

ตารางที่ 4.4 จานวนและร้อยละของกลุ่มตัวอย่างจาแนกตามการศึกษาของผู้ตอบแบบสอบถาม


การศึกษา จานวน ร้อยละ
ประถมศึกษา 72 18.0
ม.ต้น 57 14.3
ม.ปลาย/ปวช. 55 13.8
ปวส./อนุปริญญา 18 4.5

www.ssru.ac.th
(65)

ตารางที่ 4.4 (ต่อ) จานวนและร้อยละของกลุ่มตัวอย่างจาแนกตามการศึกษา


ของผูต้ อบแบบสอบถาม
การศึกษา จานวน ร้อยละ
ป.ตรี 190 47.5
สูงกว่าป.ตรี 8 2.0
รวม 400 100.0

กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีการศึกษาระดับปริญญาตรี จานวน 190 คน คิดเป็นร้อยละ 47.5


รองลงมาเป็นประถมศึกษา จานวน 72 คน คิดเป็นร้อยละ 18.0 และมัธยมศึกษาตอนต้น จานวน
72 คน คิดเป็นร้อยละ 14.3

ตารางที่ 4.5 จานวนและร้อยละของกลุ่มตัวอย่างจาแนกตามอาชีพของผู้ตอบแบบสอบถาม


อาชีพ จานวน ร้อยละ
ราชการ/รัฐวิสาหกิจ 108 27.0
พนักงานบริษัทเอกชน 87 21.8
ธุรกิจส่วนตัว 8 2.0
รับจ้างทั่วไป 96 24.0
ค้าขาย 101 25.3
รวม 400 100.0

กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีอาชีพราชการ/รัฐวิสาหกิจ จานวน 108 คน คิดเป็นร้อยละ 27.0


รองลงมาเป็นค้าขาย จานวน 101 คน คิดเป็นร้อยละ 25.3 และรับจ้างทั่วไป จานวน 96 คน คิด
เป็นร้อยละ 24.0

ตารางที่ 4.6 จานวนและร้อยละของกลุ่มตัวอย่างจาแนกตามจานวนสมาชิกที่พักอาศัยในบ้าน


ของผูต้ อบแบบสอบถาม
สมาชิก จานวน ร้อยละ
1-3 คน 257 64.3
4-6 คน 143 35.8

www.ssru.ac.th
(66)

ตารางที่ 4.6 (ต่อ) จานวนและร้อยละของกลุ่มตัวอย่างจาแนกตามจานวนสมาชิกที่พักอาศัย


ในบ้านของผู้ตอบแบบสอบถาม
สมาชิก จานวน ร้อยละ
รวม 400 100.0

กลุม่ ตัวอย่างส่วนใหญ่มจี านวนสมาชิกทีพ่ กั อาศัยในบ้าน 1-3 คน จานวน 257 คน คิด


เป็นร้อยละ 64.3 รองลงมามี 4-6 คน จานวน 143 คน คิดเป็นร้อยละ 35.8

ตอนที่ 2 ลักษณะของรายได้ การใช้จ่ายและการออม


ตารางที่ 4.7 จานวนและร้อยละของกลุ่มตัวอย่างจาแนกตามรายได้ต่อเดือน
ของผูต้ อบแบบสอบถาม
รายได้ต่อเดือน จานวน ร้อยละ
ต่ากว่าหรือเท่ากับ 5,000 บาท 23 5.8
5,001-10,000 บาท 88 22.0
10,001-15,000 บาท 162 40.5
15,001-20,000 บาท 109 27.3
20,001-25,000 บาท 18 4.5
รวม 400 100.0

กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีรายได้ต่อเดือน 10,001-15,000 บาท จานวน 162 คน คิดเป็น


ร้อยละ 40.5 รองลงมามีรายได้ต่อเดือน 15,001-20,000 บาท จานวน 109 คน คิดเป็นร้อยละ
27.3 และ 5,001-10,000 บาท จานวน 88 คน คิดเป็นร้อยละ 22.0

ตารางที่ 4.8 จานวนและร้อยละของกลุ่มตัวอย่างจาแนกตามรายจ่ายต่อเดือน


ของผูต้ อบแบบสอบถาม
รายจ่ายต่อเดือน จานวน ร้อยละ
ต่ากว่าหรือเท่ากับ 5,000 บาท 12 3.0
5,001-10,000 บาท 169 42.3
10,001-15,000 บาท 127 31.8
15,001-20,000 บาท 83 20.8

www.ssru.ac.th
(67)

ตารางที่ 4.8 (ต่อ) จานวนและร้อยละของกลุ่มตัวอย่างจาแนกตามรายจ่ายต่อเดือน


ของผูต้ อบแบบสอบถาม
รายจ่ายต่อเดือน จานวน ร้อยละ
20,001-25,000 บาท 9 2.3
รวม 400 100.0

กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีรายจ่ายต่อเดือน 5,001-10,000 บาท จานวน 169 คน คิดเป็น


ร้อยละ 42.3 รองลงมามีรายได้ต่อเดือน 10,001-15,000 บาท จานวน 127 คน คิดเป็นร้อยละ
31.8 และ 15,001-20,000 บาท จานวน 83 คน คิดเป็นร้อยละ 20.8

ตารางที่ 4.9 จานวนและร้อยละของกลุ่มตัวอย่างจาแนกตามลักษณะของรายจ่าย


ของผูต้ อบแบบสอบถาม
ลักษณะของรายจ่าย จานวน ร้อยละ
ค่าอาหารและค่าเครื่องใช้ต่างๆ 211 52.8
ค่าเวชภัณฑ์และค่ารักษาพยาบาล 32 8.0
ค่าเดินทาง 12 3.0
ค่าบริการสื่อสาร 17 4.3
ค่าการศึกษาบุตร 97 24.3
กิจกรรมทางศาสนา 8 2.0
ชาระหนี้ต่างๆ 23 5.8
รวม 400 100.0

กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีรายจ่ายเกี่ยวกับค่าอาหารและค่าเครื่องใช้ต่างๆ จานวน 211 คน


คิดเป็นร้อยละ 52.8 รองลงมาเป็นรายจ่ายค่าการศึกษาบุตร จานวน 97 คน คิดเป็นร้อยละ 24.3
และค่าเวชภัณฑ์และค่ารักษาพยาบาล จานวน 32 คน คิดเป็นร้อยละ 8.0

ตารางที่ 4.10 จานวนและร้อยละของกลุ่มตัวอย่างจาแนกตามลักษณะของการออม


ของผูต้ อบแบบสอบถาม
ลักษณะของการออม จานวน ร้อยละ
เก็บไว้เอง 87 21.8

www.ssru.ac.th
(68)

ตารางที่ 4.10 (ต่อ) จานวนและร้อยละของกลุ่มตัวอย่างจาแนกตามลักษณะของการออม


ของผูต้ อบแบบสอบถาม
ลักษณะของการออม จานวน ร้อยละ
ฝากธนาคาร 173 43.3
เล่นแชร์ 24 6.0
สหกรณ์ออมทรัพย์และสถาบันการเงินอื่นๆ 32 8.0
ทรัพย์สินหรือสินทรัพย์ทางการเงิน 15 3.8
ประกันชีวิต 21 5.3
สมาชิกชมรมต่างๆ เช่น ฌาปนกิจสงเคราะห์ 48 12.0
รวม 400 100.0

กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีลักษณะการออมโดยฝากธนาคาร จานวน 173 คน คิดเป็นร้อยละ


43.3 รองลงมาเป็นเก็บไว้เอง จานวน 87 คน คิดเป็นร้อยละ 21.8 และสมาชิกชมรมต่างๆ เช่น
ฌาปนกิจสงเคราะห์ จานวน 48 คน คิดเป็นร้อยละ 12.0

ตอนที่ 3 แรงบันดาลใจในการออม
ตาราง 4.11 จานวนและร้อยละของกลุ่มตัวอย่างเกี่ยวกับเพื่อความมั่นคงในวัยสูงอายุ
เพื่อความมั่นคงในวัยสูงอายุ จานวน ร้อยละ
ลาดับที่ 1 มากที่สุด 258 64.5
ลาดับที่ 2 มาก 117 29.3
ลาดับที่ 3 ปานกลาง 12 3.0
ลาดับที่ 4 น้อย 9 2.3
ลาดับที่ 5 น้อยที่สุด 4 1.0
รวม 400 100.0

กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีแรงบันดาลใจในการออมเพื่อความมั่นคงในวัยสูงอายุเป็นลาดับที่
1 มากที่สุด จานวน 258 คน คิดเป็นร้อยละ 64.5 รองลงมาเป็นลาดับที่ 2 มาก จานวน 117 คน
คิดเป็นร้อยละ 29.3 และลาดับที่ 3 ปานกลาง จานวน 12 คน คิดเป็นร้อยละ 3.0

www.ssru.ac.th
(69)

ตาราง 4.12 จานวนและร้อยละของกลุ่มตัวอย่างเกี่ยวกับเก็บไว้ยามเจ็บป่วยหรือยามชรา


เก็บไว้ยามเจ็บป่วยหรือยามชรา จานวน ร้อยละ
ลาดับที่ 1 มากที่สุด 268 67.0
ลาดับที่ 2 มาก 121 30.3
ลาดับที่ 3 น้อย 7 1.8
ลาดับที่ 4 ปานกลาง 2 0.5
ลาดับที่ 5 น้อยที่สุด 2 0.5
รวม 400 100.0

กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีแรงบันดาลใจการออมเพื่อเก็บไว้ใช้ในยามเจ็บป่วยหรือยามชรา
เป็นลาดับที่ 1 มากที่สุด จานวน 268 คน คิดเป็นร้อยละ 67.0 รองลงมาเป็นลาดับที่ 2 มาก จานวน
121 คน คิดเป็นร้อยละ 30.3 และลาดับที่ 3 น้อย จานวน 7 คน คิดเป็นร้อยละ 1.8

ตาราง 4.13 จานวนและร้อยละของกลุ่มตัวอย่างเกี่ยวกับมีผลตอบแทนคุ้มค่าและแน่นอน


มีผลตอบแทนคุ้มค่าและแน่นอน จานวน ร้อยละ
ลาดับที่ 1 น้อยที่สุด 145 36.3
ลาดับที่ 2 น้อย 111 27.8
ลาดับที่ 3 มากที่สุด 58 14.5
ลาดับที่ 4 ปานกลาง 52 13.0
ลาดับที่ 5 มาก 34 8.5
รวม 400 100.0

กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีแรงบันดาลใจการออมเพราะมีผลตอบแทนคุ้มค่าและแน่นอน
เป็นลาดับที่ 1 น้อยที่สุด จานวน 145 คน คิดเป็นร้อยละ 36.3 รองลงมาเป็นลาดับที่ 2 น้อย
จานวน 111 คน คิดเป็นร้อยละ 27.8 และลาดับที่ 3 มากที่สุด จานวน 58 คน คิดเป็นร้อยละ 14.5

ตาราง 4.14 จานวนและร้อยละของกลุ่มตัวอย่างเกี่ยวกับการประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสาร


การประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสาร จานวน ร้อยละ
ลาดับที่ 1 น้อย 135 33.8
ลาดับที่ 2 ปานกลาง 91 22.8

www.ssru.ac.th
(70)

ตาราง 4.14 (ต่อ) จานวนและร้อยละของกลุ่มตัวอย่างเกี่ยวกับการประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสาร


การประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสาร จานวน ร้อยละ
ลาดับที่ 3 น้อยที่สุด 87 21.8
ลาดับที่ 4 มาก 55 13.8
ลาดับที่ 5 มากที่สุด 32 8.0
รวม 400 100.0

กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีแรงบันดาลใจการออมเพราะมีการประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสาร
เป็นลาดับที่ 1 น้อย จานวน 135 คน คิดเป็นร้อยละ 33.8 รองลงมาเป็นลาดับที่ 2 ปานกลาง
จานวน 91 คน คิดเป็นร้อยละ 22.8 และลาดับที่ 3 น้อยที่สุด จานวน 87 คน คิดเป็นร้อยละ 21.8

ตาราง 4.15 จานวนและร้อยละของกลุ่มตัวอย่างเกี่ยวกับเก็บไว้ให้บุตรหลาน


เก็บไว้ให้บุตรหลาน จานวน ร้อยละ
ลาดับที่ 1 มากที่สุด 231 57.8
ลาดับที่ 2 มาก 124 31.0
ลาดับที่ 3 ปานกลาง 32 8.0
ลาดับที่ 4 น้อย 11 2.8
ลาดับที่ 5 น้อยที่สุด 2 0.5
รวม 400 100.0

กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีแรงบันดาลใจการออมเป็นเพื่อต้องการเก็บไว้ให้บุตรหลาน โดย
ใน ลาดับที่ 1 มากที่สุด จานวน 231 คน คิดเป็นร้อยละ 57.8 รองลงมาเป็นลาดับที่ 2 มาก จานวน
124 คน คิดเป็นร้อยละ 31.0 และลาดับที่ 3 ปานกลาง จานวน 32 คน คิดเป็นร้อยละ 8.0

ตาราง 4.16 จานวนและร้อยละของกลุ่มตัวอย่างเกี่ยวกับสามารถนาไปลดหย่อนภาษีประจาปี


สามารถนาไปลดหย่อนภาษีประจาปี จานวน ร้อยละ
ลาดับที่ 1 น้อย 134 33.5
ลาดับที่ 2 น้อยที่สุด 121 30.3
ลาดับที่ 3 มากที่สุด 87 21.8
ลาดับที่ 4 ปานกลาง 37 9.3
ลาดับที่ 5 มาก 21 5.3

www.ssru.ac.th
(71)

ตาราง 4.16 (ต่อ) จานวนและร้อยละของกลุ่มตัวอย่างเกี่ยวกับสามารถนาไป


ลดหย่อนภาษีประจาปี
สามารถนาไปลดหย่อนภาษีประจาปี จานวน ร้อยละ
รวม 400 100.0

กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีแรงบันดาลใจการออมเป็นเพราะสามารถนาไปลดหย่อนภาษี
ประจาปีโดยในลาดับที่ 1 น้อย จานวน 134 คน คิดเป็นร้อยละ 33.5 รองลงมาเป็นลาดับที่ 2 น้อย
ที่สุด จานวน 124 คน คิดเป็นร้อยละ 30.3 และลาดับที่ 3 มากที่สุด จานวน 87 คน คิดเป็นร้อยละ
21.8

ตาราง 4.17 จานวนและร้อยละของกลุ่มตัวอย่างเกี่ยวกับผู้อื่นชักชวน


ผู้อื่นชักชวน จานวน ร้อยละ
ลาดับที่ 1 น้อย 193 48.3
ลาดับที่ 2 น้อยที่สุด 108 27.0
ลาดับที่ 3 มากที่สุด 42 10.5
ลาดับที่ 4 ปานกลาง 36 9.0
ลาดับที่ 5 มาก 21 5.3
รวม 400 100.0

กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีแรงบันดาลใจการออมเป็นเพราะผู้อื่นชักชวน ลาดับที่ 1 น้อย


จานวน 193 คน คิดเป็นร้อยละ 48.3 รองลงมาเป็นลาดับที่ 2 น้อยที่สุด จานวน 108 คน คิดเป็น
ร้อยละ 27.0 และลาดับที่ 3 มากที่สุด จานวน 42 คน คิดเป็นร้อยละ 10.5

ตาราง 4.18 จานวนและร้อยละของกลุ่มตัวอย่างเกี่ยวกับสาหรับประกอบพิธีฌาปนกิจ


สาหรับประกอบพิธีฌาปนกิจ จานวน ร้อยละ
ลาดับที่ 1 มากที่สุด 181 45.3
ลาดับที่ 2 มาก 119 29.8
ลาดับที่ 3 ปานกลาง 41 10.3
ลาดับที่ 4 น้อยที่สุด 31 7.8
ลาดับที่ 5 น้อย 28 7.0

www.ssru.ac.th
(72)

ตาราง 4.18 จานวนและร้อยละของกลุ่มตัวอย่างเกี่ยวกับสาหรับประกอบพิธีฌาปนกิจ


สาหรับประกอบพิธีฌาปนกิจ จานวน ร้อยละ
รวม 400 100.0

กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีแรงบันดาลใจการออมไว้สาหรับประกอบพิธีฌาปนกิจลาดับ
ที่ 1 มากที่สุด จานวน 181 คน คิดเป็นร้อยละ 45.3 รองลงมาเป็นลาดับที่ 2 มาก จานวน 119 คน
คิดเป็นร้อยละ 29.8 และลาดับที่ 3 ปานกลาง จานวน 41 คน คิดเป็นร้อยละ 10.3

ตาราง 4.19 จานวนและร้อยละของกลุ่มตัวอย่างเกี่ยวกับให้ความคุ้มครองหลายด้าน


ให้ความคุ้มครองหลายด้าน จานวน ร้อยละ
ลาดับที่ 1 น้อย 123 30.8
ลาดับที่ 2 มากที่สุด 92 23.0
ลาดับที่ 3 มาก 87 21.8
ลาดับที่ 4 น้อยที่สุด 56 14.0
ลาดับที่ 5 ปานกลาง 42 10.5
รวม 400 100.0

กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีแรงบันดาลใจการออมเป็นเพราะให้ความคุ้มครองหลายด้าน
ลาดับที่ 1 น้อย จานวน 123 คน คิดเป็นร้อยละ 30.8 รองลงมาเป็นลาดับที่ 2 มากที่สุด จานวน
92 คน คิดเป็นร้อยละ 23.0 และลาดับที่ 3 มาก จานวน 87 คน คิดเป็นร้อยละ 21.8

ตาราง 4.20 จานวนและร้อยละของกลุ่มตัวอย่างเกี่ยวกับลดการพึ่งพิงภาครัฐ


ลดการพึ่งพิงภาครัฐ จานวน ร้อยละ
ลาดับที่ 1 มากที่สุด 203 50.8
ลาดับที่ 2 มาก 92 23.0
ลาดับที่ 3 ปานกลาง 76 19.0
ลาดับที่ 4 น้อยที่สุด 18 4.5
ลาดับที่ 5 น้อย 11 2.8
รวม 400 100.0

www.ssru.ac.th
(73)

กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีแรงบันดาลใจการออมเป็นเพราะลดการพึ่งพิงภาครัฐลาดับที่
1 มากที่สุด จานวน 203 คน คิดเป็นร้อยละ 50.8 รองลงมาเป็นลาดับที่ 2 มาก จานวน 92 คน คิด
เป็นร้อยละ 23.0 และลาดับที่ 3 ปานกลาง จานวน 76 คน คิดเป็นร้อยละ 19.0

ตารางที่ 4.21 แรงบันดาลใจในการออม

ส่วนเบี่ยงเบน
มาตรฐาน
ค่าต่าสุด

ค่าสูงสุด

ค่าเฉลี่ย
รายการ ความหมาย

1. เพื่อความมั่นคงในวัยสูงอายุ 1 5 4.54 .751 มากที่สุด


2. เก็บไว้ยามเจ็บป่วยหรือยามชรา 1 5 4.61 .642 มากที่สุด
3. มีผลตอบแทนคุ้มค่าและแน่นอน 1 5 2.37 1.415 น้อย
4. การประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสาร 1 5 2.52 1.201 น้อย
5. เก็บไว้ให้บุตรหลาน. 1 5 4.42 .794 มากที่สุด
6.สามารถนาไปลดหย่อนภาษีประจาปี 1 5 2.54 1.506 น้อย
7. ผู้อื่นชักชวน 1 5 2.24 1.208 น้อย
8. สาหรับประกอบพิธีฌาปนกิจ 1 5 3.97 1.239 มาก
9. ให้ความคุ้มครองหลายด้าน 1 5 3.09 1.414 ปานกลาง
10.ลดการพึ่งพิงภาครัฐ 1 5 4.12 1.095 มาก

ประชาชนที่อายุระหว่าง 30 – 40 ปี ในเขตดุสิต กรุงเทพมหานคร มีแรงบันดาลใจในการ


ออมในระดับมากที่สุด คือ เพื่อความมั่นคงในวัยสูงอายุ ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.54 เก็บไว้ยามเจ็บป่วย
หรือยามชรา ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.61 เก็บไว้ให้บุตรหลาน ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.42 ส่วนที่เป็นแรงบันดาล
ใจในระดับมาก คือ สาหรับประกอบพิธีฌาปนกิจ ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.97 ลดการพึ่งพิงภาครัฐ
ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.12 สาหรับที่เป็นแรงบันดาลในระดับปานกลาง คือ ให้ความคุ้มครองหลายด้าน
ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.09 และที่เป็นแรงบันดาลในระดับน้อย คือ มีผลตอบแทนคุ้มค่าและแน่นอน
ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.37 การประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสาร ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.52 สามารถนาไป
ลดหย่อนภาษีประจาปี ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.54 ผู้อื่นชักชวน ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.24
เมื่อนามาแปลความหมาย เป็นดังนี้ แรงบันดาลใจในการออมระดับมากที่สุด คือ เพื่อ
ความมั่นคงในวัยสูงอายุ เก็บไว้ยามเจ็บป่วยหรือยามชราและเก็บไว้ให้บุตรหลาน แรงบันดาลใจใน

www.ssru.ac.th
(74)

ระดับมาก คือ สาหรับประกอบพิธีฌาปนกิจและลดการพึ่งพิงภาครัฐ แรงบันดาลในระดับปาน


กลาง คือ ให้ความคุ้มครองหลายด้าน แรงบันดาลในระดับน้อย คือ มีผลตอบแทนคุ้มค่าและ
แน่นอน การประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสาร สามารถนาไปลดหย่อนภาษีประจาปีและผู้อื่นชักชวน
ดังนั้น สามารถสรุปผลการวิจัยตามวัตถุประสงค์ของการวิจัย ได้ดังต่อไปนี้ ประชาชนวัย
ผู้ใหญ่ตอนต้น อายุ 30 – 40 ปี ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุ 35 – 39 ปี สถานภาพสมรสอยู่ด้วยกัน
มีการศึกษาระดับปริญญาตรี อาชีพ ราชการ/รัฐวิสาหกิจ จานวนสมาชิกพักอาศัยอยู่ในบ้าน 1 – 3
คน มี แบบแผนของรายได้ คือ ส่วนใหญ่มีรายได้ต่อเดือน 10,001 – 15,000 บาท มี แบบแผนของ
รายจ่าย คือ ส่วนใหญ่มีรายจ่ายต่อเดือน 5,001 – 10,000 บาท โดยมากเป็นรายจ่ายเกี่ยวกับ
ค่าอาหารและค่าเครื่องใช้ต่างๆ รองลงมา คือ ค่าการศึกษาบุตร ค่าเวชภัณฑ์และค่า
รักษาพยาบาล และมีลักษณะของการออมโดยการฝากธนาคาร รองลงมา คือ เก็บไว้เอง และ
สมาชิกชมรมต่างๆ เช่น ฌาปนกิจสงเคราะห์ ซึ่งแรงบันดาลใจในการออม คือ เก็บไว้ยามเจ็บป่วย
หรือยามชรา เพื่อความมั่นคงในวัยสูงอายุ เก็บไว้ให้บุตรหลาน สาหรับประกอบพิธีฌาปนกิจ ลด
การพึ่งพิงภาครัฐ ตามลาดับ

www.ssru.ac.th
บทที่ 5

สรุปผลการวิจัยและข้อเสนอแนะ

จากการศึกษาวิจัยเรื่องรายได้และรูปแบบการออมเพื่อการเตรียมพร้อมสู่วัยสูงอายุของ
ประชาชนอายุระหว่าง 30 – 40 ปี ในเขตดุสิต กรุงเทพมหานคร
มีวัตถุประสงค์เพื่อ
1) เพื่อศึกษาและวิเคราะห์แบบแผนของรายได้และการใช้จ่ายของประชาชนวัยผู้ใหญ่
ตอนต้น อายุ 30 – 40 ปี
2) เพื่อศึกษาและวิเคราะห์รูปแบบการออมเพื่อการเตรียมพร้อมสู่วัยสูงอายุของประชาชน
วัยผู้ใหญ่ตอนต้น อายุ 30 – 40 ปี

กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ
การวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูล จากจานวนกลุ่ม
ตัวอย่าง คือ ประชาชนอายุระหว่าง 30 – 40 ปี ในเขตดุสิต กรุงเทพมหานคร จานวน 400 ตัวอย่าง

5.1 สรุปผลการวิจัย
ผลจากการวิจัยเชิงปริมาณ พบว่า
ตอนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงมากกว่าเพศชาย โดยมี
เพศหญิงจานวน 282 คน คิดเป็นร้อยละ 70.5 และเพศชายจานวน 1 18 คน คิดเป็นร้อยละ 29.5
ส่วนใหญ่มีอายุระหว่าง 35-39 ปีจานวน 208 คน คิดเป็นร้อยละ 52.0 รองลงมาอายุระหว่าง 30-
34 ปีจานวน 124 คน คิดเป็นร้อยละ 31.0 และอายุ 40 ปีจานวน 68 คน คิดเป็นร้อยละ 17.0
ตามลาดับ มีสถานภาพสมรสอยู่ด้วยกัน จานวน 188 คน คิดเป็นร้อยละ 47.0 รองลงมาเป็นโสด
จานวน 182 คน คิดเป็นร้อยละ 45.5 และหม้ายหย่าร้าง จานวน 19 คน คิดเป็นร้อยละ 4.8
การศึกษาระดับปริญญาตรี จานวน 190 คน คิดเป็นร้อยละ 47.5 รองลงมาเป็นประถมศึกษา
จานวน 72 คน คิดเป็นร้อยละ 18.0 และมัธยมศึกษาตอนต้น จานวน 72 คน คิดเป็นร้อยละ 14.3
อาชีพราชการ/รัฐวิสาหกิจ จานวน 108 คน คิดเป็นร้อยละ 27.0 รองลงมาเป็นค้าขาย จานวน 101
คน คิดเป็นร้อยละ 25.3 และรับจ้างทั่วไป จานวน 96 คน คิดเป็นร้อยละ 24.0 มีจานวนสมาชิกที่

www.ssru.ac.th
(76)

พักอาศัยในบ้าน 1-3 คน จานวน 257 คน คิดเป็นร้อยละ 64.3 รองลงมามี 4-6 คน จานวน 143
คน คิดเป็นร้อยละ 35.8 ตามลาดับ
ตอนที่ 2 ลักษณะของรายได้ การใช้จ่ายและการออมของกลุ่มตัวอย่างที่ทาการ
ศึกษาวิจัย พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีรายได้ต่อเดือน 10,001-15,000 บาท จานวน 162 คน
คิดเป็นร้อยละ 40.5 รองลงมามีรายได้ต่อเดือน 15,001-20,000 บาท จานวน 109 คน คิดเป็นร้อย
ละ 27.3 และ 5,001-10,000 บาท จานวน 88 คน คิดเป็นร้อยละ 22.0 รายจ่ายต่อเดือน 5,001-
10,000 บาท จานวน 169 คน คิดเป็นร้อยละ 42.3 รองลงมามีรายได้ต่อเดือน 10,001-15,000
บาท จานวน 127 คน คิดเป็นร้อยละ 31.8 และ 15,001-20,000 บาท จานวน 83 คน คิดเป็นร้อย
ละ 20.8 มีรายจ่ายเกี่ยวกับค่าอาหารและค่าเครื่องใช้ต่างๆ จานวน 211 คน คิดเป็นร้อยละ 52.8
รองลงมาเป็นรายจ่ายค่าการศึกษาบุตร จานวน 97 คน คิดเป็นร้อยละ 24.3 และค่าเวชภัณฑ์และ
ค่ารักษาพยาบาล จานวน 32 คน คิดเป็นร้อยละ 8.0 ลักษณะการออมโดยฝากธนาคาร จานวน
173 คน คิดเป็นร้อยละ 43.3 รองลงมาเป็นเก็บไว้เอง จานวน 87 คน คิดเป็นร้อยละ 21.8 และ
สมาชิกชมรมต่างๆ เช่น ฌาปนกิจสงเคราะห์ จานวน 48 คน คิดเป็นร้อยละ 12.0 ตามลาดับ
ตอนที่ 3 แรงบันดาลใจในการออม จากการศึกษาวิจัย พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วน
ใหญ่มีแรงบันดาลใจในการออมเพื่อความมั่นคงในวัยสูงอายุเป็นลาดับที่ 1 มากที่สุด จานวน 258
คน คิดเป็นร้อยละ 64.5 รองลงมาเป็นลาดับที่ 2 มาก จานวน 117 คน คิดเป็นร้อยละ 29.3 และ
ลาดับที่ 3 ปานกลาง จานวน 12 คน คิดเป็นร้อยละ 3.0 แรงบันดาลใจการออมเพื่อเก็บไว้ใช้ใน
ยามเจ็บป่วยหรือยามชรา เป็นลาดับที่ 1 มากที่สุด จานวน 268 คน คิดเป็นร้อยละ 67.0 รองลงมา
เป็นลาดับที่ 2 มาก จานวน 121 คน คิดเป็นร้อยละ 30.3 และลาดับที่ 3 น้อย จานวน 7 คน คิด
เป็นร้อยละ 1.8 แรงบันดาลใจการออมเพราะมีผลตอบแทนคุ้มค่าและแน่นอน เป็นลาดับที่ 1 น้อย
ที่สุด จานวน 145 คน คิดเป็นร้อยละ 36.3 รองลงมาเป็นลาดับที่ 2 น้อย จานวน 111 คน คิดเป็น
ร้อยละ 27.8 และลาดับที่ 3 มากที่สุด จานวน 58 คน คิดเป็นร้อยละ 14.5 แรงบันดาลใจการออม
เพราะมีการประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารเป็นลาดับที่ 1 น้อย จานวน 135 คน คิดเป็นร้อยละ 33.8
รองลงมาเป็นลาดับที่ 2 ปานกลาง จานวน 91 คน คิดเป็นร้อยละ 22.8 และลาดับที่ 3 น้อยที่สุด
จานวน 87 คน คิดเป็นร้อยละ 21.8 มีแรงบันดาลใจการออมเป็นเพื่อต้องการเก็บไว้ให้บุตรหลาน
โดยใน ลาดับที่ 1 มากที่สุด จานวน 231 คน คิดเป็นร้อยละ 57.8 รองลงมาเป็นลาดับที่ 2 มาก
จานวน124 คน คิดเป็นร้อยละ 31.0 และลาดับที่ 3 ปานกลาง จานวน 32 คน คิดเป็นร้อยละ 8.0
มีแรงบันดาลใจการออมเป็นเพราะ สามารถนาไปลดหย่อนภาษีประจาปีโดยในลาดับที่ 1 น้อย
จานวน 134 คน คิดเป็นร้อยละ 33.5 รองลงมาเป็นลาดับที่ 2 น้อยที่สุด จานวน 124 คน คิดเป็น

www.ssru.ac.th
(77)

ร้อยละ 30.3 และลาดับที่ 3 มากที่สุด จานวน 87 คน คิดเป็นร้อยละ 21.8 แรงบันดาลใจการออม


เป็นเพราะผู้อื่นชักชวน ลาดับที่ 1 น้อย จานวน 193 คน คิดเป็นร้อยละ 48.3 รองลงมาเป็นลาดับที่
2 น้อยที่สุด จานวน 108 คน คิดเป็นร้อยละ 27.0 และลาดับที่ 3 มากที่สุด จานวน 42 คน คิดเป็น
ร้อยละ 10.5 มีแรงบันดาลใจการออมไว้สาหรับประกอบพิธีฌาปนกิจลาดับที่ 1 มากที่สุด จานวน
181 คน คิดเป็นร้อยละ 45.3 รองลงมาเป็นลาดับที่ 2 มาก จานวน 119 คน คิดเป็นร้อยละ 29.8
และลาดับที่ 3 ปานกลาง จานวน 41 คน คิดเป็นร้อยละ 10.3 แรงบันดาลใจการออมเป็นเพราะให้
ความคุ้มครองหลายด้านลาดับที่ 1 น้อย จานวน 123 คน คิดเป็นร้อยละ 30.8 รองลงมาเป็น
ลาดับที่ 2 มากที่สุด จานวน 92 คน คิดเป็นร้อยละ 23.0 และลาดับที่ 3 มาก จานวน 87 คน คิด
เป็นร้อยละ 21.8 มีแรงบันดาลใจการออมเป็นเพราะลดการพึ่งพิงภาครัฐลาดับที่ 1 มากที่สุด
จานวน 203 คน คิดเป็นร้อยละ 50.8 รองลงมาเป็นลาดับที่ 2 มาก จานวน 92 คน คิดเป็นร้อยละ
23.0 และลาดับที่ 3 ปานกลาง จานวน 76 คน คิดเป็นร้อยละ 19.0
ดังนั้นจากการศึกษาจึงสรุปได้ว่า ประชาชนที่อายุระหว่าง 30 – 40 ปี ในเขตดุสิต
กรุงเทพมหานคร มีแรงบันดาลใจในการออมในระดับมากที่สุด คือ เพื่อความมั่นคงในวัยสูงอายุ
ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.54 เก็บไว้ยามเจ็บป่วยหรือยามชรา ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.61 เก็บไว้ให้บุตรหลาน
ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.42 ส่วนที่เป็นแรงบันดาลใจในระดับมาก คือ สาหรับประกอบพิธีฌาปนกิจ
ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.97 ลดการพึ่งพิงภาครัฐค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.12 สาหรับที่เป็นแรงบันดาลในระดับ
ปานกลาง คือ ให้ความคุ้มครองหลายด้าน ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.09 และที่เป็นแรงบันดาลในระดับ
น้อย คือ มีผลตอบแทนคุ้มค่าและแน่นอน ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.37 การประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสาร
ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.52 สามารถนาไปลดหย่อนภาษีประจาปี ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.54 ผู้อื่นชักชวน
ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.24

5.2 ตอบคาถามการวิจัยและอภิปรายผล
ผู้วิจัยได้ตอบคาถามและอภิปรายผลการวิจัย ไว้ดังนี้
1) รายได้และการใช้จ่าย รวมทั้งรูปแบบการออมเพื่อการเตรียมพร้อมสู่วัยสูงอายุของ
ประชาชนวัยผู้ใหญ่ตอนต้น อายุ 30 – 40 ปี ปัจจุบันนี้เป็นอย่างไร
จากการศึกษาวิจัย พบว่า ประชาชนวัยผู้ใหญ่ตอนต้น อายุ 30 – 40 ปี ในเขตดุสิต
กรุงเทพมหานคร มีรายได้ ไม่ต่างจากรายจ่ายมากนัก และรายได้กับรายจ่ายเท่ากันเป็นส่วนใหญ่
ทาให้มีการออมเพื่อการเตรียมพร้อมสู่วัยสูงอายุ ได้น้อย หรือบางช่วงเวลาไม่มีการออมเงินเลย คือ
มีรายได้เข้ามาก็ต้องใช้จ่ายออกไป ซึ่งรายจ่ายส่วนใหญ่จะจ่ายเกี่ยวกับค่าอาหารและค่าเครื่องใช้

www.ssru.ac.th
(78)

ต่างๆในชีวิตประจาวัน ค่าการศึกษาบุตร รวมทั้งค่าเวชภัณฑ์และค่ารักษาพยาบาล สาหรับผู้ที่มี


การออมจะออมโดยการฝากธนาคารเป็นส่วนใหญ่ นอกจากนั้นจะออมโดยการเก็บไว้เองและ
สมาชิกชมรมต่างๆ เช่น ฌาปนกิจสงเคราะห์ ดังนั้น การเตรียมพร้อมสู่วัยสูงอายุของประชาชนวัย
ผู้ใหญ่ตอนต้น อายุ 30 – 40 ปี ในปัจจุบัน จึงมีการเตรียมพร้อมโดยการออมเพียงเล็กน้อยและมี
จานวนเงินออมไม่มากนัก
2) แรงบันดาลใจที่ทาให้เกิดการวางแผนในการออมมีอะไรบ้าง
จากการศึกษาวิจัย พบว่า ประชาชนวัยผู้ใหญ่ตอนต้น อายุ 30 – 40 ปี ในเขตดุสิต
กรุงเทพมหานคร โดยส่วนใหญ่มีแรงบันดาลใจที่ทาให้เกิดการวางแผนในการออมเนื่องมาจาก
ต้องการเก็บไว้ยามเจ็บป่วยหรือยามชรา เพื่อความมั่นคงในวัยสูงอายุ เก็บไว้ให้บุตรหลาน ลดการ
พึ่งพิงภาครัฐ สาหรับประกอบพิธีฌาปนกิจ ตามลาดับ สาหรับการออมนั้น มิได้คานึงถึง
ผลประโยชน์หรือการให้ความคุ้มครองหลายด้าน มีผลตอบแทนคุ้มค่าและแน่นอน ค่าการ
ประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสาร หรือนาไปลดหย่อนภาษีประจาปี เนื่องจากจานวนเงินออมค่อนข้างมี
น้อย
3) ความมั่นคงในวัยสูงอายุของประชาชนในเขตดุสิตมีมิติอย่างไรบ้าง
จากการศึกษาวิจัย พบว่า ความมั่นคงในวัยสูงอายุของประชาชนในเขตดุสิต มีมิติดังนี้
ประชาชนโดยส่วนใหญ่มีความต้องการออมเงิน เพื่อเตรียมพร้อมและเพิ่มความมั่นคงใน
วัยสูงอายุ ลดการพึ่งพิงจากภาครัฐ แต่เนื่องด้วยมีรายได้ไม่มาก แค่เพียงพอแก่การยังชีพ เมื่อ
เปรียบเทียบกับการใช้จ่ายแล้ว จะเห็นว่าเมื่อมีรายได้เข้ามาในแต่ละเดือนก็มีการใช้จ่ายออกไป
เช่นกัน บางรายมีภาระหนี้สินเนื่องจากรายได้กับการใช้จ่ายไม่สมดุลกัน จึงทาให้มีการออมใน
จานวนที่น้อย บางรายไม่มีพอสาหรับการออมเลย จึงเห็นได้ว่า ความมั่นคง ในวัยสูงอายุของ
ประชาชน ในด้านของรายได้และการออมยังไม่มากนัก ดังนั้น จึงควรส่งเสริมการหารายได้เสริม
อาชีพเสริม เพื่อสร้างงาน เพิ่มรายได้ สร้างนิสัยประหยัด อดออมให้กับประชาชน รวมทั้งมีการ
อบรมหรือให้ความรู้เกี่ยวกับด้านการเงิน การออม ฯลฯ ให้กับประชาชน เพื่อให้มีการใช้จ่ายที่ถูก
หลัก คานึงถึงการออมและมีการออมเพิ่มมากขึ้น เตรียมเข้าสู่วัยสูงอายุด้วยความมั่นคง

www.ssru.ac.th
(79)

5.3 ข้อเสนอแนะ
ข้อเสนอแนะในการนาผลวิจัยไปใช้
ในการวิจัย เรื่อง รายได้และรูปแบบการออมเพื่อการเตรียมพร้อมสู่วัยสูงอายุของ
ประชาชนอายุระหว่าง 30 – 40 ปี ในเขตดุสิต กรุงเทพมหานคร สามารถนาไปใช้ให้เกิดประโยชน์
ดังต่อไปนี้
1) จัดประชุมหรืออบรมให้ความรู้แก่ ประชาชน เรื่องการเตรียมพร้อมในการออมเพื่อเข้าสู่
วัยสูงอายุด้วยความมั่นคง โดยลดการพึ่งพิงจากรัฐ
2) ทาการเผยแพร่ผ่านสื่อต่างๆ ในมิติรายได้และรูปแบบการออมเพื่อการเตรียมพร้อมสู่วัย
สูงอายุของเขตดุสิต ซึ่งอยู่ในเมืองหลวงชั้นใน เพื่อให้ สามารถเป็นภาพสะท้อนให้กับเขตอื่นๆใน
กรุงเทพ ฯและต่างจังหวัด ให้เกิดประโยชน์แก่ ประชาชน ศูนย์ส่งเสริมบริหารเงินออมครอบครัว
กรุงเทพมหานคร สถาบันการเงินต่างๆ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กระทรวงการพัฒนาสังคมและ
ความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงการคลัง ฯลฯ ได้ทราบถึงแนวทางการวางแผนหรือส่งเสริมการ
ออม เพื่อการเตรียมพร้อมสู่วัยสูงอายุ
ข้อเสนอแนะในการวิจัยครั้งต่อไป
1. ควรเพิ่มวิธีการเก็บข้อมูลด้วยการวิธีเชิงคุณภาพ เพื่อให้ได้ข้อมูลเชิงลึกมากขึ้น
2. ควรเพิ่มขนาดกลุ่มตัวอย่าง เพื่อเพิ่มระดับความเชื่อมั่นของข้อมูลให้มากยิ่งขึ้น
3.ควรเพิ่ม พื้นที่ที่ใช้ในการศึกษาวิจัย เพื่อเปรียบเทียบความเหมือนและความแตกต่างให้
ชัดเจนมากขึ้น

www.ssru.ac.th
บรรณานุกรม
กนิษฐ์ภาตุ ละมูล. (2553). บทคัดย่อ รายรับและการออมเงินของนักศึกษามหาวิทยาลัย
อุบลราชธานี. บริหารศาสตร์ สาขาเศรษฐกิจพอเพียง มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.
กมลพร กัลยาณมิตร. (2550). การนานโยบายอยู่ดีมีสุขไปปฏิบัติในจังหวัดนนทบุรี.
กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยรามคาแหง.
เกษรา ธัญลักษณ์. (2555). ประโยชน์ของการออม. ผู้จัดการออนไลน์.
ข้อมูลทั่วไปเขตดุสิต กรุงเทพมหานคร. ค้นจาก http://www.bangkok.go.th/dusit/
เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555.
ข้อมูลสถิติประชากร. สานักงานสถิติแห่งชาติ . 2551. ค้นจาก http://www.nso.go.th
เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555.
จรินทร์ เทศวานิช. (2549). การวิเคราะห์สถิติโดยโปรแกรมสาเร็จรูปSPSS. พิมพ์ครั้งที่ 1.
กรุงเทพมหานคร.
นพแสน พรหมอินทร์. (2554) บทคัดย่อ พฤติกรรมการออมและปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการ
ออมเพื่อการดารงชีพยามชราภาพของหัวหน้าครัวเรือนเกษตรกรลูกค้าธนาคาร
เพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา.
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
นันทกา นันทวิสัย. (2552). บทคัดย่อ การศึกษาเปรียบเทียบภาวการณ์ออมของครัวเรือนใน
ภาค เกษตรและนอกภาคเกษตร. หลักสูตรปริญญาเศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต
สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์การจัดการ. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
บุณฑริก ศิริกิจจาขจร. (2555). บทคัดย่อ กองทุนการออมแห่งชาติ. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
ประยงค์ คูศิริสิน. (2551). บทคัดย่อ เรื่อง ปัจจัยที่มีผลต่อการออมของครัวเรือนในเขต
อาเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่.
ปราโมทย์ ประสาทกุล. (2543). วารสารประชากรและพัฒนา. สภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม
แห่งชาติ.
ปิยดา สมบัติวัฒนา. (2550). ปัจจัยทางจิตสังคมที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการออมของนิสิต
ปริญญาตรี โครงการบริหารธุรกิจ ภาคสมทบ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

www.ssru.ac.th
81

วิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาการวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ประยุกต์
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 1-10. พ.ศ. 2504 – 2554.
แผนพัฒนาผู้สูงอายุ ฉบับที่ 2. พ.ศ. 2545 – 2564.
พระราชดารัสเศรษฐกิจพอเพียง. (2542). ค้นเมื่อ 10 สิงหาคม 2550, จาก
http://www.seal2thai.org/sara/sara119.htm. เมื่อ วันที่ 15 มีนาคม 2555.
พัชรวัต ปิยะโอสถสรรค์. (2552). บทคัดย่อ เรื่อง ยุทธศาสตร์การพัฒนาการออมภาค
ประชาชน : ศึกษาเฉพาะกรณีการประกันชีวิต.
มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ. สถานการณ์ในภาพรวมของผู้สูงอายุ. [Online]. Available from:
http://www.thainhf.org/ เมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2555.
สุภาคย์ อินทองคง. (2547). หลักการเรื่องการออม ตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง.
http://wwwfamilynetwork.or.th. เมื่อวันที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2555.
รุ่งนภา ศรีธัญญะโชติ. (2550). บทคัดย่อ พฤติกรรมการออมเพื่อใช้จ่ายในอนาคตของ
ประชาชน : กรณีศึกษาผู้บริหารศูนย์การขาย บริษัทไทยประกันชีวิตจากัด สาขา
ธนบุรี กรุงเทพมหานคร. รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารทั่วไป
วิทยาลัย การบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา.
สุรกุล เจนอบรม. วิสัยทัศน์ผู้สูงอายุและการศึกษานอกระบบสาหรับผู้สูงอายุไทย. กรุงเทพฯ
: นิชินแอดเวอร์ไทซิ่งกรู๊พ, 2541.
สานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2545). รายงานการพัฒนา
เศรษฐกิจและสังคมของประเทศ: ความอยู่ดีมีสุขของคนไทย 5 ปีหลังวิกฤต
เศรษฐกิจ. กรุงเทพมหานคร.
Anderson, J.E. Teaching and learning. In W.T. Donahuc (Ed.) , Education for later
maturity. New York : Whiteside,1971.
Barrow G.M. and Smith, P.A. Aging, Ageism and society.St. Paul,Minn. : West,1979.
Burnside, I.M. Nursing and the aged. 2nd Ed. New York : McGrawHill,1981.
Castetter, W. B.. The personnel/unction in education administration. New York :
Publishing Co., Inc. Cronbach, L. J., 1976.

www.ssru.ac.th
82

Doyal, L., & Gough, I. (1991). A theory of human need. London: The Macmillan.
Moody, H.R. Philosophical presupposition of Education for old age. Educational
Gerontology, 1976, 1, 1 - 16, 1976.
Sen, A. (1999). Development as freedom. New York: A Division of Random House.
United Nations Development Program. (1999). Dedicated to the memory of Mahbub ul
haq, (1934-98). human development report. New York: Oxford University Press.

www.ssru.ac.th
ภาคผนวก

www.ssru.ac.th
ภาคผนวก ก

www.ssru.ac.th
มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
แบบสอบถาม
คาชี้แจง แบบสอบถามนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา เรื่องรายได้และรูปแบบการออมเพื่อการเตรียมพร้อมสู่
วัยสูงอายุของประชาชนอายุระหว่าง 30 – 40 ปี ในเขตดุสิต กรุงเทพมหานคร
คาตอบของท่านจะนาไปใช้เพื่อประโยชน์ทางวิชาการต่อไป
..............................................................................................................................................
กรุณาทาเครื่องหมาย / ใน ( ) ที่เป็นข้อมูลของท่าน
ตอนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
1) เพศ ( ) ชาย ( ) หญิง
2) อายุ ( ) 30 – 34 ปี ( ) 35 – 39 ปี
( ) 40 ปี
3) สถานภาพการสมรส ( ) โสด ( ) สมรสอยู่ด้วยกัน
( ) สมรสแยกกันอยู่ ( ) หย่าร้าง
( ) หม้ายคู่สมรสเสียชีวิต
4) การศึกษาสูงสุด ( ) ประถมศึกษา ( ) มัธยมศึกษาตอนต้น
( ) ม.ปลาย / ปวช. ( ) ปวส. / อนุปริญญา
( ) ปริญญาตรี ( ) อื่นๆ (โปรดระบุ) ......................
5) อาชีพ ( ) ราชการ / รัฐวิสาหกิจ ( ) พนักงานบริษัทเอกชน
( ) ธุรกิจส่วนตัว ( ) รับจ้างทั่วไป
( ) ค้าขาย ( ) อื่นๆ (โปรดระบุ) ....................
6) จานวนสมาชิกที่อาศัยในบ้าน ( ) 1 – 3 คน ( )4 –6
( ) 7 – 9 คน ( ) 10 คนขึ้นไป

ตอนที่ 2 ลักษณะของรายได้ การใช้จ่ายและการออม


7) รายได้ต่อเดือน (โดยประมาณ)
( ) ต่ากว่าหรือเท่ากับ 5,000 บาท ( ) 5,001 – 10,000 บาท
( ) 10,001 – 15,000 บาท ( ) 15,001 – 20,000 บาท
( ) 20,001 – 25,000 บาท ( ) สูงกว่า 25,000 บาท

www.ssru.ac.th
86

8) การใช้จ่ายต่อเดือน (โดยประมาณ)
( ) ต่ากว่าหรือเท่ากับ 5,000 บาท ( ) 5,001 – 10,000 บาท
( ) 10,001 – 15,000 บาท ( ) 15,001 – 20,000 บาท
( ) 20,001 – 25,000 บาท ( ) สูงกว่า 25,000 บาท
9) ในแต่ละเดือนท่านมีการใช้จ่ายเกี่ยวกับ
( ) ค่าอาหารและเครื่องใช้ต่างๆ ( ) ค่าเวชภัณฑ์และรักษาพยาบาล
( ) ค่าเดินทาง ( ) ค่าบริการสื่อสาร
( ) ค่าการศึกษาบุตรหลาน ( ) การบันเทิง
( ) กิจกรรมทางศาสนา ( ) ชาระหนี้ต่างๆ
10) ท่านมีการออมโดยวิธีใด (เรียงลาดับ 1 - 3)
( ) เก็บไว้เอง ( ) ฝากธนาคาร
( ) เล่นแชร์ ( ) สหกรณ์ออมทรัพย์และสถาบันการเงินอื่นๆ
( ) ทรัพย์สินหรือสินทรัพย์ทางการเงิน เช่น บ้านหรือที่ดินเพื่ออยู่อาศัยหรือเพื่อการลงทุน
ทองคาและพันธบัตร เป็นต้น ( ) ประกันชีวิต
( ) สมาชิกชมรมต่างๆ เช่น ฌาปนกิจสงเคราะห์ เป็นต้น

ตอนที่ 3 แรงบันดาลใจในการออม กรุณาทาเครื่องหมาย / ในช่องที่ท่านเลือก


น้อยที่สุด = 1 จนถึง
แรงบันดาลใจ มากที่สุด = 5
1 2 3 4 5
11) เพื่อความมั่นคงในวัยสูงอายุ
12) เก็บไว้ยามเจ็บป่วยหรือยามชรา
13) มีผลตอบแทนคุ้มค่าและแน่นอน
14) การประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสาร
15) เก็บไว้ให้บุตรหลาน
16) สามารถนาไปลดหย่อนภาษีประจาปี
17) ผู้อื่นชักชวน
18) สาหรับประกอบพิธีฌาปนกิจ
19) ให้ความคุ้มครองหลายด้าน
20) ลดการพึ่งพิงภาครัฐ
..................ขอขอบคุณสาหรับข้อมูล...................

www.ssru.ac.th
ประวัติผู้วิจัย

ชื่อ : นางสาวชารวี บุตรบารุง


Miss Charawee Butbumrung
เพศ : หญิง วันเดือนปีเกิด 3 มกราคม 2518
ตาแหน่งปัจจุบัน : อาจารย์
สถานที่ติดต่อ : คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนนั ทา
โทรศัพท์ : 02-1601513
E-mail : b_charawee@hotmail.com
ที่อยู่ : เลขที่ 1 ถนนอู่ทองนอก แขวงวชิระ เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร 10300
โทรศัพท์ : 081-8076050
ประวัติการศึกษา: ปริญญาตรี การเงินการธนาคาร คณะบริหารธุรกิจ
มหาวิทยาลัยรามคาแหง
ปริญญาโท การจัดการการเงิน คณะบริหารธุรกิจ
มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
ปริญญาเอก นวัตกรรมการจัดการ (การจัดการภาคธุรกิจ)
มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนนั ทา
สาขาที่เชี่ยวชาญ : การเงินและการธนาคาร
การบริหารธุรกิจ
ภาระงานในปัจจุบัน : หัวหน้าสาขาการเงินการธนาคาร คณะวิทยาการจัดการ
มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนนั ทา
ผลงานวิจัย : ปีพ.ศ.2552 นวัตกรรมการจัดการตลาดน้าที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตอย่างยั่งยืน
ในพื้นที่ที่เกิดการท่องเที่ยว : การประยุกต์ใช้บทเรียนเพื่อส่งเสริมความสาเร็จของตลาดน้าศาลายา
: ปีพ.ศ.2554 การจัดการเงินและความต้องการความรู้ด้านกฎหมายกับการอยู่ดีมีสุข
ของผู้สูงอายุในเทศบาลตาบลศาลายา
: ปีพ.ศ.2555 รายได้และรูปแบบการออมเพื่อการเตรียมพร้อมสู่วัยสูงอายุของ
ประชาชนอายุระหว่าง 30 – 40 ปี ในเขตดุสิต กรุงเทพมหานคร
: ปีพ.ศ.2556 ภาวะผู้นาการเปลี่ยนแปลงกับการเตรียมพร้อมสู่ประชาคมเศรษฐกิจ
อาเซียนของธนาคารไทยพาณิชย์

www.ssru.ac.th

You might also like