You are on page 1of 1

ประวัติพ่อขุนอิงคยุทธบริหาร

หรือพันเอกขุนอิงคยุทธบริหาร  มีนามเดิมว่า ทองสุก  อิงคกุล  เกิดเมื่อวันที่  ๒๘ กันยายน พ.ศ. ๒๔๔๓ ที่


ตําบลราชวงศ์ อําเภอป้อมปราบ  กรุงเทพฯ  เป็นบุตรนายบุญเฮงกับ
นางสุ่น อิงคกุล สมรสกับนางสาวสะอิ้ง ทิมรัตน์ และมีธิดาร่วมกัน ๔ คน

พ่อขุนอิงคยุทธได้เข้ารับราชการทหาร ในปี พ.ศ. ๒๔๖๕ ถึงปี พ.ศ. ๒๔๖๘ ต่อมาพ่อขุนอิงคยุทธบริหาร ได้


เข้ารับราชการประจํากรมทหารราบ ที่ ๑๕ ตามด้วย กรมทหารพรานในกองพลทหารราบ ที่ ๓, กองพัน ที่
๓ กรมทหารราบที่ ๒ รักษาพระองค์ และดํารงตําแหน่งรอง ผบ.ก ร.พัน ๕ ร้อย ๔
จนกระทั้งวันที่ ๑ เมษายน พ.ศ. ๒๔๗๖ พ่อขุนอิงคยุทธบริหารได้เข้าประจําที่
ร. พัน ๕ (พระนคร)

ต่อจากนั้นได้ย้ายมาประจําการเป็น ผบ.พัน กองพันทหารราบที่  ๔๒  กรมผสมที่ ๕ และจังหวัดทหารบก


สงขลา (ส่วนแยกปัตตานี) ที่ตําบลบ่อทอง อําเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี
     
เดิมท่านมีบรรดาศักดิ์เป็น ขุน แต่ในต้นปี พ.ศ.๒๔๘๔ เป็นช่วงที่ยกเลิกบรรดาศักดิ์ข้าราชการ ท่านก็ยกเลิก
ใช้ "ขุน" นําหน้าชื่อ เหลือเพียง พ.ต. ที่เป็นยศทหารเท่านั้น พ.ต.ขุนอิงคยุทธบริหาร มีลักษณะเด่น คือ เป็น
ผู้นําที่เข้มแข็ง เป็นผู้ที่ผู้ใต้บังคับบัญชาเคารพยําเกรง เป็นผู้มีใจโอบอ้อมอารี  แต่เด็ดขาด    ทหารในปกครอง
ของท่านจะมีระเบียบวินัย  เป็นที่รักของประชาชนที่อยู่ใกล้
ในยุคสงครามโลกครั้งที่ 2 ท่านเป็นผู้เริ่มสังเกตความเคลื่อนไหวของคนญี่ปุ่น ที่มาเปิดร้าน
ที่ถนนปัตตานีภิรมย์ หน้าวัดตานีนรสโมสร ซึ่งครั้งแรกมีเพียงแค่ร้านเดียว  แต่ต่อมามีร้านขายถ้วยชาม 
ร้านถ่ายรูป จึงให้ผู้ใต้บังคับบัญชาคอยสืบและติดตามความเคลื่อนไหวของเจ้าของร้านเหล่านี้

ท่านเป็นผู้นํากําลังทหารเพื่อเข้าสู้รบกับทหารญี่ปุ่น  ในครั้งที่ญี่ปุ่นบุกปัตตานี ในวันที่ ๘ ธันวาคม พ.ศ.


๒๔๘๔ แต่เนื่องจากได้รับการติดต่อสื่อสารที่ผิดพลาด ก่อนทหารญี่ปุ่นจะบุกปัตตานี ในวันที่  ๘ ธันวาคม
พ.ศ. ๒๔๘๔ พ.ต.ขุนอิงคยุทธบริหารได้รับการติดต่อสื่อสารว่า ญี่ปุ่นจะบุกที่ “โรงฆ่าสัตว์” ซึ่งอยู่ที่ถนนนา
เกลือใกล้ศาลเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยว แต่ความจริงแล้วทหารญี่ปุ่นได้บุกปัตตานีที่บริเวณ “คอกสัตว์” ซึ่งอยู่ใกล้
ปากทางเข้ามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ในปัจจุบัน ผู้รับสารฟังผิดจาก "คอกสัตว์" เป็น "โรงฆ่าสัตว์" จึง
ทําให้ พ.ต.ขุนอิงคยุทธบริหารนํากําลังทหารมุ่งหน้าไปที่โรงฆ่าสัตว์ถนนนาเกลือ  ซึ่งจะต้องเดินทางผ่าน
สะพานเดชานุชิต และก่อนที่เดินทางไปถึงสะพานเดชานุชิตจะต้องผ่านถนนหนองจิก บริเวณที่อยู่ใกล้คอก
สัตว์ ด้วยไม่คิดว่าศัตรูจะอยู่แถวนั้นจึงไม่ทันระมัดระวัง ช่วงที่เดินทางผ่านทางนั้น กองกําลังทหารที่มี
พ.ต.ขุนอิงคยุทธบริหารเป็นนายกองจึงถูกซุ่มโจมตีด้วยปืนกล

จึงทําให้ท่านและนายทหารอีกหลายคนถูกยิงด้วยปืนกล หลังจากที่ถูกยิงแล้วท่านยังตะโกนสั่งให้ทหารสู้รบ
ต่อไป จนตัวเองมาเสียชีวิตที่สุขศาลา วันที่ ๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๔ ได้เลื่อนยศเป็น พ.อ.ขุนอิงคยุทธ
บริหารในเวลานั้นต่อมา
ในปี  พ.ศ.๒๕๑๑  พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานนามแก่ค่ายที่ ตําบลบ่อทอง อําเภอหนองจิก 
จังหวัดปัตตานี  ว่า "ค่ายอิงคยุทธบริหาร" เพื่อเป็นการระลึกถึงวีรกรรมที่กล้าหาญของท่านต่อไป

You might also like