You are on page 1of 72

7

8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
แนะนำชมรม 4 ฝ่าย
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมีชมรมที่อยู่ในสังกัดองค์การบริหารสโมสรนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (อบจ.)
มากกว่ า 50 ชมรม โดยแบ่ ง ชมรมทั้ ง หมดออกเป็ น 4 ฝ่ า ย ได้ แ ก่ ฝ่ า ยวิ ช าการ ฝ่ า ยศิ ล ปะและวั ฒ นธรรม
ฝ่ายพัฒนาสังคมและบำาเพ็ญประโยชน์ และฝ่ายกีฬา

ชมรมฝ่ า ยวิ ช าการ


ชมรมฝ่ายวิชาการค่อนข้างหลากหลายทัง้ ในรูปแบบและเป้าหมายของกิจกรรม ประกอบไปด้วยชมรมทีเ่ กีย่ วข้อง
กับศาสนาและการพัฒนาตนเองในด้านต่างๆ ทั้งหมด 8 ชมรม คือ ชมรมพุทธศาสตร์และประเพณี ชมรมศาสนศึกษา
ชมรมวรรณศิ ล ป์ ชมรมวาทศิ ล ป์ แ ละมนุ ษ ยสั ม พั นธ์ ชมรมพั ฒ นาความฉลาดทางอารมณ์ ชมรมพั ฒ นาศั ก ยภาพ
ชมรมทูตเยาวชนนานาชาติและสันติภาพสากล และชมรมจิตศึกษา

ชมรมฝ่ า ยศิ ล ปะและวั ฒ นธรรม


ชมรมฝ่ายศิลปะและวัฒนธรรม หรือเรียกอย่างย่อว่า “ศิลป์วัฒน์” ดำาเนินกิจกรรมเกี่ยวกับศาสตร์และศิลป์
ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการศึกษาวัฒนธรรมในแต่ละภาค หรือการฝึกฝนศิลปะการแสดงและการต่อสู้ ประกอบไปด้วย 10
ชมรม ดังนี้ ชมรมศิลปวัฒนธรรมอีสาน ชมรมศิลปวัฒนธรรมปักษ์ใต้ ชมรมนาฏศิลป์และการละครไทย ชมรมดนตรีไทย
ชมรมดนตรี ส ากล ชมรมนั ก ร้ อ งประสานเสี ย ง ชมรมศิ ล ปป้ อ งกั น ตั ว และอาวุ ธ ไทย ชมรมศิ ล ปะป้ อ งกั น ตั ว ไอคิ โ ด
ชมรมศิลปะการถ่ายภาพ และชมรมภาพยนตร์

29
ชมรมฝ่ า ยพั ฒ นาสั ง คมและบำ า เพ็ ญ ประโยชน์
ชมรมฝ่ายพัฒนาสังคมและบำาเพ็ญประโยชน์ หรือเรียกอย่างย่อว่า “ฝ่ายพัฒน์” เหมาะสำาหรับนิสิตที่สนใจใน
กิ จ กรรมอาสา ชอบช่ ว ยเหลื อ สั ง คมและส่ ว นรวม เนื่ อ งจากชมรมฝ่ า ยนี้ มี ก ารจั ด กิ จ กรรมค่ า ยอาสาทั้ ง ค่ า ยเล็ ก และ
ค่ า ยใหญ่ อ ยู่ เ สมอ ชมรมฝ่ า ยพั ฒ นาสั ง คมและบำ า เพ็ ญ ประโยชน์ มี ใ ห้ เ ลื อ กสมั ค รมากถึ ง 9 ชมรม ได้ แ ก่
ชมรมโรตาแรคท์ ชมรมบริการโลหิตและสังคมสงเคราะห์ ชมรมอนุรักษ์สภาพแวดล้อม ชมรมอาสาสมัครชาวไทยภูเขา
ชมรมเยาวชนจิ ต อาสา ชมรมไอเซคแห่ ง จุ ฬ าลงกรณ์ ม หาวิ ท ยาลั ย ชมรมจุ ฬ าฯ สู่ ชุ ม ชน ชมรมค่ า ยอาสาสมั ค ร
สโมสรนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และชมรมอาสาพัฒนาเพื่อเด็กด้อยโอกาสแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ชมรมฝ่ า ยกี ฬ า
ชมรมฝ่ า ยกี ฬ าสามารถเข้ า ร่ ว มได้ ทั้ ง ผู้ ที่ ต้ อ งการออกกำ า ลั ง กาย และผู้ ที่ ป ระสงค์ จ ะเป็ นนั ก กี ฬ าของ
มหาวิ ท ยาลั ย ฝ่ า ยกี ฬ ามี ม ากกว่ า 20 ชมรม ประกอบด้ ว ย ชมรมเทควั น โด ชมรมกี ฬ าคาราเต้ - โด ชมรมยู โ ด
ชมรมฟั น ดาบสากล ชมรมดาบไทย ชมรมกี ฬ าทางนำ า้ ชมรมเซปั ก ตะกร้ อ ชมรมกอล์ ฟ ชมรมบาสเกตบอล
ชมรมเทเบิลเทนนิส ชมรมเปตอง ชมรมฟุตบอล ชมรมฟุตซอล ชมรมรักบี้ฟุตบอล ชมรมวอลเลย์บอล ชมรมฮอกกี้
ชมรมซอฟท์ บ อล ชมรมกรี ฑ า ชมรมกี ฬ ายิ ง ปื น ชมรมแบดมิ น ตั น ชมรมเทนนิ ส ชมรมบริ ด จ์ แ ละหมากกระดาน
ชมรมมวยสากลสมัครเล่น ชมรมเรือใบและเรือพาย ชมรมลีลาศ ชมรมแฮนด์บอล ชมรมยูยิตสู ชมรมกีฬาอีเล็กทรอนิกส์
และชมรมเพาะกายและฟิตเนส

สำาหรับการรับสมัครและรายละเอียดเพิ่มเติมของแต่ละชมรม
สามารถติดตามได้ในงานเปิดโลกกิจกรรม (Club Mania)

30
31
32
33
34
35
36
37
38
39
40
41
42
43
44
ปักหมุดจุดอ่านหนังสือในจุฬาฯ
เวลาเราเดินทางไปที่ไหนสักแห่งที่ไม่คุ้นเคย เรามักจะ ‘ปักหมุด’ สถานที่นั้นไว้
เพื่อเตือนความจํา น้องๆ นิสิตใหม่อาจจะกําลังมองหาที่สําหรับนั่งอ่านหนังสือ
ทําการบ้าน หรือจับกลุ่มติวกัน ซึ่งในจุฬาฯ เองก็มีสถานที่ต่างๆ มากมาย
ให้น้องๆ ได้เลือกใช้ตามความชอบ รวมถึงมีบริการและทรัพยากรทางวิชาการ
พร้อมสรรพเพื่ออํานวยความสะดวกให้แก่นิสิต อาจารย์ และบุคลากรทุกคน
จึงได้มอบ ‘หมุด’ มากหน้าหลายตาไว้ดังนี้

สํานักงานวิทยทรัพยากร (หอสมุดกลาง)
อาคารมหาธีรราชานุสรณ์ ตรงข้ามโรงเรียนสาธิตจุฬาฯ ฝ่ายประถม

จันทร์-ศุกร์ 8.00-21.00 น.
เสาร์-อาทิตย์ 9.00-18.00 น.
ปิดทําการวันหยุดนักขัตฤกษ์
เปิดให้บริการตลอด 24 ชั่วโมงในช่วงสอบกลางภาคและปลายภาค ที่มา : https://www.chula.ac.th/cu-services/information-services/office-of-academic-resources/

สถานที่อ่านหนังสือยอดนิยมตลอดกาลของเด็กจุฬาฯ อีกทั้งยังเป็นที่พึ่งพายามยาก เพราะที่นี่จะเปิดให้บริการในช่วงสอบ


ตลอดทั้ง 24 ชั่วโมงเลยทีเดียว มีทั้งโต๊ะอ่านหนังสือ ห้องค้นคว้ากลุ่ม และคลังหนังสือจํานวนมากมายมหาศาลให้ได้ใช้บริการ
ประกอบไปด้วย 7 ชั้น ดังนี้
ชั้น 1: บริการยืม-คืน ตอบคําถาม และช่วยค้นคว้า, โซนอินเทอร์เน็ตและสืบค้นสารสนเทศ, วารสาร, หนังสือใหม่ และ
หนังสือแนะนํา, Learning & Co-Working Space
ชั้น 2: ห้องค้นคว้ากลุ่ม, Learning & Co-Working Space
ชั้น 3: ศูนย์พัฒนาสื่อ นวัตกรรม และเทคโนโลยี, บริการสื่อ, ศูนย์สัมผัสวัฒนธรรมจีน สถาบันขงจื่อฯ
ชั้น 4: หนังสือหมวดมนุษยศาสตร์, หนังสือหมวดวิทยาศาสตร์, ห้องค้นคว้ากลุ่ม, ห้องอบรม
ชั้น 5: หนังสือหมวดสังคมศาสตร์, ห้องค้นคว้ากลุ่ม, ศูนย์สารสนเทศนานาชาติ, ศูนย์รัสเซีย มูลนิธิรุสกีมีร์
ชั้น 6: หนังสือหายาก สิ่งพิมพ์พิเศษ ศูนย์มรดกภูมิปัญญา จุฬาฯ, ศูนย์สารสนเทศประเทศไทยและประชาคมอาเซียน,
มุมจุฬาฯ ภารัตคดีสถาน
ชั้น 7: ห้องนิทรรศการหมุนเวียน, ห้องประชุม
นอกจากนี้ก็ยังมีบริการอื่นๆ เช่น บริการเครื่องยืม-คืนอัตโนมัติ บริการถ่ายเอกสาร และมุมกาแฟ เรียกได้ว่าครบเครื่อง รวมทุก
อย่างเอาไว้ในที่เดียวอย่างแท้จริง ในชีวิตเด็กจุฬาฯ ถ้ามีโอกาสต้องได้ไปเยือนสักครั้ง

สํานักงานวิทยทรัพยากร สาขาจามจุรี 9
อาคารจามจุรี 9 ตรงข้ามสนามกีฬาจุฬาลงกรณ์และ
โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายมัธยม
จันทร์-ศุกร์ 9.00-18.00 น.
เสาร์ 9.00-16.00 น.
ปิดทําการวันอาทิตย์และวันหยุดนักขัตฤกษ์
หมายเหตุ: เวลาทําการอาจมีการเปลี่ยนแปลง
อีกหนึ่งที่อ่านหนังสือยอดฮิตของชาวจุฬาฯ เปิดให้บริการ

45
พื้นที่การเรียนรู้อเนกประสงค์ (ชั้น 1 และ 3-6) มีทั้งโต๊ะ
อ่านหนังสือ ที่นั่งเล่น ร้านสหกรณ์ ร้านอาหาร อีกทั้งยังมี
บริการบอร์ดเกมและ eSports Zone ด้วย

ที่มา : http://www.cuhc.chula.ac.th/th/
สํานักงานวิทยทรัพยากร
สาขาเฉลิมราชกุมารี 60 พรรษา (จามจุรี 10)
อาคารเฉลิมราชกุมารี 60 พรรษา (อาคารจามจุรี 10)
ตรงข้ามสถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจศศินทร์ฯ
จันทร์-ศุกร์ 9.00-17.00 น.
เสาร์-อาทิตย์ 9.00-18.00 น.
ปิดทําการวันหยุดนักขัตฤกษ์

อีกหนึ่งสาขาของหอสมุดกลาง โดยเน้นให้บริการสืบค้นวิทยานิพนธ์ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
รวมไปถึงหนังสือหมวดจิตวิทยา พยาบาล วิทยาศาสตร์การกีฬา สหเวชศาสตร์ และสหสาขาวิชา
ที่มา : https://th.m.wikipedia.org/wiki/ไฟล์:จามจุรี10chamchuri10.jpg สําหรับน้องๆ ที่ต้องการศึกษางานวิทยานิพนธ์ของพี่ๆ ที่เคยทําเอาไว้ ก็สามารถมาใช้บริการที่นี่ได้

โต๊ะอ่านหนังสือ ใต้ตึกหอพักนิสิตจุฬาฯ PLEARN Space


ใต้ตึกหอพักนิสิตจุฬาฯ ทุกตึก ชั้น 1 อาคารเปรมบุรฉัตร ตรงข้ามศาลาพระเกี้ยว
จันทร์-ศุกร์ 7.00-22.00 น.
ทุกวัน 06.00-23.00 น. (ตามช่วงเวลา)
เสาร์ 7.00-19.00 น.
หอพักนิสิตหรือ ‘หอใน’ มีบริการโต๊ะม้านั่งสําหรับนั่งอ่าน ปิดทําการวันอาทิตย์และวันหยุดนักขัตฤกษ์
หนังสือ ทําการบ้าน หรือทํางานกลุ่ม ใต้ตึกหอพักทุกตึก Digital Co-Learning Space ที่ผสมผสานระหว่าง ‘Play’ และ
นับว่าเป็นสถานที่อ่านหนังสือสุดมินิมอล ทั้งเรียบง่ายและ ‘Learn’ เพื่อเป็นพื้นที่ส่วนกลางสําหรับการเรียนรู้ร่วมกัน มีสิ่ง
สะดวกสบาย โดยเฉพาะสําหรับชาวหอในทั้งหลาย อํานวยความสะดวกครบครัน ทั้งโต๊ะอ่านหนังสือ ห้องประชุม
เวทีพร้อมเครื่องฉายโปรเจกเตอร์ ฯลฯ เรียกได้ว่าเป็นหนึ่งใน
space เก๋ๆ ในจุฬาฯ ที่สร้างบรรยากาศของการเรียนรู้ร่วมกัน
ได้เป็นอย่างดี

ที่มา :https://panoramicstudio.myportfolio.com/chula-plearn-space

ห้องสมุดคณะต่างๆ
นอกจากสถานที่ที่แนะนําไปข้างต้นแล้ว ก็ยังมีห้องสมุดของคณะต่างๆ ที่เปิดเป็นพื้นที่สําหรับอ่านหนังสือและให้บริการ
หนังสือในสาขาวิชาต่างๆ เช่น

ห้องสมุดคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ศูนย์สารนิเทศมนุษยศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ เทพบรรณรัตน์ ศูนย์บรรณสารสนเทศทางการศึกษา


ห้องสมุดสุดโมเดิร์นโฉมใหม่ของ ‘ห้อองสมุดเทวาลัย’ ห้องสมุด หรือห้องสมุดประจําคณะครุศาสตร์ อีกหนึ่งห้อง
หรือที่เรียกกันว่า ‘ห้
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ที่มีการ สุดขลังประจําคณะอักษรศาสตร์ที่เต็มไปด้วย สมุดที่มีลักษณะเฉพาะตรงที่มีหนังสือแบบเรียน
จัดสรรพื้นที่ที่เรียกได้ว่าทันสมัย ตําราทางด้านศิลปศาสตร์และมนุษยศาสตร์ ให้บริการ
มากๆ ออกแบบได้อย่างลงตัวสมชื่อ บางเล่มอาจจะสภาพเก่าครํ่าครึไปบ้าง แต่บอก
นอกจากนี้แล้วก็ยังห้องสมุดของคณะอื่นๆ ใน
คณะสถาปัตยฯ อีกทั้งยังให้บริการ ได้เลยว่าที่นี่มีหนังสือหายากมากมายที่หาไม่ได้
จุฬาฯ ที่น้องๆ สามารถเข้าไปลองสํารวจและ
หนังสือเกี่ยวกับสถาปัตยกรรมและ จากที่อื่นแล้วนะ ใช้บริการได้
การออกแบบอีกเป็นจํานวนมาก
ลําพังแค่ในจุฬาฯ ก็มีที่อ่านหนังสือมากมายให้เลือกกันไม่หวาดไม่ไหวแล้วใช่ไหม

46
สาย Art & Design ไม่ควรพลาด
แถมไม่ต้องเสียเงินหรือเดินทางไปที่ไหนไกลๆ อีกต่างหาก ถ้าพร้อมแล้วล่ะก็ ลองไป
ใช้บริการสถานที่ต่างๆ ภายในมหาวิทยาลัยของเราตามที่ปักหมุดไว้กันได้เลย
ปักหมุดจุดอ่านหนังสือรอบจุฬาฯ
เพราะนิสิตแปลว่าต้องอ่านหนังสือ ฉันไม่ยอมหลุด A หรอกค่ะ ดังนั้นคอลัมน์นี้เราจะพาไปดู
สถานที่อ่านหนังสือยอดนิยมของเราชาวจุฬาฯ สําหรับคนที่เบื่อบรรยากาศห้องสมุดกันเต็มทน
อยากจิบเครื่องดื่มเพลินๆ นั่งอ่านหนังสือชิลๆ รวมกลุ่มติวหรือพบปะคุยงาน มาดูกันว่า
จะมีร้านไหนโดนใจเหล่าเฟรชชี่บ้าง

SAMYAN CO-OP
Co-working space แห่งใหม่ใกล้จุฬาฯ กับการ
ดีไซน์ที่สวยงาม มีมุมอ่านหนังสือหลากหลาย ที่
สําคัญคือเข้าฟรี! มีปลั๊กทุกที่นั่ง มี Wi-Fi ฟรี ตั้งอยู่
บริเวณชั้น 2 ของสามย่านมิตรทาวน์ เดินทางสะดวก
สุดๆ แถมเปิด 24 ชม. อีกด้วย

ที่มา : https://www.posttoday.com/property/602730

too fast to sleep


กับคอนเซ็ปต์สุดโดนใจสําหรับคนไทม์โซนอเมริกา เพราะร้านนี้เปิด 24 ชม.
ซึ่งปัจจุบันมีสาขาให้บริการรอบจุฬาฯ ถึง 3 สาขา ได้แก่ สาขาสามย่าน
สาขาศศินทร์ และสาขาสยามสแควร์ ด้วยอาหารและเครื่องดื่มที่มี
ราคาน่ารัก อีกทั้งยังมีปลั๊กสําหรับชาร์จไฟ มีแอร์เย็นๆ และ Wi-Fi ฟรี
ทําให้ช่วงสอบจะคึกคักและเต็มไปด้วยนิสิตเลยก็ว่าได้
ที่มา : https://dsignsomething.com/2016/06/13/too-fast-to-sleep-คาเฟ่ห้องสมุดราตรี/

naplab
Co-working space เหมาะกับคนอ่านหนังสือไปง่วงไปจริงๆ เนื่องจาก
ร้านนี้นอกจากจะมีโซนอ่านหนังสือหรือทํางาน มีห้องประชุม มีปลั๊กและ
Wi-Fi ฟรี เหมือนร้านอื่นๆ ทั่วไปแล้ว ยังมีโซนหนีงาน สําหรับ
การพักเบรกสมอง ซึ่งมีเบาะ หมอน เตียง ห้องอาบนํ้า มีทุกอย่างสําหรับ
การนอน รวมถึงมีอาหารและเครื่องดื่มในราคาเบาๆ อีกด้วย โดย
ค่าเข้าใช้บริการสําหรับนิสิตนักศึกษาอยู่ที่ 105 บาท/4 ชม.
ที่มา : https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/871864

pacamara
ร้านกาแฟราคาเบาๆ ที่เปิด 24 ชม. ตั้งอยู่ในพื้นที่ห้องสมุดของคณะแพทยศาสตร์
มีเก้าอี้นั่งสบายๆ มีปลั๊กและ Wi-Fi ครบครัน ซึ่งที่นี่ยังขึ้นชื่อเรื่องความอร่อยของ
กาแฟคุณภาพดีอีกด้วย เหมาะแก่การมานั่งอ่านหนังสือ จิบกาแฟเพลินๆ

starbucks ที่มา : https://twitter.com/ginyu_kappak/status/909740630724665344

เป็นร้านกาแฟยอดนิยมสําหรับใครหลายคนจริงๆ ซึ่งในพื้นที่จุฬา
ของเรามีหลายสาขามากๆ ไม่ว่าจะเป็นสาขาสยามพารากอน

ที่มา : https://brandinside.asia/starbucks-thailand-20th-anniversary-flagship-sq1/
สยามสแควร์ โดยมีสาขาที่เปิดบริการ 24 ชม. อยู่ 2 สาขา คือ
สาขาสยามกิตติ์กับสามย่านมิตรทาวน์
47
true coffee
สําหรับชาวคณะติดสยามก็เหมาะกับ True Coffee มากๆ เพราะ
มีด้วยกันหลายสาขาในบริเวณสยาม แต่ละสาขาก็น่านั่ง มีปลั๊ก
มี Wi-Fi ครบ ที่สําคัญคือ อยู่ใจกลางสยาม เดินทางสะดวก
หลังอ่านเสร็จก็ไปเที่ยวต่อได้! สําหรับสาขาสยามสแควร์ ซอย 2
ชั้น 3,4 จะเป็น Co-working space มีส่วนที่เป็นห้องประชุมด้วย
จะมีค่าเข้าใช้บริการอยู่ที่ 50 บาท/ชม. และสาขานี้เปิด 24 ชม.!!
ส่วนที่สาขาสยามสแควร์ซอย 3 เปิดบริการถึง 22.00 น. แต่จะ
ไม่มีค่าเข้าใช้บริการเพิ่มเติม ที่มา : https://www.japaikin.com/true-coffee-siam-square-soi2/

true space
ตั้งอยู่ที่ Centerpoint Siam Square ชั้น 4 เป็นพื้นที่ดีๆ สําหรับใคร
หลายๆ คน ข้างในมีอาหารและเครื่องดื่มไว้ให้บริการ และมีพื้นที่
ทํางานหลายรูปแบบให้เราเลือกใช้ได้เต็มที่ ครบทุกรูปแบบการทํางาน
ไม่ว่าจะมานั่งอ่านหนังสือเงียบๆ คนเดียว มาติวหนังสือเป็นกลุ่ม หรือ
จะเช่าห้องประชุมใช้ก็มีครบ มี Wi-Fi ฟรี ปลั๊กพร้อม โดยค่าเข้าบริการ
อยู่ที่ 50 บาท/ชม. (สําหรับนิสิตลด 20%)
ที่มา : https://www.truespaceth.com/co-working-space-true-space-centerpoint//

siam innovation district


มีทั้งหมด 4 ชั้น ตั้งอยู่ในบริเวณ Siam Square One
ชั้นบนสุดจะเป็นพื้นที่จัดแสดงงาน แนวคิด หรือไอเดียใหม่ๆ
สําหรับบุคคลทั่วไปได้เข้ามาชม ส่วนชั้น 2 จะเป็นพื้นที่
Co-working space ภายในจะมีพื้นที่สําหรับอ่านหนังสือ
มากมาย มีร้าน Class Cafe จําหน่ายเครื่องดื่มในราคา
ไม่แรงมาก มีห้องประชุมสําหรับคุยงาน และสําหรับบางคนที่
ที่มา : https://chill.atimeonline.com/post/3218
อยากได้พื้นที่ทํางาน เช่น สายงานอาร์ตทั้งหลาย พื้นที่ของ
ชั้นใต้ดินที่นี่เหมาะมากๆ เพราะมีอุปกรณ์ต่างๆ ครบครัน มีทั้งเครื่องปรินต์
โต๊ะกว้างๆ สําหรับทําโมเดล รวมถึงโปรเจกเตอร์ด้วย และที่สําคัญ ที่นี่
เข้าใช้งานฟรีไม่มีค่าใช้จ่าย!

X Cafe
ร้านกาแฟและพื้นที่อ่านหนังสือยอดนิยมของชาวหอในที่ไม่อยาก
นอนอ่านหนังสือบนหอเบื่อๆ ภายในร้านตกแต่งได้บรรยากาศ
เครื่องดื่ม ขนม ของหวานก็ราคาเบาหวิวมาก แอร์เย็น มี
ปลั๊กให้พร้อม เหมาะสําหรับการรวมกลุ่มติว หรือนั่งอ่านหนังสือ
หลังเลิกเรียนมากๆ

อ่านจบแล้วเฟรชชี่จะรออะไรล่ะ กําเงิน กําชีทเรียน รีบไปใช้บริการกันเร็ว

48
เปิดเทอมนี้เจอกัน มีวิชาเรียนมากมายที่จะมาท้าทายความสามารถรอทุก
ที่มา : https://www.facebook.com/cuxcafe

คนอยู่ เอาใจช่วยทุกคนสําหรับการเรียนปีแรกในจุฬาฯ นะ
ชี้เป้า ! ของอร่อยในรั้วจุฬาฯ
เวลาที่เรียนเสร็จเหนื่อยๆ เวลารีบร้อนออกจากหอมาแต่เช้า เวลาพักกลางวัน เวลาเลิกเรียนที่รอคอย สิ่งแรกที่หลายๆ คนคิดถึง
ก็น่าจะเป็นของกินอร่อยๆ เพื่อเติมพลังกันใช่ไหมล่ะ รู้หรือไม่ ของกินอร่อยๆ ไม่จําเป็นต้องไปหาที่ไหนไกล เพราะว่าในรั้วจุฬาฯ
ของเราก็มีของอร่อย ราคาเป็นมิตรอยู่เต็มไปหมดเลย และวันนี้เราจะมาพาทัวร์ ชี้เป้าศูนย์รวมความอร่อยในจุฬาฯ กัน!

ร้านอีสาน อักษรฯ มาเริ่มกันที่ร้านที่คิวยาวเหยียดทุกพักกลางวันอย่าง “ร้านอีสาน (ร้าน 3)” ณ


โรงอาหารคณะอักษรศาสตร์กันดีกว่า เมนูเด็ดที่เราจะพามาชี้เป้าเมนูแรก
ได้แก่เมนู “ข้าวเหนียวไก่ทอด” ข้าวเหนียวร้อนๆ กับไก่ทอดกรอบเนื้อนุ่ม
พร้อมนํ้าจิ้มรสเด็ด เป็นเมนูที่เด็กอักษรฯ ทุกคนครั้งหนึ่งต้องเคยสั่งมากิน
แต่ไม่ใช่แค่ข้าวเหนียวไก่ทอดเท่านั้นที่อร่อย เมนูแนะนําที่ไม่ชี้เป้าไม่ได้ก็คือ
เมนู “นํ้าตกและลาบ” นั่นเอง บอกเลยว่าร้านนี้เขาทําเข้มข้น ถึงรสถึงชาติ
จริงๆ

นอกจากร้านอีสาน (ร้าน 3) แล้ว อีกร้านที่คิวยาวไม่ ร้านข้าวแกงป้าเบลอ อักษรฯ


แพ้กันจนกล้ารับประกันความอร่อยคือ “ร้านข้าวแกงป้า-
เบลอ (ร้าน 4)” เมนูแนะนําก็คือ “ขาเห็ดป้าเบลอ” ซึ่งเป็น
เมนูที่นานๆ จะได้กินสักทีแต่คุ้มค่าที่ได้กินแน่นอน รวมถึง
น่าจะถูกใจสายสุขภาพที่นิยมรับประทานเมนูเห็ดอีกด้วย
นอกจากนี้ร้านป้าเบลอยังมีเมนูหายาก (เพราะไม่ได้ทํามา
ขายบ่อยๆ) อย่าง “ลาบเต้าหู้” ด้วยความหายากนี้ อาหาร
จานนี้จึงเป็นเมนูที่ได้กินเมื่อใดก็สุขใจอยู่เสมอ ที่มา : https://www.facebook.com/ป้าเบลอ-ร้านข้าวแกง-4- ที่มา : https://www.facebook.com/ป้าเบลอ-ร้านข้าวแกง-4-
คณะอักษรฯ-มจุฬา-262458881046098/ คณะอักษรฯ-มจุฬา-262458881046098/

ร้านบะหมี่อดทน รัฐศาสตร์ ก๋วยเตี๋ยวซุ้ม บัญชี

ที่มา : https://mgronline.com/onlinesection/detail/9600000052849

ที่มา : https://www.wongnai.com/restaurants/192025gz-ก๋วยเตี๋ยวต้มยําสุโขทัยข้างจุฬา-คณะบัญชี-ข้างจุฬา-คณะบัญชี

สําหรับใครที่เบื่อกินข้าว อยากห้าวกินเส้น ขอแนะนําให้มาที่


นอกจากบะหมี่อดทนที่คณะรัฐศาสตร์แล้ว เมนูเส้นที่อร่อยเด็ด
“ร้านบะหมี่อดทน” ณ โรงอาหารคณะรัฐศาสตร์ ที่ได้ชื่อว่า
อีกที่คือ “ก๋วยเตี๋ยวซุ้ม” จากคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี
บะหมี่อดทนก็เพราะใครจะมากินต้องอดทนรอคิวที่ยาวสุดๆ
นั่นเอง เมนูต้มยําอร่อยแซ่บสะใจ ที่สําคัญเขามีเครื่องให้เลือก
แต่ถ้าถึงคิวสั่งอาหารของเราแล้ว แนะนําให้สั่งเป็นบะหมี่แห้ง
เยอะมาก ไม่ว่าจะเป็นไข่ยางมะตูม เกี๊ยวกรอบ หมูชิ้น

49
ซึ่งเป็นเมนูเด็ดของร้าน นอกจากนั้น ยังมีตัวเลือกให้ใส่ปูด้วย
อยากกินอะไรก็เลือกได้เลย!
ถึงราคาอาจจะแรงหน่อย แต่เนื้อปูเขาแน่นมาก
ร้านข้าวไข่ข้น นิติฯ - นิเทศฯ ปังเย็นครุฯ
กินของคาวเสร็จแล้วต้องมาต่อของหวานกันบ้าง เมนู
ของหวานที่ขึ้นชื่อสุดๆ ยังอยู่ที่จุฬาฯ ฝั่งเล็กกันอยู่ เดินมา
ไม่ใกล้ไม่ไกลจากโรงอาหารคณะนิติศาสตร์ - นิเทศศาสตร์
ก็จะพบกับ “ปังเย็นครุฯ” ซึ่งเป็นของหวานขึ้นชื่อของ
คณะครุศาสตร์เพราะปริมาณที่เยอะจนสูงเสียดฟ้าให้กิน
กันแบบจุกๆ ไปเลย รับประกันความอิ่ม

ที่มา : https://www.wongnai.com/news/food-in-chula-canteen

เมนูเด็ดต่อไปเราจะข้ามไปที่จุฬาฯ ฝั่งเล็ก
กันบ้าง เป็น “ร้านข้าวไข่ข้น” ณ โรงอาหาร
คณะนิติศาสตร์-นิเทศศาสตร์นั่นเอง เป็น
เมนูดังที่ทําให้ชาวจุฬาฯ ฝั่งใหญ่ถึงกับ
ลงทุนดั้นด้นไปกินกันเลยทีเดียว ข้าวไข่ข้น
เยิ้มๆ โปะบนข้าวสวยร้อนๆ หอมอร่อย
สุดยอด ไม่ลองไม่ได้แล้ว! นอกจาก
ข้าวไข่ข้น ร้านนี้ยังมีสารพัดเมนูไข่มาให้
ลิ้มลองอีกมากมายเลยด้วย
ที่มา : http://starvingtime.co.th/2017/01/12/ชมคลิป-เคยเห็นยัง-ปังเย/

พาราโบลา วิศวฯ
ข้ามกลับมาจุฬาฯ ฝั่งใหญ่อีกครั้ง เมนูของหวานที่พลาดไม่ได้เด็ดขาดเลย
คือ “ไอศกรีมพาราโบลา” จากคณะวิศวกรรมศาสตร์ เป็นที่เลื่องชื่อ
กันมากกับความอร่อยของรสชาติที่จะหมุนเวียนมาให้ลองอยู่เรื่อยๆ แต่จะ
มีรสชาติหลักคือรสโยเกิร์ต บางวันจะมีรสชาร์โคล รสดาร์กช็อกโกแลต
หรือรสนมสดบ้าง สามารถเลือกท็อปปิง เช่น โอรีโอ พีช หรือมาร์ชเมลโล
ใส่เพิ่มได้ด้วย
นอกจากจะมีไอศกรีมพาราโบลาแล้ว คณะวิศวกรรมศาสตร์ยังมีรถเข็น
ไอศกรีมไผ่ทองด้วย สําหรับใครที่อยากกินไอศกรีมแบบไทยๆ ใส่
ขนมปังก้อนก็สามารถไปแวะเวียนได้ที่ลานเกียร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ได้
เลย

ผลไม้ลุงฟรุตตี้
แต่ถ้าไม่อยากกินของหวาน ลองมาตบท้ายด้วยผลไม้แทนดีไหม ต้องบอกเลยว่า
“ผลไม้ลุงฟรุตตี้” โด่งดังมากๆ ในรั้วจุฬาฯ ผลไม้ลุงฟรุตตี้จะเป็นผลไม้แช่เย็น
คว้านเมล็ด ปอกเปลือก มาพร้อมพริกเกลือหรือกะปิ และยังมีไม้จิ้มมาให้ด้วย
เรียกได้ว่าซื้อปุ๊บกินได้ปั๊บกันเลย สําหรับใครที่อยากลิ้มลองความชื่นใจจากผลไม้
ลุงฟรุตตี้ ให้ลองมาหารถมอเตอร์ไซค์เวสป้าคู่ใจของคุณลุงฟรุตตี้ที่บรรจุผลไม้
เย็นฉํ่าได้ที่หน้าคณะอักษรศาสตร์ในช่วงเที่ยงๆ หรือหน้าคณะพาณิชยศาสตร์และ
การบัญชีได้ในช่วงเย็น เพราะคุณลุงจะขับรถตระเวนไปทั่วจุฬาฯ เลย

50 อ่านจบแล้วเริ่มหิวกันหรือยัง ถ้าหิวแล้วจะรออะไรล่ะ รีบไปลองเมนูเด็ดทั่วจุฬาฯ มาเติมพลังกันดีกว่า!


เล่าสู่ก ั น ฟ ง

สวัสดีครับน้องๆ รุ่น 104 ทุกคน ก่อนอื่นต้องขอแสดงความยินดี
กับน้องๆ ทุกคนที่ได้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตอนนี้พี่เชื่อว่าน้องๆ ทุกคนคงจะตื่นเต้นและอยากรู้ว่า ชีวิต
ในรั้วจามจุรีจะเป็นอย่างไร สําหรับในคอลัมน์นี้พี่จึงอยากจะพาน้องๆ ไปรู้จักชีวิตในมหาวิทยาลัยจากมุมมองของทั้งศิษย์เก่าที่สําเร็จ
การศึกษาไปแล้วและศิษย์ปัจจุบันที่กําลังศึกษาอยู่ ผ่านการสัมภาษณ์รุ่นพี่มากความสามารถทั้งสองท่านกัน

ท่านแรก คิดว่าน้องๆ น่าจะพอรู้จักกันมาบ้างแล้ว รุ่นพี่ท่านนี้เป็นทั้งศิษย์เก่าและอาจารย์จากคณะวิทยาศาสตร์


รศ. ดร. เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ หรือ อาจารย์เจษฎ์
เจ้าของเพจเฟซบุ๊กที่มีชื่อเสียงในโลกออนไลน์ เพจ “อ๋อมันเป็นอย่างนี้นี่เอง by อาจารย์เจษฎ์”

Q: อยากให้อาจารย์ช่วยแนะนําตัวหน่อยครับ

A: ผม รศ. ดร. เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ อาจารย์ประจําภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์


จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยครับ

Q: อยากทราบว่าทําไมตอนสอบเข้าอาจารย์ถึงเลือกเข้าคณะวิทยาศาสตร์ และทําไมเมื่อศึกษาจบแล้ว
อาจารย์ตัดสินใจมาเป็นอาจารย์ที่คณะวิทยาศาสตร์ครับ

A: ผมเป็นนักเรียนทุนของโครงการพัฒนาและส่งเสริมผู้มีความสามารถพิเศษ
ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (พสวท.) ซึ่งเป็นการเข้าคณะวิทยาศาสตร์
โดยตรง ไม่ต้องสอบเอ็นทรานซ์ เป็นการเลือกโดยตรงที่จะเรียนทางด้าน
สายวิทยาศาสตร์ เพราะความสนใจทางวิทยาศาสตร์อยู่แล้ว และด้วยความ
ที่เป็นนักเรียนทุน พอจบปริญญาเอกแล้ว ก็จะต้องให้กลับมาทํางานชดใช้ทุน 10 ปี ซึ่งก็เลือกเป็นอาจารย์มากกว่าเป็น
นักวิจัยโดยตรงเพราะคิดว่าค่อนข้างกว้างกว่าการเป็นนักวิจัยอย่างเดียว แล้วก็สนใจเรื่องการสอน ผมชอบเกี่ยวกับ
วิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต ประจวบเหมาะกับมีตําแหน่งให้เป็นอาจารย์สอนเกี่ยวกับวิชาวิวัฒนาการที่ภาควิชาชีววิทยา
ของคณะวิทยาศาสตร์พอดี ก็ถือว่าโชคดีที่ได้มาอยู่ในตําแหน่งที่มีพอดีครับ

Q: ช่วงที่อาจารย์เป็นนิสิต ได้ทํากิจกรรมของคณะหรือมหาวิทยาลัยบ้างไหมครับ

A: ทําเยอะมาก ทําเยอะจริงๆ ตอนปีหนึ่งที่เข้ามาเป็นน้องใหม่ ที่คณะมีอะไรให้ทําก็ทําหมดเลย ไม่ว่าจะเป็นการเข้าห้องเชียร์


ซึ่งเมื่อก่อนห้องเชียร์ก็จะมีค่อนข้างเยอะและต่อเนื่อง จะต้องเข้าตลอด รวมไปถึงกิจกรรมต่างๆ ที่ต้องการคนอาสาอย่างเช่น
สมัครเป็นสส. สมทบของคณะ แล้วก็ทํางานเชิงสภานิสิต ช่วยงานของ อบจ. (องค์การบริหารสโมสรนิสิตจุฬาฯ) ช่วยงาน
ของคณะด้วย ที่คณะวิทยาศาสตร์แบ่งเป็น 4 กลุ่ม ผมทํางานกลุ่ม 4 ก็ช่วยทํางานหลายๆ อย่าง พอมีชมรมผมก็เข้า
หลายชมรม ชมรมที่ผมเข้าระยะยาว ก็มีชมรม CU Chorus และชมรมฟันดาบ ปี 2 ก็เป็นพี่เชียร์คณะและเป็นพี่กลุ่ม
ปี 3 ผมก็สมัครเป็นประธานเชียร์คณะ ก็ทําเกี่ยวกับเชียร์ค่อนข้างเยอะ พอปี 4 ก็ทํางานที่ภาควิชาซึ่งตอนนั้นมี
จุฬาฯ วิชาการ โดยรวมก็เป็นเด็กกิจกรรมคนหนึ่งครับ

Q: มีกิจกรรมไหนที่อาจารย์ประทับใจที่สุดครับ

A: ค่อนข้างจะตอบยากนะครับ เพราะทําไปหลายงานมากๆ แต่ละกิจกรรมก็มีทั้งที่ประสบความสําเร็จ แล้วก็มีอุปสรรคบ้างครับ

51
ถ้าที่โดดเด่นจริงๆ ก็คงจะเป็นงานประธานเชียร์คณะที่ทุ่มเทเต็มที่ แต่โดยรวมก็คือประทับใจในการมีส่วนร่วมในทุกกิจกรรม
ที่เรามีโอกาสมากกว่าครับ
Q: สมัยเรียนอาจารย์แบ่งเวลาระหว่างการเรียนและกิจกรรมอย่างไรครับ

A: ผมคิดว่าผมอาจไม่ได้เป็นตัวอย่างที่ดีของคนแบ่งเวลาครับ อย่างเช่น
ตอนปี 1 เทอม 1 ก็ทําคะแนนไม่ค่อยดีทั้งที่เป็นนักเรียนทุน เพราะว่า
ไปทํากิจกรรมซะเยอะเลย แต่ผมก็ไม่เคยทิ้งห้องเรียนนะ ทุกครั้งที่มี
เรียนก็จะเข้าเรียนตลอด ด้วยความที่เราชินกับการเรียนแบบมัธยมที่
เรียนๆ ไปเรื่อยๆ เดี๋ยวก็สอบได้ ซึ่งความจริงมันไม่พอ มันต้องมี
การทบทวน ต้องมีช่วงหยุดกิจกรรม ต้องมาติวกันก่อนสอบ แต่พอ
เข้าช่วงปี 2 – 3 ซึ่งเข้าภาควิชาที่ถนัดและชอบเนื้อหามากขึ้นก็
ดีขึ้นหน่อย ช่วงที่คะแนนดีกลับเป็นช่วงที่ทํากิจกรรมเยอะ อย่างช่วง
ปี 3 ที่เป็นประธานเชียร์ อาจเป็นเพราะพอทํางานเยอะก็เลยต้องรู้จัก
การแบ่งเวลามากขึ้น พอเป็นอาจารย์จึงต้องเน้นลูกศิษย์มากขึ้นว่า
ต้องแบ่งเวลาดีๆ นะ เช่นช่วงใกล้ๆ จะสอบก็ต้องหยุดกิจกรรมได้แล้ว
หรือถ้าเขามีติวกันก็ควรไปติวกับเขาด้วย ต้องแบ่งเวลาให้ดีๆ

Q: อะไรคือสิ่งที่อาจารย์ประทับใจเกี่ยวกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยครับ Q: ขอ 3 คํา/พยางค์ ให้จุฬาฯ ครับ

A: ผมว่าเป็นบรรยากาศรวมๆ นะ บ้านผมเป็นบ้านจุฬาฯ คุณพ่อก็จบวิศวฯ จุฬาฯ


ตัวเองก็อยู่สาธิตจุฬาฯ มาตั้งแต่เด็กๆ คุณอาก็เป็นอาจารย์ที่สาธิตจุฬาฯ ก็เลย
A: ยากมากครับ ผมว่าเราไม่สามารถ
อธิบายจุฬาฯ ได้ในสามคํานะ
ทําให้รู้สึกผูกพันกับมหาวิทยาลัยนี้มาตั้งแต่เด็กๆ แล้วก็ความเป็นมหาวิทยาลัย
เก่าแก่ รวมถึงประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมภายในที่ทําให้ประทับใจ

Q: อาจารย์อยากจะฝากอะไรถึงน้อง รุ่น 104 ที่กําลังจะเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของมหาวิทยาลัยไหมครับ

A: ถ้าโดยภาพรวม ก็ขอยินดีต้อนรับเข้ามาในรั้วจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยครับ ที่นี่เป็นที่ซึ่งเราจะมั่นใจได้ว่า เราจะ


ได้การเรียนการสอนวิชาการที่เป็นเลิศในระดับของประเทศและอาเซียน รวมถึงเราก็จะมีโอกาสมากมาย เพราะเป็น
มหาวิทยาลัยที่มีมากมายหลายสาขาวิชาให้เลือกเรียนข้ามคณะได้ บรรยากาศของจุฬาฯ ก็เต็มไปด้วยความหลากหลายที่
เราจะเรียนรู้และอยู่ร่วมกันได้ โดยรวมผมว่าที่นี่น่าอยู่ เพียงแต่เราก็อาจจะต้องใช้ความสามารถสักหน่อย เพราะมีเพื่อนๆ
เก่งๆ จากหลายๆ ที่มาเรียนร่วมกัน ดังนั้นเราจะ
ประมาทในการเรียนของเราไม่ได้ เราจะเอาแต่เล่นๆ
แล้วคิดว่าคะแนนดีคงเป็นไปไม่ได้ คะแนนอาจไม่ใช่
เรื่องใหญ่ของชีวิตก็จริง แต่ก็เป็นตัวกําหนดเส้นทางของ
ชีวิตหลายอย่างเหมือนกัน รักษาเกรดไว้ให้มากๆ หน่อย
ในช่วงปี 1 ที่ค่อนข้างจะเหนื่อย มีวิชาเรียนเยอะ และก็
ต้องแข่งขันเยอะ แต่ขณะเดียวกันการได้ทํากิจกรรมก็
เป็นเรื่องดีเพราะจะทําให้เราได้เจอและรู้จักกับเพื่อนต่าง
คณะ ขณะเดียวกันปัญหาใหญ่ของปีนี้ก็อาจเป็นการเจอ
โรคโควิดที่ทําให้การเรียนการสอนติดขัดมากขึ้น ต้อง
เรียนออนไลน์ อย่างไรก็ตาม ก็อย่าประมาท พยายาม
ค้นหาความรู้ด้วยตนเองด้วยเพื่อที่จะได้มีองค์ความรู้ที่
มากพอในการเรียนปีต่อๆ ไปหรือทํางานต่อไปครับ

52
อีกท่านหนึ่ง เป็นศิษย์ปัจจุบันของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นทั้งผู้นําสันทนาการของคณะอักษรศาสตร์

เป็นนักเรียนการละคร และเป็น Drag Queen พี่แรปเตอร์ สิรภพ อัตโตหิ จากคณะอักษรศาสตร์ครับ

Q: อยากให้พี่แรปเตอร์ช่วยแนะนําตัวหน่อยครับ

A: สวัสดีค่ะ ชื่อแรปเตอร์นะคะ ขึ้นปี 4 คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ภาควิชาศิลปการละครค่ะ

Q: อยากทราบว่าทําไมตอนสอบเข้าพี่แรปเตอร์ถึงเลือกคณะอักษรศาสตร์ครับ

A: คือความสนใจของเรามันอยู่ที่คณะอักษรฯ เราชอบละคร เราชอบพวกศิลปวัฒนธรรม แล้วก็สนใจเรื่องของศาสนา ปรัชญา


ก็เลยคิดว่าคณะอักษรฯ ตอบโจทย์เรามากที่สุด

Q: พี่แรปเตอร์ได้เข้าทํากิจกรรมของคณะหรือมหาวิทยาลัยบ้างไหมครับ

A: ถ้าเป็นงานของคณะ เราเป็นพิธีกรของคณะในงานต่างๆ แล้วก็ทํารับน้อง เป็นผู้นําสันทนาการ ถ้าเป็นของมหาวิทยาลัย


เราทําบ้านรับน้องในงานรับน้องก้าวใหม่ แล้วก็งานบอลครั้งล่าสุด (งานฟุตบอลประเพณีจุฬาฯ - ธรรมศาสตร์ครั้งที่ 74)
เราเป็นผู้ถือลูกฟุตบอล

Q: มีกิจกรรมไหนที่พี่แรปเตอร์ประทับใจที่สุดครับ

A: ถ้ากิจกรรมที่ประทับใจที่สุดจะเป็นพวกรับน้องของคณะ เรา
ชอบพลังงานของเด็กรุ่นใหม่ มันมีความสดใหม่ที่พร้อมจะรับ
สิ่งต่างๆ พอเราเป็นผู้สันทนาการเหมือนเราได้ส่งพลังงานบวก
แล้วได้เห็นพลังงานของเขาที่ตอบกลับมา มันทําให้เรามีพลัง
มีแพสชันที่จะใช้ชีวิตต่อ

Q: ทราบมาว่าพี่แรปเตอร์อยู่เอกวิชาศิลปการละครซึ่งเป็นเอกที่งาน
เยอะมากๆ อยากทราบว่าพี่แรปเตอร์แบ่งเวลาระหว่างการเรียน
และกิจกรรมอย่างไรครับ

A: ในการเรียนภาควิชาศิลปการละคร เราเรียนไปด้วยแล้วก็ทํางานไปด้วยอยู่แล้ว
เพราะฉะนั้นการเรียนในวิชาเอกจะสนับสนุนการทํางานอยู่แล้ว เลยไม่ค่อยมี
ปัญหามาก ส่วนการเรียนในวิชาอื่นๆ สิ่งที่เราจะดูคือ วิชาไหนที่เราสนใจ และ
คิดว่าจะเป็นประโยชน์กับเราในอนาคต ก็จะพยายามแบ่งเวลาไปอ่านมัน เวลา
ที่เหลือก็จะเอาไปทํางานต่างๆ ส่วนวิชาบังคับที่เรามองว่าไม่ได้จําเป็นมากและ
ไม่ได้สนใจ ก็จะพยายามทําให้ผ่านไปโอเคที่สุด เราคิดว่าสิ่งที่เป็นทางของเรา
คือการเลือกในสิ่งที่เป็นประโยชน์กับเรา และสามารถขับเคลื่อนชีวิตเราให้ไป
ต่อข้างหน้าได้

Q: อะไรคือสิ่งที่พี่แรปเตอร์ประทับใจเกี่ยวกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยครับ

A: สิ่งที่เราประทับใจเกี่ยวกับจุฬาฯ คือ “นิสิต” เรารู้สึกว่าเด็กจุฬาฯ จํานวนมาก


ที่เราเคยเห็น เข้ามาพร้อมแพสชันและศักยภาพบางอย่าง รวมถึงบรรยากาศ
ของนิสิตในจุฬาฯ ที่มีแรงผลักดันให้เราก้าวไปข้างหน้าได้ มีศักยภาพที่พร้อม

53
จะขับเคลื่อนอะไรบางอย่างอยู่เสมอ ทั้งในด้านของกิจกรรมและวิชาการ
Q: ขอ 3 คํา/พยางค์ให้จุฬาฯ ครับ

A: เราอยากให้ใช้คําว่า “ก้าว ต่อ ไป”


เพราะในจุฬาฯ เอง ก็ยังมีหลายเรื่องที่จะ
ต้องพัฒนา และในฐานะที่เรียกตัวเองว่า
เสาหลักของแผ่นดิน ก็ควรจะเป็นหลัก
ในการขับเคลื่อนสังคมไปข้างหน้า

Q: พี่แรปเตอร์อยากจะฝากอะไรถึงน้อง
รุ่น 104 ที่กําลังจะเข้ามาเป็นส่วนหนึ่ง
ของมหาวิทยาลัยไหมครับ

A: การเข้ามาในจุฬาฯ อาจจะสมหวัง ผิดหวัง


หรือเกินความคาดหวังก็ได้ อันนี้เป็นเรื่อง
ของปัจเจกบุคคลว่าตั้งความคาดหวังไว้
แบบไหน แต่สิ่งหนึ่งที่เราไม่อยากให้หายไป
ระหว่างทางในการเรียนจุฬาฯ คือไม่อยาก
ให้น้องๆ รุ่นใหม่เข้ามาแล้วสูญเสียแพสชัน
หรือไฟในตัวไป ระบบการศึกษาที่เราจะต้องตอบโจทย์โลกทุนนิยมอยู่ตลอดเวลา ซึ่งไม่ใช่แค่ในจุฬาฯ แต่เป็นทั้งโลก
มันเรียกร้องให้เราก้าวเข้าไปหาทุนนิยมอยู่เสมอ ยิ่งเราโตขึ้น มันยิ่งกัดกินให้เราสูญเสียพลังของความเป็นเด็กและ
แพสชันข้างในของเรา ถ้าเป็นไปได้ อยากให้ทุกคนเก็บแพสชัน ความฝัน แรงบันดาลใจในตัวเราอยู่เสมอ เพราะมัน
จะเป็นสิ่งที่ทําให้เรามีชีวิตอยู่ต่อไปได้ในโลกที่เป็นวัตถุนิยม อย่าปล่อยให้ตัวเองโดนกัดกินจนข้างในเราไม่เหลือ
อะไร นอกจากนี้การที่เราก้าวมาเป็นเด็กจุฬาฯ ได้ เราโชคดีและได้รับโอกาสบางอย่างที่คนในประเทศนี้หลายๆ คน
อาจจะไม่มีโอกาสด้วยซํ้า เนื่องจากปัจจัยบางอย่าง เช่น ความเหลื่อมลํ้าทางการศึกษา การเป็นเด็กจุฬาฯ ไม่ได้
ทําให้เราอยู่เหนือคนอื่น แต่เราต้องตระหนักในโอกาสที่เราได้รับ และช่วยกันอุทิศตนเพื่อสังคมเท่าที่เราทําได้เพื่อ
สร้างสังคมที่เท่าเทียมและลดความเหลื่อมลํ้าในสังคม

54
55
56
57
58
59
60
61
62
63
64
65
66
67

You might also like