You are on page 1of 6

คำประสม

นำงสำวจีรำพัชร สุวรรณไตรย์ 213


นำงสำวปวิณำ เครือศรี 214
นำยอนุชำ แถลงเรียบ 218

เสนอ
ผศ.จินตนำ ด้วงแพง

วิชำนันทนำกำรภำษำไทย TH07203
ภำคเรียนที่ 1 ปีกำรศึกษำ 2563
มหำวิทยำลัยรำชภัฏอุดรธำนี
คำประสม
คําประสมคือคําใหม่ที่เกิดจากการนําคําอย่างน้อย ๒ คําต่างชนิดกันหรือชนิดเดียวกันซึ่งเป็นคําที่มี
ความหมายต่างกันมารวมกันเกิดเป็นคําใหม่ที่มีความหมายต่างจากเดิม

อ่านและสังเกตคําต่อไปนี้
คําที่นํามาประสมกัน คําที่เกิดขึ้นใหม่
ใจ + หาย ใจหาย
ขัน + หมาก ขันหมาก
น้ํา + ปลา น้ําปลา
บ้าน + พัก บ้านพัก
หวาน + เย็น หวานเย็น
คน + ใช้ คนใช้
ม้า + น้ํา ม้าน้ํา
เตา + แก๊ส เตาแก๊ส
ขาย + หน้า ขายหน้า
ห่อ + หมก ห่อหมก
หัว + หมอ หัวหมอ
ไก่ + อ่อน ไก่อ่อน

คําประสมจะมีความหมาย ๒ ลักษณะคือมีความหมายใหม่แตกต่างจากคําเดิมและคําที่มี
เค้าความหมายเดิม
ตัวอย่ำงคำประสมที่มีควำมหมำยใหม่ ตัวอย่ำงคำประสมที่มีเค้ำควำมหมำยเดิม
ลูกเสือ ถุงเท้า
ผีเสื้อ ปลาทอง
กล้วยไม้ พัดลม
ขายหน้า งูเห่า
นายท่า แว่นตา
ปากมาก ปูม้า
หน้าไม้ ขนมครก
หัวสูง ตักบาตร
ถือหาง ไข่ดาว
วงกบ เตาอบ
ข้อสังเกตคำประสม
คําประสมมักทําหน้าที่เป็นคํานาม คํากริยา และคําวิเศษณ์
คํานาม เช่น
แม่ แม่ครัว แม่น้ํา แม่มด แม่พระ แม่เหล็ก
ลูก ลูกน้ํา ลูกเสือ ลูกน้อง ลูกไล่ ลูกหิน
น้ํา น้ําตา น้ําเน่า น้ําตก น้ําครํา น้ําหวาน

คํากริยา เช่น
ติด ติดดิน ติดตัว ติดตา ติดตาม ติดใจ ติดลม ติดปาก
วาง วางเฉย วางท่า วางตัว วางใจ วางยา
กิน กินแรง กินใจ กินที่ กินโต๊ะ กินเปล่า

คําวิเศษณ์ เช่น
ใจ ใจหาย ใจดํา ใจลอย ใจดี ใจร้าย ใจแข็ง
ปาก ปากหวาน ปากปลาร้า ปากร้าย
คอ คออ่อน คอแข็ง คอตก

ข้อสังเกตเพิ่มเติม
1.คําประสมเป็นคําที่มีความหมายใหม่ ต่างจกความหมายทีเ่ ป็นผลรวมของคําที่มารวมกัน แต่มักมีเค้าความหมาย
ของคําเดิมอยู่ เช่น
ผ้ำขี้ริ้ว เป็นคําประสม มีความหมายว่า "ผ้าเก่าขาดที่ใช้เช็ดถูพื้น" เป็นความหมายใหม่ทมี่ ีเค้าความหมาย
ของหน่วยคําเดิมว่า "ผ้า" และ "ขีร้ ิ้ว"
น้ำเเข็ง เป็นคําประสม มีความหมายว่า "น้ําที่แข็งเป็นก้อนเพราะถูกความเย็นจัด" เป็นความหมายใหม่ที่มี
เค้าความหมายเดิมของหน่วยคํา "น้ํา" และ "แข็ง"
2.คําประสมจะแทรกคําใดๆ ลงระหว่างคําที่มารวมกันนั้นไม่ได้ ถ้าสามารถแทรกคําอื่นลงไปได้ คําที่รวมกันนั้นจะ
ไม่ใช่คําประสม เช่น
ลูกช้ำงเดินตามแม่ช้าง
ลูกช้าง ในที่นี้แปลว่า "ลูกของช้าง" สามารถแทรกคําว่า "ของ" ระหว่างคําว่า "ลูก" กับ "ช้าง" เป็นลูกของช้างได้
ดังนั้นลูกช้ำงในประโยคนี้จึงไม่ใช่คำประสม
เจ้าแม่ช่วยลูกช้ำงด้วย
ลูกช้าง ในที่นี้แปลว่า "คําสรรพนามแทนตัวผูพ้ ูดเมื่อพูดกับสิง่ ศักดิ์สิทธิ์" ไม่สามารถแทรกคําใดๆ ลงไประหว่างคํา
ว่า "ลูก" กับ "ช้าง" ได้ "ลูกช้าง" ในประโยคนี้จึงเป็นคําประสม
3.คําประสมเป็นคําคําเดียว คําที่เป็นส่วนประกอบของคําประสมไม่สามารถย้ายที่หรือสลับที่ได้ เช่น
ฉันกินข้ำวมาแล้ว
ประโยคข้างต้น สมารถย้ายคําว่า "ข้าว" ไปไว้ต้นประโยคเป็น "ข้าวฉันกินมาแล้ว" ได้ คําว่า "กินข้าว" จึงไม่ใช่คํา
ประสม
เขานั่งกินที่
ประโยคข้างดัน ไม่สมารถย้ายคําว่า "กิน" หรือ "ที่" ไปไว้ที่อนื่ ได้ คําว่า "กินที่" จึงเป็นคําประสม
4.คําประสมจะออกเสียงต่อเนือ่ งกันไปโดยไม่หยุดหรือเว้นจังหวะระหว่างหน่วยคําที่เป็นส่วนประกอบ เช่น
กาแฟเย็นถ้าออกเสียงคํานี้ต่อเนื่องกันไป หมายถึง "กาแฟใส่นมใส่น้ําแข็ง" เป็นคําประสม ถ้าเว้นช่วงจังหวะ
ระหว่าง "กาแฟ" กับ "เย็น" หมายถึง "กาแฟร้อนที่ทงิ้ ไว้จนเย็น"
อ้ำงอิง
กุณฑีรา บุญเลี้ยง และคณะ. ๒๕๕๑. หลักภำษำไทยเพื่อกำรสื่อสำร. พิมพ์ครั้งที่ ๕. กรุงเทพฯ : อักษรเจริญทัศน์.

You might also like