You are on page 1of 20

บทที่ 2

สัญญาณข้อมูลและการสื่อสารข้อมูล
แผนการสอนประจาบท
รายวิชา การสื่อสารข้อมูลและเครือข่าย
บทที่ 2 สัญญาณข้อมูลและการสื่อสารข้อมูล

หัวข้อเนื้อหาหลัก
2.1 สัญญาณข้อมูลและการสื่อสารข้อมูล
2.2 ประเภทของการสื่อสารข้อมูล

แนวคิด
1. สารสนเทศในรู ป แบบต่ างๆ เช่น ภาพ เสี ยง ความร้อน กลิ่ น ฯลฯ สามารถแสดงได้ด้ว ย
สัญญาณ สั ญญาณจึ งเป็ น สิ่ งส าคัญที่ต้องเรียนรู้ สั ญญาณสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ
แอนะล็ อ ก และดิ จิ ต อล สั ญ ญาณแอนะล็ อ กเป็ น สั ญ ญาณที่ แ สดงสารสนเทศต่ า ง ๆ ในธรรมชาติ
แต่สัญญาณดิจิตอลเป็นสัญญาณที่ถูกแปลงให้อยู่ในรูปแบบของเลขจานวนเต็ม เพื่อความสะดวกในการ
ประมวลผล การแปลงสัญญาณแอนะล็อกให้เป็นดิจิตอลเริ่มจากการสุ่มตัวอย่างสัญญาณในแกนเวลาตาม
ทฤษฎีการสุ่มตัวอย่างในแกนแอมพลิจูด ทาให้ สามารถแปลงสัญญาณแอนะล็อกเป็นสัญญาณดิจิตอลใน
รูปแบบของเลขจานวนเต็ม ในทางกลับกัน สัญญาณดิจิตอลสามารถแปลงเป็นสัญญาณแอนะล็อก โดยทา
การหาเส้นโค้งที่เหมาะสมซึ่งผ่านจุดต่าง ๆ ที่แสดงค่าที่ไม่ต่อเนื่องของสัญญาณดิจิตอล ทาให้เกิดสัญญาณ
ที่ต่อเนื่องในรูปของแอนะล็อก
2. เนื่องจากข้อมูลที่แสดงสารสนเทศและองค์ความรู้มีปริมาณมาก ทาให้ไม่สามารถบรรจุลงใน
ตั ว กลางที่ มี พื้ น ที่ ส าหรั บ เก็ บ ข้ อ มู ล อย่ า งจ ากั ด และไม่ ส ามารถส่ ง ผ่ า นช่ อ งสื่ อ สารที่ มี ข นาดจ ากั ด ได้
จาเป็นต้องมีการประมวลผลและจัดการให้สามารถเก็บและสื่อสารได้ในแต่ละเงื่อนไข เนื่อ งจากสัญญาณที่
แสดงสารสนเทศไม่มีพลังงานเพียงพอในการส่งผ่านอากาศ จึงทาให้เกิดแนวความคิดในการนาข้อมูลที่
แสดงสารสนเทศแนบส่งไปพร้อมกับสัญญาณที่มีพลังงานสูงเพียงพอ เรียกว่า มอดดูเลชัน และเมื่อฝ่ายรับ
รับสัญญาณที่ประกอบด้วยสัญญาณที่แสดงสารสนเทศและสัญญาณที่มีพลังงานสูงแล้ว ต้องทาการแยก
สารสนเทศออกจากสั ญญาณที่ได้รั บ เรียกว่า การถอดมอดดูเลชั น สั ญญาณแอนะล็ อกและสั ญญาณ
ดิจิตอลใช้หลักการพื้นฐานการสื่อสารข้อมูลแบบเดียวกัน แต่ใช้เทคนิคที่แตกต่างกันตามคุณสมบัติของ
สัญญาณ
3. การสื่อสารข้อมูลสามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ แบบอนุกรมและแบบคู่ขนาน การ
สื่อสารข้อมูลแบบอนุกรมเป็นการส่งข้อมูลอย่างต่อเนื่องโดยต้องมีรูปแบบของข้อมูลตามที่กาหนดแต่แรก
ส่วนการสื่อสารข้อมูลแบบคูข่ นานเป็นการส่งข้อมูลพร้อมกันทีละหลายบิต ทาให้มีความเร็วในการส่งข้อมูล
สูงกว่าแบบอนุกรมแต่ต้องใช้ค่าใช้จ่ายที่สูงกว่า

วัตถุประสงค์
เมื่อศึกษาบทที่ 2 จบแล้ว ผู้เรียนสามารถอธิบายหัวข้อต่อไปนี้ได้
1. แนวคิดเกี่ยวกับ สัญญาณข้อมูลและการสื่อสารข้อมูล
28 บทที่ 2 สัญญาณข้อมูลและการสื่อสารข้อมูล

2. การแปลงและเทคนิคการแปลงระหว่างประเภทของสัญญาณ
3. หลักการสื่อสารข้อมูล
4. แนวความคิด หลักการ และวิธีการสื่อสารข้อมูลแบบแอนะล็อกและแบบดิจิตอล
5. วิธีการสื่อสารข้อมูลแต่ละประเภท
6. การประยุกต์การสื่อสารข้อมูลในแต่ละประเภท

กิจกรรมระหว่างเรียน
1. ทาแบบประเมินผลตนเองก่อนเรียนบทที่ 2
2. ศึกษาเอกสารประกอบการสอนหัวข้อเนื้อหาหลักที่ 2.1 - 2.2
3. ปฏิบัติกิจกรรมตามที่ได้รับมอบหมายในเอกสารประกอบการสอน
4. ทาแบบประเมินผลตนเองหลังเรียนบทที่ 2
5. ทากิจกรรมประจารายวิชา

สื่อการสอน
1. เอกสารประกอบการสอน
2. แบบฝึกปฏิบัติ

การประเมินผล
1. ประเมินผลจากแบบประเมินผลตนเองก่อนเรียนและหลังเรียน
2. ประเมินผลจากการทากิจกรรมและแนวตอบท้ายเรื่อง
3. ประเมินผลจากกิจกรรมประจารายวิชา
4. ประเมินผลจากการสอบไล่ประจาภาคการศึกษา

ข้อกาหนด
เมื่ออ่านแผนการสอนประจาบทที่ 2 แล้ว กาหนดให้ผู้เรียนทาแบบประเมินผลตนเองก่อนเรียน
บทที่ 2 ในแบบฝึกปฏิบัติ แล้วจึงศึกษาเอกสารการสอนต่อไป

ปริญญา น้อยดอนไพร || การสื่อสารข้อมูลและเครือข่าย (Data Communication and Network)


บทที่ 2 สัญญาณข้อมูลและการสื่อสารข้อมูล 29

2.1 สัญญาณข้อมูลสัญญาณข้อมูลและการสื่อสารข้อมูล
หัวข้อเนื้อหาย่อย
2.1.1 ความเป็นมา ความหมาย และการประยุกต์สัญญาณข้อมูล
2.1.2 ทาความรู้จักกับข้อมูล และสัญญาณ
2.1.3 การแปลงข้อมูลเป็นสัญญาณ
แนวคิด
1. สารสนเทศในรูปต่างๆ สามารถแสดงได้ด้วยข้อมูลและสัญญาณ การเข้าใจและใช้สัญญาณ
อย่างมีประสิทธิภาพเป็นสิ่งที่สาคัญและจาเป็นในยุคโลกาภิวัตน์ ซึ่งปัจจุบันการประมวลผลสัญญาณใช้
เทคโนโลยีสารสนเทศ เป็นเครื่องมือสาคัญ
2. สัญญาณซึ่งเป็นตัวแสดงสารสนเทศอย่างหนึ่ง โดยพื้นฐานมีรูปแบบซึ่งสามารถแบ่งออกเป็น
กลุ่มใหญ่ ๆ คือ สัญญาณแบบต่อเนื่อง และสัญญาณแบบไม่ต่อเนื่อง แต่โดยทั่วไปมักใช้สัญญาณที่มีขนาด
หรือแอมพลิจูดเปลี่ยนไปตามเวลา สัญญาณแบบนี้สามารถแบ่งเป็น 4 ประเภทคือ 1) สัญญาณที่ต่อเนื่อง
ทั้งในแกนเวลาและแอมพลิจูด 2) สัญญาณที่ต่อเนื่องในแอมพลิจูด และ 4) สัญญาณที่ไม่ต่อเนื่องทั้งแกน
เวลาและแอมพลิจูด

วัตถุประสงค์
เมื่อศึกษาหัวข้อเนื้อหาหลักที่ 2.1 จบแล้ว ผู้เรียนสามารถอธิบายหัวข้อต่อไปนี้ได้
1. ความหมายและหลักการประมวลผลของสัญญาณ
2. ความจาเป็นในการใช้สัญญาณและการประมวลผลสัญญาณ
3. ประโยชน์ของสัญญาณและการประมวลผลสัญญาณในเชิงเทคโนโลยีสารสนเทศ
4. วิธีการแบ่งประเภทสัญญาณ
5. วิธีการแปลงระหว่างสัญญาณแอนะล็อกกับสัญญาณดิจิตอล

ปริญญา น้อยดอนไพร || การสื่อสารข้อมูลและเครือข่าย (Data Communication and Network)


30 บทที่ 2 สัญญาณข้อมูลและการสื่อสารข้อมูล

2.1.1 ความเป็นมา ความหมาย และการประยุกต์สัญญาณข้อมูล


มนุษย์สัมผัสและใช้สารสนเทศในรูปแบบต่างๆ เช่น เสียง ภาพ อุณหภูมิ การสั่นสะเทือน
และอื่น ๆ สารสนเทศเหล่านี้สามารถแสดงในรูปแบบของสัญญาณได้ ในขณะเดียวกัน สัญญาณเหล่านี้
สามารถนามาแสดงในรูปแบบต่าง ๆ และสามารถส่งผ่านไปในที่ต่าง ๆ สามารถเก็บในหน่วยความจา
คอมพิวเตอร์และนาออกมาใช้เมื่อมีความต้องการในอนาคตได้
1) ความเป็นมาของสัญญาณข้อมูล
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช (2554) ได้กล่าวไว้ว่า มนุษย์รับรู้สารสนเทศจาก
ภายนอกด้วยอวัยวะที่มีเส้นประสาททาหน้าที่เป็นตัวรับรู้หรือเซนเซอร์ (sensor) ได้แก่ ประสาทสัมผัสทั้ง
5 คือ ตา หู จมูก ลิ้น และผิวหนัง ตารับสารสนเทศที่เป็นภาพทั้งภาพนิ่งและภาพเคลื่อนไหว จมูกรับกลิ่น
ลิ้นรับรสชาติ หูรับเสียง และผิวหนังตามอวัยวะต่างๆ ในร่างกายรับรู้สัมผัสและอุณหภูมิจากภายนอก
สารสนเทศจากภายนอกที่มนุษย์รั บรู้โ ดยประสาทสั มผัส ซึ่งทาหน้าที่เป็นเซนเซอร์จะถูกแปลงให้ เป็ น
สัญญาณ หรืออาจกล่าวได้ว่าแสดงในรูปของสัญญาณ หรืออาจกล่าวได้ว่าแสดงในรูปของสัญญาณ และ
ส่งไปยังสมองเพื่อทาการประมวลผลเพื่อหาความหมายและเก็บไว้ในหน่วยความจารวมทั้งการสั่งงาน
ในโลกปัจจุบันมนุษย์จาเป็นต้องสื่อสารกับมนุษย์บ้าง หุ่นยนต์บ้าง เครื่องจักรบ้าง การ
สื่อสารดังกล่าวหมายถึงการสื่อใจความและความหมายที่ฝ่ายหนึ่งอยากจะบอกกับอีกฝ่ายหนึ่ง ใจความ
และความหมายดังกล่าวไม่มีรูปแบบที่จับต้องได้ จาเป็นต้องแปลงให้อยู่ในรูปของข้อมูล เช่ น ข้อมูลในเลข
ฐาน 2 เป็นต้น ข้อมูลดังกล่าวนี้เป็นตัวแทนที่มีรูปแบบต่าง ๆ กันเพื่อแสดงสารสนเทศ แต่ในการส่งข้อมูล
ดังกล่าวจากฝ่ายหนึ่งไปยังอีกฝ่ายหนึ่ง จาเป็นต้องแปลงข้อมูลให้อยู่ในรูปของสัญญาณและปรับให้สามารถ
ผ่านช่องทางการสื่อสารได้ เนื่องจากข้อมูลเสมือนสัญลักษณ์ที่แสดงสารสนเทศและไม่มีสัญญาณพียงพอใน
การส่งไปในที่ไกลได้ มนุษย์จาเป็นต้องแสดงสารสนเทศที่ต้องการสื่อเป็นข้อมูลและสัญญาณและส่งผ่านสื่อ
ไปยั งมนุ ษ ย์ หุ่ น ยนต์ และเครื่ องจั กร ในทานองเดียวกันเครื่อ งจักรและหุ่ นยนต์ที่ ต้องการสื่ อสารกั บ
เครื่องจักรหรือหุนยนต์หรือมนุษย์ ก็ต้องแปลงสารสนเทศที่ต้องการสื่อ ให้เป็นสัญญาณเช่นเดียวกันแล้วทา
การส่งไปยังมนุษย์หรือหุ่นยนต์หรือเครื่องจักรตามต้องการ
มนุษย์หรือ สารสนเทศ สัญญาณ มนุษย์หรือ
เครื่องจักร เครื่องจักร
ภาพที่ 2.1 สารสนเทศจากมนุษย์หรือเครื่องจักรแปลงเป็นสัญญาณและสื่อไปยังมนุษย์หรือเครื่องจักร
ในการสื่อสารระหว่างมนุษย์ หรือมนุษย์กับหุ่นยนต์ หรือมนุษย์กับเครื่องจักรดังกล่าว
จ าเป็ น ต้ อ งเปลี่ ย นสารสนเทศให้ อ ยู่ ใ นรู ป ของข้ อ มู ล และสั ญญาณ หากการสื่ อ สารดั ง กล่ า วอยู่ ที่ ไ กล
จาเป็นต้องมีเครื่องมือสื่อสารช่วย เครื่องมือสื่อสารดังกล่าวต้องอาศัยหลักการและทฤษฎีการประมวลผล
สัญญาณและหลักการสื่อสารทางไกลรวมทั้งหลักการอื่นๆ ถึงแม้ผู้ออกแบบสร้างระบบดังกล่าว แต่คง
หลีกเลี่ยงการรู้จักสัญญาณเพื่อเลือกใช้เครื่องมือที่เหมาะสมไม่ได้
นอกจากการสื่อสารด้วยสัญญาณดังกล่าวแล้ว มนุษย์ยังมีความจาเป็นที่จะต้องจัดเก็บ
สารสนเทศจานวนมาก สารสนเทศเหล่านี้ เช่น เสียง ภาพ ตัวอักษร ฯลฯ โดยมักถูกจัดเก็บในรูปของ
ข้อมูล สัญญาณ และมีหลายกรณีที่ต้อ งมีการประมวลผลสัญญาณและข้อมูล เพื่อทาการบีบอัดให้มีขนาด
เล็กเหมาะสมกับพื้นที่จัดเก็บ

ปริญญา น้อยดอนไพร || การสื่อสารข้อมูลและเครือข่าย (Data Communication and Network)


บทที่ 2 สัญญาณข้อมูลและการสื่อสารข้อมูล 31

2) ความหมายของสัญญาณข้อมูล
เนื่องจากการสื่อสารข้อมูลและการเก็บรักษาข้อมูลจาเป็นต้องแปลงให้สารสนเทศที่มี
ใจความและความหมายเป็นข้อมูลและสัญญาณ แล้วทาการปรับข้อมูลและสัญญาณดังกล่าวให้เข้ากับ
รูปแบบการสื่อสารและรูปแบบของวิธีการเก็บรักษาข้อมูล ดังนั้นสัญญาณที่ใช้ในการเก็บรักษาข้อมูลจึง
กาหนดให้นิยามของสัญญาณข้อมูล (ในที่นี้เรียกว่า "สัญญาณ") ได้คือ คลื่นที่เป็นตัวแทนข้อมูลที่แสดง
สารสนเทศที่มีใจความและความหมาย คือ คลื่นที่แสดงข้อมูลที่ไม่มีความหมาย
คุ ณ ลั ก ษณะของคลื่ น ประกอบด้ ว ย คาบ แอมพลิ จู ด ความถี่ และเฟส กล่ า วคื อ
สัญญาณซึ่งมีรูปร่างเป็นคลื่นบนแกนเวลา มีรูปร่างที่เหมือนกันยาวต่อเนื่องมีลักษณะที่ตั้งอยู่บนแกนเวลา
รูปร่างที่เหมือนกันและซ้ากันบนลูกคลื่ น คือ คาบ ดังแสดงในภาพที่ 2.2 ก) คาบของสัญญาณวางเรียงต่อ
กันเป็นคลื่นของสัญญาณ จานวนคาบในช่วงเวลา 1 วินาที คือ ความถี่ (frequency) มีหน่วยเป็น เฮิรตซ์
(Hertz) ตัวอย่างภาพที่ 2.2 เช่น ในช่วง 1 วินาที คลื่นของสัญญาณประกอบด้วยคาบ 2 คาบ (period)
จึงมีความถี่เป็น 2 เฮิรตซ์ ความสูงในแนวตั้งของคลื่นสัญญาณเรียกว่า แอมพลิจูด (amplitude) ดังภาพ
ก) และการเลื่อนของคาบสัญญาณโดยคิดหน่วยเป็นองศาเรียกว่า เฟส (phase) ดังภาพ ข) เมื่อเลื่อนคาบ
ของสัญญาณ (สัญญาณที่เขียนด้วยเส้นประ) มาทางขวาของแกนเวลาจนถึงคาบต่ อไปนับเป็นการเลื่อน
คาบครบ 1 คาบหรือเฟส 360 องศา ในภาพ ข) แสดงการเลื่อน 180 องศา หรือ เฟส 180 องศา
(สัญญาณเขียนด้วยเส้นทึบ) สังเกตเห็นการเลื่อนครึ่งคาบสัญญาณ
แอมพลิจูด

แอมพลิจูด

เวลา
(วินาที)

1 คาบ 1 คาบ
1 วินาที
ก) นิยามของคาบ แอมพลิจูด และความถี่

แอมพลิจูด เฟส 0 องศา


เฟส 180 องศา

เวลา
(วินาที)

ข) นิยามของเฟส
ภาพที่ 2.2 นิยามของคาบ แอมพลิจูด และความถี่ และนิยามของเฟส
ที่มา: ดัดแปลงจาก มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. (2554 : 2-9).

ปริญญา น้อยดอนไพร || การสื่อสารข้อมูลและเครือข่าย (Data Communication and Network)


32 บทที่ 2 สัญญาณข้อมูลและการสื่อสารข้อมูล

3) การประยุกต์สัญญาณข้อมูล
แนวทางการประยุกต์ความรู้เกี่ยวกับสัญญาณข้อมูลและการประมวลผลสัญญาณข้อมูล
ในที่นี้ขอแนะนาตัวอย่างการประยุกต์และประโยชน์ของสัญญาณข้อมูลและการประมวลผลสัญญาณข้อมูล
พอสังเขปดังต่อไปนี้
3.1) ด้านการอุตสาหกรรม ในภาคอุตสาหกรรมผลิตซึ่งต้องใช้เครื่องจักรและเครื่องมือ
ต่าง ๆ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อผลิตสินค้าที่มีคุณค่าและคุณภาพเหมือนกันเป็น ปริมาณมาก เครื่องจักรและ
เครื่องมือดังกล่าวมีแนวโน้นในการพัฒนาให้เป็นระบบอัตโนมัติเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและสามารถทางาน
แทนมนุษย์ได้ โดยเฉพาะในบริเวณที่มีอันตราย ในการพัฒนาให้กระบวนการผลิตและเครื่องจักร มีความ
เป็นอัตโนมัติมากขึ้น จาเป็นต้องมีการสื่อสารกันภายในเครื่องจักรเอง ระหว่างเครื่องจักร และระหว่าง
กระบวนการ นอกจากนี้ในการทางานที่ซ้ากันจานวนมากจาเป็นต้องสะสมสารสนเทศที่เป็นความรู้เกี่ยวกับ
กรรมวิ ธี ใ นการผลิ ต ฯลฯ ซึ่ ง จ าเป็ น ต้ อ งมี ก ารเก็ บ สั ญ ญาณและข้ อ มู ล ที่ แ สดงสารสนเทศได้ อ ย่ า งมี
ประสิทธิภาพ และในขณะเดียวกันจาเป็นต้องมีความสะดวกในการเรียกใช้งานในเวลาที่ต้องการด้วย
3.2) ด้านการแพทย์ ด้านการแพทย์ในปัจจุบัน โรงพยาบาลทุกแห่งมีการใช้เครื่องมือ
แพทย์ที่มีการประยุกต์คอมพิวเตอร์และอิเล็กทรอนิกส์เพื่อใช้ในการตรวจการทางานของอวัยวะต่าง ๆ เช่น
การตรวจคลื่นหัวใจ การตรวจความดันโลหิต ฯลฯ โดยเฉพาะในห้องไอซียูตามโรงพยาบาล จะพบว่ามี
เครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ที่ควบคุมโดยใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์หลายประเภท เครื่องมือเหล่านี้ใช้สัญญาณ
ในการแสดงสารสนเทศและข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับผู้ป่วยและช่วยการวินิจฉัยและรักษาโรค เป็ นการประยุกต์
การประมวลผลสัญญาณที่ช่วยให้แพทย์สามารถวินิจฉัยเพื่อหาสาเหตุของโรค สามารถใช้ในการผ่าตัดและ
รักษาโรคได้อย่างถูกต้องมากขึ้น
3.3) ด้านเกษตรกรรม เกษตรกรรมในปัจจุบันมีการพัฒนาและประยุกต์การประมวลผล
สัญญาณและสารสนเทศหลายอย่าง เช่น การวัดระดับน้าในดินแบบอัตโนมัติ การควบคุมการรดน้าสาหรับ
ปลูกต้นไม้ให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อม ณ ขณะนั้น การปลูกต้นไม้โดยใช้ดินและปลอดจากโรคพืช การ
วิเคราะห์สภาพแวดล้อมในการปลูกพืช เป็นต้น ซึ่งการดาเนินงานทีกล่าวมาล้วนแล้วแต่จาเป็นต้องใช้การ
ประมวลผลสัญญาณและสารสนเทศ
3.4) ด้านการโภชนาการ ในกระบวนการผลิตอาหารปัจจุบันใช้เครื่องมือจักรอัตโนมัติ
ที่ควบคุมด้วยระบบคอมพิวเตอร์หลากหลายประเภท ซึ่งเครื่องจักรเหล่านี้ใช้หลักการประมวลสัญญาณ
และสารสนเทศเช่นกัน เช่น ในกระบวนการผลิตน้าสับปะรด ต้องมีระบบอัตโนมัติในการรู้จาและคัดเลือก
ผลสับปะรดที่มีคุณภาพดี การปลอกเปลือกซึ่งต้องมีเซนเซอร์ในการกาหนดจุดที่จะใช้คมมีดปลอกเปลือก
การตัดเป็นชิ้นๆ ก็ต้องประยุกต์การประมวลสัญญาณสาหรับขับเคลื่อนเครื่องตัดและแปรรูปสับปะรดให้
เป็นน้าสับปะรดและบรรจุกระป๋อง เป็นต้น นอกจากนี้ ในตัวผู้บริโภคเอง ก็ต้องการตรวจสอบคุณภาพของ
อาหารที่ น ามาจ าหน่ ายโดยใช้ เ ครื่ อ งจั ก รตรวจสอบคุ ณภาพอาหารและไม่ ท าลายคุ ณ ค่ าของอาหาร
เครื่องจักรเหล่านี้อาศัยการประมวลสัญญาณและการประมวลสารสนเทศเพื่อให้ระบบฟังก์ชั่นการทางานที่
มีประสิทธิภาพ
3.5) ด้านการสื่อสาร การสื่อสารใช้การประมวลสัญญาณและสารสนเทศมากกว่าด้าน
อื่น ๆ เริ่ มตั้งแต่การแปลงสารสนเทศ เช่น ภาษาพูด ภาพของอักษรที่เขียน ฯลฯ ให้ เป็นสั ญญาณใน
รูปแบบต่าง ๆ แล้วส่งผ่านช่องทางการสื่อสารหรือผ่านสื่อกลางไปยังผู้รับหรือเก็บไว้ในหน่วยความจาเพื่อ
การในอนาคต กระบวนการเหล่านี้ต้องอาศัยเทคนิคการบีบอัดข้อมูล การเข้ารหัส การเพิ่มพลังงานเพื่อให้
สามารถสื่อสารทางไกลได้ ซึ่งเป็นเทคนิคพื้นฐานในสาขาการประมวลสัญญาณและสารสนเทศ นอกจากนี้

ปริญญา น้อยดอนไพร || การสื่อสารข้อมูลและเครือข่าย (Data Communication and Network)


บทที่ 2 สัญญาณข้อมูลและการสื่อสารข้อมูล 33

การสื่อสารภาพและเสียงผ่านอินเทอร์เน็ตก็จาเป็นต้องมีการเข้ารหัสเพื่อลดการสูญเสียและป้องกันการ
คุกคามจากผู้บุกรุก การบีบอัดข้อมูลเพื่อให้สามารถส่งข้อมูลจานวนมากได้ เป็นต้น สิ่งเหล่านี้มีพื้นฐานจาก
การประมวลสัญญาณและสารสนเทศเช่นเดียวกัน
2.1.2 ทาความรู้จักกับข้อมูล และสัญญาณ
ข้ อ มู ล สารสนเทศจะถู ก เก็ บ ไว้ ใ นระบบคอมพิ ว เตอร์ แ ละถู ก ส่ ง ไปยั ง ระบบเครื อ ข่ า ย
คอมพิวเตอร์ ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็น 2 รูปแบบ คือ ข้อมูล (Data) และสัญญาณ (Signal) โดยข้อมูล
หมายถึง สิ่งที่แสดงถึงความหมายต่าง ๆ ในระบบคอมพิวเตอร์ เช่น ข้อมูลที่เก็บไว้ในแผ่นดีวีดี หรือไฟล์
ต่างๆ ที่เก็บ ไว้ในฮาร์ ดดิสก์ของคอมพิวเตอร์ เป็นต้น หากต้องการส่ งข้อมูล เหล่านี้ไปยังสถานที่ต่างๆ
สามารถทาได้ทั้งการส่งโดยใช้สายสัญญาณ และใช้คลื่นวิทยุ แต่ก่อนการส่ งจะต้องแปลงข้อมูลให้เป็น
สัญญาณก่อน โดยสัญญาณ หมายถึง กระแสไฟฟ้าหรือคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่ใช้เพื่อเข้ารหัสและส่งข้อมูล
ตัวอย่างของสัญญาณ ได้แก่ การถ่ายทอดสดฟุตบอลทางทีวีผ่านดาวเทียม การดาวน์โหลดเว็บเพจผ่าน
สายโทรศัพท์ และการส่งเสียงสนทนาผ่านสายโทรศัพท์ เป็นต้น
1) ข้อมูลและสัญญาณแบบแอนะล็อกและดิจิตอล
แม้ว่าข้อมูลและสัญญาณจะมีคุณสมบัติแตกต่างกัน แต่รูปแบบของข้อมูลและสัญญาณ
สามารถแบ่งได้ 2 แบบ คือ แอนะล็อก (Analog) และดิจิตอล (Digital) มีรายละเอียดดังนี้
1.1) ข้อมูลแอนะล็อกและดิจิตอล
 ข้อมูลแอนะล็อก เป็นข้อมูลรูปแบบหนึ่งที่มีลาดับต่อเนื่องกัน (Continuous
Form) เช่น เสียงของมนุษย์ที่พูดคุยกัน ซึ่งเป็นลักษณะคลื่นแบบต่อเนื่องที่เดินทางผ่านอากาศ โดยเสียง
ของมนุษย์สามารถถูกบันทึกโดยเครื่องบันทึกเสียงหรือบันทึกผ่านไมโครโฟน ทาให้ได้ เป็นสัญญาณแอ
นะล็อก
 ข้อมูลดิจิตอล เป็นข้อมูลรูปแบบหนึ่ง มีลักษณะไม่ต่อเนื่องกันหรือแยกกัน
(Discrete Form) โดยอยู่ในรูปแบบของไบนารี คือ มีเฉพาะ 0 และ 1 เท่านั้น เช่น ข้อมูลที่ถูกเก็บอยู่ใน
หน่วยความจาของคอมพิวเตอร์จะถูกจัดเก็บไว้ในรูปแบบของไบนารี เป็นต้น
1.2) สัญญาณแอนะล็อกและดิจิตอล
สัญญาณแอนะล็อก (Analog Signal) และสัญญาณดิจิตอล (Digital Signal) เป็น
สัญญาณที่ได้จากการแปลงข้อมูล โดยมีรายละเอียดดังนี้
 สัญญาณแอนะล็อก เป็นสัญญาณในรูปแบบของคลื่นต่อเนื่องที่ได้จากการ
แปลงข้อมูลแอนะล็อก เช่น เสียง แสงสว่าง ความร้อน และความดัน เป็นต้น องค์ประกอบสาคัญของ
สัญญาณแอนะล็อกแบบง่าย คือ ไซน์เวฟ (Sine Wave) กล่ าวคือ สั ญญาณแอนะล็ อกเกิดจากการ
ประกอบกันของไซน์เวฟ โดยมีลักษณะสาคัญ 3 ประการ ดังนี้
แอมพลิจูด

เวลา (วินาที)

ภาพที่ 2.3 ตัวอย่างสัญญาณแบบแอนะล็อก

ปริญญา น้อยดอนไพร || การสื่อสารข้อมูลและเครือข่าย (Data Communication and Network)


34 บทที่ 2 สัญญาณข้อมูลและการสื่อสารข้อมูล

ก. แอมพลิจูด (Amplitude) คือ ค่าการกระจัด (ระยะจากแนวสมดุลถึงจุดบน


คลื่น) ของจุดใดจุดหนึ่งบนลูกคลื่น ซึ่งค่าการกระจัดสูงสุดและต่าสุดไซน์เวฟ จะอยู่บนจุดยอดของคลื่น
สาหรับบทที่ใช้วัดค่าของแอมพลิจูดมีได้หลายแบบ เช่น ไวลด์ (Volt) หรือวัตต์ (Watt) เป็นต้น ขึ้นอยู่กับ
ชนิดของสัญญาณ
ข. ความถี่ (Frequency) คือ จานวนของลูกคลื่นใน 1 วินาที ซึ่งค่าความถี่จะ
มีมากหรื อน้ อยขึ้น อยู่ กับ การเปลี่ ย นแปลงของจานวนลู กคลื่ นในหนึ่งหน่วยเวลา หากคลื่ นไม่เ กิดการ
เปลี่ยนแปลงใดๆ แสดงว่ามีความถี่เป็ นศูนย์และถ้ามีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในหน่วยเวลาที่ไม่
สามารถวัดได้ หรือหน่วยเวลาเท่ากับศูนย์ แสดงว่ามีความถี่อย่างไม่จากัด (Infinity)
ค. เฟส (Phase) คือ ตาแหน่งของลูกคลื่น ณ เวลาเท่ากับศูนย์ ซึ่งเฟสก็เป็น
ตาแหน่งที่คลื่นเริ่มต้นที่เวลาศูนย์นั่นเอง โดยตาแหน่งดังกล่าวจะถูกเรียกเป็นองศาตามรูปของไซน์เวฟ
โดยหนึ่งลูกคลื่นจะมี 360 องศาหรือ 1 วงกลม
 สัญญาณดิจิตอล เป็นสัญญาณไฟฟ้าแบบไม่ต่อเนื่องที่ได้จากการแปลงข้อมูล
ดิจิตอล ซึ่งเป็นรหัสแบบไบนารี (Binary Code) มีค่าของข้อมูลเป็น 0 และ 1 เท่านั้น เช่น สัญญาณ
โทรศัพท์หรือวิทยุแบบดิจิตอล เป็นต้น โดยทั่วไปแทนข้อมูล 0 ด้วยค่าแรงดันไฟฟ้า (Voltage) ศูนย์โวลด์
และข้อมูล 1 แทนด้วยค่าแรงดันไฟฟ้าบวก

ถ้าระยะเวลา 1 วินาที มี 8 บิต จะมีอัตราการส่งข้อมูลบิต เท่ากับ 8 บิตต่อวินาที


แอมพลิจูด

1 1 0 1 1 0 0 1

เวลา (วินาที)
ระยะเวลาระหว่างบิต
ภาพที่ 2.4 แสดงสัญญาณดิจิตอล
ก. ระยะเวลาระหว่างบิต (Bit Interval) คือ หน่วยเวลาที่ใช้ในระหว่างการส่ง
ข้อมูลเพียง 1 บิต
ข. อัตราการส่งข้อมูลบิต (Bit Rate) คือ จานวนบิตที่สามารถส่งได้ในเวลา 1
วินาที กล่าวคือ เป็นอัตราในการส่งข้อมูลบิตทั้งหมดในเวลา 1 วินาที มีหน่วยเป็น "บิตต่อวินาที (bit per
second: bps)"

ปริญญา น้อยดอนไพร || การสื่อสารข้อมูลและเครือข่าย (Data Communication and Network)


บทที่ 2 สัญญาณข้อมูลและการสื่อสารข้อมูล 35

2.1.3 การแปลงข้อมูลเป็นสัญญาณ
ข้อมูลและสัญญาณ เป็ น สองส่วนประกอบส าคัญของระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ซึ่งมี
ความสัมพันธ์กัน คือ ข้อมูลจะถูกนามาแปลงเป็นสัญญาณเพื่อส่งไปยังปลายทาง โดยจะเป็นได้ทั้งข้อมูล
หรือสัญญาณในรูปแบบของแอนะล็อกหรือดิจิตอล กระบวนการแปลงข้อมูลให้เป็นสัญญาณสามารถทาได้
5 รูปแบบ ตามความสัมพันธ์ของรูปแบบข้อมูลกับสัญญาณ ดังนี้
 แปลงข้อมูลแอนะล็อกเป็นสัญญาณแอนะล็อก เทคนิคที่นิยมนามาใช้ คือ แอมพลิจูด
มอดดูเลชัน (Amplitude Modulation: AM) และฟรีเควนซีมอดดูเลชัน (Frequency Modulation:
FM) โดยทั่วไปจะใช้กับอุปกรณ์จูนเนอร์ทีวี (TV Tuner) และจูนเนอร์วิทยุ (Radio Tuner) โดยนาไปใช้กับ
ระบบต่าง ๆ เช่น วิทยุเอฟเอ็ม (FM Radio) วิทยุเอเอ็ม (AM Radio) เคเบิลทีวี (Cable TV) และระบบ
โทรศัพท์ เป็นต้น
 แปลงข้อมูล แอนะล็ อกเป็นสั ญญาณดิ จิตอล เทคนิคที่นิยมนามาใช้ ได้แก่ พัล ส์โ ค๊ด
มอดดูเลชัน (Pulse Code Modulation) และเดลทามอดดูเลชัน (Delta Modulation) โดยทั่วไปจะใช้
กับอุปกรณ์ส าหรับ แปลงสั ญญาณจากแอนะล็ อกไปเป็นดิจิตอลหรือเรียกว่าโคเดค (Codec) ในระบบ
โทรศัพท์
 แปลงข้อมูลดิจิตอลเป็นสัญญาณดิจิตอล เทคนิคที่นิยมนามาใช้ ได้แก่ แมนเชสเตอร์
(Manchester) ดิฟเฟอเรนเชียล แมนเชสเตอร์ (Differential Manchester) เอ็นอาร์แซส-แอล (NRZ-L)
และบิโพลา-เอเอ็มไอ (Bipolar-AMI) เป็นต้น ซึ่งจะใช้กับอุปกรณ์สาหรับเข้ารหัสแบบดิจิตอล (Digital
Encoder) โดยนาไปใช้กับระบบต่างๆ เช่น แลน (LAN) และเอชดีทีวี (HDTV) เป็นต้น
 แปลงข้อมูลดิจิตอลเป็นสัญญาณแอนะล็อก เทคนิคที่นิยมนามาใช้ ได้แก่ เฟสชิฟท์คียิ่ง
(Phase Shift Keying: PSK) ฟรีเควนซี่ชิฟท์คียิ่ง (Frequency Shift Keying: FSK) และแอมคลิกจูดชิฟท์
คียิ่ง (Amplitude Shift Keying: ASK) โดยใช้งานร่วมกับโมเด็ม ซึ่งอยู่ในระบบโทรศัพท์อินเทอร์เน็ต
(Dial-Up Internet) และดีเอสแอล (DSL)
 แปลงข้ อ มู ล แอนะล็ อ กหรื อดิ จิ ต อลเป็ น สั ญ ญาณแอนะล็ อ ก เทคนิ ค ที่น ามาใช้ คื อ
เทคโนโลยีสเปรด สเปกตรัม (Spread Spectrum Technology) โดยใช้งานกับอุปกรณ์เข้ารหัสสเปรด
สเปกตรัม (Spread Spectrum Encoder) ซึ่งอยู่ระบบอินเทอร์เน็ตไร้สาย และระบบโทรศัพท์ไร้สาย
(Cordless Telephone) ซึ่งเป็นการติดต่อสื่อสารแบบไร้สายที่มีระยะทางสั้น ๆ
1) การแปลงสัญญาณด้วยวิธีมอดดูเลชัน
การแปลงสัญญาณด้วยวิธีมอดดูเลชัน (Modulation) หมายถึง กระบวนการเปลี่ยน
สัญญาณของข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบคลื่นสัญญาณที่ใช้ขนส่งข้อมูลผ่านสื่อกลางจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่ง
เมื่อถึงปลายทางสัญญาณก็จะถูกแปลงกลับ (Demodulation) คืนสภาพเป็นสัญญาณของข้อมูลตามเดิม
เหตุผลการของแปลงดังกล่าวเพื่อให้สามารถส่งข้อมูลได้ระยะทางที่ไกลขึ้น (เกษรา ปัญญา, 2548 : 11)
ในการขนส่งข้อมูลโดยใช้สัญญาณในรูปแบบต่าง ๆ สัญญาณจะเดินทางไปยังอุปกรณ์
ปลายทางผ่านสื่อกลาง ซึ่งรองรับรูปแบบของสัญญาณที่แตกต่างกัน ดังนั้นจึงจาเป็นต้องมีการเปลี่ยน
สัญญาณให้อยู่ในรูปแบบที่เหมาะสม การมอดดูเลชันเป็นกระบวนการหนึ่งที่ช่วยปรับเปลี่ยนสัญญาณที่
ต้องการส่งให้มีความเหมาะสมกับสื่อกลางหรืออุปกรณ์เชื่อมต่อต่าง ๆ เช่น ระบบโทรศัพท์แบบแอนะล็อก
จะทาการเปลี่ยนสัญญาณเป็นสัญญาณเสียงอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อใช้ในการส่งผ่านโทรศัพท์ไปยังเครื่องรับ
ปลายทาง เป็นต้น

ปริญญา น้อยดอนไพร || การสื่อสารข้อมูลและเครือข่าย (Data Communication and Network)


36 บทที่ 2 สัญญาณข้อมูลและการสื่อสารข้อมูล

การเปลี่ยนสัญญาณมีห ลายลักษณะ เช่น การส่ งข้อมูล จากเครื่องคอมพิวเตอร์ผ่าน


สายโทรศัพท์สาธารณะ ซึ่งเป็นการเปลี่ยนสัญญาณจากดิจิตอลเป็นแอนะล็อก (Modulating a Digital
Signal) หรืออาจเป็นการส่งคลื่นสัญญาณวิทยุจากสถานีมายังเครื่องรับ ซึ่งเป็นการส่งสัญญาณแอนะล็อ ก
มาทางอากาศ โดยจะเปลี่ ย นจากสั ญ ญาณแอนะล็ อกที่มี ค วามถี่ สู ง เป็ นสั ญญาณแอนะล็ อกที่มี ความ
เหมาะสมกับเครื่องรับ กล่าวคือ เป็นการเปลี่ ยนจากแอนะล็อกเป็นแอนะล็อก (Modulating an Analog
Signal) ในการมอดดู เลชัน มี พื้น ฐานสั ญญาณอยู่ 3 ชนิด คือ การเปลี่ ย นแอมพลิ จูด ของสั ญ ญาณ
(Amplitude Modulation) การเปลี่ยนความถี่ของสัญญาณ (Frequency Modulation) และการเปลี่ยน
เฟสของสัญญาณ (Phase Modulation)
1.1) การเปลี่ยนแอมพลิจูดของสัญญาณ
การเปลี่ย นแอมพลิ จูดของสั ญญาณเป็นการเปลี่ ยนสั ญญาณเฉพาะแอมพลิ จูด
เท่านั้น ความถี่และเฟสของสัญญาณยังมีค่าเท่าเดิม โดยแอมพลิจูดของสัญญาณจะเปลี่ ยนแปลงตาม
ลักษณะแอมพลิจูดของสัญญาณข้อมูล ทาให้ได้สัญญาณใหม่ที่เป็นผลลัพธ์จากการมอดดูเลชันระหว่าง
สัญญาณข้อมูลกับความถี่ของสื่อกลาง
สาหรั บ การแปลงข้อมูล แอนะล็ อกเป็นสั ญญาณแอนะล็ อก ด้ว ยวิธีการเปลี่ ยน
แอมพลิจูดของสัญญาณ (Amplitude Modulation: AM) เช่น การกระจายเสียงของวิทยุเอเอ็ม ซึ่งคาว่า
เอเอ็มมาจากการใช้วิธีการเปลี่ยนแอมพลิจูดของสัญญาณในการขนส่งข้อมูลนั่นเอง

ก) สัญญาณของตัวกลาง (Carrier Signal)

ข) สัญญาณเอเอ็ม (AM Signal)

ค) สัญญาณที่จะทาการมอดดูเลต (Modulating Sine Wave Signal)


ภาพที่ 2.5 แสดงการเปลี่ยนสัญญาณแบบแอมพลิจูดมอดดูเลชัน
ที่มา: ดัดแปลงจาก Amplitude Modulation. (2013).
ส าหรั บ การแปลงข้ อ มู ล ดิ จิ ต อลเป็ น สั ญ ญาณแอนะล็ อ กด้ ว ยวิ ธี ก ารเปลี่ ย น
แอมพลิจูดของสัญญาณ เรียกว่า แอมพลิจูดชิฟท์คีย์ หรือเอเอสเค (Amplitude Shift Keying: ASK)
สัญญาณแบบดิจิตอลซึ่งมีเพียง 0 และ 1 จะถูกแทนด้วยสัญญาณใหม่ทีละบิต ซึ่งจะพิจารณาจากค่า

ปริญญา น้อยดอนไพร || การสื่อสารข้อมูลและเครือข่าย (Data Communication and Network)


บทที่ 2 สัญญาณข้อมูลและการสื่อสารข้อมูล 37

แอมพลิจูดสูงสุดที่ตรงกับข้อมูลบิตในช่วงเวลาเดียวกัน วิธีการที่นิยมใช้ในเอเอสเค คือ เปิด -ปิด คีย์ (On-


Off Keying) เป็นวิธีการแทนที่บิตใดบิตหนึ่งด้วยสัญญาณที่แอมพลิจูดมีการเปลี่ยนแปลง ส่วนบิตที่เหลือ
จะคงที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงใด ๆ กล่าวคือ ถ้าให้ 1 แทนด้วยสัญญาณที่มีการเปลี่ยนแปลงของแอมพลิจูด
แล้ว 0 ก็จะแทนด้วยสัญญาณคงที่หรือไม่มีแรงดันการเปลี่ยนแปลงของแอมพลิจูด ทาให้สัญญาณดังกล่าว
มีการเปลี่ยนแปลงแอมพลิจูดเฉพาะข้อมูลบิตที่เป็น 1 เท่านั้น ดังภาพที่ 2.6

ก) สัญญาณของตัวกลาง (Carrier Signal)


0 0 1 1 0 1 0 0 0 1 0

ข) สัญญาณที่จะทาการมอดดูเลตแบบดิจิตอล (Modulating Digital Signal)

ค) สัญญาณเอเอสเค (ASK Signal)


ภาพที่ 2.6 แสดงการเปลี่ยนสัญญาณแบบแอมพลิจูดชิฟท์คียิ่ง
ที่มา: ดัดแปลงจาก Joel Sing. (2008).
ข้อดีของสัญญาณแบบเอเอ็ม คือ คลื่นสัญญาณเดินทางได้ไกลกว่าคลื่นสัญญาณ
ประเภทอื่น โดยสามารถส่งสัญญาณข้ามทวีปได้ แต่มีข้อเสีย คือ สัญญาณถูกรบกวนได้ง่าย
1.2) การเปลี่ยนความถี่ของสัญญาณ
การเปลี่ยนความถี่ของสัญญาณ (Frequency Modulation: FM) เรียกว่า ฟรี
เควนซี่มอดดูเลชัน หรือเอฟเอ็ม เป็นการเปลี่ยนสัญญาณเฉพาะความถี่เท่านั้น แต่ค่าของแอมพลิจูดและ
เฟสยังคงที่ ซึ่งความถี่จะเปลี่ยนแปลงตามระดับของแอมพลิจูดในสัญญาณข้อมูล ในกรณีที่แอมพลิจูดของ
สัญญาณข้อมูลเปลี่ยนแปลง ความถี่ในการมอดดูเลชันก็จะเปลี่ยนแปลงด้วย เอฟเอ็ม มาจากการเปลี่ยน
ความถี่ในการขนส่งข้อมูลเหมือนกับเอเอ็มนั่นเอง ดังภาพที่ 2.7
สาหรับการแปลงข้อมูลดิจิตอลเป็นสัญญาณแอนะล็อกด้วยวิธีการเปลี่ยนความถี่
ของสัญญาณ จะเรียกว่า ฟรีเควนซี่ชิฟท์คียิ่งหรือเอฟเอสเค (Frequency Shift Keying: FSK) ซึ่งจะใช้
หลักการแทนที่ข้อมูลบิตด้วยความถี่ที่อยู่ในช่วงเวลาเดียวกัน สาหรับเอฟเอสเค จะสามารถหลีกเลี่ยง
สัญญาณรบกวนที่ไม่ต้องการได้ดีกว่า เอเอสเค เนื่องจากเป็นการพิจารณาเฉพาะความถี่ซึ่งสั ญญาณ
รบกวนนั้นมีรูปแบบความถี่ที่แตกต่างจากข้อมูล 0 และ 1 โดยสิ้นเชิง ทาให้สัญญาณรบกวนไม่ถูกนามา
แปลงกลับเป็นข้อมูลที่ไม่ถูกต้องนั่นเอง ดังภาพที่ 2.8

ปริญญา น้อยดอนไพร || การสื่อสารข้อมูลและเครือข่าย (Data Communication and Network)


38 บทที่ 2 สัญญาณข้อมูลและการสื่อสารข้อมูล

ก) สัญญาณของตัวกลาง (Carrier Signal)

ข) สัญญาณเอฟเอ็ม (FM Signal)

ค) สัญญาณที่จะทาการมอดดูเลต (Modulating Sine Wave Signal)


ภาพที่ 2.7 แสดงการเปลี่ยนสัญญาณแบบฟรีเควนซี่มอดดูเลชัน
ที่มา: ดัดแปลงจาก Joel Sing. (2008).

0 1

ก) สัญญาณของตัวกลาง (Carrier Signal)


0 0 1 1 0 1 0 0 0 1 0

ข) สัญญาณที่จะทาการมอดดูเลตแบบดิจิตอล (Modulating Digital Signal)

ค) สัญญาณเอฟเอสเค (FSK Signal)


ภาพที่ 2.8 แสดงการเปลี่ยนสัญญาณแบบฟรีเควนซี่ชิฟท์คียิ่ง
ที่มา: ดัดแปลงจาก Joel Sing. (2008).
ข้อดีของสัญญาณแบบเอฟเอ็ ม คือ สัญญาณมีความทนทานต่อคลื่ นรบกวน แต่มี
ข้อเสีย คือ ส่งข้อมูลได้ระยะทางสั้นกว่าแบบเอเอ็ม

ปริญญา น้อยดอนไพร || การสื่อสารข้อมูลและเครือข่าย (Data Communication and Network)


บทที่ 2 สัญญาณข้อมูลและการสื่อสารข้อมูล 39

1.3) เปลี่ยนเฟสของสัญญาณ
เปลี่ยนเฟสของสัญญาณ (Phase Modulation: PM) เรียกว่า เฟสมอดดูเลชัน
หรือพีเอ็ม เป็นการเปลี่ยนแปลงสัญญาณเฉพาะเฟสเท่านั้น ซึ่งเป็นการเปลี่ยนตาแหน่งองศาของจุดเริ่มต้น
ของคลื่ น สั ญญาณ โดยที่การเปลี่ ย นแปลงระดับแอมพลิ จูด ของสั ญญาณข้อมูล จะส่ งผลให้ เฟสในการ
มอดดูเลชันเปลี่ยนแปลงไปด้วย สาหรับการแปลงข้อมูลแอนะล็อกเป็นสัญญาณแอนะล็อกด้วยวิธีการ
เปลี่ยนเฟสของสัญญาณจะได้ผลลัพธ์ค่อนข้างใกล้เคียงกับวิธีการเอฟเอ็ม ดังภาพที่ 2.9

ก) สัญญาณของตัวกลาง (Carrier Signal)

ข) สัญญาณพีเอ็ม (PM Signal)

ค) สัญญาณที่จะทาการมอดดูเลต (Modulating Sine Wave Signal)


ภาพที่ 2.9 แสดงการเปลี่ยนสัญญาณแบบเฟสมอดดูเลชัน
ที่มา: ดัดแปลงจาก Joel Sing. (2008).
สาหรับการแปลงข้อมูลดิจิตอลเป็นสัญญาณแอนะล็อกด้วยวิธีการเปลี่ยนเฟสของ
สัญญาณ เรียกว่า เฟสชิฟท์คียิ่ง หรือพีเอ็ม (Phase Shift Keying: PM) ซึ่งเป็นการเปลี่ยนเฟสของ
สัญญาณเมื่อข้อมูลบิตเปลี่ยนแปลงไป กล่าวคือ ข้อมูลบิต 0 และ จะแทนด้วยสัญญาณที่มีเฟสแตกต่างกัน
เมื่อข้อมูลบิตในตาแหน่งถัดไปเปลี่ยนแปลงไปจาก 0 เป็น 1 หรือ 1 เป็น 0 เฟสของสัญญาณก็จะ
เปลี่ยนแปลงทันที ส่วนข้อมูลบิตเดียวกันก็จะไม่มีการเปลี่ยนแปลงของเฟส ดังภาพที่ 2.10
0 0 1 1 0 1 0 0 0 1 0

ก) สัญญาณที่จะทาการมอดดูเลตแบบดิจิตอล (Modulating Digital Signal)

ข) สัญญาณพีเอสเค (PSK Signal)


ภาพที่ 2.10 แสดงการเปลี่ยนสัญญาณแบบเฟสชิฟท์คียิ่ง

ปริญญา น้อยดอนไพร || การสื่อสารข้อมูลและเครือข่าย (Data Communication and Network)


40 บทที่ 2 สัญญาณข้อมูลและการสื่อสารข้อมูล

วิ ธี ก ารพี เ อสเค สามารถท าได้ ห ลายลั ก ษณะโดยการจ าแนกองศาในการ


เปลี่ ย นแปลงเป็ น หลายระดั บ ซึ่ งจะท าให้ ส ามารถแทนสั ญ ญาณลงในข้ อ มูล บิ ต เพิ่ ม มากขึ้ น เช่ น วิ ธี
2-พีเอสเค (2-PSK) 4-พีเอสเค (4-PSK) และ 8-พีเอสเค (8-PSK) เป็นต้น ส าหรับวิธี 2-พีเอสเค ก็เป็น
วิธีการตามรู ป แบบปกติของพีเอสเค แต่ บ างครั้งอาจเรียกว่า 2-พีเอสเค ส าหรับ 4-พีเอสเค จะทาให้
สามารถแทนข้อมูลบิตได้ 2 บิต ทาให้ได้สัญญาณเฟตที่แตกต่างกัน 4 แบบ
ตารางที่ 2.1 แสดงการแทนจานวนบิตด้วยเฟสที่แตกต่างกันของ 4-พีเอสเค
บิต เฟส (องศา)
00 0
01 90
10 180
11 270
นอกจากวิ ธี การมอดดู เ ลชัน ตามที่ ไ ด้ ก ล่ า วมาแล้ ว ยัง มี วิ ธี ก ารอื่ นๆ ที่ ใ ช้ แ ปลง
สัญญาณให้อยู่ในรูปแบบที่เหมาะสม เช่น การเปลี่ยนสัญญาณจากดิจิตอลเป็นดิจิตอล ซึ่งเรียกว่า เอนโค๊ด
ดิ่งดิจิตอลดาต้า (Encoding Digital Data) หรือการเข้ารหัสดิจิตอล ซึ่งมีวิธีการเข้ารหัสแบบแมนเชสเตอร์
และดิฟเฟอเรนเชียลแมนเชสเตอร์ (Differential Manchester) เป็นต้น สาหรับการเปลี่ยนสัญญาจาก
แอนะล็อกเป็นดิจิตอลเรียกว่า สัญญาณดิจิไทซิง เอน แอนะล็อก (Digitizing an Analog Signal) หรือการ
แปลงรหัสดิจิตอล เช่น วิธีการพีเอเอ็ม (PAM) และพีซีเอ็ม (PCM) เป็นต้น

กิจกรรมที่ 2.1
1. จงอธิบายความหมายของสัญญาณข้อมูล
2. จงอธิบายการประยุกต์การประมวลสัญญาณในด้านต่าง ๆ
3. จงอธิบายความจาเป็นในการมอดดูเลต
4. จงอธิบายเกี่ยวกับหลักการส่อสารข้อมูลแบบเอเอ็ม
5. จงอธิบายเกี่ยวกับหลักการสื่อสารข้อมูลแบบเอฟเอ็ม
6. จงอธิบายเกี่ยวกับหลักการสื่อสารข้อมูลแบบพีเอ็ม

ปริญญา น้อยดอนไพร || การสื่อสารข้อมูลและเครือข่าย (Data Communication and Network)


บทที่ 2 สัญญาณข้อมูลและการสื่อสารข้อมูล 41

2.2 ประเภทของการสื่อสารข้อมูล
หัวข้อเนื้อหาย่อย
2.2.1 การสื่อสารข้อมูลแบบอนุกรม
2.2.2 การสื่อสารข้อมูลแบบคูข่ นาน
2.2.3 จังหวะในการส่งข้อมูล
แนวคิด
1. การสื่ อสารข้อ มูล แบบอนุ กรมเป็นการส่ งข้อ มูล ผ่ านสื่ อกลางและช่องสื่ อสารทีล ะบิตเรีย ง
ตามลาดับในรูปของกระแสข้อมูล การสื่อสารข้อมูล แบบอนุกรมสามารถแบ่งเป็นแบบชิงโครนัส และ
อะซิงโครนัส การสื่อสารข้อมูลแบบซิงโครนัสเป็นการส่งข้อมูลละบิตในรูปแบบของกระแสข้อมูล โดยทั้ง
สองฝ่ายรับและฝ่ายส่งต่างฝ่ายต่างนับจานวนบิตให้ได้เป็นไบต์เองในจังหวะที่เหมือนกัน ส่วนการสื่อสาร
ข้อมูลแบบอะซิงโครนัสเป็นการส่งข้อมูลทีละบิตเช่ นเดียวกันเพื่อให้ประกบกันเป็นไบต์ ในแต่ละไบต์มีบิต
เริ่มต้น (แสดงด้วย 1) บิตสุดท้าย (แสดงด้วย 0) และบิตที่แสดงสารสนเทศ 8 บิต ระหว่างข้อมูลแต่ละไบต์
คั่นด้วยช่องว่าง การสื่อสารข้อมูลแบบซิงโครนัสมีความเร็วในการส่งข้อมูลดีกว่าการสื่อสารข้อมูลแบบอะ
ซิงโครนัสจึงเหมาะกับการสื่อสารที่ต้องการความเร็ว แต่การสื่อสารข้อมูลแบบอะซิงโครนัสมีข้อดีในการ
ราคาต้นทุนที่ถูกกว่าแต่เหมาะกับการสื่อสารที่ใช้ความเร็วที่ไม่สูงนัก
2. การสื่อสารข้อมูลแบบคูข่ นาน เป็นการส่งข้อมูลครั้งละมากกว่า 1 บิตพร้อมกัน เช่น ส่งทีละ 4
บิต 8 บิต 16 บิต เป็นต้น การสื่อสารข้อมูลแบบคูข่ นานซึ่งส่งข้อมูลครั้งละมากกว่า 1 บิต ทาให้มีความเร็ว
ในการส่งข้อมูลมากกว่าการสื่อสารแบบอนุกรม แต่มีความยุ่งยากในการติดตั้งและมีค่าใช้จ่ายในการติดตั้ง
สูงกว่า

วัตถุประสงค์
เมื่อศึกษาหัวข้อเนื้อหาหลักที่ 2.2 จบแล้ว ผู้เรียนสามารถอธิบายหัวข้อต่อไปนี้ได้
1. วัตถุประสงค์และความหมายของการสื่อสารข้อมูลแบบอนุกรม และแบบคูข่ นาน
2. ความจาเป็นของการสื่อสารข้อมูลแบบอนุกรม และแบบคูข่ นาน
3. ประโยชน์ของการสื่อสารข้อมูลทั้งแบบอนุกรม และแบบคู่ขนาน
4. วิธีการแบ่งประเภทการสื่อสาร

ปริญญา น้อยดอนไพร || การสื่อสารข้อมูลและเครือข่าย (Data Communication and Network)


42 บทที่ 2 สัญญาณข้อมูลและการสื่อสารข้อมูล

จากที่กล่าวมานั้นเป็นเพียงรูปแบบของสัญญาณที่ใช้ในการส่งข้อมูลเท่านั้น ยังมีอีกสิ่งที่สาคัญต่อ
การขนส่งข้อมูล คือ วิธีการส่งข้อมูล โดยรูปแบบของวิธีการขนส่งข้อมูลที่จะกล่าวถึงนี้เป็นวิธีการขนส่ง
ข้อมูลแบบดิจิตอล ซึ่งเป็นการส่งข้อมูลในระดับบิต แบ่งได้ 2 ลักษณะ ดังนี้
2.2.1 การสื่อสารข้อมูลแบบอนุกรม
การสื่อสารข้อมูลแบบอนุกรม (Serial Transmission) ซึ่งคาว่า "อนุกรม" หมายถึง หนึ่ง
ต่อหนึ่งเรียงลาดับกันไป ดังนั้นการส่งข้อมูลแบบอนุกรมจึงเป็นการส่งข้อมูลทีละ 1 บิตต่อครั้งผ่านทางสาย
การสื่อสาร (ฉัตรชัย สุมามาลย์, 2554 : 96) ลักษณะการขนส่งจะเป็นลาดับโดยจะใช้การบนส่งแบบเดี่ยว
กล่าวคือ จะใช้ช่องทางการส่งข้อมูลเพียงหนึ่งช่องทาง โดยส่งไปทีละหนึ่งบิตต่อหนึ่งหน่วยเวลา โดยข้อมูล
นั้นจะถูกแบ่งออกเป็นเฟรมและจะถูกประกอบกลับเมื่อไปถึงยังปลายทาง การขนส่งข้อมูลด้วยวิธีการนี้
นิยมใช้กันทั่วไป เช่น การขนส่งข้อมูลที่เชื่อมต่อผ่านสายอนุกรม (Serial Cable) หรือพอร์ตอนุกรม
(Serial Port) เป็นต้น
11001110 11101001
ผู้ส่ง ผู้รับ
เฟรม 2 เฟรม 1
ภาพที่ 2.11 แสดงการขนส่งแบบอนุกรม

ภาพที่ 2.12 แสดงตัวอย่างพอร์ตแบบอนุกรม


ที่มา: Misco UK Limited. (2014).

2.2.2 การสื่อสารข้อมูลแบบคู่ขนาน
การสื่อสารข้อมูลแบบคู่ขนาน (Parallel Transmission) เป็นการขนส่งในลักษณะคู่ขนาน
กล่าวคือ จะใช้ช่องทางมากกว่าหนึ่งช่องทาง และส่งแบบคู่ขนานกัน โดยส่งข้อมูลหนึ่งบิตต่อหนึ่งช่องทาง
ในหนึ่งหน่วยเวลาเดียวกัน การส่งข้อมูลในลักษณะนี้จะสามารถส่งข้อมูลได้รวดเร็วกว่าแบบอนุกรม แต่
นิยมใช้กับการส่งข้อมูลในระยะใกล้ โดยจะใช้จานวนช่องทางการขนส่งตามจานวนบิตข้อมูลที่เข้ารหัสไว้
ทาให้สิ้นเปลืองสายส่งกว่าแบบอนุกรม ที่ใช้สายส่งเพียงเส้นเดียว เช่น การส่งข้อมูลระหว่างอุปกรณ์ 2 ชิ้น
ต่อผ่านทางคู่ขนานพอร์ต ซึ่งชุดข้อมูลหนึ่งชุดมีทั้งหมด 8 บิต ดังนั้นการขนส่งข้อมูลดังกล่าวจะมีช่องทาง
ในการขนส่ง 8 ช่องทาง โดยมีการส่งแบบคูข่ นานพร้อมกัน 8 บิต เป็นต้น

ปริญญา น้อยดอนไพร || การสื่อสารข้อมูลและเครือข่าย (Data Communication and Network)


บทที่ 2 สัญญาณข้อมูลและการสื่อสารข้อมูล 43

1 1
1 1
0 1
ผู้ส่ง 0 0 ผู้รับ
1 1
1 0
1 0
0 1
ภาพที่ 2.13 แสดงการขนส่งแบบคู่ขนาน

ภาพที่ 2.14 แสดงตัวอย่างพอร์ตแบบคู่ขนาน


ที่มา: Misco UK Limited. (2014).
สรุปข้อดีและข้อเสียของการขนส่งข้อมูลแบบอนุกรมและคู่ขนาน มีดังนี้
ตารางที่ 2.2 สรุปข้อดีและข้อเสียของการขนส่งข้อมูลแบบอนุกรมและคู่ขนาน
ชนิดของการขนส่ง ข้อดี ข้อเสีย
อนุกรม ประหยั ด ค่ า ใช้ จ่ า ย และส่ ง ได้ ส่งข้อมูลได้ช้ากว่าแบบคู่ขนาน
ระยะไกล
คู่ขนาน ส่งข้อมูลได้เร็วกว่าแบบอนุกรม ค่าใช้จ่ายสูง และใช้ได้ระยะใกล้
2.2.3 จังหวะในการส่งข้อมูล
ในการขนส่งข้อมูลนั้นจาเป็นต้องมีปัจจัยสาคัญหลายประการเพื่อให้ข้อมูลสามารถเดินทาง
ไปถึงปลายทางอย่างสมบูรณ์ และได้ข้อมูลที่ถูกต้องเหมือนตอนที่ส่งมาจากต้นทาง ปัจจัยที่ช่วยให้ลาดับ
การขนส่ งถูกต้องไม่เกิดความสั บสนเมื่อมาถึงยังปลายทางก็คือ จัง หวะในการส่งข้อมูล หรือที่เรียกว่า
ซิงโครไนเซชัน (Synchronization) เนื่ องจากข้อมูลแบบดิจิตอลนั้นจะถูกส่งมาเหมือนกับกระแสของ
ข้อมูล หรือสตรีม (Stream) ซึ่งมีการเรียงลาดับและมีข้อมูลจานวนมาก เมื่อถึงปลายทางแล้วจะถูกนามา
ประกอบกลับคืนเป็นข้อมูลเดิมตามลาดับที่ได้ รับ หากลาดับข้อมูลผิดพลาดหรือจังหวะของการส่งข้อมูล

ปริญญา น้อยดอนไพร || การสื่อสารข้อมูลและเครือข่าย (Data Communication and Network)


44 บทที่ 2 สัญญาณข้อมูลและการสื่อสารข้อมูล

ไม่ถูกต้อง จะทาให้ทราบว่าข้อมูลที่รับไม่ตรงตามต้นฉบับนั่นเอง สาหรับซิงโครไนเซชันสามารถแบ่งได้ 2


แบบ ดังนี้
1) อะซิงโครนัส (Asynchronous) เป็นการขนส่งที่อาศัยบิตพิเศษเพื่อบอกถึงจุดเริ่มต้น
และจุดสิ้นสุดของข้อมูล เรียกว่าบิตเริ่มต้น (Start bit) และบิตสิ้นสุด (Stop bit) ซึ่งจะบรรจุไว้ที่ส่วนหัว
และส่วนท้ายของชุดข้อมูลตามลาดับ โดยบิตพิเศษดังกล่าวจะเป็นตัวบ่งบอกถึงการขนส่งข้อมูลว่าสิ้นสุด
หรือยัง ซึ่งไม่ใช่การส่งแบบอาศัยจังหวะหรือซิงโครนัส การส่งข้ อมูลแบบนี้ในแต่ละชุดข้อมูลจะต้องเว้น
ระยะเวลาช่วงหนึ่ง เพื่อที่จะส่งชุดข้อมูลลาดับต่อไปโดยไม่สามารถส่งไปพร้อมกันได้และจะต้องใช้จานวน
บิตเพิ่มขึ้นอีก 2 บิต ต่อหนึ่งชุดข้อมูล ซึ่งอาจส่งผลให้ข้อมูลที่มีจานวนชุดข้อมูลมาก ๆ มีปริมาณของบิต
เพิ่มขึ้น ทาให้การขนส่งอาจทาได้ค่อนข้างช้า และอาจส่งผลให้เกิดความหนาแน่นของข้อมูลขึ้นในระบบ
เครือข่ายได้อีกด้วย โดยข้อมูลที่ส่งจะมีขนาด 8 บิต
บิตเริ่มต้น บิตตรวจสอบ บิตสิ้นสุด
ข้อมูล (8 บิต)
(Start Bit) (Parity Bit) (Stop Bit)
ภาพที่ 2.15 แสดงชุดข้อมูลในการส่งแบบอะซิงโครนัส
2) ซิงโครนัส (Synchronous) เป็นการส่งข้อมูลโดยอาศัยการเข้าจังหวัด ภายในข้อมูล
ทั้งหมดนั้นจะมีการใส่ข้อมูลพิเศษที่เรียกว่า ซิงคาเรคเตอร์ (SYN Characters) เพื่อเป็นตัวบ่งบอกถึงลาดับ
ของการส่งทาให้ทั้งผู้รับและผู้ส่งมั่นใจได้ว่าข้อมูลทั้งหมดถูกต้องและสมบูรณ์ การเพิ่มซิงคาเรคเตอร์ลงใน
ชุดข้อมูลนั้นจะทาให้การส่งทาได้รวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากกว่าอะซิงโครนัส โดยเฉพาะการส่งข้อมูล
จานวนมาก เนื่องจากซิงคาเรคเตอร์ นั้ นใช้พื้นที่ในการบรรจุเข้าไปในชุดข้อมูล ที่น้อยกว่าอีกทั้งข้อมูล
ทั้งหมดยังถูกรวมเข้าด้วยกันเป็นบล็อกของข้อมูล (Block of Data) ทาให้ไม่จาเป็นต้องใช้ซิงคาเรคเตอร์ใน
ปริมาณมากเท่ากับการใช้บิตเริ่มต้นและบิตสิ้นสุด การขนส่งโดยอาศัยซิงโครนัสจึงมีประสิทธิภาพมากกว่า
อย่างเห็นได้ชัดเมื่อข้อมูลมีขนาดใหญ่

ซิงคาเรคเตอร์ ซิงคาเรคเตอร์ ข้อมูล ชุดควบคุม ชุดสิ้นสุด


(SYN) (SYN) (Data) (Block Control) (End of Block)
ภาพที่ 2.16 แสดงชุดข้อมูลในการส่งแบบซิงโครนัส

เปรียบเทียบประสิทธิภาพระหว่างการส่งข้อมูลแบบอะซิงโครนัสและแบบซิงโครนัส ถ้าพูด
ถึงประสิทธิภาพในการส่งข้อมูลในจานวนบิตที่เท่ากัน ใน 1 เฟรมข้อมูลการส่งข้อมูลแบบซิงโครนัส
สามารถส่งบิตข้อมูลได้จานวนมากกว่า เพราะไม่ได้ถูกจากัดขนาดของบล็อกข้อมูลเช่นการส่งข้อมูลแบบ
อะซิงโครนัส นอกจากนั้นในการส่งข้อมูลอะซิงโครนัสจะใช้จานวนบิตสาหรับบิตส่วนหัวและส่วนท้ายอย่าง
น้อย 20% ของบล็อกข้อมูล ในขณะที่การส่งข้อมูลแบบซิงโครนัสใช้บิตทั้งหมดสาหรับแฟลกและส่วน
ควบคุมโดยทั่วไปน้อยกว่า 100 บิต ดังนั้นถ้าในการส่งบล็อกข้อมูล 1,000 บิต โดยวิธีซิงโครนัสจะใช้
จานวนบิตทั้งหมดสาหรับแฟลกและส่วนควบคุมเพียง (48/1048)x100 = 4.6% ของจานวนบิตทั้งหมด
อย่างไรก็ตามถ้าเกิดความผิดพลาดในการส่งข้อมูลก็ต้องส่งข้อมูลกันใหม่ทั้งบล็อก ซึ่งวิธีการแบบซิงโครนัส
ย่อมจะใช้เวลามากกว่าเพราะบล็อกข้อมูลมีขนาดใหญ่กว่า

ปริญญา น้อยดอนไพร || การสื่อสารข้อมูลและเครือข่าย (Data Communication and Network)


บทที่ 2 สัญญาณข้อมูลและการสื่อสารข้อมูล 45

ตัวอย่างเปรียบเทียบประสิทธิภาพการส่งข้อมูลทั้ง 2 แบบ เช่น หากต้องการส่งข้อมูลที่เป็น


ตัวอักษรจานวน 100 ตัวอักษร หากทาการส่งด้วยวิธีซิงโครนัสโดยบล็อกข้อมูลประกอบด้วยอักขระ
ซิงคาเรคเตอร์ จานวน 2 อักขระ ตัวอักขระควบคุม จานวน 4 อักขระ จะมีประสิทธิภาพการส่งข้อมูล
เท่ากับ (100/106) x 100 = 94.33% ซึ่งมากกว่าการส่งข้อมูลด้วยวิธีอะซิงโครนัสซึ่งมีประสิทธิภาพสูงสุด
เพียง 80% เท่านั้น
สิ่งที่จ าเป็ นอย่ างหนึ่ งของการส่ งข้อมูล แบบซิงโครนัส คือ หน่ว ยความจาชั่ว คราวหรือ
บัฟเฟอร์ ทั้งในเครื่องรับและเครื่องส่ง เมื่อหน่วยความจาของบัฟเฟอร์เก็บข้อมูลที่ต้องการจะส่งจนครบ
แล้วหรือบัฟเฟอร์เต็มแล้ว เครื่องส่งก็จะทาการส่งข้อมูลออกไปทั้งหมดด้วยความเร็ วของสายสื่อสาร ทาให้
การส่งข้อมูลแบบซิงโครนัสสามารถใช้สายสื่อสารได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ
นอกจากนั้นการส่งข้อมูลแบบซิงโครนัสยังให้ประสิทธิภาพในการ รับ -ส่ง ได้อย่างถูกต้อง
ถูกตาแหน่ง และรวดเร็วกว่าแบบอะซิงโครนัส ส่วนการตรวจสอบความผิดพลาดก็สามารถตรวจสอบได้
จากพาริตี้บิตเช่นเดียวกับแบบอะซิงโครนัส ขึ้นอู่กับว่าได้กาหนดวิธีการอ่านข้อมูลไว้อย่างไรในส่วนของบิต
ควบคุม (ฉัตรชัย สุมามาลย์, 2545 : 109-110)

กิจกรรมที่ 2.2
1. จงอธิบายความหมายและหลักการสื่อสารแบบอนุกรมเพื่อแสดงการทางานพอสังเขป
2. จงอธิบ ายข้อ แตกต่า งระหว่า งการสื่ อสารข้อมู ล แบบซิง โครนัส กับ แบบอะซิง โครนั ส และ
อภิปรายข้อดีข้อจากัดของทั้งสองวิธีนี้

ปริญญา น้อยดอนไพร || การสื่อสารข้อมูลและเครือข่าย (Data Communication and Network)


46 บทที่ 2 สัญญาณข้อมูลและการสื่อสารข้อมูล

เอกสารอ้างอิง
เกษรา ปัญญา. (2548). ระบบการสื่อสารข้อมูล Data Communication System. ภูเก็ต : มหาวิทยาลัย
ราชภัฏภูเก็ต.
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. (2554). เอกสารการสอนชุดวิชาการสื่อสารข้อมูลและระบบเครือข่าย
คอมพิวเตอร์ หน่วยที่ 1-7. พิมพ์ครั้งที่ 2. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
ฉัตรชัย สุมามาลย์. (2545). การสื่อสารข้อมูลคอมพิวเตอร์และระบบเครือข่าย. กรุงเทพฯ: ห.จ.ก. ไทย
เจริญการพิมพ์.
Amplitude Modulation. (2013). [Online]. Available : http : topperchoice.com/introduction
-to-amplitude-modulation-and-dsbcsb/introduction-to-amplitude-modulation/.
[February 1, 2013].
Joel Sing. (2008). Modulation: Making the Message Fit the Medium [Online]. Available :
http : http://ironbark.xtelco.com.au/subjects/DC/lectures/ 7/. [February 1, 2013].
Misco UK Limited. (2014). Serial Cable and Parallel Cable. [Online]. Available : http :
www.misco.co.uk/. [January 5, 2014].

ปริญญา น้อยดอนไพร || การสื่อสารข้อมูลและเครือข่าย (Data Communication and Network)

You might also like