You are on page 1of 28

บทที่ 4

แบบจำลองเครือข่ำยคอมพิวเตอร์
แผนกำรสอนประจำหน่วย
รายวิชา การสื่อสารข้อมูลและเครือข่าย
บทที่ 4 แบบจาลองเครือข่ายคอมพิวเตอร์
หัวข้อเนื้อหำหลัก
4.1 แบบจาลองโอเอสไอ
4.2 แบบจาลองทีซีพ/ี ไอพี
แนวคิด
1. แบบจาลองโอเอสไอ คือ สถาปัตยกรรมเครือข่ายที่มีการแบ่งกรอบการทางานของระบบ
เครื อข่ายคอมพิว เตอร์ออกเป็ นชั้น ๆ ซึ่งจะช่ว ยให้การออกแบบระบบเครือข่ายสามารถติดต่อสื่อสาร
ระหว่างกันได้ ไม่ว่าระบบเครือข่ายแต่ละระบบที่ติดต่อสื่อสารกันจะมีการออกแบบที่แตกต่างกันหรือใช้
ระบบคอมพิวเตอร์ต่างแพล็ตฟอร์มกันก็ตาม
2. แบบจาลองทีซีพ/ี ไอพี คือ ชุดของแบบจาลองที่ถูกพัฒนาขึ้นมา เพื่อใช้สาหรับการแลกเปลี่ยน
ข้อมูลบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต โดยใช้สถาปัตยกรรมที่มีลักษณะเป็นระดับชั้นที่เกี่ยวข้องกัน
วัตถุประสงค์
เมื่อศึกษาบทที่ 4 จบแล้ว ผู้เรียนสามารถอธิบายหัวข้อต่อไปนี้ได้
1. สถาปัตยกรรมระดับชั้นและโครงสร้างของแบบจาลองโอเอสไอ
2. สถาปัตยกรรมระดับชั้นและโครงสร้างของแบบจาลองทีซีพ/ี ไอพี
กิจกรรมระหว่ำงเรียน
1. ทาแบบประเมินผลตนเองก่อนเรียนบทที่ 4
2. ศึกษาเอกสารประกอบการสอนหัวข้อเนื้อหาหลักที่ 4.1 - 4.2
3. ปฏิบัติกิจกรรมตามที่ได้รับมอบหมายในเอกสารประกอบการสอน
4. ทาแบบประเมินผลตนเองหลังเรียนบทที่ 4
5. ทากิจกรรมประจารายวิชา
สื่อกำรสอน
1. เอกสารประกอบการสอน
2. แบบฝึกปฏิบัติ
กำรประเมินผล
1. ประเมินผลจากแบบประเมินผลตนเองก่อนเรียนและหลังเรียน
2. ประเมินผลจากการทากิจกรรมและแนวตอบท้ายเรื่อง
3. ประเมินผลจากกิจกรรมประจารายวิชา
4. ประเมินผลจากการสอบไล่ประจาภาคการศึกษา
84 บทที่ 4 แบบจำลองเครือข่ำยคอมพิวเตอร์

ข้อกำหนด
เมื่ออ่านแผนการสอนประจาบทที่ 4 แล้ว กาหนดให้ผู้เรียนทาแบบประเมินผลตนเองก่อนเรียน
บทที่ 4 ในแบบฝึกปฏิบัติ แล้วจึงศึกษาเอกสารการสอนต่อไป

ปริญญำ น้อยดอนไพร || กำรสื่อสำรข้อมูลและเครือข่ำย (Data Communication and Network)


บทที่ 4 แบบจำลองเครือข่ำยคอมพิวเตอร์ 85

4.1 แบบจำลองโอเอสไอ
หัวข้อเนื้อหำย่อย
4.1.1 แนวคิดทั่วไปเกี่ยวกับแบบจาลองโอเอสไอ
4.1.2 ระดับชั้นของแบบจาลองโอเอสไอ
แนวคิด
1. แบบจ าลองโอเอสไอ เป็ น แบบจ าลอง ระบบเครื อข่ ายที่อ อกแบบโดยองค์ก ารมาตรฐาน
นานาชาติ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ระบบเครือข่ายที่มีความแตกต่างกันสามารถติดต่อสื่อสารระหว่างกัน
ได้ ด้วยการใช้มาตรฐานสื่อสารที่เป็นสากลโดยไม่จาเป็นต้องเปลี่ยนแปลงซอฟต์แวร์หรือฮาร์ดแวร์ใดๆ
2. ระดับชั้นในแบบจาลองโอเอสไอถูกแบ่งออกเป็นระดับชั้นทั้งหมด 7 ชั้น ได้แก่ 1) ระดับชั้น
กายภาพหรือฟิสิคัล 2) ดาต้าลิงค์ 3) เน็ตเวิร์ก 4) ทรานสปอร์ต 5) เซสชัน 6) พีเซนเตชัน 7) แอพพลิเคชัน

วัตถุประสงค์
เมื่อศึกษาหัวข้อเนื้อหาหลักที่ 4.1 จบแล้ว ผู้เรียนสามารถอธิบายหัวข้อต่อไปนี้ได้
1. ความหมายของแบบจาลองโอเอสไอได้
2. ระดับชั้นของแบบจาลองโอเอสไอได้
3. หลักการทางานของแบบจาลองโอเอสไอได้
4. หน้าที่ของแต่ละระดับชั้นในแบบจาลองโอเอสไอได้
5. ความแตกต่างของระดับชั้นในแบบจาลองโอเอสไอได้

ปริญญำ น้อยดอนไพร || กำรสื่อสำรข้อมูลและเครือข่ำย (Data Communication and Network)


86 บทที่ 4 แบบจำลองเครือข่ำยคอมพิวเตอร์

4.1.1 แนวคิดทั่วไปเกี่ยวกับแบบจำลองโอเอสไอ
องค์การมาตรฐานนานาชาติหรือไอโซ (The International Standards Organization :
ISO) จัดตั้งขึ้นเมื่อปี ค.ศ.1947 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อกาหนดข้อตกลงรูปแบบมาตรฐานของการ
ติดต่อสื่อสารผ่านเครือข่าย (network communication) ซึ่งรูปแบบมาตรฐานที่ถูกเสนอครั้งแรกเมื่อช่วง
ทศวรรษ 1970 เมื่อชื่อเรียกว่า "ระบบการเชื่อมต่อระหว่างกันแบบเปิดหรือโอเอสไอ (Open Systems
Interconnection : OSI)" ซึ่งวัตถุประสงค์ของระบบการเชื่อมต่อแบบเปิดนี้ ก็เพื่อออกแบบรูปแบบ
มาตรฐานของการติดต่อสื่อสารผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่สามารถทาให้ระบบที่มีความแตกต่างกัน
สามารถสื่อสารกันได้ด้วยการใช้มาตรฐานการสื่อสารสากล โดยไม่มีความจาเป็นที่จะต้องเปลี่ยนแปลง
ฮาร์ดแวร์หรือซอฟแวร์ใด ๆ
1) ควำมหมำยของแบบจำลองโอเอสไอ
แบบจาลองโอเอสไอ (OSI) สถาปัตยกรรมเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่มีการแบ่งกรอบการ
ทางานออกเป็นชั้น ๆ เพื่อช่วยให้การออกแบบระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์สามารถติดต่อสื่อสารระหว่าง
กันได้ แม้ว่าระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์แต่ระบบจะมีการออกแบบเชื่อมต่อระบบที่แตกต่างกันหรือใช้
ระบบคอมพิวเตอร์ที่ต่างแพล็ตฟอร์มกันก็ตาม
2) สถำปัตยกรรมของแบบจำลองโอเอสไอ
แบบจาลองโอเอสไอใช้สถาปัตยกรรมโดยแบ่งออกเป็น 7 ระดับชั้นที่มีความสัมพันธ์กัน
ดังนี้ 1) ระดับชั้นกายภาพหรือฟิสคัล (physical) 2) ระดับชั้นการเชื่อมต่อข้อมูลหรือดาต้าลิงค์ (data
link) 3) ระดับชั้นเครือข่ายหรือเน็ตเวร์ก (network) 4) ระดับชั้นขนส่งหรือทรานสปอร์ต (transport)
และ 7) ระดับชั้นประยุกต์หรือแอพพลิเคชัน (application) ดังแสดงในภาพที่ 4.1

ภำพที่ 4.1 ระดับชั้นของแบบจาลองโอเอสไอ


แบบจ าลองโอเอสไอ มี ก ารออกแบบโดยใช้ ส ถาปั ต ยกรรมระดั บ ชั้ น (layer
architecture) เพื่อให้การทางานเป็นไปตามขั้นตอนหรือตามระดับที่กาหมดไว้ในโปรโตคอล โดยในการ
พัฒนาติดกัน ไม่สามารถสื่อสารข้ามระดับกันได้ ฟังก์ชันการทางานในการรับส่งข้อมูลที่คล้ายคลึ งกันจะถูก

ปริญญำ น้อยดอนไพร || กำรสื่อสำรข้อมูลและเครือข่ำย (Data Communication and Network)


บทที่ 4 แบบจำลองเครือข่ำยคอมพิวเตอร์ 87

จับกลุ่มอยู่ด้วยกันกลายเป็ นระดับชั้น ดังนั้น แต่ละระดับชั้นจะมีกลุ่มของฟังก์ชันที่แตกต่างจากระดับชั้น


อื่น ๆ จากหลักการดังกล่าวจึงทาให้เข้าใจง่ายและมีความยืนหยุ่นสูง
โดยทั่วไป หลักการทางานแบบระดับชั้นได้ถูกนามาใช้ในชีวิตประจาวันกันอยู่แล้ว เช่น
การติดต่อสื่อสารทางจดหมายระหว่างกันและกัน กระบวนการส่งจดหมายจะมีความยุ่งยากมาก หากไม่มี
บุรุษไปรษณีย์ เป็นตัวกลางในดาเนินการให้ ขั้นตอนในกระบวนการส่งจดหมาย ดังแสดงในภาพที่ 4.2
ผู้ส่ง (sender) ผู้รับ (receiver)

เขี ย นจดหมำย จ่ ำ หน้ ำ ผู้ รั บ ห ยิ บ จ ด ห ม ำ ย


ซองถึ งผู้ รับ และหย่ อนลง ตรวจสอบหน้ ำ ซอง และ
ในตู้จดหมำย เปิดอ่ำนจดหมำย

จดหมำยในตู้ จ ดหมำย จดหมำยถู ก น ำส่ ง จำก


เดิ น ทำงไปยั ง ที่ ท ำกำร ไปรษณีย์ สำขำปลำยทำง
ไปรษณีย์สำขำต้นทำง ไปยังตู้รับจดหมำย

จดหมำยถูกจัดส่งจำกที่ทำ ที่ ท ำ ก ำ ร ไ ป ร ษ ณี ย์
กำรไปรษณีย์สำขำต้นทำง ปลำยทำงรับจดหมำย

จดหมำยถูกนำส่งจำกที่ทำกำรไปรษณีย์ต้นทำงไปยัง
ที่ทำกำรไปรษณีย์ปลำยทำงโดยบุรุษไปรษณีย์
ภำพที่ 4.2 ขั้นตอนในกระบวนการรับส่งจดหมาย
ที่มา: ดัดแปลงจาก Behrouz A. Forouzan. (2007: 28).
จากภาพที่ 4.2 เมื่อผู้ส่ง (sender) ต้องการส่งจดหมายถึงผู้รับ (receiver) ก็จะเขียน
จดหมายแล้วใส่ซองตู้ไปรษณีย์ จดหมายจะถูกนาออกจากตู้ไปรษณีย์ก็จะนาจดหมายไปส่งที่ตู้ไปรษณีย์
สาขาที่ ใกล้ ที่สุ ด เพื่อ มาคัดแยกตามสถานที่ของผู้ รับ จากนั้นบุรุ ษไปรษณีย์ก็จ านาจดหมายไปส่ งที่ ตู้
ไปรษณีย์หน้าบ้านผู้รับ เมื่อผู้รับเปิดตู้ไปรษณีย์หน้าบ้านก็จะได้รับจดหมายของผู้ส่ง ซึ่งลักษณะการทางาน
ของขั้นตอนดังกล่าวก็จะคล้ายกับขั้นตอนการทานของระดับชั้นในแบบจาลองโอเอสไอ โดยภายในเครื่อง
คอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องที่เชื่อมโยงในระบบเครือข่าย เมื่อมีการรับส่งข้อมูลระหว่างกัน แต่ละระดับชั้นจะ
เรี ย กใช้บริ การระดับ ชั้นที่อยู่ต่ากว่าลงไป เช่น ระดับชั้นที่ 3 จะเรี ยกใช้บริการระดับชั้นที่ 2 และใน
ขณะเดียวกันก็จะจัดหาบริการให้ระดับชั้นที่ 4 เป็นต้น
ในการติดต่อสื่อสารระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ ระดับชั้น X บนเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่อง
หนึ่งจะติดต่อกับ ระดับชั้น X บนเครื่องคอมพิวเตอร์อีกเครื่องหนึ่ง ณ ระดับชั้นเดียวกัน การติดต่อสั่งการนี้จะ
เกี่ยวข้องกับกฎและข้อตกลงที่เรี ยกว่ า "โปรโตคอล" และกระบวนการที่แต่ละเครื่องติดต่อกับระดับชั้นที่
กาหนดเรียกว่า "เพียร์ทูเพียร์โปรเซส (peer-to-peer processes)" หรือกระบวนการแบบจุดต่อจุด

ปริญญำ น้อยดอนไพร || กำรสื่อสำรข้อมูลและเครือข่ำย (Data Communication and Network)


88 บทที่ 4 แบบจำลองเครือข่ำยคอมพิวเตอร์

3) หลักกำรทำงำนของแบบจำลองโอเอสไอ
แบบจาลองโอเอสไอใช้หลักการทางานแบบเพียร์ทูเพี ยร์โปรเซส ซึ่งเป็นกระบวนการ
ติดต่อสื่อสารที่เกิดในระดับชั้นฟิสิคัลซึ่งรายละเอียดของระดับชั้นฟิสิคัลจะกล่าวต่อไป กระบวนการการ
ติดต่อสื่ อสารแบบเพียร์ ทูเพีย ร์ โ ปรเซส สามารถทาได้ โ ดยตรง ดังแสดงในภาพที่ 4.3 จากภาพเครื่อง
คอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์ A จะส่งข้อมูลไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์ B (ผ่านโหนดต่าง ๆ บน
เครือข่าย) การติดต่อสื่อสารจะเคลื่อนที่ลงผ่านระดับชั้นต่าง ๆ จากอุปกรณ์ A เคลื่อนที่ขึ้นผ่านระดับชั้น
ต่าง ๆ ของอุปกรณ์ B แต่ละระดับชั้น เมื่อฝ่ายผู้รับได้รับข้อความก็จะแกะข้อความออกอ่านทีละชั้น เช่น
ระดับชั้นที่ 2 จะนาข้อมูลที่ต้องการใช้ในระดับชั้นนั้นออกไป จากนั้นจึงส่งผ่านข้อมูลที่เหลือไปยังระดับชั้น
ที่ 3 ระดับชั้นที่ 3 ก็จะนาข้อมูลที่จะใช้ในระดับชั้นออก และส่งผ่านข้อมูลที่เหลือไปยังระดับชั้นที่ 4 และ
กระทาเช่นนี้ต่อไปเรื่อย ๆ จนเสร็จ เป็นต้น

ภำพที่ 4.3 ความสัมพันธ์ระหว่างระดับชั้นในแบบจาลองโอเอสไอ


ที่มา: Behrouz A. Forouzan. (2007: 31)
4) ส่วนต่อประสำนระหว่ำงระดับชั้น
ส่ ว นต่ อ ประสานระหว่ า งระดั บ ชั้ น หรือ อิ น เทอร์ เฟซระหว่ า งระดั บ ชั้ น (interfaces
between layers) หมายถึง การส่งผ่านข้อมูลลงในแต่ละระดับชั้นของอุปการณ์ฝ่ายผู้ส่ง และส่งผ่าน
ข้อมูลขึ้น ไปในแต่ละระดับ ชั้นของอุปกรณ์ฝ่ายผู้ รับ สามารถทาได้โดยใช้การอินเทอร์เฟซ (interface)
ระหว่างแต่ละคู่ของระดับชั้นที่อยู่ติดกัน แต่อินเทอร์เฟซจะกาหนดข้อมูลและการบริการของระดับชั้นที่
จาเป็นต้องจัดหาให้กับระดับชั้นที่อยู่เหนือขึ้นไปการกาหนดอินเทอร์เฟซและหน้าที่ของแต่ระดับชั้นได้ดีจะ
ทาให้การเปลี่ยนแปลงและการแทนที่ใด ๆ เพื่อให้บริการระดับชั้นที่สูงกว่าสามารถทาได้ โดยปราศจาก
การเปลี่ยนแปลงใด ๆ ของระดับชั้นที่เกี่ยวข้อง

ปริญญำ น้อยดอนไพร || กำรสื่อสำรข้อมูลและเครือข่ำย (Data Communication and Network)


บทที่ 4 แบบจำลองเครือข่ำยคอมพิวเตอร์ 89

5) โครงสร้ำงระดับชั้น
แบบจ าลองโอเอสไอ แบ่ ง ออกเป็ น 2 ส่ ว น คื อ ระดั บขั้ น สู ง และระดั บ ขั้ น ต่ า โดย
ระดับชั้นสูง ส่วนใหญ่จะเกี่ยวข้องกับซอฟต์แวร์ ส่วนระดับชั้นต่าลงมาจะเกี่ยวข้องกับทั้งฮาร์ดแวร์และ
ซอฟแวร์ ยกเว้ น ระดั บ ชั้ น ฟิ สิ คั ล ซึ่ ง ส่ ว นใหญ่ จ ะเกี่ ย วข้ อ งกั บ ฮาร์ ด แวร์ ภาพรวมของระดั บ ชั้ น ใน
แบบจาลองโอเอสไอ ดังแสดงในภาพที่ 4.4

ภำพที่ 4.4 ภาพรวมของระดับชั้นในแบบจาลองโอเอสไอ


ที่มา: Behrouz A. Forouzan. (2007: 32)
จากภาพที่ 4.4 แสดงภาพรวมของระดับชั้นในแบบจาลองโอเอสไอ ซึ่ง D7 หมายถึง
หน่วยข้อมูลที่ระดับชั้นที่ 7 D6 หมายถึง หน่วยข้อมูลที่ระดับชั้นที่ 6 เป็นเช่นนี้ไปเรื่อย ๆ จนถึงระดับชั้นที่
1 แต่ละระดับชั้นของฝ่ายผู้ส่งจะมีข้อมูลปิดหัว (header) และข้อมูลปิดท้าย (trailer) สาหรับระดับชั้นที่ 2
มีการแบ่งข้อมูล เป็ น เฟรม ลั กษณะการทางานของระดับชั้นนี้จะช่ว ยควบคุมการรับส่งข้อมูล ตั้งแต่
จุดเริ่มต้น และจุ ดสิ้ นสุ ดตามระดับ โดยเริ่มจากระดับชั้นที่ 7 ทางฝ่ ายผู้ส่ งส่งข้อมูล ไปยังระดับชั้นที่ 6
ระดั บ ชั้ น ที่ 5 จนถึ ง ระดั บ ชั้ น ที่ 1 เมื่ อ ข้ อ มู ล ถู ก ส่ ง มาถึ ง ระดั บ ชั้ น ที่ 1 หรื อ ระดั บ ชั้ น ฟิ สิ คั ล จะถู ก
เปลี่ยนเป็นสัญญาณไฟฟ้า และเคลื่อนที่ไปบนสายส่ง เมื่อมาถึงปลายทางหรือฝ่ายผู้รับสัญญาณไฟฟ้าจะ
ผ่านไปขึ้นไปในระดับชั้นที่ 1 และข้อมูลจะถูกแปลงกลับเป็นสัญญาณดิจิตอล ข้อมูลจะเคลื่อนที่ขึ้นผ่าน
ระดับชั้นที่ 2 ระดับชั้นที่ 3 ไปเรื่อย ๆ จนถึงระดับชั้นที่ 7 ในแต่ละชั้นข้อมูลส่วนหัวและข้อมูลส่วนท้ายซึ่ง
ถูกแนบ (attach) มากับข้อมูลของฝ่ายผู้ส่งจะถูกแยกออกไป
ข้อมูลที่ถูกส่งมาจากระดับชั้นบนเพื่อมายังระดับชั้นล่างนั้น จะถูกห่อหุ้มด้วยข้อมูลปิด
หัวเป็นชั้น ๆ โดยเรียกกระบวนการนี้ว่า "เอ็นแคปซูเลชัน (encapsulation)"
4.1.2 ระดับชั้นของแบบจำลองโอเอสไอ
ดังที่กล่าวมาแล้วว่าระดับชั้นในแบบจาลองโอเอสไอ ถูกแบ่งออกเป็นระดับชั้นทั้งหมด 7
ชั้น ได้แก่ 1) ระดับชั้นฟิสคัล (physical) 2) ระดับชั้นดาต้าลิงค์ (session) 3) ระดับชั้นเน็ตเวิร์ก

ปริญญำ น้อยดอนไพร || กำรสื่อสำรข้อมูลและเครือข่ำย (Data Communication and Network)


90 บทที่ 4 แบบจำลองเครือข่ำยคอมพิวเตอร์

(network) 4) ระดับชั้นทรานสปอร์ต (transport) 5) ระดับชั้นเชสชัน (session) 6) ระดับชั้นพรีเซนเตชัน


(presentation) 7) ระดับชั้นแอพพลิเคชัน (application) ซึ่งระดับชั้นทั้ง 7 นี้ยังสามารถจัดเป็นกลุ่มได้
เป็น 3 กลุ่มย่อยดังนี้
กลุ่มที่ 1 ระดับชั้นที่ 1 ระดับชั้นที่ 2 และระดับชั้นที่ 3 ได้แก่ ระดับชั้นฟิสิคัล ระดับชั้น
ดาต้าลิงค์ และระดับชั้น เน็ตเวิร์ก คือ ระดับชั้นสนับสนุ นระบบเครือข่าย ระดับชั้นเหล่านี้จะเกี่ยวข้องกับ
การส่งข้อมูลจากอุปกรณ์หนึ่งไปยังอีกอุปกรณ์หนึ่ง
กลุ่มที่ 2 ระดับชั้นที่ 5 ระดับชั้นที่ 6 และระดับชั้นที่ 7 ได้แก่ ระดับชั้นเชสชัน ระดับชั้นพรี
เซนเตชัน และ ระดับชั้นแอพพลิเคชัน คือ ระดับชั้นสนับสนุนการเชื่อมต่อให้แก่ผู้ใช้ ระดับชั้นเหล่านี้
สามารถทาการเชื่อมต่อระหว่างซอฟแวร์ที่แตกต่างกันได้
กลุ่มที่ 3 ระดับชั้นที่ 4 หรือระดับชั้นทรานสปอร์ต ทาหน้าที่เชื่อมการทางานระหว่างกลุ่ม
ที่ 1 และ กลุ่มที่ 2 โดยช่วยสร้างความมั่นใจให้แก่ผู้ใช้ว่า รูปแบบข้อมูลใดก็ตามที่ระดับชั้นต่ากว่าส่งมา
ระดับชั้นที่สูงกว่าจะสามารถเข้าใจได้
1) ระดับชั้นกำยภำพ หรือระดับชั้นฟิสิคัล
ส าหรั บ ในระดับ ชั้น ฟิ สิ คั ล นี้ จะมีก ารส่ งข้ อมู ล ผ่ านตัว กลางทางกายภาพ (physical
medium) ที่จับต้องได้การกาหนดฟังก์ชัน (functions) และขบวนการทางาน (procedures) ที่อุปกรณ์
ทางกายภาพและอินเทอร์เฟซจาเป็นต้องทาเมื่อมีการส่งข้อมูลเกิดขึ้น ดังแสดงในภาพที่ 4.5
จำกระดับชั้นดำต้ำลิงค์ ไปยังระดับชั้นดำต้ำลิงค์

ระดับชั้นฟิสิคลั 110 101010000000010111 110 10101000000001011 ระดับชั้นฟิสิคลั


1
สื่อกลำง
ภำพที่ 4.5 การเคลื่อนย้ายข้อมูลชั้นฟิสิคัลในรูปแบบของบิต
จากภาพที่ 4.5 ฝ่ายผู้ส่งจะส่งข้อมูลผ่านสายส่งไปยังฝ่ายผู้รับ ซึ่งในระดับชั้นฟิสิคัลจะ
ทาหน้าที่ดงั ต่อไปนี้
 กาหนดคุณ ลั กษณะทางกายภาพของส่ ว นต่อ ประสาน และตั ว กลาง (physical
characteristics of interfaces and media) ระดับชั้นฟิสิคัลจะทาการกาหนดคุณลักษณะของการ
เชื่อมต่อระหว่างอุปกรณ์และกาหนดชนิดของตัวกลางที่ใช้ส่งผ่านข้อมูล
 กาหนดการแทนค่าของบิตข้อมูล (representation of bits) ในระดับชั้นนี้
ประกอบด้วยกระแสบิตข้อมูลในรูปแบบของฐานสอง (0 กับ1) เมื่อจะทาการส่งผ่านตัวกลางบิตข้อมูล
จะต้องถูกเข้ารหัส (encode) และเปลี่ยนไปเป็นสัญญาณเช่น สัญญาณไฟฟ้าหรือสัญญาณแสง เป็นตัน
นอกจากนี้ระดับชั้นนี้ยังทาหน้าที่ในการกาหนดประเภทของการเข้ารหัส (encoding) (วิธีแปลงบิต 0 และ
1 ให้เปลี่ยนเป็นสัญญาณอื่น ๆ)
 กาหนดอัตราข้อมูล (data rate) เป็นการกาหนดจานวนของบิตข้อมูลที่รับส่ง
ภายในหนึ่งนาที

ปริญญำ น้อยดอนไพร || กำรสื่อสำรข้อมูลและเครือข่ำย (Data Communication and Network)


บทที่ 4 แบบจำลองเครือข่ำยคอมพิวเตอร์ 91

 ซิงโครไนซ์หรือประสานเวลาการรับส่งบิตข้อมูล (synchronization of bits) ใน


การรับส่งข้อมูลผ่านระบบเครือข่ายนั้นฝ่ายผู้ส่งและฝ่ายผู้รับจาเป็นต้องซิงโครไนซ์หรือประสานเวลาในการ
รับส่งข้อมูลในระดับบิตหรือกล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ นาฬิกาของฝ่ายผู้ส่งและฝ่ายผู้รับจะต้องตรงกันเพื่อให้
การรับส่งข้อมูลเกิดขึ้นได้ในเวลาเดียวกัน
 กาหนดโครงแบบของสายสัญญาณที่เชื่อมต่อ (line configuration) ระดับชั้นนี้จะ
เกี่ยวข้องกับการเชื่อมต่อระหว่างอุปกรณ์และตัวกลาง แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ 1) การเชื่อมต่อแบบ
จุดต่อจุด (point-to-point configuration) หมายถึง การที่อุปกรณ์สองชิ้นเชื่อมต่อกันโดยกันโดยตรง
ผ่านสายสัญญาณ และ 2) การเชื่อมต่อหลายจุด (multipoint configuration) หมายถึง การที่อุปกรณ์
หลายชิ้นใช้สายสัญญาณเชื่อมต่อร่วมกัน
 ก าหนดรู ป แบบการเชื่ อ มต่ อ ทางกายภาพ หรื อ ฟิ สิ คั ล โทโพโลยี (physical
topology) เป็นการกาหนดรูปแบบการเชื่อมต่ออุปกรณ์ในระบบเครือข่าย ซึ่งแบ่งออกได้หลายประเภท
เช่น โทโพยีแบบเมซ (mesh topology) โทโพโลยีแบบดาว (star topology) โทโพโลยีแบบวงแหวน
(ring topology) โทโพโลยีแบบบัส (bus topology)
 กาหนดทิศทางการส่งผ่านข้อมูล (transmission mode) ระดับชั้นนี้จะกาหนด
ทิศทางของการรับส่งข้อมูลระหว่างอุปกรณ์สองชิ้น ได้แก่ การรับส่งข้อมูลแบบซิมเพล็กซ์ (simplex) แบบ
ฮาร์ฟดูเพล็กซ์ (half-duplex) หรือแบบฟลูดูเพล็กซ์ (full-duplex) หรือ simply duplex
2) ระดับชั้นดำต้ำลิงค์
ระดับชั้นดาต้าลิงค์ (data link layer) หรือระดับชั้นเชื่อมโยงข้อมูล ระดับชั้นนี้หน้าที่
ตรวจสอบความถูกต้องของการติดต่อจากโหนดหนึ่งไปยังอีกโหนดหนึ่ง (Node to Node) และความ
สมบูรณ์ของการรับส่งข้อมูล ซึ่งกระบวนการส่งข้อมูลจะถูกต้องและสมบูรณ์ได้นั้น ผู้รับจะต้องได้รับข้อมูล
ที่ถูกต้องพร้อมทั้งตรวจสอบความผิดพลาดก่อนที่จะส่งข้อความตอบกลับไปยังผู้ส่ง และผู้ส่งจะต้องได้รับ
ข้อความตอบกลับดังกล่าวด้วย สาหรับในชั้นดาต้าลิงค์นั้นจะทาการแบ่งข้อมูลระดับบิตที่ได้จากชั้นติดต่อ
ระบบชั้นฟิสิคัลให้เป็นชุดข้อมูลที่เรียกว่า "เฟรม (Frame)" ก่อนจะส่งไปยังชั้นถัดไป ดังภาพที่ 4.6

ส่วนหัว จำกระดับชั้นเน็ตเวิร์ก ไปยังระดับชั้นเน็ตเวิร์ก


ส่วนหาง
ระดับชั้น ระดับชั้น
H2 ข้อมูล T2 เฟรมข้อมูล H2 ข้อมูล T2 เฟรมข้อมูล
ดำต้ำลิงค์ ดำต้ำลิงค์

ไปยังระดับชั้นฟิสิคลั จำกระดับชั้นฟิสิคัล
ภำพที่ 4.6 แสดงรูปแบบการรับส่งข้อมูลในระดับชั้นดาต้าลิงค์
ข้อมูลในชั้นดาต้าลิงค์ที่ได้รับจากชั้นที่เน็ตเวิร์ก จะถูกนามาจัดการเพิ่มเติมข้อมูลในส่วน
หัว (Header) และส่วนหาง (Trailer) ก่อนจะทาการส่งไปยังชั้นฟิสิคัล เพื่อแปลงเป็นสัญญาณและส่งไปยัง
ปลายทางดังภาพที่ 4.6 ในทางกลับกัน เมื่อปลายทางได้รับข้อมูลที่ผ่านการจัดการจากชั้นฟิสิคัล เรียบร้อย
แล้ว จะดาเนินการแปลงข้อมูลระดับบิตกลับไปเป็นข้อมูลในรูปแบบของเฟรมและถอดข้อมูลที่เพิ่มเติมใน
ส่วนหัวและส่วนหางออก ซึ่งก็จะได้ชุดข้อมูลที่พร้อมจะส่งไปยังชั้นเน็ตเวิร์กต่อไป

ปริญญำ น้อยดอนไพร || กำรสื่อสำรข้อมูลและเครือข่ำย (Data Communication and Network)


92 บทที่ 4 แบบจำลองเครือข่ำยคอมพิวเตอร์

ระดับชั้นดาต้าลิงค์มีหน้าที่ดังต่อไปนี้
 จัดเฟรมข้อมูล (framing) ระดับชั้นดาต้าลิงค์จะทาการแบ่งข้อมูลที่ได้รับจาก
ระดับชั้นเน็ตเวิร์กเพื่อจัดลงในหน่วยข้อมูลทีเรียกว่า "เฟรม (framing)"
 กาหนดตาแหน่งฟิสิคัลแอดเดรสหรือแมคแอดเดรส (physical addressing) ตาแหน่งฟิ
สิคัลแอดเดรสคือ ที่อยู่ทางกายภาพของเครื่องคอมพิวเตอร์ฝ่ายผู้รับและเครื่องคอมพิวเตอร์ฝ่ายผู้ส่ง
 ควบคุมการไหลขอข้อมูล (flow control) ในกรณีที่อัตราการรับข้อมูลน้อยกว่า
อัตราการส่งข้อมูล ระดับชั้นดาต้าลิงค์จะทาการควบคุมการไหลของข้อมูล เพื่อป้องกันการท่วมทันของ
ข้อมูลจากฝ่ายผู้รับเนื่องจากอัตราการรับข้อมูลช้ากว่าอัตราการส่งข้อมูลของฝ่ายผู้ส่ง
 ควบคุมข้อผิดพลาด (error control) ระดับชั้นดาต้าลิงค์ สามารถควบคุมข้อผิดพลาด
ของข้อมูลและเพิ่มความน่าเชื่อถือให้กับข้อมูลที่ผ่านระดับชั้นฟิสิคัล โดยการเพิ่มกลไก (mechanism) เพิ่ม
ตรวจจับและ ส่งซ้าข้อมูลที่ถูกทาลายหรือสูญหายระหว่างการรับส่ง นอกจากนี้ยังมีวิธีการป้องกันการซ้าซ้อน
ของเฟรมข้อมูล โดยทาการเพิ่มรหัสควบคุมความผิดพลาดที่ด้านท้ายของเฟรมข้อมูลอีกด้วย
 ควบคุมการเข้าถึง (access control) เมื่ออุปกรณ์ตั้งแต่สองชิ้นขึ้นไปเชื่อมต่อบน
ลิ งค์เดีย วกัน โปรโตคอลในระดับ ชั้น ดาต้าลิ งค์ จะทาหน้าที่ควบคุม การเข้าถึงข้อมูล โดยตรวจสอบว่ า
อุปกรณ์ชิ้นใดมีสิทธิ์เข้าใช้งานเครือข่าย ดังกล่าวในการส่งข้อมูล ณ ช่วงเวลาหนึ่ง ๆ

10 20 30 40

T2 Data 10 40
ส่วนหาง ที่อยู่ต้นทาง ที่อยู่ปลายทาง
ภำพที่ 4.7 แสดงตัวอย่างการส่งข้อมูลในระดับชั้นดาต้าลิงค์
จากภาพที่ 4.7 เป็นการรับส่งข้อมูลภายในเครือข่ายที่ถูกจัดการโดยชั้นดาต้าลิงค์ หาก
ต้นทางและปลายทางมีที่อยู่ในระดับฟิสิคัล คือ 10 และ 40 ตามลาดับ ข้อมูลดังกล่าวจะถูกเพิ่มลงในส่วน
หัวของเฟรมข้อมูล ซึ่งจะมีข้อมูลเกี่ยวข้องกับที่อยู่ในระดับฟิสิคัล บรรจุไว้ด้วย ทาให้ข้อมูลถูกส่งไปยัง
เครื่องปลายทางที่อยู่ภายในเครือข่ายเดียวกันได้อย่างถูกต้อง
3) ระดับชั้นเน็ตเวิร์กหรือระดับชั้นเครือข่ำย
ระดับชั้นเน็ตเวิร์กจะเป็นชั้นที่ดูแลเกี่ยวกับเส้นทางในการรับส่งข้อมูลจากต้นทางไปยัง
ปลายทาง ซึ่งจะทาการค้นหาเส้นทางในการขนส่งข้อมูลและจัดการที่อยู่ของปลายทาง โดยชั้นเน็ตเวิร์ก
จะรับผิดชอบเฉพาะการติดต่อสื่อสารระหว่างต้นทางและปลายทางที่อยู่ต่างเครือข่ายกัน ส่วนการติดต่อที่
อยู่ภายในเครือข่ายหรือใช้เส้นทางการเชื่อมโยงเดียวกันจะเป็นหน้าที่ของชั้นดาต้าลิงค์ สาหรับข้อมูลที่ถูก
จัดการในชั้นนี้จะเป็นกลุ่มข้อมูลที่เรียกว่า "แพ็กเก็ต (packet)" ดังภาพที่ 4.8

ปริญญำ น้อยดอนไพร || กำรสื่อสำรข้อมูลและเครือข่ำย (Data Communication and Network)


บทที่ 4 แบบจำลองเครือข่ำยคอมพิวเตอร์ 93

จำกระดับชั้นทรำนสปอร์ต ไปยังระดับชั้นทรำนสปอร์ต

ระดับชั้น ระดับชั้น
H3 ข้อมูล แพ็กเก็ต H3 ข้อมูล แพ็กเก็ต
เน็ตเวิร์ก เน็ตเวิร์ก

ไปยังระดับชั้นดำต้ำลิงค์ จำกระดับชั้นดำต้ำลิงค์
ภำพที่ 4.8 แสดงการรับส่งข้อมูลในระดับชั้นเน็ตเวิร์ก
เมื่อได้รับข้อมูลจากชั้นทรานสปอร์ต ในระดับชั้นฟิสิคัลจะเพิ่มเติมข้อมูลในส่วนหัวเข้า
ไป ซึ่งข้อมูลดังกล่าวจะเป็นที่อยู่ในระดับลอจิคอล ที่จาเป็นต่อการส่งข้อมูลระหว่างเครือข่าย จากนั้นจึงส่ง
แพ็กเก็ตข้อมูลที่ถูกจัดการเรียบร้อยแล้วไปยังชั้นดาต้าลิงค์ สาหรับปลายทางในชั้นเน็ตเวิร์กเมื่อได้รับแพ็ก
เก็ตข้อมูลก็จะทาการถอดข้อมูลส่วนหัวออกและข้อมูลส่วนที่เหลือก็จะส่งไปยังชั้นทรานสปอร์ตต่อไป
ระดับชั้นเน็ตเวิร์กมีหน้าที่ดังต่อไปนี้
 กาหนดตาแหน่งทางตรรกะหรือลอจิคัลแอดเดรส (logical addressing) หรือไอพี
แอดเดรส (IP address) จากที่กล่าวมาแล้วว่าที่อยู่ทางกายภาพหรือฟิสิคัลแอดเดรสจะถูกกาหนดที่
ระดับชั้นดาต้าลิงค์ เพื่อระบุที่อยู่ของอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่เชื่อมอยู่บนระบบเครือข่ายเดียวกัน แต่ถ้าข้อมูล
แพ็ ก เก็ ต ใดๆ ต้ อ งการรั บ ส่ ง ข้ า มระบบเครื อ ข่ า ยก็ จ าเป็ น ต้ อ ง ทราบที่ อ ยู่ ข องอุ ป กรณ์ ห รื อ เครื่ อ ง
คอมพิวเตอร์ที่เชื่อมโยงอยู่ในอีกระบบเครือข่ายหนึ่ง ซึ่งที่อยู่ของอุปกรณ์สามารถ บอกความแตกต่าง
ระหว่างระบบเครือข่าย ต้นทางและระบบเครือข่ายปลายทางได้ ระดับชั้นเน็ตเวิร์ก จะทาการเพิ่มข้อมูลลง
ในส่วนหัวซึ่งประกอบด้วยที่อยู่ทางตรรกะหรือลอจิ คัลแอดเดรส (logical address) ของทั้งฝ่ายผู้ส่งและ
ฝ่ายผู้รับลงไปในแพ็กเก็ตข้อมูลที่มาจากระดับชั้นบน
 เลื อกเส้ น ทาง (routing) เมื่อระบบเครือข่ายหรือลิ งค์ถูกเชื่อมต่อเข้าด้ว ยกัน
(internetwork) เพื่อสร้างหรือขยายเครือข่ายให้มีขนาดใหญ่ขึ้น โดยทั่วไปจะมีการใช้อุปกรณ์เชื่อมต่อที่
เรียกว่า "เราท์เตอร์ (router)" หรือสวิตช์ (switches)" ทาหน้าที่จัดหรือกาหนดเส้นทางที่ดีที่สุดหรือ
เหมาะสมทีส่ ุด เพื่อให้สามารถส่งข้อมูลไปยังปลายทางได้อย่างรวดเร็ว
ภาพที่ 4.9 เป็ น การส่ ง ข้อ มูล จากเครื่ องต้น ทางซึ่ง มีที่ อยู่ร ะดั บเน็ ต เวิร์ กและระดั บ
ฟิสิคัล คือ A (Network Address) และ 13 (Physical Address) โดยต้องการส่งข้อมูลไปยังเครื่อง
ปลายทางที่อยู่ ในเครื อข่าย LAN อีกเครือข่ายหนึ่ง ซึ่งมีที่อยู่ระดับเน็ตเวิร์กและระดับฟิสิคัล คือ Z
(Network Address) และ 75 (Physical Address) เนื่องจากเครื่องทั้งสองนั้นอยู่ต่างเครือข่ายกันจึงไม่
สามารถใช้เพียงที่อยู่ในระดับฟิสิคัลได้ ในการรับส่งดังกล่าวจาเป็นต้องใช้ที่อยู่ ของระดับเน็ตเวิร์กและที่อยู่
ระดับฟิสิ คัล ควบคู่กัน โดยที่อยู่ร ะดับเน็ตเวิร์กนั้นจะสามารถระบุที่อยู่ของเครื่องปลายทางซึ่งอยู่นอก
เครือข่าย LAN ของตนได้ สาหรับที่อยู่ระดับเน็ตเวิร์กนี้จะบรรจุอยู่ในแพ็กเก็ตข้อมูลที่ถูกกาหนดขึ้นจาก
การทางานของชั้นติดต่อระดับเน็ตเวิร์ก ซึ่งที่อยู่ระดับเน็ตเวิร์กนั้นจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงใด ๆ เกิดขึ้นเมื่อ
เดินทางระหว่างเครือข่าย แต่สาหรับที่อยู่ระดับฟิสิคัลนั้นจะเปลี่ยนแปลงเสมอเมื่อเดินทางเข้าสู่เครือข่าย
ใหม่ เมื่อผ่านอุปกรณ์เชื่อมต่อของเครือข่ายนั้นที่อยู่ระดับฟิสิคัลจะถูกกาหนดขึ้นใหม่ตามรูปแบบของ
แต่ละเครือข่าย โดยสามารถอธิบายกระบวนการการรับส่งข้อมูล ได้ดังนี้

ปริญญำ น้อยดอนไพร || กำรสื่อสำรข้อมูลและเครือข่ำย (Data Communication and Network)


94 บทที่ 4 แบบจำลองเครือข่ำยคอมพิวเตอร์

A B C D

13 25 39 55
ต้นทำง
T2 Data A 13 21 E 21
L Router
M 59
T2 Data A 59 49
23
O
N Router
49
Y Z
44 X
67 75

T2 Data A Z 38 75 ปลำยทำง
ภำพที่ 4.9 ตัวอย่างการส่งข้อมูลจากต้นทางไปยังปลายทางในระดับชั้นเน็ตเวิร์ก
ที่มา: ดัดแปลงจาก สุธี พงศาสกุลชัยและคณะ. (2551: 26)
จากภาพที่ 4.9 สามารถสรุปลาดับขั้นตอนได้ ดังต่อไปนี้
1) ข้ อ มู ล จากเครื่ อ งต้ น ทางจะถู ก บรรจุ ด้ ว ยที่ อ ยู่ ร ะดั บ เน็ ต เวิ ร์ ก ของต้ น ทางและ
ปลายทาง คือ A และ Z สาหรับที่อยู่ในระดับฟิสิคัล คือ 13 และ 21 โดย 21 นั้นจะเป็นหมายเลขที่อยู่
ระดับฟิสิคัลของอุปกรณ์เราท์เตอร์ที่เชื่อมต่อระหว่างเครือข่ายอื่นซึ่งข้อมูลดังกล่าวจะต้องเดินทางผ่าน
เส้นทางนั้น
2) ข้อมูลจะถูกส่งจากเครื่องต้นทางไปยังเราท์เตอร์ เพื่อเดินทางออกจากเครือข่ายไป
ยังเครือข่ายอื่นที่เชื่อมต่ออยู่เพื่อหาเครือข่ายปลายทางที่ถูกต้อง เมื่อพบว่ายังไม่ใช่เครือข่ายปลายทางก็จะ
หาเส้นทางที่เชื่อมต่อไปยังเครือข่ายอื่นต่อไป
3) ข้อมูลที่เดินทางมายังเครือข่ายรูปวงแหวน จะต้องถูกเปลี่ยนที่อยู่ระดับฟิ สิคัลของ
ต้นทางและปลายทาง เนื่องจากเป็นที่อยู่ที่ใช้เฉพาะในเครือข่ายเดียวกัน คือ จาก 13 และ 21 เป็น 59
และ 49 โดย 59 เป็นที่อยู่ระดับฟิสิคัลของอุปกรณ์ซึ่งเป็นจุกที่ข้อมูลจากต้นทางเดินทางเข้ามาในเครือข่าย
ดังกล่าว และ 49 เป็นที่อยู่ระดับฟิสิคัลของอุปกรณ์ซึ่งเป็นจุดเชื่อมต่อไปยังเครือข่ายปลายทาง
4) จากนั้นข้อมูลจะเดินทางออกจากเครือข่ายวงแหวนโดยผ่านอุปกรณ์เชื่อมต่อกับอีก
เครื อข่ายหนึ่ ง ซึ่ งเป็ น เครื อข่ายปลายทางเมื่อข้อ มูล เข้าสู่ เครือข่า ยดังกล่ าวก็จะถูก เปลี่ ยนที่อยู่ระดั บ
ฟิสิคัลใหม่อีกครั้ง โดยในเครือข่ายปลายทางจะถูกเปลี่ยนจาก 59 และ 49 เป็น 38 และ 75 เนื่องจาก
ข้อมูลมีต้นทางจากอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อระหว่างเครือข่ายวงแหวนและเครือข่ายปลายทาง ซึ่ งจะพบว่าใน

ปริญญำ น้อยดอนไพร || กำรสื่อสำรข้อมูลและเครือข่ำย (Data Communication and Network)


บทที่ 4 แบบจำลองเครือข่ำยคอมพิวเตอร์ 95

เครือข่ายปลายทางมีเครื่องที่มีที่อยู่ระดับเน็ตเวิร์กตรงกับที่เครื่องต้นทางกาหนดไว้ ก็คือ เครื่องที่มีที่อยู่


ระดับฟิสิคัลเป็น 75 นั่นเอง
5) เมื่อแพ็กเก็ตข้อมูลตรวจพบเครื่องปลายทางโดยมีที่อยู่ระดับเครือข่ายตรงกับข้อมูล
ที่บรรจุมาจากต้นทาง คือ Z และได้มีการเปลี่ยนแปลงที่อยู่ระดับฟิสิคัลให้ตรงกับเครื่องปลายทางแล้ว
ข้อมูลก็จะเดินทางจากอุปกรณ์เชื่อมต่อที่ทาหน้าที่รับข้อมูลดังกล่าวเข้ามาในเครือข่ายส่งไปยังเครื่องที่มีที่
อยู่ระดับฟิสิคัลภายในเครือข่ายปลายทาง คือ 75 และมีที่อยู่ในระดับเครือข่ายตามที่ได้ ตรวจสอบแล้วใน
ข้างต้น ทาให้ข้อมูลที่ส่งมานั้นเดินทางไปยังเครื่องผู้รับได้อย่างถูกต้อง
ในการส่งข้อมูลไปยังเครื่องปลายทางนั้นชั้นเน็ตเวิร์กจะส่งแพ็กเก็ตข้อมูลให้กับชั้นดาต้า
ลิงค์ ซึ่งจะหาตาแหน่งของเครื่องด้วยที่อยู่ระดับฟิสิคัล แต่เมื่อต้องการส่งข้อมูลข้ามไปยั งเครือข่ายอื่นแล้ว
ที่อยู่ระดับฟิสิคัลเดิมจะถูกเปลี่ยนแปลงให้เข้ากับเครือข่ายนั้นด้วย โดยอุปกรณ์เชื่อมต่อระหว่างเครือข่าย
เช่น เราท์เตอร์ จะมีหน้าที่ในการค้นหาเครื่องของผู้รับที่ถูกต้อง โดยจะทาการจัดเก็บตารางเส้นทางไว้เพื่อ
ใช้ค้นหาว่ามีเครื่องปลายทางเชื่อมต่ออยู่ภายในเครือข่ายของตนหรือไม่ หากไม่มีก็จะดูเส้นทางอื่นและส่ง
ต่อไปยังอุปกรณ์เชื่อมต่อระหว่างเครือข่ายต่อไป
4) ระดับชั้นทรำนสปอร์ต
ในขณะที่ระดับชั้นเน็ตเวิร์กทาหน้าที่ดูแลการส่งข้อมูลแต่ละแพ็กเก็ตจากต้นทางไปยัง
ปลายทางข้ามเครือข่ายโดยไม่คานึงถึงความสัมพันธ์ระหว่างแพ็กเก็ตเหล่านั้น แต่สาหรับในระดับชั้นทราน
สปอร์ต ซึ่งทาหน้าที่ส่งข้อมูลทั้งหมดจากต้นทางไปยังปลายทาง (โดยปกติจะมีมากกว่า 1 แพ็กเก็ต) และ
รั บ ประกัน ว่าข้อมูล ทั้งหมดจะมาถึงตามล าดับและสมบูรณ์ อีกทั้งมีการควบคุมทั้งการไหลและความ
ผิดพลาดของข้อมูลจากต้นทางไปยังปลายทาง

จำกระดับชั้นเซสชัน ไปยังระดับชั้นเซสชัน

ระดับชั้น ระดับชั้น
H4 ข้อมูล H4 ข้อมูล H4 ข้อมูล H4 ข้อมูล
ทรำนสปอร์ต ทรำนสปอร์ต
เซ็กเมนต์ เซ็กเมนต์
ไปยังระดับชั้นเน็ตเวิร์ก จำกระดับชั้นเน็ตเวิร์ก
ภำพที่ 4.10 แสดงการรับส่งข้อมูลในระดับชั้นทรานสปอร์ต
ระดับชั้นทรานสปอร์ตทาหน้าที่ดังต่อไปนี้
 แบ่งเซ็กเมนต์และรวมรวมเซ็กเมนต์ (Segmentation and reassembly ) ข้อมูล
จะถูกแบ่งออกเป็นเซ็กเมนต์ (segment) โดยแต่ละเซ็กเมนต์จะบรรจุระดับที่ ซึ่งระดับที่เหล่านี้ ทาให้
ระดับชั้นทรานสปอร์ตสามารถรวบรวมเซ็กเมนต์กลับเป็นข้อมูลได้ถูกต้องเหมือนเดิมที่ปลายทาง และ
สามารถระบุหรือแทนที่แพ็กเก็ตที่สูญหายในระหว่างการส่งได้ด้วย
 ก าหนดต าแหน่ ง ที่ อ ยู่ ข องเซอร์ วิ ส พอยน์ (service-point addressing)
คอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่ง ๆ มักจะประมวลผลโปรแกรมหลาย ๆ โปรแกรมในเวลาเดียวกัน ด้วยเหตุผลนี้
การรับส่งข้อมูลจากต้นทางไปยังหลายทางไม่ได้หมายถึงแต่เพียงการส่งข้อมูลจากคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่ง
ไปยังการประมวลผลบนคอมพิวเตอร์อีกเครื่องหนึ่งด้วย โดยที่ส่วนหัวของระดับชั้นทรานสปอร์ตต้องระบุที่
อยู่เรียกว่า เซอร์วิสพอยน์ หรือ พอร์ตแอดเดรส

ปริญญำ น้อยดอนไพร || กำรสื่อสำรข้อมูลและเครือข่ำย (Data Communication and Network)


96 บทที่ 4 แบบจำลองเครือข่ำยคอมพิวเตอร์

 ควบคุมการติดต่อ (connection control) การติดต่อสื่อสารบนชั้นทรานสปอร์ ต


สามารถติดต่อได้ทั้งรูปแบบคอนเนคชันเลส (connectionless) คอนเนคโอเรียนเต็ด (connection-
oriented) ซึ่งคอนเนคชันเลสเป็นการเชื่อมต่อโดยข้อมูลในแต่ละเซ็กเมนต์จะถูกส่งไปยังระดับชั้นทราน
สปอร์ตแบบอิสระไม่ขึ้นต่อกัน ส่วนการเชื่อมต่อแบบคอนเนคชันโอเรียนเต็ดนั้น ระดับชั้นทรานสปอร์ตที่
เครื่องคอมพิวเตอร์ต้นทางทาการเชื่อมต่อกับระดับ ชั้นทรานสปอร์ตที่เครื่องคอมพิวเตอร์ ปลายทางก่อนที่
จะส่งแพ็กเก็ตข้อมูล และหลังจากที่แพ็กเก็ตข้อมูลถูกส่งเรียบร้อยแล้ว การเชื่อมต่อก็จะสิ้นสุดลง
 ควบคุมข้อผิดพลาด (flow control) การควบคุมการไหลของข้อมูลในระดับชั้น
ทรานสปอร์ตมีลักษณะคล้ายคลึงกับระดับชั้นดาต้าลิงค์ที่ใช้ควบคุมการไหลของข้อมูลระหว่างฝ่ายผู้ส่งและ
ฝ่ายผู้รับ แต่การควบคุมการไหลของข้อมูลในระดับชั้นนี้จะทาในลักษณะจากต้นทางไปปลายทาง
 ควบคุมข้อผิดพลาด (error control) การควบคุมข้อผิดพลาดของระดับชั้นทราน
สปอร์ตมีลักษณะคล้ายคลึงกับระดับชั้นดาต้าลิงค์ที่ใช้ควบคุ มข้อผิดพลาดระหว่างฝ่ายผู้ส่งและฝ่ายผู้รับ
แต่ก ารควบคุม ข้อ ผิ ดพลาดของข้ อมู ล ในระดับชั้ นนี้ จะทาในลั กษณะโพรเชสทูโ พรเชส (process-to-
process) หรือระหว่างกระบวนการกับกระบวนการมากกว่าการส่งผ่านบนลิงค์เดียวกัน การส่งข้อมูลใน
ระดับชั้นทรานสปอร์ต ช่วยสร้างความมั่นใจในการส่งข้อมูลไปยังฝ่ายผู้รับโดยปราศจากข้อผิดพลาดใดๆ
ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลที่ถูกทาลาย สูญหายบางส่วน ซ้าซ้อนก็ตาม
5) ระดับชั้นเซสชัน
ระดับ ชั้นเซสชัน เป็น ชั้นควบคุมการติดต่อสื่อสารผ่านเครือข่ายระหว่างต้นทางและ
ปลายทาง โดยมีหน้าที่ในการดูแลและควบคุมกระบวนการสื่อสารในขณะนั้น ซึ่งกระบวนการที่เกิดขึ้น
ในช่วงใดช่วงหนึ่งเรียกว่า "เซสชัน (Session)" ทาให้แต่ละเซสชันทราบว่าจะเริ่มหรือหยุดเมื่อใดและรอ
คอยคาสั่งในการดาเนินงานต่อไป สาหรับชั้นเซสชันนี้อาจหมายถึง ชั้นควบคุมลาดับคาสั่งของเครือข่าย
(Network Dialog Controller)
ระดับชั้นเชสชัน มีหน้าที่ดังต่อไปนี้
 ควบคุมไดอะล๊อก (dialog control) ระดับชั้นเชสชันจะอนุญาตให้ระบบเครือข่าย
คอมพิ ว เตอร์ ส องระบบโต้ ต อบกั น และในการติ ด ต่ อ สื่ อ สารระหว่ า งกระบวนการประมวลผลสอง
กระบวนการ สามารถเป็นแบบฮาร์ฟดูเพล็กซ์ (การสื่อสารทางเดียว) หรือ ฟูลดูเพล็กซ์ (การสื่อสารสอง
ทาง) ก็ ไ ด้ เ ช่ น ไดอะล็ อ กการโต้ ต อบระหว่ า งเครื่ อ งเทอร์ มิ นั ล (terminal) กั บ เครื่ อ งเมนเฟรม
(mainframe) สามารถเป็นฮาร์ฟดูเพล็กซ์ เป็นต้น
 ควบคุมจังหวะในการรับส่งข้อมูลหรือเรียกว่าการซิงโครไนเซชัน (synchronization)
โดยในระหว่างกระบวนการติดต่อสื่อสารจะมีการกาหนดจุดตรวจสอบ (checkpoints/synchronization
points) ขึ้น เพื่อเป็นการตรวจสอบการรับส่งข้อมูลและป้องกันการสูญหายของข้อมูลบางส่วนที่อาจเกิดขึ้น
ในระหว่างการติดต่อสื่อสาร เช่น ระบบทาการส่งแฟ้มข้อมูลมีความยาวประมาณ 2,000 หน้า โดยกาหนด
จุดตรวจสอบหลังจากการส่งทุก ๆ 100 หน้า เพื่อเป็นการรับประกันว่า ข้อมูลในแต่ละ 100 หน้า ฝ่ายรับ
สามารถรับได้ในกรณี ถ้ามีปัญหาเกิดขึ้นระหว่างการส่งหน้าที่ 654 ขึ้นก็จะมีการส่งข้อมูลตั้งแต่หน้าที่ 601-
701 ซ้า ขณะที่หน้า 1 ถึง หน้า 600 ไม่จาเป็นต้องส่งซ้า

ปริญญำ น้อยดอนไพร || กำรสื่อสำรข้อมูลและเครือข่ำย (Data Communication and Network)


บทที่ 4 แบบจำลองเครือข่ำยคอมพิวเตอร์ 97

จำกระดับชั้นพรีเซนเตชัน ไปยังระดับชั้นพรีเซนเตชัน

ระดับชั้น H5 ข้อมูล ข้อมูล H5 ข้อมูล ข้อมูล ระดับชั้น


เซสชัน เซสชัน
syn syn syn syn

ไปยังระดับชั้นทรำนสปอร์ต ไปยังระดับชั้นทรำนสปอร์ต
ภำพที่ 4.11 แสดงการรับส่งข้อมูลในระดับชั้นเซสชัน
6) ระดับชั้นพรีเซ็นเตชัน
ระดับชั้นนี้จะเกี่ยวข้องกับไวยากรณ์ (syntax) และความหมาย (semantics) ของ
ข้อมูลที่รับส่งแลกเปลี่ยนกันระหว่างระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์สองระบบ เช่น การแปลความหมาย
ข้อมูล การเข้ารหัสข้อมูล การถอดรหัสข้อมูล การบีบอัดข้อมูล ฯลฯ ดังภาพที่ 4.12
จากระดับชั้นแอพพลิเคชัน ไปยังระดับชั้นแอพพลิเคชัน

H6 การเข้ารหัสและบีบอัด H6 การเข้ารหัสและบีบอัด
ข้อมูล ข้อมูล

ไปยังระดับชั้นเซสชัน จากระดับชั้นเซสชัน
ภำพที่ 4.12 แสดงการรับส่งข้อมูลในระดับชั้นพรีเซนเตชัน
ระดับชั้นพรีเซนเตชันจะเกี่ยวข้องกับหน้าที่ต่อไปนี้
 การแปล (translation) การประมวลผลในสองระบบจะแลกเปลี่ยนข้อมูลในรูปแบบ
ของข้อความ ตัวเลขและอื่นๆ ข้อมูลควรจะถูกเปลี่ยนแปลงให้อยู่ในรูปของบิตก่อนที่จะถูกส่ง เนื่องจากเครื่อง
คอมพิ วเตอร์ แต่ละเครื่ องมั กจะใช้ ระบบเข้ ารหั สที่ แตกต่ างกัน ดั งนั้ นระดับชั้นพรี เซนเตชัน จึ งมี หน้ าที่
รับผิดชอบการทางานระหว่างวิธีการเข้ามักจะใช้ระบบเข้ารหัสที่แตกต่างกัน ดังนั้นระดับชั้นพรีเซนเตชันที่
ฝ่ายผู้ส่งเปลี่ยนแปลงข้อมูลจากรูปแบบของผู้ส่งเป็นรูปแบบที่ใช้ร่วมกัน (common format) จากนั้น
ระดับชั้นพรีเซนเตชันที่ฝ่ายผู้รับจะเปลี่ยนข้อมูลจากรูปแบบที่ใช้ร่วมกันเป็นข้อมูลในรูปแบบของผู้รับ
 การเข้ารหัส (encryption) หมายถึง ฝ่ายผู้ส่งเปลี่ยนข้อมูลต้นฉบับไปเป็นข้อมูลอีก
รูปแบบหนึ่งและทาการส่งข้อมูลดังกล่าวผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เมื่อข้อมูลไปถึงฝ่ายผู้รับ ๆ จะทา
การถอดรหัสข้อมูลให้กลับเป็นข้อมูลต้นฉบับตามเดิม การถอดรหัสข้อมูล (decryption) หมายถึง การที่ผู้รับ
แปลงกลับข้อมูลที่ได้รับเป็นข้อมูลเดิมอีกครั้ง

ปริญญำ น้อยดอนไพร || กำรสื่อสำรข้อมูลและเครือข่ำย (Data Communication and Network)


98 บทที่ 4 แบบจำลองเครือข่ำยคอมพิวเตอร์

 การบีบอัดข้อมูล (compression) การบีบอัดข้อมูล หมายถึง การทาให้ขนาดข้อมูลที่


จะส่งมีขนาดเล็กลงโดยลดจานวนของบิตที่จะส่ง การบีบอัดข้อมูลกลายเป็นส่วนสาคัญในการส่งข้อมูลที่อยู่ใน
รูปแบบของมัลติมีเดีย เช่น ตัวอักษร เสียง และ วีดิทัศน์ เป็นต้น
7) ระดับชั้นแอพพลิเคชัน
ระดับชั้นแอพพลิเคชันทาให้ผู้ใช้ (ซึ่งอาจเป็นคนหรือซอฟต์แวร์) สามารถเข้าถึงระบบ
เครือข่ายคอมพิวเตอร์ได้ โดยจะจัดหาส่วนต่อประสานผู้ใช้ (user interface) สาหรับติดต่อกับระบบ
เครือข่ายให้แก่ผู้ใช้ และสนับสนุนงานบริการต่าง ๆ เช่น การส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ หรื อการเข้าถึง
แฟ้มข้อมูลระยะไกล (remote file access) การแบ่งปันฐานข้อมูล และการบริการอื่น ๆ

ผู้ส่ง ผู้รับ

จากโปรแกรมประยุกต์ ไปยังโปรแกรมประยุกต์

H7 การเข้ารหัสและบีบอัด H7 การเข้ารหัสและบีบอัด
ข้อมูล ข้อมูล

ไปยังระดับชั้นพรีเซ็นเตชัน จากระดับชั้นพรีเซ็นเตชัน
ภำพที่ 4.13 แสดงการรับส่งข้อมูลในระดับชั้นแอพพลิเคชัน
สาหรับชั้นติดต่อระดับแอพพลิเคชันจะเป็นการติดต่อระหว่างผู้ใช้กับแอพพลิเคชัน เมื่อ
ผู้ใช้ทาการป้อนข้อมูลที่ต้องการส่งผ่านแอพพลิเคชันแล้ว ข้อมูลดังกล่าวจะถูกส่งไปยังชั้ นพรีเซนเตชัน
เพื่อเตรียมการเข้ารหัสและบีบข้อมูลต่อไป และในชั้นติดต่อระดับแอพพลิเคชันของปลายทางข้อมูลที่ผ่าน
การถอดรหัสและคลายข้อมูลจากชั้นพรีเซนเตชันแล้ว จะถูกนามาประมวลผลโดยแอพพลิเคชันหรือบริการ
ต่าง ๆ ที่เหมือนกับต้นทาง ทาให้ข้อมูลส่งมาตอบสนองต่อผู้ใช้ที่เครื่องปลายทางหรือผู้รับได้ตรงตามความ
ต้องการของผู้ส่ง กล่าวคือ แอพพลิเคชันหรือบริการจะเป็นตัวตอบสนองและนาเสนอข้อมูลจากผู้ส่งต่อ
ผู้รับนั่นเอง
ทั้งหมดที่กล่าวมานั้นเป็นการทางานและความสาคัญของแต่ละชั้นในแบบจาลองโอเอสไอ
โดยแต่ละชั้นจะมีการเพิ่มเติมข้อมูลต่างๆ ที่จาเป็นต่อการรับส่งข้อมูลหรือติดต่อสื่อสารจากเครื่องต้นทาง
ไปยังเครื่องปลายทาง ซึ่งแบบจาลองโอเอสไอ นั้นช่วยเป็นต้นแบบทาให้การพัฒนาโปรโตคอลเป็นไปใน
ทิศทางเดียวกันและมีรูปแบบที่เป็นมาตรฐาน
ตัว อย่ างของการติดต่อสื่อสารด้วยมาตรฐานโอเอสไอ คือ การส่ งข้อมูลระหว่าง
แอพพลิเคชัน หากผู้ส่งต้องการส่งข้อความ (Message) ไปยังผู้รับจะมีขั้นตอนการทางาน คือ โปรแกรม
ประยุกต์จะรับข้อมูลจากผู้ส่งซึ่งอยู่ในชั้นติดต่อระดับแอพพลิเคชันโดยจะแนบข้อมูลส่วนหั วที่เรียกว่ า
"ส่ ว นหั ว (Header)" ในระดั บ ชั้น ของตนไว้กั บข้ อมูล ต้น ฉบับ เพื่อให้ เป็ นระเบี ยบแบบแผนในการ

ปริญญำ น้อยดอนไพร || กำรสื่อสำรข้อมูลและเครือข่ำย (Data Communication and Network)


บทที่ 4 แบบจำลองเครือข่ำยคอมพิวเตอร์ 99

ติดต่อสื่อสารกับชั้นติดต่อรับแอพพลิเคชันของฝั่งผู้รับข้อมูล จากนั้นส่งข้อมูลให้กับระดับล่างซึ่งแต่ล ะ
ระดับชั้นจะแนบข้อมูลส่วนหัวของตนเองไปกับข้อมูลที่ตนได้รับมาจากชั้นสื่อสารที่อยู่ด้านบน เมื่อข้อมูลถึง
ขั้นติดต่อระดับฟิสิคัลแล้ว ข้อมูลทั้งหมดจะถูกส่งไปตามสายสัญญาณให้กับโหนดที่อยู่ติดกันจนกว่าจะถึง
โหนดปลายทางที่เป็นผู้รับข้อมูล เมื่อชั้นติดต่อระดับฟิสิคัลของผู้รับได้รับบิตข้อมูลแล้ว จะส่งต่อไปยังชั้น
ดาต้าลิงค์จากนั้นใช้ข้อมูลส่วนหัวเพื่อตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลแล้วถอดข้อมูลส่วนหัว (Header)
ในชั้นสื่อสารของตนออกและส่งต่อไปยังชั้นติดต่อระดับเน็ตเวิร์ก ซึ่งจะนาข้อมูลส่วนหัวในระดับชั้นของตน
มาตรวจสอบเครื่องคอมพิวเตอร์ของตนว่าเป็นโหนดปลายทางหรือไม่ หากเครื่องของตนเองไม่ใช่ โหนด
ปลายทางจะทาการค้นหาเส้นทางจากโหนดที่อยู่ติดกันเพื่อส่งข้อมูลไปยังเครื่องที่ถูกต้อง แต่ถ้าเครื่องของ
ตนเป็นเครื่องปลายทางจะถอดส่วนหัวในระดับชั้นของตนออกแล้วส่งข้อมูลให้กับระดับชั้นที่อยู่สูงกว่า โดย
ระดับชั้นทรานสปอร์ต ระดับชั้นเซสชัน และระดับชั้นพรีเซนเตชัน จะทางานในลักษณะดังกล่าวโดยใช้
ข้อมูลส่วนหัวในระดับชั้นของตนเพื่อตรวจสอบและควบคุมข้อมูล จนกว่าข้อมูลจะถูกส่งไปถึงชั้นติดต่อ
ระดับแอพพลิเคชัน เมื่อชั้นติดต่อระดับแอพพลิเคชันได้รับข้อมูล แล้วจะถอดข้อมูลส่วนหัวของตนออก ทา
ให้เหลือแต่ข้อมูลจริง

ภำพที่ 4.14 แสดงการส่งข้อมูลตามมาตรฐานโอเอสไอ


ที่มา: Tamara Dean. (2009: 57).

กิจกรรมที่ 4.1
1. แบบจาลองโอเอสไอคืออะไร และแบ่งออกเป็นกี่ระดับชั้น
2. จงอธิบายสถาปัตยกรรมระดับชั้นในแบบจาลองโอเอสไอ
3. จงอธิบายการทางานของระดับชั้นเซสชัน
4. จงอธิบายการทางานของระดับชั้นพรีเซนเตชัน
5. จงอธิบายการทางานของระดับชั้นแอพพลิเคชัน

ปริญญำ น้อยดอนไพร || กำรสื่อสำรข้อมูลและเครือข่ำย (Data Communication and Network)


100 บทที่ 4 แบบจำลองเครือข่ำยคอมพิวเตอร์

4.2 แบบจำลองทีซีพ/ี ไอพี


หัวข้อเนื้อหำย่อย
4.2.1 แนวคิดทั่วไปเกี่ยวกับแบบจาลองทีซีพี/ไอพี
4.2.2 ระดับชั้นของแบบจาลองทีซีพี/ไอพี
4.2.3 แบบจาลองทีซีพี/ไอพี และการเอ็นแคปซูเลชั่นและดีแคปซูเลชั่น
4.2.4 ตัวอย่างการรับส่งข้อมูลด้วยแบบจาลองทีซีพี/ไอพี
แนวคิด
1. แบบจาลองทีซีพี/ไอพี คือ ชุดของแบบจาลองที่ถูกพัฒนาขึ้นมา เพื่อใช้สาหรับการแลกเปลี่ยน
ข้อมูลบนเครื อข่ายอิน เทอร์ เน็ต และประกอบด้ว ยระดับชั้นต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกันแต่ล ะระดับชั้นของ
แบบจาลองทีซีพ/ี ไอพี จะประกอบด้วยโปรโตคอลอิสระต่าง ๆ อยู่ด้วยกัน
2. แบบจาลองทีซีพี/ไอพี ประกอบด้วยระดับชั้นทั้งหมด 4 ชั้น ได้แก่ 1) ชั้นควบคุมการติดต่อ
ระดับเครือข่าย (Host-to-Network Layer) 2) ชั้นติดต่อระดับเครือข่ายอินเทอร์เน็ต (Internet Layer)
3) ชั้นขนส่งข้อมูล (Transport Layer) และ 4) ชั้นติดต่อระดับแอพพลิเคชัน (Application Layer)

วัตถุประสงค์
เมื่อศึกษาหัวข้อเนื้อหาหลักที่ 4.2 จบแล้ว ผู้เรียนสามารถอธิบายหัวข้อต่อไปนี้ได้
1. ความหมายของแบบจาลองทีซีพี/ไอพี
2. ความแตกต่างระหว่างแบบจาลองโอเอสไอและแบบจาลองทีซีพี/ไอพี

ปริญญำ น้อยดอนไพร || กำรสื่อสำรข้อมูลและเครือข่ำย (Data Communication and Network)


บทที่ 4 แบบจำลองเครือข่ำยคอมพิวเตอร์ 101

4.2.1 แนวคิดทั่วไปเกี่ยวกับแบบจำลองทีซีพี/ไอพี
แบบจาลองทีซีพี/ไอพี (TCP/IP: Transmission Control Protocol/Internet Protocol)
เป็นชุดแบบจาลองที่ได้รับการพัฒนามาจากระบบเครือข่ายที่ชื่อ "อาร์พาเน็ต (ARPANET)" ซึ่งได้รับการ
สนับสนุนทุนจากกระทรวงกลาโหมสหรัฐอเมริกา โดยในช่วงแรก อาร์พาเน็ต มีวัตถุประสงค์เพื่อเชื่อมโยง
การติดต่อสื่อสารระหว่า งคอมพิวเตอร์ในมหาวิทยาลัยและหน่วยงานของรัฐด้วยการใช้สายเช่าโทรศัพท์
(Leased Line) เพื่อเชื่อมโยงเครือข่าย ต่อมาได้มีการนาระบบสื่อสารด้วยคลื่นวิทยุและดาวเทียมมาใช้งาน
ในระบบ ทาให้ระเบียบแบบแผนในการติดต่อสื่อสารที่มีอยู่เดิมไม่สามารถนามาใช้งานได้ จึงจาเป็นต้องมี
การปรับเปลี่ยนข้อตกลงและสถาปัตยกรรมเครือข่าย โดยมีวัตถุประสงค์หลัก คือ เชื่อมต่อระบบที่มีความ
แตกต่างกันให้สามารถติดต่อสื่อสารกันได้ จนปี ค.ศ.1974 ได้เกิดโปรโตคอลที่ชื่อว่า ทีซีพี/ไอพี ขึ้นมา และ
ได้พัฒนาการทางานในด้านต่าง ๆ ของทีซีพี/ไอพี จนเสร็จสมบูรณ์ในปี ค.ศ.1988 โดยเรียกแบบจาลอง
ดังกล่ าวว่า แบบจ าลองทีซีพี/ไอพี (TCP/IP Model) หรือแบบจาลองอ้างอิงเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
(Internet Reference Model) สามารถนามาเปรียบเทียบกับแบบจาลองโอเอสไอ ได้ดังภาพที่ 4.15
แบบจำลองโอเอสไอ แบบจำลองทีซีพี/ไอพี
Application Layer Application Layer
Presentation Layer
Session Layer
Transport Layer Transport Layer
Network Layer Internet Layer
Data Link Layer
Host-to-Network Layer
Physical Layer
ภำพที่ 4.15 แสดงการเปรียบเทียบแบบจาลองโอเอสไอกับแบบจาลองทีซีพี/ไอพี
ทีซีพี/ไอพี มีจุดประสงค์ของการสื่อสารตามมาตรฐาน ดังนี้ (ชวลิต ทินกรสูติบุตร, 2554)
1) เพื่อใช้ติดต่อสื่อสารระหว่างระบบที่มีความแตกต่างกัน
2) ความสามารถในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในระบบเครือข่าย เช่นในกรณีที่ผู้ส่งและผู้รับ
ยังคงมีการติดต่อกันอยู่ แต่โ หนดกลางที่ใช้เป็นผู้ช่ว ยรับ -ส่ง เกิดเสียหายใช้ งานไม่ได้ หรือสายสื่ อสาร
บางช่วงถูกตัดขาด กฎการสื่อสารนี้จะต้องสามารถจัดหาทางเลือกอื่นเพื่อทาให้การสื่อสารดาเนินต่อไปได้
โดยอัตโนมัติ
3) มีความคล่องตัวต่อการสื่อสารข้อมูลได้หลายชนิดทั้งแบบที่ไม่มีความเร่งด่วน เช่น การ
จัดส่งแฟ้มข้อมูล และแบบที่ต้องการรับประกันความเร่งด่วนของข้อมูล เช่น การสื่อสารแบบเรียลไทม์
(real-time) และทั้งการสื่อสารแบบเสียง (Voice) และข้อมูล (data)
4.2.2 ระดับชั้นของแบบจำลองทีซีพี/ไอพี
ระดับชั้นของแบบจาลองทีซีพี/ไอพี ประกอบด้วยระดับชั้นทั้งหมด 4 ชั้น ได้แก่ 1) ชั้น
ควบคุมการติดต่อระดับเครือข่าย (Host-to-Network Layer) 2) ชั้นติดต่อระดับเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
(Internet Layer) 3) ชั้นขนส่งข้อมูล (Transport Layer) และ 4) ชั้นติดต่อระดับแอพพลิเคชัน
(Application Layer) ซึ่งในแต่ละลาดับชั้นมีหน้าที่แตกต่างกัน โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
1) ชั้นควบคุมการติดต่อระดับเครือข่าย (Host-to-Network Layer) เป็นชั้นที่ไม่ได้
กาหนดรายละเอียดอย่างเป็นทางการไว้ หน้าที่หลักของชั้ นสื่อสารนี้ คือ รับข้อมูลจากชั้นติดต่อระดับ

ปริญญำ น้อยดอนไพร || กำรสื่อสำรข้อมูลและเครือข่ำย (Data Communication and Network)


102 บทที่ 4 แบบจำลองเครือข่ำยคอมพิวเตอร์

เครือข่ายอินเทอร์เน็ต (Internet Layer) แล้วส่งไปยังโหนดปลายทางตามเส้นทางที่กาหนดไว้ เมื่อผู้รับ


ได้ รั บ ข้ อ มู ล แล้ ว ชั้ น ควบคุ ม การติ ด ต่ อ ระดั บ เครื อ ข่ า ยจะส่ ง ข้ อ มู ล ให้ กั บ ชั้ น ติ ด ต่ อ ระดั บ เครื อ ข่ า ย
อินเทอร์เน็ตต่อไป
2) ชั้นติดต่อระดับเครือข่ายอินเทอร์เน็ต (Internet Layer) ในชั้นนี้จะใช้วิธีการส่งข้อมูลที่
เรียกว่า "ระบบเครือข่ายแบบสลับช่องสื่อสารระดับแพ็กเก็ต (Packet Switching Network)" ซึ่งเป็นการ
ติดต่อสื่อสารแบบไม่ต่อเนื่อง หรือเรียกว่า "Connectionless" และไม่มีการประกันความถูกต้องของข้อมูล
โดยเครื่องต้นทางจะส่งข้อมูลขนาดเล็กที่เรียกว่า "แพ็กเก็ต" ไปยังเครือข่ายใด ๆ ในระบบอย่างอิสระ
จนกว่าแพ็กเก็ตข้อมูลจะถึงปลายทาง หากมีการส่งกลุ่มของแพ็กเก็ตต่อเนื่องที่เป็นชุดข้อมูลเดียวกัน การ
เดินทางของแต่ละแพ็กเก็ตก็ยัง ทางานอย่างเป็นอิสระต่อกัน ดังนั้น แอพพลิเคชันของฝั่งผู้รับจาเป็นต้อง
ตรวจสอบและจัดเรียงแพ็กเก็ตให้ถูกต้องก่อนนาข้อมูลไปใช้งาน โดยชั้นติดต่อระดับเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
จะกาหนดกฎเกณฑ์การติดต่อสื่อสารด้วยโปรโตคอลไอพี (IP Protocol)
2.1) โปรโตคอลไอพี (IP: Internet Protocol)
โปรโตคอลไอพี เป็นโปรโตคอลในระดับเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ทาหน้าที่จัดการ
เกี่ย วกับ แอดเดรสและข้อ มูล และควบคุม การส่ งข้ อมูล บางอย่า งที่ ใช้ใ นการหาเส้ น ทางของแพ็ก เก็ ต
ซึ่งกลไกในการหาเส้นทางของโปรโตคอลไอพีจะมีความสามารถในการหาเส้นทางที่ดีที่สุด และสามารถ
เปลี่ยนแปลงเส้นทางได้ในระหว่างการส่งข้อมูล และมีระบบการแยกและประกอบดาต้าแกรม (datagram)
เพื่อรองรับการส่งข้อมูลระดับ ดาต้าลิงค์ (data link) ที่มีขนาดของเอ็มทียู (MTU : Maximum
Transmission Unit) ที่แตกต่างกัน ทาให้สามารถนาโปรโตคอลไอพีไปใช้บนโปรโตคอลอื่นได้หลากหลาย
เช่น อีเทอร์เน็ต (Ethernet), โทเค็นริง (Token Ring) หรือ แอปเปิ้ลทอร์ค (Apple Talk) เป็นต้น
2.2) โปรโตคอลไอซีเอ็มพี (ICMP: Internet Control Message Protocol)
โปรโตคอลไอซีเอ็มพีเป็นโปรโตคอลที่ใช้ในการตรวจสอบและรายงานสถานภาพ
ของดาต้าแกรม (Datagram) ในกรณีที่เกิดปัญหากับดาต้าแกรม เช่น เราเตอร์ไม่สามารถส่งดาต้าแกรมไป
ถึงปลายทางได้ โปรโตคอลไอซีเอ็มพี จะถูกส่งออกไปยังโฮสต้นทางเพื่อรายงานข้อผิ ดพลาด ที่เกิดขึ้น
อย่างไรก็ดี ไม่มีอะไรรับประกัน ได้ว่า ICMP Message ที่ส่ งไปจะถึงผู้รั บจริงหรือไม่ หากมีการส่ ง
ดาต้าแกรมออกไปแล้วไม่มี ICMP Message ฟ้องข้อผิดพลาด (Error) กลับมา ก็แปลความหมายได้สอง
กรณี คื อ ข้ อ มู ล ถู ก ส่ ง ไปถึ ง ปลายทางอย่ า งเรี ย บร้ อ ย หรื อ อาจจะมี ปั ญ หา ในการสื่ อ สารทั้ ง การส่ ง
ดาต้าแกรม และ ICMP Message ที่ส่งกลับมาก็มีปัญหาระว่างทางก็ได้ โปรโตคอลไอซีเอ็มพี จึงเป็น
โปรโตคอลที่ไม่มีความน่าเชื่อถือ (unreliable) ซึ่งจะเป็นหน้าที่ของ โปรโตคอลในระดับสูงกว่า ระดับชั้น
เครือข่าย ในการจัดการให้การสื่อสารนั้น ๆ มีความน่าเชื่อถือ
3) ชั้นขนส่งข้อมูล (Transport Layer) เป็นชั้นที่ทาหน้าที่ควบคุมการขนส่งข้อมูลจากต้น
ทางไปยั ง ปลายทาง และตรวจสอบความถู ก ต้ อ งของแพ็ ก เก็ ต ข้ อ มู ล เหมื อ นกั บ ชั้ น ขนส่ ง ข้ อ มู ล ของ
แบบจ าลองโอเอสไอ โดยมีโ ปรโตคอลที่สามารถใช้งานได้ 2 ชนิด คือ ทีซีพี ซึ่งใช้วิธีส่งข้อมูลแบบ
Connection-Oriented ที่มีการควบคุมความถูกต้องและการไหลของข้อมูลให้มีความเหมาะสม ส่วน
โปรโตคอลอีกชนิด คือ ยูดีพี (UDP: User Datagram Protocol) ซึ่งใช้วิธีส่งข้อมูลแบบ Connectionless
ที่ไม่มีการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล

ปริญญำ น้อยดอนไพร || กำรสื่อสำรข้อมูลและเครือข่ำย (Data Communication and Network)


บทที่ 4 แบบจำลองเครือข่ำยคอมพิวเตอร์ 103

3.1) การสื่อสารของทีซีพี
โฮสต์ 1 โฮสต์ 2 โฮสต์ 1 โฮสต์ 2

(A) (B)
ภำพที่ 4.16 การสื่อสารของโปรโตคอลทีซีพี
ที่มา: ดัดแปลงจาก ชวลิต ทินกรสูติบุตร. (2554).
เมื่อเซกเมนต์ CONNECT (SYN = "1" และ ACK = "0") เดินทางมาถึง Entity
TCP ที่โฮสต์ปลายทางจะค้นหาโพรเซสตามหมายเลขพอร์ตที่กาหนดในเขตข้อมูล Destination port
ซึ่งถ้าหากไม่พบก็จะตอบปฏิเสธด้วยเซกเมนต์ที่มี RST = "1" กลับไปยังผู้ส่ง เซกเมนต์ CONNECT ของ
ผู้ ส่ งจะถู กส่ งต่อไปยั งโพรเซส ตามพอร์ต ที่ระบุซึ่ง อาจจะตอบรับหรือตอบปฏิเสธก็ไ ด้ ถ้าโพรเซสนั้ น
ต้องการสื่อสารด้วยก็จะส่งเซกเมนต์ตอบรับกลับไป ดังภาพที่ 4.16 (A) แสดงลาดับขั้นตอนการส่ ง
โปรโตคอลทีซีพี เซกเมนต์ในการสร้างการเชื่อมต่อในสภาวะปกติระหว่างผู้ส่งและผู้รับ
ในกรณีที่โฮสต์สองแห่งพยายามสร้างการเชื่อมต่อระหว่างซ็อคเก็ตคู่เดียวกันจะ
เกิดเป็นลาดับขั้นตอนแสดงในภาพที่ 4.16 (B) ผลสุดท้ายจะมีการเชื่อมต่อเกิดขึ้นเพียงหนึ่งช่องทางเท่านั้น
เนื่องจากการเชื่อมต่อในแต่ล ะช่องทางจะถูกกาหนดขึ้นโดยใช้หมายเลขซ็อคเก็ตผู้ส่งและผู้ รับ ถ้าการ
เชื่อมต่อลาดับแรกสาเร็จก็จะถูกบันทึกไว้ในตารางการสื่อสาร เช่น (x, y) ถ้าการเชื่อมต่อลาดับที่สอง
สาเร็จในเวลาต่อมา ข้อมูลนี้ก็จะถูกบันทึกไว้ที่เดียวกันคือ (x, y)
การเชื่อมต่อเริ่มต้นจากสถานะ CLOSED เมื่อเรียกใช้บริการ LISTEN หรือ
CONNECT ก็จะมีการเปลี่ยนสถานะไปจากเดิม และถ้าอีกฝ่ายตองการเชื่อมต่อด้วย การเชื่อมต่อก็จะ
เกิดขึ้นและย้ายไปอยู่ในสถานะ ESTABLISHED คือ การเชื่อมต่อสมบูรณ์ และเมื่อยกเลิกการติดต่อก็จะ
กลับไปสู่สถานะ CLOSED อย่างเดิม
3.2) การเริ่มต้นการสื่อสารของโปรโตคอลทีซีพี โดยใช้การบันทึกเวลาแบบการเริ่มต้น
การสื่อสารของโปรโตคอลโดยใช้การบันทึกเวลาการจับมือร่วมสามขั้นตอน (Three-way Handshake)
การเริ่มต้นการสื่อสารของโปรโตคอลโดยใช้การบันทึกเวลาการจับมือร่วมสาม
ขั้นตอน เป็นวิธีการส่งแพ็กเก็ตที่สามารถช่วยแก้ปัญหาในเรื่องแพ็กเก็ ตซ้าซ้อนได้ดี แต่วิธีนี้จาเป็นจะต้อง
สร้างช่องสื่อสารให้ได้ก่อนที่จะเริ่มรับ-ส่งข้อมูล อย่างไรก็ตาม แพ็กเก็ตควบคุมที่ใช้ในการต่อรองค่าตัวแปร
สาหรับการสื่อสารต่าง ๆ อาจเกิดการตกค้างอยู่ในระบบได้ ทาให้การกาหนดค่าหมายเลขลาดับมีปัญหาไป
ด้วย เช่น การสร้างช่องสื่อสารระหว่างโฮสต์ 1 และ โฮสต์ 2 เริ่มจาก โฮสต์ 1 ขอเริ่มการเชื่อมต่อด้วยการ
ส่งแพ็กเก็ต CR (Connection Request) ไปยังโฮสต์ 2 ซึ่งจะมีค่าตัวแปรต่าง ๆ สาหรับการสื่อสารรวมทั้ง

ปริญญำ น้อยดอนไพร || กำรสื่อสำรข้อมูลและเครือข่ำย (Data Communication and Network)


104 บทที่ 4 แบบจำลองเครือข่ำยคอมพิวเตอร์

หมายเลขลาดับและหมายเลขช่องสื่อสารไปด้วย ผู้รับ คือ โฮสต์ 2 ก็จะส่ง ACK (Acknowledge) กลับมา


ยังโฮสต์ 1 แต่ถ้าแพ็กเก็ต จากผู้ส่งเกิดสูญหายระหว่างทางและสาเนาแพ็กเก็ตที่ยังตกค้างอยู่ระบบเกิด
เดินทางไปถึงผู้รับในภายหลังก็จะทาให้การสร้างช่องสื่อสารใช้การไม่ได้เนื่องจากมีค่าตัวแปรต่าง ๆ ไม่
ตรงกัน
การใช้การเริ่มต้นการสื่อสารของโปรโตคอลโดยใช้การบันทึกเวลาการจับมือร่วม
สามขั้นตอน เป็นการไม่บังคับให้ผู้ส่งและผู้รับข้อมูลจะต้องกาหนดค่าเริ่มต้นของหมายเลขลาดับเป็นเลข
เดียวกัน ทาให้สามารถนาวิธีนี้มาใช้ร่วมกับวิธีการจัดจังหวะการทางานให้พร้อมกัน (Synchronization)
แบบต่างๆได้ แทนที่จะเป็นการใช้วิธีการบันทึกเวลา ดังรูปที่ 7-1 แสดงขั้นตอนการเริ่มต้นการทางานจาก
โฮสต์ 1 ไปยังโฮสต์ 2 สมมุติให้โฮสต์ 1 เลือกหมายเลขลาดับเป็น "x" และส่งแพ็กเก็ต CONNECTION
REQUEST ไปยังโฮสต์ 2 โฮสต์ 2 ตอบรับด้วยแพ็กเก็ต CONNECTION ACCEPTED ซึ่งจะยอมรับ
หมายเลขลาดับ "x" พร้อมกับประกาศหมายเลขลาดับ "y" ที่เป็นของตนเอง จากนั้นโฮสต์ 1 ก็จะตอบรับ
ค่าตัวเลือกของโฮสต์ 2 ผ่านทางเขตข้อมูลสาหรับการควบคุมในแพ็กเก็ตข้อมูลแรกที่ส่งมา

โฮสต์ 1 โฮสต์ 2 โฮสต์ 1 โฮสต์ 2

(A) (B)
ภำพที่ 4.17 การเริ่มต้นการสื่อสารของโปรโตคอลโดยใช้การบันทึกเวลาการจับมือร่วมสามขั้นตอน
ที่มา: ดัดแปลงจาก ชวลิต ทินกรสูติบุตร. (2554).
สมมติว่าได้เกิดปัญหาการสูญหายของแพ็กเก็ตในขณะที่สาเนาแพ็กเก็ตที่ค้างในระบบ
เดินทางไปถึงผู้รับแทน ดังภาพที่ที่ 4.17 (B) แสดงเหตุการณ์ที่แพ็กเก็ต TPDU (ตัวแรกในรูป) เป็นสาเนา
แพ็กเก็ตเก่าที่พึ่งจะเดินทางไปถึงโฮสต์ 2 โดยที่โฮสต์ 1 ไม่ทราบ โฮสต์ 2 ก็จะทางานตามปกติ คือ จะตอบ
รับด้วยการส่งแพ็กเก็ต CONNECTION ACCEPTED TPDU กลับมา ที่โฮสต์ 1 ซึ่งโฮสต์1 จะสามารถ
ตรวจสอบได้ว่า หมายเลขลาดับโฮสต์ 2 ตอบกลับมานั้นเป็นหมายเลขลาดับที่ได้เลิกใช้ไปแล้ว จึงมีการส่ง
แพ็กเก็ต REJECT กลับมายังโฮสต์ 2 เพื่อบอกยกเลิกการทางาน จะเห็นว่าวิธีการนี้อาศัยการสื่อสารผ่าน
แพ็กเก็ต 3 ตัวซึ่งเป็นที่มาของคาว่า "การจับมือร่วมสามขั้นตอน" ผลสุดท้าย ทั้งโฮสต์ 1 และโฮสต์ 2 ก็จะ
ไม่มีการสร้างช่องสื่อสารขึ้นมาจากข้อมูลในสาเนาแพ็กเก็ตเก่าแต่อย่างใด
4) ชั้นติดต่อระดับแอพพลิเคชัน (Application Layer) เป็นชั้นที่เกี่ยวข้องกับการติดต่อ
ระหว่างผู้ใช้กับแอพพลิเคชัน และคอยควบคุมข้อมูลที่จะส่งผ่านไปยังชั้นอื่น ๆ นอกจากนี้ยังรวบรวมการ

ปริญญำ น้อยดอนไพร || กำรสื่อสำรข้อมูลและเครือข่ำย (Data Communication and Network)


บทที่ 4 แบบจำลองเครือข่ำยคอมพิวเตอร์ 105

ทางานที่จาเป็นของชั้นสื่อสารที่ไม่ได้ถูกใช้งาน นั่นคือ ระดับชั้นพรีเซนเตชัน และระดับชั้นเซสชันของ


โอเอสไอ โมเดล ไว้ด้วย
4.2.3 แบบจำลองทีซีพี/ไอพี และเอ็นแคปซูเลชั่นและดีแคปซูเลชั่น
แบบจาลองทีซีพี/ไอพี และเอ็นแคปซูเลชั่นและดี แคปซูเลชั่น (TCP/IP Encapsulation
and Decapsulation) คือ การส่งข้อมูลผ่านในแต่ละเลเยอร์ แต่ละเลเยอร์จะทาการประกอบข้อมูลที่ได้
รับมากับข้อมูลส่วนควบคุม ซึ่งถูกนามาไว้ในส่วนหัวของข้อมูลเรียกว่า Header ภายใน Header จะบรรจุ
ข้อมูลที่สาคัญของโปรโตคอลที่ทาการ เอ็นแคปซูเลท (Encapsulate) เมื่อผู้รับได้รับข้อมูล ก็จะเกิด
กระบวนการทางานย้อนกลับคือ โปรโตคอลเดียวกัน ทางฝั่งผู้รับก็จะได้รับข้อมูลส่วนที่เป็น Header ก่อน
และน าไปประมวลและทราบว่าข้อมูล ที่ตามมามีลั กษณะอย่างไร ซึ่งกระบวนการย้อนกลั บนี้เรียกว่า
ดีแคปซูเลชั่น (Decapsulation)

เอ็นแคปซูเลชั่น

ชั้นติดต่อระดับ
User Data
แอพพลิเคชัน

TCP Segment
ชั้นขนส่งข้อมูล TCP Header User Data

IP Datagram
ชั้นติดต่อระดับ IP Header TCP Header User Data
เครือข่าย
อินเทอร์เน็ต
Ethernet Frame
ชั้นควบคุมการติดต่อ
ระดับเครือข่าย
Ethernet Header IP Header TCP Header User Data Ethernet trailer

ภำพที่ 4.18 ระดับชั้นของทีซพี /ี ไอพี และการเอ็นแคปซูเลชั่น


ข้อมูลที่ผ่านการเอ็นแคปซูเลชั่น ในแต่ละชั้นมีชื่อเรียกแตกต่างกัน ดังนี้
1) ข้อมูลที่มาจากผู้ใช้ (User) หรือก็คือข้อมูลที่ผู้ใช้เป็นผู้ป้อนให้กับแอพพลิเคชน เรียกว่า
User Data
2) เมื่อแอพพลิเคชั่นได้รับข้อมูลจากผู้ใช้ ก็จะนามาประกอบกับส่วนหัวของแอพพลิเคชั น
เรียกว่า แอพพลิเคชันดาต้า (Application Data) และส่งต่อไปยังโปรโตคอลทีซีพี
3) เมื่อโปรโตคอลทีซีพี ได้รับแอพพลิเคชัน ก็จะนามารวมกับส่วนหัวของโปรโตคอลทีซีพี
เรียกว่าทีซีพีเซ็กเมนต์ (TCP Segment) และส่งต่อไปยังโปรโตคอลไอพี
4) เมื่อโปรโตคอลไอพี ได้รับทีซีพีเซ็กเมนต์ ก็จะนามารวมกับส่วนหัวของ โปรโตคอลไอพี
เรียกว่าไอพีดาต้าแกรม (IP Datagram) และส่งต่อไปยังชั้นชั้นควบคุมการติดต่อระดับเครือข่าย

ปริญญำ น้อยดอนไพร || กำรสื่อสำรข้อมูลและเครือข่ำย (Data Communication and Network)


106 บทที่ 4 แบบจำลองเครือข่ำยคอมพิวเตอร์

5) ในระดับชั้นควบคุมการติดต่อระดับเครือข่าย จะนาไอพีดาต้าแกรม มาเพิ่มส่วน Error


Correction และ flag เรียกว่า อีเทอร์เน็ตเฟรม (Ethernet Frame) ก่อนจะแปลงข้อมูลเป็น
สัญญาณไฟฟ้า ส่งผ่านสายสัญญาณที่เชื่อมโยงอยู่ต่อไป
4.2.4 ตัวอย่ำงกำรรับส่งข้อมูลด้วยแบบจอลองทีซีพี/ไอพี
ตัวอย่างการรับส่งข้อมูลด้วยแบบจาลองทีซีพี/ไอพี นี้จะเป็นการอธิบายถึงรายละเอียดของ
การติดต่อสื่อสารเพิ่มต้องขอเว็บเพจ (Web Page) ของเว็บบราวเซอร์ (Web Browser) โดยใช้
แบบจาลองทีซีพ/ี ไอพี เป็นแม่แบบในการแสดงรายละเอียดของข้อมูลที่รับส่งกันระหว่างเครื่องไคลเอนต์ ที่
รันเว็บบราวเซอร์ ซึ่งเชื่อมต่ออยู่ในเครือข่ายแลน กับเครื่องเว็บบราวเซอร์ที่เก็บเว็บเพจไว้ ให้พิจารณา
ภาพแสดงการเชื่อมต่อระหว่างเว็บบราวเซอร์กับเว็บเซิร์ฟเวอร์ (Web Server) ดังรูป
โลคอลเราท์เตอร์ รีโมทเราท์เตอร์
(Local Router) (Remote Router)

Local LAN Remote


WAN
LAN
Web Browser Web Server
ภำพที่ 4.19 แสดงการเชื่อมต่อจากเว็บบราวเซอร์ไปยังเว็บเซิร์ฟเวอร์
จากรูปข้างต้นการส่งข้อมูลสามารถแบ่งได้เป็น 4 ขั้นตอน ดังต่อไปนี้
1) ขั้น ตอนที่ 1 เว็บ บราวเซอร์จัดเตรียมข้อมูล เพื่อส่ งให้ กับ โลคอลเราท์เตอร์ ผ่ า น
โลคอลแลน มีรายละเอียดดังนี้
1.1) เมื่อผู้ใช้คลิ กลิ งค์ห รือกรอกที่อยู่ของเว็บเพจบนเว็บบราวเซอร์ จะส่ งคาร้องขอ
(Request Message) ที่เรียกว่า "Get Web Page" ที่อยู่ในระดับชั้นแอพพลิเคชันให้กับระดับชั้น
ทรานสปอร์ต
1.2) ระดับชั้นทรานสปอร์ตจะเพิ่มข้อมูลส่วนหัว (Header Information) ลงในข้อมูล
เดิม เพื่อให้ระดับชั้นทรานสปอร์ตของผู้รับ (ในที่นี้ คือ เว็บเซิร์ฟเวอร์ ) นาไปใช้ควบคุมการส่งผ่านข้อมูล
โดยข้อมูลส่วนนี้ประกอบด้วย Error Control, End-End Flow Control และที่อยู่ของเว็บเซิร์ฟเวอร์
จากนั้นส่งข้อมูลไปยังระดับชั้นเน็ตเวิร์ก
1.3) ระดับชั้นเน็ตเวิร์กจะเพิ่ม IP Header ลงในข้อมูลที่ได้รับจากระดับชั้นทราน
สปอร์ต โดยบรรจุไอพีของผู้รับ ไว้จากนั้นส่งข้อมูลให้กับ ระดับชั้นโฮสต์ทูเน็ตเวิร์ก (Host-to-Network
Layer)
1.4) หากคอมพิวเตอร์ที่ต้องการเปิดเว็บเพจ เชื่อมต่อกับเครือข่ายแลน ระดับชั้นโฮสต์
ทูเน็ตเวิร์กจะเพิ่ม LAN Header และ LAN Trailer ซึ่งเก็บตาแหน่งของโลคอลรีโมทที่ใช้เชื่อมต่อเครือข่าย
แลนกั บ เครื อ ข่ า ยแวน (ในที่ นี้ คื อ เครื อ ข่ า ยอิ น เทอร์ เ น็ ต ) เข้ า ด้ ว ยกั น จากนั้ น ส่ ง ข้ อ มู ล ไปยั ง
โลคอลเราท์เตอร์ ในรูปแบบของไบนารี (Binary)

ปริญญำ น้อยดอนไพร || กำรสื่อสำรข้อมูลและเครือข่ำย (Data Communication and Network)


บทที่ 4 แบบจำลองเครือข่ำยคอมพิวเตอร์ 107

Web Browser Application


Get Web
Page
Transport Layer
TCP Get Web
Header Page

Web Browser Transport Layer


IP TCP Get Web
Header Header Page
Host-to-Network Layer
LAN IP TCP Get Web LAN
Header Header Header Page Trailer

ภำพที่ 4.20 แสดงการจัดเตรียมข้อมูลของเว็บบราวเซอร์


2) ขั้นตอนที่ 2 โลคอลเราท์เตอร์ จัดเตรียมข้อมูลเพิ่มส่งให้กับ รีโมทเราท์เตอร์ ผ่าน
เครือข่ายแวน มีรายละเอียดดังนี้
2.1) เมื่อระดับชั้นโฮสต์ทูเน็ตเวิร์ก ของโลคอลเราท์เตอร์ รับข้อมูลจากเว็บบราวเซอร์
แล้วจะถอด LAN Header และ LAN Trailer ออกจากนั้นส่งข้อมูลให้กับระดับชั้นเน็ตเวิร์ก
2.2) ระดับชั้นเน็ตเวิร์กจะส่งข้อมูลที่ได้ให้กับระดับชั้นโฮสต์ทูเน็ตเวิร์ก
2.3) ระดับชั้นโฮสต์ทูเน็ตเวิร์ก จะเพิ่มข้อมูล WAN Header เข้าไป ซึ่งข้อมูลดังกล่าว
จาเป็นสาหรับการค้นหาที่อยู่ในระบบอินเทอร์เน็ตที่ประกอบด้วยเครือข่ายแวน จานวนมากเชื่อมต่อกันอยู่
โดยจะส่งข้อมูลในรูปแบบของไบนารีเช่นกัน
2.4) โลคอลเราท์เตอร์จะค้นหาและส่งข้อมูลให้กับ รีโมทเราท์เตอร์ของเครือข่ายแลน
ที่เว็บเซิร์ฟเวอร์เชื่อมต่ออยู่
Host-to-Network Layer
LAN IP TCP Get Web LAN
Header Header Header Page Trailer
Network Layer
IP TCP Get Web
Local Router Header Header Page
Host-to-Network Layer
WAN IP TCP Get Web
Header Header Header Page
ภำพที่ 4.21 แสดงการจัดเตรียมข้อมูลของโลคอลเราท์เตอร์

ปริญญำ น้อยดอนไพร || กำรสื่อสำรข้อมูลและเครือข่ำย (Data Communication and Network)


108 บทที่ 4 แบบจำลองเครือข่ำยคอมพิวเตอร์

3) ขั้นตอนที่ 3 รีโมทเราท์เตอร์ จัดเตรียมข้อมูลเพื่อส่งให้กับเว็บเซิร์ฟเวอร์ ผ่านรีโมทแลน


มีรายละเอียดดังนี้
3.1) เมื่อระดับชั้นโฮสต์ทูเน็ตเวิร์ก ของรีโมทเราท์เตอร์รับข้อมูลจากโลคอลเราท์เตอร์
แล้ว จะถอด WAN Header ออกแล้วส่งข้อมูลให้กับระดับชั้นเน็ตเวิร์ก
3.2) ระดับชั้นเน็ตเวิร์กส่งข้อมูลให้กับระดับชั้นโฮสต์ทูเน็ตเวิร์ก
3.3) ระดับชั้นโฮสต์ทูเน็ตเวิร์กจะเพิ่ม LAN Header และ LAN Trailer ลงในข้อมูล
จากนั้นส่งข้อมูลให้กับเครือข่ายแลนที่เว็บเซิร์ฟเวอร์เชื่อมต่ออยู่ โดยจะใช้ข้อมูลใน LAN Header ค้นหา
เว็บเซิร์ฟเวอร์
Host-to-Network Layer
LAN IP TCP Get Web
Header Header Header Page
Network Layer
IP TCP Get Web
Remote Router Header Header Page
Host-to-Network Layer
WAN IP TCP Get Web LAN
Header Header Header Page Trailer
ภำพที่ 4.22 แสดงการจัดเตรียมข้อมูลของรีโมทเราท์เตอร์
4) ขั้นตอนที่ 4 เว็บเซิร์ฟเวอร์รับข้อมูลจากรีโมทเราท์เตอร์ และนาไปประมวลผล
มีรายละเอียดดังนี้
4.1) ระดับชั้นโฮสต์ทูเน็ตเวิร์กของเว็บเซิร์ฟเวอร์รับข้อมูลจากรีโมทแลนแล้วถอด LAN
Header และ LAN Trailer ออกจากนั้นส่งข้อมูลให้กับระดับชั้นเน็ตเวิร์ก
4.2) ระดั บ ชั้ น เน็ ต เวิ ร์ กถอด IP Header ออก แล้ ว ส่ ง ข้อ มู ล ให้ กับ ระดั บ ชั้ น
ทรานสปอร์ต
4.3) ระดับชั้นทรานสปอร์ตถอด TCP Header ออก แล้วส่งข้อมูลให้กับระดับชั้น
แอพพลิเคชัน
4.4) ระดับชั้นแอพพลิเคชันจะถอดคาสั่ง Get Web Page และสร้างข้อมูลเพื่อส่งกลับ
ไปยังคอมพิวเตอร์ที่ร้องขอเว็บเพจต่อไป โดยขั้นตอนการส่งข้อมูลจากเว็บเซิร์ฟเวอร์ไปยังเว็บบราวเซอร์
จะมีลักษณะเหมือนกัน

ปริญญำ น้อยดอนไพร || กำรสื่อสำรข้อมูลและเครือข่ำย (Data Communication and Network)


บทที่ 4 แบบจำลองเครือข่ำยคอมพิวเตอร์ 109

Host-to-Network Layer
LAN IP TCP Get Web LAN
Header Header Header Page Trailer
Network Layer
IP TCP Get Web
Header Header Page
Transport Layer
Web Server TCP Get Web
Header Page
Application Layer
Get Web Get Web
Page Page
ภำพที่ 4.23 แสดงการรับข้อมูลของเว็บเซิร์ฟเวอร์
การส่งข้อมูลในลักษณะดังกล่าว ข้อมูลจะถูกส่งลงไปให้กับแต่ละชั้นสื่อสาร โดยแต่ละชั้น
จะเพิ่มเติมข้อมูลที่จาเป็นของตนเองลงไป เช่น ข้อมูลเกี่ยวกับ Error Control, Network Addressing,
Error Detection และ Flow Control เป็นต้น ทาให้ข้อมูลมีขนาดใหญ่ขึ้น โดยข้อมูลเหล่านี้จะถูกห่อ
ห้อมและส่งไปยังปลายทาง เมื่อปลายทางได้รับแล้ว ข้อมูลจะถูกส่งขึ้นไปยังแต่ละชั้นสื่อสาร โดยแต่ละชั้น
จะถอดข้อมูลส่วนหัวของตนออกจนเหลือเฉพาะข้อมูลจริง จากนั้นแอพพลิเคชันจะนาข้อมูลดังกล่าวไปใช้
งานต่อไป

กิจกรรมที่ 4.2
1. จงอธิบายความแตกต่างระหว่างแบบจาลองโอเอสไอและทีซีพี/ไอพี
2. จงเปรียบเทียบระดับชั้นของแบบจาลองทีซีพี/ไอพีกับระดับชั้นของแบบจาลองโอเอสไอ

ปริญญำ น้อยดอนไพร || กำรสื่อสำรข้อมูลและเครือข่ำย (Data Communication and Network)


110 บทที่ 4 แบบจำลองเครือข่ำยคอมพิวเตอร์

เอกสำรอ้ำงอิง

ชวลิต ทินกรสูติบุตร. (2554). ควำมรู้พื้นฐำนเกี่ยวกับ โปรโตคอล TCP/IP. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก :


http : www.tnetsecurity.com/content_basic/tcp_ip_knowledge.php. [1 เมษายน
2556].
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. (2553). เอกสำรกำรสอนชุดวิชำกำรสื่อสำรข้อมูลและระบบเครือข่ำย
คอมพิวเตอร์ หน่วยที่ 1-7. พิมพ์ครั้งที่ 2. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
สุธี พงศาสกุลชัย และณรงค์ ล่าดี . (2551). กำรสื่อสำรข้อมูลและเครือข่ำย. กรุงเทพฯ: เคทีพี คอมพ์
แอนด์ คอนซัลท์.
Behrouz A. Forouzan. (2007). Data Communications and Networking. 4nd edition. United
States : McGraw-Hill.
Tamara Dean. (2009). Network + Guide to Networks. 5th Edition. United States of
America: Nelson Education, Ltd.

ปริญญำ น้อยดอนไพร || กำรสื่อสำรข้อมูลและเครือข่ำย (Data Communication and Network)

You might also like