You are on page 1of 22

แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1

หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 อินเทอร์เน็ตและเทคโนโลยีสารสนเทศ เวลา 2 ชั่วโมง


รายวิชา เทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ) กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เรื่อง อินเทอร์เน็ต เวลา 1 ชั่วโมง
ภาคเรียนที่ 1 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3

1. มาตรฐานการเรียนรู้/ตัวชี้วัด
มาตรฐานการเรียนรู้
ว 4.2 เข้าใจและใช้แนวคิดเชิงคำนวณในการแก้ปัญหาที่พบในชีวิตจริงอย่างเป็นขั้นตอนและเป็นระบบ ใช้
เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในการเรียนรู้ การทำงาน และการแก้ปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ รู้เท่า
ทัน และมีจริยธรรม
ตัวชี้วัด
ว 4.2 ป.3/3 ใช้อินเทอร์เน็ตค้นหาความรู้
ว 4.2 ป.3/5 ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างปลอดภัย ปฏิบัติตามข้อตกลงในการใช้อินเทอร์เน็ต
2. จุดประสงค์การเรียนรู้
1. สามารถประยุกต์ใช้อินเทอร์เน็ตในการค้นหาความรู้ ข้อมูลที่กำหนดได้ (K)
2. สืบค้นข้อมูลจากการใช้อินเทอร์เน็ตได้ (P)
3. ปฏิบัติตามข้อตกลงในการใช้อินเทอร์เน็ตได้ (A)
3. สาระการเรียนรู้
3.1 ด้านความรู้ (Knowledge: K)
อินเทอร์เน็ต
3.2 ด้านทักษะ/กระบวนการ (Process: P)
สืบค้นข้อมูลจากการใช้อินเทอร์เน็ต
3.3 ด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์ (Attitude: A)
มีความรับผิดชอบ ขยัน อดทน และตรงต่อเวลา
4. สาระสำคัญ/ความคิดรวบยอด
อินเทอร์เน็ตคือ เครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อกันครอบคลุมไปทั่วโลก และเป็นแหล่งข้อมูลที่ช่วยใน
การเรียนและดำเนินชีวิต การใช้อินเทอร์เน็ตในการสืบค้นข้อมูลจากเว็บเบราว์เซอร์ต่าง ๆ โดยการใช้คำ
ค้นหา(Keyword) ที่ตรงประเด็นและกระชับ เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่รวดเร็วและตรงตามความต้องการและยังต้อง
คำนึงถึงข้อตกลงในการใช้อินเทอร์เน็ต
5. คุณลักษณะอันพึงประสงค์
1. มีวินัย
2. ใฝ่เรียนรู้
3. มุ่งมั่นในการทำงาน
6. สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน
1. ความสามารถในการสื่อสาร
- ทักษะการสื่อสาร
- ทักษะการแลกเปลี่ยนข้อมูล
2. ความสามารถในการคิด
- ทักษะการคิดวิเคราะห์
3. ความสามารถในการแก้ปัญหา
- ทักษะการสังเกต
- ทักษะการแก้ปัญหา
4. ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต
- ทักษะการทำงานร่วมกัน
7.จุดเน้นสู่การพัฒนาคุณภาพผู้เรียน
7.1 ทักษะของคนในศตวรรษที่ 21 คือการเรียนรู้ 3R X 8C
 Reading (อ่านออก)
 (W) Rating (เขียนได้)
 (A) Arithmetic’s (คิดเลขเป็น)
 ทักษะด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณและทักษะในการแก้ไขปัญหา (Critical Thinking and Problem Solving)
 ทักษะด้านการสร้างสรรค์ และนวัตกรรม (Creativity and Innovation)
 ทักษะด้านความเข้าใจความต่างวัฒนธรรม ต่างกระบวนทัศน์ (Cross-cultural Understanding)
 ทักษะด้านความร่วมมือ การทำงานเป็นทีมและภาวะผู้นำ (Collaboration, Teamwork and Leadership)
 ทักษะด้านการสื่อสาร สารสนเทศและรู้เท่าทันสื่อ (Communication, Information, and Media Literacy)
 ทักษะด้านคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (Computing and ICT
Literacy)
 ทักษะอาชีพ และทักษะการเรียนรู้ (Career and Learning)
 ทักษะการเปลี่ยนแปลง (Change)
7.2 ทักษะด้านชีวิตและอาชีพ ของคนในศตวรรษที่ 21
 ความยืดหยุ่นและการปรับตัว
 การริเริ่มสร้างสรรค์และเป็นตัวของตัวเอง
 ทักษะสังคมและสังคมข้ามวัฒนธรรม
 การเป็นผู้สร้างหรือผู้ผลิต (Productivity) และความรับผิดชอบเชื่อถือได้ (Accountability)
 ภาวะผู้นำและความรับผิดชอบ (Responsibility)
7.3 คุณลักษณะของคนในศตวรรษที่ 21
 คุณลักษณะด้านการทำงาน ได้แก่ การปรับตัว ความเป็นผู้นำ
 คุณลักษณะด้านการเรียนรู้ ได้แก่ การชี้นำตนเอง การตรวจสอบการเรียนรู้ของตนเอง
 คุณลักษณะด้านศีลธรรม ได้แก่ ความเคารพผู้อื่น ความซื่อสัตย์ ความสำนึกพลเมือง
8. การบูรณาการ
 โครงการสถานศึกษาพอเพียง
 โครงการโรงเรียนคุณธรรม
 อาเซียนศึกษา
 คุณธรรม ค่านิยม 12 ประการ
 อนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม
 อื่น ๆ (ระบุ)..................................................................................................................
9. กิจกรรมการเรียนรู้
รูปแบบการสอน/วิธีการสอนการจัดการเรียนรู้แบบกระบวนการกลุ่ม (Group Process)/เทคนิคตาม
แนวคิดเชิงคำนวณ
1. นักเรียนทำแบบทดสอบก่อนเรียน เรื่อง อินเทอร์เน็ตและเทคโนโลยีสารสนเทศ
ขั้นนำ
1. ครูสอบถามนักเรียนว่าถ้านักเรียนอยากไปเที่ยว นักเรียนสามารถหาข้อมูลต่างๆของสถานที่เที่ยวได้
อย่างไร (แนวการตอบ : ตามดุลยพินิจของนักเรียน)
2. ครูอธิบายว่านอกจากแหล่งข้อมูลที่นักเรียนได้ตอบมา ยังมีแหล่งข้อมูลที่เป็นเครือข่ายขนาดใหญ่ คือ
อินเทอร์เน็ต นักเรียนรู้จักอินเทอร์เน็ตหรือไม่ แล้วอินเทอร์เน็ตใช้งานอย่างไร
3. ครูให้นักเรียนจับคู่ ให้แต่ละคู่เขียนข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยวที่อยากไปมาคู่ละ 1 สถานที่และเขียน
ข้อมูลของสถานที่ที่เลือกลงในกระดาษ ครูให้เวลา 5 นาที
4. เมื่อหมดเวลาครูสุ่มถามนักเรียนว่าเลือกที่ไหนและมีข้อมูลอะไรบ้าง ข้อมูลที่ได้ครบเพียงพอและถูก
ต้องหรือไม่
5. นักเรียนรู้หรือไม่ว่า หากเราใช้อินเทอร์เน็ตในการค้นหาข้อมูลจะช่วยให้การหาข้อมูลต่าง ๆ ง่าย
สะดวก และรวดเร็วยิ่งขึ้น
ขั้นสอน
1. ครูถามนักเรียน รู้หรือไม่ว่า อินเทอร์เน็ตเป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมกันทั่วโลก ทำให้การ
ติดต่อสื่อสารมีความสะดวก รวดเร็วมากขึ้นและเรายังสามารถใช้อินเทอร์เน็ตในการค้นหาข้อมูลต่าง ๆ ที่
ต้องการทราบอีกด้วย และถามคำถามประจำหน่วยว่า อินเทอร์เน็ตมีส่วนช่วยให้นักเรียนรู้อะไรบ้าง หน้า 46
2. นักเรียนศึกษาเรื่องการใช้อินเทอร์เน็ต และการสืบค้นข้อมูลโดยการใช้บริการอินเทอร์เน็ตจาก
หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี(วิทยาการคำนวณ ป.3) หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 เรื่อง การ
สืบค้นข้อมูลโดยใช้อินเทอร์เน็ต หน้า 47 และถามคำถามประจำหัวข้อว่า นักเรียนคิดว่าการกำหนดคำค้นมีผล
ต่อการค้นหาข้อมูลทางอินเทอร์เน็ตอย่างไร
3. ให้นักเรียนเข้าใช้งานอินเทอร์เน็ตโดยมีการสืบค้น 2 แบบคือ การสืบค้นแบบ Index Directory
และ การสืบค้นแบบ Search Engine ให้นักเรียนเลือกใช้การสืบค้นแบบ Search Engine หน้า 48
4. นักเรียนเข้าใช้งานอินเทอร์เน็ตจากหนังสือเรียนโดยเปิดเว็บเบราว์เซอร์ และเข้าใช้งานเว็บไซต์ที่ให้
บริการในการสืบค้น หน้าที่ 49 และปฏิบัติตามขั้นตอนการค้นหาผลลัพธ์จากหนังสือเรียน
5. จากนั้นแลกเปลี่ยนกับเพื่อนว่าข้อมูลที่ได้รับต่างกันหรือไม่อย่างไร ถ้าต่างกันนักเรียนคิดว่าเพราะ
เหตุใดผลลัพธ์ที่ได้จึงต่างกัน(แนวการตอบ : เกิดจากคำที่ใช้ในการค้นหาต่างกัน)
6. ครูเสริมเกร็ดน่ารู้หน้า 50 ว่า การใช้คำค้นหาที่แตกต่างกัน จะทำให้ได้ผลลัพธ์จากการค้นหาที่แตก
ต่างกัน ดังนั้นควรใช้คำค้นหาที่ตรงประเด็นและกระชับ เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่รวดเร็วและตรงตามความต้องการ
7. ครูให้นักเรียนทำกิจกรรมฝึกทักษะหน้า 51 บันทึกลงสมุดเพื่อทบทวนความรู้
8. ครูเปิดโอกาสให้นักเรียนถามข้อสงสัยและสอนเรื่อง ข้อตกลงในการใช้งานอินเทอร์เน็ต ว่าหลังจาก
การใช้งานอินเทอร์เน็ตแล้ว นักเรียนต้องรู้จักข้อตกลงในการใช้งานอินเทอร์เน็ตที่ถูกวิธีด้วย จากหนังสือเรียน
รายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี(วิทยาการคำนวณ)ป.3 หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 เรื่อง ข้อตกลงในการใช้
อินเทอร์เน็ต หน้า 52
9. นักเรียนทำกิจกรรมฝึกทักษะ หน้า 53 เรื่องข้อตกลงในการใช้งานอินเทอร์เน็ต บนทึกลงในสมุด
10. จากนั้นครูให้นักเรียนทำกิจกรรมฝึกทักษะ จากหนังสือแบบฝึกหัดรายวิชาวิทยาศาสตร์
เทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ) ป.3 หน้า 42 เรื่อง ค้นหาพารู้จัก ให้นักเรียนทุกคนจับกลุ่ม กลุ่มละ 3 คน
หัวข้อดังนี้ดังนี้
ตอนที่ 1 ให้นักเรียนสืบค้นโดยใช้คำค้นหาที่กำหนดให้ และบันทึกผลลัพธ์
ตอนที่ 2 ครูให้นักเรียนแข่งกันโดยครูกำหนดภาพผลลัพธ์มาให้ ตาม
ให้หาคำค้นหา ให้สอดคล้องตามรูป (ครูสามารถยกตัวอย่างภาพอื่นเพื่อให้เด็กได้ความรู้ที่หลากหลาย
นอกเหนือจากกิจกรรมฝึกทักษะ กลุ่มไหนหาคำตอบได้ก่อน ยกมือตอบและอธิบายวิธีการค้นหาให้เพื่อนฟัง ครู
ให้คะแนนกลุ่มที่ค้นหาได้เร็วที่สุดและถูกต้อง
ตอนที่ 3 ตอบคำถามเรื่อง ใช้อินเตอร์เน็ตค้นหาความรู้ในห้องเรียนและส่งท้ายคาบ
ขั้นสรุป
1. ครูสุ่มถามนักเรียนเกี่ยวกับเรื่อง อินเทอร์เน็ตเพื่อตรวจสอบความเข้าใจ และสรุปเสริมความรู้ให้
นักเรียนเพิ่มเติมว่า นักเรียกสามารถสืบค้นข้อมูลต่าง ๆ ได้ทั้งข้อมูลตัวหนังสือ รูปภาพ วีดิโอ และอื่น ๆ อีก
มากมายจากการเข้าใช้อินเทอร์เน็ต เพราะอินเทอร์เน็ตเป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อกันทั่วโลก ทำให้
การติดต่อสื่อสารสะดวก รวดเร็ว และการสืบค้นข้อมูลถ้าต้องการสืบค้นข้อมูลให้ได้ผลลัพธ์ตามต้องการ
นักเรียนจะต้องใช้คำค้นหาที่ตรงประเด็น ชัดเจน
2. นอกจากนักเรียนจะเข้าใช้อินเทอร์เน็ตเป็นแล้ว นักเรียนต้องปฏิบัติตามข้อตกลงของการใช้
อินเทอร์เน็ตด้วย
3. ครูให้นักเรียนทำกิจกรรมลองทำดู และแบบฝึกหัดรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์
เทคโนโลยี(วิทยาการคำนวณ ) ป.3 หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 เรื่อง อินเทอร์เน็ต หน้า 38-39 เพื่อส่งในคาบถัดไป
10. สื่อ/แหล่งการเรียนรู้
1. หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี(วิทยาการคำนวณ) ป.3 หน่วยการเรียนรู้ที่ 3
เรื่อง อินเทอร์เน็ตและเทคโนโลยีสารสนเทศ
2. หนังสือแบบฝึกหัดรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี(วิทยาการคำนวณ) ป.3 หน่วยการเรียนรู้
ที่ 3 เรื่อง อินเทอร์เน็ตและเทคโนโลยีสารสนเทศ
3. กิจกรรมฝึกทักษะจากหนังสือแบบฝึกหัดรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี (วิทยาการ
คำนวณ) ป.3 หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 เรื่อง อินเทอร์เน็ตและเทคโนโลยีสารสนเทศ
11. การวัดและการประเมินผล
11.1 การประเมินระหว่างการจัดกิจกรรม
จุดประสงค์ วิธีการประเมิน เครื่องมือการประเมิน เกณฑ์การประเมิน
1.สามารถประยุกต์ใช้ 1.ตรวจแบบฝึกหัด เรื่อง 1.แบบฝึกหัด เรื่อง 1.สามารถตอบคำถามใน
อินเทอร์เน็ตในการค้นหา อินเทอร์เน็ต อินเทอร์เน็ต แบบฝึกหัดได้ถูกต้องตาม
ความรู้ ข้อมูลที่กำหนดได้ หลักการการ อยู่ใน
(K) เกณฑ์50 % ขึ้นไป
2.สืบค้นข้อมูลจากการใช้ 1.ตรวจกิจกรรมฝึกทักษะ 1.แบบประเมินกิจกรรม 1.สามารถสืบค้นข้อมูล
อินเทอร์เน็ตได้ (P) เรื่อง ค้นหาพารู้จัก ฝึกทักษะ เรื่อง ค้นหาพา จากคำค้นหาที่ได้ ถูกต้อง
2. ตรวจแบบฝึกหัด เรื่อง รู้จัก อยู่ในเกณฑ์พอใช้ขึ้นไป
การใช้อินเทอร์เน็ต 2.แบบฝึกหัด เรื่อง การ 2. สามารถตอบคำถามใน
ใช้อินเทอร์เน็ต แบบฝึกหัดได้ถูกต้องตาม
หลักการการ อยู่ใน
เกณฑ์50 % ขึ้นไป
3.ปฏิบัติตามข้อตกลงใน 1.ตรวจแบบฝึกหัดเรื่อง 1. แบบฝึกหัดเรื่อง ข้อ 1.สามารถตอบคำถามใน
การใช้อินเทอร์เน็ตได้ (A) ข้อตกลงในการใช้ ตกลงในการใช้ แบบฝึกหัดได้ถูกต้องตาม
อินเทอร์เน็ต อินเทอร์เน็ต หลักการการ อยู่ใน
เกณฑ์50 % ขึ้นไป
11.2 การประเมินกิจกรรมฝึกทักษะ
ประเด็นการประเมินชิ้น คำอธิบายระดับคุณภาพ / ระดับคะแนน
งาน ดี (3 คะแนน) พอใช้ (2 คะแนน) ปรับปรุง (1 คะแนน)
1.สืบค้นข้อมูลครบถ้วน สืบค้นข้อมูลครบทุก สืบค้นข้อมูลจากหัวข้อได้เพียง สืบค้นข้อมูลจากหัวข้อได้
ตามหัวข้อ หัวข้อ บางส่วน (มากกว่า 50 % ) น้อย (น้อยกว่า 50 % )
2.ความถูกต้องของเนื้อหา เนื้อหาถูกต้องครบถ้วน เนื้อหาถูกต้องครบถ้วนสมบูรณ์ เนื้อหาถูกต้องไม่ครบถ้วน
สมบูรณ์ สามารถตอบ สามารถตอบคำถามได้บางส่วน สมบูรณ์ สามารถตอบคำถาม
คำถามได้ถูกต้องทุกข้อ (มากกว่า 50 % ) ได้น้อย (น้อยกว่า 50 % )

3. ประเมินความน่าเชื่อถือ สามารถแยกแยะ และ สามารถแยกแยะ และประเมิน สามารถแยกแยะ และ


ของข้อมูลที่สืบค้น ประเมินความน่าเชื่อถือ ความน่าเชื่อถือของข้อมูล ประเมินความน่าเชื่อถือของ
ของข้อมูล ข่าวสารที่ได้ ข่าวสารที่ได้รับจาก ข้อมูล ข่าวสารที่ได้รับจาก
รับจากอินเทอร์เน็ตได้ อินเทอร์เน็ตได้บางส่วน (มากก อินเทอร์เน็ตได้น้อย(น้อยกว่า
ทั้งหมด ว่า 50 % ) 50 % )

เกณฑ์การตัดสินคุณภาพ
ช่วงคะแนน ระดับคุณภาพ
8-9 ดี
5-7 พอใช้
ต่ำกว่า 5 ปรับปรุง

12. บันทึกผลหลังการสอน
ผลการจัดการเรียนการสอน
1. นักเรียนจำนวน.................... คน
ผ่านจุดประสงค์การเรียนรู้.....................คน คิดเป็นร้อยละ...............
ไม่ผ่านจุดประสงค์การเรียนรู้.....................คน คิดเป็นร้อยละ................
2. นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจ
……………………………………………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
3. นักเรียนมีความรู้เกิดทักษะ
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………

4. ปัญหา/อุปสรรค/แนวทางแก้ไข
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
5. ข้อเสนอแนะ
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………

ลงชื่อ ....................................
(ว่าที่ร.ต.หญิงแคทลียา จุติกะสะ)
ตำแหน่ง ครู

ความเห็นของหัวหน้าสถานศึกษา/ผู้ที่ได้รับมอบหมาย
ได้ทำการตรวจแผนการจัดการเรียนรู้ มีความคิดเห็นดังนี้
1. องค์ประกอบของแผนการจัดการเรียนรู้
 ครบถ้วนและถูกต้อง
 ยังไม่ครบถ้วนหรือไม่ถูกต้อง ควรปรับปรุงพัฒนาต่อไป
2. ความสอดคล้องของแผนการจัดการเรียนรู้กับหลักสูตรสถานศึกษา
 สอดคล้อง
 ยังไม่สอดคล้อง ควรปรับปรุงพัฒนาต่อไป
3. รูปแบบของการจัดการเรียนรู้
 เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
 ยังไม่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ควรปรับปรุงพัฒนาต่อไป
4. สื่อการเรียนรู้
 เหมาะสมกับรูปแบบการจัดการเรียนรู้
 ยังไม่เหมาะสมกับรูปแบบการจัดการเรียนรู้ ควรปรับปรุงพัฒนาต่อไป
5. การประเมินผลการเรียนรู้
 ครอบคลุมจุดประสงค์การเรียนรู้
 ยังไม่ครอบคลุมจุดประสงค์การเรียนรู้ ควรปรับปรุงพัฒนาต่อไป
6. ข้อเสนอแนะอื่นๆ
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………....………………………………………………………………………………………………………………………

ลงชื่อ .........................................
(นางประภากร ทองน้อย)
ตำแหน่ง ผู้อำนวยการโรงเรียน

แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 2
หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 อินเทอร์เน็ตและเทคโนโลยีสารสนเทศ เวลา 2 ชั่วโมง
รายวิชา เทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ) กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เรื่อง เทคโนโลยีสารสนเทศ เวลา 1 ชั่วโมง
ภาคเรียนที่ 1 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3

1. มาตรฐานการเรียนรู้/ตัวชี้วัด
มาตรฐานการเรียนรู้
ว 4.2 เข้าใจและใช้แนวคิดเชิงคำนวณในการแก้ปัญหาที่พบในชีวิตจริงอย่างเป็นขั้นตอนและเป็นระบบ ใช้
เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในการเรียนรู้ การทำงาน และการแก้ปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ รู้เท่า
ทัน และมีจริยธรรม
ตัวชี้วัด
ว 4.2 ป.3/5 ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างปลอดภัย ปฏิบัติตามข้อตกลงในการใช้อินเทอร์เน็ต
2. จุดประสงค์การเรียนรู้
1. นักเรียนสามารถเปรียบเทียบข้อดีและข้อเสียจากการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศได้ (K)
2. นักเรียนสามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างปลอดภัยได้ และปฏิบัติติตามข้อตกลงในการใช้
เทคโนโลยีสารสนเทศได้ (P, A)
3. สาระการเรียนรู้
3.1 ด้านความรู้ (Knowledge: K)
การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างปลอดภัย
3.2 ด้านทักษะ/กระบวนการ (Process: P)
ปฏิบัติติตามข้อตกลงในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
3.3 ด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์ (Attitude: A)
มีความรับผิดชอบ ขยัน อดทน และตรงต่อเวลา
4. สาระสำคัญ/ความคิดรวบยอด
เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology) คือ การใช้งานเทคโนโลยี ใช้จัดเก็บ ประมวลผล
แลกเปลี่ยน หรือเผยแพร่ในรูปแบบต่าง ๆ การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างปลอดภัย และข้อดีข้อเสียจากการ
ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
5. คุณลักษณะอันพึงประสงค์
1. มีวินัย
2. ใฝ่เรียนรู้
3. มุ่งมั่นในการทำงาน
6. สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน
1. ความสามารถในการสื่อสาร
2. ความสามารถในการคิด
3. ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต
4. ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต

7.จุดเน้นสู่การพัฒนาคุณภาพผู้เรียน
7.1 ทักษะของคนในศตวรรษที่ 21 คือการเรียนรู้ 3R X 8C
 Reading (อ่านออก)
 (W) Rating (เขียนได้)
 (A) Arithmetic’s (คิดเลขเป็น)
 ทักษะด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณและทักษะในการแก้ไขปัญหา (Critical Thinking and Problem Solving)
 ทักษะด้านการสร้างสรรค์ และนวัตกรรม (Creativity and Innovation)
 ทักษะด้านความเข้าใจความต่างวัฒนธรรม ต่างกระบวนทัศน์ (Cross-cultural Understanding)
 ทักษะด้านความร่วมมือ การทำงานเป็นทีมและภาวะผู้นำ (Collaboration, Teamwork and Leadership)
 ทักษะด้านการสื่อสาร สารสนเทศและรู้เท่าทันสื่อ (Communication, Information, and Media Literacy)
 ทักษะด้านคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (Computing and ICT
Literacy)
 ทักษะอาชีพ และทักษะการเรียนรู้ (Career and Learning)
 ทักษะการเปลี่ยนแปลง (Change)
7.2 ทักษะด้านชีวิตและอาชีพ ของคนในศตวรรษที่ 21
 ความยืดหยุ่นและการปรับตัว
 การริเริ่มสร้างสรรค์และเป็นตัวของตัวเอง
 ทักษะสังคมและสังคมข้ามวัฒนธรรม
 การเป็นผู้สร้างหรือผู้ผลิต (Productivity) และความรับผิดชอบเชื่อถือได้ (Accountability)
 ภาวะผู้นำและความรับผิดชอบ (Responsibility)
7.3 คุณลักษณะของคนในศตวรรษที่ 21
 คุณลักษณะด้านการทำงาน ได้แก่ การปรับตัว ความเป็นผู้นำ
 คุณลักษณะด้านการเรียนรู้ ได้แก่ การชี้นำตนเอง การตรวจสอบการเรียนรู้ของตนเอง
 คุณลักษณะด้านศีลธรรม ได้แก่ ความเคารพผู้อื่น ความซื่อสัตย์ ความสำนึกพลเมือง
8. การบูรณาการ
 โครงการสถานศึกษาพอเพียง
 โครงการโรงเรียนคุณธรรม
 อาเซียนศึกษา
 คุณธรรม ค่านิยม 12 ประการ
 อนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม
 อื่น ๆ (ระบุ)..................................................................................................................
9. กิจกรรมการเรียนรู้
รูปแบบการสอน/วิธีการสอนการจัดการเรียนรู้แบบกระบวนการกลุ่ม (Group Process)/เทคนิคตาม
แนวคิดเชิงคำนวณ/วิธีสอนโดยใช้การแสดงบทบาทสมมติ (Role Playing)
ขั้นนำ
1. ครูนำเสนอข่าวภัยร้ายเกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ (เช่น ยกตัวอย่างจากรายการเรื่องเล่า
เช้านี้ เรื่อง ผู้เสียหายถูกมิจฉาชีพอ้างเป็น พนักงานธนาคาร หลอกเอาข้อมูลบัตร ATM
โอนเงินออกเกือบหมดบัญชี ) https://www.youtube.com/watch?v=NFFRH86O40Q
ไม่ต้องดูจนจบคลิป ให้ดูแค่ส่วนที่เป็นเนื้อหาการตั้งคำถามหรือครูสามารถหาข่าวที่พบเจอได้
2. ครูตั้งคำถามประจำหัวข้อว่า นักเรียนมีแนวทางในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศให้ปลอดภัยได้อย่างไร
(แนวการตอบ : ตามดุลยพินิจของนักเรียน)
3. ครูตั้งคำถามต่อว่า จากข่าวนักเรียนคิดว่า เรามีโอกาสโดนหลอกเหมือนในข่าวนี้หรือไม่ถ้าเกิด
เหตุการณ์แบบนี้ขึ้นจะปฏิบัติอย่างไร (แนวการตอบ : ตามดุลยพินิจของนักเรียน )
4. ครูเสนอว่า ในชั่วโมงนี้เราจะมาหาวิธีป้องกันเพื่อไม่ให้เกิดภัยร้ายจากการใช้เทคโนโลยี
ขั้นสอน
1. ให้นักเรียนแบ่งกลุ่มให้ได้ทั้งหมด 7 กลุ่มเพื่อจัดทีมนักข่าว นักเรียนจะต้องจำลองตัวเองเป็นนักข่าว
เพื่อหาข้อมูลมานำเสนอ
2. ครูแนะนำเรื่องการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ในหนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี
(วิทยาการคำนวณ)ป.3 หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 เรื่อง การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างปลอดภัย หน้า 54-55
3. ให้นักเรียนทำกิจกรรมฝึกทักษะ หน้า 56 เรื่อง การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างปลอดภัยหรือไม่
จากสถานการณ์ที่กำหนดบันทึกลงในสมุด เพื่อทบทวนความรู้
4. ครูอธิบายต่อ หลังจากที่เรารู้จักเทคโนโลยีสารสนเทศกันแล้วเราต้องรู้จักวิธีใช้อย่างปลอดภัย และรู้
ข้อดีข้อเสียจากการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หน้า 57
5. และถามคำถามท้าทายการคิดขั้นสูงว่า ถ้านักเรียนต้องการสืบค้นข้อมูลต่างๆ ระหว่างสืบค้นจาก
หนังสือกับสืบค้นโดยใช้คอมพิวเตอร์ นักเรียนจะเลือกใช้สื่อชนิดใดในการสืบค้น พร้อมอธิบายเหตุผลประกอบ
หน้า 57
6. นักเรียนทำกิจกรรมฝึกทักษะ หน้า 59 เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเห็นเกี่ยวกับข้อดีและข้อเสีย
ของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่สมาชิกแต่ละคนเคยได้รับ หรือพบเห็นในชีวิตประจำวัน
7. จากนั้นครูให้นักเรียนแต่ละกลุ่มจำลองตัวเองเป็นนักข่าว ทำข่าวในหัวข้อที่ได้รับโดยครูให้นักเรียน
จับฉลากหัวข้อดังนี้
1) ไม่เปิดเผยข้อมูลส่วนตัวมีวิธีการอย่างไรบ้าง
2) กำหนดรหัสผ่านอย่างไรให้ปลอดภัย
3) ออกจากระบบทุกครั้งหลังใช้งานหรือไม่ และผลที่ตามมาหากไม่ออกจากระบบหลังใช้งานจะเป็น
อย่างไร
4) ติดตั้งโปรแกรมป้องกันไวรัสได้ด้วยวิธีไหนบ้าง
5) มีวิธีขอความช่วยเหลือเมื่อเกิดปัญหาจากบุคคลใด
6. ข้อดีของการใช้ของเทคโนโลยีสารสนเทศ
7. ข้อเสียของการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
8. เมื่อแต่ละทีมได้หัวข้อข่าวในการทำข่าวแล้วให้แบ่งหน้าที่กันภายในทีม
1) ผู้นำเสนอข่าวของทีม
2) ผู้หาข้อมูลเพื่อนำเสนอ
9. ครูให้เวลา 15 นาที ในการให้ ผู้ที่ทำหน้าที่หาข้อมูล สอบถามข้อมูลกับเพื่อนกลุ่มอื่นจากหัวข้อที่
ได้รับ เช่น ได้หัวข้อไม่เปิดเผยข้อมูลส่วนตัว ผู้ที่ทำหน้าที่หาข้อมูลจะต้องสอบถามเพื่อน ๆ ทีมอื่น ๆ
ว่าการไม่เปิดเผยข้อมูลของเพื่อนแต่ละคนมีวิธีอย่างไรบ้างที่พบเห็นในชีวิตประจำวัน เก็บรวบรวม
ข้อมูลให้ได้มากที่สุดจนหมดเวลา
10. ทุกกลุ่มหาข้อมูลเรียบร้อยแล้วให้ในกลุ่มวางแผนกันนำเสนอ ว่าจะมีการนำเสนออย่างไรให้เพื่อนฟัง
11. ครูตั้งโต๊ะหน้าห้องเรียน 2 ตัว จำลองเป็นห้องข่าวเพื่อให้นักเรียนขึ้นมานำเสนอ
12. ให้ทุกกลุ่มนำเสนอข้อมูลที่รวบรวมมาหน้าชั้นเรียน
13. ให้นักเรียน ซักถามในประเด็นที่สงสัยโดยมีครูช่วยเพิ่มเติมเนื้อหาให้
ขั้นสรุป
1. ครูสรุปความรู้ 2 ประเด็นคือ ประเด็นที่ 1 การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างปลอดภัย อธิบายเพิ่ม
เติมในส่วนที่นักเรียนนำเสนอไม่ครบถ้วนประเด็นที่ 2 ให้ข้อคิดและสรุปเนื้อหาเรื่อง ผลดีและผลเสียของการใช้
เทคโนโลยีสารสนเทศ
2. ครูให้นักเรียนทำกิจกรรมฝึกทักษะและกิจกรรมลองทำดูจาก หนังสือแบบฝึกหัดรายวิชาพื้นฐาน
วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี(วิทยาการคำนวน)ป.3 หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 เรื่อง เทคโนโลยีสารสนเทศ หน้า
40,41,44,45
3. ทำแบบฝึกหัดจากหนังสือแบบฝึกหัดรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี (วิทยาการ
คำนวณ)ป.3 หน่วยที่ 3 เรื่อง เทคโนโลยีสารสนเทศ) ในชั่วโมงถัดไป
4. ให้นักเรียนทำชิ้นงาน/ภาระงานรวบยอด และกิจกรรมเสริมสร้างการเรียนรู้ หน้า 61 เป็นการบ้าน
ส่งในคาบถัดไป
5. ครูสรุปสาระสำคัญ หน้า 60 ให้นักเรียนร่วมกันอภิปราย และซักถามข้อสงสัย
6. นักเรียนตรวจสอบตนเองจากหนังสือแบบฝึกหัดรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี
(วิทยาการคำนวน) ป.3 หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 เรื่อง เทคโนโลยีสารสนเทศ หน้า 59
10. สื่อ/แหล่งการเรียนรู้
1. หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ) ป.3 เรื่อง อินเทอร์เน็ต
และเทคโนโลยีสารสนเทศ
2. แบบฝึกหัดรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ) ป.3 เรื่อง อินเทอร์เน็ตและ
เทคโนโลยีสารสนเทศ
3. สื่อวีดีโอ https://www.youtube.com/watch?v=NFFRH86O40Q
4. ชิ้นงาน/ภาระงานรวบยอด เรื่อง อินเทอร์เน็ตและเทคโนโลยีสารสนเทศ

11. การวัดและการประเมินผล
11.1 การประเมินระหว่างการจัดกิจกรรม
จุดประสงค์ วิธีการประเมิน เครื่องมือการประเมิน เกณฑ์การประเมิน
1.นักเรียนบอกข้อดีและ 1.ประเมินการนำเสนอ 1.แบบประเมินการ 1.สามารถนำเสนอ
ข้อเสียจากการใช้ กลุ่ม เสนอกลุ่ม ข้อมูลได้น่าสนใจ ครบ
เทคโนโลยีสารสนเทศได้ ถ้วน อยู่ในเกณฑ์พอใช้
(K) ขึ้นไป
2.นักเรียนสามารถใช้ 1.ประเมินการนำเสนอ 1.แบบประเมินการ 1.สามารถนำเสนอ
เทคโนโลยีสารสรเทศ กลุ่ม เสนอกลุ่ม ข้อมูลได้น่าสนใจ ครบ
อย่างปลอดภัย (P) 2.ตรวจแบบฝึกหัด เรื่อง 2.แบบฝึกหัด เรื่อง ถ้วน ในเกณฑ์พอใช้ขึ้น
เทคโนโลยีสารสนเทศ เทคโนโลยีสารสนเทศ ไป
2.ตอบคำถามในแบบ
ฝึกหัดถูกต้อง ครบถ้วน
ในเกณฑ์พอใช้ขึ้นไป
3.นักเรียนสามารถ 1.ตรวจแบบฝึกหัด เรื่อง 1.แบบฝึกหัด เรื่อง 1.ตอบคำถามในแบบ
ปฏิบัติตามข้อตกลงใน ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ เทคโนโลยีสารสนเทศ ฝึกหัดถูกต้อง ครบถ้วน
การใช้เทคโนโลยี ในเกณฑ์พอใช้ขึ้นไป
สารสนเทศได้ (A)

11.2 แบบประเมินการนำเสนอกลุ่ม
คุณภาพผลงาน
ลำดับที่ รายการประเมิน
4 3 2 1
1 ขั้นตอนเรียบเรียงข้อมูลในการนำเสนอ
2 มีการวางแผนการทำงานกลุ่ม
3 นำเสนอเนื้อหาได้ถูกต้อง ชัดเจน
4 เนื้อหามีความน่าสนใจและหลากหลาย
5 ที่มาของเนื้อหาเชื่อถือได้

รวม

เกณฑ์การให้คะแนน
ดีมาก = 4
ดี = 3
พอใช้ = 2
ปรับปรุง = 1

เกณฑ์การตัดสินคุณภาพ
ช่วงคะแนน ระดับคะแนน
18-20 ดีมาก
14-17 ดี
10-13 พอใช้
ต่ำกว่า 10 ปรับปรุง

11.3 แบบประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์
คำชี้แจง : ให้ผู้สอนสังเกตพฤติกรรมของนักเรียนในระหว่างเรียนและนอกเวลาเรียน แล้วขีด ลงในช่อง
ที่ตรงกับระดับคะแนน
คุณลักษณะ รายการประเมิน ระดับคะแนน
อันพึงประสงค์ด้าน 3 2 1
1. รักชาติ ศาสน์ 1.1 ยืนตรงเคารพธงชาติและร้องเพลงชาติได้
กษัตริย์ 1.2 เข้าร่วมกิจกรรมที่สร้างความสามัคคีปรองดองและเป็นประโยชน์
ต่อโรงเรียน
1.3 เข้าร่วมกิจกรรมทางศาสนาที่ตนนับถือ ปฏิบัติตามหลักศาสนา
1.4 เข้าร่วมกิจกรรมที่เกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์ตามที่โรงเรียนจัดขึ้น
2. ซื่อสัตย์ สุจริต 2.1 ให้ข้อมูลที่ถูกต้องและเป็นจริง
2.2 ปฏิบัติในสิ่งที่ถูกต้อง
3. มีวินัย รับผิดชอบ 3.1 ปฏิบัติตามข้อตกลง กฎเกณฑ์ ระเบียบ ข้อบังคับของครอบครัว
มีความตรงต่อเวลาในการปฏิบัติกิจกรรมต่าง ๆ ในชีวิตประจำวัน
4. ใฝ่เรียนรู้ 4.1 รู้จักใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์และนำไปปฏิบัติได้
4.2 รู้จักจัดสรรเวลาให้เหมาะสม
4.3 เชื่อฟังคำสั่งสอนของบิดา-มารดา โดยไม่โต้แย้ง
4.4 ตั้งใจเรียน
5. อยู่อย่างพอเพียง 5.1 ใช้ทรัพย์สินและสิ่งของของโรงเรียนอย่างประหยัด
5.2 ใช้อุปกรณ์การเรียนอย่างประหยัดและรู้คุณค่า
5.3 ใช้จ่ายอย่างประหยัดและมีการเก็บออมเงิน
6. มุ่งมั่นในการทำงาน 6.1 มีความตั้งใจและพยายามในการทำงานที่ได้รับมอบหมาย
6.2 มีความอดทนและไม่ท้อแท้ต่ออุปสรรคเพื่อให้งานสำเร็จ
7. รักความเป็นไทย 7.1 มีจิตสำนึกในการอนุรักษ์วัฒนธรรมและภูมิปัญญาไทย
7.2 เห็นคุณค่าและปฏิบัติตนตามวัฒนธรรมไทย
8. มีจิตสาธารณะ 8.1 รู้จักช่วยพ่อแม่ ผู้ปกครอง และครูทำงาน
8.2 รู้จักการดูแลรักษาทรัพย์สมบัติและสิ่งแวดล้อมของห้องเรียน
และโรงเรียน

ลงชื่อ..................................................ผู้ประเมิน
............/.................../................
เกณฑ์การให้คะแนน
พฤติกรรมที่ปฏิบัติชัดเจนและสม่ำเสมอ ให้ 3 คะแนน ช่วงคะแนน ระดับคุณภาพ
พฤติกรรมที่ปฏิบัติชัดเจนและบ่อยครั้ง ให้ 2 คะแนน 51-60 ดีมาก
พฤติกรรมที่ปฏิบัติบางครั้ง ให้ 1 คะแนน 41-50 ดี
30-40 พอใช้
ต่ำกว่า 30 ปรับปรุง

11.4 แบบประเมินชิ้นงาน/ภาระงานรวบยอด
รายการประเมิน เกณฑ์การประเมิน (ระดับคุณภาพ) ระดับคุณภาพ
(4) (3) (2) (1) ดีมาก
1.การใช้ ใช้อินเทอร์เน็ตได้ ใช้อินเทอร์เน็ตได้ ใช้อินเตอร์เน็ตได้ ไม่สามารถใช้
อินเทอร์เน็ต ถูกต้องและปฏิบัติ ถูกต้องและปฏิบัติ เล็กน้อย อินเทอร์เน็ตได้
ตามข้อตกลงได้ ดี ตามข้อตกลงได้ อย่างถูกต้อง
มาก บางส่วน ดี
2.การใช้ ใช้เทคโนโลยี ใช้เทคโนโลยี ใช้เทคโนโลยี ไม่สามารถใช้
เทคโนโลยี สารสนเทศได้ สารสนเทศได้ สารสนเทศได้ เทคโนโลยี
สารสนเทศอย่าง อย่างปลอดภัยดี อย่างปลอดภัย อย่างปลอดภัย สารสนเทศได้
ปลอดภัย มาก บางส่วน เล็กน้อย อย่างปลอดภัย พอใช้
3.ความสมบูรณ์ ผลงานมีความ ผลงานมีความ ผลงานมีความ ผลงานไม่ครบ
ของผลงาน ครบถ้วนสมบูรณ์ ครบถ้วนสมบูรณ์ ครบถ้วนสมบูรณ์ ถ้วนสมบูรณ์
ดีมาก ค่อนข้างดี ดีเป็นบางส่วน ปรับปรุง
4.ส่งงานตรงเวลา ส่งภาระงาน ส่งภาระงานช้า ส่งภาระงานช้า ส่งภาระงานช้า
ภายในเวลาที่ กว่ากำหนด 1 วัน กว่ากำหนด 2 วัน กว่ากำหนด 3 วัน
กำหนด

เกณฑ์การตัดสินคุณภาพ
ช่วงคะแนน ระดับคุณภาพ
14-16 ดีมาก
11-13 ดี
8-10 พอใช้
น้อยกว่า 8 ปรับปรุง

ชิ้นงานรวบยอด/ผลงานรวบยอด
เรื่อง อินเทอร์เน็ตและเทคโนโลยีสารสนเทศ
ในปัจจุบันเทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทสำคัญในชีวิตประจำวันให้นักเรียนใช้ อินเทอร์เน็ตในการสืบค้นหาข้อมูล
แนวทาง “การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างปลอดภัยในชีวิตประจำวัน” พร้อมหาข่าวประกอบนำมาตัดแปะ
การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างปลอดภัยในชีวิตประจำวัน
..............................................................................................................................................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................................................................................................................................
..........................................
..............................................................................................................................................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................................................................................................................................
.......................................... ...................................................................................................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................................................................................................................................
..................................................................................... ........................................................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................................................................................................................................
...............................................................................................................................

คำที่ใช้ค้นหา .................................................................................................................................................

เว็บไซต์ .................................................................................................................................................

วันที่เผยแพร่ ...............................................................................................................................................

ข่าวเทคโนโลยีสารสนเทศที่นักเรียนสนใจ
(เขียนหรือตัดข่าวจากหนังสือมาแปะตามความเหมาะสม)

..............................................................................................................................................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................................................................................................................................
..........................................
ชิ้นงานรวบยอด/ผลงานรวบยอด
เรื่อง อินเทอร์เน็ตและเทคโนโลยีสารสนเทศ เฉลย
ในปัจจุบันเทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทสำคัญในชีวิตประจำวันให้นักเรียนใช้ อินเทอร์เน็ตในการสืบค้นหาข้อมูล
แนวทาง “การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างปลอดภัยในชีวิตประจำวัน” พร้อมหาข่าวประกอบนำมาตัดแปะ
การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างปลอดภัยในชีวิตประจำวัน
1.ต้องใช้อินเทอร์เน็ตอย่างปลอดภัย (Internet Safety) เช่น ไม่ทักทายหรือพูดคุยกับผู้อื่นซึ่งอาจจะเป็นมิจฉาชีพได้
..............................................................................................................................................................................................................................................................................
2.รู้จักเก็บข้อมูลส่วนตัวสำคัญไม่ให้คนอื่นทราบ (Privacy & Security) เช่น Username และ Password
..............................................................................................................................................................................................................................................................................
3.ควรจะรักษาระดับความสัมพันธ์และการสื่อสารกับบุคคลอื่นในโลกดิจิทัล (Relationship & Communication)
..............................................................................................................................................................................................................................................................................
..........................................
4.ต้องไม่กลั่นแกล้งหรือระมัดระวังการกลั่นแกล้งของผู้อื่นในโลก
..............................................................................................................................................................................................................................................................................
5.ระมัดระวังการส่งข้อมูลที่เป็นอันตรายต่อชื่อเสียงของตนเองในอนาคต (Digital Footprint & Reputation)
..............................................................................................................................................................................................................................................................................
ดิจิทัล (Cyberbullying & Digital Drama)
..............................................................................................................................................................................................................................................................................
6.ควรกำหนดตัวตนของตนเองในการเล่นเกม
.......................................... ...................................................................................................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................................................................................................................................
7.ระมัดระวังการรับ และ ส่งข้อมูลข่าวสารที่ไม่มีความน่าเชื่อถือ (Information Literacy)เพื่อป้องกันผู้ไม่ประสงค์
..............................................................................................................................................................................................................................................................................
ดีต่อเรา (Self-image & Identity) ........................................................................................................................................................................................
.....................................................................................
..............................................................................................................................................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................................................................................................................................
...............................................................................................................................

คำที่ใช้ค้นหา .................................................................................................................................................

เว็บไซต์ .................................................................................................................................................

วันที่เผยแพร่ ...............................................................................................................................................

การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างปลอดภัย
https://imagineering.co.th
28 พ.ย 61

ข่าวเทคโนโลยีสารสนเทศที่นักเรียนสนใจ
(เขียนหรือตัดข่าวจากหนังสือมาแปะตามความเหมาะสม)

..............................................................................................................................................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................................................................................................................................
..........................................
ก้าวหน้าอีกขั้น แพทย์จีนใช้เทคโนโลยี 5G อัลตราซาวด์ทางไกล

สำนักข่าวซินหัวรายงานว่า คณะแพทย์ของโรงพยาบาลประชาชนกว่างโจวที่หนึ่ง (Guangzhou First People's


Hospital) ทางตอนใต้ของประเทศจีน ใช้เวลา 20 นาที ในการสแกนอัลตราซาวด์ให้กับคนไข้ในโรงพยาบาลในเขต
หนานซา ที่อยู่ห่างออกไป 60 กิโลเมตร โดยสั่งการหุ่นยนต์ผ่านสัญญาณ 5 จี (5G) โดยภาพกระบวนการอัลตรา
ซาวด์ทั้งหมดจะถูกฉายขึ้นบนจอขนาดใหญ่ด้านหน้าของพวกเขา กระบวนการดังกล่าวได้รับความช่วยเหลือจาก
บริษัทไชน่ายูนิคอม (China Unicom) ผู้ให้บริการสื่อสารรายใหญ่ของประเทศจีน ที่เข้ามาช่วยสนับสนุนในด้าน
เทคนิคสแกนอัลตราซาวด์ทางไกลไชน่ายูนิคอมเผยว่า เทคโนโลยี 5G สามารถช่วยแก้ปัญหาการล่าช้าของการส่ง
วิดีโอและเสียงออนไลน์ได้ เนื่องจากมีการส่งผ่านที่รวดเร็วและโอกาสเสี่ยงการติดเชื้อต่ำฉาวเจี๋ย ประธานโรง
พยาบาลฯ เผยว่า ทางโรงพยาบาลมีแผนที่จะส่งเสริมการใช้เทคโนโลยี 5G ในงานด้านอื่นๆ เช่น การประชุมการ
แพทย์และการให้คำแนะนำการผ่าตัดทางไกล ตลอดจนเหตุฉุกเฉินต่างๆ

ข่าวเทคโนโลยีสารสนเทศ
www.sanook.com
08 พ.ค. 62

12. บันทึกผลหลังการสอน
ผลการจัดการเรียนการสอน
1. นักเรียนจำนวน.................... คน
ผ่านจุดประสงค์การเรียนรู้.....................คน คิดเป็นร้อยละ...............
ไม่ผ่านจุดประสงค์การเรียนรู้.....................คน คิดเป็นร้อยละ................
2. นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจ
……………………………………………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
3. นักเรียนมีความรู้เกิดทักษะ
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………

4. ปัญหา/อุปสรรค/แนวทางแก้ไข
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
5. ข้อเสนอแนะ
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………

ลงชื่อ ....................................
( )
ตำแหน่ง

ความเห็นของหัวหน้าสถานศึกษา/ผู้ที่ได้รับมอบหมาย
ได้ทำการตรวจแผนการจัดการเรียนรู้ มีความคิดเห็นดังนี้
1. องค์ประกอบของแผนการจัดการเรียนรู้
 ครบถ้วนและถูกต้อง
 ยังไม่ครบถ้วนหรือไม่ถูกต้อง ควรปรับปรุงพัฒนาต่อไป
2. ความสอดคล้องของแผนการจัดการเรียนรู้กับหลักสูตรสถานศึกษา
 สอดคล้อง
 ยังไม่สอดคล้อง ควรปรับปรุงพัฒนาต่อไป
3. รูปแบบของการจัดการเรียนรู้
 เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
 ยังไม่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ควรปรับปรุงพัฒนาต่อไป
4. สื่อการเรียนรู้
 เหมาะสมกับรูปแบบการจัดการเรียนรู้
 ยังไม่เหมาะสมกับรูปแบบการจัดการเรียนรู้ ควรปรับปรุงพัฒนาต่อไป
5. การประเมินผลการเรียนรู้
 ครอบคลุมจุดประสงค์การเรียนรู้
 ยังไม่ครอบคลุมจุดประสงค์การเรียนรู้ ควรปรับปรุงพัฒนาต่อไป
6. ข้อเสนอแนะอื่นๆ
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………....………………………………………………………………………………………………………………………

ลงชื่อ .........................................
( )
ตำแหน่ง ผู้อำนวยการโรงเรียน

You might also like