You are on page 1of 37

Network Protocol

อาจารย์อดิศยา เจริญผล
สาขาวิศวกรรมสารสนเทศและการสื่อสาร
คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
Data Transport Process
เมื่อ computer A ต้องการส่งข้อมูลไปยัง computer B จะมีกระบวนการทางานต่างๆ
ตามลาดับดังนี้
- ข้อมูลจาก Layer 7,6,5 จะถูกนามาหั่นเป็นท่อนๆ แล้วใส่ข้อมูลบางอย่างตอ่เพิ่มเข้าไปใน
ส่วนหัว เรียกว่า Header เพื่อใช้ในการบันทึกข้อมูลทีจ่ าเป็น เช่น หมายเลข port ต้นทางและ
หมายเลข port ปลายทาง กลายมาเป็นก้อนข้อมูล (Segment) ใน Layer4 ซึ่งเรียกว่า TCP
Segment
- จากนั้นข้อมูล Layer4 จะถูกส่งผ่านลงไปยัง Layer3 และจะถูกใส่ Header อีกซึ่งเป็นการ
เพิ่ม header เป็นชั้นๆ เรียกว่า การ Encapsulate ซึ่งในส่วนนี้จะเหมือนกับการเอาเอกสาร
ใส่ซองจดหมายแล้วจ่าหน้าซองระบุผู้ส่งและผู้รับ คือ เป็นการบันทึกหมายเลข ip address
ของโฮสต์ต้นทางและโฮสต์ปลายทางไว้ด้วย เมื่อการ encapsulate เสร็จสิ้นจะได้ก้อนข้อมูล
ที่เรียกว่า packet
Data Transport Process
- จากนั้น packet ของข้อมูลจะถูกส่งผ่านไปยังระดับล่างอีก คือ ส่งไปให้ Layer2 ในชั้นนี้
ข้อมูลจะถูกใส่ header เพิ่มเข้าไปที่ส่วนหัวเพื่อเก็บ MAC Address ของต้นทางและ
ปลายทาง และยังมีการใส่ข้อมูลต่อเพิ่มเข้าไปในส่วนหางด้วย ข้อมูลที่ต่อเพิ่มไปในส่วนหางนี้
เรียกว่า Trailer จึงรวมกันกลายเป็นก้อนข้อมูลของ Layer2 ที่เรียกว่า Frame
- จากนั้น Frame ข้อมูลจะถูกแปลงให้กลายเป็น bit ของข้อมูลเพื่อส่งไปตามสื่อ เช่น สาย
UTP, Fiber ต่อไป การส่งสัญญาณทางไฟฟ้าไปตามสื่อต่างๆ นี้ เป็นการทางานในระดับ
Layer1 เรียกว่า Physical Layer
OSI Protocol
ในปัจจุบันระบบเครือข่ายมีโปรโตคอลที่ใช้หลายประเภทซึ่งพัฒนาโดยบางองค์กรหรือบาง
บริษัท โดยโครงสร้างโปรโตคอลเหล่านี้ก็แบ่งเป็นชั้นๆ หรือเลเยอร์ คล้ายกับ OSI Model แต่
อาจจะไม่เหมือนกันทุกเลเยอร์
OSI Model OSI Protocol
Application CMIP, DS, FTAM, MHS, VTP
Presentation Presentation Service/ Presentation Protocol
Session Session Service/ Session Protocol
Transport TP0, TP1, TP2, TP3, TP4, TP5
Network CONP/CMNS, CLNP/CLNS, IS-IS, ES-IS
Data Link IEEE 802.2, IEEE 802.3, IEEE 802.5, FDDI, X.25
Physical IEEE 802.2, IEEE 802.3, IEEE 802.5, FDDI, X.25
Protocol for Layers
Application layer
เป็นชั้นที่อยู่ใกล้ผู้ใช้มากที่สุดและเป็นชั้นที่ทางานส่งและรับข้อมูลโดยตรงกับผู้ใช้ เช่น
ซอฟต์แวร์โปรแกรมต่างๆ ที่อาศัยอยู่บนเลเยอร์นี้ เช่น DNS, HTTP, Browser เป็นต้น
เป็นเรื่องเกี่ยวกับการเข้าไปช่วยในการบริการ เช่น e-mail, ควบคุมการส่งข้อมูล, การแบ่ง
ข้อมูล เป็นต้น
- ยอมให้ user, software ใช้ข้อมูลส่วนนี้เตรียม user interface และ Support service
ต่าง ๆ เช่น E-mail
- ทา Network virtual Terminal
- ยอมให้ User ใช้งานระยะไกลได้, File transfer, Access และ Management (FTAM),
Mail services, Directory service คือ การให้บริการด้าน Data Base
โปรโตคอลในชั้นนี้เป็นจุดเชื่อมต่อระหว่าง User Application กับการสื่อสารผ่านเครือข่าย
ชั้นนี้อาจจะถือได้ว่า เป็นชั้นที่เริ่มขบวนการติดต่อสื่อสาร
Protocol for Layers
Application layer : Protocols
- File Transfer, Access and Management (FTAM) : ให้บริการเกี่ยวกับการถ่ายโอน
ไฟล์ระหว่างคอมพิวเตอร์และการอ่าน การเขียน หรือแม้กระทั่งการลบไฟล์ที่อยู่ในอีกเครื่อง
หนึ่งได้
- Virtual Terminal Protocol (VTP) : ให้บริการเกี่ยวกับการเข้าใช้แอพพลิเคชันที่อยู่อีก
เครื่องหนึ่ง โดยการจาลองเทอร์มินอลของเครื่องที่อยู่ห่างไกลกับผู้ใช้
- Message Handling Service (MHS) : ให้บริการเกี่ยวกับการรับ-ส่งอีเมล
- Directory Service (DS) : ให้บริการเกี่ยวกับการจับคู่ระหว่างชื่อและที่อยู่ของ
คอมพิวเตอร์
- Common Management Information Protocol (CMIP) : ให้บริการข้อมูลเกี่ยวกับ
การจัดการเครือข่าย
Functions of The Layers
Presentation layer
เป็นชั้นที่รับผิดชอบเรื่องรูปแบบของการแสดงผลเพื่อโปรแกรมต่างๆ ที่ใช้งานระบบเครือข่าย
ทาให้ทราบว่าข้อมูลที่ได้เป็นประเภทใด เช่น รูปภาพ, เอกสาร, ไฟล์วีดีโอ
- เป็นเรื่องเกี่ยวกับการสร้างและการเปลี่ยนแปลงข้อมูลระหว่าง 2 ระบบ
- Data Formats และ Encoding
- การบีบอัดข้อมูล (Data Compression)
- Encryption - การเข้ารหัส Compression - การบีบ และอัดข้อมูล
- Security - ควบคุมการ log in ด้วย Code, password
Functions of The Layers
Presentation layer : Protocol
ทาหน้าที่ตกลงกับคอมพิวเตอร์อีกด้านหนึ่งในชั้นเดียวกันว่า การรับส่งข้อมูลในระดับ
โปรแกรมประยุกต์จะมีขั้นตอนและข้อบังคับอย่างไร จุดประสงค์หลักของ Layer นี้คือ
กาหนดรูปแบบของการสื่อสาร อย่างเช่น ASCII Text, EBCDIC, Binary และ JPEG
ตัวอย่างเช่น โปรแกรม FTP ต้องการรับส่งโอนย้ายไฟล์กับเครื่อง server ปลายทาง
โปรโตคอล FTP จะอนุญาติให้ผู้ใช้ระบุรูปแบบของข้อมูลที่โอนย้ายกันได้ว่าเป็นแบบ ASCII
text หรือแบบ binary JPEG, ASCII, Binary, EBCDICTIFF, GIF, MPEG, Encryption เป็น
ต้น
ดังนั้นก่อนส่งข้อมูลโปรโตคอลในเลเยอร์นี้ก็จะแปลงข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบที่เป็นมาตรฐาน
ส่วนทางฝ่ายรับก็จะแปลงกลับไปเป็นรูปแบบที่คอมพิวเตอร์เครื่องนั้นเข้าใจ นอกจากนี้เลเยอร์
นี้ยังรับผิดชอบในการทาให้ข้อมูลที่เข้ารหัสเลขทศนิยมที่ต่างกันสามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลกัน
ได้
Functions of The Layers
Session layer
ทาหน้าที่ในการจัดการกับเซสชันของโปรแกรม ชั้นนี้เองที่ทาให้ในหนึ่งโปรแกรมยกตัวอย่าง
เช่น Web browser สามารถทางานติดต่ออินเทอร์เน็ตได้พร้อมๆ กันหลายหน้าต่าง
- ควบคุมการสื่อสารจากต้นทางไปยังปลายทางแบบ End to End และคอยควบคุมช่องทาง
การสื่อสารในกรณีที่มีหลายๆ โปรเซสต้องการรับส่งข้อมูลพร้อมๆ กันบนเครื่องเดียวกัน
- ทางานเกี่ยวกับการควบคุม dialog เช่น การเชื่อมต่อ บารุงรักษา และ ปรับการรับ และส่ง
ข้อมูลให้มีค่าตรงกัน
- ทาหน้าที่เกี่ยวกับการกาหนด Synchronizationเปิดและปิดการสนทนา ควบคุมดูแล
ระหว่างการสนทนา
- Grouping คือ ข้อมูลประเภทเดียวกันจะจับกลุ่มไว้ใน Group เดียวกัน
- Recovery คือ การกู้กลับข้อมูล
**เซสชัน (Session) คือ การสื่อสารที่กาลังเป็นไปในช่วงขณะใดขณะหนึ่ง
Functions of The Layers
Session layer
ทางานคล้ายๆ เป็นหน้าต่างคอยสลับเปิดให้ข้อมูลเข้าออกตามหมายเลขช่อง( port) ทีก่ าหนด
กาหนดวิธีที่ใช้รับส่งข้อมูล เช่น ลักษณะสลับกันส่ง ( Half Duplex) หรือรับส่งไปพร้อมกัน
ทั้ง 2 ด้าน (Full Duplex) ข้อมูลที่รับส่งกันใน Session Layer นี้จะอยู่ในรูปของ dialog
หรือประโยคข้อมูลที่สนทนาโต้ตอบกันระหว่างฝั่งรับและฝั่งส่งข้อมูล ไม่ได้มองเป็นคาสั่ง
เช่น เมื่อผู้รับได้รับข้อมูลส่วนแรกจากผู้ส่ง ก็จะตอบกลับไปให้ผู้ส่งรู้ว่าได้รับข้อมูลส่วนแรก
เรียบร้อยแล้ว และพร้อมที่จะรับข้อมูลส่วนต่อไป คล้ายกับเป็นการสนทนาตอบโต้กันระหว่าง
ผู้รับกับผู้ส่งนั่นเอง ตัวอย่างของ protocol ในชั้นนี้คือ RPC, SQL, Windows socket, NFS
เป็นต้น
Functions of The Layers
การให้บริการ Service ใน Transport Layer และ Network Layer แบ่งได้เป็น 2
ประเภท
- Connectionless Service การส่งข้อมูลแบบไม่มีการสร้างการเชื่อมต่อก่อน โดยหวังว่า
packet จะส่งถึงปลายทางแน่นอน ดังนั้น จึงรับประกันไม่ได้ว่าข้อมูลจะส่งถึงปลายทางสาเร็จ
ดังนั้นจึงต้องมีสิ่งที่มาตรวจสอบข้อผิดพลาดและแก้ไข
- Connection-Oriented Service การให้บริการเครือข่ายโดยมีการรองรับว่าข้อมูลทจะ
ถูกส่งไปถึงปลายทางแน่นอน ซึ่งก่อนที่จะมีการส่งข้อมูลแต่ละครั้งจะมีการสร้างเส้นทางการ
เชื่อมต่อระหว่างต้นทางและปลายทางก่อน และเมื่อรับ-ส่งข้อมูลสาเร็จก็จะมีการยกเลิก
เส้นทางการเชื่อมต่อดังกล่าว
Functions of The Layers
Transport layer
ทาหน้าที่ดูแลจัดการเรื่องของความผิดพลาดที่เกิดขึ้นจากการสื่อสาร ซึ่งการตรวจสอบความ
ผิดพลาดนั้นจะพิจารณาจากข้อมูลส่วนที่เรียกว่า checksum และอาจมีการแก้ไขข้อผิดพลาด
นั้นๆ โดยพิจารณาจากฝั่งต้นทางกับฝั่งปลายทาง (End-to-end) โดยหลักๆ แล้วชั้นนี้จะ
อาศัยการพิจารณาจาก พอร์ต (Port) ของเครื่องต้นทางและปลายทาง
- ควบคุมการส่งข้อมูลจาก ต้นทางไปยังปลายทางข้อมูลใน Layer นี้เรียกว่า " package "
เหมือนกัน ใช้ port address
- Segmentation & Reassembly
- ส่งไปเป็นลาดับ Segment Number
- ควบคุมการติดต่อ
- Flow Control
- คุณภาพการบริการ (QoS)
Functions of The Layers
Transport layer : Protocol
โปรโตคอลในชั้นนี้แบ่งออกเป็น 5 โปรโตคอล ตั้งแต่ TP0 – TP4 (Transport Protocol
Class 0 – 4) โดยมีเพียง TP4 เท่านั้นที่ให้บริการแบบ Connectionless
TP0 : ทาหน้าที่เกี่ยวกับการแบ่งข้อมูลที่จะส่งเป็นส่วนย่อย (Segmentation) ในการส่ง
ข้อมูล และจัดเรียงส่วนย่อยของข้อมูลให้ได้ลาดับเดิม (Reassembly) ในการรับข้อมูล **
ส่วนย่อยของข้อมูล เรียกว่า PDU (Protocol Data Unit)
TP1 : ทาหน้าที่เหมือน TP0 แต่มีฟังก์ชันการกู้คืนข้อมูลจากข้อผิดพลาด โดยจะส่ง PDU อีก
ครั้งถ้าไม่ได้รับการตอบรับ หรืออาจสร้างการเชื่อมต่อใหม่หากพบว่ามี PDU จานวนมากไม่ได้
รับการตอบรับ
TP2 : ทาหน้าที่เหมือน TP0 แต่ทามัลติเพล็กซ์ (Multiplex) และดีมัลติเพล็กซ์
(Demultiplex) กระแสข้อมูลบนวงจรเสมือน (Virtual Circuit)
Functions of The Layers
TP3 : การรวมกันระหว่าง TP1 และ TP2
TP4 : ทาหน้าที่เหมือน TP3 แต่สามารถให้บริการได้ทั้งแบบ Connectionless และ
Connection-Oriented
Functions of The Layers
Network layer
รับผิดชอบในการจัดเส้นทางให้กับข้อมูลระหว่างต้นทางและปลายทาง โดยใช้ระบบจัดการที่
อยู่ (Addressing) ที่ไม่ขึ้นอยู่กับที่อยู่ที่ใช้ในชั้น Data Link
- Switching & Routing
- หาที่อยู่อย่างมีเหตุผล
- ไม่ต้องใช้ Technology ชั้นสูง
- ไม่ต้องใช้สายโดยตรง
Functions of The Layers
Network layer : Protocol
- CLNP (Connectionless Network Protocol)
- CLNS (Connectionless Network Service)
- CONP (Connection-Oriented Network Protocol)
- CMNS (Connection-Mode Network Service)
Functions of The Layers
Network Address คือ ที่อยู่หรือหมายเลขที่บ่งบอกเฉพาะของคอมพิวเตอร์ที่อยู่ใน
เครือข่าย โดยจะแบ่งออกเป็น 2 ชั้น คือ
NSAP (Network Service Access Point) เป็นที่ที่โปรโตคอลในชั้น Network จะ
ให้บริการกับโปรโตคอลในชั้น Transport โดยแต่ละ Entity ในชั้น Transport จะถูก
กาหนดให้มีหมายเลข NSAP ที่ไม่ซ้ากัน
NET (Network Entity Title) เป็นจุดสมมติที่เชื่อมต่อระหว่างชั้น Transport และชั้น
Network โดย NET เป็นหมายเลขที่บ่งบอก Network ของระบบโดยรวม หมายเลขนี้จะใช้
กับ IS (Intermediate System) ระบบสื่อกลาง เช่น Router เนื่องในชั้น Transport ไม่มี
โปรโตคอลรองรับ ซึ่ง router อาจมีหมายเลข NET มากกว่าหนึ่งก็ได้ขึ้นอยู่กับจานวน
domain หรือ area ที่ router นั้นอยู่
Functions of The Layers
Data link layer : จัดเตรียมข้อมูลที่จะส่งผ่านไปบนสื่อตัวกลาง
- ควบคุมการส่งข้อมูลบน Physical link
- ดูที่อยู่บนเครือข่าย Physical
- Framing
- ควบคุมให้เท่ากัน
- ควบคุมการผิดพลาด (Error)
- Synchronization ให้ผู้ส่งกับผู้รับใช้เวลาเดียวกันในส่งข้อมูล
- ควบคุมการใช้สายสื่อสาร
ตัวอย่างของ Protocols
-WAN : HDLC, PPP
-LAN : Ethernet, Token Ring
Functions of The Layers
Data link layer : Protocols
ในระหว่างการรับ-ส่งข้อมูลอาจมีเหตุการณ์ต่างๆ เกิดขึ้น เช่น ข้อมูลส่งไปไม่ถึงปลายทาง
หรือบางส่วนของ frame เสียหายหรือเกิดข้อผิดพลาด เป็นหน้าที่ของชั้น Data link ในการ
ตรวจสอบและแก้ไขข้อผิดพลาด โดยการจัด bit ต่อเนื่องให้กลับเป็น frame ซึ่งจะใช้ buffer
(Buffer) แล้วใส่ข้อมูลทีละ bit จนครบ frame โปรโตคอลมาตรฐาน คือ IEEE 802.2 LLC,
IEEE 802.3 (Ethernet), IEEE 802.5 (Token Ring), FDDI และ X.25, HDLC, PPP
Functions of The Layers
Physical Layer
เป็นชั้นของสื่อที่ใช้ในการติดต่อสื่อสาร ซึ่งอาจจะเป็นทั้งแบบที่ใช้สายหรือไม่ใช้สาย เช่น
Shield Twisted Pair (STP), Unshield Twisted Pair (UTP), Fiber Optic และอื่นๆ
- Physical ติดต่อระหว่างผู้รับ
- การส่งต่อข้อมูล
- สื่อกลาง & สัญญาณ
- เครื่องมือการติดต่อ
Functions of The Layers
Physical Layer : Protocols
ชั้นนี้จะมองแค่ 0 และ 1 เท่านั้น ไม่สนใจความหมายของข้อมูลเลย เพราะฉะนั้นโปรโตคอลที่
จะเกี่ยวข้องจะเป็นในส่วนของลักษณะของสื่อที่ใช้ ณ ขณะนั้น เช่น
- WAN Technology : T1, E1
- LAN Technology : 10/100 BaseT, 10/100/1000 BaseT
- Interface : RS-232, X.21
ชุดโปรโตคอล TCP/IP
Transmission Control Protocol / Internet Protocol : TCP/TP
ได้ถูกพัฒนามาแล้วกว่า 30 ปี ซึ่งเริ่มจากการวิจัยที่สนับสนุนโดยกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ
จุดประสงค์ของการวิจัย คือ เพื่อเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ที่ต่างแพลตฟอร์ม (Platform) ให้
สามารถสื่อสารกันผ่านเครือข่าย ซึ่งสามารถทาได้โดยการแบ่งโปรโตคอลเป็นชั้น และเป็นการ
แยกการทางานของ application ของผู้ใช้ออกจากฮาร์ดแวร์ที่ใช้รับส่งข้อมูลผ่านเครือข่าย
โดยชุดโปรโตคอลนี้จะแตกต่างกับ OSI Model เล็กน้อย
ชุดโปรโตคอล TCP/IP
ความแตกต่างระหว่างชุดโปรโตคอล TCP/IP และชุดโปรโตคอล OSI Model
การออกแบบชุดโปรโตคอล TCP/IP จะมุ่งเน้นไปที่การเชื่อมต่อระหว่างระบบที่ต่างกัน
ในขณะที่ OSI Model จะเน้นไปที่การแบ่งการทางานของโปรโตคอลออกเป็นชั้นๆ การ
ออกแบบ TCP/IP ยังคงเป็นแบบชั้นๆ เหมือนกัน แต่เมื่อถึงขั้นตอนการทางานจริงจะให้
ผู้ออกแบบเป็นผู้ตัดสินใจว่าจะใช้ชุดโปรโตคอลแบบใด ซึ่งเป็นผลให้ชุดโปรโตคอล OSI
เหมาะสาหรับใช้อธิบายการสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์ในระบบเครือข่ายได้ดีกว่า
ในขณะที่ชุดโปรโตคอล TCP/IP เป็นที่นิยมมากกว่าในการนาไปใช้จริง
ชุดโปรโตคอล TCP/IP
Application Layer : TCP/IP
การทางานของโปรโตคอลในชั้นนี้จะเป็นการใช้ทรัพยากรระยะไกล (Remote Access) และ
การแชร์การใช้ทรัพยากร (Resource Sharing)
Protocol
- SMTP (Simple Mail Transfer Protocol)
ใช้สาหรับการรับส่ง E-mail ระหว่าง mail servers ในเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
- POP (Post Office Protocol) หรือ POP3 (Version 3)
ใช้สาหรับการดาวน์โหลด E-mail จาก mail servers ออกแบบมาสาหรับผู้ใช้ที่เข้าถึง
อินเทอร์เน็ตได้จากัด (เช่น ต่ออินเทอร์เน็ตด้วยสายโทรศัพท์) ซึ่งผู้ใช้สามารถดาวน์โหลดอีเมล
มาเก็บไว้ และอ่านได้ในภายหลัง โดยไม่ต้องเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ต
Application Layer : TCP/IP
- IMAP (Internet Message Access Protocol)
ใช้สาหรับการดาว์โหลด E-mail จาก mail servers เนื่องจาก IMAP เป็นโพรโทคอลแบบ
on-line ขณะที่ POP เป็นโพรโทคอลแบบ off-line โดย IMAP และ POP3 เป็น2 โปรโตคอล
รับอีเมลที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในปัจจุบัน
- FTP (File Transfer Protocol)
ใช้สาหรับถ่ายโอนไฟล์ระหว่างโฮสต์ (Host) ใช้สาหรับแลกเปลี่ยนและจัดการไฟล์บน
เครือข่าย TCP/IP เช่น อินเทอร์เน็ต FTP ถูกสร้างขึ้นด้วยสถาปัตยกรรมแบบระบบรับ-
ให้บริการ (client-server) และใช้การเชื่อมต่อสาหรับส่วนข้อมูลและส่วนควบคุมแยกกัน
ระหว่างเครื่องลูกข่ายกับเครื่องแม่ข่าย เอฟทีพียังถูกใช้เป็นส่วนประกอบของโปรแกรม
ประยุกต์อื่นเพื่อส่งผ่านไฟล์โดยอัตโนมัติสาหรับการทางานภายในโปรแกรม เราสามารถใช้
เอฟทีพีผ่านทางการพิสูจน์ตัวจริงด้วยชื่อผู้ใช้และรหัสผ่าน หรือเข้าถึงด้วยผู้ใช้นิรนาม
Application Layer : TCP/IP
- HTTP (Hyper Text Transfer Protocol)
ใช้สาหรับการรับส่งไฟล์ web page ระหว่าง web browser และ web servers เป็น
มาตรฐานในการร้องขอและการตอบรับระหว่างเครื่องลูกข่ายกับเครื่องแม่ข่าย ซึ่งเครื่องลูก
ข่ายคือผู้ใช้ปลายทาง (end-user) และเครื่องแม่ข่ายคือเว็บไซต์ เครื่องลูกข่ายจะสร้างการร้อง
ขอเอชทีทีพีผ่านทางเว็บเบราว์เซอร์ เว็บครอว์เลอร์ หรือเครื่องมืออื่น ๆ ที่จัดว่าเป็น ตัวแทน
ผู้ใช้ (user agent) ส่วนเครื่องแม่ข่ายที่ตอบรับ ซึ่งเก็บบันทึกหรือสร้าง ทรัพยากร
(resource) อย่างเช่นไฟล์เอชทีเอ็มแอลหรือรูปภาพ จะเรียกว่า เครื่องให้บริการต้นทาง
(origin server) ในระหว่างตัวแทนผู้ใช้กับเครื่องให้บริการต้นทางอาจมีสื่อกลางหลายชนิด อา
ทิพร็อกซี เกตเวย์ และทุนเนล เอชทีทีพีไม่ได้จากัดว่าจะต้องใช้ชุดเกณฑ์วิธีอินเทอร์เน็ต
(TCP/IP) เท่านั้น แม้ว่าจะเป็นการใช้งานที่นิยมมากที่สุดบนอินเทอร์เน็ตก็ตาม โดยแท้จริง
แล้วเอชทีทีพีสามารถ "นาไปใช้ได้บนโพรโทคอลอินเทอร์เน็ตอื่น ๆ หรือบนเครือข่ายอื่นก็ได้"
เอชทีทีพีคาดหวังเพียงแค่การสื่อสารที่เชื่อถือได้ นั่นคือโพรโทคอลที่มีการรับรองเช่นนั้นก็
สามารถใช้งานได้
Application Layer : TCP/IP
- Telnet
เป็นบริการทางอินเทอร์เน็ตรูปแบบหนึ่ง ซึ่งเป็นการขอเข้าใช้เครื่องคอมพิวเตอร์จาก
ระยะไกล ผู้ใช้นั้นสามารถขอเข้าใช้ได้ขอแค่ติดต่อเครือข่ายที่ได้รับอนุญาต โดยไม่จาเป็นว่า
ต้องนั่งอยู่หน้าเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องนั้น การขอใช้นั้น ผู้ใช้จะป้อนคาสั่งที่เครื่องของตัวเอง
ไปยังเครื่องที่เราขอเข้าใช้ แล้วผลก็จะกลับมาแสดงที่หน้าจอเรา เทลเน็ตเป็นชื่อของโพรโท
คอลที่ใช้ในการจาลองเทอร์มินัลผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เป็นโพรโทคอลในชุด
TCP/IP และเทลเน็ตก็เป็นชื่อของโปรแกรมที่ให้เราสามารถใช้คอมพิวเตอร์จากระยะไกลได้
ถ้าเราได้รับอนุญาตจากเจ้าของเครื่อง
Host-to-Host Layer : TCP/IP
Host-to-Host Layer ทางานคล้ายกับการทางานในชั้น Session และชั้น Transport ของ
OSI Model
Protocol
- TCP
โปรโตคอล TCP ใช้การรับ-ส่งข้อมูลแบบ Connection-Oriented โดยทาหน้าที่ควบคุม
การรับ-ส่งข้อมูลระหว่าง Host ถึง Host ในเครือข่าย เพื่อใช้แลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกัน
โดยจะรับประกันความถูกต้อง และลาดับของข้อมูลที่ส่งผ่านระบบเครือข่าย นอกจากนั้น
TCP ยังช่วยจาแนกข้อมูลให้ส่งผ่านไปยังแอปพลิเคชัน ที่ทางานอยู่บน Hostเดียวกันให้
ถูกต้องด้วย ทาให้มีความน่าเชื่อถือมาก
Host-to-Host Layer : TCP/IP
- UDP
การส่งข้อมูลผ่าน UDP นั้น คอมพิวเตอร์จะส่งข้อมูลขนาดเล็กที่เรียกว่า เดต้าแกรม
(datagram) ผ่านเครือข่ายไปยังเครื่องปลายทาง โดย UDP จะไม่รับประกันความน่าเชื่อถือ
และลาดับของเดต้าแกรม อย่างที่ TCP รับประกัน ซึ่งหมายความว่าเดต้าแกรมอาจมาถึงโดย
ไม่เรียงลาดับ หรือสูญหายระหว่างทางได้ Application ทีใ่ ช้ UDP ในการส่งข้อมูล คือ
Domain Name System (DNS), Streaming media, Voice over IP และเกมออนไลน์
Internet Layer : TCP/IP
Internet Layer เทียบเท่าการทางานในชั้น Network ใน OSI Model ทาหน้าที่ในการส่ง
ข้อมูลผ่านเครือข่ายต่างๆ ตามเส้นทางให้ถึงจุดหมาย โปรโตคอลหลักของชั้นนี้คือ IP
(Internet Protocol) โดยการส่ง packet ในชั้น Network จะเป็นแบบ Connectionless
โดย router จะเลือกเส้นทางที่ดีที่สุด และหน้าที่อื่นจะให้ชั้นที่อยู่สูงขึ้นไปรับผิดชอบ
Protocol
- IGMP (Internet Group Message Protocol)
ทาหนาที่แจ้งใหเราทเตอรเกี่ยวกับกลุมของเครื่องหมายไอพีที่เปนมัลติคาสต (Multicast)
ซึ่งขอมูลนี้จะถูกสงตอๆ กันออกไปยังเราทเตอรตางๆ ที่อยูในเครือขายเพื่อใหเครือขาย
สามารถรองรับการรับสงขอมูลแบบมัลติคาสตได การสงแพ็กเก็ตของ IGMP จะสงเปนไอพี
ดาตาแกรมซึ่งเปนการสงแบบ connectionless
Internet Layer : TCP/IP
- ARP (Address Resolution Protocol)
ทาหน้าที่ในการจับคู่ระหว่างไอพีแอดเดรสทางลอจิคัล กับ แอดเดรสทางทางฟิสิคัล ทั้งนี้
เนื่องจากระบบของการส่งข้อมูลในระบบไอพีนั้น เป็นระบบที่ไม่ขึ้นกับฮาร์ดแวร์ใดๆ ทาให้เมื่อ
ระบบไอพี (IP Address) ต้องการส่งข้อมูล จะต้องร้องขอบริการจากระดับชั้นดาต้าลิงค์ แต่
เนื่องจากระดับชั้นดาต้าลิงค์ไม่รู้จักแอดเดรสในระบบไอพี ดังนั้นระบบไอพีจึงต้องทาการหา
แอดเดรสที่ระดับชั้นดาต้าลิงค์รู้จัก ซึ่งก็คือ ฮาร์ดแวร์แอดเดรส (MAC address) เพื่อที่จะ
สร้างเฟรมข้อมูลในชั้นดาต้าลิงค์ได้ โดยโพรโตคอล ARP จะทาหน้าที่นี้
Internet Layer : TCP/IP
- ARP (Address Resolution Protocol)
ARP จะหาใน ARP cache เมื่อพบแล้วจะแปลงแพ็คเกต เป็นแพ็คเกตที่มีความยาวและ
รูปแบบที่ถูกต้อง เพื่อส่งไปยังเครื่องที่ระบุไว้ แต่ถ้าไม่พบ โปรแกรม ARP จะกระจายแพ็คเกต
ในรูปแบบ บรอดคาสต์ ไปยังเครื่องทุกเครื่องในระบบ และถ้าเครื่องใดเครื่องหนึ่งทราบว่ามี
IP Address ตรงกันก็จะตอบกลับมาที่ ARP โปรแกรม ARP จะปรับปรุง ARP Cache และส่ง
แพ็คเกตไปยัง MAC Address หรือเครื่องที่ตอบมา โดยการทางานของ ARP จะมีรูปแบบการ
ทางานในแบบ บรอดคาสต์ ดังนั้นเครือข่ายที่ใช้งานกับโพรโตคอล ARP ได้จึงต้องเป็น
เครือข่ายที่มีการทางานในแบบ บรอดคาสต์ ซึ่งระบบแลนส่วนใหญ่จะมีการทางานเป็นแบบบ
รอดคาสต์อยู่แล้ว จึงสามารถทางานร่วมกับโพรโตคอล ARP ได้เป็นอย่างดี
Internet Layer : TCP/IP
- RARP (Reversed Address Resolution Protocol)
เป็นโปรโตคอล ซึ่งเครื่องทางกายภาพ ในเครือข่าย LAN สามารถขอ IP Address จาก
เครื่องแม่ข่าย gateway หรือตาราง Address Resolution Protocol ผู้บริหารเครือข่าย
สร้างตารางใน gateway router ของเครือข่าย LAN ที่ใช้จับคู่ address ของเครื่องทาง
กายภาพ (หรือ Media Access Control address : MAC Address) ที่ตรงกับ Internet
Protocol address (IP Address) เมื่อมีการติดตั้งเครื่องใหม่ โปรแกรมลูกข่ายของ RARP
จะขอ RARP server จาก router ให้ส่ง IP address มาให้ สมมติว่ามีการตั้งค่าในตาราง
router แล้ว RARP server จะส่งกลับ IP address ไปที่เครื่องซึ่งจะเก็บไว้สาหรับการใช้ต่อไป
คือ ทางานตรงกันข้ามกับ ARP
Internet Layer : TCP/IP
- ICMP (Internet Control Message Protocol)
ใช้สาหรับการรายงานข้อผิดพลาดในระหว่างการรับส่ง ใน IP packet และตรวจสอบการ
ทางานในชั้น Internet Layer เนื่องจากปกติข้อมูลที่ส่งใน Network จะต้องผ่าน Router
มากกว่าหนึ่งตัว เพื่อให้ Router สามารถตรวจสอบปัญหาในการส่งข้อมูลไปยังปลายทาง
Router จะใช้ Internet Control Message Protocol (ICMP) ไปแจ้งยัง IP ต้นทาง โดย
ICMP จะถูกใช้ในการวิเคราะห์เพื่อแก้ไขปัญหา
ข้อความใน ICMP จะประกอบด้วย
- Echo Request and Echo Reply
- Source Quench
- Destination Unreachable
- Time Exceeded
- Fragmentation Needed
Internet Layer : TCP/IP
- IP (Internet Protocol)
เป็นโปรโตคอลในระดับเน็ตเวิร์คเลเยอร์ ทาหน้าที่จัดการเกี่ยวกับแอดเดรสและข้อมูล และ
ควบคุมการส่งข้อมูลบางอย่างที่ใช้ในการหาเส้นทางของแพ็กเก็ต ซึ่งกลไกในการหาเส้นทาง
ของ IP จะมีความสามารถในการหาเส้นทางที่ดีที่สุด และสามารถเปลี่ยนแปลงเส้นทางได้ใน
ระหว่างการส่งข้อมูล และมีระบบการแยกและประกอบดาต้าแกรม (datagram) เพื่อรองรับ
การส่งข้อมูลระดับ data link ที่มีขนาด MTU (Maximum Transmission Unit) ทีแตกต่าง
กัน ทาให้สามารถนา IP ไปใช้บนโปรโตคอลอื่นได้หลากหลาย เช่น Ethernet ,Token Ring
หรือ Apple Talk
การเชื่อมต่อของ IP เพื่อทาการส่งข้อมูล จะเป็นแบบ connectionless หรือเกิดเส้นทางการ
เชื่อมต่อในทุกๆครั้งของการส่งข้อมูล 1 ดาต้าแกรม โดยจะไม่ทราบถึงข้อมูลดาต้าแกรมที่ส่ง
ก่อนหน้าหรือส่งตามมา แต่การส่งข้อมูลใน 1 ดาต้าแกรม อาจจะเกิดการส่งได้หลายครั้งใน
กรณีที่มีการแบ่งข้อมูลออกเป็นส่วนย่อยๆ (fragmentation) และถูกนาไปรวมเป็นดาต้าแก
รมเดิมเมื่อถึงปลายทาง
Network Access Layer : TCP/IP
ชุดโปรโตคอล TCP/IP ไม่ได้กาหนดโปรโตคอลมาตรฐานสาหรับชั้น Network Access แต่จะ
ใช้โปรโตคอลมาตรฐานทั่วไปของ OSI Model ในชั้น Data Link และชั้น Physical เช่น
FDDI, ATM, X.25, Frame Relay, PPP, SLIP, และ ISDN เป็นต้น

You might also like