You are on page 1of 7

รายงาน

เรื่อง กฎหมายธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์

จัดทำโดย
นางสาวนภัสวรรณ ทับสุวรรณ์ สบบ.21
แผนกวิชาการบัญชี สาขาการบัญชี

เสนอ
นางสาวสุวิมล วินทะไชย

รายงานนี้เป็นส่วนหนึ่งของรายวิชา กฎหมายธุรกิจ
ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566
วิทยาลัยเทคนิคราษีไศล
อำเภอราษีไศล จังหวัดศรีสะเกษ
คำนำ
รายงานการศึกษาทางวิชาการ เรื่อง กฎหมายธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ ฉบับนี้จัดทำขึ้นเพื่อเป็นเอกสาร
ทางวิชาการเกี่ยวกับความความหมาย ขอบเขต และสาระสำคัญที่ว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ และเพื่อ
เป็นส่วนหนึ่งของวิชา กฎหมายธุรกิจ ผู้ศึกษาหวังเป็นอย่างยิ่งว่ารายงานการศึกษาทางวิชาการฉบับนี้ จะเป็น
ประโยชน์ในการใช้เป็นฐานข้อมูลในการสืบค้นข้อมูลของนักเรียน นักศึกษา ตลอดจนประชาชนผู้สนใจทั่วไป
และหากมีข้อผิดพลาดประการใดผู้ศึกษาขออภัยมา ณ โอกาสนี้

นภัสวรรณ ทับสุวรรณ์
กันยายน 2566
สารบัญ
หัวเรื่อง หน้า
คำนำ ก
สารบัญ ข
1.ความหมายของธุกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ 1
2.รูปแบบของธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ 1
3.ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ 2
4.ข้อควรระวังสำหรับเจ้าของลายมือชื่อ 2
5.การเข้าทำธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ 3
6.การควบคุมธุกิจบริการเกี่ยวกับธุรกรรม 3
สรุป 3
บรรณานุกรม 4
1

1. ความหมายของธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์
ธุรกรรม หมายความว่าการกระทำใด ๆ ที่เกี่ยวกับกิจกรรมในทางแพ่งและพาณิชย์ หรือในการดำเนินงาน
ของรัฐตามที่กำหนดในหมวด 4 เรื่องธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ภาครัฐ
อิเล็กทรอนิกส์ หมายความว่า การประยุกต์ใช้วิธีการทางอิเล็กตรอนไฟฟ้าคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า หรือวิธีอื่น
ใดในลักษณะคล้ายกัน และให้ความหมายรวมถึงการประยุกต์ใช้วิธีการทางแสง วิธีการทางแม่เหล็ก หรือ
อุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับการประยุกต์ใช้วิธีต่างๆ เช่นว่านั้น
ธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Transaction) หมายถึงกิจกรรมใด ๆ ที่กระทำขึ้นระหว่าง
หน่วยธุรกิจ บุคคล รัฐ ตลอดจนองค์กรเอกชนหรือองค์กรของรัฐใด ๆ เพื่อวัตถุประสงค์ทางธุรกิจการค้า และ
การติดต่องานราชการโดยใช้วิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ทั้งหมดหรือแต่บางส่วน

ภาพที่ 1.1 ธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ ทีม่ า : https://www.thairath.co.th/tags/

2. รูปแบบของธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์
การดำเนินการทำธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์มีอยู่ด้วยกัน 4 รูปแบบ ดังนี้
1. ธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ไม่มีผลทางสัญญาเป็นเพียงการแลกเปลี่ยนหรือให้ข้อมูลระหว่างกัน
2. ธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ที่มีผลทางสัญญาในรูปแบบคำเสนอและคำสนอง
3. ธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ที่โอนสิทธิในทางกฎหมาย
4. ธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ตามที่กฎหมายกำหนด

ภาพที่ 2.1 ธุรกรรมตามทีก่ ฎหมายกานด ทีม่ า : https://www.hyweb.co.th/


2

3. ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์
ลายมือชื่อเป็นเครื่องยืนยันตัวบุคคลในลักษณะหนึ่ง โดยปกติการลงลายมือชื่อคือการ "เซ็นชื่อ" ลงใน
เอกสาร กฎหมายจึงต้องกำหนดลักษณะของลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งอาจอยู่ในรูปของอักษร ตัวเลข เสียงที่
สร้างขึ้นให้อยู่ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์
พระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์พ.ศ. 2544 และฉบับแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551
กำหนดเรื่องลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ มี 2 ประเภท คือ
1.ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ทั่วไป ซึ่งเป็นหลักเปิดกว้างเพื่อรองรับวิธีการทุกประเภทที่อาจนำมาใช้ในการ
ลงลายมือชื่อในข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์
2.ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่เชื่อถือได้ เมื่อใช้เทคโนโลยีตามคุณสมบัติหรือหลักเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนด
ให้ถือว่าเป็นลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่เชื่อถือได้

ภาพที่ 3.1 ลายมือชือ่ อิเล็กทรอนิกส์ ทีม่ า : https://www.digitechone.co.th/news/

4.ข้อควรระวังสำหรับเจ้าของลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์
แม้ว่าระบบการเข้าถึงลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์จะค่อนข้างซับซ้อน แต่ก็จัดว่ายังมีการปลอมแปลงกันได้ง่าย
กว่าการปลอมลายมือชื่อ เพราะเพียงแค่ผู้ปลอมแปลงทราบข้อมูลในการระบุตัวผู้เป็นเจ้าของลายมือชื่อทาง
อิเล็กทรอนิกส์เท่านั้น เจ้าของลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์จึงต้องดำเนินการด้วยข้อควรระวัง ดังนี้
1.อ่านข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ด้วยความละเอียดรอบคอบ
2.ไม่ให้มีการใช้ข้อมูลสำหรับใช้สร้างลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์โดยไม่ได้รับอนุญาต
3.แจ้งให้บุคคลที่เกี่ยวข้องกับเจ้าของลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่ต้องทำธุรกรรมด้วย กรณีทราบว่าข้อมูล
สำหรับใช้สร้างลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์นั้นสูญหายถูกเปิดเผย
3

5. การเข้าทำธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์
1.การทำคำเสนอหรือคำสนองอาจทำในลักษณะข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์โดยการแสดงเจตนาเป็นข้อมูล
อิเล็กทรอนิกส์ระหว่างผู้ส่งข้อมูลกับผู้รับข้อมูล ในลักษณะดังต่อไปนี้
(1) ผู้ส่งส่งข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์และกำหนดให้มีการตอบกลับด้วยการติดต่อจากผู้รับข้อมูลกลับไปผู้ส่ง
ข้อมูล
(2) บางกรณีผู้ส่งข้อมูลอาจกำหนดว่า แม้ว่าจะมีการส่งข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์แต่ให้ถือว่ามีการส่งข้อมูล
อิเล็กทรอนิกส์จริงเมื่อได้รับการตอบกลับแล้วเท่านั้นก็สามารถทำได้
2. ผู้รับข้อมูลตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลว่าเป็นข้อมูลของผู้ส่งข้อมูลจริง
3. เมื่อผู้รับข้อมูลตรวจสอบข้อมูลและจะเข้าทำธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ แล้วก็จึงตอบกลับและลงลายมือชื่อ
อิเล็กทรอนิกส์เข้าทำธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์

6. การควบคุมธุรกิจบริการเกี่ยวกับธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์
ปัจจุบันมีธุรกิจบริการเกี่ยวกับธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์อยู่ 2 ลักษณะ ได้แก่ ผู้ให้บริการการชำระเงิน
ทางอิเล็กทรอนิกส์และผู้ให้บริการออกใบรับรองลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ กฎหมายกำหนดว่า บุคคลที่ประกอบ
ธุรกิจบริการเกี่ยวกับธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์จะต้องจดแจ้ง และขึ้นทะเบียนหรือต้องได้รับใบอนุญาตตามที่
กำหนดในพระราชกฤษฎีกา หากฝ่าฝืนจัดเป็นความผิดต้องได้รับโทษตามที่กฎหมายกำหนด
กฎหมายยังกำหนดอีกว่าธุรกิจบริการทั้ง 2 ลักษณะจะดำเนินการได้ในการเสริมสร้างความเชื่อถือ และ
ยอมรับในระบบข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์หรือเพื่อป้องกันความเสียหายต่อสาธารณชน

สรุป
ธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ หมายถึงกิจกรรมใด ๆ ที่กระทำขึ้นระหว่างหน่วยธุรกิจ บุคคลรัฐ ตลอดจน
องค์กรเอกชนหรือองค์กรของรัฐใดๆ เพื่อวัตถุประสงค์ทางธุรกิจการค้า และการติดต่องานราชการ โดยใช้
วิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ทั้งหมดหรือแต่บางส่วนใช้ในการทำธุรกรรมภาครัฐและเอกชน ผ่านการลงลายมือชื่อ
อิเล็กทรอนิกส์ ที่ต้องระบุตัวบุคคลผู้เป็นเจ้าของลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ตามที่กฎหมายกำหนด เมื่อข้อมูลทาง
อิเล็กทรอนิกส์ใช้เป็นเครื่องยืนยันการทำนิติกรรมสัญญาได้ดังเช่น หนังสือ หรือหลักฐานเป็นหนังสือ ผู้ที่จะลง
ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์งต้องดำเนินการด้วยความระมัดระวัง
4

บรรณานุกรม

อ.สัจจาวุฒิ รอดสำราญ. หนังสือวิชากฎหมายธุรกิจ. สำนักพิมพ์เอมพันธ์

You might also like