You are on page 1of 25

0

รายงาน

เรื่อง ไฟฟ้ า

จัดทำโดย

เด็กชายภคภูมิ เขตนารี

ชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 3/1 เลขที่ 22

เสนอ

ครูสายฝน บูรณพันศักดิ์

รายงานเล่มนี้เป็ นส่วนหนึ่งของรายวิชาวิทยาศาสตร์
1

รหัสวิชา ว 23102 ภาคเรียนที่ 2 ปี การศึกษา 2566

โรงเรียนราชสีมาวิทยาลัย
2

คำนำ

รายงานฉบับนี้เป็ นส่วนหนึ่งของวิชาวิทยาศาสตร์ชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 3

เพื่อศึกษาความรู้ที่ได้จากเรื่องไฟฟ้ า ทั้งนี้ในรายงานฉบับนี้มีเนื้อหาซึ่ง

ประกอบด้วยความรู้เกี่ยวกับไฟฟ้ า วงจรไฟฟ้ า ตลอดจนเรื่องอิเล็กทรอนิกส์

ต่างๆ

ผู้จัดทำหวังว่า รายงานเล่มนี้จะมีข้อมูลที่เป็ นประโยชน์กับผู้อ่านและผู้

ที่สนใจศึกษาทุกๆท่าน

เด็กชายภคภูมิ เขตนารี

ผู้จัดทำ
3

สารบัญ

คำนำ 1

สารบัญ 2

ไฟฟ้ า 3

ประวัติของไฟฟ้ า 3

กระแสไฟฟ้ า 6

สภาพการนำไฟฟ้ า 7

การคำนวณกระแสไฟฟ้ า 8

ไฟฟ้ ากระแสตรง และกระแสสลับ 9

วงจรไฟฟ้ า 10

แบบวงจรไฟฟ้ า 11

อิเล็กทรอนิกส์ 12

บรรณานุกรม 13
4

ไฟฟ้ า

ประวัติของไฟฟ้ า

นานก่อนที่จะมีความรู้ใด ๆ ด้านไฟฟ้ า ผู้คนได้ตระหนักถึงการกระตุก

ของปลาไฟฟ้ า ในสมัยอียิปต์โบราณพบข้อความที่จารึกในช่วงประมาณ

2750 ปี ก่อนคริสต์ศักราช ได้พูดถึงปลาเหล่านี้ว่าเป็ น "สายฟ้ าแห่งแม่น้ำ

ไนล์" และพรรณนาว่าพวกมันเป็ น "ผู้พิทักษ์" ของปลาอื่น ๆ ทั้งมวล ปลา

ไฟฟ้ ายังถูกบันทึกอีกครั้งในช่วงพันปี ต่อมาโดยกรีกโบราณ, ชาวโรมันและนัก

ธรรมชาติวิทยาชาวอาหรับและแพทย์มุสลิม นักเขียนโบราณหลายคน เช่น

Pliny the Elder และ Scribonius Largus ได้พิสูจน์ให้เห็นถึงอาการชา

จากไฟฟ้ าช็อคที่เกิดจากปลาดุกไฟฟ้ าและปลากระเบนไฟฟ้ า และยังรู้อีก

ว่าการช็อคเช่นนั้น สามารถเดินทางไปตามวัตถุที่นำไฟฟ้ า ผู้ป่ วยที่ต้องทน

ทุกข์ทรมาณจากการเจ็บป่ วยเช่นเป็ นโรคเกาต์หรือปวดหัว จะถูกส่งไปสัมผัส

กับปลาไฟฟ้ าซึ่งหวังว่าการกระตุกอย่างมีพลังอาจรักษาพวกเขาได้

วัฒนธรรมโบราณรอบ ๆ ทะเลเมดิเตอร์เรเนียนจะรู้จักวัตถุบางอย่าง

เช่นแท่งอำพัน เมื่อนำมาขัดถูกับขนแมว มันสามารถดึงดูดวัตถุที่เบาเช่นขน

นก เธลีสแห่งมิเลทัสได้ทำข้อสังเกตหลายอย่างเกี่ยวกับไฟฟ้ าสถิตราว 600

ปี ก่อนคริสตกาล จากข้อสังเกตเหล่านั้นเขาเชื่อว่าการเสียดสีทำให้เกิดแม่
5

เหล็กบนอัมพัน ซึ่งต่างกับสินแร่อื่นเช่นแมกนีไทต์ที่ไม่ต้องขัดถู เธลีสผิดที่

เชื่อว่าการดึงดูดเกิดจากแม่เหล็ก แต่วิทยาศาสตร์ต่อมาจะพิสูจน์ความเชื่อม

โยงระหว่างแม่เหล็กและไฟฟ้ า

ไฟฟ้ ายังเป็ นเพียงความอยากรู้อยากเห็นทางปั ญญาเป็ นเวลานับพันปี

กระทั่งทศวรรษที่ 1600 เมื่อวิลเลียม กิลเบิร์ต นักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษ

ได้ทำการศึกษาเรื่องแม่เหล็กและไฟฟ้ าอย่างจริงจัง เขาได้แยกความแตกต่าง

ของผลกระทบจากแร่แม่เหล็กออกจากไฟฟ้ าสถิตที่เกิดจากการขัดสีแท่ง

อำพัน เขาบัญญัติศัพท์คำภาษาละตินใหม่ว่า "electricus" เพื่อหมายถึง

คุณสมบัติในการดึงดูดวัตถุเล็กๆหลังการขัดสี การผสมกันนี้ทำให้เกิดคำใน

ภาษาอังกฤษว่า "electric" และ "electricity" ซึ่งปรากฏขึ้นครั้งแรกในสิ่ง

พิมพ์ Pseudodoxia Epidemica ของโธมัส บราวน์ เมื่อปี ค.ศ. 1646

ในคริสต์ศตวรรษที่ 18 เบนจามิน แฟรงคลิน ทำการวิจัยเรื่องไฟฟ้ า

อย่างกว้างขวาง เขาขายทรัพย์สมบัติที่มีเพื่อเป็ นทุนวิจัย ในเดือนมิถุนายน

ค.ศ. 1752 เขามีชื่อเสียงจากการติดลูกกุญแจโลหะไว้ที่หางของเชือกว่าวที่

เปี ยกชื้น แล้วปล่อยลอยขึ้นฟ้ าในวันที่มีลมพายุรุนแรง ประกายไฟที่กระโดด

อย่างต่อเนื่องจากลูกกุญแจไปยังหลังมือของเขาได้แสดงให้เห็นว่าฟ้ าผ่าคือ
6

ไฟฟ้ าในธรรมชาติอย่างแท้จริง เขายังได้อธิบายถึงพฤติกรรมที่ผิดปกติและ

ขัดแย้งกันเองที่ปรากฏอีกด้วย เกี่ยวกับโถเลย์เดนที่ใช้เป็ นอุปกรณ์สำหรับ

เก็บประจุไฟฟ้ าปริมาณมากในรูปของไฟฟ้ าที่ประกอบด้วยทั้งประจุบวกและ

ประจุลบ

ในปี ค.ศ. 1791 ลุยจิ กัลวานี ได้ตีพิมพ์การค้นพบแม่เหล็กไฟฟ้ า

ชีวภาพของเขาที่แสดงให้เห็นว่าไฟฟ้ าเป็ นตัวกลางที่ผ่านสัญญาณจากเซลล์

ประสาทไปสู่กล้ามเนื้อ แบตเตอรี่ของอาเลสซานโดร โวลตา หรือเซลล์ซ้อน

ของโวลตาในคริสต์ทศวรรษ 1800 ที่ทำจากชั้นที่สลับซ้อนกันของสังกะสี

และทองแดง เป็ นแหล่งจ่ายพลังงานไฟฟ้ าที่เชื่อถือได้ให้กับเหล่านัก

วิทยาศาสตร์มากกว่าเครื่องจักรไฟฟ้ าสถิต (อังกฤษ: Electrostatic

machine) ที่เคยใช้กันอยู่ก่อนหน้านี้ การยอมรับในทฤษฎีแม่เหล็กไฟฟ้ า ถึง

ความเป็ นหนึ่งเดียวของปรากฏการณ์ไฟฟ้ าและแม่เหล็กเป็ นผลงานของ

ฮันส์ คริสเทียน เออสเตดและอังเดร มารี แอมแปร์ในปี 1819-1820, ไมเคิล

ฟาราเดย์ได้ประดิษฐ์มอเตอร์ไฟฟ้ าในปี ค.ศ. 1821 และจอร์จ ไซมอน โอห์ม

ได้ใช้คณิตศาสตร์วิเคราะห์วงจรไฟฟ้ าในปี ค.ศ. 1827 ไฟฟ้ าและแม่เหล็ก (แ

ละแสงสว่าง) ถูกเชื่อมกันในทางนิยามโดยเจมส์ เคริก แมกซเวลล์ โดย

เฉพาะอย่างยิ่งจากผลงาน "บนเส้นกายภาพของแรง" ของเขาในปี 1861

และปี 1862
7

ในตอนต้นศตววรษที่ 19 มีความเจริญรุดหน้าด้านวิทยาศาสตร์เกี่ยว

กับไฟฟ้ าอย่างรวดเร็ว ขณะที่ตอนปลายศตววรษที่ 19 จะเห็นความก้าวหน้า

ด้านวิศวกรรมไฟฟ้ าอย่างมหาศาล จากผลงานของบุคคล เช่น อเล็กซานเด

อร์ เกรแฮม เบลล์, อ็อตโต บลาธี, โทมัส อัลวา เอดิสัน, Galileo Ferraris,

Oliver Heaviside, Ányos Jedlik, วิลเลียม ทอมสัน บารอนเคลวินที่ 1,

ชาลส์ แอลเกอร์นอน พาร์ซันส์, เวอร์เนอร์ ฟอน ซีเมนส์, โจเซฟ สวอน, นิโค

ลา เทสลา และ จอร์จ เวสติงเฮาส์ ไฟฟ้ าได้เปลี่ยนจากความอยากรู้อยาก

เห็นทางวิทยาศาสตร์ มาเป็ นเครื่องมือสำคัญสำหรับชีวิตสมัยใหม่ และกลาย

เป็ นแรงขับเคลื่อนของการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่สอง
8

ในปี 1887 ไฮน์ริช เฮิร์ตซ์ ค้นพบว่าขั้วไฟฟ้ าที่เรืองแสงด้วยรังสีอุลตร้า

ไวโอเลตจะสร้างประกายไฟฟ้ าได้ง่ายมาก ในปี 1905 อัลเบิรต ไอน์สไตน์ ได้

ตีพิมพ์เอกสารที่อธิบายข้อมูลการทดลองจากผลกระทบโฟโตอิเล็กตริกเมื่อ

การเป็ นผลลัพธ์ของพลังงานแสงที่กำลังถูกนำส่งในแพกเกตที่แปลงเป็ น

ปริมาณที่ไม่ต่อเนื่อง เป็ นการใส่พลังงานให้กับอิเล็กตรอน การค้นพบนี้นำไป

สู่การปฏิวัติควอนตัม ไอน์สไตน์ได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิ สิกส์ในปี 1921

สำหรับ "การค้นพบกฎของผลกระทบโฟโตอิเล็กตริก" ผลกระทบโฟโตอิเล็ก

ตริกยังถูกใช้ในโฟโตเซลล์อย่างที่สามารถพบได้ในเซลล์แสงอาทิตย์อีกด้วย

และเซลล์นี้มักจะถูกใช้ในการผลิตพลังงานไฟฟ้ าเพื่อการพานิชย์

อุปกรณ์โซลิดสเตตตัวแรกเป็ น "ตัวตรวจจับแบบหนวดแมว" มันถูกใช้

เป็ นครั้งแรกในทศวรรษที่ 1900 ในเครื่องรับวิทยุ ลวดคล้ายหนวดแมวจะ

ถูกวางเบา ๆ ในการสัมผัสกับผลึกของแข็ง (เช่นผลึกเจอร์เมเนียม) เพื่อที่จะ

ตรวจจับสัญญาณวิทยุจากผลกระทบจุดสัมผัสที่รอยต่อ (อังกฤษ: contact

junction effect) ในชิ้นส่วนโซลิดสเตต กระแสจะถูกกักขังอยู่ในชิ้นส่วนที่

เป็ นของแข็งและสารประกอบที่ออกแบบมาโดยเฉพาะเพื่อสวิตช์และขยาย

มัน การไหลของกระแสสามารถเข้าใจได้ในสองรูปแบบ: แบบแรกเป็ น

อิเล็กตรอนที่มีประจุลบ และแบบที่สองเป็ นพร่องอิเล็กตรอนที่มีประจุบวกที่


9

เรียกว่าโฮล ประจุและโฮลเหล่านี้สามารถเข้าใจได้ในแง่ของควอนตัมฟิ สิกส์

วัสดุที่ใช้สร้างส่วนใหญ่มักจะเป็ นสารกึ่งตัวนำที่เป็ นผลึก

การประดิษฐ์ทรานซิสเตอร์ในปี 1947 ทำให้อุปกรณ์โซลิดสเตตเริ่มมี

การใช้แพร่หลาย ในทศวรรษที่ 1950 และ 1960 ในช่วงการเปลี่ยนผ่านจาก

หลอดสูญญากาศไปเป็ นไดโอดสารกึ่งตัวนำ, ทรานซิสเตอร์, วงจรรวม (IC)

และไดโอดเปล่งแสง (LED) ปั จจุบันอุปกรณ์โซลิดสเตตที่พบบ่อยได้แก่

ทรานซิสเตอร์, ชิปไมโครโปรเซสเซอร์ และหน่วยความจำแรม (RAM) ชนิด

พิเศษที่เรียกว่า แฟลชแรม ซึ่งถูกใช้ใน USB แฟลชไดรฟ์ และเมื่อเร็วๆนี้โซ

ลิดสเตตไดรฟ์ ได้เข้ามาแทนที่จานแม่เหล็กฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์ แบบหมุนด้วย

กลไก
10

กระแสไฟฟ้ า

กระแสไฟฟ้ า คือการไหลของประจุไฟฟ้ าในวงจรไฟฟ้ า อิเล็กตรอนที่

เคลื่อนที่ในประจุยังสามารถถูกนำพาโดยไอออนได้เช่นกันในสารอิเล็กโทร

ไลต์ หรือโดยทั้งไอออนและอิเล็กตรอนเช่นใน พลาสมา กระแสไฟฟ้ ามี

หน่วยวัด SI เป็ น แอมแปร์ ซึ่งเป็ นการไหลของประจุไฟฟ้ าที่ไหลข้ามพื้นผิว

หนึ่งด้วยอัตราหนึ่ง คูลอมบ์ ต่อวินาที กระแสไฟฟ้ าสามารถวัดได้โดยใช้

แอมป์ มิเตอร์

กระแสไฟฟ้ าก่อให้เกิดผลหลายอย่าง เช่น ความร้อน ซึ่งผลิต แสง

สว่าง ในหลอดไฟ และยังก่อให้เกิด สนามแม่เหล็ก อีกด้วย ซึ่งถูกนำมาใช้

อย่างแพร่หลายใน มอเตอร์, ตัวเหนี่ยวนำ, และเครื่องกำเนิดไฟฟ้ า อนุภาคที่

นำพาประจุถูกเรียกว่า พาหะของประจุไฟฟ้ า ในโลหะตัวนำไฟฟ้ า

อิเล็กตรอนจากแต่ละอะตอมจะยึดเหนี่ยวอยู่กับอะตอมอย่างหลวม ๆ และ

พวกมันสามารถเคลื่อนที่ได้อย่างอิสระอยู่ภายในโลหะนั้นภายใต้สภาวะ

การณ์หนึ่ง อิเล็กตรอนเหล่านี้เรียกว่า อิเล็กตรอนนำกระแส พวกมันเป็ น

พาหะของประจุในโลหะตัวนำนั้น

การไหลของประจุบวกจะทำให้เกิดกระแสไฟฟ้ าเหมือนกันและมีผล

เช่นเดียวกันกับกระแสที่เกิดจากประจุลบที่ไหลในทิศทางตรงกันข้าม
11

เนื่องจากกระแสไฟฟ้ าอาจเกิดจากการไหลของประจุบวกหรือประจุลบ หรือ

ทั้งสองอย่าง ความเข้าใจในทิศทางการไหลของกระแสจึงขึ้นอยู่ว่าประจุชนิด

ไหนที่ทำให้เกิดกระแส ทิศทางของกระแสตามธรรมเนียมปฏิบัติ ถูกกำหนด

ให้เป็ นทิศทางของการไหลของประจุบวก

ในโลหะที่ใช้ทำสายไฟและตัวนำอื่น ๆ ในวงจรไฟฟ้ าส่วนใหญ่

นิวเคลียสของอะตอมจะมีประจุบวกที่จะถูกจับเอาไว้ในตำแหน่งที่คงที่ และ

มีอิเล็กตรอนที่จะมีอิสระที่จะเคลื่อนที่ ที่สามารถนำพาประจุของพวกมัน

จากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งได้ ในวัสดุอื่น ๆ เช่นสารกึ่งตัวนำ พาหะของประจุ

สามารถนำพาประจุบวกหรือประจุลบก็ได้ขึ้นอยู่กับสารเจือปน ที่สารกึ่ง

ตัวนำใช้ พาหะของประจุอาจนำพาทั้งประจุบวกและประจุลบในเวลา

เดียวกันก็ได้ เช่นที่เกิดขึ้นในเซลล์ไฟฟ้ าเคมี

การไหลของประจุบวกสามารถให้กระแสไฟฟ้ าได้เช่นเดียวกันและให้

ผลในวงจรไฟฟ้ าเป็ นการไหลที่เหมือนกับของประจุลบแต่ในทิศทางตรงกัน

ข้าม เนื่องจากกระแสอาจเป็ นการไหลของประจุบวกหรือประจุลบอย่างใด

อย่างหนึ่งหรือทั้งสองอย่าง

ธรรมเนียมปฏิบัติจึงเป็ นสิ่งจำเป็ นสำหรับทิศทางของกระแสไฟฟ้ าที่ขึ้น

อยู่กับชนิดของพาหะของประจุ ทิศทางของกระแสตามธรรมเนียมปฏิบัติ ได้


12

ถูกกำหนดตามอำเภอใจให้เป็ นทิศทางเดียวกันกับการไหลของประจุบวก ผล

ที่ตามมาของธรรมเนียมปฏิบัตินี้ก็คือ อิเล็กตรอนซึ่งเป็ นพาหะของประจุใน

ลวดโลหะและชิ้นส่วนอื่น ๆ ส่วนใหญ่ของวงจรไฟฟ้ า จะไหลในทิศทางตรง

ข้ามกับการไหลของกระแสตามธรรมเนียมปฏิบัติในวงจรไฟฟ้ า

สภาพการนำไฟฟ้ า

ตัวนำ (Conductor) คือ สสาร หรือวัสดุบางชนิดที่ไฟฟ้ าสามารถไหล

ผ่านได้ดี หรือเป็ นวัตถุที่มีความต้านทานต่ำ ได้แก่ ทองแดง อลูมิเนียม ทอง

และเงิน ถือว่าเป็ นตัวนำไฟฟ้ าที่ดีที่สุด แต่ปั จจุบันถ้าเป็ นสายไฟทั่วไป มัก

นิยมใช้ทองแดงเป็ นหลัก เนื่องจากมีราคาที่ถูกกว่าเงิน ส่วนทองและ

แพลทินัม ถึงแม้จะมีราคาสูง แต่ก็มักมีการนำมาใช้งานที่ต้องการป้ องกันใน

เรื่องของสนิมหรือการออกไซด์ ตัวนำไฟฟ้ าที่ดีจะต้องเป็ นวัสดุที่ไฟฟ้ าไหล

ผ่านได้ง่าย เพราะมีค่าความต้านทานไฟฟ้ าต่ำ

ฉนวนไฟฟ้ า (Insulator) คือ สสาร หรือวัสดุบางชนิดที่ไฟฟ้ าไม่

สามารถไหลผ่านได้ ซึ่งจะตรงข้ามกับตัวนำ เช่น สายไฟ ด้ามจับ ถุงมือ

รองเท้า หรืออุปกรณ์ที่ใช้ในการป้ องกันไฟดูด เช่น ไม้แห้ง ยาง กระเบื้อง

แก้ว ผ้า กระดาษ พลาสติก เป็ นต้น โดยฉนวนไฟฟ้ าจะทำหน้าที่ป้ องกัน

อันตรายจากกระแสไฟฟ้ า ซึ่งสายไฟส่วนใหญ่จะถูกหุ้มด้วยฉนวนกันไฟฟ้ า
13

หรือ อุปกรณ์ไฟฟ้ าที่ต้องมีการสัมผัสกับร่างกายจะเป็ นฉนวนไฟฟ้ า เช่น

ไขควง เตารีด ส่วนที่เป็ นมือจับ

ตัวนำยิ่งยวด (Superconductor) เป็ นธาตุหรือสารประกอบที่จะนำ

ไฟฟ้ าได้ร้อยเปอร์เซ็นต์โดยไม่มีความต้านทานไฟฟ้ าและไม่มีการสูญเสีย

พลังงาน ภายใต้อุณหภูมิค่าหนึ่งหรือที่เรียกว่าอุณหภูมิวิกฤต จากความรู้

เรื่องตัวนำยวดยิ่งนำไปใช้ ประโยชน์ในการสร้างอุปกรณ์ เช่น

1. เครื่องเร่งอนุภาคกำลังสูง ใช้เร่งอนุภาค เช่น อิเล็กตรอน นิวตรอน

ให้มีความเร็วสูง เกิดพลังงานจลน์มาก นำไปใช้ในงานวิจัยทางฟิ สิกส์

2. รถไฟฟ้ าแมกเลฟ เป็ นรถไฟฟ้ าความเร็วสูง ขณะแล่นตัวรถจะลอย

เหนือราง ช่วยลดแรงเสียดทาน การยกตัวเกิดจากการผลักของสนามแม่

เหล็กจากรางและตัวรถ

การคำนวณกระแสไฟฟ้ า

1.กฎของโอห์ม กล่าวว่า "ที่อุณหภูมิคงที่ อัตราส่วนของความต่างศักย์

ไฟฟ้ า หรือแรงเคลื่อนไฟฟ้ า V ระหว่างสองจุดใด ๆ กับค่ากระแสไฟฟ้ า I จะ

มีค่าคงที่ ที่เรียกว่าความต้านทานไฟฟ้ า R" สามารถเขียนเป็ นสมการทาง

คณิตศาสตร์ได้ว่า
14

v
I=
R

เมื่อ I แทน ปริมาณกระแสไฟฟ้ า หน่วยเป็ นแอมแปร์

R แทน ความต้านทานของลวดตัวนำ หน่วยเป็ นโอห์ม

V แทน แรงเคลื่อนไฟฟ้ า หรือความต่างศักย์ไฟฟ้ า หน่วยเป็ นโวลต์

2.การหาค่าของกระแสไฟฟ้ าในตัวกลาง เมื่อเราพิจารณาการเคลื่อนที่ของ

อิเล็กตรอนอิสระในตัวนำโลหะผ่านพื้นที่หน้าตัดดังรูป

ขนาดของกระแสไฟฟ้ าในตัวกลางใดๆ เท่ากับปริมาณประจุไฟฟ้ า (Q)

ที่ผ่านพื้นที่ภาคตัดขวางของตัวกลางในหนึ่งหน่วยเวลา (t) เขียนเป็ นสมการ

ได้ว่า

Q nⅇ
I= =
t t

เมื่อ Q = ปริมาณของประจุ หน่วยคูลอมบ์ (C)

I = กระแสไฟฟ้ า หน่วยแอมแปร์ (A)

t = เวลา หน่วยวินาที (s)

n = จำนวนประจุของอิเล็กตรอน (ตัว/อนุภาค)
-19
e = ขนาดประจุของอิเล็กตรอน 1 ตัว, e = 1.60×10 คูลอมบ์
15

ไฟฟ้ ากระแสตรง และกระแสสลับ

1.ไฟฟ้ ากระแสตรง (อักษรย่อ : DC) เป็ นไฟฟ้ ากระแสที่มีทิศทางการ

เคลื่อนที่ของกระแสไฟฟ้ าไปในทิศทางเดียวกันเป็ นวงจร ในอดีต

ไฟฟ้ ากระแสตรงเคยถูกเรียกว่า กระแสกัลวานิก อุปกรณ์ที่สามารถผลิต

ไฟฟ้ ากระแสตรงได้ เช่น เซลล์แสงอาทิตย์ แบตเตอรี่ ทั้งชนิดประจุไฟฟ้ า

ใหม่ได้และชนิดใช้แล้วทิ้ง และเครื่องกำเนิดไฟฟ้ ากระแสตรง ไฟฟ้ ากระแส

ตรงสามารถไหลผ่านตัวนำไฟฟ้ า เช่น สายไฟ สารกึ่งตัวนำ ฉนวนไฟฟ้ า หรือ

แม้กระทั่งเคลื่อนที่ในภาวะสุญญากาศในรูปของลำอิเล็กตรอนหรือลำไอออน

2.กระแสสลับ (อักษรย่อ : AC) เป็ นกระแสไฟฟ้ าที่มีทิศทางการไหล

ของกระแสไฟฟ้ ากลับไป-กลับมาอย่างรวดเร็ว เช่นไฟฟ้ าที่ใช้ตามบ้านหรือ

อาคารทั่วไป รูปร่างเป็ น sine wave ในบางอย่างอาจเป็ นรูปสามเหลี่ยม

หรือรูปสี่เหลี่ยม ส่วนใหญ่มีกระแสสูง อันตรายมาก สามารถผลิตจากไฟ DC

ได้ แต่ในขนาดเล็ก เช่นเปลี่ยนจากไฟเซลล์แสงอาทิตย์มาเป็ น AC เพื่อให้

แสงสว่างหรือเปิ ดทีวีในพื้นที่ห่างไกล ระบบไฟฟ้ ากระแสสลับแบ่งออกได้

เป็ น 2 ระบบ ดังนี้

ระบบไฟฟ้ า 1 เฟส คือระบบไฟฟ้ าที่มีสายไฟฟ้ าจำนวน 2 เส้น เส้นที่มี

ไฟเรียกว่าสายไฟ หรือสายเฟส หรือสายไลน์ เขียนแทนด้วยตัวอักษร L


16

(Line) เส้นที่ไม่มีไฟเรียกว่าสายนิวทรอล หรือสายศูนย์ เขียนแทนด้วยตัว

อักษร N (Neutral) ทดสอบได้โดยใช้ไขควงวัดไฟ เมื่อใช้ไขควงวัดไฟแตะ

สายเฟส หรือสายไฟ หรือสายไลน์ หลอดไฟเรืองแสงที่อยู่ภายไขควงจะติด

สำหรับสายนิวทรอล หรือสายศูนย์ จะไม่ติด แรงดันไฟฟ้ าที่ใช้มีขนาด 220

โวลท์ (Volt) ใช้สำหรับบ้านพักอาศัยทั่วไปที่มีการใช้ไฟฟ้ าไม่มากนัก

ระบบไฟฟ้ า 3 เฟส คือระบบไฟฟ้ าที่มีสายเส้นไฟจำนวน 3 เส้น และ

สายนิวทรอล 1 เส้น จึงมีสายรวม 4 เส้น ระบบไฟฟ้ า 3 เฟส สามารถต่อใช้

งานเป็ นระบบไฟฟ้ า 1 เฟส ได้ โดยการต่อจากเฟสใดเฟสหนึ่งและสายนิว

ทรอลอีกเส้นหนึ่ง แรงดันไฟฟ้ าระหว่างสายเฟสเส้นใดเส้นหนึ่งกับสายนิว

ทรอลมีค่า 220 โวลท์ (Volt) และแรงดันไฟฟ้ าระหว่างสายเฟสด้วยกันมีค่า

380 โวลท์ (Volt) ระบบนี้จึงเรียกว่าระบบไฟฟ้ า 3 เฟส 4 สาย 220/380

โวลท์ (Volt) ระบบนี้มีข้อดีคือสามารถจ่ายกระแสไฟฟ้ าได้มากกว่าระบบ 1

เฟส ถึง 3 เท่า จึงเหมาะสมกับสถานที่ที่ต้องการใช้ไฟฟ้ ามาก ๆ เช่น อาคาร

พาณิชย์ โรงงานอุตสาหกรรม เป็ นต้น

วงจรไฟฟ้ า

การนำแหล่งจ่ายไฟฟ้ าจ่ายแรงดันและกระแสให้กับโหลดโดยใช้ลวด

ตัวนำ เป็ นการนำเอาสายไฟฟ้ าหรือตัวนำไฟฟ้ าที่เป็ นเส้นทางเดินให้กระแส


17

ไฟฟ้ า สามารถไหลผ่านต่อถึงกันได้นั้น เราเรียกว่า วงจรไฟฟ้ า การเคลื่อนที่

ของอิเล็กตรอนที่อยู่ภายในวงจรจะเริ่มจากแหล่งจ่ายไฟไปยังอุปกรณ์ไฟฟ้ า

ดังการแสดงการต่อวงจรไฟฟ้ าเบื้องต้น โดยการต่อแบตเตอรี่ต่อเข้ากับหลอด

ไฟ หลอดไฟฟ้ าสว่างได้เพราะว่ากระแสไฟฟ้ าสามารถไหลได้ตลอดทั้งวงจร

ไฟฟ้ า และ เมื่อหลอดไฟฟ้ าดับก็เพราะว่ากระแสไฟฟ้ าไม่สามารถไหลได้

ตลอดทั้งวงจร เนื่องจากสวิตซ์เปิ ดวงจรไฟฟ้ าอยู่

องค์ประกอบของวงจรไฟฟ้ า

1.แหล่งจ่ายไฟฟ้ า คือ อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ในการจ่ายแรงดันและ

กระแสให้กับวงจร เช่น แบตเตอรี่ ถ่านไฟฉาย เครื่องจ่ายไฟ ไดนาโม และ

เจนเนเรเตอร์ เป็ นต้น

2.ลวดตัวนำ คือ อุปกรณ์ที่นำมาต่อกับแหล่งจ่ายไฟฟ้ าจากขั้วหนึ่งไป

ยังอีกขั้วหนึ่ง เพื่อจ่ายแรงดันและกระแสไฟฟ้ าให้กับโหลด ลวดตัวนำที่นำ

กระแสไฟฟ้ าได้ดีที่สุด คือ เงิน แต่เนื่องจากเงินมีราคาแพงมากจึงนิยมใช้

ทองแดง ซึ่งมีคุณสมบัติในการนำไฟฟ้ าได้ดีพอสมควรและราคาไม่แพงมาก

นัก นอกจากนี้ยังยังมีโลหะชนิดอื่นๆ ที่สามารถนำไฟฟ้ าได ้เช่น ทองคำ

ดีบุก เหล็ก อะลูมิเนียม นิกเกิล เป็ นต้น


18

3.โหลดหรือภาระทางไฟฟ้ า คือ อุปกรณ์ทางไฟฟ้ าและอิเล็กทรอนิกส์

ที่นำมาต่อในวงจรเพื่อใช้งาน เช่น ตู้เย็น โทรทัศน์ พัดลม เครื่องปรับอากาศ

เตารีด หลอดไฟ ตัวต้านทาน เป็ นต้น

4.สวิตช์ คือ อุปกรณ์ที่ใช้ในการปิ ดหรือเปิ ดวงจร ในกรณีที่เปิ ดวงจรก็

จะทำให้ไม่มีกระแสไฟฟ้ าจ่ายให้กับโหลดในทางปฏิบัติการต่อวงจรไฟฟ้ า จะ

ต้องต่อสวิตช์เข้าไปในวงจรเพื่อทำหน้าที่ ตัดต่อ และควบคุมการไหลของ

กระแสไฟฟ้ า

5.ฟิ วส์ คืออุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ในการป้ องกันไม่ให้วงจรไฟฟ้ าหรือ

อุปกรณ์ได้รับความเสียหาย เนื่องจากการทำงานผิดปกติของวงจร เช่น การ

ลัดวงจร เมื่อเกิดการผิดปกติฟิ วส์จะทำหน้าที่ในการเปิ ดวงจร ที่เรียกว่า

ฟิ วส์ขาด

แบบวงจรไฟฟ้ า

แบบอนุกรม หมายถึง การนำเอาอุปกรณ์ทางไฟฟ้ ามาต่อกันใน

ลักษณะที่ปลายด้านหนึ่งของอุปกรณ์ตัวที่ 1 ต่อเข้ากับอุปกรณ์ตัวที่ 2 จาก

นั้นนำปลายที่เหลือของอุปกรณ์ตัวที่ 2 ไปต่อกับอุปกรณ์ตัวที่ 3 และจะต่อ

ลักษณะนี้ไปเรื่อยๆ ซึ่งการต่อแบบนี้จะทำให้กระแสไฟฟ้ าไหลไปในทิศทาง

เดียว กระแสไฟฟ้ าภายในวงจรอนุกรมจะมีค่าเท่ากันทุกๆ จุด ค่าความ


19

ต้านทานรวมของวงจรอนุกรมนั้นคือการนำเอาค่าความต้านทานทั้งหมดนำ

มารวมกัน ส่วนแรงดันไฟฟ้ าในวงจรอนุกรมนั้นแรงดันจะปรากฎคร่อมตัว

ต้านทานทุกตัวที่จะมีกระแสไฟฟ้ าไหลผ่านซึ่งแรงดันไฟฟ้ าที่เกิดขึ้นจะมีค่าไม่

เท่ากัน

แบบขนาน เป็ นวงจรที่เกิดจากการต่ออุปกรณ์ไฟฟ้ าตั้งแต่ 2 ตัวขึ้นไป

ให้ขนานกับแหล่งจ่ายไฟมีผลทำให้ ค่าของแรงดันไฟฟ้ าที่ตกคร่อมอุปกรณ์

ไฟฟ้ าแต่ละตัวมีค่าเท่ากัน ส่วนทิศทางการไหลของกระแสไฟฟ้ าจะมีตั้งแต่ 2

ทิศทางขึ้นไปตามลักษณะของสาขาของวงจร ส่วนค่าความต้านทานรวม

ภายในวงจรขนานจะมีค่าเท่ากับผลรวมของส่วนกลับของค่าความต้านทาน

ทุกตัวรวมกัน ซึ่งจะมีค่าน้อยกว่าค่าความต้านทานภายในสาขาที่มีค่าน้อย

ที่สุดเสมอ และค่าแรงดันที่ตกคร่อมความต้านทานไฟฟ้ าแต่ละตัวจะมีค่า

เท่ากับแรงเคลื่อนของแหล่งจ่าย

แบบผสม เป็ นการต่อวงจรไฟฟ้ าโดยการต่อรวมกันระหว่าง วงจรไฟฟ้ า

แบบอนุกรมกับวงจรไฟฟ้ าแบบขนาน ภายในวงจรโหลดบางตัวต่อวงจรแบบ

อนุกรม และโหลดบางตัวต่อวงจรแบบขนาน การต่อวงจรไม่มีมาตรฐาน

ตายตัว เปลี่ยนแปลงไปตามลักษณะการต่อวงจรตามต้องการ การวิเคราะห์


20

แก้ปั ญหาของวงจรผสม ต้องอาศัยหลักการทำงานตลอดจนอาศัยคุณสมบัติ

ของวงจรไฟฟ้ าทั้ง แบบอนุกรม และ แบบขนาน


21

อิเล็กทรอนิกส์

แอมมิเตอร์ เป็ นเครื่องวัดที่ใช้วัดปริมาณการไหลของกระแสไฟฟ้ าที่

ไหลผ่านในวงจรไฟฟ้ า การวัดกระแสไฟฟ้ าที่ไหลผ่านในวงจรไฟฟ้ า เหมือน

กับการวัดกระแสน้ำที่ไหลผ่านไปในท่อน้ำ การวัดดังกล่าวต้องตัดวงจรออก

เพื่อต่อแอมมิเตอร์เข้าไป กระแสไฟฟ้ าจะไหลผ่านแอมมิเตอร์ เพื่อบอก

ปริมาณของกระแสไฟฟ้ า การต่อแอมมิเตอร์ต้องต่ออนุกรมกับวงจร

แอมมิเตอร์ที่นำมาต่อในวงจรต้องทนกระแสได้มากกว่าค่ากระแสไฟฟ้ าใน

วงจรเสมอ มิฉะนั้นแอมมิเตอร์จะชำรุดเสียหายได้

หากไม่ทราบค่ากระแสในวงจร ควรใช้แอมมิเตอร์ทนกระแสได้สูงมา

ต่อวัดก่อน ถ้าอ่านค่าไม่ได้ เพราะเข็มชี้ขึ้นน้อยหรือไม่ขึ้นจึงค่อยๆ ลดขนาด

การทนกระแสได้ของแอมมิเตอร์ลงจนอยู่ในย่านการบ่ายเบนที่พออ่านค่าได้

ค่ากระแสที่อ่านได้จะละเอียดหรือไม่ขึ้นอยู่กับผู้อ่านว่าอ่านได้ละเอียดมาก

น้อยขนาดไหน

โวลต์มิเตอร์ คือ เครื่องมือวัดไฟฟ้ าที่ใช้วัดแรงดันไฟฟ้ าระหว่างจุด 2

จุด ในวงจร ความต้านทานภายในของเครื่องโวลต์มิเตอร์มีค่าสูง วิธีใช้ต้อง

ต่อขนานกับวงจร ค่าที่วัดได้มีหน่วย โวลต์ โวลต์มิเตอร์เป็ นเครื่องมือที่

ดัดแปลงมากจากแกลแวนอมิเตอร์ โดยต่อความต้านทานแบบอนุกรมกับ
22

แกลแวนอมิเตอร์ และใช้วัดความต่างศักย์ในวงจรโดยต่อแบบขนานกับวงจร

ที่ต้องการวัด

กระบะถ่าน เป็ นอุปกรณ์ที่บรรจุถ่านไฟฉายซึ่งมีหลายแบบ เช่น บรรจุ

ได้ 1 ก้อน 2 ก่อน และ 4 ก้อน สำหรับกระบะถ่าน 4 ก้อน จะประกอบไป

ด้วยกระบะสำหรับบรรจุถ่านไฟฉาย ตัวนำไฟฟ้ าขั้วลบที่ตรึงอยู่กับที่ และ

ตัวนำไฟฟ้ าขั้วบวกที่แยกออกจากกระบะถ่าน ที่ฝั่ งตรงกันข้ามของขั้วลบจะ

มีตัวนำไฟฟ้ าที่เชื่อมระหว่างแถวของถ่านไฟฉาย และตัวนำไฟฟ้ าด้านที่เป็ น

สปริงจะเป็ นด้านที่ต่อกับขั้วลบของถ่านไฟฉาย

การใช้งานทำได้โดยบรรจุถ่านไฟฉายลงไปทั้ง 4 ก้อน โดยต้องวางถ่าน

ไฟฉายให้ถูกขั้ว เมื่อต่อจนครบ ถ่านไฟฉายทั้ง 4 ก้อนจะต่อกันแบบอนุกรม

ซึ่งการเสียบขั้วบวกกของกระบะถ่านที่แต่ละตำแหน่งจะทำให้ได้จำนวนถ่าน

ไฟฉายที่ต่ออนุกรมแตกต่างกัน
23

บรรณานุกรม

o CP MAGNETIC. (ม.ป.ป.). แอมมิเตอร์. สืบค้นเมื่อ 25

พฤศจิกายน 2566. จาก

https://www.cpmagnetic.com/content/7486/แอมมิเตอร์

o วิกิพีเดีย. (9 พฤศจิกายน 2566). ไฟฟ้ า. สืบค้นเมื่อ 25

พฤศจิกายน 2566. จาก https://th.wikipedia.org/wiki/ไฟฟ้ า

o อรพรรณ ไวแพน. (17 กุมภาพันธุ์ 2560). การเคลื่อนที่ของ

ประจุไฟฟ้ าผ่านตัวกลาง. สืบค้นเมื่อ 25 พฤศจิกายน 2566.

จาก https://orapanwaipan.wordpress.com/เกี่ยว

กับ/ฟิ สิกส์-4/ไฟฟ้ ากระแส/การเคลื่อนที่ของประจุ

o ADMINSAJI. (8 ธันวาคม 2563). วงจรไฟฟ้ า เบื้องต้น

Electrical circuit. สืบค้นเมื่อ 25 พฤศจิกายน 2566. จาก

https://sa-thai.com/วงจรไฟฟ้ า-เบื้องต้น

o YellowPages. (19 พฤภาคม 2565). อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์

คืออะไร และมีอะไรบ้าง. สืบค้นเมื่อ 25 พฤศจิกายน 2566.

จาก

https://www.yellowpages.co.th/article/rscomponents
24

o Soraya S. (22 กุมภาพันธ์ 2566). การเขียนบรรณานุกรม รูป

แบบ APA 7th. สืบค้นเมื่อ 10 มิถุนายน 2566. จาก

https://www.nupress.grad.nu.ac.th/การเขียนบรรณานุกรม

You might also like