You are on page 1of 275

ISSN : 2673-0944

วารสารนิติศึกษาไทย ฉบับที่ 3 ปีที่ 1 มกราคม - มีนาคม 2563 ฉบับที่ 3 ปีที่ 1


มกราคม - มีนาคม 2563

บัณฑิตศึกษา คณะนิติศาสตร์
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

15 mm
ISSN : 673-0944

วารสารนิติศึกษาไทย
Thailand’s Journal of Legal Study

ฉบับที่ 3 ปที่ 1
มกราคม - มีนาคม 2563

บัณฑิตศึกษา คณะนิติศาสตร
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร
วารสารนิติศึกษาไทย
ฉบับที่ 3 มกราคม – มีนาคม

บรรณาธิการ
อาจารย ดร.อํานาจ ตั้งคีรีพิมาน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร
รองบรรณาธิการ
ผูชวยศาสตราจารย ดร.นพร โพธิ์พัฒนชัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร
กองบรรณาธิการ
ศาสตราจารย ดร.ทวีเกียรติ มีนะกนิษฐ ศาลรัฐธรรมนูญ
ผูชวยศาสตราจารย ดร.สุรศักดิ์ มณีศร นักวิชาการอิสระ
ผูชวยศาสตราจารย ดร.วีรวัฒน จันทโชติ นักวิชาการอิสระ
ผูชวยศาสตราจารย ดร.เดือนเดน นาคสีหราช มหาวิทยาลัยสารคาม
ผูชวยศาสตราจารย ดร.ดวงเดน นาคสีหราช มหาวิทยาลัยสารคาม
ผูชวยศาสตราจารย ดร.เอมผกา เตชะอภัยคุณ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร
อาจารย ดร.ลลิล กอวุฒิกุลรังษี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร
เจาของ

บัณฑิตศึกษา คณะนิติศาสตร
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร ทาพระจันทร กรุงเทพฯ 10200
โทรศัพท 02-613-2123 โทรสาร 02-222-0159
Graduate Programs Faculty of Law, Thammasat University, Prachan Rd., Bangkok 10200
Tel 02-613-2123 Fax. 02-222-0159
Website: https://grad.law.tu.ac.th

พิ ม พ ที่ โรงพิ ม พ ม หาวิ ท ยาลั ย ธรรมศาสตร พ.ศ. 256 2 โทรศั พ ท 0-2613-3810 , 0-2224-1350
โทรสาร 0-2224-1350 http://www.thammasatprintinghouse.com

บทความหรือขอความคิดเห็นใด ๆ ที่ปรากฏในวารสารนิติศึกษาไทยเปนวรรณกรรมของผูเขียนโดยเฉพาะ
คณะนิติศาสตร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตรและบรรณาธิการไมจําเปนตองเห็นดวย
วัตถุประสงคและนโยบาย ( Aim and Policy)

วารสารนิ ติ ศึ ก ษาไทยมี วั ต ถุ ป ระสงค สํ า คั ญ เพื่ อ เผยแพร ผ ลงานบทความวิ จั ย บทความวิ ท ยานิ พ นธ


จากการศึกษาคนควาของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาอาจารยระดับบัณฑิตศึกษา อันจะเปนการสงเสริมใหมี
การนําเสนอผลงานทางดานวิชาการนิติศาสตรในหลากหลายสาขาสูสาธารณชนกอใหเกิดประโยชนกับสังคม
ตอไป ทั้งนี้ วารสารบัณฑิตศึกษานิติศาสตรตีพิมพบทความวิชาการ บทความวิทยานิพนธหรือบทความวิจัย
ทางดานนิติศาสตรในหลายสาขา อาทิ กฎหมายเอกชน กฎหมายอาญา กฎหมายมหาชน กฎหมายระหวาง
ประเทศ กฎหมายการค า ระหว า งประเทศ กฎหมายพาณิ ช ย ธุ ร กิ จ กฎหมายภาษี และกฎหมาย
ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดลอม และสาขาอื่น ๆ ที่เกี่ยวของกับกฎหมาย

ขอบเขต (Scope)

รับบทความของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา โดยรับบทความที่เปนภาษาไทย ดังนี้


(1) บทความวิชาการ หมายถึงบทความที่นําเสนอการวิเคราะหหรือวิจารณกฎหมายทั้งทฤษฎีและทางปฏิบัติที่
จะกอใหเกิดประโยชนในดานองคความรูหรือการนําไปประยุกตใชตอไป
(2) บทความวิทยานิพนธ หมายถึงบทความที่เขียนมาจากวิทยานิพนธหรือสวนหนึ่งของวิทยานิพนธหรือการ
คนควาอิสระ
(3) บทความวิจัย หมายถึง บทความที่เปนผลงานสรุปตอเนื่องมาจากงานวิจัย
การเตรียมตนฉบับ
การเตรียมตนฉบับ ผูเขียนควรพิมพดวยกระดาษ A4 พิมพหนาเดียว โดยจัดพิมพด วย Microsoft Word for
Windows และควรตรวจความถูกตองของการสะกดคําและไวยกรณ ทั้งนี้ ผู เขียนควรระมัดระวังในเรื่ อ ง
ดังตอไปนี้
(1) ชื่อเรื่องไมยาวเกินไปและครอบคลุมสาระทั้งหมด
(2) ชื่อผูเขียนและชื่อบทความมีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
(3) หนวยงานสังกัดของผูเขียน พิมพไวในเชิงอรรถ (ทายหนากระดาษ)
(4) การอ า งอิ ง ให ใ ช รู ป แบบการอ า งอิ ง แบบเชิ ง อรรถที่ ไ ด รั บ การยอมรั บ ทั่ ว ไปโดยดู ตั ว อย า งที่
http://grad.law.tu.ac.th/publications.php?lang=th
(5) การแปลศัพทเฉพาะ (technical terms) และชื่อบุคคลจากภาษาตางประเทศเป นภาษาไทย
ใหระบุถอยคําภาษาตางประเทศไวในวงเล็บตอทายถอยคําดังกลาวครั้งแรกเพียงครั้งเดียว
(6) บทคัดยอ ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
(7) ในสวนของบทความไมควรเกิน15-25 หนา

การสงบทความตีพิมพ
บทความวิทยานิพนธที่ตีพิมพในวารสารนิติศึกษาไทยจะตองยังไมเคยตีพิมพและไมเคยเผยแพรที่ไหน
มากอน ทั้งนี้ผูเขียนสามารถสงบทความไดที่
(1) กองบรรณาธิ ก ารวารสารนิ ติ ศึ ก ษาไทย โครงการวารสารนิ ติ ศึ ก ษาไทย คณะนิ ติ ศ าสตร
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร เลขที่ 2 ถ.พระจันทร แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กทม. 10200
(2) E-mail : thailegaljournal@gmail.com
ทั้งนี้ การพิจารณาบทความวิทยานิพนธที่จะไดรับการตีพิมพในวารสารนิติศึกษาไทยเปนลิขสิทธิ์ของ
กองบรรณาธิการและกองบรรณาธิการไมรับผิดชอบในเนื้อหาหรือความถูกตองของบทความวิทยานิพนธที่สง
มาตี พิ ม พ และสงวนสิ ท ธิ ใ นการตรวจแก ไ ขบทความวิ ท ยานิ พ นธ ที่ ส ง มาตี พิ ม พ แ ละอาจจะส ง บทความ
วิทยานิพนธคืนไปยังผูเขียนเพื่อใหแกไขเพิ่มเติมหรือพิมพตนฉบับใหมแลวแตกรณี
บทบรรณาธิการ

วารสารนิติศึกษาไทย ของคณะนิติศาสตร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร ไดจัดทําขึ้นเปนครั้งแรก โดยมี


วัตถุประสงคเพื่อที่จะตีพิมพเผยแพรบทความวิทยานิพ นธและสงเสริมการพัฒนาความรู ความเขาใจ การคิด
วิเคราะห และการใหความเห็นทางดานกฎหมายของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาที่กําลังจะจบการศึกษาจาก
คณะนิติศาสตร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร เพื่อเปนการเปดโอกาสใหกับนักศึกษาในการแสดงศักยภาพทางดาน
วิชาการ
วารสารนิติศึกษาไทย ปที่1 ฉบับที่ 3 เดือนมกราคม - มีนาคม นี้จะเผยแพรบทความวิทยานิพนธที่
ผานการศึกษาคนควาจํานวนทั้งหมด 25 บทความ โดยจะมีเนื้อหาที่เกี่ยวของกับกฎหมายในสาขาวิชา ดังนี้
กฎหมายอาญา กฎหมายธุรกิจ และกฎหมายทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดลอม โดยทุกบทความไดผานการ
กลั่นกรองคุณภาพจากอาจารยที่ปรึกษาและอาจารยภายในที่มีความเชี่ยวชาญในแตละสาขาเปนการเฉพาะ
กองบรรณาธิ ก ารนิ ติ ศึ ก ษาไทยหวัง เป น อย า งยิ่ ง วา การตี พิ ม พ เ ผยแพร บ ทความวิท ยานิ พ นธข อง
นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาจะเปนประโยชนแกนักศึกษาในการที่จะพัฒนาศักยภาพและพัฒนาความรู ทาง
วิชาการ รวมถึงสามารถนําไปใชประโยชนในการประกอบวิชาชีพในกระบวนการยุติธรรมไดทุกภาคสวน

กองบรรณาธิการ
วารสารนิติศึกษาไทย
สารบัญ
หลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต

- ขอบเขตความรับผิดเกี่ยวกับการแสดงอนาจารในกฎหมายอาญาไทย กรรญดา เกิดศรี 606

- มาตรการทางกฎหมายในการจัดการมูลฝอยในจังหวัดอางทอง กรัณยพร เลขธนากร 624

- มาตรการทางกฎหมายในการควบคุมและจัดการน้ําเสียและกลิ่นจากกิจการ กัญฑรัตน จิระระเสริฐกุล 639


ทาเทียบเรือประมง สะพานปลา และกิจการแพปลา

- มาตรการทางกฎหมายในการควบคุมมลพิษฝุนละอองบริเวณทาอากาศยาน คัคนางค เอมราช 649


: ศึกษากรณีทาอากาศยานสุวรรณภูมิ

- พยานหลักฐานดิจิตอลในคดีสิ่งแวดลอม : ศึกษากรณีเทคโนโลยีการสํารวจ จรัญยา กิตติไพศาลนนท 655


ระยะไกล

- มาตรการทางกฎหมายของประเทศไทยในการคุมครองพันธุปลิงทะเล เฉลิมชล เกษจุโลม 677

- มาตรการทางกฎหมายในการคุ ม ครองการมี ส ว นร ว มของประชาชนใน ณัฐ จินตพิทักษกุล 689


ประเด็นสาธารณะที่เกี่ยวของกับคดีสิ่งแวดลอม : ศึกษากรณีการแกลงฟอง

- มาตรการทางกฎหมายในการปองกันและควบคุมการดื้อยาปฏิชีวนะ ธนพันธ พานทอง 702

- การคุมครองผูบริโภคกรณีการปลอยมลพิษในรถยนตไมเปนไปตามมาตรฐาน นวลกมล ยูถะสุนทร 711


บังคับ

- มาตรการทางกฎหมายในการบําบัดรักษาผูกระทําความผิดเกี่ยวกับเพศ เนตรนภิส ลายทิพย 718

- มาตรการทางกฎหมายในการจัดการมลพิษตกคางจากโรงงานอุตสาหกรรม บุณยนลิน วินิจนันทกร 725


ที่เลิกประกอบกิจการแลว ศึกษากรณีโรงงานอุตสาหกรรมปโตรเคมี

- ปญหาความรับผิดทางอาญาบางประการตามพระราชบัญญัติคุมครองเด็กที่ ปวีณนุช ทองพานเหล็ก 731


เกิดโดยอาศัยเทคโนโลยีชวยการเจริญพันธุทางการแพทย พ.ศ. 2558

- มาตรการทางกฎหมายในการกํากับดูแลการประกอบธุรกิจโอทีที (OTT) ปยาพัชร วงษประสิทธิ์ 741

- มาตรการทางกฎหมายในการควบคุมบุหรี่ไฟฟา พิชญเนตร เรขะวิชัยดิษฐ 751

- การแบงกลุมยอยในการดําเนินคดี พิมพปวีณ เสวตไอยราม 766

- ปญหาขอมูลเครดิตตามกฎหมายวาดวยการประกอบธุรกิจขอมูลเครดิต ยอดวรุณ วิไลรัตน 772


- ปญหาการบังคับคดีในสิทธิบัตร ยุพรัตน รอยแกว 783

- การดําเนินคดีอาญาของพนักงานอัยการโดยคํานึงถึงประโยชนสาธารณะ วรพรรณ ออนสีบุตร 789

- มาตรการทางกฎหมายในการลดการปลอ ยก าซเรื อนกระจก โดยฉลาก วรัฏฐา สุขสภา 802


คารบอนฟุตพริ้นท

- การตรวจสอบภาษีเกี่ยวกับธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส วรวิทย ศิริมหาพฤกษ 810

- มาตรการทางกฎหมายในการสงเสริมการผลิตไฟฟาจากโซลารฟารม ศุภเดช เต็มรัตน 819

- การคาประเวณีโดยชอบดวยกฎหมาย สุจิรา เชื่อมไพบูลย 828

- มาตรการทางกฎหมายในการควบคุมและสงเสริมการปรับลดการปลอยกาซ สุปวีณ กรดเสือ 835


เรือนกระจกจากโรงไฟฟาพลังความรอน

- การคุมครองผุบริโภคจากการปลอมราคาเพื่อขายสินคา อรสา เบญจรุราวงศ 842

- หุนผูถือ อาภาสิรี เงารุงเรือง 852


Thailand Journal of Legal Studies
CONTENTS

Master of Laws Program

- THE EXTENSION OF CRIMINAL LIABILITY FOR PUBLIC INDECENCY Kanyada Keadsri 606
OFFENCE UNDER THE THAI CRIMINAL LAW

- LEGAL MEASURES FOR THE MANAGEMENT OF SOLID WASTE IN Karunyaporn Lektalakorn 624
ANGTHONG PROVINCE
- THAILAND’S LEGAL MEASURES ON CONTROL AND Kantarat Jiraprasertsuk 639
MANAGEMENT OF WASTE WATER AND ODOR FROM FISHING
PORT, FISH WHOLESALE MARKET AND FISH AGENT ACTIVITIES
- LEGAL MEASURES FOR CONTROLLING PARTICULATE MATTER AT Katkanang Emrach 649
SUVARNABHUMI AIRPORT, BANGKOK, THAILAND
- DIGITAL EVIDENCE AND FORENSICS OF ENVIRONMENTAL Jarunya Kitiphaisannon 655
LITIGATIONS : THE CASE STUDY ON REMOTE SENSING
TECHNOLOGY
- THAILAND' S LEGAL MEASURES FOR THE PROTECTION OF SEA Chalermchon Katejulom 677
CUCUMBERS
- LEGAL MEASURES FOR PROTECTING PUBLIC PARTICIPATION IN Nut Jintapitakkul 689
MATTERS RELEVANT TO ENVIRONMENTAL CASES : A CASE
STUDY OF STRATEGIC LAWSUIT AGAINST PUBLIC PARTICIPATION

- LEGAL MEASURES FOR PREVENTION AND CONTROL OF Thanapan Panthong 702


ANTIBIOTIC RESISTANCE

- CONSUMER PROTECTION AGAINST CAR POLLUTANT EMISSION Nuankamon U-thasoontorn 711


IN VIOLATION OF MANDATORY STANDARD
- LEGAL MEASURES SUPPORTING REHABILITATION OF SEX Natnapit Laitip 718
OFFENDERS

- LEGAL MEASURES FOR THE MANAGEMENT OF PERSISTENT Bunnalin Vinijnuntakorn 725


POLLUTANTS FROM CLOSED DOWN FACTORIES : CASE STUDY
OF PETROCHEMICAL PLANT
- LEGAL PROBLEMS ON CRIMINAL LIABILITY UNDER THE Paweenut Thongpanlek 731
ENFORCEMENT OF THAILAND’S PROTECTION OF A CHILD BORN
BY ASSISTED REPRODUCTIVE TECNOLOGY ACT, B.E. 2558

- LEGAL MEASURES REGULATING OVER-THE-TOP (OTT) SERVICE Piyapat Wongprasit 741

- LEGAL MEASURES FOR THE CONTROL OF ELECTRONIC Pichanate Rekhawichaidit 751


CIGARETTES
- SUBCLASSIFICATIONS OF CLASS ACTIONS IN THAILAND Phimpawi Sawet-ai-yaram 766
- PROBLEMS ON “CREDIT INFORMATION” UNDER THE LAW Yodvarun Wilairat 772
RELATING TO CREDIT INFORMATION BUSINESS
- PROBLEM REGARDING THE EXECUTION OF PATENT Yuppharat Roikaew 783
- EVALUATING PUBLIC INTEREST AND PROSECUTORIAL Woraphan Onsibut 789
DISCRETION BY PUBLIC PROSECUTORS
- LEGAL MEASURES TO REDUCE GREENHOUSE GAS EMISSIONS BY Warattha Suksaphar 802
CARBON FOOTPRINT LABEL

- TAX AUDITING RELATED TO ELECTRONIC BUSINESSES Worawit Sirimahaphruk 810

- LEGAL MEASURES TO PROMOTE ELECTRICITY Supadet Themrat 819


PRODUCTIONFROM SOLAR FARM

- LEGALIZED PROSTITUTION Sujira Chiompaiboon 828


- LEGAL MEASURES TO CONTROL AND PROMOTE GREENHOUSE Supawee Krodsua 835
GAS EMISSION REDUCTION FROM THERMAL POWER PLANTS

- CONSUMER PROTECTION AGAINST FAKE ORIGINAL PRICES Orasa Benjarurawong 842


- BEARER SHARES Apasiree Ngowroongrueng 852
606 Thailand Journal of legal Study

ขอบเขตความรับผิดเกี่ยวกับการแสดงอนาจารในกฎหมายอาญาไทย
THE EXTENSION OF CRIMINAL LIABILITY FOR PUBLIC INDECENCY OFFENCE
UNDER THE THAI CRIMINAL LAW
กรรญดา เกิดศรี*
Kanyada Keadsri
บทคัดยอ
ปจจุบันนี้การกระทําความผิดเกี่ยวกับการแสดงอนาจารเพิ่มมากขึ้น และไดมีเทคโนโลยีเขามามีสวนเกี่ยวของ
ทําใหการกระทําหรือพฤติกรรมหลาย ๆ อยางในสังคมไทยปจจุบันไดถูกตั้งคําถามวาเปนการกระทําที่แสดงออกถึง
เสรีภาพทางเพศของบุคคล เปนงานศิลปะที่สังคมยอมรับได หรือเปนสิ่งที่ตองหามในฐานะที่เปนการแสดงอนาจาร
ประเทศไทยไดมีบทบัญญัติของกฎหมายที่สามารถนํา มาลงโทษเกี่ยวกับการแสดงอนาจารหลายบทบัญญัติดวยกัน
แต ก็มี หลายมาตราที่ยัง คงมี ปญหาในการบังคับใชกฎหมาย ไม ว า จะเปนปญหาในเรื่อ งของการตี ความกฎหมาย
ปญหาในเรื่องตัวบทกฎหมายที่ไมครอบคลุมถึงการกระทําหรือพฤติกรรมที่มีลักษณะหลากหลายมากขึ้น ปญหาใน
เรื่องของบทลงโทษที่ไมเพียงพอในการยับยั้งหรือปราบปรามการกระทําความผิด ดวยเหตุผลดังกลาวจึงไดมีการ
กําหนดคํานิยามของการแสดงอนาจารใหมีความชัดเจน และมีการแบงแยกขอบเขตของการกระทําที่เปนการแสดง
อนาจารและพื้ น ที่ ที่ ไ ด รับ การคุ มครอง เพื่ อนํ า ไปสู การบั ง คับ ใช แ ละปรับ ปรุง กฎหมายให มี ความเหมาะสมและ
ประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

คําสําคัญ
การแสดงอนาจาร, ศิลปะ, โดยซึ่งหนา, โดยระยะทาง

ABSTRACT
At the present time, there is a high rise in offences against indecent and technological
advancement involves, many acts or behavior seen in the society today may be considered a form
of expression which should be allowed to present freely as an acceptable artwork rather than a
prohibited indecent act. Under applicable Thai law, there are several provisions that impose
punishment against public indecency. However, certain legal provisions are problematic because
they are difficult to enforce provided that they require interpretation and their application does not
evolve with the changing society where questionable acts have been proliferated. Also, the sanction
imposed is not adequate to deter or prevent the commission of future crime with the same nature.
With the reasons mentioned above, new definition of the term “public indecency” has been
introduced in order to clarify the scope of liability and brighten the blurred line that divides between
the act of indecency and the protected artistic act, which will lead to a better enforcement of law
and effectiveness in its application.

*
นั ก ศึ ก ษาปริ ญ ญาโท หลั ก สู ต รนิ ติ ศ าสตรมหาบั ณ ฑิ ต สาขากฎหมายอาญา คณะนิ ติ ศ าสตร มหาวิ ท ยาลั ย
ธรรมศาสตร : keadsri621@gmail.com
Graduate Student of Master of Laws Program in Criminal Law, Faculty of Law, Thammasat University.
Email address : keadsri621@gmail.com
วารสารนิติศึกษาไทย 607

Keyword
public indecency, artistic work, open/direct action, distance-wide, public, online social
medium
608 Thailand Journal of legal Study

บทนํา
การแสดงอนาจารเปนเสนแบงระหวางงานศิลปะ หรือสิ่งที่กระตุนหรือสื่อไปในเรื่องทางเพศ ซึ่งเปนความ
ไมเหมาะสมที่สังคมจะยอมรับได การกระทําระหวางงานศิลปะกับการแสดงอนาจารเปนประเด็นปญหาในเรื่องของ
การตีความมาตั้งแตในอดีต เพราะถาผลงานที่เปนงานศิลปะแมวาจะมีลักษณะเปนภาพโปเปลือยก็เปนสิ่งที่ยอมรับได
ในสังคม แตถาผลงานที่ถูกมองวามีลักษณะของความเปนอนาจารที่มีลักษณะกระตุนหรือสอไปในทางเพศสวนใหญ
ก็จ ะไม ไ ดรับการยอมรับหรือได รับ การปฏิเสธจากสังคม เพราะฉะนั้ นในแงมุ มของกฎหมายจึง เปนการยากที่จะ
พิจารณาฐานความผิด หรือขอบเขตความเหมาะสมของการกระทําที่จะเรียกวาเปนงานศิลปะหรือเปนการแสดง
อนาจาร
ในแงมุมของกฎหมายอาญาไทย ปญหาบทบัญญัติที่มีอยูยังไมมีความชัดเจนเพียงพอวาการกระทําหรือ
ลักษณะเชนใดที่จะเรียกวาเปนการแสดงอนาจาร ก็คงปลอยใหเปนพื้นที่ทางพลวัตรของสังคมที่จะเปนตัวตัดสิน
ตามยุคสมัยและกาลเวลา เนื่องจากในปจจุบันไดมีเทคโนโลยีเขามาเกี่ยวของ ทําใหการกระทําหรือพฤติกรรมหลายๆ
อยางในสังคมไทยไดถูกตั้งคําถามวาเปนการกระทําที่แสดงออกถึงเสรีภาพสวนบุคคล เปนงานศิ ลปะ หรือเปนสิ่งที่
ตองหามในฐานะที่เปนการแสดงอนาจาร
ในป จ จุ บั น ประเทศไทยได มี บ ทบัญ ญั ติ ข องกฎหมายที่ ส ามารถนํ า มาลงโทษเกี่ย วกับ การแสดงอนาจาร
ไมวาจะเปนความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา ฐานเผยแพรสิ่งลามก ตามมาตรา 287 (1) ฐานครอบครองสื่อลามก
อนาจารเด็ ก ตามมาตรา 287/1 ฐานเผยแพรสื่ อลามกอนาจารเด็ ก ตามมาตรา 287/2 (1) ฐานหมิ่ น ประมาท
ตามมาตรา 326 ฐานหมิ่นประมาทดวยการโฆษณา ตามมาตรา 328 ฐานกระทําการอันควรขายหนาตอหนาธารกํานัล
หรือกระทําการลามกอยางอื่น ตามมาตรา 388 ฐานรังแก คุกคาม หรือทําใหเดือดรอนรําคาญ ตามมาตรา 397 หรือ
แมกระทั่งความผิดตามพระราชบัญญัติวาดวยการกระทําความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร พ.ศ. 2550 และที่แกไข
เพิ่ ม เติ ม ฐานนํ า เข า ข อ มู ล อั น ลามก ตามมาตรา 14 (4) และฐานเผยแพร ข อ มู ล อั น ลามก ตามมาตรา 14 (5)
อยางไรก็ตาม ในหลายมาตราก็ยังคงมีปญหาในการบังคับใชกฎหมาย ไมวาจะเปนปญหาในเรื่องของการตีความ
กฎหมาย ปญหาในเรื่องตัวบทกฎหมายที่ไมครอบคลุมถึงการกระทําหรือพฤติกรรมที่มีลักษณะหลากหลายมากขึ้น
ปญหาในเรื่องของบทลงโทษที่ไมเพียงพอในการยับยั้งหรือปราบปรามการกระทําความผิด จึงเปนประเด็นปญหาที่
จะตองมีการทําการศึกษาและทําความเขาใจ
ดังนั้น วิทยานิพนธฉบับนี้จึงมุงเนนที่จะทําการศึกษาและทําความเขาใจถึงคํานิยามที่เหมาะสมของการแสดง
อนาจาร เพื่อที่จะใชเปนกรอบในการพิจารณาบรรทัดฐานของสังคมไทยในเรื่องของงานศิลปะกับการแสดงอนาจาร
ว า ควรจะเป น เช น ไร และมี ฐ านความผิ ด ใดบ า งที่ ค วรจะได รับ การควบคุ มหรือ ลงโทษอย า งเครง ครัด รวมไปถึง
ในกรณีใดบางที่ควรมีขอยกเวน เพื่อนําไปสูการแกไขและปรับปรุงกฎหมายใหมีความเหมาะสมในการนํามาบังคับใช
ใหมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นในอนาคตตอไป
1. แนวคิดเกี่ยวกับความรับผิดทางอาญากรณีการแสดงอนาจาร
การแสดงออกในเรื่อ งเพศจะถูก มองว า เป น เรื่อ งส ว นตั ว หรื อ เป น เรื่ อ งที่ ส ามารถเป ด เผยต อสาธารณะ
และต อ งมี ก ารกระทํ า ถึ ง ระดั บ ใดจึ ง จะต อ งมี ม าตรการทางกฎหมายมาควบคุ ม นั้ น ได มี แ นวคิ ด ที่ ก ล า วถึ ง
ประเด็นดังกลาวไว 2 แนวคิด กลาวคือ แนวคิดแบบอนุรักษนิยม (Conservative) มองวาการแสดงออกในเรื่อง
ทางเพศ ไมวาจะเปนการแสดงอารมณและความรูสึกตอความพึงพอใจทางเพศ หรือพฤติกรรมที่เบี่ยงเบนไปจาก
ธรรมชาติ เปนสิ่งที่หยาบคาย เปนของต่ํา และเปนเรื่องสวนตัว ไมสมควรที่จะเปดเผยตอสาธารณะ แตตอมาเริ่มมีการ
ผอนคลายลง โดยยอมรับวาการแสดงออกทางเพศสามารถกระทําได เชน การใหความรูความเขาใจในเรื่องของ
เพศศึกษา แตยังไมยอมรับในเรื่องการแสดงออกทางเพศที่เกินขอบเขตจากมาตรฐานที่สังคมยอมรับ โดยยังคงมองวา
เปนเรื่องสวนตัวและมีจุดมุงหมายเพื่อการดํารงเผาพันธุของมนุษย การแสดงทาทางหรือภาพการแสดงอนาจารที่มุงไป
ในทางกระตุนอารมณ ความรูสึก และความตองการทางเพศของบุคคล นํามาซึ่งความเสื่อมตอมาตรฐานทางศีลธรรม
ทางเพศของบุคคลในสังคม และสงผลกระทบตอรางกายและจิตใจของเหยื่อ และบุคคลในสังคม ดังนั้น เมื่อการแสดง
อนาจารเกี่ยวของกับมาตรฐานทางศีลธรรม ทําใหการแสดงอนาจารเกี่ยวของกั บกฎหมาย เนื่องจากกฎหมายมีความ
วารสารนิติศึกษาไทย 609

เกี่ยวของกับมาตรฐานทางศีลธรรมของสังคม แนวคิดดังกลาวจึงไดเรียกรองใหมีมาตรการทางกฎหมายในการควบคุม
การแสดงอนาจารและหามการเผยแพรภาพการแสดงอนาจารตอสาธารณชนอยางเด็ดขาด1 และแนวคิดแบบเสรีนิยม
(Liberal) มองวาพื้นฐานของมนุษยมีความเปนปจเจกบุคคล มีเสรีภาพในการกระทําหรือการแสดงออกซึ่งเปนสิทธิ
ตามธรรมชาติที่มีมาตั้งแตเกิด การทําความเขาใจเกี่ยวกับเรื่องทางเพศเปนเรื่องสวนตัวของแตละบุคคลที่ทุกคนมีสิทธิ
ที่จะแสดงออกหรือรับรูขอมูลทางเพศ ไมสงผลกระทบหรือกอใหเกิดอันตรายตอสังคม และถือวาเปนเรื่องปกติที่
สามารถกระทําได ไมควรถูกขัดขวางดวยอํานาจใด ๆ และกําหนดพฤติกรรมหรือยอมรับพฤติกรรมทางเพศไดอยาง
เต็มที่ ดังนั้น การแสดงอนาจารจะตองถูกจํากัดก็ตอเมื่อเปนการแสดงออกทางเพศที่เปนอันตราย (harm) กลาวคือ
เสรีภาพในการแสดงออกทางเพศยังคงมีตอไปจนกวาจะเห็นวาการแสดงออกนั้นเปนอันตราย ไมวาจะเปนอันตรายตอ
รางกายหรือจิตใจของบุคคล ซึ่งความเปนอันตรายนั้นขึ้นอยูกับบุคคลและสังคมที่จะพิจารณาวากรณีใดเปนการ
แสดงออกอันมีลักษณะอนาจาร และจําตองมีการควบคุมเพื่อไมใหสงผลกระทบโดยรวมตอบุคคลในสังคม แตการที่จะ
ควบคุมไดนั้นตองมีการพิสูจนวาการกระทําดังกลาวเปนการแสดงอนาจารที่มีความเปนอันตรายหรือไม2
จากแนวคิดทั้งสองดังกลาวขางตน แสดงใหเห็นถึงพื้นฐานแนวคิดในการพิจารณาวาพฤติกรรมใดถือวาเปน
การแสดงอนาจารที่แตกตางกัน โดยแนวคิดแบบอนุรักษนิยมมุงเน นไปที่การรักษามาตรฐานทางศีลธรรมของสังคม
มองว า หากปล อยให มี ก ารแสดงออกทางเพศอั น มี ลั ก ษณะอนาจารเผยแพร อ อกสู ส าธารณะจะทํ า ให ม าตรฐาน
ทางศีลธรรมของสังคมเสื่อมทรามลง จึงจําตองถูกควบคุม โดยพิจารณาถึงความอุจาด ความนาบัดสี ในขณะที่แนวคิด
แบบเสรีนิยมจะพิจารณาถึงความเปนอิสระของปจเจกบุคคล การแสดงออกในเรื่องเพศถือวาเปนสิทธิที่บุคคลสามารถ
กระทําได และไมสมควรที่จะมีการขัดขวาง แตถาการกระทํานั้นมีความเปนอันตรายหรือกระทําเกินขอบเขตอันเปน
การกระทบตอสิทธิเสรีภาพของบุคคลในสังคม ก็จะตองถูกควบคุมเชนกัน แมทั้งสองแนวคิดจะมี หลักเกณฑในการ
พิจารณาถึงการแสดงอนาจารที่แตกตางกัน แตก็มีแนวความคิดสอดคลองกันวาจะตองมีการควบคุมการแสดงอนาจาร
1.1 ความหมายและขอบเขตการแสดงอนาจาร
การแสดงอนาจารเปนเสนแบงระหวางงานศิลปะ หรือสิ่งที่กระตุนหรือสื่อไปในเรื่องทางเพศ ซึ่งเปนความไม
เหมาะสมที่สังคมจะยอมรับได การกระทําระหวางงานศิลปะกับการแสดงอนาจารเปนประเด็นปญหาในเรื่องของการ
ตีความมาตั้งแตในอดีตจนถึงปจจุบัน จึงจําเปนตองมีการศึกษาและทําความเขาใจเกี่ยวกับความหมายของงานศิลปะ
และการแสดงอนาจารวามีขอบเขตอยางไร“ศิลปะ” หมายถึง ฝมือ ฝมือทางการชาง การทําใหวิจิตรพิสดาร เชน รูป
สลักวีนัสเปนรูปศิลป การแสดงออกซึ่งอารมณสะเทือนใจใหประจักษดวยสื่อตาง ๆ อยางเสียง เสน สี ผิว รูปทรง เชน
วิจิตรศิลป ศิลปะการดนตรี ศิลปะการวาดภาพ ศิลปะการละคร 3 ซึ่งงานศิลปะเปนสิ่งที่ศิลปนไดพยายามถายทอด
อารมณและความรูสึกของตนผานการสรางสรรคผลงาน เพื่อตองการสื่อสารการแสดงออกซึ่งอารมณและความรูสึก
ไปสูผูชม และใชผลงานศิลปะเปนตัวกระตุนใหผูชมเกิดการแสดงออกซึ่งอารมณและความรูสึกเชนเดียวกับศิลปน แตมี
ผลงานศิลปะบางลักษณะที่อาจถูกจัดอยูในประเภทภาพอนาจาร นั่ นก็คือ ศิลปะภาพเปลือย ซึ่งเปนงานศิลปะที่ใช
โครงสรางทางรางกายของมนุษยเปนสื่อกลางในการแสดงออก ผสมผสานกับความคิดของศิลปนที่ไดถายทอดลงไปใน
ผลงาน เชน รูปแกะสลักวินัสแหงวินลนดอรฟ (Venus of Willendorf) เปนจุลประติมากรรมภาพเปลือยของผูหญิงที่
เนนถึงสัดสวนของรางกายที่มีความสมบูรณเหมาะแกการมีบุตร หรือรูปปนเดวิด (David) เปนประติมากรรมแกะสลัก
หินออนรูปรางผูชายเปลือยกายที่เนนกายวิภาคที่สมจริงตามสัดสวนของมนุษยที่แสดงใหเห็นถึงพละกําลังและความ
กลาหาญ ผลงานศิลปะเหลานี้ลวนมีการจัดวางทาทางใหดูมีความสงางาม มิใชจัดวางทาทางใหเกิดอารมณยั่วยุทาง

1
เนติ รัตนากร, “การใหความคุมครองเด็กในกฎหมายควบคุมสื่อลามก : ศึกษาเปรียบเทียบกฎหมายไทย อังกฤษ
สหรั ฐ อเมริ ก า และเยอรมั น ,” (วิ ท ยานิ พ นธ นิ ติ ศ าสตรมหาบั ณฑิ ต คณะนิ ติ ศ าสตร มหาวิ ท ยาลัย ธรรมศาสตร , 2542),
น. 1–2.
2
เพิ่งอาง, น.3
3
ราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554, พิมพครั้งที่ 2, (กรุงเทพมหานคร : สํานักพิมพ
นานมีบุคสพับลิเคชั่น, 2556), น. 1144.
610 Thailand Journal of legal Study

กามารมณ การแสดงออกทางสีหนาที่เปนไปในทางปลุกสัญชาตญาณฝายดี ไมกาวราว ไมสอไปในทางยั่วยุปลุกอารมณ


ใหเกิดกําหนัด และไมกาวล้ําไปเปนอยางอื่น และจัดวางในพื้นที่หรือสถานที่ใหเหมาะสมกับกาลเทศะ เชน หอศิลป
เพื่อเปนกรอบในการลดความรูสึกของความอนาจารของผูชมผลงานลงได ทั้งนี้ ศิลปะภาพเปลือยที่ถือวาเปนการ
แสดงศิลปะอยางแทจริงจะตองไมกระทบตอวัฒนธรรมและศีลธรรมอันดีงาม และเปนที่ยอมรับของบุคคลในสังคมยุค
สมัยนั้น ศิลปะภาพเปลือยเหลานี้จึงจะถือวามีคุณคาในตัวเอง4
“การแสดงอนาจาร” ประเทศไทยไม ไ ด มี ก ารให ค วามหมายไว ใ นกฎหมาย ตํ า ราทางกฎหมาย
หรือคําพิพากษาฎีกาโดยตรง แตในทางปฏิบัติตําราทางกฎหมายและคําพิพากษาฎีกาไดอธิบายคําวา “อนาจาร”
ในทํานองเดียวกันวาเปนการกระทําที่ไมสมควรในทางเพศตอรางกายของผูอื่น 5 ไมไดหมายความเฉพาะการประเวณี
หรือความใครเทานั้น แตรวมถึงกระทําใหอับอายขายหนาในทางเพศดวย 6 และเปนการแสดงถึงความใครในทางเพศ
ตองเปนการกระทําตอเนื้อตัวรางกายของบุคคลโดยตรง 7 โดยจะพิจารณาจากวิญูชนทั่วไปวาเห็นเปนการกระทํา
อนาจารหรือไม 8 ซึ่งเปนการใหความหมายตามนัย ยะของบทบัญญั ติมาตรา 278 และมาตรา 279 แหงประมวล
กฎหมายอาญา อันเปนความผิดเกี่ยวกับการกระทําอนาจาร ซึ่งมีหลักการวาตองเปนการกระทําตอเนื้อตัวรางกายของ
บุคคลโดยตรง แตขอบเขตการแสดงอนาจารที่วิทยานิพนธฉบับนี้มุงจะทําการศึกษานั้นผูแสดงอนาจารไดกระทํา
ตอเนื้อตัวรางกายของตนเองหรือของผูรวมแสดงอนาจาร จึงไมอาจจะนําแนวทางการวินิจฉัยและการใหความหมาย
ดังกลาวมาใชกับการแสดงอนาจารไดโดยตรง อีกทั้งพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานไมไดใหความหมายของคําวา
“การแสดงอนาจาร” ไว โ ดยตรงเช น กัน เพี ย งแต ไ ด ให ค วามหมายของคํ า ว า “แสดง” หมายถึง ชี้ แ จง อธิ บ าย
บอกขอความใหรู ทําใหปรากฏออกมา 9 และคําวา “อนาจาร” หมายถึง ความประพฤติชั่ว ความประพฤตินาอับอาย
หรือลามก นาบัดสี ทําใหเปนที่อับอาย เปนที่นารังเกียจแกผูอื่นในดานความดีงาม หรือเปนฐานความผิดอาญาที่
ผูกระทํากระทําการอันควรขายหนาตอหนาธารกํานัล โดยเปลือยหรือเปดเผยรางกาย หรือกระทําการลามกอยางอื่น 10
จะเห็นไดวาการใหความหมายของคําวา “อนาจาร” นั้น ไดครอบคลุมไปถึงคําวา “ลามก” ซึ่งหมายถึง หยาบชาต่ํา
ทราม หยาบโลน อันเปนที่นารังเกียจของคนดีมีศีลธรรม เชน หนังสือลามก พูดลามก ทําลามก 11 จากความหมาย
ดังกลาวจะเห็นไดวา คําวา “ลามก” นั้น เปนสวนหนึ่งของคําวา “อนาจาร” แสดงใหเห็นวาการกระทําใดที่เปนการ
แสดงอนาจารอาจจะไมใชเปนการกระทําอันลามกเสมอไป แตทุก ๆ การกระทําที่เปนกระทําอันลามกยอมถือวาเปน
การการแสดงอนาจารเสมอ
นอกจากนี้ คํ า พิ พ ากษาฎี ก าได วินิ จฉั ย วางหลักเกี่ย วกับคํ าวา “สิ่ ง ลามก” ตามประมวลกฎหมายอาญา
มาตรา 278 ไววา ภาพการแสดงออกถึงความสัมพันธทางเพศ ภาพและเสียงการรวมเพศระหวางชายหญิง ภาพชาย
หญิงเปลือยกายอวดอวัยวะเพศ แสดงการรวมประเวณี ตลอดจนบรรยายขอความเปนเรื่องราวการรวมเพศระหวาง
ชายหญิง ภาพการเปดเผยเตานมอยางโจงแจงของหญิง แตมีผาปกปดอวัยวะเพศไวอยางหมิ่นเหม และอยูในอิริยาบถ
ที่ น า เกลี ย ด น า บั ด สี ไม ว า จะเป น อิ ริ ย าบถนอนหงายหรื อ นั่ ง ถ า งขาออกในทํ า นองเจตนาเพื่ อ อวดอวั ย วะเพศ
อยางเดนชัด อันมีลักษณะนอมนําไปสูการยั่วยุทางกามารมณ แมจะเปนการวินิจฉัยวางหลั กคําวา “สิ่งลามก”
4
artandobscenity, “ศิ ล ปะหรื อ อนาจารขึ้ น อยู กั บ ตั ว บุ ค คล,” สื บ ค น เมื่ อ วั น ที่ 7 พฤษภาคม 2561, จาก
https://artandobscenity.wordpress.com.
5
หยุ ด แสงอุ ทั ย , กฎหมายอาญา ภาค 2-3, พิ ม พ ค รั้ ง ที่ 11, (กรุ ง เทพมหานคร : โรงพิ ม พ ม หาวิ ท ยาลั ย
ธรรมศาสตร, 2553), น. 188.
6
คําพิพากษาฎีกาที่ 4836/2547.
7
คําพิพากษาฎีกาที่ 1627/2539.
8
บดี วงศ เ จนสั น ต , “การกระทํ า อนาจารโดยการประทุ ษ ร า ยต อ จิ ต ใจ : ศึ ก ษากรณี คํ า พิ พ ากษาศาลฎี ก าที่
1298322558,” (วิทยานิพนธนิติศาสตรมหาบัณฑิต คณะนิติศาสตร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร, 2559), น. 51 - 52.
9
ราชบัณฑิตยสถาน, อางแลว เชิงอรรถที่ 3, น. 1270.
10
ราชบัณฑิตยสถาน, อางแลว เชิงอรรถที่ 3, น. 1368.
11
ราชบัณฑิตยสถาน, อางแลว เชิงอรรถที่ 3, น. 1054.
วารสารนิติศึกษาไทย 611

แตลักษณะการกระทําที่เกิดขึ้นนั้นเปนการนอมนําไปสูการยั่วยุหรือกระตุนอารมณทางเพศหรือกอใหเกิดกําหนัด
อันถือวาเปนการแสดงอนาจารตามนัยยะของวิทยานิพนธฉบับนี้ ดังนั้น แมวาคําพิพากษาศาลฎีกาจะมิไดตัดสิน
วางหลั ก เกี่ ย วกั บ คํ า ว า “การแสดงอนาจาร” ไว โ ดยตรง แต ข อบเขตของการแสดงอนาจารนั้ น มี ลั ก ษณะเป น
“การกระทํา” ของผูแสดงอนาจารโดยตรง แตเมื่อไดมีการบันทึกหรือถายภาพทําใหสิ่งที่เกิดขึ้นนั้นมีลักษณะเปน
“เนื้อหา” ของการกระทํา อันถือวาเปนสิ่งลามกตามมาตรา 287 ซึ่งสามารถนําแนวคําพิพากษาศาลฎีกาดังกลาว
มาเป น แนวทางในการกํ า หนดขอบเขตการแสดงอนาจารทั้ ง ในลั ก ษณะของ “การกระทํ า ” และ “เนื้ อ หา”
ของการแสดงอนาจารได
จากการศึ ก ษาถึ ง ความหมายและแนวทางการวิ นิ จ ฉั ย ดั ง กล า วข า งต น การจะให คํ า นิ ย ามของคํ า ว า
“การแสดงอนาจาร” ใหมีลักษณะที่แนนอนตายตัวนั้นเปนสิ่งที่กระทําไดยาก เนื่องจากสังคมนั้นมีความพลวัตรอยู
ตลอดเวลา จึงจําตองมีการกําหนดใหมีความยืดหยุนเพื่อใหสามารถนํามาบังคับใชไดกับทุกยุคสมัย ทั้งนี้ “การแสดง
อนาจาร” เปนพฤติกรรมที่อยูระหวาง “การกระทําอนาจาร” กับ “การกระทําอันลามก” ซึ่งเปนพฤติกรรมที่ไมถึงกับ
การแตะเนื้อตองตัวอยางขอบเขตของการกระทําอนาจาร แตเปนพฤติกรรมที่มีลักษณะอันสอไปในทางยั่วยุหรือ
กระตุ น ให เกิดอารมณ ทางเพศหรือกอให เกิดกําหนัด ซึ่ ง มี ขอบเขตครอบคลุมการกระทําอั นลามก จึ งขอกําหนด
คํ า นิ ยามของการแสดงอนาจารเพื่ อเปนแนวทางศึ กษาในการกํา หนดความรับผิดทางอาญาของผูแสดงอนาจาร
ว า หมายถึ ง “พฤติ ก รรมการแสดงออกทางเพศของบุ ค คลที่ ทํ า ให ป รากฏออกมาหรื อ อวดให บุ ค คลอื่ น ได เ ห็ น
โดยการเปลือยกาย การเปดเผยรางกายในสวนที่ควรจะตองปกปด การแสดงกิจกรรมรวมเพศ รวมถึงการแสดงทาทาง
อื่น ๆ อันมีลักษณะของการกระทําเปนไปในทางยั่วยุหรือกระตุนใหเกิดความรูสึกทางเพศ หรือกอใหเกิดกําหนัด
แกบุ ค คลอื่ น ” แต ทั้ ง นี้ การกํา หนดเฉพาะคํ า นิ ย ามดั ง กล า วก็ยั ง ไม เพี ย งพอที่ จ ะกํา หนดความรับ ผิ ด ทางอาญา
เนื่องจากทุกคนยอมมีเสรีภาพในการแสดงออกทางเพศ หากเพียงแคผูกระทําไดแสดงพฤติกรรมตามที่กํา หนดใน
คํานิยามแลวจะตองถูกลงโทษ ก็จะเปนการจํากัดเสรีภาพในการแสดงออกทางเพศสวนบุคคลจนเกินสมควร ดังนั้น
เพื่ อไม ให บุ ค คลแสดงออกซึ่ ง เสรีภ าพทางเพศจนเกิน ขอบเขต หรือไม ให กฎหมายเขา ไปกระทบเสรีภ าพในการ
แสดงออกทางเพศจนเกินไป จึงจําตองพิจารณาถึงสถานการณและสถานที่ที่ใชแสดงพฤติกรรมประกอบดวย
1.2 ลักษณะการแสดงอนาจารในสถานการณปจจุบัน
การแสดงอนาจารสามารถแบงออกเปน 2 ลักษณะ คือ การแสดงอนาจารโดยซึ่งหนา และการแสดงอนาจาร
โดยระยะทาง ที่ เ กิ ด ขึ้ น ทั้ ง ในแบบส ว นบุ ค คล ( individual) และแบบสาธารณะ (public) จะเห็ น ได ว า
การแสดงอนาจารดังกลาวเปนการกระทําที่นาตําหนิหรือมีความชั่ว (Schuld) กลาวคือ ผูกระทําสามารถตัดสินใจ
กระทําในสิ่งที่ถูกตองได แตไมกระทํา กลับตัดสินใจกระทําในสิ่งที่ผดิ แทน จึงควรถูกตําหนิ ดังนั้น การกระทําความผิด
อาญาของผู ก ระทํ า จึ ง เป น การกระทํ า ที่ ต อ งถู ก ตํ า หนิ ห รื อ เป น การก ระทํ า ที่ ชั่ ว 12 โดยการแสดงอนาจาร
โดยซึ่งหนานั้นมีลักษณะของการกระทําที่แสดงใหเห็นถึงความอุกอาจ ไมเกรงกลัวตออํานาจของผูเสียหายหรือผูอื่น
เปนที่นาตําหนิหรือมีความชั่ว (Schuld) มากกวาการแสดงอนาจารโดยระยะทาง แตการจะกําหนดวาการแสดง
อนาจารในลักษณะใดควรจะเปนความผิด และจะตองไดรับการลงโทษนั้น จะตองนําหลักการกําหนดความรับผิด
ทางอาญา (Criminalization) มาใชในการพิจารณา
(1) หลักการวาดวยความเปนภยันตราย (Harm Principles)13 กลาวคือ การจํากัดเสรีภาพของบุคคลเปนสิ่ง
ที่ไมดี และควรจะจํากัดเสรีภาพไดก็ตอเมื่อเปนสิ่งที่ จําเปนในการปองกันผลราย (harm) ที่จะเกิดจากการกระทํานั้น
ตอผูอื่น กฎหมายจะจํากัดเสรีภาพของบุคคลไดก็ตอเมื่อการกระทําของผูนั้นกอใหเกิดผลรายตอผูอื่นเทานั้น

12
คณิต ณ นคร, กฎหมายอาญา ภาคทั่วไป, พิมพครั้งที่ 3, (กรุงเทพมหานคร : สํานักพิมพวิญูชน, 2551), น.
101-104.
13
วิภาพร เนติจิรโชติ, “การบัญญัติความผิดลหุโทษใหเปนความผิดอาญาทั่วไป : ศึกษาเฉพาะความผิดลหุโทษตาม
ประมวลกฎหมายอาญา,” (วิทยานิพนธนิติศาสตรมหาบัณฑิต คณะนิติศาสตร มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย, 2548), น. 38 – 39.
612 Thailand Journal of legal Study

(2) หลักการวาดวยความผิด (Offence Principles)14 กลาวคือ การกระทําบางอยางแมจะไมไดกอใหเกิด


ผลราย ก็ทําใหเกิดการลวงเกินตอความรูสึกของคนทั่วไป ก็ควรจะใชกฎหมายอาญาแทรกแซงได
(3) หลักกฎหมายศีลธรรม (Legal Moralism)15 กลาวคือ รัฐสามารถใชกฎหมายเปนเครื่องมือบังคับให
ประชาชนปฏิบัติตนอยูภายในกรอบและมาตรฐานทางศีลธรรมที่สังคมยึดถือปฏิบัติอยูในขณะนั้น โดยไมจําเปนตอง
พิจารณาถึงความรายแรงหรือความผิดที่จะสงผลกระทบตอตัวผูกระทําความผิดเองหรือผูอื่นในสังคม
เมื่อนําหลักการกําหนดความรับผิดทางอาญามาพิจารณากับลักษณะของการแสดงอนาจาร จะเห็นไดวาการ
แสดงอนาจารไม ว า จะเป น โดยซึ่ ง หน า หรื อ โดยระยะทางไม ส ามารถนํ า หลั ก การว า ด ว ยความเป น ภยั น ตราย
(Harm Principles) มาเปนหลักการในการกําหนดความผิดทางอาญาแกผูกระทําได เนื่องจากหลักการดังกลาวมองวา
กฎหมายจะจํากัดเสรีภาพของบุคคลไดก็ตอเมื่อการกระทําของผูนั้นไดกอใหเกิดผลรายตอผูอื่นเทานั้น แตการแสดง
อนาจารแมจะเปนการกระทําโดยซึ่งหนาที่มีความอุกอาจ ไมเกรงกลัวตออํานาจของผูอื่นก็ตาม ก็ยังไม ไดกอใหเกิด
ความภยันตรายหรือผลรายตอผูอื่น แตเปนการแนวโนมที่จะดึงดูดสายตาผูอื่น ทําใหเกิดความรูสึกที่ไมพึงปรารถนา
และเปนการลวงเกินตอความรูสึกของคนทั่วไป เปนการสรางการเผชิญหนาระหวางผูกระทําและผูที่ตกเปนเหยื่อ
ทําใหผูที่ตกเปนเหยื่อไมอยากเขาไปใชพื้นที่ดังกลาว หรือไมอยากเผชิญหนากับการกระทําดังกลาว ทําใหผูอื่นเขาใช
พื้นที่ดังกลาวไดอยางจํากัด จึงสามารถนําหลักการวาดวยความผิด (Offence Principle) มากําหนดความรับผิด
ทางอาญากับผูแสดงอนาจารได แตก็เฉพาะกรณีของการแสดงอนาจารโดยซึ่งหนาเทานั้น สวนการแสดงอนาจาร
โดยระยะทางนั้นไมไดมีลักษณะเปนการเผชิญหนาระหวางผูกระทํากับผูที่ตกเปนเหยื่อ เนื่องจากทั้งสองฝายไมไดอยู
ซึ่งหนากันในขณะที่มีการแสดงอนาจาร แมวาการกระทําดังกลาวจะไมกอใหเกิดความภยันตรายหรือความเสียหาย
และไมใชเรื่องการใชพื้นที่สาธารณะอยางจํากัด แตเปนการกระทําที่ผิดศีลธรรมโดยตรง ดังนั้น สังคมจึงมีสิทธิที่จะ
ปกปองศีลธรรมที่ยึดถือโดยใชกฎหมายอาญาเปนเครื่องมือในการปกปองศีลธรรมของตนเองได และเพื่ อเปนการ
บังคับใหบุคคลทุกคนอยูในกรอบหรือมาตรฐานทางศีลธรรมที่สังคมยึดถือปฏิบัติอยู รัฐจึงควรใชกฎหมายเปนเครื่องมือ
บังคับใหประชาชนปฏิบัติตนอยูภายในกรอบและมาตรฐานทางศีลธรรมที่สังคมยึดถือปฏิบัติอยูในขณะนั้น จึงสามารถ
นําหลักกฎหมายศีลธรรม (Legal Moralism) มากําหนดความรับผิดทางอาญาได
1.3 ลักษณะของผูที่เกี่ยวของกับการแสดงอนาจาร
จากพฤติกรรมการแสดงอนาจารที่เกิดขึ้นในสถานการณปจจุบัน ไมวาจะเกิดขึ้นในสถานที่สาธารณะหรือสื่อ
สังคมออนไลน ไมอาจที่จะปฏิเสธไดวาเมื่อมีการแสดงอนาจารเกิดขึ้นก็จะตองมีผูถายภาพดัง กลาว และผลสืบเนื่องที่
ตามมาก็คือการเผยแพรภาพการแสดงอนาจารนั้นตอสาธารณชน โดยแบงลักษณะของผูที่เกี่ยวของกับการแสดง
อนาจารออก 2 กลุม ดังนี้
1.3.1 ผูที่เกี่ยวของกับการแสดงอนาจารโดยตรง คือ ผูที่ลงมือกระทําการแสดงอนาจาร ซึ่งการแสดงอนาจาร
เปนการกระทําความผิ ดทางเพศอยางหนึ่ง ถาพิจารณาในแงของจิตวิทยาแลว ถือวาเปนการแสดงออกของความ
บกพรองทางจิตใจ เปนการแสดงออกของบุคคลที่ผิดปกติ ซึ่งมีความสัมพันธกับความบกพรองของพัฒนาการทางเพศ
และจิตใจของบุคคล แตพฤติกรรมดังกลาวไมจําเปนวาผูกระทําจะตองมีความผิดปกติเสมอไป สามารถแบงออกเปน 5
ลักษณะ ดังนี้
(1) ผูกระทําเนื่องจากความผิดปกติทางจิต กลาวคือ ผูที่มีความผิดปกติทางดานความคิด อารมณ การรับรู
และพฤติกรรม จนอาจไมสามารถที่จะชวยเหลือตนเองได ขาดความสามารถในการปรับตัวเขากับครอบครัวและสังคม
ซึ่งมีผลกระทบตอการดําเนิน ชีวิต มีความสามารถในการดูแลตนเองและการทํางานลดลง จนทําใหรูสึกวาตนเองมี
ความแตกตางและดอยกวาผูอื่น ซึ่งบางรายมีอาการรุนแรงจนไมสามารถควบคุมตนเองและตัดสินใจถูกผิด ชั่วดี
เหมือนคนปกติทั่วไป บางรายมีพฤติกรรมกาวราวจนถึงขั้น กอคดี ซึ่ง เปนไปเพื่ อตอบสนองต อกา รรับรูข องระบบ

14
เพิ่งอาง, น. 39 – 40.
15
เพิ่งอาง, น. 42.
วารสารนิติศึกษาไทย 613

ประสาทที่ผิดปกติไป16 โดยถือวาเปนบุคคลที่มีความผิดปกติทางจิต ซึ่งในขณะที่ลงมือกระทํานั้นอาจไมรูสํานึกหรือไม


รูผิดชอบในการกระทําวาตนกําลังแสดงพฤติกรรมดังกลาวตอผูอื่น
(2) ผูกระทําเนื่องจากความกาวรุนแรงทางเพศที่เกิดจากกระบวนการทางสังคม กล าวคือ เปนผูที่ไดรับ
อิทธิพลจากสิ่งแวดลอมและคนใกลชิด และถูกเลี้ยงดูในวัฒนธรรมที่ไมไดสั่งสอนใหเคารพสิทธิของผูอื่น เห็นแกความ
สนุกสนานและความพึงพอใจทางเพศของตนเปนหลัก โดยจะมีการแสดงออกทางเพศบนความเชื่อที่เกี่ยวกับความ
กาวราว และมักใชอางเปนเหตุผลในการเขาขางตนเองและคิดวาตนเองไมไดมีความผิดปกติ 17 ตามคูมือวินิจฉัยโรค
และสถิติสําหรับผูมีความผิดปกติทางจิต (The Diagnostic and Statistical Manual of Mental Disorders : DSM)
ไดใหความหมายของอาการตอตานสังคมวาเปนอาการของบุคคลที่เขาสังคมไมได มีอุปนิสัยขัดแยงกับสังคม ไมมีความ
ซื่อสัตยตอตนเองหรือตอบรรทัดฐานทางสังคม เปนคนเห็นแกตัว หยาบคาย ไมรับผิดชอบ ไมมีความยับยั้งชั่งใจ ไมมี
ความรูสึกผิดชอบชั่วดี และไมสามารถที่จะเรียนรูจากประสบการณหรือการถูกลงโทษ มีความอดกลั้นตอสิ่งยั่วยุนอย
และมักจะตําหนิผูอื่นหรือมักแกตัวในพฤติกรรมของตนเอง 18 โดยพฤติกรรมอาจเกิดจากความคึกคะนองหรือตองการ
แสดงพื้นที่สวนตัวเปนของตัวเอง ในอดีตที่ผานมาจะมีการแสดงออกทางเพศอันมีลักษณะเปดเผยตอผูอื่นตามสถานที่
สาธารณะหรือสถานที่ที่บุคคลสามารถพบเห็นไดงาย หากแตปจจุบันไดมีสื่ อสังคมออนไลนเปนเครื่องมื อในการ
เผยแพรการแสดงพฤติกรรมเชนนั้นได โดยมองวาเปนการสรางจุดเดนใหกับตนเอง ตองการเปนคนสําคัญ และไดรับ
ความสนใจจากผูที่ไดพบเห็น แมผลลัพธจะเปนลบก็ไมใชสาระสําคัญ ขอเพียงใหตนเองไดเปนที่รูจักของคนในสังคมก็
เพียงพอแลว การพัฒนาของเทคโนโลยีใหม ๆ ทําใหบางรายสามารถปรับวิธีการนําเสนอการแสดงอนาจารของพวกตน
เชน การถายรูปตัวเองแลวโพสตลงในสื่อสังคมออนไลน 19 โดยถือวาเปนบุคคลที่มีความปกติทางจิต และรูสํานึกอยู
เสมอวาตนกําลังแสดงพฤติกรรมดังกลาวตอผูอื่น และรับรูวาสิ่งที่กําลัง กระทํานั้นเปนความผิด แตก็ไมสนใจวาสิ่งที่
กําลังกระทํานั้นเปนสิ่งถูกหรือสิ่งผิด และจะสรางความเดือดรอนใหกับผูอื่นหรือไม จะขาดจิตสํานึกและไมละอายตอ
การกระทําของตน ไมสํานึกผิดตอการกระทําของตน และไมเคยคิดวาสิ่งที่ตนกระทํานั้นเปนสิ่งที่ผิด แตกลับมีความสุ ข
จากการกระทําของตน
(3) ผูกระทําที่มีพฤติกรรมเบี่ยงเบนทางเพศ กลาวคือ เปนผูที่มีประสบการณเกี่ยวกับพฤติกรรมทางเพศมาก
เกินกวาบุคคลปกติทั่วไป เชน การกระตุนทางเพศที่ตองเปนการแสดงออกทางเพศอันมีลักษณะเปดเผยใหผูอื่นดู จึง
จะทําใหเกิดความพึงพอใจและความสุขทางเพศ ซึ่งความรูสึกและความตองการทางเพศที่เกินกวาปกติจะเปนสิ่งที่คอย
รบกวนอยูตลอดเวลา โดยไมสามารถควบคุมได จึงตองหาทางระบายออกมา โดยอยางนอยภายในระยะเวลา 6 เดือน
และจะถูกกระตุนทางเพศซ้ํา จะเกิดขึ้นบอยแคไหน หรือมีความรุนแรงเพียงใด ขึ้นอยูกับแรงผลักดั นทางจิตใจดวย20
โดยจะมีพฤติกรรมที่ไมสามารถยับยั้งความรูสึกได เมื่อมีสิ่งกระตุนไมวาจะเปนเวลาใดก็จะเกิดความตองการอยาง
ผิดปกติและรุนแรง ซึ่งจะกระทําการแสดงพฤติกรรมดังกลาวตอบุคคลแปลกหนา โดยที่บุคคลนั้นไมไดเต็มใจดู ทําใหมี
ความสุขทางเพศ ความตองการที่จะแสดงหรือโชวอนาจารดังกลาวจะเกิดขึ้นบอย ๆ และไมสามารถยับยั้งจิตใจของตน
ไมใหแสดงพฤติกรรมดังกลาวได ความสุขทางเพศจะเกิดขึ้นเมื่อไดเห็นผูที่ตกเปนเหยื่อเกิดอาการตื่นเตนหรือตกใจตอ

16
แสวง บุญเฉลิมวิภาส, นิติเวชศาสตรและกฎหมายการแพทย , พิมพครั้งที่ 3, (กรุงเทพมหานคร : สํานักพิมพ
วิญูชน, 2557), น. 123 – 124.
17
ณรงศักดิ์ สุขวิบูลย, “มาตรการบังคับทางอาญาที่เหมาะสมสําหรับผูกระทําความผิด ”, (วิทยานิพนธนิติศาสตร
มหาบัณฑิต คณะนิติศาสตร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร, 2549), น. 30.
18
พรชัย ขันตี และคณะ, ทฤษฎีและงานวิจัยทางอาชญาวิทยา, (กรุงเทพมหานคร : บริษัทบุคเน็ท จํากัด, 2534),
น. 54. อางถึงใน ณรงคศักดิ์ สุขวิบูลย, อางแลว เชิงอรรถที่ 65, น. 37.
19
Hart, Matt. “Being naked on the internet: young people’s selfies as intimate edgework”, Journal
of Youth Studies, pp. 1-15 (2016).
20
จิราภรณ สวนพุฒ, “ผูกระทําผิดทางเพศคือใคร (ตอนที่ 2),” วารสารราชทัณฑ . ฉบับที่ 1 ปที่ 53, น. 49–50
(2548). อางถึงใน ณรงคศักดิ์ สุขวิบูลย, อางแลว เชิงอรรถที่ 65, น. 37.
614 Thailand Journal of legal Study

การกระทําของตน21 ซึ่งบางรายอาจมีพฤติกรรมในการสําเร็จความใครดวยตนเองไปพร อมกัน โดยพฤติกรรมดังกลาว


ไมถือวาเปนบุคคลวิกลจริตที่ไมรูผิดชอบชั่วดี เนื่องจากในขณะที่กระทําการแสดงอนาจารนั้นไดรูสํานึกในการกระทํา
วาตนกําลังแสดงพฤติกรรมดังกลาวตอผูอื่น เพียงแตมีความสามารถในการควบคุมตนเองต่ํา หรือไมสามารถยับยั้งการ
กระทําของตนเองไดในขณะนั้น
(4) ผู ก ระทํ า เพื่ อ ต องการได รั บ ประโยชน จ ากการกระทํ า และโอกาสที่ จ ะลงโทษ กล า วคื อ เป น ผู ที่ มี
พฤติกรรมอันเกิดจากเจตจํานงอิสระ (free will) ของตน โดยมีแนวคิดที่วามนุษยจะกระทําหรือไมกระทําการใดก็ได
มนุษยมีพฤติกรรมใดเกิดจากการชั่งน้ําหนักระหวางความสุขหรื อประโยชนที่ไดรับกับความทุกขหรือผลที่ตามมาจาก
การกระทําผิด นั่นคือโทษ เมื่อชั่งน้ําหนักแลว หากความทุกขหรือโทษมีมากกวาความสุขหรือประโยชนที่ตนไดรับ
มนุษยก็จะใชเจตจํานงอิสระตัดสินวาจะกระทําหรือไมกระทําการนั้น ทั้งนี้ มนุษยจะเลือกกระทําความผิดอยางมี
เหตุผลโดยคํานึงถึงผลไดและผลเสียจากการประกอบอาชญากรรม โดยคํานึงถึงโอกาสที่จะถูกจับและถูกลงโทษ 22
ดังนั้น เมื่อชั่งน้ําหนักของการกระทําระหวางความสุขหรือโยชนที่ตนจะไดรับจากการแสดงอนาจาร กับความทุกขหรือ
ผลที่ตามมาจากการแสดงอนาจาร นั่นคือ ความเสี่ยงตอการถูกจับกุมและตองถูกลงโทษแลว หากความสุขหรือ
ประโยชนที่ไดจะไดรับจากการแสดงอนาจารมีมากกวาความทุกขหรือความเสี่ยงตอการถูกจับกุมและตองถูกลงโทษ ก็
มีโอกาสที่จะใชเจตจํานงอิสระของตนตัดสินใจลงมือกระทําการแสดงอนาจาร เนื่องจากมีจุดคุมทุนมากกวา แตหาก
ความทุกขหรือความเสี่ยงตอการถูกจับกุมและตองถูกลงโทษมีมากกวาความสุขหรือประโยชนที่จะไดรับจากการแสดง
อนาจาร ก็มีโอกาสที่จะใชเจตจํานงอิสระของตนตัดสินใจที่จะไมกระทําการแสดงอนาจาร หรืออาจจะลงมือกระทํา
การแสดงอนาจารนอยลง เนื่องจากมีจุดคุมทุนนอยกวานั่นเอง โดยพฤติกรรมสวนใหญไมไ ดเกิดจากความรูสึกอยาก
อวดหรืออยากโชว แตเกิดจากผูอื่นไดจางวานใหแสดงหรือโชวเพื่อแลกกับเงินคาจางหรือผลประโยชนตอบแทนอยาง
อื่ น โดยถือว า เป น บุ ค คลที่ มี ค วามปกติ ท างจิ ต ซึ่ ง ในขณะที่ ก ระทํ า นั้ น ได รูสํ า นึ กในการกระทํ า ว า ตนกํา ลั ง แสดง
พฤติกรรมดังกลาวตอผูอื่น แตที่ไดกระทําลงไปเพราะแลกเปลี่ยนกับเงินคาจางหรือประโยชนตอบแทนอื่น ๆ
(5) ผูกระทําเพราะเกิดจากการกระทําความผิดอยางอื่น เชน การใชสารเสพติด การดื่มสุรามึนเมา เนื่องจาก
ผูที่ใชสารเสพติดหรือดื่มสุราจนมึนเมาจะทําใหสูญเสียการควบคุมตัวเองในชั่วขณะ ซึ่งพบวาผู กระทําความผิดทางเพศ
สวนหนึ่งมักจะใชสารเสพติดหรือดื่มสุรากอนจะลงมือกระทําความผิด นอกจากนี้ การยั่วยุจากเหยื่อ ไมวาจะเปนการ
แตงกายไมเหมาะสม เปดเผยรางกาย ทําใหมีจิตใจฮึกเหิม และเปนการเราอารมณทางเพศของผูกระทําความผิด
รวมทั้งโอกาส และสถานที่อํานวย โดยเหยื่อไปอยูในสถานที่มีความเสี่ยงตอการกระทําผิดไดงาย เชน สถานที่เปลี่ยว
สวนสาธารณะ สถานที่พักของคนงานกอสราง ในเวลากลางคืน โดยถือวาเปนบุคคลปกติ แตมีพฤติกรรมในการกระทํา
ความผิดเพราะมีสันดานเปนผูราย จากการใชสารเสพติดหรือความมึนเมา หรือจากการยั่วยุของเหยื่อ
พฤติกรรมการแสดงอนาจารที่เกิดขึ้นนั้น ผูกระทํายอมมีเหตุผลในการแสดงพฤติกรรมดังกลาว 2 ประการ
กลาวคือ ประการแรก การแสดงอนาจารที่ไดรับคาตอบแทน อันเนื่องมาจากไดรับการจางวานจากผูอื่นใหแสดง
อนาจารเพื่อแลกกับเงินคาจาง หรืออาจมีลักษณะเปนการเสนอขายบริการ โดยผูที่สนใจสามารถรับชมได โดยการโอน
เงิ น ผ า นเข า บั ญ ชี หรื อ เป น ระบบการเติ ม เงิ น โทรศั พ ท อ อนไลน เ ข า บั ญ ชี เ พื่ อ แลกกั บ การแสดงอนาจาร
การกระทํ า ดั ง กล า วมิ ใช ค วามสุ ข ทางเพศ แต เป น การหมกมุ น มั่ ว สุ ม ที่ อ าจนํ า ไปสู การเกิด อาชญากรรมทางเพศ
ในสังคมไทยได ซึ่งจะเกี่ยวของกับเรื่องบริการหรืออาชีพ และประการที่สอง การแสดงอนาจารที่ไมไดรับคาตอบแทน
เพียงแคผูกระทําตองการที่จะอวดหรือโชวตอผูอื่น หรือเพื่อตองการบอกเลาเรื่องราวของตนเองใหคนอื่นไดรับรูผาน
สื่อสังคมออนไลนหากมีคนเขามาดูและกดถูกใจเปนจํานวนมากเทาใด ก็ยิ่ งทําใหผูกระทํานั้นเกิดความสุข ความพึง
พอใจในสิ่งที่ตนไดกระทําลงไป หรือแมวาจะผูคนเขามาดาวา หรือพูดจาแทะโลม ก็ไมไดทําใหผูกระทําคิดที่จะหยุด
การกระทําของตน และยังเกิดการกระทําซ้ํา ๆ โดยที่ไมไดเกรงกลัวตอกฎหมายหรือบางรายก็ไมไดรับการลงโทษตาม

21
สุวัทนา อารีพรรค, ความผิดปกติทางจิต, (กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย, 2524), น. 410.
22
สุดสงวน สุธีสร, อาชญาวิทยา, พิมพครั้งที่ 2, (กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร, 2547), น.
61.
วารสารนิติศึกษาไทย 615

กฎหมาย ทั้ง นี้ การแสดงอนาจารดังกลาวแมวาผูกระทําจะมีเสรีภาพของบุคคลในการแสดงออกทางเพศก็ตาม


แตการแสดงอนาจารดังกลาวหากปลอยใหดํารงอยูในสังคมไทยตอไป ก็จะกลายเปนสิ่งที่ทําลายความเปนมนุษย และ
สงผลกระทบตอศีลธรรมอันดีของประชาชน สังคมและวัฒนธรรม เนื่องจากผูกระทําไม ไดคํานึงถึงจริยธรรมและ
จิตสํานึกในวัฒนธรรมไทย จึงจําเปนที่จะตองกําหนดขอบเขตของการกระทํา และสมควรที่จะมีกฎหมายเขามาควบคุม
กระทําดังกลาวใหอยูในกรอบและบรรทัดฐานของสังคมไทย
1.3.2 ผูที่เกี่ยวของกับการแสดงอนาจารโดยออม
เมื่อมีการแสดงอนาจารเกิดขึ้นก็ไมอาจจะปฏิ เสธไดวาการกระทําดังกลาวยอมไดรับความสนใจจากผูคนใน
สังคม และเมื่อไดมีพบเห็นการกระทําดังกลาวก็อาจมีผูถายหรือบันทึกลงในสื่อตาง ๆ หรือไดมีการเผยแพรภาพหรือ
วิดีโอดังกลาวตอ ๆ กันไป ซึ่งถือวาไดเขาไปมีสวนเกี่ยวของกับการแสดงอนาจารโดยออม
การถายภาพการแสดงอนาจารสามารถแบงออกเปน 2 ลักษณะ กลาวคือ การถายภาพการแสดงอนาจารใน
พื้นที่สวนบุคคล และการถายภาพการแสดงอนาจารของบุคคลในพื้นที่สาธารณะ ซึ่งผูถายหรือบันทึกภาพการแสดง
อนาจารนั้นอาจจะเปนผูสงตอภาพการแสดงอนาจารไปยังผูอื่น หรือเผยแพรภาพการแสดงอนาจารไปยังสาธารณชน
และอาจเปนผูกระทําความผิดไดเชนเดียวกัน ทั้งนี้ การกระทําเพียงแตการถายภาพการแสดงอนาจารของตนเองแลว
เก็บไวยอมไมกอใหเกิดความเสียหาย หรือการถายภาพการแสดงอนาจารของผูอื่นแมจะเปนการละเมิดสิทธิในความ
เปนอยูสวนตัวของบุคคลนั้นก็ตาม หากผู ถายภาพดังกลาวเพียงแคเก็บภาพนั้นไวเอง โดยไมเผยแพรตอไปยังบุคคลใด
บุคคลหนึ่ง ความเสียหายที่เกิดขึ้นจึงยังไมอาจเห็นไดอยางชัดเจน เวนแตเปนการถายภาพการแสดงอนาจารเด็กที่มี
อายุไมเกิน 18 ป แตหากไดมีการนําภาพการแสดงอนาจารเผยแพรตอสาธารณชน ยอมเปนการกระทบตอความสงบ
เรียบรอยและศีลธรรมอันดีของประชาชน โดยเฉพาะในปจจุบันเทคโนโลยีสารสนเทศไดมีการพัฒนาไปอยางรวดเร็ว
อีกทั้งอุปกรณในการถายภาพก็ไดรับการพัฒนาใหมีความเชื่อมโยงเขาสูระบบเครือขายคอมพิวเตอรไดอยางสะดวก
และรวดเร็ว ทําใหการถายภาพจากอุปกรณถายภาพดวยระบบดิจิตอลถูกสงเขาสูเครือขายคอมพิวเตอรไดอยางสะดวก
สงผลใหภาพดังกลาวแพรกระจายออกสูสาธารณชนไดอยางรวดเร็ว ผลกระทบตอสิทธิความเปนอยูสวนตัวของผูที่ถูก
ถายภาพจึงเกิดขึ้นอยางกวางขวาง อยางไรก็ตาม การนําภาพการแสดงอนาจารของผูอื่นไปเผยแพร สูสาธารณชน ถือ
วาเปนการกระทบตอสิทธิความเปนอยูสวนตัวของผูที่ถูกถายภาพ และกระทบตอความสงบเรียบรอยและศีลธรรมอันดี
ของประชาชน23 นอกจากนี้ แมวาการนําภาพการแสดงอนาจารของตนเองไปเผยแพรสูสาธารณชนจะไมกระทบตอ
สิทธิความเปนอยูสวนตัวของตนเอง แตก็เปนกระทบตอความสงบเรียบรอยและศีลธรรมอันดีของประชาชน
1.4 ผูที่ตกเปนเหยื่อของการแสดงอนาจาร
การแสดงอนาจารเปนอาชญากรรมทางเพศรูปแบบหนึ่ง ผูที่ตกเปนเหยื่อของการแสดงอนาจารยอมถือวาเปน
เหยื่ออาชญากรรมทางเพศ สามารถแบงออกเปน 4 ลักษณะ ดังตอไปนี้
1.4.1 เหยื่ อ อาชญากรรมที่ ไ ม มี ส ว นเกี่ ย วข อ งกั บ อาชญากร (Unrelated Victim) หรื อ เหยื่ อ บริ สุ ท ธิ์
กลาวคือ เหยื่อที่ไมมีความสัมพันธใด ๆ กับอาชญากร เหยื่อเปนเพียงผูรับเคราะหกรรมจากอาชญากรรมเทานั้น
บุคคลทุกคนในสังคมอาจตกเปนเหยื่ออาชญากรรมเมื่อใดก็ได ไมวาจะอยูในสภาพแวดลอมเชนไร โดยไมจําเปนตองมี
ความสั ม พั น ธ กับ อาชญากรมากอน 24 ซึ่ ง อาจมี ทั้ งเหยื่ อ โดยตรง (Direct Victims) และเหยื่ อ โดยอ อม (Indirect
Victims) ก็ได25 เมื่อเปรียบเทียบกับเหยื่อของการแสดงอนาจาร จะเห็นไดวาเหยื่อไมไดรูจักหรือสนิทสนมกับผูแสดง
อนาจารมากอน เนื่องจากผูกระทําสวนใหญมักจะมีพฤติกรรมในการแสดงหรือโชวตอคนแปลกหนาหรือตอผูคนสัญจร
ไปมาในสถานที่สาธารณะ หรือเขาถึงสื่อสังคมออนไลน โดยบุคคลทุกคนในสังคมไมวาจะอยูในสภาพแวดลอมใด

23
คณาธิป ทองรวีวงศ, “มาตรการทางกฎหมายในการคุมครองสิทธิของผูที่ถูกถายภาพโดยมิไดรับรูและยินยอม,”
รายงานวิจัย มหาวิทยาลัยเซนตจอหน, 2552, น. 11.
24
จุฑารัตน เอื้ออํานวย, “ปจจัยที่มีความเสี่ยงตอการตกเปนเหยื่ออาชญากรรมทางเพศของผูหญิงไทย,” รายงาน
ผลการวิจัย จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย, 2550, น. 29.
25
สุดสงวน สุธีสร, อาชญาวิทยา, พิมพครั้งที่ 2, (กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร, 2547), น. 2.
616 Thailand Journal of legal Study

สถานที่ใด และเวลาใด ยอมมีโอกาสที่จะตกเปนเหยื่อของการกระทําดังกลาวได เนื่องจากการแสดงอนาจารสามารถ


เกิดขึ้นไดกับทุกคน ทุกสถานที่ และทุกเวลา
1.4.2 เหยื่อที่กระตุนใหเกิดอาชญากรรม (Provocative Victim) กลาวคือ เหยื่อที่ไดกระทําบางอยางเปน
กระตุนแกอาชญากร เมื่ออาชญากรไดรับกระตุนหรือยั่วยุก็เปนการสงเสริมใหมีการลงมือกระทําความผิ ด ถือวาเหยื่อ
เปนผูลงมือกระทํากอน ซึ่งการกระทําของเหยื่ออาชญากรรมอาจเปนแรงบันดาลใหอาชญากรกออาชญากรรมได
ทันที26 เมื่อเปรียบเทียบกับเหยื่อของการแสดงอนาจาร จะเห็นไดวาเหยื่อไดกระทําในสิ่งที่เปนการกระตุนหรือยั่วยุ
อันเปนการสรางโอกาสหรือสงเสริมจิตใตสํานึกของผูกระทําความผิดใหลงมือกระทําการแสดงหรือโชว เชน การพูดจา
ยั่วยุใหผูกระทําแสดงหรือโชวถอดเสื้อผาออกที่ละชิ้น หรือเหยื่อยินยอมที่จะกดไลคกดแชรเพื่อแลกกับการที่จะไดดู
ผูแสดงหรือโชวถอดเสื้อผาหรือเปลือยกาย ซึ่งเปนการกระทําที่สอไปในลักษณะของการยั่ วยุ แมผูแสดงอนาจารจะมี
พฤติกรรมที่ตองการจะแสดงหรือโชวอยูในตัวเองก็ตาม แตพฤติกรรมเหลานี้อาจเปนสิ่งกระตุนหรือเรงเราความรูสึก
ผูกระทําใหมีโอกาสในการแสดงหรือโชวตอหนาเหยื่อมากขึ้น เนื่องจากผูที่มีพฤติกรรมชอบแสดงหรือโชวบางรายอาจ
มีความสามารถในการควบคุมหรือยับยั้งจิตใจของตนเองต่ํา หากมีสิ่งกระตุนหรือเรงเราตอความรูสึกของตน ก็ยิ่งตอง
แสดงพฤติกรรมดังกลาวออกมาเพื่อสนองตอบตอความตองการของตน
1.4.3 เหยื่อที่จูงใจใหเกิดอาชญากรรม (Precipitative Victim) กลาวคือ เหยื่อที่ไมไดกระทําในสิ่งเปนพิเศษ
แก อ าชญากร แต พ ฤติ ก รรมอั น ปราศจากความตั้ ง ใจของเหยื่ อ กลั บ ส ง เสริ ม หรื อ จู ง ใจให อ าชญากรประกอบ
อาชญากรรมตอเหยื่อ ซึ่งเหยื่อควรไตตรองไดวาพฤติกรรมใดเปนการเสี่ยงตอการเกิดอาชญากรรม 27 เมื่อเปรียบเทียบ
กับเหยื่อของการแสดงอนาจาร จะเห็นไดวาเหยื่อไมไดกระทําการใด ๆ อันเปนการสงเสริมหรือจูงใจใหเกิดการแสดง
หรือโชวของผูกระทํา แตพฤติกรรมที่ไมไดเกิดจากความตั้ง ใจของเหยื่ อ เชน การเขาไปดูการแสดงหรือโชว ข อง
ผู ก ระทํ า ในสื่ อ สั ง คมออนไลน อ าจเป น การส ง เสริ ม หรื อ จู ง ใจให ผู ก ระทํ า ลงมื อ กระทํ า การแสดงหรื อ โชว ไ ด
โดยพฤติกรรมเชนนี้เหยื่อสามารถที่ไตรตรองไดวาการกระทําดังกลาวเปนการเสี่ยงตอการสงเสริมหรือจูงใจใหผูกระทํา
ลงมือกระทําการแสดงหรือโชวได
1.4.4 เหยื่อที่มีความออนแอทางชีวภาพ (Biologicall Weak Victim) กลาวคือ เหยื่อที่มีความออนแอทั้งทาง
รางกายและจิตใจ ทําใหอาชญากรมีความคิดที่จะกออาชญากรรม เชน เด็ก ผูหญิง คนชรา คนวิกลจริต โดยเหยื่อกลุม
นี้งายตอการตกเปนเหยื่ออาชญากรรม 28 เมื่อเปรียบเทียบกับเหยื่อของการแสดงอนาจาร จะเห็นไดวาเหยื่อกลุมนี้จะ
เป น กลุ ม เสี่ ย งต อ การตกเป น เหยื่ อ ของการแสดงอนาจารมากกว า กลุ ม อื่ น เนื่ อ งจากมี ลั ก ษณะอ อ นแอ
โดยธรรมชาติ โดยเฉพาะเด็กเยาวชนที่เขาไปใชบริการสื่อสังคมออนไลน แลวไดพบเห็นการแสดงหรือโชว ซึ่งอาจจะยัง
ไมสามารถแยกแยะไดวาการแสดงหรือโชวดังกลาวเปนสิ่งที่ถูกตองหรือไม จนเปนเหตุทําใหผูที่ตกเปนเหยื่อเกิด
พฤติกรรมเลียนแบบได
1.5 ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการแสดงอนาจาร
ผลกระทบที่เกิดจากการแสดงอนาจารจะทําใหบุคคลตกอยูในสถานการณที่นาจะเปนอันตราย (Dangerous
Situation) หรือไมนั้น ตองพิจารณาถึงความสัมพันธระหวางการกระทําและผล (Causation) ซึ่งมีความสําคัญในการ
กําหนดความรับผิดของบุคคล หากไมจํากัดขอบเขตใหดีก็จะหาขอยุติไมได การแสดงอนาจารที่เกิดขึ้นในปจจุบัน ไมวา
จะเกิดขึ้นในสถานที่สาธารณะหรือในสื่อสังคมออนไลน จะเห็นไดวาสงผลกระทบดังนี้
1.5.1 ผลกระทบอันเปนความเสียหายโดยออม (Non-Direct Consequence)
การแสดงอนาจารไมไดสงผลกระทบชีวิต รางกาย ทรัพย สินของผูที่ตกเปนเหยื่อหรือสาธารณชนโดยตรง แต
จะสงผลกระทบตอสภาพจิตใจและอารมณในทางลบของผูที่ตกเปนเหยื่อหรือสาธารณชนที่ไดพบเห็น กลาวคือ ผูที่ตก
เปนเหยื่ออาจจะเกิดความเครียด มีความวิตกกังวล และขาดสมาธิในการใชชีวิตและการทํางาน เนื่องจากตองวิตก

26
จุฑารัตน เอื้ออํานวย, อางแลว เชิงอรรถที่ 24, น. 29-30.
27
จุฑารัตน เอือ้ อํานวย, อางแลว เชิงอรรถที่ 24, น. 30.
28
จุฑารัตน เอือ้ อํานวย, อางแลว เชิงอรรถที่ 24, น. 30.
วารสารนิติศึกษาไทย 617

กังวลวาจะมีการแสดงอนาจารเกิดขึ้นกับตนอีกเมื่อใด และหากเปนการแสดงอนาจารผานสื่อสังคมออนไลน ผูตกเปน


เหยื่อสวนใหญมักจะเปนเด็กและเยาวชน เนื่องจากวุฒิภาวะการเรียนรู และการตัดสินใจยังพัฒนาไมเพียงพอที่เขาใจ
ในเรื่องความเหมาะสมทางเพศ ซึ่งจะไดรับผลกระทบตอสภาพจิต ใจจากการที่เขาไปดูการแสดงอนาจารดังกลาวโดย
ไมตั้งใจ ทําใหมีสภาพจิตใจที่ย่ําแย ผลกระทบตออารมณทางเพศและมีการเพศสัมพันธกอนวัยอันควร เปนการเพิ่ม
ความอยากรู อยากเห็น และอยากลองใหกับเด็กและเยาวชน สงผลตอการถูกชักจูงหรือลอลวงใหมีการถายภาพยั่วยุ
ทางเพศ หรือนําไปสูการลวงละเมิดทางเพศ และอาจทําใหเกิดพฤติกรรมเลียนแบบอันเนื่องมาจากการไดฟงหรือได
เห็นพฤติกรรมดังกลาว รวมทั้งอาจนําไปสูการกระทําความผิดทางเพศที่รุนแรงตอผูที่ตกเปนเหยื่อหรือผูคนในสังคมได
นอกจากจะสงผลกระทบตอผูที่ตกเปนเหยื่อแลว ยังสงผลกระทบตอตัวผูแสดงอนาจารเอง กลาวคือ หลังจาก
ที่ผูกระทําไดมีการแสดงอนาจารแลว ก็จะสงผลกระทบตอสภาพจิตใจของผูกระทําที่จะตองประสบกับความรูสึกผิด
ความรูสึกอับอาย ซึ่งอาจทําใหผูกระทําดําเนินชีวิตในสังคมไดยากลําบากขึ้น และแมวาผูกระทําจะเสรีภาพในการ
แสดงออกทางเพศก็ตาม แตกอนที่จะแสดงอนาจารนั้นก็จะตองพิจารณาแลววาถากระทําไปแลวจะเกิดผลอยางไร
และการแสดงออกซึ่งเสรีภาพทางเพศนั้นแมจะไมสงผลกระทบตอผูอื่นในสังคมโดยตรง แตก็ตองอยูภายใตขอบเขต
หรือกฎเกณฑที่สังคมหรือกฎหมายกําหนดไว การกระทําดังกลาวสงผลใหบุคคลในสั งคมเกิดความตําหนิและรังเกียจ
ผูกระทํา และยังสงผลใหผูกระทําตองถูกดําเนินคดีทางกฎหมาย อีกทั้งยังสงผลใหผูกระทําถูกมองวาเปนวัตถุทางเพศ
อันมีความเสี่ยงสูงของการที่ผูกระทําจะตกเปนเหยื่ออาชญากรรมทางเพศเสียเอง เนื่องจากผูที่พบเห็นจะปกใจเชื่อวา
การที่ผูกระทําแสดงพฤติกรรมเชนนี้เปนการแสดงความตองการที่จะยั่วยุกามารมณ และเปนการกระตุนอารมณทาง
เพศของผูที่ไดพบเห็น จนเปนเหตุใหเกิดการเฝาติดตามผูกระทําการแสดงอนาจารดังกลาว และเมื่อประสบโอกาสก็จะ
กออาชญากรรมทางเพศที่รุนแรงขึ้นได เชน การขมขืน โดยเฉพาะอยางยิ่งการแสดงอนาจารผานสื่อสังคมออนไลนที่
สามารถระบุสถานที่อยูของผูกระทําการแสดงอนาจาร
นอกจากนี้ ยังสงผลกระทบตอชื่อเสียงครอบครัวของผูแสดงอนาจาร กลาวคือ การที่บุคคลไดกระทําการ
แสดงอนาจารนั้น เปนการกอใหบุคคลในครอบครัวไดรับความอับอาย เดือดรอน ถูกดูหมิ่ น จากบุคคลที่ไดพบเห็น
พฤติกรรมการแสดงอนาจารของผูกระทํา หรือไมเปนที่ยอมรับจากสังคม อันสงผลใหชื่อเสียงของวงศตระกูลเกิดความ
เสื่อมเสียได
1.5.2 ผลกระทบที่เกิดขึ้นไดในอนาคตอันใกล
การแสดงอนาจารแม จ ะไม กอให เกิด ความเสี ย หายเป นที่ ป ระจั กษ (Actuality Consequence) หรือไม
ปรากฏความเสียหายในขณะกระทําทันทีทันใด แตก็อาจเปนผลกระทบที่เกิดขึ้นไดในอนาคตอันใกล (Potential) หาก
ยังคงปลอยใหมีการกระทําโดยที่ไมมีการจํากัดขอบเขต โดยเฉพาะผลกระทบตอสังคม เนื่องจากในสังคมที่พบเห็นหรือ
เขาถึงการแสดงอนาจารไดงาย ทําใหการกระทําความผิดทางเพศที่รุนแรงมีโอกาสเพิ่มจํานวนมากขึ้น
1.5.3 ผลกระทบในลักษณะที่เปนนามธรรม
การแสดงอนาจารเปนการแสดงออกไดสงผลกระทบในลักษณะที่เปนนามธรรม (Abstract Consequence)
ไมวาจะเปนผลกระทบตอความเปนมนุษย วัฒนธรรม หรือศีลธรรมอันดีของประชาชน
อยางไรก็ตาม แมวาผูกระทําจะมีเสรีภาพความเปนสวนตัวในการแสดงออกทางเพศ และยินยอมใหผูอื่นเห็น
ร า งกายหรื อ กิ จ กรรมทางเพศของตนเองก็ ต าม แต เ นื่ อ งจากประเทศไทยเป น เมื อ งแห ง พระพุ ท ธศาสนา
มีขนบธรรมเนียม ประเพณี และวัฒนธรรม ที่ยังไมใหการยอมรับวัฒนธรรมของการเปลือยกายแบบสังคมตะวันตก
และไมควรยึดถือหรือนําเอาวัฒนธรรมของสังคมตะวันตกมาใชจนลืมความเปนไทย ดังนั้น การแสดงเสรีภาพและ
ความยินยอมดังกลาวจะตองอยูภายใตขอบเขตที่เหมาะสม เพื่อไมใหกระทบตอศีลธรรมอันดีของประชาชน
2. ความรับผิดตามกฎหมายอาญา
ในสถานการณปจจุบันเมื่อมีพฤติกรรมการแสดงอนาจารเกิดขึ้น ไมอาจที่จะปฏิเสธไดวาจะตองมีผูถาย หรือ
บันทึกภาพดังกลาว แลวผลสืบเนื่องที่ตามมาก็คือการนําไปเผยแพรตอสาธารณชน โดยแบงลักษณะผูที่เกี่ยวของกับ
การแสดงอนาจารออกเปน 2 กลุม ไดแก ผูที่เกี่ยวของกับการแสดงอนาจารโดยตรง คือ ผูลงมือกระทําการแสดง
618 Thailand Journal of legal Study

อนาจาร และผูที่เกี่ยวของกับการแสดงอนาจารโดยออม คือ ผูถายหรือเผยแพรภาพการแสดงอนาจาร เมื่อมีการ


กระทําเหลานี้เกิดขึ้นยอมกอใหเกิดความรับผิดทางอาญา
2.1 ความรับผิดของผูที่เกี่ยวของกับการแสดงอนาจารโดยตรง
จากการศึกษาพบวากรณีความรับผิดของผูแสดงอนาจารโดยซึ่งหนา ไดมีบทบัญญัติกฎหมายในประมวล
กฎหมายอาญาที่ ส ามารถนํ ามาบั งคับ ใชเพี ย งมาตราเดี ย ว คื อ มาตรา 388 บทบั ญ ญั ติ ดั ง กลา วยั ง มี ชอ งว างของ
กฎหมายในการบังคับใชกับผูแสดงอนาจารที่มีความผิดปกติทางจิต เนื่องจากโดยสวนใหญพนักงานสอบสวนจะลงโทษ
เพียงแคเปรียบเทียบปรับ อาจเปนการแกไขปญหาที่ไมตรงจุด เนื่องจากความผิดดังกลาวไมมีโอกาสเขาสูกระบวนการ
ของศาล สงผลใหศาลไมสามารถที่จะใชดุลพินิจมีคําสั่งใชวิธีการเพื่อความปลอดภัยในการควบคุมตัวผูกระทําความผิด
ที่มีความผิดปกติทางจิตไวในสถานพยาบาลเพื่อบําบัดรัก ษาได เมื่อพนักงานสอบสวนปลอยตัวไปโดยที่ไมมีมาตรการ
ทางกฎหมายในการควบคุมหรือดูแลใหอยูในสถานที่ที่เหมาะสม ก็เปนการเปดโอกาสใหผูนั้นกลับมามีพฤติกรรมใน
การแสดงอนาจารอีก แตการจะผลักดันมาตราดังกลาวซึ่งเปนความผิดลหุโทษเขาสูภาคความผิดอาจเปนสิ่งที่ไม
ถู ก ต อ งนั ก เนื่ อ งจากการที่ จ ะบั ญ ญั ติ ก ฎหมายใดในภาคความผิ ด จะต อ งก อ ให เ กิ ด ความเสี ย หายอย า งรา ยแรง
ซึ่งการแสดงอนาจารยังไมกอใหเกิดความเสียหายในขณะกระทําความผิด แตอาจกอใหเกิดความเสียหายในอนาคต
อันใกล จึงไมมีความเหมาะสมที่จะนํามาตราดังกลาวเขาไปบัญญัติไวในประมวลกฎหมายอาญา ภาคความผิด อีกทั้ง
หากเพียงตองการเพื่อใหคดีเขาสูกระบวนการพิจารณาของศาล และใหศาลมีดุลพินิจในการนําวิธีการเพื่อความ
ปลอดภัยมาใชกับผูกระทําความผิด แตทายที่สุดหากศาลไมใชดุลพินิจดังกลาว ก็ทําใหกฎหมายไมมีความเปนเอกภาพ
ดังนั้น เพื่อเปนการอุดชองวางของประมวลกฎหมายอาญาไทย เห็นควรบัญญัติกฎหมายใหอํานาจพนักงานสอบสวนใน
การสงตัวผูกระทําความผิดที่มีความผิดปกติทางจิตไปยังสถานที่ที่เหมาะสมเพื่อใหไดรับการบําบัดรักษา
สวนกรณีความรับผิดของผูแสดงอนาจารโดยระยะทาง แมจะมีบทบัญญัติที่สามารถนํามาลงโทษไดหลาย
มาตรา ไม ว า จะเป น ประมวลกฎหมาย มาตรา 287 (1) มาตรา 287/1 มาตรา 287/2 และมาตรา 388 และ
พระราชบัญญัติวาดวยการกระทําความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร พ.ศ. 2550 และที่แกไขเพิ่มเติม มาตรา 14 (4) แตก็มี
ช อ งว า งในการบั ง คั บ ใช ก ฎหมายของมาตรา 14 (4) แห ง พระราชบั ญ ญั ติ ว า ด ว ยการกระทํ า ความผิ ด เกี่ ย วกั บ
คอมพิวเตอร พ.ศ. 2550 และที่แกไขเพิ่มเติม กลาวคือ ในการแสดงอนาจารผานสื่อสังคมออนไลน นอกจากจะใช
เครื่องคอมพิ วเตอรเปนสื่ อกลางในการเชื่ อมต อเขาสู ระบบเครือขายอินเทอรเน็ต แลว ยังสามารถใชสมารท โ ฟน
แท็บเล็ต เปนสื่อกลางในการเชื่อมตอเขาสูระบบเครือขายอินเทอรเน็ตไดเชนเดียวกัน ซึ่งคําวา “ระบบคอมพิวเตอร”
ที่กําหนดไวในมาตรา 3 แหงพระราชบัญญัติดังกลาวนั้น หมายความวา “อุปกรณหรือชุดอุปกรณคอมพิวเตอรที่เชื่อม
การทํางานเขาดวยกัน โดยไดมีการกําหนดคําสั่ง ชุดคําสั่ง หรือสิ่ งอื่นใด และแนวทางปฏิบัติงานใหอุปกรณหรือ
ชุดอุปกรณทําหนาที่ประมวลผลขอมูลโดยอัตโนมัติ” เมื่อพิจารณาถึงบทบัญญัติดังกลาวปรากฏวาไมมีถอยคําใดในบท
นิยามของคําวา “ระบบคอมพิวเตอร” ที่ใหความหมายรวมถึงเทคโนโลยีอื่นหรืออุปกรณโทรคมนาคม ดังนั้น จึงควรมี
การกําหนดบทนิยามใหมีความหมายครอบคลุมเทคโนโลยีหรืออุปกรณโทรคมนาคมอื่นที่ทําหนาที่ประมวลผลขอมูล
โดยอั ต โนมั ติ เ ช น เดี ย วกั บ เครื่ อ งคอมพิ ว เตอร เพื่ อ ให ส อดคล อ งและครอบคลุ ม รู ป แบบการแสดงอนาจารที่ มี
ความหลากหลายมากขึ้น และสอดรับกับความกาวหนาของเทคโนโลยีที่มีการพัฒนาอยางตอเนื่อง
2.2 ความรับผิดของผูที่เกี่ยวของกับการแสดงอนาจารโดยออม
ในการแสดงอนาจารนั้น นอกจากผูกระทําการแสดงอนาจาร ซึ่งเปนผูที่เกี่ยวของกับการแสดงอนาจาร
โดยตรงแลว ยังมีผูที่เกี่ยวของกับการแสดงอนาจารโดยออม คือ ผูถายภาพการแสดงอนาจาร ซึ่งการกระทําดัง กลาว
อาจสงผลใหเกิดความรับผิดทางอาญาแกผูนั้น ทั้งในฐานะผูกระทําผิดเอง และในฐานะผูสนับสนุน จากการศึกษา
พบวากรณีความรับผิดของผูที่เกี่ยวของกับการแสดงอนาจารโดยออมในฐานะผูกระทําผิดในการแสดงอนาจารโดยซึ่ง
หนา ไดมีบทบัญญัติกฎหมายอาญาทีม่ ีหลักการที่สามารถนํามาควบคุมการกระทําความผิด และสามารถนํามาใชบงั คับ
รวมทั้งมีอัตราโทษที่กําหนดไวอยางเหมาะสมเพียงพอที่จะยับยั้งการกระทําความผิดไดหลายมาตราดวยกัน ไดแก
มาตรา 287 (1) มาตรา 287/1 วรรคสอง มาตรา 287/2 (1) มาตรา 326 และมาตรา 328 สําหรับความรับผิดของผูที่
เกี่ยวของกับการแสดงอนาจารโดยออมในฐานะผูกระทําผิดในการแสดงอนาจารโดยระยะทาง แมจะมีบทบัญญัติ
วารสารนิติศึกษาไทย 619

มาตรา 326 และมาตรา 328 ที่จะสามารถนํามาบังคับใชได แตก็มีบทบัญญัติมาตรา 14 (5) แหงพระราชบัญญัติวา


ดวยการกระทําความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร พ.ศ. 2550 และที่แกไขเพิ่มเติม อันเปนชองวางในการบังคับใชกฎหมาย
เชนเดียวกับกรณีความรับผิดของผูแสดงอนาจารโดยระยะทางดังที่กลาวมาแลวขางตน
ในสวนของความรับผิดของผูที่เกี่ยวของกับการแสดงอนาจารโดยออมในฐานะผูสนับสนุนการแสดงอนาจาร
โดยซึ่ ง หน า จากการศึ ก ษาความผิ ด ฐานต า ง ๆ ที่ กํ า หนดไว ใ นกฎหมายอาญา ไม พ บว า ผู ที่ เ กี่ ย วข อ งดั ง กล า ว
มีความรับผิดทางอาญาในฐานะผูสนับสนุนการกระทําความผิดฐานใดเลย แตสําหรับความรับผิดของผูที่เกี่ยวของกับ
การแสดงอนาจารโดยออมในฐานะผูสนับสนุนการแสดงอนาจารโดยระยะทาง พบวาไดมีบทบัญญัติกฎหมายอาญาที่มี
หลักการที่สามารถนํามาควบคุมการกระทําความผิด และสามารถนํามาใชบังคับ รวมทั้งมีอัตราโทษที่กําหนดไวอยาง
เหมาะสมเพี ย งพอที่ จ ะยั บ ยั้ ง การกระทํ า ความผิ ด หลายมาตราด ว ยกั น ไม ว า จะเป น ประมวลกฎหมายอาญา
ตามมาตรา 287 (1) ตามมาตรา 287/1 ตามมาตรา 388 และตามพระราชบัญญัติวาดวยการกระทําความผิดเกี่ยวกับ
คอมพิวเตอร พ.ศ. 2550 และที่แกไขเพิ่มเติม มาตรา 14 (4)

บทสรุปและขอเสนอแนะ
ปญหาการแสดงอนาจารยังปรากฏใหเห็นอยูในสภาพสังคมปจจุบัน ไมวาโดยซึ่งหนา หรือโดยระยะทาง
ที่เกิดขึ้นในลักษณะแบบสวนบุคคล และแบบสาธารณะ ซึ่งปญหาการแสดงอนาจารโดยซึ่ งหน านั้นได เกิด ขึ้น มา
ยาวนานตั้งแตในอดีต เพียงไมไดรับความสนใจจากผูคนในสังคมมากนัก เนื่องจากผูที่รับรูพฤติกรรมการแสดงอนาจาร
จะจํากัดอยูเฉพาะผูที่พบเห็นการกระทําดังกลาว แตปจจุบันเทคโนโลยีหรือสื่อสังคมออนไลนไดเขามามีสวนเกี่ยวของ
กับการกระทําดังกลาว โดยผูกระทําไดใชสื่อสังคมออนไลนในการแสดงหรือโชวในลักษณะที่เปนการยั่วยุหรือกระตุน
อารมณ ท างเพศ หรื อ แสดงกิ จ กรรมการรว มเพศให ผู อื่ น ได ดู ซึ่ ง ป ญ หาดั ง กล า วถื อ ว า เป น ป ญ หาสั ง คมที่ นั บ วั น
จะทวีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้น รัฐจึงตองเรงเขามาควบคุมดูแลและปองกันแกไขปญหา
การแสดงอนาจารแม จ ะเป น การกระทํ า ที่ ขั ด ต อ ความสงบเรี ย บร อ ยและศี ล ธรรมอั น ดี ข องประชาชน
ก็ไมไดหมายความวาการกระทําทุกกรณีจะเปนความผิดตอกฎหมาย แตควรตองจัดแบงประเภท ลักษณะ รูปแบบ
ระดับความรุนแรง และผลกระทบที่มีตอสังคมโดยรวมใหชัดเจนวาการกระทําใดเปน ความผิดที่จะตองมีกฎหมาย
เขามาควบคุมดูแล และการกระทําใดเปนขอบเขตของสิทธิและเสรีภาพในการแสดงออกทางเพศสวนบุคคลที่กฎหมาย
ไมควรเขาไปควบคุมหรือเขาไปลวงล้ําจนเกินไป เพื่อขจัดประเด็นปญหาขอโตเถียงที่อาจจะเกิดขึ้นไดในเรื่องสิทธิและ
เสรีภ าพส วนบุ คคลดั งกลา ว เพื่ อให เกิด ความสมดุ ลระหว างการรักษาความสงบเรียบรอยและศีลธรรมอั นดีของ
ประชาชนและสังคม และสอดคลองกับยุคสมัยของสังคมที่มีการเปลี่ยนแปลง โดยเฉพาะเทคโนโลยีหรือสื่อสังคม
ออนไลนที่มีการพัฒนาขึ้นอยางรวดเร็ว
การที่จะพิจารณาวาการแสดงอนาจารในลักษณะใดสมควรที่จะได รับการลงโทษนั้น ผูเขียนไดมีการกําหนด
คํานิยามหรือใหความหมายของการแสดงอนาจารใหมีความชัดเจนมากขึ้น เพื่อที่จะไดทราบถึงกรอบของพฤติกรรม
ในการกําหนดความผิดทางอาญา แตการกําหนดเพียงคํานิยามก็อาจจะยังไมเพียงพอ เนื่องจากบุคคลทุกคนมีเสรีภาพ
ในการแสดงออกทางเพศ หากเพี ย งแคผู ก ระทําแสดงพฤติ กรรมตามที่กําหนดในคํานิ ยามแลวจะต องถูกลงโทษ
ก็จะเปนการจํากัดเสรีภาพในการแสดงออกทางเพศสวนบุ คคลจนเกินสมควร ดังนั้น เพื่อไมใหบุคคลแสดงออก
ซึ่ ง เสรี ภ าพทางเพศจนเกิน ขอบเขต หรื อ ไม ใ ห ก ฎหมายไปกระทบเสรีภ าพในการแสดงออกทางเพศจนเกิน ไป
จึงไดมีการพิจารณาถึงขอบเขตลักษณะของการแสดงอนาจารวาการแสดงอนาจารในลักษณะใดที่จําตองกําหนดให
ตองรับผิดทางอาญา และการแสดงอนาจารในลักษณะใดไดรับการยกเวนไมจําตองกําหนดใหตองรับผิดทางอาญา
ซึ่งสามารถพิจารณาแนวทางในการลงโทษ โดยจัดลําดับตามการกระทําที่ควรไดรับการตําหนิหรื อความชั่ว (Schuld)
ไดดังนี้
1. การแสดงอนาจารโดยซึ่ ง หน า ที่ มี ลั ก ษณะแบบสาธารณะ (Public) เป น การกระทํ า ที่ ส มควรได รั บ
การลงโทษมากที่สุด
620 Thailand Journal of legal Study

2. การแสดงอนาจารโดยระยะทางที่มีลักษณะแบบสาธารณะ (Public) เปนกระทําที่สมควรไดรับการลงโทษ


ในลําดับรองลงมา
3. การแสดงอนาจารโดยซึ่งหนาที่มีลักษณะแบบสวนบุคคล (Individual) สมควรไดรับโทษเฉพาะกรณีที่เปน
การแสดงพฤติกรรมในบริเวณที่อยูนอกตัวอาคาร ที่มีสภาพโลงแจง เชน ระเบียง สนามหญาหนาบาน ซึ่งผูคนที่เดิน
ผานไปมาสามารถมองเห็นได แมจะถือวาเปนพื้นที่สวนบุคคล แตการกระทําถือว ามีลักษณะเปนสาธารณะ แตหาก
เปนการกระทําที่เกิดขึ้นภายในตัว อาคารหรือบานซึ่งถือวา เปนพื้นที่สวนบุคคลโดยแท แมจะมีผูอื่นใชกลองส อง
ทางไกลแลวมองเห็นการกระทําดังกลาวก็ตาม ไมสมควรไดรับการลงโทษ
4. การแสดงอนาจารโดยระยะทางที่ มี ลั ก ษณะแบบส ว นบุ ค คล ( Individual) ไม ส มควรได รั บ โทษ
สําหรับขอบเขตของ “การแสดงอนาจาร” ที่จะศึกษาในวิทยานิพนธนี้ ผูเขียนมุงเนนศึกษาไปที่ตัวผูแสดงอนาจาร
ซึ่งเปนผูที่มีสวนเกี่ยวของกับการแสดงอนาจารโดยตรง แตก็ไมอาจจะมองขามผูที่มีสวนเกี่ยวของกับการแสดงอนาจาร
โดยออมได โดยบทบัญญั ติของกฎหมายที่สามารถนํามาลงโทษตัวผูแสดงอนาจารโดยซึ่งหนาในลักษณะพื้นที่แบบ
สวนบุคคล มีเพียงบทบัญญัติกฎหมายในประมวลกฎหมายอาญาเพียงมาตราเดียว คือ มาตรา 388 ซึ่งบทบัญญัติ
ดังกลาวยังมีชองวางของกฎหมายในการบังคับใชกับผูแสดงอนาจารที่มีความผิดปกติทางจิต สวนผูแสดงอนาจาร
โดยระยะทาง ได มี บ ทบั ญ ญั ติ ที่ ส ามารถนํ า มาลงโทษหลายมาตราด ว ยกั น ไม ว า จะเป น ประมวลกฎหมาย
มาตรา 287 (1) มาตรา 287/1 มาตรา 287/2 และมาตรา 388 รวมทั้งพระราชบัญญัติวาดวยการกระทําความผิด
เกี่ยวกับคอมพิวเตอร พ.ศ. 2550 และที่แกไขเพิ่มเติม มาตรา 14 (4) แมบทบัญญัติมาตรา 14 (4) แหงพระราชบัญญัติ
ว า ด ว ยการกระทํ า ความผิ ด เกี่ ย วกั บ คอมพิ ว เตอร พ.ศ. 2550 และที่ แ ก ไ ขเพิ่ ม เติ ม จะมี ช อ งว า ง
ของกฎหมายที่ไมครอบคลุมการกระทําความผิดที่ใชเทคโนโลยีหรืออุปกรณโทรคมนาคมที่สามารถประมวลผลขอมูล
โดยอัตโนมัติไดเชนเดียวกับเครื่องคอมพิวเตอร เชน สมารทโฟน หรือแท็บเล็ต เปนเครื่องมือในการแพรภาพสด
(Live Video) การแสดงอนาจารก็ตาม แตก็ยังมีบทบัญญัติมาตราอื่นที่สามารถลงโทษผูกระทําความผิดได เนื่องจาก
การกระทํ า ความผิ ด ดั ง กล า วเป น การกระทํ า ความผิดกรรมเดี ย วผิ ด กฎหมายหลายบท นอกจากนี้ ใ นส ว นของ
ผูที่เกี่ยวของกับการแสดงอนาจารโดยออมยังมีความรับผิดชอบทางอาญาในฐานะที่เปนผูสนับสนุน และในฐานะ
ผูกระทําความผิดจากการกระทําของตนเองดวย
สําหรับการแสดงอนาจารที่เกิดขึ้นนั้น มีบทบัญญัติกฎหมายอาญาที่เกี่ยวของหลายมาตรา ถือวาเปนการ
กระทํ า ความผิ ดกรรมเดี ย วผิ ดกฎหมายหลายบท ให ใช กฎหมายบทที่ มี โ ทษหนักสุ ด ลงโทษแกผู ก ระทํา ความผิด
ตามมาตรา 90 แตก็มีบทบัญญัติบางมาตราที่ยังชองวางในการบังคับใชกฎหมายอยู ผูเขียนจึงขอเสนอแนะมาตรการ
ทางกฎหมายเฉพาะบทบัญญัติที่ควรมีการปรับปรุงแกไข เพื่อเปนการอุดชองวางในการบังคับกฎหมาย ดังนี้
1. เห็ น ควรกํ า หนดบทนิ ย ามของคํ า ว า “การแสดงอนาจาร” ไว ใ นประมวลกฎหมายอาญา และ
พระราชบัญญัติวาดวยการกระทําความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร พ.ศ. 2550 และที่แกไขเพิ่มเติม โดยกําหนดวา
“การแสดงอนาจาร” หมายถึง “พฤติกรรมการแสดงออกทางเพศของบุคคลที่ทําใหปรากฏออกมาหรืออวดใหผูอื่น
ไดเห็น โดยการเปลือยกาย การเปดเผยรางกายในสวนที่ควรจะตองปกปด การแสดงกิจกรรมรวมเพศ รวมถึงการแสดง
ท า ทางอื่ น ๆ อั น มี ลั ก ษณะของการกระทํ า เป น ไปในทางยั่ ว ยุ ห รื อ กระตุ น ให เ กิ ด ความรู สึ ก ทางเพศแก ผู อื่ น ”
ซึ่งการกําหนดคํานิยามดังกลาวตองพิจารณาควบคูไปกับลักษณะของการแสดงอนาจารที่จะตองรับโทษดวย ดังนี้
(1) ตองเปนการแสดงอนาจารโดยซึ่งหนาที่มีลักษณะแบบสาธารณะ (Public)
(2) ตองเปนการแสดงอนาจารโดยระยะทางที่มีลักษณะแบบสาธารณะ (Public)
(3) ตองเปนการแสดงอนาจารโดยซึ่งหนาที่มีลักษณะแบบสวนบุคคล (Individual) ในกรณีที่เปนการแสดง
พฤติกรรมในบริเวณที่อยูนอกตัวอาคารที่มีสภาพโลงแจง
2. เห็นควรแกไขเพิ่มเติมบทบัญญัติมาตรา 388 โดยเพิ่มวรรคสอง วา “กรณีที่ผูมีความผิดปกติทางจิตกระทํา
ความผิดตามวรรคหนึ่ง หามมิใหพนักงานสอบสวนเปรียบเทียบปรับ แตใหพนักงานสอบสวนสงตัวผูนั้นใหพนักงาน
เจาหนาที่ตามกฎหมายวาดวยสุขภาพจิต เพื่อกําหนดกระบวนการในการบําบัดรักษาตามกฎหมายวาดวยการนั้น ”
วารสารนิติศึกษาไทย 621

เพื่อเปนการอุดชองวางของกฎหมาย และเพื่อประโยชนของสวนรวม และเพื่อประโยชนของตัวผูกระทําความผิดเองที่


ไมตองกลับมากระทําความผิดซ้ําอีก
3. เห็นควรแกไขเพิ่มเติมบทนิยามของคําวา “ระบบคอมพิวเตอร” ตามพระราชบัญญัติวาดวยการกระทํา
ความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร พ.ศ. 2550 และที่แกไขเพิ่มเติม โดยกําหนดบทนิยามใหมีความหมายครอบคลุ ม
เทคโนโลยีหรืออุปกรณโทรคมนาคมอื่นที่ทําหนาที่ประมวลผลขอมูลโดยอัต โนมัติเชนเดียวกับเครื่องคอมพิวเตอร
เพื่อใหสอดคลองและครอบคลุมรูปแบบการแสดงอนาจารที่มีความหลากหลายมากขึ้น และสอดรับกับความกาวหนา
ของเทคโนโลยีที่มีการพัฒนาอยางตอเนื่อง
นอกจากมาตรการทางกฎหมายแลว ผูเขียนขอเสนอแนะมาตรการคูขนานเพื่อใหการบังคับใชกฎหมาย
มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ดังนี้
1. แมวาในปจจุบันจะมีหลายกรณีที่ไมสามารถสืบสวนหาตัวผูกระทําความผิดมาลงโทษได แตแทนที่จะใช
วิธีการออกกฎหมายใหมเพื่อเปนการเพิ่มอํานาจใหกับพนักงานเจาหนาที่จนเกินสมควร และอาจสงผลกระทบตอ
เสรีภาพสวนบุคคลประชาชนมากจนเกิ นไป รัฐควรหันมาพัฒนาศักยภาพของพนักงานเจาหนาที่ใหมีความเชี่ยวชาญ
รวมทั้งจัดหาเครื่องมือและอุปกรณที่มีประสิทธิภาพและมีความทันสมัยเพื่อใหทันกับเทคโนโลยีที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู
ตลอดเวลา
2. รัฐควรมีการปลูกฝงคานิยมและวัฒนธรรมที่ถูกตองและเหมาะสม รณรงคเสริมสรางความรูความเขาใจ
เกี่ยวกับพฤติกรรมที่เขาขายเปนการแสดงอนาจาร และใหความรูเกี่ยวกับแนวทางในการแกไขปญหา แกประชาชนใน
สังคม โดยเฉพาะเด็กและเยาวชน เพื่อปองกันการเขาไปยุงเกี่ยวกับการแสดงอนาจาร หรือการตกเปนเหยื่อของการ
แสดงอนาจารโดยไมรูตัว
3. รั ฐ ควรจั ด อบรมและให ค วามรู เ กี่ย วกับ ถ อยคํา ในบทบั ญ ญั ติ ก ฎหมาย และการตี ค วามกฎหมายแก
ประชาชน โดยเฉพาะกฎหมายเกี่ยวกับการกระทําความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร เนื่องจากถอยคําในกฎหมายสวน
ใหญเปนศัพททางเทคนิค ซึ่งเปนการยากตอความเขาใจของประชาชนโดยทั่วไป
622 Thailand Journal of legal Study

บรรณานุกรม

หนังสือ

คณิต ณ นคร. กฎหมายอาญา ภาคทั่วไป. พิมพครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร : สํานักพิมพวิญูชน, 2551.


ราชบัณฑิตยสถาน. พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554. พิมพครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร : สํานักพิมพ
นานมีบุคสพับลิเคชั่น, 2556.
สุดสงวน สุธีสร. อาชญาวิทยา. พิมพครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร : สํานักพิมพมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร, 2547.
สุวัทนา อารีพรรค. ความผิดปกติทางจิต. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย, 2524.
แสวง บุญเฉลิมวิภาส. นิติเวชศาสตรและกฎหมายการแพทย. พิมพครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร : สํานักพิมพวิญูชน,
2557.
หยุด แสงอุทัย. กฎหมายอาญา ภาค 2-3. พิมพครั้งที่ 11. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร,
2553.

วิทยานิพนธ

ณรงศักดิ์ สุขวิบูลย. “มาตรการบังคับทางอาญาที่ เหมาะสมสํา หรับผูกระทําความผิด .” วิทยานิพนธนิติศาสตร


มหาบัณฑิต คณะนิติศาสตร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร, 2549.
เนติ รัตนากร. “การใหความคุมครองเด็กในกฎหมายควบคุมสื่อลามก : ศึกษาเปรียบเทียบกฎหมายไทย อังกฤษ
สหรัฐอเมริกา และเยอรมั น .” วิ ท ยานิ พ นธ นิ ติ ศ าสตรมหาบั ณ ฑิ ต คณะนิ ติ ศ าสตร มหาวิ ท ยาลั ย
ธรรมศาสตร, 2542.
บดี วงศเจนสันต. “การกระทําอนาจารโดยการประทุษรายตอจิตใจ : ศึกษากรณีคําพิพากษาศาลฎีกาที่ 1298322558.”
วิทยานิพนธนิติศาสตรมหาบัณฑิต คณะนิติศาสตร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร, 2559.
วิภาพร เนติจิรโชติ. “การบัญญัติความผิดลหุโทษใหเปนความผิดอาญาทั่วไป : ศึกษาเฉพาะความผิดลหุโทษตาม
ประมวลกฎหมายอาญา.” วิทยานิพนธ นิติศาสตรมหาบัณฑิต คณะนิติศาสตร มหาวิทยาลัยธุรกิจ
บัณฑิตย, 2548.

เอกสารงานวิจัย

คณาธิป ทองรวีวงศ . “มาตรการทางกฎหมายในการคุมครองสิทธิของผูที่ถูกถายภาพโดยมิไดรับรูและยินยอม.”


รายงานวิจัย มหาวิทยาลัยเซนตจอหน, 2552.
จุฑารัตน เอื้ออํานวย. “ปจจัยที่มีความเสี่ยงตอการตกเปนเหยื่ออาชญากรรมทางเพศของผูหญิงไทย.” รายงาน
ผลการวิจัย จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย, 2550.
วารสารนิติศึกษาไทย 623

สื่ออิเล็กทรอนิกส

artandobscenity. “ศิ ล ปะหรื อ อนาจารขึ้ น อยู กั บ ตั ว บุ ค คล.” https://artandobscenity.wordpress.com, 7


พฤษภาคม 2561.

เอกสารอื่น ๆ

คําพิพากษาฎีกาที่ 4836/2547.
คําพิพากษาฎีกาที่ 1627/2539.

ARTICLE

Hart, Matt. “Being naked on the internet: young people’s selfies as intimate edgework.” Journal of
Youth Studies (2016).
624 Thailand Journal of legal Study

มาตรการทางกฎหมายในการจัดการมูลฝอยในจังหวัดอางทอง
LEGAL MEASURES FOR THE MANAGEMENT OF SOLID WASTE IN ANGTHONG
PROVINCE

กรัณยพร เลขธรากร
Karunyaporn Lektalakorn
บทคัดยอ
จังหวัดอางทองเปนแหลงทองเที่ยวเชิงศิลปวัฒนธรรม ทําใหมีนักทองเที่ยวเขามาเปนจํานวนที่เพิ่มมากขึ้น
จึงเปนปจจัยที่ทําใหเกิดปญหามูลฝอย โดยมีขอบเขตการศึกษาเฉพาะการจัดการมูลฝอยทั่วไปที่เกิดขึ้นในพื้นที่จังหวัด
อางทอง ซึ่งไมรวมถึงการจัดการมูลฝอยติดเชื้อ มูลฝอยที่เปนพิษหรือมูลฝอยที่เปนอันตรายจากชุมชน ในปจจุบันมี
กฎหมายที่เกี่ยวของกับการจัดการมูลฝอยในจังหวัด อางทองอยู หลายฉบับ เชน พระราชบัญญัติการสาธารณสุข
พ.ศ. 2535 และที่แกไขเพิ่มเติมถึง (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2560 พระราชบัญญัติรักษาความสะอาดและความเปนระเบียบ
เรียบรอยของบานเมือง พ.ศ. 2535 เปนตน แตมาตรการทางกฎหมายยังมีขอบกพรองหลายประการตั้งแตปญหาของ
องคกรปกครองสวนทองถิ่นในการบริหารจัดการมูลฝอยทั้งการเก็บขนและลําเลียงมูลฝอย ปญหาเรื่องไมสามารถ
บังคับใชกฎหมายที่เกี่ยวของกับการจัดการมูลฝอยไดอยางมีประสิทธิภาพ
จากสิ่งที่พบเหลานี้ จึงไดนําเสนอถึงแนวทางในการพัฒนาการจัดการมูลฝอยอยางยั่งยืน รวมถึงการบัญญัติ
กฎหมายที่มีรายละเอียดในการปองกันและลดมูลฝอยจากแหลงกําเนิด ตลอดจนกําหนดรายละเอียดวิธีการคัดแยก
มูลฝอย นอกจากนี้ หนวยงานที่เกี่ยวของและชุมชนทองถิ่นควรแบงปนความรูเพื่อเสริมสรางความตระหนักในการ
รับผิดชอบตอสังคมและสิ่งแวดลอมที่ยั่งยืนตอไป

คําสําคัญ
มูลฝอย, การจัดการ, จังหวัดอางทอง, สิ่งแวดลอมที่ยั่งยืน

ABSTRACT
Angthong province due to areas as stated in art and culture tourism in both forms the
traditional heritage and the contemporary. As local and international tourism increases, so does
general waste. The definition of “Waste” in this is Municipal solid waste excluding the infectious
waste, toxic waste or dangerous waste from the community. The present, there are many laws issue
that are relevant to the management of waste in Angthong province such as Thailand’s Public Health
Act, BE 2535 (1992) and Public Health Act No. 3 B.E. 2560 (2017) Act on the maintenance of the
cleanliness and orderliness of the country, B.E. 2535 (1992) do not address local governmental
challenges in waste collection and transfer. Inability to enforce current regulations remains a
problem These findings suggest that sustainable development guidelines should be developed,
including detailed laws on preventing and reducingwaste from originals sources and
separationtreatment centers. In addition, the relevant agencies and local communities should share


นักศึกษาปริญญาโท หลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต สาขากฎหมายทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดลอม คณะ
นิติศาสตร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร : preaw109@hotmail.com
Graduate student of Master of Laws Program in Natural Resources and Environmental Law, Faculty
of Law, Thammasat University. Email address : preaw109@hotmail.com
วารสารนิติศึกษาไทย 625

knowledge to raise awareness that all sectors are responsible for social and environmental
sustainability.

Keywords
Waste, Management, Ang Thong Province, Environmental sustainability
626 Thailand Journal of legal Study

บทนํา
ปญหามลพิษจากมูลฝอย เปนหนึ่งในปญหาสิ่งแวดลอมที่มีความรุนแรงมากขึ้น ปจจุบันคณะรักษาความสงบแหงชาติ
จึงไดกําหนดใหมูลฝอยเปนวาระแหงชาติ และไดเห็นชอบ Roadmap การจัดการขยะมูลฝอยและของเสียอันตราย ถือเปน
แรงขับเคลื่อนใหหนวยงานตาง ๆ ที่เกี่ยวของทั้งภาครัฐ เอกชน และประชาชนเขามามีสวนรวมและดําเนินการตาม
แนวทาง Roadmap การจัดการขยะมูลฝอยและของเสียอันตราย ซึ่งประกอบดวยการกําจัดมูลฝอยเกาตกคางสะสม
ในสถานที่กําจัดมูลฝอย (มูลฝอยเกา) การสรางรูปแบบการจัดการมูลฝอยและของเสียอันตรายที่เหมาะสม (มูลฝอยใหม)
การวางระเบียบมาตรการบริหารจัดการมูลฝอยและของเสียอันตรายและการสรางวินัยของคนในชาติ มุงสูการจัดการ
ที่ยั่งยืน อยางไรก็ตามการจัดการมูลฝอยทุกประเภท ควรมีทิศทางที่ชัดเจนและเปนไปในทิศทางเดียวกัน เพื่อใหเกิด
การจัดการมูลฝอยอยางเปนเอกภาพไดมาตรฐาน
ปจจุบันสถานการณมูลฝอยในจังหวัดอางทองพบวามีปริมาณมูลฝอยสะสมและมีการกําจัดแบบไมถูกตอง
รวมทั้งยังมีปริมาณมูลฝอยที่ไมไดรับการบริการเก็บขน ดังนั้น จึงเปนจังหวัดที่มีวิกฤตปญหาดานการจัดการมูลฝอย 1
สาเหตุเนื่องมาจากการผูบริหารองคกรปกครองสวนทองถิ่นไมใหความสําคัญกับการบริหารจัดการระบบหรือมีการ
ปรับเปลี่ยนผูบริหารทําใหขาดนโยบายที่ตอเนื่อง ทั้งนี้ องคกรปกครองสวนทองถิ่นในจังหวัดอางทองที่ไดรับการ
อุดหนุนงบประมาณเพื่อดําเนินการกอสรางระบบกําจัดมูลฝอยสวนใหญเปนองคกรปกครองสวนทองถิ่นขนาดใหญ
อาทิ เทศบาลเมืองอางทอง เนื่องจากองคกรปกครองสวนทองถิ่นระดับดังกลาวมีศักยภาพเพียงพอที่จะพึ่งพาตนเองใน
การบริหารจัดการระบบได อีกทั้งยังมีพื้นที่ดําเนินการซึ่งเปนตนทุนสําคัญ ในขณะที่องคกรปกครองสวนทองถิ่นขนาด
เล็กระดับเทศบาลตําบลและองคการบริหารส วนตําบลยังประสบปญหาการจัดการมูลฝอย โดยเฉพาะการขาดความรู
ทางวิชาการ บุคลากร งบประมาณสนับสนุน และประชาชนในฐานะผูกอให เกิดมูลฝอยยัง มีค วามตระหนั ก และ
รวมรับผิดชอบตอการจัดการมูลฝอยของทองถิ่นในระดับต่ํา โดยผลักความรับผิดชอบตาง ๆ ใหกับองคกรปกครอง
สวนทองถิ่นแตผูเดียว รวมทั้งไมไดคํานึงถึงการรวมมือในการลด คัดแยก และนํากลับมาใชใหมของมูลฝอยเทาที่ควร
แมรัฐจะมีนโยบายเปดโอกาสใหเอกชนเขามามีสวนรวมในการจัดการมูลฝอย แตก็ยังมีขอจํากัดและติดขัดหลาย
ประเด็น ดังนั้น จึงควรหาทางออกของประเด็นปญหานี้เพื่ อใหสามารถดําเนินการตามนโยบายตอไปไดดวยดีและ
จัดการปญหามูลฝอยของจังหวัดอางทองไดอยางมีประสิทธิภาพ
จังหวัดอางทอง2 มีประชากรประมาณ 283,550 คน แบงเปน 7 อําเภอ 73 ตําบล 513 หมูบานและองคกร
ปกครองสวนทองถิ่น 65 แหง ประกอบดวย องคการบริหารสวนจังหวัด 1 แหงเทศบาล 22 แหง และองคการบริหาร
สวนตําบล 42 แหง ปจจุบันมีปริมาณมูลฝอยที่เกิดขึ้นประมาณ 302 ตันตอวัน หรือเฉลี่ยอัตราการเกิดมูลฝอย 1.04
กิโลกรัมตอคนตอวัน จนทําใหองคกรปกครองสวนทองถิ่นในทุกพื้นที่ประสบปญหาการกําจัดมูลฝอย เพราะมีองคกร
ปกครองสวนทองถิ่น จํานวน 42 แหง ที่มีระบบการเก็บมูลฝอย เพื่อนําไปกําจัดไดเพียงประมาณ 145 ตันตอวัน ณ
สถานที่กําจัดมูลฝอยที่มีอยู จํานวน 11 แหง สวนมากเปนการกําจัดมูลฝอยที่ไมถูกตอง มีเทศบาลเมืองอางทองเพียง
แหงเดียวที่มีสถานที่กําจัดมูลฝอยถูกหลักวิชาการและยังมีองคกรปกครองสวนทองถิ่นที่ไมมีระบบกําจัดมูลฝอยอีก
22 แหง จังหวัดอางทองและเทศบาลเมืองอางทองเห็นถึงความสําคัญกับการบริหารจัดการมูลฝอย ตามนโยบายของ
คณะรักษาความสงบแหงชาติ (คสช.) ที่ตองการใหมีการกําจัดมูลฝอยอยางถูกตอง สามารถจัดเก็บไดอยางเปนระบบ
แตที่ผานมาการทิ้งมูลฝอยโดยไมมีการคัดแยก จึงทําใหมูลฝอยที่สามารถนํากลับมาใชใหมปะปนกับมูลฝอยทั่วไป
อันสงผลใหมูลฝอยที่ตองนําไปกําจัดมีปริมาณมากและยังมีการกําจัดมูลฝอยที่ไมถูกตองตามหลักวิชาการ ตอมา

1
สวนขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล สํานักจัดการกากของเสียและสารอันตราย, “รายงานสถานการณขยะมูลฝอยชุมชน
ของประเทศไทยป พ.ศ. 2559,” สืบคนเมื่อวันที่ 13 เมษายน 2561, จาก http://info file.pcd.go.th/waste/wsthazann
ual59.pdf.
2
เทศบาลเมืองอางทอง, “จังหวัดอางทอง ระดมความคิดผูบริหารและปลัดองคกรปกครองสวนทองถิ่นในจังหวัด
อ า งทอง เพื่ อ ร ว มบู ร ณาการบริ ห ารจั ด การขยะในจั ง หวั ดอ า งทอง,” สื บ ค น เมื่ อ วั น ที่ 12 กรกฎาคม 2561, จาก
http://www.prd.go.th/ewt_news.php?nid=95926.
วารสารนิติศึกษาไทย 627

คณะกรรมการจัดทําแผนบริหารจัดการขยะมูลฝอยจังหวัดอางทองได มีมติเมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม 2558 เห็นชอบให


องคกรปกครองสวนทองถิ่นในพื้นที่นํามูลฝอยทั่วไปมากําจัดที่เทศบาลเมืองอางทอง เนื่องจากมีเทศบาลเมืองอางทอง
เพียงแหงเดียวที่มีสถานที่กําจัดมูลฝอยอยางถูกตองตามหลักวิชาการ และเมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน 2558 เทศบาลเมือง
อางทองและองคการบริหารสวนตําบลในพื้นที่ไดลงนามบันทึกขอตกลงวาดวยความรวมมือการบริหารจัดการขยะ
มูลฝอยและของเสียอันตราย กําหนดใหนํามูลฝอยมากําจัดที่ศูนยกําจัดมูลฝอยรวมของเทศบาลเมืองอางทอง ตั้งแต
วันที่ 1 ตุลาคม 2558 เปนตนไป
ทั้งนี้ จังหวัดอางทองมีปริมาณมูลฝอยเกิดขึ้นทั้งจังหวัดประมาณ 59.22 ตันตอวัน สวนใหญเปนผลิตผลทาง
การเกษตร เชน ผัก ผลไม เปนตน แตสามารถเก็บขนไดเพียง 51.72 ตันตอวัน 3 ปญหามูลฝอยในเขตชุมชนจะเปน
เรื่องการเก็บขน ดวยการเก็บขนในลักษณะถังใบเดียวโดยชุมชนสวนใหญ เชน เทศบาลหรือองคการบริหารสวนตําบล
ใหญ ๆ จะมีปญหาในเรื่องรถยนตที่ใชในการเก็บขนมูลฝอยชํารุดและมีไมเพียงพอ รวมทั้งภาชนะรองรับมูลฝอยมี
ไมเพียงพอ สงผลใหมีมูลฝอยตกคาง ปริมาณมูลฝอยที่เก็บขนในเขตเทศบาลและนอกเขตเทศบาลยังคงมีป ริมาณ
มูลฝอยเพิ่มขึ้นเนื่องจากการดําเนิ นการจัดการมูลฝอยที่ผานมา ยังขาดระบบการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพและ
ครบวงจร ตั้งแตการรวบรวมจนถึงการกําจัด อีกทั้งทองถิ่นยังไมมีความพรอมในการบริหารจัดการมูลฝอย ทั้งในดาน
งบประมาณ เครื่องจักร อุปกรณและบุคลากรที่มีความรูความชํานาญในการดูแลรักษาระบบ ตลอดจนการจัดทํา
แผนการจั ด การมู ล ฝอยให ส อดคล อ งกับ สภาพความเป น จริง นอกจากนี้ รูป แบบและองค ป ระกอบของมู ล ฝอย
ในปจจุบันมีความยากตอการกําจัดมากขึ้น และการนํามูลฝอยกลับมาใชประโยชนเปนปุยอินทรียหรือวัสดุรีไซเคิล
ยังมีอยูนอย4 อีกทั้งขาดการบังคับใชใหเป นไปตามกฎหมาย เนื่องจากองคกรปกครองสวนทองถิ่นหลายแหงมิไดออก
ขอบัญญัติทองถิ่น อยางไรก็ตามการดําเนินการจัดการมูลฝอยตองอาศัยความรวมมือจากหนวยงานตาง ๆ ดังนั้น
จําเปนตองกําหนดแนวทางและทิศทางในการดําเนินงานและการจัดสรรงบประมาณ ตองเรงดําเนินการจัดการใหมี
ระบบ ตั้งแตการสรางอุปนิสัย ลดปริมาณมูลฝอย การบริการเก็บขนและการกําจัดอยางถูกหลักวิชาการ 5 ผูวาราชการ
จังหวัดอางทองไดสั่งการใหองคกรปกครองสวนทองถิ่นในจังหวัดตั้งงบประมาณขององคกรปกครองสวนทองถิ่นป 2559
เพื่อปดบอ และนํามูลฝอยใหมไปกําจัดที่เทศบาลเมืองอางทอง โดยองคกรปกครองสวนทองถิ่นจํานวน 11 แหง ดังนี้
1) สถานที่กําจัดมูลฝอยขององคการบริหารสวนตําบลโผงเผง 2) สถานที่กําจัดมูลฝอยของเทศบาลตําบลปาโมก
3)สถานที่กําจัดมูลฝอยขององคการบริหารสวนตําบลสายทอง 4) สถานที่กําจัดมูลฝอยขององคการบริหารสวนตําบล
โรงช า ง 5) สถานที่ กํา จั ด มู ลฝอยของเทศบาลตํ าบลรํามะสัก 6) สถานที่ กํา จั ด มูล ฝอยของเทศบาลตํ าบลสามโก
7) สถานที่กําจัดมูลฝอยของเทศบาลตําบลโพธิ์ทอง 8) สถานที่กําจัดมูลฝอยของเทศบาลตําบลแสวงหา 9 )สถานที่กําจัดมูลฝอย
ของเทศบาลตําบลเกษไชโย 10) สถานที่กําจัดมูลฝอยของเทศบาลตําบลศาลาแดง 11) สถานที่กําจัดมูลฝอยของ
เทศบาลตําบลทาชาง ตองดําเนินการปดบอขยะในวันที่ 1 ตุลาคม 2558 ทั้งนี้ มีองคกรปกครองสวนทองถิ่น ฝงกลบ
บอขยะแลว 5 บอ ไดแก เทศบาลตําบลแสวงหา จํานวน 480 ตัน เทศบาลตําบลปาโมกจํานวน4,860 ตัน เทศบาลตําบล
เกษไชโย จํานวน 607.50 ตัน เทศบาลตําบลรํามะสัก จํานวน 607.50 ตัน และองคการบริหารสวนตําบลโรงชาง
จํานวน 504 ตัน6

3
สํานักงานจังหวัดอางทอง, “แผนพัฒนาจังหวัดอางทอง พ.ศ. 2561-2564,” สืบคนเมื่อวันที่ 1 เมษายน 2561,
จาก http://www.angthong.go.th/planproject/plan60.pdf.
4
สํานักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดลอมจังหวัดอางทอง, “รายงานประจําป 2559,” สืบคนเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม
2559, จาก http://angthong.mnre.go.th/ewt_dl_link.php?nid=1392.
5
สํานักงานสงเสริมการปกครองทองถิ่นจังหวัดอางทอง, กลุมงานสงเสริมและพัฒนาทองถิ่น, ขอมูลการกําจัดขยะมูล
ฝอย ป 2559 จังหวัดอางทอง, (อางทอง : กลุมงานสงเสริมและพัฒนาทองถิ่นสํานักงานสงเสริมการปกครองทองถิ่นจังหวัด
อางทอง, 2559), น.30.
6
เพิ่งอาง.
628 Thailand Journal of legal Study

จังหวัดอางทอง มีองคกรปกครองสวนทองถิ่นที่ไดรับการสนับสนุนงบประมาณแผนดิน ภายใตแผนปฏิบัติการ


เพื่อการจัดการคุณภาพสิ่งแวดลอมในระดับจังหวัดจํานวน 1 แหง ไดแก เทศบาลเมืองอางทอง เปนระบบฝงกลบแบบ
ถูกหลักวิชาการ ขนาดพื้นที่ 89 ไร 3 งาน 99 ตารางวา ออกแบบระบบไวจํานวน 2 บอ บอละ 4 ชั้น มีระยะการใชงาน
20 ป เริ่มดําเนินงานป 2544 การบริหารจัดการระบบกําจัดมูลฝอยเทศบาลเมืองอางทองดําเนินการเองทั้งหมด7
เทศบาลเมืองอางทอง รับกําจัดมูลฝอยจากองคกรปกครองสวนทองถิ่นใกลเคียงและภาคเอกชนในพื้นที่ ซึ่งมี
ปริมาณมูลฝอยที่เขาระบบประมาณ 96 ตันตอวัน เมื่อนําปริมาณมูลฝอยที่เขาระบบเปรียบเทียบกับความสามารถในการ
รองรับของระบบแลว พบวาระบบสามารถรองรับไดสถานภาพปจจุบันบอที่ 1 ใชงานเต็มพื้นที่ อยูระหวางการฝงกลบใน
บอที่ 2 ชั้นที่ 3 ระบบบําบัดน้ําเสียไมสามารถใชงานไดเนื่องจากปมน้ําชํารุด การฝงกลบมูลฝอยเปนแบบการเทกองที่มีการ
ควบคุม (Control Dump) การดําเนินการทางเทคนิคมีการเกลี่ยบดอัดและปดทับขยะมูลฝอยดวยดินหรือวัสดุปดทับ
อื่นเปนครั้งคราวเนื่องจากเครื่องจักรมีสภาพชํารุด 8 ดวยเหตุนี้ เทศบาลเมืองอางทอง และองคการบริหารสวนตําบล
เทวราช รวมกับบริษัท สยาม เวสท เพาเวอร จํากัด ไดเล็งเห็นถึงความสําคัญถึงปริมาณขยะสะสม จึงไดรวมมือกันใน
การดําเนินโครงการบริหารจัดการขยะมูลฝอยชุมชน ดวยการแปรรูปขยะเปนเชื้อเพลิง RDF และรวมกันประชาคมรับ
ความคิดเห็นจากประชาชนในชุมชน ครั้งที่ 2 จากพี่นองประชาชนที่อยูในรัศมีระยะหาง 3 กิโลเมตร มีอยูดวยกัน
5 ตํ า บล จาก 3 อํ า เภอ คื อ อํ า เภอเมื อง อํ า เภอไชโยและอํ าเภอโพธิ์ท อง พรอมได เชิ ญประชาชนผูเกี่ย วของมา
ประชาคม เพื่ อพู ด คุ ย แสดงความคิ ดเห็ นกับทางเทศบาลเมื องอ างทอง เจ า ของสถานที่ และบริษัท สยาม เวสท
เพาเวอร จํากัด ผูดําเนินการเพื่อหารือรวมกันวาจะมีการดําเนินการไดหรือไมอยางไร มีประโยชนอยางไรในอนาคต
ตอไป9
ดังนั้น ผูเขียนจึงศึกษาถึงความครอบคลุมของกฎหมายเกี่ยวกับการจั ดการปญหามูลฝอยในจังหวัดอางทอง
รวมทั้งแนวทางในการดําเนินการจัดการมูลฝอย เพื่อที่จะแสดงใหเห็นถึงความสําคัญของการจัดการและการควบคุมใน
การดําเนินการจัดการมูลฝอยตั้งแตขั้นตอนการเกิดมูลฝอยจนถึงขั้นตอนการกําจัดมูลฝอยใหมีประสิทธิภาพ และ
เหมาะสมสําหรับประเทศไทยในอนาคตตอไป โดยผูเขียนขอนําเสนอเปนลําดับ ดังนี้
1. มาตรการทางกฎหมายในการควบคุมปริมาณมูลฝอย
ในพระราชบัญญัติรักษาความสะอาดและความเปนระเบียบเรียบรอยของบานเมือง (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2560
และประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการจัดการมูลฝอย พ.ศ. 2560 ไดกําหนดมาตรการปองกั น ลดและหามทิ้ง
มูลฝอยเพื่อควบคุมการเพิ่มขึ้นของปริมาณมูลฝอย ซึ่งบทบัญญัติตาง ๆ ไดมีการกําหนดโทษทางอาญาที่สูงและโทษ
ทางปกครองเพื่อเปนการปองปรามผูกระทําความผิดใหเกรงกลัวในการกระทําความผิด โดยไดมีมาตรการทางกฎหมาย
ในการควบคุ ม มู ล ฝอยจากแหล ง กํ า เนิ ด ซึ่ ง สามารถนํ า มาใช ค วบคุ ม มู ล ฝอยของประชาชนผู ป ระกอบการและ
นักทองเที่ยวในจังหวัดอางทองใหลดลงได
เมื่อพิจารณามาตรการทางกฎหมายในการปองกันและลดมูลฝอยจากแหลงกําเนิด เปนการพิจารณาถึงปจจัย
ที่ มี ส ว นสั ม พั น ธ ต อ ป ญ หาการเกิ ด มู ล ฝอย เนื่ อ งจากแหล ง กํ า เนิ ด มู ล ฝอยในจั ง หวั ด อ า ง ทอง ส ว นใหญ ม าจาก
ผูประกอบการ นักทองเที่ยวและประชาชนในพื้นที่ ปจจุบันมีปริมาณมูลฝอยที่เกิดขึ้นประมาณ 302 ตันตอวัน หรือ
เฉลี่ยอัตราการเกิดมูลฝอย 1.04 กิโลกรัม ตอคนตอวัน 10 จากการศึกษาพบวาการแกไขปญหามูลฝอยในจังหวั ด

7
เทศบาลเมืองอางทอง, การจัด การขยะมูลฝอยของเทศบาลเมืองอางทอง, (อางทอง : เทศบาลเมืองอางทอง,
2559), น.1-5.
8
เพิ่งอาง.
9
กนกศักดิ์ แสงตระการ, “อางทอง เทศบาลเมืองอางทอง และองคการบริหารสวนตําบลเทวราชรวมกับบริษัท
สยาม เวสท เพาเวอรจํากัดจัด โครงการบริหารขยะมูลฝอยชุมชนโดยการแปรรูป ,” สืบคนเมื่อวันที่ 17 ตุลาคม2560, จาก
http://www.tnews.co.th/contents/359077.
10
สํานักงานจังหวัดอางทอง, “แผนพัฒนาจังหวัดอางทอง พ.ศ. 2561 – 2564,” สืบคนเมื่อวันที่ 1 เมษายน 2560,
จาก http://www.angthong.go.th/planproject/plan60.pdf.
วารสารนิติศึกษาไทย 629

อางทองสวนใหญ สงเสริมใหประชาชนทิ้งมูลฝอยลงถัง สวนองคกรปกครองสวนทองถิ่นในจังหวัดอางทองทําหนาที่ขน


มูลฝอยไปทิ้งหรือกําจัด แตองคกรปกครองสวนทองถิ่นหลายแหงในจังหวัดอางทองไมมีการกําหนดการจัดการมูลฝอย
ระยะยาวไวในแผนพัฒนาทองถิ่น สวนใหญการดําเนินงานเพื่อลดการผลิตมูลฝอยจะเปนมาตรการสมัครใจ
ดังนั้น การจัดการมูลฝอยในจังหวัดอางทอง นอกจากองคกรปกครองสวนทองถิ่นทุกแหงในจังหวัดอางทอง
ตองออกขอบัญญัติทองถิ่นในสวนที่เปนมาตรการทางกฎหมายเรื่องการหามทิ้งเพื่อควบคุมการเพิ่มขึ้นของปริมาณ
มูลฝอยแลว ยังจะตองเพิ่มมาตรการปองกันและควบคุมการเพิ่มขึ้นของปริมาณมูลฝอยจากแหลงกำเนิด (Source
reduction) ซึ่งสวนใหญเกิดจากประชาชน ผูประกอบการและนักทองเที่ยวดวย เพื่อที่จะไดสามารถควบคุมดูแลการ
จัดการมูลฝอยทั่วไปทั้งระบบไดอยางมีประสิทธิภาพ
2. มาตรการทางกฎหมายในการจัดการมูลฝอยอยางยั่งยืน
พระราชบั ญ ญั ติแ ผนและขั้นตอนการกระจายอํ านาจให กับองคกรปกครองสวนท อ งถิ่นพ.ศ. 2542 โดย
กําหนดอํานาจหนาที่ขององคกรปกครองสวนทองถิ่นในการจัดการมูลฝอย รวมทั้งยังมีพระราชบัญญัติการสาธารณสุข
พ.ศ. 2535 และที่แกไขเพิ่มเติ มถึง (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2560 และพระราชบัญญัติรักษาความสะอาดและความเป น
ระเบียบเรียบรอยของบานเมือง พ.ศ. 2535 และที่แกไขเพิ่มเติมถึง (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2560 ซึ่งมีวัตถุประสงคในจัดการ
และแกไขปญหามูลฝอยในพื้นที่ ราชการสวนท องถิ่นของตน และไดกําหนดมาตรการทางกฎหมายตาง ๆ ไดแก
มาตรการทางกฎหมายในการเก็บรวบรวมและขนถ ายมูลฝอย การคัดแยกมูลฝอย การนําผลิตภัณฑที่ใชแลวกลับมา
ใชซ้ํา การหมุนเวียนกลับมาใชประโยชนใหม การแปรรูปประโยชน และการกําจัดมูลฝอย เปนตน เพื่อใหการจัดการ
มูลฝอยในองคกรปกครองสวนทองถิ่นในจังหวัดอางทองมีระบบจัดการมีประสิทธิภาพและเปนมิตรตอสิ่งแวดลอม
3. มาตรการทางกฎหมายในเรื่องความรับผิด
ตามพระราชบัญญัติสงเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดลอมแหงชาติ พ.ศ. 2535 มีบทบัญญัติเกี่ยวกับความรับ
ผิดทางแพงสองมาตรา คือ มาตรา 96 เปนกรณีความรับผิดตอความเสียหายที่เกิดจากแหลงมลพิษที่กอใหเกิดมลพิษ
อันเปนความรับผิดโดยเครงครัด และมาตรา 97 เปนกรณีความรับผิดในความเสียหายที่เกิดแกทรัพยากรธรรมชาติ
หรื อ สาธารณสมบั ติ ข องแผ น ดิ น ซึ่ ง ให ผู ที่ เ ป น ต น เหตุ แ ห ง ความเสี ย หายที่ เ กิ ด ขึ้ น แก สิ่ ง แวดล อ มและหรื อ
ทรัพยากรธรรมชาติเปนผูจาย
สําหรับมาตรการทางกฎหมายในการลงโทษผูกระทําความผิ ดมีพระราชบัญญัติรักษาความสะอาดและความ
เปนระเบียบเรียบรอยของบ านเมื อง พ.ศ. 2535 และที่แกไขเพิ่ มเติมถึง (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2560 พระราชบัญญั ติ การ
สาธารณสุข พ.ศ. 2535 และที่แกไขเพิ่มเติมถึง (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2560 และประมวลกฎหมายอาญาซึ่งมีมาตรการเกี่ยวกับ
การปองกันการเพิ่มจํานวนและความเปนพิษของมูลฝอยในสาธารณะเอาไว รวมทั้งกําหนดบทลงโทษสําหรับ ผู
ที่ฝาฝนและยังไดมีการนําหลักการเกี่ยวกับกฎหมายสิ่งแวดลอม คือ หลักผูกอมลพิษเปนผูจายซึ่ง เปนหลักการทาง
เศรษฐศาสตรโดยใชภาษีหรือคาธรรมเนียมอื่น ๆ มาใช โดยการใหผูที่ฝาฝนตองรับผิดชอบชดใชคาใชจายที่ทาง
ราชการตองเสียไปในการขจัดมลพิษหรือชดใชคาเสียหาย ดังนั้น องคกรปกครองสวนทองถิ่นในจังหวัดอางทองควร
กําหนดมาตรทางกฎหมายในเรื่องการเก็บ ขน และกําจัดมูลฝอยเพื่อเรียกเก็บและกําหนดอัตราคาธรรมเนียมใน
การจัดการมูลฝอยตามหลักการผูกอมลพิษเปนผูจาย เพื่อที่จะชวยใหปญหามูลฝอยในจังหวัดอางทองลดลง เพราะ
ผูกอมลพิษมีหนาที่ตองรับภาระคาใชจายในการบําบัด กําจัดมลพิษที่ตนไดกอขึ้น
4. มาตรการทางกฎหมายในการมีสวนรวมของประชาชน
รัฐธรรมนูญแหงราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ใหความสําคัญกับการมีสวนรวมของประชาชนอันเปน
รากฐานของระบอบประชาธิปไตยที่สําคัญและไดมีการบัญญัติถึงสิทธิการมีสวนรวมของประชาชนในดานตาง ๆ เชน
สิทธิรับรูขอมูลขาวสารของประชาชน สิทธิการมีสวนรวมในการตรวจสอบ เปนตน ดังนั้น การจัดทํา การมีสวนรวม
หรือการรับ ฟ งความคิดเห็ นของประชาชนในกระบวนการตั ดสินใจของหนวยงานราชการ ถือเป น มาตรการทาง
กฎหมายที่หนวยงานภาครัฐจะตองปฏิบัติ และในกรณีที่องคกรปกครองสวนทองถิ่นในจังหวัดอางทอง จะดําเนินการใด
630 Thailand Journal of legal Study

จะตองจัดใหมีกระบวนการรับฟงความคิดเห็นหรือการมีสวนรวมของประชาชนกอนเริ่มดําเนินโครงการ และระหวาง
ดําเนินโครงการ เพื่อเปนการชี้แจงรายละเอียดและกิจกรรมของโครงการ รวมทั้งใหโครงการไดรับการยอมรับและไม
เกิดการตอตานจากประชาชน ยกตัวอยางเชน องคกรปกครองสวนทองถิ่นจะดําเนินการเกี่ยวกับการจัดการมูลฝอย
โดยการกอสรางสถานที่กําจัดหรือการแปรรูปมูลฝอยเปนพลังงาน ตองจัดทําการมีสวนรวมหรือการรับฟงความคิดเห็น
ของประชาชนในกระบวนการตัดสินใจของหนวยงานราชการถือเปนมาตรการทางกฎหมายที่หนวยงานภาครัฐจะตอง
ปฏิบัติกอนจึงจะเริ่มดําเนินการได เปนตน
เมื่อพิจารณามาตรการทางกฎหมายตามพระราชบัญญัติรักษาความสะอาดและความเปนระเบียบเรียบรอย
ของบานเมือง (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2560 สวนใหญเปนการควบคุมและสั่งการโดยภาครัฐ ประกอบกับรัฐถายโอนภารกิจ
ใหองคกรปกครองสวนทองถิ่น โดยอาศัยอํานาจของกฎหมายที่เกี่ยวของกับการบริหารจัดการมูลฝอยของราชการสวน
ทองถิ่น คือ พระราชบัญญัติกําหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอํานาจใหแกองคกรปกครองสวนทองถิ่น พ.ศ. 2542
กําหนดใหองคกรปกครองสวนทองถิ่นในจังหวัดอางทองมีหนาที่ในการกําจัดมูลฝอย แตยังคงจํากัดอยูที่การใหรัฐถาย
โอนภารกิจใหองคกรปกครองสวนทองถิ่น โดยขาดองคประกอบอื่นที่สําคัญ เชน กระบวนการที่ประชาชนและชุมชนมี
สวนรวมตัดสินใจเกี่ยวกับการใชทรัพยากร และการที่ประชาชนและชุมชนมีสวนรวมในกลไกการตรวจสอบการบริหาร
จัดการ เนื่องจากการบริหารจัดการเปนความสัมพันธระหวางสวนกลางกับองคกรปกครองสวนทองถิ่น หรือระหวาง
องคกรปกครองสวนทองถิ่นดวยกันเอง ประกอบกับการบริหารจัดการมูลฝอยเปนเรื่องที่อยูภายใตการดู แ ลของ
หลากหลายหนวยงาน โดยใชกฎหมายตางกันในการดําเนินการ ทําใหประชาชนสวนใหญยังขาดความรูในการจัดการ
มูลฝอย เชน ขาดทักษะในการคัดแยกมูลฝอยที่ถูกตองตั้งแตตนทาง เปนตน
ในปจจุบันมีพระราชบัญญัติสงเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดลอมแหงชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2561 เหตุผลในการ
ประกาศใชพระราชบัญญัติฉบับนี้ 11คือ โดยที่พระราชบัญญัติ สงเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดลอมแหงชาติ พ.ศ. 2535
บัญญัติใหการจัดทํารายงานการวิเคราะหผลกระทบสิ่งแวดลอมสําหรับโครงการหรือกิจการที่อาจกอใหเกิดผลกระทบตอชุมชน
อย างรุ นแรงทั้ งทางด านคุ ณภาพสิ่ ง แวดล อ ม ทรั พยากรธรรมชาติ และสุ ขภาพให เป นตามที่ กํ าหนดในประกาศกระทรวง
ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดลอม อันเปนการไมสอดคลองกับมาตรา 58 และมาตรา 278 ของรัฐธรรมนูญแหงราชอาณาจักร
ไทยซึ่งบัญญัติใหมีการจัดทํากฎหมายที่จํา เปน เพื่ อกํา หนดใหการดํา เนิน การใดของรัฐ หรือที่ รัฐ จะอนุญาตให ผู ใด
ดําเนินการ ถาการนั้นอาจมีผลกระทบตอทรัพยากรธรรมชาติ คุณภาพสิ่งแวดลอม สุขภาพ อนามัย คุณภาพชีวิตหรือ
สวนไดเสียสําคัญอื่นใดของประชาชนหรือชุมชนหรือสิ่ งแวดลอมอยางรุนแรง ตองดําเนินการใหมีการศึกษาและ
ประเมินผลกระทบตอคุณภาพสิ่งแวดลอมและสุขภาพของประชาชนหรือชุมชน และจัดใหมีการรับฟงความคิดเห็น
ของผูมีสวนไดเสียและประชาชนและชุมชนที่เกี่ยวของกอน เพื่อนํามาประกอบการพิจารณาดําเนินการหรืออนุญาต
ตามกฎหมาย
ถึงแมวาจะไดมีประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดลอม เรื่อง กําหนดประเภท ขนาด และวิธี
ปฏิบัติสําหรับโครงการหรือกิจการที่อาจกอใหเกิดผลกระทบตอชุมชนอยางรุนแรง ทั้งทางดานคุณภาพสิ่งแวดลอม
ทรัพยากรธรรมชาติและสุขภาพ ที่สวนราชการรัฐวิสาหกิจหรือเอกชนจะตองจั ดทํารายงานการวิเคราะหผลกระทบ
สิ่งแวดลอม พ.ศ. 2553 จํานวน 11 ประเภทโครงการ โดยโครงการกําจัดมูลฝอยหรือโครงการแปรรูปมูลฝอยไมไดอยู
ในเกณฑดังกลาว แตองคกรปกครองสวนทองถิ่นควรจัดใหมีกระบวนการรับฟงความคิดเห็นหรือการมีสวนรวมของ
ประชาชนกอนเริ่มดําเนินโครงการและระหวางดําเนินโครงการ เพื่อเปนการชี้แจงรายละเอียดและกิจกรรมของ
โครงการ รวมทั้งใหโครงการไดรับการยอมรับและไมเกิดการตอตานจากประชาชน12

11
“พระราชบัญญัติสงเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดลอม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2561”, ราชกิจจานุเบกษา เลมที่ 135
ตอนที่ 27 ก (19 เมษายน 2561).
12
กรมควบคุมมลพิษ, “คูมือการจัดการขยะมูลฝอยและเทคโนโลยีการแปรรูปขยะมูลฝอยให เปนพลังงานสําหรับ
ท อ งถิ่ น ,” สื บ ค น เมื่อ วั น ที่ 18 กุ ม ภาพั น ธ 2561, จาก http://infofile.pcd.go.th/waste/WTEmanual.pdf?CFID=1741
445&CFTOKEN=14966011.
วารสารนิติศึกษาไทย 631

ดั ง นั้ น การมี ส วนรวมหรือการรับฟ งความคิดเห็ นของประชาชนในกระบวนการตัด สินใจของหนวยงาน


ราชการ ถือเปนมาตรการสําคัญที่หนว ยงานภาครัฐจะตองปฏิบัติเพื่อใหประชาชนในพื้นที่มีสวนรวมในการรับรูขอมูล
การรวมแสดงความคิดเห็น หรือรวมตัดสินใจในกระบวนการตาง ๆ ที่เกี่ยวของกับการพัฒนาและบริหารจัดการ
มูลฝอยขององคกรปกครองสวนทองถิ่นในจังหวัดอางทอง ซึ่งจะทําใหสามารถสะทอนใหเห็ นปญหาที่เกิดขึ้นจริงใน
พื้นที่เสริมสรางความรูความเขาใจและยังสามารถลดปญหาความขัดแยงระหวางประชาชนในพื้นที่กับผูประกอบการ
หรือหนวยงานที่เกี่ยวของ และนําไปสูการตัดสินใจซึ่งเปนที่ยอมรับของทุกฝาย ดังจะเห็นไดจากการที่จังหวัดอางทอง
ไดจัดประชุมองคกรปกครองสวนทองถิ่นและหนวยงานราชการที่เกี่ยวของเกี่ยวกับแนวคิดในโครงการบริหารจัดการ
มูลฝอยชุมชนดวยการแปรรูปมูลฝอยเปนเชื้อเพลิง RDF ซึ่งไดเล็งเห็นถึงความสําคัญของการบริหารจัดการมูลฝอย
อยางเปนระบบ โดยไมสงผลกระทบตอชุมชนและสิ่งแวดลอม ซึ่งจะชวยลดปริมาณมูล ฝอยในพื้นที่และลดปญหา
มลภาวะที่เกิดจากมูลฝอย เชน ผลกระทบจากกลิ่น น้ําเสีย รวมทั้งยังเปนการลดพื้นที่จํานวนบอฝงกลบมูลฝอย ทั้งนี้
เทศบาลเมืองอางทองไดรวมกับองคการบริหารสวนตําบลเทวราช โดยไดจัดเวทีประชาพิจารณ เพื่อรับฟงความคิดเห็น
ของประชาชนและเปดโอกาสใหทุกระดับที่เกี่ยวของในพื้นที่ไดรวมกันระดมความคิดเห็น ขอเสนอแนะตอโครงการ
ซึ่งขั้นตอนการดําเนินการจัดทําประชาพิจารณดังกลาวนั้น ไดจัดใหผูเขารวมการประชาพิจารณลงทะเบียนและแจก
เอกสารประกอบการจัดทําประชาพิจารณ เพื่อสรางความรู ความเขาใจและเปน ขอมูลใหผูเขารวมการประชาพิจารณ
ไดศึกษารายละเอียดกอน โดยมีวิทยากรจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารีไดนําเสนอวีดิทัศน และชี้แจงรายละเอียด
โครงการใหประชาชนทราบอยางเขาใจ พรอมเปดโอกาสใหที่ประชุมไดซักถาม และแสดงความคิดเห็น ขอเสนอแนะ
อยางเต็มที่ นอกจากนี้ ยังไดมีการประเมินผลตามแบบสอบถามภายหลั งจากการประชุ ม เพื่อจะไดพิจารณาถึง
แนวโนมความเปนไปไดและความสําเร็จของการดําเนินโครงการ

บทสรุปและขอแสนอแนะ
สถานการณมูลฝอยในจังหวัดอางทองยังคงประสบปญหาในหลายดาน โดยเฉพาะอยางยิ่งองคกรปกครอง
สวนทองถิ่นหลายแหง ในจังหวัดอางทองไดประสบปญหาดานการจัดการมูลฝอย รวมถึงขาดการบริหารจัดการที่ดี
ปญหาดังกลาวจําเปนจะตองไดรับการจัดการที่เหมาะสมเพื่อไมใหปญหาขยายตัวและรุนแรงขึ้นจนเปนอันตรายตอ
สุขภาพอนามัยของประชาชนและสงผลกระทบตอสิ่งแวดลอม ดังนั้น การจัดการปญหาดัง กลาวจําเปนตองอาศัยการ
จัดการที่เหมาะสมเปนระบบและบูรณาการ รวมทั้งตองใหทุกภาคสวนไดเขามามีสวนรวม ดวยเหตุนี้ จังหวัดอางทอง
จึ ง ดํ า เนิ น งานตาม Road map การจั ด การขยะมู ล ฝอยและของเสี ย อั น ตรายและได มี คํ า สั่ ง จั ง หวั ด อ า งทองที่
1927/2557 ลงวันที่ 10 ตุลาคม 2557 แตงตั้งคณะกรรมการจัดทําแผนการบริหารจัดการขยะมูลฝอยจังหวัดอางทอง
และมีคําสั่งจังหวัดอางทองที่ 2301/2557 ลงวันที่ 25 พฤศจิกายน 2557 แตงตั้งคณะทํางานจัดทําแผนการบริหาร
จัดการขยะมูลฝอยจังหวัดอางทองดําเนินการจัดทําแผนการบริหารจัดการขยะมูลฝอยของจังหวัดอางทองเพื่อเปน
กรอบแนวทางการดําเนินการดานการบริหารจัดการมูลฝอยที่สอดคลองกับสภาพปญหาของพื้นที่เพื่อนําไปสูการ
พัฒนาทองถิ่นอยางยั่งยืน
จากการศึกษาเรื่องมาตรการทางกฎหมายในการจัดการมูลฝอยในจังหวัดอางทองดังที่กลาวมาทั้งหมดนั้น
พบวาแหลงกําเนิดมูลฝอยนั้นมีความแตกตางกันในแตละพื้นที่ สําหรับบริเวณที่เปนแหลงทองเที่ยวปริมาณมูลฝอยเกิด
จากนักทองเที่ยว สําหรับบริเวณในชุมชนสวนใหญเกิดจากครัวเรือน ตลาด และรานขายอาหาร รวมทั้งประชาชนใน
พื้นที่ เปนตน ประเภทมูลฝอยในจังหวัดอางทอง สวนใหญจะเปนมูลฝอยเปยกจําพวกผลิตภัณฑทางการเกษตร เชน
ผัก ผลไมมากที่สุดซึ่งเกิดจากกิจกรรมจากรานคา ตลาด รองลงมาเปนจําพวกกระดาษ เชน ขวดหรือถุงที่ใชใสสินคา
หรืออาหาร ปญหาในการจัดการมูลฝอยในจังหวัดอางทองพบวาการคัดแยกมูลฝอยยังไมดีพอ มีมูลฝอยที่ยังไมไดรับ
การบริการเก็บขนและมีการกําจัดที่ไมถูกตอ งตามหลักวิชาการ ดังนั้น จึงเปนจังหวัดที่มีวิกฤตปญหาดานการจัดการ
มูลฝอย เนื่องจากการบริหารจัดการมูลฝอยยังไมมีการวางระบบอยางถูกตองและแตเดิมสวนมากการกําจัดมูลฝอยใช
วิธีการเทกองกลางแจงหรือเผา ซึ่งจะทําใหเกิดผลเสียหายตอสภาพแวดลอมและสุขอนามัยของประชาชนได ทั้งนี้
เนื่องมาจากเทศบาลหรือองคกรปกครองสวนทองถิ่นของแตละพื้นที่มีหนาที่รับผิดชอบในการจัดการมูลฝอยในเขต
632 Thailand Journal of legal Study

พื้นที่ที่รับผิดชอบโดยตรง แตมีขอจํากัดทั้งดานบุคลากร อุปกรณ งบประมาณ และสถานที่กําจัด จึงทําใหไมสามารถ


ดําเนินการจัดการมูลฝอยไดอยางมีประสิทธิ ภาพ ตอมาไดมีการปดสถานที่กําจัดมูลฝอยที่ไมถูกหลักวิชาการจํานวน
11 แหง และใหองคกรสวนทองถิ่นนั้น ๆ ดําเนินการฝงกลบตามหลักสุขาภิบาลแลวจํานวน 11 แหงภายหลังจากที่
ดําเนินการฝงกลบแลว ทางองคกรปกครองสวนทองถิ่นนั้น ๆ ไดใชประโยชนในพื้นที่โดยการจัดกิจกรรมปลูกตนไมเพือ่
เพิ่มพื้นที่สีเขียวตามโครงการ Waste to forest ที่บริเวณบอฝงกลบมูลฝอยเกาของเทศบาลตําบลสามโก อําเภอสาม
โก จังหวัดอางทอง และจะดําเนินการตอใน ป พ.ศ. 2561 จนครบทั้ง 11 แหง
ภายใตแผนแมบทการบริหารจัดการขยะมูลฝอยของประเทศ พ.ศ. 2559 – 2564 จังหวัดอางทอง เทศบาล
เมืองอางทองและองคการบริหารสวนตําบลในพื้นที่ไดทําบันทึกขอตกลงรวมกันนํามูลฝอยมากําจัด ณ สถานที่กําจัด
มูลฝอยเทศบาลเมืองอางทอง ตําบลเทวราช อําเภอไชโยเพราะเปนเพียงแหงเดียวที่มีการกําจัดมูลฝอยอยางถูกตอง
ตามหลักวิชาการ แตยังมีองคกรปกครองสวนทองถิ่นหลายแหงที่ไมรวมลงนามบันทึกขอตกลงการรวมกลุมพื้นทีใ่ นการ
ดําเนินการกําจัดมูลฝอยตามหลักเกณฑที่กําหนด ดังนั้น การที่เทศบาลและองคการบริหารสวนตําบลที่ไมมีสถานที่
กําจัดมูลฝอยในพื้นที่ของตนเองและไดนํามูลฝอยมารวมฝงกลบดวย จึงสงผลใหปริมาณมูลฝอยที่เขาฝงกลบสูงกวาที่
ออกแบบไว เปนเหตุทําใหหลุมฝงกลบเต็มเร็วกวาที่กําหนด ปญหาดังกลาวเปนผลที่เกิดขึ้นจากการที่ไมมีการลด
มูลฝอยจากแหลงกําเนิด การคัดแยก การนํามูลฝอยกลับมาใชใหมในรูปแบบตาง ๆ จึงทําใหปริมาณมูลฝอยที่ตอง
นําไปกําจัดมีจํานวนมาก ประกอบกั บการบริหารจัดการมูลฝอยมีกฎหมายหลายฉบับใหอํานาจไวและมีหนวยงานที่
รับ ผิ ดชอบหลายหน วยงานซึ่ งก็ไ มไ ดอยู ในสั งกัด เดี ยวกัน จึ ง ทํ า ให แนวทางปฏิ บั ติหรือวิ ธี ดํา เนินการแตกตางกัน
นอกจากนี้ องคกรปกครองสวนทองถิ่นในจังหวัดอางทองซึ่งมีหนาที่รับผิดชอบในการจัดการมูลฝอยไมสามารถบังคับ
ใชกฎหมายที่เกี่ยวของกับการจัดการมูลฝอยไดอยางมีประสิทธิภาพและสอดคลองกับปญหาที่เกิดขึ้น จึงสงผลทําให
ไมสามารถควบคุมและจัดการปญหามูลฝอยในจังหวัดอางทองได 13 ดวยเหตุดังกลาวจังหวัดอางทองไดเล็งเห็นถึง
ความสําคัญของปริมาณมูลฝอยสะสม จึง ไดจัดประชุมองคกรปกครองสวนทองถิ่นและหนวยงานราชการที่เกี่ยวของ
เกี่ยวกับแนวคิดในโครงการบริหารจัดการมูลฝอยชุมชนดวยการแปรรูปมูลฝอยเปนเชื้อเพลิง RDF เพื่อใหการบริหาร
จัดการมูลฝอยเปนระบบโดยไมสงผลกระทบตอชุมชนและสิ่งแวดลอม รวมทั้งยังเปนการลดพื้นที่จํานวนบอฝงกลบ
มูลฝอย โดยทางเทศบาลเมืองอางทองไดรวมกับองคการบริหารสวนตําบลเทวราชจัดเวทีประชาพิจารณเพื่อรับฟง
ความคิดเห็นของประชาชนและเปดโอกาสใหทุกระดับที่เกี่ยวของในพื้นที่ไดรวมกันระดมความคิดเห็นขอเสนอแนะตอ
โครงการอันเปนการใหประชาชนเขามามีสวนรวมในการดําเนินการจัดการมูลฝอยขององคกรปกครองสวนทองถิ่นเพื่อ
องคกรปกครองสวนทองถิ่นจะไดนําไปใชเปนแนวทางในการจัดการใหเหมาะสมกับพื้นที่ตอไป
เพื่อใหการดําเนินการจัดการมูลฝอยในจังหวัดอางทองเปนไปอยางมีประสิทธิภาพ จึงขอเสนอแนะแนวทาง
ในการจัดการมูลฝอยในจังหวัดอางทอง ดังนี้
1. แนวทางในการพัฒนาความพรอมดานนโยบายและยุทธศาสตรสาธารณะในการจัดการมูลฝอยของ
ทองถิ่น
แผนพัฒนาจังหวัดอางทอง พ.ศ. 2561-2564 ไดกําหนดนโยบายเกี่ยวกับการจัดการมูลฝอยทั่วไปไวแบบกวาง
จึงทําใหไมมีการกําหนดวิธีการและขั้นตอนการบรรลุเปาหมายไวอยางชัดเจนดวยเหตุนี้ ทําใหหนวยงานที่รับผิดชอบไม
ทราบถึงมาตรฐานวาจะตองทําถึงขนาดไหน เทาไหร จึงจะถือวาบรรลุเปาหมายตามนโยบายที่กําหนดไวและการ
กําหนดนโยบายดานการจัดการมูลฝอยของผูบริหารทองถิ่นยังไมครอบคลุมและสอดคลองกับปญหาดานมูลฝอยที่
เกิดขึ้น ดังนั้น เจาหนาที่อาจปฏิบัติตามนโยบายหรือไมปฏิบัติตามนโยบายก็ได เชน นโยบายสงเสริมใหนําคุณคาของ

13
สํานักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดลอม,“รายงานประจําป 2559,” สืบคนเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2559,
จาก http://angthong.mnre.go.th/ewt_dl_link.php?nid=1392.
วารสารนิติศึกษาไทย 633

มูลฝอยไปใชประโยชนกอนนําไปกําจัดเปนเพียงการรณรงคใหเห็นถึงความสําคัญของปญหามูลฝอย แตไมมีการ
ดําเนินการตามนโยบายที่ชัดเจน เปนตน
องคกรปกครองสวนทองถิ่นในจังหวัดอางทองจะตองมีนโยบายในเรื่องการจัดการมูลฝอยทั่วไปที่ชัดเจนเพื่อใช
เปนกรอบในการดําเนินงาน ดังตอไปนี้
1.1 การจัดเก็บคาธรรมเนียมการกําจัดมูลฝอย
1.2 การใหความสําคัญแกการจัดการมูลฝอยในการพัฒนาชุมชน
1.3 หนาที่ความรับผิดชอบขององคกรปกครองสวนทองถิ่นในการจัดการมูลฝอย
1.4 หนาที่ความรับผิดชอบของประชาชนในชุมชนในการจัดการมูลฝอย
อยางไรก็ตาม องคกรปกครองสวนทองถิ่นจะมีความสนใจที่จะกําหนดนโยบายและจัดทําแผนการจัดการมูลฝอย
ก็ตอเมื่อผูบริหารองคกรปกครองสวนทองถิ่นและประชาชนในชุมชนทองถิ่นตระหนักถึงความจําเปนที่จะตองพัฒนาการ
จัดการมูลฝอยในชุมชนใหดีขึ้นกวาเดิม ดังนั้น การพัฒนาความพรอมดานนโยบายขององคกรปกครองสวนทองถิ่น
จึงตองเริ่มดวยการทําใหผูบริหารขององคกรปกครองสวนทองถิ่นและประชาชนในชุมชนทองถิ่นยอมรับในความ
จําเปนของการจัดการดังกลาว
ในเรื่องดังกลาว ผูเขียนมีความเห็นวานโยบายของผูบริหารที่ใหความสําคัญกับเรื่องการจัดการมูลฝอยภายใน
ทองถิ่นเปนสิ่งสําคัญ ดังนั้น ควรจะเริ่มจากการที่ผูบริหารใหความสําคัญหรือมีนโยบายในเรื่องการจัดการมูลฝอยของ
ทองถิ่นเพื่อที่หนวยงานที่รับผิดชอบจะไดนํานโยบายเหลานั้นไปจัดทําเปนแผนงานของหนวยงานของตนและให
นโยบายเหลานั้นถูกนําไปปฏิบัติ
สําหรับการกําหนดนโยบายดานการจัดการมูลฝอยของแตละองคกรปกครองสวนทองถิ่น อาจจะมีความแตกตาง
กันขึ้นอยูกับการใหความสําคัญของผูบริหารทองถิ่นในแตละที่นั้น ๆ โดยผูบริหารของทองถิ่นตองกําหนดนโยบายและจัดทํา
แผนงานหรือโครงการที่เกี่ยวของกับการจัดการมูลฝอยใหสอดคลองและเหมาะสมกับทองถิ่นหรือพิจารณาจากปญหา
ที่เกิดขึ้นเกี่ยวกับการจัดการมูลฝอยในเขตพื้นที่ของตน และกําหนดระยะเวลาของแผนงานซึ่งจะตองมีการวางแผนการ
ดําเนินการในระยะยาวโดยมีผูเชี่ยวชาญหรือนักวิชาการใหคําปรึกษา และในสวนของภาคประชาชนนั้นตองมีการรณรงค
ประชาสัมพันธโดยใหความรูความเขาใจกับประชาชนเกี่ยวกับชนิดของมูลฝอยวามีอะไรบางและใหโทษตอสิ่งแวดลอม
อยางไร รวมทั้งปลูกจิตสํานึกใหประชาชนมีความรูความเขาใจกับปญหาทีเ่ กิดขึ้นและมีสวนรวมในการกําหนดโครงการ
หรือกิจกรรมที่บรรจุไวในแผน เชน
การจัดทํานโยบายขององคกรปกครองสวนทองถิ่นที่มีลักษณะเปนเมืองทองเที่ยวและตองการทําใหบานเมือง
สะอาด ผูบริหารทองถิ่นควรกําหนดนโยบายที่สําคัญ คือ “การทําทองถิ่นใหสะอาดปราศจากมูลฝอยที่ทิ้งอยางไมเปน
ระเบียบตามถนนหรือสถานที่ทองเที่ยว”
สําหรับองคกรปกครองสวนทองถิ่นที่เปนเขตเกษตรกรรม ซึ่งพบวามีตลาดสดเปนแหลงกําเนิดมูลฝอยอินทรีย
อยูเปนจํานวนมากและสามารถนําไปทําเปนปุยหมักได ผูบริหารทองถิ่นอาจจะกําหนดนโยบายวา “สงเสริมการทํา
ปุยหมักและน้ําสกัดชีวภาพจากมูลฝอยอินทรีย” เพื่อใหปริมาณมูลฝอยอินทรียลดลง
ภายหลังจากที่ผูบริหารทองถิ่นไดกําหนดนโยบายแลว ก็มอบหมายใหหนวยงานที่รับผิดชอบ เชน สํานักปลัด
หรือกองสาธารณสุขและสิ่งแวดลอมจัดทําแผนงานหรือโครงการเพื่อใหสอดคลองกับนโยบายที่ไดกําหนดไว
ในการกําหนดนโยบายประเด็นหนึ่งที่ผูบริหารขององคกรปกครองสวนทองถิ่นควรคํานึงถึง คือ การสรางขวัญ
และกําลังใจตอเจาหนาที่ที่สามารถดําเนินงานตามนโยบายไดสําเร็จเพื่อเปนแรงจูงใจใหเจาหนาที่ดําเนินการตาม
นโยบายอยางตอเนื่อง ตัวอยางของโครงการ เชน โครงการรณรงคคัดแยกมูลฝอยจากแหลงกําเนิดเพื่อนํากลับมา
จําหนายหรือนํากลับมาใชประโยชนในดานอื่น ๆ เชน ทําปุยหมักหรือน้ําสกัดชีวภาพ เปนตน ตองกําหนดแผนการ
โฆษณาประชาสั ม พั น ธ เพื่ อให ป ระชาชนในเขตพื้ น ที่ เป า หมายทราบเกี่ย วกับ นโยบายและขอบั ญ ญั ติ กฎหมายที่
ประชาชนตองปฏิบัติ รวมทั้งใหดําเนินการสอดสองดู แล และหากพบวามีการฝาฝนก็ใหดําเนินการตักเตือนเพื่อให
ปรับปรุงแกไข หากไมแกไขก็ดําเนินคดีตามกฎหมายตอไปตามขั้นตอน
634 Thailand Journal of legal Study

2. มาตรการเสริมสรางระบบบริหารจัดการมลพิษที่แหลงกําเนิดใหมีประสิทธิภาพ
ที่ผานมาการรณรงคและปลูกจิตสํานึกในการคัดแยกมูลฝอยประสบผลสําเร็จในระดับหนึ่งแตหากองคกร
ปกครองสวนทองถิ่นในจังหวัดอางทองตองการขับเคลื่อนไปสูสังคมปลอดขยะ (zero waste) ตามเปาหมายและ
ยุทธศาสตรที่ 2 ในการจัดการมูลฝอยของจังหวัดอางทองนั้น จําเปนที่จะตองดําเนินการควบคูไปกับการสรางแรงจูงใจ
และการปรับเปลี่ยนวิธีการเก็บมูลฝอยขององคกรปกครองสวนทองถิ่นเพื่อใหปริมาณมูลฝอยจากครัวเรือนลดลงและ
นํากลับมาใชประโยชนมากขึ้น เรื่องดังกลาวจําเปนตองไดรับความรวมมือจากหลายฝาย ดังนั้น แนวคิดและนโยบาย
การบริหารจัดการมูลฝอยในจังหวัดอางทอง จึงควรถูกนํามาใชเพื่อสนับสนุนใหองคกรปกครองสวนทองถิ่นรวมมือกัน
พัฒนาขีดความสามารถของทองถิ่นในการจัดการ รวมทั้งสนับสนุนใหประชาชนเขามามีสวนรวมในการแก ไขปญหา
โดยยึ ดหลั กความรับผิดชอบต อสั ง คมและสิ่งแวดล อมรวมกันโดยอาจจะกํ า หนดวิ ธี ดํ า เนิ น การให กั บ องค ก รปกครอง
สวนทองถิ่นและภาคประชาชนในพื้นที่เพื่อใหสามารถปฏิบัติไดตามหลักเกณฑที่กําหนดไว ดังนี้
2.1 มุงเนนในประเด็นการลดปริมาณมูลฝอยมากกวาการกําจัดมูลฝอย โดยใหองคกรปกครองสวนทองถิ่น
ทุกแหงในจังหวัดอางทอง กําหนดมาตรการลดปริมาณมูลฝอยจากแหลงกําเนิดโดยใหมีการคัดแยกมูลฝอยตั้งแต ตน
ทางไวในแผนการจัดการมูลฝอย รวมทั้งรณรงคใหประชาชนตระหนักถึงปญหาสิ่งแวดลอมและชวยกันลดปริมาณมูล
ฝอยดวยวิธีการตาง ๆ และใหผูนําชุมชนติดตามและสนับสนุนการคัดแยกมูลฝอยอยางจริงจัง นอกจากนี้ เห็นวาควร
สงเสริมแนวคิดเรื่องการใชประโยชนจากวัสดุเหลือใชแทนการทําลายทิ้ ง ดังนั้น หากสามารถจัดการมูลฝอยประเภทนี้
ไดตั้งแตระดับครัวเรือน จะสงผลใหปริมาณมูลฝอยที่ตองนําไปกําจัดมีปริมาณลดนอยลง
2.2 ควรมีมาตรการควบคุมปริมาณมูลฝอยที่แหลงกําเนิด โดยใหองคกรปกครองสวนทองถิ่นทุกแห ง ใน
จังหวัดอางทองออกมาตรการทางกฎหมายดัง กลา ว เพื่อกํา กับดูแลการเก็บ รวบรวมและขนส งมูลฝอยแบบแยก
ประเภท และใหเชื่อมโยงตัวชี้วัดและการจัดสรรเงินงบประมาณสําหรับองคกรปกครองสวนทองถิ่นกับการดําเนินการ
ดังกลาว
2.3 ใหประชาชนคัดแยกมูลฝอยออกเปนประเภทตาง ๆ ตามที่องคกรปกครองสวนทองถิ่นกําหนดไว โดยจะ
จัดเตรียมถังรองรับมูลฝอยประเภทตาง ๆ ไวใหประชาชนนํามาทิ้ง ทั้งนี้ การดําเนินการแกไขปญหามูลฝอยเปนไปตาม
พระราชบัญญัติกําหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอํานาจใหแกองคกรปกครองสวนทองถิ่น พ.ศ. 2542 ที่ใหอํานาจ
องคกรปกครองสวนทองถิ่นตาง ๆ ทั้งเทศบาลและองคการบริหารสวนตําบลมีหนา ที่และความรับผิดชอบในเขตพื้นที่
ของตน
2.4 สงเสริมการคัดแยกมูลฝอยและความรวมมือในชุมชน โดยใหความรูและทักษะกับประชาชนในการ
สงเสริมใหลดปริมาณมูลฝอยจากแหลงกําเนิดในครัวเรือนโดยหลักการ 3Rs คือ Reduce Reuse และ Recycle ใน
การคัดแยกมูลฝอยแตละประเภทเพื่อใหลดการเกิดมูลฝอยใหนอยที่สุด (Zero waste management) ควรเนนการ
ลดการเกิดมูลฝอย ณ แหลงกําเนิด (Reduce at Source) เชน บานเรือน อาคาร สํานักงาน ตลาด รานคา เปนตน
และใหความสําคัญตอการผลิตมูลฝอยที่เกิดขึ้นโดยไมจําเปน เชน การไมผลิตมูลฝอยประเภทกระดาษในสํานักงาน
โดยใหใชจดหมายอิเล็กทรอนิกสหรือระบบคอมพิวเตอรทดแทน เปนตน สวนบานเรือนใชวิธีลดการผลิตมูลฝอยลงให
เหลือนอยที่สุด เชน จัดเตรียมอาหารที่พอดีรับประทาน การใชกระดาษหรือพลาสติกซ้ําหรือในกรณีที่ครัวเรือนมี
ภาชนะบรรจุอยูแลว ใหซื้อสินคาประเภทชนิดเติม (Refill) แทนเปนตน
3. แนวทางการพัฒนาความพรอมดานการเงิน
องคกรปกครองสวนทองถิ่น หลายแหงในจัง หวัด อางทองมีงบประมาณในการดํา เนินการจัดการมู ล ฝอย
ไมเพียงพอและยังไมมีการดําเนินการจัดเก็บคาธรรมเนียมในการจัดการมูลฝอย เนื่องจากทางหนวยงานยังไมมีการ
จัดเก็บขนมูลฝอย รวมทั้งงบประมาณในการบริหารจัดการมูลฝอยยังไมเพียงพอ จึงทําใหการจัดใหมีแผนงานหรือ
จัดทําโครงการในการจัดการมูลฝอยยังไมเกิดขึ้น ผูเขียนมีความเห็นวาองคกรปกครองสวนทองถิ่นนั้น ๆ ตองขอรับ
การสนับสนุนงบประมาณจากกรมสงเสริมการปกครองทองถิ่นสําหรับการจั ดซื้อรถเก็บขนมูลฝอยและถังรองรับ
มูลฝอยในชุมชน นอกจากนี้ การใหเงินอุดหนุนแกองคกรปกครองสวนทองถิ่นเพื่อการพัฒนาการจัดการมูลฝอย
ควรจัดทําขอตกลงที่กําหนดพันธะผูกพันขององคกรปกครองสวนทองถิ่นในดานตาง ๆ เพื่อใหการดําเนินงานเปนไป
วารสารนิติศึกษาไทย 635

อยางยั่งยืน โดยมีตัวชี้วัดผลสัมฤทธิ์ของการดําเนินงานที่สามารถใชเปนพื้นฐานในการติดตามประเมินผลได
4. การพัฒนาความพรอมดานบุคลากร
ขีดความสามารถของบุคลากรในทองถิ่นหลายแหงไมเพียงพอตอการรับโอนภารกิจดานสิ่งแวดลอมหรือ
ผูบริหารทองถิ่นบางสวนมีความสนใจดานสิ่งแวดลอมนอย ดังนั้น ทางจังหวัดอางทองควรมีแนวทางในดานการพัฒนา
ความรูความสามารถและเสริมสรางศักยภาพบุคลากรขององคกรปกครองสวนทองถิ่นนั้น ๆ โดยการฝกอบรมใหมี
ความรูความชํานาญในการจัดการมูลฝอยที่ถูกตองตามหลักวิชาการ รวมทั้งใหการสนับสนุนทางวิชาการกับองคกร
ปกครองส วนทองถิ่นในการพัฒนาระบบและมีคูมือ โดยภาครัฐตองจัดสรรงบประมาณใหกับองคกรปกครองสวน
ทองถิ่น
5. แนวทางในการบังคับใชกฎหมาย
การที่องคกรปกครองสวนทองถิ่นในจังหวัดอางทองจะบริหารจัดการมูลฝอยนั้น ยอมมีขอกฎหมายตาง ๆ ที่
เกี่ยวของอยูหลายฉบับดวยกัน อันเกิ ดจากการกระจายอํานาจในการบริหารจัดการใหทองถิ่นเขามามีสวนรวมในการ
พัฒนาประเทศ แตยังขาดระบบการกํากับงานและปฏิบัติงานใหเปนไปในทิศทางเดียวกันระหวางองคกรตาง ๆ ที่
เกี่ยวของ จึงทําใหเปนอุปสรรคในการบังคับใชกฎหมาย
องคกรปกครองสวนทองถิ่นในฐานะหนวยงานหลักที่มีอํานาจหนาที่รับผิดชอบตามกฎหมายในการจัดบริการ
สาธารณะในพื้นที่ของตนเอง หากไมปฏิบัติตาม ประชาชนอาจดําเนินการดังนี้ 1) ใหแจงไปที่ผูบริหารทองถิ่นทราบ
เพื่อพิจารณาสั่งการตอไป 2) ถาเทศบาลไมดําเนินการตามอํานาจหนาที่ สามารถรองตอผูวาราชการจังหวัดหรือ รอง
ตอผูตรวจการแผนดินหรือฟองตอศาลปกครองไดหรือหากไดรับความเสียหายก็ไปแจงความรองทุกขตอพนักงาน
สอบสวนที่สถานีตํารวจเกี่ยวกับการละเวนการปฏิบัติหนาที่ขององคกรปกครองสวนทองถิ่นนั้น ๆ ตามมาตรา 157
ได14
การละเว น การปฏิ บั ติ หน า ที่ อัน พึ ง ต องกระทํ า ซึ่ ง เป น การละเลยต อหน า ที่ ข องตนที่ ต อ งกระทํ า ในการ
จัดบริการสาธารณะแกประชาชนในเขตพื้นที่ของตน โดยไดมีคําวินิจฉัยของศาลปกครองสูงสุดในเรื่องทํานองเดียวกัน
นี้มาตลอดวาเปนการละเลยตอหนาที่ตามกฎหมาย นอกจากจะเปนการละเลยตอหนาที่แลวยังเปนความผิดตาม
กฎหมายอาญาอีกดวย ผูบริหารทองถิ่นเปนบุคคลซึ่งบัญญัติไวในกฎหมายวาดวยการสาธารณสุขวาเปนเจาพนักงาน
ทองถิ่น จึงเปนเจาพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา ดังนั้น การปฏิบัติหรือละเวนการปฏิบัติหนาที่โดยมิช อบ
เพื่อใหเกิดความเสียหายแกผูหนึ่งผูใด จะมีโทษตามที่กําหนดไวในประมวลกฎหมายอาญาและในการละเลยตอหนาที่
เปนการกระทําที่ผิดตอกฎหมาย หากกอใหเกิดความเสียหายแกผูหนึ่งผูใดยอมเปนความผิดทางแพงดวย ซึ่งศาล
ปกครองสูงสุดไดมีคําวินิจฉัยวาตองชดใชคาสินไหมทดแทนแกผูเสียหาย นอกจากนี้ ผูบริหารทองถิ่นหากตองโทษ
กระทําความผิดอาญาและมีคําพิพากษาถึงที่สุดใหจําคุก อาจทําใหพนจากตําแหนงตามกฎหมายวาดวยการจัดตั้ง
องคกรปกครองสวนทองถิ่นอีกดวย
6. แนวทางในการแกไขปญหามูลฝอยในจังหวัดอางทอง เห็นควรแกไขเพิ่มเติมกฎหมายที่เกี่ยวของ ดังนี้
6.1 กฎหมายที่เกี่ยวของกับการจัดการมูลฝอยที่ใหอํานาจกําหนดคาธรรมเนียมใบอนุญาตและคาธรรมเนียม
บริการมีสองฉบับที่สําคัญ คือ พระราชบัญญัติรักษาความสะอาดและความเปนระเบียบเรียบรอยของบานเมื อง
พ.ศ. 2535 และพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535 ซึ่งกฎหมายทั้งสองฉบับตางก็กําหนดไวในลักษณะของ
อัตราขั้นสูงสุดที่จ ะไปออกกฎกระทรวงและขอกําหนดของท องถิ่นในลําดับตอไป แตเนื่องจากปจจุบันกระทรวง
สาธารณสุขไดออกกฎกระทรวงกําหนดอัตราคาธรรมเนีย มการออกใบอนุญาต หนังสือรับรองการแจง และการ

14
พรพรรณ ไมสุพร และ วาสนา ปะสังคานนท, “หมวด 3 การจัดการสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย,” สืบคนเมื่อวันที่ 14
กันยายน 2560, จาก http://laws.anamai.moph.go.th/download/books/ 0002/BlueChapter3-2.pdf.
636 Thailand Journal of legal Study

ใหบริการในการจัดการสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอย พ.ศ. 2559 ใชบังคับแลว ซึ่งกรณีนี้อาจทําใหเกิดป ญหาเมื่อองคกร


ปกครองสวนทองถิ่นจะออกขอบัญญัติทองถิ่นไดวาตองถือตามกฎกระทรวงที่ออกตามกฎหมายฉบับใด
ดังนั้น ในชั้นการออกกฎกระทรวงและขอบัญญัติทองถิ่น กระทรวงมหาดไทยตองออกกฎกระทรวงกําหนด
อัตราคาธรรมเนียมใบอนุญาตและคาธรรมเนียมบริการใหสอดคลองและไมเกินไปกวาอัตราที่กฎกระทรวงสาธารณสุข
กําหนด ตองกําหนดแนวปฏิบัติที่ชัดเจนใหแกองคกรปกครองสวนทองถิ่นในการออกขอบัญญัติทองถิ่น โดยจัดทํา
ตัวอยางหรือแบบมาตรฐานของขอบัญญัติทองถิ่นเผยแพรใหแกองคกรปกครองสวนทองถิ่นใชเปนแนวทางและกําชับ
ใหมีการดําเนินการอยางเคร งครัด และองคกรปกครองสวนทองถิ่นตองอางบทบัญญัติอาศัยอํานาจตามกฎหมาย
โดยหามออกขอบัญญัติทองถิ่นในเรื่องคาธรรมเนียมซ้ําซอนกันเพราะเหตุมีกฎหมายสองฉบับใหอํานาจไว
6.2 ในทองถิ่นแตละแหงจะมีปญหาและอุปสรรคที่แตกตางกันไป บางแหงองคการบริหารปกครองส วน
ทองถิ่นละเลยมิไดใหความสําคัญ บางแหงมีขอบัญญัติทองถิ่นที่มีอายุกวา 10 ปซึ่งไมทันสมัย ในขณะที่บางแหงไมมี
อุปสรรคปญหาในการบังคับใชขอบัญญัติทองถิ่นโดยตรงแตมีปญหาดานการบริหารจัดการ เชน งบประมาณในการ
จัดการมูลฝอยมีไมเพียงพอ การขาดพื้นที่ในการจั ดการขาดเครื่องมือ ระบบการจัดการขาดประสิทธิภาพ บางแหง
ขาดแคลนบุคลากรที่มีความรูในการจัดการมูลฝอยหรือประชากรในพื้นที่ตอตานตอการจัดการระบบ กลาวคือ องคกร
ปกครองสวนทองถิ่นมิไดดําเนินการจัดการรวมกันกับชุมชน จึงเปนสาเหตุที่ทําใหประชาชนทําการตอตานเพรา ะ
ประชาชนขาดการมีสวนรวมในการจัดการ รวมถึงการที่ไมมีระเบียบปฏิบัติการจัดการที่ชัดเจน
ดังนั้น องคกรปกครองสวนทองถิ่นในจังหวัดอางทองควรมีความมุงมั่นที่จะพัฒนางานดานสาธารณสุขอยาง
จริงจังโดยอาศัยการออกขอบัญญัติทองถิ่น ผูบริหารทองถิ่น ผูอํานวยการ เจาหนาที่ที่เกี่ยวของตองมีความพรอมที่จะ
ผลักดันใหมีการตราขอบัญญัติทองถิ่นเพื่อแกปญหาดานสุขลักษณะและสิ่งแวดลอมในชุมชน ผูเขียนเห็นวาควรแกไข
เพิ่มเติมกฎหมายที่เกี่ยวของในการจัดการมูลฝอยในจังหวัดอางทอง กลาวคือ ใหองคกรปกครองสวนทองถิ่นทุกแหง
ออกเทศบัญญัติหรือขอบัญญัติทองถิ่นในเรื่องการจัดการมูลฝอยใหสอดคลองกับกฎหมายหลักที่ใชบังคับในปจจุบัน
ดังนี้ โดยใหองคกรปกครองสวนทองถิ่นทุกแหงในจังหวัดอางทองออกขอบัญญัติทองถิ่นหรือเทศบัญญัติ เรื่อง การ
จัดการมูลฝอย ในกรณีที่เปนเทศบาล ใหตราเทศบัญญัติ วาดวยการจัดการมูลฝอย โดยอาศัยอํานาจตามความใน
มาตรา 60 และมาตรา 62 แหงพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 แกไขเพิ่มเติมถึง (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2552 ประกอบ
กับความในมาตรา 34/1 วรรคเจ็ด ประกอบมาตรา 34/3(1) มาตรา 34/3(2) และมาตรา 34/3(5) แหงพระราชบัญญัติ
รักษาความสะอาดและความเปนระเบียบเรียบรอยของบานเมืองพ.ศ. 2535 ซึ่งแกไขเพิ่มเติมถึง (ฉบับที่ 2) พ.ศ.
2560 ที่กําหนดใหราชการสวนทองถิ่นมีหนาที่ออกขอกําหนดของทองถิ่นกําหนดวิธีการคัดแยกเก็บ ขน และกําจัดมูล
ฝอยและกิจ การอื่ น ใดที่ จํา เปนเกี่ย วขอ งกับการจั ดการมู ลฝอยเพื่ อให ถูกต อ งด ว ยสุขลั กษณะ โดยให เป น ไปตาม
หลักเกณฑ วิธีการ และเงื่อนไขที่กําหนดในประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการจัดการมูลฝอยพ.ศ. 2560
กรณีการออกขอบัญญัติองคการบริหารสวนตําบล เรื่อง การจัดการมูลฝอย พ.ศ. .... ใหอาศัยอํานาจตาม
ความในมาตรา 71 แหงพระราชบัญญัติสภาตํา บลและองคการบริหารสวนตําบล พ.ศ. 2537 และที่แกไขเพิ่มเติมถึง
(ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2552
6.3 ในเรื่องการเก็บและขนมูลฝอยตามสวนที่ 2 ของประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การจัดการมูลฝอย
พ.ศ. 2560 ไดมีการกําหนดหลักเกณฑการเก็บและขนมูลฝอยเพื่อเปนแนวทางใหทองถิ่นออกขอ บัญญัติทองถิ่นที่
คอนขางครบถวนแลว แตยังขาดในเรื่องการคัด แยกมูลฝอยสํา หรับ ขั้นตอนของการขนส งที่จะต องมีการกํา หนด
หลักเกณฑที่ชัดเจนยิ่งขึ้น ผูเขียนเห็นวาควรเพิ่มมาตรการคัดแยกมูลฝอยในขั้นตอนของการขนสงมูลฝอยทั่วไปไวใน
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การจัดการมูลฝอย พ.ศ. 2560 เพื่อใหการดําเนินการขนมูลฝอยทั่วไปเปนไปตาม
หลักเกณฑและสุขลักษณะยิ่งขึ้น
7. แนวทางการประสานงาน
ผลของการสํารวจขอมูลพบวายังมีองคกรปกครองสวนทองถิ่นหลายแหงในจังหวัดอางทองไมดําเนินการเก็บ
ขนไปกําจัดหรือประชาชนดําเนินการกําจัดมูลฝอยเองในพื้นที่ จึงเปนอุปสรรคที่ทําใหไมสามารถจัดการปญหามูลฝอย
ในจังหวัดอางทองไดอยางมีประสิทธิภาพ ผูเขียนมีความเห็นวาหนวยงานที่รับผิดชอบมีกฎหมายแตละฉบับใหอํานาจไว
วารสารนิติศึกษาไทย 637

แตไมมีการประสานความรวมมือระหวางหนวยงานที่เกี่ยวของ จึงทําใหการจัดการปญหามูลฝอยในจังหวั ดอางทอง


ไมไดดําเนินการไปในทิศทางเดียวกัน ซึ่งเปนสวนสําคัญที่ทําใหปญหามูลฝอยที่เกิดขึ้นในจังหวัดอางทองไมสามารถ
จัดการไดอยางมีประสิทธิภาพเทาที่ควร ดังนั้น เพื่อใหการจัดการมูลฝอยขององคกรปกครองสวนทองถิ่นในจังหวัด
อางทองดําเนินการไดตามวัตถุประสงคในด านการเชื่อมโยงระหวางจังหวัดกับองคกรปกครองสวนทองถิ่นหรือองคกร
ปกครองสวนทองถิ่นดวยกันเอง ควรมีการเตรียมความพรอมดานเจาหนาที่ประสานงาน ซึ่งอาจจะตั้งในรูปของ
คณะกรรมการประสานงานและมี ก ารติ ด ตามประเมิ น ผลเพื่ อ ให ก ารปฏิ บั ติ ห น า ที่ เ ป น ไปด ว ยความเรี ย บร อ ย
มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล อีกทั้งยังเปนการสงเสริมใหเกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรูและถายทอดประสบการณ
อันจะนํามาซึ่งประโยชนตอภาครัฐในองคกรปกครองสวนทองถิ่นใหสามารถดําเนินงานไดอยางมีประสิทธิภาพและ
สนองความตองการของประชาชนในทองถิ่นไดอยางทั่วถึง
8. มาตรการในการสงเสริมและสนับสนุนใหประชาชนมีสวนรวมในการบริหารจัดการมูลฝอย
ประชาชนในพื้นทีห่ ลายแหงในจังหวัดอางทองมองวาเรื่องมูลฝอยเปนเรื่องของรัฐ ขาดความรูและจิตสํานึกใน
การจัดการมูลฝอย ผูเขียนมีความเห็นวาควรเริ่มจากการสรางจิตสํานึกในชุม ชน สรางวัฒนธรรมการคัดแยกมูลฝอย
และนํากลับมาใชประโยชนในชุมชนตาง ๆ โดยใหทําการประชาสัมพันธอยางตอเนื่องในเรื่องการจัดการดานมูลฝอย
และกิจกรรมที่ตองทํารวมกับคนในชุมชน เชน จัดประกวดความสะอาดในชุมชน และมีการรณรงคประชาสัมพันธให
ประชาชนคัดแยกมูลฝอยกอนเปนอันดับแรก ซึ่งเรื่องนี้เปนสิ่งที่ยังขาดความรวมมือจากประชาชนอยู ดังนั้น อาจจัดทํา
ในรูปแบบของเอกสารเผยแพร และปลูกฝงทัศนคติที่ถูกตองใหแ กเยาวชนและประชาชนในพื้นที่โดยนําแนวคิด
เกี่ยวกับการมีสวนรวมของประชาชนมาใช เริ่มจากใหขอมูลแกประชาชนเกี่ยวกับการบริหารจัดการเกี่ยวกับมูลฝอยใน
ชุมชนในภาพรวม ขอดีของการลดและการคัดแยกมูลฝอยในชุมชนและใหประชาชนกระทําดวยตนเองอยางแทจริง
โดยเฉพาะกระบวนการวางแผน การไดแสดงความคิดเห็น การตัดสินใจ รวมทั้งการกําหนดตัวชี้วัดในการประเมินผล
เกี่ยวกับเรื่องดังกลาวแลวใหทางองคกรปกครองสวนทองถิ่นในจังหวัดอางทองนําความคิดเห็นที่ไดไปประกอบการ
พิจารณากําหนดนโยบายและการตัดสินใจเกี่ยวกับการบริหารจัดการมูลฝอยในทองถิ่น
สําหรับการจัดการมูลฝอยในจังหวัดอางทองใหมีประสิทธิภาพนั้น ทุกภาคสวนทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และ
ประชาชนในพื้นที่จะตองรวมมือกั นในการลดและคัดแยกมูลฝอยตั้งแตตนทางและนําไปกําจัดใหถูกวิธีตามประเภท
ของมูลฝอยนั้น ๆ สําหรับแนวทางการดําเนินการขอใหนํา กรณีศึ กษาขององค กรปกครองส วนทองถิ่น ในจั ง หวั ด
อางทองที่ประสบความสําเร็จ(Best Practice) มาเปนแบบอยางใหแกองคกรปกครองสวนทองถิ่นแหงอื่น ๆ ในจังหวัด
อางทองดําเนินการจัดการในเรื่องมูลฝอยไดอยางมีประสิทธิภาพ
ทั้ ง นี้ องค กรปกครองส ว นท อ งถิ่น ในจั ง หวั ด อ า งทองจะต อ งกระตุ น ให ป ระชาชนของตนรับ ผิ ด ชอบต อ
สิ่งแวดลอมอยูเสมอ โดยจัดใหมีการอบรมและใหขาวสารเกี่ยวกับสิ่งแวดลอมเพื่อใหชุมชนทองถิ่นรูวิธี คัดแยกมูลฝอย
และนําไปกําจัดไดอยางถูกหลักวิชาการ และไดตระหนักรูถึงความสําคัญของสิ่งแวดลอม การไมทําลายสิ่งแวดลอมและ
ชวยกันลดปริมาณมูลฝอย ซึ่งจะเปนการสรางจิตสํานึกใหกับคนรุนหลังในการดูแลรักษาสิ่งแวดลอมใหยั่งยืนตลอดไป
638 Thailand Journal of legal Study

บรรณานุกรม

หนังสือ

สํานักงานสงเสริมการปกครองทองถิ่นจังหวัดอางทอง. กลุมงานสงเสริมและพัฒนาทองถิ่น . ขอมูลการกําจัดขยะ


มูลฝอยป 2559 จังหวัดอางทอง. อางทอง : กลุมงานสงเสริมและพัฒนาทองถิ่นสํานักงานสงเสริมการ
ปกครองทองถิ่นจังหวัดอางทอง, 2559.
เทศบาลเมืองอางทอง. การจัดการขยะมูลฝอยของเทศบาลเมืองอางทอง. อางทอง : เทศบาลเมืองอางทอง, 2559.

สื่ออิเล็กทรอนิกส

กนกศักดิ์ แสงตระการ. “อางทอง เทศบาลเมืองอางทอง และองคการบริหารสวนตําบลเทวราชรวมกับบริษัท สยาม


เวสท เพาเวอรจํากัดจัด โครงการบริหารขยะมูลฝอยชุมชนโดยการแปรรูป .” http://www.tnews.co.
th/contents/359077, 17 ตุลาคม 2560.
กรมควบคุมมลพิษ. “คูมือการจัดการขยะมูลฝอยและเทคโนโลยีการแปรรูปขยะมูลฝอยใหเปนพลังงานสําหรับทองถิ่น.”
http://infofile.pcd.go.th/waste/WTEmanual.pdf?CFID=1741445&CFTOKEN=14966011, 18
กุมภาพันธ 2561.
เทศบาลเมืองอางทอง. “จังหวัดอางทองระดมความคิดผูบริหารและปลัดองคกรปกครองสวนทองถิ่นในจังหวัดอางทอง
เพื่อรวมบูรณาการบริหารจัดการขยะในจังหวัดอางทอง.” http://www.prd.go.th/ewt_news.php?
nid=95926, 12 กรกฎาคม 2561.
พรพรรณ ไมสุพร และ วาสนา ปะสังคานนท. “หมวด 3 การจัดการสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย.” http://laws.anamai
.moph.go.th/download/books/ 0002/Blue_Chapter3-2.pdf, 14 กันยายน 2560.
สํานักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดลอมจังหวัดอางทอง. “รายงานประจําป 2559.”http://angthong.mnre
.go.th/ewt_dl_link.php?nid=1392, 15 สิงหาคม 2559.
สํานักงานจังหวัดอางทอง. “แผนพัฒนาจังหวัดอางทอง พ.ศ. 2561-2564.” http://www.angThong.go.th/plan
project/plan60.pdf, 1 เมษายน 2561.
สวนขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล สํานักจัดการกากของเสียและสารอันตราย. “รายงานสถานการณขยะมูลฝอยชุมชนของ
ป ร ะ เท ศ ไ ท ย ป พ .ศ . 2559. ” http://info file.pcd.go.th/waste/wst haz_annual59.pdf, 13
เมษายน 2561.
สวนขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล สํานักจัดการกากของเสียและสารอันตราย. “รายงานสถานการณขยะมูลฝอยชุมชนของ
ประเทศไทยป พ.ศ. 2559.” http://infofile.pcd.go.th/waste/ wsthaz_annual59.pdf, 13 เมษายน
2561.
วารสารนิติศึกษาไทย 639

มาตรการทางกฎหมายในการควบคุมและจัดการน้ําเสียและกลิ่นจากกิจการทาเทียบเรือประมง
สะพานปลา และกิจการแพปลา
THAILAND’S LEGAL MEASURES ON CONTROL AND MANAGEMENT OF WASTE
WATER AND ODOR FROM FISHING PORT, FISH WHOLESALE MARKET AND FISH
AGENT ACTIVITIES

กัญฑรัตน จิระประเสริฐสุข1
Kantarat Jiraprasertsuk
บทคัดยอ
ในปจจุบันกิจการทาเทียบเรือประมง สะพานปลา และกิจการแพปลาถือเปนอีกกิจการที่ไดรับการพัฒนาขึ้น
พรอมกับการเจริญเติบโตทางดานเศรษฐกิจของประเทศ อยางไรก็ตาม แมวาทาเทียบเรือประมง สะพานปลา และ
กิจการแพปลานั้น จะเปนแหลงสรางรายไดสําคัญทางหนึ่งของประเทศ แตกิจกรรมตาง ๆ ที่เกิดขึ้น ณ ทาเทียบ
เรือประมง สะพานปลา และกิจการแพปลาในแตละวันนั้น ลวนสงผลกระทบตอสิ่งแวดลอมในพื้นที่ทั้งสิ้น ไมวาเปนจะ
มลพิษทางน้ําหรือมลภาวะทางกลิ่น ดังนั้น จึงไดมีการกํา หนดใหทาเทียบเรือประมง สะพานปลา และกิจการแพปลา
เปนแหลงกําเนิดมลพิษที่จะตองถูกควบคุมการระบายน้ําเสียหรือของเสียออกสูสิ่งแวดลอม แตอยางไรก็ดีมาตรการ
ทางกฎหมายในการควบคุมและจัดการน้ําเสียและกลิ่นนั้นยังคงมีชองวางบางประการ และไมสามารถใชไดอยางมี
ประสิทธิภาพตามเจตนารมณของกฎหมาย จึงเห็นควรใหมีการแกไขปรับปรุงมาตรการทางกฎหมายรวมถึงภารกิจและ
หนาที่ของหนวยงานที่เกี่ยวของ เพื่อชวยบรรเทาและเยียวยาปญหาสิ่งแวดลอมที่กําลังเผชิญพรอมทั้งสามารถจัดการ
กับทรัพยากรธรรมชาติใหพัฒนาควบคูกับเศรษฐกิจไดอยางยั่งยืนอีกดวย

คําสําคัญ
ทาเทียบเรือประมง, กิจการแพปลา, น้ําเสีย

ABSTRACT
In the present, fishing ports, fish wholesale markets and fish agent activities are developing,
along with the growth of economic, and may be considered as center of fish trading either import
or export from producer to consumer. However, activities relating to fishing ports, fish wholesale
markets and fish agent activities, as important sources of revenue of country, affect environment in
the area, including aquatic and odor pollution. Considering their impacts on environment, fishing
ports, fish wholesale markets and fish agent activities are determined as source of pollution which
are to be controlled of waste discharging, however, there’re loopholes in the current legal measures
regarding control and management of waste water from fishing port, fish wholesale market and fish
agent activities, the author suggest amendment of law and authority of relevant officials in order to
elevate the standard of fisheries industry onto international stage, and to sustainably conserve and
manage the country national resource along with economic development.


นั ก ศึ ก ษาปริ ญ ญาโท หลั ก สู ต รนิ ติ ศ าสตรมหาบั ณ ฑิ ต สาขากฎหมายทรั พ ยากรธรรมชาติ แ ละสิ่ ง แวดล อ ม
คณะนิติศาสตร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร : pp.kantarat@gmail.com
Graduate Student of Master of Laws Program in Natural Resources and Environmental Law, Faculty
of Law, Thammasat University. : pp.kantarat@gmail.com
640 Thailand Journal of legal Study

Keywords
Fishing port, Fish agent activities, Waste water
วารสารนิติศึกษาไทย 641

บทนํา
ในยุคแหงการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ กิจการทาเทียบเรือประมง สะพานปลา และแพปลานับเปน
กิจการที่มีความสําคัญเปนอยางมากตอระบบเศรษฐกิจ โดยจากขอมูลสถิติของกรมเจาทาพบวาในป 2552 มีจํานวน
ทาเทียบเรือประมงทั้งสิ้น 735 แหง โดยแบงเปนทาเทียบเรือประมงฯ ในการกํากับดูแลขององคการสะพานปลา 18
แหง หนวยงานอื่น ๆ อีก 27 แหง และที่เหลือเปนของเอกชน 1 โดยทาเทียบเรือประมง สะพานปลา และกิจการแพ
ปลานั้น นับเปนศูนยรวมการคาทางเศรษฐกิจของประเทศ อันมีวัตถุประสงคเพื่อรวบรวมสัตวน้ําจากผูผลิต เชน
ชาวประมง เกษตรกร ผูเพาะเลี้ยงสัตวน้ํา และสงตอไปใหแกผูบริโภค จากสถิติกรมประมงเมื่อป 2550 พบวามีการ
คาขายสัตวน้ําผานทาเทียบเรือประมงฯ สําคัญ ๆ คิดเปนปริมาณ 1,327,019 ตันตอป2 สามารถสรางรายไดใหแก
ประเทศมากถึงปละกวา 200,000 ลานบาท3 อยางไรก็ดีกิจการดังกลาวจะมุงพัฒ นาเพียงดานเดียวยอมไมได เพราะ
หากกิจการนั้นไมไดรับการจัดการหรือการควบคุมที่ดีแลว กิจการทาเทียบเรือประมง สะพานปลา และแพปลานั้น ก็
ยอมเปนแหลงกําเนิดมลพิษที่สงผลกระทบตอสิ่งแวดลอมซึ่งสงผลลบตอประเทศชาติไดเชนเดียวกัน ทั้งนี้ เนื่องจาก
กระบวนการตาง ๆ ที่เกิดขึ้นในบริเวณทาเทียบเรือประมงฯ อันเริ่มตั้งแตขั้นตอนการขนถายสัตวน้ําจากเรือประมง
หรือผูเลี้ยงสัตวน้ํา การลางทําความสะอาดสัตวน้ํา การคัดแยกสัตวน้ําตามชนิดและขนาดที่ตลาดตองการ ไปจนถึงการ
ทําความสะอาดทาเทียบเรือประมง สะพานปลา และแพปลา 4 โดยกิจกรรมนั้น ๆ ยอมกอใหเกิดของเสียจําพวกเศษ
ชิ้นสวนสัตวน้ําและน้ําเสียเปนจํานวนมาก ซึ่งเมื่อน้ําเสียและเศษชิ้นสวนสัตวเหลานี้ถูกปลอยลงสูแหลงน้ําธรรมชาติ
โดยไมผานการบําบัดหรือคัดกรองอยางถูกวิธีก็ยอมสงผลใหแหลงรองรับน้ําเหลานี้มีคุณภาพที่เสื่อมโทรมในที่สุด โดย
จากการสํารวจคุณภาพน้ําทะเลทั่วประเทศของกรมควบคุมมลพิษ พบวา คุณภาพน้ําในบริเวณที่มีทาเทียบเรือประมง
ฯ หนาแนน เชน บริเวณปากน้ําระนอง จังหวัดระนอง อยูในสภาพเสื่อมโทรมมีปริมาณออกซิเจนละลายน้ําต่ํา และมี
ปริมาณสารอินทรียสูง 5 นอกจากนี้น้ําที่เนาเสียและเศษซากสัตวน้ํา ที่เกิดการหมักหมมบริเวณทาเทียบเรือประมง
สะพานปลา และแพปลานั้น ยังเปนปจจัยที่กอใหเกิดกลิ่นเหม็นซึ่งสงผลกระทบรบกวนตอผูคนที่อาศัยในบริเวณ
ใกลเคียงอีกดวย
นอกจากผลกระทบที่กลาวมาขางตนแลว น้ําเสียที่ไมไดรับการบําบัดอยางถูกวิธีจากกิจกรรมนั้นยังคงสง ผล
กระทบตอระบบเศรษฐกิจการสงออกของประเทศอีกดวย กลาวคือ การสงออกสินคาสัตวน้ําที่ไมไดมาตรฐานตาม
สุขอนามัยและเงื่อนไขของการตรวจสอบและการรับรองแหลงที่มาของสินคาประมงตามหลักเกณฑวาดวยใบรับรอง
การจับสัตวน้ํา อันมีสาเหตุจากการใชน้ําเสียจากแหลงน้ําเหลานั้ นในการลางทําความสะอาดสัตวน้ําหรือลางทําความ
สะอาดทาเทียบเรือประมง สะพานปลา และแพปลาจึงทําใหสัตวน้ําบริเวณทาเทียบเรือ สะพานปลา แลแพปลามี
คุณภาพต่ํา เนื่องจากถูกปนเปอนจากน้ําที่ไมสะอาด เปนเหตุใหประเทศคูคา เชน ตลาดสินคาสหภาพยุโรปปฏิเสธการ
นําเขาสินคาประมงจากไทย สงผลใหยอดรายไดจากกิจการดังกลาวตกต่ําลงอยางเห็นไดชัด เพราะฉะนั้น เมื่อประเทศ
ไทยซึ่งมีสถานะเปนหนึ่งในประเทศผูสงออกสินคาประมงไปยังสหภาพยุโรป สินคาประมงของไทยนั้นจึงตองตกอยู
ภายใตบังคับของกฎระเบียบ IUU (Council Regulation no 1005/2008 establishing a Community system to
prevent, deter and eliminate illegal, unreported and unregulated fishing) ซึ่งเมื่อป 2560คณะกรรมาธิการ

1
กรมควบคุมมลพิษ, แผนปฏิบัติการการจัดการน้ําทิ้งจากทาเทียบเรือประมง สะพานปลา และกิจการแพปลา ป
2556-2560, (กรุงเทพมหานคร : สวนแหลงน้ําทะเล สํานักจัดการคุณภาพน้ํา, 2557), น.8.
2
นฤมล สีปานมั่น, “แผนปฏิบัติการการจัดการน้ําทิ้งจากท าเทียบเรือประมง สะพานปลา และกิจการแพปลา ป
2556-2560”, สืบคนเมื่อวันที่ 29 ตุลาคม2560, จาก http://infofile.pcd.go.th/water/plan_habor57.pdf?CFID=118
4086&CFTOKEN=46659483.
3
องค ก ารสะพานปลา กระทรวงเกษตรและสหกรณ, “รายงานประจําป 2557”, จั ด โดยองค การสะพานปลา
กรุงเทพมหานคร, 2557 : น.15.
4
กรมควบคุมมลพิษ, อางแลว เชิงอรรถที่ 1, น.6.
5
กรมควบคุมมลพิษ, เพิ่งอาง, น.27.
642 Thailand Journal of legal Study

ยุโรปไดประกาศสถานการณการดําเนินงานของประเทศไทยเปนประเทศที่มีแนวโนมไมใหความรวมมือตอกฎเกณฑ
IUU หรือการประกาศใหใบเหลืองแกประเทศไทยนั่นเอง6 เพราะฉะนั้น แมปญหาน้ําเสียจะไมใชสาเหตุหลักที่สหภาพ
ยุโรปใหใบเหลืองดั งกลาว แตทวาปญหาน้ําเสียยอมเปนอี กหนึ่งสาเหตุที่ อาจสงผลใหประเทศสหภาพยุโ รปและ
ประเทศคูคาอื่น ๆ ปฏิเสธการนําเขาสินคาประมงจากไทยที่ไมไดมาตรฐานและฝาฝนกฎเกณฑดังกลาวไดเชนกัน
ด ว ยป ญ หาสิ่ ง แวดล อ ม และผลกระทบที่ เ กิ ด ขึ้ น นานั ป การที่ เ กิ ด จากการกิ จ การท า เที ย บเรื อ ประมง
สะพานปลา และแพปลา ตามที่กลาวมาขางตนนั้น กรมควบคุมมลพิษจึงไดเล็งเห็นความสําคัญ และไดบัญญัติใหทา
เทียบเรือประมง สะพานปลา และกิจการแพปลาทุกขนาดเปนแหลงกําเนิดมลพิษ โดยอาศัยอํานาจตามมาตรา 69
พระราชบัญญัติสงเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดลอมแหงชาติ พ.ศ.2535 ซึ่งจะตองถูกควบคุมการปลอยน้ําเสีย หรือ
ของเสียใหเปนไปตามหลักเกณฑตามประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดลอม เรื่อง กําหนดมาตรฐาน
ควบคุมการระบายน้ําทิ้งจากทาเทียบเรือประมง สะพานปลา และกิจการแพปลา กอนปลอยลงสูแหลงน้ําสาธารณะ
หรือออกสูสิ่งแวดลอม นอกจากนี้กระทรวงสาธารณสุขยังไดกําหนดใหทาเทียบเรือประมง สะพานปลา และกิจการแพ
ปลา เปนกิจการที่เปนอันตรายตอสุขภาพ เพื่อเปนการกําหนดระเบียบและมาตรการแนวทางในการปฏิบัติในการ
จัดการและควบคุมของกิจการดังกลาว ใหสงผลกระทบตอสิ่งแวดลอมนอยที่สุด
จึ ง เห็ น ไดว า หน วยงานภาครัฐลวนให ความสําคั ญแกการปล อยน้ําเสีย และของเสียจากกิจ การทาเทียบ
เรือประมง สะพานปลา และแพปลาอยูไมนอย แตอยางไรก็ดี จากการศึกษาพบวาปญหาน้ําเนาเสีย หรือคุณภาพ
แหลงน้ําสาธารณะยังคงเสื่อมโทรมลง และปญหามลภาวะทางกลิ่น ยังคงพบเห็นและประสบอยูทุกวัน และมีแนวโนม
ที่จะทวีความรุนแรงมากขึ้นในทุกขณะ จึงสะทอนใหเห็นวามาตรการทางกฎหมายตาง ๆ ในการควบคุมและจัดการน้ํา
เสียและกลิ่นนั้นยังคงไมสามารถแกไขปญหาดังกลาวไดอยางมีประสิทธิภาพ
จากที่กลาวมาขางตน ผูเขียนจึงไดศึกษาและวิเคราะหถึงปญหาของมาตรการทางกฎหมายในการควบคุม
และจัดการน้ําเสียและกลิ่นจากกิจการทาเทียบเรือประมง สะพานปลา และแพปลา อันมีรายละเอียดดังตอไปนี้
1. ปญหามาตรการทางกฎหมายในการควบคุมการประกอบกิจการทาเทียบเรือประมง สะพานปลา และ
กิจการแพปลา
1.1 ปญหาการไมจัดทํารายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดลอม
ตามที่พระราชบัญญัติสงเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดลอมแหงชาติ พ.ศ.2535 มาตรา 48 รัฐมนตรีวาการ
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดลอม โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการสิ่งแวดลอมไดบัญญัติใหประเภท
และขนาดของโครงการทาเทียบเรือประมง สะพานปลา และแพปลาของสวนราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือเอกชน ที่มี
ขนาดรองรับเรือตั้งแต 500 ตันกรอส หรือที่มีความยาวหนาทา ตั้งแต 100 เมตรขึ้นไป หรือที่มีพื้นที่ทาเทียบเรือ รวม
1,000 ตารางเมตรขึ้นไปที่มีผลตอสิ่งแวดลอมจะตองจัดทํารายงานเพื่อเสนอขอความเห็นชอบตามมาตรา 49 และ
มาตรา 50 ตามประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดลอม เรื่อง กําหนดประเภทและขนาดของโครงการ
หรือกิจการซึ่งตองจัดทํารายงาน การวิเคราะหผลกระทบสิ่งแวดลอม และหลักเกณฑ วิ ธีการ ระเบียบปฏิบัติ และ
แนวทางการจัดทํารายงานการวิเคราะหผลกระทบสิ่งแวดลอม แตทั้งนี้ ในทางปฏิบัติแลวทาเทียบเรือที่มีขนาดใหญ
ดังกลาวมักมีการเริ่มดําเนินการมากอนที่จะมีการออกประกาศดังกลาวแลวเกือบทั้งสิ้น ดังนั้น ผูประกอบกิจการทั้ง
ภาครัฐและภาคเอกชนที่ ดําเนินกิจการประเภททาเทียบเรือประมง สะพานปลา และแพปลา จึงไมไดมีการจัดทํา
รายงานประเมินผลกระทบสิ่งแวดลอมตามที่กฎหมายกําหนดไว ทําใหเกิดการหลีกเลี่ยงการสรางระบบบําบัดน้ําเสีย
หรือหลีกเลี่ยงการนําสงน้ําเสียอยางถูกวิธี ซึ่งทาเทียบเรือฯ ขนาดใหญเหลานี้ยอมมีการดําเนินกิจกรรมตาง ๆ เปน
จํานวนมาก ยอมสงผลใหมีการปลอยของเสียทั้งน้ําเสียและของเสียตาง ๆ สูธรรมชาติโดยไมผานการบําบัดอยางถูกวิธี
และเหมาะสมเปนจํานวนมากเชนกัน นับเปนตนเหตุสําคัญในการเกิดปญหาน้ําเนาเสียและสงกลิ่นเหม็น

6
นฤตรา ประเสริฐศิลป, “ปญหาและผลกระทบขามแดนจากการใชมาตรการของสหภาพยุโรปเกี่ยวกับการตอตาน
การทําประมงผิดกฎหมาย ขาดการรายงานและไรการควบคุมกั บความสอดคลองกับมาตรา XX GATT 1944”, (วิทยานิพนธ
มหาบัณฑิต คณะนิติศาสตร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร, 2557), น.2-3.
วารสารนิติศึกษาไทย 643

ดวยเหตุนี้ เพื่อใหเกิดประสิทธิภาพในการแกไขปญหากรณีการกอสรางทาเทียบเรือ สะพานปลา และแพปลา


ขนาดใหญที่ยังไมไดจัดทํารายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดลอม เนื่องจากมีการกอสราง และขออนุญาตกอสราง
ไปกอนที่จะมีการประกาศกฎหมายดังกลาว จึงสมควรใหมีการบัญญัติกฎกระทรวง ภายใตอํานาจมาตรา 84 ประกอบ
มาตรา 7 แหงพระราชกําหนดการประมง พ.ศ.2558 เพื่อกําหนดหลักเกณฑ วิธีการ และเงื่อนไขในการกํากับดูแล
สําหรับกิจการทาเทียบเรือประมง สะพานปลา และแพปลาที่มีขนาดตามที่ประกาศกระทรวงกําหนดใหจัดทํารายงาน
การประเมินผลกระทบสิ่งแวดลอม แตยังไมไดจัดทํารายงานการประเมิน ผลกระทบสิ่งแวดลอมไว เพื่อใหเจาหนาที่มี
อํานาจตามกฎหมายสามารถพิจารณาการตอใบอนุญาตประกอบกิจการทาเทียบเรือประมง สะพานปลา และแพปลา
สามารถตรวจสอบถึงการดําเนินการที่อาจสงผลกระทบตอสิ่งแวดลอม ภายใตระบบการอนุญาต โดยใชหลักเกณฑ
มาตรการตามที่ควรจะเสนอไวในรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดลอมกําหนดเปนเงื่อนไขในการสั่งอนุญาตหรือ
ต อใบอนุ ญ าตด ว ย ซึ่ ง หากเจ า หน า ที่ เห็ น ว า ผู ป ระกอบกิจ การนั้ น ไม ป ฏิบั ติ ต ามหลั กเกณฑ หรือเห็ น ว า ท า เที ย บ
เรือประมง สะพานปลา และแพปลานั้น นาจะสงผลกระทบตอสิ่งแวดลอม เชน ไมมีระบบบําบัดน้ําเสี ย หรือไมมีการ
จัดการน้ําเสียจากกิจกรรมที่เหมาะสม ใหเจาหนาที่ผูมีอํานาจสามารถสั่งใหแกไข หรือเพิกถอนใบอนุญาตการประกอบ
กิจการไดตามความเหมาะสม จึงถือเปนมาตรการที่ชวยในการติดตามและตรวจสอบกิจการทา เทียบเรือประมง
สะพานปลา และแพปลาที่มีขนาดใหญ เพื่อปองกันและเยียวยาการเกิดมลพิษตาง ๆ ที่สงผลกระทบตอสิ่งแวดลอมได
1.2 ปญหาการควบคุมกิจการทาเทียบเรือประมง สะพานปลา และแพปลา อันเปนกิจการที่เปนอันตรายตอ
สุขภาพและตองถูกควบคุมภายในทองถิ่น ภายใตพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535
สําหรับทาเทียบเรือประมง สะพานปลา และกิจการแพปลา รัฐมนตรีวาการกระทรวงสาธารณสุขไดออก
ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่องกิจการที่เปนอันตรายตอสุขภาพ (ฉบับที่ 4) ประกาศใหการประกอบทาเทียบ
เรือประมง สะพานปลา และกิจการแพปลาถือเปนกิจการที่เปนอันตรายตอสุขภาพ ซึ่งประกาศ ณ วันที่ 6 ตุลาคม
2546 และต อ งขอใบอนุ ญ าตประกอบกิ จ การฯ ต อ เจ า พนั ก งานท อ งถิ่ น นั้ น ๆ ตามมาตรา 31, 32(1), 33 แห ง
พระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ.2535 โดยในมาตรา 32(2)ใหอํานาจทองถิ่นในการกําหนดหลักเกณฑและเงื่อนไข
ทั่วไปสําหรับใหผูประกอบกิจการปฏิบัติเกี่ยวกับการดูแลสภาพหรือสุขลักษณะของสถานที่ที่ใชดําเนินการ รวมถึง
มาตรการปองกันอันตรายตอสุขภาพราชการสวนทองถิ่นตรวจสอบวิธีการประกอบกิจการตาง ๆ เชน สถานที่ประกอบ
กิจการ ระบบบําบัดน้ําเสีย เปนตน
อยางไรก็ตามการปองกันน้ําเสียจากกิจการที่เปนอันตรายตอสุขภาพตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข
พ.ศ.2535 นั้ น ยั ง คงมี ขอจํ ากัด อยู กล า วคื อแม รัฐ มนตรีวา การกระทรวงสาธารณสุ ขออกประกาศกําหนดให การ
ประกอบทาเทียบเรือประมง สะพานปลา และกิจการแพปลาเปนกิจการที่เปนอันตรายตอสุขภาพ แตราชการสวน
ทองถิ่นนั้นจะตองออกขอกําหนดทองถิ่นกําหนดใหการประกอบทาเทียบเรือประมง สะพานปลา และกิจการแพปลา
เปนกิจการที่ตองควบคุมในทองถิ่นนั้นเสียกอน7 จึงจะมีผลบังคับใชและควบคุมกิจการนั้นในทองถิ่นนั้น ๆ ได
ทั้งนี้ เพื่อการแกไขปญหาชองวางทางกฎหมาย ในกรณีที่ราชการสวนทองถิ่นนั้น ๆ ยังไมไดออกขอบัญญัติ
เพื่อควบคุมกิจการที่เปนกิจการอันตรายตอสุขภาพ เห็นควรใหรัฐมนตรีกระทรวงสาธารณสุขโดยคําแนะนําของ
คณะกรรมการสาธารณสุขออกกฎกระทรวงเพื่อกําหนดหลักเกณฑวิธีการ และมาตรการในการควบคุมหรือกํากับดูแล
สําหรับกิจการทาเทียบเรือประมง สะพานปลา และกิจการแพปลาในเบื้องตน อันอาศัยอํานาจตาม มาตรา 6 แหง
พระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535 เพื่อใชหลักเกณฑดังกลาวกอนที่ทองถิ่นจะมีการประกาศขอบัญญัตินั้น ๆ
ประกอบกับทางคณะกรรมการสาธารณสุขควรประชาสัมพันธใหทองถิ่นเห็นถึงความสําคัญในการควบคุมกิจการ
ดังกลาวและเรงออกขอกําหนดนั้น ๆ เพื่อแกไขปญหาไดอยางเฉพาะเจาะจงและเหมาะสมกับทองถิ่นนั้น ๆ มากยิ่งขึ้น

7
ศุ ม ล ศรี สุ ข วั ฒ นา และคณะ, อบต.กั บ การจั ด การป ญ หาสาธารณสุ ข และสิ่ ง แวดล อ มตามกฎหมาย ,
(กรุงเทพมหานคร : กรมอนามัย,2542), น.87.
644 Thailand Journal of legal Study

2. ปญหามาตรการทางกฎหมายในการควบคุมและปองกันน้ําเสียจากกิจการทาเทียบเรือประมง สะพาน
ปลา และแพปลา
2.1 ปญหาเรื่องการติดตั้งระบบบําบัดน้ําเสียเฉพาะ
มาตรา 71 และมาตรา 72 พระราชบัญญัติสงเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดลอ มแหงชาติ พ.ศ.2535 ได
กําหนดใหเจาของหรือผูครอบครองแหลงกําเนิดมลพิษที่ไมมีระบบบําบัดน้ําเสียตองใชบริการระบบบําบัดรวม แมวา
การกําหนดเชนนี้จะเปนการชวยใหระบบบัดน้ําเสียรวมนั้นสามารถดําเนินการไดดี เพราะจะมีผูมาใชบริการและเสีย
ค า บริการค อนขา งแน น อน รวมถึ ง ยั ง เป น การง า ยต อการควบคุม การระบายน้ํ า เสี ยหรือของเสี ย ออกสู แ หล ง น้ํ า
สาธารณะหรือสูสิ่งแวดลอมนอกเขตที่ตั้งแหลงกําเนิดมลพิษอีกดวย 8 แตทั้งนี้หากพิจารณาในทางปฏิบัติน้ําเสียที่เกิด
จากการประกอบกิจการทาเทียบเรือ สะพานปลา และกิจการแพปลานั้น ไมควรที่จะนําไปใชบริ การรวมกับระบําบัด
น้ําเสียรวมหรือระบบกําจัดของเสียรวมตามที่มาตรา 71 กําหนดไวเนื่องจากน้ําที่ผานกระบวนการทางกิจกรรม ณ ทา
เทียบเรือประมงฯ สวนใหญมีความเค็ม ซึ่งขอสังเกตอีกประการคือ ตามประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและ
สิ่งแวดลอม การกําหนดคามาตรฐานน้ําทิ้งจากทาเทียบเรือประมง สะพานปลา และกิจการแพปลา มีเกณฑมาตรฐาน
ในการควบคุมน้ําทิ้งที่หยอนกวามาตรฐานการควบคุมระบายน้ําทิ้งจากระบบบําบัดน้ําเสียชุมชนอยูมาก เพราะฉะนั้น
หากนําน้ําเสียจากทาเทียบเรือประมงฯ มาผานระบบบําบัดน้ําเสียรวมของชุมชนแลว ยอมทําใหระบบบําบัดดังกลาว
จะตองทํางานหนักเพราะตองบรรเทาการเปนมลพิษของน้ําเสียนั้นใหไดคามาตรฐานการควบคุมการระบายน้ําทิ้งจาก
ระบบบําบัดน้ําเสียชุมชนตามที่กฎหมายกําหนด
จึงขอเสนอแนะใหมีการแกไขเพิ่มเติมประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดลอม เรื่อง กําหนดให
ทาเทียบเรือประมง สะพานปลา และกิจการแพปลาทุกขนาดเปนแหลงกําเนิดมลพิษที่จะตองถูกควบคุมการปลอยน้ํา
เสียลงสูแหลงน้ําสาธารณะหรือออกสูสิ่งแวดลอม ในเรื่องแนวปฏิบัติในสวนของการบําบัดน้ําเสียที่มีความเค็ม และ
แยกตางหากจากระบบบําบัดน้ําเสียชุมชน โดยเฉพาะทาเทียบเรือที่มีขนาดใหญ ประกอบกับเห็นควรใหเพิ่มเติมคา
มาตรฐานความเค็ม (Salinity) โดยใชเกณฑ คาความเค็มที่ไมสูงกวารอยละ 50 ของแหลงรองรับน้ําทิ้งในขณะนั้น
(ตามประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดลอม เรื่อง กําหนดมาตรฐานควบคุมการระบายน้ําทิ้งจากบอ
เพาะเลี้ยงสัตวน้ํากรอย และประกาศกรมเจาท า ที่ 48/2554 เรื่อง กําหนดมาตรฐานควบคุมการระบายน้ําทิ้งจากบอ
เพาะเลี้ยงสัตวน้ํากรอย) เพื่อลดผลกระทบตอระบบนิเวศนทางน้ําอันเกิดจากความเค็มของกิจการดังกลาวได
2.2 ปญหาการใหเอกชนเขาประกอบกิจการบําบัดน้ําเสีย
ปญหาน้ําเสียสวนหนึ่งอยูที่เจาของกิจการหรือผูครอบครองกิจการทั้งหนวยงานรัฐ รัฐวิสาหกิจ และเอกชนที่
ไมมีความพรอมทั้งในแงงบประมาณ และขาดแคลนบุคลากรผูมีความรูเฉพาะในการบริหารจัดการน้ําเสียดังกลาว
ทั้งนี้ จึงไดมีการกําหนดกฎหมายเพื่อใหเอกชนเขามาประกอบกิจการบําบัดน้ําเสียรวมไดตามปรากฏในมาตรา 73
และ 74 แหงพระราชบัญญัติสงเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดลอมแหงชาติ พ.ศ.2535 แตในปจจุบันยังไมมีเอกชน
รายใดที่ไดรับใบอนุญาตรับจางการบําบัดน้ําเสีย เนื่องจาก ขั้นตอนการขอใบอนุญาต การตออายุ การสั่งพักและเพิก
ถอน และอื่น ๆ นั้น จะตองออกเปนกฎกระทรวงอันเปนกฎหมายลํา ดับรองตามมาตรา 73 นั้น ซึ่งยังไมไดถูกบัญญัติ
ขึ้น ทําใหไมเปดโอกาสใหแกเอกชนที่จะประกอบกิจการบําบัดน้ําเสีย อีกทั้งยังไมมีกฎกระทรวงวาดวยการควบคุมการ
รับจางบริการบําบัดน้ําเสียในกรณีที่เอกชนเปนผูไดรับอนุญาตใหประกอบกิจการ สงผลใหหนวยงานที่รับผิดชอบใน
การดําเนินงานและควบคุมน้ําเสียนั้นไมเปนไปตามเจตนารมณของกฎหมาย
เพราะฉะนั้น ควรใหหนวยงานที่รับผิดชอบประกาศใชกฎกระทรวง เรื่องหลักเกณฑวิธีการ และเงื่อนไขใน
การใหใบอนุญาตแกเอกชนที่สนใจและมีความพรอมเขาเปนผูจางใหบริการเพื่อชวยลดและแบงเบาภาระของทั้ง
ภาครัฐ และเอกชนที่ไมมีเงินทุนในการกอสรางติดตั้งระบบบําบัดน้ําเสียดังกลาว และควรออกกฎหมายเกี่ยวกับการ
ประกอบกิจการบําบัดน้ําเสียโดยเอกชนโดยเฉพาะขึ้น เพื่อลดอุปสรรคในการเขาประกอบกิจการบําบัดน้ําเสียโดย

8
อํานาจ วงศบัณฑิต, กฎหมายสิ่งแวดลอม, พิมพครั้งที่ 2 (กรุงเทพมหานคร : สํานักพิมพวิญูชน, 2550), น.241-
242.
วารสารนิติศึกษาไทย 645

เอกชน เพื่อใหเอกชนเขามามีบทบาทในกิจการการบําบัดน้ําเสีย โดยอาจประกอบกิจการน้ําประปา และการประกอบ


กิจการน้ําเสียรวมกันได9 ดังเชนในประเทศสหรัฐอเมริกาที่กําหนดใหเอกชนเขามามีบทบาทในการเขารวมกับรัฐในการ
กําจัดน้ําเสีย ภายใตการบริหารและควบคุมน้ําเสียของสหรัฐที่เรียกวา The federal Water Pollution Control
Administration ซึ่ ง ถื อ เป น ส ว นหนึ่ ง ของ Environmental Protection Agency (หน ว ยงานระดั บ สหรั ฐ ภายใต
กฎหมายThe National Environmental Policy Act 1969 (NEPA) อันเปนกฎหมายแมบทในการควบคุมสภาวะ
แวดลอมของประเทศสหรัฐอเมริกา10)
2.3 ปญหาการขาดสภาพลงโทษที่เหมาะสม
เนื่องจากการหามทิ้งหรือระบายน้ําเสียลงสูแหลงน้ําธรรมชาติ จะมีบทกฎหมายที่มีความเกี่ยวของและคาบ
เกี่ยวกันอยูหลายฉบับ ไมวาจะเปนพระราชบัญญัติการเดินเรือในนานน้ําไทย พ.ศ.2456 พระราชบัญญัติสาธารณสุข
พ.ศ.2535 พระราชบัญญัติรักษาความสะอาดและความเปนระเบียบเรียบรอยของบานเมือง พ.ศ.2535 และพระราช
กําหนดการประมง พ.ศ. 2558 แตอยางไรก็ดีกฎหมายแตละฉบับนั้นไมไดกําหนดออกมาเพื่อการจัดการ ควบคุม หาม
ทิ้งหรือระบายน้ําเสียจากทาเทียบเรือประมง สะพานปลา และกิจการแพปลาเปนการเฉพาะ หากแตมีเจตนารมณใน
การคุมครองแหลงน้ําสาธารณะในวัตถุประสงคที่แ ตกตางกันไปในแตละฉบับ อีกทั้งในแตละฉบับไดมีการกําหนดใน
ลักษณะของการกระทําความผิดไวอยางกวาง ๆ และไมชัดเจน เพราะฉะนั้นเพื่อใหกฎหมายสามารถบังคับใชไดอยางมี
ประสิทธิภาพ จึงเห็นควรใหมีการกําหนดเกณฑมาตรฐานในการควบคุมมลพิษทางน้ําจากแหลงกําเนิดของแตละฉบับ
ใหชัดเจนอันเปนหลักเกณฑที่ตองตรงตามเจตนารมณของกฎหมายนั้น ๆ ควบคูกับการกําหนดคํานิยามของลักษณะ
และการกระทําที่เปนความผิดตอกฎหมาย เชน คําวา “ตื้นเขิน ตกตะกอน และสกปรก” คําวา “ในลักษณะเปน
อันตรายตอสัตวน้ํา”ใหชัดเจนโดยอางอิงจากเกณฑควบคุมมาตรฐานที่กําหนด เพื่อใหสามารถลดปญหาการใชดุลพินิจ
ของเจาหนาที่ และเพิ่มประสิทธิภาพในการบังคับใชกฎหมายดังกลาวอีกดวย
นอกจากนี้สําหรับกรณีที่เจาของหรือผูครอบครองทาเทียบเรือประมง สะพานปลา และกิจการแพปลาทุก
ขนาดที่ระบายน้ําทิ้งไมเปนไปตามมาตรฐานที่ ประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดลอม เรื่อง กําหนด
มาตรฐานควบคุมการระบายน้ําทิ้งจากทาเทียบเรือประมง สะพานปลา และกิจการแพปลา (ซึ่งออกโดยอาศัยอํานาจ
ตามมาตรา 55 พระราชบัญญัติสงเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดลอมแหงชาติ พ.ศ.2535) หาไดกําหนดบทลงโทษ
กรณีฝาฝนและไมปฏิบัติตามกฎหมายดั งกลาวไวโดยตรงไม ดังนั้นจึงเสนอแนะใหเพิ่มเติมมาตรการบังคับใชกฎหมาย
โดยกําหนดบทลงโทษทางอาญา (Specific deterrence) ลงในมาตรา 55 แหงพระราชบัญญัติสงเสริมและรักษา
คุณภาพสิ่งแวดลอมแหงชาติ พ.ศ.2535ในกรณีที่เจาของหรือผูครอบครองกิจการทาเทียบเรือประมงฯ ฝาฝ นและ
ปลอยน้ําเสียที่ไมเปนไปตามมาตรฐานควบคุมมลพิษจากแหลงกําเนิด โดยเสนอใหกําหนดอัตราโทษปรับขั้นสูง ใน
อัตราไมเกิน หนึ่งแสนบาท (โดยอางอิงจากอัตราโทษ ในฐานความผิด กรณีฝาฝนคําสั่งเจาหนาที่อันเปนเหตุใหเกิด
อันตรายหรือความเสียหายตอสิ่งแวดลอม ตามมาตรา 98 วรรคหนึ่ง แหงพระราชบัญญัติพระราชบัญญัติสงเสริมและ
รักษาคุณภาพสิ่งแวดลอมแหงชาติ พ.ศ. 2535) เพื่อสงผลกระทบตอผูประกอบกิจการดังกลาวในฐานะผูแสวงหาผล
กําไร อีกทั้งยังสามารถนําเงินคาปรับดังกลาวเขาแกรัฐ เพื่อแกไขเยียวยาปญหาความเสียหายที่เกิดตอสิ่งแวดล อมได
อีกดวย ซึ่งนาจะตอบเจตนารมณกฎหมายในการรักษาสิ่งแวดลอมไดดีกวาการนําผูกระทําความผิดไปจําคุกและเห็น
ควรใหเพิ่มอํานาจแกเจาหนาที่ควบคุมมลพิษมีดุลพินิจที่จะใชมาตรการบังคับทางปกครองในการพัก หรือเพิกถอน
ใบอนุญาตในการประกอบกิจการ เพื่อเปนมาตรการเชิงลงโทษตอผูกระทําความผิดโดยตรง เพื่อใหเกิดการเกรงกลัวตอ
การกระทําความผิด และปฏิบัติตามกฎหมายอยางเครงครัด

9
ศุภวุฒิ โมกขเมธากุล, “แนวทางบัญญัติกฎหมายใหเอกชนเขาประกอบกิจการบําบัดน้ําเสียรวม,” (วิทยานิพนธ
มหาบัณฑิต คณะนิติศาสตร มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย, 2548), น.100-101.
10
ณฐพร โตประยู ร , “การป อ งกั น แก ไ ขป ญ หามลพิ ษ ในพื้ น ที่ ลุ ม น้ํ า กรณี ศึ ก ษาลุ ม น้ํ า ท า จี น ,” (วิ ท ยานิ พ นธ
มหาบัณฑิต คณะนิติศาสตร มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย,2548 ), น.79.
646 Thailand Journal of legal Study

3. ปญหาการขาดมาตรการทางกฎหมายในการควบคุมกลิ่น
ในปจจุบันการกําหนดคามาตรฐานและวิธีการตรวจสอบกลิ่นในอากาศไดถูกกําหนดขึ้นเฉพาะการควบคุม
กลิ่นจากกิจการประเภทโรงงานเทานั้น ตามกฎกระทรวงกําหนดมาตรฐานและวิธีการตรวจสอบกลิ่นในอากาศจาก
โรงงาน พ.ศ. 2549 โดยไดกําหนดการตรวจวัดคาความเขมกลิ่น (Odor Concentration) โดยวิเคราะหกลิ่นดวยการ
ดม ตามวิ ธี ก ารตามที่ American Society for Testing and Materials (ASTM)11 หรื อ Japanese Industrial
Standard (JIS) ไดกําหนดไว ทั้งนี้ จากการพิจารณาประเภทโรงงานตามทายบัญชีกฎกระทรวงดังกลาว สําหรับ
กิจการทาเทียบเรือประมง สะพานปลา และกิจการแพปลา อาจถือเปนโรงงานในประเภทที่ 5 ในฐานะเปนโรงงาน
ประกอบกิจการเกี่ยวกับสัตวน้ําอยางใดอยางหนึ่งหรือหลายอยาง ตาม (5) การลาง ชําแหละ แกะ ตม นึ่ง ทอด หรือ
บดสัตวน้ํา เพราะฉะนั้นหากกิจการทาเทียบเรือประมง สะพานปลา และกิจการแพปลานั้นมีการกระทําการเกี่ยวกับ
สัตวน้ําในลักษณะดังกลาว จะตองถูกควบคุมและตรวจสอบกลิ่นในอากาศดวย แตถึงอยางไรก็ดี กิจการทาเทียบ
เรือประมง สะพานปลา และกิจการแพปลา ไมไดมีเพียงกิจกรรมการลาง ชําแหละ เทานั้น ยังคงมีกิจกรรมอื่น ๆ เชน
การคัดแยกสัตวน้ํา การขนถายสัตวน้ํา รวมถึงการดําเนินการบําบัดน้ําเสีย ณ บริเวณทาเทียบเรือประมง สะพานปลา
และกิจการแพปลาก็เปนตนเหตุใหเกิดมลภาวะทางกลิ่นในอากาศไดเชนกัน
ดวยเหตุนี้เมื่อการควบคุมและจัดการเรื่องกลิ่นจากทาเทียบเรือประมง สะพานปลา และกิจการแพปลานั้นยัง
ไมมีการออกมาตรการบังคับหรือกําหนดคามาตรฐานความเขมขนของกลิ่นที่ยอมใหระบายออกจากกิจการทาเทียบ
เรือประมง สะพานปลา และกิจการแพปลาไวเฉพาะ และกฎหมายที่มีอยู ยังไมครอบคลุมถึงการดําเนินกิจการทั้งหมด
จึงคงมีเพียงการบังคับตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535 มาตรา 25 โดยถือวาเปนกรณีที่มีเหตุเดือดรอน
รําคาญแกผูอาศัยในบริเวณใกลเคียงเทานั้น เพราะฉะนั้นจึงควรใหมีการออกประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ
และสิ่งแวดลอม โดยอาศัยอํานาจตาม มาตารา 55 และ มาตรา 68 แหงพระราชบัญญัติสงเสริมและรักษาคุณภาพ
สิ่งแวดลอมแหงชาติ พ.ศ.2535 กําหนดคามาตรฐานและความเขมขนของกลิ่นจากกิจการทาเทียบเรือประมง สะพาน
ปลา และกิจการแพปลา โดยเทียบเคียงจากหลักเกณฑ ASTM (ASTM Standard Practice E-544) ประกอบกับ
กฎกระทรวงกําหนดมาตรฐานและวิธีการตรวจสอบกลิ่นในอากาศจากโรงงาน พ.ศ. 2549 เพื่อใชในการควบคุมและ
จัดการกลิ่นที่เกิดจากกิจการทาเทียบเรือประมง สะพานปลา และกิจการแพปลา เปนการเฉพาะ กอปรกับออก
ระเบียบวิธีการปฏิบัติในการลดของเสียอันเปนสาเหตุหลักของกลิ่ นควบคูกันไปดวย เชน การลดการใชปริมาณของที่
กอใหเกิดเปนของเสีย การนํากลับไปใชใหม การนําเทคโนโลยีสะอาดมาใช เปนตน
4. ปญหาอํานาจหนาที่ในการปองกันน้ําเสียภายใตพระราชบัญญัติจัดระเบียบกิจการแพปลาพ.ศ.2496
พระราชบัญญัติจัดระเบียบกิจการแพปลา พ.ศ.2496 ไดถูกตราขึ้นเนื่องจากเกิดจากสภาพปญหาการขาย
สินคาสัตวน้ําในกรุงเทพมหานครที่ตลาดทรงวาดมีความไมเปนระเบียบ ไมมีหนวยงานใดเขาไปดูแลผูประกอบกิจการ
แพปลาในดานตาง ๆ จึงไดกอตั้งองคการสะพานปลาขึ้น เพื่ อทํา หนาที่ จัด ระเบียบกิจการแพปลาให เปนไปตาม
เจตนารมณและวัตถุประสงค12 ดังนั้นตามมาตรา 5 แหงพระราชบัญญัติจัดระเบียบกิจการแพปลา จึงมุงเนนกําหนด
หนาที่ใหองคการสะพานปลาจัดดําเนินการ และนํามาซึ่งความเจริญขององคการสะพานปลา ตลาดสินคาสัตวน้ํา และ
อุตสาหกรรมการประมง รวมถึงจัดดําเนินการหรือควบคุม และอํานวยบริการซึ่งกิจการแพปลา การขนสงและกิจการ
อื่นๆ อันเกี่ยวกับกิจการแพปลาเทานั้น
จากภาระหนาที่ตามวัตถุประสงคดังกลาว จึงเปนการกําหนดไวอยางกวาง ๆ ใหองคการสะพานปลามีหนาที่
สรางความเจริญของสะพานปลา ตลาดสินคาสัตวน้ํา และอุตสาหกรรมการประมง ดังจะเห็นไดวาองคกรสะพานปลา
นั้นเปนองคกรหลักดานสัตวน้ํา และสงเสริมธุรกิจประมงและใกลชิดกับชาวประมง แตไมมีมาตราใดที่จะกําหนด

11
American Society for Testing and Materials (ASTM) คื อ สมาคมวิ ช าชี พ ทางด า นวิ ท ยาศาสตร และ
เทคโนโลยีที่ทําหนาที่ในการกําหนดและจัดทํามาตรฐานตางๆซึ่งเปนที่นิยมใชในระดับสากลและเปนที่ยอมรับทั่วโลก
12
องคการสะพานปลา, “องคการสะพานปลา,” สืบคนเมื่อวันที่ 8 เมษายน 2558, จาก http://www.fishmarket
.co.th/index.php?option=com_ content&view=article&id=49&Itemid=29.
วารสารนิติศึกษาไทย 647

หนาที่ใหองคการสะพานปลามีอํานาจในการควบคุมมลพิษทางน้ํา โดยสวนใหญองคการสะพานปลาจะเขาไปมี
บทบาทในเรื่องสิ่งแวดลอมบริเวณทาเทียบเรือประมง สะพานปลา และกิจการแพปลา ในลักษณะของผูประสานงาน
ระหวางหนวยงานที่เกี่ยวของ และภาระหนาที่ทางสังคมมากกวา ดังนั้นเมื่อการปองกันและแกไขปญหามลพิษทางน้าํ
จากทาเทียบเรือประมง สะพานปลา และกิจการแพปลา ไมมีบทบัญญัติกฎหมายมาตราใดในพระราชบัญญัติจัด
ระเบียบกิจการแพปลา พ.ศ.2496 ที่กําหนดใหองคการสะพานปลาเปนหนวยงานที่มีอํานาจหนาที่รับผิดชอบตอ
สิ่งแวดลอมโดยตรง องคการสะพานปลาแมวาจะเปนหนวยงานที่อยูใกลชิดกับผูประกอบการมากที่สุดจึงไมสามารถที่
จะแกปญหามลพิษทางน้ําใหเกิดประสิทธิภาพเทาที่ควรได เชนกรณีทาเทียบเรือประมงหัวหิน ซึ่งอยูภายใตการกํากับ
ดูแลขององคการสะพานปลา ไดเกิดปญหาการปลอยของเสียลงสูแหลงน้ําธรรมชาติโดยไมไดมาตรฐานน้ําทิ้งตามที่
กฎหมายกําหนด จึงไดมีการกําหนดมาตรการในเรื่องสิ่งแวดลอม กระทรวงทรัพยากรและสิ่งแวดลอม ออกประกาศ
เรื่อง กําหนดเขตพื้นที่ และมาตรการคุมครองสิ่ งแวดลอมในพื้นที่ อําเภอบานแหลม อําเภอเมืองเพชรบุรี อําเภอทา
ยาง และอําเภอชะอํา จังหวัดเพชรบุรี อําเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคิรีขันธ พ.ศ.2547 กําหนดใหหนวยงานราชการ
รัฐวิสาหกิจ หรือเอกชน ดําเนินการรายงานผลกระทบสิ่งแวดลอม ตามมาตรา 46 แหงพระราชบัญญัติสงเสริมและ
รักษาคุณภาพสิ่งแวดลอม พ.ศ.2535 เพื่อเปนการกําหนด Zoning ในการควบคุมการดําเนินกิจการโครงการที่อาจ
สงผลกระทบตอสิ่งแวดลอมในบริเวณที่ควบคุมและเพื่อปองกันผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นตอสิ่งแวดลอมในพื้นที่
ดังกลาว ซึ่งแมทาเทียบเรือประมงหัวหินที่อยูภายใตการกํา กับดูแลขององคการสะพานปลา แตไมมีกฎหมายมาตรา
ใดในพระราชบัญญัติจัดระเบียบกิจการแพปลา พ.ศ.2496 ที่กําหนดใหองคการสะพานปลาเปนหนวยงานที่มีอํานาจ
หน า ที่ ใ นการรั บ ผิ ด ชอบต อ สิ่ ง แวดล อ ม หรื อ แก ไ ขป ญ หาสิ่ ง แวดล อ มที่ เ กิ ด ขึ้ น ได ดั ง นั้ น ผู ว า ราชการจั ง หวั ด
ประจวบคีรีขันธ จึงไดมอบอํานาจใหแกเทศบาลหัวหินเปนองคกรที่มีอํานาจหนาที่ และมีบทบัญญัติกฎหมายดาน
สิ่ ง แวดลอมเปนหนวยงานหลักที่มีหนาที่ รับผิ ดชอบโดยตรงเพื่ อตราเทศบัญญั ติขอบังคับทองถิ่นในการกําหนด
มาตรฐานคุมครองสิ่งแวดลอมมีความรวดเร็วในการบังคับใชกฎหมายเพื่อเปนแนวทางปองกัน และสามารถที่จะแกไข
ปญหาสิ่งแวดลอมในเรื่องการปลอยน้ําเสียลงสูแหลงน้ําธรรมชาติที่ทาเทียบเรือประมงหัวหิน เปนตน
เพราะฉะนั้นเห็ นควรแกไขบทบาท และอํ านาจหนาที่ขององคการสะพานปลา ตามพระราชบัญญัติจัด
ระเบียบกิจการแพปลา พ.ศ. 2496 ในเรื่องมาตรฐานดานสุขอนามัยของสะพานปลา โดยเฉพาะการปองกันและแกไข
ปญหาสิ่งแวดลอมตาง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นจากการดําเนินกิจกรรม ณ ทาเทียบเรือประมง สะพานปลา และกิจการแพปลา
ที่อยูภายใตกํากับดูแลขององคการสะพานปลา เนื่องจากปจจุบันมีการกอสรางหรือจัดตั้ง อยางไรการควบคุม ซึ่งยอ ม
สงผกระทบตอทั้งระบบตลาดสัตวน้ําในภาพรวม และยังกอใหเกิดผลกระทบตอสิ่งแวดลอมอีกดวย ทั้งนี้ เพื่อให
องคการสะพานปลาภายใตบทบาทใหมสามารถดําเนินการไปตามมาตรฐานการคาระหวางประเทศ และกฎหมายตาง
ๆ ที่เกี่ยวของ ประกอบกับการพัฒนาธุรกิจการคาสัตวน้ําภายใตการดูแลขององคการเคียงคูกับการดูแลสิ่งแวดลอม
อยางยั่งยืน

บทสรุป
จากที่กลาวมาขางตน จึงเห็นไดวากฎหมายที่เกี่ยวกับการควบคุมและจัดการการระบายน้ําเสียชุมชนยังคงมี
ปญหาและมีอุปสรรคบางประการ จนทําใหไมสามารถแกไขปญหาน้ําเสียไดอยางแทจริง จึงจําเปนตองปรับปรุงแกไข
มาตรการทางกฎหมายรวมถึง ภารกิจ หน าที่ ของหน วยงานที่เกี่ย วของให มี ค วามชั ด เจนและมี ป ระสิ ท ธิภาพตาม
เจตนารมณของกฎหมายมากขึ้น โดยผูเขียนจึงไดเสนอแนะขอเสนอแนะเพิ่มเติม เพื่อมุงอุดชองวางของกฎหมาย และ
เปนแนวทางในการแกไขเยียวยาปญหาสิ่งแวดลอมดังกลาวตอไป
648 Thailand Journal of legal Study

บรรณานุกรม

หนังสือ

กรมควบคุมมลพิษ, แผนปฏิบัติการการจัดการน้ําทิ้งจากทาเทียบเรือประมง สะพานปลา และกิจการแพปลา ป 2556-


2560, พิมพครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร : สวนแหลงน้ําทะเล สํานักจัดการคุณภาพน้ํา, 2557.
ศุมล ศรีสุขวัฒนา และคณะ. อบต.กับการจัดการปญหาสาธารณสุขและสิ่งแวดลอมตามกฎหมาย. กรุงเทพมหานคร :
กรมอนามัย, 2542.
อํานาจ วงศบัณฑิต. กฎหมายสิ่งแวดลอม. พิมพครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร : สํานักพิมพวิญูชน, 2550.

วิทยานิพนธ

ณฐพร โตประยูร. “การปองกันแกไขปญหามลพิษในพื้นที่ลุมน้ํา กรณีศึกษาลุมน้ําทาจีน.” วิทยานิพนธมหาบัณฑิต


คณะนิติศาสตร มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย, 2548.
นฤตรา ประเสริฐศิลป. “ปญหาและผลกระทบขามแดนจากการใชมาตรการของสหภาพยุโรปเกี่ยวกับการตอตานการ
ทําประมงผิดกฎหมาย ขาดการรายงานและไรการควบคุมกับความสอดคลองกับมาตรา XX GATT
1944.” วิทยานิพนธมหาบัณฑิต คณะนิติศาสตร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร, 2557.
ศุภวุฒิ โมกขเมธากุล . “แนวทางบัญญัติกฎหมายใหเอกชนเขาประกอบกิจ การบําบัดน้ําเสี ยรวม.” วิทยานิพนธ
มหาบัณฑิต คณะนิติศาสตร มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย, 2548.

เอกสารประกอบการประชุมสัมมนา

องค ก ารสะพานปลา กระทรวงเกษตรและสหกรณ . “รายงานประจํ า ป 2557”, จั ด โดยองค ก ารสะพานปลา


กรุงเทพมหานคร, 2557.

สื่ออิเล็กทรอนิกส

นฤมล สีปานมั่น. “แผนปฏิบัติการการจัดการน้ําทิ้งจากทาเทียบเรือประมง สะพานปลา และกิจการแพปลา ป 2556-


2560”, http://infofile.pcd.go.th/water/plan_habor57.pdf?CFID=1184086&CFTOKEN=46
659483., 29 ตุลาคม 2560.
องค ก ารสะพานปลา. “องค ก ารสะพานปลา.”,http://www.fishmarket.co.th/index.php?option=com_
content&view=article&id=49&Itemid=29, 8 เมษายน 2558.
วารสารนิติศึกษาไทย 649

มาตรการทางกฎหมายในการควบคุมมลพิษฝุนละอองบริเวณทาอากาศยาน : ศึกษากรณี
ทาอากาศยานสุวรรณภูมิ
LEGAL MEASURES FOR CONTROLLING PARTICULATE MATTER AT
SUVARNABHUMI AIRPORT, BANGKOK, THAILAND
คัคนางค เอมราช
Katkanang Emrach
บทคัดยอ
การดําเนินงานของทาอากาศยานทําใหเกิดปญหามลพิษฝุนละออง แตพระราชบัญญัติการเดินอากาศ พ.ศ.
2497 ไม ไ ด กํา หนดหน า ที่ ข องท า อากาศยานที่ ได รับ ใบรับรองการดํ า เนิ นงานสนามบิน สาธารณะด า นการรักษา
สิ่งแวดลอมไวโดยตรง นอกจากนี้ มาตรการทางกฎหมายในการควบคุมมลพิษทางอากาศตามพระราชบัญญัติสงเสริม
และรักษาคุณภาพสิ่งแวดลอมแหงชาติ พ.ศ.2535 และพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ.2535 มีขอจํากัดในแง
สภาพบังคับและองคกรผูใชบังคับกฎหมาย ดังนั้น ประเทศไทยจึงควรแกไขกฎหมายที่เกี่ยวของเพื่อประสิทธิภาพใน
การควบคุมมลพิษฝุนละอองบริเวณทาอากาศยาน

คําสําคัญ
ทาอากาศยาน, มลพิษฝุนละออง, พระราชบัญญัติการเดินอากาศ, พระราชบัญญัติสงเสริมและรักษาคุณภาพ
สิ่งแวดลอมแหงชาติ, พระราชบัญญัติการสาธารณสุข

ABSTRACT
Airport operation has definitely caused particulate matter pollution. Nevertheless, the Air
Navigation Act B.E. 2497 does not directly impose duties for the airport which holds the public
aerodrome operating certificate to protect the environment. Furthermore, legal measures in
controlling air pollution according to the Enhancement and Conservative of National Environmental
Quality Act B.E. 2535 (1992) and the Public Health Act B.E. 2535 (1992) still have some limitations in
terms of sanctions and law enforcement authorities. Therefore, Thai legislators shall amend the
relevant laws in order to effectively control particulate matter around the airport area.

Keywords
Airport, Particulate matter, Air Navigation Act, Enhancement and Conservation of National
Environmental Quality Act, Public Health Act


นักศึกษาปริญญาโท หลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต สาขากฎหมายทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดลอม คณะ
นิติศาสตร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร : อีเมลที่ติดตอได doraemon_pajamon@hotmail.com
Graduate Student of Master of Laws Program in Natural Resources and Environmental Law, Faculty
of Law, Thammasat University. Email address : doraemon_pajamon@hotmail.com
650 Thailand Journal of legal Study

บทนํา
ปริ ม าณผู โ ดยสารและเที่ ย วบิ น ที่ เ พิ่ ม ขึ้ น ทํ า ให ท า อากาศยานสุ ว รรณภู มิ มี ค วามจํ า เป น ต อ งพั ฒ นาขี ด
ความสามารถของทาอากาศยานใหสามารถรองรับผู โดยสารและเที่ยวบินที่มีแนวโนมเพิ่มขึ้นอีกในอนาคต 1 ซึ่งการ
พั ฒ นาดั ง กล า วทํ า ให บ ริ เ วณโดยรอบท า อากาศยานมี ป ญ หามลพิ ษ ฝุ น ละอองขนาดไม เ กิ น 2.5 ไมครอน 2 แต
พระราชบัญญัติการเดินอากาศ พ.ศ.2497 ซึ่งเปนกฎหมายที่ควบคุมการดําเนินงานของทาอากาศยานสุวรรณภูมิ ไมได
กําหนดหนาที่รักษาสิ่งแวดลอมใหแกทาอากาศยานโดยเฉพาะ สวนการใชมาตรการทางกฎหมายเพื่อควบคุมมลพิษฝุน
ละอองตามพระราชบัญ ญัติ ส งเสริม และรักษาคุ ณ ภาพสิ่ ง แวดล อมแห ง ชาติ พ.ศ.2535 และพระราชบั ญ ญัติ การ
สาธารณสุข พ.ศ.2535 มีปญหาและขอจํากัดบางประการที่ทําใหไมสามารถควบคุมมลพิษฝุนละอองบริเวณทาอากาศ
ยานไดอยางมีประสิทธิภาพ แตกตางจากมาตรการทางกฎหมายในการควบคุมมลพิษพิษฝุนละอองบริเวณทาอากาศ
ยานของตางประเทศซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
1. มาตรการทางกฎหมายตางประเทศ
1.1 เครือรัฐออสเตรเลีย
กํา หนดมาตรการในเชิ ง ป อ งกัน อย า งการประเมิ น ผลกระทบสิ่ ง แวดล อมและการวางแผนยุ ท ธศาสตร
สิ่งแวดลอมเพื่อจัดการสิ่งแวดลอมในการดําเนินงานของทาอากาศยานพระราชบัญญัติทาอากาศยาน ค.ศ.1996 (the
Airport Act 1996) และมี ก ฎว า ด ว ยการคุ ม ครองสิ่ ง แวดล อ มบริ เ วณท า อากาศยาน ค.ศ. 1997 (the Airport
(Environment Protection) Regulations 1997) กําหนดหนาที่ของผูประกอบการใหตองควบคุมการปลอยมลพิษ
จากการดําเนินงานของตน โดยใหเจาพนักงานสิ่งแวดลอมประจําทาอากาศยานทําหนาที่ตรวจสอบคุณภาพอากาศ
ตรวจสอบการดําเนินงานในสวนที่เกี่ยวกับการควบคุมมลพิษใหเปนไปตามกฎหมาย และออกคําสั่งใหระงับการกระทํา
ที่กอใหเกิดมลพิษ ประกอบกับกําหนดบทลงโทษทางอาญาแกผูกอมลพิษในบริเวณทาอากาศยาน ทั้งยังมีมาตรฐาน
ควบคุมมลพิษจากแหลงกําเนิดที่หลากหลาย ทําใหมาตรการทางกฎหมายดังกลาวมีความเหมาะสมและใชบังคับได
อยางมีประสิทธิภาพ3
1.2 สหรัฐอเมริกา
แมไมไดมีกฎหมายที่ใ ชบังคับเพื่อรักษาคุณภาพอากาศในบริเวณทาอากาศยานโดยเฉพาะดังเชนเครือรัฐ
ออสเตรเลีย แตสหรัฐอเมริกาเนนการรักษาคุณภาพอากาศโดยการประเมินผลกระทบสิ่งแวดลอมโดยพิจารณาขอมูล
ในแตละกรณีวาควรจะจัดทําการประเมินผลกระทบหรือไม อีกยังกําหนดใหหนวยงานของรัฐเปนผูมีหน าที่รับผิดชอบ
การจัดทํารายงานประเมินผลกระทบสิ่งแวดลอม ในขณะที่ยังใหความสําคัญกับการมีสวนรวมของผูมีสวนไดเสียเพื่อ
คอยตรวจสอบความถูกตอง 4 อีกทั้งพระราชบัญญัติอากาศสะอาด ค.ศ.1970 (the Clean Air Act of 1970) ยังให
อํานาจมลรัฐกําหนดใหทาอากาศยานเปน Indirect Source Review เพื่อตรวจสอบการปลอยมลพิษจากทาอากาศ
ยานโดยการใชระบบใบอนุญาต ทั้งสรางหลัก Conformity Rule ใหสํานักงานบริหารการบินแหงชาติไมสามารถ
ดําเนินการใด ๆ เกี่ยวกับทาอากาศยานใหกระทบตอใชมาตรการตามแผนปฏิบัติการระดับมลรัฐ 5 ขณะเดียวกันก็

1
บริษัท ทาอากาศยานไทย จํากัด(มหาชน), รายงานประจําป 2559, (กรุงเทพมหานคร : ทาอากาศยานไทย, 2560),
น.133.
2
บริษัท ยูไนเต็ด แอนนาลิสต แอนด เอ็นจิเนียริ่ง คอนซัลแตนท จํากัด, รายงานการวิเคราะหผลกระทบสิ่งแวดลอม
และสุขภาพ (รางรายงานฉบับสมบูรณ) โครงการกอสรางเสนทางวิ่งที่ 3 และ 4 ทาอากาศยานสุวรรณภูมิของบริษัท ทาอากาศ
ยานไทย จํากัด(มหาชน), (กรุงเทพฯ: ยูไนเต็ด แอนนาลิสต แอนด เอ็นจิเนียริ่ง คอนซัลแตนท, 2557), น.3-58 – 3-85.
3
Sydney Airport, Environment Strategy 2013-2018, (Sydney : Sydney Airport Limited, n.d.)
4
Regulations for implementing the procedural provisions of the national environmental policy act,
40 C.F.R. part 1508.
5
FAA, Environmental Desk Reference for Airport Actions, (n.p. : FAA Office of Airports, 2007), chapter
1 p.3.
วารสารนิติศึกษาไทย 651

กําหนดโทษสําหรับบุคคลผูฝาฝนขอกําหนด ขอหามในแผนปฏิบัติการของรัฐทั้งโทษปรับและโทษจําคุก6 ทําใหแมไมมี


กฎหมายที่ใชบังคับกับทาอากาศยานโดยเฉพาะดังเชนเครือรัฐออสเตรเลีย แตการใชพระราชบัญญัติอากาศสะอาดฯ
สามารถใชบังคับไดจริงและมีประสิทธิภาพเชนเดียวกัน
1.3 สหราชอาณาจักร
มีการควบคุมมลพิษจากแหลงกําเนิดทั้งชนิดไมเคลื่อนที่และชนิดเคลื่อนที่ ซึ่งการอางอิงมาตรฐานเกี่ยวกับ
สิ่งแวดลอมมาจากมาตรฐานของสหภาพยุโรป ทําใหสหราชอาณาจักรมีการควบคุมการปลอยมลพิษจากแหลงกําเนิด
ประเภทอุปกรณภาคพื้นหลายชนิด 7 อยางไรก็ดี จุดเดนที่สําคัญของมาตรการทางกฎหมายของสหราชอาณาจักรคือ
มาตรการเก็บคาธรรมเนียมมลพิษทางอากาศจากอากาศยานที่ขึ้น – ลง บริเวณทาอากาศยานที่ปญหามลพิษทาง
อากาศเพื่อจูงใจใหสายการบินเลือกใชอากาศยานที่มีอัตราปลอยมลพิษทางอากาศต่ํา และนําเงินทีไดไปใช
เพื่อประโยชนในการปรับปรุงคุณภาพอากาศบริเวณทาอากาศยาน8
2. ปญหาของมาตรการทางกฎหมายของประเทศไทย
จากการศึกษาพบวา มาตรการทางกฎหมายสําหรับควบคุมมลพิษทางอากาศที่สามารถนํามาใชควบคุม
มลพิษฝุนละอองบริเวณทาอากาศยานไดนั้นมีปญหาและขอจํากัดดังนี้
2.1 พระราชบัญญัติสงเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดลอมแหงชาติ พ.ศ. 2535
มี มาตรการจัด ทํารายงานการประเมิ นผลกระทบสิ่ง แวดลอม แต พ บป ญหาการคาดการณ ผลกระทบใน
รายงานไมสอดคลองกับผลกระทบที่เกิดขึ้นจากมลพิษสะสมของโครงการอื่นในบริเวณเดียวกัน 9 ในขณะที่กฎหมาย
ไมไดบัญญัติใหอํานาจเจาพนักงานมีอํานาจเขาไปทาอากาศเพื่อติดตามตรวจสอบการปฏิบัติตามมาตรการแกไขและ
ลดผลกระทบสิ่งแวดลอมที่ถูกกําหนดเปนเงื่อนไขของใบอนุญาต 10 นอกจากนี้ พระราชบัญญัติสงเสริมและรักษา
คุณภาพสิ่งแวดลอมแหงชาติฯ ยังไมมีหลักเกณฑทบทวนรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดลอมภายหลังจาก
ดํ า เนิ น โครงการไปแล ว 11 ทั้ ง การที่ กฎหมายกํ า หนดสภาพบั ง คั บ ของการไม ป ฏิ บั ติ ต ามมาตรการที่ เ งื่ อ นไขของ
ใบอนุญาตดังกลาว โดยใหเพิกถอนหรือพักใชใบอนุญาตนั้น ไมเหมาะสมที่จะใชกับทาอากาศยานเนื่องจากสงผล
กระทบตอระบบเศรษฐกิจและประโยชนสาธารณะ
สําหรับการใชมาตรการของเขตควบคุมมลพิษ มีปญหาเกี่ยวกับการประกาศใหจังหวัดสมุทรปราการซึ่งเปน
ที่ตั้งของทาอากาศยานสุวรรณภูมิเปนเขตควบคุมมลพิษทั้งจังหวัด โดยไมระบุชัดถึงมลพิษที่เปนปญหาของแตละ
พื ้น ที ่12 ประกอบกับ องคก รปกครองสว นทอ งถิ ่น ซึ ่ง มีห นา ที ่จ ัด ทํ า แผนดัง กลา วขาดบุค ลากรที ่ม ีค ุณ วุฒ ิด า น

6
F.William Brownell, Clean Air Act, ed. Thomas F.P. Sullivan, Environmental law handbook, 21th
edition, (Maryland : Government Institutes, 2011), pp.298-300.
7
Vehicle Certification Agency, “Outline of Non-Road Mobile Machinery (NRMM) Emissions
Regulations,” Retrieved on January 14, 2017, from http://www.dft.gov.uk/vca/other/non-road-mobile-
mach.asp.
8
Civil Aviation Authority, Environmental Charging – review of impact of noise and NOx Landing
Charges, ( London : CAA, 2013), p.35.
9
อํานาจ วงศบัณฑิต, กฎหมายสิ่งแวดลอม, พิมพครั้งที่ 3 (กรุงเทพมหานคร : วิญูชน, 2557), น.194.
10
สถาบันวิจัยและใหคําปรึกษาแหงมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร, รายงานฉบับสมบูรณ โครงการวาจางเปนที่ปรึกษา
ปรับปรุงกระบวนการวิเคราะหผลกระทบสิ่งแวดลอมภายใตพระราชบัญญัติสงเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดลอม พ.ศ.2535,
(กรุงเทพฯ, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร, 2552), น.40.
11
เพิ่งอาง, น.43.
12
ประกาศคณะกรรมการสิ่งแวดลอมแหงชาติ ฉบับที่ 9 (พ.ศ.2537) ออกตามความในพระราชบัญญัติสงเสริมและ
รักษาคุณภาพสิ่งแวดลอมแหงชาติ พ.ศ.2535 เรื่องกําหนดใหทองที่เขตจังหวัดสมุทรปราการเปนเขตควบคุมมลพิษ, ราชกิจจา
นุเบกษา, เลมที่ 111, ตอนที่ 37 ง, (10 พฤษภาคม 2537).
652 Thailand Journal of legal Study

สิ่งแวดลอม 13 นอกจากนี้ ยังขาดบทลงโทษหรือมาตรการบังคับอื่นใดสําหรับผูฝาฝนไมปฏิบัติตามแผนดังกลาว 14 ทํา


ใหการใชมาตรการสําหรับเขตควบคุมมลพิษยังไมสามารถควบคุมมลพิษฝุนละอองบริเวณทาอากาศยานไดอยางมี
ประสิทธิภาพ นอกจากนี้ การใชมาตรการควบคุมมลพิษจากแหลงกําเนิดที่เกี่ยวของกับการดําเนินงานของทาอากาศ
ยาน โดยอาศัยมาตรฐานสิ่งแวดลอมก็ยังไมไดมีการประกาศมาตรฐานควบคุมมลพิษจากแหลงกําเนิดสําหรับอุปกรณ
ภาคพื้นที่ใชในบริเวณทาอากาศยาน
2.2 พระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535
มี ม าตรการระงั บ เหตุ รํา คาญ ซึ่ ง พบป ญ หาการออกคํา สั่ ง ให ร ะงั บ เหตุ รํา คาญของเจ า พนั กงานท อ งถิ่ น
เนื่องจากทาอากาศยานสุวรรณภูมิมีพื้นที่ขนาดใหญและมีทั้งที่สาธารณะและที่เอกชน ทําใหเกิดภาระแกผูออกคําสั่งที่
มีหนาที่ตรวจวัดและหาแหลงกําเนิดของฝุนละออง เพื่อที่จะดําเนินการออกคําสั่งใหไปยังบุคคลตามที่กฎหมายกําหนด
ทั้งการจะใชมาตรการภายหลังผูไดรับคําสั่งไมปฏิบัติตามคําสั่ง โดยใหเจาพนักงานทองถิ่นเขาจัดการระงับเหตุรําคาญ
ยังมีอุปสรรคในการเขาไปบริเวณเขตปฏิบัติการการบิน ซึ่งถูกควบคุมไมใหบุคคลที่ไมเกี่ยวของสามารถเขาไปไดยกเวน
ไดรับอนุญาต15 ประกอบกับเจาพนักงานทองถิ่นยังขาดบุคลากรที่มีคุณวุฒิดานสิ่งแวดลอมดังที่ไดกลาวไปแลวนั้น อัน
เปนขอจํากัดขององคกรผูใชบังคับกฎหมาย
2.3 พระราชบัญญัติการเดินอากาศ พ.ศ. 2497
เปนกฎหมายที่ควบคุมการดําเนินงานของทาอากาศยานโดย ซึ่งแมมีบทบัญญัติมาตรา 60/15 (3) กําหนด
หนาที่ประการหนึ่งของผูไดรับใบรับรองการดําเนินงานสนามสาธารณะใหดําเนินงานตามระเบียบเกี่ยวกับกระบวนการ
ดําเนินงานและคูมือการดําเนินงาน แตเมื่อพิจารณาจากกฎหมายลําดับรองที่ออกตามความในมาตราดังกลาวไมได
กําหนดหนาที่ของทาอากาศยานในเรื่องการรักษาคุณภาพสิ่งแวดลอมไว 16 ทั้งในพระราชบัญญัติก็ไมไดกําหนดหนาที่
รักษาสิ่งแวดลอมโดยตรง สวนหลักเกณฑและเงื่อนไขการเก็บคาบริการในการขึ้นลงของอากาศยานที่ใชบังคับใน
ปจจุบันไมไดอางอิงจากปริมาณมลพิษทางอากาศ 17 ทําใหทาอากาศยานไมสามารถใชมาตรการทางเศรษฐศาสตรใน
การจูงใจใหสายการบินเลือกใชอากาศยานที่ปลอยมลพิษต่ําได
3.ขอเสนอแนะ
จากปญหาของมาตรการทางกฎหมายในการควบคุมมลพิษฝุนละอองบริเวณทาอากาศยานดังกลาว ผูเขียน
จึงเสนอแนะแนวทางแกไขปญหาโดยแบงเปนขอเสนอแนะเพื่อแกไขปญหาในระยะสั้นและระยะยาวดังนี้
3.1 ขอเสนอแนะระยะสั้น
ผูอํานวยการสํานักงานการบินพลเรือนแหง ประเทศไทยควรอาศัยอํานาจตามมาตรา 60/15 วรรคทาย ออก
ระเบียบเกี่ยวกับกระบวนการดําเนินงานของสนามบินอนุญาตโดยกําหนดกระบวนการดําเนินงานในสวนของการรักษา
สิ่งแวดลอม และออกระเบียบใหมีคูมือการดําเนินงานสนามบินอนุญาตเกี่ยวกับการจัดการคุณภาพอากาศในเขตทา
อากาศยาน ซึ่งอางอิงจาก Airport Air Quality Manual ขององคการการบินพลเรือนระหวางประเทศ 18 เพื่อใหเกิด

13
โสภารัตน จารุสมบัติ, “ศักยภาพองคกรปกครองสวนทองถิ่นในการจัดการสิ่งแวดลอม,” สืบคนเมื่อวันที่ 6 เมษายน
2561, จาก file:///C:/Users/COJ/Downloads/9-1-full.pdf. น.11.
14
อางแลว เชิงอรรถที่ 10, น.97.
15
กิติวรรณ ขันติไตรรัตน, “มาตรการคุมครองสิ่งแวดลอมจากการปลอยไอเสียของเครื่องยนตอากาศยาน ภายใต
อนุสัญญาวาดวยการบินพลเรือนระหวางประเทศ,” (วิทยานิพนธมหาบัณฑิต คณะนิติศาสตร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร, 2558), น.
150.
16
กรมทาอากาศยาน “ระเบียบกรมการบินพลเรือนวาดวยมาตรฐานของระเบียบเกี่ยวกับกระบวนการดําเนินงาน
สนามบิน พ.ศ.2557”, สืบคนเมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ 2560, http://www.airports.go.th/th/gov_law/32/818.html.
17
ขอบังคับของสํานักงานการบินพลเรือนแหงประเทศไทย ฉบับที่ 5 วาดวยคาบริการในการขึ้นลงของอากาศยานและ
คาบริการที่เก็บอากาศยาน ณ สนามบินอนุญาต หรือที่ขึ้นลงชั่วคราวอนุญาต, ราชกิจจานุเบกษา เลมที่ 134 ตอนพิเศษ 49 ง, 16
กุมภาพันธ 2560, น.52.
18
International Civil Aviation Organization, Airport Air Quality Manual, (Quebec : ICAO, 2011).
วารสารนิติศึกษาไทย 653

สภาพบังคับตามมาตรา 60/20 ที่ใหอํานาจผูอํานวยการหรือพนักงานเจาหนาที่เขาไปตรวจสอบการดําเนินงานของทา


อากาศยาน รวมถึง มี อํานาจสั่งระงับการดําเนินงานในสวนที่ไมเปนไปตามกระบวนการดําเนินงานได ซึ่ ง การใช
มาตรการดังกลาวเองก็มีบทบัญญัติที่คุมครองการคมนาคมขนสงทางอากาศ โดย รัฐมนตรีหรือผูอํานวยการอาจสั่งให
พนักงานเจาหนาที่เขาดําเนินงานทาอากาศยานเปนการชั่วคราวไดตามมาตรา 60/33 ทั้งยังมีบทลงโทษตามมาตรา
112 แหงพระราชบัญญัติเดียวกัน หากทาอากาศยานไมปฏิบัติตามหนาที่ที่กําหนดไวในมาตรา 60/15 โดยตองระวาง
โทษปรับตั้งแต 50,000 บาท ถึง 500,000 บาท
ในการทําแผนปฏิบัติการเพื่อลดและขจัดมลพิษสําหรับเขตควบคุมมลพิษ ตามพระราชบัญญัติสงเสริมและ
รักษาคุณภาพสิ่งแวดลอมแหงชาติ พ.ศ.2535 มาตรา 60 เจาพนักงานควบคุมมลพิษและเจาพนักงานทองถิ่นควร
ประสานความรวมมือจากสํานักงานการบินพลเรือนแหงประเทศไทย และบริษัททาอากาศยานไทย จํากัด (มหาชน)
เพื่อการจัดทําแผนปฏิบัติการลดและขจัดมลพิษทางอากาศในสวนที่เกี่ยวของกับทาอากาศยานสุวรรณภูมิไดอยางมี
ประสิทธิภาพ นอกจากนี้ทาอากาศยานสุวรรณภูมิควรใหความรวมมือกับเจาพนักงานทองถิ่นในการปฏิบัติการตาม
พระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ.2535 โดยอนุญาตใหเจาพนักงานทองถิ่นเขาไปในเขตปฏิบัติการบิน หากมีกรณีที่
จําเปนตองเขาระงับเหตุรําคาญ
3.2 ขอเสนอแนะระยะยาว
ควรมีการแกไขพระราชบัญญัติการเดินอากาศ พ.ศ.2497 เกี่ยวกับหนาที่ของผูไดรับใบรับรองการดําเนินงาน
สนามบินสาธารณะ ตามมาตรา 60/15 แหงพระราชบัญญัติดังกลาวใหมีหนาที่รักษาสิ่งแวดลอมในการดําเนินงาน
สนามบินสาธารณะ ซึ่งจะมีการกํากับดูแลโดยองคกรดานการบินพลเรือนและมีสภาพบังคับที่เหมาะสมกับระบบการ
ขนสงสาธารณะ
นอกจากนี้ยังควรออกขอบังคับของสํานักงานการบินพลเรือนแหงประเทศไทยกําหนดหลักเกณฑและเงื่อนไข
ในการเก็บคาบริการในการขึ้นลงของอากาศยานโดยกําหนดการเรียกเก็บอัตราคาบริการตามปริมาณมลพิษที่ปลอยมา
จากอากาศยานแตละรุนซึ่งอางอิงจากฐานขอมูลมลพิษจากอากาศยานขององคการการบินพลเรือนระหวางประเทศ
รวมทั้ ง พิ จารณาคํ าแนะนําขององคการการบินพลเรือนระหวางประเทศในเรื่องการเรียกเก็บค าบริการดังกลาว
ประกอบ19 ซึ่งเปนมาตรการสําคัญที่สหราชอาณาจักรเลือกใชเพื่อควบคุมมลพิษจากทาอากาศยานสําหรับทาอากาศ
ยานที่มีปญหามลพิษทางอากาศ และเพื่อประสิทธิภาพในการควบคุมมลพิษจากแหลงกําเนิดบริเวณทาอากาศยาน
รัฐ มนตรีว า การกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่ง แวดลอมควรประกาศกําหนดมาตรฐานควบคุ มมลพิษจาก
เครื่องยนตของอุปกรณภาคพื้นตาง ๆ ที่ใชอยูในบริเวณทาอากาศยาน ตามพระราชบัญญัติสงเสริมและรักษาคุณภาพ
สิ่งแวดลอมแหงชาติ พ.ศ. 2535 มาตรา 55 เพิ่มเติมดวย

บทสรุป
ทาอากาศยานสุวรรณภูมิเปนทาอากาศขนาดใหญที่มีแหลงกําเนิดมลพิษฝุนละอองหลายประเภท ซึ่งลวน
แลวแตมีลักษณะเฉพาะที่แตกตางจากโครงการประเภทอื่น นอกจากนี้การใหบริการการขนสงทางอากาศระหว าง
ประเทศมีความสําคัญ ทําใหการใชสภาพบังคับของกฎหมายในการควบคุมมลพิษที่ใชบังคับในปจจุบันไมสามารถใช
ควบคุ ม มลพิ ษ ฝุ น ละอองบริ เ วณท า อากาศยานสุ ว รรณภู มิ ไ ด อ ย า งมี ป ระสิ ท ธิ ภ าพ จึ ง มี ค วามจํ า เป น ต อ งแกไ ข
พระราชบัญญัติการเดินอากาศ พ.ศ.2497 รวมทั้งออกกฎหมายลําดับรองที่ เกี่ยวของเพื่อกําหนดหนาที่ในการรักษา
สิ่งแวดลอมใหแกทาอากาศยาน เพื่อใหมีมาตรการตรวจสอบ สภาพบังคับ และบทลงโทษที่เหมาะสมกับทาอากาศยาน
อันจะทําใหการควบคุมมลพิษฝุนละอองบริเวณทาอากาศยานมีประสิทธิภาพในขณะที่ไมกระทบตอการพัฒนาทา
อากาศยานในดานอื่น ซึ่งเปนการพัฒนาที่ยั่งยืนอยางแทจริง

19
International Civil Aviation Organization, ICAO’s Policies on Charges for Airports and Air Navigation
Services, (Quebec : ICAO, 2012).
654 Thailand Journal of legal Study

บรรณานุกรม

หนังสือ

กิติวรรณ ขันติไตรรัตน. “มาตรการคุมครองสิ่งแวดลอมจากการปลอยไอเสียของเครื่องยนตอากาศยาน ภายใต


อนุ สั ญ ญาว า ด ว ยการบิ น พลเรื อ นระหว า งประเทศ.” วิ ท ยานิ พ นธ ม หาบั ณ ฑิ ต คณะนิ ติ ศ าสตร
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร, 2558.
สถาบันวิจัยและใหคําปรึกษาแหงมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร. รายงานฉบับสมบูรณ โครงการวาจางเปนที่ปรึกษา
ปรับปรุงกระบวนการวิเคราะหผลกระทบสิ่งแวดลอมภายใตพระราชบัญญัติสงเสริมและรักษาคุณภาพ
สิ่งแวดลอม พ.ศ.2535. กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร, 2552.
อํานาจ วงศบัณฑิต. กฎหมายสิ่งแวดลอม. พิมพครั้งที่3. กรุงเทพมหานคร : สํานักพิมพวิญูชน, 2557.

สื่ออิเล็กทรอนิกส

โสภารัตน จารุสมบัติ. “ศักยภาพองคกรปกครองสวนทองถิ่นในการจัดการสิ่งแวดลอม.” file:///C:/Users/COJ/


Downloads/9-1-full.pdf. น.11, 6 เมษายน 2561.

BOOKS

Civil Aviation Authority. Environmental Charging – review of impact of noise and NOx Landing Charges.
London : CAA, 2013.
FAA. Environmental Desk Reference for Airport Actions. n.p. : FAA Office of Airports, 2007.
F.William Brownell. Clean Air Act, ed. Thomas F.P. Sullivan. Environmental law handbook. 21th
edition. Maryland : Government Institutes, 2011
International Civil Aviation Organization. Airport Air Quality Manual. Quebec: ICAO, 2011.
International Civil Aviation Organization. ICAO’s Policies on Charges for Airports and Air Navigation
Services. Quebec : ICAO, 2012.
Sydney Airport. Environment Strategy 2013-2018. Sydney : Sydney Airport Limited, n.d..
วารสารนิติศึกษาไทย 655

พยานหลักฐานดิจิตอลในคดีสิ่งแวดลอม : ศึกษากรณีเทคโนโลยีการสํารวจระยะไกล
DIGITAL EVIDENCE AND FORENSICS OF ENVIRONMENTAL LITIGATIONS :
THE CASE STUDY ON REMOTE SENSING TECHNOLOGY

จรัญยา กิติไพศาลนนท
Jarunya Kitiphaisannon
บทคัดยอ
การศึกษานี้เปนการประยุกตใชเทคโนโลยีการสํารวจระยะไกลดวยดาวเทียมในฐานะพยานดิจิตอลเพื่อเปน
เครื่องมือสําคัญในการเฝาระวังและติดตามสถานการณสิ่งแวดลอม ทําใหการบังคับใชกฎหมายมีประสิทธิภาพ และ
เปนพยานหลักฐานสําคัญในการพิสูจนขอเท็จจริงในคดีสิ่งแวดลอมที่มีลักษณะสลับซับซอน มีผลกระทบรุนแรงและ
เปนวงกวาง ตองอาศัยพยานหลักฐานวิทยาศาสตรในการพิสูจนขอเท็จจริงรวมกับความเห็นผูเชี่ยวชาญที่มีความรู
ความเชี่ยวชาญเฉพาะดาน
ปจจุบันยังไมมีกฎหมายจัดประเภทขอมูลดาวเทียมเปนการเฉพาะ ในการพิจารณาคดีจึงถูกจัดประเภทไว
หลากหลาย เปนทั้งพยานเอกสาร พยานวัตถุ พยานวิทยาศาสตร และพยานดิจิตอล ซึ่งตองพิจารณาความถูกตองของ
ขอมูลสองระดับ คือ การไดมาซึ่งขอมูล และการแปลตีความขอมูล หากขอมูลดาวเทียมถูกมองวาไมใชพยานตนฉบับ
แมศาลจะรับฟงเปนพยานไดแตอาจจะใหน้ําหนักในเชิงการพิสูจนนอย นอกจากนี้เมื่อการอธิบายความหมายของ
ขอมู ล ดาวเที ย มต องดํ าเนิน การผานผู เชี่ยวชาญ คุ ณ สมบั ติ พยานผู เชี่ย วชาญจึ งมี ความสํา คัญ แต ป จ จุ บั นยังไมมี
ผูเชี่ยวชาญที่ขึ้นทะเบียนผูเชี่ยวชาญดานเทคโนโลยีสํารวจระยะไกลดวยดาวเทียม อีกทั้งยังไมมีหนวยงานในการ
รับรองความถูกตองแทจริงของขอมูลดาวเทียมอันเปนหัวใจสําคัญหนึ่งในการใชขอมูลดาวเทียมเปนหลักฐานเพื่อ
พิสูจนความจริงในคดี
ในการพิจารณาคดีเมื่อศาลวางตัวเปนกลางทําใหการนําเสนอพยานหลักฐานเขาสูคดีขึ้นกับความสามารถ
และเจตนาของคูความ ซึ่งมีเปาหมายคือการที่ฝายตนชนะคดี จึงอาจไมนําเสนอพยานหลักฐานที่เปนปฏิปกษแตมี
ประสิทธิภาพในการพิสูจนความจริงเขาสูคดี และหากเปนคดีสิ่งแวดลอมอาจกอใหเกิดความเสียหายแกสาธารณะ
สมบัติและสังคมเปนวงกวางและเกินเยียวยา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพงไมไดกําหนดประเภทพยานอิเล็กทรอนิกสไวเปนการเฉพาะ แมจะมี
บัญญัติในพระราชบัญญัติวาดวยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส พ.ศ. 2544 แตไมสอดคลองรองรับกับการใชภาพถาย
ดาวเทียมในคดีสิ่งแวดลอม รวมถึงเกี่ยวกับการรับฟงขอมูลคอมพิวเตอรในขอกําหนดคดีทรัพยสินทางปญญาและ
การคาระหวางประเทศ พ.ศ. 2540 ก็มีเขตอํานาจจํากัดเพียงศาลลมละลาย และศาลทรัพยสินทางปญญาและการคา
ระหวางประเทศเทานั้น
เพื่อใหขอมูลดาวเทียมถูกใชเปนพยานหลักฐานในคดีสิ่งแวดลอมอยางมีประสิทธิภาพ จึงควรออกขอกําหนด
ของประธานศาลฎีกาวาดวยการดําเนินกระบวนพิจารณาคดีสิ่งแวดลอมโดยใชเทคโนโลยีการสํารวจระยะไกลดวย
ภาพถายดาวเทียม พ.ศ. ... วางแนวทางเรื่องการตรวจสอบความถูกตองแทจริง บทบาทของศาลและคูความในการ
เรียกพยานนี้เขามาในคดีในเชิงรุก การสืบพยาน การรับฟงพยานหลักฐาน การชั่งน้ําหนักพยานหลักฐาน และพยาน
ผู เ ชี่ ย วชาญ รวมทั้ ง การรั บ รองความถู ก ต อ งแท จ ริ ง ของข อ มู ล ดาวเที ย ม ส ว นในด า นการเฝ า ระวั ง และติ ด ตาม


นั ก ศึ ก ษาปริญญาโท หลั ก สู ตรนิ ติศาสตรมหาบัณฑิต สาขากฎหมายทรัพยากรธรรมชาติและสิ่ง แวดลอ ม คณะ
นิติศาสตร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร : อีเมลติดตอได k.jarunya@gmail.com
Graduate Student of Master of Laws Program in Natural Resources and Environmental Law, Faculty
of Law, Thammasat University. Email address : k.jarunya@gmail.com
656 Thailand Journal of legal Study

สถานการณสิ่งแวดลอมเสนอใหออกประกาศวาดวยการจัดทํารายงานชนิดและปริมาณสารมลพิษที่ระบายออกจาก
โรงงานโดยใชเทคโนโลยีการสํารวจระยะไกลดวยดาวเทียม

คําสําคัญ
พยานหลักฐานดิจิตอล, พยานหลักฐานวิทยาศาสตร , ภาพถายดาวเทียม, เทคโนโลยีการสํารวจระยะไกล,
การดําเนินคดีสิ่งแวดลอม

ABSTRACT
This study is to apply satellite remote sensing technology as digital evidence to support
environmental law enforcement and be the crucial evidence in environmental cases which its impact
is severe and broad and it relies on scientific evidence together with specialized expert opinion to
demonstrate the facts.
Since satellite data is not classified by Thai law, it may be seen as documentary, physical,
scientific, or electronic evidence. As electronic evidence, satellite data; must be considered in terms
of data acquisition and interpretation. If it is not considered as the best evidence, it will be given
less credence in trial. Explanation of satellite data depends upon expert witnesses whose
qualifications are essential, yet currently, no registered experts exist in remote sensing technology
as well as no organization officially certifies satellite data’s accuracy and authenticity.
While judges remain impartial in proceedings, the presentation of evidence based on the
capability and intention of the parties, where their goals are to win cases. The presentation of
appropriate evidence may be neglected. If they are environmental cases, it may damage the public
property and society overall in permanent ways.
Thai Civil Procedure Code does not categorize electronic evidence as described in the
Electronic Transactions Act B.E.2544 (2001). However, it is not compatible with the use of satellite
data as evidence in environmental lawsuits. Similarly, the Supreme Court Regulation on the
Intellectual Property and International Trade Court law cases B.E.2540 (1997) decrees about
computer evidence hearing, but its applicability is limited in the Bankruptcy Court and the
Intellectual Property and International Trade Court.
These findings suggest that to use satellite data as evidence in environmental litigation
effectively, the Supreme Court Regulation on environmental trial proceedings guidelines might be
enacted for using satellite imagery in environmental trials, establishing the accuracy and authenticity
identification, the court’s role, witness investigations, hearings, admissions, weighing, expert
witnesses, and certifying and authenticating of satellite data accuracy. For surveillance and
monitoring environmental situations, reports on the type and amount of pollutants discharged from
plants should be initiated automatically by satellite remote sensing technology to relevant
organizations.

Keywords
Digital evidence, Scientific evidence, Satellite image, Remote Sensing, Environmental cases
วารสารนิติศึกษาไทย 657

บทนํา
มนุษยใหความสําคัญกับคุณคาทรัพยากรธรรมชาติและคุณภาพสิ่งแวดลอมมากขึ้นเปนลําดับ จากแนวคิด
ในทางระหว า งประเทศเกี่ ย วกั บ “การพั ฒ นาอย า งยั่ ง ยื น ” ที่ ว างแนวการพั ฒ นาควบคู กั บ การอนุ รั ก ษ
ทรัพยากรธรรมชาติโดยไมใหกระทบกระเทือนสิทธิการใชทรัพยากรของชนรุนหลัง 1 แตกระนั้นปญหาการเสื่อมสภาพ
ของทรัพยากรธรรมชาติจากการใชอยางไมระมัดระวังจนทําใหเกิดภาวะมลพิษกระจายไปทั่วทุกหนแหงยังคงเกิด
ขึ้นอยูเนือง ๆ ในทุกพื้นที่
แนวคิดการพัฒนาอยางยั่งยืนไดเปลี่ยนกระบวนทัศนจากที่มนุษยเปนศูนยกลางของสรรพสิ่งไปเปนแนวคิดที่
มนุษยเปนเพียงสวนหนึ่งของระบบนิเวศน สงอิทธิพลตอพัฒนาการกฎหมายที่ใหความสําคัญกับสิ่งแวดลอมมากขึ้น
ปรากฏเปนประวัติศาสตรวา มีการบัญญั ติกฎหมายที่ มีวัต ถุป ระสงค ในการควบคุมการใชประโยชนและคุม ครอง
ทรัพยากรธรรมชาติ รวมทั้งการปองกันการเกิดภาวะมลพิษสูสิ่งแวดลอม ซึ่งครอบคลุมกระบวนการในการเฝาระวัง
ติ ด ตาม และประเมิ น สถานการณ สิ่ ง แวดล อ มในเชิ ง ป อ งกัน (Preventive) และในอี ก แง มุ ม คื อ การปราบปราม
(Suppression) การกระทําความผิดโดยหนวยงานของรัฐ หรือกรณีพิพาทเพื่อเยียวยาความเสียหาย (Remedy) จนได
มีการบัญญัติกฎหมายเกี่ยวดวยเรื่องสิ่งแวดลอมที่เกี่ยวกับกระบวนการพิจารณาคดีทางดานสิ่งแวดลอม เชน ชอง
ทางการนําคดีขึ้นสูศาล ภาระการพิสูจน และบทลงโทษในกรณีที่มีการกระทําความผิด เปนตน ซึ่งตองอาศัยเทคโนโลยี
ที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพในการติดตามเฝาระวังและการดําเนินคดีทางดานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดลอม
เพื่อประกอบการบังคับใชกฎหมายใหมีประสิทธิภาพ
การเฝาระวังและติดตามสถานการณทรัพยากรธรรมชาติและผลกระทบตอสิ่งแวดลอมในแบบดั้งเดิมคือการ
ลงสํารวจเก็บตัวอยางในพื้นที่เพื่อนํามาตรวจวัดคาในหองปฏิบัติการ แมปจจุบันมีการพัฒนาเทคโนโลยีการตรวจวัดคา
ให ทั น สมั ย ตรงตามหลั กวิ ช าการเพื่ อ ความสะดวกและรวดเร็ว แต วิ ธี การดั ง กล า วยั ง ต อ งสู ญเสี ย ทรัพ ยากรด า น
งบประมาณและเวลาในการลงพื้นที่ภาคสนามและการตรวจหาคาตัวอยาง รวมทั้งตองอาศัยบุคคลากรที่มีความ
เชี่ยวชาญวางแผนเพื่อเก็บตัวอยาง นอกจากนี้ความถูกตองแมนยํา ของผลการตรวจวัดจะขึ้นอยูกับขนาดของจํานวน
ตัวอยางและขั้นตอนทางหองปฏิบัติการ ทั้งยังมีขอจํากัดที่ไมสามารถตรวจสอบขอเท็จจริงของเหตุการณในอดีต และ
ขอจํากัดดานสภาพภูมิประเทศและสภาพภูมิอากาศที่ทําใหไมสามารถไปเก็บตัวอยางในบางพื้นที่ได
ขณะที่การดําเนินคดีสิ่งแวดลอมจัดไดวามีลักษณะพิเศษ2 เนื่องจากคุณลักษณะของคดีที่กอความเสียหายตอ
คน ทรัพยสิน และระบบนิเวศนเปนวงกวาง ไมจํากัดภายใตเขตการปกครอง อีกทั้งผูเสียหายอาจจะไมใชผูเสียหาย
โดยตรงตามนิยามของกฎหมายที่ใชอยูในปจจุบัน ผลกระทบที่เกิดขึ้นสวนใหญจะเกิด กับสาธารณะสมบัติที่ไมใช
ทรัพยสินของปจเจกบุคคล อันถือวาเปนสมบัติของสวนรวม ผลกระทบที่เกิดขึ้นอาจไมปรากฏตัวเดนชัดในทันทีทันใด
แตตองใชเวลาในการบมเพาะ และเมื่อผลกระทบเกิดขึ้นจําเปนตองรักษาเยียวยาโดยเร็ว ไมเชนนั้นจะเกิดผลรุนแรง
ขึ้นเปนเทาทวีคูณจนไมอาจตั้งรับหรือแกไขไดทันเวลา เชนนี้แลวการจะพิสูจนขอเท็จจริงประกอบการพิจารณาคดี
สิ่งแวดลอม จะตองใชพยานหลักฐานที่สามารถพิสูจนขอเท็จจริงไดอยางชัดเจน รวดเร็ว และมีความนาเชื่อถือได

1
Our Common Future ค.ศ. 1987 (Bruntland Report) ของคณะกรรมาธิการโลกวาดวยสิ่งแวดลอมและการ
พั ฒ นา (World Commission on Environment and Development: UNCED) ได พู ด ถึ ง นิ ย ามการพั ฒ นาที่ ยั่ ง ยื น
(Sustainable Development) หมายถึง “การตอบสนองความตองการของคนรุนปจจุบัน โดยไมมีผลกระทบในทางลบตอ
ความต อ งการของคนรุ น ต อ ไปในอนาคต,” อ า งใน UN Documents, “Our Common Future, Chapter 2: Towards
Sustainable Development”, Retrieved on March 2, 2016, from http://www.un-documents.net/ocf-02.htm.
2
สุนีย มัลลิกะมาลย, พงษเดช วานิชกิตติกูล และคณะ, รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ โครงการการศึกษาวิเคราะห
สิ่งแวดลอมในศาลยุติธรรม, (มกราคม 2547), น.20.
658 Thailand Journal of legal Study

มีการนําเทคโนโลยีการสํารวจระยะไกลดวยภาพถายดาวเทียมมาใชเพื่อแกปญหาและตอบสนองตอมาตรการ
เฝาระวังและติดตามสถานการณสิ่งแวดลอมในหลายประเทศ และใชเพื่ออางอิงเปนพยานหลักฐานในคดีสิ่งแวดลอม 3
ทั้งระดับประเทศ เชน สหรัฐอเมริกา กรีก สิงคโปร ในระดับภูมิภาค เชน สมาคมประชาชาติแหงเอเชียตะวันออกเฉียง
ใต (ASEAN) สหภาพยุโรป (EU) และในทางระหวางประเทศ โดยศาลยุติธรรมระหวางประเทศ เปนตน ในเรื่องการ
พิสูจนขอเท็จจริงเชิงพื้นที่และเชิงคุณภาพ กลาวคือ การพิสูจนผลกระทบของมลพิษในแตละพื้นที่ และความเขมขน
ของปริมาณสิ่งที่ตองการวินิจฉัย เปนตน เทคโนโลยีดังกลาวไดรับการยอมรับจากวงการวิทยาศาสตรและเทคโนโลยี
โดยมีการกําหนดหลักเกณฑใหเปนไปตามหลักวิชาการ ทําใหไดผลการศึกษาที่มีความนาเชื่อถือ สามารถตรวจสอบคา
ความถูกตองได ถือเปนพยานหลักฐานทางนิติวิทยาศาสตรประเภทหนึ่งที่นําเขาสูกระบวนการพิจารณาดวยการแปล
คาความหมายโดยผูเชี่ยวชาญเฉพาะดาน
เทคโนโลยีการสํารวจระยะไกล (Remote Sensing) เปนการสํารวจระยะไกลซึ่งเครื่องมือวัดไมมีการสัมผัส
กับสิ่งที่ตองการตรวจวัดโดยตรง แตจะติดตั้งเครื่องวัด เชน กลองถายภาพไวที่สูง บนบอลลูน บนเครื่องบิน ยาน
อวกาศ หรือดาวเทียม แลวอาศัยคลื่นแมเหล็กไฟฟาที่แผหรือสะทอนมาจากสิ่งที่ตองการสํารวจเปนสือ่ ในการวัด ทําให
เก็บขอมูลไดจํานวนมากตามชวงวงรอบการถายภาพ ในบริเวณกวางกวาการสํารวจภาคสนาม เทคโนโลยีนี้จึงชวย
สนับสนุนใหทราบขอเท็จจริงในภาพกวาง ทั้งในมิติดานเวลา การเปลี่ยนแปลงเคลื่อนที่ของวัตถุ ทําใหแกไขขอจํา กัด
ของการเก็บขอมูลในแบบดั้งเดิมได
สําหรับประเทศไทย ความรูความเชี่ยวชาญดานเทคโนโลยีการสํารวจระยะไกลเปนความรูเฉพาะทางที่ยังใช
งานดานกฎหมายในวงจํากัด 4 นํามาใชในการเฝาระวังและติดตามสถานการณสิ่งแวดลอมเพียงบางหนวยงาน เชน
กรมควบคุมมลพิษโดยความสนับสนุนของสํานักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องคการมหาชน)
ฯลฯ การประยุกตใชเทคโนโลยีนี้เพื่อเปนพยานหลักฐานในคดีมีอยูไมกี่ประเภทคดี เชน คดีพิเศษของกรมสอบสวนคดี
พิเศษ (DSI)5 กรมปาไม กรมอุทยานแหงชาติ สัตวปาและพันธุพืช ซึ่งคดีสวนใหญเปนการพิสูจนการถือครองและการ
บุกรุกพื้นที่ของประชาชน ทั้งที่เทคโนโลยีดังกลาวยังมีคุณประโยชนในอีกหลายดาน เชน การประยุกตใชในการเตือน
ภัยพิบัติ การประเมินสถานการณมลพิษ การสํารวจการใชประโยชนที่ดิน ฯลฯ
แมวาการใชเทคโนโลยีนี้เพื่อพิสูจนขอเท็จจริงไดรับการยอมรับในวงการวิทยาศาสตรวาสามารถใชพิสูจน
ขอเท็จจริงได และการที่จะนําหลักฐานนี้เขาสูกระบวนการพิจารณาไมตองหามดวยกฎหมาย แตตองอาศัยความรู
ความสามารถและขึ้นอยูกับเจตนาของผูทําคดีแตละฝายที่มีเปาหมายใหฝายตนเปนผูชนะคดี โดยเฉพาะคดีที่อาศัย
การพิจารณาแบบกลาวหา บางครั้งเทคโนโลยีนี้ถูกละเลยไมถูกนําเขาสูกระบวนการพิจารณาของศาล หากเปนคดี
สิ่งแวดลอมจะสงผลกระทบอยางมาก นอกจากนี้หากเปนประเด็นแหงคดีแลวการไมไดกลาวอางหลักฐานชิ้นนี้ไวใน
ศาลชั้นตน ก็ไมสามารถกลาวอางเปนพยานหลักฐานในศาลชั้นสูงตอไปไดอีก
การพิสูจนทราบขอเท็จจริงโดยใชภาพถายดาวเทียมตองอาศัยความสามารถของพยานผูเชี่ยวชาญในการ
แปลความหมายและถายทอดขอเท็จจริงที่เกิดขึ้นในภาพถายดาวเทียมนั้น ซึ่งศาลจะเปนผูใชดุลพินิจในการชั่งน้ําหนัก
พยานภาพถายดาวเทียมดวยตัวเอง
การนําเทคโนโลยีการสํารวจระยะไกลมาใชเปนพยานหลักฐานในการดําเนินคดีดานสิ่งแวดลอมอาจถูกจัดวา
เปนพยานเอกสาร พยานวัตถุ พยานวิทยาศาสตรที่ตองอาศัยพยานผูเชี่ยวชาญในการแปลตีความหมาย รวมทั้งเปน

3
Tracy Bowles, “ Remote Sensing and Geospatial Data Used as Evidence: A Survey of Case law,
School of Law, University of Mississippi, ” 2002. สื บ ค น เ มื่ อ วั น ที่ 5 ก ร ก ฎ า ค ม 2 5 6 0 , จ า ก
http://www.crowsey.com/pdf/caseLawSurvey.pdf.
4
สัมภาษณ สุริยน ประภาสะวัต, อัยการจังหวัดนาน, สัมภาษณ, กรมสงเสริมคุณภาพสิ่งแวดลอม, เมื่อวันที่ 2
สิงหาคม 2559.
5
สัมภาษณ ไกรศรี สวางศรี, เจาหนาที่กรมสอบสวนคดีพิเศษ Department of Special Investigation, สัมภาษณ,
กรมสอบสวนคดีพิเศษ, เมื่อวันที่ 29 สิงหาคม 2559.
วารสารนิติศึกษาไทย 659

พยานอิเล็กทรอนิกสหรือพยานดิจิตอลที่มีลักษณะเฉพาะ ซึ่งอาศัยกฎหมายที่มีความเหมาะสมและชัดเจนที่จะทําให
การใชภาพถายดาวเทียมเปนพยานหลักฐานในคดีไดอยางมีประสิทธิภาพ
ด ว ยเหตุ นี้ จึ ง ควรศึ ก ษาแนวทางการนํ า เทคโนโลยี ก ารสํ า รวจระยะไกลมาใช กั บ การเฝ า ระวั ง ติ ด ตาม
สถานการณ ท รัพ ยากรธรรมชาติ สิ่ ง แวดล อม และการนํ า เสนอเป น พยานหลั กฐานเพื่ อพิ สู จ น ขอ เท็ จ จริง ในคดี
สิ่งแวดลอมวามีขอดีขอเสียอยางไร และควรนํามาใชอยางไร ประกอบกับการศึกษาถึงกฎ ระเบียบ และกฎหมายที่
เกี่ยวของเพื่อใหเกิดการใชประโยชนจากเทคโนโลยีการสํารวจระยะไกลอยางมีประสิทธิภาพ
เทคโนโลยีดานการสํารวจระยะไกลดวยดาวเทียม
“เทคโนโลยี ด า นการสํ า รวจระยะไกล” หรื อ “รี โ มทเซ็ น ซิ่ ง ” (Remote Sensing) ถู ก ใช ค รั้ ง แรกใน
สหรัฐอเมริกาเมื่อ พ.ศ.2503 หมายถึง วิทยาศาสตรและเทคโนโลยีแขนงหนึ่งที่บันทึกคุณลักษณะของวัตถุ (Object)
หรื อ ปรากฏการณ (Phenomena) ต า ง ๆ จากการสะท อ นแสง หรื อ การแผ รั ง สี พ ลั ง งานแม เ หล็ ก ไฟฟ า
(Electromagnetic Energy หรือ Electromagnetic Radiation) โดยเครื่องวัดหรืออุปกรณบันทึกที่ติดอยูกับพาหนะ
สํารวจ6 ซึ่งปราศจากการสัมผัสวัตถุนั้น การใชเทคโนโลยีการสํารวจระยะไกลเริ่มแพรหลายมากขึ้นเมื่อสหรัฐอเมริกา
ไดสงดาวเทียมสํารวจทรัพยากรดวงแรกที่ชื่อวา LANDSAT-1 ขึ้นไปโคจรรอบโลกในป พ.ศ.25157 โดยคณะกรรมการ
การใชหวงอวกาศอยางสันติแหงสหประชาชาติ ภายหลังจากที่มีการสงดาวเทียมดานวิทยาศาสตรดวงแรกของโลกในป
พ.ศ.24988
ดาวเทียมเพื่อการสํารวจทรัพยากรธรรมชาติและสภาพแวดลอม (Earth Observation Satellite) สรางขึ้น
จากการผสมผสานเทคโนโลยีการถายภาพและโทรคมนาคม โดยใชหลักการสํารวจระยะไกล (Remote Sensing)
โดยอาศัยคลื่นพลังงานแมเหล็กไฟฟา (EME : Electro - Magnetic Energy) เปนสื่อกลางระหวางวัตถุเปาหมายและ
อุ ป กรณ บั น ทึ กขอมู ล ที่ ร องรับไดหลายชว งคลื่ น ซึ่ ง สามารถบั นทึ ก พลัง งานคลื่น แมเหล็ กไฟฟ า ได 2 รูป แบบ คือ
พลังงานที่ไดจากการแผรังสีมาตามธรรมชาติ (Passive Remote Sensing) และ ที่เครื่องตรวจวัดจะสงสัญญาณคลื่น
แมเหล็กไฟฟาที่สรางขึ้นออกไปยังวัตถุเปาหมายและคอยตรวจวัดความเขมขนของสัญญาณซึ่งสะทอนกลับออกมาจาก
วัตถุเปาหมาย (Active Remote Sensing)
ดวยคุณสมบัติความหลายหลายดังกลาวตอไปนี้ทําใหภาพถายดาวเทียมสามารถจําแนกประเภททรัพยากร
และมลพิษ เชน สิ่งมีชีวิต พืช สิ่งกอสราง แรธาตุ สภาพอากาศ เปนตน
x รายละเอียดชวงคลื่น (Spectral Resolution) ดาวเทียมสํารวจทรัพยากรมีระบบที่บันทึกภาพได
หลายชวงคลื่นในบริเวณเดียวกัน ทั้งในชวงคลื่นที่เห็นไดดวยตาเปลา และชวงคลื่นนอกเหนือสายตามนุษย ทําใหแยก
วัตถุตาง ๆ บนพื้นผิวโลกไดอยางชัดเจน เชน ระบบ TM มี 7 ชวงคลื่น เปนตน โดยใชขอมูลพื้นที่และเวลาเดียวกันที่
ถูกบันทึกในหลายชวงคลื่น ซึ่งในแตละชวงความยาวคลื่น (Band) ที่แตกตางกันจะใหคาการสะทอนพลังงานของวัตถุ
หรือพื้ น ผิ ว โลกที่แตกต างกัน (Multispectral Approach) ยั ง มี เ ทคนิค Hyperspectral Remote Sensing โดยใช
เครื่องกวาดภาพชวงคลื่นละเอียดสูง (Hyperspectral Sensor หรือ Imaging Spectrometer) ซึ่งจะตรวจวัดเปนชวง
คลื่นหรือแบนดเล็ก ๆ ชวงแคบๆ 5-10 nm จํานวนมาก ในชวงคลื่นที่ตามองเห็นได (visible) ถึงอินฟาเรด (infrared)
ไปพรอมกัน โดยจํานวนแบนดที่พบจะอยูตั้งแต 100-200 แบนดขึ้นไป
x รายละเอียดเชิงพื้นที่ (Spatial Resolution) บงบอกพื้นที่ขนาดเล็กที่สุดของวัตถุที่จะถูกตรวจจับ ได
โดยอุปกรณบันทึกขอมูล หรือถูกแสดงออกมาในรูปของจุดภาพ ทําใหเลือกใชประโยชนในการศึกษาดานตาง ๆ ได

6
อุไรวรรณ คีรีทอง, “เทคโนโลยีดานการสํารวจระยะไกล (Remote Sensing : RS),” สืบคนเมื่อวันที่ 10 เมษายน
2559, จาก https://yingpew103.wordpress.com/2013/01/18/เทคโนโลยีดานการสํารวจ/.
7
Wilkie, David S. and Finn, John T. (1996), Remote Sensing Imagery for Natural Resources Monitoring,
(New York, NY: Columbia University Press), p.31.
8
MIHAI ANDREI, “The world’s first scientific satellite is still in orbit,” Retrieved on May 12, 2018,
from https://www.zmescience.com/space/vanguard-scientific-satellite-06102017/.
660 Thailand Journal of legal Study

ตามวัตถุประสงค อาจแบงไดเปน ภาพดาวเทียมความละเอียดต่ํา เชน LANDSAT MSS และ TM หนึ่งภาพคลุมพื้นที่


185X185 ตร.กม. หรือ 34,225 ตร.กม. ภาพจาก SPOT คลุมพื้นที่ 3,600 ตร.กม. เปนตน มีการบันทึกขอมูลเปน
บริเวณกวาง (Synoptic view) ครอบคลุมพื้นที่กวางทําใหไดขอมูลในลักษณะตอเนื่องในระยะเวลาบันทึกภาพสั้น ๆ
สามารถศึกษาสภาพแวดลอมตาง ๆ ในบริเวณกวางขวางตอเนื่องในเวลาเดียวกันกับภาพ ภาพดาวเทียมความละเอียด
ปานกลาง เช น ภาพจากดาวเที ย ม SPOT ระบบ PLA มี ร ายละเอี ย ด 10 เมตร สามารถศึ กษาตั วเมื อง เส น ทาง
คมนาคมระดับหมูบาน ภาพสีระบบ MLA มีรายละเอียด 20 เมตร ศึกษาการบุกรุกพื้นที่ปาไมเฉพาะจุดเล็ก ๆ และ
แหลงน้ําขนาดเล็ก และภาพระบบ TM รายละเอียด 30 เมตร ศึกษาสภาพการใชที่ดินระดับจังหวัด เปนตน ภาพถาย
ดาวเทียมความละเอียดสูง มีลักษณะใกลเคียงกับภาพถายทางอากาศที่สามารถแยกแยะวัตถุไดดวยตาเปลา แปล
ตีความโดยใชความคุนเคยของมนุษยที่มีตอวัตถุเหลานั้นประกอบกับขอมูลสภาพแวดลอม เชน IKONOS ที่มีความ
ละเอียด 1 เมตร แมวาไมอาจแยกแยะวา เปนบุค คลคนใดคนหนึ่งได แตสามารถบงชี้กลุมคนประกอบกับ ข อมู ล
แวดลอมได
x ความเขมของพลังงาน (Radiometric Resolution) คือ ตัวเลขขอมูลที่จะมีไดในแฟมขอมูลของแต
ละแบนด คือ จํานวนบิต (bits) ที่แยกแยะไดในการบันทึกพลังงาน การบันทึกพลังงานในรูป 8 บิต จะใหความละเอียด
หรือความแตกตางของโทนสีไดกวาการบันทึกพลังงานในรูป 6 บิต
x ภาพจากชวงเวลาที่แตกตางกัน (Temporal Resolution) ดาวเทียมสํารวจทรัพยากรมีวงโคจรจาก
เหนือลงใต และกลับมายังจุดเดิมในเวลาทองถิ่นอยางสม่ําเสมอและในชวงเวลาที่แนนอน เชน LANDSAT ทุก ๆ 16
วัน MOS ทุก ๆ 17 วัน เปนตน ทําใหไดขอมูลบริเวณเดียวกันหลาย ๆ ชวงเวลาที่ทันสมัยสามารถเปรียบเทียบและ
ติดตามการเปลี่ยนแปลงตาง ๆ บนพื้นผิวโลกไดเปนอยางดี และมีโอกาสที่จะไดขอมูลไมมีเมฆปกคลุม
การวิเคราะหและแปลตีความภาพถายดาวเทียมจะตองอาศัยผูเชี่ยวชาญทุกขั้นตอน กอนการวิเคราะหและ
แปลภาพอาจมีกระบวนการกอนการแปลภาพ (Pre-processing) เพื่อตอภาพ เนนความเขมขน และตรวจแกคาของ
ภาพถายดาวเทียมใหถูกตอง การแปลภาพดาวเทียมอาจทําได 2 วิธี คือ (1) การแปลตีความดวยสายตา (Visual
interpretation) อาจจะอาศัยเทคนิคการผสมรวมชวงคลื่นใหมีความละเอียดมากขึ้น (Pan sharpening) การผสมสี
เท็จ (False color composite) เปนตน โดยพิจารณาจากองคประกอบหลักที่สําคัญ (Elements of interpretation)
ไดแก ความเขมของสีและสี (Tone/Color) ขนาด (Size) รูปราง (Shape) เนื้อภาพ (Texture) รูปแบบ (Pattern)
ความสูงและเงา (Height and Shadow) ที่ตั้ง (Site) และความเกี่ยวพัน (Association) และ (2) การแปลตีความดวย
คอมพิวเตอร (Computer interpretation) เปนการตีความหรือคนหาขอมูลโดยอาศัยหลักการทางคณิตศาสตรและ
สถิติ ใหผลขอมูลในเชิงปริมาณ (Quantitative) ที่แสดงผลการวิเคราะหออกมาเปนคาตัวเลข มีกระบวนการที่สําคัญ
คือ การจําแนกประเภทขอมูลภาพ (Image classification) โดยแบงจุดภาพที่มีคุณสมบัติการสะทอนแสงคลาย ๆ กัน
ออกเปนกลุมหรือเปนระดับ เรียกวา ชนิดหรือประเภท (Class) เพื่อที่จะแบงแยกวัตถุตาง ๆ ที่แสดงในภาพออกจาก
กัน อาจทําได 2 รูปแบบ คือ การจําแนกประเภทขอมูลภาพแบบควบคุม (Supervised classification) และการ
จําแนกประเภทขอมูลภาพแบบไมควบคุม (Unsupervised classification)
การนําเสนอผลลัพธของภาพถายดาวเทียมที่ไดจากการประมวลผลอาจอยูในรูปแบบภาพแผนที่ (Map and
Images) ที่ใหรายละเอียดการจําแนกสิ่งปกคลุมดินเชิงพื้นที่ หรือรายงาน (Reports) ที่จะอธิบายถึงกระบวนการที่ใช
ในการประมวลผล วิธีการวิเคราะห ขอมูลเชิงบรรยาย เชน ขนาดของกลุมวัตถุแตละประเภทที่นําไปทําแผนภูมิ
เปรียบเทียบขอมูลตอได และยังใหขอมูลสถิติ ความถูก ตองที่จะบง ถึงความนาเชื่ อถือของผลลัพ ธ 9 นอกจากนี้ยั ง
นําเสนอบนหนาจอ บันทึกเปนรูปภาพหรือฟลม วีดีโอ หรือการพิมพลงบนสื่อ ในรูปแบบภาพสามมิติ ที่ตองระบุขอ

9
Tobthong Chancharoen, “RS1_15_บทที่-4-ขอมูลภาพจากดาวเทียมและการประมวลผลเชิงเลข,” หนา 81,
สื บ ค น เมื่ อ วั น ที่ 24 พฤษภาคม 2561, จาก http://www.tobthong.rbru.ac.th/wp-content/uploads/2015/09/
RS1_15_บทที-่ 4-ขอมูลภาพจากดาวเทียมและการประมวลผลเชิงเลข.pdf.
วารสารนิติศึกษาไทย 661

ความจําเพาะของภาพ เชน แหลงที่มาภาพ วิธีการประมวลผล วันที่ถายภาพ อัตราสวน ผูแปลตีความ ความถูกตอง


ของขอมูล ฯลฯ เพื่อใหใชเปนขอความอางอิงในการนําไปใชงานตอไดถูกตอง
การใชภาพถายดาวเทียมรวมกับระบบสารสนเทศภูมิศาสตร (GIS) ระบบกําหนดตําแหนงบนโลก (GPS) ซึ่งมี
ขอมูลสิ่งปลูกสรางบนพื้นดินและที่มีตามธรรมชาติ ทําใหแปลผลวัตถุปกคลุมพื้นที่ที่สมบูรณขึ้น เชน การซอนทับขอมูล
ความสูงของพื้นดิน (Topographic contour) พื้นน้ํา และสิ่งปกคลุมดิน และในทางกลับกัน ภาพถายดาวเทียมจะ
ชวยในการสรางแผนที่ใหกับระบบ GIS เพื่อการวางแผนและการตัดสินใจเชนกัน รวมทั้งการประยุกตใชรวมกับ
แบบจําลองทางคณิตศาสตร (Mathematical Model) และระบบผูเชี่ยวชาญ (Expert System) ทําใหเพิ่มศักยภาพ
ของการใชภาพถายดาวเทียมใหมากขึ้น
การควบคุมความถูกตองของขอมูลดาวเทียมเริ่มตั้งแตการปรับเทียบมาตรฐานกอนปลอยดาวเทียม (Pre-
Launch Calibration) การยอยและเก็บรวบรวมขอมูล (Data Ingest) การประมวลผลภาพดิจิตอล (Digital Image
Processing) การจั ด เก็ บ (storage and archiving) และการเรี ย กคื น ข อ มู ล และการใช ง าน ( retrieval and
application) ตามมาตรฐานสากล ตามมาตรฐานความถูกตองของขอมูล (Data Content Standard) เชน มาตรฐาน
สํ า หรับ ขอมู ล เชิ ง พื้ น ที่ (National Standard for Spatial Data Accuracy : NSSDA) ของ Federal Geographic
Data Committee (FGDC) สหรั ฐ อเมริ ก า 10 มาตรฐานความละเอี ย ดถู ก ต อ งของ American Society of
Photogrammetry and Remote Sensing (ASPRS) คณะกรรมการวิชาการที่ 211 ขององคการมาตรฐานสากล
(ISO/TC211 Geographic Information/Geomatics) สําหรับประเทศไทยคณะกรรมการภูมิสารสนเทศแหงชาติได
กําหนดมาตรฐานขอมูลกําหนดขอมูลภูมิสารสนเทศพื้นฐาน (FGDS) โดยใหสํานักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิ
สารสนเทศ (GISTDA) เปนผูดูแลขอมูลภาพดาวเทียมทุกสวนตั้งแตตนน้ําถึงปลายน้ํา
การเฝาระวังและติดตามสถานการณสิ่งแวดลอม
การใชทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดลอมมีอยูอยางจํากัดเปนไปอยางยั่งยืนไดอยางหนึ่งจําตองเฝาระวังและ
ติดตามสถานการณสิ่งแวดลอม โดยกระบวนการจัดเก็บ วิเคราะห และแปลผลขอมูลที่เปนไปอยางตอเนื่องและมี
ระบบ และนําขอมูลที่ไดไปเผยแพรและใชใหเกิดประโยชนทั้งในดานการวางแผน การจัดทํามาตรการปองกัน และ
ควบคุมปญหา และการประเมินผลมาตรการอยางทันทวงที โดยจะตองอาศัยเครื่องมือที่เหมาะสมที่ใหความถูกตอง
แมนยํา และสามารถบงบอกถึงความเปลี่ยนแปลงของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดลอมนั้นได
รูปแบบการติดตามและเฝาระวังติดตามคุณภาพสิ่งแวดลอมเชิงพื้นที่ มักไดขอมูลจากการตรวจวัดวิธีตาง ๆ
11
ไดแก การสํารวจพื้นที่จริง (In Situ Measurement) เปนการลงสํารวจพื้นที่และเก็บตัวอยางจากพื้นที่จริง และการ
สํารวจจากระยะไกล (Remote Sensing) เปนการตรวจวัดขอมูลโดยอุปกรณอยูหางไกลจากสิ่งที่ศึกษา ไมสัมผัสกับ
วัตถุโดยตรง โดยมีขอดีขอเสียแตกตางกัน ทั้งนี้การประยุกตใชภาพถายดาวเทียมในการติดตามเฝาระวังสถานการณ
สิ่งแวดลอมจะทําใหการบังคับใชกฎหมายเปนไปไดอยางมีประสิทธิภาพมากขึ้น เพราะตรวจวัดพื้นที่บริเวณกวางได
ทําใหเห็นภาพรวม ติดตามสถานการณไดทันที ทันตอเหตุการณ วัดความละเอียดไดหลายระดับ ทั้งความละเอียดเชิง
พื้นที่และเชิงรังสิ ทําการสํารวจไดตอเนื่อง ทั้งกลางวันและกลางคืนสํารวจไดหลายชวงคลื่นทั้งที่ตามองเห็น และไม
สามารถมองเห็น ตรวจวัดขอมูลในพื้นที่เขาถึงไดยาก หรือไมอาจเขาถึงได ใชแทนการพิสูจนหลักฐานอื่นที่ไมอาจ
นํามาใชได เชน การหาสาเหตุเครื่องบินตก และสามารถดึงขอมูลจากฐานขอมูลเกาเพื่อมาเปรียบเทียบ วิเคราะห และ
วางแผนได สามารถลดระยะเวลาและงบประมาณในการเขาถึงพื้นที่ อยางไรก็ตามอาจจะมีขอจํากัดที่ สําคัญคือในการ
วิเคราะหที่ตองอาศัยผูเชี่ยวชาญเฉพาะดาน

10
Saranpong Pramsanae and Kittisak Sriklang, " The Evaluation of Positional Accuracy of
Orthoimagery Product from THEOS Satellite Image Level 1A in the Test Field," Retrieved on September 15,
2017, from http://www.rtsd.mi.th/school/images/knowlegde/Research/Theos_L1A.pdf.
11
Athiwat Phinyoyang, “การสํารวจจากระยะไกล Remote Sensing,” สืบคนเมื่อวันที่ 15 เมษายน 2559, จาก
https://www.slideshare.net/tomgis/remote-sensing-48756118.
662 Thailand Journal of legal Study

ปจจุบันมีการประยุกตใชภาพถายดาวเทียมที่อาศัยความรูวิทยาศาสตรและเทคโนโลยีในงานดานสิ่งแวดลอม
แพรหลายทั่วโลก เชน การพยากรณอากาศ การสํารวจทรัพยากรธรรมชาติ การวางแผนความชวยเหลือและควบคุม
ภัยพิบัติ การประเมินการใชประโยชนที่ดิน การวางแผนและจัดการการเกษตร การตรวจหาอัตราการทรุดตัวของ
แผนดิน การฟนฟูและวางแผนการบรรเทาสาธารณภัย การเฝาระวังสถานการณดานมลพิษ ฯลฯ นอกจากนี้ในการเฝา
ระวังและบังคับการตามขอตกลงระหวางประเทศ (Multilateral Environmental Agreements: MEAs) ยังอาศัย
ขอมู ล จากการสํารวจระยะไกลด วยดาวเที ยม เช น พิ ธี ส ารโตเกียว (Tokyo Protocol) พิ ธี ส ารมอลทริออล (the
Montreal Protocol) เปนตน
ในตางประเทศมีการประยุกตใชเทคโนโลยีการสํารวจระยะไกลดวยดาวเทียมเพื่อการเฝาระวังและติดตาม
สถานการณสิ่งแวดลอมอยางหลากหลาย ทั้งในหนวยงานรัฐ เอกชน และรวมถึงชาวนา ชาวไร โดยเฉพาะในทาง
สิ่งแวดลอม นอกจากนี้ยังมีการประยุกตรวมกับเทคโนโลยีอื่น เชน ระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร ระบบผูเชี่ยวชาญ
สําหรับประเทศไทยแมมีการประยุกตใชขอมูลดงกลาว แตยังไมหลากหลายเทาที่ทราบคงจะอยูในหนวยงานภาครัฐ
และเอกชนบางแหง เพราะยังขาดบุคลากรที่มีความรูความเชี่ยวชาญ
ประเทศไทยควรตองมีการพัฒนาสนับสนุนใหเกิดความรูในการประยุกตใชเทคโนโลยีการสํารวจระยะไกล
เพื่อการเฝาระวังติดตามสถานการณสิ่งแวดลอมโดยเฉพาะในสวนที่เกี่ยวของกับการบังคับใช กฎหมายดานสิ่งแวดลอม
และการควบคุมมลพิษใหมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยกําหนดใหการใชขอมูลภาพถายดาวเทียมเปนวิธีการตรวจวัด
หนึ่งที่รับรองและใชงานไดตามกฎหมาย รวมทั้งสงเสริมใหเกิดความเขาใจและพัฒนาความรู และเพิ่มเติมนักวิชาการ
ผูเชี่ยวชาญดานนี้มากขึ้น
พยานหลักฐานในคดีสิ่งแวดลอม
สิ่งสําคัญประการหนึ่งที่จะทําใหกระบวนการดําเนินคดีในศาลเปนไปดวยความยุติธรรม คือ กระบวนการ
คนหาขอเท็จจริงจากการรับฟงและวินิจฉัยพยานหลักฐานที่แสดงขอเท็จจริงใหปรากฏแกศาลตามการกลาวอางในการ
ดําเนินคดีซึ่งมาจากโจทกและจําเลย ซึ่งแตละฝายกลาวอางมาในคําฟองและคําใหการเพื่อสนับสนุนขอกลาวหาและขอ
แกตางของตน ขอเท็จจริงเหลานี้ยอมจะตรงกันบางและขัดแยงกันบาง ศาลยอมไมสามารถชี้ขาดถูกผิดเพราะไมทราบ
ว า ฝ า ยใดพู ด จริง หรือ เท็ จ 12 โดยต อ งหาทางพิ สู จ น ขอกล า วอ า งโดยอาศัย การนํ า พยานหลั ก ฐานมาแสดงยื น ยั น
ขอเท็จจริงที่กลาวอางนั้น
ภาพดาวเที ย มเป น หลั ก ฐานทางวิ ท ยาศาสตร ที่ มี ค วามสํ า คั ญ ในการดํ า เนิ น คดี ด า นสิ่ ง แวดล อ ม 13 ที่ มี
คุณสมบัติเฉพาะกลาวคือ (1) กอใหเกิดความเสียหายแกทรัพยากรธรรมชาติที่เปนสาธารณะสมบัติ ทรัพยสินดังกลาว
ไมใชสมบัติของผูใดผูหนึ่ง และอาจจะไมใชของโจทกผูฟองคดี (2) มีผลกระทบตอความเปนอยูของบุคคลในสังคมเปน
จํานวนมาก (3) ตองใชเวลาในการแสดงผลของความเสียหาย (4) ตองใชพยานผูเชี่ยวชาญในการพิสูจนความเสียหาย
และ (5) ตองมีวิธีการแกไขเยียวยาที่รวดเร็วทันตอเหตุการณ ทั้งนี้เพราะภาพถายดาวเทียมนอกจากจะทําใหผูตัดสิน
คดีมีความเขาใจสภาพปญหาที่แทจริง ยังสามารถใชอธิบายขอมูลที่มีความสลับซับซอนไดเปนอยางดี 14 ในบางกรณี
ภาพจากดาวเทียมอาจเปนพยานหลักฐานเพียงชิ้นเดียวที่มี ภาพถายดาวเทียมถูกใชในหลายหนวยงาน ทั้งในประเทศ

12
เช็มชัย ชุติวงศ, คําอธิบายกฎหมายลักษณะพยาน, พิมพครั้งที่ 9 (กรุงเทพมหานคร: สํานักพิมพนิติบรรณาการ,
2557), น.1.
13
Warren Ferster, “Courts Learning Strengths of Remote-Sensing Imagery,” Space News, Jan. 16-22,
1995 at 19.
14
Marc Steinberg, “ A Picture Can Be Worth a Lot More Than a Thousand Words,” New York Law
Journal. Volume 214, 10 (1995).
วารสารนิติศึกษาไทย 663

และระหวางประเทศเพื่อชวยในการตัดสินใจเกี่ยวกับสันติภาพของโลก 15 และการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและ
สิ่งแวดลอมที่มีอยูอยางจํากัด16
ภาพถายดาวเทียมอาจถูกตีความเปนพยานตามกฎหมายทั่วไปได 2 ลักษณะคือพยานวัตถุและพยานเอกสาร
หากตี ค วามว า เป น พยานวั ต ถุ (Real Evidence) 17 จะหมายถึ ง สิ่ ง ที่ ส ามารถนํ า เอารู ป ร า งลั ก ษณะมาใช เ ป น
พยานหลักฐานพิสูจนขอเท็จจริงในทางคดีไดโดยการตรวจดูมิใชโดยการอานหรือการพิจารณาขอความที่บันทึกไว18 ซึ่ง
เปนสิ่งที่นํามาแสดงตอศาลเพื่อใหศาลตรวจดูเอง19 จะตองยื่นบัญชีระบุพยานตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความ
แพง มาตรา 88 และตองนําพยานวัตถุดังกลาวมาศาล ตามมาตรา 128 เวนแตสภาพของพยานวัตถุนั้นไมสามารถ
นํ า มาศาลได 20 ขณะที่ ห ากตี ค วามว า เป น พยานเอกสาร (Documentary Evidence) 21 มุ ง หมายที่ ข อ มู ล
(information) หรือขอความ (Statement) ที่ถูกบันทึกไวในกระดาษหรือภาพถายหรือสื่อชนิดอื่น เพื่อแสดงใหทราบ
ถึงเรื่องราวหรือเนื้อความที่ถูกบันทึกไว เพื่อใหศาลตรวจดูขอความหรือหรือรูปรอยลักษณะนั้นดวยตาของศาลเอง 22
และตองถือปฏิบัติตามกฎระเบียบที่มีตอพยานเอกสารเชนกัน ซึ่งวางหลักไวในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพง
อันไดแก ตองสืบในศาลเปดเผยตอหนาคูความ ตองระบุในบัญชีระบุพยานใหถูกตอง ถาจะนํามาพิสูจนตอพยานบุคคล
ฝายตรงขามตองถามคานไวกอน (มาตรา 89) ตองสงสําเนาลวงหนา (มาตรา 90) ถาเห็นวาไมถูกตองแทจริงตองทําคํา
คัดคาน (มาตรา 125 วรรค 1) ตองสืบดวยตนฉบับ (มาตรา 93) ผูอางเอกสารตองเสียคาอางอิงเอกสารเอง ไม
จําเปนตองนําสืบพยานเอกสารผานพยานบุคคล ศาลตองตรวจสอบความถูกตองแทจริงของพยานเอกสาร (มาตรา
126 และ มาตรา 127) และวางหลักในวิธีพิจารณาความอาญาซึ่งวางหลักวา ถามีตนฉบับใหสืบตนฉบับ ถาไมมีใหเอา
สําเนาที่มีการรับรองวาถูกตองหรือพยานบุคคลเขาสืบแทนได (มาตรา 238)23
ภาพถา ยดาวเที ย มยั ง ถื อว า เป น พยานหลั ก ฐานวิ ท ยาศาสตร หรือ “พยานนิ ติ วิ ท ยาศาสตร (Forensic
Science)” เพราะเปนการนําความรูทางวิทยาศาสตรมาประยุกตใชเพื่อพิสูจนขอเท็จจริงในคดีเพื่อผลในการบังคับใช

15
Eric Schmidt, “Spy Photos Indicate Mass Grave at Serb-Held Town, U.S. Says,” Retrieved on April
10, 2016, from https://www.nytimes.com/1995/08/10/world/spy-photos-indicate-mass-grave-at-serb-held-
town-us-says.html.
16
Sharon Hatch Hodge, “ Satellite Data and Environmental Law: Technology Ripe for Litigation
Application,” Pace Environmental Law Review, Article 8, Volume 14 Issue 2 (Summer 1997), p.694, Retrieved
on April 10, 2016, from http://digitalcommons.pace.edu/cgi/viewcontent.cgi?article=1488&con text=pelr.
17
ถาดูตามนิยามศัพทกฎหมายอาญารูปถายเปนเอกสารเพราะไดบันทึกขอมูลไว แตศาลฎีกาวางบรรทัดฐานในคดี
แพงวารูปถายเปนภาพจําลองวัตถุ ไมใชพยานเอกสาร ใหถือวารูปถายเหลานั้นนําสืบเขามาในฐานะเปนพยานวัตถุ (คํา
พิ พ ากษาฎี ก าที่ 840/2499), ป ติ กุ ล จี ร ะมงคลพาณิ ช ย , รายงานการวิ จั ย เรื่ อ ง ป ญ หาการรั บ ฟ ง พยานหลั ก ฐาน,
(กรุงเทพมหานคร : คณะนิติศาสตร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร , 2545), อางใน Phachern Thammasarangkoon, “ปญหา
พยานหลักฐาน : พยานอิเล็กทรอนิกสในคดีแพง ”, สืบคนเมื่อวันที่ 15 เมษายน 2559, จาก https://www.gotoknow.org/
posts/449641.
18
ฐิ ร พั ฒ น เที่ ย งกมล, “พยานหลั ก ฐาน(คดี แ พ ง ) ”, สื บ ค น เมื่ อ วั น ที่ 12 กั น ยายน 2560, จา ก
http://www.law.cmu.ac.th/law2011/goto.php?action=document&id=2212.
19
คนึง ฦาไชย, ไพโรจน วายุภาพ และณรงค ใจหาญ, กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา เลม 2, โครงการตําราและ
เอกสารประกอบการสอบ, พิมพครั้งที่ 8 (กรุงเทพมหานคร : คณะนิติศาสตรมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร: 2556), น.263..
20
ฐิรพัฒน เที่ยงกมล, “พยานหลักฐาน(คดีแพง)”, อางแลว เชิงอรรถที่ 18. และ เพิ่งอาง, น.263.
21
Phachern Thammasarangkoon, “ปญหาพยานหลักฐาน : พยานอิเล็กทรอนิกสในคดีแพง ”, สืบคนเมื่อวันที่
15 เมษายน 2559, จาก https://www.gotoknow.org/posts/449641.
22
คนึง ฦาไชย, ไพโรจน วายุภาพ และณรงค ใจหาญ, อางแลว เชิงอรรถที่ 19, น.263.
23
เพิ่งอาง, น.313.
664 Thailand Journal of legal Study

กฎหมายและการลงโทษ”24 การใชพยานประเภทนี้อยูภายใตประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพง มาตรา 128/1


และประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 241/1 ทั้งนี้ภาพถายดาวเทียมจะมีคุณภาพในเชิงพิสูจนมาก
นอยเพียงใดขึ้นกับคุณสมบัติของภาพถายดาวเทียมที่สําคัญ 3 ประการ คือ (1) เปนขอมูลดิจิตอล ซึ่งคนทั่วไปไมอาจ
เขาใจถึงความเชื่อมโยงระหวางขอมูลนั้นกับเหตุการณหรือสิ่งของจริงไดงาย อาจทําไดเพียงการเปรียบเทียบความ
แตกตางของชุดขอมูลสองชุดขึ้นไป (2) ขอมูลจะถูกแปลงไปเปนเอกสารที่เขาใจไดโดยกระบวนการบางอยาง ซึ่งเปน
ขอมูลที่จะใชเปนหลักฐานที่ ไมใชขอมูลตนฉบับ ตองนําเสนอผานพยานผูเชี่ยวชาญ หรือขอมูลภาคพื้นดินอื่น (3)
เอกสารถูกบันทึกในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส การเก็บรวมรวม การโอนยาย การจัดเก็บ การประมวลผล และการ
กระจายขอมูล จึงทําใหรูปแบบอิเล็กทรอนิกส ดังนั้นการยอมรับฟงพยานหลักฐานทางวิทยาศาสตร ศาลตองยอมรับ
ฟงขอเท็จที่ไดจากการตรวจพิสูจนที่ใหผลถูกตองแมนยํา โดยวิธีการตรวจทางวิทยาศาสตรที่มีความนาเชื่อถือและ
กระทําโดยผูเชี่ยวชาญหรือองคกรที่ไดรับการยอมรับของประชาชนและสามารถตรวจสอบผลซ้ําได ไมผูกพันใหศาล
ตองชั่งน้ําหนักใหเปนการเด็ดขาด จะตองรับฟงประกอบกับพยานหลักฐานอื่นดวย การอางหลักฐานทางวิทยาศาสตร
เขาสูสํานวนเพื่อนําสืบขอเท็จจริง จะตองอาศัยพยานผูเชี่ยวชาญ จึงอาจกลาวอีกนัยหนึ่งวาพยานหลั กฐานทาง
วิทยาศาสตร คือ พยานความเห็นของผูเชี่ยวชาญตามกฎหมาย โดยการใชเครื่องมือวิทยาศาสตรและเท คโนโลยีที่
คนควาวิจัยใหไดผลผลิตรวมกับหลักนิติวิธี
ภาพถายดาวเทียมอาจจัดเปนพยานหลักฐานทางอิเล็กทรอนิกส เนื่องจากโดยลักษณะเปนขอมูลแบบดิจิตอล
อาจต อ งมี วิธี การจั ดการโดยเฉพาะ 25 เพราะมี ความเปราะบางสู ง เปลี่ ยนแปลงไดงา ย การทํ า ใหพ ยานหลักฐาน
หลักฐานดังกลาวนาเชื่อถือและสามารถนํามาใชไดภายในชั้นศาลจึงเปนสิ่งสําคัญ 26 ในการรับฟงพยานประเภทนี้
จะตองมีการยืนยันความแทจริง (Authentication) ของขอมูล ใชหลักสําคัญ 3 ประการ คือ เนื้อหาของเอกสารไมได
ถูกเปลี่ยนแปลง ขอมูลในเอกสารเปนไปตามเจตนาที่แทจริงของผูสรางเอกสาร (ไมวาจะเปนมนุษยหรือคอมพิวเตอร)
และตองระบุขอมูลพิเศษในเอกสาร อันไดแก วันเดือนปที่ถูกสราง นั้นถูกตอง 27 การใชพยานอิเล็กทรอนิกสจะตองให
ความสํ า คั ญ กั บ หลั ก ห ว งโซ ก ารคุ ม ครองพยานหลั ก ฐาน (chain of custody) ที่ ต อ งมี เ อกสารแสดงลํ า ดั บ การ
ดําเนินการทุกขั้นตอน ตั้งแตการไดมาซึ่งขอมูล การดูแลรักษา การควบคุม การวิเคราะห และการจัดเก็บหลักฐานทาง
อิเล็กทรอนิกส จนกระทั่งนําเสนอตอศาลในคดี เพื่อตรวจสอบวาเปนขอมูลที่มีความถูกตองแทจริงไมมีการบิดเบือน
เนื่องจากพยานหลักฐานอิเล็กทรอนิกสถูกเปลี่ยนแปลงไดงาย และเปลี่ยนแปลงจนกระทั่งไมเหมือนตนฉบับได
ขอมูลภาพถายดาวเทียมในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส มีลักษณะเชนเดียวกับพยานหลักฐานอิเล็กทรอนิกสอื่น ซึ่ง
ประกอบดวย (1) ขอมูลที่มนุษยสรางขึ้นเพื่อจัดเก็บไวในระบบ (2) ขอมูลที่ระบบคอมพิวเตอรสรางขึ้น เชน แฟมอีเมล
, แฟมอีเมลสํารอง, อีเมลที่ถูกลบทิ้ง, แฟมขอมูลแถบบันทึกสํารองและถาวร และสารสนเทศที่อยูในรูปแบบขอความ
รูปภาพและเสียง (3) ขอมูลที่ระบบคอมพิวเตอรสรางขึ้นอันเกิดจากการประมวลผลของโปรแกรม ออกมาในรูแบบ

24
Forensic Science is a unique and interesting forum to incorporate many different areas of science
with real world learned in class to "solve a crime." เทคโนโลยีชีวภาพ แหลงรวมความรูทางเทคโนโลยีชีวภาพ, “นิติ
วิทยาศาสตร (Forensic Science) คือ อะไร (What is Forensic Science ?) ”, สืบคนเมื่อวันที่ 10 เมษายน 2559, จาก
http://www.thaibiotech.info/what-is-forensic-science.php.
25
Phachern Thammasarangkoon, อางแลว เชิงอรรถที่ 17.
26
thainetizen.org, “พยานหลักฐานอิเล็กทรอนิกส แยกไมออกจาก “เศรษฐกิจดิจิทัล ”,” สืบคนเมื่อวันที่ 10
กรกฎาคม 2561, จาก https://thainetizen.org/2016/01/digital-forensics-seminar-etda/
27
ORION FORENSICS THAILAND, "Digital Forensics Evidence-การรับฟงหลักฐานทางอิเล็กทรอนิคสของศาล
ไทย," สืบคนเมื่อวันที่ 15 เมษายน 2559, จาก https://hitechforensics.wordpress.com/2012/02/22/digital-forensics-
evidence-การรับฟงหลักฐานทาง/.
วารสารนิติศึกษาไทย 665

แผนภูมิ โปรแกรมตารางการคํานวณ 28 อาจแบงเปน 2 สวน ขอมูลและขอมูล เกี่ยวกับขอมูล29 (metadata) ซึ่งเปน


แฟมขอมูลที่ถูกซอนไว (Hidden) หรือฝงอยูในระบบ (Embedded Data) เปนขอมูลที่บงถึงคุณสมบัติของเอกสาร
เชน ผูสรางเอกสาร และวัน เวลา สถานที่สรางเอกสาร ถือวาเปนแหลงขอมูลที่เปนประโยชนมากตอการนํามาใชเปน
พยานหลักฐานในศาล30
USGS/EROS ของสหรัฐอเมริกาไดพัฒนาระบบการรับรองขอมูลอิเล็กทรอนิกสแทนการพิมพ โดยความ
ร ว มมื อ ของ National Center for Remote Sensing, Air, and Space Law at the University of Mississippi
(NCRSASL) ในการตรวจขั้นตอนที่ไดกระทําตอขอมูลอิเล็กทรอนิกส หากเปนไปอยางเหมาะสมจะไดรับการรับรองได
วาสามารถรับฟงเปนพยานหลักฐานในกระบวนการดําเนินคดีได ซึ่งมีหลักการใหการรับรองความถูกตองคลายคลึงกับ
การใหการรับรองแบบเกา ที่เคยใหไวกับการรับรองภาพพิมพ ประกอบดวยกระบวนการดาวโหลดขอมูล การเก็บ
รักษาไวโดย EROS ในฐานขอมูล เมื่อลูกคาสงความตองการภาพ USGS/EROS จะใหเลขเฉพาะแตละรายเพื่อเปนเลข
การสั่งซื้อ โดยจะใชกับ CD, CVD หรือวัสดุอื่นใดที่ใหกับลูกคา ภาพนี้จะถูกเก็บสํารองไวที่ USGS/EROS ดวย และเมื่อ
มีการใชเปนพยานหลักฐานในคดีคูความฝายตรงขามหรือศาลสามารถใชเลขดังกลาวในการตรวจสอบความถูกตอง จึง
ทําใหเปนขอพิสูจนไดวาขอมูลนาเชื่อถือ31
การนําเสนอพยานหลักฐานเขามาในคดีของคูความแตละฝาย นอกจากจะเปนไปเพื่อประโยชนแหงการชนะ
คดีของตนแลว ยังตองอาศัยความรูความสามารถของคูความแตละฝาย โดยเฉพาะการสืบพยานในคดี สิ่งแวดลอมมี
ความยุงยากซับซอน มีประเด็นเดี่ยวกับกระบวนการทางวิทยาศาสตร ซึ่งตองใชเครื่องมือที่ชวยพิสูจนความเสียหาย
และความสัมพันธระหวางการกระทําและผลที่เหมาะสม แมในทางกฎหมายภาพถายดาวเทียมไมถูกจํากัดหามมิใหรับ
ฟง แตดวยขอจํากัดดานความรู การเข าถึงขอมูล และการมีผลประโยชนในทางคดี ทําใหคูความละเลยไมนําภาพถาย
ดาวเทียมที่มีคุณคาเชิงพิสูจนสูงเขามาในคดี ศาลจึงควรแสดงบทบาทในเชิงรุกเพื่อการเรียกพยานหลักฐานดังกลาวเขา
มาในคดี หากการเรียกใหมีการนําเสนอพยานหลักฐานจากหนวยงานที่เกี่ยวของอาจจะทําใหเกิดขอยุติได และไมสราง
ภาระหนักใหแกคูกรณี
การนําเสนอขอมูลในรูปแบบดิจิตอล ทําใหการนําเสนอมีความยืดหยุน สามารถปรับเปลี่ยนขยายภาพและ
ตรวจดูสภาพแบบเคลื่อนไหวไดอยางอิสระ เพื่อใหศาลและผูเกี่ยวของเขาถึงขอเท็จจริงและสภาพที่เกิดขึ้นในสถานที่
เกิดเหตุที่ถายทอดผานภาพถายดาวเทียมไดดียิ่งขึ้น อยางไรก็ตาม กระบวนการดังกลาวจําเปนตองไดรับการรองรับ
โดยกฎหมาย ซึ่งมีการวางหลักที่เกี่ยวของไวในขอกําหนดคดีทรัพยสินทางปญญา และการคาระหวางประเทศ พ.ศ.

28
นั ท ธ ธเนศวาณิ ช ย , “การรั บ ฟ ง และวิ ธี ก ารนํ า สื บ พยานหลั ก ฐานอิ เ ล็ ก ทรอนิ ก ส ใ นคดี อ าญา: ศึ ก ษาตาม
พระราชบั ญ ญั ติ ว า ด ว ยการกระทํ า ความผิ ด เกี่ ย วกั บ คอมพิ ว เตอร พ.ศ. 2550,” (วิ ท ยานิ พ นธ นิ ติ ศ าสตรมหาบั ณ ฑิ ต
มหาวิ ท ยาลั ย ธรรมศาสตร , 2555), น.35, สื บ ค น เมื่ อ วั น ที่ 12 กรกฎาคม 2561, จาก http://digi.library.tu.ac.th
/thesis/la/1879/title-biography.pdf.
29
ถอดเสียงตามหลักของราชบัณฑิตยสถาน, อางถึง ราชบัณฑิตยสถาน, “ถอดอักษรไทยเปนอักษรโรมันแบบถาย
เสียง,” สืบคนเมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม 2561, จาก http://www.royin.go.th/wp-content/uploads/2015/03/416_2157
.pdf.
30
ประเสริฐ คันธมานนท และสมชัย จันทรมัสการ, พยานหลักฐานดิจิตอล, บทบัณฑิตย เลม 62 ตอน 1 ป 2549,
น.44, อางใน นัทธ ธเนศวาณิชย, อางแลว เชิงอรรถที่ 28, น.35.
31
Ronald J. Rychlak, Joanne Irene Gabrynowicz, and Rick Crowsey, “ LEGAL CERTIFICATION OF
DIGITAL DATA: THE EARTH RESOURCES OBSERVATION AND SCIENCE DATA CENTER PROJECT” , Journal of
Space Law, Retrieved on April 15, 2016, from http://joannegabrynowicz.com/wp-content/uploads/2013
/11/2007-Gabrynowicz-33-JSL-195-Certification-of-Digital-Data.pdf.
666 Thailand Journal of legal Study

254032 มาตรา 34 โดยคูความจะตองระบุขอมูลที่จะอางในบัญชีระบุพ ยานพรอมกับคําแถลง และคํารับรอง พรอม


สําเนาสื่อบันทึกขอมูลจํานวนที่เพียงพอเพื่อใหคูความอีกฝายหนึ่ง ใชเทคโนโลยีอื่นควบคู เชน การบันทึกภาพเปน
วีดีโอ ซึ่งคูความอีกฝายหนึ่งอาจแถลงคัดคานการอางขอมูลนั้นวาไมเปนไปตามคุณสมบัติตามกฎหมายได ตามมาตรา
35 ซึ่งเปนกฎหมายเฉพาะ และยังไมอยูในเขตอํานาจการดําเนินคดีสิ่งแวดลอม
การนําเสนอภาพถายดาวเทียมเปนพยานหลักฐานในคดีสิ่งแวดลอมตองอาศัย ผูที่มีความรูความเชี่ยวชาญที่
จะเปนพยานผูเชี่ยวชาญทางดานเทคโนโลยีการสํารวจระยะไกล ซึ่งตองมีความรูเปนการเฉพาะ เพราะตองอาศัยความ
เขาใจเทคนิคที่ซับซอนและมีลักษณะเฉพาะ แบบผสมผสาน คุณสมบัติพยานผูเชี่ยวชาญในคดีที่จําเปน คือ (1) มีพื้น
ความรูดานการศึกษาเกี่ยวกับเทคโนโลยี (2) ตองมีความคุนเคยกับงานเขียนในสาขาวิชาชีพดานเทคโนโลยีการสํารวจ
ระยะไกล (3) จะตองมีการตีพิมพบทความทางวิช าการในประเด็นหรือหัวขอที่เกี่ยวของ (4) เปนสมาชิกในองคกร
วิชาชีพ (5) ไดรับการรับรองการเปนผูเชี่ยวชาญดวยรูปแบบอื่น (6) มีความรับผิดชอบงานดานเทคโนโลยีการสํารวจ
ระยะไกลทั้งในอดีตและปจจุบัน (7) มีความสามารถในการเก็บรวบรวมขอมูลและแปลตีความหมายของเทคโนโลยีการ
สํารวจระยะไกลได
พยานผูเชี่ยวชาญสามารถเขามาในคดีได 2 ชองทาง คือ โดยคําสั่งศาลแตงตั้งใหเขามาเปนพยานผูเชี่ยวชาญ
ในคดี เรียกวา “ผูเชี่ยวชาญ” ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพง มาตรา 129 หรือ คูความขอนําพยาน
ผูเชี่ยวชาญเขามาสืบเปนพยานของตน เรีย กวา “ผูมีความรูเชี่ยวชาญ” ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพง
มาตรา 98 สําหรับในการพิจารณาคดีอาญา จะมี “ผูเชี่ยวชาญ” ตามกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 243
พยานผูเชี่ยวชาญอาจถูกคูความคัดคานในดานความรูความเชี่ยวชาญ หรือความเปนกลางก็ได อาจโตแยงเพื่อ ใชสิทธิ
อุทธรณ หากพยานผูเชี่ยวชาญของทั้งสองฝายมีความเห็นขัดแยงกัน กรณีที่ชัดเจน ศาลอาจใชดุลพินิจชั่งน้ําหนักความ
นาเชื่อถือของความเห็นแตละฝายเองเลยก็ได และหากขอขัดแยงแตกตางในประเด็นที่สําคัญ และมีน้ําหนักความ
นาเชื่อถือก้ํากึ่งกัน ศาลควรแตงตั้งผูเชี่ยวชาญคนที่สามารถใหความเห็นในฐานะพยานผูเชี่ยวชาญของศาล (ม.99 และ
129(1)) ความเห็นของพยานผูเชี่ยวชาญในคดี ไมวาจะมีกี่คนก็ตาม อยูในฐานะเปนเพียงพยานหลักฐานชิ้นหนึ่งเทานัน้
ไมมีผลผูกพันศาลตามคําพิพากษาฎีกาที่ 1231/250633 ศาลตองชั่งน้ําหนักความเห็นของผูเชี่ยวชาญวาไดแสดงความ
คิดเห็นตามหลักวิชาการ และตองพิจารณาประกอบพยานหลักฐานอื่น
ศาลที่ดินและสิ่งแวดลอมในรัฐนิวเซาทเวลส ประเทศออสเตรเลียไดพยายามสรางกระบวนการใหคูความทั้ง
สองฝายยอมรับผูเชี่ยวชาญของศาล โดยเปดโอกาสใหคูความมีโอกาสคัดคานหรือเลือกผู เชี่ยวชาญของศาลที่ไดรับการ
ยอมรับจากคูความทั้งสองฝาย 34 ในอินเดียจะสั่งใหเจาหนาที่ผูเกี่ยวของมาใหรายละเอียดหรือคํารับรองที่เปนกลาง
โดยศาลจะแตงตั้งคณะกรรมการพิเศษเพื่อรวบรวมขอมูลและขอเท็จจริง ตามอํานาจภายใตขอ 32 ของรัฐธรรมนูญ
และอํานาจในการแตงตั้ งคณะกรรมการพิเศษของศาลสูงอยูภายใตขอ 226 ของรัฐธรรมนูญ ซึ่งศาลจะสงสําเนา
รายงานของคณะกรรมการพิ เศษใหกับคูความไดพิจารณาทํา คําโต แย งคั ดค าน และอาจกําหนดให ยื่นคํ ารองตอ
คณะกรรมการควบคุมมลพิษแทนที่จะยื่นตอศาล และแตงตั้งคณะกรรมการพิเศษเพื่อตรวจสอบสถานการณใ นพื้นที่
โดยอาจจะแตงตั้งผูเชี่ยวชาญทางวิทยาศาสตรเปนบุคคลสําคัญที่ใหขอมูลแกศาลเพื่อพิสูจนปญหาทางวิทยาศาสตร
32
สํานักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา, “ขอกําหนดคดีทรัพยสินทางปญญาและการคาระหวางประเทศ พ.ศ. 2540,”
สืบคนเมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม 2561, จาก http://web.krisdika.go.th/data/law/law2/%a824/%a824-2h-2540-a00
01.pdf.
33
แตบางกรณีความเห็นของผูเชี่ยวชาญมีน้ําหนักมากและถือเปนขอยุติ เชน คูความทากันใหเอาความเห็นของ
ผู เ ชี่ ย วชาญเป น ยุ ติ เ ช น นี้ ศ าลก็ ตอ งพิ จ ารณาใหเ ป น ไปตามคํ า ท านั้ น (ฎี ก าที่ 81/2503 ฎี ก าที่ 1678/2506 และฎี กาที่
560/2513), ดูเพิ่มเติม ศาลอุทธรณภาค 1, “ขอสังเกตคําแนะนําขอประธานศาลฎีกาเกี่ยวกับการดําเนินคดีสิ่งแวดลอม,”
สื บ ค น เมื่ อ วั น ที่ 10 เมษายน 2559 , จาก http://www.appealc1.coj.go.th/doc/data/appealc1/appealc1
_1478156369.pdf.
34
สุนีย มัลลิกะมาลย, พงษเดช วานิชกิตติกูล และคณะ, รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ โครงการการศึกษาวิเคราะห
สิ่งแวดลอมในศาลยุติธรรม, (มกราคม 2547), น.20.
วารสารนิติศึกษาไทย 667

และใหคําแนะนําแกศาล35 ในฝรั่งเศส ศาลจะกําหนดพยานผูเชี่ยวชาญจากบัญชีพยานผูเชี่ยวชาญ โดยการจัดทําบัญชี


รายชื่อพยานผูเชี่ยวชาญเสนอตอศาลเริ่มจากสถาบัน องคการ หรือสมาคมวิชาชีพตาง ๆ รวบรวมรายชื่อสมาชิกที่มี
ความรูความเชี่ยวชาญในดานนั้นที่หนวยงานนั้นรับผิดชอบ และมีการตรวจสอบและคัดเลือกจากภายในองคกร จึงนับ
ไดวาเปนการคัดกรองบุคคลที่มีคุณสมบัติที่เหมาะสมเพื่อมาเปนพยานผูเชี่ยวชาญ 36 อยางไรก็ตามการพิ สูจนเพื่อ
ยอมรับพยานผูเชี่ยวชาญกอนที่ศาลจะรับเขามาเปนพยานผูเชี่ยวชาญนคดี เปนดุลพินิจของผูพิพากษา 37
ตัวอยางการใชภาพถายดาวเทียมเปนพยานหลักฐานที่นาสนใจ ดังนี้
x คดี United States v. Kilgus จําเลยถูกจับในขอหานําเขา ครอบครอง และมีเจตนาจะจําหนาย
กัญชา ศาลอุทธรณพิจารณาใหนําขอมูลดาวเทียมชนิด FLIR (Forward Looking Infrared) มาใชเพื่อพิสูจนวัตถุตอง
สงสัย ซึ่งโจทกพยายามใชภาพดาวเทียมนั้นพิสูจนความเปนเอกลักษณของเครื่องบิน แตดวยขอจํากัดของเทคโนโลยี
FLIR และการที่เจาพนักงานขาดความรูลึกซึ้งในเทคโนโลยี นี้ ทําใหคําพยานของเจาพนักงานไมมีน้ําหนักเพียงพอที่จะ
พิสูจนวาเครื่องบินของจําเลยเปนลําเดียวกับที่มาจอดอยูบริเวณทะเลสาบตามที่ปรากฏในภาพ FLIR อยางไรก็ตามเมื่อ
ฝายจําเลยไมอาจพิสูจนวาเครื่องบินลํานั้นไมใชชองจําเลย เพราะจําเลยไมอาจเขาถึงขอมูลดานเทคนิคที่ จําเปน โดย
เหตุผลที่วาขอมูลนั้นเปนความลับที่อาจสงผลต อความมั่นคงของประเทศ ดังนั้นแมโจทกจะพิสูจนไดแตเพีย งว า
ภาพถายดาวเทียมนั้นมีแหลงที่มาถูกตองก็เพียงพอที่ศาลจะใหน้ําหนักกับพยานภาพถายดาวเทียมนี้ ศาลจึงพิพากษา
ใหโจทกชนะคดี
x คดีระหวาง Wojciechowicz v. United States ทายาทของนักบินและผูโดยสารฟ องคดีรัฐ บาล
กลาง กรณีเครื่องบินชนภูเขาทําใหผูโดยสารและนักบินทั้งหมดเสียชีวิต รัฐบาลไดใชภาพถายดาวเทียมรวมกับขอมูล
อื่นและผูเชี่ยวชาญดานการพยากรณอากาศเปดเผยวา นักบินไดทําผิดกฎการบิน ซึ่งกําหนดไมให นักบินนําเครื่องบิน
เขาสูพื้นที่เมฆปกคลุมอันไมอาจมองเห็นสภาพอากาศไดปลอดโปรงดวยสายตาในระยะ 1 ไมล ในการสืบพยานได
แสดงใหเห็นถึงสถานการณที่นักบินบินเขาสูกลุมเมฆกอนเครื่องบินจะชนภูเขาไมกี่นาที ดังนั้นรัฐบาลจึงไมอาจจาย
คาชดเชยใหกับผูเสียหายได คดี เรื่องนี้เปนการใชภาพถายดาวเทียมเพื่อพิสูจนขอเท็จจริงในกรณีที่ไมอาจหาพยาน
บุคคลหรือพยานวัตถุอื่นมาพิสูจนได
x คดี Pittston Co., v. Allianz Insurance Co. คดีการปนเปอนสารพิษสูสิ่งแวดลอม โจทกปฏิเสธคํา
กลาวอางของพยานผูเชี่ยวชาญทางดานอุทกวิทยาที่อา งถึงพยานภาพถายทางอากาศ วาพยานผูเชี่ยวชาญคนดังกลาว
ไมมีคุณสมบัติเพียงพอที่จะแปลตีความภาพถายทางอากาศได อยางไรก็ตามศาลไดตัดสินคดีโดยอาศัยความเห็นของ
ผูเชี่ยวชาญคนดังกลาว เนื่องจากพยานผูเชี่ยวชาญนั้นมีอาชีพโดยตรงในการแปลตีความภาพถายทางอากาศ
x คดีของ US Forest Service เมื่อศาลพบวาขอมูลดาวเทียมมีขอผิดพลาดในขั้นตอนการตรวจสอบ
ขอมูลภาคสนามโดยหนวยงาน US Forest Service ศาลจึงไมอางถึงขอมูลภาพถายดาวเทียมเปนขอมูลในการตัดสิน
คดี แสดงใหเห็นวาภาพดาวเทียมที่นํามาใชจะตองผานกระบวนการที่มีความถูกตองและมีการตรวจเช็คขอมูลกอน
x ศาลยุติธรรมระหวางประทศ ไดยอมรับภาพถายดาวเทียมในฐานะที่เปนพยานหลักฐาน นอกจากนี้
การใชภาพถายดาวเทียมเปนพยานหลักฐานในคดียังไดรับการยอมรับในหนวยงาน Internal Claims Tribunal for
the Former Yugoslavia (ICTY) แตการใชภาพถายดาวเทียมจะตองใชเมื่อทั้งสองประเทศคูพิพาทมีสถานะที่เทา
เทียมกันตามหลักการของสหประชาชาติ
x คดีเรือบรรทุกน้ํามันซงซานรั่ว เมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2539 เรือบรรทุกน้ํามันซงซานทําน้ํามันรั่วไหล
1200 ตัน (353,000 แกลลอน) ลงสูชองแคบสิงคโปร คราบน้ํามันเคลื่อนที่ไปยังเกาะสิงคโปร เกิดมลพิษรุนแรงบริเวณ
35
ชนาธิป เหมือนพะวงศ , “พยานผูเชี่ยวชาญในคดีแพงที่เกี่ยวกับสิ่งแวดลอม,” (วิทยานิพนธมหาบัณฑิต คณะ
นิ ติ ศ าสตร มหาวิ ท ยาลั ย ธรรมศาสตร , 2550), สื บ ค น เมื่ อ วั น ที่ 15 เมษายน 2560, จาก http://digi.library.tu.
ac.th/thesis/la/0071/01TITLE.pdf.
36
เพิ่งอาง, น.99.
37
เพิ่งอาง, น.100.
668 Thailand Journal of legal Study

ชายฝงตะวันออกและทางใตของเกาะสิงคโปร คาฟนฟูกวา 1 ลานดอลลารสิงคโปร มีการใชภาพ SAR จากดาวเทียม


European Remote-Sensing Satellite (ERS) ที่ ไ ด จ ากศู น ย เ พื่ อ ภาพถ า ยดาวเที ย มและการประมวลผล เพื่ อ
ติดตามการรั่วไหลของน้ํามันความยาว 5 กิโลเมตร ซึ่งถูกใชเปนพยานเอกสารเพื่อพิพากษาการกระทําความผิดตอ
จําเลย นาย Dong Sheng ผูเปนเจาของเรือ บริษัท Ocean Tanker ตัวแทน และกัปตัน B.A. Monteiro ผูออกคําสั่ง
เรือบรรทุกน้ํามันซงซาน ใหรับผิตตามกฎหมายวาดวยการปองกันมลพิษทางทะเลของสิงคโปร เจาของเรือมีความผิดที่
ละเลยการบันทึกการดําเนินการน้ํามันซึ่งเปนหนาที่สําคัญตาม Annex I ของอนุสัญญาระหวางประเทศวาดวยการ
ปองกันมลภาวะจากเรือ ผูบังคับเรือมีความผิดในคําสั่งในการตรวจสอบ รองผูบังคับการและลูกเรือทั้งหมดมีความผิด
เชนกัน ซึ่งศาลไดทําการตัดสินเมื่อวันที่ 10 มกราคม 2540
x คดี Rovigo Case ประเทศอิตาลี เกิดการทรุดตัวของแผนดินในเมืองทําใหเกิดความเสียหายแกตึกที่
มีคุณคาทางประวัติศาสตร ซึ่งมีการใชภาพถายเรดารในการติดตามตรวจสอบการทรุดตัวดังกลาวเนื่องจากสามารถ
ตรวจวัดระยะหางระหวางเครื่องรับสัญ ญาณเรดารและจุดเปาหมาย แลวนําขอมูลหลายชวงเวลามาเปรียบเทียบการ
เปลี่ยนรูปของพื้นผิว ซึ่งอาจทําไดหลายเทคนิค หนึ่งในนั้นคือ Permanent Scatter Interferometric Synthetic
Aperture Radar (PSInSAR) ซึ่งสามารถตรวจวัดความเคลื่อนไหวเล็กนอยของพื้นผิว หนาดินในชวงเวลาหนึ่ ง ใน
บางครั้งอาจจะตรวจวัดไดเล็กกวา 1 มิลลิเมตร การทรุดตัวของพื้นดินทําใหเกิดรอยราวของตึก ซึ่งเจาของอางวาเกิด
จากการที่เจาของที่ดินขางเคียงขุดดินออกไป จึงมีประเด็นในการวิเคราะหวาการขุดดินออกไปเปนสาเหตุที่ทําใหเกิด
การทรุดตัวหรือไม ซึ่งโจทกอางถึงพยานภาพถายดาวเทียม PSInSAR ในระบบเรดารโดอาศัยจุดอางอิงบางจุด และไม
มีหลักฐานเฉพาะเจาะจงอื่นที่เกี่ยวกับเหตุการณทรุดตัวของพื้นดิน จําเลยไดนําเสนอสาเหตุประการอื่นที่ทําใหแผนดิน
ทรุดตัวอันจะทําใหจําเลยไมตองรับผิด แตไมอาจพิสูจนใหศาลพอใจไดเทาที่โจทกพิสูจน ศาลจึงตัดสินใหโจทกชนะคดี
อยางไรก็ตาม ผูเชี่ยวชาญมีสวนเกี่ยวของในขั้นตอนการสืบขอเท็จจริงอยางมาก จําเปนตองเสนอชื่อผูท่ีรวบรวม
จัดเก็บ วิเคราะห แปลตีความ และใชขอมูลนั้น ซึ่งจากคดีดังกลาวเปนตัวอยางที่ดีสําหรับการใชเทคนิคในการอธิบาย
ในเชิงกฎหมาย ใหสามารถเขาใจไดในภาษาปกติ เปนสะพานเชื่อมระหวางประเด็นดานเทคนิคและกฎหมายใหคน
ทั่วไปเขาใจไดงาย
x คําพิพากษาศาลอุทธรณเขตเกาของสหรัฐอเมริกา (the Ninth Circuit Court of Appeals) ไดวาง
หลักเกี่ยวกับการรับฟงภาพถายดาวเทียมจาก Google Earth วาพิกัดของ Google Earth ไมเปนพยานบอกเลา ใน
คดี UNITED STATES of America v. Paciano LIZARRAGA–TIRADO ซึ่งจําเลยถูกกลาวหาวาเปนตางดาวเขาเมือง
โดยผิดกฎหมายภายใตกฎหมาย 8 U.S.C § 1326 จําเลยใหการปฏิเสธ โดยอางวาขณะที่ถูกจับ อยูในเขตชายแดนฝง
แมกซิโก และอางวาในขณะที่ถูกจับเปนเวลาพระอาทิตยตกดินแลว อีกทั้งยังอยูในพื้นที่หางไกล การจับกุมโดยหนวย
ลาดตระเวนอาจจะขามเขตมายังฝงแมกซิโก เจาหนาที่หนวยลาดตระเวนอางวาตนเองทราบถึงสภาพภูมิประเทศมี
ความมั่นใจวาการจับกุมอยูในเขตพื้นที่ ขณะเดียวกันไดบันทึกพิ กัดจุดที่จับกุมโดยใชเครื่องบันทึก GPS ที่จะบอกถึง
พิกัดจุดที่จับกุม และไดนําพิกัดนั้นไปใสบนภาพถายดาวเทียมของ Google Map เพื่อใหไดตําแหนงการจับกุม
ทนายฝายจําเลยใหการโตแยงถึงการบันทึกคาพิกัดจุดของเจาหนาที่ผูเปนโจทก แตไมไดโตแยงถึงการสราง
ภาพดาวเทียมหรือการทําสัญลักษณบนภาพดาวเทียม เนื่องจากเจาหนาที่ไมไดเปนคนสรางขอมูลนั้นขึ้นมาเองแตได
จากเครื่องจับสัญญาณ GPS แมวาไมมีการพิสูจนแหลงที่มาของดาวเทียมหรือตําแหนงสัญลักษณพิกัด และไมไดแสดง
วาสัญลักษณนั้นเกิดขึ้นเองหรือเปนการวางตําแหนง เอง ทนายความอางวาภาพดาวเทียมเปนพยานบอกเลา ศาล
ชั้นตนปฏิเสธคํากลาวอางของจําเลย และยอมรับฟงภาพถายดาวเทียม
ในการอุทธรณจําเลยอางวาภาพถายดาวเทียมและการทําสัญลักษณพิกัดจุดเปนพยานหลักฐานที่ตองหามรับ
ฟ ง โดยอ า งถึ ง Fed.R.Evid. 801(c)(2), 802 และคดี United States v. Arteaga, 117 F.3d 388, 395 (9th
Cir.1997) วางหลักวาพยานบอกเลา คือ คํากลาวอางดวยวาจา ลายลักษณอักษร หรือรูปแบบอื่นของพยานบุคคล
ที่ตั้งใจใหเปนเพียงคํากลาวอาง และ Fed.R.Evid. 801(a). ในมุมมองของจําเลยภาพดาวเทียมเปนเพียงพยานบอกเลา
เพราะเปนเพียงการยืนยันวาความถูกตองที่แสดงออกมาบนพื้นที่หางไกล ไดมาจากขอมูลที่ทําขึ้นเอง และสัญลักษณ
วารสารนิติศึกษาไทย 669

และคาพิกัดเปนพยานบอกเลาเชนกัน เพราะเปนเพียงการยืนยันวาเปนการกําหนดหนึ่งและคาดประมาณเสนขอบเขต
ประเทศเอง
ในการพิจารณามีการอางวาภาพถายที่นําเสนอไมใชพยานบอกเลา เพราะไมไดมีการกลาวอางถึงโดยโจทก
แตไดจากหนวยงานอื่น ภาพถายไดแสดงถึงสภาพตามวันเวลาเกิดเหตุ ซึ่งสอดคลองกับขอเท็จจริงที่ไดจากภาพ
ดาวเทียม Google Map ที่เปนภาพถายความละเอียดสูง ภาพถายใชในการพิจารณาคดีได ดังนั้นภาพถายพื้นโลกจาก
ดาวเทียมที่โคจรพาดผานตําแหนงที่เกิดเหตุก็มีประสิทธิภาพเปนพยานหลักฐานไดเชนกัน จึงไมเปนพยานบอกเลา
ตามที่จําเลยกลาวอาง ในการสืบพยานไมมีขอเท็จจริงวาการลงพิกัดสัญลักษณอยางไร จึงตองตรวจสอบวาตําแหนง
ดังกลาวไดมาโดยอัตโนมัติหรือดวยมนุษยเปนคนกําหนด ซึ่งศาลพิเ คราะหไดดวยตัวเองวาตําแหนงดังกลาวไดมา
อัตโนมัติจากโปรแกรม Google Earth โดยดูที่แหลงที่มาขอมูลที่แสดงความถูกตองที่ไมอาจตั้งขอสงสัยได จึงวินิจฉัย
ไดวาจุดดังกลาวแสดงตําแหนงที่ถูกตองตาม Fed.R.Evid. 201(b) ทั้งนี้เราสามารถกรอกคาพิกัดไปบนแผนที่ Google
Earth ก็จะไดตําแหนงเดียวกันทุกครั้ง จึงทําใหสามารถรับฟงขอมูลดังกลาวเปนพยานในคดีได ไมใชพยานบอกเลา

สรุปผลการศึกษา
การประยุกตใชขอมูลดาวเทียมในฐานะขอมูลดิจิตอลเพื่อติดตามเฝาระวังสถานการณสิ่งแวดลอม และเปน
พยานหลั กฐานในคดี ด านสิ่ งแวดล อมเป น การใชวิ ท ยาศาสตรและเทคโนโลยี มาชว ยสนับสนุ นงานดา นกฎหมาย
คุณภาพของภาพถายดาวเทียมที่เสนอตอศาลเปนสวนสําคัญแหงผลของคดี การใชพยานหลักฐานที่ไมเหมาะสมอาจ
ทําใหเกิดความเสียหายตอคดี และสงผลกระทบตอผูเสียหาย ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดลอมรุนแรงและเปนวง
กวาง โดยมีการใชภาพถายดาวเทียมเปนพยานหลักฐานในคดีตาง ๆ แลว เชน คดีน้ํามันรั่วที่เกาะเสม็ด คดีซงซาน
(Song San) พิสูจนน้ํามันรั่วไหล คดีการบุกรุกปา คดี Rovigo Case38 ประเทศอิตาลี พิสูจนการทรุดตัวของแผนดิน
คดีพิพาทที่ศาลยอมรับฟงภาพถายดาวเทียม Google Earth39 เปนตน
จากการศึกษาพบวาพยานหลักฐานที่ไดจากเทคโนโลยีการสํารวจระยะไกลมีความเหมาะสมที่จะใชพิสูจน
ขอเท็จจริงในคดีสิ่งแวดลอม ทําหนาที่เปรียบเสมือนกลองวงจรปดคางฟา สามารถติดตามสถานการณในพื้นที่ขนาด
ใหญไดรวดเร็ว มีประสิทธิภาพ มีความนาเชื่อถือมี การรองรับผลทางวิท ยาศาสตร แมนยํากวาการใชบุคคล ลด
งบประมาณและบุคลากรเมื่อเปรียบเทียบกับการปฏิบัติการในรูปแบบเดิม สามารถตรวจสอบขอมูลดาวเทียมเพื่อ
เปรียบเทียบเหตุการณยอนหลังได รวมไปถึงการเขาถึงพื้นที่ที่ไมอาจเขาถึงได และใชแทนพยานหลักฐานอื่นที่ ถูก
ทําลาย สูญหาย
การที่อยูในรูปแบบพยานอิเล็กทรอนิกสทําใหการนําเสนอขอมูลไดหลายมุมมองไดหลายรูปแบบและลักษณะ
เช น การนํ า เสนอผ า นคอมพิ ว เตอรโ ดยตรง ทํ า เป น แผนที หรือทํ า เป น รายงานสรุป ผลวิ เคราะห ทํ า ให ศ าลและ
ผูเกี่ยวของสามารถเขาใจสถานการณที่เกิดขึ้นไดชัดเจนมากขึ้น
อยางไรก็ตาม เงื่อนไขการเปนพยานของภาพถายดาวเทียมที่สําคัญ คือ จะตองไดรับการรับรองความถูกตอง
แทจริงจากหนวยงานที่รับผิดชอบ และการนําสืบผานพยานผูเชี่ยวชาญในการแปลตีความภาพถาย จึงจําเปนตองมี
หนวยงานเฉพาะเพื่อใหการรับรองขอมูลภาพถายดาวเทียมวาเปนขอมูลที่แท จริง และมีระบบการรับสมัครและคัด
กรองพยานผูเชี่ยวชาญที่เหมาะสม ซึ่งปจจุบันยังไมมีการขึ้นทะเบียนผูเชี่ยวชาญเฉพาะดานนี้ นอกจากนี้จะตองมีการ
เผยแพรความรูความเขาใจดังกลาวใหกับเจาพนักงานในกระบวนการยุติธรรมดวย
พยานผู เชี่ยวชาญมีความสํ าคั ญในการให ขอมู ลความคิ ดเห็ น จํ า ต อ งมี ความเป นอิ สระ ส ว นใหญ จึงเปน
นักวิชาการในหนวยงานราชการ และคณาจารยในมหาวิทยาลัย ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพง มาตรา 98
จะระบุแขนงของศาสตรที่จะมีความรูเชี่ยวชาญไว ปจจุบันมีการจัดทําบัญชีรายชื่อผูเชี่ยวชาญเพื่อรองรับการพิจารณา

38
Judgment by Judge Lorenzo Miazzi, Rovigo, 7 June 2002.
39
“Google Earth coordinates are not hearsay” ในคดี United States of America v. Paciano Lizarraga-
Tirado (14 C.D.O.S. 6310).
670 Thailand Journal of legal Study

คดีแพงและคดีอาญา ในจํานวนนี้มีการขอขึ้นทะเบียนผูเชี่ยวชาญในทางวิเคราะหภาพถายทางอากาศและแผนที่ 5 คน
แตยังไมมีผูเชี่ยวชาญเฉพาะดานเกี่ยวกับการสํารวจระยะไกลโดยใชภาพถายดาวเทียม ซึ่งควรพิจารณาถึงกฎหมายการ
คุ ม ครองพยานผูเชี่ยวชาญทางด านสิ่ง แวดล อมประกอบด วย เนื่ อ งจากป จจุบั นมีกฎหมายการคุ มครองพยานใน
คดีอาญาเทานั้นแตยังไมมีการคุมครองพยานในคดีแพง ทั้งนี้คดีสิ่งแวดลอมมีความขัดแยงสูง เปนสวนหนึ่งที่ทําให
ผูเชี่ยวชาญไมประสงคมาเปนพยานผูเชี่ยวชาญ
การประยุกตใชงานเทคโนโลยีระบบภูมิสารสนเทศ (Geo-Informatics) อื่น อันไดแก ระบบภูมิสารสนเทศ
(Geographic Information System) ระบบบอกพิ กัด จุ ด (Global Positioning System) รว มกับ เทคโนโลยี ก าร
สํารวจระยะไกล(Remote Sensing) ดวยภาพถายดาวเทียม จะทําใหมีประสิทธิภาพในการเปนพยานหลักฐานในคดี
สิ่งแวดลอมไดมากขึ้น
การใชงานขอมูลดาวเทียมเปนพยานหลักฐานตองคํานึงถึงขอมูลความเปนจริงในพื้นที่เพื่อมาเลือกภาพที่
ต องการ จากขอมู ล ช ว งคลื่ น (Spectral) และช ว งเวลา (Temporal) ของที่ เหมาะสม เช น หากจะศึกษาการใช
ประโยชนที่ดินของพื้นที่ที่มีการปลูกพืชหมุนเวียน จะตองใชขอมูลใหครอบคลุมลักษณะของการใชประโยชนนั้น ทั้งนี้
การใชภาพถายดาวเทียมมีลักษณะเหมือนขอมูลอื่น ๆ ที่ตองมีการตรวจสอบความถูกตอง ขอมูลจะตองมีความทันเส
มัย และเหมาะกับสถานการณที่ตองการตรวจพิสูจน
การใชเทคโนโลยีการสํารวจระยะไกลมีขอจํากัดบางประการ เชน ราคา วิธีการเขาถึงขอ มูล จึงทําใหยังไม
เปนที่นิยม รัฐและหนวยงานที่เกี่ยวของจึงควรใหการสนับสนุนสงเสริมใหมีการใชงานและการเขาถึงไดสะดวก และมี
ขอจํากัดดานเทคนิค เชน คุณสมบัติของดาวเทียมแตละดวงในการยอนกลับมาถายภาพ ณ ตําแหนงเดิมที่แนนอนไม
อาจเปลี่ยนแปลงได ทําใหการเก็บขอมูลจะตองรอระยะเวลาที่ดาวเทียมนั้นยอนกลับมาถายภาพที่เดิม และจะไดเวลา
เดียวกันเทานั้น มีทางแกคือการสั่งซื้อภาพถายจากดาวเทียมดวงอื่น หรือดาวเทียมที่สามารถเอียงมุมองศาตัวรับ
สัญญาณได ภาพถายดาวเทียมความละเอียดเชิงพื้นที่ต่ํา จะทราบไดเพียงจุดที่เกิดเหตุ บุกรุก แตการพิสูจนวาผูใดเปน
ผูกระทําความผิดตองใชรวมกับพยานหลักฐานอื่น เปนตน ซึ่งตองมีการศึกษาเลือกใชงานใหเหมาะสม
ภาพถ า ยดาวเที ย มถู ก จั ด เป น ได ทั้ ง พยานเอกสาร พยานวั ต ถุ 40 พยานวิ ท ยาศาสตร รวมถึ ง เป น พยาน
อิเล็กทรอนิกส และยังเกี่ยวของโดยตรงกับพยานผูเชี่ยวชาญ แมโดยสภาพของภาพถายดาวเทียมจะมีความเหมือนกับ
พยานหลักฐานประเภทอื่น แตก็มีความแตกตางที่เปนนัยสําคัญสําหรับการนํามาเปนพยานหลักฐานในคดีสิ่งแวดลอม
กลาวคือ การรับขอมูลและจัดเก็บคาการสะทอนพลังงานทําโดยระบบดิจิตอล ทําใหมีลักษณะเปนพยานหลักฐาน
อิเล็กทรอนิกส หรือ พยานดิจิตอล ซึ่งตองใหความสําคัญกับความถูกตองแทจริงของขอมูลเปนอยางมาก และตอง
ปฏิ บั ติ ต ามหลั ก ห ว งโซ ก ารคุ ม ครองพยานหลั ก ฐาน (Chain of custody) โดยเคร ง ครั ด เนื่ อ งจากสามารถถู ก
เปลี่ยนแปลงไดอยางงาย นอกจากนี้การนําเสนอภาพถายดาวเทียมในคดี อาจจะนําเสนอในรูปแบบดิจิตอล ผานทาง
หนาจอแสดงผล โปรเจคเตอร โดยไมตองสั่งพิมพออกมาในรูปแบบกระดาษ ซึ่งสามารถทําใหเกิดรูปแบบที่เปน 3 มิติ
และแบบจําลองสถานที่เกิดเหตุที่ทําใหศาลและผูเกี่ยวของในคดีไดมองเห็นภาพเหตุการณและขอเท็จจริงไดอยาง
ชั ด เจน นอกจากนี้ ยั ง อาจนําเสนอในรูปแบบสิ่ งพิ มพ ที่แสดงภาพถายดาวเที ยมหรือขอมู ลสรุปอื่ นๆที่ได จากการ
ประมวลผลของภาพถายดาวเทียมได
กฎหมายวิธีพิจารณาความแพงและกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาซึ่งใชพิจารณาคดีทั่วไปอาจจะมีความไม
เหมาะสมเพียงพอกับการใชพยานเพื่อพิสูจนความจริงคดีสิ่งแวดลอม เนื่องจากความซับซอนของสภาพคดีสิ่งแวดลอม
และการที่ศาลวางตัวเปนกลางทําใหการนําพยานหลักฐานเขาสูกระบวนพิจารณาขึ้นกับความสามารถและเจตนาของ
คูความ ซึ่งมุงหวังใหฝายตนชนะ ดังนั้นศาลจึงควรมีบทบาทในเชิงรุกการเรียกพยานคุณภาพเขาสูคดีได ซึ่งขอมูล
ดาวเทียมเปนพยานหลักฐานที่มีคุณภาพเนื่องจากมีคุณสมบัติและศักยภาพในการพิสูจนขอเท็จจริงอันเปนขอพิพาท
ดานสิ่งแวดลอมไดดี หากเปนประเด็นแหงคดีและไมถูกนําเขามาเปนพยานหลักฐานอาจเกิดความเสียหายรุนแรง และ
ไมอาจกลาวอางในศาลสูงได

40
คําพิพากษาฎีกาที่ 840/2499.
วารสารนิติศึกษาไทย 671

กฎหมายวิธีพิจารณาความทั่วไปของไทยไมไดบัญญัติประเภทของพยานอิเล็กทรอนิกส แมปจจุบันจะมี
กฎหมายที่รองรับพยานหลักฐานอิเล็กทรอนิกส แตมุงเนนดานธุรกิจเปนหลัก เชน พระราชบัญญัติวาดวยธุรกรรมทาง
อิเล็กทรอนิกส พ.ศ. 2544 ซึ่งยังไมสอดคลองกับการใชภาพถายดาวเทียมในคดีสิ่งแวดลอม รวมถึงข อกําหนดคดี
ทรัพยสินทางปญญาและการคาระหวางประเทศ พ.ศ. 2540 ที่มีเขตอํานาจการใชเพียงในศาลลมละลาย และศาล
ทรัพ ย สิ น ทางปญ ญา และการคาระหวางประเทศเทา นั้น จึ ง ไม ค รอบคลุมการใชงานขอมู ลดาวเทียมในการเปน
พยานหลักฐาน
ภาพถายดาวเทียมเปนพยานหลักฐานวิทยาศาสตรและเป นพยานดิจิตอลที่มีลักษณะเฉพาะตัว เมื่อนํามาใช
ในคดีสิ่งแวดลอมตองการกระบวนพิจารณาเปนเฉพาะ ภายใตกฎหมายปจจุบันอาจทําใหภาพถายดาวเทียมที่รับฟง
เปนพยานหลักฐานในคดีถูกใหน้ําหนักนอย และดวยสภาพภาพถายดาวเทียมบางประเภทที่แสดงภาพโดยศาลและ
บุคคลทั่วไปไมอาจแปลตี ความไดดวยตนเอง ตองดําเนินการผานพยานผูเชี่ยวชาญ การกําหนดเงื่อนไขวิธีการและ
ขั้ น ตอนการสื บ พยานว า มี ค วามถู ก ต อ งแท จ ริ ง รวมถึ ง ขั้ น ตอนการสื บ ในเนื้ อ หาของพยานหลั ก ฐาน โดยพยาน
ผูเชี่ยวชาญของคูความและของศาลจึงมีความสําคัญ ทั้งนี้การนําพยานภาพถายดาวเทียมขึ้นสูศาลจะตองพิจารณา
กําหนดเงื่อนไขวิธีการและขั้นตอนการสืบพยานวามีความถูกตองแทจริง รวมถึงขั้นตอนการนําสืบในเนื้อหาของ
พยานหลักฐาน โดยพยานผูเชี่ยวชาญของคูความและของศาล ซึ่งจะตองดําเนินการใน 2 ระดับ คือ การไดมาซึ่งขอมูล
และการแปลตีความขอมูล
การใชเทคโนโลยีดานการสํารวจระยะไกลเพื่อเปนเครื่องมือหนึ่งในการพิสูจนขอเท็จจริงดานสิ่งแวดล อม
อาจจะตองเผชิญปญหาทางกฎหมายที่เกี่ยวกับความเปนสวนตัวและการใชภาพถายดาวเทียมความละเอียดสูงในการ
เฝาระวังและติดตามสถานการณสิ่งแวดลอม อาจจะสงผลกระทบตอเขตอํานาจอธิปไตยและกิจกรรมทางอวกาศความ
รับผิดชอบตอกฎหมายอวกาศและความรับผิดของรัฐ รวมถึงปญหาในทางปฏิบัติ ซึ่งจําเปนตองมีการวางกรอบ
กฎหมายระหวางรัฐในการใชเทคโนโลยีการสํารวจทางพื้นที่ที่พัฒนาอยางรวดเร็ว

ขอเสนอแนะ
ขอมูลจากภาพถายดาวเทียมเปนหนึ่งใหพยานหลักฐานที่สําคัญและมีความเหมาะสมในการบังคับใชกฎหมาย
และการพิสูจนขอเท็จจริงในคดี อยางไรก็ตาม ยังมีอุปสรรคเปนปญหาขอกฎหมายจึงควรเสนอใหมีการดําเนินการ
ดังนี้
1. ออกข อ กํ า หนดของประธานศาลฎี ก า ว า ด ว ยการดํ า เนิ น กระบวนพิ จ ารณาคดี สิ่ ง แวดล อ มโดยใช
พยานหลักฐานจากเทคโนโลยีการสํารวจระยะไกลดวยภาพถายดาวเทียม41 โดยกําหนดนิยามความหมายของขอมูลที่
ไดจากการสํารวจระยะไกลทั้งขอมูลอิเล็กทรอนิกสและผลผลิตที่ไดจากขอมูลดังกลาว รวมทั้งกําหนดแนวทางการใช
ภาพถายดาวเทียมในการพิจารณาคดีความสิ่งแวดลอม ในเรื่องการตรวจสอบความถูกตองแทจริง บทบาทของศาล
และคูความในการเรียกใหสงขอมูลภาพถายดาวเทียมเขามาในคดีในเชิงรุก การสืบพยาน การรับฟงพยานหลักฐาน
การชั่ ง น้ํ า หนักพยานหลักฐาน และเกี่ย วกับ พยานผูเชี่ ยวชาญทั้ งในเรื่องการรับ ฟง และชั่ งน้ํา หนักความเห็ น ของ
ผูเชี่ยวชาญ รวมทั้งคุณสมบัติและการขึ้นทะเบียนพยานผูเชี่ยวชาญ และขั้นตอนกระบวนการการรับรองความถูกตอง
แทจริง
2. ดําเนินการจัดหาและตั้งพยานผูเชี่ยวชาญ รวมทั้งทําบัญชีรายชื่อผูเชี่ยวชาญดานการใชเทคโนโลยีการ
สํารวจระยะไกล จากผูมีความรูเชี่ยวชาญในหนวยงานรัฐ เอกชน หนวยงานการศึกษา หนวยงานที่ดําเนินการวิจัยและ
พัฒนาทั้งของรัฐและเอกชน รวมทั้งจากสภาวิชาชีพวิทยาศาสตรและเทคโนโลยี ทั้งนี้ควรอบรมใหความรูเตรียมความ
พรอมเกี่ยวกับกระบวนการพิจารณาคดีของศาลใหกับผูที่จะมาเปนพยานผูเชี่ยวชาญใหเกิดการปฏิบัติที่เหมาะสม

41
“(ราง) ขอกําหนดประธานศาลฎีกาวาดวยการดําเนินกระบวนพิจารณาคดีสิ่งแวดลอมโดยใชเทคโนโลยีการสํารวจ
ระยะไกลดวยภาพถายดาวเทียม พ.ศ. ...,” จรัญยา กิติไพศาลนนท. “พยานหลักฐานดิจิตอลในคดีสิ่งแวดลอม: ศึกษากรณี
เทคโนโลยีการสํารวจระยะไกล,” (วิทยานิพนธมหาบัณฑิต คณะนิติศาสตร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร, 2561).
672 Thailand Journal of legal Study

นอกจากนี้ยังควรศึกษาแนวทางการคุมครองพยานในคดีสิ่งแวดลอมที่มี ความขัดแยงทางผลประโยชนสูง เพื่อเปนลด


ความกังวลแกผูเชี่ยวชาญ
3. ใหอํานาจองคกรสนับสนุนงาน แกหนวยงานใดหนวยงานหนึ่งในลักษณะเดียวกับ USGS/EROS ในการทํา
หนาที่เปนศูนยกลางการจัดการขอมูลภาพถายดาวเทียมอยางมีประสิทธิภาพ รวมทั้งทําหนาที่เปนหนวยงานกลางใน
การตรวจรั บ รองความถู ก ต อ งแท จ ริ ง ของข อ มู ล อั น เป น ประเด็ น สํ า คั ญ สํ า หรั บ การใช ภ าพถ า ยดาวเที ย มเป น
พยานหลักฐานในคดีสิ่งแวดลอม
4. ดานการสงเสริมการเฝาระวังและติดตามสถานการณสิ่งแวดลอมอยางมีประสิทธิภาพ ในฐานะที่ภาพถาย
ดาวเทียมเปนขอมูลดิจิตอลที่มีการลงทุนต่ํากว าการตรวจวัดคาทางสิ่งแวดล อมดวยวิธีการอื่น จึงควรกําหนดให
ขอมูลภาพถายดาวเทียมเปนวิธีหนึ่งในการติดตามเฝาระวังสถานการณสิ่งแวดลอมที่ไดรับการรับรองตามกฎหมาย
เชน การตรวจวัดปริมาณฝุนละอองที่ปลอยจากโรงงานอุตสาหกรรมโดยใชภาพถายดาวเทียม การเฝาระวังและติดตาม
การรั่วไหลของน้ํามัน ตามกฎหมายที่เกี่ยวกับการจัดทํารายงานชนิดและปริมาณสารมลพิษที่ระบายออกจากโรงงาน
ขอเสนอแนะดานอื่นเพื่อเปนการเตรียมพรอมและการสงเสริมการใชงานภาพถายดาวเทียม เชน ควรกําหนด
บทบาทใหศาลแสวงหาขอเท็จจริงดวยตนเองในเชิงรุกมากขึ้น ใหสอดคลองกับการพิจารณาคดีสิ่งแวดลอม มีการ
บริหารจัดการผูเชี่ยวชาญที่ไดรับเงินทุนไปศึกษาตอทางดานเทคโนโลยีการสํารวจระยะไกลใหไดฝกฝนและถายทอด
ความรูใหแกคนในองคกร จัดใหมีการประชุมสัมมนาแลกเปลี่ยนความรู ความคิดเห็นในการใชเทคโนโลยีการสํารวจ
ระยะไกล ระหวางผูพิพากษาและนักวิชาการทั้งในและตางประเทศ สงเสริมใหเกิดการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการ
สํารวจระยะไกลใหสอดคลองกับความตองการใชงาน ทั้งนี้รัฐบาลควรเลือกซื้อภาพถายดาวเทียมที่เหมาะสมเพื่อมา
เป น ภาพถา ยพื้ น ฐานแบบยาวนานต อเนื่ อ งตลอดตั้ ง ป ใช สํ า หรับ การศึกษาการเปลี่ ยนแปลง และวางแผนการ
บริหารงาน สนับสนุนใหเกิดการใชงานภาพถายดาวเทียมใหแพรหลาย และลดภาระคาใชจายที่แตละหนวยงานจะตอง
สั่งซื้อภาพเอง
วารสารนิติศึกษาไทย 673

บรรณานุกรม

หนังสือ

คนึง ฦาไชย. ไพโรจน วายุภาพ และณรงค ใจหาญ. กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา เลม 2. โครงการตําราและ


เอกสารประกอบการสอบ. พิมพครั้งที่ 8 กรุงเทพมหานคร : คณะนิติศาสตรมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร,
2556.
เช็มชัย ชุติวงศ. คําอธิบายกฎหมายลักษณะพยาน. พิมพครั้งที่ 9 กรุงเทพมหานคร: สํานักพิมพนิติบรรณาการ, 2557.
ปติกุล จีระมงคลพาณิชย. รายงานการวิจัย เรื่อง ปญหาการรับฟงพยานหลักฐาน. กรุงเทพมหานคร : คณะนิติศาสตร
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร, 2545.
สุ นี ย มั ล ลิ ก ะมาลย . พงษ เ ดช วานิ กิ ต ติ กู ล และคณะ. รายงานวิ จั ย ฉบั บ สมบู ร ณ โครงการการศึ ก ษาวิ เ คราะห
สิ่งแวดลอมในศาลยุติธรรม. กรุงเทพมหานคร, 2547.

วิทยานิพนธ

จรัญยา กิติไพศาลนนท. “พยานหลักฐานดิจิตอลในคดีสิ่งแวดลอม: ศึกษากรณีเทคโนโลยีการสํารวจระยะไกล.”


วิทยานิพนธมหาบัณฑิต คณะนิติศาสตร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร, 2561.
ชนาธิป เหมือนพะวงศ. “พยานผูเชี่ยวชาญในคดีแพงที่เกี่ยวกับสิ่งแวดลอม.” วิทยานิพนธมหาบัณฑิต คณะนิติศาสตร
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร, 2550.
นัทธ ธเนศวาณิชย. “การรับฟงและวิธีการนําสืบพยานหลักฐานอิเล็กทรอนิกสในคดีอาญา: ศึกษาตามพระราชบัญญัติ
วาดวยการกระทําความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร พ.ศ, 2550.” วิทยานิพนธ มหาบัณฑิต คณะนิติศาสตร
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร, 2555.

บทความวารสาร

ประเสริฐ คันธมานนท และสมชัย จันทรมัสการ. พยานหลักฐานดิจิตอล. บทบัณฑิตย. เลม 62 ตอน 1 ป 2549 : 44.

สัมภาษณ

ไกรศรี สวางศรี. เจาหนาที่กรมสอบสวนคดีพิเศษ Department of Special Investigation. สัมภาษณ. กรสอบสวน


คดีพิเศษ. 29 สิงหาคม 2559.
สุริยน ประภาสะวัต. อัยการจังหวัดนาน. สัมภาษณ. กรมสงเสริมคุณภาพสิ่งแวดลอม. 5 มีนาคม 2559.
674 Thailand Journal of legal Study

สื่ออิเล็กทรอนิกส

Athiwat Phinyoyang, “การสํารวจจากระยะไกล Remote Sensing”, สืบคนเมื่อวันที่ 15 เมษายน 2559, จาก


https://www.slideshare.net/tomgis/remote-sensing-48756118.
ORION FORENSICS THAILAND, "Digital Forensics Evidence-การรั บ ฟ ง หลั ก ฐานทางอิ เ ล็ ก ทรอนิ ค ส ข องศาล
ไทย", สืบคนเมื่อวันที่ 15 เมษายน 2559, จาก https://hitechforensics.wordpress.com/2012/02
/22/digital-forensics-evidence-การรับฟงหลักฐานทาง/.
Phachern Thammasarangkoon, “ปญหาพยานหลักฐาน : พยานอิเล็กทรอนิกสในคดีแพง ”, สืบคนเมื่อวันที่ 15
เมษายน 2559, จาก https://www.gotoknow.org/posts/449641.
thainetizen.org, “พยานหลักฐานอิเล็กทรอนิกส แยกไมออกจาก “เศรษฐกิจดิจิทัล”, สืบคนเมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม
2561, จาก https://thainetizen.org/2016/01/digital-forensics-seminar-etda/
Tobthong Chancharoen, “RS1_15_บทที่-4-ขอมูลภาพจากดาวเทียมและการประมวลผลเชิงเลข”, หนา 81,
สื บ ค น เ มื่ อ วั น ที่ 2 4 พ ฤ ษ ภ า ค ม 2 5 6 1 , จ า ก http: / / www. tobthong. rbru. ac. th/ wp-
content/uploads/2015/09/ RS1_15_บทที่-4-ขอมูลภาพจากดาวเทียมและการประมวลผลเชิงเลข.
pdf.
เทคโนโลยีชีวภาพ แหลงรวมความรูทางเทคโนโลยีชีวภาพ, “นิติวิทยาศาสตร (Forensic Science) คือ อะไร (What
is Forensic Science ?) ”, สืบคนเมื่อวันที่ 10 เมษายน 2559, จาก http://www.thaibiotech.info
/what-is-forensic-science.php.
สํานักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา, “ขอกําหนดคดีทรัพยสินทางปญญาและการคาระหวางประเทศ พ.ศ. 2540”,
สืบคนเมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม 2561, จาก http://web.krisdika.go.th/data/law/law2/%a824/%
a824-2h-2540-a0001.pdf.
อุไรวรรณ คีรีทอง, “เทคโนโลยีดานการสํารวจระยะไกล (Remote Sensing : RS) ”, สืบคนเมื่อวันที่ 10 เมษายน
2559, จาก https://yingpew103.wordpress.com/2013/01/18/เทคโนโลยีดานการสํารวจ/.

BOOKS

Atsuyo Ito, Legal Aspects of Satellite Remote Sensing, (Boston: M. Nijhoff Pub., 2011)
E. Allen Farnsworth, An Introduction to the Legal System of the United States 3rd ed. (United States
of America : Oceana Publications, Inc., 1996) , pp. 61-64.
Ray Purdy and Denise Leung, Evidence from Earth Observations Satellites Emerging Legal Issues, (the
Netherland: Printforce, 2013)
Wilkie, David S. and Finn, John T. (1996). Remote Sensing Imagery for Natural Resources Monitoring.
(New York, NY: Columbia University Press), p.31.
วารสารนิติศึกษาไทย 675

ARTICLES

Carole E. Powell, “Computer Generated Visual Evidence: Does Daubert Make a Difference?”, Georgia
State University Law Review, Volume 12. (1996) , Retrieved on April 10, 2016, from
https://readingroom.law.gsu.edu/cgi/viewcontent.cgi?article=1588&context=gsulr
Eric Schmidt, “Spy Photos Indicate Mass Grave At Serb-Held Town, U.S. Says”, Retrieved on April 10,
2016, from https://www.nytimes.com/1995/08/10/world/spy-photos-indicate-mass-
grave-at-serb-held-town-us-says.html.
M.Ethan Katsh, Law in a Digital World, (New York: Oxford University Press, 1995).
Marc Steinberg, “ A Picture Can Be Worth a Lot More Than a Thousand Words” , New York Law
Journal. Volume 214, 10(1995).
MIHAI ANDREI, “The world’s first scientific satellite is still in orbit”, Retrieved on May 12, 2018, from
https://www.zmescience.com/space/vanguard-scientific-satellite-06102017/.
Ronald J. Rychlak, Joanne Irene Gabrynowicz, and Rick Crowsey, “ LEGAL CERTIFICATION OF DIGITAL
DATA: THE EARTH RESOURCES OBSERVATION AND SCIENCE DATA CENTER PROJECT” ,
Journal of Space Law, Retrieved on April 15, 2016, from http://joannegabrynowicz.com
/wp-content/uploads/2013/11/2007-Gabrynowicz-33-JSL-195-Certification-of-Digital-
Data.pdf.
Sharon Hatch Hodge, “ Satellite Data and Environmental Law: Technology Ripe for Litigation
Application” , Pace Environmental Law Review, Article 8, Volume 14 Issue 2 ( Summer
1997), p.694, Retrieved on April 10, 2016, from http://digitalcommons.pace.edu/cgi/
viewcontent.cgi?article=1488&context=pelr.
Warren Ferster, “ Courts Learning Strengths of Remote- Sensing Imagery” , Space News, Jan. 16- 22,
1995 at 19.

ELECTRONIC MEDIAS

Saranpong Pramsanae and Kittisak Sriklang, " The Evaluation of Positional Accuracy of Orthoimagery
Product from THEOS Satellite Image Level 1A in the Test Field", Retrieved on September
15, 2017, from http://www.rtsd.mi.th/school/images/knowledge/Research/
Theos_L1A.pdf.
Tracy Bowles, “Remote Sensing and Geospatial Data Used as Evidence: A Survey of Case law, School
of Law, University of Mississippi,” 2002. Retrieved on July 5 2017, from
http://www.crowsey.com/pdf/caseLawSurvey.pdf.
676 Thailand Journal of legal Study

UN Documents, “ Our Common Future, Chapter 2: Towards Sustainable Development” , Retrieved


on March 2, 2016, from http://www.un-documents.net/ocf-02.htm.
วารสารนิติศึกษาไทย 677

มาตรการทางกฎหมายของประเทศไทยในการคุมครองพันธุปลิงทะเล
THAILAND' S LEGAL MEASURES FOR THE PROTECTION OF SEA CUCUMBERS

เฉลิมชล เกษจุโลม
Chalermchon Katejulom
บทคัดยอ
ปลิงทะเลจัดเปนสัตวทะเลที่มีความสําคัญตอระบบนิเวศทางทะเลและชายฝง แตในปจจุบันปลิงทะเลหลายชนิด
ที่พบในในประเทศไทย อยูในภาวะเปนสัตวทะเลหายากและเสี่ยงตอการสูญพันธุ เนื่องจากการทําประมง การทําลาย
แหล งปะการังหรือแหล งหญ าทะเล มลพิ ษทางน้ํ า เป นต น จากการศึกษาพบว าป จจุ บั นประเทศไทยไม มี กฎหมาย
ที่เกี่ยวกับการคุมครองและการอนุรักษปลิงทะเลโดยเฉพาะ สงผลใหปลิงทะเลทุกชนิดไมไดรับการคุมครองตามกฎหมาย
และมาตรการทางกฎหมายที่มีอยู มีผลใชบังคับไมครอบคลุ มถึงการคุ มครองปลิงทะเลทั้งหมด เชน พระราชบัญญั ติ
สงวนและคุมครองสัตวปา พ.ศ. 2535 พระราชบั ญญัติส งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดลอมแห งชาติ พ.ศ. 2535
พระราชกําหนดการประมง พ.ศ. 2558 ดังนั้น จึงจําเปนอยางยิ่งตองมีการปรับปรุงกฎหมายเพื่อแกไขปญหาการลดลง
ของปลิงทะเลในประเทศไทย และคุมครองพันธุปลิงทะเลทุกชนิดพันธุ โดยกําหนดใหปลิงทะเลทุกชนิดพันธุเปนสัตวปา
คุมครองตามพระราชบัญญัติสงวนและคุมครองสัตวปา พ.ศ. 2535 และมีกฎกระทรวงอนุญาตใหมีการเพาะเลี้ยงปลิงทะเล
ขาวและปลิงทะเลดํา เพื่อใหมีการสงเสริมแหลงโปรตีนชนิดใหมสํา หรับการบริโภคในประเทศ และสงออกขายนอก
ประเทศ รวมทั้งเปนการเพิ่มจํานวนปลิงทะเลในธรรมชาติ นอกจากนี้ ภาครัฐควรใหความสําคัญในการประชาสัมพันธให
ประชาชนเห็ น คุ ณ ค า และความสํ า คั ญ ของปลิ ง ทะเลที่ มี ต อ ระบบนิ เ วศชายฝ ง ส ง เสริ ม ให ป ระชาชน
เขามามีสวนรวมในการคุมครองและการอนุรักษปลิงทะเลในประเทศไทยใหประสบผลสําเร็จและเปนไปอยางยั่งยืน

คําสําคัญ
ปลิงทะเล, สัตวปาคุมครอง, การเพาะเลี้ยง

ABSTRACT
Sea cucumbers are natural resources which are important, especially in marine and coastal
ecosystems. However, Sea cucumbers have been decreased and some species of Sea cucumbers found
in Thailand are in danger and risk of extinction. The situation is attributed to human’s activities such as,
fishing, destroying the coral reef or seagrass beds and water pollution etc. The study found that
Thailand does not have particular legal measures for protection and reservation of sea cucumbers. And
the existing law application such as Wild Animal Preservation and Protection Act, B.E. 2535, Enhancement
and Conservation of National Environmental Quality Act, B.E. 2535 and The Royal Ordinance on
Fisheries, B.E. 2558, does not embrace for all species of sea cucumbers. Thus, it is essential to revise and
improve the legal measures in order to solve the problem of the decline of
sea cucumbers in Thailand and the protection of all the species of sea cucumbers.All of species of
sea cucumbers should be protected widelife under the Wild Animal Preservation and Protection Act, B.E.


นั ก ศึ ก ษาปริ ญ ญาโท หลั ก สู ต รนิ ติ ศ าสตรมหาบั ณ ฑิ ต สาขากฎหมายทรั พ ยากรธรรมชาติ แ ละสิ่ ง แวดล อ ม
คณะนิติศาสตร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร : katejulom@hotmail.com
Graduate student of Master of Laws Program in Natural Resources and Environmental Law, Faculty
of Law, Thammasat University. Email address : katejulom@hotmail.com
678 Thailand Journal of legal Study

2535 and a ministerial regulation should permit aquaculture of sea cucumbers especially Holothuria
scabra and Holothuria atra. This permission will promote a new protein source for
the consumer in Thailand and the export of new economic animal. In addition, it would help to increase
the number of sea cucumbers in nature. Furthermore, the government should launch
public relations to make people understand the value and importance of sea cucumbers in coastal
ecosystems.The government should also encourage public participation for the successful and sustainable
protection and conservation of sea cucumbers in Thailand.

Keyword
Sea cucumber, widelife protection, aquaculture
วารสารนิติศึกษาไทย 679

บทนํา
ปลิงทะเล (sea cucumber) เปนสัตวน้ําเค็มชนิดหนึ่ง ซึ่งมีคุณคาทางเศรษฐกิจเปนอยางยิ่ง เพราะนิยม
บริโภคในประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน สาธารณรัฐเกาหลี ญี่ปุน ฯลฯ ปลิงทะเลจัดอยูในสัตวไมมีกระดูกสันหลัง
จั ด อยู ใ น Phylum Echinodermata Class Holothuroidea มี ลั ก ษณะทางชี ว วิ ท ยาทั่ ว ไปคื อ ร า งกายเป น รู ป
ทรงกระบอกยาว แกนสมมาตรในแนวรัศมี (Radial symmetry) ลําตัวออนนุม มีเสนแนวพาดตามลําตัวถึงปาก
ทางด า นล า งของลํ า ตั ว มี เ ท า ท อ (tube feet) ช ว ยในการเคลื่ อ นไหว บางชนิ ด ก็ ไ ม มี เ ท า ท อ ที่ ว งรอบปากจะมี
หนวด (tentacle) ใชรวบรวมอาหาร แลกเปลี่ยนก็าซบริเวณผนังลําตั วโดยตรง การหมุนเวียนของเหลวตาง ๆ
เกิดบริเวณในชองลําตัว ซึ่งในประเทศไทยพบวามี ความหลากหลายของชนิดพันธุปลิงทะเลอยูไมนอยกวา 85 ชนิด 1
ปลิงทะเลที่พบในประเทศไทยที่นํามาบริโภคไดมีเพียง 11 ชนิด ไดแก Holothuria scabra, H. atra, H.Nobilis,
H. spinifera, H. leucospilota, Bohadschia marmorata, B. argus, B. vitiensis, Stichopus chloronotus,
S. variegatus และ Thelonata ananas สวนปลิงทะเลชนิดอื่น ๆ ไมนิยมรับประทาน สําหรับ Holothuria scabra
และ Bohadschia marmorata มีสีพื้นตัวเปนสีเทา เรียกรวมกันวา ปลิงทะเลขาว ซึ่งเปนที่นิยมกวาชนิดอื่น และมี
ราคาแพง สวน Holothuria atra และ Holothuria leucospilota เปนปลิงทะเลที่มีพื้นตัวเปนสีดํา เรียกวาปลิงทะเล
ดํ า จะมี ร าคารองลงมาเนื่ อ งจากลํ า ตั ว มี สี ไ ม ส วยและผนั ง ลํ า ตั ว บาง ปลิ ง ทะเลในประเทศไทยมี พ บเห็ น
อยูทั่วไป แตเทาที่มีผูบริโภคจะอยูในสภาพของปลิงทะเลตากแหง ซึ่งใชปลิงทะเลขาวและปลิงทะเลดํา การบริโภค
ยังไมแพรหลายเนื่องจากปลิงทะเลตากแหงมีราคาแพง ซึ่งหากมีการสงเสริมใหมีการนําปลิงทะเลมาเปนแหลงโปรตีน
ใหมากขึ้น ในอนาคตอาจจะเปนอาหารที่คนรูจักดีเชนเดียวกันกับปลาทูก็เปนได เนื่องจากปลิงทะเลมีปริมาณโปรตีน
นอยกวาเนื้อปลาและเนื้อกุงเพียงเล็กนอย สวนสัตวน้ํา อื่น ๆ เชน หมึกกลวย ปูมา หอยแมลงภู และหอยลาย จะมีคา
ของโปรตี น ใกล เ คี ย งกั บ เนื้ อ ปลิ ง ทะเล และเนื้ อ ปลิ ง ทะเลมี คุ ณ ค า ทางโปรตี น สู ง กว า หอยนางรมถึ ง สองเท า
โดยปลิงทะเลมีโปรตีน 10 - 12 เปอรเซ็นต ไขมัน 0.002 - 0.04 เปอรเซ็นต นักวิทยาศาสตรญี่ปุนพบวาในเนื้อ
ปลิงทะเล Stichopus japonicas มีมิวโคโปรตีน (mucoprotrin) ปริมาณสูงซึ่งโปรตีนชนิดนี้มีคอนดรอยตินซัลฟุริค
แอซิด (condroitin sulfuric acid) เปนองคประกอบสําคัญของกระดูกและขอ และจากการศึกษาในผูสูงอายุพบวา
การที่กลามเนื้อไมสามารถทํางานไดนั้น เนื่องจากปริมาณคอนดรอยตินซัลฟุริค แอซิด ลดลง เพราะคอนดรอยตินซัลฟุริค
แอซิด ในธรรมชาติมักอยูในสภาพมิวโคโปรตีน ซึ่งเปนองคประกอบของสวนตาง ๆ ในรางกายมนุษย เชน กระดูกออน
เอ็นและของเหลวหลอลื่นตามขอตาง ๆ การรับประทานปลิงทะเลจะทําใหเพิ่มโปรตีนชนิดนี้ที่รางกายตองกา ร 2
ปลิงทะเลใน Order Aspidochirotida นิยมที่จะนํามาบริโภคในหลายประเทศมีชื่อเรียกตาง ๆ กัน เชน สาธารณรัฐ
ประชาชนจี น ซึ่ ง เรีย กปลิ ง ทะเลว า Trepang หรือ Nemeko สหพั น ธรัฐ มาเลเซี ย เรีย กว า Gamat สาธารณรัฐ
ฟลิปปนส เรียกวา Balat และในสาธารณรัฐฝรั่งเศส เรียกวา Beche-de-mer ปลิงทะเลบางชนิดมีสารโฮโลทูริน
(Holothurin) มีคุณสมบัติในการบําบัดความเจ็บปวดของผูปวยหลังผาตัด ซึ่งสารโฮโลทูรินมีคุณสมบัติในการขัดขวาง
การสงความรูสึกของกระแสประสาทได ปลิงทะเลบางชนิดมีสารซาโปนิน ที่เรียกวา โฮโลทอกซิน ( Holotoxin)
เปนสารอีกชนิดหนึ่ง ที่มีผลในการยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อราบางชนิด ในปจจุบันมีการศึกษาวิจัยเพื่อนําซาโปนิน
ในปลิงทะเลไปใชในการยับยั้งเซลมะเร็ง นอกจากนี้ยังมีการนําปลิงทะเลมาเปนสวนผสมของโลชั่นบํารุงผิว สบู
ยาสีฟน หรือบรรจุแคปซูลเปนอาหารเสริมสุขภาพ นอกจากนี้น้ํา จากการตมปลิงทะเลแลวยังสามารถนํามาทําเปนยา
บรรเทาอาการผิวหนังผุพองหรือบรรเทาอาการคันจากยุงกัดได3
ปลิงทะเลมีความสําคัญตอระบบนิเวศในแงการยอยสลายสารอินทรียและตะกอนในดิน ปลดปลอยธาตุ

1
จรัสศรี อางตันญา และคณะ, ตัวอยางปลิงทะเลในพิพิธภัณฑสัตวและพืชทะเล, สถาบันวิจัยและพัฒนาทรัพยากร
ทางทะเล ชายฝงทะเล และปาชายเลน, (กรุงเทพมหานคร : กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝง, มีนาคม 2551), น. 7.
2
มัทนา แสงจินดาวงษ, “การศึกษาชนิดและคุณคาทางอาหารของปลิงทะเลของไทย,” (วิทยานิพนธวิทยาศาสตร
มหาบัณฑิต สาขาวิชาสัตววิทยา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร, 2516), น. 38 - 39.
3
เพิ่งอาง.
680 Thailand Journal of legal Study

อาหารสูวงจรหวงโซอาหาร ปลิงทะเลเปนผูยอยสลาย (decomposer) ซึ่งชวยใหอินทรียวัตถุขนาดใหญมีขนาดเล็กลง


โดยปลิ ง ทะเลจะปลดปล อ ยสารอาหารที่ มี ข นาดเล็ ก ให กั บ สั ต ว ข นาดเล็ ก และจุ ลิ น ทรี ย ที่ อ าศั ย อยู บ นพื้ น
และในตะกอนดวย โดยเฉพาะไนโตรเจน ปลิงทะเลจะขับถายออกมาเปนแอมโมเนียซึ่งแพลงคตอนพืชสามารถนําไปใช
ได ทําใหสิ่งมีชีวิตเจริญเติบโตไดดี
1. สถานภาพของปลิงทะเลในประเทศไทย
เนื่องจากในปจจุบันประชากรมนุษยในโลกไดทวีจํานวนมากขึ้นอยางรวดเร็ว ความตองการแหลงโปรตีน
เพื่อใชเปนอาหารยอมตองการปริมาณมากขึ้นจากทรัพยากรที่มีอยูจํากัดมิไดเพิ่มตามจํานวนประชากร ดังนั้นสําหรับ
การประมงแบบเกินกําลังผลิตทําใหปริมาณของปลิงทะเลลดลงอยางรวดเร็ว รวมทั้งในประเทศไทยที่มีปลิงทะเล
หลายชนิดอาศัยอยูก็มีปริมาณปลิงทะเลลดนอยลงไปมาก สาเหตุที่ทําใหปลิงทะเลในประเทศไทยมีสถานภาพลดลง
จนบางชนิดใกลที่จะสูญพันธุ มีสาเหตุอยูอีกหลายประการคือ การประมงที่เกินกําลังผลิต มลพิษทางทะเล การบังคับ
ใชกฎหมายที่ยังขาดประสิทธิภาพ ประชาชนยังขาดความรูความเขาใจในการคุมครองพันธุปลิงทะเล และมาตรการ
ทางกฎหมายที่ยังไมมีบทบัญญัติที่คุมครองปลิงทะเลโดยเฉพาะ
2. กฎหมายที่เกี่ยวของในการคุมครองพันธุปลิงทะเล
ในการศึกษาของผูเขี ยนพบวาการแกไขมาตรการทางกฎหมายจะสามารถนํา มาใช ในการคุม ครองพั น ธุ
ปลิงทะเลในประเทศไทยไดอยางยั่งยืน โดยมีกฎหมายที่เกี่ยวของดังนี้
2.1 พระราชบัญญัติสงวนและคุมครองสัตวปา พ.ศ. 2535
พระราชบัญญัติสงวนและคุมครองสัตวปา พ.ศ. 2535 4 เปนกฎหมายที่มีบทบัญญัติคุมครองสัตวปา เพื่อให
สัตวปาหายากสามารถดํารงชีวิตในธรรมชาติไดอยางปลอดภัย มาตรา 4 บัญญัติวา ในพระราชบัญญัตินี้ “สัตวปา”
หมายความวา สัตวปาทุกชนิดมาวาสัตวบก สัตวน้ํา สัตวปก แมลงหรือแมง ซึ่งโดยสภาพธรรมชาติยอมเกิดและดํารง
ชี พ อยู ใ นป า หรื อ ในน้ํ า และให ห มายความรวมถึ ง ไข ข องสั ต ว ป า เหล า นั้ น ทุ ก ชนิ ด ด ว ย แต ไ ม ห มายความรวมถึง
สั ต ว พ าหนะที่ ไ ด จ ดทะเบี ย นทํ า ตั๋ ว รูป พรรณตามกฎหมายว า ด ว ยสั ต ว พ าหนะแล ว และสั ต ว พ าหนะที่ ไ ด ม าจาก
การสืบพันธุของสัตวพาหนะดังกลาว
“สัตวปาสงวน” หมายความวา สัตวปา หายากตามบัญชีทายพระราชบัญญัตินี้ และตามที่กําหนด โดยตรา
เปนพระราชกฤษฎีกา
“สัตวปาคุมครอง” หมายความวา สัตวปาตามที่กฎกระทรวงกําหนดใหเปนสัตวปาคุมครอง ...
มาตรา 5 “ใหรัฐมนตรีวาการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดลอมรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้
และใหมีอํานาจแตงตั้งพนักงานเจาหนาที่กับออกกฎกระทรวงกําหนดคาธรรมเนียมไมเกินอัตราทายพระราชบัญญัตนิ ี้
ลดหรือยกเวนคาธรรมเนียมและกําหนดกิจการอื่นเพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้
กฎกระทรวงนั้น เมื่อไดประกาศในราชกิจจานุเบกษาแลวใหใชบังคับได”
มาตรา 17 “ใหรัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการ มีอํานาจกําหนดชนิดของสัตวปาคุมครองให
เปนสัตวปาชนิดที่เพาะพันธุได โดยกําหนดในกฎกระทรวง”
มาตรา 5 และมาตรา 17 แหงพระราชบัญญัติสงวนและคุมครองสัตวปา พ.ศ. 2535 ใหรัฐมนตรีวาการ
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดลอมสามารถออกกฎกระทรวงกําหนดชนิดของสัตวปาคุมครองใหเปนสัตวปา
ชนิดที่เพาะพันธุได พ.ศ. 2546 มาใชในการกําหนดชนิดสัตวปาคุมครอง ตัวอยางเชน กระจงเล็ก กวางปา เนื้อทราย
เกง เปนตน ที่เปนสัตวปาคุมครอง ก็ยังยกเวนใหเพาะเลี้ยงเปนสัตวเศรษฐกิจได อีกทั้งการดําเนินการนําปลิงทะเล
ทุกชนิดพันธุเขาเปนสัตวปาคุมครองยังสอดคลองกับความตกลงระหวางประเทศที่ตองการสงวนและคุมครองสัตว
ทองถิ่นอันเปนทรัพยากรสําคัญของโลก
มาตรา 6 “การกํา หนดให สั ต วปา ชนิด ใดเปน สัต วปา คุมครองให ก ระทําโดยกฎกระทรวงและโดยความ

4
พระราชบัญญัติสงวนและคุมครองสัตวปา พ.ศ. 2535, ราชกิจจานุเบกษา เลม 109 ตอนที่ 15, 28 กุมภาพันธ
2535.
วารสารนิติศึกษาไทย 681

เห็นชอบของคณะกรรมการ”
สั ต ว ป า สงวน ตามพระราชบั ญ ญั ติ นี้ ใ นป จ จุ บั น ได แ ก สั ต ว ป า หายาก 15 ชนิ ด ตามบั ญ ชี แ นบท า ย
พระราชบัญญัติสงวนและคุมครองสัตวปา พ.ศ.2535 ไดแก แมวลายหินออน พะยูน เกงหมอ นกกระเรียน เลียงผา
กวางผา ละองหรือละมั่ง สมัน กูปรี ควายปา แรด กระซู สมเสร็จ นกแตวแลวทองดํา และนกเจาฟาหญิงสิรินธร
พระราชบั ญ ญั ติ ส งวนและคุ ม ครองสั ต ว ป า พ.ศ. 2535 และที่ แ ก ไ ขเพิ่ ม เติ ม มุ ง คุ ม ครองสั ต ว ห ายาก
และสัตวที่อยูในภาวะใกลสูญพันธุ ประกอบกับจําเปนตองเรงรัดการขยายพันธุสัตวและใหการสงวนและคุมค รอง
สัตวปาควบคูกันไป
พระราชบัญญัตินี้มีบทบัญญัติเพื่อสงวนและคุมครองสัตวปาและแหลงที่อยูอาศัย ตามมาตรา 42 “บริเวณ
สถานที่ ที่ ใช ในราชการหรือใช เพื่ อสาธารณประโยชน หรือประชาชนใช ป ระโยชน รว มกัน แห ง ใด รัฐ มนตรี โดย
ความเห็ น ชอบของคณะกรรมการจะกําหนดให เป นเขตห า มลาสั ต วป าชนิดหรือประเภทใดก็ได โดยประกาศใน
ราชกิจจานุเบกษา
เมื่อไดมีประกาศของรัฐมนตรีกําหนดเขตหามลาสัตวปาชนิดหรือประเภทใดแลว หามมิใหผูใดกระทําการ
ดังตอไปนี้
(1) ลาสัตวปาชนิดหรือประเภทนั้น
(2) เก็บหรือทําอันตรายแกรังของสัตวปาซึ่งหามมิใหลานั้น...”
เขตหามลาสัตวปา คือ อาณาบริเวณพื้นที่ที่ทางราชการไดกําหนดไวใหเปนที่ที่สัตวปาหายากหรือถูกคุกคาม
ได อยู อาศั ย ในพื้ น ที่ นั้นอย า งปลอดภัย สามารถอยู อาศั ย ต อไปไดในธรรมชาติ และทวี จํ า นวนมากขึ้น การจั ด ตั้ง
เขตหามลาสัตวปาเปนมาตรการอนุรักษสัตวปาอีกวิธีหนึ่ง
พระราชบัญญัติสงวนและคุมครองสัตวปา พ.ศ. 2535 5 เปนกฎหมายที่มีบทบัญญัติคุมครองสัตวปา เพื่อให
สัตวปาหายากสามารถดํารงชีวิตในธรรมชาติไดอยางปลอดภัยมีการใชอํานาจตามความในมาตรา 5 และมาตรา 6 แหง
พระราชบัญญั ติส งวนและคุมครองสั ตว ปา พ.ศ. 2535 ผู เขีย นมี ความเห็ นวา พระราชบัญ ญัติ สงวนและคุ ม ครอง
สัตวปา พ.ศ. 2535 ในสวนของกฎกระทรวงกําหนดสัตวปาบางชนิดเปนสัตวปาคุมครองไมมีความชัดเจนในการ
คุมครองพันธุปลิงทะเล เนื่องจากปลิงทะเลทุกชนิดพันธุจั ดเปนสัตวปาไมมีกระดูกสันหลังที่เปนตัวชี้วัดความอุดม
สมบูรณของระบบนิเวศชายฝงทะเลและมีคุณประโยชนในดานเปนแหลงโปรตีน ดานการแพทย ฯลฯ ปญหาความไมชัดเจน
ของกฎหมายในการคุมครองพันธุปลิงทะเลนี้ และไมมีชื่อของปลิงทะเลทุกชนิดพันธุปรากฏอยูในกฎกระทรวงกํา หนด
สัตวปาบางชนิดเปนสัตวปาคุมครองนํามาสูการจับปลิงทะเลอยางเสรี ไมสามารถบังคับใชกฎหมายไดครอบคลุมถึงการ
คุมครองพันธุปลิงทะเลในทะเลประเทศไทย ทําใหปลิงทะเลที่มีราคาสูง นิยมบริโภค ลดจํานวนลงอยางมาก รวมทั้งถูก
ลักลอบจับโดยเรือประมงตางชาติ ทําใหเชื่อได วาปลิงทะเลบางชนิดจะหมดไปจากทองทะเลไทยในระยะเวลาอันใกล
หากในอนาคตอันใกลมีการนําปลิงทะเลทุกชนิดพันธุเขาเพิ่มเติมเปนสัตวปาคุมครองตามกฎกระทรวงกําหนดสัตวปา
บางชนิดเปนสัตวปาคุมครอง พ.ศ. 25466 และสงเสริมใหมีการเพาะเลี้ยงเพื่อการศึกษาวิจัยคุณประโยชนของสารเคมี
ในปลิงทะเล การเพาะเลี้ยงปลิงทะเลขาวและปลิงทะเลดําเพื่อใชเปนแหลงโปรตีนบริโภคภายในประเทศ และสงออก
ต า งประเทศ นํ า รายได สู ร ะบบเศรษฐกิ จ ไทย จะเหมาะสมต อ การคุ ม ครอง การอนุ รั ก ษ และการใช ป ระโยชน
อยางยั่งยืน ดังเชน ที่กฎกระทรวงกําหนดชนิดของสัตวปา คุมครองใหเปนสัตวปาชนิดที่เพาะพันธุได พ.ศ. 2546 7
และที่แกไขเพิ่มเติม

5
เพิ่งอาง.
6
กฎกระทรวงกําหนดสัตวปาบางชนิดเปนสัตวปาคุมครอง พ.ศ. 2546, ราชกิจจานุเบกษา เลม 120 ตอนที่ 74 ก,
1 สิงหาคม 2546.
7
กฎกระทรวงกําหนดชนิดของสัตวปาคุมครองใหเปนสัตวปาชนิดที่เพาะพันธุได พ.ศ. 2546, ราชกิจจานุเบกษา
เลม 120 ตอนที่ 59 ก, 27 มิถุนายน 2546.
682 Thailand Journal of legal Study

2.2 พระราชกําหนดการประมง พ.ศ. 2558


พระราชกําหนดการประมง พ.ศ. 2558 8 ตามมาตรา 4 บัญญัติวา “พระราชกําหนดนี้มุงหมายเพื่ อการ
จัดระเบียบการประมงในประเทศไทยและในนานน้ําทั่วไป เพื่อปองกันมิใหมีการทําประมงโดยไมชอบดวยกฎหมาย
เพื่อรักษาทรัพยากรสัตวน้ําใหอยู ในภาวะที่ เปนแหลง อาหารของมนุษยชาติอยางยั่งยืน …” ในการทําการประมง
ปลิงทะเล มีการลักลอบทําการประมงจากเรือประมงประเทศเพื่อนบานทําใหทรัพยากรปลิงทะเลสูญเสียไปมาก
พระราชบัญญัตินี้มีวัตถุประสงคในการควบคุมกิจกรรมที่เกี่ยวกับการทําการประมงแบบครบวงจร กลาวคือ เริ่มตั้งแต
กระบวนการผลิตไปจนถึงกระบวนการแปรรูป สําหรับใชเพื่อการอุปโภคและบริโภค กําหนดหลักเกณฑควบคุ ม
ผูประกอบอาชีพประมง จึงมีผลในการคุมครองปลิงทะเลอยูดว ย แตในสวนที่ยังเปนปญหาการบังคับใชที่เกี่ยวของกับ
การคุมครองพันธุปลิงทะเลก็คือ
ประการที่หนึ่ง คือ กฎหมายฉบับนี้คุม ครองในความหมายของสัตว น้ําที่ให ใชประโยชนทางการประมง
โดยรวม ไมไดคุมครองปลิงทะเลโดยเฉพาะ ซึ่งในหลักการคุมครองในลักษณะสัตวทะเลหายากและใกลจะสูญพันธุ
ตองใชมาตรการตามพระราชบัญญัติสงวนและคุมครองสัตวปา พ.ศ. 2535 และที่แกไขเพิ่มเติม เพราะการคุมครอง
ตามกฎหมายนี้ คือ การหามจับในทุกกรณี จะนํามาใชคุมครองปลิงทะเลทุกชนิดไดอยางมีประสิทธิภาพมากกวา
ประการที่ ส อง คื อ ประชาชนยั ง ขาดความรู ค วามเข า ใจว า สั ต ว น้ํ า ชนิ ด ใดบ า งที่ ห า มจั บ หรื อ ห า มล า
ตามกฎหมาย การเผยแพรประชาสั มพั นธขอมูล ความรูเกี่ยวกับการอนุรักษและคุมครองพั นธุปลิง ทะเลทุกชนิด
จะทําใหประชาชนเขาใจและเห็นคุณคาถึงความจําเปนที่ตองชวยกันอนุรักษปลิงทะเลใหคงอยูคูทะเลไทยตลอดไป เมื่อ
ประชาชนมีความรูความเขาใจในเรื่องนี้จะมีสวนชวยในการกระจายขาวสาร ขอมูลตาง ๆ ในเรื่อง ชนิดพันธุปลิงทะเล
การส ง เสริ ม การเพาะเลี้ ย งเพื่ อ จํ า หน า ย ความรู ใ นมาตรการกฎหมายที่ เ กี่ ย วข อ งให ทั่ ว ถึ ง กั น อี ก ทางหนึ่ ง ด ว ย
มาตรา 5ในพระราชกําหนดนี้
“สัตวน้ํา ” หมายความวา สัตวที่อาศั ยอยูในน้ําเปนปกติ สัตวจําพวกสะเทินน้ําสะเทินบกสัตวที่อาศัยอยู
ในบริเวณน้ําทวมถึง สัตวท่ีมีการดํารงชีวิตสวนหนึ่งอยูในน้ํา สัตวที่มีวงจรชีวิตชวงหนึ่งที่อาศัยอยูในน้ําเฉพาะชวงชีวิต
ที่อาศัยอยูในน้ํา รวมทั้งไขและน้ําเชื้อของสัตวน้ํา และสาหรายทะเล ซากหรือ สวนหนึ่งสวนใดของสัตวน้ําเหลานั้น
และใหหมายความรวมถึงพันธุไมน้ําตามที่รัฐมนตรีประกาศกําหนดและซากหรือสวนหนึ่งสวนใดของพันธุไมน้ํานั้นดวย
...
“การประมง” การทํ า การประมง การเพาะเลี้ ย งสั ต ว น้ํ า การดู แ ลรั ก ษาสั ต ว น้ํ า การแปรรู ป สั ต ว น้ํ า
และหมายความรวมถึงการกระทําใด ๆ ที่เปนการสนับสนุนการทําการประมง...”
การอนุรักษสัตวน้ําตามแนวทางของพระราชกําหนดฉบับนี้ตามนิยามในมาตรา 5 เปนการอนุรักษสัตวน้ํา
โดยทั่ ว ไป ซึ่ ง เป น การกํา หนดการบริหารจั ดการการทํ า การประมงให ส อดคล อ งกับ ผลผลิ ต สู ง สุ ด ของธรรมชาติ
เพื่ออนุรักษแหลงทําการประมงและใชประโยชนอยางยั่งยืน
หมวดที่ 6 การสงเสริมการเพาะเลี้ยงสัตวน้ํา
มาตรา 73 “บทบัญญัติในหมวดนี้มีวัตถุประสงคเพื่อสงเสริมการเพาะเลี้ยงสัตวน้ําเพื่อเปนแหลงผลผลิต
ของสัตวน้ําอีกทางเลือกหนึ่ง ซึ่งสอดคลองกับวัตถุประสงคในการบริห ารจัดการทรัพยากรสัตวน้ําใหเกิดความยั่งยืน
โดยคํานึงถึงปจจัยทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดลอมในระยะยาว และการรักษาความสมดุลในระบบนิเวศ รวมทั้ง
สรา งความมั่ น ใจในการบริโ ภคสั ต ว น้ํ า ที่ ไ ด จ ากการเพาะเลี้ ย งทั้ ง ในด า นคุณ ภาพและสุ ขอนามั ย ที่ ไ ด ม าตรฐาน ”
มาตรา 74 “เพื่อประโยชนในการรักษาคุณภาพและคุมครองผูบริโภคใหปลอดภัยในการบริโภคสัตวน้ํา ใหผู
เพาะเลี้ยงสัตวน้ําดําเนินการใหถูกตองตามมาตรฐานสินคาเกษตรที่คณะกรรมการมาตรฐานสินคาเกษตรตามกฎหมาย
วาดวยมาตรฐานสินคาเกษตรประกาศกําหนด
ให เ ป น หน า ที่ ข องกรมประมงในอั น ที่ จ ะส ง เสริ ม พั ฒ นา และแนะนํ า การเพาะเลี้ ย งสั ต ว น้ํ า ให ถู ก ต อง
ตามมาตรฐานตามวรรคหนึ่งและมิใหมีผลกระทบตอระบบนิเวศและความสมบูรณของทรัพยากรสัตวน้ําและออก

8
พระราชกําหนดการประมง พ.ศ. 2558, ราชกิจจานุเบกษา เลม 132 ตอนที่ 108 ก, 13 พฤศจิกายน 2558.
วารสารนิติศึกษาไทย 683

หนังสือรับรองความชอบดวยมาตรฐานของการเพาะเลี้ยงสัตวน้ําใหแกผูเพาะเลี้ยงสัตวน้ําที่ดําเนินการโดยถูกต อง
ตามมาตรฐานดังกลาวเมื่อไดรับการรองขอ”
มาตรา 75 “ผูใดประสงคจะขอหนังสือรับรองการไดมาตรฐานการเพาะเลี้ยงสัตวน้ําตามมาตรา 74 หรือขอให
กรมประมงตรวจรับรองชนิด ลักษณะ คุณภาพหรือแหลงกําเนิดของสัตวน้ําใดหรือขอใหตรวจวิเคราะหตัวอยางดิน น้ํา
สัตวน้ํา หรือปจจัยการผลิตเปนการเฉพาะราย ใหยื่นคําขอและชําระคาใชจายในการออกหนังสือรับรองหรือตรวจสอบ
ตามระเบียบที่อธิบดีกําหนด”
มาตรา 76 “เพื่อประโยชนในการกํากับดูแลการเพาะเลี้ยงสัตวน้ําใหมีคุณภาพปองกันผลกระทบตอสิ่งแวดลอม
หรืออันตรายต อผูบริโภค หรือตอกิจการของบุคคลอื่ น ให อ อกกฎกระทรวงกํา หนดชนิดหรือลักษณะของสัตวน้ํา
หรือประเภท รูปแบบ ขนาด หรือวัตถุประสงคของกิจการการเพาะเลี้ยงสัตวน้ําใหเปนกิจการการเพาะเลี้ยงสัตวน้ํา
ควบคุมได”
มาตรา 77 “ภายใตบังคับมาตรา 79 หามมิใหผูใดประกอบกิจการการเพาะเลี้ยงสัตวน้ําควบคุมนอกเขตพื้นที่
ที่คณะกรรมการประมงประจําจังหวัดประกาศกําหนดใหเปนเขตเพาะเลี้ยงสัตวน้ํา”
มาตรา 78 “ให อ ธิ บ ดี มี อํ า นาจประกาศกํ า หนดให ผู ป ระกอบกิ จ การเพาะเลี้ ย งสั ต ว น้ํ า ควบคุ ม ภายใน
เขตเพาะเลี้ยงสัตวน้ําตามมาตรา 77 ตองปฏิบัติในเรื่องดังตอไปนี้
(1) กําหนดใหผูประกอบกิจการการเพาะเลี้ยงสัตวน้ําตองแจงการประกอบกิจการการเพาะเลี้ยงสัตวน้ํา
ตอพนักงานเจาหนาที่ตามวิธีการที่กําหนด
(2) กําหนดแหลงที่มาของสัตวน้ําที่หามนํามาใชในการเพาะเลี้ยงสัตวน้ํา
(3) กําหนดประเภท ลักษณะ และคุณภาพอาหารของสัตวน้ําที่หามใชในการเพาะเลี้ยงสัตวน้ํา
(4) กําหนดชนิดและปริมาณของยา เคมีภัณฑ หรือสารอันตรายอื่นใดที่หามใชในการเพาะเลี้ยงสัตวน้ํา
(5) กําหนดหลักเกณฑและวิธีการปฏิบัติในการจัดการน้ําทิ้งหรือของเสียจากการเพาะเลี้ยงสัตวน้ํา
(6) กําหนดหลักเกณฑและวิธีการปฏิบัติในการปองกันมิใหน้ําจากการเพาะเลี้ยงสัตวน้ํารั่วไหลออกจาก
ที่เพาะเลี้ยงสัตวน้ํา
(7) กําหนดเรื่องอื่นใดที่จําเปนในการปองกันผลกระทบตอสิ่งแวดลอม หรืออันตรายตอผูบริโภค หรือ
ตอกิจการของบุคคลอื่น”
พระราชกําหนดฉบับนี้ มีลักษณะที่ใชในการควบคุมการประมงของสัตวน้ําทั่วไป โดยบริหารจัดการใหเกิด
ความสมดุล เนนการทําประมงที่ถู กตองตามกฎหมาย การใชเครื่องมือประมงจับสัตวน้ําตองถูกตองตามที่อธิบดี
กรมประมงกํา หนด เพื่ อการใช ป ระโยชนสั ต วน้ํ าที่ มี อยู ทั่ว ไปให เกิด ความสมดุ ลและมี ใช อยู ได ยาวนานตลอดไป
ตลอดจนสงเสริมการเพาะเลี้ยงสัตวน้ําโดยทั่วไปใหเปนแหลงโปรตีนของคนไทยอยางยั่งยืน ในสวนที่เกี่ยวกับการ
คุมครองพันธุปลิงทะเลนั้น ผูเขียนมีความเห็นวายังไมครอบคลุมในวัตถุประสงคของการการคุมครองชนิดพันธุปลิงทะเล
ซึ่ ง บางชนิ ด พั น ธุ อ ยู ใ นภาวะความเสี่ ย งที่ จ ะสู ญ พั น ธุ แม ว า พระราชกํ า หนดฉบั บ นี้ จ ะคุ ม ครองสั ต ว น้ํ า ทุ ก ชนิ ด
ในความหมายโดยทั่วไปอยูแลว แตคุมครองในความหมายของสัตวน้ําที่ใหใชประโยชนทางการประมงโดยรวม ไมได
คุมครองปลิงทะเลโดยเฉพาะ ซึ่งในหลักการคุมครองในลักษณะสัตวทะเลหายากและใกลจะสูญพันธุตองใชมาตรการ
ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุมครองสัตวปา พ.ศ. 2535 และที่แกไขเพิ่มเติม เพราะการคุมครองตามกฎหมายนี้
คื อ การห า มจั บ ในทุ ก กรณี จะนํ า มาใช คุ ม ครองปลิ ง ทะเลทุ ก ชนิ ด ได อ ย า งมี ป ระสิ ท ธิ ภ าพมากกว า การยกเว น
ในกฎกระทรวงให เพาะเลี้ ย งปลิ ง ทะเลบางชนิ ด ได ก็มี ก ารควบคุมอย า งเขม งวดตามข อ ตกลงระหว า งประเทศ
ดวยเหตุผลนี้จะคุมครองปลิงทะเลในประเทศไทยได อยางมีประสิทธิภาพมากกวาการใชพระราชกําหนดการประมง
พ.ศ. 2558
ในสวนของการสงเสริมการเพาะเลี้ยงสัตวน้ําตามพระราชกําหนดประมง พ.ศ. 2558 มาตรา 73 - มาตรา 78
มีวัตถุประสงคในการรักษาและควบคุมคุณภาพสัตวน้ําเพื่อประโยชนของผูบริโภคเปนเปาหมายหลัก แตก ารคุมครอง
สั ต ว ป า คุ มครอง โดยกํา หนดชนิ ดสัต วป าคุ มครอง ให เป น สั ต ว ปาชนิ ดที่เพาะพันธุ ไดโ ดยกําหนดในกฎกระทรวง
ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุม ครองสั ตวปา พ.ศ. 2535 มาตรา 17 เพาะพันธุไดถาไดรับอนุญาตจากอธิ บ ดี
684 Thailand Journal of legal Study

หรือการดําเนินกิจการสวนสัตวตามมาตรา 18 เจตนารมณ ของกฎหมายเปนการคุมครองในกรอบของการนําเขา


การสงออก หรือนําผาน ซึ่งสัตวปาสงวน สัตวปาคุมครอง ตลอดจนซาก ของสัตวปาสงวน สัตวปาคุมครอง เพื่อการ
คุมครองพันธุสัตวปาที่ใกลสูญพันธุ
ดังนั้น พระราชกําหนดการประมง พ.ศ. 2558 จึงมีวัตถุประสงคในการขจัดการทําประมงผิด กฎหมาย
ขาดการรายงาน และไรการควบคุม ซึ่งจะตองนํามาบังคับใชใหถูกตองเพื่อทําใหทุกคนสามารถเขาถึงทรัพยากรสัตวน้ํา
ไดอยางทั่วถึงและสามารถทําการประมงไดอยางยั่งยืน เพื่อใหเจาหนาที่ของกรมประมงนําไปบังคับใชกับชาวประมง
และผูประกอบการประมง โดยตองสรางความเชื่ อมั่น และความไว ใจ และรวมมือกันในการใชท รัพ ยากรสัต ว น้ํ า
และมีเนื้อหาเปนการปฏิรูปการประมงไทย
2.3 พระราชบัญญัติสงเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดลอมแหงชาติ พ.ศ. 2535
พระราชบั ญ ญั ติ ส ง เสริ ม และรั ก ษาคุ ณ ภาพสิ่ ง แวดล อ มแห ง ชาติ พ.ศ. 2535 9 พระราชบั ญ ญั ติ ฉ บั บ นี้
ประกอบดวยมาตรการทางกฎหมายที่ใชในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและควบคุมมลพิษทั้งในเชิงของการอนุรักษ
การสงวน การรัก ษา การป อ งกัน การฟ น ฟู และการส งเสริม และมี องค กรในการบังคั บใชกฎหมายหลายระดับ
พระราชบัญญัติฉบับนี้เปนกฎหมายสิ่งแวดล อมหลักของประเทศเพราะมีมาตรการในการบังคับใชที่สามารถนํามา
ใชประสานการปฏิบัติภารกิจดานสิ่งแวดลอมของหนวยงานของรัฐทั้งหมด พระราชบัญญัติสงเสริมและรักษาคุณภาพ
สิ่งแวดลอมแหงชาติ พ.ศ. 2535 จึงเปนกฎหมายที่วางกรอบการแกปญหาสิ่งแวดลอมในภาพรวม ทําใหสามารถ
นําไปใชควบคูกับกฎหมายอื่นได
นอกจากนี้การคุมครองพันธุปลิงทะเล ตามที่พระราชบัญญัติสงเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดลอมแหงชาติ
พ.ศ. 2535 บัญญัติไวสามารถคุมครองปลิงทะเลไดในทางพื้นที่ ซึ่งใชเปนมาตรการทางกฎหมายควบคูกันไปกับในการ
คุ ม ครองปลิงทะเลทุ กชนิ ด พันธุ ตามพระราชบัญ ญัติ สงวนและคุมครองสัตว ปา พ.ศ. 2535 ซึ่ ง เขตพื้ นที่คุ มครอง
สิ่ ง แวดลอมในพระราชบัญญั ติสงเสริมและรักษาคุ ณภาพสิ่ง แวดลอมแห ง ชาติ พ.ศ. 2535 ปรากฏในมาตรา 43
และมาตรา 45
ม า ต ร า 4 3 “ ใ น ก ร ณี ที่ ป ร า ก ฏ ว า พื้ น ที่ ใ ด เ ป น พื้ น ที่ ต น น้ํ า ลํ า ธ า ร ห รื อ มี ร ะ บ บ นิ เ ว ศ ต า ม
ธรรมชาติ ที่ แ ตกต า งจากพื้ น ที่ อื่น โดยทั่ ว ไป หรือมี ระบบนิ เวศตามธรรมชาติ ที่ อาจถูกทํ า ลาย หรืออาจได รับ ผล
กระทบกระเทือนจากกิจกรรมตาง ๆ ของมนุษยไดโดยงาย หรือเปนพื้นที่ที่มีคุณคาทางธรรมชาติหรือศิลปกรรมอัน
ควรแก ก ารอนุ รั ก ษ และพื้ น ที่ นั้ น ยั ง มิ ไ ด ถู ก ประกาศกํ า หนดให เ ป น เขตอนุ รั ก ษ ให รั ฐ มนตรี โ ดยคํ า แนะนํ า ของ
คณะกรรมการสิ่งแวดลอมมีอํานาจออกกฎกระทรวงกําหนดใหพื้นที่นั้นเปนเขตพื้นที่คุมครองสิ่งแวดลอม”
มาตรา 45 “ในพื้นที่ใดที่ไดมีการกําหนดใหเปนเขตอนุรักษ เขตผังเมืองรวม เขตผังเมืองเฉพาะ เขตควบคุม
อาคาร เขตนิ ค มอุ ตสาหกรรม ตามกฎหมายว าด วยการนั้น หรือ เขตควบคุ ม มลพิษ ตามพระราชบั ญญัตินี้ไวแลว
แต ป รากฏว า มี ส ภาพป ญ หาคุ ณ ภาพสิ่ ง แวดล อ มรุ น แรงเข า ขั้ น วิ ก ฤตซึ่ ง จํ า เป น จะต อ งได รั บ การแก ไ ขโดยทั น ที
และส ว นราชการที่ เ กี่ ย วข อ งไม มี อํ า นาจตามกฎหมาย หรื อ ไม ส ามารถที่ จ ะทํ า การแก ไ ขป ญ หาได ให รั ฐ มนตรี
โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการสิ่ งแวดล อมแหงชาติ เสนอต อคณะรัฐ มนตรีขออนุ มัติ เขาดํา เนินการเพื่ อ ใช
มาตรการคุมครองอยางใดอยางหนึ่งหรือหลายอยางตามมาตรา 44 ตามความจําเปนและเหมาะสม เพื่อควบคุม
และแกปญหาในพื้นที่นั้นได เมื่ อ ได รั บ อนุ มั ติ จ ากคณะมนตรี ต ามวรรคหนึ่ ง แล ว ให รั ฐ มนตรี ป ระกาศใน
ราชกิจจานุเบกษากําหนดเขตพื้นที่ รายละเอียดเกี่ยวกับมาตรการคุมครอง และกําหนดระยะเวลาที่จะใชมาตรการ
คุมครองดังกลาวในพื้นที่นั้น การขยายระยะเวลาตามประกาศในวรรคสอง ใหกระทําไดเมื่อไดรับความเห็นชอบ
จากคณะกรรมการสิ่งแวดลอมแหงชาติและคณะรัฐมนตรี โดยทําเปนประกาศในราชกิจจานุเบกษา”
เขตคุมครองสิ่งแวดลอมตามมาตรา 43 เปนพื้นที่ที่มีลักษณะระบบนิเวศตามธรรมชาติแตกตางจากที่ อื่น
โดยทั่วไป หรือเปนระบบนิเวศที่อาจถูกทําลายหรืออาจไดรับผลกระทบกระเทือนไดงายจากกิจกรรมตาง ๆ ของมนุษย

9
พระราชบัญญัติสงเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดลอมแหงชาติ พ.ศ. 2535, ราชกิจจานุเบกษา เลม 109 ตอนที่
37, 4 เมษายน 2535.
วารสารนิติศึกษาไทย 685

หรือเปนพื้นที่ที่มีคุณคาทางธรรมชาติหรือศิลปกรรมอันควรคาแกการอนุรักษและพื้นที่ดังกลาวยังไมไดถูกประกาศ
กําหนดใหเปนเขตอนุรักษกลาวคือ ยังไมไดเปนเขตอุทยานแหงชาติ เขตรักษาพันธุสัตวปา เขตสงวนเพื่อการทองเที่ยว
และเขตพื้นที่คุมครองอยางอื่นเพื่อสงวนและรักษาสภาพธรรมชาติตามที่มีกฎหมายกําหนด สวนในอีกกรณีหนึ่ง
ตามมาตรา 45 เปนพื้นที่ที่เปนเขตอนุรักษภายในอยูแลว แตปรากฏวายังคงมีสภาพปญหาคุณภาพสิ่งแวดลอมที่
รุนแรง ตองไดรับการแกไขโดยทันทีและสวนราชการที่เกี่ยวของไมมีอํานาจทางกฎหมายหรือไมสามารถที่จะทําการ
แกปญหาได ใหรัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการสิ่งแวดลอมแหงชาติเสนอตอคณะรัฐมนตรีขออนุมัติ
เขาดําเนินการประกาศทับเปนเขตที่คุมครองสิ่งแวดลอมในพื้นที่อนุรักษที่มีอยูเดิม เพื่อควบคุมและแกปญหานั้น
ไดทันที โดยมีเวลาที่จํากัดในการประกาศใหเปนพื้นที่คุมครองสิ่งแวดลอมในกรณีนี้
การคุมครองพื้นที่ตามมาตรา 43 และมาตรา 45 ในกฎหมายฉบับนี้ เปนการคุมครองเขตพื้นที่ที่ปลิงทะเล
มีถิ่นที่อยูรวมกับปะการังและหญาทะเล เปนการคุมครองพื้นที่ ควบคูไปกับการคุมครองปลิงทะเลเปนชนิดพั นธุ
หรือเป น รายตั ว ดั ง นั้ น การคุ ม ครองปลิง ทะเลทุ กชนิด พั นธุ จึง ต องขึ้น บัญ ชีเป นสัต ว ปาคุ มครอง จะทํ า ให หามจับ
หามซื้อขาย และหามมีในครอบครอง และคุมครองพื้นที่ ตลอดจนระบบนิเวศที่อยูอาศัยดวย
2.4 พระราชบัญญัติสงเสริมการบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝง พ.ศ. 2558
พระราชบัญญัติสงเสริมการบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝง พ.ศ. 2558 10 ตราขึ้นเพื่อกําหนด
หลักเกณฑในการบริหารจัดการ การบํารุงรักษา การอนุรักษ การฟนฟูทรัพยากรทางทะเลและชายฝงและการปองกัน
การกัดเซาะชายฝง รวมทั้งใหประชาชนและชุมชนในท องถิ่นไดมีสวนรวมในการปลูก การบํารุงรักษา การอนุรักษ
และการฟนฟูทรัพยากรทางทะเลและชายฝงอยางสมดุลและยั่งยืน ปลิงทะเลจัดเปนทรัพยากรทางทะเลและชายฝง
จึงตองไดรับความคุมครองโดยตรงจากกฎหมายฉบับนี้
พื้ น ที่ คุ ม ครองทรัพ ยากรทางทะเลและชายฝ ง ตามมาตรา 23 ผู เขีย นเห็ น ว า มี ลั ก ษณะในการคุ มครอง
พันธุปลิงทะเลเชนเดียวกันกับเขตพื้นที่คุมครองสิ่งแวดลอม ตามพระราชบัญญัติสงเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดลอม
แห ง ชาติ พ.ศ. 2535 มาตรา 43 และมาตรา 45 แต ใช ในพื้ นที่ จํากัดในระบบนิเวศทางทะเลและชายฝงเทานั้น
ซึ่งผูเขียนมีความเห็นวาการคุมครองตาม มาตรา 43 และมาตรา 45 พระราชบัญญัติสงเสริมและรักษาคุณภาพ
สิ่งแวดลอมแหงชาติ พ.ศ. 2535 มีความเหมาะสมจะใชคุมครองพันธุปลิงทะเลในสวนพื้นที่ที่อยูอาศัยควบคูไปกับ
การขึ้นบัญชีปลิงทะเลทุกชนิดพันธุเปนสัตวปาคุมครอง เนื่ องจากในการประกาศพื้นที่คุมครองสิ่งแวดลอมตามที่
บั ญ ญั ติ ไ ว ใ นพระราชบั ญ ญั ติ ส ง เสริ ม และรั ก ษาคุ ณ ภาพสิ่ ง แวดล อ มแห ง ชาติ พ.ศ. 2535 มิ ไ ด ร ะบุ จํ า กั ด ไว ว า
ตองประกาศบนที่ดินเทานั้น สามารถประกาศพื้นที่คุมครองสิ่งแวดลอมไดทั้งบริเวณชายฝงทะเล ชายหาด รวมทั้ง
พื้นที่ทะเลอาณาเขต ซึ่งพื้นที่ที่อยูอาศัยของปลิงทะเลหากไมอยูในเขตคุมครองประเภทใดยอมกําหนดใหเขตนั้น
เปนพื้นที่คุมครองสิ่งแวดลอมได 11 ซึ่งจะคุมครองไดครอบคลุมและบังคับใชกฎหมายไดอยางมีประสิทธิภาพมากกวา
การคุมครองในบริบทของพระราชบัญญัติ
3. แนวทางในการแกไขปญหา
ปลิงทะเลทุกชนิดพันธุในประเทศไทยไมมีกฎหมายที่คุมครองโดยเฉพาะ หากแตมีมาตรการทางกฎหมาย
ที่มีผลบังคับเปนการทั่วไป แตไมครอบคลุมถึงการคุมครองปลิงทะเล เชน พระราชบัญญัติ สงวนและคุมครองสัตวปา
พ.ศ. 2535 พระราชกําหนดการประมง พ.ศ. 2558 พระราชบัญญัติสงเสริมการบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเล
และชายฝ ง พ.ศ. 2558 จึ ง มี ผ ลให ป ลิ ง ทะเลในท อ งทะเลของไทยถู ก เก็บ และจั บ ขายอย า งเสรี ทํ า ให ป ลิ ง ทะเล
ในประเทศไทยลดลงอยางตอเนื่อง เมื่อไดทําการศึกษาจากขอเท็จจริง ผลงานวิชาการ และการตีความตัวบทกฎหมาย

10
พระราชบัญญัติสงเสริมการบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝง พ.ศ. 2558, ราชกิจจานุเบกษา เลม 132
ตอนที่ 21 ก, 26 มีนาคม 2558.
11
ธราพงษ สุ ข มาก, “มาตรการทางกฎหมายของประเทศไทยในการคุ ม ครองพั น ธุ เ ต า ทะเล,” (วิ ท ยานิ พ นธ
นิติศาสตรมหาบัณฑิต สาขากฎหมายทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดลอม คณะนิติศาสตร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร , 2552),
น. 69.
686 Thailand Journal of legal Study

ที่เกี่ยวของ ผูเขียนจึงขอเสนอมาตรการทางกฎหมายในการคุมครองพันธุปลิงทะเลในประเทศไทย คือ


3.1 นํ า ปลิ ง ทะเลทุ ก ชนิ ด พั น ธุ ที่ มี อ ยู ใ นประเทศไทย ซึ่ ง สามารถใช ป ระโยชน ไ ด ทั้ ง เป น อาหาร
และอุตสาหกรรมตาง ๆ ใหมีชื่ออยูในบัญชีแนบทาย กฎกระทรวง กําหนดใหสัตวปาบางชนิดเปนสัตว ปาคุมครอง
พ.ศ. 2546 ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ ม ครองสั ตวปา พ.ศ. 2535 มาตรา 5และมาตรา 6 ซึ่งจะมีผลบังคั บ
ในการหามจับ หามลา หามครอบครอง ปลิงทะเลในประเทศไทยทุกชนิดพันธุ จะมีผลในการอนุรักษและคุมครอง
รักษาความหลากหลายของชนิดพันธุปลิงทะเลที่พบในประเทศไทย และจะทําใหปลิงทะเลที่อาศัยอยูในทะเลไทย
ซึ่งมีความเสี่ยงที่จะสูญพันธุยังคงอยูคูทะเลไทยตอไป
3.2 เมื่อมีการนําปลิงทะเลทุกชนิดพันธุขึ้นบัญชีเปนสัตวปาคุมครองแลว ประเทศไทยสามารถเพาะเลี้ยง
ปลิงทะเลบางชนิดเพื่อจําหนายเปนสัตวเศรษฐกิจได จากบทบัญญัติในมาตรา 5 และมาตรา 17 แหงพระราชบัญญัติ
สงวนและคุมครองสัตวปา พ.ศ.2535 ซึ่งสามารถกําหนดในกฎกระทรวงกําหนดชนิดของสัตวปาคุมครองใหเปนสัตวปา
ชนิดที่เพาะพันธุได พ.ศ. 2546 โดยกําหนดใหปลิงทะเลที่นิยมรับประทานบางชนิดเปนสัตวปาคุมครองที่เพาะพันธุได
ไดแก ปลิงทะเลขาวและปลิงทะเลดํา
นอกจากการคุมครองปลิงทะเลทุกชนิดพันธุดวยการใหมีชื่ออยูในบัญชีแนบทาย กฎกระทรวง กําหนดให
สัตวปาบางชนิดเปนสัตวปาคุมครอง พ.ศ. 2546 ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุมครองสัตวปา พ.ศ. 2535 ยังตองมี
การคุมครองแหลงที่อยูอาศัยของปลิงทะเลควบคูกันไปดวย ตามพระราชบัญญัติสงเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดลอม
แหงชาติ พ.ศ. 2535 ปรากฏในมาตรา 43 และมาตรา 45 ซึ่งการคุมครองพื้นที่ตามมาตรา 43 และมาตรา 45
ในกฎหมายฉบับนี้ เปนคุมครองเขตพื้นที่ที่ปลิงทะเลมีถิ่นที่อยูรวมกับปะการั งและหญาทะเล เปนการคุมครองพื้นที่
ควบคูไปกับการคุมครองปลิงทะเลเปนชนิดพันธุหรือเปนรายตัว ดังนั้นการคุมครองปลิงทะเลทุกชนิดพันธุจึงตอง
ขึ้นบัญชีเปนสัตวปาคุมครอง จะทําใหหามจับ หามซื้อขาย และหามมีในครอบครอง และคุมครองพื้นที่ ตลอดจนระบบ
นิเวศที่อยูอาศัยดวย ดังนั้นการประกาศเขตพื้นที่คุมครองสิ่งแวดลอมตามพระราชบัญญัติสงเสริมและรักษาคุณภาพ
สิ่ ง แวดล อมแห ง ชาติ พ.ศ. 2535 จะมี ค วามสํ า คั ญ อย า งยิ่ ง ต อ การคุ ม ครองดู แลแหล ง ที่ อ ยู อาศัย ของปลิ ง ทะเล
ซึ่งสามารถประกาศทั้ง ในพื้นที่ที่ไมไ ดมีป ระกาศให เปน เขตคุ มครองประเภทอื่นและสามารถนํามาตรการในการ
ประกาศเขตพื้นที่คุมครองสิ่งแวดลอมมาประกาศใชในเขตพื้นที่ของจังหวัดตาง ๆ ที่เปนแหลงที่อยูอาศัยของปลิงทะเล
ทั้งที่เปนพื้นที่ที่มีการประกาศใหเปนเขตคุมครองประเภทอื่นไดดวยเชนเดียวกัน

บทสรุปและขอเสนอแนะ
จากการที่ไดศึกษาแนวคิด การบริหารจัดการ การอนุรักษและการคุมครองพันธุปลิงทะเลรวมทั้งขอมูล
สถานภาพปลิงทะเลในประเทศไทย พบวามาตรการทางกฎหมายยังไมมีความชัดเจนในการคุมครองพันธุปลิงทะเล
และหน วยงานที่เกี่ยวของในการคุ มครองพั นธุปลิง ทะเลไมสามารถปฏิบั ติง านไดอย างมี ประสิท ธิภาพ ตลอดจน
การขาดความรูความเขาใจของประชาชนในการมีสวนรวมในการคุม ครองพันธุปลิงทะเล จากที่ผูเขียนไดศึก ษา
นโยบาย มาตรการทางกฎหมายที่เกี่ยวของ รวมทั้งปญหาและอุปสรรคตาง ๆ จึงขอสรุปและมีขอเสนอแนะ ดังนี้
1. เห็ น ควรนํ า ปลิ ง ทะเลทุ ก ชนิ ด พั น ธุ ที่ มี อ ยู ใ นประเทศไทย ซึ่ ง สามารถใช ป ระโยชน ไ ด ทั้ ง เป น อาหาร
และอุตสาหกรรมตาง ๆ ใหมีชื่ออยูในบัญชีแนบทาย กฎกระทรวง กําหนดใหสัตวปาบางชนิดเปนสัตวปาคุมครอง
พ.ศ. 2546 ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุมครองสัตวปา พ.ศ. 2535 มาตรา 5 และมาตรา 6
2. เห็นควรสงเสริมใหปลิงทะเลเปนสัตวเศรษฐกิจตามพระราชกําหนดการประมง พ.ศ. 2558 ศึกษา วิจัย
และพัฒนาการเพาะเลี้ยงปลิงทะเลเพื่อการบริโภคและสงออกปลิงทะเลตากแหง รวมทั้งผลิตภัณฑจากปลิงทะเล
ตามมาตรา 73 - มาตรา 78 ในกฎหมายฉบับนี้ เพื่อจะไดมีแหลงโปรตีนจากสัตวท ะเลที่คนไทยบริโภคไดแพรหลาย
มีกระบวนการคุมครองผูบริโภคและเปนแหลงโปรตีนคุณภาพสูง
3. เห็ น ควรมี กฎหมายที่ ร องรับ สิ ท ธิ การมี ส วนรวมของประชาชนนี้ จะมี ประโยชน ในการบริหารจัดการ
เพื่อคุมครองและอนุรักษทรัพยากรประมงที่เริ่มมีภาวะขาดแคลนและหายากอยางเปน รูปธรรม และเปนแนวทาง
วารสารนิติศึกษาไทย 687

เพื่อใหการใชสิทธิและหนาที่ของประชาชนดานสิ่งแวดลอมบรรลุวัตถุประสงคตามรัฐธรรมนูญ รวมทั้งการคุมครอง
พันธุปลิงทะเลจะประสบความสําเร็จตอไปในอนาคต
688 Thailand Journal of legal Study

บรรณานุกรม

หนังสือ

จรัสศรี อางตันญา และคณะ. ตัวอยางปลิงทะเลในพิพิธภัณฑสัตวและพืชทะเล. กรุงเทพมหานคร : สถาบันวิจัยและ


พัฒนาทรัพยากรทางทะเล ชายฝงทะเล และปาชายเลน กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝง , 2551.

วิทยานิพนธ

ธราพงษ สุขมาก. “มาตรการทางกฎหมายของประเทศไทยในการคุมครองพันธุเตาทะเล.” วิทยานิพนธนิติศาสตร


มหาบัณฑิต สาขากฎหมายทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดลอม คณะนิติศาสตร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร,
2552.
มัทนา แสงจินดาวงษ. “การศึกษาชนิดและคุณคาทางอาหารของปลิงทะเลของไทย.” วิทยานิพนธวิทยาศาสตร
มหาบัณฑิต สาขาวิชาสัตววิทยา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร, 2516.

เอกสารอื่น ๆ

กฎกระทรวงกําหนดสั ตวปาบางชนิดเปนสัตวปาคุมครอง พ.ศ. 2546. ราชกิจจานุเบกษา เลม 120 ตอนที่ 74 ก.


1 สิงหาคม 2546.
กฎกระทรวงกําหนดชนิดของสัตว ปาคุ มครองใหเปน สัตว ปาชนิดที่เพาะพันธุ ได พ.ศ. 2546 . ราชกิจจานุเบกษา
เลม 120 ตอนที่ 59 ก, 27 มิถุนายน 2546.
พระราชกําหนดการประมง พ.ศ. 2558. ราชกิจจานุเบกษา เลม 132 ตอนที่ 108 ก. 13 พฤศจิกายน 2558.
พระราชบัญญัติสงเสริมการบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝง พ.ศ. 2558. ราชกิจจานุเบกษา เลม 132
ตอนที่ 21 ก, 26 มีนาคม 2558.
พระราชบัญญัติสงเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดลอมแหงชาติ พ.ศ. 2535. ราชกิจจานุเบกษา เลม 109 ตอนที่ 37.
4 เมษายน 2535.
พระราชบัญญัติสงวนและคุมครองสัตวปา พ.ศ. 2535. ราชกิจจานุเบกษา เลม 109 ตอนที่ 15. 28 กุมภาพันธ 2535.
วารสารนิติศึกษาไทย 689

มาตรการทางกฎหมายในการคุมครองการมีสวนรวมของประชาชนในประเด็นสาธารณะที่
เกี่ยวของกับคดีสิ่งแวดลอม : ศึกษากรณีการแกลงฟอง
LEGAL MEASURES FOR PROTECTING PUBLIC PARTICIPATION IN MATTERS
RELEVANT TO ENVIRONMENTAL CASES : A CASE STUDY OF STRATEGIC
LAWSUIT AGAINST PUBLIC PARTICIPATION

ณัฐ จินตพิทักษกุล1
Nut Jintapitakkul
บทคัดยอ
การมี ส ว นรว มของประชาชนและการใช เสรี ภ าพในการพู ด หรื อ แสดงความคิด เห็ น ในประเด็ น สาธารณะ
โดยเฉพาะอยางยิ่งในเรื่องสิ่งแวดลอม ยอมมีผลเปนการตรวจสอบในเรื่องที่เปนสาธารณะ เชน การตรวจสอบการใช
ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดลอมรวมกับภาครัฐ การสงหนังสือรองเรียน การชุมนุมเรีย กรอง การพูดในเวทีสาธารณะ
รวมถึงการพูดในฐานะตัวแทนกลุมเคลื่อนไหว อีกทั้ง เปนการสรางและรักษาไวซึ่งผลประโยชนของสวนรวมในเรื่อง
สิ่งแวดลอม (public Interest) สิทธิในสิ่งแวดลอมที่ดี (right to healthy environment) สิทธิในเรื่องความยุติธรรม
ทางสิ่งแวดลอม (right to environmental justice) และเพื่อใหการพัฒนาของประเทศเปนไปอยางยั่งยืน (sustainable
development) อยางไรก็ดี การกระทําดังกลาวก็มักจะไปกระทบถึงสิทธิในชื่อเสียงเกียรติยศของบุคคลอีกฝายหนึ่งซึ่ง
เปนผูถูกตรวจสอบหรือถูกรองเรียน ทําใหเกิดการฟองคดีอันเนื่ องมาจากประเด็นเรื่องสิ่งแวดลอม จากการศึกษาพบวา
การฟองคดีในหลายๆ กรณี อาทิ คดีเหมืองแรทองคํา จ. เลย (คดีหมายเลขแดงที่ 261/2559 ของศาลจังหวัดเลย) หรือ
คดีเหมืองหินเขาคูหา จ. สงขลา (คดีหมายเลขแดงที่ 922/2556 ของศาลจังหวัดสงขลา) หรือคดีบริษัทเหมืองแรไทยใน
เมียนมารฟองหมิ่นประมาทผูสื่อขาว (คดีหมายเลขแดงที่ 2986/2560) ของศาลจังหวัดนครปฐม ผูฟองคดีหาไดมีเจตนา
ในการแสวงหาความยุติธรรมโดยใชกระบวนการทางศาล แตเปนการฟองคดีเพื่อยับยั้งการมีสวนรวมของประชาชน หรือ
เพื่อขมขูการใชเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นของพวกเขาเหลานั้น ซึ่งการฟองคดีในลักษณะนี้เรียกวา SLAPP -
Strategic Lawsuit Against Public Participation ทั้งนี้ จากการศึกษาพบวา แนวทางการแกไขปญหาการแกลงฟอง
ในคดีสิ่งแวดลอมที่เหมาะสมสําหรับประเทศไทย คือ การบัญญัติกฎหมายเฉพาะเพื่อคุมครองบุคคลจากการแกล งฟองที่
เกี่ย วขอ งกับ การมี ส ว นรว มของประชาชนในประเด็ น สาธารณะที่ ค รอบคลุ ม ถึง เรื่อ งสิ่ ง แวดล อม ดั ง จะกล า วถึง ใน
รายละเอียดตอไป

คําสําคัญ
การแกลงฟอง, การแกลงฟองในคดีสิ่งแวดลอม


นักศึกษาปริญญาโท หลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต สาขากฎหมายทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดลอม คณะ
นิติศาสตร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร : jintapitakkul@hotmail.com
Graduate Student of Master of Laws Program in Natural Resources and Environmental Law, Faculty
of Law, Thammasat University. Email address : jintapitakkul@hotmail.com
690 Thailand Journal of legal Study

ABSTRACT
People’s public participation and the exercise of freedom of expression/ freedom of speech
by people regarding public issues, especially environmental issues such as a mechanism to submit
a petition, peaceful assembly, public speaking and other social movements serve as a tool to
scrutinize the exercise of power and decision-making processes of the government. Further, public
participation in environmental cases helps to protect public interest with respect to the protection
and preservation of environment and strengthen rights to healthy, rights to environmental justice
and sustainable development. However, public participation and the exercise of freedom of
expression/ freedom of speech by people unavoidably, to some extent, created negative effects on
the reputations of relevant defendants or alleged offenders in the environmental disputes/cases,
resulting in conflicts between the freedom of expression and the right to reputation.
Although, without doubts the right to reputation is to be respected and protected, in many
case, the violators of environment law exploit the judicial process to discourage public participation
and to threaten people to stop expressing their opinions. For example, in the gold mining in Loei
province (the case of Loei Provincial Court number 261/2559) or the Kowkuha quarry in Songkhla
province (the case of Songkhla Provincial Court number 922/2556), the courts found that the
plaintiffs did not intend to seek justice through due process of law, but they initiated the judicial
process to suppress the public participation or to intimidate people or to bar people from exercising
their freedom of expression. The lawsuits done in such a manner in those cases are called SLAPP -
Strategic Lawsuit Against Public Participation. Accordingly, the article aims to propose legal measures
to cope with the problem SLAPP in Thai legal system. It is argued by article that the proper solution
for Thailand is to enact special legislation on public participation protection with a comprehensive
mechanism to systematically protect people from SLAPP.

Keywords
SLAPP - Strategic Lawsuit Against Public Participation, SLAPP in environmental cases
วารสารนิติศึกษาไทย 691

บทนํา
กฎหมายที่เกี่ยวของกับ การส งเสริมการมีสวนรวมของประชาชนในประเด็นสาธารณะเรื่องสิ่ง แวดล อม
ปรากฏทั้งในกฎหมายรัฐธรรมนูญและพระราชบัญญัติสงเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดลอมแหงชาติ ยกตัวอยางเชน
เรื่ อ งการกํ า หนดให บุ ค คลหรือ ชุ ม ชนมี สิ ท ธิ ใ นการจั ด การบํ า รุ ง รั ก ษาและใช ป ระโยชน จ ากทรัพ ยากรธรรมชาติ
และสิ่งแวดลอมอยางสมดุลและยั่งยืน กําหนดใหบุคคลมีหนาที่ในการรวมกันอนุรักษและคุมครองทรัพยากรธรรมชาติ
และสิ่งแวดลอม และกําหนดใหรัฐมีหนา ที่ในการอนุรักษ บํารุงรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดลอมให เกิด
ประโยชนอยางสมดุลและยั่งยืน 1 อีกทั้ง ยังรับรองสิทธิแกป ระชาชนในการเขา ถึง ความยุติธ รรมทางสิ่งแวดล อม
โดยการรองเรียนตอหนวยงานของรัฐเพื่อใหมีการแกไขปญหาสิ่งแวดลอมที่เกิดขึ้นโดยเร็ว รวมไปถึ งใหสิทธิแกประชน
ในการฟองหนวยงานของรัฐที่เกี่ยวของดวย หากวาไดปลอยปละละเลยหรือละเวนหนาที่ในการที่จะดําเนินการแกไข
ปญหา2 และพระราชบัญญัติสงเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดลอมแหงชาติก็ไดบัญญัติถึงสิทธิเรื่องการมีสวนรวมของ
ประชาชนไวเชนเดียวกัน โดยบัญญัติเรื่องสิทธิในการรองเรียนกลาวโทษ หากพบวาบุคคลใดไดกระทําการอันฝาฝนตอ
กฎหมายสิ่งแวดลอม3
อยางไรก็ดี หากการแสดงความคิดเห็น หรือการติดตามตรวจสอบการประกอบกิจการอยางใด ๆ ที่อาจสงผล
กระทบตอสิ่งแวดลอม หรือการรองเรียนไปยังหนวยงานราชการที่เกี่ยวของ ลุกล้ําหรือกระทบตอสิทธิในชื่อเสียง
เกีย รติ ย ศของปจเจกชน ผู ที่ ถูกตรวจสอบก็มีสิ ทธิโ ดยชอบดวยกฎหมายเชนกันในการที่จ ะฟอ งคดี ตอประชาชน
ที่ไดใชสิทธิเสรีภาพในเรื่องสิ่งแวดลอมตามที่รัฐธรรมนูญหรือพระราชบัญญัติสงเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดลอม
แหงชาติบัญญัติรับรองไว เพื่อเยียวยาความเสียหายที่เกิดขึ้น ทั้งในทางแพงและทางอาญา เชน การฟองคดีในความผิด
ฐานละเมิดและความผิดฐานกลาวไขขาวแพรหลาย ตามมาตรา 420 ประกอบมาตรา 423 ประมวลกฎหมายแพงและ
พาณิชย หรือการฟองคดีในความผิดฐานหมิ่นประมาท ตามมาตรา 326 ประมวลกฎหมายอาญา
ประเด็นขางตนอาจกลาวอีกนัยหนึ่งไดวา กฎหมายของประเทศไทยขณะนี้ใหความสําคัญกับเรื่องสิ่งแวดลอม
ซึ่งเปนเรื่องประโยชนสาธารณะโดยการรับรองสิทธิแกประชาชนในการแสดงความคิดเห็น การชุมนุม การรองเรียน
เพื่อใหมีการติดตามตรวจสอบประเด็นปญหาเรื่องสิ่งแวดลอมที่เ กิดขึ้น แตอีกดานหนึ่ง กฎหมายก็ใหความสําคัญกับ
สิทธิในชื่อเสียงเกียรติยศของปจเจกชนในระดับที่เทาเทียมกัน กอใหเกิดปญหาความขัดแยงกันระหวางสิทธิในการฟอง
คดีของโจทกและเสรีภาพในการพูดหรือการแสดงความคิดเห็นในประเด็นสาธารณะของประชาชน 4 นํามาซึ่งปญหา
การฟองคดีโดยมีเจตนาไมสุจ ริต หรือการแกล งฟ อง (SLAPP- Strategic Lawsuit Against Public Participation)
หมายถึง การดํ า เนินคดี เชิงยุ ทธศาสตรโดยมีวั ตถุประสงค เพื่อต อตาน ขัด ขวางการใชสิทธิ ในการมี สวนรวมของ
ประชาชนในการตรวจสอบประเด็นสาธารณะ มีลักษณะเปนการดําเนินคดีเพื่อ ขมขูหรือเพื่อทําใหหยุดการแสดงออก
ในบางเรื่อง5 ซึ่งการฟองหรือดําเนินคดีดังกลาวจะมีประสิทธิผลเปนการทําลายแรงจูงใจของผูที่ตรวจสอบหรือแสดง
ความคิดเห็นในประเด็นสาธารณะโดยใชคดีอาญาหรือคดีแพงเพื่อใหผูแสดงความคิดเห็นเกิดความลังเลหรือตัดสินใจ
เลิกติดตามหรือยุติการตรวจสอบ6

1
โปรดดู มาตรา 43 (2) และมาตรา 50 (8) รัฐธรรมนูญแหงราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560
2
โปรดดู มาตรา 41 (2), (3) รัฐธรรมนูญแหงราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560
3
มาตรา 6 (3) พระราชบัญญัติสงเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดลอม พ.ศ. 2535
4
สุ ร ชั ย ตรงงาม, กรรมการและเลขาธิ ก ารมู ล นิ ธิ นิ ติ ธ รรมสิ่ ง แวดล อ ม (EnLaw), สั ม ภาษณ , มู ล นิ ธิ นิ ติ ธ รรม
สิ่งแวดลอม, 21 เมษายน 2559.
5
George W. Pring and Penelope Canan, SLAPPs getting sued for speaking out, (Philadelphia : Temple
University Press,1996), p.8.
6
ปกปอง ศรีสนิท , “กฎหมายตอตานการดําเนินคดีเพื่อยับยั้งการมีสวนรวมในกิจการสาธารณะ,” ในโครงการ
วิเคราะหและติดตามรางกฎหมาย, โดย ThaiLawWatch, 2557 : น.1-2.
692 Thailand Journal of legal Study

1. ลักษณะทั่วไปของการแกลงฟอง
การพิจารณาวากรณีใดเปนการแกลงฟองหรือไม สามารถพิจารณาไดโดยดูจากคําฟองหรือลักษณะของขอ
กลาวหารวมถึงเรื่องเจตนาของโจทก ทั้งพิจารณาถึงมูลเหตุหรือกิจกรรมหนึ่ง ๆ ที่ทําใหจําเลยถูกฟองตอศาล สามารถ
อธิบายไดดังนี้
1.1) คําฟองหรือขอกลาวหา ปรากฏออกมาในหลากหลายรูปแบบ ทั้งการฟองฐานหมิ่นประมาท ฐานบุกรุก
ฐานกอใหเกิดความรําคาญ ฐานฟองโดยมิชอบหรือใชสิทธิโดยมิชอบ ฉอฉล กอใหเกิดความทุกขใจ หรือความผิดฐาน
กอใหเกิดผลเสียหายแกการทําธุ รกิจ แตรูปแบบที่มีการใชกันโดยทั่ วไปมากที่สุด คือ การฟองคดีแพง และเรียก
คาเสียหายเปนจํานวนมากสําหรับความผิดฐานละเมิด โดยเปนการฟองกลั่นแกลงเพื่ อปดปากและขม ขูการการ
วิพากษวิจารณ เปนการบังคับใหบุคคลที่พูดหรือแสดงความคิดเห็นในประเด็นสาธารณะตองใชเงินจํานวนมากในการ
ตอสูคดี โดยโจทกมักจะอางวา การพูดหรือเรียกรองในเรื่องหนึ่ง ๆ อันเปนเรื่องประโยชนสาธารณะนั้น เปนการหมิ่น
ประมาทตอเขา ทําใหภาระตกแกจําเลยในการที่ตองพิสูจนวาเรื่องที่จําเลยพูดนั้นไมไดเปนการหมิ่นประมาท และ
ลักษณะทั่วไปของการแกลงฟอง โจทกจะนําคดีไปฟองตอศาลที่จะตัดสินคดีซึ่งจะสงผลดีตอการเรียกรองของตน7 ทั้งนี้
เนื่องจากในตางประเทศบางประเทศหรือในบางรัฐ ยังไมมีกฎหมายเกี่ยวกับการคุมครองประชาชนจากการมีสวนรวม
ในประเด็นสาธารณะหรือการแสดงความคิดเห็นจากการถูกแกลงฟอง (anti-SLAPP law) ทําใหศาลไมมีอํานาจในการ
ใชดุลพินิจในการวินิจฉัยฟองของโจทกวาในกรณีนั้น ๆ เปนการแกลงฟองหรือเปนการใชสิทธิฟองโดยไมสุจริตหรือไม
ซึ่งจะเปนผลดีตอโจทกมากกวาการที่นําคดีไปฟองตอศาลที่มีกฎหมาย anti-SLAPP บังคับใชแลว
นอกจากนี้ โจทกในคดีแกลงฟองมักจะเปนบริษัทเอกชน เจาของธุรกิจอสั งหาริมทรัพย เจาหนาที่รัฐ หรือ
บุคคลอื่น ๆ และมักจะไมประสบความสําเร็จหรือชนะคดีในศาล เนื่องจากโจทกไมไดคาดหวังถึงผลสําเร็จในศาลเปน
หลักอยูแตแรก โจทกไมไดมีเจตนาที่จะรองขอความยุติธรรมตอศาลแตมีเจตนาเพียงเพื่อขมขูบุคคลที่มีความคิดเห็น
ที่ไมสอดคลองหรือไมเห็นดวยกับตนหรือกิจการที่ตนไดทํา แตโจทกมักจะประสบความสําเร็จในเวทีสาธารณะหรือ
ประสบความสําเร็จในทางสาธารณะ เนื่องจากในการตอสูคดีแกลงฟองแมวาผูถูกฟองคดีหรือจําเลยจะไมหวาดกลัวตอ
การถูกฟองดําเนินคดี อยางไรก็ตาม เมื่อการดําเนินคดีในศาลใชระยะเวลานานทําใหจําเลยตองเสียเวลาและเสีย
คาใชจายเพื่อตอสูคดีจํานวนมาก ทายที่สุดจําเลยซึ่งถูกแกลงฟองเพราะไดแสดงความคิดเห็นในเรื่องสาธารณะ หรือ
ตรวจสอบการดําเนินกิจการสาธารณะมักจะลมเลิกการแสดงความคิดเห็นหรือการตรวจสอบเชนนั้น ประนีประนอม
ยอมความ ขออภัยหรือแกไขคําพูดที่ตนเองไดพูดไว ซึ่งการตอสูในประเด็นสาธารณะเชนนี้ ไมไดสงผลรายเฉพาะกับตัว
จําเลยเทานั้น แตสงผลกระทบไปถึงประชาชนอื่น ๆ ดวย เนื่องจากทําใหประชาชนไมกลาที่จะแสดงความคิดเห็นตอ
ประเด็นสาธารณะหรือไมกลาที่จะมีสวนรวมในเรื่องสาธารณะ เนื่องจากกลัวถูกฟองคดี8
1.2) กิจกรรมที่ตกเปนเปาหมายของการแกลงฟองสวนใหญจะเกี่ยวของกับการแสดงออกทางความคิดซึ่ง
ไดรับการคุมครองตามกฎหมาย นั่นคือ เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น และสิทธิในการมีสวนรวมของประชาชน
เชน
1.2.1) การรองเรียนหนวยงานราชการ
1.2.2) การพูดในฐานะตัวแทนกลุมเคลื่อนไหวเพื่อประโยชนสาธารณะ
1.2.3) การพูดในการประชุมสาธารณะ
1.2.4) การขึ้นปายหรือแสดงสัญลักษณ
1.2.5) การสงจดหมายรองเรียนไปยังรัฐหรือหนวยงานของรัฐ

7
Byron Sheldrick, Blocking Public Participation : The use of strategic litigation to silence political
expression, (Wilfrid Laurier University Press, 2014), p.50.
8
The Anti-SLAPP Resource Center, “GUARDING AGAINST THE CHILL : A SURVIVAL GUIDE FOR SLAPP
VICTIMS,” สืบคนเมื่อวันที่ 16 เมษายน 2559,
จาก https://www.thefirstamendment.org/media/Guarding-Against-the-Chill.pdf
วารสารนิติศึกษาไทย 693

1.2.6) การสงเรื่องรองเรียนหรือการรายงานการปฏิบัติหนาที่โดยมิชอบของเจาหนาที่9
ดังนั้น จึงสามารถสรุปลักษณะทั่วไปของการแกลงฟองได ดังนี้
1) เปนการรองทุกขทางแพงหรือทางอาญา หรือเปนการฟองกลับเพื่อเรียกรองคาเสียหาย หรือขอใหศาลมี
คําสั่งใหคูความอีกฝายหนึ่งกระทําการหรืองดเวนกระทําการอยางใดอยางหนึ่ง
2) เปนการฟองคดีเพื่อตอ สูกับองค กรเอกชน (NGOs) ชุมชน นักวิชาการ นักขาว นักหนังสือพิมพ หรือ
ประชาชนทั่วไป
3) มูลเหตุแหงการฟองคดีเกิดขึ้นเนื่องมาจากการใชเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น หรือสิทธิในการมีสวน
รวมของประชาชนเพื่อติดตอสื่อสาร ใหขอมูลหรือรองเรียนตอหนวยงานของรัฐหรือเจาหนาที่รัฐ
4) การใชเสรีภาพดังกลาวเกี่ยวของกับประเด็นเรื่องประโยชนสาธารณะหรือประเด็นซึ่งเปนที่สนใจหรือกังวล
ของสังคม10
2. การแกลงฟองในคดีสิ่งแวดลอม
จากการศึกษากฎหมายสิ่งแวดลอมของไทยพบวา มีการบัญญัติรับรองสิทธิในการมีสวนรวมของประชาชน
และเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นในประเด็นสาธารณะเรื่องสิ่งแวดลอมไวอยางสมบูรณแลว ทั้งในรัฐธรรมนูญหรือ
ในกฎหมายระดับพระราชบัญญัติ รวมถึงแนวนโยบายของรัฐและหนวยงานของรัฐ อยางไรก็ดี ประเทศไทยยังขาด
บทบัญญัติวาดวยการคุมครองการใชสิทธิเสรีภาพดังกลาวอยางมีประสิท ธิภาพ ทําใหเกิดปญหาการใชคดีความหรือ
กระบวนการทางศาลมาเพื่อยับยั้งการมีสวนรวมของประชาชน หรือที่เรียกวา การแกลงฟองเพื่อยับยั้งการแสดงความ
คิดเห็นหรือการตรวจสอบประเด็นสาธารณะเรื่องสิ่งแวดล อม สําหรับประเทศไทย ปญหาดังกลาวเกิดขึ้นกับนัก
กฎหมาย องคกรเอกชน รวมทั้งชุมชนและชาวบานที่ออกมาเรียกรองหรือปกปองสิทธิในทางสิ่งแวดลอมซึ่งกฎหมายได
บัญญัติรับรองไว11
ทั้งนี้ การแกลงฟองในประเด็นเรื่องสิ่งแวดลอมของไทยมีทั้งที่ฟองเปนคดีแพงและคดีอาญา แตการฟองคดี
จะเกิดขึ้นในความผิดฐานหมิ่นประมาททางอาญามากกวา ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 326 มาตรา 328 และ
ฟองควบคูไปกับความความผิดฐานหมิ่นประมาทตามพระราชบัญญัติวาดวยการกระทําความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร
เนื่องจากมีบทลงโทษที่กระทบตอสิทธิเสรีภาพที่รุนแรงและนากลัว ทั้งโทษจําคุกและโทษปรับ ซึ่งสงผลกระทบตอ
ความรูสึกชาวบานหรือชุมชน อันเปนจุดประสงคของผูฟองคดีโดยมุงใหชาวบานหยุดพูดหรือแสดงความคิดเห็นหรือ
การกระทําใด ๆ อันเปนการขัดตอผลประโยชนของผูประกอบการ สวนในคดีแพง โจทกจะฟองคดีในความผิดฐาน
กลาวไขขาวแพรหลายซึ่งขอความอันฝาฝนตอความจริงตามประมวลกฎหมายแพงและพาณิชย มาตรา 423 เพื่อเรียก
เอาซึ่งคาเสียหายจํานวนมาก รวมถึงความผิดฐานกลาวไขขาวแพรหลายเกี่ยวกับอันตรายอันเกิดจากแหลงมลพิษโดยมี
เจตนาเพื่อใหเกิดความเสื่อมเสียตอชื่อเสียงเกียรติยศหรือความไววางใจจากสาธารณะชนจากการประกอบกิจการ
ตามพระราชบัญญัติสงเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดลอม พ.ศ. 2535 มาตรา 101 ซึ่งมีโทษจําคุกและโทษปรับ หรือ
ทั้งจําทั้งปรับในลักษณะเชนเดียวกันกับคดีอาญา ทั้งนี้ จําเลยซึ่งมีเจตนาที่จะปกปองสิทธิในทางสิ่งแวดลอมโดยสุจริต
มีภาระการพิสูจนใหศาลเห็นวาการกระทําของตนเปนการติชมดวยความเปนธรรมซึ่งบุค คลหรือสิ่งใดอันเปนวิสัย
ของประชาชนยอมกระทํา อันเปนเหตุยกเวนความผิดตามบทบัญญัติมาตรา 329 (3) แหงประมวลกฎหมายอาญา
และเนื่องจากปจจุบันประเทศไทยยังไมมีมาตรการทางกฎหมายที่จะนํามาใชบังคับกับกรณีการแกลงฟองโดยเฉพาะทํา
ใหมีการนําคดีสิ่งแวดลอมมาฟองเปนจํานวนมาก12

9
Lbid.
10
Jessie J. O’neill, “The citizen participation act of 2009 : federal legislation as an effective defense
against SLAPPs,” Boston College Environmental Affairs Law review, 38 B.C.Envtl.Aff.L.REV.477, pp.6-8 (2011).
11
สุรชัย ตรงงาม, อางแลว เชิงอรรถที่ 4,
12
เพิ่งอาง.
694 Thailand Journal of legal Study

ตัวอยางเชน คดีเหมืองแร จังหวัดเลย ในคดีหมายเลขแดงที่ 261/2559 ของศาลจังหวัดเลย เปนคดีพิพาท


ระหวางบริษัททุงคํา จํากัด ผูประกอบกิจการเหมืองแรทองคําในอําเภอวังสะพุง จังหวัดเลย ฟองชาวบานกลุมคนรักษ
บานเกิด 7 คน เปนคดีแพงในความผิดฐานกลาวไขขาวแพรหลายซึ่งขอความอันฝาฝนตอความจริง ทําใหบริษัทเสื่อม
เสียชื่อเสียง ไมไดรับความไววางใจในการประกอบกิจการจากหนวยงานรัฐ และมีผลกระทบตอราคาหุนในตลาดหุน
ของบริษัท เรียกคาเสียหายรวม 50 ลานบาท มูลเหตุเนื่องมาจากการที่ชาวบานไดสรางปายที่ซุมประตูทางเขาหมูบาน
ซึ่งมีขอความวา “ปดเหมืองฟนฟู” เพราะวา ชาวบานไดรับผลกระทบดานสุขภาพและสิ่งแวดลอมในชุมชนเสื่อมโทรม
ลงจากการประกอบกิจการของบริษัท ตอมา ศาลจังหวัดเลยมีคําสั่งยกฟองจําเลยทั้ง 7 คน โดยใหเหตุผลวา การ
กระทําของชาวบานดังกลาวไมมีกรณีปดลอมเหมือง หรือขัดขวางดําเนินกิจการโดยชอบของโจทก แตกลับเปนเพียง
ขอเรียกรองการแกไขปญหา จึงเปนการแสดงความคิดเห็นและเสนอความเห็นไปยังหนวยงานราชการที่เกี่ยวของที่มี
อํานาจแกไขปญหาที่เกิดขึ้นในชุมชนหมูบานของตน นับไดวาเปนการกระทําเพื่อความชอบธรรม ปองกันตนหรือ
ปองกันสวนไดเสียเกี่ยวกับตนตามคลองธรรม อันเปนวิสัยของประชาชนยอมกระทํา เปนการแสดงความเห็นโดยสุจริต
จึงไมเปนการใชสิทธิโดยไมสุจริต และไมเปนการละเมิดโจทก13
จากการศึกษาทฤษฎีกฎหมายเรื่องลั กษณะทั่วไปของการแกลงฟ อง พิ เคราะห แ ลวเห็ นวาคดีเหมืองแร
จังหวัดเลย เปนการแกลงฟองในคดีสิ่งแวดลอม เพราะเหตุผลดังนี้
1) คดีนี้เปนคดีสิ่งแวดลอม เพราะวาเปนคดีที่เกี่ยวของกับผลกระทบที่เกิดขึ้นกับทรัพยากรธรรมชาติและ
สิ่งแวดลอมเนื่องมาจากการประกอบกิจ เหมื องแรของบริษัท ทั้งการแกลงฟองยังสงผลต อการปกป อง คุมครอง
ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดลอมในชุมชนของชาวบาน และเปนการขัดขวางการใชสิทธิเสรีภาพของชาวบานเพื่อ
คงไวซึ่งสิทธิในการดํารงชีพอยางปกติสุขในสิ่งแวดลอมที่ดี
2) เปนกรณีที่บริษัทเหมืองแรฟองคดีตอชาวบาน
3) มูลเหตุในการฟองคดีเกี่ยวเนื่องมาจากการที่ชาวบานใชเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นและสิทธิในการมี
สวนรวมของประชาชน โดยการเขียนปายความวา “ปดเหมืองฟนฟู” เพื่อเปนการรองเรียน ติดตอสื่อสาร หรือเพื่อให
ขอมูลแกรัฐวา ชุมชนไดรับผลกระทบเกี่ยวกับเรื่องสิ่งแวดลอมเนื่องมาจากการประกอบกิจการดังกลาว และเพื่อใหรัฐ
หรือหนวยงานของรัฐเขามาดําเนินการตรวจสอบ และ
4) ประเด็นที่ชาวบานรองเรียน พูด หรือแสดงความคิดเห็น คือ เรื่องผลกระทบดานสุขภาพที่เกิดขึ้นกับ
ชาวบาน และสิ่งแวดลอมในชุมชนที่เสื่ อมโทรมลง เนื่องมาจากการทําเหมืองแร ซึ่งเปนประเด็นสาธารณะเรื่ อง
สิ่งแวดลอม
หรือคดีเหมืองหินเขาคูหา จังหวัดสงขลา ในคดีหมายเลขแดงที่ 922/2556 ของศาลจังหวัดสงขลา เปนคดี
พิพาทระหวางบริษัท พีรพลมายนิ่ง จํากัด กับชาวบานตําบลคูหาใต อําเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา ดังนี้
คดีกอน (คดีหมายเลขแดงที่ 846/2555) บริษัท พีรพลมายนิ่ง จํากัดผูประกอบการเหมืองหิน ฟองคดีตอ
ชาวบานตําบลคูหาใต อําเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา รวม 9 คน ในความผิดฐานละเมิดและทําใหเสียทรัพย เรียก
คาเสียหายกวา 64 ลานบาท เนื่องมาจากการคัดคานการตออายุประทานบัตรการทําเหมืองหินเขาคูหา โดยอางวา
เพราะการคัดคานของชาวบานทําใหบริษั ทไมไดรับการตออายุประทานบัตร และเสียผลประโยชนที่พึงจะไดรับจาก
การประกอบกิจการ
ตอมา ชาวบานไดฟองกลับ บริษัท พีรพลมายนิ่ง จํากัด เปนจําเลยตอศาลจังหวัดสงขลาในความผิด ฐาน
ละเมิด และศาลจังหวัดสงขลาไดมีคําพิพากษาในคดีหมายเลขแดงที่ 922/2556 สรุปใจความสําคัญไดวา “ถึงแมวา
โจทก (บริษัทพีรพลมายนิ่ง จํากัด) จะมีสิทธิตามกฎหมายที่จะใชสิทธิทางศาล แตการใชสิทธิดังกลาวจะตองเปนการใช
สิ ท ธิ โ ดยสุ จ ริ ต ซึ่ ง การกระทํ า ของโจทก ที่ ยื่ น ฟ อ งจํ า เลยทั้ ง 9 คนในคดี ก อ น เป น การใช สิ ท ธิ โ ดยไม สุ จ ริ ต

13
คดีหมายเลขแดงที่ 261/2559 ของศาลจังหวัดเลย อางถึงใน ประชาไท, “ยกฟองคดีทุงคําฟองไทยพีบีเอ
ส เหมืองทองเลย,” สืบคนเมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน 2559, จาก http://www.earththailand.org/th/article/2404.
วารสารนิติศึกษาไทย 695

และจงใจใหจําเลยทั้ง 9 ไดรับความเสียหาย จึงถือวาการกระทําของโจทกในคดีกอนนั้นเปนการกระทําละเมิดและตอง


ชดใชคาเสียหายแกจําเลย”14
หรือคดีบริษัทเหมืองแรไทยในเมียนมารฟองหมิ่นประมาทผูสื่อขาว ในคดีหมายเลขแดงที่ 2986/2560 ของ
ศาลจังหวัดนครปฐม
คดี นี้ บริษั ท เมี ย นมาร พงษ พิ พั ท ธ (Myanmar Phongpipat Co. Ltd - MPC) ซึ่ ง เป น ผู ป ระกอบกิจ การ
เหมืองแรไดฟองคดีตอนายปรัชญ รุจิวนารมย ผูสื่อขาวของบริษัท เนชั่น นิวส เน็ตเวิรค จํากัด ในความผิดฐานหมิ่น
ประมาท ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 326 และมาตรา 328 และความผิดตามพระราชบัญญัติวาดวยการ
กระทําผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอรมาตรา 14 เนื่องมาจากการที่นายปรัชญ ไดรายงานขาวการปลอยหางแรออกจาก
เหมืองดีบุกและไหลลงสูแมน้ําโดยตรงซึ่งเปนแมน้ําสายหลักสําหรับการอุปโภคของชาวบานในเมืองเพียว เขตตะนาว
ศรี ในบทความชื่อ “เหมืองแรไทยทําลายทรัพยากรน้ําในเมียนมาร ” โดยเปนการอางขอมูลจากชาวบานในชุมชนที่
ไดรับผลกระทบโดยตรง ความวา “ชาวบานไมสามารถใชน้ําในการอุปโภคไดเลย เพราะเปนน้ําที่ไหลมาจากเหมืองแร
โดยตรง” ประกอบทั้งจากการศึกษาทางวิทยาศาสตรเกี่ยวกับความเปนพิษดานสิ่งแวดลอมของ ดร. ธนพล เพ็ญรัตน
นักวิจัยดานวิศวกรรมสิ่งแวดลอมจากมหาวิทยาลัยนเรศวร พบวาตัวอยางน้ําทั้ง 34 ตัวอยางมีการปนเปอนของ
แมงกานีส สารหนูและตะกั่วจํานวนมากในระดับที่สูง กวา คามาตรฐานที่ปลอดภัย ถึง 53-600 เทาในน้ําตัวอย า ง
ที่ทําการทดสอบใกลเหมืองซึ่งเปนแหลงน้ําหลักของชุมชน
การแจงความดําเนินคดีตอนายปรัช ญ มีมูลเหตุเนื่องมาจากการรายงานผลกระทบทางสิ่งแวดลอมจากการ
ประกอบกิจการของบริษัทเหมืองแร เปนการฟองคดีทางอาญาที่เกี่ยวของโดยตรงกับเรื่องเสรีภาพในการพูดหรือการ
แสดงความคิดเห็น หรือสิทธิในการรองเรียนในประเด็นสาธารณะเรื่องสิ่งแวดลอมซึ่งเปนเรื่องที่ไดรับ การบัญญัติ
รับรองไวในรัฐธรรมนูญ อีกทั้ง ขอมูลที่ไดกลาวในรายงานก็เปนขอเท็จจริงที่ไดมาจากชาวบานที่ไดรับผลกระทบอัน
เกิดจากการประกอบกิจการของเหมืองโดยตรงและเปนขอมูลที่มีการตรวจสอบทางวิทยาศาสตรแลว หาใชเปนการ
กลาวอางโดยปราศจากขอเท็จจริงรองรับ หรือเปนการกลาวโดยเจตนาทุจริตเพื่อใหบริษัทเหมืองไดรับความเสียหายไม
ตอมา คูความตกลงประนีประนอมยอมความกัน ศาลมีคําสั่งจําหนายคดีออกจากสารบบความ15
3. มาตรการทางกฎหมายในการคุมครองบุคคลจากการแกลงฟองตามกฎหมายตางประเทศ
ปญหาการแกลงฟองโดยเฉพาะอยางยิ่งในคดีสิ่งแวดลอม สงผลอยางมีนัยสําคัญตอประเด็นเรื่องประโยชน
สาธารณะ กลาวคือ การแกลงฟองในคดีสิ่งแวดลอมในความผิดฐานหมิ่นประมาททางอาญา และความผิดฐานกลาว
หรือไขขาวแพรหลายซึ่งขอความอันฝาฝนตอความจริงในทางแพง เปนการเปลี่ยนสาระสําคัญหรือแกนของเรื่อง
จากประเด็นเรื่องประโยชนสาธารณะเรื่องเรื่องสิ่งแวดลอมซึ่งเปนประเด็นที่ประชาชนใหความสนใจหรือติดตาม
ตรวจสอบเพื่อใหหนวยงานรัฐที่เกี่ยวของดําเนินการแกไขใหกลายเปนเรื่องพิพาทเรื่องสิทธิในชื่อเสียเกียรติยศ อันเปน
เรื่องประโยชนสวนตัวของปจเจกโดยแททําใหประเด็นสาธารณะที่วา โจทกหรือการประกอบกิจการของผูถูกตรวจสอบ
กอใหเกิดความเสียหายตอสิ่งแวดลอมหรือไม หรือไดกระทําการอยางใด ๆ อันเปนการฝาฝนกฎหมายสิ่งแดลอม
หรือไมถูกเปลี่ยนเปนวา จําเลยไดกอใหเกิดความเสียหายตอชื่อเสียงเกียรติยศของโจทกหรือทําใหธุรกิจของโจทก
เสียหายหรือไม
ดั ง นั้ น บทความฉบั บ นี้ จึ ง ได นํ า เอามาตรการทางกฎหมายในการให ค วามคุ ม ครอง การมี ส ว นร ว มของ
ประชาชนจากการแกลงฟองของตางประเทศมาศึกษาและวิเคราะหเพื่อเปนแนวทางในการตรากฎหมายคุมครองการมี
สวนรวมของประชาชนจากการแกลงฟอง (anti-SLAPP law) ที่ดีและเหมาะสมสําหรับประเทศไทย โดยการบัญญัติ
เรื่องมาตรการทางกฎหมายเฉพาะสําหรับการพิจารณาคดีแกลงฟอง แบงออกเปน 3 เรื่อง ไดแก เรื่องคําขอพิเศษเพื่อ
ยุติคดี (special motion to strike) ภาระการพิสูจน (burden of proof) และการฟองกลับ (SLAPPback) ดังนี้

14
คดีหมายเลขแดงที่ 922/2556 อางถึงใน ThaiPBS, “(คดี) ปดปาก,” สืบคนเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม 2559, จาก
https://www.youtube.com/watch?v=uTBGsOiSH90
15
คดีหมายเลขแดงที่ 2986/2560 ของศาลจังหวัดนครปฐม
696 Thailand Journal of legal Study

3.1) คําขอพิเศษเพื่อยุติคดี (special motion to strike) เปนมาตรการทางกฎหมายที่บัญญัติขึ้นเพื่อเปน


เครื่องมือของจําเลยสําหรับการตอสูคดีที่มีลักษณะเปนการแกลงฟอง และเปนกลไกทางกฎหมายซึ่งเปดโอกาสให
คูความมีสิทธิตรวจสอบฟองเสียกอนวาชอบดวยกฎหมายหรือไม เพื่อเปนการรักษาสมดุลระหวางสิทธิในการฟองคดี
และสิทธิในการมีสวนรวมของประชาชนในประเด็นสาธารณะเรื่องสิ่งแวดลอม และเพื่อหลีกเลี่ยงความซับซอนของ
เรื่องภาระการพิสูจนและการตอสูคดีตามกระบวนพิจารณาปกติในความผิดฐานหมิ่นประมาท คําขอดังกลาวมีลักษณะ
ที่สําคัญ คือ เมื่อมีการการฟองคดีเกิดขึ้นและจําเลยเห็นวาคําฟองของโจทกมีมูลเหตุมาจากการใชสิทธิมีสวนรวมของ
ประชาชน สิทธิในการรองเรียน หรือการใชเสรีภาพในการพูด หรือแสดงความคิด เห็น ในประเด็นสาธารณะเรื่ อง
สิ่งแวดลอม จําเลยก็มีสิทธิยกประเด็นเรื่องการแกลงฟองไวในคําใหการของตน ทั้ง ในคดีแพงและคดีอาญา ตอมา
เมื่อคําขอพิเศษเพื่อยุติคดีคดีเขาสูการพิจารณาของศาล ศาลก็มีอํานาจที่จะพิจารณาประเด็นเรื่องการแกลงฟองตาม
คําขอของจําเลยได โดยที่ศาลจะงดการพิจารณาคดีตามฟองของโจทกไวชั่วคราวจนกวาศาลจะมีคําสั่งอยางใดอยาง
หนึ่งตามคําขอ ทั้งนี้ ศาลจะตองพิจารณาวาการกระทําของจําเลยตามฟองเปนการใชสิทธิในการมีสวนรวมของ
ประชาชน หรือ สิทธิในการรองเรียน หรือเปนการใชเสรีภาพในการพูดหรือแสดงความคิดเห็นตามที่กฎหมายบัญญัติ
รับรองหรือไม หรือการกระทําของจําเลยเปนการเรียกรองสิทธิทางสิ่งแวดลอม บังคับใชกฎหมายสิ่งแวดลอม หรือเปน
การกระทําอยางใด ๆ อันเปนการปกปองทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดลอม และโจทกจะตองพิสูจนใหศาลเห็นวา
คําฟองของตนมีมูลสามารถที่จะชนะคดีได และคําฟองของตนมิใชเปนการแกลงฟอง ยกตัวอยางเชน
กฎหมายวิธีพิจารณาความแพงของแคลิฟอรเนีย มาตรา 425.16 (Code of Civil Procedure – Section
425.16 (California’s anti-SLAPP law) บัญญัติวา “กรณีถูกฟองคดีเพราะสาเหตุจากการใชเสรีภาพในการแสดง
ความคิดเห็นตามรัฐธรรมนูญแหงสหรัฐอเมริกาหรือรัฐธรรมนูญแหงรัฐแคลิฟอรเนียสามารถยื่นคําขอพิเศษเพื่อยุติคดี
(special motion to strike)16 เพื่อใหศาลพิจารณาหากศาลเห็นวาคําฟองของโจทกที่เกี่ยวกับการใชเสรีภาพในการ
พูดของจําเลยตามรัฐธรรมนูญและไมมีทางที่จะชนะคดี ศาลจะสั่งยกฟองโจทกและสั่งใหโจทกจายคาทนายความและ
คาใชจายอื่น ๆ แกจําเลย แตหากศาลเห็นวาคําฟองของโจทกมีความเปนไปไดที่จะชนะคดี ศาลจะสั่งดําเนินคดีตอไป
โดยที่คูกรณีมีสิทธิอุทธรณคําสั่งศาลที่สั่งในเรื่องคําขอพิเศษเพื่อยุติคดี
3.2) ภาระการพิสูจน (burden of proof) กฎหมายคุมครองการมีสวนรวมของประชาชนจากการแกลงฟอง
จะมีการบัญญัติถึงเรื่องภาระการพิสูจนที่แตกตางออกไปจากเรื่องภาระการพิสูจนในกระบวนพิจารณาคดีทั่วไปตาม
หลักที่วา “ผูใดกลาวอางขอเท็จจริงใด ผูนั้นมีภาระการพิสูจนขอเท็จจริงนั้น ” เนื่องจากการกําหนดใหจําเลยมีภาระ
การพิสูจนในประเด็นสาธารณะเรื่องสิ่งแวดลอมวา โจทกใชสิทธิทางศาลโดยมิชอบดวยกฎหมาย (malicious use of
process) เปนเรื่องยาก ดังนั้น กฎหมายจึงบัญญัติถึงการกระทําตาง ๆ ซึ่งไดรับความคุมกันตามกฎหมายและใชบังคับ
ควบคูไปกับเรื่องคําขอพิเศษเพื่อยุติคดี เมื่อจําเลยตอสูคดีโดยยื่นคําขอพิเศษเพื่อยุติคดี จําเลยก็มีภาระการพิสูจนแต
เพียงวา การกระทําของตนชอบดวยกฎหมายหรือเปนการกระทําอยางใดอยางหนึ่งซึ่งกฎหมายบัญญัติรับรอง สวน
โจทกมีภาระการพิสูจนเพื่อหักลางความคุมกันตามกฎหมายของจําเลย กลาวคือ โจทกตองพิสูจนวา การกระทําของ
จําเลยไมไดรับความคุมกันตามกฎหมาย เพราะจําเลยกระทําโดยเจตนาทุจริตและฟองของตนมีมูลหรือมีขอตอสูสําคัญ
ที่ทําใหชนะคดีได ทั้งนี้ ศาลจะงดการพิจารณาคดีตามฟองของโจทกไวชั่วคราวจนกวาจะมีคําสั่งอยางใดอยางหนึ่งตาม
คําขอวาฟองโจทกเปนการแกลงฟองหรือไม ซึ่งการบัญญัติกฎหมายไวในลักษณะดังกลาวเปนการผลักภาระการพิสูจน
แกโจทกในการที่จะแสดงใหศาลเห็นถึงความเสียหายในสิทธิในชื่อเสียงเกียรติยศอันมีมูลเหตุมาจากประเด็นสาธารณะ
เรื่องสิ่งแวดลอม ยกตัวอยางเชน
กฎหมายสิทธิพลเมือง (New York’s civil rights laws) มาตรา 76-a บัญญัติวา การกระทําที่เกี่ยวของกับ
การรองเรียนหรือการมีสวนรวมของประชาชนในประเด็ นสาธารณะไดรับความคุมครองตามกฎหมายนี้ เวนแต โจทก
จะพิสูจนถึงความไมสุจริตของจําเลย 17 หรือ กฎหมายและระเบียบขอบังคับการปฏิบัติทางแพงของมลรัฐนิวยอรก

16
Code of Civil Procedure – Section 425.16 (California’s Anti-SLAPP Law) (b)
17
New York Civil Rights Law Section 76-a
วารสารนิติศึกษาไทย 697

(the New York civil practice law and rules) มาตรา 3211 (g) กรณีจําเลยยื่นคํารองขอใหศาลยกฟอง (motion
to dismiss) และ มาตรา 3212 (h) กรณีจําเลยยื่นคํารองขอใหศาลวินิจฉัยชี้ขาดขอกฎหมาย
มาตรา 3211 (g) บัญญัติวา เกณฑการพิจารณาของศาลในการยกฟองโจทกตามคํารองของจําเลยในกรณีที่
การกระทํานั้นเกี่ยวของกับการรองเรียนหรือการมีสวนรวมในประเด็นสาธารณะ; โจทกมีภาระในการพิสูจนใหศาลเห็น
วาคําฟองของตนอยูบนพื้นฐานของกฎหมายหรือมีขอโตแยงสําคัญที่จะทําใหตนชนะคดีได และจําเลยมีภาระในการ
พิสูจนใหศาลเห็นวาการกระทําของตนเปนการรองเรียนหรือการมีสวนรวมในประเด็นสาธารณะตามที่ไดบัญญัติไวใน
มาตรา 76-a18 และ
มาตรา 3211 (h) บัญญัติวา เกณฑการพิจารณาของศาลในกรณีจําเลยยื่นคํารองขอใหศาลมีคําวินิจฉัยชี้ขาด;
โจทกมีภาระในการพิสูจนใหศาลเห็นวาคําฟองของตนอยูบนพื้นฐานของกฎหมายหรือมีขอโตแยงสําคัญที่จะทําใหตน
ชนะคดีได และจําเลยมีภาระในการพิสูจนใหศาลเห็นวาการกระทําของตนเปนการรองเรียนหรือการมีสวนรวมใน
ประเด็นสาธารณะ19
3.3) การฟองกลับ (SLAPPback ) การฟองกลับเปนมาตรการทางกฎหมายที่บัญญัติขึ้นเพื่อรักษาสมดุลใน
การเขาถึงความยุติธรรมโดยใชกระบวนการทางศาล เพราะกฎหมายมิไดตัดอํานาจฟองของโจทกตั้งแตในชั้นรับฟอง
อยางไรก็ตาม เมื่อคดีเดิมศาลไดมีคําพิพากษายกฟอง เพราะเปนการแกลงฟอง กฎหมายก็กําหนดสิทธิในการฟองกลับ
แกจําเลยเพื่อปกปองสิทธิและเยียวยาผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการถูกแกลงฟอง มีกระบวนพิจารณา ดังนี้ คือ หากใน
คดีเดิม ศาลไดมีคําพิพากษายกฟองโจทก เพราะเหตุวาเปนการแกลงฟอง และศาลเห็นว าการฟองกลับของจําเลยซึ่ง
เปนโจทกในคดีนี้มีมูลเหตุมาจากการที่โจทกในคดีเดิมฟองคดีโดยเจตนาทุจริตหรือแกลงฟอง จําเลยเพียงแสดงใหศาล
เห็นวา ฟองของโจทกในคดีเดิมเปนการฟองคดีโดยมีวัตถุประสงคอื่นนอกเหนือจากการแสวงหาความยุติธรรมทางศาล
เปนการฟองคดีเพื่อคุกคาม และเปนการละเมิดกฎหมายรัฐธรรมนูญ ศาลมีอํานาจกําหนดใหซึ่งคาเสียหาย คาเสียหาย
เชิงลงโทษ เพิ่มเติมจากคาทนายความหรือคาใชจายในการตอสูคดีซึ่งเปนเงินที่ศาลในคดีเดิมไดกําหนดใหไวแลว
ยกตัวอยางเชน
กฎหมายสิทธิพลเมือง (New York’s civil rights laws) มาตรา 70-a บัญญัติวา การกระทําที่เกี่ยวของกับ
การรองเรียนหรือการมีสวนรวมของประชาชนในประเด็นสาธารณะ; เรื่องการเยียวยาความเสียหาย
3.3.1) จําเลยในคดีที่เกี่ยวของกับการรองเรียนหรือการมีสวนรวมของประชาชนในประเด็นสาธารณะตามที่
บัญญัติไวในมาตรา 76-a อาจฟองคดี ฟองกลับหรือฟองแยงเพื่อเรียกคาสินไหมทดแทน รวมถึงคาทนายความและ
คาใชจายอื่น ๆ ดังนี้
.3.1.1 คาทนายความและคาใชจายอื่น ๆ ; จําเลยจะตองพิสูจนใหศาลเห็นวาการกระทําของตนเปนการ
รองเรียนหรือการมีสวนรวมในประเด็นสาธารณะโดยสุจริตอยูบนพื้นฐานของความจริงและชอบดวยกฎหมาย
3.3.1.2 คาชดเชยอื่น ๆ; จําเลยจะตองพิสูจนใหศาลเห็นวาฟองโจทกมีวัตถุประสงคเพื่อคุกคาม ยับยั้ง หรือมี
เจตนาทุจริตประการอื่นตอเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น สิทธิในการรองเรียน หรือสิทธิในการชุมนุม
และ 3.3.1.3 คาเสียหายเชิงลงโทษ; จําเลยจะตองพิสูจนใหศาลเห็นวาการกระทําของตนเปนการรองเรียน
หรือการมีสวนรวมในประเด็นสาธารณะ ซึ่งโจทกฟองคดีโดยมีเจตนาเพื่อคุกคาม ขมขู หรือฟองคดีโดยมีเจตนาทุจริต
ประการอื่นเพื่อยับยั้งเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น สิทธิในการรองเรียนหรือสิทธิในการชุมนุม20

18
N.Y. Civ. Prac. L. & R. 3211 (g)
19
N.Y. Civ. Prac. L. & R. 3212 (h)
20
New York Civil Rights Law Section 70-a (1) (a)-(c)
698 Thailand Journal of legal Study

บทสรุปและขอเสนอแนะ
กฎหมายของประเทศไทยที่บังคับใชอยูในปจจุบันมีการบัญญัติเฉพาะแตมิติดานการสงเสริมการมีสวนรวม
ของประชาชนในทางสิ่งแวดล อมเทานั้น ยังคงขาดมิติดานการคุ มครองบุ คคลซึ่งได ใชสิท ธิเสรีภาพโดยชอบด ว ย
กฎหมาย เหตุดังกลาวจึงกลายเปนชองวางหรื อจุดออนของกฎหมายในการใหความคุมครองบุคคลจากการแกลงฟอง
ใหเปนไปอยางมีประสิทธิภาพ อีกทั้งไมมีกระบวนการพิจารณาโดยเฉพาะเพื่อใหการพิจารณาในเรื่องดังกลาวเปนไป
อยางรวดเร็วและเปนธรรม อันเปนการรักษาสมดุลในการเขาถึงกระบวนการยุติธรรมทางศาลระหวางสิทธิในการฟอง
คดีและเรียกเอาซึ่งคาสินไหมทดแทนเพื่อเยียวยาความเสียหายในสิทธิในชื่อเสียงเกียรติยศของปจเจกชน และสิทธิใน
การมีสวนรวมของประชาชน หรือเสรีภาพการพูดหรือแสดงความคิดเห็นในประเด็นสาธารณะเรื่องสิ่งแวดลอม
ดังนั้น ผูเขียนจึงเสนอแนวทางการแกไขปญหาเรื่องการแกลงฟองในคดีสิ่งแวดลอมโดยการตรากฎหมาย
พระราชบัญญัติคุมครองการมีสวนรวมของประชาชน หมวดที่ … เรื่องการแกลงฟอง (Strategic Lawsuit Against
Public Participation-SLAPP) (ฉบับที่..) พ.ศ. …. เพื่อใหความคุมครองบุคคลจากการแกลงฟองที่เกี่ยวของกับการมี
สวนรวมของประชาชนในประเด็นสาธารณะที่ครอบคลุมถึงเรื่องสิ่งแวดลอมในลักษณะเชนเดียวกันกับตางประเทศ
และบัญญัติถึงเรื่องที่มีความสําคัญ 3 ประการ คือ บทนิยาม ขอบเขตความคุมครอง และมาตรการทางกฎหมายเฉพาะ
สําหรับการพิจารณาคดีแกลงฟอง ดังนี้
1. บทนิยาม
ในพระราชบัญญัตินี้
“คําฟอง” หมายความรวมถึง คดีแพงและคดีอาญาใด ๆ การรองเรียน เหตุแหงการฟองคดีการเรียกรองคา
สินไหมทดแทน การฟองแยง คํารองหรือคําขออื่น ๆ
“กฎหมายคุมครองบุคคลจากการแกลงฟอง” หมายความรวมถึง กฎหมายหรือกฎเกณฑทางกฎหมายอื่นใด
ซึ่งมีเจตนารมณเพื่อคุมครองบุคคลจากการแกลงฟอง
“การมีสวนรวมของประชาชน” หมายถึง การกระทําอยางใด ๆ ซึ่งวิญูชนจะพึงกระทําไมวาทั้งหมดหรือแต
บางสวน โดยมีเจตนาเพื่อแสดงออกหรือมีอิทธิพลตอความคิดเห็นของประชาชน หรือสงเสริมหรือสนับสนุนการการ
ดําเนินการอยางใด ๆ ของประชาชน บริษัทหรือรัฐบาลหรือหนวยงานของรัฐที่เกี่ยวของกับประเด็นสาธารณะ
“การแกลงฟอง (Strategic Lawsuit Against Public Participation-SLAPP)” หมายความวา การกระทํา
ในทางคดี ทั้งทางแพง อาญา หรือทางปกครองตอบุคคลใด โดยมีวัตถุประสงคเพื่อคุกคาม รบกวน กดดัน หรือยับยั้ง
การกระทําทางกฎหมายอยางใด ๆ ซึ่งบุคคลนั้นเรียกรองหรือบังคับตามกฎหมาย หรือเพื่อการปกปอง หรือเพื่อให
ไดรับการรับรองสิทธิตามกฎหมายในประเด็นสาธารณะ หรือที่เกี่ยวของหรือเกี่ยวเนื่องกับประเด็นสาธารณะ
“การฟองกลับ (SLAPPback)” คือ มาตรการทางกฎหมายที่กําหนดสิทธิแกจําเลยที่ถูกแกลงฟองเพื่อลงโทษ
โจทกในคดีกอนซึ่งศาลไดมีคําพิพากษายกฟ องไปแลว โดยการฟองกลับเพื่อเรียกเอาคาสินไหมทดแทนเพิ่ ม เติ ม
นอกเหนือจากเงินคาทนายความและคาใชจายอื่น ๆ ที่จําเลยตองเสียไปในการตอสูคดี
2. ขอบเขตความคุมครอง
เพื่อประโยชนในการคุมครองและสงเสริมการมีสวนรวมของประชาชนในประเด็นสาธารณะ พระราชบัญญัติ
ฉบับนี้ใหใชบังคับแก
(1) การใชสิทธิในการรองเรียน หรือเสรีภาพในการพูดหรือแสดงความคิดเห็นเปนลายลักษณอักษร หรือโดย
วาจา หรือเอกสารที่ทําขึ้นหรือสงกอนที่จะมีการตรากฎหมายตอฝายนิติบัญญัติ หรือฝา ยบริหาร หรือฝายตุลาการ
หรือการดําเนินการอื่นใดที่ไดอนุญาตตามกฎหมาย
(2) การใชสิทธิในการรองเรียน หรือเสรีภาพในการพูดหรือแสดงความคิดเห็นเปนลายลักษณอักษร หรือโดย
วาจา หรือเอกสารที่เกี่ยวของกับประเด็นแหงคดีที่อยูระหวางการพิจารณาหรือทบทวนโดยฝายนิติบัญญั ติ หรือฝาย
บริหาร หรือฝายตุลาการ หรือหนวยงานอื่นของรัฐ
(3) การใชสิทธิในการรองเรียน หรือเสรีภาพในการพูดหรือแสดงความคิดเห็นเปนลายลักษณอักษร หรือโดย
วาจา ซึ่งไดกระทําลงในที่สาธารณะเพื่อใหบุคคลทั่วไปไดรับทราบในประเด็นที่เกี่ยวของกับเรื่องประโยชนสาธารณะ
วารสารนิติศึกษาไทย 699

(4) การกระทําอื่นใดอันเปนการสงเสริม สนับสนุน การมีสวนรวมของประชาชนในประเด็นสาธารณะ การใช


สิทธิรองเรียน หรือเสรีภาพในการพูดหรือแสดงความคิดเห็นตามรัฐธรรมนูญ
3. มาตรการทางกฎหมายเฉพาะสําหรับการพิจารณาคดีแกลงฟอง
3.1 คําขอพิเศษเพื่อยุติคดี
(ก) จําเลยอาจยื่นคําขอพิเศษเพื่อยุติคดี เพื่อใหศาลยกฟองโจทกที่เปนการคุกคาม ยับยั้งหรือแทรกแซงการ
กระทําอยางใด ๆ ของจําเลยซึ่งเกี่ยวของกับการใชสิทธิรองเรียน หรือเสรีภาพในการพูดหรือแสดงความคิดเห็น ภายใน
60 วัน นับแตวันที่ทราบถึงการฟองคดี
(ข) จําเลยที่ย่ืน คําขอพิเศษเพื่อยุติคดี ตามกฎหมายนี้ มีภาระการพิสูจนใหศาลเห็นวาฟองโจทกเปนการ
คุกคามจําเลยซึ่งไดใชสิทธิในการรองเรียน หรือเสรีภาพในการพูดหรือแสดงความคิดเห็นในประเด็นสาธารณะซึ่งไดรับ
ความคุมกันตามกฎหมายนี้ หากจําเลยสามารถพิสูจนใหศาลเห็นไดตามขางตน โจทกจึงมี ภาระการพิสูจนใหศาลเห็น
วาคําฟองของตนชอบดวยกฎหมายและมีพยานหลักฐานเบื้องตนเพียงพอเพื่อพิสูจนขอเท็จจริงอันจะนําไปสูการตัดสิน
คดีอยางถูกตองเปนธรรม
หากจําเลยสามารถพิสูจนไดวา ฟองโจทกเปนการคุกคามจําเลยซึ่งไดใชสิทธิในการรองเรียน หรือเสรีภาพใน
การพูดหรือแสดงความคิดเห็นในประเด็นสาธารณะซึ่งไดรับความคุมกันตามบทบัญญัติแหงพระราชบัญญัตินี้ และ
โจทกไมสามารถพิสูจนใหศาลเห็นวา คําฟองของตนชอบดวยกฎหมาย ศาลจะพิพากษายกฟอง
แตหากจําเลยไมสามารถพิสูจนใหศาลเห็นไดเชนนั้น ศาลก็จะสั่งยกคําขอพิเศษเพื่อยุติคดี
(ค) เมื่อจําเลยไดยื่นคําขอพิเศษเพื่อยุติคดีเพื่อใหศาลยกฟองแลวใหศาลระงับการพิจารณาคดีตามฟองโจทก
ไวชั่วคราว จนกวาศาลจะมีคําสั่งอยางใดอยางหนึ่งตามคําขอของจําเลย
หากฟองโจทกชอบดวยกฎหมาย และจําเลยไมมีพยานหลักฐานสนับสนุนคําขอของตน ศาลตองสั่งยกคําขอ
ของจําเลยและพิจารณาคดีตามฟองโจทกตอไป
(ง) ในการพิ จ ารณาเพื่ อทํ า คํ า สั่ ง ตามคํ า ขอของจํ า เลย ศาลจะต อ งพิ จ ารณาคํา ฟองและพยานหลั กฐาน
สนับสนุนประกอบกับคําใหการที่เปนลายลักษณอักษร และขอเท็จจริง ทั้งนี้ จําเลยจะแสดงพยานหลักฐานวาโจทก
ฟองคดีโดยมีแรงจูงใจที่จะคุกคาม ทําใหกลัว หรือแทรกแซงการใชสิทธิเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญของตนหรือไมก็ได
(จ) เมื่อมีการยื่นคําขอพิเศษเพื่อยุติคดี หามมิใหศาลอนุญาตใหคูความแกไขคําขอนั้น
(ฉ) ศาลจะตองพิจารณาคําขอของจําเลยใหเสร็จเร็วที่สุด และหามเกินกวา 45 วัน นับจากวันที่ยื่นคําขอ หาก
ศาลมีคําสั่งยกคําขอ ศาลตองเขียนเหตุผลไวในรายงานการพิจารณาดวย
(ช) กรณีที่ศาลมีคําสั่งยกคําขอ จําเลยมีสิทธิอุทธรณคําสั่งศาลไดทันที ไมวาทั้งหมดหรือแตบางสวน ภายใน
30 วัน นับแตวันที่มีการนั่งพิจารณา หรือภายใน 75 วัน นับแตวันที่ไดยื่นคําขอ
(ซ) ถาศาลวินิจฉัยวาฟองโจทกชอบดวยกฎหมาย และโจทกสามารถพิสูจนใหศาลเห็นในเบื้องตนไดวา ฟอง
ของตนมีมูล จําเลยจะอางวาไมยอมรับพยานหลักฐานนั้นไมได และจะไมมีการกําหนดภาระการพิสูจน หรือระดับของ
การพิสูจนอื่นใดที่จะสงผลกระทบถึงการวินิจฉัยดังกลาวในขั้นตอนที่จะเกิดขึ้นตอมาภายหลัง
(ฌ) หนวยงานของรัฐซึ่งมีอํานาจกํากับดูแลการกระทําของจําเลย หรืออัยการสูงสุดหรืออัยการเห็นสมควรที่
จะเขามาแทรกแซงเพื่อปกปองหรือใหการสนับสนุนฝายจําเลย ในกรณีที่ฟองของโจทกเกี่ยวเนื่องหรือเกี่ยวของกับการ
ใชสิทธิในการรองเรียน หรือเสรีภาพในการพูดหรือแสดงความคิดเห็น
3.2 การฟองกลับ
(ก) เหตุ แ ห ง การฟ อ งคดี จํ า เลยซึ่ ง ศาลพิ พ ากษายกฟ อ งตามคํา ขอพิ เศษเพื่ อยุ ติ ค ดี ต ามบทบั ญ ญั ติ แ ห ง
พระราชบัญญัตินี้ อันมีมูลเหตุมาจากการกระทําที่เปนการใชสิทธิรองเรียน หรือเสรีภาพในการพูดหรือแสดงความ
คิดเห็น และไดรับความเสียหายเนื่องจากการถู กฟองเปนคดีหรือตกเปนผูตองหา อาจฟองกลับตอโจทกที่แกลงฟอง
เพื่อเรียกเอาซึ่งคาสินไหมทดแทนได
700 Thailand Journal of legal Study

(ข) การเยียวยา
(1) คาเสียหาย บุคคลซึ่งนําคดีที่มีลักษณะเปนการแกลงฟองมาสูศาล มีหนาที่เยียวยาความเสียหายที่เกิดขึ้น
และหมายความรวมถึงคาเสียหายทางจิตใจดวย
(2) ความเสียหายรายแรง ถาเหตุแหงการฟองคดีเปนไปตาม (ก) ศาลจะสั่งใหจาย คาสินไหมทดแทนในความ
เสียหายอยางรายแรงได หากศาลเห็นวาพยานหลักฐานตามฟองซึ่งเปนการแกลงฟอง หรือเปนการพยายามที่จะยับยั้ง
หรือคุกคามการใชสิทธิในการมีสวนรวมของประชาชนหรือเสรีภาพในการพูดหรือแสดงความคิดเห็น
(3) คาใชจายในการตอสูคดีและคาธรรมเนียม บุคคลซึ่งใชสิทธิในการฟองกลับตามบทบัญญัติมาตรานี้ จะ
ไดรับคาสินไหมทดแทนในสวนของคาใชจายที่ตองเสียไปในการตอสูคดี และคาทนายความ
(ค) ระยะเวลา ถาเหตุแหงการฟองคดีเปนไปตาม (ก) บุคคลมีสิทธิฟองกลับเพื่อเรียกเอาซึ่งคาสินไหมทดแทน
นับแตวันที่มีการแกลงฟองจนถึงวันที่คดีสิ้นสุดลง
(ง) บทบัญญัติมาตรานี้ ไมเปนการจํากัดสิทธิในการไดรับการเยียวยาความเสียหายที่ มีการบัญญัติไ ว ใน
พระราชบัญญัติอื่น หรือกฎ หรือขอบังคับอื่น21

21
Samantha Brown and Mark Goldowitz, “The Public Participation Act : A comprehensive Model
Approach to End Strategic Lawsuits Against Public Participation in the USA,” Reciel, Vol.19 (1), pp.1-13,
(2010).
วารสารนิติศึกษาไทย 701

บรรณานุกรม

สัมภาษณ

สุรชัย ตรงงาม. กรรมการและเลขาธิการมูลนิธินิติธรรมสิ่งแวดลอม (EnLaw). สัมภาษณ. มูลนิธินิติธรรมสิ่งแวดลอม.


21 เมษายน 2559.

เอกสารอิเล็กทรอนิกส

“(คดี) ปดปาก.” https://www.youtube.com/watch?v=uTBGsOiSH90, 18 พฤษภาคม 2559.


“ยกฟ อ งคดี ทุ ง คํ า ฟ อ งไทยพี บี เ อส เหมื อ งทองเลย.” http://www.earththailand.org/th/article/2404, 16
พฤศจิกายน 2559.

เอกสารอื่น ๆ

ปกปอง ศรีสนิท. “กฎหมายตอตานการดําเนินคดีเพื่อยับยั้งการมีสวนรวมในกิจการสาธารณะ.”โครงการวิเคราะหและ


ติดตามรางกฎหมาย โดย ThaiLawWatch, 2557.

BOOKS

Byron Sheldrick. Blocking Public Participation : The use of strategic litigation to silence political
expression. Wilfrid Laurier University Press, 2014.
George W. Pring and Penelope Canan. SLAPPs getting sued for speaking out. Philadelphia : Temple
University Press, 1996.

ARTICLES

Jessie J. O’neill. “The citizen participation act of 2009 : federal legislation as an effective defense
against SLAPPs.” Boston College Environmental Affairs Law review 38 B.C.Envtl.Aff.L
.REV.477. (2011) : 6-8.
Samantha Brown and Mark Goldowitz. “The Public Participation Act : A comprehensive Model
Approach to End Strategic Lawsuits Against Public Participation in the USA.” Reciel Vol.19
(1). (2010) : 1-13.

ELECTRONIC MEDIA

“GUARDING AGAINST THE CHILL : A SURVIVAL GUIDE FOR SLAPP VICTIMS.” https://www.the
firstamendment.org/media/Guarding-Against-the-Chill.pdf. 16 April, 2016.
702 Thailand Journal of legal Study

มาตรการทางกฎหมายในการปองกันและควบคุมการดื้อยาปฏิชีวนะ
LEGAL MEASURES FOR PREVENTION AND CONTROL OF ANTIBIOTIC
RESISTANCE

ธนพันธ พานทอง
Thanapan Panthong
บทคัดยอ
การดื้อยาปฏิชีวนะเปนหนึ่งในภัยคุกคามที่เรงดวนที่สุดตอสุขภาพของประชาชน ในผูปวยบางรายการติดเชื้อ
ดื้ อยาปฏิ ชี วนะสามารถนํ าไปสู ค วามพิ การอย างรุนแรงหรือการเสี ย ชีวิ ตได จากการศึ กษาพบวา ประเทศไทยมี
แผนปฏิบัติการในการควบคุมเชื้อดื้อยาตานจุลชีพโดยตรง รวมทั้งมีมาตรการทางกฎหมายมากมายหลายฉบับในการ
จัดการเกี่ยวกับการปองกันและควบคุมการใชยาปฏิชีวนะ แตอยางไรก็ตาม แนวนโยบายและมาตรการทางกฎหมายที่
มีอยูในปจจุบันของประเทศไทยยังมีประสิทธิภาพที่ไมดีพอที่จะใชปองกันและควบคุมการใชยาปฏิชีวนะอันกอใหเกิด
การติดเชื้อดื้อยาปฏิชีวนะ ไมวาจะเปนแนวนโยบายในแผนยุทธศาสตรที่ยังไมครอบคลุม พระราชบัญญัติยา พ.ศ.
2510 ขาดการทบทวนทะเบียนตํารับยาและการเพิกถอนทะเบียนตํารับยาที่ไมมีประสิทธิภาพ ขาดการทําบัญชียา
ปฏิชีวนะในรานขายยา บทโทษทางกฎหมายที่กําหนดไวก็ยังมีความรุนแรงไมเพียงพอเพื่อใหเขากับสถานการณการดื้อ
ยาปฏิชีวนะในปจจุบัน ขาดกฎหมายควบคุมเรื่องการใชยาปฏิชีวนะในสัตวโดยเฉพาะ รวมทั้งขาดบทลงโทษในกรณีฝา
ฝนการใชยาปฏิชีวนะในสัตวที่เลี้ยงไวเพื่อบริโภค และขาดมาตรการในการควบคุม ติดตาม และตรวจสอบการจายยา
ปฏิชีวนะในสถานพยาบาลมนุษยและสถานพยาบาลสัตว ดังนั้น จึงควรมีการแกไขเพิ่มเติมทั้งนโยบายและมาตรการ
ทางกฎหมายเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการปองกันและควบคุมดูแลการติดเชื้อดื้อยาปฏิชีวนะ

คําสําคัญ
เชื้อดื้อยา ,ยาปฏิชีวนะ, ตํารับยา

ABSTRACT
Antibiotic resistance is the most urgent problem for public health. Some patients infecting
antibiotic resistance are likely to confront serious disability or death. According to study, it is found
that there are some plans for directly controlling antimicrobial resistance in Thailand as well as
several legal measures on prevention and supervision of antibiotic use. However, the existent
measures in Thailand are inefficient to prevent and control use of antibiotics, resulting in antibiotic
resistance. This is due to incomprehensive policies, no review on Medicine Act B.E. 2510, no
revocation of inefficient-antibiotic-pharmacopoeia registration, no list of specific antibiotic sold in
pharmacies, inappropriate legal penalty for the current-antibiotic-resistance situation, lack of direct
regulatory enactment for controlling use of antibiotics in animals particularly, no punishment on any
person breaking the rules on antibiotic use in livestock and no measures on control, tracking and
examination on antibiotic dispensation in infirmaries and animal clinics. Therefore, the policies and


นักศึกษาปริญญาโท หลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต สาขาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดลอม คณะนิติศาสตร
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร : youngest.dragon.10@gmail.com
Graduate Student of Master of Laws Program in Natural Resources and Environmental Law, Faculty
of Law, Thammasat University. Email address : youngest.dragon.10@gmail.com
วารสารนิติศึกษาไทย 703

legal measures should be amended to improve the efficiency of preventive and supervisory
measures on antibiotic resistance.

Keywords
Resistance, Antibiotic, pharmacopoeia
704 Thailand Journal of legal Study

บทนํา
บทความฉบับนี้เนนศึกษาถึงการดื้อยาอันเกิดจากการใชยาปฏิชีวนะเทานั้นไมรวมถึงยาตานจุลชีพชนิดอื่น ๆ
เนื่องจากพบวา มีการใชยาปฏิชีวนะเพื่อฆาเชื้อแบคทีเรียอยางไมเหมาะสมทั้งในการบริโภคมนุษยเพื่อรักษาโรคและใน
ภาคเกษตรกรรม และพฤติกรรมการใชยาปฏิชีวนะที่ไมเหมาะสมดังกลาวกอใหเกิดการดื้อยาปฏิชีวนะ (Antibiotic
Resistance) สงผลใหทั่วโลกมีการเสียชีวิตจากเชื้อดื้อยาประมาณปละ 700,000 คน และหากไมเรง แกไขปญหา
คาดวาใน พ.ศ. 2593 การเสียชีวิตจากเชื้อดื้อยาจะสูงถึง 10 ลานคน ประเทศในทวีปเอเชียจะมีคนเสียชีวิตมากที่สุด
คือ 4.7 ลานคน คิดเปนผลกระทบทางเศรษฐกิจสูงถึงประมาณ 3.5 พันลานลานบาท (100 trillion USD) สําหรับ
ประเทศไทย การศึกษาเบื้องตนพบวามีการเสี ยชีวิตจากเชื้อดื้อยาประมาณปละ 38,000 คน คิดเปนการสูญเสียทาง
เศรษฐกิจโดยรวมสูงถึง 4.2 หมื่นลานบาท1
สาเหตุจากการดื้อยาปฏิชีวนะมีหลายสาเหตุดวยกัน ไมวาจะเปนสาเหตุจากการที่มนุษยรับประทานยาผิด
ชนิด ผิดวิธีและไมเหมาะสมกอใหเกิดการดื้อยาปฏิชีวนะในตัวของมนุษยเอง หรือรับเชื้อมาจากผูที่ติดเชื้อ เพราะ
สามารถติดเชื้อไดโดยงายทั้งจากการไอ จาม สัมผัส กับผูที่ติดเชื้อดื้อยา และนอกจากนี้มนุษยยังมีโอกาสไดรับเชื้อ
แบคทีเรียดื้อยาจากสิ่งแวดลอมอีกดวย เชน ผูเลี้ยงสัตวใชยาปฏิชีวนะผสมลงไปในอาหารสัตวเพื่ อเรง การ
เจริญเติบโตและเพื่อปองกันการเจ็บปวย กอใหเกิดเชื้อดื้อยาปฏิชีวนะตกคางอยูในตัวของสัตว หากนําสัตวที่ติดเชื้อมา
ประกอบอาหารจะทําใหผูที่ไดบริโภคอาหารนั้นไดรับเชื้อดื้อยาอีกดวย และเชื้อดังกลาวไดแพรสูผูเลี้ยงสัตว และ
คนทํางานในฟารมสัตวทไี่ ดสมั ผัสกับสิ่งปฏิกูล และหากนําสิ่งปฏิกูลทิ้งลงไปในแหลงน้ําโดยไมผานการบําบัด หรือนํา
สิ่งปฏิกูลมาใชทําเปนปุย คอกเพื่อใชในการเกษตร จะสงผลใหเชื้อดื้อยาปฏิชีวนะปนเปอนลงสูสงิ่ แวดลอม ทั้งในดิน
แหลงน้ําและผลิตภัณฑทางการเกษตร มีผลตอผู บริโภคในหวงโซอาหาร เห็นไดวาปญหาเรื่องการดื้อยาปฏิชีวนะไมได
สงผลกระทบแตเพียงมนุษยเทานั้นแตยังสงผลกระทบตอสิ่งแวดลอมโดยรวม ถาหากไมมีมาตรการปองกันและควบคุม
การใชยาปฏิชีวนะอยางถูกวิธี จะสงผลกระทบอยางรายแรงตามมาในอนาคต
บทความฉบับนี้จึงไดมีการนําเสนอแนวความคิดการจัดการดานสุขภาพ มาตรการในการปองกันและควบคุม
การดื้อยาปฏิชีวนะของตางประเทศ และมาตรการในทางนโยบาย และมาตรการทางกฎหมายของประเทศไทยในการ
ปองกันและควบคุมการดื้อยาปฏิชีวนะทั้งในมนุษยและสัตวในหลาย ๆ มิติของการจัดการเพื่อใหเกิดการแกปญ หา
เชื้อดื้อยาปฏิชีวนะไดอยางมีประสิทธิภาพและเปนการแกปญหาอยางยั่งยืน
1. แนวคิดการจัดการดานสุขภาพ
แนวคิดสุขภาพหนึ่งเดียว เนื่องจากปญหาดานสุขภาพในปจจุบันมิไดคํานึงแตสุขภาพของมนุษยเทานั้น
แตคํานึงถึงสุขภาพของสัตวและสิ่งแวดลอมดวย จึงเกิ ดแนวคิด “สุขภาพหนึ่งเดียว” (One Health) ซึ่งเปนแนวคิด
ที่มีเปาหมายสําคัญในการเสริมสรางการปฏิบตั ิงานรวมกันของสหสาขาวิชาของทุกภาคสวนและทุกระดับ เพื่อ
นําไปสูการมีสุขภาพที่ดีแบบองครวม2
แนวคิดสามเหลี่ยมเขยื้อนภูเขา หมายถึง การจัดการความรูเพื่ อเคลื่อนสิ่งยากโดยการจัดการใหมีการสราง
ความรู และจัดการใหมีการเรียนรูรวมกัน ที่เรียกวา “การเรียนรูรวมกันในการปฏิบัติ”3
หลักการระวังไวกอน (precautionary principle) เปนหลักการจัดการในเชิงรุกที่เนนปองกันผลกระทบ
ที่อาจจะเกิดขึ้นตอทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดลอม แมวาขอมูลหรือขอพิสูจนทางวิทยาศาสตรที่มีอยูในขณะนั้น

1
แผนยุทธศาสตรการจัดการการดื้อยาตานชีพประเทศไทย พ.ศ.2560 – 2564, น.1.
2
อังคณา สมนัสทวีชัย กับพวก, “วิวัฒนาการของความรวมมือภายใตแนวคิด “สุขภาพหนึ่งเดียว” ในประเทศไทย,”
ใน วารสารวิ จั ย ระบบสาธารณสุ ข , จั ด พิ ม พ โ ดยสถาบั น วิ จั ย ระบบสาธารณสุข , (กรุ ง เทพมหานคร : สถาบั น วิ จั ย ระบบ
สาธารณสุข, 2557), น.292.
3
แพทยเวชศาสตรครอบครัว และ เวชศาสตรปองกัน ร.พ.พนมสารคาม อ.พนมสารคาม จ.ฉะเชิงเทรา, "สามเหลี่ยม
เขยื้ อ นภู เ ขา"สามารถแก ป ญ หาสั ง คมที่ ย ากๆ เมื่ อ ทํ า ตามแนวทาง ,” สื บ ค น เมื่ อ วั น ที่ 26 พฤษภาคม 2561, จาก
https://www.bloggang.com/viewdiary.html.
วารสารนิติศึกษาไทย 705

จะยังไมสมบูรณพอที่จะชี้ชัดไดวาจะมีผลกระทบใดเกิดขึ้นก็ตาม โดยหลักการนี้ไดมีการนําไปฟองรองกันยังศาล
พิจารณาคดีชั้นตนยุโรป (CFI) 2 คดีดวยกัน เปนกรณีบริษัทยา Pfizer4 และ Alpharma Inc.5 ฟอง Council of the
European Union โดยทั้งสองบริษัทอางวาการประกาศใช EC Regulation 2821/98 ทั้งที่ไมมีหลักฐาน ทาง
วิทยาศาสตรวายาปฏิชีวนะที่ผสมลงในอาหารสัตวจะสงผลใหเชื้อดื้อยาในสัตวแพรกระจายสูมนุษย ตอมา ศาลได
พิจารณาและพิพากษาคดีวา แมจะยังไมมีหลักฐานทางวิทยาศาสตรที่ชัดเจน แตการปกปองสุขภาพ ของ
ประชาชนมีความสําคัญเหนือกวาขอพิจารณาทางเศรษฐกิจ เมื่อพบวามีความเสี่ยงที่เชื้อดื้อยาอาจแพรกระจายจาก
สัตวสูมนุษยได และหากมีการแพรกระจายมาสูมนุษยจะเกิดผลกระทบตอสุขภาพของมนุษยอยางรายแรง เห็นสมควร
ใชมีการใชกฎขอบังคับดังกลาวตอไป พิพากษายกฟองทั้งสองคดี
หลักการมีสวนรวมของประชาชน (Public Participation) เปนกระบวนการซึ่งประชาชน หรือผูมีสวนไดเสีย
ไดมีโอกาสแสดงทัศนะและเขารวมกิจกรรมตาง ๆ ที่มีผลกระทบตอชีวิตความเปนอยูของประชาชน6
2. มาตรการในการปองกันและควบคุมการดื้อยาปฏิชีวนะของตางประเทศ
2.1 Global Action Plan on Antimicrobial Resistance (GAP-AMR) เนื่องจากปญหาเชื้อยาเปนปญหา
สํ า คั ญ และมี ค วามจํ า เป น อย า งเร ง ด ว นที่ จ ะต อ งวางแนวทางและหามาตรการเพื่ อ ควบคุ ม และป อ งกั น ป ญ หา
กอนที่ ค วามเสี ย หายจะมากขึ้นและไม สามารถแกไขได จึ ง ได มี การรว มมื อกันของไตรภาคีจั ด ทํา แผนปฏิบัติการ
ระดับโลกฉบับนี้ขึ้น ประกอบไปดวย องคการอนามัยโลก (WHO) องคการอาหารและเกษตรแหงสหประชาชาติ (FAO)
และองคการโรคระบาดสัตวระหวางประเทศ (OIE) เพื่อแกปญหาเชื้อดื้อยาตานจุลชีพที่เปนภัยคุกคาม ดาน
สุขภาพของคนและสัตวภายใตแนวทางสุขภาพหนึ่งเดียว (One Health) โดยมีการประชุมสมัชชาอนามัยโลก สมัยที่
68 (พ.ศ.2558) มีมติรับรอง Global Action Plan on Antimicrobial Resistance (GAP-AMR) และขอใหประเทศ
สมาชิกจัดทํา Nation Action Plan on AMR ใหแลวเสร็จภายใน 2 ป7
2 . 2 European Commission : A European One Health Action Plan against Antimicrobial
Resistance (AMR) สหภาพยุโรปเผชิญกับปญหาการดื้อยาจากยาปฏิชีวนะเชนเดียวกับภูมิภาคอื่น ๆ ทั่วโลก ใน
สหภาพยุโรปมีผูเสียชีวิตจากการติดเชื้อดื้อยาประมาณ 25,000 คนตอป และตองใชคาใชจายในการรักษาพยาบาลแก
ผูติดเชื้อกวา 1,500,000 ยูโรตอป ดังนั้น ในเดือนมิถุนายน พ.ศ.2560 European Commission จึงไดประกาศ ใช
แผนปฏิบัติการฉบับนี้ขึ้นเพื่อจัดการปญหาเชื้อดื้อยาในสหภาพยุโรป8
2.3 มาตรการทางกฎหมายของสหภาพยุโรปในการปองกันและควบคุมเชื้อดื้อยาปฏิชีวนะ ประกอบไปดวย
1) REGULATION (EC) No 2821/98 เปนกฎขอบังคับที่ออกมาเพื่อแกไขเพิ่มเติมเกี่ยวกับการ เพิกถอนการอนุมัติ
ยาปฏิชีวนะบางชนิดตามคําสั่ง 70/524/EEC เกี่ยวกับสารเติมแตงในอาหารสัตว โดยคณะกรรมาธิการยุโรปอางวา
การใชวัตถุเจือปนตามที่ระบุไวนี้ เปนอันตรายตอสุขภาพของสัตว มนุษย และสิ่งแวดลอม จําเปนที่ตองระงับมิใหใช
ยาปฏิ ชี ว นะผสมลงในอาหารสั ต ว 2) REGULATION (EC) No 1831/2003 เป น กฎขอบั ง คั บ เกี่ย วกับ สารเติ ม แตง
สําหรับใชในสัตว โดยออกมาเพื่อควบคุมผลผลิตทาง ปศุสัตว โดยมีหลักการวาอาหารตองปลอดภัยและมีประโยชน
จึงมีความจําเปนอยางยิ่งที่ตองควบคุมการใชยาปฏิชีวนะซึ่งเปนหนึ่งในสารเติมแตงที่ใชกับสัตวเพื่อเรงการเจริญเติบโต

4
Case T-13/99 Pfizer Animal Health SA v Council of the European Union (2002)
5
Case T-70/99 Alpharma Inc. v Council of the European Union (2002)
6
ถวิ ล วดี บุ รี กุ ล , “การมี ส ว นร ว ม : แนวคิ ด ทฤษฎี แ ละกระบวนการ,” เอกสารประกอบการศึ ก ษาดู ง านของ
คณะกรรมาธิการพัฒนาการเมืองและการมีสวนรวมของประชาชน วุฒิสภา สถาบันพระปกเกลา กรุงเทพมหานคร, 2551.
7
คณะกรรมการประสานงานและบูรณาการงานดานเชื้อดื้อยาตานจุลชีพ , ภูมิทัศนของสถานการณและการจัดการ
การดื้อยาตานจุลชีพในประเทศไทย, (กรุงเทพมหานคร : สํานักพิมพอักษรกราฟฟคแอนดดีไซน, 2558), น.40-41.
8
The European Commission's priorities, “EU Action on Antimicrobial Resistance,” Retrieved on July
10, 2018, from https://ec.europa.eu/health/amr/ antimicrobial-resistance_en.
706 Thailand Journal of legal Study

ของสัตว 3) REGULATION (EU) 2016/429 เปนกฎขอบังคับที่ใชเพื่อควบคุมเกี่ยวกับโรคติด เชื้ อในสัตว และเชื้อ


ดื้อยาตานจุลชีพก็เปนหนึ่งในโรคติดเชื้อในสัตวที่จะตองมีการควบคุมตามกฎขอบังคับดังกลาว
2.4 ประเทศสวีเดน เปนประเทศที่มีสาธารณสุขที่ดีประเทศหนึ่ง และมีการใชยาปฏิชีวนะในอัตราที่ต่ํา
เมื่อเทียบกับประเทศอื่น ๆ มีระบบการติดตามการใชยาปฏิชีวนะ ระบบเฝาระวังเชื้อดื้อยา และมีระบบควบคุมการใช
ยาปฏิชีวนะและเชื้อดื้อยาภายในประเทศ9
2.5 ประเทศออสเตรเลีย เมื่อเทียบกับประเทศที่พัฒนาแลวประเทศอื่น ๆ ออสเตรเลียจะมีปริมาณการใช
ยาปฏิชีวนะที่ต่ํากวา ทั้งประเทศแคนาดา ฝรั่งเศส อิตาลี เยอรมัน รวมถึงสหราชอาณาจักร ประเทศออสเตรเลีย มี
ระบบการติดตามการใชยาปฏิชีวนะ ระบบเฝาระวังเชื้อดื้อยา และมีระบบควบคุมการใชยาปฏิชีวนะและเชื้อดื้อยา
ภายในประเทศเชนเดียวกับประเทศสวีเดน10
3. มาตรการในการปองกันและควบคุมการดื้อยาปฏิชีวนะของประเทศไทย
ในดานนโยบาย ประเทศไทยมีการประกาศใชแผนยุทธศาสตรการจัดการการดื้อยาตานจุลชีพประเทศไทย
พ.ศ.2560 – 2564 เพื่อเปนกรอบการทํางานรวมกันของหนวยงานตาง ๆ ในการแกปญหาเชื้อดื้อยาตานจุลชีพของ
ประเทศ ประกอบไปดวยยุทธศาสตรทั้ งสิ้น 6 ยุทธศาสตร แตพบวาไมมียุทธศาสตรใดที่มุงเนนถึงมาตรการในการ
ลงทุนทางดานเศรษฐกิจเพื่อใชลงทุนในดานงานวิจัยเพื่อพัฒนายา เครื่องมือวินิจฉัยโรค วัคซีน และอื่น ๆ แสดงใหเห็น
วาประเทศไทยประเทศไทยยังไมตระหนักถึงความสําคัญในดานการพัฒนาตัวยาเพื่อตอสู กับเชื้อดื้อยาตานจุลชีพอยาง
เท า ที่ ค วร ควรจะมี การแกไ ขแผนยุ ท ธศาสตรการจั ดการการดื้ อ ยาต า นจุ ล ชี พ ประเทศไทย พ.ศ.2560 – 2564
โดยเพิ่มเติมยุทธศาสตรในดานการลงทุนเพื่อเพิ่มศักยภาพของการวิจัยพัฒนาตัวยา เครื่องมือวินิจฉัยโรค วัคซีน
ชนิดใหม ๆ เพื่อเป นแนวนโยบายของรัฐที่แสดงใหเห็นวารัฐมีความตะหนักถึงปญหาและมีความจริงจังที่จะแกไข
ปญหาดานเชื้อดื้อยาตานจุลชีพอยางยั่งยืน
ในดานกฎหมาย ประเทศมีกําหมายประเทศไทยมีมาตรการทางกฎหมายมากมายหลายฉบับในการจัดการ
เกี่ยวกับการปองกันและควบคุมการใชยาปฏิชีวนะ ไมวาจะเปน 1) พระราชบัญญัติยา พ.ศ.2510 และกฎหมายลําดับ
รองที่ออกตามพระราชบัญญัติฉบับนี้ 2) พระราชบัญญัติมาตรฐานสินคาการเกษตร พ.ศ. 2551 และกฎหมายลําดับ
รองที่ออกตามพระราชบัญญัติฉบับนี้ 3) พระราชบัญญัติควบคุมคุณภาพอาหารสัตว พ.ศ.2558 และกฎหมายลําดับ
รองที่ อ อกตามพระราชบั ญ ญั ติ นี้ 4) พระราชบั ญ ญั ติ ส ถานพยาบาล พ.ศ.2541 และ 5) พระราชบั ญ ญั ติ
สถานพยาบาลสัตว พ.ศ.2533 ถึงแมจะพบวามีกฎหมายมากมายหลายฉบับในการปองกันและควบคุมการใชยา
ปฏิชีวนะ แตยังพบวามาตรการทางกฎหมายที่มีอยูในปจจุบันยังไมดีพอที่จะใชปองกันและควบคุมการใช ยาปฏิชีวนะ
อันกอใหเกิดเชื้อดื้อยาตานจุลชีพไดอยางมีประสิทธิภาพ ปญหาทางดานกฎหมายมีดังตอไปนี้
1. ปญหาเกี่ยวกับตํารับยาปฏิชีวนะที่ใชกับมนุษยและสัตว ตามพระราชบัญญัติยา พ.ศ.2510 กําหนดให
ยาทุ ก ประเภทต อ งมี ก ารขึ้ น ทะเบี ย นตํ า รั บ ยา โดยผู มี สิ ท ธิ ยื่ น คํ า ขอขึ้ นทะเบี ย นตํ า รั บ ยาจะต อ งเป น บุ ค คล
ตามที่กฎหมายกําหนด และหากผูรับอนุญาตไมปฏิบัติตามจะมีโทษทางอาญาจําคุกไมเกินสามป ปรับไมเกินหาพัน
บาท หรือทั้งจําทั้งปรับ หรือมีผูฝาฝนผลิต ขาย หรือนําเขาหรือสั่งเจามาในราชอาณาจักรซึ่งยาที่ไมไดขึ้นทะเบียน
ตํารับยา ตองระวางโทษจําคุกไมเกินสามป หรือปรับไมเกินหาพันบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ ดังนั้น ตํารับยาใดที่มียา
ปฏิชีวนะเปนสวนผสม ไมวาจะเปนตํารับยาที่ใชกับมนุษยหรือสัตวจะตองมีการขึ้นทะเบียนตํารับยา แตจากการ
ตรวจสอบพบวาในปจจุบันพบวามีการลักลอบผลิต ขาย และนําเขายาที่มีสวนผสมของยาปฏิชีวนะที่ไมไดขึ้นทะเบียน
ตํารับยาเปนจํานวนมาก และมีการขายอยางไมเกรงกลัวกฎหมาย ไมวาจะเปนการขายตามรานชํา รานขายยา หรือ
ทางอินเตอรเน็ต และเมื่อเปรียบเทียบกับพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ.2535 เห็นวาบทลงโทษตามกฎหมายที่ใช

9
ศิริตรี สุทธจิตต , "สถานการณเชื้อดื้อยาในนานาประเทศ” สถานการณการใชยาปฏิชีวนะและเชื้อดื้อยา ระบบ
ติดตามเฝาระวัง และการควบคุม , (กรุงเทพมหานคร : คณะกรรมการกํากับทิศทางการวิจัยและพัฒนาระบบยาของไทย
สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข, 2552).
10
เพิ่งอาง.
วารสารนิติศึกษาไทย 707

บังคับในปจจุบันเปนความผิดที่มีอัตราโทษไมรุนแรงไมสามารถทําใหผูกระทําผิดเกรงกลัวและเปนบทบัญญัติที่ใชมา
เปนเวลานานทําใหบทลงโทษมีความลาสมัย ดังนั้น เพื่อใหทันตอสถานการณในปจจุบัน ควรมีการแกไขเพิ่มเติม
พระราชบัญญัติยา พ.ศ.2510 ในเรื่องบทลงโทษใหมีความรุนแรงมากยิ่งขึ้นจะตองไดรับโทษจําคุกตั้งแตหนึ่งปถึงหาป
และปรับสองแสนถึงสี่แสนบาท และควรบัญญัติเพิ่มเติมวาหากผูกระทําความผิดตามพระราชบัญญัติยา พ.ศ.2510 ได
กระทําความผิดตามพระราชบัญญัติฉบับนี้ซ้ําอีก ใหศาลมีอํานาจเพิ่มโทษที่จะลงแกผูกระทําผิดนั้นอีกกึ่งหนึ่งของอัตรา
โทษสําหรับความผิดนั้น เพื่อเปนการลงโทษจําเลยฐานไมเข็ดหลาบ
2. ปญหาการขาดมาตรการทบทวนทะเบียนตํารับยาปฏิชีวนะที่ใชกับมนุษยและสัตว ตามพระราชบัญญัติยา
พ.ศ.2510 กําหนดวาหากมีการจดทะเบียนยาปฏิชีวนะสํา เร็จ ทะเบียนตํารับยาที่ไดรับอนุญาตแลวนั้นสามารถ
ใชไดตลอดไป ตราบใดที่ยังคงมีการผลิตหรือการนําเขามาในราชอาณาจักรไมเกินเวลา 2 ปติดตอกัน ถึงแมวายา ที่
ขึ้นทะเบียนจะลาสมัย ตํารับยาไมมีสรรพคุณ มีอันตราย หรือมีคุณภาพที่ไมเหมาะสม ก็ยังสามารถขายไดตอไป สงผล
เสี ย หายอย างรายแรงตอสุ ขภาพของมนุษย ผู เขีย นเห็ น ว าควรแกไ ขเพิ่ มเติมพระราชบั ญญั ติย า พ.ศ.2510 ให มี
มาตรการในการทบทวนทะเบียนตํารับยาทั้งยาเกาและยาใหม ไมวาจะเปนการกําหนดอายุทะเบียนยา เมื่อครบ
กําหนดจะตองมีการขออนุญาตเปนราย ๆ ไป และกําหนดการทบทวนตํารับยาใหมหลังจากวางจําหนายแลวเปนเวลา
5 ป รวมทั้งมีมาตรการการทบทวนตํารับยาเกาในทันทีที่สงสัยวาอาจไมมีประสิทธิผล
3. ปญหาการเพิกถอนทะเบียนตํารับยาที่ใชในมนุษยและสัตว ตามพระราชบัญญัติยา พ.ศ.2510 สามารถทํา
ไดเพียงวิธีเดียว คือ ใหรัฐมนตรีวาการกระทรวงสาธารณสุขโดยคํา แนะนําของคณะกรรมการยา สั่งใหเพิกถอน
ทะเบียนตํารับยาโดยประกาศในราชกิจจานุ เบกษาเพี ยงเทานั้น กอใหเกิดความลาชา ของการเพิกถอนทะเบี ย น
ตํ า รั บ ยา หรื อ ป ญ หาที่ ป ระชาชนไม ส ามารถฟ อ งศาลปกครองเพื่ อ ขอเพิ ก ถอนทะเบี ย นตํ า รั บ ยาได ด ว ยตนเอง
ผูเขียนเห็นวาปญหาดานเชื้อดื้อยาตานจุลชีพเปนปญหาของสังคมในวงกวาง และตองมีการแกปญหานี้ดวยความ
รวดเร็ว รอบคอบ มีการพิจารณาจากหลาย ๆ ดาน ดังนั้น จึงควรมีการแกไขพระราชบัญญัติยา พ.ศ.2510 โดยมีการ
เพิ่มบทบัญญัติในเรื่องการมีสวนรวมของประชาชนลงไปในพระราชบัญญัติดังกลาว ใหประชาชนมีอํานาจในการเสนอ
เพิกถอนทะเบียนตํารับยาที่ไมเหมาะสมและมีสวนสําคัญที่กอใหเกิดเชื้อดื้อยาออกจากทะเบียนได โดยสามารถเสนอ
รายชื่อตํารับยาที่ควรตองเพิกถอนโดยเสนอโดยตรงตอรัฐมนตรีวาการกระทรวงสาธารณสุขไดโดยตรง ทําใหเกิดความ
รวดเร็วมากยิ่งขึ้นในการพิจารณาเพิกถอนทะเบียนตํารับยา และมีการพิจารณาจากภาคประชาชนซึ่งเปนผูบริโภค
โดยตรง ทําใหไดรับขอมูลในการพิจารณาจากหลาย ๆ ดาน เปนการยกระดับการเพิกถอนทําเบียนตํารับ ยาที่ มี
ประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
4. ปญหาการการขาดการตรวจสอบการจายยาปฏิชีวนะ ประเทศไทยขาดการติดตามตรวจสอบการจายยา
ปฏิชีวนะในรานขายยา เนื่องจากกฎกระทรวงสาธารณสุข เรื่องการขออนุญาตและการออกใบอนุญาตขายยาแผน
ปจจุบัน พ.ศ.2556 กําหนดใหจัดทําบัญชีการซื้อยา การขายยา ประเภทยาอันตรายและยาควบคุมพิเศษเทานั้น แตไม
มีการบังคับใหรานขายยาทําบัญชีการซื้อ การขายยาปฏิชีวนะเปนการเฉพาะแตอยางใด ควรมีการออกกฎกระทรวง
สาธารณสุขเรื่องขอกําหนดการติดตามตรวจสอบยาปฏิชีวนะในรานขายยา โดยอาศัยอํานาจตามพระราชบัญญัติยา
พ.ศ.2510 มาตรา 5 เพื่อควบคุมใหรานขายยาทุกประเภทมีการจัดทําบัญชีการสั่งซื้อและสั่งจายยาปฏิชีวนะทุก
ประเภทไมวาจะเปนยาสามัญประจําบาน ยาอันตราย หรือยาควบคุมพิเศษ พร อมทั้งรายชื่อ ที่อยู และชองทางการ
ติดตอของผูปวยผูที่มาซื้อยาปฏิชีวนะไปใชอยางละเอียดเปนการเฉพาะ เพื่อใหงายตอการติดตามตรวจสอบการใชยา
ปฏิชีวนะ
5. ปญหาการกําหนดมาตรฐานการใชยาปฏิชีวนะในสัตว ตามพระราชบัญญัติมาตรฐานสินคาการเกษตร
พ.ศ.2551 ไดมีประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณเรื่องกําหนดมาตรฐานสินคาเกษตร : ขอปฏิบัติการควบคุม
การใชยาสัตว กําหนดหลักเกณฑและวิธีตรวจประเมินการใชยาปฏิชีวนะในสัตว แตอยางไรก็ตาม กฎหายมิไดมีการ
กําหนดบทลงโทษแกผูที่ฝาฝนไมปฏิบัติตามประกาศฉบับนีแ้ ตอยางใด ควรบัญญัติเพิ่มเติมในพระราชบัญญัติมาตรฐาน
สิ น คา เกษตร พ.ศ.2551 กํา หนดบทลงโทษในกรณี ที่ ผู ป ระกอบการไม ปฏิ บั ติ ต ามประกาศกระทรวงที่ ออกตาม
มาตรา 15 และมาตรา 16 เพื่อใหมาตรการในการควบคุมการใชยาปฏิชีวนะในสัตวมีประสิทธิภาพตอการบังคับใช
708 Thailand Journal of legal Study

มากยิ่งขึ้น อยางไรก็ตาม ประกาศกระทรวงดังกลาวครอบคลุมถึงการการใชยาปฏิชีวนะเพียงสัตวที่เลี้ยงไวเพื่อบริโภค


เทานั้น ไมรวมถึงสัตวตาง ๆ ไมวาจะเปน สัตวเลี้ยง สัตวที่ใชเปนยานพาหนะ สัตวที่เลี้ยงเพื่อขายโดยไมมีจุดประสงค
เพื่อบริโภค สัตวที่เลี้ยงไวเพื่อศึกษา เปนตน สัตวดังกลาวเหลานี้หากมีการใชยาปฏิชีวนะอยางไมถูกตอง จะกอใหเกิด
เชื้อดื้อยาตานจุลชีพ และมีผลกระทบโดยตรงตอมนุษย และสิ่งแวดลอมเปนอยางมาก ผูเขียนมีความเห็นวาประเทศ
ไทยควรมีกฎหมายควบคุมเรื่องการใชยาปฏิชีวนะในสัตวโดยเฉพาะ เพื่อที่จะกําหนดหลักเกณฑควบคุมการใช ย า
ปฏิชีวนะในสัตวใหเปนไปในทิศทางเดียวกันในทุกกรณี
6. ปญหามาตรการการควบคุม ติดตาม และตรวจสอบการจายยาปฏิชีวนะในสถานที่ตาง ๆ ดังตอไปนี้
(1) กรณีที่หนึ่ง การแกปญหาการซื้อยาปฏิชีวนะมารับประทานเอง หรือซื้อมาเพื่อนํามาใชกับสัตวโดยไมผาน
การจายยาจากเภสัชกรหรือสัตวแพทยจากรานชําหรือทางอินเตอรเน็ต จะตองมีการกําหนดยกเลิกมิใหยาสามัญ
ประจําบานที่มีสวนผสมของยาปฏิชีวนะขายไดในรานขายของชําทั่วไป รวมทั้งกําหนดมิใหมีการขายยาดังกลาวใน
ชองทางอื่น ๆ และตองมีการบัญญัติเพิ่มเติมในเรื่องบทลงโทษหากพบวามีการฝาฝนวาร านขายของชํานํายาสามัญ
ประจําบานที่มีสวนผสมของยาปฏิชีวนะมาขายหรือมีการขายยาดังกลาวในอินเตอรเน็ต โดยผูฝาฝนตองไดรับโทษ
ทางอาญา โดยจะตองไดรับโทษจําคุกตั้งแตหนึ่งปถึงหาป และปรับสองแสนถึงสี่แสนบาท มีบทบัญญัติเพิ่มเติมวา
หากผูกระทําความผิดตามพระราชบัญญัติยา พ.ศ.2510 ไดกระทําความผิดตามพระราชบัญญัติฉบับนี้ซ้ําอีก ใหศาลมี
อํานาจเพิ่มโทษที่จะลงแกผูกระทําผิดนั้นอีกกึ่งหนึ่งของอัตราโทษสําหรับความผิดนั้น เพื่อเปนการปราบปรามผูกระทํา
ความผิดมิใหเกิดการกระทําผิดซ้ําขึ้นอีก
(2) กรณีที่สอง สถานพยาบาลเปนสถานที่ที่ มีการแพรกระจายเชื้อดื้อยาปฏิชีวนะสูงที่สุดแตกลับพบว า
พระราชบัญญัติสถานพยาบาล พ.ศ.2541 ไมมีขอบังคับใด ๆ ที่กําหนดมาตรการในการควบคุม ติดตาม และตรวจสอบ
การจายยาปฏิชีวนะในสถานพยาบาล ผูเขียนเห็นวาควรใชอํานาจตามที่พระราชบัญญัติสถานพยาบาล พ.ศ. 2541
มาตรา 15 ที่ไดกําหนดใหรัฐมนตรีวาการกระทรวงสาธารณสุขโดยคําแนะนําของคณะกรรมการสถานพยาบาล ออก
ประกาศกระทรวงสาธารณสุ ขกําหนดมาตรฐานการบริการของสถานพยาบาล เรื่อง การควบคุ ม ติ ด ตาม และ
ตรวจสอบการจายยาปฏิชีวนะในสถานพยาบาล ไมวาจะเปนการกําหนดใหจัดทําบัญชีการสั่งซื้อยาปฏิชีวนะเขามาใช
ในสถานพยาบาล ทําบัญชีการสั่งจายยาปฏิชีวนะแกผูปวย พรอมทั้งรายชื่อ ที่อยู และชองทางการติดตอของผูปวยผูที่
ไดรับยาปฏิชีวนะ โดยรายงานบัญชีดังกลาวไปยังคณะกรรมการอาหารและยาทุก ๆ สี่เดือน เพื่อเปนการติดตามและ
ตรวจสอบวามีการสั่งยาปฏิชีวนะเขามาในสถานพยาบาลและการจายยาปฏิชีวนะ ออกไปใหผูปวยมีความสัมพันธกัน
หรือไม กําหนดใหมีมาตรการในการควบคุมการใชและหลักเกณฑการใชยาปฏิชีวนะของผูปวยภายในสถานพยาบาล
จะตองออกกําหนดขอบังคับในการปฏิบัติตอผูปวยที่มีความเสี่ยงที่จะติดเชื้อดื้อยาและผูปวยที่ติ ดเชื้อดื้อยาตานจุลชีพ
และออกขอกําหนดใหในอนาคตสถานพยาบาลประเภทที่รับผูปวยไวคางคืนจะตองมีผูเชี่ยวชาญเกี่ยวกับการใชยา
ปฏิชีวนะประจําอยูอยางนอยโรงพยาบาลละหนึ่งคน เพื่อตรวจสอบการใชยาปฏิชีวนะภายในสถานพยาบาลวามีการใช
อยางถูกตองและเหมาะสมหรือไม และจะตองกําหนดบทลงโทษทางอาญาหากวาผูรับอนุญาตฝาฝนไมปฏิบัติตาม
ประกาศกระทรวงฉบับดังกลาว โดยกําหนดเพื่อใหการบังคับใชประกาศดังกลาวมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นโดยบัญญัติ
เพิ่มเติม ในพระราชบัญญัติสถานพยาบาล พ.ศ.2541 หมวด 5 เรื่องบทกําหนดโทษ
(3) กรณีที่สาม สถานพยาบาลสัตว สถานการณการใชยาปฏิชีวนะในสถานพยาบาลสัตวมีความคลายคลึงกับ
สถานพยาบาลของมนุษย เกิดการใชยาปฏิชีวนะอยางไมเหมาะสม ใชมากเกินความจําเปนโดยขาดการตรวจสอบ
ก อ ให เ กิ ด การดื้ อ ยาต า นจุ ล ชี พ ในสั ต ว ไ ด จากการศึ ก ษาพบว า พระราชบั ญ ญั ติ ส ถานพยาบาลสั ต ว พ.ศ.2533
มิไดมีมาตรการในการควบคุม ติดตาม และตรวจสอบการจายยาปฏิชีวนะในสถานพยาบาลสัตวแตอยางใด ผูเขียนเห็น
วาควรใชอํานาจตามพระราชบัญญัติสถานพยาบาลสัตว พ.ศ.2533 มาตรา 5 ที่ไดกําหนดใหรัฐมนตรีวาการกระทรวง
เกษตรและสหกรณมีอํานาจในการกําหนดกิจการอื่นกับออกประกาศเพื่อใหปฏิบัติn ตามพระราชบัญญัตินี้ได โดยออก
ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณกําหนดมาตรฐานการบริการ ของสถานพยาบาลสัตว เรื่อง การควบคุม ติดตาม
และตรวจสอบการจายยาปฏิชีวนะในสถานพยาบาลสัตว เปนการเฉพาะ ไมวาจะเปนการจัดทําบัญชีการสั่งซื้อยา
ปฏิชีวนะที่นํามาใช ในสถานพยาบาลสัตว จัดทําบัญชี การสั่งจายยาปฏิชีวนะแกสัตวปวยที่มีบุคคลนํามารักษาใน
วารสารนิติศึกษาไทย 709

สถานพยาบาลสัตวของตน พรอมทั้งจดบันทึกรายชื่อ ที่อยู และชองทางการติดตอผูที่นําสัตวปวยมารับการรักษา โดย


รายงานบัญชีดังกลาวไปยังคณะกรรมกระทรวงเกษตรและสหกรณทุก ๆ สี่เดือน เพื่อเปนการติดตามและตรวจสอบวา
มีการสั่งยาปฏิชีวนะเขามาในสถานพยาบาลสัตวและการจายยาปฏิชีวนะออกไปใหสัตวปวยมีความสัมพันธกันหรือไม
พรอมทั้งตองมีการกําหนดมาตรการในการควบคุมการใชและหลักเกณฑการใชยาปฏิชีวนะในสัตวปวยที่เขามารับการ
รักษายังสถานพยาบาลสัตว จะตองออกกําหนดขอบังคับในการปฏิบัติตอสัตวปวยที่มีความเสี่ยงจะติดเชื้อดื้อยาและ
สัตวที่ติดเชื้อดื้อยาตานจุลชีพ และออกขอกําหนดใหในอนาคตสถานพยาบาลสัตวประเภทที่มีที่พักสัตวปวยไวคางคืน
ไดจะตองมีสัตวแพทยผูเชี่ยวชาญในดานการใชยาปฏิชีวนะในสัตวป ระจําอยูในสถานพยาบาลสัตวนั้นอยางนอย
โรงพยาบาลละหนึ่งคน เพื่อตรวจสอบวามีการใชยาปฏิชีวนะในสัตวอยางถูกตองและเหมาะสมหรือไม และเพื่อให
การบังคับใชประกาศดังกลาวมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น จะตองกําหนดบทลงโทษทางอาญาหากวาผูรับอนุญาตฝาฝน
ไมปฏิบัติตามประกาศกระทรวงฉบับดังกลาวโดยบัญญัติเพิ่มเติมใน พระราชบัญญัติสถานพยาบาลสัตว พ.ศ.2533
หมวด 5 เรื่องบทกําหนดโทษ

บทสรุปและขอเสนอแนะ
จากการศึ กษาพบว า ประเทศไทยมีแผนปฏิบัติการในการควบคุมเชื้อดื้ อยาตานจุลชี พโดยตรง ทั้ ง ยั งมี
มาตรการทางกฎหมายมากมายหลายฉบับในการจั ดการเกี่ยวกับการปองกันและควบคุมการใชยาปฏิชีวนะ แตยัง
พบวาแนวนโยบายและมาตรการทางกฎหมายที่มีอยูในปจจุบันยังไมดีพอที่จะใชปองกันและควบคุมการใชยาปฏิชีวนะ
อันกอใหเกิดเชื้อดื้อยาปฏิชีวนะไดอยางมีประสิทธิภาพ เพราะฉะนั้นจึงตองมีการแกไขเพิ่มเติมเพื่อให การปองกันและ
ควบคุมการดื้อยาปฏิชีวนะมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ไมวาจะเปนการแกไขเรื่องเพิ่มยุทธศาสตรการลงทุนเพื่อเพิ่ม
ศักยภาพของการวิจัยพัฒนาตัวยา เครื่องมือวินิจฉัยโรค วัคซีนชนิดใหม ๆ ลงไปในแผนยุทธศาสตรการจัดการการดื้อ
ยาตานจุลชีพประเทศไทย พ.ศ. 2560 – 2564 แกไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติยา พ.ศ.2510 เพิ่มมาตรการในการ
ทบทวนทะเบียนตํารับยา เพิ่มเติมใหประชาชนสามารถเสนอชื่อทะเบียนตํารับยาที่ควรไดรับการเพิกถอนโดยใหเสนอ
ไดโดยตรงตอรัฐมนตรีวาการกระทรวงสาธารณสุข บัญญัติแกไขบทลงโทษใหมีความรุนแรงมากยิ่งขึ้นในเรื่อ งของการ
ลักลอบผลิต ขาย หรือนําเขายาปฏิชีวนะที่ไมไดขึ้นทะเบียนตํารับยา บัญญัติหามมิใหขายยาปฏิชีวนะในรานชําและ
ทางอินเตอรเน็ต หากฝาฝนมีโทษทางอาญา กําหนดใหศาลมีอํานาจพิพากษาเพิ่มเติมโทษจําเลยกึ่งหนึ่งหากกระทําผิด
ตามพระราชบัญญัติยา พ.ศ.2510 นี้ซ้ําอีก ควรออกกฎกระทรวงสาธารณสุขกําหนดใหรานขายยาทุกประเภทจัดทํา
บัญชีรายการยาปฏิชีวนะเปนการเฉพาะ กําหนดบทลงโทษแกผูที่ฝาฝนไมปฏิบัติตามประกาศกระทรวงเกษตรและ
สหกรณเรื่องกําหนดมาตรฐานสินคาเกษตร : ขอปฏิบัติการควบคุมใชยาสัตว ประเทศไทยควรมีกฎหมายควบคุมเรื่อง
การใชยาปฏิชีวนะในสัตวโดยเฉพาะ เพื่อที่จะกําหนดหลักเกณฑควบคุมการใชยาปฏิชีวนะในสัตวใหเปนไปในทิศทาง
เดียวกันในทุกกรณี ควรออกประกาศกระทรวงสาธารณสุขกําหนดมาตรฐาน การบริการของสถานพยาบาล เรื่อง การ
ควบคุม ติดตาม และตรวจสอบการจายยาปฏิชีวนะในสถานพยาบาลและออกประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ
กําหนดมาตรฐานการบริการของสถานพยาบาลสัตว เรื่อง การควบคุม ติดตาม และตรวจสอบการจายยาปฏิชีวนะใน
สถานพยาบาลสัตวเปนการเฉพาะ
710 Thailand Journal of legal Study

บรรณานุกรม

หนังสือ

อังคณา สมนัสทวีชัย กับพวก. “วิวัฒนาการของความรวมมือภายใตแนวคิด “สุขภาพหนึ่งเดียว” ในประเทศไทย.” ใน


วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข. จัดพิมพโดยสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข. หนา 292 กรุงเทพมหานคร :
สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข, 2557.
ถวิลวดี บุรีกุล . “การมีสวนรวม : แนวคิด ทฤษฎีและกระบวนการ.” เอกสารประกอบการศึกษาดูงานของคณะ
กรรมาธิ ก ารพั ฒ นาการเมื อ งและการมี ส ว นร ว มของประชาชน วุ ฒิ ส ภา สถาบั น พระปกเกล า .
กรุงเทพมหานคร, 2551.
คณะกรรมการประสานงานและบูรณาการงานดานเชื้อดื้อยาตานจุลชีพ . ภูมิทัศนของสถานการณและการจัดการการ
ดื้อยาตานจุลชีพในประเทศไทย. กรุงเทพมหานคร : สํานักพิมพอักษรกราฟฟคแอนดดีไซน, 2558.
ศิริตรี สุทธจิตต. "สถานการณเชื้อดื้อยาในนานาประเทศ” สถานการณการใชยาปฏิชีวนะและเชื้อดื้อยา ระบบติดตาม
เฝาระวัง และการควบคุม. กรุงเทพมหานคร : คณะกรรมการกํากับทิศทางการวิจัยและพัฒนาระบบยา
ของไทยสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข, 2552.

สื่ออิเล็กทรอนิกส

แพทยเวชศาสตรครอบครัว และ เวชศาสตรปองกัน ร.พ.พนมสารคาม อ.พนมสารคาม จ.ฉะเชิงเทรา. "สามเหลี่ยม


เขยื้อนภูเขา "สามารถแกปญหาสังคมที่ยากๆ เมื่อทําตามแนวทาง.” https://www.bloggang.com
/viewdiary.html. 26 พฤษภาคม 2561.

เอกสารอื่น ๆ

แผนยุทธศาสตรการจัดการการดื้อยาตานชีพประเทศไทย พ.ศ.2560 – 2564

ELECTRONIC MEDIA

The European Commission's priorities. “EU Action on Antimicrobial Resistance.” https://ec.europa


.eu/health/amr/antimicrobial-resistance_en. July 10, 2018.

OTHERS

Case T-13/99 Pfizer Animal Health SA v Council of the European Union (2002)
Case T-70/99 Alpharma Inc. v Council of the European Union (2002)
วารสารนิติศึกษาไทย 711

การคุมครองผูบริโภคกรณีการปลอยมลพิษในรถยนตไมเปนไปตามมาตรฐานบังคับ
CONSUMER PROTECTION AGAINST CAR POLLUTANT EMISSION IN VIOLATION
OF MANDATORY STANDARD

นวลกมล ยูถะสุนทร
Nuankamon U-thasoontorn
บทคัดยอ
แมประเทศไทยจะมีกฎหมายกําหนดมาตรฐานการปลอยมลพิษของรถยนตเอาไวอยูแลว โดยรับเอาการ
มาตรฐานการปลอยมลพิษของสหภาพยุโรปมาปรับใชนั่นคือ มาตรฐาน Euro 4 ที่นํามาปรับใชกับรถยนตขนาดเล็กที่
ใชเครื่องยนต และเครื่องยนตดีเซลตั้งแต พ.ศ. 2555 แตการที่มาตรการควบคุมกํากับดูแลใหความสําคัญกับชวงกอน
จําหนายมากกวาภายหลังการจําหนาย หากความไมไดมาตรฐานการปลอยมลพิษนั้นถูกพบภายหลังที่มีการจําหนาย
ไปแลว ยอมเปนไปไดยากที่ผูบริโภคจะรูและพิสูจนวาความผิดปกตินั้น นอกจากนี้ ภายใตกฎหมายตาง ๆ ที่เกี่ยวของ
กับรถยนต อาทิ กฎหมายสงเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดลอม กฎหมายรถยนต กฎหมายขนสง กําหนดใหเปนหนาที่
ของเจาของ ผูครอบครอง ผูใชตองเปนผูรับผิดชอบถึงความไดมาตรฐานในดานตาง ๆ ของรถยนตทั้งดานความมั่นคง
ปลอดภัย และมาตรฐานการปลอยมลพิษ
ดวยเหตุนี้ จึงมีประเด็นเกี่ยวกับการคุมครองผูบริโภคที่ควรพิจารณาวา ผูประกอบการควรมีหนาที่อยางไร
เพื่อรับผิดชอบตอความไมไดมาตรฐานการปลอยมลพิษของรถยนตขนาดเล็ก เชน การตรวจติดตามภายหลังการ
จําหนายจากรถยนตที่ใชอยูจริงโดยไมจํา กัด เพียงรถยนตที่ อยู ในสายการผลิต หรือที่อยูในความครอบครองของ
ผูประกอบการ เปนตน ผูเขียนจึงไดนําเสนอมาตรการควบคุมกํากับ การคุมครองผูบริโภค และบทลงโทษที่ควรนํามา
ปรับใชกับกรณีมาตรฐานการปลอยมลพิษ

คําสําคัญ
มลพิษ, มลพิษทางอากาศ, รถยนต, การคุมครองผูบริโภค, มาตรฐานการปลอยมลพิษ, มาตรฐานรถยนต,
การผลิตรถยนต, ผลิตภัณฑอุตสาหกรรม, มอก.

ABSTRACT
Thailand has adopted the European Union’s vehicle emission standard, Euro 4, into its own
emission relating regulations in order to control light-duty vehicles and vehicles with diesel engines
ever since 2011. However, those regulating measures mainly focus on the presale activities of
automobile manufacturers and importers instead of the post sales activities. Once the
nonconformity of the emission standards occurs after the sale, it is hard for consumers to be aware
of it. And to prove such nonconformity has occurred during the presale stage is even more. Moreover,
Thailand’s vehicle relating laws, such as the Improvement and Conservation of National
Environmental Quality Act, the Vehicle Act, the Transport Act, impose the duty to the owners,


นักศึกษาปริญญาโท หลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต สาขากฎหมายธุรกิจ คณะนิติศาสตรมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร
: nuankamon_un@yahoo.com
Graduate Student of Master of Laws Program in Business Law, Faculty of Law, Thammasat
University. Email address : nuankamon_un@yahoo.com
712 Thailand Journal of legal Study

possessors and users of the vehicles to comply with the relating standards including the safety,
security, and emission standards.
Thus, consumer protection concerns have been raised. There are many points to consider,
including the responsibilities of automobile industry entrepreneurs towards nonconformity of light-
duty vehicle emission standard, namely the post sale inspection activities for vehicles in use, not
only the vehicles in their production lines or possession. For this reason, this thesis has proposed
measures on emission control and supervision, and also consumer protection measures and penalty
relating to emission standard issues, including mandatory vehicle emission standard tests to be
conducted by entrepreneurs on their sold vehicles.

Keywords
pollution, air pollutant, automobile, consumer protection, emission standard, automobile
standard, automobile manufacturing, industrial product, TIS
วารสารนิติศึกษาไทย 713

บทนํา
จากกรณีปญหาการปลอยมลพิษในรถยนตไมเปนไปตามมาตรฐานของกลุมบริษัท Volkswagen ผูเขียนเห็น
วาแมประเทศไทยจะยังไมมีปญหาลักษณะเดียวกันกับกรณีของ Volkswagen แตมิไดหมายความวาปญหานั้นจะไม
เกิดขึ้น ซึ่งเมื่อพิจารณาถึงมาตรการควบคุมกํากับดูแล ผูประกอบการรถยนต และการคุมครองผูบริโภคจากการปลอย
มลพิษของรถยนตตามกฎหมายไทยแลวพบวามีประเด็นสําคัญที่ควรพิจารณา ดังนี้
1. มาตรฐานการปลอยมลพิษในรถยนตขนาดเล็กยังไมเขมงวด
เนื่องจากมาตรฐานการปลอยมลพิษของรถยนตขนาดเล็กที่ใชเครื่องยนตเบนซินและเครื่องยนตดีเซลของ
ประเทศไทยที่ใชอยูในปจจุบันมีการแกไขลาสุดเมื่อ พ.ศ. 2555 เปนไปตามมาตรฐานของสหภาพยุโรป คือ Euro 4 ใช
มาเปนระยะเวลาพอสมควรแลว จึงควรปรับใชมาตรฐานใหมที่ทันสมัยมากขึ้น
2. การขาดขอมูลสําคัญ มาตรการบังคับ และบทลงโทษเกี่ยวกับการแสดงขอมูลดานการปลอยมลพิษใน
รถยนตใหเปนไปตามมาตรฐานบังคับ
2.1 เครื่องหมายมาตรฐานบังคับ (มอก.) มีรายละเอียดไมมากเพียงพอ เนื่องจากกฎหมายบังคับขั้นต่ําเพียง
แคการแสดงรูปเครื่องหมายมาตรฐานบังคับพรอมระบุเลขมาตรฐานบังคับ และชื่อผูรับใบอนุญาตเทานั้น ซึ่งขอมูลบน
เครื่องหมายมาตรฐานกลับมีความชัดเจนนอยกวาขอมูลที่ปรากฏอยูใน Eco Sticker ทั้งที่ มีวัตถุประสงคเพื่อคุมครอง
ผูบริโภคใหไดใชสินคาที่มีมาตรฐานและปลอดภัย
2.2 Eco Sticker
มีประเด็นสําคัญที่ตองพิจารณา คือ ความมีผลบังคับทางกฎหมาย เนื่องจาก ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม
เรื่อง การแสดงขอมูลรถยนตตามมาตรฐานสากล วันที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2558 ไมปรากฏการอางอิงกฎหมายระดับ
พระราชบั ญ ญั ติ ฉ บั บ ใดในการออกประกาศ ทํ า ให ป ระกาศฉบั บ ดั ง กล า วไม มี ผ ลบั ง คั บ ที่ เ ข ม แข็ ง เพี ย งพอให
ผูประกอบการรถยนตตองปฏิบัติตาม
เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศสหรัฐอเมริกาที่มีการกํา หนดชัดเจนเรื่องการติดฉลากรถยนตตาม Automobile
Information Disclosure Act (AIDA)1 อันเปนฉลากระบุขอมูลทั่วไป เนื้อหาใกลเคียงกับ Eco Sticker ของประเทศ
ไทย Section 1233 ของ AIDA บังคับใหผูผลิตตองติดฉลากรถยนตใหมที่ผลิตหรือนําเขา มีบทลงโทษทางอาญาหาก
และหามมิใหผูใดนําฉลากซึ่งติดอยูกับรถยนตใหมนั้นออกหรือเปลี่ยนแปลงขอมูลในฉลากนั้นกอนสงมอบความดูแล
ครอบครองอยางแทจริง (actual custody and possession) แกผูบริโภค หากฝาฝนตองระวางโทษปรับไมเกิน
1,000 ดอลลารสหรัฐ หรือจําคุกไมเกิน 1 ป หรือทั้งจําทั้งปรับ โดยถือการกระทําความผิดตอรถยนตหนึ่งคันถือเปน
ความผิดหนึ่งกรรม2
2.3 โฆษณา
แมมีการกําหนดใหมีการติด Eco Sticker ตามที่ไดกลาวมาขางตน แตก็ไมไดบังคับถึงขนาดใหจะตองมีการ
แสดงข อ มู ล ใน Eco Sticker ในสื่ อ โฆษณาใดอี ก หากพิ จ ารณาเปรี ย บเที ย บกั บ ต า งประเทศ เช น Directive
1999/94/EC ของสหภาพยุโรป จะพบวานอกจากการกําหนดใหตองมีการติดฉลาก (Article 3) ในลักษณะเดียวกับ
Eco Sticker แลว Directive นี้งยังกําหนดใหผูประกอบการแสดงขอมูลในโปสเตอร หรือเอกสารประกอบการขาย
อื่นๆเพิ่มเติมดวย (Article 5)
ประเทศสาธารณรัฐเกาหลีก็มีกฎหมาย Fair Labeling and Advertising Act กํากับดูแลการโฆษณาและติด
ฉลาก เพื่อใหการใชกฎหมายฉลากและการโฆษณาที่กําหนดใหผูประกอบการตองเผยแพรขอมูลสําคัญของสินคา
(Article 3) มีความชัดเจน ไดจัดทําคูมือการเผยแพรขอมูลที่สําคัญ ซึ่งคูมือนั้นใหครอบคลุมถึงประเด็นทางสิ่งแวดลอม
ดวย

1
See also United States Code Title 15 Section 1232 – Label and entry requirements
2
See also United States Code Title 15 Section 1233 - Violations and penalties.
714 Thailand Journal of legal Study

3. การขาดมาตรการการตรวจสอบรถยนตโดยผูประกอบการรถยนตภายหลังการจัดจําหนาย
แมประเทศไทยจะมีการกําหนดมาตรการตรวจติดตามภายหลังจากที่ผูผลิต หรือผูนําเขาไดรับอนุญาตใหผลิต
หรือนําเขารุนใด ๆ แลวก็ตาม แตเนนการตรวจติดตามรถยนตที่ยั งคงอยูในสายการผลิต หรือที่อาจตรวจตามสถานที่
จําหนาย ซึ่งเปนเพียงการตรวจสอบในชั้นกอนจัดจําหนายใหตองเปนไปตามมาตรฐานที่ขออนุญาต (Conformity of
Production) ไวเทานั้น ซึ่งประเด็นนี้ในตางประเทศมีการกําหนดใหผูประกอบการหรือหนวยงานที่รับผิดชอบตอง
ดําเนินการและประเทศไทยยังมิไดกําหนดเปนกฎหมายใหผูประกอบการจะตองทํา ไดแก
3.1 การทดสอบรถยนตภายหลังการจัดจําหนาย (In-service performance) หรือรูจักในชื่ออื่น ๆ เชน In-
service conformity หรือ In-use verification program เป นต น มาตรการนี้ ป รากฏทั้ ง ในประเทศสหรั ฐ อเมริก าตาม
กฎหมาย Clean Air Act (CAA)และสหภาพยุโรปตาม Regulation 715/2007 และRegulation 692/2008
3.2 การรับประกันรถยนตหรือเครื่องยนต และอุปกรณควบคุมการปลอยมลพิษ
ประเทศสหรัฐอเมริกากํา หนดให ผู ป ระกอบการต อ งให การรับ ประกัน รถยนต ห รือ เครื่อ งยนต (Section
207(i)(1)) ในทํานองเดียวกัน ประเทศสาธารณรัฐเกาหลีไดกําหนดใหผูประกอบการรถยนตจะตองใหการรับประกัน
การปลอยมลพิษของรถยนตตามเกณฑอายุการใชงาน และเกณฑระยะทาง ขึ้นอยูกับประเภทรถยนต สวนประเทศ
ออสเตรเลียภายใตกฎหมายคุมครองผูบริโภคแมไมไดใหการรับประกันเรื่ องการปลอยมลพิษโดยตรง แตก็มีการ
กําหนดการรับประกันรถยนตในเรื่องของความปลอดภัยโดยผูผลิต
4. การขาดมาตรการการคุมครองผูบริโภคกรณีรถยนตปลอยมลพิษไมเปนไปตามมาตรฐานบังคับ
4.1 ประมวลกฎหมายแพงและพาณิชย
ในประเด็นนี้ ผูเขียนไดวิเคราะหหลักกฎหมายความรับผิดตามสัญญาซื้อขายซึ่งความชํารุดบกพรอง ตาม
ประมวลกฎหมายแพงและพาณิชย มาตรา 472 เห็นวา การใชงานตามปกติวิสัยของรถยนต ยอมหมายถึงการที่
รถยนตนั้นสามารถขับเคลื่อนไดตามปกติ ไมมีอาการหรือความขัดของของรถยนต เครื่องยนต หรืออุปกรณสําคัญใน
การเดินรถขณะใชงานตามปกติ ดังนั้น หากการปลอยมลพิษไมกระทบตอการทํางานของเครื่องยนต การขับเคลื่อน
แลวยอมไมเขาขายทรัพยสินที่มีความชํารุดบกพรอง หากพิจารณาถึงเจตนาของผูซื้อ แมรถยนตจะมีการปลอยมลพิษ
ไมเปนไปตามมาตรฐานบังคับที่กฎหมายกําหนด แตหากความไมไดมาตรฐานนั้นไมกระทบต อสมรรถนะของรถยนต
แลว ผูเขียนเห็นวายอมไมถึงขนาดเสื่อมความเหมาะสมแกประโยชนอันมุงจะใชเปนปกติ เวนแตคูสัญญาทั้งสองฝายจะ
หยั่งรูเจตนาที่แทจริงในการซื้อขายรถยนตคันนั้นมาตั้งแตกอนหรือขณะทําสัญญา
นอกจากนี้ ในเรื่องความเสื่อมราคา ผูเขียนเห็นวาราคาขายตอรถยนตในทองตลาดประกอบดวยหลายปจจัย
การที่รถยนตปลอยมลพิษไมเปนไปตามมาตรฐานไมอาจถือเปนปจจัยหลักประการเดียวของความเสื่อมราคาได
ประเด็นตอมา คือ การขายตามตัวอยาง และการขายตามคําพรรณนา ตามประมวลกฎหมายแพง และ
พาณิชย มาตรา 503 ผูเขียนเห็นวาการขายตามตัวอยางนั้นใชไดกับกรณีที่ผูซื้อรถยนตไดตรวจตราดูตัวอยางรถยนตมา
กอนทําการซื้อ แตหากผูซื้อมีเจตนาซื้อรถยนตคันนั้นเพียงเพราะชอบรูปแบบ ยี่หอ โดยไมไดใสใจถึงมาตรฐานบังคับ
การปลอยมลพิษของรถยนต และซื้อรถยนตที่โชวนั้นเลย หรือหากรถยนตตัวอยางก็ไมเปนไปตามมาตรฐานบังคับการ
ปลอยมลพิษ เทากับผูซื้อก็ไมไดรับความคุมครองแตแรก เพราะถือวาผูขายสงมอบรถยนตตามตัวอยางแลว
4.2 การคุมครองผูบริโภคกรณีสินคาที่อาจเปนอันตรายตอผูบริโภคตามพระราชบัญญัติคุมครองผูบริโ ภค
พ.ศ. 2522
การปลอยมลพิษของรถยนตเปนการปลอยสูสิ่งแวดลอม ชั้นบรรยากาศโดยรอบของรถยนต หากไมไดเขาสู
รถยนตจนเปนอันตรายตอผูซื้อ ผูใช หรือผูโดยสารแลว ความไมไดมาตรฐานการปลอยมลพิษจึงไมอาจถือวารถยนต
นั้นมีเหตุอันควรสงสัยวาเปนอันตรายแกผูบริโภคโดยตรง
ในแงของธุรกิจควบคุม สํานักงานคณธกรรมคุมคุมครองผูบริโภค (สคบ.) มีอํานาจกําหนดใหการประกอบ
ธุรกิจขายสินคาหรือใหบริการนั้นเปนธุรกิจที่ควบคุมสัญญาได ผูเขียนเห็นวาการซื้อขายรถยนตอันเปนทรัพยสินมีราคา
สูงตามปกติยอมตองมีการทําสัญญา ซึ่งเขาขายสัญญาตามปกติประเพณีที่ตองทําเปน หนังสือที่ สคบ. มีอํานาจออก
วารสารนิติศึกษาไทย 715

ออกขอกําหนดเพื่อควบคุมลักษณะสัญญาซื้อขายรถยนตได อยางไรก็ตาม ปจจุบัน สคบ. ยังไมมีการควบคุมสัญญา


ซื้อขายรถยนตโดยเฉพาะ
4.3 การคุมครองผูบริโภคกรณีสินคาไมปลอดภัยตามพระราชบัญญัติความรับผิดตอความเสียหายที่เกิดขึ้น
จากสินคาที่ไมปลอดภัย พ.ศ. 2551
การที่รถยนตปลอยมลพิษไมเปนไปตามมาตรฐานบังคับของกฎหมายมาตรฐานผลิตภัณฑอุตสาหกรรมนั้น
หากเปนการปลอยภายนอกตัวรถยนต ยอมมีผลกระทบตอสิ่งแวดลอม และสังคม มากกวาชีวิต รางกาย สุขภาพ
อนามัย จิตใจ หรือทรัพยสิน ของบุคคลใดโดยเฉพาะ นอกจากนี้ ความชํารุดบกพรองในการปลอยมลพิษเปนความ
เสียหายตอตัวรถยนตอันเปนสินคานั้นเอง จึงไมอาจถือวาความเสียหายนั้นเปนความเสียหายที่ไดรับความคุมครองตาม
นัยมาตรา 4 ของพระราชบัญญัติความรับผิดตอความเสียหายที่เกิดขึ้นจากสินคาไมปลอดภัย พ.ศ. 2551 จึงไมอาจ
นําเอาหลักความรับผิดโดยเครงครัดมาบังคับใชกับผูประกอบการรถยนตได ผูบริโภคจึงไมไดรับความคุมครอง
4.4 รางพระราชบัญญัติฯนี้ไดเพิ่มเติมความคุมครองไปถึงสัญญาเชาซื้อ การเรียกคืนสินคา ขอสันนิษฐานของ
สินคาที่หากมีความชํารุดบกพรองภายใน 6 เดือนใหสันนิษฐานวาชํารุดบกพรองตั้งแตวันสงมอบ โดยผูบริโภคมีสิทธิ
เรียกใหผูประกอบธุรกิจซอมแซมหรือเปลี่ยนสินคา หากการซอมแซมไมอาจทําใหความชํารุดบกหรองหมดไปไดให
ผูบริโภคมีสิทธิบอกเลิกสัญญา ขอลดราคา เรียกคาเสียหาย หรือคาใชจายตางๆได
อยางไรก็ตาม ความคุมครองตามรางพระราชบัญญัตินี้ตองอาศัยความชํารุดบกพรองของสินคา ซึ่งแมในชั้นนี้
จะมีความประสงคจะใหมีความหมายกวางและครอบคลุมถึงกรณี สินคานั้นแตกตางออกไปจากขอตกลงที่เห็นเปน
ประจักษชัดแจงในสัญญา หรือความมุงหมายที่จะใชประโยชนจากสินคาที่ปรากฏในสัญญา แตกตางจากสภาพปกติ
ธรรมดาของสินคา หรือแตกตางจากการการใชประโยชนจากสินคาตามปกติ 3 แตยังไมอาจตีความไปถึงกรณีรถยนต
ปลอยมลพิษไมเปนไปตามมาตรฐานไดอยางชัดเจน
5 มาตรการลงโทษนอกเหนื อ จากบทลงโทษทั่ ว ไปสํ า หรั บ กรณี ร ถยนต ป ล อ ยมลพิ ษ ไม เ ป น ไปตาม
มาตรฐานบังคับ
กรณีการปลอยมลพิษไมเปนไปตามมาตรฐานบังคับไมเพียงแตจะกระทบตอผูบริโภคเทานั้น แตยังกระทบตอ
รัฐ สิ่งแวดลอม และสังคมโดยรวมจากมลพิษที่สะสมที่ปลอยออกมาเกินกวามาตรฐาน จึงควรมีการชดเชยความ
เสียหายนั้นตอรัฐและสังคมดวย ซึ่งในตางประเทศไทยมีการกําหนดบทลงโทษอื่นนอกเหนือจากบทลงโทษธรรมดา
เชน มาตรการลงโทษทางแพง (Civil Penalty) หรือคาปรับเพิ่มเติม (Penalty Surcharge) อันเปนการลงโทษทาง
การเงินตอผูประกอบการที่กระทําความผิดบางประการที่กฎหมายกนดไวไวเปนพิเศษ
ในประเทศสหรัฐอเมริกาไดมีการนํามาตรการลงโทษทางแพง Civil Penalty มาใชลงโทษผูประกอบการ
นอกเหนือไปจากบทลงโทษธรรมดา ในทํานองเดียวกันประเทศสาธารณรัฐเกาหลีมีหลักที่ใกลเคียงกัน คือ คาปรับ
เพิ่มเติม Penalty Surcharge ที่มีการปรับผูประกอบการรถยนตในกรณีที่มีการโฆษณาเท็จ หรือทําใหเขาใจผิด โดยใช
หลักเกณฑคํานวณในอัตรารอยละ 2 จากรายไดของผูประกอบการ

บทสรุป
ผูเขียนเห็นวาควรนําแนวทางกฎหมายของตางประเทศมาเปนแนวทางปรับรุงกฎหมายที่เกี่ยวของกับการ
ผลิต นําเขา จําหนายรถยนตใหตองเปนไปตามมาตรฐานการปลอยมลพิษในรถยนตใหเขมงวดมากยิ่งขึ้น ดังนี้
1. ปรับปรุงมาตรฐานการปลอยมลพิษในรถยนตขนาดเล็กที่ใชเครื่องยนตเบนซิน และเครื่องยนตดีเซลให
เขมงวดและทันสมัยมากขึ้น
2. กําหนดมาตรการการแสดงขอมูลสําคัญ มาตรการบังคับ และบทลงโทษ
2.1 ระบุขอมูลขั้นต่ําและวิธีการติดใหเหมาะสมยิ่งขึ้น

3
ดูเพิ่มเติม รางพระราชบัญญัติความรับผิดตอความชํารุดบกพรองของสินคา มาตรา 5
716 Thailand Journal of legal Study

2.2 แกไขกฎหมายการแสดงขอมูลตามมาตรฐานสากล โดยใหมีการกําหนดบทลงโทษการฝาฝนที่ชัดเจน


2.3 แกไขกฎหมายใหการแสดงขอมูลตามมาตรฐานสากลครอบคลุมถึงการโฆษณา
3. กําหนดใหผูประกอบการรถยนตมีหนาที่ตรวจสอบรถยนตภายหลังจัดจําหนาย และใหการรับประกัน ดวย
คาใชจายของผูผลิต หรือผูนําเขา
4. การกําหนดมาตรการเยียวยาผูบริโภค
4.1 ธุรกิจซื้อขายรถยนตตองเปนธุรกิจควบคุมสัญญา และกําหนดใหมาตรฐานการปลอยมลพิษของรถยนต
เปนสาระสําคัญของสัญญาที่ตองระบุในสัญญาซื้อขายรถยนต และสัญญาเชาซื้อรถยนต
4.2 กํ า หนดค า เสี ย หายเชิ ง ลงโทษตามกฎหมายความรั บ ผิ ด ต อ สิ น ค า ไม ป ลอดภั ย โดยการกํ า หนดข อ
สันนิษฐานวารถยนตที่ไมเปนไปตามมาตรฐานที่พระราชกฤษฎีกากําหนดไวถือเปนสินคาไปลอดภัย
5. กําหนดมาตรการลงโทษทางแพง (Civil Penalty) ตอผูประกอบการรถยนตกรณีการปลอยมลพิษของ
รถยนตไมเปนไปตามมาตรฐานบังคับ
วารสารนิติศึกษาไทย 717

บรรณานุกรม

หนังสือ

กิตติศักดิ์ ปรกติ. ผลงานวิจัยเสริมหลักสูตร พ.ศ. 2532 เรื่อง ความรับผิดเพื่อความชํารุดบกพรองในสัญญาซื้อขาย.


พิมพครั้งที่ 4. ปทุมธานี : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร, 2561.

ELECTRONIC MEDIAS

Bill Canis and Richard K. Lattanzio. “Congressional Research Service: U.S. and EU Motor Vehicles
Standards: Issues for Transatlantic Trade Negotiations. ” https://www.hsdl.org/?view
&did=751039. 5 Juanuary, 2018.
European Parliament. “Comparative Study on the Differences between the EU and US Legislation
on Emission in Automotive Sector”.http://www.europarl.europa.eu/RegData/etudes/
STUD/2016/587331/IPOL_STU(2016)587331_EN.pdf. 15 April, 2018.
Fair Trade Commission. “Korea Fair Trade Commission Annual Report 2017. ” http://eng.ftc.go.kr/
www/cmm/fms/FileDown.do?atchFileId=FILE_000000000081305&fileSn=0.11 July,
2018.
718 Thailand Journal of legal Study

มาตรการทางกฎหมายในการบําบัดรักษาผูกระทําความผิดเกี่ยวกับเพศ
LEGAL MEASURES SUPPORTING REHABILITATION OF SEX OFFENDERS
เนตรนภิส ลายทิพย*
Natnapit Laitip
บทคัดยอ
ความผิดเกี่ยวกับเพศในประเทศไทยมีมาจากหลายสาเหตุ โดยสาเหตุหนึ่งมาจากการมีพฤติกรรมกามวิปริต
ซึ่งสงผลใหบุคคลมีพฤติกรรมทางเพศที่แตกตางจากคนทั่วไป เชน การขมขืน การชอบมีเพศสัมพันธกับเด็ก เปนตน
ทําใหขาดความสามารถในการควบคุมตนเอง เมื่อไดรับการกระตุนใหตื่นตัวทางเพศในประเทศไทยมีมาตรการทาง
กฎหมายในการบําบัดรักษาผูกระทําความผิดเกี่ยวกับเพศ แตเปนเพียงโปรแกรมที่ใชแกไขฟนฟูผูกระทําความผิดเพื่อ
เตรียมความพรอมกอนปลอย จึงเปนหลักสูตรที่มีระยะเวลาที่สั้นและใชบําบัดรักษาผูกระทําความผิดเกี่ยวกับเพศทุก
ประเภท จึงไมเหมาะสมเพียงพอสําหรับผูกระทําความผิดที่มีพฤติกรรมกามวิปริต แตสําหรับประเทศสหรัฐอเมริกา รัฐ
แคลิฟอรเนียร และประเทศสาธารณรัฐเกาหลีมีมาตรการในการบําบัดรักษาผูกระทําความผิดเกี่ยวกับเพศที่มีความ
รุนแรงทางเพศหรือมีพฤติกรรมกามวิปริตเปนการเฉพาะโดยกําหนดใหมีการบําบัดรักษาทางจิตควบคูกับการลงโทษ
การบําบัดรักษาโดยการใชยาเพื่อลดปริมาณฮอรโมนในกรณีที่มีการกระทําความผิดซ้ํา ผูศึกษาจึงมุงศึกษาเพื่อนํา
มาตรการทางกฎหมายที่เหมาะสมมาปรับใชสําหรับผูกระทําความผิดเกี่ยวกับเพศที่มีพฤติกรรมกามวิปริตในประเทศ
ไทยตอไป

คําสําคัญ
ผูกระทําความผิดเกี่ยวกับเพศ, พฤติกรรมกามวิปริต, มาตรการทางกฎหมาย, มาตรการการบําบัดรักษา

ABSTRACT
Rape is one form of sexual offences under Thai criminal law. The wrongdoer’s commission
of sexual crime is rooted from several causes. One of them is that the wrongdoer has paraphilias
including preference in forced sex, sadism, pedophilia, and frotteurism. Once the wrongdoer is
convicted, sentenced and released, he or she is back in the society and likely to repeat the deviant
sexual act due to his or her mental stage and lack of self-control especially under arousal.
Imprisonment may put the wrongdoer away from the society temporarily but it is not an adequate
means to protect the society from crime committed due to paraphilias.
In the United States, State of California and South Korea, legal measures which specifically
aims at rehabilitating sex offenders have been implemented. The measure requires that a sex
offender undergo mental treatment during sentencing. Once it has been determined that the
offender is no longer a threat to the society, he or she will be released. In addition, certain legal
measure requires sex offenders convicted with repeated crime be treated with medicine before
being released from the penitentiary. This paper focuses on such issues and legal measures adopted
for rehabilitation of sex offenders in the United States, State of California and South Korea with an
*
นักศึกษาปริญญาโท หลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต สาขากฎหมายอาญา คณะนิติศาสตร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร
: 1607eteam@gmail.com
Graduate Student of Master of Laws Program in Criminal Law, Faculty of Law, Thammasat University.
Email address : 1607eteam@gmail.com
วารสารนิติศึกษาไทย 719

objective to adopt and apply them to rehabilitation of offenders with deviant sexual behavior in
Thailand in the future.

Keyword
sex offender, paraphilias, legal measure, rehabilitation,
720 Thailand Journal of legal Study

บทนํา
อาชญากรรมทางเพศมีสาเหตุจากหลายปจจัย โดยปจจัยหนึ่ง คือ การมีพฤติกรรมกามวิปริต เชน การขมขืน
การการชอบมีเพศสัมพันธกับสัตว การมีความสุขทางเพศจากการทําใหผูอื่นไดรับความเจ็บปวด การชอบเสียดสี
อวัยวะเพศกับบุคคลอื่น โดยพฤติกรรมกามวิปริตบางประเภทอาจนําไปสูการกระทําความผิดฐานอื่นทีร่ ุนแรงขึ้น เมื่อมี
การดําเนินคดีตามกฎหมายจนกระทั่งพนโทษ และปลอยตัวผูกระทําความผิดกลับเขาสูสังคมจะมีการกระทําความผิด
ซ้ําเพราะไมสามารถควบคุมตนเองไดเนื่องมากจากความผิดปกติทางจิตที่หยั่งรากลึก ดังนั้น การปองกันและการยับยั้ง
ไมใหคนประเภทนี้กระทําความผิดซ้ํา คือ การบําบัดรักษาแพทย ผูศึกษาจึงศึกษาเกี่ยวกับมาตรการทางกฎหมายที่
เกี่ยวของกับการบําบัดรักษาผูกระทําความผิดเกี่ยวกับเพศในประเทศสหรัฐอเมริกา รัฐแคลิฟอรเนีย และประเทศ
สาธารณรัฐเกาหลี รวมถึงมาตรการที่ใชบําบัดรักษา โดยผูศึกษาขอนําเสนอเปนลําดับ ดังนี้
1. กามวิปริตกับความผิดเกี่ยวกับเพศการขมขืนกระทําชําเรา
เปนอาชญากรรมทางเพศที่ปรากฏเดนชัดมากที่สุด เนื่องจากเปนภัยคุกคามความปลอดภัยในชีวิตของ
ประชาชนโดยจะมีความรุนแรงและความถี่มากขึ้น แตแมผูกระทําความผิดจะถูกดําเนินคดีตามกฎหมายแตเมื่อกลั บ
เขาสูสังคมก็จะมีการกระทําความผิดซ้ําอีก ซึ่งสาเหตุของการขมขืน สามารถแบงประเภท ไดแก พวกที่มีจิตใจปกติ
พวกซาดิสม พวกตอตานสังคม และพวกคนไขโรคจิต
กามวิปริต (Paraphilias) เปนความผิดปกติอยางหนึ่ง หมายถึง พฤติกรรมทางเพศที่แตกตางจากบุคคลทั่วไป มี
จินตนาการหรือการกระทําทางเพศที่ที่เกิดขึ้นซ้ําซาก ไมสามารถยับยั้งใจได อาจเกี่ยวของกับเด็กหรือบุคคลที่ไมยินยอม
โดยกามวิปริต ตามรายงานของ DSM IV-TR1 ไดแก การชอบอวดอวัยวะเพศ การเสียดสีอวัยวะของผูอื่น การชอบดูสิ่ง
ลามกอนาจาร การกระทําทางเพศกับวัตถุ การใสเสื้อผ าของเพศตรงขาม การมีความสุขทางเพศจากการถูกทรมาน
หรือทําใหเจ็บปวด การมีความสุขทางเพศจากการทําใหผูอื่นเจ็บปวดหรือทารุณผูอื่น การชอบมีเพศสัมพันธกับเด็ก
การขมขืน การมีเพศสัมพันธกับศพ โทรศัพทลามก และการมีเพศสัมพันธกับสัตว กามวิปริตที่เกี่ยวของกับความผิดฐาน
ขมขืนกระทําชําเรา ตามประมวลกฎหมายอาญา ไดแก การขมขืน การชอบมีเพศสัมพันธกับเด็ก การมีความสุขทางเพศ
จากความเจ็บปวดของผูอื่น และกามวิปริตที่อาจนําไปสูการขมขืน คือ การเสียดสีอวัยวะเพศของตนเองกับผูอื่น
2. การบําบัดรักษาผูกระทําความผิดเกี่ยวกับเพศที่มีพฤติกรรมกามวิปริต
ในหลายๆประเทศ มีมาตรการบําบัดรักษาผูกระทําความผิดเกี่ยวกับเพศที่มีพฤติกรรมกามวิปริต โดยสวนใหญมี
วิธีหลักที่ใชในการบําบัดรักษาจํานวน 3 วิธี ไดแก
(1) การบําบัดรักษาโดยการผาตัด
การบํ า บั ด รักษาโดยการผ า ตั ด (Surgical) แบ งออกเป น 2 ประเภท ได แ ก การผ า ตั ด ศัล ยกรรมระบบ
ประสาทนําเอาสวนของไฮโปทาลามัส (ตอมใตสมอง) ในสมองออกการผาตัดทําใหมีการทําลายตัวผลิตฮอรโมนเพศ
ชายรวมทั้งเทสโทสเทอโรน (testosterone) และการตอนโดยการผาตัด คือ การเอาลูกอัณฑะของเพศชายออก เปน
การกําจัดสิ่งสําคัญที่สงฮอรโมนเพศชาย (testosterone)2
(2) การบําบัดรักษาโดยการใชยา
เปนการใชยาในการรักษาผูกระทําผิด เพื่อใหการทําหมันโดยการผาตัดประสบความสําเร็จ มีการใชยา 2
ประเภท ประเภทแรก คื อ anti - libidinals ได แ ก medroxyprogesterone acetate (MPA), cyprote rone
acetate (CPA), luteinizing hormone-releasing hormone (LHRH) inhibitors แ ล ะ long-acting
gonadotrophin-releasing hormones (Gn RH) agonists และประเภทที่ 2 คือ การใชยาออกฤทธิ์ตอจิตประสาท

1
DSM IV-TR หมายถึง The Forth Edition of the Diagnostic and Statistical Manual of Mental Disorders
2
Karen Harrison, Managing High – Risk Sex Offenders in the Community, (United States of America
: Willan Publishing, 2010), P.105.
วารสารนิติศึกษาไทย 721

เชน selective serotonin reuptake inhibitors (SSRIs) โดยยาเหลานี้มีประโยชนเปนไปดวยจุดมุงหมายหลัก คือ


การลดความตองการทางเพศของผูกระทําผิด3
(3) การบําบัดรักษาทางจิต
เปนวิธีการนี้ถูกสรางขึ้นมาเพื่อลดการกระตุนทางเพศ ผูกระทําความผิดจะไดรับการสนับสนุนหรือสงเสริมให
พิจารณาความผิดรวมทั้งทัศนคติตอผูหญิง เด็ก และผลของพฤติกรรม คําถึงผลกระทบที่เกิดจากการกระทําความผิด
ความสามารถในการแกไขปญหา ดังนั้น วิธีการนี้ผูกระทําความผิดจะสามารถควบคุมพฤติกรรมของตนเองได และ
เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมเพื่อจะหลีกเลี่ยงไมกระทําผิดอีกในอนาคต
สําหรับการบําบัดรักษาผูกระทําความผิดเกี่ยวกับเพศในประเทศสหรัฐอมริกา รัฐแคลิฟอรเนีย และประเทศ
เกาหลีใตมีการนําวิธีการบําบัดรักษาผูที่มีพฤติกรรมกามวิปริต ไดแก การบําบัดรักษาทางจิต และการบําบัดรักษาโดย
การใชยา4
3. มาตรการทางกฎหมายในการบําบัดรักษาผูกระทําความผิดเกี่ยวกับเพศในตางประเทศ
3.1 ประเทศสหรัฐอมริกา รัฐแคลิฟอรเนีย
ในการบําบัดรักษาผูกระทําความผิดเกี่ยวกับเพศ การบําบัดรักษาจะอยูภายใตคําสั่งของศาล กลาวคือ จะตอง
มีการมีคํารองตอศาลเพื่อใหศาลมีคําสั่งใหผูกระทําความผิดเกี่ยวกับเพศไดรับการบําบัดรักษาโดยศาลจะพิจารณาวา
ผูกระทําความผิดเกี่ยวกับเพศเปนบุคคลที่มีความรุนแรงทางเพศและเปนอันตรายตอบุคคลอื่นหรือไม ศาลจะตองสั่งให
มีการตรวจสอบโดยนักจิตวิทยาหรือจิตแพทยแลวจะพิจารณาตามรายงานและความเห็นดังกลาว หากศาลเห็นวามี
เหตุอันควรเชื่อศาลจะสั่งใหบุคคลอยูภายใตการบําบัดรักษาในโรงพยาบาลของกรมสุขภาพจิตของรัฐแคลิฟอรเนีย โดย
บุคคลตองไดรับการประเมินสุขภาพจิ ตนอยปละ 1 ครั้ง และมีสิทธิยื่นคํารองตอศาลเพื่อใหไดรับการปลอยตัว 5 และ
หากผูกระทําความผิดกระทําความตอเหยื่ออายุไมเกิน 13 ปอาจไดรับการบําบัดรักษา medroxyprogesterone
acetate (MPA) ขึ้นอยูกับดุลยพินิจศาล แตหากเปนการกระทําความผิดซ้ําศาลตองสั่งใหมีการบํา บัดรักษาโดยการใช
ยาดวย6
3.2 ประเทศสาธารณรัฐเกาหลี
การบําบัดรักษาผูกระทําความผิดเกี่ยวกับเพศที่มีพฤติกรรมกามวิปริตตองอยูภายใตคําสั่งเชนเดียวกันโดย
อัยการตองเปนผูยื่นคํารองตอศาลภายหลังจากไดมีการตรวจสุขภาพจิตจําเลย โดยศาลจะพิจารณาจากความเห็นของ
ผูเชี่ยวชาญหากพบวาคํารองมีมูลศาลจะสั่งใหบุคคลเขารับการบําบัดรักษาทางการแพทยและการคุมขัง แตหากไมมี
มูลศาลจะสั่งยกคํารองเนื่องจากขอเท็จจริงไมเพียงพอ โดยในคําสั่งของศาลบุคคลตองไดรับการบําบัดรักษาไมเกิน 15
ป แมการเขารับการบําบัดรักษาอยูภายใตคําสั่งของศาลแต การยุติการบําบัดรักษาเปนอํานาจของคณะกรรมการ
บํ า บั ด รักษาทางการแพทยแ ละการคุม ขัง โดยคํ ารองของพนั กงานอั ยการ และบุ ค คลจะต องได รับ การตรวจสอบ
สุขภาพจิตทุก ๆ 6 เดือนภายหลังการเริ่มตนการบําบัดรักษา 7 สําหรับผูกระทําความผิดเกี่ยวกับเพศที่มีอายุ 19 ปขึ้น
ไปที่กระทําความผิดซ้ํา พนักงานอัยการตองยื่นคํารองเพื่อใหศาลมีคําสั่งใหไดรับการบําบัดรักษาโดยการใชยาลด
ปริมาณฮอรโมนเพศ8

3
Ibid., p.105.
4
Ibid., p.105.
5
Ibid., p.105.
6
California Penal Code.
7
Medical treatment and custody act.
8
Act on Pharmacologic Treatment of Sex Offenders Sexual Impulses.
722 Thailand Journal of legal Study

4. มาตรการทางกฎหมายในการบําบัดรักษาผูกระทําความผิดเกี่ยวกับเพศในประเทศไทย
สําหรับประเทศไทยเมื่อมีการยื่นคําฟองตอศาล ในการพิจารณาของศาลจะคํานึงถึงเหตุตางๆประกอบการ
พิจารณาคดี ไดแก การพิจารณาจากขอเท็จจริงที่ไดมาในระหวางการดําเนินคดี และพิจารณาจากรายงานการสืบเสาะ
ขอเท็จจริงของเจาพนักงานคุมประพฤติ เมื่อบุคคลไดรับการตัดสินวากระทําความผิดเกี่ยวกับเพศตองไดรับการจําคุก
บุคคลจะตองเขาสูเรือนจํา และจะไดรับการประเมินสุขภาพจิตโดยเจาหนาที่ราชทัณฑ กระบวนการบําบัดรักษา
ผูกระทําความผิดเกี่ยวกับเพศจะมีการดํา เนินเดิน การในขั้นตอนนี้ กลาวคือ เมื่อบุคคลเขาสูเรือนจําจะมี การจั ด
โปรแกรมแกไขฟนฟูผูกระทําความผิดเกี่ยวกับเพศ ซึ่งเปนหลักสูตรระยะสั้นเพื่อเตรียมความพรอมสําหรับการปลอย
ตัว โดยในโปรแกรมจะประกอบดวย การใหความรูพื้นฐาน การปรับทัศนคติ การฝกทักษะตาง ๆ เปนตน แตเนื่องจาก
หลักสูตรดังกลาวเปนการบําบัดรักษาผูกระทําความผิดเกี่ยวกับเพศทุกประเภทในกลุมเดียวกัน และมีระยะเวลาการ
ดําเนินการที่สั้น จึงไมเพียงพอในการบําบัดรั กษาผูกระทําความผิดเกี่ยวกับเพศที่มีพฤติกรรมกามวิปริต ซึ่งเปนความ
ผิดปกติทางจิตตองใชระยะเวลาในการบําบัดรักษาจึงจะเปนผล โปรแกรมการแกไขฟนฟูผูกระทําความผิดเกี่ยวกับเพศ
ภายในเรือนจําจึงไมเหมาะสมและเพียงพอสําหรับผูกระทําความผิดเกี่ยวกับเพศที่มีพฤติกรรมกามวิปริต
5. มาตรการทางกฎหมายในการบําบัดรักษาผูกระทําความผิดเกี่ยวกับเพศที่มีพฤติกรรมกามวิปริต
สําหรับประเทศไทย สามารถนํามาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับการบําบัดรักษาผูกระทําความผิดเกี่ยวกับ
เพศมาใช โดยใหอยูภายใตอํานาจการสั่งของศาล กลาวคือ ตามพระราชบัญญัติคุมประพฤติ พ.ศ. 2559 กําหนดให
ศาลมีอํานาจสั่งใหพนักงานคุมประพฤติดําเนินการสืบเสาะและพินิจเกี่ยวกับ อายุ ประวัติ ความประพฤติ สติปญญา
สุขภาพ ภาวะแหงจิต นิสัย และเรื่องอื่นใดที่เกี่ยวกับจําเลยได โดยในระหวางการพิจารณาคดีศาลสามารถสั่งให
พนักงานคุมประพฤติดําเนินการได แม ไมมีเหตุอันควรเชื่อวาบุคคลเปนผูวิกลจริตและไมสามารถตอสูคดีไดก็ตาม
นอกจากนั้นศาลมีอํานาจเรียกพนักงานคุมประพฤติหรือจําเลยมาสอบถาม หรือสั่งใหพนักงานคุมประพฤติดําเนินการ
สืบเสาะเพิ่มเติม และหากศาลเห็นวาบุคคลมีพฤติกรรมกามวิปริต ศาลสามารถสั่งใหบุคคลเขารับ การบําบัดรักษา
ควบคูกับการลงโทษไดภายในเรือนจํา
ในสวนของการบําบัดรักษาผูกระทําความผิดเกี่ยวกับเพศดวยการใชยาเพื่อลดปริมาณฮอรโมน เนื่องจาก
ผูกระทําความผิดที่มีพฤติกรรมกามวิปริตมีสาเหตุหนึ่งมาจากกความผิดปกติของฮอรโมน การลงโทษจําคุกเพียงอยาง
เดียวจึงไมเพียงพอตอการปองกันและยับยั้งผูกระทําความผิดจากการกระทําความผิดเกี่ยวกับเพศ เมื่อกลับเขาสูสังคม
จะมีการกระทําความผิดซ้ํา ดังนั้น การบําบัดรักษาดวยยาจึงเปนมาตรการที่จํา เปนตอการบําบัด รักษาผูก ระทํ า
ความผิดเกี่ยวกับเพศที่กระทําความผิดซ้ํา และเนื่องจากเปนการกระทําตอรา งกายของคน จึงตองไดรับความยินยอม
จากผูกระทําความผิด โดยตองเปนความยินยอมที่ถูกตอง กลาวคือ บุคคลที่มีความสามารถที่จะใหความยินยอม ตองมี
อิสระไมเกิดจากการบังคับ และตองมีการแจงใหทราบถึงผลขางเคียงของการใชยา และการบําบัดรักษา ตองอยูใน
ความดูแลอยางใกลชิดของแพทยผูเชี่ยวชาญ

บทสรุปและขอเสนอแนะ
ผูกระทําความผิดเกี่ยวกับเพศที่มีพฤติกรรมกามวิปริต กระทําความผิดเนื่องมาจากความผิดปกติทางจิต ทํา
ใหขาดความสามารถในการควบคุมตนเอง จําเปนตองมีการบําบัดรักษาผูท ี่ผิดปกติทางจิตประเภทกามวิปริต เพื่อแกไข
ฟนฟูปองกันการกระทําผิดซ้ํา และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อเตรียมความพรอมกอนปลอยเขาสูสังคม แตอยางไรก็ดี
เพื่อใหการบําบัดรักษามีประสิทธิภาพ การสั่งใหบุคคลเขารับการบําบัดรักษาจึงตองอยูภายใตคําสั่งของศาล สวนของ
การบําบัดรักษาโดยการใชยาเพื่อลดระดับฮอรโมน เนื่องจากเปนการกระทําตอรางกายของบุคคล นอกจากจะตองอยู
ภายใตคําสั่งของศาลแลวยังตองอยูบนพื้นฐานทางการแพทยดวย และความยินยอมของผูกระทําความผิด ดังนั้น
เนื่องจากศาลมีอํานาจพิจารณามีคําสั่งใหพนักงานคุมประพฤติสั่งใหพนักงานคุมประพฤติดําเนินการสืบเสาะและพินิจ
ขอมูลสวนบุคคลของผูกระทําความผิดแลวทํารายงานและความเห็นใหศาลเพื่อประกอบการพิจารณาพิพากษาหรือ
เพื่อประกอบดุลพินิจในการกําหนดโทษได ผูศึกษาจึงขอเสนอใหมีการนํามาตรการทางกฎหมายในการบําบัดรักษา
วารสารนิติศึกษาไทย 723

ผูกระทําความผิดเกี่ยวกับเพศที่มีพฤติกรรมกามวิปริตมาใชในประเทศไทย โดยใหศาลมีอํา นาจพิจารณามีคําสั่งให


ผูกระทําความผิดเกี่ยวกับเพศที่มีพฤติกรรมกามวิปริตเขารับการบําบัดรักษาควบคูกับการลงโทษภายในเรือนจํา
724 Thailand Journal of legal Study

บรรณานุกรม

หนังสือ

Karen Harrison. Managing High – Risk Sex Offenders in the Community. United States of America :
Willan Publishing, 2010.
วารสารนิติศึกษาไทย 725

มาตรการทางกฎหมายในการจัดการมลพิษตกคางจากโรงงานอุตสาหกรรมที่เลิกประกอบ
กิจการแลว ศึกษากรณีโรงงานอุตสาหกรรมปโตรเคมี
LEGAL MEASURES FOR THE MANAGEMENT OF PERSISTENT POLLUTANTS FROM
CLOSED DOWN FACTORIES : CASE STUDY OF PETROCHEMICAL PLANT

บุณยนลิน วินิจนันทกร
Bunnalin Vinijnuntakorn
บทคัดยอ
โรงงานอุตสาหกรรมถือเปนแหลงกําเนิดมลพิษตกคางที่สงผลกระทบตอทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดลอม
และมนุษยอยางมาก โดยเฉพาะโรงงานอุตสาหกรรมปโตรเคมี เนื่องจากมีกระบวนการเปลี่ยนองคประกอบทางเคมี
และแยกสารประกอบทางเคมีหลายชนิด ซึ่งกระบวนการเหลานี้จึงนํามาซึ่งสารมลพิษที่ตกคางยาวนานอยูภายใน
โรงงานอุตสาหกรรม ซึ่งหากไมมีการจัดการสารมลพิษที่ตกคางอยางเหมาะสมและมีประสิทธิภาพเพียงพอ จะทําให
ปญหาสารมลพิษที่ตกคางยังคงหลงเหลือตอไปภายหลังจากที่โรงงานอุตสาหกรรมเลิกประกอบกิจการไปแลวอีกดวย
ซึ่งจะเปนการยากที่จะเรียกใหผูประกอบกิจการรายเดิมเขามารับผิดชอบกับปญหามลพิษที่ตกคางเหลานี้ ตลอดจนไม
มี ห น ว ยงานที่ มี บุ ค ลากรที่ มี ค วามรู ค วามเชี่ ย วชาญในด า นนี้ โ ดยเฉพาะเข า มาควบคุ ม กํ า กั บ ดู แ ลป ญ หา
อันเนื่องมากจากกฎหมายของประเทศไทยยังขาดมาตรการทางกฎหมายที่จัดการเกี่ยวกับปญหามลพิษภายหลังจากที่
โรงงานอุตสาหกรรมเลิกประกอบกิจการไปแลว

คําสําคัญ
โรงงานอุตสาหกรรม ,อุตสาหกรรมปโตรเคมี, มลพิษตกคาง

ABSTRACT
Industrial pollution is a source of pollution that mainly affects natural resources,
environment and humans. In particular petrochemical industry which changes the chemical
composition and separate of many chemical compounds by using hydrocarbon derived from refining
petroleum. Without proper management of these persistant pollutants, the residues will cause
problem and even after the factories have ceased their operations. It will be more difficult to call
on the same operator to take responsibility for these residues. There are no agencies, however with
specialized knowledge in this field to take care of these problems. The law of Thailand,however
lacks of legal measures to deal with the pollution problem after the industrial plant ceases its
operation.

Keywords
factories ,petrochemical industry, persistent pollutants


นักศึกษาปริญญาโท หลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต สาขากฎหมายทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดลอม คณะ
นิติศาสตร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร : v.bunnalin@hotmail.com
Graduate student of Master of Laws Program in Natural Resources and Environmental Law,
Faculty of Law, Thammasat University. Email address : v.bunnalin@hotmail.com
726 Thailand Journal of legal Study

บทนํา
เนื่องจากปจจุบันประเทศไทยมีโรงงานอุตสาหกรรมที่จดทะเบียนไวกับกระทรวงอุตสาหกรรม ณ สิ้นป พ.ศ.
2560 เปนจํานวน 139,446 แหง ซึ่งกระจายอยูในนิคมอุตสาหกรรมทั้งสิ้น 54 แหง และพื้นที่อื่น ๆ อีกทั่วประเทศ ซึ่ง
ในทุ ก ๆ ป จ ะมี โ รงงานอุ ตสาหกรรมที่ขอจดทะเบี ยนตั้ งโรงงานอุ ตสาหกรรมใหม จํ า นวนประมาณ 4,500 แหง
แตในทางกลับกันในแตละปก็มีโรงงานอุตสาหกรรมที่เลิกประกอบกิจการจํานวนประมาณ 1,500 แหง1 ซึ่งจะเห็นได
วาเปนตัวเลขที่คอนขางสูงมาก ซึ่งปจจัยสาเหตุที่สงผลใหโรงงานอุตสาหกรรมเหลานั้นตองเลิกกิจการนั้น สวนหนึ่งมา
จากการประสบปญหาทั้งทางดานการเงิน การลงทุน จากปญหาดานแรงงาน หรือการถูกสั่งใหปดกิจการโรงงาน
อุตสาหกรรมเนื่องมาจากการประกอบกิจการโรงงานไมเปนไปตามหลักเกณฑที่กฎหมายกําหนด หรือเปนโรงงาน
อุตสาหกรรมที่กอใหเกิดผลกระทบรายแรงตอทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดลอมรวมถึงดานสาธารณสุข และสุดทาย
คือปจจัยในดานอื่น ๆ
การประกอบกิ จ การของโรงงานอุ ต สาหกรรมในแต ล ะแห ง นั้ น อาจก อ ให เ กิ ด ผลกระทบเชิ ง ลบต อ
ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดลอมในพื้นที่ใกลเคียงได โรงงานอุตสาหกรรมบางแหงอาจกอมลพิษและผลกระทบ
เพี ย งเล็ กน อย ในขณะที่ โ รงงานอุ ต สาหกรรมบางแห ง อาจกอมลพิ ษ และผลกระทบต อ ทรัพ ยากรธรรมชาติและ
สิ่งแวดลอมอยางมากมายมหาศาล ตลอดจนสรางสารพิษหรือสารมลพิษตกคางที่ตกคางยาวนาน ทําใหเกิดผลกระทบ
ตอทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดลอมในพื้นที่ในระยะยาว ซึ่งโรงงานอุตสาหกรรมแตละแหงที่ประกอบการอยูใน
ปจจุบันจะต องมีการบริหารจัดการมลพิษและผลกระทบที่จะเกิดขึ้นตอทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดลอม ที่ได
มาตรฐานตามหลักเกณฑตามที่กฎหมายกําหนด แตหากมองใหครอบคลุมในภาพรวม ขาพเจาพบกับประเด็นปญหา
อยางหนึ่ง กลาวคือ หากโรงงานอุตสาหกรรมประเภทใด ๆ ก็ตามไดเลิกประกอบกิจการโรงงานอุตสาหกรรมไปแลว
จะมีมาตรการทางกฎหมายเพียงใดในการที่จะบังคับใหโรงงานอุตสาหกรรมที่ปดกิจการไปแลวนั้นตองเขามารวม
รับผิดชอบในการบริหารจัดการมลพิษและผลกระทบตอทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดลอมที่ไดกอใหเกิดขึ้นเพียงใด
ดังนั้น ขาพเจาจึงเล็งเห็นความสําคั ญของประเด็นปญหาดังกลาวนี้ จึงเกิดความสนใจที่จะทําการศึกษา
เกี่ยวกับมาตรการทางกฎหมายในการจัดการมลพิษที่ตกคางจากโรงงานอุตสาหกรรมที่เลิกประกอบกิจการแลว โดยจะ
มุ ง เน น เฉพาะกรณี ศึ ก ษาโรงงานอุ ต สาหกรรมป โ ตรเคมี เนื่ อ งจากโรงงานอุ ต สาหกรรมป โ ตรเคมี เ ป น โรงงาน
อุตสาหกรรมประเภทที่กอใหเกิดมลพิษที่ตกคางยาวนานได กลาวคือ สารไอออกซินหรือฟวแรน ตลอดจนมลพิษ
เหลานี้สามารถสรางผลกระทบในเชิงลบใหกับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดลอมในพื้นที่ในระยะยาวได จึงมีความ
เสี่ยงสูงที่จะเกิดผลกระทบอยางรุนแรงในพื้นที่และพื้นที่ที่อยูบริเวณใกลเคียง ถาหากวาโรงงานอุตสาหกรรมปโตรเคมี
ไดปดกิจการลง และไมมีมาตรการทางกฎหมายที่ชัดเจนและแนวทางในการจัดการกับมลพิษที่ตกคางภายหลังจากที่
โรงงานอุตสาหกรรมดังกลาวไดปดกิจการลงอาจะทําใหเกิดภัยรายแรงตอทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดลอมรวมถึง
สุขอนามัยของมนุษยตามมาได
1. มาตรการทางกฎหมายที่เกี่ยวกับการจัดการมลพิษตกคางของตางประเทศ
เมื่อศึกษามาตรการการจัดการมลพิษตกคางของตางประเทศ ผูเขียนไดศึกษาอนุสัญญาสตอกโฮลมวาดวย
สารมลพิษที่ตกคางยาวนาน เนื่องจากเปนอนุสัญญาซึ่งเปนขอตกลงเรื่องการดําเนินการกับสารมลพิษที่ตกคางยาวนาน
โดยมีจุดมุงหมายเพื่อคุมครองสุขภาพอนามัยของมนุษย สิ่งมีชีวิตอื่น ๆ และสิ่งแวดลอมใหพนจากอันตรายของสาร
มลพิษที่ตกคางยาวนาน และหลักกฎหมายสิ่งแวดลอมของประเทศเยอรมัน
1.1 อนุสัญญาสตอกโฮลมวาดวยสารมลพิษที่ตกคางยาวนาน
1.1.1 มาตรการปองกันสารมลพิษที่ตกคางยาวนาน
กําหนดใหภาคีสมาชิกตองจัดทําแผนปฏิบัติการในระดับตาง ๆ ใหเปนไปไดจริงและปฏิบัติไดกําหนดใหใช
เทคนิคที่ดีที่สุดที่มีอยูกับแหลงกําเนิดใหม ๆ และใหใชแนวปฏิบัติทางดานสิ่งแวดลอมที่ดีที่สุด สงเสริมการใชมาตรการ

1
กรมโรงงานอุตสาหกรรม, “สถิตอิ ุตสาหกรรม.” สืบคนเมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2561, จาก http://www.diw.go.th
/hawk/content.php?mode=spss61
วารสารนิติศึกษาไทย 727

ที่มีอยูใหเปนไปไดจริงและสามารถปฏิบัติได เพื่อลดการปลอยหรือขจัดแหลงกําเนิดไดอยางรวดเร็ว และสงเสริมการ


พัฒนาโดยกําหนดใหมีการใชวัสดุทดแทน2
1.1.2 มาตรการลดสารมลพิษที่ตกคางยาวนาน
มีเปาหมายที่จะลดการปลอยสารเคมีที่กําหนดไวในอนุสัญญาฯ ใหเหลือนอยที่สุดอยางตอเนื่องและหากทําได
ใหเลิกปลอยในที่สุด และกําหนดใหภาคีสมาชิกดําเนินการจัดทําแผนปฏิบัติการ 3 และกําหนดใหภาคีสมาชิกสงเสริม
การใชมาตรการที่เปนจริงและสามารถปฏิบัติได4 เพื่อลดการปลอยหรือขจัดแหลงกําเนิดไดอยางรวดเร็ว สงเสริมการ
พัฒนาและกําหนดใหใชวัสดุทดแทนหรือวิ ธีอื่น ๆ สงเสริมใหภาคีสมาชิกใชเทคนิคที่ดีที่สุดที่มีอยูและแนวปฏิบัติ
ทางดานสิ่งแวดลอมที่ดีที่สุดกับแผนปฏิบัติการของภาคีสมาชิก ทั้งแหลงกําเนิดเดิมและแหลงกําเนิดใหม ๆ
1.1.3 มาตรการควบคุมสารมลพิษที่ตกคางยาวนาน
จะตองใชเทคนิคที่ดีที่สุดที่มีอยูสําหรั บแหลงกําเนิดในประเภทตาง ๆ โดยกําหนดใหภาคีสมาชิกอาจควบคุม
การปลอยโดยการใชคาการจํากัดการปลอยหรือมาตรฐานของการปฏิบัติงานเพื่อใชในการดําเนินการโดยใชเทคนิคที่ดี
ที่สุดที่มีอยู ภาคีสมาชิกจัดทํายุทธศาสตรที่เหมาะสมเพื่อจําแนกของเสีย และกําหนดสวนประกอบสารมลพิษที่ตกคาง
ยาวนานที่ต่ําตามที่กําหนดไวในอนุสัญญา5
1.1.4 มาตรการใหความชวยเหลือ
ภาคีสมาชิกรวมมือกันชวยเหลืออยางเหมาะสมและทันทวงทีในดานเทคนิคกับภาคีสมาชิกที่เปนประเทศ
กําลังพัฒนา และภาคีสมาชิกที่มีการเปลี่ยนผานทางเศรษฐกิจ เพื่อใหประเทศเหลานี้สามารถอนุวั ติตามพันธกรณี
ภายใตอนุสัญญาไดสําเร็จผล และสามารถปฏิบัติตามพันธกรณีไดอยางครบถวน ซึ่งความชวยเหลือทางเทคนิคนี้อาจ
ดําเนินการในรูปขอตกลงเพื่อใหความชวยเหลือและสงเสริมทางเทคนิคในรูปแบบตาง ๆ ขอตกลงยังรวมไปถึงการ
จั ด ตั้ ง ศู น ยเสริมสรางสมรรถนะและศูนย ถายทอดเทคโนโลยีระดั บภูมิ ภาคด วย (Regional and Sub - Regional
Centres)6
1.2 มาตรการทางกฎหมายสิ่งแวดลอมของเยอรมัน
เกณฑหรือมาตรฐานตาง ๆ ที่เกี่ยวกับสิ่งแวดลอมมีขึ้นเพื่อสรางความชัดเจนในการกําหนดมาตรการเกี่ยวกับ
สิ่งแวดลอม เพื่อความสะดวกในการใชอํานาจของเจาหน าที่ และในขณะเดียวกันทําใหเกิดความโปรงใสขึ้นในสายตา
ของประชาชน ซึ่งสามารถแยกเกณฑดังกลาวออกเปนเกณฑที่วาการดําเนินกิจการทั้งหลายจะตองไมเปนอันตราย
(เกณฑการปองกัน) หรือเกณฑที่วาผูประกอบการกิจการจะตองมีความนาเชื่อถือและมีความรูเฉพาะทางตามเกณฑ
(เกณฑกําหนดมาตรฐาน) เกณฑที่วาการดําเนินกิจการทั้งหลายจะตองไมเปนอันตราย (เกณฑการปองกัน) นับวาเปน
รากแกวของการควบคุมดูแลการดําเนินกิจการทั้งหลาย ทั้งนี้เพราะเกณฑนี้มีไวเพื่อปองกันภยันตรายอันอาจเกิดจาก
การประกอบการตาง ๆ ซึ่งอาจกอใหเกิดขึ้นแกชีวิตและทรัพยสินของบุคคลที่สามหรือของสวนรวม เพื่อใหบรรลุ
วัตถุประสงคอันนี้ ฝายนิติบัญญัติอาจมีการกําหนดกฎเกณฑตาง ๆ ขึ้นมา แตกฎเกณฑที่เราจะพิจารณาในที่นี้จะจํากัด
เฉพาะกฎเกณฑที่เกี่ยวกับการปองกันภยันตรายอันอาจเกิดจากการประกอบการตาง ๆ โดยตรง และเปนกฎเกณฑที่
เรียกรองอยางถึงขนาดที่จะปองกันภยันตรายได โดยเฉพาะอยางยิ่งปญหาที่วาอะไรคือภยันตรายและเพียงใดจึงจะ
เปนการปองกันที่ถึงขนาด เกณฑการควบคุมอันตรายนี้ปรากฏในกฎหมายปกครองไดหลายแงดวยกันเพื่อการปองกัน
อันตรายอันอาจเกิดขึ้นได7

2
อนุสัญญาสตอกโฮลมวาดวยสารมลพิษที่ตกคางยาวนาน บทบัญญัติขอ 5
3
อนุสัญญาสตอกโฮลมวาดวยสารมลพิษที่ตกคางยาวนาน บทบัญญัติขอ 5 อนุวรรค (เอ)
4
อนุสัญญาสตอกโฮลมวาดวยสารมลพิษที่ตกคางยาวนาน บทบัญญัติขอ 5 อนุวรรค (บี)
5
อนุสัญญาสตอกโฮลมวาดวยสารมลพิษที่ตกคางยาวนาน บทบัญญัติขอ 5 อนุวรรค (ดี)
6
อนุสัญญาสตอกโฮลมวาดวยสารมลพิษที่ตกคางยาวนาน บทบัญญัติขอ 12
7
บุญศรี มีวงศอุโฆษ, กฎหมายสิ่งแวดลอมเปรียบเทียบ, (กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพเดือนตุลา, 2560), น.117 –
123.
728 Thailand Journal of legal Study

2. มาตรการทางกฎหมายที่เกี่ยวกับการจัดการมลพิษตกคางภายในประเทศ
จากการศึ กษากฎหมายภายในประเทศไทย ผู เขีย นพบว า ประเทศไทยยัง ไม มี มาตรการทางกฎหมายที่
เกี่ยวของโดยตรงกับการแกไขปญหาสารมลพิษที่ตกคางยาวนานจากโรงงานอุตสาหกรรมที่เลิกประกอบกิจการแลว
ดั ง นั้ น ผู เ ขี ย นจึ ง พบป ญ หาการขาดมาตรการทางกฎหมายเกี่ ย วกั บ การจั ด การสารมลพิ ษ ตกค า งจากโรงงาน
อุตสาหกรรมปโตรเคมี ดังนี้
2.1 วิเคราะหปญหาการขาดมาตรการจัดการมลพิษตกคางกอนโรงงานอุตสาหกรรมประกอบกิจการ
2.1.1 ปญหาจากการกําหนดคํานิยามที่ไมครอบคลุมเพียงพอ
จากการศึกษา ผูเขียนพบวาคํานิยามคําวาโรงงานในพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2535 นั้น ไมครอบคลุม
เพียงพอที่จะแกไขปญหาความรับผิดชอบของผูประกอบกิจการในการจัดการกับมลพิษที่ตกคางอยูภายในและบริเวณ
โดยรอบโรงงาน ควรใหโรงงานที่เลิกประกอบกิจการแลวยังคงเปนโรงงานอยูในสวนของผลกระทบที่เกิดจากมลพิษ
ตกคางภายในโรงงาน โดยควรใหโรงงานที่เลิกประกอบกิจการแลวยังคงเปนผูประกอบกิจการตอไปในสวนที่เกี่ยวของ
กับการแกไขมลพิษ เพราะการใชกฎหมายมาควบคุมเกี่ยวกับมลพิษ ควรตองมีหนวยงานที่มาควบคุมตั้งแตเริ่มตนกอน
เกิดปญหาระหวางที่ประกอบกิจการโรงงาน และภายหลังเลิกกิจการไปแลว กลาวคือกรมโรงงานอุตสาหกรรม
2.1.2 ปญหาการขาดมาตรการจัดทําแผนการฟนฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดลอม
การขออนุญาตประกอบกิจการโรงงานมิไดมีการกําหนดหลักเกณฑใหจัดทําแผนการจัดการฟนฟูสิ่งแวดลอม
หรือจัดการมลพิษใด ๆ กอนเลย ทําใหมิไดมีการกลาวถึงบทบาทหนาที่ความรับผิดชอบของผูประกอบกิจการโรงงาน
อุตสาหกรรมวาหลังจากผูประกอบกิจการตองการเลิกประกอบกิจการโรงงานจะตองมีวิธีจัดการกับมลพิษที่ตกคาง
หรือสิ่งแวดลอมใหกลับไปมีสภาพดังเดิมไดอยางไร
2.1.3 ปญหาการขาดมาตรการวางหลักประกัน ประกันภัย หรือกองทุน
การประกอบกิจการโรงงานบางครั้งอาจกอใหเกิดความเสียหายแกบุคคลหรือทรัพยสินหรือสิ่งแวดลอม อัน
เนื่องมาจากการประกอบกิจการที่ประมาทเลินเลอหรือการเกิดอุบัติภัยในระหวางการประกอบกิจการโรงงาน เชน
อัคคีภัย การระเบิด ฯลฯ ซึ่งกรณีนี้ไมอาจเรียกรองคาเสียหายเพื่อบรรเทาความเดือดรอนเฉพาะหนาไดทันทีนอกจาก
จะไปฟอ งคดี แ พง หรือขอให ช ดใช ในทางแพงเกี่ย วเนื่อ งในคดี อาญา ซึ่ ง กรณี นี้ จ ะตองใชระยะเวลานานซึ่งจะไม
สอดคลองกับคดีอาญาตามความผิดในมาตรา 8 ซึ่งมีอายุความเพียง 1 ป ซึ่งการกําหนดใหโรงงานมีการประกันภัยหรือ
หลักประกันหรือกองทุนของโรงงานจึงเปนเครื่องมือทางการเงินชนิดหนึ่งที่จะเปนหลักประกันทําใหสามารถบรรเทา
ความเสียหายเฉพาะหนา ไดทันทวงที
2.2 ปญหาการขาดมาตรการจัดการมลพิษตกคางระหวางโรงงานอุตสาหกรรมประกอบกิจการ
2.2.1 ปญหาการขาดมาตรการการสงรายงานสภาพมลพิษภายในโรงงาน
เดิมกฎหมายบัญญัติไวเพียงการใหเอกชนสามารถตรวจสอบโรงงานและเครื่องจักรรวมทั้งการจัดทํารายงาน
การตรวจสอบแทนการปฏิบัติงานของพนักงานเจาหนาที่ไดเทานั้น ในการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ.
2535 จะมีการตรวจสอบโรงงานและเครื่องจักรเพื่อการอนุญาต รวมทั้งมีการกําหนดหนาที่ใหผูประกอบกิจการตอง
ปฏิบัติหลายประการดวยกัน ดังนั้นเพื่อเปนการปองกันมิใหผูประกอบกิจการกระทําผิดกฎหมายในระหวา งการ
ประกอบกิจการอันเปนการคุมครองสาธารณะ จึงตองมีการกําหนดใหผูประกอบกิจการตองรายงานผลการปฏิบัติตาม
หนาที่ที่กฎหมายกําหนด โดยใหเอกชนที่มีความรูความเชี่ยวชาญเปนผูรับรอง
2.3 ปญหาการขาดมาตรการจัดการมลพิษตกคางภายหลังจากโรงงานอุตสาหกรรมเลิกประกอบกิจการแลว
2.3.1 ปญหาการขาดมาตรการในการขออนุญาตกอนเลิกประกอบกิจการโรงงาน
พระราชบั ญ ญั ติโ รงงาน พ.ศ. 2535 ได มี การกํา หนดหลักเกณฑ ในการเลิก ประกอบกิจการของโรงงาน
อุตสาหกรรม โดยผูประกอบกิจการโรงงานผูใดตองการเลิกประกอบกิจการโรงงานตองแจงเปนหนังสือตอผูอนุญาต
ภายในเวลาที่กําหนดนับแตวันที่เลิกประกอบกิจการโรงงาน การกําหนดหลักเกณฑเชนนี้สงผลใหขั้นตอนการเลิก
ประกอบกิจการโรงงานสามารถกระทําไดโดยง าย กลาวคือ ผูประกอบกิจการโรงงานสามารถปดกิจการโดยทําเปน
หนังสือแจงตอหนวยงานที่เกี่ยวของ และสามารถแจงภายหลังจากปดการประกอบกิจการโรงงานไดโดยที่มิตองมีการ
วารสารนิติศึกษาไทย 729

ตรวจสอบการมีสารมลพิษตกคางภายในโรงงาน ดวยเหตุนี้สงผลใหโรงงานอุตสาหกรรมซึ่งเลิกประกอบกิจการบาง
แหงลักลอบปลอยของเสียหรือมลพิษจากกระบวนการผลิตออกสูสิ่งแวดลอมและอาจกอใหเกิดผลกระทบตอสุขภาพ
อนามัยของมนุษยได
2.3.2 ปญหาการขาดการกําหนดประเภทของโรงงานที่ตองตรวจสอบกอนเลิกประกอบกิจการโรงงาน
ปจจุบันมีการแบงประเภทของโรงงานอุตสาหกรรมออกเปน 3 ประเภท ไดแก ประเภทที่ 1 .... แตในการ
กําหนดประเภทโรงงานที่จะตองตรวจสอบกอนเลิกประกอบกิจการโรงงานนั้น ไมจําเปนตองกําหนดทั้ง 3 ประเภท
เนื่องจาก โรงงานประเภทที่ 1 และ ประเภทที่ 2 เปนโรงงานที่ไมไดกอใหเกิดผลกระทบตอทรัพยากรธรรมชาติและ
สิ่ ง แวดล อ มและมนุ ษ ย ม ากนั ก แต โ รงงานประเภทที่ 3 เป น โรงงานที่ มี ข นาดใหญ แ ละก อ ให เ กิ ด ผลกระทบต อ
สิ่งแวดลอมเปนอยางมาก ซึ่งหากกําหนดโรงงานทั้ง 3 ประเภทที่ตองตรวจสอบกอนเลิกประกอบกิจการอาจทําใหเกิด
ความลาชาในการปฏิบัติงาน

บทสรุปและขอเสนอแนะ
กระบวนการผลิตผลิตภัณฑอุตสาหกรรมปโตรเคมีนั้น สงผลใหเกิดสารมลพิษมากมาย ซึ่งปญหามลพิษ
ตกคางยาวนานที่เกิดขึ้นภายในโรงงานอุตสาหกรรมปโตรเคมี ตลอดจนเมื่อโรงงานอุตสาหกรรมไดเลิกประกอบกิจการ
ลง ไมวาจะดวยสาเหตุใดก็ตาม ทําใหโรงงานอุตสาหกรรมปโตรเคมีจําตองปดกิจการลง แตเนื่องดวยปญหาโรงงานงาน
อุตสาหกรรมปโตรเคมีที่ปดกิจการลงนั้นยังคงมีสารเคมีหรือสารมลพิษที่ตกคางยาวนานอยูภายในโรงงานอุตสาหกรรม
โดยที่ ท างโรงงานยั ง ไม ไ ด กํ า จั ด สารเคมี ห รื อ สารมลพิ ษ ตกค า งเหล า นั้ น ให ห มดสิ้ น ไป อาจจะส ง ผลต อ
ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดลอมบริเวณใกลเคียงไดไมมากก็นอยตามความอันตรายของสารเคมีหรือสารมลพิษจาก
การประกอบโรงงานอุตสาหกรรม ทําใหปญหามลพิษยังคงตกคางอยู จึงเปนการขาดมาตรการภายหลังจากที่โรงงาน
อุตสาหกรรมเลิกประกอบกิจการแลว แตหากจะใหการแกปญหาหลังจากโรงงานอุสาหกรรมเลิกประกอบกิจการ
เกิดผลสัมฤทธิ์ดีที่สุด จึงตองมีมาตรการตั้งแตเริ่มตนประกอบกิจการรวมถึงระหวางประกอบกิจการโรงงาน เพื่อเปน
การสงเสริมใหมาตรการจัดการมลพิษหลังเลิกประกอบกิจการโรงงานอุตสาหกรรมเปนไปอยางมีประสิทธิภาพที่สุด
จากการศึกษา พบวาประเทศไทยยังขาดมาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับการจัดการกับปญหามลพิษตกคา ง
ภายหลังจากโรงงานอุตสาหกรรมที่เลิกประกอบกิจการแลว ดังนั้น ผูเขียนจึงขอเสนอแนะแนวทางการแกไขปญหาโดย
การแกไขและเพิ่มเติมในพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2535 ไมวาจะเปนการแกไขบทนิยามขอคําวาโรงงาน กําหนด
มาตรการฟนฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดลอม มาตรการวางหลั กประกัน ประกันภัย หรือกองทุน กําหนดใหผู
ประกอบกิจการสงรายงานสภาพมลพิษภายในโรงงาน หลักเกณฑการขออนุญาตกอนเลิกประกอบกิจการโรงงาน
ตลอดจนการกําหนดประเภทของโรงงานที่ตองตรวจสอบกอนเลิกประกอบกิจการโรงงาน ทั้งนี้ เพื่อใหปญหาการขาด
การจั ด การเกี่ ย วกั บ มลพิ ษ ตกค า งจากโรงงานอุ ต สาหกรรมที่ เ ลิ ก ประกอบกิ จ การแล ว ได รั บ การแก ไ ขอย า งมี
ประสิทธิภาพที่สุด
730 Thailand Journal of legal Study

บรรณานุกรม

หนังสือ

บุญศรี มีวงศอุโฆษ. กฎหมายสิ่งแวดลอมเปรียบเทียบ. พิมพครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพเดือนตุลา, 2560.

สื่ออิเล็กทรอนิกส

กรมโรงงานอุ ตสาหกรรม. “สถิ ติ อุต สาหกรรม.” http://www.diw.go.th/hawk/content.php?mode=spss61,


10 สิงหาคม 2561.
วารสารนิติศึกษาไทย 731

ปญหาความรับผิดทางอาญาบางประการตามพระราชบัญญัติคุมครองเด็กที่เกิดโดยอาศัย
เทคโนโลยีชวยการเจริญพันธุทางการแพทย พ.ศ. 2558
LEGAL PROBLEMS ON CRIMINAL LIABILITY UNDER THE ENFORCEMENT OF
THAILAND’S PROTECTION OF A CHILD BORN BY ASSISTED REPRODUCTIVE
TECNOLOGY ACT, B.E. 2558

ปวีณนุช ทองพานเหล็ก
Paweenut Thongpanlek
บทคัดยอ
แมการประกาศใชพระราชบัญญัติคุมครองเด็กที่เกิดโดยอาศัยเทคโนโลยีชวยการเจริญพันธุทางการแพทย
พ.ศ. 2558 จะมีขอดีคือ การรับรองใหคูสมรสที่ประสบภาวะมีบุตรยากสามารถทําการตั้งครรภแทนโดยชอบดวย
กฎหมาย แตพระราชบัญญัติฉบับนี้ยังมีขอบกพรองในตัวบทกฎหมายบางประการ อันอาจนําไปสูปญหาความรับผิด
ทางอาญาตามพระราชบัญญัติฉบับนี้ภายหลังการบังคับใช ดังนั้น ผูเขียนเห็นวาควรมีการศึกษาทบทวนและหาคําตอบ
วา บทบัญญัติกฎหมายในมาตราที่ผูเขียนหยิบยกขึ้นมาศึกษานั้นมีความเหมาะสมแลวหรือไม หรือมีความบกพรองอัน
ควรนําไปสูการหาแนวทางแกไขตอไป

คําสําคัญ
การตั้งครรภแทน, ปญหาความรับผิดทางอาญา , เทคโนโลยีชวยการเจริญพันธุทางการแพทย

ABSTRACT
Although the enforcement of the Thailand’s protection of a child born by assisted
reproductive technology act, B.E. 2558 provides the benefit for infertile spouses, this act still has
some shortcomings which lead to legal problems on criminal liability. Therefore, in order to seek
the provision to solve such problems, the author recommends to revise the articles of this act that
appeared in this thesis whether those articles are suitable or are there any shortcomings exist in the
articles.

Keywords
Surrogacy, Criminal liability, Assisted reproductive technology.

บทนํา


นักศึกษาปริญญาโท หลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต สาขากฎหมายอาญา คณะนิติศาสตร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร
: paweenut@outlook.com
Graduate student of Master of Laws Program in Ciminal Law, Faculty of Law, Thammasat University.
Email address : paweenut@outlook.com
732 Thailand Journal of legal Study

เดิ ม ป ญ หาการมี บุ ต รยากเป น ป ญ หาที่ สํ า คั ญ อย า งหนึ่ ง ของคู ส มรส แต เ มื่ อ วิ ท ยาการทางการแพทย
เจริญกาวหนาขึ้นอยางรวดเร็ว จึงมีการหาทางออกใหแกคูสมรสโดยใช “เทคโนโลยีชวยการเจริญพันธุทางการแพทย”
ในที่นี้จะกลาวถึง การตั้งครรภแทนโดยใชเทคโนโลยีชวยการเจริญพันธุทางการแพทย หรือที่เรียกกันทั่วไปวา การอุม
บุญ โดยผลจากความกาวหนาทางวิทยาศาสตรในประเด็นดังกลาว ไดสงผลใหการอุมบุญกลายมาเปนธุรกิจสีเทาทีค่ าบ
เกี่ยวเรื่องศีลธรรม ซึ่งสรางรายไดมหาศาลแกผูที่เกี่ยวของและกลายประเด็นสาธารณะที่มีการถกเถียงกั นกันมาเปน
เวลายาวนาน เพราะเกี่ยวของกับประเด็นทางดานศีลธรรม เนื่องจากความคิดเห็นของคนในสังคมตอการตั้งครรภแทน
มีทั้งฝายที่สนับสนุนและคัดคานตอการตั้งครรภแทน โดยฝายสนับสนุนยกขออางเรื่องสิทธิและเสรีภาพของบุคคล
สวนฝายที่คัดคานก็ยกประเด็นเรื่องศีลธรรม ขึ้นเปนขออาง และแมการใชเทคโนโลยีดังกลาวจะมีขอดีคือสามารถชวย
ใหคูสมรสจํานวนหนึ่งสามารถมีบุตรไดตามความประสงคและมีครอบครัวที่สมบูรณในแบบที่ตั้งใจ แตเนื่องดวยตัวบท
กฎหมายที่ยังไมอาจกาวทันความกาวหนาในเรื่องเทคโนโลยี จึงก็กอใหเกิดปญหาตางๆที่ กระทบถึงสิทธิของเด็กและผู
ที่เกี่ยวของกับการตั้งครรภแทน เชน ปญหาการแยงชิงตัวเด็กภายหลังเด็กเกิดโดยอางสิทธิความเปนบิดามารดาของ
เด็กคนนั้น1 ปญหาการทอดทิ้งและไมรับผิดชอบในตัวเด็กภายหลังเด็กเกิดมาแลวมีความผิดปกติทั้งทางรางกายและ
สมอง2 ปญหาพอชาวญี่ปุนที่จางหญิงไทยตั้งครรภแทนเพื่อคลอดบุตรเปนจํานวนมากผิดปกติ3 จนทําใหสังคมไทยเกิด
ขอกังขาและความวิตกกังวลวาจะนําไปสูขบวนการคามนุษย ซึ่งปญหาตางๆที่เกิดขึ้นทําใหเกิดความพยายามจาก
หลายภาคส วนรว มกันวิ เคราะห หาคํ าตอบว าควรมีกฎหมายเกี่ยวกับการตั้ ง ครรภแทนไปในทิ ศทางใด มี ทั้ ง ฝาย
สนับสนุนใหมีกฎหมายอนุญาตใหตั้งครรภแทน และฝายที่ไมสนับสนุนเกี่ยวกับการตั้งครรภแทน จนกระทั่งในวันที่ 1
พฤษภาคม พ.ศ. 2558 ไดมีการประกาศใชพระราชบัญญัติคุมครองเด็กที่ เกิดโดยอาศัย เทคโนโลยีชวยการเจริญ
พันธุทางการแพทย พ.ศ. 2558 โดยมีสาระสําคัญคือ รับรองใหตั้งครรภแทนได ภายใตเงื่อนไขคือหามเปนไปเพื่อ
ประโยชนในทางการคา4
อยางไรก็ตาม แมจะมีการบังคับใชกฎหมายเกี่ยวกับการตั้งครรภแทน แตพระราชบัญญัติฉบับนี้ยังมีปญหา
ขอบกพรองในบางประการ อันอาจนําไปสูปญหาความรับผิดทางอาญาตามพระราชบัญญัติฉบับนี้ภายหลังการบังคับ
ใชแลว ผูเขียนจึงเห็นควรศึกษาวิเคราะหบทบัญญัติกฎหมายเฉพาะประเด็นที่ผูเขียนเห็นวายังมีความบกพรอง เพื่อหา
คําตอบวาบทบัญญัติกฎหมายดังกลาวมีความเหมาะสมแลวหรือไม หรือมีความบกพรองอันควรนําไปสูการหาแนว
ทางแกไขเพื่อใหการบังคั บใชกฎหมายเกิดความสัมฤทธิ์ผลและเปนไปอยางมีประสิทธิภาพ โดยแยกการพิจารณา
ออกเปน 3 หัวขอ กลาวคือ 1. การหามตั้งครรภแทนเพื่อประโยชนทางการคา 2. การหามซื้อขาย นําเขา สงออก ซึ่ง
อสุจิ ไข หรือตัวออน 3. การกําหนดความรับผิดทางอาญาแกผูประกอบวิชาชีพและสถานประกอบการ
ทั้งนี้ กอนเขาสูการวิเคราะหปญหาตัวบทกฎหมายในประเด็นขางตน ผูเขียนเห็นควรหยิกยกประเด็นในเรื่อง
มุมมองทางศีลธรรมที่มีตอการตั้งครรภแทนขึ้นมากลาวอางและวิเคราะหถึงถอยคําดังกลาวเสียกอน เนื่องจากการ
ตั้งครรภแทนเปนประเด็นที่สังคมมองวามีความคลุมเครือระหวางศีลธรรมและกฎหมาย โดยเฉพาะในสังคมไทยซึ่งเปน
สังคมที่อยูบนพื้นฐานของศีลธรรม จึงปฏิเสธไมไดเลยวาบอยครั้งที่มีการใชศีลธรรมเปนเกณฑในการตัดสินประเด็น
ตางๆ ในสังคมวาเปนสิ่งที่ถูกตองและเหมาะสมหรือไม การตั้งครรภแทนหรือการอุมบุญก็เชนกัน กลาวคือ แมจะมีการ

1
กองสารนิเทศและประชาสัมพันธ สํานักงานศาลยุติธรรม, ขาวแจกสื่อมวลชน เรื่อง “ศาลเยาวชนฯกลาง อานคําสั่ง
คดีอุมบุญ,” ประจําวันที่ 26 เมษายน 2559.
2
“แม อุ ม บุ ญ รั บ ดู แ ลน อ งแกรมมี่ เด็ ก ดาวน ซิ น โดรมอย า งดี ที่ สุ ด ,” สื บ ค น เมื่ อ วั น ที่ 21 เมษายน 2561, จาก
http://ch3.sanook.com/28555.
3
“ผงะแหลงอุมบุญ 9 ทารก กลางคอนโดกรุง ตร.บุกทลาย - เจอพรอม 7 พี่เลี้ยง ตะลึงจากพอชาวญี่ปุนคนเดียวกัน
คลอดแล ว ลอบส ง เด็ ก กลั บ ประเทศ,” สื บ ค น เมื่ อ วั น ที่ 21 เมษายน 2561, จาก https://khaosod.co.th/view_new
sonline.php?
4
พระราชบัญญัติคุมครองเด็กที่เกิดโดยอาศัยเทคโนโลยีชวยการเจริญพันธุทางการแพทย พ.ศ. 2558 มาตรา 24
หามมิใหผูใดดําเนินการใหมีการตั้งครรภแทนเพื่อประโยชนทางการคา
วารสารนิติศึกษาไทย 733

ประกาศใชกฎหมายซึ่งอนุญาตใหมีการตั้งครรภแทนได ก็ยังคงมีกลุมบุคคลที่ไมเห็นดวยกับเรื่องดังกลาว และเห็นวา


การตั้งครรภแทนเปนเรื่องที่กฎหมายไมควรใหการรองรับเพราะฝาฝนศีลธรรมอันดีของประชาชน ซึ่งจากการศึกษา
ปญหาการตั้งครรภแทนภายใตกรอบความคิดเรื่องศีลธรรมของสังคมไทย ทําใหเขาใจไดวาศีลธรรมเปนเพียงเรื่องของ
ความรูสึกผิดชอบชั่วดีในใจของมนุษยเทานั้น และจะตองไมเปนการกระทําที่เบียดเบียนหรือทําใหบุคคลใดเดือดรอน
เสียหาย ทั้งนี้ รองศาสตราจารยสมยศ เชื้อไทย ไดใหนิยามองศีลธรรมไวว า “ศีลธรรม” คือ ความรูสึกนึกคิดของ
มนุษยวาการกระทําอยางไรเปนการกระทําที่ชอบ การกระทําอยางไรเปนการกระทําที่ผิด5 ดังนั้น เมื่อพิจารณาถึงกรณี
การตั้งครรภแทนวาเปนเรื่องที่ผิดศีลธรรมหรือไมนั้น เห็นวา การตั้งครรภแทนเกิดจากคูสมรสที่ประสบภาวะการมีบตุ ร
ยากทําความตกลงกับหญิงผูรับจางตั้งครรภแทนใหอุมทองแทน จึงมิไดเปนการกระทําที่เบียดเบียนหรือกระทบตอสิทธิ
เสรีภาพของบุคคลอื่นใด การบัญญัติกฎหมายไปในทิศทางที่อนุญาตใหตั้งครรภแทน จึงไมมีผลกระทบตอศีลธรรมอันดี
ของประชาชน ทั้งนี้ รวมถึงการบริจาคเซลลสืบพันธุเพื่ อใชในการตั้งครรภแทนโดยมีคาตอบแทน ซึ่งเปนเรื่องความ
สมัครใจของผูบริจาค มิไดกระทบตอบุคคลอื่นใด ดังนั้น สําหรับผูเขียน ปญหาเกี่ยวกับการตั้งครรภแทนในปจจุบันจึง
ไม ใช ป ญ หาในเรื่อ งของศี ล ธรรมอี กต อไป แต ควรเป น ป ญ หาในเรื่อ งของตั ว บทกฎหมายวา บัญ ญั ติ อย าง ไรจึงจะ
เหมาะสมและสอดคลองกับบริบทสังคมไทย ซึ่งจะกลาวดังตอไปนี้
1. ปญหาการตีความคําวา “เพื่อประโยชนในทางการคา ” กับความเปนไปไดในการควบคุมมิใหมีการ
ตั้งครรภแทนเพื่อประโยชนในทางการคา
แตเดิมกอนมีการประกาศใชพระราชบัญญัติคุมครองเด็กที่เกิดโดยอาศัยเทคโนโลยีชวยการเจริญพันธุทาง
การแพทย พ.ศ. 2558 ยังไมกฎหมายเฉพาะที่เกี่ยวกับการตั้งครรภแทน มีเพียงประกาศแพทยสภา ที่ 1/2540 เรื่อง
มาตรฐานการใหบริการเกี่ยวกับเทคโนโลยีชวยการเจริญพันธุ และประกาศแพทยสภา ที่ 21/2545 เรื่อง มาตรฐาน
การใหบริการเกี่ยวกับ เทคโนโลยีชวยการเจริญพันธุ (ฉบับที่ 2) ซึ่งในฉบับที่ 2 ไดมีกําหนดถึงเงื่อนไขการใหบริการ
เกี่ยวกับเทคโนโลยีชวยการเจริญพันธุในขอ 4/2 (3) (ข)6 วาจะตองไมมีการจายคาตอบแทนแกหญิงที่ตั้งครรภแทนใน
ลักษณะที่อาจทําใหเขาใจไดวาเปนการรับจางตั้งครรภแทน แต เมื่อเปนเพียงประกาศแพทยสภา ทําใหขอกําหนดของ
ประกาศดังกลาวไมคอยมีผลบังคับในทางปฏิบัติ จึงยังมีการรับจางตั้งครรภแทนใหเห็นอยูในสังคมไทยกอนที่จะมีการ
ประกาศใชพระราชบัญญัติฉบับนี้ จนกระทั่งมีการประกาศและบังคับใชพระราชบัญญัติคุมครองเด็กที่เกิดโดยอาศัย
เทคโนโลยีชวยการเจริญพันธุทางการแพทย พ.ศ. 2558 พระราชบัญญัติฉบับนี้ก็ไดนําหลักการของ ขอ 4/2 (3) (ข)
จากประกาศแพทยสภา ที่ 21/2545 เรื่อง มาตรฐานการใหบริการเกี่ยวกับเทคโนโลยีชวยการเจริญพันธุ (ฉบับที่ 2)
มากําหนดเปนบทบัญญัติกฎหมาย โดยกําหนดไวในมาตรา 24 ทั้งนี้วัตถุประสงคของบทบัญญัติมาตราดังกลาวก็เพื่อ
ตองการที่จะขจัดปญหาการตั้งครรภแทนในทางการคาใหหมดไปจากสังคมไทย
โดยจากการศึกษาพระราชบัญญัติฉบับนี้ในเรื่องการหามตั้งครรภแทนเพื่อประโยชนในทางการคา ซึ่งมีการ
บัญญัติไวในมาตรา 24 และในเรื่องการบัญญัติหามคนกลางหรือนายหนาทําการตั้งครรภแทนที่เปนไปเพื่อประโยชน
ทางการคา ซึ่งบัญญัติไวในมาตรา 27 ทําใหเกิดขอสงสัยในความหมายของคําวา “เพื่อประโยชนทางการคา ” วามี
ความหมายครอบคลุมเพียงใด เนื่องจากพระราชบัญญัติฉบับนี้มิไดใหนิยามของคําวาเพื่อประโยชนทางการคา เอาไว
เปนการเฉพาะ แมหากพิจารณาตามมาตรา 3 จะพบคําวา“เพื่อประโยชนทางการคา” แตก็เปนไปเพื่อขยายความของ
นิยามคําวา “ขาย”7 ดังนั้น เมื่อ การตั้งครรภแทนถูกกําหนดหามมิใหดําเนินการในลักษณะที่เปนไปเพื่อประโยชนทาง
การคา แตกลับไมมีนิยามหรือคําจํากัดความไวเฉพาะจึงทําใหเกิดปญหาในเรื่องการตีความถอยคําดังกลาว ตลอดจน

5
สมยศ เชื้ อ ไทย, ความรู เ บื้ อ งต น เกี่ ย วกั บ กฎหมายทั่ ว ไป , พิ ม พ ค รั้ ง ที่ 21 (กรุ ง เทพมหานคร : สํ า นั ก พิ ม พ
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร, 2560), น.39.
6
ประกาศแพทยสภา ที่ 21/2545 เรื่อง มาตรฐานการใหบริการเกี่ยวกับเทคโนโลยีชวยการเจริญพันธุ (ฉบับที่ 2).
7
พระราชบัญญัติคุมครองเด็กที่เกิดโดยอาศัยเทคโนโลยีชวยการเจริญพันธุทางการแพทย พ.ศ. 2558 มาตรา 3 ขาย
หมายความวา จําหนาย จาย แจก แลกเปลี่ยน หรือให เพื่อประโยชนในทางการคา หรือประโยชนอื่นใดที่มิควรไดสําหรับตนเอง
หรือผูอื่น และใหหมายความรวมถึงการเสนอขายดวย
734 Thailand Journal of legal Study

ปญหาความเปนไปไดในการหามทําการตั้งครรภแทนเพื่อประโยชนในทางการคาวาในทางปฏิบัติจะเปนไปไดเพียงใด
อาทิเชน ถามีการตกลงกันระหวางคูสัญญาทั้งสองฝาย ไดแก ฝายคูสมรสที่ประสงคจะมีบุตรกับฝายหญิง ที่รับตั้งครรภ
แทน เปนไปเพื่อประโยชนอื่นๆที่มีลักษณะเปนการแลกเปลี่ยน เชน สนับสนุนเปนทุนการศึกษาตอในระดับสูงขึ้น
ใหกับหญิงที่รับตั้งครรภแทน หรือจายเปนเงินคาเลี้ยงดูใหแกบุตรหรือบุพการีของหญิงที่รับตั้งครรภแทนจะสามารถทํา
ไดหรือไม ประโยชนในทางการคาขอ’มาตราดังกลาวในพระราชบัญญัติฉบับนี้มีความมุงหมายถึงการตกลงแลกเปลี่ยน
สินคาและบริการทุกประเภทหรือมุงหมายถึงการแลกเปลี่ยนที่ไดมาซึ่งเงินตราเทานั้น8
จะเห็นไดวาเจตนารมณของผูรางกฎหมายฉบับนี้ประสงคใหการรับตั้งครรภแทนเปนเรื่องของคูสมรสที่
ประสงคจะมีบุตรกับหญิงที่รับตั้งครรภแทนและมิไดเปนไปเพื่อประโยชนในทางการคา สถานการณดังกลาวจึงอาจ
สามารถพิจารณาถึงความเปนไปไดตอไปอีก 2 กรณี ไดแก (1) กรณีหญิงรับตั้งครรภแทนเปนเครือญาติหรือบุคคล
ใกลชิดคุนเคยกับคูสมรสที่ประสงคจะมีบุตร และ (2) กรณีที่หญิงที่รับตั้งครรภแทนและคูสมรสที่ประสงคจะมีบุตรมิได
รูจักใกลชิดกันแตอยางใด
(1) กรณีหญิงรับตั้งครรภแทนเปนเครือญาติหรือบุคคลใกลชิดคุนเคยกับคูสมรสที่ประสงคจะมีบุตร
หากคูสมรสที่ประสงคจะมีบุตรและหญิงที่รับตั้งครรภแทนเปนเครือญาติกันหรือรูจัก สนิทสนมกันเปนอยางดี
ยอมสามารถอนุมานไดวา การรับตั้งครรภแทนของหญิงดังกลาวอาจเกิดจากเหตุผลของความเห็นอกเห็นใจสนิทสนม
รักใครชอบพอกัน จึงยินยอมพรอมใจในการเขาใหความชวยเหลือภาวะการมีบุตรยากของคูสมรสที่ประสบปญหา
ดังกลาว กรณีนี้สามารถเชื่อไดวาไดวาขอตกลงของบุคคลทั้ง 2 ฝายอาจมิไดเปนไปเพื่อประโยชนในทางการคาอันเปน
การขัดตอความสงบเรียบรอยหรือขัดตอศักดิ์ศรีความเปนมนุษย คาใชจายตางๆที่เกิดขึ้นจึงอาจอยูในขอบเขตของการ
ดูแลเฉพาะเรื่องการตั้งครรภเทานั้นจึงเปนกรณีที่สอดคลองไปในทิศทางตามวัตถุประสงคของมาตรา 24 นั่นเอง9
(2) กรณีที่หญิงที่รับตั้งครรภแทนและคูสมรสที่ประสงคจะมีบุตรมิไดรูจักใกลชิดกันแตอยางใด
หากหญิงรับตั้งครรภแทนและคูสมรสที่ประสงคจะมีบุตรมิไดรูจักใกลชิดกันมากอนแตอยางใด คําถามที่
เกิดขึ้นจึงไดแก“มูลเหตุจูงใจ” ของหญิงที่ทําการตั้งครรภแทนวามาจากสาเหตุใดบาง นอกเหนือจากความเห็นอกเห็น
ใจที่มีตอคูสมรสที่ประสบภาวะมีบุตรยาก และหากคูสมรสฝายหลังไมมีเครือญาติที่ตนสามารถเจรจาใหทําการตั้งครรภ
แทนไดเนื่องจากจํานวนเครือญาติที่มีคุณสมบัติสามารถเขาเปนหญิงที่รับตั้งครรภแทนถูกจํา กัดดวยมาตรา 21(2) วา
ตองมิใชบุพการีหรือผูสืบสันดานของสามีหรือภริยาที่ชอบดวยกฎหมาย ดังนั้นหญิงที่คูสมรสประสงคจะทําการติดตอ
เพื่อใหทําการรับตั้งครรภแทนจึงแคบลงหรือคูสมรสอาจไมมีเครือญาติเลย จึงตองหาหญิงรับตั้งครรภแทนที่ไกลตัว
ออกไป มิไดรูจักกันมากอน ดังนั้น ขอเท็จจริงลักษณะนี้จะสามารถเชื่อไดวาหญิงผูนั้นมิไดมีผลประโยชนหรือไดรับ
คาตอบแทนในทางทรัพยสินจะมีความเปนไปไดมากนอยเพียงใด10 นอกจากนี้ การที่มาตรา 21(3) บัญญัติวา “…กรณี
ที่ไมมีญาติสืบสายโลหิตของสามีหรือภรรยาที่ชอบดวยกฎหมาย ใหหญิงอื่ นรับตั้งครรภแทนได ทั้งนี้ ใหเปนไปตาม
หลั ก เกณฑ วิ ธี ก าร และเงื่ อ นไขที่ รั ฐ มนตรี ว า การกระทรวงสาธารณสุ ข ประกาศกํ า หนดโดยคํ า แนะนํ า ของ
คณะกรรมการ”11 ยังเปนการเปดชองใหนําไปสูการตั้งครรภแทนเพื่อประโยชนในทางการคาหรือการจางตั้งครรภแทน
อีกดวย
ดังนั้น แมหลักการในเรื่องการหามตั้งครรภแทนที่เปนไปเพื่อประโยชนในทางการคาจะมีขอดี เนื่องจากมี
วัตถุประสงคเพื่อไมใหเนื้อตัวรางกายของมนุษยกลายเปนสินคาที่สามารถซื้อขายกันได แตก็ควรพิจารณาตอไปวาใน
ขอดีของบทกฎหมายที่ถูกบัญญัติขึ้นนั้นมีขอเสียและอุปสรรคในการบังคั บใชอยางไรบาง การหามมิใหมีการตั้งครรภ
แทนเพื่อประโยชนทางการคามีความเปนไปไดหรือสอดคลองกับขอเท็จจริงในปจจุบันมากนอยเพียงใด เพราะหาก

8
เอื้ออารีย อึ้งจะนิล, รายงานสรุปและวิเคราะหรางพระราชบัญญัติคุมครองเด็กที่เกิด โดยอาศัยเทคโนโลยีชวยการ
เจริญพันธุทางการแพทย พ.ศ. …, (กรุงเทพมหานคร : บริษัท จรัลสนิทวงศการพิมพ จํากัด, 2558), น. 36.
9
เพิ่งอาง, น. 37-38.
10
เพิ่งอาง, น. 38.
11
พระราชบัญญัติคุมครองเด็กที่เกิดโดยอาศัยเทคโนโลยีชวยการเจริญพันธุทางการแพทย พ.ศ. 2558.
วารสารนิติศึกษาไทย 735

พิจารณาประกอบกับบริบทของสังคมไทย จะเห็นไดวา ความตองการสรางครอบครัวที่มีองคประกอบ พอ แม และลูก


ที่เกี่ยวของกันทางสายเลือดเปนหนึ่งในชุดความคิดที่ถูกปลูกฝงใหกับคนในสังคมมาชานาน และในปจจุบันคูสมรสที่
ประสบภาวะการมีบุตรยากก็มีจํานวนสูงขึ้น ประกอบกับเมื่อพิจารณาสภาพสังคมไทยในอดีตที่ผานมาจนถึงปจจุบันก็
พบวาเคยเปนแหลงที่มีการวาจางตั้งครรภแทนจนกลายเปน “ธุรกิจอุมบุญ” มากอน อีกทั้งสภาพสังคมที่มีความ
เหลื่อมล้ําทางดานเศรษฐกิจและสังคม หญิงที่รับตั้งครรภแทนสวนใหญมักจะเปนผูดอยโอกาสทางสังคม หรือผูมี
รายไดนอย ไมเพียงพอตอการเลี้ยงชีพ หลายคนจึงตัดสินใจรับตั้งครรภแทนเนื่องจากเห็นวารายไดนาสนใจ
ดังนั้น เมือ่ พิจารณาอุปสรรคที่เกิดขึ้นจากการใชกฎหมายในลักษณะดังกลาวพบวา หลักเกณฑขอหามที่ใชอยู
อาจจะไมเหมาะสมกับสภาพสังคมไทยนับแตอดีตจนถึงปจจุบัน และเปนบทบัญญัติที่ลาหลังเมื่อเทียบกับกาลสมัย ซึ่ง
สอดคลองกับความเห็นของศาสตราจารย ดร.ทวีเกียรติ มีนะกนิษฐ เรื่อง“ปจจัยที่ทําใหกฎหมายขาดประสิทธิภาพ” ที่
กลาวไววา “พฤติกรรมของบทบัญญัติที่ถูกกําหนดโดยกฎหมายนั้น หากสอดคลองกันกับวัฒนธรรมประเพณีหรือความ
เชื่ อ ของบุ ค คลในสั ง คมนั้ น แล ว ย อ มมี ป ญ หาในการบั ง คั บ ใช น อ ย หรื อ แทบไม มี เ ลย แต ห ากกฎหมายต อ งการ
เปลี่ ย นแปลงพฤติ กรรม หรื อแนวปฏิ บั ติ ข องชุ ม ชนแล ว ก็จ ะเกิด ป ญ หาเรื่อ งการละเมิ ด บทบั ญ ญั ติ ก ฎหมายอยู
เนืองๆ…”12
นอกจากนี้ แมปจจุบันกฎหมายไทยจะหามตั้งครรภแทนเพื่อการคา แตผูเขียนก็ยังพบเห็นขาวการกระทําที่
ฝาฝนบทกฎหมายดังกลาวอยูเนืองๆ เชน เหตุการณวันที่ 20 พฤษภาคม 2560 ณ ดานศุลกากรหนองคาย กรณี
เจาหนาที่ศุลกากรจับหญิงไทยซึ่งเดินทางกลับมาจากประเทศลาว หลังจากเดินทางไปฝงตัวออนที่ประเทศลาว โดยทํา
เปนขบวนการและมีนายทุนอยูเบื้องหลัง ซึ่งการกระทําในลักษณะดังกลาว บุคคลผูที่เกี่ยวของยอมตกเปนผูกระทํา
ความผิดทางอาญาตามพระราชบัญญัติ คุมครองเด็กที่เกิดโดยอาศัยเทคโนโลยีชวยการเจริญพันธุทางการแพทย พ.ศ.
2558 มาตรา 24 ระวางโทษตามมาตรา 48 คือ จําคุกไมเกิน 10 ป หรือ ปรับไมเกิน 200,000 บาท หรือทั้งจําทั้งปรับ
สวนผูที่เปนคนกลางหรือนายหนา อันมีลักษณะชวยสนับสนุน อํานวยความสะดวกในการกระทํา ความผิดดังกลาว มี
ความผิดตามมาตรา 27 ระวางโทษตามมาตรา 49 คือ จําคุกไมเกิน 5 ป หรือปรับไมเกิน 100,000 บาท หรือทั้งจําทั้ง
ปรับ
ดังนั้น เมื่อพิจารณาทั้งในสวนของตัวบทกฎหมายที่มีความไมชัดเจน ประกอบกับบริบทสังคมไทย และ
สถานการณเรื่องการตั้งครรภแทนภายหลังมีการประกาศใชพระราชบัญญัติคุมครองเด็กที่เกิดโดยอาศัยเทคโนโลยีชวย
การเจริญพันธุทางการแพทย พ.ศ. 2558 จึงสรุปไดวา การมีกฎหมายหามดําเนิน การตั้ง ครรภ แทนที่ เปนไปเพื่ อ
ประโยชนทางการคาอาจมิใชทางออกที่ดีที่สุดสําหรับสังคมไทย
ผูเขียนเห็นวา กฎหมายควรมีการแกไ ขเปลี่ยนแปลงใหสอดคลองและทันตอความเปลี่ยนแปลงของสังคม ไม
ควรมีลักษณะอนุรักษนิยม โดยควรบัญญัติใหสามารถตั้งครรภแทนเพื่อประโยชนทางการคาได เพราะแมจะมีการ
บัญญัติกฎหมายหามตั้งครรภแทนในทางการคา โดยหวังใหการตั้งครรภแทนในลักษณะดังกลาวใหหมดสิ้นไปจาก
สังคมไทย แตในทางปฏิบัติกลับเปนไปไดยาก อีกทั้งการออกกฎหมายหามในทางการคายังมีสวนทําใหขบวนการ
รับจางตั้งครรภแทนหลบเลี่ยงอยูนอกเหนือการควบคุมของกฎหมายและมีความซับซอนมากขึ้น กลายเปน “ขบวนการ
ธุรกิจอุมบุญ” ซึ่งเปนวงจรเดิมๆกอนมีการบังคับใชกฎหมายฉบับนี้ อีกครั้งหนึ่ง อันอาจนําไปสูสถานการณที่ผูหญิงซึ่ง
รับตั้งครรภแทนมีคาตอบแทนแบบไมเปดเผย เอื้อใหเกิดการเอารัดเอาเปรียบไดมากขึ้น ยากตอการควบคุมใหเปนไป
ในทิศทางที่เหมาะสม ซึ่งหญิงเหลานี้สวนใหญเปนผูดอยโอกาสทางสังคม ทั้งนี้ แมการอนุญาตใหรับตั้งครรภแทนโดยมี
คาตอบแทนอาจจะกอใหเกิดความเสี่ยงตอการละเมิดจริยธรรมและสิทธิมนุษยชน แตหากสังคมไทยพัฒนากฎหมาย
เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยใหน้ําหนักกับการปกปองและคุมครองสิทธิมากกวาการจับกุมและปราบปราม ปญหาความเสี่ยง
เหลานี้ก็จะไดรับการจัดการอยางเปนระบบ และไมเ ปนเหมือนเชนที่เกิดขึ้นกับกรณีการคาประเวณีกับการทําแทงซึ่ง
แมกฎหมายจะหามก็ยังมีการลักลอบกระทํากันอยูนั่นเอง

12
ทวีเกียรติ มีนะกนิษฐ , “ปจจัยที่ทําใหกฎหมายขาดประสิ ทธิภาพ,” (การอบรมหลั กสูตร “ผูบริหารกระบวนการ
ยุติธรรมระดับสูง (บ.ย.ส.),” รุนที่ 4 วิทยาลัยการยุติธรรม สํานักงานศาลยุติธรรม พ.ศ. 2542), น.2.
736 Thailand Journal of legal Study

2. ปญหาการซื้อขาย และนําเขา สงออก ไข อสุจิ หรือตัวออน ระหวางประเทศไทยกับประเทศเพื่อน


บาน
กอนมีการประกาศใชพระราชบัญญัติคุมครองเด็กที่เกิดโดยอาศัยเทคโนโลยีชวยการเจริญพันธุทางการแพทย
พ.ศ. 2558 ยังไมกฎหมายเฉพาะที่เกี่ยวกับการตั้งครรภแทน การตั้งครรภแทนในประเทศไทยจึงยังไมถือเปนเรื่องผิด
กฎหมาย ตลอดจนการซื้อขายไข อสุ จิ หรือตั ว ออน ก็ยั ง ไม มีกฎหมายห ามอยางชัดเจน แต เมื่ อมี การประกาศใช
พระราชบัญญัติคุมครองเด็กที่เกิดโดยอาศัยเทคโนโลยีชวยการเจริญพันธุทางการแพทย พ.ศ. 2558 การตั้งครรภ
แทนที่เปนไปในทางการคาก็กลายเปนเรื่องผิดกฎหมาย รวมถึงมีการควบคุมการดําเนินการเกี่ยวกับเทคโนโลยีชวยการ
เจริญพันธุทางการแพทย โดยกําหนดไวในมาตรา 41 แหงพระราชบัญญัติดังกลาววา “หามมิใหผูใดซื้อ เสนอซื้อ ขาย
นําเขา หรือสงออก ซื้ออสุจิ ไข หรือตัวออน” การฝาฝนบทบัญญัติมาตรา 41 จะตองระวางโทษตามมาตรา 51 คือ
ระวางโทษจําคุกไมเกิน 3 ป หรือปรับไมเกิน 60,000 บาท หรือทั้งจําทั้งปรับ
เหตุที่ผูเขียนหยิบยกบทบัญญั ติวาดวยการหามซื้อขาย เสนอซื้อ หรือขาย เซลลสืบพันธุ มาวิเคราะหวามี
ปญหาความรับผิดในทางอาญาตามพระราชบัญญัติคุมครองเด็กที่เกิดโดยอาศัยเทคโนโลยีชวยการเจริญพันธุทาง
การแพทย พ.ศ. 2558 ภายหลังการบังคับใชหรือไม หรือควรหาแนวทางที่เหมาะสมอยางไรนั้น เนื่ องจากผูเขียนมอง
วา ความสัมฤทธิ์ผลของการประกาศใชกฎหมายแตละฉบับ อยูที่การบังคับใชในทางปฏิบัติไดจริง โดยจะตองสามารถ
ปองปรามการกระทําความผิดที่กฎหมายบัญญัติไวไมใหเกิดขึ้นได แตผลจากการประกาศใชพระราชบัญญัติคุมครอง
เด็กที่เกิดโดยอาศัยเทคโนโลยีชวยการเจริญพันธุทางการแพทย พ.ศ. 2558 ซึ่งมีการกําหนดขอหาม ซื้อขาย เสนอซื้อ
หรือขาย เซลลสืบพันธุ มิไดทําใหการกระทําในลักษณะดังกลาวหมดไปจากสังคมไทยไดเลย นอกจากนี้ภายหลังการ
บังคับใช ยังพบวามี “ขบวนการซื้อขายอสุจิระหวางประเทศ” ซึ่งเปนเหตุการณที่เกิดขึ้นในชวงเดือนเมษายน พ.ศ.
2560 กรณีที่เจาหนาที่ศุลกากรหนองคายสามารถจับกุมผูกระทําความผิดได ขณะกําลังเดินทางออกนอกประเทศไทย
เพื่อนําอสุจิไปสงไปยังประเทศลาว13 อีกทั้งสื่อออนไลน เชน เฟสบุค ก็เปนชองทางหนึ่งในการประกาศหาหญิงผูสนใจ
บริจาคไขและเสนอคาตอบแทนใหในอัตราราคาตางๆ ทั้งนี้ เปนไปอยางไมเกรงกลัวตอกฎหมาย การศึกษาในประเด็น
ดั ง กล า วขา งต น จึ ง ทํ า ให ไ ด คํ า ตอบวา การห า มซื้ อขายนํ า เขาหรือส งออกซึ่ ง เซลลสื บพั นธุ อาจไมใช บทบัญญัติที่
สอดคลองกับบริบทสังคมไทยทั้งในอดีตและปจจุบัน
ดังนั้น เพื่อหาแนวทางที่เหมาะสมและใหสอดคลองกับขอเสนอแนะในประเด็นการหามตั้งครรภแทนเพื่อ
ประโยชนทางการคา ซึ่งเสนอใหกฎหมายอนุญาตตั้งครรภแทนทางการคา ในกรณีการซื้อขายเซลลสืบพันธุเพื่ อ
นําไปใชในการตั้งครรภแทนก็เชนกัน ผูเขียนเห็นวาผูรางกฎหมายควรเปลี่ยนจากการหามเปนการอนุญาตใหส ามารถ
บริจาคไขหรืออสุจิและไดรับคาตอบแทนจากการบริจาค โดยอยูภายใตการควบคุมของกฎหมาย เพราะการหามอาจ
นําไปสูการดําเนินการอยางไมเปดเผยในสถานประกอบการที่ไมไดคุณภาพ ซึ่งอาจเปนอันตรายตอชีวิตและรางกาย
ของผูบริจาค อีกทั้งผูบริจาคเปนผูที่จะตองเสียสละเวลาในการดําเนินการทางการแพทยหลายขั้นตอน ซึ่งในแตละ
ขั้นตอนอาจมีผลกระทบตอรางกายและจิตใจ อาจเกิดภาวะแทรกซอนและผลขางเคียงภายหลังการบริจาค ดังนั้น ผู
บริจาคจึงควรที่จะไดรับคาตอบแทนจากการดําเนินการดังกลาว อีกทั้ง การบริจาคเซลลโดยมีคาตอบแทนเพื่อนําใชใน
กระบวนการตั้งครรภแทนเปนไปดวยความสมัครใจของผูบริจาค มิไดเบียดเบียนหรือทําใหใครเดือดรอน จึงมิใชเรื่อง
ผิดศีลธรรมอันดีของประชาชน
ทั้งนี้ ประเทศไทยอาจนําแนวทางของประเทศสหรัฐอเมริกามาปรับใชไดบาง กลาวคือ ในบางรัฐที่มีกฎหมาย
อนุญาตตั้งครรภแทน การบริจาคไข โดยมีคาตอบแทน หรือ “อาชีพบริจาคไข” ถือเปนอาชีพที่ถูกกฎหมาย มีเกียรติ
และเปนอาชีพที่สังคมคอนขางใหความเคารพ โดยรายไดที่ไดรับจากการบริจาคไขตองเสียภาษีเชนเดียวกับอาชีพ

13
ไทยรัฐออนไลน, “จับถังบรรจุอสุจิ สออุมบุญขามชาติ ใชลาวเปนฐานแทนไทย,” สืบคนเมื่อวันที่ 21 เมษายน
2560, จาก https://www.thairath.co.th/content/919605.
วารสารนิติศึกษาไทย 737

อื่นๆ ซึ่งตามกฎหมายระบุวาผูบริจาคสมควรไดรับคาตอบแทนเพื่อทดแทนการสละเวลา คาความเสี่ยงชีวิต และคา


การใหโอกาสใหคนไรความหวังไดมีโอกาสทําความฝนที่จะมีลูกใหเปนจริง
3. การกําหนดความรับผิดทางอาญาแกผูประกอบวิชาชีพและสถานประกอบการ
จากการศึกษาเกี่ยวกับการกําหนดความรับผิดแกผูประกอบวิชาชีพเวชกรรมและสถานประกอบการเกี่ยวกับ
เทคโนโลยีชวยการเจริญพันธุทางการแพทยวาบทบัญญัติที่มีอยูเดิมเพียงพอและเหมาะสมแลวหรือไม หรือควรมีการ
กําหนดเปนความผิดในทางอาญาเพิ่มขึ้นหรือไม อยางไร ผูเขียนไดคําตอบดังนี้
- กรณี การกํา หนดความรับ ผิ ด ทางอาญาของผู ประกอบวิ ชาชีพเวชกรรมการกํา หนดความรับ ผิ ดของผู
ประกอบวิชาชีพเวชกรรมตามพระราชบัญญัติคุมครองเด็กที่เกิดโดยอาศัยเทคโนโลยีชวยการเจริญพันธุทางการแพทย
พ.ศ. 2558 นั้นมีทั้งบทลงโทษทางจริยธรรมและบทลงโทษทางอาญาแกผูประกอบวิชาชีพ ในที่นี้จะกลาวถึงบทลงโทษ
ทางจริยธรรมตามมาตรา 45 ซึ่งใหถือวาผูประกอบวิชาชีพที่กระทําฝ าฝนมาตราตางๆที่ระบุไวในมาตรา 45 เปน
ผูฝาฝนจริยธรรมแหงวิชาชีพเวชกรรม โดยมาตราที่ถูกระบุไวในมาตรา 45 และผูเขียนเห็นวาเปนประเด็นนาสนใจที่
นํามาพิจารณาเพื่อชั่งน้ําหนักวาควรถือเปนเรื่องของการฝาฝนจริยธรรมแหงวิชาชีพหรือเปนเรื่องอาชญากรรมอยาง
หนึ่งอันควรกําหนดความผิด ทางอาญาต อไปนั้น คือบทบัญญัติมาตรา 22 เรื่องวิธีการในการดําเนิน การให มี การ
ตั้งครรภแทน ซึ่งมีประเด็นสําคัญคือการหามใชไขของหญิงตั้งครรภแทนในกระบวนการตั้งครรภแทน หากผูประกอบ
วิ ช าชี พเวชกรรมฯ ดํ า เนิ น การตั้ง ครรภแ ทนโดยวิ ธีการที่ฝา ฝนมาตรา 22 ผลแห งการกระทํ านั้นก็คื อ ให ถือว าผู
ประกอบวิชาชีพเวชกรรมฯ เปนผูกระทําการฝาฝนจริยธรรมแหงวิชาชีพเวชกรรมตามกฎหมายวาดวยวิชาชีพเวชกรรม
ซึ่งตามพระราชบัญญัติวิชาชีพเวชกรรม พ.ศ. 2525 มาตรา 39 ใหอํานาจคณะกรรมการแพทยสภาในการวินิจฉัยชี้
ขาดอยางใดอยางหนึ่ง ดังตอไปนี้ (1) ยกขอกลาวหาหรือขอกําหนดโทษ (2) วากลาวตักเตือน (3) ภาคทัณฑ (4) พักใช
ใบอนุญาตมีกําหนดเวลาตามที่เห็นสมควรแตไมเกินสองป (5) เพิกถอนใบอนุญาต14 โดยอํานาจในการวินิจฉัยชี้ขาดวา
จะลงโทษสถานใดเปนไปตามดุลพินิจของคณะกรรมการแพทยสภา ดังนั้น แมผูประกอบวิชาชีพเวชกรรมจะกระทํา
การฝาฝนมาตรา 45 โดยใชไขของหญิงตั้งครรภแทนในกระบวนการตั้งครรภแทน ซึ่งอาจทําใหเกิดผลตางๆตามมา
เชน ความผูกพันของหญิงตั้งครรภแทนที่มีตอเด็กอันอาจทําใหเกิดปญหาการอางสิทธิในตัวเด็กภายหลังเด็กคลอด แต
ผลที่ ผู ป ระกอบวิ ช าชี พได รับตามพระราชบั ญญั ติ คุมครองเด็ กที่ เกิด โดยอาศัย เทคโนโลยีช วยการเจริญ พั นธุทาง
การแพทย พ.ศ. 2558 ประกอบพระราชบัญญัติวิชาชีพกรรม พ.ศ. 2525 ก็อาจเปนเพียงการวากลาวตักเตือน หรือ
การพักใชใบอนุญาต หรือโทษสถานอื่นๆ แลวแตดุลพินิจของคณะกรรมการแพทยสภา
หากพิจารณาเรื่องดังกลาวโดยใชหลักศีลธรรม จะเห็นไดวาเมื่อการตั้งครรภแทนไมใชเรื่องของการฝาฝน
ศีลธรรม กรณีผูประกอบวิชาชีพไมปฏิบัติตามบทบัญญัติมาตรา 22 เรื่องวิธีการตั้งครรภแทน ซึ่งเปนสวนหนึ่งของ
กระบวนการตั้งครรภแทนก็อาจมิใชเรื่องที่เกี่ยวกับศีลธรรมเชนกัน เพราะมิไดเปนการกระทําที่ผิดศีลขอใดขอหนึ่งที่
ชาวพุทธพึงยึดถือ หรือเปนการเบียดเบียนบุคคลอื่นใด
หากพิจารณาโดยใชหลักการกําหนดความผิดทางอาญาวาการที่ผูประกอบวิชาชีพไมปฏิบัติตามบทบัญญัติ
มาตรา 22 ควรกําหนดเปนความรับผิดทางอาญาหรือไม มีประเด็นที่ตองศึกษาและวิ เคราะหใหไดความกอน คือ การ
ฝาฝนวิธีการตั้งครรภแทนตามมาตรา 22 เชน ใชไขของหญิงตั้งครรภแทนนั้น เขาลักษณะอาชญากรรมหรือการกระทํา
ความผิดทางอาญาอยางหนึ่งหรือไม หากถือเปนเรื่องอาชญากรรมและกฎหมายควรเขามาควบคุมและจัดการในเรื่อง
ดังกลาว ก็ถือวามีเหตุจําเปนและสมควรในการกําหนดเปนความผิดทางอาญาตอไป แตหากมิใชเรื่องของอาชญากรรม
แลว ก็ไมมีความจําเปนจะตองบัญญัติเปนความผิดทางอาญา เพราะอาจทําใหเกิดสภาวะการณกฎหมายอาญาเฟอได
ซึ่งจากการศึกษาแนวคิดในการกําหนดความผิดทางอาญา จะเห็นไดวา การกําหนดความผิดทางอาญามีวิวัฒนาการมา
ตั้งแตการใชเกณฑทางศีลธรรมซึ่งเกิดในสมัยที่สังคมยังเปนสังคมขนาดเล็ก ตอมาเมื่อสังคมพัฒนา มีความสลับซับซอน
และมีผูคนมากขึ้น จึงมีการใชเกณฑของทางสังคมในการกําหนดความผิดทางอาญา จนกระทั่งในปจจุบันมีการใช
เกณฑทางกฎหมายตามแนวคิดเสรีนิยมประชาธิปไตย โดยการที่ฝายนิติบัญญัติจะกําหนดใหพฤติกรรมใดเปนความผิด

14
พระราชบัญญัติวิชาชีพเวชกรรม พ.ศ. 2525
738 Thailand Journal of legal Study

อาญา สวนใหญจะดูจากการกระทํานั้นวาขัดกับความสงบเรียบรอยของสังคมหรือไม กลาวคือ สังคมไดรับความ


เสียหายอยางไรจากการกระทํานั้นๆ ซึ่งเมื่อพิจารณาเกณฑในการบัญญัติกฎหมายในยุคปจจุบัน โดยพิจารณากรณี
แพทยใชไขของหญิงผูรับตั้งครรภแทนในกระบวนการตั้งครรภแทนวาเปนเรื่องที่กระทบตอความสงบเรียบรอยของ
ประชาชนหรือไม เห็นวา “ความสงบเรียบรอยของประชาชน” หมายถึง ภาวะความเปนอยูของประชาชนที่อยูรวมกัน
ในสังคมโดยมีความปลอดภัยในชีวิต รางกาย และทรัพยสิน และในการดําเนินชีวิตโดยปรกติสุข ผูเขียนเห็นวา การใช
ไขของหญิงตั้งครรภแทน อันเปนเปนการไมปฏิบัติตามมาตรา 22 มิใชเรื่องที่มีผลกระทบตอภาวะความเปนอยูรวมกัน
ในสังคม มิไดสงผลตอความปลอดภัยในชีวิต รางกาย และทรัพยสิน และในการดําเนินชีวิตโดยปรกติสุขของประชาชน
ถึงขนาดถือเปนอาชญากรรมอันจะต องบัญญั ติเปน ความผิดทางอาญา แตเปนเพียงการฝาฝนแนวทางในการใช
เทคโนโลยีชวยการเจริญพันธุทางการแพทย ดังนั้น มาตรการของแพทยสภาที่มีอยูจึงเพียงพอและเหมาะสมแลว
สําหรับการควบคุม ดูแล และจัดการกับผูประกอบวิชาชีพที่ไมปฏิบัติ ตามแนวทางปฏิบัติดังกลาว โดยไมจําเปนตอง
บัญญัติเรื่องดังกลาวเปนความผิดทางอาญาเพิ่มเติม
- กรณีของสถานประกอบการ
จากการศึกษาในประเด็นปญหาเกี่ยวกับการตั้งครรภแทนในหัวขอที่ผานมาๆ ทําใหไดคําตอบแลววาการ
ตั้งครรภไมใชเรื่องฝาฝนศีลธรรมอันดีของประชาชน จึงเปนสิ่งที่สามารถกระทําไดโดยไมกระทบตอระบบศีลธรรม ดวย
เหตุผลดังกลาวขางตน สถานประกอบการที่ใหบริการเกี่ยวกับการตั้งครรภแทนโดยชอบดวยกฎหมายจึงไมถือเปน
สถานประกอบการที่มีวัตถุประสงคเพื่อกระทําการในทิศทางที่ฝาฝนศีลธรรมอันดีของประชาชนเชนกัน
อยางไรก็ตาม แมผูเขียนจะเห็นวาสถานประกอบการที่ใหบริการเรื่องการตั้งครรภแทนไมใชเรื่องผิดศีลธรรม
แตก็ตระหนักถึงการมีมาตรการทางกฎหมายในการควบคุมดูแล เพื่อมิใหสถานประกอบการกลายเปนสวนหนึ่งของ
กระบวนการตั้งครรภแทนที่มีลักษณะแสวงหาประโยชนโดยมิชอบดวยกฎหมาย อันอาจนําไปสูปญหาอื่นๆ เชน
การคามนุษย อีกทั้ง สถานประกอบการก็ถือเปนแหลงสําคัญในกระบวนการตั้งครรภแทน จึงเห็นควรศึกษาและ
วิ เคราะห ว า ควรมี การกํา หนดความผิ ด ทางอาญาแกส ถานประกอบการเกี่ย วกับ การตั้ ง ครรภแ ทนอย า งไรจึงจะ
เหมาะสม
จากการศึกษาและวิเคราะหเกี่ยวกับบทกําหนดโทษในพระราชบัญญัติฉบับนี้ พบวามีการกําหนดโทษแก
บุคคลตาง ๆ ที่เขามาเกี่ยวของกับกระบวนการตั้งครรภแทน ไมวาจะเปนผูวาจาง ผูรับจางตั้งครรภแทน คนกลางหรือ
นายหนา ผูที่เกี่ยวของกับการจัดการตัวออน ผูทดลองเซลลสืบพันธุของมนุษยหรือสัตว ผู ประกอบวิชาชีพทางการ
แพทย รวมถึงผูซึ่งมิใชผูประกอบวิชาชีพทางการแพทยที่เขามาเกี่ยวของกับกระบวนการในการตั้งครรภแทน แตกลับ
ไมมีบทบัญญัติที่กําหนดความผิดทางแกสถานประกอบการไวเปนการเฉพาะ ทําใหเกิดคําถามวา ควรมีการบัญญัติ
ความผิดและโทษของสถานประกอบการไว ในพระราชบัญญัติฉบับนี้ไวโดยเฉพาะหรือไม ซึ่งจากการศึกษาบทกําหนด
โทษของสถานประกอบการตามพระราชบัญญัติสถานพยาบาล พ.ศ. 2541 วาสามารถครอบคลุมเกี่ยวกับการกระทํา
ความผิดของสถานประกอบที่ใหบริการเกี่ยวกับการตั้งครรภแทนไดอยางเพียงพอหรือไม
ผู เขีย นเห็ นว า บทกํา หนดความผิดและโทษของสถานประกอบการตามกฎหมายวาด วยสถานพยาบาล
สามารถใชครอบคลุมถึงสถานประกอบการที่ใหบริการเกี่ยวกับการตั้งครรภแทนได เพราะมีทั้งมาตรการทางอาญา
และมาตรการคูขนานอื่นๆในการควบคุม กํากับ ดูแล ตามความรุนแรงแหงการกระทําความผิด จึงไมมีความจําเปนที่
ตองบัญญัติบทความรับผิดหรือโทษทางอาญาของสถานประกอบการที่ ใหบริการเกี่ยวกับ การตั้ งครรภแทนไว ใน
พระราชบัญญัติคุมครองเด็กที่เกิดโดยอาศัยเทคโนโลยีชวยการเจริญพันธุทางการแพทยไวเปนการเฉพาะ หรือบัญญัติ
ความผิดทางอาญาเพิ่มจากเดิมอีก เพราะจะเปนการบัญญัติกฎหมายโดยไมสอดคลองกับหลักเกณฑทฤษฎีการกําหนด
ความรับผิดทางอาญาเพิ่มเติม ซึ่งมีหลักการและเจตนารมณที่จะควบคุมและจํากัดขอบเขตของการใชกฎหมายอาญา
เพื่อไมใหกฎหมายอาญาถูกนําไปใชบังคับ หรือหามการกระทําของบุคคลในสังคมอยางไมจําเปนอันจะเกิดสภาวการณ
กฎหมายอาญาเฟอได
วารสารนิติศึกษาไทย 739

ดังนั้น การที่พระราชบัญญัติคุมครองเด็กที่เกิดโดยอาศัยเทคโนโลยีชวยการเจริญพันธุทางการแพทย พ.ศ.


2558 ไม มี บ ทบัญ ญัติ วา ดว ยความผิ ดทางอาญาแกสถานประกอบเปนการเฉพาะจึง ไม ใช ปญหาอี กต อไป เพราะ
สามารถปรับใชกฎหมายวาดวยสถานพยาบาลไดอยูแลว

บทสรุป
จากการศึกษาสภาพปญหาเกี่ยวกับการตั้งครรภแทนในแงศีลธรรม และในแงของกฎหมาย พบวา การ
ตั้งครรภแทนไมใชเรื่องที่กระทบตอระบบศีลธรรมอันดีของสังคมไทย จึงไมมีปญหาในแงศีลธรรม แตเปนเรื่องที่ยังมี
ปญหาในขอกฎหมายอันอาจนําไปสูปญหาความรับผิดทางอาญาตามพระราชบัญญัติคุม ครองเด็กที่เกิดโดยอาศัย
เทคโนโลยีชวยการเจริญพันธุทางการแพทย พ.ศ. 2558 ภายหลังการบังคับใช เนื่องจากการบัญญัติกฎหมายที่ไมมี
ความสอดคลองกับบริบทของสังคมไทย โดยบัญญัติหามตั้งครรภแทนที่เปนไปเพื่อประโยชนทางการคา แตกลับมี
ปญหาในเรื่องของนิยามการตีความข อกฎหมาย อันสงผลตอความเปนไปไดในการควบคุมไมใหมีการตั้งครรภแทนที่
เปนไปเพื่อประโยชนในทางการคา ตลอดจนการควบคุมมิใหมีการซื้อขายเซลลสืบพันธุเพื่อใชในการตั้งครรภแทน
ดังนั้น ผูเขียนเห็นวาผูรางกฎหมายและผูที่เกี่ยวของกับการใชเทคโนโลยีชวยการเจริญพันธุควรพิจารณาถึง
ปญหาที่เกิดขึ้น ไมวาจะเปนปญหาตัวบทกฎหมายและปญหาการนําไปใชในทางปฏิบัติ เพื่อนําไปสูการเปลี่ยนแปลง
แกไขกฎหมายเกี่ยวกับการตั้งครรภแทนใหสามารถบังคับใชไดจริงและเปนไปอยางมีประสิทธิภาพ อีกทั้งไมทําใหผูใช
กฎหมาย อันไดแก ประชาชนและเจาหนาที่ที่เกี่ยวของตองเดือดรอนจนเกินไป โดยควรมีการศึกษาและวิเคราะห
เกี่ยวกับปญหาที่เกิดขึ้นจากการบังคับใชกฎหมายตั้งครรภแทน เพื่อหาแนวทางที่เหมาะสม สอดคลองกับบริบท
สังคมไทย และทําใหการบังคับใชกฎหมายเปนไปอยางมีประสิทธิภาพ
740 Thailand Journal of legal Study

บรรณานุกรม

หนังสือ

สมยศ เชื้ อ ไทย. ความรู เ บื้ อ งต น เกี่ ย วกั บ กฎหมายทั่ ว ไป. พิ ม พ ค รั้ ง ที่ 21. กรุ ง เทพมหานคร : สํ า นั ก พิ ม พ
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร, 2560.

เอกสารอิเล็กทรอนิกส

ไทยรั ฐ ออนไลน . “จั บ ถั ง บรรจุ อ สุ จิ ส อ อุ ม บุ ญ ข า มชาติ ใช ล าวเป น ฐานแทนไทย .” http://www. thairath.
co.th/content/919605, 21 เมษายน 2560.
“ผงะแหลงอุมบุญ 9 ทารก กลางคอนโดกรุง ตร.บุกสลาย – เจอพรอม 7 พี่เลี้ยง ตะลึงจากพอชาวญี่ปุนคนเดียวกัน
คลอดแล ว ลอบส ง เด็ ก กลั บ ประเทศ .” https://khaosod.co.th/view_news online.php? 21
เมษายน 2561.
“แม อุม บุ ญ รับ ดู แ ลน อ งแกรมมี่ เด็ ก ดาวน ซิ น โดรมอย างดี ที่สุ ด .” http://ch3.sanook.com/28555, 21 เมษายน
2561.

เอกสารอื่น ๆ

ขาวแจกสื่อมวลชน เรื่อง “ศาลเยาวชนฯกลาง อานคําสั่งคดีอุมบุญ.” กองสารนิเทศและประชาสัมพันธ สํานักงานศาล


ยุติธรรม, ประจําวันที่ 26 เมษายน 2559.
ทวีเกียรติ มีนะกนิษฐ. “ปจจัยที่ทําใหกฎหมายขาดประสิทธิภาพ.” การอบรมหลักสูตร“ผูบริหารกระบวนการยุติธรรม
ระดับสูง (บ.ย.ส.)” รุนที่ 4 วิทยาลัยการยุติธรรม สํานักงานศาลยุติธรรม พ.ศ. 2542.
ประกาศแพทยสภา ที่ 21/2545 เรื่อง มาตรฐานการใหบริการเกี่ยวกับเทคโนโลยีชวยการเจริญพันธุ (ฉบับที่ 2).
เอื้ออารีย อึ้งจะนิล. รายงานสรุปและวิเคราะหรางพระราชบัญญัติคุมครองเด็กที่เกิดโดยอาศัยเทคโนโลยีชวยการเจริญ
พันธุทางการแพทย พ.ศ. … .สํานักสงเสริมวิชาการรัฐสภา สถาบันพระปกเกลา. กรุงเทพมหานคร :
บริษัท จรัลสนิทวงศการพิมพ จํากัด, 2558.

กฎหมาย

พระราชบัญญัติคุมครองเด็กที่เกิดโดยอาศัยเทคโนโลยีชวยการเจริญพันธุทางการแพทย พ.ศ. 2558


พระราชบัญญัติวิชาชีพเวชกรรม พ.ศ. 2525.
วารสารนิติศึกษาไทย 741

มาตรการทางกฎหมายในการกํากับดูแลการประกอบธุรกิจบริการโอทีท(ี OTT)
LEGAL MEASURES REGULATING OVER-THE-TOP (OTT) SERVICE

ปยาพัชร วงษประสิทธิ์
Piyapat Wongprasit
บทคัดยอ
ธุรกิจบริการ Over - the - top หรือ OTT (ซึ่งตอไปนี้จะเรียกวา “ธุรกิจบริการโอทีที”) เปนธุรกิจที่ใหบริการ
เนื้อหารายการ การสื่อสาร และบริการตาง ๆ ผานระบบอินเทอรเน็ตสาธารณะจึงเปนธุรกิจที่คลายคลึงและแขงขัน
กันกับกิจการโทรทัศนและโทรคมนาคมแบบดั้งเดิม และยังมีความเกี่ยวของกับผูรับบริการในหลายแงมุม เชน การ
นําเสนอเนื้อหารายการหรือโฆษณา การใชขอมูลสวนบุคคล เปนตน ในขณะที่การประกอบกิจการโทรทัศนและกิจการ
โทรคมนาคมแบบดั้งเดิมอยูภายใตกฎหมายที่กํากับดูแลอยางเครงครัด แตในทางกลับกันธุรกิจบริการโอทีทีกลับยังไม
มีกฎหมายสําหรับกํากับดูแลทั้งที่เปนการประกอบกิจการที่ใกลเคียงกัน จึงสงผลกระทบและกอใหเกิดปญหาตอ
กิจการที่เกี่ยวของและผูรับบริการ โดยเฉพาะอยางยิ่งปญหาเกี่ยวกับเนื้อหารายการและโฆษณา ปญหาเรื่องความเปน
กลางทางอินเตอรเน็ต และปญหาการใชขอมูลสวนบุคคลของผูรับบริการ ดังนั้น จึงจําเปนตองมีการกําหนดมาตรการ
ทางกฎหมายในการกํากับดูแลธุรกิจบริการโอทีที เพื่อกําหนดหลักเกณฑสําหรับกํากับดูแลผู ประกอบธุรกิจ การ
ประกอบธุรกิจและการคุมครองผูรับบริการในดานตาง ๆ

คําสําคัญ
ธุรกิจบริการโอทีที (OTT), ความเปนกลางทางอินเทอรเน็ต, การคุมครองขอมูลสวนบุคคล

ABSTRACT
OTT service is a service that provides content and communication to its users through the
Internet without guaranteeing its signal quality. Therefore, OTT service is competing with a traditional
television and telecommunication business. Additionally, OTT service also involves its users in many
ways, such as content and advertisement presentation and using its customers’ personal information.
However, there is currently no law regulating OTT service suitably in Thailand and it creates the problems
to the traditional businesses as well as OTT service’s users, especially the problem related to improper
content and advertisement, unfair use of users’ personal information. Therefore, Thailand should have
a specific regulation to control OTT service by providing definitions of OTT service, guidance on monitoring
of the OTT service and rules to protect the users of OTT service.

Keywords
Over-the-Top (OTT) Service, Net Neutrality, Data Protection


นักศึกษาปริญญาโท หลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต สาขากฎหมายธุรกิจ คณะนิติศาสตรมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร
: wongprasit.p@gmail.com
Graduate Student of Master of Laws Program in Business Law, Faculty of Law, Thammasat
University. Email address : wongprasit.p@gmail.com
742 Thailand Journal of legal Study

บทนํา
ธุรกิจบริการโอทีที คือ ธุรกิจที่ใหบริการเนื้อหารายการ การสื่อสาร หรือบริการตาง ๆ แกผูรับบริการผาน
ระบบอินเทอรเน็ตสาธารณะ โดยที่ไมตองลงทุนสรางโครงขายอินเทอรเน็ตเอง แตอาศัยโครงขายอินเทอรเน็ตที่มีอยู
แล ว ของผู ให บ ริการโทรคมนาคม โดยที่ ผู ป ระกอบธุรกิจบริการโอทีที ไม มี ความเกี่ย วของโดยตรงกับ ผูให บริการ
โทรคมนาคม และไมมีความรับผิดชอบในเรื่องคุณภาพของอินเทอรเน็ตแตอยางใด ธุรกิจบริการโอทีทีสามารถแบง
ออกเปน 2 ลักษณะใหญ ๆ ไดแก 1) ธุรกิจบริการโอทีที ประเภทที่ใหบริการเพื่อรับชมสื่อและเนื้อหารายการ (OTT
Media) เชน Netflix หรือ Youtube และ 2) ธุรกิจบริการโอทีที ประเภทที่ใหบริการเพื่อการติดตอสื่อสาร (OTT
Communication) เชน WhatsApp Line หรือ Wechat
ธุรกิจบริการโอทีทีมีจุดเดนตรงที่ผูรับบริการสามารถใชบริการไดทุกที่ ทุกเวลาตามความตองการ (On
demand) มีเนื้อหารายการและรูป แบบการติด ตอสื่อสารที่ ทันสมัย แปลกใหม และนาสนใจ และมีรูปแบบการคิด
คาบริการที่หลากหลายจึงตอบโจทยความตองการในฝงผูรับบริการ อีกทั้งยังเปนธุรกิจที่มีคาใชจายในการลงทุนนอยกวา
กิจการโทรทัศนและกิจการโทรคมนาคมแบบดั้งเดิม เพราะไมตองสรางโครงขายที่ใชในการใหบริการเองจึงตอบโจทย
ความตองการในฝงผูประกอบธุรกิจอีกดวย ปจจัยตาง ๆดังกลาว ประกอบกับพัฒนาการทางเทคโนโลยีทําใหธุรกิจ
บริการโอทีทีไดรับความนิยมและเติบโตอยางรวดเร็วในหลายประเทศ ทั้งในประเทศสหรัฐอเมริกา ประเทศในกลุ ม
สหภาพยุโรป และประเทศในทวีปเอเชียซึ่งรวมถึงประเทศไทยดวย โดยจากผลการสํารวจพบวา ธุรกิจบริการโอทีทีมี
สวนแบงรายไดและปริมาณการใชงานเพิ่มขึ้นอยางรวดเร็วและตอเนื่อง สวนทางกันกับสวนแบงรายไดและปริมาณการ
ใชงานของกิจการโทรทัศนและกิจการโทรคมนาคมแบบดั้งเดิม
การเติบโตอยางรวดเร็วของธุรกิจบริการโอทีทีทําใหเกิดการเปรียบเทียบกับกิจการโทรทัศนและกิจการ
โทรคมนาคมแบบดั้งเดิมซึ่งเปนกิจการที่มีการใหบริการที่คลายคลึงกัน และแขงขันกัน เนื่องจากกิจการแบบดั้งเดิม
ดังกลาวตองอยูภายใตกฎหมายและการกํากับดูแลของหนวยงานที่เกี่ยวของอยางเครงครัด ทั้งการขออนุญาตประกอบ
กิจการ การกํากับดูแลการประกอบกิจการในเรื่องตาง ๆ โดยเฉพาะอยางยิ่งในเรื่องการควบคุมเนื้อหารายการ โฆษณา
สัญญา และการควบคุมคุณภาพของโครงขายโทรคมนาคม เปนตน ในกรณีผูประกอบกิจการโทรคมนาคมยังมีภาระใน
การขยายโครงขายอินเทอรเน็ตเพื่อรักษาคุณภาพการใหบริการอินเทอรเน็ตใหสามารถรองรับกับ การรับบริการของ
ธุรกิจบริการโอทีทีที่มักมีการรับสงขอมูลอินเทอรเน็ตในปริมาณมาก โดยเฉพาะการรับชมเนื้อหารายการดวยมาตรฐาน
การสงสัญญาณภาพที่มีคุณภาพสูง (High-Definition) หรือการสนทนาทางวิดีโอ หรือเสียงดวยคุณภาพระดับสูง
ในขณะที่ธุรกิจบริการโอทีที กลับยังไมมีความชัดเจนแนนอน และยังคงอยูในพื้นที่สีเทาซึ่งทําใหสามารถใหบริการได
โดยไมอยูภายใตกฎหมายและการกํากับดูแลของหนวยงานรัฐดังเชนกิจการแบบดั้งเดิมทั้ง 2 ประเภท ดังกลาว
สถานการณดังกลาวจึงแสดงถึงความไมเทาเทียมกันในการประกอบธุรกิจ และทําใหกลุมผูประกอบกิจการ
แบบดั้งเดิมในประเทศตาง ๆ สรางแรงกดดันตอ หนวยงานกํากับดูแลเพื่อใหมีการวางกฎระเบียบกํากับดูแลธุรกิจ
บริการโอทีทีดวย จนเกิดเปนแนวความคิดในการกํากับดูแลการประกอบธุรกิจบริการโอทีที ในหลายประเทศ รวมทั้ง
ประเทศไทย ดังจะเห็นไดจากการที่คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน และกิจการโทรคมนาคม
แหงชาติ (กสทช.) หนวยงานกํากับดูแลกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน และกิจการโทรคมนาคมของประเทศไทย
ไดมีความพยายามที่จะควบคุมและกํากับดูแลธุรกิจบริ การโอทีที โดยกําหนดใหธุรกิจบริการโอทีทีเปนบริการกิจการ
กระจายเสียงและกิจการโทรทัศนที่ไมใชคลื่นความถี่ประเภทหนึ่ง ภายใตพระราชบัญญัติการประกอบกิจการกระจาย
เสียงและกิจการโทรทัศน พ.ศ. 25511 อยางไรก็ตาม ปจจุบัน การจัดทําหลักเกณฑดังกลาวยังไมแลวเสร็จ จึงทําใหยัง
ไมมีความชัดเจนในเรื่องแนวทางการกํากับดูแลธุรกิจดังกลาว
เมื่ อพิ จ ารณากฎหมายของประเทศไทย พบว า แม ธุ รกิจ บริการโอที ที จะมีลั กษณะคล ายคลึง กับกิจการ
โทรทัศนและกิจการโทรคมนาคมแบบดั้งเดิม แตดวยลักษณะพิเศษที่มีวัตถุแหงการบริการที่หลากหลาย และมีความ
ผสมผสานกันระหวางความเปนกิจการโทรทัศนและกิจการโทรคมนาคมในธุรกิจเดียว จึงทําใหธุรกิจดังกลาวไมตกอยู

1
“กสทช. ขยายนิยามกิจการ “โอทีท”ี ใหม,” กรุงเทพธุรกิจ, (10 สิงหาคม 2560).
วารสารนิติศึกษาไทย 743

ภายใตนิยามของคําวา “กิจการโทรทัศน” ตามพระราชบัญญัติการประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน


พ.ศ. 2551 และนิยามของคําวา “กิจการโทรคมนาคม” ตามพระราชบัญญัติการประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.
2544 ดวยเหตุนี้จึงไมสามารถนําหลักเกณฑการกํากับดูแลกิจการทั้ง 2 ประเภทดังกลาวมาใชกํากับดูแลการประกอบ
ธุรกิจบริการโอทีทีได ไมวาจะเปนเรื่องคุณสมบัติและลักษณะตองหามของผูประกอบธุรกิจ การขออนุญาตประกอบ
ธุรกิจ การควบคุมเนื้อหารายการ เนื้อหาโฆษณา การหารายได การทําสัญญารับบริการ หรือการจัดการขอมูลสวน
บุคคลของผูรับบริการ อีกทั้ง พระราชบัญญัติวาดวยขอสัญญาไมเปนธรรม พ.ศ. 2540 ซึ่งเปนกฎหมายที่ใชคุมครอง
ผูบริโภคในการทําสัญญากับผูประกอบธุรกิจเปนการทั่วไปก็ยังมีขอจํากัดบางประการที่ ทําใหไมสามารถนํามาใชกับ
สัญญารับบริการในธุรกิจบริการโอทีทีไดอยางเหมาะสม
จากขอจํากัดของกฎหมายดังกลาวทําใหเกิดปญหาความไมเทาเทียมกันในการแขงขันระหวางกิจการโทรทัศน
และกิจการโทรคมนาคมแบบดั้งเดิมที่อยูภายใต การกํากับดูแลอยางเครงครัดกับธุรกิจบริการโอทีทีที่ไมอยูภายใตการ
กํากับดูแลแตอยางใด อีกทั้งยังเปนธุรกิจที่ใหบริการผานโครงขายอินเทอรเน็ตของผูประกอบกิจการโทรคมนาคมโดย
ไมเสียคาใชจาย และมีการรับและสงขอมูลอินเทอรเน็ตในปริมาณมากอีกดวย นอกจากนี้ ยังทําใหเกิดปญหาตอ
หน ว ยงานกํา กับ ดู แ ลที่ไ ม สามารถพิ จ ารณาความเหมาะสมของผูประกอบธุรกิจบริการโอที ที ไม สามารถกําหนด
หลั กเกณฑ กํ า กั บ ดู แลการประกอบธุ ร กิ จ และไม มี ข อมู ล เกี่ ย วกั บ การประกอบธุ ร กิ จ ดั ง กล า ว ประการสุ ด ท า ย
คือ ทําใหเกิดปญหาตอผูรับบริการที่อาจไดรับผลเสียจากการรับชมเนื้อหารายการหรือ โฆษณาที่อันตรายหรือไมเปน
ธรรม การใชบริการอินเทอรเน็ตเพื่อรับบริการจากธุรกิจบริการโอทีทีโดยไมมีการรับรองคุณภาพและไมไดรับความ
คุม ครองตามหลัก ความเปนกลางทางอินเทอรเน็ต การทําสัญญารับบริการที่ไมเปนธรรม และการไมไดรับความ
คุมครองจากการดําเนินการเกี่ยวกับขอมูลสวนบุคคลของตนโดยผูประกอบธุรกิจบริการโอทีทีซึ่งอาจเปนการละเมิด
สิทธิในขอมูลสวนบุคคลของผูรับบริการ
จากการศึกษากฎหมายของตางประเทศ ทั้งในระดับสหภาพยุโรป ประเทศสหราชอาณาจักร ประเทศ
สาธารณรัฐเกาหลี และประเทศสิงคโปร พบวา ทุกประเทศลวนมีมาตรการทางกฎหมายในการกํากับดู แลการ
ประกอบธุรกิจบริการโอทีทีแตอยู ในรูปแบบที่แตกตางกันไป โดยในสวนที่เปนการกํากับดูแลผูประกอบธุรกิจและ
การประกอบธุรกิจบริการโอทีทีนั้นในสหภาพยุโรป และประเทศสหราชอาณาจักรไดกําหนดนิยามของธุรกิจบริการโอ
ทีทีโดยแยกตางหากจากกันระหวางธุรกิจบริการโอทีที ประเภทเพื่อการเผยแพรเนื้อหา (OTT Media) และธุรกิจ
บริการโอทีที ประเภทเพื่อการสื่อสาร (OTT Communication) และกําหนดใหใชระบบจดแจง (Notification) ใน
การขอประกอบธุรกิจบริการโอทีที ทั้ง 2 ประเภทเหมือนกัน เพียงแตสหภาพยุโรปมิไดกําหนดนิยามธุรกิจบริการโอที
ที ทั้ง 2 ประเภท ในกฎหมายฉบับเดียวกัน ในขณะที่ประเทศสหราชอาณาจักรกําหนดนิยามธุรกิจบริการโอทีที ทั้ง 2
ประเภท ใหอยูในกฎหมายฉบับเดียวกัน สวนประเทศสาธารณรัฐเกาหลี และประเทศสิงคโปรไดกําหนดนิยามของธุรกิจ
บริการโอทีที ทั้ง 2 ประเภท ใหอยูภ ายใตคํา นิย ามเดีย วกัน และอยูภ ายใตกฎหมายฉบับ เดีย วกัน โดยประเทศ
สาธารณรัฐเกาหลีใชระบบการรายงาน (Reporting) ในการขอประกอบธุรกิจบริการโอทีที ในขณะที่ประเทศสิงคโปร
ใชระบบการออกใบอนุญาต (Licensing)
สําหรับสวนที่เปนเรื่องการคุมครองผูรับบริการในธุรกิจบริการโอทีทีนั้น พบวา ทุกประเทศมีรูปแบบของ
มาตรการทางกฎหมายในเรื่องดังกลาวเหมือนกัน กลาวคือ มีการคุมครองการทําสัญญารับบริการในเรื่องขอสัญญา
และรูปแบบของสัญญาที่ไมเปนธรรม การคุมครองหลักความเปนกลางทางอินเทอรเน็ต โดยการรับรองสิทธิของ
ผูรับบริการในการใชบริการเขาถึงอินเตอรเน็ตเพื่อเข าถึงเนื้อหาในธุรกิจบริการโอทีที ที่ถูกกฎหมายไดโดยอิสระ และ
การคุมครองที่เกี่ยวกับขอมูลสวนบุคคลโดยมีหลักเกณฑเรื่องการขอความยินยอมในการประมวลผลขอมูลสวนบุคคล
สิทธิของเจาของขอมูลสวนบุคคล และหนาที่ของผูควบคุมขอมูลสวนบุคคล ซึ่งโดยสวนใหญ มาตรการทางกฎหมายใน
เรื่องตาง ๆ ดังกลาวอยูภายใตกฎหมายทั่วไปของแตละประเทศที่บัญญัติขึ้นเพื่อคุมครองผูบริโภคในการรับบริการจากผู
ประกอบธุรกิจประเภทตาง ๆ เปนการทั่วไป

บทสรุปและขอเสนอแนะ
744 Thailand Journal of legal Study

เนื่องจากธุรกิจบริการโอทีทีมีความเกี่ยวของกับการจัดการขอมูลสวนบุคคลของประชาชนและขอมูลเกี่ยวกับ
การติ ด ต อสื่อสาร มี ก ารเผยแพรเนื้ อหารายการและโฆษณาที่หลากหลาย มีการทําสัญญา และคิดคาบริการจาก
ผูรับบริการดวย ดังนั้น ผูเขีย นจึงเห็นวาควรกําหนดใหธุรกิจบริการโอทีทีอยูภายใตการกํากับดูแลตามกฎหมาย
เชนเดียวกับแนวทางของประเทศตาง ๆ เพื่อใหธุรกิจดังกลาวเขามาอยูในระบบการกํากับดูแล และสามารถคุมครอง
ผูรับบริการได อีกทั้งยังชวยลดปญหาความไมเทาเทียมกันในการกํากับดูแลระหวางกิจการที่เกี่ยวของไดในระดับหนึ่ง
อยา งไรก็ต าม การกํา กับ ดูแ ลธุรกิจ บริการโอทีทีค วรเปน ไปในระดับ ที่เ หมาะสมและไดสัด ส ว นกับ ลัก ษณะของ
การประกอบธุรกิจดังกลาว โดยควรมุงกํากับดูแลเฉพาะเพื่อคุมครองสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชนอยางสิทธิใน
ขอมูลสวนบุคคล สิทธิในความเปนสวนตัว และสิทธิของผูรับบริการในฐานะที่เปนผูบริโภค และประการสุดทาย ควร
มีการกํากับดูแลเนื้อหารายการเพื่อคุมครองเยาวชนและคุมครองความสงบสุขและศีลธรรมอันดีของสังคม
ผูเขียนจึงเห็นควรเสนอแนวทางการแกไขปญหาโดยให กสทช. ออกประกาศกําหนดมาตรการทางกฎหมายใน
การกํากับดูแลธุรกิจบริการโอทีทีเปนการเฉพาะ 2 ทั้งนี้ เหตุที่มิไดเสนอใหแกไขพระราชบัญญัติการประกอบกิจการ
กระจายเสียงและกิจการโทรทัศน พ.ศ. 2551 และพระราชบัญญัติการประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2544 เพื่อ
กําหนดมาตรการทางกฎหมายในการกํากับดูแลธุรกิจบริการโอทีที เนื่องจากเห็นวาโครงสรางและหลักเกณฑการกํากับ
ดูแลตาง ๆ ที่มีอยูในกฎหมายทั้ง 2 ฉบับ ดังกลาวยังไมเหมาะสมกับลักษณะของธุรกิจบริการโอทีที ซึ่งหากแกไข
กฎหมายดังกลาวอาจสงผลกระทบตอโครงสรางของกฎหมายทั้งหมด และทําใหกฎหมายผิดรูปไป ดังนั้น การออก
ประกาศเพื่อกําหนดมาตรการในการกํากับดูแลธุรกิจบริการโอทีทีเปนการเฉพาะจึงเหมาะสมกวา โดยในประกาศ
ดังกลาวควรประกอบดวยสาระสําคัญ ซึ่งแบงเปน 2 สวน ไดแก สวนแรก คือสวนที่เกี่ยวกับการกํากับดูแลผูประกอบ
ธุรกิจและการประกอบธุรกิจบริการโอทีที และสวนที่สอง คือสวนเกี่ยวกับการคุมครองผูรับบริการ โดยในสวนแรก
ผูเขียนเห็นวาควรมีหลักเกณฑในเรื่องตาง ๆ ดังนี้
1) นิยามของธุรกิจบริการโอทีที ควรกํา หนดนิยามโดยพิจารณาจากลั กษณะของธุรกิจบริการโอทีที ซึ่ง
แบ ง เป น 2 ประเภท ได แ ก ประเภทเพื่ อการเผยแพรเนื้ อหา (OTT Media) และประเภทเพื่ อการสื่ อสาร (OTT
Communication) เพื่อใหสามารถกําหนดหลักเกณฑที่เหมาะสมกับธุรกิจในแตละประเภท โดยใหอยูภายใตกฎหมาย
เดียวกันเพื่อความสะดวกในการบังคับใชกฎหมาย ตามแนวทางของประเทศสหราชอาณาจักร ดังนี้
(1) “บริการสื่อผสมผานระบบอินเทอรเน็ต ประเภทเพื่อการเผยแพรเนื้อหา” (OTT Media) หมายถึง การ
ใหบริการเผยแพรหรือใหบริการพื้นที่เพื่อเผยแพรเนื้อหาประเภทตางๆ เชน ภาพ วิดีโอ ภาพยนตร เสียง เพลง เปนตน
อย า งใดอย า งหนึ่ ง หรือหลายอย า งประกอบกัน แกผู รับ บริ การ ผ า นระบบเครือขา ยอิ น เทอรเน็ ต สาธารณะ โดย
ผูรับบริการสามารถรับบริการไดตามความตองการดวยอุปกรณเครื่องรับของตนเอง
(2) “บริการสื่อผสมผานระบบอินเทอรเน็ต ประเภทเพื่อการสื่อสาร” (OTT Communication) หมายถึง
การใหบริการสื่อสารในรูปแบบตาง ๆ เชน เสียง ขอความ วิดีโอ เปนตน อยางใดอยางหนึ่งหรือหลายอยางประกอบ
กันแกผูรับบริการผานระบบเครือขายอินเทอรเน็ตสาธารณะ โดยผูรับบริการสามารถรับบริการไดตามความตองการ
ดวยอุปกรณเครื่องรับของตนเอง
2) คุณสมบัติและลักษณะตองหามของผูประกอบธุรกิจบริการโอทีที ควรกําหนดลักษณะตองหามของผู
ประกอบธุรกิจ โดยหามมิใหบุคคลหรือนิติบุคคลซึ่งเปนคนตางดาวตามกฎหมายวาดวยการประกอบธุรกิจของคนตาง
ดาวเปนผูประกอบธุรกิจดังกลาว โดยเทียบเคียงกับการประกอบกิจการโทรทัศนและโทรคมนาคมของประเทศไทยซึ่ง
เปนเรื่องที่กระทบตอความมั่นคงของประเทศ และควรกําหนดหามบุคคลไรความสามารถ บุคคลลมละลายหรือถูก

2
กสทช. เปนหนวยงานที่มีอํานาจกําหนดลักษณะและประเภทของกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน และ
กิจการโทรคมนาคมและมีอํานาจในการอนุญาตและกํากับดูแลการประกอบกิจการดังกลาวตามพระราชบัญญัติองคกรจัดสรร
คลื่นความถี่และกํากับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียงวิทยุโทรทัศน และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2553 มาตรา 27
กําหนดให
วารสารนิติศึกษาไทย 745

พิทักษทรัพยตามกฎหมายลมละลายเปนผูประกอบธุรกิจบริการโอทีที เพื่อรับรองถึงฐานะทางการเงินและความสามารถ
ในการประกอบธุรกิจอยางมีมาตรฐานและมีความปลอดภัยตอผูรับบริการ
3) การจดแจงการประกอบธุรกิจ ควรกําหนดใหใชระบบจดแจง (Notification) กับการประกอบธุรกิจบริการ
โอทีที ทั้ง 2 ประเภท ตามแนวทางของประเทศสหราชอาณาจักร เนื่องจากธุรกิจบริการโอทีทีแตกตางจากกิจการ
โทรทัศนซึ่งเปนบริการสาธารณะที่เขาถึงประชาชนเปนจํานวนมาก แตเปนสื่อทางเลือกที่ผูรับบริการสามารถเลือก
รับ บริการไดเองและตองเสียคาบริการดวยในบางกรณี จึง มีขอบเขตการเขาถึงของประชาชนที่แคบกวากิจการ
โทรทัศน อีกทั้ง ยังมิไดเปนธุรกิจที่ใชคลื่นความถี่ซึ่งเปนทรัพยากรสาธารณะของประเทศชาติอีกดวย โดยกําหนดให
ผูประสงคจะประกอบธุรกิจบริการโอทีที ทั้ง 2 ประเภท ตองจดแจงการประกอบธุรกิจตอ กสทช. กอนเริ่มประกอบ
ธุรกิจ โดยระบุขอมูลอยางนอย ไดแก ขอมูลเกี่ยวกับผูประกอบธุรกิจ สถานะทางกฎหมายสถานที่ตั้ง บุคคลที่เปนผู
ติดตอ คําอธิบายเกี่ยวกับบริการและมาตรการทางเทคนิคที่ใชในการใหบริการ
นอกจากนี้ เพื่อให กสทช. สามารถกํากับดูแลการปฏิบัติในเรื่องดังกลาวใหเปนไปตามกฎหมายได ควร
กําหนดให กสทช. มีอํานาจแจงเตือนผูประกอบธุรกิจที่ ฝาฝนหลักเกณฑการจดแจงการประกอบธุรกิจใหแกไข หรือ
กําหนดอัตราคาปรับที่ตองชําระตามความเหมาะสม หรือสั่งใหระงับการประกอบธุรกิจ หากผูประกอบธุรกิจบริการโอที
ทียังไมดําเนินการตามที่ กสทช. กําหนด
4) การควบคุมเนื้อหารายการ ควรกําหนดหลักเกณฑการควบคุมเนื้อหารายการในธุรกิจบริการโอทีทีในระดับ
ที่เขมงวดนอยกวาการควบคุมเนื้อหารายการในกิจการโทรทัศนแบบดั้งเดิม ตามแนวทางของสหภาพยุโรปและประเทศส
หราชอาณาจักร เนื่องจากธุรกิจบริการโอทีทีเปนธุรกิจที่ผูรับบริการมีอํานาจควบคุมการรับชมไดเอง ตางจากกิจการ
โทรทัศนที่ผูประกอบกิจการโทรทัศนเปนผูกําหนดเนื้อหาและเวลาในการรับชมรายการ โดยในสวนของธุรกิจบริการ
โอทีที ประเภทเพื่อการเผยแพรเนื้อหา (OTT Media) ควรกําหนดหลักเกณฑควบคุมเนื้อหารายการที่สนับสนุนให
เกิด ความเกลีย ดชัง บนพื้นฐานของเผาพัน ธุ เพศ ศาสนา หรือชนชาติ และเนื้อหารายการที่อาจทําใหเกิดความ
เสียหายอยางรายแรงตอพัฒนาการทั้งทางรางกายจิตใจ หรือศีลธรรมของเยาวชน และกําหนดใหผูประกอบธุรกิจ
ตองจัดใหมีมาตรการเพื่อจํากัดการเขาถึงเนื้อหาดังกลาว เชน การเขารหัส เปนตน เพื่อคุมครองเยาวชนและสังคมจาก
เนื้อหาที่เปนอันตราย และในสวนของธุรกิจ บริการโอทีที ประเภทเพื่อการสื่ อสาร (OTT Communication) ควร
กําหนดใหผูประกอบธุรกิจมีหนาที่รักษาเนื้อหาหรือขอมูลที่ผูรับบริการสื่อสารหรือแลกเปลี่ยนกันผานบริการดังกลาว
ใหเปนความลับ เพื่อคุมครองสิทธิในความเปนสวนตัวและขอมูลการสสื่อสารของผูรับบริการ
5) การควบคุมการหารายได เนื่องจากประเทศไทยมีพระราชบัญญัติคุมครองผูบริโภค พ.ศ. 2522 และกฎหมาย
ที่ใชควบคุมการโฆษณาในเรื่องตาง ๆ เปนการเฉพาะ เชน อาหาร ยา หรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล เปนตน ซึ่งมีหลักเกณฑ
การควบคุม การโฆษณาที่ครอบคลุมทั้งการโฆษณาที่เปนการทั่วไปและการโฆษณาสินคาเฉพาะอยางอยูแ ลว และ
สามารถนํามาบังคับใชกับการโฆษณาในธุรกิจบริการโอทีทีทั้ง 2 ประเภท ดังนั้น เพื่อปองกันปญหากฎหมายซ้ําซอน
จึงควรกําหนดใหการควบคุมเนื้อหาโฆษณาในธุรกิจบริการโอทีทีทั้ง 2 ประเภท อยูภายใตบังคับของกฎหมายฉบับตาง
ๆ ดังกลาว อันเปนการคุมครองภายใตกฎหมายทั่วไป ตามแนวทางของประเทศสาธารณรัฐเกาหลี กลาวคือ การ
โฆษณาในธุรกิจบริการโอทีทีตองไมใชขอความที่ไมเปนธรรมหรือกอใหเกิดผลเสียตอสังคม เชน ขอความที่เปนเท็จ
เกินความจริง หรือกอใหเกิดความแตกแยกในหมูประชาชน เปนตน
6) การควบคุมการหารายได ควรกําหนดใหมีการควบคุมการหารายไดในธุรกิจบริการโอทีที ทั้ง 2 ประเภท
และครอบคลุมทั้งการหารายไดจากการโฆษณาโดยการวางผลิตภัณฑ (Product placement) การเปนผูสนับสนุน
(Sponsorship) ซึ่งการกระทําดังกลาวตองไมเปนการสงเสริมการซื้อสินคาหรือใชบริการโดยตรง และตอ งทํา ให
ผูรับบริการไดรับขอ มูลอยางชัดแจงถึงการมีอยูของการหารายไดในรูปแบบดังกลาว ตามแนวทางของสหภาพยุโรป
และประเทศสหราชอาจักร และการหารายไดจากคาบริการ โดยใหผูประกอบธุรกิจบริการโอทีทีที่มีการคิดคาบริการ
ตองรายงานการกําหนดและการเปลี่ยนแปลงอัตราคาบริการตอ กสทช. ตามแนวทางของประเทศสาธารณรัฐเกาหลี
เพื่อปองกันมิใหผูประกอบธุ รกิจบริการโอทีที คิด คาบริการหรือหารายไดจากการนําเสนอโฆษณาโดยเอาเปรีย บ
ผูรับบริการ
746 Thailand Journal of legal Study

สําหรับสวนที่เปนการกํากับดูแลในเรื่องการคุมครองผูรับบริการในธุรกิจบริการโอทีที ผูเขียนเห็นวาควรมี
หลักเกณฑในเรื่องตาง ๆ ดังนี้
1) ความเปนกลางทางอินเทอรเน็ต ควรกําหนดใหมีหลักเกณฑเพื่อคุมครองความเปนกลางทางอินเทอรเน็ต
ในการรับบริการจากธุรกิจบริการโอทีที ทั้ง 2 ประเภท เพื่อปองกันมิใหผูใหบริการการเขาถึงอินเทอรเน็ตเอาเปรียบ
ผูรับบริการโดยการจํากัด แทรกแซง หรือเลือกปฏิบัติตอขอมูลอินเทอรเน็ต ตามแนวทางของประเทศตาง ๆ ที่ไดศึกษา
มา โดยหลักเกณฑดังกลาวควรมีหลักการสําคัญ ไดแก
(1) หลักการเรื่องสิทธิของผูรับบริการในการรับเนื้อหาตาง ๆ ที่ถูกกฎหมายบนระบบอินเทอรเน็ตอยางอิสระ
และไดรับขอมูลเกี่ยวกับบริการอินเทอรเน็ตที่เพียงพอ
(2) หลั กการเรื่องความโปรงใสของขอมู ล โดยผู ให บริการการเขาถึง อิน เทอรเ น็ต ตอ งใหขอ มูล เกี ่ย วกับ
มาตรการบริหารจัดการขอมูลอินเทอรเน็ตและขอมูลเกี่ยวกับสิทธิของผูรับบริการที่เพียงพอแกผูรับบริการ
(3) หลักการเรื่องหนาที่ของผูใหบริการการเขาถึ งอินเทอรเน็ต โดยผูใหบริการการเขาถึงอินเทอรเน็ตตอง
ไมเลือกปฏิบัติ จํากัด หรือแทรกแซงขอมูล อินเทอรเน็ต เวนแตเปนการใชมาตรการจัดการขอมูลอิน เทอร เน็ ต ที่
เหมาะสม
(4) หลั กการเรื่องบริการอื่ นนอกเหนือจากบริการการเขาถึงอิ นเทอรเน็ต โดยใหผูใ หบ ริการการเขา ถึง
อินเทอรเน็ตสามารถใหบริการอื่นนอกเหนือจากบริการการเขาถึงอินเทอรเน็ตได หากความสามารถในการรองรับ
ขอมูลของเครือขายอินเทอรเน็ตเพียงพอ และจะไมเปนการกระทบตอคุณภาพโดยทั่วไปของระบบอินเทอรเน็ต
2) สัญญารับบริการ ควรกําหนดใหมีหลักเกณฑการทําสัญญารับบริการในธุรกิจบริการโอทีที ทั้ง 2 ประเภท
โดยเฉพาะ เพื่อใหเหมาะสมและรองรับกับลักษณะของสัญญารับบริการในธุรกิจดังกลาว โดยกําหนดให ขอสัญญาที่ไม
เป น ธรรมไม มี ผ ลผูก พัน ผู ร ับ บริก าร ตามแนวทางของสหภาพยุโ รป กํ า หนดตัว อยา งของขอ สัญ ญาที่
ไมเปนธรรมในลักษณะตาง ๆ เชน ขอสัญญาที่ใหสิทธิผูประกอบธุรกิจ แกไขสัญญาหรือลักษณะเฉพาะของบริการได
แตฝายเดียว หรือใหขยายระยะเวลาสัญญาโดยอัตโนมัติ เปนตน กําหนดหลักเกณฑการทําสัญญารับบริการ ประเภท
สัญญาทดลองการรับบริการโดยใหตอ งมีการแจง เตือนการยกเลิก การทดลองกอนสิ้น สุด ระยะเวลาการท ดลอง
ตามแนวทางของประเทศสาธารณรัฐเกาหลี และกําหนดหลักเกณฑการควบคุมรูปแบบของสัญญารับบริการ เชน การใช
ภาษาและขนาดตัวอักษร ตามแนวทางของสหภาพยุโรป
3) การดําเนินการเกี่ยวกับขอมูลสวนบุคคล ควรกําหนดใหมีหลักเกณฑสําหรับการจัดการขอมูลสวนบุคคลใน
ธุรกิจบริการโอทีที ทั้ง 2 ประเภท เพื่อปองกันมิใหผูประกอบธุรกิจดําเนินการใด ๆ กับขอมูลสวนบุคคลของผูรับบริการ
ในลักษณะที่อาจเปนการเอาเปรียบและละเมิดสิทธิในขอมูลสวนบุคคลของผูรับบริการ ตามแนวทางของประเทศตาง
ๆ ที่ไดศึกษามา โดยหลักเกณฑดังกลาวควรมีหลักการสําคัญ ไดแก
(1) หลักเกณฑเรื่องการขอความยินยอมในการประมวลผลขอมูลสวนบุคคล โดยกําหนดใหการขอความยินยอม
ตองกระทําโดยใหผูรับบริการรับรูเนื้อหาโดยชัดแจง และการใหความยินยอมตองเปนไปโดยอิสระ ชัดแจง และเพื่อ
วัตถุประสงคที่เฉพาะเจาะจง หากไมเปนไปตามหลักเกณฑดังกลาวจะถือวาไมผูกพันผูรับบริการ
(2) หลักเกณฑการประมวลผลขอมูลสวนบุคคล โดยกําหนดใหผูประกอบธุรกิจตองระบุวัตถุประสงคในการ
ประมวลผลที่เฉพาะเจาะจงและชัดแจง และตองประมวลผลอยางเปนธรรม เทาที่จําเปน และเฉพาะตามวัตถุประสงค
ที่ไดแจงไวเทานั้น
(3) หลักเกณฑเรื่องสิทธิของผูรับบริการ โดยกําหนดใหผูรับบริการมีสิทธิ เกี่ยวกับขอมูลสวนบุคคลของตน
ไดแก สิทธิในการไดรับแจงขอมูลเมื่อมีการเก็บขอมูล สิทธิในการเขาถึง แกไข และลบขอมูล และสิทธิในการเพิกถอน
การใหความยินยอม
(4) หลักเกณฑเรื่องหนาที่ของผูประกอบธุ รกิจ โดยกําหนดใหผูประกอบธุรกิจมีหนาที่ดําเนินการตาง ๆ
เกี่ยวกับขอมูลสวนบุคคลของผูรับบริการ เชน จัดใหมีมาตรการทางเทคโนโลยีที่เหมาะสมเพื่อรักษาความปลอดภัยของ
ขอมูล และแจงแกผูรับบริการ และ กสทช. ทันที เมื่อมีการละเมิดขอมูลสวนบุคคล เปนตน
วารสารนิติศึกษาไทย 747

ขอเสนอเกี่ยวกับมาตรการทางกฎหมายในการกํากับดูแลการประกอบธุรกิจบริการโอทีทีที่ผูเขียนเสนอขางตน
นั้นเปนขอเสนอในเบื้องตนที่ใชบังคับไดกับผูประกอบธุรกิจบริการโอทีทีที่จดแจงการประกอบธุรกิจและใหบริการใน
ประเทศไทยเทานั้น แตเนื่องจากธุรกิจบริการโอทีทีสามารถใหบริการแบบขามพรมแดนไดผานระบบอินเทอรเน็ต จึงมี
โอกาสที่ผูรับบริการในประเทศไทยจะสามารถเขาถึงธุรกิจบริการโอทีทีที่ใหบริการจากตางประเทศได ซึ่งกรณีดังกลาว
อาจเกินขอบเขตของขอเสนอที่ผูเขียนไดเสนอไว และเปนเรื่องของการปดกั้นการเขาถึงเนื้อหาจากตางประเท ศผาน
ระบบอินเทอรเน็ตซึ่งเปนเรื่องที่หนวยงานของรัฐที่มีอํานาจหนาที่ที่เกี่ยวของ (โดยเฉพาะอยางยิ่ง กระทรวงดิจิทัลเพื่อ
เศรษฐกิจและสังคม) ตองพิจารณาความจําเปนและเหมาะสมในการกําหนดมาตรการควบคุมหรือกํากับดูแลในเรื่อง
ดังกลาวตอไป
748 Thailand Journal of legal Study

บรรณานุกรม

หนังสือ

คณะวิศวกรรมศาสตร จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย. เทคโนโลยีการกระจายเสียงและแพรภาพโทรทัศน. กรุงเทพมหานคร


: คณะวิศวกรรมศาสตร, 2553.
จินตนา พนมชัยชยวัฒน. กฎหมายโทรคมนาคม Telecommunication law. กรุงเทพมหานคร : สํานักพิมพวิญูชน
, 2560.

วิทยานิพนธ

นิ ณณยา ผลอนั นต . “กฎหมายที่ เกี่ยวของกับการประกอบธุ รกิจแพรสั ญญาณโทรทั ศน ผ านเครือขายอิ นเทอร เน็ ต
โปรโตคอล.” วิทยานิพนธนิติศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร, 2552.
พัชร วิสุทธิแพทย. “มาตรการทางกฎหมายในการกํากับดูแลผูประกอบการ Internet TV : ศึกษากรณีการเผยแพรเนื้อหา
ที่ไมเหมาะสม.” วิทยานิพนธนิติศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย, 2556.
อําพล ลือวงศโอภาส. “ความเปนกลางทางอินเทอรเน็ต: ศึกษาปญหากฎหมายการใหบริการอินเทอรเน็ตระหวางผูใหบริการ
อิ นเทอร เน็ ต และผู ให บริ การเนื้ อหาหรื อโปรแกรมประยุ กต . ” วิ ทยานิ พนธ นิ ติ ศ าสตรมหาบั ณฑิ ต
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร, 2556.

บทความ

คมสัน บุญเทียม. “ผลประโยชนจากกฎหมายการประกอบกิจการโทรคมนาคม.” วารสารรมพฤกษ . ปที่ 28, (1


ตุลาคม 2552).
อิสระสรรค กันทะอุโมงค. “เกาะติดบริการ OTT...ทีวีแหงอนาคต.” Economic Intelligence Center (EIC). (ตุลาคม
2558).
ชลิตา ศรีนวล. “Over-the-Top (OTT) : สงครามที่เพิ่งเริ่มตนในระบบนิเวศใหมของเทคโนโลยีสารสนเทศและการ
สื่อสาร.” วารสารเทคโนโลยีสารสนเทศ. ปที่ 11. (มกราคม 2558).
สกลกฤตา ลิมปสวัสดิ์ และชนกพร ตุมทอง. “ทิศทางและแนวโนมการกํากับดูแล Audio Visual Media Content
ผาน IPTV / OTT / IBB – HbbTV.” รายงานสภาพตลาดกิจการกระจายเสียงเเละกิจการโทรทัศน .
(ธันวาคม 2559).

เอกสารอิเล็กทรอนิกส

เกียรติศักดิ์ ศรีพิมานวัฒน. “สารานุกรมโทรคมนาคมไทย.” http://www.thaitelecomkm.org/TTE/, 15 พฤศจิกายน 2560.


สุภิญญา กลางณรงค. “รายงานผลการเดินทางเขารวมงาน CASBAA Convention 2013.” http://www.nbtc.go.th,
31 มกราคม 2560.
วารสารนิติศึกษาไทย 749

สํ านั กงาน กสทช. สายงานกิจการกระจายเสี ยงและโทรทั ศน. “รายงานหลั กสู ตร Over the Top (OTT) Services &
System.” https://broadcast.nbtc.go.th/academic/?type=NTcwMzAwMDAwMDAx. 13พฤศจิกายน
2560.
สํานักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศนและกิจการโทรคมนาคมแหงชาติ. “รายงานการประชุม
ท า ง วิ ช า ก า ร ASEAN Broadcasting Regulation Forum 2015. ” http://www.nbtc.go.th, 1
กุมภาพันธ 2560.
อิ ส ริ น ะ ไพรี พ า ยฤทธิ์ . “ใบอนุ ญ าตโครงข า ยที วี ดิ จิ ต อล NBTC Digital TV Infrastructure and Multiplex.”
https://www.isranews.org/thaireform/thaireform-data/23611-nbtc_23611.html, 15 กุมภาพันธ
2560.
อุดม วัฒนะวิบูลย. “หลักการเครื่องสงโทรทัศน TV Transmitters Principle.” http://dtv.mcot.net/data/epost/
book1337499429.pdf, 12 พฤศจิกายน 2560.

เอกสารอื่น ๆ
สํานักงานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแหงชาติ. ความรูทั่วไปเกี่ยวกับการกํากับดูแลกิจการโทรคมนาคม และการ
ออกใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคม. พิมพครั้งที่ 1. มกราคม 2552.

ELECTRONIC MEDIA

Andreas Grünwald and Christoph Nüßing. “New Rules for OTT Services—The EU Commission’s Draft
Electronic Communications Code.” https://www.lexology.com/library/detail.aspx?g
=324de74a-54b2-49cc-89e1-fd316b6ff59e., February 4, 2017.
Andreas Grünwald and Christoph Nüßing. “ EUROPE’S NEW CODE FOR OTT. https://media2.mofo.com
/documents/170100-europe-new-codeott.pdf., February 4, 2017.
ERICSSON CONSUMERLAB. “ TV AND MEDIA 2016.” https://www.ericsson.com/en/trends-and-insights/
consumerlab/consumer-insights/reports/tv-and-media-2016., February 4, 2017.
InfoDev and the International Telecommunications Union. “ Regulating ‘Over-the-Top’ Services. ”
http://ictregulationtoolkit.org/action/ toolkit/pdf?section=2.5., March 4, 2017.
Komsan Tortermvasana and Nanat Suchiva. “NBTC keeps eye on over-the-top operators, mulls licensing.”
https://www.bangkokpost.com/business/telecom., February 17, 2017.
The European Parliament's Committee on the Internal Market and Consumer Protection. “ Over-the-
Top (OTTs) players: Market dynamics and policy challenges.” http://www.europarl.europa.eu
/thinktank/en/document.html?reference=IPOLSTU(2015)569979., December 3, 2017.
Shirley Baldry, Dr. Markus Steingröver, Markus A. Hessler. “The rise of OTT players – what is the
appropriateregulatoryresponse?.” https://www.detecon.com/sites/default/files/Paper_
OTT_Player.pdf., February 21, 2017.
750 Thailand Journal of legal Study

Telecom Regulatory Authority of India. “Consultation Paper On Regulatory Framework for Over-the-
top(OTT)services”https://trai.gov.in/sites/default/files/OTT-CP-27032015.pdf.,
November 13, 2017.
The Body of European Regulators for Electronic Communications. “ An assessment of IP
interconnection in the context of Net Neutrality.” https://www.berec.europa.eu/
.../1130-an-assessment-of-ip-interconnection-in-t_0.pdf., September 30, 2017.
The Body of European Regulators for Electronic Communications. “ Report on OTT services.”
http://berec.europa.eu/eng/document_register/subjectmatter/berec/reports/5751-
berec-report-on-ott-services., September 19, 2017.
วารสารนิติศึกษาไทย 751

มาตรการทางกฎหมายในการควบคุมบุหรี่ไฟฟา
LEGAL MEASURES FOR THE CONTROL OF ELECTRONIC CIGARETTES

พิชญเนตร เรขะวิชัยดิษฐ
Pichanate Rekhawichaidit
บทคัดยอ
บทความนี้มุงศึกษาปญหาเรื่องการควบคุมบุหรี่ไฟฟาของประเทศไทย รวมทั้งปญหาและอุปสรรคในการ
บังคับใชมาตรการทางกฎหมาย เนื่องมาจากควันบุหรี่กอให เกิดสารพิษที่เปน อันตรายหลายชนิด เปนปญหาทาง
สิ่งแวดลอมที่สําคัญประการหนึ่ง ซึ่งแมจะมีผูสูบบุหรี่จํานวนมากที่มี ความประสงค จะเลิ กสูบบุ หรี่ แตไมประสบ
ความสําเร็จการบําบัดเพื่อชวยเลิกบุหรี่จึงเขามามีบทบาท โดยมีวิธีหนึ่งคือการใหสารนิโคตินทดแทน โดยใช “บุหรี่
ไฟฟา” ซึ่งมีการปลอยมลพิษและมีสารพิษที่นอยกวาบุหรี่ซิกาแรต นอกจากนี้ยังสามารถชวยใหผูที่ติดบุหรี่สามารถลด
การสูบบุหรี่หรือเลิกสูบบุหรี่ได แตบุหรี่ไฟฟากลับถูกกําหนดใหเปนสิ่งผิดหมายในประเทศไทย
ตามปญหาดังกลาว บทความนี้ใชวิธีการศึกษาเปรียบเทียบมาตรการทางกฎหมายในการควบคุมบุหรี่ไฟฟา
ของประเทศอังกฤษ ซึ่งนับเปนประเทศแรกในโลกที่มี มาตรการทางกฎหมายในการควบคุม บุหรี่ไฟฟาที่มีค วาม
ครอบคลุมและมีประสิทธิภาพที่สุดในขณะนี้ ดังนั้นบทความนี้จึงศึกษาวิเคราะหมาตรการทางกฎหมายในการควบคุม
บุหรี่ไฟฟาของประเทศอังกฤษเพื่อประโยชนในทางวิชาการและเพื่อนํามาเปนขอมูลในการปรับปรุงแกไขกฎหมายที่มี
อยูของประเทศไทยใหมีความสอดคลองกับสถานการณในปจจุบัน
จากการศึกษาเปรียบเทียบพบวามาตรการทางกฎหมายที่มีอยูของประเทศไทยไมสามารถรองรับการควบคุม
บุหรี่ไฟฟาไดอยางเพียงพอ บทความนี้ขอเสนอการนํามาตรการทางกฎหมายของประเทศอังกฤษมาเปนตนแบบ โดย
ปรับใชใหมีความสอดคลองกับสภาพปญหาและสภาพสังคมของประเทศไทย โดยเสนอใหมีการแกไขเพิ่มเติมใหคํา
นิยามผลิตภัณฑยาสูบครอบคลุมถึงบุหรี่ไฟฟาทุกชนิด และกําหนดรายละเอียดการแจ งขอมูลผลิตภัณฑและการ
กําหนดหีบหอบรรจุภัณฑใหมีความครอบคลุมมากกวาเดิม ในสวนของการโฆษณาขอเสนอใหกําหนดครอบคลุมไปถึง
การกระทําตาง ๆ เพื่อจูงใจเกิดการบริโภค การควบคุมการจําหนายและการบริโภค โดยขอเสนอใหตองมีการแสดง
หลักฐานของผูซื้อเสมอ ตลอดจนกําหนดมาตรฐานของบุหรี่ไฟฟาโดยเฉพาะ เพื่อใหบุหรี่ไฟฟามีความปลอดภัย และ
ขอเสนอใหมีการกําหนดพื้นที่สูบบุหรี่ไฟฟาที่มีไดมากกวาและแตกตางจากผลิตภัณฑยาสูบชนิดอื่น นอกจากนี้ควรมี
มาตรการในการชักจูงใจ โดยแบงคาปรับที่ไดจากการกระทําผิดเปนเงินรางวัล เพื่อเปนการเพิ่มการสอดสองและจับกุม
ผูกระทําความผิด อันจะสามารถชวยลดปริมาณการกระทําความผิดและลดปริมาณมลพิษที่เกิดจากผลิตภัณฑยาสูบได
เปนอยางดี

คําสําคัญ
บุหรี่ไฟฟา ,ยาสูบอิเล็กทรอนิกส, น้ํายาสําหรับเติมบุหรี่ไฟฟา, กฎหมายบุหรี่ไฟฟา


นักศึกษาปริญญาโท หลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต สาขากฎหมายทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดลอม คณะ
นิติศาสตร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร : pichanate@hotmail.com
Graduate Student of Master of Laws Program in Natural Resources and Environmental Law, Faculty
of Law, Thammasat University. Email address : pichanate@hotmail.com
752 Thailand Journal of legal Study

ABSTRACT
This article examines the problem of Electronic Cigarettes Control in Thailand, including
problems and restrictions in enforcing legal measures due to cigarette smoke causing many fatal
toxins, one of the major environmental problems. Although, countless smokers prefer to quit
smoking however ineffective, the approaches to help quit smoking plays their role. There is one way
of giving nicotine replacement applying "Electronic cigarettes" with fewer emissions and less lethal
than cigarettes. In addition, such a solution provide smokers to reduce smoking or quit smoking. Still,
electric cigarettes are defined as contraband in Thailand.
Because of this problem, this article applies a comparative study to examine how other
countries i.e. the United Kingdom on legal measures to regulate electronic cigarettes as the first
country that has the most extensive and effective constitutional schemas to control electronic
cigarette today. Consequently, this article examines the juridical acts for controlling electronic
cigarettes in the United Kingdom for academic purposes and to be employed as erudition to
strengthen the existing Thailand regulations to be in line with the current state.
From a comparative study, it was noticed that the existing constitutional acts of Thailand are
lacking in adequately control the electronic cigarettes. Accordingly, this article aims to introduce the
legal actions of the United Kingdom to be a model and employ such model consistently with the
difficulties and social conditions of Thailand, propose amendments to the definition of tobacco
products including all types of electronic cigarettes, and define details of product information and
packaging terms to be more inclusive.
In terms of advertising, it is recommended to restrict the scope of any advertisement that
refers to consumption motivating. For the sales control and consumption, it is recommended to
require the buyer to identify or present the testimony of the buyer. As well as prescribing standards
for electronic cigarettes, in particular, to execute electronic cigarettes safety, it is suggested that to
provide more available, designated smoking areas and different from other types of tobacco
products. In addition, incentives should be taken by dividing the fines obtained from the offense
into prize money in order to build the surveillance and arrest of the offender, leads to the number
minimization of the offenses and the amount of pollution caused by tobacco products efficiently.

Keywords
Electronic Cigarette, Vape, E-juice, E-liquid, Electronic Cigarette Law
วารสารนิติศึกษาไทย 753

บทนํา
การสูบบุหรี่เปนปญหาทางสิ่งแวดลอมที่เปนปญหาที่สําคัญประการหนึ่ง ซึ่งบุหรี่นับเปนสารเสพติดชนิดหนึ่ง
ที่ ถึง แม ว า จะสามารถเสพไดโ ดยไมผิดกฎหมาย แต ในควั น ของบุหรี่มีส ารพิษ อยู เปนจํ านวนมากอั นเปนสาเหตุที่
กอใหเกิดโรครายแรงรายอีกหลายโรคดว ยกัน โดยในประเทศไทยมีผูสูบบุหรี่เปนจํานวน 10.6 ลานคน มีคนไทย
จํานวนมากถึง 1 ลานคนที่มีชีวิตอยูแตตองปวยดวยโรคเรื้อรังที่เกิดจากการสูบบุหรี่ การสูบบุหรี่ทําใหคนไทยเสียชีวิต
ปละ 50,710 คน ซึ่งจากจํานวนดังกลาวยังไมไดรวมคนที่เสียชีวิตจากการไดรับควันบุห รี่มือสอง 1 และมีผูสูบบุหรี่
จํานวนมากถึง 6.2 ลานคนที่เคยพยายามเลิกสูบบุหรี่มาแลวในรอบ 12 เดือน อันจะเห็นไดวาผูสูบบุหรี่จํานวนมากกวา
ครึ่งมีความตองการที่จะเลิกสูบบุหรี่แตสวนใหญจะประสบปญหาลมเหลว 2 เมื่อไมสามารถหยุดพฤติกรรมการติดบุหรี่
ของผูสูบบุหรี่ได การบําบัดเพื่อชวยเลิกบุหรี่จึงเขามามีบทบาท โดยมีวิธีหนึ่งคือการใหสารนิโคตินทดแทนแตเนื่องจาก
มีวิธีการใชงานที่แตกตางจากการสูบบุหรี่อยางสิ้นเชิง จึงทําใหไมสามารถทดแทนพฤติกรรมการติดการสูบของผูสูบ
บุหรี่ได แต “บุหรี่ไฟฟา” มีพฤติกรรมการสูบเชนเดียวกัน โดยผูที่สูบบุหรี่ไฟฟาจะไดรับสารนิโคตินเหลวที่ระเหยดวย
ความรอนจากพลังงานไฟฟาเขาสูรางกาย การใชพลังงานความรอนทําใหไมกอใหเกิดสารที่เกิดจากการเผาไหม โดยมี
ผลงานวิจัยจํานวนมากที่รองรับวาบุหรี่ไฟฟามีความเปนอันตรายที่นอยกวาบุหรี่ซิกาแรตถึงรอยละ95 ไอระเหยจาก
บุหรี่ไฟฟามีการปลอยมลพิษเพียง 18 ใน 79 สารพิษที่พบในควันบุหรี่ซิกาแรต อีกทั้งสามารถชวยใหผูที่ติดบุหรี่ซิกา
แรตสามารถลดการสูบบุหรี่หรือเลิกสูบบุหรี่ซิกาแรตได นอกจากนี้ยังสามารถชวยลดมลพิษทางอากาศที่เกิดขึ้นและ
ชวยลดมลพิษที่จะตกคางแกผูไมสูบบุหรี่ไดอีกดวยเนื่องจากไอระเหยจากบุหรี่ไฟฟาจะทนอยูในอากาศไมถึง 30 วินาที
ความเขมขนของสารนิโคตินในอากาศจากบุหรี่ไฟฟามีความเขมขนนอยกวาสารนิโคตินในอากาศจากบุหรี่ซิกาแรตถึง
10 เทาโดยจะไมมีการปลอยควันขณะที่ไมไดทําการสูบรบกวนผูอื่นเนื่องจากบุหรี่ไฟฟาจะมีการสรางไอระเหยตอเมื่อมี
การกดปุมใหอุปกรณทํางานเทานั้น
แตหากไดพิจารณาถึงมาตรการทางกฎหมายของประเทศไทยที่ใชในปจจุบันนั้นมีการกําหนดหามบุหรี่ไฟฟา
เปนการเด็ดขาด ซึ่งเปนมาตรการที่ทําใหเกิดความไมเหมาะสมกับบุหรี่ไฟฟา ประกอบกับรายงานการพิ จารณาศึกษา
เรื่อง การขอความเปนธรรมในการพิจารณาทบทวนประกาศกระทรวงพาณิชยในการหามนําเขาบุหรี่ไฟฟาฯ ไดมี
ขอเสนอที่มีใจความสรุปไดวาควรมีมาตรการในการควบคุมบุหรี่ไฟฟาอยางเหมาะสมมากกวาจะใชมาตรการหาม
เด็ดขาดอยางที่เปนอยูในปจจุบัน 3 ผูเขียนจึงใหความสนใจในการศึกษาเรื่องดัง กลาวนี้เพื่ อที่จะมี มาตรการทาง
กฎหมายที่นํามาควบคุมผลิตภัณฑบุหรี่ไฟฟาอยางเหมาะสมและประสิทธิภาพ อันจะสามารถแกไขปญหาเกี่ยวกับ
มลพิษที่จะเกิดขึ้นแกสุขอนามัยของประชาชนและสิ่งแวดลอมไดอยางมีประสิทธิภาพตอไปในอนาคต
มาตรการทางกฎหมายในการควบคุมบุหรี่ไฟฟาของประเทศอังกฤษ
CONSUMER PROTECTION The Tobacco and Related Products Regulations 2016 ไดมีการกําหนด
นิยามความหมายของบุหรี่ไฟฟา (Electronic Cigarette) ใหมีความหมายวาผลิตภัณฑที่สามารถใชเพื่อการบริโภคไอ
ระเหยที่มีสวนประกอบของสารนิโคติ นผานทางอุปกรณที่ใชสําหรับสูบทางปาก หรือผานทางสวนประกอบอื่นใดของ
ผลิตภัณฑ อาทิ ตลับบรรจุน้ํายา ที่เก็บน้ํายา รวมถึงอุปกรณที่ไมมีสวนตลับบรรจุน้ํายาที่เก็บน้ํายา ไมวาผลิตภัณฑๆจะ
เปนแบบใชแลวทิ้งหรือแบบที่รองรับการเติมไดโดยใชที่เก็บน้ํายาและน้ํายาสําหรับ เติมบุหรี่ไฟฟา หรือแบบรองรับการ
ชารจที่ใชรวมกับตลับบรรจุน้ํายาแบบใชแลวทิ้ง แตไมรวมถึงผลิตภัณฑที่มีคุณสมบัติในการรักษาโรคหรืออุปกรณทาง
การแพทยและไดใหความหมายของน้ํายาสําหรับเติมบุหรี่ไฟฟา (Refill Container) ใหมีความหมายวาผลิตภัณฑที่

1
คทา บั ณ ฑิ ต านุ กู ล , “Smoking cessation: Emerging Role of CommunityPharmacist,” ในการประชุ ม
วิชาการและประชุมใหญสามัญ, จัดโดยสมาคมเภสัชกรรมโรงพยาบาล (ประเทศไทย) กรุงเทพมหานคร :น.1.
2
วรกิจ คาโดซาวา, “ควันจากน้ํา : ทัศนคติและการบริโภคเชิงสัญลักษณของผูบริโภคตอบุหรี่ไฟฟา ,” (การคนควา
อิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต คณะพาณิชยศาสตรและการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร,2559), น.1.
3
จีเอ็ม ไลฟ, “กาวแรกบุหรี่ไฟฟา? กมธ.พาณิชยฯเสนอควบคุมแทนแบนหมอประกิตขอศึกษาขอมูลกอน,” สืบคน
เมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2561, จาก https://gmlive.com/new-report-suggest-control-over-ban-e-cigarette.
754 Thailand Journal of legal Study

บรรจุสารนิโคตินที่มีลักษณะเปนของเหลว ซึ่งนํามาใชสําหรับเติมบุหรี่ไฟฟา แตไมรวมถึงผลิตภัณฑที่มีคุณสมบัติใน


การรักษาโรคหรืออุปกรณทางการแพทย
1. มาตรการทางกฎหมายในการควบคุมการผลิตและการนําเขาบุหรี่ไฟฟา
ไดมีการกําหนดใหผูผลิตและผูนําเขาผลิตภัณฑบุหรี่ไฟฟาและน้ํายาสําหรับเติมบุหรี่ไฟฟาตองดําเนินการแจง
ขอมูลและรายละเอียดผลิตภัณฑบุหรี่ไฟฟา โดยมีการกําหนดวากอนการนําผลิตภัณฑบุหรี่ไฟฟาเขาสูตลาด ผูผลิตและ
ผูนําเขาจะตองดําเนินการสงขอมูลที่เกี่ยวของกับผลิตภัณฑบุหรี่ไฟฟาใหแกหนวยงานของรัฐเสียกอน อาทิ รายการ
สวนประกอบ ซึ่งรายการสวนประกอบในที่นี้ตัวบทกฎหมายใชคําวา “Ingredient” ที่ความหมายวา ยาสูบ, สารเติม
แตงใดๆตลอดจนสารอื่นๆหรือสวนประกอบอื่นใดที่อยูในผลิตภัณฑยาสูบหรือผลิตภัณฑที่เกี่ยวของผลิตภัณฑยาสูบ
รวมทั้งกระดาษ กนกรอง หมึก แคปซูลและกาว จากคํานิยามดังกล าวอันจะเห็นไดวาสารเติมแตงเปนเพียงสารที่เปน
สวนหนึ่งของสวนประกอบในผลิตภัณฑบุหรี่ไฟฟาเทานั้น การปลอยมลพิษจะตองทําการแยกตามชื่อและจะตองระบุ
ปริม าณที่ มี การปลอย รวมถึง ผลกระทบทางสุข ภาพและดา นการเสพติ ดเมื่ อเกิด การสูดเขา สูรา งกาย ตลอดจน
คําอธิบายองคประกอบของบุหรี่ไฟฟา กลไกขั้นตอนของการเติมน้ํายา รวมถึงหนังสือที่แสดงวาบุหรี่ไฟฟามีขั้นตอน
การผลิตเปนไปตามที่ไดกําหนดไวและหนังสือที่แสดงวาผูผลิตและผูนําเขาจะเปนผูรับผิดชอบในคุณภาพและความ
ปลอดภัยโดยจะตองแจงขอมูลลวงหนาอยางนอย 6 เดือน และภายหลังจากไดรับอนุญาตแลวนั้นยังคงมีหนาที่ในการ
เฝาระวังโดยจะตองดําเนินการเก็บรวบรวมขอมูลเกี่ยวกับผลเสียและผลกระทบที่เกิดขึ้นหรืออาจเกิดขึ้นตอสุขภาพ
2. มาตรการทางกฎหมายในการควบคุมผลิตภัณฑบุหรี่ไฟฟา
2.1 มาตรการทางกฎหมายในการควบคุมมาตรฐานผลิตภัณฑบุหรี่ไฟฟาได มีการกําหนดขนาดตลับบรรจุ
น้ํายาของบุหรี่ไฟฟาและขนาดของบรรจุภัณฑน้ํายาสําหรับเติมบุหรี่ไฟฟาหากมีสารนิโคตินเปนสวนประกอบ โดย
น้ํายาบุหรี่ไฟฟาจะตองมีสวนประกอบของสารนิโคตินไมเกิน 20 มิลลิกรัมตอมิลลิลิตร และจะตองใชสวนประกอบที่มี
ความบริสุทธิ์อยางสูงอีกทั้ง จะตองไมมีสวนประกอบหรือสารเติมแตงอื่นที่ใดอาจจะกอใหเกิดความเสี่ยงตอสุขภาพ
โดยไดกําหนดยกเวนไวใหเพียงสารนิโคตินสารใหกลิ่นเชื้อจากการปรุงแตงอาหารและสารอื่นใดที่มีในปริมาณเล็กนอย
ซึ่งไมสามารถที่จะหลีกเลี่ยงไดในขั้นตอนของการผลิตเทานัน้ อีกทั้งผลิตภัณฑจะตองมีการปองกันการแตกราว ปองกัน
การเปดใชงาน รวมทั้งภายใตกลไกการทํางานจะตองมีความสม่ําเสมอ ในสวนของการเติมน้ํายานั้นจะตองไมมีการ
รั่วซึมโดยไดมีการกําหนดขนาดของหัวฉีดและชองเติมที่ตัวอุปกรณบุหรี่ไฟฟา
2.2 มาตรการทางกฎหมายในการควบคุมฉลากบุหรี่ไฟฟ า ในแตละหีบหอของบุหรี่ไฟฟาจะตองมีการให
ขอมูลโดยประกอบไปดวยรายการสวนประกอบในบุหรี่ไฟฟาโดยจะตองมีการบอกปริมาณในผลิตภัณฑและปริมาณที่
จะไดรับ รวมทั้งขอแนะนําในการเก็บรักษาและการใชงาน ตลอดจนคําเตือนสําหรับกลุมที่มีความเสี่ยงบางกลุม
ผลขางเคียงที่อาจเกิดขึ้นได การเสพติดและความเปนพิษของบุหรี่ไฟฟา คําเตือนในเรื่องสุขภาพขนาดรอยละ 30 ของ
พื้นที่หีบหอจะตองไมมีการสงเสริมใหมีการบริโภคโดยการสรางภาพลักษณหรือความเขาใจผิดเกี่ยวกับคุณสมบัติ
ผลกระทบตอสุขภาพ ความเสี่ยงและการปลอยมลพิษของผลิตภัณฑบุหรี่ไฟฟา โดยหามสื่อขอมูลวาเปนอันตรายนอย
กวาผลิตภัณฑอื่นหรือการอางถึงการไมใสสารเหลานั้น ยกเวนกลิ่นเชื้อจากการปรุงแตงอาหารเทานั้น และแตละหีบหอ
ของผลิ ต ภั ณฑ บุหรี่ไฟฟ าตอ งมีคํ าเตือนในเรื่อ งสุขภาพ ประกอบไปด วยขอความดั งนี้ “This product contains
nicotine which is a highly addictive substance” ซึ่ ง แม ข ณะที่ จํ า หน า ยผลิ ต ภั ณ ฑ บุ ห รี่ ไ ฟฟ า นั้ น จะไม มี
สวนประกอบของสารนิโคตินอยูในขณะที่จําหนาย แตหากภายหลังสามารถนําผลิตภัณฑบุหรี่ไฟฟาไปใชกับผลิตภัณฑ
อยางอื่นที่มีสวนประกอบของสารนิโคตินไดก็ตองมีการแสดงคําเตือนแกผูบริโภค
3. มาตรการทางกฎหมายในการควบคุมการสงเสริมการบริโภคบุหรี่ไฟฟา
การกําหนดหามโฆษณาผลิตภัณฑบุหรี่ไฟฟา โดยไมอนุญาตใหบุคคลใดทําการตีพิมพหรือจัดซื้อประกาศ
โฆษณาผลิตภัณฑบุหรี่ไฟฟา รวมถึงกําหนดไมอนุญาตใหทําการขาย เสนอขายหรือเผยแพรประกาศโฆษณาผลิตภั ณฑ
บุหรี่ไฟฟาเพื่อจุดประสงคในทางธุรกิจ ในสวนของการพาณิชยอิเล็กทรอนิกสไดกําหนดหามนําเอาการโฆษณาบุหรี่
ไฟฟาเขารวมกับการบริการขอมูลขาวสาร ตลอดจนกําหนดหามมิใหบุคคลใดใหการสนับสนุนในนามของผลิตภัณฑ
บุหรี่ไฟฟาดวยจุดประสงคทางธุรกิจที่ตองการจะประชาสัม พันธบุหรี่ไฟฟาทั้งทางตรงและทางออม นอกจากนี้ยังได
วารสารนิติศึกษาไทย 755

กําหนดใหในแตละผลิตภัณฑของบุหรี่ไฟฟาจะตองไมมีการกระทําในลักษณะที่เปนการแสดงการสงเสริมขายทางธุรกิจ
(โปรโมชั่น)
4. มาตรการทางกฎหมายในการควบคุมการจําหนายและการบริโภคบุหรี่ไฟฟาบุหรี่ไฟฟา
Rules about tobacco, e-cigarettes and smoking4 ไดมีการกําหนดใหการจําหนายบุหรี่ไฟฟาหรือน้ํายา
สําหรับเติมบุหรี่ไฟฟาใหบุคคลที่อายุต่ํากวา 18 ปบริบูรณมีความผิดซึ่งกฎฉบับนี้ไดมีการกําหนดใหผูบุคคลที่ไดทําการ
ซื้อ รวมไปถึงผูที่ทําการพยามซื้อบุหรี่ไฟฟามีความผิดหากไดทําการซื้อบุหรี่ไฟฟาหรือพยามซื้อบุหรี่ไฟฟาใหแกบุคคลที่
มีอายุต่ํากวา 18 ปบริบูรณ จากกฎดังกลาวจะเห็นถึงความแตกตางในการบัญญัติกฎหมายไดในจุดหนึ่งวากฎขอนี้
หมายความถึงเฉพาะอุปกรณบุหรี่ไฟฟาเทานั้น ไมรวมไปถึงน้ํายาสําหรับเติมบุหรี่ไฟฟาเพราะในตัวบทนี้บัญญั ติถึง
เฉพาะคําวา E-Cigarettes เทานั้น ดังนั้นหากบุคคลใดไดทําการซื้อหรือพยามซื้อน้ํายาสําหรับเติมบุหรี่ไฟฟา (E-
Liquids) ใหแกบุคคลที่มีอายุต่ํากวา 18 ปบริบูรณ บุคคลดังกลาวนั้นยอมไมมีความผิดตามกฎขอนี้ ซึ่งจะตางจากการ
กําหนดความผิดสําหรับผูคาปลีกที่กําหนดใหมีความผิดหากมีการจําหนายบุหรี่ไฟฟาหรือน้ํายาเติมบุหรี่ไฟฟาใหแก
บุคคลที่อายุต่ํากวา 18 ปบริบูรณ เพราะหากกฎหมายตองการจะใหผูซื้อน้ํายาเติมบุหรี่ไฟฟามีความผิดดวย ตัวบทคง
จะมี ค วามชั ด เจนอย า งเช น ในเรื่ อ งผู ค า ปลี ก ที่ มี ก ารระบุ คํ า ว า “Electronic Cigarettes (E- Cigarettes) or E-
Liquids”
แตเนื่องดวยประเทศอังกฤษใหความสําคัญกับแนวความคิดที่มองวาการตัดสินใจกระทําความผิดเกิดจากการ
ที่ไดคิดคํานวณแลว การลงโทษเพื่อแกแคนจึงเปนวัตถุประสงคหลักของแนวคิด ซึ่งในความผิดที่ไมรายแรงคือแนวคิด
ในการลงโทษปรับแกผูกระทําความผิด ซึ่งเปนการลงโทษตอทรัพยสินของผูกระทําความผิด 5 จึงทําใหไมมีการกําหนด
ความผิดแกฝายผูซื้อที่มีอายุต่ํากวา 18 ปบริบูรณ เนื่องจากการลงโทษปรับจากกรณีดังกลาวนี้อาจไปมีผลกระทบตอ
ทรัพยสินของผูปกครองซึ่งไมใชผูกระทําโดยตรง อันจะทําใหไมสอดคลองตามวัตถุประสงคของการกําหนดความผิด
อาญาและการลงโทษปรับ
5. มาตรการทางกฎหมายในการควบคุมมลพิษเพื่อคุมครองผูไมสูบบุหรี่ไฟฟา
การสูบบุหรี่ไฟฟาไมไดถูกกํา หนดใหต องอยู ภายใตบัง คับ เขตปลอดบุ หรี่ในสถานที่ และยานพาหนะของ
Health Act 2006 เนื่องดวยหนวยงานของภาครัฐมีความตองการที่จะสงเสริมใหมีการใชบุหรี่ไฟฟาแทนบุหรี่ซิกาแรต
จึ ง ไ ด มี ก า ร อ อ ก “ Use of e-cigarettes in public places and workplaces : advice to inform evidence-
based policy making”6 ซึ่งมีหลักการสําคัญ 5 หลักการ ในการพิจารณาสําหรับการกําหนดนโยบายการใชบุหรี่
ไฟฟาใหผูมีอํานาจในการดูแลสถานที่สาธารณะและสถานที่ทํางานสามารถกําหนดนโยบายเกี่ยวกับการใชบหุ รี่ไฟฟาได
เอง7
(1) นโยบายจะตองระบุถึงความตางระหวางการสูบบุหรี่ไฟฟาและการสูบบุหรี่ซิกาแรตใหชัดเจน โดยไมควร
ใชคําวา Smokingเมื่อตองการกลาวถึงการสูบบุหรี่ไฟฟาแตควรใชคําวา Vaping แทน

4
Department of Health and Social Care, “Guidance Rules about tobacco, e-cigarettes and
smoking,” Retrieved on April 1, 2017, from www.gov.uk/government/publications/new-rules-about-tobacco-
e-cigarettes-and-smoking-1-october-2015/new-rules-about-tobacco-e-cigarettes-and-smoking-1-october
5
สุ พิ ช ชา เศรษฐ ธ นศั ก ดิ์ , “ความรั บ ผิ ด ทางอาญาฐานโฆษณาและสื่ อ สารการตลาดเครื่ อ งดื่ ม แอลกอฮอล ,”
(วิทยานิพนธมหาบัณฑิต คณะนิติศาสตร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร, 2557), น.71.
6
Public Health England, “Use of e-cigarettes in public places and workplaces : advice to inform
evidence-based policy making,” gateway number: 2016129 PHE publications (July 2016).
7
Public Health England, “Use of e-cigarettes in public places and workplaces : advice to inform
evidence-based policy making,” gateway number: 2016129 PHE publications(July 2016).
756 Thailand Journal of legal Study

(2) นโยบายควรคํานึงถึงประโยชนสุขของผูที่มีอาการตอระบบการหายใจอื่น ๆ ที่อาจไวตอสิ่งรบกวนจาก


สิ่งแวดลอม ซึ่งรวมถึงไอระเหยของบุหรี่ไฟฟา และการกําหนดใหสามารถใชบุหรี่ไฟฟาไดในสิ่งกอสรางภายในอาคารที่
เปนพื้นที่ปดควรคํานึงถึงแนวทางการรักษามารยาทสําหรับผูใชบุหรี่ไฟฟา
(3) ควรจะมีการปองกันการซึมซับของเด็กและเยาวชน โดยไมควรอนุญาตใหมีการใชบุหรี่ไฟฟาตอหนาเด็ก
และเยาวชน สามารถใชบุหรี่ไฟฟาไดภายในบริเวณที่จัดไวใหโดยเฉพาะสําหรับผูใหญเทานั้น
(4) การกําหนดใหผูสูบบุหรี่ตองออกไปสูบภายนอกสิ่งกอสรางอาจเปนการทําใหสาธารณชน รวมถึงเด็กและ
เยาวชนเห็นภาพผูสูบบุหรี่มากขึ้น และผูใชบุหรี่ไฟฟาไมควรถูกกําหนดใหใชพื้นที่เขตสูบบุหรี่รวมกับผูสูบบุหรี่ซิกาแรต
เนื่องจากอาจเปนการลดความสามารถในการเลิกสูบบุหรี่ซิกาแรต โดยเฉพาะผูที่ติดบุหรี่ เปนอยางมาก ผูใชบุหรี่ไฟฟา
จึงควรไดรับการอนุญาตใหสูบในพื้นที่อื่นที่ตางกัน
(5) นโยบายเกี่ยวกับการใชบุ หรี่ไฟฟาจะตองมี การแจง ใหป ระชาชนทราบกอนที่จ ะมี การเขา ใชส ถานที่
ดังกลาว โดยควรจะมีการแสดงปายเพื่อความเหมาะสม ซึ่งการแสดงเครื่องหมายนั้นจะตองมี การแสดงเครื่องหมาย
ของเขตปลอดบุหรี่และเขตสูบบุหรี่สําหรับบุหรี่ซิกาแรตและบุหรี่ไฟฟาที่แตกตางกัน
วิเคราะหปญหามาตรการทางกฎหมายในการควบคุมบุหรี่ไฟฟาของประเทศไทย
บุหรี่ไฟฟาถูกกําหนดใหเปนสินคาที่ผิดกฎหมายตามประกาศกระทรวงพาณิชย และคําสั่งคณะกรรมการ
คุ ม ครองผู บ ริ โ ภค อี ก ทั้ ง หากมี ก ารยกเลิ ก ประกาศและคํ า สั่ ง เพื่ อ ให บุ ห รี่ ไ ฟฟ า สามารถใช ไ ด อ ย า งถู ก กฎหมาย
เชนเดียวกับผลิตภัณฑยาสูบชนิดอื่นจะตองมีมาตรการทางกฎหมายมารองรับ ตลอดจนควบคุมบุหรี่ไฟฟาอยาง
เหมาะสมตอไป แตจากการศึกษาทําใหพบวามาตรการทางกฎหมายในการควบคุมบุหรี่ ไฟฟาของประเทศไทยที่มีอยู
นั้นมีปญหาและอุปสรรคอยูหลายประการ
1. ปญหาจากการกําหนดคํานิยามที่ยังไมมีความครอบคลุมเพียงพอ
จากการศึกษาพบวาพระราชบัญญัติพระราชบัญญัติควบคุมผลิตภัณฑยาสูบ พ.ศ.2560 ไมไดกําหนดนิยามให
ความหมายของผลิตภัณฑยาสูบแยกเปนแตละชนิดไวเ ปนกรณีเฉพาะ จึงทําใหไมมีการกําหนดนิยามความหมายของ
คําวา “บุหรี่ไฟฟา”และ“น้ํายาสําหรับเติมบุหรี่ไฟฟา ”ไวเชนเดียวกับผลิตภัณฑยาสูบชนิดอื่น ๆ แตจะใชเปนการ
กําหนดนิยามความหมายของคําวา “ผลิตภัณฑยาสูบ” ใหมีความหมายที่สามารถครอบคลุมถึงผลิตภัณฑยาสูบชนิด
ตาง ๆ ไดแทนซึ่งจากการศึกษาพบวานิยามความหมายของคําวา “ผลิตภัณฑยาสูบ”ที่มีอยูนั้นกลับมีการใหความหมาย
ที่ไมครอบคลุมเพียงพอ โดยนิยามความหมายสามารถครอบคลุมเพียงบุหรี่ไฟฟาประเภทที่มีสวนประกอบของใบยาสูบ
และบุหรี่ไฟฟาที่มีสวนประกอบของสารนิโคตินเทานั้น แตเนื่องดวยบุหรี่ไฟฟายังมีบุหรี่ไฟฟาชนิดที่ไมมีสวนประกอบ
ของใบยาสูบและไมมีสวนประกอบของสารนิโคติน การกําหนดนิยามความหมายของคําวาผลิตภัณฑยาสูบเชนนี้จึงมี
ผลทําใหบุหรี่ไฟฟาชนิดดังกลาวไมใชผลิตภัณฑยาสูบตามคํานิยามที่ไดกําหนดไวและทําใหบุหรี่ไฟฟาชนิดดังกลาวนั้ น
กลายเปนผลิตภัณฑที่มีรูปลักษณะอันทําใหเขาใจไดวาเปนสิ่งเลียนแบบผลิตภัณฑยาสูบที่ถูกกําหนดหามไมใหผลิต
ขาย หรือนําเขาตอไปอีกถึงแมภายหลังมีการยกเลิกประกาศกระทรวงพาณิชยและคําสั่งคณะกรรมการคุมครอง
ผูบริโภคแลวก็ตาม ทั้งที่บุหรี่ไฟฟาชนิดดังกลาวนั้นมีความปลอดภัยมากที่สุดในบรรดาผลิตภัณฑบุหรี่ไฟฟา
นอกจากนี้แลวการกําหนดนิยามคําวาผลิตภัณฑยาสูบนั้นยังสงผลตอการบังคับใชมาตรการในการคุมครอง
สุขภาพของผูไมสูบบุหรี่และการบังคับใชในสวนของการลงโทษผูที่ฝาฝนสูบบุหรี่ในที่หามสูบ ทั้งตามพระราชบัญญัติ
ควบคุมผลิตภัณฑยาสูบ พ.ศ.2560 และตามมาตรการทางกฎหมายอื่นที่เกี่ยวของ เนื่องจากกําหนดนิยามความหมาย
ของคํ า ว า “สู บ บุ ห รี่ ” นั้ น ได ถู ก กํ า หนดไว ว า ต อ งเกิ ด ขึ้ น จากผลิ ต ภั ณ ฑ ย าสู บ จึ ง ทํ า ให ก ารสู บ บุ ห รี่ ไ ฟฟ า ที่ ไ ม มี
สวนประกอบของใบยาสูบและไมมีสวนประกอบของสารนิโคตินไมเปนผลิตภัณฑยาสูบตามคํานิยามของผลิตภัณฑ
ยาสูบ ไมใชการสูบบุหรี่ตามคํานิยามของการสูบบุหรี่ดวยเชนเดียวกันผูสูบบุหรี่ไฟฟาชนิดดังกลาวจึงไมมีความผิดฐาน
สู บ บุ ห รี่ ใ นเขตปลอดบุ ห รี่ แต ต อ งบั ง คั บ ใช บ ทบั ญ ญั ติ ห มวด 5 เหตุ เ ดื อ ดร อ นรํ า คาญตามพระราชบั ญ ญั ติ ก าร
สาธารณสุข พ.ศ.2535 ซึ่งใหอํานาจในการระงับ กําจัด ควบคุมเหตุแกเจาพนักงานทองถิ่นเทานั้น โดยเจาพนักงาน
ทองถิ่นมีอํานาจเพียงการออกคําสั่งเปนหนังสือมิไดมีการกําหนดโทษปรับในทันทีประกอบกับเมื่อมาตรการทาง
วารสารนิติศึกษาไทย 757

กฎหมายอื่ น ไม ไ ด มี ก ารกํ า หนดนิ ย ามของคํ า ว า สู บ บุ ห รี่ ไ ว จึ ง ทํ า ให จํ า ต อ งอ า งอิ ง นิ ย ามของคํ า ว า สู บ บุ ห รี่ จ าก
พระราชบัญญัติควบคุมผลิตภัณฑยาสูบ พ.ศ.2560 ทั้งสิ้น
2. ปญหาจากการควบคุมมลพิษจากแหลงกําเนิด
พระราชบัญญัติควบคุมผลิตภัณฑยาสูบ พ.ศ.2560 ไดมีการจะตองแจงรายการสวนประกอบของผลิตภัณฑ
ยาสูบและสารที่เกิดจากการเผาไหม แตกฎกระทรวง พ.ศ.2540 ไดมีการกําหนดสารที่เกิดจากการเผาไหมไวเพียงแค
3 สารเทานั้น คือ ทาร นิโคตินและคารบอนมอนอกไซด ซึ่งบุหรี่ไฟฟาทุกประเภทนั้นไมมีสารที่เกิดจากการเผาไหมของ
สวนประกอบ และกฎกระทรวง พ.ศ.2540 มีการกําหนดขอมูลที่ตองแจงไวเพียงรายการสวนประกอบที่เปนสารในการ
ปรุงแตงผลิตภัณฑยาสูบ ซึ่งไมใชรายการสวนประกอบทั้งหมดที่มีอยูในผลิตภัณฑยาสูบ อีกทั้งพระราชบัญญัติควบคุม
ผลิตภัณฑยาสูบ พ.ศ.2560 และกฎกระทรวงตางไมไดกําหนดใหผูผลิตหรือผูนําเขามีหนาที่ตองแจงสารพิษ การปลอย
มลพิ ษ ผลขา งเคี ย ง ผลกระทบที่ อาจเกิด ขึ้ นไดจ ากผลิต ภั ณฑ ยาสูบ ตลอดจนการเสพติ ดและความเปน พิษ ของ
ผลิตภัณฑยาสูบหรือขอมูลอื่นใดตอสํานักควบคุมการบริโภคยาสูบ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข อีกทั้ง
ปริมาณที่จะตองทําการแจงกําหนดไวเพียงปริมาณที่เกิดจากการเผาไหมเทานั้นมิใชปริมาณทั้งหมดในผลิตภัณฑ แต
เมื่ อพิ จารณาสารนิโคติ นในผลิตภั ณ ฑบุหรี่ไฟฟ ากลับมีการพิ จารณาจากปริมาณของสารนิโ คติ นที่ไม ผานการทํา
ปฏิกิริยา
จากการศึกษาพบวาปจจุบันประเทศไทยยังไมมีกฎหมายที่ใชบังคับในการควบคุมมาตรฐานของบุหรี่ไฟฟา
เปนการเฉพาะอยางเปนกิจจะลักษณะแตอยางใดมีเพียงกฎกระทรวง พ.ศ.2540 หลักเกณฑ วิธีการและเงื่อนไขในการ
ที่ผูผลิตหรือผูนําเขาผลิตภัณฑยาสูบตองแจงรายการสวนประกอบของผลิตภัณฑยาสูบประเภทบุหรี่ซิกาแรตและบุหรี่
ซิ การที่ ส ามารถนํ า มาปรับ ใช กับ บุ ห รี่ไ ฟฟ า ได เพี ย งบ า งส ว นจึ ง ทํ า ให ส ามารถนํ า มาปรับ ใช ไ ด เพี ย งบ า งกรณี ซึ่ ง
กฎกระทรวงกําหนดใหสารที่ใชในการปรุงแตงตองไมมีสารในปริมาณที่อาจเปนอันตรายตอสุขภาพดังนั้นสวนประกอบ
อื่ น ของน้ํ า ยาบุ หรี่ไ ฟฟ า และอุ ป กรณ บุ หรี่ไ ฟฟ า จึ ง ไม มี การกํา หนดมาตรฐานครอบคลุ ม ไปถึง และจากการศึกษา
พระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑอุตสาหกรรม พ.ศ.2511 ไมพบมาตรการในการควบคุมมาตรฐานของบุหรี่ไฟฟาแต
อยางใด แตไดกําหนดใหอํานาจคณะกรรมการมาตรฐานผลิตภัณฑอุตสาหกรรมในการพิจารณากําหนดมาตรฐานโดย
อาจกําหนดใหใชหรืออางอิงมาตรฐานของตางประเทศหรือระหวางประเทศได ทั้งที่มาตรการในการควบคุมบุหรี่ไฟฟา
ดวยการกําหนดมาตรฐานเปนเครื่องมือที่จะสามารถชวยควบคุมผลิตภัณฑใหเปนไปตามความปลอดภัยที่รัฐเห็นวาอยู
ในระดั บ ที่ ป ลอดภัย ที่ ส ามารถกํา หนดได อี กทั้ ง ประเทศไทยไม ไ ด เป น ประเทศที่ เขา รว มหรื อเป น ประเทศที่ เ ข า
สังเกตการณในการกําหนดมาตรฐานบุหรี่ไฟฟาที่เปนมาตรฐานสากล ซึ่งตางจากการกําหนดมาตรฐานบุหรี่ ซิกาแรต
สากลที่ประเทศไทยเขาเปนประเทศสังเกตการณ
3. ปญหาในการแสดงขอมูลและคําเตือน
ในสวนของมาตรการทางกฎหมายในการควบคุมฉลาก พบวาพระราชบัญญัติควบคุมผลิตภัณฑยาสูบ พ.ศ.
2560 ไดใหอํานาจแกรัฐมนตรีโดยคําแนะนําของคณะกรรมการควบคุมผลิตภัณฑยาสูบแหงชาติ ในการประกาศ
กําหนดหลักเกณฑวิธีการ และเงื่อนไขหีบหอและฉลากของผลิตภัณฑยาสูบที่จะตองมีลักษณะการแสดงเครื่องหมาย
การคา สัญลักษณ รูปภาพ และขอความตามที่ไดกําหนดไว แตภายหลังจากพระราชบัญญัติควบคุมผลิตภัณฑยาสูบ
พ.ศ.2560 มีผลใชบังคับยังไมไดมีประกาศกระทรวงสาธารณสุขฉบับใหม แตใหใชประกาศกระทรวงสาธารณสุขที่มีอยู
เทาที่สามารถใชบังคับตอไปไดโดยไมขัดหรือแยงกัน โดยในปจจุบันมีการกําหนดเปน 3 ประกาศอันไดแก
(1) ประกาศจากกระทรวงสาธารณสุขในการกําหนดหลักเกณฑ วิธีการและเงื่อนไขการแสดงคําหรือขอความ
ที่อาจกอใหเกิดความเขาใจผิดหรือจูงใจใหบริโภคในฉลาก
(2) ประกาศจากกระทรวงสาธารณสุขกําหนดหลักเกณฑ วิธีการและเงื่อนไขการแสดงขอความเกี่ยวกับพิษ
ภัยและอันตรายจากการบริโภคผลิตภัณฑยาสูบในฉลาก
(3) ประกาศกระทรวงสาธารณสุขกําหนดหลักเกณฑวิธีการและเงื่อนไขการแสดงรูปภาพ ขอความ คําเตือน
เกี่ยวกับพิษภัยและชองทางการติดตอเพื่อการเลิกยาสูบในฉลาก
758 Thailand Journal of legal Study

ซึ่งประกาศกระทรวงสาธารณสุขในเรื่องกําหนดหลักเกณฑ วิธีการ เงื่อนไขการแสดงฉลากแตละฉบับไดมีการ


กําหนดไวเปนกรณีเฉพาะวาประกาศกระทรวงสาธารณสุขฉบับนั้น ๆ ใชบังคับกับผลิตภัณฑยาสูบใดบาง อาทิ บุหรี่ซิ
กาแรต ซิการ และยาเสน ซึ่งไมไดมีการกําหนดเปน “หลักเกณฑ วิธีการ และเงื่อนไขการแสดง........ในฉลากของ
ผลิตภัณฑยาสูบ” ที่จะทําใหประกาศกระทรวงสาธารณสุขในการควบคุมฉลากไมสามารถใชบังคับกับผลิตภัณฑยาสูบ
ทุกชนิดจึงทําใหประกาศกระทรวงสาธารณสุขที่อยูไมสามารถใชบังคับ ไดกับบุหรี่ไฟฟา อีกทั้งมาตรการทางกฎหมาย
ในการควบคุมฉลากผลิตภัณฑยาสูบของประเทศไทยและหลักเกณฑ วิธีการ เงื่อนไขการแสดงฉลากที่ใชบังคับอยูใน
ปจจุบันไมมีการกําหนดใหตองมีการบอกรายละเอียดของผลิตภัณฑบุหรี่ไฟฟาที่เพียงพอ และการแสดงคําเตือนดาน
ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นไดมีบางสวนที่ยังไมเหมาะสมกับผลิตภัณฑบุหรี่ไฟฟา อาทิ ประกาศจากกระทรวงสาธารณสุข
กําหนดหลักเกณฑ วิธีการและเงื่อนไขการแสดงขอความเกี่ยวกับพิษภัยและอันตรายจากการบริโภคผลิตภัณฑยาสูบ
เนื่องจากควันของบุหรี่ไฟฟาไมไดมีสารยาเบื่อหนูและยาดองศพอยางทีมีในควันของบุหรี่ซิกาแรต อีกทั้งในสวนของ
การแสดงคุณสมบัติหรือคุณภาพอันจูงใจผูบริโภคประเทศไทยไดมีการกําหนดไวเฉพาะการแสดงคุณสมบัติทั่วไป แตได
มีการกําหนดไปถึงการหามอางถึงการใหพลังงานทําใหมีชีวิตชีวาทําใหผูบริโภคกระปรี้กระเปรา มีประโยชนตอสุขภาพ
มีการรักษา และครอบคลุมไปถึงการหามแสดงวามีคุณสมบัติทางธรรมชาติหรือมีคุณสมบัติทางชีววิทยา หรือการสื่อวา
ผลิตภัณฑบุหรี่ไฟฟามีการพัฒนาคุณสมบัติการยอยสลายไดตามธรรมชาติหรือมีการยอยสลายทางชีวภาพที่ดีขึ้นหรือมี
ประโยชนอื่นใดตอสิ่งแวดลอม รวมถึงในสวนของการแสดงขอมู ลสวนประกอบประเทศไทยไมเคยมีการกําหนดให
ผลิตภัณฑยาสูบตองแสดงสวนประกอบในฉลากมากอน
4. ปญหาเกี่ยวกับการกําหนดความผิดในการสงเสริมการบริโภค
มาตรการทางกฎหมายส ง เสริ ม การบริ โ ภคยั ง มี ป ญ หาและอุ ป สรรค กล า วคื อ การให นิ ย ามของคํ า ว า
“โฆษณา” กําหนดไววาจะตองเปนการกระทําไปเพื่อประโยชนในทางการคา และนิยามความหมายของคําวา “การ
สื่อสารการตลาด”ตองมีวัตถุประสงคเพื่อขายสินคาหรือบริการ หรือสรางภาพลักษณ จึงทําใหมีกรณีที่เปนปญหาและ
มาตรการทางกฎหมายที่มีอยูในปจจุบันยังไมมีความครอบคลุมถึงนั้นคือการเผยแพรขอความ ขอมูล หรือภาพที่อาจมี
ลักษณะเปนการชักชวนใหมีการบริโภคผลิตภัณฑยาสูบเกิดขึ้น โดยมิไดเกิดจากผูผลิต ผูนําเขาหรือผูจัดจําหนาย และ
ผูกระทํามิไดมีความมุงหวังที่จะใหเกิดประโยชนในทางการคา หรือไมไดวัตถุประสงคเพื่อขายสินคาหรือบริการหรือ
สรา งภาพลั กษณ ใด ๆ ให กั บ ผลิ ต ภัณ ฑ ยาสูบ ทั้ง สิ้น ที่นิยมเกิด ขึ้นผ านทางสื่ ออิ เล็ กทรอนิ กสและระบบเครือขาย
คอมพิวเตอร ทั้งที่เปนการกระทําในชองทางที่งายตอการเขาถึงขอมูลของเด็ก เยาวชนและประชาชนทั่วไป ซึ่งหาก
พิ จ ารณาเปรีย บเที ยบกับ ผลิ ตภั ณ ฑเครื่อ งดื่ ม แอลกอฮอล ซึ่ ง เป น ผลิ ต ภั ณ ฑ สิน ค าที่ ทํา ลายสุ ข ภาพของผู บริโภค
เชนเดียวกัน ปรากฏวาการควบคุมผลิตภัณฑเครื่องดื่มแอลกอฮอลมีมาตรการในการควบคุมการสงเสริมการบริโภคใน
ดานการโฆษณาและการสื่อสารการตลาดที่ครอบคลุมมากกวาผลิตภัณฑยาสูบ โดยพระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่ม
แอลกอฮอล พ.ศ.2551 ไดกําหนดห ามมิใหผูใดโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอลหรือแสดงชื่อหรือเครื่องหมายของ
เครื่องดื่มแอลกอฮอลอันเปนการอวดอางสรรพคุณหรือชักจูงใจใหผูอื่นดื่มโดยตรงหรือทางออม ซึ่งมีอัตราโทษคือจําคุก
ไมเกินหนึ่งป ปรับไมเกินหาแสนบาทหรือทั้งจําทั้งปรับ และตองระวางโทษปรับอีกวันละไมเกินหาหมื่นบาทตลอดเวลา
ที่ฝาฝนหรือจนกวาจะไดปฏิบัติใหถูกตอง ซึ่งไดมีการตีความของคําวา “อันเปนการอวดอางสรรพคุณหรือชักจูงใจให
ผูอื่นดื่มโดยตรงหรือทางออม”วาเปนถอยคําที่ไมไดมีการบัญญัติขึ้นเพื่อเปนการขยายในสวนของคําวา “โฆษณา”
เนื่องจากการโฆษณาเปนการกระทําเพื่อมุงประโยชนทางการคา การโฆษณาจึงมีลักษณะเปนการชักจูงใจอยูในตัวแลว
จึงมีการตีความวาในสวนนี้จะตองไมใชการกระทําเพื่อประโยชนทางการคา โดยเปนการอวดอางหรือชักจูงใจใหผูอื่น
เห็นดีเห็นงามกับการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอลที่ผูกระทําไมใชผูนําเขา ผูผลิตหรือผูขาย ซึ่งบุคคลเหลานี้ยอมไมได
ทําไปเพื่อใหตนเองไดรับประโยชนทางการคา 8 ซึ่งมีการใชถอยคําในการกําหนดมาตรการทางกฎหมายที่ใหทําให
สามารถควบคุมการเผยแพรขอความ ขอมูล ภาพถายหรือวิดีโอในทุกชองทางรวมถึงในสื่ออิเล็กทรอนิกสสมัยใหม ที่
ผูคนทั่วไปสามารถเขาถึงไดอยางงายดาย

8
สุพิชชา เศรษฐธนศักดิ์, อางแลว เชิงอรรถที่ 5, น.132-134.
วารสารนิติศึกษาไทย 759

และแมพระราชบัญญัติควบคุมผลิตภัณฑยาสูบ พ.ศ.2560 จะครอบคลุมไปถึงโฆษณาผลิตภัณฑยาสูบผาน


ทางสื่ออิเล็กทรอนิกสและระบบเครือขายคอมพิวเตอร แตก็พบปญหาขาดการบังคับใชกฎหมายอยางความเขมงวด
และเด็ดขาด ทั้งที่การโฆษณาผลิตภัณฑยาสูบมีอัตราโทษจําคุกและมีโทษปรับสูงสูงถึงหาแสนบาท แตเนื่องดวยไมมี
การประชาสัมพันธถึงอัตราโทษหรือการลงโทษแกผูกระทําความผิดเพื่อเปนเยี่ยงอยาง จึงทําใหผูโฆษณาหรือผูรับจาง
โฆษณาไมเกรงกลัวตอการกําหนดโทษดังกลาว
5. ปญหาจากการควบคุมการจําหนายและการบริโภค
5.1 ในสวนของมาตรการทางกฎหมายในการกําหนดอายุพบวาพระราชบัญญัติควบคุมผลิตภัณฑยาสูบ พ.ศ.
2560 มีการแกไขเพิ่มเติมอายุ ของผูซื้ อหรือผูรับผลิต ภัณฑยาสูบจากเดิมที่จะมีความผิดหากมี การจําหนาย ขาย
แลกเปลี่ยน หรือใหแกบุคคลที่มีอายุไมครบ 18 ปบริบูรณเปนอายุต่ํากวา 20 ปบริบูรณอันเปนการขยายความคุมครอง
ใหแกเด็กและเยาวชน แตอยางไรก็ตามกลับพบวาไมมีมาตราใดของกฎหมายใดเลยที่บัญญัติกําหนดใหเปนความผิดแก
ผูที่ซื้อหรือรับการใหผลิต ภัณฑยาสูบที่ อายุไมถึง เกณฑตามที่กํา หนดทั้งที่บุคคลดัง กลาวโดยสวนมากคื อเด็ ก และ
เยาวชนที่ซื้อผลิตภัณฑยาสูบเพื่อนําไปบริโภคเอง อีกทั้งบุคคลเหลานี้ยอมทราบดีกวาตนเองนั้นอายุครบตามเกณฑที่
กฎหมายกําหนดไวหรือไม และตามมาตรา 26 วรรคสองที่กําหนดวาหากมีขอสงสัยเกี่ยวกับอายุของผูซื้อ ใหผูขายแจง
ใหบุคคลดังกลาวแสดงบัตรประจําตัวประชาชนหรือหลักฐานอื่นที่แสดงอายุนั้น แทบจะไมเกิดผลใด ๆ ในทางปฏิบัติ
เพราะเป น มาตรการบั ง คั บ ใช เนื่อ งจากเป นมาตรการที่ ไ ม ได มี การกํา หนดเป น หนา ที่ ให ต อ งกระทํ าและไม มี การ
กําหนดการลงโทษไวในตัวเองหากมีการฝาฝน ทั้งที่คณะกรรมการควบคุมผลิตภัณฑยาสูบแหงชาติมีอํานาจในการ
กําหนดมาตรการเพื่อควบคุมผลิตภัณฑยาสูบแตก็ไมไดมีการกําหนดมาตรการใดออกมาเพื่อควบคุมผลิตภัณฑยาสูบใน
เรื่องดังกลาวนี้
5.2 ในสวนตอมาพบวามาตรการทางกฎหมายในการควบคุมสถานที่จําหนาย จากการศึกษาพระราชบัญญัติ
ควบคุมผลิตภัณฑยาสูบ พ.ศ.2560 ไดมีการกําหนดควบคุมผู ขายปลีกผลิตภัณฑยาสูบไวหลายประการ โดยกําหนด
ห า มผู ข ายทํ า การขายผลิ ต ภั ณ ฑ ย าสู บ โดยใช เ ครื่ อ งขาย ห า มผู ข ายทํ า การขายผลิ ต ภั ณ ฑ ย าสู บ ผ า นทางสื่ อ
อิ เล็ กทรอนิ กส หรื อ เครื อขา ยคอมพิ ว เตอร ห า มผู ข ายทํ า การขายผลิ ต ภั ณ ฑ ย าสู บ นอกสถานที่ ที่ มี ก ารระบุ ไ ว ใ น
ใบอนุญาต และหามผูขายทําการขายผลิตภัณฑยาสูบในวัดหรือสถานทีส่ ําหรับปฏิบัติพิธกี รรมทางศาสนา สถานบริการ
สาธารณสุข สถานพยาบาล รานขายยา สถานศึกษา สวนสาธารณะ สวนสัตว สวนสนุก และไดกําหนดใหอํานาจ
รัฐมนตรีโดยคําแนะนําของคณะกรรมการควบคุมผลิตภัณฑยาสูบแหงชาติในการกําหนดสถานที่อื่นใดไมใหมีก ารขาย
ผลิตภัณฑยาสูบ และใหอํานาจที่จะสามารถกําหนดระยะหางจากสถานที่ดังกลาวขางตน เพื่อหามไมใหมีการขาย
ผลิตภัณฑยาสูบ พรอมกําหนดใหมีการจัดทําเครื่องหามหรือสัญลักษณใหทราบถึงเขตพื้นที่ดังกลาวดวย แตอยางไรก็
ตามในปจจุบันยังไมไดมีการกําหนดประกาศสถานที่ อื่นเปนการเพิ่มเติมและยังไมมีการประกาศกําหนดระยะหางจาก
สถานที่ที่มีการกําหนดอยูกอน ทั้งที่มีการจําหนายผลิตภัณฑยาสูบในจุดที่เปนแหลงชุมชนที่ซึ่งอยูใกลกับกลุ มของ
เยาวชน9 เชน ใกลบริเวณสถานศึกษา หรือสถานที่ที่เยาวชนจัดกิจกรรมตาง ๆ โดยมีผลการสํารวจพบวา เด็กและ
เยาวชนสามารถหาซื้อบุหรี่ไดจากรานคาในชุมชน 10 ซึ่งหากพิจารณาเปรียบเทียบกับผลิตภัณฑเครื่องดื่มแอลกอฮอล
ปรากฏวาพระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล พ.ศ.2551 มีมาตรการในการควบคุมสถานที่จําหนายคลายกัน
กับพระราชบัญญัติควบคุมผลิตภัณฑยาสูบ พ.ศ.2560 แตมีการควบคุมสถานที่ที่ครอบคลุมมากกวาอาทิ หอพั ก
สถานที่ราชการ และไดมีคําสั่งหัวหนาคณะรักษาความสงบแหงชาติ เพื่อปฏิรูปและจัดระเบียบในสังคม จึงมีคําสั่งหาม
มิใหมีสถานที่ขายเครื่องดื่มแอลกอฮอลตั้งอยูในบริเวณใกลเคียงสถานศึกษา หรือหอพักในบริเวณใกลเคียงสถานศึกษา
เพื่อแกไขปญหาการจําหนายเครื่องดื่มแอลกอฮอลที่อยูในบริเวณใกลเคียงสถานศึกษาหรือหอพัก หากพบวามีผูฝาฝน

9
Stephen Hamann, เนาวรัตน เจริญการคา และคณะ, การทบทวนองคความรูเกี่ยวกับการควบคุมการบริโภค
ยาสูบ, (กรุงเทพมหานคร : ศูนยการพิมพแกนจันทร,2548), น.33.
10
ไทยรัฐ, “Who หวงเยาวชนไทยหลังปญหาการสูบบุหรี่ไมลด,” หนังสือพิมพไทยรัฐ, (10 พฤศจิกายน 2559)
760 Thailand Journal of legal Study

ไมปฏิบัติตามใหพนักงานเจาหนาที่หรือเจาพนักงานของรัฐ ซึ่งมีอํานาจตามกฎหมายสั่งปดสถานที่ดังกลาวทันที ซึ่งมี


ความครอบคลุมสถานศึกษาทุกประเภท
6. ปญหาจากการกําหนดสถานที่เขตปลอดบุหรี่ที่ไมเหมาะสม
ซึ่งตามมาตรการทางกฎหมายในปจจุบันในการกําหนดเขตปลอดบุหรี่ ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข
ฉบับที่ 19 พ.ศ.2553 สามารถแบงเขตปลอดบุหรี่ไดเปน 2 แบบ คือเขตปลอดบุหรี่ที่สามารถจัดใหมีเขตสูบบุหรี่ไดและ
เขตปลอดบุหรีท่ ั้งหมดที่ไมสามารถจัดใหมีเขตสูบบุหรี่ได โดยมีการกําหนดใหสถานที่สาธารณะที่ประชาชนสามารถใช
รวมกันไดที่เปนของเอกชนหลายแหงเปนเขตปลอดบุหรี่ทั้งหมดโดยไมสามารถกําหนดใหสามารถจัดใหมีเขตสูบบุหรี่ได
แตสถานที่ราชการ รัฐวิสาหกิจ หนวยงานงานอื่นของรัฐ สถานศึ กษาระดับอุดมศึกษา รวมถึงสถานบริการน้ํามัน
เชื้อเพลิงหรือแกสเชื้อเพลิงกลับกําหนดใหเปนเพียงเขตปลอดบุหรี่ที่สามารถจัดใหมีเขตสูบบุหรี่ไดไมถูกกําหนดใหเขต
ปลอดบุหรี่ทั้งหมด และตามมาตรการทางกฎหมายไดมีการบัญญัติไวเพียงคําวา ยานพาหนะ เพื่อรองรับการกําหนด
พื้ น ที่ คุ ม ครองสุ ข ภาพของผู ไ ม สู บ บุ หรี่ที่ เป น ยานพาหนะส ว นตั ว โดยกํา หนดให อํา นาจรัฐ มนตรีว า การกระทรวง
สาธารณสุขสามารถออกประกาศกําหนดใหยานพาหนะสวนบุคคลเปนเขตปลอดบุหรี่ได แตจนถึงปจจุบันก็ยังไมไดมี
การออกประกาศใด ๆ ออกมากําหนดไปถึงยานพาหนะสวนบุคคล
ซึ่งการพิจารณากําหนดสถานที่โดยไมไดพิจารณาจากความปลอดภัยหรือจากความเหมาะสมของผลิตภัณฑ
ยาสูบเนื่องจากแตเดิมผลิตภัณฑยาสูบที่นิยมมีเพียงบุหรี่ซิกาแรตเปนสวนมากซึ่งในบุหรี่ซิกาแรตมีสารพิษเปนจํานวน
มากจึงพิจารณาควบคุมจากสถานที่จากเพื่อปกปองสุขภาพของผูไมสูบบุหรี่เทานั้นซึ่ งหากจะมีการสงเสริมใหใชบุหรี่
ไฟฟาแทนบุหรี่ซิกาแรตเพื่อลดปริมาณสารพิษที่จะเกิดแกผูสูบบุหรี่ดวยแลวนั้น ควรมีการออกประกาศสาธารณสุข
ฉบับใหมโดยพิจารณากําหนดพื้นที่ใหมีความเหมาะสมกับผลิตภัณฑยาสูบที่มีความตางกันและสอดคลองกับความมุง
หมายที่ตองการจะสนับสนุนใหมีการใชบุหรี่ไฟฟาเพื่อลดมลพิษไปพรอม ๆ กับการปกปองคุมครองสุขภาพของผูไมสูบ
บุหรี่อยางมีประสิทธิภาพ
7. ปญหาจากการกําหนดบทลงโทษที่ไมเหมาะสมเพียงพอ
ในมิติหนึ่งพบวาปญหามลพิษทางอากาศที่รบกวนผูไมสูบบุหรี่มีมีสาเหตุหนึ่งมาจากการสูบบุหรี่ในที่หามสู บ
โดยในสวนของการกําหนดโทษตามพระราชบัญญัติควบคุมผลิตภัณฑยาสูบ พ.ศ.2560 ไดมีการกําหนดใหผูฝาฝนที่ทํา
การสูบบุหรี่ในเขตปลอดบุหรี่มีความผิดตองระวางโทษปรับไมเกินหาพันบาท และมาตรการทางกฎหมายไดกําหนดให
ผู ดํ า เนิ น การของสถานที่ ส าธารณะ สถานที่ ทํ า งานหรื อ ยานพาหนะที่ เป น เขตปลอดบุ ห รี่ ใ ห มี ห น า ที่ ใ นการ
ประชาสัมพันธ หรือแจงเตือนวาสถานที่ดังกลาวในความดูแลของตนเปนเขตปลอดบุหรี่และมีหนาที่ควบคุมดูแล หาม
ปราม หากมีผูฝาฝนสูบบุหรี่แลวผูดําเนินการควบคุมดูแลหามปรามตามสมควรแลวนั้นผูดําเนินการไมมีความผิด โดย
หากผูดําเนินการฝาฝนไมดําเนินการควบคุมดูแล หามปราม หรือดําเนินการใด ๆ ปลอยใหมีการสูบบุหรี่ในสถานที่ของ
ผูดําเนินการที่ถูกกําหนดเปนเขตปลอดบุหรี่ พระราชบัญญัติควบคุมผลิตภัณฑยาสูบ พ.ศ.2560 กําหนดโทษปรับ
สําหรับผูดําเนินการไวไมเกินสามพันบาทเทานั้น ซึ่งการกําหนดโทษปรับดั งกลาวมีอัตราโทษนอยกวาระวางโทษของผู
สูบบุหรี่ที่เปนบุคคลทั่วไปเสียอีก นอกจากนี้กฎหมายไมไดมีการกําหนดวาเพียงใดจึงเปนการกระทําตามสมควรแลว
หากแตใหเปนดุลพินิจของพนักงานเจาหนาที่
ในอีกมิติหนึ่งพบวาพระราชบัญญัติสงเสริมการบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝง พ.ศ.2558 เนื่อง
ดวยในการทองเที่ยวทางทะเลและชายฝงโดยสวนมากแล วนั้น ผูที่ไปทองเที่ยวมักเปนชาวตางชาติที่เดินทางมา
ทองเที่ยวโดยผานผูดําเนินการนําเที่ยวและมีจํานวนมากเกินกวาที่จํานวนของเจาหนาที่จะสามารถดูแลไดทั่วถึง จึงทํา
ใหอาจเกิดการฝาฝนสูบบุหรี่ในพื้นที่หามสูบอยูบอยครั้ง โดยผูดําเนินการนําเที่ยวไมมีหนาที่ในการดูแล ซึ่งตางจาก
พระราชบัญญัติควบคุมผลิตภัณฑยาสูบ พ.ศ. 2560 ทั้งที่การสูบบุหรี่และการทิ้งกนกรองบุหรี่มีลักษณะเปนการทําลาย
หรือทําใหเกิดอันตรายตอทรัพยากรทางทะเลและชายฝงใหไดรั บความเสียหายอยางรายแรง สงผลกระทบตอระบบ
นิเวศของทรัพยากรทางทะเลและชายฝงของประเทศ รวมทั้งกอใหเกิดผลกระทบตอความเปนอยูของชุมชนหรือ
ประชาชนบริเวณชายหาด แตตามคําสั่งกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝงที่ 1064/2560 เรื่อง มาตรการคุมครอง
ทรัพยากรทางทะเลและชายฝงบริเวณชายหาด ที่ออกโดยอาศัยอํานาจตามความในมาตรา 17 ประกอบมาตรา 3 แหง
วารสารนิติศึกษาไทย 761

พระราชบัญญัติสงเสริมการบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝง พ.ศ.2558 กลับกําหนดเปนความผิดแก


เฉพาะผูที่ทําการฝาฝนเทานั้น
8. ปญหาการบังคับใชกฎหมาย
แมตามประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การกําหนดประเภทและอัตราการหักเงินคาปรับกอนนําสงคลัง ได
กําหนดใหสวนราชการสามารถหักเงินคาปรับที่ไดรับจากการกระทําความผิด แตจนถึงปจจุบันที่ก็ยังไมมีการออก
ระเบียบกรมควบคุมโรค เรื่อง หลักเกณฑวิธีการและเงื่อนไขการจายสินบนรางวัลและคาใชจายในการดําเนินงานตาม
พระราชบัญญัติควบคุมผลิตภัณฑยาสูบ พ.ศ.2560 มาอนุวัตรการทําใหไมสามารถหักเงินคาปรับและนําเงินสวนแบง
ไปจายเปนเงินรางวัลใหแกพนักงานเจาหนาที่ผูรับผิดชอบในการดําเนินการกับผูกระทําความผิด ทั้งที่มาตรการ
ดังกลาวเปนการสรางแรงจูงใจที่ดีใหแกพนักงานเจา หนาที่และประชาชน โดยเปนมาตรการที่ทําใหเกิดการเฝาระวัง
ไมใหมีผูกระทําความผิดไดเปนอยางดีอีกดวย และในสวนของชองทางการรองเรียนการฝาฝนกฎหมายเกี่ยวกับการ
ควบคุมผลิตภัณฑยาสูบนั้น ชองทางการรองเรียนที่มีอยูก็ไมไดรับการประชาสัมพันธหรือการโฆษณาใหประชาชนได
ทราบ อีกทั้งชองทางการรองเรียนทางเว็บไซตมีการเขาถึงที่ยากและซับซอนทําใหไมไดรับความนิยม โดยระบบ
รองเรียนยาสูบออนไลนในระยะเวลาประมาณ 1 ปมีการรองเรียนการกระทําความผิดเกี่ยวกับการควบคุมผลิตภัณฑ
ยาสูบเพียง 43 เรื่องเทานั้น11 ก็เปนผลมาจากการไมมีมาตรการที่จะการสรางแรงจูงใจที่ดีใหแกพนักงานเจาหนาที่และ
ประชาชน

บทสรุปและขอแสนอแนะ
จากการศึกษามาตรการทางกฎหมายในการควบคุมบุหรี่ไฟฟาของประเทศไทยรวมถึงปญหาตาง ๆ แลว
เนื่องจากมาตรการทางกฎหมายที่มีอยูในปจจุบันยังไมสามารถควบคุมบุหรี่ไฟฟาไดอยางครอบคลุมและครบถวน ทํา
ใหมีความไมเหมาะสมและยังไมมีประสิทธิภาพเพียงพอดังที่กลาวมาแลวนั้น ผูเขียนจึงขอเสนอแนะแนวทางที่ควร
นํามาบัญญัติในกฎหมายเพื่อใชในการควบคุมบุหรี่ไฟฟาใหมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นดังตอไปนี้
1. เพื่อที่ใหบุหรี่ไฟฟาถูกควบคุมตามมาตรการทางกฎหมายของพระราชบัญญัติควบคุมผลิตภัณฑยาสูบ พ.ศ.
2560 จึงควรกําหนดนิยามของคําวา “ผลิตภัณฑยาสูบ” ใหมีครอบคลุมบุหรี่ไฟฟาไดทุกประเภท โดยเห็นควรเพิ่ม
ถอยคําในนิยามผลิตภัณฑยาสูบใหหมายความรวมถึงผลิตภัณฑอื่นใดซึ่งใชในลักษณะเดียวกัน และจะทําใหการสูบ
บุหรี่ไฟฟาทุกชนิดอยูภายใตนิยามของคําวา “สูบบุหรี่” ตามพระราชบัญญัติควบคุมผลิตภัณฑยาสูบ พ.ศ.2560 ดวย
เชนเดียวกัน อันจะทําใหการคุมครองสุขภาพของผูไมสูบบุหรี่อยางแทจริง
2. ในการแจงขอมูลของผลิตภัณฑยาสูบนั้นควรมีกําหนดรายละเอียดขอมูลที่ตองแจงใหมีความครอบคลุ ม
อาทิ รายการสวนประกอบทั้งหมดผลิตภัณฑยาสูบ การแจงสารที่เกิดจากการทําปฏิกิริยาจะตองไมมีการกําหนดชนิด
ของสารไวเปนการเฉพาะเพื่อใหจะตองแจงทุกสารที่เกิดขึ้น ในสวนของการกําหนดมาตรฐานผลิตภัณฑบุหรี่ไฟฟา
สวนประกอบในน้ํายาบุหรี่ไฟฟาตองใชสวนประกอบที่มีความบริสุทธิ์สูงเทานั้น และจะตองไมมีสวนประกอบและ
สารเติมแตงใดที่จะกอใหเกิดความเสี่ยงตอสุขภาพ รวมถึงสารปรุงแตงกลิ่นอาหารเพื่อไมใหเกิดการชังจูงใจใหอยาก
บริโภคบุหรี่ไฟฟาและในสวนของอุปกรณบุหรี่ไฟฟาเห็นควรออกประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม กําหนดมาตรฐาน
สําหรับผลิตภัณฑอุตสาหกรรม โดยอาจอางอิงมาตรฐานบุหรี่ไฟฟาของตางประเทศอาทิ ประเทศอังกฤษหรือมาตรฐาน
ระหวางประเทศในการกําหนดมาตรฐานผลิตภัณฑอุตสาหกรรมบุหรี่ไฟฟา และเพื่อความปลอดภัยหรือเพื่อปองกัน
ความเสี ย หายอั น อาจเกิด แกป ระชาชน โดยเพื่ อให กํา หนดให ผ ลิ ต ภั ณ ฑ อุต สาหกรรมบุ หรี่ไ ฟฟ า ต องเปน ไปตาม
มาตรฐานตราเปนพระราชกฤษฎีกา “พระราชกฤษฎีกากําหนดใหผลิตภัณฑอุตสาหกรรม บุหรี่ไฟฟา : คุณลักษณะ
ความปลอดภัยตองเปนไปตามมาตรฐาน พ.ศ.256X” โดยกําหนดใหผลิตภัณฑบุหรี่ไฟฟา: คุณลักษณะความปลอดภัย

11
ระบบรองเรียนยาสูบออนไลน , “รายงานผลการรับเรื่องรองเรียน,” สืบคนเมื่อวันที่ 27 มีนาคม 2561, จาก
http://btc.ddc.moph.go.th/complain/report.php.
762 Thailand Journal of legal Study

ต อ งเป น ไปตามมาตรฐานเลขที่ มอก.XXX-256X ตามประกาศกระทรวงอุ ต สาหกรรม ซึ่ ง ออกตามความใน


พระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑอุตสาหกรรม พ.ศ.2511
3. การแสดงขอมูลและคําเตือนตามที่มาตรา 38 แหงพระราชบัญญัติควบคุมผลิตภัณฑยาสูบ พ.ศ.2560 ควร
มีการออก “ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง หลักเกณฑ วิธีการ และเงื่อนไขการแสดงคําหรือขอความในฉลาก
บุ หรี่ไ ฟฟ า ”เป น กรณี เฉพาะและควรกํา หนดการแสดงขอมู ล แสดงคํา เตื อนเกี่ย วกับ สุ ขภาพอย า งเหมาะสมกับ
ผลิตภัณฑ โดยควรกําหนดพื้นที่นอยกวาบุหรี่ซิกาแรตแตไมควรนอยกวารอยละ 55 เพื่อที่จะสามารถแสดงคําเตือน
เกี่ย วกับ สุ ขภาพได อย า งครบถว นและเพื่ อลดการดึ งดู ด ความสนใจจากผู บริโ ภคเนื่ องจากเป นมาตรการหนึ่งที่มี
ประสิทธิภาพในการควบคุมการบริโภคยาสูบไดดี เพื่อลดการดึงดูดความสนใจจากผูบริโภค
4.เนื่องดวยหากไมสามารถควบคุมการเผยแพรสื่อไดอยางเพียงพอจะทําใหไมสามารถที่จะบรรลุวัตถุประสงค
ที่ตองการจะปองกันการเขาถึงผลิตภัณฑยาสูบจึงควรกําหนดใหการเผยแพรขอมูลที่มีผลิตภัณฑยาสูบที่เปนการชักจูง
ใจใหเกิดการบริโภคเปนความผิด โดยควรมีปรับถอยคําใหมีความครอบคลุมถึงการแสดงผลิตภัณฑเพื่อใหสามารถ
คุมครองเด็ก เยาวชนและผูไมสูบบุหรี่จากพบเห็นการเผยแพรของผลิตภัณฑยาสูบ แตกําหนดขอยกเวนไวในกรณีการ
ใหขอมูลหรือความรูในทางวิชาการเพื่อใหผูบริโภคมีสิทธิที่จะรูถึงขอมูล เพื่อประกอบการตัดสินในการบริโภค อันเปน
ขอมูลที่มีความนาเชื่อถือ เพื่อปองกันการจูงใจโดยการใหขอมูลที่ไมถูกตอง โดยกําหนดมาตรการ “หามมิใหผูใด
โฆษณาหรือแสดงผลิตภัณฑยาสูบ หรือแสดงชื่อหรือเครื่องหมายของผลิตภัณฑยาสูบ อันเปนการอวดอางสรรพคุณ
หรืออาจชักจูงใจใหผูอื่นบริโภคโดยตรงหรือทางออม เวนแตเปนการกระทําเพื่อใหขอมูลทางวิชาการ” โดยกําหนด
ขอยกเวนไวในเฉพาะกรณีการใหขอมูลหรือความรูในทางวิชาการเพื่อใหผูบริโภคมีสิทธิที่จะรูถึงขอมูลเพื่อประกอบการ
ตัดสินในการบริโภคอันเปนขอมูลที่มีความนาเชื่อถือ เพื่อปองกันการจูงใจโดยการใหขอมูลที่ไมถูกตอง
5. เพื่อใหทราบวาผูที่ซื้อมีอายุถึงตามเกณฑตามที่กฎหมายกําหนดไว ควรมีการกําหนดใหผูขายหรือผูใหมี
หนาที่ตองขอใหผูซื้อแสดงหลักฐานที่แสดงอายุของผูซื้อกอนเสมอ และควรกําหนดเปนความผิดผูซื้อดวย แตเนื่องดวย
การลงโทษทางอาญาเปนมาตรการที่รุนแรงตอเด็กและเยาวชน จึงขอเสนอวิธีการหันเหคดีเด็กและเยาวชนที่กระทํา
ความผิดอาญาดวยการใชการประชุมกลุมครอบครัวหรือการไกล เกลี่ยคดี อันจะทําใหเด็กและเยาวชนไดรับการฟนฟู
โดยไมตองมีความผิดทางอาญาติดตัวเด็กและเยาวชน ทั้งนี้เพื่อเปนการคุมครองเด็กและเยาวชนในอีกทางหนึ่งควร
ขยายความคุมครองเพิ่มเติมพื้นที่ควบคุมสถานที่จําหนายผลิตภัณฑยาสูบ โดยการออกประกาศกําหนดระยะหางหาม
ขายผลิตภัณฑยาสูบในสถานที่ที่เปนแหลงชุมชนเยาวชน
6. เนื่องดวยตองการที่จะสงเสริมใหผูติดบุหรี่ซิกาแรตหันมาใชบุหรี่ไฟฟาแทน เพื่อลดปริมาณสารพิษและเพื่อ
นําบุหรี่ไฟฟามาเปนเครื่องมือที่จะชวยใหผูสูบบุหรี่สามารถเลิกสูบบุหรี่ไดนั้น พื้นที่ของเขตปลอดบุหรี่และเขตสูบบุหรี่
ของบุหรี่ไฟฟาจึงแตกตางไปจากบุหรี่ซิกาแรต โดยการออกประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่องการกําหนดชื่อหรือ
ประเภทของสถานที่สาธารณะที่ใหมีการคุมครองสุขภาพของผูไมสูบบุหรี่และกําหนดสวนหนึ่งสวนใดหรือทั้งหมดของ
สถานที่สาธารณะดังกลาวเปนเขตสูบบุหรี่หรือเขตปลอดบุหรี่ โดยในสวนของบุหรี่ซิกาแรตนั้นควรเพิ่มพื้นที่ปลอดบุหรี่
โดยกําหนดใหสถานศึกษาระดับอุดมศึกษา สถานบริการน้ํามันเชื้อเพลิงหรือแกสเชื้อเพลิง สถานที่ราชการ รัฐวิสาหกิจ
หนวยงานงานอื่นของรัฐ ใหเปนเขตปลอดบุหรี่ทั้งหมด โดยไมมีการกําหนดเขตสูบบุหรี่ในพื้ นที่ดังกลาว และเนื่องดวย
กฎหมายในปจจุบันมีการคุมครองเพียงสถานที่สาธารณะ สถานที่ทํางานและยานพาหนะสาธารณะเทานั้น ซึ่งจะเห็น
ไดวายังไมเปนการครอบคลุมถึงยานพาหนะที่เปนสวนตัว ทั้งที่มลพิษหรือพิษภัยของบุหรี่นั้นมีอยูไดในทุกพื้นที่ โดย
เห็นควรกําหนดเพิ่มพื้นที่เขตปลอดบุหรี่ซิกาแรตใหคลอบคลุมถึงยานพาหนะสวนบุคคลใหเปนเขตปลอดบุหรี่ แมการ
ใหความคุมครองดังกลาวนี้อาจทําใหตองรุกล้ําสิทธิสวนบุคคลของเอกชนอยูบาง แตหากไดชั่งน้ําหนักระหวางผูที่จะถูก
ละเมิดสิทธิและผูจะไดรับความคุมครองแลวจะพบวายังเปนกรณีที่สมควรอยางยิ่ง
ในสวนเขตปลอดบุหรี่และเขตสูบบุหรี่ของบุหรี่ไฟฟาควรกําหนดเขตสูบบุหรี่ไฟฟาใหมีไดทั้งนอกบริเวณ
สิ่งกอสรางและบริเวณภายใตสิ่งกอสรางเพื่อสงเสริมใหมีการใชบุหรี่ไฟฟา โดยในสวนของสภาพและลักษณะของเขต
สูบบุหรี่ยังคงเปนไปตามที่กําหนดไวที่จ ะตองแสดงเครื่องหมายโดยชัดเจนวาเปนเขตปลอดบุหรี่ โดยจะตองปราศจาก
อุปกรณ สิ่งอํานวยความสะดวกสําหรับการสูบบุหรี่ หรือมีสภาพและลักษณะอื่นใดตามแตจะกําหนด และเขตสูบบุหรี่
วารสารนิติศึกษาไทย 763

จะตองแสดงเครื่องหมายโดยชัดเจนวาเปนเขตสูบบุหรี่ไฟฟา มีพื้นที่เปนสัดสวนชัดเจน ไมอยูบริ เวณทางเขาออกของ


สถานที่หรือบริเวณอันเปดเผยเห็นไดชัดไมมีลักษณะที่อาจกอใหเกิดความรําคาญแกผู อื่น มีการระบายอากาศที่
เหมาะสมในสวนของเขตสูบบุหรี่ภายใตสิ่งกอสรางควรมีการกําหนดสภาพและลักษณะของเขตสูบบุหรี่ใหแยกจากเขต
ปลอดบุหรี่ในที่มีการใชเครื่องปรับอากาศหรือเครื่องฟอกอากาศรวมกัน แตหากจะมีการใชเครื่องฟอกอากาศรวมกัน
เครื่องฟอกอากาศจะตองผานการรับรองวาสามารถดักจับอนุภาคละอองในควันบุหรี่ไฟฟาได รวมถึงเขตสูบบุหรี่
จะตองมีการแสดงถึงสื่อรณรงคการลด ละ เลิกการบริโภคยาสูบ
7.การกําหนดระวางโทษแกผูกระทําผิดที่ เปนผูดําเนินการเสียใหม โดยหากมีการกระทําผิดซ้ําคาปรับจะมี
อัตราสูงขึ้นในทุกครั้ง ในการตอสูของผูดําเนินการจะตองเปนการกระทําที่ผูดําเนินการกระทําอยางเต็มความสามารถ
แลวเพื่อไมใหผูสูบบุหรี่สูบบุหรี่ในเขตปลอดบุหรี่ดังกลาว โดยผูดําเนินการจะตองนําหลักฐานมาแสดงตอเจาหนาที่เพื่อ
ประกอบการพิจารณาเปนกรณี ๆ ไป ผูดําเนินการจึงจะไมมีความผิด และกําหนดใหผูดําเนินการนําเที่ยวมีหนาที่
เชนเดียวกัน แตหากผูดําเนินการไมไดควบคุม ดูแล หามปราม ถือวาผูดําเนินการนําเที่ยวกระทําการอันจะกอใหเกิด
ความเสียหายแกอุตสาหกรรมทองเที่ยว แหลงทองเที่ยว ที่พระราชบัญญัติธุรกิจนําเที่ยวและมัคคุเทศก พ.ศ.2551
กําหนดใหนายทะเบียนมีอํานาจพักใชใบอนุญาตไดไมเกินครั้งละหกเดือน ซึ่งมาตรการพักใชใบอนุญาตเปนมาตรการที่
นํามาใชเพื่อเปนบทเรียนใหแกผูกระทําความผิด การพักใชใบอนุญาตรวมอยูในบทกําหนดโทษทางกฎหมายแตไมใช
โทษทางอาญาแตเปนเพียงอุปกรณสวนหนึ่งของโทษและมีวัตถุประสงคเชนเดียวกันกับวิธีการเพื่อความปลอดภัยเพื่อ
เปนบทเรียนใหแกผูกระทําความผิด
8. ควรออกระเบียบวาดวยหลักเกณฑ วิธีการ และเงื่อนไขการจายเงินสินบนรางวัลและคาใชจายในการ
ดําเนินงานตามพระราชบัญญัติควบคุมผลิตภัณฑยาสูบ พ.ศ.2560 เพื่อกําหนดรายละเอียดของคําที่เกี่ยวของ การหัก
เงินคาปรับ การเก็บรักษาเงินและการนําเงินสงคลัง การจายเงินสินบนรางวัล คาใชจายในการดําเนินงาน และประกาศ
กรมควบคุมโรค เรื่อง หลักเกณฑการแบงเงินรางวัลหรือวิ ธีปฏิบัติในการจายเงินและแบบการขอรับเงินสินบนรางวัล
ตามพระราชบัญญัติควบคุมผลิตภัณฑยาสูบ พ.ศ.2560 เพื่อกําหนดแบบคําขอ วิธีการยื่นคําขอรับเงินสินบนและเงิน
รางวัล การแบงเงินรางวัลของเจาหนาที่ในหนวยงานที่ปฏิบัติงาน และคําสั่งกรมควบคุมโรค เรื่องการมอบหมายในการ
หักคาปรับและการอนุมัติสั่งจายสินบนรางวัลและคาใชจายในการดําเนินงานตามพระราชบัญญัติควบคุมผลิตภัณฑ
ยาสูบ พ.ศ.2560 เพื่อกําหนดบุคคลที่จะไดรบมอบหมายใหมีอํานาจในการหักคาปรับและอนุมัติสั่งจายสินบนรางวัล
และคาใชจายในการดําเนินงาน
764 Thailand Journal of legal Study

บรรณานุกรม

หนังสือและบทความในหนังสือ

Stephen Hamann, เนาวรั ต น เจริ ญ ค า , นิ ภ าพรรณ กั ง สกุ ล นิ ติ , นิ ทั ศ น ศิ ริ โ ชติ รั ต น , ชวาลา ภวภู ต านนท ณ
มหาสารคาม, และสถาพร จิรัตนานนท. การทบทวนองคความรูเกี่ยวกับการควบคุมการบริโภคยาสูบ .
พิมพครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร : ศูนยการพิมพแกนจันทร, 2548.

วิทยานิพนธ

วรกิจ คาโดซาวา. “ควันจากน้ํา : ทัศนคติและการบริโภคเชิงสัญลักษณของผูบริโภคตอบุหรี่ไฟฟา .”การคนควาอิสระ


บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต คณะพาณิชยศาสตรและการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร, 2559.
สุพิชชา เศรษฐธนศักดิ์. “ความรับผิดทางอาญาฐานโฆษณาและสื่อสารการตลาดเครื่องดื่มแอลกอฮอล .” วิทยานิพนธ
มหาบัณฑิต คณะนิติศาสตร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร, 2557.

บทความในหนังสือพิมพ

ไทยรัฐ. “Who หวงเยาวชนไทยหลังปญหาการสูบบุหรี่ไมลด.” หนังสือพิมพไทยรัฐ. (10 พฤศจิกายน 2559).

เอกสารประกอบการประชุมการสัมมนา

คทา บัณฑิตานุกูล. “Smoking cessation: Emerging Role of Community Pharmacist.” ในการประชุมวิชาการ


และประชุมใหญสามัญ. จัดโดยสมาคมเภสัชกรรมโรงพยาบาล(ประเทศไทย) กรุงเทพมหานคร.

เอกสารอิเล็กทรอนิกส

จี เ อ็ ม ไลฟ . “ก า วแรกบุ ห รี่ ไ ฟฟ า ? กมธ.พาณิ ช ย ฯ เสนอควบคุ ม แทนแบนหมอประกิ ต ขอศึ ก ษาข อ มู ล ก อ น.”
https://gmlive.com/new-report-suggest-control-over-ban-e-cigarette, 11 มีนาคม 2561.
ระบบร อ งเรี ย นยาสู บ ออนไลน . “รายงานผลการรั บ เรื่ อ งร อ งเรี ย น.” http://btc.ddc.moph.go.th/complain/
report.php,27 มีนาคม 2561.

ARTICLES

Public Health England. “E-cigarettes: a new foundation for evidence-based policy and practice.”
gateway number: 2015260 PHE publications (August 2015) : 4.
Public Health England. “Use of e-cigarettes in public places and workplaces: advice to inform
evidence-based policy making.” gateway number: 2016129 PHE publications (July 2016).
วารสารนิติศึกษาไทย 765

ELECTRONIC MEDIA

Department of Health and Social Care. “Guidance Rules about tobacco, e-cigarettes and smoking.”
www.gov.uk/government/publications/new-rules-about-tobacco-e-cigarettes-and-
smoking-1-october-2015/new-rules-about-tobacco-e-cigarettes-and-smoking-1-october-
, April 1, 2017.
766 Thailand Journal of legal Study

การแบงกลุมยอยในการดําเนินคดีแบบกลุม
SUBCLASSIFICATIONS OF CLASS ACTIONS IN THAILAND

พิมพปวีณ เสวตไอยาราม
Phimpawi Sawet-ai-yaram
บทคัดยอ
การกําหนดคําจํากัดความของคําวา “กลุมบุคคล” มีลักษณะแคบจึงทําใหมาตรา 222/24 แหงประมวล
กฎหมายวิธีพิจารณาความแพงซึ่งเปนมาตราที่วาดวยการแบงกลุมยอยในการดําเนินคดีแบบกลุมกําหนดใหมี การ
แบงกลุมยอยเนื่องจากมีลักษณะของความเสียหายที่แตกตางกั นระหวางบุคคลในกลุมเทานั้นซึ่งยังขาดบทบัญญัติวา
ดวยจํานวนบุคคลขั้นต่ําที่สามารถเปนสมาชิกของกลุมยอยได โจทกผูแทนคดีและ/หรือทนายความของกลุมยอย และ
การกําหนดคาทนายความใหแกทนายความในกลุมยอยเพื่อเปนกลไกในการคุมครองผลประโยชนของสมาชิกในกลุม
ยอยที่ไมไดเขามาในคดีใหไดรับการเยียวยาที่เปนธรรมสมดังเจตนารมณของการดําเนินคดีแบบกลุม

คําสําคัญ
การดําเนินคดีแบบกลุม, การแบงกลุมยอยในการดําเนินคดีแบบกลุม

ABSTRACT
The term group of persons has a narrow scope resulting in Article 222/24 of Civil Procedure
Code dealing with subclassifications (subclass) notes that the “judge might issue an order to subclass
because of damage differences between parties in the group”. At present, there are no provisions
on the minimum number of subclass member, the imposed appointment of a subclass plaintiff
and/or lawyer and legal fees might be imposed to hire a subclass lawyer to protect interests of
subclass members absent from the court, assuring them remedy relating to class action objectives.

Keywords
Class action, subclassifications of class actions

นักศึกษาปริญญาโท หลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต สาขากฎหมายธุรกิจคณะนิติศาสตร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร


: phimpawi@hotmail.com
Graduate Student of Master of Laws Program in Business Law, Faculty of Law, Thammasat
University. Email address : phimpawi@hotmail.com
วารสารนิติศึกษาไทย 767

บทนํา
ประเทศไทยได มี การเพิ่ มเติ ม บทบัญ ญั ติ วา ด วยการดํ า เนิน คดี แ บบกลุม ตั้ ง แต มาตรา 222/1 ถึง มาตรา
222/49 ไวในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพง แตบทบัญญัติวาดวยการดําเนินคดีแบบกลุมของประเทศไทย
ไมไดนําหลักการดําเนินคดีแบบกลุ มของตางประเทศมาปรับใชทั้งหมด เมื่อพิจารณาปญหาการแบงกลุมยอยในการ
ดําเนินคดีแบบกลุมของตางประเทศพบวามีหลายลักษณะ โดยการอนุญาตใหมีการแบงกลุมยอยในการดําเนินคดีแบบ
กลุมของประเทศไทยนั้นไดบัญญัติไวในมาตรา 222/24 แหงประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพง 1 จากบทบัญญัติ
ในมาตราดังกลาวไดสะทอนใหเห็นวา การแบงกลุมยอยในการดําเนินคดีแบบกลุมของประเทศไทยเปนหลักการที่แคบ
เมื่อเปรียบเทียบกับการแบงกลุมยอยที่เกิดขึ้นในระหวางการพิจารณาคดีของศาลในตางประเทศเนื่องจากกลุมอาจ
ประกอบดวยสมาชิกที่มีความแตกตางกันในรายละเอียดเกี่ยวกับขอเท็จจริง ขอกฎหมาย หรือเรื่องคาเสียหาย 2 ได
ผูเขียนพบวาการแบงกลุมยอยในการดําเนินคดีแบบกลุมของประเทศไทยยังมีขอบกพรองที่สมควรปรับปรุงแกไขดังนี้
1. บทบัญญัติวาดวยการดําเนินคดีแบบกลุมของประเทศไทยมีการแกไขเพิ่มเติมไวในประมวลกฎหมายวิธี
พิจารณาความแพงในสวนวิธีพิจารณาวิสามัญในศาลชั้นตน ทางปฏิบัติระบบการดําเนินคดีในชั้นศาลไดรับอิทธิพล
อยางมากจากกฎหมายวิธี
พิ จ ารณาความแพ ง ของอั ง กฤษ 3 ซึ่ ง ใช ระบบกล า วหา (Adversary System) และแนวความคิ ด ของการ
ดําเนินคดีวิสามัญคือ การพิจารณาคดีโดยรวบรัดเพื่ อใหคดีเสร็จสิ้นไปโดยรวดเร็วซึ่งไมสัมพันธกับการดําเนินคดีแบบ
กลุมที่ใชระยะเวลาพิจารณาคดีนาน
จากการศึกษารูปแบบการบัญญัติกฎหมายวาดวยการดําเนินคดีแบบกลุมของตางประเทศสามารถแบงออก
ไดเปน 3 รูปแบบ คือ บัญญัติไวในบททั่วไปของกฎหมายวิธีพิจารณาความแพง ในรัฐบั ญญัติแกไขเพิ่มเติมประมวล
กฎหมายหรือกฎหมายที่ใชบังคับอยูในปจจุบัน และในพระราชบัญญัติวาดวยการดําเนินคดีแบบกลุม
ผูเขียนขอเสนอแนะวาสมควรบัญญัติกระบวนพิจารณาวาดวยการดําเนินคดีแบบกลุมไวในรูปแบบของ
พระราชบัญญัติ
2. คําจํากัดความของคําวา “กลุมบุคคล” ซึ่งบัญญัติไวในมาตรา 222/1 แหงประมวลกฎหมายวิธีพิจารณา
ความแพงวา “กลุมบุคคล” หมายความวา บุคคลหลายคนที่มีสิทธิอยางเดียวกันอันเนื่องมาจากขอเท็จจริงและหลัก
กฎหมายเดี ย วกั น นั้ น มี ข อบเขตที่ แ คบเกิ น ไปเพราะผู เ สี ย หายต อ งได รั บ ความเสี ย หายแก สิ ท ธิ อ ย า งเดี ย วกั น
อันเนื่องมาจากการกระทําซึ่งเปนขอเท็จจริงเดียวกันรวมทั้งความรับผิดตามกฎหมายที่จะนํามาปรับแกขอเท็จจริงนั้น
ตองเปนหลักกฎหมายเดียวกันดวย 4 ประเทศสหรัฐอเมริกามีกําหนดไวใน Rule 23 (a) (2) แหง Federal Rules of
civil Procedure (FRCP) วา มีปญหาขอกฎหมายหรือขอเท็จจริงรวมกัน ประเทศแคนาดา รัฐออนแทรีโอบัญญัติไวใน
section 5 (1) (c) แหง Class Proceedings Act, 1992 วา มีขอเรียกรองหรือขอตอสูของสมาชิกกลุมเปนประเด็นที่
มีรวมกัน รัฐบริติชโคลัมเบียบัญญติไวใน section 4 (1) (c) แหง Class Proceedings Act [RSBC 1996] วา มีขอ
เรียกรองของสมาชิกกลุมเปนประเด็นที่มีรวมกันโดย section 1 ของทั้ง 2 พระราชบัญญัติกําหนดใหมีปญหาขอ
กฎหมายหรือขอเท็จจริงรวมกันก็ได สาธารณรัฐฝรั่งเศสบัญญัติวา ความเสียหายจะตองเกิดขึ้นจากการละเมิดของ

1
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพง มาตรา 222/24 บัญญัติวา “ไมวาการพิจารณาคดีจะไดดําเนินไปแลว
เพียงใด ศาลอาจมีคําสั่งใหมีการแบงกลุมยอยเนื่องจากมีลักษณะของความเสียหายที่แตกตางกันระหวางบุคคลในกลุม และใน
กรณีเชนนี้ ศาลอาจสั่งใหมีการนําสืบถึงความเสียหายของกลุมยอยใหชัดเจนดวยก็ได คําสั่งของศาลใหเปนที่สุด”
2
วรรณชัย บุญบํารุง , “การดําเนินคดีแบบกลุม ,” เอกสารประกอบการบรรยายโครงการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ
วิชาการสัญจร 2558, (กรุงเทพมหานคร: สํานักกฎหมายและวิชาการศาลยุติธรรม, 2558), น. 9.
3
วรรณชัย บุญบํารุง, ธนกฤต วรธนัชชากุล และสิริพันธ พลรบ, หลักและทฤษฎีกฎหมายวิธีพิจารณาความแพง เลม
1, (กรุงเทพมหานคร: สํานักพิมพวิญูชน, 2556), น. 157.
4
ไพโรจน วายุภาพ, คําอธิบายกฎหมายวิธีพิจารณาความแพง ภาค 2 ลักษณะ 2 วิธีพิจารณาวิสามัญในศาลชั้นตน
หมวด 4 การดําเนินคดีแบบกลุม, (กรุงเทพมหานคร: บริษัท กรุงสยาม พับลิชชิ่งจํากัด, 2559), น. 18.
768 Thailand Journal of legal Study

จําเลยจึงเปนกรณีมีปญหาขอเท็จจริงรวมกัน สหพันธสาธารณรัฐบราซิลมีการบัญญัติไวใน Article 81 แหง Brazilian


Consumer Code วาใหอนุญาตดําเนินคดีแบบกลุมไดอันเนื่องมาจากบุคคลมีความเกี่ยวของกันในสถานการณที่
เกิดขึ้นจริง กลุมบุคคลมีความเกี่ยวของซึ่งกันและกันหรือตอคูความฝายตรงขามดวยความสัมพันธทางกฎหมาย และ
ฟองเรียกคาเสียหายจากปญหาที่มีรวมกัน และประเทศในสมาคมประชาชาติแหงเอเชียตะวันออกเฉียงใตทั้ง 3
ประเทศอนุญาตใหมีการดําเนินคดีแบบกลุมอันเนื่องมาจากการสมาชิกตองมีความขับของใจหรือผลประโยชนรวมกัน
จึงเปนกรณีมีปญหาขอกฎหมายหรือขอเท็จจริงรวมกัน
ผูเขียนขอเสนอแนะวา สมควรมีการปรับปรุงขอความในคําจํากัดความดังกลาว วา
“กลุมบุคคล” หมายความวา “บุคคลหลายคนไดรับความเสียหายอันเนื่องมาจากปญหาขอกฎหมายหรือ
ขอเท็จจริงรวมกัน”
3. บทบัญญัติเกี่ยวกับการตรวจสอบคุณสมบัติของโจทกผู แทนคดีและทนายความของกลุมยังขาดความ
สมบูรณโดยมีการบัญญัติคุณสมบัติของโจทกผูแทนคดี วา โจทกรวมทั้งทนายความที่โจทกเสนอใหเปนทนายความของ
กลุมสามารถดําเนินคดีคุมครองสิทธิของกลุมบุคคลไดอยางเพียงพอและเปนธรรม5
ในขณะที่ฝายทนายความของกลุมมีการบัญญัติคุ ณสมบัติวาศาลตองตรวจสอบประวัติ ประสบการณ ความ
เขาใจและบทบาทหนาที่ของทนายความในการดําเนินคดีแบบกลุม ตลอดจนประมาณการระยะเวลาและการทํางาน
และคาใชจายในการดําเนินคดีแบบกลุมก็ได6
ประเทศแคนาดาใหความสําคัญกับการทําหนาที่คุ มครองผลประโยชนของทั้งสมาชิกของกลุ ม หลั ก และ
สมาชิกของกลุมยอยเปนอยางมาก ทั้งใน section 5 (1) (e) แหง Class Proceedings Act, 1992 ของรัฐออนแทรี
โอ section 4 (1) (e) แหง Class Proceedings Act [RSBC 1996] ของรัฐบริติชโคลัมเบียสําหรับการดําเนินคดี
ของกลุมหลัก และใน section 5 (2) (b) แหง Class Proceedings Act, 1992 ของรัฐออนแทรีโอ และsection 6
(1) (b) แหง Class Proceedings Act [RSBC 1996] สําหรับการดําเนินคดีของกลุมยอยวา “มีโจทกผูแทนคดีซึ่ง...
มีแผนในการดําเนินคดีที่มีประสิทธิภาพในการดําเนินคดีตอไปในนามของกลุมและมีการบอกกลาวใหสมาชิกกลุมได
รับทราบถึงกระบวนพิจารณาคดี”
ผูเขียนมีขอเสนอแนะใหนําหลักการตรวจสอบคุณสมบัติดังกลาวมาใชบังคับกับโจทกผูแทนคดีของกลุมหลัก
และกลุมยอยดวยจึงสมควรมีการปรับปรุงขอความใน มาตรา 222/12 (5) แหงประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความ
แพงวา
“โจทกไดแสดงใหเห็นวาโจทกเปนสมาชิกกลุมที่มีคุณสมบัติ สวนไดเสีย รวมตลอดทั้งการไดมาซึ่งสิทธิการ
เปนสมาชิกกลุม ตามขอกําหนดของประธานศาลฎีกา ถามี และมีแผนในการดําเนินคดีที่มีประสิทธิภาพในนามของ
การเปนผูแทนคดีของกลุมและมีขั้นตอนการแจงคําบอกกลาวใหสมาชิกกลุมไดรับทราบถึงกระบวนพิจารณาคดี และ
โจทกรวมทั้งทนายความที่โจทกเสนอใหเปนทนายความของกลุมสามารถดําเนินคดีคุมครองสิทธิของกลุมบุคคลได
อยางเพียงพอและเปนธรรมความขอนี้ใหใชบังคับกับโจทกในกลุมยอย ถามี ดวย”
นอกจากนี้สมควรมีการปรับปรุงขอความใน ขอ 15 ของขอกําหนดของประธานศาลฎีกาวาดวยการดําเนินคดี
แบบกลุม พ.ศ. 2559 วา
“เพื่ อประกอบการพิจารณาว าทนายความที่โ จทกเสนอให เปนทนายความของกลุมสามารถดํา เนินคดี
คุมครองสิทธิของกลุมบุคคลไดอยางเพียงพอและเปนธรรมหรือไม ศาลอาจใหทนายความที่โจทกเสนอแถลงใหศาล
ทราบถึงประวัติ ประสบการณ ความเขาใจและบทบาทหนาที่ของทนายความในการดําเนินคดีแบบกลุม ตลอดจน
ประมาณการระยะเวลาและการทํ างาน และค า ใช จ ายในการดําเนิ นคดีแ บบกลุ ม ก็ไ ด ความขอนี้ ให ใช บังคับกับ
ทนายความในกลุมยอย ถามี ดวย”

5
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพง มาตรา 222 /12 (5)
6
ขอ 15 ของขอกําหนดของประธานศาลฎีกาวาดวยการดําเนินคดีแบบกลุม พ.ศ. 2559
วารสารนิติศึกษาไทย 769

4. การแบ ง กลุ ม ย อ ยตามที่ บั ญ ญั ติ ไ ว ใ นมาตรา 222/24 แห ง ประมวลกฎหมายวิ ธี พิ จ ารณาความแพ ง


กําหนดใหมีการแบงกลุมยอยอันมีสาเหตุมาจากมีลักษณะของความเสียหายทึ่แตกตางระหวางบุคคลในกลุมอันเปนผล
มาจากคําจํากัดความของคําวา “กลุมบุคคล” ตามที่บัญญัติไวในมาตรา 222/1 แหงประมวลกฎหมายวิธีพิจารณา
ความแพง การแบงกลุมยอยในการดําเนินคดีแบบกลุมของประเทศสหรัฐอเมริกาและประเทศแคนาดามีขึ้นเพื่อแยก
ประเด็ น ที่ มี ป ญ หาข อ กฎหมายหรื อ ข อ เท็ จ จริ ง แตกต า งกั น รวมถึ ง กรณี ที่ มี แ นวโน ม ว า จะมี ค วามขั ด แย ง ทาง
ผลประโยชนหรือมีความขัดแยงทางผลประโยชนเกิดขึ้นแลวในระหวางสมาชิกกลุ มดวยกัน หรือกรณีมีผลประโยชนที่
แตกตางกันระหวางสมาชิกในกลุม หรือแมกระทั่งมีการแบงกลุมยอยเพื่อการบริหารจัดการคดี
ผูเขียนจึงมีขอเสนอแนะวา ยกเลิกความในมาตรา 222/24 วรรคหนึ่ง แหงประมวลกฎหมายวิธีพิจารณา
ความแพง และใชความดังตอไปนี้แทน “ไมวาการพิจารณาคดีจะไดดําเนินไปแลวเพียงใด ศาลอาจมีคําสั่งใหมีการ
แบงกลุมยอยในกรณีดังตอไปนี้ได คําสั่งของศาลใหเปนที่สุด
1. กรณีมีลักษณะของความเสียหายที่แตกตางกันระหวางบุคคลในกลุม
2. กรณีมีผลประโยชนขัดแยงกันระหวางสมาชิกในกลุม
3. กรณีที่มีผลประโยชนแตกตางกันระหวางสมาชิกในกลุม
4. กลุมยอยเพื่อการบริหารจัดการคดี
5. กรณีที่ผูแทนคดีอาจไมสามารถทําหนาที่เพื่อคุมครองผลประโยชนของสมาชิกกลุมทุกคนดวยความเปน
ธรรมและเพียงพอ
6. รูป แบบของการเยี ย วยาที่ส มาชิ กกลุ มแต ละคนในกลุ มเรีย กรองมี การกลา วอ างฐานในทางกฎหมา ย
แตกตางกัน
7. สมาชิกกลุมมีความแตกตางกันในสถานการณที่เกิดขึ้นจริง
8. กรณีมีการแบงกลุมยอยเพื่อชวยการแบงสรรคาเสียหาย
9. หากมีสมาชิกกลุมบางสวนที่ไมพอใจในขอเสนอจากการประนีประนอมยอมความ”
5.เมื่อศาลมีคําสั่งใหแบงกลุมยอยแลวในปจจุบันยังไมมีการกํา หนดจํานวนบุคคลขั้นต่ําที่สามารถเปนสมาชิก
ของกลุมยอยวา ควรมีจํานวนเทาใด
การแบงกลุมยอยตาม Rule 23 (c) (5) แหง FRCP จะตองมีสมาชิกกลุมจํานวนมากดวย แตบทบัญญัติวา
ดวยการแบงกลุมยอยของทั้งรัฐออนแทรีโอและรัฐบริติฃโคลัมเบียไมมีการกําหนดจํานวนบุคคลขั้นต่ํา ที่สามารถเปน
สมาชิกของกลุมยอยไวจึงตองนําเงื่อนไขเรื่องจํานวนผูเสียหายที่สามารถดําเนินคดีแบบกลุมไดซึ่งบัญญัติไวในsection
5 (1) (b) แหง Class Proceedings Act, 1992 ของรัฐออนแทรีโอและ section 4 (1) (b) แหง Class Proceedings
Act [RSBC 1996] ของรัฐบริติชโคลัมเบียโดยบัญญัติความเหมือนกันวา มีจํานวนกลุมบุคคลที่สามารถระบุตัวบุคคลได
ตั้งแต 2 คนหรือมากกวานั้นขึ้นไป ฉะนั้นกลุมยอยของรัฐออนแทรีโอและรัฐบริติชโคลัมเบียจึงประกอบดวยบุคคล
ตั้งแต 2 คนขึ้นไป
ดังนั้นผูเขียนจึงมีขอเสนอแนะวาสมควรมีการปรับปรุงขอความในมาตรา 222/24 วรรคสองแหงประมวล
กฎหมายวิธีพิจารณาความแพง วา
“สมาชิกกลุมยอยมีจํานวนตั้งแตสองคนขึ้นไป”
6. ปจจุบันยังไมการกําหนดวาจะใหโจทกและ/หรือทนายความของกลุมหลักดําเนินคดีตอไปในกลุมยอยได
หรือไม หรือควรแต ง ตั้ ง โจทกผู แ ทนคดี แ ละทนายความของกลุ ม ย อยแยกต า งหากเป น การเฉพาะ โดยกรณี ที่ มี
ผลประโยชน ขั ด แย ง กั น ระหว า งสมาชิ ก ในกลุ ม หรื อ หากมี ส มาชิ ก กลุ ม บางส ว นที่ ไ ม พ อใจในข อ เสนอจากการ
ประนีประนอมยอมความจนเปนเหตุใหมีการแบงกลุมยอยเกิดขึ้นจะตองมีการแตงตั้งผูแทนคดีและทนายความคนใหม
ของกลุมยอย แตในกรณีที่มีความแตกตางกันในประเด็นแหงคดีมีการแตงตั้งผูแทนคดีของกลุมยอย แตไมตองแตงตั้ง
ทนายความคนใหมของกลุมยอยโดยยังคงใหทนายความในกลุมหลักดําเนินคดีในแตละกลุมยอยตอไปได กรณีแบงกลุม
ยอยเพื่อประโยชนในการบริหารจัดการคดีของศาล กรณีประเด็นที่มีรวมกัน และกรณีการแบงแยกเขตการปกครองให
ผูแทนคดีและทนายความในกลุมหลักดําเนินคดีในกลุมยอยได
770 Thailand Journal of legal Study

ผูเขียนขอเสนอใหมีการเพิ่มเติมหลักการเรื่องโจทกผูแทนคดีและ/หรือทนายความในกลุมยอยไวในมาตรา
222/24 วรรคสาม สี่ และหาแหงประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพง วา
“กรณีมีผลประโยชนขัดแยงกันระหวางสมาชิกในกลุมอันเปนเหตุใหมีการแบงกลุมยอยหรือหากมีสมาชิก
กลุมบางสวนที่ไมพอใจในขอเสนอจากการประนีประนอมยอมความ ศาลตองมีคําสั่งแตงตั้งโจทกผูแทนคดีและ
ทนายความของกลุมยอย
กรณี มี ลั ก ษณะของความเสียหายที่ แตกตางกันระหว า งบุคคลในกลุม กรณี มี ผ ลประโยชนที่ แตกตางกัน
ระหวางสมาชิกในกลุม กรณีผูแทนคดีอาจไมสามารถทําหนาที่เพื่อคุมครองผลประโยชนของสมาชิกกลุมทุกคนดวย
ความเปนธรรมและเพียงพอ กรณีรูปแบบของการเยียวยาที่สมาชิกกลุมแตละคนในกลุมเรียกรองมีการกลาวอางฐาน
ในทางกฎหมายแตกตางกัน กรณีสมาชิกกลุมมีความแตกตางกันในสถานการณที่เกิดขึ้นจริง และกรณีมีการแบงกลุม
ยอยเพื่อชวยการแบงสรรคาเสียหาย ศาลตองมีคําสั่งแตงตั้งโจทกผูแทนคดีของกลุมยอย
กรณีการแบงกลุมยอยเพื่อประโยชนในการบริหารจัดการคดีของศาล ศาลมีอํานาจสั่งใหโจทก ผูแทนคดีและ
ทนายความของกลุมดําเนินคดีในกลุมยอยตอไปได”
7. ปจจุบันมีการกําหนดหลักเกณฑคํานวณเงินรางวัลทนายความเฉพาะกลุมหลักซึ่งบัญญัติในมาตรา 222/37
วรรคหนึ่งแหงประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพง แตไมมีหลักเกณฑในการกําหนดเงินรางวัลทนายความของ
ทนายความผูทําหนาที่ดําเนินคดีในกลุมยอย
แมประเทศสหรัฐอเมริกาจะมีหลักการที่ใชในการคิดคํานวณคาทนายความ 2 วิธี คือ การคํานวณตามเวลา
การทํางานของทนายความ (Lodestar) และการคํานวณตามสัดสวนรอยละของกองทุนที่มีรวมกัน (Percentage of
Common Fund) ก็ตาม มีขอสังเกตวา ทั้ ง 2 วิธี ศาลของประเทศสหรัฐอเมริกาจะนําเรื่องระยะเวลาและความรู
ความสามารถของทนายความระหวางการดําเนินคดี ความยากงายของคดี และกรณีที่ไดรับคาเสียหายจากการ
ประนีประนอมยอมความมาเปนหลักในการประเมินคาทนายความเสมอ
ผูเขียนจึงขอเสนอแนะวา สมควรนําหลักเกณฑการกําหนดเงินรางวัลทนายความในกลุมหลักมาใชบังคับดวย
โดยกํา หนดค า ทนายความของกลุ ม ยอ ยตามสัด สว นของการทํ างานและคาใช จ ายที่ ทนายความแต ละคนเสียไป
ประกอบกับความยากงายของประเด็นที่มีการนําสืบพิสูจนในชั้นศาลดวยการเพิ่มเติมวรรคหกของมาตรา 222/37
แหงประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพง วา
“เงินรางวัลของทนายความในกลุมยอยใหศาลกําหนดโดยคํานึงถึงสัดสวนของการทํางานและคาใชจายที่
ทนายความแตละคนเสียไป ประกอบกับความยากงายของประเด็นที่มีการนําสืบพิสูจนในชั้นศาล”

บทสรุป
ประเทศไทยเพิ่งมีการบัญญัติกระบวนพิจารณาวาดวยการดําเนิ นคดีแบบกลุมขึ้นใชบังคับเปนครั้งแรกใน
ประเทศจึงทําใหมีการปรับเปลี่ยนหลักการบางประการไปจากการดําเนินคดีแบบกลุมของประเทศสหรัฐอเมริกาซึ่ง
เปนประเทศตนแบบในการยกรางกฎหมาย โดยเฉพาะอยางยิ่งขอบเขตของกลุมและลักษณะที่สามารถแบงกลุมยอยได
ในระหวางการดําเนินกระบวนพิจารณา ดังนั้นจึงสมควรมีการปรับปรุงคําจํากัดความของคําวา “กลุมบุคคล” เพื่อทํา
ใหกลุมมีขอบเขตที่กวางมากขึ้นและนําการแบงกลุมยอยลักษณะอื่นมาใชประโยชนควบคูกันเพื่ออํานวยความยุติธรรม
ใหแกประชาชน
วารสารนิติศึกษาไทย 771

บรรณานุกรม

หนังสือ

ไพโรจน วายุภาพ. คําอธิบายกฎหมายวิ ธีพิจารณาความแพง ภาค 2 ลักษณะ 2 วิธี พิจารณาวิสามัญในศาลชั้นตน


หมวด 4 การดําเนินคดีแบบกลุม. กรุงเทพมหานคร : บริษัท กรุงสยาม พับลิชชิ่ง จํากัด, 2559.
วรรณชัย บุญบํารุง, ธนกฤต วรธนัชชากุล และสิริพันธ พลรบ. หลักและทฤษฎีกฎหมายวิธีพิจารณาความแพง เลม 1.
กรุงเทพมหานคร: สํานักพิมพวิญูชน, 2556.

เอกสารอื่น ๆ

วรรณชัย บุญบํารุง. “การดําเนินคดีแบบกลุม.” เอกสารประกอบการบรรยายโครงการสัมมนาเชิงปฏิบัติการวิชาการ


สัญจร 2558, กรุงเทพมหานคร : สํานักกฎหมายและวิชาการศาลยุติธรรม กรุงเทพมหานคร, 2558.
772 Thailand Journal of legal Study

ปญหาขอมูลเครดิตตามกฎหมายวาดวยการประกอบธุรกิจขอมูลเครดิต
PROBLEMS ON “CREDIT INFORMATION” UNDER THE LAW RELATING TO CREDIT
INFORMATION BUSINESS
ยอดวรุณ วิไลรัตน
Yodvarun Wilairat
บทคัดยอ
ประเทศไทยมีการจัดเก็บขอมูลเครดิตผานหนวยงานซึ่งเรียกวา บริ ษัทขอมูลเครดิต ตามพระราชบัญญัติการ
ประกอบธุรกิจขอมู ลเครดิ ต พ.ศ. 2545 มี วั ต ถุป ระสงค เพื่อให มีการจัดเก็บขอมู ลเครดิตเปนขอมู ลประกอบการ
พิจารณาของผูใหสินเชื่อ นิยามของ ขอมูลเครดิต ตามกฎหมายนี้ประกอบไปดวย ขอมูลที่บงชี้ถึงเจาของขอมูลและ
คุณสมบัติของเจาของขอมูล และประวัติการขอและการไดรับอนุมัติสินเชื่อ และการชําระสินเชื่อของลูกคาที่ขอสินเชื่อ
รวมถึงประวัติการชําระราคาสินคาหรือบริการโดยบัตรเครดิต ซึ่งขอมูลที่เกี่ยวกับการเงินของเจาของขอมูล ตาม
กฎหมายวาดวยการประกอบธุรกิจขอมูลเครดิต ไดกําหนดขอบเขตของขอมูลเครดิตในสวนนี้ไวคอนขางจํากัด คือ มี
เพียงขอมูลที่เกี่ยวกับสินเชื่อ และขอมูลที่เกี่ยวกับประวัติการชําระคาใชจายโดยบัตรเครดิตของเจาของขอมูลเทานั้น
ทําใหขอมูลที่อยูในบริษัทขอมูลเครดิตของไทยมีขอบเขตที่จํากัด เมื่อผูใหสินเชื่อประสงคจะขอขอมูล เครดิตของบุคคล
จากบริษัทขอมูลเครดิตเพื่อนํามาใชในการวิเคราะหถึงความเหมาะสมในการอนุมัติสินเชื่อใหกับเจาของขอมูล ก็จะ
ได รับ เพี ย งขอมู ล ที่ เกี่ย วกับ สิ น เชื่ อหรือได ข อมู ล ที่ เกี่ย วกับ การชํ า ระราคาผ า นบั ตรเครดิ ต เท า นั้ น ในขณะที่ การ
แสดงออกถึงพฤติกรรมทางการเงินนั้ นอาจสามารถแสดงออกไดหลากหลายรูปแบบ การจํากัดขอบเขตของขอมูลให
แคบเกินไปอาจสงผลใหขอมูลนั้นไมครอบคลุมบุคคลทุกประเภท และอาจไมสอดคลองกับเจตนารมณที่แทจริงของ
กฎหมาย คือ ไมสามารถแสดงออกถึงฐานะทางการเงินหรือประวัติการชําระหนี้ที่แทจริงของเจาของขอมูลได ดังนั้น
จึงควรดําเนินการขยายขอบเขตของขอมูลเครดิตใหกวางขวาง และครอบครอบคลุมขอมูลอื่น ๆ ที่เกี่ยวของกับฐานะ
ทางการเงินของเจาของขอมูลมากขึ้น เพื่อใหขอมูลเครดิตของประเทศไทยเปนขอมูลที่เหมาะสมตอการพิจารณา
สินเชื่อ และสอดคลองกับแนวทางของขอมูลเครดิตของนานาประเทศ

คําสําคัญ
ขอมูลเครดิต, กฎหมายวาดวยการประกอบธุรกิจขอมูลเครดิต, ขยายขอบเขต

ABSTRACT
Following the Credit Information Business Act 2002 (B.E. 2545), the ‘Credit information
company’ (CIC) was established to securely gather the credit information at a national level to serve
as an essential reference for credit providers. Under this las, the credit information was defined to
encompass applicant’s identification and qualification data, credit request and approval history,
record of credit payment, and payment history of goods and services by credit card. It can be
observed that the coverage of the applicant’s financial information under the definition of this act
is restricted to credit information and credit card payment history of the applicant, resulting in the
limited availability of information possessed by the CIC. As a result, credit providers are able to

* นักศึกษาปริญญาโท หลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต สาขากฎหมายธุรกิจ คณะนิติ ศาสตรมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร :


yodvarun.w@gmail.com
Graduate Student of Master of Laws Program in Environment Law, Faculty of Law, Thammasat
University. Email address : yodvarun.w@gmail.com
วารสารนิติศึกษาไทย 773

evaluate applicants’ qualification solely by going through the above-mentioned information.


Meanwhile, financial behaviors can be reflected in a wider range of financial activities. Limited credit
information accessibility may fail to cover every cluster of population and may not echo the
intendment of the law reflected by the failure in demonstrating the evidence of applicant’s financial
status or actual loan payment history. Therefore, it is essential to expand the scope of credit
information enough that it encompass other financial information of the applicant, in order so that
the credit information at a national level is an adequate reference for credit providers, as well as
attuned with that of an international level.

Keywords
Credit information, The Credit Information Business Act, Scope expansion
774 Thailand Journal of legal Study

บทนํา
ผูใหบริการสินเชื่อจะพิจารณาใหสินเชื่อแกบุคคลใด ไมวาจะเปนการใหกูยืม การใหเชาซื้อ หรือการใหสินเชื่อ
แบบอื่น ๆ ผูใหสินเชื่อจําเปนตองมีความมั่นใจวา เมื่อตนใหบริการสินเชื่ออยางใด ๆ ไปแลว จะไดรับเงินหรือทรัพยสิน
ของตนกลับคืนจากผูขอสินเชื่ออยางครบถวนภายในระยะเวลาที่กําหนด ดวยเหตุนี้ ผูใหสินเชื่อจึงมีความจําเปนที่
จะตองแสวงหาเครื่องมือตาง ๆ ที่จะชวยใหรูจักผูขอสินเชื่อใหมากที่สุด เพื่อสรางความมั่นใจใหกับผูใหสินเชื่อวาจะ
ไดรับชําระหนี้คืนจากผูขอสินเชื่อตามสัญญาสินเชื่อนั้น ดังนั้น ขอมูลที่เกี่ยวกับผูขอสินเชื่อจึงเปนสิ่งที่มีความสําคัญ
และมีความจําเปนตอผูใหสินเชื่อในทุก ๆ ประเทศเปนอยางมาก
ขอมูลที่เกี่ยวของกับผูขอสินเชื่อจึงมีหนาที่สําคัญ คือ เพื่อใหรูจักผูขอสินเชื่อซึ่งเปนเจาของขอมูล ขอมูล
ประการหนึ่งที่ผูใหสินเชื่อใชในการพิจารณาถึงความนาเชื่อถือของผูขอสินเชื่อ คือ ขอมูลที่แสดงฐานะทางการเงิ นและ
พฤติกรรมการชําระหนี้ เพราะการที่เจาของขอมูลมีพฤติกรรมการชําระหนี้ที่ดี สม่ําเสมอ ตรงตอกําหนดเวลา สามารถ
จัดการคาใชจายในแตละเดือนของตนได ยอมแสดงใหเห็นถึงศักยภาพในการบริหารจัดการการเงินของตน ทําใหมั่นใจ
ไดวาบุคคลนั้นจะสามารถบริหารจัดการสินเชื่อรายอื่น ๆ ไดเชนเดียวกัน ในทางกลับกัน หากเจาของขอมูลมีประวัติ
การชําระหนี้ที่ไมดี ไมตรงตามกําหนดเวลา มีหนี้คงคางอยูเปนจํานวนมาก ยอมแสดงใหเห็นวาบุคคลนั้นมีปญหา หรือ
มีเหตุบางอยางจนทําใหไมสามารถบริหารจัดการการเงินของตนได กอใหเกิดความไมมั่นใจวาผู ขอสินเชื่อจะสามารถ
บริหารจัดการสินเชื่ออื่น ๆ ไดอีก ดังนั้น ขอมูลเหลานี้จึงมีความสําคัญมาก สามารถใชประกอบการพิจารณาวาผูขอ
สินเชื่อรายนั้น ๆ มีความสามารถในการบริหารจัดการสินเชื่อจริงหรือไม กอนพิจารณาอนุมัติหรือไมอนุมัติสินเชื่อ
ตอไป เพราะในการใหบริการสินเชื่อ สถาบันการเงินหรือผูใหสินเชื่อจําเปนตองรับความเสี่ยงในการใหบริการสินเชื่อ
แกลูกคาของตนดวยเชนกัน ดังนั้น หากสถาบันการเงินไมมีขอมูลเกี่ยวกับลูกคามากเพียงพอ จะสงผลในการพิจารณา
ใหสินเชื่อเปนไปโดยยาก และอาจกอใหเกิดความเสี่ยงในการดําเนินกิจ การของผูใหสินเชื่อได แตเนื่องจากการจัดเก็บ
ขอมูลเครดิตของประเทศไทยยังมีขอบเขตของขอมูลที่จํากัดตามกฎหมายวาดวยการประกอบธุรกิจขอมูลเครดิต จึง
สงผลใหเกิดปญหาในการเขาถึงสินเชื่อของเจาของขอมูลที่มีขอมูลเครดิตในระบบนอย หรือไมมีขอมูลเครดิตในระบบ
เปนการตัดโอกาสในการเขาถึงสินเชื่อของบุคคล เนื่องมาจากขอมูลที่ไมเพียงพอ
ประเทศไทย มีการจัดเก็บขอมูลของผูขอสินเชื่อ หรือขอมูลที่แสดงถึงฐานะทางการเงินและประวัติหรือ
พฤติกรรมการชําระหนี้ของเจาของขอมูลที่เรียกวา ขอมูลเครดิต และเปนการจัดเก็บผานหนวยงานจั ดเก็บซึ่งเรียกวา
บริษัทขอมูลเครดิต ตามพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจขอมูลเครดิต พ.ศ. 2545 วัตถุประสงคของกฎหมายฉบับนี้
เพื่อใหมีการจัดเก็บขอมูลเครดิตเปนขอมูลประกอบการพิจารณาของผูใหสินเชื่อถึงความสามารถในการจัดการสินเชื่อ
ของเจาของขอมูล ขอมูลเครดิตตามกฎหมายนี้ประกอบไปดวย ขอมูลที่บงชี้ถึงเจาของขอมูลและคุณสมบัติของเจาของ
ขอมูล เชน ชื่อ ที่อยู วันเดือนปเกิด ชื่อนิติบุคคล สถานที่ตั้งนิติบุคคล เปนตน และประวัติการขอและการไดรับอนุมัติ
สินเชื่อ และการชําระสินเชื่อของลูกคาที่ขอสินเชื่อ รวมถึงประวัติการชําระราคาสินคาหรือบริการโดยบัตรเครดิต เชน
ขอมูลการขอมีบัตรเครดิตและการไดรับอนุมัติ ประวัติการกูยืมเงินในอดีต เปนตน จะเห็นไดวาตามกฎหมายของ
ประเทศไทยในสวนของขอมูลบงชี้นั้นมีลักษณะเหมือนกับประเทศอื่น ๆ คือ เปนขอเท็จจริงทั่วไปที่เกี่ยวของกับ
เจาของขอมูล จัดเก็บเพื่อใชในการแสดงตัวตนและสถานะของเจาของขอมูล ในขณะที่ขอมูลที่เกี่ยวกับรายละเอียด
ทางการเงินตามกฎหมายวา ดวยการประกอบธุ รกิจ ขอมูลเครดิตได กํา หนดขอบเขตของขอมูล เครดิตในสว นนี้ ไ ว
คอนขางจํากัด คือ มีเพียงขอมูลที่เกี่ยวกับสินเชื่อและประวั ติการชําระโดยบัตรเครดิตของเจาของขอมูลเทานั้น ทําให
ขอมูลที่อยูในบริษัทขอมูลเครดิตของไทยมีขอบเขตที่จํากัด เมื่อผูใหสินเชื่อประสงคจะขอขอมูลเครดิตของบุคคลจาก
บริษัทขอมูลเครดิตเพื่อนํามาใชในการวิเคราะหถึงความเหมาะสมในการอนุมัติสินเชื่อใหกับเจาของขอมู ลก็จะไดรับ
เพียงขอมูลที่เกี่ยวกับสินเชื่อหรือไดขอมูลที่เกี่ยวกับการชําระราคาผานบัตรเครดิตเทานั้น ในขณะที่ การแสดงออกถึง
ลักษณะนิสัยหรือพฤติกรรมทางการเงินนั้น สามารถแสดงออกไดหลากหลายรูปแบบ การจํากัดขอบเขตของขอมูลให
แคบเกินไปอาจสงผลใหขอมูลนั้นไมครอบคลุมบุคคลทุกประเภท และอาจไมสอดคลองกับเจตนารมณที่แทจริงของ
กฎหมายวาดวยการประกอบธุรกิจขอมูลเครดิต คือ ไมสามารถแสดงออกถึงฐานะทางการเงินหรือประวัติการชําระหนี้
ที่แทจริงของเจาของขอมูลได หากบุคคลนั้นไมมีการทําธุรกรรมทางการเงินในรูปแบบสินเชื่อ หรือไมใชบัตรเครดิต แต
วารสารนิติศึกษาไทย 775

กลับเลือกใชจายโดยใชเงินสด ขอมูลฐานะทางการเงินของบุคคลนั้นก็จะไมปรากฏในรูปของขอมูลเครดิตเลย สงผลให


ไมมีขอมูลที่สามารถแสดงฐานะทางการเงินและประวัติการชําระหนี้อยูในระบบขอมูลเครดิต หรือมีแคบางสวนโดยไม
ครอบคลุมถึงฐานะทางการเงินทั้งหมด ทําใหไมอาจทราบฐานะทางการเงินและประวัติการชําระหนี้ที่แทจริงของ
บุคคลนั้นได เพียงเพราะฐานขอมูลที่มีขอบเขตจํากัดตามกฎหมายวาดวยการประกอบธุรกิจขอมูลเครดิตนั่นเอง
กฎหมายขอมูลเครดิ ตของตางประเทศจะมี การตี ความลักษณะของขอมูลที่แสดงฐานะทางการเงิ น และ
พฤติกรรมการชําระหนี้ทั้งแคบและกวางแตกตางกันไป เชน ประเทศสหรัฐอเมริกา มีหนวยงานที่เรียกวา Consumer
Reporting Agencies ทําหนาที่เปนเครดิตบูโร (Credit bureau) หรือหนวยงานที่ดําเนินการเก็บขอมูล โดยขอมูลที่
จัดเก็บเรียกวา Consumer Report ประกอบไปดวยขอมูลที่มีความหลากหลายเปนอยางมาก เชน ขอมูลสถานภาพ
ของบุคคล ขอมูลเกี่ยวกับการทํางาน หรือขอมูลประวัติดานสินเชื่อ เปนตน เพื่อการนําขอมูลไปใชงานในวัตถุประสงค
ที่แตกตางกันไป การนําขอมูลไปใชเพื่อพิจารณาสินเชื่อเปนหนึ่งในวัตถุประสงคของการจัดเก็บขอมูลของ Consumer
Reporting Agencies เชนกัน ทําใหผูใชขอมูลอยางธนาคารหรือหนวยงานผูใหสินเชื่ออื่น ๆ หากประสงคจะใชขอมูล
เพื่อพิจารณาความเปนไปไดในการอนุมัติสินเชื่อ จะไดรับขอมูลที่เกี่ยวของกับผูขอสินเชื่ออยางกวางขวางและรอบดาน
เปนอยางมาก1 หรือประเทศสาธารณรัฐเกาหลี มีหนวยงานที่เรียกวา Credit Information Collection Agency ทํา
หนาที่เก็บขอมูลเครดิตของบุคคล โดยขอมูลที่จัดเก็บเรียกวา Credit Information คือ ขอมูลที่จําเปนสําหรับการ
พิจารณาคุณคาทางสินเชื่อของเจาของขอมูล และมีลักษณะตามที่กฎหมายกําหนด ซึ่งกฎหมายกําหนดไวมีความ
หลากหลายเปนอยางมาก 2 ดังนั้น จะเห็นไดวาขอมูลของผูขอสินเชื่อในตางประเทศจะมีลักษณะที่ครอบคลุมขอมูล
หลากหลายรูปแบบ ไมจํากัดอยูเพียงขอมูลที่เกี่ยวกับสินเชื่อเทานั้น แตยังรวมไปถึงขอมูลอื่น ๆ ที่เกี่ยวของกับการ
ดํารงชีพของบุคคล เพื่อใหข อมูลที่หลากหลายเหลานี้สามารถแสดงฐานะทางการเงินและพฤติกรรมการชําระหนี้ที่
แทจริงของเจาของขอมูลอยางรอบดาน เปนประโยชนตอการพิจารณาถึงความเหมาะสมในการไดรับสินเชื่อของ
เจาของขอมูล
ดวยเหตุนี้ จากการพิจารณากฎหมายของตางประเทศ เมื่อขอมูลที่สามารถแสดงออกถึงฐานะทางการเงิน
และประวัติการชําระหนี้ของเจาของขอมูล ไมจํากัดอยูเพียงขอมูลที่เกี่ยวของกับสินเชื่อและบัตรเครดิตโดยตรงอีก
ตอไป แตยังรวมไปถึงขอมูลอื่น ๆ เชน ขอมูลการชําระคาไฟฟา คาน้ําประปา หรือภาษี เปนตน ดังจะเห็นไดจากใน
ตางประเทศที่มีการเก็บขอมูลที่มีความหลากหลาย เพื่อใหครอบคลุมถึงบุคคลทุกคนและสามารถแสดงออกถึงขอมูลที่
ถูกตองแทจริงเกี่ยวกับตัวของเจาของขอมูล การกําหนดขอบเขตของขอมูลเครดิตตามกฎหมายของประเทศไทย จึง
อาจสงผลใหเกิดการวินิจฉัยที่ผิดพลาด ทําใหเกิดการพิจารณาอนุมัติสินเชื่อทั้งที่ไมมีความสามารถในการชําระ อันอาจ
เปนการกอหนี้เสีย ในขณะเดียวกัน การไมอนุมัติสินเชื่อทั้งที่มีความสามารถในการชําระหนี้อาจเปนการตัดโอกาสใน
การเขาถึงแหลงเงินทุนในระบบของผูขอสินเชื่อ เปนเหตุใหตองหันไปพึ่งพาแหลงเงินทุนนอกระบบที่ไมตองใชขอมูล
เครดิตในการพิจารณาอยางไมมีทางเลือก นํามาสูปญหาหนี้สิน และปญหาตาง ๆ อีกมากมาย
ปญหาขอบเขตที่จํากัดของขอมูลที่จัดเก็บตามกฎหมายวาดวยการประกอบธุรกิจขอมูลเครดิตของประเทศ
ไทย สงผลใหเกิดปญหาหลักที่สําคัญ คือ ปญหาความไมเพียงพอของขอมูลเครดิตจากนิยามตามกฎหมาย เนื่องจาก
การกําหนดขอบเขตของขอมูลเครดิตที่จํากัดสงผลใหขอมูลเครดิตไมเพียงพอตอการนําไปใชงานเพื่อการประเมินความ
เหมาะสมของสินเชื่อ เพราะการกําหนดนิยามที่จํากัดเปนการจํากัดขอบเขตของขอมูล ทําใหมีขอมูลเขาสูระบบขอมูล

1
ตาม Fair Credit Reporting Act 1970 ซึ่งปจจุบัน Fair Credit Reporting Act ถูกแกไขเพิ่มเติมโดยกฎหมายฉบับ
อื่น ๆ มากมาย เชน Fair and Accurate Credit Transactions Act of 2003 Credit Card Accountability Responsibility
and Disclosure Act of 2009 Consumer Financial Protection Act of 2010 เปนตน โดยฉบับประมวลลาสุดภายหลังมี
การแกไขแลวทั้งหมด ไดรับการประกาศในเว็บไซตของ the Federal Trade Commission (FTC) เมื่อวันที่ 1 กันยายน พ.ศ.
2554
2
ตาม Use and Protection of Credit Information Act 2013 ประกอบกั บ Enforcement Decree of the Use
and Protection of Credit Information Act 2015
776 Thailand Journal of legal Study

เครดิตเปนสวนนอย ในขณะที่ยังมีขอมูลประเภทอื่น ๆ ที่อยูนอกเหนือขอบเขตที่กฎหมายกําหนดที่สามารถทําหนาที่


ข อ มู ล เครดิ ต ได และป ญ หาความไม ส อดคล อ งกั น ระหว า งเจตนารมณ กั บ การกํ า หนดนิ ย ามของข อ มู ล เครดิ ต
เจตนารมณตามกฎหมายวาดวยการประกอบธุรกิจขอมูลเครดิตที่ตองการใหมีขอมูลเพื่อเปนเครื่องมือในการพิจารณา
สินเชื่อเพื่อเปดโอกาสใหมีการเขาถึงสินเชื่อมากขึ้น แตการจํากัดขอบเขตของนิยามขอมูลเครดิต จะสงผลใหมีขอมูล
เพื่อประกอบการพิจารณาสินเชื่อนอยลง อันเปนการลดโอกาสในการเขาถึงสินเชื่อ
ดวยปญหาหลักที่กลาวมา ผูเขียนเห็นวาขอมูลเครดิตควรไดรับการขยายขอบเขตไปยังข อมูลดังตอไปนี้ คือ
ขอมูลการชําระคาสาธารณูปโภค ขอมูลการชําระเบี้ยประกันภัย ขอมูลการชําระคาหุน และขอมูลอื่น ๆ ที่เกี่ยวของกับ
ฐานะทางการเงิน ซึ่งการขยายขอบเขตขอมูลเครดิตไปยังขอมูลอื่น ๆ เหลานี้จะสงผลใหมีขอมูลที่สามารถแสดงออกถึง
ฐานะทางการเงิน และพฤติกรรมทางการเงินของเจาของขอมูลกวางขวางขึ้น และเปนการเปดโอกาสใหเจาของขอมูล
เครดิตกลุมใหม ๆ สามารถเขาถึงสินเชื่อในระบบไดมากขึ้น
มาตรการทางกฎหมายเพื่อแกปญหาขอบเขตที่จํากัดของขอมูลเครดิตควรมีการดําเนินการ ดังนี้
1.1 การแกไขเพิ่มเติมนิยามคําวาขอมูลเครดิต
นิยามของขอมูลเครดิตที่จัดเก็บโดยบริษัทขอมูลเครดิตตามมาตรา 3 แหงพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจ
ขอมูลเครดิต พ.ศ. 2545 ควรเปนนิยามที่ชวยใหขอมูลเครดิตสามารถทําหนาที่ในการแสดงออกถึงฐานะทางการเงิน
และประวัติการชําระหนี้ของเจาของขอมูล และเปดโอกาสในการเขาถึงสินเชื่อของบุคคลใหกวางขวางขึ้น เปนไปตาม
เจตนารมณที่แทจริงตามกฎหมาย ทําใหระบบขอมูลเครดิตมีทั้งขอมูลสินเชื่อโดยตรงและขอมูลอื่น ๆ ที่สามารถ
แสดงออกถึงฐานะทางการเงินหรือประวัติการชําระหนี้ของเจาของขอมูลได ตามแนวทางของประเทศสหรัฐอเมริกา
และประเทศสาธารณรัฐเกาหลี
ผูเขียนเห็นวา ในการแกไขเพิ่มเติมกฎหมายวาดวยการประกอบธุรกิจขอมูลเครดิต ควรมีการแกไขนิยามใน
3
มาตรา 3 โดยการเพิ่มประเภทของขอมูลเครดิตในบทนิยามของขอมูลเครดิต คือ เพิ่มขอยอย (3) ขอมูลเครดิตอื่น ๆ
เปนขอมูลเครดิตอีกกลุม โดยขอมูล เครดิตอื่น ๆ นี้ ควรกําหนดนิยามในลักษณะของการกําหนดเปนวัตถุประสงคของ
การนําไปใชงาน เชน กําหนดวาขอมูลเครดิตอื่น ๆ คือ ขอมูลอื่น ๆ นอกเหนือไปจาก (1) และ (2) ที่จะเปนประโยชน
ตอการนําไปใชในการพิจารณาฐานะทางการเงินของเจาของขอมูล เปนตน อีกทั้ง กําหนดใหข อมูลเครดิตอื่น ๆ เปน
ขอมูลที่มีที่มาจากสมาชิก หรือแหลงขอมูลตามที่กฎหมายกําหนด และควรมีการกําหนดตัวอยางของขอมูลในกลุมนี้ไว
เพื่อใหนิยามเปนไปในรูปแบบที่สอดคลองกับนิยามของขอมูลเครดิตเดิม นอกจากนั้น อาจกําหนดเปนขอยกเวน
เพิ่มเติมเฉพาะประเภทของขอมูลที่ ไมสมควรนํามาใชเปนขอมูลเครดิตอื่น ๆ เพื่อมิใหเกิดการรุกล้ําในความเปน
สวนตัวมากเกินไป เชน ขอมูลความลับทางการคา เพื่อใหผูใหบริการสินเชื่อมีโอกาสในการใชขอมูลที่ลึกและกวางขวาง
มากยิ่งขึ้นในฐานะขอมูลเครดิต
อีกทั้ง นิยามของขอมูลเครดิตในกลุมที่กฎหมายกําหนดใหเปน “ประวัติการขอและการไดรับอนุมัติสินเชื่อ
และการชําระสินเชื่อของลูกคาที่ขอสินเชื่อรวมทั้งประวัติการชําระราคาสินคาหรือบริการโดยบัตรเครดิต ” ผูเขียนเห็น
วาเพื่อไมใหการกําหนดนิยามดังกลาวมีความเครงครัด และจํากัดขอบเขตของขอมูลในกลุมนี้มากเกิ นไป จึงควรแกไข
การชําระราคาสินคาหรือบริการเปนการชําระหนี้โดยบัตรเครดิตแทนเพื่อเปดโอกาสใหขอมูลในกลุมนี้เขาสูระบบ
ขอมูลเครดิตไดมากขึ้น

3
มาตรา 3 แหงพระราชบัญญัติขอมูลเครดิต พ.ศ.2545 บัญญัติวา “ขอมูลเครดิต” หมายความวา ขอเท็จจริงเกี่ยวกับ
ลูกคาที่ขอสินเชื่อ ดังตอไปนี้ (1) ขอเท็จจริงที่บงชี้ถึงตัวลูกคา และคุณสมบัติของลูกคาที่ขอสินเชื่อ (ก) กรณีบุคคลธรรมดา
หมายถึง ชื่อ ที่อยู วันเดือนปเกิด สถานภาพ การสมรส อาชีพ เลขที่บัตรประจําตัวประชาชน หรือบัตรประจําตัวเจาหนาที่ของ
รัฐ หรือหนังสือเดินทาง และ เลขประจําตัวผูเสียภาษีอากร (ถามี) (ข) กรณีนิติบุคคล หมายถึง ชื่อ สถานที่ตั้ง เลขที่ทะเบียน
การจัดตั้งนิติบุคคล หรือเลขประจําตัวผูเสียภาษีอากร (2) ประวัติการขอและการไดรับอนุมัติสินเชื่อ และการชําระสินเชื่อของ
ลูกคาที่ขอสินเชื่อ รวมทั้งประวัติการชําระราคาสินคาหรือบริการโดยบัตรเครดิต
วารสารนิติศึกษาไทย 777

1.2 การกําหนดแหลงขอมูลเพิ่มเติม
เนื่องจากการขยายขอบเขตของขอมูลเครดิตเพิ่มเติมไปยังขอมูลเครดิตอื่น ๆ ที่มิไดมีที่ มาจากสมาชิก หรือ
แหลงขอมูลเดิมตามที่กฎหมายกําหนด ดังนั้น เพื่อใหขอมูลเครดิตอื่น ๆ สามารถเขาสูระบบฐานขอมูลของบริษัท
ขอมูลเครดิตได จําเปนตองมีการกําหนดแหลงขอมูลเพิ่มเติมของขอมูลเครดิตอื่น ๆ นั้น ในกรณีที่ขอมูลเครดิตอื่น ๆ มี
ที่มาจากสมาชิกไมจําเปนตองมีการแกไขเพิ่มเติมใด ๆ แตสําหรับกรณีที่ขอมูลเครดิตอื่น ๆ มีที่มาจากแหลงขอมูลกลุม
ใหมที่ไมเคยมีบทบาทในระบบขอมูลเครดิตมากอน จําเปนตองมีการกําหนดเพิ่มเติมใหชัดเจน ตามแนวทางของ
ประเทศสาธารณรัฐเกาหลีที่มีการออกกฎหมายลําดับรอง
ผู เ ขี ย นเห็ น ว า แหล ง ข อ มู ล ที่ จ ะกํ า หนดเพิ่ ม เติ ม เช น การไฟฟ า นครหลวง การประปาส ว นภู มิ ภ าค
บริษัทเอกชนผูใหบริการเครือขายโทรศัพทเคลื่อนที่ เปนตน มิใชหนวยงานที่จะสามารถกําหนดใหเปนสมาชิกตาม
กฎหมายได เนื่องจากหนวยงานเหลานั้นมิใชสถาบันการเงิน หรือผูใหบริการสินเชื่อในทางการคาปกติ ดังนั้น ในการ
เพิ่มเติมแหลงขอมูลจึงตองเปนการออกประกาศของคณะกรรมการคุมครองขอมูลเครดิต โดยอาศัยอํานาจตามมาตรา
16 แหงพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจขอมูลเครดิต พ.ศ. 25454 เพื่อกําหนดแหลงขอมูลเพิ่มเติม
ประกาศคณะกรรมการคุมครองขอมูลเครดิตดังกลาว ควรมีองคประกอบ 2 สวน คือ 1. มีการกําหนดองคกร
ที่จะเปนแหลงขอมูลเพิ่มเติม และ 2. มีการกําหนดประเภทของขอมูลที่องคกรนั้นตองนําสงเพื่อเปนขอมูลเครดิตอื่น ๆ
ใหชัดเจน เพื่อใหมีลักษณะสอดคลองกับประกาศกําหนดแหลงขอมูลที่เคยออกไวแลว และเปนมาตรการในการ
คุม ครองขอมูลสวนบุคคลที่เหมาะสมไปในคราวเดียวกัน
การขยายขอบเขตขอมูลเครดิตโดยการเพิ่มเติมขอมูลเครดิตอื่น ๆ เขามาในระบบขอมูลเครดิตเดิม อาจ
กอใหเกิดปญหาเกี่ยวเนื่องตามมา คือ
1. ปญหาการใชบังคับขอมูลเครดิตในกรณีที่มีการขยายขอบเขตขอมูลเครดิตไปยังขอมูลเครดิตอื่น ๆ
ปญหาการใชบังคับขอมูลเครดิตในกรณีที่มีการขยายขอบเขตขอมูลเครดิตออกไปยังขอมูลเครดิตประเภทอื่น
ๆ จําเปนตองพิจารณาลําดับในการใชงานใหเหมาะสม เพราะการกําหนดลําดับกอนหลังในการใชขอมูลอาจกอใหเกิด
การควบคุมใหการพิจารณาขอเท็จจริงเกี่ยวกับเจาของขอมูลเปนไปอยางไมมีประสิทธิภาพ
ดังนั้น ผูเขียนเห็นวาในนําขอมูลเครดิตอื่น ๆ มาใชงานจึงไมควรมีการกําหนดลําดับหรือการเลือกใชงาน
ขอมูลใด ๆ แตใหเปนไปในลักษณะของการใชงานขอมูลทั้งหมดรวมกัน เพื่อประสิทธิภาพในการพิจารณาที่ถูกตองมาก
ที่สุด โดยไมจําเปนตองกําหนดมาตรการทางกฎหมายในการบังคับใชงานขอมูลตามลําดับแตอยางใด
นอกจากนั้นคุณภาพของขอมูลอื่น ๆ ก็เปนสิ่งสําคัญที่ตองใหความระมัดระวังในการเลือกนํามาใชเปนขอมูล
เครดิต เพราะขอมูลอื่น ๆ บางประเภทอาจไมสามารถทําหนาที่ไดอยางเต็มประสิทธิภาพเนื่องจากไมใชขอมูลที่ตรงกับ
ตัวเจาของขอมูลที่แทจริง ดังนั้น เพื่อคุมครองทั้งฝายเจาของขอมูลใหไดใชขอมูลที่มีประสิทธิภาพ และคุมครองฝง
เจาหนี้ผูใชขอมูลใหไมตองรับความเสี่ยงมากจนเกินไป ขอมูลเครดิตอื่น ๆ ที่เหมาะสมและสามารถยอมรับในฐานะ
ขอมูลเครดิตอื่น ๆ ได จึงควรเปนขอมูลที่มีชื่อเจาของขอมูลตรงกัน คือ มีชื่อเจาของขอมูลแสดงในเอกสารกํากับขอมูล
นั้นอยางชัดเจนวาเปนขอมูลของเจาของขอมูลรายใด แมการรับรองคุณภาพจะไมไดปรากฏชัดเจนในกฎหมายของ
ประเทศใด แตเปนแนวทางที่จําเปนตองดําเนินการเพื่อการไดขอมูลที่มีคุณภาพมากที่สุด
มาตรการทางกฎหมายที่ควรดําเนินการเพื่อแกปญหาการรับรองคุณภาพของขอมูลเครดิตอื่น ๆ ผูเขียนเห็น
วา ควรมีการเพิ่มเติมบทบัญญัติเกี่ยวกับการนําขอมูลไปใชในมาตรา 18 ของพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจขอมูล
เครดิต พ.ศ. 25455 เพื่อกําหนดใหการนําขอมูลเครดิตอื่น ๆ มาใชงาน ขอมูลเครดิตนั้นตองเปนขอมูลที่มีชื่อของ

4
มาตรา 16 พระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจขอมูลเครดิต พ.ศ. 2545 “บริษัทขอมูลเครดิตตองทําการประมวลผล
ขอมูลจากสมาชิกหรือจากแหลงขอมูลที่เชื่อถือได ตามหลักเกณฑ วิธีการ และเงื่อนไขที่คณะกรรมการประกาศกําหนด”
5
มาตรา 18 พระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจขอมูลเครดิต พ.ศ. 2545 “เพื่อประโยชนในการควบคุมและประมวลผล
ขอมูลของบริษัทขอมูลเครดิต ใหสมาชิกสงขอมูลของลูกคาของตนแกบริษัทขอมูลเครดิตที่ตนเปนสมาชิกและแจงใหลูกคาของ
ตนทราบเกี่ยวกับขอมูลที่สงไปเปนหนังสือ หรือโดยวิธีอื่นตามที่ตกลงกันภายในสามสิบวันนับแตวันที่สงขอมูลแกบริษัทขอมูล
778 Thailand Journal of legal Study

เจาของขอมูลเครดิตตรงกันกับชื่อของผูขอสินเชื่อเทานั้น เพื่อใหการใชงานเปนไปอยางมีประสิทธิภาพมากที่สุด แต


ทั้งนี้สามารถกําหนดขอยกเวนในกรณีที่ชื่อบนเอกสารไมตรงกันได หากเปนกรณีของขอมูลที่มีหลักฐานแสดงความเปน
เจาของขอมูลของบุคคลอื่นโดยแจงชัด และไดรับการรับรองจากเจาของขอมูลที่มีชื่อในเอกสารวาเปนขอมูลของบุคคล
นั้น เชน ใบเสร็จการชําระคาไฟฟาของหอพัก เปนตน
ยิ่งไปกวานั้น คุณภาพของขอมูลที่เหมาะสมนอกจากจะพิจารณาจากลักษณะของขอมูลแต ละประเภทแลว
ยังสามารถควบคุมไดโดยองคกรผูเปนเจาของขอมูลดวย ดังนั้น ในการขยายขอบเขตขอมูลเครดิต หากขอมูลนั้นเปน
ขอมูลที่ไดรับมาจากหนวยงานรัฐหรือรัฐวิสาหกิจโดยตรง ขอมูลดังกลาวยอมไดรับการสันนิษฐานวาเปนขอมูลที่
ถูกตอง ตามหลักของการใชพยานเอกสารตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพง6 ดังนั้น ขอมูลเครดิตที่จะไดรับ
จากหนวยงานรัฐหรือรัฐวิสาหกิจจึงเปนขอมูลที่มีความถูกตองและเหมาะสมตอการนําไปใชงาน
แตมีขอนาสังเกตวา หากเปนขอมูลเครดิตในสวนที่ไดรับมาจากเอกชนหรือเจาของขอมูลอื่น ๆ ขอมูลนั้นจะ
เปนขอมูลที่ถูกตองเพียงพอหรือไม กรณีตองแยกพิจารณาวาหากขอมูลนั้นไดมาจากหนวยงานเอกชนหรือไดมาจาก
เจาของขอมูลโดยตรง ซึ่งหากเปนขอมูลที่ไดมาจากหนวยงานที่เปนองคกรที่มีมาตรฐาน องคกรนั้นยอมตองเอาเอา
ชื่อเสียงของตนมารับรองความถูกตองของขอมูลที่นําสง ในระดับหนึ่งแลว แตถาเปนขอมูลจากเจาของขอมูลโดยตรง
ขอมูลนั้นอาจตองใชความระมัดระวังเปนพิเศษวาสมควรที่จะเชื่อถือไดหรือไม โดยการควบคุมการดําเนินการของ
เอกชนใหมีโทษตามกฎหมายตามแนวทางของประเทศสหรัฐอเมริกา และประเทศสาธารณรัฐเกาหลี ที่มีรูปแบบการ
ดําเนินไปในลักษณะเดียวกัน
ผูเขียนเห็นวากรณีนี้สมควรกําหนดบทบัญญัติอันเปนขอสันนิษฐานเพื่อรับรองความถูกตองของขอมูลใน
ความครอบครองของหนวยงานรัฐเพิ่มเติม เพื่อใหการนําขอมูลนั้นมาใชงานเปนไปอยางมีประสิทธิภาพ หรือหากเปน
ขอมูลที่จัดทําโดยหนวยงานเอกชนหากมีเจตนาจั ดทําขอมูลที่ไมถูกตองสามารถกําหนดใหผูจัดทําขอมูลมีโทษตาม
กฎหมายได ทั้งนี้ อยูภายใตการตรวจสอบของเจาของขอมูลเพื่อใหขอมูลนั้นเปนขอมูลที่ถูกตองมากที่สุด
2. ปญหาการกําหนดหนาที่แกบุคคลที่เกี่ยวของในระบบขอมูลเครดิตในกรณีที่มีการขยายขอบเขตขอมูล
เครดิต
การขยายขอบเขตของขอมูลเครดิตไปสูขอมูลเครดิตอื่น ๆ หากไมกําหนดหนาที่ไดการดําเนินการของบุคคลที่
เกี่ยวของใหชัดเจน จะนํามาสูปญหาในการดําเนินการทําใหระบบขอมูลเครดิตไมสามารถดําเนินการตอไปไดทั้งระบบ
ไมวาจะเปนหนาที่นําสงขอมูลของแหลงขอมูล หนาที่จัดเก็บขอมูลของบริษัทขอมูลเครดิต หนาที่เปดเผยและนําขอมูล
ไปใชของสมาชิกและผูใชบริการ การกําหนดมาตรการคุมครองขอมูลสวนบุคคล
ดังนั้น เพื่อใหการขยายขอบเขตขอมูลเครดิตเปนไปอยางมีประสิทธิภาพ จึงตองมีการแกไขเพิ่มเติมการ
ดําเนินการในสวนอื่น ๆ ใหมีความสอดคลองกัน ดังนี้
2.1 หนาที่จัดระบบการจัดเก็บขอมูลของบริษัทขอมูลเครดิต
พระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจขอมูลเครดิต พ.ศ. 2545 มาตรา 17 ไดกําหนดใหบริษัทขอมูลเครดิตมี
หนาที่ในการจัดใหมีระบบจําแนกขอมูลที่เก็บรักษาไว แตในกรณีของการขยายขอบเขตขอมูลเครดิตใหกวางออกไปนั้น
อาจตองมีการกําหนดใหชัดเจนวาตองมีระบบในการจัดเก็บขอมูลเครดิตอื่น ๆ แยกประเภทกับขอมูลเครดิตโดยตรง
เพราะเปนลักษณะของขอมูลที่เก็บเมื่อจะมีการใชงาน มิใชการเก็บไวกอนเพื่อรอการใชงานเชนเดียวกับขอมูลเครดิต
ทั่วไป ตามแนวทางของประเทศสหรัฐอเมริกาที่มีรูปแบบการเก็บขอมูลแตละประเภทอยางชัดเจน

เครดิต ในกรณีที่สมาชิกไม8อาจดําเนินการไดทันภายในกําหนดเวลาดังกลาว สมาชิกอาจขอขยายระยะเวลาตอคณะกรรมการ


ไดอีกไมเกินสิบหาวัน ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑวิธีการ และเงื่อนไขที่คณะกรรมการกําหนด”
6
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพง มาตรา 127 บัญญัติวา “เอกสารมหาชนซึ่งพนักงานเจาหนาที่ไดทําขึ้นหรือ
รับรองหรือสําเนาอันรับรองถูกตองแหงเอกสารนั้น และเอกสารเอกชน ที่มีคําพิพากษาแสดงวาเปนของแทจริงและถูกตองนั้น
ใหสันนิษฐาน ไวกอนวาเปนของแทจริงและถูกตอง เปนหนาที่ของคูความฝายที่ ถูกอางเอกสารนั้นมายันตองนําสืบความไม
บริสุทธิ์หรือความไมถูกตองแหงเอกสาร”
วารสารนิติศึกษาไทย 779

ผูเขียนเห็นวา บริษัทขอมูลเครดิตซึ่งเปนผูดําเนินการเกี่ยวกับขอมูลเครดิตจําเปนตองมีการแกไขเพิ่มเติม
หนาที่ของตนในการจัดการเกี่ยวกับขอมูลเครดิต ในมาตรา 17(1)7 โดยเพิ่มเติมหนาที่การจําแนกขอมูลใหชัด เจนวา
ตองรวมถึงการจําแนกการจัดเก็บขอมูลเครดิตที่เปนสินเชื่อโดยตรงกับขอมูลเครดิตอื่น ๆ ออกจากกันเพื่อการจัดกลุม
ขอมูลที่เหมาะสม
การจัดเก็บขอมูลเครดิตอื่น ๆ ที่ขยายขอบเขตออกไปนี้ เปนการจัดเก็บเมื่อมีการเรียกใชงานขอมูลเทานั้น ซึ่ง
จะแตกตางจากขอมูลเครดิตโดยตรงตามที่กฎหมายกําหนดไวเดิม ที่มีการจัดเก็บขอมูลไวเพื่อรอการใชงาน ในขณะที่
ขอมูลเครดิตอื่น ๆ ที่จะขยายขอบเขตออกไปนี้จะถูกจัดเก็บก็ตอเมื่อมีการรองขอใชขอมูลในกลุมนี้ และจะเปนการเก็บ
ขอมูลที่ถูกเรียกใชแลวไวเพื่อรอการเรียกใชงานครั้งตอ ๆ ไปภายในอายุการใชงานที่เหมาะสมตามที่กฎหมายกําหนด
2.2 หนาที่ในการใหความคุมครองขอมูลที่เปนความลับ และการใหสิทธิในการตรวจสอบขอมูลแกเจาของ
ขอมูล ของบริษัทขอมูลเครดิต
การคุมครองขอมูลเครดิตอื่น ๆ นี้ โดยหลักตองไดรับความคุมครองเชนเดียวกับขอมูลเครดิตที่เกี่ยวกับสินเชื่อ
โดยตรง คือ ตองมีมาตรการในการตรวจสอบความถูกตองโดยเจาของขอมูล รวมทั้งการใหความยินยอมจากเจาของ
ขอมูลกอนนําขอมูลออกมาใชงาน เพื่อมิใหเกิดปญหาในการละเมิดขอมูลสวนบุคคลของเจาของขอมูลในภายหลัง
นอกจากนั้นควรมีการกําหนดหลักเกณฑการคุมครองเจาของขอมูลเพิ่มเติม ในกรณีที่เปนขอมูลที่เกี่ยวของกับความลับ
ทางการคา เพื่อคุมครองมิใหเกิดการละเมิดขอมูลอันเปนความลับ ตามแนวทางของประเทศสหรัฐอเมริกา
ผูเขียนเห็นวาควรมีการเพิ่มเติมสิทธิของเจาของขอมูลเครดิตในการคุมครองขอมูลเครดิตตามมาตรา 25
พระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจขอมูลเครดิต พ.ศ. 25458 หากเจาของขอมูลพบวามีขอมูลใดที่เปนความลับทาง
การคาสามารถรองขอใหบริษัทขอมูลเครดิตลบขอมูลนั้นออกจากระบบได และหากบริษัทขอมูลเครดิตไมดําเนินการ
ตามคํารองขอดังกลาวเจาของขอมูลก็มีสิทธิอุทธรณตอ คณะกรรมการคุมครองขอมูลเครดิต เพื่อมิใหระบบขอมูล
เครดิตเปนการรุกล้ําการประกอบกิจการจนอาจกอใหเกิดความเสียหายแกเจาของขอมูลได
การตรวจสอบขอมูลของเจาของขอมูลที่บริษัทขอมูลเครดิตจัดเก็บในระบบขอมูลเครดิต จะมีประสิทธิภาพใน
การคุมครองขอมูลเครดิตมากที่ สุดก็ตอเมื่อเจาของขอมูลนั้นมีสิทธิที่จะเขาตรวจสอบขอมูลของตนไดโดยไมเสียคา
ธรรมอยางนอย 1 ครั้ง
ดังนั้น ในกรณีนี้ ผูเขียนเห็นวาควรแกไขสิทธิในการตรวจสอบขอมูลเครดิตของเจาของขอมูลใหสามารถ
ดําเนินการไดโดยไมเสียคาธรรมอยางนอย 1 ครั้ง ตอป เพื่อใหการตรวจสอบความถูกตองของขอมูลเปนแนวทางใน
การคุมครองขอมูลที่สมบูรณมากที่สุด

7
มาตรา 17(1) พระราชบัญญัติการประกอบธุรกิ จขอมูลเครดิต พ.ศ. 2545 “ในการประมวลผลขอมูล บริษัทขอมูล
เครดิตหรือผูซึ่งไดรับมอบหมายใหเปนผูประมวลผลขอมูลแทน ตองจัดใหมีระบบและขอกําหนดดังตอไปนี้เปนอยางนอย
(1) ระบบจําแนกขอมูลที่เก็บรักษาไว...”
8
มาตรา 25 พระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจขอมูลเครดิ ต พ.ศ. 2545 “เพื่อประโยชนในการคุมครองใหความเปน
ธรรมแกเจาของขอมูล ใหเจาของขอมูลมีสิทธิ ดังตอไปนี้ (1) สิทธิที่จะรับรูวาบริษัทขอมูลเครดิตเก็บรักษาขอมูลใดของตน(2)
สิทธิที่จะตรวจสอบขอมูลของตน (3) สิทธิที่จะขอแกไขขอมูลที่ไมถูกตอง (4) สิทธิที่จะโตแยงเมื่อทราบวาขอมูลของตนไม
ถูกตอง (5) สิทธิที่จะไดรับแจงผลการตรวจสอบขอมูลของตนภายในระยะเวลาที่กําหนด (6) สิทธิที่จะไดรับทราบเหตุแหงการ
ปฏิเสธคําขอสินเชื่อหรือบริการจากสถาบัน การเงิน ในกรณีที่สถาบันการเงินใชขอมูลของบริษัทขอมูลเครดิตมาเปนเหตุแ หง
การปฏิเสธคําขอ สินเชื่อหรือบริการ (7) สิทธิที่จะอุทธรณตอคณะกรรมการตามมาตรา 27
เจาของขอมูลอาจเสียคาธรรมเนียมในการตรวจสอบขอมูลตามทีค่ ณะกรรมการ ประกาศกําหนด ทัง้ นี้ไมเกินสองรอย
บาท”
780 Thailand Journal of legal Study

บทสรุปและขอเสนอแนะ
การขยายขอบเขตขอมูลเครดิตไปยังขอมูลเครดิตประเภทอื่น ๆ นอกจากขอมูลสินเชื่อโดยตรงที่สามารถทํา
หนาที่ในการแสดงออกถึงฐานะทางการเงินและพฤติกรรมการชําระหนี้ข องเจาของขอมูล จะชวยแกปญหาการจํากัด
การเขาถึงสินเชื่อของบุคคล เปดโอกาสใหบุคคลที่มีขอมูลสินเชื่อโดยตรงนอยหรือไมมีเลย สามารถเขาถึงสินเชื่อใน
ระบบได ในทางกลับกันก็เปนการชวยใหสถาบันการเงินหรือผูใหสินเชื่อทั้งหลาย มีขอมูลเกี่ยวกับตัวผูขอสินเชื่อ มาก
ขึ้น เพื่อประสิทธิภาพในการพิจารณาใหสินเชื่ออยางถูกตองและแมนยํา สงผลดีตอการพัฒนาระบบเศรษฐกิจของ
ประเทศไทยใหเจริญกาวหนายิ่งขึ้น แตทั้งนี้ ขอมูลอื่น ๆ ที่ผูเขียนนําเสนอเพื่อขยายขอบเขตขอมูลเครดิต เปนขอมูลที่
สอดคลองกับกระแสของขอมูลเครดิตในปจจุ บันตามแนวทางการดําเนินการชองธนาคารโลก (World Bank) เทานั้น
ในอนาคต หากมีขอมูลประเภทใหม ๆ ที่สามารถทําหนาที่ในการแสดงออกถึงฐานะทางการเงินหรือพฤติกรรมในการ
ชําระหนี้ของเจาของขอมูลนอกเหนือไปจากขอมูลที่ผูเขียนนําเสนอ ขอมูลเหลานั้นสมควรไดรับการพิจารณาในฐานะ
ขอมูลเครดิต เพื่อประโยชนในการใชเปนขอมูลในการพิจารณาสินเชื่อเชนเดียวกัน
วารสารนิติศึกษาไทย 781

บรรณานุกรม

หนังสือ

ศูนยบริการขอมูลและกฎหมาย สํานักงานเลขาธิการวุฒิสภา. เอกสารประกอบการพิจารณา รางพระราชบัญญัติการ


ประกอบธุรกิจขอมูลเครดิต พ.ศ. .... กรุงเทพมหานคร : กองการพิมพ สํานักงานเลขาธิการวุฒิสภา,
2543.
คณะนิ ติ ศาสตร มหาวิ ท ยาลั ยธรรมศาสตร. 60 ป ครูสุ ด า หนั ง สื อรวมบทความวิ ชาการ เนื่ องในโอกาส 60 รอง
ศาสตราจารยสุดา วิศรุตพิชญ. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพเดือนตุลา, 2558.
เสนีย ปราโมช, ม.ร.ว. ประมวลกฎหมายแพงและพาณิชยวาดวยนิติกรรมและหนี้. กรุงเทพมหานคร : สํานักพิมพไทย
วัฒนาพานิช, 2526.

บทความ

จันทจิรา เอี่ยมมยุรา. “การคุมครองขอมูลสวนบุคคลในประเทศไทย.” วารสารนิติศาสตร. (ธันวาคม 2547)


จันทจิรา เอี่ยมมยุรา. “แนวคิดและหลักการยกรางกฎหมายวาดวยการคุมครองขอมูลสวนบุคคลของประเทศไทย.”
วารสารนิติศาสตร. (ธันวาคม 2547)
รัฐพงศ โภคะสุวรรณ. “เครดิตบูโร : แนวทางในการแกปญหาการใหสินเชื่อ.” วารสารกฎหมายปกครอง สํานักงาน
คณะกรรมการกฤษฎีกา (2545)

เอกสารอื่น ๆ

สํานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแหงชาติ . “เอกสารประกอบโครงการประชุมเชิงปฏิบัติการ
รวมกับหนวยงานภาครัฐ เรื่อง “ขอมูลภาครัฐกับการจัดอันดับขีดความสามารถในการแขงขันของ
ประเทศ”. 2558
นายอรรถวิชช สุวรรณภักดี . “เอกสารประกอบการศึกษาการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตยสําหรับนัก
บริหารระดับสูง รุนที่ 12 เรื่อง แนวทางและรูปแบบของกฎหมายเพื่อการกํากับดูแลการประกอบธุรกิจ
การเงินที่ไมใชสถาบันการเงิน (Non-bank).” 2551

สื่ออิเล็กทรอนิกส

บริ ษั ท ข อ มู ล เครดิ ต แห ง ชาติ จํ า กั ด . “เครดิ ต บู โ รจั ด เกรดลู ก หนี้ ดึ ง ค า น้ํ า -ไฟ-โทรศั พ ท เ ข า ระบบ ”.
https://www.ncb.co.th/NEW_20110214.htm, 6 กุมภาพันธ 2559
กองบรรณาธิ ก ารเช็ ค ราคา.คอม. “10 เรื่ อ งต อ งรู “เครดิ ต บู โ ร” ก อ นยื่ น ขอสิ น เชื่ อ หรื อ บั ต รเครดิ ต ”.
http://www.checkraka.com/knowledge/credit-card-2-77/10-เรื่องตองรู -เครดิตบูโร-กอนยื่น
ขอสินเชื่อหรือบัตรเครดิต-1607887/, 6 กุมภาพันธ 2559
สํานักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ. “ขอมูลผลการจัดอันดับของประเทศไทย ตามรายงานผลการวิจัย เรื่อง
Doing Business ของธนาคารโลก”. opdc.go.th/uploads/files/2556/DB_Data.pdf, สื บ ค น เมื่ อ
วันที่ 14 กุมภาพันธ 2559

ELECTRONIC MEDIA
782 Thailand Journal of legal Study

World Bank Group. “Ease of Doing Business in Thailand”. http://www.doingbusiness.org/data/


exploreeconomies/thailand/#getting-credit. February 14, 2016.
Margaret Rouse. “Fair Credit Reporting Act (FCRA)”. http://searchcompliance.techtarget.comtion/Fair-
Credit-Reporting-Act-FCRA. February 29, 2016.
Rosemary P Jay. “Data Protection & Privacy In 31 jurisdictions worldwide”.https://www.hunton
privacyblog.com/files/2 0 1 1 / 0 4 / DDP2 0 1 5 _United_States.pdf (accessed February 29,
2016).
Electronic Privacy Information Center. “The Fair Credit Reporting Act (FCRA)and the Privacy of your
Credit Report”.https://epic.org/privacy/fcra/. February 29, 2016.
The Federal Trade Commission. “ A Summary of Your Rights Under the Fair Credit Reporting Act” .
https://www.consumer.ftc.gov. June 2, 2016.

OTHER MATERIALS

Hachinohe University Research Institute (HURI) and Daiwa Institute of Research (DIR), Development
of Database on Corporate Credit Information,” ASEAN Plus Three Financial Ministers
Meeting, Research Group, 2018
The World Bank. “General Principles for Credit Reporting,” (September 2011)
Association of Consumer Credit Information Suppliers. “an Analysis of Credit Reporting in Europe,”
(ACCIS 2015 Survey of Member,2015)
Margaret Miller. “Credit Reporting System Around The Globe : The State of the Art in Public and
Private Credit Registries”. 2000.
Marc Rothemund, Maria Gerhardt. “The European Credit Information Landscape an Analysis of Survey
of Credit Bureaus in Europe”. February 2011.
วารสารนิติศึกษาไทย 783

ปญหาการบังคับคดีในสิทธิบัตร
PROBLEM REGARDING THE EXECUTION OF PATENT
ยุพรัตน รอยแกว
Yuppharat Roikaew
บทคัดยอ
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพง ซึ่งแกไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแกไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมาย
วิธีพิจารณาความแพง (ฉบับที่ 30) พ.ศ. 2560 ไดวางหลักเกณฑใหสิทธิในสิทธิบัตรและสิทธิในการขอรับสิทธิบัตรถือ
เปนทรัพยของลูกหนี้ตามคําพิพากษาที่อาจยึดและนํามาขายทอดตลาดเพื่อชําระหนี้เงินตามคําพิพากษาได แตใน
ขั้นตอนระหวางการบังคับคดีและการขายทอดตลาดนั้น ยังขาดหลักเกณฑในการประเมินราคาสิทธิบัตรและขาย
ทอดตลาดที่ชัดเจนและสามารถบังคับใชไดอยางมีประสิทธิภาพ ซึ่งสงผลกระทบตอสิทธิของทั้งเจาหนี้ตามคําพิพากษา
และลูกหนี้ตามคําพิพากษา จึงเปนการสมควรที่จะตองศึกษาเพิ่มเติมถึง มาตรฐาน และหลักเกณฑในการดําเนิน
กระบวนการบังคับคดีและขายทอดตลาดสิทธิบัตรพิพากษา เพื่อใหบังคับคดีไดครบถวน รวดเร็ว และเปนธรรม

คําสําคัญ
การบังคับคดี, ขายทอดตลาด, สิทธิบัตร, การประเมินราคา

ABSTRACT
The Civil Procedural Code of Thailand, as amended by the Amendment No. 30 of the Civil
Procedural Code B.E. 2560 prescribes that right in patent including right to obtain patent falls under
the scope of enforcement of judgement debt which can be enforced and sold through public
auction. However, there is still lack of clear regulations governing appraisal of patent value and sale
of patent through public auction in an effective manner which, consequently, negatively impact the
rights of both judgement creditor and judgment debtor. Hence, it is appropriate to study the process
and procedure for enforcement of debt in form of patent including the process for public auction
of patent in order to improve efficiency of the process to be quicker, more effective, and fair for
both the creditor and the debtor.

Keywords
Execution, Enforcement of debt, Auction, Public auction, Patent, Valuation, Appraisal of
economic value.


นั ก ศึ ก ษาปริ ญ ญาโท หลั ก สู ต รนิ ติ ศ าสตร ม หาบั ณ ฑิ ต สาขากฎหมายธุ ร กิ จ คณะนิ ติ ศ าสตร มหาวิ ท ยาลั ย
ธรรมศาสตร : yuppharat@gmail.com
Graduate Student of Master of Laws Program in Business Law, Faculty of Law, Thammasat
University. Email address : yuppharat@gmail.com
784 Thailand Journal of legal Study

บทนํา
ในป จ จุ บั นทรัพ ย สินที่ มีมู ลค าทางเศรษฐกิจได มีการพัฒนาและเกิด ทรัพ ยสิ นในรูปแบบใหมทั้ งประเภท
ทรัพยสินที่มีรูปรางและทรัพยสินที่ไมมีรูปรางซึ่งไดรับการยอมรับวามีราคาและมูลคาสูง โดยเฉพาะอยางยิ่งสิทธิบัตร
ซึ่งเปนทรัพยสินที่ไมมีรูปรางและมูลคาทางเศรษฐกิจสูง ดังจะเห็นไดจากคดีฟองรองละเมิดสิทธิบัตรการออกแบบ
ระหวาง Apple Inc. Vs. Samsung ที่ศาลมีคําสั่งใหทาง Samsung จายคาเสียหายใหทาง Apple Inc. เปนมูลคา
ความเสียหายถึง 548 ลานดอลลารสหรัฐ
คดีการละเมิดสิทธิบัตรที่นาสนใจอีกหนึ่งคดีคือ คดีระหวาง Dynamic Advances LLC Vs. Apple Inc. ที่
ทางบริษัท Dynamic Advances LLC ไดฟองรองวา Apple Inc. ละเมิดสิทธิบัตรโปรแกรมตอบคําถาม โดยใชวิธีการ
ซับซอนในการสืบคนขอมูลจากฐานขอมูลซึ่ง Apple Inc. นํามาใชเปนตนกําเนิดของระบบโตตอบ “Siri” ที่ใชใน
iPhone และเมื่อคดีอยูระหวางการพิจารณาคดีของศาล Apple Inc. ขอยอมความในคดีดังกลาวและยินยอมที่จะ
ชดใชคาเสียหายจํานวน 24.9 ลานดอลลารสหรัฐ ซึ่งแสดงใหเห็นวาสิทธิบัตรนั้นถือเปนทรัพยสินที่ไมมีรูปรางประเภท
หนึ่งที่มีมูลคาทางเศรษฐกิจสูง และควรอยูในขายของการบังคับคดี
เมื่อสิทธิบัตรเปนสังหาริมทรัพยไมมีรูปรางซึ่งมีมูลคาทางเศรษฐกิจจึงเปนประเด็นที่ควรศึกษาและวิเคราะห
วาหากลูกหนี้ตามคําพิพากษาเปนผูทรงสิทธิบัตร มาตรฐานและหลักเกณฑในการบังคับคดีตอสิทธิบัตรของลูกหนี้ตาม
คําพิพากษานั้นจะมีวิธีการดําเนินการตามแนวทางใดที่จะทํา ใหการบังคับคดีตอสิทธิบัตรของลูกหนี้มีประสิทธิภาพ
ดําเนินการขายทอดตลาดไดอยางรวดเร็ว และขายสิทธิบัตรในราคาที่ยุติธรรม
ในขณะนี้ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพง ซึ่งแกไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแกไขเพิ่มเติมประมวล
กฎหมายวิธีพิจารณาความแพง (ฉบับที่ 30) พ.ศ. 2560 ซึ่งตอไปนี้จะเรียกวา “ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความ
แพงภาคการบังคับคดีใหม” ไดแกไขเพิ่มเติมโดยวางหลักกําหนดประเภทของทรัพยที่อยูในความรับผิดแหงการบังคับ
คดีครอบคลุมถึงการบังคับคดีตอทรัพยสินที่ไมมีรูปรางของลูกหนี้โดยเฉพาะอยางยิ่ง สิทธิบัตรแล ว จึงมีประเด็นที่ตอง
ศึกษาวาบทบัญญัติของกฎหมายที่เกี่ยวของไดวางแนวทางและหลักเกณฑในการบังคับคดีตอทรัพยสินทางปญญาไว
อยางชัดเจนและมีประสิทธิภาพเพียงพอหรือไม ผูเขียนเห็นวาประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพงภาคการบังคับ
คดีใหม มาตรา 308 และ 309 ไดวางหลั กเกณฑประเภททรัพยสินของลูกหนี้ที่จะนํามาบังคับคดีใหครอบคลุมถึง
ประเภททรัพยสินที่มีอยูจริงในปจจุบันแลว แตอยางไรก็ตาม ยังไมปรากฏขอกฎหมายและอนุบัญญัติที่กําหนดวิธีการ
สํ า หรั บ การบั ง คั บ คดี ต อ สิ ท ธิ บั ต รไว ชั ด เจนเป น การเฉพาะ จึ ง อาจทํ า ให เ กิ ด ป ญ หาได ว า วิ ธี ก าร ที่ เ หมาะสมใน
กระบวนการบังคับคดีในสิทธิบัตรนั้นมีหลักเกณฑอยางไร ผูเขียนจึงวิเคราะหถึงประเด็นปญหาที่อาจเกิดจากขาด
หลักเกณฑการบังคับคดีตอสิทธิบัตรของลูกหนี้ตามคําพิพากษา
จากการศึกษาคนควา ผูเขียนขอสรุปผลการศึกษาดังนี้
1. ปญหาขาดหลักการและวิธีการบังคับคดีตอสิทธิบัตรที่มีประสิทธิภาพ
กฎกระทรวงกําหนด หลักเกณฑ วิธีการ และเงื่อนไขในการขายทอดตลาด พ.ศ. 2559 ใหคณะกรรมการ
กําหนดหลักเกณฑในการกําหนดราคาเริ่มตนและราคาที่สมควรขายในการขายทอดตลาดมีอํานาจกําหนดหลักเกณฑ
ในการกําหนดราคาเริ่มตนและราคาที่สมควรขาย ในการขายทอดตลาด และการวางหลักประกันการเขาเสนอราคา
โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา แตในปจจุบันไมปรากฎหลักเกณฑดังกลาว
ระเบียบกระทรวงยุติธรรม วาดวยการประเมินราคาทรัพย พ.ศ. 2557 ไดวางหลักเกณฑการประเมินราคา
ทรัพยไวเพียงหลักเกณฑการประเมินราคาสําหรับอสังหาริมทรัพย และสังหาริมทรัพยปกติ แตไมไดวางหลักเกณฑ
สําหรับประเมินราคาสิทธิบัตร หรือ ทรัพยสินทางปญญาไวเปนการเฉพาะ
การขาดหลักเกณฑการยึดสิทธิบัตร การประเมินราคาสิทธิบัตร เกณฑขายทอดตลาดสิทธิบัตรอาจทํา ให
เกิดผลที่ตามมาคือ
ก. ความลาชาในการบังคับคดีสิทธิบัตรทําให กระบวนการบังคับคดีสิทธิบัตรไมมีประสิทธิภาพ สงผลกระทบ
ตอสิทธิของเจาหนี้ตามคําพิพากษาที่สมควรจะไดรับการชําระหนี้เงินไดอยางครบถวนและรวดเร็ว
วารสารนิติศึกษาไทย 785

ข. การขาดเกณฑในการประเมินราคาสิทธิบัตรเพื่อหามูลคาสิทธิบัตรกอนดําเนินการยึดทรัพยเปนประเด็น
ปญหาหนึ่งที่อาจกอใหเกิดปญหาความลาชาและอาจกอใหเกิดปญหาการยึดทรัพยที่มีมูลคามากกวามูลหนี้ตามคํา
พิพากษาซึ่งตองหามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพงภาคการบังคับคดีใหมมาตรา 300
ค. สิทธิบัตรมีระยะเวลาคุมครองจํากัดตามกฎหมายสิทธิบัตร ระยะเวลาคุมครองสิทธิบัตรการประดิษฐ สูงสุด
ไมเกิน 20 ป สิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑและอนุสิทธิบัตรสูงสุด 10 ป นับจากวันที่ยื่นคําขอจดทะเบียน ความ
ลาชาในกระบวนการบังคับคดีที่เปนผลสืบเนื่องจากการไมมีหลักเกณฑยึด หลักเกณฑการประเมินราคาเริ่มตนที่
สมควรขายสิทธิบัตร อาจสงผลกระทบตอการไดรับความคุมครองสิทธิของผูซื้อทอดตลาดได
ผูเขียนพบวาในสหรัฐอเมริกา ประเมินมูลคาสิทธิบัตรโดยโดยวิธี Residual Valuation Method เปนวิธี
คํานวณมูลคาสิทธิบัตรที่จะแสดงใหเห็นถึง “ราคาเงา” (shadow prices) ของสิทธิบตั รที่จะขายหรือนํามาทอดตลาด
วิธีการประเมินราคาสิทธิบัตรแบบ Residual Valuation Method นิยมใชในกรณีผูทรงสิทธิบัตรเปนนิติบุคคล วิธีการ
จะคํานวณมูลคาของสิทธิบัตรจากมูลคาตามตลาดของตัวผูทรงสิทธิบัตร ไมวาจะเปนมูลคารวมของหุนรายตัว มูลคา
รวมรายอุ ต สาหกรรม หรือมู ล คา รวมของทั้ ง ตลาดหลั ก ทรัพ ย (Market Capitalization) หั กออกด ว ยมู ล คา ของ
ทรัพยสินที่มีรูปรางทั้งหมดของบริษัท และหักออกดวยมูลคาของทรัพยสินที่ไมมีรูปราง หรือมูลคาทรัพยสินทางปญญา
อื่น ๆ ที่ไมใชสิทธิบัตรหรืออนุสิทธิบัตรและจะไดผลลัพธเปนมูลคาของสิทธิบัตรที่ทําการประเมิน
แนวทางการประเมินราคาสิท ธิบัตรในสหภาพยุโรปมีแนวคิดวาควรประเมินมูลคาสิทธิบัตรโดยวิธีพื้นฐาน
เชน การประเมินมูลคาโดยวิธีการประเมินจากรายได (income approach) วิธีการประเมินจากราคาตลาด (market
approach) หรือ วิธีการประเมินจากราคาตนทุน (cost approach) แตตองใชวิธีการประเมินราคาตั้งแตสองวิธีขึ้นไป
ในการประเมินมูลคาสิทธิบัตรในแตละครั้งเพื่อนําราคาที่ประเมินไดในสองวิธีมาตรวจสอบยืนยันความถูกตอง (cross-
checked) วาราคาที่เหมาะสมอยางแทจริงที่ควรไดจากการประเมินราคาสิทธิบัตรนั้นควรมีมูลคาเปนเทาใด 1
หลักเกณฑและวิธีในการประเมินมู ลคาทรัพยสินทางปญญาเพื่อใชกํากับดูแลการประเมินมูลราคาทรัพยสิน
ทางปญญาที่จะนํามาจดทะเบียนเปนหลักประกันทางธุรกิจของประเทศไทยในปจจุบัน ใชแนวทางและหลักเกณฑการ
ประเมินมูลคาทรัพยสินทางปญญาของสมาคมผูประเมินมูลคาทรัพยสินแหงประเทศไทยและสมาคมนักประเมินราคา
อิสระไทยคือวิธีคิดรายไดจากกระแสเงินสดสุทธิและทอนเปนมูลราคาปจจุบันดวยแนวทางใชวิธีประเมินจากรายได
(income approach)
1. ปญหาการขาดเกณฑกําหนดคุณสมบัติของผูประเมินราคา หนวยงานที่มีความเชี่ยวชาญในกระบวนการ
บังคับคดีแพงสิทธิบัตร และเกณฑรับรอง และหนาที่รับผิดชอบ ในการประเมินราคาทรัพยและขายทอดตลาดดวย
สิทธิบัตรเปนทรัพยสินที่ไมมีรูปรางและมีเอกลักษณเฉพาะตัว การขายทอดตลาดสิทธิบัตรหรือการประเมิน
ราคาสิ ท ธิ บั ต ร จะต อ งดํ า เนิ น การโดยผู เ ชี่ ย วชาญเฉพาะด า นหรื อ องค ก รที่ มี ค วามรู ค วามเชี่ ย วชาญพิ เ ศษ ใน
กระบวนการประเมินราคาสิทธิบัตรเพื่อบังคับคดีแพง การยึดสิทธิบัตรเพื่อบังคับคดีแพง หรือการขายทอดตลาด
สิทธิบัตร ผูเขียนจึงมีความเห็นวา ประการแรก กรมบังคับคดีในฐานะเปนหนวยงานหลักที่มีหนาที่ในการประเมินราคา
ควรออกกฎกระทรวงแตงตั้งหนวยงานภายในที่มีหนาที่เฉพาะในการประเมินราคาทรัพยสินที่ไมมีรูปรางใหมีความ
เชี่ยวชาญในการประเมินราคาทรัพยสินทางปญญาเปนการเฉพาะ แยกออกมาเปนสวนงานภายในที่มีความเชี่ยวชาญ
พิเศษดานการประเมินราคาและกํากับดูแลการประเมินราคาทรัพยสินทางปญญา เพื่อใหการประเมินราคาทรัพยสิน
ทางปญญาแตละประเภทรวมถึงสิทธิบัตร มีแนวทางและหลักเกณฑที่ชัดเจน ประการที่สอง ตามที่ผูเขียนไดศึกษาและ
พบวาในสหรัฐอเมริกา ไดมีการยอมรับใหหนวยงานภายนอกกรมบัง คับคดี เขามามีบทบาทในการประเมิน ราคา
สิทธิบัตรเพื่อการบังคับคดี ซึ่งทําใหกระบวนยึด การประเมินราคาสิทธิบัตร และการขายทอดตลาดสิทธิบัตร ทําได
รวดเร็ว มีราคาประเมินที่ถูกตองใกลเคียงกับราคาที่แทจริง ทั้งนี้ ผูที่รองขอใหหนวยงานภายนอกทําการประเมิน

1
European Commission, “ Final report from the Expert Group on Intellectual Property Valuation,”
Retrieved on 16 March 2018, from https: / / ec. europa. eu/ research/ innovation- union/ pdf/ Expert_Group_
Report_on_ Intellectual_Property_Valuation_IP_web_2.pdf, p.19, 33.
786 Thailand Journal of legal Study

จะตองเสียคาใชจายตามอัตราที่ผูประเมินราคาไดแจงไวเปนแตละกรณี ผูประเมินราคาที่ไดรับการยอมรับอยาง
แพรหลายใหประเมินราคาทรัพยสินที่ไมมีรูปราง (intangible asset) ในสหรัฐอเมริกามีอยู 3 หนวยงาน2 ไดแก (1)
สมาคมผูสอบบัญชีรับอนุญาตแหงสหรัฐอเมริกา (2) สมาคมนักประเมินราคาทรัพยสินแหงสหรัฐอเมริกา (3) สมาคม
นักประเมินราคารับอนุญาตแหงสหรัฐอเมริกา
ผูเขียนจึงมีความเห็นวา กรมบังคับคดีควรวางแนวทางในการกํากับดูแลองคกรพิเศษที่มีความเชี่ยวชาญดาน
การประเมิ น ราคาหรื อหน ว ยงานภายนอกที่ จ ะเขา มามี บ ทบาทในการประเมิ น ราคาสิ ท ธิ บั ต ร โดยกํา หนดเป น
กฎกระทรวงหรือประกาศของกรมบังคับคดีใหองคกรภายนอกที่จะเขามาทําหนาที่เปนผูประเมินราคาในกรณีเฉพาะ
รายคดีนั้นจะตองอยูภายใตหลักเกณฑที่ประกาศโดยกรมบังคับคดีและทําหนาที่ในฐานะเปนตัวแทนของกรมบังคับคดี
2. หนาที่ในการดํารงไวซึ่งสิทธิในสิทธิบัตรระหวางกระบวนการบังคับคดีสิทธิบัตร
ผู ท รงสิ ท ธิ บั ตรมี หน าที่ ชําระค าธรรมเนีย มรายปแ กสิท ธิ บัต รของตนตามที่ กําหนดไว ในพระราชบัญญัติ
สิทธิบัตร พ.ศ. 2522 มาตรา 43 ทั้งนี้ หากผูทรงสิทธิบัตรไมไดชําระคาธรรมเนียมรายป สิทธิบัตรการจะถูกเพิกถอน
สิทธิในสิทธิบัตรจึงเกิดประเด็นที่ตองพิจารณาหลักเกณฑวาในระหวางการยึดสิทธิบัตร และรอการขายทอดตลาด
สิ ท ธิ บั ต รนั้ น หากครบกํา หนดชํ า ระค า ธรรมเนี ย มรายป หรือต ออายุ อนุ สิ ท ธิ บัตรในระหว างรอกระบวนการขาย
ทอดตลาด จะตกเปนภาระหนาที่ของฝายใด
3. หนาที่ความรับผิดชอบตอคําสั่งใหดําเนินการจากผูตรวจสอบสิทธิบัตร ในระหวางกระบวนการบังคับคดี
ในชวงระยะเวลาระหวางรอการขายทอดตลาดนั้น หากคําขอสิทธิบัตรไดรับคําสั่งจากผูตรวจสอบสิทธิบัตรให
กระทําการอยางใดอยางหนึ่งตามคําสั่ง ยกตัวอยางเชน คําสั่งใหนําสงเอกสารประกอบการพิจารณาขอรับสิทธิบัตร
หรือ คําสั่งใหแกไขรายละเอียดการประดิษฐ แกไขขอถือสิทธิสําหรับสิทธิบัตรการประดิษฐ หรือแกไขรูปเขียนสําหรับ
ภาพแสดงการออกแบบผลิตภัณฑ ซึ่งคําสั่งดังกลาวจากผูตรวจสอบสิทธิบัตรจะมีกําหนดระยะเวลาที่ชัดเจนเพื่อใหผู
ขอรับสิทธิบัตรดําเนินการตอบกลับและหากไมดําเนินการตามคําสั่งของผูตรวจสอบสิทธิบัตรคําขอรับสิทธิบัตรดังกลาว
จะถูกจําหนายออกสารบบของคําขอรับสิทธิบัตรในประเทศไทย
แนวทางแรก ผู เขีย นจึ ง มี ค วามเห็ น ว า ในช ว งระยะเวลาตามคํ า บัง คับยั งไม ครบกํา หนด เจ า หนี้ ต ามคํา
พิพากษามีสิทธิในการยื่นคําขอฝายเดียวตอศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพงภาคการบังคับคดีใหมเพื่อ
ศาลใหมีคําสั่งกําหนดวิธีการคุมครองประโยชนของตน หากเปนกรณี คําบังคับครบกําหนดแลวอํานาจหนาที่ของเจา
พนักงานบังคับคดียอมเกิดขึ้นตั้งแตวันที่ไดออกหมายบังคับคดี เจาพนักงานบังคับคดีจะมีฐานะเปนเจาพนักงานของ
ศาลมีอํานาจในการดําเนินการบังคับคดี อยางไรก็ตาม เจาพนักงานบังคับคดีมีอํานาจที่จะสั่งใหเจาหนี้ผูขอบังคับคดี
วางเงินคาใชจายเพื่อปฏิบัติตามวิธีการเพื่อคุมครองสิทธิของคูความในระหวางการพิจารณา หรือวางเงินคาใชจายเพื่อ
บังคับใหเปนไปตามคําพิพากษาหรือคําสั่งไดตามจํานวนที่เห็นจําเปนหากเจาหนี้ไมดําเนินการวางเงินคาใชจายเจา
พนักงานบังคับคดีงดการบังคับคดี นอกจากนี้ กําหนดใหเจาพนักงานบังคับ คดีหักคาธรรมเนียมรายปที่ชําระไวแลว
ออกจากกองเงินคาขายทอดตลาดสิทธิบัตรกอนจะชําระหนี้เงินใหแกเจาหนี้ตามคําพิพากษาตามสิทธิภายใต ประมวล
กฎหมายวิธีพิจารณาความแพงภาคการบังคับคดีใหม
แนวทางที่สอง หากไมปรากฎการขอคุมครองในระหวางรอการบังคับคดี ผูมีสวนไดเ สียอาจยื่นหนังสือถึง
อธิบดีกรมทรัพยสินทางปญญา อางเหตุจําเปนใหขยายกําหนดระยะเวลาในการดําเนินการใด ๆ เพื่อดํารงไวซึ่งสิทธิใน
สิทธิบัตรหรือสิทธิในการขอรับสิทธิบัตรแลวแตกรณี ตามพระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ. 2522 มาตรา 27 วรรคทาย
แตทั้งนี้จะขึ้นอยูกับดุลยพินิจของอธิบดีกรมทรัพยสินทางปญญาวา มีเหตุสมควรที่จะขยายระยะเวลาเพื่อการชําระ
คาธรรมเนียมหรือตอบกลับคําสั่งของผูตรวจสอบสิทธิบัตรหรือไม

2
Glenn Perdue, “Patent Valuation Standards in The United States Applying Existing Standards and
Terminology to A Developing Field of Practice,” les Nouvelles, 130, 131 (June 2013), Retrieved on 11 May
2016, from https://www.lesi.org/docs/default-source/lnjune2013/8_perdue-1r.pdf?sfvrsn=2.
วารสารนิติศึกษาไทย 787

บทสรุป
ผูเขียนเห็นวาควรนําแนวทางปฏิบัติประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพง ภาคการบัง คับคดี ใหม แ ละ
พระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ. 2522 มาเทียบเคียงเพื่อแกไขปญหาการบังคับคดีที่ไมมีประสิทธิ ภาพ และควรออก
กฎกระทรวงเปนอนุบัญญัติที่เกี่ยวของเพื่อใหการบังคับคดีในสิทธิบัตรมีประสิทธิภาพตามแนวทางดังนี้
1. กําหนดหลักเกณฑการประเมินราคาสิทธิบัตรที่เหมาะสมเพื่อเปนแนวทางวาควรประเมินโดยวิธีใด และให
ใชวิธีการประเมินตั้งแต 2 วิธีขึ้นไปเพื่อนํามาตรวจสอบและกําหนดราคาเริ่มตนที่ควรขายสิทธิบัตรใหเปนราคาที่
เหมาะสมที่สุด
2. ควรจัดตั้งหนวยงานภายในกรมบังคับคดี หรือจัดตั้งองคกรพิเศษที่มาทําหนาที่ประเมินราคาและขาย
ทอดตลาดสิทธิบัตรโดยกระทําการเสมือนเปนตัวแทนของเจาพนักงานบังคับคดี
3. เพิ่มเติมกฎกระทรวงเพื่อระบุหนาที่เพื่อดํารงไวซึ่งสิทธิในสิทธิบัตรหรือคําขอรับสิทธิบัตรในขณะที่รอการ
ขายตลอดตลาดเพื่อรักษาไวซึ่งสิทธิของผูมีสวนไดเสียในการบังคับคดี
788 Thailand Journal of legal Study

บรรณานุกรม

BOOKS

Dalloz Action. DROIT ET PRATIQUE DES VOIES D'EXÉCUTION. Paris: DALLOZ, 2002.
Gordon V. Smith and Russell L. Parr. Valuation of Intellectual Property and Intangible Assets. Canada
: John Wiley & Sons, Inc, 2000.
William J. Murphy. John L. Orcutt, Paul C. Remus. Patent Valuation. New Jersey, Canada: John Wiley
& Sons, Inc., 2012.

ELECTRONIC MEDIAS

European Commission. “ Final report from the Expert Group on Intellectual Property Valuation. ”
https: / / ec. europa. eu/ research/ innovation- union/ pdf/ Expert_Group_Report_on_
Intellectual_Property_Valuation_IP_web_2.pdf. March 16, 2018.
Glenn Perdue. “ Patent Valuation Standards in The United States Applying Existing Standards and
Terminology to A Developing Field of Practice.” les Nouvelles. 130. 131 (June 2013.),
https://www.lesi.org/docs/default-source/lnjune2013/8_perdue-1r.pdf?sfvrsn=2, May
11, 2016.
วารสารนิติศึกษาไทย 789

การดําเนินคดีอาญาของพนักงานอัยการโดยคํานึงถึงประโยชนสาธารณะ
EVALUATING PUBLIC INTEREST AND PROSECUTORIAL DISCRETION BY PUBLIC
PROSECUTORS
วรพรรณ ออนสีบุตร
Woraphan Onsibut
บทคัดยอ
บทความนี้มุงศึกษา หลักการดําเนินคดีอาญาโดยดุลพินิจของพนักงานอัยการซึ่งปรากฏอยูในการปฏิบัติงาน
ขององคกรอัยการ อันเปนองคกรที่สําคัญหนึ่งในการอํานวยความยุติธรรมและปกปองคุมครองสังคมจากอาชญากรรม
รวมทั้งรักษาผลประโยชนของประเทศชาติ พนักงานอัยการมีอํานาจและหนาที่ตามที่บัญญัติไว ในรัฐธรรมนูญและ
กฎหมาย มี อิ ส ระในการสั่ ง คดี แ ละปฏิ บั ติ ห น า ที่ โ ดยรวดเร็ ว เที่ ย งธรรม และสอดคล อ งกั บ หลั ก นิ ติ ธ รรม มี
พระราชบั ญ ญั ติ อ งค ก รอั ย การและพนั ก งานอั ย การ พ.ศ.2553 เป น กฎหมายสํ า คั ญ ที่ บั ญ ญั ติ ถึ ง หน า ที่ แ ละการ
ดําเนินงานไวเฉพาะ นอกจากนี้ ในการดําเนินคดีอาญา พนักงานอัยการจะยึดถือปฏิบัติตามประมวลกฎหมายวิธี
พิจารณาความอาญาและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวของในเรื่องนั้นๆดวย
พนักงานอัยการไทยยึดตามหลักดุลพินิจ เพราะกฎหมายมิไดบังคับใหจําตองฟองรองทุกคดีตอศาล และใหมี
ดุลพินิจพิจารณาวาการฟองคดีนั้นๆสังคมจะไดรับประโยชนจากการลงโทษจําเลยหรือไม ขณะเดียวกันการลงโทษ
ผูกระทําความผิดจะไมเปนการสรางภาระตนทุนใหกับกระบวนการยุติธรรมทางอาญา จากการศึกษาเปรียบเทียบ
หลายประเทศยึดถือแนวคิดหรือหลักการนี้เชนกัน ยกตัวอยางเชน อังกฤษ ฝรั่งเศส และญี่ปุน แตอยางไรก็ดี ใน
ประเทศไทยแนวทางการสั่งคดีที่เกิดขึ้นยังพอมีขอแตกตางกับประเทศอื่น ๆ ที่ไดยกมาขางตน เกิดปญหาความไม
ชัดเจนและมีขอจํากัดบางประการที่อาจเกิดปญหาอุปสรรคในการบังคับใชตลอดจนการปฏิบัติงาน นอกจากนี้ยังมี
ประเด็นปญหาการกําหนดขอบเขตของการพิจารณาสั่งคดีและเรื่องความทับซอนระหวางอํานาจการสั่งไมฟองคดี
โดยทั่วไปกับอํานาจใชมาตรการทางเลือกอื่นแทนการฟอง (Diversion) สงผลใหผูเขียนเกิดความสนใจในประเด็น
ดังกลาวและมีความพยายามนําเสนอหลักเกณฑที่เหมาะสมเปนแนวทางใหมใหกับการพัฒนากระบวนการใชดุลพินิจ
ของอัยการ

คําสําคัญ
การฟองคดีอาญา,การสั่งคดีอาญา,ดุลพินิจของอัยการ,การบริหารงานยุติธรรมเชิงสมานฉันท

ABSTRACT
This article aims to study Public prosecutors’ criminal prosecution is practiced in a form
called criminal proceedings by opportunity principle. Public prosecutors in Thailand have the
authority and duty as stated in the constitution and law to administer justice and protect society
from crime while guarding the nation’s interests. They have the freedom to publish prosecutorial
orders and must perform promptly, impartially and in conformity with the Public Prosecution Organ
and Public Prosecutors Act, B.E. 2553 (2010). In criminal proceedings, public prosecutors must
practice according to the Thai Criminal Procedure Code and other relevant laws.

นั ก ศึ ก ษาปริ ญ ญาโท หลั ก สู ต รนิ ติ ศ าสตรมหาบั ณ ฑิ ต สาขากฎหมายอาญา คณะนิ ติ ศ าสตร มหาวิ ท ยาลั ย
ธรรมศาสตร : woraphancp@yahoo.com
Graduate student of Master of Laws Program in Criminal Law, Faculty of Law, Thammasat University.
Email address : woraphancp@yahoo.com
790 Thailand Journal of legal Study

As in other countries, Thai public prosecutors schedule criminal prosecutions by discretion,


weighing the public interest against eventual costs and benefits. Yet unlike other countries, in
Thailand ambiguities remain in defining public interest, possibly causing enforcement problems. Thai
public prosecutors’ use of discretion in criminal prosecutions in the public interest were studied,
with comparative examples from the United Kingdom (UK), France, and Japan. Results were that in
Thailand, difficulties are caused by lack of clear definitions of prosecutorial limits and alternative
measures. Determining the Attorney General’s power to publish prosecutorial orders could cause
delays, worsened by lack of procedures and guidelines for public prosecutors to follow. Thailand
might consider drafting additional guidelines for these matters along the lines of codes already in
effect in the UK, France, and Japan. There, the type of criminal offense and characteristics and
motives of the offender determine impact upon the general public. A database on offender records
and non-prosecution orders to estimate future behavioral risk might encouraging problem-solving
participation. Thai public prosecutors might declare alternatives to obtaining the Attorney General’s
authorization for issuing prosecutions, making criminal proceedings more prompt and effective while
maintaining vital discretionary review and victim remedy procedures.

Keywords
Public prosecutor, Prosecutorial discretion, Restorative justice Public Prosecution Organ and
Public Prosecutors Act, B.E. 2553 (2010).
วารสารนิติศึกษาไทย 791

บทนํา
กระบวนการยุ ติ ธ รรมของไทยในทศวรรษป จ จุ บั น เป น เรื่ อ งที่ สั ง คมและประชาชนให ค วามสนใจ สื บ
เนื่ อ งมาจากความเปลี่ ย นแปลงของโลกยุ ค ป จ จุ บั น มี ค วามก า วหน า ทางเทคโนโลยี โดยเฉพาะ “Disruptive
Technologies” เปนที่แนนอนวากระแสความเปลี่ยนแปลงดังกลาว ยอมสงผลกระทบตอระบบกฎหมาย และแนวคิด
ดานการบริหารงานยุติธรรมไทยอยางหลีกเลี่ยงไมได ทําใหรัฐมีการทบทวนและหาแนวทางปองกันปญหาที่อาจจะ
เกิดขึ้นเพื่อสอดรับกับความกาวหนาของวิทยาการตางๆในยุคปจจุบัน ซึ่งการปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมก็เปนปจจัย
ดานหนึ่งที่รัฐกําลังพยายามหาแนวทางปรับปรุงและแกไขปญหา
ปญหาสําคัญในกระบวนการยุติธรรมประการหนึ่งคือ การอํานวยความยุติธรรมสูประชาชนยังไมบรรลุผล
เทาที่ควร โดยเฉพาะที่ผูเขียนมีความสนใจประเด็นเรื่องหลักการดําเนินคดีอาญาโดยดุลพินิจที่มีผลตอปญหาคดีลน
ศาล คนลนคุก และปริมาณคดีที่เพิ่มขึ้นอยางตอเนื่องทําใหฟนเฟองตางๆของกระบวนการยุติธรรมทางอาญาจะตอง
รับภาระหนักทั้งดานปริมาณงาน ทรัพยากร ตนทุน บุคลากรโดยไมจําเปน การนําคดีขึ้นสูกระบวนการศาลของ
หนวยงานตนทาง เชน ตํารวจ อัยการ มีหลายประเภทคดี แตจะมีคดีอาญาบางประเภทที่ไมป รากฏความรุนแรง หรือ
สงผลเสียหายนอยในทางอาญา หลายคดีที่เขาสูกระบวนการศาลไดรับการวิพากษวิจารณจากสังคมและสื่อมวลชน
ดังนั้น ในทางปฏิบัติการพิจารณาวาสังคมไดประโยชนอะไรจากการดําเนินคดีอาญาจึงเปนเรื่องที่ควรตระหนักถึง
โดยเฉพาะกับองคกรอั ยการที่มี บทบาทหน าที่สําคั ญในการดําเนิน คดี อาญาและเปนความมุ งหมายในการศึกษา
แนวทางและมาตรการตางๆของพนักงานอัยการที่มีสวนเกี่ยวของ โดยในบทความนี้จะไดกลาวถึงแนวความคิดและ
หลักการสําคัญเกี่ยวกับ การดําเนิน คดี อาญาของพนั กงานอัย การ การศึกษาเปรียบเทียบการพิจารณาประโยชน
สาธารณะของพนักงานอัยการตางประเทศ และบทวิเคราะหประกอบกับแนวทางเสนอแนะที่ผูเขียนเห็นวาเหมาะสม
ดังตอไปนี้
1. แนวความคิดและหลักการเกี่ยวกับการดําเนินคดีอาญาของพนักงานอัยการกับการพิจารณาประโยชน
สาธารณะ
โดยทั่วไปพนักงานอัยการมีหลักการดําเนินคดีอาญาใน 2 ลักษณะคือ การดําเนิ นคดีอาญาตามกฎหมายและ
โดยดุลพินิจ1 พนักงานอัยการยอมมีอํานาจพิจารณาสั่งคดีเมื่อมีการกระทําความผิดเกิดขึ้นและปรากฏตัวผูกระทํา
ความผิดประกอบกับมีหลักฐานเพียงพอที่จะฟองคดี ประการหนึ่งที่สําคัญในการฟองคดีตามหลักการดําเนินคดีอาญา
โดยดุลยพินิจ คือ การพิจารณาประโยชนสาธารณะประกอบดวยแสดงใหเห็นวา แมจะมีขอพิสูจนดานพยานหลักฐาน
ที่เพียงพอเกี่ยวกับการกระทําความผิดของผูตองหาอันจะสามารถฟองคดีไดก็ตาม แตเมื่อพนักงานอัยการเห็นวาไมมี
ความจําเปนในการฟองเพราะการสั่งฟองคดีจะไมเปนประโยชนตอสาธารณชนหรือไมมีประโยชนตอกระบวนการ
ยุติธรรมทางอาญา พนักงานอัยการยอมมีอํานาจสั่งไมฟองคดีได ดังนั้น การพิจารณาประโยชนสาธารณะจึงเปน
ขั้นตอนสําคัญประการหนึ่งในการใชดุลพินิจสั่งคดี เมื่อสถานการณใดมีประโยชนสาธารณะก็จะนําไปสูการดําเนินคดี
อาญา2 ในทางกลับกัน ถาเมื่อใดสถานการณนั้นมีแนวโนมวาจะใชตนทุนของสังคมมากจนเกินสัดสวนของประโยชนที่
ไดรับ ยอมไมควรที่จะดําเนินคดีอาญา สําหรับการกลั่นกรองคดีตามขอพิจารณาประโยชนสาธารณะเพื่อวินิจฉัยวา
การฟองคดีมีความจําเปนหรือไมนั้นมีความเปนอัตวิสัยหากไมมีหลักเกณฑประกอบการตัดสินใจ นอกจากนี้เมื่ อใช
อํานาจสั่งคดีแลวจะตองมีเหตุที่ยืนยันความสมเหตุสมผล และปราศจากขอโตแยงที่เปนหัวใจสําคัญของความเชื่อมั่น
ในกระบวนยุติธรรม ประเด็นนี้จึงมีความแตกตางกับการใชดุลพินิจพิจารณาพยานหลักฐานตามประมวลกฎหมายวิธี
พิจารณาความอาญาในมาตรา 143 ถึงมาตรา 145 เพราะการชี้วัดวาพยานหลักฐานมีเพียงพอหรือไมเปนเรื่องที่ยืนยัน
ไดโดยปราศจากขอโตแยงอยูในตัว

1
สุริยา ปานแปน และอนุวัฒน บุญนันท , หลักกฎหมายวาดวยองคกรอัยการและพนักงานอัยการ, พิมพครั้งที่ 4,
(กรุงเทพมหานคร : สํานักพิมพวิญูชน, 2559), น.135.
2
ปกปอง ศรีสนิท, กฎหมายอาญาชั้นสูง, (กรุงเทพมหานคร : สํานักพิมพวิญูชน, 2559), น.38.
792 Thailand Journal of legal Study

ความพยายามในการปรับปรุงและกําหนดหลักเกณฑในการสั่งคดีตามดานประโยชนสาธารณะเพื่อเปน
แนวทางใหกับพนักงานอัยการยึดถือปฏิบัตินั้น ในปพ.ศ.2554 มีการออกระเบียบสํานักงานอัยการสู งสุดวาดวยการสั่ง
คดีอาญาที่จะไมเปนประโยชนแกสาธารณชนหรือจะมีผลกระทบตอความปลอดภัยหรือความมั่นคงของชาติ หรือ
ผลประโยชนอันสําคัญของประเทศ พ.ศ.2554 ขึ้น คือ 1) การสั่งคดีที่จะไมเปนประโยชนตอสาธารณชน และ 2) การ
สั่งคดีที่เกี่ยวกับผลประโยชนและความมั่นคงปลอดภัยของชาติ ซึ่งมีองคประกอบในการพิจารณารูปคดีตางกัน และ
เมื่อไดพิจารณารูปเรื่อง ลักษณะคดีที่เกิดขึ้นแลวพนักงานอัยการถึงจะตัดสินใจวา ควรสั่งฟองหรือสั่งไมฟองตอไป
ตามที่เห็นสมควร เมื่อจะทําคําสั่งไมฟองคดีพนักงานอัยการจะตองแสดงเหตุผลประกอบ นอกจากนี้ยั งกําหนดให
พนักงานอัยการพิจารณาเหตุผลอื่นๆประกอบดวย ตามขอ 6 และ 7 ของระเบียบฉบับดังกลาว ซึ่งถือเปนแนวปฏิบัติ
ใหกับพนักงานอัยการยึดถือมาโดยตลอด
2. ขอพิจารณาประโยชนสาธารณะตอการดําเนินคดีอาญาของพนักงานอัยการในตางประเทศ
เมื่อศึกษาเปรียบเทียบกับประเทศอื่น ๆ มีประเด็นที่นาสนใจอันควรนํามาศึกษาเปนแนวทางดังนี้ ประเทศ
อังกฤษ พนักงานอัยการมีดุลพินิจและออกคําสั่งตาง ๆ โดยพิจารณาวาสถานการณใดการดําเนินคดีอาญาจําเปนตอ
ประโยชนสาธารณะก็จะออกคําสั่งฟอง ทางกลับกันสถานการณใดไมมีความจําเปนก็จะสามารถออกคําสั่งไมฟอง หรื อ
มี ท างเลื อกอื่ น ๆ อี ก 3 มี ตั ว อย า งหลายประการที่ ปรากฏอยู ในแนวทางปฏิบัติ ซึ่ง เรียกวา The Code for Crown
Prosecutors (7th edition, January 2013)4 กลาวถึงขั้นตอนการพิจารณาประโยชนสาธารณะของอัยการอังกฤษ
เชน ในการกระทําความผิดครั้งแรกและเปนความผิดที่แสดงออก ซึ่งพฤติกรรมไมเหมาะสม (Anti-social behavior)
อัยการอาจตักเตือนและคาดโทษได มีความเห็นวาการใชวิธีการเชนนี้โดยนัยยะก็คือ การไมฟองผูตองหา นอกจากนี้ยัง
พบแนวปฏิบัติอื่น ๆ ที่พนักงานอัยการใชออกคําสั่ง ตัวอยางเชน การสั่งคดีที่เกี่ยวกับยาเสพติด(โดยเฉพาะกัญชา) การ
ลักเล็กขโมยนอย ความผิดตามกฎหมายจราจรบางฐาน เหลานี้พนักงานอัยการมีดุลพินิจที่จะใชวิธีการตามแนวทางที่
เรียกวา An out-of-court disposal หรือนักวิชาการบางทานใหความหมายวา ความตกลงทางอาญา 5 สาระสําคัญ
ของการใชวิธีการเหลานี้ก็เพื่อใหโอกาสผูตองหาได ชดใชหรือเยียวยาความเสียหายกอนเมื่อบุคคลดังกลาวไดสํานึกผิด
และยินยอมที่จะทําใหความเสียหายเบาบางลง ก็เทากับวา ไมมีประโยชนหรือความจําเปนที่จะตองดําเนินคดีตาม
กระบวนการตอไป
สวนประเทศฝรั่งเศส มิไดระบุชัดเหมือนดังอังกฤษ แตมีบทบัญญัติมาตรา 40-1 กฎหมายวิธีพิจารณาความ
อาญา (Code of Criminal Procedure) ที่อนุมานไดวา พนักงานอัยการมีดุลพินิจที่จะสั่งคดีและไมจําตองฟองคดีทุก
คดีตอศาล โดยที่การฟองคดีจําตองมีความจําเปนตอกระบวนการและมีประโยชนสาธารณะ เมื่อใดที่ การกระทํา
ความผิดไดรับการแกไขเยียวยาจากผูเสียหายแลว หรือความเสียหายจากการกระทําความผิดมีนอยมาก หรือผูเสียหาย
มีสวนรวมในการกอใหเกิดความเสียหาย พนักงานอัยการอาจไมดําเนินคดีอาญาตอไป6
ทายสุดที่ไดศึกษาคือ ประเทศญี่ปุน แนวคิดในการพิจารณาประโยชนสาธารณะเพื่อดําเนินคดีอาญาของ
พนักงานอัยการมีความคลายคลึ งกับประเทศฝรั่งเศสมากดวยเหตุที่กระบวนวิธีพิจารณาความอาญาวางหลักระบบวิธี
คิดหรือนิติวิธีในลักษณะคลายคลึงกัน การดําเนินคดีอาญาโดยดุลพินิจหรือการพิจารณาประโยชนสาธารณะปรากฏอยู
ในมาตรา 248 กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาญี่ปุนและอัยการมักพิจารณาปจจัยสามประการอยา งกวางๆกลาวคือ

3
กนกศักดิ์ พวงลาภ, “รัฐธรรมนูญฉบับ 2560 กับการปฏิรูปคดีอาญาตองยอมลองผิดลองถูก และตองยอมเสียอะไร
บางอยาง,” มติชน (29 ธันวาคม 2560).
4
The code for crown prosecution, Retrieved on May 3, 2 0 1 7 , from https://www.cps.gov.uk/
publications/code_for_crown_prosecutors/.
5
อุทัย อาทิเวช, “มาตรการทางเลือก/มาตรการพิเศษในการดําเนินคดีอาญาการใชดุลพินิจของพนักงานอัยการกับ
การลดปริมาณคดีขึ้นสูศาล,” สืบคนเมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2559, จาก www.bpaccountant.com/images /sub_14115
60125/AJ%205% 2057.ppt.
6
ปกปอง ศรีสนิท, อางแลว เชิงอรรถที่ 2, น. 38.
วารสารนิติศึกษาไทย 793

1) ลักษณะ อายุ สภาพแวดลอมของผูกระทําความผิด 2) ความหนักเบาและพฤติการณของการกระทําความผิด 3)


สภาพการณภายหลังการกระทําความผิด 7 ขอสําคัญของการสั่งคดีกรณีที่พนักงานอัยการเห็นวา การฟองคดีอาจไมมี
ความจําเปน จึงทําใหตีความไดวา พนักงานอัยการมีทางเลือกซึ่งกฎหมายใหอํานาจคือ “การสั่งไมฟองคดี” กับ “การ
ชะลอฟอง” มีความแตกตางกันอยูพอสมควร เนื่องจาก การสั่งไมฟองคดีนั้น จะถูกจํากัดอยูเฉพาะความผิดที่มีโทษ
เล็กนอยเทานั้นเรียกวา Bizai Shobun8 ในขณะที่การชะลอฟองไมไดจํากัดแตเฉพาะคดีโทษเล็กนอย โดยมุงเนน
แนวนโยบายของกฎหมายอาญาและสอดคลองกับการปองกันสังคม
3. บทวิเคราะหการดําเนินคดีอาญาของพนักงานอัยการโดยคํานึงถึงประโยชนสาธารณะของประเทศไทย
สิ่งที่ผูศึกษาตั้งประเด็นและศึกษาเปรียบเทียบกลาวโดยสังเขปคือ
3.1 การนําหลักพิจารณาประโยชนสาธารณะตอการดําเนินคดีอาญามาใชในประเทศไทย
แนวทางการพิจารณาประโยชนสาธารณะเพื่อสั่งคดียังไมชัดเจน จากขอมูลสถิติคดีเผยแพรในเว็บไซดของ
สํ า นั กงานคดีกิจ การอั ย การสูง สุด ตั้ ง แต ป 2551-2559 พบว า คดีที่ อัยการสูงสุด สั่งไม ฟองเพราะการฟ องไมเปน
ประโยชนแกสาธารณชน จัดอยูในประเภทคดีอื่นๆซึ่งสํานักงานคดีกิจการอัยการสูงสุดไดรวบรวมและรายงานมีสถิติ
ตั้งแต 18-77 คดีตอป9 จากการศึกษาเปรียบเทียบพบวา หลักพิจารณาประโยชนสาธารณะที่มีอยูในประเทศซึ่งยกมา
ศึกษามีประเด็นที่แตกตางกับของประเทศไทย กลาวคือ ขั้นตอนพิจารณาประโยชนสาธารณะของพนักงานอัยการตาม
หลักการที่มีอยูในประเทศไทยยังไมปรากฏชัดเจนวา จะตองใชกับคดีทุกคดีที่เขามาสูความรับผิดชอบของพนักงาน
อั ย การหรือไม หรือใช กับ คดี ป ระเภทใดบาง หากพิ จารณาตามประมวลกฎหมายวิ ธี พิจ ารณาความอาญาจะไมมี
บทบัญญัติโดยตรงที่กําหนดไว จึงเปนขอตางกับในประเทศฝรั่งเศสและญี่ปุน ในขณะที่ประเทศอังกฤษ พนักงาน
อั ย การมี แ นวปฏิ บั ติ อ ยู ใ นกฎหมายที่ เ รี ย กว า Code for Crown Prosecutor ดั ง นั้ น หลั ก ของไทยจึ ง เหมื อนกับ
ประเทศอังกฤษ คือ ไปบัญญัติขั้นตอนดังกลาวไวในกฎหมายที่ใหอํานาจหนาที่อัยการกลาวคือ พระราชบัญญัติองคกร
อัยการและพนักงานอัยการ ขอแตกตางประการตอมาพบวาถึงแมอํานาจในการใชดุลพินิจสั่งคดีจะมีกฎหมายองคกร
อั ย การรับ รองไว แต ในสถานการณที่ พนักงานอั ยการเห็ นว า การสั่ ง ฟ อ งคดี อาญาอาจไม มี ความจํ าเปนหรือไมมี
ประโยชนสาธารณะ พนักงานอัยการแตละคนมีอํานาจเสนอความเห็นได แต ตองผานการตรวจสอบความเห็นโดย
หัวหนาอัยการ ไปจนกระทั่งอัยการสูงสุดเปนผูมีอํานาจสั่งคดี และประการสุดทายคือ การพิจารณาวา การดําเนิน
คดีอาญาจะมีประโยชนตอสาธารณชนหรือไมนั้น ในแตละประเทศอยูบนพื้นฐานที่วา พนักงานอัยการสามารถเลือกที่
จะออกคําสั่งใหเหมาะสมกับสถานการณ ความรุนแรง และความประพฤติหรือภูมิหลังของผูกระทําความผิด หาไดมี
ขอจํากัดวา ตองออกคําสั่งไมฟองคดีเทานั้น ดังนั้นผูเขียนมีความเห็นวา พนักงานอัยการไทยจึงประสบปญหาที่ยังไม
อาจแบงแยกไดวา การสั่งคดีของพนักงานอัยการเปนอํานาจหนาที่ในการสั่งยุ ติคดีหรือเปนรูปแบบหนึ่งของการผันคดี
ออกจากกระบวนการที่เรียกวา Diversion อีกทั้ง ยังมีความเห็นทางวิชาการที่หลากหลายและยังเปนขอถกเถียงกันอยู
สําหรับการใชแนวคิดกระบวนการผันคดีออกจากกระบวนการยุติธรรมกระแสหลัก นอกจากนี้เมื่อไดศึกษาแนวคิด
เรื่องการเบี่ยงเบนคดี ออกจากกระบวนการยุติธรรมทางหลัก (Diversion) ในชั้นพนักงานอัยการของตางประเทศทั้ง
อั ง กฤษ ฝรั่ง เศส และญี่ ปุ น ทํ า ให ท ราบว า พนักงานอั ยการมี อํา นาจในการสั่ งคดี ที่ หลากหลายและยื ดหยุ น เชน

7
Shigemitsu Dando, “System of Discretionary Prosecution in Japan,” The American Journal of
Comparative Law, Vol. 18, No. 3 (Summer, 1970 : American Society of Comparative Law, pp.524-526 อ า งถึ ง
ใน เกียรติขจร วัจนะสวัสดิ์, “ระบบการฟองคดีอาญาตามดุลพินิจของอัยการในญี่ปุน ,” ใน เอกสารประกอบคําบรรยายชั้น
ปริ ญ ญาโท กฎหมายวิ ธี พิ จ ารณาความอาญาชั้ น สู ง , น. 12-18. จั ด โดยคณะนิ ติ ศ าสตร มหาวิ ท ยาลั ย ธรรมศาสตร
กรุงเทพมหานคร, 2558.
8
David T.Johnson , The Japanese Way of Justice: Prosecuting Crime in Japan, (New York : Oxford
University Press, 2002), p.55.
9
สํ า นั ก งานคดี กิ จ การอั ย การสู ง สุ ด , “ข อ มู ล สถิ ติ ค ดี ,” สื บ ค น เมื่ อ วั น ที่ 5 มกราคม 2561, จาก http://www
.aff.ago.go.th/index.php/stat.
794 Thailand Journal of legal Study

คดีอาญาที่ผูตองหาเปนเด็กหรือเยาวชนก็จะมีมาตรการสั่งคดีที่พิเศษ คดีเกี่ยวกั บกฎหมายจราจรที่ไมจําตองขึ้นสูศาล


ก็มีมาตรการทางกฎหมายอื่นๆมารองรับ ขึ้นอยูกับลักษณะความผิด ความรุนแรงที่เกิดขึ้นเฉพาะเรื่องเฉพาะราย ความ
ยืดหยุนดังกลาวมิไดกอใหเกิดความลักลั่นหรือการบังคับใชกฎหมาย แตเปนเพราะองคกรอัยการมีบทบาทที่สําคัญมาก
ในการรักษาประสิทธิภาพในกระบวนการยุติธรรม ตองมีความเปนกลางและเปนธรรม ไมเพียงแตใชกระบวนการ
ยุ ติ ธ รรมทางอาญาเพื่ อ ลงโทษจํ า เลย แต จ ะต อ งคํ า นึ ง ถึ ง วั ต ถุ ป ระสงค ใ นการป อ งกั น สั ง คมทั่ ว ไป ( General
Prevention) ไปพรอมกับไดใหโอกาสผูกระทําผิดแกไขปรับปรุงพฤติกรรม สํานึกผิดและเข าไปอยูรวมกับสังคมอยาง
สงบสุขตอไป
ในมุมมองของผูเขียนจึงมีความเห็นวา การพิจารณาประโยชนสาธารณะในการดําเนินคดีอาญาของพนักงาน
อัยการไทย มิไดมีการตีความอยางเดียวกันกับหลักการของในหลาย ๆ ประเทศที่ไดยอมรับกระบวนการยุติธรรม
ทางเลือกอื่นที่มาเสริมกระบวนการฟอ งรองดําเนินคดีอาญาตอศาลโดยทั่วไป ดวยเหตุผลเรื่องนิติวิธี กระบวนการใน
ระหวางการพิจารณาซึ่งตองการขจัดขอขัดแยงหรือขอพิพาท รวมไปถึงสังคมยังขาดความรูความเขาใจในผลของการ
วินิจฉัยคดี ดังนั้น ขอบเขตหรือความหมายของการฟองคดีที่จะไมเปนประโยชนตอสาธารณชนในประเทศไทย จึงยังไม
อาจสรุปไดวา นํามาใชประกอบการพิจารณาสั่งไมฟองคดี หรือควรเปนหลักเกณฑทั่วไปที่จะใหดุลพินิจอัยการสั่งคดีให
เหมาะสม แบบเดียวกับการ Diversion ของพนักงานอัยการในประเทศอื่น ๆ นอกจากนี้ การสั่งไมฟองคดีดวยเรื่องไม
เปนประโยชนตอสาธารณชนไมเพียงแตจํากัดขอบเขตหรืออาจนิยามไดวาเปนคดีเล็กนอยเทานั้นหากเปรียบเทียบกับ
บางประเทศเชน ญี่ปุน หรือฝรั่งเศส เพราะในบางคดีที่เปนเรื่องนโยบายของรัฐตัวอยางเชน การบุกรุกปาสงวน หรือ
คดีปาไม เหลานี้ระเบียบก็เปดชองใหองคกรอัยการในฐานะหนวยงานหนึ่งในฐานะฝายบริหาร สามารถใชอํานาจหรือ
ดุลพินิจไมฟองรองหรือไมดําเนินคดีกับประชาชนได
อยางไรก็ดี เมื่อกฎหมายไทยยังคงใหอํานาจพนักงานอัยการสั่งไมฟองคดีในลักษณะดังกลาว ผูเขียนเห็นวา
ขอบเขตการพิจารณาตองสามารถอธิบายใหไดโดยปราศจากขอโตแยงโดยเฉพาะการให เหตุผล และหากเกิดผล
กระทบตอผูเสียหายหรือบุคคลผูที่มีสวนเกี่ยวของในคดีจะมีชองทางหรือโอกาสในการแกไขปญหาอยางไร
3.2 ปญหาของการกําหนดแนวทางการสั่งคดีอาญาที่จะไมเปนประโยชนตอสาธารณชน
พนักงานอัยการไทยใช “การพิจารณาประโยชนสาธารณะ”เพื่อประกอบการตัดสินใจสั่งฟองหรือไมฟอง
คดีอาญา ในขณะที่ประเทศอื่นๆไดพยายามแกไขปรับปรุงทั้งรูปแบบการดําเนินคดี และกลไกการทํางานขององคกร
ตาง ๆ ที่เกี่ยวของกับกระบวนการยุติธรรม เพื่อเสริมสรางประสิทธิภาพสอดคลองกับหลักการดําเนินคดีอาญาโดย
ดุลพินิจ (Opportunity Principle) ดังนั้น พนักงานอัยการจึงมีอํานาจพิจารณาและสั่งคดีใหเหมาะสมเปนแนวทางที่
ลดปญหาคดีลนศาล ขจัดคดีที่ไมกอใหเกิดความเสียหายรายแรงกับสังคมและ รักษาภาระตนทุนในการดําเนินคดีตา งๆ
ทําใหการพิจารณาประโยชนสาธารณะตอการดําเนินคดีอาญาของตางประเทศมีความหมายกวางกวาคําวา “ประโยชน
สาธารณะ”ในประเทศไทย
การกําหนดขอบเขตของการพิจารณาสั่งคดีเพราะเหตุวาการฟองคดีอาญานั้นไมเปนประโยชนตอสาธารณชน
กับ การใชมาตรการทางเลือกอื่นแทนการฟองคดีอาญา (Diversion) ในประเทศไทยมีปญหาอยางไรบางนั้น
ประการแรก ในแทบทุกประเทศที่พนักงานอัยการยึ ดถือหลักการดําเนินคดีอาญาโดยดุลพินิจ ลวนแลวแตมี
พื้นฐานของเรื่องประโยชนสาธารณะสนับสนุนอยู ไมวาพนักงานอัยการจะสั่งฟองคดี สั่งไมฟองคดี หรือเลือกใช
มาตรการอื่นๆที่กฎหมายให อํานาจ ผลลัพธคือ เพื่อใหการใช อํานาจตั ดสินใจในเรื่องนั้นไดสัดส วนกับประโยชน
สาธารณะแทบทั้งสิ้น
ประการที่สอง จากการศึกษากระบวนการดําเนินคดีอาญาของแตละประเทศ ทั้งประเทศอังกฤษ ฝรั่งเศส
ญี่ปุน ไดพัฒนามาตรการทางเลือกอื่นแทนการฟองคดีอาญามาชวยเสริมประสิทธิภาพในกระบวนการยุติธรรมและ
แกไขปญหาคดีลนศาล ขจัดคดีที่ไมจําเปนออกจากกระบวนการ โดยใหอัยการมีอํานาจในการใชดุลพินิจในลักษณะกึ่ง
ตุลาการได โดยในแตละประเทศก็มีมาตรการและการกําหนดขอบเขตที่แตกตางกันไป ซึ่งมีผูกลาววา ทางปฏิบัติจึง
วารสารนิติศึกษาไทย 795

ขึ้นอยูกับวา “...อัยการในแตละประเทศจะตีความวาคดีที่ไมเปนประโยชนสาธารณะ ในความหมายแคบกวางเพียงใด


ขึน้ อยูกับการยอมรับ และความเชื่อมั่นของประชาชนในประเทศตอระบบกฎหมาย...”10
ในประเทศไทย อํานาจสั่งไมฟองคดีอาญาดวยเหตุผลวา “การฟองคดีไมเปนประโยชนตอสาธารณชน”นั้น
หลักของมาตรา 21 พระราชบัญญัติองคกรอัยการและพนักงานอัยการประกอบกับระเบียบสํานักงานอัยการสู งสุดวา
ดวยการสั่งคดีอาญาที่จะไมเปนประโยชนตอสาธารณชนฯ พ.ศ.2554 มิไดจํากัดความรุนแรงของคดีไว จึงเปนขอ
แตกตางกับมาตรการทางเลือกอื่นแทนการฟอง (Diversion) โดยที่ปจจุบันกฎหมายชะลอการฟองของพนักงานอัยการ
ซึ่งมีหลักการหรือแนวคิดเรื่อง Diversion ยังคงอยูในขั้นตอนการรางและเสนอกฎหมายเพื่อบังคับใชเทานั้น ในขณะที่
หลายประเทศพนักงานอัยการมีมาตรการอื่นๆแทนการฟองคดี ซึ่งสาระสําคัญของหลักดังกลาวคือ การที่พนักงาน
อัยการอาจระงับหรือชะลอการฟองไวชั่วคราวเพื่อใหผูตองหาหรือจําเลยไดปฏิบัติตามเงื่อนไขอยางใดอยางหนึ่ งที่
กฎหมายบัญญัติไว ซึ่งมาตรการนี้จะกําหนดความรุนแรงของการกระทําความผิดไวเฉพาะเจาะจง มิไดใชกับคดีทุก
ประเภท เชน จะตองเปนความผิดซึ่งกระทําโดยประมาท หรือ อัตราโทษจําคุกไมเกินหาป เปนตน
ประเทศญี่ปุน มีมาตรา 248 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ใหอํานาจอัยการใชดุลพินิจสั่งคดีโดย
พิจารณาจากเหตุปจจัยที่กําหนดไวเพื่อวินิจฉัยวา การฟองคดีหรือการลงโทษผูกระทําความผิดมีความจําเปนตอ
กระบวนการยุติธรรมทางอาญาหรือไม หากไมจําเปนยอมไมควรสั่งฟอง และเมื่อผูเขียนไดศึกษาถึงเบื้องหลัง การ
กําหนดบทบัญญัติมาตราดังกลาว พบวา การสั่งไมฟองคดีตามมาตรา 248 นั้นมีเหตุผลเบื้องหลังมาจากแนวความคิด
การลดปริมาณคดีที่เขาสูศาลจึงใหอํานาจพนักงานอัยการในการกลั่นกรองคดี และผันคดีออกไปตามที่เห็นสมควร
นอกจากนี้ บทบัญญัติมาตรา 248 ยังใหอํานาจพนักงานอัยการชะลอการฟอง (Suspention) ดวย ดังนั้นผูเขียนเห็น
วา มาตรา 248 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาของญี่ปุนจึงเปนการ Diversion รูปแบบหนึ่ง มิใชเพียง
อํานาจสั่งไมฟองคดีเทานั้น ขอสังเกตประการหนึ่งคือ การสั่งไมฟองกับชะลอการฟองในญี่ปุนแทบจะไมมีความ
แตกตางที่เห็นไดอยางเดนชัดเพราะ ไมมีการกําหนดรูปแบบคดีที่จะเขาสูการพิจารณาหากเปรียบเทียบกับฝรั่งเศส คดี
ที่พนักงานอัยการฝรั่งเศสจะชะลอฟองไดจะตองเปนความผิดอาญาที่มีอัตราโทษจําคุกไมเกิน 5 ป เปนตน เมื่อเปน
เชนนี้แลว การกําหนดขอบเขตระหวางอํานาจการสั่งไมฟองคดีโดยทั่วไปกับชะลอการฟ องในประเทศญี่ปุนจึงไม
ชัดเจนเทาที่ควร มีความทับซอนกันอยูในบางประการ ซึ่งประเด็นปญหานี้คลายกับ ระเบียบสํานักงานอัยการสูงสุดวา
ดวยการสั่งคดีอาญาที่จะไมเปนประโยชนตอสาธารณชนฯ พ.ศ.2554 ของไทย
อยางไรก็ดี หากพิเคราะหจากกรณีศึกษาที่เกิดขึ้นในประเทศญี่ ปุน อัยการจะใชดุลพินิจสั่งไมฟองคดีตาม
มาตรา 248 นี้กับคดีเล็กนอยที่มีเพียงสองประเภทคือ คดีลักทรัพยกับคดีลวงละเมิดทางเพศและผูกระทําไดชดใชหรือ
เยียวยาความเสียหายที่ไดกระทําไปแลว ในขณะที่ประเทศฝรั่งเศสแบงแยกการสั่งไมฟองคดีกับชะลอฟองไวอยาง
ชั ด เจนกว า ประเทศญี่ ปุ น คื อหลั ก การชะลอฟ อ งของอั ย การต อ งมี การกํา หนดเงื่ อนไขอย า งใดอย า งหนึ่ ง และมี
องคประกอบเรื่องฐานความผิด อัตราโทษที่ตองพิจารณารวมไปถึงการพิจารณาความเสี่ยงของพฤติกรรมผูตองหาหรือ
ผูกระทําผิด โดยมีวิธีการชะลอหรือแขวนการฟองคดีไวกอนจนกระทั่งอัย การเห็นวา ผูตองหาไดปฏิบัติตามเงื่อนไข
อยางใดอยางหนึ่งที่มีวัตถุประสงคในการแกไขพฤติกรรมที่ไมพึงประสงคเรียบรอยแลว ดังนั้นจุดตัดหรือจุดแบงแยก
มาตรการชะลอฟองกับการสั่งไมฟองคดีจึงชัดเจนและมิไดอยูในขอบเขตเดียวกัน แตอยางไรก็ดีทั้งสองเรื่องตางมี
จุดประสงคเดียวกันคือ การผันคดีออกไปจากกระบวนการยุติธรรมกระแสหลักหรือ Diversion นั่นเอง ซึ่งประเทศไทย
นั้น ในทางปฏิบัติยังไมมีการนํามาตรการชะลอฟองมาใชกับคดีอาญา เวนแตเรื่องยาเสพติด คดีเด็กเยาวชนและคดี
ครอบครัว ดวยเหตุนี้ ทําใหการสั่งไมฟองคดีอาญาดวยเหตุผลวา การฟองคดีจะไมเปนประโยชนตอสาธารณชนจึงเปน
แนวทางสําคัญและควรมีหลักเกณฑที่ชัดเจนเพื่อใหพนักงานอัยการสามารถปรับใชกับการทํางานในเชิงปฏิบัติเพื่อ
สงเสริมใหกระบวนการยุติธรรมทางอาญามีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
ดังนั้น ประเด็นปญหาคือ นิยามคําวา คดีอาญาที่จะไมเปนประโยชนตอ สาธารณชนยังคลุมเครือ และแนวทาง
การพิจารณาประโยชนสาธารณะในประเทศไทยยังไมเอื้ออํานวยใหพนักงานอัยการใชอํานาจสั่งคดีไดอยางเหมาะสม

10
กนกศักดิ์ พวงลาภ, อางแลว เชิงอรรถที่ 3.
796 Thailand Journal of legal Study

3.3 การใชปจจัยอื่น ๆ ประกอบการพิจารณา


การศึกษาในหัวขอนี้พบวาการที่พนักงานอัยการจะใชดุลพินิจนั้น ขอมูลที่ใชตัดสินใจขึ้นอยูกับสํานวนการ
สอบสวนที่พนักงานอัยการไดรับมาจากพนักงานสอบสวน ซึ่งการพิจารณาประโยชนสาธารณะนั้นมีขอแตกตางจาก
การพิจารณาพยานหลักฐานตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาหากพยานหลักฐานออนพนักงานอัยการมี
อํานาจสั่งใหพนักงานสอบสวนทําการสอบสวนเพิ่มเติมได แตสําหรับการพิจารณาประโยชนสาธารณะนี้ไมมีหลักเกณฑ
ที่แนนอนวา ถาขอมูลไมเพียงพอในการสั่งคดีพนักงานอัยการสามารถสั่งสอบสวนเพิ่มเติมไดหรือไม อนุมานไดเพียงวา
พนักงานอัยการอาจใชขอเท็จจริงหรือขอมูลเทาที่มีในสํานวน ซึ่งหากมีความจําเปนจะต องอาศัยขอมูลนอกเหนือจาก
สํานวนคดี จะใชกระบวนการใด เชน การพิจารณาขอมูลเกี่ยวกับตัวผูกระทําความผิด ขอความเห็นของผูเสียหายหรือ
ผูไดรับผลกระทบ เปนตน ซึ่งหากประเด็นเหลานี้ไดรับการพิจารณาและมีการพัฒนากฎหมายขององคกรอัยการใน
อนาคตอาจกอเกิดประโยชนกับการปฏิบัติงานและกระบวนการยุติธรรมทางอาญาทั้งระบบ
ปญหาความไมชัดเจนของหลักเกณฑบางประการมีเหตุผลประการหนึ่งวิเคราะหไดจาก ในประเทศอื่นๆ
พนักงานอัยการใชปจจัยเหลานี้ไมเฉพาะแตเรื่องการไมฟองคดีที่ไมเปนประโยชนสาธารณะเทานั้น แตใชปจจัยตางๆ
เหลานี้ในการมองภาพรวมของคดี และเลือกออกคําสั่งไดวาสมควรใหผูกระทําความผิดไปสูกระบวนการใด เพื่อเปน
ประโยชนกับรัฐในการรักษากฎหมายพรอมกับคํานึงถึงภาระตนทุนที่จะตองใช ทําใหหลักเกณฑที่พนักงานอัยการได
พิ จ ารณาจากป จ จั ย ต า ง ๆ ที่ มี อยู ในหลั ก กฎหมายลดช อ งว า งเรื่ อ งความลั กลั่ น ของการวิ นิ จ ฉัย ข อ เท็ จ จริง และ
เอื้ออํานวยใหกับการวินิจฉัยกับขอเท็จจริงเปนรายกรณี
เหตุผลอีกประการหนึ่ง เมื่อพนักงานอัยการของไทยมีทางเลือกอยูสองทางระหวาง สั่งฟองคดีกับสั่งไมฟอง
คดี มาตรวัดในแตละปจจัยจําเปนจะตองมีและชัดเจนถึงขนาดเปนแนวปฏิบัติไ ด เปรียบเทียบไดกับการตีค วาม
พฤติการณในคดีตางๆที่ศาลใชเปนแนวบรรทัดฐานเพื่อใหเกิดความเปนธรรม ซึ่งเมื่อศึกษาจากแนวทางการสั่งคดีที่ไม
เปนประโยชนสาธารณะในประเทศไทยก็ยังไมชัดเจนเทาที่ควร และมีตัวอยางการปรับใชแกคดีนอย ซึ่งในบางประเทศ
มาตรวัดของแตละปจจัยอาจเกิดจากการวางระบบของกฎหมายที่ทําใหทราบไดวา ลักษณะการกระทําความผิดใดมี
ความรายแรงหรือไม เชน ประเทศฝรั่งเศส ลักษณะความรายแรงของการกระทําความผิดอาจอธิบายไดจากการแบง
ระดับโทษจากฐานความผิด แตประเทศไทยมิไดมีการแบงระดับความรายแรงของการกระทําไปในลั กษณะดังกลาว
ดังนั้นลักษณะความรายแรงของการกระทําความผิดจึงอาศัยพฤติการณแหงคดีเปนตัวกําหนด ซึ่งปจจุบันก็ยังไมมี
แนวทางที่ชัดเจนวา รายแรงถึงระดับใด เปนตน ประเด็นปญหานี้จึงอาจแกไขและปรับปรุงโดยการกําหนดแนวทาง
หรือตัวอยางคดีที่แบงแยกเปนประเภท หรือลักษณะคดีที่พนักงานอัยการควรนํามาวินิจฉัย
ประการที่สอง การนําไปใชในทางปฏิบัติองคกรอัยการจะออกแบบหรือวางแนวทางอยางไร ซึ่งที่มาของการ
กําหนดปจจัยในแตละขอดังกลาว มีพื้นฐานมาจากความพยายามในการปรับปรุงกฎหมายและพัฒนาองคกรอัยการให
สอดคลองกับหลักการดําเนินคดีอาญาโดยดุลพินิจ ที่ซึ่งรัฐธรรมนูญก็ไดรับรองและคุมครองอํานาจหนาที่ตามหลักการ
ดังกลาวใหกับองคกรอัยการตลอดมา และเมื่อมีการปรับปรุงแกไขแนวทางการปฏิบัติงานใหกับพนักงานอัยการไดมี
อิสระในการสั่งคดีเพื่ออํานวยความเปนธรรมในฐานะองคกรผูบังคับใชกฎหมายโดยเฉพาะกั บอํานาจในการกลั่นกรอง
คดีที่จะเขาสูกระบวนการยุติธรรมและนําตัวผูกระทําความผิดมาลงโทษ ในขณะเดียวกันพนักงานอัยการจะตอง
คํานึงถึงความไดสัดสวนในการคุมครองผลประโยชนหรือตนทุนของกระบวนการยุติธรรมดวย เพราะองคกรอัยการมี
บทบาทหนาที่เปนตัวแทนของรัฐในการดําเนินคดี อาญามิใชเพื่อประโยชนแกปจเจกชนเฉพาะราย การปรับปรุงและ
วางแนวทางปฏิบัติเชนนี้จึงมีความสําคัญกับการใชดุลพินิจของพนักงานอัยการในการกลั่นกรองและชั่งตรองผลไดเสีย
ของประโยชนสาธารณะเปนอยางมาก จากการศึกษาพบวาที่ผานมาแมมีระเบียบดังกลาวออกมาวางแนวทางในการ
วินิจฉัยคดีก็ตาม แตพนักงานอัยการไมอาจนําแนวทางไปใชในทางปฏิบัติไดอยางแทจริง ไมวาจะดวยปญหาการสราง
ขั้นตอนที่เปนการเพิ่มภาระในกระบวนการ ความลาชาที่เกิดจากการไมไดเปดโอกาสใหพนักงานอัยการผูรับผิดชอบ
สํานวนคดีมีอํานาจสั่งคดีดวยตัวเองโดยใหอํานาจชี้ขาดอยูที่อัยการสูงสุด และหลักเกณฑที่วางไวตองคนหาหรืออาศัย
แนวทางจากแนวคําวินิจฉัยเทานั้น วาคดีอาญาใดจะเขาองคประกอบคําวา คดีอาญาที่ไมเปนประโยชนสาธารณะ ซึ่ง
แมหนวยงานจะไดมีการเผยแพรตัวอยางคดีที่เปนแนวคําวินิจฉัยไว แตตัวอยางดังกลาวแสดงวา คดีอาญาที่ไมเปน
วารสารนิติศึกษาไทย 797

ประโยชนตอสาธารณชนในกรณีทั่วไป มีเพียงไมกี่คดี ตัวอยางเชน กรณีกระทําความผิดฐานขมขืนกระทําชําเราเด็ก


และตอมาภายหลังจําเลยกับผูเสียหายสมรสกัน หรือมีบุตรและอยูกินกันในภายหลัง กรณีนี้เปนแนวทางปฏิบัติที่เห็น
ไดชัดเจนวา เปนคดีอาญาที่ไมเปนประโยชนตอสาธารณชนที่พนักงานอัยการมีอํานาจสั่งไมฟองคดีหรือไมนําตัว
ผูกระทําความผิดเขาสูกระบวนการยุติธรรมตอไป แตพนักงานอัยการผูรับผิดชอบสํานวนคดีนี้ก็ไมอาจที่จะมีคําสั่งได
ดวยตนเอง ตองทําความเห็นตามลําดับชั้นจนกระทั่งรอคําสั่งชี้ขาดจากอัยการสูงสุด ซึ่งอาจใช ระยะเวลาในการ
พิจารณามากกวา ฟองคดีตอศาลแลวศาลมีคําพิพากษาเสียอีก หรือ กรณีการกระทําความผิดฐานลักทรัพยที่ราคา
เล็กนอย ซึ่งความผิดฐานลักทรัพยตามประมวลกฎหมายอาญาเปนความผิดอาญาแผนดินหรือที่รัฐเปนผูเสียหายดวย
แมวาทรัพยจะมีมูลคามากนอยก็มิใชองคประกอบสําคัญโดยถือวาครบองคประกอบอันเปนความผิดตาม มาตรา 334
ประมวลกฎหมายอาญาที่พนักงานอัยการจะตองดําเนินคดีอาญา แตพนักงานอัยการสามารถใชดุลพินิจเลือกวิถีทาง
คุมครองผลประโยชนรัฐเพื่อลดตนทุนการแบกรับภาระในกระบวนการได แตปรากฏวา ระเบียบดังกลาวก็ไมไดเปด
โอกาสอยางเต็มที่ใหพนักงานอัยการทําเชนนั้นได ปญหาหนึ่งคือ มาตรในการวัดมูลคาความเสียหายของการกระทํา
ความผิดกับตนทุนในกระบวนการเปนเรื่องอัตวิสัย ปญหาที่สอง แมมีตัวอยางคดีที่มีแนวการวินิจฉัยเรื่องการชั่ง
น้ําหนักมูลคาของความเสียหายก็ตองผานความเห็นตามลําดับขั้นตอน และอัยการสูงสุดเทานั้นที่มีอํานาจออกคําสั่งชี้
ขาด ผลคือ พนักงานอัยการผูรับผิดชอบคดีมักใชวิธีการฟองคดีตอศาลและใหองคกรศาลเปนผูทําหนาที่พิจารณา
พิพากษาตามกระบวนการตามปกติ ดังนั้นแนวทางที่เปนไปไดในการแกไขปญหา เห็นวาองคกรอัยการอาจนําหลัก การ
ซึ่งเปนแนวคิดในเชิงนิติเศรษฐศาสตรมาประยุกตใช และปรับปรุงระเบียบหลักเกณฑใหมีความเหมาะสม ทั้งนี้เรื่อง
ขอมูลหรือประวัติคดีโดยเฉพาะเกี่ยวกับตัวผูกระทําความผิดก็เปนเรื่องที่ควรใหความสําคัญอยางยิ่งกับการพิจารณาคดี
ประการที่สาม ขอมูลของผูกระทําความผิ ดหรือจําเลย ขอมูลของผูกระทําความผิดหรือจําเลย เปนเรื่องที่มี
ความสําคัญที่พนักงานอัยการมักจะตองใชพิจารณาประกอบเสมอ แตผูเขียนมีความเห็นวา ดวยกระบวนการดําเนิน
คดีอาญาของประเทศไทยมีการแบงแยกหนวยงานซึ่งรับผิดชอบหนาที่สืบสวนสอบสวนคดีอาญาและการฟองรองคดี
ออกจากกัน ทําใหเมื่อสํานวนคดีมาถึงความรับผิดชอบของพนักงานอัยการนั่นหมายความวา มีแตเพียงสํานวนคดีและ
พยานหลักฐานในสํานวนเทานั้นที่จะนํามาพิจารณา พนักงานอัยการมิใชหนวยงานตนทางที่ไดรับทราบขอมูลจาก
ผูเสียหายหรือเมื่อเกิดมีการกระทําความผิดโดยตรง ดังนั้น ขอมูลตางๆยอมปรากฏแตในสํานวนการสอบสวน
ปญหาคือ ขอมูลเหลานั้นเพียงพอตอการวินิจฉัยหรือไม หากพนักงานอัยการตองการขอมูลเพิ่มเติมจะกระทํา
เชนไรเนื่องจาก ไมมีกฎหมายบัญญัติไวโดยตรง หากพิจารณาประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา กฎหมายให
อํานาจพนักงานอัยการซึ่งใหพนัก งานสอบสวนสอบสวนเพิ่มเติมไดในกรณีที่พยานหลักฐานไมเพียงพอตอการฟองคดี
เทานั้น แตกรณีนี้เปนเรื่องในทางกลับกัน เพราะพนักงานอัยการอาจใชขอมูลในการสั่งไมฟอง ดังนั้น องคกรอัยการ
ควรตระหนักในประเด็นปญหานี้ดวยและอาจริเริ่มใหมีการจัดวางระบบ สามารถเขาถึงขอมูลเพื่อใชประกอบการสั่งคดี
และสรางมาตรฐานรวมกันทั้งภายในองคกรและระหวางหนวยงานทุกภาคสวนในกระบวนการยุติธรรมทางอาญา
4.มาตรการหรือแนวทางที่เหมาะสมอันจะนํามาพิจารณาแกไขปญหา
4.1 ประเภทคดีที่ควรนํามาพิจารณา
แนวทางของประเทศญี่ปุนและอังกฤษเปนแนวทางที่มี ความเหมาะสมอันจะนํามาพิจารณา ดวยวิธีการ
กําหนดแนวปฏิบัติเกี่ยวกับคดีเล็ก ๆ นอย ๆ (Minor offences) คดีที่เปนพฤติกรรมที่กอความเสียหายแกสังคมแต
มิใชอาชญากรรมรายแรง (Anti-social behavior) คดีที่ไมตองใชวิธีการฟองรองดวยคําฟองหรือที่เรียกวา วิธีการ
แบบรวบรัด (summary) หรือคดีที่ศาลมีแนวโนมวาจะไมลงโทษโดยใชการกําหนดโทษเปนเชิงสัญลักษณ (Nominal
Penalty) ที่ อาจเที ย บได กับ คดี ที่ ศ าลจะรอการลงอาญาหรื อ รอการลงโทษนั่ น เอง โดยเฉพาะบางคดี ที่ ผู เขีย นมี
ความเห็นวา คดีไมควรจะขึ้นสูกระบวนการศาล เชน คดีเกี่ยวกับการจราจร เมาแลวขับ คดีความรุนแรงในครอบครัว
คดีลักเล็กขโมยนอย สวนในประเทศญี่ปุน นิยามของคําวาคดีเล็กนอย พนักงานอัยการมีอํานาจสั่งยุติคดีหลังจากไดรับ
สํานวนการสอบสวนของตํารวจ เพราะเห็นวาเปนคดีที่ไมควรมีการดําเนินการตอไป การตัดสินใจยุติคดีบางคดีเขา
ขายคดีที่เรียกวา Bizai shobun ถูกนํามาใชเปนแนวปฏิบัติเรียก การดําเนินการเกี่ยวกับคดีเล็กนอย (disposition of
798 Thailand Journal of legal Study

trivial crime) ซึ่งใชเปนแนวทางบงชีว้ าคดีใดเขาขาย คดีเล็กนอย โดยสวนใหญจะเปนฐานความผิดลักทรัพย และฐาน


คุกคามลวงละเมิดทางเพศ มาตรฐานของคดีขึ้นอยูกับสภาพชุมชนนั้น ๆ
4.2 ความสัมพันธระหวางผูกระทําความผิด ผูเสียหาย และผลกระทบของสังคม
ความสัมพันธระหวางผูกระทําความผิด ผูเสียหาย และผลกระทบของสังคม มีความสําคัญอยางยิ่งกับการ
นํามาประกอบดุลพินิจเพื่อสั่งไมฟองคดี เนื่องจาก ในสถานการณที่พนักงานอัยการเห็นวา การฟองคดีจะไมเปน
ประโยชนตอสาธารณะชนยอมหมายถึง เหตุการณนั้นความเสียหายไดรับการเยียวยา และทุกฝายที่ไดรับผลกระทบ
เห็นพองกันวาสถานการณคลี่คลายลงแลวยอมที่จะใหอภัยแกกัน โดยผูกระทําผิดจะไดสํานึกผิดและจะกลับตัวกลับใจ
ไมประพฤติผิดอีกเมือ่ ไดรับโอกาสในการแกไขปญหาที่เกิดขึ้น
4.3 การจัดวางระบบและการเขาถึงขอมูล
การจัดวางระบบและการเขาถึงขอมูลเพื่อใชประกอบการสั่งคดีนั้นมีความจําเปนมากสําหรับพนักงานอัยการ
ในการวิเคราะหหรือวินิจฉัย อันเปนมาตรฐานที่สําคัญ จากประเด็นปญหาที่วา ขอมูลของผูกระทําความผิดหรือจําเลย
เปนเรื่องที่มีความสําคัญที่พนักงานอัยการมักจะตองใชพิจารณาประกอบเสมอ
4.4 การแสดงเหตุผลในคําสั่งและชองทางสําหรับผูเสียหาย
ตองแจงเกี่ยวกับการดําเนินการเพื่อใหผูที่ไดรับผลกระทบหรือมีสวนเกี่ยวของในการดําเนินคดีอาญาไดทราบ
และเมื่อไมพอใจในคําวินิจฉัยเชนนั้น ก็จะมีแนวทางแกไขหรือโอกาสเขาถึงกระบวนการยุติธรรมทางอาญาในฐานะ
ผูเสียหายเอง ดังนั้น ควรมีขอปฏิบัติใหกับพนักงานอัยการผูมีอํานาจสั่งคดีไดแจงคําสั่งและใหคําแนะนําแกผูที่ไดรับ
ผลกระทบโดยตรง เชน แนะนําชองทางเพื่อใหไดรับการเยียวยาความเสียหายในคดีนั้นตามความจําเปน
4.5 ผูมีอํานาจสั่งไมฟองคดีและแนวทางการทบทวนหรือตรวจสอบการสั่งไมฟองคดี
การสั่งไมฟองกรณีดังกลาวควรเปนดุลพินิจโดยแทข องอัยการที่ พิจารณาและสั่งคดี ดังนั้น ควรกําหนด
เพิ่มเติมในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาวา กรณี ดังกลาวเมื่อมิใชการสั่งคดีตามขั้นตอนของการพิสูจน
พยานหลักฐาน คําสั่งไมฟองคดีจึงไมตองดวยบทบัญญัติมาตรา 145 หรือ 145/1 นอกจากนี้ เพื่อความโปรงใสและ
เปนธรรมในการใชดุลพินิจของพนักงานอัยการ การตรวจสอบการใชดุลพินิจจึงมีความจําเปนอยางยิ่ง โดยผูเสียหาย
หรือผูที่ไดรับผลกระทบเกี่ยวของกับคดี ควรไดรับแจงเหตุผลและมีชองทางแนะนําสําหรับการแกไขปญหาตอไป

บทสรุป
องคกรอัยการเสมือนตัวแทนของรัฐหรือประชาชนสวนรวมที่มีอํานาจหนาที่หรือความรับผิดชอบตอการ
บังคับใชกฎหมายในลักษณะของการนําตัวผูกระทําความผิดกฎหมายหรือฝาฝนตอกฎระเบียบของสังคมมาลงโทษเพื่อ
เปนการยับยั้งหรือปองปรามมิใหเกิดความไมสงบเรียบรอย ในขณะเดียวกันก็เพื่อคุมครองผลประโยชนของรัฐในการ
บริหารจัดการทรัพยากรของสังคมสวนรวม โดยเฉพาะกับการนํามาใชในกระบวนการยุติธรรมทางอาญา หลักการ
ดําเนินคดีอาญาโดยดุลพินิจ (Opportunity Principle) มีความเหมาะสมถือจะเปนหลักยึดใหกับพนักงานอัยการของ
ไทย และกฎหมายไทยเองก็มี ตัว บทกฎหมายที่สอดรับดานประโยชนส าธารณะตอการดํ าเนินคดี อาญา ( Public
interest) อาศัยอํานาจตามพระราชบัญญัติองค กรอัย การและพนั กงานอัยการ พ.ศ.2553 มาตรา 21 วรรคสอง
ประกอบกับระเบียบสํานักงานอัยการสูงสุดวาดวยการสั่งคดีอาญาที่จะไมเปนประโยชนแกสาธารณชน หรือจะมี
ผลกระทบตอความปลอดภัยหรือความมั่นคงของชาติ หรือตอผลประโยชนอันสําคัญของประเทศ พ.ศ.2554
การริเริ่มพัฒนากฎหมายและองคกรอัยการคอยๆมีการผลักดันและระดมความคิด จากหลากหลายแงมุม มี
การรับเอาแนวความคิดจากประเทศอื่นๆที่มีมาตรการทางเลือกอื่นแทนการฟองคดีอาญามาใชและแกไขใหสอดคลอง
กับกระบวนการยุติธรรมทางอาญาของไทย ตัวอยางเชน พยายามผลักดันกฎหมายการใชมาตรการทางเลือกอื่นแทน
การฟ อ งคดี อ าญาหรื อ กฎหมายชะลอการฟ อ งซึ่ ง เป น แนวทางหนึ่ ง ที่ ช ว ยลดป ญ หาปริ ม าณคดี ที่ ไ หลบ า เข า สู
กระบวนการยุติธรรมทางอาญาเปนอยางมาก ประเด็นปญหาคือ การผลักดันกฎหมายดังกลาวยังมีการถกเถียงในเชิง
วิชาการและทฤษฎีกฎหมายในหลายแงมุมซึ่งทําใหรางกฎหมายดังกลาวยังไมถูกบังคับใช ดังนั้น ขอบเขตของการใช
ดุลพินิจโดยทั่วไปสําหรับอัยการไทยจึงยังคงจํากัดอยูใน 2 ประการคือ 1) สั่งฟองคดี 2) สั่งไมฟองคดี หากตอไปใน
วารสารนิติศึกษาไทย 799

อนาคตประเทศไทยจะใชกฎหมายมาตรการทางเลือกอื่นแทนการฟองออกมาใชบังคับในขณะที่มีอํานาจสั่งไมฟอง
คดีอาญาที่เห็นวาไมเปนประโยชนตอสาธารณชน ก็จําตองกําหนดขอบเขตใหชัดเจนขึ้น นอกจากนี้ เมื่อไดศึกษา
กระบวนการดําเนินคดีอาญาของประเทศไทย พนักงานอัยการจะมีอํานาจหนาที่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณา
ความอาญา ในการพิจารณาพยานหลักฐานเพื่อพิสูจนการกระทําความผิดของจําเลย ตามมาตรา 142-144 ผูเขียน
เห็นวา อํานาจหนาที่ในการพิสูจนการกระทําความผิดของจําเลย กฎหมายไดกําหนดขั้นตอนและกระบวนการไวชัด
แจง เชน เมื่อพิจารณาพยานหลักฐานแลวเห็นไดวา พยานหลักฐานไมเพียงพอเพื่อพิสูจนการกระทําความผิดก็อาจให
พนักงานสอบสวนดําเนินการหาพยานหลักฐานเพิ่มเติมหรือยุติการดําเนินคดี รวมทั้งกฎหมายยังไดกําหนดกลไกใน
การทบทวนคํ า สั่ ง ของพนั ก งานอั ย การไว ด ว ย ในทางกลั บ กั น ขั้ น ตอนที่ พ นั ก งานอั ย การจะพิ จ ารณาว า แม
พยานหลักฐานเพียงพอพิสูจนการกระทําความผิดและอัยการมีอํานาจวินิจฉัยวาคดีนั้นมีความจําเปนที่จะตองฟองรอง
หรือไมโดยคํานึงถึงประโยชนสาธารณะในการดําเนินคดีไมถูกกําหนดไว ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
แมอาจอาศัยอํานาจตามพระราชบัญญัติองคกรอัยการและพนักงานอัยการ พ.ศ.2553 ไดแตอาจเกิดความไมแนนอน
ชัดเจนในการปฏิบัติงานเทาที่ควร ประเด็นนี้ผูเขียนไดเล็งเห็นถึงและมีขอคิดเห็นวา ตัวบทกฎหมายควรจะไดรับการ
ปรับปรุงเพื่อความสอดคลองอยางเปนระบบในการบังคับใช ดังนั้นควรแกไขปรับปรุงทั้งในสวนประมวลกฎหมายวิธี
พิจารณาความอาญาและกฎหมายในสวนอํานาจหนาที่ของอัยการรวมทั้งตัวระเบียบที่กําหนดแนวทางปฏิบัติขยาย
ความใหชัดเจนขึ้น ซึ่งเดิมทีแนวทางในระเบียบและคดีที่เคยเกิดขึ้นนั้นยังมีลักษณะเปนการเฉพาะเรื่องเฉพาะรายและ
ขาดเหตุผลที่จะนํามาเปนแนวปฏิบัติได ประเด็นนี้บางครั้งอาจทําใหเกิดการวินิจฉัยที่ลักลั่นในบางกรณีปญหาที่เกิดขึ้น
ในสังคมตอๆมา การวางแนวปฏิบัติในบางกรณียังมีอุปสรรคตอการบังคับใช และขอจํากัดหลายประการ ดวยเหตุนี้
พนักงานอัยการจึงไมอาจใชดุลพินิจไดอยางเต็มที่ สงผลใหมีการฟองรองดําเนินคดีไปไมตองตรงวัตถุประสงคของการ
อํานวยความยุติธรรมสูประชาชนและการรักษาผลประโยชนของรัฐ การแบกรับตนทุนในการดําเนินคดียังคงมีปริมาณ
มากและใชตนทุนสูง เมื่อเปนเชนนี้ หลักเกณฑที่เหมาะสมเปนแนวทางใหมใหกับการพัฒนากระบวนการใชดุลพินิจ
ของอัยการ โดยเสนอใหมีการพิจารณาประเภทคดี พนักงานอัยการควรคํานึงถึงเหตุที่จะระงับคดีดวย โดยมีแนวทาง
คือ พิจารณาวาเปนคดีที่มีการกระทําความผิดประเภทใด พิจารณาวาคดีนั้นตัวผูกระทําเปนบุคคลเชนไร มีมูลเหตุจูงใจ
อยางไร คดีนั้นเปนคดีที่ไมมีผลกระทบกับสวนรวมเนื่องจากเปนกฎหมายเทคนิคหรือรัฐบัญญัติหรือไม เปนตน และมี
ความจําเปนจะตองศึกษาถึงผลกระทบของสังคมสวนรวม และความสัมพันธระหวางผูกระทําผิด ผูเสียหายและชุมชน
ดวยโดย มีเครื่องมือชวยสนับสนุนการสั่งคดีประเภทดังกลาว เชน จัดทําฐานขอมูลบันทึกประวัติผูกระทําความผิดและ
สั่งไมฟอง เพื่อนํามาประเมินความเสี่ยงดานพฤติกรรมของผูกระทําความผิดในอนาคต ใหมีหนวยธุรการคดีทําหนาที่
ชวยรวบรวมขอเท็จจริง รวมไปถึงสงเสริมการมีสวนรวมแกไขปญหาขอพิพาททางอาญา โดยใชกระบวนการยุติธรรม
เชิงสมานฉันท เพื่อเยียวยาความเสียหายและใหผูกระทําสํานึกผิดกลับตัวแกไขพฤติกรรมที่ไมพึงประสงคดวยตนเอง
อีกประการหนึ่งคือ การกําหนดใหอัยการสูงสุดเปนผูพิจารณา สั่งคดีที่ประเทศไทยยังมีขอแตกตางกับประเทศอื่นๆที่
พนักงานอัยการแตละคนผูซึ่งรับผิดชอบสํานวนสามารถสั่งคดีโดยการออกคําสั่งไมฟองเพราะเห็นวาการฟองคดีไมเปน
ประโยชนตอสาธารณะ องคกรอัยการอาจทบทวนแนวทางปฏิบัติดังกลาวอีกครั้งและ ในระยะแรกก็ไดมีขอคิดเห็น
และเสนอแนะวา ควรมีการปรับปรุงปรับเปลี่ยนแนวทางใหม เพื่อความรวดเร็วและประสิทธิภาพในการดําเนินคดีแ ตก็
ยังคงไวซึ่งหลักเกณฑการตรวจสอบดุลพินิจและชองทางแกไขเยียวยาสําหรับผูเสียหายในคดี หากมีการแกไขปรับปรุง
ประเด็นตางๆที่ไดนําเสนอยอมจะเกิดประโยชนและชวยลดภาระของกระบวนการยุติธรรมทางอาญา ยังใหเกิดความมี
ประสิทธิภาพในกระบวนการมากยิ่งขึ้นอยางแนนอน
800 Thailand Journal of legal Study

บรรณานุกรม

หนังสือ

คณิต ณ นคร. กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา. พิมพครั้งที่ 7. กรุงเทพมหานคร : สํานักพิมพวิญูชน, 2549.


ณรงค ใจหาญ. หลักกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา เลม 1. พิมพครั้งที่ 8. กรุงเทพมหานคร : สํานักพิมพวิญูชน,
2556.
ปกปอง ศรีสนิท. กฎหมายอาญาชั้นสูง. พิมพครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร : สํานักพิมพวิญูชน, 2559.
สุรศักดิ์ ลิขสิทธิ์วัฒนกุล. คําอธิบายการดําเนินคดีผูดํารงตําแหนงทางการเมือง. กรุงเทพมหานคร : สํานักพิมพวิญูชน
, 2545
สุ ริ ย า ปานแป น , อนุ วั ฒ น บุ ญ นั น ท . หลั ก กฎหมายว า ด ว ยองค ก รอั ย การและพนั ก งานอั ย การ. พิ ม พ ค รั้ ง ที่ 4.
กรุงเทพมหานคร : สํานักพิมพวิญูชน, 2559.
อุทัย อาทิเวช. รวมบทความกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาฝรั่งเศส. พิมพครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร : สํานักพิมพวี.
เจ.พริ้นติ้ง, 2554.

บทความวารสาร

กุลพล พลวัน. “การกลั่นกรองดุลพินิจอัยการ.” บทบัณฑิตย. 63. (มีนาคม) 2550 : 1-22


เกียรติขจร วัจนะสวัสดิ์. “ดุลยพินิจในการสั่งไมฟองคดีอาญาที่มีมูลของอัยการสหรัฐอเมริกา.” วารสารอัยการ. 1.
(มกราคม 2521) : 10.
น้ําแท มีบุญสลาง. “กระบวนการยุติธรรมทางอาญาของประเทศอังกฤษ.” จุลนิติ. (พฤศจิกายน. – ธันวาคม 2552) :
37-48.

วิทยานิพนธ

กิตติภา เทศทัพ. “การสั่งคดีที่ไมเปนประโยชนแกสาธารณชนในชั้นพนักงานอัยการ.” วิทยานิพนธมหาบัณฑิต คณะ


นิติศาสตร มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย, 2559.
เกรียงไกร จิระเรืองวงศ. “อํานาจฟองคดีปกครองของเอกชนที่เกี่ยวกับประโยชนสาธารณะ.”วิทยานิพนธมหาบัณฑิต
คณะนิติศาสตร มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย, 2555.
ชนิญญา ชัยสุวรรณ. “การใชดุลพินิจในการดําเนินคดีอาญาของอัยการ.” วิทยานิพนธมหาบัณฑิต คณะนิติศาสตร
จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย, 2526.
ศตเนติ เนติ ภัท รชู โ ชติ . “มาตรฐานการใช ดุ ล พิ นิ จ ของพนั กงานอั ย การเกี่ย วกั บ การสั่ ง คดี อ าญา.” วิ ท ยานิ พ นธ
มหาบัณฑิต คณะนิติศาสตร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร, 2552.
เสาวลักษณ แกวกมล. “การสั่งไมฟองคดีที่ไมเปนประโยชนสาธารณะ.” วิทยานิพนธมหาบัณฑิต คณะนิติศาสตร
มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย, 2554.
BOOKS

Johnson T. David. The Japanese Way of Justice: Prosecuting Crime in Japan. New York : Oxford
University Press, 2002.
Mcconville Mike, Sanders Andrew and RogerLeng. The case for the prosecution : police suspects and
the construction of criminality. London: Routledge, 1991.
วารสารนิติศึกษาไทย 801

ARTICLES

Dando Shigemitsu. “System of Discretionary Prosecution in Japan.” The American Journal of


Comparative Law 18, (1970).
802 Thailand Journal of legal Study

มาตรการทางกฎหมายในการลดการปลอยกาซเรือนกระจก โดยฉลากคารบอนฟุตพริ้นท
LEGAL MEASURES TO REDUCE GREENHOUSE GAS EMISSIONS BY CARBON
FOOTPRINT LABEL
วรัฏฐา สุขสภา1
Warattha Suksaphar
บทคัดยอ
ปจจุบันปญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศอันเนื่องมาจากการปลดปลอยกาซเรือนกระจกเปนปญหาสําคัญ
ที่นานาประเทศตางใหความสนใจ และไดมีการเตรียมความพรอมและหาแนวทางในการแกไขปญหาดังกลาว ทําให
เกิดการพัฒนามาตรการคารบอนฟุตพริ้นทซึ่งเปนเครื่องมือที่ชวยลดการปลอยกาซเรือนกระจกโดยผานผูผลิตและ
ผูบริโภค เพื่อเปนกลไกผลักดันใหเกิดการผลิตและการบริโภคที่เปนมิตรตอสภาพภูมิอากาศและเพื่อลดปริมาณการ
ปลอยกาซเรือนกระจก ทั้งนี้ปญหาดังกลาวจําเปนตองมีมาตรการเฉพาะมาควบคุ มและจัดการ เนื่องจากเปนปญหาที่
สําคัญและมีลักษณะเฉพาะแตกตางจากบทบัญญัติอื่น แตอยางไรก็ตามในขณะนี้ประเทศไทยยังขาดบทกฎหมายที่จะ
นํามาปรับใชกับมาตรการคารบอนฟุตพริ้นทเพื่อดําเนินงานลดปริมาณการปลอยกาซเรือนกระจก

คําสําคัญ
ฉลากคารบอนฟุตพริ้นท, กาซเรือนกระจก, ภาวะโลกรอน

ABSTRACT
Nowadays, the climate change issue due to the release of greenhouse gases is the crucial
issue that draws attention from various nations. Many countries are preparing and seeking the
solution to such issue. This leads to the development of carbon footprint measure as a tool reduce
the release of greenhouse gases by the producers and the consumers. It is believed that this carbon
footprint measure will be a mechanism that can push the production and the consumption to be
friendlier to the climate and also reduce the release of greenhouse gases. Due to its importance and
its specific nature, this issue need a specific measure to control and handle. However, at this moment
Thailand is still lack of the law to apply with the carbon footprint measure to reduce the release of
greenhouse gases.

Keywords
Carbon footprint label, Greenhouse gas, Global warming

1
นักศึกษาปริญญาโท หลักสูตรนิตศิ าสตรมหาบัณฑิต สาขากฎหมายทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดลอม คณะ
นิติศาสตร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร : w.warattha@gmail.com
Graduate Student of Master of Laws Program in Natural Resources and Environmental Law,
Faculty of Law, Thammasat University. Email address : w.warattha@gmail.com
วารสารนิติศึกษาไทย 803

บทนํา
ในปจจุบันปญหาการเพิ่มขึ้นของกาซเรือนกระจกสงผลกระทบอยางรุนแรงตอสภาพภูมิอากาศของโลก
สิ่งแวดลอม การดํารงชีวิตของมนุษยและสิ่งมีชีวิตตางๆ โดยกาซเรือนกระจก คือ บรรดากาซอันประกอบเปนสวนหนึ่ง
ของชั้นบรรยากาศทั้งที่มีอยูตามธรรมชาติและที่มนุษยสรางขึ้นซึ่งดูดซึมและปลอยรังสีอินฟาเรด 2 กาซเรือนกระจกจึง
เปนกาซที่มีคุณสมบัติในการดูดซับคลื่นรังสีความรอน หรือรังสีอินฟาเรดไดดี จึงมีความจําเปนตอการรักษาอุณหภูมิใน
ชั้นบรรยากาศของโลกใหคงที่ โดยที่ภาวะโลกรอนเกิดขึ้นจากการเพิ่มขึ้นของปริมาณการปลอยกาซเรือนกระจก อันมี
สาเหตุทั้งจากธรรมชาติและมนุษย ซึ่งจะสงผลกระทบตอโลกทั้งในดานของการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิ การเปลี่ยนแปลง
ของปริมาณและความถี่ของฝน ระดับน้ําทะเลเพิ่มสูงขึ้น ผลผลิตทางการเกษตร ระบบนิเวศเปลี่ยนแปลงไป สุขภาพ
อนามัย และผลกระทบตอการดํารงชีวิตมนุษยและสิ่งมีชีวิตตางๆ เพื่อมีการเตรียมความพรอมรับมือกับปญหาการ
เปลี่ ย นแปลงสภาพภู มิ อากาศจึ ง ได มี การประกาศกรอบอนุสั ญ ญาสหประชาชาติ ว าด วยการเปลี่ ยนแปลงสภาพ
ภูมิ อากาศ พิ ธี ส ารเกียวโต และขอตกลงปารีสเพื่ อนํามาใชเปนแนวทางในการจัดการแกไขปญหาดัง กลาว และ
นอกจากนี้เพื่อใหการดําเนินงานลดการปลอยกาซเรือนกระจกมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น จึงไดมีการพัฒนามาตรการ
คารบอนฟุตพริ้นทขึ้นมาเพื่อเปนแนวทางในการลดการปลอยกาซเรือนกระจกจากภาคการผลิตอีกทางหนึ่ง
มาตรการแสดงฉลากคารบอนฟุตพริ้นท
การริ เ ริ่ ม และพั ฒ นาคาร บ อนฟุ ต พริ้ น ท เ กิ ด จากข อ เรี ย กร อ งให มี ก ารดํ า เนิ น งานลดก า ซเรื อ นกระจก
ภายในประเทศแทนที่จะดําเนินการจัดซื้อคารบอนเครดิตผานกลไกการคาขายแลกเปลี่ยนกาซเรือนกระจกตามพิธีสาร
เกียวโต จึงทําใหเกิดการพัฒนาคารบอนฟุตพริ้นทเปนกลยุทธหนึ่งในการขับเคลื่อนการผลิตและการบริโภคที่คํานึงถึง
สภาพภูมิอากาศ
คารบอนฟุตพริ้นท หมายถึง ปริมาณการปลอยกาซเรือนกระจกตลอดวัฏจักรชีวิตของผลิตภัณฑ (Life Cycle
GHG emissions) ซึ่งนับรวมกิจกรรมตั้งแตตนน้ําจนทายน้าํ กิจกรรมตนน้ํา หมายถึง กิจกรรมการผลิตวัตถุดิบทุกชนิด
และยังรวมถึงภาชนะบรรจุ ตลอดจนการขนสงวัตถุดิบและภาชนะบรรจุไปโรงงาน สวนกิจกรรมทายน้ํา หมายถึง
กิจกรรมที่เกิดขึ้นนอกขอบเขตโรงงาน ไดแก การกระจายสินคาไปยังผูซื้อหรือผูบริโภค การใชงาน และการจัดการของ
เสียหลังหมดอายุการใชงาน ซึ่งเปนการนับรวมการปลอยกาซเรือนกระจกตั้งแตผลิตภัณฑเกิดจนตาย 3 โดยคารบอน
ฟุตพริ้นทจะพิจารณาจากกาซเรือนกระจก ไดแก คารบอนไดออกไซด (CO2) มีเทน (CH4) ไนตรัสออกไซด (N2O)
ไฮโดรฟลูออโรคารบอน (HFCs) เปอรฟลูออโรคารบอน (PFCs) ซัลเฟอรเฮกซาฟลูออโรคารบอน (SF6) ดังนั้นฉลาก
คารบอนฟุตพริ้นทจึงเปนฉลากสิ่งแวดลอมที่แสดงขอมูลการปลอยกาซเรือนกระจกตลอดวัฏจักรของผลิตภัณฑ ซึ่ง
สามารถสื่อสารถึงขอมูลการปลอยกาซเรือนกระจกระหวางผูผลิตและผูบริโภค ทําใหเปนขอมู ลประกอบการตัดสินใจ
ซื้อสินคาของผูบริโภค อีกทั้งยังเปนการกระตุนใหผูผลิตเกิดการพัฒนาปรับปรุงเทคโนโลยีในการผลิตใหเปนมิตรตอ
สภาพภูมิอากาศมากขึ้น
แนวนโยบายและมาตรการทางกฎหมายของตางประเทศ
1. สหรัฐอเมริกา
มาตรฐานคารบอนฟุตพริ้นทถูกพัฒนาโดยองคกรชื่อ Carbon Fund โดยการประเมินคารบอนฟุตพริ้นทจะ
ใชเทคนิค Life Cycle Assessment (LCA) ขณะนี้ในมลรัฐแคลิฟอรเนีย รัฐบาลทองถิ่นไดใหความสําคัญกับมาตรการ
คารบอนฟุตพริ้นท มีการออกกฎหมาย The Carbon Labeling Act of 2009 เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2008 ซึ่งเปน
กฎหมายเกี่ยวกับการดําเนินงานลดการปลอยกาซเรือนกระจกและฉลากผลิตภัณฑ โดยกฎหมายฉบับนี้มีวัตถุประสงค
ในการปรับปรุงคุณภาพอากาศเพื่อลดการปลอยกาซเรือนกระจกและบรรเทาภาวะโลกรอน อีกทั้งเพื่อใหมีการพัฒนา
ดําเนินการ และตรวจสอบดานการติดฉลากคารบอนฟุตพริ้นทในผลิตภัณฑที่วางจําหนายในมลรัฐแคลิฟอรเนีย โดย

2
UNFCCC, “United Nations Framework Convention on Climate Change,” Retrieve on January 20,
2018, https://unfccc.int/resource/docs/convkp/conveng.pdf.
3
รัตนาวรรณ มั่งคั่ง, คารบอนฟุตพริ้นท, (กรุงเทพมหานคร : บริษัท อัฟโฟรเอป จํากัด, 2558), น.5.
804 Thailand Journal of legal Study

ปจจุบันนี้สินคาอุปโภคบริโภคหลายชนิดในมลรัฐแคลิฟอรเนียมีการแสดงฉลากคารบอนฟุตพริ้นทเพื่อชวยใหผูบริโภค
มีสวนสงเสริมการปลอยคารบอนต่ํา โดยในกฎหมายฉบับนี้มีการกําหนดหลักเกณฑและแนวทางในการแสดงฉลาก
คารบอนฟุตพริ้นท หนวยงานที่รับผิดชอบ โดยจะมีฉลากคารบอน 3 ประเภท ไดแก ฉลาก Low-Carbon Seal ฉลาก
Carbon Score และ ฉลาก Carbon Rating4 การบังคับใชกฎหมายฉบับนี้ยังคงเปนมาตรการโดยสมัครใจสําหรับ
ผูผลิตที่มีความใสใจในสิ่งแวดลอม และสนใจเขารวมโครงการแสดงฉลากคารบอนฟุตพริ้นทบนผลิตภัณฑ
2. สาธารณรัฐฝรั่งเศส
สาธารณรัฐฝรั่งเศสมีการกําหนดแนวทางการใชฉลากดานสิ่งแวดลอมสําหรับผลิตภัณฑ โดยมีแนวคิดวาการ
ติดฉลากที่เกี่ยวของกับผลกระทบตอสิ่งแวดลอมอันเกิดจากกระบวนการผลิตโดยตลอดวัฏจักรชีวิตของผลิตภัณฑ จะ
ชวยใหผูบริโภคใชขอมูลนี้เปนเกณฑ ในการตัดสินใจเลือกซื้อสินคา และเกิดการเปรียบเทียบปริมาณการปลอยกาซ
เรือนกระจกในระหวางผลิตภัณฑ ซึ่งจะชวยสนับสนุนใหผูผลิตและผูบริโภคมีสวนรวมในการชวยลดผลกระทบตอ
สภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดลอมมากยิ่งขึ้น สําหรับภาคเอกชนที่มีการดําเนินการดานฉลากคารบอน คื อ หางคาปลีก
Casino Gropue ที่เปนผูริเริ่มพัฒนาฉลากคารบอนในสาธารณรัฐฝรั่ง เศส โดยไดทําการพัฒนาฉลากคารบอน I’
Indice Carbone Lebel’ ดวยเทคนิคการประเมินวัฏจักรชีวิตของผลิตภัณฑ ตอมาในป พ.ศ. 2551 หางคาปลีก E.
Leclerc เปนภาคเอกชนที่สองที่ติดฉลากคารบ อนฟุตพริ้นทบนชั้นวางรายการสินคา นอกจากนี้ยังแสดงคาคารบอน
ฟุตพริ้นทรวมในใบเสร็จการซื้อสินคาอีกดวย5 และในป 2554 สาธารณรัฐฝรั่งเศสเริ่มโครงการทดลองการติดฉลากบน
ผลิ ต ภัณ ฑ ที่ว างจําหน ายในฝรั่งเศสเปนเวลาอย างน อย 1 ป โดยมี บ ริษั ทผู ผลิต และผู จํา หนายผลิต ภัณ ฑ เขารวม
โครงการ 168 บริษัทครอบคลุมกวา 1,000 ผลิตภัณฑ
มาตรการฉลากคารบ อนฟุ ตพริ้นทไดมี การกํา หนดไวในมาตรา 228 ของ Grenelle II Act ซึ่งกําหนดว า
นับตั้งแตวันที่ 1 กรกฎาคม 2554 เปนตนไป เพื่อที่จะใหขอมูลแกผูบริโภคอยางรอบคอบ ผูผลิตจะตองแจงขอมูล ใน
สวนที่เกี่ยวกับคารบอนฟุตพริ้นทของผลิตภัณฑและบรรจุภัณฑ รวมถึงการใชประโยชนจากทรัพยากรธรรมชาติหรือ
ผลกระทบตอสิ่งแวดลอมที่เกี่ยวของกับผลิตภัณฑเหลานั้นตลอดวัฏจักรของผลิตภัณฑ ซึ่งการแสดงขอมูลนี้ตอง
เกี่ยวของกับผลิตภัณฑโดยพิจารณาจากการประเมินวัฏจั กรชีวิตของผลิตภัณฑ (LCA) ซึ่งการที่จะสามารถติดฉลาก
ดานสิ่งแวดลอมนี้ไดตองประกอบดวยเงื่อนไขเบื้องตน ไดแก ตองเปนขอมูลที่เชื่อถือไดและสามารถตรวจสอบความ
นาเชื่อถือของขอมูลได การดําเนินโครงการนี้ก็เพื่อเปนการสงเสริมใหบริษัทผูผลิตคํานึงถึงผลกระทบดานสิ่งแวดลอม
จากกิจกรรมการผลิตของตนมากยิ่งขึ้น และปรับกลยุทธดานสิ่งแวดลอมของตนใหม โดยใหมีการคํานึงถึงผลกระทบ
ตอสภาพภูมิอากาศดวย ซึ่งผลของการทดลองโครงการนี้ไดรับการตอบรับอยางดีจากทั้งดานผูผลิตและผูบริโภคที่มี
ความสนใจในสิ่งแวดลอมและปญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ปจจุบันการแสดงฉลากของสาธารณรัฐฝรั่งเศส
เปนการประกาศขอมูลคารบอนฟุตพริ้นทหรือการปลอยกาซเรือนกระจกดวยตนเองจากบริษัทผูผลิต ซึ่งในขณะนี้การ
ใชมาตรการแสดงฉลากคารบอนฟุตพริ้นทยังคงเปนไปโดยสมัครใจ ขึ้นอยูกับความสมัครใจของบริษัทผูผลิตเปนสําคัญ
แตในอนาคตสาธารณรัฐฝรั่งเศสมีแนวโนมจะใหดําเนินการเปนมาตรการบังคับตามกฎหมายตอไป
3. สหราชอาณาจักร
สหราชอาณาจักรในอดีตไดชื่อวาเปนประเทศหนึ่งที่ปลอยกาซคารบอนไดออกไซดสูชั้นบรรยากาศในปริมาณ
ที่สูง และไดรับผลกระทบจากปญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอยางมาก จึงตระหนักถึงความสําคัญของปญหา
ภาวะโลกรอน โดยเปนประเทศแรกที่มีการพัฒนามาตรฐานเฉพาะสําหรับการวิเคราะหคารบอนฟุตพริ้นท (PAS
2050) ที่อาศัยพื้นฐานจากเทคนิคการประเมินวัฏจักรชีวิต (LCA) โดยคาดหวังวาการดําเนินโครงการฉลากคารบอน
ฟุตพริ้นทนี้จะเปนหนึ่งในกิจกรรมที่ชวยลดการปลอยกาซเรือนกระจกอันจะชวยบรรเทาปญหาสภาวะโลกรอนจาก

4
องคการบริหารจัดการกาซเรือนกระจก (องคการมหาชน), “คารบอนฟุตพริ้นทของผลิตภัณฑ,” สืบคนเมื่อวันที่ 7
กรกฎาคม 2561, จาก http://thaicarbonlabel.tgo.or.th/products _is/products_is.pnc.
5
สถาบันระหวางประเทศเพื่อการคาและการพัฒนา (องคการมหาชน), เก็บภาษีคารบอน : เครื่องมือลดโลกรอน,
(กรุงเทพมหานคร : บริษัท ไอดี ออล ดิจิตอล พริ้นท จํากัด, 2556), น.65.
วารสารนิติศึกษาไทย 805

ภาคอุตสาหกรรม การผลิต การขนสง และบรรจุภัณฑ ซึ่งการแสดงขอมูลคารบอนฟุตพริ้นทสามารถทําไดโดยการติด


ฉลากคารบอนฟุตพริ้นทบนผลิตภัณฑหรือภาชนะบรรจุ รวมทั้งการแสดงขอมูล ณ จุ ดขาย ในรายงานประจําป แผน
พับ บัญชีรายชื่อสินคา หรือบนเว็บไซด
ในขณะนี้การแสดงฉลากคารบอนฟุตพริ้นทยังคงเปนมาตรการโดยสมัครใจ และเปนเพียงนโยบายของรัฐยัง
มิไดมีบทบัญญัติของกฎหมายรองรับ แตอยางไรก็ตามมาตรการฉลากคารบอนฟุตพริ้นทก็ไดรับความสนใจอยางมาก
จากผูผลิตสินคาอุปโภคบริโภค โดย Tesco Plc. ซุปเปอรมารเก็ตรายใหญไดเริ่มติดฉลากคารบอนฟุตพริ้นทบอก
จํานวนคารบอนที่ปลอยออกมาบนภาชนะบรรจุสินคาภายใตตราสินคา Tesco ประมาณ 20 รายการ วางขายใน
Tesco ทั่วประเทศ ซึ่งเปนผูผลิตแรกๆที่ดําเนินงานรวมกับ Carbon Trust โดยใชมาตรฐาน PAS ในการคิดคํานวณ
คารบอนฟุตพริ้นท และบริษัท (ERM) Emergent Ventures India Pvt. Ltd. เริ่มติดในผลิตภัณฑประเภทมันฝรั่ง
ทอดกรอบ Walkers Crisps และแชมพูที่มีสวนผสมของพืชธรรมชาติ เปนตน นอกจากนี้ยังพบวาในสหราชอาณาจักร
ผู บ ริโ ภครอยละ 66 ต องการทราบจํา นวนคารบอนฟุต พริ้นท ที่ปลอยจากภาคการผลิ ตสิ นคา อีกทั้ ง ป จ จุบันไดมี
โปรแกรมการคํานวณคารบอนฟุตพริ้นทออกวางจําหนายแลว6
นอกจากนี้ รั ฐ บาลของสหราชอาณาจั ก รยั ง ได ป ระกาศ The Companies Act 2006 (Strategic and
Directors’ Report) Regulations 2013 ที่กําหนดใหบริษัทจะตองรายงานการปลอยกาซเรือนกระจกประจําปใน
รายงานของคณะกรรมการบริษัท ขอบังคับนี้จะทําใหบริษัทผูผลิตทราบถึงปริมาณการปลอยกาซเรือนกระจกของ
บริษัทซึ่งถือวาเปนขอมูลพื้นฐานในการพัฒนากลยุทธ เทคโนโลยี และกําหนดเปาหมายในการดําเนินงานซึ่งอาจชวย
ลดปริมาณการปลอยกาซเรือนกระจกและตนทุนในการกระบวนการผลิต ถือเปนกาวที่สําคัญสําหรับบริษัทในการ
รวมกันลดปริมาณกาซเรือนกระจก นอกจากนี้หากมีการบังคับใชมาตรการคารบอนฟุตพริ้นทในอนาคต การที่บริษัทมี
การคํ า นวณปริ ม าณการปล อ ยก า ซเรื อ นกระจกไว แ ล ว จะทํ า ให ก ารดํ า เนิ น งานมาต รการคาร บ อนฟุ ต พริ้ น ท มี
ประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
4. ญี่ปุน
ญี่ปุนเปนประเทศหนึ่งที่มีความสนใจในปญหาสิ่งแวดลอมและสภาพภูมิอากาศเปนอยางมาก รัฐบาลญี่ปุนจึง
มีแผนการดําเนินงานเพื่อใหเกิดสังคมที่มีคารบอนต่ํา และในป ค.ศ. 2009 มีการเริ่มโครงการ Carbon Footprint of
Products (CFP) เพื่อใชเปนมาตรการหนึ่งในการตอตานภาวะโลกรอน ตอมาในป ค.ศ. 2012 โครงการ Carbon
Footprint of Products (CFP) ได เ สร็ จ สิ้ น การเป น โครงการนํ า ร อ งโดย Japan Environment Management
Association for Industry (JEMAI) เป น ผู ดํ า เนิ น งานดู แ ลโครงการนี้ 7 ซึ่ ง มี การพั ฒ นามาตรฐานว า ด ว ยหลั กการ
ประเมิ น คารบ อนฟุ ตพริ้นท แ ละแสดงผลดวยฉลากคารบ อนฟุ ต พริ้น ทข องผลิต ภัณ ฑ พรอมกัน นี้ ไ ด มี การพัฒนา
ขอกําหนดเฉพาะรายผลิตภัณฑ (Products Category Rules : PCRs) สําหรับการประเมินคารบอนฟุตพริ้นทในแตละ
ผลิตภัณฑ เพื่อใชเปนวิธีการมาตรฐานสําหรับการวิเคราะหคารบอนฟุตพริ้นทและการแสดงฉลากคารบอนฟุตพริ้นท
ของผลิตภัณฑนั้นๆที่สามารถเปรียบเทียบคาคารบอนฟุตพริ้นทระหวางสองผลิตภัณฑได โดยการแสดงฉลากคารบอน
ฟุตพริ้นทบนผลิตภัณฑเริ่มจากกลุมผลิตภัณฑสินคาเพื่อการบริโภค เชน อาหาร และเครื่องดื่ม ซึ่งมีบริษัทนํารองที่เขา
รวมโครงการโดยสมัครใจมากกวา 40 บริษัท และจัดแสดงผลิตภัณฑนํารองวิเคราหและติดฉลากคารบอนฟุตพริ้นทใน
งานนิทรรศการ Tokyo International Packaging Exhibition 2008 หลังจากนั้นมีการประกาศดําเนินการระบบ
ฉลากคารบอนฟุตพริ้นท อยางเปนทางการ ปจจุบันมีผลิตภัณฑติดฉลากคารบอนฟุตพริ้นทประมาณหนึ่งพันกวา
ผลิตภัณฑ และมีเอกสาร PCRs ที่ผานการรับรองแลวจํานวน 104 ผลิตภัณฑ

6
องคการบริหารจัดการกาซเรือนกระจก (องคการมหาชน), “คารบอนฟุตพริ้นทของผลิตภัณฑ,” สืบคนเมื่อวันที่ 15
กรกฎาคม 2561, จาก http://www.tgo.or.th/2015/thai/content. php?s1=18&s2=61
7
Japan Environmental Management Association for Industry, “Background and History,” Retrieve
on July 17, 2018, https://www.cfp-japan.jp/english/overview_03.html.
806 Thailand Journal of legal Study

ในญี่ปุนแมขณะนี้มาตรการฉลากคารบอนฟุตพริ้นทจะยังคงเปนมาตรการสมัครใจ มิไดมีบทบัญญัติกฎหมาย
แต ใ นทางปฏิ บั ติ แ ล ว ประชาชนญี่ ปุ น ให ค วามสนใจต อกระบวนการ Life Cycle Assessment (LCA) และฉลาก
สิ่งแวดลอมเปนอยางมาก ซึ่งมีบริษัทและองคกรตางๆเขารวมโครงการฉลากสิ่งแวดลอมเปนจํานวนมาก อยางไรก็ตาม
แมขณะนี้จะเปนเพียงแนวนโยบายของรัฐ แตในอนาคตญี่ปุนมีแนวโนมที่จะใหมาตรการดังกลาวเปนมาตรการทาง
กฎหมายตอไป เนื่องจากญี่ปุนมีความตองการใหเทคนิคการประเมินวัฏจักรชีวิต (LCA) และฉลากคารบอนฟุต พริ้นท
ถูกนํามาใชเปนหนึ่งในกฎหมาย นโยบายของรัฐและองคกรตางๆ นอกจากนี้ในกฎหมาย Green Purchasing Law ซึ่ง
เปนกฎหมายทางดานการซื้อขายสิน คาและบริการที่เปนมิตรตอสิ่งแวดลอมของญี่ปุนไดกําหนดวา ในการซื้อสินคา
หรือบริการตางๆตองคํานึงถึงความสามารถในการลดผลกระทบตอสิ่งแวดลอมตลอดวงจรชีวิตของผลิตภัณฑ อีกทั้งใน
The GP Law Premium Criteria Guidelines ที่ถูกกําหนดขึ้นในป ค.ศ. 2013 กําหนดวา สินคาและบริการจะตอง
ถู ก ตรวจสอบและลงทะเบี ย นกั บ โครงการคาร บ อนฟุ ต พริ้ น ท หรื อ Eco Leaf เพื่ อ ให เ ป น ไปตามเกณฑ อี ก ทั้ ง
แผนปฏิบัติการดานสังคมคารบอนต่ําของสหพันธธุรกิจญี่ปุน (Japan Business Federation) มีความประสงคให
อุตสาหกรรมไฟฟาและอิเล็กทรอนิกสคํานวณและประกาศถึงปริมาณการลดการปลอยกาซเรือนกระจกของผลิตภัณฑ
อีกดวย8
แนวนโยบายและมาตรการทางกฎหมายของประเทศไทย
หากพิจารณาถึงแนวนโยบายและมาตรการทางกฎหมายที่บังคับใชอยูในขณะนี้พบวาปจจุบันประเทศไทยได
กําหนดแนวนโยบายในดานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดลอม ซึ่งไดใหความสําคัญกับปญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพ
ภูมิอากาศ การลดปริมาณการปลอยกาซเรือนกระจกมากขึ้นเพื่อนําไปสูการเปนสังคมปลอยคารบอนต่ําและเปนมิตร
ตอสิ่งแวดลอม เชน ยุทธศาสตรชาติ 20 ป พ.ศ. 2561-2580, นโยบายและแผนการสงเสริมรักษาคุณภาพสิ่งแวดลอม
พ.ศ. 2560-2579, แผนแมบทรองรับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ พ.ศ. 2558-2593 เปนตนแตมาตรการทาง
กฎหมายของประเทศไทยที่เกี่ยวของในการดําเนินงานเพื่อลดปริมาณการปลอยกาซเรือนกระจกโดยฉลากคารบอน
ฟุตพริ้นทยังขาดหลักเกณฑและขอบังคับที่เปนกฎหมาย
พระราชบั ญ ญั ติ ส ง เสริ ม และรั ก ษาคุ ณ ภาพสิ่ ง แวดล อ มแห ง ชาติ พ.ศ. 2535 เป น กฎหมายแม บ ทด า น
สิ่งแวดลอมที่วางกรอบทั่วไปในการแกไขปญหาสิ่งแวดลอม ซึ่งมีวัตถุประสงคในการมุงคุมครอง สงเสริม และรักษา
สิ่งแวดลอมใหอยูในลักษณะที่ดีและเหมาะสม ไมเกิดผลกระทบตอประชาชนและทรัพยากรธรรมชาติ โดยเฉพาะใน
เรื่องการควบคุมและแกไขปญหามลพิษ อยางไรก็ตามแมพระราชบัญญัตินี้จะมีวัตถุประสงคและหลักเกณฑในการ
ควบคุมมลพิษ อากาศเสีย แตในเรื่องของการแกปญหาภาวะโลกรอนที่มีผลจากการเพิ่มขึ้นของปริมาณกาซเรือน
กระจกนั้น พระราชบัญญัตินี้ยังไมมีเนื้อหาใดที่กลาวถึงการควบคุมกา ซเรือนกระจกอยางชัดเจน และจะถือวากาซ
เรือนกระจกเปนมลพิษ ของเสีย อากาศเสีย ตามนิยามในมาตรา 4 ของพระราชบัญญัติสงเสริมและรักษาคุณภาพ
สิ่งแวดลอมแหงชาติ พ.ศ. 2535 หรือไม เนื่องจากกาซเรือนกระจก คือ กาซที่เปนสวนประกอบของชั้นบรรยากาศของ
โลก ซึ่งมีทั้งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติและจากกิจกรรมของมนุษย โดยมีคุณสมบัติในการดูดซับคลื่นรังสีความรอนหรือ
รังสีอินฟาเรดเพื่อรักษาอุณหภูมิของชั้นบรรยากาศโลกใหคงที่ ดังนั้นโดยสภาพแลวกาซเรือนกระจกมิไดเปนอันตราย
ดวยตัวของมันเอง แตเพราะการรวมตัวของกาซเรือนกระจกในปริมาณที่ เพิ่มมากขึ้นและสะสมในชั้นบรรยากาศจึงทํา
ใหเกิดปญหาภาวะโลกรอน หรือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ อีกทั้งตามมาตรา 80 ของพระราชบัญญัตินี้ได
กลาวถึงการตรวจสอบและควบคุมมลพิษ โดยกําหนดหนาที่ใหเจาของหรือผูครอบครองแหลงกําเนิดมลพิษมีหนาที่
ตองเก็บสถิติและขอมูลซึ่งแสดงผลการทํางานของระบบหรืออุปกรณสําหรับควบคุมการปลอยทิ้งอากาศเสีย และ
จัดทําบันทึกรายละเอียดเสนอตอเจาพนักงานทองถิ่น แตขอกําหนดดังกลาวไมรวมการรายงานถึงปริมาณกาซเรือน
กระจกที่ปลอยออกมาตลอดวัฏจักรชีวิตของผลิตภัณฑ ดังนั้นมาตรการทางกฎหมายที่มีอยูตามพระราชบัญญัตสิ งเสริม

8
Akira Kataoka, “CFP ( Carbon Footprint of Products) Communication Programme in Japan and
current state of Play,” Retrieve on July 18 2018, https://www.cfp-japan.jp/common/data_news_eng/00003
6/1446779244.pdf.
วารสารนิติศึกษาไทย 807

และรักษาคุณภาพสิ่งแวดลอมแหงชาติ พ.ศ. 2535 จึงยังไมเพียงพอตอการควบคุมและลดปริมาณการปลดปลอยกาซ


เรือนกระจกโดยฉลากคารบอนฟุตพริ้นท
พระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2535 เปนกฎหมายที่กําหนดถึงการควบคุม การตั้งและการประกอบกิจการ
โรงงาน และขอหามในการปลอยของเสีย มลพิษ หรือสิ่งอื่นใดที่มีผลกระทบตอสิ่งแวดลอม แมพระราชบัญญัติโรงงาน
พ.ศ. 2535 มาตรา 8(5) จะใหอํานาจรัฐมนตรีออกกฎกระทรวงกําหนดมาตรฐานและวิธีการควบคุมการปลอยของเสีย
มลพิษหรือสิ่งอื่นใดที่มีผลกระทบตอสิ่งแวดลอมซึ่งเกิด ขึ้นจากการประกอบกิ จ การโรงงาน และ มาตรา 8(7) ให
รัฐมนตรีมีอํานาจกําหนดขอมูลที่จําเปนเกี่ยวกับการประกอบกิจการโรงงานที่ผูประกอบกิจการโรงงานตองแจงให
ทราบ ซึ่งในการขอใชเครื่องหมายรับรองคารบอนฟุตพริ้นทจะตองมีการรายงานถึงปริมาณการปลอยกาซเรือนกระจก
จากกิจกรรมตลอดวัฏจักรชีวิต ของผลิตภัณฑ แตตามกฎกระทรวงที่ออกตามความในกฎหมายฉบับนี้กําหนดแตเพียง
การจัดทํารายงานสารมลพิษที่ระบายออกเฉพาะจากโรงงานเทานั้น อีกทั้งวัตถุประสงคหลักของกฎหมายฉบับนี้เพื่อ
ควบคุมการประกอบกิจการโรงงาน กําหนดหลักเกณฑในการออกใบอนุญาต การใชและเพิกถอนใบอนุญาตประกอบ
กิจการโรงงานเพื่อปองกันเหตุเดือดรอนรําคาญ ความเสียหาย หรืออันตรายอันอาจเกิดขึ้นจากการประกอบกิจการ
โรงงาน
พระราชบั ญ ญั ติ ม าตรฐานผลิ ต ภั ณ ฑ อุ ต สาหกรรม พ.ศ. 2511 เป น กฎหมายที่ ค วบคุ ม มาตรฐาน
ผลิตภัณฑอุตสาหกรรมเพื่อประโยชนในทางอุตสาหกรรม เศรษฐกิจ และความปลอดภัยของประชาชน ซึ่งกฎหมาย
ฉบับนี้มิไดมีวัตถุประสงคโดยตรงในการควบคุมมาตรฐานผลิตภัณฑอุตสาหกรรมในเรื่องการควบคุมและลดปริมาณ
กาซเรือนกระจกโดยเฉพาะ หรือการแสดงเครื่องหมายมาตรฐานที่เกี่ยวของกับกาซเรือนกระจกเพื่อสงเสริมการ
ดําเนินงานในการลดการปลอยกาซเรือนกระจก ป จจุบันเครื่องหมายมาตรฐานสําหรับผลิตภัณฑอุตสาหกรรม (มอก.)
ที่สํานักงานมาตรฐานผลิตภัณฑอุตสาหกรรมไดกําหนดไว ไดแก เครื่องหมายมาตรฐานทั่วไป เครื่องหมายมาตรฐาน
บังคับ เครื่องหมายมาตรฐานเฉพาะดานความปลอดภัย เครื่องหมายมาตรฐานเฉพาะดานสิ่งแวดลอม และเครื่องหมาย
เฉพาะดานความเขากันไดทางแมเหล็กไฟฟา
นอกจากนี้กฎหมายของประเทศไทยที่เกี่ยวของกับการดําเนินงานในเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
ไดแก พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองคการบริหารจัดการกาซเรือนกระจก (องคการมหาชน) พ.ศ. 2550 แมเปนกฎหมายที่
เกี่ยวของกับการแกไขป ญหาภาวะโลกรอนและการปลดปลอยกาซเรือนกระจกก็ตาม แตกฎหมายดังกลาวมิไดมี
วั ต ถุ ป ระสงค ใ นการส ง เสริ ม มาตรการคาร บ อนฟุ ต พริ้ น ท โ ดยตรง โดยตามมาตรา 7 ในพระราชกฤษฎี ก านี้ มี
วัตถุประสงคหลักในการวิเคราะห กลั่นกรอง และทําความเห็นเกี่ยวกับการใหคํารับรองโครงการที่จัดตั้ง ขึ้นเพื่อใหเปน
โครงการที่ลดการปลดปลอยกาซเรือนกระจกตามกลไกการพัฒนาที่สะอาดภายใตพิธีสารเกียวโต และสงเสริมการ
พัฒนาโครงการและการซื้อขายปริมาณกาซเรือนกระจกที่ไดรับคํารับรอง โดยการเขารวมโครงการหรือการดําเนินการ
เปนไปโดยความสมัครใจเทานั้น และตามมาตรา 8 องคการบริหารจัดการกาซเรือนกระจกซึ่งเปนองคการที่จัดตั้งขึ้น
เพื่ อดํ า เนิ นการให บรรลุวัต ถุประสงค มี อํา นาจหนาที่ในการดําเนินการอื่ นใดที่จํา เปน หรือต อเนื่ องเพื่อใหบรรลุ
วัตถุประสงคขององคการ ดังนั้นการดําเนินงานเพื่อลดปริมาณการปลดปลอยกาซเรือนกระจกโดยฉลากคาร บอนฟุตพ
ริ้นทจึงเปนไปตามมาตรา 7 และมาตรา 8 ซึ่งเปนเพียงการกลาวถึงไวโดยกวาง มิไดกลาวถึงการดําเนินงานตาม
มาตรการคารบอนฟุตพริ้นทไวโดยตรง สวนใหญเปนการกลาวถึงการดําเนินงานภายใตกลไกการพัฒนาที่สะอาด แม
ในทางปฏิบัติจะมีการดําเนินงานโครงการคารบอนฟุตพริ้ นทของผลิตภัณฑ แตเปนเพียงแนวทางปฏิบัติและแนว
ทางการประเมินคารบอนฟุตพริ้นทของผลิตภัณฑ โดยไมมีบทบัญญัติกฎหมายรองรับมาตรการดังกลาวและเปนเพียง
มาตรการโดยสมัครใจซึ่งขึ้นอยูกับความสมัครใจของผูผลิตเทานั้น
808 Thailand Journal of legal Study

บทสรุป
ปญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเปน ประเด็นสําคัญในปจจุบันที่ประชาคมโลกตางใหความสนใจและ
หาแนวทางในการรวมกันแกไขปญหาดังกลาวและชวยกันควบคุมปริมาณการปลอยกาซเรือนกระจก จึงมีการพัฒนา
มาตรการคารบอนฟุตพริ้นทเพื่อเปนกลยุทธหนึ่งในการขับเคลื่อนการผลิตและบริโภคที่คํานึงถึงสภาพภูมิอากาศ จาก
มาตรการคารบอนฟุตพริ้นทจึงไดมีการพัฒนามาเปนการแสดงฉลากคารบอนฟุตพริ้นทบนผลิตภัณฑ ซึ่งเปนฉลาก
สิ่งแวดลอมอยางหนึ่งที่แสดงขอมูลการปลอยกาซเรือนกระจกตลอดวัฏจักรชีวิตของผลิตภัณฑเพื่อบงชี้ถึงผลกระทบ
ตอภาวะโลกรอน และยังสามารถสื่อสารขอมูลระหวางผูผลิตกั บผูบริโภคได จะชวยใหผูบริโภคใชขอมูลเหลานี้เปน
เกณฑในการตัดสินใจเลือกซื้อสินคา และยังสามารถกระตุนใหผูผลิตกําหนดเปาหมายลดปริมาณการปลอยกาซเรือน
กระจก และเกิดการพัฒนาปรับปรุงเทคโนโลยีการผลิต ทําใหทั้งผูผลิตและผูบริโภคมีสวนรวมในการชวยกันแกไข
ปญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ดังนั้นเพื่อใหการดําเนินงานในการลดการปลอยกาซเรือนกระจกโดยฉลาก
คารบอนฟุตพริ้นทเปนไปอยางมีประสิทธิภาพและเหมาะสม ประเทศไทยควรมีมาตรการทางกฎหมายมาเปนแนวทาง
หลักในการดําเนินงานเพื่อสรางความชัดเจนถึงกฎเกณฑ และบทบาทหนาที่ทั้ งภาครัฐและเอกชน จึงเห็นสมควรตรา
กฎหมายในระดับพระราชบัญญัติเพื่อใชในการแกปญหาอยางเปนรูปธรรม นอกจากนี้เพื่อใหการดําเนินงานในการ
แสดงฉลากคารบอนฟุตพริ้นทสามารถกระทําไดทั้งในผูผลิตรายใหญ กลาง หรือเล็กจําเปนตองมีมาตรการสนับสนุน
ไดแก การลดหยอนภาษีเงินไดนิติบุคคลจากมาตรการการสงเสริมการลงทุน การจัดตั้งกองทุนคารบอน และภาครัฐ
ควรใหการสนับสนุนผูผลิต เชน การถายทอดเทคโนโลยีตางๆ องคความรูใหมๆ รวมไปถึงการเปนศูนยกลางขอมูลดาน
การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และฉลากคารบอนฟุตพริ้นทอยางเชื่อมโยงและเปนระบบ และมีการสงเสริมหรือ
รณรงคใหผูบริโภคเขาใจและหันมาสนใจปญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศมากยิ่งขึ้นเพื่อสรางสินคาที่เปนมิตร
ตอสภาพภูมิอากาศมากขึ้น
วารสารนิติศึกษาไทย 809

บรรณานุกรม

หนังสือ

รัตนาวรรณ มั่งคั่ง. คารบอนฟุตพริ้นท. กรุงเทพมหานคร : บริษัท อัฟโฟรเอป จํากัด, 2558.


สถาบันระหวางประเทศเพื่อการคาและการพัฒนา (องคการมหาชน). เก็บภาษีคารบอน : เครื่องมือลดโลกรอน.
กรุงเทพมหานคร : บริษัท ไอดี ออล ดิจิตอล พริ้นท จํากัด, 2556.

สื่ออิเล็กทรอนิกส

องค ก ารบริ ห ารจั ด การก า ซเรื อ นกระจก (องค ก ารมหาชน). “คาร บ อนฟุ ต พริ้ น ท ข องผลิ ต ภั ณ ฑ .” http://thai
carbonlabel.tgo.or.th/products_is/products_is.pnc, 7 กรกฎาคม 2561.
องค การบริหารจั ด การกาซเรือนกระจก (องค การมหาชน). “คารบ อนฟุ ต พริ้น ทของผลิ ต ภั ณฑ .” http://www.
tgo.or.th/2015/thai/content.php?s1=18&s2=61, 15 กรกฎาคม 2561.

ELECTRONIC MEDIA

Akira Kataoka. “CFP (Carbon Footprint of Products) Communication Programme in Japan and current
state of Play. ” https://www.cfp-japan.jp/common/ data_news_eng/000036/144677924
4.pdf. July 19, 2018.
Japan Environmental Management Association for Industry. “Background and History.” https://www
.cfp-japan.jp/english/overview_03.html. July 17, 2018.
UNFCCC. “United Nations Framework Convention on Climate Change. ” https://unfccc.int/resource
/docs/convkp/conveng.pdf. January 20, 2018.
810 Thailand Journal of legal Study

การตรวจสอบภาษีเกี่ยวกับธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส
TAX AUDITING RELATED TO ELECTRONIC BUSINESSES
วรวิทย ศิริมหาพฤกษ*
Worawit Sirimahaphruk
บทคัดยอ
วิทยานิพนธฉบับนี้มุงศึกษาเกี่ย วกับ การตรวจสอบภาษีอากรเกี่ยวกับธุรกรรมอิ เล็กทรอนิ กส เนื่องจาก
ธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส (E-business) สวนใหญพบในรูปของการพาณิชยอิเล็กทรอนิกส (E-commerce) เปนธุรกรรม
ที่สามารถเกิดขึ้นแมวาคูสัญญาจะอยูหางกัน และไมตองเปดเผยตัวตน มีการสงและจัดเก็บขอมูลแบบอิเล็กทรอนิกส
โดยมีระบบปองกันการเขาถึงขอมูลอิเล็กทรอนิกส ดังนั้น จึงเกิดปญหาตอการจัดเก็บภาษีอากร ดังนี้ 1) ปญหาการ
ระบุสถานที่ 2) ปญหาการระบุตัวบุคคล 3) ปญหาการตรวจสอบขอมูลอิเล็กทรอนิกส ณ สถานประกอบการ และ 4)
ปญหาการเขาถึงขอมูลอิเล็กทรอนิกสที่เขารหัสไว
จากการศึกษาการตรวจสอบภาษีอากรตามกฎหมายไทยเปรียบเทียบกับกฎหมายตางประเทศหลายฉบั บ ซึ่ง
ที่สําคัญประกอบดวยมาเลเซีย ไอรแลนด ออสเตรเลีย และสิงคโปร พบวากฎหมายของตางประเทศใหอํานาจเจา
พนักงานในการตรวจสอบหลักฐานที่เปนขอมูลอิเล็กทรอนิกสไวชัดเจน และสามารถขอใหบุคคลที่ครอบครองดูแล
อุปกรณจัดเก็บขอมูลอิเล็กทรอนิกส ใหรหัสผานหรือทําใหเ จาพนักงานเขาถึงขอมูลอิเล็กทรอนิกสนั้นได รวมถึงให
อํานาจในการคัดลอกขอมูลอิเล็กทรอนิกสนั้นไดโดยถือวาเปนพยานหลักฐานเชนเดียวกับพยานเอกสาร ตลอดจนการ
ขอขอมูลเพิ่มเติมที่เกี่ยวของกับธุรกรรมอิเล็กทรอนิกสได
ผูเขียนเสนอใหปรับปรุงแกไขประมวลรัษฎากร เพื่ อรองรับกระบวนการตรวจสอบภาษีอากรในธุรกรรม
อิ เ ล็ ก ทรอนิ ก ส สํ า หรั บ พยานหลั ก ฐาน เอกสาร บั ญ ชี บั น ทึ ก หรื อ ข อ มู ล อื่ น ใดที่ จั ด เก็ บ อยู ใ นรู ป ของข อ มู ล
อิเล็กทรอนิกส สอดคลองกับขอเสนอแนะขององคการเพื่อความรวมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (OECD) โดย
ขอเสนอแนะด า นกฎหมาย ได แ ก 1) การเขา ถึง ขอมู ล อิ เล็ กทรอนิ กส 2) การยึ ดหรืออายั ดเอกสารที่ เป น ขอมู ล
อิเล็กทรอนิกส 3) การถอดรหัสขอมูลอิเล็กทรอนิกส 4) อํานาจในการขอขอมูลเพิ่มเติม 5) หนาที่ของผูเสียภาษีอากร
โดยใหอํานาจเจาพนักงานกระทําไดเพียงเทาที่จํา เปน รวมถึงขอเสนอแนะดานอื่ น ๆ ไดแก 1) การแลกเปลี่ ย น
ขอสนเทศทางภาษีอากร (Tax Information Exchange) 2) ปรับปรุงระบบการเสียภาษีอากร 3) พัฒนาทักษะของ
พนักงานเจาหนาที่ และ 4) สรางความตระหนักแกผูเสียภาษีอากร

คําสําคัญ
การตรวจสอบภาษีอากร, ธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส, ภาษี

*
นักศึกษาปริญญาโท หลักสูตรนิติศาตรมหาบัณฑิต สาขากฎหมายภาษี คณะนิติศาสตร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร :
worawit.siri@yahoo.com
Graduate Student of Master of Laws Program in Tax Law, Faculty of Law, Thammasat University.
Email address : worawit.siri@yahoo.com
วารสารนิติศึกษาไทย 811

ABSTRACT
A comparative legal approach was used to study tax audits related to electronic business
(e-business) in Thailand. Because most e-business transactions are in the form of electronic
commerce (e-commerce), transactions can take place at a distance, with no physical contact.
Electronic transmission and storage, localization identification, electronic data verification at
workplaces, and identifying personal information remain problems. Access to encrypted electronic
data is another concern. Tax audits according to Thai law were compared with statutes in Malaysia,
Ireland, Australia, and Singapore.
Results were that foreign taxation law authorizes competent officials to access electronic
data and request owners of electronic devices to provide or make available a password. Authorities
are also empowered to copy electronic data and documentary evidence and request additional
information related to electronic transactions from other parties. These findings suggest that the Thai
Revenue Code might be amended to better support tax audits on electronic transactions, allowing
for electronic storage of accounting records as documentary evidence. Access; seizure or attachment
of; and decoding of electronic data might be better provided for. The authority to request additional
information and taxpayer duty should also be specified. Relevant authorities should be given the
discretion to act when necessary to heighten tax information exchange, the tax system, official skill
development, and taxpayer awareness.

Keywords
Tax audit, Electronic business, Taxes
812 Thailand Journal of legal Study

บทนํา
ปจจุบันธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส (E-business) ซึ่งสวนใหญจะพบในรูปของการพาณิชยอิเล็กทรอนิกส (E-
commerce) เป น ธุ รกรรมที่ เกิด ขึ้น ไม จํ าเปน ตองเปด เผยตั วตนคู สั ญญา มี การส ง ขอมู ล ระหว างกัน ซึ่ง เปน ขอมูล
อิเล็กทรอนิกส รวมถึงการจัดเก็บขอมูลเปนขอมูลอิเล็กทรอนิกส มีระบบการปองกันการเขาถึงขอมูลอิเล็กทรอนิกสที่มี
รูปแบบเฉพาะตัว จึงกอใหเกิดปญหาซึ่งสงผลกระทบตอการจัดเก็บภาษีอากรโดยรวม
หากจัดกลุมปญหาที่เกิดขึ้นเกี่ยวกับการจัดเก็บภาษีธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส (E-business) สามารถกําหนดได
คือ การระบุสถานที่และตัวบุคคลเกี่ยวของ และการตรวจสอบหลักฐานที่เกี่ยวของ ไดดังนี้1
1. การระบุสถานที่และตัวบุคคลที่เกี่ยวของ
ประมวลรัษ ฎากร มาตรา 3 เบญจ และมาตรา 88/3 ให อํา นาจเจ า พนักงานสรรพากรเขา ไปในสถาน
ประกอบการเพื่อตรวจสอบสถานประกอบการหรือกิจการของผูเสียภาษีอากร แตเนื่องจากรูปแบบของธุรกรรม
อิเล็กทรอนิกสนั้นสามารถดํา เนินธุรกรรมไดโดยคูสัญญาแตละฝายไมจํา เปนต องพบปะกันโดยตรง และรูปแบบ
ธุรกรรมอิเล็กทรอนิกสบางประการไมจําเปนตองมีสถานประกอบการ ยอมทําใหเจาพนักงานสรรพากรไมอาจทราบ
สถานประกอบการไดอยางชัดเจน ทําใหการตรวจสอบภาษีอากรเปนไปอยางยากลําบาก
ในสวนของการระบุตัวบุคคลที่เกี่ยวของ ซึ่งในที่นี้คือ ผูเสียภาษีอากร โดยแนวทางการสืบคนผูเสียภาษีอากร
ของธุรกรรมอิเล็กทรอนิกสนั้น อาจใชวิธีการสืบคนขอมูลเบื้องตนจากอินเทอรเน็ต ซึ่งผลการคนหาที่ปรากฏอาจมี
บางสวนที่นําไปสูขอมูลอื่นที่สําคัญของผูประกอบการ เมื่อไดขอมูลเบื้องตนของผูเสียภาษีอากรแลวก็จะนําขอมูล
ดังกลาวเปรียบเทียบกับฐานขอมูลของกรมสรรพากรเพื่อดําเนินการตอไป
ในสวนของการที่เจาพนักงานสรรพากรจะขอขอมูลการจราจรทางคอมพิ วเตอรมาประกอบการพิจารณาการ
หลีกเลี่ยงการเสียภาษีอากรนั้น เนื่องจากพระราชบัญญัติวาดวยการกระทําความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร พ.ศ. 2550
กําหนดใหเปนอํานาจของพนักงานเจาหนาที่ในการขอ และเหตุในการขอขอมูลจากผูใหบริการนั้นตองเพื่อประโยชน
ในการสืบสวนและสอบสวนในกรณีที่มีเหตุอันควรเชื่อไดวามีการกระทําความผิดตามพระราชบัญญัติวาดวยการ
กระทําความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร พ.ศ. 2550 เทานั้น การที่มีเพียงเหตุอันควรเชื่อวามีการหลีกเลี่ยงการเสียภาษี
อากร ตามมาตรา 3 เบญจ และเหตุอันควรเชื่อวาผูใดแสดงรายการตามแบบที่ยื่นไม ถูกตองตามความจริงหรือไม
บริบูรณ ตามมาตรา 19 แหงประมวลรัษฎากร ก็ไมถือวาเปนเหตุตามพระราชบัญญัติวาดวยการกระทําความผิด
เกี่ยวกับคอมพิวเตอร พ.ศ. 2550 อีกทั้งไมใชอํานาจของอธิบดีหรือเจาพนักงานสรรพากร แมวาจะมีมาตรา 23 แหง
ประมวลรัษฎากรบัญญัติไวเกี่ยวกั บการออกหมายเรียกใหพยานนําหลักฐานมาแสดง แตก็เกิดปญหาใหตีความวา
บทบัญญัติในมาตราดังกลาวรวมไปถึงพยานหลักฐานที่เปนขอมูลอิเล็กทรอนิกสดวยหรือไม ซึ่งมาตรา 81 และมาตรา
82 แหง Income Tax Act 1967 ของมาเลเซีย กําหนดใหอํานาจอธิบดีสรรพากรมาเลเซียในการเรียกบุค คลมาให
ถอยคํา หรือใหขอมูลอื่นใดซึ่งรวมถึงขอมูลอิเล็กทรอนิกสที่ผูใหบริการครอบครองขอมูลนั้นอยูดวย
2. การตรวจสอบหลักฐานที่เกี่ยวของ
การตรวจสอบภาษีอากรที่ประมวลรัษฎากรกําหนดไวตามมาตรา 3 เบญจ มาตรา 12 ตรี มาตรา 19 และ
มาตรา 23 มีรูปแบบ คือ ตรวจคน ยึ ด อายัดบัญชี เอกสาร หรือหลักฐานอื่น โดยการตรวจคนนั้นจะเปนการตรวจคน
สถานที่พักอาศัย อาคารสํานักงาน อาคารพาณิชย หรือโรงงาน ซึ่งมีลักษณะทางกายภาพที่จับตองได มองเห็นได เปน
การที่เจาพนักงานสรรพากรตองเคลื่อนตัวทางกายภาพจากหองหนึ่งไปยังอีกหองหนึ่ง จากชั้ นหนึ่งไปยังอีกชั้นหนึ่ง
หรือจากอาคารหนึ่งไปยังอีกอาคารหนึ่ง เพื่อตรวจสอบและมองหาเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวของกับภาษีอากร ตลอดจน
สามารถกระจายเจาพนักงานสรรพากรหลายคนไปปฏิ บัติ การได หลายห อง หลายอาคาร หากเป น การตรวจคน
หลักฐานหรือวัตถุขนาดใหญ เชน เครื่องจักร รถยนต เจาพนักงานสรรพากรก็สามารถคาดคะเนขนาดของหลักฐาน
หรือวัตถุนั้นไดและทําการคนหาในพื้นที่ที่เหมาะสมไดอัตโนมัติ

1
สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย, “การพาณิชยอิเล็กทรอนิกสกับผลกระทบตอการจัดเก็บภาษี ,” สืบคนเมื่อ 2 พฤษภาคม
2561, จาก https://tdri.or.th/2012/11/a107.
วารสารนิติศึกษาไทย 813

แตหลักฐานในธุรกรรมอิเล็กทรอนิกสสวนใหญมักจะเปนขอมูลอิเล็กทรอนิกส ทําใหการตรวจคนขอมูล
อิ เล็ กทรอนิ กส จ ะมี ลั ก ษณะที่ แ ตกต า งกัน ออกไป เพราะเป น ขอมู ล ทางแม เหล็ ก ไฟฟ า ที่ ถูกจั ดเก็บ ในรูป แบบตั ว
เลขฐานสอง (Binary Data) ที่ ถูกจั ด เก็บ อยูในอุ ปกรณจัดเก็บขอมู ลอิ เล็กทรอนิกสเสมอ เป น ขอมู ลที่ ไมสามารถ
มองเห็นไดดวยตาเปลา แตสามารถทําใหมองเห็นหรือสื่อความหมายใหเขาใจไดหากผานกระบวนการที่ถูกตองและ
เหมาะสมกับขอมูลอิเล็กทรอนิกสนั้น บางครั้งขอมูลอิเล็กทรอนิกสอาจมีการเปลี่ยนแปลงตําแหนงจัดเก็บขอมูลอยู
ตลอดเวลาหากมี ร ะบบเรี ย กใช ข อ มู ล นั้ น อยู และข อ มู ล อิ เ ล็ ก ทรอนิ ก ส ส ามารถป อ งกั น บุ ค คลอื่ น เข า ถึ ง ข อ มู ล
อิเล็กทรอนิกสไดโดยงาย เชน การซอนขอมูล (Hide) การใสรหัสผาน (Password) การเขารหัสขอมูล (Encryption)
โดยหากผูที่จะดูขอมูลอิเล็กทรอนิกสใชวิธีการไมถูกตองกับประเภทของการปองกันก็ไมสามารถเผยขอมูลนั้นออกมาได
ในสวนนี้จึงเกิดปญหาแกเจาพนักงานสรรพากรที่ไมสามารถคนหา ยึดหรืออายัดขอมูลอิเล็กทรอนิกสดังกลาวไดเพราะ
ไม ท ราบวิ ธี ก ารหรื อ ขั้ น ตอนที่ ถู ก ต อ งในการอ า นหรื อ เป ด เผยเนื้ อ หาของข อ มู ล อิ เ ล็ ก ทรอนิ ก ส นั้ น ทั้ ง นี้ ข อ มู ล
อิเล็กทรอนิกสที่ถูกลบออกไปจากระบบแลว อาจถูกกูคืนไดโดยใชวิธีการหรือโปรแกรมที่ไดรับการออกแบบมาเฉพาะ
จําเปนอยางยิ่งที่จะตองใชวิธีการคนหาที่ถูกตองเหมาะสม
การคัดลอกหรือทําสําเนาขอมูลอิเล็กทรอนิกสจะมีความแตกตางจากการทําสําเนาหรือคัดลอกเอกสาร โดย
การคัดลอก (Copy) ขอมูลอิเล็กทรอนิกสผานคอมพิวเตอรหรืออุปกรณอิเล็กทรอนิกสอื่น จะเปนการคัดลอกขอมูลที่
“สามารถอานได” ไปยังอุปกรณปลายทาง สวนการทําสําเนา (Clone) จะเปนการคัดลอกขอมูลทุกสถานะภายใน
อุปกรณตนทางไปยังอุปกรณปลายทาง ซึ่งรวมถึงขอมูลที่ถูกลบ ขอมูลที่ถูกเขียนทับบางสวน พื้นที่วาง การกระจาย
ตําแหนงขอมูล ซึ่งการทําสําเนาขอมูลอิเล็กทรอนิกสจะใหขอมูลที่ครบถวนกวาซึ่งรวมถึงขอมูลอิเ ล็กทรอนิกสที่ถูกลบ
ไปแลวแตอาจกูคืนได อยางไรก็ตาม การทําสําเนาขอมูลอิเล็กทรอนิกสจําเปนตองใชความรูความเชี่ยวชาญเฉพาะดาน
ดวยเชนกัน
เนื่องจากบทบัญญัติในประมวลรัษฎากรนั้นใหอํานาจแกเจาพนักงานในการสั่งยึด หรือออกหมายเรียกใหผู
เสียภาษีอากรสงมอบบัญชี เอกสาร หรือหลักฐานอื่นที่เกี่ยวกับหรือสันนิษฐานวาเกี่ยวกับภาษีอากรที่จะตองเสีย อัน
เปนลักษณะหลักฐานทางกายภาพเทานั้น จึงเปนปญหาที่ตองพิจารณาวา เนื่องจากขอมูลอิเล็กทรอนิกสมิใชขอมูลทาง
กายภาพที่เปนเอกสาร ดังนั้น คําวา หลักฐานอื่น จะรวมไปถึงขอมูลอิ เล็กทรอนิกสดวยหรือไม จะตีความอยางกวาง
เพื่อใหครอบคลุมไดเพียงใด
เมื่อพิจารณา Income Tax Act 1967 ของประเทศมาเลเซีย มาตรา 80 (1) มาตรา 80 (2) (a) ประกอบ
มาตรา 82 (7) (a) และมาตรา 82A (4) (a) กํา หนดให ในการออกตรวจ ณ สถานประกอบการใด เจ า พนั ก งาน
สรรพากรสามารถเขาถึง ตรวจสอบ และรับฟงขอมูลอิเล็กทรอนิกสที่ถูกจัดเก็บเปนหลักฐานได และมีอํานาจในการทํา
สําเนาขอมูลอิเล็กทรอนิกสดังกลาวดวย
Customs Act 1901 ของประเทศออสเตรเลี ย มาตรา 201A และมาตรา 202A ก็ไ ด กํา หนดไว ชั ดเจน
เกี่ยวกับการตรวจสอบขอมูลอิเล็กทรอนิกส กลาวคือ ในกรณีที่มีการออกตรวจสถานประกอบการ กฎหมายดังกลาวให
อํานาจเจาพนักงานศุลกากรรองขอตอศาลเพื่อสั่งใหบุคคลที่กําหนดชวยเหลือหรืออํานวยความสะดวกแกเจาพนักงาน
ศุลกากรในการเขาถึงขอมูลอิเล็กทรอนิกสในคอมพิวเตอรของผูเสียภาษีอากรเพื่อการตรวจสอบภาษีอากรได และมี
อํานาจคัดลอกขอมูลอิเล็กทรอนิกสดังกลาว หรือแปลงขอมูลอิเล็กทรอนิกสเปนเปนเอกสาร ตลอดจนการยึดขอมูล
อิเล็กทรอนิกสนั้นไดดวย
ในขณะที่ Taxes Consolidation Act 1997 ของประเทศไอรแลนด มาตรา 886 (1) กําหนดในคํานิยามวา
“บันทึก หมายความรวมถึง บัญชี สมุดบั ญชี เอกสาร และขอมูลอื่นไมวาเก็บรักษาดวยตนเอง ถายภาพ หรือดวย
กระบวนการทางอิ เล็ กทรอนิ กส ” ซึ่ ง การบั ญ ญั ติ ในลั ก ษณะนี้ จ ะส ง ผลให ส ามารถใช บั ง คั บ บทบั ญ ญั ติ ใน Taxes
Consolidation Act 1997 ทั้งฉบับในสวนที่เกี่ยวของกับขอมูลอิเล็กทรอนิกสไดโดยไมจําเปนตองแกไขเพิ่มเติมเนื้อหา
ในมาตราอื่นอีก รวมตลอดจนการกําหนดใหผูเสียภาษีอากรตองเก็บรักษาบันทึกหรืออีกความหมายหนึ่งก็คือ ขอมูล
เกี่ยวกับการประกอบธุรกิจที่อยูในรูปแบบของขอมูลอิเล็กทรอนิกสเพื่อการตรวจสอบภาษีอากรดวยนั่นเอง
814 Thailand Journal of legal Study

สวน Inland Revenue Ordinance ของประเทศฮองกง มาตรา 51C (3) กําหนดหนาที่ของผูที่ประกอบ


ธุรกิจในประเทศฮองกง จะตองเก็บรักษาบันทึกขอมูลเกี่ยวกับธุรกิจของตนอยางเพียงพอ ซึ่งบันทึกขอมูลนั้นรวมถึง
สมุดบัญชี ใบเสร็จรับเงิน รายรับ รายจาย ที่เก็บอยูในรูปแบบที่สามารถอานไดหรืออยูในรูปแบบไฟลคอมพิว เตอรหรือ
อื่น ๆ
Tax Administration Act 1994 ของประเทศนิวซี แลนด มาตรา 22 (7) (a) บัญญัติใหผูเสียภาษีอากรมี
หนาที่เก็บรักษาบันทึกขอมูลไว ซึ่งบันทึกขอมูลดังกลาวใหมีความหมายรวมถึงสมุดบัญชีซึ่งเก็บอยูในรูปของขอมูล
อิเล็กทรอนิกสดวย
Income Tax Act 1985 ของประเทศแคนาดา มาตรา 230 (4.1) ก็บั ญ ญั ติ ในทํ านองเดีย วกัน กล าวคือ
กําหนดหนาที่ของผูเสียภาษีอากรที่จะตองเก็บรักษาขอมูลอิเล็กทรอนิกสไว โดยจะตองทําใหอยูในรูปแบบที่สามารถ
อานได เพื่อการตรวจสอบภาษีอากรดวย รวมถึงมาตรา 231.5 (1) ไดใหอํานาจเจาพนักงานสรรพากรในการคัดลอก
หรือทําสิ่งพิมพออกซึ่งเอกสารที่ถูกตรวจสอบภาษีอากรที่อยูในรูปของเอกสารอิเล็กทรอนิกสนั้นได โดยถือวามีสถานะ
และผลใชบังคับเปนพยานหลักฐานเชนเดียวกับเอกสารตนฉบับ
Income Tax Act 1947 ของประเทศสิง คโปร มาตรา 65B กํา หนดให อํา นาจเจาพนักงานในการเขาถึง
อาคาร สถานที่ สิ่งปลูกสราง เอกสาร คอมพิวเตอร คอมพิวเตอรโปรแกรมและซอฟตแวรที่ติดตั้งในเครื่องคอมพิวเตอร
รวมถึงเจาพนักงานมีอํานาจคัดลอกหรือนําสวนใดสวนหนึ่งออกมาจากเอกสารคอมพิวเตอร คอมพิวเตอรโปรแกรม
และซอฟตแวรที่ติดตั้งในเครื่องคอมพิวเตอรเหลานั้นดวย
กฎหมายอีกฉบับหนึ่ง คือ Income Tax Act 1961 ของประเทศอินเดีย มาตรา 2 (22AA) ไดปรับปรุงแกไข
นิยามคําวา “เอกสาร หมายความรวมถึง ขอมูลอิเล็กทรอนิกสตามที่กําหนดไวใน Information Technology Act
2000 ซึ่งหากจะอธิบายใหชัดเจนเปรียบเทียบกับกฎหมายของไทย อาจบัญญัติในลักษณะที่วา “เอกสาร ตามประมวล
รัษฎากร หมายความรวมถึง ขอมูลอิเล็กทรอนิกสตามพระราชบัญญัติวาดวยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส พ.ศ. 2544”
ขอดีในการบัญญัติในลักษณะนี้ก็คือ สามารถแกไขความหมายในคํานิยามเพียงมาตราเดียว ก็จะสงผลบังคับไดทั้งฉบับ
กลาวคือ บทบัญญัติเดิมที่ตราไวเมื่ออดีตสามารถใชตรวจสอบขอมูลอิเล็กทรอนิกสไดดวยโดยถือวาเปนเอกสารตาม
ความหมายของคํานิยามนี้ ซึ่งไมตองเสนอแกไขกฎหมายมาตราอื่น ๆ ที่เกี่ยวของอีก อยางไรก็ตาม ผูเขียนก็ไมเห็นดวย
กับวิธีการนี้เทาที่ควร ประการแรก เอกสารไมใชขอมูลอิเล็กทรอนิกสเพราะไมไดถูกทําขึ้นดวยกระบวนการทาง
อิเล็กทรอนิกส แมวาจะสามารถจัดเก็บเปนขอมูลอิเล็กทรอนิกสดวยการถายภาพหรือการสแกนก็ตาม และขอมูล
อิเล็กทรอนิกสก็ไมใชเอกสาร ยกตัวอยางเชน โปรแกรมคอมพิวเตอร ไฟลเพลง ไฟลวิดีโอ เปนตน แมว าอาจมีขอมูล
อิเล็กทรอนิกสบางประเภทที่สามารถทําสิ่งพิมพออกมาในรูปแบบของเอกสารไดก็ตาม ประการที่สอง การกําหนดคํา
นิยามโดยอางกฎหมายฉบับอื่นนั้น แมวาสามารถกระทําได แตก็จะตองคํานึงถึงวา หากกฎหมายนั้นมีการแกไ ข
เพิ่มเติมคํานิยามนั้นในภายหลัง ก็ตองมีความหมายตามคํานิยามดังกลาวดวย2
3. การเขาถึงขอมูลอิเล็กทรอนิกสที่เขารหัสไว
การเขารหัสขอมูลอิเล็กทรอนิกส เปนการใชกระบวนการทางคณิตศาสตรที่สลับซับซอนสรางสมการขึ้นมา
เพื่อแปลงขอมูลอิเล็กทรอนิกสดังกลาวไมใหสามารถอานได หากมิใชกระบวนการถอดรหัสที่เหมาะสม อาจจะตองใช
เวลาถอดรหัสเปนระยะเวลา 1,500 ป3
การที่เจาพนักงานสรรพากรจะตรวจสอบขอมูลอิเล็กทรอนิกสที่เขารหัสของผูเสียภาษีอากรดวยตนเองนั้น
นับวาเปนสิ่งที่เปนไปไมไดโดยแท ดังนั้น จึงควรพิจารณาอํานาจที่เจาพนักงานสรรพากรจะใชในการดําเนินการใหผู
เสี ย ภาษี อากรยิ น ยอมที่ จ ะเป ดเผยรหั ส ผา น (Password) ในการถอดรหั ส ขอมู ล อิ เล็ กทรอนิ กส ซึ่ ง ตามประมวล

2
สํ า นั ก งานคณะกรรมการกฤษฎี ก า, “คู มื อ แบบการร า งกฎหมาย,” สื บ ค น เมื่ อ 20 พฤษภาคม 2561, จาก
http://web.krisdika.go.th/data/legalform/lawSubform/pdf-kidsadeeka.pdf.
3
Digicert, “The Math Behind Estimations to Break a 2048-bit Certificate,” Retrieved on March 2 2 ,
2015, from https://www.digicert.com/TimeTravel/math.htm.
วารสารนิติศึกษาไทย 815

รัษฎากรนั้น การที่ผูเสียภาษีอากรไมยอมบอกรหัสผาน (Password) ในการถอดรหัสขอมูลอิเล็กทรอนิกสภายหลังจาก


ที่เจาพนักงานสรรพากรไดสอบถามแลว เปนปญหาตีความวาเปน การไมอํานวยความสะดวกตอเจาพนักงานตาม
มาตรา 3 นว หรือไม หรือหากกรณีผูเสียภาษีอากรแจงตอเจาพนักงานสรรพากรวาตนลืมรหัสผานหรือรหัสผานที่จด
บันทึกไวสูญหาย เปนเหตุใหไมอาจถอดรหัสขอมูลอิเล็กทรอนิกสได จะถือวาเปนการแจงขอความเท็จ หรือใหถอยคํา
เท็จ หรือตอบคําถามดวยถอยคําอันเปนเท็จตามมาตรา 37 หรือไม เพียงใด
แมวาพระราชบัญญัติวาดวยการกระทําความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร พ.ศ. 2550 มาตรา 18 วรรคสอง จะมี
บัญญัติไว แตอาจมีปญหาใหตองตีความอีกวา กรณีที่ผูเสียภาษีอากรมีเพียงขอมูลอิเล็กทรอนิกสที่ใสรหัส ลับไว ใน
คอมพิวเตอรของผูเสียภาษีอากร แตยังไมปรากฏวามีการหลีกเลี่ยงภาษีอากรอยางชัดแจง มีเพียงเหตุอันควรเชื่อไดวา
มีการหลีกเลี่ยงภาษีอากร ตามมาตรา 3 เบญจ และเหตุอันควรเชื่อวาผูใดแสดงรายการตามแบบที่ยื่นไมถูกตองตาม
ความจริงหรือไมบริบูรณ ตามมาตรา 19 แหงประมวลรัษฎากรนั้น มิใชเหตุอันควรเชื่อวาไดมีการกระทําความผิดตาม
พระราชบัญญัติวาดวยการกระทําความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร พ.ศ. 2550 และยังไมถือวาเปนการกระทําความผิด
อาญาตามกฎหมายอื่น ในอันที่พนักงานเจาหนาที่จะมีอํานาจถอดรหัสขอมูลอิเล็กทรอนิกสตามมาตรา 18 (7) ใน
เครื่องคอมพิวเตอรสวนบุคคลของผูเสียภาษีอากรได และเจาพนักงานสรรพากรตามประมวลรัษฎากรจะรองขอให
พนักงานเจาหนาที่ตามพระราชบัญญัติวาดวยการกระทําความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร พ.ศ. 2550 ชวยดําเนินการ
ถอดรหัสลับขอมูลอิเล็กทรอนิกสนั้นไดหรือไม เพี ยงใด กรณีนี้เปนปญหาในการตีความ ดังนั้น บทบัญญัติตามมาตรา
18 วรรคสอง ของพระราชบัญญัติวาดวยการกระทําความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร พ.ศ. 2550 ยอมไมอาจใชบังคับ
โดยอนุโลมกับกรณีการถอดรหัสลับขอมูลอิเล็กทรอนิกสของผูเสียภาษีอากรเพื่อการตรวจสอบภาษีอากร
หากพิจารณาแนวทางของ Customs Act 1967 ของมาเลเซีย มาตรา 111B ไดใหอํานาจเจาพนัก งาน
ศุลกากรที่เขาไปตรวจสอบภาษี ณ สถานประกอบการ มีอํานาจในการเขาถึงขอมูลที่ถูกเก็บไวในคอมพิวเตอรหรือที่อื่น
ใดเพื่อวัตถุประสงคในการตรวจสอบภาษีอากร ซึ่งคําวา “เขาถึง” นั้นหมายความรวมถึงการใชรหัสผาน การเขารหัส
หรือถอดรหัสใด ๆ เพื่อใหเขาถึงขอมูลในคอมพิวเตอรหรืออุปกรณจัดเก็บขอมูลอิเล็กทรอนิกสเชนวานั้นดวย
ขณะเดียวกัน Taxes Consolidation Act 1997 มาตรา 908C ของประเทศไอรแลนด กําหนดวาในกรณีที่
เจ า พนั กงานรองขอต อศาลให ออกหมายค น สถานที่ ใด ซึ่ ง ในการคน ดั ง กล า ว หากพบคอมพิ ว เตอรหรืออุ ป กรณ
อิเล็กทรอนิกสในสถานที่นั้น เจาพนักงานมีอํานาจในการขอใหบุคคลที่อยูในสถานที่นั้นใหรหัสผาน (Password) แก
เจาพนักงานในการเขาถึงคอมพิวเตอรหรืออุปกรณอิเล็กทรอนิกสดังกลาว หรือแสดงขอมูลในคอมพิวเตอรที่เขาถึงให
ออกมาเปนรูปแบบที่สามารถอานหรือมองเห็นได โดยหากบุคคลที่เจาพนักงานรองขอแลวไมยอมใหความชวยเหลือแก
เจาพนักงานก็จะไดรับโทษตามกฎหมายดวย
สวน Income Tax Act 1947 ของประเทศสิงคโปร มาตรา 65B กําหนดใหเจาพนักงานสามารถเขาถึงขอมูล
ใด ๆ ซึ่งรวมถึงขอมูลที่เขารหัสไว (Encrypted Data) ตลอดจนสามารถรองขอใหบุคคลที่เปนเจาของขอมูลกระทําให
เจาพนักงานถอดรหัสขอมูลนั้น เพื่อวัตถุประสงคในการตรวจสอบภาษีอากรได
816 Thailand Journal of legal Study

บทสรุป
ผลการศึกษาวิจัย ผูเขียนเสนอใหปรับปรุงแกไขประมวลรัษฎากร เพื่อรองรับกระบวนการตรวจสอบภาษี
อากรในธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส สําหรับพยานหลักฐาน เอกสาร บัญชี บันทึก หรือขอมูลอื่นใดที่จัดเก็บอยูในรูปของ
ขอมูลอิเล็กทรอนิกส สอดคลองกับขอเสนอแนะขององคการเพื่อความรวมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (OECD)4
โดยขอเสนอแนะดานกฎหมายใหมีการปรับปรุงแกไขมาตรา 3 เบญจ และมาตรา 88/3 ดังนี้
มาตรา 3 เบญจ
“มาตรา 3 เบญจ เมื่อมีเหตุอันควรเชื่อวามีการหลีกเลี่ยงการเสียภาษีอากร ใหอธิบดีมีอํานาจเขาไป หรือออก
คําสั่งเปนหนังสือใหเจาพนักงานสรรพากรเขาไปในสถานที่หรือยานพาหนะใดเพื่อทําการตรวจคน ยึด หรืออายั ดบัญชี
เอกสาร หรือหลักฐานอื่นที่เกี่ยวกับหรือสันนิษฐานวาเกี่ยวกับภาษีอากรที่จะตองเสียไดทั่ว ราชอาณาจักร กับทั้งใหมี
อํานาจตรวจคนและเขาถึงขอมูลอิเล็กทรอนิกสที่จัดเก็บอยูในเครื่องคอมพิวเตอรหรืออุปกรณอื่นใดในสถานที่นั้นได
เพียงเทาที่จําเปน5
ในจังหวัดอื่นนอกจากกรุงเทพมหานคร ใหผูวาราชการจังหวัดหรือสรรพากรเขตมีอํานาจเชนเดียวกับอธิบดี
ตามวรรคหนึ่ง สําหรับในเขตทองที่จังหวัดหรือเขตนั้น
การทําการตามวรรคหนึ่งหรือวรรคสองตองทําในระหวางเวลาพระอาทิตยขึ้นถึงพระอาทิตยตก หรือใน
ระหวางเวลาทําการของผูประกอบกิจการนั้น
ในกรณีที่มีการยึด อายัดบัญชี เอกสารหรือหลักฐานใดตามวรรคหนึ่งที่เก็บรักษาในรูปขอมูลอิเล็กทรอนิกส
อธิบดี ผูวาราชการจังหวัดหรือสรรพากรเขต แลวแตกรณี มีอํานาจคัดลอก ทําสําเนา หรือทําสิ่งพิมพออกของขอมูล
อิเล็กทรอนิกสดังกลาว และใหถือวาสิ่งพิมพออกที่ไดทําขึ้นเปนบัญชี เอกสาร หรือหลักฐานเชนวานั้น
ในกรณีขอมูลอิเล็กทรอนิกสตามวรรคหนึ่งมีการเขารหัสลับไว และขอมูลอิเล็กทรอนิ กสนั้นอยู ในความ
ครอบครองของบุคคลใด ใหอธิบดี ผูวาราชการจังหวัดหรือสรรพากรเขต แลวแตกรณี มีอํานาจรองขอผูเชี่ยวชาญให
ถอดรหั ส ลั บ ของขอมู ล อิ เล็ กทรอนิ กส หรือสั่ ง ให บุ ค คลที่ ครอบครองหรือเกี่ย วขอ งกับการเขารหั ส ลับ ของขอมูล
อิเล็กทรอนิกส ทําการถอดรหัสลับ หรือใหความรวมมือในการถอดรหัสลับดังกลาว
ในกรณีตามวรรคหนึ่ง ใหอธิบดีมีอํานาจเรียกบุคคลมาใหถอยคําหรือมีหนังสือแจงใหบุคคลสงเอกสาร วัตถุ
ขอมูลอิเล็กทรอนิกส ขอมูลจราจรทางคอมพิวเตอร ขอมูลทางการเงิน หรือหลักฐานใดที่เกี่ยวของเพื่อประโยชนในการ
ตรวจสอบการหลีกเลี่ยงการเสียภาษีอากร
บุคคลมีหนาที่ในการเก็บรักษาบัญชี เอกสาร หรือหลักฐานที่เก็บรักษาในรูปขอมูลอิเล็กทรอนิกสในจํานวนที่
เพียงพอและเหมาะสมตอการตรวจสอบภาษีอากร ทั้งนี้ ใหเปนไปตามระเบียบวาดวยหลักเกณฑ วิธีการ และเงื่อนไข
ที่อธิบดีกําหนด”
มาตรา 88/3
“มาตรา 88/3 เจาพนักงานประเมินมีอํานาจเขาไปในสถานประกอบการของผูประกอบการไมวาจะเปน
ผูประกอบการจดทะเบียนหรือไม หรือในสถานที่ อื่นที่เกี่ยวของระหวางพระอาทิตย ขึ้นและพระอาทิตยต ก หรือ
ระหวางเวลาทําการของผูประกอบการ และทําการตรวจสอบเพื่อใหทราบวาผูประกอบการไดปฏิบัติการโดยถูกตอง
ตามบทบัญญัติในหมวดนี้หรือไม ในการนี้เจาพนักงานประเมินมีอํานาจสั่งผูประกอบการหรือบุคคลที่อยูในสถานที่นั้น
ใหปฏิบัติการเทาที่จําเปนเพื่อประโยชนในการตรวจสอบเอกสารหลักฐานตาง ๆ อันควรแกเรื่อง และมีอํานาจยึด
เอกสารหลักฐานเหลานั้นมาตรวจสอบไตสวนได

4
ผูที่สนใจสามารถศึกษาเพิ่มเติมไดจาก OECD, “Strengthening Tax Audit Capabilities : General Principles and
Approaches,” from https://www.oecd.org/tax/administration/ 37589900.pdf และ OECD, “Strengthening Tax Audit
Capabilities : General Principles and Approaches,” from https://www.oecd.org/tax/administration/3 7 5
89900.pdf.
5
ถอยคําที่ขีดเสนใต คือ ขอเสนอแนะเพิ่มเติมเนื้อหาในกฎหมายเดิม
วารสารนิติศึกษาไทย 817

ในการดําเนินการตามวรรคหนึ่ง ใหเจาพนักงานประเมินแสดงบัตรประจําตัวพรอมทั้งหนังสือหรือหลักฐาน
ตอผูที่เกี่ยวของเมื่อเขาไปทําการตรวจสอบ
ในกรณีที่มีการยึดเอกสารหลักฐานตามวรรคหนึ่งที่เก็บรักษาในรูปขอมูลอิเล็กทรอนิกส เจาพนักงานประเมิน
มีอํานาจคัดลอก ทําสําเนา หรือทําสิ่งพิมพออกของขอมูลอิเล็กทรอนิกสดังกลาว และใหถือวาสิ่งพิมพออกที่ไดทําขึ้น
เปนเอกสารหลักฐานเชนวานั้น”
รวมถึ ง ข อ เสนอแนะด า นอื่ น ๆ ได แ ก การแลกเปลี่ ย นข อ สนเทศทางภาษี อ ากร ( Tax Information
Exchange) ปรับปรุงระบบการเสียภาษีอากร พัฒนาทักษะของพนักงานเจาหนาที่ และสรางความตระหนักแกผูเสีย
ภาษีอากร
818 Thailand Journal of legal Study

บรรณานุกรม

หนังสือ

ดุลยลักษณ ตราชูธรรม. หลักกฎหมายภาษีอากร (The Principle of Tax Law). พิมพครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร :


สถาบัน T.Training Center, 2550.

สื่ออิเล็กทรอนิกส

สมเกี ย รติ ตั้ ง กิ จ วานิ ช ย . “การพาณิ ช ย อิ เ ล็ ก ทรอนิ ก ส กั บ ผลกระทบต อ การจั ด เก็ บ ภาษี .” https://tdri.or.th/
2012/11/a107/. 2 พฤษภาคม 2561.
สํานักงานคณะกรรมการกฤษฎี กา. “คูมือแบบการรางกฎหมาย.” http://web.krisdika.go.th/data/ legalform
/lawSubform/pdf-kidsadeeka.pdf. 20 พฤษภาคม 2561.

ELECTRONIC MEDIA

Digicert. “The Math Behind Estimations to Break a 2048-bit Certificate” https://www.digicert.com/


TimeTravel/math.htm. March 22, 2015.
OECD. “Strengthening Tax Audit Capabilities: General Principles and Approaches.” http://www.oecd
.org/tax/administration/37589900.pdf. March 22, 2015.
. “Taxation and Electronic Commerce Implementing the Ottawa taxation framework
conditions.” https://www.oecd.org/tax/consumption/Taxation%20and%20eCommer
ce%202001.pdf. March 22, 2015.
วารสารนิติศึกษาไทย 819

มาตรการทางกฎหมายในการสงเสริมการผลิตไฟฟาจากโซลารฟารม
LEGAL MEASURES TO PROMOTE ELECTRICITY PRODUCTIONFROM SOLAR FARM

ศุภเดช เต็มรัตน
Supadet Themrat
บทคัดยอ
การผลิตไฟฟาจากโซลารฟารมสามารถผสานสมดุลระหวางการเสริมสรางความมั่นคงทางพลังงานและการ
รักษาคุณภาพสิ่งแวดลอม แตมาตรการทางกฎหมายในการสงเสริมโซลารฟารมในปจจุบันไมมีประสิทธิภาพเทาที่ควร
บทความฉบับนี้นําเสนอขอพิจารณาบางประการเพื่อพัฒนามาตรการทางกฎหมายในการสงเสริมการผลิตไฟฟาจาก
โซลารฟารม

คําสําคัญ
พลังงานหมุนเวียน, พลังงานแสงอาทิตย, โซลารฟารม, กฎหมายพลังงานเปรียบเทียบ

ABSTRACT
Solar farm is a balanced solution between energy security and environmental protection.
Still, the existing legal measures promoting solar farm have limited efficacy. This article provides
some considerations to develop legal measure in order to promote solar farm.

Key words
Renewable energy, solar energy, solar farm, comparative energy law


นักศึกษาปริญญาโท หลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต สาขากฎหมายทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดลอม คณะ
นิติศาสตร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร : sthemrat@gmail.com
Graduate Student of Master of Laws Program in Environment Law, Faculty of Law, Thammasat
University. Email address: sthemrat@gmail.com
820 Thailand Journal of legal Study

บทนํา
รัฐมีภารกิจพื้นฐานในการจัดทําบริการสาธารณะเพื่อใหประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี รวมถึงการจัดใหมีไฟฟา
เพื่อการตอบสนองความตองการของประชาชน และในขณะเดียวกันตองรักษาสิ่งแวดลอมเพื่อใหประชาชนมีชีวิตความ
เปนอยูทามกลางสภาพแวดลอมที่ดีดวย การผลิตไฟฟ าจากพลังงานแสงอาทิตยในรูปแบบโซลารฟารม สามารถ
ตอบสนองภารกิจดังกลาวในบริบทของประเทศไทยไดเปนอยางดี เพราะมีแหลงพลังงานไมจํากัด สามารถผลิตไฟฟา
ไดในปริมาณมาก เปนมิตรกับสิ่งแวดลอม และมีศักยภาพเพียงพอที่จะสงเสริมได
1. การผลิตไฟฟาจากโซลารฟารมในโครงสรางกิจการไฟฟาของไทย
โครงสรางกิจการไฟฟาแบงเปน 3 สวนคือ กิจการผลิตไฟฟา กิจการสงกระแสไฟฟา และกิจการจําหนาย
ไฟฟาใหกับผูบริโภค ประเทศไทยมีโครงสรางกิจการไฟฟาแบบรวมศูนยโดยรัฐวิสาหกิจ 3 แหง ไดแก การไฟฟาฝาย
ผลิตแหงประเทศไทย (กฟผ.) ทําหนาที่ผลิ ตไฟฟาและสงกระแสไฟฟา การไฟฟาสวนภูมิภาค (กฟภ.) และการไฟฟา
นครหลวง (กฟน.) ทําหนาที่จัดหาและจําหนายไฟฟาใหแกประชาชน ทั้งนี้ มีการเปดโอกาสใหผูผลิตภาคเอกชนผลิต
และจําหนายไฟฟาใหแกการไฟฟาเพื่อจําหนายใหผูบริโภคตอไป ผูผลิตภาคเอกชนมี 3 ประเภทตามกําลัง การผลิต
ไดแก ผูผลิตรายใหญซึ่งมีกําลังการผลิตเกินกวา 90 เมกะวัตต (Independent Power Producer หรือ IPP) ผูผลิต
รายเล็กซึ่งมีกําลังการผลิตเกินกวา 10 เมกะวัตตแตไมเกิน 90 เมกะวัตต (Small Power Producer หรือ SPP) และ
ผูผลิตรายเล็กมากซึ่งมีกําลังการผลิตไม เกิน 10 เมกะวัตต (Very Small Power Producer หรือ VSPP) โครงสราง
กิจการไฟฟากําหนดให กฟผ. รับซื้อไฟฟาจากผูผลิตไฟฟารายใหญ (IPP) และรายเล็ก (SPP) กฟน. รับซื้อจากผูผลิต
รายเล็กมาก (VSPP) ในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล และ กฟภ. รับซื้อจากผูผลิตรายเล็ กมาก (VSPP) ที่อยู
นอกพื้นที่การรับซื้อของ กฟน.
ประเทศไทยไมมีผูผลิตไฟฟาจากโซลารฟารมที่เปนผูผลิตรายใหญ ผูผลิตไฟฟาจากโซลารฟารมสวนใหญเปน
ผูผลิตไฟฟารายเล็กมาก (SVPP) โดยในเดือนพฤษภาคมพ.ศ. 2561 มีจํานวน 445 ราย มีกําลังการผลิตที่สามารถ
จําหนายไฟฟาในเชิงพาณิชย 1,821.048 เมกะวัตต และมีผูผลิตรายเล็ก 7 รายมีกําลังการผลิตที่สามารถจําหนาย
ไฟฟ า ในเชิ ง พาณิ ช ย 436 เมกะวั ต ต รวมทั้ ง มี กํา ลั ง การผลิ ต ไฟฟ า จากโซลารฟ ารม 2,192 เมกะวั ต ต ซึ่ ง ตาม
แผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก พ.ศ. 2558 - 2579 กําหนดเปาหมายกําลังการผลิตไฟฟาจาก
พลังงานแสงอาทิตยไวที่ 6,000 เมกะวัตตภายในป พ.ศ. 2579
อยางไรก็ดี แมประเทศไทยจะมีมาตรการทางกฎหมายในการสงเสริมโซลารฟารม แตการผลิตไฟฟาใน
ลักษณะดังกลาวยังคงเปนไปอยางจํากัดและนอยกวาศักยภาพที่แทจริงตามที่ควรจะเปน จึงเปนที่ นาสนใจวา รัฐควร
พัฒนากฎหมายอยางไรเพื่อใหเกิดประโยชนสูงสุดและยั่งยืน บทความฉบับนี้จึงศึกษาเปรียบเทียบมาตรการทาง
กฎหมายของประเทศเพื่อเสนอแนวทางในการพัฒนากฎหมายของไทยตอไป
2. มาตรการทางกฎหมายของเยอรมนี และรัฐแคลิฟอรเนียประเทศสหรัฐอเมริกา
จากการศึ ก ษาเปรี ย บเที ย บกฎหมายต า งประเทศพบว า กฎหมายของเยอรมนี แ ละกฎหมายของรั ฐ
แคลิฟอรเนียประเทศสหรัฐอเมริกาประสบความสําเร็จในการสงเสริมโซลารฟารมและพลังงานหมุนเวียนอยางมาก
ประเทศเยอรมนี มี ก ฎหมายสํ า คั ญ ได แ ก (1) Renewable Energy Source Act 2017 (EEG) และ (2) Energy
Industry Act 2005 (EnWG) สวนรัฐแคลิฟอรเนี ยมี กฎหมายที่ สําคัญ ไดแก (1) Energy Policy Act 2005 (2)
Public Utility Regulatory Policies Act 1978 (3) California Public Utilities Code และรวมถึ ง กฎหมายที่
ปรับปรุงแกไขกฎหมายดังกลาวขางตนอีกหลายฉบับ กฎหมายของทั้งสองประเทศมีเปาหมายเดียวกันคือการสงเสริม
การใชพลังงานหมุนเวียน โดยอาศัยมาตรการตาง ๆ ซึ่งมีทั้งสวนที่คลายคลึงกันและแตกตางกัน ดังนี้
2.1 มาตรการที่คลายคลึงกัน
(1) การเปดเสรีกิจการไฟฟา กฎหมายกําหนดใหแยกกิจการผลิต กิจการสงกระแสไฟฟา และกิจการจําหนาย
ไฟฟาออกจากกัน (unbundling) เพื่อปองกันมิใหเกิดการผูกขาดตลาด โดยเฉพาะอยางยิ่งการควบคุมการดํา เนิน
กิจการโครงขายสายไฟฟา กฎหมายของเยอรมนีหามผูประกอบกิจการโครงขายไฟฟาเขาไปเกี่ยวของในกิจการผลิต
ไฟฟาและกิจการจําหนายไฟฟา กฎหมายกําหนดใหมีการแยกสภาพบุคคล การประกอบการ และการเงินการบัญชี
วารสารนิติศึกษาไทย 821

ออกจากกัน สวนกฎหมายของรัฐแคลิฟอรเนียกําหนดใหจัดตั้งศูนยควบคุมระบบอิสระ (Independent System


Operator) และศูนยปฏิบัติการทางการตลาด (Power Exchange) เพื่อทําหนาที่ดูแลความมั่นคงของระบบไฟฟา
และดําเนินการใหกิจการไฟฟามีการแขงขันอยางเสรีและเปนธรรม
(2) การกําหนดเปาหมายที่ชัดเจนและมีกลไกการบังคับที่เปนกิจจะลักษณะ กฎหมายของเยอรมนีกําหนด
เปาหมายวาประเทศจะตองมีสัดสวนการใชไฟฟาจากพลังงานหมุนเวียนอยางนอยรอยละ 80 ภายในป ค.ศ. 2050
โดยมีการแบงยอยเปาหมายในแตละชวงป กฎหมายมีกลไกการใหสิทธิพิเศษเพื่อจูงใจใหผลิตไฟฟาโซลารฟารมและ
พลังงานหมุนเวียนอื่น ๆ โดยมีมาตรการทางปกครองและทางแพงเปนสวนเสริมการบังคับใชกฎหมายดวย สวน
กฎหมายของรัฐแคลิฟอรเนียมี การกํา หนดมาตรฐานสัดสวนการผลิตไฟฟาจากพลังงานหมุนเวียน ( Renewable
Portfolio Standard หรือ RPS) ตามกฎหมาย California Public Utilities Code 1951 ซึ่งกําหนดใหผูประกอบ
กิจการคาปลีกไฟฟาและผูประกอบกิจการโครงขายไฟฟาตองมีสัดสวนการจําหนายไฟฟาจากแหลงพลังงานหมุนเวียน
ไม ต่ํ า กว า รอ ยละ 50 ภายในป ค.ศ. 2030 โดยยั ง มี การแบ งย อยเปาหมายตามช วงป ผู ที่ ไ ม ส ามารถปฏิบัติตาม
มาตรฐาน RPS มีความรับผิดทั้งทางแพงและทางอาญา จึงเปนการบังคับใหมีการรับซื้อไฟฟาที่ผลิตจากโซลารฟารม
และพลังงานหมุนเวียนไปโดยปริยาย กฎหมายของรัฐแคลิฟอรเนียยังมีมาตรการเสริมคือ การจําหนายใบรับรองการ
ผลิตไฟฟฟาจากพลังงานหมุ นเวียน (Renewable Energy Certificate หรือ REC) ซึ่งกฎหมายถือวาผูครอบครอง
REC เปนผูผลิตไฟฟาจากพลังงานหมุนเวียนแมจะไมไดผลิตหรือจําหนายเอง มาตรการนี้จึงมีผลทางออมเปนการจูงใจ
ใหมีการผลิตไฟฟาจากพลังงานหมุนเวียนเพื่อจําหนาย REC เปนรายไดเสริมจากการจําหนายไฟฟา
(3) การกระจายภาระทางการเงิน กฎหมายของเยอรมนีและกฎหมายของรัฐแคลิฟอรเนียยอมใหผูประกอบ
กิจการไฟฟาผลักภาระคาใชจายที่เพิ่มขึ้นจากการสงเสริมพลังงานหมุนเวียนไปยังผูบริโภคได เพื่อลดภาระงบประมาณ
ของรัฐ ทั้งยังเสริมสรางใหประชาชนประหยัดไฟฟาและมีสวนรวมรับผิดชอบการบริโภคของตน
(4) การพัฒนาโครงขายสายไฟฟา กฎหมายของเยอรมนีกําหนดใหการพัฒนาโครงขายสายไฟฟาคํานึงถึงการ
สงเสริมพลังงานหมุนเวียนตามที่กฎหมายกําหนด กฎหมายกําหนดใหมีการทําแผนพัฒนาโครงขายไฟฟาในเชิง
ยุทธศาสตรเพื่อใหโครงขายพลังงานสามารถรองรับพลังงานหมุนเวียนไดในระยะยาว สวนกฎหมาย Assembly Bill
32 ค.ศ. 2006 และ Senate Bill 1368 ค.ศ. 2006 ของรัฐแคลิฟอรเนียมีมาตรการควบคุมการปลอยกาซเรือนกระจก
ในภาคการผลิตไฟฟา กฎหมายหามผูประกอบการสายสงไฟฟารับซื้อไฟฟาจากผูผลิตรายใดรายหนึ่งเปนเวลาติดตอกัน
เกิน 5 ป เวนแตผูผลิตรายนั้นควบคุมการปลอยกาซเรือนกระจกใหอยูในเกณฑที่กําหนด เชนนี้จึงมีการพัฒนาโครงขาย
ไฟฟาเพื่อรองรับพลังงานหมุนเวียนมากขึ้น
2.2 มาตรการทางกฎหมายที่แตกตางกัน
(1) การใชเครื่องมือดานราคา (price-based) และเครื่องมือดานปริมาณ (quantity-based) เปนขอแตกตาง
ที่ชัดเจนที่สุดระหวางกฎหมายทั้ง 2 ระบบ กฎหมายของเยอรมนีเนนการจูงใจดานราคา ผูผลิตไฟฟาจากโซลารฟารม
ไดรับประกันราคาจําหนายไฟฟาในราคาสูงกวาราคาตลาด ผูผลิตมีสิทธิจําหนายไฟฟาในราคาพิเศษตลอดระยะเวลา
สัญญาจําหนายไฟฟาเป นเวลา 20 ป กฎหมายกําหนดราคาพิเศษไว 2 รูปแบบ ไดแก รูปแบบ Feed-in Tariff ที่
กฎหมายกําหนดราคาไวแลวอยางชัดเจน มาตรการนี้ใชกับผูผลิตไฟฟาแสงอาทิตยที่มีกําลังการผลิตไมถึง 750
กิโลวัตตซึ่งโดยสวนมากแลวเปนการผลิตในครัวเรือน และรูปแบบ Market Premium ที่กฎหมายกําหนดราคาพิเศษ
ดวยการประมูลราคากันระหวางผูผลิตไฟฟาจากโซลารฟารม ผูผลิตรายใดยื่นขอเสนอขอรับประกันราคาจําหนาย
ไฟฟาต่ําที่สุดจะเปนผูช นะการประมูล และมีสิทธิจําหนายไฟฟาในราคาพิเศษที่ตนชนะการประมูล มาตรการ Market
Premium ใชกับผูผลิตไฟฟาจากโซลารฟารมที่มีกําลังการผลิตตั้งแต 750 กิโลวัตตขึ้นไปซึ่งเปนการผลิตในเชิงพาณิชย
ในช ว งแรกที่ มี ก ารประกาศใช ก ฎหมาย EEG ไม มี ก ารกํ า หนดมาตรการแข ง ขั น ด า นราคา เพื่ อ เป ด โอกาสให
ผูประกอบการรายใหมเขามาผลิตไฟฟาจากพลังงานหมุนเวียนอยางกวางขวาง ในชวงเวลาดังกลา วเกิดภาระคาใชจาย
ในการสงเสริมพลังงานหมุนเวียนทําใหประชาชนผูใชไฟฟาตองจายคาไฟฟาที่สูงขึ้น ตอมาเมื่อประเทศมีการผลิตไฟฟา
จากพลังงานหมุนเวียนอยางแพรหลายและพอจะแขงขันกับการผลิตไฟฟาจากแหลงเชื้อเพลิงฟอสซิลไดแลว กฎหมาย
จึ ง ได เริ่ม ปรับ เปลี่ ย นรูป แบบการส ง เสริม โดยนํ า มาตรการประมู ล มาทดลองใช กับ การรับ ซื้ อ ไฟฟ า จากพลั ง งาน
822 Thailand Journal of legal Study

แสงอาทิตยเชิงพาณิชยในชวงป ค.ศ. 2014 และตอมาในป ค.ศ. 2017 มีการแกไขกฎหมายโดยกําหนดใหนํามาตรการ


ประมูลมาใชกับการผลิตไฟฟาจากแหลงพลังงานหมุนเวียนอื่น ๆ ดวย เนื่องจากกฎหมายตองการสงเสริ มการแขงขัน
อยางเสรี และลดภาระคาไฟฟาของประชาชน สวนกฎหมายของรัฐแคลิฟอรเนียเปนมาตรการดานปริมาณ มีการใหผู
จําหนายไฟฟาตองจัดหาไฟฟาที่ผลิตจากพลังงานหมุนเวียนใหไดตามที่กําหนด โดยที่รัฐบาลไมแทรกแซงดานราคา
และปลอยใหราคาคาไฟฟาเปนไปตามกลไกตลาด
ในสวนนี้จะเห็นไดวา กฎหมายของทั้งสองประเทศมีลักษณะการใชอํานาจรัฐเขาแทรกแซงกิจกรรมทาง
เศรษฐกิจที่แตกตางกัน เนื่องจากกฎหมายมีพื้นฐานความคิดที่แตกตางกัน กลาวคือ กฎหมายเยอรมนีมองวารัฐ
สามารถเขามาแทรกแซงกิจกรรมทางเศรษฐกิจไดตามสมควรเพื่อใหเกิดประโยชนและความเปนธรรมในสังคม ในขณะ
ที่กฎหมายของรัฐแคลิฟอรเนียมองวารัฐควรแทรกแซงนอยที่สุดเพื่อใหปลอยใหเปนไปตามกลไกตลาด อยางไรก็ดี
พื้นฐานความคิดดังกลาวมีพลวัตรอยางตอเนื่อง มาตรการทางกฎหมายไมไดตายตัว มีการปรับปรุงอยูเสมอเพื่อให
สอดคลองและเทาทันกับบริบททางเทคโนโลยีทางสังคมของแตละประเทศ กฎหมายของเยอรมนีเปดโอกาสใหมีการ
แขงขันมากขึ้น และกฎหมายของรัฐแคลิฟอรเนียก็มีการนํามาตรการกําหนดราคารับซื้อพิเศษคลาย Feed-in Tariff
มาปรับใชในการสงเสริมพลังงานแสงอาทิตยเชนกัน
(2) การเชื่อมตอโครงขายไฟฟา กฎหมายของเยอรมนีใหผูผลิตไฟฟาจากพลังงานแสงอาทิตยและพลังงาน
หมุนเวียนอื่น ๆ มีสิทธิในการเชื่อมตอกับโครงขายไฟฟากอนผูผลิตไฟฟาจากเชื้อเพลิงฟอสซิลไวอยางชัดเจน (priority
to grid) สวนกฎหมายของรัฐแคลิฟอรเนียไมมีการกําหนดสิทธิเชนวานั้นไวแตอยางใด
(3) การรับมือกับความผันผวนของแหลงพลังงาน กฎหมายของรัฐแคลิฟอรเนียกําหนดใหผูประกอบกิจการ
โครงขายไฟฟามีหนาที่จัดใหมีระบบเก็บสะสมพลังงานตามปริมาณที่รัฐกําหนด เพื่อปองกันปญหาความผันผวน
แสงอาทิตยและชะลอการลงทุนสรางโครงขายไฟฟา สวนกฎหมายของเยอรมนีไมไดมาตรการดั งกลาวไวอยางชัดเจน
แตอาศัยการบริหารจัดการแหลงพลังงานหมุนเวียนอื่นๆ เขามาทดแทนในชวงที่ไมมีแสงอาทิตย และอาศัยโรงไฟฟา
ถานหินที่มีอยูเดิมซึ่งมีกําลังการผลิต 10-20 กิกะวัตตเปนแหลงพลังงานสํารองในยามคับขัน มาตรการของทั้งสอง
ประเทศเพิ่มกําลังการผลิตไฟฟาพลังงานหมุนเวียนและลดปญหากระแสไฟฟาตกไดในคราวเดียวกัน โดยผลการศึกษา
ทางเทคนิคและทางเศรษฐศาสตรชี้วามาตรการของเยอรมนีมีผลสัมฤทธิ์มากกวารัฐแคลิฟอรเนีย
3. บทวิเคราะห : แงมุมในการพัฒนากฎหมายของประเทศไทย
การสงเสริมการผลิตไฟฟาจากโซลารฟารมตลอดจนแหล งพลังงานหมุนเวียนอื่น ๆ อยูภายใตแนวนโยบาย
แหงรัฐ ตามมาตรา 72 (5) แหงรัฐธรรมนูญแหงราชอาณาจักรไทยซึ่งกําหนดใหรัฐพึงดําเนินการเกี่ยวกับพลังงานโดย
การพัฒนาและสนับสนุนใหมีการผลิตและการใช พลังงานทางเลือกเพื่อเสริมสรางความมั่นคงดานพลังงานอยางยั่งยืน
รัฐธรรมนูญไมไดกําหนดกลไกไวโดยเฉพาะเจาะจงวาจะตองดําเนินตามแนวนโยบายดังกลาวอยางไร ดังนั้น แนวทาง
ประการหนึ่งที่สามารถกําหนดกลไกใหรัฐดําเนินการตามแนวนโยบายดังกลาวคือการตราและการใชกฎหมายนั่นเอง
ในปจจุบัน ประเทศไทยไมมีกฎหมายวาดวยการสงเสริมการผลิตไฟฟาจากพลั งงานหมุนเวียนเปนการเฉพาะ
มีเพียงการกฎหมายที่เกี่ยวของไดแก พระราชบัญญัติการประกอบกิจการพลังงาน พ.ศ. 2550 และ พระราชบัญญัติ
คณะกรรมการนโยบายพลังงานแหงชาติ พ.ศ. 2535 จากการศึกษาพบวา สาเหตุที่ทําใหการสงเสริมโซลารฟารม
เปนไปอยางจํากัดมีสาเหตุหลายประการ อาทิ โครงสรางกิจการแบบผูกขาดโดยรัฐ นโยบายและกฎหมายไมชัดเจน
และไมมีการพัฒนาโครงขายสายไฟฟาเพื่อรองรับพลังงานหมุนเวียนในอนาคต ฉะนั้น เมื่อพิจารณากฎหมายของ
ตางประเทศพบวาการพัฒนากฎหมายจําเปนตองพัฒนากฎหมายในประเด็น ดังนี้
3.1 การปฏิรูปโครงสรางกิจการไฟฟา
ในปจจุบันรัฐเปนผูผูกขาดกิจการไฟฟาผานการไฟฟาทั้ง 3 แหงซึ่งเปนรัฐวิสาหกิจที่มีภารกิจในการแสวงกําไร
จากการผลิตไฟฟาจากเชื้อเพลิงฟอสซิลเปนหลัก เมื่อรายไดหลักของการไฟฟาทั้ง 3 แหงคือการจําหนายไฟฟาที่ผลิต
จากเชื้ อเพลิ ง ฟอสซิ ล การผลิ ต ไฟฟ า จากโซลารฟ าร ม และพลั ง งานหมุ น เวี ย นอื่ น ๆ จึ ง ขัด กับ ผลประโยชน ของ
รัฐวิสาหกิจอยางหลีกเลี่ยงไมได
วารสารนิติศึกษาไทย 823

แมในปจจุบันพระราชบัญญัติการประกอบกิจการพลังงาน พ.ศ. 2550 ไดกําหนดหลักการใหกิจการพลังงาน


เป น ไปอย า งเสรีและเป นธรรม แต ค ณะกรรมการกํา กับ กิจ การพลั งงานไม มี อํานาจถึง ขนาดว าจะแทร กแซงการ
ดําเนินการของการไฟฟาทั้ง 3 แหงแตอยางใด เพราะการไฟฟาแตละแหงตางมีอํานาจตามพระราชบัญญัติจัดตั้งของ
ตนเอง การไฟฟาจึงเปนผูมีอํานาจผูกขาดตลาดในทางพฤตินัยอยูนั่นเอง
ดังนั้น ควรจํากัดบทบาทของรัฐวิสาหกิจลงเพื่อเอื้อใหเกิดบรรยากาศการแขงขันอยางเสรีแ ละเปนธรรม โดย
นําหลักการ unbundle มาประยุกตใชในการแยกกิจการสงไฟฟาออกจากกิจการผลิตและกิจการจําหนาย การไฟฟา
ทั้ง 3 แหงควรเปดโอกาสใหเอกชนเขามาประกอบกิจการผลิตและจําหนายไฟฟามากขึ้น การไฟฟาทั้ง 3 แหงควรลด
บทบาทการผลิตไฟฟาแลวหันมาเนนการใหบริการสงกระแสไฟฟาจากผูผลิตไฟฟาไปยังผูบริโภค และควรผันบทบาท
มาเปนผูผลิตไฟฟาสํารองในยามฉุกเฉินที่ไมสามารถผลิตไฟฟาจากแสงอาทิตยหรือพลังงานหมุนเวียน เชนนี้ การไฟฟา
จะยังคงมีโอกาสแสวงกําไรจากโรงไฟฟาที่มีอยูเดิมไดตามควร และในขณะเดียวกันก็เปนการเปดโอกาสใหมีผูประกอบ
กิจการรายใหม ๆ ซึ่งรวมถึงโซลารฟารมสามารถผลิตไฟฟาปอนเขาสูระบบไดมากขึ้น
3.2 การมีเปาหมายการสงเสริมที่ชัดเจนและมีกลไกการบังคับเปนกิจจะลักษณะ
แมประเทศไทยจะมีแผนพัฒนากําลังผลิตไฟฟาของประเทศไทย พ.ศ. 2558 -2579 (Power Development
Plan หรือ PDP) และแผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก พ.ศ. 2558 - 2579 (Alternative Energy
Development Plan หรือ AEDP) แตแผนดังกลาวยังไมไดคํานึงถึงการใชไฟฟาสําหรับโครงสรางพื้นฐานที่ใชไฟฟาใน
ปริมาณมาก อาทิ รถไฟความเร็วสูง เปาหมายที่แผนกําหนดยอมเคลื่อนไปจากความเปนจริงและต่ํากวาระดับที่ควร
จะเปน อีกทั้งแผนดังกลาวเปนเพียงแนวนโยบายที่ไมมีกลไกการกําลังบังคับใหเกิดขึ้นจริง
การมีกฎหมายกําหนดเปาหมายที่ชัดเจนทําใหองคาพยพของรัฐปฏิบัติภารกิจไปในทิศทางเดียวกัน มีกลไก
การบังคับที่เปนกิจจะลักษณะ ฉะนั้น ควรปรับปรุงเป าหมายใหสะทอนความเปนจริงมากขึ้น และควรแบงเปาหมาย
ออกเปนสวนยอย ๆ ตามแตละชวงปดังเชนกฎหมายของตางประเทศ เพื่อเปนตัวชี้วัดผลสัมฤทธิ์ของการปฏิบัติหนาที่
และเปดโอกาสทําใหประชาชนมีสวนชวยควบคุมการทํางานของรัฐในทางออมอีกดวย นอกจากนั้น คณะกรรมการ
กํากับกิจการพลังงานควรกําหนดเงื่อนไขในการอนุญาตประกอบกิจการโครงขายไฟฟาโดยอางอิงเปาหมายการสงเสริม
พลังงานหมุนเวียนวา ผูประกอบกิจการตองรับซื้อไฟฟาจากพลังงานหมุนเวียนซึ่งรวมถึงโซลารฟารมใหไดตามปริมาณ
ที่กําหนด หากไมสามารถปฏิบัติตามเงื่อนไขดังกลาว
ใหคณะกรรมการกํากับกิจการพลังงานพิจารณามาตรการทางปกครองที่เหมาะสม รวมถึงการระงับหรือเพิก
ถอนใบอนุญาตไดตามความเหมาะสม
นอกจากนั้น ควรเพิ่มการรายงานผลการสงเสริมการผลิตไฟฟาพลังงานหมุนเวียนไวในรายงานประจําปของ
คณะกรรมการกํา กับ กิจ การพลังงานที่ต องรายงานต อรัฐสภาและองค กรต าง ๆ ของรัฐ และเผยแพรขอมู ลตอ
ประชาชน ยิ่งไปกวานั้นควรมีมาตรการสําหรับกรณีที่ไมสามารถดําเนินการไดตามเปาหมาย อาทิ การชี้แจงสาเหตุและ
แนวทางแกไข การพิจารณาความเหมาะสมในการดํารงตําแหนงของผูบริหาร เพื่อเปนการบังคับทางออมอีกทางหนึ่ง
ดวย
3.3 การใหสิทธิพิเศษในการเชื่อมตอ และใชประโยชนโครงขายไฟฟา
กฎหมายไทยไมมีการใหสิทธิผูผลิตไฟฟาจากพลังงานหมุนเวียนเขาถึงและจําหนายไฟฟากอนผูผลิตรายอื่นที่
ไมใชพลังงานหมุนเวียน (priority to grid) มีเพียงหลักการแขงขันอยางเสรีและปราศจากการเลือกปฏิบัติที่ไมเป น
ธรรม ในความเปนจริง ผูผลิตไฟฟาจากโซลารฟารมสวนใหญเปนผูผลิตรายยอย (VSPP) ซึ่งตกอยูในฐานะเสียเปรียบ
เปนทุนเดิม เพราะสามารถผลิตไฟฟาไดเฉพาะในเวลาที่มีแสงอาทิตย ไมเหมือนโรงไฟฟาจากเชื้อเพลิงฟอสซิลที่
สามารถผลิตไดตลอดเวลา และระบบโครงขายไฟฟาถูกสรางขึ้นเพื่อรองรับการผลิตไฟฟาจากเชื้อเพลิงฟอสซิลไมไดถูก
สรางมาเพื่อรองรับไฟฟาจากพลังงานหมุนเวียนที่มีความผันผวนตามธรรมชาติ ฉะนั้น ผูผลิตไฟฟาจากโซลารฟารมควร
ไดรับการรับรองสิทธิใหเขาถึงและจําหนายไฟฟาไดกอนผูผลิตรายอื่นที่ไมใชพลังงานหมุนเวียน หากผูประกอบการ
โครงขายไฟฟาไมปฏิบัติตาม ผูผลิตไฟฟามีสิทธิยื่นเรื่องใหคณะกรรมการกํากับกิจการพลังงานพิจารณาดําเนินการทาง
ปกครองตามกฎหมายวาดวยการประกอบกิจการพลังงานตอไป เวนแตมีความจําเปนเพื่อรักษาความปลอดภัยของ
824 Thailand Journal of legal Study

ระบบโครงขายไฟฟา หรือผูผลิตไฟฟาไดตกลงไว เปนอยางอื่น มาตรการนี้มีความสําคัญยิ่งเพราะเปนหลักประกันวา


ไฟฟาที่ผลิตจากโซลารฟารมจะไดปอนเขาสูระบบโครงขายไฟฟา มาตรการนี้อํานวยความเปนธรรมเสียยิ่งกวาการที่รัฐ
ปฏิบัติตอผูประกอบกิจการอยางเสมอหนากันโดยมิไดคํานึงถึงความไดเปรียบเสียเปรียบในทางขอเท็จจริงเสียอีก
3.4 การรับซื้อไฟฟาในราคาพิเศษ
อุปสรรคประการสําคัญของการสงเสริมการผลิตไฟฟาจากโซลารฟารมที่ประเทศไทยประสบคือ การผลิต
ไฟฟาจากพลังงานหมุนเวียนยังไมเปนที่แพรหลายเนื่องจากมีตนทุน
การผลิตและการบํารุงรักษาที่คอนขางสูง จําเปนตองมีการจูง ใจใหผูประกอบการเอกชนหันมาผลิตไฟฟาใน
ลักษณะดังกลาวมากขึ้น การรับซื้อไฟฟาในราคาพิเศษอาศัยกฎหมายลําดับรอง
ซึ่งมักอางอิงกับฝายนโยบาย กระบวนการเปดรับซื้อไมตอเนื่องและเปลี่ยนแปลงบอยครั้งและมักถูกการเมือง
แทรกแซง ควรมีมาตรการในระดับกฎหมายเพื่อความชัดเจน
จากการเปรียบเทียบกฎหมายของตางประเทศพบวาทั้งมาตรการดานราคาและมาตรการดานปริมาณตางมี
ขอดีและขอเสีย จําเปนตองออกแบบมาตรการใหสอดคลองกับบริบทของประเทศไทยและการรับรองสิทธิเสรีภาพ
บุคคล การตรากฎหมายที่มีผลจํากัดสิทธิเสรีภาพตองไมขัดตอหลักนิติธรรม มีความเหมาะสมจําเปนเพื่อประโยชน
สวนรวม และไมสรางภาระเกินสมควร ในแงนี้ ผูเขียนเห็นวา มาตรการดานราคาใหผลตอบแทนแกผูผลิตไฟฟาใน
ลักษณะ “ทํามากไดมาก” เปนการจูงใจโดยที่รัฐไมจําเปนตองบังคับ ประหยัดตนทุนการตรวจสอบและบังคับใช ดังนัน้
มาตรการดานราคาเหมาะสมจะนํามาประยุกตใชกับกฎหมายไทย
ในการนี้ ควรนํามาใชใหสอดคลองกับความพรอมของประเทศ ในชวงตนที่ยังไมมีผูผลิตมากนักควรใชการรับ
ซื้อแบบ Feed-in Tariff โดยที่เพิ่มเพดานการรับซื้อไฟฟาจากโซลารฟารมใหมากขึ้นเทาที่ไมกระทบตอความมั่นคง
ปลอดภัยของระบบโครงข ายไฟฟา และเมื่อมีจํานวนผูผลิตไฟฟาจากโซลารฟารมมากพอที่จะแขงขันกันเองได มี
เทคโนโลยีที่พรอมรองรับการจําหนายไฟฟาระหวางผูผลิตและผูบริโภคโดยตรง ก็ควรเปลี่ยนมาใชรูปแบบ Market
Premium ที่มีการแขงขันประมูลราคาจําหนายไฟฟาเพื่อบรรเทาภาระคาไฟฟาของผูบริโภค
3.5 การกระจายภาระทางการเงินไปยังผูบริโภค
การกระจายภาระทางการเงินไปยังผูใชไฟฟาจําเปนตอการสงเสริมในระยะยาว เปนการสรางจิตสํานึกในการ
ประหยัดไฟฟาและความรับผิดชอบตอการบริโภคของผูใชไฟฟา รัฐไมควรแบกรับภาระทางการเงินไวเองเพราะจะ
ผู กพั น ภาระงบประมาณและกลายเป นประเด็น ทางการเมื อง ส ง ผลให ไ ม สามารถส งเสริมไดต ลอดรอดฝง จาก
การศึกษาพบวาปจจัยที่ทําใหคาไฟฟาแพงไมไดมีแคเพียงเงินเพิ่มในการรับซื้อไฟฟา แตยังมีปจจัยดานคาบริการ ภาษี
รวมถึงการผูกขาดตลาดดวย ดังนั้น หากรัฐควบคุมคาใชจายสวนอื่นใหเหมาะสม มีการใหสิทธิประโยชนดานการลงทุน
และดานภาษีแกผูผลิตไฟฟาจากพลังงานหมุนเวียน ตลอดจนแกปญหาการผูกขาดตลาด ก็จะทําใหตนทุนคาไฟฟาลด
ต่ําลง ภาระที่ผูใชไฟฟาตองแบกรับยอมลดลงตามไปโดยปริยาย
3.6 การพัฒนาโครงขายสายไฟฟาเพื่อรองรับพลังงานหมุนเวียน
กฎหมายกําหนดหลักการใหผูประกอบกิจการพลังงานที่เปนเจาของโครงขายไฟฟาตองจัดทําแผนพัฒนา
โครงขายสายไฟฟา แตไมไดระบุวาเนื้อหาของแผนจะตองรองรับพลังงานหมุนเวียนแตอยางใด เมื่อเจาของโครงขาย
ไฟฟาคือการไฟฟาทั้ง 3 แหงซึ่งเนนการผลิตไฟฟาจากเชื้อเพลิงฟอสซิ ลเปนทุนเดิมอยูแลว การที่รัฐวิสาหกิจจะลงทุน
พัฒนาโครงขายสายไฟฟาเพื่อรองรับพลังงานหมุนเวียนจึงเปนเรื่องยาก ฉะนั้นเพื่อเปนหลักประกันวาโครงขายไฟฟา
จะสามารถรองรับพลังงานหมุนเวียนได กฎหมายควรมีกําหนดใหมีการวางแผนการพัฒนาโครงขายสายไฟฟาอยาง
ครอบคลุมทั้งระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาว รวมถึงกําหนดหลักเกณฑบางประการเพื่อใหมั่นใจวาเนื้อหาของแผน
ดังกลาวจะทําใหบรรลุเปาหมายการสงเสริมโซลารฟารมและพลังงานหมุนเวียนไดจริง
3.7 การเก็บสะสมพลังงาน
กฎหมายยังไมมีมาตรการรับมือความผันผวนของแสงอาทิตย ทําใหโซลารฟาร มถูกจํากัดในปริมาณนอย
เพราะหวงกังวลเรื่องความมั่นคงทางพลังงาน ฉะนั้น การไฟฟาควรมีบทบาทหลักในการพัฒนาระบบเก็บสะสม
พลังงานเพื่อรองรับไฟฟาจากพลังงานหมุนเวียน เนื่องจากระบบดังกลาวมีตนทุนสูงมาก ไมเหมาะที่จะบังคับใหเอกชน
วารสารนิติศึกษาไทย 825

ดําเนินการเอง รัฐควรมีนโยบายการเก็บสะสมพลังงานที่ชัดเจน นอกจากนั้น คณะกรรมการกํากับกิจการพลังงานอาจ


กําหนดราคารับซื้อเพิ่มเปนพิเศษสําหรับผูผลิตที่มีระบบสํารองพลังงาน (Feed-in Bonus) เพื่อจูงใจใหผูผลิตจัดใหมี
ระบบสํารองไฟฟา

บทสรุป
การพัฒนากฎหมายเกี่ยวกับการสงเสริมการผลิตไฟฟาจากโซลารฟารมเป นสิ่งจําเปน เนื่องจากมาตรการใน
ปจจุบันมีประสิทธิภาพจํากัดและไมครอบคลุมประเด็นสําคัญหลายสวนดังที่กลาวแลวขางตน แตก็ใชวาจะตองนํา
มาตรการเหลานั้นมาบัญญัติเปนกฎหมายสําเร็จรูปในคราวเดียวเสมอไป ผูเขียนเห็นวาควรพัฒนากฎหมายอยางคอย
เปนคอยไปและโดยเริ่มจากการทบทวนและกําหนดนโยบายใหม แกไขกฎหมายลําดับรอง แลวจึงปรับปรุงแกไข
กฎหมายในระดับพระราชบัญญัติเทาที่จําเปน โดยมีแนวทางพัฒนากฎหมายเปนชวงระยะเวลาดังนี้
1. ระยะสั้น คือ การแกไขนโยบายและกฎหมายลําดับรอง คณะกรรมการนโยบายพลังงานแหงชาติควร
ทบทวนแผน PDP และ AEDP ใหสะทอนความเปนจริงมากขึ้น ควรจํากัดกรอบใหการไฟฟาทั้ง 3 แหงเนนบทบาทการ
ส ง กระแสไฟฟ า ลดบทบาทการผลิ ต และการจํ า หน า ย เพื่ อ เป ด โอกาสให เ อกชนประกอบกิ จ การไฟฟ า มากขึ้น
คณะกรรมการกํากับกิจการพลังงานควรปรับปรุงระเบียบการรับซื้อไฟฟาจากพลังงานหมุนเวียนใหชัดเจน และเพิ่ม
ปริมาณการรับซื้อจากโซลารฟารมใหมากขึ้นเพื่อเตรียมตราเปนกฎหมายตอไป
2. ระยะกลาง คือ การแกไขปรับปรุงแกไขกฎหมายระดับพระราชบัญญัติ ควรนํามาตรการตาง ๆ ดังที่กลาว
มาขางตน อาทิ การกําหนดเปาหมายการสงเสริมพลังงานหมุนเวียน การใหผูผลิตไฟฟาจากพลังงานหมุนเวียนสิทธิ
พิเศษในการเชื่อมตอสายสงกอนผูผลิตประเภทอื่น (priority to grid) การสนับสนุนดานราคา การกระจายภาระ
ค า ใช จ า ยไปยั ง ผู บ ริโ ภค การพั ฒ นาโครงขา ยไฟฟ า มาบั ญ ญั ติ เพิ่ มเป น หมวดการส ง เสริม พลั ง งานหมุ น เวี ย นใน
พระราชบัญญัติการประกอบกิจการพลังงาน พ.ศ. 2550 เนื่องจากมีความสอดคลองกับวัตถุประสงคและบทบัญญัติ
ของกฎหมาย ตลอดจนอํานาจหนาที่ของหนวยงานที่ดําเนินการตามกฎหมายเปนอยางดี
3. ระยะยาว คือ การติดตามประเมินผลของการบังคับใชมาตรการสงเสริมการผลิตไฟฟาจากโซลารฟารม
และแหลงพลังงานหมุนเวียนอื่น เพื่อปรับปรุง กฎหมายใหมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น บรรเทาภาระคาไฟฟา และเปน
เครื่องมือในการสงเสริมการพัฒนาอยางยั่งยืนตอไป
826 Thailand Journal of legal Study

บรรณานุกรม

วิทยานิพนธ

ปติ เอี่ยมจํารูญลาภ. “ปญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการปฏิรูปโครงสรางกิจการไฟฟาในประเทศไทย.” วิทยานิพนธ


มหาบัณฑิต คณะนิติศาสตร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร, 2556.

บทความ

ชาณิกา ปญจพุทธานนท และ รัตพงษ สอนสุภาพ.“ปญหาและอุปสรรคของการพัฒนาพลังงานไฟฟาจากแสงอาทิตย


ในประเทศไทย.” ฉบั บ ที่ 3 วารสารวิ จั ย และพั ฒ นา วไลยลงกรณ ใ นพระบรมราชู ป ถั ม ภ สาขา
มนุษยศาสตรและสังคมศาสตร น.11. (กันยายน – ธันวาคม 2559) : 18.

เอกสารอื่น ๆ

กระทรวงพลังงาน, สํานักนโยบายและแผนพลังงาน. แผนพัฒนากําลังการผลิตไฟฟาของประเทศ พ.ศ. 2558 – 2579,


(30 มิถุนายน 2558).
กระทรวงพลังงาน, สํานักนโยบายและแผนพลังงาน. แผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก พ.ศ. 2558 –
2579, (กันยายน 2558).
สํานักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา. บันทึกสํานักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาประกอบรางพระราชบัญญัติการประกอบ
กิจการพลังงาน พ.ศ. ... เรื่องเสร็จที่ 546/2550. (สิงหาคม 2550).

สื่ออิเล็กทรอนิกส

สํ า นั ก งานคณะกรรมการกํ า กั บ กิ จ การพลั ง งาน. “ฐานข อ มู ล SPP/VSPP.” http://www.erc.or.th/ERCSPP


/Default.aspx, 14 มิถุนายน 2561.

BOOK

International Energy Agency, Partner Country Series: Thailand Electricity Security Assessment 2 0 1 6.
Paris: International Energy Agency, 2016.

ARTICLES

Mormann, Felix, Dan Reicher, and Victor Hanna, "A Tale of Three Markets: Comparing the Renewable
Energy Experiences of California, Texas, and Germany." Stanford Environmental Law
Journal 55. vol. 35. (2016) : 66, 87.
วารสารนิติศึกษาไทย 827

Scaccia, Brian. “California’s Renewable Energy Transmission Initiative as a Model for State Renewable
Resource Development and Transmission Planning.” Climate Law 1. volume 3. no. 1.
(2012): 22-23.

ELECTRONIC MEDIA

Federal Ministry for Economic Affairs and Energy. “2 0 1 6 Revision amending the Renewable Energy
Sources Act.” https://www.bmwi.de/English/Redaktion/Pdf/eckpunktepapier-eeg-2016,
property=pdf,bereich=bmwi2012,sprache=de,rwb=true.pdf, October 10, 2016.
Wilson, Robert. "Why Germany’s Nuclear Phaseout Is Leading to More Coal Burning." https://
carboncounter.wordpress.com/2015/06/06/why-germanys-nuclear-phaseout-is-leading-
to-more-coal-burning/, February 19, 2018.
828 Thailand Journal of legal Study

การคาประเวณีโดยชอบดวยกฎหมาย
LEGALIZED PROSTITUTION

สุจิรา เชื่อมไพบูลย
Sujira Chiompaiboon
บทคัดยอ
แมประเทศไทยจะมีกฎหมายเกี่ยวกับการแกไขปญหาการคาประเวณีหลายฉบับ เชน พระราชบัญญัติปองกัน
และปราบปรามการคาประเวณี พ.ศ.2539 ประมวลกฎหมายอาญา พระราชบัญญัติปองกันและปราบปรามการคา
มนุษย พ.ศ.2551 และพระราชบัญญัติสถานบริการ พ.ศ.2509 แตกฎหมายดังกลาวยังคงมีบทกําหนดความผิดทาง
อาญาแกผูคาประเวณี ปฏิเสธหลักเสรีภาพทางเพศของผูคาประเวณีที่กระทําโดยสมัครใจ และไมมีบทบัญญัติคุมครอง
ผูคาประเวณี อีกทั้ง บทบัญญัติดังกลาวยังคงขัดตอสภาพสังคม คานิยม ความเชื่อ และรูปแบบการคาประเวณีที่
ปรากฏในปจจุบัน จึงเห็นสมควรศึกษาหามาตรการทางอาญาและมาตรการอื่นที่เหมาะสมที่จะสามารถคุมครองผู
คาประเวณีและควบคุมการคาประเวณีได

คําสําคัญ
การคาประเวณี, ผูคาประเวณี, พระราชบัญญัติปองกันและปราบปรามการคาประเวณี พ.ศ.2539, การขึ้น
ทะเบียนผูคาประเวณี, ยกเลิกความผิดทางอาญา

ABSTRACT
Although there are many acts to solve the prostitution problem in Thailand, including the
Prevention and Suppression of Prostitution Act 2539, the Penal Code, the Anti-Human Trafficking Act
2551 and the Service Accommodation Act 2509, these laws still criminalize sex workers and deny
prostitutes’ rights. Also, there are no legal protections for sex workers. Furthermore, these acts
oppose societal states, social values, beliefs, and the new forms of prostitution in the present. This
thesis will aim to study and find proper criminal sanctions and other methods of protecting sex
workers and regulating the problem of prostitution.

Keywords
Prostitution, Prostitute, Sex worker, Prevention and Suppression of Prostitution Act 2539,
Registration of Prostitute, Decriminalization

* นั ก ศึ ก ษ า ป ริ ญ ญ า โ ท ห ลั กสู ต ร นิ ติ ศ า ส ต ร ม ห า บั ณ ฑิ ต ส า ข า ก ฎ ห ม า ย อ า ญ า ค ณ ะ นิ ติ ศ า ส ตร
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร : ElinaJamIn@gmail.com
Graduate Student of Master of Laws Program in Criminal Law, Faculty of Law, Thammasat University.
Email address : ElinaJamIn@gmail.com
วารสารนิติศึกษาไทย 829

บทนํา
แนวคิดปองกันและปราบปรามการคาประเวณีแ บงเปน 2 แนวทาง คือ การคาประเวณีเปนอาชญากรรม
(Criminalization) เพราะเปนการกระทําผิดศีลธรรมและคามนุษย ในขณะที่แนวคิดที่สองมองวา การคาประเวณีไมใช
อาชญากรรม (Decriminalization) เพราะกระทําโดยความสมัครใจตามหลักเสรีภาพทางเพศและเปนอาชีพหนึ่ง
การค า ประเวณี ป รากฏในประเทศไทยตั้ ง แต อดี ต ถึง ปจ จุ บัน โดยกฎหมายการค า ประเวณี ในป จ จุบันมี
เจตนารมณหามการคาประเวณีภายใตเงื่อนไขอยางแคบ กลาวคือ บัญญัติใหการกระทําบางประการของผูคาประเวณี
เปนความผิดทางอาญา เชน โฆษณาการคาประเวณี การมั่วสุมในสถานการคาประเวณี หรือการเชิญชวนลูกคาในที่
สาธารณะอยางเปดเผย รวมถึงกําหนดความผิดทางอาญาแกบุคคลผูเกี่ยวของกับผูคาประเวณี แตกฎหมายดังกลาวไม
สามารถแกไขปญหาการคาประเวณีได เปนการเปดชองใหเจาหนาที่รัฐบังคับใชกฎหมายไมเปนธรรม กอใหเกิดปญหา
ทุจริต ทั้งกฎหมายไมสอดคลองกับสภาพสังคม คานิยม และรูปแบบการคาประเวณีที่เปลี่ยนแปลงไป เชน คาประเวณี
โดยสมัครใจมากยิ่งขึ้นที่ปรากฏการทํางานภายใตการดูแลของนายหนา สถานบริการที่เรียกวา รูปแบบพึ่งพานายหนา
(Agency) หรือทํางานโดยอิสระ อีกทั้งไมสอดคลองกับหลักเสรีภาพทางเพศที่จะตัดสินใจรวมประเวณีแลกเปลี่ยนกับ
เงิน ดวยความสมัครใจของตนเอง โดยปราศจากการบังคับ ขูเข็ญ หลอกลวง ทําใหทายที่สุดแลว การคาประเวณีใน
ประเทศไทยไมไดรับการควบคุมดูแลอยางเหมาะสม จึงสมควรมีการศึกษาเพื่อหาแนวทางในการบัญญัติกฎหมาย ซึ่ง
จะสามารถแกไขปญหาการคาประเวณีให เหมาะสมและสอดคลองกับประเทศไทยในปจจุบัน รวมถึงสอดคลองหลัก
สิทธิเสรีภาพทางเพศของผูคาประเวณี
ในวิทยานิพนธนี้ ผูเขียนมุงเนนศึกษามาตรการทางอาญา การเปลี่ยนแปลงสภาพสังคม คานิยม รูปแบบ
การคาประเวณี แนวคิดกําหนดความผิดทางอาญา กฎหมายที่เกี่ยวของกับการคาประเวณีของไทย รวมถึงมาตรการ
คูขนาน โดยมุงศึกษากฎหมายแกผูคาประเวณี ซึ่งกระทําโดยสมัครใจและบุคคลที่เกี่ยวของกับผูคาประเวณี เชน
นายหนา ผูดํารงชีพจากรายไดของผูซึ่งคาประเวณี สถานบริการ ผูซื้อบริการทางเพศ เพื่อใหการแกไขบทบัญญัติ
กฎหมายใหการคาประเวณีชอบดวยกฎหมายมีผลคุมครองผูคาประเวณีโดยตรงและโดยออม
1. มาตรการทางอาญาที่เกี่ยวกับผูคาประเวณี
ในการศึ ก ษา ผู เขีย นมุ งศึ ก ษา วิ เคราะห ป ญหาขอกฎหมายและเสนอแนวทางแกไขกฎหมายเกี่ยวกับผู
คาประเวณีและผูที่เกี่ยวของกับผูคาประเวณี ดังนี้
1.1 ผูคาประเวณีอายุ 18 ปขึ้นไปกระทําโดยสมัครใจ
ตามพระราชบัญญัติปองกันและปราบปรามการคาประเวณี พ.ศ.2539 กําหนดความผิดทางอาญาแกผู
คาประเวณี ฐานชักชวนหาลูกคา มาตรา 5 มั่วสุมในสถานการคาประเวณี มาตรา 6 และโฆษณาการคาประเวณี
มาตรา 7 ขัดตอหลักเสรีภาพทางเพศอันเปนหลั กสิทธิมนุษยชนประการหนึ่ง อีกทั้งการบังคับใชกฎหมายไมสามารถ
บรรลุ เจตนารมณของกฎหมายที่หามการค าประเวณี เพราะการคาประเวณี เปนปญหาที่ เกิด ขึ้น อัน เป นผลจาก
โครงสรางสังคมชายเปนใหญ สังคมทุนนิยม หรือในแงของเศรษฐศาสตรธุรกิจการคาประเวณีเปนผลจากอุปสงคและ
อุปทาน การหามคาประเวณีจะยิ่งมีผลใหธุรกิจคาประเวณีเติบโต หรือในแงสังคมศาสตร ซึ่งอธิบายวา การตัดสินใจ
กระทําใดๆของบุคคลเกิดจากแรงขับทางเพศ กระบวนการทํางานของจิต การคาประเวณีจึงเปนเรื่องธรรมชาติของ
มนุ ษ ย นอกจากนี้ ในแง ข องแนวคิ ด กํา หนดความผิด ทางอาญา หลั กเกณฑ แ ดนอิ ส ระของเอกชน รัฐ ไม ควรเขา
แทรกแซงการกระทําของเอกชนที่กระทําโดยสมัครใจ การบัญญัติกฎหมายใหบุคคลกระทําหรือละเวนกระทําเพราะ
เห็นวาเปนสิ่งที่ดีตอบุคคลนั้นยังไมเปนเหตุผลที่เพียงพอจํากัดเสรีภาพของบุคคล 1 แมการคาประเวณีเปนการกระทํา
ผิดศีลธรรมตามแนวคิดคาประเวณีเปนอาชญากรรมและทฤษฎีกฎหมายศีลธรรมก็ตาม แตศีลธรรมเปนเรื่องที่ไม
ชัดเจน ขึ้นอยูกับความเชื่อของบุคคลที่เปลี่ยนแปลงอยูตลอดเวลาจึงไมสามารถนําศีลธรรมมากําหนดใหการกระทําใด
เปนความผิดทางอาญาได อีกทั้งการคาประเวณีโดยสมัครใจไมกอใหเกิดอันตรายแกผูอื่นอั นจะควรถูกกําหนดเปน
ความผิดทางอาญาตามทฤษฎีภยันตรายได เมื่อการบัญญัติกฎหมายหามการคาประเวณีไมมีประสิทธิภาพ ไมสามารถ

1
John Stuart Mill, On Liberty, 2 ed., (London: J.W. Parker and Son, 1859), p.22
830 Thailand Journal of legal Study

ควบคุมการคาประเวณีและคุมครองผูคาประเวณีได ผูเขียนจึงเห็นวา ควรยกเลิกความผิดทางอาญาแกผูคาประเวณี


และนําระบบจดทะเบียนปรับใชประกอบ เพื่ อผูคาประเวณีทั้งหมดเขาสูระบบ เปนการปูทางไปสูการคุมครองผูคา
ประเวณีตามกฎหมายอื่นตอไป อีกทั้งรัฐจะสามารถตรวจสอบ ดําเนินคดีกับนักคามนุษยไดงา ยยิ่งขึ้น
อยางไรก็ตาม ตองกําหนดเงื่อนไขอายุของผูคาประเวณี เพื่อปองกันการคาประเวณีเด็ก โดยจากการศึก ษา
ผูเขียนเห็นวา ควรกําหนดอายุ 18 ปขึ้นไปกระทําโดยสมัครใจ เพื่อสอดคลองกับเกณฑอายุตามหลักกฎหมายเรื่องเพศ
ในประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 282, 283 และพระราชบัญญัติปองกันและปราบปรามการคามนุษย พ.ศ.2551 ซึ่ง
บุคคลมีความสามารถในการใหความยินยอมคาประเวณีได
สวนการกระทําบางประการของผูคาประเวณี เชน การชักชวน หาลูกคาอาจสรางความขุนเคือง ไมพอใจแก
บุคคลในสังคมผูพบเห็นได การกระทําดังกลาวควรกําหนดเปนความผิดทางอาญา สอดคลองกับทฤษฎีการเผชิญหนา
(Offense principle) ที่กลาววา “การกําหนดความผิดอาญานั้นเปนสิ่งที่จําเป นในการปองกันการทํารายหรือการ
เผชิญหนา การขุนเคือง (Offense) ตอผูอื่น”2 และบทกฎหมายประเทศสิงคโปรซึ่งกําหนดหามไมใหชักชวนหาลูกคา
เพื่อควบคุมการคาประเวณี อีกทั้งการกําหนดความผิ ดอาญาดัง กลาวสอดคล องกับบริบทสั งคมไทยที่ป ระชาชน
บางสวนไมสนับสนุนการคาประเวณี ผูเขียนจึงเห็นวา ควรกําหนดอัตราโทษปรับ สําหรับการกระทําผิดครั้งแรก หรือ
โทษจําคุกและปรับสําหรับการกระทําผิดซ้ําดังเชนกฎหมายสิงคโปรมาปรับใช
นอกจากนี้ ผูเขียนเห็นวา ควรกําหนดความผิดทางอาญาแกผูคาประเวณีเถื่อนหรือไมจดทะเบียน เพื่อเปนบท
บังคับทางออมใหผูคาประเวณีทุกคนเขาสูระบบ และหากกระทําชักชวนหาลูกคาจะตองรับโทษทางอาญาหนักกวาการ
กระทําของผูคาประเวณีตามกฎหมาย
1.2 ผูคาประเวณีอายุ 18 ปขึ้นไปกระทําโดยไมสมัครใจ และผูคาประเวณีเด็ก
ผูคาประเวณีอายุ 18 ปกระทําโดยไมสมัครใจ เพราะถูกบังคับ หลอกลวง ขูเข็ญ และผูคาประเวณีเด็ก (บุคคล
อายุต่ํากวา 18 ป) เปนกลุมผูเสียหายความผิดฐานคามนุษยตามพระราชบัญญัติปองกันและปราบปรามการคามนุษย
พ.ศ.2551 ซึ่งจะตองไดรับการชวยเหลื อคุม ครอง และไดรับยกเวนไมถูกดํา เนินคดี ตามประมวลกฎหมายอาญา
ความผิดตามพระราชบัญญัติปองกันและปราบปรามการคาประเวณีพ.ศ.2539 บทบัญญัตินี้สอดคลองกับหลักสากล
เรื่องคามนุษย กฎหมายตางประเทศทั้ง 10 ประเทศที่ทําการศึกษา บทบัญญัติเรื่องนี้จึงไมมีขอบกพรอง
1.3 บุคคลที่เกี่ยวของกับผูคาประเวณี
การแกไขบทบัญญัติกฎหมายใหการคาประเวณีชอบดวยกฎหมาย จําเปนตองพิจารณาถึงบุคคลที่เกี่ยวของ
กับ ผู คา ประเวณี ด ว ย เพราะในธุ รกิจ การค า ประเวณี ป ระกอบด ว ยบุ ค คลหลายคนเช น ธุ รกิจ อื่ น และตามบริบท
สังคมไทยที่ปรากฏการคาประเวณีในสถานบริการ ผูเขียนจึงศึกษาดังตอไปนี้
1.3.1 ผูที่เกี่ยวของกับผูคาประเวณีในฐานะผูขายบริการ
โดยหลั กกฎหมายอาญาไทยลงโทษบุ คคลกลุ มนี้ เพราะลั กษณะการกระทํ าของบุ คคลดั งกลา วเปนการ
แสวงหาประโยชนจากผูคาประเวณี ดังปรากฏจากการศึกษาดังนี้
1.3.1.1 นายหนา
ในปจจุบัน ประมวลกฎหมายอาญาลงโทษ มาตรา 282, 283 และพระราชบัญญัติปองกันและปราบปราม
การคาประเวณี พ.ศ.2539 มาตรา 9 กําหนดใหการกระทําเปนธุระจัดหาบุคคลเพื่อสนองความใครของบุคคลอื่นเปน
ความผิดทางอาญา โดยไมพิจารณาความยินยอมของผูถูกพาไป จึงทําใหทราบวา โดยหลักประมวลกฎหมายอาญา
กํา หนดลงโทษการกระทํา เปน ธุร ะจั ดหาทุกกรณี เพราะการกระทํ าดั ง กลา วเป นการแสวงหาประโยชนจากผูอื่น
สอดคลองกับทฤษฎีความเปนภยันตราย (Harm principle) และสอดคลองกับบทบัญญัติกฎหมายตางประเทศทั้ง 10
ประเทศที่ศึกษา ซึ่งกําหนดใหการกระทําเปนธุระจัดหาบุคคลเพื่อการคาประเวณีเปนความผิดอาญา แมบทบัญญัติ

2
Dalton Harlon L., “Offense to Others: The Moral Limits of the Criminal Review,” Yale Law School
Faculty Scholarship Series 96, pp.883-885(1987).
วารสารนิติศึกษาไทย 831

กฎหมายจะเหมาะสม แตยังคงมีปญหาการบังคับใชกฎหมาย กลาวคือ ผูกระทําเปนธุระจัดหามักถูกดําเนินคดีเล็กนอย


เมื่อเทียบกับสถานการณคาประเวณีในสถานบริการตางๆ
1.3.1.2 ผูดํารงชีพจากรายไดของผูซงึ่ คาประเวณี
ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 286 บัญญัติลงโทษบุคคลนี้ ซึ่งสอดคลองกับกฎหมายตางประเทศ ยกเวน
ประเทศเยอรมนีที่กําหนดหามไมใหมีการกระทําควบคุมการคาประเวณีประกอบดวยเทานั้น อยางไรก็ตาม ประมวล
กฎหมายอาญา มาตรา 286 ยังมีปญหาการบังคับใช เนื่องจากการตีความตามคําพิพากษาศาลฎีกาที่วางหลักวา “ถา
จําเลยมีอาชีพอยูแลว แมรับเงินจากหญิงโสเภณีเปนอาจิณ ไมมีความผิ ดตามมาตรานี้”3 ทําใหบทบัญญัติมาตรานี้ไม
สามารถลงโทษแมงดาได
1.3.1.3 สถานการคาประเวณี
บทบัญญัติของประเทศไทยไมอนุญาตใหดําเนินกิจการสถานการคาประเวณี โดยนิยามตามพระราชบัญญัติ
ปองกันและปราบปรามการคาประเวณี พ.ศ.2539 คําวา สถานการคาประเวณี หมายถึง สถานการคาประเวณีโดยตรง
(ซอง) รวมถึงสถานบริการ สถานที่อื่น ๆ ที่ยินยอมหรือติดตอใหมีการคาประเวณี อยางไรก็ตาม ผูเขียนเห็นวา ควร
จํากัดคํานิยาม “สถานการคาประเวณี”ใหหมายความเฉพาะสถานที่ใดๆที่จัดไวใหบุคคลอื่นทําการคาประเวณี โดยจัด
ใหมีผูทําการคาประเวณีเพื่อการนั้นดวย” เฉกเชนบทบัญญัติของมลรัฐเนวาดาที่กําหนดใหหมายความเฉพาะซ อง
เทานั้น เพื่อสอดคลองกับรูปแบบการคาประเวณีในสถานบริการ และนําไปสูการใหความคุมครองผูคาประเวณีโดย
ออม แตประเด็นจัดตั้งสถานการคาประเวณี ผูเขียนเห็นวา ควรกําหนดความผิดอาญาแกผูเปนเจาของสถานการ
คาประเวณี เพราะประชาชนบางสวนไมเห็นดวยกับการคาประเวณี การจัดตั้งสถานการคาประเวณียังคงไมเหมาะสม
กับสภาพสังคม คานิยมของสังคมไทย
1.3.1.4 สถานบริการ
พระราชบัญญัติสถานบริการ พ.ศ.2509 ใชบังคับแกสถานบริการทั่วไป รวมถึงสถานการคาประเวณี โดยมี
บทบัญญัติหามไมใหสถานบริการดําเนินกิจการในลักษณะที่ขัดตอความสงบเรียบรอยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน
ตามมาตรา 21 ไว ซึ่งอนุมานไดวา หามการคาประเวณีในสถานบริการ แตก็ไมมีการบังคับใชกฎหมายลงโทษแกสถาน
บริการที่มีการคาประเวณีแอบแฝงอยางจริงจัง จึงพบการคาประเวณีในสถานบริการ แตบทบัญญัติขัดกับรูปแบบ
คาประเวณีที่ผูคาประเวณีบางสวนยังคงทํางานตามสถานบริการตางๆ โดยสมัครใจ ยอมตกอยูภายใตสังกัดของสถาน
บริการอันเปนการคาประเวณีแบบพึ่งพานายหนา (Agency) ผูเขียนเห็นวา ควรแกไขมาตรา 21 เพิ่มขอความ “เวนแต
กฎหมายอนุญาตใหทําได” มีผลใหมีการคาประเวณีในสถานบริการได
1.3.1.5 ความเหมาะสมของขอบเขตคําจํากัดความ
แมโดยหลักประมวลกฎหมายอาญาจะลงโทษผูที่เกี่ยวของกับผูคาประเวณีในฐานะผูขายดังกลาวขางตน แต
ในปจจุบันผูคาประเวณีบางสวนสมัครใจทํางานกับสถานบริการ นายหนา แมงดา หรือบุคคลอื่นในลักษณะอื่น เพื่อ
ติดตอหาลูกคาใหกับตน การดําเนินธุรกิจลักษณะนี้เหมือนกับการประกอบธุรกิจอื่นและสอดคลองกับแนวคิดทาง
เศรษฐศาสตรที่อธิบายไดวา ธุรกิจการคาประเวณีและผูที่เกี่ยวของกับการคาประเวณีไมสามารถถูกกําจัดใหหมดไป
เพราะธุรกิจการคาประเวณีประกอบดวยอุปสงคจากผูซื้อบริการทางเพศและอุปทานจากผูคาประเวณี และสอดคลอง
กับความตองการของมนุษยตามหลักสังคมวิทยาที่มนุษยชอบลองสิ่งที่แปลกใหม ดวยเหตุนี้ลวนสงผลตอการดําเนิน
ธุรกิจคาประเวณีอยางหลากหลาย ผูเกี่ยวของกับการคาประเวณีในฐานะผูขายบริการ เชน นายหนา แมงดา สถาน
บริการ เปนตน จึงเปนบุคคลมีความสัมพันธเชิงธุรกิจกับผูคาประเวณี โดยบุคคลเหลานี้อาจมีการตกลงรวมลงทุนบาง
ประการทํากิจการรวมกับผูคาประเวณี เชน รวมลงทุนทรัพยสิน แรง เงิน หรือสิ่งอื่น เพื่อแบงปนรายไดจากประกอบ
ธุรกิจคาประเวณี ซึ่งตามกฎหมายของไทย บุคคลเหลานี้ถูกลงโทษตามตําแหนงฐานะของกฎหมายที่กฎหมายอาญาได
บัญญัติไว เชน นายหนา แมงดา สถานบริการ การลงโทษผูที่เกี่ยวของกับผูคาประเวณีประเภทนี้ยอมสงผลเสียตอผู
คาประเวณีบางประการ เชน ขัดตอเจตนาของผูคาประเวณี ที่ตองการทํางานในสถานบริการ ผูเขียนจึงเห็นวา การทํา

3
คําพิพากษาศาลฎีกาที่ 1208/2535 (เนติ.), น.1139.
832 Thailand Journal of legal Study

ใหบุคคลเหลานี้ชอบดวยกฎหมายตามเงื่อนไขที่กําหนดไวเปนการเฉพาะจะมีผลคุมครองผูคาประเวณีทางออม การทํา
ใหชอบดวยกฎหมายนี้ไมไดมุงสงเสริม หรือสนับสนุนการคาประเวณี โดยผูเขียนเห็นวา ควรพิจารณากําหนดคํา จํากัด
ความบุคคลเหลานี้เรียกวา “ผูรวมลงทุน (Partner)” ดังนี้ “ผูที่ตกลงเขามีสวนรวมกับผูคาประเวณีในการประกอบ
อาชีพหรือธุรกิจการคาประเวณี โดยทําสัญญารวมทุนเปนหนังสือจดทะเบียนตามแบบที่กฎหมายกําหนดและรวม
ลงทุนทรัพยสินหรือแรงงาน อยางหนึ่งอยางใดหรือหลายอยาง ไมวาจะกระทําในลักษณะใดหรือมีตําแหนงหนาที่ใด
ใหถือวาไมมีความผิด”
1.3.2 ผูที่เกี่ยวของกับผูคาประเวณีในฐานะผูซื้อบริการ
เพื่อใหการศึกษาและวิเคราะหกฎหมายเกี่ยวกับผูซื้อบริการทางเพศเปนไปอยางครอบคลุม ผูเขียนไดแบง
ประเภทของผูซื้อบริการทางเพศ โดยใชความแตกตางของกลุมผูคาประเวณีผูใหบริการ เพราะแนวคิดทฤษฎีที่นํามา
ปรับใชแกผูซื้อบริการนั้นแตกตางกัน ดังตอไปนี้
1.3.2.1 ผูซ อ้ื บริการทางเพศจากผูค า ประเวณีอายุ 18 ปขน้ึ ไป
การรวมประเวณี เพื่อสนองความใครระหวางผูบุคคลสองคนซึ่งมีภาวะสมบูรณในการใหความยินยอมเรื่อง
เพศได หากไดกระทําไปโดยความยินยอมของทั้งสองฝาย โดยปราศจากการขมขู บังคับ หลอกลวง แมจะไดกระทําไป
เพื่อแลกเปลี่ยนกับเงิน การกระทําดังกลาวสอดคลองกับหลักแนวคิดเสรีภาพทางเพศ เนื่องจากบุคคลอายุ 18 ปขึ้นไป
อยูในภาวะที่สามารถใหความยินยอมในเรื่องเพศได ตามหลักกฎหมายเรื่องเพศในประมวลกฎหมายอาญา ประกอบ
กับโครงสรางสังคมไทย ความเชื่อ คานิยมของสังคมไทยที่ยอมรับการซื้อบริการทางเพศของผูชายได และความ
ตองการทางเพศเปนเรื่องธรรมชาติของมนุษย ดวยเหตุผลดังกลาวจึงมีการซื้อบริการทางเพศอยูเส มอ ผูเขียนจึง
เห็นสมควรไมกําหนดความผิดอาญาแกผูซื้อบริการทางเพศกลุมนี้
อยางไรก็ตาม การซื้อบริการทางเพศจากผูคาประเวณีที่ไมสมัครใจ เพราะถูกบังคับ หลอกลวง ขมขู เปนตน
ผูเขียนเห็นวา ควรกําหนดใหเปนความผิดทางอาญา เพราะผูคาประเวณีประเภทนี้เปนเหยื่ อคามนุษย ตองไดรับการ
คุมครอง แตไมควรกําหนดใหเปนความรับผิดเด็ดขาด (Strict liability) อันเปนการนํากฎหมายประเทศอังกฤษมา
ปรับใชเทาที่เหมาะสมกับบริบทไทย
1.3.2.2 ผูซอื้ บริการทางเพศจากผูคา ประเวณีเด็ก
บทบัญญัติกฎหมายของไทยบัญญัติลงโทษผูซื้อบริการทางเพศจากผูคาประเวณีบุคคลอายุไมเกิน 18 ป หรือ
เด็กอายุต่ํากวา 15 ป ไวในพระราชบัญญัติปองกันและปราบปรามการคาประเวณี พ.ศ.2539 มาตรา 8 แตบทบัญญัติ
ดังกลาวมีขอจํากัดลงโทษเฉพาะผูกระทําชําเราผูคาประเวณีบุคคลอายุต่ํากวา 18 ปหรือเด็กในสถานการคาประเวณี
เทานั้น ทําใหไมสามารถลงโทษผูซื้อบริการที่รวมประเวณี ณ สถานที่อื่นได ทั้งที่เด็กเปนกลุมบุคคลออนแอ ไมสามารถ
ใหความยินยอมเรื่องเพศได รัฐตองเขามาแทรกแซงการกระทําของปจเจกชนที่กระทําตอบุคคลกลุมนี้ตามทฤษฎี
กฎหมายปตาธรรม (Legal Paternalism)4 ผูเขียนจึงเห็นวา ควรกําหนดความผิดทางอาญาแกผูซื้อบริการทางเพศ
จากผูคาประเวณีเด็ก โดยไมพิจารณาเงื่อนไขสถานที่
2. มาตรการคูขนาน
เนื่ อ งจากการใช ม าตรการคู ข นานควบคู กั บ มาตรการทางอาญาจะมี ผ ลให ก ารบั ง คั บ ใช ก ฎหมายมี
ประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ดังนั้น ผูเขียนจึงศึกษาและเสนอแนวทางแกไขเกี่ยวกับมาตรการคูขนาน ดังนี้
2.1 การฟนฟูอบรมผูคาประเวณี
แมพระราชบัญญัติปองกันและปราบปรามการคาประเวณี พ.ศ.2539 กําหนดการอบรมฟนฟูฝกอาชีพแกผคู า
ประเวณี แตมาตรการนี้ถูกนํามาใชเฉพาะกรณีที่มีการดําเนินคดีแ กผูคาประเวณีซึ่ง กระทําความผิด เทานั้ น และ
หลักสูตรอบรมฟนฟูฝกอาชีพใหแกผูคาประเวณีไมตรงตามความตองการของตลาดแรงงาน ผูเขียนจึงเห็นวา ควรนํา
การฟนฟูอบรมมาใชแกผูคาประเวณีทุกคนที่ตองการเลิกประกอบอาชีพคาประเวณี และแกไขหลักสูตรฝกอาชีพให
ผูคาประเวณีมีทักษะที่ตรงตามความตองการของตลาดแรงงาน

4
ทวีเกียรติ มีนะกนิษฐ, สังคมกับกฎหมาย, พิมพครั้งที่ 3, (กรุงเทพมหานคร : สํานักพิมพวิญูชน, 2553), น.111-112.
วารสารนิติศึกษาไทย 833

2.2 การกําหนดเขตพื้นที่การคาประเวณี
แมประเทศเยอรมนี มลรัฐเนวาดา สิงคโปรจะอนุญาตใหมีการจัดตั้งสถานการคาประเวณีอยางถูกตองตาม
กฎหมาย แตประเทศดังกลาวก็กําหนดเขตพื้นที่ที่อนุญาตใหคาประเวณีดวย เพื่อควบคุมการคาประเวณี และเมื่อ
พิจารณาบริบทสังคมไทย ผูเขียนเห็นวา ควรกําหนดพื้นที่คาประเวณี โดยใชหลักเกณฑประชากรที่อยูอาศัย

บทสรุปและขอเสนอแนะ
เนื่องจากกฎหมายคาประเวณีในปจจุบันไมสามารถควบคุม แกไขปญหาการคาประเวณีได ไมมีบทบัญญัติ
คุมครองผูคาประเวณีซึ่งกระทําโดยสมัครใจ ไมสอดคลองกับแนวคิ ดทางสังคมศาสตร เศรษฐศาสตร แนวคิดกําหนด
ความผิดทางอาญา หลักเสรีภาพทางเพศ และรูปแบบการคาประเวณีในปจจุบัน ดังนั้น ผูเขียนเห็นวา ควรแกไข
กฎหมายเกี่ยวกับการคาประเวณีใหเปนการคาประเวณีโดยชอบดวยกฎหมาย เปลี่ยนแนวคิดนโยบายปองกันและ
ปราบปรามการคาประเวณีจากแนวคิดการคาประเวณีเปนอาชญากรรมเปนแนวคิดการคาประเวณีไมใชอาชญากรรม
โดยยกเลิกความผิดทางอาญาแกคาประเวณีและใชระบบขึ้นทะเบียนผูคาประเวณี มีการออกพระราชบัญญัติฉบับใหม
มีเจตนารมณคุมครองผูคาประเวณี กําหนดการคาประเวณีชอบดวยกฎหมาย แตไมไดมุงสงเสริ ม สนับสนุนการ
ประกอบอาชีพนี้ โดยในพระราชบัญญัติควรกําหนดเงื่อนไขอายุผูคาประเวณี ความรับผิดทางอาญาแกผูคาประเวณี
ความรับผิดแกบุคคลที่เกี่ยวของกับ การคาประเวณี ในฐานะผูขายบริการ เชน นายหนา แมงดา ผูดําเนินกิจการ
คาประเวณี สถานบริการ และความรับผิดแกบุค คลผูที่เกี่ยวของกับการคาประเวณีในฐานะผูซื้อบริการ เชน ผูซื้อ
บริการทางเพศเด็กหรือผูคาประเวณีโดยไมสมัครใจ อยางไรก็ตาม ควรพิจารณากําหนดคําจํากัดความของบุคคล
ผูเกี่ยวของกับการคาประเวณีในฐานะผูขายบริการใหไดรับยกเวนความผิดตามเงื่อนไขที่พระราชบัญญัติกําหนดไว เพื่อ
สอดคลองกับรูปแบบการคาประเวณีแบบพึ่งพานายหนา (Agency) และตองนํามาตรการคูขนานมาปรับใชควบคูกับ
การบังคับใชกฎหมาย เพื่อใหการบังคับใชกฎหมายมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
834 Thailand Journal of legal Study

บรรณานุกรม

หนังสือ

เกียรติขจร วัจนะสวัสดิ์. คําอธิบายกฎหมายอาญา ภาค 1 บทบัญญัติทั่วไป. พิมพครั้งที่ 10. กรุงเทพมหานคร :


สํานักพิมพพลสยาม พริ้นติ้ง, 2551.
ทวีเกียรติ มีนะกนิษฐ. สังคมกับกฎหมาย. พิมพครั้งที่ 4. กรุงเทพมหานคร : สํานักพิมพวิญูชน, 2555.
สมพร พรหมหิตาธร. กฎหมายคาประเวณี. กรุงเทพมหานคร : บริษัทวิศิษฏสรอรรถจํากัด, 2541.

บทความ

ดารารัตน เมตตาริกานนท. “โสเภณีและกฎหมายจดทะเบียนโสเภณีในประเทศไทย พ.ศ.2411-2503.” วารสาร


มนุษยศาสตร สังคมศาสตร มหาวิทยาลัยขอนแกน. ฉบับที่ 2. ปที่ 21. (มกราคม-มีนาคม 2547): 3-4.
ทวีเกียรติ มีนะกนิษฐ. ฎีกาวิเคราะห: มีอาชีพแลวเป นพอเลา-แมงดา ไมวากัน. วารสารนิติศาสตร. ฉบับที่ 4. ป 22.
(2535): 614.

เอกสารอื่นๆ

มาตาลักษณ เสรเมธากุล และคณะ. “โครงการพัฒนากฎหมายเพื่อคุมครองสวัสดิภาพสตรีและครอบครัว: ทบทวน


ก ฎ ห ม า ย ว า ด ว ย ก า ร ป อ ง กั น แ ล ะ ป ร า บ ป ร า ม ก า ร ค า ป ร ะ เ ว ณี . ” ร า ย ง า น ก า ร วิ จั ย
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร, 2561.

BOOKS

Andrew Ashworth. Principles of Criminal Law. 7th ed. Oxford: Oxford University Press, 2013.
John Stuart Mil., On Liberty,.2ed. London: J.W. Parker and Son, 1859.

ARTICLES

Larry Alexander. “Harm, Offense, and Morality. “7 Can J.L. & Jurisprudence. (1994): 199.
Nanette J. Davis. Prostitution: an international handbook on trend, problems, and policies.
Greenwood Press : Westport, 1993.
วารสารนิติศึกษาไทย 835

มาตรการทางกฎหมายในการควบคุมและสงเสริมการปรับลดการปลอยกาซเรือนกระจกจาก
โรงไฟฟาพลังความรอน
LEGAL MEASURES TO CONTROL AND PROMOTE GREENHOUSE GAS EMISSION
REDUCTION FROM THERMAL POWER PLANTS

สุปวีณ กรดเสือ
Supawee Krodsua
บทคัดยอ
กาซเรือนกระจกเปนสาเหตุหนึ่งที่กอใหเกิดภาวะโลกรอนอันสงผลใหเกิดการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
ทั่วโลก ซึ่งมีสาเหตุสําคัญจากกิจกรรมตาง ๆ ของมนุษยโดยเฉพาะ ภาคการผลิตไฟฟา อันเปนผลสืบเนื่องจากการใช
เชื้อเพลิงฟอสซิลในการผลิตไฟฟานั่นเอง
ดวยเหตุดังกลาวจึงมีความจําเปนอยางยิ่งในการปรับปรุงแกไขกฎหมายที่มีอยูและตรากฎหมายฉบับใหม
ขึ้นมาเพื่อควบคุมและสงเสริมการลดการปลอยกาซเรือนกระจกจากผูประกอบกิจการโรงไฟฟาพลังความรอน เชน
ออกประกาศกํา หนดค า มาตรฐานคุ ณ ภาพอากาศในบรรยากาศทั่ ว ไป การออกกฎหมายเกี่ย วกับ ระบบซื้ อ ขาย
ใบอนุญาตปลอยกาซเรือนกระจก การแกไขกฎกระทรวงกําหนดพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2560 เปนตน
รวมทั้งนําเสนอกฎหมายของตางประเทศที่มีการบังคับใชกฎหมายอยางมีประสิทธิภาพเพื่อนํามาปรับใชในประเทศ
ไทยอยางเหมาะสม

คําสําคัญ
กาซเรือนกระจก, โรงไฟฟาพลังความรอน

ABSTRACT
Greenhouse gas is one of significant factor in global warming and cause climate changes all
over the world. The gas is emitted from human activities such as production of electricity using fossil
fuels.
Therefore, the necessity of improving existing legislation and enacting the law in accordance
with current trends in order to monitor and encourage greenhouse gas reduction from power plant
business, such as the promulgation on general ambient air quality standard, greenhouse gas emission
license trade law, tariff rates adjustment, etc. Including to propose effective international law
enforcement in order to be deployed in Thailand.

Keywords
Greenhouse Gasses, Thermal Power Plant


นักศึกษาปริญญาโท หลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต สาขาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดลอม คณะนิติศาสตร
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร : supaweekrodsua@gmail.com
Graduate student of Master of Laws Program in Natural Resources and Environmental Law, Faculty
of Law, Thammasat University. Email address : supaweekrodsua@gmail.com
836 Thailand Journal of legal Study

บทนํา
ปญหาการเพิ่มขึ้นของปริมาณกาซเรือนกระจกในบรรยากาศทําใหเกิดภาวะโลกรอน มีสาเหตุสําคัญเกิดจาก
กิจกรรมของมนุษยโดยเฉพาะในภาคการผลิตไฟฟา เนื่องจากประชาคมโลกไดตระหนักถึงปญหานี้จึ งมีการจัดทํา
อนุสัญญาสหประชาชาติวาดวยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และพิธีสารเกียวโตเพื่อกําหนดเปาหมายในการลด
การปลอยกาซเรือนกระจกที่ชัดเจน รวมทั้งหลักการ และแนวทางในการปฏิบัติ ตลอดจนขอผูกพันทางกฎหมายของ
พันธกรณี
สําหรับประเทศไทย จากสถิติการปลอยกาซเรือนกระจกในประเทศไทยพบวา มีปริมาณกาซเรือนกระจกที่
ถูกปลอยออกมาจากภาคการผลิตไฟฟาเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งเชื้อเพลิงที่ใชในการผลิตไฟฟาที่สําคัญอันกอใหเกิดการ
ปลอยกาซเรือนกระจก ไดแก กาซธรรมชาติ ถานหิน/ลิกไนต และน้ํามันสําเร็จรูปตามลําดับ 1 แตเมื่อคํานวณปริมาณ
การปลอยตอหนวยการผลิตพบวามีปริมาณการปลอยตอหนวยลดลง ทั้งนี้เปนผลมาจากการใชเชื้อเพลิงที่ปลอยกาซ
เรือนกระจกนอยเพิ่มขึ้นและเพิ่มสัดสวนของพลังงานทดแทน และเมื่อพิจารณาแผนพัฒนากําลังการผลิตไฟฟาของ
ประเทศไทย พ.ศ. 2558-2579 (PDP 2015) พบว า จะมี กํ า ลั ง การผลิ ต จากโรงไฟฟ า พลั ง ความร อ นเพิ่ ม ขึ้ น จึ ง
คาดการณไดวาปริมาณกาซเรือนกระจกที่ถูกปลอยออกมาจะมากขึ้นเรื่อย ๆ
เพื่อเปนการควบคุมและสงเสริมการลดการปลอยกาซเรือนกระจกอยางมีประสิทธิภาพผูเขียนเห็นวาประเทศ
ไทยควรมีมาตรการทางกฎหมายเปนการเฉพาะ จึงไดศึกษาเปรียบเทียบกฎหมายทั่วไปวาดวยการเปลี่ยนแปลงสภาพ
ภูมิอากาศ (General Law on Climate Change) ของประเทศเม็กซิโกและพระราชบัญญัติวาดวยการเปลี่ยนแปลง
สภาพภูมิอากาศ (Climate Change Act) ของสหราชอาณาจักร ซึ่งในบทความนี้ผูเขียนจะขออธิบายเฉพาะมาตรการ
หลักเทานั้น
1. ประเทศเม็กซิโก
1.1 มาตรการควบคุม
กฎหมายกําหนดเปาหมายการลดการปลอยกาซเรือนกระจกของประเทศเม็กซิโกไวในมาตรา 2 โดยตั้งเปาไว
วาจะลดปริมาณปลอยกาซเรือนกระจกในป ค.ศ. 2020 รอยละ 30 โดยคํานวณจากป ค.ศ. 2000 ซึ่งเปนปฐาน และ
จะลดการปลอยกาซในป ค.ศ. 2050 รอยละ 50 จากป ค.ศ. 2000
1.2 มาตรการสงเสริม
1.2.1 มาตรการทางภาษี อั ต ราภาษี คารบอนของประเทศเม็กซิโกใชฐานภาษี Carbon Content ดังนั้น
อัตราภาษีของเชื้อเพลิงแตละชนิดจึงแตกตางกันขึ้นอยูกับปริมาณของคารบอนในเชื้อเพลิง โดยอัตราขั้นต่ําสุดยูที่
US $3.7/tCO2 ซึ่งภาษีดังกลาวจัดเก็บจากเชื้อเพลิงตาง
1.2.2 ระบบซื้อขายใบอนุญาตการปลอยกาซเรือนกระจก กฎหมายใหอํานาจรัฐบาลกลางในการสราง และ
กําหนดกฎเกณฑการซื้อขายใบอนุญาตการปลอยกาซเรือนกระจก 2 แตในขณะที่ผูเขียนกําลังศึกษาอยูนั้นประเทศ
เม็กซิโกยังไมมีการออกระเบียบเกี่ยวกั บระบบซื้อขายใบอนุญาตการปลอยกาซเรือนกระจก แตไดตั้งเปาไววาจะมีการ
จัดทํา ระเบียบขึ้นภายในป พ.ศ. 2561
1.3 มาตรการลงโทษ จะกําหนดเปนโทษปรับลักษณะคาปรับทางปกครองโดยกําหนดคาปรับตามอัตรา
คาแรงขั้นต่ําที่ประกาศในเมืองหลวงของประเทศเม็กซิโก (เม็กซิโกซิตี้) ตอ วัน ซึ่งแบงออกเปน 2 กรณี คือ กรณีไม
รายงานขอมูลการปลอยกาซเรือนกระจก หรือไมสงเอกสารภายในระยะเวลาที่กําหนด จะตองชําระคาปรับ 500 –

1
สํานักงานนโยบายและแผน กระทรวงพลังงาน, “การปลอยกาซคารบอนไดออกไซด (CO2), จากการใชพลังงานป
2558,” สืบคนเมื่อวันที่ 1 เมษายน 2560, จาก http://www.eppo.go.th/index.php/th/energy-information/situation
-co2/peryear?orders[publishUp]=publishUp&issearch=1, น.3-4.
2
General Law on Climate Change, article 7 IX
วารสารนิติศึกษาไทย 837

3,000 วัน3 และกรณีรายงานขอมูลการปลอยกาซเรือนกระจกเปนเท็จจะตองชําระคาปรับ 3,000 – 10,000 วัน ทั้งนี้


การลงโทษปรับไมเปนเหตุใหระงับความรับผิดอยางอื่นในทางแพงและทางอาญา4
ในกรณีที่มีการกระทําความผิดซ้ําอีกในการกระทําทั้ง 2 กรณีขางตนอาจมีการกําหนดคาปรับในอัตราเพิ่มขึ้น
สูงสุดเปน 3 เทา จากอัตราคาปรับที่กําหนดไวในแตละกรณี5
1.4 หนวยงานที่รับผิดชอบ
หนวยงานหลักที่ตองรั บผิดชอบ ไดแก กระทรวงสิ่งแวดลอมและทรัพยากรธรรมชาติ (SEMARNAT) เปน
องคกรหลักในการสรางความรวมมือในการพัฒนาเครื่องมือเพื่อลดการปลอยกาซเรือนกระจก และประสานงาน
ระหว า งหน ว ยงานต า ง ๆ รวมทั้ ง จั ด การด า นงบประมาณ 6 และคณะกรรมการระหว า งกระทรวงเกี่ ย วกั บ การ
เปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (CICC) มีวัตถุประสงคหลักเพื่อเสนอแนะและสรางเครื่องมือเกี่ยวกับนโยบายแหงชาติ
เพื่อลดการปลอยกาซเรือนกระจก รวมถึงหนาที่อื่น ๆ ที่สนับสนุนการลดการปลอยกาซเรือนกระจกไดโดยออม
2. สหราชอาณาจักร
2.1 มาตรการควบคุม
กฎหมายกําหนดเปาหมายการปลอยกาซเรือนกระจกไวใน มาตรา 1(1) ใหลดการปลอยกาซเรือนกระจกให
ลดลงอยางนอย รอยละ 80 จากปริมาณการปลอยในป ค.ศ. 2050 (พ.ศ. 2593) โดยใหปริมาณการปลอยกาซเรือน
กระจกในป ค.ศ. 1990 (พ.ศ. 2533) เปนปฐาน 7 แตอยางไรก็ตาม ไดเปดชองใหมีการแกไขเปาหมายปริมาณการ
ปลอยกาซเรือนกระจก ตามเงื่อนไขที่กฎหมายกําหนด8
2.2 มาตรการสงเสริม
2.2.1 ภาษีที่มีวัตถุประสงคเพื่อควบคุมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change Levy: CCL)
เปนภาษีสิ่งแวดลอมประเภทหนึ่งตามพระราชบัญญัติการเงิน ค.ศ. 2000 (Finance Act 2000) จัดเก็บจากการใช
พลังงานตาง ภาษี CCL มีทั้งหมด 2 อัตรา คือ
1) อั ต ราหลั ก (main rates) คํ า นวณตามปริมาณการใชเชื้อเพลิ งในการดํ าเนินกิจการ โดยรายละเอียด
เกี่ยวกับภาษีและสิทธิการปลอยที่จะไดรับ (allowance) จะปรากฏในรายการคาพลังงานของธุรกิจ (business’s
energy bill)9
2) อั ต ราการสนั บ สนุ น ราคาคาร บ อน ( Carbon price support rates : CPS) เป น อั ต ราที่ ส ง เสริ ม
อุตสาหกรรมที่ใชเทคโนโลยีคารบอนต่ําในการผลิตกระแสไฟฟา ซึ่งคํานวณจากปริมาณการใชถานหิน กาซธรรมชาติ
และน้ํามันสําหรับโรงไฟฟาที่ใชเทคโนโลยีที่ชวยลดการปลอยกาซเรือนกระจกสูชั้นบรรยากาศ10
2.2.2 ระบบซื้อขายใบอนุญาตการปลอยกาซเรือนกระจก
ประเทศอังกฤษใชระบบซื้อขายใบอนุญาตการปลอยกาซเรือนกระจกเปนมาตรการหลัก และอยูภายใต
โครงการซื้อขายแลกเปลี่ยนการปลอยกาซเรือนกระจกของสหภาพยุโรป (EU ETS)

3
Ibid., article 114
4
Ibid., article 115
5
Ibid., article 115 paragraph 3
6
อนั น ต คงเครื อ พั น ธ และคณะ, รายงานวิ จั ย ฉบั บ สมบูร ณ โครงการศึ ก ษาเปรีย บเที ย บกฎหมายว า ดว ยการ
เปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ, (2559), น.92–94.
7
Climate Change Act 2008, article 1
8
Ibid., article 3
Environmental taxes, “reliefs and schemes for businesses,” Retrieve on August 12,
9

2017, from https://www.gov.uk/green-taxes-and-reliefs/climate-change-levy.


10
Ibid.
838 Thailand Journal of legal Study

ตอมา สหราชอาณาจักรออกระเบียบ The Greenhouse Gas Emission Trading Scheme Regulation


2012 เพื่อใชบังคับกับระบบซื้อขายใบอนุญาตการปลอยกาซเรือนกระจก โดยใหแหลงกําเนิดกาซเรือนกระจกที่มี
ระบบเผาไหมที่มีกําลังความรอนสูงกวา 20 เมกะวัตต (ยกเวน แหลงกําเนิดจากการกําจัดขยะอันตรายหรือขยะของ
เทศบาล) เปนแหลงกําเนิดที่ถูกควบคุมการปลอยกาซคารบอนไดออกไซด (CO2) ทั้งนี้ระเบียบดังกลาวไดกําหนด
เงื่อนไขสาระสําคัญตาง ๆ เชน การขึ้นทะเบียน ระยะเวลาเวนคืนใบอนุญาต เปนตน โดยมีสํานักงานสิ่งแวดลอม (The
Environment Agency) เปน National Administration Registry Administrator11 และ Regulator12
2.3 มาตรการลงโทษ
The Greenhouse Gas Emission Trading Scheme Regulation 2012 กําหนดเปนโทษปรับสําหรับกรณี
ที่ผูเขารวมโครงการซื้อขายแลกเปลี่ยนการปลอยกาซเรือนกระจกที่ไมปฏิบัติตามกฎหมาย เชน การรายงานปริมาณ
การปลอยกาซคารบอนไดออกไซดเปนเท็จหรือไมตรงตอความเปนจริง ตองรับโทษปรับ 1,000 ปอนด หรือกรณี
ผูประกอบการไมสงขอมูลตามที่ระบุในคําบอกกลาว (information notice) จะตองรับโทษปรับเปนเงิน 1,500 ปอนด
และตองรับโทษปรับเพิ่มเติม 150 ปอนดตอวันที่บุคคลดังกลาวไมปฏิบัติตามหนังสือ บอกกลาว ทั้งนี้โทษปรับสูงสุดไม
เกิน 13,500 ปอนด เปนตน
2.4 หนวยงานที่เกี่ยวของ
หนวยงานหลัก ไดแก สํานักงานสิ่งแวดลอม (The Environment Agency) มีหนาที่ใหคําปรึกษาแกรัฐบาล
เพื่อลดการปลอยกาซเรือนกระจก และมีอํานาจจัดทําโครงการซื้อขายแลกเปลี่ยนการปลอยกาซเรือนกระจกและ
ควบคุมเทคโนโลยีคารบอนต่ําในปจจุบันและในอนาคต 13 กระทรวงพลังงานและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
(DECC) เปนหนวยงานที่รับผิดชอบการลดการปลอยกาซเรือนกระจกในสหราชอาณาจักร สรางความมั่นคงทางดาน
พลังงาน จัดหาพลังงานสะอาดที่ปลอยคารบอนไดออกไซดต่ํา และดําเนินนโยบายเพื่อสงเสริมการเปลี่ยนพฤติกรรม
เพื่อลดการปลอยกาซเรือนกระจก14
3. ประเทศไทย
3.1 มาตรการจัดการ
3.1.1 พระราชบัญญัติสงเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดลอมแหงชาติ มีบทบัญญัติเกี่ยวกับโรงไฟฟาพลัง
ความรอน ดังนี้
(1) การกําหนดมาตรฐานควบคุมการปลอยทิ้ง อากาศเสีย โดยรัฐมนตรีไดอาศัยอํานาจตาม มาตรา 55 ออก
ประกาศกระทรวงฯ เพื่อควบคุมการปลอยอากาศเสีย 3 ชนิด คือ 1. กาซซัลเฟอรไดออกไซด 2. กาซออกไซดของ
ไนโตรเจนซึ่งคํานวณผลในรูปกาซไนโตรเจนไดออกไซด และ3. ฝุนละออง ซึ่งไมครอบคลุมถึงกาซเรือนกระจก แตเมื่อ
พิจารณานิยามคําวา “มลพิษ” แลวไมสอดคลองกับบริบทของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และเมื่อตรวจสอบ
ประกาศคณะกรรมคณะกรรมการสิ่งแวดลอมแหงชาติกําหนดคามาตรฐานคุณภาพอากาศ พบวายังไมมีการกําหนด
ปริมาณของกาซเรือนกระจกในชั้นบรรยากาศทั่วไป
(2) การจัดทํารายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดลอม ซึ่งโรงไฟฟาพลังความรอนถูกกําหนดใหเปนกิจการ
ที่ตองจัดทํารายงานฯ และในรายงานฯ ของโรงไฟฟาพลังความรอนจะระบุขอมูลการปลอยมลพิษตาง ๆ ที่กฎหมาย

11
Supra note 7, article 8
12
ภั ท ราพร พุ ท ธมงคล, “การปฏิ บั ติ ต ามกฎหมายของประเทศไทยให เ ป น ไปตามพั น ธกรณี ข องอนุ สั ญ ญา
สหประชาชาติวาดวยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ค.ศ. 1992 และพิธีสารเกียวโต ค.ศ. 1997,” (วิทยานิพนธมหาบัณฑิต
คณะนิติศาสตร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร, 2552, น.17-18.
13
Supra note 7.
14
Environment Agency, “about, ” Retrieved on September 17, 2018, from https://www.gov.uk/
government/organisations/environment-agency/about.
วารสารนิติศึกษาไทย 839

บัญญัติควบคุมการปลอย ไดแก กาซซัลเฟอรไดออกไซด ออกไซดของไนโตรเจนในรูปไนโตรเจนไดออกไซด และฝุน


ละออง ดังนั้น การจัดทํารายงานฯ จึงไมมีการศึกษาเกี่ยวกับปริมาณการปลอยกาซเรือนกระจก
3.1.2 พระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2535 โรงไฟฟาพลังความรอนเปนกิจการที่อยูภายใตกฎหมายดังกลาว
ซึ่งรัฐมนตรีไดออกประกาศกระทรวงอุตสาหกรรมกําหนดคาปริมาณของสารเจือปนในอากาศที่ ระบายออกจาก
โรงงานผลิต สง หรือจําหนายพลังงานไฟฟา แตกําหนดเฉพาะคาของซัลเฟอรไดออกไซด ออกไซดของไนโตรเจนในรูป
ไนโตรเจนไดออกไซด และฝุนละอองเทานั้น จึงยังไมครอบคลุมไปถึงกาซเรือนกระจก
3.1.3 พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 ผูประกอบกิจการโรงงานผลิตไฟฟาบางประเภทตองอยู
ภายใตกฎหมายฉบับนี้ และแมวาจะกําหนดมิใหมีการกระทําที่อาจกอใหเกิดเหตุรําคาญหรือกระทบกระเทือนตอการ
รักษาคุณภาพสิ่งแวดลอม แตเจตนารมณที่แทจริงของกฎหมายก็เพื่อควบคุมความมั่นคง แข็งแรง และความปลอดภัย
ของอาคาร จึงไมเหมาะสมที่จะนํามาใชกับการควบคุมการปลอยกาซเรือนกระจก
3.1.4 พระราชบัญญัติประกอบกิจการพลังงาน พ.ศ. 2550 ถือเปนกฎหมายแมบทในการดําเนินกิจ การ
โรงไฟฟาพลังความรอน และแมวากฎหมายจะบัญญัติใหมาตรฐานทางสิ่งแวดลอมเปนหนึ่งในหลักเกณฑและเงื่อนไข
การออกใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงานผลิตไฟฟา ประกอบกับเมื่อพิจารณาแบบคําขอรับใบอนุญาตประกอบ
กิจการผลิตไฟฟาพบวา ไดใหระบุปริมาณการปลอยกาซเรือนกระจกโดยตองมีการประเมินการปลอยดวยแบบจําลอง
ทางวิทยาศาสตรและคาที่ประเมินไดตองไมเกินมาตรฐานควบคุมการปลอยทิ้งอากาศเสียจากโรงไฟฟาตามที่กฎหมาย
กําหนด15 แตในปจจุบันยังไมมีกฎหมายกําหนดคามาตรฐานการปลอยกาซเรือนกระจกทําใหขอมูลปริมาณการปลอย
กาซเรือนกระจกรวมทั้งมาตรการปองกันและลดการปลอยกาซเรือนกระจกจะไมถูกนํามาใชในการพิจารณาออก
ใบอนุญาตประกอบกิจการผลิตไฟฟาทําใหการบังคับใชกฎหมายไมมีประสิทธิภาพเทาที่ควร
3.2 มาตรการสนับสนุน
3.2.1 ระบบซื้อขายใบอนุญาตการปลอยกาซเรือนกระจก ปจจุบันมีการพัฒนาระบบซื้อขายใบอนุญาตปลอย
ก า ซเรื อ นกระจกภาคสมั ค รใจ (Thailand Voluntary Emission Trading Scheme หรื อ Thailand V-ETS) โดย
องคการบริหารจัดการกาซเรือนกระจกแตยังไมมีกฎหมายรองรับมาตรการดังกลาว ดังนั้น การซื้อขายคารบอนเครดิต
ในปจจุบันจึงปฏิบัติตามประมวลกฎหมายแพงและพาณิชย ลักษณะซื้อขายแตผูเขียนมีความเห็นวาการซื้อขายสิทธิ
การปลอยกาซเรือนกระจกนั้นมีลักษณะเฉพาะมากกวาการซื้อขายทรัพยสินอื่นทั่วไป เริ่มตั้งแตการจัดสรรสิทธิการ
ปลอยกาซเรือนกระจก การรับรองคารบอนเครดิตซึ่งจะกลายเปนสินคาที่มีการซื้อขายตอไปในตลาดคารบอน เปนตน
และแมวาประเทศไทยจะมีรางพระราชบัญญัติมาตรการการคลังเพื่อสิ่งแวดลอม พ.ศ. .... เปนมาตรการที่ใกลเคียง แต
รางกฎหมายใหกําหนดรายละเอียดไวในพระราชกฤษฎีกาซึ่งไมเหมาะสม
3.2.2 มาตรการทางภาษี ปจจุบันประเทศไทยออกกฎกระทรวงกําหนดพิกัดอัตราภาษีสรรสามิต พ.ศ. 2560
เพื่อกําหนดพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิตสําหรับสินคาและบริการซึ่งมีการกําหนดอัตราภาษีสําหรับการปลอยกาซเรือน
กระจกเฉพาะสินคาที่เปนรถยนตเทานั้น สําหรับโรงไฟฟาพลังความรอน ผูเขียนมีความเห็นวาควรจัดเก็บจากฐานภาษี
สินคาและกิจการที่มีผลกระทบตอสิ่งแวดลอม เพราะการจัดเก็บจากเชื้อเพลิงเปนการแกปญหาที่ตนเหตุ สงผลใหมี
การคัดเลือกเชื้อเพลิงที่ปลอยกาซเรือนกระจกต่ําและใหความสําคัญกับพลังงานทดแทนมากขึ้น สวนการเก็บภาษีจาก
ปริมาณการปลอยกาซเรือนกระจกแมจะเปนการแกปญหาที่ปลายทาง แตเราก็ไมอาจปฏิเสธไดวาในความเปนจริง
ผูประกอบการก็อาจจะยังคงเลือกใชเชื้อเพลิงฟอสซิลอยู การเก็บภาษีจากการปลอยกาซเรือนกระจกก็เปนการสงเสริม
ใหมีการนําเทคโนโลยีลดการปลอยกาซเรือนกระจกมาใชมากขึ้น
3.2.3 มาตรการสงเสริมการลงทุน เงื่อนไขทางดานเทคโนโลยีเกี่ยวกับสิ่งแวดลอมในการขอรับการสงเสริม
การลงทุนของผูประกอบกิจการโรงไฟฟาพลังความรอนมีเพียงเทคโนโลยีถานหินสะอาด ซึ่งปจจุบันเทคโนโลยีดังกลาว

15
สํานักงานคณะกรรมการกํากับกิจการพลังงาน ฝายใบอนุญาต, “คูมือการขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการไฟฟา
ใบอนุญาตประกอบกิจการผลิตไฟฟา ระบบจําหนายไฟฟา และจําหนายไฟฟา,” สืบคนเมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2560, จาก
http://www.erc.or.th/ERCWeb2/Upload/Document/คูมือการขอรับใบอนุญาต_รวม.pdf.
840 Thailand Journal of legal Study

สามารถแกไขปญหาฝุนละออง กาซซัลเฟอรไดออกไซด ได แตเทคโนโลยีดังกลาวยังพัฒนาไปไมถึงการแกปญหากาซ


คารบอนไดออกไซด ซึ่งปจจุบันมีเทคโนโลยีดักจับกาซคารบอนไดออกไซด (เทคโนโลยี CCS: Carbon Capture and
Storage) แตเงื่อนไขยังครอบคลุมไปไมถึง
3.3 หนวยงานที่เกี่ยวของ
หนวยงานที่เกี่ยวของกับการลดการปลอยกาซเรือนกระจกในประเทศไทย ไดแก กระทรวงพลังงาน มีหนาที่
รวบรวมปริมาณการปลอยกาซเรือนกระจกในภาคพลังงาน องคการบริหารจัดการกาซเรือนกระจก (องคการมหาชน)
มีวิเคราะหและกลั่นกรองโครงการกลไกการพัฒนาที่สะอาดในประเทศไทย แตไมมีอํานาจเกี่ยวกับการซื้อขายคารบอน
เครดิตในตลาดคารบอน และคณะอนุกรรมการการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศดานวิชาการและฐานขอมูล ซึ่งเมื่อ
พิจารณาองคคณะแลวพบวาควรเพิ่มสัดสวนของนักวิชาการ

บทสรุป
จากที่ผูเขียนไดศึกษามาแลวขางตน พบวา ประเทศไทยยังขาดมาตรการทางกฎหมายที่ชัดเจนมารองรับ
นโยบายตาง ๆ จึงไมถูกนํามาใชบังคับในทางปฏิบัติเพื่อแกปญหาอยางจริงจัง ผูเขียนจึงขอเสนอแนะแนวทางในการ
จัดการ และลดการปลอยกาซเรือนกระจกจากโรงไฟฟา พลังความรอนที่ เหมาะสมและมีป ระสิท ธิภาพ โดยแบง
ออกเปน 2 ระยะ ดังนี้
ระยะแรก ควรสรางความตระหนักแกผูจัดทํารายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดลอมเกี่ยวกับปญหาการ
เปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เพื่อใหศึกษาผลกระทบและปริมาณการปลอยกาซเรือนกระจก (กาซคารบอนไดออกไซด)
ระยะที่สอง เพื่อใหเกิดความชัดเจนในการสงเสริมการลดการปลอยกาซเรือนกระจกจากโรงไฟฟาพลังความ
รอนควรดําเนินการดังนี้
1. ออกประกาศกําหนดคามาตรฐานคุณภาพอากาศในบรรยากาศโดยทั่วไป โดยกําหนดคาเฉลี่ยปริมาณกาซ
คารบอนไดออกไซดในบรรยากาศโดยทั่วไป และออกประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม กําหนดคาปริมาณกาซเรือน
กระจกที่ระบายออกจากโรงไฟฟาพลังความรอน
2. ประเทศไทยควรมีกฎหมายเกี่ยวกับการซื้ อขายใบอนุญาตปลอยกาซเรือนกระจก โดยกําหนดหลักเกณฑ
และขั้นตอนตาง ๆ เชน กิจกรรมที่อยูภายใตระบบฯ กําหนดใหใชระบบตรวจวัด รายงาน และทวนสอบเพื่อจัดเก็บ
ขอมูล มาตรการลงโทษกรณีไมรายงานขอมูลหรือรายงานขอมูลเท็จ และหนวยงานที่เกี่ยวของ เปนตน
3. ประเทศไทยควรจัดเก็บภาษีสรรพสามิตจากเชื้อเพลิงฟอสซิลตามปริมาณคารบอนที่อยูในเชื้อเพลิงควบคู
ไปกับการจัดเก็บจากปริมาณการปลอยกาซเรือนกระจกจากโรงไฟฟาพลังความรอน โดยแบงออกเปน 2 อัตรา คือ 1.
อัตราหลัก และ2. อัตราสนับสนุนคารบอน ซึ่งใชกับโรงไฟฟาพลังความรอนที่ใชเทคโนโลยีลดการปลอยกาซเรือน
กระจก นอกจากนี้ ควรแกไขกฎกระทรวงกําหนดพิกัดอัตราภาษีสรรสามิต พ.ศ. 2560 โดยเพิ่มถานหินใหเปนสินคาที่
ตองจัดเก็บภาษีสรรพสามิต และเพิ่มใหโรงไฟฟาพลังความรอนเปนกิจการที่มีผลกระทบตอสิ่งแวดลอม
4. ควรให คณะกรรมการสง เสริมการลงทุ นประกาศให การใชเทคโนโลยีดั กจับ กา ซคารบอนไดออกไซด
(เทคโนโลยี CCS) เปนเงื่อนไขที่สามารถขอรับการสงเสริมการลงทุน
5. ควรมีมาตรการทางกฎหมายรองรับมาตรการสงเสริมการใชพลังงานไฟฟาอยางมีประสิทธิภาพเพื่อใหมีผล
บังคับในทางปฏิบัติ
6. ควรแกไขเพิ่มเติมพระราชกฤษฎี กาจัดตั้งองคการบริหารกาซเรือนกระจก (องคการมหาชน) พ.ศ. 2550
โดยเพิ่มวัตถุประสงคและอํานาจหนาที่ในการจัดทําขอมูลการซื้อขายใบอนุญาตปลอยกาซเรือนกระจก และมีอํานาจ
ในการควบคุมดูแลตลาดคารบอนและรับการขึ้นทะเบียนผูประสงคจะเขารวมโครงการซื้อขายใบอนุญาตปลอยก าซ
เรือนกระจก
7. ควรปรับปรุงโครงสรางคณะอนุกรรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศดานวิชาการและฐานขอมูล โดย
เพิ่มสัดสวนผูเชี่ยวชาญดานตาง ๆ ซึ่งเปนนักวิชาการ เนื่องจากการทําหนาที่ทางดานวิชาการและฐานขอมูล ควรมี
อนุกรรมการที่มีความรูความสามารถเฉพาะดานและอยูบนพื้นฐานของความรูทางวิชาการ
วารสารนิติศึกษาไทย 841

บรรณานุกรม

หนังสือและบทความในหนังสือ

อนันต คงเครือพันธ และคณะ. รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ โครงการศึกษาเปรียบเทียบกฎหมายวาดวยการเปลี่ยนแปลง


สภาพภูมิอากาศ, (2559).

วิทยานิพนธ

ภัทราพร พุทธมงคล. “การปฏิบัติตามกฎหมายของประเทศไทยใหเปนไปตามพันธกรณีของอนุสัญญาสหประชาชาติ


วาดวยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ค.ศ. 1992 และพิธีสารเกียวโต ค.ซศ. 1997.” (วิทยานิพนธ
มหาบัณฑิต คณะนิติศาสตร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร, 2552.

สื่ออิเล็กทรอนิกส

สํานักงานนโยบายและแผน กระทรวงพลังงาน. “การปลอยกาซคารบอนไดออกไซด (CO2). จากการใชพลังงานป


2558.” http://www.eppo.go.th/index.php/th/energy-information/situationco2/peryear?
Orders[publishUp]=publishUp&issearch=1, 1 เมษายน 2560.

ELECTRONIC MEDIA

Environment Agency. “about.” https://www.gov.uk/government/organisations/environment-agency/


about. September 17, 2018.
Environmental taxes. “reliefs and schemes for businesses.” https://www.gov.uk/green-taxes-and-
reliefs/climate-change-levy. August 12, 2017.
842 Thailand Journal of legal Study

การคุมครองผูบริโภคจากการปลอมราคาเพื่อขายสินคา
CONSUMER PROTECTION AGAINST FAKE ORIGINAL PRICES

อรสา เบญจรุราวงศ
Orasa Benjarurawong
บทคัดยอ
สภาพปญหาการปลอมราคาเพื่อขายสินคาที่พบมากในปจจุบันคือกรณีที่ผูขายตั้งราคาสินคาไวสูงเปนราคา
แรกซึ่งผูขายไมไดมีเจตนาที่จะขายสินคาดังกลาวในราคาที่ตั้งไวสูงนั้นแลว มีการโฆษณาวาตนลดราคาลงมาอยางมาก
เปนราคาที่สองเพื่อเปนการจูงใจใหผูบริโภคตัดสินใจเลือกซื้อสินคาของตน การกระทําดังกลาวอาจถือวาเปนการ
หลอกลวงตอผูบริโภคเพราะเปน การนําเสนอขอมูลที่ไมเปนความจริงหรือผูขายไมไดมีเจตนาขายหรือไมเคยขาย
สินคาในราคาสูงนั้นมากอน ทั้งนี้ ผูขายกระทําการดังกลาวโดยมีเจตนาเพื่อใหผูซื้อเขาใจวาสินคามีมูลคาเทากับราคา
ปลอมนั้นเอง จากการศึกษาบทบัญญัติแหงกฎหมาย ตามพระราชบัญญัติวาดวยราคาสินคาและบริการ พ.ศ. 2542
และพระราชบัญญัติคุมครองผูบริโภค พ.ศ. 2522 ผูเ ขียนพบวายังไมมีหลักเกณฑการวินิจฉัยวาราคาปลอมคืออะไร
และบทกํา หนดโทษนั้ น มี เพี ย งบทลงโทษทางอาญา และให ค ณะกรรมการมี อํา นาจเปรียบเที ย บปรับ ซึ่ ง ยั ง ไม มี
ประสิทธิภาพเพียงพอที่จะคุมครองผูบริโภคจากการปลอมราคาเพื่อขายสินคา
ดังนั้น ผูเขียนจึงเสนอใหนําหลักเกณฑทางกฎหมายของประเทศสหรัฐอเมริกาและหลักเกณฑทางกฎหมาย
ของประเทศแคนาดามาปรับใชเปนแนวทางในการปรับปรุงแกไขกฎหมายคุมครองผูบริโภคของประเทศไทย เนื่องจาก
หลักเกณฑทางกฎหมายของทั้งสองประเทศมีความชัดเจนในแงการวินิจฉัยการปลอมราคาเพื่อขายสินคาและเอื้อตอ
การแกไขปญหาดั งกลาว ประกอบกับมีคดีพิพาทของทั้งสองประเทศที่เกิดขึ้นอันสามารถนํามาเปนตัวอยางดาน
แนวคิ ด ในการแก ไ ขป ญ หาได ไ ม ม ากก็ น อ ย โดยผู เ ขี ย นขอเสนอให มี ก ารกํ า หนดหลั ก เกณฑ วิ นิ จ ฉั ย ราคาปลอม
พฤติกรรมการปลอมราคาเพื่อขายสินคา และแตงตั้งคณะกรรมการวาดวยการวินิจฉัยราคาปลอมเปนคณะกรรมการ
เฉพาะเรื่องเพื่อควบคุม กํากับดูแล รวมถึงกรณีที่มีขอพิพาทระหวางผูประกอบการกับผูบริโภคเกิดขึ้นและปรากฏวา
ผูขายกระทําความผิดโดยการปลอมราคาเพื่อขายสินคานั้น ผูเขียนขอเสนอใหมีการกําหนดมาตรการเยียวยาความ
เสียหายทางแพงแกผูบริโภคเพื่อใหผูบริโภคซึ่งเปนผูไดรับผลกระทบโดยตรงไดรับการเยียวยาตอไป

คําสําคัญ
การปลอมราคาเพื่อขายสินคา, ราคา, ผูบริโภค

ABSTRACT
A common pricing problem is when a seller sets an initial inflated price without an intention
to sell it. The seller would then advertise a markdown to attract consumers to buy their products.
Such action should be deemed as deceiving consumers because the seller represented a false
statement, did not intent to sell at the initial fictitious price, or has never sold the goods at that
price before. Therefore, the seller intentionally misleads the consumer, suggesting that the product
is the same value as the deceptive price. This research investigates the Price of Goods and Services


นั ก ศึ ก ษาปริ ญ ญาโท หลั ก สู ต รนิ ติ ศ าสตร ม หาบั ณ ฑิ ต สาขากฎหมายธุ ร กิ จ คณะนิ ติ ศ าสตร มหาวิ ท ยาลั ย
ธรรมศาสตร : E-mail : orasa.benjarurawong@gmail.com
Graduate Student of Master of Laws Program in Business Law, Faculty of Law, Thammasat
University. Email address : orasa.benjarurawong@gmail.com
วารสารนิติศึกษาไทย 843

Act, B.E. 2542(1999) and The Consumer Protection Act, B.E. 2522 (1979) and argues that there are
no guidelines on how to determine whether the price is fictitious, that the only sanction available is
a criminal penalty, and that a committee has the power to settle defenses by having the sellers pay
a fine which is not sufficient enough to protect consumers from fictitious pricing.
Therefore, this thesis argues that Thailand can use laws in the United States and Canada as
models in amending Thailand regulations on consumer protection since both United States’ laws
and Canadian’s have explicit rules on how to determine pricing deception. Moreover, both countries
have legal precedents, the concepts of which can be used to solve consumer problems in Thailand.
This thesis proposes that Thailand should pose guidelines on how to determine whether the price
is fictitious and what constitutes pricing-deception behavior. Additionally, Thailand should appoint a
separate committee on fictitious pricing to regulate the matter. If a dispute between a business
owner and a consumer occurs, and the seller committed an offense of establishing a fictitious price,
this thesis proposes that Thailand should set civil restitution measures to compensate the consumer
who was directly affected.

Keywords
fictitious pricing for sale, price, consumers
844 Thailand Journal of legal Study

บทนํา
ปจจุบันปญหาการโฆษณาลดราคาสินคาที่ผูขายตั้งราคาสินคาไวสูงเปนราคาแรกซึ่งผูขายไมไดมีเจตนาที่จะ
ขายสินคาดังกลาวในราคาที่ตั้งไวสูงนั้นแลวมีการโฆษณาวาตนลดราคา ลงมาอยางมากเปนราคาที่สองเพื่อเปนการจูง
ใจใหผูบริโภคตัดสินใจเลือกซื้อสินค าของตน อันนาจะถือวาเปนการหลอกลวงตอผูบริโภคมีจํานวนมาก และมีผูซื้อ
จํ า นวนมากที่ถูกหลอกลวงจากการโฆษณาลดราคาสินค าลักษณะดั งกลาว อี กทั้ ง คดี พิพาทในตางประเทศก็เปน
กรณีศึกษาที่นาสนใจ ปญหาการโฆษณาการลดราคาสินคาโดยปลอมราคาเพื่อขายสินคาจึงสมควรไดรับการแก ไข
โดยเร็ว ผูเขียนจะขอทําการศึกษา พิจารณา และวิเคราะห สภาพปญหาหลักเกณฑทางกฎหมายในการวินิจฉัยการ
ปลอมราคาเพื่อขาย ปญหาหนวยงานที่มีอํานาจบังคับใชกฎหมาย และปญหาบทกําหนดโทษที่ไมเพียงพอ ซึ่งประเทศ
ไทยยังไมมีบทบัญญัติแหงกฎหมายที่ให ความคุมครองผูบริโภคจากการปลอมราคาเพื่อขายสินคาที่ชัดเจนเพียง
พอที่ จ ะสามารถคุ ม ครองสิ ท ธิ ของผู บริโภคจากการปลอมราคาเพื่ อขายสิน คาไดและยั ง ไม มี แนวทางการชดเชย
ความเสียหายที่เกิดขึ้นตอผูบริโภคในเรื่องราคาปลอมโดยเฉพาะเจาะจง
ผูเขียนมุงศึกษาถึงปญหาของบทบัญญัติกฎหมายเกี่ย วกับการโฆษณาลดราคาสินคาการกําหนดราคาสินคา
และการบังคับใชกฎหมายของหนวยงานที่รับผิดชอบเรื่องดังกลาว ซึ่งสาเหตุหนึ่งที่ทําใหเกิดปญหาการปลอมราคาเพื่อ
ขายสินคาที่พบเห็นไดทั่วไปในปจจุบันทําใหสิทธิของผูบริโภคที่จะไดรับทราบราคาสินคาซึ่งเปนขอมูลอยางหนึ่ งและ
นําไปเปรียบเทียบราคากอนตัดสินใจซื้อนั้นไมไดรับความคุมครองอยางแทจริง ผูเขียนจะวิเคราะหปญหาดังกลาวโดย
อาศัยการศึกษาพระราชบัญญัติคุมครองผูบริโภค พ.ศ. 2522 พระราชบัญญัติวาดวย ราคาสินคาและบริการ พ.ศ.
2542 ที่เกี่ยวของกับการโฆษณาลดราคาสินคาและการกําหนดราคาสินคา นอกจากนี้ ยังมุงศึกษาใหครอบคลุมสินคา
ทั่วไปมิใชเฉพาะสินคาควบคุมเทานั้น โดยศึกษาประกอบกับพัฒนาการและหลักเกณฑของกฎหมายในตางประเทศ
อันไดแก กฎหมายและระเบียบของประเทศสหรัฐอเมริกา กฎหมายและระเบียบของประเทศแคนาดา รวมทั้งอาศัย
การศึ ก ษาคดีการปลอมราคาเพื่ อขายสิ นค าที่เกิด ขึ้น จริงในประเทศสหรัฐอเมริกาและประเทศแคนาดา เพื่ อนํา
มาตรการของกฎหมายดังกลาวมาเปนแบบอยางในการเสนอแนวทางแกไขเพิ่มเติมกฎหมายของประเทศไทยเกี่ยวกับ
การปลอมราคาเพื่อขายสินคาใหเหมาะสมยิ่งขึ้น เนื่องจากหลักเกณฑทางกฎหมายของทั้ งสองประเทศมีความชัดเจน
ในแงการวินิจฉัยการปลอมราคาเพื่อขายสินคาและเอื้อตอการแกไขปญหาดังกลาว

บทสรุป
จากการศึกษาทฤษฎี ราคาในทางเศรษฐศาสตร การกํา หนดราคาหรือการตั้ง ราคา รูป แบบราคาปลอม
ประกอบกับสภาพปญหาการคุมครองผูบริโภคจากการปลอมราคาเพื่อขายสินคาของกฎหมายไทย และบทบัญญัติแหง
กฎหมายตามพระราชบัญญัติคุมครองผูบริโภค พ.ศ. 2522 พระราชบัญญัติวาดวยราคาสินคาและบริการ พ.ศ. 2542
กฎหมายและระเบียบของประเทศสหรัฐอเมริกา กฎหมายและระเบียบของประเทศแคนาดา รวมทั้งอาศัยการศึกษา
คดีการปลอมราคาเพื่อขายสินคาที่เกิดขึ้ นจริงในประเทศสหรัฐอเมริกาและประเทศแคนาดา ทั้งนี้ ผูเขียนเลือกศึกษา
หลักเกณฑทางกฎหมายของประเทศสหรัฐอเมริกาและประเทศแคนาดา เพราะแมวาทั้งสองประเทศจะมีระบบ
กฎหมายคอมมอนลอวที่แตกตางจากประเทศไทยก็ตาม แตทั้งสองประเทศมีหลักเกณฑทางกฎหมายเกี่ยวกับการ
ปลอมราคาเพื่อขายสินคาที่ชัดเจนและไดบัญญัติหลักเกณฑไวเปนลายลักษณอักษรแลว พอที่จะนํามาเปนแนวทางใน
การปรับปรุงกฎหมายคุมครองผูบริโภคจากการปลอมราคาเพื่อขายสินคาของประเทศไทยตอไปได
ดังนั้น ผูเขียนขอแบงสภาพปญหาการคุมครองผูบริโภคจากการปลอมราคาเพื่อขายสินค าของกฎหมายไทย
ออกเปน 3 ปญหา ไดแก ปญหาหลักเกณฑการวินิจฉัยการปลอมราคาเพื่อขายสินคา นิยามของคําวาราคาปลอมคือ
อะไร และเมื่อมีการโฆษณาลดราคาสินคาเกิดขึ้น จะใชหลักเกณฑใดในการวินิจฉัยวาราคานั้นเปนราคาปลอมที่ผขู ายมี
เจตนาปลอมราคาเพื่อขายสินคา เห็นวา ตามพระราชบัญญัติวาดวยราคาสินคา และบริการ พ.ศ. 2542 มีเพียง
หลักเกณฑการกําหนดราคาสินคา และประกาศคณะกรรมการกลางวาดวยราคาสินคาและบริการ ฉบับที่ 45 พ.ศ.
2560 เรื่อง การแสดงราคาสินคาและคาบริการ โดยอาศัยมาตรา 28 พระราชบัญญัติวาดวยราคาสินคาและบริการ
พ.ศ. 2542 เปนการออกมาตรการในการแสดงราคาสินคาแตไมมีหลักเกณฑหรือเงื่อนไขใดที่จะนํามาใชบงบอกไดวา
วารสารนิติศึกษาไทย 845

ราคาดังกลาวเปนราคาปลอม อีกทั้งการจะใชมาตรการตามพระราชบัญญัติวาดวยราคาสินคาและบริการ พ.ศ. 2542


ในการควบคุมดูแลสินคาหรือบริการไดจะตองประกาศใหสินคาเปน สินคาควบคุมเสียกอนจึงไมครอบคลุมถึงสินคา
ทั่วไป และพระราชบัญญัติคุมครองผูบริโภค พ.ศ. 2522 ในสวนที่พอจะเกี่ยวของกับการคุมครองผูบริโภคจากการ
ปลอมราคาเพื่อขายสินคาเปนเรื่องหลักเกณฑการโฆษณาสินคา ตามมาตรา 22 แหงพระราชบัญญัติคุมครองผูบริโภค
พ.ศ. 2522 ไดกําหนดใหการโฆษณาจะตองไมใชขอความ ที่ไมเปนธรรมตอผูบริโภคหรือใชขอความที่อาจกอใหเกิด
ผลเสียตอสังคมเปนสวนรวม โดยตองอาศัยการตีความลักษณะขอความที่ถือวาเปนขอความที่ไมเปนธรรมตอผูบริโภค
หรือเปนขอความที่อาจกอใหเกิดผลเสียตอสังคมเปนสว นรวม และประกาศสํานักงานคณะกรรมการคุมครองผูบริโภค
เรื่อง แนวทางการโฆษณาลดราคาสินคาหรือบริการ ตามพระราชบัญญัติคุมครองผูบริโภค พ.ศ. 2522 เพื่อกําหนด
แนวทางที่ถูกตองในการโฆษณาสินคาหรือบริการ ซึ่งมีเพียงขอกําหนด ขอ 7 เพียงขอเดียวที่มีการกลาวถึงพฤติกรรม
การปลอมราคาเพื่อขายสินคาโดยตรง ซึ่งกําหนดใหราคาสินคาหรือบริการที่แสดงหรือปรากฏตอผูบริโภคควรเปน
ราคาที่ปรับลงแลว จากราคาขายปกติ มิใชการปรับราคาขายปกติใหสูงขึ้นแลวนํามาโฆษณาวาลดราคาสินคาหรือ
บริการ ดังนั้น กฎหมายดังกลาวของประเทศไทยจึงยังไมเพียงพอ
อยางไรก็ตาม Federal Trade Commission ไดใหความหมายของการกําหนดราคาหลอกลวง (Deceptive
pricing) วาคือวิธีการที่ผูขายปลีกใชวิธีการหลอกลวงเพื่อหลอกลอใหผูซื้อคิดวาตนกําลังซื้อสินคาในราคาที่ต่ําสําหรับ
ผลิตภัณฑนั้นแตความจริงแลว ผูซื้อไมไดซื้อในราคาต่ํา อยางที่คิด วิธีการทั่วไปที่ผูขายปลีกใชในการกําหนดราคา
หลอกลวง เชน การขายแบบลางสต็อค (Clearance sales) การขายแบบเลิกกิจการ (going out of business sales)
หรือการขายลดราคาโดยมีคาธรรมเนียมที่ซอนไว (discount sales with hidden fees) เปนตน ปจจุบันพฤติกรรม
การใชราคาหลอกลวงมีปรากฏตามรานคาในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส (e-commerce) โดยตามเว็บไชตรานคาจะมีการ
ปรับราคาจากราคาที่แทจริงและลดราคาลงมาใหเทากับราคาที่ผูขายมีเจตนาขายแตแรกเพื่อจูงใจผูซื้อสินคา และตาม
มาตรา 5 แหง Federal Trade Commission Act โดย Federal Trade Commission ไดอธิบายความหมายของ
“Deceptive Practices” วาคือการกระทําที่มีแนวโนมที่จะทําใหผูบริโภคเขาใจผิด ในสถานการณเชนนั้นและเปน
เรื่องสําคัญตอการตัดสินใจซื้อสินคาหรือบริการของผูบริโภคไวอีกดวย ทั้งนี้ อาจเรียกราคาที่ตั้งไวแตไมมีการขายสินคา
มากอนหรือไมไดมีเจตนาขายสินคาในราคานั้นมาแตแรกวา “ราคาปลอม” สําหรับกฎหมายที่เกี่ยวกับการวินิจฉัย
พฤติ ก รรมการปลอมราคาเพื่ อ ขายสิ น คา ของประเทศสหรั ฐ อเมริ ก า รวมถึ ง คดี พิ พ าทที่ เ กิ ด ขึ้ น จริ ง ในประเทศ
สหรัฐอเมริกา ได แ ก คดี Gattinella v. Michael Kors (USA) Inc et al, U.S. District Court, Southern District
of New York, No. 1 4 - 0 5 7 3 1 , ค ดี Cavlovic v. J.C. Penney Corp. DISTRICT COURT OF WYANDOTTE
COUNTY, KANSAS CASE NUMBER: 2016-CV-000938 และคดี Russell v. Kohl's Department Stores, Inc.
เปนตน ซึ่งคดีที่เกิดขึ้นดังกลาวผูบริโภคจะอางวาตนไมไดซื้อสินคาในราคาจริงที่ควรไดรับตามที่ผูขายโฆษณา
จากการศึกษาดังกลาวทําใหเราพอจะทราบถึงหลักเกณฑในการวินิจฉัยราคาปลอมที่พอจะนํามาเปนแนว
ทางการวินิจฉัย ราคาปลอมในกฎหมายไทย เชน หลักเกณฑการเปรียบเทียบราคาในอดีต, หลักเกณฑการเปรียบเทียบ
ราคาผูขายปลีก : มูลคาที่สามารถทดสอบเปรียบเทียบได, หลักเกณฑการตั้งราคาขายปลีกที่โฆษณาโดยผูผลิตหรือ
ผูแทนจําหนายอื่นที่ไมใชผูขายปลีก โดยทั่วไปผูซื้อสินคามักจะเชื่อวารายการราคาของผูผลิตหรือราคาที่เปนราคาขาย
ปลี กแนะนํ า จะเป น ราคาที่ ข ายสิ น คา ทั่ ว ไป, หลั กเกณฑ ก ารตกลงราคาที่ ขึ้น อยู กับ การซื้ อ ขายของผู ค า รายอื่ น ,
หลักเกณฑการเปรียบเทียบราคาเบ็ดเตล็ด โดยผูคาปลีกตองไมโฆษณาราคาขายปลีกเปน "ราคาขายสง" หรือผูคาปลีก
ไมควรแสดงวาตนขายสินคาใน “ราคาโรงงาน” เมื่อผูคาปลีกไมไดขายในราคาที่จ ายไปใหแกผูผลิตโดยตรง ผูคาปลีก
ไมควรเสนอขายสินคามือสอง สินคาไมสมบูรณ หรือสินคาไมไดมาตรฐานทั่วไปในราคาที่ลดลงโดยไมเปดเผยวาสินคา
ดังกลาวเปนสินคามือสอง สินคามีตําหนิ หรือสินคาที่ไมไดมาตรฐานทั่วไป หรือกรณีการขายสินคาใหมหรือการขาย
สินคาที่สมบูรณ ผูขายไมควรเสนอขายสินคาลวงหนาโดยที่ผูขายไมสุจริตและคาดวาจะเพิ่มราคาในภายหลัง หรือขาย
ดวยขอเสนอแบบ "จํากัด" เชน การใชขอความวา “จํานวนจํากัด” หรือการใชขอความวา “ราคาพิเศษวันเดียว” โดย
ไมใชความเปนจริง ในสถานการณเหลานี้รวมถึงกรณีอื่น ๆ ทั้งหมด ผูโฆษณาควรตรวจสอบใหแนใจวาการนําเสนอ
846 Thailand Journal of legal Study

หรือการโฆษณาลดราคาของผูขาย ผูโฆษณา ผูประกอบการนั้นถูกตองและตรงกับความจริง การกระทําดังกลาวจะ


เปนประโยชนทั้งตอตนเองและเปนประโยชนตอสาธารณชนดวย
ในขณะที่กฎหมายประเทศแคนาดากําหนดหลักเกณฑการวินิจฉัยราคาปลอม โดย Competition Act ได
กําหนดเรื่องการอางอิงราคาปกติในการขายสินคาตามมาตรา 74.01(2) 1 และ 74.01(3)2 และสํานักการแขงขันทาง
การคา (The Competition Bureau) ไดกําหนดคําแนะนําหลักเกณฑการบังคับใชบทบัญญัติเกี่ยวกับการอางอิงราคา
ปกติ (“Ordinary Price Claims Enforcement Guidelines”) ที่จะใหขอมูลโดยละเอียดเกี่ยวกับวิธีที่ผูโฆษณาราคา
สิ น ค า จะสามารถตรวจสอบการทดสอบปริ ม าณ (Volume Test) และการทดสอบเวลา (Time Test) โดยการ
เปรีย บเที ยบราคาปกติ สามารถทํา ได ทั้งการเปรีย บเทียบกับ ราคาที่ ผานมา (past prices ("was")) ราคาป จจุบัน
(current prices ("regular")) และราคาในอนาคต (future prices ("after sale price")) การอางราคาปกติทั้งสาม
ประเภทจะถูกตัดสิ นโดยการทดสอบปริมาณหรือการทดสอบเวลา (judged by the volume test or the time
test) และ การเปรียบเทียบราคาที่ไมผานการทดสอบปริมาณหรือ การทดสอบเวลาตามที่ไดกลาวมาขางตนอาจ
ไมถือเปนความผิดภายใตบทบัญญัตินี้ หากวาผูจัดจําหนายสินคาสามารถพิสูจนไดวาขอมูลราคานั้นไมเปนเท็จหรือ
ไมไดทําใหเกิดความเขาใจผิดอยางแทจริง ตามบทยกเวนในมาตรา 74.01 (5)3
ปญหาหนวยงานที่มีอํานาจบังคับใชกฎหมายเนื่องจากพฤติกรรมการปลอมราคาเพื่อขายสินคา จําเปนตองมี
หนวยงานภาครัฐเขามามีบทบาทในการกํากับดูแลพฤติกรรมการปลอมราคาเพื่อขายสินคาดังกลาว โดยหนวยงานใด
จะมีอํานาจควบคุมและกํากับดูแลพฤติกรรมการโฆษณาขายสินคาดังกลาว และมีอํานาจหนาที่อยางไร เห็นวา ตาม
พระราชบัญญัติราคาสินคาและบริการ พ.ศ. 2542 ซึ่งกําหนดใหมีคณะกรรมการกลางวาดวยราคาสินคาและบริการ
หรือ กกร. มีอํานาจหนาที่ออกประกาศใหสินคาหรือบริการใดเปนสินคาหรือบริการควบคุมกําหนดมาตรการตาง ๆ ที่
จะใชบังคับ กํากับดูแลใหเกิดความเปนธรรมทางการคา เพื่อปองกันมิ ใหผูบริโภคถูกเอาเปรียบทั้งดานราคาสินคาและ
ปริมาณ มีอํานาจตามกฎหมายที่จะใชมาตรการตาง ๆ ในการออกระเบียบควบคุมดูแล แตยังไมมีขอกําหนดหรือ
หลักเกณฑใดที่จะควบคุมตรวจสอบราคาปลอม ซึ่งใชไดกับเฉพาะสินคาควบคุมเทานั้น ไมครอบคลุมถึงสินคาทั่วไปอื่น
ๆ สําหรับพระราชบัญญัติคุมครองผูบริโภค พ.ศ. 2522 กําหนดใหมีคณะกรรมการวาดวย การโฆษณามีอํานาจในการ
ออกคําสั่งอยางใดอยางหนึ่งหรือหลายอยาง มุงเนนที่การโฆษณาสินคาที่ไมเปนธรรมและวางหลักกวาง ๆ ไวสําหรับ
กําหนดและควบคุมผูกระทําการโฆษณาซึ่งเกี่ยวของกับการปลอมราคาเพื่ อขายสินคาไดเพียงเปนแนวทางทั่ว ๆ ไป
เทานั้น ยังไมสามารถชี้เฉพาะเจาะจงใหชัดเจนเกี่ยวกับพฤติกรรมของผูขายที่ปลอมราคาเพื่อขายสินคา คณะกรรมการ
ดังกลาวจึงยังไมมีบทบาทชัดเจนเพียงพอในการกําหนดหลักเกณฑราคาปลอม หรือควบคุมการกําหนดราคาปลอมที่
ผูขายมีพฤติกรรมที่ไมเปนธรรมตอผูบริโภค
เมื่อศึกษาแนวทางของประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งพอจะนํามาเปนแนวทางปฏิบัติสําหรับประเทศไทยได โดย
คณะกรรมการ Federal Trade Commission มีบทบาทอยางมากในการกําหนดนโยบายดานการคุมครองผูบริโภค
ตาม The federal Trade Commission Act 1914 มาตรา 5 ซึ่ง Federal Trade Commission สามารถสั่งหา ม
การประกอบธุรกิจที่ Federal Trade Commission เห็นวาอาจกอความไมเปนธรรมทางการคาตอผูบริโภค และ
ผูประกอบธุรกิจรายอื่นๆ ดวย จะเห็นไดวาอํานาจของ Federal Trade Commission นั้นครอบคลุมไปทุก ๆ กิจการ
ที่เกี่ยวกับการคา ระบบการคุมครองผูบริโภคของประเทศสหรัฐอเมริกาไดมีการนําวิธีพิจารณาคดีในรูปแบบการ
ดํ า เนิ น คดี แ บบกลุ ม (Class action) หรือรูป แบบวิ ธี การดํ า เนิ น คดี ที่ เมื่ อมี ผู เสี ย หายรายใดฟ อ งต อ ศาล เมื่ อศาล
พิพากษาคดีแลวผลของคําพิพากษาจะผูกพันผูเสียหายเปนอยางเดียวกั นสําหรับกรณีที่เกิดจากเหตุเดียวกันมาใชดวย
ทําใหกระบวนการฟองรองในสหรัฐอเมริกา ประชาชนมีความตื่นตัวที่จะใชสิทธิของตนเพื่อเรียกรองการชดใชเยียวยา

1
Competition Act of Cnada Sections 74.01(2)
2
Competition Act of Cnada Sections 74.01(3)
3
Competition Act of Canada Sections 74.01 (5) ทั้งนี้ Subsections (2) and (3) จะไมใชกับบุคคลที่กําหนด
นั้น ในกรณีที่การแสดงราคาไมเปนเท็จหรือไมทําใหเขาใจผิดในเนื้อหาอยางจริงจัง
วารสารนิติศึกษาไทย 847

จากผูประกอบธุรกิจเปนอยางมาก และ Federal Trade Commission เปนองคกรที่มีอํานาจในการกําหนดบทบังคับ


เกี่ยวกับการกระทําทางการตลาดที่เปนการหลอกลวงหรือไมยุติธรรมตอผูบริโภคอยางชัดเจน รวมถึงการบัญญัติ
ขอกําหนดที่เกี่ยวกับผูคาปลีกที่ทําการใชการกําหนดราคาหลอกลวงตอผูบริโภคขึ้นมา คือ FTC GUIDES AGAINST
DECEPTIVE PRICING ไวในประมวลกฎระเบียบของรัฐบาลกลาง (Code of Federal Regulations) สวนในประเทศ
แคนาดาก็มีสํานักการแขงขันทางการคา (The Competition Bureau) เปนหนวยงานอิสระที่ทําการบังคับใชกฎหมาย
โดยทําหนาที่ในการปกปองและสงเสริมการแขงขันทางการคา และทําใหผูบริโภคมีอิสระในการเลือกสินคา กํากับดูแล
โดย Commissioner of Competition โดยสํานักการแขงขันทางการคา (The Competition Bureau) จะทําการ
สืบสวนสอบสวนตรวจสอบที่เกี่ยวของโดยตรงคือแนวทางการตลาดหลอกลวง เมื่อผลิตภัณฑถูกโฆษณาวาลดราคาลง
แตไมไดจัดใหมาในปริมาณที่สมควร หรือเมื่อผลิตภัณฑจําหนายในราคาที่สูงกวาราคาที่โฆษณา หรื อเมื่อผูคาปลีกอาง
ถึงราคาปกติโดยไมไดเคยขายผลิตภัณฑนั้นในที่มีนัยสําคัญหรือไดเสนอขายผลิตภัณฑนั้นในราคานั้นหรือราคาที่สูงกวา
โดยสุจริตเปนเวลานานพอสมควร เปนตน
ปญหาบทกําหนดโทษที่ไมเพียงพอ เห็นวา พระราชบัญญัติวาดวยราคาสินคาและบริการ พ.ศ. 2542 และ
พระราชบัญญัติคุมครองผูบริโภค พ.ศ. 2522 มีเพียงบทกําหนดโทษทางอาญาใหผูกระทําความผิดตองระวางโทษ
จําคุกและคาปรับ กรณีที่ผูขายไมแสดงราคาสินคาหรือกรณีที่ผูขายโฆษณาสินคาไมเปนธรรม และใหคณะกรรมการไม
วาจะเปนคณะกรรมการกลางวาดวยราคาสินคาและบริการ หรือคณะกรรมการคุมครองผูบริโภค หรือคณะกรรมการ
วาดวยการโฆษณาโดยไดรับมอบหมายจากคณะกรรมการคุมครองผูบริโภค มีอํานาจเปรียบเทียบได และเมื่อผูกระทํา
ผิดยินยอมเสียคาปรับและไดเสียคาปรับตามที่เปรียบเทียบแลว ใหถือวาคดีเลิกกัน ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณา
ความอาญา ซึ่งคาปรับดังกลาวอาจมีจํานวนนอยมากหากเทียบกับปริมาณการขายของผูประกอบธุรกิจที่สามารถทํา
กําไรไดจากการปลอมราคาเพื่อขายสินคา ดวยเหตุนี้ จึงเกิดคําถามขึ้นวาบทกําหนดโทษที่มีอยูเพียงพอหรือไม อีกทั้ง
คาปรับก็ตกเปนของรัฐ แตผูเสียหายที่เปนเอกชนไมไดรับการเยียวยาโดยตรง
ดังนั้น จากสภาพปญหาการคุมครองผูบริโภคจากการปลอมราคาเพื่อขายสินคาดังที่ไดกลาวมาแลวขางตน
ผูเขียนจึงเห็นควรใหแกไขปญหาหลักเกณฑทางกฎหมายในการวินิจฉัยการปลอมราคาเพื่อขายสินคา เพื่อใหเกิด
หลักเกณฑที่ชัดเจนและสามารถนํามาเปนเกณฑการกําหนดพฤติกรรมที่เขาขายการตั้งราคาปลอมได โดยเสนอให
บัญญัติบทนิยามคําวา “ราคาปลอม” ซึ่งนําหลักเกณฑและนิยามจากกฎหมายของประเทศสหรัฐอเมริกามาปรับใช
โดยบั ญ ญั ติ บ ทนิ ย ามดั ง กล า ว ไว ใ นพระราชบั ญ ญั ติ ว า ด ว ยคุ ม ครองผู บ ริ โ ภค พ.ศ. 2522 ดั ง นี้ “ราคาปลอม”
หมายความวา ราคาที่ตั้งไวแตไมมีการขายจริงมากอนโดยมีเจตนาเพื่อที่จะแสดงใหผูซื้อเห็นวาไดลดราคาลงอยางมาก
จนทําใหผูบริโภคตัดสินใจซื้อสินคา รวมถึงราคาที่ไมเปนธรรมตอผูบริโภคหรือกอใหเกิดผลเสียตอสังคมเปนสวนรวม”
และเสนอใหมีการบัญญัติเพิ่มเติม สวนที่ 2 ตรี การคุมครองผูบริโภคในดานราคา ไวในหมวด 2 การคุมครองผูบริโภค
เพื่อใหการคุมครองผูบริโภคในดานราคามีประสิทธิภาพและมีบทบัญญัติที่ชัดเจน เฉพาะเจาะจง ในการแกไขการ
ปลอมราคาเพื่อขายสินคาโดยตรง โดยมีหลักการวา “หามมิใหผูใดกระทําหรือทําสิ่งใดๆ ที่เปนเท็จหรือทําใหเขาใจผิด
ตอสาธารณชนอยางเปดเผยเกี่ยวกับราคาขายปกติของผลิตภัณฑในรูปแบบใดก็ได ราคาขายปกตินี้สามารถพิสูจนโดย
ใชหลักเกณฑทดสอบที่คณะกรรมการวาดวยการวินิจฉัยราคาปลอมกําหนด และการแสดงราคาที่อางอิงถึงราคาเฉลี่ย
ปกติของผูจัดจําหนายโดยทั่วไป ราคาที่อางอิงนั้นจะตองเปนราคาที่ผูจัดจําหนายโดยทั่วไปไดจําหนายผลิตภัณฑนั้นได
ในปริมาณที่มากพอสมควรภายในระยะเวลาที่เหมาะสม หรือไดเสนอขายโดยสุจริตเปนระยะเวลานานตามสมควรใน
ราคานั้นหรือราคาที่สูงกวานั้น”
สําหรับการแกไขปญหาหนวยงานที่มีอํานาจบังคับใชกฎหมาย ผูเขีย นขอเสนอใหตั้งคณะกรรมการเฉพาะ
เรื่อง ไดแก คณะกรรมการวาดวยการวินิจฉัยราคาปลอม และเสนอใหคณะกรรมการวาดวยการวินิจฉัยราคาปลอมมี
อํานาจและหนาที่กําหนดหลักเกณฑการวินิจฉัยการปลอมราคาเพื่อขายสินคา โดยมีหนาที่พิจาณาและวินิจฉัยราคา
ปลอม และพฤติกรรมการปลอมราคาเพื่อขายสินคาดังกลาว เนื่องจากปญหาดานราคามีความเฉพาะเรื่องและมีความ
ออนไหวจําเปนตองมีคณะกรรมการผูเชี่ยวชาญโดยตรง
848 Thailand Journal of legal Study

และสําหรับการแกไขปญหาบทกําหนดโทษที่ไมเพียงพอ แมกฎหมายคุมครองผูบริโภคบางฉบับของไทยจะมี
การกําหนดมาตรการเยียวยาความเสียหายทางแพงไวควบคู กับมาตรการลงโทษทางอาญา แตผูเขียนเห็นวายังไม
เพียงพอสําหรับการแกไขปญหาการปลอมราคาเพื่อขายสินคาซึ่งในยุคสมัยปจจุบันถือเปนเรื่องที่ใหมและเกิดขึ้นเปน
จํานวนมาก และบทกําหนดโทษปรับที่มีอยูเมื่อเทียบกับกําไรที่ผูขายไดรับจากการปลอมราคาก็ถือเปนจํานวนเงิน
เล็กนอยเทานั้น จึงจําเปนตองเพิ่มเติมบทบัญญัติแหงกฎหมายใหสอดคลองกับสภาพการณปจจุบัน โดยผูเขียนเห็นวา
ประเทศไทยสามารถนําหลักเกณฑที่ กําหนดไว ในกฎหมายของประเทศสหรัฐอเมริกาและกฎหมายของประเทศ
แคนาดามาเปนแบบอยางในการแกไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติวา ดวยการคุมครองผูบริโภค พ.ศ. 2522 ได เนื่องจากทั้ง
สองประเทศมีคดีพิพาทที่เกิดขึ้นจริงแลวสะทอนใหเห็นวาผูขายยินยอมชดชดเชยความเสียหายที่เกิดขึ้นตอผูบริโภค
ทําใหผูขายเกิดความเกรงกลัวและตระหนักถึงความรับผิดชอบกอนที่คิดจะกระทําความผิดดังกลาว
ผูเขียนจึงเสนอใหมีการกําหนดมาตรการเยียวยาความเสียหายทางแพงไวดังนี้ “มาตรา 41/1 เมื่อผูบริโภครู
วาผูประกอบธุรกิจจงใจแสดงราคาสินคาที่ไมเคยขายมากอน หรือรูวาตนเองเขาใจราคาสินคาผิดไปอันเปนผลมาจาก
การแสดงราคาหรือลักษณะการขายหรือลดราคาที่ไมเปนความจริงของผูประกอบธุร กิจ ใหผูบริโภคมีสิทธิเลิกสัญญา
โดยการส ง หนั ง สื อแสดงเจตนาไปยั ง ผูประกอบธุ รกิจ ภายในเจ็ ด วั น นั บแต วัน ที่ผู บริโ ภคได รูขอเท็ จ จริง ดังกลาว
เมื่อผูบริโภคใชสิทธิเลิกสัญญาตามวรรคหนึ่งแลว ใหผูประกอบธุรกิจคืนเงินเต็มจํานวนที่ผูบริโภคจายไปเพื่อการซื้อ
สินคานั้น ภายในกําหนดเวลาสิบหาวันนับแตวันที่ไดรับหนังสือแสดงเจตนา เลิกสัญญา และผูบริโภคสามารถสงสินคา
คืนแกผูประกอบธุรกิจได ทั้งนี้ ผูบริโภคมีสิทธิที่จะยึดหนวงสินคาไวไดจนกวาจะไดรับคืนเงินที่ผูบริโภคจายไปในการ
ซื้อสินคานั้น” นอกจากนี้ ผูเขียนยังเห็นควรเสนอบทบัญญัติแหงกฎหมายที่มีลักษณะเปนคาเสียหายเชิงลงโทษสําหรับ
ผูกระทําความผิดโดยการปลอมราคาเพื่อขายสินคาอีกดวย ทั้งนี้ ในทํานองเดียวกันกับบทบัญญัติแหงกฎหมายวิธี
พิจารณาคดีผูบริโภค พ.ศ. 2551 มาตรา 42 วรรคหนึ่ง และมาตรา 42 วรรคสอง
วารสารนิติศึกษาไทย 849

บรรณานุกรม

หนังสือ

กองนิติการ กรมการคาภายใน. คําอธิบายพระราชบัญญัติวาดว ยราคาสินคา และบริการ พ.ศ. 2542. นนทบุรี :


กรมการคาภายใน กระทรวงพาณิชย, 2542.
ชัยวัฒน วงศวัฒนศานต. กฎหมายคุมครองผูบริโภค. กรุงเทพมหานคร : สํานักพิมพวิญูชน, 2543.
นนทวั ช ร นวตระกูล พิ สุ ท ธิ์ . กฎหมายคุ ม ครองผู บ ริโ ภค. พิ ม พ ค รั้ง ที่ 1. ปทุ ม ธานี : โครงการตํ า ราและเอกสาร
ประกอบการสอน คณะนิติศาสตร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร, 2560.
สิริพรรณ ลิขิตวิวัฒน. นโยบายและมาตรการในการกํากับดูแลราคาสินคาภายหลังการปรับโครงสรางกระทรวง
พาณิชย. นนทบุรี : กรมการคาภายใน กระทรวงพาณิชย, 2544.
สุทธิพรรณ อรามกุล. การกํากับดูแลราคาสินคา ปญหานโยบายและโครงสราง. นนทบุรี : กรมการคาภายใน กระทรวง
พาณิชย, 2544.
สุษม ศุภนิตย. คําอธิบายกฎหมายคุมครองผูบริโภค. พิมพครั้งที่ 9. กรุงเทพมหานคร : สํานักพิมพแหงจุฬาลงกรณ
มหาวิทยาลัย, 2557.
สํานักกฎหมาย สํานักงานเลขาธิการวุฒิสภา. เอกสารประกอบการพิจารณารางพระราชบัญญัติองคการอิสระเพื่อการ
คุมครองผูบริโภค พ.ศ. ... (สภาผูแทนราษฎรลงมติเห็นชอบแลว). กรุงเทพมหานคร : สํานักสงเสริม
วิชาการรัฐสภา สถาบันพระปกเกลา, 2544.
สํานักงานคณะกรรมการคุมครองผูบริโภค. การคุมครองผูบริโภคในดานฉลากสินคา. กรุงเทพมหานคร : รุงศิลปการ
พิมพ (1977), 2539.
วิทยา จารุพงศโสภณ. กลยุทธราคา. กรุงเทพมหานคร : บริษัท แปลน พริ้นติ้งท จํากัด, 2556.
อดุ ล ย ยุ ว วิ ท ยาพาณิ ช ย . คํ า อธิ บ ายกฎหมายพระราชบั ญ ญั ติ ว า ด ว ยราคาสิ น ค า และบริ ก าร พ.ศ. 2542.
กรุงเทพมหานคร : กรมการคาภายใน กระทรวงพาณิชย, 2556.

วิทยานิพนธ

อรศิริ ลี้ศัตรูพาล. “ปายกําหนดราคาสินคา.” วิทยานิพนธมหาบัณฑิต คณะนิติศาสตร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร,


2556.
สุทธินี บริสุทธิ์ธรรม. “มาตรการเรียกคืนสินคาเพื่อการคุมครองผูบริโภค.” วิทยานิพนธมหาบัณฑิต คณะนิติศาสตร
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร, 2554.
นภัสสร สีขาว. “ปญหาการดําเนินคดีแบบกลุมเมื่อตองใชรวมกับพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีผูบริโภค พ.ศ. 2551.”
วิทยานิพนธมหาบัณฑิต คณะนิติศาสตร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร, 2556.
นันทกานต งามภัทรางกูร. “ปญหากฎหมายกรณีการสงเสริมการขาย.” วิทยานิพนธมหาบัณฑิต คณะนิติศาสตร
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร, 2556.
850 Thailand Journal of legal Study

ศิริทิพย แสงทอง. “การคุมครองผูบริโภค ตามพระราชบัญญัติขายตรงและตลาดแบบตรง พ.ศ. 2545.” วิทยานิพนธ


มหาบัณฑิต คณะนิติศาสตร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร, 2549.
ชัชชัย วงศพยัคฆ. “วิเคราะหพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีผูบริโภค พ.ศ. 2551 กรณีศึกษา : ความหมายของคดี
ผูบริโภค.” วิทยานิพนธมหาบัณฑิต คณะนิติศาสตร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร, 2554.
สุพัทธรดา เปลงแสง. “หนาที่ชําระราคา.” วิทยานิพนธมหาบัณฑิต คณะนิติศาสตร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร, 2556.
วิโรจน วาทินพงศพันธ. “การพัฒนาการกํากับดูแลดานราคาภายใตพระราชบัญญัติการแขงขันทางการคา พ.ศ.
2542.” วิทยานิพนธมหาบัณฑิต คณะนิติศาสตร จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย, 2557.
ธิ ด ารัต น โชคบั ณ ฑิ ต . “พฤติ กรรมการตั้ ง ราคาสิ น ค า มื อสอง : กรณี ศึก ษาตลาดนั ด จตุ จั กร กรุง เทพมหานคร.”
วิทยานิพนธเศรษฐศาสตรมหาบัณฑิตเศรษฐศาสตรธุรกิจ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร, 2559.

บทความ

ปาริชาติ วิสุทธิแพทย. “รูทันสินคาราคา Sale.” นิตยสารฉลาดซื้อ. ปที่ 17. ฉบับที่ 115 (กันยายน 2553).

สื่ออิเล็กทรอนิกส

Voicetv online. “กรมการคาภายในชี้แจงเรื่องรองเรียนกระทะ Korea King.” https://news.voicetv.co.th


/thailand/488164.html, 3 ตุลาคม 2560.

ELECTRONIC MEDIA

UNITED STATES DISTRICT COURT FOR THE CENTRAL DISTRICT OF CALIFORNIA Case No. 12- cv- 0215
FMO. “Spann v. JCPenney Corporation, Inc.” https://www.jcpenney settlement.com/,
August 25, 2017.
ANN D. MONTGOMERY U.S. DISTRICT JUDGE “MEMORANDUM OPINION AND ORDER.”https://casetext
.com/case/in-re-wholesale-grocery-prods-antitrust-litig-8, August 25, 2017.
Commerce and Trade § 1. Trusts, etc., in restraint of trade illegal; penalty. U.S.Code. “15 U.S.C. § 1
- U.S. Code - Unannotated Title 15.” http://codes.findlaw.com /us/title-15-commerce-
and-trade/15-usc-sect-1.html, August 27, 2017.
Federal Trade Commission. “FTC GUIDES AGAINST DECEPTIVE PRICING.” http://www.lawPublish
.com/ftc-decprice.html, Setember 10, 2017.
Federal Trade Commission. “About the FTC.” https://www.ftc.gov/about-ftc, November 23, 2017.
Federal Trade Commission. “Bureaus & Offices.” https://www.ftc.gov/about-ftc/bureaus-offices,
November 23, 2017.
วารสารนิติศึกษาไทย 851

Federal Trade Commission. “FTC Policy Statement on Deception.” https:// www.ftc.gov/Publicstate


ments//1983/10ftc-policy-statement-deception, November 23, 2017.
Stephen Hamilton and Dan Werner. “ Keys To Estimating Damages In Deceptive Pricing Cases. ”
https://www.law. 360 com/articles/ / 966658 keys-to-estimating-damages-in-deceptive-
pricing-cases, November 15, 2017.
Economicshelp. “Transactional utility.” https://www.economicshelp.org/blog/ 27579/Concepts
/transactional-utility/, November 20, 2017.
852 Thailand Journal of legal Study

หุนผูถือ
BEARER SHARES

อาภาสิรี เงารุงเรือง
Apasiree Ngowroongrueng
บทคัดยอ
ใบหุนเปนเอกสารชิ้นหนึ่งที่บริษัทจะตองออกใหแกผูถือหุนเพื่อเปนหลักฐานแสดงสิทธิในหุนของผูถือหุนผูนั้น
ตามประมวลกฎหมายแพงและพาณิชยของไทยไดกําหนดใบหุนไว 2 ประเภท ไดแก ใบหุนชนิดระบุชื่อ และใบหุน
ชนิดผูถือ
ใบหุนชนิดออกใหแกผูถือตามเจตนารมณของกฎหมายแลวจะไมมีการระบุชื่อของผูถือหุนลงในเอกสารใด ๆ
ของบริษัท โดยจะระบุไวเพียงคําวา “ผูถือ” เทานั้น บริษัทจะไมทราบวาบุคคลใดเปนผูถือหุน หรือมีการโอนหุน
ไปใหแกบุคคลใดแลวหรือไม
จากลักษณะของใบหุนชนิดออกใหแกผูถือนี้ ทําใหเกิดปญหาหลายประการ ดังนี้
ประการแรก ปญหาเรื่องการจดทะเบียนใบหุนผู ถือลงในเอกสารตาง ๆ เนื่องจากมีความเห็นเปนสองฝาย
ระหวางกรมพัฒนาธุรกิจการคาและความเห็นในทางทฤษฎีกฎหมาย โดยทางกรมพัฒนาธุรกิจการคาเห็นวา แมเปน
ใบหุนชนิดออกใหแกผูถือแตยังตองระบุชื่อของผูถือหุนลงในเอกสารของบริษัทและจะตองดําเนินการตามประกาศ
กรมพั ฒ นาธุ รกิจการค า ที่กําหนดให ต อ งแจ งชื่อผู ถือหุ น หรือผู รับประโยชนในใบหุ นผู ถือด วย แต ใ นทางทฤษฎีมี
ความเห็นวาไมควรที่จะระบุชื่อของผูถือใบหุนผูถือลงในเอกสารใด ๆ ของบริษัทเลย เนื่องจากขัดตอเจตนารมณของ
กฎหมาย
ประการที่สอง ปญหาในเรื่องการโอนใบหุนผูถื อ เนื่องจากการแสดงความเปนเจาของหุนทําไดโดยการ
ครอบครองใบหุนเทานั้น หากผูถือใบหุนสูญเสียการครอบครองไปและตอมาอีกคนหนึ่งไดรับโอนใบหุนและครอบครอง
ใบหุนโดยสุจริต ปญหาในทางกฎหมายที่เกิดขึ้น คือ จะนํากฎหมายใดปรับใชกับกรณีดังกลาว หากไมมีกฎหมายที่
กํา หนดไว สามารถนําหลักกฎหมายทั่วไปในเรื่องของหนี้หรือ ทรัพ ยมาใชได หรือไม เพี ย งใด และจะเปนไปตาม
เจตนารมณของกฎหมายหรือไม หรือจะตองนําหลักกฎหมายที่ใกลเคียงอยางยิ่งในเรื่องของตั๋วเงินมาปรับใชกับกรณี
ดังกลาว
ประการที่สาม ปญหาในการออกใบหุนใหม กรณีที่ใบหุนเดิ มถูกทําลาย ซึ่งกฎหมายหุนสวนบริษัทไมได
กําหนดไว การนํากฎหมายมาปรับใช หากพิจารณาถึงหลักกฎหมายทั่วไปในเรื่องดังกลาวซึ่งไมมีการกําหนดไว ดังนี้
จะตองนํากฎหมายในเรื่องใดมาปรับใชเพื่อใหตองตามเจตนารมณของเรื่องใบหุนผูถือและเพื่อรักษาสิทธิของผูถือหุนไว
ดวย

คําสําคัญ
ใบหุน, ใบหุนชนิดออกใหแกผูถือ, ตราสารเปลี่ยนมือ

* นักศึกษาปริญญาโท หลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต สาขากฎหมายธุรกิจ คณะนิติศาสตร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร :


apasiree.n@gmail.com
Graduate Student of Master of Laws Program in Business Law, Faculty of Law, Thammasat University. Email
address : apasiree.n@gmail.com
วารสารนิติศึกษาไทย 853

ABSTRACT
Share certificate is the document issued by the company to the shareholder. The rights of
the shareholder are expressed by the share certificate. According to the Thai civil and Commercial
Code, there are 2 types of share certificate; Registered share and Bearer share.
Regarding to the purpose of the bearer share, the name of the person who hold the bearer
share will never mention or appear in any company documents. The word “Bearer” will be in those
documents instead. Thus, the company never know who hold the bearer share or whether the share
has been transferred.
Owing to the nature of the bearer share, it may cause some legal problems as follows:
Firstly, registration of the bearer share issue. Since there are 2 opinions regarding to this issue,
one from the Department of Business Development and others from the theory of law. According
to Department of Business Development, every share has to register the name of the shareholder
in the company document even the bearer shares and also abide by the Department’ s Regulation
which required the company to register the name of the shareholder or the beneficiary. On the
other hand, theoretically suggested that if the company issued bearer share, there would be no
name appear in any document of the company.
Secondly, the problem in transferring bearer shares. Since the holding or possessing the
bearer share is the only way to express the ownership, if the shareholder lost possession of the
share and another person, with good faith, possess the certificate. Thank to this situation, if there is
no code law prescribed, will the property law or obligation law in general be applied and consistent
with the purpose of the law. Or else, the analogy of the law of bill and notes will be applied instead.
Thirdly, the problem in issuing new share certificate in case of the old share certificate has
been destroyed. The law on company has not been include this situation. Considering the law
applied on this issue, there is no general law prescribed. Hence, choosing the law to resolve this
problem have to consistent with the intention of the bearer share and also protect the shareholder
rights.
In this thesis will study about the problem in bearer share. On one hand, the issue regarding
the unclearly of the law on issuing bearer share and possessing the bearer share by the good faith
transferee. The other is about the interpretation of the law which is inconsistent between
theoretically and practically. This study will also compare with the foreign law.

Keywords
Share Certificate, Bearer Share, Share warrant to Bearer, Negotiable Instrument
854 Thailand Journal of legal Study

บทนํา
ผูถือหุนมีบทบาทสําคัญในบริษัท เนื่องจากเปนผูที่นําเงินมาลงทุนใหกับบริษัทในการดําเนินกิจการตาง ๆ
และใชอํานาจควบคุมการดําเนินกิจการของบริษัทผานกรรมการบริษัท เมื่อผูถือหุนเขาซื้อหุนของบริษัท กฎหมาย
กําหนดใหบริษัทตองออกใบสําคัญใหกับผูถือหุนเพื่อเปนหลักฐานในการแสดงความเปนเจาของหุน ที่เรียกวา “ใบหุน”
หรือ Share Certificate เพื่อใหผูถือหุนสามารถที่ จะใชสิทธิของตนที่มีอยูตอบริษัทได เชน การเขาประชุมผูถือหุน
การไดรับเงินปนผล การออกเสียงในการประชุมผูถือหุน เปนตน
ประมวลกฎหมายแพงและพาณิชยไดกําหนดใหบริษัทของไทยใชระบบใบหุน และบริษัทสามารถออกใบหุน
ใหกับผูถือหุนได 2 ประเภท คือ ใบหุนชนิ ดระบุชื่อ หรือ Registered Share และใบหุนชนิดออกใหแกผูถือ หรือ
Bearer Share ใบหุนทั้งสองประเภทมีความแตกตางกัน ทั้งขอจํากัดในการออกใบหุน การเปดเผยชื่อหรือขอมูลของผู
ถือหุน วิธีการและความสมบูรณในการโอนใบหุน
1. แนวความคิดเรื่องใบหุนผูถือตามกฎหมายไทย
ใบหุนที่บริษัทออกใหกับผูถือหุนมีลักษณะเปนหนังสือตราสารที่ตองทําเปนลายลักษณอักษร ลงลายมือชื่อ
กรรมการของบริษัทในฐานะผูออกตราสาร โดยกรรมการจะตองลงลายมือชื่ออยางนอยคนหนึ่ง และใบหุนจะตองระบุ
เนื้อความตามที่กฎหมายกําหนด กรณีของใบหุนกําหนดในประมวลกฎหมายแพงและพาณิชย มาตรา 1128 หากมี
เนื้อความไมตรงกับที่กฎหมายกําหนด ตราสารหรือใบหุนนั้นจะไมสมบูรณ แตหากเปนกรณีที่มีเนื้อความเกินจากที่
กฎหมายกําหนดจะทําใหเนื้อความที่เกินนั้นไมมีผล ในตราสารจะประกอบไปดวยสิทธิทางหนี้กลาวคือมีบุคคลสิทธิ
หรือสิทธิเรียกรองที่สามารถเรียกรองกันไดตามนิติสัมพันธที่มีตอกัน และสิทธิทางทรัพยอันเปนทรัพยสิทธิที่สามารถใช
ยันไดกับบุคคลทั่วไปได1
ใบหุนชนิดออกใหแกผูถือเปนใบหุนที่ไมมีการระบุชื่อผูถือหุน ในการออกใบหุนชนิดนี้ทําไดตอเมื่อมีขอบังคับ
ของบริษัทไดกําหนดอนุญาตไว และจะตองออกใหกับผูถือหุนที่ไดสงใชเงินคาหุนครบถวนแลวเทานัน้ 2 หากยังสงใชเงิน
ไมครบบริษัทจะตองออกใบหุนชนิดระบุชื่อใหกับผูถือหุนผูนั้นเทานั้น เพื่อใหบริษัทสามารถเรียกเก็บเงินคาหุนที่
เหลืออยูได ใบหุนชนิดออกใหแกผูถือสามารถโอนกันไดโดยงายเพียงการสงมอบ อันเปนลักษณะของตราสารเปลี่ยน
มือที่ทําใหสิทธิของผูถือหุนโอนไปตามตราสารที่สงมอบ หากเพียงบอกกลาว แตไมมีการสงมอบใบหุนไป การโอนยอม
ไมสมบูรณ ผูรับโอนยอมไมไดสิทธิในหุนดังกลาว บริษัทไมมีขอคัดคานหรือขอพักการโอนหุนได ไมวาในกรณีใด ๆ
ทั้งสิ้น ซึ่งตางจากกรณีการโอนหุนระบุชื่อ 3 นอกจากนี้ เพื่อคุมครองความเปนสวนตัวของผูถือใบหุนชนิดนี้จะไมมีการ
เปดเผยชื่อหรือขอมูลใดๆ ของผูถือหุน รวมถึงไมตองแสดงความเปนเจาของในใบหุนโดยการระบุชื่อ แตทําไดโดยการ
ครอบครองใบหุน อีกทั้ง หากโอนใบหุนชนิดออกใหแกผูถือ ผูโอนและผูรับโอนไมตองบอกกลาวการโอนกับบริษัท
เพื่อใหการโอนนั้นบริบูรณ4 แตการโอนสมบูรณเมื่อสงมอบตามกฎหมายในเรื่องของตราสารเปลี่ยนมือ นอกจากนี้ การ
โอนตราสารเปลี่ยนมือ จะใชบทบทบัญญัติที่คุมครองผูรับโอนที่สุจริต ใหมีสิทธิดีกวาผูโอน กลาวคือผูรับโอนที่สุจริต
และครอบครองตราสารไวโดยไมทราบถึงความบกพรองของตราสารนั้นๆ จะไดรับความคุมครอง แมผูโอนหรือการ

1
สหธน รั ต นไพจิ ต ร, กฎหมายว า ด ว ย ตราสารเปลี่ ย นมื อ , (กรุ ง เทพมหานคร : โครงการตํ า ราและเอกสาร
ประกอบการสอน คณะนิติศาสตร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร, 2558), น. 12.
2
โสภณ รั ต นากร, คํ าอธิ บายประมวลกฎหมายแพงและพาณิชย ว า ด ว ย หุ น ส ว น บริ ษั ท , (กรุ ง เทพมหานคร :
สํานักพิมพนิติบรรณการ, 2551), น.298.
3
ทวี เจริญพิทักษ , คําอธิบายโดยพิสดาร กฎหมายหุนสวนและบริ ษัท, (กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพแสงสวาง,
2504), น.229.
4
โพยม เลขยานนท, คําบรรยายกฎหมายแพงและพาณิชย วาดวย หุนสวนและบริษัท, (กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร, 2512), น.124.
วารสารนิติศึกษาไทย 855

โอนในทอดกอน ๆ ไมสมบูรณหรือบกพรอง ซึ่งตางกับหลักทั่วไปในเรื่องอื่น ๆ ตามประมวลกฎหมายแพงและพาณิชย


ที่จะใชหลักผูรับโอนไมมีสิทธิดีกวาผูโอน5
ใบหุนผูถือจึงเปนตราสารเปลี่ยนมือชนิดหนึ่ง6 ที่ไมไดมีระบุวาใครเปนเจาของหุน แตจะระบุเพียงวา “ผูถือ”
ตามมาตรา 1108 (5) เมื่อไมมีการระบุชื่อ การแสดงออกถึงความเปนเจาของจึงแสดงออกโดยผูที่ครอบครองใบหุนอยู
ยอมไดรับการสันนิษฐานวาเปนเจาของหุน ผูถือใบหุนชนิดนี้ หากตองการใชสิทธิของผูถือหุนจะตองนําใบหุนมาแสดง
ตอบริษัท โดยใบหุนชนิดผูถือบริษัทจะไมมีการตั้งขอคัดคานหรือขอพักการโอนหุนใด ๆ ทั้งสิ้น ซึ่งตางกับการโอนใบ
หุนชนิดระบุชื่อ7 หรือจะกําหนดวาจะโอนไดตอเมื่อไดรับความยินยอมจากบริษัทก็ไมไดเชนกัน 8 เนื่องจากเจตนารมณ
ของใบหุนชนิดนี้ไมตองการใหมีการบงบอกถึงตัวตนของผูถือหุนไมวาจะในทางใด ซึ่งการโอนใบหุนผูถือไมมีแบบแต
อยางใด สามารถโอนกันไดโดยการสงมอบการครอบครอง ไมตองมีการทําเปนหนังสือ หรือลงชื่อผูโอนและผูรับโอนแต
อยางใด
การออกใบหุนชนิดนี้ มีเงื่อนไขคือออกไดเมื่อมีขอบังคับของบริษัทกําหนดอนุญาตไวเทานั้น และการออกใบ
หุนผูถือจะตองเปนหุนที่ไดใชเต็มมูลคาแลว หากเปนหุนที่ยังใชไมเต็มมูลคาตองออกเปนใบหุนระบุชื่อเทานั้น แตหาก
ใชเต็มมูลคาแลวจะเปลี่ยนเปนใบหุนจากใบหุนชนิดระบุชื่อเปนชนิดออกใหแกผูถือยอมทําได9
การโอนใบหุนผูถือ ตรงขามกับการโอนใบหุนชนิดระบุชื่ออยางสิ้นเชิง โดยประมวลกฎหมายแพงและพาณิชย
มาตรา 1135 บัญญัติวา “ผูทรงใบหุนออกใหแกผูถือนั้นยอมโอนกันได เพียงดวยสงมอบใบหุนแกกัน ” จะเห็นไดวา
การโอนใบหุนผูถือ ผูถือใบหุนยอมมีสิทธิที่จะโอนหุนไดเพียงแตการสงมอบใบหุนใหแกกันเทานั้น ไมตองมีการสลัก
หลังหรือทําเปนหนังสือดังเชนกรณีของการโอนใบหุนชนิดระบุชื่อตามมาตรา 1129 วรรคสองแหงประมวลกฎหมาย
แพงและพาณิชย และผูรับโอนเปนผูทรงใบหุนในทันทีที่ไดรับมอบใบหุนใหแกตน10 เมื่อผูรับโอนไดรับใบหุนดังกลาวที่
โอนใหไวแลวก็ถือวาเปนการโอนโดยชอบดวยกฎหมายแลว 11 ไมมีกรณีที่เปนโมฆะ และไมตองไปแจงกับบริษัทแต
อยางใด อีกทั้งสามารถที่จะใชยันไดกับทุกคนเมื่อสงมอบแลว ผูโอนไมตองรับผิดในเรื่องการชําระคาหุนอยางเชนหุน
ชนิดระบุชื่อผูถือ เพราะหุนชนิดระบุชื่อผูถือนั้น จะออกไดก็ตอเมื่อมีขอบังคับของบริษัทอนุญาตไว และเมื่อไดชําระคา
หุนเต็มมูลคาแลวเทานั้น12 ดังนั้น สิ่งที่สําคัญในการโอนหุนในกรณีใบหุนผูถือ คือการสงมอบการครอบครองใบหุนจาก
ผูโอนไปสูผูรับโอน และจะตองเปนการสงมอบการครอบครองจริง ๆ ในทางกายภาพ หากเพียงบอกกลาว แตไมมีการ
สงมอบใบหุนไป การโอนยอมไมสมบูรณ ผูรับโอนยอมไมไดสิทธิในหุนดังกลาว บริษัทไมมีขอคัดคานหรือขอพักการ
โอนหุนไดไมวาในกรณีใด ๆ ทั้งสิ้น ซึ่งตางจากกรณีการโอนหุนระบุชื่อ13 หากมีกรณีที่บริษัทมีขอบังคับกําหนดหามการ
โอนหุนไว หากเปนกรณีของใบหุนชนิดออกใหแกผูถือ ก็ยอมโอนกันไดแมมีขอหามตามขอบังคับของบริษัทในเรื่องการ
โอน ที่เปนเชนนี้จะเห็นไดชัดวาความรั บผิดของผูถือหุนนั้นคงมีอยูตามเดิม กลาวคือ ไมมีทางที่จะเรียกใหรับผิดไดอกี

5
จิตติ ติงศภัทิย, กฎหมายแพงและพาณิชยวาดวย บัญชีเดินสะพัดและตั๋วเงิน, พิมพครั้งที่ 16 (กรุงเทพมหานคร :
สํานักพิมพมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร, 2528), น.35.
6
โสภณ รัตนากร, อางแลว เชิงอรรถที่ 3, น.298.
7
ทวี เจริญพิทักษ, อางแลว เชิงอรรถที่ 4, น.350.
8
โสภณ รัตนากร, อางแลว เชิงอรรถที่ 3, น.298.
9
นนทวัชร นวตระกูลพิสุทธิ์, กฎหมายลักษณะหางหุนสวน บริษัทจํากัด และบริษัทมหาชนจํากัด, (กรุงเทพมหานคร
: โรงพิมพเดือนตุลา, 2558), น.205.
10
ทวี เจริญพิทักษ, อางแลว เชิงอรรถที่ 10, น.229.
11
ปรีชา สุมาวงศ, คําอธิบายกฎหมายแพงและพาณิชย วาดวย หุนสวนและบริษัท, (พระนคร : โรงพิมพแพรการชาง,
2511), น.167.
12
ประภาศน อวยชัย, อางแลว เชิงอรรถที่ 98, น.220.
13
ทวี เจริญพิทักษ, อางแลว เชิงอรรถที่ 10, น.229.
856 Thailand Journal of legal Study

เพราะหุนดังกลาวนี้จะตองเปนหุนชนิดที่มีการชําระครบเต็มตามมูลคาของหุนอยูแลว แตสําหรับหุนชนิดที่ระบุชื่อนั้น
เปนอีกปญหาหนึ่ง ซึ่งบริษัทอาจไมยอมใหมีการโอนกันก็ได แมจะมีการชําระเต็มตามมูลคาของหุนที่ถืออยูแลวก็ตาม14
การโอนใบหุนผูถือนั้นสามารถทําไดโดยการสงมอบ ผลของการโอนใบหุนชนิดผูถือนี้จึงจะสําเร็จไดเมื่อไดมี
การสงมอบใบหุนแลวเทานั้น ผลที่เกิดขึ้นหลังจากที่มีการโอนใบหุนชนิดผูถือไปแลวคือผูรับโอนยอมมีสิทธิในฐานะผูถ อื
หุนในบริษัท และสามารถที่จะอางสิทธิดังกลาวตอบริษัทเพื่อใชสิทธิในฐานะผูถือหุน สามารถอางตอบุคคลภายนอก
และบุคคลใดๆโดยทั่วไปวาตนเปนผูถือหุนและตนเปนเจาของใบหุนที่ตนครอบครอง และหากตองการที่จะโอนตอไป
ใหกับบุคคลอื่น ผูรับโอนใบหุนผูถือมาโดยสมบูรณ สามารถที่จะโอนตอไปไดโดยการสงมอบใบหุนดังกลาวนั้นเชนกัน
ในกรณีของใบหุนผูถือนี้จะไมมีกรณีการรับผิดในคาหุนที่คางอยูดังเชนกรณีของใบหุนระบุชื่อ เนื่องจากใบหุน
ผูถือจะออกไดเฉพาะแตกรณีที่มีการชําระคาหุนครบถวนแลวเทานัน้ ดังนั้น ผลในการโอนใบหุนผูถือ กับความรับผิดใน
คาหุนที่คางชําระ หรือความรับผิดของผูถือหุนที่จะตองรับผิดตอเจาหนี้ของบริษัทในขอนี้ยอมไมมีอยูแตกับผูถือใบหุน
ผูถือ
2. แนวความคิดเรื่องใบหุนผูถือตามกฎหมายตางประเทศ
2.1 ใบหุนผูถือตามกฎหมายของประเทศอังกฤษ
ในหุนเปนเอกสารชิ้นหนึ่งที่บริษัทมีหนาที่ในการออกใหกับผูถือหุนที่ซื้อหุนกับบริษัทของตนเพื่อแสดงถึง
ความเปนเจาของหุนที่จะแสดงออกโดยเอกสารที่เรียกวา ใบหุน (Share Certificate)15 ใบหุนมีสองประเภท คือ ใบ
หุนชนิดระบุชื่อ (Share Certificate) ซึ่งเปนตราสารชนิดหนึ่ง และใบหุนชนิดออกใหแกผูถือ (Share Warrant) เปน
ตราสารเปลี่ยนมือ16 บริษัทจะตองออกใบหุนชนิดใดชนิดหนึ่งตามที่กําหนดตามความประสงคของผูถือหุน
ใบหุนชนิดออกใหแกผูถือตางจากใบหุนชนิดระบุชื่อ ใบหุนชนิดออกใหแกผูถือที่บริษัทจะตองยอมรับวาผู ถือ
หรือผูที่มีใบหุนไวในครอบครองเปนผูถือหุนของบริษัท ถาหากไมใชกรณีการปลอมใบหุน บริษัทมีขอผูกมัดตามสัญญา
กับผูถือใบหุนชนิดออกใหแกผูถือนั้น และเมื่อใบหุนชนิดออกใหแกผูถือเปนตราสารเปลี่ยนมือ จึงโอนไปไดโดยการสง
มอบเทานั้น ซึ่งตางจากใบหุ นชนิดระบุชื่อโดยสิ้นเชิง หากผูถือใบหุนชนิดออกใหแกผูถือไดสงมอบใบหุนดังกลาวไป
ผูรับโอนยอมมีสิทธิโดยบริบูรณในใบหุนนั้น แตหากเปนกรณีของใบหุนระบุชื่อ เพียงการสงมอบยอมไมไดทําใหเปน
การโอนความเปนเจาของในหุนนั้นเพราะใบหุนระบุชื่อไมใชตราสารเปลี่ยนมือ แตสิทธิของผูถือใบหุนระบุชื่อจะ
สมบูรณและกลาวอางกับบริษัทไดเมื่อมีการจดแจงเปลี่ยนแปลงชือ่ ผูถือหุนกับบริษัท ดังนี้ หากเปนกรณีของใบหุนชนิด
ออกใหแกผูถือบริษัทจะไมสามารถตั้งขอกําหนดในเรื่องการหามโอนใบหุนชนิดออกใหแกผูถือได17
ใบหุนผูถือ (Share Warrant) โดยปกติแลว บริษัทจะตองมีการจดแจงชื่อของผูถือหุนลงในสมุดทะเบียนผูถือ
หุนของบริษัท แตตามมาตรา 122 18 ของ Companies Act 2006 ไดมีการกําหนดวาหากมีการออกใบหุนชนิดออก
ใหแกผูถือ บริษัทจะตองระบุรายละเอียดของหุน วันที่ออกใบหุนในใบหุน และจะตองมีการแกไขสมุดทะเบียนผูถือหุน
เพื่อใหไมมีชื่อของผูถือหุนผูนั้น อยูในสมุดทะเบียนผูถือหุน โดยจะระบุเพียงคําวา “ผูถือ” แทนการระบุชื่อ
ใบหุนเปนตราสารที่มีเฉพาะในบริษัท และเปนหลักฐานในการเปนเจาของสวนหนึ่งของบริษัท โดยใบหุนอาจ
ออกใหโดยระบุชื่อของคนใดคนหนึ่งโดยเฉพาะหรืออาจออกโดยระบุวาใหกับผูถือ (Bearer) ใบหุนชนิดออกใหแกผูถือ

14
ปรีชา สุมาวงศ, อางแลว เชิงอรรถที่ 112, น.167-168.
15
M.C. Oliver, Company Law, (Plymouth: Macdonald and Evans Limited, 1976), p.180.
16
Dudley Richardson, Guide to Negotiable Instruments and the Bills of Exchange Acts, ( London :
Butterworths, 1970), p.16.
17
L. C. B. Gower, The Principle of Modern Company Law, (London : Steven & Sons, 1969), p.386.
18
Companies Act Section 122 Share warrants
วารสารนิติศึกษาไทย 857

รูจักกันในชื่อ Share Warrants ซึ่งเปนตราสารเปลี่ยนมือ ใบหุนชนิดออกใหแกผูถือจะสามารถโอนสิทธิไปไดเพียงแค


การสงมอบ19
ตามมาตรา 779 20 กํา หนดว า หากเป น บริษั ท จํ า กัด โดยหุ น ถา หากขอบั ง คับ ของบริษั ท กํา หนดอนุ ญ าต
จะสามารถออกใบหุนผูถือ หรือ Share Warrant โดยจะมีขอแตกตางจากใบหุนชนิดระบุชื่อหรือ Share Certificate
ที่หากวาเปนกรณีของใบหุนชนิดออกใหแกผูถือจะระบุในใบหุนวา “ผูถือ” แทนการระบุชื่อของผูถือหุนหรือผูที่เปน
เจาของใบหุนนั้น เมื่อบนใบหุนไมมีการแสดงชื่อของบุคคลผูเปนเจาของ การแสดงออกถึงความเปนเจาของใบหุนชนิด
ออกใหแกผูถือยอมทําไดโดยผูถือหรือผูครอบครองใบหุนจะเปนผูที่มีสิทธิตามใบหุนนั้น21
กฎหมายของประเทศอังกฤษอนุญาตใหบริษัทจํากัดความรั บผิดโดยหุนสามารถออกใบหุนผูถือ หรือ Share
Warrant ได และจะตองมีขอบังคับของบริษัทกําหนดอนุญาตไวและหุนนั้นจะตองชําระเต็มจํานวนแลว และบริษัทยัง
สามารถจายเงินปนผลใหกับใบหุนชนิดออกใหแกผูถือไดดวย22
ผูที่จะมีสิทธิในใบหุนผูถือคือผูที่ไดครอบครองใบหุนดังกลาว และหุนจะเปลี่ยนมือไปไดโดยการสงมอบใบหุน
ดังนั้น ใบหุนประเภทนี้ตางจากใบหุนระบุชื่อ หรือ Share Certificate เพราะใบหุนผูถือ เปนตราสารเปลี่ยนมือ 23
(กอน Companies Act 1980 มีขอจํากัดวาบริษัทจํากัด ที่เปนบริษัทจํากัดจะตองกําหนดขอจํากัดในการโอน เพื่อให
คงสถานะความเปนบริษัทจํากัดไว การออกใบหุนผูถือที่เปนตราสารเปลี่ยนมือ จะกําหนดขอหามการโอนไมได ทําให
บริษัทมหาชนจํากัดเทานั้น ที่จะสามารถออกใบหุนผูถือได แตขอหามนี้ไดหมดไปหลังจากมี Companies Act 1980)
ผูถือใบหุนผูถือ อันเปนตราสารเปลี่ยนมือ ตรงขามกับใบหุนระบุชื่อ ใบหุนผูถือสามารถโอนไปไดโดยการสงมอบ และ
บุคคลที่มีใบหุนผูถือในการครอบครองโดยสุจริต และเสียคาตอบแทน จะไดรับสิทธิที่สมบูรณในหุนที่เปนประเภทผูถือ
แมวาผูโอนจะไมมีสิทธิหรือมีสิทธิที่ไมสมบูรณก็ตาม ตราบใดที่ผูรั บโอนไมทราบถึงขอเท็จจริงนั้น ผูรับโอนยังมีสิทธิใน
ใบหุนอยูเชนเดิม24
2.2 ใบหุนผูถือตามกฎหมายของประเทศสหรัฐอเมริกา
ในอดีต บริษัทมักจะออกใบหุนเพื่อเปนหลักฐานในการถือหุนของผูถือหุนตามหมายเลขหุนที่ระบุลงในใบหุน
อยางไรก็ตาม ในปจจุบัน หุนที่เปนหลั กทรัพยจะไมมีการออกใบหุนที่สามารถจับตองได แตบริษัทจะเก็บขอมูลของ
ผูถือหุนและสงจดหมายหรือหนังสือบอกกลาวที่ระบุขอมูลที่ตองระบุไวหนาใบหุนใหแกผูถือหุน หุนเปนบุคคลสิทธิและ
ความเป น เจาของหุ นจะมีขึ้น แยกตางหากจากความเปนเจ าของใบหุ น ดั ง นั้ น หากใบหุ น หาย หรือถูกทํ า ลายไป
ความเปนเจาของหุนยอมไมสูญเสียไปกับใบหุนและผูถือหุนสามารถรองขอใหบริษัทออกใบหุนใหมเพื่อแทนใบหุนเดิม
ที่ถูกทําลายไปหรือหายไปได จะเห็นไดวาสิทธิตาง ๆ ของผูถือหุน เชน สิทธิที่จะทราบถึงการประชุมผูถือหุน สิทธิใน
การไดรับเงินปนผล สิทธิที่จะทราบถึงการดําเนินการของบริษัท และสิทธิในการเขาถึงรายงานทางการเงินของบริษัท
นั้นไมไดขึ้นอยูกับการครอบครองหรือยึดถือใบหุนของเจาของหุน25
อยางไรก็ตาม ผูถือหุนมีสิทธิรองขอใหบริษัทออกใบหุนใหกับตน เพื่อเปนหลักฐานความเปนเจาของหุน และ
มีสิทธิขอใหบริษัทระบุชื่อและที่อยูของตนลงในสมุดทะเบียนผูถือหุน สิทธิในความเปนเจาของหุนของผูถือหุนจะแยก
19
David Kobrin and Vanessa Scott, Negotiable Instrumental Law Unit, ( London : Anderson Keenan
Publishing Ltd., 1980), p.7.
20
Companies Act Section 779 Issue and effect of share warrant to bearer
21
Charles Wild, Stuart Weinstein and Josephine Bisacre, Smith & Keenan’ s Company Law,
Fourteenth Edition, (Gosport : Ashford Colour Press Ltd., 2009), p.195.
22
M.C. Oliver, supra note 16, p.189.
23
Ibid., pp.189-190.
24
Harry Farrar, Elements of Company Law, (London : The Gregg Publishing CO., LTD, 1983), p.127.
25
Kenneth W. Clarkson, Roger LeRoy Miller and Frank B. Cross, Business Law Text and Cases Legal,
Ethical, Global, and Corporate Environment Twelfth Edition, (Ohio : South-Western Cengage Learning, 2012),
p.786.
858 Thailand Journal of legal Study

ตางหากจากใบหุน หากใบหุนสูญหายหรือถูกทําลายความเปนเจาของหุนนั้นยังอยูไมไดถูกทําลายไปดวย สวนการ


บั น ทึ ก ของบริษั ท (Corporate Record) แสดงให เห็ น ถึง ความเป น เจ า ของหุ น หากผู ถือหุ น ต องการที่ จ ะโอนหุ น
สามารถทําไดโดยการสลักหลังและสงมอบใบหุนนั้น26
ในกรณีของการโอนใบหุนผูถือจะสามารถทําไดโดยการสงมอบเทานั้น จะไมมีการสลักหลังหรือระบุชื่อของ
บุคคลใดไมวาจะเปนผูโอนหรือผูรับโอนใบใบหุนนั้น การโอนจะสมบูรณโดยการสงมอบใบหุนไปในทางกายภาพเทานัน้
แมวาจะไมมีการแจงตอบริษัทหรือแจงชื่อกับบริษัทก็ตาม และเมื่อบุคคลใดไดครอบครองใบหุนแลวจะสามารถเขารวม
ประชุมผูถือหุน และใชสิทธิของผูถือหุนตามที่บริษัทไดใหสิทธิไว ตามเงื่อนไขของการออกหุ นและขอบังคับของบริษัท
และหากตองการใหตนเองมีชื่อในสมุดทะเบียนผูถือหุนยอมสามารถทําไดโดยการแจงตอบริษัทโดยแสดงใบหุนเพื่อเปน
การแสดงความเปนเจาของหุน และเนื่องจากใบหุนผูถือเปนตราสารเปลี่ยนมืออยางหนึ่งที่กําหนดใหใชเงินใหแกผูถือ
ใบหุนนั้น ทําใหใบหุนผูถือไมไดระบุเจาะจงวาบุคคลใดเปนผูที่จะไดรับการชําระเงินโดยเฉพาะเจาะจง แตผูถือใบหุน
หรือผู ที่ มี ใบหุ น ไว ในครอบครองจะเป นผู ที่ ได รับการชํา ระเงิ นนั้ น การโอนใบหุ น ผู ถือย อมมี ผ ลเมื่ อมี การส งมอบ
ใบหุนไปใหกับอีกบุคคลหนึ่งในทางกายภาพ กลาวคือ จะต องมีการสงมอบใบหุนใหกับผูรับโอนจริง การโอนจึงจะ
สมบูรณและเมื่อผูรับโอนครอบครองใบหุน ยอมจะไดสิทธิตามใบหุนที่ตนไดรับมาจากผูโอน27
ในทางกฎหมายมักกําหนดเงื่อนไขในการออกใบหุนผูถือใหกับหุนที่มีการชําระคาหุนครบถวนแลว และเมื่อ
ออกใบหุนชนิดออกใหแกผูถือ ใบหุนนั้น จะสามารถโอนตอไปไดโดยการสงมอบ แมวาจะมีขอดีในดานของการโอนกัน
ไดโดยงายและไมตองมีการเปดเผยชื่อบุคคลที่เปนเจาของหุน แตบริษัทในประเทศสหรัฐอเมริกากลับไมสามารถที่จะ
ใชประโยชนจากใบหุนชนิดนี้ได ในอดีตกฎหมายในหลายมลรัฐไดกําหนดอนุญาตใหออกใบหุนชนิดผูถือได เชน มลรัฐ
เนวาดา มลรัฐไวโอมิง มลรัฐคอนเนคติกัต อยางไรก็ตามในปจจุบันประเทศสหรัฐอเมริกาไดยกเลิกการใชใบหุนผูถือทั้ง
หมดแลวในทุกมลรัฐ28 เนื่องจากมีการนําใบหุนชนิดดังกลาวมาใชในทางที่ผิดกฎหมาย อันเปนผลเสียตอรัฐมากกวา
ผลดีที่ใบหุนชนิดนี้มีอยู
3. ปญหาเกี่ยวกับใบหุนผูถือตามกฎหมายไทย
ใบหุนผูถือเปนเอกสารที่บริษัทออกใหกับผูถือหุนตามกฎหมายเมื่อผูถือหุนไดซื้อหุนกับบริษัท บริษัทจํากัด
เทานั้นที่สามารถออกใบหุนชนิดออกใหแกผูถือได เงื่อนไขในการออกใบหุนชนิดดังกลาวกําหนดไวตามประมวล
กฎหมายแพงและพาณิชย มาตรา 1134 กลาวคือ จะตองมีการกําหนดไวในขอบังคับของบริษัท หากไมมีการระบุใน
ขอบังคับของบริษัท จะออกไดเฉพาะใบหุนชนิดระบุชื่อเทานั้น และตองเปนหุนที่สงใชคาหุนเต็มตามมูลคาหุนแลว
เทานั้น เมื่อออกใบหุนชนิดนี้แลว จะตองระบุเพียงคําวา “ผูถือ” ในเอกสารตาง ๆ ของผูถือหุน ทั้งในใบหุน สมุด
ทะเบียนรายชื่อผูถือหุน และสําเนารายชื่อผูถือหุน ทําใหบริษัทไมทราบวาบุคคลใดเปนผูถือหุน แตในบางกรณีที่
กฎหมายไมอนุญาตใหออกใบหุนชนิดออกใหแกผูถือ เชน กรณีที่มีขอบังคับกํา หนดวากรรมการจะตองถือหุนในบริษัท
ตามมาตรา 1137 ประมวลกฎหมายแพงและพาณิชย จะตองออกใบหุนชนิดระบุชื่อใหกับกรรมการเทานั้น
เมื่อผูถือใบหุนชนิดออกใหแกผูถือตองการใชสิทธิของตนในฐานะผูถือหุน เชน การเขาประชุมผูถือหุน หรือ
การรับเงินปนผลสามารถทําไดตามประมวลกฎหมายแพงและพาณิชยกําหนด โดยการนําใบหุนมาแสดงตอบริษัทกอน
การเขาประชุม หรือเพื่อรับเงินปนผล การออกใบหุนชนิดนี้ทําใหผูถือหุนไดรับความเปนสวนตัวอยางมากสามารถ
ปกปดตัวตน และไดรับความสะดวกในการโอนหุนไปใหบุคคลใดก็ตามที่ตนตองการโดยการโอนมี ผลทันทีที่สงมอบใบ

26
Gaylord A. Jentz, Kenneth W. Clarkson and Roger LeRoy Miller, West’s Business Law, (California : West
Publishing, 1987), p.596.
27
Kenneth W. Clarkson, Roger LeRoy Miller and Frank B. Cross, supra note 25, p.473.
28
Louis F. Nawrot, Jr. , “ Corporations: Bearer Shares in the United States : Civil Law Contrast:
Connecticut and Montana Statutes Authorizing Issuance. ,” สื บ ค น เ มื่ อ วั น ที่ 3 1 ม ก ร า ค ม 2 5 6 0 , จ า ก
http://www.Heinonline.org.
วารสารนิติศึกษาไทย 859

หุน โดยไมตองแจงกับบริษัท และบริษัทไมสามารถออกขอบังคับหรือขอกําหนดเพื่อจํากัดการโอนหุนในใบหุนชนิดนี้


ได
นอกจากในประมวลกฎหมายแพงและพาณิชยที่กําหนดเรื่องใบหุนชนิดออกใหแกผูถือไว ยังมีกฎหมายอื่น ๆ
ที่มาจํากัดในเรื่องใบหุนชนิดนี้ด วย เชน พระราชบัญญัติเรือไทย พ.ศ. 2481 มาตรา 7 วรรคหนึ่ง (4) (ค) ที่กําหนด
เงื่อนไขของผูถือกรรมสิทธิ์เรือจดทะเบียนเปนเรือไทยซึ่งทําการคาในนานน้ําไทยไดจะตองเปนบริษัทจํากัดที่กรรมการ
ไมนอยกวากึ่งหนึ่งมีสัญชาติไทย หุนอันจดทะเบียนไมนอยกวารอยละเจ็ดสิบเปนของบุคคลที่ไมใชคนตางดาว และ
จะตองไมมีขอบังคับอนุญาตใหออกใบหุนชนิดออกใหแกผูถือ, พระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนตางดาว พ.ศ.
2542 ในมาตรา 4 ในนิยามของ “คนตางดาว” ในสวนทายที่ระบุวา เพื่อประโยชนแหงคํานิยามนี้ใหถือวาหุนของ
บริษัทจํากัดที่มีใบหุนชนิดออกใหแกผูถือเปนหุนของนิติบุคคลนั้นถือโดยบุคคลที่ไมไดมีสัญชาติไทย หรือนิติบุคคลที่
ไมไดจดทะเบียนในประเทศไทย หรือนิติบุคคลที่จดทะเบียนในไทยที่มีลักษณะเปนตางดาว เวนแตจะไดมีกฎกระทรวง
กํ า หนดไว เ ป น อื่ น ดั ง นั้ น จึ ง เป น บทสั น นิ ษ ฐานว า หากบริ ษั ท จํ า กั ด ออกใบหุ น ผู ถื อ จะทํ า ให ถู ก ถื อ ว า ใบหุ น
ผูถือนั้นเปนหุนที่ถือโดยบุคคลหรือนิติบุคคลตางดาว หรือนิติบุคคลที่มีลักษณะเปนตางดาว นอกจากนี้หากเปนบริษัท
มหาชนจํากัด ตามพระราชบัญญัติบริษัทมหาชนจํากัด พ.ศ. 2535 ในมาตรา 56 ไดกําหนดถึงขอความที่ตองระบุใ น
ใบหุนซึ่งไมมีการใหระบุคําวา “ผูถือ” ในใบหุนได ทําใหในบริษัทมหาชนจํากัดจะมีเฉพาะใบหุนระบุชื่อเทานั้น และ
หากเป น บริษั ท มหาชนตามพระราชบั ญ ญั ติ ป ระกัน วิ น าศภั ย พ.ศ. 2535 พระราชบั ญ ญั ติ ธุ รกิจ สถาบั น การเงิ น
พ.ศ. 2551 จะกําหนดวาบริษัทหรือธุรกิจตามพระราชบัญญัติ นั้นจะตองออกใบหุนระบุชื่อเทานั้น เห็นไดวา การออก
ใบหุนผูถือตามกฎหมายไทย จะออกไดเฉพาะบริษัทจํากัดประมวลกฎหมายแพงและพาณิชยเทานั้น หากเปนกรณีของ
บริษัทมหาชนจํากัดจะไมสามารถออกใบหุนชนิดออกใหแกผูถือได
ในหลายประเทศไดยกเลิกกฎหมายเกี่ยวกับการออกใบหุนผูถือแลว ดวยเหตุผลดานความมั่นคงเปนประการ
สํ า คั ญ เนื่ อ งจากหากเกิ ด กรณี ที่ บุ ค คลตั้ ง บริ ษั ท และออกใบหุ น ชนิ ด ผู ถื อ ทั้ ง หมดและต อ มาใช บ ริ ษั ท ดั ง กล า ว
เพื่อการฟอกเงินหรือเพื่อสนับสนุนการกอการราย ยอมสงผลตอความมั่นคงของประเทศ หรือในดานการบังคับคดีที่
หากเจาหนี้ตองการบังคับตามสิทธิของตนโดยอาจสืบทราบมาวาลูกหนี้ถือหุนในบริษัทแหงหนึ่งโดยลูกหนี้ถือใบหุนผู
ถือ แตเมื่อจะบังคับคดี ลูกหนี้ไดโอนใบหุนดังกลาวโดยการสงมอบใหบุคคลอื่นไป ทําใหเจาหนี้ไมสามารถที่จะบังคับใช
สิทธิของตนไดอีกตอไป
แมในกฎหมายไทยตามประมวลกฎหมายแพงและพาณิชยยังไมมีการยกเลิกกฎหมายในเรื่องนี้ แตระบบ
กฎหมายของไทยไดสรางกลไกเพื่อปองกันการใชใบหุนชนิดออกใหแกผูถือในทางที่ผิด โดยพระราชบัญญัติปองกันและ
ปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542 และที่แกไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติปองกันและปราบปรามการฟอกเงิน
(ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2552 มาตรา 20/1 กําหนดใหสถาบันการเงินและผูประกอบอาชีพตามมาตรา 16 (1) และ (9) ตอง
กําหนดนโยบายการรับลูกคา การบริหารความเสี่ยงที่อาจเกี่ยวกับการฟอกเงินของลูกคาและตองดําเนินการตรวจสอบ
เพื่อทราบขอเท็จจริงเกี่ยวกับลูกคาเมื่อเริ่ม ทําธุรกรรมครั้งแรก โดยตองตรวจสอบเปนระยะ ซึ่งการตรวจสอบเพื่อ
ทราบขอเท็จจริงของลูกคานั้น จะมีการกําหนดหลักเกณฑและวิธีการที่กําหนดในกฎกระทรวงเกี่ยวกับการแสดงตน
และการพิสูจนทราบลูกคา การประกอบธุรกิจหรือการประกอบอาชีพตามมาตรา 16 (1) คือผูประกอบอาชีพเกี่ยวกับ
การดําเนินการ การใหคําแนะนํา หรือการเปนที่ปรึกษาในการทําธุรกรรมที่เกี่ยวกับการลงทุนหรือการเคลื่อนยาย
เงินทุนตามกฎหมายวาดวยหลักทรัพยและตลาดหลักทรัพยที่ไมใชสถาบันการเงินตามมาตรา 13 และใน (9) จะเปน
ผูประกอบอาชีพเกี่ยวกับการชําระเงินทางอิเล็กทรอนิกสตามกฎหมายยวาดวยการควบคุมดูแลธุรกิจบริการการชําระ
เงินทางอิเล็กทรอนิกส ซึ่งตามกฎกระทรวงการตรวจสอบเพื่อทราบขอเท็จจริงเกี่ยวกับลูกคา พ.ศ. 2556 ไดมีการ
กําหนดไวในขอ 54 วา สํานักงานปองกันและปราบปรามการฟอกเงิน อาจขอความรวมมือในการกํากับดูแล และ
ติดตามประเมินผลจากหนวยงานอื่นที่มีอําอาจกํากับดูแลสถาบันการเงินและผูประกอบอาชีพตามมาตรา 16 (1) และ
(9) ทั้งนี้ ตามขอตกลงระหวางสํานักงานกับหนวยงานที่มีอํานาจกํากับดูแล ซึ่งกฎหมายในเรื่องดังกลาวนี้ อันเปนเรื่อง
เกี่ยวกับการปองกันและปราบปรามการฟอกเงินนั้น เพื่อปองกันธุรกิจที่ มีความเสี่ยงที่อาจถูกใชในการฟอกเงิน ทําให
หากมีขอสงสัยเกี่ยวกับลูกคาจะตองมีการเก็บขอมูลของลูกคาไวเพื่อปองกันการฟอกเงินที่อาจเกิดขึ้น ทําใหกรมพัฒนา
860 Thailand Journal of legal Study

ธุรกิจการคา ซึ่งเปนหนวยงานที่กํากับดูแลบริษัทจํากัดออกประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการคา เรื่อง กําหนดรายการ


เพิ่มเติมในสมุดทะเบียนผูถือหุนและสําเนาบัญชีรายชื่อผูถือหุนบริษัทจํากัด พ.ศ. 2557 โดยอาศัยฐานอํานาจจาก
กฎกระทรวง การตรวจสอบเพื่อทราบขอเท็จริงเกี่ยวกับลูกคา พ.ศ. 2556 ซึ่งออกตามความในมาตรา 16 (1) และ (9)
และมาตรา 20/1 แหงพระราชบัญญัติปองกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542 และที่แกไขเพิ่มเติม ใน
ประกาศของกรมพัฒนาธุรกิจการคาฉบับดังกลาว ไดกําหนดให หากบริษัทจํากัดที่มีการออกใบหุนชนิดออกใหแกผูถือ
ตามมาตรา 1138 แหงประมวลกฎหมายแพงและพาณิชย จะตองใหมีรายการเพิ่มเติมในสมุดทะเบียนนผูถือหุน อัน
ไดแก ชื่อของเจาของใบหุนชนิดออกใหแกผูถือ หรือชื่อของผูรับประโยชนในใบหุนชนิดออกใหแกผูถือ โดยมีแบบที่
แนบทายตามประกาศ29 ซึ่งการแจงชื่อของผูถือหุนหรือชื่อผูรับประโยชนตามประกาศของกรมพัฒนาธุรกิจการคาฉบับ
นี้ จะตองเปดเผยใหแกสาธารณชนเชนเดียวกับเอกสารอื่ น ๆ ที่บริษัทไดสงใหแกนายทะเบียนโดยเจตนารมณในการ
ออกประกาศฉบับนี้ มาจากความตองการที่จะปองกันการฟอกเงินและการนําใบหุนชนิดออกใหแกผูถือ ไปใชในทางที่
ผิ ด กฎหมายและยั บยั้ง การนําใบหุ นชนิ ดออกให แ กผูถือไปใชเป นเครื่อ งมือในการฟอกเงิน และแหลงเงิ นทุนของ
ผูกอการราย
3.1 ปญหาการลงทะเบียนหุนผูถือในสมุดทะเบียนผูถือหุน และสําเนารายชื่อผูถือหุน
ใบหุนที่บริษัทจะออกใหแกผูถือหุนนั้นมีอยูสองชนิด ไดแก ใบหุนชนิดระบุชื่อ และใบหุนชนิดออกใหแกผูถือ
โดยการออกใบหุนทั้งสองชนิด มีสาระสําคัญและวัตถุประสงคในการออกใบหุนที่ตางกัน หากเปนกรณีของใบหุนชนิด
ระบุชื่อ การแสดงความเปนเจาของใบหุนนั้น จะอยูที่เอกสารของบริษัท ทั้งในสมุดบัญชีรายชื่อผูถือหุน หรือสําเนา
รายชื่อผูถือหุน สวนในใบหุนนั้นเปนเพียงหลักฐานที่บริษัทใหไวแกผูถือหุนเทานั้น และเปนเพียงหลักฐานที่อาจถูก
หักลางได ไมไดเปนบทสันนิษฐานที่เด็ดขาด
สวนกรณีของใบหุนชนิดออกใหแกผูถือ เจตนารมณในการออกใบหุนชนิดนี้ เปนไปเพื่อรักษาความเปน
สวนตัวของผูถือหุน และเพื่อใหเกิดความสะดวกในการโอนหุน โดยใบหุนชนิดออกใหแกผูถือจะไมระบุชื่อของผู ถือหุน
แตจะระบุในเอกสารตาง ๆ วา “ผูถือ” และการแสดงความเปนเจาของหุน จะทําไดโดยการครอบครองใบหุนเทานั้น
ทําใหเกิดความชัดเจนในการยืนยันสิทธิของเจาของหุน เอกสารใด ๆ อันเกี่ยวกับตัวหุนจะมาโตแยงการแสดงความ
เปนเจาของหุนโดยการครอบครองนั้นไมได
อย า งไรก็ตาม ในประเด็ นการระบุชื่อของผูถือใบหุ นผู ถือลงในเอกสารทางทะเบียนของบริษัท ที่จะตอง
สงใหกับทางราชการ เชน สมุดทะเบียนรายชื่อผูถือหุน หรือสําเนารายชื่อผูถือหุน ยังเกิดปญหาในการแปลความที่
แตกตางกันเปน 2 แนวทาง ดังนี้
แนวทางแรก ในทางวิชาการมีความเห็นวา ไมตองมีการระบุชื่อของผูถือใบหุนผูถือในทะเบียนสาธารณะของ
บริษัท เชน ในสมุดทะเบียนผูถือหุน หรือสําเนารายชื่อผูถือหุน 30 เนื่องจากสาระสําคัญของใบหุนชนิดออกใหผูถือ คือ
การรักษาความเปนสวนตัวของผูถือหุน จึงไมตองระบุชื่อของผูถือหุนลงในเอกสารใด ๆ เพื่อใหผูถือหุนไมตองแสดง
รายละเอียดของตน และไมสามารถตรวจสอบไดวา ผูถือหุนไดถือหุน หรือมีครอบครองสินทรัพยใดบาง โดยการที่ไม
ระบุชื่อผูถือหุน ยอมเปนไปตามเจตนารมณของกฎหมายในเรื่องดังกลาว
แนวทางที่สอง ความเห็นของกรมพัฒนาธุรกิจการคา ซึ่ งเปนหนวยงานที่กํากับดูแลบริษัท มีความเห็นวา
แมวาใบหุนชนิดออกใหแกผูถือสามารถโอนไปไดโดยงาย แตยังตองมีการระบุชื่อผูถือหุนในเอกสารของบริษัทอยู

29
ประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการคา เรื่อง กําหนดรายการเพิ่มเติมในสมุดทะเบียนผูถือหุนและสําเนาบัญชีรายชื่อผูถือ
หุนบริษัทจํากัด พ.ศ. 2557 ขอ 2 บริษัทจํากัดใดที่มีการออกใบหุนชนิดออกใหแกผูถือ ใหมีรายการดังตอไปนี้ เพิ่มเติมในสมุด
ทะเบียน
(ก) เจาของใบหุนชนิดออกใหแกผูถือ หรือ
(ข) ผูรับประโยชนในใบหุนชนิดออกใหแกผูถือ
30
สหธน รัตนไพจิตร, คําอธิบายประมวลกฎหมายแพงและพาณิชย ลักษณะหางหุนสวนบริษัท, (กรุงเทพมหานคร :
โรงพิมพเดือนตุลา, 2557), น.351.
วารสารนิติศึกษาไทย 861

กลาวคือ จะตองระบุชื่อผูถือหุนลงในสมุดทะเบียนรายชื่อผูถือหุน และสําเนารายชื่อผูถือหุนที่จะตองสงใหกับกรม


พัฒนาธุรกิจการคาในทุกป อีกทั้ง กรมพัฒนาธุรกิจการคายังออกประกาศของกรมพัฒนาธุรกิจการคา เรื่อง กําหนด
รายการเพิ่มเติมในสมุดทะเบียนผูถือหุน และสําเนาบัญชีรายชื่อผูถือหุน พ.ศ. 2557 ที่กําหนดใหบริษัทที่ดําเนินกิจการ
ตามพระราชบั ญญั ติป องกัน และปราบปรามการฟอกเงิ น พ.ศ. 2542 มาตรา 16 ต อ งแจ ง ชื่ อผู ถือหุ น หรือผู รับ
ประโยชนในใบหุน เพื่อเปนการปองกันการนําใบหุนผูถือไปใชในกิจการที่ผิดกฎหมาย เชน การฟอกเงิน การหลบเลี่ยง
ภาษีหรือการบังคับคดี
ความเห็นในทั้งสองแนวทาง มีเหตุผลสนับสนุนที่แตกตางกัน เนื่องจากในทางทฤษฎี ยอมตองการที่จะรักษา
เจตนารมณของกฎหมายไวที่ตองการใหมีใบหุนสองประเภทเพื่อใหความสะดวกและความตองการของผูถือหุนในดาน
หนึ่งยินดีที่ใหทราบถึงขอมูลของผูถือหุนและทําใหสามารถควบคุมตรวจสอบผูถือหุนเหลานั้นได แตในอีกดานหนึ่ง
ผูถือหุนตองการความเปนสวนตัว บริษัทยอมเคารพสิทธิสวนบุคคลของผูถือหุนบางกลุมที่ไมตองการเปดเผยตัวตนตอ
บริษัท และตองการความคลองตัวในการโอนทรัพยสินของตนเองดวย ดังนั้น หากบริษัทกําหนดใหออกใบหุนชนิดออก
ใหแกผูถือได รัฐยอมตองเคารพเสรีภาพในการแสดงเจตนาของเอกชนเชนกัน สวนในแนวทางที่สอง ซึ่งเปนความเห็น
ของหนวยงานในทางปฏิบัติยอมมีเหตุผลมาจากเรื่องความมั่นคงและการควบคุมการกระทําความผิดอาญา ซึ่งใบหุน
ชนิดออกใหแกผูถือนี้ ควบคุมไดยาก เนื่องจากโอนไปไดโดยสะดวกและไมสามารถตั้งขอจํากัดการโอนไดโดยสภาพ
อีกทั้ง ไมปรากฏชื่อของผูถือหุนอีกดวย ดังนั้น เพื่อใหสามารถควบคุมได จึงใหมีการแจงชื่อหรือผูรับประโยชนไวกับรัฐ
แตตามประกาศของกรมพัฒนาธุรกิจการคา ไมไดหามโอนทําใหแมการแจงชื่อไว ยอมไมไดมีประโยชนอันใด เพราะ
สามารถโอนตอไปไดทันทีเชนเดิม นอกจากนี้ ขอมูลที่แจงไปตามประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการคาเปนการเอกสารที่
สาธารณชนเขาถึงไดเชนกัน เชนเดียวกับสําเนารายชื่อผูถือหุนและเอกสารอื่น ๆ ที่สามารถขอคัดสําเนาจากกรมฯ ได
โดยงาย ทําใหการปกปดตัวตนของผูถือหุนไมสามารถทําได หากทําตามประกาศนี้
ในกฎหมายตางประเทศที่ไดทําการศึกษาเพื่อเปรียบเทียบในกฎหมายของประเทศอังกฤษตาม Companies
Act 2006 ในมาตรา 113 มาตรา 115 และมาตรา 116 กําหนดเพียงแตใหบริษัทจะตองเก็บการจดทะเบียนของผูถือ
หุนไวและผูถือหุนสามารถรองขอเขาตรวจสอบสมุดทะเบียนรายชื่อดังกลาวที่จะมีรายละเอียดของผูถือหุนทั้งชื่อ ที่อยู
วันที่เขามาเปนผูถือหุนหรือออกจากการเปนผูถือหุน และรายละเอียดอื่น ๆ เกี่ยวกับหุนนั้น และจะสามารถขอคัดถาย
สําเนาสมุดทะเบียนนั้น แตไมกําหนดตองสงสําเนาทะเบียนรายชื่อผูถือหุนหรือแจงถึงการเปลี่ยนแปลงในตัวผูถือหุน
ใหกับรัฐดังเชนมาตรา 1139 แหงประมวลกฎหมายแพงและพาณิชยของไทย ทําใหแมจะมีการออกใบหุนชนิดออก
ใหแกผูถือหรือ Share Warrant รัฐจะไมทราบถึงการออกใบหุนชนิดดังกลาวของบริษัท อีกทั้ง ในมาตรา 122 และ
มาตรา 779 ไดกําหนดวาหากออกใบหุนชนิดออกใหแกผูถือจะตองมีการแกไขสมุดบัญชีรายชื่อผูถือหุนเพื่อไมได
ปรากฏชื่อของผูถือใบหุนชนิดดังกลาวในบริษัทอีกดวย โดยไมมีขอยกเวนใด ๆ ตางจากกรณีของประกาศกรมพัฒนา
ธุรกิจการคาที่กําหนดใหเพิ่มเติมรายการในสมุดบัญชีรายชื่อผูถือหุนเพื่อใหทราบชื่อของผูถือใบหุนผูถือ
สวนในกรณี ของสหรัฐอเมริกา ไมไดกําหนดใหตองมีการแจงชื่อหรือระบุชื่อของผูถือหุนในสมุดทะเบียน
รายชื่อผูถือหุนที่ตองสงใหทางราชการเหมือนกับของประเทศไทย ตามกฎหมายของรัฐคอนเนคติกัตในมาตรา 33-945
ถึง 33-946 และ Model Business Corporation Act มาตรา 16.01 ถึง 16.02 ไดกําหนดในเรื่องการเก็บรายชื่อ
รายละเอียดเกี่ยวกับหุนและผูถือหุน โดยเปนหนาที่ของบริษัทในการเก็บขอมูลดังกลาว และจะตองเก็บรักษาไวที่
บริษัทเพื่อใหผูถือหุนสามารถเขาตรวจสอบหรือคัดสําเนาได ตามที่รองขอ ตามระเบียบหรือเงื่อนไขที่บริษัทกําหนดไว
เทานั้น เชน จะตองเปนผูมีสวนไดเสีย หรือไดรับมอบอํานาจมาเพื่อที่จะตรวจดูเอกสารที่เกี่ยวของ จะเห็นไดวาตาม
กฎหมายของสหรัฐอเมริกาตางกับกฎหมายของไทยที่จะตองสงสําเนารายชื่อผูถือหุนใหกับทางราชการทุกปเพื่อใหรัฐ
ทราบถึงการถือครองหุนของบุคคลตาง ๆ
แมวาการบัญญัติใหบริษัทตองแจงชื่อผูถือใบหุนผูถือนั้น เปนประโยชนตอรัฐ เพื่อเปนการควบคุมการดําเนิน
ธุรกิจที่อาจเกี่ยวของกับการกระทําอันไมชอบดวยกฎหมาย แตขอมูลที่เปนประโยชนตอรัฐนี้ ควรจะเก็บไวเพื่อเปน
ขอมูลสําหรับรัฐเทานั้นที่สามารถเขาตรวจสอบไดไมเปดเผยใหกับบุคคลโดยทั่วไปใหเขาถึง เพราะวัตถุประสงคของใบ
หุนชนิดออกใหแกผูถือที่สําคัญนั้น คือการใหความเปนสวนตัวแกผูถือหุน หากรัฐเก็บขอมูลดังกลาวนี้ไปและนําไป
862 Thailand Journal of legal Study

เปดเผยหรือใหสาธารณชนเขาถึงได ยอมไมตองตามเจตนารมณของกฎหมาย แตหากรัฐเก็บขอมูลไวเ พื่อใชตรวจสอบ


ยอมกระทําไดเพื่อประโยชนของทั้งผูถือหุนและรัฐ
3.2 ปญหาสิทธิในใบหุนกรณีใบหุนผูถือหายหรือถูกลัก
ใบหุนเปนตราสารชนิดหนึ่ง หากเปนใบหุนชนิดระบุชื่อ จะเปนตราสารที่มีการระบุชื่อของผูทรงตราสารนั้น
โดยที่การโอนจะตองเปนไปตามวิธีการที่ก ฎหมายกําหนด และอาจถูกหามการโอนไดหากบริษัทกําหนดเงื่อนไขใดไว
แตกรณีของใบหุนผูถือจะเปนตราสารเปลี่ยนมือโดยที่ผูถือหุนสามารถโอนใบหุนชนิดออกใหแกผูถือไปไดโดยการสง
มอบ โดยในใบหุนจะระบุเพียงวา “ผูถือ” ทําใหผูที่ครอบครองใบหุนหรือถือใบหุนอยูเปนเจ าของใบหุนนั้น และ
สามารถโอนไปใหบุคคลใดก็ได กี่ทอดก็ได ตามที่ตองการ อีกทั้ง บริษัทไมสามารถที่จะตั้งขอกําหนดหามโอนหรือ
ปฏิเสธสิทธิของผูที่ครอบครองใบหุนได
ใบหุนชนิดออกใหแกผูถือ ผูถือหุนไมมีเอกสารอื่นใดที่สามารถใชอางยันสิทธิของตนกับบริษัทได นอกจาก
ใบหุนที่ตนครอบครอง เพราะในเอกสารอื่นของบริษัทจะไมมีการระบุชื่อของผูถือหุนไว หากผูถือหุนไมมีใบหุนมาแสดง
ตอบริษัท ผูถือหุนไมอาจอางเอกสารอื่นใดเพื่อยืนยันสิทธิของผูถือหุนไดเลย และในทางกลับกัน หากผูถือหุนมีใบหุน
มาแสดงตอบริษัท บริษัทย อมไมอาจปฏิเสธสิทธิของผูถือหุนไดเชนกัน ทําใหใบหุนชนิดออกใหแกผูถือไมใชเพียง
หลักฐานในการแสดงสิทธิในหุน แตเปนตัวหุนและทําใหการใชสิทธิในหุนทุกครั้ง ผูถือหุนจะตองนําใบหุนมาแสดง
ตามที่ปรากฏในตัวบทกฎหมายที่เกี่ยวของที่กําหนดใหผูถือหุนจะตองนําใบหุนมาแสดงเพื่อเขาประชุมใหญผูถือหุน
หรือเพื่อรับเงินปนผล เปนตน
หากบริษัทออกใบหุนผูถือ ตอมาผูถือหุนทําใบหุนดังกลาวหายหรือถูกลัก สิทธิของผูถือหุนเดิมจะเปนเชนไร
เนื่องจากใบหุนชนิดออกใหแกผูถือเปนตราสารเปลี่ยนมือที่สามารถโอนไปไดโดยการส งมอบ แตผูถือหุนเดิมไมได
ตองการโอนใบหุนดังกลาวไป แตเกิดจากการสูญเสียการครอบครองใบหุนไปโดยที่ผูถือหุนไมยินยอม อยางไรก็ตาม
ในดานของผูรับโอนใบหุนเปนบุคคลที่สุจริตที่ไมรูถึงความบกพรองที่ เกิดขึ้น เชนกัน ทําใหสิทธิของบุคคลทั้งสอง
เกิดเปนประเด็นวา บุคคลใดจะมีสิทธิที่ดีกวาในใบหุนผูถือ ระหวางผูถือหุนเดิมกับผูรับโอนโดยสุจริต
ในเรื่องนี้ ตามประมวลกฎหมายแพงและพาณิชย ในสวนของบริษัท ไมไดกําหนดผลที่เกิดขึ้นไว ทําใหจะตอง
ปรับใชกฎหมายตามนิติวิธีในมาตรา 4 แหงประมวลกฎหมายแพงและพาณิชย ซึ่ งในเรื่องดังกลาวนี้ ในดานของผูถือ
หุนเดิมจะอางสิทธิของตนที่มีอยูไดตามกฎหมายลักษณะทรัพยในมาตรา 1336 ในเรื่องแดนกรรมสิทธิ์ที่เจาของทรัพย
ยอมมีสิทธิติดตามเอาคืนในทรัพยของตนไดจากบุคคลที่ไมมีสิทธิยึดถือไว อยางไรก็ตาม หากนํากฎหมายในเรื่องทรัพย
มาใชอาจไมเปนไปตามเจตนารมณของกฎหมาย เนื่องจากในอีกดานหนึ่งกฎหมายไดกําหนดวาใบหุนชนิดออกใหแก
ผูถือเปนตราสารเปลี่ยนมือชนิดหนึ่งและสามารถแสดงสิทธิของตนไดโดยการครอบครองทางกายภาพ ทําใหบุคคลที่มี
ใบหุนอยูยอมเปนเจาของหุนตามกฎหมาย เปนหลักกฎหมายในเรื่องของผูทรงของเรื่องตราสารเปลี่ยนมือซึ่งหลักการ
ในเรื่องตราสารเปลี่ยนมือเปนหลักกฎหมายที่สามารถนํามาปรับใชโดยเทียบเคียง ตามกฎหมายลักษณะตั๋วเงิน
จากการศึกษาคนควาในตําราตาง ๆ ไดมีการกลาวถึงใบหุนชนิดออกใหแกผูถือวา เปนตราสารเปลี่ยนมือชนิด
หนึ่งที่สามารถโอนกันได โดยกฎหมายที่จะสามารถนํามาปรับใชกับเรื่องดังกลาว จึงควรเปนกฎหมายในเรื่องตราสาร
เปลี่ยนมือ อีกทั้ง หากปรับใชตามมาตรา 1336 อาจเกิดปญหาไดเพราะใบหุน มิไดเปนเพียงหลักฐานในหุน แตเปนตัว
หุ น นั้ น เลย การโอนใบหุ น ไปหรือการมี ใบหุ น ไว ใ นครอบครองโดยสุ จ ริต ทํ า ให ท รัพ ย คือตั ว หุ น ไปอยู กับ บุ ค คลที่
ครอบครองใบหุนนั้นเลย ผูถือหุนเดิมไมสามารถที่จะติดตามเอาคืนใบหุนนั้นไดอีก และไมสามารถนําหลักการในเรื่อง
ทรั พ ย ม าใช ไ ด อี ก ทั้ ง หลั ก การในเรื่ อ งตราสารเปลี่ ย นมื อ จะไม ใ ช ห ลั ก กฎหมายเรื่ อ งผู รั บ โอนไม มี สิ ท ธิ ดี ก ว า
ผูโอน ซึ่งเปนหลักการเบื้องหลังมาตรา 1336 แตจะใชเรื่องหลักผูรับโอนโดยสุจริตมีสิทธิดีกวาผูโอน ซึ่งเปนหลักการ
เบื้องหลังเรื่องตราสารเปลี่ยนมือ31

31
เสาวนีย อัศวโรจน, คําอธิบายประมวลกฎหมายแพงและพาณิชย วาดวยตั๋วเงิน, พิมพครั้งที่ 7, (กรุงเทพมหานคร :
สํานักพิมพมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร, 2559), น.82.
วารสารนิติศึกษาไทย 863

เมื่อใบหุนชนิดออกใหแกผูถือเปนตราสารเปลี่ยนมือ การนํามาตรา 1336 มาใชอาจไมตรงตามเจตนารมณ


ของกฎหมาย เนื่องจากหากใหบุคคลที่มีกรรมสิทธิ์ในใบหุนสามารถติดตามเอาคืนทรัพยไดตลอด เมื่อมีการโอนไป
อาจทําใหสิทธิของผูรับโอนไมสมบูรณและเกิดความหวาดระแวงวาใบหุนทีร่ ับมาถูกตองตามกฎหมายจริงหรือไม อีกทั้ง
ใบหุนผูถือไมไดเปนเพียงเอกสาร แตเปนตัวหุน การแสดงออกถึงความเปนเจาของคือการครอบครอง บุคคลใดมีใบหุน
ไวในครอบครอง บุคคลนั้นเปนผูทรงใบหุนและเปนเจาของใบหุนนั้น หากใชหลักเรื่องของผูรับโอนไมมีสิทธิดีกวาผูโอน
ยอมทําใหหลักการในเรื่องตราสารเปลี่ยนมือเสียไป แตหากนําเรื่องตราสารเปลี่ยนมือมาใชบังคับ จะทําให ผูรับโอนที่
สุจริตมีสิทธิที่บริบูรณ แมวาการโอนในทอดกอน ๆ จะบกพรองและไมตองเสียตราสารนั้นไปใหกับบุคคลที่มาอาง
ภายหลังวาเปนผูทรงคนกอน หรือเจาของตราสารคนกอนที่เสียการครอบครองไป ดังนี้ หากหลักการวาดวยตราสาร
เปลี่ยนมือมาปรับใชกับเรื่องใบหุนชนิ ดออกใหแกผูถือ จะทําใหผูครอบครองใบหุนในฐานะผูทรงไดรับความคุมครอง
ตามกฎหมายและตรงกับเจตนารมณของกฎหมาย
กลาวโดยสรุปไดวา ในการโอนใบหุนชนิดออกใหแกผูถือ แมตามบทบัญญัติในเรื่องหุนสวนบริษัทกําหนดไว
เพียงวาการโอนนั้นทําไดโดยการสงมอบใบหุนนั้น แตผลในทางกฎหมายอื่น ๆ ที่เกี่ยวของในเรื่องของการโอนกฎหมาย
ไม ไ ด มี การกําหนดไว หากเที ย บกับ เรื่องใบหุ นชนิด ระบุชื่อที่ กฎหมายกํา หนดไวย อมไม ตรงตามเจตนารมณของ
กฎหมาย เพราะใบหุนระบุชื่อเปนเพียงตราสาร แตใบหุนชนิดออกใหแกผูถือเปนตราสารเปลี่ยนมือที่ในตราสารมี ทั้ง
สิทธิในทางหนี้และสิทธิในทางทรัพยติดอยูกับตราสาร และการโอนตามกฎหมายนั้น หมายรวมถึงการโอนทั้งหนี้และ
ทรัพย หากมีการโอนใบหุนชนิดผูถือไปแลวทําใหผูรับโอนมีทั้งสิทธิในทางหนี้และทางทรัพยในขณะเดียวกัน เมื่อได
ครอบครองตราสารไวแลว ยอมมีสิทธิที่บริบูรณไดรับความคุมครองตามกฎหมาย
3.3 ปญหาในเรื่องการขอออกใบหุนใหมกรณีที่ใบหุนถูกทําลาย
เมื่อใบหุนชนิดออกใหแกผูถือ เปนตราสารเปลี่ยนมือที่ใบหุนไมไดเปนเพียงหลักฐานแสดงสิทธิในหุนเทานั้น
แต เป น ตั ว หุ น นั้นเลย และการแสดงถึง ความเป นเจ าของหุ น สามารถทํ าได เพี ยงวิธี เดี ยวคือ การมี ใบหุ น นั้นไวใน
ครอบครอง การที่ผูถือหุนสูญเสียการครอบครองในใบหุนไมวาจะเปนการถูกปลอม ถูกลัก หรือทําใบหุนนั้นหายไปจาก
การครอบครองของตน ยอมสูญเสียสิทธิในความเปนเจาของไปใหกับผูที่มีใบหุนไวในครอบครองนั้นในทันที อยางไรก็
ตาม หากกรณีมิไดเปนการสูญเสียการครอบครองไปใหกับบุคคลอื่น แตกลับเปนกรณีที่ใบหุนถูกทําลายไปจนหมดสิ้น
ผลจะเปนเชนไร ตามประมวลกฎหมายแพงและพาณิชยในสวนของหุนสวนและบริษัท กรณีการออกใบหุนใหมนั้น มี
เฉพาะกรณีของใบหุนชนิดระบุชื่อ หากผูถือใบหุนระบุชื่อไดมาแจ งกับบริษัทวาใบหุนของตนนั้นถูกทําลาย บริษัทมี
หนาที่ในการออกใบหุนใหกับผูถือหุนใหม ซึ่งบริษัทสามารถดําเนินการดังกลาวได เนื่องจากบริษัทมีขอมูลของผูถือใบ
หุนระบุชื่ออยูและสามารถพิสูจนความเปนเจาของหุนจากเอกสารอื่น ๆ นอกเหนือจากใบหุนได เชน ในสมุ ดบัญชี
รายชื่อผูถือหุน หรือสําเนาบัญชีรายชื่อผูถือหุน เปนตน
ในกรณีของผูถือใบหุนชนิดออกใหแกผูถือ ทําใบหุนนั้นสูญหายหรือถูกทําลายไป จึงตองการที่จะใหบริษัท
ออกใบหุนใหใหมโดยยังคงเปนใบหุนผูถือเชนเดิมและใชสิทธิไดเชนเดิม ผูถือหุนอาจไปรองขอตอบริษัทเพื่อใหออก
ใบหุนใหม แตฐานในทางกฎหมายที่บริษัทจะใชเพื่อออกใบหุนใหมนั้น ในสวนของบริษัทตามประมวลกฎหมายแพง
และพาณิชยไมมีการกําหนดไว บริษัทจึงตองใชกฎหมายในสวนที่เกี่ยวของ เพื่อออกใบหุนผูถือใหใหม ซึ่งกฎหมายที่มี
การกํ า หนดเกี่ ย วกั บ การออกตราสารเปลี่ ย นมื อ ใหม นั้ น มี กํ า หนดอยู ใ นกฎหมายเรื่ อ งตั๋ ว เงิ น ในมาตรา 1011
ที่กําหนดใหผูสั่งจายสามารถออกตั๋วใหผูทรงใหม หากผูทรงนั้นไดมารองขอตอผูสั่งจาย ผูสั่งจายสามารถออกใบหุน
ใหมโดยที่มีเนื้อความตามเดิม และขอใหผูทรงนั้น วางประกันไวแกผูสั่งจายได เพื่อความเสียหายที่อาจเกิดมีขึ้นหากตั๋ว
นั้นกลับคืนมา ซึ่งอาจนํามาปรับใชกับเรื่องของใบหุนผูถือถูกทําลายได โดยบริษัทอาจรองขอใหผูทรงวางประกันกอนที่
จะออกใบหุนใหมได ซึ่งปญหาการออกใบหุนใหมนี้ ที่สําคัญคือผูที่มารองขอใบหุนนั้นเปนผูทรงใบหุ นที่สุจริตและ
แทจริงหรือไม เนื่องจากการพิสูจนนั้นทําไดยากและไมมีเอกสารใด ๆ ที่บริษัทจะใชยืนยันสิทธิได เพียงแตขอใหวาง
ประกันเพื่อความเสียหายไดเทานั้น
864 Thailand Journal of legal Study

บทสรุปและขอเสนอแนะ
กฎหมายของไทยกําหนดใหบริษัทจะตองออกเอกสารที่เปนหลักฐานแสดงถึงความเปนเจาของหุนใหกับผูถือ
หุนทุกคน ที่เรียกวา “ใบหุน” ซึ่งกฎหมายกําหนดประเภทของใบหุนไวสองประเภท คือใบหุนชนิดระบุชื่อ และใบหุน
ชนิดออกใหแกผูถือ
ใบหุนชนิดออกใหแกผูถือจะตองเปนกรณีที่มีขอบังคับของบริษัทกําหนดใหสามารถออกใบหุนชนิดดังกลาวได
และหุนที่ออกใหนั้นจะตองเปนหุนที่ไดใชเต็มตามมูลคาหุนแลว ใบหุนชนิดนี้ สามารถรักษาความเปนสวนตัวของผูถือ
หุน โดยการไมระบุชื่อของผูถือหุนลงในใบหุน หรือเอกสารใด ๆ ของบริษัท และแสดงความเปนเจาของโดยการ
ครอบครองใบหุนนั้น
การระบุรายละเอียดของผูถือใบหุนชนิ ดออกใหแกผูถือนั้น ยังมีความเห็นที่แตกตางกันอยู ระหวางทาง
วิชาการและกรมพัฒนาธุรกิจการคา โดยมีเจตนารมณในทางกฎหมายที่แตกตางกัน กลาวคือ ในทางวิชาการตองการ
รักษาเจตนารมณของกฎหมายที่ตองการรักษาความเปนสวนตัวของผูถือหุน แตในทางปฏิบัติ โดยกรมพัฒนาธุ รกิจ
การคา ตองการที่จะรูถึงขอมูลของผูถือหุนในกิจการที่เสี่ยงตอการนําไปใชเพื่อทําผิดกฎหมาย เมื่อเปนเชนนี้จึงตอง
สรางสมดุลใหกฎหมายทั้งสองฉบับ ผูเขียนเห็นวา สามารถทําไดโดยการที่ใหบริษัทดําเนินการตามประกาศของกรม
พัฒนาธุรกิจการคา สงรายการเพิ่มเติมต อรัฐ แตรัฐจะไมนําขอมูลนี้ไปเปดเผยหรือใหสาธารณชนเขาถึงได การจะ
เขาถึงเอกสารนี้ อาจทําได โดยยื่นคํารองตอศาลและมีเหตุผลอันจําเปนที่จะตองเขาถึงขอมูลที่วานั้น เชน เพื่อความ
มั่นคงของรัฐ หรือเพื่อบังคับคดีในหุนของบริษัทที่สืบทราบมาไดวาผูถูกบังคับคดีนั้นอาจเปนผูถือหุนของบริษัท ซึ่งตาม
แนวทางที่เสนอนี้ จะตองแกไขประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการคา โดยกําหนดในทํานองวา เอกสารที่สงตามประกาศกรม
พัฒนาธุรกิจการคา เรื่อง การยื่นรายการเพิ่มเติมในสมุดทะเบียนผูถือหุนและสําเนาบัญชีรายชื่อผูถือหุนนั้น จะตองถูก
เก็บรักษาไวโดยไมเปดเผยใหสาธารณชนเขาถึงได แตหากเปนกรณีจําเปนที่จะตองทราบถึงขอมูลของผูถือหุน เพื่อ
ความมั่นคงของรัฐหรือเพื่อการใด ๆ ตามคําสั่งศาล อาจยื่นคํารองตอศาลเพื่อขอขอมูลนั้นได
ในสวนของปญหาในเรื่องของโอนใบหุนกรณีที่มีผูทรงโดยสุจริตและผู ถือหุนเดิมไดอางสิทธิในใบหุนเดียวกัน
ประเด็นปญหาไมมีบทกฎหมายในสวนหุนสวนบริษัทตามประมวลกฎหมายแพงและพาณิชยกําหนดไว จึงเปนกรณีที่
กฎหมายมีชองวางและตองใชนิติวิธีของไทยที่มีอยูตามมาตรา 4 แหงประมวลกฎหมายแพงและพาณิชยเพื่อมาอุด
ชองวางนั้น ในความเห็นของผูเขียนเห็นวา การนํากฎหมายมาปรับใชกับเรื่องใบหุนชนิดออกใหแกผูถือ จะตองนํา
กฎหมายในสวนของตราสารเปลี่ยนมือมาใชบังคับ หากเปนเรื่องสิทธิในทางหนี้ จะใชในเรื่องของหนี้หลักทั่วไป ในการ
โอนสิทธิเรียกรองอันพึงใชตามเขาสั่งตามมาตรา 312 ประกอบมาตรา 313 ประมวลกฎหมายแพงและพาณิชยโดยตัว
บทกฎหมายที่เกี่ยวของกับการโอนสิทธิในตราสารนั้น จะกําหนดใหผูครอบครองใบหุนชนิดออกใหแกผูถือที่ไดรับโอน
มาโดยสุจริตไดรับความคุมครองจากการที่บุคคลทั้งหลายจะอางขอตอสูโดยอาศัยความเกี่ยวพันเฉพาะบุคคลระหวาง
ตนกับผูทรงคนกอน กลาวอีกนัยหนึ่งไดวา หากบุคคลที่โอนกันในทอดกอนผูรับโอนนั้นมีความบกพรอง จะไมสามารถ
ยกขอตอสูในความบกพรองนั้นมาฟองผูรับโอนที่สุจริตได ในสวนสิทธิในทางทรัพย ผูรับโอนที่สุจริต จะไดรับความ
คุมครองเชนกัน โดยจะไมตองคืนใบหุนใหกับบุคคลใด ๆ ที่มาอางวาเปนเจาของในใบหุนนั้น ถาหากผูรับโอนสามารถ
พิสูจนไดวาตนนั้นไดใบหุนมาโดยสุจริต มิไดประมาทเลินเลออยางรายแรง ตามมาตรา 905 ประมวลกฎหมายแพงและ
พาณิชย อันเปนขอยกเวนของหลักผูรับโอนไมมีสิทธิดีกวาผูโอนตามมาตรา 1336
จะเห็นไดวา หากเป นผูรับโอนที่สุจริตแลว บุคคลใด ๆ จะฟองผูทรงไมได ซึ่งเปนความคุมครองในทางหนี้
และจะไมตองสละใบหุนใหกับบุคคลที่อางวาเปนเจาของใชสิทธิติดตามเอาคืนซึ่งเปนความคุมครองในทางทรัพย ซึ่งทํา
ใหผูถือหุนไดรับความคุมครองอยางสมบูรณและผูที่รับโอนมั่ นใจไดวาจะไดรับสิทธิไปทั้งหมดตามกฎหมาย ตางจาก
การตีความโดยใชบทกฎหมายที่เปนหลักทั่วไปในเรื่องหนี้และเรื่องทรัพยที่จะทําใหผูรับโอนที่แมจะสุจริตแตไมไดรับ
ความคุมครอง
แมวาจะสามารถนําประมวลกฎหมายแพงและพาณิชยในมาตรา 4 มาใชในการปรับบทกฎหมายในเรื่องนี้ แต
การปรับใชกฎหมายนั้น ขึ้นอยูกับบุคคลที่จะใช ทําใหเกิดความไมแนนอนของกฎหมาย ซึ่งในทางกฎหมายพาณิชยเปน
สิ่งที่นักธุรกิจไมตองการใหเกิดขึ้น ดังนั้น เพื่อใหเกิดความชัดเจนแนนอนอันเปนประการสําคัญของการทําการคา
วารสารนิติศึกษาไทย 865

พาณิชย จึงอาจบัญญัติกฎหมายเพิ่มเติมกําหนดวาจะนํากฎหมายใดมาปรับใช หากเกิดเหตุการณขางตนขึ้น โดยแกไข


เพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพงและพาณิชยในสวนของหุนสวนบริษัท โดยกําหนดในทํานองวา ในเรื่องของใบหุนชนิด
ออกใหแกผูถือ การโอนสิทธิทางหนี้ สิทธิทางทรัพย การคุมครองผูรับโอนที่สุจริต จะตองนําบทบัญญั ติในมาตรา 905
และ 916 ในเรื่องของตั๋วเงินมาใชโดยอนุโลม เพื่อใหผูรับโอนโดยสุจริตไดรับความคุมครองและมีสิทธิดีกวาผูโอนแมวา
ผูโอนจะไมมีสิทธิก็ตาม อันเปนขอยกเวนของหลักผูรับโอนไมมีสิทธิดีกวาผูโอน
ในประเด็นปญหากฎหมายกรณีที่ใบหุนผูถือถูกทําลายและผูถือหุนขอใหบริษัทออกใบหุนใหใหมทดแทนใบ
เดิมที่ถูกทําลายไปนั้น ผูเขียนเห็นวา กรณีของใบหุนชนิดออกใหแกผูถือไมมีหลักฐานจากที่ใดที่จะระบุวาบุคคลใดเปน
ผูถือใบหุนชนิดออกใหแกผูถือ เนื่องจากกฎหมายกําหนดใหบริษัทจะตองไมแสดงชื่อของผูถือใบหุนชนิด ดังกลาว
ในเอกสารที่เกี่ยวของกับผูถือหุนทั้งหลาย
บริษัทจึงอาจเสียหายไดหากออกใบหุนผูถือใหกับบุคคลที่มิใชผูถือหุนที่แทจริงของบริษัท ดังนี้ กฎหมายที่จะ
นํามาปรับใชกับเรื่องได ที่มีความใกลเคียงกับใบหุนชนิดออกใหแกผูถือเปนอยางยิ่ง คือ ในสวนของกฎหมายตั๋วเงิน อัน
เปนตราสารเปลี่ยนชื่ออยางหนึ่งเชนเดียวกับใบหุนผูถือ ซึ่งประมวลกฎหมายแพงและพาณิชยในเรื่องดังกลาวได
กําหนดในกรณีที่ตั๋วหาย ผูทรงสามารถที่จะขอใหผูสั่งจายออกตั๋วฉบับใหมอันมีเนื้อความเดียวกันใหแกตน และอาจ
ขอใหมีการวางประกันเพื่อทดแทนหากเกิดความเสียหายหากตั๋วเงินนั้นกลับหาได ตามมาตรา 1011 แหงประมวล
กฎหมายแพงและพาณิชย หากนํามาปรับใชกับเรื่องใบหุนชนิดออกใหแกผูถือ ยอมตีความไดวา หากใบหุนชนิดออก
ใหแกผูถือถูกทําลาย ผูถือหุนสามารถรองขอตอบริษัทเพื่อใหบริษัทออกใบหุนใหตนใหม โดยมีเนื้อความเชนเดิม โดย
บริษัทที่อาจเสียหายจากการออกใบหุนไมถูกตองหรือออกใบหุนใหกับผูที่มิใชผูถือหุนที่แทจริงแลวภายหลังมีผูถือหุนที่
แทจริงมาเรียกรองกับบริษัท บริษัทจึงขอใหผูถือหุนคนดังกลาววางประกันไว เพื่อความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นหาก
ใบหุนที่ถูกทําลายไปนั้นกลับคืนมาได
หากผูถือหุนตองการใหบริการออกใบหุนใหมโดยใชมาตรา 1011 ประมวลกฎหมายแพงและพาณิชยนั้น
จะตองบัญญัติกฎหมายใหสามารถนําเอามาตราดังกลาวมาปรับใชได เนื่องจากหากไมมีการกําหนดไว อาจทําใหเกิด
ปญหาในการตีความวาจะตองนําเอาบทบัญญัติใดมาใชบังคับ โดยอาจแกไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพงและพาณิชย
ใหนําเอามาตรา 1011 มาใชกับกรณีใบหุนผูถือถูกทําลายได นอกจากนี้ อาจกําหนดใหนําขอมูลที่เก็บไวกรมพัฒนา
ธุรกิจการคาตามประกาศใหเพิ่มเติมรายการในสมุดทะเบียนผูถือหุนและสําเนารายชื่อผูถือหุ นมาใชเปนหลักฐานใน
เบื้อตนในการยืนยันสิทธิของผูถือหุนที่มารองขอกับบริษัทใหออกใบหุนใหกับตน โดยผูถือหุนสามารถรองขอใหบริษัท
หรือกรมพัฒนาธุรกิจการคาตรวจสอบเอกสารดังกลาวประกอบกับการออกใบหุนใหม แตขอมูลที่บริษัทหรือกรมฯ จะ
มีนั้น จะเปนขอมูลในรอบป ทําใหหากในระหวางปมีการเปลี่ยนแปลงในตัวผูถือใบหุน อาจตองมีการพิสูจนตอไป
อยางไรก็ตาม บริษัทยังสามารถขอใหผูถือหุนที่ขอใหออกใบหุนใหมวางประกันได ตามมาตรา 1011 ประมวลกฎหมาย
แพงและพาณิชย
866 Thailand Journal of legal Study

บรรณานุกรม

หนังสือ

จิตติ ติงศภัทิย. กฎหมายแพ งและพาณิชยวาดวย บัญชีเดินสะพัดและตั๋วเงิน . พิมพครั้งที่ 16 กรุงเทพมหานคร :


สํานักพิมพมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร, 2528.
ทวี เจริญพิทักษ. คําอธิบายโดยพิสดาร กฎหมายหุนสวนและบริษัท. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพแสงสวาง, 2504.
นนทวัชร นวตระกูลพิสุทธิ์. กฎหมายลักษณะหางหุนสวน บริษัทจํากัด และบริษัทมหาชนจํากัด . กรุงเทพมหานคร :
โรงพิมพเดือนตุลา, 2558.
โพยม เลขยานนท . คํ า บรรยายกฎหมายแพ ง และพาณิ ช ย ว า ด ว ย หุ น ส ว นและบริ ษั ท . กรุ ง เทพมหานคร :
โรงพิมพมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร, 2512.
ภาสกร ชุณหอุไร. คูมือนักศึกษา ประมวลกฎหมายแพงและพาณิชยวาดวย หุนสวนและบริษัท . กรุงเทพมหานคร :
สํานักพิมพนิติบรรณาการ, 2519.
สหธน รัตนไพจิตร. คําอธิบายประมวลกฎหมายแพงและพาณิชย ตั๋วเงิน. พิมพครั้งที่ 9. กรุงเทพมหานคร : สํานักพิมพ
วิญูชน, 2555.
___________. กฎหมายวาดวย ตราสารเปลี่ยนมือ. กรุงเทพมหานคร : โครงการตําราและเอกสารประกอบการสอน
คณะนิติศาสตร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร, 2558.
เสาวนีย อัศวโรจน. คําอธิบายประมวลกฎหมายแพงและพาณิชยวาดวยตั๋วเงิน . กรุงเทพมหานคร : สํานักพิมพ
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร, 2559.
โสภณ รั ต นากร. คํ า อธิ บ ายประมวลกฎหมายแพ ง และพาณิ ช ย ว า ด ว ย หุ น ส ว น บริ ษั ท . กรุ ง เทพมหานคร :
สํานักพิมพนิติบรรณการ, 2551.

สื่ออิเล็กทรอนิกส

Louis F. Nawrot, Jr. “Corporations: Bearer Shares in the United States : Civil Law Contrast: Connecticut
and Montana Statutes Authorizing Issuance.” http://www.Heinonline.org, January 31,
2017.

BOOKS

David Kobrin, Venessa Stott. Negotiable Instruments. Hertfordshire : Anderson Keenan Publishing,
1980.
Dudley Richardson. Guide to Negotiable Instruments and the Bills of Exchange Acts. London :
Butterworths, 1970.
Charles Wild, Stuart Weinstein and Josephine Bisacre. Smith & Keenan’ s Company Law. Fourteenth
Edition. Gosport : Ashford Colour Press Ltd., 2009.
วารสารนิติศึกษาไทย 867

L. C. B. Gower. The Principle of Modern Company Law. London : Steven & Sons, 1969.
M.C. Oliver. Company Law. Plymouth : Macdonald and Evans Limited, 1976.
Gaylord A. Jentz, Kenneth W. Clarkson and Roger LeRoy Miller. West’s Business Law. California : West
Publishing, 1987.
Kenneth W. Clarkson, Roger LeRoy Miller and Frank B. Cross. Business Law Text and Cases Legal,
Ethical, Global, and Corporate Environment Twelfth Edition. Ohio : South- Western
Cengage Learning, 2012.

You might also like