You are on page 1of 101

²£‚±šÀ„¥·È­™²£¨¶©²

ª¹h›£°Š²„¡­²À‹µ¢™

สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
กระทรวงศึกษาธิการ
การขับเคลื่อนการศึกษาสู่ประชาคมอาเซียน

สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
กระทรวงศึกษาธิการ
การขับเคลื่อนการศึกษาสู่ประชาคมอาเซียน
ISBN 978-616-202-684-3
พิมพ์ครั้งที่ 1 พ.ศ. 2555
จำนวนพิมพ์ 35,000 เล่ม
จัดพิมพ์โดย สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
กระทรวงศึกษาธิการ
เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร 10300
โทรศัพท์ 0 2288 5776 โทรสาร 0 2288 5780
Website : http://academic.obec.go.th/
พิมพ์ที่ โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด
79 ถนนงามวงศ์วาน แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900
โทร. 0-2561-4567 โทรสาร 0-2579-5101
นายโชคดี ออสุวรรณ ผู้พิมพ์ผู้โฆษณา

ข้อมูลทางบรรณานุกรมของสำนักหอสมุดแห่งชาติ
National Library of Thailand Cataloging in Publication Data.
สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา.
การขับเคลื่อนการศึกษาสู่ประชาคมอาเซียน. --กรุงเทพฯ : กระทรวงศึกษาธิการ, 2555.
100 หน้า.
1. นโยบายการศึกษา. I. ชื่อเรื่อง.
379.129
ISBN 978-616-202-684-3
คำนำ 

เอกสาร “การขับเคลื่อนการศึกษาสู่ประชาคมอาเซียน” จัดทำขึ้นเพื่อใช้เป็น


ข้อมูลพื้นฐานในการสร้างความรู้ ความเข้าใจ และความตระหนักเกี่ยวกับประชาคมอาเซียน

ซึ่งประกอบด้วยเสาหลัก 3 เสา ได้แก่ ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน (ASEAN
Political and Security Community-APSC) ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic
Community-AEC) และประชาคมสั ง คมและวั ฒ นธรรมอาเซี ย น (ASEAN Socio-Cultural
Community-ASCC) โดยเฉพาะอย่างยิ่งเสาหลักที่ 3 เสาประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน
ซึ่งเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ

ในฐานะเป็นหน่วยงานหลักที่รับผิดชอบการจัดการศึกษาของประเทศไทย และผลักดันการดำเนินการ

ด้ า นการศึ ก ษาของประเทศไทยให้ ส อดรั บ ต่ อ การเป็ น ประชาคมอาเซี ย นในปี พ.ศ. 2558

เพื่อพัฒนาเยาวชนไทยให้มีสมรรถนะที่สำคัญสำหรับการดำเนินชีวิตในประชาคมอาเซียน

สาระสำคัญของเอกสาร แบ่งเป็น 5 ตอน ได้แก่ ตอนที่ 1 ข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับอาเซียน

ตอนที่ 2 นโยบายการขับเคลื่อนการศึกษาสู่ประชาคมอาเซียน ตอนที่ 3 บทบาท หน้าที่

และแนวทางการดำเนินงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ตอนที่ 4 การขับเคลื่อนการพัฒนาสู่

ประชาคมอาเซียน: กรณีศึกษา “โครงการพัฒนาสู่ประชาคมอาเซียน: Spirit of ASEAN”

และตอนที่ 5 การขับเคลื่อนการพัฒนาสู่ประชาคมอาเซียน: กรณีศึกษา “โครงการโรงเรียนคู่พัฒนา

ระหว่างโรงเรียนมัธยมศึกษาของประเทศไทยกับสาธารณรัฐอินโดนีเซีย” เพื่อเป็นแนวทาง

ให้สถานศึกษาที่เป็นต้นแบบการพัฒนาสู่ประชาคมอาเซียนและสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา

รวมทั้งสถานศึกษาทั่วไปนำไปจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาเยาวชนไทยให้มีความพร้อมที่จะเป็น

พลเมืองที่ดีของประชาคมอาเซียนต่อไป
สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

ขอขอบคุณคณะทำงานจากส่วนกลางและเขตพื้นที่การศึกษาที่ร่วมแรงร่วมใจเป็นพลังขับเคลื่อน

การศึกษาสู่ประชาคมอาเซียน สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานหวังเป็นอย่างยิ่งว่า

เอกสารเล่มนี้จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการพัฒนาเยาวชนไทยให้มีสมรรถนะสำคัญสู่ประชาคม

อาเซียนในปี พ.ศ. 2558


(นายชินภัทร ภูมิรัตน)
เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

สารบัญ 

เรื่อง หน้า
คำนำ
สารบัญ
ตอนที่ 1 ข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับอาเซียน 1
กำเนิดอาเซียน 1
เป้าหมายและวัตถุประสงค์ในการก่อตั้งอาเซียน 2
สัญลักษณ์ของอาเซียน 4
หลักการพื้นฐานของความร่วมมืออาเซียน 6
โครงสร้างของอาเซียน 7
กฎบัตรอาเซียน 9
ประชาคมอาเซียน 10
ปฏิญญาชะอำ-หัวหินว่าด้วยการเสริมสร้างความร่วมมือด้านการศึกษา 14
ตอนที่ 2 นโยบายการขับเคลื่อนการศึกษาสู่ประชาคมอาเซียน 17
ตอนที่ 3 บทบาท หน้าที่ และแนวทางการดำเนินงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

ในการขับเคลื่อนสถานศึกษาสู่ประชาคมอาเซียน 27
บทบาท หน้าที่ และแนวทางการดำเนินงานของสำนักงานคณะกรรมการ
การศึกษาขั้นพื้นฐาน 28
บทบาท หน้าที่ และแนวทางการดำเนินงานของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา 29
บทบาท หน้าที่ และแนวทางการดำเนินงานของโรงเรียนที่เป็นศูนย์อาเซียนศึกษา 29
บทบาทและหน้าที่ของโรงเรียนทั่วไป 31
บทบาทและหน้าที่ของชุมชนหรือหน่วยงานอื่น ๆ 33
การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาที่เน้นอาเซียน 33
การจัดการเรียนรู้เกี่ยวกับอาเซียน 35
สื่อการเรียนรู้และแหล่งการเรียนรู้เกี่ยวกับประชาคมอาเซียน 36
ตัวอย่างการจัดการเรียนรู้ 40
ตอนที่ 4 การขับเคลื่อนการพัฒนาสู่ประชาคมอาเซียน: กรณีศึกษา
“โครงการพัฒนาสู่ประชาคมอาเซียน: Spirit of ASEAN” 56
ตอนที่ 5 การขับเคลื่อนการพัฒนาสู่ประชาคมอาเซียน: กรณีศึกษา

“โครงการโรงเรียนคู่พัฒนาระหว่างโรงเรียนมัธยมศึกษา
ของประเทศไทยกับประเทศสาธารณรัฐอินโดนีเซีย” 76
บรรณานุกรม 92
รายชื่อคณะผู้จัดทำ 94
ตอนที่ 1
ข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับอาเซียน

กำเนิดอาเซียน
อาเซียน หรือสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Association of Southeast

Asian Nations: ASEAN) ก่อตั้งขึ้นโดยปฏิญญากรุงเทพฯ (The Bangkok Declaration) หรือ “ปฏิญญา
อาเซียน” (ASEAN Declaration) ที่พระราชวังสราญรมย์ ประเทศไทย เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2510

เพื่อส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนในด้านเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม วิทยาศาสตร์

การเกษตร อุตสาหกรรม การคมนาคม รวมทั้งยกระดับรายได้ ความเป็นอยู่ของประชาชนเพื่อวาง
รากฐานความรุ่งเรืองให้กับอาเซียน โดยมีสมาชิกผู้ก่อตั้ง 5 ประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ได้แก่ ไทย อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และสิงคโปร์ ซึ่งลงนามโดยรัฐมนตรีจาก 5 ประเทศ ได้แก่
นายอาดัม มาลิค (รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศอินโดนีเซีย) นายตุน อับดุล ราซัค บินฮุสเซน

(รองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพัฒนาการแห่งชาติ
มาเลเซีย) นายนาร์ซิโซ รามอส (รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศฟิลิปปินส์) นายเอส ราชารัตนัม

(รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสิงคโปร์) และพันเอก (พิเศษ) ดร.ถนัด คอมันตร์ (รัฐมนตรี
ว่าการกระทรวงการต่างประเทศไทย)

การขับเคลื่อนการศึกษาสู่ประชาคมอาเซียน 
เป้าหมายและวัตถุประสงค์ ในการก่อตั้งอาเซียน
ปฏิญญาอาเซียนระบุวัตถุประสงค์สำคัญ 7 ประการของการก่อตั้งอาเซียนไว้ดังนี้
1. ส่งเสริมความร่วมมือและความช่วยเหลือซึ่งกันและกันในทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม
เทคโนโลยี วิทยาศาสตร์ และการบริหาร
2. ส่งเสริมสันติภาพและความมั่นคงส่วนภูมิภาค
3. เสริมสร้างความเจริญรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจ พัฒนาการทางวัฒนธรรมในภูมิภาค
4. ส่งเสริมให้ประชาชนในอาเซียนมีความเป็นอยู่และคุณภาพชีวิตที่ดี
5. ให้ ค วามช่ ว ยเหลื อ ซึ ่ ง กั น และกั น ในรู ป ของการฝึ ก อบรมและการวิ จ ั ย และส่ ง เสริ ม

การศึกษาด้านเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
6. เพิ ่ ม ประสิ ท ธิ ภ าพของการเกษตรและอุ ต สาหกรรม การขยายการค้ า ตลอดจน

การปรับปรุงการขนส่งและการคมนาคม
7. เสริมสร้างความร่วมมืออาเซียนกับประเทศภายนอก องค์การความร่วมมือแห่งภูมิภาค

อื่น ๆ และองค์การระหว่างประเทศ

 การขับเคลื่อนการศึกษาสู่ประชาคมอาเซียน
จากเป้าหมายและวัตถุประสงค์ดังกล่าว อาเซียนได้แสดงบทบาทในการส่งเสริมความเข้าใจ
อันดีต่อกันระหว่างประเทศในภูมิภาค การส่งเสริมสันติภาพ เสถียรภาพและความมั่นคงปลอดภัย

ทางการเมือง การสร้างสรรค์การเจริญเติบโตทางด้านเศรษฐกิจ การพัฒนาทางสังคมและวัฒนธรรม

การกิ น ดี อ ยู ่ ด ี บ นพื ้ น ฐานของความเสมอภาคและผลประโยชน์ ร ่ ว มกั น จนเป็ น ที ่ ป ระจั ก ษ์ แ ก่

นานาประเทศและนำไปสู่การขยายสมาชิกภาพ โดย บรูไน ดารุสซาลาม เข้าเป็นสมาชิกในลำดับที่ 6

เมื่อวันที่ 7 มกราคม 2527 สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม เข้าเป็นสมาชิกในลำดับที่ 7 เมื่อวันที่ 28
กรกฎาคม 2538 สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวและสหภาพเมียนมาร์ เข้าเป็นสมาชิกพร้อมกัน

เมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม 2540 และราชอาณาจักรกัมพูชา เข้าเป็นสมาชิกเมื่อวันที่ 30 เมษายน 2542



ทำให้อาเซียนมีสมาชิกรวมทั้งหมด 10 ประเทศ













นโยบายในการดำเนินงานของอาเซียนจะเป็นผลมาจากการประชุมหารือในระดับหัวหน้า
รัฐบาล รัฐมนตรี และเจ้าหน้าที่อาวุโสอาเซียน ทั้งนี้ การประชุมสุดยอด (ASEAN Summit) หรือ

การประชุมของผู้นำประเทศสมาชิกอาเซียนเป็นการประชุมระดับสูงสุดเพื่อกำหนดแนวนโยบายในภาพรวม

และเป็นโอกาสที่ประเทศสมาชิกจะได้ร่วมกันประกาศเป้าหมายและแผนงานของอาเซียนในระยะยาว
ซึ ่ ง จะปรากฏเป็ น เอกสารในรู ป แบบต่ า ง ๆ เช่ น แผนปฏิ บ ั ต ิ ก าร (Action Plan) แถลงการณ์ ร ่ ว ม

(Joint Declaration) ปฏิญญา (Declaration) ความตกลง (Agreement) หรืออนุสัญญา (Convention)

ส่ ว นการประชุ ม ในระดั บ รั ฐ มนตรี แ ละเจ้ า หน้ า ที ่ อ าวุ โ สอาเซี ย น จะเป็ น การประชุ ม เพื ่ อ พิ จ ารณา

ทั้งนโยบายในภาพรวมและนโยบายเฉพาะด้าน

การขับเคลื่อนการศึกษาสู่ประชาคมอาเซียน 
สัญลักษณ์ของอาเซียน
ตราสัญลักษณ์





สัญลักษณ์ของอาเซียนเป็นรูปรวงข้าวสีเหลือง 10 รวงมัดรวมกัน หมายถึง การที่ประเทศ

ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ทั้ง 10 ประเทศรวมกันเพื่อมิตรภาพและความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน
อยู่ในพื้นที่วงกลม สีแดง สีขาว และสีน้ำเงิน ซึ่งแสดงถึงความเป็นเอกภาพ มีตัวอักษรคำว่า “asean”
สีน้ำเงิน อยู่ใต้ภาพ อันแสดงถึงความมุ่งมั่นที่จะทำงานร่วมกันเพื่อความมั่นคง สันติภาพ เอกภาพ

และความก้าวหน้าของประเทศสมาชิกอาเซียน สีทั้งหมดที่ปรากฏในสัญลักษณ์ของอาเซียนเป็นสีสำคัญ

ที่ปรากฏในธงชาติของแต่ละประเทศสมาชิกอาเซียน
สีน้ำเงิน หมายถึง สันติภาพและเสถียรภาพ
สีแดง หมายถึง ความกล้าหาญและความก้าวหน้า
สีขาว หมายถึง ความบริสุทธิ์
สีเหลือง หมายถึง ความเจริญรุ่งเรือง
ธงของอาเซียน






ธงอาเซียน แสดงถึง เสถียรภาพ สันติภาพ ความสามัคคีและพลวัตของอาเซียน สีของธง
ได้แก่ น้ำเงิน แดง ขาว และเหลือง ซึ่งแสดงถึงสีหลักในธงชาติของบรรดาประเทศสมาชิกอาเซียนทั้งหมด
น้ำเงิน แสดงถึง สันติภาพและเสถียรภาพ แดง บ่งชี้ความกล้าหาญและความก้าวหน้า

ขาว แสดงความบริสุทธิ์ เหลือง เป็นสัญลักษณ์ของความเจริญรุ่งเรือง
รวงข้าว แสดงถึง ความใฝ่ฝันของบรรดาผู้ก่อตั้งอาเซียน ให้มีอาเซียนที่ประกอบด้วยบรรดา
ประเทศทั้งหมดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ผูกพันกันอย่างมีมิตรภาพและเป็นน้ำหนึ่งใจเดียว
วงกลม แสดงถึง เอกภาพของอาเซียน
 การขับเคลื่อนการศึกษาสู่ประชาคมอาเซียน
ภาษาที่ใช้ในการทำงานของอาเซียน
ภาษาอังกฤษ
อัตลักษณ์ของอาเซียน
อาเซียนต้องส่งเสริมอัตลักษณ์ร่วมกันของตนเองและความรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งในหมู่
ประชาชนของตน เพื่อให้บรรลุชะตา เป้าหมาย และคุณค่าร่วมกันของอาเซียน
คำขวัญของอาเซียน
“One Vision, One Identity, One Community”
“หนึ่งวิสัยทัศน์ หนึ่งอัตลักษณ์ หนึ่งประชาคม”
วันอาเซียน
วันที่ 8 สิงหาคม เป็นวันอาเซียน
เพลงประจำอาเซียน
เพลง The ASEAN Way เป็ น บทเพลงประจำอาเซี ย นอย่ า งเป็ น ทางการ แต่ ง โดย

นายกิตติคุณ สุดประเสริฐ (ทำนองและเรียบเรียง) นายสำเภา ไตรอุดม (ทำนอง) และนางพยอม วลัยพัชรา

(เนื้อร้อง) จากประเทศไทย เพลงนี้ได้รับการคัดเลือกเป็นเพลงประจำอาเซียน เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน
2551 จากผลงานเพลงที่เข้าประกวดทั้งหมด 99 เพลง จากประเทศสมาชิกอาเซียนทั้ง 10 ประเทศ
เนื้อร้องภาษาอังกฤษ คำแปลไม่เป็นทางการ เนื้อร้องภาษาไทยเป็นทางการ
Raise our flag high, sky high. ชูธงเราให้สูงสุดฟ้า พลิ้วลู่ลม โบกสะบัด
Embrace the pride in our heart. โอบเอาความภาคภูมิไว้ในใจเรา ใต้หมู่ธงปลิวไสว
ASEAN we are bonded as one. อาเซียนเราผูกพันเป็นหนึ่ง สัญญาณแห่งสัญญาทางใจ
Look’in out to the world. มองมุ่งไปยังโลกกว้าง วันที่เรามาพบกัน
For peace our goal from the very start สันติภาพ คือเป้าหมายแรกเริ่ม อาเซียนเป็นหนึ่งดังที่เราปรารถนา
And prosperity to last. ความเจริญ คือปลายทางสุดท้าย เราพร้อมเดินหน้าไปตรงนั้น
We dare to dream เรากล้าฝัน หล่อหลอมจิตใจ
We care to share. และใส่ใจต่อการแบ่งปัน ให้เป็นหนึ่งเดียว
Together for ASEAN ร่วมกันเพื่ออาเซียน อาเซียนยึดเหนี่ยวสัมพันธ์
We dare to dream เรากล้าฝัน ให้สังคมนี้ มีแต่แบ่งปัน
We care to share และใส่ใจต่อการแบ่งปัน เศรษฐกิจมั่นคงก้าวไกล
For it’s the way of ASEAN นี่คือวิถีอาเซียน

การขับเคลื่อนการศึกษาสู่ประชาคมอาเซียน 
หลักการพื้นฐานของความร่วมมืออาเซียน
ประเทศสมาชิกอาเซียนทั้ง 10 ประเทศ ได้ยอมรับในการปฏิบัติตามหลักการพื้นฐานในการ
ดำเนินความสัมพันธ์ระหว่างกัน ซึ่งปรากฏอยู่ในสนธิสัญญาไมตรีและความร่วมมือในภูมิภาคเอเชีย
ตะวันออกเฉียงใต้ (Treaty of Amity and Cooperation in Southeast Asia: TAC) และกฎบัตรอาเซียน

ซึ่งเป็นกฎหมายสูงสุดของอาเซียนที่มีผลบังคับใช้เมื่อกลางเดือนธันวาคม 2551 ประกอบด้วย
- การเคารพซึ่งกันและกันในเอกราช อธิปไตย ความเท่าเทียม บูรณาการแห่งดินแดน

และเอกลักษณ์ประจำชาติของทุกชาติ
- สิทธิของทุกรัฐในการดำรงอยู่โดยปราศจากจากการแทรกแซง การโค่นล้มอธิปไตย

หรือการบีบบังคับจากภายนอก
- หลักการไม่แทรกแซงกิจการภายในซึ่งกันและกัน
- ระงับความแตกต่าง หรือข้อพิพาทโดยสันติวิธี
- การไม่ใช้การขู่บังคับ หรือการใช้กำลัง
- ความร่วมมืออย่างมีประสิทธิภาพระหว่างประเทศสมาชิก
นอกจากหลักการข้างต้นแล้ว ตั้งแต่อดีตจนถึงช่วงก่อนที่กฎบัตรอาเซียนมีผลบังคับใช้
อาเซียนยึดถือหลักการฉันทามติเป็นพื้นฐานของกระบวนการตัดสินใจและกำหนดนโยบายมาโดยตลอด
หรื อ กล่ า วอี ก นั ย หนึ ่ ง คื อ การที ่ อ าเซี ย นจะตกลงกั น ดำเนิ น การใด ๆ ประเทศสมาชิ ก อาเซี ย น

ทั้ง 10 ประเทศ จะต้องเห็นชอบกับข้อตกลงนั้น ๆ ก่อน
การที ่ อ าเซี ย นยึ ด มั ่ น ในหลั ก การต่ า ง ๆ ข้ า งต้ น โดยเฉพาะหลั ก “ฉั น ทามติ ” และ

“การไม่แทรกแซงกิจการภายในซึ่งกันและกัน” หรือที่เรียกว่า “วิถีทางของอาเซียน” (ASEAN’s Way) นั้น

นับว่าเป็นผลดีเพราะเป็นปัจจัยที่ทำให้ประเทศสมาชิกอาเซียน ซึ่งมีความแตกต่างกันเป็นอย่างมาก

ในเรื่องระบบการเมือง วัฒนธรรมและฐานะทางเศรษฐกิจ มีความ “สะดวกใจ” ในการเข้าร่วมเป็นสมาชิก
และดำเนินความร่วมมือในกรอบอาเซียน แต่ในอีกทางหนึ่ง “ฉันทามติ” และ “การไม่แทรกแซง

กิจการภายในซึ่งกันและกัน” ก็ได้รับการวิพากษ์วิจารณ์ในหลายโอกาสว่า เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้
กระบวนการรวมตัวกันของอาเซียนเป็นไปอย่างล่าช้า รวมถึงทำให้อาเซียนขาดความน่าเชื่อถือ
เนื่องจากถูกมองว่า กลไกที่มีอยู่ของอาเซียนล้มเหลวในการจัดการกับปัญหาที่เกิดขึ้นในอาเซียน
อย่างไรก็ดี การยึดถือฉันทามติในกระบวนการตัดสินใจของอาเซียน ได้เริ่มมีความยืดหยุ่นมากขึ้น

หลังจากที่กฎบัตรอาเซียนมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2551 ซึ่งช่วยให้ผู้นำประเทศสมาชิกอาเซียน



พิจารณาหาข้อยุติในเรื่องที่ประเทศสมาชิกไม่มีฉันทามติได้

 การขับเคลื่อนการศึกษาสู่ประชาคมอาเซียน
โครงสร้างของอาเซียน
โครงสร้างของอาเซียนจะประกอบด้วยส่วนสำคัญ ดังนี้
สำนักเลขาธิการอาเซียน (ASEAN Secretariat)
สำนักเลขาธิการอาเซียนได้จัดตั้งขึ้นตามข้อตกลง

ที่ลงนามโดยรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนในการประชุมสุดยอด

อาเซียน ครั้งที่ 1 ในปี พ.ศ. 2519 เพื่อทำหน้าที่ประสานงาน
และดำเนินงานตามโครงการและกิจกรรมต่าง ๆ ของสมาคม
อาเซี ย น และเป็ น ศู น ย์ ก ลางในการติ ด ต่ อ ระหว่ า งสมาคม
อาเซียน คณะกรรมการ ตลอดจนสถาบันต่าง ๆ และรัฐบาล
ของประเทศสมาชิก
สำนั ก เลขาธิ ก ารอาเซี ย นตั ้ ง อยู ่ ท ี ่ ก รุ ง จาการ์ ต า
ประเทศอิ น โดนี เ ซี ย โดยมี ห ั ว หน้ า สำนั ก งานเรี ย กว่ า
“เลขาธิการอาเซียน” โดยจะมีวาระในการดำรงตำแหน่ง 5 ปี
และมีรองเลขาธิการอาเซียน จำนวน 2 คน โดยจะมีวาระ

ในการดำรงตำแหน่ง 3 ปี
เลขาธิ ก ารอาเซี ย นคนปั จ จุ บ ั น คื อ เล เลื อ ง มิ น ห์ (Lê Lúóng Minh) ผู ้ แ ทนจาก

ประเทศเวียดนาม ซึ่งมีวาระดำรงตำแหน่ง 5 ปี (ค.ศ. 2013-2017)
สำนั ก งานอาเซี ย นแห่ ง ชาติ หรื อ กรมอาเซี ย น
(ASEAN National Secretariat)
เป็ น หน่ ว ยงานในกระทรวงการต่ า งประเทศของ
ประเทศสมาชิก ซึ่งแต่ละประเทศได้จัดตั้งขึ้นเพื่อทำหน้าที ่

รับผิดชอบ ประสานงานเกี่ยวกับอาเซียนในประเทศนั้น ๆ และ


ติดตามผลของการดำเนินกิจกรรม/ความร่วมมือต่าง ๆ สำหรับ
ประเทศไทยนั้น ได้มีการจัดตั้งกรมอาเซียนให้มีหน้าที่รับผิดชอบ
ในการปฏิบัติงานด้านอาเซียนดังกล่าว
อาเซียนได้ขยายตัวทั้งจำนวนสมาชิกและขอบเขต
ความร่วมมืออย่างใกล้ชิด ประเทศไทยซึ่งเป็น 1 ใน 5 ประเทศ

ผู้ก่อตั้งอาเซียนได้มีบทบาทสำคัญในการผลักดันให้อาเซียน
เริ่มนโยบาย หรือมาตรการที่เป็นประโยชน์ต่อภูมิภาคและประสิทธิภาพในการดำเนินงานของอาเซียน

มาโดยตลอด รวมทั้งได้ริเริ่มให้อาเซียนรับรองเอกสาร “วิสัยทัศน์อาเซียน 2020” (ASEAN Vision 2020)

การขับเคลื่อนการศึกษาสู่ประชาคมอาเซียน 
ในการประชุมเดือนธันวาคม 2540 ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ บรรดาผู้นำประเทศสมาชิกอาเซียนได้ร่วม
ประกาศ “วิสัยทัศน์อาเซียน 2020” (ASEAN Vision 2020) โดยกำหนดเป้าหมายว่า ภายในปี ค.ศ. 2020
(พ.ศ. 2563) อาเซียนจะมีรูปแบบความร่วมมือที่พัฒนาใกล้ชิดมากขึ้นกว่าเดิม ต่อมาในการประชุม

ผู้นำอาเซียน ครั้งที่ 9 ในเดือนตุลาคม 2546 ที่บาหลี ผู้นำอาเซียนได้ลงนามในปฏิญญาว่าด้วย



ความร่วมมืออาเซียน (Declaration of ASEAN Concord II หรือ Bali Concord II) เพื่อให้เกิดประชาคมอาเซียน

(ASEAN Community) ภายในปี พ.ศ. 2563 (ค.ศ. 2020) โดยจะประกอบด้วย 3 เสาหลัก ได้แก่ ประชาคม
การเมืองและความมั่นคงอาเซียน (ASEAN Political and Security Community-APSC) ประชาคม

เศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community-AEC) และประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน
(ASEAN Socio-Cultural Community-ASCC) ต่ อ มาในการประชุ ม สุ ด ยอดผู ้ น ำอาเซี ย น ครั ้ ง ที ่ 12

ในเดือนมกราคม 2550 ที่เซบู ประเทศฟิลิปปินส์ ผู้นำอาเซียนได้ตกลงให้มีการจัดตั้งประชาคมอาเซียน
ให้แล้วเสร็จเร็วขึ้นเป็นภายในปี พ.ศ. 2558 (ค.ศ. 2015) รวมทั้งจัดโครงสร้างองค์กรของอาเซียน

รองรับภารกิจและพันธกิจ และแปลงสภาพอาเซียนจากองค์กรที่มีการรวมตัวหรือร่วมมือกันแบบหลวม ๆ

เพื่อสร้างและพัฒนามาสู่สภาพการเป็น “นิติบุคคล” ซึ่งเป็นที่มาของการนำหลักการนี้ไปร่างเป็น
“กฎบั ต รอาเซี ย น” ซึ ่ ง ทำหน้ า ที ่ เ ป็ น “ธรรมนู ญ ” การบริ ห ารปกครองกลุ ่ ม ประเทศอาเซี ย น

ทั้ง 10 ประเทศ ซึ่งผนึกกำลังเป็นหนึ่งเดียวกัน ดังปรากฏตามสโลแกนที่ว่า “สิบชาติ หนึ่งประชาคม”

 การขับเคลื่อนการศึกษาสู่ประชาคมอาเซียน
ทั้งนี้ อาจกล่าวได้ว่า เป้าหมายของอาเซียน ได้แก่
● ประเทศสมาชิ ก อาเซี ย นทั ้ ง 10 ประเทศรวมเป็ น ประชาคมเดี ย วกั น ในปี พ.ศ. 2558

(ค.ศ. 2015)
● มี ก ารค้ า เสรี ร ะหว่ า งกั น ไม่ ม ี ก ารเก็ บ ภาษี ศ ุ ล กากร ยกเว้ น สิ น ค้ า อ่ อ นไหวสู ง ได้ แ ก่

ข้ า ว น้ ำ ตาล และสิ น ค้ า อ่ อ นไหว เช่ น ประเทศไทย : กาแฟ มั น ฝรั ่ ง มะพร้ า วแห้ ง ไม้ ต ั ด ดอก

บรูไน : กาแฟ ชา
● เปิดให้มีการเคลื่อนย้ายทุน และการลงทุนอย่างเสรี

● แรงงานมีฝีมือ มีอิสระในการหางานทำ ขณะนี้มีอาชีพ 7 อาชีพที่สามารถเคลื่อนย้าย


หรือทำงานที่ประเทศใดก็ได้ในประเทศสมาชิกอาเซียนทั้ง 10 ประเทศ ได้แก่ แพทย์ ทันตแพทย์



พยาบาล วิศวกร สถาปนิก นักสำรวจ และนักบัญชี
● ภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่ใช้ในการทำงานของอาเซียน

กฎบัตรอาเซียน
ในการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 13 เมื่อปี 2550 ที่ประเทศสิงคโปร์ ผู้นำอาเซียน

ได้ลงนามในกฎบัตรอาเซียน ซึ่งเปรียบเสมือน “ธรรมนูญของอาเซียน” ที่จะวางกรอบทางกฎหมาย

และโครงสร้างองค์กรเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของอาเซียนในการดำเนินการตามวัตถุประสงค์และเป้าหมาย
โดยเฉพาะอย่างยิ่งการขับเคลื่อนการรวมตัวเป็นประชาคมอาเซียนภายในปี พ.ศ. 2558 (ค.ศ. 2015)
ตามที่ผู้นำอาเซียนได้ตกลงกันไว้ โดยวัตถุประสงค์ของกฎบัตรอาเซียน คือ ทำให้อาเซียนเป็นองค์การ

ที่มีประสิทธิภาพ มีประชาชนเป็นศูนย์กลาง และเคารพกฎกติกาในการทำงานมากขึ้น นอกจากนี้

กฎบัตรอาเซียนให้สถานะนิติบุคคลแก่อาเซียนเป็นองค์การระหว่างรัฐบาล (Intergovernmental Organization)
กฎบัตรอาเซียน ประกอบด้วย 13 บท 55 ข้อ มีประเด็นใหม่

ที่แสดงความก้าวหน้าของอาเซียน ได้แก่
1. การจัดตั้งองค์กรสิทธิมนุษยชนของอาเซียน
2. การให้อำนาจเลขาธิการอาเซียนสอดส่องและรายงาน
การทำตามความตกลงของรัฐสมาชิก
3. การจั ด ตั ้ ง กลไกสำหรั บ การระงั บ ข้ อ พิ พ าทต่ า ง ๆ
ระหว่างประเทศสมาชิก
4. การให้ผู้นำเป็นผู้ตัดสินว่าจะดำเนินการอย่างไรต่อรัฐ

ผู้ละเมิดพันธกรณีตามกฎบัตรอาเซียนอย่างร้ายแรง
5. การเปิดช่องให้ใช้วิธีการอื่นในการตัดสินใจได้หากไม่มี
ฉันทามติ

การขับเคลื่อนการศึกษาสู่ประชาคมอาเซียน 
6. การส่งเสริมการปรึกษาหารือกันระหว่างประเทศสมาชิกเพื่อแก้ไขปัญหาที่กระทบต่อ

ผลประโยชน์ร่วม
7. การเพิ่มบทบาทของประธานอาเซียนเพื่อให้อาเซียนสามารถตอบสนองต่อสถานการณ์
ฉุกเฉินได้อย่างทันท่วงที
8. การเปิดช่องทางให้อาเซียนสามารถมีปฏิสัมพันธ์กับองค์กรภาคประชาสังคมมากขึ้น
9. การปรับปรุงโครงสร้างองค์กรให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เช่น ให้มีการประชุมสุดยอด
อาเซียน 2 ครั้งต่อปี จัดตั้งคณะมนตรีเพื่อประสานความร่วมมือในแต่ละ 3 เสาหลัก และการมี

คณะกรรมการผู้แทนถาวรประจำอาเซียนที่กรุงจาการ์ตา เพื่อลดเวลาและค่าใช้จ่ายในการประชุม

ของอาเซียน เป็นต้น
การประกาศใช้
กฎบัตรอาเซียนมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 15 ธันวาคม 2551 กล่าวคือ หลังจากที่ประเทศ
สมาชิกทั้ง 10 ประเทศได้ให้สัตยาบันกฎบัตรอาเซียน และการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 14 ระหว่าง

วันที่ 28 กุมภาพันธ์-1 มีนาคม 2552 ที่จังหวัดเพชรบุรี เป็นการประชุมระดับผู้นำอาเซียนครั้งแรก

หลังจากกฎบัตรอาเซียน มีผลบังคับใช้






ประชาคมอาเซียน
ประชาคมอาเซียน (ASEAN Community) เป็นเป้าหมายของการรวมตัวของประเทศสมาชิก
อาเซียน เพื่อเพิ่มอำนาจการต่อรองและขีดความสามารถในการแข่งขันในเวทีระหว่างประเทศในทุกด้าน
รวมถึ ง ความสามารถในการรั บ มื อ กั บ ปั ญ หาใหม่ ๆ ระดั บ โลก ที ่ ส ่ ง ผลกระทบต่ อ ภู ม ิ ภ าค เช่ น

โรคระบาด การก่อการร้ายหรืออาชญากรรมข้ามชาติ ภัยพิบัติทางธรรมชาติ ปัญหาสิ่งแวดล้อม ภาวะ
โลกร้อน และความเสี่ยงที่อาจเกิดจากการไม่สามารถแข่งขันทางเศรษฐกิจกับประเทศอื่น ๆ ประชาคม
อาเซียน ประกอบด้วยความร่วมมือ 3 เสาหลัก ซึ่งเกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน ได้แก่ ประชาคมการเมือง

และความมั่นคงอาเซียน (ASEAN Political and Security Community-APSC) ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
(ASEAN Economic Community-AEC) และประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (ASEAN Socio-Cultural
Community-ASCC) โดยเสาหลักแต่ละด้านมีวัตถุประสงค์ ดังนี้

10 การขับเคลื่อนการศึกษาสู่ประชาคมอาเซียน
1. ประชาคมการเมื อ งและความมั่ น คงอาเซี ย น (ASEAN Political and Security
Community–APSC)
อาเซี ย นมุ ่ ง ส่ ง เสริ ม ความร่ ว มมื อ ในด้ า นการเมื อ งและความมั ่ น คง เพื ่ อ เสริ ม สร้ า ง

และธำรงไว้ซึ่งสันติภาพและความมั่นคงของภูมิภาค เพื่อให้ประเทศในภูมิภาคอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข

และสามารถแก้ไขปัญหาและความขัดแย้งโดยสันติวิธี อาเซียนจึงได้จัดทำแผนงานการจัดตั้งประชาคม
การเมื อ งและความมั ่ น คงอาเซี ย น (ASEAN Political-Security Community Blueprint) โดยเน้ น

ใน 3 ประการ คือ
1) การมีกฎเกณฑ์และค่านิยมร่วมกัน ครอบคลุมถึงกิจกรรมต่าง ๆ ที่จะร่วมกันทำ

เพื่อสร้างความเข้าใจในระบบสังคม วัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ที่แตกต่างของประเทศสมาชิก ส่งเสริม

พัฒนาการทางการเมืองไปในทิศทางเดียวกัน เช่น หลักการประชาธิปไตย การส่งเสริมและคุ้มครอง



สิทธิมนุษยชน การสนับสนุนการมีส่วนร่วมของภาคประชาสังคม การต่อต้านการทุจริต การส่งเสริม
หลักนิติธรรมและธรรมาภิบาล เป็นต้น
2) ส่งเสริมความสงบสุขและรับผิดชอบร่วมกันในการรักษาความมั่นคงสำหรับประชาชน
ที่ครอบคลุมในทุกด้าน ครอบคลุมความร่วมมือเพื่อเสริมสร้างความมั่นคงในรูปแบบเดิม มาตรการ

สร้างความไว้เนื้อเชื่อใจและการระงับข้อพิพาทโดยสันติเพื่อป้องกันสงคราม และให้ประเทศสมาชิก
อาเซียนอยู่ด้วยกันโดยสงบสุขและไม่มีความหวาดระแวง และขยายความร่วมมือเพื่อต่อต้านภัยคุกคาม

รูปแบบใหม่ เช่น การต่อต้านการก่อการร้าย อาชญากรรมข้ามชาติต่าง ๆ เช่น ยาเสพติด การค้ามนุษย์
ตลอดจนการเตรียมความพร้อมเพื่อป้องกันและจัดการภัยพิบัติและภัยธรรมชาติ
3) การมีพลวัตและปฏิสัมพันธ์กับโลกภายนอก เพื่อเสริมสร้างบทบาทของอาเซียน

ในความร่วมมือระดับภูมิภาค เช่น กรอบอาเซียน+3 กับจีน ญี่ปุ่น สาธารณรัฐเกาหลี (เกาหลีใต้)

และการประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออก ตลอดจนความสัมพันธ์ที่เข้มแข็งกับมิตรประเทศ และองค์การ
ระหว่างประเทศ เช่น สหประชาชาติ
2. ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community–AEC)
อาเซียนจะรวมตัวเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนภายในปี พ.ศ. 2558 โดยมีเป้าหมาย
ให้อาเซียนมีตลาดและฐานการผลิตเดียวกัน และมีการเคลื่อนย้ายสินค้า บริการ การลงทุน เงินทุน

และแรงงานมี ฝ ี ม ื อ อย่ า งเสรี อาเซี ย นได้ จ ั ด ทำแผนงานการจั ด ตั ้ ง ประชาคมเศรษฐกิ จ อาเซี ย น

(ASEAN Economic Community Blueprint) ซึ่งเป็นแผนงานบูรณาการการดำเนินงานในด้านเศรษฐกิจ

เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ 4 ด้าน คือ
1) การเป็นตลาดและฐานการผลิตเดียว (Single Market and Production Base) โดยจะมี
การเคลื่อนย้ายสินค้า บริการ การลงทุน และแรงงานมีฝีมืออย่างเสรี และการเคลื่อนย้ายเงินทุน

อย่างเสรีมากขึ้น รวมทั้งการส่งเสริมการรวมกลุ่มสาขาสำคัญของอาเซียนให้เป็นรูปธรรม โดยได้กำหนด

การขับเคลื่อนการศึกษาสู่ประชาคมอาเซียน 11
เป้าหมายเวลาที่จะค่อย ๆ ลด หรือยกเลิกอุปสรรคระหว่างกันเป็นระยะ ทั้งนี้ กำหนดเป้าหมาย

ให้ลดภาษีสินค้าเป็น 0% และลดหรือเลิกมาตรการที่มิใช่ภาษี
2) การสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจของอาเซียน โดยให้ความ
สำคัญกับประเด็นนโยบายที่จะช่วยส่งเสริมการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจ เช่น นโยบายการแข่งขัน

การคุ้มครองผู้บริโภค สิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ นโยบายภาษี และการพัฒนา

โครงสร้างพื้นฐาน (การเงิน การขนส่ง เทคโนโลยีสารสนเทศ และพลังงาน)
3) การพัฒนาเศรษฐกิจอย่างเสมอภาค ให้มีการพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม

(SMEs) และการเสริมสร้างขีดความสามารถผ่านโครงการต่าง ๆ เช่น ข้อริเริ่มเพื่อการรวมตัวของ
อาเซียน (Initiative for ASEAN Integration-IAI) เป็นต้น เพื่อลดช่องว่างการพัฒนาทางเศรษฐกิจระหว่าง
ประเทศสมาชิก
4) การบูรณาการเข้ากับเศรษฐกิจโลก เน้นการปรับประสานนโยบายเศรษฐกิจของ
อาเซี ย นกั บ ประเทศภายนอกภูมิภาค เพื่อให้อาเซียนมีท่าทีร่วมกันอย่างชัดเจน เช่น การจัดทำ

เขตการค้าเสรีของอาเซียนกับประเทศคู่เจรจาต่าง ๆ เป็นต้น รวมทั้งส่งเสริมการสร้างเครือข่าย

ในด้านการผลิต/จำหน่ายภายในภูมิภาคให้เชื่อมโยงกับเศรษฐกิจโลก
ในการประชุ ม สุ ด ยอดอาเซี ย นในปี พ.ศ. 2546 ผู ้ น ำอาเซี ย นได้ อ อกแถลงการณ์

Bali Concord II เห็นชอบให้มีการรวมตัวไปสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ภายในปี พ.ศ.
2563 และให้เร่งรัดการรวมกลุ่มเพื่อเปิดเสรีสินค้าและบริการสำคัญ 11 สาขา (Priority Sectors) ได้แก่
การท่องเที่ยว การบิน ยานยนต์ ผลิตภัณฑ์ไม้ ผลิตภัณฑ์ยาง สิ่งทอ อิเล็กทรอนิกส์ สินค้าเกษตร

สินค้าประมง เทคโนโลยีสารสนเทศ (E-ASEAN) และสุขภาพ ต่อมาอาเซียนมีความจำเป็นที่จะต้องเร่งรัด
การรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจภายใน โดยกำหนดให้ปี พ.ศ. 2553 เป็นเป้าหมายในการรวมตัวของสินค้า
และบริการ แต่ให้มีการผ่อนปรนสำหรับกัมพูชา ลาว พม่า และเวียดนาม เพื่อเสริมสร้างขีดความ
สามารถในการแข่งขันของอาเซียน และสร้างให้อาเซียนเป็นศูนย์กลางภายในภูมิภาคคานอำนาจของ
ประเทศอื่น ๆ ภายในภูมิภาคที่มีบทบาทโดดเด่น เช่น จีนและอินเดีย ทั้งนี้ อาเซียนได้ตกลงที่จะเปิด

เสรีด้านการค้าสินค้าและการค้าบริการให้เร็วขึ้นกว่ากำหนดการเดิม ในสาขาสินค้าและบริการสำคัญ
11 สาขา เพื่อเป็นการนำร่องและส่งเสริมการผลิตสินค้า โดยใช้วัตถุดิบและชิ้นส่วนที่ผลิตภายใน
อาเซียนซึ่งเป็นไปตามแผนการดำเนินการเพื่อมุ่งไปสู่การเป็น AEC และมอบหมายให้ประเทศต่าง ๆ

ทำหน้าที่รับผิดชอบเป็นผู้ประสานงานหลัก ดังนี้
ไทย การท่องเที่ยวและการบิน
พม่า สินค้าเกษตรและสินค้าประมง
อินโดนีเซีย ยานยนต์และผลิตภัณฑ์ไม้
มาเลเซีย ผลิตภัณฑ์ยางและสิ่งทอ
ฟิลิปปินส์ อิเล็กทรอนิกส์
สิงคโปร์ เทคโนโลยีสารสนเทศและสุขภาพ
12 การขับเคลื่อนการศึกษาสู่ประชาคมอาเซียน
3. ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (ASEAN Socio–Cultural Community–ASCC)
อาเซียนมุ่งหวังประโยชน์จากการรวมตัวกันเพื่อทำให้ประชาชนมีการอยู่ดีกินดี ปราศจาก
โรคภัยไข้เจ็บ มีสิ่งแวดล้อมที่ดี และมีความรู้สึกเป็นหนึ่งเดียว โดยมีความร่วมมือเฉพาะด้าน (Functional
Cooperation) ภายใต้ ป ระเด็ น เชิ ง สั ง คมและวั ฒ นธรรมที ่ ค รอบคลุ ม ในหลายด้ า น ได้ แ ก่ เยาวชน

การศึกษา และการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ สิทธิมนุษยชน สาธารณสุข วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

สิ ่ ง แวดล้ อ ม สตรี แรงงาน การขจั ด ความยากจน สวั ส ดิ ก ารสั ง คมและการพั ฒ นา วั ฒ นธรรม

และสารนิเทศ กิจการพลเรือน การตรวจคนเข้าเมืองและกงสุล ยาเสพติด และการจัดการภัยพิบัติ

สิ่งแวดล้อม โดยมีคณะทำงานอาเซียนรับผิดชอบการดำเนินความร่วมมือในแต่ละด้าน
อาเซียนได้ตั้งเป้าการจัดตั้งประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียนในปี พ.ศ. 2558 โดย
มุ่งหวังให้เป็นประชาคมที่มีประชาชนเป็นศูนย์กลาง มีสังคมที่เอื้ออาทรและแบ่งปัน ประชากรอาเซียน

มีสภาพความเป็นอยู่ที่ดีและมีการพัฒนาในทุกด้านเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน ส่งเสริม
การใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน รวมทั้งส่งเสริมอัตลักษณ์อาเซียน (ASEAN Identity) เพื่อ

รองรับการเป็นประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน อาเซียนได้จัดทำแผนงานการจัดตั้งประชาคม

สั ง คมและวั ฒ นธรรมอาเซี ย น (ASEAN Socio-Cultural Community Blueprint) ซึ ่ ง ประกอบด้ ว ย

ความร่วมมือใน 6 ด้าน ได้แก่
1) การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
2) การคุ้มครองและสวัสดิการสังคม
3) สิทธิและความยุติธรรมทางสังคม
4) ความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม
5) การสร้างอัตลักษณ์อาเซียน
6) การลดช่องว่างทางการพัฒนา
และเน้นให้มีการส่งเสริมปฏิสัมพันธ์ระหว่างนักเขียน นักคิด และศิลปินในภูมิภาค

ตลอดจนการเสริมสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับอาเซียนในภูมิภาคโดยเฉพาะในระดับประชาชน
ทั ้ ง นี ้ โดยมี ก ลไกการดำเนิ น งาน ได้ แ ก่ การประชุ ม รายสาขา ระดั บ เจ้ า หน้ า ที ่ อ าวุ โ ส

และระดั บ รั ฐ มนตรี และคณะมนตรี ป ระชาคมสั ง คมและวั ฒ นธรรมอาเซี ย น รวมทั ้ ง การประชุ ม

คณะกรรมการด้านสังคมและวัฒนธรรม


การขับเคลื่อนการศึกษาสู่ประชาคมอาเซียน 13
ปฏิญญาชะอำ-หัวหินว่าด้วยการเสริมสร้างความร่วมมือด้านการศึกษา
การประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 15 ที่ชะอำ-หัวหิน ประเทศไทย ผู้นำอาเซียนได้ประกาศ
ปฏิญญาว่าด้วยการเสริมสร้างความร่วมมือด้านการศึกษา เพื่อบรรลุประชาคมอาเซียนที่เอื้ออาทร

และแบ่งปัน ให้การศึกษาเป็นเครื่องมือพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เพื่อการรวมตัวเป็นประชาคมอาเซียน

ที่มีประชาชนเป็นศูนย์กลางและมีความรับผิดชอบทางสังคม เน้นย้ำถึงบทบาทของการศึกษาในการ
สร้างประชาคมอาเซียนภายในปี พ.ศ. 2558 ประกอบด้วย 3 เสาหลัก ดังนี้













1. บทบาทของภาคการศึกษาในเสาการเมืองและความมั่นคงอาเซียน
1) สนับสนุนความเข้าใจและความตระหนักรับรู้เรื่อง กฎบัตรอาเซียน ผ่านหลักสูตร
อาเซียนในโรงเรียน และเผยแพร่กฎบัตรอาเซียนที่แปลเป็นภาษาต่าง ๆ ของชาติในอาเซียน
2) ให้เน้นหลักการแห่งประชาธิปไตยให้มากขึ้น เคารพในสิทธิมนุษยชน และค่านิยม

ในเรื่องแนวทางสันติภาพในหลักสูตรของโรงเรียน
3) สนับสนุนความเข้าใจและความตระหนักรับรู้ในความหลากหลายทางวัฒนธรรม
ประเพณี และความเชื่อในภูมิภาคในหมู่อาจารย์ผ่านการฝึกอบรม โครงการแลกเปลี่ยน และการจัดตั้ง
ข้อมูลพื้นฐานออนไลน์
4) จัดให้มีการประชุมผู้นำโรงเรียนอย่างสม่ำเสมอในฐานะที่เป็นพื้นฐานสำหรับการแลกเปลี่ยน

ข้อคิดเห็นเกี่ยวกับประเด็นในภูมิภาคอาเซียน การสร้างศักยภาพและเครือข่าย รวมทั้งยอมรับการดำรงอยู่

ของเวทีโรงเรียนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Southeast Asia School Principals’ Forum: SEA-SPF)

14 การขับเคลื่อนการศึกษาสู่ประชาคมอาเซียน
2. บทบาทของภาคการศึกษาในเสาเศรษฐกิจอาเซียน
1) พั ฒ นากรอบทั ก ษะภายในประเทศของแต่ ล ะประเทศสมาชิ ก เพื ่ อ ช่ ว ยสนั บ สนุ น

การมุ่งไปสู่การจัดทำการยอมรับทักษะในอาเซียน
2) สนับสนุนการขับเคลื่อนของนักเรียน นักศึกษาให้ดีขึ้น โดยพัฒนาบัญชีรายการระดับ
ภูมิภาคของอุปกรณ์สารนิเทศด้านการศึกษาที่ประเทศสมาชิกอาเซียนจัดหาได้
3) สนั บ สนุ น การเคลื ่ อ นย้ า ยแรงงานมี ฝ ี ม ื อ ในภู ม ิ ภ าคอาเซี ย น โดยผ่ า นกลไก

ความร่วมมือในระดับภูมิภาคระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียน ซึ่งจะต้องดำเนินควบคู่ไปกับความพยายาม

ในการปกป้องและปรับปรุงมาตรฐานทางด้านการศึกษาและวิชาชีพ
4) พั ฒ นามาตรฐานด้ า นอาชี พ บนพื ้ น ฐานของความสามารถในภู ม ิ ภ าคอาเซี ย น

โดยมุ่งไปที่การสนับสนุนการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เพื่อให้สามารถแข่งขันได้ทั้งในระดับภูมิภาค

และระดับโลก และเพื่อสนองตอบต่อความต้องการของภาคอุตสาหกรรมโดยประสานกับกระบวนการ

กรอบการประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านแรงงาน
3. บทบาทของภาคการศึกษาในเสาสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน
1) พัฒนาเนื้อหาสาระร่วมในเรื่องอาเซียนสำหรับโรงเรียน เพื่อใช้เป็นตัวอ้างอิงสำหรับ
การฝึกอบรมและการสอนของครู อาจารย์
2) เสนอให้มีหลักสูตรปริญญาด้านศิลปวัฒนธรรมอาเซียนในมหาวิทยาลัย และเสนอให้ม ี

ภาษาประจำชาติอาเซียนให้เป็นภาษาต่างประเทศวิชาเลือกในโรงเรียน
3) สนับสนุนโครงการระดับภูมิภาคที่มุ่งเน้นที่การส่งเสริมการตระหนักรับรู้เกี่ยวกับ
อาเซียนให้แก่เยาวชน เรารับรองการมีอยู่ของโครงการอื่น ๆ นอกเหนือจากนี้ เช่น การนำเที่ยวโรงเรียน
อาเซียน โครงการแลกเปลี่ยนนักเรียน นักศึกษาอาเซียน การประชุมเยาวชนอาเซียนด้านวัฒนธรรม

การประชุมสุดยอดเยาวชนนักศึกษาระดับมหาวิทยาลัยอาเซียน การประชุมเครือข่ายมหาวิทยาลัย
อาเซียน และการประกวดสุนทรพจน์ระดับเยาวชน
4) สนับสนุนการเรียนรู้ตลอดชีพในประเทศสมาชิกอาเซียน โดยการสนับสนุนการศึกษา
สำหรับทุกคน
5) จัดให้มีการประชุมวิจัยทางด้านการศึกษาอาเซียน เพื่อส่งเสริมความร่วมมือทาง

การวิจัยและพัฒนาในภูมิภาคให้เป็นเวทีสำหรับนักวิจัยจากประเทศสมาชิก เพื่อแลกเปลี่ยนมุมมอง

ในประเด็นและเรื่องที่เกี่ยวข้องของภูมิภาค
6) สนับสนุนความเข้าใจและการตระหนักรับรู้ในประเด็นและเรื่องราวต่าง ๆ เกี่ยวกับ

สิ่งแวดล้อมในภูมิภาคอาเซียน โดยการบูรณาการให้อยู่ในหลักสูตรของโรงเรียน และการมอบรางวัล
โรงเรียนสีเขียวอาเซียน

การขับเคลื่อนการศึกษาสู่ประชาคมอาเซียน 15
7) เฉลิมฉลองวันอาเซียน (วันที่ 8 สิงหาคม) ในโรงเรียน โดยเฉพาะในเดือนสิงหาคม
ผ่านกิจกรรมที่หลากหลาย เช่น การร้องเพลงชาติอาเซียน การจัดการแข่งขันเรื่องประวัติศาสตร์

และวัฒนธรรมอาเซียน การจัดแสดงเครื่องหมายและสัญลักษณ์อื่น ๆ ของอาเซียน การจัดค่าย

เยาวชนอาเซียน เทศกาลเยาวชนอาเซียน และวันเด็กอาเซียน

16 การขับเคลื่อนการศึกษาสู่ประชาคมอาเซียน
ตอนที่ 2
นโยบายการขับเคลื่อนการศึกษาสู่ประชาคมอาเซียน


เราให้ความสำคัญของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในการส่งเสริมความเข้าใจในประชาชนอาเซียน

และสร้างความมั่นใจในการแข่งขันของประชาคมอาเซียนในตลาดโลก ในการนี้

เรานำปฏิญญาชะอำ-หัวหินว่าด้วยความร่วมมือสร้างความเข้มแข็งในการศึกษา

เพื่อให้เกิดการดูแลอาเซียนและสังคมร่วมกัน เพื่อส่งเสริมมาตรฐานในระดับภูมิภาคของสมรรถนะ
ส่งเสริมความคล่องตัวของนักศึกษาในสถาบันการศึกษาในภูมิภาคนี้ รวมทั้งส่งเสริมความตระหนัก

ในอาเซียนทั้ง 3 เสาหลักของประชาคมอาเซียน ด้วยเหตุนี้ เราจึงได้รับความไว้วางใจจากรัฐมนตรี

ที่เกี่ยวข้องในการพัฒนาแผนงาน 5 ปีด้านการศึกษา...




“คำชี้แจงของประธานการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 15 “การส่งเสริมการเชื่อมต่อ

เพิ่มศักยภาพของประชาชน. ชะอำ-หัวหิน, ประเทศไทย 23-25 ตุลาคม 2009”


รัฐบาลไทยได้ร่วมมือกับอาเซียนในการเสริมสร้างความแข็งแกร่งและความเจริญรุ่งเรือง

ในภูมิภาคทั้งทางด้านเศรษฐกิจ การเมืองและความมั่นคง ตลอดจนสังคมและวัฒนธรรมที่สอดคล้อง
กับกฎบัตรอาเซียน และนโยบายของรัฐบาลไทยในการเสริมสร้างความสัมพันธ์อันดีกับประเทศเพื่อนบ้าน

และกลุ ่ ม ประเทศอาเซี ย น โดยใช้ ก ารศึ ก ษาเป็ น กลไกหลั ก ในการขั บ เคลื ่ อ นการพั ฒ นา เพื ่ อ เป็ น

รากฐานสำคัญในการเสริมสร้างความเจริญ

รุ่งเรืองทางด้านเศรษฐกิจ การเมืองและ
ความมั่นคง ตลอดจนสังคมและวัฒนธรรม

ของประเทศ ต่อมาที่ประชุมสุดยอดอาเซียน
ครั้งที่ 15 ได้ให้การรับรองปฏิญญาชะอำ-หัวหิน

การขับเคลื่อนการศึกษาสู่ประชาคมอาเซียน 17
ว่าด้วยการเสริมสร้างความร่วมมือด้านการศึกษาเพื่อบรรลุประชาคมอาเซียนที่เอื้ออาทรและแบ่งปัน
เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนและการพัฒนาภูมิภาคอย่างยั่งยืน และได้กำหนดให้สาขา

การศึกษาเป็นส่วนหนึ่งในการตอบสนองการสร้างประชาคมการเมืองและความมั่นคง เศรษฐกิจ สังคม
และวัฒนธรรม ภายในปี พ.ศ. 2558
การกำหนดให้ “การศึกษาเป็นวาระแห่งชาติ” เพื่อเตรียมคนไทยเข้าสู่ประชาคมอาเซียน
(ASEAN Community) ในปี พ.ศ 2558 มีคำถามที่เกิดขึ้นในขณะนี้คือ ประเทศไทยได้มีการเตรียมการ
อย่างไรในการพัฒนาคนไทยเข้าสู่ประชาคมอาเซียน หากพัฒนาการด้านคุณภาพการศึกษาของชาติ
เป็นไปอย่างล่าช้า จะทำให้ไม่ทันต่อสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงของโลก อาจทำให้ประเทศไทย

เสียโอกาสในการพัฒนาคุณภาพทรัพยากรที่มีค่าที่สุดของประเทศ ทำให้ประเทศเสียเปรียบประเทศ
สมาชิกอาเซียนเมื่อก้าวสู่ประชาคมอาเซียน (ASEAN Community) ในปี พ.ศ. 2558 ในขณะนี้ประเทศ
สมาชิกอาเซียนหลายประเทศมีความพร้อมในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนในปี พ.ศ. 2558 อย่างเต็มตัว
ด้วยนโยบายและการวางแผนการศึกษาให้ประชากรของประเทศได้ศึกษาเรียนรู้ประเทศเพื่อนบ้าน

ในภูมิภาคอาเซียน การสอดแทรกความรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์ ภาษาและวัฒนธรรม

ในหลักสูตรและการเรียนรู้ โดยจัดทำแผนพัฒนาการศึกษาสู่ประชาคมอาเซียน พ.ศ. 2558 เช่น สิงคโปร์
กำหนดพัฒนาสังคมให้เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ เพื่อก้าวสู่การเป็นผู้นำแห่งเอเชีย ด้านศูนย์กลาง

การศึกษาระดับมาตรฐานโลก ตั้งเป้าดึงดูดนักเรียน นักศึกษาจากประเทศต่าง ๆ เข้าศึกษา 66,000 คน
ฟิลิปปินส์วางแผนขยายการศึกษาสำหรับทุกคน มาเลเซียเน้นการพัฒนาระบบการศึกษาที่มีคุณภาพ
โดยเฉพาะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ วิทยาศาสตร์ และภาษาอังกฤษ ส่วนประเทศไทย ลาว กัมพูชา
และเวียดนาม พัฒนาการศึกษาโดยมีแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติรองรับ มีการปฏิรูป

การศึกษาที่เน้นการกระจายโอกาสทางการศึกษา และเน้นคุณภาพการศึกษาสู่สากล
จากการศึกษาข้อมูลต่าง ๆ ของประเทศสมาชิกอาเซียน การศึกษาดูงานต่างประเทศ และ
จากการประชุมผู้บริหารและครูประเทศสมาชิกอาเซียน ระหว่างวันที่ 13-14 ธันวาคม 2554 พบว่า
ประชากรของประเทศสมาชิกอาเซียนสามารถใช้ภาษาที่สองคือ ภาษาอังกฤษ และภาษาที่สามคือ
ภาษาประเทศสมาชิกอาเซียนได้ดี มีการบรรจุการเรียนวิชาภาษาไทยเป็นวิชาเพิ่มเติมในหลักสูตร

การศึกษาและเรียนรู้อย่างจริงจัง เช่น กัมพูชา ลาว เวียดนาม เป็นต้น ประชากรของประเทศเหล่านี้
สามารถฟัง พูด อ่าน และเขียนภาษาไทยได้ ในขณะที่ผู้เรียนของประเทศไทยไม่สามารถสื่อสารภาษา
ของประเทศสมาชิ ก อาเซี ย นเหล่ า นั ้ น ได้ และจากเอกสารสมรรถนะการศึ ก ษาไทยในเวที ส ากล

พ.ศ. 2552 ของสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ หน้า 53-54 ความสามารถ

ในการใช้ ภ าษาอั ง กฤษ (English Proficiency) โดย IMD นำคะแนนเฉลี ่ ย จากการสอบ TOEFL

ผลการจัดอันดับ พ.ศ. 2550 พบว่า ประเทศไทยยังด้อยด้านภาษาอังกฤษได้คะแนนเฉลี่ยเพียง 72

จากคะแนนเต็ม 120 เท่ากับไต้หวัน ซึ่งรั้งท้ายอยู่อันดับ 51 เหนือกว่าจอร์แดน ญี่ปุ่น และกาตาร์

18 การขับเคลื่อนการศึกษาสู่ประชาคมอาเซียน
(อันดับ 53 54 และ 55 ตามลำดับ) ส่วนประเทศเพื่อนบ้านในภูมิภาคเอเชียล้วนได้คะแนนเฉลี่ยสูง

และอันดับดีกว่าประเทศไทยมาก ที่โดดเด่นที่สุดคือ สิงคโปร์ (คะแนนเฉลี่ย 100 อันดับ 3) รองลงมาได้แก่



ฟิลิปปินส์ (คะแนนเฉลี่ย 88 อันดับ 25) มาเลเซีย (คะแนนเฉลี่ย 87 อันดับ 32) อินเดีย (คะแนนเฉลี่ย 84

อันดับ 37) จีนและอินโดนีเซีย (คะแนนเฉลี่ย 78 อันดับ 45 เท่ากัน) และเกาหลี (คะแนนเฉลี่ย 77 อันดับ 48)

และสิ่งหนึ่งที่เห็นได้อย่างเด่นชัด ได้แก่ “การสื่อสาร” ประเทศสมาชิกอาเซียนหลายประเทศมีระบบเครือข่าย

โทรคมนาคมแบบ 3G มาหลายปีแล้ว และกำลังพัฒนาไปสู่ระบบ 4G ในขณะที่ประเทศไทยเพิ่งเริ่มใช้
ระบบ 3G ในบางพื้นที่ของกรุงเทพมหานคร ปริมณฑล และจังหวัดใหญ่ ๆ
ขณะนี้มีเวลาอีกไม่นาน ที่จะเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ประเทศไทยมีการเตรียมตัวอย่างไร
ประชาชนและเยาวชนมีความพร้อมเพียงใดที่จะเป็นสมาชิกที่ดีของประชาคมอาเซียน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง

การเตรียมตัวด้านภาษา วัฒนธรรม ประวัติศาสตร์เชิงบวก และค่านิยมร่วมของประเทศสมาชิก

หรือประเด็นอื่น ๆ ที่สำคัญใน 3 เสาหลัก ซึ่งประเทศไทยเป็นผู้นำในการก่อตั้งประชาคมอาเซียน

และมี ศ ั ก ยภาพที ่ จ ะเป็ น ผู ้ น ำการสร้ า งประชาคมอาเซี ย นให้ เ ข้ ม แข็ ง แต่ จ ากผลสำรวจทั ศ นคติ

และความตระหนักรู้เพื่อก้าวไปสู่ “อาเซียน” ของนักศึกษา จำนวน 2,170 คน จากมหาวิทยาลัยชั้นนำ

ในประเทศสมาชิกอาเซียน พบว่า คนไทยเข้าใจและตื่นตัวในการก้าวสู่ความเป็นประชาคมอาเซียน

ในอันดับท้าย ๆ ของประเทศสมาชิก อย่างไรก็ตาม การศึกษาจะต้องเป็นธงนำการขับเคลื่อนสู่การเป็น
ประชาคมอาเซียน และกลไกความร่วมมือด้านการศึกษาจึงเป็นสิ่งจำเป็นพื้นฐานในการนำอาเซียน
บรรลุสู่ประชาคมอาเซียนทั้ง 3 เสาหลัก









การที่ประเทศไทยจะเข้าสู่ประชาคมอาเซียนในปี พ.ศ. 2558 มีผลได้หรือประโยชน์ และ

ผลกระทบที่ประเทศไทยได้รับจากการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน รวมทั้งมีสิ่งท้าทายต่อการศึกษาของ
ประเทศไทย ดังนี้
ผลได้หรือประโยชน์
1. กลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียนมีประชากรรวมประมาณ 600 ล้านคน เป็นการเพิ่มศักยภาพ
ในการบริโภค และเพิ่มอำนาจในการต่อรองในระดับโลก

การขับเคลื่อนการศึกษาสู่ประชาคมอาเซียน 19
2. การรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจก่อให้เกิดการลดต้นทุนการผลิต หากมีการผลิตมากต้นทุน

ก็จะต่ำลง
3. มีแรงดึงดูดการลงทุนจากประเทศที่อยู่นอกกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียนสูงขึ้น
4. การรวมกลุ่มของประเทศสมาชิกอาเซียนย่อมดีกว่าประเทศเดียว
ผลกระทบ
1. ต้องเตรียมความพร้อมของประชาชนไทยให้ทันและยืดหยุ่นปรับตัวให้รับต่อสถานการณ์

การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว
2. ต้องพัฒนาประชาชนไทยให้มีความสามารถในการใช้ทักษะภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร
เนื่องจากภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่ใช้ในการทำงานของอาเซียน และพัฒนาความสามารถในการใช้
ภาษาของประเทศสมาชิกอาเซียน
3. ต้ อ งสร้ า งความรู ้ ค วามเข้ า ใจทางประวั ต ิ ศ าสตร์ เ ชิ ง บวก และพหุ ว ั ฒ นธรรมให้ แ ก่

ประชาชนไทย เพื่อความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวและลดข้อขัดแย้งในภูมิภาคอาเซียน
4. ต้ อ งผลิ ต บั ณ ฑิ ต ให้ ส ามารถแข่ ง ขั น ได้ ใ นอาเซี ย นอย่ า งเร่ ง ด่ ว น เพื ่ อ เพิ ่ ม โอกาส

ในการทำงาน และรองรับผลกระทบจากการเกิดเสรีในการเคลื่อนย้ายแรงงาน/บริการ คณะกรรมการวิชาชีพ

สภาวิชาชีพ
5. ต้องเพิ่มโอกาสในการเป็นศูนย์กลางการศึกษาในภูมิภาค (Education Hub) โดยอาศัย

ความได้ เ ปรี ย บในเชิ ง ภู ม ิ ศ าสตร์ ข องประเทศไทย แต่ ต ้ อ งเน้ น การพั ฒ นามาตรฐานและคุ ณ ภาพ

การศึกษา
6. ต้องพัฒนาการเรียนรู้ของเยาวชนไทยให้มีความหลากหลาย เหมาะกับสถานการณ์

การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น เน้นการเรียนรู้ในลักษณะของ Learning how to learn การเรียนรู้แบบ Project-


Based Learning (PBL) การเรียนรู้จากชีวิตจริง การเรียนรู้แบบร่วมมือ การแบ่งปันทรัพยากรร่วมกัน

ของประเทศสมาชิกอาเซียน

20 การขับเคลื่อนการศึกษาสู่ประชาคมอาเซียน
สิ่งท้าทายต่อการศึกษาของประเทศไทย
1. การสร้างความรู้ ความเข้าใจ และความตระหนักเกี่ยวกับประชาคมอาเซียนของคน

ในวงการศึกษา
2. การเตรียมความพร้อมในการรวมตัวเป็นประชาคมอาเซียนในปี พ.ศ. 2558 ในด้านต่าง ๆ
เช่น
- ระบบ ระเบียบ กฎหมาย กระบวนการ
- สถาบัน หน่วยงาน สถานศึกษา
- บุคลากร เจ้าหน้าที่ ประชาชน
- การประเมินผลกระทบด้านต่าง ๆ และแนวทางการแก้ไขปัญหา
- ระบบข้อมูลข่าวสารและองค์ความรู้
หน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภายในประเทศและต่างประเทศได้ดำเนินการต่าง ๆ เพื่อขับเคลื่อน

สู่ประชาคมอาเซียน ดังนี้
1. กรมอาเซียน กระทรวงการต่างประเทศ ดำเนินงานร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการจัด
วิทยากร กิจกรรม จัดโครงการอาเซียนสัญจร จัดพิมพ์หนังสือ เอกสารเกี่ยวกับอาเซียนเผยแพร่
2. คณะอนุ ก รรมาธิ ก ารการศึ ก ษาขั ้ น พื ้ น ฐานในคณะกรรมาธิ ก ารการศึ ก ษา วุ ฒ ิ ส ภา

ได้ประชุมพิจารณา และมีข้อเสนอที่เป็นรูปธรรมนำไปสู่การกำหนดนโยบายด้านการศึกษาสู่ประชาคม
อาเซียน ดังนี้
- พัฒนาระบบการศึกษาของประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางทางการศึกษาเฉพาะด้าน
- จัดทำ Road Map เพื่อเตรียมคนไทยสู่ประชาคมอาเซียน มีแผนงาน งบประมาณ
หลักสูตร ทักษะภาษาอังกฤษ เสริมภาษาในประเทศอาเซียน
- จัดตั้งชุมชนอาเซียน ประกอบด้วย ผู้เรียน ผู้สอน ผู้ปกครอง และประชาชน ดำเนินชีวิต

ให้หลอมรวมความคิดอาเซียนเดียว รวมทั้งจัดตั้งศูนย์การศึกษาเพื่ออาเซียนทุกเขตตรวจราชการ

เขตพื้นที่ จังหวัด อำเภอ
- พัฒนาเทคโนโลยีสื่อสารในองค์กรการศึกษา
- เปิดโอกาสให้ภาคเอกชนร่วมจัดการศึกษาสู่สังคมอาเซียน
- เตรียมพลเมืองไทยสู่ประชาคมอาเซียน เพื่อให้สามารถแข่งขันในเวทีประชาคม
อาเซียนได้อย่างเข้มแข็ง ทั้งด้านภาษา ความรู้เศรษฐศาสตร์ การผลิต การลงทุน การค้า การกระจาย
สินค้า การบริโภคสินค้าและบริการ
- แต่งตั้งผู้ช่วยฑูตด้านการศึกษา
3. สำนักงานเลขาธิการรัฐมนตรีศึกษาแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ดำเนินการประสาน
ความร่วมมือระหว่างประเทศสมาชิกในด้านการศึกษา วัฒนธรรมและวิทยาศาสตร์ระดับภูมิภาค และ

การขับเคลื่อนการศึกษาสู่ประชาคมอาเซียน 21
ผลักดันให้เกิดความร่วมมือในอาเซียน จัดทำคู่มือให้ความรู้เกี่ยวกับอาเซียน รวมทั้งศูนย์ภูมิภาคว่าด้วย
การอุดมศึกษา เพื่อให้สามารถโอนย้ายหน่วยกิต และให้ทุนไปอบรม ศึกษา แลกเปลี่ยนตามข้อตกลง
ระหว่างประเทศสมาชิก
4. สำนั ก เลขาธิ ก ารอาเซี ย นร่ ว มกั บ องค์ ก ารเพื ่ อ การพั ฒ นาระหว่ า งประเทศของ
สหรัฐอเมริกา (USAID) ได้ประชุมปฏิบัติการเพื่อจัดทำแผนปฏิบัติการด้านการศึกษา 5 ปี ของอาเซียน
เมื่อวันที่ 4–5 ตุลาคม 2553 ที่กรุงเทพมหานคร และคณะที่ปรึกษา ASEAN-US Technical Assistance
and Training Facility ได้ยกร่างยุทธศาสตร์และข้อเสนอแนะในการดำเนินงานตามแผนการศึกษา 5 ปี

ของอาเซียน 9 ยุทธศาสตร์ ดังนี้
1) การสร้างความตระหนักเกี่ยวกับอาเซียน
2) การเข้าถึงการศึกษาขั้นพื้นฐานภายในปี พ.ศ. 2558 โดยการจัดทำนโยบายและ
ยุทธศาสตร์ของภูมิภาค การสนับสนุนกิจกรรมและเป้าหมายการศึกษาเพื่อปวงชนในอาเซียน
3) คุณภาพของมาตรฐานการเรียนการสอนและการพัฒนาวิชาชีพครู
4) การเคลื่อนย้ายข้ามพรมแดนของนักเรียน ครู และบุคลากรทางการศึกษา
5) เครือข่ายและหุ้นส่วนภาคประชาชน
6) การเรียนรู้ตลอดชีวิต โดยเฉพาะการอาชีวศึกษาและการพัฒนาฝีมือแรงงาน
7) ความเสมอภาคทางเพศ
8) การฝึกอบรมภาษาอังกฤษและภาษาอื่น ๆ ในภูมิภาค
9) การสนับสนุนการดำเนินงานอื่น ๆ ของภาคส่วนที่เกี่ยวข้องกับด้านการศึกษา
กระทรวงศึกษาธิการได้กำหนดบทบาทการดำเนินงานด้านต่างประเทศเชิงรุก โดยเน้น
การกระชับความสัมพันธ์และการขยายความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้าน
และในภู ม ิ ภ าคเอเชี ย ภายใต้ ก รอบความร่ ว มมื อ ด้ า นต่ า ง ๆ

โดยเฉพาะกรอบความร่วมมือด้านการศึกษา เนื่องจากการศึกษา

เป็ น รากฐานสำคั ญ ในการขั บ เคลื ่ อ นความเจริ ญ รุ ่ ง เรื อ ง

ของประเทศไทยและภูมิภาค ความร่วมมือดังกล่าวเป็นไป

ในทิศทางที่สอดคล้องกับแนวทางการปฏิรูปการศึกษาของ
ประเทศสมาชิกอาเซียน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการขยายโอกาส
ทางการศึกษา การยกระดับคุณภาพทางการศึกษา การใช้
โครงสร้างพื้นฐานอำนวยความสะดวกและเทคโนโลยีการสื่อสาร
ตลอดจนการบริ ห ารจั ด การทางการศึ ก ษาในเชิ ง คุ ณ ภาพ เพื ่ อ

สร้างประชาคมอาเซียนดินแดนแห่งความสงบสุข สันติภาพ และมีความเจริญรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจ

อย่างยั่งยืน ทั้งนี้ กระทรวงศึกษาธิการได้กำหนดนโยบายและยุทธศาสตร์ เพื่อขับเคลื่อนความร่วมมือ



ด้านการศึกษาให้บรรลุตามเป้าหมายการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนในปี พ.ศ. 2558 ดังนี้

22 การขับเคลื่อนการศึกษาสู่ประชาคมอาเซียน
1. นโยบายกระทรวงศึกษาธิการในการดำเนินการด้านการศึกษาตามปฏิญญาชะอำ-หัวหิน
ว่าด้วยการเสริมสร้างความร่วมมือด้านการศึกษา เพื่อบรรลุประชาคมอาเซียนที่เอื้ออาทรและแบ่งปัน
จากการประชุมคณะกรรมการระดับชาติ เพื่อขับเคลื่อนการศึกษาในอาเซียนสู่การบรรลุ

เป้าหมายการจัดตั้งประชาคมอาเซียนในปี พ.ศ. 2558 เมื่อวันที่ 23 สิงหาคม 2553 ณ กระทรวง
ศึกษาธิการ โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการเป็นประธาน ที่ประชุมได้ให้ความเห็นชอบ

ร่างนโยบายเพื่อดำเนินงานตามปฏิญญาชะอำ-หัวหิน ดังนี้
นโยบายที่ 1 การเผยแพร่ความรู้ ข้อมูลข่าวสาร และเจตคติที่ดีเกี่ยวกับอาเซียน เพื่อสร้าง

ความตระหนักและเตรียมความพร้อมของครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา นักเรียน นักศึกษา
และประชาชน เพื่อก้าวเข้าสู่ประชาคมอาเซียนภายในปี พ.ศ. 2558
นโยบายที่ 2 การพัฒนาศักยภาพของนักเรียน นักศึกษา
และประชาชนให้มีทักษะที่เหมาะสมเพื่อเตรียมความพร้อมในการ
ก้าวสู่ประชาคมอาเซียน เช่น ความรู้ภาษาอังกฤษ ภาษาเพื่อนบ้าน
เทคโนโลยี ส ารสนเทศ ทั ก ษะและความชำนาญการที ่
สอดคล้องกับการปรับตัวและเปลี่ยนแปลงทางอุตสาหกรรม
และการเพิ่มโอกาสในการหางานทำของประชาชน รวมทั้ง

การพิจารณาแผนผลิตกำลังคน
นโยบายที่ 3 การพัฒนามาตรฐานการศึกษาเพื่อส่งเสริม

การหมุนเวียนของนักศึกษาและครู อาจารย์ในอาเซียน รวมทั้งเพื่อให้มี

การยอมรับในคุณสมบัติทางวิชาการร่วมกันในอาเซียนการส่งเสริมความร่วมมือระหว่างสถาบัน

การศึกษาต่าง ๆ และการแลกเปลี่ยนเยาวชน การพัฒนาระบบการศึกษาทางไกล ซึ่งช่วยสนับสนุน

การศึกษาตลอดชีวิต การส่งเสริมและปรับปรุงการศึกษาด้านอาชีวศึกษาและการฝึกอบรมทางอาชีพ

ทั้งในขั้นต้นและขั้นต่อเนื่อง ตลอดจนส่งเสริมและเพิ่มพูนความร่วมมือระหว่างสถาบันการศึกษาของ
ประเทศสมาชิกอาเซียน
นโยบายที่ 4 การเตรียมความพร้อมเพื่อเปิดเสรีการศึกษาในอาเซียนเพื่อรองรับการก้าวสู่
ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ประกอบด้วย การจัดทำความตกลงยอมรับร่วมด้านการศึกษา การพัฒนา
ความสามารถ ประสบการณ์ในสาขาวิชาชีพสำคัญต่าง ๆ เพื่อรองรับการเปิดเสรีการศึกษา ควบคู่กับ
การเปิดเสรีด้านการเคลื่อนย้ายแรงงาน
นโยบายที่ 5 การพัฒนาเยาวชนเพื่อเป็นทรัพยากรสำคัญในการก้าวสู่ประชาคมอาเซียน
2. ยุทธศาสตร์ของกระทรวงศึกษาธิการ ปี พ.ศ. 2555-2558 ยุทธศาสตร์ที่ 1 การปรับตัว

เข้าสู่ประชาคมอาเซียน/ประชาคมโลก
- ส่งเสริมการพัฒนาประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางการศึกษา การวิจัยและพัฒนา และ

การฝึกอบรมนานาชาติในภูมิภาค
การขับเคลื่อนการศึกษาสู่ประชาคมอาเซียน 23
- ส่งเสริมความร่วมมือด้านการศึกษากับประเทศต่าง ๆ และองค์กรระหว่างประเทศ
- แลกเปลี่ยนองค์ความรู้ระหว่างผู้เรียน ครู อาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา
- กำหนดมาตรการเชิงรับและรุกเพื่อรองรับการเปิดเสรีทางการค้าและบริการด้านการศึกษา
- ส่งเสริมการเรียนการสอนภาษาสากลเป็นภาษาที่สอง ตั้งแต่ระดับขั้นพื้นฐาน และการเรียนรู้

ภาษาที่สาม
- ส่งเสริมให้สถาบันการศึกษาจัดหลักสูตรนานาชาติ หรือหลักสูตรสมทบร่วมกับสถาบัน
ต่างประเทศ
นอกจากนี้ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ได้กำหนดจุดเน้นของ
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปี พ.ศ. 2554 ไว้ในข้อที่ 8 นักเรียน ครู และบุคลากร
ทางการศึกษามีความพร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเซียน มีภูมิคุ้มกันต่อการเปลี่ยนแปลงในสังคมพหุวัฒนธรรม
(ASEAN Community) ดังนั้น เพื่อให้สอดรับนโยบายดังกล่าว สำนักงานคณะกรรมการการศึกษา

ขั้นพื้นฐานได้ดำเนินการ ดังนี้
การขับเคลื่อนโรงเรียนสู่ประชาคมอาเซียนของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานได้มอบหมายให้สำนักวิชาการและมาตรฐาน

การศึกษาดำเนินโครงการพัฒนาสู่ประชาคมอาเซียน: Spirit of ASEAN เพื่อเตรียมเยาวชนไทย

ให้มีความพร้อมในการเป็นสมาชิกที่ดีของประชาคมอาเซียน สามารถติดต่อสื่อสารและอยู่ร่วมกันได้

บนพื้นฐานของความเสมอภาคและผลประโยชน์ร่วมกัน โดยพัฒนาโรงเรียนประถมศึกษาและมัธยมศึกษา

จากทุกภูมิภาค จำนวน 68 โรง แบ่งเป็นโรงเรียน 3 รูปแบบ ได้แก่
1. Sister School จำนวน 30 โรง เป็นโรงเรียนที่จัดการเรียนรู้เกี่ยวกับประชาคมอาเซียน
เน้นการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ เทคโนโลยี และภาษาของประเทศสมาชิกอาเซียนอีก 1 ภาษา

พหุวัฒนธรรม
2. Buffer School จำนวน 24 โรง เป็นโรงเรียนที่จัดการเรียนรู้เกี่ยวกับประชาคมอาเซียน
เน้ น การเรี ย นการสอนภาษาของประเทศอาเซี ย น 1 ภาษา (ภาษาของประเทศที ่ ม ี ช ายแดน

ติดที่ตั้งของโรงเรียน เช่น ลาว พม่า กัมพูชา และมาเลเซีย) พหุวัฒนธรรม เทคโนโลยี
โดยพัฒนาให้โรงเรียนทั้ง 2 รูปแบบเป็นศูนย์อาเซียนศึกษา
ที่มีความพร้อมและศักยภาพในการจัดกิจกรรมสร้างความรู ้

ความเข้าใจ และความตระหนัก รวมทั้งจัดการเรียนรู้



สื่อการเรียนรู้ และแหล่งการเรียนรู้เกี่ยวกับประชาคม
อาเซี ยน ซึ่ ง ประกอบด้วยเสาหลัก 3 เสา ได้แก่

เสาหลักประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน
เสาหลักประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน และเสาหลัก
ประชาคมสั ง คมและวั ฒ นธรรมอาเซี ย น เพื ่ อ
เตรียมคนสู่ประชาคมอาเซียนในปี พ.ศ. 2558 และ

24 การขับเคลื่อนการศึกษาสู่ประชาคมอาเซียน
สร้างความเข้มแข็งให้แก่โรงเรียนในโครงการเป็นต้นแบบในการขยายผลให้โรงเรียนทุกโรงทั่วประเทศ

ขับเคลื่อนการพัฒนาสู่ประชาคมอาเซียน สร้างความรู้ ความเข้าใจ และความตระหนักเกี่ยวกับ
ประชาคมอาเซียนให้แก่ผู้เรียน ผู้ปกครอง และประชาชนทั่วไป
3. ASEAN FOCUS SCHOOL จำนวน 14 โรง เป็ น โรงเรี ย นที ่ จ ั ด การเรี ย นรู ้ เ กี ่ ย วกั บ

ประชาคมอาเซียน เน้นการจัดทำหน่วยการเรียนรู้อาเซียนศึกษาในกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา

ศาสนา และวัฒนธรรม กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน และพัฒนาศูนย์อาเซียนศึกษาในโรงเรียน เพื่อเป็น

แหล่งการเรียนรู้เกี่ยวกับประชาคมอาเซียน
นอกจากนี้ สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษาได้ดำเนินการส่งเสริมและสนับสนุน

ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาและมัธยมศึกษา จำนวน 225 เขตพื้นที่ มีความพร้อม

ในการเตรียมบุคลากรและโรงเรียนในเขตพื้นที่สู่ประชาคมอาเซียนในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาที่ไม่มี
ศูนย์อาเซียนศึกษา เพื่อรองรับการเป็นประชาคมอาเซียนในปี พ.ศ. 2558 รวมทั้งจัดประชุม อบรม ชี้แจง
สัมมนาสร้างความรู้ ความเข้าใจ และความตระหนักเกี่ยวกับประชาคมอาเซียน และประเด็นสำคัญของ
อาเซียน การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาที่เน้นอาเซียน การจัดการเรียนรู้เกี่ยวกับประชาคมอาเซียน
การพัฒนาสื่อการเรียนรู้และแหล่งการเรียนรู้ การวัดและประเมินผล ตลอดจนการศึกษาดูงานเกี่ยวกับ
การจัดการศึกษา การเมือง เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรมของประเทศสมาชิกอาเซียน ประเทศ

คู่เจรจา และประสานความร่วมมือกับหน่วยงาน หรือองค์กรที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชน ทั้งภายใน
ประเทศและต่างประเทศ










ทั ้ ง นี ้ ยั ง มี ห น่ ว ยงานอื ่ น ๆ ได้ ด ำเนิ น โครงการเพื ่ อ เตรี ย มคนสู ่ ป ระชาคมอาเซี ย น เช่ น

สำนักบริหารงานการมัธยมศึกษาตอนปลาย ดำเนินโครงการพัฒนาประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการศึกษา

ในภูมิภาคเพื่อพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการการศึกษาในระดับมัธยมศึกษาให้มีความเป็นเลิศ

สู่สากลและสามารถแข่งขันได้ในระดับนานาชาติ และพัฒนาประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางการแลกเปลี่ยน

เรียนรู้ในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานนานาชาติ โดยมีโรงเรียนเข้าร่วมโครงการ จำนวน 14 โรงเรียน

การขับเคลื่อนการศึกษาสู่ประชาคมอาเซียน 25
นอกจากนี ้ สำนั ก วิ ช าการและมาตรฐานการศึ ก ษาได้ ป ระสานความร่ ว มมื อ กั บ ศู น ย์
SEAMOLEC ดำเนิ น โครงการโรงเรี ย นคู ่ พ ั ฒ นาระหว่ า งโรงเรี ย นมั ธ ยมศึ ก ษาของประเทศไทยกั บ

สาธารณรัฐอินโดนีเซีย เพื่อสร้างความร่วมมือด้านการพัฒนาคุณภาพการศึกษาผ่านการเรียนรู้ร่วมกัน
และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ความรู้ วัฒนธรรม และค่านิยมระหว่างกันด้วยวิธีการที่หลากหลาย โดยคัดเลือก
โรงเรียนมัธยมศึกษาเข้าร่วมโครงการ จำนวน 23 โรง เป็นโรงเรียนที่จัดการเรียนรู้ เพื่อส่งเสริมและ

ปลูกฝังให้ผู้เรียนเกิดความรู้ ความเข้าใจ และมีค่านิยมที่ดีเกี่ยวกับประเด็นสำคัญของอาเซียน ซึ่งเป็น

การเตรียมความพร้อมในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนในปี พ.ศ. 2558 สอดคล้องกับกรอบความร่วมมือ
และกระชับความสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้านและประเทศในภูมิภาคเอเชียที่กระทรวงศึกษาธิการ

ได้กำหนดไว้









ความร่วมมืออาเซียนด้านการศึกษาเป็นส่วนหนึ่งของการจัดตั้งประชาคมอาเซียน ซึ่งมีเป้าหมาย

เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนและการพัฒนาภูมิภาคอย่างยั่งยืน โดยมีประชาชนเป็น
ศูนย์กลาง ซึ่งสอดคล้องกับยุทธศาสตร์การจัดการศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนของกระทรวงศึกษาธิการ
ด้วยการสร้างและพัฒนา “ทุนมนุษย์” ให้เข้มแข็งมีพลังพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและ
สังคมสู่ความมั่นคงของประเทศในอนาคต และรู้จักศักยภาพของตนเอง ศักยภาพของผู้อื่น มีสมรรถนะ
ที่สำคัญสำหรับการดำเนินชีวิตในประชาคมอาเซียน รู้เท่าทันและสามารถแข่งขันได้ในประชาคมอาเซียน

และประชาคมโลก

26 การขับเคลื่อนการศึกษาสู่ประชาคมอาเซียน
ตอนที่ 3
บทบาท หน้าที่ และแนวทางการดำเนินงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

ในการขับเคลื่อนสถานศึกษาสู่ประชาคมอาเซียน

จากเป้าหมายและความสำคัญของอาเซียน รวมทั้งนโยบายและยุทธศาสตร์ทางการศึกษา

เพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนในปี พ.ศ. 2558 ทำให้สถานศึกษาและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

จำเป็นต้องปรับตัวและบทบาทในการเตรียมนักเรียนเข้าสู่ประชาคมอาเซียน เพื่อผลักดันการดำเนินการ
ด้านการศึกษาของประเทศไทยให้สอดรับต่อการเป็นประชาคมอาเซียน และพัฒนานักเรียนให้มี

ความพร้อมในการเป็นสมาชิกที่ดีของประชาคมอาเซียน และมีสมรรถนะที่สำคัญในการดำเนินชีวิต

ในประชาคมอาเซียนและสังคมโลก ได้แก่
1. Personal Spirit ความเป็นผู้มีจิตวิญญาณแห่งมิตรไมตรี สันติภาพ และความสงบสุข
จิตสำนึกแห่งคนดี เรียนรู้และพัฒนาตนเองเพื่อทำความดี ทำคุณประโยชน์แก่ผู้อื่นเสมอ
2. Problem Solving ความสามารถในการแก้ไขปัญหา จำเป็นต้องเรียนรู้และมีแผนในการศึกษา

วิเคราะห์ และแก้ไขปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นอย่างเป็นระบบ
3. Team Work การมีทีมทำงานและที่ปรึกษาจะเกิดพลังความสามารถในการปฏิบัติงาน

และการดำรงชีวิตที่มีประสิทธิภาพ ลดความเสี่ยงและความผิดพลาดที่อาจจะเกิดขึ้นโดยมิสมควรลงได้
4. Communication การติดต่อสื่อสารระหว่างกัน ต้องเรียนรู้และเข้าใจซึ่งกันและกัน

ทั้งด้านกว้างและลึกโดยเฉพาะด้านศิลปวัฒนธรรมที่หลากหลาย โดย

ใช้ภาษาอังกฤษ/ภาษาต่างประเทศที่ 2
5. Thinking ความฉลาดในการคิ ด มี พ ื ้ น ฐาน

มาจากการรั ก การอ่ า น การศึ ก ษาหาความรู ้ อ ยู ่ เ สมอ

การสั่งสมความรู้และวิทยาการ ทำให้เกิดไหวพริบ มีปัญญา

เป็นคนที่ฉลาดในการคิด

การขับเคลื่อนการศึกษาสู่ประชาคมอาเซียน 27
รวมทั้งมีความสามารถในการใช้ ICT และ Web Community ความสามารถในการแสวงหา
ความรู้ การใช้กระบวนการกลุ่ม การแก้ปัญหา การสร้างความตระหนัก มีทักษะชีวิต กล้าแสดงออก
เอื้ออาทรและแบ่งปัน เข้าใจตนเองและผู้อื่น ยอมรับความแตกต่างระหว่างบุคคล ฯลฯ เพื่อให้สามารถ
ติดต่อสื่อสารและอยู่ร่วมกันได้บนพื้นฐานของความเสมอภาคและผลประโยชน์ร่วมกันในการเสริมสร้าง
ความมั่นคงในด้านเศรษฐกิจ การเมือง สังคมและวัฒนธรรมของภูมิภาคอาเซียน
ปัจจัยสำคัญที่ส่งเสริมและสนับสนุนให้สถานศึกษาสามารถเตรียมนักเรียนเข้าสู่ประชาคม
อาเซียนได้เป็นอย่างดี คือ หน่วยงานต้นสังกัด ชุมชน และหน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ

และภาคเอกชน ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการให้ความร่วมมือกับสถานศึกษาในการจัดการเรียนรู้เกี่ยวกับ
ประชาคมอาเซียน
การดำเนินงานโครงการพัฒนาสู่ประชาคมอาเซียน: Spirit of ASEAN ให้บรรลุตามเป้าหมาย
และวัตถุประสงค์ที่กำหนด สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยสำนักวิชาการและ
มาตรฐานการศึกษาได้กำหนดบทบาท หน้าที่ และแนวทางการดำเนินงานของหน่วยงานแต่ละระดับ

ดังนี้
1. บทบาท หน้าที่ และแนวทางการดำเนินงานของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยสำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา
มีหน้าที่ส่งเสริม สนับสนุน นิเทศ กำกับ และติดตาม เพื่อให้การดำเนินงานโครงการพัฒนาสู่ประชาคม
อาเซียน: Spirit of ASEAN ประสบผลสำเร็จ โดยดำเนินการดังนี้
1) แต่งตั้งคณะกรรมการหรือคณะทำงาน
2) จัดทำคู่มือดำเนินงานโครงการพัฒนาสู่ประชาคมอาเซียน: Spirit of ASEAN
3) ประชุม/อบรม/ชี้แจง/สร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการดำเนินงานโครงการพัฒนา

สู่ประชาคมอาเซียน: Spirit of ASEAN ให้แก่ ศึกษานิเทศก์ ผู้บริหารสถานศึกษา และครูในโรงเรียน

ที่เป็นศูนย์อาเซียนศึกษา
4) จัดสรรโอนเงินให้โรงเรียนที่เป็นศูนย์อาเซียนศึกษาและสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
ดำเนินงาน/กิจกรรมตามโครงการ
5) ประชาสัมพันธ์การเตรียมตัวสู่ประชาคมอาเซียน โดยผ่านสื่อสารมวลชน แผ่นพับ/
โปสเตอร์ เว็บไซต์ ฯลฯ
6) เสริมสร้างความเข้มแข็ง พัฒนากรอบหลักสูตรประชาคมอาเซียนและภาษาต่างประเทศ

ในโรงเรียนที่เป็นศูนย์อาเซียนศึกษา
7) ประชุ ม อบรมชี ้ แ จงเจ้ า หน้ า ที ่ ท ี ่ ป ฏิ บ ั ต ิ ห น้ า ที ่ เ ป็ น ที ่ ป รึ ก ษาของศู น ย์ อ าเซี ย นศึ ก ษา

ครูภาษาต่างประเทศ ครูพี่เลี้ยง และเจ้าหน้าที่ประจำศูนย์อาเซียนศึกษา
8) สร้างสื่อต้นแบบ เพื่อใช้ในกิจกรรมให้ความรู้ สร้างความตระหนัก และความเข้มแข็ง
เกี่ยวกับประชาคมอาเซียน

28 การขับเคลื่อนการศึกษาสู่ประชาคมอาเซียน
9) ส่งเสริมและสนับสนุนจัดกิจกรรมค่ายวิชาการประชาคมอาเซียน ประกวดโครงงานความรู้

ความตระหนักในอาเซียนสำหรับนักเรียน ครู ผู้บริหารระหว่างโรงเรียนในประเทศอาเซียนกับโรงเรียน

ที่เป็นศูนย์อาเซียนศึกษา
10) นิเทศ กำกับ ติดตาม ประเมินผล และรายงานผลการดำเนินโครงการ

2. บทบาท หน้าที่ และแนวทางการดำเนินงานของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา


สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามีหน้าที่ส่งเสริมและสนับสนุน เพื่อให้การดำเนินโครงการพัฒนา

สู่ประชาคมอาเซียนในสถานศึกษาประสบผลสำเร็จ โดยดำเนินการดังนี้
1) แต่งตั้งคณะกรรมการหรือคณะทำงาน ประกอบด้วย ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่
การศึกษา รองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ศึกษานิเทศก์ ผู้อำนวยการโรงเรียนที่เป็น

ศูนย์อาเซียนศึกษา และผู้อำนวยการโรงเรียนเครือข่ายอาเซียน
2) ดำเนินการตามคู่มือดำเนินงานโครงการพัฒนาสู่ประชาคมอาเซียน: Spirit of ASEAN
3) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาร่วมกับโรงเรียนที่เป็นศูนย์อาเซียนศึกษาชี้แจงสร้างความรู้
ความเข้าใจเกี่ยวกับการดำเนินโครงการพัฒนาสู่ประชาคมอาเซียน: Spirit of ASEAN ให้แก่โรงเรียน
เครือข่ายอาเซียน
4) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาร่วมกับโรงเรียนที่เป็นศูนย์อาเซียนศึกษาประชาสัมพันธ์
การเตรียมตัวสู่ประชาคมอาเซียนโดยผ่านสื่อสารมวลชน แผ่นพับ/โปสเตอร์ เว็บไซต์ ฯลฯ
5) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาร่วมกับโรงเรียนที่เป็นศูนย์อาเซียนศึกษาส่งเสริม สนับสนุน
และเสริมสร้างความเข้มแข็ง พัฒนากรอบหลักสูตรประชาคมอาเซียนและภาษาต่างประเทศในโรงเรียน
เครือข่ายอาเซียน
6) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาร่วมกับโรงเรียนที่เป็นศูนย์อาเซียนศึกษาส่งเสริมและ
สนับสนุนจัดกิจกรรมค่ายวิชาการประชาคมอาเซียน ประกวดโครงงานความรู้ ความตระหนักในอาเซียน
สำหรับนักเรียน ครู ผู้บริหารระหว่างโรงเรียนที่เป็นศูนย์อาเซียนศึกษาและโรงเรียนเครือข่ายอาเซียน
7) นิเทศ กำกับ ติดตาม ประเมินผล และรายงานผลการดำเนินงานของโรงเรียนที่เป็น

ศูนย์อาเซียนศึกษาและโรงเรียนเครือข่ายอาเซียนเสนอสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

3. บทบาท หน้าที่ และแนวทางการดำเนินงานของโรงเรียนที่เป็นศูนย์อาเซียนศึกษา


โรงเรียนที่เป็นศูนย์อาเซียนศึกษามีบทบาทหน้าที่ ดังนี้
1) จัดตั้งศูนย์อาเซียนศึกษา เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้โดยจัดกิจกรรมสร้างความตระหนักรู ้

ให้บริการและพัฒนาการเรียนรู้เกี่ยวกับอาเซียน
2) พัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาตามโครงการพัฒนาสู่ประชาคมอาเซียน

การขับเคลื่อนการศึกษาสู่ประชาคมอาเซียน 29
3) จัดกิจกรรมสร้างความตระหนักรู้ ตามโครงการพัฒนาสู่ประชาคมอาเซียนในโรงเรียน
4) จัดการเรียนการสอนภาษาของประเทศสมาชิกอาเซียน ตามโครงการพัฒนาสู่ประชาคม
อาเซียน
5) แต่งตั้งครูในสถานศึกษา เพื่อทำหน้าที่เป็นครูผู้รับผิดชอบศูนย์อาเซียนศึกษา
6) จัดกิจกรรมการเรียนรู้ภายในโรงเรียน
6.1) การจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อพัฒนานักเรียนสู่ประชาคมอาเซียน สามารถดำเนินการ
ใน 3 ลักษณะ ได้แก่
6.1.1) นำไปสอนสอดแทรก หรือบูรณาการในรายวิชาพื้นฐาน 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้
6.1.2) จัดทำเป็นรายวิชาเพิ่มเติมในกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และ
วัฒนธรรม ภาษาต่างประเทศ การงานอาชีพและเทคโนโลยี เช่น ประชาคมอาเซียน ภาษาอังกฤษ

เพื่อเยาวชนอาเซียน ภาษาและวัฒนธรรมเวียดนาม ICT กับประชาคมอาเซียน
6.1.3) จัดทำเป็นกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน เช่น ชุมนุม/ชมรมรักษ์อาเซียน เยาวชน
อาเซียน ค่ายเยาวชนอาเซียน ภาษาในอาเซียน หรือจัดกิจกรรมเสริมและจัดบรรยากาศที่เอื้อต่อ

การเรียนรู้เกี่ยวกับประชาคมอาเซียน
6.2) แนวการจัดการเรียนรู้
6.2.1) จั ด การเรี ย นรู ้ ท ี ่ เ น้ น นั ก เรี ย นเป็ น สำคั ญ เปิ ด โอกาสให้ น ั ก เรี ย นเข้ า มา

มีส่วนร่วมในการจัดการเรียนรู้
6.2.2) จัดการเรียนรู้โดยใช้การบูรณาการในกลุ่มสาระการเรียนรู้ 8 กลุ่มสาระ

การเรียนรู้ และกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
6.2.3) จัดการเรียนรู้ที่มีความยืดหยุ่น ปรับเปลี่ยนกิจกรรมได้ตามความเหมาะสม
6.2.4) ใช้กระบวนการเรียนรู้ที่เน้นกระบวนการสื่อสาร กระบวนการคิด กระบวนการ
แก้ปัญหา กระบวนการสร้างความตระหนัก
6.2.5) ออกแบบการจัดการเรียนรู้ โดยใช้วิธีสอนและเทคนิคการสอน สื่อการเรียนรู้/

แหล่งการเรียนรู้ที่หลากหลาย การวัดและประเมินผลตามสภาพจริง
6.2.6) การจั ด การเรี ย นรู ้ เ กี ่ ย วกั บ ประชาคมอาเซี ย นโดยใช้ ภ าษาอั ง กฤษ และ

ภาษาของประเทศสมาชิกอาเซียนเป็นสื่อในการจัดการเรียนรู้
6.2.7) จัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมการพัฒนาสมรรถนะสำคัญ คุณธรรม จริยธรรม
และค่านิยมที่ดี เพื่อความเป็นพลเมืองที่ดีในประชาคมอาเซียน
6.3) สื่อการเรียนรู้
6.3.1) สื่อการเรียนรู้ ที่สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยสำนัก
วิชาการและมาตรฐานการศึกษาจัดทำ/จัดซื้อ/จัดหา

30 การขับเคลื่อนการศึกษาสู่ประชาคมอาเซียน
6.3.2) สื่อการเรียนรู้และแหล่งการเรียนรู้อื่น ๆ ที่โรงเรียนจัดทำ/จัดซื้อ/จัดหา
6.3.3) คอมพิวเตอร์ อินเทอร์เน็ต Web–Community
6.4) การวัดและประเมินผล วัดและประเมินการเรียนรู้ที่หลากหลายตามสภาพจริง
7) บริการสื่อการเรียนรู้ภายในโรงเรียนและโรงเรียนเครือข่าย
8) บริการจัดการเรียนรู้เคลื่อนที่ให้กับโรงเรียนเครือข่าย
9) จัดกิจกรรมค่ายวิชาการเกี่ยวกับประชาคมอาเซียนที่เน้นเรื่องอัตลักษณ์ ประวัติศาสตร์
และวัฒนธรรมอาเซียน และโครงงานสร้างความตระหนักในอาเซียน
10) ประสานสัมพันธ์กับประเทศสมาชิกอาเซียน 9 ประเทศ
11) สรุ ป และรายงานผลการดำเนิ น งานโครงการของศู น ย์ อ าเซี ย นศึ ก ษาต่ อ สำนั ก งาน

เขตพื้นที่การศึกษาและสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

4. บทบาทและหน้าที่ของโรงเรียนทั่วไป
ผู้บริหารสถานศึกษา ครู และบุคลากรทางการศึกษาพัฒนานักเรียนให้มีความพร้อมในการ
เป็นสมาชิกที่ดีของประชาคมอาเซียน และอยู่ร่วมกันได้บนพื้นฐานของความเสมอภาคและผลประโยชน์
ร่วมกัน รวมทั้งพัฒนานักเรียนให้มีสมรรถนะที่สำคัญสำหรับการดำเนินชีวิตในประชาคมอาเซียน เช่น
- ความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษและภาษาของประเทศสมาชิกอาเซียน
- ความสามารถการใช้ ICT อินเทอร์เน็ต Web-Community
- ความสามารถในการคิด วิเคราะห์ สร้างสรรค์ การคำนวณ การให้เหตุผล การแสวงหา
ความรู้
- ความสามารถในการใช้ ก ระบวนการกลุ ่ ม การแก้ ป ั ญ หา การสื บ เสาะ การสร้ า ง

ความตระหนัก การแสวงหาความรู้
- มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ เช่น มีทักษะชีวิต กล้าแสดงออก เอื้ออาทรและแบ่งปัน
เข้าใจตนเองและผู้อื่น ยอมรับความแตกต่างระหว่างบุคคล
โดยสถานศึกษาดำเนินการ ดังนี้
1) จัดทำหลักสูตรสถานศึกษาที่เน้นอาเซียนและจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อสร้างความรู้
ความเข้าใจ และความตระหนักเกี่ยวกับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน
2) จั ด บรรยากาศการเรี ย นรู ้ แ ละจั ด มุ ม อาเซี ย น หรื อ ตั ้ ง ศู น ย์ อ าเซี ย นศึ ก ษา เพื ่ อ เป็ น

แหล่งเรียนรู้เกี่ยวกับประชาคมอาเซียน
3) จัดกิจกรรมการเรียนรู้ภายในโรงเรียน
3.1) การจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อพัฒนานักเรียนสู่ประชาคมอาเซียน สามารถดำเนินการ

ใน 3 ลักษณะ ได้แก่

การขับเคลื่อนการศึกษาสู่ประชาคมอาเซียน 31
3.1.1) นำไปสอนสอดแทรก หรือบูรณาการในรายวิชาพื้นฐาน 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้
3.1.2) จัดทำเป็นรายวิชาเพิ่มเติมในกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และ
วัฒนธรรม ภาษาต่างประเทศ การงานอาชีพและเทคโนโลยี เช่น ประชาคมอาเซียน ภาษาอังกฤษ

เพื่อเยาวชนอาเซียน ภาษาและวัฒนธรรมเวียดนาม ICT กับประชาคมอาเซียน
3.1.3) จัดทำเป็นกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน เช่น ชุมนุม/ชมรมรักษ์อาเซียน เยาวชน
อาเซียน ค่ายเยาวชนอาเซียน ภาษาในอาเซียน หรือจัดกิจกรรมเสริมและจัดบรรยากาศที่เอื้อต่อ

การเรียนรู้เกี่ยวกับประชาคมอาเซียน
3.2) แนวการจัดการเรียนรู้
3.2.1) จั ด การเรี ย นรู ้ ท ี ่ เ น้ น นั ก เรี ย นเป็ น สำคั ญ เปิ ด โอกาสให้ น ั ก เรี ย นเข้ า มา

มีส่วนร่วมในการจัดการเรียนรู้
3.2.2) จัดการเรียนรู้โดยใช้การบูรณาการในกลุ่มสาระการเรียนรู้ 8 กลุ่มสาระ

การเรียนรู้ และกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
3.2.3) จัดการเรียนรู้ที่มีความยืดหยุ่น ปรับเปลี่ยนกิจกรรมได้ตามความเหมาะสม
3.2.4) ใช้กระบวนการเรียนรู้ที่เน้นกระบวนการสื่อสาร กระบวนการคิด กระบวนการ

แก้ปัญหา กระบวนการสร้างความตระหนัก
3.2.5) ออกแบบการจัดการเรียนรู้ โดยใช้วิธีสอนและเทคนิคการสอน สื่อการเรียนรู้/

แหล่งการเรียนรู้ที่หลากหลาย การวัดและประเมินผลตามสภาพจริง
3.2.6) การจัดการเรียนรู้เกี่ยวกับประชาคมอาเซียนโดยใช้ภาษาอังกฤษ และ
ภาษาของประเทศสมาชิกอาเซียนเป็นสื่อในการจัดการเรียนรู้
3.2.7) จัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมการพัฒนาสมรรถนะสำคัญ คุณธรรม จริยธรรม
และค่านิยมที่ดี เพื่อความเป็นพลเมืองที่ดีในประชาคมอาเซียน
3.3) สื่อการเรียนรู้
3.3.1) สื่อการเรียนรู้ ที่สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยสำนัก
วิชาการและมาตรฐานการศึกษาจัดทำ/จัดซื้อ/จัดหา
3.3.2) สื่อการเรียนรู้และแหล่งการเรียนรู้อื่น ๆ ที่โรงเรียนจัดทำ/จัดซื้อ/จัดหา
3.3.3) คอมพิวเตอร์ อินเทอร์เน็ต Web–Community
3.4) การวัดและประเมินผล วัดและประเมินการเรียนรู้ที่หลากหลายตามสภาพจริง
4) จัดงานวันอาเซียนเดย์ สัปดาห์อาเซียน หรือกิจกรรมค่ายวิชาการเกี่ยวกับประชาคมอาเซียน
5) ประสานสัมพันธ์กับประเทศสมาชิกอาเซียน 9 ประเทศ

32 การขับเคลื่อนการศึกษาสู่ประชาคมอาเซียน
5. บทบาทและหน้าที่ของชุมชนหรือหน่วยงานอื่น ๆ
สถานศึกษาดำเนินการเพื่อเตรียมนักเรียนให้มีความพร้อมและมีสมรรถนะที่สำคัญในการเข้าสู่

ประชาคมอาเซียนได้ตามบริบทและความเหมาะสม ซึ่งการดำเนินการดังกล่าวนั้นประสบผลสำเร็จ

หรือไม่นั้น ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องจะต้องเข้าใจบทบาทของตนเอง และเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนา



หรือการเตรียมความพร้อมอย่างจริงจัง โดยการส่งเสริมและสนับสนุนการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ

ของสถานศึกษา ตามความพร้อมในด้านต่าง ๆ ของตนเอง เช่น ด้านความรู้ความสามารถ สื่อการเรียนรู้/

แหล่งการเรียนรู้ งบประมาณ ความสนใจ และเข้าร่วมกิจกรรม เป็นต้น


การดำเนินการตามกิจกรรมต่าง ๆ ของโครงการพัฒนาสู่ประชาคมอาเซียน: Spirit of ASEAN
ให้ ป ระสบผลสำเร็ จ นั ้ น สถานศึ ก ษาจำเป็ น ต้ อ งพั ฒ นาหลั ก สู ต รสถานศึ ก ษาที ่ เ น้ น อาเซี ย นและ

จัดกิจกรรมการเรียนรู้เกี่ยวกับประชาคมอาเซียน เพื่อพัฒนานักเรียนอย่างมีเป้าหมายและเป็นระบบ
โดยมีแนวทางการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาที่เน้นอาเซียนและการจัดการเรียนรู้เกี่ยวกับประชาคม
อาเซียน ดังนี้

1. การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาที่เน้นอาเซียน
การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาที่เน้นอาเซียน เพื่อให้สถานศึกษาใช้ในการจัดการเรียนรู้
เกี่ยวกับอาเซียน ให้สถานศึกษาดำเนินการ ดังนี้
1. พิจารณานโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ 5 ประการ (พ.ศ. 2553-2554) และยุทธศาสตร์
ของกระทรวงศึกษาธิการ (พ.ศ.​2555-2558) ยุทธศาสตร์ที่ 1 การปรับตัวเข้าสู่ประชาคมอาเซียน/
ประชาคมโลก เพื่อขับเคลื่อนความร่วมมือด้านการศึกษาในอาเซียน ให้บรรลุตามเป้าหมายในปี

พ.ศ. 2558
2. พิจารณาจุดเน้นข้อที่ 8 ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (พ.ศ. 2554)
3. วิเคราะห์หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ในส่วนที่เกี่ยวกับ
อาเซียน
4. วิเคราะห์ ASEAN Curriculum Sourcebook ซึ่งเป็นหลักสูตรแกนกลางของอาเซียน
5. วิเคราะห์องค์ความรู้ ทักษะ/กระบวนการ และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ เกี่ยวกับอาเซียน
6. จัดทำหลักสูตรสถานศึกษาที่เน้นอาเซียน โดยกำหนด
1) ส่วนนำ (ความนำ วิสัยทัศน์โรงเรียน สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน คุณลักษณะ

อันพึงประสงค์)
2) โครงสร้างหลักสูตรสถานศึกษา (โครงสร้างเวลาเรียน โครงสร้างหลักสูตรชั้นปี)
3) คำอธิบายรายวิชา

การขับเคลื่อนการศึกษาสู่ประชาคมอาเซียน 33
4) กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
5) เกณฑ์การจบการศึกษา
7. จัดทำรายวิชาพื้นฐานที่บูรณาการอาเซียน รายวิชาเพิ่มเติมที่เน้นอาเซียน และกิจกรรม
พัฒนาผู้เรียนที่เน้นอาเซียน
8. จัดทำหน่วยการเรียนรู้ที่ออกแบบด้วยกระบวนการออกแบบย้อนกลับ (Backward Design
Process) และแผนการจัดการเรียนรู้ที่พัฒนาสมรรถนะสำคัญและปลูกฝังคุณลักษณะของเด็กไทยในอาเซียน
9. จัดกิจกรรมเสริมหลักสูตรที่ส่งเสริม/ปลูกฝังคุณลักษณะของเด็กไทยในอาเซียน โดยจัด
บรรยายกาศ กิจกรรมวันสำคัญ แหล่งการเรียนรู้ต่าง ๆ เช่น ป้ายนิเทศ มุมอาเซียนศึกษา หรือศูนย์
อาเซียนศึกษา เป็นต้น
รายละเอียดดังแสดงในแผนภูมิที่ 1 การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาที่เน้นอาเซียน และ
แผนภูมิที่ 2 การจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการออกแบบย้อนกลับ ตามลำดับ
หลักสูตร

แกนกลาง
อาเซียน
นโยบาย/ยุทธศาสตร์ การศึกษา

ASEAN
การขับเคลื่อน ขั้นพื้นฐาน Curriculum องค์ความรู้
พุทธศักราช - ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับอาเซียน
สู่อาเซียน Sourcebook - ข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับประเทศสมาชิกอาเซียน
2551
- วิถีชีวิต/พหุวัฒนธรรม
- ประชาคมอาเซียน กฎบัตรอาเซียน ปฏิญญาอาเซียน
- ประเด็นสำคัญ เช่น พลเมือง สิทธิมนุษยชน

ประชาธิปไตย ประวัติศาสตร์เชิงบวก สันติศึกษา

หลักสูตรสถานศึกษา สิ่งแวดล้อม การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สุขภาพ

- ส่วนนำ (ความนำ วิสัยทัศน์โรงเรียน

การค้าเสรี ฯลฯ
สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน

- สื่อการเรียนรู้/แหล่งการเรียนรู้
คุณลักษณะอันพึงประสงค์) ทักษะ/กระบวนการ
- การใช้ภาษาอังกฤษ ภาษาเพื่อนบ้าน
- โครงสร้างหลักสูตรสถานศึกษา

- การใช้ ICT
(โครงสร้างเวลาเรียน โครงสร้าง - การคำนวณ การให้เหตุผล
หลักสูตรชั้นปี) - กระบวนการคิด วิเคราะห์ สร้างสรรค์

- คำอธิบายรายวิชา กระบวนการกลุ่ม แก้ปัญหา สืบเสาะ สื่อสาร



- กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน สร้างความตระหนัก
- เกณฑ์การจบการศึกษา คุณลักษณะอันพึงประสงค์
- มีทักษะชีวิต
- กล้าแสดงออก
- เอื้ออาทรและแบ่งปัน
รายวิชา

รายวิชา

กิจกรรม

กิจกรรม - เข้าใจตนเองและผู้อื่น
พื้นฐาน

เพิ่มเติม
พัฒนาผู้เรียน

เสริมหลักสูตร - ยอมรับความแตกต่างระหว่างบุคคล
ที่บูรณาการ ที่เน้น
ที่เน้น
ที่เน้น - Common Values
อาเซียน อาเซียน อาเซียน อาเซียน - Gender Sensitivity
ฯลฯ

แผนภูมิที่ 1 การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาที่เน้นอาเซียน

34 การขับเคลื่อนการศึกษาสู่ประชาคมอาเซียน
กำหนดเป้าหมายในการเรียนรู้ :
ตัวชี้วัด/ผลการเรียนรู้

กำหนดการวัดและประเมินผล :
ภาระงาน/ผลงาน

การประเมินและเกณฑ์

วางแผนการจัดการเรียนรู้ :
กิจกรรมการเรียนรู้

แผนภูมิที่ 2 การจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการออกแบบย้อนกลับ

2. การจัดการเรียนรู้เกี่ยวกับอาเซียน
เพื่อพัฒนาเยาวชนไทยให้มีความพร้อมในการเป็นสมาชิกที่ดีของประชาคมอาเซียน สามารถ
ติดต่อสื่อสารและอยู่ร่วมกันได้บนพื้นฐานของความเสมอภาคและผลประโยชน์ร่วมกันในการเสริมสร้าง
ความมั ่ น คงในด้ า นเศรษฐกิ จ การเมื อ ง สั ง คมและวั ฒ นธรรมของภู ม ิ ภ าคอาเซี ย น โดยกำหนด

แนวการจัดการเรียนรู้เกี่ยวกับอาเซียน ดังนี้
1. จัดการเรียนรู้ที่เน้นนักเรียนเป็นสำคัญ เปิดโอกาสให้นักเรียนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัด

การเรียนรู้
2. จัดการเรียนรู้โดยใช้การบูรณาการ
3. จัดการเรียนรู้ที่มีความยืดหยุ่น ปรับเปลี่ยนกิจกรรมได้ตามความเหมาะสม
4. ใช้กระบวนการเรียนรู้ที่เน้นกระบวนการคิด กระบวนการแก้ปัญหา กระบวนการสร้าง
ความตระหนัก กระบวนการสื่อสาร
5. ออกแบบการจัดการเรียนรู้ โดยเลือกใช้วิธีสอนและเทคนิคการสอน สื่อการเรียนรู้/

แหล่งการเรียนรู้ การวัดและประเมินผลที่หลากหลายตามสภาพจริง
6. จัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่ดี เพื่อความเป็น
พลเมืองที่ดีในประชาคมอาเซียน

การขับเคลื่อนการศึกษาสู่ประชาคมอาเซียน 35
3. สื่อการเรียนรู้และแหล่งการเรียนรู้เกี่ยวกับประชาคมอาเซียน
สื่อการเรียนรู้
1. สื่อสิ่งพิมพ์ที่ใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้และให้บริการส่งเสริมการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง
ประกอบด้วย
1) แผนที่กลุ่มประเทศอาเซียนและแผนที่โลกทั้งแบบติดฝาผนังและพกพา
2) หนังสือเกี่ยวกับประชาคมอาเซียน เช่น
- กฎบัตรอาเซียน
- บันทึกการเดินทางอาเซียน
- มารู้จักอาเซียนกันเถอะ
- การ์ตูนท่องโลกอาเซียน
- นิทานพื้นบ้านอาเซียนและเกาหลีใต้
3) หนังสือลักษณะสารานุกรมเสริมความรู้
เกี่ยวกับประเทศสมาชิกอาเซียน ทั้งภาษาไทยและภาษา
ต่างประเทศ เช่น
- หนังสือเสริมความรู้ด้านภูมิศาสตร์
- หนังสือเสริมความรู้ด้านประวัติศาสตร์
- หนังสือเสริมความรู้ด้านศิลปวัฒนธรรม
- หนั ง สื อ เสริ ม ความรู ้ เ รื ่ อ งภาษาของ
ประเทศสมาชิกอาเซียน
4) หนั ง สื อ ส่ ง เสริ ม การออกแบบกิ จ กรรม ได้ แ ก่ หนั ง สื อ คู ่ ม ื อ
แนวทางการจัดการเรียนรู้ และหนังสือเสริมความรู้อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
5) แผ่นพับเกี่ยวกับประเทศสมาชิกอาเซียนใน
4 ด้านหลัก ได้แก่ ด้านสังคมและวัฒนธรรม ด้านเศรษฐกิจ
ด้านการเมืองและความมั่นคง และด้านทรัพยากรธรรมชาติ
6) ชุดจำลองเรื่องราววัฒนธรรมของประเทศ
เช่ น ตุ ๊ ก ตา/หุ ่ น จำลองแสดงการแต่ ง กาย/วั ฒ นธรรม

ของแต่ละประเทศ ธงชาติ/โปสเตอร์ที่เกี่ยวกับประเทศ
สมาชิกอาเซียน

36 การขับเคลื่อนการศึกษาสู่ประชาคมอาเซียน
2. สื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้และให้บริการส่งเสริมการเรียนรู ้

อย่างต่อเนื่อง ประกอบด้วยสื่อ ICT ในเรื่องราวที่เกี่ยวกับประชาคมอาเซียน เช่น


- DVD มารู้จัก ASEAN กันเถอะ
- DVD สารคดีอาเซียน 10 ประเทศ
- DVD การ์ตูนท่องโลกอาเซียน
- DVD กำเนิดอาเซียน/ประชาคมอาเซียน
- DVD เกม SEA Journey
- CD เพลง รูปกิจกรรมอาเซียน ดนตรี
3. สื่ออื่น ๆ เช่น
- แผ่นพับอาเซียน
- เกมโอ๊ะ โอ! (ความรู้พื้นฐานและวัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้)
- แผ่นโปสเตอร์/แผ่นพับเกี่ยวกับโครงการพัฒนาสู่ประชาคมอาเซียน
- สัญลักษณ์อาเซียน เช่น เสื้อ พัด หมวก สมุด กระเป๋า
แหล่งการเรียนรู้
1. เว็บไซต์แนะนำเกี่ยวกับประชาคมอาเซียน
http://www.spiritofasean.com
http://www.15thaseansummit-th.org
http://www.15thaseansummit-th.org/thai/asean_documentary.php
http://www.15thaseansummit-th.org/thai/asean_discovery_cartoon.php
http://www.aseansec.org

การขับเคลื่อนการศึกษาสู่ประชาคมอาเซียน 37
http://en.wikipedia.org/wiki/ASEAN
http://www.mfa.go.th/web/1650.php
http://thailandasean.prd.go.th/en/Default.aspx
http://www.bic.moe.go.th/index.php?id=579
2. เว็บไซต์ที่น่าสนใจ
Royal Thai Government http://www.thaigov.go.th/eng/index.aspx
Ministry of Agriculture and Cooperatives http://www.moac.go.th/builder/moac/eng/
Ministry of Commerce http://www.moc.go.th/
Ministry of Culture http://www.m-culture.go.th/en/
Ministry of Defence http://www.mod.go.th/eng_mod/index.html
Ministry of Energy http://www.energy.go.th/en/
Ministry of Finance http://www.mof.go.th/index_e.html
Ministry of Foreign Affairs http://www.mfa.go.th/web/2630.php
Ministry of Industry http://www.industry.go.th/page/home.aspx
Ministry of Justice http://www.moj.go.th/en/
Ministry of Natural Resources and www.monre.go.th/index.php
Environment
Ministry of Public Health http://eng.moph.go.th/
Ministry of Social Development and http://www.m-society.go.th/en/index.php
Human Security
Ministry of Tourism and Sports http://www.mots.go.th/main.php?filename=index_EN
Tourism Authority of Thailand http://www.tourismthailand.org/
3. หน่วยงานต่าง ๆ และสถานที่สำคัญและแหล่งท่องเที่ยว
หน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภายในประเทศและต่างประเทศที่ดำเนินการขับเคลื่อนสู่ประชาคม
อาเซียน เช่น
1) กรมอาเซียน กระทรวงการต่างประเทศ
2) คณะอนุกรรมาธิการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ในคณะกรรมาธิการการศึกษา วุฒิสภา
3) สำนั ก งานเลขาธิ ก ารรั ฐ มนตรี ศ ึ ก ษา
แห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
4) สำนักเลขาธิการอาเซียน
5) องค์การเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศ
ของสหรัฐอเมริกา (USAID)

38 การขับเคลื่อนการศึกษาสู่ประชาคมอาเซียน
สถานที่สำคัญและแหล่งท่องเที่ยวของประเทศสมาชิกอาเซียนทั้ง 10 ประเทศ เช่น









บันดาร์เสรีเบกาวัน บรูไน ดารุสซาลาม เสียมเรียบ กัมพูชา









บุโรพุทธโธ อินโดนีเซีย ประตูชัย ลาว









ตึกแฝดเปโตนาส มาเลเซีย พระธาตุอินทร์แขวน พม่า

การขับเคลื่อนการศึกษาสู่ประชาคมอาเซียน 39








ป้อมซานติเอโก ฟิลิปปินส์ เมอร์ไลอ้อน สิงคโปร์









วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ไทย ฮาลองเบย์ เวียดนาม

4. ตัวอย่างการจัดการเรียนรู้
ตัวอย่างการจัดการเรียนรู้ เพื่อพัฒนานักเรียนสู่ประชาคมอาเซียนนี้ เป็นแนวทางเบื้องต้น

เพื่อให้เห็นถึงการดำเนินการจัดทำหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ โรงเรียนต้องจัดทำรายละเอียด

ของหลักสูตร เพื่อให้สามารถจัดทำหลักสูตร การจัดการเรียนรู้ สื่อการเรียนรู้ การวัดและประเมินผล
และนำหลักสูตรไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
1. ตัวอย่างการจัดการเรียนรู้เกี่ยวกับประชาคมอาเซียนที่เน้นกลุ่มสาระการเรียนรู้
สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม
คุณภาพของนักเรียน
นักเรียนมีความรู้ ความเข้าใจ และความตระหนักเกี่ยวกับประชาคมอาเซียน เอื้ออาทร

และแบ่งปัน เข้าใจตนเองและผู้อื่น ยอมรับในความแตกต่างและความหลากหลายทางวัฒนธรรม

ค่านิยม ความเชื่อ และนำความรู้ไปใช้ในการดำเนินชีวิต เพื่อให้อยู่ร่วมกันในสังคมที่มีความหลากหลาย

ได้อย่างมีความสุข

40 การขับเคลื่อนการศึกษาสู่ประชาคมอาเซียน
เป้าหมายของการพัฒนานักเรียนสู่ประชาคมอาเซียน
เพื่อสร้างความตระหนักและเตรียมนักเรียนสู่ประชาคมอาเซียน โดยมีเป้าหมาย ดังนี ้

ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-3 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-6

1. บอกความรู้พื้นฐาน
1. อธิบายความรู้พื้นฐาน 1. สรุปความรู้พื้นฐาน
1. อภิปรายแสดงความรู้
เกี่ยวกับอาเซียน เกี่ยวกับอาเซียน เกี่ยวกับอาเซียน และความคิดเห็น

2. เข้าร่วมกิจกรรมเกี่ยวกับ 2. เข้าร่วมกิจกรรมเกี่ยวกับ 2. ปฏิบัติตนและเข้าร่วม เกี่ยวกับอาเซียน


อาเซียน อาเซียน กิจกรรมเกี่ยวกับอาเซียน 2. ปฏิบัติตนและเข้าร่วม
กิจกรรมเกี่ยวกับอาเซียน
3. ตระหนักถึงความสำคัญ
ของอาเซียนและเผยแพร่

สาระการเรียนรู้
สาระการเรียนรู้ประชาคมอาเซียน ประกอบด้วย องค์ความรู้ ทักษะ/กระบวนการ และ
คุณลักษณะอันพึงประสงค์ เพื่อนำไปใช้ในการจัดการเรียนรู้เกี่ยวกับประชาคมอาเซียน ดังนี้

ชั้น สาระการเรียนรู้
ป.1-3 ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับอาเซียน
- ประเทศสมาชิกและข้อมูลพื้นฐาน
- ธงอาเซียนและสัญลักษณ์ของอาเซียน
- ภาษาที่ใช้ในอาเซียน
การพัฒนาคนไทยสู่ประชาคมอาเซียน
- สื่อการเรียนรู้/แหล่งการเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับอาเซียน
ป.4-6 ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับอาเซียน
- ความเป็นมา/การก่อตั้ง
- เป้าหมายและวัตถุประสงค์ในการก่อตั้ง
- ประเทศสมาชิกและข้อมูลพื้นฐาน
- ธงอาเซียนและสัญลักษณ์ของอาเซียน
- ภาษาที่ใช้ในอาเซียน
การพัฒนาคนไทยสู่ประชาคมอาเซียน
- อาเซียน
- ประชาคมอาเซียน (ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน)
- กฎบัตรอาเซียน
- ปฏิญญาการศึกษา
- สื่อการเรียนรู้/แหล่งการเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับอาเซียน

การขับเคลื่อนการศึกษาสู่ประชาคมอาเซียน 41
ชั้น สาระการเรียนรู้

ม.1-3 ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับอาเซียน
- ความเป็นมา/การก่อตั้ง
- เป้าหมายและวัตถุประสงค์ในการก่อตั้ง
- ประเทศสมาชิก ประเทศคู่เจรจา และข้อมูลพื้นฐาน
- ธงอาเซียนและสัญลักษณ์ของอาเซียน
- ภาษาที่ใช้ในอาเซียน
- การประชุมสุดยอดอาเซียน
การพัฒนาคนไทยสู่ประชาคมอาเซียน
- อาเซียน
- ประชาคมอาเซียน (ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน)
- กฎบัตรอาเซียน
- ปฏิญญาการศึกษา
- สื่อการเรียนรู้/แหล่งการเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับอาเซียน
ม.4-6 ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับอาเซียน
- ความเป็นมา/การก่อตั้ง
- เป้าหมายและวัตถุประสงค์ในการก่อตั้ง
- ประเทศสมาชิก ประเทศคู่เจรจา และข้อมูลพื้นฐาน
- ธงอาเซียนและสัญลักษณ์ของอาเซียน
- ภาษาที่ใช้ในอาเซียน
- การประชุมสุดยอดอาเซียน
การพัฒนาคนไทยสู่ประชาคมอาเซียน
- อาเซียน
- ประชาคมอาเซียน (ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน)
- กฎบัตรอาเซียน
- ปฏิญญาการศึกษา
- อาเซียนกับประเด็นต่าง ๆ (สิทธิมนุษยชน สิ่งแวดล้อม การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
ประชาธิปไตย สุขภาพ ขนบธรรมเนียม ประเพณี วัฒนธรรม ฯลฯ)
- บทบาทของประเทศไทยในประชาคมอาเซียน
- สื่อการเรียนรู้/แหล่งการเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับอาเซียน

42 การขับเคลื่อนการศึกษาสู่ประชาคมอาเซียน
แนวการจัดการเรียนรู้
1) จัดการเรียนรู้ที่เน้นนักเรียนเป็นสำคัญ เปิดโอกาสให้นักเรียนเข้ามามีส่วนร่วม

ในการจัดการเรียนรู้
2) จัดการเรียนรู้โดยใช้การบูรณาการ
3) จัดการเรียนรู้ที่มีความยืดหยุ่น ปรับเปลี่ยนกิจกรรมได้ตามความเหมาะสม
4) ใช้กระบวนการเรียนรู้ที่เน้นกระบวนการคิด กระบวนการแก้ปัญหา กระบวนการ

สร้างความตระหนัก
5) ออกแบบการจัดการเรียนรู้ โดยเลือกใช้วิธีสอนและเทคนิคการสอน สื่อการเรียนรู้/

แหล่งการเรียนรู้ การวัดและประเมินผลที่หลากหลายตามสภาพจริง
6) จัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่ดี เพื่อความเป็น
พลเมืองที่ดีในประชาคมอาเซียน
สื่อการเรียนรู้
1) แผ่นพับ “แนะนำให้รู้จักอาเซียน” ของกรมอาเซียน
2) หนังสือ “มารู้จักอาเซียนกันเถอะ” ของกรมอาเซียน
3) สื่อการเรียนรู้เกี่ยวกับอาเซียน ที่สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษาจัดทำ/จัดซื้อ/
จัดหา
4) สื่อการเรียนรู้และแหล่งการเรียนรู้อื่น ๆ ที่โรงเรียนจัดทำ/จัดซื้อ/จัดหา
แนวการวัดและประเมินผล
วัดและประเมินการเรียนรู้ที่หลากหลายตามสภาพจริง เช่น การสังเกต การสัมภาษณ์

การถาม-การตอบ การตรวจผลงานนักเรียน การวัดหรือการสอบ โดยใช้แบบสังเกต แบบสัมภาษณ์
แฟ้มสะสมผลงานนักเรียน การใช้แบบวัดหรือแบบสอบ
2. ตัวอย่างการจัดการเรียนรู้เกี่ยวกับประชาคมอาเซียนที่เน้นกลุ่มสาระการเรียนรู ้

ภาษาต่างประเทศ
การจัดการเรียนรู้เกี่ยวกับประชาคมอาเซียนที่เน้นกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ

จัดได้ 3 ลักษณะ ได้แก่
1) การจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาความรู้ความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษ
2) การจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาความรู้ความสามารถในการใช้ภาษาต่างประเทศที่ 2
3) การจั ด การเรี ย นรู ้ เ กี ่ ย วกั บ ประชาคมอาเซี ย นโดยใช้ ภ าษาอั ง กฤษเป็ น สื ่ อ ในการจั ด

การเรียนรู้

การขับเคลื่อนการศึกษาสู่ประชาคมอาเซียน 43
คุณภาพของนักเรียน
นักเรียนมีเจตคติที่ดีต่อภาษาอังกฤษ/ภาษาต่างประเทศที่ 2 สามารถใช้ภาษาอังกฤษ/
ภาษาต่างประเทศที่ 2 เพื่อการสื่อสารในสถานการณ์ต่าง ๆ แสวงหาความรู้ มีความรู้ความเข้าใจ

เรื ่ อ งราวและวั ฒ นธรรมที ่ ห ลากหลายของเจ้ า ของภาษา และนำความรู ้ ไ ปใช้ ใ นการดำเนิ น ชี ว ิ ต

ในประชาคมอาเซียน
เป้าหมายของการพัฒนานักเรียนสู่ประชาคมอาเซียน
เพื่อสร้างความตระหนักและเตรียมนักเรียนสู่ประชาคมอาเซียน และพัฒนาสมรรถนะ
การสื่อสารภาษาอังกฤษ หรือภาษาของประเทศสมาชิกอาเซียน ซึ่งเป็นสมรรถนะที่สำคัญสำหรับ

การดำเนินชีวิตในประชาคมอาเซียน โดยกำหนดเป้าหมายของการพัฒนานักเรียนสู่ประชาคมอาเซียน
จากการวิ เ คราะห์ ต ั ว ชี ้ ว ั ด และสาระการเรี ย นรู ้ แ กนกลางกลุ ่ ม สาระการเรี ย นรู ้ ภ าษาต่ า งประเทศ

กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม และกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่นที่เกี่ยวข้อง
สาระการเรียนรู้
สาระการเรียนรู้เกี่ยวกับประชาคมอาเซียนที่เน้นกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ
ประกอบด้ ว ย องค์ ค วามรู ้ ทั ก ษะ/กระบวนการ และคุ ณ ลั ก ษณะอั น พึ ง ประสงค์ โดยกำหนด

สาระการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับเป้าหมายของการพัฒนานักเรียนสู่ประชาคมอาเซียน และวิเคราะห์

สาระการเรียนรู้แกนกลางกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา
ศาสนา และวัฒนธรรม และกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่นที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำไปใช้ในการจัดการเรียนรู้

เกี ่ ย วกั บ ประชาคมอาเซี ย นที ่ เ น้ น กลุ ่ ม สาระการเรี ย นรู ้ ภ าษาต่ า งประเทศ เพื ่ อ การดำเนิ น ชี ว ิ ต ใน
ประชาคมอาเซียน
ตัวอย่าง Theme ในการจัดการเรียนรู้เกี่ยวกับประชาคมอาเซียนที่เน้นกลุ่มสาระ

การเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ
1) Personal Identification
2) House and Home
3) Life at Home
4) Education and Future Career
5) Free Time and Entertainment
6) Travel
7) Relation With Others
8) Health and Wealth
9) Shopping
10) Food and Drink

44 การขับเคลื่อนการศึกษาสู่ประชาคมอาเซียน
11) Services
12) Places
13) Foreign Languages
14) Weather
แนวการจัดการเรียนรู้
1) จัดการเรียนรู้ที่เน้นนักเรียนเป็นสำคัญ เปิดโอกาสให้นักเรียนเข้ามามีส่วนร่วม

ในการจัดการเรียนรู้
2) จัดการเรียนรู้โดยใช้การบูรณาการ
3) จัดการเรียนรู้ที่มีความยืดหยุ่น ปรับเปลี่ยนกิจกรรมได้ตามความเหมาะสม
4) ใช้กระบวนการเรียนรู้ที่เน้นกระบวนการสื่อสาร กระบวนการคิด
5) ออกแบบการจัดการเรียนรู้ โดยเลือกใช้วิธีสอนและเทคนิคการสอน สื่อการเรียนรู้/

แหล่งการเรียนรู้ การวัดและประเมินผลที่หลากหลายตามสภาพจริง
6) การจัดการเรียนรู้เกี่ยวกับประชาคมอาเซียนโดยใช้ภาษาอังกฤษเป็นสื่อในการจัด

การเรียนรู้
7) จัดการเรียนรู้ให้นักเรียนใช้ภาษาอังกฤษสื่อสารในสถานการณ์จริง
สื่อการเรียนรู้
1) สื่อการเรียนรู้และแหล่งการเรียนรู้ต่าง ๆ ที่โรงเรียนจัดทำ/จัดซื้อ/จัดหา
2) บทอ่าน เรื่องราว หรือเหตุการณ์เกี่ยวกับประชาคมอาเซียน
3) คอมพิวเตอร์ อินเทอร์เน็ต Web–Community
แนวการวัดและประเมินผล
วัดและประเมินการเรียนรู้ที่หลากหลายตามสภาพจริง เช่น การสังเกต การสัมภาษณ์
การถาม-การตอบ การตรวจผลงานนักเรียน การวัดหรือการสอบ โดยใช้แบบสังเกต แบบสัมภาษณ์
แฟ้มสะสมผลงานนักเรียน การใช้แบบวัดหรือแบบสอบ
3. ตัวอย่างการจัดกิจกรรมเสนอแนะเกี่ยวกับประชาคมอาเซียน
กิจกรรมเสนอแนะ เป็นกิจกรรมสร้างความรู้ ความเข้าใจ และความตระหนักเกี่ยวกับ
ประชาคมอาเซียน สำหรับสถานศึกษานำไปใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เกี่ยวกับประชาคมอาเซียน
ตามบริบทและความพร้อมของสถานศึกษา ซึ่งกิจกรรมเสนอแนะนี้ได้ปรับปรุงจากผลงานการปฏิบัติ
กิจกรรมสร้างความรู้ ความเข้าใจ และความตระหนักเกี่ยวกับประชาคมอาเซียนของเจ้าหน้าที่ประจำ
ศูนย์อาเซียนศึกษา ในโครงการพัฒนาสู่ประชาคมอาเซียน: Spirit of ASEAN

การขับเคลื่อนการศึกษาสู่ประชาคมอาเซียน 45
กิจกรรมที่ 1 ภาษาอาเซียนน่ารู้
จุดประสงค์
เพื่อให้นักเรียนพูดและใช้ภาษาอังกฤษ และภาษาของประเทศ
สมาชิกอาเซียน
วิธีดำเนินการ
1. นักเรียนบอกคำศัพท์ภาษาไทย
2. นักเรียนสืบค้นคำศัพท์ที่เหมือนกันในภาษาอังกฤษ และ
ภาษาของประเทศสมาชิกอาเซียน เช่น ลาว เวียดนาม เขมร ฯลฯ
3. จัดทำป้ายนิเทศ ASEAN TODAY แสดงคำศัพท์และความหมายของแต่ละภาษา
4. นักเรียนพูดนำเสนอหน้าเสาธง หรือพูดนำเสนอเป็นเสียงตามสายในโรงเรียน
สื่อและอุปกรณ์
1. พจนานุกรมภาษาไทย อังกฤษ เวียดนาม เขมร ฯลฯ
2. หนังสือ “บันทึกการเดินทางอาเซียน”
3. เว็บไซต์ อินเทอร์เน็ต
4. ป้ายนิเทศ
กิจกรรมที่ 2 ASEAN TODAY
จุดประสงค์
เพื ่ อ ให้ ค วามรู ้ เ กี ่ ย วกั บ ประเทศสมาชิ ก อาเซี ย น 10 ประเทศ และนั ก เรี ย นมี ส ่ ว นร่ ว ม

ในการนำเสนอข่าว
วิธีดำเนินการ
1. จัดทำ Script ข่าวเกี่ยวกับประเทศ
สมาชิกอาเซียน
2. จั ด ทำเนื ้ อ หาอาเซี ย น เช่ น

การแต่งกาย ดอกไม้ อาหารประจำชาติ กีฬา
สัตว์ สถานที่สำคัญ แหล่งท่องเที่ยว เศรษฐกิจ
การเมืองการปกครอง ศาสนา สังคม วัฒนธรรม
ประเพณี ฯลฯ
3. จัดเตรียมรูปภาพ
4. เตรียมบทพูดเริ่มรายการ เนื้อหาของข่าว และการจบรายการ
5. ออกอากาศตามวันเวลาที่กำหนด

46 การขับเคลื่อนการศึกษาสู่ประชาคมอาเซียน
สื่อและอุปกรณ์
1. แผ่นพับอาเซียน
2. หนังสือ “บันทึกการเดินทางอาเซียน”
3. วีดิทัศน์ “ประชาคมอาเซียน”
4. ข่าว
5. รูปภาพ
6. ห้องออกอากาศ โทรทัศน์ หรือสถานการณ์จำลอง

กิจกรรมที่ 3 ชุมชนคนรักอาเซียน
จุดประสงค์
1. เพื่อให้นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับอาเซียน
2. เพื่อให้นักเรียนได้เรียนรู้ประเพณีและวัฒนธรรมของประเทศสมาชิกอาเซียน
3. เพื่อส่งเสริมและปลูกฝังจิตสำนึกของนักเรียนเกี่ยวกับอาเซียน
วิธีดำเนินการ
1. ให้ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับอาเซียนจากอดีต ปัจจุบัน และอนาคต
2. นักเรียนชมวีดิทัศน์ “กำเนิดอาเซียน”
3. นักเรียนกล่าวคำทักทายด้วยภาษาของประเทศสมาชิกอาเซียน
4. นักเรียนจัดทำสื่อการเรียนรู้ เช่น ตุ๊กตาประเทศสมาชิกอาเซียน และธงอาเซียน
5. นักเรียนระบายสีธงชาติของประเทศสมาชิกอาเซียน
10 ประเทศ
6. นักเรียนร้องเพลงอาเซียน “The ASEAN Way”
สื่อและอุปกรณ์
1. แผ่นพับอาเซียน
2. หนังสือ “บันทึกการเดินทางอาเซียน”
3. วีดิทัศน์ “ประชาคมอาเซียน”
4. ธงชาติ ธงอาเซียน
5. ตุ๊กตาอาเซียน
6. เพลงอาเซียน

การขับเคลื่อนการศึกษาสู่ประชาคมอาเซียน 47
กิจกรรมที่ 4 An Awareness of ASEAN Campaign
จุดประสงค์
เพื่อสร้างความตระหนักและความกระตือรือร้นในการเข้าร่วมกิจกรรมอาเซียน
วิธีดำเนินการ
1. ชี้แจงจุดประสงค์ของการจัดกิจกรรมอาเซียน
2. ให้ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับอาเซียน โดยปฏิบัติกิจกรรม ดังนี้
2.1 ศึกษาแผ่นพับอาเซียน และหนังสือ “บันทึกการเดินทางอาเซียน” แล้วบอกชื่อ
ประเทศสมาชิกอาเซียน เมืองหลวง ธงชาติ
2.2 ร้องเพลง ASEAN Song
2.3 รู้จักวันและสถานที่ก่อตั้งอาเซียน และสมาชิกผู้ก่อตั้ง คำขวัญ
2.4 จัดทำของที่ระลึก เช่น ที่คั่นหนังสือ ตุ๊กตากระดาษประเทศอาเซียน
2.5 รู้จักและกล่าวคำทักทายของประเทศสมาชิกอาเซียน
3. ชมวีดิทัศน์ “ประชาคมอาเซียน” และการ์ตูนอาเซียน
สื่อและอุปกรณ์
1. แผ่นพับอาเซียน
2. หนังสือ “บันทึกการเดินทางอาเซียน”
3. วีดิทัศน์ “ประชาคมอาเซียน”
4. การ์ตูนอาเซียน
5. ธงชาติ กระดาษ สี

กิจกรรมที่ 5 ASEAN Song


จุดประสงค์
1. เพื่อให้นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับอาเซียน
2. เพื่อให้นักเรียนสามารถถ่ายทอดความเข้าใจเกี่ยวกับอาเซียนผ่านบทเพลง
3. เพื่อให้นักเรียนเกิดความตระหนักในการเป็นประชาคมอาเซียน
วิธีดำเนินการ
1. ให้ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับอาเซียนแก่นักเรียนทั้งโรงเรียน
2. จัดประกวดแต่งเพลงอาเซียน
3. เพลงที่ชนะเลิศ นำไปเข้าห้องอัด บันทึกลงแผ่นโดยนักเรียนเป็นผู้ร้อง
4. นำเพลงที่อัดแล้วไปเปิดประชาสัมพันธ์ตามสถานที่ต่าง ๆ
5. ฝึกร้องเพลง และประกวดการร้องเพลง
48 การขับเคลื่อนการศึกษาสู่ประชาคมอาเซียน
สื่อและอุปกรณ์
1. แผ่นพับอาเซียน
2. หนังสือ “มารู้จักอาเซียนกันเถอะ”
3. การ์ตูนอาเซียน
4. ห้องเทคโนโลยีหรือห้องคอมพิวเตอร์

กิจกรรมที่ 6 ASEAN Festival


จุดประสงค์
เพื่อสร้างความตระหนักเกี่ยวกับอาเซียน
วิธีดำเนินการ
1. จัดนิทรรศการ “สามเสาหลักประชาคมอาเซียน”
2. จัดซุ้มจำลองวัฒนธรรมของประเทศสมาชิกอาเซียน
3. ประกวดวาดภาพวัฒนธรรมอาเซียน
4. ประกวดสุนทรพจน์
5. ประกวดโครงงานอาเซียน
6. ประกวดการแต่งกายชุดประจำชาติอาเซียน
สื่อและอุปกรณ์
1. แผ่นพับอาเซียน
2. หนังสือ “มารู้จักอาเซียนกันเถอะ”
3. วีดิทัศน์ “ประชาคมอาเซียน”
4. เครื่องแต่งกายประจำชาติ
5. กระดาษ สี

กิจกรรมที่ 7 เผยความรู้อาเซียน
จุดประสงค์
1. สร้างความรู้ความเข้าใจ วัตถุประสงค์ ความเป็นมาอาเซียน
2. สร้างความตระหนักเกี่ยวกับอาเซียน
วิธีดำเนินการ
1. จัดกิจกรรมทักทายภาษาของประเทศสมาชิกอาเซียน “Hello in 6 Languages”
2. จัดเทศกาลอาหารอาเซียน “I Love ASEAN Food”
3. ประกวดการแต่งกายประจำชาติ “Costume Contest”

การขับเคลื่อนการศึกษาสู่ประชาคมอาเซียน 49
4. สืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับอาเซียน “ASEAN Discovery”
5. ร้องเพลงอาเซียน “The ASEAN Way”
สื่อและอุปกรณ์
1. แผ่นพับอาเซียน
2. หนังสือ “บันทึกการเดินทางอาเซียน”
3. วีดิทัศน์ “ประชาคมอาเซียน”
4. ธงชาติ
5. เครื่องแต่งกายประจำชาติ
6. อาหารประจำชาติอาเซียน

กิจกรรมที่ 8 เปิดโลกอาเซียน
จุดประสงค์
1. สร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับประชาคมอาเซียน
2. สร้างความตระหนักในการเป็นสมาชิกของประชาคมอาเซียน
วิธีดำเนินการ
1. จัดประกวดสุนทรพจน์
2. วาดภาพระบายสีเกี่ยวกับประชาคมอาเซียน “My Dream
for ASEAN Community in 2015”
3. จัดซุ้มอาหารอาเซียน
4. ประกวดการแต่งกายชุดประจำชาติ
5. การแสดงประจำชาติจากชุมนุม ชมรม อาสาอาเซียน
เช่น เต้นบัดสโลป ระบำแก้ว บารองแดนซ์
6. ร้องเพลง ASEAN Song
สื่อและอุปกรณ์
1. แผ่นพับอาเซียน
2. หนังสือ “บันทึกการเดินทางอาเซียน”
3. วีดิทัศน์ “ประชาคมอาเซียน”
4. ธงชาติ
5. เครื่องแต่งกายประจำชาติ
6. อาหารประจำชาติอาเซียน

50 การขับเคลื่อนการศึกษาสู่ประชาคมอาเซียน
กิจกรรมที่ 9 อาสาอาเซียน
จุดประสงค์
1. เพื่อให้นักเรียนตระหนักในการเป็นสมาชิกอาเซียน
2. เพื่อเผยแพร่ความรู้และนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับอาเซียน
วิธีดำเนินการ
1. รับสมัครนักเรียนกลุ่มสนใจ
2. กิจกรรมสร้างความตระหนักและให้ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับอาเซียน เช่น เพลง เกม
นิทาน ละคร
3. ฝึกทักษะการใช้ภาษาอังกฤษ และภาษาของประเทศสมาชิกอาเซียน เช่น ลาว พม่า
อินโดนีเซีย นำเสนอข้อมูลอาเซียนและข้อมูลโรงเรียนเป็นภาษาอังกฤษ และภาษาสมาชิกอาเซียน

หรือนำความรู้ไปเผยแพร่ประชาสัมพันธ์
สื่อและอุปกรณ์
1. พจนานุกรมภาษาไทย อังกฤษ ลาว พม่า อินโดนีเซีย ฯลฯ
2. หนังสือ “บันทึกการเดินทางอาเซียน”
3. เว็บไซต์ อินเทอร์เน็ต
4. ป้ายนิเทศ
5. แผ่นพับ

กิจกรรมที่ 10 อาเซียนสัญจร
จุดประสงค์
เพื่อเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ความรู้เกี่ยวกับประชาคมอาเซียน
วิธีดำเนินการ
1. จัดทำป้ายไวนิลหรือป้ายนิเทศเคลื่อนที่แนะนำประเทศ กำเนิด สัญลักษณ์ ประชาคม
อาเซียน
2. ให้นักเรียนชมการ์ตูนท่องโลกอาเซียน และศึกษาแผ่นพับอาเซียน ความรู้อาเซียน
ประเทศอาเซียน กำเนิดอาเซียน
3. ครูอธิบายเกี่ยวกับประชาคมอาเซียน และให้นักเรียนเล่นเกม หรือตอบปัญหาอาเซียน
และมอบของรางวัล
4. นักเรียนประเมินการจัดกิจกรรมอาเซียนสัญจร

การขับเคลื่อนการศึกษาสู่ประชาคมอาเซียน 51
สื่อและอุปกรณ์
1. ป้ายไวนิลหรือป้ายนิเทศ
2. หนังสือ “บันทึกการเดินทางอาเซียน”
3. การ์ตูนท่องโลกอาเซียน
4. แผ่นพับอาเซียน
5. เกม
6. รางวัล
กิจกรรมที่ 11 หน้าต่างอาเซียน
จุดประสงค์
1. เพื่อให้ความรู้และข้อมูลเกี่ยวกับอาเซียน
2. เพื่อสร้างความตระหนักในการก้าวสู่การเป็นประชาคมอาเซียน
วิธีดำเนินการ
1. แบ่งนักเรียนเป็น 10 กลุ่ม ตามประเทศสมาชิกอาเซียน
2. นักเรียนแต่ละกลุ่มศึกษาข้อมูลพื้นฐานของแต่ละประเทศตามที่ได้รับมอบหมาย
3. นักเรียนวางแผนและเตรียมการจัดแสดงผลงานจากการศึกษาค้นคว้า
4. นักเรียนจัดนิทรรศการเกี่ยวกับประเทศสมาชิกอาเซียน 10 ประเทศ
5. นักเรียนจัดการแสดงศิลปวัฒนธรรมของประเทศสมาชิกอาเซียนและการเดินขบวนพาเหรด

10 ประเทศ
สื่อและอุปกรณ์
1. ป้ายนิเทศ
2. หนังสือ “บันทึกการเดินทางอาเซียน”
3. การ์ตูนท่องโลกอาเซียน
4. แผ่นพับอาเซียน
5. กระดาษ สี
6. เว็บไซต์ อินเทอร์เน็ต
7. เครื่องแต่งกายประจำชาติ
กิจกรรมที่ 12 ASEAN Web Community
จุดประสงค์
1. เพื่อประชาสัมพันธ์ความเป็นประชาคมอาเซียนในโรงเรียน
2. เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้และแลกเปลี่ยนข้อมูลเกี่ยวกับอาเซียน

52 การขับเคลื่อนการศึกษาสู่ประชาคมอาเซียน
วิธีดำเนินการ
1. ศึกษา สำรวจฐานข้อมูลเกี่ยวกับประชาคมอาเซียนเพื่อจัดทำเว็บไซต์ หรือ Facebook
2. จัดทำและอัพโหลดข้อมูลเกี่ยวกับประชาคมอาเซียน
3. ประชาสัมพันธ์ชื่อเว็บไซต์ หรือ Facebook
4. ใช้เว็บไซต์ หรือ Facebook ในการแลกเปลี่ยนข้อมูลเกี่ยวกับประชาคมอาเซียน ในเรื่อง
ความรู้ ความสนใจ วัฒนธรรม วิถีชีวิต การแต่งกาย การละเล่น เพลง เกม เป็นต้น
สื่อและอุปกรณ์
1. เว็บไซต์ อินเทอร์เน็ต
2. หนังสือ “บันทึกการเดินทางอาเซียน”
3. การ์ตูนท่องโลกอาเซียน
4. แผ่นพับอาเซียน
5. ห้องสมุด หรือศูนย์อาเซียนศึกษา

กิจกรรมที่ 13 เปิดประตูสู่อาเซียน
จุดประสงค์
เพื่อสร้างความตระหนักเกี่ยวกับภาษาอังกฤษและความรู้เกี่ยวกับอาเซียน
วิธีดำเนินการ
1. แข่งขันตอบคำถามเกี่ยวกับอาเซียน “ASEAN QUIZ”
2. แข่งขัน “Food Project” พร้อมนำเสนอเป็นภาษาอังกฤษ
3. การแสดงร้องเพลง “The ASEAN Way” ของนักเรียน
4. การแสดงร้องเพลงภาษาของประเทศสมาชิกอาเซียน
5. การแสดงศิลปวัฒนธรรมของประเทศสมาชิกอาเซียน
6. ระบำธง 10 ชาติ
7. แต่งกายชุดประจำชาติอาเซียน
8. ประกวดโครงงานอาเซียน
9. ประกวดเรียงความ “ASEAN ร่วมใจ ก้าวไกลเป็นหนึ่ง”
สื่อและอุปกรณ์
1. คำถามเกี่ยวกับอาเซียน เพลงอาเซียน
2. หนังสือ “บันทึกการเดินทางอาเซียน”
3. ธงชาติ ธงอาเซียน
4. แผ่นพับอาเซียน
5. กระดาษ สี
การขับเคลื่อนการศึกษาสู่ประชาคมอาเซียน 53
6. เว็บไซต์ อินเทอร์เน็ต
7. เครื่องแต่งกายประจำชาติ
8. อาหารประจำชาติ
9. ห้องสมุด หรือศูนย์อาเซียนศึกษา
กิจกรรมที่ 14 อัตลักษณ์อาเซียน
จุดประสงค์
1. จัดทำข้อตกลงร่วมกันในการตระหนักรู้ในเรื่องของอาเซียน
2. ทำสัญลักษณ์และอัตลักษณ์เฉพาะกลุ่มได้
3. เข้าใจเหตุผลของการสร้างสัญลักษณ์และอัตลักษณ์อาเซียน และกฎบัตรอาเซียน
วิธีดำเนินการ
1. แบ่งนักเรียนเป็นกลุ่ม และให้แต่ละกลุ่มสร้างอัตลักษณ์และสัญลักษณ์เฉพาะของ

กลุ่มตนเอง
2. นักเรียนให้เหตุผลในการสร้างอัตลักษณ์และสัญลักษณ์ของแต่ละกลุ่ม
3. ให้นักเรียนแต่ละกลุ่มผลัดกันออกมานำกิจกรรมนันทนาการ โดยใช้สัญลักษณ์และ

อัตลักษณ์ที่สร้างขึ้นของแต่ละกลุ่ม แทนการเรียกชื่อกลุ่ม
4. นั ก เรี ย นแต่ ล ะกลุ ่ ม กำหนดข้ อ ตกลงในการศึ ก ษาความรู ้ พ ื ้ น ฐานเกี ่ ย วกั บ อาเซี ย น
สัญลักษณ์และอัตลักษณ์อาเซียน
5. ศึกษาความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับอาเซียน สัญลักษณ์และอัตลักษณ์อาเซียน
จากแหล่งการเรียนรู้ต่าง ๆ
6. นักเรียนแต่ละกลุ่มนำเสนอข้อมูลที่ได้ พร้อมทั้ง
ระบุข้อตกลงที่ทำได้และทำไม่ได้ในการปฏิบัติกิจกรรม
7. นักเรียนอธิบายเหตุผลในการจัดทำกฎบัตร
อาเซียน
8. ร้องเพลงอาเซียน
สื่อและอุปกรณ์
1. วีดิทัศน์ “ประชาคมอาเซียน”
2. หนังสือ “บันทึกการเดินทางอาเซียน”
3. ธงชาติ ธงอาเซียน สัญลักษณ์อาเซียน
4. แผ่นพับอาเซียน
5. กฎบัตรอาเซียน
6. เว็บไซต์ อินเทอร์เน็ต
7. ห้องสมุด หรือศูนย์อาเซียนศึกษา

54 การขับเคลื่อนการศึกษาสู่ประชาคมอาเซียน
กิจกรรมที่ 15 พลเมืองอาเซียน
จุดประสงค์
สร้างความรู้ ความเข้าใจ และความตระหนักเกี่ยวกับการเป็นพลเมืองอาเซียนในปี พ.ศ. 2558
วิธีดำเนินการ
1. จัดการแสดงชุด “อาเซียนร่วมใจ”
2. ร้องเพลง “The ASEAN Way”
3. ชมวีดิทัศน์ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับประเทศสมาชิกอาเซียน
4. แบ่งนักเรียนเป็นกลุ่มปฏิบัติกิจกรรม “ทัวร์อาเซียน” และบันทึกการเรียนรู้จากการปฏิบัติ
กิจกรรม 10 ฐาน ดังนี้
- ฐานบิงโกอาเซียน
- ฐานสอยดาวอาเซียน
- ฐานบันไดงูวิบาก
- ฐานปาเป้าอาเซียน
- ฐานจับคู่อาเซียน
- ฐานจิ๊กซอว์อาเซียน
- ฐานจับคู่ภาษาประเทศสมาชิกอาเซียน
- การแสดงศิลปวัฒนธรรมของประเทศสมาชิกอาเซียน
- ร้องเพลงประสานเสียงอาเซียน
- ฐานห้องเรียนอาเซียน
5. นักเรียนแสดงความคิดเห็นและความรู้สึกที่ได้จาก
การปฏิบัติกิจกรรม “ทัวร์อาเซียน”
สื่อและอุปกรณ์
1. เพลง เกม
2. วีดิทัศน์ “ประชาคมอาเซียน”
3. ธงชาติ ธงอาเซียน สัญลักษณ์อาเซียน
4. จิ๊กซอว์เกี่ยวกับอาเซียน เช่น รูปดอกไม้ประจำชาติ
ธงชาติ สถานที่สำคัญ แหล่งท่องเที่ยว
5. บัตรคำ วัสดุ อุปกรณ์ในแต่ละฐาน
6. เว็บไซต์ อินเทอร์เน็ต
7. สมุดบันทึกการเรียนรู้
8. ห้องสมุด หรือศูนย์อาเซียนศึกษา

การขับเคลื่อนการศึกษาสู่ประชาคมอาเซียน 55
ตอนที่ 4
การขับเคลื่อนการพัฒนาสู่ประชาคมอาเซียน: กรณีศึกษา
“โครงการพัฒนาสู่ประชาคมอาเซียน: Spirit of ASEAN”
โครงการพัฒนาสู่ประชาคมอาเซียน: Spirit of ASEAN เป็นโครงการที่มีบทบาทสำคัญ

ในการขับเคลื่อนการศึกษาสู่ประชาคมอาเซียน เป็นโครงการที่รับการตอบรับเป็นอย่างดี เป็นที่ชื่นชม
และได้รับการยอมรับจากหน่วยงานต่าง ๆ จากทุกภาคส่วน เช่น กรมอาเซียน กระทรวงการต่างประเทศ
กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ คณะกรรมาธิการการศึกษา วุฒิสภา สมาคม
อาเซียนแห่งประเทศไทย สถาบันการศึกษาทุกระดับ ฯลฯ โครงการพัฒนาสู่ประชาคมอาเซียน: Spirit of
ASEAN ได้ดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อเตรียมความพร้อมคนในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน โดยมี

รายละเอียดกิจกรรมและผลการดำเนินการ ดังนี้

โครงการพัฒนาสู่ประชาคมอาเซียน: Spirit of ASEAN


สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยสำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา

ได้ ด ำเนิ น โครงการพั ฒ นาสู ่ ป ระชาคมอาเซี ย น: Spirit of ASEAN เพื ่ อ เตรี ย มเยาวชนไทยให้ ม ี

ความพร้อมในการเป็นสมาชิกที่ดีของประชาคมอาเซียน สามารถติดต่อสื่อสารและอยู่ร่วมกันได้

บนพื้นฐานของความเสมอภาคและผลประโยชน์ร่วมกัน ในที่นี้จะขอยกตัวอย่างกรณีศึกษาของโรงเรียน

Sister School และ Buffer School เท่ า นั ้ น 1) Sister School จำนวน 30 โรง เป็ น โรงเรี ย น

ที่จัดการเรียนรู้เกี่ยวกับประชาคมอาเซียน เน้นการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ เทคโนโลยี และ

ภาษาของประเทศสมาชิกอาเซียนอีก 1 ภาษา พหุวัฒนธรรม และ 2) Buffer School จำนวน

24 โรง เป็นโรงเรียนที่จัดการเรียนรู้เกี่ยวกับประชาคมอาเซียน เน้นการเรียนการสอนภาษาของประเทศ
อาเซียน 1 ภาษา (ภาษาของประเทศที่มีชายแดนติดที่ตั้งของโรงเรียน เช่น ลาว พม่า กัมพูชา และ
มาเลเซีย) พหุวัฒนธรรม เทคโนโลยี และพัฒนาให้เป็นศูนย์อาเซียนศึกษาที่มีความพร้อมและศักยภาพ
ในการจัดกิจกรรมสร้างความรู้ ความเข้าใจ และความตระหนัก รวมทั้งจัดการเรียนรู้ สื่อการเรียนรู้

และแหล่งการเรียนรู้เกี่ยวกับประชาคมอาเซียน ซึ่งประกอบด้วยเสาหลัก 3 เสา ได้แก่ เสาหลัก
ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน เสาหลักประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน และเสาหลัก
ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน เพื่อเตรียมคนสู่ประชาคมอาเซียนในปี พ.ศ. 2558 และ

56 การขับเคลื่อนการศึกษาสู่ประชาคมอาเซียน
สร้างความเข้มแข็งให้แก่โรงเรียนในโครงการเป็นต้นแบบในการขยายผลให้โรงเรียนทุกโรงทั่วประเทศ

ขับเคลื่อนการพัฒนาสู่ประชาคมอาเซียน สร้างความรู้ ความเข้าใจ และความตระหนักเกี่ยวกับ
ประชาคมอาเซี ย นให้ แ ก่ ผู ้ เ รี ย น ผู ้ ป กครอง และประชาชนทั ่ ว ไป รวมทั ้ ง ส่ ง เสริ ม และสนั บ สนุ น

ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาและมัธยมศึกษา จำนวน 225 เขตพื้นที่มีความพร้อม

ในการเตรียมบุคลากรและโรงเรียนในเขตพื้นที่สู่ประชาคมอาเซียน โดยแบ่งระยะเวลาในการดำเนินการ
เป็น 3 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 การเตรียมความพร้อมในการเตรียมคนสู่ประชาคมอาเซียน ระยะที่ 2

การสร้างความเข้มแข็งในการเตรียมคนสู่ประชาคมอาเซียน และระยะที่ 3 การพัฒนาสมรรถนะที่สำคัญ
สู่ประชาคมอาเซียน ดังรายละเอียดต่อไปนี้

ระยะที่ 1 การเตรียมความพร้อมในการเตรียมคนสู่ประชาคมอาเซียน
การดำเนินการในระยะที่ 1 เป็นการเตรียมความพร้อมในการเตรียมคนสู่ประชาคมอาเซียน

มีการดำเนินการ 2 ช่วงเวลา ได้แก่ มีนาคม-ธันวาคม 2553 และปีงบประมาณ 2553-2554
มีนาคม-ธันวาคม 2553
หลักการและเหตุผล
รัฐบาลไทยได้ร่วมมือกับอาเซียนในการเสริมสร้างความแข็งแกร่งและความเจริญรุ่งเรือง

ในภูมิภาคทั้งทางด้านเศรษฐกิจ การเมืองและความมั่นคง ตลอดจนสังคมและวัฒนธรรมที่สอดคล้อง
กับกฎบัตรอาเซียน และนโยบายของรัฐบาลไทยในการเสริมสร้างความสัมพันธ์อันดีกับประเทศเพื่อนบ้าน

และกลุ่มประเทศอาเซียน โดยใช้การศึกษาเป็นกลไกหลักในการขับเคลื่อนการพัฒนา เพื่อเป็นรากฐาน
สำคัญในการเสริมสร้างความเจริญรุ่งเรืองทางด้านเศรษฐกิจ การเมืองและความมั่นคง ตลอดจน

สังคมและวัฒนธรรมของประเทศ ต่อมาที่ประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 15 ได้ให้การรับรองปฏิญญา
ชะอำ-หัวหิน ว่าด้วยการเสริมสร้างความร่วมมือด้านการศึกษา เพื่อบรรลุประชาคมอาเซียนที่เอื้ออาทร
และแบ่งปัน เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน และการพัฒนาภูมิภาคอย่างยั่งยืน และได้กำหนด
ให้สาขาการศึกษาเป็นส่วนหนึ่งในการตอบสนองการสร้างประชาคมการเมืองและความมั่นคง เศรษฐกิจ

สังคมและวัฒนธรรม ภายในปี พ.ศ. 2558
กระทรวงศึกษาธิการได้กำหนดบทบาทการดำเนินงานด้านต่างประเทศเชิงรุก โดยเน้น

การกระชับความสัมพันธ์และการขยายความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านและในภูมิภาคเอเชีย ภายใต้
กรอบความร่วมมือด้านต่าง ๆ โดยเฉพาะกรอบความร่วมมือด้านการศึกษา เนื่องจากการศึกษา

เป็นรากฐานสำคัญในการขับเคลื่อนความเจริญรุ่งเรืองของประเทศไทยและภูมิภาค ความร่วมมือดังกล่าว
เป็นไปในทิศทางที่สอดคล้องกับแนวทางการปฏิรูปการศึกษาของประเทศสมาชิกอาเซียน โดยเฉพาะ
อย่างยิ่งการขยายโอกาสทางการศึกษา การยกระดับคุณภาพการศึกษา การใช้โครงสร้างพื้นฐาน

สิ ่ ง อำนวยความสะดวกและเทคโนโลยี ก ารสื ่ อ สาร ตลอดจนการบริ ห ารจั ด การทางการศึ ก ษา

การขับเคลื่อนการศึกษาสู่ประชาคมอาเซียน 57
ในเชิงคุณภาพ เพื่อสร้างประชาคมอาเซียน ดินแดนแห่งความสงบสุข สันติภาพ และมีความเจริญรุ่งเรือง

ทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน ดังนั้น เพื่อให้สอดรับนโยบายดังกล่าว สำนักงานคณะกรรมการการศึกษา

ขั้นพื้นฐาน โดยสำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา จึงได้จัดทำโครงการพัฒนาสู่ประชาคมอาเซียน:

Spirit of ASEAN เพื ่ อ ผลั ก ดั น การดำเนิ น การด้ า นการศึ ก ษาของประเทศไทยให้ ส อดรั บ ต่ อ

การเป็นประชาคมอาเซียน และพัฒนาเยาวชนไทยให้มีสมรรถนะที่สำคัญสำหรับการดำเนินชีวิต

ในประชาคมอาเซียน
วัตถุประสงค์
1. เพื่อจัดทำแนวทางการดำเนินงานโครงการพัฒนาสู่ประชาคมอาเซียน: Spirit of ASEAN
2. เพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจ และความตระหนักเกี่ยวกับประชาคมอาเซียนแก่ผู้บริหาร
สถานศึกษา ครู บุคลากรทางการศึกษา นักเรียนของโรงเรียนที่เป็นที่ตั้งศูนย์และโรงเรียนเครือข่าย

รวมทั้งศึกษานิเทศก์
3. เพื่อพัฒนาโรงเรียนที่เป็นศูนย์อาเซียนศึกษาให้เป็นแหล่งเรียนรู้เกี่ยวกับอาเซียนที่มี

ความพร้อมสำหรับนักเรียน ครู บุคลากรทางการศึกษา ในโรงเรียนที่เป็นที่ตั้งศูนย์และโรงเรียนเครือข่าย

รวมทั้งประชาชนในชุมชนที่รายรอบโรงเรียน
4. เพื่อพัฒนาให้ครูและนักเรียนในโรงเรียนที่เป็นศูนย์อาเซียนศึกษาสามารถใช้ภาษา

ต่างประเทศ พหุวัฒนธรรม และเทคโนโลยีการสื่อสารและสารสนเทศ ในการสื่อสารกับประเทศ

ในประชาคมอาเซียน
เป้าหมาย
1. เชิงปริมาณ
1) ผู้บริหารสถานศึกษา ครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียนในโรงเรียนต้นแบบ

การพัฒนาสู่ประชาคมอาเซียน Sister School และ Buffer School จำนวน 54 โรง
2) ศึกษานิเทศก์ ในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาที่มีสถานศึกษาเข้าร่วมโครงการ
จำนวน 49 เขต
3) ศูนย์อาเซียนศึกษา จำนวน 54 ศูนย์ ได้แก่ 1) ศูนย์อาเซียนศึกษาในโรงเรียน

ที่ได้รับการคัดเลือกเป็นโรงเรียน Sister School จำนวน 30 โรง ในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา

ประถมศึกษา จำนวน 15 เขต และสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา จำนวน 14 เขต และ

2) ศูนย์อาเซียนศึกษาในโรงเรียนที่ได้รับการคัดเลือกเป็นโรงเรียน Buffer School จำนวน 24 โรง

ในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา จำนวน 12 เขต และสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา
จำนวน 10 เขต ได้แก่

58 การขับเคลื่อนการศึกษาสู่ประชาคมอาเซียน
3.1) Sister School
ระดับประถมศึกษา
1. โรงเรียนไทยรัฐวิทยา 14 (ท่าใหม่บ้านสิ้ว) สพป.จันทบุรี เขต 1
2. โรงเรียนอนุบาลชัยภูมิ สพป.ชัยภูมิ เขต 1
3. โรงเรียนแม่คือวิทยา สพป.เชียงใหม่ เขต 1
4. โรงเรียนสุนทรวิจิตร สพป.นครพนม เขต 1
5. โรงเรียนวัดพระมหาธาตุ สพป.นครศรีธรรมราช เขต 1
6. โรงเรียนอนุบาลนครสวรรค์ สพป.นครสวรรค์ เขต 1
7. โรงเรียนวัดดอนไก่เตี้ย สพป.เพชรบุรี เขต 1
8. โรงเรียนอนุบาลพังงา สพป.พังงา
9. โรงเรียนอนุบาลพิษณุโลก สพป.พิษณุโลก เขต 1
10. โรงเรียนอนุบาลลพบุรี สพป.ลพบุรี เขต 1
11. โรงเรียนอนุบาลสงขลา สพป.สงขลา เขต 1
12. โรงเรียนอนุบาลสุรินทร์ สพป.สุรินทร์ เขต 1
13. โรงเรียนอนุบาลสมุทรสาคร สพป.สมุทรสาคร
14. โรงเรียนอนุบาลสุโขทัย สพป.สุโขทัย เขต 1
15. โรงเรียนอนุบาลอุดรธานี สพป.อุดรธานี เขต 1
ระดับมัธยมศึกษา
1. โรงเรียนพิบูลวิทยาลัย สพม. เขต 5 (ลพบุรี))
2. โรงเรียนสมุทรสาครบูรณะ สพม. เขต 10 (สมุทรสาคร)
3. โรงเรียนพรหมานุสรณ์ จังหวัดเพชรบุรี สพม. เขต 10 (เพชรบุรี)
4. โรงเรียนเมืองนครศรีธรรมราช สพม. เขต 12 (นครศรีธรรมราช)
5. โรงเรียนดีบุกพังงาวิทยายน สพม. เขต 14 (พังงา)
6. โรงเรียนมหาวชิราวุธ จังหวัดสงขลา สพม. เขต 16 (สงขลา)
7. โรงเรียนอุดรพิทยานุกูล สพม. เขต 20 (อุดรธานี)
8. โรงเรียนปิยะมหาราชาลัย สพม. เขต 22 (นครพนม)
9. โรงเรียนกัลยาณวัตร สพม. เขต 25 (ขอนแก่น)
10. โรงเรียนชัยภูมิภักดีชุมพล สพม. เขต 30 (ชัยภูมิ)
11. โรงเรียนสิรินธร สพม. เขต 33 (สุรินทร์)
12. โรงเรียนดอยสะเก็ดวิทยาคม สพม. เขต 34 (เชียงใหม่)
13. โรงเรียนคีรีมาศพิทยาคม สพม. เขต 38 (สุโขทัย)
14. โรงเรียนพิษณุโลกพิทยาคม สพม. เขต 39 (พิษณุโลก)
15. โรงเรียนนครสวรรค์ สพม. เขต 42 (นครสวรรค์)

การขับเคลื่อนการศึกษาสู่ประชาคมอาเซียน 59
3.2) Buffer School
ระดับประถมศึกษา
1. โรงเรียนบ้านท่าอาจ สพป.ตาก เขต 2
2. โรงเรียนบ้านแม่สลิดหลวงวิทยา สพป.ตาก เขต 2
3. โรงเรียนบ้านเวียงพาน สพป.เชียงราย เขต 3
4. โรงเรียนบ้านร่มเกล้า สพป.น่าน เขต 1
5. โรงเรียนบ้านส้มป่อย สพป.มุกดาหาร
6. โรงเรียนไทยรัฐวิทยา 94 (บ้านบ่อน้ำร้อน) สพป.ยะลา เขต 3
7. โรงเรียนบ้านน้ำแดง สพป.ระนอง
8. โรงเรียนบ้านหาดจิก สพป.ระนอง
9. โรงเรียนบ้านตะโกล่าง สพป.ราชบุรี เขต 1
10. โรงเรียนบ้านเสาธงชัย สพป.ศรีสะเกษ เขต 4
11. โรงเรียนอนุบาลบุ่งคล้า สพป.หนองคาย เขต 3
12. โรงเรียนบ้านหนองเม็ก สพป.อุบลราชธานี เขต 5
13. โรงเรียนกาบเชิงมิตรภาพที่ 190 สพป.สุรินทร์ เขต 3
14. โรงเรียนบ้านจัดสรรสามัคคี สพป.สระแก้ว เขต 2
ระดับมัธยมศึกษา
1. โรงเรียนคลองน้ำใสวิทยาคาร สพม. เขต 7 (สระแก้ว)
2. โรงเรียนสวนผึ้งวิทยา สพม. เขต 8 (ราชบุรี)
3. โรงเรียนเบตง “วีระราษฎร์ประสาน” สพม. เขต 15 (ยะลา)
4. โรงเรียนบึงกาฬ สพม. เขต 21 (บึงกาฬ)
5. โรงเรียนมุกดาวิทยานุกูล สพม. เขต 22 (มุกดาหาร)
6. โรงเรียนภูมิซรอลวิทยา สพม. เขต 28 (ศรีสะเกษ)
7. โรงเรียนเอือดใหญ่พิทยา สพม. เขต 29 (อุบลราชธานี)
8. โรงเรียนพนมดงรักวิทยา สพม. เขต 33 (สุรินทร์)
9. โรงเรียนเวียงแก่นวิทยาคม สพม. เขต 36 (เชียงราย)
10. โรงเรียนสาธุกิจประชาสรรค์ รัชมังคลาภิเษก สพม. เขต 37 (น่าน)
4) โรงเรียนเครือข่าย และประชาชนในชุมชนที่รายรอบโรงเรียนต้นแบบการพัฒนา

สู่ประชาคมอาเซียน จำนวน 54 โรง อย่างน้อยโรงเรียนละ 9 โรง

60 การขับเคลื่อนการศึกษาสู่ประชาคมอาเซียน
2. เชิงคุณภาพ
2.1 ผู ้ บ ริ ห ารสถานศึ ก ษา ครู บุ ค ลากรทางการศึ ก ษามี ค วามรู ้ ความเข้ า ใจ และ

ความตระหนักเกี่ยวกับประชาคมอาเซียน พัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาที่เน้นอาเซียน และจัดกิจกรรม

การเรียนรู้เกี่ยวกับอาเซียนร่วมกับที่ปรึกษาศูนย์อาเซียนศึกษา และศึกษานิเทศก์
2.2 ครู และนั ก เรี ย นของโรงเรี ย น Sister School และ Buffer School มี ค วามรู ้

ความเข้าใจ และความตระหนักเกี่ยวกับประชาคมอาเซียน สามารถใช้ภาษาต่างประเทศ พหุวัฒนธรรม
และเทคโนโลยีการสื่อสารและสารสนเทศ ในการสื่อสารกับประเทศในประชาคมอาเซียน
2.3 ศูนย์อาเซียนศึกษามีความพร้อมในการเป็นแหล่งเรียนรู้เกี่ยวกับประชาคมอาเซียน
และมีศักยภาพในการจัดกิจกรรมสร้างความตระหนัก และพัฒนาเยาวชนไทยให้มีสมรรถนะที่สำคัญ
สำหรับการดำเนินชีวิตในประชาคมอาเซียน
2.4 โรงเรียนเครือข่าย และประชาชนในชุมชนที่รายรอบโรงเรียนมีความรู้ความเข้าใจ

เกี่ยวกับอาเซียนได้อย่างมีคุณภาพ
วิธีการดำเนินงาน
1. ประชุมจัดทำแนวทางการดำเนินงานโครงการพัฒนาสู่ประชาคมอาเซียน: Spirit of ASEAN
2. ประชุมชี้แจงสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการดำเนินโครงการแก่โรงเรียน Sister School
และ Buffer School
3. พัฒนาโรงเรียนเป็นศูนย์อาเซียนศึกษา
4. เสริมสร้างความเข้มแข็งพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาที่เน้นอาเซียน ภาษาอังกฤษแบบเข้ม

ภาษาต่างประเทศที่ 2 (ภาษาเพื่อนบ้าน) พหุวัฒนธรรม เทคโนโลยีสารสนเทศ รวมทั้งสื่อการเรียนรู ้

เกี่ยวกับอาเซียน
5. พัฒนานักเรียน (ค่ายวิชาการ)
6. ค่ายวิชาการกลุ่มประเทศอาเซียน
7. ประชาสัมพันธ์
8. นิเทศ กำกับ ติดตามประเมินผล และรายงานผลการดำเนินโครงการ

การขับเคลื่อนการศึกษาสู่ประชาคมอาเซียน 61
ผลการดำเนินงาน
1. ประชุมจัดทำแนวทางการดำเนินงานโครงการพัฒนาสู่ประชาคมอาเซียน: Spirit of
ASEAN
ได้ คู ่ ม ื อ ดำเนิ น งานโครงการพั ฒ นาสู ่ ป ระชาคมอาเซี ย น: Spirit of ASEAN สำหรั บ
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา Sister School และ

Buffer School ใช้ในการดำเนินโครงการ
2. ประชุมชี้แจงสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการดำเนินโครงการแก่โรงเรียน Sister
School และ Buffer School
ศึกษานิเทศก์ ผู้บริหารสถานศึกษา และครูในโรงเรียนที่เป็นศูนย์อาเซียนศึกษามีความรู้
ความเข้าใจ และสามารถดำเนินงานโครงการพัฒนาสู่ประชาคมอาเซียน: Spirit of ASEAN
3. พัฒนาโรงเรียนเป็นศูนย์อาเซียนศึกษา
จัดสรรโอนเงินให้โรงเรียนที่เป็นศูนย์อาเซียนศึกษาจัดตั้งศูนย์อาเซียนศึกษาจัดจ้าง

เจ้าหน้าที่ประจำศูนย์อาเซียน และจัดประชุม/อบรมสร้างความรู้ความเข้าใจเรื่องการจัดกิจกรรม

สร้ า งความตระหนั ก เกี ่ ย วกั บ อาเซี ย นให้ แ ก่ เ จ้ า หน้ า ที ่ ป ระจำศู น ย์ อ าเซี ย นของ Sister School

และ Buffer School โรงเรียนสามารถเป็นศูนย์อาเซียนศึกษา จัดกิจกรรมสร้างความรู้ ความเข้าใจ

และความตระหนักเกี่ยวกับอาเซียนให้แก่ผู้เรียน โรงเรียนเครือข่าย และชุมชนที่อยู่รายรอบโรงเรียน

รวมทั้งเป็นแหล่งการเรียนรู้เกี่ยวกับอาเซียนให้แก่โรงเรียน หน่วยงานอื่น และผู้ที่สนใจทั่วไป
จากการที่โครงการพัฒนาสู่ประชาคมอาเซียน: Spirit of ASEAN ได้คัดเลือกโรงเรียน

ในสั ง กั ด เข้ า ร่ ว มโครงการเพื ่ อ พั ฒ นาให้ ม ี ค วามพร้ อ มและศั ก ยภาพในการจั ด การเรี ย นรู ้ เ กี ่ ย วกั บ
ประชาคมอาเซียน เป็นศูนย์อาเซียนศึกษา จำนวน 54 โรง ได้แก่ 1) Sister School จำนวน 30 โรง

และ 2) Buffer School จำนวน 24 โรง มีรายละเอียด ดังนี้
โรงเรียน Sister School
Sister School หมายถึง โรงเรียนที่จัดการเรียนรู้เกี่ยวกับประชาคมอาเซียน และ

มีศูนย์อาเซียนศึกษา เน้นการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ เทคโนโลยี และภาษาของประเทศสมาชิก
อาเซียนอีก 1 ภาษา (ภาษาของประเทศในอาเซียน 9 ประเทศ คือ เวียดนาม ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย
สิงคโปร์ บรูไน ลาว พม่า กัมพูชา และมาเลเซีย) พหุวัฒนธรรม มีบทบาทหน้าที่ ดังนี้

62 การขับเคลื่อนการศึกษาสู่ประชาคมอาเซียน







1. จัดตั้งศูนย์อาเซียนศึกษา เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้โดยจัดกิจกรรมสร้างความตระหนักรู ้

ให้บริการและพัฒนาการเรียนรู้อาเซียนศึกษา
1.1 แต่งตั้งคณะกรรมการ หรือคณะทำงานประจำศูนย์อาเซียนศึกษา
1.2 จัดห้องเฉพาะสำหรับเป็นศูนย์อาเซียนศึกษา
1.3 จัดทำป้าย

ศูนย์อาเซียนศึกษา

ASEAN Study Centre

โรงเรียน...........................................Sister School

1.4 จัดหาและพัฒนาสื่อ หนังสือเกี่ยวกับประชาคมอาเซียน ได้แก่
1) สื่อสิ่งพิมพ์ที่ใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้และให้บริการส่งเสริมการเรียนรู้
อย่างต่อเนื่อง
2) สื่อการเรียนรู้อื่น ๆ เกี่ยวกับอาเซียน ที่สำนักงานคณะกรรมการการศึกษา

ขั้นพื้นฐาน โดยสำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษาจัดให้โรงเรียนที่เป็นศูนย์อาเซียนศึกษา
1.5 จัดกิจกรรมบริการเคลื่อนที่สร้างความตระหนัก เรื่อง ประชาคมอาเซียน ให้กับ
ประชาชน ชุมชนที่รายรอบโรงเรียน และโรงเรียนเครือข่ายอาเซียน

การขับเคลื่อนการศึกษาสู่ประชาคมอาเซียน 63
2. จั ด จ้ า งเหมาบริ ก ารการพั ฒ นาหลั ก สู ต รสถานศึ ก ษาตามโครงการพั ฒ นาสู ่

ประชาคมอาเซียน ศูนย์อาเซียนศึกษา ในโรงเรียน Sister School เพื่อปฏิบัติหน้าที่เป็นที่ปรึกษา



ของศูนย์อาเซียนศึกษา โรงเรียนละ 1 คน เพื่อพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาตามโครงการพัฒนาสู่
ประชาคมอาเซียน และนำหลักสูตรไปใช้พัฒนาครูด้านภาษาอังกฤษ และภาษาของประเทศสมาชิก

อาเซียนเพิ่มอีก 1 ภาษา การใช้เทคโนโลยีการสื่อสารและสารสนเทศ สรุปและรายงานผลการดำเนินงาน



จัดทำเป็นรูปเล่ม
3. จั ด จ้ า งเหมาบริ ก ารงานประจำศู น ย์ อ าเซี ย นศึ ก ษา โดยการจั ด กิ จ กรรมสร้ า ง

ความตระหนักรู้ตามโครงการพัฒนาสู่ประชาคมอาเซียน เพื่อปฏิบัติหน้าที่เป็นเจ้าหน้าที่ประจำ

ศูนย์อาเซียนศึกษา โรงเรียนละ 1 คน
4. จัดจ้างเหมาบริการทำการสอนภาษาของประเทศสมาชิกอาเซียนตามโครงการ
พั ฒ นาสู่ ป ระชาคมอาเซี ย น เพื ่ อ ปฏิ บ ั ต ิ ห น้ า ที ่ เ ป็ น ครู ส อนภาษาของประเทศสมาชิ ก อาเซี ย น

โรงเรียนละ 1 คน
5. แต่งตั้งครูในสถานศึกษา เพื่อทำหน้าที่เป็นครูผู้รับผิดชอบศูนย์อาเซียนศึกษา
เป็นพี่เลี้ยง ประสานงาน และกำกับดูแลการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ประจำศูนย์ และครูสอนภาษา

อาเซียน โดยให้ผู้บริหารสถานศึกษาพิจารณาคัดเลือกครูที่ปฏิบัติการสอนในโรงเรียนตามความเหมาะสม
6. จัดกิจกรรมการเรียนรู้ภายในโรงเรียน
6.1 การจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อพัฒนานักเรียนสู่ประชาคมอาเซียน สามารถดำเนินการ
ได้ 3 ลักษณะ ได้แก่
1) นำไปสอนสอดแทรก หรือบูรณาการในรายวิชาพื้นฐาน 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้
2) จัดทำเป็นรายวิชาเพิ่มเติมในกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และ
วัฒนธรรม ภาษาต่างประเทศ การงานอาชีพและเทคโนโลยี เช่น ประชาคมอาเซียน ภาษาอังกฤษ

เพื่อเยาวชนอาเซียน ภาษาและวัฒนธรรมเวียดนาม ICT กับประชาคมอาเซียน
3) จัดทำเป็นกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน เช่น ชุมนุม/ชมรมรักษ์อาเซียน เยาวชน
อาเซียน ค่ายเยาวชนอาเซียน ภาษาในอาเซียน และจัดกิจกรรมเสริมและจัดบรรยากาศที่เอื้อต่อ

การเรียนรู้เกี่ยวกับประชาคมอาเซียน
6.2 แนวการจัดการเรียนรู้
1) จัดการเรียนรู้ที่เน้นนักเรียนเป็นสำคัญ เปิดโอกาสให้นักเรียนเข้ามามีส่วนร่วม

ในการจัดการเรียนรู้
2) จัดการเรียนรู้โดยใช้การบูรณาการในกลุ่มสาระการเรียนรู้ 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้
และกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
3) จัดการเรียนรู้ที่มีความยืดหยุ่น ปรับเปลี่ยนกิจกรรมได้ตามความเหมาะสม
4) ใช้กระบวนการเรียนรู้ที่เน้นกระบวนการสื่อสาร กระบวนการคิด กระบวนการ
แก้ปัญหา กระบวนการสร้างความตระหนัก

64 การขับเคลื่อนการศึกษาสู่ประชาคมอาเซียน
5) ออกแบบการจัดการเรียนรู้ โดยใช้วิธีสอนและเทคนิคการสอน สื่อการเรียนรู้/
แหล่งการเรียนรู้ที่หลากหลาย การวัดและประเมินผลตามสภาพจริง
6) การจัดการเรียนรู้เกี่ยวกับประชาคมอาเซียนโดยใช้ภาษาอังกฤษ และภาษา
ของประเทศสมาชิกอาเซียนเป็นสื่อในการจัดการเรียนรู้
7) จัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมการพัฒนาสมรรถนะสำคัญ คุณธรรม จริยธรรม และ

ค่านิยมที่ดี เพื่อความเป็นพลเมืองที่ดีในประชาคมอาเซียน
6.3 สื่อการเรียนรู้
1) สื่อการเรียนรู้เกี่ยวกับอาเซียน ที่สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
โดยสำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษาจัดทำ/จัดซื้อ/จัดหา
2) สื่อการเรียนรู้และแหล่งการเรียนรู้อื่น ๆ ที่โรงเรียนจัดทำ/จัดซื้อ/จัดหา
3) คอมพิวเตอร์ อินเทอร์เน็ต Web–Community
6.4 การวัดและประเมินผล วัดและประเมินการเรียนรู้ที่หลากหลายตามสภาพจริง
7. บริการสื่อการเรียนรูภ้ ายในโรงเรียนและโรงเรียนเครือข่ายอาเซียน
8. บริการจัดการเรียนรู้เคลื่อนทีใ่ ห้กับโรงเรียนเครือข่ายอาเซียน
9. จัดกิจกรรมค่ายวิชาการเกี่ยวกับประชาคมอาเซียนที่เน้นเรื่องอัตลักษณ์ ประวัติศาสตร์

และวัฒนธรรมอาเซียน ประกวดโครงงานความรู้ ความตระหนักเกี่ยวกับอาเซียนสำหรับนักเรียน ครู

ผู้บริหารระหว่างโรงเรียนที่เป็นศูนย์อาเซียนศึกษาและโรงเรียนเครือข่ายอาเซียน
10. ประสานสัมพันธ์กับประเทศสมาชิกอาเซียน 9 ประเทศ ประเทศใดประเทศหนึ่ง

ที่โรงเรียนเลือกเรียนภาษาของประเทศสมาชิกอาเซียนเพิ่มเติม
11. สรุปและรายงานผลการดำเนินงานโครงการของศูนย์อาเซียนศึกษาต่อสำนักงาน

เขตพื้นที่การศึกษาและสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

การขับเคลื่อนการศึกษาสู่ประชาคมอาเซียน 65
โรงเรียน Buffer School
Buffer School หมายถึง โรงเรียนที่จัดการเรียนรู้เกี่ยวกับประชาคมอาเซียน และ

มีศูนย์อาเซียนศึกษา เน้นการเรียนการสอนภาษาอาเซียน 1 ภาษา (ภาษาประเทศที่มีชายแดนติดที่ตั้ง
ของโรงเรียน เช่น ลาว พม่า กัมพูชา และมาเลเซีย) พหุวัฒนธรรม และเทคโนโลยี มีบทบาทหน้าที่ ดังนี้








1. จัดตั้งศูนย์อาเซียนศึกษา เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้โดยจัดกิจกรรมสร้างความตระหนักรู้

ให้บริการและพัฒนาการเรียนรู้อาเซียนศึกษา
1.1 แต่งตั้งคณะกรรมการ หรือคณะทำงานประจำศูนย์อาเซียนศึกษา
1.2 จัดห้องเฉพาะสำหรับเป็นศูนย์อาเซียนศึกษา
1.3 จัดทำป้าย

ศูนย์อาเซียนศึกษา

ASEAN Study Centre

โรงเรียน...........................................Buffer School

1.4 จั ด หาและพั ฒ นาสื ่ อ หนั ง สื อ
เกี่ยวกับประชาคมอาเซียน ได้แก่
1) สื ่ อ สิ ่ ง พิ ม พ์ ท ี ่ ใ ช้ ใ นการจั ด
กิจกรรมการเรียนรู้และให้บริการส่งเสริมการเรียนรู้

อย่างต่อเนื่อง
2) สื่อการเรียนรู้อื่น ๆ เกี่ยวกับ
อาเซียน ที่สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
โดยสำนั ก วิ ช าการและมาตรฐานการศึ ก ษาจั ด ให้
โรงเรียนที่เป็นศูนย์อาเซียนศึกษา
66 การขับเคลื่อนการศึกษาสู่ประชาคมอาเซียน
1.5 จัดกิจกรรมบริการเคลื่อนที่สร้างความตระหนัก เรื่อง ประชาคมอาเซียน ให้กับ
ประชาชน ชุมชนที่รายรอบโรงเรียน และโรงเรียนเครือข่ายอาเซียน
2. จั ด จ้ า งเหมาบริ ก ารการพั ฒ นาหลั ก สู ต รสถานศึ ก ษาตามโครงการพั ฒ นาสู่
ประชาคมอาเซียน ศูนย์อาเซียนศึกษา ในโรงเรียน Buffer School เพื่อปฏิบัติหน้าที่เป็นที่ปรึกษา
ของศูนย์อาเซียนศึกษา โรงเรียนละ 1 คน เพื่อพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาตามโครงการพัฒนาสู ่

ประชาคมอาเซียน และนำหลักสูตรไปใช้พัฒนาครูด้านภาษาของประเทศสมาชิกอาเซียน 1 ภาษา



การใช้เทคโนโลยีการสื่อสารและสารสนเทศ สรุปและรายงานผลการดำเนินงาน จัดทำเป็นรูปเล่ม
3. จัดจ้างเหมาบริการงานประจำศูนย์อาเซียนศึกษา โดยการจัดกิจกรรมสร้างความตระหนักรู้

ตามโครงการพัฒนาสู่ประชาคมอาเซียน เพื่อปฏิบัติหน้าที่เป็นเจ้าหน้าที่ประจำศูนย์อาเซียนศึกษา
โรงเรียนละ 1 คน
4. จัดจ้างเหมาบริการทำการสอนภาษาของประเทศสมาชิกอาเซียนตามโครงการ
พั ฒ นาสู่ ป ระชาคมอาเซี ย น เพื ่ อ ปฏิ บ ั ต ิ ห น้ า ที ่ เ ป็ น ครู ส อนภาษาของประเทศสมาชิ ก อาเซี ย น

โรงเรียนละ 1 คน
5. แต่งตั้งครูในสถานศึกษา เพื่อทำหน้าที่เป็นครูผู้รับผิดชอบศูนย์อาเซียนศึกษา
เป็นพี่เลี้ยง ประสานงาน และกำกับดูแลการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ประจำศูนย์ และครูสอนภาษา
อาเซียน โดยให้ผู้บริหารสถานศึกษาพิจารณาคัดเลือกครูที่ปฏิบัติการสอนในโรงเรียนตามความเหมาะสม
6. จัดกิจกรรมการเรียนรู้ภายในโรงเรียน
6.1 การจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อพัฒนานักเรียนสู่ประชาคมอาเซียน สามารถดำเนินการ

ได้ 3 ลักษณะ ได้แก่
1) นำไปสอนสอดแทรก หรือบูรณาการในรายวิชาพื้นฐาน 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้
2) จัดทำเป็นรายวิชาเพิ่มเติมในกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และ
วัฒนธรรม ภาษาต่างประเทศ การงานอาชีพและเทคโนโลยี เช่น ประชาคมอาเซียน ภาษาอังกฤษ

เพื่อเยาวชนอาเซียน ภาษาและวัฒนธรรมพม่า ICT กับประชาคมอาเซียน
3) จัดทำเป็นกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน เช่น ชุมนุม/ชมรมรักษ์อาเซียน เยาวชน
อาเซียน ค่ายเยาวชนอาเซียน ภาษาในอาเซียน และจัดกิจกรรมเสริมและจัดบรรยากาศที่เอื้อต่อ

การเรียนรู้เกี่ยวกับประชาคมอาเซียน
6.2 แนวการจัดการเรียนรู้
1) จัดการเรียนรู้ที่เน้นนักเรียนเป็นสำคัญ เปิดโอกาสให้นักเรียนเข้ามามีส่วนร่วม
ในการจัดการเรียนรู้
2) จัดการเรียนรู้โดยใช้การบูรณาการในกลุ่มสาระการเรียนรู้ 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้
และกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
3) จัดการเรียนรู้ที่มีความยืดหยุ่น ปรับเปลี่ยนกิจกรรมได้ตามความเหมาะสม

การขับเคลื่อนการศึกษาสู่ประชาคมอาเซียน 67
4) ใช้กระบวนการเรียนรู้ที่เน้นกระบวนการสื่อสาร กระบวนการคิด กระบวนการ
แก้ปัญหา กระบวนการสร้างความตระหนัก
5) ออกแบบการจัดการเรียนรู้ โดยใช้วิธีสอนและเทคนิคการสอน สื่อการเรียนรู้/
แหล่งการเรียนรู้ที่หลากหลาย การวัดและประเมินผลตามสภาพจริง
6) การจัดการเรียนรู้เกี่ยวกับประชาคมอาเซียนโดยใช้ภาษาอังกฤษ และภาษา

ของประเทศสมาชิกอาเซียนเป็นสื่อในการจัดการเรียนรู้
7) จัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมการพัฒนาสมรรถนะสำคัญ คุณธรรม จริยธรรม และ

ค่านิยมที่ดี เพื่อความเป็นพลเมืองที่ดีในประชาคมอาเซียน
6.3 สื่อการเรียนรู้
1) สื่อการเรียนรู้เกี่ยวกับอาเซียน ที่สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
โดยสำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษาจัดทำ/จัดซื้อ/จัดหา
2) สื่อการเรียนรู้และแหล่งการเรียนรู้อื่น ๆ ที่โรงเรียนจัดทำ/จัดซื้อ/จัดหา
3) คอมพิวเตอร์ อินเทอร์เน็ต Web–Community
6.4 การวัดและประเมินผล วัดและ
ประเมินการเรียนรู้ที่หลากหลายตามสภาพจริง
7. บริ ก ารสื่ อ การเรี ย นรู้ ภ ายใน
โรงเรียนและโรงเรียนเครือข่ายอาเซียน
8. บริ ก ารจั ด การเรี ย นรู้ เ คลื่ อ นที่

ให้กับโรงเรียนเครือข่ายอาเซียน
9. จัดกิจกรรมค่ายวิชาการเกี่ยวกับ
ประชาคมอาเซี ย นที ่ เ น้ น เรื ่ อ งอั ต ลั ก ษณ์
ประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรมอาเซียน ประกวด
โครงงานความรู้ ความตระหนักเกี่ยวกับอาเซียนสำหรับนักเรียน

ครู ผู ้ บ ริ ห ารระหว่ า งโรงเรี ย นที ่ เ ป็ น ศู น ย์ อ าเซี ย นศึ ก ษา

และโรงเรียนเครือข่ายอาเซียน
10. ประสานสัมพันธ์กับประเทศสมาชิกอาเซียน
ที่มีชายแดนติดกับที่ตั้งของโรงเรียนที่เป็นศูนย์อาเซียน

ศึกษา ได้แก่ ลาว พม่า กัมพูชา และมาเลเซีย
11. สรุ ป และรายงานผลการดำเนิ น งาน
โครงการของศู น ย์ อ าเซี ย นศึ ก ษาต่ อ สำนั ก งานเขตพื ้ น ที ่

การศึกษาและสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

68 การขับเคลื่อนการศึกษาสู่ประชาคมอาเซียน
ผลการดำเนินงาน (ต่อ)
4. เสริมสร้างความเข้มแข็งพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาที่เน้นอาเซียน ภาษาอังกฤษ

แบบเข้ม ภาษาต่างประเทศที่ 2 (ภาษาเพื่อนบ้าน) พหุวัฒนธรรม เทคโนโลยีสารสนเทศ รวมทั้ง

สื่อการเรียนรู้เกี่ยวกับอาเซียน
จัดสรรโอนเงินให้โรงเรียนที่เป็นศูนย์อาเซียนศึกษาจัดจ้างที่ปรึกษาศูนย์อาเซียนศึกษา
และสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา จัดทำหลักสูตรสถานศึกษาที่เน้นอาเซียน และดำเนินการวิจัย

เกี่ยวกับการดำเนินโครงการ โรงเรียนมีหลักสูตรและจัดการเรียนรู้เกี่ยวกับอาเซียน
5. พัฒนานักเรียน (ค่ายวิชาการ)
จัดสรรโอนเงินให้โรงเรียนที่เป็นศูนย์อาเซียนศึกษาจัดค่ายวิชาการเกี่ยวกับอาเซียน

และจัดสัปดาห์/เทศกาลอาเซียน หรือวันอาเซียน (8 สิงหาคม) โรงเรียนและโรงเรียนเครือข่ายร่วมกัน

จัดกิจกรรมเพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจ และความตระหนักเกี่ยวกับอาเซียนให้แก่ผู้เรียนในโรงเรียน


และโรงเรียนเครือข่าย รวมทั้งชุมชน
6. ค่ายวิชาการกลุ่มประเทศอาเซียน
จัดค่ายวิชาการประชาคมอาเซียน เพื่อให้ผู้เข้าประชุมมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ
ประชาคมอาเซียน และประเทศสมาชิกของประชาคมอาเซียนทั้ง 10 ประเทศ และพัฒนาทักษะที่จำเป็น
ในการสร้างเครือข่ายประชาคมอาเซียน รวมทั้งมีเจตคติที่ดีต่อการเป็นประชาคมอาเซียนและประเทศ
สมาชิกอาเซียน 1) ระหว่างวันที่ 12-15 ตุลาคม 2553 มีครูและนักเรียนของโรงเรียนในโครงการเข้าร่วม
กิจกรรม 2) ระหว่างวันที่ 10-19 ธันวาคม 2553 มีผู้บริหาร ครู นักเรียน และผู้ปกครองของประเทศ
สมาชิกเข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 8 ประเทศ ยกเว้นประเทศพม่าและอินโดนีเซีย เนื่องจากมีเหตุจำเป็น

ไม่สามารถเข้าร่วมกิจกรรมได้
7. ประชาสัมพันธ์
ประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับอาเซียนทางสถานีวิทยุ โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ แผ่นพับ เช่น
รายการเสียงแห่งอนาคต ลงข่าวกิจกรรมในหนังสือพิมพ์รายวัน เพื่อให้ผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้สอน

ใน Sister School และ Buffer School ศึกษานิเทศก์ โรงเรียนเครือข่าย และผู้เกี่ยวข้อง มีความรู้

ความเข้าใจ และสามารถดำเนินกิจกรรมตามโครงการฯ ไปสู่การปฏิบัติและมีความตระหนักในเรื่อง
ประชาคมอาเซียน
8. นิเทศ กำกับ ติดตามประเมินผล และรายงานผลการดำเนินโครงการ
นิเทศ กำกับ ติดตามผลการดำเนินโครงการฯ ของ Sister School และ Buffer School

เพื่อรับทราบผลการดำเนินกิจกรรมตามโครงการของโรงเรียน ระหว่างเดือนสิงหาคม-กันยายน 2553

รวมทั ้ ง จั ด ประชุ ม ปฏิ บ ั ต ิ ก ารสรุ ป ผลการดำเนิ น งานโครงการพั ฒ นาสู ่ ป ระชาคมอาเซี ย น: Spirit of

ASEAN ปีงบประมาณ 2553 ของ Sister School และ Buffer School ระหว่างวันที่ 28 พฤศจิกายน-

2 ธันวาคม 2553 และ 5-9 ธันวาคม 2553

การขับเคลื่อนการศึกษาสู่ประชาคมอาเซียน 69
ปีงบประมาณ 2553-2554
หลักการและเหตุผล
สำนั ก งานคณะกรรมการการศึ ก ษาขั ้ น พื ้ น ฐาน โดยสำนั ก วิ ช าการและมาตรฐานการศึ ก ษา

ได้ ด ำเนิ น โครงการพั ฒ นาสู ่ ป ระชาคมอาเซี ย น: Spirit of ASEAN เพื ่ อ เตรี ย มเยาวชนไทยให้ ม ี

ความพร้อมในการเป็นสมาชิกที่ดีของประชาคมอาเซียน สามารถติดต่อสื่อสารและอยู่ร่วมกันได้

บนพื้นฐานของความเสมอภาคและผลประโยชน์ร่วมกัน โดยพัฒนาโรงเรียนประถมศึกษาและมัธยมศึกษา

จากทุกภูมิภาค จำนวน 54 โรง ได้แก่ 1) Sister School จำนวน 30 โรง และ 2) Buffer School จำนวน

24 โรง พัฒนาเป็นศูนย์อาเซียนศึกษาเป็นแหล่งการเรียนรู้เกี่ยวกับประชาคมอาเซียน จัดทำหลักสูตร

และการจัดการเรียนรู้ที่เน้นอาเซียน กิจกรรมสร้างความรู้ ความเข้าใจ และความตระหนักเกี่ยวกับ
ประชาคมอาเซียนให้แก่นักเรียน ครู และบุคลากรทางการศึกษาในโรงเรียนที่เป็นที่ตั้งศูนย์อาเซียนศึกษา

และโรงเรียนเครือข่ายอย่างน้อย 9 โรง รวมทั้งชุมชนที่อยู่รายรอบโรงเรียนที่เป็นที่ตั้งศูนย์อาเซียนศึกษา
เพื่อเตรียมคนสู่ประชาคมอาเซียนในปี พ.ศ. 2558 และสร้างความเข้มแข็งให้แก่โรงเรียนในโครงการ
เป็นต้นแบบในการขยายผลให้โรงเรียนทุกโรงทั่วประเทศขับเคลื่อนการพัฒนาสู่ประชาคมอาเซียน

สร้ า งความรู ้ ความเข้ า ใจ และความตระหนั ก เกี ่ ย วกั บ ประชาคมอาเซี ย นให้ แ ก่ ผู ้ เ รี ย น ผู ้ ป กครอง

และประชาชนทั่วไป รวมทั้งส่งเสริมและสนับสนุนให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา

และมัธยมศึกษา จำนวน 225 เขตพื้นที่ มีความพร้อมในการเตรียมบุคลากรและโรงเรียนในเขตพื้นที่

สู่ประชาคมอาเซียน
วัตถุประสงค์
เพื่อเตรียมความพร้อมในการเตรียมคนเข้าสู่ประชาคมอาเซียน
เป้าหมาย
ส่งเสริมและสนับสนุนสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาและสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา

มัธยมศึกษา 225 เขตพื้นที่ และโรงเรียนในเขตพื้นที่มีความพร้อมในการเตรียมคนสู่ประชาคมอาเซียน
วิธีการดำเนินงาน
1. ประชุมจัดทำแนวทางการจัดกิจกรรมสร้างความรู้ ความเข้าใจ และความตระหนัก

เกี่ยวกับประชาคมอาเซียน
2. ชี้แจงสร้างความรู้ ความเข้าใจ และความตระหนักเกี่ยวกับประชาคมอาเซียน รวมทั้ง
ประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับโครงการพัฒนาสู่ประชาคมอาเซียน: Spirit of ASEAN
3. สรุปผลการประชุมปฏิบัติการต่อยอดการพัฒนาสู่ประชาคมอาเซียนของ Sister School
และ Buffer School

70 การขับเคลื่อนการศึกษาสู่ประชาคมอาเซียน
4. จัดสรรโอนเงินให้โรงเรียนที่เป็นศูนย์อาเซียนศึกษา Sister School และ Buffer School
รักษาสภาพศูนย์ จัดจ้างครูสอนภาษาของประเทศสมาชิกอาเซียน และเจ้าหน้าที่ศูนย์อาเซียนศึกษา
5. ประชุ ม สรุ ป ผลการดำเนิ น งานและแลกเปลี ่ ย นเรี ย นรู ้ โดยใช้ Web Community
“Connecting Classrooms: Connecting the World Exhibition” ร่วมกับ British Council
6. จัดจ้างการจัดทำสื่อการเรียนรู้เกี่ยวกับประชาคมอาเซียน
ผลการดำเนินงาน
1. มีศูนย์อาเซียนศึกษาในโรงเรียน Sister
School และ Buffer School จำนวน 54 ศูนย์ เป็นแหล่ง
การเรียนรู้และจัดกิจกรรมสร้างความรู้ ความเข้าใจ และ
ความตระหนั ก เกี ่ ย วกั บ ประชาคมอาเซี ย น มี ค รู ส อน
ภาษาของประเทศสมาชิกอาเซียน 54 คน จัดการเรียนรู้
เกี่ยวกับภาษาของประเทศสมาชิกอาเซียน และเจ้าหน้าที ่

ศูนย์อาเซียนศึกษา 54 คน จัดกิจกรรมสร้างความตระหนัก

เกี่ยวกับประชาคมอาเซียน
2. ได้แนวทางการจัดกิจกรรมสร้างความรู้ ความเข้าใจ และความตระหนักเกี่ยวกับประชาคม
อาเซียน เพื่อขยายผลให้โรงเรียนทั่วประเทศใน 225 เขตพื้นที่ และใช้ในการประชุมชี้แจงสร้างความรู้
ความเข้าใจ และความตระหนักเกี่ยวกับประชาคมอาเซียนให้แก่สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาทุกเขต
3. ได้สร้างความรู้ ความเข้าใจ และความตระหนักเกี่ยวกับประชาคมอาเซียนให้แก่ผู้บริหาร
และศึกษานิเทศก์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา

และสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา ผู้บริหาร
สถานศึกษาและครูผู้สอนที่เข้าร่วมประชุมปฏิบัติการขับเคลื่อน

จุ ด เน้ น การพั ฒ นาผู ้ เ รี ย นสู ่ ก ารปฏิ บ ั ต ิ ครั ้ ง ที ่ 1-4 จำนวน

225 เขตพื้นที่
4. ได้ ส รุ ป ผลการประชุ ม ปฏิ บ ั ต ิ ก ารต่ อ ยอด

การพั ฒ นาสู ่ ป ระชาคมอาเซียนของ Sister School และ
Buffer School
5. มี เ วที ส ำหรั บ แลกเปลี ่ ย นเรี ย นรู ้ เ กี ่ ย วกั บ

การดำเนินงานของโรงเรียนในโครงการ Connecting Classrooms



ให้แก่ผู้บริหาร ครู และนักเรียนเรียนในโครงการ Spirit of
ASEAN จำนวน 86 โรง รวมจำนวน 408 คน รวมทั ้ ง

ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้และชมนิทรรศการและกิจกรรมเกี่ยวกับ
การใช้ Web Community “Connecting Classrooms:
Connecting the World Exhibition”

การขับเคลื่อนการศึกษาสู่ประชาคมอาเซียน 71
6. ได้สื่อการเรียนรู้เกี่ยวกับประชาคมอาเซียน สำหรับเผยแพร่ให้โรงเรียนในสังกัดสำนักงาน
คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานทุกโรง และสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาและสำนักงาน

เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาทุกเขต









ระยะที่ 2 การสร้างความเข้มแข็งในการเตรียมคนสู่ประชาคมอาเซียน
ปีงบประมาณ 2555-2556
หลักการและเหตุผล
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยสำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา

ได้ดำเนินโครงการพัฒนาสู่ประชาคมอาเซียน: Spirit of ASEAN เพื่อเตรียมเยาวชนไทยให้มีความพร้อม
ในการเป็นสมาชิกที่ดีของประชาคมอาเซียน โดยพัฒนาโรงเรียนประถมศึกษาและมัธยมศึกษาจาก

ทุกภูมิภาค จำนวน 54 โรง เป็นโรงเรียนต้นแบบการพัฒนาสู่ประชาคมอาเซียน Sister School และ
Buffer School ทั้งนี้ สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษาจัดประชุมชี้แจงสร้างความรู้ ความเข้าใจ
และความตระหนักเกี่ยวกับประชาคมอาเซียนให้แก่ผู้บริหารและศึกษานิเทศก์ในสำนักงานเขตพื้นที ่

การศึกษาประถมศึกษาและมัธยมศึกษาทุกเขต เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้และขยายผลให้โรงเรียนทุกโรง

ในเขตพื้นที่เตรียมความพร้อมในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนในปี พ.ศ. 2558 รวมทั้งพัฒนาเยาวชนไทย
ให้เป็นสมาชิกที่ดีของประชาคมอาเซียนและมีสมรรถนะที่สำคัญสำหรับการดำเนินชีวิตในประชาคม
อาเซียน
วัตถุประสงค์
เพื่อสร้างความเข้มแข็งในการเตรียมคนเข้าสู่ประชาคมอาเซียน

72 การขับเคลื่อนการศึกษาสู่ประชาคมอาเซียน
เป้าหมาย
ส่งเสริมและสนับสนุนสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาและสำนักงานเขตพื้นที ่

การศึกษามัธยมศึกษาทุกเขต และโรงเรียนในเขตพื้นที่มีความพร้อมในการเตรียมคนสู่ประชาคม
อาเซียน
เชิงปริมาณ
1) ผู้เรียนได้รับการเตรียมความพร้อมสู่การเป็นประชาคมอาเซียน
2) มีเครือข่ายความร่วมมือในการเตรียมคนสู่ประชาคมอาเซียน ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
3) มีเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้สำหรับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา สำนักงาน

เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา และโรงเรียน
เชิงคุณภาพ
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา และ
โรงเรียนได้รับการพัฒนาให้มีคุณภาพในการเตรียมคนสู่ประชาคมอาเซียน
วิธีการดำเนินงาน
สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษาดำเนินการสร้างความเข้มแข็งให้แก่โรงเรียนในโครงการ

เพื่อเป็นต้นแบบในการขยายผลให้โรงเรียนทุกโรงทั่วประเทศขับเคลื่อนการพัฒนาสู่ประชาคมอาเซียน
และสร้างความรู้ ความเข้าใจ และความตระหนักเกี่ยวกับประชาคมอาเซียนให้แก่ผู้เรียน ผู้ปกครอง
และประชาชนทั่วไป รวมทั้งส่งเสริมและสนับสนุนให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา

และมัธยมศึกษาทุกเขต มีความพร้อมในการเตรียมบุคลากรและโรงเรียนทุกโรงในเขตพื้นที่ เพื่อพัฒนา

ผู้เรียนให้มีสมรรถนะสำคัญในการก้าวสู่ประชาคมอาเซียนในปี พ.ศ. 2558 โดยมีกิจกรรมดังนี้
1. วิจัยและพัฒนารูปแบบหลักสูตรสถานศึกษาที่เน้นอาเซียน การจัดการเรียนรู้ และ

สื่อการเรียนรู้เกี่ยวกับประชาคมอาเซียน
2. ส่งเสริมและสร้างความเข้มแข็งในการเตรียมคนสู่ประชาคมอาเซียนให้แก่เขตพื้นที่ และ
โรงเรียนต้นแบบการพัฒนาสู่ประชาคมอาเซียน
3. ส่งเสริมเครือข่ายความร่วมมือระหว่างโรงเรียน ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
4. พัฒนาและขยายผลให้สถานศึกษาใช้หลักสูตรสถานศึกษาที่เน้นอาเซียน การจัดการเรียนรู้/

แหล่งการเรียนรู้ที่เน้นอาเซียน
5. จัดทำเอกสารหลักสูตร การจัดการเรียนรู้ สื่อการเรียนรู้ สำหรับเผยแพร่ ประชาสัมพันธ์
และขยายผล
6. ส่งเสริมทักษะการสื่อสารเพื่อเตรียมเข้าสู่ประชาคมอาเซียน

การขับเคลื่อนการศึกษาสู่ประชาคมอาเซียน 73
ระยะที่ 3 การพัฒนาสมรรถนะที่สำคัญสู่ประชาคมอาเซียน
ปีงบประมาณ 2557-2558
หลักการและเหตุผล
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยสำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา

ได้ ด ำเนิ น โครงการพั ฒ นาสู ่ ป ระชาคมอาเซี ย น: Spirit of ASEAN เพื ่ อ เตรี ย มเยาวชนไทยให้ ม ี

ความพร้อมในการเป็นสมาชิกที่ดีของประชาคมอาเซียน สามารถติดต่อสื่อสารและอยู่ร่วมกันได้

บนพื้นฐานของความเสมอภาคและผลประโยชน์ร่วมกัน โดยพัฒนาโรงเรียนประถมศึกษาและมัธยมศึกษา

จากทุกภูมิภาค จำนวน 54 โรง ได้แก่ 1) Sister School จำนวน 30 โรง และ 2) Buffer School จำนวน

24 โรง พัฒนาเป็นศูนย์อาเซียนศึกษาเป็นแหล่งการเรียนรู้เกี่ยวกับประชาคมอาเซียน จัดทำหลักสูตร
และการจัดการเรียนรู้ที่เน้นอาเซียน กิจกรรมสร้างความรู้ ความเข้าใจ และความตระหนักเกี่ยวกับ
ประชาคมอาเซียนให้แก่นักเรียน ครู และบุคลากรทางการศึกษาในโรงเรียนที่เป็นที่ตั้งศูนย์อาเซียนศึกษา
และโรงเรียนเครือข่ายอย่างน้อย 9 โรง รวมทั้งชุมชนที่อยู่รายรอบโรงเรียนที่เป็นที่ตั้งศูนย์อาเซียนศึกษา
ทั้งนี้ สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษาจะส่งเสริมและสนับสนุนให้สำนักงานเขตพื้นที่
การศึกษาทุกเขตพัฒนาให้สถานศึกษาทุกโรงในสังกัดจัดการเรียนรู้เกี่ยวกับประชาคมอาเซียน เพื่อให้
รองรับการเป็นประชาคมอาเซียนในปี พ.ศ. 2558 และจัดประชุม ชี้แจง สัมมนาเกี่ยวกับการเตรียมคน
เข้าสู่ประชาคมอาเซียน การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาที่เน้นอาเซียน การจัดการเรียนรู้เกี่ยวกับ
ประชาคมอาเซียน การพัฒนาสื่อการเรียนรู้และแหล่งการเรียนรู้ การวัดและประเมินผล ตลอดจน

การศึกษาดูงานเกี่ยวกับการจัดการศึกษา การเมือง เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมของประเทศ
สมาชิกอาเซียน ประเทศคู่เจรจา และประสานความร่วมมือกับหน่วยงาน หรือองค์กรที่เกี่ยวข้อง

ทั้งภาครัฐและเอกชน ทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ เพื่อผลักดันการดำเนินการด้านการศึกษา

ของประเทศไทยให้สอดรับต่อการเป็นประชาคมอาเซียน และพัฒนาเยาวชนไทยให้มีสมรรถนะที่สำคัญ
สำหรับการดำเนินชีวิตในประชาคมอาเซียน
วัตถุประสงค์
เพื่อพัฒนาสมรรถนะที่สำคัญสู่ประชาคมอาเซียน
เป้าหมาย
ส่งเสริมและสนับสนุนสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาและสำนักงานเขตพื้นที่

การศึกษามัธยมศึกษา จำนวน 225 เขตพื้นที่ และโรงเรียนในเขตพื้นที่มีความเข้มแข็งในการพัฒนา
สมรรถนะสู่ประชาคมอาเซียน
ผลผลิต
1. ผู้เรียนได้รับการเตรียมความพร้อมและมีสมรรถนะที่สำคัญในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน

74 การขับเคลื่อนการศึกษาสู่ประชาคมอาเซียน
2. ผู้บริหาร ศึกษานิเทศก์ และครู ได้รับการพัฒนาให้มีความเข้มแข็งในการเข้าสู่
ประชาคมอาเซียน
3. มีเครือข่ายความร่วมมือในการเตรียมคนสู่ประชาคมอาเซียน ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
4. มีเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้สำหรับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา สำนักงาน

เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา และโรงเรียน
5. มีสื่อการเรียนรู้เกี่ยวกับประชาคมอาเซียน
ผลลัพธ์
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา
และโรงเรียนได้รับการพัฒนาให้มีคุณภาพในการเตรียมคนสู่ประชาคมอาเซียน
ดัชนีชี้วัดความสำเร็จ
ร้อยละของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาและสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
มัธยมศึกษาทุกเขตพื้นที่ และโรงเรียนในเขตพื้นที่มีความเข้มแข็งในการเตรียมคนเข้าสู่ประชาคม
อาเซียน
วิธีการดำเนินงาน
1. วิจัยรูปแบบหลักสูตรสถานศึกษาที่เน้นอาเซียน การจัดการเรียนรู้ และสื่อการเรียนรู้

เกี่ยวกับประชาคมอาเซียน
2. ส่งเสริมและสร้างความเข้มแข็งในการเตรียมคนสู่ประชาคมอาเซียน
3. ส่งเสริมเครือข่ายความร่วมมือระหว่างโรงเรียน ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
4. พัฒนาและขยายผลให้สถานศึกษาจัดการเรียนรู้และพัฒนาสื่อการเรียนรู้/แหล่งการเรียนรู้

เกี่ยวกับประชาคมอาเซียน
5. จัดทำเอกสารหลักสูตร การจัดการเรียนรู้ สื่อการเรียนรู้ สำหรับเผยแพร่ ประชาสัมพันธ์
และขยายผล

การขับเคลื่อนการศึกษาสู่ประชาคมอาเซียน 75
ตอนที่ 5
การขับเคลื่อนการพัฒนาสู่ประชาคมอาเซียน: กรณีศึกษา

“โครงการโรงเรียนคู่พัฒนาระหว่างโรงเรียนมัธยมศึกษา

ของประเทศไทยกับประเทศสาธารณรัฐอินโดนีเซีย”

โครงการโรงเรียนคู่พัฒนาระหว่างโรงเรียนมัธยมศึกษาของประเทศไทยกับประเทศสาธารณรัฐ

อินโดนีเซีย (School Partnership Program between Secondary Schools in Thailand and Indonesia)

เป็นโครงการที่สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยสำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา

เป็นผู้ประสานความร่วมมือระหว่างศูนย์เครือข่ายระดับภูมิภาคว่าด้วยการศึกษาแบบเปิด (SEAMOLEC)

กับประเทศไทย เพื่อสร้างความร่วมมือด้านการศึกษาและพัฒนาคุณภาพการศึกษาผ่านการเรียนรู้

ร่วมกันด้วยอิเล็กทรอนิกส์ และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ความรู้ วัฒนธรรม และค่านิยมระหว่างกันด้วยวิธีการ

ที่หลากหลาย โดยดำเนินการดังนี้
1. การประชุมเชิงปฏิบัติการโรงเรียนคู่พัฒนาระหว่างโรงเรียนมัธยมศึกษาของประเทศไทย
กับประเทศสาธารณรัฐอินโดนีเซีย (School Partnership Program between Secondary Schools in
Thailand and Indonesia)
2. การประชุมอบรมเชิงปฏิบัติการจัดทำแนวทางการจัดการเรียนรู้เกี่ยวกับค่านิยมร่วม
(Common Values) และความเท่าเทียมทางเพศ (Gender Sensitivity)
3. การจัดสรรโอนเงินให้โรงเรียนคู่พัฒนาฯ ของประเทศไทย จัดกิจกรรมตามโครงการโรงเรียน

คู่พัฒนาระหว่างโรงเรียนมัธยมศึกษาของประเทศไทยกับประเทศสาธารณรัฐอินโดนีเซีย จัดกิจกรรม

การเรียนรู้เกี่ยวกับค่านิยมร่วม (Common Values) และความเท่าเทียมทางเพศ (Gender Sensitivity)

และเตรียมความพร้อมในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน
4. การนิเทศ กำกับ ติดตามผลการดำเนินกิจกรรมของโรงเรียนในโครงการ สรุปผลและ

จัดทำเป็นรูปเล่ม
โดยมีรายละเอียดกิจกรรมและผลการดำเนินงาน ดังนี้

76 การขับเคลื่อนการศึกษาสู่ประชาคมอาเซียน
1. การประชุมเชิงปฏิบัติการโรงเรียนคู่พัฒนาระหว่างโรงเรียนมัธยมศึกษาของประเทศไทย
กับประเทศสาธารณรัฐอินโดนีเซีย (School Partnership Program between
Secondary Schools in Thailand and Indonesia)
หลักการและเหตุผล
กระทรวงศึกษาธิการได้กำหนดกรอบความร่วมมือและกระชับความสัมพันธ์กับประเทศ

เพื่อนบ้านและประเทศในภูมิภาคเอเชีย เพื่อการพัฒนาในด้านต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านการศึกษา

ซึ่งเป็นรากฐานสำคัญในการขับเคลื่อนความเจริญรุ่งเรืองของประเทศไทยและภูมิภาคอาเซียน และ
คณะกรรมาธิการการศึกษา วุฒิสภา ได้ตระหนักถึงความสำคัญของการเตรียมความพร้อมด้าน

การศึกษาเพื่อรองรับการก้าวสู่ประชาคมอาเซียน โดยจัดประชุมเพื่อติดตามเรื่องดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง
ศึกษาดูงานด้านการศึกษา ณ ประเทศสาธารณรัฐอินโดนีเซีย และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในประเด็นที่
เกี่ยวข้องกับผู้แทนศูนย์เครือข่ายระดับภูมิภาคว่าด้วยการศึกษาแบบเปิด (SEAMOLEC) ของสาธารณรัฐ
อิ น โดนี เ ซี ย และได้ ส รุ ป เป็ น แนวคิ ด ร่ ว มกั น ว่ า จะมี ก ารประสานความร่ ว มมื อ กั น ในเรื ่ อ งดั ง กล่ า ว

เพื ่ อ ส่ ง เสริ ม บทบาทและพัฒนาความร่วมมือด้านการศึกษาระหว่างประเทศอาเซียนในการสร้าง
ทรัพยากรมนุษย์ในอาเซียนให้มีศักยภาพและสร้างความเจริญรุ่งเรืองร่วมกันในภูมิภาค สอดคล้อง

กั บ กฎบั ต รอาเซี ยนและนโยบายของรัฐบาลที่มุ่งพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศเพื่อนบ้าน

ในทุกมิติและทุกระดับ และได้ขอให้สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยสำนักวิชาการ
และมาตรฐานการศึ ก ษา ซึ ่ ง เป็ น หน่ ว ยงานที ่ ร ั บ ผิ ด ชอบด้ า นการศึ ก ษาขั ้ น พื ้ น ฐานของกระทรวง
ศึกษาธิการ เป็นผู้ประสานความร่วมมือระหว่างศูนย์ SEAMOLEC กับประเทศไทย
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยสำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา

ได้ประสานความร่วมมือกับศูนย์ SEAMOLEC ดำเนินโครงการโรงเรียนคู่พัฒนาระหว่างโรงเรียน
มัธยมศึกษาของประเทศไทยกับประเทศสาธารณรัฐอินโดนีเซีย เพื่อสร้างความร่วมมือด้านการศึกษา
และพัฒนาคุณภาพการศึกษาผ่านการเรียนรู้ร่วมกันด้วยอิเล็กทรอนิกส์ (E-Learning) และแลกเปลี่ยน
เรียนรู้ ความรู้ วัฒนธรรม และค่านิยมระหว่างกันด้วยวิธีการที่หลากหลาย เช่น การใช้วิธีการศึกษาทางไกล

ในการเรียนรู้รายวิชาต่าง ๆ (คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ ภาษาต่างประเทศอื่น วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี
ทางด้านเกมคอมพิวเตอร์ ฯลฯ) การแลกเปลี่ยนครูและนักเรียน การถ่ายโอนหน่วยกิต การอบรมครู

ผู้บริหารสถานศึกษา และบุคลากรทางการศึกษา ดังนั้น เพื่อสนับสนุนการดำเนินโครงการโรงเรียน

คู่พัฒนาระหว่างโรงเรียนมัธยมศึกษาของประเทศไทยกับประเทศสาธารณรัฐอินโดนีเซีย สำนักงาน

คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยสำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา ได้จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ

โครงการโรงเรี ย นคู ่ พ ั ฒ นาระหว่ า งโรงเรี ย นมั ธ ยมศึ ก ษาของประเทศไทยกั บ ประเทศสาธารณรั ฐ
อินโดนีเซียขึ้น เพื่อจัดเวทีให้ผู้บริหารสถานศึกษาและครูของทั้งสองประเทศได้มีโอกาสพบปะ ปรึกษา
หารือ และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อจัดทำข้อตกลงและแผนปฏิบัติการสำหรับการดำเนินโครงการ

ความร่วมมือของทั้งสองประเทศให้มีประสิทธิภาพ
การขับเคลื่อนการศึกษาสู่ประชาคมอาเซียน 77
วัตถุประสงค์
1. ชี้แจงสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการดำเนินงานโครงการโรงเรียนคู่พัฒนาระหว่าง
โรงเรียนมัธยมศึกษาของประเทศไทยกับประเทศสาธารณรัฐอินโดนีเซีย
2. แลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับการจัดการศึกษา/กิจกรรมระหว่างโรงเรียนมัธยมศึกษา

ของประเทศไทยกับประเทศสาธารณรัฐอินโดนีเซีย
3. สร้ างความร่วมมือด้านการศึกษาระหว่างโรงเรียนมัธยมศึกษาของประเทศไทยกับ

ประเทศสาธารณรัฐอินโดนีเซีย
วิธีการดำเนินงาน
1. ชี้แจงความเป็นมาและความร่วมมือในการดำเนินงานโครงการ
2. รวบรวมความรู้และแนวคิดใหม่ของกิจกรรมที่จะนำไปใช้ในโครงการโรงเรียนคู่พัฒนาฯ
3. อภิปรายเกี่ยวกับบันทึกความเข้าใจ (TOR) และแผนปฏิบัติการ (Action Plan)
4. ลงนามในบันทึกความเข้าใจระหว่าง SEAMOLEC กับสำนักงานคณะกรรมการการศึกษา
ขั้นพื้นฐาน และโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการฯ
5. ศึกษาดูงานโรงเรียนคู่พัฒนาฯ
ผู้เข้าร่วมประชุม
ผู้บริหารสถานศึกษา ครู นักวิชาการศึกษา และผู้แทนจากหน่วยงาน/องค์กรที่เกี่ยวข้อง

ของประเทศไทยและประเทศสาธารณรัฐอินโดนีเซีย จำนวน 120 คน
ระยะเวลาและสถานที่
ระหว่างวันที่ 24-27 มกราคม 2554 ณ โรงแรมแอมบาสซาเดอร์ ถนนสุขุมวิท กรุงเทพมหานคร

78 การขับเคลื่อนการศึกษาสู่ประชาคมอาเซียน
ตารางการประชุมเชิงปฏิบัติการโรงเรียนคู่พัฒนาระหว่างโรงเรียนมัธยมศึกษาของประเทศไทยกับประเทศสาธารณรัฐอินโดนีเซีย
ระหว่างวันที่ 24-27 มกราคม 2554 ณ โรงแรมแอมบาสซาเดอร์ ถนนสุขุมวิท กรุงเทพมหานคร
วั น 08.30-10.00
น. 10.00-12.00
น. 12.00- 13.00-14.00 น. 15.00-17.00 น. 18.00-21.00 น.
เวลา 13.00 น.
ครู เจ้าหน้าที่ประจำศูนย์อาเซียน ประชุมเตรียมความพร้อม

ลงทะเบียน-รับเอกสาร ผู้บริหารและครูประเทศไทย

23 มกราคม
ศึกษา และนักวิชาการศึกษา

และประชุมชี้แจงกระบวนการ ในการต้อนรับผู้เข้าประชุม
2554 ประชุมวางแผนไปรับคณะ

ดำเนินงานโครงการ จากอินโดนีเซีย
จากอินโดนีเซีย


Welcome Dinner
พิธีเปิด การนำเสนอเรื่อง Climate Change เลขาธิการ กพฐ.
การนำเสนอ
The Preparation of


เลขาธิการ กพฐ. Getting to Know บูรณาการด้านทักษะที่จำเป็น รองเลขาธิการ กพฐ.
Dr.Gatot from SEA Edunet &
Thai Education
ในศตวรรษที่ 21 ต่อการจัดกิจกรรม
24 มกราคม
You Better ผอ.สวก.
SEAMOLEC SEAMOLEC Multi
Towards ASEAN โครงการโรงเรียนคู่พัฒนาฯ
2554 ผู้แทน การแสดงของโรงเรียน

Studio (SMS)
ผู้เทนสำนักงาน และแลกเปลี่ยนความคิดเห็น

Dr.Didik สถานทูต SEAMOLEC พรหมานุสรณ์

อินโดนีเซีย ผู้แทน SEAMOLEC ปลัดกระทรวง ผู้แทน SEAMOLEC
จังหวัดเพชรบุรี
ศึกษาธิการ
ร้องเพลงร่วมกัน


พิธีลงนาม


อภิ ป รายระหว่า งผู ้อ ำนวยการสถานศึ กษา
ในบันทึก
25 มกราคม

ของทั้งสองประเทศ จัดทำ (ร่าง) แผนปฏิบัติการ ความร่วมมือ
2554
รับประทานอาหารกลางวัน
เลขาธิการ กพฐ.


รับเป็นเบื้องต้น

26 มกราคม
ศึกษาดูงานโรงเรียนคู่พัฒนา: ศึกษาดูงานศิลปหัตถกรรมนักเรียนระดับชาติที่เมืองทองธานี
2554 โรงเรียนสายน้ำผึ้งในพระอุปถัมภ์ฯ

การขับเคลื่อนการศึกษาสู่ประชาคมอาเซียน
อภิปราย

27 มกราคม
ชี้แจง/อภิปรายเกี่ยวกับแผนปฏิบัติการ
นำเสนอ (ร่าง) แผนปฏิบัติการ
2554 ของโรงเรียนในประเทศไทย และปิดประชุม

79

ขั้นตอนการดำเนินงาน
ลำดับที่ กิจกรรมการดำเนินงาน
1 จับคู่โรงเรียนจากข้อมูลเบื้องต้นของโรงเรียน (School Profile) จัดส่งให้ SEAMOLEC

และสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
2 ประชุมเชิงปฏิบัติการ 4 วัน
1) จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ 4 วัน ระหว่างผู้บริหารสถานศึกษาของประเทศไทย

และสาธารณรัฐอินโดนีเซีย
2) สถานที่ โรงแรมแอมบาสซาเดอร์ ถนนสุขุมวิท กรุงเทพมหานคร
3) ทำความรู้จักกันระหว่างผู้บริหารสถานศึกษาของทั้งสองประเทศ
4) รวบรวมความคิดเห็นในการดำเนินกิจกรรมของโครงการ
5) อภิปรายเรื่องบันทึกความเข้าใจ การเชื่อมหลักสูตรและการพัฒนาความร่วมมือ

ในแผนปฏิบัติการ
6) ศึกษาดูงานโรงเรียนคู่พัฒนาในประเทศไทย
7) จัดทำแผนปฏิบัติการร่วมกัน
8) ศึกษาดูงานด้านวัฒนธรรม
3 ประเมินผลโครงการโดย SEAMOLEC และสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

กำหนดการประชุมเชิงปฏิบัติการ ระยะเวลา 4 วัน


วัน กิจกรรม
- ผู้เข้าร่วมประชุมเดินทางมาถึงกรุงเทพมหานคร และเข้าพักที่โรงแรม
- ปฐมนิเทศเกี่ยวกับโครงการ


วันที่ 1
08.00-09.00 น. - ลงทะเบียน
09.00-10.00 น. - พิธีเปิดการประชุมเชิงปฏิบัติการฯ และบรรยายพิเศษ
10.00-10.15 น. - รับประทานอาหารว่างและเครื่องดื่ม
10.15-10.30 น. - ทำความรู้จัก (Getting to Know You Better)
10.30-12.00 น. - นำเสนอ School Profile ของโรงเรียนทั้งสองประเทศ
12.00-13.00 น. - รับประทานอาหารกลางวัน

80 การขับเคลื่อนการศึกษาสู่ประชาคมอาเซียน
วัน กิจกรรม
13.00-14.00 น. - นำเสนอเรื่อง “การศึกษา: การเตรียมคนสู่ประชาคมอาเซียน”
14.00-15.00 น. - นำเสนอ School Profile ของโรงเรียนทั้งสองประเทศ (ต่อ)
15.00-15.15 น. - รับประทานอาหารว่างและเครื่องดื่ม
15.15-17.00 น. - นำเสนอ School Profile ของโรงเรียนทั้งสองประเทศ (ต่อ)
19.00 น. - งานเลี้ยงรับรอง


วันที่ 2
09.00-10.00 น. - นำเสนอเรื่องเกี่ยวกับ SEAMOLEC และโครงการ
10.00-10.15 น. - รับประทานอาหารว่าง และเครื่องดื่ม
10.15-12.00 น. - อภิปรายระหว่างผู้อำนวยการสถานศึกษาของทั้งสองประเทศ (จับคู่)
12.00-13.00 น. - รับประทานอาหารกลางวัน
13.00-15.00 น. - จัดทำร่างแผนปฏิบัติการและบันทึกความเข้าใจของโรงเรียนคู่พัฒนาฯ
15.00-15.15 น. - รับประทานอาหารว่างและเครื่องดื่ม
15.15-17.00 น. - จัดทำร่างแผนปฏิบัติการและบันทึกความเข้าใจ (ต่อ)


วันที่ 3
09.00-10.00 น. - จัดทำร่างแผนปฏิบัติการและบันทึกความเข้าใจ (ต่อ)
10.00-10.15 น. - รับประทานอาหารว่างและเครื่องดื่ม
10.15-12.00 น. - ทบทวนและตรวจสอบความถูกต้องของบันทึกความเข้าใจ
12.00-13.00 น. - รับประทานอาหารกลางวัน
13.00-15.00 น. - นำเสนอและลงนามในบันทึกความเข้าใจ
15.00-15.15 น. - รับประทานอาหารว่างและเครื่องดื่ม
15.15-17.00 น. - นำเสนอและลงนามในบันทึกความเข้าใจ (ต่อ)

วันที่ 4
08.00-12.00 น. - ศึกษาดูงานโรงเรียนคู่พัฒนาฯ (โรงเรียนสายน้ำผึ้งในพระอุปถัมภ์ฯ)
12.00-13.00 น. - รับประทานอาหารกลางวัน
13.00-17.00 น. - ศึกษาดูงานศิลปหัตถกรรมนักเรียนระดับชาติ ครั้งที่ 60 ที่เมืองทองธานี


วันที่ 5
08.00 น. ผู้เข้าร่วมประชุมจากประเทศสาธารณรัฐอินโดนีเซียเดินทางกลับประเทศ
โดยสวัสดิภาพ

การขับเคลื่อนการศึกษาสู่ประชาคมอาเซียน 81
ผลการดำเนินงานการประชุมเชิงปฏิบัติการโรงเรียนคู่พัฒนาระหว่างโรงเรียนมัธยมศึกษา
ของประเทศไทยกับประเทศสาธารณรัฐอินโดนีเซีย(School Partnership Program between
Secondary Schools in Thailand and Indonesia)
ผู้เข้าประชุมประกอบด้วยคนอินโดนีเซีย 61 คน และคนไทย 115 คน ผู้เข้าประชุมเป็น

ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอนในระดับมัธยมศึกษาจากโรงเรียนในประเทศสาธารณรัฐอินโดนีเซีย
32 โรง และเป็นผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอนในระดับมัธยมศึกษาจากโรงเรียนในประเทศไทย

23 โรง

82 การขับเคลื่อนการศึกษาสู่ประชาคมอาเซียน
รายชื่อโรงเรียนคู่พัฒนาไทย-อินโดนีเซีย
No. Thailand School Indonesia School
1. Matthayomwatnairong School (Bangkok) SMP 49 Jakarta
2. Sainumpeung School, under the Royal patronage of Princess SMP 2 Purwokerto

Petcharat Rajsuda Srisopaphannawadee (Bangkok) SMP 19 Jakarta
3. Pathumthep Witthayakarn School (Nong Khai) SMA 2 Yogyakarta

SMA 3 Yogyakarta
4. Chomsurang Upatham School (Phra Nahkon Si Ayuthaya) SMA 2 Wates

SMP 111 Jakarta
5. Kanlayanawat School (Khon Kaen) SMP 1 Karangmojo

SMP 1 Wonosari Yogyakarta
6. Kamphaengphet Pittayakom School (Kamphaeng Phet) SMP 11 Jakarta

SMP 115 Jakarta
7. Betong “Wiraratprasan” School (Yala) SMA 1 Sleman

SMA 2 Cimahi
8. Sirindhorn School (Surin) SMP Pakem 4 Yogyakarta

SMP 1 Galur Yogyakarta
9. Pibulwitthayalai School (Lop Buri) SMA 2 Cimahi
10. Rachineeburana School (Nakhon Pathom) SMP 115 Jakarta
11. Wattanothaipayap School (W.P.) (Chiang Mai) SMA 2 Yogyakarta

SMP 4 Pakem Yogyakarta
12. Pakkred Secondary School (Nonthaburi) SMA 1 Bantul

SMA 1 Kasihan
13. Chonkanyanukoon School (Chon Buri) SMA 8 Yogyakarta

SMA 3 Yogyakarta

SMP 1 Piyungan

SMP 1 Sleman
14. Prommanusorn Phetchaburi School (Phetchaburi) SMA Bopkri 1
15. Udonpittayanukoon School (Udon Thani) SMA Klose De Britto
16. Streephuket School (Phuket) SMA 2 Wates Yogyakarta

SMA Stella Ducce 1 Yogyakarta

SMP 1 Wonosari Yogyakarta
17. Sriyanusorn School (Chanthaburi) SMA 1 Kalasan

SMP 1 Karangmojo Yogyakarta
18. Mahawachirawut School (Songkhla) SMA 1 Yogyakarta

SMP 1 Galur Yogyakarta
19. Kanchananukroh School (Kanchanaburi) SMP 45 Jakarta

SMP 1 Jakarta
20. Deebuk Phangnga Wittayayon School (Phangnga) SMA 1 Yogyakarta

SMP 111 Jakarta
21. Muang Nakhon Si Thammarat School (Nakhon Si Thammarat) SMP 85 Jakarta
22. Kanlayanee Si Thammarat School (Nakhon Si Thammarat) SMP 30 Jakarta
23. Srinagarindra the Princess Mother School Nakhon Si Thammarat SMP 30 Jakarta

(Nakhon Si Thammarat)

การขับเคลื่อนการศึกษาสู่ประชาคมอาเซียน 83
สรุปขอบข่ายงานที่ต้องดำเนินการตามการประชุมเชิงปฏิบัติการโรงเรียนคู่พัฒนาระหว่าง
โรงเรียนมัธยมศึกษาของประเทศไทยกับประเทศสาธารณรัฐอินโดนีเซีย (School Partnership Program

between Secondary Schools in Thailand and Indonesia)
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา ได้จัด
ประชุ ม เชิ ง ปฏิ บ ั ติการโรงเรียนคู่พัฒนาระหว่างโรงเรียนมัธยมศึกษาของประเทศไทยกับประเทศ
สาธารณรัฐอินโดนีเซีย เพื่อสนับสนุนการดำเนินโครงการดังกล่าว โดยจัดเวทีให้ผู้บริหารสถานศึกษา
และครูของทั้งสองประเทศได้มีโอกาสพบปะ ปรึกษาหารือ และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อจัดทำข้อตกลง

และแผนปฏิบัติการสำหรับการดำเนินโครงการความร่วมมือของทั้งสองประเทศให้มีประสิทธิภาพ

มีขอบข่ายงานที่โรงเรียนคู่พัฒนาฯ ต้องดำเนินการดังนี้
1. การบูรณาการ เรื่อง Climate Change, Human Values-Based Water, Sanitation, and
Hygiene Education (HVWSHE)
2. การเรียนรู้ภาษาอินโดนีเซีย-ภาษาไทย ผ่านระบบ SEA-Edu Net System
ตัวอย่างประเด็นหรือเรื่องที่เกี่ยวข้อง เช่น ในขณะนี้โลกประสบกับปัญหาใหญ่ 4 ปัญหา
ได้แก่ ภาวะโลกร้อน (Global Warming) การสูญพันธุ์ของพืชและสัตว์ (Species Loss) สภาวการณ์
ขาดแคลนน้ำ (Water Scarcity) และการเพิ่มของจำนวนประชากร (Population Growth)
SEAMOLEC และสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานสนับสนุนให้โรงเรียนบูรณาการ
ขอบข่ายข้างต้นในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ของโรงเรียน และส่งเสริมให้เกิดความเข้าใจอาเซียนมากขึ้น
โดยให้ เ รี ย นรู ้ ภ าษาอิ น โดนี เ ซี ย และภาษาไทย ซึ ่ ง จะช่ ว ยลดปั ญ หาการสื ่ อ สารในการดำเนิ น งาน

ในอนาคต ข้อมูลของกิจกรรมทั้งหมดในโครงการโรงเรียนคู่พัฒนาฯ ที่ Website http://indothaipartnership.

wordpress.com สามารถเข้าถึงได้สะดวกและไม่เสียค่าใช้จ่าย
การดำเนินงาน
1. การบูรณาการ เรื่อง Climate Change, Human Values-Based Water, Sanitation,

and Hygiene Education (HVWSHE)
1) SEAMOLEC ได้ให้แนวทางและตัวอย่างของแผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง Human
Values-Based Water, Sanitation, and Hygiene Education (HVWSHE) และ Climate Change พัฒนาจาก
ครูผู้สอนซึ่งเป็นผู้แทนของประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในแต่ละประเทศ แผนการเรียนรู้นี้พัฒนา
ภายใต้ SEAMEO SEAMOLEC และ UN Habitat Project (Website http://indothaipartnership.wordpress.com)
2) โรงเรียนแต่ละโรงกับโรงเรียนที่เป็นคู่พัฒนาศึกษาตัวอย่างของแผนการจัดการเรียนรู้
ปรึกษาหารือเกี่ยวกับวิชาที่จะสอนและหัวข้อที่จะนำมาดำเนินการในโครงการนี้ ซึ่งอาจจะปรับปรุง
แผนการจัดการเรียนรู้ที่มีอยู่หรือพัฒนาแผนการเรียนรู้ขึ้นใหม่ แล้วนำไปจัดการเรียนรู้ในโรงเรียน

ทั้งสองโรง นอกจากนี้ โรงเรียนทั้งสองโรงจะต้องรายงานผลแต่ละขั้นตอนที่พวกเขาได้ดำเนินการใน
blog และรายงานใน blog address ของผู้ประสานงาน SEAMOLEC

84 การขับเคลื่อนการศึกษาสู่ประชาคมอาเซียน
- ขณะที ่ ด ำเนิ น การจะต้ อ งสั ง เกตและประเมิ น ผลโดยใช้ แ บบสอบถามของ

SEAMOLEC ที่จัดให้ ผู้ตอบแบบสอบถามอาจจะเป็นศึกษานิเทศก์ ผู้บริหารสถานศึกษา และ/หรือ

ครูผู้สอนที่เข้าร่วมโครงการฯ
- รายงานผลการดำเนินงานใน blog และบรรยายด้วยว่าได้ดำเนินการอย่างไร

ในโรงเรียน โดยมีรูปภาพและ/หรือวีดิทัศน์ เพื่อแบ่งปันประสบการณ์และเรียนรู้ในการดำเนินงาน

ของโรงเรียนคู่พัฒนาฯ
- โรงเรียนแต่ละโรงสามารถให้นักเรียนจัดทำโครงงานที่สัมพันธ์กับขอบข่ายข้างต้น

และรายงานโครงงานดังกล่าวใน blog
2. การเรียนรู้ภาษาอินโดนีเซีย-ภาษาไทย ผ่านระบบ SEA-Edu Net System
1) ในขั ้ น ตอนแรก SEAMOLEC จะจั ด หาพจนานุ ก รมเคลื ่ อ นที ่ (Free Mobile)

อิ น โดนี เ ซี ย -ภาษาไทยเกี ่ ย วกั บ การท่ อ งเที ่ ย วที ่ ส ามารถเข้ า ถึ ง โดยไม่ เ สี ย ค่ า ใช้ จ ่ า ย ในเว็ บ ไซต์

http://indothaipartnership.wordpress.com ทุกคนสามารถติดตั้งในโทรศัพท์เคลื่อนที่และสามารถ

ใช้เป็นสื่อการเรียนรู้ในการเรียนรู้ภาษา
2) SEAMOLEC จะส่งทีมไปดำเนินการอบรมสำหรับครูที่เป็นผู้แทนของโรงเรียนแต่ละโรงเรียน

ในประเทศไทย (การอบรมจะต้องมีการพูดคุยกันต่อไป) การอบรมนี้จะเป็นเรื่องการพัฒนาวีดิทัศน์และ
ใช้ในการจัดการเรียนรู้ โดยเฉพาะในเรื่องความร่วมมือกับโรงเรียนที่เป็นคู่พัฒนา จุดเน้นของการอบรม
จะเป็นการผลิตวีดิทัศน์สำหรับการเรียนรู้ภาษาซึ่งอาจจะขยายผลในการเรียนรู้ในรายวิชาอื่น ๆ ต่อไป
3) SEAMOLEC จะจัดหาระบบ E-Learning ซึ่งเป็นเสมือนแหล่งการเรียนรู้สำหรับโรงเรียน
ที่เข้าร่วมโครงการในการเรียนรู้ภาษา
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
โรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการจะเป็นเครือข่ายโรงเรียนพี่โรงเรียนน้องซึ่งจะช่วยพัฒนาคุณภาพ
การเรียนรู้ ความร่วมมือด้านการเรียนรู้ด้วยสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (E-Learning) ซึ่งเป็นยุทธวิธีใหม่ที่คาดว่า

จะช่วยสนับสนุนการเรียนรู้ได้อย่างดี ผู้เรียนจะได้ศึกษาเป็นภาษาอังกฤษและในขณะเดียวกันจะได้ใช้
ข้อมูลและเทคโนโลยีสื่อสารไปพร้อมกัน
1. การร่วมมือด้านการเรียนรู้ด้วยสื่ออิเล็กทรอนิกส์ในสาขาวิชาต่าง ๆ (คณิตศาสตร์ ภาษา
อังกฤษ ภาษาต่างประเทศอื่น ๆ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีทางด้านเกมคอมพิวเตอร์ และอื่น ๆ)

ผ่านทางการศึกษาเปิดและการศึกษาทางไกล ซึ่งจัดโดย SEAMOLEC ในส่วนของกิจกรรม ครูแต่ละวิชา

จากทั้งสองประเทศจะต้องนำสื่อการเรียนรู้และแนวทางการประเมินสำหรับผู้เรียนทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์
นักเรียนที่เข้าร่วมในโครงการจะมีระดับมาตรฐานการเรียนรู้และการประเมินแบบเดียวกัน การเรียนรู้
ด้านภาษา (ภาษาอังกฤษ) ก็สามารถดำเนินการผ่านทางอีเมล์เครือข่ายโครงการ ซึ่ง SEAMOLEC

จะจัดการอบรมให้แก่ครูแต่ละสาขาวิชาที่เลือกไว้ของทั้งสองประเทศเพื่อพัฒนาสื่อการสอนในระบบ

การจัดการเรียนรู้

การขับเคลื่อนการศึกษาสู่ประชาคมอาเซียน 85
2. การแลกเปลี่ยนครู (ขึ้นกับความก้าวหน้าของข้อตกลงระหว่างกัน)
3. การแลกเปลี่ยนนักเรียน (ขึ้นกับความก้าวหน้าของข้อตกลงระหว่างกัน)
4. การเทียบโอนผลการเรียน
5. การอบรมร่วมกันของครู ผู้อำนวยการโรงเรียน และบุคลากรทางการศึกษา

2. การประชุมอบรมเชิงปฏิบัติการจัดทำแนวทางการจัดการเรียนรู้เกี่ยวกับค่านิยมร่วม
(Common Values) และความเท่าเทียมทางเพศ (Gender Sensitivity)
หลักการและเหตุผล
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยสำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา

ได้ดำเนินโครงการพัฒนาสู่ประชาคมอาเซียน: Spirit of ASEAN เพื่อเตรียมเยาวชนไทยให้มีความพร้อม

ในการเป็นสมาชิกที่ดีของประชาคมอาเซียน สามารถติดต่อสื่อสารและอยู่ร่วมกันได้บนพื้นฐานของ

ความเสมอภาคและผลประโยชน์ร่วมกัน โดยพัฒนาโรงเรียนประถมศึกษาและมัธยมศึกษาจากทุกภูมิภาค
พัฒนาเป็นศูนย์อาเซียนศึกษาเป็นแหล่งการเรียนรู้เกี่ยวกับประชาคมอาเซียน จัดทำหลักสูตรและ

การจัดการเรียนรู้ที่เน้นอาเซียน กิจกรรมสร้างความรู้ ความเข้าใจ และความตระหนักเกี่ยวกับประชาคม
อาเซียนให้แก่นักเรียน ครู และบุคลากรทางการศึกษาในโรงเรียนที่เป็นที่ตั้งศูนย์อาเซียนศึกษา

และโรงเรียนเครือข่ายอย่างน้อย 9 โรง รวมทั้งชุมชนที่อยู่รายรอบโรงเรียนที่เป็นที่ตั้งศูนย์อาเซียนศึกษา
และชี้แจงสร้างความรู้ ความเข้าใจ และความตระหนักเกี่ยวกับประชาคมอาเซียนให้แก่ผู้บริหารและ
ศึกษานิเทศก์ในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาและมัธยมศึกษา 225 เขตพื้นที่ เพื่อขยายผล
เกี่ยวกับประชาคมอาเซียนให้แก่โรงเรียนในเขตพื้นที่
นอกจากนี ้ สำนั ก งานคณะกรรมการการศึ ก ษาขั ้ น พื ้ น ฐานได้ ป ระสานความร่ ว มมื อ กั บ

ศู น ย์ SEAMOLEC ในการพั ฒ นาโรงเรี ย นคู ่ พ ั ฒ นาระหว่ า งโรงเรี ย นมั ธ ยมศึ ก ษาของประเทศไทย



และสาธารณรัฐอินโดนีเซีย เพื่อสร้างความร่วมมือด้านการศึกษาและพัฒนาคุณภาพการศึกษา

ผ่านการเรียนรู้ร่วมกัน และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ความรู้ วัฒนธรรม และค่านิยมระหว่างกันด้วยวิธีการ

ที่หลากหลาย ดังนั้น เพื่อสนับสนุนการดำเนินการดังกล่าว สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

โดยสำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา ได้จัดประชุมอบรมเชิงปฏิบัติการจัดทำแนวทางการจัด

การเรียนรู้เกี่ยวกับค่านิยมร่วม (Common Values) และความเท่าเทียมทางเพศ (Gender Sensitivity) ขึ้น


เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้และจัดทำแนวทางการจัดการเรียนรู้เกี่ยวกับค่านิยมร่วมและความเท่าเทียม

ทางเพศ และเผยแพร่ให้โรงเรียนคู่พัฒนาของประเทศไทยนำไปใช้ในการจัดการเรียนรู้เพื่อสร้างความรู้

ความเข้าใจเกี่ยวกับค่านิยมร่วมและความเท่าเทียมทางเพศ ซึ่งเป็นประเด็นสำคัญในการเตรียม

เยาวชนไทยให้มีความพร้อมในการเป็นสมาชิกที่ดีของประชาคมอาเซียนในปี พ.ศ. 2558

86 การขับเคลื่อนการศึกษาสู่ประชาคมอาเซียน
วัตถุประสงค์
1. เพื่อชี้แจงสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับค่านิยมร่วม (Common Values) และความเท่าเทียม

ทางเพศ (Gender Sensitivity)
2. เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้เกี่ยวกับค่านิยมร่วมและความเท่าเทียม
ทางเพศ
3. เพื่อจัดทำแนวทางการจัดการเรียนรู้เกี่ยวกับค่านิยมร่วมและความเท่าเทียมทางเพศ

และเผยแพร่ให้โรงเรียนคู่พัฒนาของประเทศไทยนำไปใช้ในการจัดการเรียนรู้
วิธีการดำเนินงาน
1. ชี้แจงและบรรยายความรู้เกี่ยวกับค่านิยมร่วม (Common Values) และความเท่าเทียม

ทางเพศ (Gender Sensitivity)
2. อภิปรายและแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้เกี่ยวกับค่านิยมร่วมและ

ความเท่าเทียมทางเพศ
3. วางแผนและอภิปรายเกี่ยวกับการดำเนินการจัดทำแนวทางการจัดการเรียนรู้เกี่ยวกับ

ค่านิยมร่วมและความเท่าเทียมทางเพศ
4. ปฏิบัติการยกร่างแนวทางการจัดการเรียนรู้เกี่ยวกับค่านิยมร่วมและความเท่าเทียมทางเพศ
5. นำเสนอและสรุปแนวทางการจัดการเรียนรู้เกี่ยวกับค่านิยมร่วมและความเท่าเทียมทางเพศ
ผู้เข้าร่วมประชุม
ประกอบด้วย ศึกษานิเทศก์ ครูผู้รับผิดชอบโครงการโรงเรียนคู่พัฒนา ครูผู้สอนกลุ่มสาระ

การเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม เจ้าหน้าที่ประจำศูนย์อาเซียนศึกษา และนักวิชาการศึกษา
รวมประมาณ 75 คนต่อครั้ง
ระยะเวลาและสถานที่
ครั้งที่ 1 ระหว่างวันที่ 13-17 มิถุนายน 2554 ณ โรงแรมรอแยล เบญจา ถนนสุขุมวิท

กรุงเทพมหานคร
ครั้งที่ 2 ระหว่างวันที่ 27 มิถุนายน-1 กรกฎาคม 2554 ณ โรงแรมแกรนด์ไชน่า ปริ้นเซส

ถนนเยาวราช กรุงเทพมหานคร

การขับเคลื่อนการศึกษาสู่ประชาคมอาเซียน 87
88 การขับเคลื่อนการศึกษาสู่ประชาคมอาเซียน
ตารางการประชุมอบรมเชิงปฏิบัติการจัดทำแนวทางการจัดการเรียนรู้เกี่ยวกับค่านิยมร่วม (Common Values)

และความเท่าเทียมทางเพศ (Gender Sensitivity)

ครั้งที่ 1 ระหว่างวันที่ 13-17 มิถุนายน 2554 ณ โรงแรมรอแยล เบญจา ถนนสุขุมวิท กรุงเทพมหานคร
วั น 12.00-
08.30-10.00
น. 10.15-12.00
น. 13.00-14.45 น. 15.00-17.00 น. 19.00-21.00 น.
เวลา 13.00 น.

12 มิ.ย. 2554 ลงทะเบียน-รับเอกสาร - ศึกษาเอกสารเตรียมข้อมูล

เพื่อการประชุม

นำเสนอกรณีตัวอย่าง
สพฐ. กับ อาเซียนกับ อภิปรายและแลกเปลี่ยนเรียนรู้
การจัดการเรียนรู้

13 มิ.ย. 2554 พิธีเปิด การขับเคลื่อน อาเซียนกับค่านิยมร่วม ความเท่าเทียมทางเพศ เกี่ยวกับค่านิยมร่วม
เกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้

สู่ประชาคม (Common Values) (Gender Sensitivity) และความเท่าเทียมทางเพศ เกี่ยวกับค่านิยมร่วม



อาเซียน ในสถานศึกษา และความเท่ าเทียมทางเพศ

อภิปรายและกำหนดกรอบ
หลั ก สู ต รและการจั ด การเรี ย นรู ้ แนวทางการดำเนิ นการยกร่าง แบ่งกลุ่มยกร่างแนวทางการจัดการเรียนรู้เกี่ยวกับ

14 มิ.ย. 2554 เกี ่ ย วกั บ ค่ า นิ ย มร่ ว ม

แนวทางการจั ด การเรี ยนรู้


แบ่งกลุ่ม (ต่อ)
ค่านิยมร่วมและความเท่าเทียมทางเพศ
และความเท่ า เที ย มทางเพศ เกี ่ ย วกั บ ค่ า นิ ย มร่ ว ม


และความเท่าเทียมทางเพศ

นำเสนอผลการยกร่างแนวทางการจัดการเรียนรู้

แบ่งกลุ่มยกร่างแนวทางการจัดการเรียนรู้เกี่ยวกับค่านิยมร่วม เกี่ยวกับค่านิยมร่วมและความเท่าเทียมทางเพศ

15 มิ.ย. 2554 และความเท่าเทียมทางเพศ (ต่อ) แบ่งกลุ่มปรับปรุงผลงาน
รับประทานอาหารกลางวัน อภิปรายและปรับปรุงผลงาน

16 มิ.ย. 2554 แบ่ ง กลุ ่ ม ยกร่ า งแนวทางการจั ด การเรียนรู้เกี่ยวกับค่านิยมร่วม แบ่งกลุ่มยกร่างแนวทางการจัดการเรียนรู้เกี่ยวกับ

ค่านิยมร่วมและความเท่าเทียมทางเพศ (ต่อ) แบ่งกลุ่ม (ต่อ)


และความเท่าเทียมทางเพศ
วางแผนและนำเสนอแผนการนำ

นำเสนอผลการยกร่างแนวทางการจัดการเรียนรู้เกี่ยวกับค่านิยมร่วม แนวทางการจัดการเรียนรู้เกี่ยวกับ
อภิปราย

17 มิ.ย. 2554 และ

การขับเคลื่อนการศึกษาสู่ประชาคมอาเซียน
และความเท่าเทียมทางเพศ อภิปรายและปรับปรุงผลงาน ค่านิยมร่วมและความเท่าเทียมทางเพศ
ไปใช้ในสถานศึกษา ปิด ประชุม

89
ตารางการประชุมอบรมเชิงปฏิบัติการจัดทำแนวทางการจัดการเรียนรู้เกี่ยวกับค่านิยมร่วม (Common Values)

90
และความเท่าเทียมทางเพศ (Gender Sensitivity)

ครั้งที่ 2 ระหว่างวันที่ 27 มิถุนายน-1 กรกฎาคม 2554 ณ โรงแรมแกรนด์ไชน่า ปริ้นเซส ถนนเยาวราช กรุงเทพมหานคร
วั น 12.00-
08.30-10.00
น. 10.15-12.00
น. 13.00-14.45 น. 15.00-17.00 น. 19.00-21.00 น.
เวลา 13.00 น.

26 มิ.ย. 2554 ลงทะเบียน-รับเอกสาร - ศึกษาเอกสารเตรียมข้อมูล

เพื่อการประชุม



นำเสนอกรณีตัวอย่าง อภิปรายและแลกเปลี่ยนเรียนรู้

การขับเคลื่อนการศึกษาสู่ประชาคมอาเซียน
การจัดการเรียนรู้

สื่อการเรียนรู้และแหล่งการเรียนรู้ การนำแนวทางการจัด
เกี่ยวกับการนำแนวทาง
เกี่ยวกับค่านิยมร่วม
การเรียนรู้เกี่ยวกับค่านิยมร่วม
27 มิ.ย. 2554 พิธีเปิดและบรรยายพิเศษ เกี่ยวกับค่านิยมร่วม
และความเท่าเทียมทางเพศ
และความเท่าเทียมทางเพศ
การจั ดการเรียนรู้เกี่ยวกับค่านิยมร่วม

และความเท่าเทียมทางเพศ ของต่างประเทศ และความเท่ าเทียมทางเพศ

ไปใช้ในสถานศึกษา ไปใช้ในสถานศึกษา
อภิปรายและกำหนดกรอบแนวทางการพัฒนาแนวทางการจัด แบ่งกลุ่มพัฒนาแนวทางการจัดการเรียนรู้เกี่ยวกับ

28 มิ.ย. 2554 ค่านิยมร่วมและความเท่าเทียมทางเพศ (ต่อ) แบ่งกลุ่มพัฒนาแนวทาง (ต่อ)
การเรียนรู้เกี่ยวกับค่านิยมร่วมและความเท่าเทียมทางเพศ

นำเสนอผลการพัฒนาแนวทางการจัดการเรียนรู้

29 มิ.ย. 2554 แบ่งกลุ่มพัฒนาแนวทางการจัดการเรียนรู้เกี่ยวกับค่านิยมร่วม


แบ่งกลุ่มปรับปรุงผลงาน
และความเท่าเทียมทางเพศ (ต่อ) เกี่ยวกับค่านิยมร่วมและความเท่าเทียมทางเพศ
อภิปรายและปรับปรุงผลงาน

จัดทำเอกสารแนวทางการจัดการเรียนรู้เกี่ยวกับค่านิยมร่วม
จัดทำเอกสารแนวทางการจัดการเรียนรู้เกี่ยวกับ
30 มิ.ย. 2554 รับประทานอาหารกลางวัน ค่านิยมร่วมและความเท่าเทียมทางเพศ (ต่อ) จัดทำเอกสาร (ต่อ)
และความเท่าเทียมทางเพศ


นำเสนอเอกสารแนวทาง

จัดทำเอกสารแนวทางการจัดการเรียนรู้เกี่ยวกับค่านิยมร่วม
การจัดการเรียนรู้เกี่ยวกับค่านิยมร่วม
อภิปราย

1 ก.ค. 2554 และความเท่าเทียมทางเพศ อภิปราย
และ

และความเท่าเทียมทางเพศ (ต่อ) ปิด ประชุม
และปรับปรุงเอกสารให้มีความสมบูรณ์
3. การจัดสรรโอนเงินให้โรงเรียนคู่พัฒนาฯ ของประเทศไทย
โรงเรียนคู่พัฒนาดำเนินการจัดกิจกรรมตามโครงการโรงเรียนคู่พัฒนาระหว่างโรงเรียน
มั ธ ยมศึ ก ษาของประเทศไทยกั บ ประเทศสาธารณรั ฐ อิ น โดนี เ ซี ย จั ด กิ จ กรรมการเรี ย นรู ้ เ กี ่ ย วกั บ

ค่านิยมร่วมและความเท่าเทียมทางเพศ และเตรียมความพร้อมในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน

4. การนิเทศ กำกับ ติดตามผลการดำเนินกิจกรรมของโรงเรียนในโครงการ สรุปผลและ



จัดทำเป็นรูปเล่ม
ขณะนี้โรงเรียนคู่พัฒนาของทั้งสองประเทศอยู่ในระหว่างการดำเนินการจัดกิจกรรมตาม
โครงการโรงเรี ย นคู ่ พ ั ฒ นาระหว่ า งโรงเรี ย นมั ธ ยมศึ ก ษาของประเทศไทยกั บ ประเทศสาธารณรั ฐ
อินโดนีเซีย จัดกิจกรรมการเรียนรู้เกี่ยวกับค่านิยมร่วม และความเท่าเทียมทางเพศ และเตรียมความพร้อม

ในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน

การขับเคลื่อนการศึกษาสู่ประชาคมอาเซียน 91
บรรณานุกรม
กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ, กระทรวงพาณิชย์. 2548. เขตการค้าเสรี (เอฟทีเอ)

ฉบับประชาชน. กรุงเทพฯ : กระทรวงพาณิชย์.
กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ, กระทรวงพาณิชย์. ไม่ระบุปีที่พิมพ์. FTA Fact Book

เขตการค้าเสรี.
กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ, กระทรวงพาณิชย์. 2552. คำศัพท์เศรษฐกิจอาเซียน.
กรมประชาสัมพันธ์, สำนักนายกรัฐมนตรี. 2552. ประเทศไทยกับอาเซียน. พิมพ์ครั้งที่ 1.
กรุงเทพฯ : เปเปอร์เฮาส์.
กรมอาเซียน, กระทรวงการต่างประเทศ. 2552. กฎบัตรอาเซียน. กรุงเทพฯ : กรมอาเซียน.
กรมอาเซียน, กระทรวงการต่างประเทศ. 2552. บันทึกการเดินทางอาเซียน. กรุงเทพฯ : บริษัท

วิธิตา แอนนิเมชั่น จำกัด.
กรมอาเซียน, กระทรวงการต่างประเทศ. 2551. มารู้จักอาเซียนกันเถอะ. กรุงเทพฯ : กรมอาเซียน.
กรมอาเซียน, กระทรวงการต่างประเทศ. ไม่ระบุปีที่พิมพ์. ASEAN Mini Book.
กรมอาเซียน 3, กระทรวงการต่างประเทศ. 2554. แผนแม่บทว่าด้วยความเชื่อมโยงระหว่างกัน

ในอาซียน. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ : คาริสม่า มีเดีย.
กรมอาเซียน 4, กระทรวงการต่างประเทศ. 2551. “การดำรงตำแหน่งประธานอาเซียนของไทย”
กรุงเทพฯ : เพจเมคเกอร์ จำกัด.
ประภัสสร์ เทพชาตรี. 2554. ประชาคมอาเซียน. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ : เสมาธรรม.
นิรมล กิตติวิบูลย์ และภัทณิดา พันธุมเสน. 2549. รายงานการวิจัยเปรียบเทียบการปฏิรูป
การศึกษาเพื่อก้าวสู่สังคมฐานความรู้. กรุงเทพฯ : สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.
สำนักงานปลัดกระทรวง, ศึกษาธิการ. 2552. การศึกษา : รากฐานประชาคมอาเซียน.
กรุงเทพฯ : สกสค. ลาดพร้าว.
สำนักงานปลัดกระทรวง, ศึกษาธิการ. 2554. (ร่าง) แผนยุทธศาสตร์ด้านการศึกษาเพื่อก้าวสู่
ประชาคมอาเซียน ภายในปี 2558 ของประเทศไทย. (อัดสำเนา).
สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา, สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. 2552.

แนวทางการบริ ห ารจั ด การหลั ก สู ต ร. กรุ ง เทพฯ : โรงพิ ม พ์ ช ุ ม นุ ม สหกรณ์
การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

92 การขับเคลื่อนการศึกษาสู่ประชาคมอาเซียน
สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา, สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. 2552.

หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์
ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา, ศึกษาธิการ. 2549. รายงานวิจัยเรื่อง “การวิจัยเปรียบเทียบ
การปฏิรูปการศึกษาของประเทศในกลุ่มอาเซียน”. <www.onec.go.th/publication/
49015.htm>
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา, ศึกษาธิการ. 2553. การบรรยายทางวิชาการเพื่อสร้าง
ความตระหนัก “เรื่อง การก้าวสู่ประชาคมอาเซียน”. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ :

พิมพ์ดีการพิมพ์ จำกัด.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา, 2552. สมรรถนะการศึกษาไทยในเวทีสากล พ.ศ. 2552.
กรุงเทพฯ : บริษัท พริกหวานกราฟฟิค จำกัด.
APCEIU, UNDP and UNESCO. 2009. Caring in the Pacific. Seoul: Republic of Korea.
ASEAN Secretariat. 2004. ASEAN Annual Report 2003-2004. Jakarta: Indonesia.
Denoon, David, B.H. and Evelyn Colbert. 1998-1999. “Challenges for the Association of
Southeast Asian Nations”. Pacific Affairs. (Winter, 1998-1999).
UNDP. 2005. Southeast Asia Human Development Report, Regional Economic
Integration and Regional Cooperation in Southeast Asia: Deepening and
Broadening the Benefits for Human Development.
UNESCO, APCEIU, SPAEA. 2006. “O’oh!! EIU Card Game about Southeast Asia:

Art, Culture and general Knowledge”. Thailand.
UNESCO, APCEIU, SEAMEO SEMOLEC, SPAEA. 2009. Sea Journey: Play & Learn [DVD].
Doooit Intermedia, Inc.
ASEAN Vision 2020. (1997) <www.aseansec.org>.
Cha-am Hua Hin Declaration on the Roadmap for an ASEAN Community (2009-2015), 14th
ASEAN Summit 27 February-1 March 2009, Cha-am, Petchburi Province, Thailand

<www.14thaseansummit.org.>

การขับเคลื่อนการศึกษาสู่ประชาคมอาเซียน 93
รายชื่อคณะผู้จัดทำ
ที่ปรึกษา
1. นายชินภัทร ภูมิรัตน เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
2. นางเบญจลักษณ์ น้ำฟ้า รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
3. นางสาววีณา อัครธรรม ผู้อำนวยการสำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา
4. ว่าที่ ร.ต.อุดมศักดิ์ ธนะกิจรุ่งเรือง หัวหน้ากลุ่มพัฒนาหลักสูตรและมาตรฐานการเรียนรู้
สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา
ผู้ยกร่าง
1. นางสาวจันทรา ตันติพงศานุรักษ์ นักวิชาการศึกษา สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา
2. นางสาวชยพร กระต่ายทอง นักวิชาการศึกษา สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา
ผู้รับผิดชอบโครงการ
1. นางสาวจันทรา ตันติพงศานุรักษ์ นักวิชาการศึกษา สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา
2. นางมัทนา มรรคผล นักวิชาการศึกษา สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา
3. นางสาวชยพร กระต่ายทอง นักวิชาการศึกษา สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา
4. นางสาวประภาพรรณ แม้นสมุทร นักวิชาการศึกษา สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา
5. นายอนุจินต์ ลาภธนาภรณ์ นักวิชาการศึกษา สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา
6. นางสาวกัญญาวีร์ โลหะสวัสดิ์ เจ้าพนักงานธุรการ สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา
7. นางสาวปาณิตา วัฒนพานิช พนักงานพิมพ์ สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา
บรรณาธิการกิจ
1. นางสาววีณา อัครธรรม ผู้อำนวยการสำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา
2. นางสาวจันทรา ตันติพงศานุรักษ์ นักวิชาการศึกษา สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา
3. นางสาวชยพร กระต่ายทอง นักวิชาการศึกษา สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา
ออกแบบปก
1. นางสาวชยพร กระต่ายทอง นักวิชาการศึกษา สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา
2. นางสาวอัจฉรา โชติมาภรณ์ เจ้าหน้าที่ประจำศูนย์อาเซียนศึกษาโรงเรียนอุดรพิทยานุกูล
จังหวัดอุดรธานี
ภาพประกอบ
1. นางสาวชยพร กระต่ายทอง นักวิชาการศึกษา สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา
2. เจ้าหน้าที่ประจำศูนย์อาเซียนศึกษาของโรงเรียนในโครงการ Spirit of ASEAN

94 การขับเคลื่อนการศึกษาสู่ประชาคมอาเซียน
การขับเคลื่อนการศึกษาสู่ประชาคมอาเซียน 95

You might also like