You are on page 1of 7

บทที่ 2

จังหวะ (Time)

จังหวะ หมายถึงชวงเวลาที่ทําหนาที่ควบคุมการเคลื่อนที่ของทํานองและแนวประสานเสียง
ตางๆ เพื่อใหการบรรเลงดนตรีมีความสัมพันธกัน การเดินของจังหวะจะดําเนินไปอยางสม่ําเสมอและ
ตอเนื่องจนจบการบรรเลงดนตรีนั้นๆ ดังนั้นจังหวะจึงเปรียบเสมือนชีพจร

2.1เครื่องหมายกําหนดจังหวะ (Time signature)


เครื่องหมายกําหนดจังหวะ หมายถึง ตัวเลขซอน กันสองตัวที่กํากับไวอยูท่ีตน เพลง ดังรูปที่
2.1 เปนตัวกําหนดและควบคุมอัตราจังหวะ (ตัวโนตและตัวหยุด) ในแตละหองใหดําเนินไปอยาง
สม่ําเสมอ เครื่องหมายกําหนดจังหวะสามารถกํากับไวได 2 แบบคือ

รูปที่ 2.1 เครื่องหมายกําหนดจังหวะ

1. แบบตัวเลข เชน 2/4, 3/4, 4/4

เลขตัวบน กําหนดจํานวนตัวโนตหรือจังหวะในแตละหอง

เลขตัว กําหนดลักษณะของตัวโนตทีใ่ ชเปนเกณฑ เชน เลข 2 แทนโนตตัวขาว, เลข 4


ลาง แทนโนตตัวดํา, เลข 8 แทนโนตตัวเขบ็ตหนึ่งชั้น และ เลข 16 แทนโนตตัว
เขบ็ตสองชั้น

บทที่ 2 จังหวะ (Time) 1


2. แบบตัวสัญลักษณ เชน C (common time) มีคาเทากับ 4/4 และ (cut time) มีคา
เทากับ 2/2

2.2 อัตราจังหวะ (Meter)


อัตราจังหวะสามารถแบงออกไดเปน 3 ประเภท คือ อัตราจังหวะธรรมดา (Simple time),
อัตราจังหวะผสม (Compound time) และอัตราจังหวะซอน (Complex time) ดังนี้
1. อัตราจังหวะธรรมดา เปนอัตราจังหวะที่มีชีพจรจังหวะเปนโนตชนิดใดก็ได ที่ไมใชโนตประ
จุด ดังรูปที่ 2.2 สามารถแบงไดเปน 3 แบบ คือ

รูปที่ 2.2 อัตราจังหวะธรรมดา

− อัตราจังหวะสองธรรมดา (Simple duple time) อัตราจังหวะที่มี 2 ชีพจรจังหวะ


ในแตละหอง เชน 2/2, 2/4, 2/8 (เปนเลข 2 กํากับขางบน)
− อัตราจังหวะสามธรรมดา (Simple triple time) อัตราจังหวะที่มี 3 ชีพจรจังหวะ
ในแตละหอง เชน 3/2, 3/4, 3/8 (เปนเลข 3 กํากับขางบน)
− อัตราจังหวะสี่ธรรมดา (Simple quadruple time) อัตราจังหวะที่มี 4 ชีพจร
จังหวะในแตละหอง เชน 4/2, 4/4, 4/8 (เปนเลข 4 กํากับขางบน)
2. อัตราจังหวะผสม เปนอัตราจังหวะที่มีชีพจรจังหวะเปนโนตประจุดชนิดใดก็ได ดังรูปที่
2.3 ซึ่งตัวโนตเหลานี้สามารถแบงยอยออกเปน 3 ชีพจรจังหวะยอยได (หาร 3 ลงตัว)
แบงเปน 3 แบบ คือ

บทที่ 2 จังหวะ (Time) 2


รูปที่ 2.3 อัตราจังหวะผสม

− อัตราจังหวะสองผสม (Compound duple time) อัตราจังหวะที่มี 2 ชีพจรของตัว


โนตประจุด เชน 6/4, 6/8, 6/16 (เปนเลข 6 กํากับขางบน)
− อัตราจังหวะสามผสม (Compound triple time) อัตราจังหวะที่มี 3 ชีพจรของตัว
โนตประจุด เชน 9/4, 9/8, 9/16 (เปนเลข 9 กํากับขางบน)
− อัตราจังหวะสีผ่ สม (Compound quadruple time) อัตราจังหวะที่มี 4 ชีพจรของ
ตัวโนตประจุด เชน 12/4, 12/8, 12/16 (เปนเลข 12 กํากับขางบน)
3. อัตราจังหวะซอน (Complex time) เปนอัตราจังหวะที่ไมสม่ําเสมอ เชน 5/4, 7/8,
11/16 เปนตน ไมมีหลักที่แนนอน ชีพจรจังหวะจะเกิดขึ้นที่ใดในหองเพลง โดยผูประพันธจะ
บอกไวที่เครื่องหมายกําหนดจังหวะที่เลขตัวบนวาชีพจรจังหวะควรอยูอยางไร เชน
− 5(3+2)/4 หมายถึง ใน 5 จังหวะจะแบงเปน 2 กลุม กลุม แรกจะมี 3 จังหวะ และ กลุมที่
สองมี 2 จังหวะ
หรืออาจมี 3 กลุม
− 7(2+2+3)/8 หมายถึง ใน 7 จังหวะจะแบงเปน 3 กลุม กลุม แรกจะมี 2 จังหวะ, กลุม ที่
สองมี 2 จังหวะ และ กลุมที่สามที 3 จังหวะ

2.3 การเนนเสียง
การเนนเสียง มี 2 ประเภท

บทที่ 2 จังหวะ (Time) 3


1. การเนนเสียงตามชีพจรจังหวะ เปนการเนนเสียงตามธรรมชาติที่เกิดขึ้นอยางสม่ําเสมอ
ในแตละหอง (bar) โดยอาศัยการพิจารณาจากอัตราจังหวะซึ่งสามารถบอกถึงชีพจร
จังหวะได เชน จังหวะหนัก (Strong beat) จะอยูในจังหวะที่ 1 เปนจังหวะที่สําคัญที่สุดและ
ถูกเนนมากที่สุด สวนจังหวะอื่นสวนมากเปนจังหวะเบา (Weak beat) ซึ่งจังหวะสุดทาย
ของแตละหอง จะเบาที่สุดและมีความสําคัญนอยที่สุดเสมอ
อยางไรก็ตามอัตราจังหวะไมวาจะเปนอัตราจังหวะธรรมดาหรืออัตราจังหวะผสม จะไมบอก
ความแตกตางของการเนนจังหวะ เพราะความเปนอัตราจังหวะสอง อัตราจังหวะสามและ
อัตราจังหวะสี่ จะเปนตัวกําหนดการเนนจังหวะตามชีพจรจังหวะ ดังนี้
− ในจังหวะสอง ไดแกจังหวะสองธรรมดาและจังหวะสองผสม จะมีชีพจรจังหวะเทากับ 2
เหมือนกัน แสดงวา มีการเนนจังหวะเหมือนกัน คือ จังหวะที่ 1 เปนจังหวะหนัก และ
จังหวะที่ 2 เปนจังหวะเบา ดังรูปที่ 2.4

รูปที่ 2.4 การเนนจังหวะของอัตราจังหวะสอง

− ในจังหวะสาม ไดแกจังหวะสามธรรมดาและจังหวะสามผสม จะมีชีพจรจังหวะเทากับ 3


เหมือนกัน แสดงวา มีการเนนจังหวะเหมือนกัน คือ จังหวะที่ 1 เปนจังหวะหนัก จังหวะ
ที่ 2 และ 3 เปนจังหวะเบา แตจังหวะที่ 3 จะเบากวาจังหวะที่ 2 ดังรูปที่ 2.5

รูปที่ 2.5 การเนนจังหวะของอัตราจังหวะสาม

− ในจังหวะสี่ ไดแกจังหวะสี่ธรรมดาและจังหวะสีผ่ สม จะมีชีพจรจังหวะเทากับ 4


เหมือนกัน แสดงวา มีการเนนจังหวะเหมือนกัน คือ จังหวะที่ 1 เปนจังหวะหนัก จังหวะ

บทที่ 2 จังหวะ (Time) 4


ที่ 2, 3 และ 4 เปนจังหวะเบา แตจังหวะที่ 3 สําคัญกวาจังหวะที่ 2 และ 4 และจังหวะที่
2 สําคัญวาจังหวะที่ 4 ดังรูปที่ 2.6

รูปที่ 2.6 การเนนจังหวะของอัตราจังหวะสี่

การเนนตามชีพจรจังหวะเปนเพียงกระบวนการคิดในเรื่องอัตราจังหวะ ไมใชเปนการเนน
ที่ชัดเจน เปรียบไดกับการเนนพยางคในคําภาษาอังกฤษที่ตองการการเนนเพียง
เล็กนอย และเมื่อคําเหลานี้มารวมกันเปนประโยค การเนนพยางคของในคําตางๆ จะถูก
ปรับใหมคี วามสําคัญลดหลั่นกันไปเปนลําดับ
2. การเนนเสียงเฉพาะที่ เปนการเนนเสียงที่เกิดขึ้นเฉพาะเจาะจงที่ตัวโนตใดตัวโนตหนึ่ง ซึ่ง
อาจจะไมเกิดขึ้นสม่ําเสมอทุกหอง จึงตองแสดงเครื่องหมายกํากับไว ซึ่งมี 2 ชนิด

− สัญลักษณแสดงการเนน เชน หรือ มีตําแหนงอยูเหนือตัวโนตถาหางโนตชี้ลง


หรือมีตําแหนงอยูใตหัวโนตถาหางโนตชี้ขึ้น ดังรูปที่ 2.7

รูปที่ 2.7 สัญลักษณแสดงการเนน

− ตัวอักษรแสดงการเนน เชน sf หรือ sfz (sforzando) และ fz (forzando) ซึ่งมี


ความหมายวาเนนเฉพาะ โนตตัวนั้น การเนนตัวโนต หมายรวมถึงการเนนคอรดดวย
ดังรูปที่ 2.8

รูปที่ 2.8 ตัวอักษรแสดงการเนน

บทที่ 2 จังหวะ (Time) 5


2.4การยืดคาตัวโนต

การยืดคาของตัวโนตสามารถทําได 3 วิธีดังนี้
1. การประจุด (dotted note) คาตัวโนตหรือตัวหยุดสามารถทําใหยาวขึ้นไดดวยการประจุด
ทางดานขวาของตัวโนตและตัวหยุดนั้น การประจุดทําใหตัวโนตมีคามากขึ้นเปนครึ่งหนึ่ง
ของอัตราจังหวะตัวโนตนั้น เชนโนตดําเมื่อประจุดจะมีคาเทากับโนตตัวดํา บวกกับ โนตตัว
เขบ็ตหนึ่งชั้น นั่นคือ จุดนั้นมีค าเทากับโนตเขบ็ตหนึ่งชั้นซึ่งมีอัตราเปนครึ่งเสียงของโนตตัว
ดํา ดังรูปที่ 2.9

รูปที่ 2.9 โนตตัวดําประจุด

อยางไรก็ตามการประจุดสามารถทําไดมากกวาหนึ่งจุด โดยแตละจุดจะมีคาเปนครึ่งเสียง
ของจุดกอนหนานั้น เชน โนตตัวกลมประจุดสามจุด ดังรูป ที่ 2.10 จะมีคาเทากับโนตตัว
กลม บวกกับ โนตตัวขาว (คาของจุดที่ 1) บวกกับ โนตตัวดํา (คาของจุดที่ 2) และบวก
กับ โนตเขบ็ตหนึ่งชั้น (คาของจุดที่ 3)

รูปที่ 2.10 โนตตัวกลมประจุดสามจุด

2. การใชเครื่องหมายโยงเสียง (tie) คือเสนโคงที่ลากเชื่อมกันระหวางตัวโนต 2 ตัวที่มี


ระดับเสียงเดียวกัน ดังรูปที่ 2.11โนตที่ถูกโยงเสียงจะเลนเพียงครั้งเดียว นั่นคือเฉพาะโนต
ตัวแรกเทานั้น และจะถูกลากเสียงคางไวจนสิ้นสุดคาของตัวโนตตัวสุดทายที่เครื่องหมาย
โยงเสียงลากไปถึง เครื่องหมายโยงเสียง ในกรณีทต่ี วั โนตแรกถูกแปลงเสียงโดยใช
เครื่องหมายแปลงเสียง จะทําใหตวั โนตตัวถัดไปถูกแปลงเสียงไปดวยเชนเดียวกัน

รูปที่ 2.11 เครือ่ งหมายโยงเสียง

บทที่ 2 จังหวะ (Time) 6


3. การใชสัญลักษณเฟอรมาตา (fermata) มีลักษณะเปนเสียงโคงครึ่งวงกลมมีจุด อยู
เหนือตัวโนตหรือตัวหยุด ดังรูปที่ 2.12 ในกรณีหางตัวโนตชี้ขึ้น สัญลักษณเฟอรมาตา
อาจอยูเหนือหรือใตตัวโนตก็ได เฟอรมาตาจะทําใหตัวโนตหรือตัวหยุดมีคายาวกวาคาที่
แทจริงของตัวโนตหรือตัวหยุดนั้น แตคาจะยาวขึ้นมากนอยเพียงใดไมไดกาํ หนดแนนอน
ขึ้นอยูกับผูบรรเลงจะเห็นสมควร

รูปที่ 2.12 สัญลักษณเฟอรมาตา

บทที่ 2 จังหวะ (Time) 7

You might also like