You are on page 1of 24

ตัวอย่างข้อสอบความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับกฎหมาย 100 ข้อ

1. สิ่งที่ผู้เยาว์สามารถกระทำได้เมื่อมีอายุครบ 15 ปีบริบูรณ์ ยกเว้นข้อใด


ก. บัตรประชาชน ข. พินัยกรรม
ค. สมรส ง. การรับรองบุตร
2. นายดำกู้เงินนายแดง 10,000 บาท ในสัญญาระบุให้นายดำต้องชำระดอกเบี้ยด้วย แต่ไม่ได้กำหนดอัตราดอกเบี้ยเอาไว้ ดังนี้
นายดำต้องชำระดอกเบี้ยให้นายแดงในอัตราร้อยละเท่าใด
ก. ร้อยละ 15 ต่อปี ข. ร้อยละ 7.5 ต่อปี
ค. ไม่ต้องเสียดอกเบี้ย เพราะไม่ได้กำหนดอัตราเอาไว้ ง. ข้อตกลงเรื่องดอกเบี้ยเป็นโมฆะ
3. นิติกรรมใด ที่คนเสมือนไร้ความสามารถกระทำโดยปราศจากความยินยอมแล้วยังคงมีผลสมบูรณ์
ก. กู้ยืมเงิน ข. ให้กู้ยืมเงิน
ค. ให้เช่าบ้านเป็นระยะเวลา 1 ปี ง. ทำสัญญาค้ำประกันหนีใ้ ห้นายขาว
4. ข้อใดเป็นทรัพย์สิน
ก. ดวงจันทร์ ข. สิทธิบัตร
ค. ชื่อ-สกุล ง. ถูกทุกข้อ
5. ทรัพย์ในข้อใดมีความสัมพันธ์ในลักษณะที่เป็นส่วนควบกับทรัพย์ประธาน
ก. ไม้ยืนต้น – ที่ดิน ข. กรงนก – นก
ค. ช้อน – ส้อม ง. น้ำ – โอ่งน้ำ
6. ข้อใดจัดเป็นส่วนควบของทรัพย์
ก. ไม้พายเรือ ข. ล้ออะไหล่
ค. ผลทุเรียนที่หลุดมาจากต้น ง. แม่แรงรถยนต์
7. การแสดงเจตนาโดยสำคัญผิดในข้อใด ไม่ทำให้นิติกรรมตกเป็นโมฆะ
ก. สำคัญผิดในลักษณะของนิตกิ รรม ข. สำคัญผิดในตัวบุคคลซึ่งเป็นคู่กรณี
ค. สำคัญผิดในทรัพย์ซึ่งเป็นวัตถุแห่งนิติกรรม ง. สำคัญผิดในคุณสมบัติอันเป็นสาระสำคัญ
8. ด.ช. แดง เกิดเมื่อวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2530 เวลา 13.00 น. ด.ช. แดงจะบรรลุนิติ
ภาวะเมื่อใด
ก. 15 ธันวาคม พ.ศ. 2550 เวลา 00.00 น.ข. 15 ธันวาคม พ.ศ. 2550 เวลา 13.00 น.
ค. 16 ธันวาคม พ.ศ. 2550 เวลา 00.00 น.ง. 16 ธันวาคม พ.ศ. 2550 เวลา 13.00 น.
9. ข้อใดไม่จัดเป็นนิติเหตุ
ก. สัญญา ข. ละเมิด
ค. จัดการงานนอกสั่ง ง. ลาภมิควรได้
10. สัญญาซื้อขายทรัพย์ชนิดใด ไม่ต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียน
ก. ที่ดิน ข. สัตว์พาหนะ
ค. รถยนต์ขนาด 2 ตันขึ้นไป ง. แพ
11. สัญญาซื้อขายซึ่งกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินตกไปยังผู้ซื้อ โดยมีข้อตกลงว่าผูข้ ายอาจไถ่ทรัพย์
นั้นคืนได้ คือสัญญาชนิดใด
ก. ขายฝาก ข. ขายทอดตลาด
ค. ขายเผื่อชอบ ง. ขายเช่า
12. สัญญาให้ จะมีผลสมบูรณ์เมื่อใด
ก. เมื่อตกลงทำสัญญาให้ ข. เมื่อทำสัญญาเป็นหนังสือ
ค. เมื่อส่งมอบทรัพย์สินที่ให้ ง. เมื่อผู้รับรู้ถึงการให้นั้น
13. เหตุการณ์ใดไม่ทำให้สัญญาเช่าอสังหาริมทรัพย์ระงับลง
ก. ผู้เช่าตาย ข. ทรัพย์สินที่เช่าถูกทำลายไปจนหมด
ค. สิ้นระยะเวลาเช่า ง. ผู้ให้เช่าโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่เช่าให้แก่บุคคลอื่น
14. ตามกฎหมาย ผู้ให้เช่าซื้อมีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้ เมื่อผู้เช่าซื้อผิดนัดไม่ชำระเงินกี่คราวติดต่อกัน
ก. 1 คราว ข. 2 คราว
ค. 3 คราว ง. 4 คราว
15. นายแดง จ้างให้ อ.เฉลิมชัย วาดรูปภาพเหมือนให้ตน สัญญาดังกล่าวถือเป็นสัญญาชนิดใด
ก. จ้างแรงงาน ข. จ้างทำของ
ค. ซื้อขายรูปภาพ ง. สัญญานอกประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
16. ข้อใดผิดเกี่ยวกับสัญญายืมใช้คงรูป
ก. สัญญาจะบริบูรณ์เมื่อส่งมอบทรัพย์สินที่ยืมข. สัญญาจะมีค่ายืมหรือไม่ก็ได้
ค. หากผู้ยืมตาย สัญญายืมย่อมระงับ ง. ผู้ยืมจะต้องรับผิด หากนำทรัพย์สินที่ยืมไปให้บุคคลอื่นใช้สอย
17 การนำรถไปจอดไว้ในห้างสรรพสินค้า เพื่อไปเดินซื้อของในห้างนัน้ โดยเสียค่าจอดรถ ถือเป็นสัญญาชนิดใด
ก. ฝากทรัพย์ ข. เช่าพื้นที่จอดรถ
ค. จ้างทำของ ง. ไม่เป็นสัญญา
18. ข้อใดมิได้อยูใ่ นความหายของสัญญาประกันด้วยบุคคลและทรัพย์
ก. ค้ำประกัน ข. ประกันภัย
ค. จำนอง ง. จำนำ
19. ข้อใดผิดเกี่ยวกับสัญญาจำนอง
ก. ทรัพย์สินเดียวกันสามารถนำมาจำนองได้หลายครั้ง
ข. ผู้เป็นเจ้าของทรัพย์สินเท่านั้น จึงจะสามารถนำทรัพย์นนั้ ไปจำนองได้
ค. บุคคลมีสิทธินำทรัพย์สินของตนเองไปจำนองเพื่อประกันหนี้ของบุคคลอื่น
ง. สัญญาจำนองต้องทำเป็นหนังสือ มิฉะนั้นจะตกเป็นโมฆะ
20. ทรัพย์สินใดที่สามารถนำมาจำนำได้
ก. ตั๋วเงิน ข. เครื่องจักร
ค. แพ ง. ถูกทุกข้อ
21. ข้อใดมีความสัมพันธ์กับคำว่า “ หุ้นส่วนจำกัดความรับผิด ”
ก. ห้างหุ้นส่วนสามัญ ข. ห้างหุ่นส่วนจำกัด
ค. บริษัทจำกัด ง. บริษัทมหาชนจำกัด
22. ข้อใดมิใช่สาธารณสมบัติของแผ่นดิน
ก. ที่ราชพัสดุ ข. ที่ดินรกร้างว่างเปล่า
ค. เรือรบ ง. ทางหลวง
23. บทบัญญัติในเรื่องครอบครัวและมรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ไม่ใช้แก่ผู้
นับถือศาสนาอิสลามในจังหวัดใด
ก. ยะลา นราธิวาส สงขลา ตรัง ข. ยะลา สงขลา สตูล นราธิวาส
ค. ยะลา ปัตตานี นราธิวาส ตรัง ง. ยะลา สตูล นราธิวาส ปัตตานี
24. ข้อใดถูกต้องเกี่ยวกับการหมั้น
ก. การหมั้นไม่จำเป็นต้องมีของหมั้น ข. การหมั้นต้องมีสินสอดและของหมั้น
ค. เมื่อหมั้นแล้ว สินสอดจะตกเป็นของฝ่ายหญิงง. การหมั้นไม่จำเป็นต้องมีสินสอด
25. หญิงที่สามีตายหรือที่การสมรสสิ้นสุดลง หากทำการสมรสใหม่โดยการสิ้นสุดนั้นยังผ่านไป
ไม่ครบ 310 วัน การสมรสดังกล่าวจะมีผลเป็นเช่นไร
ก. มีผลสมบูรณ์ ข. ตกเป็นโมฆียะ
ค. ตกเป็นโมฆะ ง. ตกเป็นโมฆะ หากศาลสั่ง
26. ข้อใดมิใช่สินส่วนตัว
ก. ของหมั้น ข. เครื่องแต่งกายส่วนตัว
ค. ดอกผลของสินส่วนตัว ง. เงินที่เกิดจากการขายสินส่วนตัวในระหว่างสมรส
27. นายไทเกอร์ มีอาชีพเป็นนักกอล์ฟ ได้สมรสกับนางสาวเจน หลังจากนัน้ นายไทเกอร์ได้รางวัลจากการแข่งขันกอล์ฟ 2 แสนบาท
นายไทเกอร์นำเงินที่ได้มา ไปซื้อไม้กอล์ฟอันใหม่สำหรับใช้แข่งขันราคา 1 แสนบาท และนำเงินอี ก 1 แสนบาทไปฝากธนาคาร
ชุดไม้กอล์ฟอันใหม่และเงิน 1 แสนบาทที่เหลือ จัดเป็นทรัพย์สินประเภทใด
ก. เป็นสินส่วนตัวทั้งหมด ข. เป็นสินสมรสทั้งหมด
ค. ชุดไม้กอล์ฟเป็นสินส่วนตัว เงินเป็นสินสมรสง. เงินเป็นสินส่วนตัว ชุดไม้กอล์ฟเป็นสินสมรส
28. ข้อใดไม่ถือเป็นเหตุฟ้องหย่า
ก. ภริยาเป็นโรคเอดส์ ข. สามีแอบมีความสัมพันธ์กับหญิงอื่น
ค. สามีตบตีภริยาทุกวัน ง. ภริยามีชู้
29. เด็กที่จะมาเป็นบุตรบุญธรรม ต้องมีอายุไม่ต่ำกว่ากี่ปี
ก. 5 ปี ข. 10 ปี
ค. 15 ปี ง. ไม่มีข้อถูก
30. ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ทายาทโดยธรรมมีทั้งสิ้นกี่ลำดับ
ก. 4 ลำดับ ข. 5 ลำดับ
ค. 6 ลำดับ ง. 7 ลำดับ
31. บุคคลใดสามารถเป็นผู้รับพินัยกรรมได้
ก. ผู้เขียนพินัยกรรม ข. พยานในพินัยกรรม
ค. คู่สมรสของพยานในพินัยกรรม ง. ผู้สืบสันดานของผู้เขียนพินัยกรรม
32. โทษใดถือเป็นโทษสถานเบาที่สุดในทางอาญา
ก. กักขัง ข. กักกัน
ค. ปรับ ง. ริบทรัพย์สิน
33. นาย ก. ถูกศาลพิพากษาจำคุก 1 เดือน โดยนาย ก. ถูกจำคุกตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม นาย ก. จะถูกปล่อยตัววันที่เท่าใด
ก. 30 มีนาคม ข. 31 มีนาคม
ค. 1 เมษายน ง. 2 เมษายน
34. ข้อใดมิใช่วิธีการเพื่อความปลอดภัย
ก. กักกัน ข. กักขัง
ค. เรียกประกันทัณฑ์บน ง. ห้ามเข้าเขตกำหนด
35. การกระทำผิดตามข้อใด ถือเป็นเหตุยกเว้นโทษตามกฎหมาย
ก. การทำผิดเพราะบันดาลโทสะ ข. การทำผิดโดยไม่รู้กฎหมาย
ค. การทำผิดของผู้เยาว์อายุ 15 ปี ง. การทำผิดฐานลักทรัพย์ระหว่างสามีภริยา
36. ผู้กระทำความผิดที่มีอัตราโทษประหารชีวิต จะมีอายุความในการดำเนินคดีอาญากี่ปี
ก. 50 ปี ข. 30 ปี
ค. 20 ปี ง. 15 ปี
37. ความผิดทางอาญาข้อใดเป็นความผิดอันยอมความได้
ก. ข่มขืนกระทำชำเราในที่ลับตาคน ข. ลักทรัพย์ของนายจ้าง
ค. การทำร้ายร่างกายระหว่างญาติสนิท ง. ฉ้อโกงประชาชน
38. ศาลยุติธรรมของไทยใช้ระบบใดในการพิจารณาคดี
ก. ระบบไต่สวน ข. ระบบกล่าวหา
ค. ระบบลูกขุน ง. ระบบผสม
39. ข้อใดคือองค์ประกอบของความเป็นรัฐ
ก. ราษฎร อาณาเขต รัฐบาล ความสามารถในการติดต่อกับรัฐอื่น
ข. ประมุขของรัฐ ราษฎร อาณาเขตรัฐ ความสามารถในการติดต่อกับรัฐอื่น
ค. ประมุขของรัฐ ราษฎร อาณาเขตรัฐ อำนาจอธิปไตย
ง. ประมุขของรัฐ รัฐบาล อาณาเขตรัฐ อำนาจอธิปไตย
40. บุคคลธรรมดาที่คู่ความตั้งขึ้นเพื่อให้ชี้ขาดข้อพิพาทในทางแพ่ง นอกศาลคือใคร
ก. ผู้พิพากษาสมทบ ข. ผู้ช่วยผู้พิพากษา
ค. อนุญาโตตุลาการ ง. ทนายความ
41. ข้อใดคือสภาพบังคับทางแพ่ง
ก. ริบทรัพย์สิน ข. ค่าสินไหมทดแทน
ค. ถูกเพิกถอนใบอนุญาต ง. ประกันทัณฑ์บน
42. ข้อใดไม่ทำให้คณะรัฐมนตรีพ้นจากตำแหน่งทั้งคณะ
ก. การยุบสภาผู้แทนราษฎร ข. อายุสภาผู้แทนสิ้นสุดลง
ค. คณะรัฐมนตรีลาออกเกินกว่าสองในสาม ง. นายกรัฐมนตรีตาย
43. ข้อใดแสดงการเรียงลำดับชั้นของกฎหมายได้ถูกต้องที่สุด
ก. พระราชบัญญัติ พระราชกฤษฎีกา กฎทบวง ประกาศกระทรวง
ข. รัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติ พระราชกฤษฎีกา ประมวลกฎหมาย
ค. รัฐธรรมนูญ พระราชกำหนด ประมวลกฎหมาย ประกาศกระทรวง
ง. พระราชบัญญัติ พระราชกำหนด ประกาศทบวง ประมวลกฎหมาย
44. นายดำขโมยรถจากนายขาวไป หลังจากนั้น 2 วัน นายดำกลับใจนำรถยนต์มาคืนนายขาว นายดำจะมีความผิดฐานใดหรือไม่
ก. ผิดฐานลักทรัพย์ ข. ผิดฐานพยายามลักทรัพย์
ค. ผิดฐานละเมิด ง. ไม่มีความผิด
45. ข้อใดไม่ถูกต้อง เกี่ยวกับผลการบังคับใช้พระราชบัญญัติ
ก. เมื่อประกาศใช้บังคับแล้ว จะสิ้นผลไปก็ต่อเมื่อมีพระราชบัญญัติออกมายกเลิก
ข. เมื่อประกาศใช้บังคับแล้ว จะสิ้นผลไปก็ต่อเมื่อมีพระราชบัญญัติฉบับใหม่ในเรื่องเดียวกันออกมาใช้บังคับ
ค. เมื่อประกาศใช้บังคับแล้ว จะสิ้นผลไปก็ต่อเมื่อมีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ และพระราชบัญญัติ
ดังกล่าวขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญฉบับใหม่
ง. เมื่อประกาศใช้บังคับแล้ว ปรากฏว่าไม่เคยมีการบังคับใช้ในทางปฏิบตั ิติดต่อกันเป็นเวลานาน ทำให้สิ้นผลไปโดย
ปริยาย
46. บุคคลในข้อใดต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
ก. คนหูหนวกและตาบอด ข. คนชราซึ่งช่วยตัวเองไม่ได้
ค. นักพรต นักบวช ง. คณะกรรมการการเลือกตั้ง
47. คนเสมือนไร้ความสามารถจะทำพินัยกรรมด้วยตนเองได้หรือไม่
ก. ทำได้ โดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากผู้พิทักษ์ ข. ทำได้แต่ต้องได้รับความยินยอมจากผู้พิทักษ์
ค. ทำไม่ได้ ต้องให้ผู้พิทักษ์กระทำแทน ง. ทำไม่ได้ เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากศาลแล้ว
48. ผู้มีส่วนได้เสียจะร้องขอให้ศาลสั่งให้ญาติของตนเป็นบุคคลสาบสูญต้องไปศาลใด
ก. ศาลแขวง ข. ศาลแพ่ง
ค. ศาลอาญา ง. ศาลเยาวชนและครอบครัว
49. ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งไม่น้อยกว่าห้าหมื่นคนเข้าชื่อกันร้องขอให้ดำเนินการต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ได้ ยกเว้น ข้อใด
ก. เสนอถอดถอนข้าราชการประจำในระดับสูง
ข. เสนอถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองระดับสูง
ค. เสนอร่างพระราชบัญญัติในส่วนที่เกี่ยวกับสิทธิเสรีภาพของชนชาวไทย
ง. เสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญในส่วนที่เกี่ยวกับสิทธิเสรีภาพของชนชาวไทย
50. ข้อใดอธิบายความหมายของอัยการได้ดีที่สุด
ก. เป็นทนายของแผ่นดิน ข. เป็นทนายของผู้ต้องหา
ค. เป็นทนายของผู้เสียหาย ง. เป็นพนักงานสอบสวน
51. บุคคลที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการยุติธรรมทางแพ่งคือข้อใด
ก. พนักงานบังคับคดี ข. พนักงานสอบสวน
ค. พนักงานคุมประพฤติ ง. พนักงานอายัดทรัพย์
52. ข้อใดคือหน่วยการปกครองท้องถิ่นของไทยในปัจจุบัน
ก. เทศบาล สุขาภิบาล องค์การบริหารส่วนจังหวัด องค์การบริหารส่วนตำบล
ข. เทศบาล สุขาภิบาล องค์การบริหารส่วนจังหวัด เมืองพัทยา
ค. เทศบาล องค์การบริหารส่วนจังหวัด สภาตำบล กรุงเทพมหานคร
ง. เทศบาล องค์การบริหารส่วนจังหวัด กรุงเทพมหานคร เมืองพัทยา
53. การที่ประชาชนได้รับความเดือดร้อนจากโครงการพัฒนาของรัฐมาชุมนุมกันเพื่อเรียกร้องให้รัฐบาลแก้ปัญหาความเดือดร้อน ข้อใด
ถูกต้องที่สุดตามหลักนิติรัฐ
ก. เป็นการใช้สิทธิขั้นพืน้ ฐานตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ
ข. เป็นการกระทำที่ชอบธรรมเพื่อกดดันรัฐบาลให้เร่งแก้ปัญหา
ค. เป็นการใช้สิทธิตามกฎหมายเพื่อตรวจสอบความชอบธรรมของรัฐบาล
ง. เป็นการกระทำฝ่าฝืนกฎหมายอาญาเพราะก่อความวุน่ วายเดือดร้อนให้แก่ผู้อนื่
54. การที่สามีทำร้ายร่างกายภริยาที่ชอบด้วยกฎหมาย อันเนือ่ งมาจากความขัดแย้งภายในครอบครัว จะมีผลตามประมวลกฎหมาย
อาญาอย่างไร
ก. ไม่เป็นความผิด เพราะเป็นเรื่องภายในครอบครัว
ข. ไม่เป็นความผิด เพราะสามีในฐานะหัวหน้าครอบครัว ย่อมมีสิทธิที่จะสั่งสอนภริยาได้
ค. เป็นความผิด เพราะไม่มีกฎหมายยกเว้นความผิดไว้
ง. เป็นความผิด แต่มีเหตุอันควรบรรเทาโทษ เพราะเป็นเรื่องภายในครอบครัว
55. น่านน้ำที่เป็นเขตเศรษฐกิจจำเพาะของไทยมีระยะทางยาวเท่าไหร่นับจากทะเลอาณาเขต
ก. 3 ไมล์ทะเล ข. 12 ไมล์ทะเล
ค. 120 ไมล์ทะเล ง. 188 ไมล์ทะเล
56. นายเดชให้เด็กชายดำไปลักทรัพย์ของนายขาว โดยอ้างว่าเป็นทรัพย์ของนายเดช เด็กชายดำหลงเชื่อและทำตาม นายเดชและ
เด็กชายดำมีความผิดหรือไม่
ก. นายเดชและเด็กชายดำมีความผิดและรับโทษเสมือนเป็นตัวการ
ข. นายเดชและเด็กชายดำมีความผิดฐานเป็นตัวการ
ค. นายเดชมีความผิดฐานเป็นผู้ใช้ ส่วนเด็กชายดำผู้ถูกใช้มีความผิด แต่กฎหมายยกเว้นโทษ
ง. นายเดชมีความผิดฐานลักทรัพย์ ส่วนเด็กชายดำไม่มีความผิด
57. ข้อใดมิใช่องค์กรตามรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน
ก. คณะตุลาการรัฐธรรมนูญ ข. ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา
ค. คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ง. สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
58. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ ข้อใดไม่ถูกต้อง
ก. เลือกจากบัญชีรายชื่อพรรคการเมืองได้เพียงพรรคเดียว
ข. เลือกจากบัญชีรายชื่อของพรรคการเมืองต่าง ๆ รวมกันไม่เกิน 100 คน
ค. เลือกจากบัญชีรายชื่อของพรรคการเมืองที่มิใช่พรรคเดียวกันกับการเลือกแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง
ง. ลงคะแนนเสียงโดยไม่เลือกบัญชีรายชื่อของพรรคการเมืองใดเลย

59. ข้อใดไม่สอดคล้องกับหลักกฎหมายอาญา
ก. กฎหมายอาญาจัดอยูใ่ นประเภทของกฎหมายมหาชน
ข. กฎหมายอาญาไม่มีผลย้อนหลัง
ค. การที่ผู้กระทำความผิดอาญาถึงแก่ความตายไม่ทำให้คดีอาญาระงับ
ง. การห้ามประกอบอาชีพบางอย่างเป็นส่วนหนึ่งของกฎหมายอาญา
60. ข้อใดเป็นอำนาจหน้าที่ของพนักงานอัยการ
ก. ฟ้องคดีอาญาที่ผู้เสียหายร้องขอ
ข. ฟ้องคดีอาญาและเป็นทนายโจทก์หรือทนายจำเลยให้ส่วนราชการในคดีแพ่ง
ค. ฟ้องคดีอาญาที่พนักงานสอบสวนส่งสำนวนมาให้ฟ้อง
ง. เป็นที่ปรึกษากฎหมายของรัฐบาล
61. ลิขสิทธิ์ได้มาเมื่อใด
ก. แจ้งข้อมูลที่กรมทรัพย์สินทางปัญญา ข. ขอหนังสือรับรองจากกรมทรัพย์สินทางปัญญา
ค. จดทะเบียนกับกรมทรัพย์สินทางปัญญา ง. สร้างสรรค์งานขึ้นด้วยตนเอง
62. ข้อใดเป็นอำนาจของศาลปกครอง
ก. ทำหน้าที่ในการวินจิ ฉัยการใช้อำนาจของคณะรัฐมนตรี
ข. ทำหน้าที่ในการวินิจฉัยข้อพิพาทที่เกิดขึ้นระหว่างเอกชนและนิติบุคคล
ค. ทำหน้าที่ในการวินิจฉัยข้อพิพาทที่เกิดขึ้นระหว่างเอกชนกับองค์กรนิติบุคคลตามกฎหมายมหาชน
ง. ทำหน้าที่วินิจฉัยข้อพิพาทที่เกิดขึ้นระหว่างเอกชนกับรัฐภายใต้กฎหมายอาญาซึ่งเป็นกฎหมายมหาชน
63. นายดำขายรถยนต์ให้นายแดงโดยโอนรถให้เป็นชื่อนายแดง แต่ยังไม่ได้ส่งมอบรถให้นายแดง ในวันเดียวกัน นายดำได้ขายรถยนต์และ
ส่งมอบรถคันเดียวให้นายขาว ดังนีใ้ ครมีสิทธิ์เป็นเจ้าของ
ก. นายดำ เพราะนายแดงและนายขาวยังไม่ได้ชำระราคา ข. นายแดง เพราะได้รับการโอนชื่อแล้ว
ค. นายขาว เพราะได้รับรถยนต์มาอยู่ในความครอบครอง ง. นายแดงหรือนายขาว แล้วแต่จะตกลงกัน
64. การใช้อำนาจนิติบัญญัติข้อใดไม่ถูกต้อง
ก. คณะรัฐมนตรีมีอำนาจเสนอร่างพระราชบัญญัติเข้าสู่การพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎรได้
ข. พระราชบัญญัติจะมีผลบังคับใช้เป็นกฎหมายได้ หลังจากที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว
ค. วุฒิสภามีอำนาจที่จะให้ความเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติ โดยจะแก้ไขหรือไม่แก้ไขเพิ่มเติมก็ได้
ง. สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมีสิทธิเสนอร่างพระราชบัญญัติเข้าสู่การพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎรได้โดยเอกเทศ
65. ลำดับชั้นของศาลไทยข้อใดถูกต้อง
ก. ศาลแขวง ศาลแพ่ง ศาลฎีกา ข. ศาลอาญา ศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกา
ค. ศาลแพ่ง ศาลอาญา ศาลฎีกา ง. ศาลชั้นต้น ศาลชั้นกลาง ศาลฎีกา
66. ถ้าเจ้าของบ้านได้รับความเสียหายจากการกระทำของคนงานบริษัทรับเหมาในการก่อสร้างอาคารสูง เขาจะต้องนำคดีไปฟ้องต่อศาล
ใด
ก. ศาลแพ่ง ข. ศาลอาญา
ค. ศาลปกครอง ง. ศาลแรงงานกลาง

67. เจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญฉบับพุทธศักราช 2540 กำหนดให้มีองค์กรอิสระเพื่อวัตถุประสงค์สำคัญในข้อใด


ก. เป็นที่ปรึกษาของรัฐบาล ข. เป็นที่ปรึกษาของรัฐสภา
ค. เป็นตัวแทนของประชาชน ง. เป็นผู้ตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ
68. หลักเกณฑ์ในข้อใดที่เหมือนกันในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และสมาชิกวุฒิสภา
ก. เขตเลือกตั้ง ข. วิธีการหาเสียงเลือกตั้ง
ค. อายุของผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ง. การเป็นสมาชิกพรรคการเมือง
69. นายนทีกู้ยืมเงินนายทองเป็นเงิน 10,000 บาท ทำสัญญากู้เป็นหนังสือลงลายมือชื่อนายนทีและนายทอง ใน สัญญาระบุให้นาย
ทองคิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 18 ต่อปี กำหนดให้ นายนทีชำระหนี้ภายใน 1 ปี ดังนี้เมื่อหนี้ถึงกำหนดชำระ นายนทีจะต้องชำระ
หนี้หรือไม่
ก. ไม่ต้องชำระหนี้ทั้งหมด เพราะสัญญากู้ตกเป็นโมฆะ
ข. ต้องชำระหนี้ทั้งหมด เพราะได้ทำสัญญากู้ไว้เป็นหลักฐาน
ค. ต้องชำระหนี้เฉพาะดอกเบี้ย ส่วนเงินต้น 10,000 บาท ไม่ต้องชำระเพราะเป็นโมฆะ
ง. ต้องชำระหนี้เฉพาะเงินต้น 10,000 บาท ส่วนดอกเบี้ยไม่ต้องชำระเพราะตกเป็นโมฆะ
70. การสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของไทย บุคคลใดต่อไปนี้ถือว่าขัดต่อหลักเกณฑ์ว่าด้วยคุณสมบัติของผู้สมัครแบบ
แบ่งเขตเลือกตั้งโดยไม่จำเป็นต้องพิจารณาคุณสมบัติข้ออื่นประกอบ
ก. นายวิเชียร อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ลงสมัครรับเลือกตั้งในนามของพรรคการเมืองหนึ่งที่ไม่ได้จบการศึกษาถึงระดับ
ปริญญาตรี
ข. นายทรงพล อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ลงสมัครรับเลือกตั้งในนามของพรรคการเมืองหนึ่งหลังจากย้ายพรรคมาได้ 60 วัน
ค. นายสมหมาย ลงสมัครรับเลือกตั้งในนามของพรรคการเมืองหนึ่งในจังหวัดที่ไม่ใช่บ้านเกิด แต่เป็นจังหวัด ที่ตนย้ายทะเบียนบ้าน
ไปอยู่เป็นเวลา 1 ปี 3 เดือนแล้ว
ง. นางสุภาพ ลงสมัครรับเลือกตั้งในนามของพรรคการเมืองหนึ่ง ในอดีตเคยรับราชการครูในจังหวัดที่รับสมัครเลือกตั้งเป็นเวลา 5
ปี
71. องค์กรใดในระบบการปกครองของไทยไม่มีหน้าที่ออกกฎหมาย
ก. วุฒิสภา ข. สภาเทศบาล
ค. คณะรัฐมนตรี ง. ศาลรัฐธรรมนูญ
72. ระบบกฎหมายที่ใช้อยู่ในประเทศไทย คือข้อใด
ก. ระบบกฎมายมหาชน ข. ระบบประมวลกฎหมาย
ค. ระบบกฎหมายจารีตประเพณี ง. ระบบกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
73. การกักขังแทนค่าปรับนั้น กฎหมายให้คิดในอัตราเท่าใด
ก. 200 บาทต่อ 1 วัน ข. 300 บาทต่อ 1 วัน
ค. 500 บาทต่อ 1 วัน ง. 1000 บาทต่อ 1 วัน

74. นายพิเรนมีอาชีพรับจ้างตัดต่อภาพยนตร์ได้ทำสัญญาตัดต่อภาพให้แก่บริษัทถ่ายทำภาพยนตร์ ต่อมาได้ลักลอบนำภาพเปลือยของ


นักแสดงในภาพยนตร์ดังกล่าวออกเผยแพร่ทางอินเทอร์เน็ต อีกทั้งได้บนั ทึกภาพ ลงบนแผ่นซีดีจำหน่ายในราคาแผ่นละ 200 บาท
ดังนี้ นายพิเรนต้องรับผิดหรือไม่
ก. ต้องรับผิดทางแพ่งฐานละเมิดบริษัทภาพยนตร์และนักแสดง
ข. ไม่ต้องรับผิดทางแพ่งฐานผิดสัญญาจ้างกับบริษัทภาพยนตร์
ค. ต้องรับผิดทางอาญาฐานค้ากำไรเกินควร
ง. ไม่ต้องรับผิดทางอาญาฐานทำให้ผู้อื่นเสื่อมเสียชื่อเสียง
75. นายโอกาสได้ลักลอบนำแผ่นซีดีเพลงและภาพยนตร์มาผลิตออกจำหน่าย ขณะนั้นกฎหมายมีโทษปรับไม่เกิน 5 หมื่นบาท ต่อมานาย
โอกาสถูกจับกุมและถูกดำเนินคดีในศาลอาญา ขณะที่คดีอยู่ระหว่างการพิจารณา กฎหมายฉบับใหม่ได้เพิ่มโทษปรับเป็นไม่เกิน 1
แสนบาท คดีนี้ศาลจะพิพากษาลงโทษปรับนายโอกาส 7 หมื่นบาทได้หรือไม่
ก. ไม่ได้ เพราะกฎหมายอาญาต้องไม่มีผลย้อนหลัง
ข. ไม่ได้ เพราะกฎหมายอาญาต้องตีความอย่างเคร่งครัด
ค. ได้ เพราะกฎหมายอาญาถือหลักว่าการกระทำความผิดต้องถูกลงโทษ
ง. ได้ เพราะศาลพิพากษาคดีขณะที่กฎหมายใหม่บังคับใช้แล้ว
76. นิติกรรมในข้อใดมีผลสมบูรณ์
ก. นิติกรรมที่มิได้มีหลักฐานเป็นหนังสือ
ข. นิติกรรมที่มีวัตถุประสงค์เป็นการพ้นวิสัย
ค. นิติกรรมที่มิได้ทำถูกต้องในเรื่องความสามารถ
ง. นิติกรรมที่เกิดจากความสำคัญผิดในสาระสำคัญแห่งนิติกรรม
77. ข้อใดถูกต้องเกี่ยวกับค่าธรรมเนียมศาลในคดีมโนสาเร่
ก. เสียค่าธรรมเนียมศาลในอัตราร้อยละ 2.5 ของจำนวนทุนทรัพย์ทฟี่ ้องร้อง
ข. เสียค่าธรรมเนียมศาลในอัตราเรื่องละ 100 บาท
ค. เสียค่าธรรมเนียมศาลในอัตราเรื่องละ 200 บาท
ง. ไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมศาล
78. นายหนุ่มหลงรัก น.ส.สวย จึงแอบเอาปากกาเมจิกไปเขียนรูปหัวใจในหนังสือเรียนกฎหมายของ น.ส.สวยทุกหน้า ดังนี้ นายหนุ่มจะมี
ความผิดฐานใดหรือไม่
ก. ผิด ฐานละเมิดสิทธิส่วนบุคคล ข. ผิด ฐาน ทำให้เสียทรัพย์
ค. ผิด ฐานทำให้ผู้อื่นเดือดร้อนรำคาญ ง. ไม่มีความผิด เพราะทำไปด้วยความรัก
79. กิจการนิติบุคคลที่จะสามารถร้องขอต่อศาลให้มีการฟื้นฟูกิจการได้ ต้องมีจำนวนหนี้อย่างน้อยเท่าไร
ก. 1 ล้านบาท ข. 2 ล้านบาท
ค. 10 ล้านบาท ง. 20 ล้านบาท
80. ข้อใดเป็นอำนาจหน้าที่ที่วุฒิสภาสามารถกระทำได้
ก. เสนอร่างพระราชบัญญัติเข้าสู่การพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎร
ข. เข้าชื่อร่วมกันเสนอข้อพิพาทให้ศาลปกครองวินิจฉัย
ค. ยื่นญัตติขอเปิดอภิปรายเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีเป็นรายบุคคล
ง. ลงมติให้บุคคลเป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ
81. ข้อใดไม่ถูกต้องเกี่ยวกับระบบ Code Law
ก. ใช้กฎหมายลายลักษณ์อกั ษร แต่มีการอุดช่องว่างแห่งกฎหมายด้วยจารีตประเพณี
ข. ผู้พิพากษาในคดีหลังไม่จำเป็นต้องตัดสินเหมือนในคดีก่อน แม้ข้อเท็จจริงในคดีจะเหมือนกัน
ค. มีต้นกำเนิดในประเทศอังกฤษ และแพร่ขยายไปยังประเทศในภาคพื้นยุโรป
ง. มีประมวลกฎหมายแพ่ง และประมวลกฎหมายอาญาใช้
82. การวินจิ ฉัยปัญหาเกี่ยวกับการใช้อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ปปช) เป็นอำนาจของ
องค์กรใด
ก. ศาลรัฐธรรมนูญ ข. ศาลปกครอง
ค. ศาลฎีกา ง. ผู้ตรวจการแผ่นดินแห่งรัฐสภา
83. ข้อใดเป็นความผิดลหุโทษ
ก. นายเอกสั่งซื้ออาหารโดยรู้อยู่แล้วว่าตนไม่มีเงินจ่าย
ข. นายโท ทอดทิ้ง ด.ช. แดง อายุ 8 ปี ไว้ข้างถนนตามลำพัง
ค. นายตรีใช้กรรไกรตัดหางไก่ชนของนายดำ
ง. นายจัตวาตบหน้า น.ส.ส้มจนมีรอยแดง
84. ความผิดใดเป็นความผิดอาญาแผ่นดิน
ก. ลักทรัพย์ ข. ฉ้อโกง
ค. ยักยอก ง. บุกรุก
85. การริบทรัพย์สินนัน้ ศาลไม่สามารถสั่งให้ริบทรัพย์สินใดได้
ก. ทรัพย์สินที่ทำขึ้นเป็นความผิด ข. ทรัพย์สินที่มีไว้เพื่อใช้ในการกระทำความผิด
ค. ทรัพย์สินที่บุคคลได้มาโดยการกระทำความผิด ง. ทรัพย์สินของผู้กระทำความผิด
86. ข้อใดคือความหมายของคำว่า “ ตัวการ ” ตามประมวลกฎหมายอาญา
ก. ผู้ลงมือกระทำความผิด ข. ผู้ร่วมกระทำความผิดตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป
ค. ผู้ก่อให้บุคคลอื่นกระทำความผิด ง. ผู้ช่วยเหลือผู้อื่นในการกระทำความผิด
87. การขอหมายค้นในคดีอาญาต้องขอจากทีใ่ ด
ก. เจ้าพนักงานฝ่ายปกครอง ข. นายตำรวจชัน้ ผู้ใหญ่
ค. เจ้าพนักงานอัยการ ง. ศาล
88. ข้อใดไม่ถูกต้องเกี่ยวกับความผิดอันยอมความได้
ก. ผู้เสียหายต้องร้องทุกข์ภายใน 3 เดือน นับแต่วนั รู้เรื่องและรู้ตัว มิฉะนั้นคดีจะขาดอายุความ
ข. การลักทรัพย์ระหว่างพี่น้องร่วมบิดามารดา แม้กฎหมายจะมิได้บัญญัติให้ยอมความได้ ก็ให้ถือว่าเป็นความผิดอันยอมความได้
ค. หากผู้เสียหายถอนการร้องทุกข์ คดีอาญาย่อมระงับไปทันที
ง. ความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ เป็นความผิดยอมความได้
89. ข้อใดทำให้หนี้ระงับสิ้นไป
ก. ปลดหนี้ รับสภาพหนี้ ข. ลูกหนี้ตาย หักกลบลบหนี้
ค. หนี้เกลื่อนกลืนกัน หนี้ขาดอายุความ ง. แปลงหนี้ใหม่ ชำระหนี้

90. ศาลในข้อใดไม่มีอำนาจพิจารณาคดีอาญา
ก. ศาลล้มละลาย ข. ศาลแขวง
ค. ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ ง. ศาลเยาวชนและครอบครัว
91. การจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปีตอ้ งตราเป็นกฎหมายหรือไม่ อย่างไร
ก. ตราเป็นพระราชบัญญัติ ข. ตราเป็นพระราชกำหนด
ค. ตราเป็นพระราชกฤษฎีกา ง. ไม่ต้องตราเป็นกฎหมาย แต่อาศัยมติคณะรัฐมนตรี
92. การหมั้นในข้อใดเป็นโมฆะ
ก. การหมั้นของคนวิกลจริต
ข. การหมั้นที่บิดามารดาของทั้งสองฝ่ายเป็นผู้จัดการให้ โดยที่หญิงและชายไม่ยินยอม
ค. การหมั้นของผู้เยาว์ที่อายุไม่ถึง 17 ปีบริบูรณ์
ง. การหมั้นโดยที่ตนมีคู่สมรสแล้ว
93. พินัยกรรมแบบใดที่ผู้ทำพินัยกรรมจะใช้เครื่องหมายอื่นใดแทนลายมือชื่อมิได้
ก. แบบเขียนเองทั้งฉบับ ข. แบบเอกสารลับ
ค. แบบเอกสารฝ่ายเมือง ง. แบบธรรมดา
94. บุคคลใดเกี่ยวข้องกับคดีล้มละลายมากที่สุด
ก. พนักงานบังคับคดี ข. พนักงานพิทักษ์ทรัพย์
ค. พนักงานอัยการ ง. พนักงานคุมประพฤติ
95. วุฒิสภาไม่สามารถให้คำแนะนำหรือให้ความเห็นชอบเพื่อให้พระมหากษัตริย์แต่งตั้งบุคคลใด
ก. คณะกรรมการการเลือกตั้ง ข. ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ
ค. ผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน ง. คณะกรรมการตุลาการ
96. สัญญาชนิดใดไม่ต้องทำตามแบบ
ก. เช่าซื้อ ข. ขายฝาก
ค. จำนอง ง. กู้ยืมเงิน
97. นายเด่น ต้องการฟ้องร้อง นายเด๋อ ซึ่งมีอายุ 16 ปี เพื่อเรียกร้องค่าเสียหายจากการทีน่ ายเด๋อทำร้ายร่างกายตนตามกฎหมาย
ลักษณะละเมิด นายเด่นอาจยืน่ ฟ้องนายเด๋อได้ที่ศาลดังต่อไปนี้ ยกเว้นข้อใด
ก. ศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง ข. ศาลจังหวัด
ค. ศาลแขวง ง. ศาลแพ่งกรุงเทพใต้
98. สัญญาในข้อใดไม่เป็นสัญญาต่างตอบแทน
ก. จ้างทำของ ข. ค้ำประกัน
ค. รับขน ง. ขายทอดตลาด
99. ข้อใดเป็นนิติบุคคลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
ก. บริษัท ค้าเหล็กไทย จำกัด (มหาชน) ข. มูลนิธิสายใจไทย
ค. ห้างหุ้นส่วนกรุงเทพการขนส่ง ง. ถูกทุกข้อ
100. กระบวนการในข้อใดไม่เกี่ยวข้องกับรัฐสภา
ก. การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ ข. การอนุมัติพระราชกำหนด
ค. การแก้ไขพระราชกฤษฎีกา ง. การนำประมวลกฎหมายมาบังคับใช้
ตัวอย่างข้อสอบความสามารถในการใช้กฎหมาย 30 ข้อ
คำสั่ง จงพิจารณาจากหลักกฎหมายและข้อเท็จจริงที่กำหนดให้ แล้วเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงข้อเดียว

ข้อ 1 หลักกฎหมาย
1) ถ้ามีตำแหน่งว่างลงในจำนวนผู้แทนของนิติบุคคล และมีเหตุอันควรเชื่อว่าการปล่อยตำแหน่งว่างไว้น่าจะเกิดความ เสียหาย
ขึ้นได้ เมื่อผู้มีส่วนได้เสียหรือพนักงานอัยการร้องขอ ศาล จะแต่งตั้งผู้แทนชั่วคราวขึ้นก็ได้
2) ถ้าประโยชน์ได้เสียของนิติบุคคลขัดกับประโยชน์ได้ เสียของผู้แทนของนิติบุคคลในการอันใด ผู้แทนของนิติบุคคลนั้นจะ เป็น
ผู้แทนในการอันนั้นไม่ได้
3) ถ้ากรณีตาม 2) เป็นเหตุให้ไม่มีผู้แทนของ นิติบุคคลเหลืออยู่ หรือผู้แทนของนิติบุคคลที่เหลืออยู่มีจำนวนไม่พอ จะเป็นองค์
ประชุมหรือไม่พอจะกระทำการอันนั้นได้ หากกฎหมาย ข้อบังคับหรือตราสารจัดตั้งของนิติบุคคลนั้นมิได้มีข้อกำหนดในเรื่อง นีไ้ ว้เป็นอย่ าง
อื่น ให้นำความใน 1) มาใช้บังคับเพื่อตั้งผู้แทน เฉพาะการโดยอนุโลม
ข้อเท็จจริง
บริษัท จอระกา จำกัด มีวัตถุประสงค์ในการทำฟาร์มเลี้ยงไก่ โดยมีนายหนึ่ง นายสอง และนายสาม เป็นกรรมการผู้มีอำนาจ
จัดการแทนนิติบุคคล โดยมีข้อบังคับของบริษัทฯ ว่า ต้องมีกรรมการ 2 ใน 3 คน จึงจะมีอำนาจทำนิติกรรมทั้งปวงในนามบริษัทได้
บริษัทฯ ต้องการที่จะขยายกิจการ โดยประสงค์ที่จะซื้อที่ทำฟาร์มเลี้ยงไก่เพิ่มเติม จึงมีการประชุมกันของกรรมการ นายหนึ่ง
เสนอขายที่ดินของตนจำนวน 5 ไร่ให้แก่บริษัทฯ เพื่อใช้ทำฟาร์มเลี้ยงไก่ นายสองและนายสามเห็นว่า ที่ดนิ ของนายหนึ่งมีทำเลดี และ
นายหนึ่งจะขายให้ในราคาเหมาะสม นายหนึ่ง นายสอง และนายสามจึงร่วมกันลงนามในนามของบริษั ทฯ ซื้อทีด่ ินจากนายหนึ่งในราคา
1 ล้านบาท เมื่อนายเด่น ผู้ถือหุ้นรายหนึ่งทราบเรื่องจึงเห็นว่า มติการซื้อที่ดินไม่ถูกต้อง จึงได้ทำหนังสือคัดค้าน
ท่านเห็นว่า การคัดค้านของนายเด่น ถูกต้องหรือไม่
ก. ถูกต้อง เพราะนายหนึ่งมีประโยชน์ได้เสียของบุคคลขัดกับนิติบุคคล จึงไม่สามารถลงนามในการซื้อขายที่ดนิ ได้
ข. ถูกต้อง เพราะการซื้อขายทีด่ ินดังกล่าว จำเป็นต้องร้องขอต่อศาลเพื่อให้ศาลตั้งผู้แทนชั่วคราว
ค. ไม่ถูกต้อง เพราะนายหนึ่งขายที่ดินให้แก่บริษัทในราคาเหมาะสม และเป็นประโยชน์ต่อบริษัทฯ นายหนึ่งจึงสามารถกระทำ
ได้
ง. ไม่ถูกต้อง เพราะการลงชื่อทำสัญญาซื้อขายของกรรมการชอบด้วยข้อบังคับของบริษัทแล้ว

ข้อ 2 หลักกฎหมาย
1) ถ้ากำหนดระยะเวลาเป็นหน่วยเวลาที่สั้นกว่าวัน ให้เริ่มต้นนับในขณะที่เริ่มการนั้น
ถ้ากำหนดระยะเวลาเป็นวัน สัปดาห์ เดือนหรือปี มิให้นับวันแรก แห่งระยะเวลานั้นรวมเข้าด้วยกัน เว้นแต่จะเริ่มการในวันนัน้ เองตั้งแต่
เวลาที่ถือได้ว่าเป็นเวลาเริ่มต้นทำการงานกันตามประเพณี
2) ถ้ากำหนดระยะเวลาเป็นสัปดาห์ เดือนหรือปี ให้ คำนวณตามปีปฏิทิน
3) ถ้าระยะเวลามิได้กำหนดนับแต่วนั ต้นแห่งสัปดาห์ วันต้นแห่งเดือน หรือปี ระยะเวลาย่อมสิ้นสุดลงในวันก่อนหน้าจะถึงวัน
แห่งสัปดาห์ เดือนหรือปีสุดท้ายอันเป็นวันตรงกับวันเริ่มระยะเวลานั้น ถ้าในระยะ เวลานับเป็นเดือนหรือปีนั้นไม่มีวันตรงกันในเดือนสุ ดท้าย
ให้ถือเอา วันสุดท้ายแห่งเดือนนัน้ เป็นวันสิน้ สุดระยะเวลา
ข้อเท็จจริง
นายเด่นส่งหนังสือไปยังนายเด๋อลูกหนี้ของตน เพื่อให้นายเด๋อชำระเงินที่กู้ยืมไปคืนภายใน 1 เดือน นับแต่วันได้รับหนังสือ
นายเด๋อได้รับหนังสือทวงหนี้ดังกล่าววันที่ 31 สิงหาคม 2548 นายเด๋อจะต้องชำระหนี้ ภายในวันที่เท่าใด
ก. 29 กันยายน 2548 ข. 30 กันยายน 2548
ค. 1 ตุลาคม 2548 ง. 2 ตุลาคม 2548
ข้อ 3 หลักกฎหมาย
1) มัดจำนั้น ถ้ามิได้ตกลงกันไว้เป็นอย่างอืน่ ท่านให้เป็น ไปดังจะกล่าวต่อไปนี้ คือ
(1) ให้ส่งคืน หรือจัดเอาเป็นการใช้เงินบางส่วนในเมื่อชำระหนี้
(2) ให้ริบ ถ้าฝ่ายที่วางมัดจำละเลยไม่ชำระหนี้ หรือการชำระหนี้ ตกเป็นพ้นวิสัยเพราะพฤติการณ์อันใดอันหนึ่ง ซึ่งฝ่ายนัน้
ต้องรับผิดชอบ หรือถ้ามีการเลิกสัญญาเพราะความผิดของฝ่ายนั้น
(3) ให้ส่งคืน ถ้าฝ่ายที่รับมัดจำละเลยไม่ชำระหนี้ หรือการชำระหนี้ ตกเป็นพ้นวิสัยเพราะพฤติการณ์อันใดอันหนึ่ง ซึ่งฝ่ายนี้ต้อง
รับผิดชอบ
ข้อเท็จจริง
นายแผนทำสัญญาขายรถให้นายช้าง ในราคา 3 แสนบาท โดยนายช้างได้วางมัดจำไว้ 1 แสนบาท โดยส่วนที่เหลือจะชำระ
กันในวันส่งมอบ
ก่อนหน้าวันส่งมอบรถยนต์ 2 วัน นายแผนได้ประมาทเลินเล่อ เสียบกุญแจไว้ที่รถ จึงมีคนมาขโมยรถยนต์คันดังกล่าวไป
ท่านคิดว่า มัดจำที่นายแผนได้รับไว้ จะต้องทำอย่างไร
ก. ให้ริบ เพราะฝ่ายที่ต้องวางมัดจำละเลยไม่ชำระหนี้
ข. ให้ริบ เพราะการชำระหนีต้ กเป็นพ้นวิสัย เนื่องจากพฤติการณ์ที่ฝ่ายวางมัดจำต้องรับผิดชอบ
ค. ให้ส่งคืน เพราะฝ่ายที่รับมัดจำละเลยไม่ชำระหนี้
ง. ให้ส่งคืน เพราะการชำระหนี้ตกเป็นพ้นวิสัย เนื่องจากพฤติการณ์ที่ฝ่ายรับมัดจำต้องรับผิดชอบ

ข้อ 4 หลักกฎหมาย
1) บุคคลใดครอบครองหรือควบคุมดูแลยานพาหนะ อย่างใด ๆอันเดินด้วยกำลังเครื่องจักรกล บุคคลนั้นจะต้องรับผิดชอบ เพื่อ
การเสียหายอันเกิดแต่ยานพาหนะนัน้ เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าการ เสียหายนั้นเกิดแต่เหตุสุดวิสัยหรือเกิดเพราะความผิดของผู้ต้องเสียหาย
นั้นเอง
ข้อเท็จจริง
นายจิ้มได้ขอยืมรถยนต์ของนายค่อม เพื่อขับรถพาแฟนสาวไปเที่ยว นายค่อมจึงได้ให้นายจิ้มยืม และให้ส่งคืนเมื่อใช้งานเสร็จ
จากนั้น นายจิ้มได้ขับรถยนต์ดังกล่าวไปรับนางสาวจอยแฟนของตน นางสาวจอยเป็นคนชอบความเร็ว จึงบอกให้นายจิ้มขับรถด้วย
ความเร็วสูง เมื่อไปถึงที่เกิดเหตุจึงพุ่งเข้าชนกับนายแฮ็คที่กำลังเดินข้ามถนน ถึงแก่ความตาย
ท่านคิดว่า ใครต้องเป็นผู้รับผิดชอบจ่ายค่าสินไหมทดแทนเพื่อความตายของนายแฮ็ค
ก. นายจิ้ม ข. นายจิ้ม และ นางสาวจอย
ค. นายจิ้ม นางสาวจอย และ นายค่อม ง. คำตอบเป็นอย่างอื่น

ข้อ 5 หลักกฎหมาย
1) ในกรณีที่ทรัพย์สินซึ่งขายนัน้ ชำรุดบกพร่องอย่าง หนึ่งอย่างใดอันเป็นเหตุให้เสื่อมราคาหรือเสื่อมความเหมาะสมแก่
ประโยชน์อันมุ่งจะใช้เป็นปกติก็ดี ประโยชน์ที่มุ่งหมายโดยสัญญา ก็ดี ท่านว่าผู้ขายต้องรับผิด
2) ความที่กล่าวมาใน มาตรานี้ ย่อมใช้ได้ ทั้งที่ผู้ขายรู้อยู่แล้วหรือ ไม่รู้ว่าความชำรุดบกพร่องมีอยู่
3) ผู้ขายย่อมไม่ต้องรับผิดในกรณีดังจะกล่าวต่อไปนี้คอื
(1) ถ้าผู้ซื้อได้รู้อยู่แล้ว แต่ในเวลาซือ้ ขายว่ามีความชำรุดบกพร่อง หรือควรจะได้รู้เช่นนัน้ หากได้ใช้ความระมัดระวังอันพึง
คาดหมายได้ แต่วิญญูชน
(2) ถ้าความชำรุดบกพร่องนั้น เป็นอันเห็นประจักษ์แล้วในเวลา ส่งมอบและผู้ซื้อรับเอาทรัพย์สินนัน้ ไว้โดยมิได้อิดเอื้อน
(3) ถ้าทรัพย์สินนั้นได้ขายทอดตลาด

ข้อเท็จจริง
นายปัญญาได้ขายโทรทัศน์ของตนให้นายไตรภพในราคา 5,000 บาท ในวันส่งมอบ นายปัญญานำโทรทัศน์ของตนมาใส่กล่องไว้
โดยที่ไม่รู้ว่าที่หน้าจอมีรอยร้าว เมื่อนายไตรภพมารับของก็นำโทรทัศน์เครื่องดังกล่าวกลับไป และเมื่อกลับไปถึงบ้าน นายไตรภพจึง พบว่า
โทรทัศน์ที่ตนซื้อมามีรอยร้าว แต่ยังพอใช้ดูได้อยู่บา้ ง
นายไตรภพจะเรียกร้องให้นายปัญญารับผิดในความบกพร่องที่เกิดขึ้นได้หรือไม่
ก. ไม่ได้ เพราะการที่โทรทัศน์มีเพียงรอยร้าว ไม่ใช่การชำรุดบกพร่อง เพราะยังใช้ดูได้
ข. ไม่ได้ เพราะตนไม่ได้ใช้ความระมัดระวังในการตรวจดูสินค้าก่อนนำกลับมาเอง
ค. ไม่ได้ เพราะนายปัญญามิได้รู้เห็นมาก่อนว่าโทรทัศน์เครื่องดังกล่าวมีรอยร้าว
ง. ได้ เพราะนายปัญญาย่อมต้องรับผิดในความชำรุดบกพร่อง แม้จะไม่รู้ถึงความชำรุดบกพร่องนั้น ๆ ก็ตาม

ข้อ 6 หลักกฎหมาย
1) ถ้าผู้เช่าเอาทรัพย์สินซึ่งตนเช่าไปให้ผู้อื่นเช่าช่วงอีก ทอดหนึ่งโดยชอบ ท่านว่าผู้เช่าช่วงย่อมต้องรับผิดต่อผู้ให้เช่าเดิม โดยตรง
ในกรณีเช่นว่านี้หากผู้เช่าช่วงจะได้ใช้ค่าเช่าให้แก่ผู้เช่า ไปก่อน ท่านว่าผูเ้ ช่าช่วงหาอาจจะยกขึน้ เป็นข้อการต่อสู้ผู้ให้เช่าได้ไม่
ข้อเท็จจริง
นายชินจัง ได้ทำสัญญาเช่าบ้านจากนายฮิโรชิเป็นเวลา 3 ปี โดยจ่ายค่าเช่าเดือนละ 5,000 บาท ในสัญญาเช่าระบุว่า ผู้เช่ามี
สิทธินำบ้านไปให้บุคคลอืน่ เช่าช่วงได้
ผ่านไป 1 ปี นายชินจังได้นำบ้านหลังดังกล่าวไปให้นางมิซาเอะเช่าในราคาเดือนละ 6,000 บาท และนายชินจังยังได้เก็บค่า
เช่าล่วงหน้าจากนางมิซาเอะ 1 ปีรวมเป็นเงิน 72,000 บาท และนายชินจังก็มิได้จ่ายค่าเช่าให้นายฮิโรชิอีกต่อไป เมื่อนายฮิโรชิทราบ
เรื่อง จึงได้มาเก็บค่าเช่าจากนางมิซาเอะ
ท่านคิดว่า นางมิซาเอะจะต้องจ่ายค่าเช่าให้นายฮิโรชิหรือไม่
ก. ไม่ต้องจ่าย เพราะบุคคลทั้งสองมิใช่คู่สัญญากัน
ข. ไม่ต้องจ่าย เพราะนางมิซาเอะได้จ่ายเงินค่าเช่าให้นายชินจังอย่างถูกต้องไปแล้ว
ค. ต้องจ่าย เพราะนางมิซาเอะต้องรับผิดต่อนายฮิโรชิโดยตรง
ง. ต้องจ่าย เพราะนางมิซาเอะเป็นผู้เช่าช่วง ต้องรับผิดชอบแทนผู้เช่า เมื่อผู้เช่าไม่ยอมชำระหนี้

ข้อ 7 หลักกฎหมาย
1) นายจ้างต้องร่วมกันรับผิดกับลูกจ้างในผลแห่งละเมิด ซึ่งลูกจ้างได้กระทำไปในทางการที่จา้ งนั้น
2) อันว่าประนีประนอมยอมความนั้น คือสัญญาซึ่งผู้ เป็นคู่สัญญาทั้งสองฝ่ายระงับข้อพิพาทอันใดอันหนึ่งซึ่งมีอยู่ หรือ จะมีขึ้น
นั้นให้เสร็จไปด้วยต่างยอมผ่อนผันให้แก่กัน
3) ผลของสัญญาประนีประนอมยอมความนั้น ย่อมทำ ให้การเรียกร้องซึ่งแต่ละฝ่ายได้ยอมสละนั้นระงับสิ้นไป และทำให้แต่ละ
ฝ่ายได้สิทธิตามที่แสดงในสัญญานั้นว่าเป็นของตน
ข้อเท็จจริง
นายวิทย์ได้ใช้ให้นายปอ ลูกจ้างของตนขับรถไปส่งของให้แก่ลูกค้า นายปอได้ขับรถส่งของด้วยความประมาท จึงชนกั บนางสาวซี
แนมได้รับบาดเจ็บ นายปอกลัวนายวิทย์ทราบเรื่อง จึงได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความ ยอมจ่ายค่ารักษาพยาบาลให้ 2,000 บาท
ต่อมา เมื่อนางสาวซีแนมไปรักษาตัวที่โรงพยาบาล ปรากฏว่า ต้องเสียค่ารักษาจริงถึง 10,000 บาท ดังนี้ นางสาวซีแนม จะ
เรียกร้องเงินที่ตนจ่ายไปจริง จากใครได้บ้าง
ก. นายปอ ผู้ทำละเมิด จำนวน 10,000 บาท ตามค่าเสียหายอันแท้จริง
ข. นายปอ ผู้ทำละเมิด จำนวน 2,000 บาท ตามสัญญาประนีประนอมยอมความ
ค. นายปอ ผู้ทำละเมิด จำนวน 2,000 บาท และเรียกจากนายวิทย์ ผู้เป็นนายจ้างอีก 8,000 บาท
ง. เรียกร้องจากนายวิทย์ได้ เพียง 2,000 บาท ตามสัญญาประนีประนอมยอมความ และไม่มีสิทธิเรียกจากนายปอเนื่องจาก
เป็นเพียงแค่ลูกจ้าง

ข้อ 8 หลักกฎหมาย
1) ผู้รับประกันภัยจำต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนดังจะกล่าว ต่อไปนี้ คือ
(1) เพื่อจำนวนวินาศภัยอันแท้จริง
(2) เพื่อความบุบสลายอันเกิดแก่ทรัพย์สิน ซึ่งได้เอาประกันภัยไว้ เพราะได้จัดการตามสมควรเพื่อป้องปัดความวินาศภัย
(3) เพื่อบรรดาค่าใช้จา่ ยอันสมควร ซึ่งได้เสียไปเพื่อรักษาทรัพย์สิน ซึ่งเอาประกันภัยไว้นนั้ มิให้วินาศ
2) ท่านห้ามมิให้คิดค่าสินไหมทดแทนเกินไปกว่าจำนวนเงินซึ่งเอาประกันภัยไว้
ข้อเท็จจริง
นายหมึกได้ทำประกันภัยบ้านของตนไว้กับบริษัทประกันแหลก จำกัด โดยประกันความเสียหายทุกชนิดอันเกิดแก่บา้ นและ
เฟอร์นิเจอร์ภายในบ้าน เป็นจำนวนเงิน 2 ล้านบาท
ต่อมา เกิดไฟไหม้บ้านนายหมึก ทำให้บ้านเสียหายบางส่วน คำนวณค่าเสียหายได้ดังนี้
1. ค่าซ่อมตัวบ้าน 5 แสนบาท
2. ค่าซ่อมกระจกและประตู 1 หมื่นบาท เนื่องจากนายหมึกและเพื่อนได้ช่วยกันทำลายทิ้ง เพื่อจะได้เข้าไปขนทรัพย์สิน
ออกมาได้ ขณะเกิดไฟไหม้
3. รถยนต์ที่จอดอยู่ในบ้าน 1 ล้านบาท
4. ค่าใช้จ่ายในการดับเพลิง 2 หมื่นบาท
นายหมึกสามารถเรียกร้องให้บริษัทประกันแหลก จำกัด ชดใช้ค่าเสียหายได้เท่าใด
ก. 2 ล้านบาท 1,530,000 บาท
ข. 530,000 บาท 520,000 บาท

ข้อ 9 หลักกฎหมาย
1) การใด ๆ อันผู้เป็นหุน้ ส่วนคนใดคนหนึ่งได้จัดทำไป ในทางที่เป็นธรรมดาการค้าขายของห้างหุ้นส่วนนัน้ ท่านว่าผู้เป็นหุน้ ส่วน
หมดทุกคนย่อมมีความผูกพันในการนั้น ๆ ด้วย และจะต้องรับผิดร่วมกัน โดยไม่จำกัดจำนวนในการชำระหนี้อันได้ก่อให้เกิดขึ้น เพราะ
จัดการไป เช่นนั้น
2) ผู้เป็นหุ้นส่วนซึ่งออกจากหุน้ ส่วนไปแล้วยังคงต้องรับผิดในหนีซ้ ึ่งห้างหุ้นส่วนได้กอ่ ให้เกิดขึน้ ที่ตนได้ออกจากหุ้นส่วนไป
3) บุคคลผู้เข้าเป็นหุ้นส่วนในห้างหุ้นส่วนย่อมต้องรับผิด ในหนีใ้ ด ๆ ซึ่งห้างหุ้นส่วนได้ก่อให้เกิดขึ้นก่อนที่ตนเข้ามาเป็นหุ้นส่วน
ด้วย
ข้อเท็จจริง
นายเด๋อ นายดู๋ และนายดี๋ ได้ทำสัญญาเข้าเป็นหุน้ ส่วนเพื่อทำกิจการขายอาหาร นายเด๋อได้ไปซือ้ วัตถุดิบ และเครื่องปรุงต่างๆ
จากห้างท้อป เป็นจำนวนเงิน 20,000 บาท เพื่อมาให้พ่อครัวปรุงอาหาร โดยยังไม่ได้ชำระเงิน ต่อมานายดู๋ได้ขอออกจากหุน้ ส่วน โดย
มีนายเด่นเข้ามาเป็นหุ้นส่วนแทน
ผ่านไป 6 เดือน ห้างท้อปยังไม่ได้รับค่าสินค้า ห้างท้อปสามารถเรียกเงินดังกล่าวได้จากใคร
ก. นายเด๋อ และนายดี๋ ข. นายเด๋อ นายดี๋ และนายดู๋
ค. นายเด๋อ นายดี๋ และนายเด่น ง. นายเด๋อ นายดี๋ นายดู๋ และนายเด่น

ข้อ 10 หลักกฎหมาย
1) อันห้างหุ้นส่วนจำกัดนัน้ คือห้างหุ้นส่วนประเภทหนึ่ง ซึ่งมีผู้เป็นหุ้นส่วนสองจำพวก ดังจะกล่าวต่อไปนี้ คือ
(1) ผู้เป็นหุ้นส่วนคนเดียวหรือหลายคน ซึ่งมีจำกัดความรับผิดเพียง ไม่เกินจำนวนเงินที่ตนรับจะลงหุ้นในห้างหุ้นส่วนนัน้
จำพวกหนึ่ง และ
(2) ผู้เป็นหุ้นส่วนคนเดียวหรือหลายคนซึ่งต้องรับผิดร่วมกัน ใน บรรดาหนี้ของห้างหุ้นส่วนไม่มีจำกัดจำนวนอีกจำพวกหนึ่ง
2) ถ้าผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิดคนใดยินยอม โดยแสดงออกชัด หรือโดยปริยายให้ใช้ชื่อของตนระคนเป็นชื่อห้าง
ไซร้ ท่านว่าผู้เป็นหุ้นส่วนคนนั้นจะต้องรับผิดต่อบุคคลภายนอกเสมือนดังว่า เป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดฉะนั้น
3) แต่ในระหว่างผู้เป็นหุ้นส่วนกันเองนั้น ความรับผิดของผู้เป็นหุ้นส่วน เช่นนี้ท่านให้คงบังคับตามสัญญาหุ้น ส่วน
4) ห้ามมิให้ฟ้องหุ้นส่วนประเภทจำกัดความรับผิด จนกว่าห้างจะได้เลิกกัน
ข้อเท็จจริง
นายหม่ำ นายโหน่ง นายเท่ง และนางสาวส้มเช้ง ได้ทำสัญญาตั้งห้างหุ้นส่วนจำกัดขึน้ ชื่อว่า ห้างหุ้นส่วนจำกัดเท่งการช่าง
เพื่อเปิดบริการซ่อมรถยนต์ โดยมีนายหม่ำและนายโหน่ง เป็นหุ้นส่วนไม่จำกัดความรับผิด และนายเท่งและนางสาวส้มเช้งเป็นหุ้นส่วน
จำกัดความรับผิด
นายหม่ำได้ไปซื้ออะไหล่รถยนต์ จาก บริษัท สามช่า ยนตรกิจ จำกัด เพื่อไว้ในกิจการเป็นจำนวนเงิน 100,000 บาท แต่ยัง
มิได้ชำระเงินเนื่องจากเงินของห้างหุ้นส่วนไม่พอจ่าย
ท่านคิดว่า บริษัท สามช่า ยนตรกิจ จำกัด นอกจากจะฟ้องร้องเรียกค่าอะไหล่รถยนต์จากห้างฯ แล้ว ยังสามารถฟ้องร้องเรียก
เงินจากใครได้อีกบ้าง

ก. นายหม่ำ ข. นายหม่ำ และนายโหน่ง


ค. นายหม่ำ นายโหน่ง และนายเท่ง ง. ฟ้องผู้เป็นหุ้นส่วนได้ทกุ คน

ข้อ 11 หลักกฎหมาย
1) ถ้าบุคคลหลายคนเรียกเอาสังหาริมทรัพย์เดียวกันโดย อาศัยหลักกรรมสิทธิ์ต่างกันไซร้ ท่านว่าทรัพย์สินตกอยูใ่ นครอบครอง
ของบุคคล ใดบุคคลนั้นมีสิทธิยิ่งกว่าบุคคลอื่น ๆ แต่ต้องได้ทรัพย์นนั้ มาโดยมีค่าตอบแทน และได้การครอบครองโดยสุจริต
2) ท่านมิให้ใช้ มาตรานี้ บังคับถึงสังหาริมทรัพย์ซึ่งระบุไว้ใน มาตราก่อนและในเรื่องทรัพย์สินหาย กับทรัพย์สินที่ได้มาโดยการ
กระทำผิด
ข้อเท็จจริง
นายหมึกเปิดร้านขายกางเกงยีนส์ที่สวนจตุจักร นายหมูเห็นกางเกงยีนส์ตัวหนึ่งสวยถูกใจ จึงตกลงซื้อในราคา 500 บาท โดย
นายหมึกเอาใส่ถุงให้เรียบร้อยแล้ว แต่เนื่องจากนายหมูมีเงินไม่พอจึงขอไปกด ATM ก่อน
ในระหว่างที่นายหมูไปกดเงินอยูน่ ั้น นายเห็ดเดินผ่านมาเห็นกางเกงตัวที่อยู่ในถุง แม้จะรู้ว่านายหมูซื้อไปแล้ว แต่ตนก็ยังอยาก
ได้ จึงขอซื้อจากนายหมึกในราคา 600 บาท นายหมึกคิดว่าขายได้ราคาดีกว่า จึงขายให้แก่นายเห็ดไป
นายเห็ดได้ถือถุงกางเกงและกำลังจะกลับบ้าน ปรากฏว่านายเป็ดได้วิ่งมาและขโมยกางเกงนั้นไป และเอาไปขายให้กับนายไก่
ในราคา 300 บาท โดยที่นายไก่ไม่ทราบว่ากางเกงตัวนั้นมีที่มาอย่างไร
ท่านคิดว่า หากทุกคนออกมาเรียกร้องเอากางเกงดังกล่าว ใครจะเป็นผู้มีสิทธิในกางเกงยีนส์ดีที่สุด

ก. นายหมู ข. นายเห็ด
ค. นายเป็ด ง. นายไก่

ข้อ 12 หลักกฎหมาย
1) การแสดงเจตนาโดยสำคัญผิดในสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญ แห่งนิติกรรมเป็นโมฆะ
ความสำคัญผิดในสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งนิติกรรมตามวรรคหนึ่ง ได้แก่ความสำคัญผิดในลักษณะของนิติกรรม ความสำคัญผิดใน
ตัว บุคคลซึ่งเป็นคู่กรณีแห่งนิติกรรม และความสำคัญผิดในทรัพย์สินซึ่ง เป็นวัตถุแห่งนิติกรรม เป็นต้น
2) การแสดงเจตนาโดยสำคัญผิดในคุณสมบัติของ บุคคลหรือทรัพย์สินเป็นโมฆียะ
ความสำคัญผิดตามวรรคหนึ่ง ต้องเป็นความสำคัญผิดในคุณสมบัติ ซึ่งตามปกติถือว่าเป็นสาระสำคัญ ซึ่งหากมิได้มีความสำคัญผิด
ดังกล่าว การอันเป็นโมฆียะนั้นคงจะมิได้กระทำขึ้น
3) ความสำคัญผิดตาม 1) หรือ 2) ซึ่งเกิดขึ้นโดยความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของบุคคลผู้แสดง เจตนา บุคคลนั้นจะ
ถือเอาความสำคัญผิดนั้นมาใช้เป็นประโยชน์ แก่ตนไม่ได้
ข้อเท็จจริง
นายเทพ ซื้อภาพวาดภาพหนึ่งจากนางน้อย ในราคา 1 ล้าน เพราะเข้าใจว่าภาพวาดดังกล่าวเป็นภาพวาดโบราณที่วาดโดยลีโอ
นาโด ดาวินชี ทั้งที่ความจริง บนภาพดังกล่าวมีลายเซ็นของบุคคลอื่นเป็นผู้วาด และข้างหลังภาพมีวัน เดือน ปี ที่วาดไว้ดว้ ย (1 ม.ค.
ค.ศ.2000) โดยหากนายเทพตรวจดูเพียงนิดเดียวก็จะรู้ถึงความจริงดังกล่าว
นิติกรรมซื้อขายภาพวาด ดังกล่าว จะมีผลเป็นอย่างไร
ก. เป็นโมฆียะ เพราะสำคัญผิดในคุณสมบัติของทรัพย์
ข. เป็นโมฆะ เพราะสำคัญผิดในสาระสำคัญแห่งทรัพย์สินซึ่งเป็นวัตถุแห่งนิติกรรม
ค. ไม่เป็นโมฆียะ เพราะเกิดจากความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของนายเทพ
ง. ไม่เป็นโมฆะ เพราะเกิดจากความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของนายเทพ

ข้อ 13 หลักกฎหมาย
1) บุคคลผู้ซื้อทรัพย์สินมาโดยสุจริตในการขายทอดตลาด หรือในท้องตลาด หรือจากพ่อค้าซึ่งขายของชนิดนั้น ไม่จำเป็นต้องคืน
ให้แก่ เจ้าของแท้จริง เว้นแต่เจ้าของจะชดใช้ราคาที่ซอื้ มา
ข้อเท็จจริง
นางสาวแทมมี่ นำสร้อยทองที่ตนขโมยมาไปขายให้กับนายแอนดี้ ซึ่งเป็นเจ้าของร้านทองอยู่ที่เยาวราช ต่อมานางสาวมาเรีย มา
ซื้อสร้อยทองเส้นดังกล่าวไป จากร้านทองของนายแอนดี้ ปรากฎว่า นางสาววีนัส เจ้าของสร้อยทองที่แท้จริง มาทวงสร้อยคืนจากนางสาว
มาเรีย
ท่านคิดว่า นางสาววีนัสมีสิทธิเรียกร้องให้นางสาวมาเรียคืนสร้อยดังกล่าวให้ตนได้หรือไม่
ก. นางสาววีนัส มีสิทธิเรียกร้องสร้อยคืนได้ เพราะเป็นทรัพย์ที่ได้มาจากการกระทำความผิด
ข. นางสาววีนัส เรียกสร้อยคืนได้ แต่ต้องใช้ราคาให้นางสาวมาเรีย เพราะเกิดจากการขายทอดตลาด
ค. นางสาววีนัส เรียกสร้อยคืนได้ แต่ต้องใช้ราคาให้นางสาวมาเรีย เพราะนางสาว มาเรีย ซื้อจากท้องตลาด
ง. นางสาววีนัส ไม่มีสิทธิได้สร้อยคืน เพราะนางสาวมาเรียซือ้ สร้อยมาโดยสุจริต

ข้อ 14 หลักกฎหมาย
1) เมื่อมีการหมั้นแล้ว ถ้าฝ่ายใดผิดสัญญาหมั้นอีกฝ่ายหนึ่ง มีสิทธิเรียกให้รบั ผิดใช้ค่าทดแทน ในกรณีที่ฝ่ายหญิงเป็นฝ่ายผิด
สัญญา หมั้นให้คืนของหมั้นแก่ฝ่ายชายด้วย
2) ค่าทดแทนนัน้ อาจเรียกได้ ดังต่อไปนี้
(1) ทดแทนความเสียหายต่อกายหรือชื่อเสียงแห่งชายหรือหญิงนั้น
(2) ทดแทนความเสียหายเนื่องจากการที่คู่หมั้น บิดามารดาหรือบุคคล ผู้กระทำการในฐานะเช่นบิดามารดาได้ใช้จ่ายหรือ
ต้องตกเป็นลูกหนี้ เนือ่ ง ในการเตรียมการสมรสโดยสุจริตและตามสมควร
(3) ทดแทนความเสียหายเนื่องจากการที่คู่หมั้นได้จัดการทรัพย์สิน หรือการอื่นอันเกี่ยวแก่อาชีพหรือทางทำมาหาได้ของตน
ไปโดยสมควร ด้วยการคาดหมายว่าจะได้มีการสมรส
ข้อเท็จจริง
นายเด๋อ และนางสาวปู หมั้นกันอย่างถูกต้องตามกฎหมาย โดยนายเด๋อได้ไปเตรียมการต่างๆ เพื่อที่จะทำการสมรส คือ
1. แจ้งข่าวแก่บุคคลผู้มีชื่อเสียงต่างๆ ให้มางานสมรสของตนกับนางสาวปู
2. ซื้อที่นอน หมอน มุ้ง และข้าวของเครื่องใช้ต่างๆ เพื่อเอาไว้ตกแต่งที่เรือนหอของตน
3. จ่ายค่าเช่าโรงแรม และค่าของชำร่วยที่จะใช้ในงานมงคลสมรส
ต่อมานางสาวปู ไปจดทะเบียนสมรสกับนายสายัณห์ ท่านคิดว่า นายเด๋อไม่สามารถเรียกร้องสิ่งใดต่อไปนี้จากนางสาวปูได้
ก. ค่าทดแทนความเสียหายแก่ชื่อเสียง ข. ค่าซื้อที่นอน หมอน มุ้งและข้าวของต่างๆ
ค. ค่าเช่าโรงแรม และค่าของชำร่วย ที่ใช้ในงานมงคลสมรส ง. ของหมั้น

ข้อ 15 หลักกฎหมาย
1) สินส่วนตัวได้แก่ทรัพย์สิน
(1) ที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีอยู่ก่อนสมรส
(2) ที่เป็นเครื่องใช้สอยส่วนตัว เครื่องแต่งกาย หรือเครื่องประดับ กายตามควรแก่ฐานะ หรือเครื่องมือเครื่องใช้ที่จำเป็นใน
การประกอบอาชีพ หรือวิชาชีพของคู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง
(3) ที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้มาระหว่างสมรสโดยการรับมรดก หรือโดย การให้โดยเสน่หา
(4) ที่เป็นของหมั้น
2) สินสมรสได้แก่ทรัพย์สิน
(1) ที่คู่สมรสได้มาระหว่างสมรส
(2) ที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้มาระหว่างสมรสโดยพินัยกรรมหรือโดย การให้เป็นหนังสือเมื่อพินัยกรรมหรือหนังสือยกให้ระบุว่า
เป็นสินสมรส
(3) ที่เป็นดอกผลของสินส่วนตัว
ข้อเท็จจริง
นายนุ้ย สมรสกับ นางสาวตั๊ก ต่อมานายนุ้ยได้นำเงินส่วนตัวไปซือ้ ล็อตเตอรี่ฉบับหนึ่ง ปรากฎว่าถูกรางวัลที่ 1 ได้เงินรางวัล
มา 4 ล้านบาท นายนุ้ยจึงนำเงินดังกล่าวไปฝากธนาคาร ได้ดอกเบี้ย 50,000 บาท
เงินที่ถูกรางวัลและดอกเบี้ยจัดเป็นทรัพย์สินชนิดใด
ก. เงินรางวัลเป็นสินส่วนตัว ดอกเบี้ยเป็นสินสมรส ข. เงินรางวัลเป็นสินสมรส ดอกเบี้ยเป็นสินส่วนตัว
ค. ทั้งสองชนิด เป็นสินส่วนตัว ง. ทั้งสองชนิด เป็นสินสมรส

ข้อ 16 หลักกฎหมาย
1) ทายาทโดยธรรมมีหกลำดับเท่านั้น แต่ละลำดับมีสิทธิได้รับมรดกก่อนหลังดัง ต่อไปนี้ คือ
(1) ผู้สืบสันดาน (2) บิดามารดา
(3) พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน (4) พี่น้องร่วมบิดาหรือร่วมมารดาเดียวกัน
(5) ปู่ ย่า ตา ยาย (6) ลุง ป้า น้า อา
2) ตราบใดที่มีทายาทซึ่งยังมีชีวิตอยู่หรือมีผู้รับมรดกแทน ที่ยังไม่ขาดสายแล้วแต่กรณีในลำดับหนึ่ง ๆ ที่ระบุไว้ ทายาทผู้ที่อยู่
ในลำดับถัดลงไปไม่มีสิทธิในทรัพย์มรดกของผู้ตายเลย
3) แต่ความใน 2) มิให้ใช้บังคับในกรณีเฉพาะที่มีผู้สืบสันดานคนใด ยังมีชีวิตอยู่หรือมีผู้รับมรดกแทนที่กันแล้วแต่กรณีและมีบิดา
มารดายังมีชีวิต อยู่ในกรณีเช่นนั้นให้บิดามารดาได้ส่วนแบ่งเสมือนหนึ่งว่าเป็นทายาทชั้นบุตร
4) ในระหว่างผู้สืบสันดานต่างชั้นกันนั้น บุตรของเจ้า มรดกอันอยู่ในชั้นสนิทที่สุดเท่านั้นมีสิทธิรับมรดก ผู้สืบสันดานที่อยู่ใน ชั้น
ถัดลงไปจะรับมรดกได้ก็แต่โดยอาศัยสิทธิในการรับมรดกแทน
5) คู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่นั้นก็เป็นทายาทโดยธรรม และได้รับมรดกเสมอไม่ว่าจะมีทายาทโดยธรรมลำดับใด
ข้อเท็จจริง
เจ้าสัวหลี่ ได้ถึงแก่ความตายโดยมิได้ทำพินัยกรรมไว้ มีทรัพย์สินหลังจากแบ่งแยกสินสมรสแล้วทั้งสิ้น 10 ล้านบาท และมี
ทายาทต่างๆ ดังนี้
1. นางกิมเอ็ง เป็นมารดา
2. นายบ๊วย เป็นบุตร
3. นายกิมจ๊อ เป็นภริยา
4. นายเฮ็ง เป็นน้องชาย
5. ด.ช.ก๊วยเจ๋ง เป็นบุตรของนายบ๊วย
ใครจะเป็นผู้มีสิทธิรับมรดกของเจ้าสัวหลี่
ก. นายบ๊วย และนางกิมจ๊อ ข. นายบ๊วย นางกิมจ๊อ และนางกิมเอ็ง
ค. นายบ๊วย นางกิมจ๊อ นางกิมเอ็ง และด.ช.ก๊วยเจ๋ง ง. คำตอบเป็นอย่างอื่น

ข้อ 17 หลักกฎหมาย
1) ผู้ใดใส่ความผู้อื่นต่อบุคคลที่สาม โดยประการที่นา่ จะ ทำให้ผู้อื่นนั้นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่นหรือถูกเกลียดชัง ผู้นั้นกระทำ
ความผิดฐานหมิ่นประมาท ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือ ปรับไม่เกินสองหมื่นบาทหรือทั้งจำทั้ งปรับ
2) ในกรณีหมิ่นประมาท ถ้าผู้ถูกหาว่ากระทำความผิด พิสูจน์ได้วา่ ข้อที่หาว่าเป็นหมิ่นประมาทนัน้ เป็นความจริง ผู้นั้นไม่ต้อง
รับโทษ
3) แต่ห้ามไม่ให้พิสูจน์ ถ้าข้อที่หาว่าเป็นหมิ่นประมาทนั้นเป็นการใส่ ความในเรื่องส่วนตัว และการพิสูจน์จะไม่เป็นประโยชน์แก่
ประชาชน
ข้อเท็จจริง
นางเม้าเป็นเจ้าหนี้เงินกู้ของนายทองดี ได้ไปทวงเงินจากนายทองดีหลายครั้ง แต่นายทองดีก็ไม่ยอมจ่าย นางเม้าจึงไปพูดกับ
ชาวบ้านลับหลังนายทองดีว่า นายทองดีเป็นคนขี้โกง เอาเงินคนอืน่ ไปแล้วไม่ยอมคืน ทำให้ชาวบ้านต่างไม่ยอมคบหาสมาคมกับนายทองดี
นายทองดีจึงฟ้องนางเม้าเป็นจำเลยต่อศาล ฐานหมิ่นประมาท ซึ่งนางเม้าสามารถพิสูจน์ได้ว่าเรื่องที่ตนพูดเป็นเรื่องจริง
ถ้าท่านเป็นศาล จะตัดสินคดีนี้อย่างไร
ก. นางเม้าไม่มีความผิดฐานหมิ่นประมาท เพราะพูดเรื่องจริง
ข. นางเม้าไม่มีความผิดฐานหมิ่นประมาท เพราะไม่ได้พูดต่อหน้านายทองดี
ค. นางเม้ามีความผิดฐานหมิ่นประมาท แต่ไม่ต้องรับโทษ
ง. นางเม้ามีความผิดฐานหมิ่นประมาท และต้องรับโทษตามกฎหมาย

ข้อ 18 หลักกฎหมาย
1) ผู้ใดทำเอกสารปลอมขึ้นทั้งฉบับหรือแต่ส่วนหนึ่ง ส่วนใดเติมหรือตัดทอนข้อความ หรือแก้ไขด้วยประการใดๆ ใน เอกสารที่
แท้จริง หรือประทับตราปลอมหรือลงลายมือชื่อปลอม เอกสารโดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแต่ผู้อื่น หรือประชาชน ถ้าได้กระทำ
เพื่อให้ผู้หนึ่งผู้ใดหลงเชื่อว่าเป็นเอกสารที่แท้จริง ผู้นั้น กระทำความผิดฐานปลอมเอกสาร 2) ผู้ใดใช้หรืออ้างเอกสารอันเกิดจากการ
กระทำ ความผิดฐานปลอมเอกสาร ในประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน ต้องระวางโทษดังที่บัญญัติไว้ใน มาตรา
นั้น ๆ

ข้อเท็จจริง
นายติ๊กได้แก้ไขเลขในล็อตเตอรี่ของตนให้เป็นเลขที่ถูกรางวัลที่ 1 เพราะต้องการจะเอาไปให้นายตัน้ น้องชายของตนดู เมื่อนาย
ตั้นดูแล้วไม่เชื่อว่านายติ๊กถูกรางวัลที่ 1 จริง นายติ๊กจึงทิ้งล็อตเตอรี่ฉบับดังกล่าวไป แต่นายตัน้ กลับเก็บล็อตเตอรี่ดังกล่าวไปขึ้นเงิน
รางวัล แม้จะรู้ว่าเป็นของปลอมก็ตาม
นายติ๊กและนายตั้นมีความผิดฐานใด
ก. นายติ๊กผิดฐานปลอมเอกสาร นายตัน้ ผิดฐานใช้เอกสารปลอม
ข. นายติ๊กผิดฐานปลอมเอกสาร ส่วนนายตั้นไม่มีความผิด
ค. นายติ๊กไม่มีความผิด ส่วนนายตั้นผิดฐานใช้เอกสารปลอม
ง. นายติ๊กและนายตั้นไม่มีความผิดแต่อย่างใด

ข้อ 19 หลักกฎหมาย
1) ผู้ใดฆ่าผู้อื่น ต้องระวางโทษประหารชีวิต จำคุก ตลอดชีวิต หรือจำคุกตั้งแต่สิบห้าปีถึงยี่สิบปี
2) ผู้ใดฆ่าบุพการีตอ้ งระวางโทษ ประหารชีวิต
3) ผู้ใดเจตนาทีจ่ ะกระทำต่อบุคคลหนึ่ง แต่ผลของการ กระทำเกิดแก่อกี บุคคลหนึ่งโดยพลาดไป ให้ถือว่าผู้นนั้ กระทำโดย เจตนา
แก่บุคคลซึ่งได้รับผลร้ายจากการกระทำนั้น แต่ในกรณีที่ กฎหมายบัญญัติให้ลงโทษหนักขึ้นเพราะฐานะของบุคคล หรือเพราะ ความสัมพันธ์
ระหว่างผู้กระทำกับบุคคลที่ได้รับผลร้าย มิให้นำ กฎหมายนัน้ มาใช้บังคับเพื่อลงโทษผู้กระทำให้หนักขึ้น
ข้อเท็จจริง
นายเถื่อน ไปดักซุ่มอยู่ริมทางเพื่อรอที่จะฆ่า นายถึก เมื่อเห็นนายถึกเดินมา นายเถื่อนจึงใช้ปืนยิง แต่ปรากฏว่าลูกปืนกลับไปโดน
นายทุย บิดาของนายเถื่อนที่เดินมาข้างหลังแทน
นายเถื่อนกระทำความผิดฐานใดต่อนายทุย
ก. ฆ่าบุพการี ข. ฆ่าบุคคลธรรมดา
ค. ฆ่าบุพการี และฆ่าบุคคลธรรมดา ง. ไม่มีความผิด เพราะนายเถื่อนมิได้มีเจตนาฆ่านายทุย

ข้อ 20 หลักกฎหมาย
1) บุคคลใดสร้างโรงเรือนในที่ดินของผู้อื่นโดยสุจริตไซร้ ท่านว่าเจ้าของที่ดนิ เป็นเจ้าของโรงเรือนนั้น ๆ แต่ต้องใช้ค่าแห่งที่ดิน
เพียงที่เพิ่มขึ้นเพราะสร้างโรงเรือนนั้นให้แก่ผู้สร้าง
แต่ถ้าเจ้าของที่ดินสามารถแสดงได้ว่า มิได้มีความประมาทเลินเล่อ จะบอกปัดไม่ยอมรับโรงเรือนนั้นและเรียกให้ผู้สร้างรื้อถอนไป
และ ทำที่ดินให้เป็นตามเดิมก็ได้ เว้นไว้แต่ถ้าการนีจ้ ะทำไม่ได้โดยใช้เงิน พอควรไซร้ ท่านว่าเจ้าของที่ดินจะเรียกให้ผู้สร้ างซื้อที่ดินทั้งหมด
หรือแต่บางส่วนตามราคาตลาดก็ได้
2) บุคคลใดสร้างโรงเรือนในที่ดินของผู้อื่นโดยไม่สุจริตไซร้ ท่านว่าบุคคลนัน้ ต้องทำที่ดินให้เป็นตามเดิมแล้วส่งคืนเจ้าของ เว้นแต่
เจ้าของ จะเลือกให้ส่งคืนตามที่เป็นอยู่ ในกรณีเช่นนี้เจ้าของที่ดินต้องใช้ราคาโรงเรือน หรือใช้ค่าแห่งที่ดินเพียงที่เพิ่มขึ้นเพราะสร้างโรงเรือน
นั้น แล้วแต่จะเลือก
ข้อเท็จจริง
นายโหน่งสร้างบ้านลงในที่ดนิ ของนายเหน่ง เพราะคิดว่าที่ดนิ ดังกล่าวเป็นของตน โดยที่นายเหน่งรู้อยู่แล้วแต่กลับนิ่งเฉย
จนกระทั่งนายโหน่งสร้างบ้านจนเสร็จ
ข้อใดถูกต้อง
ก. นายโหน่งเป็นเจ้าของบ้านที่ปลูก แต่ต้องรับซื้อที่ดนิ ที่ตนปลูกบ้านไว้จากนายเหน่ง
ข. นายเหน่งเป็นเจ้าของบ้าน แต่ต้องจ่ายค่าที่ดนิ ที่มีมูลค่าเพิ่มขึ้นให้นายโหน่ง
ค. นายโหน่งต้องทำที่ดินให้เป็นตามเดิม และส่งที่ดินคืนให้นายเหน่งไป
ง. นายเหน่งมีสิทธิให้นายโหน่งรื้อถอนบ้าน และทำให้ที่กลับเป็นตามเดิมได้

ข้อ 21 หลักกฎหมาย
1) การใด ๆ อันบุคคลซึ่งศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถ ได้กระทำลง การนั้นเป็นโมฆียะ
2) การใด ๆ อันบุคคลวิกลจริตซึ่งศาลยังมิได้สั่งให้เป็น คนไร้ความสามารถได้กระทำลง การนัน้ จะเป็นโมฆียะต่อเมื่อได้ กระทำใน
ขณะที่บุคคลนั้นจริตวิกลอยู่ และคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งได้รู้แล้ว ด้วยว่าผู้กระทำเป็นคนวิกลจริต
ข้อเท็จจริง
นายปลาเป็นคนวิกลจริต นายกุ้งจึงร้องขอต่อศาลให้นายปลาเป็นคนไร้ความสามารถ คดีอยู่ระหว่างการพิจารณา นายปลาได้ขาย
รถยนต์ของตน คันหนึ่งให้แก่นายหมึก โดยนายปลาไม่รู้ว่านายหมึกเป็นคนวิกลจริต การซือ้ ขายรถยนต์ระหว่างนายปลามีผลอย่างไร
ก. สมบูรณ์ เพราะ นายปลายังมิได้ถูกศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถ
ข. สมบูรณ์ เพราะ นายหมึกไม่รู้ว่านายปลาเป็นคนวิกลจริต
ค. โมฆียะ เพราะ การใด ๆ อันคนวิกลจริตซึ่งศาลยังมิได้สั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถ การนั้นย่อมเป็นโมฆียะ
ง. ข้อมูลที่ให้ไม่เพียงพอ

ข้อ 22 หลักกฎหมาย
1) ในกรณีทำละเมิดให้เขาถึงตายนั้น ค่าสินไหมทดแทนได้แก่ ค่าปลงศพ รวมทั้งค่าใช้จ่ายอันจำเป็นอย่างอื่น ๆ 2)
ถ้ามิได้ตายในทันที ค่าสินไหมทดแทนได้แก่คา่ รักษาพยาบาล รวมทั้งค่าเสียหายที่ต้องขาดประโยชน์ทำมาหาได้เพราะไม่สามารถ
ประกอบการงานนัน้ ด้วย
3) ถ้าว่าเหตุที่ตายลงนั้นทำให้บุคคลหนึ่งคนใดต้องขาดไร้อุปการะตาม กฏหมายไปด้วยไซร้ ท่านว่าบุคคลคนนัน้ ชอบที่จะได้รับค่า
สินไหม ทดแทนเพื่อการนัน้
4) บุตรจำต้องอุปการะเลี้ยงดูบิดา มารดา
ข้อเท็จจริง
นายยิ้ม ขับรถด้วยความประมาท ชน ด.ช. ก้าน ถึงแก่ความตายทันที ดังนี้ นาย กิ่ง บิดาของ ด.ช. ก้าน สามารถเรียกร้องค่าสินไหม
ทดแทนจากนายยิ้มได้ในกรณีต่อไปนี้ ยกเว้นข้อใด
ก. ค่าปลงศพ ข. ค่าใช้จ่ายอืน่ ๆ ในการทำศพ
ค. ค่าขาดประโยชน์ ทำมาหาได้ ง. ค่าขาดไร้อุปการะ

ข้อ 23 หลักกฎหมาย
1) บุคคลอาจได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์แห่งสังหาริมทรัพย์อันไม่มี เจ้าของโดยเข้าถือเอา เว้นแต่การเข้าถือเอานั้นต้องห้ามตามกฎหมาย
หรือ ฝ่าฝืนสิทธิของบุคคลอื่นที่จะเข้าถือเอาสังหาริมทรัพย์นั้น
2) ถ้าเจ้าของสังหาริมทรัพย์เลิกครอบครองทรัพย์ด้วย เจตนาสละกรรมสิทธิ์ไซร้ ท่านว่าสังหาริมทรัพย์นั้นไม่มีเจ้าของ
ข้อเท็จจริง
นายดำทำโทรศัพท์มือถือของตนหาย ที่ป้ายรถโดยสารประจำทาง ระหว่างที่นายดำกำลังตามหาอยู่นนั้ นายแดงเป็นผู้เก็บโทรศัพท์ได้
และ คิดเอาเป็นของตน วันรุ่งขึ้นนายแดงทำโทรศัพท์หายเช่นกัน ส่วนนายดำก็ได้เลิกตามหาโทรศัพท์นนั้ แล้วและไม่คิดที่จะติดตามเอาคืน
อีก เพราะตนได้ซื้อโทรศัพท์เครื่องใหม่มาใช้ ต่อมานายขาวเก็บโทรศัพท์นั้นได้ ใครเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ดังกล่าว
ก. นาย ดำ เพราะ เป็นผู้ มีกรรมสิทธิ์ตั้งแต่แรก และยังไม่แสดงเจตนาโอนกรรมสิทธิ์ให้บุคคลใด
ข. นาย แดง เพราะ เป็นผู้เข้าถือเอาสังหาริมทรัพย์ไม่มีเจ้าของคนแรก
ค. นาย ขาว เพราะ เป็นผู้เก็บสังหาริมทรัพย์ที่ไม่มีเจ้าของได้
ง. ไม่มีผู้ใดมีกรรมสิทธิ์ โทรศัพท์ดังกล่าวเป็นสังหาริมทรัพย์ที่ไม่มีเจ้าของ
ข้อ 24 หลักกฎหมาย
1) ผู้ใดให้ ขอให้หรือรับว่าจะให้ทรัพย์สินหรือประโยชน์ อื่นใดแก่เจ้าพนักงาน สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งรัฐ สมาชิกสภา จังหวัด
หรือสมาชิกสภาเทศบาล เพื่อจูงใจให้กระทำการ ไม่กระทำการ หรือประวิงการกระทำอันมิชอบด้วยหน้าที่ต้องระวางโทษจำคุก …
2) ผู้ใดเป็นเจ้าพนักงาน ใช้อำนาจในตำแหน่งโดย มิชอบ ข่มขืนใจหรือจูงใจเพื่อให้บุคคลใดมอบให้หรือหามาให้ ซึ่ง ทรัพย์สินหรือ
ประโยชน์อื่นใดแก่ตนเองหรือผู้อนื่ ต้องระวางโทษ...
ข้อเท็จจริง
นายดำปลอมตัวเป็นเจ้าหน้าที่สรรพากร ไปหลอกลวงนายแดงว่า หากนายแดงให้เงินตน 50,000 บาท นายดำจะทำให้นายแดงไม่ต้อง
เสียภาษี นายแดงเชื่อว่าเป็นเรื่องจริง จึงมอบเงินให้นายดำไป นายดำและนายแดงมีความผิดฐานใด
ก. นายดำผิดตาม 2) นายแดงมีความผิดตาม 1)
ข. นายดำผิดตาม 2) นายแดงไม่มีความผิดตาม 1)
ค. นายดำไม่มีความผิดตาม 2) นายแดงมีความผิดตาม 1)
ง. นายดำไม่มีความผิดตาม 2) นายแดงไม่มีความผิดตาม 1)

ข้อ 25 หลักกฎหมาย
1) ผู้ใดดูหมิ่นเจ้าพนักงานซึ่งกระทำการตามหน้าที่หรือ เพราะได้กระทำการตามหน้าที่ ผู้นั้นมีความผิดฐานดูหมิ่นเจ้าพนักงาน
2) ผู้ใดใส่ความผู้อื่นต่อบุคคลที่สาม โดยประการที่นา่ จะ ทำให้ผู้อื่นนั้นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่นหรือถูกเกลียดชัง ผู้นั้นกระทำความผิด
ฐานหมิ่นประมาท
ข้อเท็จจริง
ร้อยตำรวจเอกกล้า เข้าจับกุมนายกั้ง ตามหมายจับ นายกั้งโกรธแค้นที่ ร.ต.อ. กล้ามาจับ จึงร้องว่า ร.ต.อ. กล้ากลางตลาดว่า “เป็น
ชู้กับเมียกูแล้วยังมาจับกูอีก” ดังนี้นายกั้งจะมีความผิดฐานใด
ก. ดูหมิ่นเจ้าพนักงาน ข. หมิ่นประมาท
ค. ดูหมิ่นเจ้าพนักงาน และหมิ่นประมาท ง. ไม่มีความผิดทั้งสองฐานดังกล่าว

ข้อ 26 หลักกฎหมาย
1) ผู้ใดเอาทรัพย์ของผู้อื่น หรือที่ผู้อื่นเป็นเจ้าของรวม อยู่ด้วยไปโดยทุจริต ผู้นั้นกระทำความผิดฐานลักทรัพย์
2) ความผิดฐานลักทรัพย์นั้นถ้าเป็นการ กระทำที่สามีกระทำต่อภริยา หรือภริยากระทำต่อสามี ผู้กระทำไม่ต้อง รับโทษ
ข้อเท็จจริง
นายดำและนายแดงเป็นสามีภรรยาโดยชอบด้วยกฎหมาย นายดำแอบนำแหวนเพชร ซึ่งเป็นสินสมรสของทั้งสองไปขาย เพื่อเอาเงิน
ไว้ใช้คนเดียว นายดำจะมีความผิดหรือไม่
ก. มีความผิดฐานลักทรัพย์ แต่ไม่ต้องรับโทษ เพราะเป็นการกระทำของสามี ภรรยา
ข. ไม่มีความผิดฐานลักทรัพย์ เพราะนายดำมีส่วนเป็นเจ้าของอยู่ด้วย
ค. ไม่มีความผิดฐานลักทรัพย์ เพราะนายดำมีสิทธินำสินสมรสไปใช้ได้
ง. ไม่มีข้อถูก

ข้อ 27 หลักกฎหมาย
1) ผู้ใดเจตนาทีจ่ ะกระทำต่อบุคคลหนึ่ง แต่ผลของการ กระทำเกิดแก่อกี บุคคลหนึ่งโดยพลาดไป ให้ถือว่าผู้นนั้ กระทำโดย เจตนาแก่
บุคคลซึ่งได้รับผลร้ายจากการกระทำนั้น
2) กระทำโดยเจตนา ได้แก่กระทำโดยรู้สำนึกในการที่กระทำและ ในขณะเดียวกันผู้กระทำประสงค์ต่อผล หรือย่อมเล็งเห็นผลของ
การ กระทำนั้น
ข้อเท็จจริง
นายเอกมีเรื่องโกรธแค้นกับนายโท จึงไปดักซุ่มเพื่อใช้ปืนยิงนายโท เมื่อนายโทออกมาหน้าบ้าน นายเอกจึงใช้ปืนยิงนายโทแต่ไม่โดน
แต่ลูกปืนกลับไปโดนกระจกบ้านนายโทแตก นายเอกจะมีความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์ที่ทำให้กระจกแตกหรือไม่
ก. มีความผิด แม้จะเป็นการกระทำโดยพลาด ก็ถือว่านายโทมีเจตนา
ข. มีความผิด เนื่องจากกระจกเป็นทรัพย์ของนายโท ที่นายเอกมีเจตนากระทำความผิด
ค. ไม่มีความผิด เพราะเป็นการกระทำโดยพลาด
ง. ไม่มีความผิด เพราะไม่มีเจตนาทำให้กระจกแตก

ข้อ 28 หลักกฎหมาย
1) ผู้ใดเอาทรัพย์ของผู้อื่น หรือที่ผู้อื่นเป็นเจ้าของรวม อยู่ด้วยไปโดยทุจริต ผู้นั้นกระทำความผิดฐานลักทรัพย์
2) ผู้ใดลักทรัพย์โดยใช้กำลังประทุษร้าย หรือขู่เข็ญว่า ในทันใดนั้นจะใช้กำลังประทุษร้าย ผู้นั้นกระทำความผิดฐานชิงทรัพย์
3) ผู้ใดชิงทรัพย์โดยร่วมกันกระทำความผิดด้วยกันตั้งแต่ สามคนขึ้นไป ผู้นั้นกระทำความผิดฐานปล้นทรัพย์
ข้อเท็จจริง
นาย ก. ข. และ ค. สมคบกันเพื่อที่จะไปทำร้ายนายดำ หลังจากที่ทั้งสามลงมือทำร้ายนายดำจนสลบ นายก. เห็นนายดำใส่
นาฬิการาคาแพง จึงชวนนาย ข. ให้นำนาฬิกาไปขายด้วย โดยที่นาย ค. ไม่รู้เรื่อง ข้อใดถูกต้อง
ก. นาย ก. ข และ ค มีความผิดฐานปล้นทรัพย์
ข. นาย ก. และ ข มีความผิดฐานชิงทรัพย์
ค. นาย ก. และ ข มีความผิดฐานลักทรัพย์
ง. ไม่มีข้อถูก

ข้อ 29 หลักกฎหมาย
1) ในกรณีความผิดใดเกิดขึ้นโดยการกระทำของบุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไป ผู้ที่ได้ร่วมกระทำความผิดด้วยกันนั้นเป็นตัวการ
2) ผู้ใดกระทำด้วยประการใด ๆ อันเป็นการช่วยเหลือ หรือให้ความสะดวกในการที่ผู้อื่นกระทำความผิด ก่อนหรือขณะกระทำ
ความผิด แม้ผู้กระทำความผิดจะมิได้รู้ถึงการช่วยเหลือหรือให้ความ สะดวกนั้นก็ตาม ผู้นั้นเป็นผู้สนับสนุนการกระทำความผิด
3) ผู้ใดเป็นเจ้าพนักงาน สมาชิกสภานิติบั ญญัติแห่งรัฐ สมาชิกสภาจังหวัด หรือสมาชิกสภาเทศบาล เรียก รับหรือยอมจะ รับ
ทรัพย์สิน หรือประโยชน์อื่นใดสำหรับตนเองหรือผู้อื่นโดยมิชอบ หรือกระทำการหรือไม่กระทำการอย่างใด ในตำแหน่งไม่ว่าการนั้น จะชอบ
หรือมิชอบด้วยหน้าที่ ผู้นั้นกระทำความผิดฐานเจ้าพนักงานเรียกรับสินบน

ข้อเท็จจริง
นายดำเป็นพนักงานที่ดิน มีหน้าที่ รังวัดที่ดิน ส่วนนายแดงเป็นเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย ทั้งสองได้สมคบกันจูงใจให้นาย
เขียวมอบเงินให้พวกตนคนละ 1 แสนบาท โดยนายแดงและนายดำสัญญาว่า หลังจากนายเขียวมอบเงินให้แล้วจะใส่ชื่อนายเขียวเป็น
เจ้าของที่ดินแต่เพียงผู้เดียว โดยไม่ใส่ชื่อทายาทคนอื่นๆ นายดำและนายแดงจะมีความผิดอย่างไร
ก. นายดำและนายแดง เป็นตัวการในความผิดฐานเจ้าพนักงานรับสินบน
ข. นายดำกระทำความผิดเจ้าพนักงานเรียกรับสินบน และนายแดงเป็นผู้สนับสนุนในความผิดฐานดังกล่าว
ค. นายดำมีความผิดฐานเจ้าพนักงานเรียกรับสินบน แต่นายแดงไม่มีความผิด
ง. นายดำและนายแดงไม่มีความผิดฐานดังกล่าว

ข้อ 30 หลักกฎหมาย
1) การกระทำความผิดในเรือไทยหรืออากาศยานไทย ไม่ว่าจะอยู่ ณ ที่ใดให้ถือว่ากระทำความผิดในราชอาณาจักร
2) ความผิดใดที่ได้กระทำในราชอาณาจักร หรือที่ประมวล กฎหมายนี้ถือว่าได้กระทำในราชอาณาจักร แม้การกระทำของผู้เป็น
ตัวการด้วยกัน ของผู้สนับสนุนหรือของผู้ใช้ให้กระทำความผิดนั้นจะ ได้กระทำนอกราชอาณาจักร ก็ให้ถือว่าตัวการ ผู้สนับสนุนหรือผู้ใช้ให้
กระทำได้กระทำในราชอาณาจักร
3) ผู้ใดกระทำด้วยประการใด ๆ อันเป็นการช่วยเหลือ หรือให้ความสะดวกในการที่ผู้อื่นกระทำความผิด ก่อนหรือขณะกระทำ
ความผิด แม้ผู้กระทำความผิดจะมิได้รู้ถึงการช่วยเหลือหรือให้ความ สะดวกนั้นก็ตาม ผู้นั้นเป็นผู้สนับสนุนการกระทำความผิด

ข้อเท็จจริง
นายดำอยู่ประเทศอังกฤษต้องการฆ่านายแดง จึงโทรศัพท์ไปปรึกษานายเขียวที่อยู่เมืองไทย นายเขียวจึงบอกนายดำว่านายแดง
กำลังโดยสารเครื่องบินไทยไปยังสนามบินอังกฤษ นายดำรู้ดังนั้นจึงไปที่สนามบินอังกฤษ โดยนายขาวที่ อยู่อังกฤษมอบมีดพกให้นายดำติด
ตัวไปฆ่านายแดงด้วย นายดำบุกขึ้นไปบนเครื่องบินไทย และใช้มีดแทงนายแดงถึงแก่ความตาย ข้อใดต่อไปนี้ถูก
ก. นายขาวและนายเขียว กระทำความผิดในราชอาณาจักร
ข. นายขาวและนายเขียวถือว่ากระทำความผิดในราชอาณาจักร
ค. นายเขียวทำความผิดในราชอาณาจักร นายขาวถือว่าทำผิดในราชอาณาจักร
ง. นายเขียวถือว่าทำความผิดในราชอาณาจักร นายขาวไม่ถือว่าทำความผิดในราชอาณาจักร
******************************************************************************
เฉลยข้อสอบ

ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับกฎหมาย 100 ข้อ

1. ค. 2. ข. 3. ค. 4. ข. 5. ก.
6. ก. 7. ง. 8. ก. 9. ก. 10. ค.
11. ก. 12. ค. 13. ง. 14. ข. 15. ข.
16. ข. 17. ก. 18. ข. 19. ง. 20. ง.
21. ข. 22. ก. 23. ก. 24. ง. 25. ก.
26. ค. 27. ค. 28. ข. 29. ง. 30. ค.
31. ง. 32. ง. 33. ข. 34. ข. 35. ง.
36. ค. 37. ก. 38. ข. 39. ก. 40. ค.
41. ข. 42. ค. 43. ก. 44. ก. 45. ง.
46. ค. 47. ก. 48. ข. 49. ง. 50. ก.
51. ก. 52. ง. 53. ก. 54. ค. 55. ง.
56. ง. 57. ก. 58. ข. 59. ค. 60. ข.
61. ง. 62. ค. 63. ค. 64. ง. 65. ข.
66. ก. 67. ง. 68. ค. 69. ง. 70. ข.
71. ง. 72. ข. 73. ค. 74. ก. 75. ก.
76. ก. 77. ค. 78. ข. 79. ค. 80. ง.
81. ค. 82. ก. 83. ง. 84. ก. 85. ง.
86. ข. 87. ง. 88. ง. 89. ง. 90. ค.
91. ก. 92. ค. 93. ก. 94. ข. 95. ง.
96. ง. 97. ก. 98. ข. 99. ข. 100. ค.
ความสามารถในการใช้กฎหมาย 30 ข้อ

1. ง. 2. ข. 3. ง. 4. ก. 5. ง.
6. ค. 7. ข. 8. 530000 9. ง. 10. ค.
11. ก. 12. ก. 13. ค. 14. ค. 15. ง.
16. ข. 17. ง. 18. ค. 19. ข. 20. ข.
21. ข. 22. ค. 23. ค. 24. ง. 25. ค.
26. ก. 27. ง. 28. ค. 29. ข. 30. ค.

You might also like