You are on page 1of 9

3200106 Fundamental Oral Biology for Oral Health ( ชีววิทยาช่องปากพืน้ ฐานเพื่อสุขภาพในช่องปาก)

คำศัพท์ทางชีววิทยาช่องปากที่สำคัญ
Fundamental Vocabulary in Oral Biology
รศ.ดร.ทพญ.ฑัณฑริรา พรทวีทัศน์

โครงสร้างของฟันและอวัยวะรองรับรากฟัน
ฟัน เป็นอวัยวะที่อยู่ในช่องปาก ทำหน้าที่ในการกัด ฉีก บดเคี้ยวอาหาร ช่วยในการพูดและออกเสียง และเพื่อความ
สวยงาม
ฟัน แบ่งเป็น 2 ส่วนหลัก คือ ตัวฟัน (crown) และ รากฟัน (root)
1. ตัวฟัน เป็นส่วนฟันที่โผล่พ้นขอบเหงือก (gingival margin) ออกมาให้เห็นในช่องปาก (clinical crown)
ตัวฟันอาจจำแนกอีกแบบหนึ่ง คือ ตัวฟันทางกายวิภาค (anatomical crown) เป็นส่วนฟันทีม่ ีเคลือบฟัน
(enamel) คลุมอยู่ อยู่เหนือคอฟัน หรือ รอยต่อระหว่างเคลือบฟันและเคลือบรากฟัน
(cementoenamel junction; CEJ) ความยาวตัวฟันทางคลินิกมีการเปลี่ยนแปลงได้ขึ้นกับตำแหน่งของ
เหงือก ขณะที่รอยต่อระหว่างเคลือบฟันและเคลือบรากฟันเป็นตำแหน่งที่คงที่
2. รากฟัน เป็นส่วนที่อยู่ใต้เหงือก ช่วยในการยึดอยู่ของซี่ฟัน มีจำนวนตั้งแต่ 1 – 4 ราก ขึ้นกับตำแหน่งซี่ฟัน
รากฟันสามารถเรียกได้ 2 แบบ ได้แก่ รากฟันทางคลินิก (clinical root) คือ ส่วนของฟันที่อยู่ต่ำกว่าขอบ
เหงือก มองไม่เห็นในช่องปาก และ รากฟันทางกายวิภาค (anatomical root) คือ ส่วนของฟันที่มเี คลือบ
รากฟันปกคลุมอยู่ ยึดอยู่ในกระดูกเบ้าฟัน (alveolar bone)

ส่วนประกอบของฟัน เมือ่ นำมาผ่าตามแนวยาวจะเห็น ส่วนประกอบดังนี้


- เคลือบฟัน (enamel) สร้างโดยเซลล์สร้างเคลือบฟัน (ameloblasts) ลักษณะสีขาวใส เป็นส่วนที่แข็ง
ที่สุด อยู่ชั้นนอกสุดของตัวฟัน ทำหน้าทีป่ กป้องฟัน
- เนื้อฟัน (dentin) สร้างโดยเซลล์สร้างเนื้อฟัน (odontoblasts) ประกอบด้วยท่อเนื้อฟันเล็กๆจำนวนมาก
ที่เชื่อมต่อโดยตรงไปที่ยังโพรงประสาทฟัน เนื้อฟันในส่วนตัวฟันถูกคลุมด้วยชั้นเคลือบฟัน ขณะที่เนื้อฟัน
ส่วนรากฟันถูกปกคลุมด้วยเคลือบรากฟัน
- โพรงฟัน (pulp cavity) เป็นที่อยู่ของเนื้อเยือ่ ประสาทฟัน (pulp tissue) เป็นส่วนที่รบั ความรู้สกึ และคง
ความมีชีวิตของฟัน แบ่งเป็น โพรงฟันส่วนตัวฟัน (pulp chamber) มีรปู ร่างตามตัวฟัน และปุ่มฟัน

1
3200106 Fundamental Oral Biology for Oral Health ( ชีววิทยาช่องปากพืน้ ฐานเพื่อสุขภาพในช่องปาก)

(tooth cusp) และโพรงฟันส่วนคลองรากฟัน (pulp canal) มีรปู ร่างไปตามรากฟัน มีเส้นเลือดและ


เส้นประสาทผ่านมาทางรูเปิดปลายรากฟัน (apical foramen)
- เคลือบรากฟัน (cementum) ทำหน้าที่หอ่ หุ้มเนื้อฟันส่วนรากฟัน และยึดกับกระดูกเบ้าฟันด้วยเอ็นยึดปริ
ทันต์ (periodontal ligament) (รูปที่ 1)

รูปที่ 1 แนวตัดตามยาวของแสดงโครงสร้างต่างๆของฟันและเนื้อเยือ่ โดยรอบ (ดัดแปลงจาก Ross, M.H. &


Pawlina, W. 2011. Histology: A Text and Atlas, 6th edition, Wolters Kluwer/Lippincott Williams &
Wilkins, Philadelphia)

ประเภทของฟัน
- ฟันตัด (incisor) เป็นฟันตัด มีรูปร่างเหมือนสิ่ว มีหน้าที่สำหรับกัดอาหา มีจำนวน 8 ซี่
- ฟันเขี้ยว (canine) มีรูปร่างแหลม มีหน้าทีส่ ำหรับฉีกกัดอาหาร และรักษาความอูมของมุมปาก มีจำนวน
4 ซี่
- ฟันกรามน้อย (premolar) ใช้สำหรับการบดเคี้ยวอาหาร มีจำนวน 8 ซี่
- ฟันกราม (molar) มีความแข็งแรง ใช้ในการบดอาหาร ฟันกรามนีจ้ ะมีปุ่มฟันหลายจุดบนตัวฟัน มีจำนวน
12 ซี่

2
3200106 Fundamental Oral Biology for Oral Health ( ชีววิทยาช่องปากพืน้ ฐานเพื่อสุขภาพในช่องปาก)

ฟันตัดและฟันเขี้ยว รวมเรียกว่าฟันหน้า ฟันกรามน้อยและฟันกรามรวมเรียกว่าฟันหลัง (รูปที่ 2)

รูปที่ 2 ประเภทของฟัน

ชุดฟัน มี 2 ชุด
- ฟันน้ำนม (deciduous/primary teeth) มีทงั้ หมด 20 ซี่ ฟันเริ่มขึ้นเมือ่ อายุประมาณ 6 เดือน และขึ้น
ครบ 20 ซี่เมื่ออายุประมาณ 2 ขวบครึ่ง

ฟันบน ฟันล่าง
ซี่ฟันน้ำนม
อายุที่ฟันขึ้น อายุที่ฟันหลุด อายุที่ฟันขึ้น อายุที่ฟันหลุด
ฟันตัดหน้าซี่กลาง 8-12 เดือน 6-7 ปี 6-10 เดือน 6-7 ปี
ฟันตัดหน้าซี่ขา้ ง 9-13 เดือน 7-8 ปี 10-16 เดือน 7-8 ปี
ฟันเขี้ยว 16-22 เดือน 10-12 ปี 17-23 เดือน 9-12 ปี
ฟันกรามซี่ที่ 1 13-19 เดือน 9-11 ปี 14-18 เดือน 9-11 ปี
ฟันกรามซี่ที่ 2 25-33 เดือน 10-12 ปี 23-31 เดือน 10-12 ปี
ตารางแสดงระยะการขึ้นและหลุดของฟันน้ำนมซี่ต่างๆ (โดยประมาณ)

3
3200106 Fundamental Oral Biology for Oral Health ( ชีววิทยาช่องปากพืน้ ฐานเพื่อสุขภาพในช่องปาก)

- ฟันแท้ หรือ ฟันถาวร (permanent teeth) มีทั้งหมด 32 ซี่ ฟันเริ่มขึ้นเมื่ออายุประมาณ 6 ขวบ แต่จะขึ้น
ครบ 28 ซี่ เมื่ออายุ 12-13 ปี โดยฟันกรามซีส่ ุดท้าย 4 ซี่จะขึ้นมาในช่วงอายุ 18-25 ปี หรืออาจเป็นฟัน
คุดหากฟันทั้ง 4 ซี่ไม่ขึ้นมา
- หน่อฟันแท้เกิดขึ้นอยู่ภายใต้รากของฟันน้ำนม ฟันแท้เริ่มยาวขึ้นและมีแรงดันฟันน้ำนมที่อยู่ด้านบนของ
ฟันแท้ทำให้รากฟันน้ำนมค่อยๆละลายและสั้นลงเรือ่ ยๆ จนฟันน้ำนมหลุดออกไปและฟันแท้ขึ้นมาแทนที่
ฟันน้ำนม
ซี่ฟันแท้ อายุที่ฟันขึ้น
ฟันตัดหน้าซี่กลาง 7 ปี
ฟันตัดหน้าซี่ขา้ ง 8 ปี
ฟันเขี้ยว 11-13 ปี
ฟันกรามน้อยซี่ที่ 1 10-11 ปี
ฟันกรามน้อยซี่ที่ 2 10-12 ปี
ฟันกรามซี่ที่ 1 6-7 ปี
ฟันกรามซี่ที่ 2 12-13 ปี
ฟันกรามซี่ที่ 3 18-25 ปี
ตารางแสดงระยะการขึ้นของฟันแท้ซี่ต่างๆ (โดยประมาณ)

ข้อแตกต่างระหว่างฟันแท้กบั ฟันน้ำนม
1. ฟันน้ำนมมีขนาด และรูปร่างเล็กกว่า
2. ฟันน้ำนมมีสีขาวกว่า
3. ฟันน้ำนมมีส่วนของคอฟันคอดมากกว่า
4. ฟันน้ำนมมีรากฟันบางและถ่างห่างออกจากกันมากกว่า เพื่อเป็นที่อยู่ของหน่อฟันแท้

การเรียกชื่อฟัน

4
3200106 Fundamental Oral Biology for Oral Health ( ชีววิทยาช่องปากพืน้ ฐานเพื่อสุขภาพในช่องปาก)

การเรียกชื่อเต็มของฟัน เป็นภาษาอังกฤษ ควรระบุตามลำดับดังนี้


1. ชื่อชุดฟัน (permanent หรือ deciduous dentition)
2. ชื่อกระดูกขากรรไกร (maxillary หรือ mandibular)
3. ชือ่ ข้างของฟัน (right หรือ left)
4. ลำดับซี่ของฟัน (first หรือ second หรือ third)
5. ประเภทของฟัน (incisor canine premolar หรือ molar)
การเรียกชื่อเต็มภาษาไทย ควรระบุตามลำดับดังนี้
1. ชื่อประเภทของฟัน (ฟันตัด ฟันเขี้ยว ฟันกรามน้อย หรือ ฟันกราม)
2. ชื่อชุดของฟัน (ฟันแท้ หรือ ฟันน้ำนม)
3. ชื่อกระดูกขากรรไกร (ขากรรไกรบน หรือ ล่าง)
4. ข้าง (ซ้ายหรือขวา)
5. ลำดับซี่ของฟัน (ซีท่ ี่หนึง่ สอง หรือสาม)
ตัวอย่าง ฟันกรามแท้บนขวาซี่ที่หนึง่ หรือเรียกว่า permanent maxillary right first molar

การเรียกชื่อเต็มของฟันด้วยรหัส มีหลายแบบขึ้นกับระบบทีเ่ ลือกใช้ โดยทั่วไปใช้ระบบตัวเลข 2 หลัก (two digits


notation) ของ Federation Dentaire Internationale (FDI) โดยตัวเลขตัวแรกบอกถึง quadrant ของฟัน ซึ่ง
การแบ่ง quadrant จะแยกฟันในช่องปากเป็น 4 ส่วน ในฟันแท้ใช้เลข 1-4 และในฟันน้ำนมใช้เลข 5-8 เริม่ จาก
ด้านขวาบนไปซ้ายบน ลงมาทีซ่ ้ายล่างและไปที่ขวาล่างตามลำดับ ทัง้ ในฟันแท้และฟันน้ำนม ส่วนตัวเลขตัวที่สอง
ใช้แทนลำดับที่ของฟัน ในquadrantนั้นๆ โดยฟันแท้ใช้เลข 1- 8 ฟันหน้าจะเป็นเลข 1 และต่อๆไปจนถึงซี่สุดท้าย
ในสุดเป็นเลข 8 ในฟันน้ำนมใช้เลข 1-5
ตัวอย่าง ฟันกรามแท้บนขวาซี่ที่หนึง่ (permanent maxillary right first molar) คือ ฟันซี่ 16 (อ่าน หนึ่ง-หก)
ฟันเขี้ยวน้ำนมล่างซ้าย (deciduous mandibular left canine) คือ ฟันซี่ 73 (อ่าน เจ็ด-สาม) (รูปที่ 3)

5
3200106 Fundamental Oral Biology for Oral Health ( ชีววิทยาช่องปากพืน้ ฐานเพื่อสุขภาพในช่องปาก)

รูปที่ 3 การเรียกเลขฟัน ตามหลัก Federation Dentaire Internationale (FDI)


การเรียกด้านฟัน
ด้านต่างๆของฟันแต่ละซี่ ประกอบด้วยด้านต่าง ๆ ทั้งหมด 5 ด้าน
- ด้านบดเคี้ยว (occlusal surface) ในฟันหลัง หรือ ด้านตัด (incisal surface) หรือ ปลายฟันตัด (incisal
edge) ในฟันหน้า
- ด้านกระพุง้ แก้ม (buccal surface) ในฟันหลัง หรือ ด้านริมฝีปาก (labial surface) ในฟันหน้า
- ด้านลิ้น (lingual surface) ในฟันล่าง หรือ ด้านเพดาน (palatal surface) ในฟันบน
- ด้านใกล้กลาง (mesial surface) หรือด้านทีอ่ ยู่ใกล้แนวกลาง (midline)
- ด้านไกลกลาง (distal surface) หรือด้านที่อยู่ไกลแนวกลาง บริเวณที่มีการสัมผัสกับฟันข้างเคียง เรียกว่า
บริเวณสัมผัส (contact area) หรือจุดสัมผัส (contact point) (รูปที่ 4)

6
3200106 Fundamental Oral Biology for Oral Health ( ชีววิทยาช่องปากพืน้ ฐานเพื่อสุขภาพในช่องปาก)

รูปที่ 4 การเรียกด้านต่างๆของฟัน (ดัดแปลงจาก Tortora, G.J. 1995. Principles of Human Anatomy, 7th
edition, Wiley, New York. Reproduced by permission of John Wiley & Sons.)

การเรียกส่วนต่างๆของฟัน
แบ่งแนวตั้ง จากด้านใกล้กลางไปยังด้านไกลกลาง แบ่งเป็น
- พื้นที่ 1 ใน 3 ใกล้ด้านใกล้กลาง (mesial third)
- พื้นที่ 1 ใน 3 ตรงกลาง (middle third)
- พืน้ ที่ 1 ใน 3 ใกล้ด้านไกลกลาง (distal third)
แบ่งแนวตั้ง จากด้านแก้มหรือริมฝีปาก ไปยังด้านลิ้น แบ่งเป็น
- พื้นที่ 1 ใน 3 ใกล้ด้านแก้ม (buccal third) ในฟันหลัง หรือ ด้านริมฝีปาก (labial third) ในฟันหน้า
- พื้นที่ 1 ใน 3 ตรงกลาง (middle third)
- พื้นที่ 1 ใน 3 ใกล้ด้านลิ้น (lingual third)
แบ่งแนวขวางตัวฟัน จากด้านบดเคี้ยวไปยังคอฟัน แบ่งเป็น
- พื้นที่ 1 ใน 3 ใกล้ด้านบดเคี้ยว (occlusal third) หรือใกล้ดา้ นตัด (incisal third)

7
3200106 Fundamental Oral Biology for Oral Health ( ชีววิทยาช่องปากพืน้ ฐานเพื่อสุขภาพในช่องปาก)

- พื้นที่ 1 ใน 3 ตรงกลาง (middle third)


- พืน้ ที่ 1 ใน 3 ใกล้คอฟัน (cervical third)
แบ่งแนวขวางรากฟัน จากคอฟันไปยังปลายรากฟัน แบ่งเป็น
- พื้นที่ 1 ใน 3 ใกล้คอฟัน (cervical third)
- พื้นที่ 1 ใน 3 ตรงกลาง (middle third)
- พืน้ ที่ 1 ใน 3 ใกล้ปลายรากฟัน (apical third) (รูปที่ 5)

รูปที่ 5 การแบ่งสัดส่วนฟัน
ลักษณะด้านบดเคี้ยว
- ปุ่มฟัน เป็นส่วนนูนของตัวฟันทางด้านบดเคี้ยว เรียกชื่อตามตำแหน่งที่อยู่ของปุ่มฟัน เช่น ปุม่ ด้านแก้ม
(buccal cusp) ปุ่มด้านลิ้น (lingual cusp) ปุ่มด้านแก้มใกล้กลาง (mesiobuccal cusp) ปุม่ ฟันด้านลิ้น
ของฟันหน้า (cingulum)

8
3200106 Fundamental Oral Biology for Oral Health ( ชีววิทยาช่องปากพืน้ ฐานเพื่อสุขภาพในช่องปาก)

- ร่อง (groove) เป็นร่องลึก ส่วนใหญ่ปรากฎทางด้านบดเคี้ยว (occlusal groove) ด้านแก้ม (buccal


groove) และด้านลิ้น (lingual groove) จุดบรรจบหรือจุดสิ้นสุดของร่อง เป็นหลุม (pit) (รูปที่ 6)

รูปที่6 ลักษณะด้านบดเคี้ยว

เอกสารอ้างอิง

1. B.S.Kraus, R.E.Jordan, L.Abrums. Dental anatomy and occlusion. The Williams and
Wikins; Maryland. 1969.

2. M.M.Ash, S.J.Nelson. Wheeler’s Dental Anatomy Physiology, and Occlusion.

Saunders; St.Louis. 2003.

3. สิทธิชัย วนจันทรรักษ์. เอกสารค าสอนเรื่องการเรียกชื่อฟัน. คณะทันตแพทยศาสตร์


มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. 2550

You might also like