You are on page 1of 19

รายงานเชิงวิชาการ

เรื่องท่าอากาศยาน

โดย
นายกันต์กวี จุ่นคง เลขที่ ๓
นางสาวศศิฌา ฉัตรไชยศิริ เลขที่ ๓๒
นางสาวสาธนี มานะศรีสุริยัน เลขที่ ๓๓
มัธยมศึกษาปีที่ ๕/๘

เสนอ
อาจารย์สราวุฒิ โนนทะราช

รายงานนี้เป็นส่วนหนึ่งของรายงานวิชาภาษาไทยพื้นฐาน ๙ (ท๓๒๑๐๑)
ภาคเรียนที่ ๑ ปีการศึกษา ๒๕๖๖
โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม (ฝ่ายมัธยม)
รายงานเชิงวิชาการ
เรื่องท่าอากาศยาน

โดย
นายกันต์กวี จุ่นคง เลขที่ ๓
นางสาวศศิฌา ฉัตรไชยศิริ เลขที่ ๓๒
นางสาวสาธนี มานะศรีสุริยัน เลขที่ ๓๓
มัธยมศึกษาปีที่ ๕/๘

เสนอ
อาจารย์สราวุฒิ โนนทะราช

รายงานนี้เป็นส่วนหนึ่งของรายงานวิชาภาษาไทยพื้นฐาน ๙ (ท๓๒๑๐๑)
ภาคเรียนที่ ๑ ปีการศึกษา ๒๕๖๖
โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม (ฝ่ายมัธยม)
คำนำ
รายงานเชิงวิชาการฉบับนี้เป็นส่วนหนึ่งของรายวิชา ภาษาไทยพื้นฐาน ๙ (ท๓๒๑๐๑) ในระดับชั้น
มัธยมศึกษาปีที่ ๕ โดยมีจุดประสงค์เพื่อนำเสนอความรู้เกี่ยวกับท่าอากาศยาน ซึ่งจะนำเสนอเนื้อหาในส่วนของ
องค์ประกอบของท่าอากาศยาน วิวัฒนาการของท่าอากาศยาน ประเภทของท่าอากาศยานบุคคลที่เกี่ยวข้องกับ
ท่าอากาศยาน และองค์กรที่เกี่ยวข้องกับท่าอากาศยาน ซึ่งในรายงานเชิงวิชาการนี้ได้กล่าวถึงท่าอากาศยาน
เพื่อให้ได้รู้เรื่องของท่าอากาศยานอย่างลึกซึ้ง
คณะผู้จัดทำจึงได้เลือกหัวข้อนี้ในการทำรายงาน เนื่องจากเป็นเรื่องที่ผู้จัดทำสนใจ และคณะผู้จัดทำ
ต้องกราบขอบพระคุณ อาจารย์สราวุฒิ โนนทะราช ที่ให้คำปรึกษาและแนะนำ และหวังว่ารายงานฉบับนี้จะให้
ความรู้และเป็นประโยชน์แก่ผู้อ่านและผู้ที่สนใจ

กันต์กวี จุ่นคง
ศศิฌา ฉัตรไชยศิริ
สาธนี มานะศรีสุริยัน
สารบัญ

เรื่อง หน้า

ท่าอากาศยาน .........................................................................................................................................................๑
องค์ประกอบของท่าอากาศยาน .............................................................................................................................๓
องค์ประกอบเขตการบิน .........................................................................................................................................๔
เขตการบิน (AIRSIDE) ........................................................................................................................................๔
เขตนอกการบิน (LANDSIDE) ............................................................................................................................๔
องค์ประกอบในเขตการบิน .....................................................................................................................................๔
ทางวิ่ง (RUNWAY)..............................................................................................................................................๔
ทางขับ (TAXIWAY) ............................................................................................................................................๔
ลานจอดอากาศยาน (APRON) ..........................................................................................................................๕
ทางออกขึ้นเครือ่ งบิน/ทางเข้าจากเครื่องบิน (GATE)........................................................................................๕
สถานีดับเพลิงและกู้ภัย (FIRE FIGHTING STATION) ......................................................................................๕
องค์ประกอบในเขตนอกการบิน .............................................................................................................................๖
อาคารคลังสินค้า (CARGO TERMINAL) ...........................................................................................................๗
หอบังคับการบิน (CONTROL TOWER) ...........................................................................................................๗
ถนนภายในท่าอากาศยานและที่จอดรถ ............................................................................................................๘
วิวัฒนาการของท่าอากาศยาน................................................................................................................................๙
ประเภทของท่าอากาศยาน.................................................................................................................................. ๑๐
บุคคลที่เกี่ยวข้องกับท่าอากาศยาน ..................................................................................................................... ๑๑
องค์กรที่เกี่ยวข้องกับท่าอากาศยาน .................................................................................................................... ๑๒
องค์กรภายในประเทศ ..................................................................................................................................... ๑๒
องค์กรระหว่างประเทศ ................................................................................................................................... ๑๒
สรุป....................................................................................................................................................................... ๑๓
บรรณนานุกรม ..................................................................................................................................................... ๑๔

ท่าอากาศยาน
ท่าอากาศยาน หรือที่คนมักเรียกว่า สนามบิน เป็นสถานที่สำหรับให้เครื่องบินบินขึ้นและบินลง เพื่อ
ขนส่งผู้โดยสาร ขนส่งสินค้า ซ่อมแซม บำรุงรักษาและแวะพัก
ประเทศไทยเริม่ มีท่าอากาศยานแห่งแรกในปี พ.ศ. ๒๔๕๓ เมื่อชาวต่างชาติทำเครื่องบินมาแสดงการ
บินให้ประชาชนชาวไทยชมที่บริเวณสนามม้าสระปทุม ซึ่งปัจจุบันคือสนามม้าของราชกรีฑาสโมสร ต่อมาในปี
พ.ศ. ๒๔๕๖ กระทรวงกลาโหมได้จัดตั้งสนามบินขึ้นบนสถานที่แห่งนี้ โดยตั้งชื่อว่า สนามบินสระปทุม นับเป็น
สนามบินแห่งแรกของประเทศไทย กิจการบินในประเทศไทยได้เจริญเติบโตขึ้น ประกอบกับสนามบินสระปทุม
พื้นที่คับแคบและมีที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ไม่เหมาะสม กระทรวงกลาโหม ๑จึงพิจารณาหาสถานที่ใหม่เพื่อจัดตั้งเป็น
สนามบิน และได้พิจารณาเลือกพื้นที่ตอนเหนือของกรุงเทพมหานคร คือ ดอนเมือง เนื่องจากเป็นที่ดอน ๒ น้ำ
ท่วมไม่ถึงและไม่ห่างไกลจากกรุงเทพมหานครมากนัก ซึ่งการก่อสร้างแล้วเสร็จเมื่อต้นปี พ.ศ. ๒๔๕๗ และตั้ งชื่อ
ว่า สนามบินดอนเมือง ซึ่งต่อมาได้เปลี่ยนชื่อใหม่เป็น ท่าอากาศยานกรุงเทพ

รูปที่ ๑ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ
(ที่มา : https://www.thaipost.net/all-news/3325/)

ในปี พ.ศ. ๒๕๐๔ รัฐบาลสมัยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ได้มอบหมายกระทรวงคมนาคมให้ทำการศึกษา


เกี่ยวกับสถานที่ก่อสร้างสนามบินพาณิชย์แห่งใหม่ เพื่อให้สอดคล้องกับการจัดผังเมืองกรุงเทพมหานคร ซึ่ง
การศึกษาพบว่าพื้นที่เหมาะสมที่สุด คือ หนองงูเห่า อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ ซึ่งห่างจาก

๑ กระทรวงกลาโหม เป็นหน่วยงานราชการส่วนกลางประเภทกระทรวงของไทย
มีหน้าที่ป้องกันประเทศและรักษาผลประโยชน์ของชาติ
สร้างความร่วมมือด้านความมั่นคงกับประเทศเพือ่ นบ้าน ประเทศในกลุ่มอาเซียน และมิตรประเทศ
๒ ดอน คือ พื้นทีท่ ี่น้ำท่วมไม่ถึง ตรงข้ามกับคำว่าที่ลุ่ม

กรุงเทพมหานครประมาณ ๒๕ กิโลเมตร ทัง้ นี้ทำเลที่ตั้งของหนองงูเห่านับว่าแตกต่างจากดอนเมืองอย่างมาก


กล่าวคือ ขณะที่พื้นที่ดอนเมืองเป็นที่ดอนน้ำท่วมไม่ถึง แต่พนื้ ที่หนองงูเห่ากลับเป็นที่ลุ่ม
เมื่อวันที่ ๑ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๑๖ มีการลงนามในสัญญาก่อสร้างและดำเนินกิจการท่าอากาศแห่ง
ใหม่ แต่แล้วโครงการก่อสร้างสนามบินที่หนองงูเห่าเผชิญกับเสียงคัดค้านมากมาย
ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๕๒๖ รัฐบาลได้รื้อฟื้นโครงการท่าอากาศยานแห่งใหม่อีกครั้งหนึ่ง และมีมติเมื่อวันที่ ๗
พฤษภาคม ๒๕๓๔ อนุมัติให้ก่อสร้างท่าอากาศยานหนองงูเห่า กำหนดแล้วเสร็จปี พ.ศ.๒๕๔๓ คณะรัฐมนตรีใน
สมัยนายชวน หลีกภัย เป็นนายกรัฐมนตรี ได้มมี ติเมื่อวันที่ ๗ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๓๘ อนุมัติให้ก่อสร้างท่า
อากาศยานสุวรรณภูมิ และได้เปิดให้บริการเชิงพาณิชย์เต็มรูปแบบอย่างเป็นทางการ
เมื่อวันที่ ๒๘ กันยายนนพ.ศ. ๒๕๔๙ โดยเป็นท่าอากาศยานที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทยและเป็นท่าอากาศยาน
ที่มีสายการบินจำนวนมากที่สุดในประเทศไทย รัฐบาลได้กำหนดให้ท่าอากาศยานนานาชาติสุวรรณภูมิเป็นท่า -
อากาศยานหลักของประเทศไทยแทนท่าอากาศยานดอนเมือง
อาคารผู้โดยสารท่าอากาศยานสุวรรณภูมิได้รับการออกแบบให้มีความสวยงามและทันสมัย พร้อมทั้ง
อุปกรณ์อำนวยความสะดวกต่างๆ มีครบครัน ภายในมีการตกแต่งให้สะท้อนถึงเอกลักษณ์ ของความเป็นไทย
โครงสร้างหลักเป็นเหล็กและกระจก พร้อมกับมีการเตรียมพืน้ ที่สำหรับสร้างสถานีรถไฟใต้อาคาร โดยมีการ
แยกเป็นชั้นของกระบวนการเข้า-ออกผู้โดยสารและสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ เช่น การตรวจบัตรโดยสาร
การตรวจหนังสือเดินทาง ระบบรักษาความปลอดภัย ด่านศุลกากร บริเวณทีพ่ ักผู้โดยสาร ร้านค้า ฯลฯ

รูปที่ ๒ อาคารผู้โดยสารท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ
(ที่มา : https://thejournalistclub.com)

องค์ประกอบของท่าอากาศยาน
ท่าอากาศยานต้องประกอบไปด้วยส่วนสำคัญ ๓ ส่วน คือ
ส่วนแรก ต้องมีทางวิ่งซึ่งก็คือถนนที่ให้เครื่องบินวิ่งขึ้นและลง แต่มีความแข็งแรงทนทานกว่าถนนทั่วไป เพราะ
ทางวิ่งต้องรองรับเครื่องบินทีม่ ีน้ำหนักมากกว่ารถหลายเท่า ความยาวของทางวิ่งที่ท่า -อากาศยานแต่ละแห่ง
อาจไม่เท่ากัน ขึ้นอยูก่ ับขนาดของท่าอากาศยานแต่ละแห่ง โดยมีความยาวเริ่มต้นน้อยกว่า ๘๐๐ เมตร จนถึง
ยาวมากกว่า ๑,๘๐๐ เมตร ซึ่งที่ท่าอากาศยานกรุงเทพ หรือสนามบินดอนเมือง มีทางวิ่งยาวกว่า ๓,๐๐๐ เมตร
สำหรับจำนวนของทางวิ่งนั้น ท่าอากาศยานขนาดเล็กโดยทั่วไปมีทางวิ่งหนึ่งทางวิ่ง ส่วนท่าอากาศยานขนาด
ใหญ่อาจมีทางวิ่ง เพื่อให้เครื่องบินวิ่งขึ้นและลงได้มากกว่า ๑ เครื่องในเวลาเดียวกัน
ส่วนสอง เป็นส่วนที่สำคัญ คือ หอบังคับการบิน มีรูปร่างเป็นอาคารสูง ส่วนบนสุดเป็นห้องมีกระจกล้อมรอบ
เพื่อให้เจ้าหน้าที่ที่ทำงานในหอบังคับการบินมองเห็นรอบๆท่าอากาศยานได้อย่างชัดเจน หอบังคับการบินมี
รูปร่างหลายแบบอาจเป็นสี่เหลี่ยม หกเหลี่ยม หรือแปดเหลี่ยมก็ได้ ภายในหอบังคับการบินมีเครื่องมือทันสมัย
เช่น เรดาร์๓ เพื่อควบคุมเครื่องบินทั้งเวลาเคลื่อนที่บนพื้นดิน และเมื่อบินอยู่ในอากาศ มีวิทยุติดต่อสื่อสาร เพื่อ
ติดต่อกับนักบิน มีเครื่องวัดทิศทางลม มีเจ้าหน้าที่ทำงานในหอบังคับการบิน ซึ่งทำหน้าที่จัดการจราจรให้
เครื่องบินเปรียบได้กับตำรวจจราจร
ส่วนสาม คือ อาคารผู้โดยสารและอาคารคลังสินค้า ซึ่งเป็นสถานที่ให้ผู้โดยสารและสินค้าพักรอก่อนขึ้น
เครื่องบิน อาคารผู้โดยสารมีรูปร่างหลายแบบ ส่วนสำคัญที่อยู่ในอาคารผู้โดยสารคือบริเวณตรวจบัตรโดยสาร
บริเวณห้องพักรอหรือเรียกว่า ห้องผู้โดยสาร บริเวณที่ตรวจค้นร่างกายผู้โดยสาร เพื่อป้องกันการนำอาวุธขึ้น
เครื่องบิน (และถ้าเป็นอาคารสำหรับผู้โดยสารที่จะเดินทางไปต่างประเทศ จะต้องมีบริเวณตรวจหนังสือ
เดินทางและบริเวณของศุลกากรด้วย) นอกจากนั้น ในอาคารผู้โดยสารจะมีธุรกิจประเภทต่างๆที่จะให้บริการ
ผู้โดยสาร เช่น ร้านขายของที่ระลึก ร้านอาหาร ร้านเสริมสวย ร้านขายหนังสือ ธนาคาร รถรับส่ง เป็นต้น อาคาร
ผู้โดยสารของท่าอากาศยานขนาดใหญ่ เช่น อาคารผู้โดยสารของท่าอากาศยานขนาดใหญ่ เช่น ท่าอากาศยาน
กรุงเทพ มีผู้โดยสารผ่านเข้าออก เป็นจำนวนมากถึงประมาณ ๒๕ ล้านคนในปี พ.ศ. ๒๕๓๙
สำหรับอาคารคลังสินค้า เป็นสถานที่ให้สินค้าพักรอก่อนขึ้นเครื่องบิน มีลักษณะเป็นอาคารที่มีภายใน
เป็นพื้นที่โล่ง เพื่อให้วางสินค้าได้เป็นจำนวนมาก และจะมีเครื่องมือต่างๆ ที่เกี่ยวกับการขนส่งสินค้า เช่น เครื่อง
ชั่งน้ำหนักสินค้า รถยกสินค้า ชั้นวางสินค้า เป็นต้น นอกจากนั้น ภายในอาคารคลังสินค้าจะมีเจ้าหน้าที่ทำงาน
อยู่เป็นจำนวนมาก อาทิ เจ้าหน้าที่ศุลกากร เจ้าหน้าที่สายการบิน และเจ้าหน้าที่บริษัทรับส่งสินค้า

๓ เรดาร์ เป็นระบบที่ใช้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเป็นเครื่องมือในการระบุระยะ, ความสูง


รวมถึงทิศทางหรือความเร็วในการเคลื่อนที่ของวัตถุ

องค์ประกอบเขตการบิน
ท่าอากาศยานทุกแห่งแบ่งพื้นที่ในท่าอากาศยานเป็น ๒ เขตใหญ่ๆ คือ เขตการบิน และเขตนอกการบิน ซึ่งในแต่
ละเขตมีมาตรฐานกำหนดว่าต้องมีอะไรบ้าง
เขตการบิน (AIRSIDE) คือ พื้นที่ภายในสนามบินที่เครื่องบินใช้สำหรับการขึ้นลงและขับเคลื่อน และพื้นที่
บริเวณใกล้เคียงรวมตลอดถึงอาคาร หรือส่วนของอาคารที่ออกไปสู่พื้นที่นั้น ซึง่ มีการควบคุมการเข้าออกโดย
องค์ประกอบสำคัญในเขตการบินได้แก่ ทางวิ่ง ทางขับ ลานจอด อากาศยาน ทางเข้าออกเครื่องบิน
เขตนอกการบิน (LANDSIDE) คือ พื้นที่และอาคารภายในท่าอากาศยาน หรือสนามบินที่ไม่ได้อยู่ในเขตในการ
บิน ซึ่งเป็นบริเวณที่ผู้ทมี่ ิได้เดินทางสามารถเข้าออกได้ โดยไม่มีการควบคุมองค์ประกอบสำคัญในเขตนี้ ได้แก่
อาคารผู้โดยสารอาคารคลังสินค้า ระบบการจราจรภายในท่าอากาศยาน ซึ่งรวมทัง้ ที่จอดรถ เป็นต้น
องค์ประกอบเหล่านี้สามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจนจากภายนอกท่าอากาศยาน เช่น ถ้าหากเราอยู่บนถนน
วิภาวดีรังสิตช่วงดอนเมือง ก็จะเห็นอาคารผู้โดยสารท่าอากาศยานกรุงเทพ ถนนภายในท่าอากาศยานลานจอด
รถยนต์ แต่จะไม่สามารถเห็นองค์ประกอบของขอบเขตการบิน (ถ้ามองจากภายนอก)

องค์ประกอบในเขตการบิน
ทางวิ่ง (RUNWAY) คือ พื้นที่สนามบินที่จัดเตรียมไว้สำหรับการขึ้นลงของเครื่องบินโดยเฉพาะ ลักษณะเหมือน
ถนนแต่ต้องแข็งแรงทนทานกว่า เนื่องจากต้องรองรับเครือ่ งบินซึ่งมีน้ำหนักพิกัดมาก พื้นผิวทางวิ่งอาจเป็น
คอนกรีตหรือแอสฟัลติกคอนกรี๔ แต่ที่สำคัญต้องมีผิวเรียบ และมีความลาดเอียงที่เหมาะสมกับการให้เครื่องบิน
ขึ้นได้อย่างสะดวกและปลอดภัย ความยาวของทางวิ่งขึ้นอยู่กับสภาพทางภูมิศาสตร์ ๕ ของท่าอากาศยาน และ
ความต้องการใช้ทางวิ่งของเครื่องบินแต่ละแบบ ถ้าเครื่องบินมีน้ำหนักพิกัดมาก (น้ำหนักรวมเมื่อบรรทุกเต็ม) ก็
จะต้องใช้ทางวิ่งยาว สำหรับจำนวนของทางวิ่งที่ท่าอากาศยานแต่ละแห่งนั้นขึ้นอยู่กับพื้นที่ ทิศทางลมและ
ปริมาณการจราจรทางอากาศทีท่ ่าอากาศยานนั้นๆ ทำอากาศยานขนาดใหญ่มักมีทางวิ่งมากกว่า ๑ ทางวิ่ง เช่น
ที่ท่าอากาศยานกรุงเทพมีทางวิ่ง ๒ ทางวิ่ง แต่ละทางวิ่งมีความยาวประมาณ ๓.๗๐ เมตร และสามารถรองรับ
เครื่องบินได้ทกุ แบบ เนื่องจากทางวิ่งมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อความปลอดภัยของเครื่องบินขณะขึ้นลง ดังนั้นจึง
ต้องมีเครื่องหมายหรือสัญลักษณ์ให้นักบินสังเกตเห็นทางวิ่งได้ทั้งกลางวันและกลางคืน โดยเวลากลางวันสังเกต
ได้จากเครื่องหมาย ซึ่งอาจเป็นตัวเลขหรือตัวอักษร ส่วนเวลากลางคืนจะมีไฟนำร่องเป็นเครื่องหมายนำร่อง
เพื่อนำเครื่องบินสู่ทางวิ่ง นอกจากนั้นยังต้องมีเครื่องช่วยเดินอากาศเพื่อใช้ในเวลาที่สภาพอากาศไม่ดีอีกด้วย
ทางขับ (TAXIWAY) คือ พื้นที่บนสนามบินที่จัดเตรียมไว้สำหรับให้เครื่องบินขับเคลื่อนระหว่างลานจอดอากาศ
ยานกับทางวิ่ง หรือกล่าวได้ว่าทางขับเป็นเส้นทางที่เชื่อมระหว่างลานจอดอากาศยาน กับทางวิ่ง คุณลักษณะ

๔ แอสฟัลติกคอนกรีต เป็นวัสดุผสมนิยมใช้ในการสร้างผิวถนน ผิวลานจอดรถ และผิวรันเวย์สนามบิน


เป็นส่วนประกอบของยางมะตอย
๕ ภูมิศาสตร์ เป็นสาขาทางวิทยาศาสตร์ที่มุ่งเน้นถึงการศึกษาเกี่ยวกับพื้นดิน ภูมิประเทศ ประชากร
และปรากฏการณ์บนโลก

ของทางขับเหมือนกับทางวิ่ง คือต้องมีพื้นผิวเรียบ และรองรับน้ำหนักเครื่องบินได้อย่างดี ทั้งยังต้องมีความกว้าง


ที่เหมาะสม และปลอดภัยต่อเครื่องบิน
ลานจอดอากาศยาน (APRON) คือ พื้นที่ที่จัดไว้สำหรับเป็นที่จอดเครื่องบิน ซึ่งต้องมีความกว้างและมีขนาด
พอให้เครื่องบินจอด และเข้าออกได้อย่างปลอดภัย นอกจากนั้น ต้องมีพนื้ ที่เพียงพอสำหรับรถบริการที่จะเข้าไป
ให้บริการด้านต่างๆ ในลานจอดอากาศยานขณะที่เครื่องบินจอดอีกด้วย ลานจอดอากาศยานอาจอยู่ชิดกับตัว
อาการผู้โดยสารหรืออยู่ห่างออกไปจาก ตัวอาคารผู้โดยสารก็ได้ขึ้นอยู่กับการให้บริการ ผู้โดยสารในการขึ้นลง
เครื่องบิน ลานจอดอากาศยานที่อยู่ชิดกับตัวอาคารจะมีอุปกรณ์ที่เรียกว่า สะพานเทียบเครื่องบินยื่นออกไป
จากอาคารผู้โดยสาร เพื่อให้เครื่องบินจอดเทียบกับสะพานเทียบเครื่องบิน ซึ่งผู้โดยสารสามารถเดินเข้า-ออก
เครื่องบินโดยผ่านสะพานนี้ ผู้โดยสารมักจะนิยมเรียกว่า งวง๖ เนื่องจากมีลักษณะเหมือนงวงช้าง ส่วนลานจอด
อากาศยานที่อยู่ห่างจากตัวอาการผู้โดยสารจะต้องมีระบบขนส่งผู้โดยสารระหว่างตัวอาคารและเครื่องบิน
ทางออกขึ้นเครือ่ งบิน/ทางเข้าจากเครื่องบิน (GATE) คือ จุดที่ผู้โดยสารออกจากอาคารผู้โดนสารเพื่อไปขึ้น
เครื่องบิน หรือจุดที่ผู้โดยสารเข้าสู้ตัวอาคาร หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง คือ เป็นเส้นทางเชื่อมต่อระหว่างตัวอาคาร
ผู้โดยสารกับเครื่องบิน
สถานีดับเพลิงและกู้ภัย (FIRE FIGHTING STATION) ความปลอดภัยของเครื่องบินและผู้โดยสารนับว่าเป็น
ภารกิจที่มีความสำคัญยิ่งของการให้บริการของท่าอากาศยาน องค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ จึงได้
กำหนดให้ท่าอากาศยานต้องมีการช่วยเหลือผู้โดยสารและกู้ภัยเครื่องบิน กรณีทมี่ ีอุบัติเหตุขณะขึ้นลงที่ท่า
อากาศยาน ดังนั้น ท่าอากาศยานจึงต้องสร้างสถานีดับเพลิงและกู้ภัยเพื่อดำเนินการดังกล่าว ซึ่งโดยทั่วไปที่ตั้ง
ของสถานีจะอยู่ในเขตการบิน ในตำแหน่งที่สามารถให้ความช่วยเหลือเครื่องบินที่ประสบอุบัติเหตุได้อย่าง
รวดเร็วและปลอดภัย

รูปที่ ๓ สถานีดับเพลิงและกู้ภัย
(ที่มา: https://www.blockdit.com)

๖ งวง คือ จมูกของช้างที่ยื่นยาวออกมา ใช้จับของได้อย่างมือ


องค์ประกอบในเขตนอกการบิน
อาคารผู้โดยสาร (PASSENGER TERMINAL) คือ อาคารหลักที่ท่าอากาศยานจัดไว้สำหรับให้ผู้โดยสารขาเข้า
และผู้โดยสารขาออกทำพิธีการต่างๆ สำหรับการเดินทางตลอดจนพักรอก่อนออกเดินทาง ดังนัน้ อาคาร
ผู้โดยสารจึงเป็นอาคารที่สำคัญ เพราะเป็นอาคารสำหรับให้บริการแก่ผู้โดยสารโดยตรง และถึงแม้ว่าท่าอากาศ
ยานแห่งหนึ่ง จะต้องมีองค์ประกอบและสิ่งก่อสร้างหลายอย่าง แต่อาคารผู้โดยสารจะเป็นอาคารที่มองเห็นได้
อย่างเด่นชัดจากภายนอกท่าอากาศยานและเป็นเสมือนภาพรวมหรือตัวแทนที่จะแสดงให้เห็นว่าท่าอากาศยาน
มีขนาดใหญ่โอ่อ่า๗ และมีความทันสมัยเพียงใด การที่จะสร้างอาคารผู้โดยสารให้มีรูปแบบใดนั้น มีปัจจัยกำหนด
หลายปัจจัยคือ พื้นที่ของท่าอากาศยาน ปริมาณการจราจรทางอากาศที่ท่าอากาศยาน และประเภทผู้โดยสาร
อาคารผู้โดยสาร โดยทั่วไปมี ๖ รูปแบบคือ
๑. อาคารผู้โดยสารในรูปแบบพื้นฐาน (Simple Concept) เป็นรูปแบบอาคารผู้โดยสารของท่าอากาศยาน
ขนาดเล็กซึ่งมีจำนวนผู้โดยสารไม่มาก สามารถจัดลานจอดอากาศยานใกล้กับตัวอาคาร ผู้โดยสารจะต้องเดินไป
ขึ้นเครื่องบินเอง
๒. อาคารผู้โดยสารในรูปแบบที่มีการขนถ่ายระหว่างตัวอาคารกับเครื่องบิน (Transporter Concept) รูปแบบ
นี้จะจัดเครื่องบินจอดที่ลานจอดอากาศยานที่อยู่ห่างจากตัวอาคารผู้โดยสารและต้องใช้รถขนส่งผู้โดยสารไปขึ้น
เครื่องบิน ประโยชน์ของรูปแบบนี้คือใช้เงินลงทุนต่ำเพราะไม่ต้องสร้างอาคารเทียบเครื่องบินส่วนข้อเสียคือ
ผู้โดยสารไม่สะดวก
๓. อาคารผู้โดยสารในรูปแบบที่ต่อเนื่อง (Linear Concept) เป็นรูปแบบอาคารผู้โดยสารของท่าอากาศยาน
ขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ซึ่งอาคารรูปแบบนี้จะให้เครื่องจอดประชิดติดตัวอาการผู้โดยสารเป็นแนวเรียงกันไป
และมีสะพานที่ขับเครื่องบินให้บริการผู้โดยสารเดินเข้าออกเครื่องบินได้เองโดยตรง
๔. อาคารผู้โดยสารในรูปแบบคล้ายนิ้วมือ (Finger Concept) เนื่องจากอาคารในรูปแบบที่ต่อเนื่อง มีข้อเสียคือ
ผู้โดยสารอาจจะต้องเดินเป็นระยะทางไกล เนื่องจากมีลักษณะเป็นแนวยาว ดังนั้น เพื่อเป็นการอำนวยความ
สะดวกแก่ผู้โดยสาร ท่าอากาศยานขนาดใหญ่จึงมีการออกแบบอาคารผู้โดยสารในลักษณะที่มีรูปแบบคล้ายนิ้ว
มือยื่นไปในเขตการบิน เรียกว่า อาคารเทียบเครื่องบิน (PIER) ซึ่งมีข้อดี คือเครื่องบินสามารถจอดได้ประชิดกับ
ตัวอาคารจำนวนมากขึ้น ทำให้ผู้โดยสารเดินระยะสั้นลง ท่าอากาศยานกรุงเทพมีอาคารผู้โดยสารที่เป็นลักษณะ
ดังกล่าวนี้
๕. อาคารผู้โดยสารในรูปแบบคล้ายเกาะ (Satellite Concept) ลักษณะเด่นของอาคารรูปแบบนี้คือ มีอาคาร
เทียบเครื่องบินอยู่ในเขตการบินโดยเอกเทศ ๘ และเครื่องบินจะจอดอยู่รอบๆอาคารนี้ โดยมีระบบการขนส่ง
ผู้โดยสารระหว่างอาคารผู้โดยสาร กับอาคารเทียบเครื่องบินแยกต่างหาก ซึ่งข้อดีของอาคารรูปแบบนี้คือ
เครื่องบินเข้าออกได้ง่ายและสะดวกกับผู้โดยสาร ที่ต่อเที่ยวบิน ส่วนข้อเสียคือ ต้องใช้พื้นที่ในเขตการบินมาก

๗ โอ่อ่า แปลว่า สวยอย่างมีสง่าและใหญ่โตหรูหรา


๘ เอกเทศ คือ ส่วนหนึ่งต่างหาก เฉพาะส่วนหรือเฉพาะบุคคล

๖. อาคารผู้โดยสารในรูปแบบผสม (Hybrid Concept) คือ รูปแบบอาคารที่นำแนวความคิดทุกๆ แนวความคิด


มาผสมผสานกันตามลักษณะความจำเป็นของท่าอากาศยานแต่ละแห่ง สำหรับภายในอาคารผู้โดยสารจะมีการ
แบ่งพื้นที่เป็นส่วนที่เป็นพิธีการของผู้โดยสารแต่ละประเภทและพื้นที่สำหรับส่วนบริการต่างๆ เพื่อให้ผู้โดยสาร
ได้รับความสะดวกสบายและเพลิดเพลินขณะพักรอทีอ่ าคารผู้โดยสาร

อาคารคลังสินค้า (CARGO TERMINAL)


กิจการด้านการขนส่งสินค้าทางอากาศเป็นกิจการที่รัฐบาลให้ความสำคัญ เพราะมีผลต่ ออุตสาหกรรม
การส่งออกของประเทศ อาคารคลังสินค้าเป็นปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่งที่จะช่วยสนับสนุนให้กิจการด้านนี้ประสบ
ผลสำเร็จ เนื่องจากอาคารคลังสินค้าเป็นสถานที่เชื่อมต่อระหว่างการขนส่งสินค้าทางอากาศ กับภาคพื้นดิน
ดังนั้น อาคารจึงต้องมีสถานทีท่ ี่เพียงพอและมีการบริการด้านพิธีการต่างๆ รวมทั้งมีอุปกรณ์ที่ทันสมัย โดยทั่วไป
พื้นที่ของอาคารคลังสินค้าด้านหน้า จะมีพื้นที่ให้รถขนสินค้าจอดได้ สำหรับในอาคารเป็นสำนักงานเพื่อดำเนิน
พิธีการรับส่งสินค้าและส่วนที่เป็นคลังสินค้า ซึ่งส่วนนี้จะมีลักษณะเป็นอาคารโล่งๆ เพราะต้องมีพื้นที่กว้างขวาง
เพียงพอสำหรับจัดวางหรือเก็บสินค้าให้ให้จำนวนมากที่สุด โดยจะแบ่งออกเป็นพื้นที่สำหรั บสินค้านำเข้าและ
ส่งออก พื้นที่สำหรับสินค้าที่อาจเน่าเสียได้ง่าย เป็นต้น ภายในคลังสินค้ ามีอุปกรณ์ต่างๆ ทีท่ ันสมัยและมี
ประสิทธิภาพสำหรับใช้ในการปฏิบัติงาน เช่น ระบบคอมพิวเตอร์ สำหรับสำรองพื้นที่ การขนส่ง การให้ข้อมูล
การออกเอกสารเกี่ยวกับการนำเข้าและส่งออก ตลอดจนการติดตั้งเครื่องมืออัตโนมัติสำหรับใช้ในระบบจัดเก็บ
และขนถ่ายสินค้าภายในคลัง เป็นต้น
หอบังคับการบิน (CONTROL TOWER)
มีลักษณะเป็นอาคารทรงสูงอาจอยู่ในเขตการบินหรือเขตนอกการบินก็ได้ในสมัยก่อน หอบังคับการบิน
มักอยู่ในเขตการบิน แต่ต่อมาเนื่องจากพื้นที่ด้านเขตการบินมีจำกัด ประกอบกับมีวิวัฒนาการของเครื่องช่วย
เดินอากาศ ดังนั้นปัจจุบันจึงมักสร้างหอบังคับการบินในเขตนอกการบิน นอกจากนั้นหอบังคับการบินอาจอยู่
ติดต่อกับอาคารผู้โดยสาร เช่นที่ท่าอากาศยานกรุงเทพ หรือแยกอยู่เป็นอาคารต่างหากก็ได้ ดังเช่นที่
ท่าอากาศยานชางยี ประเทศสิงคโปร์ แต่ที่สำคัญต้องอยู่ในตำแหน่ง ที่ผู้ปฏิบัติงานในหอบังคับการบินสามารถ
ติดต่อสื่อสารกับเครื่องบินได้ และสามารถมองเห็นภาพในท่าอากาศยานได้ทุกจุด ดังนั้น ส่วนบนสุดของหอ
บังคับการบินจึงเป็นห้องมีกระจกล้อมรอบเพื่อให้มีมมุ มองที่ชัดเจน
ผู้ปฏิบัติงานในหอบังคับการบินที่ทำหน้าที่ติดต่อสื่อสารกับเครื่องบินเรียกว่าเจ้าหน้าที่ควบคุมจราจร
ทางอากาศ (AIR TRAFFIC CONTROLLERS) มีภารกิจสำคัญคือกำหนดให้เครื่องบินอยู่ในเส้นทางตามทิศทาง
และระยะสูงที่ต้องการรวมทั้งจัดการจราจรให้เครื่องบินขึ้นลงด้วยความสะดวกและปลอดภัยอุปกรณ์ในหอบังคั
บการบินเป็นอุปกรณ์ทันสมัย เนือ่ งจากเครื่องบินมีวิวัฒนาการอย่างรวดเร็ว อุปกรณ์ที่เป็นหัวใจคือ เรดาร์
ซึ่งจะให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อเจ้าหน้าที่ควบคุมการจราจรทางอากาศเช่นชื่อเรียกขานของเครื่องบินความสูง
จริงขณะเครื่องบินไต่ขึ้นหรือร่อนลงระยะสูงที่กำหนดให้บินความเร็วของเครื่องบินทิศทางของเครื่องบินเป็นต้น
ข้อมูลจากจอเรดาร์นี้จะถูกนำมาใช้ในการควบคุมจราจรทางอากาศให้เป็นไปโดยปลอดภัยนอกจากนั้นเรดาร์ยัง
สามารถให้ข้อมูลสภาพอากาศได้อีกด้วยซึ่งเจ้าหน้าที่จะแจ้งให้นักบินบินหลีกเลี่ยงจากตำแหน่งของสภาพอากา

ศที่จะเป็นอันตรายนอกจากเรดาร์แล้ว อุปกรณ์ในหอบังคับการบินยังมีวิทยุติดต่อสื่อสารสำหรับติดต่อ ระหว่าง


พนักงานควบคุมจราจรทางอากาศกับนักบินและในกรณีที่ไม่สามารถติดต่อกันได้ทางวิทยุจะมีอุปกรณ์ที่เรียกว่า
“ปืนสัญญาณแสง” ๙ (LIGHT GUN) ใช้ส่งสัญญาณโดยใช้แสงสว่างจากโคมไฟ ซึ่งมีลำแสงแคบและ ความเข้ม
แสงสว่างสูงมีด้วยกัน ๓ สี คือ ขาว เขียว แดง เพือ่ ให้นักบินทราบว่า ได้รับอนุญาตหรือไม่อนุญาตจาก
หอบังคับการบิน ในการนำเครื่องบินลง ที่ท่าอากาศยาน

รูปที่ ๔ หอบังคับการบิน (CONTROL TOWER)


(ที่มา: https://www.aerothai.co.th/th/air-traffic-control/ศูนย์ควบคุมจราจรทางอากาศสุวรรณภูมิ)

ถนนภายในท่าอากาศยานและที่จอดรถ
ท่าอากาศยานจะต้องจัดพื้นที่จอดรถและถนนภายในท่าอากาศยาน ให้เพียงพอ เพื่อเป็นการอำนวย
ความสะดวกต่อผู้ที่มาท่าอากาศยาน ซึ่งที่จอดรถสามารถจอดได้ทั้งในระยะสั้นละจอดค้างคืนได้ นอกจากนั้น
จะต้องติดตั้งป้ายบอกเส้นทางไปอาคารต่างๆในท่าอากาศยานให้ชัดเจน

รูปที่ ๕ ถนนภายในท่าอากาศยานและที่จอดรถ
(ที่มา : https://travel.trueid.net/detail/g4d2g0wqoOeM)

๙ ปืนสัญญาณแสง เป็นอุปกรณ์สำหรับส่งสัญญาณไฟระหว่างผู้ควบคุมจราจรทางอากาศกับนักบิน ในกรณีที่


หอบังคับการบินไม่สามารถติดต่อกับอากาศยานด้วยวิทยุสื่อสารได้

วิวัฒนาการของท่าอากาศยาน
การสร้างท่าอากาศยานไม่ว่าจะเป็นในอดีตหรือปัจจุบันมีปัจจัยหลักคือ ต้องมีอุปสงค์และอุปทาน
กล่าวคือ ความต้องการของการขนส่งทางอากาศ ไม่ว่าจะเป็นความต้องการทางด้านเศรษฐกิจหรือทางด้าน
สังคมและการเมือง เป็นต้น กำหนดที่สำคัญในการสร้างท่าอากาศยานและการจัดองค์ประกอบต่างๆสำหรับท่า
อากาศยานทุกแห่ง วิวัฒนาการของท่าอากาศยานจากอดีตถึงปัจจุบันสามารถจัดลำดับขั้นตอนที่สำคัญโดยสรุป
ได้ดังนี้
ขั้นที่ ๑ เริ่มจากการมีองค์ประกอบ ๒ สิ่งที่สัมพันธ์กัน คือ มีเครื่องบิน และพื้นที่ สำหรับให้เครื่องบินขึ้นและลง
ขั้นที่ ๒ เริ่มมีผู้โดยสารเครื่องบินเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย
ขั้นที่ ๓ เมือ่ มีผู้โดยสาร ก็เริ่มมีสิ่งปลูกสร้างเพื่อใช้เป็นสำนักงาน และที่พักรอของผู้โดยสาร
ขั้นที่ ๔ สิ่งปลูกสร้าง ซึ่งเป็นสำนักงานในขั้นที่ ๓ ส่วนหนึ่งพัฒนาเป็นหอบังคับการบิน เพื่อทำหน้าที่ให้ข้อมูล
สำหรับการขึ้นลงของเครื่องบิน
ขั้นที่ ๕ เมื่อกิจการต่างๆ ขยายตัวมากขึ้นมีคนต้องการเดินทางโดยเครื่องบินขึ้นลงมากขึ้น ดังนั้น จึงมีการจัด
สถานที่สำหรับจอดเครื่องบินหลายๆ เครื่อง พื้นที่ดังกล่าวนี้เรียกว่า ลานจอดอากาศยาน
ขั้นที่ ๖ เป็นขั้นการพัฒนา เมื่อมีผู้โดยสารมาขึ้นเครื่องบินมากขึ้น จึงจำเป็นต้องมีการจัดช่องทางเข้าออก
สำหรับผู้โดยสารที่จะขึ้นเครื่องบิน เรียกว่าทางออกขึ้นเครื่องบินและทางเข้าจากเครื่องบิน
ในระยะเวลาต่อมา ท่าอากาศยานได้รับการพัฒนาเป็นลำดับตามความเจริญเติบโตของกิจการขนส่ง
ทางอากาศ อย่างไรก็ตามไม่ว่าท่าอากาศยานแต่ละแห่งจะมีรูปแบบอย่างไรแต่สิ่งสำคัญ คือ ผู้บริหารท่า-อากาศ
ยานจะคำนึงถึงเรื่องของความสะดวกสบายและความปลอดภัยของผู้มาใช้ท่าอากาศยานเป็นสำคัญสำหรับ
ประเทศไทย

รูปที่ ๖ ลำดับวิวัฒนาการของท่าอากาศยาน
(ที่มา: https://saranukromthai.or.th/sub/book/book.php?book=22&chap=9&page=t22-9-
infodetail02.html)
๑๐

ประเภทของท่าอากาศยาน
การจำแนกประเภทของท่าอากาศยาน อาจจำแนกได้หลายกรณีด้วยกัน เช่น จำแนกตามชนิดของ
อากาศยานที่มาขึ้นลง เช่น ท่าอากาศยานที่ใช้สำหรับเป็นที่ขึ้นลงของเฮลิคอปเตอร์ ๑๐ เรียกว่า สนามบิน
เฮลิคอปเตอร์ หรือจำแนกตามการดำเนินงาน ท่าอากาศยานบางแห่งใช้ในกิจการพานิชย์ บางแห่งใช้ ในกิจการ
ทหารหรือบางแห่งเป็นท่าอากาศยานสำหรับเครื่องบินส่วนบุคคล นอกจากนั้น ยังมีการจำแนกตามบทบาทหรือ
การให้บริการของท่าอากาศยาน ได้แก่ ท่าอากาศยานระหว่างประเทศและท่าอากาศยานภายในประเทศ ใน
ประเทศไทย คนทั่วไปมักรู้จักท่าอากาศยาน ๓ ประเภท ได้แก่ ท่าอากาศยานทหาร ท่าอากาศยานระหว่าง
ประเทศ และท่าอากาศยานภายในประเทศ ซึง่ ในที่นี้จะกล่าวเฉพาะท่าอากาศยานระหว่างประเทศ และท่า
อากาศยานภายในประเทศ เนื่องจากเป็นท่าอากาศยานที่มีบทบาทสำคัญต่อกิจการขนส่งทางอากาศของ
ประเทศ
ท่าอากาศยานระหว่างประเทศ คือ ท่าอากาศยานที่อนุญาตให้เป็นจุดเข้าออก ของการขนส่งทางอากาศ
ระหว่างประเทศ หรือเป็นทีอ่ ากาศยานสำหรับเครื่องบิน ผู้โดยสารและสินค้าที่เดินทางเข้าหรือออกระหว่าง
ประเทศ สิ่งสำคัญที่ท่าอากาศยานระหว่างประเทศจะต้องมีคือ พิธีการด้านศุลกากร การตรวจคนเข้าเมือง ด่าน
กักกันโรค ด่านกักกันพืช ด่านกักกันสัตว์ อยู่ในท่าอากาศยาน ในปัจจุบันประเทศไทยมีท่าอากาศยานระหว่าง
ประเทศ ๗ แห่ง อยู่ภายใต้การบริหารงานของการท่าอากาศยานแห่งประเทศไทย กระทรวงคมนาคม ๔ แห่ง
คือ ท่าอากาศยานกรุงเทพ ท่าอากาศยานเชียงใหม่ ท่าอากาศยานหาดใหญ่ และท่าอากาศยานภูเก็ต อยู่ภายใต้
การบริหารงานของกรมการบินพาณิชย์ กระทรวงคมนาคม ๒ แห่ง คือ ท่าอากาศยานเชียงราย และท่าอากาศ
ยานอุบลราชธานี ส่วนอีก ๑ แห่ง คือ สนามบินอู่ตะเภากองทัพเรือ เป็นผู้บริหารงาน
ท่าอากาศยานภายในประเทศ คือ ท่าอากาศยานที่อนุญาตให้เป็นจุดเข้าออกของการจราจรทางอากาศ
ภายในประเทศ หรือเป็นท่าอากาศยานสำหรับเครื่องบิน ผู้โดยสาร สินค้าที่เดินทางภายในประเทศเท่านั้น จึงมี
ขนาดเล็กกว่าท่าอากาศยานระหว่างประเทศ ปัจจุบันประเทศไทยมีทำอากาศยานภายในประเทศทีใ่ ช้ในกิจการ
พาณิชย์ ๒๑ แห่ง อยู่ภายได้การบริหารงานของกรมการบินพาณิชย์ กระทรวงคมนาคม ท่าอากาศยาน-
ภายในประเทศเหล่านี้จะตั้งอยู่ในภาคต่างๆ ของประเทศไทย ซึ่งเป็นการกระจายความเจริญสู่ภูมิภาค คือ
ภาคเหนือ มีท่าอากาศยานพิษณุโลก ท่าอากาศยานลำปาง ท่าอากาศยานน่าน ท่าอากาศยานแพร่ ท่าอากาศ-
ยานแม่ฮ่องสอน ท่าอากาศยานแม่สอด ท่าอากาศยานตาก
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีท่าอากาศยานอุดรธานี ท่าอากาศยานขอนแก่น ท่าอากาศยานสกลนคร ท่ าอากาศ
ยานเลย ท่าอากาศยานนครพนม ท่าอากาศยานบุรีรัมย์ ท่าอากาศยานนครราชสีมา
ภาคใต้ มีท่าอากาศยานหัวหิน ท่าอากาศยานนครศรีธรรมราช ท่าอากาศยานปัตตานี ท่าอากาศยานตรัง ท่า-
อากาศยานสุราษฎร์ธานี ท่าอากาศยานนราธิวาส และท่าอากาศยานระนอง

๑๐ เลลิคอปเตอร์ คือ อากาศยานชนิดหนึ่งไม่มีปกกใช้เครื่องยนต์ขับเคลื่อนมีใบพัดขนาดใหญ่ติดตั้งเหนือลำตัว


หมุนรอบตัวในแนวนอน ทำหน้าที่ช่วยพยุง และบังคับทิศทางบิน บินขึ้นลงในแนวดิ่งได้
๑๑

บุคคลที่เกี่ยวข้องกับท่าอากาศยาน
เนื่องจากท่าอากาศยานเป็นที่รวมของกิจกรรมนานาประเภท ดังนี้ จึงมีบุคคลที่เกี่ยวข้องเป็นจำนวน
มาก ท่าอากาศยานขนาดใหญ่จะมีบุคคลที่ปฏิบัติงานในท่าอากาศยานนับหมื่นคนต่อวัน บุคคลที่เกี่ยวข้องกับ
ท่าอากาศยาน แบ่งได้เป็น
๑. พนักงานของท่าอากาศยาน คือ พนักงานของหน่วยงานทีบ่ ริหารท่าอากาศยาน ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ต่างๆ ในท่า
อากาศยาน หน่วยงานที่บริหารท่าอากาศยานพาณิชย์ในประเทศไทยมี ๓ หน่วยงาน คือ การท่าอากาศยานแห่ง
ประเทศไทยบริหารงานท่าอากาศยานกรุงเทพ ท่าอากาศยานเชียงใหม่ ท่าอากาศยานหาดใหญ่ และท่าอากาศ
ยานภูเก็ต กรมการบินพาณิชย์ บริหารงานท่าอากาศยานภายในประเทศ และกองทัพเรือบริหารงานท่าอากาศ
ยานอู่ตะเภา
๒. ผู้โดยสาร คือ ผู้ที่เดินทางไปกับเครื่องบิน บุคคลกลุ่มนี้เป็นลูกค้าสำคัญของท่าอากาศยานโดยทั่วไปแบ่งได้
เป็น ๒ ประเภทใหญ่ๆ ได้แก่ ผู้โดยสารขาเข้า และผู้โดยสารขาออก
๓. พนักงานของสายการบิน พนักงานส่วนนี้จะให้บริการและดูแลผู้โดยสารที่เดินทางโดยใช้สายการบินของตน
๔. เจ้าหน้าที่ส่วนราชการ เป็นเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการเครื่องบิน และกรรมวิธีสำหรับผู้โดยสาร
เช่น เจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมือง ศุลกากร เจ้าหน้าที่ด่านควบคุมต่างๆ เป็นต้น
๕. ผู้ประกอบการ คือ ผู้ประกอบธุรกิจประเภทต่างๆในท่าอากาศยาน เพื่อให้บริการผู้โดยสาร
๖. ผู้มาติดต่อรับส่งสินค้า คือ ผู้ที่ต้องการส่งสินค้าไปยังปลายทางภายในประเทศหรือต่างประเทศหรือรับสินค้า
ที่ส่งมาทางเครื่องบิน ซึ่งบุคคลเหล่านี้ต้องดำเนินกรรมวิธีด้านศุลกากรตลอดจนการรับส่งสินค้า
๗. ผู้มารับหรือมาส่งผู้โดยสาร ถึงแม้บุคคลกลุ่มนี้จะไม่ได้อยู่ประจำในท่าอากาศยานแต่ก็เป็นบุคคลสำคัญที่ท่า
อากาศยานต้องอำนวยความสะดวกและจัดบริการต่างๆให้ โดยเฉพาะในเขตพื้นที่สาธารณะ
บุคคลกลุ่มต่างๆข้างต้น ยกเว้นพนักงานของท่าอากาศยาน จัดว่าเป็นลูกค้าของทำอากาศยานทั้งสิ้น
ซึ่งทางท่าอากาศยานจะต้องจัดหาสถานที่ในการปฏิบัติงาน รวมทั้งให้การดูแลและอำนวยความสะดวกให้
เพื่อให้การดำเนินงานของท่าอากาศยานเป็นไปอย่างราบรื่นและประสบผลสำเร็จ
๑๒

องค์กรที่เกี่ยวข้องกับท่าอากาศยาน
กิจการของท่าอากาศยานเป็นกิจการเกี่ยวข้องกับความปลอดภัย และความสะดวกของผู้ใช้บริการ
การดำเนินงานจึงต้องมีมาตรฐานเป็นที่ยอมรับของนานาประเทศ ดังนั้น จึงต้องมีองค์กรที่คอยกำกับดูแล หรือ
ให้การสนับสนุนส่งเสริมกิจการของท่าอากาศยาน สำหรับประเทศไทยมีองค์กรที่ เกีย่ วข้องกับท่าอากาศยาน
ทั้งภายในและระหว่างประเทศ ประกอบด้วย
องค์กรภายในประเทศ
๑. กระทรวงคมนาคม เป็นส่วนราชการที่ดูแลค้านการขนส่งทางบก ทางน้ำ และทางอากาศ รวมทั้งกิจการ
สื่อสารโทรคมนาคมของประเทศไทย
๒. คณะกรรมการการบินพลเรือน คณะกรรมการที่คณะรัฐมนตรีแต่งตั้งขึ้นเพื่อให้คำแนะนำด้านกิจการการบิน
พลเรือนทั้งหมดแก่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ตามมาตรา ๑๕ แห่งพระราชบัญญัติการเดินอากาศ พ.ศ.
๒๕๕๗ โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมเป็นประธาน
๓. กรมการบินพาณิชย์ เป็นส่วนราชการสังกัดกระทรวงคมนาคม มีภารกิจในการส่งเสริมและพัฒนากิจการด้าน
การขนส่งทางอากาศ โดยจำแนกงานเป็น ๒ ด้าน คือ งานด้านบริการการขนส่งทางอากาศ และงานบริหารและ
ควบคุมการขนส่งทางอากาศ กรมการบินพาณิชย์บริหารงานท่าอากาศยานรวม ๒๓ แห่ง ส่วนใหญ่เป็นท่า
อากาศยานภายในประเทศ
๔. การท่าอากาศยานแห่งประเทศไทย เป็นรัฐวิสาหกิจสังกัดกระทรวงคมนาคม มีภารกิจในการประกอบและ
ส่งเสริมกิจการท่าอากาศยานรวมทัง้ การดำเนินกิจการอื่นที่เกี่ยวกับหรือต่อเนื่องกับการประกอบกิจการท่า
อากาศยาน เริ่มดำเนินกิจการเมื่อวันที่ ๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๒๒ การท่าอากาศยานแห่งประเทศไทยมีท่า
อากาศยานที่รับผิดชอบอยู่ ๔ แห่ง คือ ท่าอากาศยานกรุงเทพ ท่าอากาศยานเชียงใหม่ ท่าอากาศยานหาดใหญ่
และท่าอากาศยานภูเก็ต ซึ่งทั้งหมดเป็นท่าอากาศยานระหว่างประเทศ
๕. บริษัท วิทยุการบินแห่งประเทศไทย จำกัด เป็นรัฐวิสาหกิจ สังกัดกระทรวงคมนาคม มีภารกิจในการ
ให้บริการควบคุมจราจรทางอากาศ บริการสื่อสารการบิน บริการเครื่องช่วยการเดินอากาศ และบริการ
เกี่ยวเนื่องกับการสื่อสารการบิน
๖. บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) เป็นรัฐวิสาหกิจ สังกัดกระทรวงคมนาคมมีหน้าที่ ดำเนินกิจการด้านการ
บินพาณิชย์ในประเทศและระหว่างประเทศ ในฐานะสายการบินแห่งชาติ
องค์กรระหว่างประเทศ
๑. องค์กรการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (International Civil Aviation Organization : ICAO)
เป็นองค์การชำนัญพิเศษสาขาหนึ่งขององค์การสหประชาชาติก่อตั้งขึ้นจากข้อตกลงอนุสัญญาว่าด้วยการบินพล
เรือนระหว่างประเทศซึ่งทำขึ้นที่เมืองชิคาโก ประเทศสหรัฐอเมริกา มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่เมืองมอลทรีออล
ประเทสแคนาดา มีสมาชิกอยู่ประมาณ ๑๙๓ ประเทศ ภารกิจขององค์การการบินระหว่างประเทศ คือ
การกำหนดมาตรฐานระหว่างประเทศและข้อเสนอแนะที่ควรปฏิบัติต่อการขนส่งทางอากาศในเรื่องต่างๆ เช่น
ท่าอากาศ การควบคุม การจราจรทางอากาศ และการเดินอากาศ เป็นต้น ทั้งนี้เพื่อให้กิจการบินพลเรือน
ระหว่างประเทศมีมาตรฐานและเป็นระเบียบเดียวกันทั่วโลกซึ่งจะทำให้เกิดความปลอดภัยและมีการดำเนินงาน
๑๓

อย่างมีประสิทธิภาพโครงการเร่งพัฒนาการบินพลเรือนนี้เริม่ ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ ๒ โดยการจัดตั้ง


คณะกรรมการเดินอากาศระหว่างประเทศ (International Commission for Air Navigation : ICAN)
ก่อตั้งเมื่อวันที่ ๔ เมษายน ค.ศ. ๑๙๔๗
๒. สมาคมท่าอากาศยานระหว่างประเทศแห่งอาเซียน (Asean International Airport Association: AAA) คือ
สมาคมที่มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาความร่วมมือส่วนภูมิภาคระหว่างท่าอากาศยานระหว่างประเทศ แห่ง อา-
เซียน ในเรื่องการพัฒนาการปฏิบัติ และการบริหารท่าอากาศยาน เพื่อให้การบริหาร และการปฏิบัติงาน
ของท่าอากาศยานในกลุ่มอาเซียน มีประสิทธิภาพและมีกฎเกณฑ์ และวิธีปฏิบัติที่ เหมือนกัน สำหรับ
ประเทศไทย การท่าอากาศยานแห่งประเทศไทย ได้ร่วมเป็นสมาชิก เมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๓
๓. สภาสมาคมท่าอากาศยานระหว่างประเทศ (Airports Council International: ACI) เป็นสภาสมาคม
ซึ่งเกิดจากการรวมตัวของสภาผู้ดำเนินงาน ท่าอากาศยานระหว่างประเทศ โดยมีวัตถุประสงค์คือสร้างแรง
สนับสนุนให้เกิดความร่วมมือกันทั้งภาครัฐบาลและเอกชน ในอุตสาหกรรมการขนส่งทางอากาศ เพื่อให้เกิด
ประสิทธิภาพ ความปลอดภัยและความสอดคล้องกับสภาวะแวดล้อม
๔. สมาคมผู้ประกอบการขนส่งทางอากาศระหว่างประเทศ (International Air Transport Association: IATA)
คือ สมาคมของสายการบินต่างๆทีร่ วมตัวกัน เพื่อส่งเสริมให้เกิดความสะดวกและความปลอดภัย ในการบิน
รวมทั้งเพือ่ ให้เกิดความร่วมมือกัน ทั้งทางตรง และทางอ้อม ทางด้านการขนส่งทางอากาศของสมาชิก

สรุป
จากการศึกษาเรื่องท่าอากาศยานนั่นพบว่าท่าอากาศยาน คือ สถานที่สำหรับจอดอากาศยาน เพื่อ
ขนส่งผู้โดยสาร ขนส่งสินค้า ซ่อมแซม บำรุงรักษา และแวะพัก โดยท่าอากาศยาน แบ่งเป็น ๒ ประเภทหลัก คือ
ท่าอากาศยานระหว่างประเทศและท่าอากาศยานภายในประเทศ นอกจากนี้ยังมีท่าอากาศยานที่ใช้ใน กิจการ
ทหารอีกด้วยและเนื่องจาก ประเทศไทยมีสภาพที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ที่เหมาะสม ในการเป็นชุมทางการบิน
ประกอบกับมีสถานที่ท่องเที่ยว ที่สวยงาม เป็นที่นิยมของคนทั่วโลก นอกจากนี้ยังเป็นประเทศ ที่มีนโยบาย
เศรษฐกิจเสรี ทำให้มีผู้มาลงทุนทำกิจการต่างๆ หลายด้าน ท่าอากาศยาน จึงเป็นสถานที่ ที่มีบทบาทสำคัญ
เพราะท่าอากาศยานจะทำหน้าที่เสมือนเป็นสะพานเชื่อมระหว่างประเทศ เพือ่ การแลกเปลี่ยนทางเศรษฐกิจ
วัฒนธรรมและเทคโนโลยี ดังนั้น ในปัจจุบันจึงมีท่าอากาศยาน ซึ่งใช้สนับสนุนกิจการพาณิ ชย์อยู่ทุกภาค ของ
ประเทศไทย ซึ่งท่าอากาศยานแต่ละแห่ง จะมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อเศรษฐกิจในภูมิภาค หรือในจังหวัด ที่ท่า
อากาศยานนั้นๆ ตั้งอยู่
๑๔

บรรณนานุกรม

วิกิพีเดีย. (๒๕๖๖). ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ. [ออนไลน์]. จากเว็บไซต์: https://th.m.wikipedia.org/wiki/


ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ. [สืบค้นเมื่อวันที่ ๑๐ กันยายน ๒๕๖๖].

ยุทธศักดิ์ คณาสวัสดิ์. (๒๕๔๗). การพัฒนากิจการท่าอากาศยานไทย. [ออนไลน์]. จากเว็บไซต์:


https://www.nesdc.go.th/suvarnabhumi/news. [สืบค้นเมื่อวันที่ ๑๐ กันยายน ๒๕๖๖].

มาโนช พรพิบูลย์. (๒๕๔๐). ท่าอากาศยาน. [ออนไลน์]. จากเว็บไซต์: https://saranukromthai.or.th.


[สืบค้นเมื่อวันที่ ๑๐ กันยายน ๒๕๖๖].

มาโนช พรพิบูลย์. (๒๕๔๐). ท่าอากาศยาน. สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ เล่มที่ ๒๒. หน้าที่ ๒๕๕-๒๘๑.


กรุงเทพฯ. โครงการสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน.
๑๕

โครงเรื่องรายงานเชิงวิชาการ เรื่องท่าอากาศยาน
จากสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน เล่มที่ ๒๒

๑. บทนำ
๒. องค์ประกอบของท่าอากาศยาน
๓. วิวัฒนาการของท่าอากาศยาน
๔. ประเภทของท่าอากาศยาน
๕. บุคคลที่เกี่ยวข้องกับท่าอากาศยาน
๖. องค์กรที่เกี่ยวข้องกับท่าอากาศยาน
๗. สรุป

นายกันต์กวี จุ่นคง เลขที่ ๓


นางสาวศศิฌา ฉัตรไชยศิริ เลขที่ ๓๒
นางสาวสาธนีมานะศรีสุริยัน เลขที่ ๓๓
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๕/๘

You might also like