You are on page 1of 19

32

งานสนามครั้งที่ 3 - 4 : การวัดสอบแนวเล็งของกล้องระดับโดยวิธี 2 หมุด


และการถ่ายค่าระดับแบบครบวงจร
( Two Peg Test and Closed-circuit Differential Leveling)
4.1 วัตถุประสงค์
(1) เพื่อศึกษาและฝึกหัดการใช้กล้องระดับ
(2) เพื่อเรียนรู้วิธีการวัดสอบแนวเล็งของกล้องระดับโดยวิธี 2 หมุด
(3) เพื่อเรียนรู้วิธีการวัหาค่าระดับบนหัวหมุดโดยการถ่ายค่าระดับจากหัวหมุดซึ่งทราบค่าระดับแล้วโดยใช้กล้อง
ระดับพร้อมด้วยวิธีหาค่าระดับแบบครบวงจร

4.2 หลักการ
การระดับเป็นวิธีการหาค่าระดับผ่านการถ่ายค่าระดับจากจุดที่ทราบค่าไปยังจุดที่ต้องการทราบค่า โดย
หมายรวมถึงการหาผลต่างระดับระหว่างจุดใด ๆ ที่อยู่บนพื้นผิวโลก เหนือพื้นผิวโลก หรือใต้ พื้นผิวโลก ทั้งนี้
หลักการสาคัญของการระดับคือ การรังวัดระยะดิ่งระหว่างเส้นระดับ ณ จุดใด ๆ กับระดับอ้างอิง ซึ่งระดับ
อ้างอิงใช้ระดับทะเลปานกลาง (ร.ท.ก. หรือ Mean Sea Level [msl.])* หรือระดับอ้างอิงสมมติ (ร.ส.ม. ที่เป็น
การอ้างอิงกับพื้นหลักฐานการระดับที่สมมุติขึ้นมา [Assumed Datum]) ทุกจุดบนเส้นระดับแต่ละเส้นจะมีแรง
ดึงดูดของโลกเท่า ๆ กัน หรือมีความดันบรรยายกาศของโลกเท่า ๆ กัน การระดับใช้ประโยชน์ในการออกแบบ
ถนน ทางรถไฟ คลอง ท่อระบายน้าเสีย การประปา รวมทั้งใช้ในการกาหนดค่าระดับการก่อสร้างเพื่อให้มีค่า
ระดั บ เป็ น ไปตามแบบแปลนที่ อ อกแบบไว้ ใช้ ในการค านวณหาปริม าตรงานดิน หรือ วัส ดุ อื่ น ๆ ใช้ ในการ
ตรวจสอบการระบายน้าในพื้นที่ต่าง ๆ ใช้ในการทาแผนที่ รวมทั้งการศึกษาการเปลี่ยนแปลงของแผ่นเปลือก
โลก เป็นต้น
การหาค่าระดั บ ให้ กับ จุ ดใด ๆ หรื อผลต่างระดั บ ระหว่างหมุด ใด ๆ นั้น ในทางวิศวกรรมสามารถ
ดาเนินการผ่านการใช้เครื่องมือที่หลากหลาย เช่น การใช้แถบวัดระยะวัดตามแนวดิ่ง การใช้กล้องระดับ การใช้
กล้ อ งวัด มุม ท างานระดั บ ตรี โกณมิติ การใช้ บ ารอมิ เตอร์ การใช้ ค่าระดับ ที่ ได้ จากกระบวนการส ารวจด้ ว ย
ภาพถ่าย และการใช้ระบบดาวเทียมนาหนพิภพ (Global Navigation Satellite System: GNSS โดยวิธีการนี้
จะเรียกกันติดปากในวงการวิศวกรรมว่า การสารวจด้วยระบบดาวเทียม GPS) เป็นต้น
สาหรับวิธีการใช้กล้องระดับ ได้มีการใช้กล้องระดับหลายชนิดเช่น
(1) กล้องระดับดัมปี (Dumpy Level)
(2) กล้องระดับทิลติ้ง (Tilting Level) ซึ่งจะนิยมเรียกกันว่า กล้องระดับเขาควาย
(3) กล้องระดับอัตโนมัติ (Automatic Level)
* ระดับทะเลปานกลาง* (ร.ท.ก.) เป็นค่าการเฉลี่ยของการวัดระดับน้ำทะเลขึ้นสูงสุด (High Tide: HT) และลงต่ำสุด (Low Tide: LT) ของแต่ละวันในช่วงระยะเวลาที่
กำหนด แล้วนำค่ามาเฉลี่ยเป็นระดับทะเลปานกลาง สำหรับระยะเวลาที่ทำการรังวัดโดยทั่วไปจะต้องวัดเป็นเวลา 18.6 ปี ตามวัฏจักรของน้ำ ระดับน้ำทะเลปานกลางของ
แต่ละบริเวณทั่วโลกอาจจะมีความสูงไม่เท่ากัน ในประเทศไทยใช้เวลาในการวัด 5 ปี (ระหว่าง พ.ศ. 2453 – 2458 ตรงกับสมัยรัชกาลที่ 6) โดยใช้สถานีวัดระดับน้ำซึ่ง
สร้างขึ้นที่ถนนเกาะหลัก ตำบลเกาะหลัก อำเภอเมือง จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เป็นที่วัดค่าสังเกตของระดับทะเลที่ขึ้นสูงสุดและลงต่ำสุด แล้วนำมาหาค่าเฉลี่ยเพื่อใช้เป็นค่า
ระดับทะเลปานกลาง ซึ่งกำหนดให้มีค่า 0.000 เมตร
33

(4) กล้ องระดับ อัตโนมัติเชิงตัวเลข (Digital Level) หรืออาจจะเรียกว่า กล้ องระดับอิเล็กทรอนิกส์


(Electronics Level)
(5) กล้องระดับมือถือ (Hand Level)
กล้องระดับประเภทต่าง ๆ ที่กล่าวมานี้ ในปัจจุบันนี้ กล้องระดับที่นิยมใช้กันจะเป็นกล้องระดับอัตโนมัติและ
กล้องระดับอิเล็กทรอนิกส์ ทั้งนี้เพราะเป็นอุปกรณ์ที่ออกแบบให้สามารถดาเนินการถ่ายค่าระดับได้อย่างรวดเร็ว
ทั้งนี้เพราะความง่ายในการใช้เครื่องมือในการรังวัดภาคสนาม

4.3 เครื่องมือ
(1) กล้องระดับอัตโนมัติ (Automatic Level) 1 ชุด
(2) สามขาแบบไม้ (Wooden Fixed Leg Tripod) 1 ชุด
(3) ไม้ระดับ (Leveling Staff) 1 คู่
(4) ฐานรองไม้ระดับ (Foot Plate) 1 คู่
(5) หมุดไม้ (Peg) 4-5 อัน
(6) แถบวัดระยะ (Tape) 1 อัน
(7) เข็มคะแนน (Pin) พร้อมห่วงคล้อง 1 ชุด 11 อัน
(8) ค้อน (Hammer) 1 อัน
(9) เครื่องคิดเลข (Calculator) 1 เครื่อง

4.4 วิธีการ
4.4.1 การวัดสอบค่าคลาดเคลื่อนแนวเล็งกล้องโดยวิธี 2 หมุด
(Calibration of Collimation Error Using Two Peg Test)
สิ่งสาคัญที่วิศวกรทุกคนต้องระลึกเสมอก่อนที่นากล้องระดับใด ๆ ไปใช้งาน ต้องมีการตรวจสอบสภาวะ
ของกล้องระดับว่ามีสภาพสมบูรณ์พร้อมที่จะนาไปใช้งานได้หรือไม่ ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับสิ่งต่อไปนี้
(1) การตรวจสอบแกนหลอดระดับตั้งฉากกับแกนดิ่งหรือไม่ หรือตรวจสอบว่าลูกน้าฟองกลมอยู่ ตรง
กลางหรือไม่
(2) การตรวจสอบว่าสายใยราบอยู่ในระนาบที่ตั้งฉากกับเส้นดิ่งหรือไม่
(3) การตรวจสอบแนวเล็ งกล้ อ งว่าขนานกั บ แกนหลอดระดั บ หรือ อยู่ในแนวเส้ น ราบหรือ ไม่ ซึ่ ง
ตรวจสอบโดยวิธี 2 หมุด
การตรวจสอบกล้องโดยวิธี 2 หมุดดังกล่าวมีวิธีการอยู่หลายวิธีในที่นี้จะกล่าว 2 วิธีที่นิยมใช้ทั่วไป ซึ่ง
ได้แก่ (1) วิธี A X B X และ (2) วิธี A X X B
EN112401: SURVEYING LABORATORY
โดย ผศ.ประกอบ มณีเนตร และ รศ.ดร.ชาติชาย ไวยสุระสิงห์
34

โดยแต่ละวิธีการนั้นมีรายละเอียดซึ่งจะได้กล่าวต่อไปนี้
วิธีที่ 1 วิธี A X B X
(การตั้งกล้อง ณ ตาแหน่งจุดกึ่งกลางระหว่างหมุดทั้งสองและการตั้งกล้องใกล้อีก 1 หมุด)
มีหลักการดังแสดงในรูปที่ 4.1 ซึ่งมีขั้นตอนการปฏิบัติดังนี้
(1) ในการตั้งกล้องให้ได้ระดับจะต้องปรับลูกน้าฟองกลมให้อยู่ตรงกลาง ดัง แสดงในรูปที่ 4.2 โดยการ
หมุนสกรูปรับระดับฐานกล้อง (Foot Screw) (1) และ (2) ที่ฐานกล้องให้หมุนในทิศทางตรงกันข้าม ลูกน้าจะ
เคลื่อนที่ตามทิศทางที่แสดง หลังจากนั้นให้หมุน Foot Screw (3) ลูกน้าจะเคลื่อนที่ตามทิศทางที่แสดงมาอยู่
ตรงกลางพอดี หลั งจากนั้ นให้ ตรวจสอบโดยการหมุนกล้ องรอบแกนดิ่งไปในทิศทางต่าง ๆ แล้ วปรับ Foot
Screw หมายเลข (1) และ (2) ดังรูปที่ 4.2 (ก) แล้วจึงปรับ Foot Screw หมายเลข (3) ดังรูปที่ 4.2 (ข) อีก
ครั้งลูกน้าฟองกลมจะมาอยู่ตรงกลางพอดี กล้องที่สมบูรณ์ลูกน้าจะอยู่ตรงกลาง ส่วนกล้องที่ไม่สมบูรณ์ลูกน้าจะ
ไม่อยู่ตรงกลาง ซึ่งจะต้องมีการปรับแก้ลูกน้าฟองกลมโดยการปรับสกรู Foot Screw ทั้ง 3 อัน ที่อยู่ใต้หลอด
ระดับฟองกลม (วิศวกรแบบไทย ๆ นิยมเรียกว่า ฟองกลมอยูใ่ นตาไก่ ขณะที่ฝรั่งจะเรียกว่า Bull’s Eye)

รูปที่ 4.1 วิธีการวัดสอบกล้องระดับแบบ A X B X โดย


(ก) ตั้งกล้องที่จุดกึ่งกลางระหว่าง 2 หมุด และ (ข) ตั้งกล้องใกล้อีก 1 หมุด ซึ่งก็จะไกลอีก 1 หมุดไปด้วยในตัว
EN112401: SURVEYING LABORATORY
โดย ผศ.ประกอบ มณีเนตร และ รศ.ดร.ชาติชาย ไวยสุระสิงห์
35

Foot Screw Foot Screw

รูปที่ 4.2 แสดงวิธีการปรับลูกน้าฟองกลมโดยใช้ Foot Screw

(2) ตอกหมุด A และ B ให้ห่างกันประมาณ 50 ถึง 90 เมตร


(3) ตั้งกล้องบนสามขาที่จุด C ซึ่งอยู่กึ่งกลางระหว่างหมุด A และ B ดังรูปที่ 4.2 (ก)
(4) เมื่อตั้งกล้องอยู่ที่ จุด C ให้อ่านค่าไม้ระดับที่หมุด A (คือ a1) และหมุด B (คือ b1) ก่อนอ่านค่า ไม้
ระดับ ทุกครั้งจะต้องขจัดระยะเหลื่อมก่อนเสมอ ให้รังวัดระยะทาง CA เท่ากับ d1 รังวัดระยะทาง CB เท่ากับ
d2 ดังแสดงในรูปที่ 4.1 (ก) สมมติว่าแนวเล็งกล้องเงยขึ้นเป็นมุม e

ดังนั้นผลต่างระดับระหว่างหมุด A และ B
∆ℎ𝐴𝐵 = (a1 – d1e) – (b1 – d2e)
= (a1 – b1) – (d1 – d2)e (4.1)
เนื่องจาก d1 = d2
∴ ∆ℎ𝐴𝐵 = a1 – b1 (4.2)

(5) ย้ายกล้องมาตั้งที่จุด D ให้ห่างจากจุด B ประมาณ 1.8 ม. หรือมากกว่า (ทั้งนี้เพื่อให้ระยะตั้งกล้อง


ไกลจากไม้ระดับมากพอที่จะทาให้ สามารถอ่านค่าไม้ระดับที่ B ได้ ตามระยะอ่านใกล้จุดของกล้อง ซึ่งมีระยะ
แตกต่างกันแล้วแต่ชนิดของกล้อง) รังวัดระยะ DB เท่ากับ d3 และ อ่านค่าไม้ระดับที่หมุด A (คือ a2) และหมุด
B (คือ b2) ดังแสดงในรูปที่ 4.1 (ข) ในทางปฏิบัติอีกวิธีหนึ่ง ให้ตั้งกล้อง ใกล้ห มุด B โดยให้ Eyepiece ของ
กล้องระดับห่างจากผิวไม้ระดับที่ตั้งบนหมุด B ประมาณ 1 - 1.5 ซม. หรือน้อยกว่าและส่องกลับจากหน้ากล้อง
(Objective lens) มาทาง Eyepiece ที่อยู่ใกล้ผิวไม้ระดับ (ประมาณ 1 - 1.5 ซม. หรือ น้อยกว่า) (ก่อนส่อง
อย่าลืมปรับ ลูกน้ าตัว U ของกล้อง Tilting หรือกดปุ่มอัตโนมัติของกล้อง Automatic) จะมองไม่เห็นสายใย
กล้อง แต่จะเห็นวงกลมเล็ก ◌ ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 2 - 4 มม. ให้ใช้ปลายดินสอเลื่อนขึ้นลงที่ผิว ไม้
ระดับ จนกระทั่งปลายดินสออยู่ตรงจุดศูนย์กลางวงกลม ให้อ่านค่าไม้ระดับ (คือ b2) หลังจากนั้นให้หมุนกล้อง

EN112401: SURVEYING LABORATORY


โดย ผศ.ประกอบ มณีเนตร และ รศ.ดร.ชาติชาย ไวยสุระสิงห์
36

ส่องไปยังไม้ระดับที่ตั้งบนหมุด A แล้วอ่านค่าไม้ระดับ (คือ a2) การปฏิบัติวิธีนี้จะเห็นได้ว่า ระยะ d3 ดังแสดงใน


รูปที่ 4.1 (ข) เท่ากับศูนย์ (หรือใกล้เคียงศูนย์)

ดังนั้น ∆ℎ𝐴𝐵 = [a2 - (d1 + d2 + d3) e] – (b2 – d3e)


= (a2 – b2) – (d1 + d2) e (4.3)

จากสมการ (4.2) = (4.3)


a1 – b1 = (a2 – b2) – (d1 + d2) e
(a2 −b2 ) −(a1 − b1 )
e = (4.4)
(d1 + d2 )

ค่าคลาดเคลื่อนแนวเล็ง e ในสมการที่ (4.4) โดยทั่วไปไม่ควรเกินกว่า 0.00005 เรเดียน ** หรือ 10” นั่นคือ e


ควรมีค่า ± 0.5 มม. ต่อระยะทาง 10 ม. (±0.00005 m/m) โดยเครื่องหมาย + (บวก) หมายถึง แนวเล็งที่
เหินขึ้น และ – (ลบ) หมายถึง แนวเล็งกดลง ทั้งนี้ หลังจากได้ค่าคลาดเคลื่อนแนวเล็ง e จะทาให้ได้ค่าแก้แนว
เล็ง (Collimation Correction [ค่า C factor]) มาพร้อมกัน โดยหากค่าคลาดเคลื่อนแนวเล็งเป็น + จะได้ค่า C
factor เป็น - และในทางกลับกัน หากค่าคลาดเคลื่อนแนวเล็งเป็น – จะได้ค่า C factor เป็น +
(6) ถ้าค่าคลาดเคลื่ อนแนวเล็ ง e เกินเกณฑ์กาหนดดังกล่ าวในขั้น ตอนที่ (5) เมื่อตั้งกล้ องที่ D ให้
ปรับแก้แนวเล็งกล้องให้อ่านค่า ไม้ระดับที่ A ได้เท่ากับ a2 – (d1 + d2 + d3) e สาหรับกล้องแต่ละประเภท
ดังนี้
6.1 สาหรับกล้องระดับแบบ Tilting (กล้องระดับเขาควาย) ค่าคลาดเคลื่อนแนวเล็งนี้จะบอกถึง
แนวเล็งไม่อยู่ในแนวราบ ดังนั้น การแก้ไขเครื่องมือจึง ให้ดาเนินการปรับแนวเล็งโดยควงสกรู
กระดก (Tilting screw) ให้ กล้องเงยขึ้นหรือก้มลงไปเรื่อย ๆ จนกระทั่งอ่านค่า ไม้ระดับที่ A
เท่ากับ a1 - (d1 + d2 + d3) e แล้วใช้ Capstan screw ปรับให้ลูกน้ามาอยู่ตรงกลางหลอด
ระดับ (นั่นคือปรับให้ลูกน้าเป็นตัว U โดย Capstan screw)
6.2 สาหรับกล้อง Automatic จะบอกถึงสายใยราบไม่อยู่ในแนวราบ ดังนั้น วิธีการแก้ไขเครื่องมือ
คือ ให้ปรับสายใยราบจนกระทั่งค่าอ่านไม้ระดับที่ A เท่ากับ a2 - (d1 + d2 + d3) e
6.3 สาหรับกล้องอิเล็กทรอนิกส์ให้ปรับสายใยราบ เช่น เดียวกับกล้อง Automatic ซึ่งสามารถปรับ
ได้โดยวิธี Manual เช่นเดียวกับกล้อง Automatic
** ถึงแม้ว่าเรเดียนจะเป็นหน่วยในการวัดอันหนึ่งแต่สิ่งใดก็ตามที่วัดเป็นเรเดียนจะไร้มิติ โดยความไร้มิติสามารถเห็นได้จาก อัตราส่วนระหว่างความยาว
ของส่วนโค้งกับความยาวรัศมี (ในที่นี้คือ หน่วย m/m) ที่ทามุมกันแล้วใส่หน่วยเป็นเรเดียน ซึ่งผลหารของอัตราส่วนดังกล่าวนั้นไร้มิติ (ไม่มีหน่วย)

EN112401: SURVEYING LABORATORY


โดย ผศ.ประกอบ มณีเนตร และ รศ.ดร.ชาติชาย ไวยสุระสิงห์
37

วิธีที่ 2 วิธี A X X B (ตั้งกล้องที่จุดใกล้กับหมุดทั้งสองครั้ง)


มีหลักการดังแสดงในรูปที่ 4.3 ซึ่งมีขั้นตอนการปฏิบัติดังนี้

รูปที่ 4.3 วิธีการวัดสอบกล้องระดับแบบ A X X B โดยที่ (ก) ตัง้ ใกล้จุด A และ (ข) ตัง้ ใกล้จุด B

จากรูปที่ 4.3 (ก) หาค่าผลต่างระดับระดับระหว่างจุด A และ B ได้ดังนี้


∆hAB = (a1 – ed1) – (b1 - e (d1 + D))
= (a1 – b1) – e1d1 + e1d1 + eD
∆hAB = (a1 – b1) + eD (4.5)
จากรูปที่ 4.3 (ข) หาค่าผลต่างระดับระหว่างจุด A และ B ได้ดังนี้
∆hAB = a2 – e (d2 + D) – (b2 - ed2)
= (a2 – b2) – ed2 – eD + ed2
∆hAB = (a2 – b2) – eD (4.6)
(4.5) + (4.6) จะได้ว่า 2∆hAB = (a2 – b2) + (a1 – b1)
(a2 − b2 ) + (a1 −b1 )
∆hAB = 2
(4.7)
EN112401: SURVEYING LABORATORY
โดย ผศ.ประกอบ มณีเนตร และ รศ.ดร.ชาติชาย ไวยสุระสิงห์
38

สมการ (4.5) = (4.6) (a1 – b1) + eD = (a2 – b2) – eD


(a2 − b2 ) + (a1 −b1 )
e = 2D
(4.8)

4.4.2 การหาค่าระดับแบบครบวงจร (Closed-circuit Leveling)


การหาค่าระดับแบบครบวงจร เป็นวิธีการถ่ายค่าระดับลงบนหัวหมุดต่าง ๆ จากหมุดที่รู้ค่าระดับแล้วเพื่อใช้
สร้างหรือขยายจานวนหมุดควบคุมทางดิ่งให้เพิ่มขึ้น ทั้งนี้เพื่อใช้สาหรับหาค่าระดับดินในงานทาแผนที่ หรือคิด
ปริมาตรงานดิน หรือสาหรับใช้ในงานการก่อสร้าง เป็นต้น โดยมีขั้นตอนการปฏิบัติงาน ดังนี้
(1) เดินสารวจให้ทั่วบริเวณที่จะทาหมุดควบคุมเพิ่มขึ้นจากหมุดที่ทราบค่าระดับ (Bench Mark, BM) ซึ่ง
ที่นี้จะกาหนดให้เป็น BM1 แล้ว เพื่อหาตาแหน่งหมุดที่เหมาะสม ซึ่งควรจะเป็นตาแหน่งที่เข้าออกได้ง่าย เมื่อตั้ง
กล้องแล้วสามารถที่ส่องหลัง (Backsight, BS) และส่องหน้า (Foresight, FS) เพื่อรังวัดได้ง่าย ตาแหน่งดังกล่าว
จะต้องไม่ถูกทาลายได้ง่ายจากการเดินของคน สัตว์ และยานพาหนะ
(2) ตอกหมุดที่จะทาการถ่ายค่าระดับ ณ ตาแหน่งที่เหมาะสมตามจานวนที่ต้องการโดยจะตั้งชื่อเป็น BM2
หรือ TBM (Temporary Bench Mark)
(3) นาไม้ระดับไปตั้งเหนือหมุด BM1 (Bench Mark no. 1) ซึ่งเป็นหมุดระดับที่รู้ค่าระดับ แล้วกาหนดให้
เป็นตาแหน่งที่ตั้งไม้หลัง (Backsight, BS) ทั้งนี้ควรตั้งกล้องระดับให้ห่างจากหมุด BM1 เป็นระยะทางประมาณ
50 – 90 เมตร เป็นระยะส่องหลัง (Backsight Distance) แล้วสร้างหมุดชั่วคราวสาหรับเป็นจุดถ่ายระดับที่ 1
(TP1) ขึ้นจากฐานรองไม้ระดับ (Foot Plate) โดยวางลงบนพื้นดินและใช้เท้าเหยียบให้แน่น มั่นคง ซึ่งจะต้องไม่
ขยับเขยื่น ณ ขณะที่กาลัง ใช้งาน ทั้งนี้จุด TP1 ควรเลือกตาแหน่งที่ตั้งให้ ห่างจากจุดตั้งกล้องเท่ากันเป็นระยะ
ส่องหน้า (Foresight Distance) ระยะส่องหน้าและระยะส่องหลังควรจะเท่ากันหรือใกล้เคียงกัน ค่าระยะส่อง
หลังและระยะส่องหน้านี้สามารถที่จะคานวณขึ้นจากวิธี Stadia (สายใยบน-สายใยล่าง) x 100 หรืออาจจะได้
จากการวัดเทปโดยตรง ซึ่งผู้ปฏิบัติงานสามารถเลือกใช้วิธีใดวิธีหนึ่ง จากนั้นให้บันทึกไว้ในตารางบันทึกข้อมูล
(4) อ่านค่าไม้ระดับที่ไม้หลัง (Backsight) โดยควรที่จะใช้วิธีอ่านแบบ 3 สายใย (อ่านสายใยบน กลาง และ
ล่าง) ทั้งนี้เพื่อที่จะรังวัดระยะส่งหลังและส่องหน้าไปด้วยในตัว อีกทั้งยังเป็นการลดความผิดพลาดในการอ่านผิด
สายใย ยิ่งไปกว่านั้น การอ่านแบบ 3 สายใยยังต้องมีการตรวจสอบคุณภาพของการอ่าน โดยนาพิจารณาค่าต่าง
ระหว่าง (สายใยบน-สายใยกลาง) และ (สายใยกลาง-สายใยล่าง) ซึ่งต้องไม่เกิน 2 มิลลิเมตร แล้วจึงบันทึกไว้ใน
ตารางบันทึกข้อมูล อนึ่ง ในการอ่านค่าไม้ระดับหากมีการขจัดภาพเหลื่อม (Parallax) ก่อนอ่านค่าไม้ทุกครั้งจะ
ช่ ว ยให้ คุ ณ ภาพของการอ่ า นอยู่ ใ นเกณ ฑ์ ข้ า งต้ น ได้ ง่ า ย นอกจากนี้ ต้ อ งกดปุ่ ม ตั ว ชดเชยแนวเล็ ง
(Compensator) สาหรับกล้องระดับแบบอัตโนมัติ (Automatic Level) หรือแบบอิเล็กทรอนิกส์ (Electronics
Level) ทุกครั้งก่อนอ่านค่า และในกรณีของกล้องระดับแบบ Tilting ต้องปรับลูกน้ารูปตัวตัว U หรือที่นิยม
เรียกว่า หลอดระดับเขาควาย (สาหรับ Tilting Level) ทุกครั้งก่อนการอ่านค่าไม้ระดับด้วย
EN112401: SURVEYING LABORATORY
โดย ผศ.ประกอบ มณีเนตร และ รศ.ดร.ชาติชาย ไวยสุระสิงห์
39

(5) นาไม้ระดับไปตั้งหัวหมุดซึ่งเป็นจุด ถ่ายระดับที่ 1 (Tuning Point 1, TP1) ไม้ระดับดังกล่าวเรียกว่าไม้


หน้า (Foresight, FS) ให้อ่านค่าไม้ระดับที่ไม้หน้า (Foresight Staff Reading) แล้วบันทึกไว้ในตาราง อย่าลืม
ขจัดระยะเหลื่อมก่อนอ่านค่าไม้ระดับทุกครั้งด้วย
(6) สร้างหมุดชั่วคราวขึ้นจาก Foot Plate สาหรับเป็นจุดถ่ายระดับที่ 2 (TP2) แล้วย้ายกล้องมาตั้ง ณ จุด
กึ่งกลางระหว่างจุด TP1 และ TP2 รังวัดระยะทางระหว่างจุดตั้งกล้องไปยังจุด ถ่ายระดับ แล้วอ่านค่าไม้ระดับ
ส่องหลังและค่าไม่ระดับส่องหน้ามายังจุด ถ่ายระดับ ที่ 1 (TP1) และจุดถ่ายระดับ ที่ 2 (TP2) ตามลาดับ อนึ่ง
ผู้ปฏิบัติงานอาจจะต้องหมุดไม้สาหรับใช้เป็นหมุดถาวรที่ต้องการเตรียมไว้ถ่ายไปยังส่วนอื่น ๆ ก็ย่อมได้ แต่ควร
จะตั้งชื่อให้สื่อถึงความหมายที่มั่นคงเช่น BM2 หรือ TBM1 (Temporary Bench Mark) เป็นต้น สาเหตุหมุดใน
ลักษณะนี้ไม่ควรตั้งชื่อเป็น TP เพราะชื่อ TP จะสื่อถือความเป็นหมุดชั่วคราวที่ไม่มีความมั่นคงถาวร
(7) กระทาการเช่นเดียวกับขั้นตอนที่ (6) จนกระทั่ง วนครบรอบกลับ ส่องหน้ามา ณ หมุด BM1 ซึ่งเป็น
หมุดที่ทราบค่าระดับ โดยแบบนี้จะเรียกว่า Closed-circuit Leveling หรือในปัจจุบันนิยมเรียกว่า Double
Run Leveling ที่ ม าการถ่ า ยระดั บ ขาไป (Forward Run) และขากลั บ (Backward Run) หรื อ อาจจะไป
บรรจบกับหมุด BM อื่น ๆ ที่เป็นหมุดทีค่ ่าระดับแล้วก็ย่อมได้ ซึ่งแบบหลังนี้จะเรียกว่า Single Run Leveling
(8) หาผลรวมของค่าอ่านไม้ระดับส่องหลัง (∑BS) และผลรวมของค่าอ่านไม้ระดับส่องหน้า ( ∑FS) ผลต่าง
ของผลรวมดังกล่าวคือค่าผลต่างระดับรังวัด
(9) คานวณหาค่าคลาดเคลื่อนบรรจบ เท่ากับผลต่างของค่าผลต่างระดับรังวัด และค่าผลต่างระดับของหมุด
ที่ทราบค่าระดับ ค่าคลาดเคลื่อนบรรจบดังกล่าวจะต้องไม่เกินจากเกณฑ์กาหนด โดยค่าคลาดเคลื่อนบรรจบที่
ยอมให้ขึ้นได้นั้นจะขึ้นอยู่กับเกณฑ์งานในแต่ละชั้นของงานโดยจะแปรผันตรงกับรากที่สองของระยะทางของ
วงจร หน่วยเป็นกิโลเมตร ดังนี้
(9.1) เกณฑ์ความละเอียดงานชั้นที่ 1 อยู่ใน ±4mm√K
(9.2) เกณฑ์ความละเอียดงานชั้นที่ 2 อยู่ใน ±8mm√K
(9.3) เกณฑ์ความละเอียดงานชั้นที่ 3 อยู่ใน ±12mm√K
(9.4) เกณฑ์ความละเอียดงานชั้นที่ 4 อยู่ใน ±25mm√K
ค่า K คือผลรวมระยะทางของระยะส่องหน้า และระยะส่องหลังหน่วยเป็นกิโลเมตร อนึ่งงานรังวัดจะอยู่
เกณฑ์งานชั้นใด ขึ้นอยู่กับชนิดและความละเอียดของเครื่องมือ และวิธีการรังวัดด้วย
(10) ถ้าหากค่าคลาดเคลื่อนอยู่ในเกณฑ์กาหนด ให้คานวณหาค่าระดับปรับแก้ตามสัดส่วนระยะทาง ถ้า
หากค่าคลาดเคลื่อนไม่อยู่ในเกณฑ์กาหนด ให้ ดาเนินการรังวัดใหม่ โดยเหตุนี้เองการตรวจสอบเกณฑ์งานว่า
ผ่าน หรือ ไม่ผ่านเกณฑ์งานนั้น ควรจะดาเนินการพิจารณาภายหลังจากที่งานสารวจนั้น ๆ แล้วเสร็จในทันที
ทั้งนี้เพื่อที่จะทาให้ทราบว่า ต้องดาเนินการรังวัดงานนั้น ๆ ใหม่หรือไม่ และถ้าหากดาเนินการตรวจสอบใน
สนามทันที บ่อยครั้งเลยที่จะทาให้สามารถตรวจพบสาเหตุของความผิดพลาด วิธีการแก้ไขที่เหมาะสม
EN112401: SURVEYING LABORATORY
โดย ผศ.ประกอบ มณีเนตร และ รศ.ดร.ชาติชาย ไวยสุระสิงห์
40

4.4.2.1 การอ่านไม้ระดับ 3 สายใย


ในกล้องระดับทั่วไปนั้น เลนส์ใกล้ตา (Eye Piece) จะมีขีดที่เรียงจากบนลงล่าง ดังรูปที่ 4.4 ซึ่งมีทั้งสิ้น
3 ขีด ประกอบด้วย สายใยบน สายใจกลาง และสายใยล่าง ทั้งนี้การอ่านค่าไม้ระดับด้วยกล้องระดับแบบสายใย
คือ โดยสายใยกลางนี้ จะอยู่ในแนวเดียวกับแนวเล็ ง และช่วงห่ างระหว่างสายใยกลางและสายใยล่ างนี้ จะ
เรียกว่า ช่วงสเตเดีย (Stadia Interval, S) ดังรูปที่ 4.5 ซึ่งสามารถใช้ในการคานวณหาระยะทางราบระหว่างจุด
ตั้งกล้องและไม้ระดับ (D) โดยใช้สมการ (4.9)
D = KS + C (4.9)
โดยปกติแล้วแต่ละบริษัทจะผลิตกล้องให้มีค่า K = 100 และ C = 0 ซึ่งจะได้เป็นสูตรดังสมการ (4.10) ดังนี้
D = 100S (4.10)

รูปที่ 4.4 สายใยที่มีอยู่ในเลนส์ใกล้ตา

ในการอ่านไม้ระดับทั้งสามสายใยด้วยกล้องระดับสาหรับงานระดับแบบธรรมดา (งานระดับชั้น 3 หรือ


ต่ากว่า) นั้น จะอ่านละเอียดถึงระดับมิลลิเมตร ซึ่งตัวเลขหลักสุดท้ายนี้จะได้จากการประมาณค่า และค่าไม้
ระดับที่ได้จากทั้งสายใยบน สายใยกลาง และสายใยล่างจะถูกนามาเฉลี่ยเป็นค่า ของสายใยกลาง อนึ่งในการ
ตรวจสอบว่า ค่าสายใยบน กลาง และล่างที่อ่านมานั้นอยู่ในเกณฑ์งานหรือไม่นั้นตรวจสอบจากผลต่างระหว่าง
(ค่าสายใยบน-ค่าสายใยกลาง) และ (ค่าสายใยกลาง – สายใยล่าง) ดังรูปที่ 4.6 ซึ่งหากผลต่างดังกล่าวไม่เกิน
กว่า 2 มิลลิเมตร จะถือว่า ยอมรับได้ และหากเกินกว่า 2 มิลลิเมตร ต้องทาการอ่านค่าสายใยบน สายใยกลาง
และสายใยล่างใหม่จนกว่าจะได้ผลต่างดังกล่าวทีจ่ ะต้องไม่เกิน 2 มิลลิเมตร

รูปที่ 4.5 การหาระยะราบด้วยกล้องระดับด้วยวิธีสเตเดีย (Stadia)


EN112401: SURVEYING LABORATORY
โดย ผศ.ประกอบ มณีเนตร และ รศ.ดร.ชาติชาย ไวยสุระสิงห์
41

รูปที่ 4.6 การอ่านไม้ระดับสามสายใยและการพิจารณาผลต่างของ


(ค่าสายใยบน-ค่าสายใยกลาง) และ (ค่าสายใยกลาง – สายใยล่าง) ต้องไม่เกิน 2 มิลลิเมตร

4.4.2.2 การขจัด Parallax ก่อนอ่านไม้ระดับทุกครั้ง


(1) ต้องปรับภาพสายใยให้ชัดเจนโดยหมุนเลนส์ใกล้ตาก่อน ซึ่งอาจจะใช้กระดาษขาวบังเลนส์วัตถุไว้
ก่อนทั้งนี้ เพื่อให้เกิดความชัดในส่ วนของภาพสายใย ทั้งนี้ เพราะการปรับสายใยต้องการให้เกิด
ความคมชัดของภาพ ดังนั้น การปิดเลนส์วัตถุด้วยกระดาษขาวจะช่วยให้การปรับจูนสายใยทาได้
ง่ายขึ้นมาก
(2) แล้วจึงปรับภาพไม้ระดับให้ชัดโดยหมุนปุ่มปรับภาพ เพื่อขจัดการเกิดภาพเหลื่อม (Parallax)
(3) ตรวจสอบการเกิดภาพเหลื่อม โดยการมองเลื่อนสายตาขึ้นลง และสังเกตว่า ภาพและสายใยเลื่อน
ออกจากกันหรือไม่ ถ้าเลื่อนแสดงว่า ยังมีการเกิดภาพเหลื่อม ให้ปรับตาม (1) และ (2) ใหม่อีกครั้ง
(4) เมื่อการปรับสายใยคมชัดและภาพวัตถุคมชัด มองไม้ระดับส่ายสายตาขึ้นลงแล้วภาพนิ่งถือเป็นการ
สิ้นสุดขั้นตอนการขจัด Parallax ให้ดาเนินการอ่านค่าไม้ระดับได้

4.5 ตัวอย่างการบันทึกข้อมูลและขั้นตอนการคานวณ
4.5.1 ตัวอย่างการคานวณในการวัดสอบแนวเล็งของกล้องโดยวิธี 2 หมุด วิธีที่ 1 วิธี A X B X ดังรูปที่ 4.7
โดยสามารถที่จะดาเนินการทั้งการแบบสามสายใยและการอ่านเฉพาะสายใยกลาง ดังแสดงในตารางที่ 4.1 และ
4.2 ตามลาดับ
EN112401: SURVEYING LABORATORY
โดย ผศ.ประกอบ มณีเนตร และ รศ.ดร.ชาติชาย ไวยสุระสิงห์
42

รูปที่ 4.7 แสดงค่าอ่านไม้ระดับในการวัดสอบแนวเล็งของกล้องโดยวิธี 2 หมุด วิธีที่ 1 แบบ A X B X

ตารางที่ 4.1 ค่าอ่านไม้ระดับในการวัดสอบแนวเล็งของกล้องโดยวิธี 2 หมุด วิธีที่ 1 แบบ A X B X


ด้วยการอ่านสามสายใย (สายใยบน [U], สายใยกลาง [C], และสายใยล่าง [L])
ตาแหน่ง ค่าอ่านไม้ระดับ (ม.)
จุดตั้งกล้อง A B บน - กลาง
U 2.5670.151 1.4180.150
กลาง – ล่าง
C 2.4160.150 1.2680.151
C
L 2.266 1.117
ค่าเฉลี่ยสามสายใย
2.416 1.268

U 3.0440.351 1.5890.051

D C 2.6930.350 1.5380.050
L 2.343 1.488
2.693 1.538

EN112401: SURVEYING LABORATORY


โดย ผศ.ประกอบ มณีเนตร และ รศ.ดร.ชาติชาย ไวยสุระสิงห์
43

ตารางที่ 4.2 ค่าอ่านไม้ระดับในการวัดสอบแนวเล็งของกล้องโดยวิธี 2 หมุด วิธีที่ 1 แบบ A X B X


ด้วยการอ่านเฉพาะสายใยกลาง
ตาแหน่ง ค่าอ่านไม้ระดับ (ม.)
จุดตั้งกล้อง A B
C 2.416 1.268
D 2.693 1.538

แสดงว่า แนวเล็งของกล้องเงยขึ้น เนื่องจากผลต่างระดับปรากฏว่าผลต่างระดับถูกต้อง


1.155−1.148
จากสมการ (4.4) e = ม.
(30+30)
+ 0.007
= ม.
60
= +0.000117 เรเดียน (หรือเท่ากับ 24”)***
ค่าคลาดเคลื่อนแนวเล็ง e เป็น + แสดงว่าเงยขึ้น และค่า e มีค่ามากกว่า ±0.00005 เรเดียน (หรือ 10”)
เนื่องจากมุมเงยเกินเกณฑ์จะต้องปรับแก้แนวเล็งของกล้องให้อยู่ในแนวเส้นราบ

เมื่อตั้งกล้อง D
ค่าอ่านไม้ระดับที่ A ต้องเท่ากับ 2.693 – (30 + 30 + 10) × (+ 0.000 117) ม.
= 2.693 – 0.008 = 2.685 ม.
ค่าอ่านไม้ระดับที่ B ต้องเท่ากับ 1.538 - 10 x (+0.000 117) ม.
= 1.538 – 0.001 = 1.537 ม.
∴ ผลต่างระดับ = 2.685 - 1.537 = 1.148 ม.
Checked
ดังนั้น เมื่อตั้งกล้องที่ D จะต้องปรับกล้องให้อ่านค่าไม้ระดับได้ที่ A และ B เท่ากับ 2.685 ม. และ 1.537 ม.
ตามลาดับ โดยการปรับ Tilting Screw แล้วใช้ Capstan Screw ปรับลูกน้าตัว U ให้บรรจบกันสาหรับกล้อง
ระดับ Tilting หรือโดยการปรับสายใยราบสาหรับกล้องระดับ Automatic หรือกล้องระดับ Electronics

4.5.2 ตัวอย่างการคานวณในการวัดสอบแนวเล็งของกล้องโดยวิธี 2 หมุด วิธีที่ 2 ดังรูปที่ 4.8 โดยสามารถที่จะ


ดาเนินการทั้งการแบบสามสายใยและการอ่านเฉพาะสายใยกลาง ดังแสดงในตารางที่ 4.3 และ 4.4 ตามลาดับ
**** 1
จาก 1" = 206265 rad จะได้ว่า 1 rad = 206265"
นัน้ คือ +0.000117 × 206265 = 24"

EN112401: SURVEYING LABORATORY


โดย ผศ.ประกอบ มณีเนตร และ รศ.ดร.ชาติชาย ไวยสุระสิงห์
44

รูปที่ 4.8 แสดงค่าอ่านไม้ระดับในการวัดสอบแนวเล็งกล้องโดยวิธี 2 หมุด วิธีที่ 2 แบบ A X X B

ตารางที่ 4.3 ตารางค่าอ่านไม้ระดับในการวัดสอบแนวเล็งกล้องโดยวิธี 2 หมุด วิธีที่ 2


แบบ A X X B ด้วยการอ่านสามสายใย (สายใยบน [U], สายใยกลาง [C], และสายใยล่าง [L])
ตาแหน่งจุดตั้งกล้อง ค่าอ่านไม้ระดับ (ม.)
U A B บน - กลาง
C C
2.6410.050 1.8500.350
2.6410.051 1.5000.350
2.590 1.150 กลาง - ล่าง
L
2.641 1.500
D 3.2300.350 1.7750.050 ค่าเฉลี่ยสามสายใย
2.8800.350 1.7250.050
2.530 1.675
2.880 1.725

EN112401: SURVEYING LABORATORY


โดย ผศ.ประกอบ มณีเนตร และ รศ.ดร.ชาติชาย ไวยสุระสิงห์
45

ตารางที่ 4.4 ค่าอ่านไม้ระดับในการวัดสอบแนวเล็งกล้องโดยวิธี 2 หมุด วิธีที่ 2


แบบ A X X B ด้วยการอ่านเฉพาะสายใยกลาง
ตาแหน่งจุดตั้งกล้อง ค่าอ่านไม้ระดับ (ม.)
A B
C 2.641 1.500
D 2.880 1.725

จากตารางที่ 4.3 และ 4.4 รวมถึงรูปที่ 4.8 (ก) และ (ข) สามารถแสดงตัวอย่างการคานวณได้ดังต่อไปนี้
(a2 − b2 ) + (a1 −b1 )
∆hAB = 2
(2.880−1.725) + (2.641−1.500)
จาก (4.7) ∆hAB = 2
ม.
1.155 + 1.141
= 2
ม.
= 1.148 ม.
(a2 − b2 )− (a1 −b1 )
e = 2D
(2.880−1.725)− (2.641−1.500)
จาก (4.8) e = 2×60
ม.
1.155− 1.141
= 2×60
ม.
= +0.000117 เรเดียน
ค่า e เป็น + แสดงว่าเงยขึ้น
นั่นคือ เมื่อตั้งกล้องที่ D จะต้องอ่านค่าไม้ระดับที่จุด A ได้ดังนี้
ค่าอ่านไม้ระดับที่ A = 2.880 – 70 × 0.000117 ม.
= 2.880 – 0.008 ม.
= 2.872 ม.

ค่าอ่านไม้ระดับที่ B ต้องเท่ากับ 1.725 – 10 × 0.000117 ม.


= 1.725 – 0.001 ม.
= 1.724 ม.
นั่นคือ ในการปรับแก้เครื่องมือในส่วนของกล้องระดับแบบเขาควาย เมื่อตั้งกล้องที่ D จะต้องปรับกล้องให้อ่าน
ค่ าไม้ ร ะดั บ ที่ A และ B เท่ ากั บ 2.872 ม. และ 1.724 ม. ตามล าดั บ โดยการปรับ Tilting Screw แล้ ว ใช้
Capstan Screw ปรับ ลู กน าตัว รูป ตัว U หรือ ลู กน้าเขาควายมาบรรจบกัน ในขณะที่ กล้องระดับอัตโนมัติ
(Automatic Level) หรือกล้องระดับอิเล็กทรอนิกส์ (Electronics Level) ให้ทาการปรับสายใยราบให้อยู่ใน
แนวระดับ

EN112401: SURVEYING LABORATORY


โดย ผศ.ประกอบ มณีเนตร และ รศ.ดร.ชาติชาย ไวยสุระสิงห์
46

4.5.3 ตัวอย่างการคานวณการระดับแบบครบวงจร (Closed-circuit Leveling) มีรายละเอียดดังนี้


4.5.3.1 ตัวอย่างการคานวณหาค่าระดับแบบครบวงจร Height of Plane Collimation
หรือวิธี Height of Instrument (H.I.) ดังแสดงในตารางที่ 4.5 ด้วยการอ่านแบบสามสายใย
ตารางที่ 4.5 ตารางบันทึกข้อมูลจากการทางานในภาคสนามด้วยวิธีการถ่ายค่าระดับแบบครบวงจรแบบ 3 สายใย
STA BS Int. H.I.*** FS Int. Elev. Dist. (m) Remarks
U (m) (m) (m) (m) (m) (m) BS FS
C BM1 2.693 บน - กลาง 195.505 กาหนดให้ค่าระดับ
L 2.543 0.150 BM1 = 195.505 ม. ร.ท.ก.
2.893 0.150 กลาง - ล่าง

ค่าเฉลี่ยสามสายใย 2.543 30.000 (บน-ล่าง) x 100 30


TP1 1.798 2.108
1.598 0.200 1.958 0.150
1.398 0.200 1.808 0.150
1.598 40.000 1.958 30.000 40 30
TP2 2.575 2.873
2.375 0.200 2.673 0.200
2.175 0.200 2.473 0.200
2.375 40.000 2.673 40.000 40 40
TP3 1.593 2.662
1.413 0.180 2.462 0.200
1.233 0.180 2.262 0.200
1.413 36.000 2.462 40.000 36 40
BM1 1.009
0.829 0.180
0.649 0.180
0.829 36.000 36
∑BS = 7.929 m ∑FS = 7.922 m 146 146
***หมายเหตุ ตัวอย่างการจดข้อมูลภาคสนามจึงยังไม่ได้ดาเนินการคานวณค่า H.I. และอักษรย่อมีความหมายดังนี้
BM (Benchmark) = หมุดระดับ / TP (Turning Point) หมุดถ่ายระดับชั่วคราว
Int. (Interval) = ค่าต่างระหว่างสายใย เช่น ค่าต่างสายใยบนและกลาง และค่าต่างสายใยกลางและล่าง เป็นต้น
Elev. (Elevation) = ค่าระดับ ณ หมุดใด ๆ
Dist. (Distance) = ระยะทางราบ ซึ่งในที่นี้คือ ระยะส่องหลัง (Backsight Distance) และระยะส่องหน้า
(Foresight Distance)
BS (Backsight) = ค่าอ่านไม้หลัง
FS (Foresight) = ค่าอ่านไม้หน้า
H.I. (Height of instrument) = ความสูงแนวเล็งจากระดับอ้างอิง ณ การตั้งกล้องระดับในครั้งใด ๆ
EN112401: SURVEYING LABORATORY
โดย ผศ.ประกอบ มณีเนตร และ รศ.ดร.ชาติชาย ไวยสุระสิงห์
47

4.5.3.2 ตัวอย่างการคานวณหาค่าระดับแบบครบวงจร วิธี Height of Plane Collimating (H.P.C)


ด้วยการอ่านเฉพาะสายใยกลาง ดังแสดงในตารางที่ 4.6
ตารางที่ 4.6 การหาค่าระดับแบบครบวงจรวิธี Height of Plane Collimating (H.P.C) (อ่านสายใยกลาง)
STA BS H.P.C FS Elev. Corr. Adj. Diff. in Dist. m Remarks
H.I Elev. Elev. BS FS
(m) (m) (m) (m) (m) (m) (m) (m) (m)
BM1 2.543 198.048 195.505 195.505 30 -
TP1 1.598 197.688 1.958 196.090 -0.001 196.089 0.584 40 30
TP2 2.375 197.390 2.673 195.015 -0.003 195.012 -1.077 40 40
TP3 1.413 196.341 2.462 194.928 -0.005 194.923 -0.089 36 40
BM1 0.829 195.512 -0.007 195.505 0.582 - 36
∑=0 ∑=292 m

∑BS = 7.929 m ∑FS = 7.922 195.505


-
∑FS = 7.922 m +0.007 m
292
+0.007 m < ±25 mm√ = ±13.5 mm = ±0.013 m
1.000
อยู่ในเกณฑ์ชั้น 4 Accepted

จากตารางที่ 4.5 และ 4.6 แสดงตัวอย่างการคานวณได้ดังต่อไปนี้


(1) ตรวจสอบหาค่าคลาดเคลื่อนบรรจบ
∑ BS. = 7.929 ม.
- -
∑ FS = 7.922 ม.
292
ค่าคลาดเคลื่อนบรรจบ = +0.007 ม. < ±25 มม.√ = ±13.5 มม. = ±0.013 ม.
1.000
อยู่ในเกณฑ์ชั้น 4 Accepted
(2) คานวณหา H.I. และค่าระดับของจุดต่าง ๆ
เมื่อตั้งกล้องครั้งที่ 1 ค่า H.I. = Elev. + BS
= 195.505 + 2.543 ม.
= 198.048 ม.
ค่าระดับของหมุด TP1 = H.I. – FS

EN112401: SURVEYING LABORATORY


โดย ผศ.ประกอบ มณีเนตร และ รศ.ดร.ชาติชาย ไวยสุระสิงห์
48

= 198.048 – 1.958 ม.
= 196.090 ม.
ในทานองเดียวกันสามารถคานวณหาค่า H.I. และค่าระดับของจุดอื่น ๆ ได้เช่นเดียวกัน
และได้ค่าระดับรังวัดที่ BM1 = 195.512 ม.
ค่าระดับถูกต้องที่ BM1 = 195.505 ม.
ค่าคลาดเคลื่อนบรรจบ = +0.007 ม.
= ∑ BS − ∑ FS Checked
(3) คานวณหาค่าแก้ค่าระดับที่จุดต่าง ๆ
(ภายใต้หลักการค่าแก้ จะมีเครื่องหมายตรงข้ามกับ ค่าคลาดเคลื่อน)
ค่าคลาดเคลื่อนบรรจบ = +0.007 ม.
ค่าแก้ทั้งหมด = - (+0.007) ม.
= - 0.007 ม.
−0.007 × 60
ค่าแก้ค่าระดับที่ TP1 = = - 0.001 ม.
292

−0.007 × 140
ค่าแก้ค่าระดับที่ TP2 = = - 0.003 ม.
292

−0.007 × 220
ค่าแก้ค่าระดับที่ TP3 = = - 0.005 ม.
292

−0.007 × 292
ค่าแก้ค่าระดับที่ BM1 = = - 0.007 ม.
292

(4) คานวณหาค่าระดับปรับแก้
ค่าระดับปรับแก้ที่จุด TP1 = 196.090 + (-0.001) = 196.089 ม.
ค่าระดับปรับแก้ที่จุด TP2 = 196.015 + (-0.003) = 195.012 ม.
ค่าระดับปรับแก้ที่จุด TP3 = 194.958 + (-0.005) = 194.923 ม.
ค่าระดับปรับแก้ที่จุด BM1 = 195.512 + (-0.007) = 195.505 ม.

4.5.3.3 ตัวอย่างการคานวณหาค่าระดับแบบครบวงจรวิธี Rise and Fall (อ่านสายใยกลาง)


ดังแสดงในตารางที่ 4.7

EN112401: SURVEYING LABORATORY


โดย ผศ.ประกอบ มณีเนตร และ รศ.ดร.ชาติชาย ไวยสุระสิงห์
49

ตารางที่ 4.7 การหาค่าระดับแบบครบวงจร วิธี Rise & Fall


STA BS FS Rise Fall Elevation Corr. Adjusted Distance (m) Remarks
+ - Elevation
BS FS
(m) (m) (m) (m) (m) (m) (m)
BM1 2.543 195.505 - 195.505 30 -
TP1 1.598 1.958 + 0.585 196.090 -0.001 196.088 40 30
TP2 2.375 2.673 1.075 195.015 -0.003 195.011 40 40
TP3 1.413 2.462 0.087 194.928 -0.005 194.923 36 40
BM1 0.829 0.584 195.512 -0.007 195.505 - 36
∑ Rise 1.169− ∑ 292 m
∑ Fall 1.162
ค่าคลาดเคลื่อนบรรจบ = +0.007 m
∑ BS = 7.929 m
∑ FS
- -
= 7.922 m
292
ค่าคลาดเคลื่อนบรรจบ = +0.007 m < ±25 mm√1,000 = ±13.5 mm = 0.013 m อยู่ในเกณฑ์ชั้น 4 Accepted

จากตารางที่ 4.7 แสดงตัวอย่างการคานวนดังต่อไปนี้


(1) ตรวจสอบหาค่าคลาดเคลื่อนบรรจบ เช่นเดียวกับข้อ 4.5.3.2 (1)
(2) หาค่า Rise and Fall
จาก BM1 ไปยัง TP1 ค่าระดับสูงขึ้น Rise = 2.543 – 1.958 ม.
= + 0.585 ม.
จาก TP1 ไปยัง TP2 ค่าระดับตา่ ลง Fall = 1.598 – 2.673 ม.
= - 1.075 ม.
จาก TP2 ไปยัง TP3 ค่าระดับต่าลง Fall = 2.375 – 2.462 ม.
= - 0.087 ม.
จาก TP3 ไปยัง BM1 ค่าระดับสูงขึ้น Rise = 1.413 – 0.829 ม.
= + 0.584 ม.
∑ Rise = 0.858 + 0.584 = 1.169 ม.
∑ Fall = 1.075 + 0.087 = 1.162 ม.
∑ Rise - ∑ Fall = + 0.007 ม.
= ∑ BS - ∑ FS
Checked

EN112401: SURVEYING LABORATORY


โดย ผศ.ประกอบ มณีเนตร และ รศ.ดร.ชาติชาย ไวยสุระสิงห์
50

(3) หาค่าระดับของจุดต่าง ๆ
ค่าระดับ TP1 = 195.505 + Rise
= 195.505 + 0.585 = 196.090 ม.
ค่าระดับ TP2 = 196.090 – Fall
= 196.090 – 1.075 = 195.015 ม.
ค่าระดับ TP3 = 195.015 – Fall
= 195.015 – 0.087 = 194.928 ม.
ค่าระดับ BM1 = 194.928 + Rise
= 194.928 + 0.584 = 195.512 ม.
นั่นคือ ค่าระดับรังวัด BM1 = 195.512 ม.
ค่าระดับถูกต้อง BM1 = 195.505 ม.
ค่าคลาดเคลื่อนบรรจบ = +0.007 ม.
Checked
(4) คานวนหาค่าแก้ไขระดับจุดต่าง ๆ เช่นเดียวกับหัวข้อ 4.5.3.2 (3)
(5) คานวนค่าระดับที่แก้ไปแล้ว เช่นเดียวกับหัวข้อ 4.5.3.2 (4)

หมายเหตุ
(1) ก่อนอ่านค่าไม้ระดับทุกครั้งจะต้องขจัดภาพเหลื่อม (Parallax) เสียก่อน
(2) อย่าลืมปรับลูกน้าตัว U ด้วย สาหรับกล้องระดับเขาควาย (Tilting Level)
(3) และอย่าลืมกดปุ่มตัวชดเชยแนวเล็ง (Compensator) ทั้งในกล้องระดับอัตโนมัติ (Automatic) และ
กล้องระดับอิเล็กทรอนิกส์ (Electronics)
(4) ข้ อ ก าหนดงานถ่ า ยระดั บ ตามมาตรฐานของ The Federal Geodetic Control Committee (FGCC
Standard) ได้กาหนดให้งานระดับชั้นสามมีเกณฑ์ซึ่งสามารถอธิบายโดยสรุปได้ดังนี้
(4.1) ระยะตั้งกล้องระดับถึงไม้ระดับต้องไม่เกิน 90 เมตร
(4.2) ค่าต่างระยะส่องหลังและระยะส่องหน้า (BS_Distance – FS_Distance) ของการตั้งกล้องแต่ละครั้ง
ไม่เกิน 10 เมตร
(4.3) ค่าต่างของผลรวมระยะส่องหลังและผลรวมระยะส่องหน้า (∑BS_Distance - ∑FS_Distance) ของ
การทาระดับครั้งนั้น ๆ ต้องไม่เกิน 10 เมตร
(4.4) ค่าแย้งของค่าต่างระดับไปและกลับไม่เกิน ±12mm√K

EN112401: SURVEYING LABORATORY


โดย ผศ.ประกอบ มณีเนตร และ รศ.ดร.ชาติชาย ไวยสุระสิงห์

You might also like