You are on page 1of 4

แบบทดสอบหลังเรียน ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ ครั้งที่ ๒


ตอนที่๑ คำชี้แจง ให้เลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงข้อเดียว
๑. เสภาเรื่อง ขุนช้างขุนแผน ตอน กำเนิดพลายงาม เป็นผลงานของใคร
๑. รัชกาลที่ ๑ ๒. รัชกาลที่ ๒
๓. รัชกาลที่ ๓ ๔. สุนทรภู่
๒. ขุนช้าง ขุนแผน ตอน กำเนิดพลายงาม เป็นเหตุการณ์ทเี่ กิดขึ้นที่จังหวัดใด
๑. กาญจนบุรี ๒. พิจิตร
๓. อยุธยา ๔. สุพรรณบุรี
๓. ตัวละครใดที่ไม่ปรากฏในเรื่องขุนช้าง ขุนแผน ตอน กำเนิดพลายงาม
๑. ผีพราย ๒. ขุนแผน
๓. ทองประศรี ๔. แก้วกิริยา
๔. “นางครวญคร่ำร่ำว่าน้ำตาตก เหมือนหนึง่ อกพุพองเป็นหนองฝี”
บทประพันธ์ทกี่ ำหนดให้ใช้โวหารภาพพจน์ใด
๑. อุปมา ๒. สัทพจน์
๓. อติพจน์ ๔. บุคลวัต
๕. “จนเคาะระฆังหงั่งเหง่งเสียงเครงครื้น สมภารตื่นเตือนชีต้นสวดมนต์เกณฑ์”
บทประพันธ์ทกี่ ำหนดให้ใช้โวหารภาพพจน์ใด
๑. อุปมา ๒. สัทพจน์
๓. อติพจน์ ๔. บุคลวัต
๖. “พอฉวยได้อ้ายขิกหยิกเสียยับ ร้ายเหมือนกับผีเสือ้ แกเหลือตัว” คำประพันธ์นี้กล่าวถึงใคร
๑. ขุนช้าง ๒. นางวันทอง
๓. เด็กเลี้ยงควาย ๔. นางทองประศรี
๗. “เสียแรงลูกผูกใจจะได้พึ่ง พ่อโกรธขึ้งสิ่งไรเป็นใหญ่หลวง
โอ้พ่อมีก็ไม่เหมือนเพือ่ นทั้งปวง มีแต่ลวงลูกรักไปหักคอ”
บทร้อยกรองนีผ้ ู้พูดพูดด้วยความรู้สกึ ใด
๑. ชื่นชม ๒. น้อยใจ
๓. เกลียดชัง ๔. หวาดกลัว
๘. ข้อใดสะท้อนให้เห็นถึงความเชื่อเรื่องผีสางของคนไทย
๑. พอวันทองน้องป่วยลงด้วยเคราะห์ มาจำเพาะจะวิโยคให้โศกศัลย์
๒. นางพรายบอกว่าเราบ่าวขุนแผน มาทำแทนเมื่อมันทับช่วยรับขอน
๓. คิ้วกระเหม่นเป็นลางแต่กลางวัน ให้หวั่นหวั่นหวิวหวิวหิวหาวนอน
๔. ดูครึ้มครึกพฤกษาป่าสงัด ไม่แกว่งกวัดก้านกิ่งประวิงไหว

๙. ข้อใดเป็นความเชื่อจากเสภา เรื่อง ขุนช้างขุนแผน ตอน กำเนิดพลายงาม


๑. จิ้งจกร้องทัก ๒. ทำของตกแตก
๓. จิ้งจกตกลงมาตาย ๔. แมงมุมอุ้มท้องตีอก
๑๐. “ลูกผู้ชายลายมือนั้นคือยศ เจ้าจงอตส่าห์ทำสม่ำเสมียน”
บทร้อยกรองนี้แสดงถึงค่านิยมในเรื่องใด
๑. การเลี้ยงดูพ่อแม่ ๒. การศึกษาเล่าเรียน
๓. การมีอาชีพเป็นเสมียน ๔. การประกอบอาชีพเป็นพ่อค้า
๑๑. “โอ้ยากเย็นเข็ญใจกระไรเลย เพราะกรรมเคยพรากสัตว์ให้พลัดพราย”
บทร้อยกรองนีส้ ะท้อนความเชื่อในเรือ่ งใด
๑. เวรกรรม ๒. คาถาอาคม
๓. ไสยศาสตร์ ๔. อิทธิปาฏิหาริย์
๑๒. ข้อใดคือข้อคิดที่ชัดเจนที่สุดที่ได้จากเรื่องขุนช้าง ขุนแผน ตอน กำเนิดพลายงาม
๑. ความรักของแม่ทมี่ ีต่อลูก ๒. การให้ความสำคัญกับการศึกษา
๓. การใช้ความรุนแรงในครอบครัว ๔. ความเชื่อเรื่องไสยศาสตร์
๑๓. ข้อใดเป็นคำที่มาจากภาษาต่างประเทศทุกคำ
๑. เกาเหลา ข้าวเปล่า ๒. บันได แก้วน้ำ
๓. ทุเรียน มะขาม ๔. เขม่า กีตาร์
๑๔. ข้อใดเป็นคำที่มาจากภาษาอังกฤษทุกคำ
๑. คอนเสิร์ต แท็กซี่ นอต
๒. เกียร์ ดีเซล จับกัง
๓. ทีวี พราหมณ์ ชอล์ก
๔. จาระบี เรดาห์ จับฉ่าย
๑๕. ประโยคใดมีคำทีมาจากภาษาจีน
๑. อย่าลืมปิดไฟทุกครัง้ ก่อนนอน
๒. ฉันไม่ชอบเดินคนเดียวตอนเย็น
๓. มีพระห้อยคอแล้วรู้สึกเป็นสิริมงคล
๔. คุณครูบอกให้จัดโต๊ะและเก้าอี้ให้เรียบร้อย
๑๖. ข้อใดเป็นคำที่มาจากภาษาจีนทุกคำ
๑. โบตั๋น กุยช่าย เค้ก
๒. คะน้า ท้อแท้ สึนามิ
๓. ก๋วยเตี๋ยว โจ๊ก โอเลี้ยง
๔. จับเลี้ยง จับฉ่าย โชว์

๑๗. ข้อใดเป็นคำที่มาจากภาษาเขมรทุกคำ
๑. ยูโด จรวด บรรทม
๒. โควตา ธำมรงค์ โก้แก๋
๓. กำเนิด บันได ตรัส
๔. บะหมี่ ตำรวจ คาราเต้
๑๘. ข้อใดเป็นคำที่มาจากภาษาบาลีสันสกฤตทุกคำ
๑. ตำรวจ กำเนิด ๒. สะใภ้ วิญญาณ
๓. อัศจรรย์ สัญญา ๔. คอมพิวเตอร์ ฟิล์ม
๑๙. ข้อใดเป็นคำไทยแท้ทุกคำ
๑. ปู่ของฉันมีบ้านสวยมาก
๒. ตำรวจจับผูร้ ้ายปล้นแบงก์
๓. ฉันชอบกินก๋วยเตี๋ยวหมูน้ำตก
๔. ที่สนามมีกองเชียร์เต็มอัฒจันทร์
๒๐. “ ช็อกรถใหม่ป้ายแดงคันกว่าล้านเพิ่งซือ้ อาทิตย์เดียว หนุ่มตกใจชาร์จรถไฟฟ้าหน้าห้างฯอุดร ได้ ๕๐%
ควันเต็มฝากระโปรง วิศวกรจีนรุดตรวจสอบ” จากข้อความที่กำหนดมีการใช้คำทับศัพท์ภาษาอังกฤษกี่คำ
๑. ๑ คำ ๒. ๒ คำ
๓. ๓ คำ ๔. ๔ คำ
๒๑. ข้อใดไม่ใช่คำยืมภาษาต่างประเทศ
๑. ศึกษา ๒. บังเกิด
๓. ข้อศอก ๔. บรรยาย
๒๒. ข้อใดไม่ใช่คำยืมภาษาต่างประเทศ
๑. มะขาม ๒. ฤทัย
๓. หรรษา ๔. กรีฑา
๒๓. ข้อใดเป็นคำยืมภาษาต่างประเทศ
๑. ดำเนิน ๒. พร้อม
๓. กะทิ ๔. ประท้วง
๒๔. ข้อใดเป็นคำยืมภาษาต่างประเทศ
๑. ป่าไม้ ๒. จรรยา
๓. มะระ ๔. ท่าที
๒๕. “เช็กวันจ่ายเงินสงเคราะห์ "ผู้สงู อายุรายได้น้อยเดือนละ ๑๐๐ บาท”
จากข้อความที่กำหนดให้ คำที่ขีดเส้นใต้มาจากภาษาใดตามลำดับ
๑. อังกฤษ สันสกฤต บาลี ๒. อังกฤษ บาลี สันสกฤต
๓. อังกฤษ เขมร สันสกฤต ๔. อังกฤษ บาลี เขมร

๒๖. "สวมเสื้อ" ใช้คำราชาศัพท์ว่าอย่างไร


๑. ฉลองพระองค์ ๒. ทองกร
๓. นิวัต ๔. ประพาส
๒๗. ข้อใดใช้คำราชาศัพท์ถูกต้อง
๑. พระบาทสมเด็จพระราชินีนาถทรงมีพระบรมราโชวาทแก่พสกนิกร
๒. พระบาทสมเด็จพระราชินีนาถทรงเสด็จเยือนพสกนิกร
๓. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูห่ ัวทรงยืน
๔. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูห่ ัวทรงยิ้ม
๒๘. “พระรามและพระลักษมณ์...............ก่อนทรงเครื่องและยกทัพไปรบกับทศกัณฐ์” ควรเติมคำใด
๑. ทรงม้า ๒. สรงน้ำ
๓. ประทับ ๔. บรรทม
๒๙. ข้อใดไม่ถูกต้อง
๑. ต้นขา = อุรุ แข้ง = ชงฆ์ เข่า = ชานุ
๒. ตา = เนตร ปาก = โอษฐ์ คิ้ว = เขนย
๓. หู = กรรณ จมูก = นาสิก แก้ม = ปราง
๔. คอ = ศอ ท้อง = อุทร สะดือ = นาภี
๓๐. วรรณคดีเรื่องสังข์ทองเป็น.........................ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
ควรเติมคำใดลงในช่องว่าง
๑. พระราชนิพนธ์ ๒. พระบรมราชนิพนธ์
๓. พระนิพนธ์ ๔. พระกวีนิพนธ์

ตอนที่ ๒ คำชี้แจง จากคำราชาศัพท์ที่กำหนดให้ คำใดให้ความหมายที่ถูกต้องเลือกข้อ ก.


คำใดผิดเลือกข้อ ข.

๓๑. ดำรัส = คำสั่ง ๓๒. ทอดพระเนตร = มอง, ดู


๓๓. โปรด = ชอบ ๓๔. ทรงพระอักษร = เขียนหนังสือ
๓๕. หนุ = หน้าผาก ๓๖. ทนต์ = ฟัน
๓๗. ชิวหา = ลิ้น ๓๘. ศอ = ผม
๓๙. ปราง = แก้ม ๔๐. กัณฐ์ = จมูก

♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥

You might also like