You are on page 1of 3

โรคที่เกิดจากการใช้งานมือและแขนมากเกินไป

1. โรคนิ้วล็อก
- สาเหตุ: เกิดจากการเสียดสีของปลอกหุ้มเส้นเอ็นกับเข็มขัดรัดเส้นเอ็นในฝ่ ามือ มาเป็ นระยะเวลานาน
ทั้งนี้มักจะเกิดขึ้นกับบุคคลที่ใช้นิ้วมือทำงานมากๆ เช่นคุณแม่บ้านที่ชอบหิ้วถุงพลาสติกด้วยนิ้วมือ หรือ
ชอบซักผ้าด้วยมือ หรือจะเป็ นคุณผู้ชายที่ชอบออกกำลังกายด้วยกีฬาที่ต้องใช้ไม้ตี (เทนนิส แบดมินตัน
กอล์ฟ) เป็นต้น
- การรักษา: สิ่งที่จำเป็ นที่สุดก็คือ พยายามหลีกเลี่ยงหรือลดการใช้งานมือก่อนเป็ นอันดับแรก หลังนั้นให้แช่
มือลงในน้ำอุ่นพร้อมกับนวดบริเวณข้อโคนนิ้วมือนิ้วที่ปวด โดยให้นวด วนๆไปมา 10-20 ครั้ง วันละ 1-
2 ครั้ง อีกทางเลือกหนึ่งคือการปรับแต่งอุปกรณ์ที่มีด้ามจับทั้งหลายให้มีขนาดด้ามจับที่ใหญ่ขึ้น เพื่อลดแรง
ตึงที่กระทำต่อเส้นเอ็นให้น้อยลงนั่นเอง หรือดัดแปลงด้ามจับให้นุ่มขึ้น เพื่อลดแรงเสียดสีที่ฝ่ ามือ
2. โรคชามือเนื่องจากเส้นประสาทถูกกดทับ ที่พบได้บ่อย สามารถแบ่งเป็ น 2 ชนิดได้แก่
2.1 กลุ่มอาการชามือบริเวณตั้งแต่นิ้วหัวแม่มือถึงนิ้วกลาง (โรค Carpal Tunnel Syndrome: CTS)
- สาเหตุ: เกิดจากเส้นประสาทมีเดียนที่วิ่งผ่านบริเวณอุโมงค์ข้อมือถูกพังผืดกดทับ มักพบในบุคคลที่ใช้งาน
มือและข้อมือมากๆ เช่น แม่บ้าน แม่ครัว ช่างงานฝี มือ ที่มักจะกระดกข้อมือขึ้นลงซ้ำๆ หรืองานที่ต้องกำ
สิ่งของอย่างแน่นต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน โดยหากปล่อยให้โรคลุกลามมากขึ้น อาจนำไปสู่อาการอ่อน
แรงของกล้ามเนื้อมืออย่างถาวรและพิการในที่สุด
- การรักษา: ให้หลีกเลี่ยงกิจกรรมที่ต้องใช้งานมือซ้ำๆ และควรสวมใส่อุปกรณ์พยุงข้อมือชนิดที่มีแกนเหล็ก
ดามบริเวณข้อมือตลอดช่วงระยะเวลาที่ปฏิบัติงานและเวลานอนพักผ่อนกลางคืน เพื่อจำกัดการเคลื่อนไหว
ของข้อมือไม่ให้กระดกขึ้นลงมากเกินไป หากอาการปวดไม่ทุเลาลงหรือเริ่มมีอาการอ่อนแรงของมือ(หยิบจับ
สิ่งของไม่ถนัด) ให้รีบไปพบแพทย์ทันที
2.2 กลุ่มอาการชามือบริเวณตั้งแต่นิ้วนางถึงนิ้วก้อย (โรค Cubital Tunnel Syndrome)
- สาเหตุ: เกิดจากเส้นประสาทอัลน่าร์ที่วิ่งผ่านบริเวณอุโมงค์ข้อศอกถูกพังผืดกดทับ มักพบในบุคคลที่ใช้งาน
ข้อศอกในท่างอนานๆ หรือชอบนั่งชันข้อศอกเท้าคางกับโต๊ะ ซึ่งจะทำให้เกิดแรงเสียดสีและแรงตึงตัวต่อเส้น
ประสาทมากเกินไปจนเส้นประสาทบาดเจ็บสะสม ถ้าหากปล่อยให้โรคลุกลามมากขึ้น จะนำไปสู่อาการ
อ่อนแรงของกล้ามเนื้อในมืออย่างถาวรและพิการในที่สุดเช่นเดียวกัน
- การรักษา: ให้หลีกเลี่ยงกิจกรรมที่ต้องงอข้อศอกค้างเป็ นระยะเวลานาน และหลีกเลี่ยงการกดหรือเสียดสี
ข้อศอกกับพื้นโต๊ะ อีกทั้งอาจจะใส่อุปกรณ์พยุงข้อศอกให้เหยียดตรง ตลอดช่วงระยะเวลาที่นอนพักผ่อน
ตอนกลางคืน เพื่อจำกัดการเคลื่อนไหวของข้อศอกไม่ให้อยู่ในท่างอค้างเป็ นเวลานานเกินไป โดยหากอาการ
ปวดไม่ทุเลาลงหรือเริ่มมีอาการอ่อนแรงของมือ(หยิบจับสิ่งของไม่ถนัด) ให้รีบไปพบแพทย์ทันทีเช่นกัน

รูปประกอบ ข้อ 1
รูปประกอบ ข้อ 2.1

รูปประกอบ ข้อ 2.2

You might also like