You are on page 1of 9

Doc.

Code LB-QP-805
Quality Procedure
Issue No. 02
Issue Date 10/01/2566
การประเมินความเสี่ยงและโอกาส
Page 1 of 9

Quality Procedure
ระเบียบปฏิบัติ

เรื่อง

การประเมินความเสี่ยง และโอกาส
(Action to address risks and opportunities)

( นางสาว เยาวเรศ ทิพย์สุวรรณ์ ) ( นางสาว นิตยา ชาวเวียง ) ( นางสาว ชลลดา วงศ์จันทร์ )


ผู้จัดทา ผู้ตรวจสอบ ผู้อนุมัติ
ผู้จัดการด้านวิชาการ ผู้จัดการด้านคุณภาพ ผู้บริหารห้องปฏิบัติการ
Doc. Code LB-QP-805
Quality Procedure
Issue No. 02
Issue Date 10/01/2566
การประเมินความเสี่ยงและโอกาส
Page 2 of 9

บันทึกการแก้ไขเอกสาร
ประกาศ DAR No. วันที่ประกาศ หน้าที่ รายการเปลี่ยนแปลง
ครั้งที่ เปลี่ยนแปลง
01 DA-2022-001 15/06/2565 ทุกหน้า ขึ้นระบบเอกสารระบบคุณภาพ ISO/IEC 17025 (ครั้งที่ 1)
02 DA-2023-002 10/01/2566 7,8,9 แก้รหัสแบบฟอร์มเอกสารใหม่
Doc. Code LB-QP-805
Quality Procedure
Issue No. 02
Issue Date 10/01/2566
การประเมินความเสี่ยงและโอกาส
Page 3 of 9

สารบัญ
หัวข้อ หน้า
1 วัตถุประสงค์ (Objectives) 4
2 ขอบข่าย (Scope) 4
3 คาศัพท์ และคาจากัดความ (Terms & Definitions) 4
4 เอกสารอ้างอิง (Reference documents) 4
5 ระเบียบปฏิบัติ (Procedure) 5
6 เอกสารที่เกี่ยวข้อง (Relevant documents) 9
Doc. Code LB-QP-805
Quality Procedure
Issue No. 02
Issue Date 10/01/2566
การประเมินความเสี่ยงและโอกาส
Page 4 of 9

1. วัตถุประสงค์ (Objectives)
1.1 เพื่อให้มั่นใจว่ามีการบริหารการจัดการความเสี่ยง และโอกาส อย่างมีประสิทธิภาพ และประสิทธิผล
1.2 เพื่อเป็นการมั่นใจว่าระบบการบริหารงานบรรลุตามผลที่กาหนด, เพิ่มโอกาสบรรลุตามวัตถุประสงค์, ป้องกัน และลดผลกระทบด้าน
ลบ และความล้มเหลว ของห้องปฏิบัติการ
1.3 เพื่อทาให้เกิดการปรับปรุงในการบริหารงานของห้องปฏิบัติการ

2. ขอบข่าย (Scope)
ระเบียบปฏิบัตินี้ใช้สาหรับในการบริหารจัดการห้องปฏิบัติการ ด้านระบบการบริหารงาน และด้านวิชาการ โดยครอบคลุมถึงการชี้บ่ง ,
การประเมิน, การควบคุม และการจัดการความเสีย่ ง และโอกาส ที่มีผลกระทบต่อการปฏิบัติกิจกรรมของห้องปฏิบัตกิ ารจุลชีววิทยา ของบริษัท
ลานนาเกษตรอุตสาหกรรม จากัด

3. คาศัพท์ และคาจากัดความ (Terms & Definitions)


ลาดับที่ คาศัพท์ และคาจากัดความ ความหมาย
1. ความเสี่ยง (Risk) เหตุการณ์หรือการกระทาใด ๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นภายใต้สถานการณ์ที่ไม่แน่นอน และจะส่งผล
กระทบ สร้างความเสียหาย ความล้มเหลว หรือลดโอกาสที่จะบรรลุความสาเร็จต่อการบรรลุ
เป้าหมาย และวัตถุประสงค์ทั้งในระดับองค์กร, ระดับหน่วยงาน และระดับบุคคล
2. โอกาส (Opportunity) เหตุการณ์ความไม่แน่นอนที่อาจเกิดขึ้นที่มีผลทางด้านบวก โอกาสยังอาจเป็นช่องทางใหม่ใน
การประกอบธุรกิจ ซึ่งฝ่ายบริหารควรยึดฉวยโอกาสที่มองเห็นนี้ในการกาหนดกลยุทธ์หรือ ใน
การกาหนดวัตถุประสงค์ในการวางแผนงาน ความน่าจะเป็นที่เหตุการณ์อาจเกิดขึ้น
3 ปัจจัยภายใน กิจกรรมการบริหาร, การด าเนินการ หรือความสัมพันธ์ภายในของห้องปฏิบัติการ ที่ส่งผล
กระทบต่อความเสี่ยง และโอกาสในการปฏิบัติงาน หรือความเป็นกลางของห้องปฏิบัติการ
เช่น การขาดแคลนบุคลากร, เครื่องมือเสื่อมสภาพ, สภาวะแวดล้อมห้องปฏิบัติการที่ควบคุม
ไม่ได้, เงินสดหมุนเวียน และความสัมพันธ์ที่กระทบความเป็นกลาง (ความเป็นเจ้าของกิจการ)
เป็นต้น
4 ปัจจัยภายนอก กิจกรรมการบริหาร, การด าเนินการ หรือความสัมพันธ์ภายนอกของห้องปฏิบัติการที่ส่งผล
กระทบต่อความเสี่ยง และโอกาส ในการปฏิบัติงาน หรือความเป็นกลางของห้องปฏิบัติการ
เช่ น การมี ค ู ่ แ ข่ งใหม่ , ภั ย ธรรมชาติ ท ี ่ เ ป็ น อุ ป สรรคต่ อ การด าเนิ น งาน, ภาวะเศรษฐกิจ ,
หน่วยงานสอบเทียบ หรือผู้ขายที่มีน้อยราย หรือไม่มีประสิทธิภาพ และความสัมพันธ์ที่กระทบ
ความเป็นกลาง (ความคุ้นเคยระหว่างห้องปฏิบัติการ และผู้ใช้บริการทดสอบ) เป็นต้น

4. เอกสารอ้างอิง (Reference documents)


ลาดับที่ รหัสเอกสาร ชื่อเอกสาร
- - -
Doc. Code LB-QP-805
Quality Procedure
Issue No. 02
Issue Date 10/01/2566
การประเมินความเสี่ยงและโอกาส
Page 5 of 9

5. ระเบียบปฏิบัติ (Procedure)
5.1 ผู้รับผิดชอบ
5.1.1 ก าหนดให้ผู้บริหารห้องปฏิบัติการ, ผู้จัดการด้านคุณภาพ, ผู้จัดการด้านวิชาการ รวมถึงเจ้าหน้าที่ห้องปฏิบัติการที่ได้รับ
มอบหมายในการประเมินความเสี่ยง และโอกาส มีหน้าที่ในการดาเนินการ การประเมินความเสี่ยง และโอกาส เพื่อรองรับข้อกาหนด ISO/IEC
17025:2017 ร่วมกัน

5.2 การชี้บ่งความเสี่ยง และโอกาส


5.2.1 หลักการการประเมินความเสี่ยง และโอกาส จะทาการกาหนดแหล่งที่มาของความเสี่ยง และโอกาส โดยพิจารณาทั้งปัจจัย
ภายใน และปัจจัยภายนอก ที่เกี่ยวข้อง อันส่งผลกระทบต่อการปฏิบัติกิจกรรมของห้องปฏิบัติการ โดยใช้หลักการ ของ SWOT และ “5M +
1E” ดังนี้
(a.) การประเมินด้วยหลักการ “SWOT Analysis”
เป็นการวิเคราะห์สภาพขององค์กร ณ ปัจจุบัน เพื่อค้นหา จุดแข็ง จุดด้อย โอกาส และอุปสรรค ที่เกิดขึ้นกับทั้งภายในและ
ภายนอกองค์กร เพื่อนาไปวิเคราะห์และหาวิธีพัฒนา หรือแก้ไขกับปัญหาที่เป็นอยู่ ณ ปัจจุบัน โดยสามารถแบ่งเป็น 2 กลุ่มย่อย ๆ ได้แก่ ปัจจัย
ภายใน (S,W) และปัจจัยภายนอก (O,T) ซึ่งประกอบไปด้วย 4 ด้านดัง
(1.) S = Strengths คือ จุดแข็ง หรือข้อได้เปรียบขององค์กร
(2.) W = Weaknesses คือ จุดอ่อน หรือข้อเสียเปรียบขององค์กร
(3.) O = Opportunities คือ โอกาสที่องค์กรสามารถจะดาเนินการได้
(4.) T = Threats คือ อุปสรรคต่าง ๆ ที่มีต่อการดาเนินการขององค์กร

หลักในการใช้ SWOT Analysis กับธุรกิจ คือ ผู้บริหารองค์กรสามารถรับรู้สถานะขององค์กร ณ ปัจจุบันได้อย่าง


ทันท่วงทีซึ่งการวิเคราะห์ภายในองค์กร จะทาให้รับรู้ถึง “จุดแข็ง และจุดอ่อน” และการวิเคราะห์ภายนอกองค์กรหรือสภาพแวดล้อม จะทาให้
รับรู้ถึง “โอกาส และอุปสรรค” ที่มีผลต่อการดาเนินงาน เพื่อนาสิ่งที่ได้จากการวิเคราะห์ปัจจัยภายใน และภายนอกมาทาการปฏิบัติการแก้ไข
และป้องกัน
(b.) การประเมินด้วยหลักการ “5M + 1E”
ตารางที่ 1 5M + 1E
No. 5M + 1E ความหมาย ปัจจัย
M1 Man บุคลากรที่เกี่ยวข้อง, เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงาน ภายใน
M2 Machine อุปกรณ์, เครื่องมือ, Hardware, Software, Firmware ภายใน
M3 Material สารเคมี, อาหารเลี้ยงเชื้อ, ตัวอย่างทดสอบ ภายใน
M4 Method วิธีการทดสอบ ภายใน
M5 Management การบริหารจัดการที่เกี่ยวกับ หรือมีผลต่อปฏิบัติกิจกรรมของห้องปฏิบัตกิ าร ภายใน
E1 Environment สภาวะแวดล้อม, สิ่งแวดล้อ ภายใน
Doc. Code LB-QP-805
Quality Procedure
Issue No. 02
Issue Date 10/01/2566
การประเมินความเสี่ยงและโอกาส
Page 6 of 9

5.3 กาหนดระดับของความถี่ (Likelihood) และผลกระทบ (Consequence)


5.3.1 ห้องปฏิบัติการมีการกาหนดระดับของคะแนนของความถี่ (Likelihood) และผลกระทบ (Consequence) ที่จะก่อให้เกิดความ
เสี่ยง และโอกาส
ตารางที่ 2 Risk Assessment Matrix

5.3.2 ห้องปฏิบัติการมีการกาหนดช่วงของระดับความเสี่ยง (Degree of Risk) และความหมายของแต่ละระดับความเสี่ยง เพื่อ


กาหนดช่วงของการยอมรับ และไม่สามารถยอมรับ ในระดับความเสี่ยงนั้น ๆ โดยมีการกาหนดเป็นทัง้ หมด 4 ช่วงของระดับความเสีย่ ง
(Degree of Risk) ดังนี้

ตารางที่ 3 ระดับความเสี่ยง
No. ระดับความเสี่ยง สถานะ ความหมาย
1 1-3 ยอมรับ ยอมรับความเสี่ยงได้ภายใต้วิธีการจัดการความเสี่ยงที่มีอยู่เดิม ไม่ต้องมี
(ระดับตำ่ ) การจัดการเพิ่มเติม
2 4-9 พอยอมรับ พอยอมรับความเสี่ยงได้แต่ต้องมีการควบคุม เพื่อป้องกันไม่ให้ความเสี่ยง
(ระดับกลำง) เคลื่อนไปยังระดับที่ไม่สามารถยอมรับได้
3 10-15 ไม่ยอมรับ ไม่สามารถยอมรับความเสี่ยงได้ต้องจัดการความเสี่ยง เพื่อให้อยู่ในระดับที่
(ระดับสูง) สามารถยอมรับได้ต่อไป
4 16-25 ไม่ยอมรับ ไม่สามารถยอมรับความเสี่ยงได้จาเป็นต้องเร่งจัดการความเสี่ยง เพื่อให้อยู่
(ระดับสูงสุด) ในระดับที่สามารถยอมรับได้ทันที
โดยหากระดับความเสี่ยงตั้งแต่ระดับ 4 ขึ้นไป ทางห้องปฏิบัติการต้องจัดทามาตรการควบคุมความเสี่ยงนั้น เพื่อป้องกันผลกระทบที่อาจ
เกิดขึ้นได้
Doc. Code LB-QP-805
Quality Procedure
Issue No. 02
Issue Date 10/01/2566
การประเมินความเสี่ยงและโอกาส
Page 7 of 9

5.4 หัวข้อความเสี่ยงและโอกาสที่มีการประเมิน
5.4.1 ห้องปฏิบัติการมีการประเมินความเสี่ยงและโอกาส ที่มีผลกระทบต่อการปฏิบัติกิจกรรมของห้องปฏิบัติการ ซึ่งจะมีการ
ประเมินความเสี่ยงทั้งหมด 3 ด้าน โดยบันทึกลงในแบบฟอร์ม เรื่อง “การประเมินความเสี่ยงและโอกาส” (F-LB-QP-805/1) ได้แก่
(1.) ความเสี่ยงด้านความถูกต้องของผลการทดสอบ โดยห้องปฏิบัติการจะทาการพิจารณาความเสี่ยงที่จะทาให้รายงานผลการ
ทดสอบผิดพลาด ซึ่งจะทาการประเมินภายใต้กิจกรรมของห้องปฏิบัติการตั้งแต่การทบทวนคาขอ, การรับตัวอย่าง, การทดสอบ, การเตรียม
ตัวอย่าง, การเตรียมสารเคมี, การใช้เครื่องมือ, การควบคุมคุณภาพ และการออกรายงานผลการทดสอบ เป็นต้น
(2.) ความเสี่ยงด้าน KPI โดยห้องปฏิบัติการจะทาการพิจารณาความเสี่ยงที่จะทาให้ KPI ที่กาหนดไว้ของแต่ละปีไม่บรรลุตาม
เป้าที่กาหนดไว้
(3.) ความเสี่ยงด้านความเป็นกลาง โดยห้องปฏิบัติการจะทาการพิจารณาความเสี่ยงที่จะทาให้ห้องปฏิบัติการสูญเสียความเป็น
กลาง ซึ่งจะทาการประเมินภายใต้ “กิจกรรมของห้องปฏิบัติการ, ความสัมพันธ์กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และ ความสัมพันธ์ระหว่างบุคลากร”
เป็นต้น
5.4.2 ห้องปฏิบัติการมีการการประเมินความเสี่ยงและโอกาส ที่มีผลกระทบต่อการปฏิบัติกิจกรรมของห้องปฏิบัติการ อย่างน้อยปีละ
1 ครั้ง หรือเมื่อมีเหตุการณ์ในห้องปฏิบัติการที่มีความเสี่ยงและโอกาส ที่มีผลกระทบต่อการปฏิบัติกิจกรรมของห้องปฏิบัติการเพิ่มขึ้น

5.5 การควบคุมความเสี่ยง และโอกาส


5.5.1 หลังจากทาการประเมินความเสี่ยง เรียบร้อยแล้ว ทีมผู้ประเมินความเสี่ยง จะทาการพิจารณาการควบคุมความเสี่ยงตาม
กลยุทธ์ 4Ts โดยบันทึกลงในแบบฟอร์ม เรื่อง “การประเมินความเสี่ยงและโอกาส” (F-LB-QP-805/1) โดยใช้กลยุทธ์ 4T's ซึ่งประกอบด้วย
Take, Treat, Transfer และ Terminate ดังนี้
No. กลยุทธ์ รายละเอียด
1 การยอมรับความเสี่ยง (Take) เป็นความเสี่ยงที่หน่วยงานสามารถยอมรับได้เนื่องจากมีกิจกรรมการควบคุม
ภายในที่ดีอยู่แล้ว หรือเนื่องจากการดาเนินการในการจัดการกับความเสี่ยงมีความ
คุ้มค่าไม่เพียงพอ หรือทรัพยากรไม่เพียงพอต่อการดาเนินการ
2 การลด/การควบคุมความเสี่ยง (Treat) การลดโอกาสในการเกิดความเสี่ยง หรือความรุนแรงของผลกระทบที่เกิดขึ้นโดย
หาวิธีการเพิ่มเติมเพื่อจัดการความเสี่ยง เช่น การออกแบบระบบการควบคุม
ภายใน, ปรับปรุงแก้ไจกระบวนการ, การตรวจติดตาม, การจัดทาแผนฉุกเฉิน ,
การจัดทามาตรฐานความปลอดภัย, การฝึกอบรมเพื่อพัฒนาทักษะ เป็นต้น
3 การกระจายความเสี่ยง (Transfer) การกระจาย, โอนความเสี่ยงทั้งหมด หรือเพียงบางส่วนไปยังผู้อื่นที่มั่นใจว่า
สามารถควบคุมความเสี่ยงนั้นได้เป็นอย่างดีทั้งนี้เพื่อลดความสูญเสียที่อาจเกิดขึ้น
เช่น การทาประกันภัย, การจ้างบุคคลภายนอกดาเนินการแทน เป็นต้น
4 การหลีกเลี่ยงความเสี่ยง(Terminate) การหลีกเลี่ยงเหตุการณ์ที่ก่อให้เกิดความเสี่ยง เช่น การหยุดดาเนินกิจกรรมการ
เปลี ่ ย นแปลงวั ต ถุ ป ระสงค์ , เปลี ่ ย นแปลงกิ จ กรรมที ่ เ ป็ น ความเสี ่ ย ง, การ
ปรับเปลี่ยนรูปแบบการทางาน, การลดขนาดของงานหรือกิจกรรมที่จะดาเนินการ
ลง, เลือกกิจกรรมอื่นที่สามารถยอมรับได้มากกว่าเป็นต้น
Doc. Code LB-QP-805
Quality Procedure
Issue No. 02
Issue Date 10/01/2566
การประเมินความเสี่ยงและโอกาส
Page 8 of 9

5.5.2 แนวทางการจัดการความเสี่ยงประกอบด้วย
(1.) หลีกเลี่ยงสิ่งคุกคาม หรือความเสี่ยง คือการหลีกเลี่ยงการทากิจกรรมที่มีความเสี่ยง เช่น กิจกรรมที่ไม่ชานาญ และ
เปลี่ยนไปทากิจกรรมที่ชานาญกว่า หรือการไม่ให้บุคลากรห้องปฏิบัตกิ ารติดต่อกับผูใ้ ช้บริการทดสอบโดยตรงเพื่อหลีกเลีย่ งความเสีย่ งจากความ
ไม่เป็นกลาง
(2.) นาความเสี่ยงไปแสวงหาโอกาส ความเสี่ยงจากเครื่องมือที่ล้าสมัยโอกาสในการปรับปรุง ได้แก่การจัดหาเครื่องมือใหม่
(3.) กาจัดแหล่งกาเนิดความเสี่ยง เช่น ความเสี่ยงจากการปฏิบัติกิจกรรมที่ผิดพลาด ใช้วิธีการกาจัดที่แหล่งกาเนิด โดยการหา
สาเหตุที่แท้จริง และกาจัดความเสี่ยงนั้น
(4.) เปลี่ยนแปลงโอกาสในการเกิด หรือลดผลกระทบ เช่น การฝึกอบรมบุคลากรห้องปฏิบัติการให้ปฏิบัติตามระเบียบปฏิบัติ
หรือกิจกรรมต่าง ๆ อย่างเป็นขั้นเป็นตอนอย่างสม่าเสมอเพื่อลดโอกาสเกิดข้อผิดพลาด
(5.) แบ่งความเสี่ยง เช่น กระจายความเสี่ยงด้านคุณภาพ สารเคมีอาหารเลี้ยงเชื้อ หรือการส่งมอบไม่ทันเวลาโดยขึ้นทะเบียน
ผู้ขายที่ได้รับการยอมรับหลาย ๆ ราย
(6.) คงความเสี่ยงโดยการตัดสินใจ บางกรณีความเสี่ยงที่เกิดขึ้น โอกาสการเกิดอาจน้อยมาก และไม่คุ้มค่าหากต้องลงทุนการ
จัดความเสี่ยงอาจยังคงไว้อยู่แต่ต้องให้ผู้บริหารตัดสินใจการจัดการความเสี่ยงดังกล่าว เช่น การเกิดภัยธรรมชาติ เป็นต้น

5.6 บุคลากรห้องปฏิบัติการที่ได้รับมอบหมายในการประเมินความเสีย่ งนาแผนการจัดการความเสีย่ งตามที่ระบุในแบบฟอร์ม เรื่อง “การ


ประเมินความเสี่ยงและโอกาส” (F-LB-QP-805/1) ไปดาเนินการจัดการ และปฏิบัติครบถ้วนตามระยะเวลาที่กาหนดไว้แล้ว และให้ทาการ
ประเมินประสิทธิผลการดาเนินการตามแผนงานประเมินความเสี่ยง และโอกาส โดยต้องมั่นใจว่าสามารถลดความเสี่ยงและผลกระทบ และ
ก่อให้เกิดการปรับปรุงพร้อมทั้งสรุปลงในแบบฟอร์ม เรื่อง “การประเมินความเสี่ยงและโอกาส” (F-LB-QP-805/1)

5.7 ทีมงานผู้ได้รับมอบหมายในการประเมินความเสี่ยง และโอกาส ทาการสรุปผลการดาเนินการตามวัตถุประสงค์การจัดการความเสี่ยง


และโอกาส เพื่อนาเสนอในที่ประชุมทบทวนระบบบริหารต่อไป โดยปฏิบัติตามระเบียบปฏิบัติ เรื่อง “การทบทวนระบบบริหาร” (LB-QP-809)
Doc. Code LB-QP-805
Quality Procedure
Issue No. 02
Issue Date 10/01/2566
การประเมินความเสี่ยงและโอกาส
Page 9 of 9

6. เอกสารที่เกี่ยวข้อง (Relevant documents)


ลาดับที่ รหัสเอกสาร ชื่อเอกสาร
1 LB-QM-001 คู่มือคุณภาพ ระบบ ISO/IEC 17025:2017 (ข้อกาหนด 8.5)
2 F-LB-QP-805/1 การประเมินความเสี่ยง และโอกาส

You might also like