You are on page 1of 1

เรื่อง "ศกุนตลา" นี้ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้

ทรงพระราชนิพนธ์เป็นบทละครรำ เมื่อ พ.ศ.2455 โดยนำเนื้อเรื่องมา


จากวรรณคดีอินเดีย ซึ่งกาลิทาสรัตนกวีของอินเดียเป็นผู้ประพันธ์ขึ้น
พระองค์ทรงมีกลวิธีการประพันธ์ที่มีบทพากษ์และบทเจรจาแทรกไว้
ด้วย อันเป็นรูปแบบใหม่ที่แตกต่างไปจากบทละครรำของไทยในอดีต

"ศกุนตลา" เป็นเรื่องแทรกอยู่ในมหากาพย์มหาภารตะ กล่าวถึงเรื่อง


ราวความรักระหว่างศกุนตลาธิดาเลี้ยงของฤษีกัณวะเป็นผู้มีความงาม
บริสุทธิ์ผุดผ่อง กับท้าวทุษยันต์กษัตริย์ผู้มีคุณธรรม แต่ความรักของคน
ทั้งสองต้องพบอุปสรรค เนื่องมาจากผลคำสาปของฤษีทุรวาส การดำเนิน
เรื่องมีความสนุกสนานชวนให้ติดตาม ทั้งยังมีโวหารที่ไพเราะงดงามช่วย
เพิ่มอรรถรสในการอ่านให้มีมากยิ่งขึ้น

พระกัณวะดาบส พบพระธิดาน้อยอยู่ในป่าแต่เพียงลำพัง จึงพาไปไปเลี้ยงดูอย่างธิดา โดยให้นามว่าศกุณตลา


ต่อมานางเติบโตเป็นสาวแรกรุ่นที่งดงาม นางได้พบกับท้าวทุษยันต์ กษัตริย์จันทรวงศ์ แห่งนครหัสดิน ซึ่งเสด็จ
ประพาสป่าเพื่อล่าสัตว์ ท้าวทุษยันต์ตกหลุมรักนาง และได้มอบแหวนวงหนึ่งให้แก่นางก่อนเดินทางกลับบ้านเมือง
เช้าวันหนึ่งพระฤาษีทุรวาส ผู้มีปากร้ายได้มาเรียกนาง แต่นางไม่รู้ตัวด้วยกำลังป่วยเป็นไข้ ทำให้พระฤาษีทุรวาส
โกรธ สาปให้นางถูกคนรักจำไม่ได้ ต่อมาพระฤาษีทุรวาสหายโมโหแล้วจึงรู้ว่านางไม่ได้จงใจ จึงให้พรแก่นางว่า
หากคนรักของนางได้เห็นแหวนที่ให้ไว้ก็จะจำนางได้ ส่วนพระกัณวะดาบสกลับมายังอาศรม ได้ทราบเรื่องราวต่างๆ
ของนางกับท้าวทุษยันต์ จึงส่งนางไปให้ท้าวทุษยันต์จัดพิธีอภิเษก แต่ในระหว่างทางนางทำแหวนตกหายไปใน
แม่น้ำ เมื่อไปถึงที่หมาย ท้าวทุษยันต์จึงจำนางไม่ได้ จนกระทั่งกุมภิล ชาวประมงจับได้ปลาที่กลืนแหวนนั้นไปจึง
นำไปถวาย เมื่อท้าวทุษยันต์เห็นก็ได้สติ จำเรื่องราวต่างๆ ได้ สุดท้าย ท้าวทุษยันต์ก็ได้พบกับนางศกุนตลาอีกครั้ง
หลังจากพลัดพรากจากกันไปเนิ่นนาน

You might also like