You are on page 1of 24

1

รายงานการวิจัย

ดัชนีความคุ้มค่าในการเตรียมเลือดสำหรับการผ่าตัดคลอดทางหน้าท้องกรณีไม่ฉุกเฉิน
โรงพยาบาลบึงกาฬ
(Effectiveness index of routine crossmatch for elective caesarean section in
Buengkan Hospital)
ปานทิพย์ วงศ์พุฒ

กลุ่มงานวิสัญญีวิทยา โรงพยาบาลบึงกาฬ บึงกาฬ 38000 ประเทศไทย

บทคัดย่อ
บทนำ: การเตรียมเลือดเพื่อผ่าตัดคลอดทางหน้าท้องกรณีไม่ฉุกเฉิน (elective ceasarean section) แบบตลอด
กระบวนการ (complete crossmatch) พบว่ามีการเตรียมเลือดมากเกินที่ใช้จริงในการผ่าตัด ทำให้เสียโอกาสใน
การนำทรัพยากรไปใช้ในผู้ป่วยที่มีความจำเป็นเร่งด่วนกว่า

วัตถุประสงค์: 1.เพื่อศึกษาความคุ้มค่าของการเตรียมเลือดครบทุกขั้นตอน (complete cross-matching ในการ


ผ่าตัดคลอดทางหน้าท้องกรณีไม่ฉุกเฉินในโรงพยาบาลบึงกาฬ 2.เพื่อศึกษาจำนวนและร้อยละของเลือดที่เตรียม
สำหรับการผ่าตัดคลอดทางหน้าท้องกรณีไม่ฉุกเฉิน แล้วไม่ได้นำมาใช้ 3.เพื่อศึกษาประมาณการค่าใช้จ่ายสำหรับ
การเตรียมเลือดแบบตรวจครบทุกขั้นตอน(complete crossmatch) และแบบตรวจคัดกรองแอนติบอดี (type
and screen)

วิธีการศึกษา: รูปแบบวิจัยเชิงพรรณนา (Descriptive research design) โดยใช้ข้อมูลผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัด


คลอดทางหน้าท้องกรณีไม่ฉุกเฉินในโรงพยาบาลบึงกาฬ ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2562 ถึง 30 กันยายน พ.ศ.
2565 โดยวัด C/T ratio (อัตราการเตรียมเลือด : การใช้เลือด), ตัวชี้วัดความคุ้มค่า (transfusion probability;
%T), transfusion index (Ti), maximal surgical blood order schedule(MSBOS) และค่าใชจายในการ
เตรียมเลือดเพื่อการผาตัด

ผลการศึกษา: ผูปวยที่เขารับการผาตัดคลอดทางหน้าท้องกรณีไม่ฉุกเฉิน จำนวน 973 ราย มีการเตรียมเลือดเพื่อ


การผ่าตัดจำนวน 1,870 ยูนิต สำหรับผู้ป่วย 966 ราย แต่มีการใช้เลือดจริงเพียง 25 ยูนิต สำหรับผูปวย 17 ราย
2

คิดเปนคา C/T ratio เท่ากับ 74.8, %T เท่ากับ 1.75, Ti เท่ากับ 0.026 ยูนิตต่อราย และ MSBOS เท่ากับ 0.039
และมีค่าใช้จ่ายจากการเตรียมเลือดเพื่อการผ่าตัดเท่ากับ 504,900 บาท แต่มีการใช้จริง 6,750 บาท

สรุป : การศึกษาครั้งนี้พบว่ามีการเตรียมเลือดเพื่อการผ่าตัดคลอดทางหน้าท้องกรณีไม่ฉุกเฉินมากกว่าการใช้จริง
และไม่ควรใช้การเตรียมเลือดด้วยวิธีปกติ(routine crossmatch)

คำสำคัญ การเตรียมเลือดเพื่อการผ่าตัดคลอดกรณีไม่ฉุกเฉิน, การเตรียมเลือดเพื่อการผ่าตัดด้วยวิธีปกติ


ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา
การผ่าตัดคลอดทางหน้าท้อง (caesarean section, C/S) เป็นหัตถการทางสูติศาสตร์ที่มีการปฏิบัติกัน
อย่างแพร่หลายทั่วโลก1 โดยการผ่าตัดคลอดทางหน้าท้องเพิ่มความเสี่ยงการเกิดเสียเลือดระหว่างผ่าตัด และภาวะ
ตกเลือดหลังคลอด (postpartum hemorrhage) ทำให้การผ่าตัดคลอดทางหน้าท้องเป็นสาเหตุสำคัญในการให้
เลือดในสูติศาสตร์หัตถการ1,2,3 โดยความเสี่ยงในการเกิดภาวะตกเลือดหลังคลอด ได้แก่ ภาวการณ์เกาะตัวของรก
ผิดปกติ(placenta previa,placenta adherent and abruption placenta), กล้ามเนื้อมดลูกขยายตัวมาก
เกินไป(การตั้งครรภ์แฝด, การตั้งครรภ์แฝดน้ำ, ทารกตัวโต), การตั้งครรภ์และการคลอดตั้งแต่ 4 ครั้งขึ้นไป3,5

การให้เลือด(blood transfusion) ถึงแม้จะเป็นหัตถการที่จำเป็น แต่ยังมีข้อจำกัดในการขาดแคลนผู้


บริจาค, ความเสี่ยงในการติดเชื้อไวรัส เช่น HIV, HBV, HCV การเกิดปฏิริยาหลังได้รับเลือด และการเพิ่มค่าใช้จ่าย
ในกระบวนการเตรียมเลือด6,7

การเตรียมเลือดก่อนการผ่าตัดกรณีไม่ฉุกเฉิน(elective surgery) พบว่ามักมีการจองเลือดมากเกินกว่าที่


ใช้จริงในการผ่าตัด ทำให้เกิดการเตรียมเลือดที่ไม่จำเป็น เสียโอกาสในการนำทรัพยากรไปใช้ในผู้ป่วยที่มีความ
จำเป็นเร่งด่วนกว่ารวมถึงเพิ่มค่าใช้จ่ายในการเตรียมเลือด เพิ่มเวลาและเพิ่มภาระงานแก่เจ้าหน้าที่โดยไม่จำเป็น1,2

การเตรียมเลือดให้ผู้ป่วยต้องทดสอบความเข้ากันได้ของเลือด(compatibility test) ระหว่างผู้บริจาค


เลือด(donor)กับผู้รับเลือด(recipient) เพื่อป้องกันการเกิดปฏิกิริยาหลังได้รับเลือด โดยตรวจสอบหาแอนติบอดีใน
ซีรั่มผู้ป่วยที่จะทำปฏิกิริยากับเม็ดเลือดแดงผู้บริจาคและตรวจสอบหาแอนติบอดีในซีรั่มผู้บริจาคที่จะทำปฏิกิริยา
กับเม็ดเลือดผู้ป่วย โดยดำเนินการตามมาตรฐานของสมาคม The American Association of Blood bank
(AABB) การเตรียมเลือดครบทุกขั้นตอน (complete cross-matching) เป็นการเตรียมเลือดวิธีหนึ่งซึ่งทำการ
ทดสอบปฏิกิริยาระหว่างเลือดผู้ป่วยกับเลือดผู้รับบริจาคโดยทดสอบหลายสภาวะ (multiple phase) 3 ขั้นตอน
3

คือ ที่อุณหภูมิห้อง 22 องศาเซลเซียส (Room temperature phase) อุ่นที่อุณหภูมิ 37 องศาเซลเซียส (thermal


phase) และตามด้วยขั้นตอนแอนติโกลบูลิน (Anti-globulin phase) เหมาะสำหรับการผ่าตัดที่มีโอกาสการใช้
เลือดมาก ส่วนการผ่าตัดที่มีโอกาสการใช้เลือดน้อยจะเตรียมเลือดโดยวิธีตรวจคัดกรองแอนติบอดี (type and
screen) ทำเฉพาะขั้นตอนที่ 1 และ 2 คือ เป็นการตรวจหมู่เลือด ABO, Rh และการตรวจกรอง antibody ไว้
ก่อน เมื่อผู้ป่วยจำเป็นต้องใช้เลือดคลังเลือดจึงนำมาทำ complete cross-matching ต่อจนครบทุกขั้นตอน8

จากการศึกษาพบว่ามีการเตรียมเลือดก่อนการผ่าตัดในกรณีไม่ฉุกเฉินมากเกินความจำเป็น โดยวัดจาก
อัตราส่วนการจองเลือดเป็นยูนิตก่อนผ่าตัดต่อการได้รับเลือดจริง (cross-matched to transfusion ratio; C/T
ratio) มีมากเกินค่ามาตรฐาน คือ 2.5 ถึงร้อยละ 97.564 และจากการศึกษาดังกล่าวพบว่าหากมีการจองเลือดก่อน
การผ่าตัดกรณีไม่ฉุกเฉินตามแนวทางการจองเลือดในปริมาณที่เหมาะสมกับการผ่าตัด (maximum surgical
blood order schedule; MSBOS) ซึ่งกำหนดชนิดและปริมาณการจองเลือด (cross-matched blood order)
ให้เหมาะสมกับชนิดการผ่าตัด จะสามารถลดค่าใช้จ่ายของผู้ป่วยลงได้ร้อยละ 60 ในหลายประเทศได้นำ MSBOS
มาใช้ พบว่าสามารถลดการเตรียมเลือดที่มากเกินความจำเป็นได้ ซึ่งรายละเอียดของระบบดังกล่าวมีความแตกต่าง
กันในแต่ละโรงพยาบาล6

ปัจจุบันแนวทางปฏิบัติโรงพยาบาลบึงกาฬในการเตรียมเลือดสำหรับการผ่าตัดคลอดทางหน้าท้องกรณีไม่
ฉุกเฉิน (Elective ceasarean section) จะมีการเตรียมเลือดครบทุกขั้นตอน (complete cross-matching)
จำนวน 2 ยูนิต หรือตามการประเมินของสูติแพทย์ ซึ่งในทางปฏิบัติหญิงตั้งครรภ์ที่มารับการผ่าตัดคลอดทางหน้า
ท้องกรณีไม่เร่งด่วนและไม่มีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะตกเลือดหลังคลอด โดยส่วนมากไม่ได้รับเลือดที่เตรียมไว้
ระหว่างการรักษาในโรงพยาบาล

โดยการศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความคุ้มค่าของการเตรียมเลือดครบทุกขั้นตอน (complete
cross-matching เพื่อการผ่าตัดคลอดทางหน้าท้องกรณีไม่ฉุกเฉินในโรงพยาบาลบึงกาฬ เพื่อใช้เป็นแนวทางในการ
ปรับปรุงแนวทางในการเตรียมเลือดสำหรับการผ่าตัดคลอดทางหน้าท้องกรณีไม่ฉุกเฉินอย่างเหมาะสม เพื่อให้เกิด
การใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด

วัตถุประสงค์การวิจัย
1.เพื่อศึกษาความคุ้มค่าของการเตรียมเลือดครบทุกขั้นตอน (complete cross-matching ในการผ่าตัด
คลอดทางหน้าท้องกรณีไม่ฉุกเฉินในโรงพยาบาลบึงกาฬ
4

2.เพื่อศึกษาจำนวนและร้อยละของเลือดที่เตรียมสำหรับการผ่าตัดคลอดทางหน้าท้องกรณีไม่ฉุกเฉิน แล้ว
ไม่ได้นำมาใช้

3.เพื่อศึกษาประมาณการค่าใช้จ่ายสำหรับการเตรียมเลือดแบบตรวจครบทุกขั้นตอน(complete cross-
matching) และแบบตรวจคัดกรองแอนติบอดี (type and screen)
สมมติฐานการวิจัย (หากมี) ระบุเป็นข้อๆ
-

กรอบแนวคิดในการวิจัย

ปัจจัยด้านผู้ป่วย
- ภาวะโลหิตจางก่อนการตั้งครรภ์
- โรคที่พบร่วมขณะตั้งครรภ์
ปัจจัยที่มีผลในการได้รับเลือด - การตั้งครรภ์แฝด การได้ใช้ส่วนประกอบของเลือด
ขณะผ่าตัดคลอด จริงในระหว่างการผ่าตัด
ปัจจัยด้านการผ่าตัด
-ปริมาณเลือดที่สญ
ู เสียขณะการผ่าตัด
-ชนิดของแผลผ่าตัด
การเตรียมเลือดก่อนการผ่าตัด
-ชนิดของการให้ยาระงับความรูส้ ึก
ระหว่างการผ่าตัด

ส่วนประกอบของเลือดที่เตรียมไว้
ผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดคลอด แต่ไม่ได้ถูกนำมาใช้
ทางหน้าท้องกรณีไม่ฉุกเฉิน
5

วิธีดำเนินการวิจัย
ใช้รูปแบบวิจัยเชิงพรรณนา (Descriptive research design) เมื่อได้รับการอนุมัติจาก
คณะกรรมการพิจารณางานวิจัยในมนุษย์ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดบึงกาฬ (เอกสารรับรองเลขที่ BKHE 2022-
09) โดยใช้ข้อมูลผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดคลอดทางหน้าท้องกรณีไม่ฉุกเฉินในโรงพยาบาลบึงกาฬ ระหว่างวันที่ 1
ตุลาคม พ.ศ. 2562 ถึง 30 กันยายน พ.ศ. 2565 โดยรวบรวมข้อมูลจาก 2 แหล่ง ได้แก่

1. ฐานข้อมูลของกลุ่มงานวิสัญญีวิทยา ซึ่งเป็นข้อมูลจาก anesthetic record ข้อมูลที่รวบรวมได้แก่ เพศ


อายุ น้ำหนัก ส่วนสูง ดัชนีมวลกาย(BMI) ชนิดการผ่าตัด วันที่ผ่าตัด การวินิจฉัย ภาวะผู้ป่วยก่อนผ่าตัด (ASA
physical status) ความเข้มข้นเลือดก่อนผ่าตัด( baseline hematocrit), estimate blood loss (ml), การจอง
เลือดก่อนการผ่าตัด การให้เลือดระหว่างผ่าตัด

2. ฐานข้อมูลเวชระเบียนผู้ป่วยในทางคอมพิวเตอร์ โรงพยาบาลบึงกาฬ ข้อมูลที่รวบรวมได้แก่ การให้


เลือดหลังผ่าตัดภายใน 24 ชั่วโมงหลังผ่าตัด, ความเข้มข้นเลือดหลังผ่าตัด( post operative hematocrit)

เกณฑ์ที่เลือกผู้ป่วยมาศึกษา (inclusion criteria)

ผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดคลอดทางหน้าท้องกรณีไม่ฉุกเฉินในโรงพยาบาลบึงกาฬ ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม


พ.ศ. 2562 ถึง 30 กันยายน พ.ศ. 2565

การวัดผล

บันทึกรายละเอียดการเตรียมและการใช้เลือดจริงของผู้ป่วยที่มารับการผ่าตัดตามเกณฑ์กำหนด การ
คำนวณความคุ้มค่าใช้เกณฑ์ ดังนี้

1.Cross-match to transfusion ratio(C/T ratio) หมายถึง จำนวนยูนิตของ PRC ที่ cross-matched


หารด้วยจำนวนยูนิตของ PRC ที่ให้ (ratio of 2.5 is consideration as significant for blood usage)
2.Transfusion probability(%T) หมายถึง จำนวนผู้ป่วยที่ได้รับเลือดหารด้วยจำนวนผู้ป่วยที่ cross-
matched คูณด้วย 100 (value of 30 was considered indication of significant blood usage)
6

3.Transfusion index(Ti) หมายถึง จำนวนยูนิตของ PRC ที่ถูกใช้หารด้วยจำนวนยูนิตของ PRC ที่


cross-matched (value of 0.5 was considered indication of significant blood utilization)

4.Maximal surgical blood order schedule(MSBOS) หมายถึง การเตรียมเลือดในปริมาณที่


เหมาะสมกับการผ่าตัดเท่ากับ Ti คูณด้วย 1.5

เกณฑ์บ่งชี้ว่ามีการเตรียมและใช้เลือดอย่างเหมาะสม(significant blood utilization)

1.ค่า C/T ratio น้อยกว่า 2.5

2.%T มากกว่า 30

3.Ti มากกว่า 0.5

แผนการวิเคราะห์ข้อมูลและสถิติที่ใช้ (Statistical analyses)

การวิ จ ั ย ครั ้ ง นี ้ ว ิ เ คราะห์ ข ้ อ มู ล โดยใช้ โ ปรแกรมสถิ ต ิ ส ำเร็ จ รู ป IBM SPSS Statistics for Windows
Version 25.0. (IBM Corp., Armonk, New York, 2015) โดยทุกการทดสอบกำหนดเป็น แบบสองทาง (two-
tailed test) และระดับความมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 (α=0.05) ซึ่งรายละเอียดการวิเคราะห์ข้อมูลมีดังต่อไปนี้

1. สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่ามัธยฐาน และพิสัยควอ


ไทล์ใช้นำเสนอข้อมูลทั่วไปของผู้ป่วย ข้อมูลการผ่าตัดคลอด ข้อมูลการเตรียมเลือด และข้อมูลทารก

2. การวิเคราะห์ปัจจัยความเจ็บป่วยก่อนการตั้งครรภ์ที่ส่งผลต่อการให้เลือด ทำการวิเคราะห์ตัวแปรเดียว
(Univariable analysis) นำเสนอค่ า Crude odds ratio (95%CI) จากนั ้ น ทำการวิ เ คราะห์ ต ั ว แปรพหุ
(Multivariable analysis) เพื่อควบคุมอิทธิพลของตัวแปรกวนซึ่งได้แก่ อายุ ดัชนีมวลกาย (BMI) และระดับ ASA
Physical status โดยใช้สถิติ Binary logistic regression นำเสนอค่า Adjusted risk ratio (95%CI)
7

3. การวิเคราะห์เปรียบเทียบการสูญเสียเลือดและการให้สารน้ำ Crystalloid ขณะผ่าตัดคลอดตามชนิด


การผ่าตัดคลอด การให้ยาระงับความรู้สึก และข้อบ่งชี้การผ่าตัดคลอด ใช้สถิติ Mann-Whitney U test และ
Kruskal-Wallis test

4. การทดสอบการแจกแจงของข้อมูล (Normality test) ทำการทดสอบด้วย Kolmogorov-Smirnov

test หากมีค่านัยสำคัญทางสถิติของการทดสอบมากกว่านัยสำคัญทางสถิติที่กำหนดไว้ที่ระดับ 0.05 (P>0.05) จะ


แสดงให้เห็นว่า ข้อมูลดังกล่าวที่ใช้ในการทดสอบมีการแจกแจงแบบเป็นโค้งปกติ (Normal distribution)
ผลการวิจัย
Table 1 Baseline characteristics of patient underwent elective C/S during study period

Baseline characteristics n = 973


Age (years), mean±SD 29.13±6.13
Body weight (kg), mean±SD 72.15±12.42
Height (cm), mean±SD 157.77±5.96
BMI (kg/m2), mean±SD 29.03±4.56
ASA PS, n(%) (n=970)
PS II 953 (97.9)
PS III 17 (1.7)
Obesity, n(%) 329 (33.8)
Morbid obesity, n(%) 17 (1.7)
Elderly pregnancy, n(%) 186 (19.1)
Gestational diabetes A1, n(%) 37 (3.8)
Gestational diabetes A2, n(%) 26 (2.7)
Overt diabetes mellitus, n(%) 9 (0.9
Anemia, n(%) 18 (1.8)
Essential hypertension, n(%) 12 (1.2)
Gestational hypertension, n(%) 3 (0.3)
Pre-operative hemoglobin (g/dl), median (IQR) 12.3 (11.6, 13.1)
Pre-operative hematocrit (%), median (IQR) 36.7 (34.7, 38.9)
Post-operative hematocrit (%), median (IQR) 37 (35, 40)
Estimate blood loss (ml), median (IQR) 600 (400, 600)
Data shown as number(%) and mean ± SD
8

ASA PS; American Society of Anesthesiologists physical status;

• ASA PS I = normal healthy patient


• ASA PS II = patient with mild systemic disease
• ASA PS III = patient with severe systemic disease
Obesity; BMI > 30 kg/m2

Morbid obesity; BMI > 40 kg/m2

Elderly pregnancy; pregnancy woman over age 35 years old.

จากตารางที่ 1 แสดงข้อมูลทั่วไปของผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดคลอดทางหน้าท้องกรณีไม่ฉุกเฉินจำนวน 973


ราย พบว่า ผู้ป่วยมีอายุเฉลี่ยเท่ากับ 29.13±6.13 ปี น้ำหนักเฉลี่ยเท่ากับ 72.15±12.42 กิโลกรัม ส่วนสูงเฉลี่ย
เท่ากับ 157.77±5.96 เซนติเมตร ดัชนีมวลกายเฉลี่ยเท่ากับ 29.03±4.56 กก/ม2 ระดับ ASA PS อยู่ในระดับ PS II
ร้อยละ 97.9 และระดับ PS III เพียงร้อยละ 1.7 โดยพบมีภาวะอ้วน (BMI>30 kg/m2) ร้อยละ 33.8 และโรคอ้วน
(BMI>40 kg/m2) ร้อยละ 1.7 เป็นผู้ป่วยตั้งครรภ์ที่มีอายุมากกว่า 35 ปี ร้อยละ 19.1 มีโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์
A1 (GDMA1) ร้อยละ 3.8 และ A2(GDMA2) ร้อยละ 2.7 มีภาวะโลหิตจางก่อนการผ่าตัดคลอด ร้อยละ 1.8 มี
โรคเบาหวานก่อนการตั้งครรภ์ร้อยละ 0.9 มีโรคความดันโลหิตสูงชนิดไม่ทราบสาเหตุร้อยละ 1.2 มีโรคความดัน
โลหิตสูงขณะตั้งครรภ์ร้อยละ 0.3 ระดับ hemoglobin ก่อนผ่าตัดคลอดมีค่ามัธยฐานเท่ากับ 12.3 (IQR 11.6,
13.1) g/dl ระดับ hematocrit ก่อนและหลังผ่าตัดคลอดมีค่ามัธยฐานเท่ากับ 36.7 (IQR 34.7, 38.9) และ 37
(35, 40) g/dl ตามลำดับ การสูญเสียเลือดขณะผ่าตัดมีค่ามัธยฐานเท่ากับ 600 (IQR 400, 600) มล.

Table 2 Operative finding during study period

Operative finding n = 973


Indication for caesarean section, n(%)
CPD 435 (44.7)
Previous C/S 369 (37.9)
Fetal malposition (e.g. Breech presentation) 88 (9.0)
Post term pregnancy 69 (7.1)
Fetal macrosomia 5 (0.5)
9

Operative finding n = 973


IUGR 3 (0.3)
Twin pregnancy 2 (0.2)
Placenta previa 2 (0.2)
Blood transfusion, n(%) 17 (1.7)
None 956 (98.3)
Pre-operation blood transfusion 15 (1.5)
Intra-operation blood transfusion 0 (0.0)
PACU blood transfusion 0 (0.0)
Post-operation blood transfusion 2 (0.2)
Postpartum hemorrhage (Blood loss >1,000 ml), n(%) 2 (0.2)
Pre-operative anemia (Hb <10 g/dl), n(%) 33 (3.4)
Type of incision, n(%)
Vertical midline incision 286 (29.4)
Pfannenstiel incision 687 (70.6)
Type of anesthesia, n(%)
Spinal anesthesia 692 (71.1)
General anesthesia 281 (28.9)
Fluid intra-operation crystalloid (ml), median (IQR) 1,000 (700, 1,100)
CPD: Cephalopelvic disproportion; IUGR: Intrauterine growth retardation; PACU: Post anesthesia care unit

จากตารางที่ 2 แสดงข้อมูลการผ่าตัดคลอดพบว่า ข้อบ่งชี้ในการผ่าตัดคลอดส่วนใหญ่เป็น CPD ร้อยละ


44.7 รองลงมาเป็น previous caesarean section ร้อยละ 37.9 fetal malposition ร้อยละ 9.0 post term
ร้อยละ 7.1 fetal macrosomia ร้อยละ 0.5 IUGR ร้อยละ 0.3 ครรภ์แฝดร้อยละ 0.2 และ placenta previa
ร้อยละ 0.2 ตามลำดับ ผู้ป่วยได้รับการให้เลือดจำนวน 17 ราย (ร้อยละ 1.7) โดยแบ่งเป็นการให้เลือดก่อนการ
ผ่าตัดคลอด 15 ราย (ร้อยละ 1.5) และหลังการผ่าตัดคลอด 2 ราย (ร้อยละ 0.2) มีการตกเลือดหลังคลอดร้อยละ
0.2 มีภาวะโลหิตจางก่อนการผ่าตัดคลอดร้อยละ 3.4 การผ่าตัดคลอดส่วนใหญ่ผ่าตัดแบบ pfannenstiel incision
ร้อยละ 70.6 และ vertical midline incision ร้อยละ 29.4 ตามลำดับ การให้ยาระงับความรู้สึกส่วนใหญ่เป็น
spinal anesthesia ร้อยละ 71.1 และ general anesthesia ร้อยละ 28.9 ระดับการให้สารน้ำ Crystalloid ขณะ
ผ่าตัดคลอดมีค่ามัธยฐานเท่ากับ 1,000 (IQR 700, 1,100) มล.
10

Table 3 Blood component preparation

n (%) PRC (unit) FFP (unit) Platelet (unit)


None 7 (0.7) 0 0
1 65 (6.7) 0 0
2 898 (92.3) 0 0
3 3 (0.3) 0 0
Total 973 (100.0) 0 0
จากตารางที่ 3 แสดงข้อมูลการเตรียมเลือดก่อนการผ่าตัด พบว่าเตรียม Packed red cells 2 ยูนิต ร้อย
ละ 92.3, 1 ยูนิต ร้อยละ 6.7 และ 3 ยูนิต ร้อยละ 0.3 ตามลำดับ โดยผู้ป่วยจำนวน 7 ราย ไม่มีการเตรียมเลือด
ก่อนการผ่าตัด โดยผู้ป่วยทั้งหมดไม่ได้รับการเตรียม fresh frozen plasma และเกล็ดเลือด

Table 4 pregnancy morbidities in transfusion versus non-transfusion patients

Pregnancy morbidities Transfused(n=17) Not transfuses (n=956) Crude odds ratio (95%CI) P-value
Essential hypertension
Yes 0 (0.0) 12 (1.3) N/A 1.000#
No 17 (100.0) 944 (98.7) Reference
Gestational hypertension
Yes 0 (0.0) 3 (0.3) N/A 1.000#
No 17 (100.0) 953 (99.7) Reference
Overt diabetes mellitus
Yes 0 (0.0) 9 (0.9) N/A 1.000#
No 17 (100.0) 947 (99.1) Reference
Gestational diabetes A1
Yes 0 (0.0) 37 (3.9) N/A 1.000#
No 17 (100.0) 919 (96.1) Reference
Gestational diabetes A2
Yes 0 (0.0) 26 (2.7) N/A 1.000#
No 17 (100.0) 930 (97.3) Reference
Pre-operative anemia
Yes 14 (82.4) 19 (2.0) 229.90 (60.98, 866.71) <0.001*
No 3 (17.6) 936 (98.0) Reference
11

Pregnancy morbidities Transfused(n=17) Not transfuses (n=956) Crude odds ratio (95%CI) P-value
Obesity
Yes 2 (11.8) 327 (34.2) 0.26 (0.06, 1.13) 0.072
No 15 (88.2) 629 (65.8) Reference
Morbid obesity
Yes 0 (0.0) 17 (1.8) N/A 1.000#
No 17 (100.0) 939 (98.2) Reference
Elderly pregnancy
Yes 2 (11.8) 184 (19.2) 0.56 (0.13, 2.47) 0.443
No 15 (88.2) 772 (80.8) Reference
N/A: Odds ratio not available because n=0 in 2x2 table

Data were analyzed with Simple logistic regression, Fisher exact test#

* Statistically significant at the 0.05 level

จากตารางที่ 4 แสดงการวิเคราะห์ปัจจัยความเจ็บป่วยก่อนการตั้งครรภ์ที่ส่งผลต่อการให้เลือดพบว่า การ


มีภาวะโลหิตจางก่อนการผ่าตัดคลอดส่งผลต่ อการให้เลือดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (Crude OR
229.90 [95%CI 60.98, 866.71], P<0.001) หรือกล่าวได้ว่าผู้ป่วยที่ได้รับการให้เลือดพบภาวะโลหิตจางก่อนการ
ผ่าตัดคลอดมากเป็น 229.90 เท่า เมื่อเทียบกับผู้ป่วยที่ไม่ได้รับการให้เลือด ขณะที่โรคความดันโลหิต ชนิดไม่ทราบ
สาเหตุ โรคความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์ โรคเบาหวานก่อนการตั้งครรภ์ โรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ A1 และ A2
ภาวะอ้วน โรคอ้วน และมารดาตั้งครรภ์อายุมาก ไม่ส่งผลต่อการให้เลือดในทางสถิติ (P>0.05)

Table 5 Multivariable analysis of Pre-pregnancy morbidities in transfusion versus non-transfusion patients

Pre-pregnancy morbidities Adjusted odds ratio 95%CI P-value


Pre-operative anemia
Yes 188.99 45.25, 789.17 <0.001*
No Reference
Obesity
Yes 0.91 0.08, 10.67 0.940
12

No Reference
Elderly pregnancy
Yes 0.44 0.04, 5.56 0.525
No Reference
Data were analyzed with Multiple logistic regression (Enter method) and adjusted for age, BMI, and ASA PS
class.

* Statistically significant at the 0.05 level

จากตารางที่ 5 แสดงการวิเคราะห์พหุตัวแปรของปัจจัยความเจ็บป่วยก่อนการตั้งครรภ์ที่ส่งผลต่อการให้
เลือดระหว่างการผ่าตัดคลอดทางหน้าท้อง โดยควบคุมอิทธิพลของตัวแปรอายุ ดัชนีมวลกาย และระดับ ASA PS
ซึ่งเป็นตัวแปรกวน (Confounding) ผลการศึกษาพบว่า การมีภาวะโลหิตจางก่อนการผ่าตัดคลอดส่งผลต่อการให้
เลือดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (Adjusted OR 188.99 [95%CI 45.25, 789.17], P<0.001) หรือ
กล่าวได้ว่าผู้ป่วยที่ได้รับการให้เลือดพบภาวะโลหิตจางก่อนการผ่าตัดคลอดมากเป็น 189 เท่า เมื่อเทียบกับผู้ป่วยที่
ไม่ได้รับการให้เลือด
13

Table 6 Blood and blood component preparation include intra-operative blood loss and fluid replacement during
elective ceasarean section

Blood and blood components preparation Fluid replacement: Crystalloids


Number
Number of PRC FFP Platelet TBL (ml) Number of Volume (ml),
(n)
patients (%) (unit) (unit) (unit) patients median (IQR)
Elective C/S 973 966 (99.3) 1,870 0 0 600 (400, 600) 972 1,000 (700, 1,100)
Type of incision
Vertical midline 286 282 (98.6) 528 0 0 500 (400, 600) 285 900 (600, 1,100)
incision
Pfannenstiel incision 687 684 (99.6) 1,342 0 0 600 (400, 600) 685 1,000 (700, 1,200)
P-value 0.022* <0.001*
Type of anesthesia
Spinal anesthesia 692 689 (99.6) 1,330 0 0 600 (400, 600) 690 1,100 (950, 1,200)
General anesthesia 281 277 (98.6) 540 0 0 500 (400, 600) 280 600 (500, 700)
P-value 0.101 <0.001*
Indication for C/S
CPD 435 432 (99.3) 853 0 0 600 (400, 600) 434 1,000 (700, 1,150)
Previous C/S 369 366 (99.2) 694 0 0 500 (400, 600) 369 1,000 (700, 1,100)
Fetal malposition 88 87 (98.9) 167 0 0 500 (400, 600) 88 900 (600, 1,100)
Post term 69 69 (100.0) 131 0 0 500 (400, 600) 163 1,000 (600, 1,200)
Macrosomia 5 5 (100.0) 10 0 0 600 (500, 650) 5 1,200 (850, 1,300)
IUGR 3 3 (100.0) 7 0 0 500 (400, -) 3 600 (600, -)
Twin pregnancy 2 2 (100.0) 4 0 0 500 (400, -) 2 850 (600, -)
Placenta previa 2 2 (100.0) 4 0 0 550 (500, -) 2 1,050 (500, -)
P-value# 0.240 0.034*
PRC: Packed red cells, FFP: Fresh frozen plasma, Data were analyzed with Mann-Whitney U test and Kruskal-Wallis test#

* Statistically significant at the 0.05 level


14

(a) (b)
Figure 1 Compare total blood loss (a) and crystalloids volume (b) between vertical midline and pfannenstiel incision

(a) (b)
Figure 2 Compare total blood loss (a) and crystalloids volume (b) between general anesthesia and spinal anesthesia

(a) (b)
Figure 3 Compare total blood loss (a) and crystalloids volume (b) classified by caesarean section indication
15

จากตารางที่ 6 แสดงข้อมูลการเตรียมเลือด การสูญเสียเลือด และการให้สารน้ำ Crystalloid ขณะ


ผ่าตัดคลอดพบว่า ผู้ป่วยที่ได้รับผ่าตัดคลอดมีการเตรียม packed red cells ร้อยละ 99.3 ทั้งหมด 1,870 ยู
นิต โดยผู้ป่วยทั้งหมดไม่ได้รับการเตรียม fresh frozen plasma และเกล็ดเลือด การสูญเสียเลือดมีค่ามัธยฐาน
เท่ากับ 600 (IQR 400, 600) มล. การให้สารน้ำ Crystalloid ขณะผ่าตัดคลอดมีค่ามัธยฐานเท่ากับ 1,000
(IQR 700, 1,100) มล.

เมื่อจำแนกตามชนิดการผ่าตัดคลอดพบว่า ผู้ป่วยผ่าตัดคลอดแบบ Vertical midline incision มีการ


เตรียม packed red cells ร้อยละ 98.6 ทั้งหมด 528 ยูนิต การสูญเสียเลือดมีค่ามัธยฐานเท่ากับ 500 (IQR
400, 600) มล. การให้สารน้ำ Crystalloid ขณะผ่าตัดคลอดมีค่ามัธยฐานเท่ากับ 900 (IQR 600, 1,100) มล.
และผู้ป่วยผ่าตัดคลอดแบบ pfannenstiel incision มีการเตรียม packed red cells ร้อยละ 99.6 ทั้งหมด
1,342 ยูนิต การสูญเสียเลือดมีค่ามัธยฐานเท่ากับ 600 (IQR 400, 600) มล. การให้สารน้ำ Crystalloid ขณะ
ผ่าตัดคลอดมีค่ามัธยฐานเท่ากับ 1,000 (IQR 700, 1,200) มล.

เมื่อเปรียบเทียบการสูญเสียเลือดและการให้สารน้ำ Crystalloid ขณะผ่าตัดคลอดระหว่างการผ่าตัด


คลอดแบบ vertical midline incision และ pfannenstiel incision พบว่า การสูญเสียเลือดในการผ่าตัด
แบบ pfannenstiel incision สูงกว่าแบบ vertical midline incision อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
(P=0.022) และการให้สารน้ำ Crystalloid ขณะผ่าตัดคลอดในการผ่าตัดแบบ pfannenstiel incision สูงกว่า
แบบ vertical midline incision อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (P<0.001)

เมื่อจำแนกตามการให้ยาระงับความรู้สึกพบว่า ผู้ป่วยที่ได้รับการให้ยาระงับความรู้สึกแบบ spinal


anesthesia มีการเตรียม packed red cells ร้อยละ 99.6 ทั้งหมด 1,330 ยูนิต การสูญเสียเลือดมีค่ามัธย
ฐานเท่ากับ 600 (IQR 400, 600) มล. การให้สารน้ำ Crystalloid ขณะผ่าตัดคลอดมีค่ามัธยฐานเท่ากับ 1,100
(IQR 950, 1,200) มล. และผู้ป่วยที่ได้รับการให้ยาระงับความรู้สึกแบบ general anesthesia มีการเตรียม
packed red cells ร้อยละ 98.6 ทั้งหมด 540 ยูนิต การสูญเสียเลือดมีค่ามัธยฐานเท่ากับ 500 (IQR 400,
600) มล. การให้สารน้ำ Crystalloid ขณะผ่าตัดคลอดมีค่ามัธยฐานเท่ากับ 600 (IQR 500, 700) มล.

เมื่อเปรียบเทียบการสูญเสียเลือดและการให้สารน้ำ Crystalloid ขณะผ่าตัดคลอดระหว่างการให้ยา


ระงับความรู้สึกแบบ spinal anesthesia และ general anesthesia พบว่า การให้สารน้ำ crystalloid ขณะ
ผ่าตัดคลอดในการให้ยาระงับความรู้สึกแบบ spinal anesthesia สูงกว่าแบบ general anesthesia อย่างมี
16

นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (P<0.001) ขณะที่การสูญเสียเลือดระหว่างการให้ยาระงับความรู้สึก แบบ


spinal anesthesia และ general anesthesia ไม่มีความแตกต่างกันในทางสถิติ (P=0.101)

เมื่อจำแนกตามข้อบ่งชี้การผ่าตัดคลอดพบว่า ผู้ป่วยที่มีข้อบ่งชี้เป็น CPD มีการเตรียม packed red


cells ร้อยละ 99.3 ทั้งหมด 853 ยูนิต การสูญเสียเลือดมีค่ามัธยฐานเท่ากับ 600 (IQR 400, 600) มล. การให้
สารน้ำ crystalloid ขณะผ่าตัดคลอดมีค่ามัธยฐานเท่ากับ 1,000 (IQR 700, 1,150) มล. ผู้ป่วยที่มีข้อบ่งชี้เป็น
previous C/S มีการเตรียม packed red cells ร้อยละ 99.2 ทั้งหมด 694 ยูนิต การสูญเสียเลือดมีค่ามัธย
ฐานเท่ากับ 500 (IQR 400, 600) มล. การให้สารน้ำ crystalloid ขณะผ่าตัดคลอดมีค่ามัธยฐานเท่ากับ 1,000
(IQR 700, 1,100) มล. ผู้ป่วยที่มีข้อบ่งชี้เป็น fetal malposition มีการเตรียม packed red cells ร้อยละ
98.9 ทั้งหมด 167 ยูน ิต การสูญเสียเลือดมีค่ามัธยฐานเท่ากับ 500 (IQR 400, 600) มล. การให้ส ารน้ำ
crystalloid ขณะผ่าตัดคลอดมีค่ามัธยฐานเท่ากับ 900 (IQR 600, 1,100) มล. ผู้ป่วยที่มีข้อบ่งชี้เป็น post
term มีการเตรียม packed red cells ร้อยละ 100.0 ทั้งหมด 131 ยูนิต การสูญเสียเลือดมีค่ามัธยฐานเท่ากับ
500 (IQR 400, 600) มล. การให้สารน้ำ crystalloid ขณะผ่าตัดคลอดมีค่ามัธยฐานเท่ากับ 1,000 (IQR 600,
1,200) มล. ผู้ป่วยที่มีข้อบ่งชี้เป็น macrosomia มีการเตรียม packed red cells ร้อยละ 100.0 ทั้งหมด 10
ยูนิต การสูญเสียเลือดมีค่ามัธยฐานเท่ากับ 600 (IQR 500, 650) มล. การให้สารน้ำ Crystalloid ขณะผ่าตัด
คลอดมีค่ามัธยฐานเท่ากับ 1,200 (IQR 850, 1,300) มล. ผู้ป่วยที่มีข้อบ่งชี้เป็น IUGR มีการเตรียม packed
red cells ร้อยละ 100.0 ทั้งหมด 7 ยูนิต การสูญเสียเลือดมีค่ามัธยฐานเท่ากับ 500 (IQR 400, -) มล. การให้
สารน้ำ crystalloid ขณะผ่าตัดคลอดมีค่ามัธยฐานเท่ากับ 600 (IQR 600, -) มล. ผู้ป่วยที่มีข้อบ่งชี้เป็น twin
pregnancy มีการเตรียม packed red cells ร้อยละ 100.0 ทั้งหมด 4 ยูนิต การสูญเสียเลือดมีค่ามัธยฐาน
เท่ากับ 500 (IQR 400, -) มล. การให้สารน้ำ crystalloid ขณะผ่าตัดคลอดมีค่ามัธยฐานเท่ากับ 850 (IQR
600, -) มล. และผู้ป่วยที่มีข้อบ่งชี้ เป็น placenta previa มีการเตรียม packed red cells ร้อยละ 100.0
ทั้งหมด 4 ยูนิต การสูญเสียเลือดมีค่ามัธยฐานเท่ากับ 550 (IQR 500, -) มล. การให้สารน้ำ Crystalloid ขณะ
ผ่าตัดคลอดมีค่ามัธยฐานเท่ากับ 1,050 (IQR 500, -) มล.

เมื่อเปรียบเทียบการสูญเสียเลือดและการให้สารน้ำ crystalloid ขณะผ่าตัดคลอดระหว่างผู้ป่วยที่มี


ข้อบ่งชี้ทั้ง 8 ประเภท พบว่า การสูญเสียเลือดในผู้ป่วยที่มีข้อบ่งชี้ทั้ง 8 ประเภท ไม่มีความแตกต่างกันในทาง
สถิติ (P=0.240) และการให้สารน้ำ crystalloid ขณะผ่าตัดคลอดในผู้ ป่วยที่มีข้อบ่งชี้ทั้ง 8 ประเภท มีความ
แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (P=0.034) โดยการให้สารน้ำ crystalloid ขณะผ่าตัดคลอด
ในผู้ป่วยที่มีข้อบ่งชี้ macrosomia สูงกว่า IUGR และ fetal malposition และผู้ป่วยที่มีข้อบ่งชี้ CPD และ
previous C/S สูงกว่า fetal malposition อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (P<0.05)
17

Table 7 Blood replacement within 24 hours post-operative

Number of patients Hematocrit (%),


PRC transfusion within 24 hours (unit)
(%) median (IQR)
Transfused Before After
G/M Pre-op Intra-op PACU Day 0 Total
n (%) transfusion transfusion
Elective C/S 973 17 (1.7) 22 0 0 3 25 26 (24, 27) 30 (30, 32)#
Type of incision
Vertical midline incision 286 2 (0.7) 1 0 0 2 3
Pfannenstiel incision 687 15 (2.2) 21 0 0 1 22
Type of anesthesia
Spinal anesthesia 692 7 (1.0) 7 0 0 1 8
General anesthesia 281 10 (3.6) 15 0 0 2 17
Indication for caesarean section
CPD 435 9 (2.1) 12 0 0 1 13
Previous C/S 369 5 (1.4) 6 0 0 0 6
Fetal malposition 88 0 (0.0) 0 0 0 0 0
Post term 69 2 (2.9) 3 0 0 2 5
Macrosomia 5 0 (0.0) 0 0 0 0 0
IUGR 3 1 (33.3) 1 0 0 0 1
Twin pregnancy 2 0 (0.0) 0 0 0 0 0
Placenta previa 2 0 (0.0) 0 0 0 0 0
G/M: crossmatch
#
Hematocrit level after transfusion was statistically significant increase at the 0.05 level (P=0.002) [Data
were analyzed with Wilcoxon Signed Rank test]
18

Figure 4 Hematocrit level between before and after transfusion

จากตารางที่ 7 แสดงการให้เลือด packed red cells สำหรับการผ่าตัดคลอดภายใน 24 ชั่วโมง


พบว่า การเตรียมเลือดมีจำนวนทั้งหมด 1,870 ยูนิต โดยเป็นชนิด packed red cells ทั้งหมด ผู้ป่วยได้รับการ
ให้เลือดภายใน 24 ชั่วโมง 17 ราย (ร้อยละ 1.7) ทั้งหมด 25 ยูนิต แบ่งเป็นก่อนการผ่าตัดคลอดจำนวน 22 ยู
นิต และหลังผ่าตัดคลอดจำนวน 3 ยูนิต ผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดคลอดแบบ vertical midline incision และ
pfannenstiel incision ได้รับการให้เลือดภายใน 24 ชั่วโมง ร้อยละ 0.7 และ 2.2 ตามลำดับ ผู้ป่วยที่ได้รับ
การให้ยาระงับความรู้สึกแบบ spinal anesthesia และ general anesthesia ได้รับการให้เลือดภายใน 24
ชั่วโมง ร้อยละ 1.0 และ 3.6 ตามลำดับ ผู้ป่วยที่มีข้อบ่งชี้การผ่าตัดคลอดจากสาเหตุ CPD, previous C/S,
post term, IUGR ได้รับการให้เลือดภายใน 24 ชั่วโมง ร้อยละ 2.1, 1.4, 2.9และ 33.3 ตามลำดับ ขณะที่ข้อ
บ่งชี้ fetal malposition, macrosomia, twin pregnancy และ placenta previa ผู้ป ่ว ยไม่ ไ ด้ ร ั บ การให้
เลือดภายใน 24 ชั่วโมง โดยในผู้ป่วยได้รับการให้เลือดภายใน 24 ชั่วโมงมีระดับ Hematocrit ก่อนและหลัง
การให้เลือดมีค่ามัธยฐานเท่ากับ 26 (IQR 24, 27) และ 30 (30, 32) % ซึ่งเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่
ระดับ 0.05 (P=0.002)
19

Table 8 Transfusion utilization indices in caesarean section surgery

Transfusion Transfusion index MSBOS


C/T ratio
Probability (%T) (Ti) (1.5xTi)
Elective C/S 74.8 1.75 0.026 0.039
Type of incision
Vertical midline incision 176 0.70 0.010 0.015
Pfannenstiel incision 61 2.2 0.032 0.048
Type of anesthesia
Spinal anesthesia 166.3 1.01 0.012 0.018
General anesthesia 31.8 3.56 0.060 0.090
Indication for caesarean section
CPD 65.6 2.07 0.030 0.045
Previous C/S 115.7 1.36 0.016 0.024
Fetal malposition - - - -
Post term 26.2 2.90 0.072 0.108
Macrosomia - - - -
IUGR 7 33.33 0.333 0.450
Twin pregnancy - - - -
Placenta previa - - - -
C/T ratio = Cross-match to transfusion, MSBOS = Maximal surgical blood order schedule

จากตารางที่ 8 แสดงผลการประเมินการให้เลือดของผู้ป่วยผ่าตัดคลอดพบว่า ค่า C/T ratio เท่ากับ


74.8, %T เท่ากับ 1.75, Ti เท่ากับ 0.026 ยูนิตต่อราย และ MSBOS เท่ากับ 0.039 เมื่อพิจารณาตามเกณฑ์
บ่งชี้การเตรียมและใช้เลือดอย่างเหมาะสม (significant blood utilization) พบว่า ค่า C/T ratio สูงกว่า 2.5,
%T น้อยกว่า 30 และ Ti น้อยกว่า 0.5 ซึ่งไม่เป็นไปตามเกณฑ์บ่งชี้ การเตรียมและใช้เลือดอย่างเหมาะสม แต่
เมื่อพิจารณาตามกลุ่มผู้ป่วยที่มีข้อบ่งชี้การผ่าตัดคลอดพบว่า กลุ่มผู้ป่วยที่มีข้อบ่งชี้ผ่าตัดคลอดเป็น IUGR มีค่า
C/T ratio น้อยที่สุด, ค่า%T, Ti และ MSBOS มากที่สุด หรือกล่าวได้ว่าจากการศึกษาพบว่าการให้เลือดของ
กลุ่มผู้ป่วยที่มีข้อบ่งชี้ผ่าตัดคลอดเป็น IUGR มีความใกล้เคียงกับเกณฑ์บ่งชี้ การเตรียมและใช้เลือดอย่าง
เหมาะสมมากที่สุด
20

Table 9 Preparation of blood and cost in preparing the blood of patients with caesarean section surgery

Preparation of blood and The cost of the blood Cost difference


transfused preparation (THB) between
Total cost Total cost of
Cross transfusion and
Number of Number Type and of blood the blood
Actual match blood
units cross- of units screen ABO- preparation transfused
usage (80 preparation
matched transfuse Rh (190 (THB) (THB)
(%) THB/uni (THB)
(n/unit) d (n/unit) THB/unit)
t
Elective C/S 973/1,870 17/25 1.34 149,600 355,300 504,900 6,750 -498,150
Type of incision
Vertical midline incision 286/528 2/3 0.57 42,240 100,320 142,560 810 -141,750
Pfannenstiel incision 687/1,342 15/22 1.64 107,360 254,980 362,340 5,940 -356,400
Type of anesthesia
Spinal anesthesia 692/1,330 7/8 0.60 106,400 252,700 359,100 2,160 -356,940
General anesthesia 281/540 10/17 3.15 43,200 102,600 145,800 4,590 -141,210
Indication for caesarean section
CPD 435/853 9/13 1.52 68,240 162,070 230,310 3,510 -226,800
Previous C/S 369/694 5/6 0.86 55,520 131,860 187,380 1,620 -185,760
Fetal malposition 88/167 0/0 0.00 13,360 31,730 45,090 0 -45,090
Post term 69/131 2/5 3.82 10,480 24,890 35,370 1,350 -34,020
Macrosomia 5/10 0/0 0.00 800 1,800 2,600 0 -2,600
IUGR 3/7 1/1 14.29 560 1,330 1,890 270 -1,620
Twin 2/4 0/0 0.00 320 760 1,080 0 -1,080
Placenta previa 2/4 0/0 0.00 320 760 1,080 0 -1,080
21

600,000

500,000

400,000

300,000
THB

200,000

100,000

The total cost of blood preparation The total cost of the blood transfused Cost difference between transfusion and blood preparation

Figure 5 The total cost of blood preparation, the total cost of blood transfused, and cost difference

จากตารางที่ 9 แสดงข้อมูลความคุ้มค่าของการเตรียมเลือดในผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดคลอดพบว่า ในผู้ป่วย


973 ราย มีการเตรียมเลือดจำนวนทั้งหมด 1,870 ยูนิต แต่มีการใช้จริง 17 ราย มีการใช้เลือดจริงจำนวน 25 ยูนิต
ร้อยละการใช้จริงเท่ากับ 1.34% ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากการเตรียมเลื อดแบบวิธี complete crossmatch ต่อ
ผู้ป่วย 1 ราย ที่ขอเลือด 1 ยูนิต เท่ากับ 270 บาท แบ่งเป็นค่าใช้จ่ายทดสอบ Crossmatch 80 บาท และการตรวจ
หมู่เลือดและตรวจกรองแอนติบอดี 190 บาท ดังนั้นค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากการเตรียมเลือดจำนวน 1,870 ยูนิต
ให้กับผู้ป่วย 973 ราย เท่ากับ 504,900 บาท แต่ค่าใช้จ่ายการให้เลือดเลือดจริงเท่ากับ 6,750 บาท ดังนั้นส่วนต่าง
ของค่าใช้จ่ายจากการเตรียมเลือดแต่ไม่ได้ใช้จริงเท่ากับ 498,150 บาท

อภิปรายผล
22

การศึกษาผลของการเตรียมเลือดสำหรับการผ่าตัดคลอดทางหน้าท้องกรณีไม่ฉุกเฉิน ( routine
crossmatch for elective ceasarean section) ในด้านความคุ้มค่าของการเตรียมเลือดเป็นการศึกษาเชิง
พรรณาแบบย้อนหลัง พบว่าจากผู้ป่วย 973 ราย มีการเตรียมเลือดก่อนการผ่าตัดจำนวน 966 ราย คิดเป็นร้อยละ
99.3 แต่มีการใช้เลือดจริงเพียงร้อยละ 1.7 ซึ่งแสดงว่าแพทย์อาจจะเตรียมเมื่อเกิดภาวะเลือดออกฉุกเฉิน หรือเป็น
การเตรียมแบบคำสั่งประจำสำหรับการผ่าตัดคลอดทางหน้าท้อง ซึ่งในผู้ป่วยผ่าตัดคลอดมักมีการเตรียมเลือดเพื่อ
การผ่าตัดชนิด PRC จำนวน 2 ยูนิตถึงร้อยละ 92.3 ของผู้ป่วย ยกเว้นผู้ป่วยบางรายที่มีโรคประจำตัวที่ทำให้มี
โอกาสได้รับเลือดมากกว่าคนไข้ปกติ เช่น ผู้ป่วยที่มีภาวะโลหิตจางก่อนการผ่าตัดจะมีการเตรียม PRC จำนวน 3 ยู
นิต ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 0.3 ของผู้ป่วยทั้งหมด โดยพบว่ามีการเตรียมเลือดก่อนการผ่าตัดทั้งหมด 1,870 ยูนิต แต่มี
การใช้จริงเพียง 25 ยูนิตในผู้ป่วยจำนวน 17 ราย คิดเป็นการใช้เลือดจริง 1.34%

สำหรับแนวทางการใช้เลือดและส่วนประกอบของเลือดที่เหมาะสม (blood utilization management)


ในประเทศไทยได้อ้างถึงมาตรฐานของ American Association of Blood Banks (AABB) ในปี ค.ศ.20088ได้
กำหนดตัวชี้วัดการใช้เลือดและส่วนประกอบของเลือดที่เหมาะสมไว้ 3 แบบ คือ 1) Cross match to
transfusion (C:T ratio) ต้องมีค่าน้อยกว่าหรือเท่ากับ 2.0 หาก C:T ratio มากกว่า 2.0 แสดงว่า แพทย์สั่งจอง
เลือดที่ต้องทำการทดสอบ crossmatch มากเกินความต้องการใช้เลือดจริง 2) Transfusion probability (%T)
โดยค่า %T ที่เหมาะสมคือ มากกว่าหรือเท่ากับ 30 และ 3) transfusion index (Ti) โดยค่า Ti ที่เหมาะสมคือ
เท่ากับ 0.5 ยูนิตต่อราย

ในประเทศไทยจากการศึกษาของ Supakij และคณะ9 พบว่าจากการรวบรวมข้อมูลผู้ป่วยจำนวน 1,185


ราย ที่เข้ารับการผ่าตัดตลอดทางหน้าท้องกรณีไม่เร่งด่วน ในโรงพยาบาลชลบุรี พบผู้ป่วยจำเป็นต้องได้รับเลือด
เพียง 8 ราย คิดเป็น C/T ratio, %T และ Ti เท่ากับ 148.13, 0.68% และ 0.007

สอดคล้องกับการศึกษาของวิลัยพร ชูศรีและคณะ10 พบว่ามีการสั่งจองเลือดสำหรับการผ่าตัดสูตินรีเวช


กรรมมากเกินความต้องการใช้จริงในโรงพยาบาลกลาง โดยพบ C/T ratio 4.4, %T 14.4 และ Ti 0.2 ซึ่งแสดงถึง
การเตรียมเลือดก่อนการผ่าตัดที่มากกว่าค่ามาตรฐาน ซึ่งหลังจากนำการเตรียมเลือดแบบ T&S มาใช้ในผู้ป่วย
ผ่าตัดสูตินรีเวชพบว่าค่าตรวจได้เป็นเงิน 80,700 บาท

จากการศึกษาการเตรียมเลือดที่เหมาะสมสำหรับผู้ป่วยผ่าตัดคลอดหน้าท้องแบบไม่ฉุกเฉิน (elective
ceasarean section) ในโรงพยาบาลบึงกาฬ ควรใช้แนวทางการเตรียมเลือดแบบ type and screen เพื่อช่วยลด
23

ค่าใช้จ่ายในการเตรียมเลือดแบบ complete crossmatch ได้ โดยจากการศึกษามีการเตรียมเลือดทั้งหมด1,870


ยูนิต คิดเป็นค่าใช้จ่ายเท่ากับ 504,900 บาท หากเตรียมเลือดแบบ type and screen สามารถลดค่าใช้จ่ายได้ถึง
149,600 บาท ซึ่งทำให้ต้นทุนค่าใช้จ่ายในการเตรียมเลือดลดลงร้อยละ 29.6 นอกจากนี้การเตรียมเลือดแบบ
type and screen จะช่วยลดภาระงานและขั้นตอนการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่แล้ว ยังสามารถลดจำนวนได้ทั้ง
เลือดสำรองคงคลังและเลือดที่และเลือดที่หมดอายุ แต่การนำแนวทางปฏิบัติมาใช้จริงต้องได้รับความร่วมมือจาก
แพทย์ พยาบาล และบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการให้เลือดในผู้ป่วยด้วย ดังนั้นหากมีการสั่งเตรียมเลือดโดยพิจารณา
ตามข้อบ่งชี้ในการใช้เลือดอย่างเหมาะสมและปฏิบัติตามแนวทางที่กำหนดแล้ว จะทำให้ลดการสูญเสียทรัพยากร
มีเลือดสำรองคงคลังหมุนเวียนให้เพียงพอกับความต้องการของผู้ป่วยในกรณีฉุกเฉิน และทำให้ลดภาระงาน
เจ้าหน้าที่ห้องปฏิบัติการธนาคารเลือด สามารถพัฒนาศักยภาพด้านการตรวจวิเคราะห์ทางธนาคารเลือดให้มี
ประสิทธิภาพยิ่งขึ้น โดยแนวทางปฏิบัติการจองเลือดแบบ T&S นอกจากช่วยลดจำนวนการ crossmatch แล้ว
ยังสามารถลดการสำรองเลือดของธนาคารเลือดโรงพยาบาลบึงกาฬและลดปัญหาการขาดแคลนเลือดภายใน
โรงพยาบาลบึงกาฬลงได้

ข้อจำกัดของการศึกษา เนื่องจากเป็นการศึกษาแบบย้อนหลังจึงทำให้ข้อมูลบางส่วนไม่สมบูรณ์ รวมถึง


แนวทางปฏิบัติของสูติแพทย์ที่แตกต่างกัน เช่น การติดตามความเข้มข้นของเลือดหลังการผ่าตัด (post
operative hematocrit)

ข้อเสนอแนะ
ควรมีการศึกษาแบบไปข้างหน้าโดยใช้แนวทางการเตรียมเลือดในปริมาณที่เหมาะสมกับการผ่าตัด
(MSBOS) และการเตรียมเลือดแบบ type and screen ควบคู่กัน

เอกสารอ้างอิง
1.Supakij Suwanrattanadech. Effectiveness index of routine crossmatch for elective caesarean
section. Thai journal of anesthesiology 2020; 46(3): 149-53.

2.Fatimat M. Akinlusi, Kabiru A. Rabiu, Idayat A. Durojaiye. Caesarean delivery-related blood


transfusion: correlate in a tertiary hospital in Southwest Nigeria. BMC Pregnancy and Childbirth
(2018) 18:24.
24

3.Ngamchuen Sripunlom, Sarwinee Ratchanon, Sirisuk Ouitrakul. Appropriateness of Routine


Crossmatch in elective caesarean section for low risk postpartum hemorrhage pregnancies.
Clinics in mother and child health 2018, 15:1

4.Fauzia A. Khan, Mueenullah khan, Asif Ali. Estimation of blood loss during Caesarean section:
an audit. Journal of the Pakistan Medical Association vol.56, No.12, December 2006

5.WHO(2012) WHO Recommendations for the Prevention and treatment of Hemorrhage.

6. Farheen Karim Mahar, Bushra Moiz, Mohammad Khurshid. Implementation of maximum


surgical blood ordering schedule and an improvement in transfusion practices of surgeons
subsequent to intervention. Indian J Hemato Blood Transfus (July-Sept 2013) 29(3):129-133

7. J. Sandhya, Shamshad Begum, B. Renuka. Our experience of blood transfusions in patients


with moderate anemia undergoing elective cesarean section at government medical college,
Ananthapuramu. International Journal of Contemporary Medical Research volume 3 issue 8 Aug
ust 2016

8. Downes KA, Shulman IA. Pretransfusion testing. In Roback JD, Combs MR, Grossman BJ, Hillyer
CD, eds. Technical Manual. 16th ed. Bethesda, MD: American Association of Blood Banks; 2008,
437-63.

9. Supakij suwanrattanadech. Effectiveness index of Routine Crossmatch for Elective Caesarean


Section. Thai J Anesthesiol 2020; 46(3): 149-53

10. วิลัยพร ชูศรี . การศึกษาแนวทางการเตรียมเลือดที่เหมาะสมสำหรับการผ่าตัดในผู้ป่วยประเภท Elective


Surgery ของโรงพยาบาลกลาง. วารสารโลหิตวิทยาและเวชศาสตร์บริการโลหิต. 2561;28:27-2

You might also like