You are on page 1of 2

การติดป้ายข้อความ “ที่อบั อากาศ อันตราย ห้ามเข้า”

ข้อหารือ การปฏิบัติตามกฎกระทรวงกําหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการ ด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย


และสภาพแวดล้อมในการทํางานในที่อับอากาศ พ.ศ. ๒๕๔๗
หน่วยงานที่หารือ สถานประกอบกิจการเอกชน
หน่วยงานตอบข้อหารือ กองความปลอดภัยแรงงาน
ประเด็นข้อหารือ
กรณีบริษัทฯ ได้ตรวจวัดสภาพอากาศในการทํางาน ภายในถังเก็บน้ํา ถังเก็บน้ํามันพืช ที่ให้ลูกจ้าง
เข้าไปทํางานทําความสะอาด ผลตรวจมีสภาวะที่ปลอดภัยในการปฏิบัติงาน บริษัทฯ จะต้องติดป้ายข้อความว่า
“ที่อับอากาศ อันตราย ห้ามเข้า” และการอนุญาตให้ลูกจ้างทํางานในที่อับอากาศ จะยังคงต้องประกอบด้วย
ผู้ อนุ ญาต ผู้ ควบคุ มงาน ผู้ ช่ วยเหลื อและผู้ ปฏิ บั ติ งานในที่ อั บอากาศ ตามที่ ก ฎกระทรวงกํ า หนดมาตรฐาน
ในการบริหารและการจัดการ ด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางานในที่อับ
อากาศ พ.ศ. ๒๕๔๗ กําหนดหรือไม่

ข้อกฎหมาย
ตามข้อหารือมีข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้อง คือ กฎกระทรวงกําหนดมาตรฐานในการบริหารและ
การจัดการ ด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางานในที่อับอากาศ พ.ศ. ๒๕๔๗
ข้อ ๒ ในกฎกระทรวงนี้
“ที่อับอากาศ” หมายความว่า ที่ซึ่งมีทางเข้าออกจํากัดและมีการระบายอากาศไม่เพียงพอที่จะ
ทําให้อากาศภายในอยู่ในสภาพถูกสุขลักษณะและปลอดภัย เช่น อุโมงค์ ถ้ํา บ่อ หลุม ห้องใต้ดิน ห้องนิรภัย
ถังน้ํามัน ถังหมัก ถัง ไซโล ท่อ เตา ภาชนะหรือสิ่งอื่นที่มีลักษณะคล้ายกัน
“บรรยากาศอันตราย” หมายความว่า สภาพอากาศที่อาจทําให้ลูกจ้างได้รับอันตรายจากสภาวะ
อย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้
(๑) มีออกซิเจนต่ํากว่าร้อยละ ๑๙.๕ หรือมากกว่าร้อยละ ๒๓.๕ โดยปริมาตร
(๒) มีก๊าซ ไอ ละอองที่ติดไฟหรือระเบิดได้ เกินร้อยละ ๑๐ ของค่าความเข้มข้นขั้นต่ําของ
สารเคมีแต่ละชนิดในอากาศที่อาจติดไฟหรือระเบิดได้ (Lower Flammable Limit หรือ Lower Explosive Limit)
ฯลฯ
ข้อ ๓ ให้นายจ้างจัดทําป้ายแจ้งข้อความว่า “ที่อับอากาศ อันตราย ห้ามเข้า” ให้มีขนาดมองเห็น
ได้ชัดเจน ติดตั้งไว้โดยเปิดเผยบริเวณทางเข้าออกของที่อับอากาศทุกแห่ง”
ข้อ ๔ ห้ามนายจ้างให้ลูกจ้างหรือบุคคลใดเข้าไปในที่อับอากาศ เว้นแต่นายจ้างได้ดําเนินการ
ให้มีความปลอดภัยตามกฎกระทรวงนี้แล้ว และลูกจ้างหรือบุคคลนั้นได้รับอนุญาตจากผู้มีหน้าที่รับผิดชอบในการ
อนุญาตตามข้อ ๑๘ และเป็นผู้ผ่านการอบรมตามข้อ ๒๑
ฯลฯ
ข้อ ๖ ให้นายจ้างจัดให้มีการตรวจวัด บันทึกผลการตรวจวัด และประเมินสภาพอากาศในที่
อับอากาศว่ามีบรรยากาศอันตรายหรือไม่ โดยให้ดําเนินการทั้งก่อนให้ลูกจ้างเข้าไปทํางานและในระหว่างที่ลูกจ้าง
ทํางานในที่อับอากาศ ถ้านายจ้างตรวจพบบรรยากาศอันตราย ให้นายจ้างดําเนินการ ดังต่อไปนี้
(๑) นําลูกจ้างและบุคคลที่อยู่ในที่อับอากาศออกจากบริเวณนั้นทันที
(๒) ประเมินและค้นหาว่าบรรยากาศอันตรายเกิดจากสาเหตุใด
-๒-
(๓) ดําเนินการเพื่อทําให้สภาพอากาศในที่อับอากาศนั้นไม่มีบรรยากาศอันตรายเช่น การระบาย
อากาศ หรือการปฏิบัติตามมาตรการอื่น
ฯลฯ
ข้อ ๗ กรณีที่นายจ้างให้ลูกจ้างทํางานในที่อับอากาศให้นายจ้างแต่งตั้งลูกจ้างที่มีความรู้
ความสามารถและได้รับการฝึกอบรมความปลอดภัยในการทํางานในที่อับอากาศตามข้อ ๒๑ ให้เป็นผู้ควบคุมงาน
คนหนึ่งหรือหลายคนตามความจําเป็นเพื่อทําหน้าที่ ดังต่อไปนี้
(๑) วางแผนการปฏิบัติงานและการป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้นจากการทํางานและปิดประกาศ
หรือแจ้งให้ลูกจ้างทราบเป็นลายลักษณ์อักษร
ฯลฯ
ข้อ ๘ ให้นายจ้างจัดให้ลูกจ้างซึ่งได้รับการฝึกอบรมความปลอดภัยในการทํางานในที่อับอากาศ
ตามข้อ ๒๑ คนหนึ่งหรือหลายคนตามความจําเป็น เป็นผู้ช่วยเหลือ พร้อมด้วยอุปกรณ์ช่วยเหลือและช่วยชีวิต
ที่เหมาะสมกับลักษณะงาน คอยเฝ้าดูแลบริเวณทางเข้าออกที่อับอากาศโดยให้สามารติดต่อสื่อสารกับลูกจ้าง
ที่ทํางานในที่อับอากาศได้ตลอดเวลา เพื่อช่วยเหลือลูกจ้างออกจากที่อับอากาศ
ฯลฯ
ตอบข้อหารือ ตามข้อ ๒ ของกฎกระทรวงกําหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย
อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางานในที่อับอากาศ พ.ศ. ๒๕๔๗ ได้กําหนดนิยาม “ที่อับอากาศ”
หมายความว่า ที่ซึ่งมีทางเข้าออกจํากัดและมีการระบายอากาศไม่เพียงพอที่จะทําให้อากาศภายในอยู่ในสภาพ
ถูกสุขลักษณะและปลอดภัย เช่น อุโมงค์ ถ้ํา บ่อ หลุม ห้องใต้ดิน ห้องนิรภัย ถังน้ํามัน ถังหมัก ถัง ไซโล ท่อ เตา
ภาชนะหรือสิ่งอื่นที่มีลักษณะคล้ายกัน จากบทนิยามดังกล่าว ที่อับอากาศจึงมีลักษณะเป็นสถานที่ทํางานที่มี
ทางเข้ า ออกจํ า กั ด มี ก ารระบายอากาศตามธรรมชาติ ไ ม่ เ พี ย งพอที่ จ ะทํ า ให้ อ ากาศภายในอยู่ ใ นสภาพ
ถูกสุขลักษณะและปลอดภัยในการทํางาน ซึ่งอาจเป็นที่สะสมของสารเคมีเป็นพิษ สารไวไฟ รวมทั้งออกซิเจน
ไม่เพียงพอ ข้อเท็จจริงตามประเด็นหารือปรากฏว่าในสถานประกอบกิจการของบริษัทฯมีถังเก็บน้ํา ถังเก็บ
น้ํามันพืช ถังเก็บน้ํามันถั่วเหลือง โดยบริษัทฯ ให้ลูกจ้างเข้าไปทํางานทําความสะอาดในถังดังกล่าว หากถังดังกล่าว
มีลักษณะเป็นสถานที่ทํางานที่มีทางเข้าออกจํากัด มีการระบายอากาศตามธรรมชาติไม่เพียงพอที่จะทําให้
อากาศภายในอยู่ในสภาพถูกสุขลักษณะและปลอดภัยในการทํางาน แม้ผลการตรวจวัดและประเมินสภาพ
อากาศในถังดังกล่าวจะมีปริมาณออกซิเจนอยู่ในระดับที่ไม่ถือเป็นบรรยากาศอันตรายตามกฎหมายก็ตาม
สถานที่ดังกล่าวก็ถือเป็น “ที่อับอากาศ” ตามนิยามข้อ ๒ ของกฎกระทรวงฯ บริษัทฯมีหน้าที่ต้องติดตั้งป้าย
แจ้งข้อความว่า “ที่อับอากาศ อันตราย ห้ามเข้า” ให้มีขนาดมองเห็นได้ชัดเจนไว้โดยเปิดเผยบริเวณทางเข้าออก
ของที่อับอากาศทุกแห่งตามข้อ ๓ ของกฎกระทรวงฯ และกรณีที่บริษัทฯ ให้ลูกจ้างทํางานในที่อับอากาศดังกล่าว
บริษัทฯ มีหน้าที่รับผิดชอบในการอนุญาตให้ลูกจ้างทํางานในที่อับอากาศรวมทั้งจัดให้มีผู้ที่เกี่ยวข้องที่มีความรู้
ความเข้าใจทักษะที่จําเป็นในการทํางานอย่างปลอดภัย ประกอบด้วยผู้อนุญาต ผู้ควบคุมงาน ผู้ช่วยเหลือ
ผู้ปฏิบัติงานในที่อับอากาศ ตามที่กฎกระทรวงฯ กําหนดด้วยเพื่อความปลอดภัยในการทํางานของลูกจ้าง
หมายเหตุ อ้างอิงหนังสือกองความปลอดภัยแรงงานที่ รง ๐๕๐๔/ ๖๖๖๐ ลงวันที่ ๒๗ กันยายน ๒๕๕๙
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ กลุ่มงานมาตรฐานความปลอดภัยในการทํางาน
กองความปลอดภัยแรงงาน กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน (ส่วนแยกตลิ่งชัน)
๑๘ ถนนบรมราชชนนี แขวงฉิมพลี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพมหานคร ๑๐๑๗๐
โทรศัพท์ ๐ ๒๔๔๘ ๘๓๓๘, ๐ ๒๔๔๘ ๙๑๒๘-๓๙

You might also like