You are on page 1of 9

คู่มือการจัดทำบัญชีรายรับ-รายจ่ายวัด

ตัวชี้วัดที่ 1.5 จำนวนวัดที่มีข้อมูลรายงานการเงิน


ตามมาตรฐานที่กำหนด

กลุ่มกองทุนศาสนสมบัติ
สำนักงานศาสนสมบัติ
กลุ่มกองทุนศาสนสมบัติ
สำนักงานศาสนสมบัติ
การบันทึกบัญชีรายรับ - รายจ่ายของวัด
ตัวชี้วัดที่ 1.5 จำนวนวัดที่มีข้อมูลรายงานทางการเงินตามมาตรฐานที่กำหนด
เพื่อให้การดูแล รักษา และการจัดการศาสนสมบัติวัดเป็นไปตาม พรบ. คณะสงฆ์ และกฎกระทรวง
ปัจจุบันรัฐบาลได้กำหนดให้มีระบบธรรมาภิบาล (Good govermance) ขึ้น ซึ่งระบบธรรมาภิบาล คือการบริหาร
ของภาครัฐที่มุ่งความดีงาม และเกิดประโยชน์สูงสุดแก่รัฐและประชาชนอย่างทั่วถึงและยุติธรรม โดยมุ่งเน้น
ความโปร่งใส ตรวจสอบได้ โดยที่วัดซึ่งถือเป็นนิติบุคคล มีเจ้าอาวาสเป็นพนักงานตามกฎหมาย ดังนั้น วัดจึงต้อง
ดำเนินกิจการของวัดให้เป็นไปตามที่รัฐกำหนด ซึ่งบทบาทหน้าที่ของวัดที่เกี่ยวข้องกับหลักธรรมาภิบาล คือการ
บริหารจัดการทรัพย์สินของวัดให้เกิดความโปร่งใส ตรวจสอบได้
ปัจจุบันรัฐบาลมีนโยบายปรับปรุงประสิทธิภาพการปฏิบัติราชการ โดยมุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์ของงาน
ตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546 มาตรา 9 จึงกำหนดให้
ส่วนราชการต้องจัดให้มีการติดตามประเมินผลการปฏิบัติตามแผนปฏิบัติราชการตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่
ส่วนราชการกำหนดขึ้น และให้จัดทำความตกลงเป็นลายลักษณ์อักษรในการกำหนดมาตรการกำกับการปฏิบัติ
ราชการตามมาตรา 12 ซึ่ง สำนักงาน กพร. และสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ได้ตระหนักถึงการสร้าง
ความโปร่งใสของวัดในด้านการเงิน จึงได้ร่วมกันกำหนดตัวชี้วัดเกี่ยวกับการตรวจสอบทรัพย์สินของวัด ได้แก่
ตัวชี้วัดเรื่องการจัดทำรายงานการเงินของวัด (บัญชีรายรับ-รายจ่าย) ตามแบบที่กำหนด โดยมติมหาเถรสมาคมมีมติ
ครั้งที่ 18/2558 มติที่ 407/2558 เรื่องการจัดทำรายงานการเงินของวัด (บัญชีรายรับ-รายจ่าย) และจำนวนวัดที่มี
ฐานข้อมูลศาสนสมบัติ โดยมอบหมายให้วัดทั่วประเทศได้จัดทำบัญชีวัด พร้อมทั้งจัดส่งบัญชีวัดให้สำนักงาน
พระพุทธศาสนาแห่งชาติ ทั้งนี้ เพื่อให้การจัดทำตัวชี้วัดบังเกิดผลสำเร็จตามเป้ าหมายที่กำหนด และเพื่อสนอง
นโยบายของรัฐบาล เรื่องการบริหารจัดการในระบบธรรมาภิบาล คือการบริหารจัดการที่โปร่งใส ตรวจสอบได้
วัตถุประสงค์ของการจัดทำบัญชีวัด
1. เพื่อให้วัดถือปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎกระทรวงฉบับที่ 2 พ.ศ. 2511 ว่าด้วย การดูแลรักษาจัดการ
ศาสนสมบัติวัดให้เป็นไปด้วยดี
2. เพื่อให้การบริหารจัดการการเงินของวัด เกิดความโปร่งใส เป็นที่ยอมรับและศรัทธาของ
พุทธศาสนิกชน
3. เพื่อให้วัดเป็นต้นแบบขององค์การธรรมาภิบาล
การจัดทำบัญชี (Accounting) หมายถึง การจดบันทึก การจำแนก การสรุปผล และการจัดทำรายงาน
ทางการเงินโดยใช้หน่วยวัดเป็นเงินตรา การนำข้อมูลทางการเงินไปใช้ในการวางแผนหรือตัดสินใจในการ
ดำเนินงานต่าง ๆจึงจำเป็นที่จะต้องมีข้อมูลที่ถูกต้องและเป็นปัจจุบัน
คำอธิบายวิธีการบันทึกรายการบัญชีรายรับ - รายจ่าย ตามแบบฟอร์มที่กำหนด
ช่องที่ 1 วันเดือนปี หมายถึง วัน เดือน ปี ที่บันทึกรายการรับ
ช่องที่ 2 รายการรับ หมายถึง บันทึกชื่อรายการรับเงินที่วัดได้มา
ช่องที่ 3 จำนวนเงิน หมายถึง บันทึกจำนวนเงินที่มีการรับตามเอกสารการรับเงิน
ช่องที่ 4 รวมเงิน หมายถึง รวมเงินที่ได้รับทั้งปี (ปี งบประมาณ ตุลาคม - กันยายน)
ช่องที่ 5 วันเดือนปี หมายถึง วัน เดือน ปี ที่บันทึกรายการจ่าย
ช่องที่ 6 รายการจ่าย หมายถึง บันทึกชื่อรายการจ่ายเงินที่วัดได้ดำเนินการจ่ายไป
ช่องที่ 7 จำนวนเงิน หมายถึง บันทึกจำนวนเงินที่มีการจ่ายตามเอกสารการจ่ายเงิน
ช่องที่ 8 รวมเงิน หมายถึง รวมเงินที่ได้จ่ายทั้งปี (ปี งบประมาณ ตุลาคม - กันยายน)
หมายเหตุ : 1. ยอดคงเหลือ ณ วันที่ 30 กันยายน 2558 ให้นำไปตั้งเป็นยอดยกมาในวันที่ 1 ตุลาคม 2558
2. เมื่อบันทึกรายการบัญชี รับ - จ่าย ครบทั้ง 12 เดือน ให้รวมยอดจำนวนรายรับ และรายจ่ายทั้งหมด
เมื่อรวมแล้วนำยอดเงินรายรับ หัก ยอดเงินรายจ่าย ได้ผลต่าง ให้บันทึกในช่องยอดคงเหลือ ณ 30 กันยายน 2559
(จะเป็นเงินคงเหลือยกไป)
3. เมื่อได้เงินคงเหลือยกไปแล้วในบรรทัดสุดท้ายให้รวมเงินทั้งสิ้น ทั้งทางด้านรายรับและรายจ่าย
ยอดรวมทั้งสิ้น ทั้ง 2 ด้าน จะมีจำนวนเท่ากัน
สรุปบัญชีรายรับ - รายจ่าย
ประจำปี งบประมาณ 2559
วัด .............................................

จำนวน รวมเงิน จำนวน รวมเงิน


วัน/เดือน/ปี รายการรับ เงิน วัน/เดือน/ปี รายการจ่าย เงิน
ต.ค. 58 1 ยอดยกมา ต.ค. 58

รวมรายรับ รวมรายจ่าย
รวมทั้งสิ้น ยอดคงเหลือ ณ 30 กันยายน 2559
รวมทั้งสิ้น
สรุปบัญชีรายรับ - รายจ่าย
ประจำปี งบประมาณ 2559
วัด .............................................
ตัวอย่าง 1
จำนวน รวมเงิน จำนวน รวมเงิน
วัน/เดือน/ปี รายการรับ เงิน วัน/เดือน/ปี รายการจ่าย เงิน
ต.ค. 58 1 ยอดยกมา xx ต.ค. 58 1 ค่าสาธารณูปโภค xx
ต.ค. 5831 รับเงินบริจาค xx ต.ค. 58 31 ซื้อวัสดุ xx
พ.ย. 58 30 รับเงินค่าขายดอกไม้ธูปเทียน xx พ.ย. 58 30 ค่าแรงงานคนงาน xx
ธ.ค. 58 31 รับเงินบริจาค xx ธ.ค. 58 31 ค่าน้ำมันรถยนต์ xx
ม.ค. 59 31 รับเงินผ้าป่ าสามัคคี xx ม.ค. 59 31 ค่าภาษีโรงเรือน xx
ก.พ. 59 28 รับเงินค่าขายดอกไม้ธูปเทียน xx ก.พ. 59 28 ค่าสาธารณูปโภค xx
มี.ค. 59 31 รับเงินค่าบริจาค xx มี.ค. 59 31 ค่าแรงงานคนงาน xx
เม.ย. 59 30 รายได้เบ็ดเตล็ด xx เม.ย. 59 30 ซื้อวัสดุ xx
พ.ค. 59 31 รายได้ค่าเช่าที่ดินวัด xx พ.ค. 59 31 ค่าสาธารณูปโภค xx
มิ.ย. 59 30 รายได้ดอกเบี้ย xx มิ.ย. 59 30 ค่าสาธารณูปโภค xx
ก.ค. 59 31 รับเงินบริจาค xx ก.ค. 59 31 ค่าสาธารณูปโภค xx
ส.ค. 59 31 รับเงินกัณฑ์เทศน์ xx ส.ค. 59 31 ค่าน้ำมันรถยนต์ xx
ก.ย. 59 30 รับเงินบริจาค xx ก.ย. 59 30 ค่าสาธารณูปโภค xx
รวมรายรับ xx xx รวมรายจ่าย xx xx
รวมทั้งสิ้น xxx ยอดคงเหลือ ณ 30 กันยายน 2559 xx
รวมทั้งสิ้น xxx
หมายเหตุ : ยอดยกมา คือ ยอดคงเหลือของปี ที่แล้วยกมา (ยอดคงเหลือ ณ วันที่ 30 กันยายน 2558 ยกมา)

สรุปบัญชีรายรับ - รายจ่าย
ประจำปี งบประมาณ 2559
วัด .............................................
ตัวอย่าง 2
จำนวน รวมเงิน จำนวน รวมเงิน
วัน/เดือน/ปี รายการรับ เงิน วัน/เดือน/ปี รายการจ่าย เงิน
ต.ค. 58 1 ยอดยกมา xx
ต.ค. 5831 รวมรายรับ เดือน ตค.58 xx ต.ค. 58 31 รวมรายจ่าย เดือน ตค. 58 xx
พ.ย. 58 30 รวมรายรับ เดือน พย. 58 xx พ.ย. 58 30 รวมรายจ่าย เดือน พย.58 xx
ธ.ค. 58 31 รวมรายรับ เดือน ธค. 58 xx ธ.ค. 58 31 รวมรายจ่าย เดือน ธค.58 xx
ม.ค. 59 31 รวมรายรับ เดือน มค. 58 xx ม.ค. 59 31 รวมรายจ่าย เดือน มค.59 xx
ก.พ. 59 28 รวมรายรับ เดือน กพ.58 xx ก.พ. 59 28 รวมรายจ่าย เดือน กพ.59 xx
มี.ค. 59 31 รวมรายรับ เดือน มีค.58 xx มี.ค. 59 31 รวมรายจ่าย เดือน มีค.59 xx
เม.ย. 59 30 รวมรายรับ เดือน เมย.58 xx เม.ย. 59 30 รวมรายจ่าย เดือน เมย.59 xx
พ.ค. 59 31 รวมรายรับ เดือน พค.58 xx พ.ค. 59 31 รวมรายจ่าย เดือน พค.59 xx
มิ.ย. 59 30 รวมรายรับ เดือน มิย.58 xx มิ.ย. 59 30 รวมรายจ่าย เดือน มิย.59 xx
ก.ค. 59 31 รวมรายรับ เดือน กค.58 xx ก.ค. 59 31 รวมรายจ่าย เดือน กค.59 xx
ส.ค. 59 31 รวมรายรับ เดือน สค.58 xx ส.ค. 59 31 รวมรายจ่าย เดือน สค.59 xx
ก.ย. 59 30 รวมรายรับ เดือน กย.58 xx ก.ย. 59 30 รวมรายจ่าย เดือน กย.59 xx
รวมรายรับ xx xx รวมรายจ่าย xx xx
รวมทั้งสิ้น xxx ยอดคงเหลือ ณ 30 กันยายน 2559 xx
รวมทั้งสิ้น xxx

หมายเหตุ : ยอดยกมา คือ ยอดคงเหลือของปี ที่แล้วยกมา (ยอดคงเหลือ ณ วันที่ 30 กันยายน 2558 ยกมา)

You might also like