You are on page 1of 8

นางสาวนิพารัตน์ นาคนวล คณะบริหารธุรกิจและการบัญชี MBA.

รหัสนักศึกษา 66145336400022
วิชา MBA 636204 วิธีวิทยาการวิจัยธุรกิจ
คำชี้แจงข้อสอบ
ข้อสอบชุดนี้เป็ นแบบอัตนัย มีคะแนนเต็มทั้งหมด 40 คะแนน
ให้นักศึกษาทำข้อสอบโดยเขียนโครงร่างการวิจัยเรียงตามลำดับตามหัวข้อดังนี้
1) ชื่อเรื่องวิจัย (5 คะแนน)
ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจในการเลือกซื้อประกันภัยภาคสมัครใจประเภท 1 ในเขตกรุงเทพมหานครและ
ปริมณฑล
2) ปัญหาวิจัย (โดยให้ระบุปัญหาวิจัย สาเหตุของปัญหา ขนาดของปัญหา ความรุนแรง และผลกระทบที่
คาดว่าจะเกิดขึ้น) และคำถามวิจัย (5 คะแนน)

 ปัญหาการวิจัย
- กำไรจากยอดขายประกันภัย ประเภทภาคสมัครใจประเภท 1 ลดลง 30%
- ลูกค้าในบริษัทประกันภัย ประเภทประกันภัยภาคสมัครใจประเภท 1 ขาดความพึง
พอใจต่อบริการของบริษัทฯ
 สาเหตุของปัญหา การขาดความรู้เกี่ยวกับรายละเอียดของแพ็คเกจประกันภัยประเภท
ประกันภัยภาคสมัครใจประเภท 1 ที่ ให้บริการ และความไม่พอใจของลูกค้าในบริการหรือ
การเร่งรัดในกระบวนการจ่ายเงินสินไหม
 ขนาดของปัญหา ขนาดของปัญหานี้มีขนาดใหญ่ โดยความขาดความพึงพอใจของลูกค้า
อาจส่งผลต่อระบบการเจรจาทางธุรกิจและรายได้ของบริษัทฯ
 ความรุนแรง ความรุนแรงของปัญหานี้ขึ้นอยู่กับระดับความไม่พอใจของลูกค้า ถ้ามีการ
สูญเสียของลูกค้าหรือความไม่พอใจที่สูง ความรุนแรงของปัญหานี้จะสูงขึ้น
 ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น
1. สูญเสียลูกค้า ความไม่พอใจของลูกค้าอาจส่งผลให้ลูกค้าสูญเสียความพึงพอใจและต้องการย้าย
ไปยังบริษัทประกันอื่น
2. การสูญเสียรายได้ ความไม่พอใจของลูกค้าอาจส่งผลให้บริษัทฯสูญเสียรายได้และมีค่าใช้จ่ายใน
การคืนเงินหรือการแก้ไขสินไหม
3. ความเสี่ยงของภาพลบของบริษัทฯ ความไม่พอใจของลูกค้าอาจส่งผลให้ภาพลบของบริษัทฯ
เสี่ยงต่อการสร้างความไว้วางใจกับลูกค้าและอันตรายต่อธุรกิจในอนาคต
3) วัตถุประสงค์การวิจัย (5 คะแนน)
1. เพื่อศึกษาปัจจัยด้านประชากรศาสตร์ส่วนบุคคลที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อประกันภัยรถยนต์
ภาคสมัครใจประเภท 1 ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
2. เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยด้านส่วนประสมทางกรตลาด (7P's) ที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อ
ประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจประเภท 1 ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
4) ขอบเขตการวิจัย โดยให้ระบุ ขอบเชิงตัวแปรหรือเนื้อหา ขอบเขตเชิงประชากร ขอบเขตเชิงพื้นที่ และ
ขอบเขตเชิงเวลา (5 คะแนน)
การวิจัยเรื่อง ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจ สำหรับรถยนต์ภาค
สมัครใจประเภท 1 ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลมุ่งศึกษาข้อมูลของการเลือกทำประกันภัรถยนต์
ภาคสมัครใจ และปัจจัยส่วนบุคคลของผู้บริโภค รวมถึงปัจจัยต่างๆในด้านส่วนประสมทางการตลาด ที่มีผล
หรือมีความสัมพันธ์ต่อการตัดสินใจเลือกซื้อของผู้บริโภค และเพื่อกำหนดขอบเขตการวิจัยที่ชัดเจนยิ่งขึ้น ผู้
วิจัยจึงได้กำหนดขอบเขตการวิจัยไว้ดังนี้
ขอบเขตของประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
ประชากรในการทำวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ประชาชนที่ทำประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจภาคสมัครใจ
ประเภท 1 ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
กลุ่มตัวอย่างในงานวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ผู้ทำประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจภาคสมัครใจประเภท 1 ใน
เขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ใช้วิธีการกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างจากการใช้ สูตรคำนวณของ W.G.
Cochran เพื่อประมาณค่าสัดส่วนประชากร โดยกำหนดระดับความเชื่อมั่นที่ 95% ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน
400 คน ซึ่งจะใช้วิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างตามความสะดวกหรือความสมัครใจ (Convenient or Volunteer)
เพื่อทำการเก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถาม ซึ่งมีระยะเวลาในการดำเนินการสำรวจในช่วงเดือนธันวาคม
พ.ศ.2566 – จนถึงเดือน มกราคม 2567
ขอบเขตของตัวแปรที่ศึกษา
1. ตัวแปรอิสระ (Accidental sampling) ได้แก่
- ปัจจัยด้านประชากรศาสตร์ ประกอบด้วย เพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ รายได้และอายุการใช้งาน
รถยนต์
- ปัจจัยด้านส่วนประสมทางการตลาด (7P's) ประกอบด้วยด้านผลิตภัณฑ์ ด้านราคา ด้านช่องทางการจัด
จำหน่าย ด้านการส่งเสริมการตลาด ด้านพนักงาน ด้านกระบวนการ และด้านลักษณะทางกายภาพ
2. ตัวแปรตาม (Dependent Variables) คือ การตัดสินใจซื้อประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจสำหรับรถยนต์
ประเภท 1 ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล

5) การทบทวนวรรณกรรมและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ให้เขียนมาเฉพาะเค้าโครงหรือหัวข้อเท่านั้น (5 คะแนน)


งานวิจัยนี้ผู้วิจัยได้ทำการศึกษาค้นคว้า ข้อมูล บทความทางวิชาการ เอกสาร และงานวิจัยต่างๆ ที่
เกี่ยวข้องกับปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจของผู้บริโภคในเขต
กรุงเทพมหานครและปริมณฑล เพื่อนำมาเป็นแนวทางในการศึกษาวิจัย โดยผู้วิจัยได้นำเสนอการทบทวน
วรรณกรรมตามหัวข้อ ดังต่อไปนี้
1. ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจ
2. แนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับพฤติกรรมผู้บริโภค
3. แนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับส่วนประสมทางการตลาด
4. การทบทวนงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
- ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด (7P's)
-ปัจจัยด้านลักษณะประชากรศาสตร์ (Demographics)
6) กรอบแนวคิดการวิจัย และสมมติฐานการวิจัย(ถ้ามี) (5 คะแนน)
กรอบแนวคิดการวิจัย
จากการศึกษาแนวคิดและทฤษฎีต่างๆ รวมทั้งงานวิจัยที่เกี่ยวข้องข้างต้น ผู้วิจัยได้นำแนวคิดและทฤษฎีต่างๆ
ที่ได้จากการทบทวนวรรณกรรม มากำหนดเป็นกรอบแนวคิดของงานวิจัยเพื่อใช้เป็นแนวทางในการดำเนิน
งานวิจัยเรื่องปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจของผู้บริโภคในเขต
กรุงเทพมหานครและปริมณฑล
 สมมติฐานการวิจัย(ถ้ามี)
- สมมติฐานเกี่ยวกับปัจจัยด้านส่วนประสมทางการตลาด
สมมติฐานที่ 1 ปัจจัยด้านผลิตภัณฑ์ มีผลต่อการตัดสินใจซื้อประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจของผู้
บริโภคในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
สมมติฐานที่ 2 ปัจจัยด้านราคา มีผลต่อการตัดสินใจซื้อประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจของผู้บริโภค
ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
สมมติฐานที่ 3 ปัจจัยด้านช่องทางการจัดจำหน่าย มีผลต่อการตัดสินใจซื้อประกันภัยรถยนต์ภาค
สมัครใจของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
สมมติฐานที่ 4 ปัจจัยด้านการส่งเสริมการตลาด มีผลต่อการตัดสินใจซื้อประกันภัยรถยนต์ภาค
สมัครใจของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
สมมติฐานที่ 5 ปัจจัยด้านบุคคล มีผลต่อการตัดสินใจซื้อประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจของผู้
บริโภคในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
สมมติฐานที่ 6 ปัจจัยด้านการสร้างและการนำเสนอลักษณะทางกายภาพ มีผลต่อการตัดสินใจซื้อ
ประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
สมมติฐานที่ 7 ปัจจัยด้านกระบวนการ มีผลต่อการตัดสินใจซื้อประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจของผู้
บริโภคในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
- สมมติฐานเกี่ยวกับปัจจัยด้านประชากรศาสตร์
สมมติฐานที่ 8 ปัจจัยด้านระดับการศึกษาที่แตกต่างกัน มีผลต่อการตัดสินใจซื้อประกันภัยรถยนต์
ภาคสมัครใจของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลที่แตกต่างกัน
สมมติฐานที่ 9 ปัจจัยด้านรายได้เฉลี่ยต่อเดือนที่แตกต่างกัน มีผลต่อการตัดสินใจซื้อประกันภัย
รถยนต์ภาคสมัครใจของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลที่แตกต่างกัน

7) ระเบียบวิธีวิจัย ให้ระบุเกี่ยวกับ ขนาดประชากรที่ศึกษา ขนาดของกลุ่มตัวอย่าง วิธีการคำนวนกลุ่ม


ตัวอย่าง วิธีการ สุ่มตัวอย่าง และเครื่องมือวิจัยที่ใช้ (8 คะแนน)
1) ประชากร ขนาดกลุ่มตัวอย่าง
ประชากร (Population) ที่เป็นกลุ่มเป้ าหมายในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ คือ กลุ่มประชากรที่อยู่อาศัย
ทำงาน หรือกำลังศึกษาในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลที่เคยตัดสินใจเลือกซื้อประกันภัยรถยนต์ภาค
สมัครใจประเภท 1
ตัวอย่างและขนาดตัวอย่าง
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ ผู้บริโภคที่เคยซื้อประกันภาคสมัครใจประเภท 1 ในเขต
กรุงเทพมหานครและปริมณฑล ผู้วิจัยทำการกำหนดขนาดตัวอย่าง (Sample Size) โดยการทดสอบ
แบบสอบถามกับทางกลุ่มตัวอย่างจำนวน 30 ชุด และคำนวณค่าของ Partial R2 เพื่อประมาณขนาดตัวอย่าง
โดยใช้ซอฟต์แวร์ G*Power ซึ่งเป็นโปรแกรมที่สร้างขึ้นจากสูตรของ Cohen (1977) ซึ่งได้ผ่านการตรวจ
สอบ และรับรองโดยนักวิจัยหลายคน เพื่อกำหนดขนาดตัวอย่างให้ถูกต้องและทันสมัย (Howell, 2010 และ
นงลักษณ์ วิรัชชัย, 2555) จากการประเมินตัวอย่างที่มีค่าขนาดอิทธิพล (Effect Size) เท่ากับ 0.25 ความน่าจะ
เป็นความคลาดเคลื่อนในการทดสอบหนึ่งประเภท (α) เท่ากับ 0.05 จำนวนของตัวแปรทำนายที่เท่ากับ 5
ตัวแปรอิสระ กำลังทดสอบ (1-ß) เท่ากับ 0.95 (Cohen, 1962) ขนาดกลุ่มคือ 138 คน และได้เก็บข้อมูลเพิ่ม
เป็น 150 คน เพื่อป้ องกันความผิดพลาดในการเก็บข้อมูลโดยใช้วิธีสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive
Sampling)
2) ใช้เครื่องมือวิจัยอะไรบ้าง
เครื่องมือที่ผู้วิจัยใช้ในการศึกษาครั้งนี้ เป็นแบบสอบถามปลายปิ ด ซึ่งผู้วิจัยได้สร้างแบบสอบถาม
และตรวจสอบเนื้อหาของคำถามที่มีอยู่ในแบบสอบถาม และความน่าเชื่อถือของแบบสอบถาม เพื่อพิจารณา
ว่าผู้ตอบแบบสอบถามมีความเข้าใจในคำถามมากขึ้น และมีเนื้อหาที่สมบูรณ์ที่จะใช้ในการสอบถามมีราย
ละเอียดดังนี้
 การสร้างแบบสอบถาม
ผู้วิจัยสร้างแบบสอบถาม โดยเริ่มจากการทบทวนวัตถุประสงค์ทางการศึกษาเพื่อพิจารณาว่าตัวแปร
ใดบ้างที่จะใช้ในการสร้างแบบสอบถามนี้ ที่นี่ตัวแปรที่จะใช้ในการสร้างคำถามที่จะศึกษาประกอบด้วย
ตัวแปรอิสระ เช่น ปัจจัยผลิตภัณฑ์ , ปัจจัยราคา , ปัจจัยส่งเสริมการตลาด ปัจจัยด้านชื่อเสียง และปัจจัยด้าน
เอกลักษณ์ขององค์กร และตัวแปรตาม คืออการตัดสินใจซื้อ หลังจากนั้นให้นำแนวคิดทฤษฎีและการวิจัยที่
เกี่ยวข้องมาพิจารณา เพื่อสร้างเนื้อหาของคำถามในแบบสอบถามตามหลักการทางวิชาการ
 องค์ประกอบของแบบสอบถาม
การศึกษาใช้แบบสอบถามที่มีโครงสร้าง (Structure-undisguisedQuestionnaire) ซึ่งสร้างขึ้นจากการ
ทบทวนวรรณกรรมและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องโดยแบบสอบถามปลายปิ ด (Close-ended Questionnaire) ในการ
เก็บข้อมูล และได้แบ่งแบบสอบถาม ออกเป็น 5 ส่วน ดังนี้
ส่วนที่ 1 เป็นคำถามเกี่ยวกับปัจจัยส่วนบุคคลของผู้ตอบแบบสอบถามประกอบด้วยเพศอายุการ
ศึกษาสถานภาพรายได้เฉลี่ยต่อเดือน อายุของรถยนต์ที่ใช้, ประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจในปัจจุบันและ
บริษัท ประกันภัยที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน ลักษณะของคำถามเป็นคำถามปิ ดท้ายโดยใช้เกจวัดและอันดับ ผู้ตอบ
แบบสอบถามจะเลือกคำตอบที่สอดคล้องกับตัวตน
ส่วนที่ 2 เป็นคำถามเกี่ยวกับปัจจัยส่วนประสมการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อประกันภัย
รถยนต์ภาคสมัครใจประเภทที่ 1 ลักษณะของคำถามเป็นคำถามปิ ดท้าย ที่ใช้ตัวชี้วัด (IntervalScale) โดยมีตัว
เลือกที่แบ่งออกเป็นระดับและจัดลำดับความสำคัญแต่ละระดับจากระดับ 1 หมายความว่าสำคัญน้อยที่สุด
และระดับ 5 เป็นสิ่งสำคัญที่สุด
ส่วนที่ 3 เป็นคำถามเกี่ยวกับปัจจัยด้านภาพลักษณ์ที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อประกันภัยรถยนต์ภาค
สมัครใจประเภทที่ 1 ลักษณะของคำถามเป็นคำถามปิ ดท้าย ที่ใช้ตัวชี้วัด (IntervalScale) โดยมีตัวเลือกที่แบ่ง
ออกเป็นระดับและจัดลำดับความสำคัญแต่ละระดับจากระดับ 1 หมายความว่าสำคัญน้อยที่สุดและระดับ 5
เป็นสิ่งสำคัญที่สุด
ส่วนที่ 4 เป็นคำถามเกี่ยวกับปัจจัยในการตัดสินใจซื้อประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจประเภทที่ 1
ลักษณะของคำถามเป็นคำถามปิ ดท้าย ที่ใช้ตัวชี้วัด (IntervalScale) โดยมีตัวเลือกที่แบ่งออกเป็นระดับและจัด
ลำดับความสำคัญแต่ละระดับจากระดับ 1 หมายความว่าสำคัญน้อยที่สุดและระดับ 5 เป็นสิ่งสำคัญที่สุด
ส่วนที่ 5 เป็นคำถามเกี่ยวกับข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะ ลักษณะของคําถามเป็นคําถามแบบปลาย
เปิ ด
3) มีวิธีการควบคุมคุณภาพเครื่องมือวิจัยย่างไร

 ผู้วิจัยทดสอบเครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาโดยใช้แบบสอบถามที่รวบรวมได้ ในการตรวจ
สอบความถูกต้อง (Validity) ผู้วิจัยได้นำแบบสอบถามไปให้ผู้เชี่ยวชาญหรือผู้เชี่ยวชาญใน
เรื่องที่ผู้วิจัยได้ศึกษาเพื่อช่วยกำหนดความเหมาะสมของเนื้อหาและความครอบคลุมของ
คำถาม m (ContentValidity) สำหรับคำแนะนำในการปรับปรุง แบบสอบถามที่ถูกต้องและ
เหมาะสม
 ผู้วิจัยทำการทดสอบ (Tryout) โดยแจกจ่ายแบบสอบถามจำนวน 30 ชุดที่ได้รับการแก้ไข
แล้วจากนั้นใช้เพื่อค้นหาอัลฟ่ า (Reliability Analysis) ของครอนบาคเพื่อทดสอบความเชื่อ
มั่นของแบบสอบถามโดยมีรายละเอียดดังนี้
4) มีขั้นตอนการเก็บข้อมูลภาคสนามอย่างไร
กระบวนการและขั้นตอนการรวบรวมข้อมูลมีดังนี้
 ผู้วิจัยได้สุ่มตัวอย่างตัวอย่างจากผู้ใช้บริการประกันภัยภาคสมัครใจของ บริษัทประกันภัย
ต่าง ๆ ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
 ผู้วิจัยได้ระบุวัตถุประสงค์ของการวิจัยรวมถึงเกณฑ์การตอบแบบสอบถามเพื่อให้ผู้ตอบ
เข้าใจคำถาม และจะต้องมีแบบสอบถามเพื่อให้แม่นยำมาก
 ผู้วิจัยแจกแบบสอบถามออนไลน์ให้กับผู้ใช้บริการประกันภัยภาคสมัครใจของ บริษัท
ประกันภัยต่าง ๆ ในเขตกรุงเทพและปริมณฑล
 ผู้วิจัยใช้แบบสอบถามที่ได้รับจากแบบสอบถามออนไลน์ของผู้ใช้บริการประกันสุขภาพ
ของ บริษัท ประกันต่าง ๆ ในเขตกรุงเทพและปริมณฑลเพื่อตรวจสอบความครบถ้วนและ
วิเคราะห์ทางสถิติ
8) ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ (2 คะแนน)
1. ทำให้ลูกค้าประกันภัยเพิ่มขึ้น บริษัทประกันภัยมีกำไรมากขึ้น
2. บริษัทประกันภัยสามารถรับรู้ถึงความต้องการที่แท้จริงของผู้บริโภคได้ และนำผลที่ได้จากการวิจัยนี้ไป
ปรับปรุง หรือแก้ไขรูปแบบกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ประเภท 1 ให้มีความคุ้มครองที่เหมาะสมและตรง
กับความต้องการของผู้บริโภค สำหรับการแข่งขันกับคู่แข่งทางการตลาด

You might also like