You are on page 1of 40

แผนธุรกิจ กลุ่มผ้าไหมมัดหมี่บ้านดงบัง

สมาชิกกลุ่ม
1. นางสาวจิรวรรณ นะวะพิษ BLM4N2
2. นางสาวสุดารัตน์ พันชะคาม BLM4N2
3. นางสาวสุกัญญา ตาดี BLM4N2
4. นางสาวกาญจนา สนิทกลาง BLM4N2
5. นางสาวสุนิชานันท์ วัฒนภูมิ BLM4N2
6. นางสาวศศิธร เขียวหนู BLM4N2
7. นางสาวรณิดา พระสว่าง BLM4N2
8. นางสาวเทวิกา หีบแก้ว BLM4N2
9. นางสาวศศิธร พลอยงาม BLM4N2
10. นางสาวเนตรฤทัย สุรินทร์แก้ว BLM4N2

แผนธุรกิจนี้ เป็นส่วนหนึ่งของรายวิชากิจการเพื่อสังคม รหัสวิชา 32-410-031-413


ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566
หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์
คณะบริหารธุรกิจและเทคโนโลยีสารสนเทศ
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตขอนแก่น

สารบัญ
หน้า
สารบัญ
สารบัญตาราง
สารบัญรูปภาพ
บทนำ 1
องค์ประกอบที่ 1 บทสรุปผู้บริหาร 3
องค์ประกอบที่ 2 ประวัติโดยย่อของกิจการ 5
2.1 ประวัติโดยย่อของกิจการ 5
2.2 รายละเอียดสินค้า 7
องค์ประกอบที่ 3 การวิเคราะห์สถานการณ์ 9
3.1 สภาวะอุตสาหกรรม และสภาวะตลาด 9
3.2 การวิเคราะห์ปัจจัยหรือ SOWT Analysis 11
3.3 การวิเคราะห์ TOWS Matrix 12
3.4 รูปแบบการดำเนินธุรกิจผ้าไหมมัดหมี่บ้านดงบัง 13
องค์ประกอบที่ 4 เป้าหมายทางธุรกิจ 15
4.1 วัตถุประสงค์ของธุรกิจ 15
4.2 เป้าหมายทางธุรกิจ 15
4.3 ปัจจัยแห่งความสำเร็จ 15
องค์ประกอบที่ 5 แผนการตลาด 16
5.1 กลยุทธ์และกิจกรรมทางการตลาด 16
5.2 เป้าหมายทางการตลาด 17
องค์ประกอบที่ 6 แผนการจัดการคน 18
6.1 โครงสร้างองค์กรของกลุ่มวิสาหกิจ 18
6.2 โครงสร้างองค์กรของกลุ่มผ้าไหมมัดหมี่บ้านดงบัง 18
องค์ประกอบที่ 7 แผนการผลิต 20
7.1 อุปกรณ์และวัตถุดิบหลัก 20
7.2 แผนผังกระบวนการผลิต 21

สารบัญ (ต่อ)
หน้า
องค์ประกอบที่ 8 แผนการเงิน 26
องค์ประกอบที่ 9 แผนการดำเนินงาน 27
9.1 แผนการดำเนินงานของวิสาหกิจ 27
9.2 แผนการดำเนินงานของกลุ่มผ้าไหมมัดหมี่บ้านดงบัง 28
องค์ประกอบที่ 10 แผนฉุกเฉิน 29
10.1 แผนฉุกเฉินจากปัจจัยภายใน 29
10.2 แผนฉุกเฉินจากปัจจัยภายนอก 30
อ้างอิง
ภาคผนวก
ภาคผนวก ก ภาพบรรยากาศการลงพื้นที่หมู่บ้านดงบัง ตำบลดงเมืองแอม
อำเภอเขาสวนกวาง จังหวัดขอนแก่น
ภาคผนวก ข ภาพกิจกรรมตลาดนัดโลจิสติกส์

สารบัญตาราง

ตารางที่ หน้า
3.1 ตารางรายละเอียดการเปรียบทียบคูแ่ ข่ง 10
3.2 ตารางการวิเคราะห์ SOWT Analysis 11
3.3 ตารางการวิเคราะห์ Business Model Canvas 13
5.1 ตารางเป้าหมายทางการตลาด 17
6.1 ตารางแสดงหน้าที่และความรับผิดชอบ 19
8.1 ตารางแสดงรายรับและค่าใช้จ่ายทั้งหมดของกลุ่มผ้าไหมมัดหมี่บ้านดงบัง 26
9.1 ตารางแสดงแผนการดำเนินงานของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน ผ้าไหมบ้านดงบัง 27
9.2 ตารางแสดงภาพรวมของการดำเนินงาน โดยใช้แผนภูมิ Gantt Chart 28
10.1 ตารางแสดงแผนฉุกเฉินปัจจัยภายในของกลุ่มผ้าไหมมัดหมี่บ้านดงบัง 29
10.2 ตารางแสดงแผนฉุกเฉินปัจจัยภายนอกของกลุ่มผ้าไหมมัดหมี่บ้านดงบัง 30

สารบัญรูปภาพ

ภาพที่ หน้า
1.1 แสดงภาพป้ายชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี 3
2.1 แสดงภาพประธานกลุ่มหมู่บ้านท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี บ้าน 5
ดงบัง
2.2 แสดงภาพความสำเร็จของชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี บ้าน 6
ดงบัง
2.3 แสดงภาพตัวอย่างของลายผ้าไหมที่เป็นเอกลัษณ์ประจำท้องถิ่น 7
ของบ้านดงบัง
7.1 แสดงภาพวัตถุดิบหลักที่ใช้ในการผลิตผ้าไหม 20
7.2 แสดงภาพอุปกรณ์และเครื่องมือที่ใช้ในการทอผ้าไหม 21
7.3 แสดงภาพการเลี้ยงตัวหม่อนไหมและการทอผ้าไหม 22
1

บทนำ
วิชากิจการเพื่อสังคม เป็นวิชาที่มีเนื้อหาการจัดการกิจการเพื่อสังคมได้รู้ถึงภาพรวมของธุรกิจและ
สามารถเห็นจุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรค ในการต่อยอดธุรกิจและเห็นจุดที่ควรปรับปรุงแก้ไขให้มี
ประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยมีการคำนึงถึงผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมให้มีความปลอดภัยต่อสภาพแวดล้อม
และมีหลักการพัฒนาออกแบบผลิตภัณฑ์ในธุรกิจต่างๆ ให้มีความน่าดึงดูดความสนใจของลูกค้าและมีการ
จัดการความสัมพันธ์กับลูกค้าในด้านการให้บริการให้มีประสิทธิภาพในการปิดยอดขายและการบริการหลังการ
ขายให้ลูกค้ามีความประทับใจและกลับมาซื้อสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ซ้ำอีกครั้ง
ปัจจุบันการแต่งตัวของวัยรุ่นในประเทศไทยในปัจจุบันมีการเปลี่ยนไปตามกระแสของโซเชียลมีเดียทำ
ให้เสื้อผ้าของการแต่งตัวประจำท้องถิ่นไม่เป็นที่นิยมในปัจจุบัน ในอดีตชุมชนดงบัง ตำบลดงเมืองแอม อำเภอ
เขาสวนกวาง จังหวัดขอนแก่น เป็นชุมชนต้นแบบที่เอาตัวรอดและปรับแผนการพัฒนาชุมชนรับมือกับทุก
วิกฤตได้อย่างยั่งยืน มีทั้งการปลูกต้นหม่อนกว่า 400 ไร่ เพื่อนำมาเลี้ยงตัวไหม และนำเส้นไหมส่งขายเป็น
วัตถุดิบคุณภาพสำหรับชุมชนทอผ้าทั่วประเทศ ส่วนใบหม่อนนำมาทำชาใบหม่อนเครื่องดื่มสมุนไพรเพื่อ
สุขภาพ จากปลูกพืชเชิงเดี่ยวชาวบ้านดงบังปรับตัวมาทำเกษตรผสมผสานปลูกพืชผักปลอดภัย พืชผักนานา
ชนิดในสวนส่งตรงถึงโรงพยาบาล โรงเรียน ห้างสรรพสินค้า ร้านอาหาร และร้านกาแฟ เพิ่มรายได้ให้กับชุมชน
ในยามวิกฤตและส่งต่อสุขภาพที่ดีให้กับผู้บริโภค นอกจากผักปลอดสารพิษที่เป็นผลิตภัณฑ์โดดเด่นของชุมชน
ดงบังแล้ว ชาวบ้านพัฒนาต่อยอดแปรรูปข้าวบรรจุถุงภายใต้แบรนด์ “ข้าวหอมมะลิดงบัง” แล้วยังมีร้านค้า
ชุมชนพัฒนาเป็นร้านค้าธงฟ้าประชารัฐพลิกโฉมนำระบบการบริหารจัดการร้านรูปแบบใหม่ทันสมัยตอบโจทย์
ลูกค้า โดยเฉพาะคนรุ่นใหม่ เกิดเม็ดเงินเข้าท้องถิ่น กระตุ้นเศรษฐกิจชุมชนไม่ให้ซบเซา
การปลูกหม่อนเลี้ยงไหมเพื่อให้คนในชุมชนมีรายได้มากขึ้น เดิมชุมชนจัดตั้งวิสาหกิจชุมชนทอผ้าไหม
ครบวงจรบ้านดงบัง ม.4 ผลิตสินค้าผ้าทอเป็นลวดลายดั้งเดิมของท้องถิ่น ผลิตภัณฑ์ขายได้เฉพาะในชุมชน ซึ่ง
ใน จ.ขอนแก่น มีชุมชนจำนวนมากทอผ้าไหมขายอยู่แล้ว ชุมชนดีมีรอยยิ้มขอนแก่นช่วยวางแผนพัฒนาชุมชน
ปลูกหม่อนเลี้ยงไหมทอผ้านำมาสู่การปรับเปลี่ยนทิศทางสู่การปลูกหม่อนเลี้ยงไหมขาย ซึ่งจะสร้างรายได้ให้กับ
ชุมชนอย่างต่อเนื่อง วันนี้เกิดแปลงปลูกหม่อนเลี้ยงไหมรวมพื้นที่กว่า 10 ไร่ ซึ่งชาวบ้านปลูกและใช้ประโยชน์
ร่วมกัน บริหารจัดการเป็นระบบการผลิตเส้นไหมดงบังทำด้วยมือทุกขั้นตอน เกิดเส้นไหมคุณภาพ มีความ
แข็งแรงมากกว่าเส้นไหมโรงงาน เป็นที่ต้องการของกลุ่มช่างทอ เราช่วยส่งเสริมช่องทางการตลาดของกลุ่ม โดย
2

จัดส่งเส้นไหมเป็นวัตถุดิบให้ชุมชนดีมีรอยยิ้มที่ทำผลิตภัณฑ์ผ้าทอในรูปแบบต่างๆ และโครงการประชารัฐทั่ว
ทุกภูมิภาค เกษตรกรมีรายได้ประมาณ 8,000 - 10,000 บาทต่อเดือนต่อคน ปัจจุบันมีสมาชิกกลุ่มฯ 74 คน
ในจำนวนนี้ 24 คน ยึดปลูกหม่อนเป็นอาชีพหลัก
ดังนั้น จึงเห็นของปัญหาให้มีการอนุรักษ์การแต่งกายประจำท้องถิ่นผลิตภัณฑ์ที่เราเล็งเห็นปัญหา คือ
ผ้าไหมเป็นสินค้าประจำวิสาหกิจชุมชน นำมาช่วยโปรโมตสินค้าให้เป็นที่รู้จักกันแพร่หลาย เพื่อช่วยคนใน
ชุมชนให้มีรายได้ ให้กับคนในชุมชนและเป็นการอนุรักษ์วัฒนธรรมต่อไป

วัตถุประสงค์ของการศึกษา
1. เพื่อศึกษากระบวนการทำและจัดส่งผ้าไหม บ้านดงบัง ตำบลดงเมืองแอม อำเภอเขาสวนกวาง
จังหวัดขอนแก่น
2. เพื่อวิเคราะห์ปัญหาและปรับปรุงภายในกระบวนจัดส่งและโปรโมต ผ้าไหม บ้านดงบังตำบลดง
เมืองแอม อำเภอเขาสวนกวาง จังหวัดขอนแก่น
3. เพื่อเสนอแนวทางในการแก้ปัญหาปรับปรุงภายในกระบวนจัดส่งและโปรโมต ผ้าไหม บ้านดงบัง
ตำบลดงเมืองแอม อำเภอเขาสวนกวาง จังหวัดขอนแก่น
ขอขอบคุณกลุ่มวิสาหกิจชุมชน ผ้าไหม บ้านดงบัง ตำบลดงเมืองแอม อำเภอเขาสวนกวาง จังหวัด
ขอนแก่น ที่ได้ให้สถานที่ในการศึกษาและให้ความรู้เกี่ยวกับกระบวนการทำงานการทำผ้าไหม เพื่อจะได้นำ
ความรู้ไปศึกษาและปรับปรุงกระบวนการทำงานของคนในชุมชนวิสาหกิจให้มีประสิทธิภาพและเป็นที่รู้จักของ
คนทั่วไปมากยิ่งขึ้นต่อไปในอนาคต
3

องค์ประกอบที่ 1 บทสรุปผู้บริหาร
ชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี เป็นโครงการภายใต้การดำเนินงานของกรมพัฒนาชุมชน โดยมี
แนวคิดที่จะพัฒนา OTOP ในรูปแบบใหม่ คือ การขายสินค้าอยู่ภายในชุมชน ซึ่งเป็นการสร้างรายได้เพิ่มให้กับ
ชุมชน เป็นเสน่ห์ภูมิปัญญา วิถีชีวิต วัฒนธรรม และความคิดสร้างสรรค์มาแปลงเป็นรายได้ ทำให้รายได้
กระจายอยู่ภายในชุมชน นับเป็นการมุ่งเน้นไปที่การท่องเที่ยวโดยชุมชน เพื่อให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการ
ร่วมคิด ร่วมวางแผน ร่วมปฏิบัติ ร่วมรับผิดชอบ และร่วมรับผลประโยชน์ พร้อมกับสร้างเสริมศักยภาพชุมชน
ให้สามารถบริหารจัดการเชื่อมโยงผลประโยชน์ต่างๆ จากการท่องเที่ยวได้ ก็นำมาซึ่งรายไดภายในชุมชน
สิ่งแวดล้อมที่ดี และวัฒนธรรมท้องถิ่นได้รับการอนุรักษ์ ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะช่วยพัฒนาท้องถิ่นเป็นไปอย่างยั่งยืน
โดยมุ่งเน้นให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วม เพื่อเป็นผู้รับประโยชน์สูงสุดจากการท่องเที่ยว เช่นเดียวกับบ้านดงบัง หมู่
ที่ 4 ตำบลดงเมืองแอม อำเภอเขาสวนกวาง จังหวัดขอนแก่น ที่มีความพร้อมด้านสังคม ภูมิปัญญา วิถีชีวิต
และวัฒนธรรมที่แข็งแรง
บ้านดงบัง ตำบลดงเมืองแอม อำเภอเขาสวนกวาง จังหวัดขอนแก่น ได้มีการขับเคลื่อนการดำเนินการ
ตามโครงการ หมู่บ้านท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี ตั้งแต่เดือนมกราคม 2561 เป็นต้นมา และได้มีพิธีเปิด ถนน
สานวัฒนธรรมไหมมัดหมี่ วิถีชุมชนดงบัง เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2561 ซึ่งถนนสายวัฒนธรรมไหมมัดหมี่วิถี
ชุมชนบ้านดงบัง จะเปิดให้บริการนักท่องเที่ยวทุกวันอาทิตย์แรกของเดือน และตามที่คณะท่องเที่ยวแจ้งความ
ประสงค์ โดยจะได้เยี่ยมชม ชิม ช็อป ผลิตภัณฑ์ OTOP ของดี อำเภอเขาสวนกวาง นอกจากนี้ยังมีผ้าไหม
มัดหมี่ ผ้าฝ้ายทอมือและผลิตภัณฑ์อีกมากมาย

ภาพที่ 1.1 แสดงภาพชุมชุนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี


4

กลุ่มทอผ้าไหมบ้านดงบัง เป็นกลุ่มทอผ้าไหมแท้จากฝีมือของชาวบ้านภายในชุมชน พื้นที่โดยรอบ


หมู่บ้านมีการปลูกหม่อนเลี้ยงไหมเป็นหลัก และลงมือทอผ้าไหมด้วยภูมิปัญญาจากบรรพบุรุษที่สืบทอดต่อกัน
มาจากรุ่นสู่รุ่น ทอผ้าด้วยภูมิปัญญาที่ควรอนุรักษ์ไว้ยาวนาน เพื่อแพรพรรณที่ทรงคุณค่าและอาภรณ์ที่แสน
งดงามบวกกับคุณค่าทางวัฒนธรรมอันดีงามของท้องถิ่นอีสานบ้านเฮาก่อให้เกิดสินค้า OTOP ที่โดดเด่น
มากมาย
ดังนั้น นอกจากกลุ่มทอผ้าไหมมัดหมี่บ้านดงจะผลิตภัณฑ์ผ้าไหมที่มีคุณภาพแล้ว เราจึงอยากช่วยให้
ชุมชนเป็นที่รู้จักมากยิ่งขึ้น จึงได้มีการสร้างช่องทางการจัดจำหน่ายผ้าไหมมัดหมี่บ้านดงบัง ผ่านช่องทาง
ออนไลน์ขึ้น คือ Facebook และ Tiktok เพื่อนำมาช่วยโปรโมทสินค้าให้เป็นที่รู้จักกันแพร่หลาย เพื่อช่วยคน
ในชุมชนให้มีรายได้ และเป็นการอนุรักษ์วัฒนธรรมต่อไป
5

องค์ประกอบที่ 2 ประวัตโิ ดยย่อของกิจการ


2.1 ประวัติโดยย่อของกิจการ
ผลิตภัณฑ์ผ้าไหม เริ่มก่อตั้งขึ้นมาในปี พ.ศ.2452 ซึ่งก่อตั้งพร้อม บ้านดงบังหมู่บ้านที่ 4 ตำบลดงเมือง
แอม เป็นหมู่บ้านที่จัดตั้งโดยราษฎร์ ซึ่งอพยพมาจากบ้านสะอาด ต.สะอาด อ.น้ำพอง จ.ขอนแก่น ในครั้งแรกมี
ราฎร์อพยพเพียง 7 หลังคาเรือน เท่านั้น โดยจัดตั้งขึ้นเมื่อปี 2452 เริ่แรกตั้งเป็นหมู่บ้านนั้น เรียกชื่อหมู่บ้าน
เก่าบ้านหนองฮวงฮุม เพราะ หมู่บ้านนี้มีเครื่องฮวงฮุมขึ้นอยู่ตามบริเวณบ้านเป็นจำนวนมาก ในระยะต่อมา
ชาวบ้าน ได้พร้อมใจ เปลี่ยนชื่อหมู่บ้านใหม่ โดยเปลี่ยนเป็นบ้านดงบัง เนื่องจากหมู่บ้านเต็มไปด้วยป่าทึบให้
เห็นหมูบ่ ้านไม่ชัดเจนหลังจากนั้น โดยมีประชากรจากถิ่นต่างๆ อพยพเข้ามาอยู่เป็นจำนวนมากขึ้น ด้วยความ
ร่วมมือร่วมใจ ชาวบ้านจึงก่อสร้างวัดขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2547 และได้ก่อสร้าง โรงเรียนขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2482 โดย
ผู้ใหญ่บ้านปกครองมาถึงปัจจุบัน จำนวนคน 12 คนและผู้ปกครองปัจจุบัน เป็น กำนัน ตำบลดงเมืองแอม คือ
นาย บุรากร ศรีสะอาด
ภาพที่ 2.1 แสดงภาพประธานกลุ่มหมู่บ้านท่องเที่ยว OTOP นวัฒวิถี บ้านดงบัง

ที่มา : https://www.facebook.com/profile.php?id=100069814355379

แนวความคิดในการก่อตั้งกิจการ อาชีพของประชาชนทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือหรือภาคอีสาน
ส่วนใหญ่คือเกษตรกรรม เมื่อหมดฤดูกาลทำไร่ไถ่นา ก็มีการประกอบอาชีพเสริม เช่น การเลี้ยงสัตว์ การปลูก
พืชผักไว้กินเอง และสำหรับการทอผ้าซึ่งเป็นอีกกิจกรรมหนึ่งที่ชาวบ้านทำขึ้นเองไว้ใช้ในครัวเรือนเพื่อเป็น
เครื่องนุง่ ห่ม หรือเพื่อถวายพระในงานบุญ รวมทั้งขายเป็นรายได้เสริมให้กับครอบครัว ซึ่งทักษะในการทอผ้า
ไหมได้รับการสืบทอดต่อกันมาจากรุ่นสู่รุ่น มีขั้นตอนในการทอที่ซับซ้อนกว่าจะกลายมาเป้นผ้าไหมหนึ่งผืน
และเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นมีลายผ้าที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะ ลายผ้าที่เกิดขึ้นนั้นได้มาจากเรื่องราวที่เกี่ยวกับ
6

ความเชื่อของคนในท้องถิ่นอีสาน ในการแต่งกายส่วนใหญ่ผู้หญิงจะนุ่งผ้าซิ่นที่ทอด้วยฝ้ายคลุมยาวคลุมเข่า
เล็กน้อย ส่วนผู้ชายไม่มีรูปแบบการแต่งกายที่แน่นอนส่วนใหญ่มักจะนุ่งกางเกงหรือนุ่งโสร่งผ้าไหม ดังนั้น ผ้า
ไหมของแต่ละท้องถิ่นได้มีการพัฒนาสืบทอดต่อกันมาจากรุ่นสู่รุ่น และยังสามารถนำผ้าไหมไปพัฒนาตัดเย็บ
เป็นชุดสำเร็จหรือผลิตภัณฑ์อื่นๆ ที่สามารถเพิ่มมูลค่าให้กับผ้าไหมได้ อีกทั้งยังเป็นที่รู้จักของนักท่องเที่ยวและ
สร้างรายได้เข้าสู่ครวบครัวและชุมชนต่อไป
การเปลี่ยนแปลงของกิจการในระยะแรกการผลิตผ้าไหมไม่ได้เน้นการออกจำหน่าย ผลิตผ้าไหมเพราะ
เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นไว้ใช้ในงานบุญ งานบวช งานแต่ง และทำไว้เป็นของฝากสำหรับผู้ที่มาเยี่ยมเยียน ต่อมามี
ผู้คนกลุ่มที่เน้นออกงานมาเห็นผลิตภัณฑ์ผ้าไหมประจำหมู่บ้านดงบังเกิดความสนจในตัวสินค้าจึงเริ่มมีการซื้อ
ขายกันแต่ก็มีผู้คนจำนวนน้อยที่รู้จักผลิตภัณฑ์ผ้าไหมประจำหมู่บ้านดงบัง กลุ่มพวกเราจึงเล็งเห็นปัญหาที่
เกิดขึ้น จึงอยากจะขยายช่องทางในการจัดจำหน่าย และทำให้ผู้คนรู้จักสินค้าผ้าไหมมากยิ่งขึ้น
ความสำเร็จ เมื่อปี พ.ศ. 2561 ได้ทำการพัฒนาผลิตภัณฑ์สินค้าผ้าไหม นำโดยผู้ว่าราชการประจำ
อำเภอเขาสวนกวาง โดยมีการประมูลผ้าไหมในการออกงานไก่ย่างเขาสวนกวาง และ ได้ติดต่อ ช่องทางสื่อ
ต่างๆเช่น ช่อง 5 และช่อง Nawatwithi เป็นช่องในยูทูปที่นำเสนอสินค้า OTOP นวัตวิถี
ภาพที่ 2.2 แสดงภาพความสำเร็จของชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี บ้านดงบัง

ที่มา : https://www.youtube.com/watch?v=GWYXWvlm3yE
ที่มา : https://www.youtube.com/watch?v=MBYExqb5UEQ
อุปสรรคที่ผ่านมา เมื่อปี พ.ศ.2563 ผู้ว่าราชการประจำอำเภอเขาสวนกวางได้ถูกสั่งย้ายไปดำรง
ตำแหน่งที่อื่น ทำให้ไม่มีการจัดกิจกรรมในชุมชนเหมือนเดิมที่เคยเป็นมาเพราะผู้ว่าราชการคนใหม่ไม่ได้ดำเนิน
สืบต่อกิจกรรมสินค้า OTOP ในชุมชน รวมถึงตัวชุมชนไม่ได้มีการพัฒนาสถานที่เท่าที่ควรจึงทำให้ไม่ได้รับ
7

ความสนใจเหมือนที่ผ่านมา เพราะไม่มีงบประมาณในการจัดกิจกรรม และพัฒนาสถานที่ จึงทำให้ไม่มี


นักท่องเที่ยวขาดรายได้ เป็นต้น

2.2 รายละเอียดสินค้า
ผ้าไหมเป็นสินค้า OTOP ประจำหมู่บ้านดงบัง เป็นสินค้าที่นิยมใช้ในการออกงานต่างๆ เราจึงอยากจะ
ขยายช่องทางการจัดจำหน่ายเพื่อช่วยเหลือคนในชุมชนให้มีรายได้เขาสู่ชุมชนเหมือนที่เคยเป็นมา ซึ่งสินค้ามี
ความเป็นเอกลักษณ์มีลายผ้าไหมที่ไม่เหมือนที่อื่นและเป็นลายประจำท้องถิ่น คือ ผ้าไหมลายเต่า และยังมีผ้า
ไหมลายอื่นๆ ให้ลูกค้าสามารถเลือกชมได้อย่างหลากหลาย นอกจากนี้เรายังสามารถควบคุมต้นทุนในการผลิต
ได้ ลูกค้าสามารถต่อรองราคาเพื่อจะซื้อสินค้าในราคาที่ถูกกว่าที่อื่นได้ โดยการขยายช่องทาง การจัดจำหน่าย
เราจะขยายช่องทางโดย นำเสนอสินค้า ผ่านเพลตฟอร์มออนไลน์ เช่น Facebook และ Tiktok โดย
กลุ่มเป้าหมายของเราจะเจาะจงเฉพาะคนที่มีความสนใจผ้าไหม หรือกลุ่มคนที่หรือกลุ่มคนที่มีอาชีพข้าราชการ
และเน้นออกงานต่างๆ เช่น งานทำบุญ การบวช และงานแต่ง เป็นต้น
ภาพที่ 2.3 แสดงภาพตัวอย่างของลายผ้าไหมที่เป็นเอกลักษณ์ประจำท้องถิ่นของหมู่บ้านดงบัง
8
9

องค์ประกอบที่ 3 การวิเคราะห์สถานการณ์
3.1 สภาวะอุตสาหกรรม และสภาวะตลาด
เมื่อได้ทำการเลือกตลาดเป้าหมายแล้ว และต่อจากนั้นเป็นการวางตำแหน่งผลิตภัณฑ์ ที่มุ่งเสนอความ
ต้องการของผุบริโภค เช่น ด้านคุณภาพ ในการทอผ้าไหมมีการทอลายผ้าไหมให้มีความหลากหลายตามความ
ต้องการของลูกค้า มีมาตราฐานทุกผืน และมีการจัดส่งแบบถึงหน้าบ้าน และมีการควบคุมราคาให้ลูกค้าต่อรอง
ราคาสินค้าในราคาที่เหมาะสมที่สุด ซึ่งมีความแตกต่างจากคู่แข่งผ้าไหมทั่วไป
3.1.1 แนวโน้มทางการตลาด
ผ้าไหมของไทยประสบความสำเร็จด้านการค้าและการตลาด โดยการเชื่อมโยงกับแนวคิดด้านการส่งเสริมการ
ท่องเที่ยว จึงเป็นการยกระดับผลิตภัณฑ์ผ้าไหมสู่แหล่งท่องเที่ยว กลุ่มผู้ผลิต/ผู้ประกอบการควรมีความรู้ด้าน
การพัฒนาผลิตภัณฑ์ และการนำนวัตกรรมเข้ามาช่วยเพิ่มมูลค่าให้แก่ผลิตภัณฑ์ เช่น ด้านการออกแบบสินค้า
หรือบรรจุภัณฑ์ และภาพลักษณ์ตราสินค้า นอกจากนี้ ยังจะมีการเชื่อมโยงสินค้ากับตลาดที่กว้างขึ้น ทั้ง
ช่องทางออนไลน์และออฟไลน์อาทิ เช่น ช่องทาง Facebook, Tiktok เป็นต้น และอีกช่องทางคือการออกบู
ธตามงานมหกรรมต่างๆ เพื่อเป็นช่องทางการตลาด/การจัดจำหน่ายให้แก่สินค้าชุมชนและ OTOP เพื่อให้
ผู้ผลิตสามารถผลิตสินค้าให้ตรงกับความต้องการของตลาดได้มากที่สุด
3.1.2 ตลาดเป้าหมาย และลักษณะทั่วไปของกลุ่มลูกค้า
กลุ่มลูกค้าหลัก คือ ลูกค้าทั่วไปที่สนใจผ้าไหม หรือกลุ่มลูกค้าที่มีอาชีพข้าราชการและใส่ออกงานต่างๆ เช่น
งานทำบุญ งานแต่ง งานบวช เป็นต้น ลูกค้าที่มาซื้อสินค้าโดยส่วนใหญ่จะมีรายได้อยู่ในระดับปานกลางจนถึงมี
รายได้ระดับสูง
กลุ่มลุกค้ารอง คือ ลูกค้าที่นิยมซื้อเพื่อเป็นของขวัญหรือของฝากให้พ่อแม่และญาติในงานเทศกาลต่างๆ เช่น
วันแม่ วันขึ้นปีใหม่ และวันสงกรานต์ เป็นต้น
3.1.3 สภาพการแข่งขัน
ผ้าไหมแต่ละท้องถิ่นมีลายประจำท้องถิ่นมีเอกลักษณ์ที่แตกต่างกัน และมีราคาที่แตกต่างกัน จึงได้ทำการ
เปรียบเทียบกับคู่แข่ง ดังต่อไปนี้
1. ผ้าไหมมัดหมี่ ลายสร้อยดอกหมาก กลุ่มทอผ้าไหมบ้านกุดรัง จังหวัดมหาสารคาม
ที่ตั้ง : 69 หมู่ 16 วัดกลางกุดรัง ต.กุดรัง อ.กุดรัง จ.มหาสารคาม
10

2. ผ้ามัดหมี่ลายแคนแกนคูน กลุ่มวิสาหกิจชุมชนผ้าไหมมัดหมี่บ้านหัวฝาย จังหวัดขอนแก่น


ที่ตั้ง : 46 บ้านหัวฝาย หมู่ 2 ต.ปอแดง อ.ชนบท จ.ขอนแก่น

3. กลุ่มทอผ้าบ้านหนองเขื่อนช้าง
ที่ตั้ง : หมู่ที่ 7 ตำบลท่าสองคอน อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม
ตารางที่ 3.1 ตารางรายละเอียดการเปรียบเทียบคู่แข่ง
ชื่อ ด้านผลิตภัณฑ์ ด้านราคา ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย

1.ผ้าไหมมัดหมี่บ้านดง ผ้าไหมมีลักษณะโดดเด่นเป็นผ้าไหม 1. Facebook


ราคา 2,500 -2,800
บัง จังหวัดขอนแก่น มัดหมี่ลายประจำท้องถิ่น คือ ลายเต่า 2. จำหน่ายสินค้าตามงานต่างๆ
บาท ต่อ 2 เมตร
ทอด้วยมือ

2.ผ้าไหมมัดหมี่ ลาย ผ้าไหมลายสร้อยดอกหมาก เป็นคำ 1. ที่ทำการกลุ่มทอผ้าไหมบ้านกุด


สร้อยดอกหมาก กลุ่มทอ โบราณที่ชาวบ้ านใช้เรียกกัน เป็นลาย ราคา 3,000 – 4,000 รัง ตำบลกุดรัง อำเภอกุดรัง
ผ้าไหมบ้านกุดรัง จังหวัดเล็กที่มีความละเอียดอย่างยิ่ง เมื่อนำมา บาท 2. Facebook
มหาสารคาม ประยุกต์สีสันลงไปในการมัดย้อมแต่ละ ต่อ 2 เมตร 3. ทางเว็บไซต์
ครั้งจะทำให้มองดูสวยงามระยิบระยับ 4. จำหน่ายสินค้าตามงานต่างๆ
จับตามีคุณค่ามากขึ้น
ผ้ามัดหมี่ลายแคนแก่นคูณ เป็นลาย
3.ผ้ามัดหมี่ลายแคนแกน
เอกลักษณ์และตัวตนของความเป็น
คูน กลุ่มวิสาหกิจชุมชน
ขอนแก่น ประกอบไปด้วย 7 ลาย ได้แก่
ผ้าไหมมัดหมี่บ้านหัวฝาย
1.ลายแคน 1. Facebook
จังหวัดขอนแก่น
2.ลายดอกคูณ 2. หน้าร้านกลุ่มวิสาหกิจชุมชนผ้า
ราคา 5,000 บาท
3.ลายพานบายศรี ไหมมัดหมี่บ้านหัวฝาย จังหวัด
ต่อ 2 เมตร
4.ลายขอ ขอนแก่น
5.ลายโคม 3. จำหน่ายสินค้าตามงานต่างๆ
6.ลายกง
7. ลายบักจับหรือหมากจับ
ซึง่ แต่ละลายจะมีความหมายแตกต่างกัน
11

4.กลุ่มทอผ้าบ้านหนอง ลายผ้ามีความประณีต วิจิตรและมีเส้น


เขื่อนช้าง ไหมที่ระยิบระยับสะดุดตา ความ
ละเอียดของการผลิตอยู่ที่การมัดหมี่ที่ใช้ 1. Facebook : ศูนย์จำหน่าย
เวลานานถึง 4-5 วัน อีกทั้งความ สินค้า OTOP บ้านหนองเขื่อนช้าง
ละเอียดก็ขึ้นอยู่กับจำนวนของลำหมี่ ราคาเริ่มต้นผืนละ 2. หน้าร้านศูนย์จำหน่ายสินค้า
ตั้งแต่ 49-73 ลำ ซึ่งลำหมี่มาก ลายยิ่ง 1,000 บาท ขึ้นไป OTOP บ้านหนองเขื่อนช้าง
เล็กและละเอียดมากตามจำนวนของลำ 3.จำหน่ายสินค้าตามงานมหกรรม
หมี่ การทอจึงต้องใช่ความประณีตในการ แสดงสินค้าต่างๆ
ผลิต เพื่อให้ได้ผ้าที่มีลายตรงและ
สวยงาม

3.2 การวิเคราะห์ปัจจัย หรือ SWOT ANALYSIS


ตารางที่ 3.2 ตารางการวิเคราะห์ SWOT Analysis

จุดแข็ง (Strengths) จุดอ่อน (Weaknesses)


1. ผลิตภัณฑ์มีความโดดเด่นเฉพาะตัวและมี 1. การส่งเสริมการตลาดมีน้อย
การพัฒนาลวดลายภายใต้ความเป็นพื้นบ้านอยู่เสมอ 2. สมาชิกกลุ่ม OTOP ผ้าทอส่วนมากเป็น
2. ผลิตภัณฑ์มีราคาถูก เมื่อเทียบกับคุณภาพ ผู้สูงอายุอาจมีปัญหาเรื่องสายตา ทำให้เกิดอาจเกิดการ
และวิธีการผลิต ผิดพลาด
3. ผลิตภัณฑ์ได้รับรองมาตรฐาน OTOP
4. สินค้าเป็นผ้าไหมแท้ทอมือ

โอกาส ( Opportunities) อุปสรรค (Threats)


1. ภาครัฐมีการสนับสนุนสินค้า OTOP อยู่เสมอ 1.รสนิยมของคนรุ่นใหม่เปลี่ยนไป ไม่คค่อย
2. มีการจัดการท่องเที่ยว ถนนสายวัฒนธรรม นิยมแต่งกายชุดผ้าทอ
ไหมมัดหมี่บ้านดงบัง เพื่อให้เกิดการเข้าถึงและเรียนรู้ 2.มีนักท่องเที่ยวบางฤดูกาล
อาจนำไปสู่การซื้อสินค้าได้ 3.ภาวะเศรษฐกิจส่งผลกับการสั่งซื้อผ้าทอ
3. เทรนด์การใส่ชุดไทยจากกระแสนิยมด้าน 4.สินค้าทดแทน
ละครต่างๆ
12

3.3 การวิเคราะห์ TOWS MATRIX


กลยุทธ์เชิงรุก (SO) เป็นการจับคู่ระหว่างจุดแข็งและโอกาส
1. เพิ่มช่องทางการจัดจำหน่ายเช่น การถ่ายวิดีโอลง YouTube และนำไปโปรโมทผ่าน
แพลตฟอร์ม Facebook และแหล่งอื่นที่สามารถใช้คลิปวิดีโอในการโปรโมทสินค้า OTOP ของชาวบ้านว่าที่มา
ของผ้าทอเกิดขึ้นได้อย่างไรผ่านคลิปวิดีโอนั้น และเน้นการขายออนไลน์เพื่อให้ลูกค้าเข้าถึงได้ง่ายขึ้น
2. เว็บไซต์ E-commerce หรือ Brand.com คือ การที่แบรนด์ทำเว็บไซต์ แล้วขายโดยตรง
กับลูกค้าเอง
3. Marketplace คือ เป็นเว็บไซต์ที่ทำหน้าที่เหมือนตลาดกลางรวบรวมสินค้า จากร้านค้า
หรือแบรนด์ต่างๆ ที่สามารถเข้ามาทำการซื้อ-ขายสินค้าผ่านทางออนไลน์ได้ และเป็นช่องทางเพิ่มโอกาสขยาย
ฐานลูกค้าไปทั่วโลก ตัวอย่าง Marketplace ในไทย เช่น Lazada, Shopee, JD Central เป็นต้น
4. Social Commerce คือ การซื้อขายสินค้า-บริการผ่านแพลตฟอร์ม Social Media เช่น
Facebook, Instagram, Twitter และ LINE ซึ่งปัจจุบันแพลตฟอร์มเหล่านี้มีการพัฒนาระบบให้ผู้ใช้งาน
สามารถซื้อสินค้าและชำระเงินได้ทันทีโดยที่ไม่ต้องออกจากแพลตฟอร์มนั้นๆ
5. ปัจจัยคุณภาพสำคัญที่สามารถสร้างความประทับใจและดึงดูดใจต่อผู้บริโภคในภาพรวมคือ
ความสะดวกในการหยิบจับ ซึ่งเป็นปัจจัยที่จะสร้างความแตกต่างของผลิตภัณฑ์กับคู่แข่งในตลาดได้ ปัจจัย
คุณภาพที่ผู้บริโภคต้องการมีผลต่อความพึงพอใจ ส่วนปัจจัยที่ต้องมีในผลิตภัณฑ์และผู้ผลิตต้องให้ความสนใจ
อันดับแรกในการพัฒนา ซึ่งผู้บริโภคเห็นว่าปัจจัยเหล่านี้เป็นคุณลักษณะพื้นฐานของผลิตภัณฑ์ หากขาดหายไป
จะส่งผลให้ผู้บริโภคทันที ดังนั้นผู้ผลิตสามารถใช้ปัจจัยคุณภาพทั้งหมดนี้ เป็นแนวทางในการปรับปรุง และ
พัฒนาบรรจุภัณฑ์ที่น่าสนใจ
13

3.4 รูปแบบการดำเนินธุรกิจผ้าไหมมัดหมี่บ้านดงบัง
ตารางที่ 3.3 ตารางการวิเคราะห์ Business Model Canvas
Key Partners Key Activities  Value Propositions Customer Customer
- ผู้ปลูกต้นหม่อน - เก็บใบหม่อน - ผ้าลายประจำท้องถิ่นไม่ Relationships Segments
- ผู้ย้อมผ้าไหม - เลี้ยงตัวหม่อน เหมือนที่อื่น เป็นผ้าลายเต่า - ขายผ้าไหมที่มี ลูกค้าหลัก
- ผู้ทอผ้าไหม - ย้อมผ้าไหม - ผ้าไหมมัดหมี่บ้านดงบัง คุณภาพทุกผืน - คนที่เข้าร่วมงานบวช งาน
- ทอผ้าไหม เป็นผ้าไหมทอมือจากฝีมือ - แนะนำลายผ้าไหมที่ ทำบุญต่างๆ และเป็นเครื่อง
การผลิตของคนพื้นที่เอง เหมาะสมให้กับลูกค้า สมมางานแต่ง
- ใช้วัตถุดิบธรรมชาติปลอด - มีลายผ้าไหมให้เลือก - คนที่แต่งตัวออกงานราชการ
Key Resources สารเคมี มากมาย เช่น ข้าราชการ คุณครู และ
- ส่งผ้าไหมที่มีคุณภาพดี อาจารย์ เป็น
Channel
- ปลูกต้นหม่อนเอง ที่สุดและราคาที่เหมาะสม ลูกค้ารอง
- คนในชุมชน
- ภูมิปัญญาท้องถิ่น - ลูกค้ากลุ่มที่ซื้อไปเป็นของ
- ช่องทางออนไลน์
ฝากหรือของขวัญให้พ่อแม่
เช่น Facebook,
และญาติในงานเทศกาลต่างๆ
Tiktok เป็นต้น
เช่น วันแม่ วันขึ้นปีใหม่ และ
- ออกงาน Event และ
วันสงกรานต์ เป็นต้น
ขายส่ง
Cost Structure Revenue Stream
- ค่าน้ำมัน (ไปเก็บใบหม่อนและส่งสินค้า) - จำหน่ายดักแด้ (สุกแล้ว)
- ค่าน้ำ ( รดน้ำต้นหม่อนและทำคามสะอาดศูนย์เลี้ยงหม่อน) - จำหน่ายไข่ดักแด้ (ไปเพาะเลี้ยงต่อ)
- ค่าไฟ (ดูแลสูตรเลี้ยงหม่อน) - จำหน่ายผ้าไหม
- ค่าแรงงาน

จากตารางที่ 3.3 รูปแบบการดำเนินงานของธุรกิจของกลุ่มผ้าไหมมัดหมี่บ้านดงบัง จังหวัดขอนแก่น


แสดงถึงองค์ประกอบการดำเนินธุรกิจของกลุ่มผ้าไหมมัดหมี่บ้านดงบัง จังหวัดขอนแก่น ซึ่งมี 9 องค์ประกอบ
ตามแนวคิด Business Model Canvas ดังนี้ Value Propositions ให้กับผู้บริโภค คือ เป็นผ้าไหมลายประจำ
ท้องถิ่นไม่เหมือนที่อื่น “ลายเต่า” เป็นผ้าไหมมัดหมี่ที่ทอด้วยมือจากคนในพื้นที่เอง ใช้วัตถุดิบธรรมชาติปลอด
สารเคมี และส่งผ้าไหมที่มีคุณภาพดีที่สุดและราคาที่เหมาะสม ให้แก่กลุ่มลูกค้าหลัก คือ ส่วนใหญ่อยู่ในอาชีพ
ข้าราชการ ที่ต้องใช้ผ้าไหมในการตัดชุดสวมใส่ในการทำงาน และออกงานต่างๆ เช่น งานทำบุญ งานแต่งงาน
14

และงานบวช เป็นต้น และกลุ่มลูกค้ารอง คือ ลูกค้าที่ซื้อไปเป็นของฝากหรือของขวัญให้พ่อแม่และญาติในงาน


เทศกาลต่างๆ เช่น วันแม่ วันขึ้นปีใหม่ และวันสงกรานต์ เป็นต้น โดยจัดจำหน่ายผ่านช่องทางออนไลน์เป็น
หลัก คือ Facebook , Tiktok และอีกช่องทาง คือการออกบูธตามงานแสดงสินค้า OTOP หรือตามงาน
มหกรรมต่างๆ ที่มีการจัดแสดงสินค้า การสร้าง Customer Relationships มีการแนะนำลายผ้าที่เหมาะสม
ให้กับลูกค้า มีการอัปเดปลายผ้าไหมที่หลากหลายและโปรโมทสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์ เนื่องจากสินค้าแต่
ละแบบมีจำนวนจำกัดด้วยเพราะว่าเป็นงานฝีมือจึงมีจำนวนน้อย ผู้ที่ได้รับข่าวสารก่อนกและชำระเงินก่อนก็จะ
ได้สินค้านั้นไป แหล่งผลิตหลักของบ้านไหมมัดหมี่นี้ คือ กลุ่มวิสาหกิจชุมชน ผ้าไหมมัดหมี่บ้านดงบัง ตำบลดง
เมืองแอม อำเภอเขาสวนกวาง จังหวัดขอนแก่น ต้นทุนของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน ผ้าไหมมัดหมี่บ้านดงบัง ตำบล
ดงเมืองแอม อำเภอเขาสวนกวาง จังหวัดขอนแก่น ค่าใช้จ่าย คือ ค่าน้ำมัน สำหรับไปเก็บใบหม่อนและส่ง
สินค้า ค่าน้ำ ที่ใช้รดต้นหม่อนและทำความสะอาดศูนย์เลี้ยงหม่อน ค่าไฟในการดูแลศูนย์เลี้ยงหม่อนและค่าแรง
รายรับได้จาก การจำหน่ายดักแด้ที่สุกแล้ว การจำหน่ายไข่ดักแด้สำหรับไปเพาะเลี้ยงและจากการจำหน่ายผ้า
ไหม
15

องค์ประกอบที่ 4 เป้าหมายทางธุรกิจ
4.1 วัตถุประสงค์ของธุรกิจ
1. เพื่อสร้างชื่อเสียงให้กับกลุ่มผ้าไหมมัดหมี่บ้านดงบัง จังหวัดขอนแก่น ให้เป็นที่รู้จักของกลุ่ม
ผู้บริโภคทั้งทางออนไลน์และออฟไลน์ โดยมีการสร้างเพจ Facebook เพื่อจำหน่ายและโพสโปรโมทสินค้า
และได้นำสินค้าไปออกตามงานแสดงสินค้า OTOP ต่างๆ
2. เพื่อช่วยสร้างยอดขายให้กับคนในชุมชนและสืบสานการอนุรักษ์การทอผ้าไหมให้มีการสืบทอดสู่รุ่น
ต่อรุ่นและอยู่กับคนไทยตลอดกาล

4.2 เป้าหมายทางธุรกิจ
เป้าหมายระยะสั้น ภายใน 1 ปี นำสินค้าวิสาหกิจชุมชนออกมาขายช่วยคนในชุมชนผ่านช่องทาง
ออนไลน์
เป้าหมายระยะกลาง ภายใน 1-2 ปี โปรโมทสินค้าให้พื้นที่รอบๆ เช่น จังหวัดอุดร จังหวัดหนองคาย
จังหวัดมหาสารคาม ได้รู้จักสินค้าผ้าไหมท้องถิ่น และเข้ามาเยี่ยมชมในหมู่บ้าน
เป้าหมายระยะยาว ภายใน 3 ปี สร้างเพจ Facebook โปรโมทสินค้าผ่านทางเพจ ดูยอดไลค์ ยอดแชร์
ยอดผู้ติดตามที่เพิ่มขึ้น

4.3 ปัจจัยแห่งความสำเร็จ
1. การมีช่องทางการจัดจำหน่ายที่หลากหลาย ทำให้สามารถเข้าถึงความต้องการของลูกค้า
ได้มากขึ้น
2. มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ให้มีคุณภาพ เพื่อเพิ่มทางเลือกให้กับลูกค้าและ
เหมาะสมกับความต้องการของลูกค้ามากที่สุด
3. มีมนุษยสัมพันธ์และทักษะการสื่อสารที่ดี ใส่ใจในทุกขั้นตอนตั้งแต่เริ่มกระบวนการผลิตจนไป
ถึงมือลูกค้า
16

องค์ประกอบที่ 5 แผนการตลาด
5.1 กลยุทธ์และกิจกรรมทางการตลาด
แผนการตลาดหลัก 4P หรือ Marketing Mix Product ประกอบไปด้วย 1.Product (ผลิตภัณฑ์) 2.
Price (ราคา) 3. Place (ช่องทางจัดจำหน่าย) 4. Promotion (การส่งเสริมการขาย) เพื่อนำมาวางกลยุทธ์ทาง
การตลาดให้สอดคล้อง เหมาะสม และดึงดูดลูกค้าเพื่อสร้างยอดขายให้ได้มากที่สุด
5.1.1 กลยุทธ์ด้านผลิตภัณฑ์ (Product)
วัตถุดิบในการผลิตผ้าไหมได้จากท้องถิ่นของตนเอง มีการปลูกต้นหม่อนและเลี้ยงตัวหม่อนเองจึง
สามารถช่วยลดต้นทุนได้ โดยมีการสำรวจคู่แข่งเพื่อนำมาปรับใช้กับผลิตภัณฑ์และยังมีลายผ้าที่เป็นเอกลักษณ์
ประจำท้องถิ่นไม่เหมือนใคร คือ ลายเต่า นอกจากนี้ยังช่วยแนะนำลายผ้าไหมให้เข้ากับลูกค้าแต่ละคน
5.1.2 กลยุทธ์ด้านราคา (Price)
โดยปกติผ้าไหมมัดหมี่จะมีราคาค้อนข้างสูง มีการตั้งราคาต่ำกว่าคู่แข่งส่วนใหญ่ โดยที่จะตั้งราคา
ของผ้าไหมในราคา 2,500 – 2,800 บาทต่อ 2 เมตร หรือ 1 ผืน เมื่อเปรียบเทียบกับราคาของงคู่แข่งเฉลี่ยอยู่
ที่ 3,000 – 5,000 บาท ต่อ 2 เมตร หรือ 1 ผืน ราคาของเราจะมีราคาที่ถูกกว่า ซึ่งจะทำให้ลูกค้าตัดสินใจที่จะ
เลือกซื้อได้มากขึ้น
5.1.3 กลุยทธ์ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย (Place)
นอกจากมีการซื้อขายภายในชุมชนหรือหมู่บ้านใกล้เคียงแล้วยังมีการจัดจำหน่ายผ่านช่องทาง
ออนไลน์ คือ Facebook เพื่อให้ลูกค้าเข้าถึงสินค้า และเพื่อที่จะเป็นช่องทางการเพิ่มยอดขายการจำหน่าย
สินค้าอีกทางหนึ่ง
5.1.4 กลยุทธ์ด้านการส่งเสริมการขาย (Promotion)
การส่งเสริมการตลาดและการขายผ่านช่องทางออนไลน์ การใช้สื่อโซเชียลมีเดียเพื่อสื่อสารกับ
ลูกค้า เช่น การทำคลิปคอนเทนท์ลง Tiktok , Facebook ในการให้ข้อมูลเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ของเราสื่อสาร
เพื่อให้ลูกค้ารู้จักมากขึ้น
17

5.2 เป้าหมายทางการตลาด
ตารางที่ 5.1 ตารางเป้าหมายทางการตลาด
ระยะเวลา (เดือน) เป้าหมายทางการตลาด
- การสร้างช่องทางออนไลน์ คือ Facebook และ Tiktok เพื่ออัป
เดตและโพสโปรโมทสินค้าและเพื่อจัดจำหน่ายสินค้า
- นำสินค้าวางแสดงตามบูธและงานแสดงสินค้า OTOP ต่างๆ
เดือน มิถุนายน - เดือน ตุลาคม
- มียอดผู้ติดตามและมีกยอดการสั่งซื้อสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์
2566
เพิ่มขึ้น
- ทำให้สินค้าเป็นที่รู้จักของกลุ่มลูกค้าอื่นๆ ที่นอกเหนือจากกลุ่ม
ลูกค้าหลักและลูกค้ารอง
- ชุมชนหรือผู้ผลิตผ้าไหมมีรายได้เพิ่มมากขึ้น
1 ปี - ผลิตภัณฑ์เป็นที่ยอมรับ มีคนรู้จักเพิ่มมากขึ้น
- เพิ่มช่องทางการจัดจำหน่ายไปยัง Shopee, Lazada
- มีศูนย์จัดจำหน่ายและผลิตผ้าไหมอย่างมั่นคง
2 ปี
- มีผู้คนเข้ามาเยี่ยมชมสินค้าภายในชุมชน
- มีแหล่งเรียนรู้สำหรับผู้ที่สนใจการทอผ้าไหม
3 ปี
- เป็นชุมชนท่องเที่ยวและเปิดรับนักท่องเที่ยวมาศึกษาดูงานได้
18

องค์ประกอบที่ 6 แผนการจัดการคน

6.1 โครงสร้างองค์กรของกลุ่มวิสาหกิจ

ผู้จัดการทั่วไป

ฝ่ายประสานงานทั่วไป ฝ่ายผลิต ฝ่ายขายและการตลาด

แผนผังแสดงโครงสร้างองค์กรของกลุ่มวิสาหกิจ ผ้าไหม บ้านดงบัง ตำบลดงเมืองแอม อำเภอเขาสวน


กวาง จังหวัดขอนแก่น อธิบายถึงลักษณะการทำงานขององค์กร ปัจจุบันมีสมาชิกกลุ่ม 74 คน ในจำนวนนี้ 24
คน ยึดปลูกหม่อนเป็นอาชีพหลัก

6.2 โครงสร้างองค์กรของกลุ่ม

ผู้จัดการทั่วไป

ฝ่ายแอดมินเพจ ฝ่ายคอนเทนท์

ฝ่ายออกแบบ
ฝ่ายการเงิน
กราฟฟิก

ฝ่ายขนส่ง
19

แผนผังแสดงโครงสร้างการบริหารงานของกลุ่มผ้าไหมมัดหมี่บ้านดงบัง จังหวัดขอนแก่น ได้อธิบายถึง


ลักษณะการทำงานภายในกลุ่ม โดยมีสมาชิกทั้งหมด 10 คน ดังตารางที่ 5.2

ตารางที่ 6.1 ตารางแสดงหน้าที่และความรับผิดชอบ


รายชื่อ ตำแหน่ง จำนวน หน้าที่และความรับผิดชอบ

- วางแผนการทำงานและประสานงาน
1.นางสาวกาญจนา สนิทกลาง ผู้จัดการทั่วไป 1 คน
ด้านต่างๆ กับทุกฝ่าย

1.นางสาวเทวิกา หีบแก้ว - ดูแลเพจ คอยตอบแชทลูกค้า โพสโปรโม


ฝ่ายแอดมินเพจ 2 คน
2.นางสาวสุดารัตน์ พันชะคาม ทสินค้าลงเพจ

1นางสาวสุกัญญา ตาดี ฝ่ายออกแบบ - สร้างสื่อและออกแบบ Packaging โลโก้


2 คน
3.นางสาวศศิธร เขียวหนู กราฟฟิก สินค้า รูปสินค้าเพื่อโพสโปรโมท ลง
Facebook

1.นางสาวสุนิชานันท์ วัฒนภูมิ - สร้างสื่อคอนเทนท์คลิปวิดิโอ ลง


ฝ่ายคอนเทนท์ 2 คน
2.นางสาวเนตรฤทัย สุรินทร์แก้ว Tiktok และ Facebook (คลิป Reels)

1.นางสาวจิรวรรณ นะวะพิษ
ฝ่ายการเงิน 2 คน - ทำบัญชีรายรับ - รายจ่าย
2.นางสาวศศิธร พลอยงาม

1.นางสาวรณิดา พระสว่าง - ทำการบรรจุสินค้าและจัดส่งสินค้าให้แก่


ฝ่ายขนส่ง 2 คน
2.นางสาวสุนิชานันท์ วัฒนภูมิ ลูกค้า
20

องค์ประกอบที่ 7 แผนการผลิต
7.1 อุปกรณ์และวัตถุดิบหลัก

7.1.1 วัตถุดิบหลัก
วัตถุดิบที่สำคัญ คือ เส้นไหม ตัวหม่อนพันธ์เหลืองสระบุรี ให้ไหมเยอะ ไม่เป็นโรคง่าย อยู่ได้แม้
อากาศจะร้อน วัตถุดิบที่ใช้ในการผลิต ได้แก่ เส้นไหม น้ำยาล้างไหม สีย้อมไหม ด่างฟอก สบู่เทียม และฟางใช้
มัดหมี่
ภาพที่ 7.1 แสดงภาพวัตถุดิบหลักที่ใช้ในการผลิตผ้าไหม

ที่มา : http://202.29.22.167/newlocaldb/stdlocal/2554/ann/Prodact.html

7.1.2 อุปกรณ์และเครื่องมือที่ใช้สำหรับทอผ้าไหม
1. กง เป็นเครื่องมือสำหรับใส่ไหมที่เป็นปอย (ไน) แล้วนำไปกรอใส่ใน
2. อัก ใช้คู่กับกงจะรับเส้นไหมจากกงมาใส่ไว้ใน
3. หลา, ไน หรือเครื่องกรอหลอด
4. หลอดกรอไหม ใช้สำหรับใส่เส้นไหม
5. ฮัง (ที่เสียบหลอด) เป็นที่เก็บหลอดกรอไหม
6. ก้านสวย (กระสวย) ใช้คู่กับหลอด
21

ภาพที่ 7.2 แสดงภาพอุปกรณ์และเครื่องมือที่ใช้ในการทอผ้าไหม

ที่มา : http://202.29.22.167/newlocaldb/stdlocal/2554/ann/Prodact.html

7.2 แผนผังกระบวนการผลิต
7.2.1 ขั้นตอนการทอผ้าไหม
1. การเตรียมการเลี้ยงไหม จัดหารตัวอ่อนหม่อนไหม จัดหาแหล่งเพาะพันธ์ตัวหม่อนไหมทีด่ ีมี
คุณภาพจากหลายๆ ที่เพื่อมาเทียบราคาและทำการซื้อตัวอ่อนหม่อนไหม
2. การดูแลรักษาตัวหม่อน การดูแลตัวหม่อนไหมโดยมีองค์ประกอบหลักๆ มี 4 ข้อคือ
1. กระด้งที่ใช้ในการเป็นที่อยู่ของตัวอ่อน
2. ผ้าคลุมกระด้งกันแมลงต่างๆ ที่จะทำลายตัวอ่อนหม่อนไหม
3. ยากันแมลง หรือแป้งฝุ่น และช็อกกันมดใช้ในการป้อกันแมลง
4. ใบหม่อนอ่อนเป็นอาหารของตัวหม่อน
22

3. การสาวไหม เป็นการนำวัสดุอุปกรณ์ เช่น เตาแก๊ส คันสาวไหม หม้อ ใช้ในการสาวฝักไหม เพื่อให้


ได้เส้นไหม
4. การฟอกไหม นำไหมที่ผ่านการสาวไหมแล้วมาต้มน้ำร้อน100 องศา และนำมาใส่สารฟอกให้ไหม
เป็นสีขาวสีขาว
5. การมัดหมี่ การนำเชือกฟางมามัดเส้นไหมเป็นรูปหรือลวดลายต่างๆ ให้เกิดลายผ้าไหม
6. การย้อมสี นำไหมที่ผ่านการมัดหมี่ที่ได้รวดลายตามที่ต้องการแล้วนำมาย้อมต่างๆตามความ
ต้องการแล้วนำไปตากแห้ง
7. การกรอไหม เป็นการนำไหมที่ผ่านการย้อมแล้วมากรอใส่ไม้สาวไหมเพื่อเข้าสู่กระบวนการทอ
8. การทอไหม เป็นการนำผ้าไหมที่กรอใส่ไม้สาวไหมแล้วมาทอใส่เครื่องมือทอผ้าไหม
ภาพที่ 7.3 แสดงภาพการเลี้ยงตัวหม่อนไหม และการทอผ้าไหม

ที่มา : https://www.facebook.com/profile.php?id=100069814355379
23

7.2.2 แผนผังกระบวนการผลิต
กิจกรรมการไหลของกระบวนการผลิตผ้าไหมมัดหมี่บ้านดงบัง จังหวัดขอนแก่น โดยแผนผัง Flow
Chart ดังนี้
จุดเริ่มต้น

การหาซื้อตัวหม่อนไหม

การเตรียมการเลี้ยงไหม

หาราคาของตัวอ่อนและ
ลักษณะของตัวอ่อนหม่อน
ไหมตามที่ต้องการ

การดูแลตัวหม่อน

การสาวไหม

A
24

การฟอกไหม

การมัดหมี่

การย้อมสี

การกรอ

การทอไหม

จุดสิ้นสุด

7.2.3 การดูแลผ้าไหม
7.2.3.1 วิธีการซักผ้าไหมอย่างถูกวิธี
ใช้น้ำยาซักผ้า หรือสบู่อาบน้ำเด็กไม่ว่าสบู่เหลวหรือสบู่ก้อนเหมาะสมที่สุดสำหรับใช้ซักผ้า
ไหม แชมพู หรือน้ำยาเอนกประสงค์ชนิดที่มีฤทธิ์เป็นกลาง หรือเป็นกรดอ่อนๆ ใช้ซักผ้าไหมได้ดีเช่นกัน ไม่
ควรใช้ผงซักฟอก และน้ำยาฟอกขาว
25

7.2.3.2 วิธีการดูแลผ้าไหมตนเอง
นับแต่โบราณมา ผู้สวมใส่ผ้าไหมไทยส่วนใหญ่นุ่งซิ่น ห่มผ้า บ้างพาดบ่า ใช้ผ้า ไหมทั้งใน
ชีวิตประจำวันและในพิธีการ มีภูมิปัญญาการดูแลทำความสะอาดผ้าไหมไทย คือ การซักผ้าไหมด้วยน้ำ
มะพร้าว และลบรอยเปื้อนโดยใช้หัวหอมถูที่รอยเปื้อนก่อนนำไปซัก แม้ในปัจจุบันมีการนำผ้าไหมมาตัด
เย็บเป็นเครื่องแต่งกายสมัยใหม่ ชุดผ้าไหมก็ ยังคงสามารถดูแลทำความสะอาดได้ด้วยตนเอง
7.2.3.3 วิธีการรีดผ้า ไหม
ให้รีดขณะผ้าไหมยังเปียกหมาดๆ ผ้าที่แห้งเกินไปจะรีดให้เรียบได้ยาก ควรพรมน้ำแล้ว
ม้วนผ้าไว้ให้ความเปียกชื้นแทรกเข้าเนื้อผ้าทั่วกันก่อน จึงนำมารีด ขณะรีดผ้าไหม ใช้ความร้อนระดับปาน
กลางถึงร้อนสำหรับผ้าไหมชนิดบางหรือผ้าไหม 1 เส้น ส่วนผ้าไหมที่หนาปานกลาง หรือผ้าไหม 2-4 เส้น
ให้ใช้ความร้อนระดับร้อนมาก และให้รีดที่ด้านในของเสื้อผ้าไหมก่อน โดยรีดวนเป็น วงทางเดียว และ
ขยายวงออกไปเรื่อยๆ หรือรีดไปทางเดียวจากด้านหนึ่งไปอีกด้านหนึ่ง จะทำให้รีดผ้าไหม ได้เรียบ และไม่
เกิดรอยย่นในเนื้อผ้า
26

องค์ประกอบที่ 8 แผนการเงิน
ตารางที่ 8.1 ตารางแสดงรายรับแลละค่าใช้จ่ายทั้งหมดของกลุ่มผ้าไหมมัดหมี่บ้านดงบัง
รายรับ จำนวน (บาท)
1.รวบรวมเงินจากสมาชิกภายในกลุ่ม เป็นค่าเดินทางลงพื้นที่ 400
2.รวบรวมเงินทำ Packaging 390
3.รวบรวมเงินทำซุ้ม วันที่ 27 ก.ย.2566 1,300
รวม 2,090

รายจ่าย จำนวน (บาท)


1.ค่าเดินทางในการลงพื้นที่ครั้งแรกไป - กลับ 150
2.ค่าเดินทางลงพื้นที่ครั้งที่สองไป – กลับ 250
3.ทำ Packaging 390
3.ซื้ออุปกรณ์ในการจัดทำซุ้ม
- ค่าอุปกรณ์ 340
- ผ้าขาวเขียนป้าย 42
- ผ้าปูโต๊ะ 60
- สีไม้ / ปากกาเมจิก 97
- กาวสองหน้า 23
- ลวด 20
- ท่อ PVC 64
- ค่าน้ำมันรถไปซื้อของ / ไปเย็บผ้า 600
- ค่าปริ้นเอกสารทำบอร์ด 14
- ค่าเย็บผ้า 40
รวม 2,090
27

องค์ประกอบที่ 9 แผนการดำเนินงาน
9.1 แผนการดำเนินงานของวิสาหกิจ
ตารางที่ 9.1 ตารางแสดงแผนการดำเนินงานของวิสาหกิจชุมชุน ผ้าไหมบ้านดงบัง
ช่วงระยะเวลาในการดำเนินงาน (ปี)
กิจกรรมหลัก กิจกรรมย่อย
1 2 3 4 5 6 7 8 9 10
ปรับปรุงพื้นที่จัดตั้งศูนย์หม่อนไหมและจัดซื้อ
จัดตั้งศูนย์หม่อนไหม
อุปกรณ์เข้าพื้นที่ศูนย์หม่อนไหม
ติดต่อและเจรจากับคนในชุมชน
พัฒนาลายผ้าไหมและสีผ้าไหม และสินค้าตัวอย่าง
ดำเนินการด้านการผลิต
กลุ่มวิสาหกิจชุมชนจดทะเบียนลิขสิทธิ์ที่สำนักงาน
ของกรมทรัพย์สินทางปัญญา
มีเบอร์โทรติดต่อเพื่อซื้อขายภายในชุมชน
ผลิตและจำหน่ายภาย
ดำเนินการช่องทางการจัด
นำสินค้าไปวางตามงานแสดงสินค้า OTOP และงาน
จำหน่าย
มหกรรมต่างๆ ตามโอกาส
จัดกิจกรรมส่งเสริมการขาย
28

9.2 แผนการดำเนินงานนของกลุ่มผ้าไหมมัดหมี่บ้านดงบัง จังหวัดขอนแก่น


ตารางที่ 9.2 แสดงภาพรวมของการดำเนินงานใช้แผนภูมิ Gantt Chart ดังนี้
ช่วงระยะเวลาในการดำเนินงาน (เดือน)
กิจกรรมหลัก กิจกรรมย่อย
มิถุนายน กรกฎาคม สิงหาคม กันยายน ตุลาคม
ศึกษาหากลุ่มวิสาหกิจชุมชน
เลือกกลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ้านดงบัง ตำบลดงเมือง
แอม อำเภอเขาสวนกวาง จังหวัดขอนแก่น
ศึกษาข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับชุมชนและผลิตภัณฑ์
1.วางแผน
สินค้า OTOP ก่อนลงพื้นที่
ลงพื้นที่ครั้งที่ 1 ติดต่อกับชุมชน เพื่อทำการขอ
อนุญาตในการดำเนินงานต่อไป
กำหนดเกณฑ์ในการดำเนินงานต่างๆ
ลงพื้นที่ครั้งที่ 2 เก็บข้อมูลเกี่ยวกับความเป็นมา
ของผลิตภัณฑ์ และศึกษาขั้นตอนในการทอผ้าไหม
2.ดำเนินงาน ตั้งแต่เริ่มต้นจนออกมาเป็นผืนผ้า
ด้านการพัฒนา ออกแบบโลโก้ของสินค้า
สินค้า วิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาศ และอุปรรค์ต่างๆ
ของผลิตภัณฑ์
วิเคราะห์กลุ่มลูกค้า เป้าหมาย คู่แข่งในตลาด
สร้างช่องทางการจัดจำหน่ายผ่านทางออนไลน์ คือ
3.ดำเนินงาน Facebook และ Tiktok
ด้านช่องทาง ถ่ายภาพสินค้าเพื่อโปรโมทผ่านเพจ Facebook
การจัดจำหน่าย ทำคอนเทนท์โปรโมทสินค้าผ่านช่องทาง Tiktok
นำสินค้ามาจัดแสดงในงานตลาดนัดโลจิสติกส์
ดำเนินงานในส่วนเนื้อหาต่างๆ พร้อมนำเสนอ
4.การ
ให้กับอาจารย์ประจำวิชา
ดำเนินงาน
ส่งรูปเล่มรายงานแผนธุรกิจ กลุ่มผ้าไหมมัดหมี่
เนื้อหา
บ้านดงบัง จังหวัดขอนแก่น
29

องค์ประกอบที่ 10 แผนฉุกเฉิน
10.1 แผนฉุกเฉินจากปัจจัยภายใน
ตารางที่ 10.1 ตารางแสดงแผนฉุกเฉินจากปัจจัยภายในของกลุ่มผ้าไหมมัดหมี่บ้านดงบัง
ความเสี่ยง วิธีแก้ไขปัญหา
- ศึกษาหาข้อมูลของผู้บริโภคมากขึ้น เพื่อที่จะทำ
การตลาดให้ถูกกลุ่มเป้าหมาย
- ศึกษาเกี่ยวกับความนิยมชมชอบในเรื่องของสีสันและ
1.หากยอดขายต่ำกว่าที่กำหนดหรือไม่เป็นไปตาม
ลวดลายที่เข้ากับผู้คนในปัจจุบันมากขึ้น
เป้าหมายที่ตั้งไว้
- จัดทำโฆษณาที่ทำให้คนเห้นว่าการใส่ชุดผ้าไทยไม่ได้ใส่
แค่เฉพาะบางโอกาสเท่านั้น แต่สามารถใส่ได้ในทุกวัน
หรือในทุกสถานที่
- เราจะต้องทำให้สินค้ามีหลากหลายแบบมากขึ้น
2.การดำเนินธุรกิจไม่เป็นไปตามเป้าหมาย กว่าเดิม เช่น ลูกค้าสามารถสั่งผลิตเองได้ตามความ
ต้องการ หรือ อาจจะทำเป็นแบบชุดสำเร็จ เป้นต้น
- หากมีการโทรสั่งจองสินค้าจากกลุ่มวิสาหกิจโดยตรง
3.ลูกค้ามีการสั่งซื้อหรือจองสินค้าโดยตรงจากกลุ่ม จะต้องมีการนัดวันเวลาในการเข้ามารับสินค้าที่แน่นอน
วิสาหกิจชุมชนแต่ไม่เข้าไปรับสินค้า - ต้องทำการโอนค่ามัดจำสินค้าก่อนที่จะเข้ามารับสินค้า
ในวันที่ตกลงไว้
30

10.2 แผนฉุกเฉินจากปัจจัยภายนอก
ตารางที่ 10.2 ตารางแสดงแผนฉุกเฉินจากปัจจัยภายนอก
ความเสี่ยง วิธีแก้ไขปัญหา
- เราจะเน้นชูสินค้าที่เป็นจุดเด่นของเรา คือ ผ้าไหม
ลายเต่า ซึ่งเป็นลายประจำท้องถิ่นของหมู่บ้านดงบัง
1.หากมีคู่แข่งรายใหม่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
จังหวัดขอนแก่น ที่ผ่านกรรมวิธีในการทำมือตั้งแต่
การเลี้ยงตัวไหม จนกลายเป็นผืนผ้า
- เราจึงจะเพิ่มช่องทางการจัดจำหน่ายที่มากขึ้น เพื่อ
สามารถทำให้ลูกค้าเข้าถึงผลิตภัณฑ์ของเรา
2.หากเกิดสถานการณ์โรคระบาด ส่งผลให้ไม่มีผู้คน - มีการโพสโปรโมทสินค้าเพิ่มขึ้นมากกว่าเดิม
เข้ามาเยี่ยมชมและเลือกซื้อสินค้าของชุมชน - ทำให้ลูกค้าเห็นถึงขั้นตอนในการผลิตหรือการทอ
และลายผ้าไหมที่สวยงามไม่น้อยกว่าการที่เข้ามา
เยี่ยมชมภายในชุมชนด้วยตนเอง
อ้างอิง

Facebook Bandongbang Ampherkhaosonkwang jangwadkhonkaen. (2019, February 26). thank you


for visit [Photo]. Facebook. Retrieved from
https://www.facebook.com/profile.php?id=100069814355379

Youtube Nawatwithi. (2018, December 18). bandongbang thambondongmuangam


ampherkhoaswonkhang jangwadkhonkaen, [Vidio]. Youtube. Retrieved from
https://www.youtube.com/watch?v=GWYXWvlm3yE

Youtube Otop Nawatwithi Tourism Community. (2018, December 19). Otop Nawatwithi Tourism
Community bandongbang [Vidio]. Youtube. Retrieved from

คัทรียา ญาติไธสง. (2562). แผนธุรกิจ คัทรียา ผ้าไหมมหาสารคาม. เข้าถึงได้จาก


http://dspace.bu.ac.th/bitstream/123456789/4225/3/kattareya_y.pdf
ภาคผนวก ก
ภาพบรรยายกาศการลงพื้นที่หมู่บ้านดงบัง ตำบลดงเมืองแอม
อำเภอเขาสวนกวาง จังหวัดขอนแก่น
ภาพที่ 1 ก แสดงภาพบรรยายกาศการลงพื้นที่หมู่บ้านดงบัง ตำบลดงเมืองแอม อำเภอเขาสวนกวาง
จังหวัดขอนแก่น
ภาคผนวก ข
ภาพกิจกรรมตลาดนัดโลจิสติกส์
ภาพที่ 1 ข ภาพกิจกรรมการจัดซุ้มตลาดนัดโลจิสติกส์ วันที่ 27 กันยายน 2566

You might also like