You are on page 1of 29

รายงาน

เรื่อง การวิเคราะห์การบริหารจัดการโลจิสติกส์และซัพพลายเชน
บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน)

จัดทำโดย
นายอรรถพล เสียงไพรพันธ์ 61010911284
นางสาวณัฐชา ปัดชา 62010911011
นางสาวกัญญาลักษณ์ ว่องไว 62010911060
นางสาวนริศรา คำแสน 62010911020
นางสาวดั่งฤทัย น้อยวังคลัง 62010911087
นางสาวพิชญา เชิดชูพงษ์พันธุ์ 62010911266
นางสาวอัจฉรา โคทนา 62010911292
นางสาวกานต์นิสา ตังคณิตานนท์ 62010911298
นางสาวจุฬารัตน์ จอมใส 62010911306
นางสาวภราดา สิงห์บุราณ 62010911337
นางสาวธนภรณ์ จารุพันธ์ 62010917037
นางสาวลลิตา แสงเขียว 62010917084

เสนอ

อาจารย์ ทัศสุดา อิ่มสุวรรณ

หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการ
รายงานนี้เป็นส่วนหนึ่งของรายวิชาการจัดการห่วงโซ่อุปทานและโลจิสติกส์ (0903458)
ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565

คำนำ
รายงานเล่มนี้เป็นส่วนหนึ่งรายวิชาการจัดการห่วงโซ่อุปทานและโลจิสติกส์โดยมีจุดประสงค์เพื่อศึกษา
ประวัติองค์กร รูปแบบการทำธุรกิจ โครงสร้างองค์กร การวางแผนกลยุทธ์ การจัดซื้อและการจัดหา
การบริหารความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกในห่วงโซ่อุปทาน และการจัดการคลังสินค้า อุปกรณ์การเคลื่อนย้าย
จัดเก็บสินค้าและบรรจุภัณฑ์ ของบริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน)
ซึ่งรายงานเล่มนี้เรียบเรียงเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับรายวิชาการจัดการห่วงโซ่อุปทานและโลจิสติกส์
คณะผู้จัดทำหวังเป็นอย่างยิ่งว่ารายงานเล่มนี้จะเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่ศึกษา ตลอดจนผู้สนใจได้รับประโยชน์จาก
รายงานเล่มนี้ หากรายงานเล่มนี้มีข้อผิดพลาดประการใด คณะผู้จัดทำต้องขอภัยไว้ ณ ที่นี้ด้วย

คณะผู้จัดทำ

สารบัญ

เรื่อง หน้า
คำนำ ก
สารบัญ ข
บทที่ 12 ประวัติองค์กร รูปแบบการทำธุรกิจ โครงสร้างองค์กร 1
1. ประวัติองค์กร 1
2. รูปแบบการทำธุรกิจ 2
3. โครงสร้างองค์กร 4
บทที่ 2 การจัดซื้อและการจัดหา 5
บทที่ 4 การบริหารความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกในห่วงโซ่อุปทาน 8
- การจัดหาอย่างยั่งยืน SRM 10
บทที่ 5 การบริหารจัดการการขนส่ง 12
บทที่ 6 เทคนิคและกลยุทธ์ การจัดการการขนส่ง 14
บทที่ 7 การจัดการสินค้าคงคลัง 17
1. วัตถุดิบ (Raw material) 17
2. สินค้าระหว่างผลิต (Work in process) 17
3. วัสดุซ่อมบำรุง (Maintenance/Repair/Operating Supplies) 17
4. สินค้าสำเร็จรูป (Finished Goods) 17
5. สินค้าคงคลังระหว่างการขนส่ง (In-transit Inventories) 18
6. วัสดุหรือสินค้าไม่เคลื่อนที่ (Dead Stock) 18
บทที่ 8 การจัดการคลังสินค้า อุปกรณ์การเคลื่อนย้าย จัดเก็บสินค้าและบรรจุภัณฑ์ 20
บทที่ 9 เทคโนโลยีที่องค์กรเลือกนำมาใช้งานในการจัดการข้อมูล 23
และการบริหารงานภายในองค์กร
บรรณานุกรม 26
1

บทที่ 12
ประวัติองค์กร รูปแบบการทำธุรกิจ โครงสร้างองค์กร

1. ประวัติองค์กร
ไทยเบฟเข้าจดทะเบียน ในตลาดหลักทรัพย์สิงคโปร์ เมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2549 โดยถือเป็น
การจดทะเบียนครั้งใหญ่ที่สุดครั้งหนึ่งของประเทศสิงคโปร์ มีมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาดในการซื้อขาย
หลักทรัพย์วันแรกกว่า 160,000 ล้านบาท และเป็นที่น่าภาคภูมิใจอย่างยิ่งที่อีก 12 ปี ให้หลัง ไทยเบฟสามารถ
ก้าวขึ้นเป็น 1 ใน 10 บริษัทที่มีมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาดสูงสุดในตลาดหลักทรัพย์สิงคโปร์ โดยที่มูลค่า
หลักทรัพย์เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ
ในส่วนของผลประกอบการด้านฐานะทางการเงินของบริษัท ในช่วงเริ่มต้นไทยเบฟดำเนินธุรกิจหลัก
เกี่ยวกับ การผลิตและจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ภายในประเทศไทยเป็นหลัก
ใน พ.ศ. 2549 ไทยเบฟ มีรายได้รวมประมาณ 98,000 ล้านบาท ด้วยวิสัยทัศน์ที่ต้องการจะก้าวสู่การ
เป็นกลุ่มบริษัท ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายเครื่องดื่มครบวงจรระดับภูมิภาค ไทยเบฟได้ดำเนินการขยายกิจการจาก
ธุรกิจเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ อันได้แก่ สุราและเบียร์ เข้าสู่ธุรกิจเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ ผ่านการซื้อกิจการ
โออิชิ บริษัทเครื่องดื่มชาเขียวอันดับหนึ่งของประเทศไทย
ใน พ.ศ. 2551 เข้าซื้อเสริมสุข บริษัทเครื่องดื่มที่มีเครือข่ายกระจายสินค้าครอบคลุมที่สุดในประเทศ
ไทย
ใน พ.ศ. 2554 และ F&N ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายเครื่องดื่มและสิ่งพิมพ์ชั้นนำของสิงคโปร์ที่มีชื่อเสียง
ยาวนานใน พ.ศ. 2555
ใน พ.ศ. 2560 ไทยเบฟได้ขยายการเติบโตของธุรกิจต่างประเทศ โดยเข้าซื้อกิจการเมียนมาร์ ซัพ
พลายเชน แอนด์ มาร์เก็ตติ้ง เซอร์วิสเซส คอมพานี ลิมิเต็ด และเมียนมาร์ ดิสทิลเลอรี่ คอมพานี ลิมิเต็ด (แก
รนด์ รอยัล) ซึ่งเป็นผู้ประกอบการรายใหญ่ที่สุดในตลาดวิสกี้ของประเทศเมียนมา และเข้าซื้อหุ้นบริษัทไซ่ง่อน-
เบียร์-แอลกอฮอล์-เบฟเวอเรจ จอยท์ สต็อก คอร์เปอเรชั่น (ซาเบโก้) ซึ่งเป็นผู้ผลิตและจัดจำหน่ายเบียร์ราย
ใหญ่ที่สุดของเวียดนาม
นอกจากนี้ยังได้ขยายธุรกิจเข้าสู่ธุรกิจร้านอาหารบริการด่วน เคเอฟซี ซึ่งส่งผลให้รายได้ของบริษัท
เติบโตอย่างก้าวกระโดด กว่าสองเท่าจากประมาณ 98,000 ล้านบาท ใน พ.ศ. 2549 เป็น มากกว่า 200,000
ล้านบาท
ใน พ.ศ. 2560 จากสี่สายธุรกิจ อันประกอบด้วย สุรา เบียร์ เครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ และอาหาร
โดยมิได้พึ่งพารายได้จากธุรกิจภายในประเทศแต่เพียงอย่างเดียว
2

จากการบริหารจัดการต้นทุนที่มีประสิทธิภาพ ส่งผลให้กำไรสุทธิ จากการดำเนินธุรกิจของไทยเบฟ


เพิ่มขึ้นเกือบสามเท่า จากประมาณ 10,000 ล้านบาท ใน พ.ศ. 2549 เป็นกว่า 26,000 ล้านบาท
ในพ.ศ. 2560 สำหรับ ในส่วนของเงินปันผลของผู้ถือหุ้นนั้น ไทยเบฟมีการจ่าย เงินปันผลอย่าง
สม่ำเสมอนับตั้งแต่เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ สิงคโปร์ โดยอัตราเงินปันผลจ่ายเพิ่มขึ้นจาก 0.22 บาท
ต่อหุ้น ใน พ.ศ. 2549 เป็น 0.67 บาทต่อหุ้น ใน พ.ศ. 2560 นับเป็น การสร้างผลตอบแทนให้กับผู้ถือหุ้นอย่าง
มั่นคงและยั่งยืน
นอกจากนี้ไทยเบฟปฏิบัติหน้าที่การเป็นบริษัทเอกชนที่ดีในการชำระภาษี ให้แก่ภาครัฐ โดยไทยเบฟ
ชำระภาษีกว่าร้อยละ 4 ของรายได้ภาษี ที่จัดเก็บทั้งหมดโดยภาครัฐ

2. รูปแบบการทำธุรกิจ
บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) (“ไทยเบฟ”) ก่อตั้งขึ้นในประเทศไทย ในปี 2546 โดยมี
จุดประสงค์เพื่อรวมกิจการที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจเบียร์และสุราชั้นนำของไทยที่เป็นของผู้ถือหุ้นและผู้ร่วมทุนราย
อื่นๆ เข้ามาเป็นกลุ่มบริษัท ต่อมาในปี 2549 ไทยเบฟได้จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์สิงคโปร์ (“SGX”)
ภายหลังจากจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์สิงคโปร์ ไทยเบฟได้ขยายขอบเขตธุรกิจจาก เครื่องดื่มแอลกอฮอล์
ไปสู่ธุรกิจเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ เพื่อเพิ่มความหลากหลายของสินค้า เพิ่มประสิทธิผลในช่องทางการขนส่ง
การกระจายสินค้ารวมถึงกระจายความเสี่ยงของกิจการ
ปัจจุบัน ไทยเบฟไม่เพียงแต่เป็นผู้ผลิตเครื่องดื่มชั้นนำในประเทศไทย แต่ยังเป็นผู้ผลิตที่ใหญ่ที่สุด
รายหนึ่งในเอเชียอีกด้วย โดยแบ่งธุรกิจออกเป็น 3 สายธุรกิจ ได้แก่ สุรา เบียร์ และเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์
ภายใต้ผลิตภัณฑ์มากกว่า 100 ผลิตภัณฑ์
โรงงานสุราทั้ง 18 แห่ง และโรงเบียร์ทั้ง 3 แห่งเป็นฐานการผลิตเครื่องดื่มของไทยเบฟที่ได้รับการ
ยอมรับในระดับสากลและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ตั้งแต่การจัดหาวัตถุดิบที่สะอาดมีคุณภาพ การผลิตและ
กระบวนการบรรจุที่มีมาตรฐาน ตลอดจนการบริหารผลิตภัณฑ์ผลพลอยได้จากการผลิต อย่างมีระบบและ
เป็นไปตามเกณฑ์กฎหมาย ผลสำเร็จแห่ งการมุ่งมั่นพัฒนา ส่งเสริมให้ผลิตภัณฑ์ของเราได้รับการยอมรับจาก
ผู้บริโภคทั่วโลก
กลุ่มไทยเบฟจำหน่ายสินค้าครอบคลุม 5 ทวีป กว่า 90 ประเทศทั่วโลก ไทยเบฟมีทีมงานขายตรง
กว่า 1,100 ทีมทั่วประเทศ โดยมีศูนย์กระจายสินค้า และเครือข่ายกระจายสินค้าทั้งภายในและต่างประเทศ
เพื่อให้ผลิตภัณฑ์ของเราเข้าถึงกลุ่มผู้บริโภคอย่างมีประสิทธิภาพ

วิสัยทัศน์ 2020
วิสัยทัศน์ 2020 คือ แผนการดำเนินธุรกิจของกลุ่มไทยเบฟในอีก 6 ปีข้างหน้า เพื่อตอกย้ำความ
มุ่งมั่นของบริษัทที่จะขยายความสำเร็จอย่างต่อเนื่องในหลายปีที่ผ่านมา แผนนี้ประกอบด้วยกลยุ ทธ์หลัก 5
ประการ ที่จะนำไปสู่การจำหน่ายผลิตภัณฑ์ที่ดียิ่งขึ้นให้กับผู้บริโภค การสร้างผลตอบแทนที่ยั่งยืนให้กับผู้ถือหุ้น
และเพิ่มโอกาสในการทำงานให้กับพนักงาน
3

การเติบโตอย่างมีประสิทธิภาพ
ไทยเบฟวางเป้าหมายที่จะก้าวขึ้นเป็นบริษัทเครื่องดื่มที่ใหญ่ที่สุดและมีผลกำไรสูงสุดในภูมิภาค
เอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ความหลากหลายของตลาดและผลิตภัณฑ์
ไทยเบฟวางแผนที่จะกระจายรายได้เพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืน โดยการเพิ่มสัดส่วนรายได้จากการ
ขายเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์และรายได้จากการขายสินค้าในต่างประเทศ

ตราสินค้าที่โดนใจ
ธุรกิจหลักของไทยเบฟแบ่งเป็น 3 กลุ่มผลิตภัณฑ์ คือ สุรา เบียร์ และ เครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์
ในแต่ละกลุ่มผลิตภัณฑ์จะมีการกำหนดผลิตภัณฑ์หลัก รวมถึงตลาดหลักและตลาดรองที่มีศักยภาพในการ
เติบโตสูงโดยยึดหลักผู้บริโภคและการตลาดเป็นตัวขับเคลื่อนในการขยายธุรกิจ

การขายและกระจายสินค้าที่แข็งแกร่ง
นอกจากตราสินค้าที่โดนใจ การกระจายสินค้าที่แข็งแกร่งและทั่วถึงถือเป็นสิ่งสำคัญ ไทยเบฟ
มุ่งมั่นที่จะพัฒนาเครือข่ายกระจายสินค้าที่มีอยู่ให้มีความแข็งแกร่งมากยิ่งขึ้นผ่านการจัดการห่วงโซ่อุปทานที่
เป็นเลิศของบริษัท และสร้างเครือข่ายกระจายสินค้าเพิ่มขึ้น รวมถึงการหาพันธมิตร เพื่อร่วมกันกระจายสินค้า

ความเป็นมืออาชีพ
ไทยเบฟมุ่งมั่นที่จะสร้างทีมงานที่มีความหลากหลายและประสิ ทธิภาพสูง ทีมงานของแต่ละกลุ่ม
ผลิตภัณฑ์สามารถทำงานร่วมกันได้อย่างราบรื่นและยังสามารถใช้ประโยชน์จากการทำงานร่วมกันระหว่างกลุ่ม
ผลิตภัณฑ์อย่างเหมาะสม อีกทั้งเสริมสร้างศักยภาพของกลุ่มในระยะยาว

พันธกิจของไทยเบฟ
การประสานสัมพันธภาพกับผู้มีส่วนได้เสียที่มีความสำคัญกับบริษัทในทุกๆ ด้าน บริษัทจึงเน้น
การให้ความสำคัญในการดำเนินธุรกิจตามแนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืน ซึ่งถือเป็นสิ่งที่ช่วยให้บริษัทสามารถ
สร้างคุณค่าอันยั่งยืน ให้กับผู้มีส่ว นได้เสีย ไทยเบฟมุ่งมั่นพัฒนาธุรกิจโดยการขยายธุรกิจทั้งภายในและ
ต่างประเทศ เพื่อที่จะก้าวสู่การเป็นผู้นำธุรกิจเครื่องดื่มครบวงจรในเอเชีย ที่มีทั้งความมั่นคงและความยั่งยืน
ทางธุร กิจ อย่างแท้จ ริง ควบคู่ไปกับ การ ปฏิบัติตามหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี รวมถึงการมุ่งพัฒนา
สิ่งแวดล้อม และสังคมให้มีคุณภาพ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นและมอบผลตอบแทนที่ดีในระยะยาวแก่ผู้ถือหุ้น
และเป็นธรรมกับพันธมิตรทางธุรกิจ
4

3. โครงสร้างองค์กร
5

บทที่ 2
การจัดซื้อและจัดหา
Material management (Procurement matrix)

ซัพพลายเออร์ที่อยู่ในฐานพันธมิตร SAT เป็นบริษัทที่


กำหนดการนำเข้าและส่งออกจากวัตถุดบิ หลัก คือข้าวมอลต์
ที่ใช้ในการผลิตที่สำคัญกับบริษัทมากทีส่ ุดและได้รับ
ผลประโยชน์ ร่วมกันอย่างยุตธิ รรม

ซัพพลายเออร์ที่ได้รับการยอมรับ บริษัท ถังไม้โอ๊คไทย จำกัด


ผลิตและซ่อมถังไม้โอ๊คเพื่อเก็บบ่มสุราให้แก่บริษัทในเครือของ
Thaiberage
ซัพพลายเออร์ในลำดับต้น กากน้ำตาล คือผู้จัดส่งวัตถุดิบให้แก่บริษัทอย่าง
สม่ำเสมอและสามารถตอบสนองต่อความต้องการของบริษัทได้อย่างดี

ซัพพลายเออร์ที่ผ่านการคัดเลือก โรงงานน้ำตาลทิพย์สุโขทัย เป็นซัพพลายเออร์ที่ผ่านกระบวนการ


คัดเลือกของธุรกิจในเบื้องต้นโดยมีคุณสมบัติตามข้อกำหนดราคาเป็นที่นิยมในตลาด

ภาพที่ 2.1 ประเภทของซัพพลายเออร์


6

Bottleneck (Distinctive) Strategic


• กากน้ำตาล • มอลต์
- มีซัพพลายเออร์น้อยรายในการร่วมมือ - ข้าวมอลต์ที่ใช้ในการผลิตสุราต้องมีการ
กับผู้ผลิตน้ำตาลรายใหญ่ นำเข้าจากต่างประเทศมีราคาแพง
- มีการสร้างความสัมพันธ์ระยะกลางถึง - มีน้อยรายที่นำเข้าและจัดจำหน่าย
ระยะยาว เพื่อรักษาคุณภาพและ - พัฒนาเป็นคู่ค้าข้าวมอลต์ภายนอกทวีป
สนับสนุนให้เกษตรกรให้หันมาสนใจทำ ยุโรปเพื่อกำหนดมาตรฐานด้าน
เกษตรอินทรีย์ คุณภาพ
- เน้นการสร้างความสัมพันธ์ระยะยาว
Non-Critical (Transactional) Leverage
• ข้าว • บริษัท ฮาวี ลอจิสติกส์ (ประเทศไทย)
- มีซพั พลายเออร์มากราย จำกัด
- มีความสำคัญต่ำและมีราคาที่ถูก - เป็นบริษัทผู้เชี่ยวชาญด้านการขนส่ง
• ขวดแก้ว ไทยเบฟได้เข้าไปถือหุ้น มีซัพพลาย
- มีซัพพลายเออร์มากและมีความเสี่ยง เออร์จำนวนมาก
ต่ำ ทำให้ไม่มีความสัมพันธ์มาก
เนื่องจากสามารถไปรับขวดแก้วมาได้
หลายที่

ภาพที่ 2.2 จำแนกตามความหมายในแต่ละช่อง

บรรจุภัณฑ์แก้ว
แก้วมีส่วนทำให้เกิดการใช้วัสดุบรรจุภัณฑ์หลักในปริมาณสูงสุดที่ไทยเบฟ ใช้ในการบรรจุผลิตภัณฑ์
ต่างๆ เช่น สุราขาว สุราผสม วิสกี้ บรั่นดี เบียร์ น้ำอัดลม น้ำดื่ม ฯลฯ ในปีงบประมาณ 2562 ไทยเบฟนำขวด
แก้วจำนวนกว่า 1,555 ล้านขวดกลับมาใช้ใหม่ และรวบรวมเศษขยะจำนวน 100,000 ตันเพื่อนำไปรีไซเคิล ซึ่ง
คิดเป็นร้อยละ 75 ของสินค้าที่บริษัทจำหน่าย
เปิดตัวแคมเปญทั่วประเทศเพื่อส่งเสริม 'ขวด est COLA ที่ส่งคืนได้' โดยเน้นที่ช่องทางร้านขายอาหาร
และร้านอาหาร ในฐานะอุตสาหกรรม ขวดแก้วที่ส่งคืนได้สูญเสียเสน่ห์เนื่องจากขวดพลาสติก PET ที่สะดวก
กว่า อย่างไรก็ตาม แบรนด์ EST มองว่าความยั่งยืนแตกต่างออกไป และมุ่งมั่นที่จะกระตุ้นความเกี่ยวข้องของ
รูปแบบนี้อีกครั้ง ซึ่งขับเคลื่อนการเติบโตที่ +7% และเพิ่มพอร์ตโฟลิโอบรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมของ
เสริมสุขให้สูงสุด 80% ในช่องนี้ ซึ่งเหนือกว่าอัตราประสิทธิภาพระดับเดียวกันในอุตสาหกรรม
7

บรรจุภัณฑ์กระดาษ
กระดาษเป็นวัตถุดิบสำหรับบรรจุภัณฑ์ทุติยภูมิที่สำคัญของเรา เช่น กล่องด้านในและกล่องกระดาษ
ลูกฟูก กล่องกระดาษชั้นในมักใช้ในการบรรจุสุราสีน้ำตาลระดับพรีเมียม และกล่องกระดาษลูกฟูกใช้ในบรรจุ -
ภัณฑ์จำนวนมากเพื่อจำหน่ายปลีกสำหรับสุรา เบียร์ และธุรกิจ NAB ปัจจุบัน กล่องกระดาษลูกฟูกที่ไทยเบฟ
ใช้บรรจุวัสดุรีไซเคิลเฉลี่ย 93%

บรรจุภัณฑ์อะลูมิเนียม
อลูมิเนียมมีการใช้กันอย่างแพร่หลายในผลิตภัณฑ์ที่มีแอลกอฮอล์และไม่มีแอลกอฮอล์ทั้งเป็นบรรจุ -
ภัณฑ์หลัก เช่น กระป๋องอลูมิเนียมสำหรับเบียร์และน้ำอัดลม และใช้เป็นบรรจุภัณฑ์รอง เช่น การปิดผลิตภัณฑ์
เครื่องดื่มแอลกอฮอล์
ไทยเบฟได้ริเริ่มโครงการ “กระป๋อง 2 กระป๋อง” ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างไทยเบฟกับซัพพลาย
เออร์โดยตรง ผู้ผลิตกระป๋องอลูมิเนียม และซัพพลายเออร์ทางอ้อม ผู้ผลิตแผ่นอลูมิเนี ยม ในปีงบประมาณ
2562 มีการเรียกคืนกระป๋องจำนวน 703 ตัน ซึ่งคิดเป็นจำนวน 52 ล้านกระป๋อง คิดเป็นร้อยละ 14 ของ
ปริมาณผลิตภัณฑ์ไทยเบฟทั้งหมดที่จำหน่ายในประเทศไทย ความคิดริเริ่มนี้ทำให้ไทยเบฟสามารถเพิ่มการใช้
วัสดุรีไซเคิลในบรรจุภัณฑ์ของเรา และทำให้มั่นใจได้ว่าบรรจุภัณฑ์ที่นำกลับมาใช้ใหม่ได้นั้นนำไปรีไซเคิลได้จริง
ปัจจุบันอะลูมิเนียมรีไซเคิลที่ใช้ในการผลิตของไทยเบฟคือ 61%

บรรจุภัณฑ์พลาสติก
ส่วนใหญ่ใช้พลาสติกในผลิตภัณฑ์ที่หลากหลายในธุรกิจเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ เช่น น้ำดื่ม น้ำอัดลม
น้ำอัดลม เครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ และชาเขียว
น้ำอัดลม (CSD) และผลิตภัณฑ์ชาเขียวของไทยเบฟไม่ได้จำหน่ายในขวด PET สีอีกต่อไปแล้ว เพื่อ
อำนวยความสะดวกในกระบวนการรีไซเคิลที่เป็นไปได้ ด้วยตระหนัก ถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมที่อาจเกิดขึ้น
จากบรรจุภัณฑ์ทุติยภูมิ ไทยเบฟจึงทำงานอย่างใกล้ชิดกับซัพพลายเออร์เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ในการ
เปลี่ยนจากทางเลือกที่ไม่สามารถรีไซเคิลได้เป็นวัสดุรีไซเคิลหรือนำกลับมาใช้ใหม่ได้ ตัวอย่างเช่น ไทยเบฟ
กำลังทดลองการใช้ PET ของฉลากพีวีซีในผลิตภัณฑ์ชาเขียวโออิชิ
8

บทที่ 4
การบริหารความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกในห่วงโซ่อุปทาน
Supply Chain Relationship Management

การจัดการลูกค้าสัมพันธ์ Customer Relationship Management (CRM)


“ลูกค้า” คือบุคคลสำคัญและถือเป็นหนึ่งในกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียหลักของไทยเบฟการทำงาน
ร่วมกัน และพัฒนาให้ลูกค้ามีโอกาสเติบโตทางธุรกิจและได้รับผลประโยชน์ในด้านต่างๆ ทำให้ไทยเบฟมีฐาน
ลูกค้าที่มั่นคงและมีความสัมพันธ์แบบยั่งยืน เติบโตไปด้วยกัน
การบริหารจัดการความสัมพันธ์ ลูกค้า ถือเป็นกุญแจหลักในการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับลูกค้า และ
เพื่อตอบสนองความพึงพอใจสูงสุดของลูกค้า ไทยเบฟจึงกำหนดการวัดผล ติดตาม ประเมินความพึงพอใจ ของ
ลูกค้าด้วยวิธีการที่แตกต่างกัน ตามลักษณะความต้องการ ความคาดหวัง การดำเนินธุรกิจของลูกค้า และ
ช่องทางการจัดจำหน่าย

ไทยเบฟดูแลเอาใส่ใจลูกค้าโดยครอบคลุมด้านต่างๆ ดังนี้
- การคัดสรรวัตถุดิบที่มีคุณภาพ
- การพัฒนาและควบคุมกระบวนการผลิตให้ได้มาตรฐานสากลและเชื่อถือได้
- การวิจัยและสร้างสรรค์ “นวัตกรรม” ใหม่เพื่อนำส่งสิ่งใหม่ให้กับลูกค้า กระบวนการจัดส่งสินค้าที่
ลูกค้าติดตามตรวจสอบได้
- การพั ฒ นาศั ก ยภาพของลู ก ค้ า โดยการจั ด อบรมต่ า งๆและนำเทคโนโลยี ส มั ย ใหม่ มาใช้ เ พื่ อ
ติดต่อสื่อสารกับลูกค้าอย่างมีประสิทธิภาพ

การแบ่งปันคุณค่า
ลูกค้าคือผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Stakeholder) ที่สำคัญขององค์กร และเป็นตัวแปรสำคัญที่จะทำให้
สามารถบรรลุวัตถุประสงค์ของไทยเบฟได้ ดังนั้นไทยเบฟจำเป็นต้องพัฒนาศักยภาพลูกค้าให้มีประสิทธิภาพใน
การทำงานได้อย่างกลมกลืน เพื่อช่วยนำพาสินค้าไปสู่มือผู้บริโภค ไทยเบฟก็จะเจริญเติบโต ถ้าผู้บริโภคมีความ
พึงพอใจกับสินค้าของไทยเบฟ ได้รับสินค้าไปบริโภค และกลับมาซื้อสินค้าของไทยเบฟใหม่ ถือเป็นปัจจัยแห่ง
ความสำเร็จทางธุรกิจ สรุปแล้ว ลูกค้ามีความสำคัญ เพราะฉะนั้นการบริหารลูกค้า ไม่ใช่การบังคับ ต้อง
พยายามทำให้ลูกค้าทำงานกับไทยเบฟได้ อย่างมีความสุข มีความพึงพอใจมีกำไรตลอดไป
9

การกำหนดเป้าหมายและการตรวจสอบความพึงพอใจของลูกค้า

การบริหารช่องทางการจัดจำหน่าย
กลุ่มลูกค้า (CUSTOMER)
เป็นกลุ่มที่จะนำสินค้าของไทยเบฟไปส่งต่อถึงผู้บริโภค และสร้างความพึงพอใจในผลิตภัณฑ์ที่ดีของ
ไทยเบฟ ต่อผู้บริโภคอย่างมีความสุขและอยู่กับไทยเบฟไปตลอด ซึ่งประกอบด้วย
1. ช่องทางการค้าขายแบบดั้งเดิม (Traditional Trade): เป็นการจำหน่ายผ่านระบบตัวแทนจำหน่าย
ในแต่ละจังหวัดและอำเภอ
2. ช่องทางการค้าขายสมัยใหม่ (Modern Trade): เป็นการจำหน่ายผ่านห้างค้าปลีกสมัยใหม่
เช่น แม็คโคร เทสโก้ โลตัส บิ๊กซี เซเว่น อีเลฟเว่น ท็อปส์ ซูเปอร์มาร์เก็ต เดอะมอลล์ และรวมถึงห้างค้าปลีก
สมัยใหม่ตามท้องถิ่นด้วย เช่น ซีเจ (ราชบุรี เพชรบุรี สมุทรสงครามและจังหวัดอื่นๆ) ทีเอ็มเค (กาญจนบุรี)
หรือ ซุปเปอร์ชีป (ภูเก็ต)
3. ช่องทางการค้าขายด้วยหน่วยรถเงินสดของไทยเบฟ (Cash Van) ไปยังร้านค้าปลีกในแต่ละชุมชน
เช่น ร้านโชว์ห่วย ร้านสวัสดิการ ร้านอาหารตามสั่ง ร้านค้าปลีกในสถานที่ราชการหรือโรงพยาบาล
4. ช่องทางการค้าขายให้กับร้านอาหาร โรงแรม และธุรกิจการบริการท่องเที่ย วและจัดงานเลี้ยง
(HoReCa)
5. ช่ อ งทางการค้ า ขายให้ ก ั บ ร้ า นอาหารและสถานบั น เทิ ง ที ่ ต ้ อ งมี ใบอนุ ญ าต ( On Trade/On
Premises) เช่น ผับ บาร์ และร้านอาหาร หรือสวนอาหารต่างๆ
10

กลุ่มผู้บริโภค (CONSUMER)
เป็นกลุ่มที่ไทยเบฟจำหน่ายสินค้า ให้โดยตรง เรามุ่งเน้นให้ผู้บริโภคมีความพึงพอใจกับสินค้าของเรา
ได้รับสินค้าของเราไปบริโภคอย่างมีความสุข มีประสบการณ์ที่ดีเยี่ยม และกลับมาซื้อสินค้าหรือบริการของเรา
ใหม่ต่อไป ซึ่งผ่านช่องทางดังนี้
1. ผ่านทางร้านอาหารของไทยเบฟ ภายใต้ตราสินค้าที่หลากหลาย เช่น OISHI ประกอบด้วยโออิชิ
แกรนด์ (OISHI Grand) โออิชิ อีทเทอเรียม (OISHI Eaterium) โออิชิ บุฟเฟต์ (OISHI Japanese Buffet)
นิ ก ุ ย ะ (Nikuya) ชาบู ช ิ (Shabushi) โออิ ช ิ ราเมน (OISHI Ramen) คาคาชิ (Kakashi)* Food of Asia
ประกอบด้วยโซอาเซียน คาเฟ่ แอนด์ เรสเตอรองท์ (So Asean Café & Restaurant) หม่าน ฟู่ หยวน คิทเช่น
(Man Fu Yuan Kitchen) บ้านสุริยาศัย (Baan Suriyasai) ฟู้ด สตรีท (Food Street) ไฮด์แอนด์ซีค (Hyde &
Seek) เอ็มเอ็กซ์ เค้กแอนด์เบเกอรี่ (mx cakes & bakery) คาเฟ่ ชิลลี่ (Cafe Chilli) ชิลลี่ ไทย เรสเตอรองท์
(Chilli Thai Restaurant) อีทพอท เกาเหลาหม้อไฟ (Eat Pot by Café Chilli) พอท มินิสทรี (POT Ministry)
เสือใต้ (South Tiger) และ เคเอฟซี (KFC) เฉพาะร้านที่อยู่ภายใต้การบริหารร้านของ ไทยเบฟ เดอะ คิว
เอสอาร์ ออฟ เอเชีย จำกัด (QSA)
2. ผ่านช่องทางออนไลน์และเว็บไซต์ (https://oishidelivery.com/th) ด้วยมือถือหรือคอมพิวเตอร์
หรือวิธีการโทรสั่ง (OISHI Delivery 1773) ซึ่งเป็นช่องทางที่ตรงกับไลฟ์สไตล์ของคนรุ่นใหม่ และคนที่อาศัย
ในเมืองโดยมุ่งเน้นที่การสร้างประสบการณ์ความพึงพอใจในการบริการอย่างดีที่สุด

การจัดหาอย่างยั่งยืน SRM
กลยุทธ์ “ห่วงโซ่อุปทานแห่งอนาคต” ไทยเบฟได้กำหนดกลยุทธ์ “ห่วงโซ่อุปทานแห่งอนาคต” ดังนี้
สร้า งความแข็งแกร่ง (STRONGER) จัดหาวัตถุดิบสำคัญจากคู่ค้าที่หลากหลายขึ้นและลดการ
ผูกขาดกับคู่ค้าเพียงเจ้าเดียว โดยเน้นการจัดหาจากภายในประเทศและเพิ่มศักยภาพให้กับคู่ค้าในประทศ
เชื่อมต่อกัน (SYNERGIZED) นำเทคโนโลยีดิจิต อลมาใช้ในการวางแผนห่วงโซ่อุปทานทั้งหมดเพื่อ
เพิ่มขีดความสามารถในการเข้าถึงข้อมูล (Data Visibility)
ก้าวสู่ความยั่งยืน (SUSTAINABLE) ดำเนินการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานแบบครอบคลุม
ทุกภาคส่วน พร้อมสร้างคุณค่าทางธุรกิจให้แก่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียตลอดทั้งห่วงโซ่อุปทาน เพื่อเพิ่มความยืดหยุ่น
ในการดำเนินธุรกิจ
11

เครือข่ายธุรกิจห่วงโซ่อุปทานแห่งประเทศไทย (THAILAND SUPPLY CHAIN NETWORK - TSCN) ร่วม


ต้านไวรัสโควิด-19
ในปี 2562 ไทยเบฟร่วมมือกับคู่ค้าที่มีความสำคัญกับก่อตั้งเครือข่ายธุรกิจห่วงโซ่อุปทาน
แห่งประเทศไทย (Thailand Supply Chain Network หรือ TSCN) เพื่อผนึกพลังองค์กรต้นแบบด้านความ
ยั่งยืนของประเทศไทยและร่วมกันขับเคลื่อนการพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยแลกเปลี่ยนข้อมูล ความรู้ และขยาย
ธุรกิจไปในยังต่างประเทศหรือตลาดอื่นๆ

ไทยเบฟเฝ้าระวังวิกฤตการณ์ ไวรัสโควิด-19 ตั้งแต่แรกเริ่มเพื่อเตรียมพร้อมรับมือกับสถานการณ์และ


เป็นส่วนหนึ่งในการป้องกันการแพร่ระบาด โดยได้ดำเนินงานและจัดกิจกรรมต่างๆ อาทิ
ประเมินความเสี่ยงด้านความต่อเนื่องในการดำเนินธุรกิจร่วมกับคู่ค้าหลักของไทยเบฟ เพื่อประเมิน
ขั้นตอนและศักยภาพในการจัดซื้อจัดหาในช่วงการแพร่ระบาด และเป็นการบริหารจัดการความเสี่ยงตลอดทั้ง
ห่วงโซ่อุปทาน รวมถึงเป็นแรงจูงใจในการขับเคลื่อนคู่ค้ารายอื่นๆ ให้มีส่วนร่วมกับไทยเบฟในการสร้างความ
ยืดหยุ่นทางธุรกิจของห่วงโซ่อุปทานให้มีมากขึ้น
สำรวจความต้องการของพันธมิตรผู้ก่อตั้ง TSCN และคู่ค้ารายอื่นๆ ในช่วงการแพร่ระบาดของไวรัสโค
วิด-19 เพื่อให้ความช่วยเหลือด้านทรัพยากรทางการแพทย์ ด้านบุคลากร และด้านอื่น ๆ ได้อย่างเหมาะสม
ร่วมกับ บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) หนึ่งในผู้ร่วมก่อตั้ง TSCN ผลิตเจล
แอลกอฮอล์มากกว่าหนึ่งล้านขวดและส่งมอบให้กับกระทรวงสาธารณสุข เพื่อแจกจ่ายให้กับอาสาสมัคร
สาธารณสุขทั่วประเทศ
ส่งมอบแอลกอฮอล์ให้กับเอกอัครราชทูตมัลดีฟส์ประจำประเทศไทยผ่านการประสานงานของ TSCN
พร้อมกับผู้ร่วมก่อตั้ง TSCN รายอื่น ๆ
12

บทที่ 5
การบริหารจัดการการขนส่ง
Transportation Management

ปัจจุบันได้สร้างศูนย์กระจายสินค้าไปแล้ว 3 แห่งคือ ศูนย์กระจายสินค้าจังหวัดนครราชสีมา


บนพื้นที่ 64 ไร่ (400 ไร่) พื้นที่คลัง 10,000 ตร.ม. ศูนย์กระจายสินค้าจังหวัดชลบุรี พื้นที่ 66 ไร่ พื้นที่คลัง
7,800 ตร.ม. ศูนย์กระจายสินค้าจังหวัดสุราษฎร์ธานี รวมทั้งมีคลังสินค้าย่อยตามจังหวัดต่างๆ อีกประมาณ
80 แห่ง ส่วนรถยนต์มีรถยนต์ทั้งขนาดเล็กจนถึงขนาดใหญ่
จำนวนประมาณ 1,700 คัน สามารถบริการขนส่งสินค้าได้ปีละไม่ต่ำกว่า 1,700 ล้านลิตร มีรายได้
ปีละประมาณ 2,500-3,000 ล้านบาท เพื่อรองรับการกระจายสินค้าไปจำหน่าย ทั่วประเทศ โดยบริษัทฯ
มีแนวทางการดำเนินธุรกิจนับจากนี้บริษัทฯ จะเน้นหลักการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ใน 3 ด้านหลัก คือการขนส่ง
คลังสินค้า และการวางแผน โดยในด้านการขนส่งนั้นพัฒนาการขนส่งลำเลียงเพื่อการกระจายสินค้าและ
การรวบรวมสินค้าขากลับให้มีประสิทธิภาพสูงสุดรวมทั้งพัฒนาการขนลำเลียงสินค้าในรูปแบบอื่นๆ เพื่อให้มี
ต้นทุนที่ต่ำ โดยไม่ลดประสิทธิภาพและสามารถแข่งขันได้ มีความปลอดภัยและรักษาสิ่งแวดล้อม สำหรับด้าน
คลังสินค้า ไทยเบฟจัดตั้งศูนย์กลางกระจายสินค้าภูมิภาค เพื่อการจัดเก็บสินค้าคงคลังสำรองและรองรับสินค้า
ส่วนเกิน เพื่อให้การไหลเวียนสินค้ามีสินค้าที่สดใหม่ และนอกจากนี้ ด้านการวางแผน ไทยเบฟได้วิเคราะห์
วางแผน กำหนดแนวทางการดำเนินงาน ประสานงาน พัฒนา แก้ไขปัญหา และปรับปรุง ทรัพยากรให้มี
ประสิทธิภาพสูงสุด ทั้งทางด้านการขนส่งลำเลียงสินค้า คลังสินค้า ปริมาณสินค้า อายุสินค้ารวมทั้ง
ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการประมาณความต้องการสินค้าให้เพียงพอต่อสภาพแวดล้อมธุรกิจ

รูปแบบการขนส่งทางถนน
การขนส่งทางถนนเป็นการขนส่งที่สามารถจะเข้าถึงต้นทางและปลายทางได้ รวมถึงมีความสะดวก
รวดเร็ว รวมถึงรถบรรทุกที่ใช้ในการขนส่งมีหลายขนาด ทำให้สามารถเลือกใช้ได้ตามความเหมาะสม
13

ฮาวี ลอจิสติกส์ (ประเทศไทย)” เป็นผู้เชี่ยวชาญธุรกิจโลจิสติกส์เกี่ยวกับการขนส่งและกระจายสินค้าที่


มีการควบคุมอุณหภูมิของสินค้าให้เหมาะสมตั้งแต่ออกจากโรงงานไปจนถึงมือผู้บริโภค หรือ Cold Chain
ให้บริการแก่ลูกค้าในกลุ่มธุรกิจร้านอาหาร หรือ Food Services ในประเทศไทย
และในปี 2560 ฮาวี ลอจิสติกส์ (ประเทศไทย) มีรายได้รวมกว่า 4,737 ล้านบาท หดตัวลง 2.59% มี
กำไรสุทธิกว่า 29 ล้านบาท เติบโต 82.62% (ที่มา : กรมพัฒนาธุรกิจการค้า)
ขณะที่ระดับโลก “ฮาวี ลอจิสติกส์” ถือเป็นบริษัทที่ทำมากกว่าโลจิส ติกส์ แต่ยังให้บริการด้ าน
วิเคราะห์การตลาด (Marketing Analytics) ด้านบรรจุภัณฑ์ บริหารจัดการห่ วงโซ่การผลิต และคร่ำหวอดใน
ธุรกิจดังกล่าวมานานกว่า 40 ปี มีเครือข่ายธุรกิจโลจิสติกส์กว่า 40 ประเทศทั่วโลก โดยเฉพาะยุโรปและเอเชีย
14

บทที่ 6
เทคนิคและกลยุทธ์ การจัดการการขนส่ง

เทคนิคและกลยุทธ์การพัฒนาอย่างยั่งยืนของไทยเบฟ
“อยู่กับคุณทุกช่วงเวลา” กลยุทธ์การพัฒนาอย่างยั่งยืนของไทยเบฟ ได้รับการพัฒนาขึ้นอย่าง
สอดคล้องกับแนวคิด “อยู่กับคุณทุกช่วงเวลา” ซึ่งหมายถึง การดูแลผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและธุรกิจอย่างครบ
วงจรในระยะยาว ได้แก่
1. การสร้างคุณค่าทางธุรกิจ (มิติทางเศรษฐกิจ)
2. การจัดการดูแลผลกระทบจากธุรกิจ (มิติทางสิ่งแวดล้อม)
3. การดูแลและการแบ่งปัน (มิติทางสังคม)
ซึ่งรายละเอียดของแต่ละด้าน มีดังต่อไปนี้
มิติทางเศรษฐกิจ : การสร้างคุณค่าทางธุรกิจ
• การเติบโตทางธุรกิจอย่างยั่งยืน
• การจัดซื้อจัดหาอย่างมีความรับผิดชอบ
มิติทางสิ่งแวดล้อม : การจัดการดูแลผลกระทบจากธุรกิจ
• ทรัพยากรน้ำ
• ทรัพยากรด้านพลังงาน
• การบริหารจัดการมลพิษ
มิติทางสังคม : การดูแลและการแบ่งปัน
• สุขภาพและความปลอดภัยของผู้บริโภค
• การอบรมและพัฒนาพนักงาน
• การกำกับดูแลและหลักธรรมาภิบาล
• การสื่อสารด้านการตลาด
• ความสัมพันธ์กับชุมชน

ประเด็นสำคัญด้านความยั่งยืน
คณะทำงานได้ระดมความคิดเพื่อรวบรวมประเด็นทางสิ่งแวดล้อมและสังคมที่มีความเกี่ยวข้องกับ
กลยุทธ์ทางธุรกิจของไทยเบฟ ทั้งในปัจจุบันและในอนาคตตลอดห่วงโซ่คุณค่า นอกเหนือจากการวิจัยแนวโน้ม
ทางธุ ร กิ จ ที ่ ม ี ผ ลกระทบต่ อ อุ ต สาหกรรมเครื ่ อ งดื ่ ม และศึ ก ษาประเด็ น สำคั ญ ของบริ ษ ั ท อื ่ น ๆ ในกลุ่ ม
อุตสาหกรรมเดียวกันแล้ว คณะทำงานยังได้ทำการสัมภาษณ์ผู้บริหารระดับสูงในสายงานต่างๆ ของไทยเบฟ
และได้จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการในระดับผู้ปฏิบัติงาน เพื่อระบุถึงประเด็นที่มีความ สำคัญต่อการดำเนิน
ธุรกิจของไทยเบฟ
15

การทำความเข้าใจประเด็นที่มีความสำคัญสูงสุดต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของไทยเบฟ
คณะทำงานได้ ทำการรวบรวมกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียตลอดห่ว งโซ่คุณค่าของไทยเบฟ และ
จัดลำดับความสำคัญของกลุ่มต่างๆ ที่มีต่อธุรกิจของเราในการระบุกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียหลักของไทยเบฟนั้น
เราได้พิจารณาระดับของผลกระทบที่แต่ ละกลุ่มมีต่อไทยเบฟ และในทางกลับกันพิจารณาว่ากลุ่มเหล่านี้มีการ
พึ่งพาการดำเนินธุรกิจของไทยเบฟมากน้อยเพียงใด กลุ่มที่มีผลกระทบต่อไทยเบฟสูงและมีการพึ่งพิงธุรกิจของ
ไทยเบฟมากจะได้รับการกำหนดให้เป็นกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียหลักของไทยเบฟ
จากนั้น ไทยเบฟได้ทำการประเมินทัศนคติที่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียมีต่อประเด็นทั้ง 14 ด้าน เพื่อระบุ
ประเด็นที่กลุ่มเหล่านี้ให้ความสนใจมากที่สุด
เนื่องจากการบรรลุสู่เป้าหมายความยั่งยืนของไทยเบฟ จึงได้ทำการประเมินทัศนคติของผู้มีส่วนได้
เสียเบื้องต้น ซึ่งเป็นระดับภายในองค์ กรเท่านั้น โดยอ้างอิงจากรปะสบการณ์ของคณะทำงานที่มีความใกล้ชิด
กับกลุ่มเหล่านี้มากที่สุด

การทำความเข้าใจประเด็นที่มีความสำคัญสูงสุดต่อธุรกิจของไทยเบฟ
ในแง่ของความสำคัญทางธุรกิจ คณะทำงานได้ทำการประเมินแต่ละประเด็นในแง่ของระดับความ
รุนแรงของผลกระทบที่มีต่อคุณค่าทางธุรกิจ (ได้แก่ รายได้ ต้นทุน และชื่อเสียง) ทั้งประเด็นที่เกิดขึ้นจริง และ
ประเด็นที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต รวมทั้ง พิจารณาถึงความเป็นไปได้ที่ประเด็นเหล่านั้นจะเกิดขึ้น
จากนั้น ไทยเบฟได้คัดเลือก 10 ประเด็นที่กลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียให้ความสนใจและมีความสำคัญ
ต่อธุรกิจของไทยเบฟในระดับสูง และระดับปานกลางมาสรุปเป็นประเด็นที่มีความสำคัญ (Materiality)
ของไทยเบฟ อันได้แก่
1. การเติบโตทางธุรกิจ
2. การจัดซื้อจัดหา
3. ทรัพยากรน้ำ
4. ทรัพยากรด้านพลังงาน
5. การบริหารจัดการมลพิษ
6. สุขภาพและความปลอดภัยของผู้บริโภค
7. การอบรมและพัฒนาพนักงาน
8. การกำกับดูแลและหลักธรรมาภิบาล
9. การสื่อสารด้านการตลาด
10. ความสัมพันธ์กับชุมชน
16

วิธีการขนส่ง
การขนส่งแบบมิลค์รัน (Milk Run)
การขนส่งแบบ Milk run เป็นวิธีขนส่งเพื่อใช้ระวางยานพาหนะให้ได้ประโยชน์สูงสุดหรือ
เต็มคันรถ ประกอบด้วยการขนส่งตรงแบบรวบรวมสินค้าจากผู้ผลิตหลายรายไปให้ลูกค้ารายเดียว การขนส่ง
ตรง จากโรงงานไปให้ลูกค้าหลายรายและขนส่งตรงแบบกระสินค้า จากผู้ผลิตหลายรายไปให้ลูกค้าหลายราย
17

บทที่ 7
การจัดการสินค้าคงคลัง
Inventory Management

1. วัตถุดิบ ( Raw material )


- กากน้ำตาลจากอ้อย(โมลาส)
- ปลายข้าวเหนียว
- Malt
- ขวดแก้ว ฝาขวด
2. สินค้าระหว่างผลิต ( Work in process )
ขั้นตอนการบ่มเหล้า การกลั่น
3.วัสดุซ่อมบำรุง (Maintenance/Repair/Operating Supplies)
- น็อต
- ฟันเฟือง
- สายพาน
- ห่วงยกเป็นวิธีสากลสำหรับถังเปล่าแห้ง วีธีการแก้ปัญหาจะต้องใช้ค้อนหนักๆและวัตถุแข็งที่วางชิด
กับห่วงได้ เช่น สิ่ว เมื่อตั้งสิ่วไว้ที่มุมฉากบนขอบของห่วงแล้วใช้ค้อนทุบที่สิ่ว
- แว็กซ์ขี้ผึ้ง เป็นวัสดุปิดช่องว่างที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม จะไม่ส่งผลต่อรสชาติและกลิ่นหอมของ
เครื่องดื่มภายในถัง
4.สินค้าสำเร็จรูป (Finished Goods)
แม่โขง,พระยา,แสงโสม,สเปเชียล รัม,หงส์ทอง,มังกรทอง,เบลนด์ 285,เบลนด์ 285 ซิกเนเจอร์,
เมอริเดียน,คราวน์ 99,ดรัมเมอร์
18

5. สินค้าคงคลังระหว่างการขนส่ง (In-transit Inventories)


ไทยเบฟมีสินค้าระหว่างการขนส่ง ได้แก่ แม่โขง, พระยา, แสงโสม, สเปเชียลรัม, หงส์ทอง, มังกรทอง,
เบลนด์ 285, เบลนด์ 285 ซิกเนเจอร์, เมอริเดียน, คราวน์ 99, ดรัมเมอร์ มีการขนส่งด้วยวิธีการขนส่งผ่านถนน
ผ่านทางราง ทางน้ำและอากาศ ปัจจุบันไทยเบฟมีศูนย์กระจายสินค้า 3 แห่ง คือศูนย์กระจายสินค้าที่จังหวัด
นครราชสีมา จังหวัดชลบุรี จังหวัดสุราษฎร์ธานี ส่วนรถยนต์มีทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่ จำนวนประมาณ
1,700 คัน สามารถบริการขนส่งสินค้าได้ปีละไม่ต่ำกว่า 1,700,000,000 ลิตร
6. วัสดุหรือสินค้าไม่เคลื่อนที่ (Dead Stock)
- ซากถังไม้โอ้ค
- เศษขวดแก้วที่แตกหรือบิ่น
- สุราที่เกิดข้อผิดพลาดจากการบ่ม เช่น ระยะเวลา หรือไม้ที่นำมามาบ่มไม่ตรงตามสูตรพันธุ์ไม้

กลยุทธ์การจัดการสินค้าคงคลัง
ระบบการจำแนกวัสดุคงคลังเป็นหมวดเอบีซี
การจำแนกวัสดุคงคลังเป็นหมวด ABC จะทำให้การควบคุมวัสดุคงคลังแตกต่างกันดังต่อไปนี้

ลำดับ สินค้า วัสดุคงคลังทั้งหมด มูลค่าทั้งหมด


- น็อต
A - ฟันเฟือง 15% 70%
- สายพาน
B - ขวดแก้ว ฝาขวด 35% 20%
- ข้าวมอลต์
C 50% 10%
- กากน้ำตาลจากอ้อย(โมลาส)
รวม 100% 100%

A เป็นวัสดุคงคลังที่มีปริมาณน้อย 15% ของวัสดุคงคลังทั้งหมด และมีมูลค่ารวมค่อนข้างสูง 70%


ของมูลค่าทั้งหมด สินค้ามีการควบคุมอย่างเข้มงวดมาก ด้วยการลงบัญชีทุกครั้งที่มีการรับจ่าย เช่น ทุกวันหรือ
ทุกสัปดาห์ การควบคุมจึงใช้ระบบวัสดุคงคลังอย่างต่อเนื่อง ในด้านการจัดซื้อก็ควรหาผู้ขายไว้หลายรอบเพื่อ
ลดความเสี่ยงจากการขาดแคลนวัสดุหรือสินค้า
19

B เป็นวัสดุคงคลังที่มีปริมาณปานกลาง 35% ของวัสดุคงคลังทั้งหมด และมีมูลค่ารวมปานกลาง 20%


ของมูลค่าทั้งหมด สินค้ามีความควบคุมเข้มงวดปานกลาง ด้วยการลงบัญชี เช่นเดียวกับ A แต่ความถี่น้อยกว่า
เช่นทุกสัปดาห์ หรือ ทุกสิ้นเดือน และการควบคลุม B จึงควรใช้ระบบวัสดุคงคลังอย่างต่อเนื่องเช่นเดียวกับ A
C เป็นวัสดุคงคลังที่มีปริมาณมาก 50% ของวัสดุคงคลังทั้งหมด และมีมูลค่ารวมค่อนข้างต่ำ 10%
ของมูลค่าทั้งหมด ไม่มีการจดบันทึกหรือมีเพียงเล็กน้อยเนื่องจากเป็นของราคาถูกและปริมาณมากไม่คุ้มค่ากับ
การตรวจสอบ C จะใช้วัสดุคงคลังแบบสิ้นงวดคือเว้นสักระยะจะมาตรวจนับดูว่าพร่องไปเท่าใดแล้วก็ซื้อมาเติม
ซึ่งจะทำให้ไม่มีการขาดมือเกิดขึ้น
20

บทที่ 8
การจัดการคลังสินค้า อุปกรณ์การเคลื่อนย้าย จัดเก็บสินค้าและบรรจุภัณฑ์
Warehouse Management

ปัจจุบันไทยเบฟฯยังมีศูนย์กระจายสินค้า 3 แห่ง ศูนย์ขนส่ง 23 แห่ง และคลังสาขาจังหวัดอีก 86


แห่ง ด้านความสามารถในการส่งสินค้าไม่ต่ำกว่า 1,700 ล้านลิตร และสร้างรายได้ขั้นต่ำ 2,500 ล้านบาท
และเพื่อให้สอดคล้องการบุกตลาดอาเซียนบริษัทจึงวางระบบการเชื่อมโยงข้อมูลและฐานข้อมูล เพื่อพัฒนา
ระบบการเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างหน่วยงานในภูมิภาคกับส่วนกลางด้วยรวมไปถึงเสริมศักยภาพให้กับองค์กร
ด้วยการนำระบบโปรแกรมสำเร็จรูประดับโลกจากบริษัท Manhattan Associates จากสหรัฐอเมริกา มาใช้
บริหารจัดการ คลังสินค้า และสินค้าคงคลังที่เรียกว่า Warehouse Management System WMS ชื่อ ILS
เนื่องด้วยผลิตภัณฑ์ของไทบเบฟส่วนใหญ่มีบรรจุภัณฑ์สินค้าแบบขวดแก้วเป็นส่วนใหญ่ ดังนั้นการ
ออกแบบแผนผังการจัดการสินค้าจะมีการจัดเก็บและวางสินค้าดังนี้
1. มีการจัดวางรูปแบบสินค้าแบบ block Stacking เป็นการจัดวางสินค้าบรรจุภัณฑ์ประเภทขวด
แก้วคือจะมีการวางสินค้าบนพื้น โดยที่ไม่ได้วางสินค้าบนชั้นวางสินค้าเพราะสินค้ามีน้ำหนักมาก โดยสินค้า
ประเภทสุรา เบียร์มีการเคลื่อนไหวเข้าออกเร็ว การวางสินค้าจะวางเรี ยงกัน 3-4 ชั้น ขึ้นอยู่กับความแข็งแรง
ของบรรจุภัณฑ์และถ้าวางมากกว่านั้น จะไม่สามารถยกสินค้าที่วางอยู่ตรงกลางได้อย่างสะดวก
21

และการจัดวางสินค้าประเภทอื่นนอกเหนือจากประเภทขวดแก้ว จะมีการจัดวางสินค้าด้วยชั้นวางแบบ
Selective Pallet Racking Selective Pallet Racking
22

2. การเลือกพาเลท
เลือกใช้พาเลทแบบ 4-Way Single faced Pallet เป็นพาเลทสองหน้า สามารถเคลื่อนย้ายได้4
ทางทิศทางที่ไม่สามารถใช้กลับหน้าได้ เพราะไทยเบฟมีการเคลื่อนย้ายแบบยกวางเปลี่ยนตำแหน่งการวาง
สินค้าเท่านั้น

3. การเคลื่อนย้ายสินค้าด้วยการยกพาเลท
จะเลือกใช้ Forklift (โฟล์คลิฟท์) ในการเคลื่อนย้ายสินค้าภายในคลังสินค้า เหมาะกับสินค้าที่มี
น้ำหนักมากและมีการจัดเก็บในที่สูงหรือการวางสินค้าหลายๆชั้น
23

บทที่ 9
เทคโนโลยีที่องค์กรเลือกนำมาใช้งานในการจัดการข้อมูลและบริหารงานภายในองค์กร

เทคโนโลยีสารสนเทศในองค์กร
แนวทางการบริหารจัดการ
ไทยเบฟมีแนวทางการจัดการและการบริหารความเสี่ยงในเรื่องความปลอดภัยทางด้านข้อมูลทาง
ไซเบอร์และด้านอื่นๆ ตามมาตรฐานของ ISO 27001 และ NIST Cybersecurity Framework ซึ่งเป็นกรอบ
การทำงานด้านความมั่น คงปลอดภัย ไซเบอร์ เพื่อช่ว ยให้องค์กรสามารถวางแผนป้องกัน ตรวจจับ และ
ตอบสนองต่อภัยคุกคามได้อย่างรวดเร็วและเป็นระบบตามมาตรฐานสากล โดยแบ่งออกเป็น 5 ขั้นตอนสำคัญ
คือ การประเมิน (Identify) การป้องกัน (Protect) การตรวจจับ (Detect) การตอบสนอง (Respond) และ
การฟื้นฟู (Recovery)
คณะกรรมการและผู้บริหารของไทยเบฟได้กำหนดกลยุทธ์ความปลอดภัยของเทคโนโลยีสารสนเทศ
รวมถึงความปลอดภัยทางไซเบอร์และกระบวนการทั้งหมดให้สอดคล้องกับแนวปฏิบัติด้านการกำกับดูแล
กิจการที่ดีที่บริษัทจดทะเบียนพึงปฏิบัติ เพื่อให้แน่ใจว่า กลยุทธ์และแผนทางธุรกิจจะต้องครอบคลุมถึงเรื่อง
ความปลอดภัยของข้อมูลขององค์กร โดยมีโครงสร้างการกำกับดูแลกิจการที่เป็นไปตามมาตรฐาน
นอกจากนี้ยังมีคณะกรรมการบริหารความยั่งยืนและความเสี่ยงที่ทำหน้าที่เป็นผู้กำกับดูแล เพื่อเตรียม
ความพร้อมที่จะรับมือกับความเสี่ยงที่เกิดขึ้นในด้านความปลอดภัยของเทคโนโลยีสารสนเทศและไซเบอร์
ซึ่งเป็นหนึ่งในความเสี่ยงที่อ าจเกิดขึ้นของไทยเบฟ พร้อมกับจัดตั้งคณะกรรมการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ
เพื่อรับรองและให้มั่นใจได้ว่า ความเสี่ยงทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศของบริษัทจะสามารถถูกจัดการได้อย่าง
มีประสิทธิภาพ และผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับองค์กรและโอกาสทางธุรกิจจะถูกบรรเทาลง

ความปลอดภัยด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการรักษาความมั่นคงปลอดภัยด้านไซเบอร์
ไทยเบฟเล็งเห็นถึงความสำคัญของการปกป้องระบบเทคโนโลยีสารสนเทศขององค์กรที่เป็นหน้าที่ของ
พนักงานทุกคนที่ต้องให้การสนับสนุน ด้วยเหตุนี้ ไทยเบฟจึงได้ริเริ่มเปิดตัวโครงการใหม่ๆ เพื่อให้การส่งเสริม
ด้านเทคโนโลยี สารสนเทศแก่พนักงาน กลุ่มธุรกิจ และผู้ที่เกี่ยวข้องอื่นๆ มีจุดมุ่งหมาย เพื่อให้แน่ใจว่า
พนักงานทุกคนมีส่วนร่วมในการปกป้องข้อมูลและความปลอดภัยด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ อีกทั้งยังไม่ละเมิด
สิทธิ์ของเจ้าของข้อมูลโดยเฉพาะผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในองค์กร
24

นโยบายความปลอดภัยด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ
ไทยเบฟได้กำหนดนโยบายความปลอดภัยด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ มาตั้งแต่ปี 2563 เพื่อกำหนด
ทิศทาง หลักการ และกรอบการทำงาน ข้อกำหนดด้านการจัดการความปลอดภัยของเทคโนโลยีสารสนเทศ
และความปลอดภัยทางไซเบอร์ รวมถึงการสร้างความรู้ความเข้าใจในเชิงรุกให้พนักงานปฏิบัติตามนโยบาย
มาตรฐาน ขั้นตอนการปฏิบัติงาน คำแนะนำ รวมถึงกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับระบบคอมพิวเตอร์อย่างถูกต้อง
และเหมาะสม

บริหารงานภายในองค์กร
ไทยเบฟดำเนิน ธุร กิจ ด้ว ยความซื่อสัตย์ ความรับผิดชอบ โปร่งใส ความเป็นธรรม และคงไว้ซึ่ง
จริยธรรม โดยยึดมั่นการปฏิบัติภายใต้กรอบจรรยาบรรณในการดำเนินธุรกิจของบริษัท ในกลุ่มไทยเบฟการ
กำกับดูแลเป็นปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่งในการปรับปรุงประสิทธิภาพขององค์กร ซึ่งเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่าง
ฝ่ายจัดการ คณะกรรมการ ผู้บริหาร พนักงาน และ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย การกำกับดูแลทำให้เกิดโครงสร้างที่
สำคัญ ซึ่งเป็นกลไกในการกำหนดวัตถุประสงค์ของการดำเนินธุรกิจและการกำหนดวิธีการดำเนินการที่จะ
บรรลุวัตถุประสงค์ดังกล่าว รวมถึงการสอดส่องดูแลผลการปฏิบัติงาน ไทยเบฟจึงมุ่งเน้นการปฏิบัติตาม
หลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี โดยมีการวางแผนจัดการบริหารความเสี่ยงอย่างเหมาะสมตามแนวทางการ
พัฒนาที่ยั่งยืน
การกำกับดูแลกิจการที่ดีเป็นแนวทางการบริหารองค์กร ซึ่งเป็นที่ยอมรับในระดับสากล ซึ่งสอดคล้ อง
กับจรรยาบรรณเครือไทยเบฟ เป็นระบบบริหารจัดการที่ก่อให้เกิดความเป็นธรรมโปร่งใส สามารถสร้างความ
เชื่อมั่นต่อผู้ถือหุ้น ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกฝ่าย อีกทั้งยังส่งเสริมให้ไทยเบฟดำเนินธุรกิจให้เจริญเติบโตได้อย่าง
ยั่งยืน

การกำกับดูแลกิจการที่ดีขององค์กร
ไทยเบฟตั้งใจและมุ่งมั่นในการกำกับดูแลกิจการตามหลัก บรรษัทภิบาลที่ดี ควบคู่กับการดำเนินงาน
ด้วยระบบการบริหาร ที่มีประสิทธิภาพ มีความโปร่งใส และตรวจสอบได้ กล่าวคือ ไม่เพียงแต่ประกอบธุรกิจ
ภายใต้กฎหมายและกฎระเบียบเท่านั้น แต่ยังมีเป้าหมายในการเป็นแบบอย่างที่ดีในการดำเนินธุรกิจอย่างเป็น
มืออาชีพ คือ ดำเนินธุรกิจด้วยความโปร่งใส และ การดำเนินธุรกิจด้วยหลักบรรษัทภิบาล เพื่อสร้างความ
เชื่อมั่น ให้แก่ผู้ถือหุ้น นักลงทุน พนักงาน ลูกค้า และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกฝ่าย
25

นอกจากนี้ ไทยเบฟได้รายงานการกำกับดูแลกิจการที่ดีไว้ในรายงานประจำปี 2561 ซึ่งอธิบายถึง


โครงสร้างและกระบวนการในการเปิดเผยข้อมูลบรรษัทภิบาล ในรายงานประจำปีดังกล่าวยังได้เปิดเผยข้อมูล
ผลประกอบการ แสดงแนวทางในการพัฒนาเพื่อให้เกิดความยั่งยืนในองค์กรระหว่างคณะกรรมการ
ฝ่ายจัดการ และผู้ถือหุ้นของบริษัท เพื่อสร้างความสามารถ ในการแข่งขัน รวมทั้งให้ความสำคัญในการมุ่งมั่น
สนับสนุน และพัฒนาศักยภาพทางธุรกิจให้แก่ลูกค้า เพื่อสร้างความเจริญเติบโตอย่างมั่นคงและยั่งยืน และเพื่อ
เพิ่มมูลค่าให้กับผู้ถือหุ้น ในระยะยาว โดยคำนึงถึงผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งภายใน และภายนอกองค์กร ไทยเบฟมี
แผนการจัดอบรมให้ความรู้ทางด้านกฎหมายและหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับตลาดหลักทรัพย์สิงคโปร์ โดยทุกปี
ส่วนงานกำกับดูแล สำนักเลขานุการบริษัท จะจัดให้ความรู้แก่กรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานจากส่วนงาน
ที่เกี่ยวข้องในกลุ่มบริษัทไทยเบฟ และเมื่อมีการแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายและหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้อง ก็จะแจ้งให้
ทราบในที่ประชุมคณะกรรมการบริษัท ที่ประชุมคณะกรรมการบริหาร หรือผ่านทางจดหมายอิเล็กทรอนิกส์
(อีเมล) แล้วแต่กรณี
นอกจากนี้ ไทยเบฟได้ประกาศใช้นโยบายการรับข้อร้องเรียน เพื่อเน้นย้ำถึงการให้ความสำคัญกับการ
รับฟังข้อร้องเรียน จากกรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานของไทยเบฟ ทั้งนี้ ปี 2561 ไม่พบรายการขัดแย้งที่มี
นัยสำคัญและไม่พบข้อร้องเรียน ด้านจริยธรรมที่มีนัยสำคัญ
26

บรรณานุกรม

https://sustainability.thaibev.com/2021/th/cyber_security.php?fbclid= เทคโนโลยี
สารสนเทศในองค์กร
https://www.thaibev.com/th08/aboutus.aspx?sublv1gID=132 ประวัติองค์กร
https://www.thaibev.com/th08/aboutus.aspx?sublv1gID=182 โครงสร้างองค์กร
https://www.thaibev.com/th08/aboutus.aspx?sublv1gID=36 รูปแบบการทำธุรกิจ
https://sustainability.thaibev.com/2018/th/customer_relationship_management.php
supply chain relationship management
https://sustainability.thaibev.com/th/2019_packaging_materials.php material
management
https://www.thaibev.com/en08/detailnews.aspx?ngID=827 Transportation
management
https://mgronline.com/business/detail/9580000100463 ความหมายSAP ERP
https://www.dailytech.in.th/what-is-sap/
https://www.bangkokbiznews.com/business/489806 Warehouse management
https://sustainability.thaibev.com/2021/th/value_chain.php Information
Technology system for logistics and supply chain management

You might also like