You are on page 1of 180

การเพิม่ ประสิ ทธิภาพการบริหารงาน

กรณีศึกษา : โรงงานนา้ ดื่มวอเตอร์ จังหวัดขอนแก่น


INCREASE EFFICIENCY OF MANAGEMENT
: A CASE STUDY OF WATER DRINKING FACTORY KHON KAEN

กิตติจุฑา แววประทีป
นงพงา ผุยน้ อย
พรนุมาศ วะโรหะ

รายงานสั มมนาการจัดการ หลักสู ตรบริหารธุรกิจบัณฑิต


คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
พ.ศ. 2551
7

การเพิม่ ประสิ ทธิภาพการบริหารงาน


กรณีศึกษา : โรงงานนา้ ดื่มวอเตอร์ จังหวัดขอนแก่น
INCREASE EFFICIENCY OF MANAGEMENT
: A CASE STUDY OF WATER DRINKING FACTORY KHON KAEN

นางสาวกิตติจุฑา แววประทีป
นางสาวนงพงา ผุยน้ อย
นายพรนุมาศ วะโรหะ

รายงานนีเ้ ป็ นส่ วนหนึ่งของรายวิชา 961 493 สั มมนาการจัดการ


หลักสู ตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาการจัดการ
คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
พ.ศ. 2551
8

ใบรับรองรายงานสั มมนาการจัดการ
คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
หลักสู ตร บริหารธุรกิจบัณฑิต
สาขาวิชาการจัดการ

ชื่อโครงการ : การเพิ่มประสิ ทธิภาพการบริ หารงาน


กรณี ศึกษา :โรงงานนํ้าดื่มวอเตอร์ จังหวัดขอนแก่น

ชื่อผู้จดั ทาโครง : นางสาวกิตติจุฑา แววประทีป รหัสประจําตัว 483210820-6


นางสาวนงพงา ผุยน้อย รหัสประจําตัว 483210850-7
นายพรนุมาศ วะโรหะ รหัสประจําตัว 483210860-4

คณะกรรมการสอบประเมินโครงการ
ผูช้ ่วยศาสตราจารย์อารี ย ์ นัยพินิจ
อาจารย์ภทั รขวัญ พิลางาม
อาจารย์สุกานดา ฟองย้อย
อาจารย์ภทั รวดี เพิ่มวนิชกุล
ผูช้ ่วยศาสตราจารย์ ดร.นวลฉวี แสงชัย

อาจารย์ ทปี่ รึกษารายงานการค้ นคว้ าอิสระ

..............................................................อาจารย์ที่ปรึ กษา
(ผูช้ ่วยศาสตราจารย์อารี ย ์ นัยพินิจ)
...............................................................ที่ปรึ กษาองค์กร

(นางสาวคนึงนิจ กลิ่นขจร)
9

ชื่อโครงการ การเพิ่มประสิ ทธิภาพการบริ หารงาน กรณี ศึกษาโรงงานนํ้าดื่มวอเตอร์ จังหวัดขอนแก่น


ชื่อผู้จดั ทา นางสาวกิตติจุฑา แววประทีป
นางสาวนงพงา ผุยน้อย
นายพรนุมาศ วะโรหะ
สาขา การจัดการ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ปี การศึกษา 2551
อาจารย์ ทปี่ รึกษาโครงการ ผูช้ ่วยศาสตราจารย์อารี ย ์ นัยพินิจ

บทคัดย่อ

กรณี ศึกษานี้เป็ นการศึกษาการเพิ่มประสิ ทธิภาพการบริ หารงานของโรงงานนํ้าดื่มวอเตอร์


จังหวัดขอนแก่น เครื่ องมือที่ใช้ในการศึกษาหาปั ญหา ได้แก่ บทสัมภาษณ์ผปู ้ ระกอบการ แบบสอบถามลูกค้า
แบบสอบถามพนักงาน และการสังเกตการณ์พร้อมทั้งบันทึกแบบตรวจสอบรายการ จากวิธีการศึกษาปั ญหา
ดังกล่าวผูจ้ ดั ทําได้นาํ เครื่ องมือทางการจัดการมาใช้แก้ไขปั ญหาในครั้งนี้ ซึ่งปั ญหาที่พบในโรงงานนํ้าดื่ม วอเตอร์
จังหวัดขอนแก่น ได้แก่ปัญหาในด้านการจัดการ ด้านบุคลากรและด้านการตลาด
ปั ญหาด้านการจัดการพบว่า มีวางสิ่ งของไม่เป็ นระเบียบ ไม่เป็ นหมวดหมู่ มีน้ าํ ขัง นํ้านองบริ เวณพื้น
การแต่งกายพนักงานไม่รัดกุม มีเศษขยะอยูร่ อบบริ เวณโรงงาน ไม่มีการตรวจเช็คเครื่ องมือ เครื่ องจักรอย่าง
สมํ่าเสมอ ทําให้โรงงานมีสภาพแวดล้อมที่ไม่ตรงตามมาตรฐาน GMP ปั ญหาดังกล่าวผูจ้ ดั ทําได้จดั กิจกรรม 5ส
เพื่อใช้ในการแก้ปัญหา
ปั ญหาด้าน บุคลากรพบว่า พนักงานเกิดการทํางานที่ซ้ าํ ซ้อนกัน เนื่องจาก ไม่มีการกําหนดขอบเขต
ในการทํางาน จึงได้จดั ทําการวิเคราะห์งาน กําหนด Job Description และ Job Specifications เพื่อให้พนักงาน
ทราบภาระงานที่ชดั เจน และปั ญหา พนักงานขาดระเบียบวินยั ในการปฏิบตั ิงาน ซึ่งโรงงานไม่มีการกําหนด
ระเบียบวินยั และบทลงโทษไว้เป็ นลายลักษณ์อกั ษร จึงได้กาํ หนดกฎระเบียบและบทลงโทษเพื่อใช้ในการชี้แจง
ให้พนักงานทราบ และปั ญหาพนักงานขาดแรงจูงใจในการปฏิบตั ิงาน เนื่องจากทางโรงงานไม่มีค่าตอบแทนอื่นๆ
ที่นอกเหนือจากเงินเดือน จึงได้กาํ หนดเงินพิเศษและสวัสดิการให้แก่พนักงาน
ปั ญหาด้านการตลาดพบว่า โรงงานนํ้าดื่มวอเตอร์ จังหวัดขอนแก่นยังขาดการส่งเสริ มการขาย ทําให้
ผูบ้ ริ โภคไม่ทราบถึง กิจกรรมส่งเสริ มการขาย ผู ้ จัดทําได้จดั ทํากิจกรรมส่งเสริ มการขายขึ้น นัน่ คือโปรแกรม
จูงใจลูกค้า และโปรแกรมคุม้ ค่าเมื่อซื้อ เพื่อเป็ นการจูงใจและกระตุน้ ให้เกิดการซื้อที่เพิ่มมากขึ้น
การดําเนินการแก้ไขปั ญหาให้แก่โรงงานนํ้าดื่มวอเตอร์ จังหวัดขอนแก่น ผูจ้ ดั ทําได้รับความร่ วมมือ
จากผูป้ ระกอบการในการให้ขอ้ มูลและอํานวยความสะดวกในการเข้าไปดําเนินงาน ผลการดําเนินงาน
ตลอดระยะเวลา 3 เดือนพบว่า ยอดขาย รวมในไตรมาสแรกของ พ.ศ. 2552 เพิม่ ขึ้นคิดเป็ นร้อยละ 18.63
ซึ่งบรรลุเป้ าหมายตามที่ได้กาํ หนดไว้
10

กิตติกรรมประกาศ
รายงานการศึกษาฉบับนี้สาํ เร็ จลุล่วงไปได้ดว้ ยดี เนื่องจากกลุ่มผูศ้ ึกษาได้รับความกรุ ณาจากอาจารย์ที่
ปรึ กษาผูช้ ่วยศาสตราจารย์อารี ย ์ นัยพินิจ และอาจารย์ที่ปรึ กษาร่ วมอาจารย์ภทั รขวัญ พิลางาม อาจารย์สุกานดา
ฟองย้อย อาจารย์ภทั รวดี เพิ่มวนิชยกุล และผูช้ ่วยศาสตราจารย์ ดร.นวลฉวี แสงชัย ที่ให้ความอนุเคราะห์ในการให้
คําปรึ กษาและคําแนะนําที่มีคุณค่าต่อการศึกษา ตลอดจนแก้ไข้ปรับปรุ งข้อบกพร่ องต่างๆ จนทําให้รายงาน
การศึกษาฉบับนี้สมบูรณ์เป็ นอย่างดี ผูศ้ ึกษาจึงขอขอบพระคุณเป็ นอย่างสูง
ขอขอบพระคุณเจ้าของกิจการที่เกี่ยวข้อง และผูต้ อบแบบสอบถามที่ให้ความร่ วมมือในการให้ขอ้ มูลที่
เป็ นประโยชน์และให้ความกระจ่างในด้านต่างๆ
ขอขอบพระคุณเป็ นอย่างสูงสําหรับบิดา มารดา และครอบครัวที่คอยเป็ นกําลังใจในการศึกษา และทํา
ให้การทํารายงานการศึกษาในครั้งนี้สาํ เร็ จลุล่วงไปด้วยดี
ท้ายที่สุดผูศ้ ึกษาขอขอบคุณเพื่อนๆ นักศึกษาคณะวิทยาการจัดการ สาขาการจัดการ ชั้นปี ที่ 4 ทุกคน ที่
ได้ให้ความช่วยเหลือในการจัดทํารายงานการศึกษาฉบับนี้มาโดยตลอด

นางสาวกิตติจุฑา แววประทีป
นางสาวนงพงา ผุยน้อย
นายพรนุมาศ วะโรหะ
11

สารบัญ

หน้ า
บทคัดย่อภาษาไทย ก
กิตติกรรมประกาศ ข
สารบัญตาราง จ
สารบัญภาพ ช
บทที่ 1 บทนํา 1
ความเป็ นมาและความสําคัญของปั ญหา 1
วัตถุประสงค์ 2
ขอบเขตของการวิจยั 2
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ 3
นิยามศัพท์เฉพาะ 3
กรอบแนวคิด 4
บทที่ 2 แนวคิดและผลงานวิจยั ที่เกี่ยวข้อง 6
ประวัติและความเป็ นมาของโรงงานนํ้าดื่มวอเตอร์ จังหวัดขอนแก่น 6
แนวคิดการจัดการเชิงกลยุทธ์ 11
แนวคิดการออกแบบโครงสร้างองค์กร 18
แนวคิดการวิเคราะห์งาน 19
แนวคิด การบริ หารทรัพยากรบุคคล 22
แนวคิดการบริ การ 31
แนวคิดความพึงพอใจ 31
แนวคิดแรงจูงใจ 33
แนวคิดการวิเคราะห์การแข่งขันในธุรกิจโดยใช้ Five Forces Model 35
แนวคิดส่วนผสมทางการตลาด 35
แนวคิดกิจกรรม 5 ส 38
แนวคิดการรักษาระเบียบวินยั ในการทํางาน 41
ผลงานวิจยั ที่เกี่ยวข้อง 42
บทที่ 3 ระเบียบวิธีวจิ ยั 50
ประชากร 50
กลุ่มตัวอย่าง 50
พื้นที่ที่ทาํ การวิจยั 51
การเก็บข้อมูล 51
ขอบเขตเนื้อหาที่วจิ ยั 51
12

สารบัญ (ต่ อ)
หน้ า
บทที่ 3 เครื่ องมือในการเก็บข้อมูล 52
การวิเคราะห์และการแปรผลข้อมูล 52
บทที่ 4 การดําเนินงาน 54
การวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรค (SWOT analysis) 55
การวิเคราะห์อิทธิพลของการแข่งขัน 5 ประการ (Five force model) 56
การวิเคราะห์ส่วนประสมทางการตลาด (4P’s) 60
แบบสอบถามทัศนคติของพนักงานที่มีต่อโรงงานนํ้าดื่มวอเตอร์ จังหวัดขอนแก่น 59
แบบสอบถามปั จจัยที่ใช้ในการตัดสิ นใจซื้อนํ้าดื่มของผูบ้ ริ โภคในเขตอําเภอเมืองจังหวัดขอนแก่น 66
แบบตรวจสอบรายการ (Check Sheet) 69
การจัดการเชิงกลยุทธ์ 71
กิจกรรม 5 ส 73
กําหนดโครงสร้างองค์กรและตําแหน่งงาน 80
กําหนดกฎระเบียบพนักงาน 87
กําหนดเงินพิเศษและสวัสดิการพนักงาน 88
กลยุทธ์การส่งเสริ มการขาย 90
แผนระยะยาว 96
บทที่ 5 สรุ ปผลการวิจยั และข้อเสนอแนะ 97
ปั ญหาที่พบในการปฏิบตั ิงาน 98
ข้อเสนอแนะในการทําวิจยั ครั้งต่อไป 98
บรรณานุกรม 99
ภาคผนวก 100
ภาคผนวก ก แบบสอบถาม 101
ภาคผนวก ข GMP หลักเกณฑ์วธิ ีการที่ดีสาํ หรับการผลิต 106
ภาคผนวก ค มาตรฐานและกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมนํ้าบริ โภค 123
ในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท
ภาคผนวก ง รายชื่อผูผ้ ลิตนํ้าดื่มในเขตอําเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น 156
ภาคผนวก จ บทสัมภาษณ์ผปู ้ ระกอบการ 162
ภาคผนวก ฉ ภาพกิจกรรม 5ส 165
ประวัติผเู ้ ขียน 170
13

สารบัญตาราง

หน้ า
ตารางที่ 2.1 เปรี ยบเทียบข้อดีและข้อเสี ยของการสรรหาคนงานจากแหล่งภายในและภายนอกหน่วยงาน 24
ตารางที่ 4.1 เปรี ยบเทียบนํ้าดื่มวอเตอร์กบั คู่แข่งขันรายอื่น ด้านผลิตภัณฑ์ 56
ตารางที่ 4.2 เปรี ยบเทียบนํ้าดื่มวอเตอร์กบั คู่แข่งขันรายอื่น ด้านราคา 57
ตารางที่ 4.3 เปรี ยบเทียบนํ้าดื่มวอเตอร์กบั คู่แข่งขันรายอื่น ด้านช่องทางการจัดจําหน่าย 58
ตารางที่ 4.4 เปรี ยบเทียบนํ้าดื่มวอเตอร์กบั คู่แข่งขันรายอื่น ด้านการส่งเสริ มการขาย 58
ตารางที่ 4.5 ยอดขายและส่วนแบ่งตลาดของนํ้าดื่มในจังหวัดขอนแก่น ปี 2551 59
ตารางที่ 4.6 ข้อมูลทัว่ ไปของพนักงาน 62
ตารางที่ 4.7 ทัศนคติของพนักงานที่มีต่อโรงงานนํ้าดื่มวอเตอร์ จังหวัดขอนแก่น ด้านสถานที่ปฎิบตั ิงาน 63
ตารางที่ 4.8 ทัศนคติของพนักงานที่มีต่อโรงงานนํ้าดื่มวอเตอร์ จังหวัดขอนแก่น ด้านสวัสดิการ 64
ตารางที่ 4.9 ทัศนคติของพนักงานที่มีต่อโรงงานนํ้าดื่มวอเตอร์ จังหวัดขอนแก่น ด้านบุคลากร 65
ตารางที่ 4.10 ข้อมูลทัว่ ไปของลูกค้า 66
ตารางที่ 4.11 ปั จจัยที่ใช้ในการตัดสิ นใจซื้อนํ้าดื่มของผูบ้ ริ โภคในเทศบาลเมืองจังหวัดขอนแก่น 67
ด้านผลิตภัณฑ์
ตารางที่ 4.12 ปั จจัยที่ใช้ในการตัดสิ นใจซื้อนํ้าดื่มของผูบ้ ริ โภคในเขตเทศบาลเมืองจังหวัดขอนแก่น 67
ด้านราคา
ตารางที่ 4.13 ปั จจัยที่ใช้ในการตัดสิ นใจซื้อนํ้าดื่มของผูบ้ ริ โภคในเขตเทศบาลเมืองจังหวัดขอนแก่น 68
ด้านการจัดจําหน่าย
ตารางที่ 4.14 ปั จจัยที่ใช้ในการตัดสิ นใจซื้อนํ้าดื่มของผูบ้ ริ โภคในเขตเทศบาลเมืองจังหวัดขอนแก่น 68
ด้านการส่งเสริ มการตลาด
ตารางที่ 4.15 แบบตรวจสอบรายการ 69
ตารางที่ 4.16 สภาพแวดล้อมภายในโรงงานเปรี ยบเทียบกับข้อกําหนด GMP ของนํ้าบริ โภค 72
ตารางที่ 4.17 ผูร้ ับผิดชอบกิจกรรม 5ส ของโรงงานนํ้าดื่มวอเตอร์ จังหวัดขอนแก่น 74
ตารางที่ 4.18 แบบประเมินกิจกรรมสะสาง โรงงานนํ้าดื่มวอเตอร์ จังหวัดขอนแก่น 76
ตารางที่ 4.19 แบบประเมินกิจกรรมสะดวก โรงงานนํ้าดื่มวอเตอร์ จังหวัดขอนแก่น 77
ตารางที่ 4.20 แบบประเมินกิจกรรมสะอาด โรงงานนํ้าดื่มวอเตอร์ จังหวัดขอนแก่น 77
ตารางที่ 4.21 แบบประเมินกิจกรรมสุขลักษณะ โรงงานนํ้าดื่มวอเตอร์ จังหวัดขอนแก่น 78
ตารางที่ 4.22 แบบประเมินกิจกรรมสร้างนิสยั โรงงานนํ้าดื่มวอเตอร์ จังหวัดขอนแก่น 79
ตารางที่ 4.23 คําบรรยายลักษณะงาน 82
ตารางที่ 4.24 เกณฑ์การกําหนดเงินเดือนพนักงาน 87
ตารางที่ 4.25 กฎระเบียบและความคิดเห็นของพนักงาน 87
14

สารบัญตาราง (ต่ อ)

หน้ า
ตารางที่ 4.26 ยอดขายกับเงินพิเศษ 89
ตารางที่ 4.27 สวัสดิการพนักงาน 89
ตารางที่ 4.28 โปรแกรมจูงใจลูกค้านํ้าดื่มชนิดแกลลอน20 ลิตร 90
ตารางที่ 4.29 โปรแกรมจูงใจลูกค้านํ้าดื่มชนิดขวดขาวขุ่น 800ซม.3 90
ตารางที่ 4.30 โปรแกรมคุม้ ค่าเมื่อซื้อนํ้าดื่มชนิดขวดขาวขุ่น 800ซม.3 91
ตารางที่ 4.31 เปรี ยบเทียบยอดขายนํ้าดื่มของปี พ.ศ. 2551และ พ.ศ. 2552 93
ตารางที่ 4.32 รายรับ-รายจ่าย ประจําเดือนมกราคม 2552 94
ตารางที่ 4.33 รายรับ-รายจ่าย ประจําเดือนกุมภาพันธ์ 2552 95
ตารางที่ 4.34 รายรับ-รายจ่าย ประจําเดือนมีนาคม 2552 95
15

สารบัญภาพ

หน้ า
ภาพที่ 1.1 กรอบแนวคิดในการศึกษา 5
ภาพที่ 2.1 เครื่ องผลิตคลอรี นไดออกไซด์ 7
ภาพที่ 2.2 เครื่ องผลิตโอโซน 7
ภาพที่ 2.3 ก.นํ้าดื่มบรรจุแกลลอน 20 ลิตร 8
ข .นํ้าดื่มบรรจุขวดขาวขุ่น 800 ซม.3 8
ภาพที่ 2.4 กระบวนการผลิตนํ้าดื่มของโรงงานนํ้าดื่มวอเตอร์ จังหวัดขอนแก่น 9
ภาพที่ 2.5 การจําหน่ายนํ้าดื่มวอเตอร์ 10
ภาพที่ 2.6 การวิเคราะห์งาน 20
ภาพที่ 2.7 กระบวนการคัดเลือกทรัพยากรบุคคล 25
ภาพที่ 2.8 ผลกระทบจากแรงกดดัน 5 ประการของ Michael E. porter 36
ภาพที่ 2.9 ส่วนผสมทางการตลาด 38
ภาพที่ 4.1 ส่วนแบ่งตลาดของนํ้าดื่มในจังหวัดขอนแก่น ปี 2551 59
ภาพที่ 4.2 การจัดจําหน่ายผ่านพ่อค้าคนกลาง 61
ภาพที่ 4.3 การจัดจําหน่ายให้แก่ลูกค้าโดยตรง 61
ภาพที่ 4.4 แผนภูมิพาเรโต 70
ภาพที่ 4.5 โครงสร้างองค์กรโรงงานนํ้าดื่มวอเตอร์ จังหวัดขอนแก่น 81
ภาพที่ 4.6 ใบแจ้งรายการและราคาขายนํ้าดื่ม 92
ภาพที่ 4.7 แผนภูมิยอดขายนํ้าดื่มวอเตอร์ 94
16

บทที่ 1
บทนา

1. ความเป็ นมาและความสาคัญของปัญหา
โรงงานนํ้าดื่ม วอเตอร์ จังหวัดขอนแก่น เป็ นธุรกิจประเภทผลิตและจําหน่ายนํ้าดื่ม ตั้งอยูเ่ ลขที่ 227/51
ถนนหลังศูนย์ราชการ อําเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น 40000 ปั จจุบนั มีพนักงานทั้งหมด 21 คน มีหน้าที่รับผิดชอบ
5 ฝ่ าย คือ ฝ่ ายล้างทําความสะอาด 2 คน ฝ่ ายบรรจุ 3 คน ฝ่ ายขาย 15 คน ฝ่ ายบัญชี/การเงิน 1 คน และมีหน่วย
รถขาย 9 คัน ขนส่งนํ้าดื่มจําหน่ายตามพื้นที่ในเขตอําเภอเมืองจังหวัดขอนแก่น เพื่อจําหน่ายนํ้าดื่มให้กบั หอพัก
บ้านพักอาศัย ร้านค้า ร้านอาหาร สถานที่ราชการ และธนาคาร การจัดจําหน่ายนํ้าดื่มผ่านหน่วยรถขายเป็ นการเพิ่ม
การบริ การให้กบั ลูกค้า ร้านค้าสามารถสัง่ ซื้อนํ้าดื่มผ่านหน่วยรถขายและรับนํ้าดื่มได้ทนั ที
ปั จจุบนั โรงงานผลิตนํ้าดื่มในจังหวัดขอนแก่นมี เป็ น จํานวนมาก ทําให้น้ าํ ดื่มวอเตอร์ มีคู่แข่งขัน
ทางธุรกิจเกิดขึ้น ดังนั้นจึงมีความจําเป็ นอย่างยิง่ ที่ผปู ้ ระกอบการจะต้อง มีการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในและ
ภายนอกของโรงงาน เพื่อหาจุดแข็งและใช้ประโยชน์จากโอกาสที่มีอยู่ หรื อหาจุดอ่อนและหลีกเลี่ยงจากอุปสรรค
ที่จะเป็ นผลเสี ยต่อกิจการ ซึ่งนับเป็ น กลยุทธ์ในการบริ หาร เพื่อ ให้ทนั ต่อสภาวะของการแข่งขันที่เกิดขึ้น
การกําหนดทิศทางขององค์กร จึง เป็ นแนวทางหนึ่งที่จะช่วยให้ผปู ้ ระกอบการสามารถวางแผนการดําเนินงาน
ของกิจการให้เกิดประสิ ทธิภาพและเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันระหว่างธุรกิจเดียวกันได้ การดําเนิน
กิจการใดๆก็ตาม เมื่อมีปัญหาเกิดขึ้น การรู ้ถึงปั ญหาที่แท้จริ งจะทําให้ผปู ้ ระกอบการสามารถหาวิธีใน
การแก้ปัญหาได้ถูกต้องและทันท่วงที ซึ่งจะทําให้การดําเนินกิจการเป็ นไปอย่างมีประสิ ทธิภาพและลดผลกระทบ
ที่จะเกิดขึ้นต่อกิจการ เช่นเดียวกับโรงงานนํ้าดื่มวอเตอร์ จังหวัดขอนแก่น ที่มีปัญหาด้านต่างๆเกิดขึ้น
ภายในโรงงานทั้งด้านการจัดการ ด้านบุคลากร และด้านการตลาด ได้แก่
ปั ญหาด้านการจัดการ พบว่ามีการวางสิ่ งของไม่เป็ นระเบียบ ไม่เป็ นหมวดหมู่ มีน้ าํ ขัง นํ้านองบริ เวณพื้น
การแต่งกายพนักงานไม่รัดกุม มีเศษขยะอยูร่ อบบริ เวณโรงงาน ไม่มีการตรวจเช็คเครื่ องเครื่ องจักร
อย่างสมํ่าเสมอ ส่งผลให้โรงงานนํ้าดื่มวอเตอร์ จังหวัดขอนแก่นไม่ได้ตามมาตรฐาน GMP ปั ญหาดังกล่าวสามารถ
ใช้กิจกรรม 5ส มาใช้เป็ นมาตรฐานการปฏิบตั ิภายในโรงงาน การทํากิจกรรม 5ส เหมือนเป็ นเรื่ องง่าย เมื่อ
ต้องนํามาปฏิบตั ิแล้วกลับเป็ นเรื่ องยาก เพราะพนักงานส่วนใหญ่ไม่เข้าใจและให้การยอมรับ และการดําเนิน
กิจกรรม 5ส ยังไม่มีมาตรฐานที่แน่นอน ผูป้ ระกอบการไม่มีการกําหนดเกณฑ์การประเมินที่เหมาะสม ดังนั้นเมื่อ
มีการเข้าไปดําเนินการในด้านกิจกรรม 5ส อย่างจริ งจังทําให้สามารถกําหนดมาตรฐานที่แน่นอนให้แก่โรงงาน
เพื่อนําไปใช้เป็ นมาตรฐานในการปฏิบตั ิต่อไป พร้อมทั้งกําหนดเกณฑ์การประเมินกิจกรรม 5ส หลังจาก
การดําเนินกิจกรรมเสร็ จสิ้น เพื่อให้ผปู ้ ระกอบการใช้ประเมินกิจกรรม 5ส ในโรงงานของตนเอง
ปั ญหาด้านบุคลากร เกิดการทํางานที่ซ้ าํ ซ้อนกันของพนักงาน เนื่องจากโรงงานไม่มีการกําหนดขอบเขต
ในการทํางานที่ชดั เจน ซึ่งการกําหนดขอบเขตงาน ที่ เป็ นสิ่ งสําคัญในการแบ่ง พนักงาน ออกเป็ น ฝ่ ายตาม
ภาระหน้าที่อย่างชัดเจน หรื อเรี ยกว่า "put the right man in the right job" ทําให้พนักงานที่มีหน้าที่ งานประเภท
เดียวกัน ได้ทราบสายการบังคับบัญชาว่าตนเองอยูภ่ ายใต้การ รับผิดชอบของฝ่ ายใด สามารถปฏิบตั ิงานร่ วมกัน
ได้อย่างมีประสิ ทธิภาพ รวมถึงการกําหนดคําบรรยายลักษณะงานและคุณสมบัติเฉพาะของตําแหน่งงาน เพื่อให้
17

พนักงานทราบความรับผิดชอบของตนเอง ไม่เกิดการทํางานที่ซ้ าํ ซ้อนกัน มีความชัดเจนในการปฏิบตั ิงานเพิ่มขึ้น


พนักงานขาดระเบียบวินยั เนื่องจากโรงงานนํ้าดื่มวอเตอร์ ไม่มีการกําหนดกฎระเบียบพนักงาน ทําให้
พนักงานไม่ทราบถึงข้อปฏิบตั ิของทางโรงงาน การกําหนดกฎระเบียบขึ้นมาเป็ นลายลักษณ์อกั ษรจึงเป็ นเครื่ องมือ
สําคัญในการสร้างความเป็ นระเบียบภายในโรงงานและในการปฏิบตั ิงานของพนักงาน เมื่อมีการกําหนด
กฎระเบียบขึ้นมา จึงควรมีการกําหนดบทลงโทษควบคู่กนั ไปด้วยเพื่อป้ องกันการฝ่ าฝื นและไม่ปฏิบตั ิตามกฎ
พนักงาน ขาดแรงจูงใจในการทํางาน เนื่องจากทางโรงงานไม่มีค่าตอบแทนอื่นๆที่นอกเหนือจาก
เงินเดือ น ทําให้ไม่มีสิ่งกระตุน้ ที่จะปฏิบตั ิหน้าที่อย่างเต็มความสามารถ ค่าตอบแทนพิเศษนี้นบั เป็ นสิ่ ง ที่สาํ คัญ
ในการจูงใจให้พนักงานปฏิบตั ิงาน ตามที่มุ่งหวังและอยูก่ บั โรงงาน ต่อไป โดยไม่ยา้ ยงาน หรื อลาออก การ
ให้ค่าตอบแทนแก่พนักงานอย่างเหมาะสม มีท้ งั ค่าตอบแทนที่เป็ นตัวเงินโดยตรง เช่น เงินเดือน เงินพิเศษ เป็ นต้น
ค่าตอบแทนที่เป็ นตัวเงินทางอ้อม เช่น การประกันสังคม การประกันชีวติ และอุบตั ิเหตุ เป็ นต้น และค่าตอบแทน
ที่ไม่เป็ นตัวเงิน เช่น การให้วนั หยุด การลากิจ การลาป่ วย การให้เครื่ องดื่มหรื ออาหารเป็ นต้น
ปั ญหาด้านการตลาดพบว่าโรงงานนํ้าดื่มวอเตอร์ ขาดการส่งเสริ มการขาย ทําให้ผบู ้ ริ โภคไม่ทราบ
ถึง กิจกรรมส่งเสริ มการขาย ซึ่งจะ เป็ นสิ่ งที่ช่วยสร้างความแตกต่างให้กบั คู่แข่งขันในตลาดนํ้าดื่ม และเป็ น
ส่วนสําคัญในการเพิ่มยอดขายให้แก่กิจการ ก่อนจัดทําการส่งเสริ มการขาย ควรมีการศึกษาข้อมูลต่างๆเพื่อ
ให้ทราบถึง ความเคลื่อนไหว ของตลาดนํ้าดื่ม ในจังหวัดขอนแก่น และรู ้ถึงแนวทางในการดําเนินธุรกิจเพื่อ
ให้สามารถแข่งขันกับผูผ้ ลิตนํ้าดื่มรายอื่นๆ ได้

2. วัตถุประสงค์
1. เพื่อรักษามาตรฐาน GMP ของโรงงานนํ้าดื่มวอเตอร์ จังหวัดขอนแก่น
2. เพื่อ ศึกษาลักษณะงาน บทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบของพนักงาน โรงงานนํ้าดื่มวอเตอร์
จังหวัดขอนแก่น
3. เพื่อศึกษาการบริ หารค่าตอบแทนของพนักงานโรงงานนํ้าดื่มวอเตอร์ จังหวัดขอนแก่น
4. เพื่อศึกษากลยุทธ์การส่งเสริ มการขายของโรงงานนํ้าดื่มวอเตอร์ จังหวัดขอนแก่น

3. ขอบเขตของการศึกษา
ขอบเขตการศึกษาในครั้งนี้ ผูจ้ ดั ทําได้ทาํ การศึกษาในเขตเทศบาลเมืองจังหวัดขอนแก่น
1. ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง คือ ประชากรในเขตเทศบาลเมืองจังหวัดขอนแก่น และพนักงานโรงงาน
นํ้าดื่มวอเตอร์ จังหวัดขอนแก่น
2. ระยะเวลาในการศึกษาและดําเนินการ เดือนมกราคมถึงเดือนมีนาคม 2552
18

4. ประโยชน์ ทคี่ าดว่าจะได้ รับ


1. โรงงานนํ้าดื่มวอเตอร์ จังหวัดขอนแก่นสามารถรักษามาตรฐาน GMP ได้อย่างต่อเนื่อง
2. สามารถจัดทําคู่มือให้แก่พนักงานโรงงานนํ้าดื่มวอเตอร์ จังหวัดขอนแก่น
3. สามารถกําหนดค่าตอบแทนให้แก่พนักงานโรงงานนํ้าดื่มวอเตอร์ จังหวัดขอนแก่น
4. สามารถกําหนดกลยุทธ์ดา้ นการส่งเสริ มการขายให้แก่โรงงานนํ้าดื่มวอเตอร์ จังหวัดขอนแก่น

5. นิยามศัพท์เฉพาะ
1. ประสิ ทธิภาพ หมายถึง การใช้ ทรัพยากรในการดําเนินการใดๆ ก็ตามโดยมีสิ่งมุ่งหวังถึงผลสําเร็ จ
และผลสําเร็ จนั้นได้มาโดยการใช้ทรัพยากรน้อยที่สุด และการดําเนินการเป็ นไปอย่างประหยัด ไม่วา่ จะเป็ น
ระยะเวลา ทรัพยากร แรงงาน รวมทั้งสิ่ งต่างๆ ที่ตอ้ งใช้ในการดําเนินการนั้นๆ ให้เป็ นผลสําเร็ จ และถูกต้อง
2. การจัดการเชิงกลยุทธ์ คือ การกําหนดทิศทางขององค์กรในอนาคตไว้ ซึ่งต้องอาศัยการวางแผนอย่าง
เป็ นขั้นตอนและการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอกเพื่อหาโอกาสและอุปสรรคที่จะมีผลกระทบต่อองค์กร และ
วิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในเพื่อหาจุดแข็งและจุดอ่อนในองค์กรสําหรับกําหนดตําแหน่งทางการแข่งขันของ
องค์กร แล้วกําหนดกลยุทธ์เพื่อให้สามารถนําไปดําเนินการเพื่อให้บรรลุทิศทางตามที่ได้กาํ หนดไว้
3. กลยุทธ์ หมายถึง วิธีการหรื อแผนการคิดที่คิดขึ้นอย่างรอบคอบ มีลกั ษณะเป็ นขั้นเป็ นตอน มีความ
ยืดหยุน่ พลิกแพลงได้ตามสถานการณ์
4. วิสยั ทัศน์ คือ ภาพในอนาคตขององค์กรที่ผนู ้ าํ และสมาชิกทุกคนร่ วมกันวาดฝัน หรื อจินตนาการขึ้น
โดยมีพ้นื ฐานอยูบ่ นความเป็ นจริ งในปั จจุบนั เชื่อมโยงวัตถุประสงค์ ภารกิจ ค่านิยม และความเชื่อเข้าด้วยกัน
พรรณนาให้เห็นทิศทางขององค์กรอย่างชัดเจน มีพลังท้าทาย ทะเยอทะยาน และมีความเป็ นไปได้ เน้นถึงความ
มุ่งมัน่ ที่จะทําสิ่ งที่ยงิ่ ใหญ่หรื อ ดีที่สุด ให้กบั ประชาชนและสังคม ทําให้องค์กรมีการรวมพลัง มุ่งไปในทิศทาง
เดียวกัน เพื่อทําให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่สาํ คัญและยิง่ ใหญ่
5. พันธกิจ คือ สิ่ งที่ตอ้ งทํา การวางแผน ขอบเขตของสิ่ งที่ตอ้ งทํา
6. ความพึงพอใจ หมายถึง ความรู ้สึกที่ดี ความพอใจ ความประทับใจในการบริ การแต่ละด้าน คือ ด้าน
ผลิต ด้านราคา ด้านช่องทางการจัดจําหน่าย ด้านส่งเสริ มการตลาด ด้านบุคคล ด้านลักษณะทางกายภาพและด้าน
กระบวนการ
7. แรงจูงใจ หมายถึง สภาพทางจิตใจของผูป้ ฎิบตั ิงาน เช่น ความรู ้สึกนึกคิดที่ได้รับอิทธิพลแรงกดดัน
หรื อสิ่ งเร้าจากปั จจัยหรื อสภาพแวดล้อมในองค์กรที่อยูร่ อบตัวเรา และจะมีปฏิกิริยาโต้ตอบ คือ พฤติกรรมในการ
ทํางาน ซึ่งมีผลโดยตรงต่อผลงานของบุคคลนั้น
8. กฎ หมายถึง สิ่ งที่กาํ หนดขึ้น เพื่อบอกให้ทราบถึงสิ่ งที่ควรหรื อไม่ควรปฏิบตั ิในองค์กร กฎอาจจะ
เป็ นส่วนหนึ่งของระเบียบ วิธีปฏิบตั ิ วิธีทาํ งานก็ได้ กฎ เป็ นเครื่ องชี้วธิ ีการทํางาน ไม่ยอมหรื ออนุญาตให้ใช้ดุลย
พินิจโดยเด็ดขาด
9. ระเบียบวิธีปฏิบตั ิ หมายถึง กิจกรรมที่เป็ นขั้นตอนในการทํางาน เช่น จะต้องทําอะไรบ้างเพื่อให้
บรรลุวตั ถุประสงค์ที่ต้ งั ไว้ โดยระบุชดั แจ้งถึงลําดับเหตุการณ์ที่จะต้องทํา ระเบียบวิธีปฏิบตั ิจะมีอยูใ่ นทุกระดับ
ขององค์กรตั้งแต่สูงสุดจนถึงตํ่าสุด
19

10. ระบบโอโซน สําหรับในสหรัฐอเมริ กา ได้กาํ หนดกฎหมายให้ใช้ โอโซน ในการฆ่าเชื้อโรคในการ


ผลิตนํ้า ประปา และนํ้าบรรจุขวดปั จจุบนั
11. ระบบ Softener เป็ นระบบกรองนํ้าใช้กรองความกระด้าง คือ แร่ ธาตุแคลเซียม และแมกนีเซียม ซึ่ง
เป็ นสาเหตุของตะกรันที่จบั อยูใ่ นอุปกรณ์แลกเปลี่ยนความร้อนต่างๆ ทําให้อตั ราการแลกเปลี่ยนความร้อนของ
อุปกรณ์ลดลง Softener บรรจุไว้ดว้ ยสารกรองคือ Resin ที่มีคุณสมบัติในการกรองเอาความกระด้างออกจากนํ้าได้
ทําให้น้ าํ กระด้างกลายเป็ นนํ้าอ่อน ซึ่งเท่ากับเป็ นการจํากัดต้นเหตุของตะกรันออกโดยตรง
12. คลอรี นไดออกไซด์ (Chlorine Dioxide) คือ ระบบฆ่าเชื้อในการผลิตนํ้าประปาสามารถทําได้หลาย
วิธี เช่น การใช้ความร้อน การใช้รังสี อลั ตราไวโอเลต ( Ultraviolet, UV) และการใช้สารเคมี เป็ นต้น ในการเลือก
จะต้องพิจารณาจากคุณภาพของนํ้าที่จะนํามาใช้ ขนาดของระบบผลิต รวมถึงความปลอดภัยในระบบที่ใช้ดว้ ย การ
ใช้สารเคมีเป็ นวิธีที่สะดวกและปลอดภัยกว่าวิธีอื่นๆ ในการเลือกใช้สารเคมีจะต้องคํานึงถึงผลิตผลข้างเคียงที่เกิด
จากการใช้สารฆ่าเชื้อ และปริ มาณสารเคมีที่ตกค้าง สารเคมีที่ใช้กนั อย่างแพร่ หลายคือกลุ่มของสารเคมีประเภท
สารประกอบของคลอรี น เป็ นต้น
13. มาตรฐาน GMP คือ (Good Manufacturing Practice) หลักเกณฑ์วธิ ีการที่ดีในการผลิตอาหาร เป็ น
เกณฑ์หรื อข้อกําหนดขั้นพื้นฐานที่จาํ เป็ นในการผลิตและควบคุมเพื่อให้ผผู ้ ลิตปฏิบตั ิตาม และทําให้สามารถผลิต
อาหารได้อย่างปลอดภัย โดยเน้นการป้ องกันและขจัดความเสี่ ยงที่อาจจะทําให้อาหารเป็ นพิษ เป็ นอันตราย หรื อ
เกิดความไม่ปลอดภัยแก่ผบู ้ ริ โภค ซึ่ง GMP เป็ นระบบประกันคุณภาพที่มีการปฏิบตั ิ และพิสูจน์จากกลุ่ม
นักวิชาการด้านอาหารทัว่ โลกแล้วว่าสามารถทําให้อาหารเกิดความปลอดภัย เป็ นที่เชื่อถือยอมรับจากผูบ้ ริ โภค
โดยอาศัยหลายปั จจัยที่เชื่อมโยงสัมพันธ์กนั ดังนั้นหากยิง่ สามารถปฏิบตั ิตามแนวทางที่กาํ หนดได้ท้ งั หมด ก็จะทํา
ให้อาหารมีคุณภาพมาตรฐานและมีความปลอดภัยมากที่สุด
14. ขวดเพท คือ ขวดที่ทาํ จากพลาสติก Polyethylene มีลกั ษณะเป็ นขวด ใส เช่น ขวดโค้ก 1.25 ลิตร
หรื อขวดนํ้าดื่ม สี ฟ้าใส

6. กรอบแนวคิด
20

โรงงานนํ้าดื่มวอเตอร์ จังหวัดขอนแก่น ขาดประสิ ทธิภาพการบริ หารงาน

ด้ านการจัดการ ด้ านบุคลากร ด้ านการตลาด


- วางสิ่ งของไม่เป็ นระเบียบ ไม่ - ไม่มีการกําหนดขอบเขตใน - ขาดการส่งเสริ มการขาย
เป็ นหมวดหมู่ การทํางาน
- มีน้ าํ ขัง นํ้านองบริ เวณพื้น -ไม่มีค่าตอบแทนอื่นๆที่
- การแต่งกายพนักงานไม่รัดกุม นอกเหนือจากเงินเดือน
- มีเศษขยะอยูร่ อบบริ เวณโรงงาน -ไม่มีกฎระเบียบพนักงาน
- ไม่มีการตรวจเช็คเครื่ องมือ
เครื่ องจักรอย่างสมํ่าเสมอ

ผลทีเ่ กิดจากปัญหา ผลทีเ่ กิดจากปัญหา ผลทีเ่ กิดจากปัญหา


- โรงงานมีสภาพแวดล้อมที่ไม่ - เกิดการทํางานซํ้าซ้อนกัน - ผูบ้ ริ โภคไม่ทราบถึง
ตรงตามมาตรฐาน GMP - พนักงานขาดแรงจูงใจในการ กิจกรรมส่งเสริ มการขาย
ทํางาน
- พนักงานขาดระเบียบวินยั ใน
การปฏิบตั ิงาน

แนวทางการแก้ ปัญหา แนวทางการแก้ ปัญหา แนวทางการแก้ ปัญหา


- บทสัมภาษณ์ผปู ้ ระกอบการ - แบบสอบถามพนักงาน - แบบสอบถามผูบ้ ริ โภค
- แบบตรวจสอบรายการ - จัดทําคู่มือพนักงาน - การวิเคราะห์ SWOT analysis
- กิจกรรม 5ส - การจัดการเชิงกลยุทธ์ - การวิเคราะห์ 5 forces model
- กําหนดJob Description และ - การวิเคราะห์ 4P’s
Job Specifications - กลยุทธ์การส่งเสริ มการขาย
- กําหนดกฎระเบียบพนักงาน
- กําหนดเงินพิเศษและ
สวัสดิการแก่พนักงาน

การเพิ่มประสิ ทธิภาพในด้านการบริ หารงานให้แก่โรงงานนํ้าดื่มวอเตอร์ จังหวัดขอนแก่น

ภาพที่ 1.1 กรอบแนวคิดในการศึกษา


21

บทที่ 2
แนวคิดและผลงานวิจัยทีเ่ กีย่ วข้ อง

การศึกษาเรื่ อง การเพิ่มประสิ ทธิภาพในการบริ หารงานให้แก่โรงงานนํ้าดื่มวอเตอร์ จังหวัดขอนแก่น


ได้ทาํ การศึกษาแนวคิดและผลงานวิจยั ที่เกี่ยวข้อง เพื่อนํามาใช้ในการศึกษา ดังนี้
2.1 ประวัติและความเป็ นมาของโรงงานนํ้าดื่ม วอเตอร์ จังหวัดขอนแก่น
2.2 แนวคิดการจัดการเชิงกลยุทธ์
2.3 แนวคิดการออกแบบโครงสร้างองค์กร
2.4 แนวคิดการวิเคราะห์งาน
2.5 แนวคิดการบริ หารทรัพยากรบุคคล
2.6 แนวคิดการบริ การ
2.7 แนวคิดความพึงพอใจ
2.8 แนวคิดแรงจูงใจ
2.9 แนวคิดการวิเคราะห์การแข่งขันในธุรกิจโดยใช้ Five Forces Model
2.10 แนวคิดส่วนผสมทางการตลาด
2.11 แนวคิดกิจกรรม 5 ส
2.12 แนวคิดการรักษาระเบียบวินยั ในการทํางาน
2.13 ผลงานวิจยั ที่เกี่ยวข้อง

2.1 ประวัติและความเป็ นมาของโรงงานนา้ ดื่ม วอเตอร์ จังหวัดขอนแก่น


โรงงานนํ้าดื่มวอเตอร์ต้ งั อยูเ่ ลขที่ 227/51 ถ.หลังศูนย์ราชการ อ.เมือง จ.ขอนแก่น 40000 โดยมีนายอรุ ณ
กลิ่นขจร เป็ นเจ้าของกิจการ เริ่ มดําเนินธุรกิจเป็ นของตนเองตั้งแต่ปี พ.ศ.2530 โดยในช่วงประมาณปี พ.ศ.2526
เริ่ มต้นเป็ นลูกจ้างขับรถขายนํ้าดื่มให้กบั บริ ษทั นํ้าดื่มวอเตอร์ส (ในสมัยนั้นใช้ชื่อว่า “วอเตอร์ส ”) ได้เงินเดือน
2,000 บาท นายอรุ ณ กลิ่นขจร ผูป้ ระกอบการ คนปั จจุบนั ได้เห็นว่าธุรกิจนํ้าดื่มบรรจุขวดในสมัยนั้นในจังหวัด
ขอนแก่นมีผผู ้ ลิตไม่กี่รายและได้ผลกําไรดีงาม และประกอบกับนายอรุ ณ ก็มีประสบการณ์ทางด้านตลาดนํ้าดื่ม
ในจังหวัดขอนแก่นเป็ นอย่างดี แต่ตอนนั้นยังขาดเงินทุนเพื่อที่จะดําเนินกิจการต่อจากเจ้าของคนเก่า จากการ
ขายทอดตลาดของธนาคารกรุ งศรี อยุธยา จํากัด สาขาขอนแก่น ในวันที่ 23 กันยายน 2530 มีการขายทอดตลาด
อาคารและที่ดิน และเครื่ องจักรในการผลิตนํ้าดื่มในนามของ หจก. กิติสุวรรณ นายอรุ ณ กลิ่นขจร จึงตัดสิ นใจ
ติดต่อธนาคารขอผ่อนชําระที่ดินและอาคารเป็ นงวดๆ ส่วนเครื่ องจักรในการผลิตนํ้าดื่ม ก็ได้ติดต่อกับทาง
หจก. กิติสุวรรณ เพื่อผ่อนชําระเป็ นงวดๆเช่นเดียวกัน
หลังจากนั้นนายอรุ ณ กลิ่นขจร ก็ได้เริ่ มทําธุรกิจนํ้าดื่มวอเตอร์อย่างเต็มรู ปแบบ โดยได้เปลี่ยนโลโก้ใหม่
ขออนุญาตผลิตอาหารจากกระทรวงสาธารณสุขใหม่ และได้ชื่อใหม่วา่ นํ้าดื่มวอเตอร์ (โดยไม่มี “ส” ต่อท้าย)
เนื่องจากการผลิตในสมัยนั้นได้กาํ ไรมากพอสมคว ร นายอรุ ณจึงได้นาํ ผลกําไรมาปรับปรุ งขยายกิจการโดยใน
ช่วงแรกได้เพิ่มรถในการขนส่งนํ้าดื่ม เฉลี่ยปี ละ 1 คัน จนปั จจุบนั มีรถจําหน่ายนํ้าดื่มจํานวน 9 คัน
22

นายอรุ ณได้พฒั นาคุณภาพการผลิต คุณภาพการบริ การ เพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ มีคุณภาพมากที่สุดตรงตาม


ความต้องการของลูกค้า ซึ่งในปั จจุบนั นํ้าดื่มวอเตอร์เป็ นผูผ้ ลิตนํ้าดื่มรายใหญ่เป็ นอันดับต้นๆในจังหวัดขอนแก่น
โดยนํ้าดื่มวอเตอร์มีระบบการผลิตที่ทนั สมัย ซึ่งระบบการผลิตนํ้าดื่มบรรจุขวดของนํ้าดื่มวอเตอร์ ผลิตในระบบ
ซอฟเทนเนอร์มาตั้งแต่ตน้ และได้มีการพัฒนาปรับปรุ งระบบการผลิตโดยเพิ่มเครื่ องผลิตคลอรี นไดออกไซด์
ฆ่าเชื้อในการทําความสะอาดภาชนะ และมีไส้แสงอุลตร้าไวโอเลต ฆ่าเชื้อในนํ้าดื่ม และผสมโอโซนในนํ้าดื่ม

ภาพที่ 2.1 เครื่ องผลิตคลอรี นไดออกไซด์

ภาพที่ 2.2 เครื่ องผลิตโอโซน

ปั จจุบนั โรงงานนํ้าดื่ม นํ้าดื่มวอเตอร์ จังหวัดขอนแก่น มีรถขนส่งนํ้าดื่ม 9 คัน และมีพนักงานทั้งหมด


21 คน แยกเป็ นฝ่ ายต่างๆ คือ ฝ่ ายผลิต 5 คน ฝ่ ายขาย 15 คน ฝ่ ายบัญชี/การเงิน 1 คน
23

บรรจุภณั ฑ์ของนํ้าดื่มวอเตอร์ ในปั จจุบนั มีดงั นี้

ก. ข.
ภาพที่ 2.3 ก.นํ้าดื่มบรรจุแกลลอน 20 ลิตร
ข.นํ้าดื่มบรรจุขวดขาวขุ่น 800 ซม.3

โรงงานนํ้าดื่มวอเตอร์ จังหวัดขอนแก่นมีการพัฒนาคุณภาพนํ้าดื่มอย่างต่อเนื่องและ ได้ผา่ นการรับรอง


คุณภาพ GMP จากกระทรวงสาธารณสุข โดยมีเลขฉลาก อย. คือ 40-1-07633-1-0001 ปั จจุบนั มีโรงงาน ผลิต
นํ้าดื่มในจังหวัดขอนแก่นได้เพิ่มขึ้น เป็ นจํานวน มาก ทําให้เกิดการแข่งขันกันสูง และได้มีการแอบอ้างชื่อของ
นํ้าดื่มวอเตอร์ เช่นนําถังของนํ้าดื่มวอเตอร์ไปบรรจุอย่างไม่ได้มาตรฐาน และนําไปแอบอ้างว่าเป็ นยีห่ อ้ เดียวกัน
ทําให้ผบู ้ ริ โภคเข้าใจผิด เพราะฉ ะนั้นนํ้าดื่มวอเตอร์ ที่แท้จริ ง ซีลรัดคอขวดและตราข้างถังนํ้าดื่มต้องเป็ น
ชื่อเดียวกันเท่านั้น
24

ภาพที่ 2.4 กระบวนการผลิตนํ้าดื่มของโรงงานนํ้าดื่มวอเตอร์ จังหวัดขอนแก่น


25

ขั้นตอนการผลิตนา้ ดืม่ ของโรงงานนา้ ดืม่ วอเตอร์ จังหวัดขอนแก่ น


ก่อนการบรรจุ นํ้าดื่ม ได้ทาํ การ ล้างภาชนะต่าง ๆ ประกอบด้วย ถังบรรจุขน าด 20 ลิตร
และขวดขาวขุ่นขนาด 800 ซม.3 โดยกระบวนการทําความสะอาดด้วยนํ้ายาฆ่าเชื้อ และนํ้ายาล้างทําความสะอาด
หลังจากนั้น ล้างด้วยนํ้าสะอาดและปล่อยให้ภาชนะบรรจุแห้ง จึงเข้าสู่การบรรจุต่อไป
พนักงานฝ่ ายผลิต ซึ่งมีหน้าที่ในการล้างภาชนะและบรรจุ นํ้าดื่ม นั้น ได้ปฏิบตั ิตาม
หลักโภชนาการ โดยการสวมชุดสําหรับปฏิบตั ิงาน เช่น เสื้ อคลุม ผ้าคลุมผม ผ้าปิ ดปาก จมูก และถุงมือ ซึ่ง
ทางโรงงานได้ตระหนักถึงความสะอาด โดยในระบบการล้างเครื่ องกรองนั้น มีข้ นั ตอนดังนี้
1. ถังกรองคาร์บอน จะทําการล้างทุกวันก่อนการเข้าสู่กระบวนการกรอง
2. ถังกรองเรซิน จะทําการรี เจนเนอเรชัน ( Regeneration) ทุกๆ 3-5 วัน โด ยใช้เกลือแกง
ที่ละลายตามอัตราส่วน แช่ถงั กรองเรซินประมาณ 12 ชัว่ โมง
3. ถังกรองและกักแบคทีเรี ย เป็ นชนิดไส้กรองเรซิน ขนาด 30 ไส้ (ชนิดแรงดัน) จํานวน 2 ถัง
จะทําความสะอาดทุกๆ 3 วัน หรื อเมื่อไส้กรองเซรามิกมีสีเข้ม โดยใช้น้ าํ ยาทําความสะอาดอย่างสมํ่าเสมอ
ภาชนะบรรจุแบบต่ างๆ
1.ขวดขาวขุ่น ขนาด 800 ซม. 3 เป็ นขวดที่ผลิตจากเม็ดพลาสติกคุณภาพดี ที่ใช้ในการผลิต
บรรจุภณั ฑ์ที่มีความปลอดภัยสามารถบรรจุน้ าํ ดื่มได้ ผลิตจากโรงงานพลาสติกจังหวัดใกล้เคียง เช่น จังหวัด
กาฬสิ นธุ์ จังหวัดนครพนม จังหวัดนครราชสี มา
2.ถังขนาด 20 ลิตร เป็ นถังที่ผลิตจากเม็ดพลาสติกคุณภาพดี ผลิตจากโรงงานพลาสติกจังหวัด
ใกล้เคียง เช่น จังหวัดกาฬสิ นธุ์ จังหวัดนครพนม จังหวัดนครราชสี มา

โรงงานนํ้าดื่มนํ้าดื่มวอเตอร์ จังหวัดขอนแก่น

หน่วยรถขาย

ร้านค้า หอพัก บ้านพักอาศัย ธนาคาร สถานที่ราชการ ร้านอาหาร

ลูกค้า ลูกค้า

ภาพที่ 2.5 การจําหน่ายนํ้าดื่มวอเตอร์

นํ้าดื่มวอเตอร์ จําหน่ายในพื้นที่เขตอําเภอเมืองจังหวัดขอนแก่น สําหรับการจําหน่ายนํ้าดื่มจะจัดจําหน่าย


ให้กบั หอพัก บ้านพักอาศัย ร้านค้า ร้านอาหาร สถานที่ราชการ และธนาคาร การจัดจําหน่า ยนํ้าดื่ม ผ่านหน่วยรถ
ขายเป็ นการเพิ่มการบริ การให้กบั ลูกค้า ร้านค้าสามารถสังซื้อนํ้าดื่มผ่านหน่วยรถขายและรับนํ้าดื่มได้ทนั ที
26

2.2 แนวคิดการจัดการเชิ งกลยุทธ์


การจัดการเชิงกลยุทธ์ (กาญจนา ชูแสง 2545) โดยทัว่ ไป หมายถึง การกําหนดวิสยั ทัศน์ ( Vision)
พันธกิจ ( Mission) วัตถุประสงค์ ( Objective) เป้ าหมาย ( Goal) ขององค์กรในระยะสั้นและระยะยาว จากนั้น
จึงวางแผนทํากิจกรรมต่างๆ เพื่อให้องค์กรสามารถดําเนินงานตามพันธกิจอันนําไปสู่การบรรลุวตั ถุประสงค์
และเป้ าหมายที่กาํ หนดไว้ นอกจากนี้เนื่องจากสภาพแวดล้อมทางธุรกิจมีการเปลี่ยนแปลงอยูต่ ลอดเวลา
ซึ่ง อาจก่อให้เกิดโอกาส หรื ออุปสรรคแก่องค์กรได้ องค์กรจึงจําเป็ นต้องพิจารณาสภาพแวดล้อมภายใน
ขององค์กร เพื่อหาจุดแข็งหรื อจุดอ่อนในการที่จะสามารถหลีกเลี่ยงจากอุปสรรค หรื อใช้ประโยชน์จากโอกาส
ที่มีอยูน่ ้ นั ได้ ดังนั้นการจัดการเชิงกลยุทธ์จึงเป็ นการบริ หารโดยคํานึงถึง
1. ลักษณะการดําเนินงานขององค์กร
2. ลักษณะธุรกิจในอนาคต
3. สภาพแวดล้อม
4. การจัดสรรทรัพยากร
5. การปฏิบตั ิงานให้บรรลุผลตามวัตถุประสงค์
การจัดการกลยุทธ์ยงั คํานึงถึงความความสําคัญของผูม้ ีส่วนได้ส่วนเสี ยกับองค์กร (Stakeholders)
และการจัดการเชิงกลยุทธ์ยงั ทําหน้าที่ในการเชื่อมโยงประสานหน่วยต่างๆ ในองค์กรให้สามารถบริ หารจัดการ
เพื่อบรรลุเป้ าหมายขององค์กรร่ วมกัน
หลักการสาคัญของการจัดการเชิงกลยุทธ์
หลักสําคัญของการจัดการเชิงกลยุทธ์ที่จะนําไปสู่การเพิ่มโอกาสของความสําเร็ จและความ
ล้มเหลวขององค์กร
1. การจัดการเชิงกลยุทธ์เป็ นการกําหนดวิสยั ทัศน์ ทิศทาง ภารกิจ และวัตถุประสงค์
ขององค์กรธุรกิจอย่างเป็ นระบบ ดังนั้นการจัดการเชิงกลยุทธ์จึงเป็ นสิ่ งที่กาํ หนดทิศทางขององค์กร และช่วยให้
นักบริ หารปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อม การตระหนักถึงความเปลี่ยนแปลงนั้นทําให้นกั บริ หาร
สามารถกําหนดวัตถุประสงค์และทิศทางการดําเนินงานอย่างเป็ นรู ปธรรมสอดคล้องกับสภาวะความเปลี่ยนแปลง
ได้
2. การจัดการเชิงกลยุทธ์ยงั นําไปสู่การจัดการความเปลี่ยนแปลงที่ดีข้ ึน เนื่องจากมีการ
เตรี ยมรับกับสถานการณ์ความเปลี่ยนแปลงไว้แล้ว ทําให้องค์กรค้นหาแนวทางที่เหมาะสมที่สุดต่อองค์กร
ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงของปั จจัยต่างๆ ที่เข้ามาเกี่ยวข้อง ทั้งนี้เนื่องจากการจัดการเชิงกลยุทธ์เป็ นการกําหนด
วิธีการหรื อแนวทางในการดําเนินงานและกิจกรรมต่างๆ ขององค์กรเพื่อให้บรรลุเป้ าหมายหรื อวัตถุประสงค์
ขององค์กรที่ต้ งั ไว้ได้
3. การจัดการเชิงกลยุทธ์เป็ นการนําแนวทางในการดําเนินองค์กรที่คิดค้นสร้างสรรค์ข้ ึน
และนํามาประยุกต์ใช้เพื่อให้บรรลุเป้ าหมาย ดังนั้น ความคิดสร้างสรรค์จึงเป็ นสิ่ งจําเป็ นสําหรับนักบริ หาร
4. การวางแผนกลยุทธ์เป็ นหน้าที่หลักของนักบริ หาร เนื่องจากต้องวางแผนประยุกต์ใช้
และกําหนดทิศทางในการดําเนินงานขององค์กร การจัดทําและปฏิบตั ิให้สอดคล้องตามแผนกลยุทธ์จึง
มีความสําคัญโดยเฉพาะในระยะยาว ดังนั้น ความสามารถในการกําหนดกลยุทธ์ของนักบริ หารและความสามารถ
27

ในการควบคุมให้การปฏิบตั ิเป็ นไปตามกลยุทธ์ที่วางไว้ได้ จะเป็ นสิ่ งสะท้อนศักยภาพและสะท้อนความสามารถ


ของผูบ้ ริ หารได้เป็ นอย่างดี
5. การจัดการเชิงกลยุทธ์ทาํ ให้เกิดความได้เปรี ยบในการแข่งขัน จะช่วยสร้างประสิ ทธิภาพ
และศักยภาพในการแข่งขันให้แก่ธุรกิจ และเสริ มสร้างการพัฒนาขีดความสามารถทางการบริ หารของนักบริ หาร
รวมทั้งช่วยเตรี ยมความพร้อมและพัฒนาบุคลากรที่อยูภ่ ายในองค์กร เนื่องจากการพัฒนาเชิงกลยุทธ์จะต้อง
มีการสร้างความเข้าใจและแนวทางในการเตรี ยมพร้อมเพื่อรับกับความเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น
ของสภาพแวดล้อมและคู่แข่ง ขัน นอกจากนี้แล้วการจัดการเชิงกลยุทธ์ยงั ช่วยให้ผทู ้ ี่เกี่ยวข้องในองค์กรเข้าใจ
ในภาพรวมโดยเฉพาะเป้ าหมายในการดําเนินงานทําให้สามารถจัดลําดับการดําเนินงานตามลําดับความสําคัญ
เร่ งด่วนได้
6. การจัดการเชิงกลยุทธ์ช่วยให้การทํางานเกิดความสอดคล้องในการปฏิบตั ิหน้าที่เนื่องจาก
มีการกําหนดกลยุทธ์ การประยุกต์ใช้ และการตรวจสอบควบคุมไว้อย่างชัดเจน ทําให้เกิดความเข้าใจตรงกัน
และเกิดความร่ วมมือ โดยเฉพาะความเข้าใจในวัตถุประสงค์ขององค์กร อีกทั้งจะช่วยให้มีการจัดสรรทรัพยากร
เป็ นไปอย่างมีประสิ ทธิภาพสอดคล้องกับการบริ หารองค์กรในส่วนต่างๆ
องค์ ประกอบของการจัดการเชิงกลยุทธ์
1. การประเมินองค์ กรและสภาพแวดล้ อม (Environment Scanning)
ในการประเมินสภาพแวดล้อมขององค์กรนั้นจะประกอบไปด้วยการประเมิน
สภาพแวดล้อมภายนอก และการประเมินสภาพแวดล้อมภายใน โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ทราบถึง จุดแข็ง จุดอ่อน
โอกาส และอุปสรรค หรื อโดยทัว่ ไปจะเรี ยกว่าการวิเคราะห์ SWOT Analysis ได้แก่
1. การวิเคราะห์จุดแข็ง (Strength –S)
2. การวิเคราะห์จุดอ่อน (Weakness –W)
3. การวิเคราะห์โอกาส (Opportunity –O)
4. การวิเคราะห์ภาวะคุกคาม (Threat- T)
1.1 การวิเคราะห์ สภาพแวดล้ อมภายในขององค์ กร (Internal Analysis)
การวิเคราะห์ภายในขององค์กรนั้น จะทําให้ทราบถึงจุดอ่อนและจุดแข็ง
ขององค์กร ช่วยให้ประเมินอดีตและแนวโน้มในปั จจุบนั การวิเคราะห์ภายในสามารถทําได้โดยการวิเคราะห์
ปั จจัยที่จะนําไปสู่ความสําเร็ จ (Critical success factor) การวิเคราะห์ห่วงโซ่ค่านิยม ( Value chain) และวิเคราะห์
กระบวนการหลัก (Core business process) ซึ่งจะทําให้องค์กรมีความสามารถหลักที่โดดเด่น (Core competency)
1.1.1 การวิเคราะห์ปัจจัยที่จะนําไปสู่ความสําเร็ จ ( Critical success factor)
สามารถทําได้โดยการวิเคราะห์ ลักษณะของกิจการ ตําแหน่งทางการแข่งขัน สภาพแวดล้อมทัว่ ไป และการพัฒนา
องค์กร
1.1.2 การวิเคราะห์ห่วงโซ่ค่านิยม ( Value chain) เป็ นการพยายาม
เชื่อมโยงกิจกรรมหลัก และกิจกรรมย่อยขององค์กร โดยการพยายามจัดกิจกรรมย่อยให้สนับสนุนกิจกรรมหลัก
เพื่อจะสร้างคุณค่าที่สนองตอบกับค่านิยมของลูกค้า โดยสายงานหลักจะทําหน้าที่ในการผลิตกิจกรรมพื้นฐาน
ประกอบไปด้วย
28

1.1.2.1 การนําเข้าวัตถุดิบ การผลิตสิ นค้าและบริ การ


การตลาด และการให้บริ การลูกค้า ส่วนสายงานสนับสนุน จะทําหน้าที่ในการจัดการทรัพยากรมนุษย์ การพัฒนา
เทคโนโลยี การจัดซื้อวัตถุดิบ เนื่องจากการวิเคราะห์ห่วงโซ่ค่านิยมจะทําให้องค์กรได้รับรู ้ถึงค่านิยมของลูกค้า
ได้อย่างชัดเจน ทําให้สามารถวิเคราะห์และเชื่อมโยงค่านิยมของลูกค้าเข้าสู่กิจกรรมทุกกิจกรรมขององค์กร
1.1.2.2 การวิเคราะห์กระบวนการหลัก (Core business
process) และระบบการดําเนินงาน เป็ นกระบวนการสร้างคุณค่าที่เชื่อมโยงระหว่างผูจ้ ดั หาวัตถุดิบองค์กร
และลูกค้าเข้าด้วยกัน โดยมีกระบวนการหลักขององค์กร เพื่อพัฒนาสิ นค้าและบริ การ และเพื่อตอบสนองความ
ต้องการของลูกค้า
โดยสรุ ปแล้วการวิเคราะห์ปัจจัยภายในหรื อสภาพแวดล้อมภายในนี้จะทํา
ให้ทราบถึงจุดแข็ง ซึ่งคือ ลักษณะหรื อองค์ประกอบขององค์กรที่มีสมรรถนะเหนือกว่า และ จุดอ่อน ซึ่งคือ
ลักษณะหรื อองค์ประกอบขององค์กรที่มีสมรรถนะด้อยกว่าคู่แข่งขันรายอื่น
1.2 การวิเคราะห์ สภาพแวดล้ อมภายนอกองค์ กร (External Analysis)
สภาพแวดล้อมภายนอกประกอบด้วย สภาพแวดล้อมทัว่ ไป
และสภาพแวดล้อมในการดําเนินงาน
1.2.1 สภาพแวดล้อมทัว่ ไป (General Environment) เป็ นสภาพแวดล้อม
ที่มีความสําคัญ ที่ เข้ามาเกี่ยวข้องกับองค์กรโดยตรง ได้แก่ สภาพแวดล้อมด้านการเมือง สภาพแวดล้อม
ด้านเศรษฐกิจ สภาพแวดล้อมด้านสังคม และสภาพแวดล้อม ด้านเทคโนโลยี สภาพแวดล้อมทัว่ ไปสามารถส่งผล
กระทบต่อองค์กรได้ ยกตัวอย่างเช่น หากรัฐบาลออกกฎหมายที่เอื้อต่อการดําเนินธุรกิจก็จะส่งผลดีต่อโอกาส
ในการดําเนินงานขององค์กร หรื อการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีที่รวดเร็ วอาจส่งผลให้สินค้ามีความล้าสมัย
อย่างรวดเร็ ว เป็ นต้น
1.2.2 สภาพแวดล้อมในการดําเนินงาน ( Task Environment) ไมเคิล
อี พอร์ตเตอร์ (Michael E.Porter ) ได้เสนอตัวแบบการวิเคราะห์สภาพการแข่งขัน โดยใช้ตวั แบบที่ชื่อ The Five
Competitive Forces ซึ่งจะทําให้เราทราบถึงสมรรถภาพคู่แข่งที่เข้ามาใหม่ ทราบความต้องการของลูกค้า สามารถ
สร้างความร่ วมมือกับผูจ้ ดั ส่งวัตถุดิบ การระมัดระวังไม่ให้ลูกค้าหันไปให้ความสนใจสิ นค้าทดแทน
และโดยเฉพาะอย่างยิง่ เป็ นตัวแบบที่ช่วยในการวิเคราะห์คู่แข่งได้เป็ นอย่างดี
1.2.3 การวิเคราะห์คู่แข่งที่เข้ามาใหม่ (New Entrance) ผูท้ ี่เข้ามาใหม่มี
ความมุ่งหวังที่จะเข้ามามีส่วนร่ วม หรื อมีส่วนแบ่งทางการตลาด ดังนั้นจึงเป็ นภาวะที่คุกคาม ซึ่งจะมีมากหรื อน้อย
ขึ้นอยูก่ บั อุปสรรคที่เข้ามาและภาวการณ์ตอบโต้ขององค์กร โดยสิ่ งที่เป็ นอุปสรรคต่อผูท้ ี่เข้ามาใหม่ ได้แก่
ความประหยัดที่เกิดจากการผลิตจํานวนมาก ทําให้คู่แข่งต้องมีการผลิตที่มีขนาดใหญ่พอจึงจะสามารถต่อสู ้
กับกิจการเดิมได้ และความแตกต่างของสิ นค้า หรื อ ขนาดของทุน เนื่องจากผูท้ ี่เข้ามาใหม่จะต้องแบกภาระต้นทุน
ที่สูงมากในด้านต่างๆ เป็ นต้น เหล่านี้เป็ นตัวอย่างของอุปสรรคสําหรับผูท้ ี่เข้ามาใหม่ ซึ่งนักบริ หารจะต้อง
สร้างภาวะการณ์การตอบโต้โดยอาศัยความได้เปรี ยบด้านอุปสรรคของผูเ้ ข้ามาใหม่ในด้านต่างๆ
29

1 .2.4 การวิเคราะห์ผซู ้ ้ือ ( Buyer) ผูบ้ ริ หารในองค์กรภาครัฐ และ


ภาคเอกชนจะต้องให้ความสําคัญกับลูกค้า เนื่องจากองค์กรจะต้องเผชิญกับอํานาจการต่อรองของลูกค้า ในเรื่ อง
ของปริ มาณ คุณภาพ และราคา
1 .2.5 การวิเคราะห์ผจู ้ ดั ส่งวัตถุดิบ ( Supplier) ผูจ้ ดั ส่งวัตถุดิบ
จะมีความสําคัญเนื่องจากองค์กรจะต้องเผชิญกับพลังการต่อรองของผูจ้ ดั ส่งวัตถุดิบเช่นเดียวกับลูกค้า ดังนั้น
ผูบ้ ริ หารทั้งองค์กรภาครัฐและองค์กรภาคเอกชนจะต้องปรับกลยุทธ์เพื่อรับกับพลังการต่อรองนั้น
1.2.6 การวิเคราะห์สินค้าทดแทน (Substitute) การมีสินค้าหรื อบริ การ
ทดแทนทําให้องค์กรต่างๆ จะต้องให้ความสําคัญกับคุณภาพของสิ นค้า ราคา และบริ การที่นาํ เสนอให้กบั ลูกค้า
เนื่องจากการละเลยความสําคัญดังกล่าวจะทําให้องค์กรเสี ยเปรี ยบต่อคู่แข่งได้
1.2.7 การวิเคราะห์คู่แข่ง (Rival) คู่แข่งมีความสําคัญอย่างยิง่ ที่นกั บริ หาร
จะต้องคํานึงถึง เนื่องจากนักบริ หารจะต้องใช้กลยุทธ์เพื่อสร้างความได้เปรี ยบเหนือคู่แข่ง การละเลยหรื อไม่ให้
ความสําคัญกับคู่แข่งจะหมายถึงความพ่ายแพ้
โดยสรุ ปแล้วการวิเคราะห์ปัจจัยภายนอกหรื อสภาพแวดล้อมภายนอกนี้
จะทําให้ทราบถึงโอกาส ซึ่งคือ การผสมผสานระหว่างเหตุการณ์ เวลา สถานที่ ที่มีแนวโน้มว่าจะเป็ นประโยชน์
ต่อองค์กร มาทําให้องค์กรมีสมรรถนะที่จะดําเนินการบางอย่างที่เหนือกว่าคู่แข่ง และอุปสรรคซึ่งคือ เหตุการณ์
ที่อาจจะเกิดขึ้นได้ และถ้าเกิดขึ้นก็จะทําความเสี ยหายให้แก่องค์กร
2. กาหนดทิศทาง
การกําหนดทิศทางขององค์กร (Establishing Organizational Direction) เป็ นการระบุ
หรื อกําหนดจุดมุ่งหมายปลายทางที่องค์กรต้องการก้าวไปให้ถึง การจัดวางทิศทางขององค์กรมีความจําเป็ น
อย่างยิง่ สําหรับองค์กรที่ตอ้ งดําเนินธุรกิจภายใต้สภาวะการแข่งขันที่รุนแรง หากองค์กรไม่สามารถกําหนดทิศทาง
ที่ชดั เจนได้ กลยุทธ์ขององค์กรที่จะจัดทําขึ้นก็จะไม่สามารถผลักดันให้องค์กรมีความสามารถในการแข่งขัน
ที่เพียงพอที่จะทําให้ธุรกิจอยูร่ อดได้หรื อมีความแตกต่างเมื่อเทียบกับคู่แข่งขัน การกําหนดทิศทางขององค์กร
ประกอบด้วย
วิสัยทัศน์ (Vision) เป็ นภาพความคิดและความเข้าใจเกี่ยวกับความต้องการ
ในอนาคต วิสยั ทัศน์มีลกั ษณะเป็ นเป้ าหมายที่มีลกั ษณะกว้าง เป็ นข้อเสนอที่ไม่เจาะจงในรายละเอียดและไม่ได้
กําหนดวิธีการทํางานที่ชดั เจน เกิดจากทัศนคติและมุมมอง แนวคิดของผูบ้ ริ หารที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งวิสยั ทัศน์
มีหลายระดับตั้งแต่ระดับบุคคล กลุ่มองค์กร และสังคม (จินตนา บุญบงการและ ณัฏฐพันธ์ เขจรนันทน์ ,
การจัดการเชิงกลยุทธ์)
ภารกิจ (Mission) ภารกิจขององค์กรจะบ่งบอกถึงกิจกรรมที่องค์กรจะต้องทํา
เพื่อสนับสนุนให้องค์กรบรรลุวสิ ยั ทัศน์ ซึ่งจะช่วยสร้างคุณค่าและความแตกต่างขององค์กรจากองค์กรอื่น
ในอุตสาหกรรม นอกจากนี้ ภารกิจเป็ นเครื่ องกําหนดขอบเขตการดําเนินงานขององค์กรเอกลักษณ์ คุณลักษณะ
ตลอดจนเส้นทางในการพัฒนาองค์กร อันเป็ นข้อมูลพื้นฐานที่ทาํ ให้พนักงานในองค์กรทุกคนทราบร่ วมกัน
ถึงแนวคิดหรื อหลักการในการทํางานที่เป็ นไปในทิศทางเดียวกัน หรื ออาจกล่าวได้วา่ ภารกิจเป็ นจุดมุ่งหมาย
30

พื้นฐานขององค์กร เป็ นเครื่ องกําหนดทิศทางก่อนการกําหนดกลยุทธ์ แผนปฏิบตั ิการ และโครงสร้างการบริ หาร


การกําหนดภารกิจที่กว้างหรื อแคบจะมีผลต่อการดําเนินงานและการเติบโตขององค์กร
วัตถุประสงค์ (Objective) คือการกําหนดภารกิจของธุรกิจให้อยูใ่ นรู ปของผลลัพธ์
สําคัญที่ตอ้ งการ หรื อเป็ นการกําหนดสิ่ งที่ตอ้ งการในอนาคตซึ่งองค์กรจะต้องพยายามทําให้เกิดขึ้น วัตถุประสงค์
มีลกั ษณะเฉพาะเจาะจงซึ่งเป็ นผลลัพธ์ที่สามารถวัดได้อย่างเป็ นรู ปธรรม อาจเป็ นได้ท้ งั วัตถุประสงค์ทางการเงิน
และไม่ใช่การเงิน โดยปกติจะถูกกําหนดในรู ปของความต้องการภายใต้กาํ หนดระยะเวลาที่แน่นอน วัตถุประสงค์
เป็ นสิ่ งที่ตอ้ งชัดเจน สมเหตุสมผล และต้องสอดคล้องกับ
จุดมุ่งหมายขององค์กรในระดับอื่น
เป้ าหมาย (Goal) เป็ นเป้ าหมายที่เป็ นรู ปธรรมขององค์กร เป็ นการกําหนดสิ่ งที่
ต้องการในอนาคต ซึ่งโดยปกติทุกองค์กรต่างมีเป้ าหมายที่เกี่ยวข้องกับความอยูร่ อด (Survive) การเจริ ญเติบโต
(Growth) การทํากําไร (Profitability) และการสร้างความมัน่ คงทางเศรษฐกิจ ซึ่งเป็ นปั จจัยกําหนดทิศทาง
เชิงกลยุทธ์ขององค์กรดังที่ Hamel และ Prahalad (1995) ได้กล่าวไว้ในหนังสื อเรื่ อง Competing for the Future
โดยสรุ ปว่า “การแข่งขันเพื่ออนาคตหมายถึงการพยายามสร้างแหล่งที่มาของกําไรของธุรกิจอย่างต่อเนื่อง”
3. การกาหนดกลยุทธ์ (Strategy Formulation)
การกําหนดกลยุทธ์ เป็ นการพัฒนาแผนระยะยาวบนรากฐานของโอกาส
และอุปสรรคที่ได้จากการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอก และการวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อนที่ได้จาก การ
วิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายใน โดยองค์กรจะต้องกําหนด และเลือกกลยุทธ์ที่ดีที่สุดที่เหมาะสมกับองค์กรที่สุด
ผูบ้ ริ หารต้องพยายามตอบคําถามว่าทําอย่างไรองค์กรจึงจะไปถึงเป้ าหมายที่ได้กาํ หนดไว้ได้ โดยใช้ความได้เปรี ยบ
ในการแข่งขันขององค์กรกําหนดเป็ นกลยุทธ์ ทั้งนี้จะต้องคํานึงถึงระดับที่แตกต่างกันของกลยุทธ์ดว้ ย ซึ่งมีท้ งั สิ้น
3 ระดับ คือ
กลยุทธ์ ระดับองค์ กร ( Corporate Strategy) เป็ นกลยุทธ์ที่ครอบคลุมและบ่งบอก
ถึงกลยุทธ์โดยรวมและทิศทางในการแข่งขันขององค์กร ว่าองค์กรจะมีการพัฒนาไปสู่ทิศทางใด จะดําเนินงาน
อย่างไร และจะจัดสรรทรัพยากรไปยังแต่ละหน่วยขององค์กรอย่างไร เช่น การดําเนินธุรกิจแบบครบวงจร
การขยายตัวไปในธุรกิจที่ไม่เกี่ยวข้องกันเลย เป็ นต้น ตัวอย่างเครื่ องมือ ( Tools) ที่ช่วยในการกําหนดกลยุทธ์
ในระดับองค์กร เช่น Boston Consulting Group Matrix, McKinsey 7 - S Framework เป็ นต้น
กลยุทธ์ ระดับธุรกิจ ( Business Strategy) เป็ นการกําหนดกลยุทธ์ในระดับที่ยอ่ ย
ลงไป จะมุ่งปรับปรุ งฐานะการแข่งขันขององค์กรกับคู่แข่ง และระบุถึงวิธีการที่องค์กรจะใช้ในการแข่งขัน
มุ่งปรับปรุ งฐานะการแข่งขันของผลิตภัณฑ์ให้สูงขึ้น โดยอาจรวมกลุ่มผลิตภัณฑ์ที่คล้ายกันไว้ดว้ ยกัน ภายใน
หน่วยธุรกิจเชิงกลยุทธ์ (Strategic Business Unit - SBU) เดียวกัน กลยุทธ์ระดับธุรกิจของ SBU นี้จะมุ่งการ
เพิม่ กําไร และขยายการเติบโตให้มากขึ้น บางครั้งจึงเรี ยกกลยุทธ์ในระดับนี้วา่ กลยุทธ์การแข่งขัน ซึ่งโดยทัว่ ไป
จะมีอยู่ 3 กลยุทธ์ คือ การเป็ นผูน้ าํ ด้านต้นทุนตํ่า การสร้างความแตกต่าง และการจํากัดขอบเขตหรื อการมุ่งเน้น
หรื อการรวมศูนย์
กลยุทธ์ ระดับปฏิบัตกิ าร ( Operational Strategy) เป็ นการกําหนดกลยุทธ์
ที่ครอบคลุมวิธีการในการแข่งขัน แก่ผเู ้ กี่ยวข้องในหน่วยงาน ( Function) ต่างๆ มุ่งเน้นให้แผนกงานตามหน้าที่
31

พัฒนากลยุทธ์ข้ ึนมา โดยอยูภ่ ายใต้กรอบของกลยุทธ์ระดับองค์กรและกลยุทธ์ระดับธุรกิจ เช่น แผนการผลิต


แผนการตลาด แผนการดําเนินงานทัว่ ไป แผนการด้านทรัพยากรบุคคล แผนการเงิน เป็ นต้น
Michel Robert ได้กล่าวถึงขั้นตอนในการสร้างกลยุทธ์ไว้ในหนังสื อ e-Strategy
ที่อาจแตกต่างไปจากทัว่ ๆ ไปว่า ขั้นตอนในการสร้างกลยุทธ์จะอยูบ่ นพื้นฐานของสิ่ งที่เราทําได้ดีที่สุด (What you
do best?) แต่ไม่ได้อยูบ่ นพื้นฐานของสิ่ งที่คู่แข่งขันของเราทําอยู่ ( Not what the others do) ซึ่งแนวคิดนี้ใช้ได้ดี
ทั้งธุรกิจการผลิตและธุรกิจการบริ การ โดยมีข้ นั ตอน 4 ขั้นตอน คือ
1. ระบุแรงขับดัน ( Driving Force) ขององค์กรที่สามารถช่วยให้มี
ความได้เปรี ยบทางการแข่งขัน ซึ่งเกี่ยวข้องกับจุดแข็งที่องค์กรมีอยู่ เช่น การที่องค์กรมีเทคโนโลยีที่แตกต่าง
องค์กรสามารถใช้เทคโนโลยีเป็ นตัวนําสําคัญในการดําเนินงานได้ เป็ นต้น
2. สร้างกรอบแนวคิดทางธุรกิจ ( Business Concept) อย่างสั้นๆ
เพื่อแสดงว่าจะใช้แรงขับดันนั้นอย่างไร เช่น จะใช้เทคโนโลยีน้ นั ผลิตสิ นค้าอะไร จะเจาะจงขายยังภูมิภาคใด
3. ระบุความเชี่ยวชาญขององค์กร ( Area of Excellence) ที่เราต้องการ
เพื่อนํามาใช้สนับสนุนกลยุทธ์ เช่น อาจจําเป็ นต้องปรับปรุ งคุณภาพของผลิตภัณฑ์ให้สูงขึ้น หรื อการสร้าง
ความชํานาญในการขายและบริ การแก่พนักงานขาย เป็ นต้น
4. ระบุประเด็นสําคัญ ( Critical Issues) หรื อเรื่ องที่เกี่ยวข้องและ
มีความสําคัญที่อาจจะต้องถูกปรับปรุ งหรื อเปลี่ยนแปลงเพื่อให้เอื้อต่อการนํากลยุทธ์ไปดําเนินการ เช่น โครงสร้าง
กระบวนการหรื อระบบ ทักษะและความสามารถ ระบบการให้ผลตอบแทน เป็ นต้น
อย่างไรก็ตาม แม้วา่ จะมีทฤษฎีที่วา่ ด้วยกลยุทธ์ที่สามารถนํามาพิจารณาใช้ได้
มากมาย แต่ยอ่ มไม่มีทฤษฎีหรื อแนวทางจัดการใดใช้ได้กบั ทุกสถานการณ์ ดังนั้นจึงไม่มีสูตรสําเร็ จในการกําหนด
กลยุทธ์และสร้างกลยุทธ์ที่สามารถใช้ได้กบั ทุกสถานการณ์ แต่อย่างน้อยในการกําหนดกลยุทธ์น้ นั ควรจะได้
พิจารณาเกณฑ์ต่อไปนี้ประกอบด้วย เช่น เป็ นกลยุทธ์ที่ตอบสนองต่อสภาพแวดล้อมภายนอก เป็ นกลยุทธ์ที่สร้าง
ความได้เปรี ยบทางการแข่งขัน เป็ นกลยุทธ์ที่สอดคล้องกับวิสยั ทัศน์ พันธกิจ และวัตถุประสงค์ในระยะยาว
เป็ นกลยุทธ์ที่มีความยืดหยุน่ เหมาะสม และเป็ นกลยุทธ์ที่เป็ นไปได้
4. การนากลยุทธ์ ไปปฏิบัติ (Strategy Implementation)
การนํากลยุทธ์ไปปฏิบตั ิ คือ กระบวนการที่ผบู ้ ริ หารแปลงกลยุทธ์ และนโยบายไปสู่
แผนการดําเนินงาน กําหนดรายละเอียดด้านต่างๆ เช่น ด้านงบประมาณ หรื อวิธีการดําเนินงาน ซึ่งกระบวนการนี้
อาจจะเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงภายในด้านวัฒนธรรม โครงสร้าง หรื อระบบการบริ หาร เพื่อให้สามารถ
ดําเนินการตามกลยุทธ์ได้อย่างเป็ นรู ปธรรม โดยทัว่ ไปจะประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ คือ
4.1 ขั้นตอนของการกําหนดแผนและการจัดสรรทรัพยากร
4.2 ขั้นตอนของการปรับโครงสร้างองค์กร เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลง
ของการใช้กลยุทธ์ และการใช้ทรัพยากร
4.3 ขั้นตอนของการปรับปรุ งเปลี่ยนแปลงในส่วนของระบบและ
การพัฒนาทรัพยากรบุคคล เช่น เรื่ องระบบข้อมูลข่าวสาร ระบบบริ หารบุคคล (การให้การศึกษา การให้การอบรม
การกระตุน้ ส่งเสริ มให้บุคลากรในองค์กรทํางานได้อย่างเต็มที่และมีประสิ ทธิภาพ) เป็ นต้น
32

4.4 การกระจายกลยุทธ์ ( Strategic Deployment) หากองค์กรมีการสร้าง


วิสยั ทัศน์ สร้างพันธกิจขึ้นมาแล้ว แต่ไม่ได้มีการดําเนินการก็จะทําให้เกิดการสูญเปล่ าได้ เพราะแม้วา่
แผนเหล่านั้นจะเป็ นแผนงานที่ถูกจัดทํามาอย่างดี ผ่านการระดมความคิดมาอย่างเข้มข้นเพียงใดก็ตาม
หากไม่ลงมือปฏิบตั ิก็ยอ่ มไม่เกิดผลเป็ นรู ปธรรมขึ้น
ดังนั้นเพื่อทําให้เกิดผลจึงจําเป็ นต้องมีการกระจายแผนไปยังทุกๆ ส่วนทัว่ ทั้งองค์กร
โดยต้องสอดประสานกับบทบาทหน้าที่ของหน่วยงานต่างๆ อย่างชัดเจน และเข้าใจได้ ซึ่งจากเป้ าหมายเชิงกลยุทธ์
อาจถูกแปลงเป็ นเป้ าหมายย่อย กําหนดเป็ นเป้ าหมายประจําปี จากนั้นจะแตกไปเป็ นเป้ าหมายของแต่ละกลุ่ม
แต่ละโครงการ เพื่อให้ทราบว่าเป้ าหมายของตนเองที่ชดั เจนนั้นคืออะไร และควรจะดําเนินการที่เรื่ องใดก่อน
ซึ่งนอกจากจะทําให้ผปู ้ ฏิบตั ิงานในระดับล่างสุดเข้าใจเป้ าหมายที่ไม่คลาดเคลื่อนแล้ว ยังมีประโยชน์
ต่อกระบวนการในการวัดผลที่เหมาะสมด้วย ทั้งยังช่วยให้มีการจัดสรรทรัพยากรอย่างเหมาะสมพอดี เพียงเพื่อ
ให้บรรลุผลในแต่ละกลุ่มหรื อแต่ละโครงการนัน่ เอง
ความสําเร็ จขององค์กรนั้นเกี่ยวข้องกับประสิ ทธิภาพในการนํากลยุทธ์ไปประยุกต์
ปฏิบตั ิ ทั้งนี้ผบู ้ ริ หารควรมีการมอบหมาย และกําหนดแนวทางหรื อวิธีการในการปฏิบตั ิงาน สิ่ งที่สาํ คัญในการ
นํากลยุทธ์ไปปฏิบตั ิให้ประสบผลสําเร็ จนั้น ผูป้ ฏิบตั ิจะต้องมีความรู ้ ความเข้าใจ และทักษะในการปฏิบตั ิงาน
อย่างถ่องแท้
5. การประเมินผลและการควบคุม (Evaluation and Control) การควบคุมกลยุทธ์ เป็ นหน้าที่
สําคัญที่เกี่ยวข้องกับการติดตาม ตรวจสอบ ประเมินผลกลยุทธ์ที่นาํ ไปปฏิบตั ิ ทั้งนี้ในการนํากลยุทธ์ไปปฏิบตั ิน้ นั
มักจะเกิดข้อผิดพลาดที่ตอ้ งการการปรับปรุ งเพื่อให้แน่ใจว่ากลยุทธ์น้ นั จะก่อให้เกิดผลการปฏิบตั ิงานที่ตรงตาม
แผนที่ได้ต้ งั ไว้
การตรวจสอบกลยุทธ์ จะมีการวัดผลทั้งในเชิงปริ มาณและเชิงคุณภาพ มีการกําหนดเกณฑ์
และมาตรฐาน โดยมาตรวัดการดําเนินงานที่เหมาะสมกับแต่ละองค์กร ซึ่งในแต่ละองค์กรจะ มี มาตรฐาน
และเกณฑ์การดําเนินงานของตนเอง ทั้งนี้การกําหนดมาตรฐานควรมีความระมัดระวังเพื่อให้สามารถสะท้อน
ผลการทํางานได้อย่างเป็ นรู ปธรรม
ในการติดตาม ควบคุม และประเมินผลนั้น จําเป็ นที่จะต้องมีการจัดตั้งหน่วยงานขึ้นมาดูแล
แผนกกลยุทธ์โดยเฉพาะ ซึ่งจะต้องมีบุคลากรที่มีความรับผิดชอบเต็มเวลาที่สามารถทุ่มเทให้กบั การติดตาม
และประเมินผลได้อย่างเต็มที่ หน่วยงานนี้ควรอยูก่ บั ฝ่ ายวางแผนที่มีผบู ้ ริ หารในฝ่ ายอยูใ่ นระดับผูบ้ ริ หารชั้นสูง
อย่างไรก็ตาม ในการดําเนินกลยุทธ์น้ นั จําเป็ นต้องได้รับความร่ วมมือที่ดีจากทุกฝ่ ายตลอดเวลา จึงอาจมี
ความจําเป็ นในการตั้งเป็ นคณะกรรมการติดตามและประเมินผลแผนกลยุทธ์ที่ประกอบด้วยผูแ้ ทนระดับบริ หาร
จากฝ่ ายต่างๆ ขึ้นร่ วมด้วย
การนาแนวคิดมาประยุกต์ ใช้
เนื่องจากสภาพแวดล้อมทางธุรกิจมีการเปลี่ยนแปลงอยูต่ ลอดเวลา จึงจําเป็ นต้องพิจารณา
สภาพแวดล้อมภายใน และภายนอกของโรงงานนํ้าดื่ม วอเตอร์ เพื่อหาจุดแข็ง และใช้ประโยชน์จากโอกาสที่มีอยู่
หรื อ หาจุดอ่อนและหลีกเลี่ยงจากอุปสรรค ที่จะเป็ นผลเสี ยต่อธุรกิจได้ ผูจ้ ดั ทํา ได้ประยุกต์ใช้หลักการ จัดการ
เชิงกลยุทธ์ เพื่อกําหนดวิสยั ทัศน์ พันธกิจ วัตถุประสงค์ เป้ าหมาย และกําหนดทิศทางขององค์กร ให้กบั โรงงาน
33

นํ้าดื่มวอเตอร์ จังหวัดขอนแก่น อย่างเหมาะสมเพื่อเป็ นหลักในการดําเนินงาน จากนั้นจึงวางแผนการบริ หาร


และจัดทํากิจกรรมต่างๆ เพื่อให้สามารถดําเนินงานตามวัตถุประสงค์ที่กาํ หนดไว้

2.3 แนวคิดการออกแบบโครงสร้ างองค์ กร


การออกแบบ โครงสร้าง องค์กร คือ กระบวนการของการเลือกและใช้โครงสร้างองค์กรที่เหมาะสม
เพื่อตอบสนองต่อพันธกิจ (Mission) และเป้ าหมาย ( Goals) ขององค์กร เป็ นการสร้างความกลมกลืนให้เกิดขึ้น
ระหว่างองค์ประกอบหลักขององค์กรซึ่งได้แก่ โครงสร้างองค์กร งาน คน ระบบการให้รางวัลและการตัดสิ นใจ
วัฒนธรรมองค์กรที่ไม่เป็ นทางการ ในเรื่ องของการจัดหรื อออกแบบโครงสร้างองค์กรนี้จะมีความสําคัญต่อ
นักบริ หารค่อนข้างมาก ทั้งนี้เพราะการออกแบบองค์กรเป็ นเรื่ องที่เกี่ยวข้องกับทรัพยากร รวมทั้งบุคคล
ที่อยูร่ วมกันภายในโครงสร้างที่มีวธิ ีคิดหรื อปรับเปลี่ยนได้หลายแบบแตกต่างกัน
ความสาคัญของการออกแบบโครงสร้ างองค์ กร
การออกแบบ โครงสร้าง องค์กรนั้นถือว่าเป็ นส่วนประกอบที่สาํ คัญประการหนึ่ง
ของการจัดการที่มีประสิ ทธิภาพ การออกแบบ โครงสร้าง องค์กรมีเหตุผลที่สาํ คัญ 4 ประการ คือ เ มื่อองค์กร
มีขนาดใหญ่ข้ ึน เมื่อองค์กรมีการพัฒนาทางด้านเทคโนโลยี รู ปแบบขององค์กรจะแตกต่างไปตามประเภทของ
งานที่ทาํ และรู ปแบบขององค์กรจะต้องสอดคล้องกับกลยุทธ์ที่องค์การเลือกใช้
องค์ ประกอบพืน้ ฐานของการออกแบบโครงสร้ างองค์ กร
โครงสร้างองค์กร (Organizational Structure) คือ ระบบแบบแผนความสัมพันธ์ของการทํางาน
ที่ทาํ หน้าที่เป็ นทั้งสิ่ งที่จาํ แนกแยกงานออกจากกัน และเป็ นทั้งสิ่ งที่รวมงานต่างๆเข้าไว้ดว้ ยกัน อธิบายให้เข้าใจ
คือ จําแนกแยกงาน ว่า “ใครควรจะทําอะไร ” และ “ควรจะประสานการทํางานในแบบใด ” โครงสร้างองค์กร
ช่วยให้พนักงานในองค์กรทํางานร่ วมกันได้อย่างมีประสิ ทธิผล โดย
1. โครงสร้างองค์กรเป็ นตัวกําหนดมนุษย์ และทรัพยากรอื่นๆ ให้กบั งานต่างๆ
2. โครงสร้างองค์กรเป็ นตัวอธิบายหน้าที่ความรับผิดชอบของพนักงานให้ชดั เจน
และพนักงานเหล่านั้นควรจะทํางานนั้นๆอย่างไรให้เพื่อให้เป็ นไปตาม Job description แผนผังขององค์กร และ
สายการบังคับบัญชา
3. โครงสร้างองค์กรเป็ นตัวทําให้พนักงานรู ้วา่ พวกเขาถูกคาดหวังอะไรไว้บา้ ง
จากกฎเกณฑ์ต่างๆ จากขั้นตอนของการทํางานตลอดจนมาตรฐานของผลงาน
4. โครงสร้างองค์กรเป็ นตัวกําหนดขั้นตอนของการเก็บรวบรวมข้อมูลและประเมิน
ข้อมูลสําหรับช่วยผูจ้ ดั การในการตัดสิ นใจและแก้ปัญหาต่างๆ
รู ปแบบโครงสร้ างขององค์ กร
โครงสร้างองค์กรที่เหมาะสมกับประเภทธุรกิจและสภาพแวดล้อม ตลอดจนขนาดขององค์กร
ย่อมจะทําให้การบริ หารงานเป็ นไปโดยราบรื่ นและบรรลุเป้ าหมายขององค์การ รู ปแบบของการออกแบบองค์กร
ที่นิยมใช้กนั อยูท่ วั่ ไปมีอยู่ 5 แบบ ต่อไปนี้
34

1. โครงสร้ างองค์ กรแบบง่ าย ( Simple Structure) คือโครงสร้างองค์กรแบบง่าย


เป็ นรู ปแบบที่เหมาะสําหรับองค์กรเล็ก ๆ ที่เพิ่งเริ่ มกิจการใหม่ กา รฝ่ ายแบ่งแผนกน้อย ช่วงการบังคับบัญชากว้าง
อํานาจหน้าที่รวมอยูท่ ี่คนคนเดียวและการจัดระเบียบงานน้อย
2. โครงสร้ างองค์ กรแบบแบ่ งงานตามหน้ าที่ ( Functional Structure) คือ
โครงสร้างองค์กรแบ่งตามหน้าที่ เมื่อองค์การมีขนาดใหญ่ข้ ึนมีพนักงานมากขึ้น โครงสร้างขององค์กรจะมี
แนวโน้มความชํานาญเฉพาะด้านมากขึ้น มีการจัดระเบียบงานมากขึ้น กฎระเบียบต่างๆมากขึ้น มีการจัด
สายการบังคับบัญชาและช่วงการบังคับบัญชา ยิง่ องค์การมีขนาดใหญ่มากขึ้น การบริ หารจะมีความเป็ นราชการ
มากขึ้น การแบ่งโครงสร้างองค์กรแบบหน้าที่เป็ นรู ปแบบองค์กรที่จดั กลุ่มงานตามหน้าที่ที่เหมือนกันเป็ นฝ่ าย
เป็ นแผนก เช่น ฝ่ ายการเงิน ฝ่ ายการผลิต ฝ่ ายทรัพยากรมนุษย์
3. โครงสร้ างขององค์ กรแบบแบ่ งงานเป็ นฝ่ าย ( Divisional Structure) คือการแบ่ง
โครงสร้างตามหน่วยงาน รู ปแบบองค์กรที่ประกอบด้วยหน่วยงานที่แต่ละหน่วยงานจะมีความเป็ นอิสระในการ
ดําเนินงานและตัดสิ นใจ มีศูนย์กาํ ไรของแต่ละหน่วยงานเองโดยเฉพาะตัวอย่างของโครงสร้างแบบหน่วยงาน เช่น
แบ่งตามผลิตภัณฑ์ แบ่งตามพื้นที่แบ่งตามลูกค้าหรื อแบ่งตามกระบวนการผลิต
4. โครงสร้ างแบบทีมงาน ( Team-Based Structures) เป็ นองค์กรที่ประกอบด้วย
ทีมงานหรื อกลุ่มทํางานทั้งองค์กร ไม่มีสายการบังคับบัญชา พนักงานจะได้รับมอบอํานาจ เต็มที่ เมื่อได้รับมอบ
งาน ทีมงานจะมีความเป็ นอิสระในการปฏิบตั ิงานในแนวทางของทีม
5. โครงสร้ างองค์ กรแบบ Matrix (Matrix Organization) คือโครงสร้ างองค์กร
ที่ระดมบุคลากรจากหลายฝ่ ายหลายแผนกมาร่ วมทํางานในโครงการพิเศษ ในขณะที่ยงั ต้องปฏิบตั ิงานประจํา
ด้วยโครงสร้างแบบนี้จึงมีสายการบังคับบัญชา 2 สาย และมีผบู ้ งั คับบัญชา 2 คน จึงมีปัญหาเรื่ องเอกภาพ
ในการบังคับบัญชา และความขัดแย้งของผูบ้ งั คับบัญชาทั้ง 2 คน แต่มีขอ้ ดีที่มุ่งผลงานและความประหยัด
การนาแนวคิดมาประยุกต์ ใช้
การจัดผังโครงสร้างองค์กรจะช่วยให้บุคลากรทุกคนทราบสายการบังคับบัญชาและหน้าที่
ของตนเองอย่างชัดเจน ผังโครงสร้างองค์กรจึงควรกําหนดให้มีความเหมาะสมกับธุรกิจ ดังนั้นโครงสร้างองค์กร
ของโรงงานนํ้าดื่ม วอเตอร์ จึงใช้การจัดโครงสร้างแบบแบ่งงานตามหน้าที่ (Functional Structure)

2.4 แนวคิดการวิเคราะห์ งาน (Job analysis)


การวิเคราะห์งาน( Job analysis) เป็ นกระบวนการที่มีระบบในการกําหนดทักษะ หน้าที่และความรู ้
ที่ตอ้ งการสําหรับงานใดงานหนึ่งขององค์กร ( Mondy, Noe and Premeaux.1999:106) หรื อเป็ นการเก็บรวบรวม
ข้อมูลเกี่ยวกับงานในองค์กร เป็ นการวิเคราะห์งานอย่างเป็ นระบบโดยการรวบรวม การประเมิน และการจัดข้อมูล
เกี่ยวกับงาน (สิ ริวรรณ เสรี รัตน์ และคณะ.2540:390)
ก่อนการออกแบบโครงสร้างองค์กร อันดับแรกคือการวิเคราะห์งานเพื่อเป็ นการรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับ
ตําแหน่งงานที่องค์กรพึงมี และระบบที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบตั ิงานภายในองค์กรให้ได้ทราบถึงอํานาจหน้าที่
35

งาน (Task) ความรับผิดชอบ (Responsibilities) หน้าที่ (Duties)

คําบรรยายลักษณะงาน
(Job Description)
การวิเคราะห์งาน
(Job analysis)
การกําหนดคุณสมบัติของผูป้ ฏิบตั ิงาน
(Job Specifications)

ความรู ้(Knowledge) ทักษะ (Skills) ความสามารถ (Abilities)

ภาพที่ 2.6 การวิเคราะห์งาน

การวิเคราะห์งานจะเป็ นวิธีการดําเนินงานเพื่อกําหนดหน้าที่ของตําแหน่งต่างๆ และกําหนดลักษณะ


ของบุคคลที่เหมาะสมกับตําแหน่งเหล่านั้น การวิเคราะห์งานเป็ นการสร้างข้อมูลเกี่ยวกับความต้องการงาน
ซึ่งจะใช้สาํ หรับการบรรยายลักษณะของงาน( Job Description) และการกําหนดคุณสมบัติของผูป้ ฏิบตั ิงาน
(Job Specifications) (สมชาย หิ รัญกิตติ.2542:51)
การบรรยายลักษณะของงาน( Job Description) เป็ นการระบุหน้าที่ ความรับผิดชอบ ความสัมพันธ์
ในการรายงาน สภาพการทํางาน และความรับผิดชอบในการบังคับบัญชาของงานใดงานหนึ่ง ( Dessler.1997:83)
หรื อเป็ นการอธิบายรายละเอียดของงานว่ามีหน้าที่ความรับผิดชอบอย่างไรบ้าง โดยระบุชื่อ ตําแหน่งงาน คําสรุ ป
เกี่ยวกับงาน หน้าที่งานหลัก หน้าที่งานรอง และความสัมพันธ์กบั งานอื่นๆ
การกาหนดคุณสมบัตขิ องผู้ปฏิบัตงิ าน ( Job Specifications) เป็ นรายละเอียดของคุณสมบัติ
ของพนักงานทางด้านความสามารถ ประสบการณ์ ความรู ้ ทักษะ ซึ่งใช้ในการทํางานเฉพาะอย่างเพื่อให้งาน
ประสบความสําเร็ จ (Byars and Rue. 1997: 87)
ขั้นตอนในการวิเคราะห์ งาน (Steps in job analysis) แบ่งออกเป็ น 6 ขั้นตอน ดังนี้
ขั้นตอนที่ 1 ระบุขอ้ มูลที่นาํ มาใช้ โดยการเลือกชนิดของข้อมูล และวิธีการเก็บข้อมูล เทคนิค
การเก็บข้อมูลบางอย่าง เช่น การสัมภาษณ์พนักงานโดยการถามถึงความรับผิดชอบในงานที่ปฏิบตั ิ ซึ่งจะเป็ น
ประโยชน์สาํ หรับการเขียนคําบรรยายลักษณะงาน และการคัดเลือกพนักงาน การวิเคราะห์เทคนิคงานอื่นๆ เช่น
แบบสอบถามการวิเคราะห์ตาํ แหน่งงาน จะสามารถใช้เปรี ยบเทียบลักษณะของแต่ละงาน เพื่อกําหนดการจ่าย
ค่าตอบแทน
ขั้นตอนที่ 2 สํารวจภูมิหลังขององค์กร เช่น แผนภูมิองค์กร แผนภูมิกระบวนการ และ
คําบรรยายลักษณะงาน
36

2.1 แผนภูมิองค์กร( Organization charts) แสดงถึงความสัมพันธ์ของงาน


ในตําแหน่งต่างๆทั้งองค์กร แผนภูมิควรแสดงชื่อ ของแต่ละตําแหน่ง และมีเส้นโยงแสดงความสัมพันธ์ความสาย
การบังคับบัญชา
2.2 แผนภูมิกระบวนการ ( Process charts) เป็ นการแสดงรายละเอียดการไหล
ของงานมากกว่าแผนภูมิองค์กร ซึ่งแผนภูมอกระบวนการมีลกั ษณะเป็ นการแสดงการไหลของปั จจัยนําเข้า
จนกระทัง่ ออกมาเป็ นผลผลิต
2.3 คําบรรยายลักษณะงาน ( Job Description) เป็ นการนํารายละเอียดของงาน
เกี่ยวข้องกับหน้าที่ความรับผิดชอบ ชื่อตําแหน่งงาน คําสรุ ปเกี่ยวกับงาน หน้าที่งานหลัก หน้าที่งานรอง และ
ความสัมพันธ์กบั งานอื่นๆ มาเป็ นจุดเริ่ มต้นในการกําหนดคําบรรยายลักษณะงาน ซึ่งได้รับการปรับปรุ งให้
เหมาะสมขึ้น
ขั้นตอนที่ 3 การเลือกตัวแทนในตําแหน่งงานเพื่อมาวิเคราะห์ เนื่องจากอาจมีตาํ แหน่งงาน
ที่คล้ายคลึงกันจํานวนมากในองค์กร หากจะวิเคราะห์ท้ งั หมดจะเป็ นการเสี ยเวลา
ขั้นตอนที่ 4 การวิเคราะห์งานโดยการเก็บข้อมูลจากกิจกรรมของงานหรื อพฤติกรรมของ
พนักงาน สภาพการทํางาน ลักษณะและความสามารถของบุคคลที่จาํ เป็ นต่อการปฏิบตั ิงาน สิ่ งเหล่านี้อาจต้องใช้
เทคนิคการวิเคราะห์ 1 วิธี หรื อมากกว่า 1 วิธี
ขั้นตอนที่ 5 ศึกษาข้อมูลที่เกี่ยวกับหน้าที่งาน ข้อมูลเกี่ยวกับการวิดเคราะห์งานควรจะปรับ
เปรี ยบตามผลการปฏิบตั ิงานของพนักงาน และตามข้อมูลของหัวหน้างานใกล้ชิดที่ให้มา ซึ่งจะเป็ นข้อมูลที่ถูกต้อง
และสมบูรณ์จริ ง และจากข้อมูลนี้จะทําให้พนักงานเกิดการยอมรับ ดังนั้นข้อมูลจากกการวิเคราะห์งานจะสามารถ
นําไปปรับปรุ งคําบรรยายของกิจกรรมของงานได้
ขั้นตอนที่ 6 พัฒนาคําบรรยายลักษณะงาน และการกําหนดคุณสมบัติของผูป้ ฏิบตั ิงาน เป็ นสิ่ ง
ที่นาํ มาใช้ในการวิเคราะห์งาน โดยคําบรรยายลักษณะงาน จะเป็ นการอธิบายกิจกรรมในการทํางาน
ความรับผิดชอบของงาน ความสําคัญของงาน เช่น สภาพการทํางานและการรักษาความปลอดภัย ส่วนการกําหนด
คุณสมบัติของผูป้ ฏิบตั ิงาน เป็ นการกําหนดคุณภาพ ทักษะ และภูมิหลังของบุคคลที่ตอ้ งปฏิบตั ิงาน
(สมชาย หิ รัญกิตติ.2542:53-55)
ในการศึกษาครั้งนี้ได้นาํ การวิเคราะห์งานมาใช้ในเก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับตําแหน่งงาน
ในองค์กร โดยการวิเคราะห์งานจะทําให้ทราบได้ท้ งั ระบบงานในองค์กร ลักษณะงาน คุณสมบัติของผูป้ ฏิบตั ิงาน
ในแต่ละตําแหน่ง เพื่อนํามาเป็ นข้อมูลในการจัดองค์กรต่อไป
การนาแนวคิดมาประยุกต์ ใช้
ผูจ้ ดั ทํา ได้นาํ หลักการวิเคราะห์งานมาใช้ในการกําหนดหน้าที่ และความรับผิดชอบของ
พนักงานโรงงานนํ้าดื่มวอเตอร์ จังหวัดขอนแก่น ซึ่งจะประกอบไปด้วย การบรรยายลักษณะของงาน เป็ นการ
ระบุหน้าที่ ความรับผิดชอบ สภาพการทํางาน และอยูใ่ นความรับผิดชอบของฝ่ ายใด โดยระบุชื่อ ตําแหน่งงาน
คําสรุ ปเกี่ยวกับงานรวมไปถึงหน้าที่หลัก และ การกําหนดคุณสมบัติของผูป้ ฏิบตั ิงาน เป็ นรายละเอียด
ของคุณสมบัติของพนักงานทางด้านความสามารถ ประสบการณ์ ความรู ้ และทักษะในการทํางานเฉพาะอย่าง
37

เพื่อใช้เป็ นหลักในการพัฒนาบุคลากรเดิมและสรรหาบุคลากรที่จะเข้ามาทํางานให้มีคุณสมบัติตามที่ทางโรงงาน
ต้องการ

2.5 แนวคิดการจัดการทรัพยากรบุคคล
การจัดการทรัพยากร บุคคล (เพ็ญศรี วายวานนท์ 2537: 2) ให้ความหมายการจัดการทรัพยากร บุคคล
ว่าเป็ นงานการจัดการในส่วนที่เกี่ยวข้องกับคนทํางาน เกี่ยวข้องกับการกําหนดและดําเนินนโยบายในด้านการ
วางแผนกําลังคน การจัดหาและคัดเลือกคนเข้าทํางาน การพัฒนา การจ่ายค่าตอบแทน การประสานสัมพันธ์เพื่อ
การธํารงรักษากําลังคนและการพ้นสภาพการทํางานอย่างเป็ นธรรม เพื่อมุ่งหมายให้คนทํางานอยูด่ ีและเป็ น
ส่วนสําคัญในความสําเร็ จขององค์กร
มอนดี และโน (Mondy and Noe, 1996: 4) ให้ความหมายว่า การจัดการทรัพยากร บุคคล เพื่อให้องค์กร
บรรลุตามวัตถุประสงค์ที่กาํ หนด
คลาร์ค (Clark, 1992: 13) อธิบายว่า การจัดการทรัพยากร บุคคล เป็ นการจัดการความสัมพันธ์ของ
คนงานและผูบ้ ริ หาร โดยมีจุดประสงค์เพื่อให้องค์กรบรรลุจุดมุ่งหมาย ซึ่งจากความหมายดังกล่าวมีประเด็น
ที่สาํ คัญ 3 ประการ คือ
1. การจัดการทรัพยากร บุคคลให้ความสําคัญกับการจัดการความสัมพันธ์ ที่ไม่ใช่เป็ นการ
จัดการบุคคล
2. การจัดการทรัพยากรบุคคลมุ่งเน้นที่เป้ าประสงค์ขององค์ก ร ดังนั้น เมื่อวัตถุประสงค์
ขององค์กรเปลี่ยนแปลงไป การจัดการความสัมพันธ์ดงั กล่าวก็จะเปลี่ยนด้วย
3. วัตถุประสงค์หลักของการจัดการทรัพยากรบุคคลควรมุ่งที่องค์ก ร ส่วนสมาชิกขององค์กร
แต่ละคนจะเป็ นวัตถุประสงค์รอง
จากความหมายดังกล่าว สามารถสรุ ปได้วา่ การจัดการทรัพยากร บุคคล เป็ นการจัดการความสัมพันธ์
ในการจ้างงาน เพื่อให้มีการใช้ทรัพยากร บุคคลในการทําให้องค์การบรรลุวตั ถุประสงค์ โดยจะเกี่ยวข้องกับการ
จัดการทรัพยากร บุคคลตั้งแต่การได้คนมาทํางานจนถึงคนนั้นออกจากงานไป ซึ่งสามารถแบ่งได้เป็ น 3 ระยะ
ที่สาํ คัญ คือ ระยะการได้มาซึ่งทรัพยากร บุคคล ระยะการรักษาทรัพยากรบุคคลที่ทาํ งานในองค์กร และระยะ
การให้พน้ จากงาน ซึ่งการจัดการทรัพยากร บุคคลเป็ นบทบาทหน้าที่ของผูบ้ ริ หารในทุกระดับ เนื่องจากต้อง
เกี่ยวข้องกับการจัดการให้ได้คนดีมาทํางาน สามารถจัดวางคนให้เหมาะสมกับงาน มีการพัฒนา สนับสนุนและ
ควบคุมให้คนทํางานได้อย่างเต็มศักยภาพ ดูแลเรื่ องสุขภาพและความปลอดภัยของคนงาน ตลอดจนเตรี ยมการ
ในรายที่จะเกษียณหรื อต้องเลิกจ้าง
กระบวนการจัดการทรัพยากรบุคคล
การบริ หารจัดการทรัพยากรบุคคลสามารถแบ่งออกเป็ น 3 ระยะสําคัญ ตั้งแต่การได้คนมา
ทํางานในองค์กร การดูแลรักษาให้คนในองค์กรทํางานได้อย่างมีประสิ ทธิผล และการดูแลการออกจากงานของ
คนงาน โดยในแต่ละขั้นตอนจะมีกิจกรรมย่อยที่เกี่ยวข้องกัน ซึ่งในกระบวนการจัดการทรัพยากร บุคคลจะได้รับ
อิทธิพลจากกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับแรงงานด้วย
38

1. ระยะการได้ มา
ระยะการได้มาซึ่งทรัพยากร บุคคลที่จะเข้ามาทํางานใน จะประกอบด้วยกิจกรรม
สําคัญในการบริ หารจัดการทรัพยากรบุคคล ได้แก่ การวางแผนทรัพยากรบุคคล การสรรหา การคัดเลือก และการ
ปฐมนิเทศคนเข้ามาทํางานใหม่
1.1 การวางแผนทรัพยากร บุคคล (human resource planning) เป็ นกิจกรรมการ
จัดการทรัพยากร บุคคลขั้นตอนแรกก่อนที่จะมีการสรรหา การคัดเลือกและการบรรจุพนักงานเข้าทํางาน ซึ่ง
การวางแผนทรัพยากร บุคคลเป็ นการพยากรณ์ความต้องการทรัพยากร บุคคลในอนาคต ทั้งในด้านจํานวนและ
ทักษะความสามารถ เพื่อให้แน่ใจว่าจะมีทรัพยากร บุคคล ใช้ตามความต้องการขององค์กร การวางแผนเป็ น
สิ่ งจําเป็ นเนื่องจากองค์กรมีการเปลี่ยนแปลงไม่หยุดนิ่งจากสภาพแวดล้อมภายในและภายนอกองค์กร ดังนั้น
ความต้องการทรัพยากร บุคคลขององค์กรจึงมีการเปลี่ยนแปลงไม่หยุดนิ่งเช่นกัน ปั จจัยที่ส่งผลต่อความต้องการ
ทรัพยากรบุคคลในอนาคตที่สาํ คัญขององค์กร ได้แก่ การเจริ ญเติบโตขององค์กร และการออกจากงานของคนงาน
เช่น ความต้องการใช้บริ การของลูกค้าเพิ่มขึ้น มีการขยายบริ การ หรื อเพิ่มคุณภาพและระดับความสามารถในการ
ทํางานขึ้น รวมทั้งการลาออก การให้ออก และการเกษียณของคนงานเก่า หากขาดการวางแผนที่ดีจะทําให้คนงาน
ที่มีอยูเ่ ก่าและคนงานที่รับใหม่มีไม่เพียงพอ หรื อบางครั้งเกินความต้องการขององค์กรได้ ทําให้เป็ นอุปสรรค
ต่อคุณภาพการให้บริ การขององค์กร หรื อส่งผลต่อค่าใช้จ่ายขององค์กรในกรณี ที่มีคนเกิน เป็ นต้น
ในกระบวนการวางแผนทรัพยากร บุคคล จําเป็ นต้องมีการวิเคราะห์อุปสงค์
ด้านทรัพยากร บุคคล จากแผนธุรกิจและแผนกิจกรรมที่จะมีในอนาคต เพื่อสามารถคาดการณ์ความต้องการ
ในอนาคต ในขณะเดียวกันก็ตอ้ งวิเคราะห์อุปทาน (supply) ด้านทรัพยากรบุคคลประเภทต่าง ๆ ที่องค์กรต้องการ
ในอนาคต ทั้งทรัพยากรที่มีอยูเ่ ดิมในองค์กร (เช่น การเลื่อน การโอนย้ายตําแหน่งคนงานที่มีอยูเ่ ดิม เป็ นต้น ) และ
จากตลาดแรงงานภายนอกองค์กร การวิเคราะห์ดงั กล่าวจะทําให้ผบู ้ ริ หารคาดการณ์ได้วา่ จะมีคนงานขาดหรื อเกิน
ในอนาคต ถ้าคาดว่าจะขาดคนงาน จําเป็ นต้องวางแผนการสรรหา การฝึ กอบรมพัฒนา การเพิ่มผลผลิตของคนงาน
เดิม หรื อการใช้ทรัพยากรทางเลือกอื่น ๆ ถ้าทําได้ ส่วนในกรณี ที่คาดการณ์วา่ จะมีคนงานเกิน จําเป็ นต้องวางแผน
การลดคนงานในรู ปแบบต่าง ๆ เช่น การให้เกษียณก่อนกําหนด หรื อการขยายงานให้สอดคล้องกับจํานวนคนงาน
เพื่อเพิ่มผลผลิตให้มากขึ้น เป็ นต้น ซึ่งเมื่อวางแผนการเพิ่มหรื อลดคนแล้ว จะต้องมีการกําหนดงบประมาณที่จะใช้
และมาตรฐานทรัพยากร บุคคลที่ตอ้ งการ เช่น จํานวนคนงาน ความรู ้ ทักษะและความสามารถที่ตอ้ งการ รวมถึง
การกําหนดวิธีการควบคุมให้เกิดการดําเนินงานตามแผนที่วางไว้
ถึงแม้วา่ การวางแผนจะถูกกําหนดให้เป็ นขั้นตอนแรกของกระบวนการจัดการ
ทรัพยากร บุคคลในระยะของการได้มา แต่การวางแผนทรัพยากร บุคคลจะต้องมองภาพรวมของกระบวนการ
จัดการทรัพยากร บุคคล คือ ทั้งการได้มา การดูแลรักษา และการออกจากงาน เพราะทั้ง 3 ระยะต่างเกี่ยวข้อง
สัมพันธ์กนั
1.2 การสรรหา (recruitment) การสรรหา เป็ นกระบวนการค้นหาและชักจูง
ให้บุคคลที่มีคุณสมบัติตามต้องการมาสมัครทํางาน เพื่อองค์กรจะได้ทาํ การคัดเลือกผูท้ ี่มีความเหมาะสมที่สุด
เข้าทํางานต่อไป การสรรหาสามารถทําได้ท้ งั จากแหล่งภายในองค์กรเอง (เช่น การเลื่อนตําแหน่ง การโอนย้าย )
39

หรื อจากแหล่งภายนอกองค์กรก็ได้ ซึ่งทั้งสองแหล่งมีขอ้ ดีและข้อเสี ยแตกต่างกัน (Cherrington cited in Fottler,


and Joiner, 1998 : 151)

ตารางที่ 2.1 เปรี ยบเทียบข้อดีและข้อเสี ยของการสรรหาคนงานจากแหล่งภายในและภายนอกหน่วยงาน

การสรรหาคนงานจากแหล่ งภายในหน่ วยงาน


ข้ อดี ข้ อเสีย
- เป็ นแรงจูงใจให้คนงานเดิมปฏิบตั ิงานดีข้ ึน - การคิดเรื่ องใหม่ ๆ จะอยูใ่ นวงแคบและมีการ
- เปิ ดโอกาสให้คนงานเดิมมีโอกาสก้าวหน้า ลอกเลียนแบบความคิด
- มีโอกาสประเมินความสามารถของคนงาน - เกิดการเมืองและแรงกดดันในองค์การ
- เพิ่มขวัญกําลังใจและความจงรักภักดี - จําเป็ นต้องมีการจัดการโปรแกรมการพัฒนา
- คนงานสามารถเริ่ มทํางานในตําแหน่งใหม่ อย่างมาก เพื่อเตรี ยมคนงานที่จะได้รับการเลื่อน
ได้ในระยะอันเวลาสั้น ตําแหน่ง
การสรรหาคนงานจากแหล่ งภายนอก
ข้ อดี ข้ อเสีย
- ได้ความคิดและมุมมองใหม่ ๆ - ต้องใช้เวลามากในการให้คนงานใหม่ปรับตัว
- สามารถเปลี่ยนแปลงสิ่ งต่างๆ ได้โดยไม่ตอ้ งกังวลว่า - เป็ นการทําลายกลไกการให้รางวัลโดยการเลื่อน
จะต้องทําให้กลุ่มต่าง ๆ พอใจ ตําแหน่งให้กบั คนงานเดิม
- ไม่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงลําดับขั้นการบริ หารภายใน - ไม่มีขอ้ มูลความสามารถของคนงานใหม่วา่ จะ
องค์การจากเดิมมากนัก มีความสามารถเหมาะกับส่วนอื่น ๆ ขององค์การ
หรื อไม่

อย่างไรก็ตาม ก่อนที่จะใช้วธิ ีการสรรหาว่าจ้างคนใหม่เข้ามาทํางาน ผูบ้ ริ หารองค์กร


ควรพิจารณาทางเลือกอื่น ๆ ก่อน เช่น การให้คนงานที่มีอยูท่ าํ งานล่วงเวลา หรื อการจ้างคนงานชัว่ คราวหรื อ
ทํางานบางเวลา เพื่อไม่ให้เป็ นภาระในการจัดการทรัพยากร บุคคลในระยะยาว แต่ถา้ พิจารณาแล้วไม่มีทางเลือก
อื่น จําเป็ นต้องสรรหาคนใหม่เข้ามาทํางานในองค์กร สามารถใช้วธิ ีการสรรหาได้หลายวิธี คือ
1. การให้ผสู ้ มัครมาสมัครเอง (Walk in) ซึ่งเหมาะกับสถานที่ที่มีชื่อเสี ยงและตั้ง
อยูใ่ นที่ผสู ้ มัครสามารถเข้าถึงได้ง่าย
2. การให้คนงานเดิมแนะนําเพื่อนหรื อคนรู ้จกั ที่มีคุณสมบัติตามที่กาํ หนดมาสมัคร
3. การโฆษณาผ่านสื่ อมวลชนต่าง ๆ เช่น หนังสื อพิมพ์ วารสารวิชาชีพ วิทยุ หรื อ
โทรทัศน์ เป็ นต้น
4. การแจ้งผ่านสถาบันการศึกษาที่ผลิตบุคลากรในตําแหน่งที่องค์กรต้องการ
5. การแจ้งผ่านสมาคมวิชาชีพของงานที่ตอ้ งการ เช่น แพทยสภา หรื อสภา
การพยาบาล เป็ นต้น
40

6. การแจ้งผ่านศูนย์จดั หางาน ทั้งของรัฐและเอกชน เช่น ที่กรมการจัดหางาน หรื อ


สํานักงานจัดหางานของเอกชน เป็ นต้น
7. การทาบทามบุคคลที่เป็ นที่รู้จกั ดีอยูแ่ ล้วและทํางานที่องค์กรหรื อหน่วยงานอื่น
ซึ่งเป็ นผูม้ ีความสามารถและประสบการณ์ตรงตามที่ตอ้ งการ วิธีน้ ีเหมาะกับตําแหน่งงานในระดับสูง
8. การให้บริ ษทั ค้นหาผูบ้ ริ หาร เป็ นบริ ษทั ที่ทาํ หน้าที่คน้ หาบุคคลที่มีความสามารถ
และประสบการณ์สูงในตําแหน่งที่ตอ้ งการรับ ซึ่งมักเป็ นตําแหน่งผูบ้ ริ หารระดับสูง เช่น ผูอ้ าํ นวยการองค์กร
ผูจ้ ดั การการตลาดขององค์กร ซึ่งบริ ษทั เหล่านี้จะค้นหาและทาบทามบุคคลดังกล่าว ที่ทาํ งานอยูใ่ นองค์การอื่นให้
มาทํางานกับองค์กรที่ตอ้ งการ ซึ่งมักได้คนที่ความสามารถสูงและมาทํางานได้ทนั ที แต่ตอ้ งเสี ยค่าบริ การในอัตรา
สูง
1.3 การคัดเลือก (selection) การคัดเลือก เป็ นการกลัน่ กรองผูส้ มัครงาน เพื่อให้ได้
คนที่เหมาะสมที่สุดสําหรับตําแหน่งงานว่างที่เปิ ดรับ ซึ่งเป็ นขั้นตอนที่ต่อเนื่องจากการสรรหาได้ผมู ้ าสมัครงานใน
จํานวนที่พึงพอใจแล้ว กระบวนการคัดเลือกที่ดีจะทําให้ได้คนที่เหมาะสมกับงานที่ตอ้ งการ หรื อ “Put the right
man on the right job.” นัน่ เอง

บุคคลที่ได้รับการสรรหาแล้ว

การสัมภาษณ์ข้ นั ต้น

การทบทวนใบสมัครและประวัติของผูส้ มัคร

การทดสอบเพื่อการคัดเลือก
การปฏิเสธการรับสมัครเข้าทํางาน

การสัมภาษณ์เพื่อจ้างงาน

การตรวจร่ างกาย

การตรวจสอบอ้างอิงและการตรวจสอบประวัติ

การตัดสิ นใจเลือก

ได้บุคคลที่จา้ งเข้าทํางาน

ภาพที่ 2.7 กระบวนการคัดเลือกทรัพยากรบุคคล


41

ทั้งนี้ข้ นั ตอนการคัดเลือกอาจแตกต่างกันไปในแต่ละหน่วยงานและใน
แต่ละตําแหน่งเช่น บางหน่วยงานอาจไม่มีการสัมภาษณ์ข้ นั ต้นแต่ใช้วธิ ีการทดสอบข้อเขียนก่อนโดยเฉพาะ
ตําแหน่งที่มีคนสมัครจํานวนมากเพื่อคัดกรองคนที่เหมาะสมให้เหลือน้อยลง หรื อบางตําแหน่งอาจใช้วธิ ีการ
ทดสอบภาคปฏิบตั ิ เช่น ตําแหน่งพนักงานธุรการ อาจให้ทดสอบการพิมพ์ หรื อการใช้คอมพิวเตอร์ เป็ นต้น
บางตําแหน่งที่มีการกําหนดมาตรฐานวิชาชีพไว้แน่นอนแล้ว เช่น แพทย์ พยาบาล หรื อเภสัชกร อาจพิจารณา
จากใบประกอบวิชาชีพแทนการสอบ
สําหรับการสัมภาษณ์เพื่อจ้างงาน นับเป็ นขั้นตอนที่สาํ คัญขั้นตอนหนึ่ง เพราะ
สามารถรวบรวมข้อมูลของผูส้ มัครในลักษณะการเผชิญหน้า จึงมีโอกาสได้ขอ้ มูลที่ตรงตามเป็ นจริ งได้มาก เพราะ
สามารถสังเกตปฏิกิริยาประกอบการสัมภาษณ์ได้ดว้ ย ซึ่งการสัมภาษณ์นอกจากจะได้ขอ้ มูลของผูส้ มัครเกี่ยวกับ
บุคลิกภาพ ทักษะ ไหวพริ บ ความรู ้ ความสามารถและประสบการณ์ที่เกี่ยวกับงานที่สมัครแล้ว ผูส้ มั ภาษณ์
ยังสามารถให้ขอ้ มูลที่เป็ นจริ งบางประการเกี่ยวกับลักษณะงานในองค์กร เพื่อให้ผสู ้ มัครพิจารณาว่าตรงตาม
ที่คาดหวังหรื อไม่ เมื่อจบการสัมภาษณ์ควรให้ผสู ้ มัครประเมินตนเองว่า เหมาะสมกับตําแหน่งที่จะรับหรื อไม่
การตรวจสุขภาพบุคคลก่อนเข้าทํางานมีจุดมุ่งหมายเพื่อ
1. คัดบุคคลที่มีสุขภาพไม่แข็งแรงพอที่จะทํางานออกไป
2. เป็ นการป้ องกันความเสี ยหายที่องค์กรต้องจ่ายให้แก่คนงานในกรณี การป่ วยที่
เนื่องมาจากการทํางาน ข้อมูลการตรวจสุขภาพจึงเป็ นข้อมูลพื้นฐานที่สาํ คัญต่อการพิจารณาเรื่ องการเจ็บป่ วยที่เกิด
จากการทํางาน
3. เป็ นการป้ องกันโรคติดต่อ ที่อาจเกิดอันตรายต่อผูม้ ารับบริ การและผูร้ ่ วมงาน
4. เพื่อบรรจุบุคคลให้ทาํ งานในหน้าที่ที่เหมาะกับสุขภาพของผูส้ มัคร
การตรวจสอบอ้างอิงและการตรวจสอบประวัติ เพื่อตรวจสอบว่า ข้อมูลที่ผสู ้ มัคร
ให้ไว้ในใบสมัครและการสัมภาษณ์จริ งเท็จเพียงใด ในการตรวจสอบมักติดต่อกับบุคคลที่ผสู ้ มัครอ้างอิงไว้ใน
ใบสมัคร ซึ่งมักเป็ นอาจารย์ผสู ้ อน หรื ออาจารย์ที่ปรึ กษา หรื อหัวหน้างานเก่าที่เคยทํางานด้วย เพื่อสอบถาม
พฤติกรรม ลักษณะเด่น ลักษณะด้อยของผูส้ มัคร โดยทัว่ ไปขั้นตอนนี้มกั พิจารณากับการรับสมัครผูท้ ี่เคย
มีประสบการณ์การทํางานมาก่อนมากกว่าผูท้ ี่เพิ่งจบการศึกษา เพราะต้องมีค่าใช้จ่ายในการดําเนินการ
การตัดสิ นใจเลือกเป็ นขั้นตอนสุดท้าย ซึ่งเป็ นความรับผิดชอบของผูบ้ งั คับบัญชา
ตามสายงานของตําแหน่งที่วา่ งที่เปิ ดรับสมัครบุคคล โดยตัดสิ นใจเลือกบุคคลที่ดีและเหมาะสมที่สุดตามจํานวน
ตําแหน่งที่วา่ ง อาจมีตาํ แหน่งสํารองไว้ ถ้ามีบุคคลที่เหมาะสมในลําดับถัดไป เผื่อว่าผูท้ ี่ได้รับการคัดเลือก
ขั้นสุดท้ายถอนตัว จะได้ไม่ตอ้ งเสี ยเวลาเปิ ดรับสมัครใหม่ หลังจากพิจารณาคัดเลือกขั้นสุดท้ายแล้ว ฝ่ ายจัดการ
ทรัพยากรบุคคลจะทําหน้าที่ประกาศผลการคัดเลือกและดําเนินการบรรจุบุคคลเข้าทํางานต่อไป โดยมีการแจ้ง
ให้ผผู ้ า่ นการคัดเลือกมารายงานตัวและเข้าสู่การแนะนําตัวเข้าทํางานใหม่เพื่อรับการปฐมนิเทศ การทดสอบงาน
และประเมินผลการทดลองงาน เพื่อบรรจุเป็ นพนักงานถาวรต่อไป
1.4 การปฐมนิเทศ (orientation) ภายหลังการคัดเลือกแล้ว การแนะนําตัวและการ
ปฐมนิเทศคนงานใหม่เป็ นขั้นตอนที่ตอ้ งดําเนินการต่อไป วัตถุประสงค์ของการปฐมนิเทศ คือ เพื่อให้คนงานใหม่
เข้าใจปรัชญาและวัตถุประสงค์ขององค์กร มีการรับรู ้เกี่ยวกับองค์กรและบทบาทของตนเองอย่างถูกต้อง ได้เรี ยนรู ้
42

วิธีการทํางานและวัฒนธรรมขององค์ กร ตลอดจนรู ้จกั เพื่อนร่ วมงานใหม่และสามารถทํางานร่ วมกันได้


โดยองค์กรควรให้ขอ้ มูลแก่คนงานใหม่ในเรื่ องเกี่ยวกับปรัชญาและวัตถุประสงค์ขององค์กร สภาพทางกายภาพ
ขององค์กร โครงสร้างการบริ หาร แนวปฏิบตั ิเรื่ องความปลอดภัยและอัคคีภยั บริ การด้านสุขภาพและบริ การ
ช่วยเหลืออื่น ๆ สําหรับคนงาน นโยบายสําคัญและสิ ทธิประโยชน์ที่คนงานจะได้รับ รวมถึงช่วงเวลา วิธีการ และ
ผูท้ าํ หน้าที่ให้การดูแลฝึ กอบรมและทดลองงานของคนงานใหม่ ซึ่งการปฐมนิเทศที่ดีจะเป็ นจุดเริ่ มต้นที่ช่วยให้
คนงานใหม่สามารถเรี ยนรู ้การทํางานและมีพฤติกรรมตามที่องค์กรคาดหวัง
2. ระยะการดูแลรักษา
ระยะการดูแลรักษาทรัพยากรบุคคลที่ทาํ งานในองค์กร มีจุดประสงค์เพื่อให้ทรัพยากร บุคคล
สามารถทํางานได้อย่างเกิดประโยชน์สูงสุด ประกอบด้วยกิจกรรมสําคัญ ได้แก่ การประเมินผลงาน
การจัดวางคน การฝึ กอบรมและพัฒนา ระเบียบวินยั การบริ หารค่าตอบแทนและสวัสดิการ การช่วยเหลือ
ให้คาํ ปรึ กษา การดูแลสุขภาพและความปลอดภัย
2.1 การประเมินผลงาน (performance appraisal) การประเมินผลงานเป็ นระบบ
การ วัดผลงานของบุคคลที่ทาํ ได้ในระยะเวลาที่กาํ หนดไว้ แล้วนําไปเปรี ยบเทียบกับเกณฑ์หรื อมาตรฐาน
ที่กาํ หนด ซึ่งการประเมินผลงานของคนงานเป็ นมาตรการหนึ่งที่ทาํ ให้ผบู ้ ริ หารได้ขอ้ มูลเกี่ยวกับระดับผลงาน
ของคนงานแต่ละคนเมื่อเปรี ยบเทียบกับเกณฑ์ที่ต้ งั ไว้ และเป็ นข้อมูลป้ อนกลับสําหรับการปรับปรุ งประสิ ทธิภาพ
การทํางานของคนงาน การบริ หารค่าตอบแทน การพิจารณาเลื่อนตําแหน่งหรื อการโอนย้ายหน้าที่ การฝึ กอบรม
และพัฒนา และการวางแผนทรัพยากร บุคคล ซึ่งการประเมินผลงานสามารถดําเนินการได้ 4 ลักษณะ คือ
การประเมินผลงานเพื่อบรรจุหลังการทดลองงาน การประเมินผลการปฏิบตั ิงานประจําปี การประเมินผลในช่วง
การรักษาการในตําแหน่งก่อนแต่งตั้งให้ดาํ รงตําแหน่งใหม่ และการประเมินศักยภาพเพื่อการเลื่อนตําแหน่ง
2.2 การจัดวางคน (employee placement) ข้อมูลจากการประเมินผลงานจะทําให้ผบู ้ ริ หาร
นํามาใช้ประกอบการตัดสิ นใจจัดวางคนในตําแหน่งต่าง ๆ ให้เหมาะกับศักยภาพที่มีอยู่ เช่น การเลื่อนตําแหน่ง
การลดตําแหน่ง หรื อการโอนย้าย เป็ นต้น
2.3 การฝึ กอบรมและพัฒนา (training and development) การพัฒนาทรัพยากร บุคคล
เป็ นกระบวนการเพิ่มศักยภาพและผลการปฏิบตั ิงานของคนงานในองค์กร โดยใช้วธิ ีการฝึ กอบรมและพัฒนา
ในรู ปแบบต่าง ๆ สําหรับเหตุผลสําคัญที่จะต้องมีการฝึ กอบรมและพัฒนาทรัพยากรบุคคล มี 5 ประการ ได้แก่
1. เพื่อช่วยปรับปรุ งการปฏิบตั ิงานของคนงานให้ดีข้ ึ น ซึ่งคนงานที่ขาดทักษะ
ที่จาํ เป็ นในการทํางานนับเป็ นความสําคัญอันดับแรกที่จะต้องได้รับการฝึ กอบรม นอกจากนี้ คนงานบางราย
ที่ได้รับการเลื่อนตําแหน่งและยังขาดทักษะและความสามารถบางประการในการดํารงตําแหน่งใหม่ ก็จาํ เป็ นต้อง
มีการฝึ กอบรมเช่นกัน
2. เพื่อช่วยให้คนงานมีทกั ษะก้าวทันกับการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี องค์กร
และวิธีการบริ หารจัดการ เช่น เมื่อมีการปรับระบบเทคโนโลยีสารสนเทศขององค์กร จําเป็ นต้องฝึ กอบรมคนงาน
เกี่ยวกับการใช้คอมพิวเตอร์ในหน่วยงานต่าง ๆ เป็ นต้น
3. เพื่อช่วยให้ปัญหาของหน่วยงานได้รับการแก้ไข เช่น ปั ญหาความขัดแย้ง คนงาน
ลาออก การทํางานไม่ได้มาตรฐาน ฯลฯ ซึ่งการฝึ กอบรมคนงานเป็ นวิธีการหนึ่งที่สาํ คัญที่ช่วยแก้ไขปั ญหาเหล่านี้
43

4. เพื่อเตรี ยมพร้อมให้กบั คนงานที่จะได้รับการเลื่อนตําแหน่งให้ทาํ งานในระดับ


ที่สูงขึ้น ซึ่งการจูงใจคนงานด้วยการเลื่อนตําแหน่งให้จะต้องทําควบคู่กบั การมีโปรแกรมการฝึ กอบรมและพัฒนา
คนงานอย่างกว้างขวาง
5. เพื่อปฐมนิเทศคนงานใหม่ ซึ่งได้กล่าวรายละเอียดมาแล้วข้างต้น
จากเหตุผลดังกล่าว การฝึ กอบรมและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์จึงมีส่วนช่วยให้
การดําเนินงานของหน่วยงาน แผนก และองค์การประสบความสําเร็ จตามเป้ าประสงค์ และช่วยให้เป้ าประสงค์
ของแต่ละบุคคลบรรลุดว้ ย นอกจากนี้ ยังสามารถช่วยในการผลักดันและสร้างวัฒนธรรมขององค์การให้เป็ นไป
ในทิศทางที่พึงประสงค์ดว้ ยการฝึ กอบรมและพัฒนา
สําหรับกระบวนการฝึ กอบรมและพัฒนาจําเป็ นเริ่ มต้นด้วยต้องหาความต้องการ
ซึ่งได้จากการวิเคราะห์ความต้องการ 3 ด้าน คือ
1. ความต้องการขององค์กร ที่พิจารณาจากแผนขององค์กรและแผน
ทรัพยากรบุคคล
2. ความต้องการของงาน ที่พิจารณาจากการวิเคราะห์งาน องค์ความรู ้และ
ทักษะที่ตอ้ งการสําหรับงานนั้น ๆ
3. ความต้องการส่วนบุคคล ที่พิจารณาจากการประเมินผลงานและ
ศักยภาพของแต่ละบุคคล เมื่อพบว่าความต้องการเหล่านั้นสามารถแก้ไขได้ดว้ ยการฝึ กอบรมและพัฒนา ทั้งนี้
จะต้องมีการกําหนดวัตถุประสงค์ หลักสูตร วิธีการและวัสดุอุปกรณ์ในการฝึ กอบรมและพัฒนาที่เหมาะสม
มีการดําเนินการและทําการประเมินผลการฝึ กอบรมและพัฒนาให้ครบวงจร
2.4 ระเบียบวินัย (discipline) เมื่อกล่าวถึงระเบียบวินยั คนส่วนใหญ่มกั จะมองในด้านลบ
ว่าเกี่ยวข้องกับการลงโทษ แต่ถา้ มองในด้านบวกระเบียบวินยั ช่วยสร้างบรรยากาศที่ดีในการทํางานและทําให้
คนงานมีทศั นคติที่ดีต่อกัน และเกิดการยอมรับนโยบายและแนวปฏิบตั ิขององค์การ ซึ่งเป็ นส่วนสําคัญที่จะทําให้
องค์กรประสบความสําเร็ จ ทั้งนี้นโยบายและกฎระเบียบต่าง ๆ ที่กาํ หนดต้องสมเหตุสมผล และคนงานมี
ความเข้าใจต่อสิ่ งที่องค์กรคาดหวังให้เขาปฏิบตั ิ รวมทั้งคนงานต้องยอมรับในอํานาจหน้าที่ของผูบ้ ริ หารที่
จะออกระเบียบวินยั ที่ช่วยส่งเสริ มให้เกิดการทํางานที่ดีของคนงาน และให้การยอมรับการดําเนินการใดๆ
ของผูบ้ ริ หาร เมื่อมีคนงานละเมิดระเบียบวินยั ดังกล่าว
ระเบียบวินยั หรื อการให้คาํ ปรึ กษาเพื่อให้คนงานปรับปรุ งแก้ไข ที่ใช้ได้ผล ควรตั้งอยู่
บน ความเป็ นจริ งที่ปฏิบตั ิได้ มีความชัดเจน สามารถตัดสิ นได้ มีการกําหนดแนวทางปฏิบตั ิอย่างคงเส้นคงวา และ
กําหนดวิธีการแก้ไขด้านวินยั กับคนงานที่ทาํ ผิดรุ นแรงมากน้อยตามพฤติกรรมที่แสดงออก เช่น เริ่ มตั้งแต่
การตักเตือนด้วยวาจา การบันทึกคําตักเตือนไว้ในแฟ้ มประวัติการจ้าง การให้พกั งาน หรื อการตัดเงินเดือน หรื อ
การลดเงินเดือน และการให้ออก การปลดออก หรื อการไล่ออก
สําหรับระเบียบวินยั ของคนงานในองค์กรที่กาํ หนด ควรมีความเข้มงวดตามลําดับจากมาก
ไปหาน้อยในเรื่ องต่อไปนี้ คื อ ชีวติ และความปลอดภัยของผูร้ ับบริ การและของคนงาน ระเบียบวินยั ที่เกี่ยวข้อง
กับความสะดวกรวดเร็ วในการให้บริ การแก่ผรู ้ ับบริ การ ระเบียบวินยั ที่เกี่ยวข้องกับความสะดวกรวดเร็ ว
44

ในการปฏิบตั ิงานร่ วมกันของคนงาน ระเบียบวินยั ที่เกี่ยวข้องกับความสามัคคีของคนงา น และระเบียบวินยั


เกี่ยวกับการปฏิบตั ิทวั่ ๆ ไป
2.5 การบริหารค่ าตอบแทนและสวัสดิการ (compensation and benefits administration)
สิ่ งที่สาํ คัญอย่างหนึ่งในการรักษาคนที่ทาํ งานให้ทาํ งานตามที่มุ่งหวังและอยูก่ บั องค์กรต่อไป โดยไม่ยา้ ยงาน หรื อ
ลาออก คือ การบริ หารค่าตอบแทนให้แก่คนงานได้อย่างเหมาะสม มีท้ งั ค่าตอบแทนที่เป็ นตัวเงินโดยตรง เช่น
ค่าจ้าง เงินเดือน และโบนัส เป็ นต้น ค่าตอบแทนที่เป็ นตัวเงินทางอ้อม เช่น การประกันสังคม การประกันชีวติ
และอุบตั ิเหตุ เงินช่วยเหลือการศึกษาบุตร เงินสะสม และเงินบําเหน็จบํานาญ เป็ นต้น และค่าตอบแทนที่
ไม่เป็ นตัวเงิน เช่น การให้วนั หยุด การลากิจ การลาป่ วย การลาพักผ่อน การให้ชุดทํางานแก่คนงาน
การให้เครื่ องดื่มหรื ออาหารขณะขึ้นเวรบ่ายและเวรดึก เป็ นต้น การบริ หารค่าตอบแทนควรคํานึงถึง
1. นโยบายค่าตอบแทน เช่น คํานึงถึงความเสมอภาคภายในองค์กร การสามารถ
แข่งขันกับภายนอก การพิจารณาผลการปฏิบตั ิงานของคนงาน และการบริ หารนโยบายสู่การปฏิบตั ิได้ เป็ นต้น
2. เทคนิคการบริ หารค่าตอบแทน เช่น การต้องวิเคราะห์งานและประเมินค่างาน
ในแต่ล ะตําแหน่ง การสํารวจตลาดแรงงานและโครงสร้างค่าตอบแทนของหน่วยงานต่าง ๆ การพิจารณา
ผลการปฏิบตั ิงานของคนงาน และกระบวนการวางแผนและประเมินผลเรื่ อง การบริ หารค่าตอบแทน เป็ นต้น
3. วัตถุประสงค์ของการบริ หารค่าตอบแทน เช่น เพื่อให้การปฏิบตั ิงานของคนงาน
มีประสิ ทธิภาพและเกิดความเสมอภาค เป็ นต้น
2.6 การช่ วยเหลือ ให้ คาปรึกษา (employee assistance/career counseling) เนื่องจาก
ทรัพยากร บุคคลเป็ นทรัพยากรที่มีคุณค่ายิง่ ขององค์กร ในขณะเดียวกันทรัพยากร บุคคลแต่ละคนต่างมีปัญหา
ส่วนตัว และปั ญหาครอบครัวที่แตกต่างกันไป บางคนสามารถเผชิญและแก้ไขปั ญหาต่าง ๆ ได้ดว้ ยตนเอง
ในขณะที่บางคนไม่สามารถแก้ไขได้ดว้ ยตนเองและส่งผลกระทบต่อประสิ ทธิผลของการทํางาน เช่น อาจเป็ นเหตุ
ให้ตอ้ งมาทํางานสาย หยุดงาน อารมณ์หงุดหงิดขณะทํางาน หรื อเกิดอุบตั ิเหตุในการทํางาน ดังนั้น แต่ละองค์กร
ควรให้ความสําคัญในการจัดโปรแกรมการช่วยเหลือหรื อให้คาํ ปรึ กษาแก่คนงานในรู ปแบบต่าง ๆ เช่น
การให้สวัสดิการเงินกูด้ อกเบี้ยตํ่า การให้บริ การคลินิกคลายเครี ยด การจัดคลินิกเลิกบุหรี่ และเลิกสุราให้แก่คนงาน
ที่มีปัญหาในเรื่ องดังกล่าว การให้คาํ ปรึ กษาเรื่ องอาชีพ เพื่อให้คนงานมีการพัฒนาตนให้สอดคล้อง
กับความต้องการทรัพยากรบุคคลในอนาคตขององค์กร เป็ นต้น
2.7 การดูแลสุ ขภาพและความปลอดภัย (safety and health) นอกจากกฎหมายแรงงาน
ที่กาํ หนดให้องค์การต่าง ๆ ต้องดูแลสุขภาพและความปลอดภัยของคนงานแล้ว คนงานขององค์กรบางตําแหน่ง
ยังต้องทํางานที่เสี่ ยงภัยต่อสุขภาพ
3. ระยะการออกจากงาน
การที่คนงานออกจากงานมีหลายสาเหตุ ได้แก่ ได้งานอื่นที่ดีกว่า การให้ออก การเกษียณอายุ
การทํางาน หรื อเนื่องจากการเสี ยชีวติ โดยเฉพาะในปั จจุบนั องค์กรเอกชนต่าง ๆ หลายแห่งต้องให้คนงาน
ออกจากงานมากขึ้น เนื่องจากได้มีการนําเทคโนโลยีมาใช้เพิ่มขึ้นทําให้ความจําเป็ นต้องใช้คนทํางาน
ในบางตําแหน่งลดน้อยลง หรื อมีการเพิ่มประสิ ทธิภาพขององค์กรด้วยการลดคน หรื อการใช้ระบบจ้างบุคคลหรื อ
หน่วยงานจากภายนอก มาทํางานแทนการจ้างคนงานประจําที่มีภาระเงินเดือนและสวัสดิการสูง อันเป็ น
45

การลดค่าใช้จ่าย และเพิ่มความสามารถในการแข่งขันได้น้ นั ยิง่ ส่งผลให้การจัดการทรัพยากร บุคคลในระยะ


การออกจากงานมีความสําคัญมากขึ้น
การจัดการทรัพยากรบุคคลในระยะการออกจากงาน จะเกี่ยวข้องกับการช่วยเหลือและกํากับ
การออกของคนงานจากองค์กร นอกจากกิจกรรมปกติที่ฝ่ายจัดการทรัพยากร บุคคลต้องดูแล เช่น การเก็บคืน
เครื่ องมืออุปกรณ์ต่าง ๆ ที่องค์การเคยมอบให้คนงานไว้ใช้งาน การเก็บกุญแจและรายงานต่าง ๆ สรุ ปแฟ้ มประวัติ
การจ้างงาน การดําเนินการเรื่ องการจ่ายเงินก่อนออกจากงาน และการสัมภาษณ์ก่อนออกเพื่อรวบรวมข้อมูล
ที่เกี่ยวข้องและสาเหตุของการลาออก ปั จจุบนั หลายองค์กรยังให้ความสําคัญกับกิจกรรมการวางแผนการเกษียณ
ให้แก่คนงานเพื่อให้คนงานมีการเตรี ยมพร้อมและสามารถปรับตัวเข้ากับวัยเกษียณได้ และกิจกรรม
การหางานใหม่ ให้แก่คนงานในกรณี ที่องค์กรเดิมมีการยุบ เลิก หรื อควบกับกิจการใหม่ดว้ ย เช่น มีการฝึ กอบรม
คนงานให้มีความพร้อมที่จะออกไปทํางานกับหน่วยงานใหม่ที่ได้จดั เตรี ยมติดต่อไว้ให้ เมื่อองค์การเดิมต้องยุบเลิก
หรื อการโฆษณาหางานใหม่ให้ในนามขององค์กรเดิม หรื อการให้คาํ ปรึ กษาเกี่ยวกับอาชีพทางเลือกอื่น ๆ เป็ นต้น
ทั้งนี้เพื่อช่วยเหลือให้คนงานที่ตอ้ งออกจากงานได้มีงานทําต่อไป
ในกรณี การจ่ายเงินให้แก่ทายาทของคนงานที่เสี ยชีวติ การจ่ายเงินชดเชยกรณี ให้คนงานออก
หรื อปลดออก และการจ่ายเงินทุนหรื อค่าครองชีพกรณี เกษียณ ให้ปฏิบตั ิตามกฎหมายแรงงานที่ได้กาํ หนดไว้
สิ่ งหนึ่งที่ผบู ้ ริ หารควรให้ความสนใจ คือ ในกรณี ที่มีคนงานออกจากงานควรให้ฝ่ายจัดการ
ทรัพยากร บุคคล ทําการสัมภาษณ์ก่อนออก เพื่อเก็บข้อมูลเกี่ยวกับงาน หัวหน้างาน สิ่ งอํานายความสะดวก
ค่าตอบแทนและสวัสดิการ ซึ่งจะทําให้ทราบจุดอ่อนและจุดแข็งของการจัดการทรัพยากร บุคคลขององค์กร
และสามารถนําข้อมูลมาใช้ในการมาปรับปรุ งแก้ไข อย่างไรก็ตาม กระบวนการเก็บข้อมูลและรายงานข้อมูล
ควรเชื่อถือได้และควรเป็ นความลับ
โดยสรุ ปแล้วกระบวนการจัดการทรัพยากรบุคคลจะเป็ นการดําเนินการตั้งแต่การได้คนเข้ามา
ทํางานในองค์กร การดูแลรักษาให้คนทํางานในองค์กรได้อย่างเกิดประโยชน์สูงสุด และการดูแลการออกจากงาน
ของคนงาน โดยการจัดการในระยะการได้มาซึ่งทรัพยากร บุคคลเข้ามาทํางาน จะประกอบด้วยกิจกรรมสําคัญ
ได้แก่ การวางแผนทรัพยากร บุคคล การสรรหา การคัดเลือก และการปฐมนิเทศคนเข้ามาทํางานใหม่การจัดการ
ในระยะดูแลรักษาให้คนทํางานได้อย่างเกิดประโยชน์สูงสุด ประกอบด้วยกิจกรรมสําคัญ ได้แก่ การประเมิน
ผลงาน การจัดวางคน การฝึ กอบรมและพัฒนา ระเบียบวินยั การบริ หารค่าตอบแทนและสวัสดิการ
การช่วยเหลือ /ให้คาํ ปรึ กษา และการดูแลสุขภาพและความปลอดภัย ส่วนการจัดการระยะสุดท้าย คือการ
ออกจากงาน จะเกี่ยวข้องกับการช่วยเหลือและกํากับการออกจากงาน การเตรี ยมการก่อนเกษียณ การหางานใหม่
ให้ และการสัมภาษณ์ก่อนออก
การนาแนวคิดมาประยุกต์ ใช้
ในด้านการพัฒนาบุคลากรของโรงงานนํ้าดื่มวอเตอร์ จังหวัดขอนแก่น ได้นาํ หลักการมา
ปรับใช้ คือการกําหนดระเบียบวินยั ให้แก่พนักงาน กําหนดเงินพิเศษและ สวัสดิการให้แก่พนักงาน ทั้งนี้เพื่อให้
พนักงานสามารถปฏิบตั ิงานได้อย่างเกิดประโยชน์สูงสุด
46

2.6 แนวคิดการบริการ (Service)


การบริ การ (ศิริวรรณ เสรี รัตน์ 2538) ได้กล่าวถึงคุณภาพการให้บริ การไว้ดงั นี้
1. การเข้าถึงลูกค้า ( Access) บริ การที่ให้กบั ลูกค้าต้องอํานวยความสะดวกในด้านเวลาและสถานที่
แก่ลูกค้า คือไม่ให้ลูกค้าต้องคอยนาน ทําเลที่ต้ งั เหมาะสม อันแสดงถึงความสามารถในการเข้าถึงลูกค้า
2. การติดต่อสื่ อสาร ( Communication) มีการอธิบายอย่างถูกต้อง โดยใช้ภาษาที่ลูกค้าเข้าใจง่าย
3. ความสามารถ ( Competence) องค์กร ที่ให้บริ การต้องมีบุคลากรที่มีความชํานาญและมีความรู ้
ความสามารถในงาน
4. ความมีน้ าํ ใจ ( Courtesy) องค์กร ที่ให้บริ การต้องมีบุคลากรที่มีมนุษยสัมพันธ์เป็ นที่น่าเชื่อถือ
มีความเป็ นกันเอง มีจิตวิญญาณ
5. ความน่าเชื่อถือ ( Creditability) องค์กร ที่ให้บริ การต้องมีความสามารถ ในการ สร้างความเชื่อมัน่
และความไว้วางใจในการให้บริ การ โดยเสนอบริ การที่ดีที่สุดแก่ลูกค้า
6. ความไว้วางใจ ( Reliability) บริ การที่ให้แก่ลูกค้าต้องมีความถูกต้องและสมํ่าเสมอ
7. การตอบสนองลูกค้า ( Responsiveness) องค์กร ที่ให้บริ การต้องมีบุคลากรที่ให้บริ การและแก้ไข
ปั ญหาแก่ลูกค้าอย่างรวดเร็ วตามที่ลูกค้าต้องการ
8. ความปลอดภัย ( Security) บริ การที่ให้ตอ้ งปลอดภัย ปราศจากความเสี่ ยง
การนาแนวคิดมาประยุกต์ ใช้
ผูจ้ ดั ทําได้ นําหลัก ของคุณภาพการให้ บริ การมาใช้กบั พนักงานของโรงงานนํ้าดื่มวอเตอร์
จังหวัดขอนแก่นเพื่อใช้ในการปฏิบตั ิงาน ให้ลูกค้าเกิดความพึงพอใจ และเกิดการสัง่ ซื้อนํ้าดื่มวอเตอร์
อย่างต่อเนื่อง

2.7 แนวคิดความพึงพอใจ
ความพึงพอใจ (Satisfaction) ได้มีผใู ้ ห้ความหมายของความพึงพอใจไว้หลายความหมายในลักษณะ
ใกล้เคียงและสัมพันธ์กบั ทัศนคติ เช่น
Philip Kotler (2000: 36) กล่าวว่า ความพึงพอใจ คือ ความรู ้สึก พอใจหรื อผิดหวังอันเกิดจาก
การเปรี ยบเทียบผลหรื อการปฏิบตั ิงานของผลิตภัณฑ์กบั ความคาดหวังของเขา จะเห็นได้วา่ จุดสําคัญคือ
การปฏิบตั ิงานของผลิตภัณฑ์กบั ความคาดหมาย ถ้าการปฏิบตั ิงานไม่ถึงความคาดหมาย ลูกค้าจะไม่พอใจ
ถ้าการปฏิบตั ิงานเท่ากับความคาดหมายของลูกค้าก็จะพอใจ ถ้าการปฏิบตั ิงานสูงกว่าความ คาดหมาย ลูกค้าก็จะ
ปลื้มปิ ติยนิ ดีเป็ นอย่างยิง่
Vroom (1964 : 99) กล่าวว่า ทัศนคติและความพึงพอใจในสิ่ งหนึ่งสามารถใช้แทนกันได้ เพราะทั้งสอง
คํานี้จะหมายถึง ผลที่ได้จากการที่บุคคลเข้าไปมีส่วนร่ วมในสิ่ งนั้น ทัศนคติดา้ นบวก จะแสดงให้เห็นความ
พึงพอใจในสิ่ งนั้น และทัศนคติดา้ นลบจะแสดงให้เห็นสภาพความไม่พึงพอใจนัน่ เอง นิยามนี้เรี ยกว่า ทฤษฎี
V.I.E เนื่องจากมีองค์ประกอบที่สาํ คัญ คือ
V มาจากคําว่า “Valence” หมายถึง ความพึงพอใจ
I มาจากคําว่า “Instrumentality” หมายถึง สื่ อ เครื่ องมือ วิถีทางนําไปสู่ความพึงพอใจ
47

E มาจากคําว่า “Expectancy” หมายถึง ความคาดหวังภายในบุคคลนั้นๆ บุคคล มีความต้องการ


และคาดหวังในหลายสิ่ งหลายอย่าง ดังนั้น จึงต้องกระทําด้วยวิธีใดวิธีหนึ่งเพื่อตอบสนองความต้องการหรื อ
สิ่ งที่คาดหวังไว้ ซึ่งเมื่อได้รับการตอบสนองตามที่คาดหวังหรื อรอคอย บุคคลนั้นจะได้รับความพึงพอใจ
และขณะเดียวกันก็จะคาดวังในสิ่ งที่สูงขึ้นไปเรื่ อยๆ
ประเสริ ฐศิลป์ จุรุเทียบ (2542 : 7) ได้สรุ ปความหมายของความพึงพอใจไว้วา่ ความพึงพอใจ
หมายถึง ความรู ้สึกนึกคิดหรื อทัศนคติในทางที่ดีของบุคคลที่มีต่อสิ่ งใดสิ่ งหนึ่ง ความรู ้สึกที่เกิดขึ้นจากการได้รับ
การตอบสนอง ความต้องการของบุคคลทั้งทางด้านร่ างกายและจิตใจ ทําให้บุคคลเกิดความพึงพอใจจนบรรลุ
วัตถุประสงค์ โดยกล่าวได้วา่ ความพึงพอใจนั้นเป็ นเรื่ องที่เกี่ยวข้องกับความรู ้สึกนึกคิด และค่านิยมของบุคคล ซึ่ง
เป็ นเรื่ องที่ละเอียดอ่อน ความพึงพอใจอาจเปลี่ยนแปลงได้ เมื่อเวลาหรื อสถานการณ์แวดล้อมอื่นๆ เปลี่ยนแปลง
ในการศึกษาความพึงพอใจได้มีการศึกษาในเชิงการมีปฏิสมั พันธ์ทางสังคมโดยเฉพาะในลักษณะงานที่เกี่ยวข้อง
กับการให้บริ การที่ประกอบด้วยบุคคล 2 ฝ่ าย คือ ฝ่ ายผูม้ ีอาํ นาจหน้าที่ในการให้บริ การ และฝ่ ายผูร้ ับบริ การโดย
ศึกษาถึงปั จจัยที่มีผลต่อความพึงพอใจของผูร้ ับบริ การที่มีต่อการให้บริ การ
2.7.1 ลักษณะของความพึงพอใจ
ความพึงพอใจในการบริ การ (ศศิธร จายนียโยธิน . 2546: 36-37) สามารถพิจารณา
ได้ใน 2 ลักษณะ คือ ความพึงพอใจของผูร้ ับบริ การ และความพึงพอใจในงานของผูใ้ ห้บริ การ
1. ความพึงพอใจของผูร้ ับบริ การ ได้ให้ความหมายว่า ความพึงพอใจ
ของผูร้ ับบริ การ หมายถึง ภาว ะการณ์แสดงออกถึงความรู ้สึกในทางบวกที่เกิดจากการประเมิน เปรี ยบเทียบ
ประสบการณ์การได้รับบริ การที่กบั สิ่ งที่ผรู ้ ับบริ การคาดหวังหรื อเกินกว่าความคาดหวังของผูร้ ับบริ การ ในทาง
ตรงกันข้าม ความไม่พึงพอใจ หมายถึง ภาว ะการณ์แสดงออกถึงความรู ้สึกในทางลบที่เกิดจากการประเมิน
เปรี ยบเทียบประสบการณ์การได้รับบริ การที่ต่าํ กว่าความคาดหวังของผูบ้ ริ การ
2. ความพึงพอใจของผูใ้ ห้บริ การ หมายถึง ความพึงพอใจในการ ทํางานจะมีผล
ต่อความสําเร็ จของงาน
2.7.2 ปัจจัยทีม่ ผี ลต่ อความพึงพอใจ
ปั จจัยที่มีผลต่อความพึงพอใจของผูร้ ับบริ การ (จิตตินนั ท์ เดชะคุปต์. 2538: 27-28)
ประกอบ ด้วยปั จจัยสําคัญดังนี้
1. ผลิตภัณฑ์และบริ การ ความพึงพอใจของผูร้ ับบริ การจะเกิดขึ้นเมื่อได้รับบริ การ
ที่มีคุณภาพและระดับการให้บริ การตรงกับความต้องการ ความเอาใจใส่ขององค์การบริ การและคํานึงถึงคุณภาพ
ของการนําเสนอบริ การเป็ นส่วนสําคัญยิง่ ในการที่จะสร้างความพึงพอใจให้กบั ลูกค้า
2. ราคาค่าบริ การ ความพึงพอใจของผูร้ ับบริ การขึ้นอยูก่ บั ราคาค่าบริ การ
ที่ผรู ้ ับบริ การยอมรับหรื อพิจารณาว่าเหมาะสมกับคุณภาพของการบริ การตามความเต็มใจที่จะจ่าย (Willingness
to Pay) ของผูร้ ับบริ การ ทั้งนี้เจตคติของผูร้ ับบริ การที่มีต่อราคาค่าบริ การที่มีราคาสูงเป็ นสิ นค้าหรื อบริ การที่มี
คุณภาพสูง ในขณะที่ลูกค้าบางคนจะพิจารณาราคาค่าบริ การตามลักษณะของความยากง่ายของการให้บริ การ
48

3. สถานที่บริ การ การเข้าถึงการบริ การได้สะดวกเมื่อผูร้ ับบริ การมีความต้องการ


ย่อมก่อให้เกิดความพึงพอใจต่อการบริ การ ทําเลที่ต้ งั และการกระจายสถานที่บริ การให้ทวั่ ถึงเพื่ออํานวย
ความสะดวกแก่ผรู ้ ับบริ การจึงเป็ นเรื่ องสําคัญ
4. การส่งเสริ มแนะนําบริ การ ความพึงพอใจของผูร้ ับบริ การเกิดขึ้นได้จากการได้ยนิ
ข้อมูลข่าวสารหรื อบุคคลอื่นกล่าวขานถึงคุณภาพของการบริ การไปในทางบวก ซึ่งหากตรงกับความเชื่อที่มีอยู่
จะรู ้สึกพอใจกับบริ การดังกล่าว อันเป็ นแรงจูงใจผลักดันให้มีความต้องการบริ การตามมาได้
5. ผูใ้ ห้บริ การ ผูป้ ระกอบการ ผูบ้ ริ หารการบริ การ และผูป้ ฏิบตั ิงานบริ การล้วนเป็ น
บุคคลที่มีบทบาทสําคัญต่อการปฏิบตั ิงานบริ การให้ผรู ้ ับบริ การเกิดความพึงพอใจทั้งสิ้น ผูบ้ ริ หารการบริ การที่
วางนโยบายการบริ การโดยคํานึงความสําคัญของผูร้ ับบริ การเป็ นหลักย่อมสามารถตอบสนองความต้องการ
ผูร้ ับบริ การให้เกิดความพึงพอใจได้ง่าย เช่นเดียวกับผูป้ ฏิบตั ิงานบริ การที่ตระหนักถึงผูร้ ับบริ การเป็ นสําคัญ
จะแสดงพฤติกรรมการบริ การและสนองบริ การที่ผรู ้ ับบริ การต้องการด้วยความสนใจเอาใจใส่อย่างเต็มที่ดว้ ย
จิตสํานึกของการบริ การ
6. สภาพแวดล้อมของการบริ การ สภาพแวดล้อมและบรรยากาศของการบริ การ
มีอิทธิพลต่อความพึงพอใจของผูร้ ับบริ การ ผูร้ ับบริ การมักจะชื่นชมสภาพแวดล้อมของการบริ การที่เกี่ยวข้อง
กับการออกแบบอาคาร สถานที่ ความสวยงามของการตกแต่งภายในด้วยเฟอร์นิเจอร์และการใช้สีสนั การจัดแบ่ง
พื้นที่ที่เป็ นสัดส่วน ตลอดจนการออกแบบวัสดุเครื่ องใช้ในงานบริ การ เช่น กระดาษจดหมาย ซอง เป็ นต้น
7. กระบวนการบริ การ วิธีการนําเสนอบริ การในกระบวนการบริ การเป็ นส่วนสําคัญ
ในการสร้างความพึงพอใจให้กบั ผูร้ ับบริ การ ประสิ ทธิภาพของการจัดการระบบการบริ การ ส่งผลให้
การปฏิบตั ิงานบริ การแก่ผรู ้ ับบริ การมีความคล่องตัวและตอบสนองความต้องการของผูร้ ับบริ การได้อย่างถูกต้อง
มีคุณภาพ เช่น การนําเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เข้ามาจัดการระบบข้อมูลการใช้ระบบโทรศัพท์อตั โนมัติการรับ
โอนสาย ในการติดต่อองค์กรต่างๆ เป็ นต้น
การนาแนวคิดมาประยุกต์ ใช้
นําหลักของความพึงพอใจมาใช้ในการกําหนดแบบสอบถาม ทัศนคตของพนักงานที่มีต่อ
โรงงานนํ้าดื่มวอเตอร์ จังหวัดขอนแก่น เพื่อนํา ผลสรุ ปที่ได้มาปรับใช้ในการสร้างความพึงพอใจให้แก่พนักงาน
ในด้านต่างๆ

2.8 แนวคิดการจูงใจ
การจูงใจ (สุวติ ศรี ไหม 2545) คือ การที่มีสิ่งกระตุน้ มาทําให้เรามีความพยายามในการทํางานให้บรรลุ
ตามเป้ าหมายที่เราได้วางไว้ การจูงใจเป็ นสิ่ งที่ทาํ ให้คนมีความคิดริ เริ่ มสร้างสรรค์ในการทํางานให้บรรลุ
วัตถุประสงค์
องค์ ประกอบของกระบวนการจูงใจ
สิ่ งจูงใจ เป็ นปั จจัยอย่างหนึ่งที่เป็ นการจูงใจให้คนทํางานมากขึ้น ปั จจัยในการที่ทาํ ให้บุคคล
ในองค์กรเกิดความพึงพอใจมีอยู่ 5 ประเภท คือ ความมีอาํ นาจ ความสําเร็ จ การมีส่วนร่ วม ความมัน่ คง และ
สถานภาพ
49

ทฤษฎีความต้ องการตามลาดับขั้น
ทฤษฎีความต้องการตามลําดับขั้น ซึ่งรู ้จกั กันในชื่อว่าทฤษฎีความต้องการของ Maslow เป็ น
ทฤษฎีที่แบ่งความต้องการของมนุษย์เป็ น 2 ระดับ คือความต้องการในระดับตํ่า และความต้องการในระดับสู งโดย
ที่มนุษย์มีความต้องการในระดับหนึ่งแล้วความต้องการนั้นได้รับการตอบสนองแล้ว มนุษย์ก็จะมีความต้องการ
ในระดับสูงขึ้นต่อไปจนถึงความต้องการในระดับที่สูงที่สุด
ทฤษฎีความต้ องการของมาสโลว์ มี 5 ลําดับขั้น คือ
1. ความต้องการทางด้านร่ างกาย (Physical need) เป็ นความต้องการขั้นพื้นฐานที่แต่ละบุคคล
มีอยูใ่ นตัวเอง เช่น อาหาร นํ้า ที่อยูอ่ าศัย การพักผ่อน เป็ นต้น
2. ความต้องการความปลอดภัย (Safety need) เป็ นความต้องการที่แต่ละบุคคลต้องการ
ที่จะปราศจากอันตรายทางกายและความกลัวที่จะสูญเสี ยงาน
3. ความต้องการทางสังคม (Social need) คือการมีเพื่อนร่ วมงานที่มีความเป็ นมิตร
มีความสัมพันธ์อนั ดีกบั เพื่อนร่ วมงาน
4. ความต้องการการยกย่อง (Esteem need) คือการมีความรับผิดชอบงานที่มีความสําคัญสูง
ได้รับคําชมเชย และการยอมรับจากหัวหน้างาน และได้เลื่อนตําแหน่งหน้าที่การงานที่มีสถานภาพสูงขึ้น
5. ความต้องการความสําเร็ จในชีวติ (Self-actualization need) ได้แก่ลกั ษณะการทํางานที่มี
ความยืดหยุดและมีอิสระสูง การให้มีส่วนร่ วมในการตัดสิ นใจ และงานมีความริ เริ่ มสร้างสรรค์
หลักและเทคนิคของการจูงใจ
การศึกษาทฤษฎีการจูงใจจะทําให้ทราบว่าเทคนิคการจูงใจอะไรบ้างที่ผบู ้ ริ หารสามารถ
นําไปใช้ได้ ในขณะที่การจูงใจมีความสลับซับซ้อนและไม่มีคาํ ตอบที่ดีที่สุดเพียงคําตอบเดียว เทคนิคการจูงใจ
ที่สาํ คัญประกอบด้วย เงิน การมีส่วนร่ วม และคุณภาพชีวติ ในการทํางาน
รู ปแบบของทฤษฎีการเสริมแรง
เชื่อว่าพฤติกรรมของมนุษย์ที่เปลี่ยนไปเนื่องมาจากแรงจูงใจ การเสริ มแรงจูงใจเป็ นพฤติกรรม
ที่เกิดจากผลของการกระทําซึ่งแบ่งออกเป็ น 4 อย่าง คือ
1. การเสริ มแรงจูงใจในทางบวก (positive reinforcement) เป็ นการเสริ มแรงจูงใจ
เพื่อเพิม่ พฤติกรรมที่ตอ้ งการ โดยการให้รางวัล หรื อผลตอบแทนในสิ่ งที่บุคคลเหล่านั้นต้องการ เช่น การกล่าว
คําขอบคุณ การให้คาํ ชื่นชม เป็ นต้น
2. การเสริ มแรงจูงใจในทางลบ (negative reinforcement) บางครั้งเรี ยกว่า
การหลีกเลี่ยงเป็ นการเรี ยนรู ้ถึงวิธีปฏิบตั ิเพื่อหลีกเลี่ยงเป็ นการเรี ยนรู ้ถึงวิธีการปฏิบตั ิเพื่อหลีกเลี่ยงผลลัพธ์ที่ไม่น่า
พึงพอใจ เช่น ทํางานให้เสร็ จก่อนกําหนดเพื่อหลีกเลี่ยงการตําหนิจากหัวหน้างาน
3. การเพิกเฉย (extinction) เป็ นการเสริ มแรงจูงใจเพื่อลดพฤติกรรมที่ทาํ บ่อยๆ หรื อ
ทําให้พฤติกรรมนั้นหมดไป โดยการไม่ให้รางวัลหรื อผลตอบแทน เช่น เมื่อเห็นว่าคนๆหนึ่งมีพฤติกรรม
ไม่ถูกต้องแต่ยงั ได้รับการยอมรับจากกลุ่มทํางาน ต้องปรึ กษากับกลุ่มเพื่อให้หยุดการยอมรับต่อพนักงานคนนั้น
50

4. การลงโทษ (punishment) เป็ นการลดพฤติกรรมเนื่องจากได้ผลลัพธ์


ที่ไม่พึงพอใจ เช่น การลดตําแหน่ง การลดอํานาจที่ดี การลดเงินเดือนเป็ นต้น
การจูงใจกับค่ าตอบแทน
การจูงใจโดยให้ผลตอบแทนแก่พนักงานจะทําให้พนักงานมีแรงจูงใจในการทํางาน
พนักงานจะไม่ทาํ งานหากไม่ได้รับผลตอบแทนจากการทํางาน ถ้าพนักงานได้รับผลตอบแทนตํ่าพนักงานก็จะ
ทํางานให้เราไม่เต็มที่ พนักงานจะขยันและทุ่มเทให้กบั งานหากระบบค่าตอบแทนดี
รางวัลตอบแทน มี 2 อย่างคือ
1. รางวัลตอบแทนภายนอก (Extrinsic Reward) เป็ นค่าตอบแทนที่ได้จากบุคคลอื่นโดยทัว่ ไป
ก็คือจากผูบ้ งั คับบัญชาหรื อผูบ้ ริ หารระดับสูง เช่น เงินเดือน ค่าจ้าง การเลื่อนขั้นเลื่อนตําแหน่ง ใบประกาศ
เกียรติคุณ คําชมเชย เป็ นต้น
2. รางวัลตอบแทนภายใน (Intrinsic Reward) เป็ นผลตอบแทนที่เกิดขึ้นภายในตัวเอง เช่น
ตัวเองมีความสามารถสูงขึ้น ตัวเองเก่งขึ้น มีความรู ้มากขึ้น ภาคภูมิใจกับการทํางานที่ตนเองทําขึ้น เป็ นต้น
การนาแนวคิดมาประยุกต์ ใช้
ผูศ้ ึกษาได้นาํ หลักการจูงใจในด้านการเสริ มแรงทางบวกมาปรับใช้ในเรื่ องของการกําหนดเงิน
พิเศษและสวัสดิการให้แก่พนักงานนํ้าดื่มวอเตอร์ จังหวัดขอนแก่น เพื่อเป็ นสิ่ งกระตุน้ ให้เกิดการปฏิบตั ิงานตาม
หน้าที่ของตนเองอย่างเต็มความสามารถและกระตือรื อร้นที่จะปฏิบตั ิงาน

2.9 แนวคิดการวิเคราะห์ การแข่ งขันในธุรกิจโดยใช้ Five Forces Model


Five Forces Model ของ Michael E. Porter ได้อธิบายถึงองค์ประกอบหลัก 5 ประการ
ของสภาพแวดล้อมเชิงการแข่งขันที่มีผลกระทบต่อการบริ หารกิจการ คือ
1. คู่แข่ งขันรายเดิมในธุรกิจ
หลายๆอุตสาหกรรมที่อยูใ่ นระบบเศรษฐกิจแบบเสรี ย่อมมีการแข่งขันกันสูง เช่น
การแข่งขันในด้านราคา การนําเสนอผลิตภัณฑ์ใหม่ การสร้างความแตกต่างในตัวผลิตภัณฑ์ ความเข้มข้น
ของภาวการณ์แข่งขันจะมีมากน้อยเพียงใดย่อมเป็ นผลจากปฏิกิริยาของปั จจัย จํานวนคู่แข่งขันในตลาดนั้นๆ
ความเจริ ญเติบโตของตลาด ต้นทุนคงที่ที่สูง และสิ นค้าหรื อบริ การไม่มีความแตกต่างกันหรื อไม่มีตน้ ทุน
ในการเปลี่ยนแปลง
2. อุปสรรคทีเ่ กิดจากคู่แข่ งขันรายใหม่
คู่แข่งขันรายใหม่ที่มีศกั ยภาพสูงเมื่อเข้าสู่อุตสาหกรรมใด ย่อมมีผลกระทบต่อการดําเนินงาน
ของผูป้ ระกอบการรายเดิม ทั้งนี้เพราะคู่แข่งรายใหม่ได้เข้ามาพร้อมกับกําลังการผลิตที่เหนือกว่าแล ะศักยภาพ
ในการแย่งชิงส่วนแบ่งการตลาด ( Market Share) ของผูป้ ระกอบการรายเดิมแต่มีอุปสรรคที่สาํ คัญหลายประการ
ที่ปิดกั้นคู่แข่งขันรายใหม่ไม่ให้เข้าสู่ตลาด เช่น การประหยัดต้นทุนต่อหน่วยเมื่อมีปริ มาณที่มาก การสร้าง
ความแตกต่างในตัวผลิตภัณฑ์ ต้นทุนที่เกิดจากความเปลี่ยนแปลง ความต้องการเงินทุน การสร้างช่องทาง
การจัดจําหน่าย เป็ นต้น
51

3. อานาจต่ อรองจากลูกค้ าหรือผู้ซื้อ


ผูซ้ ้ือสิ นค้าหรื อบริ การในอุตสาหกรรมอาจใช้อาํ นาจต่อรองกับผูป้ ระกอบการได้หลายวิธี เช่น
การขอลดสิ นค้าหรื อบริ การ การลดปริ มาณการซื้อสิ นค้าจากอุตสาหกรรมนั้นๆ เป็ นต้น ปั จจัยที่จะทําให้ผซู ้ ้ือ
มีอาํ นาจต่อรองมีหลายประการ เช่น การซื้อในปริ มาณที่มาก กลุ่มผูซ้ ้ือมีกี่รวมตัวกันเพื่อสร้างอํานาจต่อรอง
สิ นค้าหรื อบริ การของซัพพลายเออร์ไม่มีความแตกต่าง และผูซ้ ้ือมีความรู ้ มีขอ้ มูลข่าวสารเกี่ยวกับโครงสร้าง
ต้นทุนของซัพพลายเออร์
4. อานาจต่ อรองของซัพพลายเออร์ หรือผู้ขายปัจจัยการผลิต
อาจมีผลกระทบต่อศักยภาพการทํากําไรของกิจการได้หลายแนวทาง คือการขึ้นราคาสิ นค้า
ที่เป็ นชิ้นส่วนประกอบหรื อวัตถุดิบ การลดคุณภาพของสิ นค้าหรื อบริ การที่นาํ เสนอต่อลูกค้าในอุตสาหกรรมนั้น
สถานการณ์ที่ทาํ ให้เกิดอํานาจต่อรองสําหรับซัพพลายเออร์มีหลายประการ เช่น มีซพั พลายเออร์นอ้ ยราย
หาสิ นค้าทดแทนได้ยาก หรื อไม่มีสินค้าทดแทน ความสําคัญของสิ นค้าหรื อบริ การของซัพพลายเออร์ที่มีต่อผูซ้ ้ือ
ซัพพลายเออร์สร้างความแตกต่างในตัวผลิตภัณฑ์สูงหรื อการเปลี่ยนซัพพลายเออร์ก่อให้เกิดต้นทุนที่สูง
5. อุปสรรคทีเ่ กิดจากสินค้ าทดแทน
การมีสินค้าทดแทนย่อมก่อให้เกิดผลกระทบต่อตัวสิ นค้าที่ขายอยูเ่ ดิมในตลาด ทั้งนี้เพราะ
หากผูบ้ ริ โภคได้ทาํ การเปรี ยบเทียบราคาสิ นค้า จะเห็นได้วา่ สิ นค้าทดแทนมีราคาที่ถูกกว่ามาก ดังนั้นการที่จะ
แข่งขันกับสิ นค้าทดแทนได้ตอ้ งพยายามสร้างความแตกต่างในตัวผลิตภัณฑ์ รักษาคุณภาพ เพิ่มคุณค่าใน
ตัวผลิตภัณฑ์และสร้างภาพพจน์ที่ดีอย่างต่อเนื่อง

ผูเ้ ข้ามาใหม่

อุปสรรคของ
ผูเ้ ข้ามาใหม่
คู่แข่งขันในอุตสาหกรรม
อํานาจการต่อรอง อํานาจการต่อรอง
ของผูข้ ายวัตถุดิบ ของผูซ้ ้ือ
ผูข้ ายวัตถุดิบ ผูซ้ ้ือ

การแข่งขันกันระหว่าง
ธุรกิจที่มีอยู่
อุปสรรคของสิ นค้าทดแทน
หรื อบริ การทดแทน

การทดแทน

ภาพที่ 2.8 ผลกระทบจากแรงกดดัน 5 ประการของ Michael E. porter


ทีม่ า: มัลลิกา ต้นสอน, กลยุทธ์ธุรกิจ, สํานักพิมพ์เอ็กซเปอร์เน็ท, 2544.
52

การวิเคราะห์ สภาพแวดล้ อมทางการตลาด


เพลินทิพย์ โกเมศโสภา ( 2546) การดําเนินธุรกิจในปั จจุบนั ดําเนินอยู่ ท่า มกลาง
การเปลี่ยนแปลงของปั จจัยภาวะแวดล้อมต่างๆอยูต่ ลอดเวลา ซึ่งสามารถจําแนกได้ 3 ประการ ดังนี้
1. ปัจจัยภาวะแวดล้ อมมหภาค ( Macro environment) จัดเป็ นภาวะแวดล้อม
ภายนอกอันได้แก่ เศรษฐกิจ การเมือง กฎหมาย สังคม วัฒนธรรม ประชากรศาสตร์ เทคโนโลยี และ
สภาพแวดล้อมทางกายภาพ
2. ปัจจัยภาวะแวดล้ อมภายใน ( Internal environment) อันได้แก่ สภาพแวดล้อม
จากหน่วยงานและหน้าที่งานต่างๆภายในองค์กร เช่น ฝ่ ายผลิต ฝ่ ายการเงิน ฝ่ ายการตลาด การจัดองค์กรที่เกี่ยวกับ
คุณภาพ ชื่อเสี ยง ภาพลักษณ์ ต้นทุน ประสิ ทธิภาพการผลิต อันก่อให้เกิดความได้เปรี ยบหรื อเสี ยเปรี ยบทางการ
แข่งขัน
3. ปัจจัยภาวะแวดล้ อมทีเ่ กีย่ วข้ องกับการดาเนินงานกิจการ ( Task environment)
ซึ่งได้แก่ ลูกค้า คู่แข่งขัน คนกลางทางการตลาด ผูจ้ ดั ส่งวัตถุดบั เป็ นต้น
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช (2546) นักการตลาดได้แบ่งสภาวะแวดล้อมออกเป็ น 2 กลุ่ม
คือ กลุ่มแรกเป็ นสภาวะแวดล้อมที่ควบคุมได้ กลุ่มที่สองเป็ นสภาวะแวดล้อมที่ควบคุมไม่ได้
1. สภาวะแวดล้ อมทีค่ วบคุมได้ ได้แก่ ปั จจัยที่นกั การตลาดสามารถเข้าไปกํากับ
ดูแลได้ ปั จจัยเหล่านี้จะอยูภ่ ายใต้การควบคุมและการตัดสิ นใจของนักการตลาด เช่น การกําหนดวัตถุประสงค์
การเลือกตลาดเป้ าหมาย การจัดองค์กรทางการตลาดและการกําหนดส่วนประสมทางการตลาด
2. สภาวะแวดล้ อมทีค่ วบคุมไม่ ได้ แบ่งออกเป็ น 2 อย่าง คือ สภาวะแวดล้อมมหภาค
และจุลภาค
2.1 สภาวะแวดล้ อมมหภาค ( Macro environment) ได้แก่ สภาวะ
แวดล้อมทางด้านประชากรศาสตร์ สภาพทางเศรษฐกิจ ทรัพยากรธรรมชาติ เทคโนโลยี สังคมและวัฒนธรรมซึ่ง
อยูภ่ ายนอกองค์กรแต่ส่งผลกระทบต่อการตลาดในระยะยาว
2.2 สภาวะแวดล้ อมจุลภาค ( Micro environment) ได้แก่ สภาพภายใน
ตัวองค์กรเอง ผูจ้ ดั จําหน่ายวัสดุ สถาบันการตลาด ลูกค้า คู่แข่งขัน และสาธารณชนซึ่งเป็ นสภาพแวดล้อม
ที่เกี่ยวข้องกับงานในหน้าที่ทางการตลาดอย่างใกล้ชิดและส่งผลกระทบโดยตรงต่อการดําเนินงานทางการตลาด
การนาแนวคิดมาประยุกต์ ใช้
ผูจ้ ดั ทํา ได้นาํ Five Forces Model มาวิเคราะห์ถึงสภาพแวดล้อมของคู่แข่งขัน ทําให้ทราบถึง
แนวทางในการแข่งขันของตลาดนํ้าดื่ม เพื่อนําโอกาสที่ โรงงานมีมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด และจัดการหรื อ
หลีกเลี่ยงกับอุปสรรคเพื่อให้เกิดผลกระทบต่อกิจการของโรงงานนํ้าดื่มวอเตอร์ จังหวัดขอนแก่นน้อยที่สุด
53

2.10 แนวคิดส่ วนผสมทางการตลาด


ส่วนผสมทางการตลาด มีส่วนประกอบทั้งหมด 4 ส่วน คือ
1. ผลิตภัณฑ์ (Product)
2. ราคา (Price)
3. ช่องทางการจัดจําหน่าย (Place)
4. การส่งเสริ มทางการตลาด และการขาย (Promotion)

สินค้ าและบริการ ราคา


ชนิด ประเภท ขนาด ราคาขาย
คุณภาพ ประโยชน์ ส่วนลด ส่วนแถม
ลักษณะ ระยะเวลาให้เครดิต
รู ปแบบ ระยะเวลาชําระเงิน
ตราสิ นค้า
บรรจุภณั ฑ์ การหี บห่อ กลุ่มลูกค้ าเป้ าหมาย
บริ การ/การรับประกัน ตาแหน่ งสินค้ า

การส่ งเสริมการตลาด สถานทีจ่ าหน่ าย


โฆษณา ช่องทางการจัดจําหน่าย
ประชาสัมพันธ์ พื้นที่ครอบคลุม
กิจกรรมส่งเสริ มการขาย การเลือกพ่อค้าคนกลาง
พนักงานขาย สถานที่
การตลาดแบบตรง สิ นค้าคงคลัง
การขนส่ง
การส่งกําลังบํารุ ง

ภาพที่ 2.9 ส่วนผสมทางการตลาด

ผลิตภัณฑ์ (Product)
ผลิตภัณฑ์ประกอบไปด้วยสิ นค้าและการบริ การที่มุ่งสร้างความพึงพอใจ ให้แก่ผบู ้ ริ โภค
ผลิตภัณฑ์จะสร้างความพึงพอใจให้แก่ผบู ้ ริ โภคได้เพียงใด ผูป้ ระกอบการจะต้องใส่ในในความต้องการ
ของผูบ้ ริ โภคเป็ นหลัก โดยคํานึงถึงกลยุทธ์ในการสร้างข้อได้เปรี ยบทางการแข่งขันด้วย
ประเภทของผลิตภัณฑ์
ผลิตภัณฑ์ หลัก เน้นประโยชน์หลักของผลิตภัณฑ์ เป็ นเหตุผลหลักที่ผบู ้ ริ โภคซื้อผลิตภัณฑ์
เช่น ซื้อบ้านเพื่อพักอาศัย
54

ผลิตภัณฑ์ ทเี่ น้ นลักษณะทางกายภาพ เป็ นลักษณะที่ผบู ้ ริ โภค สามารถรับรู ้ได้ดว้ ยประสาท


สัมผัส รู ป รส กลิ่น เสี ยง ความรู ้สึก
ผลิตภัณฑ์ คาดหวัง เน้นระดับความพึงพอใจในผลิตภัณฑ์ซ่ ึง ผูบ้ ริ โภคคาดหวังว่าจะได้รับ
นอกเหนือจากประโยชน์หลัก เช่น เครื่ องปรับอากาศ ประหยัดไฟ กรองมลพิษ และมีดีไซน์ที่สวยงาม
ผลิตภัณฑ์ ควบ เป็ นการบริ การหรื อผลประโยชน์เพิ่มเติมที่ธุรกิจ มอบให้แก่ผบู ้ ริ โภค เช่น
สถานบริ การนํ้ามัน ให้บริ การเช็ดกระจก เติมลมยางกับลูกค้า
ผลิตภัณฑ์ ทเี่ น้ นด้ านศักยภาพ เป็ นลักษณะใหม่ๆของผลิตภัณฑ์ เช่นลําโพงจิ๋วที่มีคุณภาพ
เทียบลําโพงขนาดมาตรฐาน ครี มปรับสภาพผิวใช้แล้วสาวขึ้นใน 7 วัน
ราคา (Price)
ราคา เป็ นคุณค่าของผลิตภัณฑ์ในรู ปแบบของตัวเงิน คุณค่าของผลิตภัณฑ์น้ นั จะขึ้นอยูก่ บั
ผลประโยชน์ที่ได้รับเมื่อเปรี ยบเทียบกับราคาของค่าเงิน ราคาเป็ นส่วนผสมทางการตลาดประการเดียวที่ธุรกิจ
ต้องให้ความสําคัญ เนื่องจากราคาจะต้องเป็ นที่ยอมรับของลูกค้า และจะต้องทํายอดขายให้กบั กิจการได้ดว้ ย
โดยการตั้งราคาจะอยูบ่ นพื้นฐานของการแข่งขัน และความต้องการในการซื้อสิ นค้าของลูกค้า
เทคนิคการกาหนดราคา
1. กลยุทธ์ การตั้งราคาโดยมุ่งความสาคัญทีล่ ูกค้ า
1.1 กลยุทธ์การเจาะตลาด
1.1.1 Penetration pricing เป็ นการกําหนดราคาของผลิตภัณฑ์ใหม่ ให้ราคา
ตํ่ากว่าที่ลูกค้าคาดหวังไว้ หรื อตํ่ากว่าตลาด เพื่อให้เกิดส่วนการครองตลาดได้อย่างรวดเร็ ว ใช้เมื่อกิจการ
มีวตั ถุประสงค์ ต้องการเพิ่มยอดขาย และเพิ่มความเคลื่อนไหวในการซื้อสิ นค้า
1.1.2 Skimming Pricing เป็ นการกําหนดราคาให้สูงกว่าคู่แข่งขัน
เพื่อที่จะให้ตน้ ทุนกลับคืนม าอย่างรวดเร็ ว หรื อเป็ น กลยุทธ์ที่เหมาะสมกับกิจการที่ตอ้ งการสร้างคุณค่าให้กบั
ผลิตภัณฑ์ให้สูงกว่าคู่แข่งเหมาะกับลูกค้าที่ตดั สิ นใจซื้อด้วยคุณภาพ เต็มใจที่จะจ่ายให้ในราคาที่สูงกว่า เหมาะกับ
ผลิตภัณฑ์ที่มีความอ่อนไหวต่อราคาน้อย เพื่อเป็ นการรักษา ตําแหน่งผลิตภัณฑ์ สร้างภาพพจน์ เช่น I Berry ที่ขาย
ไอศกรี ม ผลไม้มีราคาสูงกว่าไอศกรี มทัว่ ไป เพื่อยกระดับของกิจการ
1.2 กลยุทธ์การตั้งราคาตามจิตวิทยา
1.2.1 การตั้งราคาเพื่อให้เกิดความภาคภูมิใจแก่ลูกค้า เช่น เครื่ องประดับ
นํ้าหอม
1.2.2 ตั้งราคาเลขคี่ เพราะทําให้เหมือนราคาถูกกว่า
1.2.3 ตั้งราคาอ้างอิง เป็ นการตั้งราคาสิ นค้าเพื่อร้านค้าปลีกและเป็ นราคา
ที่ผบู ้ ริ โภคคาดหวังว่าควรจะเป็ นเช่นนั้น
2. กลยุทธ์ การตั้งราคาโดยมุ่งเน้ นภายใน
2.1 การตั้งราคาโดยบวกเพิ่มจากต้นทุน
2.2 การตั้งราคาเพื่อให้ได้ราคาตามเป้ าหมาย
55

ช่ องทางการจัดจาหน่ าย (Place)
เป็ นการกําหนดช่องทางจัดจําหน่าย และการกระจายตัวสิ นค้าไปยังผูบ้ ริ โภค โดยใช้ช่องทาง
ใดช่องทางเดียว หรื อจะใช้ท้ งั หมดเลยย่อมได้ ซึ่งการกําหนดช่องทางการจัดจําหน่ายผูป้ ระกอบการควรคํานึง
ถึงภาพลักษณ์ของผลิตภัณฑ์และพฤติกรรมของกลุ่มลูกค้าด้วย
ประเภทของช่ องทางการจัดจาหน่ าย
1. ช่องทางตรง คือการขายตรงให้แก่ผบู ้ ริ โภค
2. ช่องทางอ้อม คือการขายผ่านคนกลาง เช่น ผูค้ า้ ส่ง ผูค้ า้ ปลีก ตัวแทนจําหน่าย
3. ช่องทางการจัดจําหน่ายรู ปแบบใหม่ๆ เช่น Telemarketing, Internet Website
การส่ งเสริมการตลาด (Promotion)
เป็ นการสื่ อสารทางการตลาดเพื่อแจ้งข่าวสาร เพื่อจูงใจให้เกิดพฤติกรรมการซื้อตลอดจน
เตือนความทรงจําของผูบ้ ริ โภคเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ การบริ การ และกิจการ ซึ่งทําได้โดย
1. การโฆษณา (Advertising) สร้างให้เกิดการรู ้จกั ผลิตภัณฑ์ การบริ การ และกิจการ
การโฆษณาจะต้องวางแผน เช่น
- ตั้งวัตถุประสงค์ในการโฆษณา
- สื่ อถึงลูกค้ากลุ่มใด
- การเลือกใช้สื่อโฆษณา
- ข้อความที่ใช้โฆษณา
- เวลาและระยะเวลาสําหรับการโฆษณา
- งบประมาณในการโฆษณา
2. การขายโดยใช้พนักงานขาย Sale Person
- การนําเสนอผลิตภัณฑ์หรื อการบริ การ โดยใช้พนักงานขาย
- มุ่งการสร้างสัมพันธ์ที่ดีกบั ลูกค้า
- สามารถตอบข้อสงสัยแก่ลูกค้าได้ทนั ที
- มีตน้ ทุนสูง แต่ผลตอบแทนก็สูงเช่นกัน
- เหมาะกับผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าสูง การใช้งานซับซ้อน หรื อเป็ น ผลิตภัณฑ์
ที่เป็ นนวัตกรรม เทคโนโลยีสูง
3. การส่งเสริ มการขาย (Sale Promotion) เป็ นกิจกรรมที่เน้นการกระตุน้ ยอดขาย
อย่างเร่ งรัด เป็ นกิจกรรมที่เกิดขึ้นเป็ นครั้งคราว มีตน้ ทุนในการส่งเสริ มการขาย ผูป้ ระกอบการควรจะมี
งบประมาณในส่วนของการส่งเสริ มการขายด้วย เช่น
- การจัดแสดงสิ นค้า ณ จุดซื้อ
- การจัด Display แสดงสิ นค้าหน้าร้าน
- การแจกตัวอย่างสิ นค้า
- สะสมคะแนน หรื อแสตมป์
- การแจกของแถม
56

- การแจกคูปองส่วนลด
- การขายสิ นค้าลดราคา
- การซื้อสิ นค้า เพื่อให้ลูกค้านําชิ้นส่วนของสิ นค้าไปร่ วมกิจกรรมอื่นๆ
4. การประชาสัมพันธ์ (Public Relation) เป็ นการสร้างกิจกรรมส่งเสริ มความสัมพันธ์
ระหว่างธุรกิจ พนักงาน ผูข้ าย รัฐบาล ลูกค้า และชุมชน เน้นการสร้างประโยชน์ให้แก่ชุมชนโดยรวม เป็ นการทํา
กิจกรรมร่ วมกันระหว่างหน่วยงานต่าง ๆ เป็ นการให้ความรู ้เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์สู่กลุ่มลูกค้า หรื อชุมชน เป็ นการ
สร้างภาพพจน์ของกิจการ
การนาแนวคิดมาประยุกต์ ใช้
การแข่งขัน ระหว่างธุรกิจ ที่มีคู่แข่งขันมากรายจําเป็ นอย่างยิง่ ที่ตอ้ งคํานึงถึงปั จจัยต่างๆที่
สามารถนํามาเป็ นกลยุทธ์ เพื่อให้ นํ้าดื่มวอเตอร์ เป็ นที่ตอ้ งการของ ลูกค้า อันได้แก่ การสร้างความแตกต่างให้กบั
ผลิตภัณฑ์ การกําหนดราคาให้เป็ นที่ยอมรับของลูกค้าและอยูบ่ นพื้นฐานของการแข่งขัน การกําหนดช่องทางการ
จัดจําหน่ายให้เหมาะสมและเกิดความสะดวกสบายต่อลูกค้ามากที่สุด ซึ่งผู ้ จัดทํา ได้นาํ มาปรับใช้ในการส่งเสริ ม
การขายให้แก่โรงงานนํ้าดื่มวอเตอร์ จังหวัดขอนแก่น

2.11 กิจกรรม 5 ส
5 ส คือ การจัดระเบียบของสถานที่ทาํ งาน ให้น่าอยูน่ ่าทํางาน เป็ นระเบียบเรี ยบร้อย สะอาด สวยงาม
มีความปลอดภัยมีประสิ ทธิภาพและประสิ ทธิผลต่องาน ดังนี้
1. เซริ (SEIRI) หมายถึง สะสาง หรื อการแยกแยะให้ชดั เจน ได้แก่ การสํารวจตรวจสอบ
สิ่ งของที่อยูโ่ ดยรอบสถานที่ทาํ งาน แล้วทําการแยกแยะออกเป็ นของที่จาํ เป็ น
2. เซตง (SEITON) หมายถึง สะดวก หรื อการจัดให้เป็ นระเบียบ
3. เซโซ (SEISO) หมายถึง สะอาดหรื อการทําความสะอาด ได้แก่ การทําความสะอาดสถานที่
ทํางาน
4. เซเคทซึ (SEIKETTSU) หมายถึง สุขลักษณะ การดูแลรักษาสถานที่ทาํ งานให้มีความ
สะอาด เพื่อสุขภาพอนามัยและมีความปลอดภัยอยูเ่ สมอ
5. ชิทสึ เกะ (SHISUKE) หมายถึง สร้างนิสยั และการรักษาระเบียบวินยั
การเพิ่มประสิ ทธิภาพในการทํางานในด้านการผลิตและการบริ การที่มีพ้นื ฐานจากการจัดกิจกรรม 5ส
และพัฒนาไปสู่ระบบการบริ หารงานคุณภาพให้มีประสิ ทธิภาพเพิ่มมากขึ้นซึ่งจะให้ความสําคัญต่อการ
จัดกิจกรรม 5ส ก่อนการดําเนินกิจกรรมในระบบคุณภาพอื่นๆ ต่อไป
ประโยชน์ ทไี่ ด้ รับจากการทากิจกรรม 5 ส
1. ประโยชน์ที่เกิดกับพนักงาน ได้แก่ บรรยากาศและสภาพแวดล้อมในการทํางานดีข้ ึนทําให้
สถานที่ทาํ งานเป็ นระเบียบเรี ยบร้อย พนักงานมีขวัญและกําลังใจในการทํางาน สร้างจิตสํานึกให้กบั พนักงาน
เพื่อที่จะนําไปสู่การปรับปรุ ง
57

2. ประโยชน์ที่เกิดกับเครื่ องจักรและอุปกรณ์ ได้แก่ ช่วยป้ องกันปั ญหาที่จะเกิดจากการหยุด


อย่างกะทันหันของเครื่ องจัก ร เครื่ องจักรและอุปกรณ์มีความเที่ยงตรงแม่นยํา ช่วยทําให้อายุการใช้งาน
ของเครื่ องมือยาวนานขึ้น
3. ประโยชน์ที่จะเกิดกับกระบวนการผลิต ได้แก่ ช่วยลดเวลาในการขนย้ายวัสดุ พื้นที่บริ เวณ
โรงงานมีความสะอาดและเป็ นระเบียบ มีการเก็บรักษาวัสดุคงคลังอย่างเป็ นระเบียบสามารถที่จะตรวจสอบ
และนํามาใช้งานได้ง่าย
การใช้ กจิ กรรม 5 ส ร่ วมกับกิจกรรมอืน่
1. การใช้กิจกรรม 5 ส กับกิจกรรมกลุ่มคุณภาพ กิจกรรม 5 ส สามารถใช้ร่วมกับกิจกรรม
กลุ่มคุณภาพ ได้ 2 ลักษณะ คือการใช้กิจกรรม 5 ส เป็ นพื้นฐานก่อนที่จะนํากิจกรรมกลุ่มคุณภาพไปใช้ และการใช้
กิจกรรม 5 ส พร้อมๆ กับการจัดทํากิจกรรมกลุ่มคุณภาพ
2. การใช้กิจกรรม 5 ส กับกิจกรรมการบํารุ งรักษา ส สะอาด ถือได้วา่ เป็ นขั้นตอนแรก
ของกิจกรรมการบํารุ งรักษา ซึ่งการทําความสะอาดเครื่ องจักรเท่ากับเป็ นการตรวจสอบ พนักงานที่ทาํ ความสะอาด
เครื่ องจักรของตนเองอยูต่ ลอดจะเกิดความรักในเครื่ องจักรและอุปกรณ์ ทําให้สามารถส่งเสริ มให้มีการบํารุ งรักษา
ด้วยตนเองได้ง่ายและสะดวกมากขึ้น
3. การใช้กิจกรรม 5 ส กับกิจกรรมความปลอดภัย สถานที่ทาํ งานที่ประสบความสําเร็ จ
ในการดําเนินกิจกรรม 5 ส จะช่วยทําให้สภาพแวดล้อมไม่เป็ นพิษ ปราศจากสิ่ งสกปรก ทําให้พนักงานมีสุขภาพ
อนามัย และความปลอดภัยที่ดี อัตราการเกิดอุบตั ิเหตุก็จะน้อยลง
การนาแนวคิดมาประยุกต์ ใช้
กิจกรรม 5 ส ถูกนํามาปรับ ใช้กบั โรงงานนํ้าดื่มวอเตอร์ จังหวัดขอนแก่น เพื่อเป็ นการสร้าง
สภาพแวดล้อมที่ดีให้แก่โรงงานและตรงตามมาตรฐาน GMP การนํากิจกรรม 5 ส ไปใช้อย่างจริ งจัง และต่อเนื่อง
จะเป็ นการปรับปรุ งวิธีการทํางานและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมพนักงานซึ่งทําให้โรงงานมีประสิ ทธิภาพมากขึ้น

2.12 แนวคิดการรักษาระเบียบวินัยในการทางาน
การที่คนหมู่มากอยูร่ ่ วมกันเป็ นสังคมนั้น มีความจําเป็ นที่จะต้องมีกฎเกณฑ์ในการปฏิบตั ิตนเพื่อให้
สังคมสามารถดํารงอยูอ่ ย่างสงบสุข และมีพฒั นาการในทิศทางที่เหมาะสม องค์กรเป็ นระบบ สังคม
ที่ประกอบด้วยบุคคลจํานวนมากที่มีความแตกต่างทั้งในทางกายภาพและทางจิตใจ ( Physical and Psychological
Differences) มาอยูร่ ่ วมกัน จึงจําเป็ นต้องมีกฎเกณฑ์สาํ หรับการอยูแ่ ละกระทํากิจกรรมร่ วมกันอย่างเหมาะสม
เพื่อให้องค์กรสามารถดําเนินงานให้บรรลุวตั ถุประสงค์ที่กาํ หนดไว้ได้
ในทางปฏิบตั ิหน่วยงานทรัพยากร บุคคลขององค์กรจะมีหน้าที่ควบคุม ดูแล และให้คาํ แนะนํากับ
สมาชิกขององค์กร เพื่อให้สามารถปฏิบตั ิตามระเบียบ กฎเกณฑ์ และข้อบังคับที่องค์กรกําหนดได้อย่าง
เหมาะสม ตลอดจนพยายามศึกษา วิเคราะห์ และปรับปรุ งกฎเกณฑ์ที่มีอยูใ่ ห้เกิดความสอดคล้องกับกาลสมัยอยู่
เสมอ เพื่อให้องค์กรและสมาชิกสามารถอยูร่ ่ วมกันได้อย่างมีความสุขและเกิดประโยชน์สูงสุดแก่ทุกฝ่ าย
วินยั หมายถึง ระบบการชี้นาํ และและควบคุมพฤติกรรมของคนหมู่มากให้เป็ นไปต ามแนวทาง
ที่กาํ หนด โดยอาศัยเครื่ องมือต่างๆ เช่น การลงโทษ การให้รางวัล หรื อการให้คาํ ปรึ กษา
58

ส่ วนประกอบของวินัย
1. ระบบ วินยั เป็ นระบบที่องค์กรนํามาใช้สาํ หรับชี้นาํ และควบคุมให้สมาชิกปฏิบตั ิตวั ตามที่
องค์กรต้องการ เนื่องจากสมาชิกแต่ละคนต่างก็มีความแตกต่างกันทั้งทางร่ างกายและจิตใจ ถ้าองค์กรไม่มี
แนวทางให้สมาชิกปฏิบตั ิอาจก่อให้เกิดความสับสน ความขัดแย้ง และปั ญหาในการดําเนินงานขึ้น ดังนั้นองค์กร
จึงต้องพัฒนาระบบที่ทาํ ให้สมาชิกเข้าใจบทบาท หน้าที่ วัตถุประสงค์ร่วม และสามารถปฏิบตั ิตวั ตามที่องค์กร
ต้องการได้
2. พฤติกรรม การแสดงออกของสมาชิกมีผลต่อภาพลักษณ์ การดําเนินงาน และ
ประสิ ทธิภาพขององค์กร องค์กรที่สมาชิกสามารถปฏิบตั ิตนได้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่ต้ งั ไว้ ย่อมมีโอกาส
ก้าวหน้าในอนาคต ดังนั้นวินยั จึงถูกนํามาใช้ควบคุมพฤติกรรมของบุคลากรให้เป็ นไปตามแนวทางที่องค์กร
ต้องการ
3. กลุ่มคน วินยั ถูกนํามาใช้กบั กลุ่มคนเพื่อแสดงพฤติกรรมตามแนวทางที่ตอ้ งการเพื่อให้
เกิดความเป็ นระเบียบเรี ยบร้อย และเกิดประสิ ทธิภาพในการดําเนินงาน เนื่องจากองค์กรเกิดขึ้นจากการรวมตัว
ของบุคคลหลายคน ดังนั้นจึงต้องมีขอ้ กําหนดที่สามารถทําให้บุคลากรอยูแ่ ละกระทํากิจกรรมร่ วมกันได้
อย่างเหมาะสม ตลอดจนส่งเสริ มให้องค์กรสามารถดําเนินการได้ตามวัตถุประสงค์ที่ตอ้ งการ
4. เครื่องมือ ระบบวินยั จะต้องอาศัยเครื่ องมือต่างๆ มาใช้ควบคุมให้กลุ่มบุคคลประพฤติตน
ตามที่ตอ้ งการ โดยที่เครื่ องมือเหล่านี้ ได้แก่ การลงโทษ การให้รางวัล และการให้คาํ ปรึ กษา เนื่องจาก
การดําเนินการทางวินยั เป็ นเรื่ องละเอียดอ่อนและเกี่ยวข้องกับความรู ้สึกของบุคคล ดังนั้น ผูท้ ี่มีหน้าที่รักษาวินยั
จะต้องพิจารณาถึงความรุ นแรง ผลกระทบ และความเหมาะสมของเครื่ องมือแต่ละประเภทก่อนตัดสิ นใจ
นํามาใช้กบั พนักงาน เพื่อให้เกิดประสิ ทธิภาพสูงสุด และไม่ก่อให้เกิดปั ญหาในอนาคต
วัตถุประสงค์ ของวินัย
1. ส่ งเสริมพฤติกรรม ระบบวินยั จะถูกนํามาใช้ในการส่งเสริ มพฤติกรรมที่องค์การต้องการ
ให้สมาชิกแสดงออก โดยให้รางวัลแก่พนักงานที่ประพฤติตวั เหมาะสม เพื่อเป็ นการส่งเสริ มให้พนักงานรักษา
และพัฒนาพฤติกรรมนั้นอย่างต่อเนื่อง
2. ป้ องกันพฤติกรรม ระบบวินยั จะถูกนํามาใช้กบั สมาชิกเพื่อป้ องกันพฤติกรรมที่
ไม่พึงประสงค์ของบุคลากรโดยการลงโทษ ตักเตือน หรื อให้คาํ แนะนําแก่พนักงานที่ประพฤติตนไม่เหมาะสม
หรื อไม่ตรงตามความต้องการขององค์กร เพื่อบุคลากรจะได้ปรับปรุ งพฤติกรรมของตนให้เป็ นไปตามข้อกําหนด
ขององค์กร
การสร้างและการพัฒนาพฤติกรรมของบุคคลเป็ นเรื่ องที่เกี่ยวข้องกับจิตใจ( Psychological
related Issues) โดยเฉพาะพฤติกรรมของกลุ่มคนที่ตอ้ งอาศัยความรู ้ ความเข้าใจ และประสบการณ์มาประกอบ
กัน ผูท้ ี่มีหน้าที่รักษาวินยั จะต้องสร้างความสอดคล้องระหว่างประยุกต์ใช้วตั ถุประสงค์ท้ งั สอง เพื่อให้เกิด
ประสิ ทธิภาพสูงสุดในการส่งเสริ มพฤติกรรมที่องค์กรต้องการและป้ องกันไม่ให้พนักงานประพฤติตน
ไม่เหมาะสม
59

ระบบวินัยขององค์ กร
1. วินัยทางลบ (Negative Discipline) เป็ นระบบวินยั ที่ใช้ความรุ นแรง โดยองค์กร จะสร้าง
ข้อกําหนดพร้อมบทลงโทษเป็ นลําดับขั้นจากน้อยไปหามาก ถ้าพนักงานไม่ปฏิบตั ิตามหรื อเกิดความผิดพลาดใน
การปฏิบตั ิจะต้องถูกดําเนินการทางวินยั โดยอาจจะพิจารณาตามความบกพร่ อง เจตนา และปั จจัยแวดล้อม
การดําเนินการทางวินยั ในลักษณะนี้เป็ นการแก้ปัญหาปลายเหตุ ซึ่งไม่สอดคล้องกับ
วัตถุประสงค์เบื้องต้นของวินยั ตลอดจนสร้างภาพลักษณ์ในทางลบ ต่อองค์กรและผูท้ าํ หน้าที่รักษาวินยั ส่งผล
กระทบต่อความรู ้สึกและความสัมพันธ์ของพนักงานในองค์กรและขวัญกําลังใจในการทํางานของบุคลากร
และอาจก่อให้เกิดปั ญหาต่อเนื่องในอนาคต
ปั จจุบนั หลายองค์กรตระหนักถึงความสําคัญของการใช้ระบบวินยั ทางลบ เพื่อปรามมิให้
พนักงานประพฤติตวั นอกขอบเขตที่กาํ หนด ดังนั้นผูท้ ี่มีหน้าที่รักษาวินยั จะต้องนําหลักการจัดการปกครองและ
จิตวิทยามาประยุกต์ใช้ เพื่อให้การดําเนินการทางวินยั มีประสิ ทธิภาพและสอดคล้องกับวัตถุประสงค์เบื้องต้น
โดยสรุ ปเป็ นหลักการดําเนินการทางวินยั ดังต่อไปนี้
ชัดเจน หน่วยงานด้านวินยั ต้องกําหนดบทลงโทษและขั้นตอนการดําเนินการอย่างชัดเจน
เข้าใจง่าย และแจ้งให้พนักงานทุกคนรับทราบ เพื่อป้ องกันมิให้เกิดความบกพร่ องขึ้น ตลอดจนมีความโปร่ งใส
การดําเนินการ ไม่เลือกปฏิบตั ิโดยการเอื้อประโยชน์แก่พรรคพวกของตน
เข้ าใจ หน่วยงานด้านวินยั จะต้องแจ้งข้อบกพร่ องของบุคลากร เหตุผล และรายละเอียด
ในการลงโทษให้แก่พนักงานผูถ้ ูกดําเนินการทางวินยั เพื่อให้เขาเกิดความเข้าใจ ปรับปรุ ง หรื อเลิกพฤติกรรม
ที่ไม่เหมาะสมนั้น
ติดตามผล การดําเนินการทางวินยั มิใช่กิจกรรมที่กระทําครั้งเดียวเสร็ จ ดังนั้นหน่วยงาน
ด้านวินยั จะต้องมีหน้าที่ติดตามผลการดําเนินการว่าสามารถเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของบุคลากรได้เพียงใด
และต้องมีการส่งเสริ มหรื อปรับปรุ งการดําเนินการอย่างไร เพื่อให้การดําเนินงานเกิดประสิ ทธิภาพในอนาคต
เสริมแรง การดําเนินการทางวินยั เป็ นกระบวนการต่อเนื่องที่ถูกนํามาประยุกต์ใช้เพื่อให้กลุ่ม
บุคคลมีพฤติกรรมตามที่กาํ หนด ดังนั้นนอกจากการลงโทษตามขั้นตอนแล้ว หน่วยงานด้านวินยั จะต้อง
ให้รางวัลแก่ผปู ้ รับปรุ งพฤติกรรมอีกด้วย เพื่อเป็ นการกระตุน้ ให้บุคลากรพัฒนาและรักษาพฤติกรรมที่ตอ้ งการ
อย่างต่อเนื่อง
2. วินัยทางบวก ( Positive Discipline) ระบบวินยั ที่ใช้ความรุ นแรงมิได้กระทําให้บุคลากร
เกิดพัฒนาการทางพฤติกรรมอย่างแท้จริ ง แต่บุคลากรต้องปฏิบตั ิตามข้อกําหนดเพราะเกรงว่าจะถูกลงโทษทําให้
เกิดการต้องเก็บกด ความเครี ยด และแรงกดดัน ซึ่งจะส่งผลต่อประสิ ทธิภาพขององค์กรในระยะยาว ดังนั้น
มีผพู ้ ฒั นาระบบวินยั ที่ไม่ใช้ความรุ นแรงโดยอาศัยการกระตุน้ ให้บุคลากรพัฒนาตนเองจนมีพฤติกรรมที่องค์กร
ต้องการ ซึ่งไม่ก่อให้เกิดปั ญหาต่อเนื่องในอนาคต
เดอ เซนโซ และรอบบินส์ ได้กล่าวถึงระบบวินยั ทางบวก ซึ่งประกอบด้วย 3 ขั้นตอน
การเตือนด้ วยวาจา ( Oral Reminder) ระบบวินยั ทางบวกจะใช้คาํ ว่า “การเตือน (Remind)”
แทน “การตักเตือน (Warning)” เนื่องจากมีความหมายที่อ่อนและเป็ นกันเองระหว่างบุคคลมากกว่าโดยผูม้ ีหน้าที่
60

รักษาวินยั จะทําการบอกกับพนักงานด้วยวาจาถึงปั ญหา และสาเหตุของที่เกิดขึ้นปั ญหาเพื่อให้บุคลากรได้รับทราบ


และดําเนินการปรับปรุ งตัวให้เหมาะสม
การเตือนเป็ นลายลักษณ์ อกั ษร ( Written Reminder) ขั้นตอนนี้มีความเป็ นทางการกว่า
การเตือนด้วยวาจา เนื่องจากการใช้วาจาอาจไม่ได้ผลตามที่ตอ้ งการ โดยขั้นตอนนี้ผทู ้ ี่ทาํ หน้าที่รักษาวินยั จะแจ้ง
เป็ นลายลักษณ์อกั ษรถึงปั ญหา วิธีการแก้ไข และอาจมีกาํ หนดระยะเวลาในการแก้ไขที่แน่นอนแก่พนักงานเพื่อ
บุคลากรดําเนินการปรับปรุ งตัวเองภายในระยะเวลาที่กาํ หนด
การให้ ตดั สินใจ ( Decision – making Leave) ถ้าการดําเนินการในขั้นตอนที่ผา่ นมา
ไม่ประสบความสําเร็ จ ผูท้ ี่ทาํ หน้าที่รักษาวินยั จะให้บุคลากรพักงานโดยอาจที่จะได้รับค่าตอบแทนเพื่อเปิ ดโอกาส
ให้บุคลากรตัดสิ นใจว่าจะปรับปรุ งตัวหรื อออกจากองค์กร
ระบบวินยั ทางบวกได้รับการยอมรับว่ามีขอ้ ดี คือ ไม่กระทบกระเทือนต่อความรู ้สึก
ของพนักงาน และไม่ก่อให้เกิดปั ญหากับกลุ่มบุคคลที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะสหภาพแรงงาน องค์กรแรงงาน หรื อ
องค์การพัฒนาเอกชน แต่ระบบวินยั ทางบวกถูกวิจารณ์วา่ ไม่เหมาะสมกับทุกสถานการณ์เนื่องจากมีความยืดหยุน่
เกินไป ไม่ทนั ต่อเหตุการณ์ ตลอดจนไม่สามารถวัดความเต็มใจในการปรับปรุ งพฤติกรรมของพนักงาน
ได้อย่างชัดเจน
3. การให้ คาปรึกษาแก่ พนักงาน ( Employee Counseling) นอกจากการดําเนินการทางวินยั
แล้ว องค์กรอาจนําวิธีการให้คาํ ปรึ กษาแก่บุคลากรเพื่อปรับปรุ งพฤติกรรมของบุคลากรให้เหมาะสมมาใช้ก่อน
เริ่ มดําเนินการทางวินยั เนื่องจากปั ญหาทางวินยั เป็ นปั ญหาที่มีความซับซ้อน ละเอียดอ่อน และเกี่ยวข้อง
กับหลายปั จจัย ตลอดจนปั ญหาที่พบอาจเป็ นเพียงส่วนน้อย หรื อที่เรี ยกว่า “ยอดของภูเขานํ้าแข็ง ( Tip of the
Iceberg)” ซึ่งการดําเนินการทางวินยั อาจเป็ นการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ ไม่สามารถแก้ปัญหาได้อย่างแท้จริ ง และ
อาจก่อให้เกิดปั ญหาต่อเนื่องในอนาคต การให้คาํ ปรึ กษาเป็ นวิธีการที่นาํ มาประยุกต์ใช้ในหลายองค์กร โดยทั้ง
ผูใ้ ห้คาํ ปรึ กษาและพนักงานจะร่ วมกันค้นหา วิเคราะห์ และพยายามแก้ไขสาเหตุของปั ญหาให้หมดไป เพื่อมิให้
เป็ นต้นเหตุของปั ญหาแก่ท้ งั องค์กรและบุคลากรอีก
ในทางปฏิบตั ิองค์กรไม่จาํ เป็ นต้องเลือกใช้ระบบวินยั เพียงระบบเดียว องค์กรสามารถ
นําระบบวินยั ทั้งสามมาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการกระตุน้ ให้บุคลากรปฏิบตั ิตนตามที่องค์กร
ต้องการได้ เพื่อป้ องกันมิให้บุคลากรประพฤติตนเบี่ยงเบนจากขอบเขตที่กาํ หนด โดยเฉพาะสถานการณ์ปัจจุบนั
ที่มีความผันแปรของกระแสสังคมสูง ซึ่งก่อให้เกิดแรงผลักดันทั้งด้านบวกและด้านลบต่อบุคลากร
การดาเนินการทางวินัย
งานวินยั จะมีขอบเขตครอบคลุมความประพฤติของสมาชิกทุกคนในองค์กร โดยที่
การดําเนินการทางวินยั จะมีความแตกต่างตามประเภท ระดับความรุ นแรงของปั ญหา และผลกระทบที่มี
ต่อองค์กร ดังนั้นการดําเนินการทางวินยั จะต้องมีความศักดิ์สิทธิ์และเด็ดขาด เพื่อที่จะสร้างการยอมรับ
และป้ องกันพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมของบุคลากร ปกติการดําเนินการทางวินยั สามารถกระทําเป็ นลําดับขั้น
ดังต่อไปนี้
61

1. การตักเตือน (Warning) การตักเตือนเป็ นขั้นตอนแรกของการดําเนินการทางวินยั ที่นิยมใช้


ในทุกองค์กร วิธีน้ ีเป็ นการดําเนินการทางวินยั ที่มีความรุ นแรงน้อยที่สุด มักถูกนํามาใช้เมื่อองค์กรเริ่ มรับทราบ
ถึงปั ญหา หรื อปั ญหาไม่มีความรุ นแรง โดยที่การตักเตือนสามารถแบ่งออกเป็ น 3 ระดับ ดังนี้
การตักเตือนด้วยวาจา (Verbal Warning) การตักเตือนด้วยวาจาเป็ นขั้นตอนแรกที่ถูกนํามาใช้
เมื่อมีปัญหาทางวินยั ผูท้ ี่ทาํ หน้าที่รักษาวินยั จะบอกให้บุคลากรรับทราบถึงปั ญหาที่เกิดขึ้นพร้อมอธิบายสาเหตุ
เพื่อพนักงานจะได้ปรับปรุ งตัวหรื อแก้ไขพฤติกรรมให้ถูกต้องตามที่องค์กรต้องการ
การตักเตือนด้วยวาจาพร้อมบันทึกข้อมูล ( Written Verbal Warning) ขั้นตอนนี้ได้รับการ
ยอมรับว่าเป็ นขั้นตอนแรกของการดําเนินการทางวินยั เนื่องจากมีการดําเนินการที่เริ่ มมีความเป็ นทางการ โดย
ผูท้ ี่ทาํ หน้าที่รักษาวินยั จะทําการตักเตือนพนักงานที่กระทําผิดด้วยวาจาพร้อมกับบันทึกข้อมูลชัว่ คราว
(Temporary) การบันทึกข้อมูลจะกระทําลงในแฟ้ มส่วนตัวของผูต้ กั เตือนที่ไม่เกี่ยวข้องกับฐานข้อมูลด้านบุคลากร
ขององค์กร โดยการบันทึกชื่อของบุคลากร วันที่ เหตุการณ์ จุดมุ่งหมาย และผลลัพธ์ เพื่อเป็ นหลักฐานอ้างอิง
สําหรับการดําเนินการขั้นต่อไป ถ้าบุคลากรยังคงแสดงพฤติกรรมที่เป็ นปั ญหาทางวินยั อีก
การตักเตือนเป็ นลายลักษณ์อกั ษร ( Written Warning) การตักเตือนเป็ นลายลักษณ์อกั ษรเป็ น
ขั้นตอนแรกของการดําเนินการทางวินยั อย่างเป็ นทางการ ขั้นตอนนี้ถูกนํามาใช้เมื่อขั้นตอนที่ผา่ นมาไม่บรรลุผล
ตามต้องการ ผูท้ ี่ทาํ หน้าที่รักษาวินยั จะแจ้งสาเหตุขอ้ บกพร่ องพร้อมแนวทางแก้ไขต่อพนักงานเป็ นลายลักษณ์
อักษร พร้อมทั้งบันทึกข้อมูลลงในแฟ้ มประวัติของพนักงานในฐานข้อมูลเกี่ยวกับบุคลากรขององค์กร
2. การพักงาน ( Suspension) การพักงานเป็ นการดําเนินการทางวินยั ในขั้นที่รุนแรงกว่าการ
ตักเตือน การพักงานถูกนํามาใช้เมื่อการตักเตือนไม่ได้ผลตามที่ตอ้ งการ หรื อบุคลากรกระทําความผิดในขั้น
ที่รุนแรง โดยที่ระยะเวลาการพักงานจะถูกกําหนดตามความเหมาะสม เพื่อให้บุคลากรได้มีระยะเวลา
ได้มีระยะเวลาสํานึกและปรับปรุ งตัวให้เหมาะสม ในทางปฏิบตั ิหลายองค์การจะไม่นิยมใช้วธิ ีการนี้เนื่องจาก
มีผลต่อเนื่องในด้านลบต่อทั้งองค์กรและบุคลากรที่ถูกดําเนินการ
3. การลดขั้น ( Demotion) ถ้าการพักงานไม่สามารถเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของบุคลากรได้
องค์กรอาจเลือกนําวิธีการลดขั้นมาใช้แทนการไล่ออก เนื่องจากบุคลากรนั้นยังมีความสําคัญต่อองค์กร หรื อ
องค์กรไม่ตอ้ งการหรื อไม่สามารถใช้วธิ ีการอื่นที่รุนแรงกว่าได้
การลดขั้นเป็ นวิธีการทางวินยั ที่ไม่ได้รับความนิยมในทางปฏิบตั ิ เนื่องจากวิธีน้ ีจะมีผล
ต่อเนื่องทางความรู ้สึกของบุคลากรที่ถูกดําเนินการ และมีผลต่อขวัญและกําลังใจการทํางานของพนักงานอื่นใน
องค์กร ดังนั้นผูม้ ีหน้าที่รักษาวินยั จะต้องพิจารณาให้รอบครอบถึงผลกระทบที่อาจเกิดจากการลดขั้นบุคลากร
ก่อนตัดสิ นใจดําเนินการ
4. การตัดเงินเดือน (Pay Cut) การตัดเงินเดือนเป็ นการดําเนินการทางวินยั ขั้นรุ นแรงที่หลาย
องค์กรอาจเลือกใช้เมื่อจําเป็ น การตัดเงินเดือนถูกนํามาใช้เป็ นทางเลือกสุดท้ายแทนการไล่ออก เนื่องจากการ
ไล่บุคลากรออกจากงานจะก่อให้เกิดผลเสี ย และค่าใช้จ่ายทั้งโดยทางตรงและทางอ้อมต่อองค์กร
5. การไล่ ออก ( Dismissal) การไล่ออกเป็ นวิธีการทางวินยั ขั้นเด็ดขาดที่องค์กรนํามาใช้กบั
พนักงานที่เห็นว่าไม่มีความเหมาะสมที่จะให้ร่วมงานต่อไป เนื่องจากบุคลากรกระทําความผิดทางวินยั อย่าง
รุ นแรง วิธีการนี้เป็ นขั้นตอนสุดท้ายทางวินยั ที่องค์กรเลือกนํามาใช้ เพราะเป็ นวิธีการที่รุนแรงและมีผลกระทบ
62

ต่อบุคคลหลายระดับ ตั้งแต่บุคลากรที่ถูกดําเนินการ เพื่อนร่ วมงาน องค์กร และสังคมภายนอก เช่น พนักงาน


ที่มีอายุมากต้องประสบปั ญหาในการหางานใหม่ เพื่อนร่ วมงานเสี ยขวัญและกําลังใจในการทํางาน อาจมีการ
เรี ยกร้องความเป็ นธรรมผ่านสหภาพแรงงานหรื อกระบวนการยุติธรรมทางสังคม เป็ นต้น ดังนั้นผูท้ ี่มีหน้าที่
ดําเนินการทางวินยั จะต้องพิจารณาอย่างรอบคอบถึงผลลัพธ์ที่อาจเกิดขึ้นจากการไล่บุคลากรออกจากงานก่อน
ตัดสิ นใจดําเนินการ
ในทางปฏิบตั ิการดําเนินการทางวินยั อาจกระทําไม่ครบทุกขั้นตอน โดยผูท้ ี่ทาํ หน้าที่รักษา
วินยั จะต้องพิจารณาตามความเหมาะสมของแต่ละองค์กร นอกจากนี้ผทู ้ าํ หน้าที่รักษาวินยั ขององค์กรสมควร
ดําเนินการเชิงรุ ก เพื่อป้ องกันมิให้เกิดปั ญหามากกว่าการดําเนินการแบบตอบสนอง และทําโทษ เพียงอย่างเดียว
เช่น การแจ้งกฎระเบียบต่างๆ ให้พนักงานรับทราบอย่างชัดเจน เพื่อป้ องกันความผิดพลาดของพนักงานที่
เกิดจากความไม่รู้ระเบียบวินยั ขององค์กร นอกจากนี้องค์การอาจต้องปลุกจิตสํานึกในด้านระเบียบวินยั ของ
พนักงานผ่านวิธีการต่างๆ อย่างต่อเนื่อง เช่น สิ่ งพิมพ์ ป้ ายประกาศ และการจัดกิจกรรมรณรงค์เกี่ยวกับ
ระเบียบวินยั ขององค์กร เป็ นต้น เพื่อป้ องกันการกระทําผิดโดยความสะเพร่ า ความพลั้งเผลอ หรื อ
ความรู ้เท่าไม่ถึงการณ์
การนาแนวคิดมาประยุกต์ ใช้
การกําหนดกฎระเบียบใดๆก็ตามจําเป็ นต้องได้รับการยอมรับร่ วมกัน ดังนั้นเพื่อเป็ นการ
ป้ องกันการฝ่ าฝื นหรื อไม่ปฏิบตั ิตามกฎ ผูจ้ ดั ทําได้ร่วมมือกับผูป้ ระกอบการในการกําหนดให้มีบทลงโทษด้วยการ
การตักเตือนด้วยวาจา การตักเตือนด้วยวาจาพร้อมบันทึกข้อมูล การตักเตือนเป็ นลายลักษณ์อกั ษร

2.13 งานวิจัยทีเ่ กีย่ วข้ อง


มานิต พันนาโส (2546) ได้ทาํ การศึกษาการปรับปรุ งการบริ หารงานภายในของ บริ ษทั เมเจอร์ บิสซิเนส
จํากัด ประเด็นปั ญหาที่พบในระบบการจัดการภายในของบริ ษทั เมเจอร์ บิสซิเนสนั้นเป็ นประเด็นปั ญหาอันเกิด
จากหลายๆส่วนด้วยกัน คือ การจัดแนวทางขององค์กรที่ซบั ซ้อนและไม่คล่องตัวในการปฏิบตั ิงานจริ ง การจัดการ
ด้านบุคลากรที่จาํ เป็ นต้องอาศัยทักษะในการทํางาน ณ สาขาที่ปฏิบตั ิ การเข้าออกของพนักงานทําให้ความรู ้
และประสบการณ์อนั ถือเป็ นต้นทุนของการบริ หารจัดการได้ศูนย์เสี ยไปด้วย จําเป็ นอย่างยิง่ ที่จะต้องทําให้
การหมุนเวียนเข้าออกของพนักงานมีความเสถียร เพื่อให้ตน้ ทุนเหล่านี้พฒั นามาเป็ นอัตราการทํากําไรต่อชิ้นได้
มากขึ้น การคัดเลือกพนักงานจากนอกสายงายทําให้เกิดความบกพร่ องในการทํางานข้ามสายงานจึงต้องกลับมา
พิจารณาว่าสิ่ งที่จาํ เป็ นสําหรับการ โปรโมทหรื อการคัดเลือกควรมาจากด้านใดบ้าง

เสาวนีย ์ ตรี วรเวช (2544) การวางแผนพัฒนาองค์กรด้วยกระบวนการเพิ่มผลผลิตกิจกรรม 5 ส ของ


วิทยาลัยเทคนิคอุตสาหกรรม มีประเด็นปั ญหาที่การจัดกิจกรรม 5 ส ถดถอย ผูอ้ าํ นวยการประสง เป็ นผูเ้ ผชิญ
ปั ญหา จึงได้เร่ งปรับปรุ งแก้ไข โดยเริ่ มจาก
1. การวิเคราะห์ SWOT เพื่อหาจุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรค
2. การวิเคราะห์ Cause and Effect Diagram เพื่อหาสาเหตุหลัก
3. การวิเคราะห์แผนผังต้นไม้ โดนนําสาเหตุหลักและต้องแก้ไขเร่ งด่วนคือ บุคลากรมาวิเคราะห์จน
63

สามารถได้เป็ นกิจกรรมพร้อมทั้งมีการประเมินความเป็ นไปได้ของกิจกรรมและเน้นบุคลากรที่รับผิดชอบ


ในแต่ละกิจกรรม จนในที่สุดสามารถกําหนดเป็ นแผนฟื้ นฟูกิจกรรม 5 ส ของแผนกวิชาเทคนิคโลหะ ซึ่งเป็ น
แผนกตัวอย่าง 5 ส และกําหนดพันธะสัญญาร่ วมกัน ในการลดอัตราถดถอยอย่างน้อย 10 % ต่อ1 ปี การศึกษา
จนนําไปสู่การปฏิบตั ิกิจกรรม 5 ส จนเป็ นนิสยั เพื่อปรับปรุ งงานอย่างต่อเนื่อง

อดิศร ตั้งรุ่ งเรื องอยู่ (2544) การเพิม่ ยอดขายนํ้าดื่มอัมริ นทร์ ห้างหุน้ ส่วนอัมริ นทร์ อินเตอร์กรุ๊ ป
เป็ นโรงงานผลิตนํ้าดื่มบรรจุขวดภายใต้ชื่อผลิตภัณฑ์ นํ้าดื่มอัมริ นทร์ โดยจัดจําหน่ายภายในเขตจังหวัด
มหาสารคาม มียอดขายลดลงสื บเนื่องมาจากภาวะเศรษฐกิจตกตํ่า ทําให้ยอดขายลดลงยาวนานหลายเดือน จากการ
วิเคราะห์หาปั ญหาและแนวทางแก้ไขของห้างฯ ซึ่งจําเป็ นจะต้องใช้เครื่ องมือและทฤษฎี SWOT Analysis,
STP analysis, Strategic Planning มาช่วยเพราะหัวใจสําคัญในการสร้างรายได้ของกิจการคือ การขายห้างฯ จําเป็ น
ที่จะต้องแสวงหาโอกาสในการขายให้มากที่สุด ด้านการผลิตภัณฑ์ควรมรการเปลี่ยนแปลงผลิตภัณฑ์จากขวดที่
ผลิตจากเม็ดพลาสติกรี ไซเคิล เป็ นเม็ดพลาสติกใหม่บริ สุทธิ์และพิมพ์ขอ้ ความให้ผบู ้ ริ โภคมัน่ ในในคุณภาพ
ของสิ นค้า ด้านราคา การตั้งราคาโดยใช้โปรแกรม ผลกําไรจูงใจลูกค้า เพื่อจูงใจให้ร้านค้าสัง่ สิ นค้ามากขึ้น
เป็ นโอกาสของห้างฯ ที่จะสร้างยอดขาย ด้านช่องทางการจัดจําหน่าย โดยการเน้นการรักษาช่องทาง
การจัดจําหน่ายเดิมและเสริ มสภาพคล่องด้านการเงินให้ร้านค้า เพิ่มหน่วยลดขายเงินสด และขยายช่องทาง
การตลาดใหญ่ๆ ทําให้กิจการสามารถเข้าถึงลูกค้าและเพิ่มจุดขายให้มากขึ้น ด้านการประชาสัมพันธ์ โดยใช้วทิ ยุ
และสร้างภาพพจน์การจดจําและกระตุน้ ผูบ้ ริ โภคให้ดื่มนํ้าอัมริ นทร์เพิม่ ขึ้น ดังนั้นการทําทฤษฎี และเครื่ องมือ
ทั้ง 3 อย่างข้างต้นมาช่วยในการปฏิบตั ิสามารถทําให้บรรลุถึงเป้ าหมายที่วางไว้ได้

นิตยา ศรี นุกลู (2545) บริ ษทั ศิลปะโอสถ จํากัด ดําเนินธุรกิจเกี่ยวกับการผลิตและจัดจําหน่ายยา


สมุนไพรรายใหญ่แห่งหนึ่งในจังหวัดอุบลราชธานีได้เปิ ดดําเนินธุรกิจมานานถึง 60 ปี ธุรกิจของบริ ษทั
ได้มีความเจริ ญเติบโตอย่างต่อเนื่องมาโดยตลอด จากธุรกิจเจ้าของคนเดียวที่มีโรงงานขนาดเล็ก ต่อมา
ได้มีการบริ หารงานที่เป็ นแบบครอบครัว แล้วพัฒนาการบริ หารงานมาเป็ นรู ปแบบของบริ ษทั ที่มีระบบและ
หลักเกณฑ์ในการบริ หารงานมากขึ้น เพื่อเพิ่มประสิ ทธิภพในการบริ หารงานและเพื่อรองรับกับการขยายโรงงาน
ที่มีขนาดใหญ่ข้ ึนให้สอดคล้องกับความเจริ ญเติบโตของตลาดยาสมุนไพร แต่เนื่องจากสภาวะเศรษฐกิจที่ตกตํ่า
จึงส่งผลทําให้ตลาดอุตสาหกรรมยาสมุนไพรได้รับผลกระทบ ประกอบกับการแข่งขันในตลาดที่มีความรุ นแรง
เพราะบริ ษทั คู่แข่งแต่ละรายได้ได้นาํ กลยุทธ์ต่างๆ มาใช้ในการแข่งขัน ทําให้ที่ผา่ นมานี้ยอดขายยาสมุนไพร
ของบริ ษทั มีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นทางบริ ษทั จึงมีความจําเป็ นอย่างยิง่ ที่จะต้องใช้การวางแผน
การตลาดเข้ามาดําเนินเพื่อแก้ไขปั ญหาดังกล่าว โดยจะมีแผนทางด้านการตลาด คือการพัฒนาการตลาดที่มี
การเพิ่มพื้นที่การจัดจําหน่ายให้ครอบคลุมมากขึ้น ควบคู่กบั การส่งเสริ มการตลาดใ นรู ปแบบต่างๆ การนําเอา
ส่วนผสมทางการตลาดมาปรับใช้ให้เข้ากับจุดแข็งของบริ ษทั และโอกาสทางการตลาดแล้วนํามาว างแผน เพื่อ
กระตุน้ ให้ผบู ้ ริ โภคเกิดความต้องการใช้ยาสมุนไพรในการรักษาอาการเจ็บป่ วยเพิม่ มากขึ้น ส่งผลให้
การดําเนินงานของบริ ษทั บรรลุเป้ าหมายที่ได้ต้ งั ไว้ คือ การเพิ่มยอดขายขึ้นอีก 10%
64

เมื่อได้ทาํ การศึกษาและวิเคราะห์ถึงสาเหตุที่ทาํ ให้บริ ษทั ต้องประสบกับปั ญหายอดขายลดลง พบว่า


สาเหตุที่เกิดจากภายในบริ ษทั นั้นมาจากการที่บริ ษทั ไม่เน้นการส่งเสริ มการตลาดอย่างจริ งจัง คือมีการจัด
การส่งเสริ มการขายน้อย จัดให้มีเฉพาะในกลุ่มลูกค้าที่เป็ นร้านยาโดยการให้ของแถมเมื่อซื้อสิ นค้าในปริ มาณ
ที่บริ ษทั ได้กาํ หนดไว้ และพื้นที่การขายยาสมุนไพรของบริ ษทั ได้ขยายพื้น ที่การขายแต่ยงั ไม่ครอบคลุมการขาย
ให้มีความทัว่ ถึงลูกค้าอย่างเท่าที่ควร ซึ่งปั จจัยดังกล่าวล้วนเป็ นผลทําให้ยอดขายยาสมุนไพรของบริ ษทั ลดลง
การวางแผนการตลาดที่นาํ มาใช้ในการแก้ปัญหานั้นจะแบ่งการดําเนินงานออกเป็ นกิจกรรมต่างๆ ตามตาราง
การปฏิบตั ิงาน ซึ่งในแต่ละกิจกรรมจะมีข้ นั ตอนการดําเนินงาน ระยะเวลา และงบประมาณที่แตกต่างกัน
แผนการตลาดที่ได้กาํ หนดขึ้นมานี้ในระยะสั้นทางบริ ษทั คาดว่าจะเพิ่มยอดขายยาสมุนไพรให้ได้ตามเป้ าหมาย
ที่วางไว้ และในการวางแผนระยะยาวบริ ษทั หวังว่าจะสามารถสร้างความพึงพอใจให้แก่ลูกค้าได้มากขึ้น
พร้อมกับเป็ นการช่วยเพื่อขีดความสามารถในการแข่งขันกับคู่แข่งขันในตลาดอุตสาหกรรมยาสมุนไพรได้
บทที่ 3
ระเบียบวิธวี จิ ัย

การเพิ่มประสิ ทธิภาพในการบริ หารงานให้แก่โรงงานนํ้าดื่มวอเตอร์ จังหวัดขอนแก่น มีขอบเขต


และวิธีการวิจยั ดังนี้
3.1 ประชากร
3.2 กลุ่มตัวย่าง
3.3 พื้นที่ที่ทาํ การวิจยั
3.4 ขอบเขตเนื้อหาทีว่ จิ ยั
3.5 การเก็บข้อมูล
3.6 เครื่ องมือในการเก็บข้อมูล
3.7 การวิเคราะห์และการแปรผลข้อมูล

3.1 ประชากร
ได้ทาํ การศึกษาจากประชากร 2 กลุม่ ดังนี้
กลุ่มที่ 1 พนักงานโรงงานนํ้าดื่มวอเตอร์ จังหวัดขอนแก่น จํานวนทั้งหมด 21 คน
กลุ่มที่ 2 ประชากรที่อาศัยอยูใ่ นเขตเทศบาลเมืองจังหวัดขอนแก่นจํานวน 120,167 คน (รายงานสถิติ
จํานวนประชากร ณ เดือน ธันวาคม พ.ศ.2550)

3.2 กลุ่มตัวอย่ าง
กลุ่มที่ 1 เก็บข้อมูลทั้งหมด 21 คน
กลุ่มที่ 2 ใช้สูตรการคํานวณกลุ่มตัวอย่างโดย Taro Yamane (1973) กรณี ทราบจํานวนประชากร

N
n=
1  Ne 2

n = ขนาดกลุ่มตัวอย่าง
N = จํานวนประชากร
e = ความคลาดเคลื่อนที่ยอมให้เกิดขึ้น
ระดับความเชื่อมัน่ ที่ 95 % หรื อระดับนัยสําคัญ 0.05
n= 120,167/(1+120,167(0.05)2) = 398.67  400 คน ดังนั้นจึงเก็บแบบสอบถาม 400 ชุด
3.3 พืน้ ทีท่ ที่ าการวิจัย
พื้นที่ ที่ทาํ การวิจยั คือ เขตเทศบาลเมืองจังหวัดขอนแก่น โดยมีการสอบถามข้อมูลจาก ผูป้ ระกอบการ
แบบตรวจสอบรายการ รวมทั้งแบบสอบถามทัศนคติของพนักงานที่มีต่อโรงงานนํ้าดื่มวอเตอร์ จังหวัดขอนแก่น
และแบบสอบถามปั จจัยที่ใช้ในการตัดสิ นใจซื้อนํ้าดื่มของผูบ้ ริ โภคในเขตเทศบาลเมืองจังหวัดขอนแก่น

3.4 ขอบเขตเนือ้ หาทีว่ จิ ัย


การศึกษาครั้งนี้เป็ นการศึกษา ถึง ปั ญหาและหาแนวทางแก้ไข เพื่อ เพิม่ ประสิ ทธิภาพในการบริ หารงาน
ให้แก่โรงงานนํ้าดื่มวอเตอร์ จังหวัดขอนแก่น ได้แก่ ด้านการจัดการ ด้านบุคลากร และด้านการตลาด สามารถ
กําหนดขอบเขตประเด็นที่จะทําการศึกษาไว้อย่างชัดเจน ดังนี้
3.4.1 ด้ านการจัดการ
การจัดทํากิจกรรม 5 ส เป็ นกิจกรรมการจัดระเบียบความเรี ยบร้อย ภายในโรงงาน เพื่อให้
เกิดสภาพ แวดล้อม ที่ดี มี ความเป็ น ระเบียบ เกิดความปลอดภัย นําไปสู่ประสิ ทธิภาพการปฏิบตั ิงาน ตรงตาม
มาตรฐาน GMP
3.4.2 ด้ านบุคลากร
การจัดผังโครงสร้างองค์กร โดยแบ่ง หน้าที่ ออกเป็ นฝ่ าย ได้แก่ ฝ่ ายการเงิน/บัญชี ฝ่ ายผลิต
และฝ่ ายขาย กําหนดกฎระเบียบและบทลงโทษเพื่อชี้แจงให้พนักงานทราบ และใช้ เป็ นมาตรฐานในการ ปฏิบตั ิ
ต่อไป และจัดทํา Job Description และ Job Specifications เพื่อแจ้งให้พนักงานทราบถึงหน้าที่และความ
รับผิดชอบของตนเองอย่างชัดเจน
การจัดการเชิงกลยุทธ์ ได้แก่ การกําหนดวิสยั ทัศน์ พันธกิจ วัตถุประสงค์ เป้ าหมาย เพื่อให้
โรงงานสามารถดําเนินงานตามพันธกิจอันนําไปสู่การบรรลุวตั ถุประสงค์และเป้ าหมายที่กาํ หนดไว้
แบบสอบถามทัศนคติของพนักงานที่มีต่อโรงงานนํ้าดื่มวอเตอร์ จังหวัดขอนแก่นได้นาํ มาใช้
เป็ นแนวทางในการสร้างแรงจูงใจให้กบั พนักงาน
3.4.3 ด้ านการตลาด
แบบสอบถาม ปั จจัยที่ใช้ ในการตัดสิ นใจซื้อนํ้าดื่ม ของผูบ้ ริ โภค ในเขตเทศบาลเมือง จังหวัด
ขอนแก่น เพื่อใช้เป็ นแนวทางในการจัดทํากลยุทธ์การส่งเสริ มการขายให้แก่โรงงานนํ้าดื่มวอเตอร์
จังหวัดขอนแก่น

3.5 การเก็บข้ อมูล


ข้ อมูลปฐมภูมิ (Primary Data) ได้แก่การหาข้อมูลจากแหล่งข้อมูล 2 แหล่ง คือ
- บทสัมภาษณ์ผปู ้ ระกอบการ และการสังเกตการณ์พร้อมทั้งบันทึกแบบตรวจสอบรายการ
- แบบสอบถามทัศนคติของพนักงานที่มีต่อโรงงานนํ้าดื่มวอเตอร์ จังหวัดขอนแก่น จํานวน
21 ชุด แบบสอบถาม ปั จจัยที่ใช้ ในการตัดสิ นใจ เลือกซื้อนํ้าดื่ม ของผูบ้ ริ โภค ในเขตเทศบาล จังหวัดขอนแก่น
จากกลุ่มตัวอย่างจํานวน 400 ชุด
ข้ อมูลทุตยิ ภูมิ ( Secondary Data) เป็ นการเก็บรวบรวม ข้อมูลของโรงงาน และ จากการศึกษาค้นคว้า
ทางเอกสาร ตํารา เว็ปไซต์ และงานวิจยั ที่เกี่ยวข้อง

3.6 เครื่องมือในการเก็บข้ อมูล


ผูจ้ ดั ทําได้กาํ หนดเครื่ องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ทั้งหมด 3 ชนิด คือ แบบสอบถาม บทสัมภาษณ์
และการสังเกตการณ์พร้อมทั้งบันทึกแบบตรวจสอบรายการ ซึ่งแบบสอบถามจะแบ่งออกเป็ น 2 ชุด คือ
1. แบบสอบถามทัศนคติของพนักงานที่มีต่อโรงงานนํ้าดื่มวอเตอร์ จังหวัดขอนแก่น
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทัว่ ไปผูก้ รอกแบบสอบถาม
ส่วน ที่ 2 ทัศนคติของพนักงานที่มีต่อโรงงานนํ้าดื่มวอเตอร์ จังหวัดขอนแก่น
2. แบบสอบถามปั จจัยที่ใช้ในการตัดสิ นใจซื้อนํ้าดื่มของผูบ้ ริ โภคในเขตเทศบาลเมืองจังหวัดขอนแก่น
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทัว่ ไปของผูก้ รอกแบบสอบถาม
ส่วนที่ 2 ปั จจัยทางการตลาดที่ใช้ประกอบการตัดสิ นใจ เลือก ซื้อนํ้าดื่ม ของผูบ้ ริ โภค
ในเขตเทศบาลเมืองจังหวัดขอนแก่น

3.7 การวิเคราะห์ และการแปรผลข้ อมูล


การวิเคราะห์ขอ้ มูล ได้นาํ ข้อมูลที่ได้จากแบบสอบถาม ของผูบ้ ริ โภค ในเขตเทศบาล จังหวัดขอนแก่น
จํานวน 400 ชุด มาวิเคราะห์ โดยใช้ ร้อยละ ( Percentage) ค่าเฉลี่ย ( Mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
(standard deviation)
ค่าเฉลี่ย (Mean) โดยใช้สูตร (สุพจน์ บุญแรง, 2549)

สูตร x = x
n
เมื่อ x = ค่าเฉลี่ย
n = ผลรวมของคะแนนทั้งหมด
x = ขนาดกลุ่มข้อมูลจากการวิเคราะห์งาน
การวัดระดับความพึงพอใจ และระดับความสําคัญ ใช้สถิติเชิงพรรณนา (Descriptive Statistics)
ในการวิเคราะห์ขอ้ มูลและนําเสนอในรู ปแบบตารางประกอบคําบรรยาย โดยการให้คะแนน (Rating Scale)
5 ระดับ คือ มากที่สุด มาก ปานกลาง น้อย น้อยที่สุด โดยมีการให้คะแนนสําหรับมาตราส่วนประมาณค่า ดังนี้
มากที่สุด ระดับคะแนน 5 คะแนน
มาก ระดับคะแนน 4 คะแนน
ปานกลาง ระดับคะแนน 3 คะแนน
น้อย ระดับคะแนน 2 คะแนน
น้อยที่สุด ระดับคะแนน 1 คะแนน
การประเมินผลโดยการแบ่งช่วงการแปรผลตามหลักของการแบ่งอันตรภาคชั้น (Class interval) โดยใช้
สูตรคํานวณความกว้างของอันตรภาคชั้น (สุพจน์ บุญแรง, 2549) ดังต่อไปนี้
ความกว้างของอันตรภาคชั้น = พิสยั /จํานวนชั้น
= (5-1)/5
= 0.8
เมื่อได้ค่าเฉลี่ยความกว้างของช่วงชั้นแล้ว ผู ้ จัดทํา ได้กาํ หนดการแปลความหมายระดับความ พึงพอใจ
และระดับความสําคัญ ดังนี้
ค่าเฉลี่ย 4.21 - 5.00 หมายความว่า มากที่สุด
ค่าเฉลี่ย 3.41 - 4.20 หมายความว่า มาก
ค่าเฉลี่ย 2.61 - 3.40 หมายความว่า ปานกลาง
ค่าเฉลี่ย 1.81 - 2.60 หมายความว่า น้อย
ค่าเฉลี่ย 1.00 - 1.80 หมายความว่า น้อยที่สุ ด
บทที่ 4
วิเคราะห์ ผลการศึกษาและการดาเนินงาน

การดําเนินงานเพื่อเพิ่มประสิ ทธิภาพการบริ หารงานของโรงงานนํ้าดื่มวอเตอร์ จังหวัดขอนแก่น


มีรายละเอียด ดังนี้
-การวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรค (SWOT analysis)
-การวิเคราะห์อิทธิพลของการแข่งขัน 5 ประการ (Five forces model)
-การวิเคราะห์ส่วนประสมทางการตลาด (4P’s)
-แบบสอบถามทัศนคติของพนักงานที่มีต่อโรงงานนํ้าดื่มวอเตอร์ จังหวัดขอนแก่น
-แบบสอบถาม ปั จจัยที่ใช้ ในการ ตัดสิ นใจซื้อนํ้าดื่ม ของผูบ้ ริ โภค ใน เขต เทศบาล เมือง
จังหวัดขอนแก่น
-แบบตรวจสอบรายการ (Check Sheet)
-การจัดการเชิงกลยุทธ์
-กิจกรรม 5 ส
-กําหนดโครงสร้างองค์กรและตําแหน่งงาน
-กําหนดกฎระเบียบพนักงาน
-กําหนดเงินพิเศษและสวัสดิการให้แก่พนักงาน
-กลยุทธ์การส่งเสริ มการขาย
-แผนระยะยาว
การวิเคราะห์ จุดแข็ง จุดอ่ อน โอกาส และอุปสรรค (SWOT analysis)
การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในและภายนอกของ โรงงานนํ้าดื่มวอเตอร์ จังหวัดขอนแก่น เพื่อหา
จุดแข็งและใช้ประโยชน์จากโอกาสที่มีอยู่ หรื อหาจุดอ่อนและหลีกเลี่ยงจากอุปสรรค ที่จะเป็ นผลเสี ยต่อธุรกิจได้
การวิเคราะห์ดงั กล่าวจะช่วยให้การตัดสิ นใจของผูป้ ระกอบการในการดําเนินงานมีประสิ ทธิ ภาพมากขึ้น
จุดแข็ง
- ผลิตภัณฑ์น้ าํ ดื่ม วอเตอร์ผา่ นการตรวจสอบคุณภาพนํ้าจากศูนย์วทิ ยาศาสตร์การแพทย์ และได้
ใบรับรองจากองค์การอาหารและยา และได้รับการรับรองคุณภาพมาตรฐาน GMP จากกระทรวงสาธารณสุข
- ผลิตภัณฑ์น้ าํ ดื่ม วอเตอร์มีราคาไม่แพง เมื่อเทียบกับนํ้าดื่มยีห่ อ้ อื่นในระดับเดียวกัน
-โรงงานผลิตตั้งอยูใ่ จกลางเมือง ทําให้สะดวกต่อการจัดส่งให้ลูกค้า
จุดอ่ อน
-ชนิดของบรรจุภณั ฑ์น้ าํ ดื่มยังไม่มีความหลากหลาย เมื่อเทียบกับนํ้าดื่มยีห่ อ้ อื่น
-ขาดช่องทางการกระจายสิ นค้า โดยเฉพาะในเขตรอบนอกอําเภอเมืองจังหวัดขอนแก่น
-ขาดช่องทางในการประชาสัมพันธ์ คือการส่งเสริ มการขาย ซึ่งเป็ นกิจกรรมที่เน้นการกระตุน้ ยอดขาย
โอกาส
- ผูค้ นนิยมซื้อนํ้าดื่มแบบบรรจุขวดบริ โภคเพื่อความสะดวกในการดําเนินชีวติ ในปั จจุบนั
- อากาศที่ร้อนขึ้นโดยเฉพาะในช่วงฤดูร้อนทําให้การจําหน่ายนํ้าดื่มเพิ่มสูงขึ้น
อุปสรรค
-ปั จจุบนั ธุรกิจผลิตนํ้าดื่มมีจาํ นวนเพิ่มขึ้น ทําให้เกิดการแข่งขันระหว่างธุรกิจสูง ซึ่งผลิตภัณฑ์น้ าํ ดื่มแต่
ละยีห่ อ้ นั้นมีคุณภาพและมาตรฐานที่ใกล้เคียงกันมาก ทําให้ลูกค้ามีอาํ นาจในการต่อรองด้านราคาสูงตามมาด้วย
การวิเคราะห์ อทิ ธิพลของการแข่ งขัน 5 ประการ (Five forces model)
การวิเคราะห์อิทธิพลของการแข่งขัน 5 ประการทําให้ทราบถึงความเคลื่อนไหวของตลาดนํ้าดื่มใน
จังหวัดขอนแก่น และรู ้ถึงแนวทางในการดําเนินธุรกิจเพื่อให้สามารถแข่งขันกับผูผ้ ลิตนํ้าดื่มรายอื่นๆ ได้
1. ความรุนแรงระหว่ างคู่แข่ งขันทีม่ อี ยู่ในตลาด (The intensity of rivalry among competitors)
ตารางที่ 4.1 เปรี ยบเทียบนํ้าดื่มวอเตอร์กบั คู่แข่งขันรายอื่น ด้านผลิตภัณฑ์

นํ้าดื่ม นํ้าดื่ม นํ้าดื่ม นํ้าดื่ม นํ้าดื่ม นํ้าดื่ม นํ้าดื่ม


โรงงานนํ้าดื่ม วอเตอร์ ศรี พรรณี แฟรน โคโรลิส ไกด์วอเตอร์ ทีเค วินเทค
ส่วนผสม ไชส์ วอเตอร์
ทางการตลาด
ด้ านผลิตภัณฑ์
นํ้าดื่มขวดเพทขนาด
-    - - -
500 ซม.3
นํ้าดื่มขวดเพทขนาด
- - -  - - -
600 ซม.3
นํ้าดื่มขวดเพทขนาด
- - -  - - -
750 ซม.3
นํ้าดื่มขวดเพทขนาด
- - -  - - -
1,500 ซม.3
นํ้าดื่มขวดขาวขุ่น
      -
ขนาด800 ซม.3
นํ้าดื่มบรรจุแกลอน
      
ขนาด 20 ลิตร

จากตารางเปรี ยบเทียบนํ้าดื่มวอเตอร์กบั คู่แข่งขันรายอื่นในด้านผลิตภัณฑ์พบว่า นํ้าดื่มโคโรลิส


มีผลิตภัณฑ์ทุกขนาด นํ้าดื่ม ศรี พรรณี และนํ้าดื่มแฟรนไชส์ มีผลิตภัณฑ์ นํ้าดื่มขวดเพทขนาด 500 ซม. 3 นํ้าดื่ม
ขวดขาวขุ่นขนาด 800 ซม.3 และนํ้าดื่มบรรจุแกลอน ขนาด 20 ลิตรเหมือนกัน นํ้าดื่มวอเตอร์ นํ้าดื่มไกด์วอเตอร์
และ นํ้าดื่มทีเค มีผลิตภัณฑ์ ที่เหมือนกันคือนํ้าดื่มขวดขาวขุ่นขนาด 800 ซม.3 และนํ้าดื่มบรรจุแกลอน ขนาด 20
ลิตร ส่วนนํ้าดื่มวินเทควอเตอร์มีเพียงผลิตภัณฑ์ขนาดเดียวคือนํ้าดื่มบรรจุแกลอนขนาด 20 ลิตร
ตารางที่ 4.2 เปรี ยบเทียบนํ้าดื่มวอเตอร์กบั คู่แข่งขันรายอื่น ด้านราคา

นํ้าดื่ม นํ้าดื่ม นํ้าดื่ม นํ้าดื่ม นํ้าดื่ม นํ้าดื่ม นํ้าดื่ม


โรงงานนํ้าดื่ม วอเตอร์ ศรี พรรณี แฟรน โคโรลิส ไกด์วอเตอร์ ทีเค วินเทค
ไชส์ วอเตอร์
ส่วนผสม
ทางการตลาด
ด้ านราคา
นํ้าดื่มขวดเพท
ขนาด 500 ซม.3 - 40 42 50 - - -
(บาท/โหล)
นํ้าดื่มขวดเพท
ขนาด 600 ซม.3 - - - 60 - - -
(บาท/โหล)
นํ้าดื่มขวดเพท
ขนาด 750 ซม.3 - - - 65 - - -
(บาท/โหล)
นํ้าดื่มขวดเพท
ขนาด1,500 ซม.3 - - - 102 - - -
(บาท/โหล)
นํ้าดื่มขวดขาวขุ่น
ขนาด800 ซม.3 35 35 37 38 35 35 -
(บาท/โหล)
นํ้าดื่มบรรจุแกลอน
ขนาด 20 ลิตร 10 12 12 15 12 12 12
(บาท/ถัง)

จากตารางเปรี ยบเทียบนํ้าดื่มวอเตอร์กบั คู่แข่งขันรายอื่นในด้านราคาพบว่า นํ้าดื่มขวดเพทขนาด500ซม.3


ของนํ้าดื่ม ศรี พรรณี และนํ้าดื่มแฟรนไชส์ จําหน่ายในราคาที่ใกล้เคียงกัน มีเพียงนํ้าดื่มโคโรลิสที่จาํ หน่ายในราคา
ที่สูง ส่วนผลิตภัณฑ์น้ าํ ดื่มขวดขาวขุ่นขนาด800 ซม.3 และนํ้าดื่มบรรจุแกลอนขนาด 20 ลิตร ผูผ้ ลิตทุกรายจําหน่าย
ในราคาที่ใกล้เคียงกัน มีเพียงนํ้าดื่มโคโรลิสที่จาํ หน่ายในราคาที่สูงกว่ารายอื่น
ตารางที่ 4.3 เปรี ยบเทียบนํ้าดื่มวอเตอร์กบั คู่แข่งขันรายอื่น ด้านช่องทางการจัดจําหน่าย

นํ้าดื่ม นํ้าดื่ม นํ้าดื่ม นํ้าดื่ม นํ้าดื่ม นํ้าดื่ม นํ้าดื่ม


โรงงานนํ้าดื่ม วอเตอร์ ศรี พรรณี แฟรน โคโรลิส ไกด์วอเตอร์ ทีเค วินเทค
ส่วนผสม ไชส์ วอเตอร์
ทางการตลาด
ด้ านช่ องทางการจัดจาหน่ าย
บริ การจัดส่งลูกค้า
      
ถึงที่
บริ การโทรสัง่ ซื้อ       
ส่งจําหน่ายร้านค้า       

จากตารางเปรี ยบเทียบนํ้าดื่มวอเตอร์กบั คู่แข่งขันรายอื่นในด้านช่องทางการจัดจําหน่ายพบว่า ผูผ้ ลิต


ทุกรายมีบริ การจัดส่งลูกค้าถึงที่ บริ การโทรสัง่ ซื้อ และส่งจําหน่ายร้านค้า เหมือนกันทุกราย

ตารางที่ 4.4 เปรี ยบเทียบนํ้าดื่มวอเตอร์กบั คู่แข่งขันรายอื่น ด้านการส่งเสริ มการขาย

นํ้าดื่ม นํ้าดื่ม นํ้าดื่ม นํ้าดื่ม นํ้าดื่ม นํ้าดื่ม นํ้าดื่ม


โรงงานนํ้าดื่ม วอเตอร์ ศรี พรรณี แฟรน โคโรลิส ไกด์วอเตอร์ ทีเค วินเทค
ส่วนผสม ไชส์ วอเตอร์
ทางการตลาด
ด้ านการส่ งเสริมการขาย
ลดราคานํ้าดื่ม - - - - - - -
แจกของแถม - - - - - - -
จําหน่ายนํ้าดื่ม
- - - - - - -
หน้าร้าน

จากตารางเปรี ยบเทียบนํ้าดื่มวอเตอร์กบั คู่แข่งขันรายอื่นในด้านการส่งเสริ มการขายพบว่า ไม่มี


ผูผ้ ลิตรายใดที่มีการส่งเสริ มการขายให้แก่ลูกค้า
ตารางที่ 4.5 ยอดขายและส่วนแบ่งตลาดของนํ้าดื่มในจังหวัดขอนแก่น ปี 2551

รายชื่อนา้ ดืม่ ยอดขาย(บาท) ส่ วนแบ่ งตลาด(%)


นํ้าดื่ม โคโรลิส 8,429,860 15.49
นํ้าดื่ม แฟรนด์ไชน์ 6,152,140 11.30
นํ้าดื่ม ศรี พรรณี 5,759,310 10.58
นํ้าดื่ม วอเตอร์ 5,477,710 10.06
นํ้าดื่ม ไกด์วอเตอร์ 3,695,240 6.79
นํ้าดื่ม ทีเค 3,289,650 6.04
นํ้าดื่ม วินเทควอเตอร์ 3,054,250 5.61
นํ้าดื่ม อื่นๆ 47 ราย 18,569,520 34.12
รวม 54,427,680 100

ทีม่ า: โรงงานนํ้าดื่มวอเตอร์ จังหวัดขอนแก่น

จากตารางข้างต้นพบว่านํ้าดื่มโคโรลิสมียอดจําหน่ายและส่วนแบ่งการตลาดมากที่สุด ทําให้น้ าํ ดื่ม


โคโรลิสเป็ นผูน้ าํ ในตลาดนํ้าดื่ม ส่วนนํ้าดื่มวอเตอร์รวมถึงผูผ้ ลิตนํ้าดื่มรายอื่นๆ อยูใ่ นฐานะผูต้ าม

ทีม่ า: โรงงานนํ้าดื่มวอเตอร์ จังหวัดขอนแก่น


ภาพที่ 4.1 ส่วนแบ่งตลาดของนํ้าดื่มในจังหวัดขอนแก่น ปี 2551
2. อุปสรรคจากคู่แข่ งขันทีเ่ ข้ ามาใหม่ ในตลาด (The treats of new entrants to the market)
ธุรกิจประเภทผลิตนํ้าดื่มเป็ นธุรกิจที่มีการแข่งขันการอย่างสูง เพราะ เป็ น สิ นค้าที่ไม่มี
ความแตกต่างกัน ลูกค้าจึงสามารถเลือกซื้อได้ตามความเหมาะสมและความพึงพอใจของลูกค้า เพราะฉะนั้นภาวะ
คุกคามจากคู่แข่งขันรายใหม่จึงสามารถเข้ามาในธุรกิจได้ง่ายและแข่งขันสูง
3. อานาจการต่ อรองของผู้ขายปัจจัยการผลิต (The bargaining power of suppliers)
โรงงานผลิตขวดพลาสติกอาจมีการเพิ่มราคาหรื อลดคุณภาพสิ นค้า ให้กบั โรงงานผลิตนํ้าดื่ม
ได้ เนื่องจากผูข้ ายปั จจัยการผลิตมีจาํ นวนน้อยราย (โรงงานผลิตขวดพลาสติกมีจงั หวัดนครราชสี มา กาฬสิ นธุ์
นครพนม) การที่มีผขู ้ ายปั จจัยการผลิตน้อยราย อาจทําให้มีอาํ นาจในการต่อรอง เช่น ขอขึ้นราคาวัตถุดิบ ขึ้นราคา
ค่าจัดส่ง ซึ่งจะทําให้เกิดผลกระทบกับต้นทุนการผลิตของโรงงานผลิตนํ้าดื่มได้
4. อานาจต่ อรองของผู้ซื้อ (The bargaining power of buyers)
ผูบ้ ริ โภค นํ้าดื่มมีทางเลือกในการ เลือกซื้อ เนื่องจากมีคู่แข่งขันรายอื่น จํานวนมาก ราคาและ
ความแตกต่างของผลิตภัณฑ์ไม่ต่างกันมาก ลูกค้าบางรายตัดสิ นใจซื้อนํ้าดื่มบริ โภคเพราะชื่อเสี ยงและความคุน้ เคย
ของยีห่ อ้ นํ้าดื่ม นั้น ๆ ซึ่งนํ้าดื่มที่เป็ นที่รู้จกั ของคนส่วนใหญ่น้ นั ผูบ้ ริ โภคจะมีความนิยมซื้อมากกว่าเมื่อเทียบกับ
นํ้าดื่มยีห่ อ้ อื่น ทั้งนี้ลูกค้าสามารถเลือกสัง่ ซื้อตามความสะดวกของตัวเองมากที่สุด
5. อุปสรรคจากผลิตภัณฑ์ ทที่ ดแทนกันได้ (The threat of substitute product)
ข้อจํากัดด้านราคาของ นํ้าดื่ม เมื่อราคาของ นํ้าดื่ม ที่ มี อยูส่ ูงขึ้น นอก เหนือจากผลิตภัณฑ์
ที่ทดแทนกันได้แล้ว ลูกค้าจะเปลี่ยนแปลงไปใช้สินค้าทดแทนนั้นได้ เพร าะลูกค้ามีทางเลือกมากในการเลือกซื้อ
สิ นค้าทดแทน เช่น นํ้าดื่มหยอดตู ้ เป็ นต้น
ดัง นั้น โรงงานนํ้าดื่มวอเตอร์ จังหวัดขอนแก่น จึงต้องพิจารณาถึงจุดแข็ง และโอกาส ที่มีอยู่
แล้วนํามาใช้ให้เป็ นประโยชน์ เพื่อการได้เปรี ยบทางการแข่งขัน พิจารณาถึงจุดอ่อนและอุปสรรคเพื่อหาแนวทาง
กําจัดจุดอ่อนหรื อหลีกเลี่ยงเพื่อให้เกิดผลกระทบต่อธุรกิจน้อยที่สุด รวมถึงการให้ความสําคัญ กับปั จจัยภายนอก
ด้านต่าง ๆ ที่เข้ามาเกี่ยวข้องกับการแข่งขัน เพื่อเป็ นการสร้างความได้เปรี ยบทางการแข่งขันในระยะยาว

การวิเคราะห์ ส่วนประสมทางการตลาด (4P’s)


การวิเคราะห์ส่วนประสมทางการตลาดของโรงงานนํ้าดื่มวอเตอร์ จังหวัดขอนแก่น เพื่อให้ทราบถึงข้อดี
ข้อเสี ยของปั จจัยทั้ง4ด้านของผลิตภัณฑ์ ซึ่ง การแข่งขันที่มีคู่แข่งขันมากรายจําเป็ นอย่างยิง่ ที่ตอ้ งคํานึงถึงปั จจัย
ต่างๆ เพื่อ สามารถนํามาเป็ นกลยุทธ์ เพื่อให้ นํ้าดื่มวอเตอร์ เป็ นที่ตอ้ งการของ ลูกค้า อันได้แก่ การสร้างความ
แตกต่างให้กบั ผลิตภัณฑ์ การกําหนดราคาให้เป็ นที่ยอมรับของลูกค้าและอยูบ่ นพื้นฐานของการแข่งขัน
การกําหนดช่องทางการจัดจําหน่ายให้เหมาะสมและเกิดความสะดวกสบายต่อลูกค้ามากที่สุด ซึ่งผู ้ จัดทํา ได้นาํ
ข้อมูลที่ได้มาปรับใช้ในการกําหนดกลยุทธ์การส่งเสริ มการขายให้แก่โรงงานนํ้าดื่มวอเตอร์ จังหวัดขอนแก่น
1. ผลิตภัณฑ์ (produce)
นํ้าดื่มวอเตอร์ได้มีระบบการผลิตที่ทนั สมัย ซึ่งระบบการผลิตนํ้าดื่มบรรจุขวดของนํ้าดื่ม
วอเตอร์ผลิตในระบบซอฟเทนเนอร์มาตั้งแต่ตน้ และก็ได้มีการพัฒนาปรับปรุ งระบบการผลิตโดยเพิ่มเครื่ อง
ผลิตคลอรี นไดออกไซด์ฆ่าเชื้อในการทําความสะอาดภาชนะ และ มีไส้แสงอุลตร้าไวโอเลต ฆ่าเชื้อในนํ้าดื่ม
และผสมโอโซนในนํ้าดื่ม นํ้าดื่มวอเตอร์ผา่ นการตรวจคุณภาพนํ้าจากศูนย์วทิ ยาศาสตร์การแพทย์ และ
ได้ใบรับรองจากองค์การอาหารและยา (ใบอนุญาตเลขที่ 40-1-07633-1-0001 ) และได้รับรองคุณภาพมาตรฐาน
GMP จากกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งการที่ผลิตภัณฑ์มีเครื่ องหมาย อย. รับรองมาตรฐานทางด้านความสะอาด
ของผลิตภัณฑ์และความสะอาดในกระบวนการผลิต เป็ นปั จจัยสําคัญอีกประการหนึ่งที่ ทําให้ผบู ้ ริ โภคมัน่ ใจและ
รู ้สึกปลอดภัยในการบริ โภคนํ้าดื่ม ผลิตภัณฑ์น้ าํ ดื่มตรา วอเตอร์ มีท้ งั หมด 2 ประเภท คือ
-นํ้าดื่มบรรจุแกลลอน 20 ลิตร
-นํ้าดื่มบรรจุขวดขาวขุ่น 800 ซม.3
2. ราคา (price)
นํ้าดื่มวอเตอร์ จําหน่ายนํ้าดื่มแบบบรรจุแกลลอน 20 ลิตร จําหน่ายในราคาถังละ 1 0 บาท และ
แบบขวดขาวขุ่น800 ซม.3 ราคาโหลละ 35 บาท ซึ่งราคาที่จาํ หน่ายไม่มีความแตกต่างกับคู่แข่งขันรายอื่นมากนัก
3. การจัดจาหน่ าย (place)
โรงงานนํ้าดื่มวอเตอร์ จําหน่ายนํ้าดื่มโดยจําหน่ายผ่านพ่อค้าคนกลาง ได้แก่ ร้านค้า ร้านอาหาร
เป็ นต้น และจําหน่ายให้แก่ลูกค้าโดยตรงได้แก่ บ้านพักอาศัย หอพัก ธนาคาร ส่วนราชการ เป็ นต้น โดยการจัดส่ง
จะใช้รถยนต์บรรทุกนํ้าดื่มออกจําหน่าย เพื่อจัดส่งให้ลูกค้าในเขตอําเภอเมืองขอนแก่น ช่องทาง การจัดจําหน่าย
นํ้าดื่มวอเตอร์ จังหวัดขอนแก่นจะอยูใ่ นลักษณะดังนี้

พนักงานขาย
โรงงานนํ้าดื่มวอเตอร์ ร้านค้า, ร้านอาหาร ผูบ้ ริ โภค
จังหวัดขอนแก่น

ภาพที่ 4.2 การจัดจําหน่ายผ่านพ่อค้าคนกลาง

พนักงานขาย บ้านพักอาศัย, หอพัก


โรงงานนํ้าดื่มวอเตอร์ ธนาคาร, ส่วนราชการ
จังหวัดขอนแก่น

ภาพที่ 4.3 การจัดจําหน่ายให้แก่ลูกค้าโดยตรง

สาเหตุที่ใช้พอ่ ค้าคนกลางจําหน่ายนํ้าดื่ม
1. พ่อค้าคนกลางทําหน้าที่การจําหน่ายแทนผูผ้ ลิต ซึ่งจะทําให้สามารถจําหน่ายนํ้าดื่มได้เข้าถึง
ตลาดอย่างทัว่ ถึง ทําให้สามารถสร้างยอดขายได้มากขึ้น
2. พ่อค้า คนกลางทําหน้าที่ส่งเสริ มการตลาดด้วย เนื่องจาก พ่อค้า คนกลางอยูใ่ กล้ชิด ลูกค้า
มากกว่าผูผ้ ลิต ทําให้ทราบความต้องการของลูกค้าได้ดีกว่าผูผ้ ลิต
3. พ่อค้าคนกลางทําช่วยให้เกิดการประหยัดต่อขนาดการผลิต การที่พอ่ ค้าคนกลางช่วยในการ
จําหน่ายสิ นค้าให้เข้าถึงลูกค้าได้อย่างทัว่ ถึง ทําให้จาํ หน่ายได้ในปริ มาณที่มาก มีผลทําให้มีการผลิต ต่อครั้ง จํานวน
มาก ส่งผลให้ตน้ ทุนต่อหน่วยลดลง
4. การส่ งเสริมการตลาด (promotion)
นํ้าดื่มวอเตอร์ มีลกั ษณะการจัดจําหน่ายแบบค้าส่ง ดังนั้น ในส่วนของการส่งเสริ มการตลาด
กิจการเลือกใช้การส่งเสริ มการ ตลาดโดยใช้พนักงานขายออกจัดส่งนํ้าดื่มตามร้านค้า ร้านอาหาร บ้านพักอาศัย
หอพัก ธนาคาร ส่วนราชการ เป็ นต้น

แบบสอบถามทัศนคติของพนักงานทีม่ ตี ่ อโรงงานนา้ ดืม่ วอเตอร์ จังหวัดขอนแก่ น


แบบสอบถามทัศนคติของพนักงานที่มีต่อโรงงานนํ้าดื่มวอเตอร์ จังหวัดขอนแก่น แบ่งออกเป็ น 2 ส่วน
โดยใช้อตั ราส่วนร้อยละและระดับความพึงพอใจ ในการวิเคราะห์ขอ้ มูล ดังนี้

ตารางที่ 4.6 ข้อมูลทัว่ ไปของพนักงาน

เพศ จานวน(คน) ร้ อยละ


ชาย 15 71.4
หญิง 6 28.8
อายุ จานวน(คน) ร้ อยละ
ตํ่ากว่า 20 ปี 2 9.52
20-25 ปี 7 33.33
26-30 ปี 4 19.05
31-35 ปี 6 28.57
มากกว่า 35 ปี 2 9.52
ตาแหน่ ง จานวน(คน) ร้ อยละ
ฝ่ ายการเงินและบัญชี 1 4.76
ฝ่ ายผลิต 5 23.81
ฝ่ ายขาย 15 71.43

จากตารางข้อมูลทัว่ ไปของพนักงานพบว่า เป็ นพนักงานเพศชายจํานวน 15 คน คิดเป็ นร้อยละ 71.4


เพศหญิงจํานวน 6 คน คิดเป็ นร้อยละ 28.8 อายุ 20-25 ปี มีจาํ นวน 7 คน คิดเป็ นร้อยละ 33.33 อายุ 31-35 ปี
มีจาํ นวน 6 คน คิดเป็ นร้อยละ 28.57 อายุ26-30 ปี มีจาํ นวน 4 คน คิดเป็ นร้อยละ 19.05 อายุต่าํ กว่า 20 ปี มีจาํ นวน
2 คน คิดเป็ นร้อยละ 9.52 อายุมากกว่า 35 ปี มีจาํ นวน 2 คน คิดเป็ นร้อยละ 9.52 ฝ่ ายขาย มีจาํ นวน 15 คน คิดเป็ น
ร้อยละ 71.43 ฝ่ ายผลิตมีจาํ นวน 5 คน คิดเป็ นร้อยละ 23.81 การเงินและบัญชีมีจาํ นวน 1 คน คิดเป็ นร้อยละ 4.76
ตารางที่ 4.7 ทัศนคติของพนักงานที่มีต่อโรงงานนํ้าดื่มวอเตอร์ จังหวัดขอนแก่น ด้านสถานที่ปฎิบตั ิงาน

ก่ อน หลัง
ทัศนคติของพนักงาน การจัดกิจกรรม 5ส การจัดกิจกรรม 5ส
ทีม่ ตี ่ อโรงงานนา้ ดืม่ วอเตอร์ ระดับ ระดับ
จังหวัดขอนแก่ น x S.D. ความพึง x S.D. ความพึง
พอใจ พอใจ
ด้ านสถานทีป่ ฎิบัตงิ าน
ความสะอาดของโรงงาน 2.74 1.050 น้อย 4.26 0.735 มากที่สุด
อากาศภายในโรงงานถ่ายเทได้สะดวก 3.14 0.779 ปานกลาง 3.38 0.943 ปานกลาง
ความปลอดภัยในระหว่างการปฏิบตั ิงาน 2.92 1.072 ปานกลาง 3.51 0.694 มาก
การจัดวางสิ่ งของอย่างเป็ นระเบียบ 2.46 1.025 น้อย 4.35 0.765 มากที่สุด
มีแสงสว่างเพียงพอ 3.44 0.853 มาก 3.72 0.841 มาก
เครื่ องจักรและอุปกรณ์เหมาะสม 4.41 0.756 มากที่สุด 4.38 0.846 มากที่สุด
ต่อการใช้งาน

จากตารางข้างต้น ก่อนการดําเนินงาน พบว่า ทัศนคติของพนักงานที่มีต่อโรงงานนํ้าดื่มวอเตอร์ จังหวัด


ขอนแก่น เรื่ อง เครื่ องจักรและอุปกรณ์เหมาะสมต่อการใช้งานมีระดับความพึงพอใจมากที่สุด(ค่าเฉลี่ย 4.41)
มีแสงสว่างเพียงพอมีระดับความพึงพอใจมาก(ค่าเฉลี่ย 3.44) อากาศ ภายในโรงงาน ถ่ายเทได้สะดวก มีระดับ
ความพึงพอใจปานกลาง(ค่าเฉลี่ย 3.14) ความปลอดภัยในระหว่างการปฏิบตั ิงานมีระดับความพึงพอใจปานกลาง
(ค่าเฉลี่ย 2.92) ความสะอาด ของโรงงานมีระดับความพึงพอใจน้อย(ค่าเฉลี่ย 2.74) การจัดวางสิ่ งของอย่าง
เป็ นระเบียบมีระดับความพึงพอใจน้อย (ค่าเฉลี่ย 2.46)
หลังจากการจัดกิจกรรม 5ส เพื่อแก้ปัญหาด้านสถานที่ปฏิบตั ิงาน พบว่าเครื่ องจักรและอุปกรณ์เหมาะสม
ต่อการใช้งานมีระดับความพึงพอใจมากที่สุด(ค่าเฉลี่ย 4.38) การจัดวางสิ่ งของอย่างเป็ นระเบียบมีระดับความพึง
พอใจมากที่สุด(ค่าเฉลี่ย 3.35) ความสะอาด ของโรงงานมีระดับความพึงพอใจมากที่สุด(ค่าเฉลี่ย 4.26)
มีแสงสว่างเพียงพอมีระดับความพึงพอใจมาก(ค่าเฉลี่ย 3.72) ความปลอดภัยใน ระหว่างการปฏิบตั ิงาน มีระดับ
ความพึงพอใจมาก(ค่าเฉลี่ย 3.51) อากาศ ภายในโรงงาน ถ่ายเทได้สะดวก มีระดับความพึงพอใจปานกลาง
(ค่าเฉลี่ย 3.38)
ตารางที่ 4.8 ทัศนคติของพนักงานที่มีต่อโรงงานนํ้าดื่มวอเตอร์ จังหวัดขอนแก่น ด้านสวัสดิการ

ก่ อน หลัง
ทัศนคติของพนักงาน การดาเนินงาน การดาเนินงาน
ทีม่ ตี ่ อโรงงานนา้ ดืม่ วอเตอร์ ระดับ ระดับ
จังหวัดขอนแก่ น x S.D. ความพึง x S.D. ความพึง
พอใจ พอใจ
ด้ านสวัสดิการ
ค่าตอบแทนที่ได้รับเพียงพอ 2.76 1.073 ปานกลาง 3.53 0.764 มาก
ต่อการดําเนินชีวติ
มีการให้ค่าตอบแทนอย่างเหมาะสมกับงาน 3.61 0.946 มาก 4.18 0.861 มาก
มีค่าตอบแทนอื่นๆนอกจากรายได้หลัก 2.54 1.048 น้อย 4.25 0.647 มากที่สุด
คุณสามารถใช้วนั หยุด/วันลาได้ตามสิ ทธิ 4.09 0.831 มาก 3.84 0.795 มาก
คุณได้พกั ผ่อนอย่างเต็มที่ในเวลาพัก 3.66 0.775 มาก 3.52 0.815 มาก

จากตางรางข้างต้น ก่อนการดําเนินงานพบว่า ทัศนคติของพนักงานที่มีต่อโรงงานนํ้าดื่มวอเตอร์ จังหวัด


ขอนแก่น เรื่ องคุณสามารถใช้วนั หยุด/วันลาได้ตามสิ ทธิมีระดับความพึงพอใจมาก (ค่าเฉลี่ย 4.09) คุณได้พกั ผ่อน
อย่างเต็มที่ในเวลาพัก มีระดับความพึงพอใจมาก (ค่าเฉลี่ย 3.66) มีการให้ค่าตอบแทนอย่างเหมาะสมกับงาน
มีระดับความพึงพอใจมาก (ค่าเฉลี่ย 3.61) ค่าตอบแทนที่ได้รับเพียงพอต่อการดําเนินชีวติ มีระดับความพึงพอใจ
ปานกลาง (ค่าเฉลี่ย 2.76) มีค่าตอบแทนอื่นๆนอกจากรายได้หลักมีระดับความพึงพอใจน้อย (ค่าเฉลี่ย 2.54)
หลังจากการดําเนินการแก้ปัญหาด้านสวัสดิการ โดยการกําหนดเงินพิเศษและสวัสดิการพนักงานพบว่า
มีค่าตอบแทนอื่นๆนอกจากรายได้หลักมีระดับความพึงพอใจมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย 4.25) มีการให้ค่าตอบแทนอย่าง
เหมาะสมกับงาน มีระดับความพึงพอใจมาก (ค่าเฉลี่ย 3.84) คุณสามารถใช้วนั หยุด/วันลาได้ตามสิ ทธิมีระดับ
ความพึงพอใจมาก (ค่าเฉลี่ย 4.18) ค่าตอบแทนที่ได้รับเพียงพอต่อการดําเนินชีวติ มีระดับความพึงพอใจมาก
(ค่าเฉลี่ย 3.53) คุณได้พกั ผ่อนอย่างเต็มที่ในเวลาพักมีระดับความพึงพอใจมาก (ค่าเฉลี่ย 3.52)
ตารางที่ 4.9 ทัศนคติของพนักงานที่มีต่อโรงงานนํ้าดื่มวอเตอร์ จังหวัดขอนแก่น ด้านบุคลากร

ก่ อน หลัง
ทัศนคติของพนักงาน การดาเนินงาน การดาเนินงาน
ทีม่ ตี ่ อโรงงานนา้ ดืม่ วอเตอร์ ระดับ ระดับ
จังหวัดขอนแก่ น x S.D. ความพึง x S.D. ความพึง
พอใจ พอใจ
ด้ านบุคลากร
ขอบเขตในการทํางานของทุกคน 2.43 1.034 น้อย 4.46 0.861 มากที่สุด
มีความชัดเจน
มีการวางตําแหน่งบุคคลและแบ่งหน้าที่ 3.07 0.769 ปานกลาง 3.52 0.778 มาก
อย่างเหมาะสม
การมีมนุษยสัมพันธ์ระหว่างบุคลากร 3.96 0.931 มาก 3.71 0.752 มาก
ในโรงงาน
ความมีวนิ ยั ในการปฏิบตั ิงานของพนักงาน 2.83 1.090 ปานกลาง 3.50 0.631 มาก
มีการชี้แจงกฎระเบียบให้ทุกคนทราบ 2.56 1.351 น้อย 4.37 0.758 มากที่สุด

จากตารางข้างต้น ก่อนการดําเนินงานพบว่าทัศนคติของพนักงานที่มีต่อโรงงานนํ้าดื่มวอเตอร์ จังหวัด


ขอนแก่น เรื่ องการมีมนุษยสัมพันธ์ระหว่างบุคลากรในโรงงานมีระดับความพึงพอใจมาก (ค่าเฉลี่ย 3.96) มีการ
วางตําแหน่งบุคคลและแบ่งหน้าที่มีระดับความพึงพอใจปานกลาง (ค่าเฉลี่ย 3.07) ความมีวนิ ยั ในการปฏิบตั ิงาน
ของพนักงานมีระดับความพึงพอใจปานกลาง (ค่าเฉลี่ย 2.83) มีการชี้แจงกฎระเบียบให้ทุกคนทราบมีระดับความ
พึงพอใจน้อย (ค่าเฉลี่ย 3.56) ขอบเขตในการทํางานของทุกคนมีความชัดเจน มีระดับความพึงพอใจน้อย
(ค่าเฉลี่ย 2.43)
หลัง จากการดําเนินการแก้ปัญหาด้านบุคลากร โดยการกําหนดโครงสร้างองค์กรและตําแหน่งงาน
รวมทั้งกําหนดกฏระเบียบพนักงาน พบว่า ขอบเขตในการทํางานของทุกคนมีความชัดเจน มีระดับความพึงพอใจ
มากที่สุด (ค่าเฉลี่ย 4.46) มีการชี้แจงกฎระเบียบให้ทุกคนทราบ มีระดับความพึงพอใจมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย 4.37)
การมี มนุษยสัมพันธ์ระหว่างบุคลากร ในโรงงานมีระดับความพึงพอใจมาก (ค่าเฉลี่ย 3.71) มีการวางตําแหน่ง
บุคคลและแบ่งหน้าที่อย่างเหมาะสม มีระดับความพึงพอใจมาก (ค่าเฉลี่ย 3.52) ความมีวนิ ยั ในการปฏิบตั ิงาน
ของพนักงานมีระดับความพึงพอใจมาก (ค่าเฉลี่ย 3.50)
แบบสอบถามปัจจัยทีใ่ ช้ ในการตัดสินใจซื้อนา้ ดืม่ ของผู้บริโภคในเขตเทศบาลเมืองจังหวัดขอนแก่ น
แบบสอบถาม ปั จจัยที่ใช้ ในการตัดสิ นใจซื้อนํ้าดื่ม ของผูบ้ ริ โภค ในเขตเทศบาลเมืองจังหวัดขอนแก่น
ใช้วธิ ีสุ่มตัวอย่างตาม สะดวก ใช้อตั ราส่วนร้อยละและระดับความสําคัญของปั จจัยต่างๆ เป็ นเกณฑ์การวัด
แบบสอบถามจํานวน 1 ชุดประกอบด้วย 2 ส่วน ได้แก่

ตารางที่ 4.10 ข้อมูลทัว่ ไปของลูกค้า

เพศ จานวน(คน) ร้ อยละ


ชาย 173 43.25
หญิง 227 56.75
อายุ จานวน(คน) ร้ อยละ
ตํ่ากว่า 20 ปี 21 5.25
20-25 ปี 82 20.50
26-30 ปี 97 24.25
31-35 ปี 135 33.75
มากกว่า 35 ปี 65 16.25
ประเภทลูกค้ า จานวน(คน) ร้ อยละ
ร้านค้า 104 26.00
ร้านอาหาร 93 23.25
ส่วนราชการ 67 16.75
บ้านพักอาศัย 93 23.25
หอพัก 11 2.75
ธนาคาร 32 8.00
อื่นๆ - -

จากตารางข้อมูลทัว่ ไปของลูกค้า พบว่าเป็ นลูกค้าเพศหญิงจํานวน 227 คน คิดเป็ นร้อยละ 56.75 เพศชาย


จํานวน 173 คน คิดเป็ นร้อยละ 43.25 อายุ31-35 ปี มีจาํ นวน 135 คน คิดเป็ นร้อยละ 33.75 อายุ26-30 ปี มีจาํ นวน
97 คน คิดเป็ นร้อยละ 24.25 อายุ20-25 ปี มีจาํ นวน 82 คน คิดเป็ นร้อยละ 20.50 อายุมากกว่า 35 ปี มีจาํ นวน 65 คน
คิดเป็ นร้อยละ 16.25 อายุต่าํ กว่า 20 ปี มีจาํ นวน 21 คน คิดเป็ นร้อยละ 5.25 ลูกค้าประเภทร้านค้ามีจาํ นวน 104 คน
คิดเป็ นร้อยละ 26.00 ร้านอาหาร มีจาํ นวน 93 คน คิดเป็ นร้อยละ 23.25 บ้านพักอาศัยมีจาํ นวน 93 คน คิดเป็ น
ร้อยละ 23.25 ส่วนราชการมีจาํ นวน 67 คน คิดเป็ นร้อยละ 16.75 ธนาคารมีจาํ นวน 32 คน คิดเป็ นร้อยละ 8.00
หอพักมีจาํ นวน 11 คน คิดเป็ นร้อยละ 2.75
ตารางที่ 4.11 ปั จจัยที่ใช้ในการตัดสิ นใจซื้อนํ้าดื่มของผูบ้ ริ โภคในเทศบาลเมืองจังหวัดขอนแก่น ด้านผลิตภัณฑ์

ปัจจัยทางการตลาด X S.D. ระดับความสาคัญ


ด้ านผลิตภัณฑ์
การรับรองจากองค์การสาธารณสุข 4.27 0.778 มากที่สุด
ความสะอาดของบรรจุภณั ฑ์ 4.31 0.852 มากที่สุด
ผลิตภัณฑ์หลากหลาย 3.56 0.964 มาก
รสชาติ 3.62 0.972 มาก
กลิ่น 3.59 0.966 มาก

จากแบบสอบถาม ปั จจัยที่ใช้ ในการตัดสิ นใจซื้อนํ้าดื่ม ของผูบ้ ริ โภค ในเทศบาลเมืองจังหวัดขอนแก่น


ด้านผลิตภัณฑ์ พบว่า ปั จจัยด้าน ความสะอาดของบรรจุภณ ั ฑ์ มีความสําคัญมากที่สุด(ค่าเฉลี่ย 4.31) ปั จจัยด้าน
การรับรองจากองค์การสาธารณสุข มีความสําคัญมากที่สุด(ค่าเฉลี่ย 4.27) ปั จจัยด้านรสชาติมีความสําคัญมาก
(ค่าเฉลี่ย 3.62) ปั จจัยด้าน กลิ่น มีความสําคัญมาก(ค่าเฉลี่ย 3.59) ปั จจัยด้านผลิตภัณฑ์หลากหลายมีความสําคัญ
มากที่สุด(ค่าเฉลี่ย 3.56)

ตารางที่ 4.12 ปั จจัยที่ใช้ในการตัดสิ นใจซื้อนํ้าดื่มของผูบ้ ริ โภคในเขตเทศบาลเมืองจังหวัดขอนแก่น ด้านราคา

ปัจจัยทางการตลาด X S.D. ระดับความสาคัญ


ด้ านราคา
ราคาเหมาะสมกับคุณภาพ 4.36 0.832 มากที่สุด
ราคาเหมาะสมกับปริ มาณ 3.89 0.991 มาก
ราคาถูก 4.43 0.698 มากที่สุด

จากแบบสอบถามปั จจัยที่ใช้ในการตัดสิ นใจซื้อนํ้าดื่มของผูบ้ ริ โภคในเขตเทศบาลเมืองจังหวัดขอนแก่น


ด้านราคาพบว่า ปั จจัยด้าน ราคาถูก มีความสําคัญมากที่สุด(ค่าเฉลี่ย 4.43) ปั จจัยด้าน ราคาเหมาะสมกับคุณภาพ
มีความสําคัญมากที่สุด(ค่าเฉลี่ย 4.36) ปั จจัยด้านราคาเหมาะสมกับปริ มาณมีความสําคัญมากที่สุด(ค่าเฉลี่ย 3.89)
ตารางที่ 4.13 ปั จจัยที่ใช้ในการตัดสิ นใจซื้อนํ้าดื่มของผูบ้ ริ โภคในเขต เทศบาล เมืองจังหวัดขอนแก่น
ด้านการจัดจําหน่าย

ปัจจัยทางการตลาด X S.D. ระดับความสาคัญ


ด้ านการจัดจาหน่ าย
มีบริ การจัดส่งถึงที่ 4.52 0.796 มากที่สุด
จัดส่งสิ นค้าถูกต้อง ครบตามที่สงั่ 3.47 0.932 มาก
ความรวดเร็ วในการจัดส่ง 4.61 0.754 มากที่สุด
หาซื้อได้ง่าย 3.74 0.859 มาก

จากแบบสอบถามปั จจัยที่ใช้ในการตัดสิ นใจซื้อนํ้าดื่มของผูบ้ ริ โภคในเขตเทศบาลเมืองจังหวัดขอนแก่น


ด้านการจัดจําหน่ายพบว่า ปั จจัยด้านความรวดเร็ วในการจัดส่ง มีความสําคัญมากที่สุด(ค่าเฉลี่ย 4.61) ปั จจัยด้าน
มีบริ การจัดส่งถึงที่มีความสําคัญมากที่สุด(ค่าเฉลี่ย 4.52) ปั จจัยด้านหาซื้อได้ง่ายมีความสําคัญมาก(ค่าเฉลี่ย 3.74)
จัดส่งสิ นค้าถูกต้อง ครบตามที่สงั่ มีความสําคัญมาก(ค่าเฉลี่ย 3.47)

ตารางที่ 4.14 ปั จจัยที่ใช้ในการตัดสิ นใจซื้อนํ้าดื่มของผูบ้ ริ โภคในเขต เทศบาล เมืองจังหวัดขอนแก่น


ด้านการส่งเสริ มการตลาด

ปัจจัยทางการตลาด X S.D. ระดับความสาคัญ


ด้ านการส่ งเสริมการตลาด
มีการลดราคา 4.80 0.892 มากที่สุด
มีการแจกของแถม 4.43 0.758 มากที่สุด
การโฆษณาผ่านสื่ อ 2.75 1.028 ปานกลาง
มีการแนะนําจากพนักงานขาย 2.82 0.984 ปานกลาง

จากแบบสอบถามปั จจัยที่ใช้ในการตัดสิ นใจซื้อนํ้าดื่มของผูบ้ ริ โภคในเขตเทศบาลเมืองจังหวัดขอนแก่น


ด้านการส่งเสริ มการตลาดพบว่า ปั จจัยด้านมีการลดราคามีความสําคัญมากที่สุด(ค่าเฉลี่ย 4.80) ปั จจัยด้าน มีการ
แจกของแถม มีความสําคัญมากที่สุด(ค่าเฉลี่ย 4.43) ปั จจัยด้านมีการแนะนําจากพนักงานขายมีความสําคัญ
ปานกลาง(ค่าเฉลี่ย 2.82) ปั จจัยด้านการโฆษณาผ่านสื่ อมีความสําคัญปานกลาง(ค่าเฉลี่ย 2.74)
แบบตรวจสอบรายการ (Check Sheet)
การนําแบบตรวจสอบรายการ มาใช้ โดยใช้การสังเกตการทํางานของพนักงานและสถานการณ์ต่างๆที่
เกิดขึ้นในแต่ละวัน เพื่อสังเกตดูวา่ เกิดปั ญหาอะไรขึ้นบ้าง โดยข้อมูลที่ได้มีดงั นี้
ตารางที่ 4.15 แบบตรวจสอบรายการ

วัน
ประเด็นปัญหา
1 2 3 4 5 รวม
1.พนักงานมาสาย //// / //// /// // //// 19
2.พนักงานขาดงาน - / / - - 2
3.มีน้ าํ นองบริ เวณพื้น /// //// // //// //// / //// 25
4.พนักงานขาดความ //// /// // // /// 15
กระตือรื อร้น
5.พนักงานดื่มเหล้า,สูบ //// //// //// //// / /// 22
บุหรี่
6.วางสิ่ งของไม่เป็ น //// //// // //// //// //// //// //// //// //// //// / 55
ระเบียบ ///
ไม่เป็ นหมวดหมู่
กีดขวางการทํางาน
7.พนักงานไม่สวม / - /// - - 4
หมวกและผ้าปิ ดปาก
8.พนักงานเกิดการ / // / - // 6
ทํางานซํ้าซ้อนกัน
รวม 148
frequency
160 Percent
100 cumulative
140
percent frequency
120
8 1.35

100 7 2.70

80 6 4.05
50
5 10.14
60
4 12.84

40 3 14.86

20 2 16.89

0 1 37.16
0
1 2 3 4 5 6 7 8

problem

ภาพที่ 4.4 แผนภูมิพาเรโต

จากแผนภูมิพาเรโตสามารถสรุ ปผลของการพบปั ญหาทั้ง 5 วัน เรี ยงลําดับจากมากไปหาน้อย ได้ดงั นี้


1. วางสิ่ งของไม่เป็ นระเบียบ ไม่เป็ นหมวดหมู่ กีดขวางการทํางาน มีความถี่เกิดขึ้น 55 ครั้ง คิดเป็ น 37.16%
2. มีน้ าํ นองบริ เวณพื้น มีความถี่เกิดขึ้น 25 ครั้ง คิดเป็ น 16.89%
3. พนักงานดื่มเหล้า, สูบบุหรี่ มีความถี่เกิดขึ้น 22 ครั้ง คิดเป็ น 14.86%
4. พนักงานมาสาย มีความถี่เกิดขึ้น 19 ครั้ง คิดเป็ น 12.84%
5. พนักงานขาดความกระตือรื อร้น มีความถี่เกิดขึ้น 15 ครั้ง คิดเป็ น 10.14%
6. พนักงานเกิดการทํางานซํ้าซ้อนกัน 6 ครั้ง คิดเป็ น 4.05%
7. พนักงานไม่สวมหมวกและผ้าปิ ดปาก มีความถี่เกิดขึ้น 4 ครั้ง คิดเป็ น 2.70%
8. พนักงานขาดงาน มีความถี่เกิดขึ้น 2 ครั้งคิดเป็ น 1.35%
โดยค่าความถี่ทุกปั ญหาทั้งหมดที่เกิดขึ้นทั้ง 5 วัน มีค่าความถี่รวมกัน 1 48 ครั้ ง จากผลการศึกษาพบว่า
เกิดการ วางสิ่ งของไม่เป็ นระเบียบ ไม่เป็ นหมวดหมู่ กีดขวางการทํางาน และ มีน้ าํ นองบริ เวณพื้น เป็ นปั ญหา
ที่คน้ พบบ่อยที่สุด ซึ่งปั ญหาที่กล่าวมาผูจ้ ดั ทําได้นาํ แนวคิดกิจกรรม 5 ส มาเป็ นแนวทางในการแก้ไขปั ญหา
ดังกล่าว
การจัดการเชิงกลยุทธ์
ปั จจุบนั ธุรกิจผลิตนํ้าดื่มมีการแข่งขันค่อนข้างสูง ดังนั้นจึงมีความจําเป็ นอย่างยิง่
ที่ ผูป้ ระกอบการจะต้องอาศัยชั้นเชิงในการบริ หารที่เหนือกว่าคู่แข่งให้ทนั ต่อ สภาวะการ แข่งขันที่เกิดขึ้น
ในสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงอยูต่ ลอดเวลา การกําหนดทิศทางขององค์กรจะเป็ นแนวทางหนึ่งที่จะช่วยให้
ผูป้ ระกอบการ สามารถวางแผนการดําเนินงานของกิจการให้เกิดประสิ ทธิภาพและเพิ่มขีดความสามารถในการ
แข่งขันระหว่างธุรกิจเดียวกันได้
วิสัยทัศน์
“มุ่งมัน่ ผลิตและจําหน่ายนํ้าดื่มที่สะอาดและได้มาตรฐาน เพื่อเป็ นทางเลือกหนึ่งของลูกค้า”
พันธกิจ
1. เป็ นโรงงานผลิตและจําหน่ายนํ้าดื่มที่ได้มาตรฐานและมัน่ ใจได้ เพื่อตอบสนอง
ความต้องการของลูกค้าเป็ นสําคัญ
2. บริ การที่เป็ นเลิศ มีความรวดเร็ วในการจัดส่งด้วยช่องทางการจัดจําหน่ายที่เข้าถึง
และสะดวกต่อลูกค้า รวมถึงการตรงต่อเวลาในการจัดส่งนํ้าดื่ม
3. จําหน่ายนํ้าดื่มด้วยราคาที่เหมาะสมกับคุณภาพโดยไม่เอาเปรี ยบลูกค้า
4. พัฒนาศักยภาพของพนักงานให้สามารถปฏิบตั ิงานได้อย่างเต็มความสามารถและ
ได้รับผลตอบแทนที่เป็ นธรรม โดยมีผบู ้ ริ หารเป็ นผูด้ ูแล
วัตถุประสงค์
ผลิตนํ้าดื่มที่สะอาดได้มาตรฐาน มีบริ การจัดส่งที่อย่างรวดเร็ วเพื่อความสะดวกและตรงตาม
ความต้องการของลูกค้า
เป้ าหมาย
ยอดขายนํ้าดื่มเพิ่มขึ้น 15% ภายในระยะเวลา 3 เดือน
1. ด้ านการจัดการ
จากการสัมภาษณ์ผปู ้ ระกอบการ จากแบบสอบถามและการสังเกตการณ์ พบว่าโรงงานนํ้าดื่มวอเตอร์
ไม่มีการจัดวางสิ่ งของอย่างเป็ นระเบียบและ เป็ นหมวดหมู่ มีน้ าํ ขัง นํ้านองบริ เวณพื้น การแต่งกายพนักงาน
ไม่รัดกุม มีเศษขยะอยูร่ อบบริ เวณโรงงาน ไม่มีการตรวจเช็คเครื่ องมือ เครื่ องจักรอย่างสมํ่าเสมอ ซึ่งทําให้โรงงาน
นํ้าดื่มวอเตอร์ จังหวัดขอนแก่น ไม่ได้ตามมาตรฐาน GMP

ตารางที่ 4.16 สภาพแวดล้อมภายในโรงงานเปรี ยบเทียบกับข้อกําหนด GMP ของนํ้าบริ โภค

สภาพแวดล้ อมภายในโรงงาน
ข้ อกาหนด GMP ของนา้ บริโภค ตรงตาม ไม่ ตรงตาม หมายเหตุ
มาตรฐาน GMP มาตรฐาน GMP
1. สถานที่ต้ งั และอาคารผลิต  มีเศษขยะอยูร่ อบบริ เวณโรงงาน
2. เครื่ องมือ เครื่ องจักร และ - ไม่มีการจัดวางสิ่ งของอย่างเป็ น
อุปกรณ์การผลิต ระเบียบและเป็ นหมวดหมู่

- ไม่มีการตรวจเช็คเครื่ องมือ
เครื่ องจักรอย่างสมํ่าเสมอ
3. แหล่งนํ้า 
4. การปรับคุณภาพนํ้า 
5. ภาชนะบรรจุ 
6. สารทําความสะอาดและฆ่าเชื้อ 
7. การบรรจุ 
8. การควบคุมคุณภาพมาตรฐาน 
9. การสุขาภิบาล  มีน้ าํ ขัง นํ้านองบริ เวณพื้น
10. บุคลากรและสุขลักษณะ การแต่งกายพนักงานไม่รัดกุม

ผูป้ ฏิบตั ิงาน
11. บันทึกและรายงาน 

จากตารางข้างต้น สภาพแวดล้อมภายในโรงงานเมื่อ เปรี ยบเทียบกับข้อกําหนด GMP ของนํ้าบริ โภค


พบว่า โรงงานนํ้าดื่มวอเตอร์ จังหวัดขอนแก่นไม่ตรงตามมาตรฐาน GMP ซึ่งสามารถแก้ปัญหาดังกล่าวได้โดยนํา
กิจกรรม 5ส มาใช้ดงั ต่อไปนี้
กิจกรรม 5ส
1. กิจกรรมสะสาง
ผูจ้ ดั ทําได้ทาํ การ แยกของ สิ่ งของที่ไม่จาํ เป็ น ออก เนื่องจากเอกสารต่างๆภายในห้องทํางาน
มีมากเกินไป ทําให้ยากต่อการค้นหาเอกสารที่ตอ้ งการใช้งาน ซึ่งเอกสารที่ไม่เกี่ยวข้องกับการทํางาน ได้แก่
หนังสื อพิมพ์เก่า นิตยสารต่างๆ กระดาษที่ใช้แล้ว จะแยกออกจากเอกสารที่จาํ เป็ นนัน่ คือ ใบเช็คสิ นค้า ใบสัง่ ซื้อ
สิ นค้า บิลเงินสด บิลค่านํ้า ค่าไฟ เอกสารเงินเดือนพนักงาน และสมุดบันทึกรายชื่อลูกค้า
การปฏิบัตกิ จิ กรรมสะสางภายในโรงงาน
ขั้นตอนที่ 1 สิ่ งสะสางคือ หนังสื อพิมพ์เก่า นิตยสารต่างๆ กระดาษที่ใช้แล้ว กล่อง
กระดาษเปล่า ปฏิทินเก่า และแจ้งรายละเอียดให้พนักงานทุกคนทราบโดยทัว่ กัน
ขั้นตอนที่ 2 กําจัด เอกสารและสิ่ งของที่ไม่จาํ เป็ นได้แก่ ขวดกาวที่ใช้หมดแล้ว
ซีลรัดคอขวดที่ใช้งานไม่ได้ ด้วยการนําไป ทิ้ง ส่วนกระดาษที่ใช้แล้ว หนังสื อพิมพ์เก่า ปฏิทินเก่า และกล่อง
กระดาษเปล่า นําไปขาย
ขั้นตอนที่ 3 ผูป้ ระกอบการตรวจสอบเพื่อให้มนั่ ใจว่าการสะสางนั้นดําเนินการ
ได้อย่างถูกต้อง
ผลทีไ่ ด้ รับจากกิจกรรมสะสาง
ห้องทํางานมีพ้นื ที่ใช้สอย กว้างขวาง ขึ้น สามารถใช้ตู ้ ชั้นวาง โต๊ะทํางานให้
เป็ นประโยชน์มากขึ้น เอกสารที่จาํ เป็ นต่อการใช้งานสามารถหยิบใช้งานง่าย สะดวก ส่งผลให้เกิด สภาพแวดล้อม
ภายในห้องทํางานที่ดี
2. กิจกรรมสะดวก
ผูจ้ ดั ทําได้ จัดเก็บ และจัดวางสิ่ งของต่างๆ ในห้องทํางานให้เป็ นระเบียบ เพื่อความสะดวก
และปลอดภัย โดยเริ่ มดูที่การจัดวางหรื อจัดเก็บสิ่ งของต่างๆ ในห้องทํางาน ว่าเป็ นระเบียบ หรื อไม่ ซึ่งพบว่า
การจัดเอกสารและอุปกรณ์ต่างๆ ยังไม่เป็ นหมวดหมู่
การปฏิบัตกิ จิ กรรมสะดวกภายในโรงงาน
จัดกลุ่มตามหมวดหมู่ นัน่ คือ กลุ่มที่เป็ นเอกสาร ได้แก่ เอกสารรายการซื้อ
ต่างๆ บิล ค่านํ้า ค่าไฟ เอกสารเงินเดือนพนักงาน เป็ นต้น โดยนํามาจัดแยกไว้ในแฟ้ มต่างหาก กลุ่มที่เป็ นสมุด
ได้แก่ สมุดรายชื่อพนักงาน สมุดลงเวลาพนักงาน สมุดรายการขายนํ้าดื่ม สมุดบันทึกรายชื่อลูกค้า เป็ นต้น นํามา
จัดวางไว้ที่ช้ นั วาง
จัดกลุ่มตามสายการผลิต โดยฝ่ าย ผลิต ให้มี ชั้นวางถังนํ้า ไว้สาํ หรับวาง ถังนํ้า
ที่ทาํ ความสะอาด เสร็ จเรี ยบร้อย เพื่อรอการบรรจุ ส่วนนํ้าถังและนํ้าข วดที่บรรจุ เสร็ จเรี ยบร้อย ให้นาํ มาวางเรี ยง
ด้านนอกเพื่อให้ฝ่ายขายสะดวกต่อการนําขึ้นรถเพื่อจัดส่งให้ลูกค้าต่อไป
ผลทีไ่ ด้ รับจากกิจกรรมสะดวก
สามารถ หยิบใช้งาน เอกสารและอุปกรณ์ได้ง่ายและสะดวก ลดอุบตั ิเหตุ
ที่จะเกิดระหว่างการปฏิบตั ิงาน
3. กิจกรรมสะอาด
ผูจ้ ดั ทําได้ ทําความสะอาดอุปกรณ์ เครื่ องมือ และสถานที่ทาํ งาน ได้แก่ การปั ด กวาด เช็ด
ถูเครื่ องจักร อุปกรณ์ รวมถึงห้องทํางาน ดังนี้
ทําความสะอาดแบบตรวจสอบ โดยใช้ประสาทสัมผัส ทั้ง 5 เพื่อ ค้นหาความผิดปกติของ
สภาพเครื่ องจักร อุปกรณ์ และสถานที่ พบว่ายังมีความสกปรกของห้องทํางาน พื้นโรงงาน คราบสกปรกตาม
อุปกรณ์และเครื่ องมือ
ทําความสะอาดโดยใช้หลัก 360 องศา คือ จากบนลงล่าง จากในสุดออกมานอกสุด และขยาย
พื้นที่การทําความสะอาดให้ครอบคลุมทั้งในห้องทํางานและภายในตัวโรงงาน รวมถึงการปั ดกวาดเช็ดถูพ้นื ทัว่ ไป
เช่น พื้นโรงงาน ทางเดิน เครื่ องจักร อุปกรณ์ ชั้นวางและโต๊ะภายในห้องทํางาน รวมทั้งรถบรรทุกนํ้าดื่ม โดย
ทําความสะอาดให้ปราศจาก ฝุ่ น รอยเปื้ อน คราบสนิม และคราบนํ้ามัน
การทาความสะอาดในห้ องทางานและในโรงงาน
กําหนดหน้า ที่ความรับผิดชอบ ออกเป็ นฝ่ าย โดยฝ่ ายผลิตรับผิดชอบ กวาดบริ เวณ
พื้นโรงงานและทําความสะอาดเครื่ องจักร ฝ่ ายธุรการจัดโต๊ะทํางาน ชั้นวางเอกสารให้มีความสะอาดเรี ยบร้อยและ
เก็บกวาดภายในห้องทํางานหลังเลิกงาน ฝ่ ายขายทําความสะอาดรถและตรวจสภาพรถคันที่ตนเองใช้งาน ดังนี้

ตารางที่ 4.17 ผูร้ ับผิดชอบกิจกรรม 5ส ของโรงงานนํ้าดื่มวอเตอร์ จังหวัดขอนแก่น

ฝ่ ายรับผิดชอบ หน้ าทีร่ ับผิดชอบ รายชื่อผู้รับผิดชอบ


กวาดบริ เวณพื้นโรงงานและ
ฝ่ ายผลิต หนูภาร, พรพรรณ, ศิริพร, กรรณิ กา , สุภาพร
ทําความสะอาดเครื่ องจักร
จัดโต๊ะทํางาน ชั้นวางเอกสาร
ให้มีความสะอาดเรี ยบร้อย
ฝ่ ายธุรการ ฐิติมา
และเก็บกวาดภายในห้องทํางาน
หลังเลิกงาน
เจษฎา, เสรี , ประหยัด, อําพล, บุญมาก, สุทศั น์, ฐากูร,
ทําความสะอาดรถและ
ฝ่ ายขาย สมหวัง, คมกริ ช, ชัชวาล, ตะวัน, ทองอยู,่ กรกฎ,
ตรวจสภาพรถ
เกียรติภูมิ, พงศกร

ผลทีไ่ ด้ รับจากกิจกรรมสะอาด
สามารถ ยืดอายุการใช้งานเครื่ องจักรและอุปกรณ์ สภาพแวดล้อมภายในโรงงาน
และ ห้องทํางานสะอาด เรี ยบร้อยและ ปลอดภัย สามารถแก้ไขปั ญหาความผิดปกติของเครื่ องมือ เครื่ องใช้
ได้รวดเร็ ว ทันเวลา ส่งผลให้กระบวนการผลิตนํ้าดื่มมีคุณภาพ
4. กิจกรรมสุ ขลักษณะ
กิจกรรมสุขลักษณะ จะเป็ นกิจกรรมที่ต่อเนื่องมาจากการ ทํากิจกรรม 3 ส แรก คือ
สะสาง สะดวก และสะอาด โดยกา รปรับปรุ งให้ดีข้ ึน ซึ่งสิ่ งที่ ยัง แสดงให้เห็นว่ากิจกรรมสุขลักษณะยังมี
ข้อบกพร่ อง ได้แก่
- เริ่ มมีการเก็บของที่ไม่จาํ เป็ นเช่น กล่องกระดาษเปล่า กระดาษที่ใช้แล้ว ปฏิทินเก่า
หนังสื อพิมพ์เก่า นิตยสารต่างๆ
- ยังมีสิ่งสกปรก ฝุ่ นผง รอยรั่วนํ้ามันตามอุปกรณ์ และเครื่ องมือ
- สภาพแวดล้อมไม่เหมาะต่อสภาพการปฏิบตั ิงาน เช่น ยังมีน้ าํ นองบริ เวณพื้น
- ยังมีเศษกระดาษ ก้นบุหรี่ ทิ้งตามพื้น ตามบริ เวณรอบโรงงาน
- สายไฟ สายโทรศัพท์ สายคอมพิวเตอร์ ยังมีการวางอย่างระเกะระกะ
การปฏิบัตใิ นการทากิจกรรมสุ ขลักษณะ
1. จัดวางถังขยะในจุดที่เหมาะสมเพื่อความสะดวก นัน่ คือในห้องทํางานและบริ เวณ
รอบโรงงาน
2. ให้มีถงั นํ้า สายยาง ไม้กวาดนํ้า ไม้ถูพ้นื ไว้เพื่อความสะดวกต่อการ
ทําความสะอาด
3. ม้วนเก็บสายไฟ สายโทรศัพท์ สายคอมพิวเตอร์ไว้อย่างเป็ นระเบียบ
4. เช็ดทําความสะอาดอุปกรณ์ เครื่ องมือ ทุกครั้งที่ใช้งานเสร็ จ
ผลทีไ่ ด้ รับจากกิจกรรมสุ ขลักษณะ
โรงงานมีสภาพแวดล้อมที่ดี เกิดการทํางานที่ปลอดภัย และตรงตามมาตรฐาน GMP
5. กิจกรรมสร้ างนิสัย
เป็ นการอบรมสร้างนิสยั ในการปฏิบตั ิงานตามระเบียบวินยั กฎเกณฑ์ของโรงงาน
อย่างเคร่ งครัดสมํ่าเสมอ
การทากิจกรรมสร้ างนิสัย
เป็ นการ ปลูกฝังการสร้างนิสยั ในการปฏิบตั ิตามกฎระเบียบของโรงงานอย่าง
สมํ่าเสมอ เพื่อให้พนักงานเกิดความกระตือรื อร้น ดังนี้
1. ปฏิบตั ิ 4ส แรกอย่างสมํ่าเสมอและต่อเนื่อง
2. กําหนดแนวทางปฏิบตั ิเพื่อสร้างความเป็ นระเบียบเรี ยบร้อยในโรงงานให้ชดั เจน
โดยให้พนักงานทุกคนช่วยกันทําความสะอาดทุกวันหลังเลิกงาน เช่น ล้างพื้นโรงงาน เก็บอุปกรณ์ทุกอย่างที่ใช้
งานเสร็ จให้เข้าที่ และจัดเตรี ยมอุปกรณ์เพื่อการทํางานวันต่อไป
3. กําหนดผูร้ ับผิดชอบ โดยหัวหน้าฝ่ ายผลิตดูแลพนักงานฝ่ ายล้างและบรรจุ ด้วยการ
ให้คาํ แนะนํา สร้างความเข้าใจและตรวจสอบสภาพการใช้งานของเครื่ องจักร
ผลทีไ่ ด้ รับจากกิจกรรมสร้ างนิสัย
การปฏิบตั ิงานงาน สะดวก รวดเร็ ว ปลอดภัย สภาพแวดล้อมภายในโรงงานดี ขึ้น
เมื่อเกิดความเป็ นระเบียบเรี ยบร้อยและเกิดระบบการปฏิบตั ิงานที่ชดั เจน สิ่ งที่จะตามมาก็คือ ประสิ ทธิภาพการ
ปฏิบตั ิงานที่เพิ่มขึ้น
การประเมินกิจกรรม 5ส
หลังจากที่ได้มีการจัดกิจกรรม 5ส ให้แก่โรงงานนํ้าดื่มวอเตอร์ จังหวัดขอนแก่น ผูจ้ ดั ทําจึงได้
กําหนดเกณฑ์การประเมินกิจกรรม 5ส โดยให้ผปู ้ ระกอบการเป็ นผูป้ ระเมินกิจกรรมทุกด้าน ซึ่งสรุ ปผลการ
ประเมินได้ดงั นี้

ตารางที่ 4.18 แบบประเมินกิจกรรมสะสาง โรงงานนํ้าดื่มวอเตอร์ จังหวัดขอนแก่น

ผลการประเมิน ผลการประเมิน
กิจกรรม 5ส รายละเอียด ก่ อนการจัดกิจกรรม 5ส หลังการจัดกิจกรรม 5ส
ดี พอใช้ ปรับปรุง ดี พอใช้ ปรับปรุง
1. ไม่มีเศษวัสดุ สิ่ งของ เครื่ องมือ  
ที่เกินความจําเป็ นอยูใ่ นพื้นที่
2. ของใช้ส่วนตัวไม่มีปะปนกับงาน  
สะสาง
3. ไม่มีสิ่งของกีดขวางการทํางาน  
หรื อทางเดิน
4. มีการแยกเอกสารที่ไม่จาํ เป็ น  

จากตารางข้างต้นพบว่า ก่อนการจัดกิจกรรม 5ส มีการแยกเอกสารที่ไม่ จําเป็ นอยูใ่ นเกณฑ์พอใช้ ไม่มี


เศษวัสดุ สิ่ งของ เครื่ องมือที่เกินความจําเป็ นอยูใ่ นพื้น ที่ ของใช้ส่วนตัวไม่มีปะปนกับงา น และ ไม่มีสิ่งของ
กีดขวางการทํางานหรื อทางเดินอยูใ่ นเกณฑ์ปรับปรุ ง
หลังจากการนํา กิจกรรม 5ส มาใช้ในการแก้ปัญหาดังกล่าวพบว่า ไม่มีเศษวัสดุ สิ่ งของ เครื่ องมือที่
เกินความจําเป็ นอยูใ่ นพื้นที่ ไม่มีสิ่งของกีดขวางการทํางานหรื อทางเดิ น และมีการแยกเอกสารที่ไม่ จําเป็ นอยูใ่ น
เกณฑ์ดี ของใช้ส่วนตัวไม่มีปะปนกับงานอยูใ่ นเกณฑ์พอใช้
ตารางที่ 4.19 แบบประเมินกิจกรรมสะดวก โรงงานนํ้าดื่มวอเตอร์ จังหวัดขอนแก่น

ผลการประเมิน ผลการประเมิน
กิจกรรม 5ส รายละเอียด ก่ อนการจัดกิจกรรม 5ส หลังการจัดกิจกรรม 5ส
ดี พอใช้ ปรับปรุง ดี พอใช้ ปรับปรุง
1. การจัดเก็บเอกสารเป็ นหมวดหมู่  
2. ชั้นวางเอกสารมีการจัดวาง  
อย่างเป็ นระเบียบ
สะดวก 3. การจัดวางวัสดุ อุปกรณ์สะดวก  
ต่อการใช้งาน
4. การหยิบใช้งานเอกสารต่าง ๆ  
สามารถทําได้สะดวก

จากตารางข้างต้นพบว่าก่อนการจัดกิจกรรม 5ส การหยิบใช้งานเอกสารต่าง ๆ สามารถทําได้สะดวก อยู่


ในเกณฑ์พอใช้การจัดเก็บเอกสารเป็ นหมวดหมู่ ชั้นวางเอกสารมีการจัดวางอย่างเป็ นระเบียบ และการจัด วางวัสดุ
อุปกรณ์สะดวกต่อการใช้งานอยูใ่ นเกณฑ์ปรับปรุ ง
หลังจากการนํา กิจกรรม 5ส มาใช้ในการแก้ปัญหาดังกล่าวพบว่า การจัดเก็บเอกสารเป็ นหมวดหมู่
ชั้นวางเอกสารมีการจัดวางอย่างเป็ นระเบียบอยูใ่ นเกณฑ์ดี การจัด วางวัสดุ อุปกรณ์ สะดวกต่อการใช้งาน และการ
หยิบใช้งานเอกสารต่าง ๆ สามารถทําได้สะดวกอยูใ่ นเกณฑ์พอใช้

ตารางที่ 4.20 แบบประเมินกิจกรรมสะอาด โรงงานนํ้าดื่มวอเตอร์ จังหวัดขอนแก่น

ผลการประเมิน ผลการประเมิน
กิจกรรม 5ส รายละเอียด ก่ อนการจัดกิจกรรม 5ส หลังการจัดกิจกรรม 5ส
ดี พอใช้ ปรับปรุง ดี พอใช้ ปรับปรุง
1. ไม่มีคราบสกปรก ฝุ่ น คราบนํ้ามัน  
ตามอุปกรณ์และเครื่ องมือ
สะอาด 2. วัสดุ อุปกรณ์ เครื่ องมือต่างๆ  
อยูใ่ นสภาพพร้อมใช้งาน
3. กระจกใสไม่เป็ นคราบ  
4. ความสะอาดของพื้นโรงงาน  
จากตารางข้างต้นพบว่า ก่อนการจัดกิจกรรม 5ส วัสดุ อุปกรณ์ เครื่ องมือต่างๆอยูใ่ นสภาพพร้อมใช้ งาน
อยูใ่ นเกณฑ์พอใช้ ไม่มีคราบสกปรก ฝุ่ น คราบนํ้ามั นตามอุปกรณ์ และเครื่ องมือ กระจกใสไม่เป็ นคราบ และ
ความสะอาดของพื้นโรงงานอยูใ่ นเกณฑ์ปรับปรุ ง
หลังจากการนํา กิจกรรม 5ส มาใช้ในการแก้ปัญหาดังกล่าวพบว่า วัสดุ อุปกรณ์ เครื่ องมือต่างๆ
อยูใ่ นสภาพพร้อมใช้ งาน กระจกใส ไม่เป็ นคราบ ความสะอาดของพื้นโรงงาน อยูใ่ นเกณฑ์ดี ไม่มีคราบสกปรก
ฝุ่ น คราบนํ้ามันตามอุปกรณ์ และเครื่ องมืออยูใ่ นเกณฑ์พอใช้

ตารางที่ 4.21 แบบประเมินกิจกรรมสุขลักษณะ โรงงานนํ้าดื่มวอเตอร์ จังหวัดขอนแก่น

ผลการประเมิน ผลการประเมิน
กิจกรรม 5ส รายละเอียด ก่ อนการจัดกิจกรรม 5ส หลังการจัดกิจกรรม 5ส
ดี พอใช้ ปรับปรุง ดี พอใช้ ปรับปรุง
1. ฝ้ า เพดาน ผนัง พื้น ชั้นวางเอกสาร  
โต๊ะ อุปกรณ์ ไม่มีการชํารุ ด
2. บริ เวณรอบโรงงานสะอาด  
เรี ยบร้อย
3. พื้นที่ภายในโรงงานมีความ  
สุขลักษณะ
ปลอดภัยมากขึ้น
4. มีการเก็บสายไฟ สายโทรศัพท์  
สายคอมพิวเตอร์ เรี ยบร้อย
และปลอดภัย
5. อากาศถ่ายเทได้ดี  
6. จุดวางถังขยะเหมาะสม  

จากตารางข้างต้นพบว่า ก่อนการจัดกิจกรรม 5ส ฝ้ า เพดาน ผนัง พื้น ชั้นวางเอกสาร โต๊ะ อุปกรณ์ ไม่มี


การชํารุ ด และ อากาศถ่ายเทได้ดี อยูใ่ นเกณฑ์พอใช้ บริ เวณรอ บโรงงาน สะอาด พื้นที่ภายในโรงงาน
มีความปลอดภัย มากขึ้น มีการเก็บสายไฟ สายโทรศัพท์ สายคอมพิวเตอร์ เรี ยบร้อยและปลอดภัย และจุดวาง
ถังขยะเหมาะสมอยูใ่ นเกณฑ์ปรับปรุ ง
หลังจากการนํา กิจกรรม 5ส มาใช้ในการแก้ปัญหาดังกล่าวพบว่า บริ เวณรอบโรงงานสะอาดเรี ยบร้อย
พื้นที่ภายในโรงงานมีความ ปลอดภัย มากขึ้น มีการเก็บสายไฟ สายโทรศัพท์ สายคอมพิวเตอร์ เรี ยบร้อยและ
ปลอดภัย อากาศถ่ายเทได้ดี และจุดวางถังขยะเหมาะสม อยูใ่ นเกณฑ์ ดี ฝ้ า เพดาน ผนัง พื้น ชั้นวางเอกสาร โต๊ะ
อุปกรณ์ ไม่มีการชํารุ ดอยูใ่ นเกณฑ์พอใช้
ตารางที่ 4.22 แบบประเมินกิจกรรมสร้างนิสยั โรงงานนํ้าดื่มวอเตอร์ จังหวัดขอนแก่น

ผลการประเมิน ผลการประเมิน
กิจกรรม 5ส รายละเอียด ก่ อนการจัดกิจกรรม 5ส หลังการจัดกิจกรรม 5ส
ดี พอใช้ ปรับปรุง ดี พอใช้ ปรับปรุง
1. มีการกําหนดพื้นที่รับผิดชอบ  
อย่างชัดเจน
2. การจัดกิจกรรม5ส เป็ นไปตาม  
สร้างนิสยั
มาตรฐานที่โรงงานกําหนด
3. พนักงานให้ความร่ วมมือ  
ในการปฏิบตั ิกิจกรรม 5 ส

จากตารางข้างต้นพบว่า ก่อนการจัดกิจกรรม 5ส มีการกําหนดพื้นที่รับผิดช อบอย่างชัดเจน การจัด


กิจกรรม 5ส เป็ นไปตามมาตรฐานที่ โรงงานกําหนด และพนักงานให้ ความร่ วมมือ ในการปฏิบตั ิ กิจกรรม 5 ส
อยูใ่ นเกณฑ์ปรับปรุ ง
หลังจากการนํา กิจกรรม 5ส มาใช้ในการแก้ปัญหาดังกล่าวพบว่า การดําเนินกิจกรรม 5ส เป็ นไปตาม
มาตรฐานที่ โรงงานกําหนด มีการกําหนดพื้นที่รับผิดช อบอย่างชัดเจน อยูใ่ นเกณฑ์ ดี พนักงานให้ ความร่ วมมือ
ในการปฏิบตั ิกิจกรรม 5 ส อยูใ่ นเกณฑ์พอใช้
2. ด้ านบุคลากร
จากการศึกษารวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ผปู ้ ระกอบการและพนักงาน มีรายละเอียดของหน้าที่
ต่างๆดังนี้
1. ผูจ้ ดั การ ควบคุมรับผิดชอบวางแผนระบบงานด้านการสรรหาว่าจ้างและคัดเลือก
พนักงานที่เหมาะสมกับหน้าที่
2. ฝ่ ายการเงินและบัญชี จัดการและดูแลงานต่าง ๆ ตามขอบข่ายและหน้าที่ของ การเงิน
และบัญชี รับผิดชอบจัดการและดูแลความเรี ยบร้อยของเอกสาร
3. ฝ่ ายผลิต(ล้างภาชนะ) นําถังนํ้าที่ได้กลับคืนมาตรวจสอบการชํารุ ด ก่อนการล้าง
ทําความสะอาดเพื่อส่งให้ต่อฝ่ ายบรรจุน้ าํ ดื่ม และหมัน่ ตรวจสอบเครื่ องล้างอยูเ่ สมอ บํารุ งรักษาใช้งานอย่าง
ถูกวิธี ไม่ให้เกิดการชํารุ ด
4. ฝ่ ายผลิต(แผนกบรรจุ) บรรจุน้ าํ ดื่มสะอาดลงในถัง และขวด สังเกตดูสี กลิ่นของนํ้า
5. ฝ่ ายขาย นํานํ้าดื่มออกไปส่งให้ลูกค้า โดยจัดส่งให้ทนั เวลาและตามจํานวนที่ลูกค้าสัง่
พร้อมทั้งเก็บเงินและมีการให้บริ การที่ดี

กาหนดโครงสร้ างองค์ กรและตาแหน่ งงาน


การจัดโครงสร้างองค์กร ทําให้ทราบว่า “ ใครควรจะทําอะไร ” และ “ควรจะร่ วมกัน ทํางานในแบบใด”
จากการสัมภาษณ์ผปู ้ ระกอบการ พบว่าโรงงานนํ้าดื่ม วอเตอร์ไม่มีผงั โครงสร้างองค์กรซึ่งส่งผลให้ตาํ แหน่งงาน
แต่ละหน้าที่ไม่ชดั เจน ผูศ้ ึกษาจึงได้ทาํ การจัดผังโครงสร้างองค์กรขึ้น โดยได้แบ่งหน้าที่ออกเป็ นฝ่ ายต่างๆ ได้แก่
ฝ่ ายการเงิน/บัญชี ฝ่ ายผลิต และฝ่ ายขาย โดยมีผปู ้ ระกอบการเป็ นผูด้ ูแลและควบคุมโดยตรง
ผูจ้ ดั การ

ฝ่ ายการเงินและ หัวหน้าฝ่ ายผลิต ฝ่ ายขาย


บัญชี

แผนกล้างภาชนะ แผนกบรรจุ

ภาพที่ 4.5 โครงสร้างองค์กรโรงงานนํ้าดื่มวอเตอร์ จังหวัดขอนแก่น

จากผังโครงสร้างองค์กรที่ชดั เจน ทําให้พนักงานของโรงงานนํ้าดื่ม วอเตอร์ทราบตําแหน่งหน้าที่


ของตนเอง ช่วยลดปั ญหาการทํางานที่ซ้ าํ ซ้อนและก้าวก่ายกันระหว่างฝ่ ายต่างๆ ทําให้ผปู ้ ระกอบการสามารถ
มอบหมายงานได้ตรงตามหน้าที่ของพนักงาน
จากการสัมภาษณ์ผปู ้ ระกอบการและจากแบบสอบถามพนักงานโรงงานนํ้าดื่มวอเตอร์ จังหวัดขอนแก่น
พบว่าพนักงานไม่ทราบถึงความรับผิดชอบของตนอย่างชัดเจน ทําให้เกิดการทํางานที่ซ้ าํ ซ้อนกัน เนื่องจาก
โรงงานไม่มีการกําหนด ขอบเขตในการทํางานของ พนักงาน ผูศ้ ึกษาจึงได้ทาํ การกําหนดภาระงานและ
ความรับผิดชอบของพนักงานขึ้นตามความเหมาะสมและข้อยอมรับของผูป้ ระกอบการ เพื่อใช้ในการปฏิบตั ิงาน
และเป็ นแนวทางในการจัดหาพนักงานใหม่ ดังนี้
ตารางที่ 4.23 คําบรรยายลักษณะงาน

คาบรรยายลักษณะงาน (Job Description)


ชื่อตําแหน่งงาน (Job Title) ผูจ้ ดั การ
ระดับของงาน (Job Level) ระดับสัง่ การ
อัตราเงินเดือน ตามโครงสร้างองค์กร
สาระสําคัญของงาน -รับผิดชอบเกี่ยวกับการควบคุมและสัง่ งานประจําวันของพนักงาน รวมถึงการ
โดยสรุ ป ดําเนินงานตลอดจนเวลาทําการ ควบคุมมาตรฐานคุณภาพของโรงงาน และ
ดําเนินงานให้เป็ นไปตามนโยบายและระเบียบที่โรงงานกําหนด
-กําหนดสวัสดิการและผลประโยชน์พนักงาน
-ควบคุมรับผิดชอบวางแผนระบบงานด้านการสรรหาว่าจ้างและคัดเลือกบุคลากร
ให้มีจาํ นวนที่เหมาะสม
-วางระบบภายในองค์กรกับบุคลากรฝ่ ายต่างๆ
ความรับผิดชอบ -วางแผนการดําเนินงานในแต่ละวัน เช่น การตั้งยอดขายผลิตภัณฑ์ประเภทต่างๆ
และหน้าที่ที่จะต้องปฏิบตั ิ - ตรวจสอบตารางการทํางานของพนักงาน
-จัดประชุมอบรมพนักงานให้ทาํ งานอย่างมีประสิ ทธิภาพ
-แจ้งข่าวสารของทางโรงงานให้พนักงานทราบ
-ควบคุมการลงเวลาของพนักงาน
-รับฟังความคิดเห็น ข้อเสนอแนะ และปั ญหาจากพนักงาน
มาตรฐานในการปฏิบตั ิงาน 1. มาทํางานตรงเวลา สมํ่าเสมอ
2. มีความมุ่งมัน่ ที่จะทําให้องค์กรประสบความสําเร็ จ
3. มีทศั นคติที่ดีต่องานที่ทาํ สนใจ กระตือรื อร้น และให้ความร่ วมมือ
ในการทํางาน
4. มีเหตุผล รับฟังความคิดเห็นของผูอ้ ื่น มีความรับผิดชอบ
คุณสมบัตขิ องเฉพาะตาแหน่ งงาน (Job Specification)
คุณสมบัติเฉพาะตําแหน่ง -เพศชาย/หญิง
(Job Specification) -ระดับการศึกษาปริ ญญาตรี ข้ ึนไปในสาขาบริ หารธุรกิจ
หรื อสาขาที่เกี่ยวข้อง
คุณสมบัติอื่น ๆ -มีภาวะผูน้ าํ มีทกั ษะในการแก้ปัญหา
(Other Qualification) -มีความละเอียดถี่ถว้ นรอบคอบ
-มีความรู ้ดา้ นการตลาดและการบริ หาร
-มีความรู ้เรื่ องกระบวนการผลิตและมาตรฐานคุณภาพการผลิตนํ้าดื่ม
-มีความสามารถด้านการเจรจาต่อรอง และการติดต่อประสานงาน
-มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี
คาบรรยายลักษณะงาน (Job Description)
ชื่อตําแหน่งงาน (Job Title) ฝ่ ายการเงินและบัญชี
ระดับของงาน (Job Level) ปฏิบตั ิการ
อัตราเงินเดือน วันละ 200 บาท
สาระสําคัญของงาน -จัดการและดูแลงานต่าง ๆ ตามขอบข่ายและหน้าที่ของการเงินและบัญชี
โดยสรุ ป -รับผิดชอบจัดการและดูแลความเรี ยบร้อยของเอกสาร
-รับเรื่ องและประสานกับลูกค้า การรับส่งพัสดุจดหมาย การเงิน การดูแลรักษา
เครื่ องมือ อุปกรณ์ การเบิกจ่ายล่วงหน้า และอื่นๆ ที่เป็ นงานอํานวยความสะดวก
ต่อพนักงานในโรงงาน
ความรับผิดชอบ -รับผิดชอบต่อการทําเอกสารรายงานตามที่กาํ หนด เช่น รายงานยอดขาย
และหน้าที่ที่จะต้องปฏิบตั ิ รายงานการสัง่ สิ นค้า
-รับผิดชอบด้านการเงิน อันได้แก่ รายได้จากการขายสิ นค้า หรื อรายจ่าย
ที่เกี่ยวข้องกับการดําเนินงาน เช่น ค่านํ้ามันรถ ค่าโทรศัพท์ เงินเดือนพนักงาน
เป็ นต้น
-รับผิดชอบเกี่ยวกับการติดต่อลูกค้า
มาตรฐานในการปฏิบตั ิงาน 1. มาทํางานตรงเวลา สมํ่าเสมอ
2. มีทศั นคติที่ดีต่องานที่ทาํ มีความกระตือรื อร้น และให้ความร่ วมมือ
ในการทํางาน
3. ปฏิบตั ิงานถูกต้อง รวดเร็ ว เสร็ จตามเวลาที่กาํ หนด มีความรับผิดชอบ
มีเหตุผล รับฟังความคิดเห็นของผูอ้ ื่น
คุณสมบัตขิ องเฉพาะตาแหน่ งงาน(Job Specification)
คุณสมบัติเฉพาะตําแหน่ง -เพศหญิง
(Job Specification) -วุฒิการศึกษา ปวส. สาขาบัญชี หรื อสาขาที่เกี่ยวข้อง
-มีประสบการณ์ดา้ นการทําบัญชีหรื องานคียข์ อ้ มูลจะได้รับการพิจารณา
เป็ นพิเศษ
-มีความรู ้และทักษะในการใช้โปรแกรม Microsoft Office, Words, Excel
คุณสมบัติอื่น ๆ -มีความละเอียดดรอบคอบ สามารถแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้ดี
(Other Qualification) -มีทกั ษะในการติดต่อประสานงาน
คาบรรยายลักษณะงาน (Job Description)
ชื่อตําแหน่งงาน (Job Title) ฝ่ ายผลิต(ล้างภาชนะ)
ระดับของงาน (Job Level) ปฏิบตั ิการ
อัตราเงินเดือน วันละ 154 บาท (ตามกระทรวงแรงงานกําหนด)
สาระสําคัญของงาน นําถังนํ้าที่ได้กลับคืนมาตรวจสอบการชํารุ ด ก่อนการล้างทําความสะอาดเพื่อ
โดยสรุ ป ส่งให้ต่อฝ่ ายบรรจุน้ าํ ดื่ม และหมัน่ ตรวจสอบเครื่ องล้างอยูเ่ สมอ บํารุ งรักษา
ใช้งานอย่างถูกวิธี ไม่ให้เกิดการชํารุ ด
ความรับผิดชอบ -ตรวจสอบถังที่ชาํ รุ ดก่อนนํามาล้างด้วยเครื่ องล้างนํ้ายา
และหน้าที่ที่จะต้องปฏิบตั ิ -นําถังมาล้างต่อด้วยนํ้าเปล่าให้สะอาดเพื่อส่งต่อไปที่แผนกบรรจุ
มาตรฐานในการปฏิบตั ิงาน 1. มาทํางานตรงเวลา สมํ่าเสมอ
2. มีความกระตือรื อร้น อดทน ละเอียดรอบคอบ และให้ความร่ วมมือ
ในการทํางาน
3. ปฏิบตั ิงานถูกต้อง รวดเร็ ว เสร็ จตามเวลาที่กาํ หนด มีความรับผิดชอบ
4. คํานึงถึงความปลอดภัยขณะปฏิบตั ิหน้าที่และรักษาความสะอาดอยูเ่ สมอ
คุณสมบัตขิ องเฉพาะตาแหน่ งงาน (Job Specification)
คุณสมบัติเฉพาะตําแหน่ง -เพศหญิง
(Job Specification) -อายุ 18 ปี ขึ้นไป
-ไม่จาํ กัดวุฒิการศึกษา
คุณสมบัติอื่น ๆ -มีความอดทน และรับผิดชอบต่องานที่ทาํ
(Other Qualification) -มีทกั ษะในการทํางานร่ วมกับผูอ้ ื่น
คาบรรยายลักษณะงาน (Job Description)
ชื่อตําแหน่งงาน (Job Title) ฝ่ ายผลิต(แผนกบรรจุ)
ระดับของงาน (Job Level) ปฏิบตั ิการ
อัตราเงินเดือน วันละ 154 บาท (ตามกระทรวงแรงงานกําหนด)
สาระสําคัญของงาน บรรจุน้ าํ ดื่มสะอาดลงในถัง และขวด สังเกตดูสี กลิ่นของนํ้า
โดยสรุ ป และหมัน่ ตรวจสอบเครื่ องส่งนํ้าว่ายังอยูใ่ นสภาพดี มีการอุดตัน
มีสิ่งแปลกปลอมหรื อไม่ บํารุ งรักษาเครื่ องจักร ใช้งานอย่างถูกวิธีไม่ให้เกิด
การชํารุ ด
ความรับผิดชอบ -สวมถุงมือทุกครั้งก่อนทําการบรรจุน้ าํ ดื่มลงถังและขวด
และหน้าที่ที่จะต้องปฏิบตั ิ -บรรจุน้ าํ ที่ผา่ นการฆ่าเชื้อด้วยแสงอุลตร้าไวโอเลตลงในขวดขาวขุ่น และปิ ดฝา
ให้สนิท
-บรรจุน้ าํ ที่ผา่ นการฆ่าเชื้อด้วยแสงอุลตร้าไวโอเลตลงในถังแกลลอน ปิ ดฝา และ
นําซีลติดคอขวด ที่มีตราของนํ้าดื่มตรา วอเตอร์
-ตรวจสอบความเรี ยบร้อยทุกครั้งก่อนนําส่งลูกค้า
มาตรฐานในการปฏิบตั ิงาน 1. มาทํางานตรงเวลา สมํ่าเสมอ
2. มีทศั นคติที่ดีต่องานที่ทาํ สนใจ กระตือรื อร้น และให้ความร่ วมมือ
ในการทํางาน
3. ปฏิบตั ิงานถูกต้อง รวดเร็ ว เสร็ จตามเวลาที่กาํ หนด มีความรับผิดชอบ
4. คํานึงถึงความปลอดภัยขณะปฏิบตั ิหน้าที่และรักษาความสะอาดอยูเ่ สมอ
คุณสมบัตขิ องเฉพาะตาแหน่ งงาน (Job Specification)
คุณสมบัติเฉพาะตําแหน่ง -เพศหญิง
(Job Specification) -อายุ 18 ปี ขึ้นไป
-ไม่จาํ กัดวุฒิการศึกษา
คุณสมบัติอื่น ๆ -มีความอดทน และรับผิดชอบต่องานที่ทาํ
(Other Qualification) -มีทกั ษะในการทํางานร่ วมกับผูอ้ ื่น
คาบรรยายลักษณะงาน (Job Description)
ชื่อตําแหน่งงาน (Job Title) ฝ่ ายขาย
ระดับของงาน (Job Level) ปฏิบตั ิการ
อัตราเงินเดือน วันละ 154 บาท (ตามกระทรวงแรงงานกําหนด)+ 2 % จากยอดขาย
สาระสําคัญของงาน นํานํ้าดื่มออกไปส่งให้ลูกค้า โดยจัดส่งให้ทนั เวลาและตามจํานวนที่ลูกค้าสัง่
โดยสรุ ป พร้อมทั้งเก็บเงินและมีการให้บริ การที่ดี
ความรับผิดชอบ -นําสิ นค้าไปส่งลูกค้าตามจํานวนที่สงั่
และหน้าที่ที่จะต้องปฏิบตั ิ -เรี ยกเก็บเงินจากลูกค้า
-ให้บริ การด้วยความเต็มใจและสุภาพ
มาตรฐานในการปฏิบตั ิงาน 1. มาทํางานตรงเวลา สมํ่าเสมอ
2. มีทศั นคติที่ดีต่องานที่ทาํ สนใจ กระตือรื อร้น และให้ความร่ วมมือ
ในการทํางาน
3. ปฏิบตั ิงานถูกต้อง รวดเร็ ว เสร็ จตามเวลาที่กาํ หนด มีความรับผิดชอบ
4. มีความซื่อสัตย์ต่อหน้าที่
คุณสมบัตขิ องเฉพาะตาแหน่ งงาน (Job Specification)
คุณสมบัติเฉพาะตําแหน่ง -เพศชาย
(Job Specification) -อายุ 18 ปี ขึ้นไป
-ไม่จาํ กัดวุฒิการศึกษา
-มีใบอนุญาตขับขี่รถยนต์ส่วนบุคคล
คุณสมบัติอื่น ๆ -รู ้จกั เส้นทางในเขตอําเภอจังหวัดขอนแก่นเป็ นอย่างดี
(Other Qualification) -รักการบริ การ
-มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี และมีทกั ษะในการทํางานเป็ นทีม
-มีความรับผิดชอบในหน้าที่
-มีความสามารถด้านการเจรจาต่อรอง
-มีความสามารถในการติดต่อประสานงาน
ตารางที่ 4.24 เกณฑ์การกําหนดเงินเดือนพนักงาน

ฝ่ าย เกณฑ์ การกาหนดเงินเดือน
- อัตราค่าแรงงานขั้นตํ่าตามกระทรวงแรงงานกําหนด คือวันละ 154
บาท
ฝ่ ายขาย (+ 2% จากยอดขายที่พนักงานแต่ละคนทําได้)
- ไม่จาํ กัดวุฒิการศึกษา
- มีใบอนุญาตขับขี่รถยนต์ส่วนบุคคล
- พิจารณาตามความรับผิดชอบด้านการเงินและการติดต่อลูกค้า
ฝ่ ายบัญชี/ การเงิน
- วุฒิการศึกษาไม่ต่าํ กว่าปริ ญญาตรี วันละ 200 บาท
- อัตราค่าแรงงานขั้นตํ่าตามกระทรวงแรงงานกําหนด คือวันละ 154
ฝ่ ายผลิต บาท
- ไม่จาํ กัดวุฒิการศึกษา

กาหนดกฎระเบียบพนักงาน
จากการสัมภาษณ์ผปู ้ ระกอบการ และแบบตรวจสอบรายการ พบว่าพนักงานขาดระเบียบวินยั ในการ
ปฏิบตั ิงาน เช่น พนักงานดื่มเหล้า สูบบุหรี่ พนักงานมาสาย พนักงานขาดความกระตือรื อร้น ไม่สวมหมวกและ
ผ้าปิ ดปาก และพนักงานขาดงาน
ทางผูจ้ ดั ทําจึงได้วเิ คราะห์ปัญหาและหาแนวทางแก้ไขร่ วมกับผูป้ ระการในการกําหนดกฎระเบียบ
เพื่อนํามาใช้กบั พนักงาน เพื่อให้ใช้เป็ นมาตรฐานในการปฏิบตั ิงาน และแจ้งให้พนักงานทุกคนทราบตามข้อปฏิบตั ิ
ดังต่อไปนี้

ตารางที่ 4.25 กฎระเบียบและความคิดเห็นของพนักงาน

เห็นด้ วย ไม่ เห็น


กฎระเบียบ คิดเป็ น% คิดเป็ น%
(คน) ด้ วย(คน)
1. ปฏิบตั ิงานอย่างตรงต่อเวลาทั้งมาและกลับ และลงเวลา
18 86 3 14
มาปฏิบตั ิงานในสมุดลงเวลาทุกครั้ง
2. พนักงานต้องแต่งกายให้รัดกุมในการปฏิบตั ิงาน 17 81 4 19
3. สวมถุงมือและรองเท้าบูทเพื่ออนามัยที่ดีและป้ องกัน
19 90 2 10
อุบตั ิเหตุ
4. หากเครื่ องมือเครื่ องจักรชํารุ ดแจ้งหัวหน้างานทันที
21 100 - -
เพื่อความปลอดภัยและทําการแก้ไข
5. หากเกิดอุบตั ิเหตุขณะปฏิบตั ิงานต้องแจ้งหัวหน้างาน 21 100 - -
6. หลังจากเลิกงานต้องทําความสะอาดเครื่ องมือ
19 90 2 10
เครื่ องจักรและบริ เวณพื้นโรงงานทุกครั้ง
ตารางที่ 4.25 (ต่ อ) กฎระเบียบและความคิดเห็นของพนักงาน

เห็นด้ วย ไม่ เห็นด้ วย


กฎระเบียบ คิดเป็ น% คิดเป็ น%
(คน) (คน)
7. พนักงานขับรถจะต้องตรวจสภาพรถอย่างสมํ่าเสมอ
เพื่อป้ องกันความเสี ยหายขณะขนส่ง 21 100 - -
และเพื่อความปลอดภัยของพนักงานเอง
8. พนักงานที่ไม่สามารถมาทํางานได้ให้โทรแจ้ง
16 76 5 24
ทางโรงงาน
9. ไม่ส่งเสี ยงดัง เอะอะ ไม่เล่นการพนัน ดื่มสุรา และ
ของมึนเมา ไม่นาํ บุคคลภายนอกเข้ามาในพื้นที่ขณะ 17 81 4 19
ปฏิบตั ิงาน
10. ห้ามพนักงานก่อเหตุทะเลาะวิวาท หากฝ่ าฝื นทาง
โรงงานจะลงโทษโดยการตัดเงินเดือนหรื อพักงาน 21 100 - -
ทั้งนี้ข้ ึนอยูก่ บั ความผิดของพนักงานเอง
รวม 90.4 9.6

การกาหนดกฎระเบียบต่างๆนั้นต้องได้รับ การยอมรับจากพนักงาน จากการกําหนดกฎระเบียบดังกล่าว


ให้แก่พนักงานโรงงานนํ้าดื่มวอเตอร์ จังหวัดขอนแก่น เพื่อสอบถามความคิดเห็น พบว่าพนักงานเห็นด้วยคิดเป็ น
90.4% และไม่เป็ นด้วยคิดเป็ น 9.6% ซึ่งถือว่าเป็ นอัตราส่วนที่น่าพอใจ กฎระเบียบที่กาํ หนดขึ้นจะส่งผลดี
ต่อส่วนรวมและตัวพนักงานเอง
ถ้าพนักงานฝ่ าฝื นกฎระเบียบที่ต้ งั ไว้จะมีบทลงโทษดังต่อไปนี้
1. การตักเตือนด้วยวาจา 3 ครั้ง โดยตักเตือนพนักงานที่กระทําผิดพร้อมกับบันทึกข้อมูล
2. การพักงาน หากผ่านการตักเตือนแล้วพนักงานยังคงไม่ปฏิบตั ิตามกฎระเบียบที่ต้ งั ไว้
ก็จะดําเนินการพักงานพนักงานคนนั้น
3.การตัดเงินเดือน หากพนักงานทําผิดหลายๆครั้ง จะดําเนินการตัดเงินเดือนพนักงานคนนั้น

กาหนดเงินพิเศษและสวัสดิการพนักงาน
ผูจ้ ดั ทําได้ศึกษาทฤษฎีการจูงใจ เพื่อนําไปประยุกต์ใช้ในการจูงใจพนักงาน โดยการให้
ผลตอบแทนแก่พนักงาน เมื่อพนักงานได้รับผลตอบแทนที่เหมาะสม เชื่อว่า การปฏิบตั ิงาน ของพนักงาน จะดีข้ ึน
เนื่องมาจากการเสริ มแรงจูงใจในทางบวก ด้วยการให้เงินพิเศษและสวัสดิการแก่พนักงาน
กาหนดเงินพิเศษให้ แก่ พนักงาน
จากแบบสอบถามพนักงานพบว่า ข้อเสนอแนะของพนักงาน คือ ควรมีการให้ค่าตอบแทน
อื่นๆนอกเหนือจากเงินเดือน ซึ่งเดิมพนักงานฝ่ ายขายจะได้รับค่าคอมมิชชัน่ 2% จากยอดขาย และ เพื่อเป็ นการ
กระตุน้ ให้พนักงานทํายอดขายในแต่ละเดือนให้เพิ่มมากขึ้น ทางผูศ้ ึกษาจึงได้นาํ ข้อเสนอแนะ มาเป็ นแนวทางใน
การกําหนดเงินพิเศษร่ วมกับผูป้ ระกอบการ เพื่อกระตุน้ ให้พนักงานมีความ กระตือรื อร้นในการปฏิบตั ิหน้าที่มาก
ขึ้น โดย
1. ทําการกําหนดยอดขายขั้นตํ่าที่ผปู ้ ระกอบการต้องการไม่ต่าํ กว่า 3,000 ถัง ในแต่ละเดือน
หลังจากนั้นนํามาหักเปอร์เซ็นต์ที่จะนํามาเป็ นเงินได้พิเศษให้กบั พนักงาน
2. ราคาต้นทุนถังละ 5 บาท ราคาขายถังละ 10 บาท เปอร์เซ็นต์ที่จะนํามาคํานวณเป็ นเงิน
พิเศษให้กบั พนักงานขายนั้นเป็ นการหักเปอร์เซ็นต์จากกําไร ซึ่งทางโรงงานจะบวกกําไร 100% จากราคาทุน และ
ทางผูป้ ระกอบการยินดีที่จะแบ่งส่วนของกําไร 2% ให้แก่พนักงาน เพื่อกระตุน้ และจูงใจพนักงาน ดังตารางที่ 4.26

ตารางที่ 4.26 ยอดขายกับเงินพิเศษ

ยอดขาย เงินพิเศษ (2%)


3,000 ถัง 300 บาท
3,500 ถัง 350 บาท
4,000 ถัง 400 บาท
4,500 ถัง 450 บาท
5,000 ถัง 500 บาท

กาหนดสวัสดิการให้ แก่ พนักงาน


เดิมทางโรงงานได้จดั ให้มีสวัสดิการพนักงาน คือ เงินค่ารักษาพยาบาล ประกันสังคม วันหยุด
4 วันต่อเดือน ซึ่งจากแบบสอบถามพนักงานมีขอ้ เสนอแนะว่า ควรให้มีสวัสดิการ ด้านอาหารกลางวัน เพิ่มมาด้วย
ทาง ผูจ้ ดั ทําจึงได้นาํ ข้อเสนอแนะมาเป็ นแนวทางในการดําเนินการด้านสวัสดิการให้แก่พนักงาน เพื่อเป็ นการ
รักษาพนักงานให้ทาํ งานอย่างเต็มความสามารถและอยูก่ บั โรงงานต่อไป โดยไม่ยา้ ยงาน หรื อลาออก และเป็ น
รางวัลในการปฏิบตั ิงาน ดังตารางที่ 4.27

ตารางที่ 4.27 สวัสดิการพนักงาน

ตาแหน่ ง สวัสดิการพนักงาน
ธุรการ - สวัสดิการทางด้านอาหารกลางวัน วันละ40 บาท
- เงินค่ารักษาพยาบาล ประกันสังคม และให้มีวนั หยุด 4 วัน/เดือน
- สวัสดิการทางด้านอาหารกลางวัน วันละ40บาท
ฝ่ ายผลิต
- เงินค่ารักษาพยาบาล ประกันสังคม และให้มีวนั หยุด 4 วัน/เดือน
- สวัสดิการทางด้านอาหารกลางวัน วันละ 40บาท และเงินพิเศษ 2%จากยอดขาย
ฝ่ ายขาย
- เงินค่ารักษาพยาบาล ประกันสังคม และให้มีวนั หยุด 4 วัน/เดือน
3. ด้ านการตลาด
จากแบบสอบถามถึง ปั จจัยที่ใช้ ในการตัดสิ นใจซื้อนํ้าดื่ม ของผูบ้ ริ โภค ในเขตเทศบาลเมือง จังหวัด
ขอนแก่น พบว่า การมีราคาเหมาะสมกับคุณภาพ มีราคาถูก มีการลดราคาและมีการแจกของแถม เป็ นปั จจัย
ที่สาํ คัญที่สุด และ จากข้อมูลตารางเปรี ยบเทียบคู่แข่งขัน พบว่าทั้งนํ้าดื่มวอเตอร์และคู่แข่งขันรายอื่นไม่ได้
มีการจัดกิจกรรมส่งเสริ มการขายให้ลูกค้า เพื่อเป็ นการสร้างความแตกต่างให้กบั คู่แข่งขัน ผูจ้ ดั ทําจึงได้กาํ หนด
กลยุทธ์การส่งเสริ มการขายขึ้น นัน่ ก็คือการจัดทํา โปรแกรมจูงใจลูกค้า และโปรแกรมคุม้ ค่าเมื่อซื้อ
กลยุทธ์ การส่ งเสริมการขาย
โรงงานนํ้าดื่มวอเตอร์จาํ หน่ายนํ้าดื่มบรรจุแกลลอน 20 ลิตร ในราคาถังละ 10 บาท จากราคา
ต้นทุนถังละ 5 บาท และจําหน่ายนํ้าดื่มบรรจุขวดขาวขุ่น 800ซม.3โหลละ 35 บาท จากราคาต้นทุนโหลละ 21 บาท
ผูจ้ ดั ทําได้ร่วมมือกับผูป้ ระกอบการในการกําหนดการส่งเสริ มการขาย เพื่อคืนกําไรให้ลูกค้า
โดยนํ้าดื่มบรรจุแกลลอน 20 ลิตร ทางผูป้ ระกอบการยินดีคืนกําไรไม่เกิน 40% ต่อถัง และนํ้าดื่มบรรจุขวดขาวขุ่น
800 ซม.3 ผูป้ ระกอบการยินดีคืนกําไรไม่เกิน 20% ต่อโหล ดังนี้

ตารางที่ 4.28 โปรแกรมจูงใจลูกค้านํ้าดื่มชนิดแกลลอน20 ลิตร

นา้ ดืม่ ชนิดแกลลอน 20 ลิตร ราคาทีจ่ าหน่ าย(บาท/ถัง) กาไรทีผ่ ้ปู ระกอบการได้ รับ (ต่ อถัง)
สัง่ ซื้อตํ่ากว่า10 ถัง 10 100%
สัง่ ซื้อ10-30 ถัง 9 80%
สัง่ ซื้อ31-60 ถัง 8 60%

จากตารางข้างต้น ถ้าร้านค้าสัง่ ซื้อนํ้าดื่มชนิดแกลลอน 20 ลิตร ตั้งแต่ 31-60 ถัง สามารถซื้อได้ในราคาถัง


ละ 8 บาท ถ้าสัง่ ซื้อ 10-30 ถังสามารถซื้อได้ในราคาถังละ 9 บาท หากสัง่ ซื้อตํ่ากว่า 10 ถัง จะซื้อได้ในราคาถังละ
10 บาท ซึ่งเป็ นราคาตามปกติ

ตารางที่ 4.29 โปรแกรมจูงใจลูกค้านํ้าดื่มชนิดขวดขาวขุ่น 800ซม.3

นา้ ดืม่ ชนิดขวดขาวขุ่น 800ซม.3 ราคาทีจ่ าหน่ าย(บาท/โหล) กาไรทีผ่ ้ปู ระกอบการได้ รับ (ต่ อโหล)
สัง่ ซื้อตํ่ากว่า10 โหล 35 100%
สัง่ ซื้อ10-30 โหล 34 93%
สัง่ ซื้อ31-60 โหล 33 86%

จากตารางข้างต้น ถ้าร้านค้าสัง่ ซื้อนํ้าดื่มชนิดขวดขาวขุ่น 800ซม.3 ตั้งแต่ 31-60 โหล สามารถซื้อได้ใน


ราคาโหลละ 33 บาท ถ้าสัง่ ซื้อ 10-30 โหลสามารถซื้อได้ในราคาโหลละ 34 บาท หากสัง่ ซื้อตํ่ากว่า 10 ถัง จะซื้อ
ได้ในราคาโหลละ 35 บาท ซึ่งเป็ นราคาตามปกติ

ตารางที่ 4.30 โปรแกรมคุม้ ค่าเมื่อซื้อนํ้าดื่มชนิดขวดขาวขุ่น 800ซม.3

นา้ ดืม่ ชนิดขวดขาวขุ่น 800ซม.3 ราคา(บาท/โหล) แถม(โหล) กาไรทีผ่ ้ปู ระกอบการได้ รับ (ต่ อโหล)
สัง่ ซื้อ30โหล/ครั้ง 34 2 82.56%
สัง่ ซื้อ60โหล/ครั้ง 33 3 86.25%
สัง่ ซื้อ100 โหล/ครั้ง 32 5 85.45%

จากตารางข้างต้น ถ้าร้านค้าสัง่ ซื้อนํ้าดื่มชนิดขวดขาวขุ่น 800ซม.3 100 โหล/ครั้ง สามารถซื้อได้ในราคา


โหลละ 32 บาทพร้อมแถมอีก 5 โหล สัง่ ซื้อ 60 โหล/ครั้ง สามารถซื้อได้ในราคาโหลละ 33 บาทพร้อมแถมอีก
3 โหล และสัง่ ซื้อ 30 โหล/ครั้ง สามารถซื้อได้ในราคาโหลละ 34 บาทพร้อมแถมอีก 2 โหล
การเปลี่ยนแปลงรายการขายดังกล่าว ได้จดั ทําใบแจ้งรายการและราคาขายนํ้าดื่มให้แก่ลูกค้าเพื่อชี้แจง
รายละเอียดของแต่ละรายการอย่างชัดเจน โดยมอบหมายให้พนักงานเป็ นผูแ้ จกใบแจ้งรายการและราคาขายนํ้าดื่ม
ในครั้งนี้แก่ลูกค้าโดยตรง

โรงงานนา้ ดืม่ วอเตอร์


227/51 ถ.หลังศูนย์ราชการ อ.เมือง
จ.ขอนแก่น 40000 โทร.043-241302,043-246108
เรื่ อง การแจ้งรายการและราคาขายนํ้าดื่ม
เรี ยน ท่านผูจ้ ดั การร้านที่เคารพ
เพื่อเป็ นการขอบคุณผูม้ ีอุปการะคุณทุกท่าน ที่ได้ให้การสนับสนุนนํ้าดื่มวอเตอร์มาโดยตลอด ทาง
โรงงานได้จดั กิจกรรมลดราคาและแถมนํ้าดื่ม ดังรายการต่อไปนี้
ราคาและรายการขายนา้ ดืม่ ชนิดบรรจุขวดขาวขุ่น 800 ซม.³/ โหล
สัง่ ซื้อจํานวนตํ่ากว่า 10 โหล ขายโหลละ 35 บาท
สัง่ ซื้อจํานวน 10-30 โหล ขายโหลละ 34 บาท
สัง่ ซื้อจํานวน 31-60 โหล ขายโหลละ 33 บาท
ราคาและรายการขายนา้ ดืม่ ชนิดแกลลอน20 ลิตร / ถัง
สัง่ ซื้อจํานวนตํ่ากว่า 10 ถัง ขายถังละ 10 บาท
สัง่ ซื้อจํานวน 10-30 ถัง ขายถังละ 9 บาท
สัง่ ซื้อจํานวน 31-60 ถัง ขายถังละ 8 บาท
ราคาและรายการโปรโมชั่นนา้ ดืม่ ชนิดบรรจุขวดขาวขุ่น 800 ซม.³/ แพ็ค
ชุดประหยัด สัง่ ซื้อ30โหล / ครั้ง ขายโหลละ 34 บาท แถมฟรี ! 2 โหล
ชุดกลาง สัง่ ซื้อ60โหล / ครั้ง ขายโหลละ 33 บาท แถมฟรี ! 3 โหล
ชุดใหญ่ สัง่ ซื้อ100 โหล / ครั้ง ขายโหลละ 32 บาท แถมฟรี ! 5 โหล

จึงเรี ยนมาเพื่อทราบ ถ้าหากท่านมีขอ้ สงสัยเกี่ยวกับรายการและราคารวมถึงการบริ การ


ที่ไม่สุภาพของพนักงานโปรดติดต่อคุณ อรุ ณ กลิ่นขจร ที่เบอร์โทร 043-241302,043-246108 โดยตรง
จะเป็ นพระคุณยิง่
ด้วยความนับถือ
........................................................
( นายอรุ ณ กลิ่นขจร )
ภาพที่ 4.6 ใบแจ้งรายการและราคาขายนํ้าดื่ม

ผลการดาเนินงาน
จากการกําหนดกลยุทธ์ส่งเสริ มการขายในช่วง 3 เดือนที่ผา่ นมา ส่งผลให้โรงงานนํ้าดื่ม
วอเตอร์ จังหวัดขอนแก่น มีกาํ ไรเพิ่มขึ้นจากที่กาํ หนดเป้ าหมายไว้ 15 % เป็ น 18.63 % นัน่ คือ ในปี พ.ศ. 2552
เดือนมกราคม เดือนกุมภาพันธ์ และเดือนมีนาคม มียอดขายนํ้าดื่มชนิดขวดขาวขุ่น 800ซม. 3 เพิ่มขึ้นคิดเป็ น
0.68%, 3.78% , 4.69% ตามลําดับ และยอดขายนํ้าดื่มชนิดบรรจุแกลลอน 20 ลิตร เพิม่ ขึ้นเป็ น 1.03% , 2.65% ,
5.80% ตามลําดับ

ตารางที่ 4.31 เปรี ยบเทียบยอดขายนํ้าดื่มของปี พ.ศ. 2551และ พ.ศ. 2552

ยอดขายนา้ ดืม่ ชนิด ยอดขายที่ ยอดขายนา้ ดืม่ ชนิด ยอดขายที่


เดือน ขวดขาวขุ่น 800 ซม.3(โหล) เพิม่ ขึน้ บรรจุแกลลอน 20 ลิตร(ถัง) เพิม่ ขึน้
พ.ศ.2551 พ.ศ.2552 (คิดเป็ น%) พ.ศ.2551 พ.ศ.2552 (คิดเป็ น%)
มกราคม 5861 5901 0.68 26269 26540 1.03
กุมภาพันธ์ 4739 4918 3.78 24724 25380 2.65
มีนาคม 5547 5807 4.69 24876 26320 5.80
เมษายน 6012 27575
พฤษภาคม 5993 26893
มิถุนายน 5881 25479
กรกฎาคม 5863 26287
สิ งหาคม 5796 25981
กันยายน 5857 26723
ตุลาคม 5783 25992
พฤศจิกายน 5645 24984
ธันวาคม 4813 24723
รวม 16,626 9.15 78,248 9.48
ยอดขายรวมเพิม่ ขึน้ คิดเป็ น 18.63%
ทีม่ า: โรงงานนํ้าดื่มวอเตอร์ จังหวัดขอนแก่น

ภาพที่ 4.7 แผนภูมิยอดขายนํ้าดื่มวอเตอร์

ตารางที่ 4.32 รายรับ-รายจ่าย ประจําเดือนมกราคม 2552

รายรับ รายจ่ าย
ยอดขายนํ้าดื่ม ค่านํ้าประปา 3,487 บาท
- ชนิดบรรจุขวดขาวขุ่น 800 ซม.³ 206,535 บาท ค่าไฟฟ้ า 5,871 บาท
- ชนิดแกลลอน20 ลิตร 265,400 บาท ค่าโทรศัพท์ 980 บาท
เงินเดือนพนักงาน 100,438 บาท
ค่าวัสดุสาํ นักงาน 440 บาท
ค่าวัสดุเชื้อเพลิง 103,000 บาท
ค่าวัสดุการผลิต 29,300 บาท
ค่าซ่อมแซมยานพาหนะ 2,280 บาท
ค่าใช้จ่ายอื่นๆ 2,571 บาท
รวม 471,935 บาท รวม 248,367 บาท
กาไร 223,568 บาท
ทีม่ า: โรงงานนํ้าดื่มวอเตอร์ จังหวัดขอนแก่น
ตารางที่ 4.33 รายรับ-รายจ่าย ประจําเดือนกุมภาพันธ์ 2552

รายรับ รายจ่ าย
ยอดขายนํ้าดื่ม ค่านํ้าประปา 2,898 บาท
- ชนิดบรรจุขวดขาวขุ่น 800 ซม.³ 172,130 บาท ค่าไฟฟ้ า 4,287 บาท
- ชนิดแกลลอน20 ลิตร 235,800 บาท ค่าโทรศัพท์ 723 บาท
เงินเดือนพนักงาน 94,518 บาท
ค่าวัสดุสาํ นักงาน 224 บาท
ค่าวัสดุเชื้อเพลิง 96,269 บาท
ค่าวัสดุการผลิต 26,287 บาท
ค่าซ่อมแซมยานพาหนะ 1,813 บาท
ค่าใช้จ่ายอื่นๆ 2,723 บาท
รวม 425,930 บาท รวม 229,742 บาท
กาไร 196,188 บาท
ทีม่ า: โรงงานนํ้าดื่มวอเตอร์ จังหวัดขอนแก่น

ตารางที่ 4.34 รายรับ-รายจ่าย ประจําเดือนมีนาคม 2552

รายรับ รายจ่ าย
ยอดขายนํ้าดื่ม ค่านํ้าประปา 3,192 บาท
- ชนิดบรรจุขวดขาวขุ่น 800 ซม.³ 203,245 บาท ค่าไฟฟ้ า 5,523 บาท
- ชนิดแกลลอน20 ลิตร 263,200 บาท ค่าโทรศัพท์ 792 บาท
เงินเดือนพนักงาน 96,984 บาท
ค่าวัสดุสาํ นักงาน 100 บาท
ค่าวัสดุเชื้อเพลิง 99,283 บาท
ค่าวัสดุการผลิต 28,100 บาท
ค่าซ่อมแซมยานพาหนะ 2,751 บาท
ค่าใช้จ่ายอื่นๆ 2,280 บาท
รวม 471,935 บาท รวม 239,005 บาท
กาไร 226,440 บาท
ทีม่ า: โรงงานนํ้าดื่มวอเตอร์ จังหวัดขอนแก่น
แผนระยะยาว
ด้ านผลิตภัณฑ์
- ประชาสัมพันธ์ให้ผบู ้ ริ โภคจดจําและเรี ยกชื่อ “นํ้าดื่ม วอเตอร์ ” ได้อย่างถูกต้องและ
คุน้ เคย โดยการติดสติ๊กเกอร์ตามร้านค้าที่เป็ นตัวแทนจําหน่าย และสนับสนุนงานเทศกาลต่างของจังหวัดขอนแก่น
- รักษาคุณภาพผลิตภัณฑ์ให้ได้ตามมาตรฐาน GMP โดยการตรวจสอบของสาธารณสุขจังหวัด
ขอนแก่น
ด้ านราคา
- จัดกิจกรรมส่งเสริ มการขาย ปี ละครั้งในช่วงเดือนตุลาคม-เดือนธันวาคม เพื่อกระตุน้ ยอดขาย
ในช่วง 3 เดือนดังกล่าวให้ดีข้ ึน เนื่องจากเป็ นช่วงเริ่ มต้นฤดูหนาว นํ้าดื่มมักจะมียอดจําหน่ายลดลง
ด้ านช่ องทางการจัดจาหน่ าย
- จําหน่ายนํ้าดื่มในเขตพื้นที่ใกล้เคียง เช่น อ.นํ้าพอง อ.เชียงยืน อ.บ้านไผ่ เป็ นต้น เพื่อให้น้ าํ ดื่ม
สามารถจําหน่ายได้ทวั่ ทุกพื้นที่
ด้ านการส่ งเสริมการขาย
- สนับสนุนงานกีฬาสําคัญๆ และกิจกรรมที่ชุมชนจัดขึ้นเพื่อเน้นและตอกยํ้าถึง
นํ้าดื่มตรา วอเตอร์ ให้ชดั เจนยิง่ ขึ้น
บทที่ 5
สรุปผลการดาเนินงานและข้ อเสนอแนะ

จากการศึกษาข้อมูลของโรงงานนํ้าดื่มวอเตอร์ จังหวัดขอนแก่น พบปั ญหาด้านการจัดการ


ด้านบุคลากร และด้านการตลาด จากปั ญหาดังกล่าวผูจ้ ดั ทําได้ศึกษาแนวคิดการจัดการมาประยุกต์ใช้ในการ
วางแผนและนําเสนอแนวทางแก้ไขร่ วม กับผูป้ ระกอบการ การดําเนินการเพื่อ เพิม่ ประสิ ทธิภาพ การบริ หารงาน
ของโรงงานนํ้าดื่มวอเตอร์ จังหวัดขอนแก่น สามารถสรุ ปได้ดงั นี้
วัตถุประสงค์
1. เพื่อรักษามาตรฐาน GMP ของโรงงานนํ้าดื่มวอเตอร์ จังหวัดขอนแก่น
2. เพื่อ ศึกษาลักษณะงาน บทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบของพนักงาน โรงงานนํ้าดื่มวอเตอร์
จังหวัดขอนแก่น
3. เพื่อศึกษาการบริ หารค่าตอบแทนของพนักงานโรงงานนํ้าดื่มวอเตอร์ จังหวัดขอนแก่น
4. เพื่อศึกษากลยุทธ์การส่งเสริ มการขายของโรงงานนํ้าดื่มวอเตอร์ จังหวัดขอนแก่น

1. ด้ านการจัดการ
จากผลการศึกษาพบว่า มี วางสิ่ งของไม่เป็ นระเบียบ ไม่เป็ นหมวดหมู่ มีน้ าํ ขัง นํ้านองบริ เวณพื้น
การแต่งกายพนักงานไม่รัดกุม มีเศษขยะอยูร่ อบบริ เวณโรงงาน ไม่มีการตรวจเช็คเครื่ องมือ เครื่ องจักรอย่าง
สมํ่าเสมอ ทําให้โรงงานมีสภาพแวดล้อมที่ไม่ตรงตามมาตรฐาน GMP ปั ญหาดังกล่าวผูจ้ ดั ทําได้จดั กิจกรรม 5 ส
เพื่อใช้ ในการแก้ไขปั ญหา
ตัวชี้วดั ความสาเร็จ
- โรงงานมีสภาพแวดล้อมที่ดี และมีความเป็ นระเบียบของสถานที่ปฏิบตั ิงาน ตรงตาม
มาตรฐาน GMP
แผนสารองด้ านการจัดการ
ผูป้ ระกอบการควรมีการตรวจและประเมินกิจกรรม 5ส ของพนักงานอย่างสมํ่าเสมอ

2. ด้ านบุคลากร
จากปั ญหาการทํางานที่ซ้ าํ ซ้อนกัน เนื่องจาก ไม่มีการกําหนดขอบเขตในการทํางาน จึงได้จดั ทํา
การวิเคราะห์งาน กําหนด Job Description และ Job Specifications เพื่อให้พนักงานทราบภาระงานที่ชดั เจน และ
ปั ญหา พนักงานขาดระเบียบวินยั ในการปฏิบตั ิงาน ซึ่งโรงงานไม่มีการกําหนดระเบียบวินยั และบทลงโทษ
ไว้เป็ นลายลักษณ์อกั ษร จึงได้กาํ หนดกฎระเบียบและบทลงโทษเพื่อใช้ในการชี้แจงให้พนักงานทราบ และปั ญหา
พนักงานยังขาดแรงจูงใจในการปฏิบตั ิงาน เนื่องจากทางโรงงานไม่มีค่าตอบแทนอื่นๆที่นอกเหนือจากเงินเดือน
จึงได้กาํ หนดเงินพิเศษและสวัสดิการให้แก่พนักงาน
ตัวชี้วดั ความสาเร็จ
- บทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบของพนักงานมีความชัดเจน
- พนักงานให้การยอมรับและปฏิบตั ิตามกฎระเบียบของทางโรงงานอย่างเคร่ งครัด
- การให้เงินพิเศษและสวัสดิการสามารถกระตุน้ ให้พนักงานปฏิบตั ิงานได้อย่าง
เต็มความสามารถ
แผนสารองด้ านบุคลากร
ควรจัดให้มีการอบรมงานหากพนักงานยังไม่มีความเข้าใจในงานที่ทาํ นอกจากการกําหนด
เงินพิเศษและสวัสดิการให้แก่พนักงานแล้ว ผูป้ ระกอบการควรมีการสร้างสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผูป้ ระกอบการ
กับพนักงาน เช่น การจัดงานเลี้ยงสังสรรค์ตามโอกาสต่างๆ เป็ นต้น

3. ด้ านการตลาด
โรงงานนํ้าดื่มวอเตอร์ จังหวัดขอนแก่นยังขาดการส่งเสริ มการขาย ทําให้ผบู ้ ริ โภคไม่ทราบถึง กิจกรรม
ส่งเสริ มการขาย ผู ้ จัดทําได้จึงจัดทํากิจกรรมส่งเสริ มการขายขึ้น นัน่ คือโปรแกรมจูงใจลูกค้า และโปรแกรม
คุม้ ค่าเมื่อซื้อ เพื่อเป็ นการจูงใจและกระตุน้ ให้เกิดการซื้อที่เพิม่ มากขึ้น
ตัวชี้วดั ความสาเร็จ
- มียอดจําหน่ายนํ้าดื่มรวมเพิ่มขึ้น 15% ภายใน 3 เดือน
แผนสารองด้ านการตลาด
เพิ่มแนวทางการส่งเสริ มการขายอื่นๆที่เห็นว่าเหมาะสมได้แก่ การลดราคาตามเทศกาล หรื อ
การแจกของที่ระลึกเป็ นแก้วนํ้าที่มีโลโก้น้ าํ ดื่ม วอเตอร์ ในช่วงเทศกาลวันสําคัญเช่น วันปี ใหม่ วันสงกรานต์
เป็ นต้น เพื่อเป็ นการสร้างการรับรู ้น้ าํ ดื่มตรา “วอเตอร์” ที่เพิ่มมากขึ้น

ปัญหาทีพ่ บในการปฏิบัตงิ าน
1. ผูต้ อบแบบสอบถามยังไม่ค่อยให้ความร่ วมมือเท่าที่ควร ผูศ้ ึกษาจึงได้เข้าไปอธิบายถึงจุดประสงค์
ของการแจกแบบสอบถาม
2. ข้อมูลยอดขายของโรงงานนํ้าดื่ม วอเตอร์ จังหวัดขอนแก่นไม่มีการบันทึกไว้อย่างเป็ นระบบ
จึงยากต่อการค้นหาข้อมูล
3. เนื่องจากมีการปฏิบตั ิงานของพนักงานทุกวัน ทําให้เกิดความไม่สะดวกในการเข้าไปดําเนินงาน

ข้ อเสนอแนะในการทาวิจยั ครั้งต่ อไป


1. ศึกษาการรับรู ้สื่อของผูบ้ ริ โภคเพื่อมาเป็ นแนวทางในการจัดทําสื่ อและโฆษณา
2. ศึกษาการจัดทํากิจกรรมส่งเสริ มการขายเพิ่มเติมเพื่อให้เกิดความแตกต่างจากคู่แข่งขัน
3. ควรมีการจัดอบรมพนักงานเพื่อให้มีทกั ษะและความเข้าใจในการปฏิบตั ิงาน
บรรณานุกรม

กิติมา ปรี ดีดิลก.(2529).ทฤษฎีองค์ กร.กรุ งเทพฯ: ธนะการพิมพ์


ทฤษฎี TOWS Matrix ค้นเมื่อ 15 มกราคม 2552 จาก http://www.drmanage.com/index.php?lay=show&ac=
article&Id=538663926&Ntype=3
ทิพวรรณ หล่อสุวรรณรัตน์ และคณะ. เครื่องมือการจัดการ .กรุ งเทพฯ : สถาบันนัณฑิตพัฒนบริ หารศาสตร์ คณะ
รัฐศาสนศาสตร์.มิถุนายน 2550 สํานักพิมพ์รัตนไตร
ธงชัย สันติวงษ์.(2540).พฤติกรรมผู้บริโภคทางการตลาด.พิมพ์ครั้งที่ 9.กรุ งเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช
นิรมน กิติกลุ .(2548).องค์ การและการจัดการ.กรุ งเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหววิทยาลัย
บรรจง อภิรติกลุ และสุรินทร์ ม่วงทอง.(2526).หลักการจัดการ.กรุ งเทพฯ: วัชริ นทร์การพิมพ์
ยงยุทธ์ พูพงศ์ศิณิพนั ธ์ และคณะ.(2547).การจัดการการตลาด .พิมพ์ครั้งที่สอง.กรุ งเทพฯ : เพียร์สนั เอ็ดดูเคชัน่ อิน
ไชน่า
เยาวนาถ ศรี ตะบุตร.(2544). การวางแผลกลยุทธ์ ทางการตลาดเพือ่ เพิม่ ยอดขายของบริษัทนา้ ดืม่ เฟรช จากัด ใน
จังหวัดหนองคาย.การค้นคว้าอิสระปริ ญญาบริ หารธุรกิจ มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ราตรี ลภวงศ์.(2550). หลักการ 5 ส. ค้นเมื่อวันที่ 15 มกราคม 2552 จาก http://www.thaigoodview.com/
library/teachershow/ sakaew/ratee_l/safty/sec02p01.html
ศิริวรรณ เสรี รัตน์.(2540).การโฆษณาและการส่ งเสริมการตลาด.กรุ งเทพฯ: เอ เอ็น การพิมพ์
ศิริวรรณ เสรี รัตน์.(2541).การบริหารตลาดยุคใหม่ .กรุ งเทพฯ: ธีระพิมพ์และไชเทกช์
ศริ วรรณ เสรี รัตน์ และคณะ.(2541).ความพึงพอใจของผู้บริโภค.กรุ งเทพฯ: สํานักพิมพ์บริ ษทั ธรรมสาร
สุปัญญา ไชยชาญ.(2543).หลักการตลาด.พิมพ์ครั้งที่สอง.
สุภร แก้วพัตร.(2546). การเพิม่ ยอดขายนา้ ดืม่ เมตตา ในเขตจังหวัดขอนแก่ น .การค้นคว้าอิสระปริ ญญา
บริ หารธุรกิจ มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยขอนแก่น
สมยศ นาวีการ.(2540).การบริหารและพฤติกรรมองค์ กร.กรุ งเทพฯ: โรงพิมพ์ตะวันออก จํากัด
อดิศร ตั้งรุ่ งเรื่ องกิจ.(2544).การเพิม่ ยอดขายของนา้ ดืม่ อัมรินทร์ ในจังหวัดมหาสารคาม .การค้นคว้าอิสระปริ ญญา
บริ หารธุรกิจ มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยขอนแก่น
อัญชลี สิ งหานิล.(2547). การศึกษาความเป็ นไปได้ ในการจัดตั้งโรงงานผลิตภาชนะพลาสติกบรรจุนา้ ดืม่ .
การค้นคว้าอิสระปริ ญญาบริ หารธุรกิจ มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ภาคผนวก
ภาคผนวก ก
แบบสอบถาม
แบบสอบถาม
ปัจจัยทีใ่ ช้ ในการตัดสินใจซื้อนา้ ดืม่ ของผู้บริโภคในเขตเทศบาลเมืองจังหวัดขอนแก่ น

คาชี้แจงในการตอบแบบสอบถาม
เนื่องด้วยคณะวิทยาการจัดการ สาขาการจัดการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้เปิ ดสอนวิชาสัมมนา
การจัดการ รหัส 961493 แบบสอบถามฉบับนี้ มีวตั ถุประสงค์เพื่อศึกษาการบริ หารงานของโรงงาน นํ้าดื่มวอเตอร์
จังหวัดขอนแก่น ซึ่งผลจากการศึกษาครั้งนี้จะเป็ นประโยชน์ในการศึกษาต่อในอนาคต อันจะก่อให้เกิดการพัฒนา
การบริ หารงานของธุรกิจให้ประสบความสําเร็ จ จึงขอความร่ วมมือจากท่านกรุ ณาตอบแบบสอบถามดังนี้
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทัว่ ไปของผูต้ อบแบบสอบถาม
ส่วนที่ 2 แบบสอบถาม ปั จจัยที่ใช้ ในการตัดสิ นใจซื้อนํ้าดื่ม ของผูบ้ ริ โภค ในเขตเทศบาลเมือง จังหวัด
ขอนแก่น

ส่ วนที่ 1 ข้ อมูลทัว่ ไปของผู้ตอบแบบสอบถาม


คาชี้แจง : กรุ ณาทําเครื่ องหมาย ภายใน ( ) ที่ตรงกับข้อมูลของท่านมากที่สุด
1. เพศ ( ) ชาย ( ) หญิง
2. อายุ ( ) ตํ่ากว่า 20 ปี ( ) 21-30 ปี
( ) 31-40 ปี ( ) 41-50 ปี
( ) 51 ปี ขึ้นไป
3. ประเภทลูกค้า ( ) ร้านค้า ( ) ร้านอาหาร
( ) ส่วนราชการ ( ) บ้านพักอาศัย
() หอพัก ( ) ธนาคาร
( ) อื่นๆ ระบุ..........................
ส่ วนที่ 2 แบบสอบถามปัจจัยทีใ่ ช้ ในการตัดสินใจซื้อนา้ ดืม่ ของผู้บริโภคในเขตเทศบาลเมืองจังหวัดขอนแก่ น
คาชี้แจง : กรุ ณาทําเครื่ องหมาย  ลงในช่องที่ท่านเห็นว่าเหมาะสมที่สุด
5 = มากที่สุด 4 = มาก 3 = ปานกลาง 2 = น้อย 1 =น้อยที่สุด

ปัจจัยทีใ่ ช้ ในการตัดสินใจซื้อนา้ ดืม่ ของผู้บริโภค ระดับความสาคัญ


ในเขตเทศบาลเมืองจังหวัดขอนแก่ น 5 4 3 2 1
ด้ านผลิตภัณฑ์
การรับรองจากองค์การสาธารณสุข
ความสะอาดของบรรจุภณั ฑ์
ผลิตภัณฑ์หลากหลาย
รสชาติ
กลิ่น
ด้ านราคา
ราคาเหมาะสมกับคุณภาพ
ราคาเหมาะสมกับปริ มาณ
ราคาถูก
ด้ านการจัดจาหน่ าย
มีบริ การจัดส่งถึงที่
จัดส่งสิ นค้าถูกต้อง ครบตามที่สงั่
ความรวดเร็ วในการจัดส่ง
หาซื้อได้ง่าย
ด้ านการส่ งเสริมการตลาด
มีการลดราคา
มีการแจกของแถม
การโฆษณาผ่านสื่ อ
มีการแนะนําจากพนักงานขาย

ข้อเสนอแนะ_______________________________________________________________________________
_________________________________________________________________________________________
_________________________________________________________________________________________
ขอขอบพระคุณทุกท่านที่ให้ความร่ วมมือเป็ นอย่างดี
แบบสอบถาม
ทัศนคติของพนักงานทีม่ ตี ่ อโรงงานนา้ ดืม่ วอเตอร์ จังหวัดขอนแก่ น

คาชี้แจงในการตอบแบบสอบถาม
แบบสอบถามฉบับนี้จดั ทําขึ้นเพื่อศึกษาถึงทัศนคติของพนักงานที่มีต่อโรงงานนํ้าดื่มวอเตอร์
จังหวัดขอนแก่น เพื่อใช้ประกอบการศึกษาของนักศึกษาในระดับปริ ญญาตรี คณะวิทยาการจัดการ สาขา
การจัดการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยมีวตั ถุประสงค์เพื่อนําผลที่ได้ไปใช้เป็ นแนวทางให้แก่ผปู ้ ระกอบการในการ
พัฒนาการบริ หารงานให้มีประสิ ทธิภาพมากยิง่ ขึ้น โดยแบบสอบถามแบ่งออกเป็ น 2 ส่วน ดังนี้
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทัว่ ไปผูต้ อบแบบสอบถาม
ส่วนที่ 2 ทัศนคติของพนักงานที่มีต่อโรงงานนํ้าดื่มวอเตอร์ จังหวัดขอนแก่น
แบบสอบถามฉบับนี้ ผูจ้ ดั ทําจะนําผลที่ได้ไปวิเคราะห์ขอ้ มูลเพื่อเป็ นประโยชน์ต่อโรงงานนํ้าดื่มวอเตอร์
จังหวัดขอนแก่น จึงขอความกรุ ณาจากท่านในการตอบแบบสอบถามตามความเป็ นจริ ง ผูต้ อบแบบสอบถาม
จะไม่ได้รับผลกระทบจากการตอบแบบสอบถามประการใด ผูจ้ ดั ทําขอขอบพระคุณทุกท่านที่กรุ ณาให้ความ
ร่ วมมือเป็ นอย่างดีมา ณ โอกาสนี้ดว้ ย
ส่ วนที่ 1 ข้ อมูลทัว่ ไปของผู้ตอบแบบสอบถาม
1) เพศ ( ) ชาย ( ) หญิง
2) อายุ ( ) ตํ่ากว่า 20 ปี ( ) 20-25 ปี ( ) 21-25 ปี ( ) 26-30 ปี ( ) 31-35 ปี ( ) มากกว่า 35
ปี
3) ตําแหน่ง ( ) การเงินและบัญชี ( ) ฝ่ ายผลิต ( ) ฝ่ ายขาย
ส่ วนที่ 2 ทัศนคติของพนักงานทีม่ ตี ่ อโรงงานนา้ ดืม่ วอเตอร์ จังหวัดขอนแก่ น
คาชี้แจง : กรุ ณาทําเครื่ องหมาย ลงในช่องที่ท่านเห็นว่าตรงตามความเป็ นจริ งที่สุด

ระดับความพึงพอใจ
ทัศนคติของพนักงานทีม่ ตี ่ อโรงงานนา้ ดืม่ วอเตอร์
มาก ปาน น้ อย
จังหวัดขอนแก่ น มาก น้ อย
ทีส่ ุ ด กลาง ทีส่ ุ ด
ด้ านสถานทีป่ ฏิบัตงิ าน
ความสะอาดของโรงงาน
อากาศภายในโรงงานถ่ายเทได้สะดวก
ความปลอดภัยในระหว่างการปฏิบตั ิงาน
การจัดวางสิ่ งของอย่างเป็ นระเบียบ
มีแสงสว่างเพียงพอ
เครื่ องจักรและอุปกรณ์เหมาะสมต่อการใช้งาน
ด้ านสวัสดิการ
ค่าตอบแทนที่ได้รับเพียงพอต่อการดําเนินชีวติ
มีการให้ค่าตอบแทนอย่างเหมาะสมกับงาน
มีค่าตอบแทนอื่นๆนอกจากรายได้หลัก
คุณสามารถใช้วนั หยุด/วันลาได้ตามสิ ทธิ
คุณได้พกั ผ่อนอย่างเต็มที่ในเวลาพัก
ด้ านบุคลากร
ขอบเขตในการทํางานของทุกคนมีความชัดเจน
มีการวางตําแหน่งบุคคลและแบ่งหน้าที่อย่างเหมาะสม
การมีมนุษยสัมพันธ์ระหว่างบุคลากรในโรงงาน
ความมีวนิ ยั ในการปฏิบตั ิงานของพนักงาน
มีการชี้แจงกฎระเบียบให้ทุกคนทราบ
ข้อเสนอแนะ
……………………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………………
ขอขอบพระคุณทุกท่านที่ให้ความร่ วมมือเป็ นอย่างดี
ภาคผนวก ข
GMP (Good Manufacturing Practice) หลักเกณฑ์ วธิ ีการทีด่ ีสาหรับการผลิต
GMP
สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยาได้ดาํ เนินการในเรื่ องนี้เป็ นขั้นตอนตามลําดับ กล่าวคือ เริ่ มจากจัดทํา
โครงการฯ เสนอเพื่อให้สถาบันวิจยั ฯ ให้ความเห็นชอบร่ างหลักการ GMPของอาหารประเภทต่างๆโดยจัดลําดับ
ความสําคัญของผลิตภัณฑ์ที่มีต่อการบริ โภคและต่อเศรษฐกิจของประเทศเช่น นํ้าบริ โภค เครื่ องดื่ม นมพร้อมดื่ม
และอาหารกระป๋ องเป็ นต้น การอบรมกับทั้งผูป้ ระกอบการและเจ้าหน้าที่ภาครัฐให้เข้าไปในหลักการของระบบ มี
การตรวจสอบก่อนและหลังการอบรมให้ความรู ้ พร้อมทั้งมีการประเมินผล และออกใบเกียรติบตั รให้เพื่อเป็ น
แรงจูงใจ ซึ่งการดําเนินงานในครั้งนั้นทั้งหมดเพื่อประเมินและกระตุน้ ผูป้ ระกอบการ ให้มีความสนใจที่จะพัฒนา
สถานที่ผลิตเป็ นระยะต่อเนื่องและหลังจากนั้นในปี 2535 เป็ นต้นมา สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา โดย
กองควบคุมอาหารได้มีมาตรการให้การรับรองระบบ GMP(Certificate GMP) แก่ผปู ้ ระกอบการในลักษณะสมัคร
ใจดังนั้นจากเหตุการณ์ที่ผา่ นมาและสภาวการณ์ในปั จจุบนั จะเห็นว่า GMPไม่ใช่เรื่ องใหม่สาํ หรับผูผ้ ลิตอาหาร จึง
เชื่อว่าถึงเวลาอันสมควรที่ประเทศไทยจะมีการนํา GMP มาเป็ นมาตรการบังคับใช้
GMP (Good Manufacturing Practice) หรื อ หลักเกณฑ์วธิ ีการที่ดีสาํ หรับการผลิต เป็ นการจัดการ
สภาวะแวดล้อมขั้นพื้นฐานของกระบวนการผลิต เช่น การควบคุมสุขลักษณะส่วนบุคคล การควบคุมแมลงและ
สัตว์นาํ โรค การออกแบบโครงสร้างอาคารผลิต รวมถึงเครื่ องจักรอุปกรณ์ที่ใช้ในการผลิต เป็ นต้น ซึ่งเน้นการ
ป้ องกันมากกว่าการแก้ไข เป็ นระบบการจัดการความปลอดภัยของอาหารขั้นพื้นฐาน ( Food Safety Management
System) คือ การจัดการเพื่อไม่ให้อาหารก่อผลกระทบทางลบต่อผูบ้ ริ โภค เมื่ออาหารนั้นถูกเตรี ยมหรื อบริ โภค
ระบบการจัดการความปลอดภัยของอาหารจะสมบูรณ์ เมื่อจัดทําระบบ HACCP (Hazard Analysis and Critical
Control Point) ซึ่งเป็ นการจัดการด้านการควบคุมกระบวนการผลิต โดยจะทําการวิเคราะห์และประเมินอันตราย
ในขั้นตอนการผลิตทั้งหมด ตั้งแต่ตรวจรับวัตถุดิบ จนกระทัง่ เป็ นผลิตภัณฑ์สู่ผบู ้ ริ โภค ว่าจุดใด หรื อ ขั้นตอนใดมี
ความเสี่ ยง ต้องควบคุม ถ้าปราศจากการควบคุมที่จุดนั้นจะทําให้ ผลิตภัณฑ์อาหารไม่ปลอดภัยต่อผูบ้ ริ โภค เรี ยก
จุด หรื อขั้นตอน นั้น ๆ ว่า จุดวิกฤตที่ตอ้ งควบคุม ( Critical Control Point; CCP) จากนั้นหามาตรการควบคุมจุด
วิกฤต เพื่อให้อาหารปลอดภัยต่อผูบ้ ริ โภค
แนวคิดการประกันคุณภาพด้านความปลอดภัยของอาหารโดยใช้ GMP ได้มีการผลักดันเข้าสู่
โครงการมาตรฐานอาหารของ FAO/WHO ซึ่งรับผิดชอบการจัดทํามาตรฐานอาหารระหว่างประเทศ ที่เรี ยกว่า
Codex Alimentarius ซึ่งเป็ นภาษาละติน แปลว่า " Food Code" หรื อ "Food Law" Codex ได้ อ้างอิง GMP ว่าด้วย
สุขลักษณะทัว่ ไปของสหรัฐอเมริ กา และรวบรวมข้อคิดเห็นจากประเทศสมาชิก จัดทําเป็ นข้อแนะนําระหว่าง
ประเทศที่เกี่ยวข้องกับหลักการทัว่ ไปว่าด้วยสุขลักษณะอาหาร (Recommended International Code of Practice:
General Principles of Food Hygiene) และยังได้กาํ หนดวิธีปฏิบตั ิดา้ นสุขลักษณะ ( Code of Hygienic Practice)
เฉพาะสําหรับผลิตภัณฑ์อาหารประเภทต่างไว้ดว้ ย นอกจากนี้ Codex ยังได้จดั ทําข้อแนะนํา การใช้ ระบบการ
วิเคราะห์อนั ตรายและ จุดวิกฤตที่ตอ้ งควบคุม ( Hazard Analysis and Critical Control Point; HACCP) เป็ น
ภาคผนวก หรื อ Annex ใน General Principles of Food Hygiene และผ่านการรับรองจากคณะกรรมาธิการของ
Codex (CAC) เมื่อเดือนมิถุนายน 1997 (พ.ศ. 2540) Codex ได้แนะนําไว้อย่างชัดเจนว่า การจัดทําระบบ HACCP
ให้ได้ผลดี จําเป็ นต้องมีการควบคุมสุขลักษณะที่ดี และมีประสิ ทธิภาพ และขอให้ใช้ขอ้ แนะนําการใช้ระบบ
HACCP ควบคู่กบั หลักการทัว่ ไปว่าด้วยสุขลักษณะอาหารของ Codex ด้วยองค์การการค้าโลก ( World Trade
Organization; WTO) ซึ่งจัดตั้งขึ้นเมื่อ เมษายน 1994 (พ.ศ. 2537) ได้มีการประชุมเกี่ยวกับการค้าเสรี ของ
ผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรกับประเทศสมาชิก คณะกรรมการ Codex ได้มีขอ้ เสนอความตกลงว่าด้วยการประยุกต์ใช้
มาตรการสุขอนามัยและ สุขอนามัยพืช (Agreement on the Application of Sanitary and Phytosanitary Measures;
SPS) และความตกลงว่าด้วยอุปสรรคทางเทคนิคต่อการค้า (Agreement on the Technical Barriers to Trade;TBT)
ข้อตกลง SPS มีวตั ถุประสงค์เพื่อให้ความคุม้ ครองแก่ชีวติ และสุขภาพของมนุษย์ สัตว์ และพืช และ
ป้ องกันไม่ให้มีการกีดกันทางการค้าระหว่างประเทศ ที่ไม่เป็ นธรรม ส่วนข้อตกลง TBT มี วัตถุประสงค์เพื่อ
ป้ องกันการนําข้อกําหนดทางเทคนิคระดับชาติ หรื อระดับภูมิภาค หรื อมาตรฐานทัว่ ไปมาเป็ นข้อกีดกันทางการค้า
อย่างไม่เป็ นธรรม ซึ่งข้อตกลง TBT นี้ครอบคลุมมาตรฐานทุกชนิดรวมทั้งข้อกําหนดทางด้านสุขอนามัยของ
อาหาร
จากข้อตกลง SPS และ TBT ทําให้มาตรฐาน Codex ถูกอ้างอิง และใช้เป็ นเกณฑ์ในด้านความปลอดภัย
ของอาหารต่อผูผ้ ลิตและผูบ้ ริ โภค และสามารถใช้อา้ งอิงกรณี เกิดข้อขัดแย้งทางการค้าระหว่างประเทศ ทําให้
มาตรฐาน Codex มีความสําคัญต่อการค้า ผลิตผลทางการเกษตร และผลิตภัณฑ์อาหาร การจัดการด้านความ
ปลอดภัยของอาหารโดยดําเนินการตาม หลักการทัว่ ไปว่าด้วยสุขลักษณะอาหาร และข้อแนะนําการใช้ระบบ
HACCP ของ Codex จึงมีความสําคัญต่อการค้าระหว่างประเทศเป็ นอย่างยิง่
ล่าสุด USFDA (องค์การอาหารและยาของสหรัฐอเมริ กา) ประกาศให้ใช้ HACCP ในการควบคุมการผลิตนํ้าผัก
และนํ้าผลไม้ มีผลบังคับใช้ วันที่ 22 มกราคม ค.ศ. 2002 (พ.ศ. 2545) โดยขณะนี้มีขอ้ กําหนดบังคับกับนํ้าผักและ
ผลไม้ที่ไม่ผา่ นกระบวนการพาสเจอร์ไรซ์หรื อกระบวนการที่ใกล้เคียงกันต้องระบุคาํ เตือนอย่างชัดเจนที่ฉลากว่า
“เป็ นผลิตภัณฑ์ที่ไม่ผา่ นกระบวนการพาสเจอร์ไรซ์ ดังนั้นอาจมีเชื้อจุลินทรี ยท์ ี่ทาํ ให้เกิดอาหารเป็ นพิษ แก่เด็ก
คนชราและผูท้ ี่มีภูมิตา้ นทานตํ่า"
ประเทศไทย โดยคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุขกําลังจะประกาศให้ GMP ว่าด้วยสุขลักษณะ
ทัว่ ไปเป็ นกฎหมายบังคับ ภายในเดือน กรกฎาคม 2544 โดยบังคับใช้กบั อาหาร 57 ประเภท และกําลังจะมี GMP
เฉพาะผลิตภัณฑ์ ออกมาเรื่ อยๆ เช่น GMP นํ้าดื่ม เป็ นต้น การประกาศเป็ นกฎหมายมีผลให้สถานประกอบการราย
ใหม่ ต้องปฏิบตั ิตามทันที สําหรับผูป้ ระกอบการรายเก่า ต้องปรับปรุ งมาตรฐานให้เป็ นไปตามกฎหมายภายใน 2 ปี
และ อย. ยังได้แนะนําให้สถานประกอบการนําระบบ HACCP ไปใช้ในการควบคุมการผลิต
นอกจากนี้ สํานักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) ได้กาํ หนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
(มอก. 7000-2540) เรื่ องระบบการวิเคราะห์อนั ตราย และจุดวิกฤตที่ตอ้ งควบคุมใน การผลิตอาหารและคําแนะนํา
ในการนําไปใช้ โดยรับเอกสาร Codex Alimentarius Supplement to Volume 1B_1997; Annex to CAC/RCP-1
(1969), Rev. 3 (1997) Hazard Analysis and Critical Control Point (HACCP) System And Guidelines For Its
Application มาใช้ในระดับเหมือนกันทุกประการ
บทบาทของผู้บริหารอุตสาหกรรมอาหารไทยต่ อการจัดทาระบบ GMP และ HACCP
เนื่องจากอุตสาหกรรมอาหารในประเทศไทย มักเริ่ มต้นมาจาก การผลิตขนาดเล็ก บางรายก็ขยายกิจการ
ขึ้นมาจนเป็ นโรงงาน ดังนั้นจึงอาจจะต้องมีการปรับปรุ งเปลี่ยนแปลง กระบวนการ ให้สอดคล้องกับหลักเกณฑ์
ของ GMP และ HACCP ผูบ้ ริ หารจึงมีหน้าที่พิจารณาตัดสิ นใจ การปรับปรุ งเปลี่ยนแปลงที่จาํ เป็ น รวมถึง
งบประมาณที่จาํ เป็ นต้องใช้ นอกจากนี้ยงั ต้องให้การสนับสนุนการจัดทําระบบ HACCP ของทีมงาน เช่นส่งเสริ ม
การฝึ กอบรม ร่ วมพิจารณาแก้ไข้ปัญหา และในฐานะผูน้ าํ องค์กร ควรผลักดันให้พนักงานทุกคน ตระหนักถึง
ความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์ต่อผูบ้ ริ โภค ผูบ้ ริ หารจึงมีบทบาทสําคัญในการพัฒนาอุตสาหกรรมอาหารให้มี
ศักยภาพแข่งขันกับตลาดโลกได้ และถึงแม้จะไม่ได้ส่งออก ก็เป็ นการยกระดับมาตรฐานการผลิตเพื่อลดการนําเข้า
ผลิตภัณฑ์จากต่างประเทศ โดยสรุ ปแล้ว GMP เป็ นการจัดการด้านสุขลักษณะขั้นพื้นฐานที่สาํ คัญในการจัดทํา
ระบบ HACCP องค์กรจึงควรมีการจัดทํา GMP ก่อน โดยอาจจะจัดทําเอกสารมาตรฐานขั้นตอนการปฏิบตั ิงาน
ตามความเหมาะสมของแต่ละองค์กร ในเรื่ องต่างๆ ดังนี้
1. การควบคุมสุขลักษณะส่วนบุคคล
2. การควบคุมแมลงและสัตว์นาํ โรค
3. การควบคุมระบบนํ้าใช้ นํ้าแข็ง และไอนํ้า
4. การควบคุมความสะอาด ของอุปกรณ์และสถานที่การผลิต
5. การควบคุมแก้วและพลาสติกแข็ง
6. การควบคุมสารเคมี
7. การชี้บ่งและสอบกลับผลิตภัณฑ์
8. การกักและปล่อยผลิตภัณฑ์
9. การเรี ยกผลิตภัณฑ์คืน
10. การสอบเทียบอุปกรณ์และเครื่ องมือวัด
11. การควบคุมการขนส่ง
12. การบํารุ งรักษา เครื่ องจักร และอุปกรณ์
13. การกําจัดขยะ
14. การจัดเก็บบันทึก เป็ นต้น
GMP กฎหมาย
คําว่า GMP เป็ นที่คุน้ เคยในวงการอุตสาหกรรมต่างๆไม่วา่ จะเป็ นยา เครื่ องสําอาง และรวมถึงทางด้าน
อาหารด้วย แต่ GMP (Good Manufacturing Practice) ที่เกี่ยวข้องกับอาหารมีที่มา คือ เป็ นคําที่นาํ มาจากกฎหมาย
ของประเทศสหรัฐอเมริ กาที่กาํ หนดอยูใ่ น Code of Federal Regulationtitle ที่ 21 part 110 หากเทียบกับ
มาตรฐานสากลของโครงการมาตรฐานอาหาร FAO/WHO (Codex) จะใช้คาํ ว่า General Principles of Food
Hygiene นักวิชาการทางด้านอาหารใช้คาํ ว่า GMP เนื่องจากเป็ นคําย่อที่เข้าใจตรงกันว่า หมายถึง หลักเกณฑ์วธิ ีการ
ที่ดีในการผลิตอาหาร เป็ นเกณฑ์หรื อข้อกําหนดขั้นพื้นฐานที่จาํ เป็ นในการผลิตและควบคุมเพื่อให้ผผู ้ ลิตปฏิบตั ิ
ตาม และทําให้สามารถผลิตอาหารได้อย่างปลอดภัย โดยเน้นการป้ องกันและขจัดความเสี่ ยงที่อาจจะทําให้อาหาร
เป็ นพิษ เป็ นอันตราย หรื อเกิดความไม่ปลอดภัยแก่ผบู ้ ริ โภค GMP มี 2 ประเภท คือ GMP สุขลักษณะทัว่ ไป หรื อ
General GMP ซึ่งเป็ นหลักเกณฑ์ที่นาํ ไปใช้ปฏิบตั ิสาํ หรับอาหารทุกประเภท อีกประเภทหนึ่ง คือ GMP เฉพาะ
ผลิตภัณฑ์ หรื อ Specific GMP ซึ่งเป็ นข้อกําหนดที่เพิ่มเติมจาก GMP ทัว่ ไป เพื่อมุ่งเน้นในเรื่ องความเสี่ ยงและ
ความปลอดภัยของแต่ละผลิตภัณฑ์อาหารเฉพาะมากยิง่ ขึ้น
GMP เป็ นระบบประกันคุณภาพที่มีการปฏิบตั ิ และพิสูจน์แล้วจากกลุ่มนักวิชาการด้านอาหารทัว่ โลก
แล้วว่าสามารถทําให้อาหารเกิดความปลอดภัย เป็ นที่เชื่อถือยอมรับจากผูบ้ ริ โภค โดยอาศัยหลายปั จจัยที่เชื่อมโยง
สัมพันธ์กนั ดังนั้นหากยิง่ สามารถปฏิบตั ิตามแนวทางที่กาํ หนดได้ท้ งั หมด ก็จะทําให้อาหารมีคุณภาพมาตรฐาน
และมีความปลอดภัยมากที่สุด หลักการของ GMP จึงครอบคลุมตั้งแต่สถานที่ต้ งั ของสถานประกอบการ
โครงสร้างอาคาร ระบบการผลิตที่ดีมีความปลอดภัย และมีคุณภาพได้มาตรฐานทุกขั้นตอน นับตั้งแต่เริ่ มต้นวาง
แผนการผลิต ระบบควบคุมตั้งแต่วตั ถุดิบ ระหว่างการผลิต ผลิตภัณฑ์สาํ เร็ จรู ป การจัดเก็บ การควบคุมคุณภาพ
และการขนส่งจนถึงผูบ้ ริ โภค มีระบบบันทึกข้อมูล ตรวจสอบและติดตามผลคุณภาพผลิตภัณฑ์ รวมถึงระบบการ
จัดการที่ดีในเรื่ องสุขอนามัย (Sanitation และ Hygiene) ทั้งนี้เพื่อให้ผลิตภัณฑ์ข้ นั สุดท้ายมีคุณภาพและความ
ปลอดภัยเป็ นที่มนั่ ใจเมื่อถึงมือผูบ้ ริ โภค และ GMP ยังเป็ นระบบประกันคุณภาพพื้นฐานก่อนที่จะพัฒนาไปสู่
ระบบประกันคุณภาพอื่น ๆ ต่อไป เช่น HACCP (Hazards Analysis and Critical Control Points) และ ISO 9000
อีกด้วย
หลักการพัฒนาแบบค่ อยเป็ นค่ อยไปสาหรับ GMP กฎหมาย
ระบบ GMP อาหาร เข้ามาในประเทศและเป็ นที่รู้จกั ครั้งแรกในปี 2529 ภายใต้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและ
สังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 6 และตลอดระยะเวลาเกือบ 20 ปี ที่ผา่ นมา สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยาได้
ดําเนินการเกี่ยวกับระบบนี้ กล่าวคือ เริ่ มจากการอบรมทั้งกับผูป้ ระกอบการและเจ้าหน้าที่ภาครัฐให้เข้าใจใน
หลักการของระบบ จัดทําโครงการยกระดับมาตรฐานการผลิตอาหารประเภทต่างๆสํานักงานคณะกรรมการ
อาหารและยาได้นาํ ระบบ GMP มาใช้พฒั นาสถานที่ผลิตอาหารของประเทศเป็ นครั้งแรก ในลักษณะส่งเสริ มและ
ยกระดับมาตรฐานการผลิตในอุตสาหกรรมอาหารแก่ผปู ้ ระกอบการแบบสมัครใจ ภายใต้แผนพัฒนาเศรษฐกิจ
และสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 6 และตลอดระยะเวลาเกือบ 20 ปี ที่ผา่ นมาสํานักงานคณะกรรมการอาหารและยาได้
ดําเนินการในเรื่ องนี้เป็ นขั้นตอนตามลําดับ กล่าวคือ เริ่ มจากจัดทําโครงการฯเสนอเพื่อให้สภาวิจยั ฯให้ความ
เห็นชอบ ร่ างหลักเกณฑ์ GMP ของอาหารประเภทต่างๆ โดยจัดลําดับความสําคัญของผลิตภัณฑ์ที่มีต่อการบริ โภค
และต่อเศรษฐกิจของประเทศ เช่น นํ้าบริ โภค เครื่ องดื่ม นมพร้อมดื่ม และอาหารกระป๋ อง เป็ นต้น การอบรมทั้งกับ
ผูป้ ระกอบการและเจ้าหน้าที่ภาครัฐให้เข้าใจในหลักการของระบบ มีการตรวจสอบก่อนและหลังการอบรมให้
ความรู ้ พร้อมทั้งมีการประเมินผลและออก ใบเกียรติบตั รให้เพื่อเป็ นแรงจูงใจ ซึ่งการดําเนินการในครั้งนั้นทั้งหมด
เพื่อประเมินและกระตุน้ ผูป้ ระกอบการ ให้มีความสนใจที่จะพัฒนาสถานที่ผลิตเป็ นระยะอย่างต่อเนื่อง และ
หลังจากนั้นในปี 2535 เป็ นต้นมา สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยาโดยกองควบคุมอาหาร ได้มีมาตรการให้
การรับรองระบบ GMP (Certificate GMP) แก่ผปู ้ ระกอบการในลักษณะสมัครใจ ดังนั้น จากเหตุการณ์ที่ผา่ นมา
และสภาวการณ์ ในปั จจุบนั จะเห็นว่า GMP ไม่ใช่เรื่ องใหม่สาํ หรับผูผ้ ลิตอาหาร จึงเชื่อว่าถึงเวลาอันสมควรที่
ประเทศไทยจะมีการนํา GMP มาเป็ นมาตรการบังคับใช้
แนวทางและขั้นตอนสู่ GMP กฎหมาย
GMP ที่นาํ มาเป็ นมาตรการบังคับใช้เป็ นกฎหมายนั้น ได้นาํ แนวทางข้อกําหนดเป็ นไปตามของ
Codex ซึ่งเป็ นที่ยอมรับของสากล แต่มีการปรับในรายละเอียดบางประเด็นหรื อเป็ นการปรับให้ง่ายขึ้น
(Simplify) เพื่อให้เหมาะสมกับศักยภาพของผูผ้ ลิตอาหารภายในประเทศซึ่งสามารถปฏิบตั ิได้จริ ง แต่ยงั มี
ข้อกําหนดที่เป็ นหลักการที่สาํ คัญเหมือนกับของ Codex แต่สามารถนําไปใช้ได้กบั สถานประกอบการทุกขนาดทุก
ประเภท ทุกผลิตภัณฑ์ ตามสภาพการณ์ของประเทศไทย นอกจากนี้ยงั เป็ นการพัฒนามาตรฐานสูงขึ้นมาจาก
หลักเกณฑ์ข้ นั พื้นฐาน (Minimum Requirement) ที่สาํ นักงานคณะกรรมการอาหารและยาใช้ในการพิจารณา
อนุญาตผลิต จึงเป็ นเกณฑ์ซ่ ึงทั้งผูป้ ระกอบการและเจ้าหน้าที่รู้จกั คุน้ เคยกันดีและปฏิบตั ิกนั อยูแ่ ล้ว เพียงแต่จะต้อง
มีการปฏิบตั ิในรายละเอียดบางประเด็นที่เคร่ งครัดและจริ งจังมากขึ้น ซึ่งอาจกล่าวได้วา่ GMP สุขลักษณะทัว่ ไปนี้
ผูป้ ระกอบการสามารถนําไปปฏิบตั ิตามได้ ในขณะที่กฎระเบียบข้อบังคับของหลักการสําคัญก็มีความน่าเชื่อถือใน
ระดับสากลสําหรับ GMP เฉพาะผลิตภัณฑ์ (Specific GMP) นั้น สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยาได้
กําหนดให้น้ าํ บริ โภคเป็ นผลิตภัณฑ์แรกที่ผปู ้ ระกอบการจะต้องปฏิบตั ิตาม GMP เฉพาะ เนื่องจากการผลิตมี
กระบวนการที่ไม่ซบั ซ้อนและลงทุนไม่มาก ประกอบกับในยุคเศรษฐกิจปั จจุบนั มีผผู ้ ลิตเพิ่มขึ้นเป็ นจํานวนมาก
จากการตรวจสอบจํานวนผูป้ ระกอบการที่ได้รับอนุญาตจากสํานักงานคณะกรรมการอาหารและยาและสํานักงาน
สาธารณสุขจังหวัดทัว่ ประเทศ ในปี 2546 มีประมาณ 4,000 รายทัว่ ประเทศ ซึ่งส่วนใหญ่ผปู ้ ระกอบการรายย่อยมี
การผลิตโดยไม่คาํ นึงถึงความปลอดภัยของผูบ้ ริ โภค ทําให้เกิดปั ญหาการปนเปื้ อนเชื้อจุลินทรี ยใ์ นผลิตภัณฑ์ ซึ่ง
ทําให้ผลิตภัณฑ์ไม่ปลอดภัยต่อผูบ้ ริ โภค สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยาจึงเห็นว่าจําเป็ นที่จะต้องมี
มาตรการและหาวิธีการแก้ไขและป้ องกันในเรื่ องนี้อย่างจริ งจังมากขึ้น ทั้งนี้ให้เน้นการควบคุมสถานที่และ
กระบวนการผลิต โดยใช้หลักการของ GMP เฉพาะผลิตภัณฑ์เข้ามาเป็ นหลักเกณฑ์บงั คับทางกฎหมาย เพื่อให้
ผูผ้ ลิตนํ้าบริ โภคตระหนัก มีการควบคุม ตรวจสอบ และเห็นความสําคัญในเรื่ องคุณภาพมาตรฐานและความ
ปลอดภัยของผลิตภัณฑ์ หลักการของ GMP นํ้าบริ โภคใช้แนวทางของกฎหมายอเมริ กาที่กาํ หนดอยูใ่ น Code of
Federal Regulation title ที่ 21 part 129 Processing and bottling of bottled drinking water และมาตรฐานสากล
Codex (Code of Hygiene Practice for Bottled/Packaged Drinking Waters) ซึ่งสอดคล้องกับ GMP สุขลักษณะ
ทัว่ ไปที่เป็ นกฎหมาย เพียงแต่มีการขยายเนื้อหาในหมวดที่เกี่ยวกับกระบวนการผลิตให้เป็ นไปตามขั้นตอนที่
ถูกต้องของผลิตภัณฑ์น้ าํ บริ โภค เพื่อให้ผผู ้ ลิตสามารถควบคุมได้ครบถ้วนทุกจุดของการผลิตมากยิง่ ขึ้น
กระบวนการต่างๆก่อนที่จะนํามาซึ่งเป็ นเกณฑ์ GMP กฎหมาย หลังจากที่มีแนวคิดดังกล่าวข้างต้น สํานักงาน
คณะกรรมการอาหารและยาโดยกองควบคุมอาหารได้มีคณะทํางานเพื่อจัดทํา (ร่ าง) หลักเกณฑ์ GMP และ
นําเสนอคณะอนุกรรมการกําหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการผลิต นําเข้า หรื อส่งออกซึ่งอาหาร (อ.1) ที่แต่งตั้ง
โดยคณะกรรมการอาหารตามคําสัง่ ที่ 1/2539 ลงวันที่ 19 กันยายน 2539 หลังจากนั้นนํา (ร่ าง) หลักเกณฑ์ที่ผา่ น
การพิจารณาจากคณะอนุกรรมการฯ (อ.1) แล้ว เวียนให้เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องทัว่ ประเทศ รวมถึงสมาคมฯ ชมรมฯ
ที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมอาหารและนํ้าบริ โภค เพื่อให้ขอ้ คิดเห็นเพิ่มเติมและมีการนํามาปรับแก้ไข จนถึง
ขั้นตอนสุดท้ายได้นาํ เข้าคณะกรรมการอาหารเพื่อนําเสนอเป็ นประกาศกระทรวงสาธารณสุขต่อไป มาตรการ
GMP เป็ นการปรับเปลี่ยนระบบโดยใช้กฎหมายเป็ นมาตรการรองรับ ซึ่งจะเป็ นวิธีที่จะทําให้เกิดผลสัมฤทธิ์ในเชิง
รู ปธรรมได้อย่างแท้จริ ง แต่การเปลี่ยนแปลงในลักษณะดังกล่าวในระยะเริ่ มแรกซึ่งเป็ นระยะการปรับตัวของ
ระบบ ย่อมก่อให้เกิดผลกระทบหรื อปั ญหาอุปสรรคแก่ผทู ้ ี่เกี่ยวข้องโดยเฉพาะอย่างยิง่ ต่อผูป้ ระกอบการด้าน
อาหารทั้งหมดของประเทศ ดังนั้นจึงได้มีการกําหนดให้มีระยะเวลาผ่อนผัน เพื่อประโยชน์ในการปรับตัวและ
เตรี ยมความพร้อมของสถานประกอบการ GMP ที่เป็ นกฎหมาย 2 ฉบับ คือ ประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่
193) พ.ศ.2543 และ (ฉบับที่ 239) พ.ศ.2544 เรื่ อง วิธีการผลิต เครื่ องมือเครื่ องใช้ในการผลิต และการเก็บรักษา
อาหาร (GMPสุขลักษณะทัว่ ไป) และประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 220) พ.ศ.2544 เรื่ อง นํ้าบริ โภคใน
ภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท (ฉบับที่ 3) (GMP นํ้าบริ โภค) มีผลบังคับใช้สาํ หรับผูผ้ ลิตอาหารรายใหม่ ตั้งแต่วนั ที่ 24
กรกฎาคม 2544 ส่วนรายเก่ามีผลบังคับใช้ต้ งั แต่วนั ที่ 24 กรกฎาคม 2546
ข้ อกาหนด GMP สุ ขลักษณะทัว่ ไป
(ครอบคลุมอาหาร 54 ประเภท ขณะนีแ้ ละกาลังดาเนินการให้ ครอบคลุมทุกประเภท)
มีอยู่ 6 ข้อกําหนด ดังนี้
1. สถานที่ต้ งั และอาคารผลิต
2. เครื่ องมือเครื่ องจักรและอุปกรณ์ในการผลิตกระบวนการผลิต
4. การสุขาภิบาล
5. การบํารุ งรักษาและการทําความสะอาด
6. บุคลากรและสุขลักษณะ
ในแต่ละข้อกาหนดมีวตั ถุประสงค์หลักเพื่อให้ผผู ้ ลิตมีมาตรการป้ องกันการปนเปื้ อน อันตรายทั้ง
ทางด้านจุลินทรี ย ์ เคมีและกายภาพลงสู่ผลิตภัณฑ์ ซึ่งอาจมาจากสิ่ งแวดล้อม ตัวอาคาร เครื่ องจักร อุปกรณ์ที่ใช้การ
ดาเนินงานในแต่ละขั้นตอนการผลิต รวมถึงการจัดการในด้านสุขอนามัยทั้งในส่วนของ ความสะอาด การ
บารุ งรักษา และผูป้ ฏิบตั ิงาน
ข้ อกาหนด GMP นา้ บริโภค (GMP เฉพาะผลิตภัณฑ์ )
มีอยู่ 11 ข้อกําหนด ดังนี้
1. สถานที่ต้ งั และอาคารผลิต
2. เครื่ องมือ เครื่ องจักร และอุปกรณ์การผลิต
3. แหล่งนํ้า
4. การปรับคุณภาพนํ้า
5. ภาชนะบรรจุ
6. สารทําความสะอาดและฆ่าเชื้อ
7. การบรรจุ
8. การควบคุมคุณภาพมาตรฐาน
9. การสุขาภิบาล
10. บุคลากรและสุขลักษณะผูป้ ฏิบตั ิงาน
11. บันทึกและรายงาน
วัตถุประสงค์ในแต่ละข้อกําหนดเช่นเดียวกับ GMP สุขลักษณะทัว่ ไป เพียงแต่ GMP นํ้าบริ โภคเน้น
ประเด็นการควบคุมกระบวนการผลิตนํ้าบริ โภค โดยขยายรายละเอียดในการควบคุมเพื่อป้ องกันการปนเปื้ อน
ชัดเจนยิง่ ขึ้น ตั้งแต่ขอ้ 3-8 ซึ่งเป็ นขั้นตอนในการผลิต และมีการเพิ่มเติมในส่วนของบันทึกและรายงาน เพื่อให้
ผูผ้ ลิตเห็นความสําคัญและประโยชน์ในการเก็บข้อมูล รายงาน บันทึกที่เกี่ยวข้อง เช่น ผลวิเคราะห์แหล่งนํ้าและ
ผลิตภัณฑ์ เป็ นต้น ซึ่งจะช่วยป้ องกันหรื อแก้ไขเมื่อเกิดปั ญหากับผลิตภัณฑ์
มาตรการการดาเนินงาน
เนื่องจากหลักเกณฑ์ GMP มีผลบังคับใช้ตามกฎหมายตามที่กล่าวข้างต้น ซึ่งหากผูผ้ ลิตไม่ปฏิบตั ิตามจะ
เป็ นการฝ่ าฝื นประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 193) พ.ศ.2543 และ (ฉบับที่ 239) พ.ศ.2544 และ (ฉบับที่
220) พ.ศ.2544 ซึ่งออกตามความในมาตรา 6(7) แห่งพระราชบัญญัติอาหาร พ .ศ.2522 และมีโทษตามมาตรา 49
ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท แต่อย่างไรก็ตามในช่วงระยะเวลาก่อนที่กฎหมายจะมีผลบังคับใช้
เพื่อให้ผผู ้ ลิตสามารถปฏิบตั ิตามเกณฑ์ GMP ดังกล่าวได้สาํ นักงานคณะกรรมการอาหารและยาโดยกองควบคุม
อาหาร จึงได้มีการดําเนินการภายใต้โครงการผลักดัน ผูป้ ระกอบการด้านความพร้อม GMP กฎหมาย ตั้งแต่ปี
2540 เป็ นต้นมา ทั้งในลักษณะการอบรมผูป้ ระกอบการและเจ้าหน้าที่ทวั่ ประเทศ จัดทําสื่ อคู่มือที่เกี่ยวข้อง เช่น
คู่มือการผลิต คู่มือการตรวจสถานที่ผลิตของ สํานักงานสาธารณสุขจังหวัดทัว่ ประเทศ รวมทั้งคําสัง่ ต่างๆที่
เกี่ยวข้องเพื่อให้เจ้าหน้าที่สามารถปฏิบตั ิงานได้และเป็ นไปในทิศทางเดียวกัน ตลอดจนการประชาสัมพันธ์ทางสื่ อ
อย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะเป็ นการช่วยผูผ้ ลิตให้สามารถดําเนินการเมื่อกฎหมายมีผลบังคับใช้ และหลังจากนั้นคงต้องมี
การพัฒนาหลักเกณฑ์ GMP กฎหมายนี้ ให้มีมาตรฐานเทียบเท่ากับหลักการของสากลมากขึ้น เพื่อให้สอดคล้อง
กับนโยบายของรัฐที่วา่ อาหารที่ส่งออกและอาหารที่จาํ หน่ายภายในประเทศต้องมีคุณภาพมาตรฐานและความ
ปลอดภัยเท่ากัน นัน่ คือ จะต้องไม่มีคาํ ว่า double standard นัน่ เอง ซึ่งทั้งนี้ท้ งั นั้นทุกฝ่ ายไม่วา่ ผูผ้ ลิตเจ้าหน้าที่ของ
รัฐ รวมทั้งภาคการศึกษา จะต้อประสานงานร่ วมมือกันเพื่อให้ได้มาซึ่งสุขภาพที่ดีของประชาชนคนไทย ดังนั้น จะ
เห็นว่าสํานักงานคณะกรรมการอาหารและยามิใช่แต่จะใช้มาตรการทางกฎหมายเพื่อคุม้ ครองผูบ้ ริ โภคแต่เพียง
อย่างเดียว แต่จะให้ความสําคัญของการพัฒนาเชิงระบบอย่างครบวงจรโดยมีการส่งเสริ ม สนับสนุน ทั้ง
ผูป้ ระกอบการและเจ้าหน้าที่ผปู ้ ฏิบตั ิ เพื่อให้ได้มาซึ่งสถานที่ผลิตที่ได้มาตรฐานผลิตภัณฑ์อาหารที่ถูกสุขลักษณะ
และความปลอดภัยของประชาชนผูบ้ ริ โภค ซึ่งสํานักงานคณะกรรมการอาหารและยาจะต้องดําเนินการอย่าง
ต่อเนื่อง เพื่อให้บรรลุถึงเป้ าหมายของการคุม้ ครองผูบ้ ริ โภคและขณะนี้สาํ นักงานคณะกรรมการอาหารและยาโดย
กองควบคุมอาหาร กําลังจัดทํา GMP นมพร้อมดื่ม และ GMP อาหารกระป๋ อง ซึ่งเป็ น GMP เฉพาะ ถัดจาก GMP
นํ้าบริ โภค คาดว่าจะประกาศออกมาเป็ นกฎหมายในเร็ วๆนี้ โดยให้ระยะเวลาผูป้ ระกอบการในการปรับปรุ งแก้ไข
1 ปี ถัดจากวันที่ประกาศลงราชกิจจานุเบกษา ซึ่งกองควบคุมอาหารจะนํามาลงใน website ต่อไป
ประกาศกระทรวงสาธารณสุข
(ฉบับที่ 193) พ.ศ.2543
เรื่ อง วิธีการผลิต เครื่ องมือเครื่ องใช้ในการผลิต และการเก็บรักษาอาหาร
-----------------------------------------
โดยที่เป็ นการสมควรให้มีมาตรการการประกันคุณภาพของอาหารเพื่อให้อาหารมีคุณภาพ
มาตรฐาน และเพื่อคุม้ ครองผูบ้ ริ โภคให้ได้รับอาหารที่ปลอดภัย
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 5 และมาตรา 6(7) แห่งพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ.2522
อันเป็ นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิ ทธิและเสรี ภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29
ประกอบกับมาตรา 35 มาตรา 48 และมาตรา 50 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยบัญญัติให้กระทําได้โดย
อาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย รัฐมนตรี วา่ การกระทรวงสาธารณสุขออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้อาหารดังต่อไปนี้ เป็ นอาหารที่กาํ หนดวิธีการผลิต เครื่ องมือเครื่ องใช้ในการผลิต และ
การเก็บรักษาอาหาร
(1) อาหารทารกและอาหารสูตรต่อเนื่องสําหรับทารกและเด็ก
(2) อาหารเสริ มสําหรับทารกและเด็กเล็ก
(3) นมดัดแปลงสําหรับทารกและนมดัดแปลงสูตรต่อเนื่องสําหรับทารกและเด็กเล็ก
(4) นํ้าแข็ง
(5) นํ้าบริ โภคในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท
(6) เครื่ องดื่มในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท
(7) อาหารในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท
(8) นมโค
(9) นมเปรี้ ยว
(10) ไอศกรี ม
(11) นมปรุ งแต่ง
(12) ผลิตภัณฑ์ของนม
(13) วัตถุเจือปนอาหาร
(14) สี ผสมอาหาร
(15) วัตถุที่ใช้ปรุ งแต่งรสอาหาร
(16) โซเดียมซัยคลาเมตและอาหารที่มีโซเดียมซัยคลาเมต
(17) อาหารสําหรับผูท้ ี่ตอ้ งการควบคุมนํ้าหนัก
(18) ชา
(19) กาแฟ
(20) นํ้าปลา
(21) นํ้าที่เหลือจากการผลิตโมโนโซเดียมกลูตาเมต
(22) นํ้าแร่ ธรรมชาติ
(23) นํ้าส้มสายชู
(24) นํ้ามันและไขมัน
(25) นํ้ามันถัว่ ลิสง
(26) ครี ม
(27) นํ้ามันเนย
(28) เนย
(29) เนยแข็ง
(30) กี
(31) เนยเทียม
(32) อาหารกึ่งสําเร็ จรู ป
(33) ซอสบางชนิด
(34) นํ้ามันปาล์ม
(35) นํ้ามันมะพร้าว
(36) เครื่ องดื่มเกลือแร่
(37) นํ้านมถัว่ เหลืองในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท (ยกเว้นที่มีสถานที่ผลิตที่ไม่เข้าลักษณะ
เป็ นโรงงานตามกฎหมายว่าด้วยโรงงาน)
(38 )ช็อกโกแลต
(39) แยม เยลลี มาร์มาเลด ในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท
(40) อาหารที่มีวตั ถุประสงค์พิเศษ
(41) ไข่เยีย่ วม้า
(42) รอยัลเยลลีและผลิตภัณฑ์รอยัลเยลลี
(43) ผลิตภัณฑ์ปรุ งรสที่ได้จากการย่อยโปรตีนของถัว่ เหลือง
(44) นํ้าผึ้ง (ยกเว้นที่มีสถานที่ผลิตที่ไม่เข้าลักษณะเป็ นโรงงานตามกฎหมายว่าด้วยโรงงาน)
(45) ข้าวเติมวิตามิน
(46) แป้ งข้าวกล้อง
(47) นํ้าเกลือปรุ งอาหาร
(48) ซอสในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท
(49) ขนมปั ง
(50) หมากฝรั่งและลูกอม
(51) วุน้ สําเร็ จรู ปและขนมเยลลี่
(52) อาหารที่มีวตั ถุที่ใช้เพื่อรักษาคุณภาพหรื อมาตรฐานของอาหารรวมอยูใ่ นภาชนะบรรจุ
(53) ผลิตภัณฑ์กระเทียม
(54) ผลิตภัณฑ์จากเนื้อสัตว์
(55) วัตถุแต่งกลิ่นรส
(56) อาหารที่มีส่วนผสมของว่านหางจระเข้
(57) อาหารแช่เยือกแข็ง
ข้อ 2 ผูผ้ ลิตอาหารตามข้อ 1 เพื่อจําหน่ายต้องปฏิบตั ิตามวิธีการผลิต เครื่ องมือเครื่ องใช้ใน
การผลิต และการเก็บรักษาอาหาร ที่กาํ หนดไว้ในบัญชีแนบท้ายประกาศนี้
ข้อ 3 ผูน้ าํ เข้าอาหารตามข้อ 1 เพื่อจําหน่าย ต้องจัดให้มีใบรับรองวิธีการผลิต เครื่ องมือ
เครื่ องใช้ในการผลิต และการเก็บรักษาอาหาร ไม่ต่าํ กว่าเกณฑ์ที่กาํ หนดไว้ในบัญชีแนบท้ายประกาศนี้
ข้อ 4 ให้ผทู ้ ี่ได้รับใบอนุญาตผลิตอาหาร หรื อใบสําคัญการขึ้นทะเบียนตํารับอาหาร หรื อใบสําคัญการใช้
ฉลากอาหาร ตามข้อ 1 ก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บงั คับที่ปฏิบตั ิไม่เป็ นไปตามข้อ 2 หรื อข้อ 3 ทําการปรับปรุ งแก้ไข
หรื อจัดให้มีใบรับรองแล้วแต่กรณี ให้ถูกต้องตามประกาศนี้ภายในสองปี นับแต่วนั ที่ประกาศนี้ใช้บงั คับ
ข้อ 5 ประกาศนี้ ให้ใช้บงั คับเมื่อพ้นกําหนดหนึ่งร้อยแปดสิ บวัน นับแต่วนั ถัดจากวันประกาศ
ในราชกิจจานุเบกษาเป็ นต้นไป

ประกาศ ณ วันที่ 19 กันยายน พ.ศ.2543


กร ทัพพะรังสี
(นายกร ทัพพะรังสี )
รัฐมนตรี วา่ การกระทรวงสาธารณสุข
บัญชีแนบท้ายประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 193) พ.ศ.2543
เรื่ อง วิธีการผลิต เครื่ องมือเครื่ องใช้ในการผลิต และการเก็บรักษาอาหาร ตามหลักเกณฑ์วธิ ีการที่ดีในการผลิตอาหารว่าด้วยสุขลักษณะทัว่ ไป
การผลิตอาหารจะต้องมีการกําหนดวิธีการผลิต เครื่ องมือ เครื่ องใช้ในการผลิต และการเก็บรักษาอาหาร ซึ่งการดําเนินการดังกล่าวนั้นจะต้องคํานึงถึงสิ่ งต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
ลําดับที่ หัวข้อ เนื้อหา
1. สถานที่ต้ งั และอาคารผลิต 1.1 สถานที่ต้ งั ตัวอาคารและที่ใกล้เคียง ต้องอยูใ่ นที่ที่จะไม่ทาํ ให้อาหารที่ผลิตเกิดการปนเปื้ อนได้ง่าย โดย
1.1.1 สถานที่ต้ งั ตัวอาคารและบริ เวณโดยรอบสะอาด ไม่ปล่อยให้มีการสะสมสิ่ งที่ไม่ใช้แล้ว หรื อสิ่ งปฏิกลู อันอาจเป็ นแหล่งเพาะพันธุ์
สัตว์และแมลง รวมทั้งเชื้อโรคต่าง ๆ ขึ้นได้
1.1.2 อยูห่ ่างจากบริ เวณหรื อสถานที่ที่มีฝนมากผิ
ุ่ ดปกติ
1.1.3 ไม่อยูใ่ กล้เคียงกับสถานที่น่ารังเกียจ
1.1.4 บริ เวณพื้นที่ต้ งั ตัวอาคารไม่มีน้ าํ ขังแฉะและสกปรก และมีท่อระบายนํ้าเพื่อให้ไหลลงสู่ทางระบายนํ้าสาธารณะ
ในกรณี ที่สถานที่ต้ งั ตัวอาคารซึ่งใช้ผลิตอาหารอยูต่ ิดกับบริ เวณที่มีสภาพไม่เหมาะสม หรื อไม่เป็ นไปตามข้อ 1.1.1-1.1.4 ต้องมีกรรมวิธี
ที่มีประสิ ทธิภาพในการป้ องกันและกําจัดแมลงและสัตว์นาํ โรค ตลอดจนฝุ่ นผงและสาเหตุของการปนเปื้ อนอื่น ๆ ด้วย
1.2 อาคารผลิตมีขนาดเหมาะสม มีการออกแบบและก่อสร้างในลักษณะที่ง่ายแก่การทะนุบาํ รุ งสภาพ รักษาความสะอาด และสะดวกใน
การปฏิบตั ิงาน โดย
1.2.1 พื้น ฝาผนัง และเพดานของอาคารสถานที่ผลิต ต้องก่อสร้างด้วยวัสดุที่คงทน เรี ยบ ทําความสะอาด และซ่อมแซมให้อยูใ่ นสภาพที่
ดีตลอดเวลา
1.2.2 ต้องแยกบริ เวณผลิตอาหารออกเป็ นสัดส่วน ไม่ปะปนกับที่อยูอ่ าศัย
1.2.3 ต้องมีมาตรการป้ องกันสัตว์และแมลงไม่ให้เข้าในบริ เวณอาคารผลิต
1.2.4 จัดให้มีพ้นื ที่เพียงพอที่จะติดตั้งเครื่ องมือและอุปกรณ์ที่ใช้ในการผลิตให้เป็ นไปตามสายงานการผลิตอาหารแต่ละประเภทและ
แบ่งแยกพื้นที่การผลิตเป็ นสัดส่วนเพื่อป้ องกันการปนเปื้ อนอันอาจเกิดขึ้นกับอาหารที่ผลิตขึ้น
1.2.5 ไม่มีสิ่งของที่ไม่ใช้แล้วหรื อไม่เกี่ยวข้องกับการผลิตอยูใ่ นบริ เวณผลิต
1.2.6 จัดให้มีแสงสว่างและการระบายอากาศที่เหมาะสมเพียงพอสําหรับการปฏิบตั ิงานภายในอาคารผลิต

2. เครื่ องมือ เครื่ องจักร และ 2.1 ภาชนะหรื ออุปกรณ์ในการผลิตที่สมั ผัสกับอาหาร ต้องทําจากวัสดุที่ไม่ทาํ ปฏิกิริยากับอาหารอันอาจเป็ นอันตรายต่อผูบ้ ริ โภค
อุปกรณ์ในการผลิต 2.2 โต๊ะที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการผลิตในส่วนที่สมั ผัสกับอาหาร ต้องทําด้วยวัสดุที่ไม่เกิดสนิม ทําความสะอาดง่าย และไม่ทาํ ให้
เกิดปฏิกิริยาที่อาจเป็ นอันตรายแก่สุขภาพของผูบ้ ริ โภค โดยมีความสูงเหมาะสมและมีเพียงพอในการปฏิบตั ิงาน
2.3 การออกแบบติดตั้งเครื่ องมือ เครื่ องจักร และอุปกรณ์ที่ใช้เหมาะสมและคํานึงถึงการปนเปื้ อนที่อาจจะเกิดขึ้น รวมทั้งสามารถทํา
ความสะอาดตัวเครื่ องมือ เครื่ องจักร และบริ เวณที่ต้ งั ได้ง่ายและทัว่ ถึง
2.4 เครื่ องมือ เครื่ องจักร และอุปกรณ์ในการผลิต ต้องเพียงพอต่อการปฏิบตั ิงาน

3. การควบคุมกระบวนการผลิต 3.1 การดําเนินการทุกขั้นตอนจะต้องมีการควบคุมตามหลักสุขาภิบาลที่ดีต้ งั แต่การตรวจรับวัตถุดิบและส่วนผสมในการผลิตอาหาร การ


ขนย้าย การจัดเตรี ยม การผลิต การบรรจุ การเก็บรักษาอาหาร และการขนส่ง
3.1.1 วัตถุดิบและส่วนผสมในการผลิตอาหาร ต้องมีการคัดเลือกให้อยูใ่ นสภาพที่สะอาด มีคุณภาพดี เหมาะสําหรับใช้ในการผลิตอาหาร
สําหรับบริ โภค ต้องล้างหรื อทําความสะอาดตามความจําเป็ นเพื่อขจัดสิ่ งสกปรก หรื อสิ่ งปนเปื้ อนที่อาจติดหรื อปนมากับวัตถุน้ นั ๆและ
ต้องเก็บรักษาวัตถุดิบภายใต้สภาวะที่ป้องกันการปนเปื้ อนได้โดยมีการเสื่ อมสลายน้อยที่สุด และมีการหมุนเวียนสต๊อกของวัตถุดิบและ
ส่วนผสมอาหารอย่างมีประสิ ทธิภาพ
3.1.2 ภาชนะบรรจุอาหารและภาชนะที่ใช้ในการขนถ่ายวัตถุดิบและส่วนผสมในการผลิตอาหาร ตลอดจนเครื่ องมือที่ใช้ในการนี้ตอ้ งอยู่
ในสภาพที่เหมาะสมและไม่ทาํ ให้เกิดการปนเปื้ อนกับอาหารในระหว่างการผลิต
3.1.3 นํ้าแข็งและไอนํ้าที่ใช้ในกระบวนการผลิตที่สมั ผัสกับอาหาร ต้องมีคุณภาพมาตรฐานตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่ อง
นํ้าแข็งและนํ้าบริ โภค และการนําไปใช้ในสภาพที่ถูกสุขลักษณะ
3.1.4 นํ้าที่ใช้ในกระบวนการผลิตอาหาร ต้องเป็ นนํ้าสะอาดบริ โภคได้ มีคุณภาพมาตรฐานตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่ อง นํ้า
บริ โภค และการนําไปใช้ในสภาพที่ถูกสุขลักษณะ
3.1.5 การผลิต การเก็บรักษา ขนย้าย และขนส่งผลิตภัณฑ์อาหาร ต้องป้ องกันการปนเปื้ อนและป้ องกันการเสื่ อมสลายของอาหารและ
ภาชนะบรรจุดว้ ย
3.1.6 การดําเนินการควบคุมกระบวนการผลิตทั้งหมด ให้อยูภ่ ายใต้สภาวะที่เหมาะสม
3.2 จัดทําบันทึกและรายงานอย่างน้อยดังต่อไปนี้
3.2.1 ผลการตรวจวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์
3.2.2 ชนิดและปริ มาณการผลิตของผลิตภัณฑ์และวันเดือนปี ที่ผลิตโดยให้เก็บบันทึกและรายงานไว้อย่างน้อย 2 ปี

4. การสุขาภิบาล 4.1 นํ้าที่ใช้ภายในโรงงาน ต้องเป็ นนํ้าสะอาดและจัดให้มีการปรับคุณภาพนํ้าตามความจําเป็ น


4.2 จัดให้มีหอ้ งส้วมและอ่างล้างมือหน้าห้องส้วมให้เพียงพอสําหรับผูป้ ฏิบตั ิงาน และต้องถูกสุขลักษณะ มีอุปกรณ์ในการล้างมืออย่าง
ครบถ้วน และต้องแยกต่างหากจากบริ เวณผลิต หรื อไม่เปิ ดสู่บริ เวณผลิตโดยตรง
4.3 จัดให้มีอ่างล้างมือในบริ เวณผลิตให้เพียงพอและมีอุปกรณ์การล้างมืออย่างครบถ้วน
4.4 จัดให้มีวธิ ีการป้ องกันและกําจัดสัตว์และแมลงในสถานที่ผลิตตามความเหมาะสม
4.5 จัดให้มีภาชนะรองรับขยะมูลฝอยที่มีฝาปิ ดในจํานวนที่เพียงพอ และมีระบบกําจัดขยะมูลฝอยที่เหมาะสม
4.6 จัดให้มีทางระบายนํ้าทิ้งและสิ่ งโสโครกอย่างมีประสิ ทธิภาพ เหมาะสม และไม่ก่อให้เกิดการปนเปื้ อนกลับเข้าสู่กระบวนการผลิต
อาหาร
5. การบํารุ งรักษาและ 5.1 ตัวอาคารสถานที่ผลิตต้องทําความสะอาดและรักษาให้อยูใ่ นสภาพสะอาดถูกสุขลักษณะโดยสมํ่าเสมอ
การทําความสะอาด 5.2 ต้องทําความสะอาด ดูแลและเก็บรักษาเครื่ องมือ เครื่ องจักร และอุปกรณ์ในการผลิตให้อยูใ่ นสภาพที่สะอาดทั้งก่อนและหลังการ
ผลิตสําหรับชิ้นส่วนของเครื่ องมือเครื่ องจักรต่าง ๆ ที่อาจเป็ นแหล่งสะสมจุลินทรี ย ์ หรื อก่อให้เกิดการปนเปื้ อนอาหาร สามารถทําความ
สะอาดด้วยวิธีที่เหมาะสมและเพียงพอ
5.3 พื้นผิวของเครื่ องมือและอุปกรณ์การผลิตที่สมั ผัสกับอาหาร ต้องทําความสะอาดอย่างสมํ่าเสมอ
5.4 เครื่ องมือ เครื่ องจักร และอุปกรณ์ในการผลิต ต้องมีการตรวจสอบและบํารุ งรักษาให้อยูใ่ นสภาพใช้งานได้อย่างมีประสิ ทธิภาพ
สมํ่าเสมอ
5.5 การใช้สารเคมีที่ใช้ลา้ งทําความสะอาด ตลอดจนเคมีวตั ถุที่ใช้เกี่ยวข้องกับการผลิตอยูภ่ ายใต้เงื่อนไขที่ปลอดภัย และการเก็บรักษา
วัตถุดงั กล่าวจะต้องแยกเป็ นสัดส่วนและปลอดภัย

6. บุคลากรและสุขลักษณะ 6.1 ผูป้ ฏิบตั ิงานในบริ เวณผลิตต้องไม่เป็ นโรคติดต่อหรื อโรคน่ารังเกียจตามที่กาํ หนดโดยกฎกระทรวง หรื อมีบาดแผลอันอาจก่อให้เกิด
ผูป้ ฏิบตั ิงาน การปนเปื้ อนของผลิตภัณฑ์
6.2 เจ้าหน้าที่ผปู ้ ฏิบตั ิงานทุกคนในขณะที่ดาํ เนินการผลิตและมีการสัมผัสโดยตรงกับอาหาร หรื อส่วนผสมของอาหาร หรื อส่วนใดส่วน
หนึ่งของพื้นที่ผิวที่อาจมีการสัมผัสกับอาหาร ต้อง
6.2.1 สวมเสื้ อผ้าที่สะอาดและเหมาะสมต่อการปฏิบตั ิงาน กรณี ที่ใช้เสื้ อคลุมก็ตอ้ งสะอาด
6.2.2 ล้างมือให้สะอาดทุกครั้งก่อนเริ่ มปฏิบตั ิงาน และหลังการปนเปื้ อน
6.2.3 ใช้ถุงมือที่อยูใ่ นสภาพสมบูรณ์และสะอาดถูกสุขลักษณะ ทําด้วยวัสดุที่ไม่มีสารละลายหลุดออกมาปนเปื้ อนอาหารและของเหลว
ซึมผ่านไม่ได้ สําหรับจับต้องหรื อสัมผัสกับอาหาร กรณี ไม่สวมถุงมือต้องมีมาตรการให้คนงานล้างมือ เล็บ แขนให้สะอาด
6.2.4 ไม่สวมใส่เครื่ องประดับต่าง ๆ ขณะปฏิบตั ิงาน และดูแลสุขอนามัยของมือและเล็บให้สะอาดอยูเ่ สมอ
6.2.5 สวมหมวก หรื อผ้าคลุมผม หรื อตาข่าย
6.3 มีการฝึ กอบรมเจ้าหน้าที่ผปู ้ ฏิบตั ิงานเกี่ยวกับสุขลักษณะทัว่ ไป และความรู ้ทวั่ ไปในการผลิตอาหารตามความเหมาะสม
6.4 ผูท้ ี่ไม่เกี่ยวข้องกับการผลิต ปฏิบตั ิตามข้อ 6.1-6.2 เมื่ออยูใ่ นบริ เวณผลิต
ประกาศกระทรวงสาธารณสุข
(ฉบับที่ 239) พ.ศ.2544
เรื่ อง แก้ไขเพิ่มเติมประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 193) พ.ศ.2543
---------------------------------------------------
โดยที่เป็ นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมประกาศว่าด้วยเรื่ อง วิธีการผลิต เครื่ องมือเครื่ องใช้ในการผลิตและการเก็บ
รักษาอาหาร
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 5 และมาตรา 6(7) แห่งพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ.2522 อันเป็ นพระราชบัญญัติที่
มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิ ทธิและเสรี ภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29ประกอบกับมาตรา 35 มาตรา
48 และมาตรา 50 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยบัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่ง
กฎหมาย รัฐมนตรี วา่ การกระทรวงสาธารณสุขออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้ยกเลิกความในข้อ 1(21) (52) และ (56) ของประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 193) พ.ศ.2543 เรื่ อง
วิธีการผลิต เครื่ องมือเครื่ องใช้ในการผลิต และการเก็บรักษาอาหาร ลงวันที่ 19 กันยายน พ.ศ.2543
ข้อ 2 ให้ยกเลิกความในข้อ 1(57) แห่งประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 193) พ.ศ.2543 เรื่ องวิธีการผลิต
เครื่ องมือเครื่ องใช้ในการผลิต และการเก็บรักษาอาหาร ลงวันที่ 19 กันยายน พ.ศ.2543 และให้ใช้ความต่อไปนี้
แทน
“(57) อาหารแช่เยือกแข็งที่ได้ผา่ นการเตรี ยม (prepared) และหรื อการแปรรู ป (processed”
ข้อ 3 ประกาศนี้ ให้ใช้บงั คับตั้งแต่วนั ถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็ นต้นไป

ประกาศ ณ วันที่ 11 กันยายน พ.ศ.2544


สุดารัตน์ เกยุราพันธุ์
รัฐมนตรี วา่ การกระทรวงสาธารณสุข
123

ประกาศกระทรวงสาธารณสุข
(ฉบับที่ 284) พ.ศ. 2547
เรื่ อง นํ้าบริ โภคในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท (ฉบับที่ 5)
-----------------------------------------------
เนื่องจากปั จจุบนั นํ้าบริ โภคเป็ นอาหารที่ตอ้ งมีการควบคุมสถานที่ผลิตอาหาร ให้เป็ นไปตามมาตรฐานตาม
ข้อกําหนดในประกาศกระทรวงสาธารณสุขที่วา่ ด้วยเรื่ อง วิธีการผลิต เครื่ องมือเครื่ องใช้ในการผลิต และการ
เก็บรักษาอาหาร ไว้เป็ นการเฉพาะแล้ว จึงเห็นควรปรับปรุ งมาตรการการควบคุมนํ้าบริ โภคในภาชนะบรรจุที่
ปิ ดสนิทใหม่ ให้เหมาะสมต่อสภาพการณ์ปัจจุบนั
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 5 และมาตรา 6(3) (6)(7) และ(10) แห่งพระราชบัญญัติอาหารพ .ศ.2522 อัน
เป็ นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํา กัดสิ ทธิและเสรี ภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29
ประกอบกับมาตรา 35 มาตรา 39 มาตรา 48 และมาตรา 50 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยบัญญัติให้
กระทํา ได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย รัฐมนตรี วา่ การกระทรวงสาธารณสุขออกประกาศไว้
ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้ยกเลิกความในข้อ 2 แห่งประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 61 (พ.ศ.2524) เรื่ องนํ้าบริ โภคใน
ภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท ลงวันที่ 7 กันยายน พ.ศ.2524 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 2 ให้น้ าํ บริ โภคใน
ภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท เป็ นอาหารที่กาํ หนดคุณภาพหรื อมาตรฐาน”
ข้อ 2 ให้ผผู ้ ลิตหรื อนําเข้านํ้าบริ โภคที่ได้รับใบสําคัญการขึ้นทะเบียนตํา รับอาหาร หรื อใบสําคัญการใช้ฉลาก
อาหารตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 61 (พ.ศ.2524) เรื่ อง นํ้าบริ โภคในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท
ลงวันที่ 7 กันยายน พ.ศ.2524 และประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 135 (พ.ศ.2534) เรื่ อง นํ้าบริ โภคใน
ภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2534 และประกาศกระทรวงสาธารณสุข
(ฉบับที่ 220) พ.ศ.2544 เรื่ อง นํ้าบริ โภคในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 24 กรกฎาคม
พ.ศ.2544 และประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 256) พ.ศ.2545 เรื่ อง นํ้าบริ โภคในภาชนะบรรจุที่ปิด
สนิท (ฉบับที่ 4) ลงวันที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ.2545 ซึ่งออกให้ก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บงั คับใช้เลขสารบบ
อาหารดังกล่าวต่อไปได้ โดยถือว่าได้จดทะเบียนรายละเอียดของอาหารตามประกาศฉบับนี้แล้ว
ข้อ 3 ประกาศนี้ ให้ใช้บงั คับตั้งแต่วนั ถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็ นต้นไป

ประกาศ ณ วันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2547


(ลงชื่อ) สุดารัตน์ เกยุราพันธุ์
(นางสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์)
รัฐมนตรี วา่ การกระทรวงสาธารณสุข
124

ภาคผนวก ค
มาตรฐานและกฎหมายทีเ่ กีย่ วข้ องกับการควบคุมนา้ บริโภคในภาชนะบรรจุทปี่ ิ ดสนิท
125

คุณภาพและมาตรฐานนา้
คุณภาพนา้ ทางด้ านกายภาพ เคมี และชีวภาพ

คุณภาพนํ้าเป็ นสภาพของนํ้าที่ปรากฏให้ทราบว่านํ้ามีลกั ษณะเหมาะแก่การนําไปใช้อุปโภคบริ โภคหรื อ


ใช้ในกิจกรรมอื่นๆ ได้หรื อไม่ คุณภาพนํ้าบางตัวสามารถบอกได้ดว้ ยวิธีง่าย ๆ โดยใช้ประสาทสัมผัส การมองเห็น
หรื อการสัมผัสได้ เช่น สี ความขุ่น กลิ่น ฯลฯ แต่บางครั้งสารบางอย่างไม่สามารถตรวจสอบด้วยวิธีง่าย ๆ ได้ เช่น
เชื้อโรค สารพิษต่าง ๆ ที่ละลายปะปนอยูใ่ นนํ้านั้น เป็ นต้น
สําหรับการพิจารณา เกี่ยวกับคุณภาพของนํ้าจะต้องพิจารณาคุณสมบัติท้ งั 3 ประการคือ
1) คุณสมบัติทางกายภาพ ต้องปราศจากความขุ่น ตะกอน รส กลิ่น สี โดยปกติแล้วคุณสมบัติทางกายภาพนี้
สามารถมองเห็นได้ดว้ ยตาเปล่า จึงมักจะบอกได้ทนั ทีวา่ นํ้านั้นมีคุณภาพดีหรื อไม่ดีได้
2) คุณสมบัติทางเคมี ได้แก่ แร่ ธาตุและสารเคมีต่าง ๆ ที่อาจจะมีปะปนอยูใ่ นนํ้าสารเคมีที่ละลายนํ้าอยูใ่ นนํ้าบาง
ชนิดก็เป็ นพิษรุ นแรงมากและบางชนิดก็จะเกิดสะสมขึ้นในร่ างกายและเป็ นอันตรายต่อสุขภาพ สารเคมีดงั กล่าวนี้
เช่น เหล็ก ตะกัว่ ทองแดง สารหนู เซเลเนียม ไซยาไนด์ ฟอสเฟต ฟลูออไรด์ จึงจําเป็ นจะต้องได้รับการตรวจ
คุณภาพทางด้านเคมีให้แน่ชดั เสี ยก่อนว่าไม่มีสารเคมีต่างๆปะปนอยูใ่ นนํ้าเกินกว่ามาตรฐานของนํ้าดื่ม
3) คุณสมบัติทางชีววิทยา ได้แก่ เชื้อจุลินทรี ยต์ ่าง ๆ ที่อาจจะมีปะปนมากับนํ้า โดยเฉพาะนํ้าดื่มจะต้องปราศจาก
เชื้อโรคปะปนเชื้อโรคที่อาจจะมีปะปนมากับนํ้าเราไม่อาจจะมองเห็นได้ดว้ ยตาเปล่าจําเป็ นจะต้องมีการตรวจสอบ
ทางห้องปฏิบตั ิการจึงจะทราบได้และเนื่องจากเชื้อจุลินทรี ยห์ ลายชนิดสามารถมีชีวติ อยูไ่ ด้ในนํ้าแต่อาจจะไม่ทาํ
ให้เกิดโรคเชื้อจุลินทรี ยด์ งั กล่าวถึงแม้วา่ จะมีอยูใ่ นนํ้าบ้างก็ไม่น่าจะเป็ นอันตราย แต่เชื้อจุลินทรี ยด์ งั กล่าวนั้นบาง
ชนิดอาจก่อให้เกิดโรคระบาดได้
สําหรับรายละเอียดเกี่ยวกับคุณสมบัติของนํ้าทั้งทางด้านกายภาพ เคมี และชีวะ สามารถพิจารณาได้ ดังนี้
คุณภาพนา้ ทางกายภาพ (Physical Quality)
เป็ นลักษณะของความสกปรกในนํ้าที่ปรากฏ ให้เห็นได้ดว้ ยประสาทสัมผัสทั้งห้าคุณสมบัติ
เหล่านี้ ได้แก่ สี (Color) กลิ่น (Odor) รส (Tastes) ความขุ่น (Turbidity) และ อุณหภูมิ (Temperature)
1) ความขุ่น (Tubidity) ได้แก่น้ าํ มีตะกอนแขวนลอย ดินละเอียด อินทรี ยส์ าร อนินทรี ยส์ าร แพลงตอน
และจุลินทรี ยส์ าร เกิดปั ญหาด้านอนามัยสิ่ งแวดล้อมในด้านความน่าดื่มน่าใช้
2) สี (Color) เกิดจากการหมักหมมทับถมกันของพืชใบไม้ เศษวัสดุ อินทรี ยต์ ่าง ๆ นอกจากนี้ยงั อาจเกิดจากการ
ปนเปื้ อนจากกิจกรรมต่าง ๆ ของมนุษย์ ได้แก่น้ าํ ทิ้งจากบ้านเรื อนและอุตสาหกรรม มีปัญหาต่อด้านสิ่ งแวดล้อม
3) กลิ่น (Odor) เกิดจากการที่น้ าํ มีจุลินทรี ยบ์ างชนิด เช่น สาหร่ าย ฯลฯ หรื อเกิดจากการย่อยสลายอินทรี ยสารใน
นํ้า ในภาวะขาดแก๊สออกซิเจน ทําให้เกิดแก๊สไข่เน่า (H2S) หรื อ เกิดจากการปนเปื้ อนจากนํ้าทิ้ง จากโรงงาน
อุตสาหกรรม ทําให้น้ าํ ไม่น่าดื่มและใช้สอยหรื อสร้างเหตุรําคาญ
4) รสชาติ (Taste) เกิดจากการละลายนํ้าของพวกเกลืออนินทรี ย ์ เช่น เกลือทองแดง เกลือเหล็ก เกลือโพแทสเซียม
เกลือโซเดียม หรื อสังกะสี ทําให้เกิดปั ญหาสิ่ งแวดล้อม อุณหภูมิ (Temperature) เปลี่ยนแปลงตามธรรมชาติ
เนื่องจากดินฟ้ าอากาศแต่บางโอกาสเกิดจากนํ้าทิ้งในกิจกรรมต่าง ๆ จากมนุษย์หรื อจากโรงงานอุตสาหกรรม ทํา
ให้เกิดผลกระทบต่อสิ่ งมีชีวติ ในแหล่งนํ้าทั้งทางตรงและทางอ้อม โดยที่สิ่งมีชีวติ ในนํ้าอาจตายได้ ในกรณี ที่
126

อุณหภูมิของนํ้าทิ้งสูงเกินไป และยังมีผลให้การละลายของออกซิเจนในนํ้าลดลงอีกด้วย ตามประกาศของ


กระทรวงอุตสาหกรรม ยอมให้อุณหภูมิของนํ้าที่ปล่อยลงสู่แหล่งนํ้าสาธารณะได้ไม่เกิน 40º C
คุณภาพนา้ ทางเคมี (Chemical Quality)
มาจากแร่ ธาตุ สารต่าง ๆ ที่ละลายปะปนอยูใ่ นนํ้า เป็ นลักษณะความสกปรกในนํ้าที่ไม่สามารถมองเห็นด้วย
ตาได้ แร่ ธาตุและสารต่าง ๆ ที่ละลายปะปนอยูใ่ นนํ้า จะทําให้คุณสมบัติของนํ้าตามธรรมชาติเปลี่ยนแปลงไป ซึ่ง
ถ้ามีปริ มาณมากเกินไป ก็จะเป็ นอันตรายต่อสิ่ งมีชีวติ ในนํ้าและอาจจะสะสมอยูใ่ นห่วงโซ่อาหารได้สารต่าง ๆ
เหล่านี้ ได้แก่ ความเป็ นกรด (Acidity) ความเป็ นด่าง (Alkalinity) ความกระด้าง (Hardness) เหล็ก (Iron)
แมงกานีส (Manganese) คลอไรด์ (Chlorides) ฟลูออไรด์ (Fluorides) และสารพิษอื่น ๆ (Toxic substances)
1) พีเอช (pH) พีเอช เป็ นค่าที่แสดงปริ มาณความเข้มข้นของอนุภาคไฮโดรเจน [H+] ในนํ้า ค่า พีเอช แสดงถึง
ความเป็ นกรดหรื อด่างของสารละลาย นํ้าทิ้งที่มีสมบัติเป็ นกรดจะมีค่า พีเอช น้อยกว่า 7 เป็ นด่างจะมีค่าพีเอช
มากกว่า 7 และเป็ นกลางจะมีพีเอชเท่ากับ 7 ค่าพีเอช ของนํ้าทิ้งมีความสําคัญในการบําบัด ซึ่งจําเป็ นต้องควบคุมค่า
พีเอชของนํ้าทิ้งให้คงที่หรื อควบคุมให้อยูใ่ นช่วงที่จาํ กัดไว้
2) ความกระด้างของนํ้า (Hardness) เมื่อทําปฏิกิริยากับสบู่แล้ว สบู่เกิดฟองได้ยาก สาเหตุของความกระด้างเกิด
จากเกลือ ไบคาร์บอเนต (HCO¯) เกลือ (SO4¯) เกลือคลอไรด์ (Cl¯) และเกลือ (NO3¯) รวมตัวกับธาตุต่าง ๆ ได้แก่
แคลเซียม (Ca) แมกนีเซียม (Mg) แบ่งความกระด้างเป็ นกระด้างชัว่ คราว กับกระด้างถาวร
3) ความเป็ นด่างของนํ้า (Alkalinity) ปริ มาณความจุของกรดเข้มข้นในอันที่จะทําให้น้ าํ เป็ นกลาง เป็ นการหาว่านํ้า
จะต้องใช้กรดทําให้เป็ นกลางเท่าไร ซึ่งเกิดจากเกลือคาร์บอเนต ไบคาร์บอเนตและ ไฮดรอกไซด์ของธาตุต่าง ๆ
ความสําคัญด้านอนามัยสิ่ งแวดล้อม ไม่มีความเกี่ยวข้องต่อสุขภาพอนามัยของมนุษย์โดยตรงเพียงแต่ทาํ ให้รสชาติ
ของนํ้าไม่น่าบริ โภค ความเป็ นด่างจะทําหน้าที่เป็ นตัวคุมพีเอชของนํ้า และความมีฤทธิ์ในการกัดกร่ อนของนํ้า
4) ความเป็ นกรดของนํ้า (Acidity) ปริ มาณความเข้มข้นที่ตอ้ งการจะทําให้น้ าํ เป็ นกลางซึ่งบ่งชี้ได้โดยค่าพีเอช
ความเป็ นกรดของนํ้า อาจเกิดจากกรดแร่ (Strong mineral acid) กรดกํามะถัน (Sulfuric acid) กรดไนตริ ก (nitric
acid) ฯลฯ หรื อเกิดจากกรดอ่อน (Weak acid) เช่น กรดคาร์บอนิค (Carbonic acid) กรดอะซิติค (acetic acid) ฯลฯ
หรื อเกิดจากเกลือต่าง ๆ เช่น เฟอร์รัสซัสเฟต (ferrous sulfate) เกลืออลูมินมั ซัลเฟต (aluminum sulfate) ฯลฯ นํ้าที่
มี พีเอชตํ่ากว่า 8.5 จะมีค่าความเป็ นกรด โดยธรรมชาติน้ าํ จะมีความเป็ นกรดเพราะมีแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์
(CO2) ละลายอยูใ่ นนํ้าจากแหล่งนํ้าผิวดินและนํ้าใต้ดิน
5) เหล็กและแมงกานีส (Iron and Manganese) ธาตุเหล็ก โดยทัว่ ๆ ไปอยูใ่ นนํ้าในรู ปสารไม่ละลายนํ้า (Insoluble
form) ในรู ป เฟอริ คออกไซด์ (Ferric oxide = Fe2O3) ในดินบางแห่งจะมีเฟอรัสคาร์บอเนต ซึ่งละลายนํ้าได้
เล็กน้อย เหล็กละลายนํ้าได้ดีที่พีเอชตํ่ากว่า 3.5 ความสําคัญทางด้านอนามัยสิ่ งแวดล้อม เหล็กและแมงกานีสที่อยู่
ในนํ้าตามธรรมชาติแล้วไม่เป็ นอันตรายต่อการบริ โภค ถ้ามีเหล็กมากกว่า 1-2 มิลลิกรัมต่อลิตร นํ้าก็จะมีรสหวาน
ปนขม (Bitter sweet) ถ้าอยูใ่ นรู ปของสารไม่ละลายนํ้าทําให้น้ าํ มีสีและขุ่นทําให้ไม่น่าใช้ถา้ ในนํ้ามีเหล็กและ
แมงกานีส ถ้านําไปซักเสื้ อผ้าเครื่ องนุ่งห่มจะทําให้เกิดรอยด่างบนเสื้ อผ้าและจะทําให้เครื่ องสุขภัณฑ์หรื อเครื่ องใช้
ต่าง ๆ มีคราบสี น้ าํ ตาลแดงหรื อดํา
6) คลอไรด์ (Chloride) ที่ละลายอยูใ่ นนํ้าจะมีปริ มาณความเข้มข้นแตกต่างกันไปขึ้นอยูก่ บั พื้นดินหรื อชั้นดินที่มี
ปริ มาณคลอไรด์ นํ้าธรรมชาติรับคลอไรด์จากหลายทาง อาจมาจากสิ่ งปฏิกลู โดยเฉพาะนํ้าปั สสาวะจะมีปริ มาณ
127

คลอไรด์สูง จากปฏิกลู ของมนุษย์มีคลอไรด์ออกมาวันละประมาณ 16 กรัม/คน/วันความสําคัญทางด้าน


สิ่ งแวดล้อม ถ้มีปริ มาณคลอไรด์น้ าํ มากจะทําให้รสชาติของนํ้าไม่น่าบริ โภค
7) ฟลูออไรด์ (Fluoride) นํ้าธรรมชาติมกั ไม่มีฟลูออไรด์ละลายอยู่ แต่มีความสําคัญต่อสุขภาพฟัน ถ้าฟลูออไรด์
มากกว่า 3 มิลลิกรัมต่อลิตร จะทําให้เกิดฟันเป็ นคราบ (Dental fluorosis) ถ้ามีฟลูออไรด์นอ้ ยเกินไปทําให้เกิดโรค
ฟันเปราะ (Dental carries) ขนาดที่เหมาะสมในนํ้าดื่มคือ 1 มิลลิกรัมต่อลิตร
8) ตะกัว่ (Lead) ตามธรรมชาติจะไม่มีตะกัว่ มักจะเกิดจากกิจกรรมของมนุษย์และการอุตสาหกรรม ท่อไอเสี ย
ของเครื่ องยนต์ การใช้สีผสมตะกัว่ การใช้ยาฆ่าแมลงในการเกษตร เครื่ องสําอาง ฯลฯความสําคัญทางด้าน
สิ่ งแวดล้อม แม้จะมีสารตะกัว่ ละลายอยูไ่ ม่มากนักก็คงจะเป็ นอันตรายต่อการบริ โภคนํ้าได้ เพราะตะกัว่ มีฤทธิ์
สะสม ปริ มาณในนํ้าไม่ควรเกิน 0.05 มิลลิกรัมต่อลิตร ซึ่งจะไม่ทาํ ให้เกิดการสะสมกลายเป็ นโรคพิษของตะกัว่ จะ
บัน่ ทอนสมองและระบบประสาท
9) ทองแดง (Copper) มักไม่เกิดจากธรรมชาติ สาเหตุเกิดจากมนุษย์และโรงงานอุตสาหกรรมหรื อ เกิดจากการใช้
สารจุนสี (CuSO4) ในการทําลายสาหร่ าย ความสําคัญทางด้านอนามัยสิ่ งแวดล้อม ทองแดงมีความสําคัญต่อ
สิ่ งมีชีวติ ทุกชนิด โดยเฉพาะมนุษย์ ซึ่งต้องการบริ โภคจากอาหารเฉลี่ยวันละประมาณ 2 มิลลิกรัม ถ้าขาดทองแดง
จะทําให้เป็ นโรคโลหิ ตจางได้ ถ้ามีปริ มาณมากแม้เพียง 0.25 – 1.0 มิลลิกรัมต่อลิตรก็เป็ นพิษต่อปลา ถ้ามี 0.5
มิลลิกรัมต่อลิตร จะทําให้ภาชนะกระเบื้องเคลือบเป็ นคราบรอยด่าง ในนํ้าดื่มมีปริ มาณ 1 – 1.5 มิลลิกรัมต่อลิตร
จะทําให้น้ าํ มีรสขม
10. สังกะสี (Zinc) ในนํ้าผิวดินมักจะมีสงั กะสี ละลายอยูไ่ ม่เกิน 1.0 มิลลิกรัมต่อลิตร การเกิดสังกะสี ละลายอยูใ่ น
นํ้า อาจเกิดจากสาเหตุ ท่อนํ้าหรื อภาชนะที่ทาํ ด้วยเหล็กอาบสังกะสี ยางรถยนต์ ฯลฯ ความสําคัญทางด้านอนามัย
สิ่ งแวดล้อม ถ้าร่ างกายขาดธาตุสงั กะสี จะเกิดโรคแคระแกรน (Dwarfism) ในนํ้ามีปริ มาณสังกะสี ประมาณ 0.5
มิลลิกรัมต่อลิตร หรื อมากกว่านี้จะทําให้ผิวนํ้าเกิดเป็ นคราบนํ้ามัน ถ้ามีปริ มาณ 5 มิลลิกรัมต่อลิตร อาจทําให้น้ าํ มี
รสชาติขม ขนาดประมาณ 25 – 40 มิลลิกรัมต่อลิตร อาจทําให้เกิดอาการคลื่นไส้อาเจียน
11. ไนไตรต์ (Nitrite) ในนํ้าธรรมชาติที่ไม่ได้รับการปนเปื้ อนจากสิ่ งสกปรกนั้นจะไม่มีไนไตรต์ละลายอยู่ ไน
ไตรต์เกิดจากปฏิกิริยาชีวเคมีของจุลินทรี ยใ์ นการออกซิเดชัน่ พวกแอมโมเนีย ก่อนที่จะกลายเป็ นไนเตรต
ความสําคัญทางด้านอนามัยสิ่ งแวดล้อมในนํ้ามีไนไตรต์ละลายอยูแ่ สดงว่านํ้าได้รับการปนเปื้ อนจากสิ่ งสกปรกที่มี
อินทรี ยสารเป็ นองค์ประกอบ ไม่ควรให้มีในนํ้าดื่มเกินกว่า 1 มิลลิกรัมต่อลิตร เพราะจะทําให้เกิดโรคในเด็กทารก
คือ โรค blue babies ทําให้มีอาการ cyanosis คือมีภาวะที่ผิวหนังเป็ นสี เขียว (นํ้าเงิน) เนื่องจากขาดเลือดขาด
ออกซิเจนทําให้ถึงตายได้ มักเกิดในเด็กทารกที่มีอายุต่าํ กว่า 3 เดือนเป็ นส่วนใหญ่
12. ไนเตรต (Nitrate) มีอยูใ่ นนํ้าธรรมชาติในปริ มาณที่นอ้ ย ในนํ้ามีไนเตรตก็อาจจะถูกเปลี่ยนกลับไปเป็ นไน
ไตรต์ได้ในสภาวะที่ไม่มีอากาศหรื อออกซิเจนในนํ้า ความสําคัญทางด้านอนามัยสิ่ งแวดล้อม ไนเตรตละลายอยูใ่ น
นํ้านอกจากเป็ นภาวะบ่งชี้วา่ นํ้าอาจได้รับการปนเปื้ อนจากสิ่ งสกปรก ทําให้เกิดโรคในเด็กทารกได้เช่นเดียวกับ
การที่นาํ มีไนไตรต์ เพราะมันสามารถเปลี่ยนรู ปกันได้ ถ้าในนํ้ามีไนเตรตละลายอยูป่ ริ มาณมากอาจทําให้เกิดการ
เจริ ญเติบโตของพืชนํ้าได้ดีโดยเฉพาะพวกสาหร่ าย
13 .แก๊สไฮโดรเจนซัลไฟด์ (Hydrogen Sulfide) มักพบในนํ้าใต้ดินโดยธรรมชาติซ่ ึงเกิดจากปฏิกิริยาการย่อยสลาย
สารอินทรี ยข์ องจุลินทรี ยใ์ นสภาวะขาดอากาศแล้วจะถูกละลายกับนํ้าในขณะที่น้ าํ ไหลผ่านไปในชั้นของดิน
128

สังเกตได้จากการที่น้ าํ มีกลิ่นไข่เน่า ความสําคัญทางด้านอนามัยสิ่ งแวดล้อม ในนํ้าดื่มไม่ควรมีปริ มาณมากกว่า


0.05 มิลลิกรัมต่อลิตร ถ้ามีประมาณ 70 มิลลิกรัมต่อลิตรจะทําให้เกิดความระคายเคืองต่อเยือ่ บุต่าง ๆ ของร่ างกาย
ถ้ามีประมาณ 700 มิลลิกรัมต่อลิตรจะมีความเป็ นพิษสูง ผลเสี ยอื่น ๆ เกิดการกัดกร่ อนภาชนะหรื อท่อนํ้า ทําให้
เสื้ อผ้าและเครื่ องสุขภัณฑ์ต่าง ๆ มีคราบสี ดาํ
14. สารหนู (Arsenic) อาจเกิดในนํ้าตามธรรมชาติเนื่องจากการไหลของนํ้าผ่านชั้นดินหรื อหิ นที่มีสารหนู อาจเกิด
จากกิจกรรมของมนุษย์อนั ได้แก่การใช้ยาฆ่าศัตรู พืช หรื อสัตว์ หรื อปุ๋ ย หรื อผงซักฟอกที่มีสารหนูเป็ น
องค์ประกอบ ความสําคัญทางด้านอนามัยสิ่ งแวดล้อม สารหนูเป็ นพิษต่อสิ่ งมีชีวติ มีส่วนเกี่ยวข้องกับการทําให้เกิด
มะเร็ งผิวหนัง นํ้าดื่มไม่ควรมีสารหนูละลายอยูม่ ากกว่า 0.05 มิลลิกรัมต่อลิตร
15. พวกไตรฮาโลมีเธน (Trihalomethanes=THMs) พวกไตรฮาโลมีเธน Chloro – organic Compounds เชื่อกันว่า
เกิดจากการทําปฏิกิริยาระหว่างคลอรี นหรื อพวกฮาโลเจนอื่น ๆ กับสารมิวนิคและฟุลวิคหรื อสารที่เกิดจากการย่อย
สลายอินทรี ยส์ ารอื่น ๆ ซึ่งพวกไตรฮาโลมีเธนนี้รวมถึงคลอโรฟอร์ม (Chloroform) โบรโมฟอร์ม (Bromoform)
และไดคลอโรไอโอมีเธน (Dichloroiodomethane) ความสําคัญทางด้านอนามัยสิ่ งแวดล้อม คาดการณ์วา่ การที่น้ าํ
ดื่มมีไตรฮาโลมีเธนอาจทําให้เกิดมะเร็ ง กําหนดมาตรฐานนํ้าดื่มสําหรับประปา ควรให้มีค่า THMs ไม่เกิน 100
ไมโครกรัมต่อลิตร
คุณภาพนา้ ทางชีวภาพ (Biological Quality)
มาจากจุลินทรี ย ์ (Micro-organisms) ที่อาศัยอยูใ่ นนํ้า จุลินทรี ยท์ ี่สาํ คัญ ได้แก่ แบคทีเรี ย ไวรัส รา โปรโต
ซัว โรติเฟอร์ ครัสเตเซียม สาหร่ าย นํ้าที่มีจุลินทรี ยม์ ากจะเกิดมลพิษที่มีผลกับสุขภาพได้โดยตรง อาจก่อให้เกิด
โรคระบาดที่มีน้ าํ เป็ นสื่ อได้ โดยเฉพาะอย่างยิง่ โรคระบบทางเดินอาหารที่สาํ คัญมักเกิดจากเชื้อแบคทีเรี ยที่ก่อโรค
(Pathogens) ปนเปื้ อนอยูใ่ นอาหารและนํ้า แล้วทําให้เกิดโรคต่าง ๆ เช่น อหิ วาตกโรค ไทฟอยด์ พาราไทฟอยด์ บิด
ชนิดมีตวั ไวรัสตับอักเสบ เป็ นต้น
จุลินทรี ยท์ ี่อยูใ่ นนํ้ามีท้ งั จุลินทรี ยท์ ี่ไม่ทาํ ให้เกิดโรค และจุลินทรี ยท์ ี่ทาํ ให้เกิดโรค
1) จุลินทรี ยท์ ี่ไม่ทาํ ให้เกิดโรค (Nonpathogenic microorganism) ได้แก่พวก บัคเตรี โปรโตซัว สาหร่ าย หรื อรา
บางชนิด ซึ่งนอกจากจะไม่ทาํ ให้เกิดโรคแล้วยังมีส่วนช่วยในการย่อยสลายสิ่ งสกปรกในนํ้า สําหรับนํ้าเพื่อการ
อุปโภคบริ โภคมักไม่ตอ้ งการให้มีจุลินทรี ยอ์ ยูเ่ ลยหรื อให้มีจาํ นวนน้อยมากเท่าไรได้ยงิ่ ดี
2) จุลินทรี ยท์ ี่ทาํ ให้เกิดโรค (Pathogenic microorganism) มีมากมายหลายชนิดมีท้ งั ชนิดที่ก่อให้เกิดอาการของ
โรคอย่างรุ นแรงถึงตายได้ ไปจนถึงเพียงแค่มีอาการเจ็บป่ วยเล็กน้อย ได้แก่ ไวรัส บัคเตรี โปรโตซัว และ
หนอนพยาธิ เชื้อโรคสามารถดํารงชีวติ อยูใ่ นนํ้าได้เป็ นเวลานานอาจจะหลายชัว่ โมง หลายเดือน หรื อหลายปี
ขึ้นอยูก่ บั หลายปั จจัย ได้แก่ รู ปลักษณ์ของมัน เช่น เป็ นเซลล์ปรกติ หรื อเป็ นสปอร์ หรื อเป็ นไข่ ฯลฯ ถ้ามันอยูใ่ น
รู ปของสปอร์ก็จะคงอยูใ่ นนํ้าได้ทนทาน หรื อทางด้านสิ่ งแวดล้อมที่เชื้อโรคนั้น ๆ อาศัยอยู่ เช่น อุณหภูมิ ความชื้น
อาหารถ้ามันอยูใ่ นสิ่ งแวดล้อมที่เหมาะสม อาจจะเพิ่มจํานวนมากขึ้นจนอาจเป็ นอันตรายต่อสุขภาพได้ จะกล่าวถึง
จุลินทรี ยท์ ี่อาจทําให้เกิดโรคโดยมีน้ าํ เป็ นตัวนําโรค ดังนี้
ก) ไวรัส (Virus) เป็ นจุลินทรี ยท์ ี่มีขนาดเล็กมากที่สุดไม่สามารถมองเห็นได้ดว้ ยตาเปล่า ต้องใช้กล้องจุลทรรศน์ที่
มีกาํ ลังขยายพิเศษ ไวรัสที่อาจพบแพร่ กระจายในนํ้า ได้แก่ไวรัสที่ทาํ ให้เกิดโรคตับอักเสบชนิด เอ (Infectious
hepatitis type A) หรื อไวรัสที่ทาํ ให้เกิดอาการท้องร่ วงอย่างรุ นแรงในเด็ก (Gastroenteritis Viral) เป็ นต้น
129

ข) บัคเตรี (Bacteria) เป็ นจุลินทรี ยท์ ี่มีขนาดโตกว่าไวรัสสามารถใช้กล้องจุลทรรศน์ธรรมดาขนาดกําลังขยาย 100


เท่าก็มองเห็นได้ มีเซลล์เดียว ใช้อาหารในรู ปของสารละลาย พบได้ทุกหนทุกแห่งโยเฉพาะที่ ๆ มีสิ่งแวดล้อม
เอื้ออํานวย เช่น มีความชื้นและอาหารบัคเตรี มีรูปร่ างเป็ น 3 แบบ คือรู ปร่ างกลม (spherical) ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง
ประมาณ 0.5-1.0 ไมครอน รู ปร่ างเป็ นแท่ง (cylindrical หรื อ rod) ความกว้างประมาณ 0.5-1.0 ไมครอน ความยาว
ประมาณ 1.5-3.0 ไมครอน และมีรูปร่ างเป็ นเกลีว (spiral) ขนาดความกว้างประมาณ 0.5-5.0 ไมครอน ความยาว
ประมาณ 6.0-15.0 ไมครอน บัคเตรี ที่ทาํ ให้เกิดโรคโดยมีน้ าํ เป็ นตัวนําได้แก่
- อหิ วาตกโรค (Cholera) เกิดจาก Vibrio cholera
- โรคไข้รากสาด (Typhoid fever) เกิดจาก Salmonella paratyphoid A,B และ C
- โรคบิด (Bacillary dysentery) เกิดจาก Shigella flexneri หรื อ Shigella dysenteriae
ค) โปรโตซัว (Protozoa) เป็ นจุลินทรี ยท์ ี่มีขนาดโตกว่าบัคเตรี ไม่สามารถมองเห็นได้ดว้ ยตาเปล่าต้องใช้กล้อง
จุลทรรศน์ มีเซลล์เดียว โปรโตซัวที่ทาํ ให้เกิดโรค ได้แก่ โรคบิด ชนิดอมีบา (Amoebic dysentery) เกิดจากโปรโต
ซัวชนิด Entamoeba histolytica
ง) หนอนพยาธิ (Helminth) แบ่งหนอนพยาธิออกเป็ น 3 ประเภทคือพยาธิตวั กลม พยาธิตวั แบน และพยาธิใบไม้
โรคพยาธิไส้เดือนกลม (Ascaris lambricoides)
โรคพยาธิเข็มหมุด (Pin worm)
โรคพยาธิใบไม้ในปอด (Lung flukes)
การวิเคราะห์คุณภาพนํ้าในห้องปฏิบตั ิการ เพื่อนําข้อมูลด้านปริ มาณและคุณภาพมาใช้ประกอบการ
ตัดสิ นใจบางประการนั้นมีความสําคัญมาก ข้อมูลที่ได้ตอ้ งแม่นยําและเที่ยงตรงโดยเมื่อจะทําการวิเคราะห์หา
ปริ มาณของสารใด ก็ตอ้ งเลือกวิธีวเิ คราะห์ที่ดีที่สุดและเหมาะสมที่สุด ซึ่งบางครั้งวิธีวเิ คราะห์สาํ หรับหาปริ มาณ
ของสารที่สนใจแต่ละชนิดอาจมีวธิ ีวเิ คราะห์หลายวิธี นักวิเคราะห์ควรเลือกวิธีที่ให้ผลการวิเคราะห์เป็ นที่ยอมรับ
และมีผลปฏิบตั ิในด้านกฎหมายได้การวิเคราะห์คุณภาพโดยทัว่ ไปสามารถแบ่งออกได้เป็ น 3 ประเภทใหญ่ ๆ
ดังกล่าวข้างต้นแล้ว
130

มาตรฐานนา้ สะอาด

นํ้าสะอาดและปลอดภัย หมายถึง นํ้าที่มีลกั ษณะ ดังต่อไปนี้


1) ปราศจากเชื้อ ซึ่งอาจทําให้เกิดโรคที่น้ าํ เป็ นสื่ อ
2) ไม่มีสารพิษเจือปน
3) หากมีสารหรื อแร่ ธาตุบางอย่างปนอยูจ่ ะต้องไม่เกินมาตรฐานที่กาํ หนดไว้ ดังนั้น จึงสามารถกล่าวได้วา่ นํ้า
สะอาดและปลอดภัย อาจมีสิ่งเจือปนอยูไ่ ด้บา้ ง แต่สิ่งเจือปนนั้น ต้องไม่ใช่เชื้อโรค หรื อสารพิษ และสิ่ งเจือปน
อย่างอื่นที่ยอมให้มีอยูไ่ ด้บา้ งนั้นจะต้องมีปริ มาณไม่เกินกว่ามาตรฐานที่กาํ หนดไว้ นํ้าจากแหล่งใดก็ตามที่คุณภาพ
ไม่ได้มาตรฐานตามมาตรฐานที่กาํ หนดไว้ เราจะเรี ยกนํ้านั้นว่า “นํ้าสกปรก” ส่วนนํ้าที่ปราศจากสิ่ งเจือปนใด ๆ เรา
จะเรี ยกว่า นํ้าบริ สุทธิ์ มาตรฐานนํ้าสะอาด (Standards of Water for Beneficial Usage) โดยทัว่ ไปมีเกณฑ์พิจารณา
คุณภาพนํ้าตามวัตถุประสงค์ของการนําไปใช้สอยได้อย่างกว้าง ๆ 3 ประเภทคือ เพื่อการดื่ม การเกษตร การ
อุตสาหกรรม แต่ในที่น้ ีจะขอกล่าว แต่เฉพาะคุณภาพนํ้าเพื่อการดื่มที่เกี่ยวข้องโดยตรงต่อสุขภาพอนามัย
มาตรฐานนํ้าดื่ม เนื่องจากในนํ้าอาจมีสิ่งเจือปนอยูไ่ ด้หลายชนิด สิ่ งเจือปนเหล่านี้ เป็ นสาเหตุให้คุณภาพ
ของนํ้าเปลี่ยนแปลงไป และอาจก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพของผูบ้ ริ โภคได้นอกจากนี้ยงั เป็ นวัตถุดิบพื้นฐานใน
การผลิตสิ นค้าหลายชนิด เช่น นํ้าแข็ง เครื่ องดื่ม และนํ้าบริ โภค บรรจุขวด เป็ นต้น ดังนั้น จึงเป็ นการจําเป็ นอย่าง
ยิง่ ที่จะต้องมีการกําหนดมาตรฐานนํ้าดื่มหรื อนํ้าสะอาดขึ้น เพื่อจะได้ใช้เป็ นหลักในการตัดสิ นหรื อวินิจฉัยว่า นํ้า
นั้นสะอาดได้มาตรฐานที่กาํ หนดหรื อไม่ การกําหนดมาตรฐานดังกล่าว ขึ้นอยูก่ บั วัตถุประสงค์ของการนําไปใช้
ด้วย เช่น ถ้านําไปใช้เป็ นตัวทําละลายสารเคมี เพื่อทําการวิเคราะห์ทางวิทยาศาสตร์ หรื อนําไปใช้ในทางกิจการ
ทางการแพทย์ก็ตอ้ งใช้น้ าํ บริ สุทธิ์ แต่ถา้ นําไปใช้เพื่อการดื่มปกติ ก็ไม่จาํ เป็ นต้องใช้น้ าํ บริ สุทธิ์ แต่ก็ตอ้ งควบคุม
ชนิดและปริ มาณของสารเคมีบางอย่าง ซึ่งเป็ นอันตราย หรื ออาจเป็ นอันตรายต่อสุขภาพให้อยูใ่ นเกณฑ์ที่กาํ หนด
รวมทั้งต้องควบคุมให้ปราศจากเชื้อซึ่งอาจทําให้เกิดโรคที่เกิดจากนํ้าเป็ นสื่ อด้วย การกําหนดรายละเอียดใน
มาตรฐานนํ้าดื่มว่าจะยอมให้มีสิ่งเจือปนชนิดไหนอยูไ่ ด้เท่าไหร่ น้ นั อยูบ่ นหลักที่วา่ สิ่ งเจือปนนั้นจะต้องอยูใ่ น
ขีดจํากัดที่สามารถรับรองได้วา่ จะไม่ก่อให้เกิดอันตรายบัน่ ทอนสุขภาพอนามัยของมนุษย์โดยหลักการนี้มาตรฐาน
นํ้าดื่มจึงอาจถูกกําหนดขึ้นได้หลายแบบ และแบบที่จะกล่าวถึงเป็ นเกณฑ์มาตรฐานนํ้าดื่มของประเทศไทย
เกณฑ์ของนํ้าดื่มที่เหมาะสมสําหรับคนไทย หรื อสําหรับประเทศไทยที่ใช้ ๆ กันอยูต่ ามหน่วยงานต่าง ๆ เช่น
ของการประปานครหลวง กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ล้วนแต่อิงจากมาตรฐานของ
ต่างประเทศทั้งนั้น ซึ่งอาจจะอิงจากมาตรฐานของสหรัฐอเมริ กา หรื ออิงจากมาตรฐานขององค์การอนามัยโลก
เป็ นต้น ดังนั้น เกณฑ์ของคุณภาพนํ้าบางตัวอาจจะสูงเกินไปสําหรับคนไทยก็ได้ แต่เกณฑ์ของนํ้าดื่มที่จะนํามา
แสดงเป็ นตัวอย่างเพื่อให้เกิดทัศนคติหรื อแนวคิดต่อไปนี้ เป็ นเกณฑ์ของนํ้าดื่มของการประปานครหลวง
1. สารบางตัวที่เกี่ยวกับคุณสมบัติของนํ้าดื่ม ซึ่งไม่เป็ นอันตรายต่อสุขภาพของเรามากนัก แต่ถา้ มีมากเกินที่
กําหนดไว้ก็จะทําให้น้ าํ ไม่น่าดื่ม คือ
กลิ่นและรส (Odour and tastes) ไม่เป็ นที่รังเกียจ
สี (Color) 20 หน่วย
ความขุ่น (Turbidity) 5 หน่วย
ความเป็ นกรดเป็ นด่าง (pH value) 6.8 – 8.2
131

ความกระด้าง (Hardness) 300 ส่วนในล้านส่วน


เหล็ก (Iron) 0.5 ส่วนในล้านส่วน
แมงกานีส (Manganeses 0.3 ส่วนในล้านส่วน
ซัลเฟต (Sulphate) 250 ส่วนในล้านส่วน
คลอไรด์ (Chloride) 250 ส่วนในล้านส่วน
2. สารจําพวกที่เกี่ยวกับสุขภาพ ถ้ามีมากเกินจํานวนที่กาํ หนดอาจทําให้เกิดโรคได้ คือ
ฟลูออไรด์ (Fluoride) 1.2 ส่วนในล้านส่วน
ไนเตรท (Nitrate) 1.5 ส่วนในล้านส่วน
ไนไตรท์ (Nitrite) ต้องไม่มีอยูเ่ ลยหรื อมีนอ้ ยกว่า 0.001 ส่วนในล้านส่วน
3. แบคทีเรี ยที่อาจจะทําให้เกิดโรคต่อมนุษย์ได้ ยอมให้มีได้ ดังนี้
3.1 นํ้าสะอาด โคไลฟอร์มแบคทีเรี ย ค่า MPN น้อยกว่า 2.2 ต่อนํ้า 100 ซีซี หรื อไม่มีเลย
3.2 นํ้าที่สงสัยว่าสะอาดหรื อไม่ มีโคไลฟอร์มแบคทีเรี ย ค่า MPN 3-10 ต่อนํ้า 100 ซีซี
3.3 นํ้าที่ไม่สะอาดจะมีโคไลฟอร์มแบคทีเรี ย ค่า MPN มากกว่า 10 ต่อนํ้า 100 ซีซี
3.4 สําหรับนํ้าประปาจะต้องมีโคไลฟอร์มแบคทีเรี ย ค่า MPN น้อยกว่า 2.2 ต่อนํ้า 100 ซีซี
นอกจากนี้ ยังมีเกณฑ์มาตรฐานนํ้าดื่มของหน่วยงานต่าง ๆ ได้แก่
- มาตรฐานนํ้าดื่มตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 61 (พ.ศ. 2524) เรื่ องนํ้าบริ โภคในภาชนะบรรจุที่ปิด
สนิท
- มาตรฐานนํ้าดื่มของการประปานครหลวง
- ข้อเสนอแนะเกณฑ์คุณภาพนํ้าดื่มขององค์การอนามัยโลก ปี พ.ศ. 2527
132

การกาหนดมาตรฐานนา้ ดืม่ บรรจุขวด


ของสานักงานคณะกรรมการอาหารและยา
ดร.ชนินทร์ เจริญพงศ์
นักวิชาการอาหารและยา 9 ด้ านมาตรฐานอาหาร สานักงานคณะกรรมการอาหารและยา
-------------------------------------------
อย. มีหน้าที่ให้การคุม้ ครองผูบ้ ริ โภค ผลิตภัณฑ์สาธารณสุข ซึ่งรวมถึงผลิตภัณฑ์อาหาร มี พ.ร.บ.อาหาร
พ.ศ.2522 เป็ นแม่บทในการคุม้ ครองผูบ้ ริ โภค และกําหนดมาตรฐานอาหารบางชนิด ที่ตอ้ งควบคุมดูแลเป็ นพิเศษ
เช่น นํ้าดื่ม ถือว่าเป็ นอาหารควบคุมเฉพาะ ตามกฎหมายจึงต้องขึ้นทะเบียนกับ อย. เพื่อควบคุมคุณภาพมาตรฐาน
อาหาร ให้เป็ นไปตามประกาศฯ ที่ อย.กําหนดไว้ ประกาศ เรื่ อง นํ้าดื่ม ของ อย. ฉบับที่ 61 (พ.ศ.2524) เป็ นไปตาม
มาตรฐานอาหารควบคุมเฉพาะ มีการควบคุมหลายด้าน ทั้งด้านฟิ สิ กส์ เคมี จุลินทรี ย ์ โดยสถานที่ผลิต ซึ่งมีคนงาน
ตั้งแต่ 7 คนขึ้นไป มีเครื่ องมือ เครื่ องจักร 5 แรงม้าขึ้นไป เข้าข่ายโรงงานต้องขึ้นทะเบียนตํารับอาหาร และขอ
อนุญาตผลิตอาหารด้วย เป็ น 2 ขั้นตอน แต่ถา้ ไม่เข้าข่ายโรงงาน จะต้องขออนุญาตใช้ฉลาก โดยไม่ตอ้ งขึ้น
ทะเบียนตํารับอาหาร การขออนุญาตใช้ฉลาก การขึ้นทะเบียนตํารับอาหาร จะต้องพิจารณาที่คุณภาพมาตรฐาน
โดยการตรวจวิเคราะห์ ซึ่งมีขอ้ กําหนดหลายข้อ ขณะนี้ผลิตภัณฑ์น้ าํ บริ โภคบรรจุขวด แพร่ หลายมากขึ้น อาจเป็ น
เพราะอุตสาหกรรมนี้ลงทุนน้อย แต่ได้รับความนิยมสูง จนถึงในระดับหมู่บา้ น คนในหมู่บา้ นนิยมดื่มนํ้าบริ โภค
บรรจุขวด โดยคิดว่าปลอดภัย สะอาด แต่จาการตรวจสอบคุณภาพ ยังไม่เป็ นที่พอใจ มาตรฐานของนํ้าดื่มควร
ดีกว่านี้ เมื่อเปรี ยบเทียบกับราคาขาย จากข้อมูลที่เฝ้ าติดตามในภาพรวมของประเทศ มีประมาณ 20-30% ไม่ได้
มาตรฐาน สาเหตุใหญ่เป็ นปั ญหาด้านจุลินทรี ย ์ ปั ญหาทางด้านเคมีนอ้ ย ในการขอขึ้นทะเบียน จึงมีการเน้นด้าน
จุลินทรี ยม์ ากกว่า และจะไม่ตรวจครบทุกรายการ มีการตกลงกับหน่วยงานตรวจวิเคราะห์วา่ รายการอะไรบ้างที่
จําเป็ นต้องตรวจก่อน การตรวจวิเคราะห์วา่ รายการอะไรบ้าง ที่จาํ เป็ นต้องตรวจก่อน การตรวจวิเคราะห์เพื่อขอขึ้น
ทะเบียน จะอนุญาตให้ใช้เฉพาะผลวิเคราะห์ จากหน่วยงานราชการเท่านั้น ปั จจุบนั ปริ มาณของโรงงานผูผ้ ลิต
ขยายตัวสูงขึ้นทัว่ ประเทศ ทําให้ปริ มาณงานที่ตอ้ งวิเคราะห์สูงมาก บางรายการจึงไม่ได้วเิ คราะห์ แต่ใช้วธิ ีควบคุม
กํากับแทน เช่น ฟลูออไรด์ โดยจะเน้นด้านเชื้อจุลินทรี ยม์ ากกว่า
มาตรฐานนํ้าดื่ม ในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท เป็ นมาตรฐานบังคับขั้นตํ่า ใช้ทวั่ ประเทศเป็ นอาหารควบคุมเฉพาะ
ประกาศกระทรวงสาธารณสุขฉบับที่61(พ.ศ.2524)
ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 135 (พ.ศ.2534)
ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 220 (พ.ศ. 2544)
ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 256 (พ.ศ.2545)
- ลดปริ มาณ Cd เป็ น 0.005 ppm
Fe เป็ น 0.3 ppm
Pb เป็ น 0.05 ppm
- เพิ่มข้อความ Al เป็ น 0.2 ppm
ABS เป็ น 0.2 ppm
133

Cyanide เป็ น 0.4 ppm


- ปริ มาณ Fluoride คงเดิม 1.5 ppm
มาตรฐานเรื่ องนํ้าดื่ม มีประกาศกระทรวงสาธารณสุข 2 ฉบับ คือ ฉบับที่ 61 (พ.ศ.2524) และฉบับที่ 135
(พ.ศ.2534) ในฉบับที่ 135 (พ.ศ.2534) ได้เพิ่มเรื่ อง โลหะหนัก 2 รายการ เพื่อให้เป็ นไปตามมาตรฐานใหม่ของ
WHO มาตรฐานนํ้าดื่มของ อย. เป็ นมาตรฐานขั้นตํ่า ต่างกับมาตรฐานของ สมอ. ซึ่งเครื่ องหมาย สมอ. จะใช้
หรื อไม่ก็ได้ ถ้าใช้จะมีการประเมิน และควบคุมกํากับตลอดเวลา มาตรฐาน สมอ. ไม่ได้เป็ นมาตรฐานบังคับ แต่
มาตรฐาน อย. ผลิตภัณฑ์ทุกชนิดจะต้องได้มาตรฐานขั้นตํ่า โดยมีมาตรฐานเดียว บางครั้งมีปัญหาเฉพาะท้องที่ ซึ่ง
เป็ นข้อจํากัด จึงต้องหามาตรฐานกลาง เพื่อให้ใช้ได้ทวั่ ประเทศ และปลอดภัย กรมอนามัยได้เคยเสนอให้ อย.
แก้ไขมาตรฐานอาหารหลายเรื่ อง เช่น Vitamin A ชาวมุสลิมทาภาคใต้อ่านหนังสื อไม่ออก ใช้นมข้นหวานเลี้ยงลูก
จนทําให้ตาบอด จึงได้มีการแก้ไขโดยเติม Vitamin A ในนมข้นหวานทุกชนิด ในทํานองเดียวกัน กําหนดให้มี
ไอโอดีนในเกลือ ไม่ต่าํ กว่า 30 มิลลิกรัม/กิโลกรัม โดยมีขอ้ มูลจากนักิวชาการ ยืนยันว่า ปริ มาณไอโอดีนขนาดนี้
ไม่เกิดอันตรายในระยะยาวต่อผูบ้ ริ โภค ฟลูออไรด์จะมีปัญหาคล้ายไอโอดีน จึงต้องระมัดระวัง ในฐานะที่ อย. มี
หน้าที่ดูแลผูบ้ ริ โภค เมื่อพบว่า ฟลูออไรด์เหมือนกับดาบ 2 คม จึงไม่ตอ้ งการให้มีเกินหรื อขาด ทําอย่างไรให้พอดี
การประชุมครั้งนี้คงจะได้ขอ้ ยุติที่ดี มาตรฐาน อย. ยึดหลักแนวทางสากล เพราะประเทศไทยเป็ นสมาชิกองค์การ
ค้าโลก ( WTO) การค้าระหว่างประเทศจะทําตามใจ หรื อตามสภาพปั ญหาของประเทศ และกีดกันต่างประเทศ
ไม่ได้ โดยเฉพาะไทยเป็ นประเทศเล็ก มีการวิจยั ไม่มาก ดังนั้น โดยทัว่ ไปมาตรฐานอาหารของประเทศไทย จะไม่
แตกต่างจากแนวทางสากล สรุ ป แนวทางควบคุมของ อย. จะมีข้ นั ตอนดังนี้
การควบคุมตามกฎหมาย
ก่อนการผลิต
ขออนุญาตผลิต
ขึ้นทะเบียนตํารับ / อนุญาตใช้รถ
หลังการผลิต
ตรวจสอบ
เก็บตัวอย่าง
ประกาศผลการตรวจวิเคราะห์
การพิจารณาดําเนินคดี
พบ Pathogen งดผลิต & ดําเนินคดี
พบสารปนเปื้ อนเกินมาตรฐาน
ครั้งแรกตักเตือน
ครั้งที่ 2 ดําเนินคดี
การขออนุญาติข้ ึนทะเบียนผลิตภัณฑ์ การใช้ฉลาก ต้องเป็ นไปตามมาตรฐานที่กาํ หนด หลังการการผลิต
และจําหน่าย จะมีการตรวจสอบเก็บตัวอย่างมาวิเคราะห์เป็ นระยะ รวมทั้งการประกาศผลการตรวจวิเคราะห์ทาง
สื่ อมวลชน เพื่อให้ผบู ้ ริ โภคได้รับทราบ เมื่อมีผผู ้ ลิตรายใดทําผิดมาตรฐาน อํานาจทางกฎหมายก็จะจัดการกับผูท้ ี่
ทําผิดนั้น ส่วนใหญ่เน้นในเรื่ องจุลินทรี ยม์ ากที่สุด ความผิดเรื่ องจุลินทรี ย ์ คือ ผลิตอาหารไม่บริ สุทธิ์ เป็ นโทษ ถึง
134

จําคุก แต่ถา้ มีฟลูออไรด์เกิน จะมีความผิดคือ ฝ่ าฝื นประกาศผิดมาตรฐาน โทษจึงตํ่ากว่า เพียงตักเตือนในขั้นแรก


ขั้นที่สองจึงดําเนินคดี คาดโทษ และปรับเท่านั้น แนวทางนี้ใช้ทวั่ ประเทศ ในเรื่ องนํ้าดื่ม จะมอบให้จงั หวัดดูแล
โดยมีผแู ้ ทนจังหวัด ดําเนินการออกใบอนุญาต ประกาศผลการวิเคราะห์ ทุกจังหวัดจะต้องใช้แนวทางเดียว กับที่
ส่วนกลางกําหนดให้ เพื่อความเป็ นธรรม ขณะนี้มีการปรับเปลี่ยนระบบควบคุมใหม่ โดยลดจํานวนอาหารควบคุม
เฉพาะ ให้นอ้ ยลงเท่าที่จาํ เป็ น เดิมมี 39 ชนิด ลดเหลือเพียง 17 ชนิด แต่น้ าํ ดื่มยังเป็ นอาหารควบคุมเฉพาะอยู่ ใน
เรื่ องของการควบคุมการผลิตที่ดี ได้นาํ GMP (Good Manufacturing Practice) เข้ามาใช้เน้นการตรวจสอยสถานที่
ผลิต การประกันคุณภาพ จะต้องเก็บตัวอย่างมาตรวจสอบ แต่ยงั ทําไม่ได้เต็มที่ เพราะมีขอ้ จํากัดด้านบุคลากร และ
งบประมาณ ดังนั้น ถ้าผูผ้ ลิตจะช่วยสังคม ช่วยผูบ้ ริ โภค ควรมีการประกันคุณภาพ อย่างน้อยที่สุดใช้ GMP มาช่วย
ควบคุมการผลิต เพื่อให้มนั่ ใจว่า สิ นค้นที่ผลิตได้มาตรฐาน เพราะฉะนั้น อย. จะประกาศ GMP เป็ นมาตรฐาน
บังคับ โดยประกาศ GMP เป็ นฉบับแรก ผ่านคณะกรรมการอาหารแล้ว อยูร่ ะหว่างรอประกาศในราชกิจจา
นุเบกษา
นํ้าดื่มในประเทศไทย มีการกําหนดมาตรฐาน จากหลายหน่วยงาน เช่น สมอ. กรมอนามัย ฯลฯ โดย อย.
ยึดตาม WHO ใช้ค่ามาตรฐานของฟลูออไรด์เท่ากับ 1.5 ppm สมอ. อนุโลมสูงสุดให้เท่ากับ 1 ppm เรื่ องค่า
มาตรฐานของฟลูออไรด์ในนํ้า จึงมีความแตกต่างกัน ดังในตารางที่ 1
135

ตารางที่ 1 เปรี ยบเทียบค่ามาตรฐานนํ้าบริ โภคของหน่วยงานต่างๆ

ข้อมูล หน่วยวัด WHO อย. ปี 2534 สมอ. ปี 2521 กรมทรัพย์ ปี 2521 เกณฑ์คุณภาพ
ปี 2527 ปี 2536 เกณฑ์กาํ หนด เกณฑ์ เกณฑ์กาํ หนดที่ เกณฑ์ นํ้าบริ โภคใน
สูงสุด อนุโลมให้ เหมาะสม อนุโลมให้ ชนบท ปี 2531
สูงสุด สูงสุด
ความเป็ นกรด-ด่าง 6.5-8.5 - 6.5-8.5 6.5-8.5 9.2 7.0-8.5 6.5-9.2 6.5-8.5
สี แพลตตินมั โคบอลท์ 15 15 20 5 1.5 5 50 15
ความขุ่น เอ็นทียู 5 5 5.0 5 20 5 20 10
สารละลายทั้งหมด ที่เหลือจาก มก/ลิตร 1,000 1,000 500 500 1,500 750 1,500 1,000
การระเหย
ความกระด้าง มก/ลิตร 500 - 100 - - 300 500 300
เหล็ก มก/ลิตร 0.3 0.3 0.3 0.5 1.0 0.5 1.0 0.5
แมงกานีส มก/ลิตร 0.1 0.1 0.05 0.3 0.5 0.5 0.5 0.3
ทองแดง มก/ลิตร 1.0 1.0 1.0 1.0 1.5 1.0 1.5 1.0
สังกะสี มก/ลิตร 5.0 3 5 5.0 15.0 5 15.0 5.0
ตะกัว่ มก/ลิตร 0.05 0.01 0.05 0.05 - 0 0.05 0.05
โครเมี่ยม มก/ลิตร 0.05 0.05 0.05 0.05 - - - 0.05
แคดเมี่ยม มก/ลิตร 0.005 0.003 0.005 0.01 - 0 0.01 0.005
สารหนู มก/ลิตร 0.05 0.01 0.05 0.05 - 0 0.05 0.05
ปรอท มก/ลิตร 0.001 0.001 0.002 0.001 - 0 0.001 0.001
ซัลเฟต มก/ลิตร 400 250 250 200 250 200 250 400
คลอไรด์ มก/ลิตร 250 250 250 250 600 200 600 250
136

ไนเตรท มก/ลิตร 10 50 4.0 (asN) 45 45 45 45 10

ฟลูออไรด์ มก/ลิตร 1.5* 1.5* 1.5 0.7 1.0 1 1.5 1.0


คลอรี นอิสระ ตกค้าง เอ็มพีเอ็ม/100 มล. 0.2-0.5** - - - - - - 0.2-0.5

แบทีเรี ย ประเภท โคลิฟอร์ม เอ็มพีเอ็ม/100 มล. 0 0 < 2.2 <2.2 - <2.2 - 10

แบคทีเรี ย ประเภท ฟิ คัลโคลิ มก/ลิตร 0 0 - - - - - 0


ฟอร์ม
แบเรี่ ยม มก/ลิตร - 0.7 1 1.0 - - - -
ฟี นอล มก/ลิตร - - 0.001 - - - - -

ซีลีเนียม มก/ลิตร 0.01 0.01 0.01 - - 0 0.01 0.01


เงิน มก/ลิตร - - 0.05 - - - - -
อลูมิเนี่ยม มก/ลิตร 0.2 0.2 0.2 - - - - -
เอ บี เอส (Alkylbenzene มก/ลิตร - - 0.2 - - - - -
Sulfonate)
ไซยาไนด์ มก/ลิตร 0.1 0.07 0.1 0.2 - 0 0.2 0.1
นิเกิล มก/ลิตร - 0.02 - - 1- - - -
137

โดยทัว่ ไปแล้ว มาตรฐาน WHO มีความยืดหยุน่ 1.5 ppm เป็ นค่าที่แนะนําให้ใช้เป็ นแนวทาง สามารถปรับได้ตาม
สภาพท้องถิ่นแต่ละประเทศได้ ประเทศไทยน่าจะบริ โภคนํ้ามาก เพราะเป็ นประเทศร้อน WHO เปิ ดโอกาสให้
ปรับเปลี่ยนได้ จึงเป็ นอีกประเด็นหนึ่งที่ตอ้ งนํามาหารื อในที่ประชุม
ประเทศไทยเป็ นสมาชิกองค์การค่าโลก ( WTO) จึงมีพนั ธกรณี ตามมาตรการสุขอนามัย และสุขอนามัย
พืช ( SPS) สมาชิกทุกประเทศสามารถออกมาตรการคุม้ ครองผูบ้ ริ โภคได้ แต่มาตรฐานทุกประเทศต้องตั้งอยูบ่ น
พื้นฐานวิทยาศาสตร์ มีความโปร่ งใส ไม่เลือกปฏิบตั ิ ต้องให้สอดคล้องกับแนวทางสากล WTO ไม่ยอมรับ
มาตรฐาน ISO แต่จะยึดเกณฑ์อา้ งอิง ตามมาตรฐานของ Codex ซึ่งเป็ นหน่วยงานที่กาํ หนดมาตรฐานอาหาร
ระหว่างประเทศ ก่อตั้งโดยองค์กรร่ วม ระหว่าง WHO กับ FAO มีการประชุมประจําทุกปี Codex กําหนด
มาตรฐานไว้เป็ นกลาง บางประเทศตั้งมาตรฐานเข้มงวดกว่าของ WTO และ Codex ได้ แต่ตอ้ งประเมินความเสี่ ยง
ตามวิธีการทางวิทยาศาสตร์ ที่ Codex ยอมรับ แต่ขณะนี้ Codex กําลังร่ างมาตรฐานของนํ้าดื่ม ซึ่งผมได้เป็ น
หัวหน้าคณะผูแ้ ทนไทย ไปประชุมที่ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ และเป็ นประธานคณะอนุกรรมการพิจารณา
มาตรฐาน สาขานํ้าแร่ และนํ้าดื่มในภาชนะผิดสนิท เนื่องจากยึดว่า เป็ นนํ้าเหมือนกัน มาตรฐานนํ้าแร่ ที่ Codex มี
อยูแ่ ล้ว ใช้เฉพาะนํ้าแร่ ธรรมชาติ จะเน้นคําว่า Natural mineral water หมายถึง นํ้าที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ คนทาง
ยุโรป และอเมริ กานิยมดื่มกันทัว่ ไป แต่น้ าํ แร่ ของไทย จะมีมาตรฐานที่แตกต่างจากนํ้าดื่ม ในเวทีของ Codex กําลัง
ทําเรื่ องนํ้าดื่ม ที่นอกเหนือจากนํ้าแร่ ธรรมชาติ หมายความว่า นํ้าแร่ ที่ไม่เข้ามาตรฐานนํ้าแร่ ธรรมชาติ จะตกอยูใ่ น
หมวดของนํ้าดื่ม ที่นอกเหนือจากนํ้าแร่ ธรรมชาติไปเลย เพราะฉะนั้น มาตรฐานนํ้าดื่มจะไม่ค่อยมีความแตกต่าง
กับนํ้าแร่ สามารถเสริ มวิตามิน เสริ มแร่ ธาตุ หรื อจะเอาอะไรออกก็ได้ อาจจะเป็ นช่องทางให้ผปู ้ ระกอบการ
สามารถทํานํ้าดื่มที่มีความแตกต่าง นอกเหนือจากนํ้าแร่ ธรรมชาติได้ เมื่อตรวจสอบดู มีการระบุถึงฟลูออไรด์วา่
ไม่จาํ กัด ส่วนปริ มาณสารอื่น ใช้มาตรฐานใกล้เคียงกับนํ้าดื่มของ WHO โดยฟลูออไรด์จะใช้แนวทางของนํ้าแร่
ธรรมชาติ คือ ถ้าเกิน 1 ppm ต้องระบุในฉลากว่า มีฟลูออไรด์ (Contain Fluoride) แต่ถา้ เกิน 2 ppm ให้ระบุวา่ ไม่
เหมาะสําหรับเด็กตํ่ากว่า 7 ปี มาตรฐานนํ้าดื่มของ Codex ขณะนี้ ยังไม่ได้ขอ้ กําหนดขั้นสุดท้าย โดยญี่ปุ่นกับ
อเมริ กาจะรวมกลุ่มกัน ส่วนตลาดร่ วมยุโรป (EU) จะเป็ นอีกกลุ่มหนึ่ง จุดยืนของ EU คือ อยากให้เกิดความ
แตกต่างกัน ไม่ตอ้ งการให้ขนเอานํ้าแร่ ไปบรรจุที่อื่น ต้องการให้บรรจุที่แหล่งนํ้าเลย เพื่อไม่ให้เกิดการปนปลอม
และไม่ให้ผา่ นกรรมวิธีใดๆ เพราะจะทําให้คุณสมบัติทางเคมี ของนํ้าแร่ เสี ยไป แต่อเมริ การกับญี่ปุ่น ต้องการ
ลําเลียงไปบรรจุที่อื่น ส่วนไทยไม่ตอ้ งการ ให้มีเพียงคําเตือนเกี่ยวกับฟลูออไรด์ ต้องการให้น้ าํ ดื่มของ Codex
แตกต่างจากนํ้าแร่ คือ ให้กาํ หนดมาตรฐานของฟลูออไรด์เลย แต่คิดว่าจะเป็ นไปได้ยาก
138

ประกาศกระทรวงสาธารณสุข
ฉบับที่ 61 (พ.ศ.2524)
เรื่ อง นํ้าบริ โภคในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท
-----------------------------------------------

อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 5 และมาตรา 6 (1)(2) และ (6) แห่งพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ.2522


รัฐมนตรี วา่ การกระทรวงสาธารณสุขออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้ยกเลิก
(1) ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 20 (พ.ศ.2522) เรื่ อง กําหนดนํ้าบริ โภคและเครื่ องดื่ม
เป็ นอาหารควบคุมเฉพาะและกําหนดคุณภาพหรื อมาตรฐาน เงื่อนไข วิธีการผลิต และฉลาก ลงวันที่ 13 กันยายน
พ.ศ.2522
(2) ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 50 (พ.ศ.2523) เรื่ อง แก้ไขเพิ่มเติมประกาศกระทรวง
สาธารณสุข ฉบับที่ 20 (พ.ศ.2522) ลงวันที่ 18 มีนาคม พ.ศ.2523
ข้อ 2 ให้น้ าํ บริ โภคในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิทเป็ นอาหารควบคุมเฉพาะ
ข้อ 3 นํ้าบริ โภคต้องมีคุณภาพหรื อมาตรฐาน ดังต่อไปนี้
(1) คุณสมบัติทางฟิ สิ กส์
(ก) สี ต้องไม่เกิน 20 ฮาเซนยูนิต
(ข) กลิ่น ต้องไม่มีกลิ่น แต่ไม่รวมถึงกลิ่นคลอรี น
(ค) ความขุ่น ต้องไม่เกิน 5.0 ซิลิกาสเกล
(ง) ค่าความเป็ นกรด-ด่าง ต้องอยูร่ ะหว่าง 6.5 ถึง 8.5
(2) คุณสมบัติทางเคมี
(ก) ปริ มาณสารทั้งหมด (Total Solid) ไม่เกิน 500.0 มิลลิกรัม ต่อนํ้าบริ โภค 1 ลิตร
(ข) ความกระด้างทั้งหมด โดยคํานวณเป็ นแคลเซี่ยมคาร์บอเนต ไม่เกิน 100.0 มิลลิกรัม ต่อนํ้า
บริ โภค 1 ลิตร
(ค) สารหนู ไม่เกิน 0.05 มิลลิกรัม ต่อนํ้าบริ โภค 1 ลิตร
(ง) แบเรี ยม ไม่เกิน 1.0 มิลลิกรัม ต่อนํ้าบริ โภค 1 ลิตร
(จ) แคดเมียม ไม่เกิน 0.01 มิลลิกรัม ต่อนํ้าบริ โภค 1 ลิตร
ความใน (จ) ถูกยกเลิกและใช้ความใหม่แทนแล้วโดยข้อ 1 แห่งประกาศกระทรวงสาธารณสุข
ฉบับที่ 135 (พ.ศ.2534)
(ฉ) คลอไรด์ โดยคํานวณเป็ นคลอรี น ไม่เกิน 250.0 มิลลิกรัม ต่อนํ้าบริ โภค 1 ลิตร
(ช) โครเมียม ไม่เกิน 0.05 มิลลิกรัม ต่อนํ้าบริ โภค 1 ลิตร
(ซ) ทองแดง ไม่เกิน 1.0 มิลลิกรัม ต่อนํ้าบริ โภค 1 ลิตร
(ฌ) เหล็ก ไม่เกิน 0.5 มิลลิกรัมต่อนํ้าบริ โภค 1 ลิตร
(ญ) ตะกัว่ ไม่เกิน 0.1 มิลลิกรัม ต่อนํ้าบริ โภค 1 ลิตร
139

ความใน (ฌ) และ (ญ) ถูกยกเลิกและใช้ความใหม่แทนแล้วโดยข้อ 2 แห่งประกาศกระทรวง


สาธารณสุข ฉบับที่ 135 (พ.ศ.2534)
(ฎ) แมงกานีส ไม่เกิน 0.05 มิลลิกรัม ต่อนํ้าบริ โภค 1 ลิตร
(ฏ) ปรอท ไม่เกิน 0.002 มิลลิกรัม ต่อนํ้าบริ โภค 1 ลิตร
(ฐ) ไนเตรท โดยคํานวณเป็ นไนโตรเจน ไม่เกิน 4.0 มิลลิกรัม ต่อนํ้าบริ โภค 1 ลิตร
(ฑ) พีนอล ไม่เกิน 0.001 มิลลิกรัม ต่อนํ้าบริ โภค 1 ลิตร
(ฒ) ซีลีเนียม ไม่เกิน 0.01 มิลลิกรัม ต่อนํ้าบริ โภค 1 ลิตร
(ณ) เงิน ไม่เกิน 0.05 มิลลิกรัม ต่อนํ้าบริ โภค 1 ลิตร
(ด) ซัลเฟต ไม่เกิน 250.0 มิลลิกรัม ต่อนํ้าบริ โภค 1 ลิตร
(ต) สังกะสี ไม่เกิน 5.0 มิลลิกรัม ต่อนํ้าบริ โภค 1 ลิตร
(ถ) ฟลูออไรด์ โดยคํานวณเป็ นฟลูออรี น ไม่เกิน 1.5 มิลลิกรัม ต่อนํ้าบริ โภค 1 ลิตร
มีความเพิ่มขึ้นเป็ น (ท) (ธ) และ (น) ของ (2) โดยข้อ 3 แห่งประกาศฯ ฉบับที่ 135 (พ.ศ.2534)
(3) คุณสมบัติเกี่ยวกับจุลินทรี ย ์
(ก) ตรวจพบบักเตรี ชนิดโคลิฟอร์ม น้อยกว่า 2.2 ต่อนํ้าบริ โภค 100 มิลลิลิตร โดยวิธี เอ็ม พี
เอ็น (Most Probable Number)
(ข) ตรวจไม่พบบักเตรี ชนิด อี.โคไล
(ค) ไม่มีจุลินทรี ยท์ ี่ทาํ ให้เกิดโรค
ข้อ 4 ภาชนะบรรจุที่ใช้บรรจุน้ าํ บริ โภค ให้ปฏิบตั ิตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขว่าด้วย เรื่ อง ภาชนะ
บรรจุ และจะต้องมีลกั ษณะอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้ดว้ ย
(1) เป็ นภาชนะบรรจุที่ตอ้ งมีฝาหรื อจุกปิ ด เมื่อใช้บรรจุจะต้องปิ ดผนึกหรื อผนึกโดยรอบระหว่าง
ฝาหรื อจุกกับขวดหรื อภาชนะบรรจุ
(2) เป็ นภาชนะบรรจุที่ปิดผนึกซึ่งไม่ใช่ภาชนะบรรจุตาม (1) สิ่ งที่ปิดผนึกหรื อส่วนที่ปิดผนึกของ
ภาชนะบรรจุตาม (1) และ (2) ต้องมีลกั ษณะที่เมื่อเปิ ดใช้ทาํ ให้สิ่งที่ปิดผนึกหรื อส่วนที่ปิดผนึกหรื อภาชนะบรรจุ
นั้นเสี ยไป
ข้อ 5 การแสดงฉลากของนํ้าบริ โภค ให้ปฏิบตั ิตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขว่าด้วยเรื่ อง ฉลาก
ประกาศฉบับนี้ไม่กระทบกระเทือนถึงใบสําคัญการขึ้นทะเบียนตํารับอาหาร ซึ่งออกให้ตามประกาศ
กระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 20 (พ.ศ.2522) เรื่ อง กําหนดนํ้าบริ โภคและเครื่ องดื่มเป็ นอาหารควบคุมเฉพาะ และ
กําหนดคุณภาพหรื อมาตรฐาน เงื่อนไข วิธีการผลิต และฉลาก ลงวันที่ 13 กันยายน 2522 ซึ่งได้แก้ไขเพิม่ เติมโดย
ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 50 (พ.ศ.2523) เรื่ อง แก้ไขเพิ่มเติม ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่
20 (พ.ศ.2522) ลงวันที่ 18 มีนาคม พ.ศ.2523 และให้ผทู ้ ี่ได้รับใบสําคัญการขึ้นทะเบียนตํารับอาหารตามประกาศ
กระทรวงสาธารณสุขดังกล่าว มาดําเนินการแก้ไขตํารับอาหารให้มีรายละเอียดถูกต้องตามประกาศฉบับนี้ ภายใน
เก้าสิ บวันนับแต่วนั ที่ประกาศนี้ใช้บงั คับ
140

ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บงั คับตั้งแต่วนั ถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็ นต้นไป


ประกาศ ณ วันที่ 7 กันยายน พ.ศ.2524

ส. พริ้ งพวงแก้ว
รัฐมนตรี วา่ การกระทรวงสาธารณสุข

(98 ร.จ. 52 ตอนที่ 157 (ฉบับพิเศษ แผนกราชกิจจาฯ) ลงวันที่ 24 กันยายน พ.ศ.2524)


141

ประกาศกระทรวงสาธารณสุข
ฉบับที่ 135 (พ.ศ.2534)
เรื่ อง นํ้าบริ โภคในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท (ฉบับที่ 2)
------------------------------------------
โดยที่เป็ นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมข้อกําหนดเรื่ องคุณภาพหรื อมาตรฐานของนํ้าบริ โภคในภาชนะบรรจุ
ที่ปิดสนิทอาศัยอํานาจตามความในมาตรา 5 และมาตรา 6(1)(2) และ (6) แห่งพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ.2522
รัฐมนตรี วา่ การกระทรวงสาธารณสุขออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้ยกเลิกความใน (จ) ของ (2) ในข้อ 3 แห่งประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่
61 (พ.ศ.2524) เรื่ อง นํ้าบริ โภคในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท ลงวันที่ 7 กันยายน พ.ศ.2524 และให้ใช้ความต่อไปนี้
แทน
"(จ) แคดเมียม ไม่เกิน 0.005 มิลลิกรัม ต่อนํ้าบริ โภค 1 ลิตร"
ข้อ 2 ให้ยกเลิกความใน (ฌ) และ (ญ) ของ (2) ในข้อ 3 แห่งประกาศกระทรวง
สาธารณสุข ฉบับที่ 61 (พ.ศ.2524) เรื่ อง นํ้าบริ โภคในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท ลงวันที่ 7 กันยายน พ.ศ.2524 และ
ให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
"(ฌ) เหล็ก ไม่เกิน 0.3 มิลลิกรัม ต่อนํ้าบริ โภค 1 ลิตร
(ญ) ตะกัว่ ไม่เกิน 0.05 มิลลิกรัม ต่อนํ้าบริ โภค 1 ลิตร"
ข้อ 3 ให้เพิม่ ความต่อไปนี้เป็ น (ท) (ธ) และ (น) ของ (2) ในข้อ 3 แห่งประกาศกระทรวง
สาธารณสุข ฉบับที่ 61 (พ.ศ.2524) เรื่ อง นํ้าบริ โภคในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท ลงวันที่ 7 กันยายน พ.ศ.2524
"(ท) อะลูมิเนียม ไม่เกิน 0.2 มิลลิกรัม ต่อนํ้าบริ โภค 1 ลิตร
(ธ) เอบีเอส (Alkylbenzene Sulfonate) ไม่เกิน 0.2 มิลลิกรัม ต่อนํ้าบริ โภค 1 ลิตร
(น) ไซยาไนด์ ไม่เกิน 0.1 มิลลิกรัม ต่อนํ้าบริ โภค 1 ลิตร"
ข้อ 4 ให้ผทู ้ ี่ได้รับใบสําคัญการขึ้นทะเบียนตํารับอาหารหรื อผูท้ ี่ได้รับอนุญาตให้ใช้ฉลาก
อาหาร ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 61 (พ.ศ.2524) เรื่ อง นํ้าบริ โภคในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท ลง
วันที่ 7 กันยายน พ.ศ.2524 อยูก่ ่อนวันที่ประกาศฉบับนี้ใช้บงั คับ มายืน่ คําขอแก้ไขรายการให้มีรายละเอียดถูกต้อง
ตามประกาศฉบับนี้ ภายในหนึ่งร้อยแปดสิ บวัน นับแต่วนั ที่ประกาศนี้ใช้บงั คับ และเมื่อได้ยนื่ คําขอดังกล่าวแล้ว
ให้ใบสําคัญการขึ้นทะเบียนตํารับอาหารหรื อฉลากเดิมคงใช้ได้ต่อไปจนกว่าจะได้รับอนุญาต หรื อจนกว่าผู ้
อนุญาตจะแจ้งให้ทราบถึงการไม่อนุญาต
ประกาศฉบับนี้ ให้ใช้บงั คับตั้งแต่วนั ถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็ นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 26 กุมภาพันธ์
อุทยั สุ ดสุ ข
ปลัดกระทรวงสาธารณสุ ข
ผูใ้ ช้อาํ นาจของรัฐมนตรี วา่ การกระทรวงสาธารณสุข

(107 ร.จ.3041 ตอนที่ 61 (แผนกราชกิจจาฯ) ลงวันที่ 2 เมษายน พ.ศ.2534


142

ประกาศกระทรวงสาธารณสุข
(ฉบับที่ 220) พ.ศ. 2544
เรื่ อง นํ้าบริ โภคในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท (ฉบับที่ 3)
------------------------------------------------------

โดยที่เป็ นการสมควรปรับปรุ งและยกระดับมาตรฐานการผลิตนํ้าบริ โภคในภาชนะบรรจุ


ที่ปิดสนิท เพื่อให้เหมาะสมและมีความมัน่ ใจในการประกันคุณภาพหรื อมาตรฐานเพื่อความปลอดภัยของ
ผูบ้ ริ โภคยิง่ ขึ้น
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 5 และมาตรา 6(1)(2)(6) และ (7) แห่งพระราช
บัญญัติอาหาร พ.ศ.2522 อันเป็ นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิ ทธิและเสรี ภาพของ
บุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 35 มาตรา 48 และมาตรา 50 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย รัฐมนตรี วา่ การกระทรวงสาธารณสุขออก
ประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้น้ าํ บริ โภคในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิทเป็ นอาหารที่กาํ หนดวิธีการผลิต เครื่ องมือ
เครื่ องใช้ในการผลิต และการเก็บรักษาอาหาร เป็ นการเฉพาะ
ข้อ 2 ผูผ้ ลิตนํ้าบริ โภคในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิทเพื่อจําหน่าย ต้องปฏิบตั ิตามวิธีการ
ผลิตเครื่ องมือเครื่ องใช้ในการผลิต และการเก็บรักษาอาหาร ที่กาํ หนดไว้ในบัญชีแนบท้ายประกาศนี้
ข้อ 3 ผูน้ าํ เข้านํ้าบริ โภคในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิทเพื่อจําหน่าย ต้องจัดให้มีใบรับรอง
วิธีการผลิต เครื่ องมือเครื่ องใช้ในการผลิต และการเก็บรักษาอาหาร ไม่ต่าํ กว่าเกณฑ์ที่กาํ หนดไว้ในบัญชีแนบท้าย
ประกาศนี้
ข้อ 4 ให้ผทู ้ ี่ได้รับใบอนุญาตผลิตอาหาร หรื อใบสําคัญการขึ้นทะเบียนตํารับอาหาร
หรื อใบสําคัญการใช้ฉลากอาหาร นํ้าบริ โภคในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิทก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บงั คับที่ปฏิบตั ิไม่
เป็ นไปตามข้อ 2 หรื อข้อ 3 ทําการปรับปรุ งแก้ไขหรื อจัดให้มีใบรับรองแล้วแต่กรณี ให้ถูกต้องตามประกาศนี้
ภายในสองปี นับแต่วนั ที่ประกาศนี้ใช้บงั คับ
ข้อ 5 ประกาศนี้ ให้ใช้บงั คับตั้งแต่วนั ที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ.2544 เป็ นต้นไป

ประกาศ ณ วันที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ.2544

(ลงชื่อ) สุดารัตน์ เกยุราพันธุ์


(นางสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์)
รัฐมนตรี วา่ การกระทรวงสาธารณสุข

ประกาศกระทรวงสาธารณสุ ข
143

(ฉบับที่ 256) พ.ศ.2545


เรื่อง นา้ บริโภคในภาชนะบรรจุทปี่ ิ ดสนิท (ฉบับที่ 4)
-------------------------------------------------

โดยที่เป็ นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมประกาศกระทรวงสาธารณสุขว่าด้วยเรื่ อง นํ้าบริ โภคในภาชนะบรรจุที่


ปิ ดสนิท
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 5 และมาตรา 6(10) แห่งพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 อันเป็ น
พระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิ ทธิและเสรี ภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบ
กับมาตรา 35 มาตรา 48 และมาตรา 50 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยบัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัย
อํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย รัฐมนตรี วา่ การกระทรวงสาธารณสุขออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้ยกเลิกความในข้อ 5 ของประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 61 (พ.ศ.2524) เรื่ อง นํ้าบริ โภคใน
ภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท ลงวันที่ 7 กันยายน พ.ศ.2524 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 5 การแสดงฉลากของนํ้าบริ โภคในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท ให้ปฏิบตั ิตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข
ว่าด้วยเรื่ อง ฉลาก เว้นแต่การแสดงข้อความตามข้อ 3(11) ของประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 194)
พ.ศ.2543 เรื่ อง ฉลาก ลงวันที่ 19 กันยายน พ.ศ.2543 ให้ใช้บงั คับเมื่อพ้นกําหนดสองปี นับแต่วนั ที่ประกาศนี้
ใช้บงั คับ”
ข้อ 2 ประกาศนี้ ให้ใช้บงั คับตั้งแต่วนั ถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็ นต้นไป

ประกาศ ณ วันที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ.2545

ลงชื่อ สุดารัตน์ เกยุราพันธุ์


(นางสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์)
รัฐมนตรี วา่ การกระทรวงสาธารณสุข
144

บัญชีแนบท้ ายประกาศกระทรวงสาธารณสุ ข (ฉบับที่ 220) พ.ศ.2544


เรื่อง นา้ บริโภคในภาชนะบรรจุทปี่ ิ ดสนิท (ฉบับที่ 3)
-------------------------------------------

การผลิตนํ้าบริ โภคในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิทจะต้องมีการกําหนดวิธีการผลิต เครื่ องมือ


เครื่ องใช้ในการผลิต และการเก็บรักษานํ้าบริ โภคในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท ซึ่งการดําเนินการดังกล่าวนั้นจะต้อง
คํานึงถึงสิ่ งต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
ลําดับ หัวข้อ เนื้อหา
ที่

1 สถานที่ต้ งั และอาคารผลิต 1.1 สถานที่ต้ งั ตัวอาคารและที่ใกล้เคียง ต้องอยูใ่ นที่ที่เหมาะสม ไม่ทาํ ให้เกิด


การปนเปื้ อนกับนํ้าบริ โภคที่ผลิต หากไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ตอ้ งมีมาตรการ
ป้ องกันการปนเปื้ อนดังกล่าว
1.2 อาคารผลิตนํ้าบริ โภคในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิทอย่างน้อยต้องมีลกั ษณะ
ดังต่อไปนี้
1.2.1 มีการออกแบบและก่อสร้างมัน่ คง ง่ายแก่การบํารุ งสภาพและรักษาความ
สะอาด และสามารถป้ องกันสัตว์ แมลง
1.2.2 มีระบบแสงสว่างและระบบการถ่ายเทอากาศที่ดีและเพียงพอ
1.2.3 ใช้สาํ หรับผลิตอาหารเท่านั้น
1.2.4 มีการแยกที่อยูอ่ าศัยและห้องนํ้าห้องส้วมออกเป็ นสัดส่วน ไมปะปนกับ
บริ เวณผลิต
1.2.5 มีขนาดและพื้นที่มากพอที่จะติดตั้งเครื่ องจักรอุปกรณ์การผลิต และแยก
เป็ นสัดส่วนเป็ นไปตามสายงานการผลิต
1.2.6 ภายในอาคารผลิตอย่างน้อยต้องประกอบด้วย
1.2.6.1 ห้องหรื อบริ เวณติดตั้งเครื่ องหรื ออุปกรณ์ปรับคุณภาพนํ้า มีพ้นื ลาดเอียง
ไม่มีน้ าํ ขัง และมีทางระบายนํ้า
1.2.6.2 ห้องหรื อบริ เวณเก็บภาชนะก่อนล้าง กรณี เป็ นภาชนะบรรจุใหม่ (ขวด
ถุง และฝา) ห้องหรื อบริ เวณนั้นต้องมีพ้นื ที่แห้ง มีช้ นั หรื อยกพื้น มีมาตรการ
ป้ องกันฝุ่ นละออง
1.2.6.3 ห้องหรื อบริ เวณล้างและฆ่าเชื้อภาชนะบรรจุ มีพ้นื ลาดเอียง ไม่มีน้ าํ ขัง
และมีทางระบายนํ้า มีระบบจัดแยกภาชนะกําลังรอล้างและที่ลา้ งแล้ว
1.2.6.4 ห้องบรรจุ มีมาตรการป้ องกันการปนเปื้ อนอย่างมีประสิ ทธิภาพ มี
ทางเข้า-ออกที่สามารถป้ องกันสัตว์และแมลง ไม่เป็ นทางเดินผ่านไปยังบริ เวณ
หรื อห้องอื่น ๆ มีพ้นื ลาดเอียง ไม่มีน้ าํ ขัง และมีทางระบายนํ้า มีโต๊ะและหรื อ
แท่นบรรจุซ่ ึงทําความสะอาดง่าย และห้องบรรจุดงั กล่าวต้องมีการใช้และ
145

ปฏิบตั ิงานจริ ง
1.2.6.5 ห้องหรื อบริ เวณเก็บผลิตภัณฑ์ มีช้ นั หรื อยกพื้นรองรับ มีระบบการเก็บ
ผลิตภัณฑ์เพื่อรอจําหน่ายในลักษณะผลิตก่อนนําไปจําหน่ายก่อน ห้องหรื อ
บริ เวณดังกล่าวต้องแยกเป็ นสัดส่วน เป็ นไปตามสายงานการผลิต มีมาตรการ
ป้ องกันการปนเปื้ อน กรณี ที่ขบวนการผลิตเป็ นแบบต่อเนื่องและเป็ นระบบปิ ด
ต้องมีช่องเปิ ดสําหรับการลําเลียงขนส่ง ซึ่งช่องเปิ ดนั้นต้องมีขนาดพอเหมาะ
และมีมาตรการป้ องกันกาปนเปื้ อน และกรณี ที่มียานพาหนะสําหรับส่ง
ผลิตภัณฑ์ ต้องมีระบบป้ องกันการปนเปื้ อน
2 เครื่ องมือเครื่ องจักรและ 2.1 มีจาํ นวนเพียงพอและเป็ นชนิดที่เหมาะสมกับการผลิต ซึ่งอย่างน้อยต้อง
อุปกรณ์การผลิต ประกอบด้วย
2.1.1 เครื่ องหรื ออุปกรณ์การปรับคุณภาพนํ้า
2.1.2 เครื่ องหรื ออุปกรณ์ลา้ งภาชนะบรรจุ
2.1.3 เครื่ องหรื ออุปกรณ์การบรรจุ
2.1.4 เครื่ องหรื ออุปกรณ์ปิดผนึก
2.1.5 โต๊ะหรื อแท่นบรรจุที่เหมาะสมสําหรับขนาดบรรจุที่ต่างกัน
2.1.6 ท่อส่งนํ้าเป็ นท่อพลาสติก PVC หรื อวัสดุอื่นที่มีคุณภาพทัดเทียมกัน
2.2 มีการออกแบบ อย่างน้อยต้องมีลกั ษณะดังนี้
2.2.1 ผิวหน้าของเครื่ องหรื ออุปกรณ์ที่สมั ผัสโดยตรงกับนํ้าบริ โภคทําจากวัสดุ
ที่ไม่ก่อให้เกิดสนิมและไม่เป็ นพิษ สามารถทําความสะอาด และฆ่าเชื้อได้ง่าย
2.2.2 ท่อนํ้าที่มีขอ้ ต่อ วาล์ว และน๊อต ออกแบบง่ายต่อการถอด เพื่อทําความ
สะอาด ฆ่าเชื้อ และการประกอบใหม่ ภายในท่อไม่มีมุมหรื อปลายตันซึ่งจะทํา
ให้สิ่งสกปรกสะสมและยากต่อการทําความสะอาด
2.2.3 ถังหรื อบ่อพักนํ้าในกระบวนการผลิตมีฝาปิ ดป้ องกันการปนเปื้ อน ซึ่งฝา
นั้นมีการออกแบบและอยูใ่ นสภาพที่ดี ไม่เป็ นที่สะสมของสิ่ งสกปรก
2.2.4 อุปกรณ์การปรับคุณภาพนํ้าและสารกรองมีการออกแบบและกําหนด
คุณสมบัติที่มีประสิ ทธิภาพ เพื่อวัตถุประสงค์ในการกรองแต่ละขั้นตอนการ
ผลิต และสัมพันธ์กบั กําลังการผลิต ซึ่งผูผ้ ลิตต้องแจ้งไว้ต่อผูอ้ นุญาต
2.3 มีการติดตั้งในตําแหน่งที่เหมาะสมเป็ นไปตามสายงานการผลิต ต้องง่ายต่อ
การปฏิบตั ิงานและทําความสะอาด
2.4 ต้องมีการตรวจสอบประสิ ทธิภาพการทํางานของอุปกรณ์การกรอง
สมํ่าเสมอ เพื่อให้มนั่ ใจว่ายังมีสภาพการทํางานที่ให้ผลดีอยู่
2.5 มีการล้าง ฆ่าเชื้อ และรักษาความสะอาด ซึ่งอย่างน้อยต้องปฏิบตั ิดงั นี้
2.5.1 ทําความสะอาดและฆ่าเชื้ออย่างเพียงพอก่อนและหลังการผลิต หรื อตาม
ระยะเวลาที่เหมาะสม
146

2.5.2 มีการตรวจสอบประสิ ทธิภาพของการล้างฆ่าเชื้อเครื่ องจักรอุปกรณ์การ


ผลิตสมํ่าเสมอ เพื่อให้มนั่ ใจว่าวิธีการล้างและฆ่าเชื้อที่กาํ หนดไว้ถูกต้อง
สามารถขจัดสิ่ งสกปรกและฆ่าเชื้อได้จริ ง
2.5.3 เก็บรักษาเครื่ องจักร อุปกรณ์การผลิตที่ลา้ งและฆ่าเชื้อแล้วให้อยูใ่ นสภาพ
ที่เหมาะสม มีมาตรการป้ องกันการปนเปื้ อนอย่างเพียงพอจนถึงเวลาใช้งาน ซึ่ง
มีการตรวจสอบก่อนใช้ดว้ ย
3 แหล่งนํ้า แหล่งนํ้าที่นาํ มาใช้ในการผลิตนํ้าบริ โภคในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท ต้องห่าง
จากแหล่งโสโครกและสิ่ งปฏิกลู หรื อมีมาตรการป้ องกันไม่ให้เกิดการปนเปื้ อน
กับแหล่งนํ้า ผูผ้ ลิตต้องเก็บตัวอย่างนํ้าจากแหล่งนํ้าไปตรวจ
วิเคราะห์คุณสมบัติท้ งั ทางเคมี กายภาพ และจุลินทรี ย ์ สมํ่าเสมอ อย่างน้อยปี ละ
1 ครั้ง และ/หรื อทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนแหล่งนํ้า เพื่อใช้เป็ นข้อมูลเกี่ยวกับการ
เปลี่ยนแปลงคุณภาพของแหล่งนํ้าและเป็ นข้อมูลใช้ในการปรับปรุ งคุณภาพนํ้า
4 การปรับคุณภาพนํ้า ต้องเหมาะสมและคํานึงถึงคุณภาพของแหล่งนํ้าตามข้อ 3 เพื่อติดตั้งเครื่ องและ
อุปกรณ์การกรองและฆ่าเชื้อที่มีประสิ ทธิภาพ ซึ่งสามารถกําจัดสิ่ งปนเปื้ อน
ทางเคมี กายภาพ และจุลินทรี ยท์ ี่มีอยูใ่ ห้อยูใ่ นระดับที่กฎหมายกําหนด
5 ภาชนะบรรจุ 5.1 ต้องทําจากวัสดุที่ไม่เป็ นพิษ
5.2 ภาชนะบรรจุชนิดใช้เพียงครั้งเดียวซึ่งรวมถึงฝา ต้องมีการตรวจสอบสภาพ
เบื้องต้น ไม่มีตาํ หนิ อยูใ่ นหี บห่อที่สะอาด ป้ องกันการปนเปื้ อนจากฝุ่ นผง ก่อน
นํามาใช้บรรจุตอ้ งล้างด้วยนํ้าที่ผา่ นการปรับคุณภาพที่พร้อมจะนําไปบรรจุ
5.3 ภาชนะบรรจุชนิดใช้ได้หลายครั้งอย่างน้อยต้องดําเนินการ ดังนี้
5.3.1 ก่อนล้างมีบริ เวณเก็บ แยกเป็ นสัดส่วน มีการตรวจสอบสภาพทั้งภายนอก
และภายในภาชนะและฉลาก หากมีขอ้ บกพร่ องต้องทําการคัดแยกออก
5.3.2 ทําความสะอาดพื้นผิวด้านนอกและฝาด้วยนํ้ายาทําความสะอาดที่มี
ประสิ ทธิภาพก่อน และล้างทําความสะอาดผิวด้านในที่สมั ผัสกับนํ้าที่บรรจุ
และฆ่าเชื้ออีกครั้งด้วยสารฆ่าเชื้อที่มีประสิ ทธิภาพ และต้องล้างด้วยนํ้าที่ใช้
บรรจุเป็ นครั้งสุดท้ายก่อนบรรจุ
5.4 ต้องตรวจสอบการปนเปื้ อนจุลินทรี ยข์ องภาชนะบรรจุสมํ่าเสมอ เพื่อยืนยัน
ถึงการทําความสะอาดและฆ่าเชื้อที่มีประสิ ทธิภาพ
5.5 ภาชนะบรรจุที่ลา้ งแล้วควรรี บนําไปบรรจุน้ าํ บริ โภคและปิ ดฝาทันทีหากไม่
สามารถทําได้ก็ตอ้ งมีวธิ ีการเก็บรักษาภาชนะบรรจุที่ทาํ ความสะอาดแล้วอย่าง
เหมาะสม ต้องมีมาตรการป้ องกันการปนเปื้ อนจนถึงเวลาใช้งานต้องมีการ
ตรวจสอบสภาพความสะอาดก่อนใช้บรรจุ หากมีตาํ หนิหรื อไม่สะอาดต้องคัด
แยกนําไปผ่านกรรมวิธีการทําความสะอาดและฆ่าเชื้อใหม่
5.6 การลําเลียงขนส่งภาชนะบรรจุที่ทาํ ความสะอาดแล้ว ต้องไม่ทาํ ให้เกิดการ
147

ปนเปื้ อนขึ้นอีก
6 สารทําความสะอาดและ สารที่ใช้ในการทําความสะอาดและฆ่าเชื้อ เครื่ องจักร อุปกรณ์การผลิต
สารฆ่าเชื้อ โดยเฉพาะภาชนะบรรจุ ต้องมีขอ้ มูลเกี่ยวกับวิธีการใช้ ความเข้มข้นอุณหภูมิที่
ใช้ ระยะเวลาที่สารนั้นสัมผัสกับพื้นผิวที่ตอ้ งการทําความสะอาดและฆ่าเชื้อ
และต้องมีการทดสอบว่าข้อมูลดังกล่าวมีประสิ ทธิภาพในการทําความสะอาด
และฆ่าเชื้อได้จริ ง
7 การบรรจุ การบรรจุน้ าํ บริ โภคที่เหมาะสมต้องปฏิบตั ิดงั นี้
7.1 บรรจุและปิ ดฝาหรื อปิ ดผนึกทันทีเมื่อนํ้าผ่านการปรับคุณภาพแล้ว หากไม่
สามารถทําได้จะต้องมีถงั เก็บที่สะอาด มีฝาปิ ด และมีอุปกรณ์ฆ่าเชื้อจุลินทรี ย ์
อีกครั้งก่อนบรรจุ
7.2 บรรจุในห้องบรรจุที่มีลกั ษณะตามข้อ 1.2.6.4
7.3 บรรจุดว้ ยเครื่ องบรรจุที่มีประสิ ทธิภาพและสะอาด
7.4 บรรจุจากหัวบรรจุโดยตรง ไม่มีการต่อสายยางในการบรรจุไม่วา่ ขนาด
บรรจุใดก็ตาม
7.5 ไม่ให้มือของผูป้ ฏิบตั ิงานสัมผัสกับปากขวดขณะทําการบรรจุและปิ ดฝา
หรื อปิ ดผนึก
7.6 ตรวจพินิจสภาพความเรี ยบร้อยของภาชนะบรรจุหลังการบรรจุและปิ ดฝา
หรื อปิ ดผนึกอีกครั้ง รวมทั้งตรวจสอบความสมบูรณ์ของฉลาก
8 การควบคุมคุณภาพ ผูผ้ ลิตต้องเก็บตัวอย่างผลิตภัณฑ์ส่งตรวจวิเคราะห์ท้ งั ทางด้านจุลินทรี ยเ์ คมี
มาตรฐาน และฟิ สิ กส์ เป็ นประจํา โดยเฉพาะทางด้านจุลินทรี ยต์ รวจสอบอย่างน้อยปี ละ 2
ครั้ง เพื่อตรวจสอบว่าผลิตภัณฑ์มีคุณภาพมาตรฐานตามที่กฎหมายกําหนด
9 การสุขาภิบาล ผูผ้ ลิตต้องดําเนินการเกี่ยวกับสุขาภิบาลดังต่อไปนี้
9.1 ทําความสะอาดผนัง เพดาน พื้นอาคารผลิต สมํ่าเสมอ โดยเฉพาะห้องบรรจุ
มีการล้างพื้นและฆ่าเชื้อด้วยสารเคมีก่อนและหลังการปฏิบตั ิงานทุกครั้ง
9.2 มูลฝอยในสถานที่ผลิตมีภาชนะที่มีฝาปิ ด ในจํานวนที่เพียงพอและมีวธิ ี
กําจัดที่เหมาะสม
9.3 นํ้าที่ใช้ในอาคารผลิตสําหรับวัตถุประสงค์อื่น ๆ ต้องสะอาด มีการปรับ
คุณภาพนํ้าตามความจําเป็ นในการใช้และมีปริ มาณเพียงพอ
9.4 มีทางระบายนํ้าทิ้งที่ออกแบบให้สามารถระบายนํ้าได้อย่างสะดวก และมีฝา
หรื อตะแกรงปิ ดรางระบายนํ้านั้นเพื่อป้ องกันการปนเปื้ อนที่อาจเกิดขึ้น
9.5 ห้องส้วมและอ่างล้างมือหน้าห้องส้วมมีจาํ นวนเพียงพอสําหรับผูป้ ฏิบตั ิงาน
และถูกสุขลักษณะ มีอุปกรณ์ในการล้างมืออย่างครบถ้วน ถูกสุขลักษณะ และ
ใช้งานได้อย่างมีประสิ ทธิภาพ
9.6 อ่างล้างมือบริ เวณผลิตมีจาํ นวนเพียงพอโดยเฉพาะหน้าห้องบรรจุ และมี
148

อุปกรณ์ในการล้างมือครบถ้วน ถูกสุขลักษณะ และใช้งานได้อย่างมี


ประสิ ทธิภาพ
9.7 ไม่มีสตั ว์เลี้ยงในอาคารผลิต และมีระบบควบคุมป้ องกันสัตว์ แมลง ที่มี
ประสิ ทธิภาพ
10 บุคลากรและสุขลักษณะ ผูป้ ฏิบตั ิงานในบริ เวณผลิตต้องปฏิบตั ิและคํานึงถึงสิ่ งต่าง ๆ ดังนี้
ผูป้ ฏิบตั ิงาน 10.1 ไม่เป็ นโรคติดต่อหรื อโรคที่น่ารังเกียจ หรื อมีบาดแผลอันอาจก่อให้เกิด
การปนเปื้ อนในผลิตภัณฑ์ และผ่านการตรวจสุขภาพอย่างน้อยปี ละหนึ่งครั้ง
10.2 แต่งกายสะอาด ตัดเล็บให้ส้ นั ไม่ทาเล็บ ไม่ใส่เครื่ องประดับ และล้างมือ
ให้สะอาดทุกครั้งก่อนเริ่ มปฏิบตั ิงาน โดยเฉพาะผูป้ ฏิบตั ิงานในห้องบรรจุตอ้ ง
สวมถุงมือที่อยูใ่ นสภาพสมบูรณ์ สะอาดถูสุขลักษณะ กรณี ไม่สวมถุงมือต้อง
ล้างมือ เล็บ แขน ให้สะอาดก่อนเข้าห้องบรรจุ และจุ่มล้างด้วยนํ้าคลอรี นก่อน
ทําการบรรจุ มีหมวก/ ผ้าคลุม / ตาข่าย / แถบรัดผม /ผ้ากันเปื้ อน / ผ้าปิ ดปาก /
รองเท้าคนละคู่ เพื่อป้ องกันการปนเปื้ อนลงไปในผลิตภัณฑ์
10.3 ไม่บริ โภคอาหารและสูบบุหรี่ ในขณะปฏิบตั ิงานหรื อมีนิสยั การทํางานที่
น่ารังเกียจอื่นๆ ซึ่งอาจทําให้เกิดการปนเปื้ อนลงในผลิตภัณฑ์ได
10.4 ได้รับการอบรมเกี่ยวกับสุขลักษณะทัว่ ไปและความรู ้เกี่ยวกับการผลิตนํ้า
บริ โภคตามความเหมาะสม
11 บันทึกและรายงาน ผูผ้ ลิตต้องมีบนั ทึกและรายงานอย่างน้อยดังต่อไปนี้
11.1 ผลการตรวจวิเคราะห์น้ าํ จากแหล่งนํ้าที่ใช้ในการผลิต
11.2 สภาพการทํางานของเครื่ องกรอง และ/หรื อเครื่ องฆ่าเชื้อ
11.3 ผลการตรวจวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์ท้ งั ด้านเคมี ฟิ สิ กส์ และจุลชีววิทยา
11.4 ชนิดและปริ มาณการผลิตของผลิตภัณฑ์
149

ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม
ฉบับที่ 332 (พ.ศ. 2521)
ออกตามความในพระราชบัญญัตมิ าตรฐานผลิตภัณฑ์ อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511
เรื่อง กาหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์ อุตสาหกรรมนา้ บริโภค
-----------------------------------------------
เล่ม 1 ข้อกําหนดเกณฑ์คุณภาพ
อาศัยอํานาจตามความใน 15 แห่งพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 รัฐมนตรี วา่ การกระทรวงอตุ
สาหกรรมออกประกาศกําหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมนํ้าบริ โภค เล่ม 1 ข้อกําหนดเกณฑ์คุณภาพ มาตรฐานเลขที่
มอก. 257 เล่ม 1-2521 ไว้ ดังมีรายละเอียดต่อท้ายประกาศนี้

ประกาศ ณ วันที่ 8 พฤษภาคม 2521


เกษม จาติกวณิ ช
รัฐมนตรี วา่ การกระทรวงอตุสาหกรรม

ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 95 ตอนที่ 68 ลงวันที่ 4 กรกฎาคม 2521


150

ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม
ฉบับที่ 332 (พ.ศ. 2521)
ออกตามความในพระราชบัญญัตมิ าตรฐานผลิตภัณฑ์ อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511
เรื่อง กาหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์ อุตสาหกรรมนา้ บริโภค
เล่ม 1 ข้อกําหนดเกณฑ์คุณภาพ
--------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความใน 15 แห่งพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 รัฐ
มนตรี วา่ การกระทรวงอตุสาหกรรมออกประกาศกําหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมนํ้าบริ โภค เล่ม 1
ข้อกําหนดเกณฑ์คุณภาพมาตรฐานเลขที่ มอก. 257 เล่ม 1-2521 ไว้ ดังมีรายละเอียดต่อท้ายประกาศนี้

ประกาศ ณ วันที่ 8 พฤษภาคม 2521


เกษม จาติกวณิ ช
รัฐมนตรี วา่ การกระทรวงอตุสาหกรรม

ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 95 ตอนที่ 68 ลงวันที่ 4 กรกฎาคม 2521


151

มาตรฐานผลิตภัณฑ์ อุตสาหกรรมนา้ บริโภค


1. ขอบข่าย
1.1 มาตรฐานผลิตภัณฑ์อตุสาหกรรมนี้กาํ หนด คุณลักษณะที่ตอ้ งการทํา เครื่ องหมายและฉลาก การชักตัวอย่าง
และเกณฑ์ตดั สิ น และการวิเคราะห์ทดสอบนํ้าที่ใช้บริ โภคทัว่ ไป ตลอดจนนํ้าที่ใช้ในอุตสาหกรรมอาหารและ
เครื่ องดื่ม
2. บทนิยาม
ความหมายของคํา ที่ใช้ในมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมนี้ มีดงั ต่อไปนี้
2.1 หน่วยปลาตนินมั -โคบอลต์ (platinum cobalt scale) หมายถึง หน่วยวัดระดับความเข้มของสี ในนํ้า
2.2 หน่วยซิลิกา (Silica scale unit) หมายถึง หน่วยวัดค่าความขุ่นในนํ้า
2.3 แสตนดาร์ดเพลตเคานต์ (Standard plate count) หมายถึง จํานวนโคโลนีของบักเตรี ต่อหนึ่งลูกบาศก์
เซนติเมตรของนํ้า เมื่อเลี้ยงในอาหารที่กาํ หนด อบที่อุณหภูมิและระยะเวลาที่จาํ กัด
2.4 เอ็มพีเอ็น (MPN) most probable number of coliform organisms) หมายถึง ดัชนีแสดงค่าของโคลิฟอร์ม
ออร์แกนิสซัม (Coliform organism) ที่พบจากการเลี้ยงเชื้อจากตัวอย่างนํ้าที่ผสมเจือจางแล้วตามส่วน
3. คุณลักษณะที่ตอ้ งการ
3.1 นํ้าที่จะถือว่าเป็ นนํ้า บริ โภคตามมาตรฐาน ผลิตภัณฑ์อตุสาหกรรมนี้ตอ้ งมีคุณลักษณะตามเกณฑ์ที่กาํ หนด ดัง
แสดงในสดมภ์ที่ 2 ของตารางที่ 1 ในสดมภ์ที่ 2 ของตารางที่ 2 และตารางที่ 3 และตารางที่ 4
3.2 หากมีคุณลักษณะที่แตกต่างไปจากที่ระบุไว้ในข้อ 3.1 ไม่ถือว่าเป็ นนํ้า บริ โภคตามมาตรฐานฉบับนี้ตารางที่ 1
คุณลักษณะทางกายภาพ
(ข้อ 3)
1 2 3
รายการ เกณฑ์ที่กาํ หนดสูงสุด เกณฑ์ที่อนุโลมให้สูงสุด
(maximum acceptableconcentration) (maximum allowableconcentration)

สี (colour) 5 15 5 15
หน่วยปลาตินมั -โคบอลต์
รส (taste) ไม่เป็ นที่น่าเกียจ ไม่เป็ นที่น่าเกียจ
กลิ่น (odour) ไม่เป็ นที่รังเกียจ ไม่เป็ นที่รังเกียจ
ความขุ่น (turbidity) 5 20
หน่วยชิลิกา
ความเป็ นกรด-ด่าง 6.5 ถึง 8.5 ไม่เกิน 9.2 ไม่เกิน 9.2
(pH-range)
152

หมายเหตุ * เกณฑ์ อื่นที่อนุโลมให้สูงสุดตามสดมภ์ที่ 3 นั้นเป็ นเกณฑ์ที่อนุญาตให้สาํ หรับนํ้าประปาหรื อ นํ้า


บาดาลที่มีความจําเป็ นต้องใช้บริ โภคเป็ นการชัว่ คราว และนํ้าที่มีคุณลักษณะอยูใ่ นระหว่างเกณฑ์ของสดมภ์ที่ 2
กับสดมภ์ที่ 3 นั้น ไม่ใช่น้ าํ ที่ให้เครื่ องหมายมาตรฐานได้

ตารางที่ 2 คุณลักษณะทางเคมี
(ข้อ 3)
1 2 3
รายการ เกณฑ์ที่กาํ หนดสูงสุด เกณฑ์ที่อนุโลมให้สูงสุด
มิลลิกรัมต่อลูกบาศก์เดซิเมตร มิลลิรัมต่อลูกบาศก์เดซิเมตร

ปริ มาณสารทั้งหมด (total solids) 500 1500


เหล็ก (Fe) 0.5 1.0
มังกานีส (Mn) 0.3 0.5
เหลก็ และมงั กานสี 0.5 1.0
ทองแดง (Cu) 1.0 1.5
สังกะสี (Zn) 5.0 15
คัลเซียม (Ca) 75** 200
มักเนเซียม (Mg) 50 150
ซัลเฟต (SO4) 200 250**
คลอไรด์ (Cl) 250 600
ฟลูออไรด์ (F) 0.7 1.0
ไนเตรต (NO3) 45 45
อัลคิลเบนซิลซัลโฟเนต (alkyl 0.5 1.0
benzyl sulfonates, ABS)
ฟิ โนลิกซับสแตนซ์ (Phenolic
substances, as phenol) 0.001 0.002

หมายเหตุ * เกณฑ์ที่อนุโลมให้สูงสุดตามสดมภ์ที่ 3 นั้น เป็ นเกณฑ์ที่อนุญาตให้สาํ หรับนํ้าประปาหรื อนํ้าบาดาลที่


ความจําเป็ นต้องใช้บริ โภคเป็ นการชัว่ คราว และนํ้าที่มีคุณลักษณะอยูใ่ นระหว่างเกณฑ์ของสดมภ์ที่ 2 กับ สดมภ์ที่
3 นั้น ไม่ใช่น้ าํ ที่ให้เครื่ องหมายมาตรฐานได้
***หากคัลเซียมปริ มาณสูงกว่าที่กาํ หนด และมักเนเซียมปริ มาณตํ่า กว่าที่กาํ หนดในมาตรฐานให้พิจารณาคัลเซียม
และมักเนเซียมในเทอมของความกระด้างทั้งหมด (total hardness) ถ้าความกระด้างทั้งหมดเมื่อคํานวณเป็ น
คัลเซียมคาร์บอเนตมีปริ มาณตํ่ากว่า 300 มิลลิกรัมต่อลูกบาศก์เดซิเมตร ให้ถือว่านํ้านั้นเป็ นไปตามมาตรฐาน
153

การแบ่งระดับความกระด้างของนํ้าดังต่อไปนี้
0 ถึง 75 มิลลิกรัมต่อลูกบาศก์เดซิเมตร เรี ยก นํ้าอ่อน
75 ถึง 150 มิลลิกรัมต่อลูกบาศก์เดซิเมตร เรี ยก นํ้ากระด้างปานกลาง
150 ถึง 300 มิลลิกรัมต่อลูกบาศก์เดซิเมตร เรี ยก นํ้ากระด้าง
300 มลิ ลกิ รัมต่อลูกบาศก์เดซิเมตรขึ้นไป เรี ยก นํ้ากระด้างมาก
***หากซัลเฟต มีปริ มาณถึง 250 มิลลิกรัมต่อลูกบาศก์เดซิเมตร มักเนเซียมต้องมีปริ มาณไม่เกิน 30 มิลลิกรัมต่อ
ลูกบาศก์เดซิเมตร

ตารางที่ 3 สารเป็ นพิษ


(ข้อ 3)
รายการ เกณฑ์ที่กาํ หนดสูงสุดมิลลิกรัมต่อลูกบาศก์เดซิเมตร
ปรอท (Hg) 0.001
ตะกัว่ (Pb) 0.05
อาร์เชนิก (As) 0.05
เซเลเนียม (Se) 0.01
โครเมียม (Cr hexavalent) 0.05
ไซอะไนด์ (CN) 0.2
คัดเมียม (Cd) 0.01
มาเรี ยม (Ba) 1.0

ตารางที่ 4 คุณลักษณะทางจุลชีววิทยา
(ข้อ 3)
รายการ เกณฑ์ที่กาํ หนดสูงสุด
แสตนดาร์ดเพลตเคานต์ 500
โคโลนีต่อลูกบาศก์เซนติเมตร
เอ็มพีเอ็น น้อยกว่า 2.0
โตลิฟอร์มออร์เกนิสซัมต่อ100 ลูกบาศก์เซนติเมตร
อี. โคไล (E. coli) ไม่มี

4. การทํา เครื่ องหมายและฉลาก


ในกรณี ของนํ้าที่บรรจุในภาชนะบรรจุ
4.1 ที่ภาชนะบรรจุหรื อที่ฝาปิ ดต้องมีเลข อักษร หรื อเครื่ องหมายแสดงข้อความต่อไปนี้ให้เห็นได้ชดั เจนเข้าใจง่าย
154

(1) ชื่อผูท้ าํ หรื อโรงงานที่ทาํ และ/หรื อเครื่ องหมายการค้า


(2) ปริ มาณสุทธิ ในหน่วย เอส.ไอ (ลูกบาศก์เซนติเมตร หรื อลูกบาศก์เดซิเมตร)
4.2 ผูท้ าํ ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมที่เป็ นไปตามมาตรฐานนี้ จะแสดงเครื่ องหมายมาตรฐานกับ
ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมนั้นได้ต่อเมื่อได้รับใบอนุญาตจากคณะกรรมการมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมแล้ว
5. การซักตัวอย่างและเกณฑ์ตดั สิ น
5.1 ในกรณี ของนํ้าบรรจุในภาชนะบรรจุ
5.1.1 รุ่ น หมายถึง นํ้าบริ โภคที่บรรจุภาชนะเพื่อส่งออก เพื่อจํา หน่ายจากถังเก็บเดียวกันในวันเดียวกัน
5.1.2 ให้ซกั ตัวอย่างโดยวิธีสุ่มจากแต่ละรุ่ นเพื่อการวิเคราะห์ตรวจสอบตามตารางที่ 5 แต่ละตัวอย่างมี
ปริ มาณไม่นอ้ ยกว่า 1 ลูกบาศก์เดซิเมตร

ตารางที่ 5 วิธีซกั ตัวอย่างนํ้าที่บรรจุในภาชนะบรรจุ


(ข้อ 5.1)
ขนาดรุ่ น (หน่วยภาชนะบรรจุ) ขนาดตัวอย่าง (หน่วยภาชนะบรรจุ)
ไม่เกิน 3200 5
3201 ถึง 10000 8
10001 ถึง 35000 13
35001 ถึง 150000 20
150001 ถึง 500000 30
500001 ขึ้นไป 50

หมายเหตุ ดูขอ้ 5.1.3 ประกอบ


5.1.3 การเตรี ยมตัวอย่าง
ในการวิเคราะห์คุณลักษณะทางจุลชีววิทยาให้ทาํ การวิเคราะห์ตวั อย่างทุก ๆ ตัวอย่างตามจํานวนขนาดตัวอย่าง ใน
การวิเคราะห์คุณลักษณะทางกายภาพ ทางเคมีและสารเป็ นพิษ ให้รวมตัวอย่างที่เหลือจากการ
วิเคราะห์คุณลักษณะทางจุลชีววิทยาเข้าด้วยกัน แล้วจึงนําไปวิเคราะห์ท้ งั นี้ตวั อย่างที่เหลือ เมื่อรวมกันแล้วต้องมี
ปริ มาณไม่นอ้ ยกว่า 4 ลูกบาศก์เดซิเมตร
5.1.4 นําแต่ละรุ่ นที่ถือว่าเป็ นไปตามมาตรฐานนี้ ต้องมีคุณลักษณะที่ตอ้ งการเป็ นไปตามข้อ 3 ทุกรายการ
5.2 ในกรณี ของนํ้าในระบบท่อจ่าย
5.2.1 ผูท้ าํ ต้องใช้ตวั อย่างโดยวิธีสุ่ม เพื่อทําการวิเคราะห์คุณลักษณะที่ตอ้ งการดังนี้
5.2.1.1 ในกรณี การใช้ตวั อย่างการวิเคราะห์ทางกายภาพ ทางเคมีและสารเป็ นพิษให้ชกั ตัวก่อนเข้าสู่ระบบท่อจ่าย
โดยมีปริ มาตรไม่นอ้ ยกว่า 4 ลูกบาศก์เดซิเมตร
5.2.1.2 ในกรณี ที่ชกั ตัวอย่างเพื่อทําการวิเคราะห์ทางจุลชีววิทยา ให้ชกั ตัวอย่างจากในระบบท่อจ่ายตามจํานวน
ประชากรที่ใช้น้ าํ คือ
(1) ถ้าประชากรที่ใช้น้ าํ มีจาํ นวนไม่เกินหนึ่งแสนคน ให้ชกั ตัวอย่าง 1 ตัว อย่างต่อ ประชากร 5000 คน
155

(2) ถ้าประชากรที่ใช้น้ าํ มีจาํ นวนเกินหนึ่งแสนคนขึ้นไปให้ชกั ตัวอย่าง 1 ตัวอย่างต่อ ประชากร 10000 คน


5.2.2 การเก็บตัวอย่างเพื่อการวิเคราะห์คุณลักษณะทางจุลชีววิทยา
5.2.2.1 การเก็บตัวอย่าง ต้องระมัดระวังการติดเชื้อจากสิ่ งอื่น
5.2.2.2 ภาชนะที่ใช้เก็บตัวอย่าง ให้ใช้ขวดแก้วปากกว้างชนิดทนความร้อนที่มีจุกแก้วปิ ดสนิทความจุประมาณ
170 ลูกบาศก์เซนติเมตร ใส่สารละลายโซเดียมไทโอซัลเฟตเข้มข้นร้อยละ 3 จํานวน 0.1
ลูกบาศก์เซนติเมตร แล้วหุม้ ห่อด้วยกระดาษหรื อแผ่นดีบุก หรื อแผ่นอะลูมิเนียม บรรจุขวดแก้วนี้ลงในกระบอก
โลหะแล้วนํา ไปอบในตูอ้ บที่อุณหภูมิ 160 ถึง 170 องศาเซลเซียส เป็ นเวลา 1 ชัว่ โมง
5.2.2.3 ไม่เปิ ดจุขวดจนกว่าจะเก็บตัวอย่าง การเปิ ดให้จบั จุกเฉพาะข้างบน ห้ามจับส่วนของจุกที่จะเปิ ดลงในขวด
และคอขวด
5.2.2.4 ใช้ไฟจากตะเกียงอัลกฮอล์ลนปานก๊อกให้ร้อนเพื่อฆ่าเชื้อโรคก่อน แล้วเปิ ดนํ้าให้ไหลเต็มที่ทิ้งไป 5 นาที
เพื่อทํา ความสะอาดปากก๊อก ต่อจากนั้นใช้ไฟลนปากขวดพร้อมทั้งจุกจนร้อน แล้วจึงเปิ ดจุกขวดออก รองรับนํ้า
ประมารค่อนขวด (ประมาณ 100 ลูกบาศก์เซนติเมตร ) อย่าให้น้ าํ เต็มขวดเพื่อเหลือที่วา่ งไว้สาํ หรับเขย่านํ้าให้เข้า
กันเวลาตรวจสอบ ในการเก็บนํ้านี้ไม่ควรจับคอขวด เมื่อเปิ ดจุกขวดออก ต้องถือจุกไว้อย่าให้แตะต้องกับสิ่ งอื่น
ก่อนปิ ดจุกขวดให้ใช้ไฟลนปากขวด และจุกอีกครั้งแล้วจึงปิ ดจุกนํา ขวดเก็บตัวอย่างนี้ใส่ลงในกระบอกโลหะปิ ด
ฝาไว้ตามเดิม
5.2.2.5 ต้องทําการวิเคราะห์ภายในเวลา 24 ชัว่ โมงหลังจากการเก็บตัวอย่าง
5.2.3 การเตรี ยมตัวอย่าง
ในการวิเคราะห์คุณลักษณะทางจุลชีววิทยาให้วเิ คราะห์ทุก ๆ ตัวอย่างที่ได้รับ ในการวิเคราะห์คุณลักษณะทาง
กายภาพ ทางเคมีและสารเป็ นพิษ ให้รวมตัวอย่างที่เก็บมาจากแต่ละจุดเข้าด้วยกันทั้งนี้ตวั อย่างรวมกันแล้วต้องไม่
น้อยกว่า 4 ลูกบาศก์เดซิเมตร
5.2.4 ตัวอย่างซึ่งถือว่าเป็ นไปตามมาตรฐานนี้ ต้องมีคุณลักษณะที่ตอ้ งการเป็ นไปตามข้อ 3 ทุกรายการ
6. การวิเคราะห์และทดสอบ
6.1 การวิเคราะห์และทดสอบให้เป็ นไปตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมการวิเคราะห์และทดสอบนํ้า บริ โภค
มาตรฐานเลขที่ มอก. 258

ข้ อแนะนา สาหรับความถี่ในการวิเคราะห์ ทดสอบในระบบท่ อจ่ าย


ควรทํา การวิเคราะห์ทดสอบนํ้าอย่างน้อยตามช่วงเวลาดังต่อไปนี้
ก. 1 คุณลักษณะทางกายภาพ (ตารางที่ 1) ให้ทาํ การทดสอบอย่างน้อย 1 ครั้ง ต่อเดือน
ข. 2 คุณลักษณะทางเคมี (ตารางที่ 2)
ก. 21 กลุ่มที่ 1 ได้แก่ ปริ มาณสารทั้งหมด
เหล็ก
มังกานีส
คัลเซียม
มักเนเซียม
156

ซัลเฟต
คลอไรด์
ฟลูออไรด์
ไนเตรต
ให้ทาํ การวิเคราะห์อย่างน้อย 1 ครั้ง ต่อ 2 เดือน
ก. 2.2 กลุ่มที่ 2 ได้แก่ ทองแดง
สังกะสี
อัลคิลเบนซิลซัลโพเนต
ฟี โนลิกซับสแตนซ์
ให้ทาํ การวิเคราะห์อย่างน้อย 1 ครั้งต่อปี
ก. 3 สารเป็ นพิษ (ตารางที่ 3) ให้ทาํ การวิเคราะห์อย่างน้อย 1 ครั้งต่อปี
ก. 4 คุณลักษณะทางจุลชีววิทยา (ตารางที่ 4) ให้เป็ นไปตามตารางที่ ก.1
157

ภาคผนวก ง
รายชื่อผู้ผลิตนา้ ดื่มในเขตอาเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น
158

Name of Place
No. Address/Telephone Products detail
/Operator
1 กรี นเวิลด์น้ าํ ดื่ม 3/831 ซ.การเคหะ ถ.กลางเมือง นํ้าดื่มกรี นเวิลด์
ต.ในเมือง อ.เมือง จ.ขอนแก่น 40000
Tel.043-340759
2 ไกด์วอเตอร์ 3/625 ถนนกลางเมือง ต.ในเมือง อ.เมือง นํ้าดื่มไกด์วอเตอร์
จ.ขอนแก่น 40000
Tel.043-226524
3 ขอนแก่นเนรมิต 131/105 ถนนชาตะผดุง ต.ในเมือง นํ้าดื่มเนรมิต
อ.เมือง จ.ขอนแก่น 40000
Tel. -
4 โครงการขยายฐานการ 269 หมู่ 19 ถ.มะลิวลั ย์ ต.ศิลา อ.เมือง นํ้าดื่มสี หราช
ผลิตนํ้าดื่มกรมทหาร จ.ขอนแก่น 40000
Tel.043-239807 ต่อ 4293
5 จันทร์เพ็ญวอเตอร์ 123/529 หมู่ 16 ซอยป่ าดู่ ต.ในเมือง อ.เมือง นํ้าดื่มจันทร์เพ็ญวอ
จ.ขอนแก่น 40000 เตอร์
Tel.043-202338
6 ซีสตาร์วอเตอร์ 33/889 ถนนกลางเมือง ต.ในเมือง อ.เมือง นํ้าดื่มซีสตาร์
จ.ขอนแก่น 40000
Tel.043-340817
7 ทีเคนํ้าดื่ม 3/914 หมู่ 14 ถ.กลางเมือง ต.ในเมือง อ.เมือง นํ้าดื่มทีเคนํ้าดื่ม
จ.ขอนแก่น 40000
Tel.043340898
8 นํ้าดื่มแก่นทิพย์ 41/5 หมู่ 14 ซ.นําโชค ถ.มิตรภาพ ต.ในเมือง นํ้าดื่มแก่นทิพย์
อ.เมือง จ.ขอนแก่น 40000
Tel.043-348624
9 นํ้าดื่มควีน 1/9 ซอย 15 ถ.กสิ กรทุ่งสร้าง ม.13 นํ้าดื่มควีน
ต.ในเมือง อ.เมือง จ.ขอนแก่น 40000
Tel. -
10 นํ้าดื่มจันทร์นวล 241 หมู่ 2 ต.บ้านทุ่ม อ.เมือง จ.ขอนแก่น นํ้าดื่มจันทร์นวล
40000
Tel.043-382106
159

11 นํ้าดื่มต้นสาย 3/727 ซอย 15 ถ.กลางเมือง ต.ในเมือง อ.เมือง นํ้าดื่มต้นสาย


จ.ขอนแก่น 40000
Tel.043-226702
12 นํ้าดื่มตราแฟรนไชส์ 6/7 ถ.ประชาสโมสร ต.ในเมือง อ.เมือง นํ้าดื่มแฟรนไชส์
จ.ขอนแก่น 40000
Tel.043-241653,(Fax)043-336282
13 นํ้าดื่มนิววอเตอร์ 34/1 หมู่ 12 ถ.มะลิวลั ย์ ต.ในเมือง อ.เมือง นํ้าดื่มนิววอเตอร์
จ.ขอนแก่น 40000
Tel.043-382157
14 นํ้าดื่มเนวาด้า 194/24-25 ถ.ศรี จนั ทร์ ต.ในเมือง อ.เมือง นํ้าดื่มเนวด้า
จ.ขอนแก่น 40000
Tel.043-338887
15 นํ้าดื่มพูนทวี 131/99 หมู่ 4 ซ.เทศมนตรี 27 ถ.ศรี จนั ทร์ นํ้าดื่มพูนทวี
ต.ในเมือง อ.เมือง จ.ขอนแก่น 40000
Tel.043-336529
16 นํ้าดื่มมังกรทอง 2001 64 หมู่ 12 ต.ในเมือง อ.เมือง นํ้าดื่มมังกรทอง
จ.ขอนแก่น 40000 2001
Tel.043-330576
17 นํ้าดื่มรุ่ งโรจน์ 151 หมู่ 14 ต.ศิลา อ.เมือง จ.ขอนแก่น 40000 นํ้าดื่มรุ่ งโรจน์
Tel.043-236695
18 นํ้าดื่มวอเตอร์แมน 394/81 หมู่บา้ นธาราริ ณ หมู่ 12 ถ.มิตรภาพ นํ้าดื่มวอเตอร์แมน
ต.ในเมือง อ.เมือง
จ.ขอนแก่น 40000
Tel.043-342891
19 นํ้าดื่มศรี พรรณี 131/147 หมู่ 4 ซ.อุดมสุข ถ.ชาตะผดุง นํ้าดื่มศรี พรรณี
ต.ในเมือง อ.เมือง จ.ขอนแก่น 40000
Tel.043-242509
20 นํ้าดื่มหยาดพิรุณ 2 54/2 ซ.ศรี ธาตุซอย 2 ต.ในเมือง อ.เมือง นํ้าดื่มหยาดพิรุณ 2
จ.ขอนแก่น 40000
Tel.043-340543
21 นํ้าดื่มอินเตอร์วอเตอร์ 3/122 หมู่ 9 ถ.กลางเมือง ต.ในเมือง อ.เมือง นํ้าดื่มอินเตอร์วอ
จ.ขอนแก่น 40000 เตอร์
Tel. -
22 บริ ษทั ขอนแก่น บริ เวอรี่ 333 หมู่ 2 ถ.ท่าพระ-โกสุม ต.ท่าพระ อ.เมือง นํ้าดื่มตราสิ งห์
160

จํากัด จ.ขอนแก่น 40000


Tel.043-21408-14
23 บริ ษทั เจริ ญศรี การเกษตร 181 หมู่ 17 ถ.มิตรภาพ ต.ในเมือง อ.เมือง นํ้าดื่มปานเพชร,นํ้า
จํากัด จ.ขอนแก่น 40000 ดื่มแก่นนิยม
Tel.043-221618
24 บริ ษทั วอเตอร์แมน 458/18 ถ.เหล่านาดี ต.ในเมือง อ.เมือง นํ้าดื่มเวิร์ลเทค
เพียวริ ไฟเออร์ จํากัด จ.ขอนแก่น 40000 วอเตอร์แมน
Tel. -
25 เบญจรันต์อุตสาหกรรม 563 หมู่ 14 ถ.มิตรภาพ ต.ศิลา อ.เมือง นํ้าดื่มเฟอร์รี่
เครื่ องดื่ม จ.ขอนแก่น 40000
Tel.043-239944
26 พี.โอ.แอทเทนชัน่ 93/193 ถ.อนามัย ซ.กัลป์ ยา ต.ในเมือง อ.เมือง นํ้าดื่มพาราไดซ์
จ.ขอนแก่น 40000
Tel.043-224629
27 ฟิ ลเท็กวอเตอร์ 204/2 บ้านบะขาม หมู่ 4 ศรี จนั ทร์ ต.ในเมือง นํ้าดื่มฟิ ลเท็กวอเตอร์
อ.เมือง จ.ขอนแก่น 40000
Tel.043-336113
28 ภาควิชาชีวเคมี 123 ถ.มิตรภาพ ต.ในเมือง อ.เมือง จ.ขอนแก่น นํ้าดื่มบีซี
คณะแพทย์ศาสตร์ มข. 40000
Tel.043-242342-6
29 มาดีนะฮ์ 637/2 ซ.สุขใจ 30 ถ.กลางเมือง ต.ในเมือง นํ้าดื่มมาดีนะฮ์
อ.เมือง จ.ขอนแก่น 40000
Tel.043-245623
30 เมตตา นํ้าทิพย์ วิริยะ 16/23 หมู่ 6 ถ.ศรี จนั ทร์ ต.ในเมือง อ.เมือง นํ้าดื่มเมตตา นํ้าทิพย์
จ.ขอนแก่น 40000 วิริยะ
Tel.043-226278
31 ร้านขอนแก่นธารทิพย์ 199 หมู่ 17 ถ.เหล่านาดี ต.ในเมือง นํ้าดื่มธารทิพย์
อ.เมือง จ.ขอนแก่น 40000
Tel.043-239978
32 ร้านครู ออด 488/2-7 หมู่ 1 ถ.ราษฎธุรกิจ ต.ในเมือง อ.เมือง นํ้าดื่มดิวเฟรช
จ.ขอนแก่น 40000
Tel.043-237548
33 ร้านคิงไกด์ 162 หมู่ 8 ถ.ท่าพระ-โกสุมพิสยั ต.ดอนหัน นํ้าดื่มคิงไกด์
อ.เมือง จ.ขอนแก่น 40000
161

Tel. -
34 ร้านวอเตอร์ 227/51 หมู่ 13 ถ.หลังศูนย์ราชการ ต.ในเมือง นํ้าดื่มวอเตอร์
อ.เมือง จ.ขอนแก่น 40000
Tel.043-241302
35 ร้านวินเท็ควอเตอร์ 101/65 หมู่ 2 ต.ในเมือง อ.เมือง จ.ขอนแก่น นํ้าดื่มวินเท็ควอเตอร์
40000
Tel.043-221345
36 ร้านเสริ มสุขภาพ 66 หมู่ 9 บ้านกดนางทุย ถ.มะลิวลั ย์ นํ้าดื่มโพรี ลิส
ต.บ้านทุ่ม อ.เมือง จ.ขอนแก่น 40000
Tel. -
37 เรื อนนอก 356 หมู่ 4 ซ.แสนไชยสุริยา ต.บ้านทุ่ม อ.เมือง นํ้าดื่มเรื อนนอก
จ.ขอนแก่น 40000
Tel -
38 โรงงานนํ้าดื่มโคโรลิส 222/31 หมู่ 13 ถ.กสิ กรทุ่งสร้าง ต.ในเมือง นํ้าดื่มโคโรลิส
อ.เมือง จ.ขอนแก่น 40000
Tel.043-236400
39 วีพี 142 หมู่ 11 ซ.ฉัตรทอง ต.เมืองเก่า อ.เมือง นํ้าดื่มวีพี
จ.ขอนแก่น 40000
Tel.043-340746
40 ศรี ชยั อุตสาหกรรมอาหาร 95 ถ.ชวนชื่น ต.ในเมือง อ.เมือง จ.ขอนแก่น นํ้าดื่มสูตรทิพย์
40000
Tel.043-221325,221341
41 สกาย 243/129 หมู่ 14 ถ.มิตรภาพ ต.ในเมือง อ.เมือง นํ้าดื่มสกาย
จ.ขอนแก่น 40000
Tel.043-246462
42 สุดารัตน์อุตสาหกรรม 528/117 หมู่ 6 ถ.มะลิวลั ย์ ต.บ้านเป็ ด อ.เมือง นํ้าดื่มชัวร์
จ.ขอนแก่น 40000
Tel.043-344395
43 แสงสวัสดิ์พานิชย์ 257/14 หมู่ 4 ซ.ศิริมงคล ถ.ศรี จนั ทร์ นํ้าดื่มออร์คิด
ต.ในเมือง อ.เมือง จ.ขอนแก่น 40000
Tel.043-223506
44 หจก.ขอนแก่นลี่เซ็น 337/8-9 บ้านไทย หมู่ 2 ต.ศิลา อ.เมือง นํ้าดื่มเจเจ
จ.ขอนแก่น 40000
Tel.043-347931
162

45 หจก.คชาชัยกรุ๊ ป 9 บ้านกอก ถ.มิตรภาพ ต.ในเมือง อ.เมือง นํ้าดื่มชลทิพย์


จ.ขอนแก่น 40000
Tel.043-238069
46 หจก.ปิ ดิโชต 293 หมู่ 8 ซ.บ้านหนองโจด ต.บ้านเป็ ด นํ้าดื่มเอราวัณ
อ.เมือง จ.ขอนแก่น 40000
Tel.043-325433
47 หจก.พีแอนด์พีเพียวริ ไฟ 398/4 หมู่ 14 ถ.มิตรภาพ ต.ศิลา อ.เมือง นํ้าดื่มไฮเทค
เออร์ จ.ขอนแก่น 40000
Tel.043-347907
48 หจก.วรกิจกรุ๊ ป 2 หมู่ 9 ถ.กลางเมือง ต.ในเมือง อ.เมือง นํ้าดื่มแสงเงิน
จ.ขอนแก่น 40000
Tel.043-341123
49 หจก.อิงมอกรุ๊ ป 745/4 หมู่บา้ นอิงมอ ซอย 6 หลังมข. ต.ศิลา นํ้าดื่มอิงมอ
อ.เมือง จ.ขอนแก่น 40000
Tel.043-342579
50 หจก.สิ ทธิอมร 430/7 ถ.กลางเมือง ต.ในเมือง อ.เมือง นํ้าดื่มวอเตอร์ส
จ.ขอนแก่น 40000
Tel. -
51 ออร่ าลิส 275 หมู่ 9 ถ.เหล่านาดี ต.บ้านเป็ ด อ.เมือง นํ้าดื่มออร่ าลิส
จ.ขอนแก่น 40000
Tel.043-325122
52 อะแลสก้า 150 หมู่ 13 ถ.กสิ กรทุ่งสร้าง ต.ในเมือง อ.เมือง นํ้าดื่มอะแลสก้า
จ.ขอนแก่น 40000
Tel.089-7166740
53 เอสเอ็นดีดิ่งกิ้งวอเตอร์ 607/2 หมู่ 14 ถ.มิตรภาพ ต.ศิลา อ.เมือง นํ้าดื่มมิตรภาพสิ งห์
ขอนแก่น จ.ขอนแก่น 40000 มณี
Tel.081-5740216
54 ไอซ์วอเตอร์ 262 หมู่ 2 ต.เมืองเก่า อ.เมือง จ.ขอนแก่น นํ้าดื่มไอซ์ - วอเตอร์
40000
Tel.043-225942
163

ภาคผนวก จ
บทสั มภาษณ์ ผู้ประกอบการ
164

บทสัมภาษณ์ ผ้ปู ระกอบการโรงงานนา้ ดืม่ วอเตอร์ จังหวัดขอนแก่ น

นักศึกษา สวัสดีครับ/สวัสดีค่ะ
ผูป้ ระกอบการ สวัสดีค่ะ
นักศึกษา ขอสอบถามข้อมูลของทางโรงงานเกี่ยวกับการดําเนินงานด้านต่างๆรวมถึงการปฏิบตั ิงานของ
พนักงานด้วยค่ะ
ผูป้ ระกอบการ โรงงาน ของเราเป็ นโรงงานผลิตนํ้าดื่ม เป็ นกิจการแบบครอบครัว มีพนักงานทั้งหมด 21 คน
นักศึกษา โรงงานดําเนินกิจการมาแล้วกี่ปีคะ
ผูป้ ระกอบการ เริ่ มตั้งแต่ปี พ .ศ.2530
นักศึกษา ผลิตภัณฑ์น้ าํ ดื่มของทางโรงงาน มีกี่ประเภท แต่ละประเภทราคาเท่าไรคะ
ผูป้ ระกอบการ เรามีผลิตภัณฑ์อยู่ 2 ประเภท คือ นํ้าดื่มแบบขวดขาวขุ่น ขาย โหลละ 35 บาท และแบบถังขาย
ถังละ 10 บาท
นักศึกษา มีช่องทางการจัดจําหน่าย อย่างไรบ้างคะ
ผูป้ ระกอบการ เรา ขายให้กบั ร้านค้า ร้านอาหาร และขายให้กบั ลูกค้าโดยตรง เช่น บ้านพักอาศัย หอพัก
ธนาคาร ส่วนราชการ ซึ่งจะ มีพนักงานขายไปกับรถขนส่งนํ้าดื่ม เพื่อ จัดส่งให้ลูกค้าในเขต
อําเภอเมืองขอนแก่น
นักศึกษา จากการสังเกตการณ์พบว่าพนักงานไม่มีการสวมหมวกและผ้าปิ ดปาก พนักงานสูบบุหรี่ และ
ไม่ค่อยกระตือรื อร้นเท่าที่ควร ทางผูบ้ ริ หารไม่มีการว่ากล่าวตักเตือนหรื อว่ามีบทลงโทษหาก
พนักงานไม่ปฏิบตั ิตามกฎระเบียบของทางโรงงาน บ้างหรื อคะ
ผูป้ ระกอบการ ทางโรงงานของเราไม่มีกฎระเบียบอย่างเป็ นทางการ มีแต่วา่ กล่าวตักเตือนกันนิดหน่อย
นักศึกษา แล้วปั ญหาที่เกี่ยวกับพนักงานด้านอื่นๆ มีบา้ งรึ เปล่าคะ
ผูป้ ระกอบการ ก็มีบา้ ง เช่น มาทํางานสาย บางครั้งก็ขาดงานโดยไม่มีการแจ้งให้ทราบล่วงหน้า หรื อการ
ทํางานในส่วนที่ไม่ใช่หน้าที่ตวั เอง
นักศึกษา แล้วทางโรงงานไม่ได้มีการกําหนดหน้าที่และความรับผิดชอบของพนักงานแต่ละตําแหน่งไว้
เลยหรื อคะ
ผูป้ ระกอบการ ไม่มีเลย ส่วนมากจะเป็ นการอธิบายงานมากกว่า
นักศึกษา ถ้าทางโรงงานไม่มีการกําหนดความรับผิดชอบไว้อย่างชัดเจน พนักงานก็อาจมีการก้าวก่าย
งานกันบ้างหรื อเปล่าคะ
ผูป้ ระกอบการ ใช่ค่ะ
นักศึกษา นอกจากเรื่ องพนักงานแล้วเรายังสังเกตเห็นว่าภายในโรงงานและบริ เวณรอบโรงงาน ยังมี
นํ้าขัง นํ้านองบริ เวณพื้น และภายในห้องทํางานยังไม่ค่อยเป็ นระเบียบเท่าไรนัก ผูบ้ ริ หาร
ไม่ได้มีการจัดตารางการทําความสะอาดให้แก่พนักงานเลยหรื อคะ
ผูป้ ระกอบการ ไม่ค่ะ ก็แล้วแต่วา่ ใครว่างก็ช่วยกันทํา
นักศึกษา ทางโรงงานเคยทําการตลาดเกี่ยวกับการส่งเสริ มการ ขายมาก่อน รึ เปล่าคะ
165

ผูป้ ระกอบการ เคยลงโฆษณาทางวิทยุแต่วา่ นานแล้ว ทําได้ประมาณ 3 เดือน เสี ยค่าโฆษณาเดือนละ 500 บาท
นักศึกษา การให้เงินเดือนพนักงาน ผูบ้ ริ หารมีเกณฑ์การให้อย่างไรคะ
ผูป้ ระกอบการ ก็ไม่ได้มีเกณฑ์อะไรมากมาย เราให้เงินเดือนพนักงานทุกฝ่ ายวันละ 154 บาท ยกเว้ยฝ่ ายบัญชี/
การเงิน ได้วนั ละ 200 บาท
นักศึกษา ทางผูบ้ ริ หารเองคิดว่าตอนนี้ทางโรงงานประสบปั ญหาอะไรบ้างคะ
ผูป้ ระกอบการ คงจะเป็ นเรื่ องเงินทุน เพราะว่ามีแนวคิดว่าจะขยายโรงงานใหม่ และก็ตอนนี้ยอดขายลดลง
เพราะว่าเป็ นช่วงหน้าหนาว
นักศึกษา ทางเราคิดว่าควรจะมีการกําหนดแนวทางการส่งเสริ มการขายให้มากขึ้นกว่าเดิมเพื่อเป็ นการ
กระตุน้ ยอดขาย รวมไปการจัดการด้านพนักงานเพื่อให้พนักงานทํางานได้อย่างเต็มที่และเต็ม
ความสามารถ
ผูป้ ระกอบการ น้องนักศึกษาคิดว่าเหมาะสมอย่างไรคะ
นักศึกษา ต้องถามก่อนเลยว่าทางโรงงานมีกาํ ไรจากการขายนํ้าดื่ม แต่ละประเภทอย่างไรบ้างคะ
ผูป้ ระกอบการ ถ้าเป็ นแบบถังจะได้กาํ ไรถัง ละ 5 บาท แบบขวดขาวขุ่นจะได้กาํ ไรโหลละ 14 บาท
นักศึกษา ทางผูบ้ ริ หารเห็นว่าเหมาะสมมากน้อยแค่ไหนคะ หากจะมีการกําหนดให้มี เงินพิเศษ 2%แก่
พนักงาน ซึ่งทางเราคิดว่าจะช่วยเพิ่มกําลังใจในการทํางานให้แก่พนักงานได้มากทีเดียว
ผูป้ ระกอบการ พี่ยนิ ดีค่ะ ถ้ามีปัญหาหรื ออยากทราบข้อมูลเพิ่มเติม ทางเราก็ยนิ ดีตอ้ นรับเสมอค่ะ
นักศึกษา ขอบคุณมากเลยนะคะ
166

ภาคผนวก ฉ
ภาพกิจกรรม 5ส
167

ผูจ้ ดั ทําสัมภาษณ์ผปู ้ ระกอบการและพนักงานโรงงานนํ้าดื่มวอเตอร์ จังหวัดขอนแก่น


168

ภาพกิจกรรม 5ส

จัดระเบียบโต๊ะทํางานให้เป็ นสัดส่วน
ก่อน หลัง

ทําความสะอาดโดยกวาดนํ้าที่นองบริ เวณพื้นโรงงาน
ก่อน หลัง
169

ทําความสะอาดและเก็บกวาดขยะตามบริ เวณพื้นโรงงานหลังเลิกงาน
ก่อน หลัง

มีช้ นั สําหรับวางถังนํ้าที่ทาํ ความสะอาดเรี ยบร้อย


ก่อน หลัง
170

แบบประเมินกิจกรรม 5 ส โรงงานนา้ ดืม่ วอเตอร์ จังหวัดขอนแก่ น

ผลการประเมิน
กิจกรรม 5ส รายละเอียด
ดี พอใช้ ปรับปรุง
1. ไม่มีเศษวัสดุ สิ่ งของ เครื่ องมือ ที่เกินความจําเป็ นอยู่ ใน
พื้นที่
สะสาง 2. ของใช้ส่วนตัวไม่มีปะปนกับงาน
3. ไม่มีสิ่งของกีดขวางการทํางานหรื อทางเดิน
4. มีการแยกเอกสารที่ไม่จาํ เป็ น
1. การจัดเก็บเอกสารเป็ นหมวดหมู่
2. ชั้นวางเอกสารมีการจัดวางอย่างเป็ นระเบียบ
สะดวก
3. การจัดวางวัสดุ อุปกรณ์สะดวกต่อการใช้งาน
4. การหยิบใช้งานเอกสารต่างๆ สามารถทําได้สะดวก
1. ไม่มีคราบสกปรก ฝุ่ น คราบนํ้ามันตามอุปกรณ์
และเครื่ องมือ
สะอาด
2. วัสดุ อุปกรณ์ เครื่ องมือต่างๆ อยูใ่ นสภาพพร้อมใช้งาน
3. กระจกใสไม่เป็ นคราบ
4. ความสะอาดของพื้นโรงงาน
1. ฝ้ า เพดาน ผนัง พื้น ชั้นวางเอกสาร โต๊ะ อุปกรณ์
ไม่มีการชํารุ ด
2. บริ เวณรอบโรงงานสะอาด เรี ยบร้อย
สุขลักษณะ 3. พื้นที่ภายในโรงงานมีความปลอดภัยมากขึ้น
4. มีการเก็บสายไฟ สายโทรศัพท์ สายคอมพิวเตอร์
เรี ยบร้อยและปลอดภัย
5. อากาศถ่ายเทได้ดี
6. จุดวางถังขยะเหมาะสม
1. มีการกําหนดพื้นที่รับผิดชอบอย่างชัดเจน
สร้างนิสยั 2. การจัดกิจกรรม5ส เป็ นไปตามมาตรฐานที่กาํ หนด
3. พนักงานให้ความร่ วมมือในการปฏิบตั ิกิจกรรม 5 ส

ลงชื่อ________________________ผูป้ ระเมิน
(________________________)
____/____/____
171

You might also like