You are on page 1of 19

การปฏิรูปการศึกษา (Educational change)

จัดทาโดย
นายรชตวิชญ์ สังข์ทอง รหัสนักเรียน 14855 ชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 5/3
นางสาวธันยชนก ทรงประสพ รหัสนักเรียน 16081 ชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 5/3

เสนอ
นาย ประเสริฐ เจริญสุข

การศึกษานี้เป็นส่วนหนึ่งของรายวิชาประวัติศาสตร์สากล
ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566
การปฏิรูปการศึกษา
(Educational change)

จัดทำโดย
นายรชตวิชญ์ สังข์ทอง รหัสนักเรียน 14855
นางสาวธันยชนก ทรงประสพ รหัสนักเรียน 16081

เสนอ
นาย ประเสริฐ เจริญสุข

การศึกษานี้เป็นส่วนหนึ่งของรายวิชาประวัติศาสตร์สากล
ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566
คำนำ
รายงานฉบับนี้เป็นส่วนหนึ่งของรายวิชา ประวัติศาสตร์สากล โดยมีจุดประสงค์ เพื่อการศึกษา
ความรู้ เกี่ยวกับความหมายและความสำคัญของการปฏิรูปการศึกษาและกระบวนการขั้นตอนการปฏิรูป
การศึกษา ระเบียบการปฏิรูปการศึกษา การวิเคราะห์กรณี ตัวอย่างการปฏิรู ปการศึกษา ลักษณะของการ
ปฏิรูปการศึกษา ข้อดีและข้อเสียของการปฏิรูปการศึกษา
คณะผู้จัดทำจะต้องขอขอบคุณอาจารย์ ประเสริฐ เจริญสุข ผู้ให้ความรู้และแนวทางการศึกษา
เพื่อนๆ ทุกคนที่ให้ความช่วยเหลือมาโดยตลอด คณะผู้จัดทำหวังเป็นอย่างยิ่งว่ารายงานฉบับบนี้จะให้ความรู้
และเป็นประโยชน์แก่ผู้อ่านทุกๆท่าน

คณะผู้จัดทำ
สารบัญ
หน้า
คำนำ ก
สารบัญ ข
บทที่ 1 ประวัติความเป็นมา
การปฏิรูปการศึกษา 1
การศึกษาของไทยสมัยโบราณ 1
การศึกษาในสมัยสุโขทัย 2
การศึกษาในสมัยกรุงศรีอยุธยา 2
การศึกษาในสมัยธนบุรีและรัตนโกสินทร์ตอนต้น 3
การศึกษาไทยสมัยปฏิรูปการศึกษา 4
การศึกษาในสมัยการปกครองระบบรัฐธรรมนูญ 4
วิวัฒนาการจัดการศึกษา 5

บทที่ 2 สาเหตุของการปฏิรูปการศึกษา
สาเหตุของการปฏิรูปการศึกษา 7

บทที่ 3 การปฏิรูปสามารถสร้างการเปลี่ยนแปลงหรือพัฒนาโลกได้อย่างไร
วิวัฒนาการการศึกษาไทย 8
การศึกษาในอดีต 8
การปฏิรูปการศึกษาไทยในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว 8
การปฏิรูปการศึกษาไทยหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 8
การปฏิรูปการศึกษาไทยสมัยพัฒนาการศึกษา พ.ศ. 2494 – 2534 9
การศึกษาสมัยปัจจุบัน 9
บทที่ 4 ปัจจัยที่ส่งเสริมการปฏิรูปการศึกษา
ความกดดันทางสังคมและความต้องการที่เปลี่ยนแปลงไป 10
ปัจจัยทางสังคม เศรษฐกิจ และการเมืองที่ขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษา 10
บุคคลหรือกลุ่มผู้มีอิทธิพลมีส่วนสนับสนุนการปฏิรูปการศึกษา 11

บทที่ 5 การปฏิรูปการศึกษาเกิดข้อดีข้อเสีย
ข้อดี 12
ข้อเสีย 12
สรุป 13

บรรณานุกรม ค
บทที่ 1
ประวัติความเป็นมา

การปฏิรูปการศึกษา (Educational change)


การจัดการศึกษาของประเทศไทยมีวิวัฒนาการ ตั้งแต่สมัยโบราจนถึงปัจจุบัน ด้วยความเชื่อที่ว่าการศึกษา
ช่วยกำหนดทิศทางของชาติ เพื่อพัฒนาคนไทยให้มีความพร้อมที่จะเป็นกำลังสำคัญ สำหรับการพัฒนาประเทศให้กับ
การเจริญก้าวหน้าความเป็นมาของการศึกษาไทยมีประวัติที่น่าสนใจ แบ่งออกเป็น 5 ช่วง การจัดการศึกษาของไทย
มีการพัฒนามาโดยตลอด อาจจะเป็นเพราะมีปัจจัยทั้งภายในและภายนอกประเทศทำให้ ในสังคมมีการเปลี่ยนแปลง
กล่าวคือ ปัจจัยภายใน เกิดจากความต้องการพัฒนาในสังคมให้มีวามเจริญและทันสมัย ส่วนปัจจัยภายนอก เกิดจาก
กระแสความเปลี่ยนแปลงของสังคมโลก ทั้งด้านเศรษฐกิจและการเมือง ตลอดจนการติดต่อสื่อสารกันทำให้ในไทยจะ
ต้องปรับตัวให้ทันสมัย เพื่อความอยู่รอด และ ประเทศ ได้เกิดการพัฒนาให้ทัดเทียมด้วยเหตุผลที่ได้กล่าวมาทำให้ ใน
การจัดการศึกษาของไทยมีวิวัฒนาการเรื่อยมา ซึ่งเป็นปัจจัยที่ช่วยเสริมความเจริญก้าวหน้าทั้งในด้านสังคมเศรษฐกิจ
และ การเมืองของชาติให้มั่นคงและเจริญก้าวหน้า ดังจะได้กล่าวถึงวิวัฒนาการของการศึกษาไททยดังนี้

การศึกษาของไทยสมัยโบราณ ( พ.ศ. 1781 - พ.ศ. 2411 )


การศึกษาสมัยนี้เป็นการศึกษาแบบสืบทอดวัฒนธรรมประเพณีที่มีมาแต่เดิมจำเป็นที่คนไทยในสมัยนั้น
ต้องขวนขวายหาความรู้จากผู้รู้ในชุมชนต่างๆ ซึ่งการศึกษาในสมัยนี้มีบ้านและวัด เป็นศูนย์กลางของการศึกษา เช่น
บ้านเป็นสถานที่อบรมกล่อมเกลาจิตใจของสมาชิกภายในบ้านโดยมีพ่อและแม่ทำหน้าที่ในการถ่ายทอดอาชี พ
อบรมลูกๆวังเป็นสถานที่รวมเอานักปราชญ์สาขาต่างๆมาเป็นขุนนางรับใช้เบื้องพระยุคลบาท โดยเฉพาะงานช่าง
ศีลปหัตถกรรมเพื่อสร้างพระราชวังและประกอบพระราชพิธี เป็นสถานที่ที่ถ่ายทอดความรู้จากคนรุ่น หนึ่งไปสู่อีกรุ่น
หนึ่งส่วนวัดเป็นสถานที่ประกอบพิธีกรรมทางศาสนา พระจะทำหน้าที่ในการอบรมสั่งสอนธรรมะแก่ พุทธศาสนิกชน
โดยเฉพาะผู้ชาย ผู้ชายไทยมีโอกาสได้ศึกษาธรรมะและบวชเรียน ในสังคมไทยจึงนิยมให้ผู้ชายบวชเรียนก่อนแต่งงาน
ทำให้มีคุณธรรมและจิตใจมั่นคงสามารถครองเรือนได้อย่างมีความสุข นอกจากนี้ผู้ที่มาบวชเรียน มาแสวงหาความรู้
เรื่องธรรมะในวัดแล้ว ยังสามารถแลกเปลี่ยนและถ่ายทอดความรู้ในด้านศี ล ปวิทยาการต่างที่เคยได้อบรมจาก
ครอบครัวมาจะเห็นได้ว่าสถาบันทั้งสามนี้ ล้วนแต่มีบทบาทในการศึกษาอบรมสำหรับคนไทยในสมัยนั้นในการ
ถ่ายทอดคนรุ่น หนึ่งไปอีกรุ่น นึง นอกจากนี้ในชุมชน ก็มีภูมิปัญญามากมาย ซึ่งมีปราชญ์แต่ล ะสาขาวิช า เช่น
การก่อสร้างหัตถกรรม ด้านศิลปกรรม ประติมากรรม และแพทย์แผนโบราณเป็นต้น ส่วนพระมหากษัตริย์ในสมัยนี้
2

มี พ ระราชกรณี ย กิ จ อั น เป็ น ประโยชน์ ต ่ อ การจั ด การการศึ ก ษาในสมั ย นั ้ น และมี อ ิ ท ธิ พ ลต่ อ มา กล่ า วคื อ
พ่อขุนรามคำแหงมหาราช และพระมหาธรรมราชาที่1 (พระเจ้าลิไท) ซึ่งพระราชกรณียกิจที่สำคัญ คือ การประดิษฐ์
อักษรไทยขึ้นครั้งแรกโดยดัดแปลงมาจากตัวหนังสือ ของขอมและมอญ อันเป็นรากฐานด้านอักษรศาสตร์จนนำมาสู่
การพัฒนาปรับปรุงเป็นอักษรไทยในปัจจุบัน คือศิลาจารึกหลักที่ 1 จึงเป็นศิลาจารึกที่จารึกเป็นอักษรไทยให้ความรู้
เกี่ยวกับประวัติความเป็นมมาของสุโขทัยด้านประวัติศาสตร์ ส่วนการบำรุงพุทธศาสนาในรัชกาลพระมหาธรรมราชา
ที่ 1( พระเจ้าลิไท )ทำให้พระพุทธศาสนาเจริญรุ่งเรื่องมากในสมัยนี้ ด้วยเหตุผลที่ว่า พระองค์ทรงสละราชย์สมบัติ
ออกบวช เป็นพระภิกษุชั่วระยะหนึ่ ง ซึ่งจะนับเป็นแบบอย่างในการบวชเรียน ในสมัยต่อมานั้นการที่พระองค์
ทรงจัดระเบียบการปกครองคณะสงฆ์ โดยกำหนดให้การปกครองสงฆ์ออกเป็นสองคณะกล่าวคือคณะอรัญวาสี และ
คณะคามวาสี และการที่พระองค์ทรงพระนิพนธ์หนังสือไตรภูมิพระร่วง ซึ่ง จะเป็นหนังสือเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา
ที่มุ่งเน้นการสอนศีลธรรมให้ราษฎรประพฤติ แต่สิ่งที่ดีงามละเว้นในความชั่ว ประพฤติดีจะได้ขึ้นสวรรค์ผู้ประพฤติชั่ว
จะต้องตกนรก ซึ่งพระองค์ทรงบรรยายไว้ อันน่าสะพรึงกลังนับเป็น วรณคดีร้อยแก้วที่มีความสำคัญที่สุดในสมัย
สุโขทัย โดยกล่าวถึงโลกมนุษย์ สวรรค์และนรกเป็นวรรณคดีที่ได้รับการกล่าวอ้างถึงในวรรณกรรมต่างๆ และเป็น
วรรณคดีที่มีความสำคัญต่อคำสอนในพุทธศาสนามาจนถึงปัจจุบันนี้

1.1 การศึกษาในสมัยสุโขทัย ( พ.ศ. 1781 - พ.ศ. 1921 )


1. รูปแบบการจัดการศึกษา แบ่งออกเป็น 2 ฝ่าย

อาณาจักรแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่ ส่วนที่หนึ่งเป็นการจัดการศึกษาสำหรับผู้ชายที่เป็นทหาร เช่น


มวย กระบี่ กระบอง อาวุธต่างๆ ตลอดจนถึงวิธีการบังคับม้า ช้าง ตำราพิชัยยุทธ์เป็นวิชาชั้นสูงของผู้ที่จะเป็นแม่ทัพ
นายกอง และส่วนที่สอง พลเรือน เป็นการจัดการศึกษาให้แก่พลเรือนผู้ชายเรียนคัมภีร์ไตรเวทโหราศาสตร์ เวชกรรม
ส่วนพลเรือนผู้หญิงได้เรียนวิชาช่างสตรี การปัก การย้อม การเย็บ การถักทอ นอกจากนั้นมีการอบรมบ่มนิสัย
กิริยามารยาท การทำอาหารเพื่อเจรียมตัวการเป็นแม่บ้านแม่เรือนที่ดีต่อไป

ฝ่ายศาสนาจักร เป็นการศึกษาเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาการจัดการศึกษาในสมัยสุโขทัย จึง เป็นการจัด


การศึกษาที่เน้นพระพุทธศาสนาและศิลปะศาสตร์ สมัยนี้พ่อขุนรามคำแหงได้ช่างชาวจีนเข้ามาเผยแพร่การทำถ้วย
ชามสังคโลกให้แก่คนไทย และหลังจากที่ทรงคิดประดิษฐ์อักษรไทยแล้วงานด้านอักษรศาสตร์เจริญขึ้น มีการสอน
ภาษาไทยในพระบรมมหาราชวัง มีวรรณคดีที่สำคัญ คือ หนังสือไตรและตำรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์

1.2 การศึกษาในสมัยกรุงศรีอยุธยา ( พ.ศ. 1893 - พ.ศ. 2310 )


กรุงศรีอยุธยาซึ่งเป็นราชธานีอันยาวนาน 417 ปี ซึ่งมีความเจริญทั้งทางด้านการเมือง เศรษฐกิจและสังคม
การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวนับเกิดจากมีชนชาติต่าง ๆ ในเอเชียเข้ามาติดต่อค้าขายและเข้ามาเพื่อตั้งหลักแหล่งหากิน
3

ในดินแดนไทย เช่น จีน มอญ ญวน เหมร อินเดียและอาหรับ และตั้งแต่รัชสมัยพระรามาธิบดีที่ 2 ชาติตะวันตกได้


เริ่มเข้ามาติดต่อค้าขาย เช่น ชาติโปรตุเกสเข้ามาเป็นชาติแรก และมีชนชาติอื่น ๆ ติดตามมา เช่น ฮอลันดา ฝรั่งเศส
อังกฤษ เป็นต้น มีผลให้การศึกษาไทยมีความเจริญขึ้น โดยเฉพาะใน รัชสมัยสมเด็จพระเจ้าประสาททองและสมเด็จ
พระนารายณ์มหาราช

1.3 การศึกษาในสมัยธนบุรีและรัตนโกสินทร์ตอนต้น ( พ.ศ. 2311 พ.ศ. 2411 )


การศึกษาในสมัยนี้เช่นเดียวกับในสมัยอยุ ธยา บ้านและวัดยังคงมีบทบาทเหมือนเดิม การจัดการศึกษาใน
ช่วงนี้ มีดังนี้

(1). สมัยพระเจ้ากรุงธนบุรีเป็นระยะเก็บรวบรวมสรรพตำราจากแหล่งต่าง ๆ ที่รอดพ้นจากการทำลายของ


พม่า เน้นการทำยุบำรุงตำราทางศาสนา ศิลปะและวรรณคดี

(2). สมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ทรงฟื้นฟูการศึกษาด้านอักษรศาสตร์ วรรณคดี มีการ


แต่งรามเกีย รติได้เค้าโครงเรื่องมาจากอิน เดียเรื่อง รามายณะ ศิล ปะ กฎหมาย เช่น กฎหมายตรา 3ดวง และ
หลักธรรมทางศาสนา มีการสังคายนาพระไตรปิฎก

(3). สมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัก เริ่มมีชาวยุโรปเช่น ชาติโปรตุเกสเช้ามาติต่อทางการค้า


กับไทยใหม่ หลังจากเลิกราไปเมื่อประมาณปลายสมัยอยุธยา และชาติอื่น ๆ ตามเข้ามอีกมากมาย เช่น อังกฤษ
ฝรั่งเศส ฮอลันดา เป็นต้น เนื่องจากยุโรปมีการปฏิวัติอุตสาหกรรมทำให้เปลี่ยนระบบการผลิตจากการใช้มือมาใช้
เครื่องจักร พลังงานจากไอน้ำสามารถผลิตสินค้าได้มากขึ้นจึงต้องหาแหล่งระบายสินค้า ในสมัยนี้ได้ส่งเสริมการศึกษา
ทั้งวิชาสามัญ โหราศาสตร์ ดาราศาสตร์ จริยศาสตร์ มีการตั้งโรงทานหลวงขึ้นในพระบรมมหาราชวังเป็นที่ให้
การศึกษา

(4). สมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงส่งเสริมการศึกษาด้านศาสนาเป็นพิเศษ มีการจารึกวิชา


ความรู้สามัญและวิชาชีพลงในแผ่นศิลาประดับไว้ตามระเบียงวัดพระเชตุพนจนมีผู้กล่าวว่าเป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรก
ของไทย มีการใช้หนังสือไทยชื่อ ประถม ก กา และประถมมาลานับเป็นแบบเรียนเล่มที่ 2 และ 3 ต่อจากจินดามณี
ของพระโหราธิบดี ต่อมานายแพทย์ ดี บี บรัดเลย์ได้นำกิจการแพทย์สมัยใหม่ เช่น การผ่าตัดเข้ามารักษาคนไข้และ
การตั้งโรงพิมพ์หนังสือไทยเป็นครั้งแรกในปีพ.ศ. 2379 โดยรับจ้างพิมพ์เอกสารทางราชการเรื่องห้ามสูบฝิ่น จำนวน
9,000 ฉบับ เมือ่ ปีพ.ศ. 2382

(5). สมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในสมัยนี้ชาวยุโรป และอเมริกันเริ่มเข้ามาติดต่อค้าขาย


และสอนศาสนา มีการนำวิทยาการสมัยใหม่ ๆ เข้ามาปรับใช้ในเมืองไทยเพิ่มขึ้น และพระองค์ทรงเห็นความสำคัญ
ของการศึกษาจึงทรงจ้างนางแอนนา เอช เลียวโนเวนส์ มาสอนสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เมื่อ พ.ศ. 2405 จนรอบรู้
4

ภาษาอังกฤษเป็นอย่างดี ลักษณะการจัดการศึกษาเป็นแบบเดิมทั้งวัดและบ้าน ในส่วนวิชาชีพและวิชาสามัญ มีอักษร


ศาสตร์ ธรรมชาติวิทยาหรือวิทยาศาสตร์การศึกษาของไทยสมัยโบราณ ( พ.ศ. 1780 - พ.ศ. 2411 ) ยังเน้นการจัด
การศึกษาที่วัดและบ้าน โดยมีหลักสูตรเกี่ยวกับการอ่านและเขียนภาษาไทยทั้งในด้านโคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน
โหราศาสตร์ และไสยศาสตร์จากอาศัยคำภีร์ทางพระพุทธศาสนา มาจนกระทั่งในสมัยพระนารายณ์มหาราชเริ่มใช้
หนังสือจิน ดามณีเล่น แรก ต่อมามีป ระถม ก กา และประถมมาลา ส่ว นครูผ ู้สอนได้แก่ พระภิกษุ นักปราชญ์
ราชบัณฑิต พ่อแม่ ช่างวิชาชีพต่าง ๆ สำหรับการวัดผลไม่มีแบบแผนแต่มักจะเน้นความจำและความสามารถในการ
ประกอบอาชีพจึงจะได้รับการยกย่องและได้รับราชการ

1.4 การศึกษาของไทยสมัยปฏิรูปการศึกษา ( พ.ศ. 2412 พ.ศ. 2474 )


มุ่งให้คนเข้ารับราชการและมีความรู้ทัดเทียมฝรั่ง

1.4.1 การศึกษาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

หลังจากที่พระองค์ได้ครองราชย์แล้ว ก็ได้ทรงปรับปรุงประเทศให้เจริญรุ่งเรืองในทุก ๆ ด้านทั้งในด้าน


การปกครอง การศาล การคมนาคมและสาธารณสุขเป็นต้นโดยเฉพาะด้านการศึกษานั้นพระองค์ได้ทรงตระหนักเพื่อ
ปรับปรุงคนในประเทศให้มีความรู้ความสามารถจะให้ช่วยให้ ประเทศชาติมีความเจริญก้าวหน้าในทุก ๆ ด้าน
ดังพระราชดำรัสว่า วิชาหนังสือเป็นวิชาที่น่านับถือและเป็นที่น่าสรรเสริญมาแต่โบราณว่า เป็นวิชาอย่างประเสริฐซึ่ง
ผู้ยิ่งใหญ่นับแต่ พระมหากษัตริย์เป็นต้นมาตลอดจนราษฎรพลเมืองสมควรและจำเป็นจะต้องรู้เพราะเป็นวิชาที่จะทำ
ให้การทั้งปวงสำเร็จในทุกสิ่งทุกอย่าง การที่พระองค์เห็นความสำคัญของการการศึกษา จึงได้มีการจัดการศึกษาอย่าง
มีระบบแบบแผน มีโครงการศึกษาชาติ มีโรงเรียนเกิดขึ้นในวังและในวัด มีการกำหนดวิชาที่เรียน มีการเรียนการ
สอบไล่ และมีทุนเล่าเรียนหลวงให้ไปศึกษาวิชา ณ ต่างประเทศ ซึ่งปัจจัยที่มีผลในการปฏิรูปการศึกษาในค รั้งนี้มี
หลายปัจจัย

1.5 การศึกษาสมัยการปกครองระบบรัฐธรรมนูญ ( พ.ศ. 2475 )

1. ปัจจัยของไทยที่มีอิทธิพลต่อการจัดการศึกษา
(1) นโยบายการจัดการศึกษาของคณะราษฎร์ ประเทศไทยได้เปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบ
สมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นระบอบประชาธิปไตยเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 คณะราษฎร์ซึ่งเป็นกลุ่ ม
บุคคลที่รวมตัวกันเปลี่ยนแปลงการปกครอง ได้วางเป้าหมายสำคัญหรืออุดมการณ์ของคณะราษฎร์ มีปรากฏอยู่ใน
หลัก 6 ประการ ข้อที่ 6 จะต้องให้การศึกษาอย่างเต็มที่แก่ราษฎร์ เพราะคณะราษฎร์มีความเห็นว่าการที่จะให้
ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจเรื่องการปกครองระบอบประชาธิปไตย จำเป็นต้องจัดการศึกษาให้กับประชาชนอย่าง
5

ทั่วถึง เมื่อประชาชนมีการศึกษาดีย่อมจะทำให้ประเทศชาติเจริญขึ้นด้วย ดังจะเห็นได้จากคำแถลงนโยบาย ของ


รัฐบาลพระยามโนปกรณ์นิติธาดา พ.ศ. 2475 กล่าวไว้ว่า การจัดการศึกษาเพื่อจะให้พลเมืองได้มีการศึกษาโดย
แพร่หลาย ก็จะต้องอนุโลมตามระเบียบการปกครองที่ให้เข้าลักษณะเกี่ยวกับแผนเศรษฐกิจแห่งชาติ หลักสูตรของ
โรงเรียนและมหาวิทยาลัยจะต้องขยายให้สูงขึ้นเท่าเทียมอารยประเทศ ในการนี้จะต้องเทียบหลักสูตรของนานา
ประเทศ หลักสูตรใดสูงถือตามหลักสูตรนั้น รัฐบาลชุดต่อ ๆ มาก็ได้พยายามที่จ ะได้จัดการศึกษาให้ทั่วถึงในหมู่
ประชาชนทั่วไป ถ้าวิเคราะห์ ดูจากคำแถลงนโยบายรัฐบาลพบว่า ได้ตั้งความหวังเรื่องการศึกษาไว้สูงเกินไปจะให้เท่า
เทียมอารยประเทศ ซึ่งสภาวการณ์ในประเทศขณะนั้นยังไม่มีความพร้อมโดยเฉพาะด้านเศรษฐกิจซึ่งเป็นปัญหาของ
ประเทศในขณะนั้น เป็นผลให้เกิดปัญหาในการจัดการศึกษานับแต่นั้นเป็นต้นมา

(2) การเกิดสงครามโลกครั้งที่สอง พ.ศ. 2484 - พ.ศ. 2488 ประเทศไทยตกอยู่ในภาวะสงครามโลกครั้งที่


สอง ซึ่งมีผลกระทบกระเทือนต่อประเทศไทยอย่างรุนแรงทั้ง ด้านเศรษฐกิจ สังคมและการศึกษา หลังสงครามโลก
ครั้งที่สอง ประเทศไทยได้รับความเสียหาย อันสืบเนื่องมาจากสงครามโลกครั้งที่สอง จึงจำเป็นต้องกู้เงินจาก
ธนาคารโลกเพื่อนำมาใช้ใ นการพัฒนาประเทศและประเทศไทยสมัครเป็นสมาชิกองค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และ
วัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ ทำให้ประเทศไทยได้รับความช่วยเหลือในด้านต่างๆ ตลอดจนแนวคิดใหม่ ๆ มาใช้ใน
การพัฒนาประเทศ ทำให้แนวคิดทางการศึกษาของไทยเริ่มเปลี่ยนแปลงจากเดิมเป็นอย่างมาก

2. วิวัฒนาการจัดการศึกษา มีดังนี้
(1) มีการประกาศใช้แผนการศึกษาชาติ หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบประชาธิปไตยแล้ว
โดยจัดตั้งคณะกรรมการการศึกษาและทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ให้ตั้งสภาการศึกษา พ.ศ. 2475 ประกาศใช้
แผนการศึกษาชาติ ต่อมามีการปรับปรุงการจัดการศึกษาภาคบังคับจาก 6 ปี เหลือ 4ปี และประกาศใช้แผนการ
ศึกษาชาติ พ.ศ. 2479

(2) การมอบให้ ท ้ อ งถิ ่ น จั ด การจั ด การศึ ก ษา พ.ศ. 2476 และยกฐานะท้ อ งถิ่ น ขึ ้ น เป็ น เทศบาลตรา
พระราชบัญญัติเทศบาลขึ้น และเทศบาลได้จัดการศึกษาอย่างแท้จริงใน พ.ศ. 2478

(3) การปรับปรุงหน่วยงานที่มีส่วนรับผิดชอบในการจัดการศึกษาและเหตุการณ์สำคัญทางการศึ กษา


ดังเช่น ปี พ.ศ. 2476 มีการปรับปรุงส่วนราชการในกระทรวงธรรมการและประกาศตั้งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และ
การเมือง ปี พ.ศ. 2477 โอนคณะนิติศาสตร์ในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยไปสมทบกับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และ
การเมื อ ง ปี พ.ศ. 2478 ประกาศใช้ พ ระราชบั ญ ญั ต ิ ป ระถมศึ ก ษาทั ่ ว ไปประเทศ ปี พ.ศ. 2488 ประกาศใช้
พระราชบัญญัติครูพุทธศักราช 2488 ปี พ.ศ. 2494 มีการประกาศใช้แผนการศึกษาแห่งชาติ ฉบับที่ 1 ปีพ.ศ. 2503
ประกาศใช้แผนการศึกษาแห่งชาติ ฉบับที่ 2 ปีพ.ศ. 2520 ประกาศใช้แผนการศึกษาแห่งชาติ ฉบับที่ 3 และปัจจุบัน
กำลังใช้แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2535 ฉบับที่ 4 และ พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 การปฏิวัติ
6

เมื่อเดือนตุลาคม 2501 ได้มีการจัดการทำและนำแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมมาใช้ ซึ่งต่อมาได้ยุบเลิกและจัดตั้ง


สภาการศึกษาขึ้นมาแทน สภานี้ได้พิจารณาเสนอแผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2503 ขึ้นมาเป็นผลให้การศึกษาใน
ระยะหลังได้เปลี่ยนไปอย่างมาก การศึกษาได้ขยายตัวขึ้นทุกระดับ เพราะประเทศกำลังอยู่ระหว่างการพัฒนา
จึงจำเป็นจะต้องส่งเสริมให้พลเมืองได้รับการศึกษาที่ดีขึ้น เพื่อจะได้เป็นพลเมืองที่มีคุณภาพสามารถเพิ่มรายได้ของ
ตน และช่วยยกฐานะทางเศรษฐกิจของประเทศให้สูงขึ้น ด้วยเหตุผลนี้รัฐบาลจึงได้ใหสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม
แห่งชาติจัดทำแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ. 2504 - พ.ศ. 2509) ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2510 -
พ.ศ. 2514) ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2515 - พ.ศ. 2519) ฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2520 - พ.ศ. 2524) ฉบับที่ 5 (พ.ศ. 2525 - พ.ศ.
2529) ฉบับที่ 6 (พ.ศ. 2530 - พ.ศ. 2534) ฉบับที่ 7 (พ.ศ. 2535 - พ.ศ. 2539) ฉบับที่ 8 (พ.ศ. 2540 - พ.ศ. 2544)
และฉบับ ที่ 9 (พ.ศ. 2545 - พ.ศ. 2549) ซึ่งการจัดการศึกษาในปัจจุบัน ไม่ มุ่งยึ ดแนวนโยบายที่ส อดคล้ อ งกั บ
แผนพั ฒ นาเศรษฐกิ จ และสั ง คมแห่ ง ชาติ ฉ บั บ ที ่ 9 (พ.ศ. 2545 - พ.ศ. 2549) ได้ จ ั ด แผนการศึ ก ษาระยะ
เวลา 15 ปีเพื่อวางแนวทางในการพัฒนาการอย่างบูรณาการคูณภาพชีวิตในทุก ๆ ด้านและสอดรับกับวิสัยทัศน์
แนวนโยบาย มาตรการและกฎหมายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาสังคมไทย (สำนักงานคณะกรรมการการศึกษา
แห่งชาติ. 2545 ข : คำนำ) ส่วนการจัดการศึกษาศึกษาของประเทศไทยในสมัยการปกครองระบอบรัฐธรรมนูญมีการ
ขยายสถานศึกษาทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค โดยเฉพาะในส่วน ภูมิภาค เช่น ปี พ.ศ. 2503 เริ่มก่อสร้างและ
จัดตั้งมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และรับนิสิตในปี พ.ศ. 2507 ปี พ.ศ. 2509 เริ่มก่อสร้างมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ใน
ภาคใต้ เป็นต้น เนื่องจากมีผู้สนใจศึกษาในระดับอุดมศึกษามากขึ้นในปี พ.ศ. 2514 มีการจัดตั้ง มหาวิทยาลัย
รามคำแหงเป็นมหาวิทยาลัยเปิดแห่งแรกและปี พ.ศ. 2521 ตั้งมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมมาธิราชเป็นมหาวิทยาลัย
เปิดแห่งที่สอง ความเคลื่อนไหวในทางการศึกษาได้นำไปสู่แนวคิดการพัฒนาระบบการบริหารและการจัดการศึกษา
ให้สามารถพัฒนาทรัพยากรบุคคลในชาติตามแนวทางพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 มีผลทำให้
โครงสร้างการบริหารงานและการจัดการศึกษาได้ปรับเปลี่ยน ทั้งการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญการ
เปิดสอน ในสาขาวิชาชีพมุ่งพัฒนาให้ผู้รอบรู้เป็นคนเก่ง คนดีและใช้ชีวิตในสังคมอย่างมีความสุข การปรับโครงสร้าง
การบริหารการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการใหม่แบ่งออกเป็น 4 ส่วน คือสภาการศึกษาสำนักงานคณะกรรมการ
การศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาและสำนักงานคึกษาและสำนักงานคณะกรรมการการ
อาชีวศึกษา
บทที่2

สาเหตุของการปฏิรูปการศึกษา

สาเหตุของการปฏิรูปการศึกษา
ในราชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว การปฏิรูปการศึกษาเป็นพระบรมราโชบายที่สำคัญที่
สยามเริ่มตระหนักว่าการปฏิรูปประเทศตามอย่างตะวันตกจำเป็นที่จะต้องสร้างประชากรที่มีความรู้ความสามารถ
เพื่อที่จะทำงานในระบบราชกาลสมัยใหม่ได้ รัฐบาลจึงได้ก่อตั้งโรงเรียนขึ้นเป็นสถานที่ให้การศึกษาอย่างเป็นระบบ
แทนการเรียนที่วัดตามแบบการศึกษาดั้งเดิม พร้อมกันนี้ ยังมีการเปิดโรงเรียนกฎหมาย โรงเรียนทหาร และโรงเรียน
ข้าราชกาลพลเรือน เพื่อผลิตคนสำคัญสำหรับระบบราชกาลรูปแบบใหม่เมื่อพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้า
เจ้ า อยู ่ ห ั ว เสด็ จ ขึ ้ น ครองราชย์ ต ่ อ จากสมเด็ จ พระบรมชนกนาถ พระราโชบายด้ า นการศึ ก ษายั ง คงเป็ น
พระบรมราโชบายสำคัญที่พระองค์ทรงมุ่งหวังให้ประชาชนมีความรู้อย่างทั่วถึง ด้วยเหตุนี้จึงทรงพระกรุณาโปรด
เกล้าฯ ให้ออกประกาศและกฎหมายที่เกี่ยวกับการศึกษา

ต้องการสร้างคนที่มีความรู้เพื่อเข้ารับราชการช่วยบริหารประเทศให้พัฒนามากขึ้น มีการตั้งโรงเรียนหลวง
แห่งแรกคือ โรงเรียนนายทหารมหาดเล็ก เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2414 ทรงพระราชทานเสื้อผ้า อาหารกลางวัน
ทุกวัน ครูก็ได้ค่าจ้าง ต่อมาพระราชทานพระตำหนักเดิมที่สวนกุหลาบ ทางตะวันออกเฉียงใต้ของพระบรมมหาราชวัง
ให้ชื่อว่า โรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบ โดยมีพระยาสุนทรโวหาร ( น้อยอาจารยางกูร ) หรือหลังสารประเสริฐ
เป็นอาจารย์ใหญ่ ให้ตั้งโรงเรียนสอนภาษาอังกฤษในวัง มีฟรานซิส ยี แปตเตอร์สัน เป็นครู

อีกสาเหตุหนึ่งเนื่องมาจากการปลดปล่อยทาสให้เป็นไท พระองค์ทรงห่วงใยมาก เพื่อที่จะไม่ให้กลับมาเป็น


ทาสอีก จึงเป็นต้องให้คนเหล่านั้นได้รับการศึกษา เพื่อให้มีวิชาความรู้นำไปประกอบอาชีพได้ จึงให้ตั้งโรงเรียน
สำหรับราษฎรขึ้น ชื่อ โรงเรียนวัดมหรรณพาราม ใน พ.ศ.2427

นอกจากนี ้ ความต้ อ งการคนที ่ ไ ด้ ร ั บ การฝึ ก อบรมวิ ช าความรู ้ ส มั ย ใหม่ ข องตะวั น ตกมี เ พิ ่ ม ขึ้ น
ทำให้พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเจ้าอยู่หัวทรงสถาปนาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยขึ้น อย่างไรก็ตามแม้ว่ารัฐสมัยใหม่
จะต้องการคนที่มีความรู้ตามแบบแผนตะวันตกเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ แต่ในทางกลับกัน จำนวนช่างไทยทางด้านจิตรกรรม
ประติมากรรม และสถาปัตยกรรมไทย กลับลดลงมาก เนื่องจากความนิยมศิลปะแบบตะวันตกเข้ามาแทนที่
บทที่ 3

การปฏิรูปสามารถสร้างการเปลี่ยนแปลงหรือพัฒนาโลกได้อย่างไร

วิวัฒนาการการศึกษาไทย
การศึกษาในอดีต ปัจจุบัน อนาคต ต่างมีวิวัฒนาการเพื่อปรับให้เข้ากับยุคและสมัยของผู้ตนในแต่ละยุค
ปัจจัยที่ทำให้การศึกษามีวิวัฒนาการและมีการเปลี่ยนแปลงนั้นมีทั้งปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอกประเทศ
อย่างเช่น ปัจจัยภายในเกิดจากความต้องการพัฒนาสังคม ให้มีความเจริญและทันสมัย ปัจจัยภายนอกเกิดจาก
กระแสความเปลี่ยนแปลงของสังคมโลกในด้านต่าง ๆ เป็นต้น ซึ่งประเทศเองก็มีวิวัฒนาการทางการศึกษาด้วย
เช่นกัน

การศึกษาในอดีต
นับตั้งแต่สุโขทัยจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นการศึกษาได้ถูกจัดแบ่งตามเพศ โดยการศึกษาสำหรับผู้ชาย
จะแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ การศึกษาของฝ่ายอาณาจักร และพุทธจักร การศึกษาของฝ่ายอาณาจักรเป็นการศึกษา
สำหรับผู้ชายที่เป็นทหาร โดยจะเล่าเรียนเกี่ยวกับมวย กระบี่กระบอง อาวุธ ตำราพิชัยยุทธ์ต่าง ๆ ส่วยการศึกษาของ
พุทธจักรเป็นการศึกษาสำหรับพลเรือนชาย เป็นการเล่าเรียนเกี่ยวกับคัมภีร์ ไตรเวท โหราศาสตร์เวชกรรม และ
การศึกษาสำหรับเพศหญิงจะเป็นการศึกษาเกี่ยวกับงานบ้านงานเรือน กิริยามารยาท การทำอาหาร เป็นต้น

การปฏิรูปการศึกษาไทยในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
เป็นการปฏิรูปการศึกษาไทยครั้งแรก โดยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรด
เกล้า ฯ ให้มีการจัดตั้งสถานศึกษาขึ้นตามวัด ในมณฑลต่าง ๆ และให้โรงเรียนต่าง ๆ ขึ้นกับกรมศึกษาธิการทั้งหมด
ต่อมาก็ได้มีการยกฐานะกรมศึกษาธิการเป็นกระทรวงธรรมาการ หรือกระทรวงศึกษาธิการในปัจจุบัน

การปฏิรูปการศึกษาไทยหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475


ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองคณะราษฎร์ได้มีการกำหนดเป้าหมายของการศึกษา คือ ให้พลเมือง
ทุกคน ไม่เลือกเพศ ชาติ ศาสนา ได้รับการศึกษาตามอัตภาพ เพื่อประกอบอาชีพที่จะเกิดประโยชน์แก่บ้านเมือง
โดยให้มีการศึกษา 3 ด้านคือ จากธรรมชาติ จากการงาน และจากการสมาคมต่อมาในสมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม
9

ได้มีการเพิ่มจุดเน้นการจัดการศึกษาไทยอีก 1 ส่วน จากสามส่วน เป็นพุทธิศึกษา จริยศึกษา พลศึกษา และหัตถ


ศึกษา

การปฏิรูปการศึกษาไทยสมัยพัฒนาการศึกษา พ.ศ. 2494 – 2534


การปฏิรูปการศึกษาไทยในช่วงนี้ได้มีการประกาศใช้แผนการศึกษาแห่งชาติ ฉบับที่ 1 2 และ 3 มีการจัดตั้ง
โรงเรียนฝึกหัดครู ประกาศใช้พระราชบัญญัติโรงเรียนเอกชน มีการจัดการสอนเอนทรานซ์เข้ามหาวิทยาลัย และมี
การจัดวางระบบการศึกษา

การศึกษาสมัยปัจจุบัน
การศึกษาในปัจจุบัน ใช้แผนการศึกษาสมัย พ.ศ. 2535 ซึ่งมีลักษณะที่กำหนดหลายประการ ดังนี้

1. กำหนดหลักการที่สำคัญ 4 หลักการ
2. กำหนดจุดมุ่งหมาย ที่ครอบคลุมทั้งด้านร่างกาย ปัญญา ด้านจิตใจ ด้านร่างกายและสังคม
3. วางระบบการศึกษา
4. กำหนดนโยบายการศึกษา 19 ประการ
5. กำหนดแนวทางการจัดการศึกษา
6. กำหนดหน่วยงานที่รับผิดชอบ ในการจัดทำแผนพัฒนาการศึกษา
ความพยายามในการปฏิรูปที่ประสบความสำเร็จจำเป็นต้องอาศัยปัจจัยหลายประการร่วมกันเพื่อขับเคลื่อน
การเปลี่ยนแปลงเชิงบวกและการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ประการแรก ธุรกิจขนาดใหญ่และผู้ที่มีสถานะทางสังคม
และเศรษฐกิจที่ดีจะต้องยอมสละผลประโยชน์บางอย่างเพื่อสร้างความเป็นธรรมในสังคมให้มากขึ้น ประการที่สอง
การปฏิรูปที่วางแผนไว้ในช่วงที่เกิดความขัดแย้งควรได้รับการไกล่เกลี่ยโดยพรรคที่เป็นกลางซึ่งสามารถเสนอแนวทางที่
เป็นอิสระได้ การเสียสละนี้อาจรวมถึงการจ่ายภาษีจากกำไรจากการซื้อขายหุ้น ภาษีมรดก หรือภาษีที่ดินในอัตราที่
ก้าวหน้า ประการที่สาม ความพยายามในการปฏิรูปจะต้องถูกมองว่าเป็นประโยชน์ต่อประเทศโดยรวม มากกว่าการ
ปกป้องผลประโยชน์ของผู้มีอำนาจหรือแสวงหาอำนาจ
การปฏิรูปสามารถเป็นก้าวแรกที่สำคัญในการสร้างการเปลี่ยนแปลงหรือพัฒนาทางสังคมและทางเศรษฐกิจ
การปฏิรูปมักจะมีผลกระทบทั้งในมิติองค์กรราชการและในระดับกว้างขวางของสังคม เราสามารถดูถึงประโยชน์และ
ผลกระทบต่าง ๆ ที่การปฏิรูปสามารถนำเสนอได้:
บทที่ 4
ปัจจัยที่ส่งเสริมการปฏิรูปการศึกษา

ความกดดันทางสังคมและความต้องการที่เปลี่ยนแปลงไป
การปฏิรูปการศึกษาได้รับอิทธิพลจากแรงกดดันทางสังคมในอดีต โครงสร้างทางสังคมที่ก่อให้เกิดความกดดัน
และความขั ด แย้ ง ต่ อ การศึ ก ษาแพร่ ห ลาย ส่ ง ผลให้ ม ี ค วามต้ อ งการระบบการศึ ก ษาและแนวปฏิ บ ั ติ ท ี ่ ด ีข ึ้นสู ง
ในสถานการณ์ตึงเครียดที่ก่อให้เกิดแรงกดดันได้ง่าย เช่น การจลาจลทางการเมือง ความร้อน ความหนาวเย็น เสียงดัง
จากโรงงานอุตสาหกรรม และระดับกลิ่นเหม็น ความเครียด และความวิตกกังวลก็เพิ่มสูงขึ้น นักเรียนต้องอยู่กับ
ความเครียด ความกดดัน และความคาดหวังสูงเป็นเวลา 5 ถึง 6 วันต่อสัปดาห์ ซึ่งมักนำไปสู่อาการเครียดสะสม
ปัญหาสุขภาพจิตอย่างหนึ่งที่หลายคนประสบแต่ไม่รู้ตัวคือผลจากแรงกดดันเหล่านี้ การรับรู้ปัญหาเหล่านี้สามารถช่วย
บรรเทาได้ แรงกดดันทางสังคมเหล่านี้มีอิทธิพลต่อวิธีการจัดการศึกษาด้วย เวลา สถานที่ และบริบททางสังคมสามารถ
ส่งผลต่อความเชื่อ ค่านิยม และบรรทัดฐานของสถาบันการศึกษาได้ ดังนั้นการปฏิรูปการศึกษาจึงมีความจำเป็นอย่าง
ยิ่งในการจัดทำแนวทางที่มีประสิทธิภาพและมุ่งเป้าไปที่เป้าหมาย มีการศึกษาปัจจัยความเครียดและการควบคุม
ตนเองที่เกี่ยวข้องกับการปฏิรูปการศึกษา โดยเฉพาะในบริ บทของความผิดที่เด็กและเยาวชนกระทำ จากการวิจัย
ปัจจัยความเครียดและปัจจัยการควบคุมตนเอง พบว่าปัจจัยความเครียดบางประการสามารถนำไปสู่ความขุ่นเคืองใน
เด็กและเยาวชนได้

ปัจจัยทางสังคม เศรษฐกิจ และการเมืองที่ขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษา


ตลอดประวัติศาสตร์ การศึกษาถูกมองว่าเป็นแรงผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคม เศรษฐกิจ และ
การเมือง ในประเทศเยอรมนี ระบบการศึกษาด้านเทคนิคและอาชีวศึกษาขั้นสูงหรือ ถูกสร้างขึ้นเพื่อเป็นทางเลือก
แทนระบบมหาวิทยาลัยแบบดั้งเดิม ในขณะที่ในสหรัฐอเมริกา วิทยาลัยของรัฐมีบทบาทสำคัญในการปฏิรูปการศึกษา
ผู้นำโลกตระหนักถึงความสำคัญของการศึกษาและวางรากฐานสำหรับการศึกษาที่เหมาะสมในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อที่
สำคัญในอารยธรรม ผู้น ำทางการเมือง เช่น นโปเลียนยังได้ว างรากฐานสำหรับระบบการศึกษาใหม่ที่ใช้ระบบ
Grandes ecoles ประเทศต่างๆ ทั่วโลกต่างแข่งขันกันเพื่อเป็นผู้นำในการปฏิรูปการศึกษา โดยการศึกษาถือเป็น
หนทางในการสร้างผู้นำรุ่นใหม่ และสร้างความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับประชาธิปไตยสำหรับคนส่วนใหญ่ ในประเทศไทย
ปัจจัยทางสังคม เศรษฐกิจ และการเมืองผลักดันความจำเป็นในการปฏิรูปการศึกษา วิกฤตเศรษฐกิจ เป็นผลมาจาก
ระบบการเมืองที่ม ีป ัญหาและระบบการศึ ก ษาที่ล ้มเหลว นำไปสู่การตระหนักว่าปั ญหาเศรษฐกิจในระยะยาว
จำเป็นต้องแก้ไขปัจจัยเหล่านี้ด้วยการปฏิรูปการศึกษา การศึกษาถือเป็นทางออกในการนำความรู้และเทคโนโลยีเข้าสู่
กระบวนการผลิตทางอุตสาหกรรมอย่างมีประสิทธิภาพ และพัฒนาทักษะ ความรู้ และความเชี่ยวชาญของแรงงานไทย
11

ปัญหาทางการศึกษาเกี่ยวข้องกับวิกฤตเศรษฐกิจ นำไปสู่การปฏิรูประบบการบริห ารและขับเคลื่อนการปฏิรูป


การศึกษา ความจำเป็น ในการปฏิร ูป ระบบการศึกษาทั้งหมด รวมถึงการจัดการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์ ได้รับ
แรงผลักดันจากปัจจัยทางสังคมและเศรษฐกิจ รวมถึงการส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจและความเท่าเทียมกันในโอกาส
การประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 และพระราชบัญญัติการศึกษา พ.ศ. 2542 ถือเป็น
ปัจจัยทางการเมืองที่สำคัญที่ขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษา

บุคคลหรือกลุ่มผู้มีอิทธิพลมีส่วนสนับสนุนการปฏิรูปการศึกษา
การศึกษาเป็นองค์กรที่มีการพัฒนามาโดยตลอดซึ่งปรับให้เข้ากับยุคสมัยและความต้องการที่เปลี่ยนแปลงไป
ในแต่ละยุคสมัย ปัจจัยทั้งภายในและภายนอกมีส่วนทำให้การศึกษามีวิวัฒนาการและมีการเปลี่ยนแปลง อย่างไรก็ตาม
ปัญหาด้านการศึกษาบางประเด็นฝังลึกมากจนไม่สามารถแก้ไขได้โดยใช้วิธีการแบบเดิม ๆ และจำเป็นต้องมีการยก
เครื่องระบบใหม่ทั้งหมด ควบคู่ไปกับการเปลี่ยนแปลงกรอบความคิดของผู้นำทางการศึกษาและผู้ปฏิบัติงาน ใน
ประเทศไทย ระบบการศึกษามีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างจากอดีตสู่อนาคต โดยให้ความสำคัญกับการพิจารณาผู้เรียน
เป็นส่วนที่สำคัญที่สุดของระบบ บุคคลผู้มีอิทธิพลในประเทศไทยที่มีส่วนร่วมในการส่งเสริมการปฏิรูปการศึกษา ได้แก่
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารย์ยางกุล) ซึ่งทั้งสองเป็นผู้นำที่
ชาญฉลาดที่ตระหนักถึงความสำคัญของการศึกษาในการพัฒนาประเทศ นางสาวชุติมาน เหลืองทองคา วิเคราะห์
แนวทางของครูไทยในการปฏิรูปการศึกษายุคนี้ ในทำนองเดียวกัน ในเกาหลี ความจำเป็นในการปฏิรูปการศึกษาได้รับ
แรงผลักดันจากการกระจายโอกาสทางการศึกษาภายในประเทศ อย่างไรก็ตาม การปฏิรูปนี้ยังสะท้อนให้เห็นถึง
ประเพณีวัฒนธรรมและการศึกษาที่เป็ นเอกลักษณ์ของเกาหลีด้วย ในขณะเดียวกัน ในซีกโลกตะวันตก ลัทธิเสรีนิยม
ใหม่ได้ครอบงำการศึกษาสาธารณะผ่านวาทกรรมการศึกษาที่อิงมาตรฐาน โดยมุ่งเน้นไปที่การสนับสนุนการเติบโตทาง
เศรษฐกิจผ่านทางการศึกษา โดยสรุป บุคคลและกลุ่มผู้มีอิทธิพลมีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมการปฏิรู ปการศึกษา
โดยตระหนักถึงความจำเป็นในการเปลี่ยนแปลงและดำเนินการเพื่อนำมาซึ่งการปรับโครงสร้างระบบการศึกษา
บทที่ 5
การปฏิรูปการศึกษาเกิดข้อดีข้อเสีย
ข้อดี
แม้ว่ามหาวิทยาลัยเอกชนในประเทศไทยจะมีความก้าวหน้าในการปรับปรุงคุณภาพการศึกษา แต่ก็ยังมี
ช่องทางให้ปรับปรุงผ่านการปฏิรูปการศึกษา ประโยชน์ที่เป็นไปได้ของการปฏิรูปดังกล่าวมีมากมาย ตัวอย่างเช่น
เทคโนโลยีสมัยใหม่สามารถนำมาใช้เพื่อช่วยให้นักเรียนเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากขึ้น ส่งผลให้
อัตราความสำเร็จของนักเรียนดีขึ้น นอกจากนี้ การปฏิรูปการศึกษาสามารถปรับปรุงความสำเร็จของนักเรียนโดยการ
ผลิตผลิตภัณฑ์ทางการศึกษาที่เกี่ยวข้องกับสถานการณ์ในชีวิตจริงมากขึ้น ซึ่งจะช่วยเตรียมนักเรียนให้พร้อมสำหรับ
การทำงานได้ดีขึ้น การใช้ศักยภาพของครูและการดำเนินโครงการพัฒนาวิชาชีพสามารถมีส่วนช่วยในการพัฒนาและ
ความสำเร็จของนักเรียนได้ นอกจากนี้ การปฏิรูปการศึกษายังสามารถสร้างโอกาสทางการศึกษาที่เท่าเทียมกัน และ
ลดช่องว่างระหว่างผู้ที่มีฐานะดีและผู้ที่มีฐานะยากจนจนถึงชนชั้นกลาง ซึ่งสามารถทำได้โดยการพัฒนาหลักสูตรที่เน้น
ความสามารถและนำแนวทางใหม่ที่เรียกว่า "ลูกของคุณคือลูกของเรา" ประโยชน์ที่เป็นไปได้อื่นๆ ได้แก่ การปรับปรุง
การเข้าถึงการพัฒนาสำหรับนักเรียน การติดตามและประเมินคุณภาพการศึกษาตามมาตรฐานการศึกษา และการ
จัดการโครงสร้างเวลาเรียน นอกจากนี้ การแบ่งเวลาจัดกิจกรรม/โครงการพัฒนานักเรียนนอกเวลาเรียนปกติยังเป็น
ประโยชน์ในการส่งเสริมความสำเร็จของนักเรียนอีกด้วย ประโยชน์ที่เป็นไปได้ทั้งหมดนี้แสดงให้เห็นว่าการปฏิรูป
การศึกษาสามารถนำไปสู่ความสำเร็จของนักเรียนที่ดีขึ้นและขับเคลื่อนการพัฒนาคุณภาพการศึกษาในประเทศไทย
อย่างจริงจังได้อย่างไร

ข้อเสีย
แม้ว่าความคิดริเริ่มในการปฏิรูปการศึกษามีศักยภาพในการปรับปรุงความสำเร็จของนักเรียน แต่ก็มีข้อเสีย
และความท้าทายที่อาจเกิดขึ้นเช่นกันที่ต้องพิจารณา ประเด็นหนึ่งคือคุณภาพการศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาเอกชน
โดยเฉพาะในเรื่องค่าเล่าเรียน แม้ว่าการปรับปรุงด้านการศึกษาอาจดึงดูดนักศึกษาต่างชาติจากประเทศต่างๆ เช่น
อาเซียน เมียนมาร์ เวียดนาม กัมพูชา ลาว และจีน ค่าใช้จ่ายสูงที่เกี่ยวข้องกับสถาบันเอกชนอาจทำให้นักเรียนที่มีภูมิ
หลังด้อยโอกาสไม่สามารถเข้าถึงโอกาสเหล่านี้ได้ นอกจากนี้ มีรายงานว่ากองทุนจีนเข้าซื้อมหาวิทยาลัยเอกชน ของ
ไทยหลายแห่งในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อคุณภาพหรือทิศทางการศึกษาในสถาบันเหล่านี้ สิ่งนี้ทำให้
เกิดความกังวลเกี่ยวกับอิทธิพลของการลงทุนจากต่างประเทศต่อการตัดสินใจและผลลัพธ์ทางการศึกษา ในทาง
กลับกัน การลงทุนกับนักศึกษาจีนเพื่อศึกษาต่อต่างประเทศอาจง่ายกว่าการพยายามจัดตั้งมหาวิทยาลัยแห่งใหม่ใน
ประเทศจีน ซึ่งอาจมีราคาแพงและใช้เวลานานกว่า ความท้าทายเหล่านี้เน้นย้ำถึงความจำเป็นในการพิจารณาและ
13

วางแผนอย่างรอบคอบเมื่อดำเนินการปฏิรูปการศึกษา เพื่อให้มั่นใจว่าการปฏิรูปการศึกษาจะสามารถเข้าถึงได้ ยั่งยืน


และมีประสิทธิภาพสำหรับนักเรียนทุกคน

สรุป
ระบบการศึกษาในปัจจุบันจำเป็นต้องมีการปฏิรูปที่สำคัญเพื่อปรับปรุงภูมิทัศน์การศึกษา การปฏิรูปมีสี่
ประเด็นหลัก ได้แก่ หลักสูตร วิธีการสอน ครู และวิธีการประเมินผล การปฏิรูปนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อปรับปรุงระบบ
การศึกษาซึ่งปัจจุบันไม่สามารถตอบสนองความต้องการของทั้งการเรียนรู้และตลาดแรงงานที่เปลี่ยนแปลงไป แม้ว่า
การปฏิรูปการศึกษาจะเป็นประเด็นที่มีการกล่าวถึงมากที่สุดในบรรดานโยบายสำคัญๆ ของประเทศไทย แต่ก็ได้รับ
ความสนใจน้อยที่สุดแม้จะมีความสำคัญต่อสังคมไทยก็ตาม เพื่อทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ความคืบหน้า ความท้าทาย
และแนวโน้มในอนาคตของการปฏิรูปเหล่านี้ จำเป็นต้องได้รับการประเมินและติดตามอย่างรอบคอบ กำลังดำเนินการ
ปฏิรูปหลักสูตรเพื่อสอนให้เด็กๆ มีความเชี่ยวชาญในการใช้งานในชีวิตจริง และวิธีการสอนได้เปลี่ยนจากครูเป็น
ศูนย์กลางไปสู่เด็กเป็นศูนย์กลาง เพื่อเน้นการคิดเชิงวิเคราะห์และความคิดสร้างสรรค์ แทนการท่องจำและการเรียนรู้ที่
เน้ น ครู เ ป็ น ศู น ย์ ก ลาง กำลั ง ปฏิ ร ู ป ครู ใ ห้ ม ี ค วามรู ้ ความสามารถ และทำหน้ า ที ่ เ ป็ น พ่ อ แม่ ค นที ่ ส องของลู ก
ในขณะเดียวกัน วิธีการประเมินกำลังได้รับการปฏิรูปเพื่อลดความสำคัญของการสอบและหลีกเลี่ยงการระงับความคิด
สร้างสรรค์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการคนปัจจุบันชี้ให้เห็นว่าการปฏิรูปการศึกษาเป็นนโยบายที่ท้าทาย
ภายใต้กระแสการเปลี่ยนแปลง มีพรรคการเมืองเพียงไม่กี่พรรคที่เสนอนโยบายสำหรับการปฏิรูปการศึกษาแต่ละ
ประเภท คิดเป็นสัดส่วนเพียง 9% ของจำนวนนโยบายทั้งหมด อย่างไรก็ตาม 'หลักสูตรที่เน้นความสามารถ' ได้รับการ
ผลักดันในอุตสาหกรรมการศึกษาให้เปลี่ยนการศึกษาไทย หมวดหมู่งบประมาณประกอบด้วยนโยบายการกระจาย
อำนาจของโรงเรียน โรงเรียนที่ปราศจากเผด็จการ การเรียนรู้สมัยใหม่ โรงเรียนหลายภาษา ลดเวลาเรียน การเลือก
สถานที่เรียน และสื่อการสอนที่ทันสมัย ด้วยการติดตามและประเมินผลการปฏิรูปเหล่านี้อย่างรอบคอบ หวังว่าจะ
นำไปสู่ระบบการศึกษาที่ดีขึ้นสำหรับทุกคน
บรรณานุกรม
นางเจริญศรี บุญสกุล. (2560). กฎหมายการศึกษา : กฏหมายเบื้องต้น. ปทุมธานี : โรงเรียนนครรังสิต รัตนโกสินทร์
พิมพันธ์ เดชะคุปต์. (2548). การวิจัยและพัฒนารูปแบบการ ปฏิรูปการเรียนรู้ทั้งโรงเรียน. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์และ
ทำปกเจริญผล
ดวงเดือน อ่อน. (2543). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2). กรุงเทพฯ : บริษัท
พริกหวาน กราฟฟิค จำกัด.

You might also like