You are on page 1of 11

โครงงานคุณธรรม

เรือ่ ง ช้าไปนิด ชีวติ เปลีย่ น


ภาคเรียนที่ ๑ ปีการศึกษา ๒๕๖6

จัดทำโดย
นักเรียนชัน้ มัธยมศึกษาปีที่ ๒/3

ครูที่ปรึกษา
นางสุภาภรณ์ มากสืบมี
นายณัฐพันธุ์ จันทร์บุญเรือง

โรงเรียนปทุมธานี”นันทมุนีบำรุง”
อำเภอ เมือง จังหวัด ปทุมธานี
สำนักงานเขตพืน้ ทีก่ ารศึกษามัธยมศึกษาปทุมธานี
บันทึกข้อความ

ส่วนราชการ โรงเรียนปทุมธานี “นันทมุนีบำรุง” อำเภอ เมือง จังหวัด ปทุมธานี


ที.่ ......................................... วันที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๖6
เรือ่ ง สรุปผลการดำเนินงานโรงเรียนคุณธรรม ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒/3
............................................................................................................................. ........................................
เรียน ผู้อำนวยการโรงเรียน
ตามที่ นางสุภ าภรณ์ มากสืบมี และนายณัฐพันธุ์ จันทร์บุญเรือง ครูที่ปรึกษานักเรียนชั้น
มัธยมศึกษาปีที่ ๒/3 พร้อมด้วยนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒/3 ได้ร่วมกันดำเนินการตามโครงงาน
คุณธรรม เรื่อง ช้าไปนิด ชีวิตเปลี่ยน ประจำภาคเรียนที่ ๑ ปีการศึกษา ๒๕๖6 บัดนี้โครงการดังกล่าวได้
เสร็จสิ้นเป็นที่เรียบร้อยแล้วจึงขอรายงานผลการดำเนินโครงการ ดังรายละเอียดที่แนบมานี้

จึงเรียนมาเพื่อโปรดทราบ

(นางสุภาภรณ์ มากสืบมี) (นายณัฐพันธุ์ จันทร์บุญเรือง)


ครูที่ปรึกษา ครูที่ปรึกษา
ความเห็นรองผูอ้ ำนวยการฝ่ายกิจการนักเรียน ความเห็นรองผูอ้ ำนวยการฝ่ายกิจการนักเรียน
……………………………………………………………… ……………………………………………………………………
……………………………………………………………… ……………………………………………………………………

(นางสาวปุณณัฐ โปร่งสันเทียะ) (นางนันทพร บุญแก้ว)

ความเห็นผูอ้ ำนวยการโรงเรียน
…………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………….....

(นางสุมาลี รามฤทธิ์)
ผู้อำนวยการโรงเรียนปทุมธานี “นันทมุนีบำรุง”
คำนำ
โครงงานคุณธรรม เรื่อง ช้าไปนิด ชีวิตเปลี่ยน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒/3 ประจำภาคเรียนที่ ๑
ปีการศึกษา ๒๕๖6 จัดทำขึ้นภายใต้โครงการโรงเรียนคุณธรรมของโรงเรียนปทุมธานี”นันทมุนีบำรุง” โดย
โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒/3 เพื่อให้นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒/3 มีความ
รับผิดชอบมากขึ้น และตรงต่อเวลา
ผู้จัดทำหวังเป็นอย่างยิ่งว่า รายงานนี้จะเป็นประโยชน์ต่อผู้ศึกษาไม่มากก็น้อย หากมีความผิดพลาด
ประการใด ต้องขอภัยมา ณ ที่นี้ด้วย

คณะผู้จัดทำ
สารบัญ

เรือ่ ง หน้า
ชื่อโครงงาน 1
ที่มาและความสำคัญของปัญหา 1
วัตถุประสงค์ 1
ปัญหา 1
สาเหตุของปัญหา 1
เป้าหมาย 1
วิธีการแก้ไขปัญหา 2
หลักธรรมที่นำมาใช้ 2
ความเชื่อมโยงสู่คุณธรรมอัตลักษณ์ 2
วิธีการวัดและประเมินผล 2
ผลการพัฒนา 3
ปัญหา/อุปสรรค 3
ข้อเสนอแนะ 3
ผู้รับผิดชอบโครงงาน 3
ที่ปรึกษาโครงงาน 3
ภาคผนวก 4
โครงงานโรงเรียนคุณธรรม สพฐ.
ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒/3 โรงเรียนปทุมธานี “นันทมุนีบำรุง”
สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาปทุมธานี
๑) ชือ่ โครงงาน
ช้าไปนิด ชีวิตเปลี่ยน
๒) ทีม่ าและความสำคัญของปัญหา
เนื่องด้วยจากการที่นักเรียน มัธยมศึกษาปีที่ ๒/3 โรงเรียนปทุมธานี “นันทมุนีบำรุง” มีพฤติกรรมเสี่ยง
ประพฤติปฏิบัตติ นไม่ เหมาะสม ขาดหลักธรรมในการดำเนินชีวิต ส่งผลก่อให้เกิดปัญหาการมาโรงเรียนไม่ตรงเวลา
ส่งงานไม่ตรงเวลา ซึ่งมีสาเหตุ มาจาก ตื่นสาย เล่นโซเชี่ยวดึกและมีธุระส่วนตัว ดังนั้น นักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ ๒/
3 จึงจัดทำโครงงานคุณธรรม เรื่อง ช้าไปนิด ชีวิตเปลี่ยน เพื่อให้นักเรียนปรับเปลี่ยนพฤติกรรม โดยยึ ดแนวพระ
ราชดำรัสของ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เกี่ยวกับปัญหา
การมาโรงเรียนสายมาดำเนินงานที่ว่า “การดำรงชีวิตที่ดีจะต้องปรับปรุงตั วตลอดเวลาการปรับปรุงตั วจะต้องมี
ความเพียรและความอดทนเป็นที่ตั้ งถ้าคนเราไม่หมั้นเพียร ไม่มีความอดทน ก็อาจจะทอ้ใจไปโดยง่ายเมื่อท้ อใจไป
แล้ว ไม่มีทางที่จะมีชีวิ ตเจริญรุ่งเรืองแน่ๆ” พระบรมราโชวาท พระราชทาน แก่คณะครูและนกัเรียนโรงเรียน
จิตรลดา ๒๗ มีนาคม ๒๕๒๓ และยึด หลักธรรมคำสอนของศาสนาพุทธ หลักธรรม สัปปุริสธรรม ๗ ที่ว่ ากาลญัญุ
ตา หมายถึงรู้กาลคือรู้ กาลเวลาอันเหมาะสม และรู้ระยะเวลาที่พึงใช้ในการประกอบกิจการต่างๆ รู้จักแบ่งเวลาให้
เหมาะสมในแต่ ละกิจการที่ตนกระทำมาเป็นแนวทางในการแก้ปัญหาเพื่อนักเรียนชั้น ม.2/3 โรงเรียนปทุมธานี
“นันทมุนีบำรุง” มีพฤติกรรมมาตรงต่อเวลามากขึ้น
๓) วัตถุประสงค์
เพื่อให้นักเรียนรู้จักหน้าที่และมีความรับผิดชอบ
๔) ปัญหา
๑. นักเรียนมาโรงเรียนสาย
๒. นักเรียนเข้าเรียนสาย
๓. นักเรียนส่งงานไม่ตรงเวลา

๕) สาเหตุของปัญหา
๑. ตื่นสาย
๒. ไม่สนใจการเรียน
๓. ขาดความรับผิดชอบ

๖) เป้าหมาย
เชิงปริมาณ : เชิงปริมาณ: นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒/3 โรงเรียนปทุมธานี “นันทมุนีบํารุง”จำนวน ๔2 คน
เชิงคุณภาพ: ๑. นักเรียนมาโรงเรียนตรงเวลา
๒. นักเรียนส่งงานตรงเวลา
๗) วิธีการแก้ไขปัญหา
๑. การเช็กเวลาเรียน
๒. บันทึกติดตามการส่งงานของครูประจำวิชา

๘) หลักธรรมทีน่ ำมาใช้
หลักธรรม - หลักธรรมสัปปุรสิ ธรรม ๗ ในความหมายของพระพุทธศาสนาจะต้องเป็นผู้ประกอบด้วย
หลักธรรม ๗ ประการ ดังนี้
๑. ธัมมัญญุตา ความเป็นผู้รู้จักเหตุเช่น รู้จกัวา่ การทา ความดีเป็นเหตุแห่งความสุขความขยั น เป็นเหตุ
แห่งความสำเร็จ ความเกียจคร้านเป็น เหตุแห่งความล้ มเหลวการทำความชั่ว เป็นความทุกข์เป็นต้ นและรู้ ว่ า
เมื่อเกิดมีผลขึ้นมาแล้วจะต้องมีเหตุไม่ใช่มีสิ่งใดที่เกิดขึ้ นมาลอย ๆ โดยไม่มีเหตุเลยเมื่อรู้ว่า อะไรเป็นเหตุให้ เกิด
ผลดีอะไรเป็นเหตุให้เกิดผลชั่ ว แลว้พยายามหลีกเลี่ยง หรือละเหตุที่จะให้ เกิดผลชั่ว แล้วหันมาทำแต่เหตุที่ จะให้
เกิดผลดี
๒. อัตถัญญุตา ความเป็นผู้รู้จักผลเช่น รู้จักว่า ความสุขเป็นผลแห่งการทำความดีทุกข์เป็นผลแห่งการทำ
ความชั่ว สอบผ่านเป็นผลแห่งความขยันความตั้งใจเรียน สอบตกก็ทราบว่า นั่นเป็นผลแห่งความ เกียจคร้าน ความ
ไม่ตงั้ ใจศึกษาเล่าเรียน เป็นต้น แล้วพยายามแสวงหาแต่ผลดีโดยการทำเหตุที่ดี
๓. อัตตัญญุตาความเป็นผู้ รู้จักตน คือ ต้องรู้สึกตัวอยู่เสมอว่า เรามีชาติมีเพศ มีตระกูลยศศั กดิ์ สมบัติ
บริวารความรู้ความสามารถกำลังความถนัด และคุณธรรม แค่ไหน เพียงไรแล้วต้องประพฤติตนให้สมกับภาวะนั้นๆ
และรู้ที่จะแก้ไขปรับปรุงให้ดยี ิ่งขึน้ ต่อไป
๔. มัตตญุตา ความเป็นผู้รู้จกั ประมาณ คือรู้จักความพอดีเช่นในการแสวงหาเครื่องยังชีพก็ต้อง แสวงหา
ในทางที่ชอบธรรม ไม่โลภมากเกินไปเมื่อหามาได้แล้วก็ต้องรู้จักประมาณในการใช้จา่ ยด้วย ต้องไม่ฟุ่มเฟือย
จนเกินไป และต้องไม่ฝืดเคืองจนเกินไปด้วย
๕.กาลัญญุตา ความเป็นผู้รู้จักกาลเวลา คือ รู้กาลเวลาอันเหมาะสมและระยะเวลาที่จะต้องใช้ในการ
ประกอบกิจกระทำหน้าที่การงานต่าง ๆ เช่น ให้ตรงเวลา ให้เป็นเวลาให้ ทันเวลา ให้พอเวลา ให้เหมาะแก่เวลา
เป็นต้น ถ้าผิดพลาดในเรื่องกาลเวลา ดังกล่าว นอกจากจะไม่ได้รับผลสำเร็จแล้ว ยังอาจจะได้รับผลเดือดร้อนใน
ภายหลังอีกด้วยเช่น การไปสอบ ไม่ทนั เวลา เป็นต้น
๖. ปริสัญญุตา ความเป็นผู้รู้จักบริษัท ประชุมชน และสังคม ว่าสังคมใดควรที่จะเข้าไปร่วมด้วย สังคมใด
ควรหลีกเลี่ยงให้ห่างไกลรวมทั้งรู้กิริยาที่ประพฤติต่อชุมชนหรือสังคมนั้ นๆ ว่าเมื่อเข้าสังคมนี้ จะต้องประพฤติตัว
วางตัวอย่างใด จะต้องพูดอย่างไร ต้องรู้มารยาทในสังคมนั้น ๆ จะได้้ไม่เคอะเขินเวลาสู่ที่ประชุมชน คือ ต้องทำตัว
เข้ากับสังคมได้โดยถูกต้องตามทำนองคลองธรรม
๗. ปุคคลปโรปรัญญุตา ความเป็นผู้รู้จักเลือกบุคคลวา่ บุคคลนี้เป็นคนดี ควรคบ ผู้นี้เป็นคนไม่ดี ไม่ควรคบ
เป็นต้น เพราะในสังคมทั่ว ไปย่อมมีทั้งคนดีคนชั่ว ด้วยกัน ทั้งนั้น จึงต้องรู้จักเลือกคบคน เพราะการ คบคนดีย่อม
เป็นศรีแก่ตน คบคนชั่ว จะพาตัวให้บรรลัย รวมทั้งรู้ความแตกต่างแห่งบุคคลวา่ โดยอั ธยาศัย ความสามารถ และ
คุณธรรม เป็นต้น ใครยิ่ง หรือหย่อนอย่างไรและรู้ที่จะปฏิบัติต่อบุคคลที่จะสนทนากับบุคคลด้วยดีว่า จะใช้ถ้อยคำ
จะตำหนิยกย่อง หรือแนะนำพร่ำสอนอย่างไรจึงจะได้ผลดีเป็นต้น
ในชีวิตประจำวันนั้น ถ้าใครมีคุณธรรมของมนุษย์ที่แท้ ๗ ประการ และสามารถประพฤติได้อย่าง ถูกต้อง
ตามหลักการเหล่านี้โดยสมบูรณ์แล้ว ผู้นั้นย่อมชื่อว่า เป็นผู้ทพี่ ระพุทธเจา้ทรงยกย่องว่า เป็น "สัตบุรุษ" หรือ "คนดี
แท้" หรือ"มนุษย์โดยสมบูรณ์" การกระทำ หรือพฤติกรรมของเขาย่ อมเหมาะสม ถูกต้องปราศจากความผิดพลาด
นำประโยชน์มาให้ทั้งแก่ตนเองและสังคมโดยส่วนรวมคนดีแท้ อยู่ในสังคม ใดย่อมเอื้ออำนวยประโยชน์สันติสุขแก่
สังคมนั้นผู้ประสงค์จะให้การดำเนินชีวิตประจำวันไปโดยราบรื่นเรียบร้อยเป็นสุขช่วยเหลือสังคมและประเทศชาติ
ได้จะต้องมีคุณธรรมของมนุษย์โดยสมบูรณ์ดังกล่าว
๙) ความเชือ่ มโยงสูค่ ุณธรรมอัตลักษณ์
คุณธรรมอัตลักษณ์โรงเรียนปทุมธานี “นันทมุนีบำรุง” : มีวินัย ใส่ใจรับผิดชอบ ประกอบจิตสาธารณะ
เชื่อมโยงกับคุณธรรมเป้าหมาย ความรับผิดชอบ
พฤติกรรมบ่งชี้เชิงบวก : นักเรียนตรงต่อเวลา รับผิดชอบต่อสิ่งที่ได้รับมอบหมาย
๑๐) วิธีการวัดและประเมินผล
ตัวชี้วัด
นักเรียนมาโรงเรียนตรงเวลา และส่งงานตรงเวลา
วิธีการวัดผล
วิธีการประเมินผล : การสังเกตพฤติกรรม
เครื่องมือการวัดผล
เครื่องมือที่ใช้ในการประเมิน : แบบสังเกตพฤติกรรม
ช่วงระยะเวลา
ช่วงเวลาการประเมิน : ภาคเรียนที่ ๑ ปีการศึกษา ๒๕๖6
๑๑. ผลการพัฒนา (ด้านคุณธรรม/จริยธรรม)
จากการพัฒนานักเรียนตามโครงงาน "ช้าไปนิด ชีวิตเปลี่ยน" พบว่านักเรียนมีการพัฒนา
(คุณธรรม/จริยธรรม) ดังนี้

ก่อนการดำเนินโครงงาน/กิจกรรม หลังการดำเนินโครงงาน/กิจกรรม
๑. นักเรียนมาโรงเรียนสาย ส่งงานไม่ตรงเวลา ๑.นักเรียนมาโรงเรียนและส่งงานตรงเวลา

๑๒. ปัญหา/อุปสรรค
-

๑๓. ข้อเสนอแนะ
....................................................................................................................................................................................
....................................................................................................................................................................................
....................................................................................................................................................................................
....................................................................................................................................................................................
๑๔. ผูร้ บั ผิดชอบโครงงาน
นักเรียนชั้นชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒/3 โรงเรียนปทุมธานี “นันทมุนีบำรุง”
๑๕. ทีป่ รึกษาโครงงาน (ครูทปี่ รึกษา)
๑. นางสุภาภรณ์ มากสืบมี
๒. นายณัฐพันธุ์ จันทร์บุญเรือง
ภาคผนวก

You might also like