You are on page 1of 90

ภาพยนตร์เกาหลีกับการสร้างและผลิตซ้ำภาพลักษณ์ของญี่ปุ่น

ตั้งแต่ ค.ศ. 2001 – ปัจจุบัน (2019)

จัดทำโดย
นางสาวณัฐณิชา นวลละออง รหัสนิสิต 591011231

เสนอ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ พรชัย นาคสีทอง

ที่ปรึกษา
อาจารย์เกษรา ศรีนาคา

งานวิจัยนี้เป็นส่วนหนึง่ ของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาศิลปศาสตรบัณฑิต
สาขาวิชาประวัติศาสตร์มหาวิทยาลัยทักษิณวิทยาเขตสงขลา
ปีการศึกษา 2562
กิตติกรรมประกาศ
งานวิจัยชิ้นนี้จะไม่สามารถสำเร็จลุล่วงไปได้หากขาดความช่วยเหลือ และคำแนะนำจาก
อาจารย์ เกษรา ศรีน าคา อาจารย์ ที่ปรึกษางานวิจั ย และผู้ช ่วยศาสตราจารย์ พรชัย นาคสีทอง
อาจารย์ประจำรายวิชาในครั้งนี้ด้วย โดยอาจารย์ได้ให้ข้อชี้แนะและคำแนะนำ เป็นอย่างดีตั้งแต่ผู้วิจยั
ริเริ่มคิดหาหัวข้อเรื่องจนกระทั่งสำเร็จเสร็จสิ้นออกมาเป็นรูปเล่มก็ได้ รับกำลังใจและความกรุณาจาก
อาจารย์มาโดยตลอด ผู้วิจัยจึงขอขอบพระคุณอาจารย์เกษรา ศรีนาคา และผู้ช่วยศาสตราจารย์ พรชัย
นาคสีทองเป็นอย่างสูง
ขอขอบพระคุณ บรรดาผู้กำกับ ผู้เขียนบท รัฐบาลประเทศเกาหลี เว็บไซต์ต่างๆที่เผยแผ่
ภาพยนตร์และผู้แปลภาษาในภาพยนตร์ ที่ได้สร้างสรรค์ผลงานภาพยนตร์ที่มีคุณค่าให้ผู้วิจัยได้นำมา
วิเคราะห์ออกมาเป็นงานวิจัยฉบับนี้ ซึ่งผู้วิจัยตระหนักอยู่เสมอตั้งแต่เริ่มทำงานวิจยั ชิ้นนี้ว่าภาพยนตร์
เหล่านี้มีคุณค่าและถ่ายทอดเรื่องราวได้อย่างน่าประทับใจมากผู้วิจยั ในฐานะผู้ที่ได้รับชมภาพยนตร์คน
หนึ่งรู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ได้ทำการศึกษาภาพยนตร์เหล่านี้
ขอขอบพระคุ ณ อาจารย์ ดร.อนิ น ทร์ พุ ฒ ิ โ ชติ สำหรั บ กำลั ง ใจและคำแนะนำ และ
ขอขอบพระคุณ รองศาสตราจารย์ ดร.อดิศร ศักดิ์สูง สำหรับคำแนะนำ ในการทำงานวิจัยชิ้นนี้เสมอ
มาตลอดจนคำชี้แนะ แนะนำเอกสาร ทรัพยากรด้านข้อมูลจากแหล่งต่างๆ ที่ช่วยให้ผู้วิจยั เห็นแนวทาง
ในการทำงานวิจยั ต่อไปได้ จึงขอขอบพระคุณคณาจารย์ทุกท่านเป็นอย่างสูง
ขอขอบพระคุณ พ่อแม่และบุคคลในครอบครัวทุกคนที่เป็นกำลังสำคัญทางใจให้ผู้วิจัยมีความ
เชื่อมั่นในตัวเองมากขึ้น ตลอดจนขอขอบคุณเพื่อนๆ สาขาประวั ติศาสตร์ทุกคนที่คอยช่วยเหลือและ
ให้กำลังใจกันเสมอมา เพราะฉะนั้นผู้วิจัยจึงหวังเป็นอย่างยิ่งว่างานวิจัยชิ้นนี้จะเป็นประโยชน์แก่ผู้ ที่
สนใจศึกษาเรื่องราวเกี่ยวกับ การสร้างภาพลักษณ์ของญี่ปุ่น ตั้งแต่ ค.ศ. 2009 – ปัจจุบัน (2019)ได้ไม่
มากก็นอ้ ย หากมีข้อผิดพลาดประการใดผู้วิจยั ต้องขออภัยมา ณ ทีนดี้ ว้ ย
สารบัญ
เรื่อง หน้า
บทที่ 1 บทนำ 1
1.1 ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา 1
1.2 วัตถุประสงค์ 4
1.3 ขอบเขตการศึกษา 4
1.4 วิธีการศึกษาค้นคว้า 5
1.5. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ 5
1.6. นิยามศัพท์ 5
1.7. แหล่งที่มาของข้อมูล 6
1.8. เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 6
บทที่ 2 บริบททางประวัตศิ าสตร์เกาหลีสมัยใหม่ 11
2.1. สถานการณ์ภายในประเทศเกาหลี 13
2.2. เกาหลีกับการเปิดประเทศ 15
2.3. เกาหลีกับการแทรกแซงจากต่างชาติ 17
2.4. เกาหลีกับการอยู่ภายใต้การปกครองของญี่ปุ่น 20
2.4.1. การผนวกเกาหลีเป็นส่วนหนึ่งของญี่ปุ่น 20
2.4.2. เกาหลีภายใต้การปกครองของญี่ปุ่น 21
2.4.3. ปฏิกิริยาของชาวเกาหลี 23
2.5. การแบ่งแยกประเทศและสงครามเกาหลี 28
2.5.1. การแบ่งแยกเกาหลี 28
2.5.2. สงครามเกาหลี 30
2.6. เกาหลีกับการฟื้นตัวหลังสงคราม 31
2.6.1 เกาหลีเหนือกับลัทธิจูเช่ 31
2.6.2. เกาหลีใต้กับความมหัศจรรย์ในการพัฒนาประเทศ 33
บทที่ 3 การสร้างและผลิตซ้ำภาพลักษณ์ของญี่ปุ่น 42
ที่ปรากฏในภาพยนตร์เกาหลี
3.1 ว่าด้วยเรื่องของภาพยนตร์เกาหลี 42
3.2 การสร้างและผลิตซ้ำภาพลักษณ์ของญี่ปุ่นที่ปรากฏในภาพยนตร์เกาหลี 46
3.2.1 เนื้อเรื่องโดยย่อของภาพยนตร์เกาหลี 47
3.2.2 การสร้างและผลิตซ้ำภาพลักษณ์ของญี่ปุ่น 53
ที่ปรากฏในภาพยนตร์เกาหลี
บทที่ 4 สรุป 77
บรรณานุกรม 80
ประวัติย่อผู้วิจัย 86
1

บทที่ 1
บทนำ
1.1. ที่มาและความสำคัญของการศึกษา
ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของเกาหลีและญี่ปุ่นดำเนินไปในทิศทางที่ดี หลังจากที่ ทั้งสอง
ประเทศตั ด สิ น ใจเซ็ น สนธิ ส ั ญ ญายุ ต ิ ค วามขั ด แย้ ง และบาดหมางในปี 1965 1 อย่ า งไรก็ ต าม
ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของเกาหลีกับญี่ปุ่น กลับมาตึงเครียดอีกครั้ง จากปัญหา 2 ประเด็น
โดยในช่วงปลายปี 2018 แรกเริ่มจากการจัดงานครบรอบ 73 ปี ของวันสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2
โดยจักรพรรดิอากิฮิโ ตะ แห่งญี่ป ุ่น ได้กล่าวแสดงความเสียใจกับสิ่งที่ญี่ปุ่นทำลงไปในสงคราม
ขณะเดียวกัน มุน ฮี-ซัง ประธานรัฐสภาเกาหลี ได้กล่าวโจมตีจักรพรรดิอากิฮิโตะ และเรียกร้องให้
จักรพรรดิออกมากล่าวคำขอโทษอย่างเป็นทางการกับกรณีญี่ปุ่นเอาผู้หญิงเกาหลีมาเป็นทาสบำเรอ
กามในสงครามโลก ทำให้นายชินโซะ อาเบะ นายกรัฐมนตรีและโฆษกรัฐบาลรุมโจมตี มุ น ฮี-ซัง
อย่างรุนแรงที่วิจารณ์ล้ำเส้นถึงองค์จักรพรรดิ2
ขณะเดียวกันในช่วงปลายปี 2018 นี้ศาลฎีกาของเกาหลีได้สั่งให้บริษัท Nippon Steel &
Sumitomo Metal และบริษัท Mitsubishi Heavy Industries จ่ายเงินให้กับโจทย์ทั้งหมด 9 คน ที่
ถูกใช้แรงงานช่วงสงครามอีก ประมาณคนละ 100-150 ล้านวอน (ประมาณ 2.5-4 ล้านบาท) เพราะ
สนธิ ส ั ญ ญาในปี 1965 ไม่ ร วมสิ ท ธิ ข องบุ ค คลในการเรี ย กร้ อ งค่ า ชดเชยของตั ว เองส่ ง ผลไปสู่
ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของทั้งสองประเทศที่เริ่มตึงเครียดกันมากขึ้น จากความขัดแย้งเรียกร้อง
ให้ชดเชยทางประวัติศาสตร์กลายมาสู่ความขัดแย้งทางเศรษฐกิจ3
ในปี 2019 ญี่ปุ่นได้ทำการถอดถอนเกาหลีออกจาก Whitelist ที่เรียกว่า ประเทศคู่ค้าสำคัญ
ที่ได้รับการยกเว้น หรือได้รับการผ่อนปรนสูงสุดในการนำเข้า-ส่งออกสินค้าและวัตถุดิบสำคัญกับญี่ปุ่น
ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจและตลาด IT ในประเทศเกาหลีใต้ที่จำเป็นต้องสั่งสินค้าจากญี่ ปุ่นเป็น
ประจำ4 ขณะเดียวกันทางฝั่งเกาหลี เริ่มมีความเคลื่อนไหวในโซเชียลมีเดียที่เรียกร้องให้ “บอยคอท”
สินค้าหลายประเภทจากญี่ปุ่น ตั้งแต่เบียร์ เสื้อผ้า ไปจนถึงปากกาและรถยนต์ โดยมีการติดแฮชแท็ก

1 The MATTER. (ออนไลน์). ความขัดแย้งทางประวัติศาสตร์ สู่สงครามการค้าอุตสาหกรรม IT สรุปความบาดหมาง เกาหลีใต้-ญี่ปุ่น


ทะเลาะอะไรกันอยู่?. สืบค้นเมื่อวันที่ 9 สิงหาคม 2562 จาก : https://thematter.co/brief/recap/recap-1563267602/80660.
2 Workpoint News. (ออนไลน์). เปิดที่มา สรุปสงครามการค้า เกาหลีใต้-ญี่ปน ุ่ . สืบค้นเมื่อวันที่ 9 สิงหาคม 2562 จาก :
https://workpointnews.com/2019/08/05/korea-japan/.
3 The MATTER. (ออนไลน์). ความขัดแย้งทางประวัติศาสตร์ สู่สงครามการค้าอุตสาหกรรม IT สรุปความบาดหมาง เกาหลีใต้-ญี่ปุ่น

ทะเลาะอะไรกันอยู่?. สืบค้นเมื่อวันที่ 9 สิงหาคม 2562 จาก : https://thematter.co/brief/recap/recap-1563267602/80660.


4 The MATTER. (ออนไลน์). สงครามการค้าเกาหลีใต้-ญี่ปุ่น เกิดอะไรขึ้นบ้าง เมื่อญี่ปุ่นถอดเกาหลีใต้ออกจาก Whitelist ?. สืบค้น

เมื่อวันที่ 9 สิงหาคม 2562 จาก : https://thematter.co/brief/brief-1564819200/82022.


2

"Boycott Japan" และร้านค้าบางร้านในกรุงโซลได้นำสินค้าที่เป็น แบรนด์ญี่ปุ่นออกจากชั้นวาง


ขณะที่บางร้านถึงขั้นติดป้ายหน้าร้านว่า"ไม่ขายสินค้าญี่ปุ่น"5
จากที่กล่าวมาข้างต้น จะเห็นว่าความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของเกาหลีและญี่ปุ่นดำเนินอยู่
บนความขัดแย้งมาโดยตลอด ซึ่งไม่ได้เห็นแค่ปัญหาในปัจจุบัน อดีตทั้ งสองประเทศได้มีปัญหาความ
ขัดแย้งกันอยู่ตลอด ประเด็นที่มักถูกหยิบยกขึ้นมาบ่อยครั้ง ไม่ว่าจะเป็นประเด็นหญิงบำเรอทางเพศ
แก่เหล่าทหาร ประเด็นของการเกณฑ์ชายเกาหลีไปร่วมรบให้ทหารฝ่ายอักษะด้วยความไม่เต็มใจ หรือ
บางคนถูกส่งไปทำงานหนัก ในโรงงานอุตสาหกรรมของบริษัทญี่ ปุ่น6 ขณะเดียวกันก็มีประเด็นเรื่อง
ของการที่นายกรัฐมนตรีหรือผู้บริหารชั้นสูงของญี่ปุ่นเดินทางไปสักการะดวงวิญญาณทหารที่ศาลเจ้า
ยาสุคุนิจะเกิดการประท้วง ประณาม และมีข่าวเรียกร้องต่าง ๆ โดยเฉพาะจีนและเกาหลี เนื่องจาก
ศาลเจ้ า แห่ ง นี ้ ไ ด้ ม ี ป ้ า ยสถิ ต วิ ญ ญาณของเหล่ า ทหารญี ่ ป ุ ่ น โดยเฉพาะพลเอกโตโจ ฮิ เ ดกิ
อดีตนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น ในสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง7 จะเห็นได้จากข่าวเมื่อปี 2016
“ทางการจีนและเกาหลีใต้แถลงประท้วงกรณีที่นางโทโมมิ อินาดะ รมว.กระทรวงกลาโหม
ญี่ปุ่น เดินทางไปสักการะศาลเจ้ายาสุคุนิ ในกรุงโตเกียว หนึ่งวันหลังกลับจากการเยือนเพิร์ล ฮาร์เบอร์
ของสหรัฐฯ”8
ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของทั้งสองประเทศที่แย่ลง อาจสืบเนื่องมาจากภูมิหลังทาง
ประวัติศาสตร์โดยเฉพาะช่วงที่ญี่ปุ่นเข้ามาปกครองเกาหลีตั้งแต่ปี 1910 - 1945 จนกระทั้งเข้าสู่
สงครามโลกครั้งที่สอง เกิดการจลาจลในเกาหลี ญี่ปุ่นใช้ความรุนแรงในการปราบปรามด้วยการเผา
หมู่บ้าน9 รวมถึงการทำลายวัฒนธรรมเกาหลี โดยการนำวัฒนธรรมญี่ปุ่นเข้ามาปลูกฝัง เช่น การให้
ชาวเกาหลีใช้ชื่อภาษาญี่ปุ่น 10 ดังนั้นการที่นายกรัฐมนตรีและผู้บริหารชั้นสูงของญี่ปุ่นเดินทางไป
สักการะดวงวิญญาณทหารที่เปรียบเสมือนวี รบุรุษของญี่ปุ่น แต่สำหรับชาวเกาหลีที่มองว่าทหาร
เหล่านั้นได้กระทำการที่โหดร้ายไว้กับประเทศเกาหลีจึงยิ่งก่อให้เกิดความขัดแย้งและความเกลียดชัง
มาก จะเห็นได้ชัดจากสื่อบันเทิงของเกาหลีที่ยังคงพยายามผลิตซ้ำภาพความทรงจำเหตุการณ์ในช่วงที่
ญี่ปุ่นเข้ามาปกครองและช่วงสงครามโลกครั้งที่สองให้แก่คนในชาติ

5 Posttoday. (ออนไลน์). บานปลาย! กระแสชาตินิยม ทำคนเกาหลีแห่บอยคอตสินค้าญี่ปุ่น. สืบค้นเมื่อวันที่ 9 สิงหาคม 2562 จาก


: https://www.posttoday.com/world/595355
6 Nuttaya Aunja. (ออนไลน์). เปิดที่มา สรุปสงครามการค้า เกาหลีใต้-ญี่ปุ่น. สืบค้นเมื่อวันที่ 9 สิงหาคม 2562 จาก :

https://workpointnews.com/2019/08/05/korea-japan/.
7 ธีรภัทร เจริญสุข. (ออนไลน์). ศาลเจ้ายาสุคุนิ การบูชาดวงวิญญาณ ความไม่ยอมรับผิด และการทำใจให้อภัย. สืบค้นเมื่อวันที่ 9

สิงหาคม 2562 จาก : https://www.the101.world/yasukuni-shrine/.


8 BBC Thailand. (ออนไลน์). จีน-เกาหลีใต้ประท้วง รมว.กลาโหมญี่ปุ่นเยือนศาลเจ้ายาสุคุนิ. สืบค้นเมื่อวันที่ 9 สิงหาคม 2562 จาก

: https://www.bbc.com/thai/international-38461407.
9 จอห์น เค. แฟร์แบงค์, เอ็ดวิน โอ. ไรเชาเออร์, แอลเบิร์ต เอ็ม. เครก. (2550). เอเชียตะวันออกยุคใหม่ จีน ญี่ปุ่น เกาหลี ไต้หวัน.

กรุงเทพฯ : มูลนิธิโตโยต้าประเทศไทย. 549.


10 เกษตรศาสตร์ เดชกุล. (2557). ชาตินิยมเกาหลีใต้ : กรณีศึกษา ข้อพิพาทเกาะด๊อกโด พ.ศ.2539-2556. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตร์

บัณฑิต สาขาประวัติศาสตร์ ศิลปศาสตร์บัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. 3.


3

สื่อบันเทิงของเกาหลีได้ผลิตภาพยนตร์ออกมาเป็นจำนวนมากตลอดระยะเวลา 20 ปีที่ผ่านมา
มีภาพยนตร์หลากหลายแนวที่สะท้อนวัฒนธรรม ค่านิยมพื้นฐานของคนเกาหลี แต่สิ่งที่น่าสนใจของ
บรรดาภาพยนตร์ที่ถูกผลิตออกมานั้นจะมีเนื้ อหาชุดหนึ่งที่ถูกผลิตซ้ำพอ ๆ กับเนื้อหาด้านวัฒนธรรม
นั้นก็คือ เนื้อหาที่เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ ไม่ว่าจะเป็นยุคสามอาณาจักร (โครยอ แพกเจ ซิลลา) ยุคโช
ชอน รวมไปถึงยุคที่เกาหลีอ่อนแอที่สุดก็คือยุคอาณานิคม (1910-1945) โดยเนื้อหาของภาพยนตร์และ
ซีรีย์ในช่วงก่อนยุคอาณานิคม ส่วนใหญ่จะเน้นไปที่เรื่องราวของการสร้างชาติของเกาหลี ที่เน้นบทบาท
การบริหารประเทศโดยชนชั้นนำ อาทิ พระมหากษัตริย์ และกลุ่มขุนนาง ที่สะท้อนเรื่องของการแย่งชิง
อำนาจ การแย่งชิงบัลลังก์ สภาพสังคม เศรษฐกิจ และความรักที่มีความแตกต่างทางชนชั้น ในขณะที่
เนื้อหาของภาพยนตร์และซีรีย์ในช่วงยุคอาณานิคม ส่วนใหญ่เนื้อหาจะเน้นไปที่ความโหดร้ายของญี่ปุ่น
ที่เข้ามาปกครองเกาหลี นับตั้งแต่การพยายามแทรกแซงและขยายอำนาจของญี่ปุ่นที่มีต่อเกาหลี ภาพ
ที่ชาวญี่ปุ่นเข้ามาแสวงหาผลประโยชน์ทางด้านการค้า ตลอดจนภาพลักษณ์ที่ชาวญี่ปุ่นกระทำต่อชาว
เกาหลีอย่างโหดร้าย โดยเฉพาะในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง เช่น การกดขี่ การนำชาวเกาหลีไปใช้เป็น
แรงงาน การคุกคามทางเพศ ขบวนการเพื่ออิสรภาพ ฯลฯ
เรื่องราวเหล่านี้อาจเห็น ได้จากภาพยนตร์นับตั้งแต่ปี 1945 จนถึงปัจจุบัน(2019) ดังนี้
ภาพยนตร์ เ รื ่ อ ง “Viva Freedom”(1945), “Shadow Murder”(2009), “The Sword with No
Name”(2009), “Assassination”(2015), “The Last Princess”(2016), “Dongju: The Portrait
of a Poet”(2016), “The Spirits’ Homecoming”(2016), “Love, Lies”(2016), “Snowy
Road”(2017), “the battleship island”(2017), “A resistance”(2019)11
จากที่กล่าวมาข้างต้นจะเห็นว่าการสร้างภาพความโหดร้ายของญี่ปุ่นผ่านภาพยนตร์ได้มีการ
ผลิตซ้ำอย่างต่อเนื่อง เสมือนเป็นการตอกย้ำช่วงเวลาและภาพความทรงจำในอดีตแก่คนรุ่นหลัง
อย่างไรก็ตามเรามิอาจปฏิเสธได้ว ่าประวัติศาสตร์ของเกาหลีในช่ว งที่ญี่ ปุ่นเข้ามาปกครองและ
ภาพลักษณ์ของชาวญี่ปุ่นที่สะท้อนผ่านภาพยนตร์ส่วนใหญ่เกิดขึ้นมาจากมุมมองและทัศนคติของชาว
เกาหลีในปัจจุบันที่มีต่อญี่ปุ่นในอดีต ซึ่งเรามิอาจทราบได้อย่างชัดเจนว่าเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ใน
ช่วงเวลานั้นแท้จริงเป็นเช่นไร แต่อย่างไรก็ตามก็มิอาจปฏิเสธได้เช่นกันว่าภาพยนตร์ที่ออกมาอย่าง
ต่อเนื่องได้มีส่วนต่อการสร้างภาพลักษณ์ของชาวญี่ปุ่นอย่างเรื่อยมา ซึ่งเนื้อหาได้สะท้อนให้เห็นถึงการ
พยายามเรียกร้องอิสรภาพของชาวเกาหลี ความเป็นชาตินิยม ฯลฯ ภาพดังกล่าวได้ส่งผลต่ออารมณ์
ความรู้สึกนึกคิดของชาวเกาหลีที่มีต่อญี่ปุ่นมาจนถึงปัจจุบัน
ดังนั้น ผู้วิจัยจึงมีความสนใจว่า ภาพยนตร์ที่ออกมาฉายได้สร้างสร้างหรือผลิตซ้ำภาพลักษณ์
ของญี่ปุ่นในช่วงเวลานั้นอย่างไรบ้าง เพื่อนำไปสู่การทำความเข้าใจปัญหาความสัมพันธ์ระหว่าง

11SEON IN-JOO. (ออนไลน์). รายชื่อละครและภาพยนตร์ประวัติศาสตร์ของเกาหลี เรียงตามลำดับเหตุการณ์/ยุคสมัย (อัพเดท 10


พ.ค. 2016). สืบค้นเมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2562 จาก : http://asiancastle.net/?p=3328. และ koreanfilm.org. (ออนไลน์). Film
Reviews. สืบค้นเมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2562 จาก : http://koreanfilm.org/.
4

ประเทศที่เกิดขึ้นระหว่างเกาหลีกับญี่ปุ่น ซึ่งส่วนหนึ่งมาจากการสร้างหรือผลิตซ้ำภาพลักษณ์ของญี่ปุ่น
อันส่งผลต่อความรู้สึกนึกคิด โดยเฉพาะความรู้สึกชาตินิยมของชาวเกาหลีที่มีต่อญี่ปุ่นมาจนถึงปัจจุบัน
1.2. วัตถุประสงค์ของการศึกษา
เพื่อศึกษาการสร้างและผลิตซ้ำภาพลักษณ์ของญี่ปุ่นในช่วงปลายโชชอน(ปลายศตวรรษที่ 19)
จนถึงช่วงที่เกาหลีอยู่ภายใต้การปกครองของญี่ปุ่น (1910-1945) ผ่านภาพยนตร์ของเกาหลีตั้งแต่
2009 - 2019
1.3. ขอบเขตของการศึกษา
การศึกษาวิจ ัย ครั้งนี้เป็น การศึกษาในประเด็นเรื่องการสร้างภาพลักษณ์ของญี่ปุ่นผ่าน
ภาพยนตร์เกาหลีที่มีเนื้อหาในช่วงปลายโชชอน(ปลายศตวรรษที่ 19) จนถึงช่วงที่เกาหลีอยู่ภายใต้การ
ปกครองของญี่ปุ่น (1910-1945)
ขอบเขตด้านเวลา ศึกษาภาพยนตร์ที่ออกอากาศตั้งแต่ปี 1982 จนถึงปัจจุบัน(2019) เพื่อ
อธิบายเรื่องราวหรือเหตุการณ์ในช่วงปลายโชชอน(ปลายศตวรรษที่ 19)จนถึงช่วงที่เกาหลีอยู่ภายใต้
การปกครองของญี่ปุ่น (1910-1945) แต่เนื่องด้วยภาพยนตร์บางเรื่องเก่าจนเกินไป ทำให้ไม่สามารถ
นำมาวิเคราะห์ได้ทั้งหมด ดังนั้นผู้วิจัยจึงเลือกภาพยนตร์ ตั้งแต่ปี 2009 จนถึงปัจจุบัน(2019) ที่
สามารถนำมาวิเคราะห์ให้เห็นภาพการสร้างและผลิตซ้ำภาพลักษณ์ของญี่ปุ่น
ขอบเขตด้านพื้นที่ ศึกษาผ่านภาพยนตร์ที่ออกอากาศตั้งแต่ปี 1982 จนถึงปัจจุบัน(2019) แต่
เนื่องด้วยภาพยนตร์บางเรื่องเก่าจนเกินไป ทำให้ไม่สามารถนำมาวิเคราะห์ได้ ผู้วิจัยจึงเลือกภาพยนตร์
ตั้งแต่ปี 2009 จนถึงปัจจุบัน(2019) ที่ยังสามารถหานำมาวิเคราะห์ได้จำนวน 8 เรื่อง ได้แก่
1. The Sword with No Name เข้าฉายในปี 2009
2. Assassination เข้าฉายในปี 2015
3. The Last Princess เข้าฉายในปี 2016
4. Dongju: The Portrait of a Poet เข้าฉายในปี 2016
5. The Spirits’ Homecoming เข้าฉายในปี 2016
6. Snowy Road เข้าฉายในปี 2017
7. The battleship island เข้าฉายในปี 2017
8. I Can Speak เข้าฉายในปี 2017
5

1.4. ระเบียบวิธีในการศึกษา
การศึกษาเรื่องการสร้างภาพลักษณ์ของญี่ปุ่นผ่านภาพยนตร์ เกาหลีที่ออกอากาศตั้งแต่ปี
1982 จนถึงปัจ จุบ ัน (2019) เป็น การศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ โดยเน้นการศึกษาเรื่องการนำเสนอ
ภาพลักษณ์ของญี่ปุ่นในช่วงปลายโชชอนจนถึงช่วงอาณานิคม ผ่ านสื่อภาพยนตร์ ของเกาหลี ด้วย
ระเบียบวิธีทางประวัติศาสตร์ จากนั้นจึงนำเสนอข้อมูลเชิงวิเคราะห์ในรูปแบบการพรรณนา สำหรับ
กระบวนการศึกษาค้นคว้า มีดังนี้
1. ตั้งประเด็นหัวข้อที่จะศึกษา โดยประเด็นคือ ภาพยนตร์เกาหลีกับการสร้างภาพลักษณ์ของ
ญี่ปุ่น
2. รวบรวมและศึกษาข้อ มูลที่เกี่ยวกับ ประวัติศาสตร์ สังคม และความสัมพันธ์ระหว่าง
ประเทศของเกาหลี-ญี่ปุ่น ผ่านภาพยนตร์ ข่าว งานวิจัย และหนังสือที่เกี่ยวข้อง
3. วิเคราะห์และตีความข้อมูลทางประวัติศาสตร์ โดยการนำข้อมูลจากภาพยนตร์ ข่าว และ
เอกสารที่เกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์ สังคมและความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของเกาหลีกับญี่ปุ่น มา
เป็นหลักฐานในการศึกษาและตีความเพื่อนำไปสู่การค้นพบข้อสรุป
4. เรีย บเรีย งและนำเสนอข้อมูลในลักษณะที่เป็นข้อสรุปและเป็นความคิดใหม่ที่ได้จาก
การศึกษาค้นคว้าในรูปแบบรายงานวิจัย

1.5. ประโยชน์ที่ได้จากการศึกษา
ทำให้เข้าใจถึงปัญหาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของเกาหลีกับญี่ปุ่นที่มีมาอย่างต่อเนื่อง
เพราะภาพยนตร์เป็นส่วนหนึ่งของการผลิตซ้ำภาพลักษณ์ของญี่ปุ่น

1.6. นิยามศัพท์
เกาหลี : ประเทศเกาหลีใต้
ญี่ปุ่น : รัฐบาลญี่ปุ่นรวมถึงทหารญี่ปุ่น
ภาพลักษณ์ : ภาพที่เกิดมาจากความนึกคิดหรือที่คิดว่าควรเป็นเช่นนั้น
การผลิตซ้ำ : การตอกย้ำความทรงจำชุดเดิมให้กับคนในสังคม
6

1.7. แหล่งข้อมูล
สำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยทักษิณ
โครงการเครือข่ายหอสมุดแห่งประเทศไทย ThaiLis
ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ CUIR ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ TU E-Theses ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ CMU e-Theses ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
เว็บไซต์ Kseries (https://www.kseries.tv)
เว็บไซต์ Youtube (https://www.youtube.com/)
แอพลิเคชั่น Viu
แอพลิเคชั่น Line TV

1.8. เอกสารและงานที่เกี่ยวข้อง
ที่ผ่านมามีงานวิจัยที่ศึกษาแง่มุมต่างๆที่เกี่ยวกับภาพยนตร์และซีรีย์เกาหลี ความสัมพันธ์
ระหว่างเกาหลีกับญี่ปุ่นเอาไว้พอสมควร บางส่วนได้ให้รายละเอียดที่สำคัญเกี่ยวกับซีรีย์เกาหลีกับการ
ส่งออกวัฒนธรรม การรับวัฒนธรรมเกาหลีผ่านซีรีย์ ความสัมพันธ์ระหว่างเกาหลีกับญี่ปุ่น นโยบาย
ต่างประเทศของเกาหลี อย่างไรก็ดีงานเหล่านี้ไม่ได้ ศึกษาเกี่ยวกับการสร้างภาพลักษณ์ของญี่ปุ่นที่
ปรากฎในซีรีย์เกาหลี จะเห็นได้จากเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับ ภาพยนตร์และซีรีย์เกาหลี
รวมทั้งงานที่เกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์ของเกาหลีกับญี่ปุ่น และงานที่เกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์
สังคม วัฒนธรรม ค่านิยมของเกาหลีกับญี่ปุ่น ดังนี้
กลุ่มที่ 1 งานที่ศึกษาเกี่ยวกับภาพยนตร์และซีรีย์เกาหลี
กานต์พิชชา วงษ์ขาว. (2550). สื่อละครโทรทัศน์เกาหลีกับการเผยแพร่วัฒนธรรมเกาหลี
ในสังคมไทย. งานวิจัยชิ้นนี้เป็นงานวิจัยเชิงปริม าณเพื่อศึกษาลักษณะทางประชากรศาสตร์ที่ มีต่อ
ความคิดเห็น ต่อ ซีรี ย ์ เกาหลี พฤติกรรมการรั บชมซีรีย ์เ กาหลี และพฤติ กรรมการเลีย นแบบทาง
วัฒนธรรม พบว่าถ้าความคิดเห็นที่มีต่อการรับชมซีรีย์เกาหลีไปในทางบวก พฤติกรรมการเลียนแบบ
ทางวัฒนธรรมก็จะไปในทิศทางบวก12

12กานต์พิชชา วงษ์ขาว. (2550). สื่อละครโทรทัศน์เกาหลีกับการเผยแพร่วัฒนธรรมเกาหลีในสังคมไทย. วิทยานิพนธ์


วาสารศาสตร์มหาบัณฑิต (สือสารมวลชน) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
7

ธี ป นั น ท์ เพ็ ช ร์ ศ รี , อลงกรณ์ คล้ า ยสี แ ก้ ว , โสภณา เชาว์ ว ิ ว ั ฒ น์ก ุ ล . (2545). Korean


Romance 15 หนังรักประทับใจและความเป็นมาเป็นไปของหนังเกาหลี. หนังสือเล่มนี้ได้นำเสนอ
เรื่องย่อของภาพยนตร์เกาหลีที่ได้รับความนิยมจำนวน 15 เรื่อง และนำเสนอประวัติศาสตร์ของวงการ
ภาพยนตร์เกาหลีว่าเริ่ มเข้ามาในช่วงปี 1897 - 1902 และแต่ละช่วงเวลาภาพยนตร์มีบทบาททาง
สังคม การเมือง และเศรษฐกิจ อย่างไร เช่น ภาพยนตร์เรื่อง “อารีรัง (Arirang/아리랑)” ที่มี
บทบาทในการปลุกกระแสชาตินิยมและสะท้อนสังคม”13
ปิยะการณ์ ไกรนรา. (2552). นโยบายต่างประเทศเกาหลีใต้ ด้านเศรษฐกิ จ การเมือง :
กรณีศึกษาการส่งออกวัฒนธรรมผ่านอุตสาหกรรมภาพยนตร์. วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ได้นำเสนอการ
เปลี่ยนแปลงของอุตสาหกรรมภาพยนตร์ในแต่ละยุคสมัยนั้นมีรัฐบาลเข้าแทรกแซงควบคุมอยู่เสมอ
เช่นการจัดตั้งองค์กรชื่อ Korea Cultural Content Agency—KOCCA เพื่อส่งเสริมและสนับสนุน
สินค้าวัฒนธรรม เช่น ภาพยนตร์ ดนตรี ศิลปะ เกม และอนิเมชั่น แม้แต่รูปแบบของวัฒนธรรมเกาหลี
ก็ถูกสร้างขึ้นโดยมีรัฐบาลคอยควบคุม สนับสนุนเงินทุนจนประสบความสำเร็จ14
งานกลุ่มที่ 1 นำเสนอเกี่ยวกับสื่อละครโทรทัศน์กับการส่งออกวัฒนธรรม ความเป็นมาของ
ภาพยนตร์ อุตสาหกรรมบันเทิงกับการส่งออกวัฒนธรรม จนเกิดเป็นกระแสเกาหลี แต่ไม่ได้นำเสนอ
เกี่ยวถึงภาพยนตร์และซีรีย์ในแง่ของการเป็นเครื่องมือทางการเมือง หรือเครื่องมือในการปลูกฝังความ
เกลียดชังที่มีต่อญี่ปุ่น อีกทั้งสื่อละครโทรทัศน์ที่ใช้ในการศึกษาจะมีเนื้อหาที่เน้นเรื่องของคว ามรัก
โรแมนติก
กลุ่มที่ 2 งานที่ศึกษาเกี่ยวกับนโยบายและความสัมพันธ์ระหว่างเกาหลีกับญี่ปุ่น
แพนดู รักมาติกา. (2556). ผลกระทบของความตึงเครียดทางการเมืองต่อความสัมพันธ์
ทางวัฒนธรรมระหว่างเกาหลีใต้และญี่ปุ่น. วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มุ่งศึกษาว่าปัญหาทางการเมืองของ
เกาหลีใต้และญี่ปนุ่ มีผลกระทบต่อความสัมพันธ์ทางวัฒนธรรมในช่วงปีค.ศ.1998-2012 เนื่องจากผู้คน
ของทั้งประเทศนั้นมีการแลกเปลี่ ยนทางวัฒนธรรมกันและมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้น โดยผู้เขียนได้ศึกษา
ในช่ว งปีค.ศ.1998-2012 ซึ่ง ผู้เขียนเสนอว่าเมื่อสถานการณ์ทางการเมืองของทั้ งประเทศแย่ลง
ความสัมพันธ์ทางวัฒนธรรมก็จะแย่ลงตามไปด้วย อีกทั้งการเติบโตทางเศรษฐกิจก็ลดลงเช่นกัน แต่ทั้ง
สองประเทศยังต้องมีการพึ่งพาทางเศรษฐกิจซึ่งกันและกัน ทำให้มีการพยายามประนีประนอมกันทั้ง
สองฝ่าย ภายใต้ความขัดแย้งทางประวัติศาตร์และความเป็นชาตินิยม15

13 ธีปนันท์ เพ็ชร์ศรี, อลงกรณ์ คล้ายสีแก้ว, โสภณา เชาว์วิวัฒน์กุล. (2545). Korean Romance 15 หนังรักประทับใจและความ
เป็นมาเป็นไปของหนังเกาหลี. กรุงเทพฯ : Blackberry Publishing.
14 ปิยะการณ์ ไกรนรา. (2552). นโยบายต่างประเทศเกาหลีใต้ ด้านเศรษฐกิจ การเมือง : กรณีศึกษาการส่งออกวัฒนธรรมผ่าน

อุตสาหกรรมภาพยนตร์. วิทยานิพนธ์รฐั ศาสตร์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง.


15 แพนดู รักมาติกา. (2556). ผลกระทบของความตึงเครียดทางการเมืองต่อความสัมพันธ์ทางวัฒนธรรมระหว่างเกาหลีใต้และญี่ปุ่น.

วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาเกาหลีศึกษา (สหสาขาวิชา) บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.


8

วิเชียร อินทะสี. (2551). นโยบายต่างประเทศของญี่ปุ่นต่อเกาหลี ในช่วงการยึดครอง


และช่วงหลังการได้รับเอกราชจากญี่ปุ่น. วารสารมหาวิทยาลัยนเรศวร. 16(3). บทความชิ้นนี้
นำเสนอนโยบายของญี่ปุ่นที่มีต่อเกาหลี โดยในช่วงการยึดครองชี้ให้เห็นว่าญี่ปุ่นได้พยายามเข้าไปจัด
ระเบียบทางการปกครอง กอบโกยผลประโยชน์ เกณฑ์คนเกาหลีไปเป็นแรงงาน และเป็นทาสกาม
ในช่วงสงคราม ปลูกฝังความเป็นญี่ปุ่นให้คนเกาหลี ทั้งนี้สาเหตุมาจากญี่ปุ่นต้องการให้เกาหลีเป็นด่าน
ป้องกันการขยายอิทธิพลของชาติตะวันตกพร้อมทั้งขยายอิทธิพลของตนเองออกไป แต่ภายหลังที่
เกาหลีเป็นเอกราชและแบ่งประเทศ ญี่ปุ่นต้องดำเนินนโยบายตามสหรัฐอเมริกา โดยสถาปนาการทูต
กับเกาหลีใต้เท่านั้น แม้ในช่วงที่สิ้นสุ ดสงครามเย็น ญี่ปุ่นก็ยังไม่ดำเนินความสัมพันธ์ทางการทูตกับ
เกาหลีเหนือ อันเนื่องมาจากความขัดแย้งในประเด็นของการพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์16
นภดล ชาติประเสริฐ. (2557). ประวัติศาสตร์ความสัมพันธ์ระหว่างสาธารณรัฐเกาหลีกับ
ญี่ปนุ่ ค.ศ. 1965-2009. บทความนีม้ าจากโครงการวิจัยเรื่อง “ประวัติศาสตร์ความสัมพันธ์ ระหว่าง
สาธารณรัฐเกาหลีกับญี่ปุ่น ค.ศ. 1965-2009” นำเสนอเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ความสัมพันธ์ระหว่าง
เกาหลีีใต้กับญี่ปนุ่ ในช่วง ค.ศ. 1965 ถึง 2009 โดยความสัมพันธ์ระหว่างเกาหลีใต้กับญี่ปุ่นในช่วง ค.ศ.
1965 ถึง 2009 มีการเปลี่ยนแปลงจากความสั มพันธ์แบบเผชิญหน้าและค่อนข้างตึงเครียดในช่วง
ทศวรรษที่ 1960 และ 1970 มาเป็นความสัมพันธ์ที่พึ่งพากันมากขึ้น แต่ก็ยังคงมี ความตึงเครียด
เกิดขึ้นในบางเวลา อันเนื่องมาจากบาดแผลทางประวัติศาสตร์17
The MATTER. (ออนไลน์ ) . ความขั ด แย้ ง ทางประวั ต ิ ศ าสตร์ สู ่ ส งครามการค้ า
อุ ต สาหกรรม IT สรุ ป ความบาดหมาง เกาหลี ใ ต้ - ญี ่ ป ุ ่ น ทะเลาะอะไรกั น อยู่ ?. จาก :
https://thematter.co/brief/recap/recap-1563267602/80660. บทความนี้ได้นำเสนอเรื่องราว
ความขัดแย้งระหว่างเกาหลีใต้กับญี่ปุ่นที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน โดยสาเหตุส่วนหนึ่งมาจากเหตุการณ์ทาง
ประวัติศาสตร์จนนำไปสู่ความขัดแย้งทางเศรษฐกิจที่ญี่ปุ่นถอดถอนเกาหลีใต้ออกจาก Whitelist หรือ
ประเทศคู่ค้าสำคัญที่ได้รับการยกเว้น หรือได้รับการผ่อนปรนสูงสุดในการนำเข้า-ส่งออกสินค้าและ
วัตถุดิบสำคัญกับญี่ปุ่น ขณะเดียวกันในเกาหลีใต้ก็ได้เกิดกระแส Boycott Japan ต่อต้านสินค้าจาก
ญี่ปุ่น18
งานกลุ่มที่ 2 นำเสนอเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของเกาหลีกับญี่ปุ่นตั้งแต่ช่วงที่
ญี่ปุ่นเข้า มาปกครองเกาหลีจนกระทั่งถึงปัจจุบัน(2019)ที่เกิดสงครามการค้าขึ้นระหว่างทั้ งสอง

16 วิเชียร อินทะสี. (2551). นโยบายต่างประเทศของญี่ปุ่นต่อเกาหลี ในช่วงการยึดครองและช่วงหลังการได้รับเอกราชจากญี่ปุ่น.


มหาวิทยาลัยนเรศวร, 16(3), 221-228.
17 นภดล ชาติประเสริฐ. (2557). ประวัติศาสตร์ความสัมพันธ์ระหว่างสาธารณรัฐเกาหลีกับญี่ปุ่น ค.ศ. 1965-2009. International

Journal of East Asia Studies, 22(1), 94-120.


18 The MATTER. (ออนไลน์). ความขัดแย้งทางประวัติศาสตร์ สู่สงครามการค้าอุตสาหกรรม IT สรุปความบาดหมาง เกาหลีใต้-ญี่ปุ่น

ทะเลาะอะไรกันอยู่?. สืบค้นเมื่อวันที่ 9 สิงหาคม 2562 จาก : https://thematter.co/brief/recap/


recap-1563267602/80660.
9

ประเทศ ดังนั้นงานกลุ่มนี้จะทำให้เห็นถึงความเปลี่ยนแปลงของความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของ
เกาหลีกับญี่ปุ่น
กลุ่มที่ 3 งานที่ศึกษาเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ สังคม และวัฒนธรรมเกาหลีและญี่ปุ่น
แดเนียล ทิวดอร์. (2560). มหัศจรรย์เกาหลี จากเถ้าถ่านสู่มหาอำนาจทางเศรษฐกิจและ
วั ฒ นธรรม (แปลจาก KOREA The Impossible Country โดย ฐิ ต ิ พ งษ์ เหลื อ งอรุ ณ เลิ ศ ).
หนังสือเล่มนี้นำเสนอความเป็นมา รากฐานวัฒนธรรมและเศรษฐกิจของเกาหลี ซึ่งผู้เขียนต้องการ
นำเสนอให้เห็นถึงความเปลี่ยนแปลงของประเทศเกาหลีที่ไม่ใช่แค่ทางเศรษฐกิจ แต่รวมถึงวัฒนธรรม
และการเมือง โดยมีเนื้อหาทั้งหมด 5 บท บทที่ 1 จะเป็นเรื่องของปัจจัยพื้นฐานที่ส่งผลต่อลักษณะ
นิสัยของคนเกาหลี เช่นความเชื่อของลัทธิขงจื๊อที่ผู้ชายเป็นใหญ่ บทที่ 2 จะเป็นเรื่องของวิถีวัฒนธรรม
เช่นนิสัยเห่อของใหม่ บทที่ 3 จะเป็นเรื่องของวิธีการดำเนินธุรกิจและการเมือง บทที่ 4 จะเป็นเรื่อง
ของภาพยนตร์ อาหาร และบทที่ 5 จะเป็นเนื้อหาที่ผู้เขียนต้องการนำเสนอให้เห็นมุมใหม่ๆของเกาหลี
เช่นการอนุรักษ์นิยมของเกาหลีที่เริ่มเปลี่ยนไป หรือการเปิดรับชาวต่ างชาติ หนังสือเล่มนี้จะทำให้ผู้
ศึกษาเข้าใจเรื่องราวพื้นฐานของเกาหลีและสามารถนำมาวิเคราะห์ อ้างอิงในงานวิจัยชิ้นนี้ได้19
อรรถจักร์ สัตยานุรักษ์. (2555). Japanization. หนังสือเล่มนี้ได้นำเสนอเกี่ยวกับสังคม
วัฒ นธรรมของญี่ป ุ่น ที่มีล ักษณะเฉพาะที่ทำให้ประเทศที่ แพ้ส งครามกลับเติบโตได้ภ ายในเวลา
อันรวดเร็ว ขณะเดียวกันผู้เขียนต้องการให้ผู้อ่านนั้นเข้ าใจความเป็นญี่ปุ่นที่กำลังเข้ามาในสังคมไทย
เนื่องจากความนิยมในการเรียนภาษาญี่ปุ่นจะเพิ่มขึ้น แต่ภาษาไม่ได้ทำให้เข้าใจรูปแบบสังคมได้ลึกซึ้ง
ซึ่งผู้เขียนได้เลือกประเด็นดังนี้ ประเด็นที่หนึ่ง มรดกทางประวัติศาสตร์ เนื่องจากประวัติศาสตร์ยังคงมี
อิทธิพลอยู่ในสังคม ประเด็นที่สอง เศรษฐกิจผู้เขียนได้นำเสนอพัฒนาทางเศรษฐกิจของญี่ปุ่นไว้ 3 ช่วง
คือ รากฐานของการพัฒนา ความเปลี่ยนแปลงของความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจสมัยใหม่ และ
ภาวการณ์ชะงักงันทางเศรษฐกิจ ประเด็นที่สาม การเมืองของญี่ปุ่นที่มีความเปลี่ยนแปลงมาตั้งแต่เริ่ม
ยุคสมัยใหม่เป็นต้นมา ประเด็นที่สี่ สังคมที่เริ่ม จากการมีชนชั้นก่อนจะเปลี่ยนผ่านไปสู่สังคมแบบเสรี
ยกเลิกระบบชนชั้น การหายไปของชนชั้นซามูไร ประเด็นที่ห้า ศาสนา20
พรรณวิภา ชมภูงาม. (2553). การวิเคราะห์วิทยานิพนธ์ที่เกี่ยวข้องกับเกาหลีศึกษาใน
ประเทศไทย ระหว่าง ค.ศ.1988-2009. วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มุ่งศึกษางานวิจัยที่เกี่ยวกับเกาหลีศึกษา
ในประเทศไทย โดยได้สรุปไว้ว่างานวิจัยที่เกี่ยวกับเกาหลีศึกษาในประเทศนั้นส่วนใหญ่นิยมศึกษาเรื่อง
ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ กฎหมาย และอิทธิพลของวัฒนธรรมเกาหลีต่อสังคมไทย ซึ่งเหตุผลใน
การศึกษาไม่ได้มาจากกระแสนิย มเกาหลี แต่มาจากสถานการณ์บนคาบสมุทรเกาหลี และพบว่า
ประเทศไทยมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับเกาหลีใต้มากกว่าเกาหลีเหนือ ผู้เขียนได้เสนอว่า ณ ช่วงเวลา

19 แดเนียล ทิวดอร์. (2560). มหัศจรรย์เกาหลี จากเถ้าถ่านสู่มหาอำนาจทางเศรษฐกิจและวัฒนธรรม (แปลจาก KOREA The


Impossible Country โดย ฐิติพงษ์ เหลืองอรุณเลิศ). กรุงเทพฯ : Openworld.
20 อรรถจักร์ สัตยานุรักษ์. (2555). Japanization. กรุงเทพฯ : Openbook.
10

ดังกล่าวกระแสวัฒ นธรรมเกาหลีที่มีผ ลต่อสังคมไทยนั้นเป็นแค่วัฒนธรรมทางด้านความบัน เทิง


วิทยานิพนธ์ฉบับนี้จึงเป็นเครื่องยืนยันได้ว่าการศึกษาเกี่ยวกับเกาหลีในประเทศไทยมีลักษณะไปทาง
เรื่องของความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ กฎหมาย และอิทธิพลของวัฒนธรรมเกาหลีมากกว่าการศึกษา
เชิงประวัติศาสตร์21
เกษตรศาสตร์ เดชกุล . (2557). ชาตินิยมเกาหลีใต้ : กรณีศึกษา ข้อพิพาทเกาะด๊อกโด
พ.ศ. 2539–2556. วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ได้นำเสนอถึงปัจจัยที่ก่อให้เกิดความคิดชาตินิยมของคน
เกาหลี กรณีเกาะ ด๊อกโด อันมีสาเหตุมาจากปัจจัยภายนอกที่รัฐบาลญี่ปุ่นได้ประกาศให้เกาะด๊อก
โดเป็นของญี่ปุ่น ส่งผลให้ ความรู้สึกชาตินิยมของคนเกาหลีใต้จึงพุ่งสูงขึ้นมา ทุ ก ๆ ครั้งที่มีข้อพิพาท
ระหว่างเกาหลีใต้และญี่ปุ่น การประท้วงจึงกลายเป็นประเพณีในการแสดงออกทางชาตินิยมของชาว
เกาหลีใต้ ในขณะที่ปัจจัยภายใน มาจากแบบเรียนที่เขียนโดยรัฐบาลเกาหลีใต้ที่การอ้างอิงสิทธิในการ
ครอบครองเกาะด๊อกโด นอกจากนี้ยังมีการทำโฆษณาชวนเชื่อ เพลง ละคร ภาพยนตร์ และการผลิต
สินค้าที่มีเนื้อหาในการแสดงความเป็นเจ้าของเกาะด๊อกโด22
งานกลุ่มที่ 3 จะนำเสนอเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ สังคม ค่านิยม และวัฒนธรรมเกาหลี -ญี่ปุ่น
ว่ามีความเปลี่ยนแปลงไปอย่างไรบ้าง การดึงอุตสาหกรรมบันเทิงในประเทศเข้ามาปลุกกระแสความ
เป็นชาตินิยมให้กับคนในประเทศ ไม่ว่าจะเป็น โฆษณาชวนเชื่อ เพลง ละคร หรือภาพยนตร์ ทำให้
เห็นว่าเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ รวมไปถึงค่านิยมความเชื่อในสังคมของเกาหลีและญี่ปุ่นที่ส่งผลต่อ
ความรู้สึกนึกคิดของชาวเกาหลี

21 พรรณวิภา ชมภูงาม. (2553). การวิเคราะห์วิทยานิพนธ์ที่เกี่ยวข้องกับเกาหลีศึกษาในประเทศไทยระหว่าง ค.ศ.1988-2009.


วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตร์บัณฑิต สาขาเกาหลีศึกษา (สหสาขาวิชา) บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
22 เกษตรศาสตร์ เดชกุล. (2557). ชาตินิยมเกาหลีใต้ : กรณีศึกษา ข้อพิพาทเกาะด๊อกโด พ.ศ.2539-2556. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตร์

บัณฑิต สาขาประวัติศาสตร์ ศิลปศาสตร์บัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.


11

บทที่ 2
บริบททางประวัติศาสตร์เกาหลีสมัยใหม่
ประวัติศาสตร์เกาหลีสามารถแบ่งยุคสมัยออกมาได้หลายแบบ โดยหนังสือสวนใหญ่จะแบ่ง
โดยใช้อาณาจักรที่รวบรวมดินแดนบนคาบสมุทรเกาหลีให้เป็นปึกแผ่นเป็นเกณฑ์ได้แก่ ยุคก่อน
ประวัติศาสตร์ ยุคสามอาณาจักร ยุคโครยอ ยุคโชซอน ยุคภายใต้การปกครองของญี่ปุ่น และยุค
แบ่งแยกเกาหลี23 ในขณะเดียวกันหนังสือบางเล่มได้ใช้ยุคสมัยทางประวัติศาสตร์เป็นเกณฑ์ จึงแบ่ง
ออกเป็น ยุคสมัยโบราณ ยุคสมัยกลาง และยุคสมัยใหม่24
เกาหลีเป็นประเทศที่มีประวัติศาสตร์ยาวนานกว่า 2,000 ปี25 หากนับตั้งแต่มีการก่ อตั้ ง
อาณาจักรโกกูรยอ 26 แต่ก็มีเรื่องเล่า ตำนานที่เล่าสืบต่อกันมาเกี่ยวกับการสถาปนารัฐแห่งแรกบน
คาบสมุทรเกาหลีที่ไม่ใช่อาณาจักรโกกรูยอ แต่เป็น รัฐโกโชซอน (Gojosoen) ที่สถาปนาขึ้นในปีที่
จักรพรรดิเหยาของจีนครองราชย์ครบ 50 ปี ตรงกับปี 2333 ก่อนคริสตรกาล ซึ่งต่อมารัฐโกโชซอนก็
ล้มสลายจากการบุกโจมตีของจีน 27 เรื่องราวของรัฐโกโชซอนนั้น แม้ว่าจะเป็นประวัติศาสตร์ที่ขาด
หลักฐานทางวัตถุ แต่ก็เป็นประวัติศาสตร์ทางจิตใจของชาวเกาหลีจนถึงขนาดที่มีการจัดการเฉลิม
ฉลองการก่อตั้งรัฐโกโชซอนในวันที่ 3 ตุลาคมของทุกปี28
ภายหลังการล้มสลายของรัฐโกโชซอน ประวัติศาสตร์เกาหลีก็เข้าสู่ยุคสามอาณาจั กรที่
ประกอบด้วย อาณาจักรโกกรูยอ (Goguryeo) อยู่ทางตอนเหนือ ก่อตั้งโดย องค์ชายจูมง ในปี 37 ปี
ก่อนคริสตรกาล อาณาจักรแพกเจ (Baekje) อยู่ทางตอนใต้ฝั่งตะวันตก ก่อตั้งโดย พระเจ้าอินโจ ใน
ปี 18 ปีก่อนคริสตรกาล และอาณาจักรชิลลา (Silla) อยู่ทางด้านตะวันออก ก่อตั้งโดยการรวมตัว
ของ 6 ตระกูลที่อพยพมาจากรัฐโกโชซอน ในปี 57 ปีก่อนก่อนคริสตรกาล ซึ่งต่อมาอาณาจักรโกกรูยอ
และแพกเจถูกอาณาจักรชิลลาเข้ายึดครองก่อตั้งเป็นราชอาณาจักรเอกภาพชิลลาหรือชิลลาใหม่29

23 อนุช อาภาภิรม. (2558). สงครามเย็นในแดนโสม : วิกฤตที่ยังไม่สิ้น. กรุงเทพฯ : มติชน. และ แดเนียล ทิวดอร์. (2560).
มหัศจรรย์เกาหลี จากเถ้าถ่านสู่มหาอำนาจทางเศรษฐกิจและวัฒนธรรม (แปลจาก KOREA The Impossible Country โดย ฐิติพงษ์
เหลืองอรุณเลิศ). กรุงเทพฯ : Openworld. และ นภดล ชาติประเสริฐ. (2560). เกาหลีปัจจุบัน Korea Today. ปทุมธานี : ศูนย์
เกาหลีศึกษา สถาบันเอเชียตะวันออกศึกษาฯ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. และ รงรอง วงศ์โอบอ้อม. (2561). ประวัตศิ าสตร์เกาหลี.
กรุงเทพฯ : พี.เอ.ลีฟวิ่ง.
24 รงรอง วงศ์โอบอ้อม. (2561). ประวัตศ ิ าสตร์เกาหลี. กรุงเทพฯ : พี.เอ.ลีฟวิ่ง.
25 นงลักษณ์ ลิ้มศิริ. (2556). สันติภาพและความรักชาติ : ความรูแ
้ ละมุมมองจากประวัติศาสตร์สงครามในพิพิธภัณฑ์ญี่ปุ่น จีน และ
เกาหลี. กรุงเทพฯ : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจยั (สกว.). 160.
26 อนุช อาภาภิรม. (2558). สงครามเย็นในแดนโสม : วิกฤตที่ยังไม่สิ้น. กรุงเทพฯ : มติชน. 24.
27 เรื่องเดียวกัน. 24.
28 เรื่องเดียวกัน. 30.
29 เรื่องเดียวกัน. 31-32.
12

ภาพที่ 1แผนที่ยุคสามอาณาจักร (คริสต์ศตวรรษที่ 5) ที่มา : ภาพที่ 2 แผนที่อาณาจักรชิลลาใหม่ (คริสตศตวรรษที่ 8) ที่มา :


http://www.korea.net/AboutKorea/History/Three- http://www.korea.net/AboutKorea/History/Unified-Silla-
Kingdoms-other-States Balhae

ในยุคสมัยราชอาณาจักรเอกภาพชิลลาหรือชิลลาใหม่ได้มีการสถาปนาระบอบราชาธิปไตยขึ้น
และใช้ระบบโครงสร้างสังคมที่เรียกว่า “วรรณะกระดูก” (bone rank) จำแนกคนออกเป็นชนชั้น
ต่างๆ แต่ด้วยปัญหาทางชนชั้นที่ก่อ ให้เกิดความเหลื่อมล้ำทำให้อาณาจักรชิลลาเริ่มอ่อนแอลง และ
นำไปสู่การล้มสลายและเกิดขึ้นของอาณาจักรใหม่ คือ อาณาจักรโครยอ (Goryo) ในปี 91830 ถือ
เป็นจุดสิ้นสุดประวัติศาสตร์เกาหลียุคโบราณและเป็นจุดเริ่มต้นของประวัติศาสตร์เกาหลียุคกลาง
ประวัติศาสตร์เกาหลีในยุคกลางจะเป็นยุคของอาณาจักรโครยอ ซึ่งจัดว่าเป็นอีกยุคหนึ่งที่
สามารถรวมดินแดนบนคาบสมุทรเกาหลีให้เป็นปึกแผ่นได้ภายใต้การปกครองของราชวงศ์โครยอ 31 มี
การรับวัฒนธรรมต่างๆของจีนมาใช้ ไม่ว่าจะเป็นการจัดระบบราชการ ระเบียบของราชสำนัก 32 แต่
ต่อมาในช่วงศตวรรษที่ 12-13 อาณาจักรโครยอประสบปัญหาทั้งจากภายในและภายนอก เกิดการ
แย่งชิงอำนาจกันของขุนนาง การรัฐประหารของทหาร อีกทั้งยังมีการพยายามรุกรานของจีนราชวงศ์
หยวน และปัญหาโจรสลัดชาวญี่ปุ่น จนในที่สุดอาณาจักรโครยอก็ตกอยู่ภายในอำนาจของจีนราชวงศ์
หยวน33 และในช่วงศตวรรษที่ 14 ราชวงศ์โครยอได้มีการเปลี่ยนกษัตริย์หลายต่อหลายครั้ง ภายใต้

30 แดเนียล ทิวดอร์. (2560). มหัศจรรย์เกาหลี จากเถ้าถ่านสู่มหาอำนาจทางเศรษฐกิจและวัฒนธรรม (แปลจาก KOREA The


Impossible Country โดย ฐิติพงษ์ เหลืองอรุณเลิศ). กรุงเทพฯ : Openworld. 19-21.
31 นภดล ชาติประเสริฐ. (2560). เกาหลีปัจจุบัน Korea Today. ปทุมธานี : ศูนย์เกาหลีศึกษา สถาบันเอเชียตะวันออกศึกษาฯ

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. 8-10.
32 รงรอง วงศ์โอบอ้อม. (2561). ประวัตศิ าสตร์เกาหลี. กรุงเทพฯ : พี.เอ.ลีฟวิ่ง. 130-133.
33 นภดล ชาติประเสริฐ. (2560). เกาหลีปัจจุบัน Korea Today. ปทุมธานี : ศูนย์เกาหลีศึกษา สถาบันเอเชียตะวันออกศึกษาฯ

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. 8-10.
13

การควบคุ ม ของแม่ ท ัพ อี ซอง-กเย (Yi Seong-gye) และสุ ด ท้ า ยแม่ท ั พ อี ซองกเยก็ ไ ด้ ท ำการ


รัฐประหารและปราบดาภิเษกตนเองเป็นกษัตริย์องค์ใหม่ พร้อมสถาปนาราชวงศ์ใหม่ขึ้น คือ ราชวงศ์อี
(Yi) หรือราชวงศ์โชซอน (Choson)34 และย้ายเมืองหลวงไปที่เมื องฮันยาง หรือก็คือ กรุงโซลใน
ปัจจุบัน35 ถือเป็นจุดเริ่มต้นของประวัติศาสตร์เกาหลียุคสมัยใหม่

ภาพที่ 3แผนที่อาณาจักรโครยอ (คริสตศตวรรษที่ 11) ที่มา : ภาพที่ 4 แผนที่โชซอน (คริสตวรรษที่ 15) ที่มา :
http://www.korea.net/AboutKorea/History/Goryeo http://www.korea.net/AboutKorea/History/Joseon

จากข้อมูลในหนังสือประวัติศาสตร์เกาหลีของรงรองได้ระบุให้ประวัติศาสตร์เกาหลีสมัยใหม่
เริ่มในช่วงปลายของราชวงศ์โชซอน(ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 18) ที่เริ่มมีการเปิดประเทศ แต่เป็ นการ
เปิดประเทศภายใต้การกดดันจากต่างชาติ ไม่ว่าเป็นญี่ปุ่น อังกฤษ เยอรมนี และสหรัฐอเมริกา36 ดังจะ
กล่าวต่อไปต่อข้างหน้า
2.1. สถานการณ์ภายในประเทศเกาหลี
เกาหลีในยุคสมัยของพระเจ้าโกจง ถือเป็นช่วงเวลาที่เกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นมากมาย แต่
ก่อนที่พระเจ้าโกจงจะทรงขึ้นครองราชย์นั้น อำนาจภายในราชสำนักส่วนใหญ่จะอยู่ในมือของขุนนาง
สายตะกูล คิม (Kim) ซึ่งเป็นสายตระกูลของราชินีของพระเจ้าชอลจง กษัตริย์องค์ที่ 25 ของราชวงศ์โช
ซอน และจากการที่พระเจ้าชอลจงสิ้นพระชนม์ทั้งๆที่ยังไม่ทายาท เหล่าขุนนางจากสายตระกูล โจ
(Jo) ซึ่งเป็นสายตระกูล ของอดี ตราชินีของพระเจ้ายองโจ กษัตริย์องค์ที่ 21 ของราชวงศ์โ ชซอน
ตระกูลโจได้ฉวยโอกาสในการขึ้นมามีอำนาจโดยการร่วมมือกับองค์ชายอี ฮาอุง (Yi Ha-eung) หรือก็
34 รงรอง วงศ์โอบอ้อม. (2561). ประวัตศิ าสตร์เกาหลี. กรุงเทพฯ : พี.เอ.ลีฟวิ่ง. 159-160.
35 นภดล ชาติประเสริฐ. (2560). เกาหลีปัจจุบัน Korea Today. ปทุมธานี : ศูนย์เกาหลีศึกษา สถาบันเอเชียตะวันออกศึกษาฯ
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. 8-10.
36 รงรอง วงศ์โอบอ้อม. (2561). ประวัตศ ิ าสตร์เกาหลี. กรุงเทพฯ : พี.เอ.ลีฟวิ่ง. 203.
14

คือ แทวอนกุน (Daewongun) ทำให้พวกเขามีอำนาจในการเลือกกษัตริย์ และพวกเขาก็ได้เลือกองค์


ชายอี มยองบ๊ค (Yi Myeongbok) โอรสของแทวอนกุน ซึ่งมีพระชนม์เพียง 12 พรรษาขึ้นเป็นกษัตริย์
มีพระนามว่า โกจง (Kojong) พร้อมกับให้แทวอนกุนดำรงตำแหน่งเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์37

ภาพที่ 5 แทวอนกุน ที่มา : ภาพที่ 6 จักรพรรดิโคจงทรงฉลอง ภาพที่ 7 ราชินีมิน ที่มา :


https://th.wikipedia.org/wiki/แทว็อนกุน พระองค์ด้วยเครื่องแบบทหารเยอรมัน https://www.dek-
ฮึงซ็อน (1904) ที่มา : d.com/studyabroad/49211/
https://th.wikipedia.org/wiki/
จักรพรรดิโคจง

ในช่วงต้นรัชสมัยของพระเจ้าโกจง อำนาจการบริหารประเทศเป็นของแทวอนกุน โดยแทวอน


กุนไปพยายามปฎิรูปประเทศ ปราบปรามการทุจริตของเหล่าขุนนาง ตรวจสอบการเก็บภาษี ก่อตั้ง
โรงเรียนสำหรับประชาชนทั่วไป มีการพยายามปฎิรูปความมั่นคงและกองทัพให้ทันสมัยขึ้น เนื่องจาก
ในเวลานั้นเกาหลีเริ่มมีความระแวงญี่ปุ่นทีม่ ีกองทัพที่มีประสิทธิภาพ38
ภายหลังเมื่อแทวอนกุนลงตำแหน่งเพื่อให้พระเจ้าโกจงบริหารประเทศแทน ทำให้ราชินีมิน
เริ่มขึ้นมามีบทบาทในการบริหารประเทศร่วมกับพระเจ้าโกจง ราชินีมิน เดิมพระนามว่า มิน จายอง
(Min Jayeong) พระนางไม่เพียงแค่จะดูแลราชสำนักฝ่ายในเหมือนราชินีองค์ก่อนๆเท่านั้น แต่พระ
นางกลับมีบทบาทในการช่วยเหลือพระเจ้าโกจงในการบริหารบ้านเมือง ทรงปฎิรูปกิจกรรมภายในราช
สำนักไม่ให้ใช้จ่ายฟุ่มเฟือย อาทิเช่นการจัดงานเลี้ยง เครื่องแต่งกาย เครื่องประดับที่ฟุ่มเฟือย และด้วย
อุปนิสัยที่ชอบอ่านหนังสือ ศึกษาหาความรู้ใหม่ ๆ รวมถึงความสนใจในวิทยาการตะวันตก ทำให้พระ
นางถูกมองว่าก้าวก่ายกิจการบ้านเมือง ดังนั้นตระกูลโจและแทวอนกุนไม่พอใจเป็นอย่างมากจนไปสู่
ความขัดแย้ง39

37 รงรอง วงศ์โอบอ้อม. (2561). ประวัตศิ าสตร์เกาหลี. กรุงเทพฯ : พี.เอ.ลีฟวิ่ง. 221-222.


38 ศรุตม์ เพชรสกุลวงศ์. (2554). ประวัติศาสตร์เอเชียตะวันออก. สงขลา : มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา. 177.
39 รงรอง วงศ์โอบอ้อม. (2561). ประวัตศ ิ าสตร์เกาหลี. กรุงเทพฯ : พี.เอ.ลีฟวิ่ง. 224-225.
15

ความขัดแย้งระหว่างแทวอนกุนและราชินีมินนั้นเห็นได้ชัดจากการที่ราชินีมินปฏิรูปราชสำนัก
เรื่องของการใช้จ่ายฟุ่มเฟือย ซึ่งต่างกันกับแทวอนกุนที่ไม่เห็นด้วย อีกทั้งแทวอนกุนเป็นพวกอนุรักษ์
นิยม ยึดถือแนวทางขงจื๊อ ดังนั้นการที่ราชินีมินเข้ามามีส่วนในการบริหารบ้านเมืองนั้นขัดกับแนวคิด
อนุรักษ์นิยม40
เกาหลีในช่วงเวลานั้นจึงอยู่ในความสับสนวุ่นวาย เนื่องจาเหล่าชนชั้นสูง เชื้อพระวง ศ์ต่าง
ยังคงยึดติดอยู่กับภาพเก่าๆ โดยไม่ได้คำนึงถึงภัยจากต่างชาติที่กำลังคืบคลานเข้ามา ขณะเดียวกันแท
วอนกุนก็ได้พยายามลิดรอนอำนาจของราชินีมินอยู่ตลอกเวลา จนกระทั้งเมื่อราชินีมินให้กำเนิด
พระโอรส แต่พระโอรสกลับมีชีวิตอยู่ได้เพียงไม่นานก็สิ้นพระชนม์ และราชินีมินก็ไม่สามารถให้กำเนิด
ทายาทได้อีก แทวอนกุนจึงพยายามหาพระสนมให้พระเจ้าโกจงเพื่อให้กำเนิดทายาท และเมื่อพระ
สนมยอง โบดัง (Yeong Bodang) ได้ให้กำเนิดพระโอรสคือ องค์ชาย วันฮวา (Wanhwa) แทวอนกุน
จึงรีบประกาศให้องค์ชายวันฮวาเป็นรัชทายาททันที อีกทั้งยังได้พยายามหาทางสถาปนาตำแหน่งให้
พระสนมยองให้เทียบเคียงราชินีมินเพื่อที่จะลดอำนาจของพระนาง ราชินีมินจึงหาทางกำจัดแทวอน
กุน โดยการอ้างว่าแทวอนกุนคิดที่จะล้มล้างบัลลังก์ของพระเจ้าโกจง ทำให้แทวอนกุนถูกเนรเทศออก
นอกวัง ส่วนพระสนมยองกับองค์ชายก็ถูกถอดออกจากตำแหน่ง ซึ่งสุดท้ายราชิ นีมินก็ดำเนินการ
สับเปลี่ยนขุนนางของตระกูลออกแล้วให้คนของตระกูลมินเข้าไปแทนที่ ทำให้พระนางมีอำนาจในการ
ดูแลกิจการ้านเมืองอย่างเต็มที41่
ตลอดระยะเวลาที่ราชินีมินมีพระชนม์ชีพนั้น ภายในราชสำนักก็มีแต่ความวุ่นวาย โดยเฉพาะ
การพยายามปฎิรูปประเทศให้ทันสมัยที่ก่อให้เ กิดความขัดแย้งขึ้นกับกลุ่มอนุรักษ์นิยมจนนำไปสู่การ
เกิดจลาจลภายในประเทศขึ้นหลายต่อหลายครั้ง รวมไปถึงการพยายามเข้ามาแทกแซงกิจการภายใน
ของต่างชาติที่ค่อยคืบคลานเข้ามา

2.2. เกาหลีกับการเปิดประเทศ
ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 18 เป็นช่วงที่เกิดการปฏิวัติอุตสาหกรรมในยุโรป ทำให้ชาวยุโรปเริ่ม
ให้ความสนใจในดินแดนโพ้นทะเลในฐานะของอาณานิคมเกิดการขยายตัวของลัทธิจักรวรรดินิยมขึ้น
ในปีค.ศ. 1832-1866 มีพ่อค้าชาวตะวันตกขอทำการค้ากับเกาหลีหรือก็ในสมัยรู้จักกันในชื่อ โชซอน
แต่ก็ถูกปฏิเสธ ขณะเดียวกันก็มีการเข้ามาของเรือรบฝรั่งเศสและรัสเซียที่สร้างความหวาดกลัวให้แก่

40 รงรอง วงศ์โอบอ้อม. (2561). ประวัตศิ าสตร์เกาหลี. กรุงเทพฯ : พี.เอ.ลีฟวิ่ง. 226.


41 เรื่องเดียวกัน. 226-228.
16

ชนชั้นปกครองของเกาหลี โดยผู้ปกครองขณะนั้นคือ แทวอนกุน พระราชบิดาและผู้สำเร็จราชการ


แทนของพระเจ้าโกจง42
เนื่องจากสภาพทางภูมิศาสตร์ของเกาหลีที่เป็นทางผ่านไปสู่ประเทศจีน ทำให้เกาหลีที่มี
นโยบายปิดประเทศถูกชาติตะวันตกกดดันให้เปิ ดประเทศ โดยการส่งเรือรบเข้ามาในน่านน้ ำเกาหลี
ในปีค.ศ. 1866 ฝรั่งเศสเป็นชาติแรกที่ส่งเรือรบเข้ามายึดเกาะกังฮวา (Ganghwa) เนื่องมาจากการที่มี
มิชชันนารีชาวฝรั่งเศสพยายามเผยแผ่ศาสนาคริสต์ในเกาหลี มีการชักชวนให้ชาวเกาหลีหัน มาเข้ารีต
ซึ่งสร้างความไม่พอใจแก่พระเจ้าโกจงเป็นอย่างมาก เนื่องจากศาสนาคริสต์มีแนวคิดที่ว่ามนุษย์ทุกคน
ถูกสร้างมาเท่าเทียมกัน ซึ่งขัดกับหลักของขงจื๊อและยังเป็นภัยต่อชนชั้นปกครอง ทำให้ตลอดเวลาที่
ผ่านมาได้มีการสังหารกวาดล้างผู้ที่นับศาสนาคริสต์มาตลอด 43 ดังนั้นพระเจ้าโกจงจึงสั่งจับกุมและ
ประหารคณะมิชชันนารี รวมถึงชาวเกาหลีที่เข้ารีต ฝรั่งเศสจึงส่งกองเรือรบบุกเกาหลีและยึดเกาะกังฮ
วาไว้ แต่ต่อมาฝรั่งเศสก็ถอนทัพกลับ เนื่องจากจุดประสงค์ของการทำสงครามกับเกาหลีก็เพื่อแสดง
แสนยานุภาพให้เกาหลีได้เห็นเท่านั้น 44 เหตุการณ์ในครั้งนี้ถูกเรียกว่า “พยอนอินยังโย” (การรุกราน
ของตะวันตกในปีพยอนอิน) 45 ต่อมาในปีค.ศ. 1871 ชาวเกาหลีได้เผาเรือพานิชย์เจเนอร์ เชอร์แมน
ของสหรัฐอเมริกา ทำให้รัฐบาลสหรัฐอเมริกาได้ส่งจดหมายถึงราชสำนักเกาหลีเพื่อถามถึงเหตุการณ์ที่
เกิดขึ้น พร้อมส่งกองเรือเข้ามาเพื่อเจรจาการค้ากับเกาหลี แต่ถูกแทวอนกุนปฎิเ สธ จึงกลายเป็น
สงครามระหว่างเกาหลีกับสหรัฐอเมริกา เหตุการณ์ในครั้งนี้เรียกว่า “ชินมิยังโย” (Shinmiyangyo)46
ขณะเดียวกันในปีค.ศ. 1875 ญี่ปุ่นส่งเรือรบอุนโยโฮ (Unyo Maru) เข้าจู่โจมเกาะคังฮวาโด
และเกาะยองจงโด เรียกร้องให้เกาหลีเปิดประตูการค้ากับญี่ปุ่น ในที่สุดเกาหลีก็ถูกบีบบังคับให้ลงนาม
ในสนธิสัญญาคังฮวา (Ganghwa Treaty) กับญี่ปุ่นในปีค.ศ. 1876 ซึ่งเป็นสนธิสัญญาฝ่ายเดียวที่มี
ความไม่เป็นธรรมเป็นอย่างยิ่ง 47 การกระทำของญี่ปุ่นในครั้งนี้นับว่าเป็นทำให้เกาหลีเปิดประเทศได้
สำเร็จ โดยเกาหลีมีการเปิดท่าเรือให้ญี่ปุ่นหลายแห่ง เปิดให้มีเสรีทางการค้า รวมทั้งการให้สิทธิสภาพ
นอกอาณาเขตแก่ชาวญี่ปุ่น48
จากสนธิสัญญาที่เกาหลีทำกับญี่ปุ่นส่งผลให้อิทธิพลของญี่ปุ่นในเกาหลีเริ่มขยายตัวมากขึ้น
เช่น การอยู่เบื้องหลังการสนับสนุน คิม อค-กยุน (Kim Ok-gyun) หัวหน้ากลุ่มหัวก้าวหน้าในการทำ

42 นภดล ชาติประเสริฐ. (2560). เกาหลีปัจจุบัน Korea Today. ปทุมธานี : ศูนย์เกาหลีศึกษา สถาบันเอเชียตะวันออกศึกษาฯ


มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. 16.
43 แดเนียล ทิวดอร์. (2560). มหัศจรรย์เกาหลี จากเถ้าถ่านสู่มหาอำนาจทางเศรษฐกิจและวัฒนธรรม (แปลจาก KOREA The

Impossible Country โดย ฐิติพงษ์ เหลืองอรุณเลิศ). กรุงเทพฯ : Openworld. 78.


44 รงรอง วงศ์โอบอ้อม. (2561). ประวัตศ ิ าสตร์เกาหลี. กรุงเทพฯ : พี.เอ.ลีฟวิ่ง. 204.
45 ศรุตม์ เพชรสกุลวงศ์. (2554). ประวัติศาสตร์เอเชียตะวันออก. สงขลา : มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา. 177.
46 เรื่องเดียวกัน. 177.
47 korea.net. (มปป). About Korea “History”. สืบค้นเมื่อวันที่ 29 สิงหาคม 2562 จาก :

http://www.korea.net/AboutKorea/History/The-Fall-Joseon
48 อนุช อาภาภิรม. (2558). สงครามเย็นในแดนโสม : วิกฤตที่ยังไม่สิ้น. กรุงเทพฯ : มติชน. 84.
17

การรัฐประหารในปีค.ศ. 188449 ดังนั้นเพื่อเป็นการถ่วงดุลอำนาจญี่ปุ่น เกาหลีได้ทำสนธิสัญญากับ


ชาติ ต ะวั น ตกตามคำแนะนำของ หวง ซุ น เสี ย น (Huang Tsunhsien) ที ่ ป รึ ก ษาทู ต จี น ประจำ
กรุงโตเกียว โดยการลงนามในสนธิสัญญาการค้าและมิตรภาพกับสหรั ฐอเมริกาในปี 1882 รวมทั้ง
อังกฤษ, เยอรมนี, รัสเซียและฝรั่งเศส50
ภายหลังจากการที่เกาหลีได้เปิดประเทศ วิทยาการตะวันตก ความก้าวหน้าทางความรู้ ความ
ทันสมัยได้หลั่งไหลเข้าสู่เกาหลี จนนำไปสู่การปฎิรูปเปลี่ยนแปลงประเทศให้ทันสมัย และจากการทำ
สนธิสัญญาคังฮวากับญี่ปุ่น ก็ถือว่ามีข้อดีคือทำให้เกาหลีสามารถเรี ยนรู้วิธีการปรับเปลี่ยนสังคมของ
ญี่ปุ่น โดยการมีการส่งนักเรียนและเจ้าหน้าที่ไปศึกษารูปแบบการพัฒนาประเทศของญี่ปุ่น 51 มีการ
ก่อตั้งโรงเรียนตามแบบตะวันตก การเกิดขึ้นของหนังสือพิมพ์52
จะเห็นได้ว่าในช่วงศตวรรษที่ 19 เกาหลีภายหลังการที่ถูกต่างชาติกดดันให้เปิดประเทศนั้นก็
ได้มีการพยายามปรับเปลี่ยน พัฒนาและปฏิรูปประเทศเพื่อไปสู่ความทันสมัย ไม่ว่าจะเป็นการส่ง
นักเรียนและเจ้าหน้าที่ไปศึกษารูปแบบการพัฒนาประเทศของญี่ปุ่น การติดต่อทำการค้าขายกับ
ต่างชาติ การสร้างความแข็งแกร่งให้แก่กองทัพ การรับความรู้วิทยาการจากต่างชาติที่เพิ่ มมากขึ้น ทุก
อย่างล้วนเป็นผลมาจากการเปิดประเทศ

2.3. เกาหลีกับการแทรกแซงจากต่างชาติ
จากการเปิดประเทศของเกาหลีทำให้ความรู้ วิทยาการ แนวคิดแบบตะวันตกเข้ามามีอิทธิพล
ต่อความคิดของเหล่าปัญญาชนและกลุ่มหัวก้าวหน้า ส่งผลให้มีการปฏิรูปประเทศ เพื่อสร้างความเท่า
เทียมให้แก่ประชาชน แก้ปัญหาการทุจริต การพยายามปฏิรูประเทศของเกาหลีแสดงให้เห็นว่าชาว
เกาหลีมีความตื่นตัวต่อกระแสความทันสมัยที่เข้ามา แต่ดว้ ยชนชั้นปกครองรวมไปถึงพระเจ้าโคจงที่ยัง
มีแนวคิดแบบจารีต จึงทรงอยากที่จะรักษาพระราชอำนาจของพระองค์เอาไว้ ทำให้การปฏิรูปไม่
สามารถบรรลุผลสำเร็จได้ อีกทั้งการพยายามปฏิรูปประเทศนี้ได้เป็นการเปิดโอกาสให้ต่างชาติเข้ามา
แทรกแซงเกาหลี ไม่ว่าจะเป็น จีน รัสเซีย หรือญีป่ ุ่น53

49 รงรอง วงศ์โอบอ้อม. (2561). ประวัตศิ าสตร์เกาหลี. กรุงเทพฯ : พี.เอ.ลีฟวิ่ง. 240.


50 Young Ick Lew Jung Ha Lee Bae-ho Hahn Kwang-rin Lee Ki-baik Lee. (มปป). Korea HISTORICAL NATION, ASIA.
สืบค้นเมื่อวันที่ 29 สิงหาคม 2562 จาก : https://www.britannica.com/place/Korea/The-introduction-of-Roman-
Catholicism#ref35017
51 รงรอง วงศ์โอบอ้อม. (2561). ประวัตศ ิ าสตร์เกาหลี. กรุงเทพฯ : พี.เอ.ลีฟวิ่ง. 230
52 Young Ick Lew Jung Ha Lee Bae-ho Hahn Kwang-rin Lee Ki-baik Lee. (มปป). Korea HISTORICAL NATION, ASIA.

สืบค้นเมื่อวันที่ 29 สิงหาคม 2562 จาก : https://www.britannica.com/place/Korea/The-introduction-of-Roman-


Catholicism#ref35017
53 นภดล ชาติประเสริฐ. (2560). เกาหลีปัจจุบัน Korea Today. ปทุมธานี : ศูนย์เกาหลีศึกษา สถาบันเอเชียตะวันออกศึกษาฯ

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. 21-22.
18

ขณะเดียวกันสถานการณ์ภายในของเกาหลีก็มีแต่ความขัดแย้ง แย้งชิงอำนาจกันของแทวอน
กุนกับราชินีมิน จึงทำให้ต่างชาติเล็งเห็นช่ องทางจากความขัดแย้งเหล่านี้ในการเข้ามาแทรกแซง
กิจการภายในประเทศของเกาหลี
ในปีค.ศ. 1882 จากการที่เกิดเหตุจลาจลของทหารเกาหลีที่มีแนวคิดแบบจารีตซึ่งไม่พอใจใน
การปฏิรูปทหารและการฝึกแบบญี่ปุ่น จึงก่อจลาจลโดยการสังหารครูฝึกทหารชาวญี่ปุ่นรวมทั้งเผาส
ถาทูตญี่ปุ่น ทำให้ญี่ปุ่นต้องส่งทหารเข้ามาในเกาหลีเพื่อเรียกร้องค่าเสียหาย ดังนั้นจีนจึงตัดสินใจที่
เป็นผู้ไกล่เกลี่ยปัญหานี้ โดยการยกทัพเข้ ามาเกาหลี จนในที่สุดทั้งเกาหลีและญี่ปุ่นก็ได้ลงนามใน
สนธิสัญญาเชมุลโพ (Treaty of Chemulpo) จากเหตุการณ์ในครั้งนี้ทำให้จีนมีอิทธิพลในเกาหลีมาก
ขึ้น เพราะราชินีมินได้ขอร้องให้จีนช่วยเหลือเกาหลี จีนจึงเข้ามาช่วยในการปฏิรูปทหารและด้านอื่นๆ
ของเกาหลี54
ต่อมาในปีค.ศ. 1884 ก็ได้เกิดเหตุการณ์รัฐประหารในเกาหลีขึ้นรู้จักกันในชื่อ รัฐประหารคับ
ชิน (Kapsin) โดยเหตุการณ์เกิดมาจากความไม่พอใจในการที่จีนเข้ ามาแทรกแซงเกาหลีของกลุ่ม
ข้าราชการหัวก้าวหน้าด้วยการสนับสนุนอย่างลับๆของญี่ปุ่น แต่ก่อนที่จะมีการก่อรัฐประหาร จีนก็ได้
ส่งกองทัพเข้ามาปราบปราม ทำให้ทหารและพลเรือนชาวญี่ปุ่นจำนวนหนึ่งถูกสังหารในการปะทะกับ
จีน ญี่ปุ่นเรียกร้องค่าชดเชยจากเหตุการณ์ดังกล่าวจากเกาหลี แต่จากเหตุการณ์รัฐประหารคับชินทำ
ให้จีนกับญี่ปุ่นเกิดความไม่ลงรอยกัน จึงได้มีการทำข้อตกลงระหว่างญี่ปุ่นกับจีนที่เรียกว่า ข้อตกลง
เทียนจินในปีค.ศ. 1885 โดยทั้งสองประเทศจะต้องถอนกองทัพออกจากเกาหลี และถ้าฝ่ายใดจะส่ง
กองทัพเข้ามาในเกาหลีจะต้องแจ้งให้อีกฝ่ายทราบ55 แต่ราชินีมินนั้นมีความระแวงในพฤติกรรมของ
ญี่ปุ่น จึงติดต่อกลับไปหาทางจีนให้ยังคงมีทหารอยู่เกาหลี แต่ให้ปลอมอยู่ในฐานะของตำรวจหรือ
เจ้าหน้าที่ทางการค้าแทน เพื่อไม่ให้ญี่ปุ่นจับได้ นอกจากที่พระนางจะคบหากับจีนแล้ว พระนางยังคง
คบหากับสหรัฐอเมริกาในฐานะคู่ค้าเพื่อคานอำนาจของรัสเซียตามคำแนะนำของ หวง ซุนเสียน ทูต
ชาวจีน และยังทรงหันไปคบหากับอังกฤษอีกด้วย56
ในปีค.ศ. 1894 เกิดกบฏชาวนาที่เรียกว่า กบฏทงฮัก ในเกาหลี นำโดย ชอน บงจุน (Jeon
Bongiun) ก่อนที่เกิดการกบฏ “ทงฮัก” เป็นกลุ่มที่มีการนำแนวคิดจากลัทธิต่างๆมารวมกัน ไม่ว่าจะ
เป็นขงจื๊อ เต๋า พุทธ หรือแม้กระทั้งคริสต์ โดยมีจุดประสงค์คือต่อต้านอิทธิพลตะวันตกรวมทั้งญี่ป่นุ 57
จนนำไปสู่การก่อกบฏเพื่อเรียกร้องให้ยอมรับลัทธิทงฮัก การปลดปล่อยทาสและชนชั้นต่ำ การจัดสรร
ที่ดินใหม่ให้แก่ชาวนา การไม่เก็บภาษีตามใจชอบ การลงโทษขุนนาง ข้าราชการที่ทำความผิด และ

54 นภดล ชาติประเสริฐ. (2560). เกาหลีปัจจุบัน Korea Today. ปทุมธานี : ศูนย์เกาหลีศึกษา สถาบันเอเชียตะวันออกศึกษาฯ


มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. 23-24.
55 เรื่องเดียวกัน. 24-25.
56 รงรอง วงศ์โอบอ้อม. (2561). ประวัตศ ิ าสตร์เกาหลี. กรุงเทพฯ : พี.เอ.ลีฟวิ่ง. 240.
57 ศรุตม์ เพชรสกุลวงศ์. (2554). ประวัติศาสตร์เอเชียตะวันออก. สงขลา : มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา. 176.
19

การใหญ่ผู้หญิงหม้ายแต่งงานใหม่ได้58 ซึ่งกบฏทงฮักได้สร้างความเสียหายให้แก่เกาหลีเป็นบริเวณ
กว้าง อีกทั้งราชสำนักเกาหลีไม่สามารถปราบกบฏกลุ่มนี้ได้จึงขอความช่วยเหลือจากจีน จีนจึงส่ง
กองทัพเข้ามาในเกาหลีโ ดยไม่ได้แจ้งให้ญี่ปุ่นทราบ ทำให้ญี่ปุ่ นส่งกองทัพเข้ามาในเกาหลีด้ ว ย
ก่อให้เกิดภาวะตึงเครียดระหว่างจีนกับญี่ปุ่น จนนำไปสู่การทำสงครามกันระหว่างจีนกับญี่ปุ่นในปีค.ศ.
1894-1895 สงครามจบลงด้วยชัยชนะของญี่ปุ่นและมีการลงนามทำสนธิสัญญาที่เรียกว่า สนธิสัญญา
ชิโมโนเซกิ ที่มีใจความหลักให้เกาหลีเป็นประเทศอิสระไม่อยู่ในระบบบรรณาการของจีนอีกต่อไป เป็น
ผลทำให้จีนหมดบทบาทและอิทธิพลในเกาหลี59
ภายหลังสงครามระหว่างจีนกับญี่ปุ่นจบลง ญี่ปุ่นได้พยายามลดบทบาทของราชินีมินลง โดย
การพยายามยุยงให้พระเจ้าโกจงรวบอำนาจการปกครองไว้เพียงผู้เดียว แต่ไม่สำเร็จ จึงหันไปหาแท
วอนกุนที่ถูกเนรเทศไปที่จีน และเมื่อกลับมาเกาหลีแล้ว แทวอนกุ นก็ยังคงพยายามที่จะสร้างอำนาจ
ขึ้นมาใหม่ ดังนั้นการที่ญี่ปุ่นหันไปเข้าหาแทวอนกุนอย่างถูกจังหวะ จึงสามารถทำข้อตกลงกันได้ โดย
การที่ญี่ปุ่นจะอยู่เบื้องหลัง และแทวอนกุนคือผู้อยู่ฉากหน้าในการเข้ายึดอำนาจ แต่ในขณะเดียวกัน
ญี่ปุ่นก็ได้วางแผนลับนั้นก็คือ การลอบปลงพระชนม์ราชินีมิน60 ขณะที่ราชินีมินเห็นว่าญี่ปุ่นกำลังเป็น
ภัยคุกคามเกาหลีจึงหันไปขอความช่วยเหลือจากรัสเซียในการคานอำนาจของญี่ปุ่น61
แผนการณ์การลอบปลงพระชนม์ราชินีมินเกิดขึ้นในปีค.ศ. 1895 โดยจากหลักฐานและ
คำให้การต่างๆ ชี้ชัดไปที่ญี่ปุ่น แต่ด้วยในช่วงเวลานั้นพยานหลักฐานถูกทำลายไปจึงไม่สามารถสืบได้
ว่าใครเป็นผู้สั่งการ ซึ่งจากการปะติปะต่อเรื่องราวจากหลักฐานและคำให้การที่ปรากฎในยุคสมัยหลัง
นั้นพบว่า ญี่ปุ่นได้ว่ามีการวางแผนที่จะจัดการกับราชินีมินมาตั้งแต่เดือนกรกฎาคม ปี ค.ศ. 1895
เนื่องจากการที่ราชินีมินแอบให้สิทธิทางการทหารแก่จีน แต่กลับกีดกันญี่ปุ่น ซึ่งเหตุการณ์การลอบ
ปลงพระชนม์ราชินีมินก็เกิดขึ้นในเดือนตุลาคม ปีค.ศ. 1895 และจากคำให้การของ อเล็กเซย์ เซเรดิน
เซบาติน เจ้าหน้าที่ของรัสเซียได้เล่าถึงเหตุการณ์ในวันเกิดไว้อย่ างละเอียดว่าในวันนั้นมีทหารญี่ปุ่น
และทหารเกาหลีร่ ว มมือกัน ปิดล้อ มพระราชวัง อีกทั้งเขายังเห็นกลุ่มซามู ไรญี่ ปุ่นที่เดินเข้ า มา
พระราชวังเข้าไปในตำหนักของกษัตริย์และราชินี มีการรื้อค้นและทำร้ายร่างกายเหล่านางกำนัล แต่
เขาไม่สามารถทนอยู่ในเหตุการณ์นั้นได้จึงพยายามของทหารญี่ปุ่นออกไปจากพระราชวัง หลักฐานชิ้น
ต่อมาคือเอกสารรายงานการสืบสวนกรณีการปลงพระชนม์ ซึ่งในเอกสารได้ระบุข้อมูลว่ากลุ่มนักฆ่าที่
ทำการสังหารราชินีมินเป็นนักฆ่าญี่ปุ่น และยังระบุอีกว่าหลังจากที่สังหารราชินีแล้ว พวกเขาได้นำศพ
ของพระนางไปเผาทิ้งที่ภูเขาเทียมภายในพระราชวัง62

58 อนุช อาภาภิรม. (2558). สงครามเย็นในแดนโสม : วิกฤตที่ยังไม่สิ้น. กรุงเทพฯ : มติชน. 69.


59 Young Ick Lew Jung Ha Lee Bae-ho Hahn Kwang-rin Lee Ki-baik Lee. (มปป). Korea HISTORICAL NATION, ASIA.
สืบค้นเมื่อวันที่ 29 สิงหาคม 2562 จาก : https://www.britannica.com/place/Korea/The-introduction-of-Roman-
Catholicism#ref35017.
60 รงรอง วงศ์โอบอ้อม. (2561). ประวัตศ ิ าสตร์เกาหลี. กรุงเทพฯ : พี.เอ.ลีฟวิ่ง. 243-244.
61 ศรุตม์ เพชรสกุลวงศ์. (2554). ประวัติศาสตร์เอเชียตะวันออก. สงขลา : มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา. 178.
62 รงรอง วงศ์โอบอ้อม. (2561). ประวัตศ ิ าสตร์เกาหลี. กรุงเทพฯ : พี.เอ.ลีฟวิ่ง. 244-260.
20

หลังจากการสิ้นพระชนม์ของราชินีมิน พระเจ้าโกจงเสียพระทัยมา และได้ตัดสินพระทัยเสด็จ


ลี้ภัยไปประทับที่สถานทูตรัสเซียที่ให้การคุ้มกันอย่างหนาแน่น 63 และได้ประกาศลงโทษผู้ทรยศหรือก็
คือเหล่าขุนนางที่สนับสนุนญี่ปุ่นพร้อมกับจัดตั้งขุนนางชุดใหม่ภายใต้ การสนับสนุนของรัสเซีย และได้
มีการพยายามกำจัดอิทธิ พลของญี่ปุ่น ไม่ว่าจะเป็นการไล่ที่ปรึกษาชาวญี่ปุ่นออกแล้วแต่งตั้งที่ปรึกษา
ชาวรัสเซียแทน การยกเลิกการฝึกทหารแบบญี่ปุ่น จัดตั้งโรงเรียนสอนภาษารัสเซีย ตลอดจนการให้
สัมปทานต่างๆแก่รัสเซีย ญี่ปุ่นต้องการให้พระเจ้า โคจงเสด็จออกจากสถานทูตรัสเซีย ส่วนรัสเซีย
ต้องการให้ญี่ปุ่นถอนกองทัพออกจากเกาหลี ทำให้ทั้งสองประเทศตัดสินใจเจรจาเพื่อยุติความตึง
เครียดที่เกิดขึ้น64
ในปี 1897 พระเจ้าโกจงตัดสินพระทัยประกาศให้เกาหลีเป็นประเทศอิสระเปลี่ยนชื่อเป็น
จักรวรรดิเกาหลี65 ภายใต้การสนับสนุนของรัสเซีย โดยเป้าหมายของรัสเซียคือการกำจัดอิ ทธิพลของ
ญี่ปุ่นออกไปจากเกาหลี และรัสเซียก็ได้เข้าแทรกแซงการเมืองของเกาหลีโดยการยุยงให้ไล่ที่ปรึกษา
ชาวต่างชาติออกให้หมดเหลือไว้แค่ชาวรัสเซีย การกระทำของรัสเซียสร้างความไม่พอใจแก่ญี่ปุ่นเป็น
อย่างมาก ญี่ปุ่นจึงได้ประกาศทำสงครามกับรัสเซียในปีค.ศ. 1904-1905 สงครามสิ้นสุดด้วยชัยชนะ
ของญี่ปุ่น ทำให้ญี่ปุ่นกลายเป็นประเทศเพียงประเทศเดียวที่มีอำนาจเหนือดินแดนในคาบสมุทรเกาหลี
อย่างสมบูรณ์66

2.4. เกาหลีกับการอยู่ภายใต้การปกครองของญี่ปุ่น
2.4.1. การผนวกเกาหลีเป็นส่วนหนึ่งของญี่ปุ่น
ในปี 1905 ภายหลังจากที่ญี่ปุ่นได้รับชัยชะในการทำสงครามกับรัสเซียแล้วก็ได้มีการทำ
สนธิสัญญากับรัสเซียในเดือนกันยายนเรียกว่า สนธิสัญญาสงบศึกพอร์ตสมัธ มีใจความสำคัญ คือ การ
ที่รัสเซียจะต้องยอมรับว่าญี่ปุ่นมีผลประโยชน์สูงสุดทางการเมือง การทหาร และเศรษฐกิจในเกาหลี
แต่ก่อนหน้านี้ญี่ปุ่นได้เดินหน้าทำข้อตกลงและสนธิสัญญากับชาติตะวันตก โดยมีประเด็นหลักคือการ
ยอมรับการมีอำนาจเหนือเกาหลีของญี่ปุ่น ไม่ว่าจะเป็นสนธิส ัญญาพันธมิตรกับอังกฤษในเดื อน
สิงหาคม และข้อตกลงทัฟต์ -คะสึระกับสหรัฐอเมริกา และที่สำคัญที่สุดคือการที่ญี่ปุ่นบีบบังคับให้
เกาหลีลงนามในสนธิสัญญาการเป็นรัฐในอารักขาในเดือนพฤศจิกายนของปี 1905 โดยสนธิสัญญา

63 อนุช อาภาภิรม. (2558). สงครามเย็นในแดนโสม : วิกฤตที่ยังไม่สิ้น. กรุงเทพฯ : มติชน. 85.


64 นภดล ชาติประเสริฐ. (2560). เกาหลีปัจจุบัน Korea Today. ปทุมธานี : ศูนย์เกาหลีศึกษา สถาบันเอเชียตะวันออกศึกษาฯ
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. 28-29.
65 อนุช อาภาภิรม. (2558). สงครามเย็นในแดนโสม : วิกฤตที่ยังไม่สิ้น. กรุงเทพฯ : มติชน. 85.
66 รงรอง วงศ์โอบอ้อม. (2561). ประวัตศ
ิ าสตร์เกาหลี. กรุงเทพฯ : พี.เอ.ลีฟวิ่ง. 262-263. และนภดล ชาติประเสริฐ. (2560).
เกาหลีปัจจุบัน Korea Today. ปทุมธานี : ศูนย์เกาหลีศึกษา สถาบันเอเชียตะวันออกศึกษาฯ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. 28-31.
21

ต่างๆที่ญี่ปุ่นทำกับเหล่าชาติตะวันตกล้วนมีใจความสำคัญคือญี่ปุ่นจะควบคุมและกำหนดนโยบาย
ต่างประเทศของเกาหลี มีการแต่งตั้งข้าหลวงใหญ่จากญี่ปุ่นซึ่งมีอำนาจอย่างกว้างขวาง67
การผนวกดินแดนอย่างเป็นทางการเริ่มขึ้นในปี 1910 จากสนธิสัญญาผนวกดินแดนญี่ปุ่น -
เกาหลี อันมีสาระดังนี้
“แม้ว่าจะมีการทำงานหนักอย่างเอาจริงเอาจังของฝ่ายบริหารของเกาหลี ซึ่งทั้งรัฐบาลญี่ปุ่น
และเกาหลีได้เข้าร่วมเป็นเวลานานกว่า 4 ปี นับแต่การทำข้อตกลงปี 1905 ได้พบว่ารัฐบาลปัจจุบันใน
เกาหลีไม่ได้พิสูจน์ตนเองว่าจะสามารถปฏิบัติหน้าที่ในการรักษาความสงบและความเป็นระเบียบของ
ประเทศได้ ยิ่งไปกว่านั้น ได้เกิดความรู้ส ึกหวาดระแวงและความแคลงใจปกคลุมทั้งคาบสมุทร
เพื่อที่จะรักษาสันติภาพและเสถียรภาพในเกาหลี ส่งเสริมความไพบูลย์และความอยู่ดีของประชาชน
เกาหลี ขณะเดียวกันก็ประกันความปลอดภัยและการนอนใจของชาวต่างชาติที่อาศัยในเกาหลี ทำให้
ประจักษ์ชัดว่าการเปลี่ยนแปลงระบอบรัฐบาลขณะนี้มีความจำเป็นอย่างยิ่งยวด รัฐบาลญี่ปุ่นและ
รัฐบาลเกาหลีได้เห็นถึงความจำเป็นอันเร่งด่วนในการดำเนินการปฏิรูปที่สอดคล้องกับสถานการณ์และ
สร้างการประกันอนาคตอย่างพอเพียง จึงได้ลงนามโดยตัวแทนผู้มีอำนาจเต็มตามการยินยอมของ
พระจักรพรรดิ แห่ ง ญี่ ป ุ่ น และกษั ตริ ย์ แห่ งจั กรวรรดิเ กาหลี ให้ ผ นวกดินแดนทั ้งหมดของเกาหลี
เข้ากับญี่ปุ่น”68
จากเนื้อหาของสนธิสัญญาฉบับ นี้เป็นการสะท้อนให้ เห็นถึงจุดสิ้นสุดของการเป็นประเทศ
อิสระของเกาหลี และนับว่าเป็นจุดเริ่มต้นของการอยู่ภายใต้การปกครองของญี่ปุ่น โดยในตัวเนื้อหา
สนธิสัญญาฉบับนี้ได้ระบุถึงความยินยอมของเกาหลีในการผนวกดินแดนเป็นส่วนหนึ่งของญี่ปุ่น แต่
ความเป็นจริงทางประวัติศาสตร์ ของเกาหลีได้ใช้คำว่า “ถูกบีบบังคับ” เพราะภายหลังจากที่รัสเซีย
พ่ายแพ้จากสงคราม ทำให้พระเจ้าโกจงไม่ได้รับความช่วยเหลือจากรัสเซีย จึงถูกบีบบังคับให้ยอมทำ
สนธิสัญญาผนวกดินแดนในครั้งนี้69
2.4.2. เกาหลีภายใต้การปกครองของญี่ปุ่น
นับตั้งแต่เกาหลีถูกผนวกเป็นส่วนหนึ่งของญี่ปุ่นในปี 1910 จนกระทั่งสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่
2 ในปี 1945 มีการเข้ามาพัฒนาเกาหลีให้เข้าสู่ความทันสมัย ไม่ว่าจะเป็นถนน ไฟฟ้า ทางรถไฟ
ท่าเรือ หรือระบบการสื่อสารต่างๆ อีกทั้งญี่ปุ่นได้ดำเนินนโยบายในการปฏิรูปเกาหลีในหลายด้าน โดย
นโยบายที่สำคัญมีดังนี้
1.) ด้านการปกครอง ญี่ปุ่นได้มีการจัดระเบียบทางการปกครองเกาหลีใหม่
โดยการจัดตั้งสำนักงานผู้สำเร็จราชการแทนหรือก็คือข้าหลวงใหญ่ขึ้นที่กรุงโซล เพื่อเป็นองค์กรหลัก

67 อนุช อาภาภิรม. (2558). สงครามเย็นในแดนโสม : วิกฤตที่ยังไม่สิ้น. กรุงเทพฯ : มติชน. 32.


68 เรื่องเดียวกัน. 93.
69 รงรอง วงศ์โอบอ้อม. (2561). ประวัตศ
ิ าสตร์เกาหลี. กรุงเทพฯ : พี.เอ.ลีฟวิ่ง. 263-264.
22

ในการบริหาร มีอำนาจทั้งในทางนิติบัญญัติ บริหาร ตุลาการ และกองทัพ ซึ่งในระยะแรกญี่ปุ่นให้


ความสำคัญกับการรักษาความมั่นคงและความสงบเรียบร้อยเป็นหลัก เพื่อจัดการกับชาวเกาหลีที่
ต่อต้านญี่ปุ่น ในระบบราชการจะแต่งตั้งชาวญี่ปุ่นมากกว่าชาวเกาหลี70 แต่มีหน่วยงานเดียวที่จ้างชาว
เกาหลีพอๆกับจ้างชาวญี่ป ุ่น คือ ตำรวจ ซึ่งมีอำนาจพิจารณาการตัดสินคดีลหุโ ทษ ทำให้ตำรวจ
กลายเป็นที่เกลียดชังของชาวเกาหลีทั่วไป แสดงให้เห็นถึงการพยายามที่จะสร้างความหวาดระแวง
และความไม่ไว้วางกันในหมู่ชาวเกาหลี71
2.) ด้านเศรษฐกิจ ญี่ปุ่นพยายามพัฒนาเศรษฐกิจเกาหลีเพื่อสร้างความ
เข้มแข็งให้กับเศรษฐกิจญี่ปุ่น รัฐบาลอาณานิคมได้ให้ความสำคัญกับการจัดระบบที่ดิน72 โดยการออก
กฎหมายสำรวจที่ดิน ในปี 1912 ทำให้ผู้ที่ไม่ได้ไปจดทะเบียนต่อทางการจะถูกริบที่ดินเป็นของรัฐบาล
อาณานิคม เป็นผลให้รัฐบาลอาณานิคมของญี่ปุ่นครอบครองที่ดินในเกาหลีเป็นจำนวนมากถึง 40%
ของที่ดินทั้งหมด 73 ซึ่งจุดประสงค์ของนโยบายนี้ก็เพื่อการจัดเก็ บภาษีที่ดินที่จะนำไปเป็นรายได้
สำหรับค่าใช้จ่ายในการปกครองเกาหลี รวมไปถึงการนำออกขายให้แก่บริษัทเอกชน 74 นอกจากนี้ยัง
ผูกขาดผลิตภัณฑ์ จำพวกโสม ยาสูบ เกลือ และฝิ่น รวมถึงธุรกิจด้านการเงิน เหมืองแร่ และประมง 75
โดยธนาคารแห่งโชซอน (Bank of Joson) ซึ่งพัฒนาการมาจากธนาคารไดอิชิ (Daiichi) ของญี่ปุ่นทำ
หน้าที่เป็นธนาคารกลางของอาณานิคมรับผิดชอบการออกพันธบัตรรัฐบาล ควบคุมระบบเงินตรา และ
สนับสนุนด้านการเงินแก่โครงการต่างๆ ของรัฐบาลอาณานิคม นอกจากนี้ยังตั้งธนาคารเพื่อการ
อุตสาหกรรม (Industrial Bank) ขึ้นในปี 1906 เพื่อช่วยพัฒนาเกษตรกรรมและอุตสาหกรรมใน
เกาหลี76
3.) ด้านสังคม รัฐบาลอาณานิคมได้กฎหมายควบคุมสื่อสิ่งพิมพ์ และมีการ
จัดระบบการศึกษาเกาหลีใหม่ เพื่อเป็นเครื่องมือในการกล่อมเกลาเยาวชนเกาหลีให้กลายเป็นพลเมือง
ที่ดีของญี่ปุ่น77 หรือ “ประชาชนผู้ซื่อสัตย์ของพระจักรพรรดิ” 78 รวมไปถึงการสร้างความเป็นญี่ปุ่น
70 วิเชียร อินทะสี. (2551). นโยบายต่างประเทศของญี่ปุ่นต่อเกาหลี ในช่วงการยึดครองและช่วงหลังการได้รับเอกราชจากญี่ปุ่น.
มหาวิทยาลัยนเรศวร. 16(3), 224.
71 นภดล ชาติประเสริฐ. (2560). เกาหลีปัจจุบัน Korea Today. ปทุมธานี : ศูนย์เกาหลีศึกษา สถาบันเอเชียตะวันออกศึกษาฯ

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. 33.
72 เรื่องเดียวกัน. 34.
73 วิเชียร อินทะสี. (2551). นโยบายต่างประเทศของญี่ปุ่นต่อเกาหลี ในช่วงการยึดครองและช่วงหลังการได้รับเอกราชจากญี่ปุ่น.

มหาวิทยาลัยนเรศวร. 16(3), 224.


74 นภดล ชาติประเสริฐ. (2560). เกาหลีปัจจุบัน Korea Today. ปทุมธานี : ศูนย์เกาหลีศึกษา สถาบันเอเชียตะวันออกศึกษาฯ

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. 34.
75 วิเชียร อินทะสี. (2551). นโยบายต่างประเทศของญี่ปุ่นต่อเกาหลี ในช่วงการยึดครองและช่วงหลังการได้รับเอกราชจากญี่ปุ่น.

มหาวิทยาลัยนเรศวร. 16(3), 224.


76 นภดล ชาติประเสริฐ. (2560). เกาหลีปัจจุบัน Korea Today. ปทุมธานี : ศูนย์เกาหลีศึกษา สถาบันเอเชียตะวันออกศึกษาฯ

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. 35.
77 เรื่องเดียวกัน. 33.
78 นงลักษณ์ ลิ้มศิริ. (2556). สันติภาพและความรักชาติ : ความรูแ
้ ละมุมมองจากประวัติศาสตร์สงครามในพิพิธภัณฑ์ญี่ปุ่น จีน และ
เกาหลี. กรุงเทพฯ : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจยั (สกว.). 223.
23

ให้แก่ชาวเกาหลี เพื่อให้เกาหลีเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับญี่ปุ่น โดยขจัดวัฒนธรรมที่ชาวเกาหลีมีหรือ


ปฏิบัติแตกต่างจากญี่ปุ่น การใช้นามสกุลแบบญี่ปุ่น ใช้ภาษาญี่ปุ่นในการเรียนการสอนโดยให้คนญี่ปุ่น
เข้าไปเป็นครูในโรงเรียนและกำหนดให้หนังสือ ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมเกาหลีเป็นสิ่งต้องห้าม
ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ญี่ปุ่นได้เกณฑ์ชาวเกาหลีไปทำงานในเหมืองแร่ ก่อสร้างและโรงงานใน
ญี่ปุ่น เพื่อผลิตสินค้ายุทธปัจจัยที่จำเป็นสำหรับกองทัพ และในปี 1944 มีคนเกาหลีที่ถูกเกณฑ์ไป
ประจำการในกองทัพญี่ปุ่น นอกจากการเกณฑ์ไปเป็นแรงงานแล้วยังมีการเกณฑ์ผู้หญิงเกาหลีเพื่อ
ให้บริการทางเพศแก่ทหารญี่ปุ่น โดยในช่วงสงครามโลกครั้งที่ส อง ญี่ปุ่นได้เกณฑ์ผู้หญิงจากดินแดนที่
ญี่ปุ่นยึดได้ไปให้บริการทางเพศแก่ทหารของตนที่ประจำการอยู่ตามสมรภูมิต่าง ๆ ซึ่งในบรรดาหญิงที่
ถูกบังคับกว่า 80% เป็นผู้หญิงเกาหลี79
2.4.3. ปฏิกิริยาของชาวเกาหลี
หลังจากที่เกาหลีถูกบีบบังคับให้ลงนามในสนธิสัญญาผนวกดินแดนในปีค.ศ. 1905 ในช่วงนี้
สถานการณ์ภายในเกาหลีไม่ได้มีความสงบอย่างที่ญี่ปุ่นต้องการ เนื่องจากมีชาวเกาหลีจำนวนมากที่
ต่อต้านญี่ป ุ ่น ไม่ว ่าจะเป็น ชาวนาหรือ ข้ าราชการ อาทิเช่น มินยองฮวัน (Min Young - hwan)
ข้าราชการชั้นสูง และหัวหน้าคณะที่ปรึกษาของพระเจ้าโกจง ปลิดชีวิตตัวเองเป็นการประท้วง หรือ
โชพยองเซ (Cho Pyong-se) อดีตข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ก็ฆ่าตัวตายเช่นกัน ข่าวการฆ่าตัวตายของ
ข้าราชการชั้นสูงถูกเผยแพร่ออกไป สร้างความรู้สึกร่วมในหมู่ประชาชน ประชาชนพากันเดินขบวนบน
ท้องถนน แต่ก็ถูกตำรวจญี่ปุ่นเข้าสลายการเดินขบวนและจับกุมผู้เดินขบวนเป็น อย่างไรก็ตาม การ
ประท้วงต่อต้านของชาวเกาหลีไร้ผลอย่างสิ้นเชิง80
ขณะเดียวกันในปีค.ศ. 1907 พระเจ้าโกจงทรงพยายามขอความช่วยเหลือจากสหรัฐอเมริกา
และอังกฤษ แต่ก็ถูกปฎิเสธ แม้ แต่ในการประชุมสันติภาพโลกในกรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ ในปี
ค.ศ. 1907 ก็ยังถูกญี่ปุ่นขัดขวาง หลังจากเหตุการณ์ที่กรุงเฮก รัฐบาลญี่ปุ่นเห็นว่าพระเจ้าโกจง
กลายเป็นอุปสรรคต่อการปกครองของญี่ปุ่นจึงบีบบังคับให้พระเจ้าโกจงสละราชสมบัติในปีค.ศ. 1907
และให้พระเจ้าซุนจง (Sunjung) รัชทายาทขึ้นเป็นกษัตริย์แทน เนื่องจากเป็นคนที่ควบคุมได้ง่าย และ
ไม่ว่าประชาชนชาวเกาหลีหรือข้าราชการเกาหลีลุกขึ้นมาต่อต้านญี่ปุ่นก็จะถูกญี่ปุ่นปราบปรามจน
หมด และยิ่งเมือญี่ป ุ่น สามารถครอบครองเกาหลีได้อย่างเบ็ดเสร็จ มีการดำเนินนโยบายต่างๆ
โดยเฉพาะการขจัดความเป็นเกาหลีออกไปนั้น ทำให้ชาวเกาหลีตระหนักถึงความสำคัญของลัทธิ
ชาตินิยม ดังนั้นลัทธิชาตินิยมจึงเป็นเครื่องมือในการพยายามต่อต้านญี่ปุ่นและการประกาศเอกราช
ของเกาหลี จึงทำให้เกิดขบวนการชาตินิยมขึ้นทั้งภายในและภายนอกเกาหลี81

79 วิเชียร อินทะสี. (2551). นโยบายต่างประเทศของญี่ปุ่นต่อเกาหลี ในช่วงการยึดครองและช่วงหลังการได้รับเอกราชจากญี่ปุ่น.


มหาวิทยาลัยนเรศวร. 16(3), 224.
80 นภดล ชาติประเสริฐ. (2560). เกาหลีปัจจุบัน Korea Today. ปทุมธานี : ศูนย์เกาหลีศึกษา สถาบันเอเชียตะวันออกศึกษาฯ

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. 36.
81 เรื่องเดียวกัน. 36.
24

1.) ขบวนการชาตินิยมเกาหลี
ขบวนการชาตินิยมเกาหลีเกิดจากปัญญาชนชาวเกาหลีหัวก้าวหน้าที่มีความรักชาติและ
ต้องการต่อสู้กับญี่ปุ่นเพื่อกอบกู้เอกราชของชาติกลับคืนมา แต่การดำเนินการภายในเกาหลี เป็นไปได้
ยาก อันเนื่องมาจากรัฐบาลอาณานิคมปกครองเกาหลีอย่างเข้มงวด ดังนั้น พวกเขาจึงหลบหนีออกไป
อยู่ในดินแดนต่างๆ ที่มีชาวเกาหลีอาศัยอยู่และจัดตั้งขบวนการชาตินิยมเพื่อต่อสู้และเรียกร้องเอกราช
เกาหลีในดินแดนนั้นๆ ไม่ว่าจะเป็น บริเวณทางตะวันออกเฉียงใต้ของแมนจูเรีย มีนักเคลื่อนไหว
ชาติ น ิ ย มที ่ น ำโดย อี ช ยอง (Yi Si-yong) อี ด งนยอง (Yi Dong-nyong) และ อี ซ ั ง รยอง (Yi Sang
Ryong) ซึ่งได้จัดตั้งโรงเรียนฝึกกองกำลังที่จะกู้ชาติเกาหลีในปี 1911 และในปี 1914 อีซังซอล (Yi
Sang-Sol) และอีดงฮวี (Yi Danawl) ก็ได้ก่อตั้งกองทัพกู้ชาติขึ้น82
นอกจากที่แมนจูเรีย แล้ว สถานที่ที่เหล่านักชาตินิยมมักจะหลบหนีไปก็คือ เซี่ ยงไฮ้ ใน
ประเทศจีน โดยในปี 1912 ชินคยูชิก (Sin Kyu-Sik) ผู้นำคนสำคัญได้ก่อตั้งสมาคมช่วยเหลือซึ่งกัน
และกัน ในปี 1909 ที่สหรัฐอเมริกา อีซึงมัน (Yi Seung-man) ได้ก่อตั้งสมาคมแห่งชาติเกาหลีขึ้นที่
ฮาวาย นอกจากนนี้ยังมีกลุ่มนักชาตินิยมเกาหลีที่ก่อตั้ งกลุ่มของตนเองขึ้นอีกหลายกลุ่ม โดยกลุ่ม
ชาตินิยมกลุ่มต่างๆ มีกิจกรรมการเคลื่อนไหวอย่างต่อเนื่อง ซึ่งแสดงออกถึงความรักชาติและความ
ปรารถนาที่จะกอบกู้เอกราชของชาติเกาหลีกลับคืนมา แต่พวกเขาต่างก็ทำกิจกรรมของพวกตน ไม่ ได้
มีการติดต่อประสานงานซึ่งกันและกัน จึงทำให้ไม่สามารถที่จะกดดันญี่ปุ่นได้83
2.) การเคลื่อนไหวเพื่อเอกราชในวันที่ 1 มีนาคม 1919
การเกิ ด ขึ ้ น ของกลุ ่ ม ขบวนการชาติ น ิ ย มในหลายประเทศอาจจะเกิ ด ขึ ้ น มาจากการที่
ประธานาธิบดีวูดโรว์ วิลสัน ของสหรัฐอเมริกาได้ประการหลัก 14 ประการ ซึ่งมีหลักการสำคัญ
ประการหนึ่งคือการให้สิทธิประชาชนเจ้าของดินแดนต่างๆได้มีสิทธิ ปกครองตนเอง ดังนั้นหลัก 14
ประการนี้จึงเป็นเสมือนความหวังของเหล่านักต่อสู้เพื่ออิสรภาพชาวเกาหลี84 จึงไปสู่การเกิดเหตุการณ์
การเคลื่อนไหวเพื่อเอกราช หรือ การเคลื่อนไหวในวันที่ 1 มีนาคม 1919 ที่เป็นการเคลื่อนไหวเพื่อเอก
ราชและต่อต้านการปกครองของญี่ปุ่นครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์เกาหลี
นภดล ชาติประเสริฐ ได้กล่าวถึงเหตุการณ์ในวันที่ 1 มีนาคม 1919 ไว้ในหนังสือ “เกาหลี
ปัจจุบัน Korea Today” ว่า
“การเคลื่อนไหวเพื่อเอกราชเริ่มในตอนเช้าวันที่ 1 มีนาคม ปี 1919 เมื่อมีประกาศติตตาม
ถนนสายใหญ่ในกรุงโซลเรียกร้องให้ประชาชนเกาหลีแสดงประชามติร่วมกันเดินขบวนเพื่อประกาศ
เอกราชเกาหลี ณ สวนสาธารณะพาโกดะ (Pagoda) ประชาชนเกาหลีทยอยกันมาชุมนุมตั้งแต่เที่ยง
82 นภดล ชาติประเสริฐ. (2560). เกาหลีปัจจุบัน Korea Today. ปทุมธานี : ศูนย์เกาหลีศึกษา สถาบันเอเชียตะวันออกศึกษาฯ
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. 37.
83 เรื่องเดียวกัน. 37-38.
84 เรื่องเดียวกัน. 38-39.
25

วันจนมีจำนวนประมาณ 4-5 พันคน และในเวลา 14.00 น. นักเรียนคนหนึ่งได้ขึ้นไปยืนบนแท่นกลาง


สวนสาธารณะและอ่านคำประกาศเอกราช ซึ่งเขียนโดยนักประวัติศาสตร์ ชเว นัมซอน (Choi Nam-
son) และมั น แฮฮั น ยงคน (Manhae Han Yong-un) ใจความโดยสรุ ป ว่ า ประชาชนเกาหลี มี
เจตนารมณ์ร ่ว มกัน ประกาศเอกราชแห่งชาติเกาหลีและอิสรภาพของประชาชนเกาหลีซึ่งอยู่ บน
หลักการที่ประชาชนเป็นเจ้ าของประเทศมีสิทธิที่จะปกครองตนเอง และมนุษยชาติมีความเท่าเทียม
กัน รวมทั้งต้องการให้เยาวชนเกาหลีรุ่นหลังได้ตระหนักว่าเกาหลีมีประวัติศาสตร์มายาวนาน และมี
สิทธิที่จะปรากฎอยู่ในโลกอย่างมีเกียรติและเท่าเทียมกับชาติอื่นๆ หลังจากอ่านจบชาวเกาหลีที่ชุมนุม
ต่างก็ตะโกนว่า “เกาหลีจงเจริญ” หลังจากนั้นผู้ชุมนุมพากันเดินขบวนไปตามท้องถนนและโบกธงชาติ
เกาหลีพร้อมร้องตะโกน “เอกราชเกาหลีจงเจริญ” ไปทั่วเกาหลีเป็นเวลาเกือบ 2 เดือน ประมาณว่ามี
ผู้มาชุมนุมเดินขบวนตามจุดต่างๆ ทั่วประเทศถึง 1,500 แห่ง และมีประชาชนเข้าร่วมกว่า 2,000,000
คน ผู้ที่มาเข้าร่วมเดินขบวนนี้เป็นประชาชนทุกเพศทุกวัย ทุกชนชั้นอาชีพ นอกจากนี้ ชาวเกาหลีโพ้น
ทะเลในจีน สหรัฐอเมริกา ไซบีเรีย ก็พากันเดินขบวน ประกาศเอกราชเกาหลีอย่างสงบเช่นกัน”85

ภาพที่ 8 เหตุการณ์วันที่ 1 มีนาคม 1919 ที่มา : https://www.1dream1korea.com/march-1-movement/

ขณะเดียวกัน นงลักษณ์ ลิ้มศิริ ได้ให้ข้อมูลจากพิพิธภัณฑ์หอเอกราชประเทศเกาหลี ใน


หนังสือเรื่อง “สันติภาพและความรักชาติ : ความรู้และมุมมองจากประวัติศาสตร์สงครามในพิพิธภัณฑ์
ญี่ปุ่น จีน และเกาหลี” โดยในพิพิธภัณฑ์หอเอกราชประเทศเกาหลีได้อธิบายเกี่ยวกับเหตุการณ์ในครั้ง
นั้นไว้ว่า
“การเคลื่อนไหวเพื่อเอกราช 1 มีนาคมเป็นการเคลื่อนไหวที่ใหญ่ที่สุดครั้งหนึ่งของประชาชน
ชาวเกาหลีและนักต่อสู้เพื่อสิทธิมนุษยชนเพื่อเรียกร้องอิสรภาพและสันติภาพ ประชาชนชาวเกาหลี

85นภดล ชาติประเสริฐ. (2560). เกาหลีปัจจุบัน Korea Today. ปทุมธานี : ศูนย์เกาหลีศึกษา สถาบันเอเชียตะวันออกศึกษาฯ


มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. 39-40.
26

แสดงออกถึงความต้องการเอกราชอิสรภาพและสันติภาพอันพึงมีในมนุษยชาติ การเคลื่อนไหวเพื่อเอก
ราช 1 มีนาคม ได้พัฒนาขึ้นเป็นการเคลื่อนไหวระดับประเทศด้วยการเข้าร่วมของประชาชนเกาหลี
กว่า 20 ล้านคน ซึ่งเป็นเสมือนแรงขับเคลื่อนขบวนการเรียกร้องเอกราชของเกาหลี และยังเป็นแรง
บันดาลใจให้กับการเรียกร้องอิสรภาพของผู้ที่ถูกกดขี่ทั่ วโลก จิตวิญญาณแห่งการเคลื่อนไหวเพื่อเอก
ราช 1 มีนาคมได้สืบทอดไปจนถึงวันที่เกาหลีได้รับเอกราช 15 สิงหาคม ค.ศ. 1945 หลังการต่อสู้อย่าง
กล้าหาญมากมาย จิตวิญญาณแห่งการเคลื่อนไหวเพื่อเอกราช 1 มีนาคมนำพาเราไปสู่การพัฒนาอัน
ชอบธรรม และกลายเป็นสมบัติอันประเมินค่ามิได้สําหรับ ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันแห่งชาติ”86
นักต่อสู้เพื่อเอกราชที่ได้รับการกล่าวถึงเป็นพิเศษในเหตุการณ์นี้ คือ ยู กวานซุน นักศึกษา
หญิงจากสถาบันอีฮวา (มหาวิทยาลัยสตรีอีฮวา) สาเหตุที่เธอได้รับการยกย่องเป็นพิเศษ เนื่องมาจาก
ความกล้าหาญในการเผชิญหน้ากับทหารญี่ปุ่น การนำคำประกาศเอกราชกลับไปเผยแพร่ที่ชอนอัน
บ้านเกิดของเธอ และยืนหยัดต่อสู้จนเสียชีวิตในคุกด้วยวัยเพียง 17 ปี 87 ในปัจจุบันวันที่ 1 มีนาคม
ของทุกปีได้ถูกกำหนดให้เป็น “วันการเคลื่อนไหวเพื่อเอกราช” หรือในภาษาเกาหลีจะเรียกว่า ซัมอิล
จอล (삼일절)88 และในปี 2019 เป็นการครบรอบ 100 ปี วันซัมอิลจอล ประธานาธิบดีมุน แช-อิน ได้
เดินทางไปเยือนอาคารที่ทำการรัฐบาลเฉพาะกาลที่ฉงชิ่งเพื่อรำลึกประวัติศาสตร์ จัดกิจกรรมรำลึกใน
รูปแบบต่างๆ เช่น การจัดประกวดสุนทรพจน์ การจัดนิทรรศการออนไลน์และออฟไลน์89

86 Independence Hall of Korea. The March First Independence Movement (อาคาร4), (Cheonan-si : Independence
Hall of Korea, 2008), p.5. ใน นงลักษณ์ ลิ้มศิริ. (2556). สันติภาพและความรักชาติ : ความรู้และมุมมองจากประวัติศาสตร์สงคราม
ในพิพิธภัณฑ์ญี่ปุ่น จีน และเกาหลี. กรุงเทพฯ : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.). 165.
87 เสกสรร อานันทศิริเกียรติ. (2562). รำลึก 100 ปี ขบวนการเรียกร้องเอกราชเกาหลี. สืบค้นเมื่อ 3 กันยายน 2562 จาก :

https://themomentum.co/100th-year-of-korea-declaring-independence-from-japan/.
88 เอกณัฏฐ์ สวัสดิห์ ิรัญ. (มปป). ยู-กวานซุน : ฉันคืออิสรภาพ. สืบค้นเมื่อ 3 กันยายน 2562 จาก :
http://www.tpapress.com/knowledge_detail.php?k=106.
89 เสกสรร อานันทศิริเกียรติ. (2562). รำลึก 100 ปี ขบวนการเรียกร้องเอกราชเกาหลี. สืบค้นเมื่อ 3 กันยายน 2562 จาก :

https://themomentum.co/100th-year-of-korea-declaring-independence-from-japan/.
27

ภาพที่ 9 ประธานาธิบดีมนุ แช-อินและคณะเดินทางเยือนอาคารที่ทำการรัฐบาลเฉพาะกาลที่ฉงชิ่ง ที่มา : https://themomentum.co/100th-year-of-


korea-declaring-independence-from-japan/

3.) ขบวนการชาตินิยมหลังเหตุการณ์วันที่ 1 มีนาคม


หลังจากเกิดการเคลื่อนไหว 1 มีนาคม ชาวเกาหลีตระหนักถึงความรู้สึกรวมกันในเรื่ อง
ชาตินิยม จึงเห็นความจำเป็นที่จะต้องมีองค์กรรวมที่เป็นศูนย์กลางการต่อสู้เพื่อชาติ นำไปสู่การ
รวมกลุ่มจัดตั้ง “รัฐบาลเฉพาะกาล (Korean Provisional Government)” ที่เซี่ยงไฮ้ 90 เพื่อเป็น
ศูนย์กลางและทำหน้าที่กําหนดกลยุทธ์การต่อของกลุ่มชาตินิยม และกระตุ้นชาวเกาหลีทั้งภายในและ
ภายนอกเกาหลีให้ตระหนักถึงการต่อสู้เพื่อเอกราชของชาติ แต่รัฐบาลเฉพาะกาลดำเนินกิจกรรมอย่าง
คึกคักอยู่ได้แค่ 2 ปีก็ค่อยๆ ลดบทบาทลง เนื่องจากความแตกแยกของนักชาตินิยมกลุ่มต่าง ๆ ที่มี
ภูมิหลังทางความคิด ค่านิ ยมแตกต่างกัน บางคนมีแนวคิดแบบอเมริกัน บางคนแบบจีน บางคนแบบ
โซเวียต (รัสเซีย) จึงเป็นการยากที่จะร่วมกันคิดและร่วมกันทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ91
นอกจากการก่อตั้งรัฐบาลเฉพาะกาลแล้ว หลังเหตุการณ์วันที่ 1 มีนาคม มีปัญญาชน นักเรียน
นักศึกษาชาวเกาหลีบ างส่วนเริ่มให้ ความสนใจในลัทธิมากซ์ (Maxism) เนื่องจากพวกเขามองว่า
หลักการของประธานาธิบดีวิลสันที่ให้ประชาชนเจ้าของประเทศปกครองตนเองนั้นเป็นเพียงภาพมายา
ที่มหาอำนาจตะวันตกสรางขึ้นปกป้องประโยชน์ของตน และเมื่อพรรคบอลเชวิกของรัสเซียทำการ
ปฏิวัติและโค่นล้มพระเจ้าซาร์ได้สำเร็จในปี 1917 ปัญญาชนเกาหลีแ ละนักชาตินิยมจำนวนมากจึ ง
สนใจลัทธิมากซ์และระบอบสังคมนิยมคอมมิวนิสต์ อีกทั้งสหภาพโซเวียตได้ตั้งหน่วยงาน “โคมิน
90 เสกสรร อานันทศิริเกียรติ. (2562). รำลึก 100 ปี ขบวนการเรียกร้องเอกราชเกาหลี. สืบค้นเมื่อ 3 กันยายน 2562 จาก :
https://themomentum.co/100th-year-of-korea-declaring-independence-from-japan/.
91 นภดล ชาติประเสริฐ. (2560). เกาหลีปัจจุบัน Korea Today. ปทุมธานี : ศูนย์เกาหลีศึกษา สถาบันเอเชียตะวันออกศึกษาฯ

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. 41-42.
28

เทอร์น (Comintern)” ขึ้นในปี 1919 เพื่อสนับสนุนด้านเงินทุน อาวุธ และ คำแนะนำแก่นักต่อสู้


ชาตินิยมในอาณานิคมต่างๆ ทั่วโลก ยิ่งทำให้ปัญญาชน เกาหลี และนั กต่อสู้ชาตินิยมจำนวนมากเชื่อ
ว่าลัทธิมากซ์และเลนินจะช่วยให้ได้รับเอกราชในที่สุดจนนำไปสู่การก่อตั้งพรรคสังคมนิยมเกาหลีขึ้นใน
รัสเซียเมื่อปี 1918 และในเดือนเมษายนปี 1925 ภายในประเทศเกาหลี92
2.5. การแบ่งแยกประเทศและสงครามเกาหลี
2.5.1. การแบ่งแยกเกาหลี
สงครามโลกครั้งที่สองเป็นสงครามที่ใช้ระยะเวลาถึง 6 ปี นับตั้งแต่ปี 1939 จนถึงปี 1945
เป็นสงครามระหว่างกลุ่มพันธมิตร (ฝ่ายสัมพันธมิตร) ซึ่งเป็นจักรวรรดิเก่า อันได้แก่ อังกฤษ ฝรั่งเศส
รัสเซีย และสหรัฐอเมริกา กับกลุ่มจักรวรรดิใหม่ (ฝ่ายอักษะ) อันได้แก่ เยอรมนี อิตาลี และญี่ปุ่น93
สงครามดำเนินไปด้วยชัยชนะของฝ่ายอักษะ โดยกองทัพเยอรมนีได้เข้ายึดครองโปแลนด์ ยูโกสลาเวีย
ออสเตรียและบางส่วนของเชโกสโลวาเกีย ขณะที่อิตาลีบุกเข้าไปในอียิปต์และเอธิโอเปี ย ส่วนญี่ปุ่น
เข้ายึดครองแมนจูเรีย บางส่วนของประเทศจีน ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ มาเลเซีย อินโดนีเซีย แต่ในปี
1942 เป็นมาฝ่ายสัมพันธมิตรได้รับชัยชนะเหนือประเทศฝ่ายอั กษะอย่างต่อเนื่อง94 จนกระทั่งในวันที่
6 และ 9 สิงหาคม 1945 กองทัพสหรัฐอเมริกาได้ทิ้งระเบิดปรมาณูที่เมืองฮิโรชิมาและที่เมืองนางาซา
กิ นำไปสู่การประกาศยอมแพ้ของญี่ปุ่นในวันที่ 15 สิงหาคม 1945 ถือเป็นจุดสิ้นสุดของสงครามโลก
ครั้งที่สองอย่างแท้จริง95 และนำไปสู่การแบ่งเกาหลีออกเป็นสองส่วน

92 นภดล ชาติประเสริฐ. (2560). เกาหลีปัจจุบัน Korea Today. ปทุมธานี : ศูนย์เกาหลีศึกษา สถาบันเอเชียตะวันออกศึกษาฯ


มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. 41-42.
93 อนุช อาภาภิรม. (2558). สงครามเย็นในแดนโสม : วิกฤตที่ยังไม่สิ้น. กรุงเทพฯ : มติชน. 100.
94 โดม ไกรปกรณ์. (มปป.). สงครามโลกครั้งที่ 2. สืบค้นเมื่อ 3 กันยายน 2562 จาก : http://wiki.kpi.ac.th/index.php?title=

สงครามโลกครั้งที่_2.
95 อนุช อาภาภิรม. (2558). สงครามเย็นในแดนโสม : วิกฤตที่ยังไม่สิ้น. กรุงเทพฯ : มติชน. 103.
29

ภาพที่ 10 การแบ่งแยกเกาหลีโดยใช้เส้นขนานที่ 38 เป็นตัวแบ่ง ที่มา : http://koreawarpccnst.blogspot.com/2017/01/blog-


post_28.html

จากการที่ญี่ปุ่นกลายเป็ นประเทศที่พ่ายแพ้ในสงครามโลกครั้งที่ 2 เกาหลีจึงได้รับเอกราช


ตามคำประกาศแห่ ง ไคโรของฝ่ ายพันธมิ ตร แต่เป็นการได้ร ับเอกราชเพี ยงชั่ว คราว เพราะเมื่ อ
สหรัฐอเมริกากับโซเวียตได้ทำการแบ่งแยกเกาหลีออกเป็น 2 เขตการปกครอง คือ เขตปกครองของโซ
เวียตและเขตปกครองของสหรัฐอเมริ กา นับตั้งแต่บริเวณใต้เส้นขนานที่ 38 ดังนั้นเกาหลีจึงถูกแบ่ง
ออกเป็นเกาหลีเหนือ และเกาหลีใต้96 แต่แน่นอนว่าโซเวียตกับสหรัฐอเมริกามีอุดมการณ์ทางการเมือง
ที่แตกต่า งกั น ดังนั้น โซเวีย ตจึ ง ต้ อ งการให้เ กาหลีป กครองแบบแนวคิ ดลั ทธิ ส ั ง คมนิ ยม ขณะที่
สหรัฐอเมริกาต้องการให้มี การรวมเกาหลีเหนือกับเกาหลีใต้ให้เป็นประเทศเดียวกัน และการตัดสิน
ของสหประชาชาติที่มีมติให้เลือกตั้งทั่วไปในเกาหลีและให้อยู่ในความควบคุมของสหประชาชาติ แต่
สหภาพโซเวียตปฏิเสธ 97
ดังนั้นในปี 1948 มีการเลือกตั้งในเกาหลีเฉพาะเขตที่อยู่ในการปกครองของสหรัฐอเมริกา
เพียงเท่านั้นพร้อมทั้งประกาศการสถาปนาสาธารณรัฐเกาหลี โดยมี อี ซึง มัน (Yi Seung-man) เป็น
ประธานาธิบดี ทางด้านโซเวียตก็ไ ด้มีการสถาปนาสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลี โดยมี
คิม อิล ซอง (Kim Il-Seong) เป็นประธานาธิบดี98 ถือเป็นการแบ่งคาบสมุทรเกาหลีออกเป็นสองส่วน
อย่างชัดเจน

96 มนันญา ภู่แก้ว. (มปป.). สงครามเกาหลี. สืบค้นเมื่อ 3 กันยายน 2562 จาก : http://wiki.kpi.ac.th/index.php?title


=สงครามเกาหลี.
97 อนุช อาภาภิรม. (2558). สงครามเย็นในแดนโสม : วิกฤตที่ยังไม่สิ้น. กรุงเทพฯ : มติชน. 108.
98 เรื่องเดียวกัน.
30

ภาพที่ 11 อี ซึง มัน ประธานาธิบดีคนแรกของเกาหลีใต้ ที่มา : ภาพที่ 12 คิม อิล ซอง ประธานาธิบดีคนแรกของเกาหลีเหนือ
https://sites.google.com/site/ ที่มา : https://www.matichonweekly.com/
pratheskeahliti/bukhkhl-sakhay column/article_27194

2.5.2. สงครามเกาหลี
สงครามเกาหลีเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 25 มิถุนายน 1950 เมื่อกองทัพของเกาหลีเหนือบุกโจมตี
เกาหลีใต้และสามารถยึดกรุงโซลที่เป็นเมืองหลวงได้ด้วยเวลาเพียงแค่ 3 วัน และเริ่มยึดเมื่องต่างๆทาง
ตอนใต้ของคาบสมุทรเกาหลี ซึ่งสหรัฐอเมริกาก็ได้โต้ตอบโดยการส่งกองทัพมาช่วยพร้อมทั้งเสนอเรื่อง
ต่อสหประชาชาติและมีมติให้นำกองกำลังจากประเทศสมาชิกเข้าร่วมรบในสงครามครั้งนี้ภายใต้การ
นำของสหรัฐอเมริกา ในการรบระหว่างเกาหลีเหนือและเกาหลีใต้ผลัดกันแพ้ผลัดกันชนะ จนกระทั่งใน
ที่สุดทั้ง 2 ฝ่ายก็เห็นควรเจรจายุติสงคราม แต่การเจรจาก็ใช้เวลานานถึง 2 ปี จึงมีการลงนามใน
สัญญาสงบศึกวันที่ 27 กรกฎาคม 1953 และได้กำหนดให้บริเวณเส้นขนานที่ 38 เป็นเขตปลอด
ทหาร99
จากบทความในเว็บไซต์ของ PPTV โดย กรุณา บัวคำศรี ที่ได้สัมภาษณ์บุคคลที่อยู่ในช่วงของ
สงครามเกาหลีคือ “คิม วอน” ซึ่งตอนนั้นอายุเพียง 10 ขวบ บ้านของคิมอยู่ในหมู่บ้านเล็ก ๆ ที่ตั้งอยู่
บริเวณเส้นขนานที่ 38 บนเส้นทางเดินทัพ จึงต้องเผชิญกับกระสุนปืนอยู่ทุกวัน ในปัจจุบันจากเส้น
แบ่งเขตแดนขึ้นไปทางเหนือ 2 กม. ลงมาทางใต้อีก 2 กม. รวมเป็นความกว้าง 4 กม. และความยาว

99นภดล ชาติประเสริฐ. (2560). เกาหลีปัจจุบัน Korea Today. ปทุมธานี : ศูนย์เกาหลีศึกษา สถาบันเอเชียตะวันออกศึกษาฯ


มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. 52-54.
31

250 กิ โ ลเมตรถู ก จั ด ให้ เ ป็ น เขตกั น ชนของสองเกาหลี ท ี ่ เ รี ย กว่ า เขตปลอดทหาร หรื อ DMZ


(Demilitarized zone)100
ผลจากสงครามในครั้งนี้ได้สร้างความเสียหายให้กับทั้งเกาหลีเหนือและเกาหลีใต้ มีผู้เสียชีวิต
บาดเจ็บ สูญหายเป็นจำนวนมากมีการประมาณการว่าสงครามเกาหลี ซึ่งกินระยะเวลา 3 ปี ทําให้
ทหารและประชาชนชาวเกาหลีเหนือและเกาหลีใต้ เสียชีวิต บาดเจ็บ พิการ และพลัดพรากจาก
ครอบครัวกว่า 5,000,000 คน และ ผู้เข้าร่วมในสงครามจากชาติอื่นที่เสียชีวิต และบาดเจ็บอีกเป็น
จำนวนมาก สงครามครั้งนี้จึงเป็นสงครามหนึ่งที่สร้างความสูญเสียแก่มนุษย์ชาติครั้งใหญ่101
2.6. เกาหลีกับการฟื้นตัวหลังสงคราม
2.6.1 เกาหลีเหนือกับลัทธิจูเช่
เกาหลีเหนือภายใต้การปกครองของคิม อิล ซอง ผู้มีแนวคิดชาตินิยมสูง มีแนวโน้มที่จะเป็น
เผด็จการและมีความเชื่อมั่นในแนวคิดสังคมนิยม หลังจากสิ้นสุดสงคราม คิม อิล ซองต้องการความ
ช่วยเหลือจากโซเวียตและจีนในการพัฒนาและคุ้มครองประเทศ แต่ต่อมาจีนกับโซเวียตเกิดความ
ขัดแย้งกันในช่วงทศวรรษที่ 1960 เกาหลีเหนือจึงพยายามวางตัวเป็นกลาง102
ในช่วงแรกการปกครองเกาหลีของคิม อิล ซองได้ใช้ลัทธิมาร์กซ์ -เลนินเป็นเครื่องมือในการ
สร้างพรรคและการพัฒนาเศรษฐกิจ แต่เมื่อครุสชอฟขึ้นเป็นผู้นำคนใหม่ของโซเวียตได้พยายามทำลาย
อุดมการณ์ลัทธิมาร์กซ์-เลนิน ทำให้คิม อิล ซองรู้สึกถูกคุกคามทางอุดมการณ์ จึงได้สร้างอุดมการณ์
ใหม่ขึ้นเรียกว่า “ลัทธิจูเช่” หมายถึง “การเชื่อมั่นในตนเอง”103
แก่นแท้ของลัทธิจูเช่ก็คือการพึ่งตนเอง ยืนอยู่บนลำแข้งของตนเอง ไม่ว่าจะในด้านการเลี้ยง
ปากเลี้ยงท้องของประชาชน ความคิดความอ่าน ไปจนถึงการป้องกันประเทศ โดยทั้งหมดจะใช้
ความสามารถและพละกำลังของชาวเกาหลีเหนือทั้งมวลเพื่อให้ได้มา ไม่มีการพึ่งพาปัจจัยภายนอก
หรือต่างชาติ ทำให้ช าวเกาหลีเหนือสามารถยืนหยัดเป็นเอกภาพ โดยถือว่าประชาชนทุกคนใน
ประเทศต้องรวมพลังกันต่อสู้กับศัตรูจากภายนอก แต่ในขณะเดียวกัน ก็ทำให้เกาหลีเหนือโดดเดี่ยว
และเห็นโลกภายนอกเป็นศัตรู จุดเด่นที่สุดของลัทธิจูเช่อีกประการ ก็คือการบูชาผู้นำเหมือนเทพเจ้า
ใช้ผู้นำเป็นศูนย์รวมจิตใจของประชาชนอย่างไม่มีเหตุผล ซึ่งแนนวคิดแบบนี้เป็นสิ่งที่เริ่มขึ้ นในสมัย
ของคิม จอง อิล บุตรชายของคิม อิล ซอง ผู้นำรุ่นที่ 2 ของเกาหลีเหนือ ได้ใช้ลัทธิบูชาผู้นำเพิ่มฐาน

100 กรุณา บัวคำศรี. (2561). สันติภาพบนเส้นขนานที่ 38. สืบค้นเมื่อ 3 กันยายน 2562 จาก : https://story.pptvhd
36.com/@kbuakamsri/5ae2b10887156
101 นภดล ชาติประเสริฐ. (2560). เกาหลีปัจจุบัน Korea Today. ปทุมธานี : ศูนย์เกาหลีศึกษา สถาบันเอเชียตะวันออกศึกษาฯ

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. 52-54.
102 อนุช อาภาภิรม. (2558). สงครามเย็นในแดนโสม : วิกฤตที่ยังไม่สิ้น. กรุงเทพฯ : มติชน. 131-132.
103 เรื่องเดียวกัน. 134.
32

อำนาจให้แก่ตนเอง แนวคิดนี้สืบทอดมาจนถึงบุตรชายของเขา คิม จอง อึน104 และในปีค.ศ. 2017 ได้


เกิดวิกฤติการณ์สำคัญของโลกที่เรียกว่า “วิกฤติการณ์ขีปนาวุธเกาหลี” หรือ “วิกฤติการณ์เกาหลี
เหนือ” โดยเกิดจากการที่เกาหลีเหนือได้ทดลองและพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์ทั้งพิสัยกลางและพิสัยไกล
รวมทั้งขู่ที่จะใช้ภัยคุกคามนี้ในการเมืองระหว่างประเทศ
ในปีค.ศ. 2018 มีการคาดการณ์ของหน่วยงานด้านข่าวกรองของสหรัฐอเมริกาว่าเกาหลีเหนือ
น่าจะมีหัวรบนิวเคลียร์อย่างน้อย 60 หัวรบที่อาจจะนำไปสู่ สงครามนิวเคลียร์ 105 ส่งผลให้ประเทศ
ต่างๆต่างพากันจับตาดูสถานการณ์ระหว่างสหรัฐอเมริกาและเกาหลีเหนือ โดยในช่วงเดือนมีนาคม คิม
จอง อึน ผู้นำเกาหลีเหนือได้ส่งจดหมายของเจรจากับโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา ซึ่ง
ทรัมป์ได้ตอบตกลงที่จะทำการประชุมเพื่อเจรจากับคิม จอง อึน106 แต่ต่อมาก็มีประกาศจากทรัมป์ใน
การเลื่อนการประชุมกับคิม จอง อึน โดยทรัมป์ได้ให้เหตุผลว่าเกาหลีเหนือไม่สามารถปฏิบัติตาม
เงื่อนไขบางอย่างก่อนการประชุมได้ การประชุมก็อาจจะต้องเลื่อนออกไป โดยทรัมป์ไม่ได้ระ บุว่า
เงื่อนไขดังกล่าวคืออะไร ในขณะเดียวกันเกาหลีเหนือก็ได้มีท่าทีออกมาก่อนว่าการประชุมกับทรัมป์
อาจจะไม่เกิดขึ้น เนื่องจากไม่พอใจที่สหรัฐอเมริกาทำการซ้อมรบกับเกาหลีใต้ และไม่พอใจที่นาย
จอห์น บอลตัน ที่ปรึกษาด้านความมั่นคงแห่งชาติของสหรัฐอเมริกาให้สัมภาษณ์ว่า จะใช้วิธ ีการ
เดียวกับลิเบียในการปลดอาวุธนิวเคลียร์เกาหลีเหนือ จนทำให้ทรัมป์เริ่มแสดงท่าทีออกมาว่ามีความ
พร้อมที่จะหันหลังให้การประชุมเช่นเดียวกัน 107 แต่ในท้ายที่สุดทั้งทรัมป์และคิม จอง อึนก็ได้กลับมา
ตกลงที่จะเจรจากันตามกำหนดการเดิม ซึ่งก็การประชุมเจรจาครั้งนี้จัดขึ้นในเดือนมิถุนายน ที่ประเทศ
สิงคโปร์ โดยประเด็นที่ทั้งสองฝ่ายประชุมร่วมกัน นอกเหนือจากเรื่องการปลดอาวุธนิวเคลียร์เกาหลี
เหนือแล้ว ก็มีเรื่องการยุติสงครามเกาหลี เนื่องจากในปีค.ศ. 1953 ที่เกาหลีเหนือและเกาหลีใต้ได้ทำ
ข้อตกลงหยุดยิงแต่ไม่ได้ยุติสงคราม การสถาปนาความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศ สิทธิมนุษยชน
และความมั่นคง

104 Voice online. (2013). 'ลัทธิจูเช่' แก่นการเมืองเกาหลีเหนือ. สืบค้นเมื่อ 5 กันยายน 2562 จาก :
https://www.voicetv.co.th/read/67173.
105 จิตติภัทร พูนขำ. (2561). ย้อนมอง “วิกฤตนิวเคลียร์เกาหลี” ผ่านบทเรียนประวัติศาสตร์ “วิกฤตขีปนาวุธคิวบา”. สืบค้นเมื่อ 5

กันยายน 2562 จาก : https://www.the101.world/nuclear-crisis-from-cuba-to-north-korea/.


106 Voice online. (2018). ทรัมป์-คิมจองอึน จะพบกันภายในพ.ค.นี้. สืบค้นเมื่อ 30 ตุลาคม 2562 จาก :

https://voicetv.co.th/read/SyWZd81tf
107 Voice online. (2018). ทรัมป์ยอมรับการประชุมกับคิมจองอึนอาจต้องเลื่อน. สืบค้นเมื่อ 30 ตุลาคม 2562 จาก :

https://voicetv.co.th/read/HJ9LYXz1Q
33

ภาพที่ 13 ผู้นำเกาหลีเหนือ คิม จอง อึนกับประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ที่มา : https://www.voathai.com/a/quinnipiac-


poll-trump-ct/4448992.html

หลังจากการประชุมครั้งแรกสิ้นสุดลงไปนั้น ความตึงเครียดระหว่างทั้งสองประเทศก็เริ่มดีขึ้น
อีกทั้งยังมีการประชุมครั้งที่สอง โดยจะจัดขึ้นที่กรุงฮานอย ประเทศเวียดนาม ในเดือนกุมภาพันธ์ ปี
ค.ศ. 2019 แต่การประชุมครั ้งนี้ก ็เป็นสิ้นสุดด้ว ยการเดิน ออกจากห้ องประชุม ของผู้นำทั้ ง สอง
เนื่องจากข้อเรียกร้องของเกาหลี เหนือที่ต้องการให้สหรัฐอเมริกายกเลิกมาตรการคว่ำบาตรต่อเกาหลี
เหนือทั้งหมด ซึ่งเป็นสิ่งที่สหรัฐอเมริกาทำไม่ได้จึงต้องมีการยุติการประชุมในครั้งนี้ 108 และในเดือน
ตุลาคม ปีค.ศ. 2019 ก็มีการจัดการประชุมครั้งที่ 3 ขึ้นที่ประเทศสวีเดน โดยหลังจากจบการประชุม
ทางเกาหลีเหนือได้ออกมาแถลงว่าการประชุมจบลงด้วยความล้มเหลว แต่ทางสหรัฐอเมริกากลับบอก
ว่าจบลงด้วยดี ซึ่งในการประชุมครั้งนี้เป็นการพูดคุยอย่างเป็นทางการระหว่างทั้งสองประเทศนับตั้งแต่
ผู้นำสหรัฐอเมริกากับเกาหลีเหนือ พบปะกันเป็นเวลาสั้นๆ ที่เขตปลอดอาวุธระหว่างเกาหลีเหนือและ
เกาหลีใต้เมื่อเดือนมิถุนายน109 ดังนั้นหลังจากนี้ความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐอเมริกาและเกาหลีเหนือ
จะอย่างไรก็มิอาจทราบได้

2.6.2. เกาหลีใต้กับความมหัศจรรย์ในการพัฒนาประเทศ
ภายหลังสิ้นสุดสงคราม สหรัฐอเมริกาได้มีการตั้งฐานทัพในเกาหลีใต้เพื่อคุ้มครอง สนับสนุน
การพัฒนา รวมถึงการใช้เป็นปราการต่อต้านระบบคอมมิวนิสต์ และจากรัฐธรรมนูญของเกาหลีใต้ที่
ประกาศใช้ในปี 1948 ได้ร ะบุถึงวิธ ีการได้มาซึ่งประธานาธิบดี โดยที่ส มัชชาแห งชาติ( National

108 Voice online. (2019). เกาหลีเหนือยืนยันข้อเรียกร้องเดิม หากมีประชุมครั้งที่ 3. สืบค้นเมื่อ 30 ตุลาคม 2562 จาก :
https://voicetv.co.th/read/HDVOfSA79
109 ไทยรัฐออนไลน์. (2019). สหรัฐฯ ยันหารือด้วยดีกับเกาหลีเหนือ หลังเปียงยางบอกคุยล้มเหลว. สืบค้นเมื่อ 30 ตุลาคม 2562 จาก

: https://www.thairath.co.th/news/foreign/1676375
34

Assembly) มีหนาที่เลือกประธานาธิบดีและรองประธานาธิบดี ซึ่งผู้ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีต อง


ได้คะแนนเสียงเห็นชอบจากสมัชชาแหงชาติและมีวาระอยู่ในตำแหน่ง 4 ปี นอกจากนี้ยังกําหนดให
สมั ช ชาแหงชาติ เ ป็ น องคกรที่ ถ วงดุล อำนาจกับ ฝ่า ยประธานาธิบ ดี และคณะรั ฐ มนตรี 110แต่ก็มี
ประธานาธิบดีบางคนที่ใช้ประโยชน์จากสมัชชาแห่งชาติในการสร้างอำนาจให้ตนเอง ไม่ว่าจะเป็น
ประธานาธิบดีอีซึงมัน ประธานาธิบดีปาร์คจุงฮี หรือประธานาธิบดีชอนดูฮวาน
1.) เกาหลีใต้ในช่วงรัฐบาลของประธานาธิบดีอีซึงมัน
เกาหลีใต้ในช่วงรัฐบาลของประธานาธิบดีอีซึงมัน ตั้งแต่ ปี 1948-1960 นับตั้งแต่ดำรง
ตำแหน่งผู้นำเกาหลีใตคนแรกใน ค.ศ. 1948 ประธานาธิบดีอีซึงมันได้ดำเนินนโยบายและวิธีการต่างๆ
เพื่อใหเขารักษาอำนาจทางการเมืองของตนให้ยาวนานที่สุด111
จากบทความของ วิเชียร อินทะสี เรื่อง “ประสบการณ์การพัฒนาของเกาหลีใต้” ได้ให้ข้อมูล
เกีย่ วกับการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจของเกาหลีใต้ในช่วงของประธานาธิบดีอีซึงมันไว้ดังนี้
“ในด้านเศรษฐกิจ รัฐบาลของประธานาธิบดีอีซึง มันได้กําหนดนโยบายเพื่อฟนฟูเศรษฐกิจ
โดยเนนการผลิตสินค้าเพื่อทดแทนการนำเขาพรอมกับกําหนดมาตรการคุ้มครองตลาดสินคาภายใน
โดยการกําหนดกำแพงภาษีและการกําหนดปริมาณการนำเขา แต่นโยบายและมาตรการเหลานี้ต่างมี
ข้อจํากัดเพราะตลาดภายในของเกาหลีใ ตมีขนาดเล็กและการใชทรัพยากรไม่มีประสิทธิภาพเพราะ
ขาดการแขงขัน สวนภาคการเกษตรซึ่งคนเกาหลีใตสวนใหญ่ขณะนั้นยึดเป็นอาชีพตองเผชิญกับปญหา
ที่สำคัญอยู่หลายประการ อาทิเชน ผลผลิตตกต่ำ การขาดระบบชลประทาน การขาดการปรับปรุง
เมล็ดพันธุ ปุ ยมีราคาแพงและมีจำนวนไม่เ พียงพอ ซึ่งสิ่งเหลานี้ถือวามีผลโดยตรงตอรายได้ของผู้
ประกอบอาชีพการเกษตร”112
ตลอดยุคสมัยของประธานาธิบดีอีซึงมัน ได้มีการพยายามดำเนินนโยบายและวิธีการต่างๆ
เพื่อใหรักษาอำนาจทางการเมืองของตนเอง ไม่ว่าจะเป็นการแก้ไขรัฐธรรมนูญ เพื่อผลประโยชนของ
ตน การทุจริตการเลือกตั้ง การใชกฎหมายในการปราบปรามผู้ที่มีความคิดเห็นแตกตางจากรัฐบาล ทำ
ให้ประธานาธิบดีอีซึงมันอยู่ในตำแหน่งได้นานถึง 12 ปี ต่อมาได้มีการเลือกตั้งประธานาธิบดีในเดือน
มีนาคม ปี 1960 ประธานาธิบดีอีซึงมันได้ใชกลไกของรัฐบาลทำการฉ้อฉลการเลือกตั้ง สร้างความไม่
พอใจให้กับประชาชน จนนำไปสู่การชุมนุมประทวงการเลือกตั้งที่เมืองมาซาน (Masan) ในเดือน
มีนาคมและที่กรุงโซล ในเดือนเมษายน ปี 1960 วิกฤติการณทางการเมืองครั้งนี้ ได้นำไปสู่การสิ้นสุด

110 วิเชียร อินทะสี. (2551). เกาหลีใต้ภายใต้ระบอบอำนาจนิยมของรัฐบาลประธานาธิบดีอีซึงมัน. วารสารเอเชียตะวันออกศึกษา.


12(2), 41.
111 เรื่องเดียวกัน. 41.
112 วิเชียร อินทะสี. (2551). ประสบการณ์การพัฒนาของเกาหลีใต้. วารสารเอเชียตะวันออกศึกษา. 13(1), 61.
35

ของรัฐบาลประธานาธิบดีอีซึงมันประกาศลาออกจากตำแหนงในวันที่ 26 เมษายน 1960 และในเดือน


พฤษภาคมค.ศ. 1961 นายพลปาร์คจุงฮีก็ได้ทำการปฎิวัติรัฐบาลประธานาธิบดีอีซึง113
2.) เกาหลีใต้ในช่วงรัฐบาลของประธานาธิบดีปาร์คจุงฮี
ภายหลังการรัฐประหาร นายพลปาร์คจุงฮี (Park Chung-hee) ก็ได้รับการเลือกตั้งให้เป็น
ประธานาธิบดีในปี 1963 และ 1967 ซึ่งในสมัยรัฐ บาลประธานาธิบดีปาร์คจุงฮี ปกครองเกาหลีใต
ตั้งแต่ปี 1961-1979 ได้ปรับทิศทางการพัฒนาโดยเฉพาะในชวง 1961-1971 ได้เนนความสำคัญไปที่
การส่งเสริมการสงออก โดยใชประโยชนจากค่าจ้างแรงงานราคาถูก ในขณะเดียวกันก็รัฐบาลได้
กําหนดมาตรการต่างๆ ขึ้นมาสนับสนุน อาทิเชน การใหสิทธิพิเศษในการยกเว้น ภาษีและการระดม
เงินทุนด้วยการขึ้นดอกเบี้ยเงินฝาก ทั้งนี้รัฐบาลเกาหลีใตได้ประกาศใชแผนพัฒนาระยะห้าปฉบับแรก
ในปี 1962 เพื่อเป็นกรอบในการพัฒนา โดยผลในชวง 10 ปแรกทำใหอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ
ของเกาหลีใตอยู่ในเกณฑ์สูง สัดสวนการสงออกเพิ่มขึ้น114
ในทศวรรษที่ 1970 รัฐบาลประธานาธิบดีปาร์คจุงฮีได้ปรับทิศทางการพัฒนาอีกครั้งโดยให
ความสำคัญกับการพัฒนาอุตสาหกรรมหนักและเคมี เพื่อตอบสนองต่อเป้าหมายในการส งออกและ
ทดแทนการนำเขาสินคาประเภททุนหรือเครื่องจักร โดยรัฐบาลได้กําหนดมาตรการการใหสิทธิพิเศษ
ด้านการคุ้มครองการประกอบการ การยกเว้นภาษี และการใหเงินกูในอัตราดอกเบี้ยต่ำ ส่งผลให้เกิด
การก่อตัวของกลุ่มธุรกิจขนาดใหญ่ ได้แก่ ซัมซุง (Samsung) ฮุนได (Hyundai) และแอลจี (LG) หรือ
ที่รู้จักกันในชื่อกลุ่ม “แชโบล (chaebol)” ที่อาศัยประโยชนจากมาตรการดังกล่ าวในการได้รับ
สินเชื่อหรือการจัดซื้อจัดหาของภาครัฐบาล ซึ่งในเวลาตอมากลุ่มแชโบล ได้เขามามีอิทธิพลครอบงำ
ภาคธุรกิจของเกาหลีใต 115 ในขณะที่ชุมชนเมืองกำลังเติบโต รัฐบาลประธานาธิบดีปาร์คจุงฮีได้มีการ
เริ่มพัฒนาชนบท โดยการให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการพัฒนา ยกระดับมาตารฐานค่าครองชี พและ
สภาพแวดล้อม เรียกการพัฒนารูปแบนี้ว่า “แซมาอึล อุนดง (Sae-ma-eul Undong)”116

113 วิเชียร อินทะสี. (2551). เกาหลีใต้ภายใต้ระบอบอำนาจนิยมของรัฐบาลประธานาธิบดีอีซึงมัน. วารสารเอเชียตะวันออกศึกษา.


12(2), 46.
114 วิเชียร อินทะสี. (2551). ประสบการณ์การพัฒนาของเกาหลีใต้. วารสารเอเชียตะวันออกศึกษา. 13(1), 61.
115 เรื่องเดียวกัน. 62.
116 อนุช อาภาภิรม. (2558). สงครามเย็นในแดนโสม : วิกฤตที่ยังไม่สิ้น. กรุงเทพฯ : มติชน. 149-150.
36

ภาพที่ 14 ประธานาธิบดีปาร์คจุงฮี ที่มา : https://th.wikipedia.org/wiki/พัก_ช็อง-ฮี

นอกจากการพั ฒ นาทางด้ า นเศรษฐกิ จ และอุ ต สาหกรรมแล้ว ปาร์ ค จุ ง ฮี ไ ด้ ม ี ก ารแก้ ไ ข


รัฐธรรมนูญให้เอื้อประโยชน์แก่ตนเองในการเปิดโอกาสให้ตนได้ดำรงตำแหน่งครั้งที่ 3 ทำให้ได้รับชัย
ชนะจากการเลือกตั้งในปี 1971 แต่จากการที่สหรัฐ อเมริกาประกาศหลักการนิกสันที่กำหนดให้
ประเทศในเอเชีย ต้องพึ่งพาตนเองในด้านความมั่นคง ปาร์คจุงฮีจึงประกาศภาวะ ฉุกเฉิน งดใช้
รัฐธรรมนูญ ยุบสมัชชาแห่งชาติ ห้ามการดำเนินกิจกรรมทางการเมือง แต่ประกาศใช้รัฐธรรมฉบับ
แก้ไข หรือ รัฐธรรมนูญยูซิน ที่กำหนดให้ประธานาธิบดีมาจากการเลือกตั้งทางอ้อม ไม่จำกัดการดำรง
ตำแหน่ง และสมาชิกสมัชชาแห่งชาติส่วนหนึ่งมาจากการแต่งตั้ง ถือเป็นการให้ อำนาจผู้นำอย่าง
เบ็ดเสร็จ ในการประกาศใช้รัฐธรรมนู ญยูชินสร้างความไม่พอใจให้แก่ประชาชนจนเกิดการชุมนุม
ต่อต้านรัฐธรรมนูญยูชิน การเรียกร้องประชาธิปไตย แต่ก็ถูกรัฐบาลปราบปรามจนหมด117
3.) เกาหลีใต้ในช่วงรัฐบาลของประธานาธิบดีชอนดูฮวาน
ประธานาธิบดีปาร์คจุงฮีถูกลอบสังหารในปลายปี 1979 โดยผู้อำนวยการสำนักข่าวกรอง
เกาหลี แต่นายพลชอนดูฮวาน (Chun Du-Hwan) และนายพลโนแทอู (Rho Tae-woo) ก็ได้ทำการ
รัฐประหาร ในขณะที่ เชวกยูฮา (Choi Kyu-hah) ถูกเลือกให้เป็นประธานาธิบดีแต่อำนาจกลับอยู่ที่
ทหาร เกิ ด การชุ ม นุ ม เรี ย กร้ อ งให้ แ ก้ ไ ขรั ฐ ธรรมนู ญ จึ ง มี ก ารประกาศใช้ ก ฎอั ยการศึ ก ษา ปิ ด
มหาวิทยาลัย ห้ามดำเนินกิจกรรมทางการเมือง ซึ่งนำไปสู่เหตุการณ์ชุมนุมประท้วงของกลุ่มนักศึก ษา
และประชาชนที ่ เ มื อ งกวางจู ในวั น ที ่ 18 พฤษภาคม ปี 1980 เพื ่ อ ขั บ ไล่ เ ผด็ จ การทหาร
นายพลชอนดูฮวาน ทหารได้ใช้กำลังในการสลายกลุ่มชุมนุม จนนำไปสู่เหตุการณ์สังหารหมู่กวางจู
จากเหตุการณ์ในครั้งนี้ทำให้ประธานาธิบดีเชวกยูฮาประกาศลาออกและนายพลชอนดูฮวานก็มีอำนาจ
เพิ่มมากขึ้นพร้อมกับได้ดำรงตำแหน่งเป็นประธานาธิบดีของเกาหลีใต้118

117 นภดล ชาติประเสริฐ. (2560). เกาหลีปัจจุบัน Korea Today. ปทุมธานี : ศูนย์เกาหลีศึกษา สถาบันเอเชียตะวันออกศึกษาฯ
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. 63-64.
118 เรื่องเดียวกัน. 64-65.
37

ในด้านเศรษฐกิจรัฐบาลประธานาธิบดีชอนดูฮวานได้ปรับทิศทางนโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจ
โดยเนนความสำคัญของการมีเสถียรภาพการผอนคลายกฎระเบียบเกี่ยวกับการคุ้มครองอุตสาหกรรม
ภายในโดยเปิดโอกาสใหสินคาจากภายนอกประเทศเขามาแขงขันมากขึ้น ในขณะเดียวก็กันได
พยายามสร้างความเป็นธรรมในการดำเนินธุรกิจด้วยการออกกฎหมายปองกันการผูกขาดและสร้าง
ความเป็นธรรมทางการคาด้วยการสนับสนุนวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดยอม(SMEs) แทนกลุ่ม
ธุรกิจขนาดใหญ่อย่างแชโบล119
4.) เกาหลีใต้กับวิกฤติเศรษฐกิจปี 1997
ในปี 1997 เกาหลีใตได้เผชิญภาวะวิกฤติการเงิ นเมื่อภาคธุรกิจประสบกับปญหาหนี้เงินกู
ต่างประเทศระยะสั้น โดยเฉพาะการลงทุนที่มากเกินไปของกลุ่มแชโบล ประกอบกับปญหาการ
คอร์รัปชั่นทั้งในภาคธุรกิจและการเมืองจนนำไปสู่ภาวะการขาดสภาพคลองทางการเงินอันมีผลให้กลุ่ม
แชโบลและธนาคารบางแห่งประสบภาวะลมละลาย ในที่สุดรั ฐบาลเกาหลีใตตองขอความช่วยเหลือ
จากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (International Monetary Fund-IMF) ให้เขามาช่วยฟนฟูฐานะ
ทางเศรษฐกิจของประเทศ120
อย่างที่ทราบกันดีว่าชาวเกาหลีส่วนใหญ่มักจะมีความคิดแบบชาตินิยม ดังนั้นการเข้ามา
ช่วยเหลือทางการเงินของ IMF ทำให้ชาวเกาหลีรู้สึกเหมือนถูกโจมตีทางการเงิน ขณะเดียวกันกลุ่มแช
โบลออกมาโต้ตอบด้วยถ้อยคำแบบชาตินิยมว่า “ถูกโจมตี” หรือ “IMFและอเมริกาจ้องจะทำลายแช
โบล” อีกทั้งโทรทัศน์และหนังสือพิมพ์เกาหลีล้วนนำเสนอถ้อยคำที่แสดงความไม่พอใจของชาวเกาหลี
ในการที่ IMF เข้ามาก้าวก่ายกิจการภายใน121
ภายหลังจากการเกิดวิกฤติเศรษฐกิจในปี 1997-1998 รัฐบาล สหภาพแรงงาน และกลุ่ม
บริษัทยักษ์ใหญ่ได้มี การจัดตั้ง “สุดยอดคณะกรรมการ” เพื่อเตรียมการปฎิรูปกลุ่มแชโบล และ
นโยบายแรงงานครั้งใหญ่ ทำให้กลุ่มแชโบลต้องปิดบริษัทในเครือที่ไร้ประสิทธิ ภาพหลายแห่ง122 และ
ในปี 1998 นี้เองที่รัฐบาลเกาหลีได้เริ่มหันมาดำเนินนโยบายส่งเสริม “อุตสาหกรรมทางวัฒนธรรม”
อย่างจริงจัง ไม่ ว่าจะเป็น ดนตรี ภาพยนตร์ ละครโทรทัศน์ และสื่อบันเทิงต่างๆ แทนการฟื้นฟู
อุตสาหกรรมหนักเนื่องจากอุตสาหกรรมวัฒนธรรมสามารถทำรายได้เข้าประเทศได้โดยที่ใช้ต้นทุนไม่
มาก123

119 วิเชียร อินทะสี. (2551). ประสบการณ์การพัฒนาของเกาหลีใต้. วารสารเอเชียตะวันออกศึกษา. 13(1), 63.


120 เรื่องเดียวกัน. 64.
121 แดเนียล ทิวดอร์. (2560). มหัศจรรย์เกาหลี จากเถ้าถ่านสู่มหาอำนาจทางเศรษฐกิจและวัฒนธรรม (แปลจาก KOREA The

Impossible Country โดย ฐิติพงษ์ เหลืองอรุณเลิศ). กรุงเทพฯ : Openworld. 386.


122 เรื่องเดียวกัน. 387.
123 Ttme media. (2555). Korea โมเดล สินค้าออกของเกาหลีใต้. สืบค้นเมื่อ 30 ตุลาคม 2562 จาก :

https://ttmemedia.wordpress.com/2012/05/22/ ?s=Korea+โมเดล+สินค้าออกของเกาหลีใต้
38

จุดเริ่มต้นของการส่งออกอุตสาหกรรมทางวัฒนธรรม คาดว่าเริ่มมาจากกระแสความโด่งดัง
ของวงดนตรีสัญชาติอังกฤษอย่าง “The Beatles” ประมาณทศวรรษ 1960-1980 จุดเริ่มต้นของการ
ส่งออกอุตสาหกรรมวัฒนธรรมผ่านเสียงเพลงได้กำเนิดขึ้นโดยวงดนตรีร็อกแอนด์ โรลอย่าง “The
Beatles” ที่โด่งดังจนทำให้คนแทบจะทั่วโลกเริ่มรู้จักภาษาอังกฤษ และเริ่มร้องเพลงภาษาอังกฤษ
ดังนั้นอาจจะถือได้ว่าประเทศอังกฤษนั้นเป็นผู้นำในการส่งออกอุตสาหกรรมวัฒนธรรม ขณะเดียวกัน
สหรัฐอเมริกาก็ได้เริ่มการส่ งออกอุตสาหกรรมวัฒ นธรรมประมาณทศวรรษ 1980 และก็ประสบ
ความสำเร็จเป็น อย่างมาก โดยเฉพาะภาพยนตร์ Hollywood ที่โด่งดังจนสามารถเข้าฉายในโรง
ภาพยนตร์ได้ในหลายประเทศ และประเทศต่อมาที่เริ่มมีการส่งออกอุตสาหกรรมวัฒนธรรมก็คือญี่ปุ่น
หลังจากที่พยายามฟื้นฟูประเทศ ญี่ปุ่นอีกหนึ่งประเทศที่ได้รับอิทธิพลของวัฒนธรรมอเมริกัน จึงได้มี
การหัน มาส่ง ออกวัฒ นธรรมประมาณทศวรรษ 1980-1990 โดยสื่อบันเทิ ง อย่ างเครื ่อ งเล่ น เกม
การ์ตูนอนิเมชั่น เพลง และซีรีส์ ตามด้วยวัฒนธรรมอาหาร สินค้าแฟชั่น รวมถึงแบรนด์รถยนต์ และ
เครื่องใช้ไฟฟ้า124
หากย้อนกลับไปในปีค.ศ. 1961 รัฐบาลเกาหลีได้ใช้นโยบายทางวั ฒนธรรมเพื่อจุดมุ่งหมาย
ทางการเมืองและสร้างพลเมืองที่พึงประสงค์ แต่หลังจากที่เผชิญกับวิกฤติเศรษฐกิจในปี 1997 รัฐบาล
เกาหลีก็ เริ่มเปลี ่ย นแนวทางการพัฒ นาเศรษฐกิ จจากเดิ มเป็ น อุตสาหกรรมการผลิ ต กลายเป็ น
อุตสาหกรรมวัฒนธรรมที่ผ่านการควบคุมโดยรัฐบาล เช่น การจัดตั้งหน่วยงาน Korea Culture and
Content Agency (KOCCA) เพื่อสนับสนุนทุกอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมเกาหลี การเน้น
พัฒนากลยุทธ์การถ่ายทอด “เนื้อหาความเป็นเกาหลี” (Korea Content) ออกสู่เวทีสากล125
ในปี 1999 รัฐบาลเกาหลีได้ผ่านพระราชบัญญัติส่งเสริมอุตสาหกรรมทางวัฒนธรรม ส่งผลให้
เกิดองค์การมหาชน ศูนย์วิจัยทางวัฒนธรรม และสถาบันการศึกษาเทคโนโลยีทางวัฒนธรรมขึ้น หนึ่ง
ในองค์กรเหล่านั้นก็คือ Korean Film Council หรือ สมาพันธ์ภาพยนตร์แห่งเกาหลี เป็นหน่วยงาน
ย่อมาจากกระทรวงวัฒนธรรม 126 มีหน้าที่เพื่อสนับสนุนและประชาสัมพันธ์อุตสาหกรรมภาพยนตร์
เกาหลีทั้งในประเทศและต่างประเทศ 127 ส่งผลให้เรื่องของ “วัฒนธรรม” กลายเป็น “รูปธรรม
สิน ค้า ” ที่มีมูล ค่ามหาศาล 128 นำไปสู่ก ารแพร่กระจายของวัฒนธรรมเกาหลีที่เรียกว่า “Korea
Wave” หรือ “กระแสนิยมวัฒนธรรมเกาหลี”

124 เกรียงไกร กาญจนะโภคิน. (2560). ส่งออกวัฒนธรรม. สืบค้นเมื่อ 30 ตุลาคม 2562 จาก :


https://www.bangkokbiznews.com/blog/detail/642915
125 ปิติ ศรีแสงนาม. (2561). บทเรียนจากความสำเร็จของกระแสนิยมวัฒนธรรมเกาหลี. สืบค้นเมื่อ 5 กันยายน 2562 จาก :

https://www.chula.ac.th/cuinside/6930/.
126 หนังโปรดของข้าพเจ้า. (2560). ช่วยวิกฤติหนังไทยอย่างไรดี ลองดูเกาหลีเป็นตัวอย่าง. สืบค้นเมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 2562 จาก :

https://themomentum.co/momentum-feature-learning-korea-films-for-treat-thai-film-crisis/
127 เรื่องเดียวกัน
128 พลอย มัลลิกะมาส. (มปป.). อัน ยอง ฮา เซ โย “โคเรีย เวฟ” (Korea Wave) ตอนที่ 1 : ปรากฏการณ์วัฒนธรรมนำเศรษฐกิจ.

สืบค้นเมื่อ 5 กันยายน 2562 จาก : http://www.tcdc.or.th/articles/business-industrial/16363/ #อัน-ยอง-ฮา-เซ-โย-โคเรีย-


เวฟ--Korea-Wave-ตอนที่-1—ปรากฏการณ์วัฒนธรรมนำเศรษฐกิจ.
39

ภาพที่ 15 Korea Wave ที่มา : http://www.tcdc.or.th/articles/business-industrial/16363/ #อัน-ยอง-ฮา-เซ-โย-โคเรีย-เวฟ--


Korea-Wave-ตอนที่-2--อุตสาหกรรมภาพยนตร์และละครโทรทัศน์

กระแสนิยมวัฒนธรรมเกาหลีได้แพร่กระจายไปทั่วโลก โดยผ่านอุตสาหกรรมบันเทิง ไม่ว่าจะ


เป็ น ภาพยนตร์ ละครโทรทั ศ น์ หรื อ ดนตรี ซึ ่ ง จากภาพยนตร์ เ รื ่ อ ง “Winter Sonata” หรื อ ชื่ อ
ภาษาไทยคือ “เพลงรักในสายลมหนาว” ที่เป็นที่ชื่นชอบของคนทั่วทั้งเอเชีย โดยเฉพาะญี่ปุ่น ช่ วงต้น
ทศวรรษ 2000 ทำให้บรรดาสื่อญี่ปุ่นยกให้หนังดังเรื่องนี้เป็นจุดเริ่มต้น “Korea Wave รอบแรก”129

ภาพที่ 16 Winter Sonata ที่มา : https://uncledoctorvacation.com/2017/08/04/my-memory-winter-sonata/

ช่วงต้นทศวรรษ 2010 “Korea Wave รอบที่สอง” จากเกาหลีก็ได้เ กิดขึ้น โดยคราวนี้


ชื่อเสียงและความนิยมของวง Girls’ Generation และ Psy เจ้าของเพลงกังนัมสไตล์ ดังไปไกลถึง
อเมริ ก าใต้ แ ละอเมริ ก าเหนื อ ทำให้ ร าคาหุ ้ น ของ SM Entertainment บริ ษ ั ท ที ่ ด ู แ ลวง Girls’
Generation พุ่งขึ้นไปราว 100 เท่า ภายในเวลาเพียง 4 ปี130

129 สุภีม ทองศรี. (2561). คลื่นบันเทิงเกาหลีซัดแรง ทะยานบุกโลกระลอก 3. สืบค้นเมื่อ 5 กันยายน 2562 จาก :
https://www.posttoday.com/world/554742.
130 เรื่องเดียวกัน.
40

ภาพที่ 17 Girls’ Generation ที่มา : http://koreanscekidot.blogspot.com/2011/11/lirik-lagu-gee-snsd.html

ขณะที ่ “Korea Wave รอบที ่ ส าม” ได้ เ ริ ่ ม ก่ อ ตั ว ขึ ้ น ช่ ว งครึ ่ ง หลั ง ของปี 2018 ด้ ว ย
ความสำเร็จของวง “BTS” เป็นการทำให้อุตสาหกรรมบันเทิงเกาหลีสามารถไปสู่ระดับโลก ขณะที่
ทางด้านของกระแสของซีรี่ย์เกาหลีก็มาแรงไม่แพ้กัน โดยในปี 2018 ซีรี่ย์เกาหลีเรื่อง “Something in
the rain” หรือชื่อภาษาไทยคือ “สื่อในสายฝน” กำลังได้รับความนิยมอย่างล้นหลามในเกาหลีใต้ ทั้ง
ยังมีให้รับชมทั่วโลกผ่านทาง Netflix (เน็ตฟลิกซ์) อีกด้วย131

ภาพที่ 18 Something in the rain” หรือ “สื่อในสายฝน” ที่มา : https://www.netflix.com/th/title/80990935

จากที่กล่าวมาข้างต้นจะเห็นได้ว่าเกาหลีในช่วงสมัยใหม่นั้นมีแต่ความสับสน วุ่นวายของการ
เปลี่ยนแปลงประเทศให้ทันสมัย และประวัติศาสตร์เกาหลีในช่วงสมัยใหม่ก็เป็นเสมือนประวัติศาสตร์
บาดแผล ซึ่งหากสังเกตจะพบว่าเกาหลีเป็นประเทศถูกต่างชาติจับตามองมาโดยตลอด ไม่ว่าจะเป็น
ก่อนหรือหลังจากที่ญี่ปุ่นเข้ายึดครองก็ตาม การตกอยู่ในสภาวะของสงคราม ทำให้เกาหลีเป็นประเทศ
บอบช้ำมาเป็นเวลานาน แต่ถึงอย่างนั้นรัฐบาลก็ยังคงพยายามสนับสนุนการผลิตสื่อ ที่จะค่อยย้ำเตือน
เรื่องราวในประวัติศาสตร์อย่างภาพยนตร์หรือซีรีย์ออกมาอยู่ตลอดเวลา

131สุภีม ทองศรี. (2561). คลื่นบันเทิงเกาหลีซัดแรง ทะยานบุกโลกระลอก 3. สืบค้นเมื่อ 5 กันยายน 2562 จาก :


https://www.posttoday.com/world/554742.
41

จากการเกิดขึ้น ของ Korea Wave ทำให้เกิดการขยายตัว ของอุตสาหกรรมบันเทิงที่ เป็น


เครื่องมือในการส่งออกวัฒนธรรมหรือค่านิยมของเกาหลี แต่สิ่งที่ถูกส่งออกไปนั้นไม่ได้มีเพียงเรื่องของ
วัฒนธรรมเกาหลีเท่านั้น แต่เรื่องราวทางประวัติศาสตร์ของเกาหลีก็ถูกเผยแผ่ออกไปด้วย โดยการ
นำเสนอผ่านซีร ีย์หรือภาพยนตร์ ซึ่งทั้งสองสิ่งที่กล่าวมาล้วนอยู่ในการกำกับดูแลของกระทรวง
วัฒนธรรมของเกาหลีที่ได้รับการสนับสนุนอย่างเต็มที่จากรัฐบาล ดังนั้นเนื้อเรื่องของภาพยนตร์หรือซี
รีย์เหล่านั้นย่อมต้องผ่านการกลั่น กรองจากรัฐบาล ดังนั้นจึงมีเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ที่ถู ก
นำเสนออกมาจะต้องผ่านการกลั่นกรองจากรัฐบาล ซึ่งจะมีเรื่องราวอยู่ชุดหนึ่งที่มักจะถูกนำมาสร้าง
เป็นซีรีย์หรือภาพยนตร์ปรากฎให้เห็นเกือบทุกปี นั้นก็คือ เรื่องราวทางประวัติศาสตร์เกาหลีในช่วงที่
ญี่ปุ่นพยายามเข้ามามีอิทธิพลเหนือเกาหลีไปจนถึงช่วงของการอยู่ภายใต้การปกครองของญี่ปุ่นที่
มักจะถูกนำมาผลิตสร้างเป็น ซีร ีย ์ห รือภาพยนตร์เกื อบทุกปี เช่น ภาพยนตร์เรื่อง The Spirits’
Homecoming ที่เข้าฉายในปี 2016 กับภาพยนตร์เรื่อง Snowy Road ที่เข้าฉายในปี 2017 ซึ่งทั้ง
สองเรื่องเป็นเรื่องราวของเด็กผู้หญิงที่ถูกจับไปเป็นหญิงบำเรอในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 แต่ไม่ได้มี
เพียงภาพยนตร์แค่สองเรื่องนี้เท่านั้น ยังมีภาพยนตร์ที่เนื้อเรื่องอยู่ในช่วงเวลาใกล้เคียงกันอีกหลาย
เรื่องที่ถูกผลิตออกมาและไม่ได้เข้าฉายเพียงในประเทศเกาหลีเท่านั้น เพราะบางประเทศก็ได้มีการซื้อ
ลิขสิทธ์ไปฉายในประเทศของตนด้วย
ภาพยนตร์ต่างๆที่มีเนื้อหากล่าวถึงเกาหลีในช่วงที่ญี่ปุ่นพยายามเข้ามาปกครองตลอดจนถึง
ช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 มักจะมีตัวละครที่เป็นทหารหรือคนญี่ปุ่นปรากฏอยู่ในทุก ๆเรื่อง และการที่
รัฐบาลเข้ามามีบทบาทในการสนับสนุนการสร้างภาพยนตร์นั้นเป็นการยืนยันได้ว่ารัฐบาลเกาหลียังคง
มีการพยายามสร้างและผลิตซ้ำภาพลักษณ์ของญี่ปุ่นผ่านตัวละครเหล่านั้นอยู่ตลอดเวลา

ภาพที่ 19 โปสเตอร์ภาพยนตร์และซีรียเ์ กาหลี ตั้งแต่ปี 2001-2019


42

บทที่ 3
การสร้างและผลิตซ้ำภาพลักษณ์ของญี่ปุ่นที่ปรากฏในภาพยนตร์เกาหลี

ภาพยนตร์ ถือได้ว่าเป็นสื่อที่มีบทบาทและอยู่ควบคูกับวิถีชีวิตมนุษย์มาชานาน ซึง่ ในบางเวลา


ภาพยนตร์อาจจะถูกมองวาเป็นเครื่องมือเพื่อใช้ในการพักผ่อน แต่บ่อยครั้งที่ภาพยนตร์มักจะถูกนำไป
ใชเพื่อวัตถุประสงคในด้านอื่น โดยเฉพาะทางด้านการเมือง132 ในภาพยนตร์เกาหลีก็เช่นกันที่ยังคงมี
การสร้างและผลิตซ้ำเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ในยุคที่เกาหลีอยู่ภายใต้การปกครองของญี่ปุ่น ซึ่งทำ
ให้ตัวภาพยนตร์เรื่องนั้นเป็นเสมือนเครื่องตอกย้ำความทรงจำเกี่ยวกับ ประวัติศาสตร์ ในช่วงญี่ปุ่น
ปกครองเกาหลี และในบางครั้งภาพยนตร์เหล่านี้ก็ถูกสร้างขึ้น เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการเจรจาระดับ
โลก เช่นในช่วงปีค.ศ.2015-2017 ทางญี่ปุ่นได้ต้องการให้ เกาะฮาชิมะเป็นมรดกโลกของยูเนสโก้ แต่
เกาหลีก็ได้มีการผลิตภาพยนตร์ เรื่อง The Battleship Island (2017) ขึ้นมา โดยภาพยนตร์เรื่องนี้
เล่าถึงประวัติศาสตร์ช่วงที่ญี่ปุ่นเอาแรงงานเกาหลีไปใช้แรงงานที่เกาะฮาชิมะ ซึ่งเป็นเกาะที่มีถ่านหิน
ซึ่งญี่ปุ่นได้ใช้ถ่านหินเหล่านี้พัฒนาประเทศช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง 133 หรือในช่วงเดียวกันนี้ที่เกิด
กระแสเรียกร้องความยุติธรรมให้แก่เหล่าหญิงบำเรอในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 เกาหลีก็ได้มีการผลิต
ภาพยนตร์ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับหญิงบำเรอ ไม่ว่าจะเป็น The Spirits’ Homecoming (2016), Snowy
Road (2017) และ I Can Speak (2017) ซึ่งจากที่กล่าวมาทำให้เห็นว่ารัฐบาลเกาหลีได้มีการใช้
ภาพยนตร์เพื่อวัตถุประสงค์ทางการเมือง

3.1 ว่าด้วยเรื่องของภาพยนตร์เกาหลี
ภาพยนตร์ของเกาหลี ใต้ ถื อเป็น อี กหนึ่ ง อุตสาหกรรมทางวัฒ นธรรมสมัย ใหม่ ที่ ป ระสบ
ความสำเร็จสูงสุดของประเทศ ทำให้ภาพยนตร์ของเกาหลีเป็นหนึ่งในไม่กี่ประเทศที่สามารถแข่งกับ
ภาพยนตร์ฮอลลีวูดได้ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องความคิดสร้างสรรค์ และการทำรายได้ โดยชาวตะวันตกจะ
คุ้นเคยกับภาพยนตร์เรื่อง Oldboy (2003) ที่โด่งดังมาจากความรุนแรงและฉากจบอันน่าตกตะลึง134
จุดเริ่มต้นของการเข้ามาของเครื่องฉายภาพยนตร์ในเกาหลีนั้นไม่มีหลักฐานยืนยันแน่ชัด แต่
นักประวัติศาสตร์เชื่อว่าน่าจะเข้ามาในช่วงปีค.ศ. 1897-1902 ซึ่งภาพยนตร์ในช่วงแรกที่นำมาฉายจะ
เป็นลักษณะของสารคดีข่าวสั้นๆ หรือบันทึกภาพการณ์สำคัญจากฝรั่งเศสและสหรัฐอเมริกา เช่น
Dance of the Beauty, Niagara แต่ในปีค.ศ. 1905 ที่ญี่ปุ่นบังคับให้เกาหลีลงนามสนธิสัญญาผนวก

132 มาลิน ธราวิจิตรกุล. (2551). การวิเคราะห์การเล่าเรื่องในภาพยนตร์แนวรักของเกาหลี. การค้นคว้าแบบอิสระ ศิลปะศาสตร์


มหาบัณฑติ (สื่อศิลปะและการออกแบบสื่อ). เชียงใหม่ : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. 1.
133 ชลธร วงศ์รัศมี. (2561). อ่านเกาหลีผา่ นวัฒนธรรมบันเทิงร่วมสมัย กับ จักรกริช สังขมณี. สืบค้นเมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 2562 จาก

: https://www.the101.world/101-one-on-one-ep-30-jakkrit/
134 แดเนียล ทิวดอร์. (2560). มหัศจรรย์เกาหลี จากเถ้าถ่านสู่มหาอำนาจทางเศรษฐกิจและวัฒนธรรม (แปลจาก KOREA The

Impossible Country โดย ฐิติพงษ์ เหลืองอรุณเลิศ). กรุงเทพฯ : Openworld. 333.


43

ดินแดน ทำให้เกาหลีต้องอยู่ภายใต้การปกครองของญี่ปุ่น ต่อมาในช่วงทศวรรษ 1910 เกิดการ


ขยายตัวของอุตสาหกรรมภาพยนตร์ขึ้นทั่วโลก ส่งผลให้มีนักธุ รกิจชาวญี่ปุ่นหลายคนหันมาเริ่มลงทุน
สร้างโรงภาพยนตร์ขึ้นมา135
ภาพยนตร์ เกาหลีเรื่องแรกถูกสรางขึ้นในปี ค.ศ. 1919 คือเรื่อง Fight For Justice136 แต่
เนื่องจากในช่วงเวลานั้นเกาหลียังอยู่ภายใต้การปกครองของญี่ปุ่น ทำให้การสร้างภาพยนตร์ต้องผ่าน
การตรวจสอบจากคณะปกครองชาวญี่ปุ่น ด้วยข้อจำกัดดังกล่าวจึงทำให้ ภาพยนตร์เกาหลีในช่วงปี
ค.ศ. 1934-1945 เป็นภาพยนตร์โฆษณาชวนเชื่อเพื่อสนับสนุนจักรวรรดิญี่ปุ่น 137 ทำให้อุตสาหกรรม
ภาพยนตร์เกาหลีถูกควบคุมและครอบครองโดยญี่ปุ่นเกือบทั้งหมด
ภายหลังที่ญี่ปุ่นประกาศยอมแพ้ในสงครามโลกครั้งที่ 2 เกาหลีจึงได้เป็นอิสระ แต่แค่เพียงไม่
นานเมื่อชาติมหาอำนาจได้เข้ามาควบคุมดูแลเกาหลี จนนำไปสู่การแบ่งประเทศเกาหลีออกเป็นสอง
ประเทศและสิ่งที่ตามมาคือสงครามเกาหลี ซึ่ งเป็นสงครามที่สร้างความเสียหายให้แก่เกาหลีทั้งสอง
เป็นอย่างมาก ในยุคสงครามได้สร้างความเสียหายให้กับอุตสาหกรรมภาพยนตร์เกาหลีเป็นอย่างมาก
ม้วนฟิล์มภาพยนตร์ที่เคยสร้างมาถูกทำลายและเหลือรอดมาเพียงแค่ 5 เรื่องเท่านั้น ส่วนอุปกรณ์ใน
การถ่ายทำภาพยนตร์ก็ถูกทำลายจากภัยสงคราม ทำให้อุตสาหกรรมเกาหลีต้องกลับสู่จุดเริ่มต้นอีก
ครัง้ 138
หลังสิ้นสุดสงครามเกาหลี ในปี ค.ศ. 1953 ภายใต้การบริหารของประธานาธิบดีอี ซึงมัน จัด
ว่าเป็นยุคทองของอุตสาหกรรมภาพยนตร์ของเกาหลีเลยก็ว่าได้ เนื่องจากมีการประกาศให้ยกเว้นภาษี
ต่างๆ ในโรงภาพยนตร์ ตลอดจนมีการเปิดรับความช่วยเหลือทั้งด้านเทคโนโลยีและอุปกรณ์การถ่าย
ทำภาพยนตร์จากต่างประเทศ139 อีกทั้งยังช่วงที่ผู้สร้างภาพยนตร์ได้อิสระในการใช้ความคิดสร้างสรรค์
เพราะไม่ต้องอยู่ภายใต้การปกครองของญี่ปุ่น โดยใน ค.ศ. 1955 ภาพยนตร์เรื่อง Chunhyang-jon
ถูกจัดว่าเป็นภาพยนตร์เรื่องแรกของเกาหลีทมี่ ีคนดูถึง 200,000 คน และในยุคนั้นยังมีภาพยนตร์เรื่อง
The Housemaid ที่ถูกยกย่องว่าเป็นภาพยนตร์ดีที่สุดของเกาหลีใต้อีกด้วย140
ในขณะที่สมัยประธานาธิบดีปาร์ค จุงฮี การสร้างภาพยนตร์มีข้อจํากัดอยู่มาก โดยเฉพาะ
ภายใต้รัฐธรรมนูญยูชินในทศวรรษ 1970 ที่มนี โยบายการเซ็นเซอร์ ปิดกั้นทุกอย่างที่อาจ “หมิ่นเหม่”
ทางการเมืองและสังคม และอนุญาตให้ฉายเพียงภาพยนตร์บู๊หรือรักเท่านั้น ภาพยนตร์ทั้งในและ

135 ธีปนันท์ เพ็ชร์ศรี, อลงกรณ์ คล้ายสีแก้ว, โสภณา เชาว์วิวัฒน์กุล. (2545). Korean Romance 15 หนังรักประทับใจและความ
เป็นมาเป็นไปของหนังเกาหลี. กรุงเทพฯ : Blackberry Publishing. 74-75.
136 เรือ
่ งเดียวกัน. 76.
137 หนังโปรดของข้าพเจ้า. (2560). ช่วยวิกฤติหนังไทยอย่างไรดี ลองดูเกาหลีเป็นตัวอย่าง. สืบค้นเมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 2562 จาก :

https://themomentum.co/momentum-feature-learning-korea-films-for-treat-thai-film-crisis/
138 ธีปนันท์ เพ็ชร์ศรี, อลงกรณ์ คล้ายสีแก้ว, โสภณา เชาว์วิวัฒน์กุล. (2545). Korean Romance 15 หนังรักประทับใจและความ

เป็นมาเป็นไปของหนังเกาหลี. กรุงเทพฯ : Blackberry Publishing. 82.


139 Jirachpun51002. (ม.ป.ป.). ประวัตภ ิ าพยนตร์เกาหลี. สืบค้นเมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 2562 จาก :
https://sites.google.com/site/jirachpun51002/home/prawati-phaphyntr-keahli
140 หนังโปรดของข้าพเจ้า. (2560). ช่วยวิกฤติหนังไทยอย่างไรดี ลองดูเกาหลี เป็นตัวอย่าง. สืบค้นเมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 2562 จาก :

https://themomentum.co/momentum-feature-learning-korea-films-for-treat-thai-film-crisis/
44

ต่างประเทศถูกควบคุมผ่านนโยบายเซ็นเซอร์ และได้มีการจำกัดการนำเข้าภาพยนตร์ต่างประเทศ โดย


ผู้จัดจำหน่ายภาพยนตร์ที่อยากนำเข้าภาพยนตร์ต่างประเทศต้องสร้างภาพยนตร์เกาหลี 3 เรื่อง ด้วย
เหตุนี้พวกเขาจึงต้องผลิตภาพยนตร์ที่ใช้เวลาและเงินทุนน้อยที่สุดออกมา 141 และมีการก่อตั้งองค์กร
Korean Motion Picture Promotion Corporation (KMPPC) เพื่อควบคุมดูแลภาพยนตร์ให้เป็นไป
ตามนโยบายของรัฐบาล142
จากการดำเนินนโยบายของปาร์ ค จุงฮีได้ส่งผลกระทบทำให้อุตสาหกรรมภาพยนตร์เกาหลี
ย่ำแย่ลง จนกระทั่งปี ค.ศ. 1984 ในสมัยประธานาธิบดี ชอน ดูฮวานได้มีการแก้ไขกฎหมายควบคุม
ภาพยนตร์ ทำให้ ผ ู ้ ส ร้ า งภาพยนตร์ ส ามารถทำภาพยนตร์ ไ ด้ อ ย่ า งอิ ส ระ ถื อ เป็ น ช่ ว งพลิ ก ฟื้ น
อุตสาหกรรมภาพยนตร์เกาหลี143 และด้วยในยุคสมัยนั้ นมีการพยายามเรียกร้องประชาธิปไตยของ
กลุ่มนักศึกษาจนนำไปสู่เหตุการณ์การสังหารหมู่ที่ควางจูง ทำให้มีผู้กำกับและผู้สร้างภาพยนตร์หลาย
คนกล้าที่จะหยิบประเด็นที่ซับซ้อนมากขึ้น ด้วยเหตุนี้ภาพยนตร์เกาหลีจึงเริ่มเป็นที่รู้จักในระดับ
นานาชาติ ผ่านเทศกาลภาพยนตร์หลายๆแห่ง ไม่ว่าจะเป็นที่เมืองคานส์ หรือชิคาโก โดยภาพยนตร์ที่
โด่ ง ดั ง ในยุ ค นี ้ ก ็ ค ื อ Deep Blue Night เป็ น เรื ่ อ งราวของชายหนุ ่ ม ชาวเกาหลี ท ี ่ ห ลบหนี ้ เ ข้ า
สหรัฐอเมริกาอย่างผิดกฎหมายและต้องจ้างหญิงสาวชาวเกาหลีที่มีสัญชาติอเมริกามาแต่งงานแบบ
หลอกๆเพื่อที่จะอยู่ในสหรัฐอเมริกาได้ ขณะเดียวกันก็มีการเกิดขึ้นของภาพยนตร์ใต้ดินที่สร้างโดย
กลุ่มนักศึกษา ซึ่งมีเนื้อหาสะท้อนภาพสังคม วิพากษ์วิจารณ์การเมือง โดยภาพยนตร์เหล่านี้จะไม่ผ่าน
การตรวจสอบจากรัฐบาล แต่จะมีช่องทางการจำหน่ายที่ได้รับการสนับสนุนจากกลุ่มที่ ต่อสู้ เพื่ อ
เรียกร้องประชาธิปไตย สหภาพแรงงาน และสมาพันธ์นิสิตนักศึกษา ซึ่งภาพยนตร์ใต้ดินที่โด่งดังใน
ช่วงเวลานั้นคือ The Night before the Strike ที่พูดถึงการเตรียมตัวนัดหยุดงานของกลุ่มลูกจ้าง
บริษัทแห่งหนึ่ง144
ผลจากการแก้ไขกฎหมายควบคุมภาพยนตร์เมื่อ ปี ค.ศ. 1984 ทำให้ไม่มีการจำกัดการนำเข้า
ภาพยนตร์ต่างประเทศ ซึ่งส่งผลกระทบต่อรายได้ของภาพยนตร์เกาหลีที่ลดลงไป เพราะคนเกาหลีหัน
ไปนิยมภาพยนตร์ต่างประเทศมากกว่า145 ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความตกต่ำของอุตสาหกรรมภาพยนตร์
เกาหลีอีกครั้ง
ดังนั้นเมื่อเข้าสู่ยุค รัฐบาลของ โน แทวู ก็ได้มีการพยายามแก้ไขปัญหาโดยการใช้ประโยชน์
จากการเข้ามาของผู้จัดจำหน่ายภาพยนตร์ต่างประเทศ เช่น 20th Century Fox หรือ Warner Bros.
ด้วยการออกกฎว่าถ้าคุณจะนำภาพยนตร์ ต่างประเทศเข้ามาฉายในเกาหลี 1 เรื่องจะต้องให้การ
141 แดเนียล ทิวดอร์. (2560). มหัศจรรย์เกาหลี จากเถ้าถ่านสู่มหาอำนาจทางเศรษฐกิจและวัฒนธรรม (แปลจาก KOREA The
Impossible Country โดย ฐิติพงษ์ เหลืองอรุณเลิศ). กรุงเทพฯ : Openworld. 334.
142 ธีปนันท์ เพ็ชร์ศรี, อลงกรณ์ คล้ายสีแก้ว, โสภณา เชาว์วิวัฒน์กุล. (2545). Korean Romance 15 หนังรักประทับใจและความ

เป็นมาเป็นไปของหนังเกาหลี. กรุงเทพฯ : Blackberry Publishing. 90-91.


143 หนังโปรดของข้าพเจ้า. (2560). ช่วยวิกฤติหนังไทยอย่างไรดี ลองดูเกาหลีเป็นตัวอย่าง. สืบค้นเมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 2562 จาก :

https://themomentum.co/momentum-feature-learning-korea-films-for-treat-thai-film-crisis/
144 ธีปนันท์ เพ็ชร์ศรี, อลงกรณ์ คล้ายสีแก้ว, โสภณา เชาว์วิวัฒน์กุล. (2545). Korean Romance 15 หนังรักประทับใจและความ

เป็นมาเป็นไปของหนังเกาหลี. กรุงเทพฯ : Blackberry Publishing. 93-97.


145 หนังโปรดของข้าพเจ้า. (2560). ช่วยวิกฤติหนังไทยอย่างไรดี ลองดูเกาหลีเป็นตัวอย่าง. สืบค้นเมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 2562 จาก :

https://themomentum.co/momentum-feature-learning-korea-films-for-treat-thai-film-crisis/
45

สนับ สนุน เงิน ทุน ในการสร้างภาพยนตร์ เกาหลีจำนวน 4 เรื่อง แต่ปรากฏว่า กลุ่ม ผู้จัดจำหน่า ย
ภาพยนตร์ต่างประเทศก็ให้เงินสนับสนุนเพียงเล็กน้อยในการสร้างภาพยนตร์เกาหลีขึ้นมา 4 เรื่อง ที่
คุณภาพแย่ เพื่อที่สุดท้ายคนเกาหลีก็จะหันไปดูภาพยนตร์ต่างประเทศของพวกเขา ทำให้ในที่สุด
รัฐบาลเกาหลีก็ได้บังคับใช้ screen quota ซึ่งก็คือการออกประกาศกำหนดสัดส่วนระหว่างภาพยนตร์
เกาหลีและภาพยนตร์ต่างประเทศที่จะนำออกฉายในโรงภาพยนตร์ โดยในปี ค.ศ. 1993 โดยบังคับให้
โรงภาพยนตร์ต้องฉายภาพยนตร์เกาหลีจำนวนขั้นต่ำ 146 วันต่อปี แต่ก็ไม่ได้ช่วยให้รายได้ภาพยนตร์
เกาหลีเพิ่มขึ้นแต่อย่างใด เพราะคนเกาหลีก็ยังคงนิยมดูภาพยนตร์ต่างประเทศเช่นเดิม146
นับตั้งแต่ที่ปาร์ค จุงฮีเป็นประธานาธิบดีมาจนถึงโน แทวู เป็นระยะเวลายาวนานกว่า 32 ปีที่
เกาหลีถูกปกครองโดยรัฐบาลทหาร ในที่สุดเกาหลีก็เข้าสู่ยุครัฐบาลของประชาชน เมื่อ คิม ยองชิม
ได้ร ับ เลือกให้เป็น ประธานาธิ บ ดี ในปี ค.ศ. 1993 จึงมีการพิ จารณาถึง การควบคุ ม อุตสาหกรรม
ภาพยนตร์ของรัฐบาลในการเซ็นเซอร์ภาพยนตร์ซึ่งขัดต่อเรื่องสิทธิเสรีของประชาชน ทำให้ Korean
Motion Picture Promotion Corporation (KMPPC) ถูกลดบทบาทไปจนแทบจะไม่มีบทบาทอะไร
ต่ออุตสาหกรรมภาพยนตร์ พร้อมทั้ง เปลี่ยนมาใช้ระบบการจัดเรตติ้งที่จะกำหนดอายุของคนที่จะเข้า
ชมภาพยนตร์ในแต่ละเรื่องแทน147
ในปีค.ศ. 1997-1998 เกิดวิกฤตเศรษฐกิจในเอเชีย ซึ่งส่งผลต่อภาพยนตร์เกาหลี เป็นอย่าง
มาก ในช่วงก่อนที่จะเกิดวิกฤตเศรษฐกิจ กลุ่มแชโบล ถือเป็นนายทุนใหญ่ที่อัดฉีดเงินให้กับ วงการ
ภาพยนตร์เกาหลี ซึ่งได้เข้ามามีส่วนร่วมในการสร้างภาพยนตร์ และมีสิทธิ์ขาดในการเลือกนักแสดง
เป็นเหตุให้คุณภาพของภาพยนตร์ตกต่ำลงโดยอัตโนมัติ แต่เมื่อถึงปีค.ศ. 1997 เหล่าแชโบล ก็เริ่มไม่
สนใจอุตสาหกรรมนี้ รวมไปถึงการเกิดวิกฤตเศรษฐกิจบีบบังคับให้พวกเขาหันกลับไปสนใจทำธุรกิจ
หลักที่มีอยู่ และเริ่มถอนเงินทุนออกจากธุรกิจภาพยนตร์ 148 นั่นทำให้กลุ่มนายทุนหน้าใหม่เข้ามา
แทนที่ คือ CJ Group, Orion Corporation, และ Lotte Corporation ที่ปัจจุบันได้กลายเป็นผู้เล่น
รายใหญ่ของสนามอุตสาหกรรมภาพยนตร์เกาหลีโดยถือครองส่วนแบ่งรวมกันถึง 80%149 โดย CJ
Group เป็นหนึ่งในกลุ่มแชโบล ซึ่งมีบริษัทย่อยที่ดูแลธุรกิจสื่อบันเทิงคือ CJ Entertainment &
Media หรื อ CJ E&M150 และหนึ ่ ง ธุ ร กิ จ สื่ อ บั น เทิ ง ของ CJ E&M คื อ การผลิ ต ภาพยนตร์ แ ละจัด
จำหน่ า ยภาพยนตร์ 151 เช่ น ภาพยนตร์ เ รื่ อ ง The battleship island (2017) ในขณะที่ Orion

146 หนังโปรดของข้าพเจ้า. (2560). ช่วยวิกฤติหนังไทยอย่างไรดี ลองดูเกาหลีเป็นตัวอย่าง. สืบค้นเมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 2562 จาก :


https://themomentum.co/momentum-feature-learning-korea-films-for-treat-thai-film-crisis/
147 ธีปนันท์ เพ็ชร์ศรี, อลงกรณ์ คล้ายสีแก้ว, โสภณา เชาว์วิวัฒน์กุล. (2545). Korean Romance 15 หนังรักประทับใจและความ

เป็นมาเป็นไปของหนังเกาหลี. กรุงเทพฯ : Blackberry Publishing. 102-103.


148 แดเนียล ทิวดอร์. (2560). มหัศจรรย์เกาหลี จากเถ้าถ่านสู่มหาอำนาจทางเศรษฐกิจและวัฒนธรรม (แปลจาก KOREA The

Impossible Country โดย ฐิติพงษ์ เหลืองอรุณเลิศ). กรุงเทพฯ : Openworld. 336.


149 หนังโปรดของข้าพเจ้า. (2560). ช่วยวิกฤติหนังไทยอย่างไรดี ลองดูเกาหลีเป็นตัวอย่าง. สืบค้นเมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 2562 จาก :

https://themomentum.co/momentum-feature-learning-korea-films-for-treat-thai-film-crisis/
150 Positioning. (2561). CJ E&M ผู้ผลักดัน Korean Wave สู่ตลาดโลก. สืบค้นเมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2562 จาก :

https://positioningmag.com/1192601
151 ทินวุฒิ ลิวานัค. (ม.ป.ป.). ส่อง CJ E&M บริษัทด้านสื่อบันเทิงชั้นนำของเกาหลีใต้ และการขยายธุรกิจในไทย. สืบค้นเมื่อวันที่ 31

ตุลาคม 2562 จาก : https://songsue.co/2072/


46

Corporation เป็นหนึ่งในบริษัทผู้ผลิตและจัดจำหน่ายขนมที่ใหญ่ที่สุดในเกาหลีและมีบริษัทย่อยที่
ผลิตภาพยนตร์และจัดจำหน่ายภาพยนตร์ในชื่อ Showbox152 เช่นภาพยนตร์เรื่อง The Sword with
No Name (2009) ในขณะเดียวกัน Lotte Corporation ก็เป็นอีกหนึ่งกลุ่มธุรกิจที่มีบริษทั ย่อยที่ผลิต
และจั ด จำหน่ า ยภาพยนตร์ ท ั ้ ง ในและต่ า งประเทศนั ้ น คื อ Lotte Cinema และ Lotte
Entertainment153 ภาพยนตร์เรื่อง The Last Princess
ต่อมาในปีค.ศ. 1999 ได้มีการปฏิรูป Korean Motion Picture Promotion Corporation
(KMPPC) โดยการตั้งชื่อใหม่ว่า Korean Film Commission (KOFIC)154 ในปัจจุบันใช้ชื่อว่า Korean
Film Council หรือ สมาพันธ์ภาพยนตร์แห่งเกาหลี ที่เป็นหน่วยงานย่อมาจากกระทรวงวัฒนธรรม
155เพื่อสนับสนุนและประชาสัมพันธ์อุตสาหกรรมภาพยนตร์เกาหลีทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดย

คณะกรรมการขององค์กรมี จำนวน 9 คน ที่ได้รับแต่งตั้ งจากกระทรวงวัฒนธรรม กีฬา และการ


ท่องเที่ยว ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านอุตสาหกรรมการผลิต ภาพยนตร์ โดยหน้าที่หลักๆของ
สมาพันธ์ภาพยนตร์แห่งเกาหลี คือ เพื่อดูแลภาพรวมของวงการภาพยนตร์ ไม่ว่าจะเป็น การพิจารณา
สนับสนุนเงินทุนให้กับผู้สร้างภาพยนตร์, สนับสนุนการวิจัย การศึกษา และการฝึกอบรม, ช่วยเหลือ
ด้านการตลาดแก่บริษัทภาพยนตร์เกาหลีในเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติ อีกทั้งยังเป็นสปอนเซอร์จัด
เทศกาลภาพยนตร์ และสนับสนุนไปถึงการจัดฉายภาพยนตร์เกาหลีในต่างประเทศอีกด้วย156
จะเห็นว่าตลอดระยะเวลาที่ผ่านมานับตั้งแต่ในยุคที่เกาหลีถู กปกครองโดยญี่ปุ่นมาจนถึง
ปัจจุบัน(2019) อุตสาหกรรมภาพยนตร์ของเกาหลีจะถูกควบคุมโดยรัฐบาลมาตลอด อาจจะมีบางช่วง
ที่มีการผ่อนปรน ให้อิสระแก่ผู้สร้างภาพยนตร์ แต่โดยภาพรวมอุ ตสาหกรรมภาพยนตร์ของเกาหลี
ค่อนข้างผ่านอุปสรรคมากมาย ไม่ว่าจะเป็นช่วงที่รุ่งเรื่องหรือช่วงที่ย่ำแย่

3.2 การสร้างและผลิตซ้ำภาพลักษณ์ของญี่ปุ่นที่ปรากฏในภาพยนตร์เกาหลี
จากการที่รัฐบาลจัดตั้งองค์กร Korean Film Council หรือ สมาพันธ์ภาพยนตร์แห่งเกาหลี
เพื่อสนับสนุนและประชาสัมพันธ์อุตสาหกรรมภาพยนตร์เกาหลีทั้งในประเทศและต่างประเทศนั้น จึง
วิเคราะห์ได้ไม่ยากว่าบรรดาภาพยนตร์ที่ถูกสร้างและฉายออกมาจะต้องผ่านตรวจสอบจากรัฐบาล ซึ่ง
ในบรรดาภาพยนตร์ที่ถูกสร้างออกมาในเกาหลีนั้นมักจะมีภาพยนตร์ที่มีเนื้อเรื่องอยู่ในช่วงที่เกาหลีอยู่

152 Orionworld. (ม.ป.ป.). Entertainment. สืบค้นเมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2562 จาก : http://www.orionworld.com/ENG/


company/entertainment02.asp
153 Wikipedia. (ม.ป.ป.). Lotte Corporation. สืบค้นเมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2562 จาก : https://en.wikipedia.org/wiki/Lotte_

Corporation
154 ธีปนันท์ เพ็ชร์ศรี, อลงกรณ์ คล้ายสีแก้ว, โสภณา เชาว์วิวัฒน์กุล. (2545). Korean Romance 15 หนังรักประทับใจและความ

เป็นมาเป็นไปของหนังเกาหลี. กรุงเทพฯ : Blackberry Publishing. 119.


155 หนังโปรดของข้าพเจ้า. (2560). ช่วยวิกฤติหนังไทยอย่างไรดี ลองดูเกาหลีเป็นตัวอย่าง. สืบค้นเมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 2562 จาก :

https://themomentum.co/momentum-feature-learning-korea-films-for-treat-thai-film-crisis/
156 เรื่องเดียวกัน.
47

ภายใต้การปกครองของญี่ปุ่นไปจนถึงช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ถูกสร้างและผลิตออกมาซ้ำๆกันเกื อบ
ทุกปี ดั่งจะกล่าวต่อไปนี้
3.2.1 เนื้อเรื่องโดยย่อของภาพยนตร์เกาหลี
1.) The Sword with No Name เข้าฉายในปี 2009
ผลงานการกำกับของ คิม ยองจุน เข้าฉายในวันที่ 24 สิงหาคม ค.ศ.2009 ซึ่งภาพยนตร์เรื่อง
The Sword with No Name เหตุ ก ารณ์ ใ นเรื่ อ งเกิด ขึ ้ น ในช่ ว งทศวรรษ 1980 ความรั ก ระหว่าง
มู มยอง (โช ซังวู) ชายหนุ่มกำพร้าคนรับจ้างแจวเรือที่รับ งานเป็นนักล่าค่าหัวเงินรางวัล กับ แจยอง
(ซู-เอ) หญิงสาวผู้สูงศักดิ์ที่กำลังจะกลายเป็นราชินีแห่งเกาหลี ซึ่งแน่นอนว่ารักนี้ย่อมมีอุปสรรค แต่มู
มยอง ยอมทำทุกอย่างเพื่อได้อยู่ใกล้ๆ แจยอง รวมถึงการหาทางเข้ามาเป็นองค์รักษ์หลวงด้วย ในขณะ
ที่ผู้ที่เป็นราชินีย่อมมีภาระหน้าที่รับผิดชอบอันใหญ่หลวง จนอาจต้องยอมละทิ้งความปรารถนาแห่ง
หัวใจของตนไป ยิ่งในยามที่สถานการณ์บ้านเมืองครุกรุ่นเช่นนี้ ที่แม้แต่ชีวิตของพระราชินียังแขวนอยู่
บนเส้นด้าย เขาอาจจะเป็นเพียงคนเดียวที่ยืนหยัดอยู่ข้างเธอจนถึงที่สุด157
2.) Assassination เข้าฉายในปี 2015
ผลงานการกำกับของ ชเว ดงฮุน เข้าฉายในวันที่ 22 กรกฎาคม ค.ศ.2015 ซึ่งภาพยนตร์เรื่อง
Assassination เหตุการณ์ในเรื่องเกิดขึ้นในช่วงต้นทศวรรษ 1900 ซึ่งเป็นช่วงเกาหลีตกอยู่ภายใต้การ
ปกครองของประเทศญี่ปุ่น นักเคลื่อนไหว หรือผู้ต่อต้านชาวเกาหลีมากมาย ต้องลี้ภัยไปซ่อนตัวที่เซี่ยง
ไฮ้ ประเทศจีน จากการจับกุมของทางการญี่ปุ่น และในปี 1933 มีคำสั่งให้ลอบสังหารผู้บัญชาการ
กองทัพญี่ปุ่นเพื่อให้ได้มาซึ่งอิสรภาพของประเทศจึงส่ง “ยอมซอกจิน” (รับบทโดย ลีจองแจ) ตัวแทน
จากรัฐบาลเกาหลีไปปล่อยตัว “อันอ๊คยุน” (รับบทโดย จอนจีฮยอน) นักแม่นปืนสไนเปอร์และสหาย
ของเธอออกจากคุก และให้ “อันอ๊คยุน” เป็นหัวหน้าทีมสังหารในภารกิจลับนี้ ขณะที่แผนสังหารผู้
บัญชาการกองทัพญี่ปุ่นนี้กลับรู้ไปถึงฝั่งญี่ปุ่น ญี่ปุ่นจึงใช้ แผนซ้อนแผนโดยได้จ้างมือปืนรับจ้างอย่าง
“ฮาวาย พิสตัน-Hawaii-Pistol” (รับบทโดย ฮาจองวู) มาเพื่อฆ่า “อันอ๊คยุน” และทีมสังหาร158

157 Nanatakara. (2553). The Sword with No Name (2009): องครักษ์พิทักษ์เธอ. สืบค้นเมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 2562 จาก :
https://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=nanatakara&month=04-2010&date=23&group=11&gblog=29
158 SEON IN-JOO. (2558). The Assassination. สืบค้นเมื่อวันที่ 28 กันยายน 2562 จาก : https://asiancastle.net/?p=1747
48

ภาพที่ 17 โปสเตอร์ภาพยนตร์เรื่อง The Sword with No Name ที่มา : ภาพที่ 18 โปสเตอร์ภาพยนตร์เรื่อง


https://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=nanatakara&month= Assassination ที่มา :
04-2010&date=23&group=11&gblog=29 https://asiancastle.net/?p=1747

3.) The Last Princess เข้าฉายในปี 2016


ผลงานการกำกับของ เฮอ จินโฮ เข้าฉายในวันที่ 3 สิงหาคม ค.ศ.2016 ซึ่งภาพยนตร์เรื่อง
The Last Princess สร้างจากเค้าโครงเรื่องจริง โดย The Last Princess จะเล่าเรื่องในชีวิตของเจ้า
หญิงองค์สุดท้ายของเกาหลี ซึ่งอ้างอิงเนื้อหาจากนิยายอิงประวัติศาสตร์ผลงานของ กวอนบียอง ที่
ตีพิมพ์ออกจำหน่ายเมื่อปี 2009159
ภาพยนตร์เรื่อง The Last Princess เหตุการณ์ในเรื่องเกิดขึ้นในช่วงทศวรรษ 1910-1980
โดยเป็นเรื่องราวของเจ้าหญิงองค์สุดท้ายของเกาหลี หรือ “เจ้าหญิงท็อก ฮเย” เป็นพระราชธิดาองค์
เล็กของพระเจ้าโกจง ได้ถูกนำตัวไปพำนักยังประเทศญี่ปุ่น ด้วยข้ออ้างเรื่องการศึกษาต่อขณะที่มีอายุ
เพียง 12 พรรษา และเมื่ออายุได้ 19 พรรษา ก็ถูกจับแต่งงานกับชายหนุ่มจากตระกูลชั้นสูงของญี่ปุ่นที่
ชื่อว่า “โซ ทาเกะยุกิ” ซึ่งพระองค์หวังที่จะกลับเกาหลีอยู่ตลอดเวลา และเมื่อญี่ปุ่นประกาศแพ้
สงคราม เจ้าหญิงท็อก ฮเยได้พยายามจะกลับเกาหลี แต่ถูกทางรัฐบาลกีดกัน เนื่องจากเป็นเชื้อพระ
วงศ์ โดยเจ้าหญิงท็อก ฮเยต้องรอคอยจนถึงปีค.ศ. 1962 จึงได้กลับเกาหลี และใช้ชีวิตบั้นปลายอยู่ใน
เกาหลีจนสิ้นพระชนม์ในปีค.ศ. 1989 ที่พระตำหนักซูกัง พระราชวังชางด๊อกกุง

159my online world โลกใบเล็กของฉัน. (2561). THE LAST PRINCESS ภาพยนตร์ประวัติศาสตร์หน้าหนึ่งของเจ้าหญิงองค์สุดท้าย


ของเกาหลี (2016). สืบค้นเมื่อวันที่ 30 กันยายน 2562 จาก : https://myonlineworld.co/2018/04/23/the-last-princess -
ภาพยนตร์ประวัติศาสตร/
49

4.) Dongju: The Portrait of a Poet เข้าฉายในปี 2016


ผลงานการกำกับของ ลี จุนอิค160 เข้าฉายในวันที่ 17 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2016 ซึ่งภาพยนตร์
เรื่อง Dongju: The Portrait of a Poet เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับชีวิตจริงของกวียุนดงจู เหตุการณ์ใน
เรื่องเกิดขึ้นในช่วงทศวรรษ 1920-1940 ซึ่งเป็นช่วงที่เกาหลีอยู่ภายใต้การปกครองของญี่ปุ่น ยุน ดงจู
(คัง ฮานึล) เป็นกวีชาวเกาหลีที่ศึกษาวรรณคดีที่ญี่ปุ่นในต้นศตวรรษที่ 20 แต่งานในชีวิตของเขาถูกกีด
กัน เมื่อเขาและลูกพี่ลูกน้อง ซง มงกู (ปาร์ค จองมิน) ถูกควบคุมตัวโดยรัฐบาลญี่ปุ่น เนื่องจากเข้าร่วม
ขบวนการเอกราชของเกาหลีในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ดงจูถูกจำคุกและที่นั่นเขาเขียนบทกวีรัก
ชาติหลายเรื่องเกี่ยวกับเกาหลีในช่วงสองปีสุดท้ายของชีวิต161

ภาพที่ 19 โปสเตอร์ภาพยนตร์เรื่อง The Last Princess ภาพที่ 20 โปสเตอร์ภาพยนตร์เรื่อง Dongju: The Portrait of a
ที่มา : Poet ที่มา :
https://en.wikipedia.org/wiki/The_Last_Princess_(fi https://en.wikipedia.org/wiki/Dongju:_The_Portrait_of_a_P
lm) oet

160Imdb. (2016). Dongju. สืบค้นเมื่อวันที่ 30 กันยายน 2562 จาก : https://www.imdb.com/title/tt5799928/


161Channel Manager. (มปป.). Dongju: The Portrait of a Poet. สืบค้นเมือ่ วันที่ 30 กันยายน 2562 จาก :
https://www.viki.com/movies/33422c-dongju-the-portrait-of-a-poet
50

5.) The Spirits’ Homecoming เข้าฉายในปี 2016


ผลงานการกำกับของ โจจองแร ภาพยนตร์เปิดตัวในวันที่ 24 กุมภาพันธ์ ค.ศ.2016 แต่วัน
เข้าฉายกลับถูกเลือนไปออกไปเป็นวันที่ 1 มีนาคม ค.ศ. 2016 แทน และด้วยปัญหาทางการเงินทำให้
การถ่ายทำต้องหยุดชะงัก อีกทั้งยังถูกปฎิเสธจากผู้จัดทำหลายๆรายด้วยเหตุผลที่ว่า “หนังแบบนี้จะมี
ใครดู” แต่ในที่สุดก็มีคนมาช่วยด้วยการบริจาคเงินมากถึง 75,270 ราย 162
ภาพยนตร์เรื่อง The Spirits’ Homecoming เหตุการณ์ในเรื่องเกิดขึ้นในช่วงสงครามโลก
ครั้งที่ 2 โดยในปีค.ศ. 1943 เด็กสาวชาวเกาหลี 2 คน จองมิน (คังฮานา) อายุ 14 ปี และยองฮี (ซอมี
จี) อายุ 15 ปี ถูกกองทัพจักรวรรดิญี่ปุ่นจับตัวไป และถูกส่งต่อไปยังค่ายที่ประเทศจีน พวกเธอถูกจับ
ไปรวมกับเด็กสาวคนอื่น ๆ เพื่อทำหน้าที่ให้ความสุขทางเพศแก่ทหารญี่ปุ่นที่เรียกว่า “ทาสบำเรอ
กาม” เมื่อสงครามกำลงจะจบลง เด็กสาวทั้งสองพยายามหลบหนี แต่มีเพียงคนเดียวเท่านั้นที่มีรอด
ชีวิตออกไปได้ หลายสิบปีต่อมา เด็กสาวที่มีชีวิตรอดกลายเป็นหญิงชรา เธอพยายามจะตามวิญญาณ
ของเพื่อนรักที่จากไปกลับบ้าน163
6.) Snowy Road เข้าฉายในปี 2017
ผลงานการกำกับของ อี นาจอง เข้าฉายในวันที่ 1 มีนาคม ค.ศ.2017 ซึ่งภาพยนตร์ เรื่อง
Snowy Road ได้เล่าเรื่องของชะตากรรมที่น่าเศร้าของเด็กสาวสองคน เหตุการณ์ในเรื่องเกิดขึ้น
ในช่วงสงคราโลกครั้งที่ 2 โดยจองบุน (คิมฮยางกี) และ ยองเอ (คิมแซรน) อาศัยอยู่ในหมู่บ้าน
เดียวกัน แต่พวกเธอมีภูมิหลังที่แตกต่างกันโดยสิ้นเชิง ครอบครัวของ จองบุน ยากจน แต่เธอเป็นเด็ก
สาวที่สดใสและกล้าหาญ ครอบครัวของยองเอ ร่ำรวยและเธอฉลาด คืนหนึ่งจองบุนถูกลักพาตัวและ
ถูกโยนลงบนรถไฟ เธอเห็นยองเอ อยู่บนรถไฟเดียวกัน ยองเอถูกหลอกลวงมา เธอเชื่อว่าถ้าเธอมาที่นี่
เธอจะได้ไปศึกษาที่ญี่ปุ่น ซึ่งทั้งสองคนกำลังอยู่บนรถไฟเดียวกัน แต่พวกเธอไม่รู้ว่ากำลังมุ่งหน้าไปที่ใด
ไม่นานนักพวกเธอก็ได้เผชิญกับความเป็นจริงที่น่ากลัวของ "หญิงบำเรอกาม" เดิมที Snowy Road
ถูกผลิตออกมาเป็นซีรี่ย์ที่ออกอากาศช่อง KBS1 ในปี 2015 เป็นรายการพิเศษทางโทรทัศน์ จำนวน 2
ตอน และได้รับการแก้ไขให้เป็นภาพยนตร์เรื่องยาว164

162 Wikipedia. (ม.ป.ป.). Spirits' Homecoming. สืบค้นเมื่อวันที่ 24 ตุลาคม 2562 จาก :


https://en.wikipedia.org/wiki/Spirits%27_Homecoming , นักเดินทางหลงทิศ. (2559). ประชาชนเกาหลีแห่ดูหนัง “ทาสบำเรอ
กาม” ทำรายได้ทะลุ 200 ล้านบาท. สืบค้นเมื่อวันที่ 24 ตุลาคม 2562 จาก : http://koreaseries.fanthai.com/?p=30159
163 Koreandrama. (2561). Spirits' Homecoming (ภาพยนตร์). สืบค้นเมื่อวันที่ 30 กันยายน 2562 จาก :

http://koreandramath.blogspot.com/2018/03/spirits-homecoming.html
164 Koreandrama. (2561). Snowy Road (ภาพยนตร์). สืบค้นเมื่อวันที่ 30 กันยายน 2562 จาก :

http://koreandramath.blogspot.com/2018/01/snowy-road.html
51

ภาพที่ 21 โปสเตอร์ภาพยนตร์เรื่อง The Spirits’ ภาพที่ 22 โปสเตอร์ภาพยนตร์เรื่อง Snowy Road ที่มา :


Homecoming ที่มา : http://reviewdoonung.blogspot.com/2018/10/snowy-
https://en.wikipedia.org/wiki/Spirits%27_Homecoming road-2017.html

7.) The battleship island เข้าฉายในปี 2017


ผลงานการกำกับของ รยูซึงวาน เข้าฉายในวันที่ 26 กรกฎาคม ค.ศ.2017 ซึ่งภาพยนตร์เรื่อง
The battleship island เหตุการณ์ในเรื่องเกิดขึ้นในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 เมื่อประเทศเกาหลีใต้
อยู่ภายใต้การปกครองของประเทศญี่ปุ่น กองทัพญี่ปุ่นได้เกณฑ์ประชาชนเกาหลีใต้ (และจีน) กว่า
400 คน เข้าไปเป็นแรงงานขุดถ่านหินที่เกาะฮาชิมะ ที่มีสภาพแออัดและย่ำแย่ถึงขีดสุด โดยมี
นายทหารจากกองกำลังปลดแอกของเกาหลีใต้ คือ พัคมูยอง (รับบทโดย ซงจุงกิ) ได้รับมอบหมายให้
แทรกซึมเข้าไปภายในเกาะเพื่อช่วยเหลือสมาชิกของกองกำลังคนอื่นๆ 165 แต่หลังจากความจริง
บางอย่างถูกค้นพบ ทำให้เขาเปลี่ยนใจทิ้งภารกิจเดิม หันมาวางแผนนำเพื่อจะนำแรงงานเกาหลี
ทั้งหมดหลบหนีแทน ให้ทันก่อนที่ผู้นำญี่ปุ่นบนเกาะจะถล่มเหมืองและคนงานทิ้งเพื่อทำลายหลักฐาน
เพราะเริ่มตระหนักว่าญี่ปุ่นกำลังใกล้จะแพ้สงครามแล้ว166

165 ณัฐนันท์ เฉลิมพนัส. (2560). เปิดตำนานเกาะฮาชิมะ ‘คุกนรก’ ที่ซงจุงกิถูกส่งตัวเข้าไป. สืบค้นเมื่อวันที่ 30 กันยายน 2562 จาก
: https://thestandard.co/culture-film-the-battleship-island/
166 Warumanu. (2560). [Kormovies] The Battleship Island (2017). สืบค้นเมื่อวันที่ 30 กันยายน 2562 จาก :

https://www.korseries.com/kormovies-the-battleship-island-2017-2/
52

8.) I Can Speak เข้าฉายในปี 2017


ผลงานการกำกับของ คิม ฮยอนซอก เข้าฉายในวันที่ 21 สิงหาคม ค.ศ.2017 ซึ่งภาพยนตร์
เรื่อง I Can Speak มีเค้าโครงมาจากเรื่องจริงของเมื่อปีค.ศ. 2007 เหตุการณ์ที่เรียกว่า มติหญิงบำเรอ
HR121167 เหตุการณ์ในภาพยนตร์ เรื่อง I Can Speak เกิดขึ้นในช่วงปีค.ศ. 2007 เป็นเรื่องราวของ
คุณยายจอมฟ้อง นาอ๊คบุน กับเจ้าหน้าที่รัฐที่ต้องคอยรับเรื่องฟ้องร้องเรียน พัคมินแจ โดยคุณยายอ๊
คบุนอยากที่พูดภาษาอังกฤษ ขณะเดียวกันคุณยายก็ได้รู้ว่าพัคมินแจพูดภาษาอังกฤษได้ดี มาก จึงให้
เขามาสอนภาษาอังกฤษ ซึ่งเป้าหมายจริงๆของคุณยายคือการเรียกร้องความยุติธรรมให้กับเหล่าหญิง
บำเรอในสงครามโลกครั้งที่ 2 และภาพยนตร์เรื่องนี้ยังสามารถสื่อความหมายอีกนัยหนึ่งคือ ฐานะของ
ผู้หญิงที่จะสามารถพูดความจริงให้โลกได้รับรู้ได้

ภาพที่ 23 โปสเตอร์ภาพยนตร์เรื่อง Snowy Road ที่มา : ภาพที่ 24 โปสเตอร์ภาพยนตร์เรื่อง I Can Speak ที่มา :
https://www.korseries.com/kormovies-the-battleship- https://www.korseries.com/kormovies-i-can-speak-
island-2017-2/ 2017/

จากที่กล่าวไปข้างต้นหากดูจากเนื้อเรื่องโดยย่อของภาพยนตร์ทั้ง 8 เรื่องจะสังเกตเห็นว่าเนื้อ
เรื่องของภาพยนตร์ส่วนใหญ่จะต้องมีตัวเอกที่เป็นนักเคลื่อนไหวเพื่ออิสรภาพหรือบุคคลสำคัญทาง
ประวัติศาสตร์ อย่างเช่นในภาพยนตร์เรื่อง The Sword with No Name ที่มีตัวเอกคือราชินีมิน หรือ
เรื่อง Dongju: The Portrait of a Poet ที่ตัวเอกคือยุน ดงจู กวีชาวเกาหลี นอกจากนี้ก็จะเป็นตัวเอก
ที่ตกเป็นเหยื่อของความรุนแรงในยุคนั้น และแน่นอนว่าตัวร้ายตามธรรมเนียมก็มักจะเป็นทหารหรือ

167 Wikipedia. (ม.ป.ป.). I Can Speak. สืบค้นเมื่อวันที่ 27 ตุลาคม 2562 จาก : https://en.wikipedia.org/wiki/I_Can_Speak
53

ข้าราชการของญี่ปุ่น ซึ่งอย่างที่ทราบกันดีว่าภาพยนตร์เกาหลีนั้นได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลผ่าน
Korean Film Council จึงทำให้เห็ นว่าการที่มีภาพยนตร์เหล่านี้ถูกผลิตออกมาเกือบทุกปีและใน
บางครั้งก็มักจะเข้าฉายตรงกับวันสำคัญหรือเหตุการณ์สำคัญในช่วงเวลานั้น เช่น วันซัมอิลจอล หรือ
เหตุการณ์ที่มีการเรียกร้องความยุติธรรมให้แก่หญิงบำเรอ อาจจะเป็นการยืนยันได้ว่ารัฐบาลต้องการ
จะย้ำเตือนถึงสิ่งที่ เกาหลีเคยถูกญี่ปุ่นกระทำในอดีต แต่หากสังเกตรูปแบบของเค้าโครงเรื่องของ
ภาพยนตร์ทั้ง 8 เรื่องจะมีความเลี่ยนแปลงไป โดยในช่วงปีค.ศ. 2009-2016 จะมีเค้าโครงเรื่องที่
เกี่ยวกับบุคคลสำคัญหรือเหล่านักสู้เพื่ออิสรภาพ แต่พอมาในช่วงปีค.ศ. 2017-ปัจจุบัน(2019)จะมีเค้า
โครงเรื่องที่มีจากเรื่องของเหล่าหญิงบำเรอในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2
3.2.2 การสร้างและผลิตซ้ำภาพลักษณ์ของญี่ปุ่นที่ปรากฏในภาพยนตร์เกาหลี
จากข้อมูลทางประวัติศาสตร์ที่คนทั่วไปทราบกันดีก็จะทราบว่าประวัติศาสตร์ของเกาหลีได้
สะท้อนให้เห็นถึงความเกลียดชัง ความไม่ลงรอยกันระหว่างเกาหลีกับญี่ปุ่นมาตั้งแต่ที่ญี่ปุ่นพยายาม
แทรกแซงเกาหลี จนในที่สุดเกาหลีก็ตกอยู่ภายใต้การปกครองของญี่ปุ่นอย่างสมบูรณ์ ซึ่งภายใต้การ
ปกครองของญี่ปุ่นนี้เองที่สร้างบาดแผลให้แก่เกาหลีอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็น การสร้างความเป็นญี่ปุ่น
ให้แก่ชาวเกาหลี เพื่อให้เกาหลีเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับญี่ปุ่น โดยขจัดวัฒนธรรมที่ชาวเกาหลีมีหรือ
ปฏิบัติแตกต่างจากญี่ปุ่น การใช้นามสกุลแบบญี่ปุ่น ใช้ภาษาญี่ปุ่นในการเรียนการสอนโดยให้คนญี่ปุ่น
เข้าไปเป็นครูในโรงเรียนและกำหนดให้หนังสือประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมเกาหลีเป็นสิ่งต้องห้าม อีก
ทั้งในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ญี่ปุ่นได้เกณฑ์ชาวเกาหลีไปทำงานในเหมืองแร่ ก่อสร้างและโรงงานใน
ญี่ปุ่น เพื่อผลิตสินค้ายุทธปัจจัยที่จำเป็นสำหรับกองทัพ มีการเกณฑ์คนเกาหลีไปประจำการในกองทัพ
ญี่ปุ่น และมีการเกณฑ์ผู้หญิงเกาหลีเพื่อให้บริการทางเพศแก่ทหารญี่ปุ่น168
ดังนั้นหากมองจากมุมมองทางประวัติศาสตร์จะเห็นว่าภาพลักษณ์ของเกาหลีนั้นจะเป็น
ผู้ถูกกระทำ ถูกกดขี้ ข่มเหงราวกับไม่ใช่มนุษย์อยู่ตลอดเวลา แต่ก็แฝงไปด้วยความกล้าหาญ และรัก
ชาติ ในขณะที่ภาพลักษณ์ของญี่ปุ่ นที่วางให้เป็นคู่แค้นของเกาหลีก็จะมีภาพลักษณ์เป็นตัวร้าย เป็น
ผู้กระทำที่โหดเหี้ยม ทารุณอยู่ตลอดเวลา ซึ่งภาพลักษณ์เหล่านี้เป็นสิ่งที่ปรากฏให้เห็นอยู่ในภาพยนตร์
เกาหลีเกือบทุกเรื่องที่มีฉากอยู่ในยุคสมัยนั้น โดยจากภาพยนตร์ทั้ง 7 เรื่องได้สะท้อนประเด็นทาง
ประวัติศาสตร์และภาพลักษณ์ของญี่ปุ่นในช่วงที่ ปกครองเกาหลีแตกต่างกันออกไป สามารถแบ่ง
ออกมาได้ 5 ประเด็น ดังนี้
1.) หญิงบำเรอ หรือ Comfort Women
ภายหลังจากการที่เกาหลีลงนามในสนธิสัญญาผนวกดินแดน ทำให้เกาหลีตกอยู่ภายในการ
ปกครองของญี่ปุ่นตั้งแต่ปีค.ศ. 1905-1945 ซึ่งเกิดการเปลี่ยนแปลงและเหตุการณ์ต่างๆมากมาย ซึ่ง
หนึ่งในนั้นคือการเกณฑ์และจับผู้หญิงและเด็กผู้หญิงไปเป็นหญิงบำเรอในค่ายทหารญี่ปุ่นตามสถานที่
ต่างๆ อีกทั้งยังเกิดกระแสเรียกร้องให้รัฐบาลญี่ปุ่นออกมาขอโทษอย่างจริงใจตั้งแต่ช่วงทศวรรษ 1990
โดยเริ่มจากการก่อตั้งองค์กรเพื่อเหล่าหญิงบำเรอ The Korean Council for the Women Drafted
168
วิเชียร อินทะสี. (2551). นโยบายต่างประเทศของญี่ปุ่นต่อเกาหลี ในช่วงการยึดครองและช่วงหลังการได้รับเอกราชจากญี่ปุ่น.
มหาวิทยาลัยนเรศวร. 16(3), 224.
54

for Military Sexual Slavery by Japan หรือเรียกสั้นๆว่า The Korean Council ขึน้ 169 ซึ่งประเด็น
เรื่องของหญิงบำเรอได้สะท้อนให้เห็นผ่านภาพยนตร์ดังต่อไปนี้
ภาพยนตร์เรื่อง The Spirits’ Homecoming (2016) ภาพยนตร์เรื่องนี้ให้ภาพที่ชัดเจน
ว่ามีเนื้อเรื่องเกี่ยวกับเด็กผู้หญิงที่ต้องไปเป็น หญิงบำเรอในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ดั่งจะเห็นได้จาก
คำพูดของตัวละครต่อไปนี้
“...ฉันถูกจับตัวไปตั้งแต่อายุ 17 ตอนนั้นฉันพูดอะไรมากไม่ได้หรอกค่ะ ทำอะไรไม่ได้ มันเป็น
แค่ช่วงเวลาสั้นๆ ต้องทุกข์ทรมานอย่างแสนสาหัส เพราะพวกทหาร มันเยอะจนฉันจะพูดยังไงให้หมด
มันไม่สามารถบรรยายเป็นคำพูดได้หรอกค่ะ พวกผู้หญิงต้องมีประจำเดือน แต่พวกเขาก็ยังทำได้โดย
ไม่คิดอะไร พวกเขาไม่สนใจอะไรเราหรอกค่ะ พวกเขากระชากเราเหมือนของชิ้นหนึ่ง ทำเรายังไงก็ได้
ตามใจอยาก พอได้ทำอย่างสมใจอยากแล้ว เขาจะกำจัดเรา หรือไม่ก็ฆ่าเราทิ้ง มันเป็นเหตุการณ์ที่ ฉัน
จะเล่ายังไงดีนะ?...”170
จากข้างต้นเป็นคำพูดของคุณยายท่านหนึ่งที่กำลังถูกสัมภาษณ์ออกสื่อโทรทัศน์จากฉากเปิด
เรื่องของภาพยนตร์เรื่อง The Spirits’ Homecoming โดยจากคำพูดดังกล่าวได้แสดงให้เห็นถึงการ
กระทำของทหารญี่ปุ่นที่กระทำต่อเหล่าหญิงบำเรอชาวเกหาลี

ภาพที่ 25 ฉากเด็กผู้หญิงเกาหลีกำลังถูกลากเพื่อไปมีเพศสัมพันธ์กับทหารญี่ปนุ่ ที่มา : ภาพยนตร์เรื่อง The Spirits’ Homecoming

169 สุชาดา เลี้ยงชูศักดิ์. (2019). หญิงบำเรอ : ประวัติศาสตร์ บาดแผล และการต่อรองบนเวทีระหว่างประเทศของเกาหลีใต้กับญี่ปุ่น.


สืบค้นเมื่อ 1 พฤศจิกายน 2562 จาก : https://www.the101.world/history-of-comfort-women-agreement/
170 บทสนทนาในโทรทัศน์ที่มีการสัมภาษณ์ผู้หญิงที่เคยตกเป็นเครื่องระบายทางเพศของทหารญี่ปุ่น ที่มา : ภาพยนตร์เรื่อง The

Spirits’ Homecoming
55

ภาพที่ 26 ฉากเด็กผู้หญิงเกาหลีถกู ข่มขืน ที่มา : ภาพยนตร์เรื่อง The Spirits’ Homecoming

ภาพที่ 27 ฉากทหารญี่ปุ่นฆ่าเด็กผูห้ ญิงเกาหลีหลังจากหมดประโยชน์ ที่มา : ภาพยนตร์เรื่อง The Spirits’ Homecoming

นอกจากภาพยนตร์เรื่อง The Spirits’ Homecoming แล้วยังมีภาพยนตร์เรื่อง Snowy


Road (2017) ซึ่งมีเค้าโครงเรื่องเน้นไปที่เรื่องของเด็กสาวที่ถูกพาไปเป็นหญิงบำเรอในค่ายทหาร
ญี่ปุ่นที่จีน
56

ภาพที่ 28 ทหารญี่ปุ่นต้องการมาระบายอารมณ์ทางเพศ ที่มา : ภาพยนตร์เรื่อง Snowy Road

ภาพที่ 29 ทหารญี่ปุ่นที่สังหารเด็กสาวที่หมดประโยชน์ ที่มา : ภาพยนตร์เรื่อง Snowy Road

ภาพที่ 30 ทหารญี่ปุ่นที่สังหารเด็กสาวที่หมดประโยชน์ ที่มา : ภาพยนตร์เรื่อง Snowy Road


57

อีกหนึ่งฉากที่ควรกล่าวถึงคือ ฉากการพยายามฆ่าตัวตายของยองเอที่เป็นเสมือนตัวแทนของ
เด็กสาวหลายๆคนที่ไม่อยากมีชีวิตอยู่หลังจากที่ถูกหลอกหรือถูกลักพาตัวมาเพื่อเป็นหญิงบำเรอให้แก่
ทหารญี่ปุ่น แต่หลายครั้งที่เด็กสาวเหล่านั้นทำไม่สำเร็จ

ภาพที่ 31 ยองเอพยายามฆ่าตัวตาย ที่มา : ภาพยนตร์เรื่อง Snowy Road

ภาพยนตร์ที่สะท้อนเรื่องของหญิงบำเรออีกเรื่องคือ ภาพยนตร์เรื่อง The battleship


island (2017) ซึง่ ถูกสะท้อนผ่านคำพูดของโอ มัล-นยอน หญิงสาวที่ถูกหลอกให้มาขายตัวให้ทหาร
ญี่ปุ่น
“...ตอนแรกฉันโดนลากไปประเทศจีน มีคนบอกว่าจะพาไปหาเงินที่ไหนก็ไม่รู้ พอขึ้นรถมาก็
มาโผล่ที่ค่ายทหารญี่ปุ่น...มีผู้หญิงคนหนึ่งเธอมาฮึงยาง พวกญี่ปุ่นมันบอกว่าเธอแกล้งป่วย พวกมันให้
เธอกลิ้งบนกระดานไม้ที่มีตะปู สุดท้ายเธอก็ตายต่อหน้าคนมากมาย...คนที่ส่งไปกองทัพ จีนหรือญี่ปุ่น
เป็นคนเกาหลี ตอนที่ ญี่ปุ่นถอยทัพฉันหนีรอดมาได้ คนที่จับฉันส่งกลับมาก็เป็นพวกเกาหลีอีกนั้น
แหละ แล้วจะให้ฉันไปอ้อนวอนพวกเกาหลีอีกรึไง...”171
จากคำพูดของโอ มัล-นยอง ได้สะท้อนให้เห็นถึงการกระทำอันโหดร้ายของทหารญี่ปุ่นกระทำ
ต่อผู้หญิงเกาหลีอย่างโหดเหี้ยม

171 คำพูดของโอ มัล-นยองที่พูดกับชเว ชิลซอง ที่มา : ภาพยนตร์เรื่อง The Battleship Island


58

ภาพที่ 32 ทหารญี่ปุ่นจับผู้หญิงเกาหลีมากลิ้งบนกระดานไม้ที่มีตะปู ที่มา : ภาพยนตร์เรื่อง The Battleship Island

ขณะเดียวกันนอกจากคำพูดของโอ มัล -นยองแล้วยังมีคำพูดของผู้หญิงเกาหลีที่พูดคุยกันถึง


ความน่ากลัวของทหารญี่ปุ่นและชะตากรรมของผู้หญิงเกาหลี
“...ถ้าบอกว่าท้องเพราะโดนทหารข่มขืน มีผู้หญิงคนหนึ่งที่ถูกลากไปจีนแล้วท้องขึ้นมา พวก
เขาผ่าท้องแล้วควักเด็กออกมา อีกไม่กี่วันหล่อนก็โดนไปรับใช้พวกทหารอีก...”172

ภาพที่ 33 คนญี่ปุ่นที่ทำร้ายผู้หญิงเกาหลี ที่มา : ภาพยนตร์เรื่อง The Battleship Island

172 คำพูดของผู้หญิงเกาหลีทถี่ ูกจับมา ที่มา : ภาพยนตร์เรื่อง The Battleship Island


59

ภาพยนตร์เรื่องต่อมาคือ ภาพยนตร์เรื่อง I Can Speak (2017) มีเค้าโครงมาจากเรื่องจริง


ของเมื่อปีค.ศ. 2007 เหตุการณ์ที่เรียกว่า มติหญิงบำเรอ HR121173 เป็นเหตุการณ์การเรียกร้องความ
ยุติธรรมให้กับเหล่าหญิงบำเรอในสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งภาพยนตร์เรื่องนี้ได้สะท้อนให้เห็น ถึงสิ่งที่
เหล่าหญิงบำเรอต้องเผชิญจากการกระทำของทหารญี่ปุ่น โดยสะท้อนผ่านคำพูดของคุณยาย นา อ๊
คบุน ตัวละครที่เคยเป็นหญิงบำเรอมาก่อน
“...พวกทหารญี่ปุ่นแกะสลั กลายพวกนี้บนตัวฉันด้วยมีด ร่างกายฉันเต็มไปด้วยรอยแผลเป็น
พวกนั้น ทุกครั้งที่ฉันเห็นรอยแผลเป็นพวกนี้ ความทรงจำในขุมนรกกลับมามีชีวิตอีกครั้ง...ตอนที่ฉัน
ทรมาน ราวกับอยู่ในขุมนรกนั้น ฉันอายุเพียงแค่สิบสามปี สิบสามปี ฉันไม่สามารถตายได้ ฉันคิดถึง
บ้าน และรอคอยที่จะได้ออกไปเจอครอบครัวของฉัน ฉันยืนอยู่ที่นี่ในวันนี้ เพื่อสาว ๆ เหล่านั้น ชีวิตใน
วัยเด็กของพวกเขาถูกขโมยไป โดยอาชญากรรมของกองทัพญี่ปุ่น เราต้องจดจำสาวๆเหล่านั้นไว้ และ
ความเจ็บปวดที่พวกเขาต้องเผชิญ ญี่ปุ่นได้ก่ออาชญากรรมต่อมนุษยชาติ แต่ไม่มีคำขอโทษอย่าง
จริงใจ สําหรับประเด็นหญิงบำเรอ ฉันขอทำความเข้าใจอย่างชัดเจน พวกเราถูกคุกคามและถูกบังคับ
ให้เป็นทาสกามสําหรับกองทัพญี่ปุ่น เราใช้ชีวิตที่เหลือของเราทั้งหมดอยู่กับความทรมาน เพราะความ
ทรงจำในขุมนรกพวกนั้น แต่ทัศนคติที่หยิ่งยโสของญี่ปุ่น พวกเขาหลีกเลี่ยงที่จะรับผิดช อบต่อการ
กระทำ ยิ่งทำให้เราทั้งเจ็บปวด และโกรธแค้นมากขึ้น เราไม่ได้ขออะไรที่มากเกินไป เพียงแค่ให้คุณ
ยอมรับ ต่อการกระทำผิดของคุณ เราให้โอกาสคุณ เพื่อขอการให้อภัยจากเรา ในขณะที่พวกเรายังมี
ชีวิตอยู่ ฉันขอโทษ นั้นเป็นเรื่องที่ยากมากนักหรือ ถ้าคุณไม่ต้องการทิ้งภาระที่หนักหน่วงเอาไว้ให้กับ
คนรุ่นใหม่ในอนาคตของคุณ ก็ขอโทษก่อนที่มันจะสายเกินไป และฉันขอสิ่งนี้จากพวกคุ ณทั้งหมด ได้
โปรดจำไว้ว่าประวัติศาสตร์ที่เรา ถูกบังคับให้เข้าร่วมเป็นเรื่องที่ต้องจดจำเพื่อไม่ให้ประวัติพวกนั้นซ้ำ
รอยอีกครั้ง...”174
หากพิจารณาจากคำพูดของคุณยายนา อ๊คบุน ที่เป็นตัวละครในภาพยนตร์จะเห็นว่า เหล่า
หญิงบำเรอต้องสูญเสียอนาคตของตนเองไป และยังโดนกระทำอย่างโหดร้ายทารุณจากทหารญี่ปุ่น

173 Wikipedia. (ม.ป.ป.). I Can Speak. สืบค้นเมื่อวันที่ 27 ตุลาคม 2562 จาก : https://en.wikipedia.org/wiki/I_Can_Speak
174 คำพูดของคุณยาย นา อ๊คบุนในศาล ทีม่ า : ภาพยนตร์เรื่อง I Can Speak
60

ภาพที่ 34 คุณยายนา อ๊คบุน เปิดแผลทีไ่ ด้จากการกระทำของทหารญี่ปุ่น ที่มา : ภาพยนตร์เรื่อง I Can Speak

ในตอนท้ายของภาพยนตร์เรื่องนี้ได้มีการทิ้งท้ายไว้ว่าเหตุการณ์มติหญิงบำเรอ HR121 ได้มี


การลงมติอย่างเป็นเอกฉันท์ในวันที่ 30 กรกฎาคม ปีค.ศ. 2007 ถือเป็นชัยชนะครั้งแรกของเหล่า
Comfort Women ที่มีต่อรัฐบาลญี่ปุ่น ซึ่ง 10 ปีหลังจากนั้นหรือก็คือปีค.ศ. 2017 ญี่ปุ่นก็ยังไม่ได้
กล่าวคำขอโทษ

จากภาพยนตร์ทั้ง 4 เรื่องที่มีการกล่าวถึงประเด็นเรื่องของหญิงบำเรอ หรือ Comfort


Women ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 นอกจากภาพยนตร์เหล่านี้จะต้องการสื่อถึงเรื่องราวที่เหล่าหญิง
บำเรอต้องพบเจอแล้วยังสื่อให้เห็นถึงการกระทำอันโหดร้ายทารุณที่ เหล่าทหารญี่ปุ่นกระทำหญิง
บำเรอ ส่งผลให้ภาพลักษณ์ของญี่ปุ่นในสายตาชาวเกาหลีและชาวต่างชาติที่ได้รับชมกลายเป็นผู้ร้ายที่
กระทำการอันโหดเหี้ยมกับผู้หญิง อีกทั้งยังกลายเป็นพวกโรคจิต พวกที่มีความกระหายทางเพศอย่าง
ที่ไม่สนใจว่าผู้หญิงจะอยู่ในช่วงที่มีประจำเดือนหรื อไม่ นอกจากนี้ยังสื่อให้เห็นถึงสถาที่ที่ผู้หญิงและ
เด็กที่ถูกพาไปเป็นหญิงบำเรอนั้นเป็นลักษณะของสถานบริการค่อยมีคนดูแลรับเงินจากเหล่าทหาร
ที่มาใช้บริการ โดยข้อมูลจากในเว็บไซต์ศิลปวัฒนธรรมได้แบ่งออกเป็นกลุ่มที่กองทัพญี่ปุ่นเป็นผู้จัดตั้ง,
สถานที่จัดตั้งขึ้นโดยความร่วมมือระหว่างเอกชนและกองทัพญี่ปุ่น , สถานที่ที่ชาวญี่ปุ่นซึ่งอพยพไปอยู่
ประเทศนั้นๆ เป็นผู้จัดการ โดยได้รับการสนับ สนุนจากกองทัพ และซ่องของเอกชนซึ่งกองทัพระบุให้
เป็นสถานบริการสำหรับทหาร175
2.) การใช้แรงงานทาส
ในเรื่องของประเด็นการใช้แรงงานทาสในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 นั้นก็เป็นอีกหนึ่งประเด็นที่
เป็นที่กล่าวถึงกันมากรองลงมาจากประเด็นของหญิงบำเรอ โดยในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ญี่ปุ่นมี
175ศิลปวัฒนธรรม silpa-mag. (2562). เหยื่อ “บำเรอกาม” ทหารญี่ปุ่น ยุคสงครามโลกครั้งที่สอง. สืบค้นเมื่อ 1 พฤศจิกายน 2562
จาก : https://www.silpa-mag.com/history/article_15107
61

ความจำเป็นที่จะต้องใช้ถ่านหิน จึงเริ่มมีการเกณฑ์คนจำนวนมากเข้าไปเป็นแรงงานเพื่อขุ ดเจาะถ่าน


หิน ซึ่งแรงงานส่วนใหญ่จะเป็นคนเกาหลีและจีน176 ดังที่ปรากฏให้เห็นในภาพยนตร์ถึง 2 เรื่องด้วยกัน
คือ ภาพยนตร์เรื่อง The Last Princess (2016) และ The battleship island (2017)
จากในภาพยนตร์เรื่อง The Last Princess (2016) มีฉากที่เหล่ากลุ่มนักศึกษาชาวเกาหลีที่
นัดประชุมกันเพื่อหาทางช่วยเหลือเหล่าแรงงานเกาหลีที่ถูกใช้แรงงานในโรงงานอุตสาหกรรมต่าง ซึ่ง
จากคำพูดของตัวละครเหล่านั้นได้บอกว่าเหล่าคนเกาหลีที่ถูกบังคับให้ไปใช้แรงงานนั้นมีความเป็นอยู่
ที่ย่ำแย่มากกว่าที่ญี่ปุ่นพยายามนำเสนอ มีการใช้แรงงานเด็ก แรงงานบางคนต้องพิการเนื่องจาก
ประสบอุบัติเหตุจากการทำงานกับเครื่องจักรจนนิ้วขาด และพวกญี่ปุ่นก็เล่นสนุกกับนิ้วที่ขาด ซึ่งใน
ฉากที่เจ้าหญิงท็อก ฮเย กล่าวปราศรัยแก่แรงงานเกาหลีในโรงงานที่ญี่ปุ่นก็มีเด็กผู้หญิงที่พิการนิ้วขาด
อยู่ด้วย

ภาพที่ 35 เด็กผู้หญิงที่พิการจากการทำงานในโรงงาน ที่มา : ภาพยนตร์เรื่อง The Last Princess

ในขณะเดีย วกัน นี้ ภาพยนตร์เรื่อง The battleship island (2017) เป็นภาพยนตร์ที่


สะท้อนให้เห็นถึงความเป็นอยู่ของแรงงานเกาหลีที่ถูกหลอกไปใช้แรงงานที่เกาะฮาชิมะ ซึ่งเป็นเกาะที่
มีถ่านหิน โดยสภาพความเป็นอยู่ที่ปรากฎในภาพยนตร์เรื่องนี้เรียกได้ว่าไม่ใช่สภาพที่คนจะเข้าไปอยู่
อาศัยได้เลย ไม่ว่าจะเป็น ห้องพัก ห้องอาบน้ำ อาหารที่ทางญี่ปุ่นแจกให้ อีกทั้งยังสะท้อนภาพของการ
ใช้แรงงานเด็กในการทำเหมืองอย่างหนัก

176ฮิวแมน. (2558). เกาะฮาชิมะมรดกโลก. สืบค้นเมื่อวันที่ 27 ตุลาคม 2562 จาก :


https://www.dailynews.co.th/article/335746
62

ภาพที่ 36 อาหารที่ทางญี่ปุ่นแจกให้คนงาน ที่มา : ภาพยนตร์เรื่อง The battleship island

ภาพที่ 37 ห้องพักและห้องน้ำที่ทางญี่ปนุ่ จัดให้กับเหล่าคนงาน ที่มา : ภาพยนตร์เรื่อง The battleship island


63

ภาพที่ 38 การใช้แรงงานเด็ก ที่มา : ภาพยนตร์เรื่อง The battleship island

จากภาพยนตร์ทั้ง 2 เรื่องที่มีการกล่าวถึงประเด็นเรื่องของการใช้แรงงานทาส ในช่ว ง


สงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งภาพยนตร์ทั้ง 2 เรื่องต้องการจะสื่อถึงเรื่องราวที่เหล่าคนงานชาวเกาหลีต้อง
พบเจอ ไม่ว่าจะเป็นการแรงงานอย่างหนักหน่วงโดยไม่มีการจ่ายค่าแรง สภาพของที่พักที่มีความ
แออัด ห้องพักที่สกปรก ห้องอาบน้ำที่แออัดอย่างมาก อาหารที่เรียกได้ว่าไม่ใช่อาหารที่คนจะทานได้
แถมยังมีแมลงสาบและหนูอยู่ในอาหาร นอกจากนี้ภาพยนตร์ทั้ง 2 เรื่อง ยังสื่อถึงการใช้แรงงานเด็กใน
เหมืองและโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ แต่กรณีของภาพยนตร์เรื่อง The battleship island (2017) ที่
เกิดกระแสวิพากวิจารณ์จากคนญี่ปุ่นเป็นจำนวนมากว่า สิ่งที่เกาหลีนำเสนอในภาพยนตร์เรื่องนี้ถูก
บิดเบือนไม่เป็นความจริง ที่เกาะฮาชิมะไม่เคยใช้แรงงานเด็กแต่อย่างใด เด็กๆที่ถูกส่งไปที่ นั่นได้รับ
การศึกษาเหมือนเด็กญี่ปุ่นทั่วๆไป ส่วนแรงงานชายชาวเกาหลีก็ไม่ได้ถูกใช้แรงงานเยี่ยงทาส ทุกคน
ได้รับการดูแลและได้รับค่าตอบแทนอย่างสมเหตุสมผล177
3.) การเกณฑ์ทหาร
ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ญี่ปุ่นได้มีการเกณฑ์คนเกาหลีไปร่วมรบในดินแดนต่างๆ ซึ่ง
ปรากฏให้ เห็นในภาพยนตร์ถึง 3 เรื่องด้วยกันคือ ภาพยนตร์เรื่อง Dongju: The Portrait of a
Poet (2016), The Spirits’ Homecoming (2016) และ Snowy Road (2017)
จากในภาพยนตร์เรื่อง Dongju: The Portrait of a Poet (2016) มีฉากที่ยุน ดงจูไม่ได้
เข้ารับการฝึกทหารหลังจากที่มีประกาศให้เกณฑ์ทหาร นอกจากยุน ดงจู แล้วยังมีนักศึกษาชาวเกาหลี
อีกหลายคนที่พยายามหลีกเลี่ยงการเกณฑ์ทหาร ในขณะเดียวกันในภาพยนตร์เรื่อง Snowy Road
(2017) ก็มีฉากที่พี่ชายของจองเอที่ยังเป็นนักศึกษา แต่ถูกทหารญี่ปุ่นมาจับตัวไป

177ประชาชาติธุรกิจ ออนไลน์. (2560). “The Battleship Island” ภาพยนตร์ฟอร์มยักษ์ที่นา่ จับตามอง. สืบค้นเมื่อ 1 พฤศจิกายน
2562 จาก : https://www.prachachat.net/spinoff/entertainment/news-17245
64

ภาพที่ 39 การหลีกเหลี่ยงการเกณฑ์ทหารของนักศึกษาเกาหลี ที่มา : ภาพยนตร์เรื่อง Dongju: The Portrait of a Poet

ภาพที่ 40 การหลีกเหลี่ยงการเกณฑ์ทหารของนักศึกษาเกาหลี ที่มา : ภาพยนตร์เรื่อง Snowy Road


65

ในภาพยนตร์เรื่อง The Spirits’ Homecoming (2016) มีเด็กผู้หญิงที่เป็นหญิงบำเรอคน


หนึ่งที่บังเอิญวันหนึ่ง กองทหารที่พี่ชายของเธอประจำอยู่มาที่ค่ายที่เธออยู่ แล้วเธอก็เห็นพี่ชายของ
ตนเองถูกทหารญี่ปุ่นทำร้ายร่างกาย

ภาพที่ 41 ทหารชาวเกาหลีที่ถกู ทหารญี่ปุ่นทำร้าย ที่มา : ภาพยนตร์เรื่อง The Spirits’ Homecoming

จากภาพยนตร์ทั้ง 3 เรื่องที่มีการกล่าวถึงประเด็นเรื่องของการเกณฑ์ชายเกาหลีไปเป็นทหาร
ในกองทัพญี่ปุ่นเพื่อเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งภาพยนตร์ทั้ง 3 เรื่องได้สื่อให้เห็นถึงการพยายาม
หลีกเหลี่ยงการเกณฑ์ทหารของเหล่านักศึกษาเกาหลี รวมไปถึงสถานะของทหารชาวเกาหลีที่อยู่ใน
กองทัพญี่ปุ่นที่ถูกทำร้ายร่างราวกับเป็นศัตรูมากกว่าทหารในกองทัพเดียวกัน

4.) การปลูกฝังวัฒนธรรมญี่ปุ่น
ในช่ ว งที ่ เ กาหลี อ ยู ่ ภ ายใต้ ก ารปกครองของญี ่ ป ุ ่ น นั ้ น ญี ่ ป ุ ่ น ได้ ด ำเนิ น นโยบายในการ
เปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมของชาวเกาหลีให้เป็นแบบญี่ปุ่น ไม่ว่าจะเป็นการแต่งกาย การใช้ชื่อนามสกุล
แบบญี่ปุ่น ใช้ภาษาญี่ปุ่นในการเรียนการสอนโดยให้คนญี่ปุ่นเข้าไปเป็นครูในโรงเรียนและสั่งห้ามการ
ใช้ภาษาเกาหลี รวมไปถึงการปลูกฝังการเป็นประชาชนผู้ภักดีต่อจักรพรรดิ ซึ่ง ปรากฏให้เห็นใน
ภาพยนตร์ถึง 5 เรื่องด้ว ยกัน คือ ภาพยนตร์เ รื่อง The Last Princess (2016), Dongju: The
Portrait of a Poet (2016), The Spirits’ Homecoming (2016), Snowy Road (2017) และ
The battleship island (2017) โดยแบ่งประเด็นย่อยออกได้เป็น 4 ประเด็น ดังนี้
ประเด็นในเรื่องของการแต่งกาย ปรากฏให้เห็นในภาพยนตร์เรื่อง The Last Princess
(2016) และThe battleship island (2017) โดยสำหรับเรื่อง The Last Princess (2016) ปรากฏ
ในฉากที่ที่ปรึกษาราชวงศ์ ฮัน แทคซู ส่งชุดกิโมโน ชุดประจำชาติของญี่ปุ่นมาให้เจ้าหญิงท๊อก-ฮเยใส่
ในงานที่คณะรัฐมนตรีญี่ปุ่นมาร่วมงาน เพื่อโปรโมตความเป็นญี่ปุ่นในเกาหลี
66

ภาพที่ 42 ชุดกิโมโนทีถ่ ูกส่งมาให้เจ้าหญิงท๊อก-ฮเย ที่มา : ภาพยนตร์เรื่อง The Last Princess

ในขณะเดียวกันกับภาพยนตร์เรื่อง The battleship island (2017) ที่ตัวละคร โซฮี, โอ มัล-


นยองและบรรดาผู้หญิงเกาหลีที่ถูกพามาเป็นหญิงบำเรอที่เกาะฮาชิมะใส่ชุดกิโมโนในงานเลี้ยงของ
เหล่าผู้ดูแลเหมืองที่เกาะฮาชิมะ หรือแม้แต่ตอนที่ต้องทำงานบริการคนญี่ปุ่นก็ใส่ชุดกิโมโน

ภาพที่ 43 ผู้หญิงเกาหลีที่ต้องใส่ชุดประจำชาติญี่ปุ่น ที่มา : ภาพยนตร์เรื่อง The battleship island


67

ภาพที่ 44 ผู้หญิงเกาหลีที่ต้องใส่ชุดประจำชาติญี่ปุ่น ที่มา : ภาพยนตร์เรื่อง The battleship island

ต่อมาคือประเด็นของการเปลี่ยนชื่อจากชื่อเกาหลีไปใช้ชื่อญี่ปุ่น ในช่วงที่เกาหลีอยู่ภายใต้การ
ปกครองของญี่ปุ่น มีคนเกาหลีจำนวนไม่น้อยที่เปลี่ยนชื่อจากชื่อเกาหลีไปเป็นชื่อญี่ปุ่น บางส่วน
เปลี่ยนเพื่อความอยู่รอด แต่บางส่วนเปลี่ยนเพราะทำงานให้รัฐบาลญี่ปุ่น โดยในประเด็นการเปลี่ยนชื่อ
ได้ปรากฎให้เห็นในภาพยนตร์เรื่อง Dongju: The Portrait of a Poet (2016) และ The Spirits’
Homecoming (2016)
ภาพยนตร์เรื่อง Dongju: The Portrait of a Poet (2016) ได้สะท้อนให้เห็นถึงคนเกาหลีที่
ต้องเปลี่ยนชื่อเป็นชื่อญี่ปุ่นเพื่อความอยู่รอดในสังคมที่ญี่ปุ่นต้องการให้เห็น ซึ่งสะท้อนผ่านตัวของยุน
ดงจู และซง มงกยู ที่ต้องการไปเรียนต่อที่ญี่ปุ่น จึงจำเป็นต้องเปลี่ยนชื่อจาก ยุน ดงจู เป็น ฮิรานุมะ
โดจู ส่วนซง มงกยู เปลี่ยนเป็น โซมูระ มุเกอิ ในขณะเดียวกันที่มหาวิทยาลัยยอนฮี ก็ได้มีการประกาศ
ให้นักศึกษาเปลี่ยนชื่อ

ภาพที่ 45 ใบเปลี่ยนชื่อของยุน ดงจู ที่มา : ภาพยนตร์เรื่อง Dongju: The Portrait of a Poet


68

ภาพที่ 46 ประกาศให้มีการเปลี่ยนชือ่ เป็นชื่อญี่ปุ่น ที่มา : ภาพยนตร์เรื่อง Dongju: The Portrait of a Poet

ส่วนในภาพยนตร์เรื่อง The Spirits’ Homecoming (2016) ในฉากที่ทหารญี่ปุ่นถามถึงชื่อ


ของจองมิน โดยเธอเลือกที่จะบอกชื่อญี่ปุ่นของเธอแทนนั้นก็คือ มาซาโกะ

ภาพที่ 47 ชื่อญี่ปุ่นของจองมิน ที่มา : ภาพยนตร์เรื่อง The Spirits’ Homecoming

ต่อมาคือประเด็นในเรื่องของการใช้ภาษาญี่ปุ่นและสั่งห้ามการใช้ภาษาเกาหลี หลังจากที่
ญี่ปุ่นได้ดำเนินนโยบายในการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมของชาวเกาหลีให้เป็นแบบญี่ปุ่น ก็มีการสั่งห้าม
ใช้ภาษาเกาหลีและให้ใช้ภาษาญี่ปุ่นแทน ซึ่งปรากฏให้เห็นในภาพยนตร์เรื่อง Dongju: The Portrait
of a Poet (2016) และ Snowy Road (2017)
69

ภาพยนตร์เรื่อง Dongju: The Portrait of a Poet (2016) บทกวีของยุน ดงจู ที่เขียนเป็น


ภาษาเกาหลีท ั ้ง หมด ไม่ ส ามารถตี พ ิ ม พ์ไ ด้ เพี ย งเพราะเป็น ภาษาเกาหลี จึ ง ต้ อ งมี ก ารแปลเป็น
ภาษาญี่ปุ่นและภาษอังกฤษ เพื่อที่จะให้บทกวีของตนสามารถพิมพ์ได้ เห็นได้จากบทสนทนาต่อไปนี้
“ยุน ดงจู : ความจริงแล้ว ผมเขียนบทกวีอยู่ครับ
ศจ.ทาคามัสซึ : อย่างนั้นหรือนี่? เช่นนั้นเธอก็เป็นกวีสินะ
ยุน ดงจู : ผมยังไม่เคยมีผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์เลยครับ ผมจึงไม่สามารถเรียกตัวเองเช่นนั้นได้
ศจ.ทาคามัสซึ : ที่เธอยังไม่ส ามารถตีพิมพ์มันออกมาเพราะบทกวีของเธอเป็นภาษาเกาหลีใช่
ไหม?...”178

ภาพที่ 48 การสนทนาระหว่างยุน ดงจูกับศจ.ทาคามัสซึ ที่มา : ภาพยนตร์เรื่อง Dongju: The Portrait of a Poet

178 บทสนทนาระหว่างยุน ดงจูกับศจ.ทาคามัสซึ ที่มา : ภาพยนตร์เรื่อง Dongju: The Portrait of a Poet


70

ในขณะเดียวกันภาพยนตร์เรื่อง Snowy Road ได้สะท้อนให้เห็นถึงการศึกษาในโรงเรียนที่ถูก


สอนเป็นภาษาญี่ปุ่น และครูที่สอนบางคนก็เป็นทหารญี่ปุ่น

ภาพที่ 49 โรงเรียนที่ดูแลโดยรัฐบาลญีป่ ุ่น ที่มา : ภาพยนตร์เรื่อง Snowy Road

ประเด็นสุดท้ายคือเรื่องของการปลูกฝังการเป็นประชาชนผู้ภักดีต่อจักรพรรดิและจักรวรรดิ
ปรากฏให้เห็นในภาพยนตร์ถึง 2 เรื่องด้วยกันคือ ภาพยนตร์เรื่อง Assassination (2015), Snowy
Road (2017) และ The battleship island (2017)
สำหรับภาพยนตร์เรื่อง Snowy Road (2017) จะมีฉากที่ครูชาวญี่ปุ่นให้เด็กชาวเกาหลี
ท่องจำคำปฏิญาณตนที่จะเป็นประชาชนของจักรวรรดิญี่ปุ่น ตลอดจนการปลูกฝังในการเป็นพลเมืองที่
ดี และการรับใช้ชาติด้วยการเป็นทหาร
“ปีนี้เป็นปีที่สำคัญในการตัดสินชัยชนะของสงคราม เหล่าวัยรุ่นทุกคนจะต้องเข้าร่ว มกองทัพ
และช่วยประเทศให้ชนะสงคราม จงจำไว้ว่าพวกเธอคือทหารญี่ปุ่น”179

179 คำพูดของครูชาวญี่ปุ่นทีพ่ ูดกับเด็กหญิงชาวเกาหลี ที่มา : ภาพยนตร์เรื่อง Snowy Road


71

ภาพที่ 50 ครูชาวญี่ปุ่นที่ปลูกฝังความคิดให้กับเด็กเกาหลี ที่มา : ภาพยนตร์เรื่อง Snowy Road

ในขณะเดีย วกัน ภาพยนตร์เรื่อง The battleship island (2017) มีฉากที่โ ซฮี ตะโกนว่า
“จักรพรรดิ จงเจริญ” แสดงให้เห็นว่าแม้แต่เด็กก็ยังถูกปลูกฝังวิธีการแสดงความภักดีต่อจักรพรรดิ
ด้วยการตะโกนสรรเสริญ และในภาพยนตร์เรื่อง Assassination (2015) มีฉากที่สถานีรถไฟ ซึ่งเป็น
เวลาที่ต้องเคารพธงชาติก่อนจะประกาศให้ทุกคนที่อยู่ในสถานีรถไฟหยุดยืนตรงเคารพธงชาติ

ภาพที่ 51 โซฮีร้องตะโกนสรรเสริญจักรพรรดิญี่ปุ่น ที่มา : ภาพยนตร์เรื่อง The battleship island


72

ภาพที่ 52 การเคารพธงชาติญี่ปุ่นในสถานีรถไฟ ที่มา : ภาพยนตร์เรื่อง Assassination

จากภาพยนตร์ทั้ง 5 เรื่องที่มีการกล่าวถึงประเด็นเรื่องของการปลูกฝังวัฒนธรรมญี่ปุ่น โดย


ต้องสื่อให้เห็นถึงการพยายามล้มล้างวัฒนธรรมเกาหลี และแทนที่ด้วยวัฒนธรรมญี่ปุ่น ไม่ว่าจะเป็น
การแต่งกาย การใช้ชื่อนามสกุลแบบญี่ปุ่น ใช้ภาษาญี่ปุ่นในการเรี ยนการสอนโดยให้คนญี่ปุ่นเข้าไป
เป็นครูในโรงเรียนและสั่งห้ามการใช้ภาษาเกาหลี รวมไปถึงการปลูกฝังการเป็นประชาชนผู้ภักดีต่อ
จักรพรรดิ เพื่อสร้างพลเมืองที่พึงประสงค์ของจักรวรรดิ
5.) ตัวละคร “ผู้ทรยศ”
สำหรับในเรื่องของ ตัวละคร “ผู้ทรยศ” ที่ปรากฏในภาพยนตร์ทั้ง 8 เรื่องนี้คือ ตัวละครคน
เกาหลีที่หันไปภักดีกับญี่ปุ่นและหันมาทำร้ายคนเกาหลีด้วยกัน ซึ่งในช่วงที่เกาหลีอยู่ ภายใต้การ
ปกครองของญี่ปุ่นนั้น ญี่ปุ่นได้จำกัดอาชีพบางอาชีพให้กับคนญี่ปุ่นเท่านั้น ทำให้คนเกาหลีไม่มีสิทธิใน
อาชีพบางอาชีพ แต่มีอาชีพเดียวที่จ้างคนเกาหลีมาทำงานคือ ตำรวจ ซึ่งมีอำนาจพิจารณาการตัดสิน
คดีลหุโทษ ทำให้ตำรวจกลายเป็นที่เกลียดชังของชาวเกาหลีทั่วไป แสดงให้เห็นถึงการพยายามที่จะ
สร้างความหวาดระแวงและความไม่ไว้วางกันในหมู่ชาวเกาหลี 180 ดังจะเห็นได้จากภาพยนตร์เรื่อง
Assassination (2015), The Last Princess (2016), The Spirits’ Homecoming (2016),
Snowy Road (2017) และ The battleship island (2017)

180
นภดล ชาติประเสริฐ. (2560). เกาหลีปัจจุบัน Korea Today. ปทุมธานี : ศูนย์เกาหลีศึกษา สถาบันเอเชียตะวันออกศึกษาฯ
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. 33.
73

ภาพที่ 53 ตัวละคร “ผู้ทรยศ” ในภาพยนตร์เรื่อง Assassination ที่มา : ภาพยนตร์เรื่อง Assassination

ในส่วนของภาพยนตร์เรื่อง The Last Princess (2016) มีการสะท้อนให้เห็นว่าตัวละคร “ผู้


ทรยศ” ในเรื่องนั้น ส่วนใหญ่จะเป็นกลุ่มขุนนางที่ได้ขึ้นเป็นคณะรัฐมนตรีและคนที่ต้องการไต่เต้าไปสู่
ตำแหน่งที่สูงกว่า อย่างตัวละคร ที่ปรึกษา ฮัน แทซู ที่ไต่เต้าจากผู้ติดตามไปเป็นที่ปรึกษาราชวงศ์
“คณะรัฐมนตรี : ข่าวที่ว่าพระเองค์ปฎิเสธการรวมดินแดนเกาหลีและญี่ปุ่น ถึงหูจักรพรรดิ
ญี่ปุ่นแล้วพะยะค่ะ
พระเจ้าโกง : แล้วยังไง
คณะรัฐมนตรี : กระหม่อมจะจัดการให้พระองค์ได้ไปเยือนญี่ปุ่น
พระเจ้าโกง : ให้ข้าไปหมอบต่อหน้าจักรพรรดิที่นั้นหรือ เจ้ากล้าเรียกตัวเองว่าเป็นข้ารับใช้ข้ าได้
ยังไง
คณะรัฐมนตรี : ตอนนี้กระหม่อมรับใช้จักรพรรดิของญี่ปุ่น จากรัฐบาลเจ้าอาณานิคมพะยะค่ะ
พระเจ้าโกง : ข้าไม่เคยยอมรับเรื่องการรวมดินแดนเกาหลีและญี่ปุ่น...”181
จากบทสนทนาข้างต้นจะเห็นได้อย่างชัดเจนว่ามีคนเกาหลีหลายคนที่เลือกที่จะหันไปภักดีกับ
จักรวรรดิญี่ปุ่นแทนประเทศของตน

181 บทสนทนาของคณะรัฐมนตรีกับพระเจ้าโกจง ที่มา : ภาพยนตร์เรื่อง The Last Princess


74

ภาพที่ 54 ตัวละคร “ผู้ทรยศ” ในภาพยนตร์เรื่องนี้คือ เหล่าขุนนางชั้นสูง ที่มา : ภาพยนตร์เรื่อง The Last Princess

ภาพที่ 55 ตัวละคร “ผู้ทรยศ” ในภาพยนตร์เรื่องนี้คือ ที่ปรึกษาฮัน แทคซู ที่มา : ภาพยนตร์เรื่อง The Last Princess

สำหรับภาพยนตร์เรื่อง The Spirits’ Homecoming (2016) จะมีฉากที่เด็กผู้หญิงเกาหลีที่


ถูกพามาเป็นหญิงบำเรอได้เจอกับคนดูสถานที่ให้บริการทหารญี่ปุ่น ซึ่งหนึ่งในคนที่ดูแลสถานที่นั้นเป็น
คนเกาหลี ในขณะเดียวกันภาพยนตร์เรื่อง Snowy Road (2017) จะมีฉากที่จองบุนถูกคนเกาหลีบุก
ไปจับตัวถึงในห้องนอนตอนกลางคืน เพื่อเอาตัวเธอไปขายให้กับพวกญี่ปุ่น
75

ภาพที่ 56 คนเกาหลีที่ดูแลสถานที่ที่เหล่าหญิงบำเรอต้องมาบริการทหารญี่ปุ่น ที่มา : ภาพยนตร์เรื่อง The Spirits’ Homecoming

ภาพที่ 57 ครูชาวญี่ปุ่นที่ปลูกฝังความคิดให้กับเด็กเกาหลี ที่มา : ภาพยนตร์เรื่อง Snowy Road

ภาพยนตร์ อ ี ก เรื ่ อ งที ่ ส ะท้ อ นเรื ่ อ งของตั ว ละคร “ผู ้ ท รยศ” คื อ ภาพยนตร์ เ รื ่ อ ง The
battleship island (2017) ซึง่ ถูกสะท้อนผ่านคำพูดของโอ มัล-นยอน หญิงสาวที่ถูกคนเกาหลีด้วย
กันเองหลอกให้มาขายตัวให้ทหารญี่ปุ่น
“...คนที่ส่งไปกองทัพจีนหรือญี่ปุ่นเป็นคนเกาหลี ตอนที่ ญี่ปุ่นถอยทัพฉันหนีรอดมาได้ คนที่
จับฉันส่งกลับมาก็เป็นพวกเกาหลีอีกนั้นแหละ แล้วจะให้ฉันไปอ้อนวอนพวกเกาหลีอีกรึไง...”182

182 คำพูดของโอ มัล-นยองที่พูดกับชเว ชิลซอง ที่มา : ภาพยนตร์เรื่อง The battleship island


76

จากคำพูดของโอ มัล -นยอง ได้สะท้อนให้เห็นถึงการที่คนเกาหลีทำร้ายและหลอกลวงคน


เกาหลีด้วยกันเอง
จากภาพยนตร์ทั้ง 8 เรื่องที่มีเนื้อเรื่องอยู่ในช่วงที่เกาหลีอยู่ภายใต้การปกครองของญี่ปุ่นได้
สะท้อนให้เห็นว่า นับตั้งแต่ปีค.ศ.2009 มาจนถึงปัจจุบัน(2019) ได้มีการสร้างและผลิตซ้ำภาพลักษณ์
ของญี่ปุ่นมาโดยตลอดและอาจจะไม่ได้มีภาพยนตร์แค่ 8 เรื่องนี้เท่านั้น แต่ยังมีภาพยนตร์อีก 2 เรื่อง
คือ เรื่อง HERSTORY ซึ่งเป็นเรื่องราวของผู้ที่ถูกบังคับให้เป็นหญิงบำเรอในช่วงสงครามที่ออกมา
ฟ้องร้องรัฐบาลญี่ปุ่น ซึ่งสร้างมาจากเรื่องจริงและมีโครงเรื่องคล้ายคลึงกับภาพยนตร์เรื่ อง I Can
Speak ภาพยนตร์เรื่องต่อมาคือเรื่อง A Resistance ที่เข้าฉายเมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2019 เนื่อง
ในโอกาสฉลองครบรอบ 100 ปี วันซัมอิลจอล ซึ่งภาพยนตร์เรื่องนี้เป็นภาพยนตร์ที่เกี่ยวกับนักต่อสู้
เพื่ออิสรภาพหญิง ยู กวานซุน
จะเห็ น ได้ ว ่ า นั บ ตั ้ ง แต่ ป ี ค .ศ.2009 มาจนถึ ง ปั จ จุ บ ั น (2019) ได้ ม ี ก ารสร้ า งและผลิ ต ซ้ ำ
ภาพลักษณ์ของญี่ปุ่นมาโดยตลอด ซึ่งจากภาพยนตร์ทั้ง 8 เรื่องก็ได้ให้ภาพลักษณ์ของญี่ปุ่นที่ทั้ง
คล้ายคลึงกันและแตกต่างกัน โดยแบ่งออกเป็น 2 ด้านคือ
1.) ภาพลักษณ์ด้านบวก จะปรากฏให้เห็น น้อยมาก ซึ่งจากภาพยนตร์ที่ศึกษาทั้ง 8 จะมี
เพียง 2 เรื่องเท่านั้นที่สร้างภาพลักษณ์ของญี่ปุ่นในทางบวกนั้นก็คือเรื่อง Dongju: The Portrait of
a Poet ที่ถ่ายทอดผ่านตัวละครที่ประกอบอาชีพเป็นอาจารย์และนักศึกษา อีกทั้งยังเป็นภาพยนตร์ที่
แทบจะไม่ ม ี ภ าพลั ก ษณ์ ท างลบให้ เห็ นอี ก ด้ ว ย ต่ อ มาคื อ เรื ่ อ ง The Spirits’ Homecoming ที่
ค่อนข้างสร้างความประหลาดใจเนื่องจากได้มีการสร้างภาพลักษณ์ของญี่ปุ่นให้ไปทางลบ แต่กลับมี
ฉากที่แสดงให้เห็นถึงภาพลักษณ์ทางบวกปรากฏขึ้นมา
2.) ภาพลักษณ์ด้านลบ จะเป็นสิ่งที่เห็นได้ชัดเจนมาก ซึ่งจากภาพยนตร์ที่ศึกษาทั้ง 8 เรื่อง มี
ถึง 7 เรื่องที่สร้างภาพลักษณ์ให้แก่ญี่ปุ่นในทางลบและส่วนใหญ่จะถูกถ่ายทอดผ่านตัวละครที่เป็น
ทหารตั้งแต่ชั้นผู้น้ อยไปจนถึงเหล่านายพล โดยภาพลักษณ์ที่ปรากฏจะแสดงออกผ่านทั้งทางการ
กระทำและคำพูด ไม่ว่าจะเป็นการสังหารเด็กสาวที่เป็นหญิงบำเรอ การทำร้ายร่างกาย การใช้ความ
รุนแรง การใช้คำพูดที่ดูถูกเหยียดหยามทางชนชาติ ซึ่งทั้งหมดที่กล่าวมาจะปรากฏในบทบาทของ
ทหารญี่ปุ่นแทบทั้งสิ้น
หากสังเกตให้ดีจะเห็นว่าภาพยนตร์ที่ศึกษาเรื่องแรกเป็นภาพยนตร์ในปีค.ศ. 2009 และ
กระโดดมาเป็นปีค.ศ. 2015 มาจนถึงปัจจุบัน (2019) แม้ว่าระยะเวลาจากปีค.ศ. 2009 กับปีค.ศ.
2015 จะทิ้งระยะห่างของการสร้างภาพยนตร์ที่มีเนื้อเรื่องอยู่ในช่วงที่เกาหลีอยู่ภายใต้การปกครอง
ของญี่ปุ่นไปก็ตาม แต่หลังจากปีค.ศ. 2015 เป็นต้นมาจะเห็นว่ามีภาพยนตร์ที่มีเนื้อเรื่องอยู่ในช่วงที่
เกาหลีอยู่ภายใต้การปกครองของญี่ปุ่นถูกผลิตออกมาแทบทุกปี บางปีก็มีมากกว่าหนึ่งเรื่อง อีกทั้งการ
ที่รัฐบาลเกาหลีก่อตั้ง Korean Film Council (สมาพันธ์ภาพยนตร์แห่งเกาหลี) ทำให้เห็นว่าได้ชัดเจน
ว่ารัฐบาลมีบทบาทในการสร้างและผลิตภาพยนตร์ที่มีการสอดแทรกเนื้อหาในการโจมตีญี่ปุ่น ดั่งที่
ปรากฏในภาพยนตร์ทั้ง 8 เรื่อง ซึ่งเป็นการยืนยันได้ว่ามีการสร้างและผลิตซ้ำภาพลักษณ์ของญี่ปุ่นผ่าน
ภาพยนตร์อยู่ตลอด
77

บทที่ 4
สรุป

จากการศึกษาเรื่อง ภาพยนตร์เกาหลีกับการสร้างภาพลักษณ์ของญี่ปุ่น ตั้งแต่ ค.ศ. 2001 –


ปัจจุบัน (2019) โดยได้ทำการศึกษาจากภาพยนตร์ที่มีเนื้อเรื่องอยู่ในช่วงปลายโชชอน(ปลายศตวรรษ
ที่ 19) จนถึงช่วงที่เกาหลีอยู่ภายใต้การปกครองของญี่ปุ่น (1910-1945) ผ่านภาพยนตร์ของเกาหลี
ตั้งแต่ 2009 – 2019 จำนวน 8 เรื่อง ซึ่งได้สะท้อนให้เห็นว่ายังคงการสร้างและผลิตซ้ำภาพลักษณ์ของ
ญี่ปุ่น ผ่าน 5 ประเด็น คือ หญิงบำเรอ หรือ Comfort Women การใช้แรงงานทาส การเกณฑ์ทหาร
การปลูกฝังวัฒนธรรมญี่ปุ่น และตัวละคร “ผู้ทรยศ” ซึ่งทั้ง 5 ประเด็นกล่าวได้สะท้อนให้เห็นถึ ง
ภาพลักษณ์ของญี่ปุ่นทั้งในทางที่ดีและทางที่ไม่ดี ดังนี้
ภาพลักษณ์ด้านบวก เป็นด้านที่ปรากฏให้เห็นน้อยมาก ซึ่งจากภาพยนตร์ที่ศึกษาทั้ง 8 จะมี
เพียง 2 เรื่องเท่านั้นที่สร้างภาพลักษณ์ของญี่ปุ่นในทางบวกนั้นก็คือเรื่อง Dongju: The Portrait of
a Poet ที่ถ่ายทอดผ่านตัวละครที่ประกอบอาชีพเป็นอาจารย์และนักศึกษา อีกทั้งยั งเป็นภาพยนตร์ที่
แทบจะไม่ ม ี ภ าพลั ก ษณ์ท างลบให้ เ ห็ นอี ก ด้ ว ย ต่ อ มาคื อ เรื ่ อ ง The Spirits’ Homecoming ที่
ค่อนข้างสร้างความประหลาดใจเนื่องจากได้มีการสร้างภาพลักษณ์ของญี่ปุ่นให้ไปทางลบ แต่กลับมี
ฉากที่แสดงให้เห็นถึงภาพลักษณ์ทางบวกปรากฏขึ้นมา
ภาพลักษณ์ด้านลบ จะเป็นสิ่งที่เห็นได้ชัดเจนมาก ซึ่งจากภาพยนตร์ที่ศึกษาทั้ง 8 เรื่อง มีถึง
7 เรื่องที่สร้างภาพลักษณ์ให้แก่ญี่ปุ่นในทางลบและส่วนใหญ่จะถูกถ่ายทอดผ่านตัวละครที่เป็นทหาร
ตั้งแต่ชั้นผู้น้อยไปจนถึงเหล่านายพล โดยภาพลักษณ์ที่ปรากฏจะแสดงออกผ่านทั้งทางการกระทำและ
คำพูด ไม่ว่าจะเป็นการสังหารเด็กสาวที่เป็นหญิงบำเรอ การทำร้ายร่างกาย การใช้ความรุนแรง การใช้
คำพูดที่ดูถูกเหยียดหยามทางชนชาติ ซึ่งทั้งหมดที่กล่าวมาจะปรากฏในบทบาทของทหารญี่ปุ่นแทบ
ทั้งสิ้น
หากสังเกตช่วงเวลาที่ภาพยนตร์ทั้ ง 8 เรื่อง เข้าฉาย จะพบว่าภาพยนตร์ที่ศึกษาเรื่องแรกคือ
The Sword with No Name เป็นภาพยนตร์ ที่เข้าฉายในปีค.ศ. 2009 และภาพยนตร์เรื่องต่อคือ
Assassination เข้าฉายในปีค.ศ. 2015 จะเห็นช่วงเวลาที่สร้างและเข้าฉายห่างกันถึง 7 ปี อีกทั้งตั้งแต่
ปีค.ศ. 2015 มาจนถึงปัจจุบัน (2019) กลับมีการสร้างและผลิตซ้ำภาพยนตร์ที่มีเนื้อเรื่องอยู่ในช่วงที่
เกาหลีอยู่ภายใต้การปกครองของญี่ปุ่นเรื่อยมา และในบางปีก็มีภาพยนตร์แบบนี้ออกมามากกว่าหนึ่ง
เรื่อง
จากข้อมูลข่าวสารทำให้พบว่าในช่วงปีค.ศ. 2015-2018 ในประเทศเกาหลีได้เกิดกระแสการ
เคลื่อนไหวเกี่ยวกับประเด็นของหญิงบำเรอ หรือ Comfort Women โดยการที่ประธานาธิบดีปาร์ค
กึน-ฮเย กับนายกรัฐมนตรีชินโซ อาเบะ ของญี่ปุ่นได้ร่วมกันลงนามในข้อตกลงยุติความขัดแย้งกรณี
78

หญิงบำเรอ ซึ่งมีการวิพากษ์วิจารณ์ข้อตกลงดังกล่าวว่าไม่ได้คำนึงถึงความต้องการของอดีตหญิง
บำเรอ ภาคประชาสังคมเกาหลีใต้จัดทำรูปปั้นหญิงบำเรอขึ้นมาอีกตัวหนึ่งและนำไปตั้งที่หน้าสถาน
กงสุลญี่ปุ่นในปูซาน หลังจากที่มีการตั้งรูปปั้นครั้งแรกในปีค.ศ. 2011 ที่หน้าสถานทูตญี่ปุ่นในกรุงโซล
ขณะเดียวกันก็เกิดปรากฏการณ์ตั้งรูปปั้นหญิงบำเรอในอีกหลายประเทศ และเมื่อวั นที่ 14 สิงหาคม
2019 ก็ได้มีการตั้งรูปปั้นหญิงบำเรอที่นัมซันเพิ่มขึ้นมา183 ซึง่ ส่งผลให้มีการสร้างและผลิตภาพยนตร์ที่
เกี่ยวข้องกับประเด็นของหญิงบำเรอขึ้นมาแทบทุกปี ไม่ว่าจะเป็น ภาพยนตร์เรื่อง The Spirits’
Homecoming ที่เข้าฉายในปีค.ศ. 2016, Snowy Road เวอร์ชั่นละครโทรทัศน์ ออกอากาศในปีค.ศ.
2015 และเวอร์ชั่นภาพยนตร์เข้าฉายในปีค.ศ. 2017 , The battleship island เข้าฉายในปี 2017 , I
Can Speak เข้าฉายในปีค.ศ. 2017 และเรื่องล่าสุดคือ HERSTORY เข้าฉายในปีค.ศ. 2018 เพื่อเป็น
เครื่องมือในการกดดันญี่ปุ่นทางอ้อม
ในขณะเดียวกันช่วงปีค.ศ. 2015-2017 จากการที่รัฐบาลญี่ปุ่นได้ยื่นเรื่องต่อยูเนสโกในการขึ้น
ทะเบียนเกาะฮาชิมะให้เป็นมรดกโลก ซึ่งเกาะฮาชิมะเป็นเกาะที่อยู่ใกล้แหล่งถ่านหิน จึงเริ่มมีการ
เกณฑ์คนจำนวนมากเข้าไปเป็นแรงงานเพื่อขุดเจาะถ่านหิน ซึ่งแรงงานส่วนใหญ่จะเป็นคนเกาหลี
และในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 แรงงานทุกคนก็ยังต้องทำงานหนักขึ้น ทำให้ช่วงเวลานั้นมีแรงงานชาว
เกาหลีเสียชีวิตไป 122 คน184 จึงสร้างความไม่พอใจให้แก่คนเกาหลี คณะกรรมการยูเนสโกจึงกำหนด
เงื่อนไขในการขึ้นทะเบียนเกาะฮาชิมะ โดยการที่ญี่ปุ่นต้องยอมรับในการกระทำที่เคยกั บแรงงานใน
อดี ต และเกาหลี ก ็ ไ ด้ ม ี ก ารผลิ ต ภาพยนตร์ เรื ่ อ ง The Battleship Island (2017) ขึ ้ น มา โดย
ภาพยนตร์เรื่องนี้เล่าถึงประวัติศาสตร์ช่วงที่ญี่ปุ่นเอาแรงงานเกาหลีไปใช้แรงงานที่เกาะฮาชิมะ ซึ่งเป็น
เกาะที่มีถ่านหิน ซึ่งญี่ปุ่นได้ใช้ถ่านหินเหล่านี้พัฒนาประเทศช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง เพื่อเป็น
เครื่องมือในการกดดันญี่ปุ่นทางอ้อมเช่นเดียวกันกับประเด็นของหญิงบำเรอ
นอกจากการสร้างและผลิตภาพยนตร์ตามสถานการณ์ของประเทศแล้วยังมีการสร้างและผลิต
ภาพยนตร์เนื่องในโอกาสวันสำคัญของประเทศอีกด้วย เห็นได้จากมีภาพยนตร์ 3 เรื่องที่เข้าฉายในช่วง
วันซัมอิลจอล(삼일절) หรือ วันการเคลื่อนไหวเพื่อเอกราช นั้นคือ ภาพยนตร์เรื่อง The Spirits’
Homecoming เข้าฉายวันที่ 1 มีนาคม ค.ศ. 2016 , Snowy Road เข้าฉายในวันที่ 1 มีนาคม ค.ศ.
2017 และ A resistance ซึ่งเข้าฉายในวันที่ 27 กุมภาพันธ์ ค.ศ.2019
ดังนั้นจึงสรุปได้ว่าจากภาพยนตร์ทั้ง 8 เรื่องมีการสร้างภาพลักษณ์ของญี่ปุ่นออกมาทั้งด้านดี
และไม่ดี ขณะเดียวกันก็ยังมีการผลิตซ้ำภาพลักษณ์เหล่านั้นออกมาเรื่อยๆ แต่ส่วนของเนื้อเรื่องของ
ภาพยนตร์ที่แม้จะอยู่ในช่วงเวลาเดียวกันทุกเรื่องแต่ก็จะมีบางเรื่องที่สร้างภาพลักษณ์ของ ญี่ปุ่นให้

183 สุชาดา เลี้ยงชูศักดิ์. (2019). หญิงบำเรอ : ประวัติศาสตร์ บาดแผล และการต่อรองบนเวทีระหว่างประเทศของเกาหลีใต้กับญี่ปุ่น.


สืบค้นเมื่อ 1 พฤศจิกายน 2562 จาก : https://www.the101.world/history-of-comfort-women-agreement/
184 ณัฐนันท์ เฉลิมพนัส. (2017). เปิดตำนานเกาะฮาชิมะ ‘คุกนรก’ ที่ซงจุงกิถูกส่งตัวเข้าไป. สืบค้นเมื่อ 3 พฤศจิกายน 2562 จาก :

https://thestandard.co/culture-film-the-battleship-island/
79

ออกมาแตกต่างจากภาพยนตร์บางเรื่อง รวมไปถึงบริบทและสถานการณ์ระหว่างเกาหลีและญี่ปุ่นที่ทำ
หน้าที่เป็นเสมือนตัวกำหนดการสร้างและผลิตซ้ำภาพลักษณ์ของญี่ปุ่นในช่วงเวลานั้นๆ
80

บรรณานุกรม
กานต์พิชชา วงษ์ขาว. (2550). สื่อละครโทรทัศน์เ กาหลีกับการเผยแพร่วัฒนธรรมเกาหลีใ น
สังคมไทย. วิทยานิพนธ์วาสารศาสตร์มหาบัณฑิต (สือสารมวลชน) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
เกษตรศาสตร์ เดชกุล. (2557). ชาตินิยมเกาหลีใต้ : กรณีศึกษา ข้อพิพาทเกาะด๊อกโด พ.ศ.2539-
2556. วิ ท ยานิ พ นธ์ ศ ิ ล ปศาสตร์ บ ั ณ ฑิ ต สาขาประวั ต ิ ศ าสตร์ ศิ ล ปศาสตร์ บ ั ณ ฑิ ต
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
จอห์น เค. แฟร์แบงค์, เอ็ดวิน โอ. ไรเชาเออร์, แอลเบิร์ต เอ็ม. เครก. (2550). เอเชียตะวันออกยุค
ใหม่ จีน ญี่ปุ่น เกาหลี ไต้หวัน. กรุงเทพฯ : มูลนิธิโตโยต้าประเทศไทย.
แดเนีย ล ทิ ว ดอร์. (2560). มหั ศ จรรย์ เ กาหลี จากเถ้า ถ่ า นสู ่ม หาอำนาจทางเศรษฐกิจและ
วัฒนธรรม (แปลจาก KOREA The Impossible Country โดย ฐิติพงษ์ เหลืองอรุณเลิศ).
กรุงเทพฯ : Openworld.
ธีปนันท์ เพ็ชร์ศรี, อลงกรณ์ คล้ายสีแก้ว, โสภณา เชาว์วิวัฒน์กุล. (2545). Korean Romance 15
หนั ง รั ก ประทั บ ใจและความเป็ น มาเป็ น ไปของหนั ง เกาหลี . กรุ ง เทพฯ : Blackberry
Publishing.
นงลักษณ์ ลิ้มศิริ. (2556). สันติภาพและความรักชาติ : ความรู้และมุมมองจากประวัติศาสตร์
สงครามในพิพิธภัณฑ์ญี่ปุ่น จีน และเกาหลี. กรุงเทพฯ : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย
(สกว.).
นภดล ชาติประเสริฐ. (2560). เกาหลีปัจจุบัน Korea Today. ปทุมธานี : ศูนย์เกาหลีศึกษา
สถาบันเอเชียตะวันออกศึกษาฯ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
นภดล ชาติประเสริฐ. (2557). ประวัติศาสตร์ความสัมพันธ์ระหว่างสาธารณรัฐเกาหลีกับญี่ปุ่น ค.ศ.
1965-2009. International Journal of East Asia Studies, 22(1), 94-120.
ปิยะการณ์ ไกรนรา. (2552). นโยบายต่างประเทศเกาหลีใต้ ด้านเศรษฐกิจ การเมือง : กรณีศึกษา
การส่งออกวัฒนธรรมผ่า นอุตสาหกรรมภาพยนตร์. วิทยานิพนธ์รัฐศาสตร์มหาบัณฑิต
มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
พรรณวิภา ชมภูงาม. (2553). การวิเคราะห์วิทยานิพนธ์ที่เกี่ยวข้องกับเกาหลีศึกษาในประเทศ
ไทยระหว่ า ง ค.ศ.1988-2009. วิ ท ยานิ พ นธ์ ศ ิ ล ปศาสตร์ บ ั ณ ฑิ ต สาขาเกาหลี ศ ึ ก ษา
(สหสาขาวิชา) บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
81

แพนดู รักมาติกา. (2556). ผลกระทบของความตึงเครียดทางการเมืองต่อความสัมพันธ์ทาง


วัฒนธรรมระหว่างเกาหลีใต้และญี่ปุ่น. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตร์ มหาบัณฑิต สาขาเกาหลี
ศึกษา (สหสาขาวิชา) บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
มาลิน ธราวิจิตรกุล. (2551). การวิเคราะห์การเล่าเรื่องในภาพยนตร์แนวรักของเกาหลี. การ
ค้นคว้าแบบอิสระ ศิลปะศาสตร์มหาบัณฑติ (สื่อศิลปะและการออกแบบสื่อ). เชียงใหม่ :
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
รงรอง วงศ์โอบอ้อม. (2561). ประวัติศาสตร์เกาหลี. กรุงเทพฯ : พี.เอ.ลีฟวิ่ง.
วิเชียร อินทะสี. (2551). เกาหลีใต้ภายใต้ระบอบอำนาจนิยมของรัฐบาลประธานาธิบดีอีซึงมัน.
วารสารเอเชียตะวันออกศึกษา. 12(2), 39-55.
วิเชียร อินทะสี. (2551). นโยบายต่างประเทศของญี่ปุ่นต่อเกาหลี ในช่วงการยึดครองและช่วงหลัง
การได้รับเอกราชจากญี่ปุ่น. มหาวิทยาลัยนเรศวร, 16(3), 221-228.
วิเชียร อินทะสี. (2551). ประสบการณ์การพัฒนาของเกาหลีใต้. วารสารเอเชียตะวันออกศึกษา.
13(1), 57-82.
ศรุตม์ เพชรสกุลวงศ์. (2554). ประวัติศาสตร์เอเชียตะวั นออก. สงขลา : มหาวิทยาลัยราชภัฏ
สงขลา.
อนุช อาภาภิรม. (2558). สงครามเย็นในแดนโสม : วิกฤตที่ยังไม่สิ้น. กรุงเทพฯ : มติชน.
อรรถจักร์ สัตยานุรักษ์. (2555). Japanization. กรุงเทพฯ : Openbook.

เอกสารจากเว็บไซต์
กรุณา บัวคำศรี. (2561). สันติภาพบนเส้นขนานที่ 38. สืบค้นเมื่อ 3 กันยายน 2562 จาก :
https://story.pptvhd36.com/@kbuakamsri/5ae2b10887156
เกรียงไกร กาญจนะโภคิน. (2560). ส่งออกวัฒนธรรม. สืบค้นเมื่อ 30 ตุลาคม 2562 จาก :
https://www.bangkokbiznews.com/blog/detail/642915
จิตติภัทร พูนขำ. (2561). ย้อนมอง “วิกฤตนิวเคลียร์เกาหลี” ผ่านบทเรียนประวัติศาสตร์ “วิกฤต
ขีปนาวุธคิวบา”. สืบค้นเมื่อ 5 กันยายน 2562 จาก : https://www.the101.world/nu
clear-crisis-from-cuba-to-north-korea/.
82

ชลธร วงศ์รัศมี. (2561). อ่านเกาหลีผ่านวัฒนธรรมบันเทิงร่วมสมัย กับ จักรกริช สังขมณี. สืบค้น


เมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 2562 จาก : https://www.the101.world/101-one-on-one-ep-30-
jakkrit/
ณัฐนันท์ เฉลิมพนัส. (2560). เปิดตำนานเกาะฮาชิมะ ‘คุกนรก’ ที่ซงจุงกิถูกส่งตัวเข้าไป. สืบค้น
เมื่อวันที่ 30 กันยายน 2562 จาก : https://thestandard.co/culture-film-the-battleship-
island/
โดม ไกรปกรณ์ . (มปป.). สงครามโลกครั ้ ง ที ่ 2. สื บ ค้ น เมื ่ อ 3 กั น ยายน 2562 จาก :
http://wiki.kpi.ac.th/index.php?title=สงครามโลกครั้งที_่ 2.
ทินวุฒิ ลิวานัค. (ม.ป.ป.). ส่อง CJ E&M บริษัทด้านสื่อบันเทิงชั้นนำของเกาหลีใต้ และการขยาย
ธุรกิจในไทย. สืบค้นเมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2562 จาก : https://songsue.co/2072/
ไทยรัฐออนไลน์. (2019). สหรัฐฯ ยันหารือด้วยดีกับเกาหลีเหนือ หลังเปียงยางบอกคุยล้มเหลว.
สืบค้นเมื่อ 30 ตุลาคม 2562 จาก : https://www.thairath.co.th/news/foreign/1676375
ธีรภัทร เจริญสุข. (ออนไลน์). ศาลเจ้ายาสุคุนิ การบูชาดวงวิญญาณ ความไม่ยอมรับผิด และการ
ทำใจให้ อ ภั ย . สื บ ค้ น เมื่ อ วั นที ่ 9 สิ ง หาคม 2562 จาก : https://www.the101.world
/yasukuni-shrine/.
นักเดินทางหลงทิศ. (2559). ประชาชนเกาหลีแห่ดูหนัง “ทาสบำเรอกาม” ทำรายได้ทะลุ 200
ล้านบาท. สืบค้นเมื่อวันที่ 24 ตุลาคม 2562 จาก : http://koreaseries.fanthai.com/?p=
30159
ประชาชาติธุรกิจ ออนไลน์. (2560). “The Battleship Island” ภาพยนตร์ฟอร์มยักษ์ที่น่าจับตา
มอง. สืบค้นเมื่อ 1 พฤศจิกายน 2562 จาก : https://www.prachachat.net/spinoff/enter
tainment/news-17245
ปิติ ศรีแสงนาม. (2561). บทเรียนจากความสำเร็จของกระแสนิยมวั ฒนธรรมเกาหลี. สืบค้นเมื่อ
5 กันยายน 2562 จาก : https://www.chula.ac.th/cuinside/6930/.
พลอย มัล ลิกะมาส. (มปป.). อัน ยอง ฮา เซ โย “โคเรีย เวฟ” (Korea Wave) ตอนที่ 1 :
ปรากฏการณ์วัฒนธรรมนำเศรษฐกิจ. สืบค้นเมื่อ 5 กันยายน 2562 จาก : http://www.tc
dc.or.th/articles/business-industrial/16363/ #อัน-ยอง-ฮา-เซ-โย-โคเรีย-เวฟ--Korea-
Wave-ตอนที่-1—ปรากฏการณ์วัฒนธรรมนำเศรษฐกิจ.
มนันญา ภู่แก้ว. (มปป.). สงครามเกาหลี. สืบค้นเมื่อ 3 กันยายน 2562 จาก : http://wiki.kpi.ac.th
/index.php?title=สงครามเกาหลี.
83

ศิลปวัฒนธรรม silpa-mag. (2562). เหยื่อ “บำเรอกาม” ทหารญี่ปุ่น ยุคสงครามโลกครั้งที่สอง.


สื บ ค้ น เมื ่ อ 1 พฤศจิ ก ายน 2562 จาก : https://www.silpa-mag.com/history/article_
15107
เสกสรร อานันทศิริเกียรติ. (2562). รำลึก 100 ปี ขบวนการเรียกร้องเอกราชเกาหลี. สืบค้นเมื่อ
3 กัน ยายน 2562 จาก : https://themomentum.co/100th-year-of-korea-declaring-
independence-from-japan/.
สุภีม ทองศรี. (2561). คลื่นบันเทิงเกาหลีซัดแรง ทะยานบุกโลกระลอก 3. สืบค้นเมื่อ 5 กันยายน
2562 จาก : https://www.posttoday.com/world/554742.
สุชาดา เลี้ยงชูศักดิ์. (2019). หญิงบำเรอ : ประวัติศาสตร์ บาดแผล และการต่อรองบนเวที
ระหว่ า งประเทศของเกาหลี ใ ต้ ก ั บ ญี ่ ป ุ ่ น . สื บ ค้ น เมื ่ อ 1 พฤศจิ ก ายน 2562 จาก :
https://www.the101.world/history-of-comfort-women-agreement/
หนังโปรดของข้าพเจ้า. (2560). ช่วยวิกฤติหนังไทยอย่างไรดี ลองดูเกาหลีเป็นตัวอย่าง. สืบค้น
เมื ่ อ วั น ที ่ 10 ตุ ล าคม 2562 จาก : https://themomentum.co/momentum-feature-
learning-korea-films-for-treat-thai-film-crisis/
เอกณัฏฐ์ สวัสดิ์หิรัญ. (มปป). ยู-กวานซุน : ฉันคืออิสรภาพ. สืบค้นเมื่อ 3 กันยายน 2562 จาก :
http://www.tpapress.com/knowledge_detail.php?k=106.
ฮิ ว แมน. (2558). เกาะฮาชิ ม ะมรดกโลก. สื บ ค้ น เมื ่ อ วั น ที ่ 27 ตุ ล าคม 2562 จาก :
https://www.dailynews.co.th/article/335746
BBC Thailand. (ออนไลน์). จีน-เกาหลีใต้ประท้วง รมว.กลาโหมญี่ปุ่นเยือนศาลเจ้ายาสุค ุนิ.
สื บ ค้ น เมื ่ อ วั น ที ่ 9 สิ ง หาคม 2562 จาก : https://www.bbc.com/thai/international-
38461407.
Channel Manager. (มปป.). Dongju: The Portrait of a Poet. สืบค้นเมื่อวันที่ 30 กันยายน
2562 จาก : https://www.viki.com/movies/33422c-dongju-the-portrait-of-a-poet
Imdb. (2016). Dongju. สืบค้นเมื่อวันที่ 30 กันยายน 2562 จาก : https://www.imdb.com/
title/tt5799928/
Jirachpun51002. (ม.ป.ป.). ประวัติภาพยนตร์เกาหลี. สืบค้นเมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 2562 จาก :
https://sites.google.com/site/jirachpun51002/home/prawati-phaphyntr-keahli
Koreanfilm.org. (ม.ป.ป.). Film Reviews. สืบค้นเมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2562 จาก : http://ko
reanfilm.org/.
84

korea.net. (ม.ป.ป). About Korea “History”. สื บ ค้ น เมื ่ อ วั น ที ่ 29 สิ ง หาคม 2562 จาก :


http://www.korea.net/AboutKorea/History/The-Fall-Joseon
Koreandrama. (2561). Snowy Road (ภาพยนตร์). สืบค้นเมื่อวันที่ 30 กันยายน 2562 จาก :
http://koreandramath.blogspot.com/2018/01/snowy-road.html
Koreandrama. (2561). Spirits' Homecoming (ภาพยนตร์). สืบค้นเมื่อวันที่ 30 กันยายน
2562 จาก : http://koreandramath.blogspot.com/2018/03/spirits-homecoming.html
my online world โลกใบเล็กของฉัน. (2561). THE LAST PRINCESS ภาพยนตร์ประวัติศาสตร์
หน้าหนึ่งของเจ้าหญิงองค์สุดท้ายของเกาหลี (2016). สืบค้นเมื่อวันที่ 30 กันยายน 2562
จาก : https://myonlineworld.co/2018/04/23/the-last-princess -ภาพยนตร์ ป ระวั ติ
ศาสตร/
Nuttaya Aunja. (ออนไลน์). เปิดที่มา สรุปสงครามการค้า เกาหลีใต้ -ญี่ปุ่น. สืบค้นเมื่อวันที่ 9
สิงหาคม 2562 จาก : https://workpointnews.com/2019/08/05/korea-japan/.
Nanatakara. (2553). The Sword with No Name (2009): องครักษ์พิทักษ์เธอ. สืบค้นเมื่อ
วันที่ 10 ตุลาคม 2562 จาก : https://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=nanataka
ra&month=04-2010&date=23&group=11&gblog=29
Orionworld. (ม.ป.ป.). Entertainment. สืบค้นเมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2562 จาก : http://www.
orionworld.com/ENG/company/entertainment02.asp
Positioning. (2561). CJ E&M ผู ้ ผ ลั ก ดั น Korean Wave สู ่ ต ลาดโลก. สื บ ค้ น เมื ่ อ วัน ที่ 31
ตุลาคม 2562 จาก : https://positioningmag.com/1192601
Posttoday. (ออนไลน์). บานปลาย! กระแสชาตินิยม ทำคนเกาหลีแห่บอยคอตสินค้าญี่ปุ ่น .
สืบค้นเมื่อวันที่ 9 สิงหาคม 2562 จาก : https://www.posttoday.com/world/595355.
SEON IN-JOO. (ออนไลน์). รายชื่อละครและภาพยนตร์ประวัติศาสตร์ของเกาหลี เรียงตามลำดับ
เหตุการณ์/ยุคสมัย (อัพเดท 10 พ.ค. 2016). สืบค้นเมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2562 จาก :
http://asiancastle.net/?p=3328.
SEON IN-JOO. (2558). The Assassination. สื บ ค้ น เมื ่ อ วั น ที ่ 28 กั น ยายน 2562 จาก :
https://asiancastle.net/?p=1747
The MATTER. (ออนไลน์). ความขัดแย้งทางประวัติศาสตร์ สู่สงครามการค้าอุตสาหกรรม IT
สรุปความบาดหมาง เกาหลีใต้ -ญี่ปุ่น ทะเลาะอะไรกันอยู่ ?. สืบค้นเมื่อวันที่ 9 สิงหาคม
2562 จาก : https://thematter.co/brief/recap/recap-1563267602/80660.
85

The MATTER. (ออนไลน์). สงครามการค้าเกาหลีใต้-ญี่ปุ่น เกิดอะไรขึ้นบ้าง เมื่อญี่ปุ่นถอดเกาหลี


ใต้ออกจาก Whitelist ?. สืบค้นเมื่อวันที่ 9 สิงหาคม 2562 จาก : https://thematter.co
/brief/brief-1564819200/82022.
Ttme media. (2555). Korea โมเดล สินค้าออกของเกาหลีใต้. สืบค้นเมื่อ 30 ตุลาคม 2562 จาก
: https://ttmemedia.wordpress.com/2012/05/22/ ?s=Korea+โมเดล+สินค้าออกของ
เกาหลีใต้
Voice online. (2013). 'ลัทธิจูเช่' แก่นการเมืองเกาหลีเหนือ. สืบค้นเมื่อ 5 กันยายน 2562 จาก
: https://www.voicetv.co.th/read/67173.
Voice online. (2018). ทรัมป์-คิมจองอึน จะพบกันภายในพ.ค.นี้. สืบค้นเมื่อ 30 ตุลาคม 2562
จาก : https://voicetv.co.th/read/SyWZd81tf
Voice online. (2018). ทรัมป์ยอมรับการประชุมกับคิมจองอึนอาจต้องเลื่อน. สืบค้นเมื่อ 30
ตุลาคม 2562 จาก : https://voicetv.co.th/read/HJ9LYXz1Q
Voice online. (2019). เกาหลีเหนือยืนยันข้อเรียกร้องเดิม หากมีประชุมครั้งที่ 3. สืบค้นเมื่อ 30
ตุลาคม 2562 จาก : https://voicetv.co.th/read/HDVOfSA79
Warumanu. (2560). [Kormovies] The Battleship Island (2017). สื บ ค้ น เมื ่ อ วั น ที ่ 30
กัน ยายน 2562 จาก : https://www.korseries.com/kormovies-the-battleship-island-
2017-2/
Wikipedia. (ม . ป . ป . ) . I Can Speak. ส ื บ ค ้ น เ ม ื ่ อ ว ั น ท ี ่ 27 ต ุ ล า ค ม 2562 จ า ก :
https://en.wikipedia.org/wiki/I_Can_Speak
Wikipedia. (ม.ป.ป.). Lotte Corporation. สื บ ค้ น เมื ่ อ วั น ที ่ 31 ตุ ล าคม 2562 จาก :
https://en.wikipedia.org/wiki/Lotte_Corporation
Wikipedia. (ม.ป.ป.). Spirits' Homecoming. สื บ ค้ น เมื ่ อ วั น ที ่ 24 ตุ ล าคม 2562 จาก :
https://en.wikipedia.org/wiki/Spirits%27_Homecoming
Workpoint News. (ออนไลน์). เปิดที่มา สรุปสงครามการค้า เกาหลีใต้ -ญี่ปุ่น. สืบค้นเมื่อวันที่ 9
สิงหาคม 2562 จาก : https://workpointnews.com/2019/08/05/korea-japan/.
Young Ick Lew Jung Ha Lee Bae-ho Hahn Kwang-rin Lee Ki-baik Lee. (ม ป ป ) . Korea
HISTORICAL NATION, ASIA. สืบค้นเมื่อวันที่ 29 สิงหาคม 2562 จาก : https://www.bri
tannica.com/place/Korea/The-introduction-of-Roman-Catholicism#ref35017
86

ประวัติย่อของผู้วิจัย
ชื่อ นางสาวณัฐณิชา นวลละออง
วัน เดือน ปีเกิด 15 มิถุนายน 2540
สถานที่เกิด จังหวัดสงขลา
สถานทีอ่ ยู่ปัจจุบัน 49 ถนนหยงสตาร์ ตำบลบ้านพรุ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา 90250
ประวัติการศึกษา
พ.ศ.2552 ระดับประถมศึกษาโรงเรียนกิตติวิทย์บ้านพรุ
พ.ศ.2555 ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัยสมบูรณ์กุลกันยา
พ.ศ.2558 ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัยสมบูรณ์กุลกันยา
พ.ศ.2562 ระดับปริญญาตรี สาขาประวัติศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตสงขลา

You might also like